Scg Trend 2021

ทำความรู้จัก 4 เทรนด์ที่อยู่อาศัยปี 2021

นับตั้งแต่เกิดโรคระบาด “ไวรัสโควิด-19” วิถีชีวิตและความเป็นอยู่ รวมถึงการทำงาน การดำเนินธุรกิจของคนยุคปัจจุบันก็เปลี่ยนแปลงไป ต่างต้องอยู่ภายใต้วิถีชีวิตปกติใหม่ หรือ New Normal ซึ่งต้องมีการเว้นระยะห่างทางสังคม และอยู่ภายใต้มาตรการด้านสาธารณสุข ที่เน้นความสะอาดปลอดภัย จากการได้รับเชื้อโรค ทั้งการสวมหน้ากากอนามัย การลดการสัมผัส และการล้างมือให้สะอาดหลังการสัมผัสกับสิ่งของ

 

ไม่เพียงแต่การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ซึ่งสร้างผลกระทบในปัจจุบัน ก่อนหน้านี้วิถีชีวิตและไลฟ์สไตล์ของคนยุคปัจจุบัน ก็เกิดการเปลี่ยนแปลงมาก่อนหน้าแล้ว จากผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี แต่ผลกระทบที่เกิดขึ้นไม่ได้ส่งผลอันตรายต่อสุขภาพและอนามัยของคน แต่เป็นเรื่องที่ทุกคนจะต้องปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี หรือ Digital Disruption

 

จากการเปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน ส่งผลทำให้หลายธุรกิจต้องปรับตัวให้ทัน และต้องสนองตอบความต้องการของกลุ่มลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงไป ในวงการอสังหาริมทรัพย์ ก็ไม่ได้แตกต่างจากธุรกิจอื่น ๆ ต้องมีการปรับตัวเช่นเดียวกัน  ​เพราะไลฟ์สไตล์ ความต้องการ และพฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไปไม่เหมือนเดิม

4 เทรนด์ที่อยู่อาศัยปี 2021 

Scg Living Trend 2021

การจะพัฒนาสินค้าและบริการ ออกมารองรับความต้องการของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงไป นักการตลาดหรือดีเวลลอปเปอร์ คงต้องวิเคราะห์และคาดการณ์แนวโน้มกับสิ่งที่จะเกิดขึ้น  เทรนด์การอยู่อาศัย รวมถึงการก่อสร้างในปี 2021 คงจะแตกต่างจากอดีต ซึ่ง SCG ได้วิเคราะห์เทรนด์การก่อสร้างและที่อยู่อาศัย 2021 ซึ่งพบว่ามี 4 เรื่องที่จะเข้ามามีอิทธิพล และเกิดการเปลี่ยนแปลง

1.Digital Transformation

คือการนำเอาดิจิทัล เทคโนโลยี มาปรับใช้กับทุกภาคส่วน ซึ่งเป็นหนึ่งตัวแปรการเปลี่ยนแปลงสำคัญที่ขับเคลื่อนอย่างรวดเร็ว โดยจะเห็นได้อย่างชัดเจนจากคนส่วนใหญ่ได้ให้เวลาและเรียนรู้การใช้งานเครื่องมือและเทคโนโลยีต่าง ๆ เพื่อความสะดวกสบายที่เพิ่มขึ้นในชีวิตประจำวัน จนกลายเป็นเรื่องปกติใหม่ (New Normal) ที่ทุกคนต้องทำไปเสียแล้ว ไม่ว่าจะเป็นแอปพลิเคชันโปรแกรมการประชุมออนไลน์ เข้ามาอำนวยความสะดวกแทนการเดินทางมาประชุมในรูปแบบเก่า หรือ การสั่งอาหารผ่านแอปพลิเคชันต่างๆ  เป็นต้น ที่ตอบโจทย์ความสะดวกสบาย และง่าย แบบ Anywhere Anytime ของคนทุกเพศ ทุกวัย

2.การใส่ใจกับพื้นที่อยู่อาศัยมากขึ้น

ผู้คนหันมาให้ความสำคัญ ใส่ใจกับพื้นที่อยู่อาศัยมากขึ้น  เทรนด์นี้เกิดขึ้นจากช่วงล็อคดาวน์ เมื่อคนอยู่บ้านกันมากกว่าที่เคย จะเห็นได้ว่า มีการปรับปรุงตกแต่งบ้านให้น่าอยู่และรองรับวิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไปมากยิ่งขึ้น ดังนั้นไม่ว่าโลกจะมีการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงไปมากเพียงใด “ที่อยู่อาศัย” ก็ยังคงเป็นปัจจัยพื้นฐานสําคัญ และเป็นที่ที่ปลอดภัยที่สุด

3.Well-Being เทรนด์สุขอนามัยที่ขาดไม่ได้

เทรนด์การอยู่อาศัยซึ่งเป็นตัวแปรที่สาม คือ  Well-Being โลกกำลังตื่นตัวในเรื่องของสุขอนามัยกันมากขึ้น เทรนด์ที่กําลังอยู่ในความสนใจของผู้คนทุกเพศทุกวัย และเติบโตอย่างรวดเร็วอย่างต่อเนื่อง จากวิถีการใช้ชีวิตรูปแบบใหม่ทำให้มองเห็นการมีสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีเป็นเรื่องที่สำคัญและให้ความสนใจกับสิ่งรอบตัว ไปพร้อม ๆ กับการที่มีบ้านที่ดี มีความปลอดภัย

 

ในขณะเดียวกัน ประเทศไทยยังต้องปรับตัวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์ (Aged Society) สอดคล้องกับพฤติกรรมการเลือกและใส่ใจกับความปลอดภัยเป็นเรื่องแรก ทั้งการอาศัยอยู่ภายในบ้าน รวมไปถึงการเตรียมความพร้อมตัวเอง และสมาชิกในบ้าน สู่การเป็นผู้สูงวัยในอนาคต

4.Circular Economy และการใส่ใจสิ่งแวดล้อม

จากสถานการณ์ที่ทั่วโลกต่างรับมือกับการสภาวการณ์เปลี่ยนแปลงของโลกเรา ผู้คนเริ่มหันมาใส่ใจสิ่งแวดล้อม การประหยัดพลังงานกันมากขึ้น หรือแม้แต่เรื่องระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) การหมุนเวียนเอาทรัพยากรมาใช้ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด เป็นสิ่งที่มนุษย์เราเริ่มหันมามองสิ่งรอบตัว จนเกิดคำถามที่ว่า เมื่อโลกเปลี่ยน ถึงเวลาที่ต้องหันกลับมามองที่ตัวเราเอง ว่าที่ผ่านมาดูแลโลกนี้ดีเพียงพอหรือยัง?

Scg Vachirawit

นายวชิระชัย คูนำวัฒนา Head of Living Solution Business ธุรกิจ เอสซีจี ซิเมนต์ผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง แสดงความเห็นว่า  เมื่อเกิดไวรัสโควิด-19 แล้ว เกิดคำถามขึ้นมากมายตามมาว่า ที่ผ่านมาเราดูแลโลกนี้ดีเพียงพอไหม เพราะต้องยอมรับหลาย ๆ เรื่องที่เกิดขึ้น ก็เกิดจากผลกระทบของโลกที่เปลี่ยนแปลงไป คนจะกลับมาตระหนักเหมือนกันว่าเราดูแลตัวเราเองแล้ว เราดูแลโลกไปด้วยไหม ซึ่งจริง ๆ แล้ว เรื่องเทรนด์ กระแสนิยม รวมถึงแนวโน้มที่เกิดขึ้น อาทิ การดูแลสิ่งแวดล้อม การประหยัดพลังงาน การใส่ใจด้านสุขอนามัย คงต้องมองย้อนกลับมามองถึงการใช้ชีวิต และ รอบ ๆ ตัว ว่าเราจะดูแลต่อจากนี้อย่างไร

สำหรับผมมองว่าทั้ง 4 ข้อข้างต้นก็เป็นเทรนด์ที่ได้เกิดขึ้นมาแล้วในก่อนหน้านี้ แต่สถานการณ์ปัจจุบันช่วยให้มันชัดเจนขึ้น และช่วยเร่งความเร็วมากขึ้น

Smart Living ตอบโจทย์ การอยู่อาศัยปี 2021

นอกจากนี้  ด้วยบริบทของสังคมที่เปลี่ยนผ่าน ได้ยกระดับความต้องการพื้นฐานทางกายภาพของมนุษย์สู่ความเป็นดิจิทัล โดยการผนวกเทคโนโลยีเข้ามาอำนวยความสะดวกสบายในทุกมิติ ส่งผลให้ภาพของ Smart City หรือ เมืองอัจฉริยะ ชัดเจนมากขึ้น นำไปสู่การใช้ชีวิตในรูปแบบ Smart Living ที่เชื่อมต่อทุกประสบการณ์ด้วยเทคโนโลยี เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น ในฐานะองค์กรต้องเตรียมพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงและแนวโน้มที่เกิดขึ้น ทั้งด้านพฤติกรรม ความเป็นอยู่ การใช้ชีวิต สุขอนามัย

 

ขณะที่นายชูโชค ศิวะคุณากร Managing Director บริษัท ผลิตภัณฑ์และวัตถุก่อสร้าง จำกัด กล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน สิ่งที่เห็นได้ชัดเจนอีกอย่าง คือการขาดแคลนแรงงาน รวมถึงผู้เกี่ยวข้องในสายงานก่อสร้าง และขาดแคลนในเชิงของคุณภาพและทักษะของงานก่อสร้างที่มีความหลากหลาย ซึ่งต้องเรียนรู้เรื่องเทคโนโลยี และการใช้ประโยชน์จากข้อมูลดาต้าควบคู่ อย่างเช่นการพัฒนาแรงงานฝีมือช่าง

Scg Chochock

นอกจากนี้ ยังมีปัญหาอีกด้านหนึ่ง โดยเมื่อก่อนนี้นึกถึงแค่งานโครงสร้าง อาคาร แต่ปัจจุบันมันต้องมองทั้งระบบ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาโลกร้อน ซึ่งต้องใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด ปัญหาเรื่องฝุ่นละออง เรื่องการจัดการน้ำ ซึ่งมันจะเชื่อมโยงในภาคการอุปโภค บริโภค ทั้งในเชิงของการเกษตร และอุตสาหกรรม

 

“ตัวกำหนดทิศทางสำคัญในการขับเคลื่อนแวดวงการก่อสร้าง คือความเบ็ดเสร็จ ครบวงจรและรวดเร็ว ทั้งรูปแบบของการใช้งานตัวอาคาร และโครงสร้าง ทั้งการเพิ่มฟังก์ชันการใช้งานบนโครงสร้างเดิมให้มีความหลากหลาย หรือเป็นการเปลี่ยนวัตถุประสงค์ของการใช้งานโครงสร้างเดิมให้ต่างออกไป รวมถึงการรีโนเวทปรับปรุงอาคาร สิ่งปลูกสร้าง ไปสู่การพัฒนานวัตกรรมและโซลูชันเพื่อตอบโจทย์สูงสุด”

จากความต้องการความเบ็ดเสร็จและรวดเร็ว ทำให้เกิดแนวทางการก่อสร้างแนวใหม่ คือ Smart Construction ซึ่งจะช่วยจัดการกับการออกแบบที่ไม่มีประสิทธิภาพ เทคโนโลยีที่ล้าสมัย และส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ยังปรับให้สอดคล้องกับพฤติกรรมของผู้ใช้งาน ให้มีความเป็น Smart Building มากยิ่งขึ้น

 

นายชูโชค ศิวะคุณากร ทิ้งท้ายว่า ความน่าสนใจอีกข้อที่ก่อตัวขึ้นจากการเปลี่ยนแปลง คือ Networking การสร้างเครือข่ายขนาดใหญ่ที่ทำให้เกิดการแชร์ข้อมูลร่วมกัน แชร์ Resource หรือแม้แต่ Knowledge แลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน ทั้งกลุ่มเจ้าของโครงการและกลุ่มคนที่เกี่ยวข้องในแวดวงการก่อสร้าง ให้เกิดประโยชน์ต่อธุรกิจและภาพรวม เพิ่มทักษะงานก่อสร้าง ภายใต้ Ecosystem เดียวกัน ซึ่งจะทำให้การพัฒนาเป็นไปอย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น

 

บทความ ข่าวโปรโมชั่น ล่าสุด