Tag : condo

1512 ผลลัพธ์
ภาษีที่ดิน ใครต้องจ่าย จ่ายเท่าไหร่ จ่ายที่ไหน และใครได้ประโยชน์

ภาษีที่ดิน ใครต้องจ่าย จ่ายเท่าไหร่ จ่ายที่ไหน และใครได้ประโยชน์

ภาษีที่ดิน เป็นภาระจำเป็นที่เจ้าของอสังหาริมทรัพย์ต้องรับผิดชอบชำระ ซึ่งก่อนหน้านี้หลายคนคงได้รับ “ใบแจ้งการชำระภาษีที่ดิน” กันมาระยะหนึ่งแล้วและประเด็นเกี่ยวกับ “ภาษีที่ดิน” ก็ถูกนำกลับมาพูดถึงกันอีกครั้งในแวดวงอสังหาฯ ทำเอาเจ้าของที่ดิน บ้านหรือห้องชุดมีเครื่องหมายคำถามในหัวกันอีกครั้งว่าจะต้องเตรียมตัวเสียภาษีกันอย่างไร เพราะใกล้ได้เวลาครบกำหนดชำระเข้าไปทุกที   เนื่องจากภาษีที่ดินนี้เป็นประกาศใหม่ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ปีที่แล้ว อีกทั้งยังมีอัตราภาษีและเงื่อนไขที่หลากหลาย  ทำเอาหลาย ๆ คนมองว่าเป็นเรื่องยากที่จะเข้าใจ และเกิดคำถามต่าง ๆ มากมาย ทั้งเรื่องใครต้องเสียภาษีบ้าง? เสียเท่าไร? ถ้ามีบ้านมากกว่าหนึ่งหลังจะเสียภาษีอย่างไร? มีข้อยกเว้นอย่างไรบ้าง? และสุดท้ายใครได้ประโยชน์จากภาษีนี้ นางกมลภัทร แสวงกิจ ผู้จัดการใหญ่ประจำประเทศไทยของดีดีพร็อพเพอร์ตี้ เปิดเผยว่า แม้ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างใหม่ จะไม่ส่งผลกระทบกับคนทั่วไป ที่มีบ้านหรือคอนโดมิเนียมสำหรับอยู่อาศัยเองเพียงหลังเดียว ในราคาไม่เกิน 50 ล้านบาท แต่จะกระทบกับกลุ่มคนที่มีบ้านหรือคอนโดหลังที่สอง หรือมีอสังหาริมทรัพย์ปล่อยเช่า รวมทั้งผู้ที่ถือครองไว้โดยไม่ได้ทำประโยชน์  คนกลุ่มนี้จะต้องชำระภาษีตาม พ.ร.บ. ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างปี 2562     การคำนวณภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างใหม่ ถือว่าไม่ใช่เรื่องยาก และเจ้าหน้าที่ก็เป็นผู้ประเมินภาษีให้ด้วย  แต่การรู้วิธีคิดเพื่อคำนวณภาษีที่ต้องจ่ายล่วงหน้า ถือเป็นเรื่องที่ควรจะรู้ไว้ เพื่อวางแผนค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับอสังหาฯ  ของตัวเอง โดย ดีดีพร็อพเพอร์ตี้ ได้สรุปรายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูลที่ผู้เสียภาษีที่ดินสำหรับกลุ่มที่อยู่อาศัยที่ควรรู้ ดังนี้ ภาษีที่ดิน คืออะไร อันดับแรก เรามาย้ำความเข้าใจว่าภาษีที่ดินที่ต้องชำระคืออะไรกันอีกที ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง คือ ภาษีที่ผู้ครอบครองอสังหาฯ ไม่ว่าจะเป็นเจ้าของบ้าน ที่ดิน คอนโด หรือสิ่งปลูกสร้างใด ๆ ทั้งที่ใช้และไม่ได้ใช้ประโยชน์  ต้องเสียให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ซึ่งอสังหาฯ นั้นตั้งอยู่ โดยภาษีที่ชำระให้กับ อปท. ดังกล่าว จะถูกนำไปใช้ในการพัฒนาท้องถิ่นนั้น ๆ   โดยภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างถูกประกาศเมื่อเดือนมีนาคม 2562 ที่ผ่านมา และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ต้นปี 2563 เป็นต้นไป เพื่อทดแทนภาษีโรงเรือนและภาษีบำรุงท้องที่ฉบับเก่าที่ใช้มานานหลายสิบปี โดยการชำระภาษีตามประกาศใหม่ครั้งแรกนี้ เลื่อนมาเป็นภายในเดือนสิงหาคม 2563 จากเดิมต้องเสียภาษีภายในเดือนเมษายน 2563 และเพื่อช่วยลดภาระของประชาชนจากผลกระทบการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 รัฐบาลยังได้ออกมาตรการลดภาษีสำหรับที่อยู่อาศัยถึง 90% อีกด้วย   โดยประเภทของทรัพย์สินที่จะเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง แบ่งออกเป็น ประเภทเกษตรกรรม ที่อยู่อาศัย และอื่น ๆ (ซึ่งรวมประเภทพาณิชยกรรม อุตสาหกรรม และที่ดินรกร้างด้วย) ดังตารางสรุปด้านล่างนี้ ภาษีที่ดิน ใครจะเป็นผู้รับผิดชอบ  สำหรับกลุ่มที่อยู่อาศัย และการจัดการปัญหาเกี่ยวกับรายละเอียดในจดหมายภาษีที่ดิน   สิ่งที่ต้องพิจารณาอันดับแรกเลยคือ คุณมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านหรือไม่? ถ้าไม่มีชื่อในทะเบียนบ้านจะถูกนับเป็นบ้านหลังรอง กรณีนี้ไม่ว่าราคาประเมินจะเท่าไหร่ก็ต้องเสียภาษี แต่หากมีชื่อในทะเบียนบ้าน (บ้านหลังหลัก) ก็ต้องมาดูต่อว่า เป็นสิ่งปลูกสร้างอย่างเดียว หรือเป็นที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง   ถ้าเป็นสิ่งปลูกสร้างอย่างเดียว (บ้านเราแต่ไปสร้างบนที่ดินคนอื่น) กรณีราคาประเมินน้อยกว่า 10 ล้านบาท ไม่ต้องเสียภาษี ส่วนกรณีมากกว่า 10 ล้านบาท จะต้องเสียภาษี และถ้าเป็นที่ดินและบ้านหลังหลัก กรณีราคาประเมินน้อยกว่า 50 ล้านบาท ไม่ต้องเสียภาษี ส่วนกรณีมากกว่า 50 ล้านบาท จะต้องเสียภาษี ปัญหาที่พบในจดหมายแจ้งภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ส่วนใหญ่จะพบว่า ข้อมูลที่ระบุมาไม่ถูกต้องตามความเป็นจริง เช่น ขนาดพื้นที่ไม่ถูกต้อง ประเภทการใช้สอยไม่ถูกต้อง ชื่อของเจ้าของบ้านไม่ถูกต้อง เป็นต้น สิ่งที่ต้องรู้ก็คือ การยื่นเรื่องแก้ไขข้อมูลเหล่านี้ต้องทำให้เสร็จสิ้นภายใน 15 วันหลังจากจดหมายแจ้งฯ ส่งถึงผู้รับ ไม่เช่นนั้นจะถือว่าข้อมูลถูกต้องแล้ว จะไปแก้ไขหลังจากนั้นก็ยังไม่มีรายละเอียดว่าทำได้หรือไม่ และทำได้อย่างไร   โดยในจดหมายที่ได้รับจะมีคิวอาร์โค้ด (QR Code) สำหรับการแจ้งขอเปลี่ยนแปลงข้อมูลอยู่ ซึ่งหลังจากแก้ไขมาเรียบร้อยแล้วก็อย่าลืมตรวจสอบอย่างละเอียดอีกครั้ง หากยังมีจุดผิดก็ต้องยื่นเรื่องแก้ไขกันอีก แต่คาดว่าจะดำเนินการได้รวดเร็วกว่าการแจ้งครั้งแรก เพราะมีข้อมูลพร้อมเอกสารต่าง ๆ อยู่ก่อนแล้ว ข้อแตกต่าง หลักการคำนวณภาษีบ้านและคอนโด ที่ควรรู้ ต่อมาประเด็นที่หลายคนตั้งคำถาม สำหรับการประเมินว่าจะต้องเสียภาษีหรือไม่ และจำนวนเงินเท่าไรที่ต้องชำระ โดยในครั้งนี้เราจะเน้นไปที่ ภาษีของบ้านและคอนโด  ที่มีวิธีคิดและหลักการคำนวณที่แตกต่างกันออกไป ดังนี้ หลักการคำนวณภาษีบ้าน การคำนวณภาษีจะแบ่งเป็น 2 กรณี ได้แก่ กรณีที่เป็นเจ้าของทั้งที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง กับกรณีที่เป็นเจ้าของเฉพาะสิ่งปลูกสร้างเท่านั้น และเงื่อนไขของทั้ง 2 กรณีก็คือ ผู้ที่เป็นเจ้าของจะต้องมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านด้วย วิธีการคิดภาษีจะวัดตามการประเมินมูลค่าซึ่งมีรายละเอียดดังนี้ กรณีที่ 1: บ้าน (สิ่งปลูกสร้างพร้อมที่ดิน) บ้านพร้อมที่ดิน มูลค่าต่ำกว่า 50 ล้านบาท ได้รับการยกเว้น ไม่ต้องเสียภาษี บ้านพร้อมที่ดิน มูลค่า 50-75 ล้านบาท คิดภาษี 0.03 % บ้านพร้อมที่ดิน มูลค่า 75-100 ล้านบาท คิดภาษี 0.05% บ้านพร้อมที่ดิน มูลค่ามากกว่า 100 ล้านบาท คิดภาษี 0.1% กรณีที่ 2: บ้าน (เฉพาะสิ่งปลูกสร้าง) บ้าน มูลค่าต่ำกว่า 10 ล้านบาท ได้รับการยกเว้น ไม่ต้องเสียภาษี บ้าน มูลค่า 10-50 ล้านบาท คิดภาษี 0.02% บ้าน มูลค่า 50-75 ล้านบาท คิดภาษี 0.03% บ้าน มูลค่า 75-100 ล้านบาท คิดภาษี 0.05% บ้าน มูลค่ามากกว่า 100 ล้านบาท คิดภาษี 0.1% หลักการคำนวณภาษีสำหรับคอนโดฯ  การคิดภาษีของคอนโด  จะมีรายละเอียดมากกว่า ต้องใช้ข้อมูลทั้งการประเมินมูลค่าและขนาดของพื้นที่ แล้วนำมาเข้าสูตร จากนั้นก็หักลบกับเงื่อนไขของแต่ละประเภทคอนโด  อีกทีหนึ่งถึงจะได้จำนวนเงินที่ต้องจ่ายจริง สูตรสำหรับคิดภาษีคอนโด (ราคาประเมินต่อตารางเมตร x ขนาดพื้นที่ห้องชุด) = (มูลค่าของคอนโด x อัตราภาษีแบบขั้นบันได) โดยมีการจำแนกประเภทของคอนโด ออกเป็น 3 กลุ่ม ซึ่งมีเงื่อนไขในการคิดภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างต่างกัน ดังนี้ คอนโดฯ หลังแรก และมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน จะได้รับการยกเว้นภาษี 50 ล้านแรก คอนโดฯ หลังที่ 2 เป็นต้นไป ไม่มีชื่อในทะเบียนบ้าน ให้คิดภาษีทั้งหมดไม่มีส่วนยกเว้น คอนโดฯ ปล่อยเช่า จะคิดภาษีในอัตราที่อยู่อาศัย ชำระภาษีกับใคร ภายในเมื่อไหร่? เนื่องจากหน้าที่การจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างไม่ได้ขึ้นกับกรมสรรพากร แต่เป็นหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น/สำนักงานเขต โดยจะออกหนังสือแจ้งการครอบครองที่ดิน/บ้าน ให้ผู้เสียภาษีทราบภายในเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี และมีกำหนดให้ผู้เสียภาษีจะต้องชำระภาษีภายในเดือนเมษายนของทุกปี ทั้งนี้ ก่อนเดินทางไปจ่ายภาษีให้ตรวจสอบว่าพื้นที่ที่ได้รับแจ้งให้จ่ายภาษีขึ้นอยู่กับหน่วยงานใด เช่น สำนักงานเทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล สำนักงานเขต กรุงเทพมหานคร ศาลาว่าการเมืองพัทยา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนด อย่างไรก็ดี สำหรับในปี 2563 ซึ่งเป็นปีที่เริ่มจัดเก็บภาษีที่ดินเป็นปีแรก กระทรวงมหาดไทยได้ประกาศขยายกำหนดเวลาจัดเก็บภาษีที่ดินออกเป็นภายในเดือนสิงหาคม 2563  และอีกประเด็นหนึ่งที่หลายคนอาจยังไม่รู้ ว่าภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง สามารถผ่อนชำระได้ด้วย โดยกำหนดระยะเวลาใหม่นั้น ยังคงการผ่อนชำระเป็น 3 งวด ได้แก่ สิงหาคม กันยายน และงวดสุดท้ายในเดือน ตุลาคม 2563   สำหรับใครที่ไม่ได้ชำระภาษีที่ดินภายในเดือนกันยายน ก็จะมีหนังสือแจ้งเตือนผู้เสียภาษีที่ยังค้างชำระ และขั้นตอนสุดท้ายในหน้าที่ของ อปท. คือ การแจ้งรายการภาษีค้างชำระให้กับสำนักงานที่ดินและสำนักงานที่ดินสาขา ภายในเดือนตุลาคม 2563   แม้ว่าภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างจะบังคับใช้แล้ว แต่จะเห็นได้ว่าผู้ที่ได้รับผลกระทบจริง ๆ นั้น ไม่ได้เกิดขึ้นกับทุกคนที่มีบ้าน ในขณะเดียวกันก็ยังมีการผ่อนปรนต่าง ๆ เช่น ที่อยู่อาศัยเพื่อปล่อยเช่า เสียภาษีเท่ากับที่อยู่อาศัย แทนที่จะเสียเท่ากับประเภทพาณิชยกรรม นอกจากนี้ในปี 2563 ยังมีการลดอัตราภาษีลงถึง 90% ทำให้เจ้าของอสังหาฯ จ่ายภาษีน้อยลง   อย่างไรก็ตามเจ้าของอสังหาฯ ควรต้องตระหนักถึงความสำคัญของภาษีที่ดิน และเตรียมตัวให้พร้อมว่าจะต้องมีค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ หากมีอสังหาฯ อยู่ในเกณฑ์ที่ต้องเสียภาษีทั้งในปัจจุบันและอนาคต   ภาษีที่ดิน นี้ ผู้ที่ได้รับประโยชน์คือประชาชนเอง เพื่อแก้ปัญหาเรื่องภาษีท้องที่ และภาษีโรงเรือนและที่ดิน ที่เก็บได้ไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วย และเป็นการเพิ่มรายได้ให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อนำไปพัฒนาพื้นที่ของตนเองให้ดียิ่งขึ้น รวมทั้งยังเป็นการแก้ปัญหาที่ดินรกร้างให้นำมาใช้ประโยชน์มากขึ้น
เตาปูน ของเราน่าอยู่ [VDO Review Around]

เตาปูน ของเราน่าอยู่ [VDO Review Around]

เตาปูน ของเราน่าอยู่ สวัสดีค่ะ วันนี้เราอยู่กันที่สถานีรถไฟฟ้าเตาปูน จุดที่เป็นสถานีเชื่อมต่อระหว่างรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินและสายสีม่วง วันนี้เราจะพาไปสำรวจทำเลรอบๆ นี้นะคะว่ามีอะไรน่าสนใจบ้าง รวมไปจนถึงถนนประชาราษฎร์สาย 2 ถนนสายหลักว่ามีอะไรอัพเดทและน่าสนใจบ้าง ตามไปดูกันเลยค่ะ   สาเหตุที่เราเลือกทำเลเตาปูนมาพาชมกันในครั้งนี้นะคะ ก็เพราะว่า ในช่วงหลายปีที่ผ่านมามีโครงการต่างๆ เกิดขึ้นมากมาย มาพร้อมๆ กับการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินและสายสีม่วงนะคะ ทำให้บริเวณรอบๆ นี้มีปัจจัยสนับสนุนหลายข้อเลยค่ะ ที่ทำให้เหมาะสมกับการอยู่อาศัย   ข้อแรกเลยค่ะ การเป็นศูนย์กลางของการเดินทาง บริเวณเตาปูนนอกจากจะเป็นจุดเชื่อมต่อของรถไฟฟ้ามากถึง 3 สายแล้ว ยังมี “สถานีกลางบางซื่อ” ศูนย์กลางการคมนาคมระบบรางที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้!!  ที่อยู่ห่างออกไปไม่ไกลเองค่ะ ซึ่งจะเป็นศูนย์กลางที่จะเชื่อมโยงรถไฟทางไกล รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง และรถไฟฟ้าไปทางสุวรรณภูมิ รวมไปถึงรถไฟความเร็วสูงที่จะเชื่อมไปสู่สนามบินทั้ง 3 แห่งอีกด้วย ไม่เพียงแต่การเดินทางด้วยระบบรางเท่านั้น การเดินทางต่อด้วยรถยนต์ส่วนตัว รถสาธารณะ หรือแม้แต่การต่อเรือด่วนเจ้าพระยา ก็มีการเดินทางเชื่อมโยงถึงกันครบถ้วนเลยทีเดียวค่ะ   แล้วถ้าใครที่คุ้นเคยกับทำเลในเตาปูนอยู่พอสมควรแล้วนะคะ คงจะทราบกันดีว่า บริเวณนี้เป็นย่านการค้าเก่าแก่ ที่ดำเนินธุรกิจกันมายาวนาน อีกทั้งยังเป็นแหล่งชุมชนที่มีคนอยู่อาศัยกันมานานแล้ว ซึ่งเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ทำเลเตาปูนมีความน่าสนใจเพิ่มขึ้นไปอีก และด้วยความที่เป็นแหล่งชุมชน ดังนั้นในย่านนี้จึงมีความอุดมสมบูรณ์พอสมควรเลยทีเดียวค่ะ มีร้านค้า ร้านอาหาร ร้านดังๆ เก่าแก่อยู่เยอะแยะเต็มไปหมดเลย แค่ลงจากสถานีเตาปูนก็จะเจอกับตลาดเตาปูนเลย พื้นที่บริเวณนี้ก็จะมีร้านค้าเยอะ ก็สามารถจับจ่ายซื้ออะไรก็มีครบแทบทุกอย่างเลยค่ะ ถัดไปอีกหน่อยก็มี gateway @บางซื่อ ห้างใหญ่ประจำย่าน ที่ใครๆ ก็รู้กันดีว่า เป็นทั้งแหล่งช้อปปิ้ง ที่แฮงค์เอ้าท์ มีร้านอาหารเยอะ แล้วก็มีความบันเทิงรวมอยู่อีกมากมาย ทำให้บริเวณในรอบๆ นี้ คึกคักขึ้นมาทันตา   สำหรับข้อสุดท้ายที่อาจจะไม่ท้ายสุด ที่ทำให้เตาปูนมีแรงดึงดูดมากก็คือ "ศักยภาพในด้านธุรกิจ" อย่างที่บอกไปแล้วว่าเป็นย่านการค้าที่เก่าแก่ อย่างถนนสายไม้ที่หลายคนรู้จักกันดีใน "ซอยประชานฤมิตร" ก็จัดเป็นศูนย์กลางของสินค้าประเภทไม้ที่ใหญ่ที่สุดในกรุงเทพเลยแหละ ในขณะเดียวกันบริเวณรอบๆ ก็ยังมีแหล่งงานขนาดใหญ่ทั้งของรัฐและเอกชน มีโรงพยาบาล สถานศึกษา และในอนาคตอันใกล้ยังจะมีพื้นที่ช็อปปิ้งขนาดใหญ่เพิ่มเติมในบริเวณสถานีกลางบางซื่ออีกด้วย!!   เตาปูน ของเราน่าอยู่ ด้วยปัจจัยที่ว่ามาทั้งหมดนี้ เลยไม่น่าแปลกใจว่าทำไมบริเวณเตาปูน และ ถนนประชาราษฎร์สาย 2 มีโครงการคอนโดมิเนียมต่างๆ ผุดขึ้นมากมายเลยทีเดียว ซึ่งแต่ละโครงการก็มีจุดเด่น จุดขายที่งัดออกมาเอาใจ target ของตลาดแบบไม่ยอมน้อยหน้ากันเลย....  ครั้งนี้เราจะพาไปเดินสำรวจในบริเวณรอบๆ นี้ว่า แต่ละโครงการบนทำเลนี้มีอะไรน่าสนใจ และอัพเดทไปถึงไหนกันบ้างแล้ว Niche pride เตาปูน interchange เริ่มกันที่โครงการแรกกันเลยค่ะ  Niche pride เตาปูน interchange โครงการจากเสนา ดีเวลลอปเม้นท์ ที่จัดว่าใกล้สถานีรถไฟฟ้ามากที่สุด เพราะแค่ลงบันไดจากสถานีที่ทางออกที่ 4 บันไดสถานีก็แทบจะจ่ออยู่ที่หน้าโครงการแล้ว  ปัจจุบันตัวโครงการใกล้เสร็จสมบูรณ์แล้วนะคะ  จุดเด่นของเสนาก็คงเป็นเรื่องการใช้ solar cells ในส่วนกลาง ที่จะช่วยลดภาระค่าส่วนกลางได้ในระยะยาว และมี facility ส่วนกลางครบสุดๆ ไปเลยจ้า ตอนนี้มียูนิตเหลืออีกไม่มาก แถมยังมีโปรโมชั่นล่าสุดในราคาเริ่มต้น 3.59 ล้านบาทอีกด้วย Chewathai interchange ถ้า Niche Pride ติดทางออกที่ 4 นะคะ Chewathai Interchange ก็เป็นอีกโครงการที่บันไดทางออกที่ 1 ติดหน้าโครงการเลยเช่นกันค่ะ คอนโดนี้จะนับเป็นโครงการแรกๆ ของเตาปูนก็ได้นะ เพราะสร้างเสร็จตั้งแต่ปี 58 แล้ว แน่นอนว่า sold out กันไปเรียบร้อย ถ้าใครสนใจอาจจะต้องไปดูว่ามีเจ้าของห้องคนไหนประกาศขายอยู่รึเปล่า ถึงจะมาก่อนใคร แต่แว่วว่า การปล่อยเช่าก็ทำราคาได้ดีไม่แพ้โครงการอื่นๆ เลยนะคะ Ideo mobi บางซื่อ grand interchange ยังอยู่กันที่รอบๆ สถานีเตาปูนนะคะ แค่ข้ามมาอีกฝั่งนึงเท่านั้นเอง ขยับมาทางถนนประชาชื่น ก็จะเจอกับ Ideo mobi บางซื่อ grand interchange  อีกโครงการที่สร้างเสร็จไปตั้งแต่ปี 60 แต่ยังคงมียูนิตเหลือขายอยู่ค่ะ โครงการนี้ชูจุดเด่นในเรื่องความใกล้รถไฟฟ้าถึง 3 สาย แต่ว่าจริงๆ แล้วไม่ได้อยู่ติดสถานีนะจ๊ะ แค่อยู่ในระยะ 300 เมตร ที่เดินได้กำลังดี มี facility ชุดใหญ่บนชั้นสูงๆ ที่วิวสวยใช้ได้เลยแหละ ถ้าสนใจตอนนี้มีโปร เฟอร์ครบ ลดแรง เริ่มที่ 3.35 ล้านบาท ถ้าใครสนใจก็เข้ามาดูกันได้ค่ะ Lumpini place เตาปูน interchange ที่นี้ขยับมาดูอีกฝั่งหนึ่ง มาที่ทางออกที่ 2 ของสถานีเตาปูนบ้างค่ะ ห่างออกไปประมาณ 120 เมตร จะเจอกับโครงการใหม่ล่าสุดของย่านนี้ Lumpini place เตาปูน interchange โครงการนี้อยู่ริมถนนกรุงเทพ-นนทบุรี  ใกล้กับตลาดสดเตาปูนมากๆ ขึ้นขึ้นชื่อว่าลุมพินี แค่เปิดขายอย่างเป็นทางการ ยอดขายก็พุ่งไปที่ 50% แล้วค่ะ ก็ราคาขายเปิดเริ่มต้นมาที่ 1.99 ล้านบาทเท่านั้น แต่ facility ส่วนกลางไม่ได้เยอะมากตามสไตล์เค้าล่ะ กับขนาดห้องเริ่มต้นที่ 22.5 ตร.ม. เท่านั้นนะคะ ตอนนี้มีโปรน่าสนใจอยู่เข้าไปดูกันได้ และตัวโครงการคาดว่าจะสร้างเสร็จในปี 65 ค่ะ Rich park 2 @เตาปูน interchange กลับมาที่ถนนประชาราษฏร์สาย 2 กันค่ะ ถนนเส้นหลักที่เราพามาดูในครั้งนี้กันค่ะ อีกหนึ่งโครงการที่จัดอยู่ในกลุ่มผู้เปิดตลาดย่านเตาปูนก็คือ Rich park 2 @เตาปูน interchange โครงการนี้สร้างเสร็จตั้งแต่ปี 57 แล้ว แต่ยังคงมียูนิตเหลืออยู่อีกนิดหน่อย ความน่าสนใจคือ ขนาดห้องค่ะ เป็นแบบ 1 Bedroom ทั้งหมดเลยนะคะ โดยมีขนาดเริ่มต้นที่ 28 ตร.ม. และโปรโมชั่นตอนนี้เปิดมาที่ราคา 1.99 ล้านบาทเท่านั้น  เป็นราคาโปรนี้เลยเร้าใจมากๆ เลยทีเดียวค่ะ The stage @เตาปูน ขยับกันมาที่โครงการต่อไปคือ The stage @เตาปูน อีกหนึ่งโครงการที่ยังมียูนิตเหลือขาย ที่ทางโครงการกำลังเร่งทำโปรเพื่อปิดการขายให้ได้ สำหรับห้องขนาดเริ่มต้นที่ 33.2 ตร.ม. นะคะ ด้วยราคาเริ่มต้น 2.99 ล้านบาทเท่านั้น ภายในโครงการก็มี facility ครบเลยนะ แถมส่วนกลางก็ได้วิวดีด้วยแหละ The Tree Interchange ในบรรดาโครงการทั้งหมดบนถนนประชาราษฎร์สาย 2 ต้องยกให้กับโครงการ The Tree Interchange เป็นโครงการที่ใหญ่ที่สุด เพราะมียูนิตรวมมากกว่า 1,700 ยูนิตเลยทีเดียว เหตุผลนึงที่ทำให้โครงการนี้เป็นที่น่าสนใจและขายหมดเร็วกว่าโครงการอื่นๆ ในบริเวณเดียวกันก็อาจจะเป็นเพราะว่า เป็นโครงการที่ตั้งอยู่ใกล้กับ Gateway @บางซื่อ มากๆ เลยค่ะ ชนิดที่ว่าใช้รั้วติดกันเลยทีเดียว Chewathai Residence บางโพ อีกหนึ่งโครงการที่ตั้งอยู่ใกล้กับ Gateway @บางซื่อ ก็คือ โครงการ ชีวาทัย เรสซิเดนซ์ บางโพ โครงการนี้ขยับไปทางสถานีบางโพนะคะ ซึ่งอยู่ห่างจากตัวสถานีเพียง 80 เมตรเท่านั้นค่ะ อาจจะเป็นโครงการที่ไม่ใกล้สถานีเตาปูนนะคะ แต่ก็เป็นอีกหนึ่งโครงการที่อยู่ใกล้สถานีรถไฟฟ้าไม่ต่างกันเลยค่ะ   เป็นอย่างไรบ้างคะ สำหรับบรรยากาศในย่านเตาปูน ที่เราไล่เรียงกันมาตั้งแต่บริเวณสถานีรถไฟฟ้าเตาปูน ถึงสถานีบางโพ รวมถึงบริเวณท่าน้ำบางโพแห่งนี้ คงได้เห็นกันแล้วว่าทำเลในย่านเตาปูนนี้มีความพร้อมและเหมาะสำหรับการอยู่อาศัยมาก และในอนาคตอันใกล้นี้ โครงการต่างๆ ทั้งของภาครัฐและเอกชนจะพัฒนาจนเสร็จสมบูรณ์ ทั้งรัฐสภาแห่งใหม่ที่เห็นทางด้านหลังนี้ รวมถึงสถานีกลางบางซื่อด้วยค่ะ พอทุกอย่างเสร็จสมบูรณแล้ว บริเวณในย่านเตาปูนและทำเลใกล้เคียง ก็น่าจะเป็นแหล่งงาน แหล่งธุรกิจ ไปจนถึงที่อยู่อาศัยที่น่าจับตามองเลยทีเดียวค่ะ   บทความอื่นๆ เกี่ยวกับเตาปูน 5 ปัจจัยหนุนทำเลเตาปูน สู่ย่านใจกลางธุรกิจแห่งใหม่ รีวิวคอนโด ส่องทำเลเตาปูน-บางโพ ฉบับอัปเดต 2563  
10 บิ๊กอสังหาฯ ทำกำไรได้สูงสุด ในสถานการณ์ไวรัสโควิด-19

10 บิ๊กอสังหาฯ ทำกำไรได้สูงสุด ในสถานการณ์ไวรัสโควิด-19

แม้ว่าในช่วงไตรมาส 2 ที่ผ่านมา บริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ส่วนใหญ่ จะสามารถสร้างผลงาน ให้ยังมีรายได้กลับเข้ามา ในภาวะวิกฤตที่ต้องเผชิญกับปัญหาการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 แต่ดูเหมือนว่าผู้ประกอบการ ต้องลงแรงทำงานกันหนักมากขึ้นกว่าปกติ    เพื่อกระตุ้นให้ลูกค้าเกิดความต้องการซื้อบ้านและคอนโดมิเนียม โดยเฉพาะการลดราคาสินค้า จัดโปรโมชั่นอยู่ฟรี ส่งผลให้ตัวเลขค่าใช้จ่ายทางการตลาดหลายบริษัทเพิ่มมากขึ้น เมื่อบวกลบคูณหารกับตัวเลขรายได้ในธุรกิจอื่น ๆ หรือค่าใช้จ่ายด้านอื่นด้วย อัตรากำไรของหลายบริษัทจึงลดน้อยลงอย่างปฎิเสธไม่ได้   จากการรวบรวมข้อมูลบริษัทมหาชน (บมจ.) ซึ่งดำเนินธุรกิจหลักด้านการพัฒนาที่อยู่อาศัย ซึ่งจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์จำนวน 31 บริษัท พบว่า มีกำไรจากการดำเนินงานของทั้ง 31 บริษัท ลดลงอย่างมากถึง 48.72% โดยกำไรสุทธิที่ทำได้ในไตรมาสที่ 2 ของปีนี้มีจำนวน 5,025.19 ล้านบาท จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้ามีกำไรสุทธิ 9,715.31 ล้านบาท กำไรส่วนหนึ่งที่ลดลง เป็นผลจากมี 11 บริษัทประสบภาวะขาดทุนในช่วงไตรมาสที่ 2 10 บิ๊กอสังหาฯ กำไรลดกว่า 5% สำหรับบริษัทอสังหาฯ รายใหญ่ 10 อันดับแรก ในช่วงไตรมาส 2 ที่ผ่านมา มีอัตรากำไรรวม 6,478.63 ล้านบาท ลดลง 5.10% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไร 6,826.71 ล้านบาท โดย 10 บริษัทแรกที่มีอัตรากำไรสุทธิสูงสุด ได้แก่ 1.แลนด์แอนด์เฮ้าส์ มีกำไรสุทธิ จำนวน 1,386.28 ล้านบาท  ลดลง 25.24% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ จำนวน 1,854.30 ล้านบาท   สำหรับสาเหตุที่กำไรลดลง เกิดจาก -บริษัทมีรายได้จากการขายเท่ากับ 7,230.22 ล้านบาท ในขณะที่งวดเดียวกันของปีก่อนมีรายได้จากการขายเท่ากับ 6,539.03 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจำนวน 691.19 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 10.57%   - บริษัทฯ มีอัตรากำไรขั้นต้นจากการขายเท่ากับ  31.00%  ในขณะที่งวดเดียวกันของปีก่อน มีอัตรากำไรขั้นต้น จากการเขายเท่ากับ 31.94% อัตราขั้นต้นลดลง​ 0.94% เป็นผลมาจากการแข่งขันที่สูงขึ้น และสถานการณ์ไวรัสโควิด-19   -นอกจากนี้ บริษัทยังได้รับผลกระทบจาก กำไรขั้นต้นจากรายได้ค่าเช่า และค่าบริการที่ลดลงจานวน 504.48 ล้านบาทจาก การให้บริการของกิจการโรงแรมในเครือเป็นการชั่วคราวด้วย 2.เอพี (ไทยแลนด์) มีกำไรสุทธิ จำนวน 1,214.61ล้านบาท เพิ่มขึ้น 149.35% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ จำนวน 487.09 ล้านบาท สาเหตุสำคัญที่ทำให้ เอพี (ไทยแลนด์) รักษาอัตรากำไรให้เติบโตได้ เป็นผลมาจาก -การทำรายได้เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะโครงการแนวราบ ซึ่งเติบโตทําสถิติสูงสุดถึง​ 6,732 ล้านบาท ​เพิ่มขึ้น 107.9% จากปีก่อน  โดยเป็นสัดส่วนรายได้ที่ใกล้เคียงกัน ระหว่าง ทาวเฮาส์และบ้านเดี่ยว   -การให้ความสำคัญกับการควบคุมค่าใช้จ่ายในการขาย และ​บริหาร ​โดยในไตรมาส 2 ที่ผ่านมา บริษัทค่าใช้จ่ายในการขายและการบริหารอยู่ที่ 1,516 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 19.5% ของรายได้ (ไม่รวมโครงการร่วมทุน) โดยลดลง 4.4% จากปีก่อน เนื่องจากค่าใช้จ่ายใน การขายและบริหารครอบคลุมการดําเนินงานของโครงการร่วมทุน เมื่อคิดรวมรายได้​ 51% จาก โครงการร่วมทุนอตัราส่วนค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร ณ ไตรมาส 2 จะลดลงไปอยู่ 16.4% (ลดลง 5.8% จากปีก่อน) 3.ควอลิตี้ เฮ้าส์ มีกำไรสุทธิ จำนวน 968.58 ล้านบาท ลดลง 33.77% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ จำนวน 1,462.40 ล้านบาท   สาเหตุหลักที่ทำให้ ควอลิตี้ เฮ้าส์ มีกำไรลดลง ทั้ง ๆ ที่รายได้จากการขายเพิ่มขึ้น เป็นเพราะบริษัท มีส่วนแบ่งกำไรจากเงินลงทุนในบริษัทร่วม ลดลง และกำไรขั้นต้นจากธุรกิจโรงแรมลดลงจำนวน 112 ล้านบาท   รวมถึงผลกระทบจากรายได้ในธุรกิจอื่น ๆ เช่น ธุรกิจโรงแรม ศูนย์การค้า ลดลงด้วย 4.ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ มีกำไรสุทธิ จำนวน 707.07 ล้านบาท ลดลง 4.08% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ จำนวน 737.16 ล้านบาท   บริษัทยังคงรักษาอัตรากำไรได้ใกล้เคียงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน แม้มีปัญหาไวรัสโควิด-19  เนื่องจากมีการรับรู้กำไรจากโครงการร่วมทุน  กับบริษัท โนมูระ เรียลเอสเตท ดีเวลล็อปเมนท์ จํากัด ต่อเนื่องจากไตรมาสแรกของปีนี้  รวมทั้งบริษัทยังคงให้ความสําคัญกับการบริหารและควบคุมค่าใช้จ่ายให้เกิดประสิทธิภาพ​ 5.เอสซีแอสเสท คอร์ปอเรชั่น มีกำไรสุทธิ จำนวน 454.20 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 62.53% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ จำนวน 279.46 ล้านบาท   เหตุผลสำคัญที่ทำให้ เอสซีแอสเสท คอร์ปอเรชั่น มีอัตรากำไรสุทธิพิ่มขึ้น มาจากรายได้จากขายที่เพิ่มมากขึ้น เพราะลูกค้ามีความต้องการบ้านเพิ่มขึ้น  ทำสถิติยอดขายรายไตรมาสสูงสุดในช่วงไตรมาส 2/63  โดยมียอดขายรวม 6,220 ล้านบาท เติบโต 47% (YoY) ทั้งนี้มาจากยอดขายแนวราบ 5,652 ล้านบาท เติบโตพุ่งถึง 116% (YoY) 6.ศุภาลัย มีกำไรสุทธิ จำนวน 423.30 ล้านบาท ลดลง 45.53% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ จำนวน 777.15 ล้านบาท   กำไรที่ลดลงมาจาก รายได้จากการโอนกรรมสิทธิในช่วงไตรมาส 2 ลดลง 32% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และเกิดจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคไวรัสโควิด-19 7.เฟรเซอร์ พร็อพเพอร์ตี้ (ประเทศไทย) มีกำไรสุทธิ จำนวน 398.69 ล้านบาท ลดลง​49.99%จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ จำนวน 797.29 ล้านบาท   เหตุผลสำคัญเกิดจาก บริษัทมีค่าใช้จ่ายรวมจำนวน 4,421.54 ล้านาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 13.1%  เป็นจำนวน 510.28 ล้านบาท จากสาเหตุ -ต้นทุนขายอสังหาริมทรัพย์ เพิ่มขึ้นเป็นจานวนเงิน 536.51 ล้านบาท พรือเพิ่มขึ้น 23.9% เพิ่มมากกว่าการเพิ่มขึ้นของรายได้จาการขายอสังหาริมทรัพย์เนื่องจากการปรับลดราคาและการส่งเสริมการขาย   -ค่าใช้จ่ายในการบริหารเพิ่มขึ้นเป็นจานวนเงิน 65.84 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 10.6% เป็นผลจากรับรู้ขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน 106 ล้านบาท แต่ในไตรมาสนี้ กลุ่มบริษัท ได้รับส่วนลดภาษีที่ดิน 90% คิดเป็น จำนวนเงิน 26.76 ล้านบาท   อย่างไรก็ตาม กำไรสุทธิในส่วนของผู้ถือหุ้นของบริษัท  ในไตรมาสที่ 3 ปี 2563 จำนวน 384.54 ล้านบาทนั้น เพิ่มขึ้น จากช่วงเวลาเดียวกันจำนวน 110.28 ล้านบาทหรือเพิ่มขึ้น 40.2% จากการรวมผลการดำเนินงานของบริษัท แผ่นดินทอง พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) หรือ GOLD ในงวดปีนี้ 8.ลลิล พร็อพเพอร์ตี้ มีกำไรสุทธิ จำนวน 395.83 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 164.26% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ จำนวน 149.79 ล้านบาท   สาเหตุสำคัญของบริษัทที่มีกำไรเพิ่มขึ้น เกิดจาก -รายได้จากการขายที่เพิ่มขึ้น จากรายได้  864.93  ล้านบาท ในช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็น 1,301.08 ล้านบาท ซึ่งเป็นไปตามแผนการวางกลยุทธ์ธุรกิจ  การวางแผนด้านการขายและการตลาดได้ดี   -กำไรจากการถูกเวนคืน  ในไตรมาส 2 ปี 2563 บริษัทมีการบันทึกกำไรที่เกิดจากการที่มีโคงการขายของบริษัทถูกเวนคืน ซึ่งมีกำไรก่อนภาษีเงินได้ ทั้งสิ้น 155.66 ล้านบาท ค่าใช่จ่ายในการขาย และบริหาร ปรับเพิ่มขึ้นต่ำกว่า รายได้จากการขายที่เพิ่มขึ้นสูงมาก ซึ่งค่าใช้จ่ายจากการขายและบริหารเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเพียง 5.57% แต่รายได้เพิ่มขึ้น 50.43%   -ค่าใช้จ่ายทางด้านการเงินที่ลดลง  ในไตรมาส 2 ที่ผ่านมา มีค่าใช้จ่ายด้านการเงินเท่ากับ  3.75 ล้านบาท ลดลง จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มี   5.62 ล้านบาท 9.โนเบิล ดีเวลลอปเมนท์ มีกำไรสุทธิ จำนวน 303.38 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 84.46% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ จำนวน 164.47 ล้านบาท   สาเหตุสำคัญ คือ การโอนกรรมสิทธิ์ในช่วงไตรมาส 2 ของปีนี้ ที่มีจำนวนมากขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา ทำให้อัตรากำไรเพิ่มสูงขึ้น 10.เสนา ดีเวลลอปเมนท์ มีกำไรสุทธิ จำนวน 226.69 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 92.76% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ จำนวน 117.60 ล้านบาท   สาเหตุที่ทำให้อัตรากำไรสุทธิของเสนา ดีเวลลอปเมนท์ เพิ่มขึ้น เป็นเพราะการรับรู้ส่วนแบ่งกำไรจากเงินลงทุนในกิจการร่วมค้า ที่มียอดโอนของโครงการร่วมทุนมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ไตรมาส 4 ปี 2562 ได้แก่ โครงการ นิชโมโน สุขุมวิท-แบริ่ง และในไตรมาส 2 ที่ผ่านมา มีการโอนโครงการ นิช ไพรด์ เตาปูน อินเตอร์เชนจ์ ทำให้บริษัทรับรู้ส่วนแบ่งกำไรเพิ่มขึ้นอีก 6.7 ล้านบาท   นอกจากนี้  บริษัทยังได้จัดทำแผนรับมือกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ภายใต้มาตรการ SENA Zero COVID มีการบริหารปรับลดค่าใช้จ่ายนการขายและบริหาร ทำให้ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารลดลง 16.5% จากจำนวน 218.3 ล้านบาทในปีที่ผ่านมาเหลือ 170.0 ล้านบาทในช่วงไตรมาส 2 ของปีนี้   แม้ว่าจะมีบางบริษัทที่อัตรากำไรลดลง แต่ยังถือว่าในภาพรวมสามารถสร้างผลกำไรได้ดี ในภาวะที่ประเทศเผชิญกับปัจจัยลบเช่นนี้  กำไรอาจจะลดลงบ้างแต่ยังดีที่มีกำไร ซึ่งคงต้องมาลุ้นกันต่อไปสำหรับช่วงเวลาที่เหลือ ว่าดีเวลลอปเปอร์จะยังคงรักษาฝีมือในการดำเนินธุรกิจได้ดีต่อไปแค่ไหน
31 บิ๊กอสังหาฯ  โดนพิษโควิด-19 กำไรรวมไตรมาส 2 ลดกว่า 48%

31 บิ๊กอสังหาฯ โดนพิษโควิด-19 กำไรรวมไตรมาส 2 ลดกว่า 48%

แม้ว่าประเทศไทยต้องเผชิญกับปัญหาการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ตั้งแต่ช่วงต้นปีที่ผ่านมา ส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจทำให้ยอดขายและรายได้ลดลง ซึ่งบางรายได้รับผลกระทบจนต้องปิดกิจการก็มีให้เห็น แต่หลายธุรกิจสามารถปรับตัวรับมือกับสถานการณ์ที่เกิดได้เป็นอย่างดี  เห็นได้จากผลประกอบการในช่วงไตรมาสที่ 2 ที่ยังสามารถสร้างการเติบโต ไม่ว่าจะเป็นด้านรายได้หรือกำไร   ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ก็เป็นหนึ่งธุรกิจที่ได้รับผลกระทบแบบเต็มๆ ไม่ได้แตกต่างจากหลายธุรกิจ ซึ่งมีทั้งผู้ที่ยังทำกำไรเติบโต ขณะเดียวกันก็มีหลายรายที่ประสบภาวะขาดทุน  ผู้ที่สามารถปรับตัวรับมือกับสถานการณ์ได้ดี ก็สามารถสร้างผลงานชนิดทุบสถิติรายได้ของตนเอง นับตั้งแต่เริ่มทำธุรกิจจนมาถึงปัจจุบัน ถือเป็นการสร้างประวัติศาสตร์ใหม่ให้กับตนเอง โดยเฉพาะบริษัทอสังหาฯ ที่จดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย   จากการรวบรวมข้อมูลบริษัทมหาชน (บมจ.) ซึ่งดำเนินธุรกิจหลักด้านการพัฒนาที่อยู่อาศัย ซึ่งจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยจำนวน 31 บริษัท พบว่า ผลประกอบการในช่วงไตรมาส 2 ยังคงทำรายได้รวมจำนวน 73,712.62 ล้านบาท ลดลงเล็กน้อยเพียง 1.66% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ที่มีจำนวน 74,960.02 ล้านบาท แต่กำไรจากการดำเนินงานของทั้ง 31 บริษัท ลดลงอย่างมากถึง 48.72%   อัตรากำไรที่ลดลงดังกล่าว  เป็นผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่ทำให้ธุรกิจอสังหาฯ ประเภทอื่นๆ อาทิ โรงแรม ศูนย์การค้า สำนักงานให้เช่า ไม่สามารถเปิดดำเนินการได้ปกติ จึงทำให้บริษัทอสังหาฯ ซึ่งไม่ได้ขายแต่บ้านและคอนโดมิเนียม ต้องอัตรากำไรสุทธิลดลง แม้ว่ารายได้เฉพาะที่มาจากการขายบ้านและคอนโด ของทั้ง 31 บริษัท จะยังเติบโตในอัตรา 10.96% ซึ่งมีรายได้ 66,330.98 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงไตรมาส 2 ปี 2562 ที่มีรายได้จากการขายอสังหาฯ 59,778.80 ล้านบาทก็ตาม 10 บิ๊กอสังหาฯ กวาดรายได้รวมกว่า 5.6 หมื่นล้าน สำหรับบริษัทที่มีรายได้รวมมากที่สุด 10 อันแรก ยังคงเป็นผู้ประกอบการรายใหญ่และเป็นผู้นำตลาด โดยมีรายได้รวมทั้ง 10 บริษัท จำนวน  56,424.75 ล้านบาท เติบโต 10.10% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ซึ่งมีรายได้รวมจำนวน 51,250.03 ล้านบาท 10 อันดับแรกบริษัทอสังหาฯ ทำรายได้รวมสูงสุด ได้แก่ 1.แสนสิริ  มีรายได้รวม 11,305.51 ล้าบาท เติบโต 163.82% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน มีจำนวน 4,285.37 ล้านบาท 2.แลนด์แอนด์เฮ้าส์  มีรายได้รวม 8,298.86 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 5.59% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีจำนวน 7,859.46 ล้านบาท 3.เอพี (ไทยแลนด์)  มีรายได้รวม 7,792.00 ล้านบาท เติบโต 62.23%  จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ที่มีจำนวน 4,803.09 ล้านบาท 4.พฤกษา โฮลดิ้ง  มีรายได้รวม 6,222.81ล้านบาท ลดลง 20.27% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีจำนวน 7,805.09 ล้านบาท 5.เฟรเซอร์ พร็อพเพอร์ตี้ 4,882.54 ล้านบาท ลดลง 2.95% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มี จำนวน 5,031.11 ล้านบาท 6.เอสซีแอสเสท คอร์ปอเรชั่น   มีรายได้รวม 4,568.77 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 30.67% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน จำนวน 3,496.42 ล้านบาท 7.ควอลิตี้ เฮ้าส์   มีรายได้รวม 4,341.24 ล้านบาท ลดลง 26.14% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มี จำนวน 5,878.01 ล้านบาท 8.ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้   มีรายได้รวม จำนวน 3,292.37 ล้านบาท ลดลง 1.32% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีจำนวน 3,336.49 ล้านบาท 9.ศุภาลัย  มีรายได้รวม จำนวน 3,039.88 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 32.1% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ที่มีจำนวน 4,477.10 ล้านบาท 10.พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค  มีรายได้รวม จำนวน 2,680.77 ล้านบาท ลดลง -37.33% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ที่มีจำนวน 4,277.89 ล้านบาท 10 บิ๊กอสังหาฯ​ ขายบ้าน-คอนโด สร้างรายได้โต 22.11% อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาเฉพาะผลประกอบการ  ในส่วนที่เป็นรายได้ด้านการขายที่อยู่อาศัย ในกลุ่มบิ๊กอสังหาฯ 10 อันดับแรก พบว่า มีรายได้รวมกันจำนวน 51,940 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 22.11% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีรายได้จาการขายอสังหาฯ รวม 42,536.33 ล้านบาท สำหรับ 10 อันดับแรกของบริษัทที่มีรายได้จากการขายอสังหาฯ​ สูงสุด ได้แก่ 1.แสนสิริ  มีรายได้จากการขายอสังหาฯ รวม 10,338.20 ล้านบาท เติบโต 309.41% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีจำนวน  2,525.14 ล้านบาท 2.เอพี (ไทยแลนด์) มีรายได้จากการขายอสังหาฯ รวม 7,582.90 ล้านบาท เติบโต  67.4% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีจำนวน 4,529.82 ล้านบาท 3.แลนด์แอนด์เฮ้าส์ มีรายได้จากการขายอสังหาฯ รวม 7,230.21 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 10.57% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีจำนวน 6,539.03 ล้านบาท 4.พฤกษา โฮลดิ้ง มีรายได้จากการขายอสังหาฯ รวม 6,165.52 ล้านบาท ลดลง​ 20.76% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีจำนวน 7,780.66 ล้านบาท 5.เอสซีแอสเสท คอร์ปอเรชั่น มีรายได้จากการขายอสังหาฯ รวม 4,360.22 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 33.13% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีจำนวน  3,275.08 ล้านบาท 6.เฟรเซอร์ พร็อพเพอร์ตี้ (ประเทศไทย)* มีรายได้จากการขายอสังหาฯ รวม 3,880.16 ล้านบาท เติบโต 12.81% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีจำนวน 3,439.54 ล้านบาท 7.ควอลิตี้ เฮ้าส์ มีรายได้จากการขายอสังหาฯ รวม 3,859.15 ล้านบาท ลดลง​ 23.50%  จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีจำนวน 5,044.68 ล้านบาท 8.ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ มีรายได้จากการขายอสังหาฯ รวม 3,088.49 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 9.30% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีจำนวน  2,825.80 ล้านบาท 9.ศุภาลัย มีรายได้จากการขายอสังหาฯ รวม 2,917.91 ล้านบาท ลดลง​ 32.46% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีจำนวน 4,320.04 ล้านบาท 10.พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค มีรายได้จากการขายอสังหาฯ รวม 2,517.51ล้านบาท  เติบโต 11.57% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีจำนวน 2,256.54 ล้านบาท หมายเหตุ - * ผลการดำเนินงานของบริษัท เฟรเซอร์ พร็อพเพอร์ตี้ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ประจำไตรมาส 3/2563 งวดเดือนเมษายน-มิถุนายน 2563 10 บิ๊กอสังหาฯ กำไรลดกว่า 5% แม้ว่า 10 บริษัทขนาดใหญ่ จะสามารถสร้างรายได้รวม และรายได้จากการขายอสังหาฯ เติบโตจากไตรมาส 2 ของปีที่ผ่านมาได้ แต่ดูเหมือนว่าความสามารถในทำกำไรจะลดลงอย่างมาก ส่วนหนึ่งต้องยอมรับว่า เป็นผลจากการลดราคาสินค้า การจัดทำแคมเปญกระตุ้นการขาย และการมีต้นทุนทางการตลาดที่เพิ่มมากขึ้น เมื่อรวมกับธุรกิจอื่น ๆ ที่บริษัทนั้น ๆ ดำเนินการ ที่รับผลกระทบ เช่น การปิดบริการธุรกิจโรงแรม หรือ ปิดศูนย์การค้า จึงทำให้กำไรโดยรวมลดน้อยลงนั่นเอง   โดยบริษัทอสังหาฯ รายใหญ่ 10 อันดับแรก มีอัตรากำไรรวม 6,478.63 ล้านบาท ลดลง 5.10% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไร 6,826.71 ล้านบาท แต่เมื่อเทียบกับภาพรวมทั้งอุตสาหกรรม ยังถือว่าทั้ง 10 บริษัทดังกล่าว ยังมีความสามารถทำกำไรได้ดีกว่า เพราะภาพรวมกำไรลดไปกว่า 48.28% โดย 10 บริษัทแรกที่มีอัตรากำไรสุทธิสูงสุด ได้แก่ 1.แลนด์แอนด์เฮ้าส์ มีกำไรสุทธิ จำนวน 1,386.28 ล้านบาท  ลดลง 25.24% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ จำนวน 1,854.30 ล้านบาท 2.เอพี (ไทยแลนด์) มีกำไรสุทธิ จำนวน 1,214.61ล้านบาท เพิ่มขึ้น 149.35% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ จำนวน 487.09 ล้านบาท 3.ควอลิตี้ เฮ้าส์ มีกำไรสุทธิ จำนวน 968.58 ล้านบาท ลดลง 33.77% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ จำนวน 1,462.40 ล้านบาท 4.ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ มีกำไรสุทธิ จำนวน 707.07 ล้านบาท ลดลง 4.08% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ จำนวน 737.16 ล้านบาท 5.เอสซีแอสเสท คอร์ปอเรชั่น มีกำไรสุทธิ จำนวน 454.20 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 62.53% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ จำนวน 279.46 ล้านบาท 6.ศุภาลัย มีกำไรสุทธิ จำนวน 423.30 ล้านบาท ลดลง 45.53% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ จำนวน 777.15 ล้านบาท 7.เฟรเซอร์ พร็อพเพอร์ตี้ (ประเทศไทย)* มีกำไรสุทธิ จำนวน 398.69 ล้านบาท ลดลง​49.99%จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ จำนวน 797.29 ล้านบาท 8.ลลิล พร็อพเพอร์ตี้ มีกำไรสุทธิ จำนวน 395.83 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 164.26% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ จำนวน 149.79 ล้านบาท 9.โนเบิล ดีเวลลอปเมนท์ มีกำไรสุทธิ จำนวน 303.38 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 84.46% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ จำนวน 164.47 ล้านบาท 10.เสนา ดีเวลลอปเมนท์ มีกำไรสุทธิ จำนวน 226.69 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 92.76% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ จำนวน 117.60 ล้านบาท หมายเหตุ - * ผลการดำเนินงานของบริษัท เฟรเซอร์ พร็อพเพอร์ตี้ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ประจำไตรมาส 3/2563 งวดเดือนเมษายน-มิถุนายน 2563 11 บริษัทสู้พิษโควิดไม่ไหว ขาดทุนรวม 2,209.58 ล. การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19ไม่เพียงแต่ทำให้หลายบริษัทมีกำไรลดลงเท่านั้น แต่ทำให้ผู้ประกอบการบางรายประสบภาวะขาดทุนจากการดำเนินงานเลยทีเดียว ซึ่งจากการสำรวจพบว่ามีถึง 11 บริษัท ที่ประสบภาวะขาดทุนในช่วงไตรมาส 2 ที่ผ่านมา โดยมีผลขาดทุนรวมกัน 2,537.09 ล้านบาท จากก่อนหน้านี้ที่ทั้ง 11 บริษัทมีกำไรรวม 923.51 ล้านบาท   โดย 11 บริษัทที่ประสบภาวะขาดทุนในไตรมาส 2 ได้แก่ 1.สิงห์ เอสเตท ขาดทุน จำนวน 946.05 ล้านบาท  ลดลง 606.07% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไร 186.94 ล้านบาท 2.อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์ ขาดทุน จำนวน 544.70 ล้านบาท ลดลง 424.09% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไร 168.07 ล้านบาท 3.พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค ขาดทุน จำนวน 470.70 ล้านบาท ลดลง 238.98% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไร 255.84 ล้านบาท 4.ชาญ อิสระ ขาดทุน จำนวน 158.59 ขาดทุนเพิ่ม 39.04% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ขาดทุน 114.06 ล้านบาท 5.ไรมอนด์ แลนด์ ขาดทุน จำนวน 130.44 ล้านบาท ลดลง 309.9% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไร 54.73 ล้านบาท 6.นุศาศิริ ขาดทุน จำนวน 128.71 ล้านบาท ลดลง 620.46%  จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไร 24.73 ล้านบาท 7.เมเจอร์ดีเวลลอปเมนท์ ขาดทุน จำนวน 79.95 ล้านบาท ขาดทุนเพิ่มขึ้น 467.02 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไร 14.10ล้านบาท 8.มั่นคง เคหะการ ขาดทุน จำนวน 35.22 ล้านบาท  ลดลง 126.83% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไร 131.25 ล้านบาท 9.เนอวานา ไดอิ ขาดทุน จำนวน 34.47 ล้านบาท ลดลง 268.89% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไร 20.41 ล้านบาท 10.สัมมากร ขาดทุน จำนวน 4.70 ล้านบาท ลดลง 102.16% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไร 217.70 ล้านบาท 11.ปรีชา กรุ๊ป ขาดทุน จำนวน 3.56 ล้านบาท ขาดทุนลดลง 55.5% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีขาดทุน 8.00 ล้านบาท สำหรับธุรกิจอสังหาฯ​ ในปีนี้ ถือว่าเป็นปีที่มีความท้าทาย และเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก ที่สำคัญเป็นปีที่ดีสำหรับผู้ที่มีกำลังซื้อ และมีความต้องการที่อยู่อาศัยอย่างแท้จริง เพราะผู้ประกอบการต่างจัดโปรโมชั่น การส่งเสริมการขาย เพื่อระบายสต็อกในมือที่มีอยู่  แลกเป็นกระแสเงินสดให้เข้ามาใช้ในการบริหารธุรกิจในภาวะวิกฤตเช่นนี้ ซึ่งผู้ซื้อก็ต้องเลือกพิจารณาโครงการให้รอบครอบ  ราคาก็เป็นส่วนสำคัญในการตัดสินใจซื้อ แต่เรื่องของคุณภาพและบริการหลังการขาย  ก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน เพราะเราต้องอยู่กับบ้านที่ซื้อไม่ใช่แค่ปีสองปี แต่คงเป็นระยะเวลานับสิบ ๆปี หากไม่คิดขายก่อนเพื่อเก็งกำไร   แต่สำหรับผู้ประกอบการ เชื่อว่าวิกฤตครั้งนี้ น่าจะเป็นอีกหนึ่งบทเรียนทางธุรกิจสำคัญ ที่จะทำให้นับจากนี้ต้องพิจารณาทิศทางการดำเนินธุรกิจให้รอบครอบ รวมถึงต้องเตรียมแผนสำรอง และการบริหารความเสี่ยงในมุมต่าง ๆ เอาไว้ให้รอบด้านด้วย
ผลประกอบการ แสนสิริ Q2/63  รายได้ทะลุหมื่นล้าน แต่กำไรลดกว่า 9%

ผลประกอบการ แสนสิริ Q2/63 รายได้ทะลุหมื่นล้าน แต่กำไรลดกว่า 9%

แสนสิริ ทำรายได้รวมไตรมาส 2 กว่า 11,306 ล้าน สูงสุดในตลาดอสังหาฯ แต่โดนผลกระทบโควิด-19 ทำกำไรลดกว่า 9.49% ส่วน 6 เดือนแรกของปีกำไรหายไปกว่าครึ่ง มั่นใจครึ่งปีหลังยังกวาดยอดขายและรายได้ต่อเนื่อง เตรียมโอนโครงการสร้างแล้วเสร็จอีก 5 โครงการ พร้อมเปิดโปรเจ็กต์ใหม่ไตรมาส 4 อีก 10 โครงการมูลค่ากว่า 11,700 ล้าน   สำหรับผลการดำเนินงานของบริษัทอสังหาริมทรัพย์  ที่จดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ช่วงไตรมาส 2 ที่ผ่านมา ถือว่าในภาพรวมหลายบริษัทยังคงสามารถสร้างการเติบโตได้ ท่ามกลางภาวะการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 โดยบริษัทที่ทำรายได้สูงสุดในกลุ่มธุรกิจพัฒนาอสังหาฯ  คงต้องยกให้กับ บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) ที่มีรายได้ระดับหมื่นล้านบาท ขึ้นเป็นเบอร์ 1 ของอุตสาหกรรมไปเรียบร้อยแล้ว รายได้รวมทะลุหมื่นล้าน แสนสิริ มีรายได้รวม ในไตรมาสที่ 2 จำนวน 11,306 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 164% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีจำนวน  4,285 ล้านบาท สาเหตุของการเพิ่มขึ้น เป็นเพราะรายได้จากการขายโครงการเพื่อขายที่เพิ่มขึ้นมากถึง 309% ทำให้ภาพรวมช่วง 6 เดือนแรก แสนสิริรายได้จากโครงการเพื่อขายเพิ่มขึ้นถึง 112% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน  ส่วนรายได้ช่วง 6 เดือนแรกของปี 2563  มีจำนวน 17,929 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 64% เมื่อเทียบกับรายได้รวมจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีจำนวน 10,923 ล้านบาท สำหรับรายได้ในช่วงไตรมาส 2 ของแสนสิริและบริษัทย่อย มีรายได้ธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ 10,338 ล้านบาท แบ่งออกเป็น -โครงการบ้านเดี่ยว จำนวน 4,917 ล้านบาท -โครงการคอนโดมิเนียม จำนวน 4,062 ล้านบาท -โครงการทาวน์เฮาส์ จำนวน 1,077 ล้านบาท -โครงการมิกซ์ จำนวน 282 ล้านบาท   โครงการบ้านเดี่ยว จำนวน 4,917 ล้านบาท  เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าที่มีจำนวน 1,651 ล้านบาท ซึ่งมาจาก 3 โครงการหัก ได้แก่ โครงการบ้านแสนสิริ พัฒนาการ เศรษฐสิริ กรุงเทพกรีฑา และเศรษฐสิริ จรัญ-ปิ่นเกล้า 2 มีมูลค่ารวม 1,372 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 13% ของรายได้จากโครงการเพื่อขายทั้งหมด   รายได้จากการขายโครงการทาวน์เฮาส์ ในไตรมาส 2 ที่ผ่านมา มีจำนวน 1,077 ล้านบาท  ปรับเพิ่มขึ้นจากจำนวน 480 ล้านบาทในไตรมาสที่ 2 ปี​ 2562 ซึ่งมาจากรายได้หลักของ 4 โครงการทาวน์เฮาส์ ได้แก่ โครงการสิริเพลส สุขสวัสดิ์ - พระราม3 โครงการไทเกอร์เลน โครงการสิริเพลส เพชรเกษม-สาย 4 และโครงการสิริเพลส จรัญฯ-ปิ่นเกล้า ซึ่งทั้ง 4โครงการ มีรายได้รวม​ 452 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 4% ของรายได้จากโครงการเพื่อขายทั้งหมด ส่วนรายได้จากการขายโครงการมิกซ์  มีจำนวน 282 ล้านบาท ปรับเพิ่มขึ้นจากจำนวน 7 ล้านบาท จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งรายได้หลักมาจากโครงการอณาสิริ บางใหญ่   รายได้จากการขายโครงการคอนโดมิเนียม ปรับเพิ่มขึ้น 950% จากจำนวน 387 ล้านบาทใน ไตรมาสที่ 2 ปีที่ผ่านมา เป็นจำนวน 4,062 ล้านบาท ในไตรมาสที่ 2 ของปีนี้ ซึ่ง​รายได้ส่วนใหญ่มาจาก 3 โครงการหลัก ได้แก่ โครงการคาวะ เฮาส์ โครงการเดอะโมนูเมนต์ ทองหล่อ และโครงการดีคอนโด ริน  ทั้ง 3 โครงการ มีรายได้รวมจำนวน​ 2,429 ล้านบาท คิดเป็น 23% ของรายได้จากโครงการเพื่อขายทั้งหมด 6 เดือนแรกกำไรลดกว่า 50% อย่างไรก็ตาม แม้ว่าแสนสิริจะสามารถทำรายได้เติบโต แต่ในส่วนของกำไรสุทธิ ในไตรมาส 2 พบว่ามีอัตรากำไรลดลง 9.49% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีกำไรสุทธิจำนวน  258.16 ล้านบาท ส่วนในไตรมาส 2 ปี 2562 มีกำไรสุทธิ 285.23 ล้านบาท  โดยอัตรากำไรสุทธิคิดเป็น 2.3% ของรายได้รวม ปรับลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มี อัตรากำไรสุทธิ 6.7% ซึ่งปัจจัยหลักมาจากการขาดทุนของธุรกิจการบริหารโรงแรม เพราะเกิดการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 และการเพิ่มขึ้นของต้นทุนทางการเงินและค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้ ซึ่งภาพรวมในช่วง 6 เดือนแรก มีกำไรสุทธิอยู่ที่ 320 ล้านบาท  ลดลง 53.62% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ที่มีจำนวน 690 ล้านบาท   นายวันจักร์ บุรณศิริ ประธานผู้บริหารสายงานการเงินและสนับสนุนธุรกิจ บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) (SIRI) เปิดเผยว่า ในครึ่งปีแรกบริษัทมีผลงานการโอนที่โดดเด่น ล่าสุด มียอดโอนโครงการที่อยู่อาศัยทุกประเภทที่สร้างเสร็จสมบูรณ์ และส่งมอบให้กับลูกค้าไปแล้วถึง 28,200 ล้านบาท แบ่งเป็นยอดโอนเฉพาะไตรมาสที่ 2 สูงถึง 25,200 ล้านบาท ซึ่งนับว่าเป็นยอดโอนกรรมสิทธิ์ที่ทำสถิติสูงสุดใหม่ ทั้งในรอบครึ่งปีและรายไตรมาสตั้งแต่ก่อตั้งบริษัท ตุน Backlog 5.4 หมื่นล้าน นอกจากนี้ บริษัทยังมียอดขายรอโอน (Backlog) (รวมโครงการร่วมทุนในคอนโดมิเนียม) มูลค่ารวมประมาณ 54,100 ล้านบาท แบ่งเป็นยอดขายรอโอนจากโครงการภายใต้การพัฒนาของแสนสิริ 40,000 ล้านบาท และยอดขายรอโอนจากโครงการภายใต้การร่วมทุนอีก 14,000 ล้านบาท ที่จะทยอยรับรู้ไปจนถึงปี 2566 ซึ่งช่วยสร้างผลงานการโอนให้เป็นไปตามเป้าหมายในปีนี้ 42,000 ล้านบาท สำหรับยอดขาย (Presale) ในช่วง 7 เดือนของปี 2563 บริษัทมียอดขายรวมแล้วกว่า 25,000 ล้านบาท คิดเป็น 70% จากเป้าหมายยอดขายทั้งปี  35,000 ล้านบาท แบ่งเป็นยอดขายจากโครงการแนวราบถึง 16,200 ล้านบาท เติบโต 110% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และคิดเป็น 85% ของเป้าหมายยอดขายแนวราบทั้งปีที่ตั้งไว้ 19,000 ล้านบาท   กุญแจสำคัญ ซึ่งจะผลักดันสู่ผลการดำเนินงานที่ดีต่อเนื่องในครึ่งปีหลัง คือการบริหารเงินสดในมือที่ดี ที่จะส่งผลให้แสนสิริเป็นองค์กรที่มีสภาพคล่องสูง มีกระแสเงินสดที่มีความพร้อมในการดำเนินธุรกิจ ล่าสุดบริษัทมีสภาพคล่องในมือรวม 12,000 ล้านบาท ไตรมาส 4 เปิดอีก 10 โปรเจ็กต์ ขณะที่ปัจจัยสำคัญที่จะผลักดันแสนสิริ ให้บรรลุเป้าหมายการโอน สู่การสร้างรายได้ที่ดีต่อเนื่องในปีนี้มาจากแผนการโอนคอนโดมิเนียมสร้างเสร็จใหม่ อีก 5 โครงการใหม่ มูลค่าโครงการรวม 16,200 ล้านบาท ได้แก่ เดอะ เบส สะพานใหม่ เริ่มโอนกรรมสิทธิ์โครงการวันที่ 21 – 23 สิงหาคมนี้ ,โอกะ เฮาส์ เริ่มโอนกรรมสิทธิ์โครงการวันที่ 18 – 20 กันยายน, XT เอกมัย เริ่มโอนกรรมสิทธิ์โครงการวันที่ 2 – 4 ตุลาคม, ลา ฮาบานา หัวหิน เริ่มโอนกรรมสิทธิ์โครงการวันที่ 16 – 18 ตุลาคม และดีคอนโด ธาร จรัญฯ เริ่มโอนกรรมสิทธิ์โครงการวันที่ 30 ตุลาคม ถึง 1 พฤศจิกายน 2563   ด้านแผนการเปิดตัวโครงการใหม่  เตรียมเปิดตัวในช่วงไตรมาสที่ 4 อีกจำนวน  10 โครงการ รวมมูลค่ากว่า 11,700 ล้านบาท แบ่งการพัฒนาเป็นการเปิดตัวบ้านเดี่ยว จำนวน 3 โครงการ มูลค่าโครงการรวม 5,500 ล้านบาท บ้านและทาวน์โฮมภายใต้แบรนด์ อณาสิริ 4 โครงการ มูลค่าโครงการรวม 4,200 ล้านบาท และทาวน์โฮมแบรนด์ สิริ เพลส 3 โครงการ มูลค่าโครงการรวม 2,000 ล้านบาท รวมทั้งบริษัทยังมีแผนเปิดตัวคอนโดมิเนียมโครงการใหม่ ภายใต้แบรนด์ เดอะ เบส ในชื่อและทำเล “เดอะ เบส อีส-บางแค” มูลค่าโครงการ 1,000 ล้านบาท ในวันที่ 26 – 27 กันยายนนี้อีกด้วย  
ส่องทิศทางอสังหาฯ ไทย หลังผ่านวิกฤตโควิด-19

ส่องทิศทางอสังหาฯ ไทย หลังผ่านวิกฤตโควิด-19

ตลาดอสังหาฯ คาดซึมยาว 2-3 ปี หลังโดนผลกระทบจากไวรัสโควิด-19 ธุรกิจโรงแรมโดนหนักสุด เหตุนักท่องเที่ยวไม่สามารถเดินทางเข้าประเทศได้ คาดทั้งปีนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้าไทย 8-10 ล้านคน  ขณะที่ศูนย์การค้าโดนกระทบไม่ต่างกัน ส่วนออฟฟิศให้เช่าปรับตัวได้ดี แนวโน้มราคาลดลงเล็กน้อย ด้านตลาดคอนโด​ดีเวลลอปเปอร์หั่นราคา พร้อมอัดโปรอยู่ฟรี กระตุ้นยอดขาย   ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ เป็นหนึ่งธุรกิจสำคัญที่มีส่วนผลักดัน ให้เศรษฐกิจของประเทศเติบโต เพราะมีส่วนเกี่ยวข้องกับธุรกิจอื่น ๆ และยังมีธุรกิจต่อเนื่องอีกมากมาย ซึ่งธุรกิจอสังหาฯ​ ไม่ได้มีเฉพาะตลาดที่อยู่อาศัยเท่านั้น  แต่ยังมีธุรกิจโรงแรม ศูนย์การค้า และสำนักงานให้เช่า ซึ่งล้วนแต่เป็นธุรกิจขนาดใหญ่แทบทั้งสิ้น   นับตั้งแต่เกิดเหตุการณ์ระบาดของไวรัสโควิด-19 ตั้งแต่ช่วงต้นปีที่ผ่านมา ต้องยอมรับว่า ปัจจุบันธุรกิจอสังหาฯ หลายประเภทยังไม่กลับมาฟื้นตัวเป็นปกติ แม้ว่าระบบสาธารณสุขไทยจะสามารถควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ได้อย่างมีประสิทธิภาพก็ตาม เพราะยังมีหลายปัจจัยที่ยังไม่ได้กลับมาเป็นปกติ เหมือนก่อนเกิดการแพร่ระบาด โรงแรมโดนพิษโควิดหนักสุด อัตราเข้าพักแค่ 10% นางสุพินท์ มีชูชีพ ประธานคณะกรรมการตัดสินรางวัลพร็อพเพอร์ตี้กูรู ไทยแลนด์ พร็อพเพอร์ตี้ อวอร์ดส์  และกรรมการผู้จัดการ  บริษัท โจนส์ แลง ลาซาลล์ (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า ธุรกิจโรงแรมถือว่าได้รับผลกระทบอย่างมาก เนื่องจากการท่องเที่ยวของไทยได้รับผลกระทบค่อนข้างมาก เพราะที่ผ่านมามีมาตรการล็อกดาวน์ ตั้งแต่ช่วงเดือนมีนาคมที่ผ่านมา  จึงส่งผลให้ตลาดโรงแรมได้รับผลกระทบตั้งแต่ไตรมาสแรก แต่ในช่วงไตรมาส 2 มีผลกระทบรุนแรงมากที่สุดเพราะมีอัตราการเข้าพักต่ำแม้ว่าภาครัฐจะไม่ได้สั่งปิดโรงแรม  ทำให้การเปิดบริการไม่คุ้มค่ากับค่าใช้จ่ายในการบริหาร จึงไม่สามารถเปิดให้บริการได้ปกติ โดยเฉพาะกลุ่มโรงแรมระดับ 5-6 ดาว ที่มีต้นทุนการเปิดดำเนินการค่อนข้างสูง   อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ต่อตลาดโรงแรมยังคงมีอย่างต่อเนื่อง จนกว่าจะมีการอนุญาตให้นักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้ามาในประเทศได้  แม้ว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 จะควบคุมได้ดี และมีความผ่อนคลายมากขึ้นขึ้น แต่ยังมีข้อจำกัดเรื่องการเว้นระยะห่างทางสังคม ทำให้มีข้อจำกัดเรื่องการจัดประชุม สัมมนาขนาดใหญ่ได้   โดยในปีนี้  คาดว่าจะมีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้ามาประมาณ​ 8-10 ล้านคน จากเดิมที่ตั้งเป้าว่าจะมีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้ามา 40 ล้านคน จำนวนนักท่องเที่ยวดังกล่าว ประกอบกับอัตราการเข้าพักที่อยู่ระดับ 10% จึงทำให้ตลาดโรงแรมยังได้รับผลกระทบ ซึ่งก่อนหน้านี้มีการตั้งเป้าหมายว่าอัตราเข้าพักในโรงแรมต่างๆ ของปีนี้จะมีอัตราเฉลี่ย 75-80% และในช่วงไฮซีซั่นคาดว่าจะมีอัตราเข้าพัก 80-90%   แม้ว่าปีนี้รัฐบาลจะพยายามส่งเสริมและกระตุ้นการท่องเที่ยวภายในประเทศ แต่เชื่อว่าไม่สามารถกระตุ้นตลาดให้กลับมาเหมือนช่วงก่อนเกิดวิกฤตโควิดได้ ออฟฟิศให้เช่าหดตัว10-15% สำหรับตลาดศูนย์การค้า เป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการล็อกดาวน์  เพราะถูกสั่งให้ปิดบริการ จึงได้รับผลกระทบจากการที่ลูกค้าไม่สามารถเดินทางมาซื้อสินค้าได้ รวมถึงศูนย์การค้าที่จับกลุ่มตลาดนักท่องเที่ยว ยังได้รับผลกระทบจากจำนวนนักท่องเที่ยวที่หายไปด้วย ซึ่งหลังจากนี้ยังเชื่อว่าธุรกิจศูนย์การค้า จะยังไม่กลับมาเป็นปกติโดยเร็ว เพราะยังมีผลกระทบจากกำลังซื้อที่ชะลอตัวลง และธุรกิจอื่น ๆ ก็ได้รับผลกระทบเช่นเดียวกัน ส่งผลให้ธุรกิจศูนย์การค้ายังต้องเผชิญความท้าทายในช่วงเวลาที่เหลือ   ส่วนตลาดสำนักงานให้เช่า  สามารถรับมือกับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19ได้ดี​ แม้ว่าจะมีการทำงานจากที่บ้าน (Work From Home) หรือผู้เช่าจะขอเว้นระยะการจ่ายค่าเช่าจากผู้ให้บริการพื้นที่บ้างก็ตาม แต่ตลาดสำนักงานให้เช่า ถือว่าได้รับผลกระทบน้อยสุด  โดยแนวโน้มการใช้พื้นที่สำนักงานให้เช่า คาดว่าจะมีความต้องการลดลงเล็กน้อยประมาณ 10-15% แต่ทั้งนี้ คงต้องพิจารณาสถานการณ์และผลกระทบของเศรษฐกิจ จะได้รับผลกระทบแตกต่างกันอย่างไร  ซึ่งความต้องการตลาดสำนักงานให้เช่ามีแนวโน้มลดลงแน่นอน   ตลาดออฟฟิศไทยยังมีปริมาณจำกัด จึงน่าจะรองรับความต้องการได้ และราคาไม่น่าจะปรับเพิ่มขึ้น หรืออาจะจะลดลงเล็กน้อยภายในระยะ  6-12 เดือน จากเดิมที่คาดว่าราคาจะปรับเพิ่มขึ้น หยุดเปิดโปรเจ็กต์คอนโด 2 ปี สำหรับตลาดคอนโดมิเนียม ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 น้อย โดยเฉพาะกลุ่มตลาดลักชัวรี่ ในพื้นที่ย่านใจกลางเมือง ทำเลสุขุมวิท สีลม เพลินจิต เป็นต้น ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นเพราะมีซัพพลายน้อย เมื่อเทียบกับภาพรวมของตลาด ส่งผลให้ได้รับผลกระทบไม่มากนัก แต่จากความไม่มั่นใจในภาวะเศรษฐกิจ ทำให้ดีเวลลอปเปอร์มีแพคเกจต่าง ๆ ออกมากระตุ้นการตัดสินใจซื้อ รวมถึงการลดราคาคอนโดลง  แต่สำหรับการเปิดตัวโครงการใหม่ เชื่อว่าจะยังมีน้อยหรืออาจจะไม่มีการเปิดตัวภายในระยะ 2 ปีข้างหน้า และหากมีการเปิดตัวโครงการใหม่ เชื่อว่าราคาจะไม่ต่ำกว่าในช่วงที่ผ่านมาแน่นอน วัคซีนป้องกันโควิดไม่รู้จะมาเมื่อไร ทำให้เกิดความไม่มั่นใจ และความกังวลต่อโควิดยังมีอยู่  และนักลงทุนยังไม่สามารถเดินทางเข้ามาในประเทศได้ ส่งผลกระทบต่อการลงทุนขนาดใหญ่ เพราะเข้ามาดูสินค้าไม่ได้ ทำให้การตัดสินใจล่าช้าออกไป นางสุพินท์ กล่าวอีกว่า  ประเทศไทยต้องเผชิญกับวิกฤตหลายครั้ง นับตั้งแต่วิกฤตต้มยำกุ้ง ประท้วงทางการเมือง วิกฤตแฮมเบอเกอร์  แต่ตลาดอสังหาฯ ​ไทยมีแรงต้านทานวิกฤตมาก แม้จะต้องใช้ระยะเวลาปรับตัวสู้กับวิกฤตก็ตาม  ซึ่งในภาวะวิกฤตโควิดครั้งนี้  คาดว่าอาจจะต้องใช้ระยะเวลา 2-3 ปี เพื่อให้ตลาดกลับมาฟื้นตัว ซึ่งประเทศไทยถือว่ามีข้อดี ที่สามารถควบคุมโควิดได้ดีในอันดับต้น ๆ ของโลก  ซึ่งเป็นแรงกระตุ้นให้นักลงทุนเข้ามาในประเทศ   ตลาดท่องเที่ยวหากยังไม่ฟื้นตัวเหมือนเดิม จะทำให้เศรษฐกิจไทยไม่ฟื้นตัวตาม เพราะธุรกิจการท่องเที่ยวคิดเป็นสัดส่วนมากถึง 15-20% ของจีดีพีไทย ดีเวลลอปเปอร์หั่นราคาอัดโปรกระตุ้นตลาดคอนโด ด้านนางกมลภัทร แสวงกิจ ผู้จัดการใหญ่ประจำประเทศไทย ดีดี พร็อพเพอร์ตี้ กล่าวว่า ราคาอสังหาฯ​ ในช่วงไตรมาส 2 ปรับลดลง 4% จากไตรมาสแรกของปี  ซึ่งถือว่าเป็นผลดีที่ทำให้ลูกค้าตัดสินใจซื้ออสังหาฯ ได้ง่ายขึ้น  โดยราคาคอนโดลดลง 9% ส่วนบ้านเดี่ยวราคาปรับเพิ่มขึ้น 3% ทาวน์โฮมปรับเพิ่มขึ้น 2% เนื่องจากความต้องการโครงการแนวราบมีเพิ่มมากขึ้น นอกจากการปรับตัวเรื่องราคาอสังหาฯ แล้ว ยังพบว่าลูกค้ามีวิธีการเลือกซื้ออสังหาฯ  เปลี่ยนไป เช่น ต้องการห้องลิฟวิ่งรูมขนาดใหญ่ และอินเตอร์เน็ต มาพร้อมกับบ้าน ต้องการใช้พื้นที่ส่วนกลาง  แต่ต้องมีความเป็นส่วนตัวมากขึ้น  ทำเลที่ตั้งยังคงมีความสำคัญ ซึ่งอดีตคนอยากอยู่ในเมือง ซึ่งส่งผลให้ราคาคอนโดแพงขึ้น แต่ปัจจุบันสามารถทำงานจากที่บ้านได้  ทำให้คนส่วนใหญ๋ไม่จำเป็นต้องการซื้อทั้อยู่ในเมือง  สามารถซื้อที่อยู่ไกลออกไปได้ แต่ยังต้องเดินทางสะดวก จึงเลือกที่อยู่อาศัยตามแนวเส้นทางรถไฟฟ้า แม้สถานีไกลออกไป  และเลือกบ้านแนวราบมากขึ้น   ซัพพลายที่อยู่อาศัยลดลง 15% จากการปรับราคาลดลง ของดีเวลลอปเปอร์ รวมถึงการออกโปรโมชั่นอยู่ฟรี 2-5 ปี  ซึ่งนักลงทุนประมาณ 15% ยังซื้อคอนโด  เพราะเห็นว่าราคาน่าซื้อ แต่รูปแบบการซื้อและโลเคชั่นแตกต่างกันไปแต่ลูกค้าในภาพรวมยังพิจารณามากขึ้น ดูความสามารถในการผ่อนในอนาคต    
ศุภาลัย พรีเมียร์ สี่พระยา-สามย่าน : Preview โครงการใหม่ใกล้ จุฬาฯ

ศุภาลัย พรีเมียร์ สี่พระยา-สามย่าน : Preview โครงการใหม่ใกล้ จุฬาฯ

ศุภาลัย พรีเมียร์ สี่พระยา-สามย่าน : Preview โครงการใหม่ใกล้ จุฬาฯ คอนโดมิเนียมโครงการใหม่ล่าสุดจาก บริษัท ศุภาลัย จำกัด (มหาชน) ปักหมุดทำเลใจกลางกรุงเทพฯ ริมถนนสี่พระยา เดินทางสะดวกด้วยรถไฟฟ้าทั้ง MRT และ BTS แถมยังแวดล้อมด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกต่างอย่างครบครัน ศุภาลัย พรีเมียร์ สี่พระยา-สามย่าน (Supalai Premier สี่พระยา-สามย่าน) เป็นคอนโด High Rise สูง 36 ชั้น มียูนิตรวม 384 ยูนิต ออกแบบภายใต้คอนเซปต์ “Old Town New Time” โดยการนำเครื่องประดับที่มีคุณค่าอย่าง “ไข่มุก” มาเป็นแนวคิดประยุกต์ใช้ในการออกแบบโครงการ  ด้วยรูปทรงธรรมชาติของไข่มุก ที่มีลักษณะเส้นสายโค้งมน นำมาผสมผสานกับสถาปัตยกรรมชุมชนในสมัยอดีต เพื่อออกแบบโครงสร้างอาคาร  อีกทั้งยังนำรูปแบบของเส้นเปลือกหอยไข่มุกที่มีลักษณะเป็นเส้นโค้งเว้าวนรอบที่บ่งบอกถึงการเคลื่อนไหวแบบอิสระไม่มีที่สิ้นสุด มาประยุกต์ใช้ในงานสถาปัตยกรรม เพื่อผสมผสานให้เกิด มิติสัมพันธ์  มีเอกลักษณ์อันโดดเด่น โดยสร้างความต่อเนื่องของเส้นสายและการหักมุมโค้งเพื่อให้เกิดความลื่นไหล รวมทั้งการสร้างความกลมกลืนด้วยเส้นโค้งที่เชื่อมต่อกัน จนเป็นรูปแบบที่ทันสมัยตอบสนอง  LIFESTYLE ของคนรุ่นใหม่ ทำเลใจกลางกรุงเทพฯ ตำแหน่งที่ตั้งของโครงการ อยู่ริมถนนสี่พระยา ซึ่งเป็น ทำเลศักยภาพสูง ใจกลางเมือง เชื่อมต่อทุกการเดินทางได้อย่างสะดวกสบาย รวดเร็ว ใกล้รถไฟฟ้าใต้ดิน MRT สามย่าน เพียง 750 เมตร ใกล้จุดขึ้นลงทางด่วนด่านพระราม 4 อีกทั้งยังสามารถเดินทางเข้าสู่ถนนสายสำคัญต่างๆ อาทิ ถนนสาทร, สีลม, สุรวงศ์, พระราม 3, พระราม 4, วิทยุ, สุขุมวิท, อโศก เป็นต้น   นอกจากนี้ยังอยู่ใกล้กับ ศูนย์กลางย่านธุรกิจ (Central Business Districts - CBD Area) และ สถานศึกษาชั้นนำ พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน เช่น ตึก Empire Tower, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สาธิตจุฬาฯ, อัสสัมชัญ คอนเวนต์, กรุงเทพคริสเตียน, เตรียมอุดมศึกษา, เซนต์โยเซฟคอนเวนต์, สาธิต มศว.ปทุมวัน เป็นต้น   อีกทั้งยังแวดล้อมด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน ทั้งห้างสรรพสินค้า, Shopping Mall, ร้านอาหาร, โรงแรม,โรงพยาบาล ชื่อดังมากมาย อาทิ สามย่านมิตรทาวน์, สยามพารากอน, เซ็นทรัลเวิลด์, มาบุญครอง, สยามเซ็นเตอร์, สีลมคอมเพล็กซ์, จามจุรี สแควร์, โรงพยาบาลกรุงเทพคริสเตียน, โรงพยาบาลเซ็นต์หลุยส์, โรงพยาบาลบีเอ็นเอช, โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์, Pullman Bangkok Hotel G, โรงแรม เลอ เมอริเดียน, โรงแรมมณเฑียร  สุรวงศ์, เป็นต้น   ศุภาลัย พรีเมียร์ สี่พระยา-สามย่าน : Preview โครงการใหม่ใกล้ จุฬาฯ ภายในโครงการ ศุภาลัย พรีเมียร์ สี่พระยา-สามย่าน (Supalai Premier สี่พระยา-สามย่าน) เพียบพร้อมด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกที่เหนือกว่าด้วยสระว่ายน้ำที่ชั้น 8 พร้อมห้องออกลังกาย (Fitness) , ซาวน่า และ สวนลอยฟ้า (Roof Garden) และพื้นที่พักผ่อนบนชั้นดาดฟ้า (Sky Bar) เพื่อการพักผ่อนที่แท้จริง สามารถสัมผัสทิวทัศน์ใจกลางเมืองบรรยากาศโค้งแม่น้ำเจ้าพระยา ทางโครงการออกแบบเพื่อการอยู่อาศัย โดยตั้งใจมอบความสงบ และความเป็นส่วนตัวในการพักผ่อนอย่างแท้จริง มั่นใจกับระบบรักษาความปลอดภัยตลอด 24 ชั่วโมง ที่เหนือกว่าด้วยระบบกล้อง CCTV, ระบบป้องกัอัคคีภัย Smoke & Heat Detector และ Fire Alarm, Video Door Phone พร้อมเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยตลอด 24 ชม.   Type ห้องแบบต่างๆ สำหรับ Type ห้องของโครงการ ศุภาลัย พรีเมียร์ สี่พระยา-สามย่าน (Supalai Premier สี่พระยา-สามย่าน) มี 3 แบบหลัก 1 Bedroom ขนาด 41.50 - 55.00 ตร.ม. 2 Bedroom ขนาด 73.0 - 85.0 ตร.ม. 3 Bedroom ขนาด 129.5 - 139.00 ตร.ม.     สำหรับราคาเริ่มต้นของโครงการนี้ เปิดมาที่ 3.69 ล้านบาท หรือราคาเฉลี่ย 85,000 บาท/ตารางเมตร โดยกำหนดวันเปิดขายรอบ Pre-sale วันที่ 26-27 ก.ย. 63  สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่  โทร. 1720   โครงการอื่นๆ ของ ศุภาลัย คอนโด ศุภาลัย ลอฟท์ สาทร-ราชพฤกษ์ ทาวน์โฮม ศุภาลัย พรีโม่ รังสิต คอนโด ศุภาลัย ไลท์ ท่าพระ-วงเวียนใหญ่    
รีวิว The Lofts สีลม คอนโดพร้อมอยู่บนถนนสีลม ใกล้ BTS พร้อมวิวแม่น้ำเจ้าพระยา

รีวิว The Lofts สีลม คอนโดพร้อมอยู่บนถนนสีลม ใกล้ BTS พร้อมวิวแม่น้ำเจ้าพระยา

The Lofts สีลม คอนโดพร้อมอยู่บนถนนสีลม ใกล้ BTS พร้อมวิวแม่น้ำเจ้าพระยา โครงการ The Lofts สีลม คอนโดมิเนียมจาก บริษัท ไรมอน แลนด์ สีลม จำกัด ตั้งอยู่ในซอยประมวญ ถนนสีลม ซึ่งนับเป็นทำเลธุรกิจสำคัญของกรุงเทพฯ ด้วยเป็นที่ตั้งของบริษัทชั้นนำมากมาย รวมไปถึงแหล่งช้อปปิ้ง, ร้านอาหารมีระดับ, สถานศึกษาและสถานพยาบาลต่างๆ อีกทั้งยังสะดวกสบายด้วยการเดินทางที่ใกล้รถไฟฟ้าบีทีเอสสถานีสุรศักดิ์, ใกล้จุดขึ้นลงทางด่วนศรีรัช และเชื่อมต่อกับถนนหลายสาย อย่าง สีลม, สาทร ฯลฯ จึงเป็นโครงการที่เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการใช้ชีวิตอยู่ใจกลางเมือง ทั้งที่ซื้อเพื่อการอยู่อาศัย (Real Demand) และผู้ที่ต้องการซื้อเพื่อการลงทุน (Investor)   จุดเด่น โครงการนี้นอกจากทำเลที่ตั้งบนถนนสีลมอันเป็น Prime Location ของกรุงเทพฯ แล้ว ยังโดดเด่นด้วยสถาปัตยกรรมการตกแต่ง “สไตล์ลอฟท์” ภายใต้แนวคิด “Symphony of life” และเป็น “อาคารหายใจได้” เนื่องจากตัวอาคารได้รับการออกแบบให้มีช่องลมทั้งแนวขวางและแนวตั้งตามตัวอาคาร ที่ช่วยให้ลมวิ่งลอดทะลุแต่ละห้องชุด รวมถึงใจกลางอาคาร ซึ่งจะช่วยลดการสะสมความร้อนภายในอาคาร และสามารถระบายอากาศได้เป็นอย่างดี ทำให้ผู้อยู่อาศัยรู้สึกสบายใจสบายกายและผ่อนคลายไปกับการอยู่อาศัย จึงเรียกได้ว่า เดอะ ลอฟท์ สีลม เป็นคอนโดมิเนียมสไตล์ลอฟท์หายใจได้เพียงแห่งเดียวบนทำเลทองแห่งนี้ ตัวห้องพักอาศัยโดดเด่นด้วยเพดานสูง ตั้งแต่ 3 – 5.6 เมตร พร้อมสไตล์การออกแบบอันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวในแต่ละห้อง เน้นเจาะกลุ่มทั้งผู้ที่ต้องการซื้อเพื่ออยู่อาศัยจริง (Real Demand) และซื้อเพื่อการลงทุน (Investor) ราคาเริ่มต้นตั้งแต่ 8.96 ล้านบาท   เดอะ ลอฟท์ สีลม คอนโดมิเนียม High Rise ระดับซูเปอร์ลักซัวรี่ สูง 37 ชั้น จำนวน 1 อาคาร ยูนิตรวม 268 ยูนิต มูลค่ารวมโครงการทั้งหมด 3,500 ล้านบาท โดยมีราคาเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 230,000 บาท/ตารางเมตร ตัวอาคารตั้งอยู่ในซอยประมวญ ถนนสีลม บนพื้นที่โครงการทั้งหมด 2-0-10 ไร่ (3,240 ตารางเมตร) ซึ่งห่างจากรถไฟฟ้าบีทีเอสสถานีสุรศักดิ์เพียง 430 เมตร, ใกล้ MRT สีลม และใกล้จุดขึ้นลงทางด่วนศรีรัชเพียง 600 เมตร รายล้อมด้วยสถานที่สำคัญอย่าง โรงเรียนเซนโยเซฟคอนแวนต์, โรงเรียนกรุงเทพ คริสเตียน, โรงเรียนอัสสัมชัญคอนแวนต์ สีลม, โรงพยาบาลเลิดสิน, เอ็มไพร์ ทาวเวอร์, อาคารสาทรธานี, สาทร ซิตี้ ทาวเวอร์, เอไอเอทาวเวอร์, ตึกมหานคร, อาคาร ITF, ธนาคารกรุงเทพ สำนักงานใหญ่ เป็นต้น     ด้านการตกแต่งทั้งหมดถูกออกแบบเป็น “สไตล์ลอฟท์” ที่มีความเท่ เรียบหรู ทันสมัย สะท้อนความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของผู้พักอาศัย แวดล้อมไปด้วยพื้นที่สีเขียวอันร่มรื่น ตัวอาคารภายนอกประดับด้วยกระจกสีเขียวตัดแสงเพื่อช่วยลดความร้อนจาก ภายนอก ส่วนภายในอาคารมีการเว้นช่องระบายอากาศทั้งแนวตั้งและแนวขวางไปตามตัวอาคาร เพื่อให้เกิดการหมุนเวียนของลมธรรมชาติ และช่วยระบายความร้อนจากภายใน Room Type ห้องพักอาศัยทุกแบบเป็นเพดานสูงทั้งหมด โดยแต่ละแบบจะมีความสูงจากพื้นถึงเพดานที่ต่างกัน เริ่มจาก ห้อง High Ceiling Hybrid ชั้น 9 -18 เพดานสูง 4.7 เมตร แบบสตูดิโอและ 1 ห้องนอน พื้นที่ใช้สอย 32 – 58.5 ตารางเมตร ราคาเริ่มต้น 8.96 ล้านบาท ห้อง Simplex ชั้น 19 -28 เพดานสูง 3 เมตร แบบ 1 ห้องนอน และ 2 ห้องนอน พื้นที่ใช้สอย 45.5 – 84.5 ตารางเมตร ราคาเริ่มต้น 11.85 ล้านบาท ห้อง Duplex ชั้น 29 - 33 เพดานสูง 5.6 เมตร แบบ 2 ห้องนอน และ 3 ห้องนอน พื้นที่ใช้สอย 108.5 – 113.5 ตารางเมตร ราคาเริ่มต้น 27.9 ล้านบาท ห้อง Penthouse ชั้น 35 – 37 เพดานสูง 5 เมตร มี 4 ห้องนอน   The Lofts สีลม คอนโดพร้อมอยู่บนถนนสีลม ใกล้ BTS พร้อมวิวแม่น้ำเจ้าพระยา ขณะเดียวกัน โครงการเดอะ ลอฟท์ สีลม ยังพรั่งพร้อมด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกที่จัดเต็มในพื้นที่ส่วนกลาง ได้แก่ สวนและพื้นที่สีเขียวขนาดใหญ่, สนามเด็กเล่น, Lobby เพดานสูง, ห้องอ่านหนังสือ ที่บริเวณชั้น 1, Herb Garden สวนไม้หอมและสวนสมุนไพรที่บริเวณชั้น 9, ห้องออกกำลังกายเพดานสูง, ห้องอบไอน้ำแยกชาย/หญิง สกายเดค และสกายเลาจน์ อีกทั้งสระว่ายน้ำเด็ก, สระจากุซซี่ และสระว่ายน้ำไร้ขอบ 25 เมตร บนชั้น 34 ที่จะทำให้ผู้พักอาศัยได้ทำกิจกรรมยามว่างท่ามกลางวิวสวยๆ ของโค้งน้ำแม่น้ำเจ้าพระยา และแสงสุดท้าย ของพระอาทิตย์ตกในยามเย็น     ที่โครงการเตรียมพื้นที่ขนาดกว้างสามารถรองรับที่จอดรถได้ถึง 204 คัน ซึ่งคิดเป็น 76% ของจำนวนยูนิตในโครงการ (ไม่รวมจอดซ้อนคัน) ณ บริเวณชั้น 2 – 8 มีระบบรักษาความปลอดภัย 24 ชั่วโมง, ระบบกล้องวงจรปิด, คีย์การ์ดเพื่อเข้าออกโครงการและคีย์การ์ดเฉพาะชั้น ไม่เพียงเท่านั้นโครงการนี้ยังมีพนักงานต้อนรับสำหรับบริการลูกบ้าน เปรียบเสมือนเป็นผู้ช่วยส่วนตัวที่จะคอยดูแลและช่วยเหลือทุกความต้องการของลูกบ้านในทุกมิติ   บทความอื่นๆ เกี่ยวกับ Raimon Land เปิดแผนธุรกิจ ไรมอน แลนด์ ลุยตลาดเชิงรุก สู้วิกฤตโควิด-19 พรีวิวThe Lofts Silom – เดอะ ลอท์ฟ สีลม Mews Yen Akat By Raimon Land  
Dolce Lasalle รีวิวคอนโดพร้อมอยู่ – Update บรรยากาศจริง

Dolce Lasalle รีวิวคอนโดพร้อมอยู่ – Update บรรยากาศจริง

Dolce Lasalle คอนโด Low Rise พร้อมอยู่ในซอยลาซาล ใกล้รถไฟฟ้า BTS แบริ่ง โดว์เช่ ลาซาล อีกหนึ่งโครงการที่น่าสนใจ ด้วยการคัดสรรทำเล อันเป็นหัวใจสำคัญของโครงการฯ ซึ่งห่างจาก BTS สถานีแบริ่งเพียง 700 เมตร สามารถเดินทางเข้าสู่ใจกลางเมืองหลวงได้อย่างสะดวกสบาย   ซึ่งโครงการนี้เน้นเจาะกลุ่มเป้าหมายคนวัยทำงานในเมืองอายุ 25 ปีขึ้นไป ที่ต้องการความเป็นส่วนตัว ด้วยจำนวนยูนิตที่จำกัดเพียง 178 ยูนิตเท่านั้น และหากผู้ที่ต้องการซื้อเพื่อการลงทุนก็น่าสนใจไม่แพ้กัน เพราะอยู่ใกล้กับโรงเรียนนานาชาติชั้นนำ อาทิ St. Andrews International School, Bangkok Patana School, Berkeley International School ฯลฯ และด้วยศักยภาพทำเลของเขตบางนาที่มีการปรับราคาที่ดิน 7-10% ตลอด 3 ปีที่ผ่านมานั้น ผนวกกับเมกะโปรเจคอย่าง Bangkok Mall มูลค่ากว่า 50,000 ล้านบาท ที่จะเป็นศูนย์กลางเมืองแห่งใหม่ของกรุงเทพฯ จึงส่งผลให้ทำเลที่ตั้งของโครงการนี้เหมาะกับการลงทุนในระยะยาวอย่างแท้จริง     สำหรับโครงการ โดว์เช่ ลาซาล (DOLCE LASALLE) เป็นโครงการบูทีคคอนโดมิเนียมโลว์ไรซ์ สไตล์ยูโรเปียน โมเดิร์น ขนาด 8 ชั้น จำนวน 1 อาคาร พื้นที่โครงการทั้งหมด 0-5-68 ไร่ (2,272 ตารางเมตร) จำนวนยูนิต 178 ยูนิต มูลค่ารวมกว่า 450 ล้านบาท ราคาเฉลี่ย 75,000 บาทต่อตารางเมตร ตัวโครงการตั้งอยู่ในซอยลาซาล 7 (สุขุมวิท 105) เขตบางนา กทม. ห่างจากรถไฟฟ้า BTS สถานีแบริ่งเพียง 700 เมตร สามารถเดินทางเข้าสู่ใจกลางเมืองได้อย่างสะดวกสบาย เพราะห่างจากรถไฟฟ้า BTS สถานีอโศกเพียง 20 นาที และสถานีสยามเพียง 25 นาที การออกแบบโครงการฯ เป็นการต่อยอดมาจาก “โดว์เช่ อุดมสุข” ที่เน้นในเรื่องคุณภาพวัสดุ และคุณภาพชีวิต ผู้พักอาศัยในคอนโดให้มีความสุข และสามารถอยู่ได้จริงในชีวิตประจำวัน   นับเป็นโครงการเดียวที่ได้รับรางวัล การันตีถึง 2 รางวัลจาก PEAT AWARDS 2018 (Property Export Awards Thailand 2018 by NIDA) คือ Best Luxury Low Rise Condominium และ Best Boutique Low Rise Condominium ซึ่งความแตกต่าง คือ โดว์เช่ อุดมสุข เป็นสไตล์ “อิตาเลี่ยน โมเดิร์น” แต่สำหรับ โดว์เช่ ลาซาล จะมาในสไตล์ของสถาปัตยกรรม French Classical เข้ามาผสม เพื่อให้เข้ากับย่านลาซาล พร้อมใส่รายละเอียดของหลายๆ ส่วนให้โมเดิร์นมากขึ้น ด้วยวัสดุคุณภาพที่ดียิ่งขึ้น อาทิ หินธรรมชาติบน top ครัว หรือ top ในห้องน้ำ ฯลฯ Dolce Lasalle คอนโด Low Rise พร้อมอยู่ในซอยลาซาล ใกล้รถไฟฟ้า BTS แบริ่ง การวางผังอาคาร ออกแบบเป็นรูปตัวยู (U)  ซึ่งหากมองจากหน้าถนนก็จะเห็นว่าตัวอาคารมีความสง่างาม แต่จุดเด่นเบื้องลึกเบื้องหลังจริงๆ คือ ต้องการให้เกิดความลงตัวในส่วนของ Facilities เพื่อให้ผู้อยู่อาศัย ได้ประโยชน์สูงสุด ทั้งในเรื่องความเป็นส่วนตัวที่ไม่มีใครมองเห็นได้จากภายนอก ขณะเดียวกันเมื่ออยู่ภายในยังให้ความรู้สึก โอ่โถง มีความผ่อนคลายได้อย่างแท้จริง ทั้งนี้การวางผังเป็น Shape ตัวยู (U) ห้องที่อยู่ทางทิศตะวันตกจะเป็นห้องที่มองเห็น วิวสวยที่สุดในโครงการ ซึ่งจะมองเห็นทั้งสระว่ายน้ำและสวน โดยโครงการฯ ได้ยกระดับ สวนชั้น 1 ขึ้นมาอีกระดับ เพื่อให้เชื่อมต่อกับ Facilities ระหว่างชั้น 1 กับชั้น 2 ให้ดูใหญ่และสวยงามขึ้น   การออกแบบภายใน พื้นที่ใช้สอยต้องใช้งานได้ 100% โจทย์ของงานดีไซน์จึงต้องใช้ตำแหน่งเสา ขนาดเสา เรื่องของการวางห้องน้ำ ระยะของเสาที่วางเฟอร์นิเจอร์ได้ สามารถตกแต่งให้สวยงามและใช้เป็นฟังก์ชั่นได้ทั้งหมด ทั้งเฟอร์นิเจอร์ Built-in ที่ดูสวยงามและจุได้เยอะ เพื่อประหยัดพื้นที่ ให้การใช้สอยพื้นที่ในทุกตารางนิ้ว เกิดประโยชน์สูงสุด   การดีไซน์ฝ้าเพดานทุกห้องที่สูง 2.5 เมตร ซึ่งห้องตัวอย่างถูกจำลองมาจากไซส์จริง ไม่มีการลดขนาดตู้เพื่อให้ห้องกว้างขึ้น เพดานเท่าของจริง เพื่อให้ลูกค้าได้เห็นภาพจริง หรือถ้าชื่นชอบสไตล์การตกแต่งห้องเหมือนห้องตัวอย่าง ก็สามารถนำไปตกแต่งได้เองจริงๆ การให้ความสำคัญกับรายละเอียดเหล่านี้ นับเป็น อีกหนึ่งจุดเด่นของโครงการฯ Room Type ขนาดห้องของโครงการฯ มีให้เลือกด้วยกัน 3 แบบ เพื่อตอบสนองทุกๆ ความต้องการของลูกค้า ซึ่งรองรับได้ทั้งกลุ่มคนโสดและกลุ่มที่กำลังสร้างครอบครัว โดยแบ่งเป็น   แบบสตูดิโอ (Studio) ขนาดพื้นที่ 24.6 และ 24.8 ตารางเมตร ราคาเริ่มต้น 1.75 ล้านบาท เหมาะสำหรับ คนโสด หรือคนวัยทำงานที่รักความสงบ บนพื้นที่ใช้สอยของห้องที่ไม่ใหญ่ไม่เล็กจนเกินไป แต่ตอบโจทย์เรื่องความสะดวกสบายครบครัน แบบ 1 ห้องนอน ขนาดพื้นที่ 30.4 - 34 ตารางเมตร จำนวน 1 ห้องนอน 1 ห้องน้ำ ราคาเริ่มต้น 2.2 ล้านบาท เหมาะสำหรับคนที่กำลังขยับขยายครอบครัว เริ่มใช้ชีวิตหลังแต่งงาน หรือคนโสดขี้เหงา อยากพาเพื่อนมา แฮงค์เอ้าท์ปาร์ตี้ที่ห้องก็สะดวก พร้อมมุมผ่อนคลาย วิวสวยสบายอารมณ์ และแบบ 2 ห้องนอน ขนาดพื้นที่ 45 - 51 ตารางเมตร จำนวน 2 ห้องนอน 2 ห้องน้ำ ราคาเริ่มต้น 3.4 ล้านบาท ห้องขนาดใหญ่สุดของโครงการ เหมาะสำหรับครอบครัวขนาดเล็ก มีพื้นที่ส่วนกลางเพื่อใช้เป็นห้องนั่งเล่น หรือทำกิจกรรมร่วมกัน ในวันหยุด อาทิ ทำกับข้าว ดูหนัง ฟังเพลง ฯลฯ รวมถึงมุมวิวสวยที่วันไหนอยากจะฉีกไปปล่อยอารมณ์ชิลล์ๆ ลำพังก็ยังได้   Facilities Facilities คือจุดขายที่โดดเด่นของโครงการนี้ เพื่อให้ผู้อยู่อาศัยได้ใช้ประโยชน์จากพื้นที่ส่วนกลางได้อย่าง มีความสุขในทุกๆ วัน ไม่ว่าจะเป็น Lobby & Library เปลี่ยนบรรยากาศมาพักผ่อนหย่อนใจไปกับหนังสือเล่มโปรดในห้องล็อบบี้ที่ ดีไซน์ความลักซัวรี่ โดดเด่นไม่แพ้ห้องอื่นๆ สระว่ายน้ำระบบน้ำเกลือ 20 เมตร Workplace พื้นที่สำหรับการสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ของคนทำงาน Fitness เอาใจคนรักสุขภาพด้วยอุปกรณ์ออกกำลังกายได้มาตรฐานที่ครบครัน   นอกจากนี้ยังมีในส่วนของ Game Room, Garden, Fiber Optic System, ลิฟต์ 2 ตัว, ระบบรักษาความปลอดภัย 24 ชม., ระบบกล้องวงจรปิด CCTV, ระบบคีย์การ์ด, Laundry และ ที่จอดรถ 50% (ประมาณ 69 คัน)   บทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับ บจ.สิริยศ Dolce Lasalle-โดว์เช่ ลาซาล : รีวิวคอนโด ปักหมุด “โดว์เช่ ลาซาล” คอนโด Low Rise ใกล้ BTS แบริ่ง คอนโดสวย ทำเลเด่น ราคาดี บจ.สิรยศ ส่ง “โดว์เช่ อุดมสุข” ลงตลาดรับปีแพะ ด้วยมูลค่าโครงการ 200 ลบ.  
โกลเด้นแลนด์ ยังทำรายได้และกำไร 6 เดือนแม้เจอวิกฤตโควิด-19

โกลเด้นแลนด์ ยังทำรายได้และกำไร 6 เดือนแม้เจอวิกฤตโควิด-19

เน้นคุมค่าใช้จ่าย รักษากระแสเงินสด ท่ามกลางโควิด-19 เตรียมออกจากการเทรดหุ้นในตลาด วันที่ 11 สิงหาคมนี้ หลังเฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ เสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดแล้ว    โกลเด้นแลนด์ (GOLD) หรือ บริษัท แผ่นดินทอง พร็อพเพอร์ตี้ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) เผยผลประกอบการสำหรับรอบระยะเวลา 6 เดือน (1 มกราคม 2563 – 30 มิถุนายน 2563) สามารถทำรายได้รวมจำนวน 8,308 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิจำนวน 830 ล้านบาท ใกล้เคียงกันจากงวดเดียวกันของปีก่อน จากการเปิดตัวโครงการครอบคลุมทั้งกรุงเทพฯ ปริมณฑล และต่างจังหวัด รวมถึงการควบคุมค่าใช้จ่ายอย่างมีประสิทธิภาพ และการเน้นรักษากระแสเงินสด   อย่างไรก็ตาม แม้ว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 จะกระทบกับการรับรู้รายได้ของบริษัท เนื่องจากลูกค้าพิจารณานานขึ้น แต่บริษัทยังคงมั่นใจจะสามารถรับรู้รายได้  ในระดับที่ประคับประคองธุรกิจให้ผ่านพ้นวิกฤตการณ์ดังกล่าวไปได้  เนื่องจากผู้บริโภคยังคงให้ความสนใจอสังหาริมทรัพย์แนวราบ ซึ่งบริษัทยังเดินหน้าเปิดโครงการใหม่ และทำโปรโมชั่นส่งเสริมการขายอย่างต่อเนื่อง อาทิ อยู่ฟรี 3 ปี เมื่อพิจารณาเฉพาะรายได้หลักจากการขายอสังหาฯ งวด 6 เดือน  บริษัทมีรายได้ส่วนนี้รวม 7,438 ล้านบาท ใกล้เคียงกันจากงวดเดียวกันของปีก่อน เป็นผลมาจากยังคงสามารถรับรู้รายได้จากโครงการที่เปิดขายตั้งแต่ปี 2562 อย่างต่อเนื่อง   ในขณะที่รายได้ค่าเช่าและอื่น ๆ งวด 6 เดือน บริษัทมีรายได้ส่วนนี้รวม 757ล้านบาท ใกล้เคียงจากงวดเดียวกันของปีก่อน โดยธุรกิจอาคารสำนักงานให้เช่าสามารถทำรายได้เพิ่มสูงขึ้นจากงวดเดียวกันของปีก่อน แต่ธุรกิจโรงแรมได้รับผลกระทบตรงจากวิกฤตการณ์ไวรัสโควิด-19 จึงมีรายได้ลดลง ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2563 ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) ได้อนุมัติให้บริษัทเพิกถอนออกจากสถานะการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้ ตั้งแต่วันที่ 11 สิงหาคม 2563 โดยหุ้นสามัญของ GOLD จะซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ฯ เป็นวันสุดท้ายในวันที่ 10 สิงหาคม 2563   โดยเป็นไปตามกระบวนการเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดของกิจการ เพื่อเพิกถอนหลักทรัพย์ของกิจการออกจากการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ โดยบริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) (“FPT”) เป็นผู้ทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ได้ดำเนินการตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับของตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้เสร็จสิ้นสมบูรณ์แล้ว โดยผลของการทำคำเสนอซื้อทำให้ FPT เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของ GOLD มากกว่า 99% สำหรับกระบวนการนี้เป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์บริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) เพื่อเพิ่มศักยภาพธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ของกลุ่มให้อยู่ในแพลตฟอร์มเดียวกัน ก้าวเป็นผู้นำในการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่มีความหลากหลาย ครอบคลุมอสังหาริมทรัพย์ประเภทที่อยู่อาศัย (Residential) โครงการเชิงพาณิชย์ (Commercial) และพื้นที่เชิงอุตสาหกรรม (Industrial) ภายใต้บริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)
3 เหตุผลโนเบิล ปั้น NUE เพิ่มรายได้สร้างพอร์ตสัดส่วน 50%

3 เหตุผลโนเบิล ปั้น NUE เพิ่มรายได้สร้างพอร์ตสัดส่วน 50%

ในบรรดาดีเวลลอปเปอร์ที่พัฒนาโครงการตามแนวรถไฟฟ้า และอยู่ในย่านใจกลางเมือง จะต้องมีชื่อของ “โนเบิล ดีเวลลอปเมนท์” ติดอยู่ในทำเนียบผู้ที่พัฒนาโครงการในทำเลดังกล่าว โดยเฉพาะโครงการคอนโดมิเนียม ซึ่งส่วนใหญ่จะพัฒนาโครงการอยู่ในทำเลรถไฟฟ้าบีทีเอสในช่วงสถานีอารีย์จนถึงสถานีเอกมัย หรือหากเป็นรถไฟฟ้าใต้ดิน สายสีน้ำเงิน ก็จะพัฒนาเฉพาะทำเลตั้งแต่ย่านสถานีศูนย์วัฒนธรรมเป็นหลัก   การพัฒนาโครงการคอนโดส่วนใหญ่ของโนเบิล จะจับตลาดกลางถึงบน มีระดับราคาเฉลี่ยประมาณ 200,000 บาทต่อตารางเมตร หรือระดับราคาขายยูนิต 4-5 ล้านบาทเป็นหลัก แต่จากการเติบโตของเศรษฐกิจและตลาดอสังหาริมทรัพย์ ส่งผลให้ราคาที่ดินปรับเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะตามแนวเส้นทางรถไฟฟ้าสายหลัก ทั้งบีทีเอสและเอ็มอาร์ที มีราคาปรับเพิ่มสูงขึ้น จึงทำให้ไม่สามารถซื้อที่ดินมาพัฒนาโครงการขายได้   แนวทางออกของการเติบโต เพื่อไปต่อของโนเบิล จึงได้สร้างแบรนด์ใหม่ขึ้นมาเพื่อเสริมพอร์ตรายได้ โดยเลือกที่จะพัฒนาแบรนด์ นิว (NUE) ซึ่งย่อมาจาก New Urban Epicenter หมายถึง จุดศูนย์กลางเมืองแห่งใหม่  โดยทางโนเบิลยังคงเลือกที่จะพัฒนาโครงการเกาะแนวเส้นทางรถไฟฟ้า แต่เลือกเส้นทางรถไฟฟ้าส่วนต่อขยาย หรือเส้นทางรถไฟฟ้าสายใหม่ เพื่อยังคงรักษาคอนเซ็ปต์การเลือกทำเลที่ดี และเป็นทำเลเพื่อการอยู่อาศัยในอนาคต 3 เหตุผลปั้น NUE เพิ่มพอร์ตรายได้ นายอรัฐ เศวตะทัต ประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายงานพัฒนาธุรกิจ บริษัท โนเบิล ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) เล่าว่า การพัฒนาแบรนด์นิวเกิดขึ้นมาจาก 3 โจทย์หลัก ได้แก่ 1.ขยายตลาด 2-3 ล้าน เนื่องจากปัญหาราคาที่ดินซึ่งปรับเพิ่มสูง ทำให้บริษัทไม่สามารถซื้อที่ดินมาพัฒนาโครงการในระดับราคาที่บริษัทมุ่งเน้นได้ คือ ระดับราคา 4-5 ล้านบาทต่อยูนิตขายได้ ประกอบกับ หากพอร์ตสินค้าทั้งหมดมีแต่ราคาดังกล่าวแต่อย่างเดียว อาจจะทำให้เกิดความเสี่ยง จึงมีแนวคิดขยายตลาดไปยังกลุ่มลูกค้าอื่น ๆ ซึ่งเลือกระดับราคา 2-3 ล้านบาท เพราะสามารถซื้อที่ดินตามแนวเส้นทางรถไฟฟ้ามาพัฒนาได้ และยังคงคุณภาพการพัฒนาได้เช่นเดียวกับโครงการอื่น ๆ ของโนเบิลได้ด้วย 2.เลือกทำเลเกาะติดแนวรถไฟฟ้า หัวใจสำคัญของการพัฒนาโครงการอสังหาฯ คือ การเลือกทำเลที่ตั้งซึ่งเป็นไพร์มแอเรีย โนเบิลจึงเลือกพัฒนาในทำเลตามแนวเส้นทางรถไฟฟ้าสายหลักที่เปิดให้บริการอยู่ปัจจุบัน และเป็นย่านใจกลางเมืองเป็นหลัก แต่จากปัญหาราคาที่ดินที่ปรับเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ราคาที่ดินไม่สามารถซื้อมาพัฒนาโครงการได้ หรือหากซื้อมาพัฒนาได้ราคาขายก็จะมีราคาสูงเกิน ซึ่งหากจะยังคงพัฒนาตามแนวเส้นทางรถไฟฟ้าจึงต้องปรับระดับราคาลงมา และขยายไปตามแนวเส้นทางส่วนต่อขยาย ราคาคอนโดยูนิตละ 2-3 ล้านบาท สามารถทำได้ในเส้นทางรถไฟฟ้าส่วนต่อขยาย เพราะคิดว่าสังคมเมืองจะขยายออกไปตามเส้นทางรถไฟฟ้า จึงเป็นโอกาสและทำราคาได้ตามที่ต้องการ 3.ดีไซน์สไตล์โนเบิล อีกหนึ่งหัวใจของการพัฒนาโครงการคอนโด ให้ประสบความสำเร็จ และได้รับการตอบรับจากกลุ่มลูกค้า เรื่องของดีไซน์จึงยังมีความสำคัญ และเป็นสิ่งที่ลูกค้าใช้เป็นเกณฑ์ในการตัดสินใจเลือกซื้อโครงการด้วยเช่นกัน การออกแบบห้องของแบรนด์นิว จึงเลือกใช้แนวคิดและคอนเซ็ปต์ใกล้เคียงกับแบรนด์ต่าง ๆ ของโนเบิลที่เคยพัฒนาออกมาแล้ว โดยเฉพาะการออกแบบห้องหน้ากว้าง และห้องขนาด 2 ห้องนอน พื้นที่ 35 ตารางเมตร แต่ยังขายได้ในระดับราคากว่า 3 ล้านบาทเท่านั้น ปั้น 3 โปรเจ็กต์ใหม่เติมพอร์ตรายได้ ในช่วงครึ่งปีหลัง โนเบิล ได้วางแผนเปิดโครงการนิว ด้วยกัน 3 โครงการ ได้แก่ 1.โครงการนิว โนเบิล งามวงศ์วาน” (NUE NOBLE NGAMWONGWAN) โดยเปิดขายไปแล้วเมื่อเดือนที่ผ่านมา ผ่านรอบพิเศษที่สำนักงานขายและรอบจองออนไลน์ ซึ่งสามารถทำยอดขายแล้วมากกว่า 50% จากมูลค่าโครงการทั้งหมด 1,800 ล้านบาท จากกลุ่มลูกค้าภายในประเทศ ภายในระยะเวลาเพียง 3 สัปดาห์หลังจากเปิดตัว โดยลูกค้ากลุ่มนี้ได้ชำระเงินทำสัญญาพร้อมเงินจองเป็นที่เรียบร้อย นอกจากนี้ ยังมีคาดว่าจะมียอดขายจากกลุ่มลูกค้าต่างประเทศได้อีกกว่า 20%   ในราคาเริ่มต้นเพียง 1.59 ล้านบาท* 2.โครงการนิว โนเบิล รัชดา – ลาดพร้าว” (NUE NOBLE RATCHADA – LAT PHRAO) โดยเปิดตัวไปเมื่อปลายเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ซึ่งเป็นโครงการแรกที่โนเบิล ร่วมทุนกับ บริษัท ยู ซิตี้ จำกัด (มหาชน) ในกลุ่ม บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) ในสัดส่วนที่เท่ากัน พัฒนาโครงการ 2,000 ล้าน  ในราคาเริ่มต้นเพียง 2.39 ล้านบาท* จะเริ่มเปิดจองในรอบ Online Booking ในวันที่ 16 สิงหาคมนี้ 3.โครงการนิว โนเบิล ไฟฉาย – วังหลัง” (NUE NOBLE FAI CHAI - WANG LANG) วางแผนเปิดตัวกลางเดือนสิงหาคมนี้ เป็นโครงการคอนโดมิเนียม High-Rise แห่งแรกของโนเบิลในพื้นที่ฝั่งธนบุรี มูลค่าโครงการ 1,200 ล้านบาท บนทำเลใจกลางแยกไฟฉาย - วังหลัง เพียง 80 เมตรจากสถานีไฟฉาย   ปีที่ผ่านมาโครงการภายใต้แบรนด์นิว มีสัดส่วนรายได้ประมาณ 11% ปีนี้คาดว่าจะมีสัดส่วนรายได้ 22% จากเป้าหมายรายได้ที่คาดว่าจะทำได้ 10,000 ล้านบาท ส่วนปีหน้าคาดว่าแบรนด์นิวจะมีสัดส่วนรายได้เพิ่มขึ้นเป็น 50% ซึ่งปัจจุบันได้เตรียมที่ดินสำหรับการพัฒนาในปีหน้าไว้แล้ว 4 แปลง ซึ่งเบื้องต้นบริษัทมีแผนพัฒนาโครงการแบรนด์นิวในปีหน้าอย่าน้อย 3 โครงการ ด้านนายอรรถวิทย์ เฉลิมทรัพยากร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายงานการเงิน  กล่าวเสริมว่า  บริษัท มียอดขายรอโอน (backlog) มากกว่า 15,000 ล้านที่จะทยอยรับรู้ภายใน 3 ปีข้างหน้า เฉพาะภายในปีนี้น่าจะรับรู้รายได้ 7,000-8,000 ล้านบาท ซึ่งปัจจุบันมีโครงการที่สร้างแล้วเสร็จพร้อมโอนมูลค่ากว่า 8,600 ล้านบาท จึงมั่นใจว่าจะสามารถทำรายได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ ซึ่งช่วงไตรมาสสุดท้ายบริษัทยังวางแผนพัฒนาโครงการใหม่ ที่ไม่ใช่โครงการภายใต้แบรนด์นิวอีก 2 โครงการ ซึ่งน่าจะมีมูลค่าไม่ต่ำกว่า 10,000 ล้านบาทด้วย
เปิดข้อมูล ตลาดคอนโดใหม่ ไตรมาส 2 เปิดใหม่ลดลงกว่า 73%

เปิดข้อมูล ตลาดคอนโดใหม่ ไตรมาส 2 เปิดใหม่ลดลงกว่า 73%

การจัดโปรโมชั่นลด แลก แจก แถม ของตลาดบ้านและคอนโดมิเนียม ในช่วงเกิดการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 แน่นอนว่า ทำให้ผู้ประกอบการต้องชะลอการเปิดตัวโครงการใหม่ โดยเฉพาะโครงการคอนโด และเลือกจะหันมาระบายสต็อกในมือแทน เพื่อสร้างยอดขายและกระแสเงินสด มากกว่าจะทุ่มงบลงไปสร้างโครงการใหม่   ผลจากการเน้นระบายสต็อก และการชะลอการเปิดตัวโครงการใหม่ ทำให้จำนวนคอนโดใหม่คงลดจำนวนอย่างมากมายในปีนี้ แต่ว่าจะลดลงเท่าไรนั้น ทาง บริษัท ไนท์แฟรงค์ ประเทศไทย จำกัด ได้จัดทำรายงานตลาดคอนโดมิเนียมในกรุงเทพมหานคร ณ ไตรมาสที่ 2 ปี 2563 คอนโดใหม่ลดลงกว่า 73% ตลาดคอนโดใหม่ในกรุงเทพมฯ ไตรมาส 2 ที่ผ่านมา มีจำนวนเปิดขายใหม่ทั้งสิ้น 4,022 ยูนิต จำนวนยูนิตเปิดขายใหม่ลดลงใน 73.2% เมื่อเทียบช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ที่มีจำนวนเปิดขายใหม่ 14,988 ยูนิต และหากเปรียบเทียบกับไตรมาสแรกของปีนี้ มีจำนวนลดลง 35.6% จากจำนวนเปิดเปิดขายใหม่จำนวน 6,246 ยูนิต   สำหรับคอนโดใหม่ที่เปิดขายในไตรมาสที่ 2 ส่วนใหญ่เป็นคอนโดเกรดซี มีระดับราคาขายต่ำกว่าตารางเมตรละ 80,000 บาท ซึ่งมีสัดส่วน 71% รองลงมา เป็นคอนโด เกรดบี ที่มีระดับราคาขายตารางเมตรละ 80,000 – 100,000 บาท คิดเป็นสัดส่วน 29% ซึ่งคอนโดระดับราคาขายสูงกว่าตารางเมตรละ 100,000 บาทไม่มีเปิดขายเลย ด้านทำเลที่ตั้ง พบว่าคอนโดใหม่ที่เปิดขาย ส่วนใหญ่ตั้งอยู่บริเวณชานเมืองกรุงเทพฯ คิดเป็นสัดส่วน 75% รองลงมา เป็นคอนโดที่ตั้งอยู่บริเวณรอบเขตศูนย์กลางธุรกิจ (City Fringe) คิดเป็น 25% ส่วนทำเลศูนย์กลางธุรกิจ (CBD) ไม่พบคอนโดใหม่เปิดขาย คอนโดใหม่ขายได้แค่ 581 ยูนิต ช่วงไตรมาสที่ 2 ปีนี้ เป็นช่วงที่ตลาดคอนโดใหม่เปิดขายในกรุงเทพฯ ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงมากกว่าไตรมาสแรก จากการระบาดของไวรัสโควิด-19 ส่งผลให้กำลังซื้อลดลงอย่างชัดเจน ในโครงการคอนโดที่เปิดขายใหม่ในไตรมาสที่ 2 โดยมียูนิตขายได้ใหม่เพียง 581 ยูนิต จากจำนวนที่เปิดขายใหม่ทั้งสิ้น 4,022 ยูนิต ซึ่งเป็นอัตราการขายที่ต่ำที่สุดในรอบ 10 ปี สำหรับราคาขายของคอนโดใหม่ในกรุงเทพฯ ช่วงไตรมาสที่ 2 ของปีนี้ ปรับตัวลดลงในทุกพื้นที่ จากไตรมาสแรกที่ผ่านมา และปีที่ผ่านมา บริเวณศูนย์กลางธุรกิจมีราคาเสนอขายอยู่ที่ 267,000 บาทต่อ ตารางเมตร ปรับตัวลดลง 0.5% เมื่อเทียบกับไตรมาสแรก ที่มีราคาเสนอขายอยู่ที่ 268,300 บาทต่อตารางเมตร บริเวณรอบเขตศูนย์กลางธุรกิจ (City Fringe) มีราคาเสนอขายคอนโดอยู่ที่ 147,356 บาท ต่อ ตารางเมตร ปรับตัวลดลง 1.5% เมื่อเทียบกับไตรมาสแรก ที่เสนอขายอยู่ที่ 149,600 บาทต่อตารางเมตร บริเวณชานเมืองกรุงเทพฯ มีราคาเสนอขายอยู่ที่ 80,000 บาทต่อตารางเมตร ปรับตัวลดลงในอัตรา 1.4% หากเทียบกับไตรมาสแรก ที่เสนอขายอยู่ที่ 81,150 บาทต่อตารางเมตร แต่ราคาซื้อขายจริงอาจมีราคาต่ำกว่าราคาเสนอขายเฉลี่ยในอัตรา 7 – 10% หรือ มากกว่าครึ่งขึ้นอยู่กับแคมเปญ โปรโมชั่น ที่จัดให้มีแตกต่างกันไปของแต่ละโครงการ คาดปี 63 คอนโดใหม่เปิดตัวไม่เกิน 30,000 ยูนิต นางสาวริษิณี สาริกบุตร ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยและที่ปรึกษา บริษัท ไนท์แฟรงค์ ประเทศไทย จำกัด ได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับแนวโน้มตลาดคอนโดในกรุงเทพฯ ว่า ทิศทางตลาดคอนโดยังมีความท้าทายอยู่มาก ถึงแม้ว่าปัจจุบันสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 จะมีแนวโน้มดีขึ้น และผู้ประกอบการเริ่มหันมาเปิดขายโครงการใหม่ ตั้งแต่เดือนพฤษภาคมเป็นต้นมา คาดว่าในช่วงเวลาที่เหลืออยู่ของปีนี้ ผู้ประกอบการจะเริ่มกลับมาเปิดขายโครงการใหม่ โดยประเมินว่า ในช่วงครึ่งปีหลังน่าจะมีจำนวนยูนิตใหม่ออกมาประมาณ 15,000 – 20,000 ยูนิต ซึ่งทำให้ภาพรวมจำนวนยูนิตเปิดขายใหม่ของทั้งปีนี้มีประมาณ 25,000 – 30,000 ยูนิต โดยยูนิตเปิดขายใหม่จะมีระดับราคาขายประมาณ 1.5 – 3 ล้านบาท ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีความต้องการมากที่สุด หรือระดับราคาขาย 60,000 – 80,000 บาทต่อตารางเมตร และกลุ่มผู้ซื้อคือ ผู้ที่ซื้อเพื่ออยู่อาศัยจริง (Real Demand) เป็นหลัก และอาจมีนักลงทุนบ้าง
เบอร์เครีย์ กรุ๊ป บุกตลาด ไทย ขนโปรเจ็กต์  ดึงนักธุรกิจไทยลงทุนอสังหาฯ อังกฤษ

เบอร์เครีย์ กรุ๊ป บุกตลาด ไทย ขนโปรเจ็กต์ ดึงนักธุรกิจไทยลงทุนอสังหาฯ อังกฤษ

บิ๊กอสังหาฯ อังกฤษ “เบอร์เคลีย์ กรุ๊ป” บุกตลาดไทย ขนโปรเจ็กต์   White City Living เฟส 3 ขายราคาเริ่มต้นยูนิตละ 30  ล้าน หวังดึงนักลงทุนไทยซื้อห้องชุด ชี้อสังหาฯ อังกฤษดีมานด์มากกว่าซัพพลาย สร้างผลตอบแทนจากราคาเพิ่มขึ้น 6-10% เตรียมจัดงานสัมมนาสร้างยอดขาย 7-8 ยูนิต   นายนิค พานคาเนีย หัวหน้าฝ่ายปฏิบัติการประเทศไทย บริษัท เบอร์เคลีย์ กรุ๊ป  เปิดเผยว่า ได้นำโครงการง White City Living เฟส 3  ในกรุงลอนดอนฝั่งตะวันตก ของประเทศอังกฤษ  มาเสนอขายให้กับลูกค้าคนไทย ซึ่งเป็นโครงการที่พักอาศัยขนาดความสูง 30 ชั้น จำนวน 530 ยูนิต  ในราคาเริ่มต้น 30 ล้านบาท สำหรับห้องพักขนาดประมาณ 37 ตารางเมตร โดยจะมีการจัดกิจกรรมสัมมนาขึ้นระหว่างวันที่ 31 กรกฎาคม และ 1 สิงหาคม นี้  ที่โรงแรมเซนต์รีจิส กรุงเทพฯ  ซึ่งภายในงานจะมีการจัดแคมเปญสำหรับผู้ซื้อ ด้วยการลดค่าอากรการซื้ออสังหาริมทรัพย์ในอัตรา 2% ของราคาห้องชุด สำหรับโครงการ White City Living แบ่งการพัฒนาออกเป็น 5 เฟส มีจำนวนยูนิตรวมทั้งหมด 2,372 ยูนิต เริ่มต้นการพัฒนาเฟสแรกตั้งแต่ปี 2561 ซึ่งโครงการมีแผนพัฒนาสมบูรณ์ทุกเฟส ในระยะเวลา 10 ปี  ซึ่งในเฟส 3  ได้พัฒนาเป็นอาคารพักอาศัยใหม่ 2 อาคาร ได้แก่ The Waterside และ Cassini  ซึ่งมีบริษัท โจนส์ แลง ลาซาลล์ (ประเทศไทย) เป็นตัวแทนจำหน่ายโครงการดังกล่าวในประเทศไทย สำหรับการจัดงานช่วงปลายเดือนนี้ คาดว่าจะมีผู้เข้าร่วมงานประมาณ 30 คน  และมีลูกค้าที่มีโอกาสจะซื้อห้องชุดประมาณ 7-8 คน  โดยคาดว่าจะสามารถทำยอดขายจากการจัดกิจกรรมครั้งนี้ประมาณ 4-5 ยูนิต ซึ่งโครงการในเฟส 3 จะก่อสร้างแล้วเสร็จภายในปี 2565   สำหรับบริษัท เบอร์เคลีย์ กรุ๊ป เป็น 1 ใน 100 บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ลอนดอน ซึ่งมีการพัฒนาโครงการในประเทศอังกฤษปัจจุบันมากถึง 80 โครงการ โดยใช้เงินทุนของบริษัทเอง ไม่มีการกู้เงินจากสถาบันการเงิน ถือเป็นผู้ประกอบการอสังหาฯ รายใหญ่ในประเทศอังกฤษ พัฒนาที่อยู่อาศัยมามากกว่า 19,000 ยูนิต เฉพาะปีที่ผ่านมาพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยออกมาทำตลาดมากกว่า 3,158 ยูนิต ด้านนางสาวจุฑามาศ ลีวานันท์ ผู้จัดการฝ่ายขายและการตลาดสำหรับที่อยู่อาศัยต่างประเทศ บริษัท โจนส์ แลง ลาซาลล์ (ประเทศไทย) ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ในประเทศอังกฤษว่า ในปัจจุบันนักลงทุนไทยให้ความสนใจลงทุนอสังหาฯ ในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เพิ่มมากขึ้น เนื่องจากจำนวนที่อาศัยในกรุงลอนดอนมีไม่เพียงพอกับความต้องการ เพราะกรุงลอนดอนนั้น นอกจากจะเป็นสถานที่ตั้งสำนักงานใหญ่ของบริษัทระดับโลกจำนวนมากแล้ว ยังเป็นหนึ่งในศูนย์กลางทางการเงินของโลก เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียง และเป็นศูนย์กลางทางด้านการศึกษาระดับสูง ซึ่งประกอบไปด้วยมหาวิทยาลัยและวิทยาลัยมากกว่า 40 แห่ง ประกอบกับค่าเงินปอนด์อ่อนตัวอยู่ในระดับที่ต่ำเป็นเวลา 5 ปีติดต่อกัน และค่าเงินบาทที่แข็งตัว การลงทุนในตลาดอสังหาริมทรัพย์ของกรุงลอนดอน ให้ผลการตอบแทนค่าเช่าที่ดีถึง 3-4% และราคาขายเติบโต 6-10% ต่อปี ซึ่งดีกว่าสินทรัพย์ประเภทอื่น ๆ ในระยะกลางถึงระยะยาว เนื่องจากกรุงลอนดอนเป็นที่อยู่อาศัยที่ปลอดภัย มีรูปแบบกฎหมายที่โปร่งใส การถือครองกรรมสิทธิ์ในสัญญาเช่า (Leasehold) ที่มีความยาว 999 ปี นอกจากนี้ กฎหมายของอังกฤษไม่ได้มีข้อจำกัดในการปล่อยเช่า  หรือเป็นเจ้าของอสังหาฯ ที่นักลงทุนต่างชาติต้องกังวล ทั้งยังมีสภาพคล่องสูง สามารถขายต่อได้ภายใน 2 เดือนโดยเฉลี่ยจากข้อมูลของเว็บ Zoopla และจากผลสำรวจของ Seven Capital Brexit พบว่า กว่า 85% ของนักลงทุนนั้น กำลังลงทุนในตลาดของประเทศอังกฤษ แสดงให้เห็นว่าตลาดอสังหาริมทรัพย์ในประเทศอังกฤษยังคงเป็นที่น่าดึงดูดและเป็นการลงทุนที่มั่นคงสำหรับบุคคลที่มีรายได้สูง
พัทยา โอกาสทางตลาด “บ้านหลังที่ 2” แหล่งหลบภัยสังคมไฮเอนด์

พัทยา โอกาสทางตลาด “บ้านหลังที่ 2” แหล่งหลบภัยสังคมไฮเอนด์

ในบรรดาเมืองชายทะเล สำหรับเป็นสถานที่พักตากอากาศของไทยยอดนิยม หนึ่งในนั้นต้องมี “เมืองพัทยา” ติดอยู่ในลำดับต้น ๆ โดยเฉพาะแหล่งท่องเที่ยวของคนที่อยู่ในจังหวัดกรุงเทพฯ และปริมณฑล เพราะสามารถเดินทางได้สะดวก รวดเร็ว ที่สำคัญเมืองพัทยามีความครบถ้วนของสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ช่วงวันเสาร์-อาทิตย์ หรือวันหยุดยาวผู้คนจำนวนมากจึงเดินทางมาพักผ่อนและท่องเที่ยว   เมืองพัทยาไม่ได้มีความสำคัญเฉพาะด้านการท่องเที่ยวเท่านั้น แต่ยังมีความสำคัญในการเป็นที่อยู่อาศัยระยะยาว ทั้งกลุ่มผู้เกษียณอายุ หรือผู้ที่ต้องการที่พักผ่อน  แม้แต่เป็นสถานที่หลบภัยชั่วคราว อย่ากรณีน้ำท่วมใหญ่ในพื้นที่กรุงเทพฯ​ ช่วงปี 2554 ซึ่งมีหลายครอบครัวเลือกจะมาพักอาศัยหนีน้ำท่วม  เรียกได้ว่า เมืองพัทยากลายเป็นบ้านหลังที่ 2 ของหลายครอบครัวไปแล้ว   นายณพงศ์ ปริพนธ์พจนพิสุทธิ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท โอเชี่ยน พรอพเพอร์ตี้ จำกัด เปิดเผยว่า ในช่วงน้ำท่วมใหญ่กรุงเทพฯ ปี 2554 พบว่ามีกลุ่มลูกค้าของบริษัท ได้อพยพมาพักอาศัยที่โครงการโอเชี่ยน พอร์โตฟิโน่ จอมเทียน-พัทยา เป็นจำนวนมาก เพราะไม่มีปัญหาน้ำท่วม ขณะที่ปัจจุบันเกิดปัญหาการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ซึ่งทำให้ไม่สามารถเดินทางท่องเที่ยวไปในต่างประเทศได้ กลุ่มลูกค้าระดับไฮเอนด์จึงเลือกที่จะมาพักอาศัยอยู่ที่พัทยาแทน ส่งผลให้ตลาดคอนโดมิเนียมลักชัวรี่มีอัตราการเติบโตเพิ่มมากขึ้น และถูกใช้เป็นบ้านหลังที่ 2 มากขึ้นด้วย โดยโครงการโอเชี่ยน พอร์โตฟิโน่ จอมเทียน-พัทยา เป็นโครงการคอนโดมิเนียมไฮไรส์ สูง 37 ชั้น มีจำนวน 268 ยูนิต บนเนื้อที่กว่า 120 ไร่ มูลค่า 3,000 ล้านบาท ปัจจุบันเหลือขายประมาณ 30 ยูนิต ซึ่งช่วงหลังจากมาตรการล็อคดาวน์ พบว่ากลุ่มลูกค้าให้ความสนใจในการซื้อคอนโดไว้สำหรับเป็นบ้านที่ 2 กันมากขึ้น เฉพาะเดือนที่ผ่านมาสามารถทำยอดขายได้ถึง 120 ล้านบาท ภายในระยะเวลาเพียง 1 สัปดาห์เท่านั้น  เนื่องจากกลุ่มลูกค้าต้องการซื้อเพื่อใช้เป็นบ้านหลังที่ 2 เพราะส่วนใหญ่จะซื้อห้องที่มีขนาดใหญ่ ตั้งแต่ 2 ห้องนอนขึ้นไป จากปกติมียอดขายเฉลี่ยเดือนละ 1-2 ห้องเท่านั้น   ปัญหาน้ำท่วมใหญ่ ปัญหาฝุ่น PM 2.5 และไวรัสโควิด-19 ทำให้คนทั่วไปมีการวางแผนสำรอง รับมือกับสถานการณ์ต่าง ๆ ที่ไม่คาดคิดจะเกิดขึ้น จึงหาซื้อบ้านหลังที่สองไว้พัก อสังหาฯ ทั่วไปไม่ค่อยดี แต่กลุ่มไฮเอนด์ยังเติบโตได้ดี นายณพงศ์  กล่าวอีกว่า  ไม่เพียงแต่กลุ่มลูกค้าชาวไทยเท่านั้น ที่วางแผนมีบ้านหลังที่สอง เพื่อรับมือกับความไม่แน่นอน แต่ชาวต่างชาติยังวางแผนสำรองลักษณะเดียวกันด้วย โดยมองว่าประเทศไทย เป็นประเทศที่มีศักยภาพด้านความปลอดภัยสูง โดยเห็นได้จากการรับมือกับการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19  จึงมองว่าประเทศไทยเป็นจุดหมายปลายทางในการเข้ามาพักระยะยาว โดยเฉพาะกลุ่มลูกค้าชาวจีน และยุโรป  ซึ่งเห็นได้จากโครงการโอเชียนฯ มีลูกค้าที่พักอาศัยแบบระยะยาวมากถึง 20 ห้อง ทั้งลูกค้าชาวไทยและต่างชาติ ปัจจัยสำคัญที่ส่งเสริมให้เมืองพัทยา เป็นสถานที่การท่องเที่ยวและพักอาศัยในระยะยาวนั้น 1.การเดินทางสะดวกและรวดเร็ว ปัจจุบันการเดินทางมาเมืองพัทยา สามารถเดินทางได้โดยรถโดยสาร รถไฟ และรถส่วนตัว ซึ่งมีความสะดวกและรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นเส้นทางปกติหรือทางหลวงพิเศษ (มอเตอร์เวย์) ขณะที่ในอนาคตยังจะมีการพัฒนาเส้นทางทั้งถนน เส้นทางรถไฟ และการเปิดใช้สนามบินอู่ตะเภา ซึ่งยกระดับเป็นสนามบินนานาชาติเชิงพาณิชย์แห่งที่ 3 ของกรุงเทพฯ ซึ่งยังจะมีการพัฒนาเส้นทางรถไฟความเร็วสูง เชื่อมทั้งสนามบินสุวรรณภูมิ และดอนเมืองด้วย ทำให้การเดินทางมาเมืองพัทยาทั้งสะดวกและรวดเร็วกว่าเดิม 2.พื้นที่เมืองเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม เมืองพัทยามีความเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง เป็นเมืองที่มีบทบาทสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจ และยังเป็นเมืองอุตสาหกรรมสำคัญของประเทศ ส่งผลให้เศรษฐกิจของเมืองพัทยาเติบโตมาโดยตลอด จึงทำให้ราคาของที่อยู่อาศัยและอสังหาฯ เติบโตตามด้วย กลุ่มผู้ซื้ออสังหาฯ ส่วนหนึ่งจึงมองเรื่องโอกาสการเพิ่มขึ้นของราคาอสังหาฯ ในอนาคต ประกอบการพิจารณาเลือกซื้อด้วย 3.ที่ดินขึ้นโครงการใหม่มีจำกัด แม้ว่าที่ผ่ามาเมืองพัทยาจะมีการพัฒนาโครงการอสังหาฯ ออกมาจำนวนมาก แต่ปัจจุบันจะพบว่าตลาดเริ่มมีซัพพลายออกมาน้อย เนื่องจากที่ดินมีจำกัด โดยเฉพาะที่ดินบริเวณริมชายหาด ซึ่งปัจจุบันถูกจับจองจากผู้ประกอบการรายใหญ่ไว้หมดแล้ว โอกาสการพัฒนาโครงการใหม่ในทำเลศักยภาพจึงมีน้อยลงด้วย  การพัฒนาโครงการส่วนใหญ่ในระยะหลัง จึงขยายออกไปไกลกว่าบริเวณชายหาด   ข้อมูลจากคอลลิเออร์ส อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย ระบุว่า ช่วงครึ่งแรกของปี 2563 มีโครงการคอนโดเปิดขายใหม่ในพื้นที่พัทยาเพียง 1 โครงการ จำนวน 319 ยูนิตเท่านั้น เพราะภาพรวมของตลาดคอนโดในพัทยายังคงมีจำนวนที่ก่อสร้างแล้วเสร็จก่อนหน้านี้เหลือขายอยู่ในตลาดพอสมควร บวกกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 เกิดการชะลอตัว   ขณะที่ขนาดของคอนโดที่อยู่ระหว่างการขายในพื้นที่พัทยาทั้งหมด  พบว่ามีห้องชุดขนาดต่ำกว่า 50 ตร.ม.พัฒนาออกมามากสุดสัดส่วน 84.2% และขายไปแล้ว 66.3% ส่วนห้องชุดขนาดมากกว่า 100 ตร.ม.ขึ้นไปเหลือจำนวนแค่ 1% เท่านั้น ซึ่งพฤติกรรมของกลุ่มลูกค้าระดับไฮเอนด์จะเลือกซื้อห้องขนาดใหญ่ มากกว่าห้องขนาดเล็ก เพราะพักอาศัยแบบครอบครัว “โอเชี่ยน” เล็งปั้นโปรเจ็กต์พื้นที่ 100 ไร่ สำหรับพื้นที่บริเวณโครงการโอเชี่ยน พอร์โตฟิโน่ จอมเทียน-พัทยา ยังมีที่ดินเหลืออีกกว่า 100 ไร่ ​ ที่บริษัทสามารถนำมาพัฒนาโครงการใหม่ได้อย่างต่อเนื่อง ​ซึ่งคาดว่าน่าจะใช้ระยะเวลาพัฒนาประมาณ 2-3 ปี หลังจากคาดว่าโครงการโอเชี่ยน พอร์โตฟิโน่ จอมเทียน-พัทยา จะสามารถปิดการขายได้ภายในปีนี้   โดยโครงการใหม่ยังคงจับตลาดกลุ่มลักชัวรี่ เนื่องจากเป็นกลุ่มที่มีกำลังซื้อสูง และเป็นกลุ่มลูกค้าที่มองหาบ้านหลังที่ 2 และไม่มีผลกระทบกับสภาพเศรษฐกิจ ขณะที่ตลาดระดับกลางลงล่าง ในราคา 1-3 ล้านบาท จะอ่อนไหวต่อสภาพเศรษฐกิจ และทำตลาดได้ยาก ซึ่งกลุ่มดังกล่าวมักเป็นลูกค้าที่ซื้อบ้านหลังแรก โดยส่วนใหญ่จะต้องขอวงเงินกู้จากสถาบันเป็นหลัก แต่หากเป็นกลุ่มลักชัวรี่ส่วนใหญ่จะซื้อด้วยเงินสด และไม่มีปัญหาด้านการกู้เงิน   มองจากปัจจัยต่าง ๆ ที่มีการเปลี่ยนแปลง สถานกาณ์ของโลกที่ไม่แน่นอน ทำให้เทรนด์การมีบ้านหลังที่สอง จะกลายเป็น New Normal หรือความปกติใหม่ของการปรับตัวของผู้คนในยุคปัจจุบัน ยุคที่ทุกคนต้องเจอกับความเสี่ยงที่มีมากขึ้น และจะกลายเป็นเทรนด์ที่เติบดตขึ้นในตลาดอสังหาฯ นับจากนี้    
1 ปี SANSIRI BACKYARD จากพื้นที่สีเขียว สู่สวนผักทานได้ ปลูกง่ายในบ้าน

1 ปี SANSIRI BACKYARD จากพื้นที่สีเขียว สู่สวนผักทานได้ ปลูกง่ายในบ้าน

แสนสิริ ต่อยอดโปรเจ็กต์ SANSIRI BACKYARD จากการปั้นพื้นที่ว่างเปล่าเป็นพื้นที่สีเขียว สู่สวนผักทานได้  กระตุ้นลูกบ้านกว่า 120,000 ครอบครัว หันมาดูแลตนเองใช้พื้นที่ว่างปลูกพืชผักไว้กินเอง แสนสิริ ได้เริ่มต้นวิสัยทัศน์ For Greater Well-being ที่ใส่ใจสุขภาพและสิ่งแวดล้อมเพื่อตอบโจทย์ความต้องการคุณภาพชีวิตที่ดีของคนเมือง จากการมองเห็นเทรนด์การใช้ชีวิตของผู้บริโภค ที่เปลี่ยนแปลงไปโดยเฉพาะเทรนด์การรักษ์โลก ด้วยการปลูกต้นไม้ไว้ในบ้านหรือห้องพักตามคอนโดมิเนียม จึงได้สานต่อวิสัยทัศน์ดังกล่าว เปิดตัว Sansiri Backyard (แสนสิริ แบคยาร์ด) คอมมูนิตี้สีเขียวในเมือง ซึ่งปัจจุบันโครงการดังกล่าวได้เดินทางมาครบ 1 ปีแล้ว   โครงการ Sansiri Backyard นำที่ดินรอการพัฒนาพื้นที่รวมกว่า 14 ไร่ ของ T77 บริเวณสุขุมวิท77 ให้เป็นฟาร์มผักปลอดสาร เพื่อกระตุ้นให้ผู้คนในเมืองใหญ่เห็นความสำคัญการใช้ชีวิตใกล้ชิดธรรมชาติและคุณภาพชีวิตที่ดีที่มาจากการทานอาหารสดใหม่ ปลอดสารและไม่ปรุงแต่ง  ซึ่งแสนสิริคาดหวังว่าโครงการนี้ จะช่วยจุดประกายและสร้างแรงบันดาลใจ ให้ผู้คนเริ่มต้นสร้างพื้นที่สีเขียวบนพื้นที่ว่างเปล่าใกล้ตัว และปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ทำให้เกิดคุณภาพชีวิตที่ดี ทั้งต่อตนเองและสิ่งแวดล้อมได้     ขณะที่ช่วงเกิดการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 สถานการณ์ดังกล่าวได้ส่งผลให้ผู้คนหันมาดูแลสุขภาพเชิงป้องกันเพิ่มมากขึ้น จากผลสำรวจของดุสิตโพลล่าสุดชี้ว่าประชากร 45.39% ปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์หันมาให้ความสำคัญกับการออกกำลังกาย และเลือกบริโภคอาหารปลอดภัย ด้วยความคิดที่ว่าการดูแลสุขภาพให้ดีอยู่เสมอจะช่วยป้องกันไวรัส และการบริโภคอาหารที่ปลอดภัยจะช่วยสร้างภูมิคุ้มกันได้   นางจริยา จันทร์เจิดศักดิ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการสายพัฒนาผลิตภัณฑ์ บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ตลอด 1 ปีที่ผ่านมาโครงการ SANSIRI BACKYARD ภายใต้หลัก 3GS หรือ GREEN-GROW-GIVE นั้น ไม่ได้มองเฉพาะเรื่องของการให้ความร่มรื่นในที่อยู่อาศัยเท่านั้น แต่ต้องใช้พื้นที่ในบ้านให้เป็นประโยชน์ด้วยการเป็นแหล่งอาหารที่ปลอดภัยของครอบครัว จึงเกิดเป็นแนวคิด “SANSIRI BACKYARD: EAT-ABLE GARDEN (แสนสิริ แบคยาร์ด: อีท-เอเบิ้ล การ์เด้น) สวนผักทานได้ ปลูกง่ายในบ้าน” สนับสนุนให้ลูกบ้านใช้พื้นที่ว่างบางส่วน เช่นสวนหลังบ้านหรือริมระเบียงคอนโด มาทำสวนผักทานได้ และสามารถเป็นผู้ผลิตอาหารด้วยตัวเอง (FOOD PRODUCER)   โดย SANSIRI BACKYARD: EAT-ABLE GARDEN ได้จัดโชว์เคสในโชว์ยูนิต ทั้งโครงการบ้านและคอนโด ได้แก่ คาวะ เฮาส์ (kawa HAUS), อณาสิริ ชัยพฤกษ์–วงแหวนและอณาสิริ กรุงเทพ-ปทุมธานี ควบคู่ไปกับการจัดกิจกรรมสนับสนุนให้ลูกค้าและ SANSIRI FAMILY กว่า 120,000 ครอบครัว สามารถปลูกสวนผักทานได้ในบ้านให้เกิดขึ้นจริงภายใต้คอนเซ็ปต์ GREEN INSPIRE-GROW COMMUNITY-GIVE EXPERIENCE ตั้งแต่ ส่งมอบชุดปลูกผักทานได้ (EDIBLE PLANT KIT) แบ่งปันทิปส์เกี่ยวกับ EDIBLE PLANT ทั้งผัก สมุนไพรไทยและต่างประเทศ รวมถึงดอกไม้ และจัดป๊อปอัพสวนทานได้ รวมถึงไลน์อัพสิทธิพิเศษอีกมากมายจากไร่กำนันจุล, ท็อปส์ มาร์เก็ต  และวิลล่า มาร์เก็ต พร้อมผลักดัน ZTHEGARDEN หนึ่งในผู้ชนะจาก THE FOUNDER โปรเจคปั้นพนักงานสู่สตาร์ทอัพ เพื่อส่งมอบบริการจัดสวนทานได้ถึงที่พักอาศัย     ในครึ่งปีหลังของแสนสิริพร้อมเดินหน้าสานต่อความสำเร็จของ SANSIRI BACKYARD ทั้งบนพื้นที่ส่วนกลางและพื้นที่รอพัฒนาเป็นแหล่งอาหารของชุมชน ขยายพื้นที่สีเขียวรวมเป็น 17 ไร่ของ SANSIRI BACKYARD x CHUL FARM ที่ T77 COMMUNITY เพิ่มนาข้าวไรซ์เบอร์รี่ และเลี้ยงเป็ดในแปลงนา เพื่อกำจัดวัชพืช ศัตรูข้าว รวมทั้งเพิ่มปุ๋ยให้ต้นข้าว โดยอยู่ภายใต้การดูแลอย่างของไร่กำนันจุล หนึ่งใน CO-GROWING PARTNER พันธมิตรธุรกิจรักษ์โลกของแสนสิริ   พร้อมกันนี้ยังมีการเพิ่มลู่วิ่งออกกำลังกายความยาว 1.5 ก.ม. รอบโครงการ T77 COMMUNITY ที่ผ่านเข้าไปชมความอุดมสมบูรณ์ของ SANSIRI BACKYARD x CHUL FARM และงานศิลปะ WALL ART  ขณะที่วางเป้าสร้าง SANSIRI BACKYARD เป็นสวนผักทานได้และแหล่ง FOOD SUPPLY บนพื้นที่ส่วนกลางรวม 160 โครงการคอนโดฯ บ้านเดี่ยว ทาวน์โฮมและทาวน์เฮาส์ภายในปีนี้   “SANSIRI BACKYARD: EAT-ABLE GARDEN เป็นการปรับปัจจัยแวดล้อมของการพัฒนาโครงการของแสนสิริให้เข้ากับเทรนด์ปัจจุบันของการใช้ชีวิตของผู้บริโภค ที่หันมาใส่ใจต่อการใช้ชีวิตเพื่อสุขภาพดีอย่างยั่งยืน รวมถึงใช้ชีวิตแบบเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ผู้บริโภคใช้จ่ายอย่างมีจิตสำนึกเรื่องความยั่งยืน การอยู่ร่วมกับธรรมชาติ และการกินอยู่ที่ปลอดภัย ปลอดสารมากขึ้น”   นางจริยา กล่าวตอนท้ายว่า ตลอดช่วงที่รัฐบาลประกาศล็อคดาวน์ ที่ทุกคนใช้ชีวิตส่วนใหญ่ในบ้านและคอนโด SANSIRI BACKYARD ได้ทำหน้าที่เป็น FOOD SUPPLY หรือแหล่งอาหารแก่ชุมชนทั้งที่หัวหินและชุมชนลูกบ้านใน T77 COMMUNITY และอีก 30 โครงการ มากกว่า 15,000 ครอบครัวรวมไปถึงชุมชนใกล้เคียง ที่เชื่อมั่นในความสะอาดปลอดภัยจากการปลูกผักแบบปลอดสารของ SANSIRI BACKYARD    
เปิด 5 ทำเล ราคาที่ดินเปล่า ปรับเพิ่มสูงสุด

เปิด 5 ทำเล ราคาที่ดินเปล่า ปรับเพิ่มสูงสุด

REIC เปิด 5 ทำเล แนวรถไฟฟ้า ดัชนีราคาที่ดินเปล่าก่อนการพัฒนาในกรุงเทพฯ-ปริมณฑล ไตรมาส 2 ปี 2563 ปรับเพิ่มขึ้นกว่า 30%  แนวรถไฟฟ้าสายสีเขียวเหนือ (คูคต - ลำลูกกา) ที่ยังไม่ก่อสร้าง ครองแชมป์ราคาปรับเพิ่มสูงสุด 5 ไตรมาสติดต่อกัน   ดร.วิชัย วิรัตกพันธ์ ผู้ตรวจการธนาคารอาคารสงเคราะห์ และรักษาการผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์  หรือ REIC เปิดเผยว่า ศูนย์ข้อมูลฯ  ได้จัดทำดัชนีราคาที่ดินเปล่าก่อนการพัฒนาในกรุงเทพฯ-ปริมณฑล ในไตรมาส 2 ปี 2563  พบว่า มีค่าดัชนีเท่ากับ 308.6  เพิ่มขึ้น  5.2%  เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า ซึ่งมีค่าดัชนีเท่ากับ 293.3 และปรับเพิ่มขึ้น 30.3% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ซึ่งมีค่าดัชนีเท่ากับ 236.9 จุด   การปรับเพิ่มขึ้นของดัชนีราคาที่ดินเปล่าก่อนการพัฒนาในไตรมาสนี้ ทำเลที่มีการปรับเพิ่มขึ้นมากกว่าทำเลอื่นๆ ส่วนใหญ่ยังคงเป็นพื้นที่ปลายสายรถไฟฟ้า ที่เป็นส่วนต่อขยายและมีแผนจะก่อสร้างในอนาคต  โดยทำเลที่มีเส้นทางรถไฟฟ้าผ่าน 5 อันดับแรกที่มีอัตราการขยายตัวของราคาที่ดินเพิ่มขึ้นสูงสุด เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ได้แก่   ดัชนีราคาที่ดินเปล่าก่อนการพัฒนาตามเส้นทางรถไฟฟ้าที่มีการเปลี่ยนแปลงสูงสุด 5 อันดับแรก ในไตรมาส 2 ปี 2563 1.สายสีเขียวเหนือ (คูคต - ลำลูกกา) เป็นเส้นทางรถไฟฟ้าที่ยังไม่เริ่มก่อสร้าง ซึ่งเป็นส่วนต่อขยายของสายสีเขียว ในไตรมาส 2 ปี 2563 เปิดให้บริการ 4 สถานี ได้แก่ สถานีกรมป่าไม้ สถานีบางบัว สถานีกรมทหารราบที่ 11 และสถานีวัดพระศรีมหาธาตุ ส่งผลให้ราคาที่ดินในบริเวณตามแนวรถไฟฟ้านี้มีอัตราขยายตัวของราคาที่ดินเพิ่มขึ้น 61.4 และเป็นทำเลที่มีการเพิ่มขึ้นของราคาที่ดินมากที่สุดต่อเนื่องมา 5 ไตรมาส   2.สายสีชมพู (แคราย - มีนบุรี) เป็นเส้นทางรถไฟฟ้าที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง มีความคืบหน้าการก่อสร้างโดยรวมอยู่ที่ 57% มีอัตราการขยายตัวของราคาที่ดินเพิ่มขึ้น  53.6%   3.สายสีน้ำเงิน (บางแค - พุทธมณฑลสาย 4) เป็นโครงการที่มีแผนจะก่อสร้างในอนาคต มีอัตราการขยายตัวของราคาที่ดินเพิ่มขึ้น  28.5% อัตราขยายตัวของดัชนีราคาที่ดินเปล่าก่อนการพัฒนาในกรุงเทพฯ – ปริมณฑล 4.สายสีแดงอ่อน (ตลิ่งชัน - ศาลายา) เป็นโครงการที่มีแผนจะก่อสร้างในอนาคต มีอัตราการขยายตัวของราคาที่ดินเพิ่มขึ้น  26.5%   5.สายสีเขียวใต้ (สมุทรปราการ - บางปู) เป็นโครงการที่มีแผนจะก่อสร้างในอนาคต และสายสีเขียวใต้ (แบริ่ง - สมุทรปราการ) ซึ่งก่อสร้างเสร็จและเปิดให้บริการแล้ว มีอัตราขยายตัวของราคาที่ดินเพิ่มขึ้นเท่ากัน  23.1%
ริสแลนด์ ยักษ์อสังหาฯ จีนไม่หยุด ปั้นโปรเจ็กต์คอนโด 15,000 ล้าน

ริสแลนด์ ยักษ์อสังหาฯ จีนไม่หยุด ปั้นโปรเจ็กต์คอนโด 15,000 ล้าน

ริสแลนด์ ยักษ์อสังหาฯ จีน ไม่หวั่นตลาดคอนโดไทยหดตัว เดินหน้าปั้นโปรเจ็กต์ปีละ 10,000 ล้าน มั่นใจตลาดยังมีดีมานด์ ขณะที่ชาวต่างชาติยังชอบเมืองไทย จาก 2 ปัจจัยสำคัญ ทั้งปลอดภัยและคนไทยนิสัยดี ล่าสุด เปิดโปรเจ็กต์ใหม่ มูลค่ารวม 15,000 ล้าน ต่อยอดการเติบโตทุกปีในอัตรา 5-8%    ดร.หยาน จู้ ผู้อำนวยการโครงการสกายไรซ์ อเวนิว สุขุมวิท 64 บริษัท  ริสแลนด์ (ประเทศไทย) จำกัด (RISLAND Thailand) เปิดเผยว่า  ริสแลนด์เป็นกลุ่มพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ที่ฮ่องกง ดำเนินธุรกิจด้านการพัฒนาที่อยู่อาศัย อาคารพาณิชย์ และการบริหารจัดการอาคาร มีโครงการอสังหาริมทรัพย์อยู่ในหลากหลายประเทศ ทั้งสหรัฐอเมริกา นิวซีแลนด์ อินเดีย อินโดนีเซีย เวียดนาม และประเทศไทย รวมมูลค่าโครงการทั่วโลกประมาณ 550,000 ล้านบาท สำหรับประเทศไทย ได้เริ่มเข้ามาดำเนินธุรกิจตั้งแต่ปี 2560 และในปี 2561 เป็นต้นมา ริสแลนด์ ประเทศไทย ได้เปิดตัวโครงการหลากหลายแบรนด์ ครอบคลุมทุกเซกเมนต์ รวม 5 โครงการ ได้แก่ โครงการ Artisan Ratchada, โครงการ Lake Serene Rama II, โครงการ CLOUD Thonglor-Phetchaburi, โครงการ The Livin Phetkasem, และโครงการ CLOUD Residences – SKV23     ด้านนายเกษมศักดิ์ สุนทโรทก ผู้อำนวยการฝ่ายการขายและการตลาด ริสแลนด์ (ประเทศไทย) กล่าวว่า ตลาดคอนโดมิเนียมในปีนี้อยู่ในภาวะที่ชะลอตัว มีหลายบริษัทเลื่อนการเปิดตัวโครงการออกไป แต่บริษัทยังคงเดินหน้าเปิดโครงการใหม่ตามแผนที่วางไว้  เนื่องจากมีความมั่นใจว่าตลาดยังมีความต้องการ ทั้งกลุ่มคนไทยและต่างชาติ โดยเฉพาะฐานลูกค้าหลักเป็นกลุ่มชาวจีน เนื่องจากประเทศไทยมีศักยภาพ และเป็นที่ต้องการเข้ามาอยู่อาศัยของกลุ่มลูกค้าชาวจีน   โดยในสายตาของชาวต่างชาติ โดยเฉพาะชาวจีน มองว่าประเทศไทย มีจุดเด่นใน 2 เรื่อง คือ 1.เป็นประเทศที่มีความปลอดภัยสูง และ 2.ลักษณะนิสัยของคนไทย ซึ่งต้องรับการเข้ามาของชาวต่างชาติ จึงถือว่าประเทศไทยเป็นเมืองที่น่าอยู่ ขณะเดียวกันอสังหาริมทรัพย์ของไทย ยังมีราคาต่ำกว่าหลายเมืองในต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นฮ่องกง หรือสิงค์โปร์ ดีเอ็นเอของริสแลนด์ บริษัทแม่มองว่าการเข้ามาทำตลาดยังเพิ่งเริ่มต้น จึงเปิดโอกาสให้ทีมงานในไทยสามารถทำงานแบบลองผิดลองถูกได้เต็มที่ แม้ว่าจะมีปัจจัยลบ แต่คนริสแลนด์จะต้องไม่ทิ้งเป้าหมายในการทำธุรกิจ   อย่างไรก็ตาม แม้ว่าภาวะตลาดในปีนี้จะชะลอตัว แต่บริษัทยังคงทำการตลาดและสร้างแบรนด์อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้กลุ่มลูกค้าคนไทยเป็นที่รู้จัก ด้วยการปรับกลยุทธ์การทำตลาดและการขายให้สอดคล้องกับสถานการณ์ เช่น การทำตลาดออนไลน์ การให้ทีมงานฝ่ายขายทำตลาดเชิงรุก ซึ่งบริษัทมั่นใจว่าจะสามารถสร้างการเติบโตและยอดขายได้ตามเป้าหมาย   นายเกษมศักดิ์ กล่าวอีกว่า การดำเนินธุรกิจในประเทศไทย บริษัทได้วางเป้าหมายการเปิดโครงการใหม่อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้มียอดขายปีละ 10,000 ล้านบาท พร้อมกับสร้างการเติบโตต่อเนื่องปีละ 5-8% ซึ่งในปีนี้ได้วางแผนเปิดตัวโครงการใหม่ 3 โครงการ โดยเปิดตัวไปแล้ว 1 โครงการ คือ โครงการ Cloud Residences สุขุมวิท 23 มูลค่าโครงการกว่า 3,600 ล้านบาท เป็นคอนโดมิเนียมไฮไรส์ สูง 43 ชั้น บริเวณซอยสุขุมวิท 23 ล่าสุด เปิดตัวโครงการ สกายไรซ์ อเวนิว สุขุมวิท 64 บนพื้นที่กว่า 22 ไร่ใกล้รถไฟฟ้า BTS สถานีปุณณวิถี ในรูปแบบ Mixed-Use ซึ่งเปิดตัวเฟสแรก เป็นคอนโดแบบไฮไรส์ จำนวน 4 อาคาร ประกอบด้วย อาคารสูง 46 ชั้น 1 อาคาร, อาคารสูง 48 ชั้น จำนวน 2 อาคาร และอาคารสูง 49 ชั้น จำนวน 1 อาคาร มีจำนวนยูนิตทั้งหมด 1,961 ยูนิต ในเฟสแรกมีมูลค่าโครงการ  9,060 ล้านบาท จากมูลค่ารวมทั้งโครงการกว่า 15,000 ล้านบาท โดยมีราคาขายเริ่มต้น 2.49 ล้านบาท หรือเฉลี่ยตารางเมตรละ 125,000 บาท   ปัจจุบันมียอดขายแล้ว 700 ล้านบาท เป็นลูกค้าคนไทย 500 ล้านบาทและลูกค้าต่างชาติอีก 200 ล้านบาท  โดยคาดว่าภายในสิ้นปีจะสามารถทำยอดขายได้ประมาณ 1,800 ล้านบาท   โดยโครงการสกายไรซ์ อเวนิว สุขุมวิท 64 จะเริ่มก่อสร้างในช่วงไตรมาสที่ 2 ปี 2564 และจะเริ่มเปิดขายโครงการในเฟสที่ 2 หลังจากโคงการแรกมียอดขาย 80% ซึ่งคาดว่าโครงการจะแล้วเสร็จสมบูรณ์ทั้งสองเฟสภายใน 8 ปี สำหรับโครงการที่ 3 จะเปิดตัวโครงการ Lavin Ramkhamhaeng ซึ่งมีระดับราคาเริ่มเฉลี่ยยูนิตละ 1.5 ล้านบาท
สิงห์ เอสเตท เจอพิษโควิด-19 ปรับเป้ารายได้ลง 50% เหลือ 9,000 ล้าน

สิงห์ เอสเตท เจอพิษโควิด-19 ปรับเป้ารายได้ลง 50% เหลือ 9,000 ล้าน

สิงห์ เอสเตท หั่นเป้ารายได้ 50% เหลือ 9,000 ล้าน แต่ยังทุ่มงบลงทุน 5,000 ล้าน พร้อมเดินหน้าตามแผนธุรกิจ 5 ปี เพิ่มโรงแรมทั่วโลกแห่ง 80 แห่ง สร้างการเติบโตและมุ่งหน้าสู่ “โกลบอล โฮลดิ้ง คอมปานี”   แม้ว่าปีนี้ประเทศไทยจะเผชิญกับปัญหาการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ซึ่งส่งผลต่อการดำเนินธุรกิจที่ทำให้ ต้องหยุดการทำธุรกรรมต่าง ๆ แน่นอนว่าต้องทำให้ยอดขายและรายได้ลดลง แต่อาจจะมีบางธุรกิจหรือบางบริษัทที่ยังคงรักษาการเติบโตและรายได้เอาไว้ได้  หลังจากปรับตัวและปรับกลยุทธ์แสวงหาโอกาสภายใต้วิกฤตที่เกิดขึ้น   สำหรับบริษัท สิงห์ เอสเตท จำกัด (มหาชน) หรือ S ก็ได้รับผลกระทบจากวิกฤตดังกล่าวเช่นกัน ทำให้จำเป็นต้องปรับเป้าหมายรายได้รวมในปี 2563 ลดลงประมาณ 50% หรือมีมูลค่า 9,000 ล้านบาท จากเป้าหมายที่คาดว่าจะทำได้ 18,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นเป้าหมายที่ลดลงมาจากช่วงต้นปี ที่ได้ประกาศก่อนหน้านี้ว่าจะทำรายได้ 20,000 ล้านบาท     นายนริศ เชยกลิ่น ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท สิงห์ เอสเตทฯ เปิดเผยว่า สิงห์ เอสเตท ยังคงเดินหน้าลงทุนตามแผนธุรกิจเดิมในระยะเวลา 5 ปี (2563 – 2567) ด้วยงบลงทุน 68,000 ล้านบาท ด้วยกลยุทธ์เติบโตอย่างยั่งยืน  แต่เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไปในปัจจุบัน จึงได้มีการปรับเป้ารายได้รวมในปีนี้ลดลง ซึ่งคาดว่าสถานการณ์ภาพรวมตลาด จะกลับมาฟื้นตัวได้ในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีนี้   บริษัทหวังเป็นอย่างยิ่งว่าวิกฤตโควิด-19 จะผ่านพ้นไปโดยเร็ว และภายหลังวิกฤต เราเห็นถึงโอกาสทางธุรกิจและการลงทุนใหม่ๆที่น่าสนใจพร้อมการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ โดยเราจะพิจารณาลงทุนตามความเหมาะสมและมีเกณฑ์ที่เข้มงวดในการตัดสินใจลงทุน เพื่อให้ได้สินทรัพย์ที่มีคุณภาพและโอกาสเพิ่มมูลค่าในอนาคต โดยแผนการลงทุนระยะ 5 ปี จะมุ่งเน้นใน 3 ธุรกิจหลัก ได้แก่ ธุรกิจที่พักอาศัย ธุรกิจอาคารสำนักงาน และธุรกิจโรงแรม 1.เดินแผนปั้นโปรเจ็กต์ปีละ 5-7 โครงการ โดยแผนการพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยในระยะ 5 ปี บริษัทยังพัฒนาโครงการปีละ 5-7 โครงการ และยังมุ่งขยายการพัฒนาโครงการที่พักอาศัย ไปในทำเลรอบเมือง  ภายใต้คอนเซปต์ “New Living and Working” เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงความต้องการของกลุ่มลูกค้าในอนาคต เนื่องจากมองเห็นโอกาสในการพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัย ที่จะขยายตัวออกจากเมืองไปยังทำเลใหม่ๆ ตามการขยายตัวของระบบขนส่งมวลชน และโครงข่ายถนน ซึ่งจะเป็นโครงการแนวราบในรูปแบบมิกซ์ยูส อันประกอบไปด้วย บ้านเดี่ยว ทาวน์โฮม รีเทล ออฟฟิศแนวราบ  ตลอดจนโครงการที่อยู่อาศัยแบบ Wellness จะเป็นสิ่งใหม่ๆ ที่มีโอกาสเกิด 2.เพิ่มพื้นที่สำนักงาน 300,000 ตร.ม. ใน 5 ปี โดยในช่วงไวรัสโควิด-19 ธุรกิจนี้ได้รับผลกระทบไม่มากนัก ซึ่งบริษัทได้ลดค่าเช่าให้กับผู้เช่าที่ได้รับผลกระทบ และการปรับปรุงคุณภาพด้านสุขอนามัย โดยติดตั้ง Touchless Solution และ UV ในระบบปรับอากาศเพื่อตอบโจทย์ New Normal ให้กับผู้เช่าอาคาร  รวมถึงมองหาผู้เช่าใหม่ๆ ที่อยู่ในธุรกิจที่มีการเติบโตดี เช่น E-commerce, Technology และ Consumer Product   ขณะเดียวกันยังคงเป้าหมายขยายพื้นที่สำนักงาน 300,000 ตารางเมตร ในระยะเวลา 5 ปี  ซึ่งเชื่อว่าในอนาคตจะยังคงมีความต้องการพื้นที่สำนักงานอยู่ในรูปแบบต่าง ๆ โดยบริษัทเตรียมนำเสนอพื้นที่สำนักงานรูปแบบใหม่ “Workspace Solution” ซึ่งมีหลายรูปแบบและหลายทำเล ทั้งอาคารขนาดใหญ่ อาคารขนาดกลาง  ออฟฟิศแนวราบ 3.ขยายโรงแรมเป็น 80 แห่ง สำหรับธุรกิจโรงแรมยังตั้งเป้าขยายจำนวนโรงแรมจาก 39 โรงแรมเป็น 80 โรงแรม ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ในระยะ 5 ปี โดยมุ่งเจาะกลุ่มนักท่องเที่ยวในระดับบน (Upper Upscale Segment) และมอบประสบการณ์การพักผ่อน ในรูปแบบที่แตกต่างและสร้างสรรค์ให้กับลูกค้า   นอกจากนี้ ยังได้พัฒนาแบรนด์ใหม่ที่จะเปิดตัวในเร็ว ๆ นี้ เป็นโมเดลธุรกิจในแบบ Asset Light Model หรือการเข้าไปลงทุนในโรงแรมที่มีศักยภาพ โดยไม่จำเป็นต้องใช้เงินลงทุนสูง แต่ใช้แบรนด์ที่บริษัทพัฒนาขึ้นเข้าบริหาร เช่น แบรนด์ซายด์ (SAii) ซึ่งจะช่วยสร้างรายได้ประจำให้มากขึ้น และเพิ่มการเติบโตของพอร์ตโฟลิโอของบริษัท เดินหน้าแผนธุรกิจครึ่งปีหลัง สำหรับแผนในช่วงครึ่งปีหลัง บริษัทยังคงเดินหน้าขยายธุรกิจ และสร้างการเติบโตต่อเนื่อง 1.จะทยอยรับรู้รายได้จากโครงการที่อยู่อาศัยที่ก่อสร้างแล้วเสร็จ ได้แก่ โครงการดิเอส สุขุมวิท 36 (THE ESSE Sukhumvit 36) ซึ่งมีมูลค่าโครงการกว่า 6,500 ล้านบาท ปัจจุบันมียอดขายประมาณ 60% จะเริ่มโอนกรรมสิทธิ์ได้ในไตรมาส 3 ซึ่งคาดว่าน่าจะมียอดรับรู้รายได้ 1,400 ล้านบาท และปัจจุบันบริษัทมียอดขายรอรับรู้รายได้ 5,500 ล้านบาท   2.ทำตลาดโครงการ ดิ เอ็กซ์โทร พญาไท-รางน้ำ (The EXTRO Phayathai-Rangnam) ใหม่อีกครั้ง หลังจากหยุดทำตลาดไปเพราะสถานการณ์ไวรัสโควิด-19 ซึ่งปัจจุบันมียอดขายแล้ว 15% 3.การปรับปรุงอาคารสำนักงาน นำเสนอพื้นที่สำนักงานรูปแบบใหม่ “Workspace Solution” โดยมีหลายรูปแบบและหลายทำเล และ Co-Working Space ในทำเลใหม่ โดยเน้นเชื่อมโยงการทำงานผ่านระบบ IT ให้ลูกค้าในทุกที่ และการขยายธุรกิจโรงแรมต่อเนื่อง ภายใต้งบประมาณรวม 5,000 ล้านบาท   4.เริ่มเดินหน้าธุรกิจพลังงานทางเลือก (Renewable Energy) ในช่วงปลายปี ที่ประเทศมัลดีฟส์ มีขนาด 5 เมกะวัตต์ ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นในธุรกิจอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และการขยายธุรกิจต่อเนื่องจากธุรกิจอสังหาฯ รวมถึงการสร้างรายได้ประจำเพิ่มขึ้น   ตลาดคอนโดอาจจะอืด ๆ ส่วนตลาดแนวราบ เราก็มอง แต่เราคงทำไม่เหมือนคนอื่น ซึ่งเชื่อว่าโควิด-19 จะผ่านไปในปีนี้ และกลับสู่โหมดเดิมในปีหน้า  คือ การแข่งขันที่รุนแรงเหมือนเดิม ตอกย้ำการเป็น Global Holding Company สิงห์ เอสเตท ยังคงเดินหน้าตามกลยุทธ์การเป็น Global Holding Company ตามแผนที่วางไว้ปี 2020  พร้อมกับการสร้างความเชื่อมั่นแบรนด์ของบริษัท ให้เป็น Most Trusted Brand ซึ่งนอกจากการพัฒนาโครงการให้มีคุณภาพสูงสุดแล้ว ยังต่อยอดความเชี่ยวชาญจากกลยุทธ์ด้านความยั่งยืน รวมทั้งยกระดับการบริการของกลุ่มธุรกิจทั้งหมดให้เป็นไปตามมาตรฐานด้านสุขอนามัยและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในระดับสากล  
3 ทางรอดอสังหาฯ สู้วิกฤตปี 63-64

3 ทางรอดอสังหาฯ สู้วิกฤตปี 63-64

ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์  นับว่ามีบทบาทสำคัญต่อภาพรวมเศรษฐกิจของไทย เพราะเป็นธุรกิจที่มีมูลค่ามหาศาล และยังก่อให้เกิดธุรกิจที่เกี่ยวข้องมากมายตามมา  หากธุรกิจอสังหาฯ เกิดปัญหา ย่อมส่งผลกระทบในวงกว้างและต่อภาพรวมเศรษฐกิจของประเทศ อย่างในอดีตเกิดวิกฤตฟองสบู่ในปี 2540   ในปีนี้ประเทศไทยต้องเผชิญกับปัญหาการแพร่ระบดของไวรัสโควิด-19 ซึ่งส่งผลกระทบต่อภาพรวมเศรษฐกิจของประเทศ และแน่นอนธุรกิจอสังหาฯ ก็โดนไปเต็ม ๆ เช่นกัน เพราะการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทำให้ธุรกรรมต่าง ๆ ต้องหยุดชะงัก ผู้บริโภคต้องหยุดการทำงาน “อยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ”   จะว่าไปแล้วธุรกิจอสังหาฯ เริ่มชะลอความร้อนแรงมาตั้งแต่ปี 2562 ที่ผ่านมา จากการออกมาตรการ LTV ทำให้ปีที่ผ่านมาธุรกิจอสังหาฯ เติบโตเพียง 4% แม้ว่าจะมีขนาดธุรกิจคิดเป็นสัดส่วน 3% ของ GDP ก็ตาม โดยธุรกิจอสังหาฯ ชะลอตัวลงต่อเนื่อง ในไตรมาสแรกของปีนี้ มีอัตราการเติบโตเพียง 2% เท่านั้น จึงถึงว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทำให้ธุรกิจอสังหาฯ อยู่ในภาวะที่ยากลำบาก 15 ประเด็นอสังหาฯ ท่ามกลางวิกฤตโควิด-19 ล่าสุด ศูนย์วิจัย Krungthai COMPASS ธนาคารกรุงไทย ได้ทำการประเมินภาพรวมธุรกิจอสังหาฯ ในปี 2563 พร้อมกับมองแนวโน้มธุรกิจในปี 2564 จากผลกระทบของการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ซึ่งมีบทสรุปสำคัญ ดังนี้   1.ปี 2563 เศรษฐกิจไทยจะได้รับผลกระทบจากไวรัสโควิด-19 มีแนวโน้มหดตัวอย่างรุนแรง ในอัตรา 8.8% ส่งผลทำให้กิจกรรมต่าง ๆ ทางเศรษฐกิจหยุดชะงัก อัตราการจ้างงานลดลง ผู้บริโภคมีรายได้ลดลง จำเป็นต้องเอาเงินออมออกมาใช้จ่าย ทำให้ความสามารถในการซื้อสินค้าขนาดใหญ่ อย่างรถยนต์หรืออสังหาริมทรัพย์ หดตัวลงตาม 2.ยอดพรีเซลล์มีแนวโน้มหดตัวอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ในไตรมาส 4 ปี 2562 มียอดพรีเซลล์  20% ไตรมาสแรก ยอดพรีเซลล์ลดลงเหลืออัตรา 15% และไตรมาส 2 ซึ่งได้รับผลกระทบจากไวรัสโควิด-19 และมีมาตรการล็อกดาวน์ ทำให้ยอดพรีเซลล์ลดลงมีอัตราเพียง 12% ซึ่งเป็นหนึ่งในเครื่องชี้วัดว่าตลาดอสังหาฯ หดตัวอย่างรุนแรง   3.ผลสำรวจจาก Wunderman Thompson พบว่า ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 สัดส่วน 80% จะเลื่อนกำหนดการซื้อที่อยู่อาศัยอย่างไม่มีกำหนด เนื่องจากต้องสำรองเงินไว้ใช้จ่ายในสิ่งที่จำเป็น และยังมองว่าการลงทุนอสังหาฯ ในเวลานี้ให้ผลตอบแทนไม่มากพอ และ 20% จะเลื่อนการซื้ออสังหาฯ ออกไปอย่างน้อย 1 ปี   4.ผู้บริโภคที่มีรายได้น้อยกว่า 40,000 บาทต่อเดือน ต้องสำรองเงินไว้ใช้จ่ายกับสินค้าที่จำเป็นต่อการบริโภค ส่วนผู้บริโภคที่มีรายได้มากกว่า 40,000 บาทต่อเดือน มองว่าการลงทุนในอสังหาฯ ให้ผลตอบแทนไม่ดีเท่าที่ควร เลยเลื่อนการซื้ออสังหาฯ ออกไปก่อน   5.อสังหาฯ กลุ่ม Economy ซึ่งมีระดับราคาต่ำกว่า 3 ล้านบาท และกลุ่ม Middle ราคา 3-10 ล้านบาท ยอดพรีเซลล์ช่วงเดือนเมษายนและพฤษภาคม จะมีอัตราต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในรอบ 1 ปีคอนข้างมาก เพราะกลุ่มลูกค้าหลักเป็นกลุ่มที่มีระดับรายได้ต่อครัวเรือนต่ำกว่า 100,000 บาท มีความอ่อนไหวต่อสภาพเศรษฐกิจ รวมถึงเป็นกลุ่มที่มีอาชีพอิสระ และจ้างงานตัวเองค่อนข้างมาก 6.อสังหาฯ กลุ่ม Luxury ระดับราคา 10-20 ล้านบาท และกลุ่ม Super Luxury ราคามากกว่า  20 ล้านบาท  ยอดพรีเซลล์ช่วงเดือนเมษายนและพฤษภาคม ยังถือว่ายังดี โดยเฉพาะกลุ่ม Super Luxury สูงกว่าค่าเฉลี่ยในรอบ 1 ปีด้วย  เพราะกลุ่มลูกค้าหลักเป็นกลุ่มที่มีรายได้เกิน 100,000 บาทต่อครัวเรือนขึ้นไป มีความมั่นคงทางด้านรายได้ และส่วนใหญ่จะมีความมั่นคงทางอาชีพ มีสัดส่วนอาชีพราชการค่อนข้างมาก ซึ่งเป็นอาชีพที่มีความมั่นคงจึงทำให้ การซื้อที่อยู่อาศัยในกลุ่ม Luxury  และกลุ่ม Super Luxury ไม่ได้รับผลกระทบจากไวรัสโควิด-19 เท่าที่ควร   7.แม้ว่าการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 จะส่งผลต่อธุรกิจอสังหาฯ แต่มีอสังหาฯ บางประเภทและบางราคาที่ไม่ได้รับผลกระทบ เช่น กลุ่มคอนโด ระดับราคาต่ำกว่า 3 ล้านบาท มีผลตอบรับที่ดี มียอดพรีเซลล์ 35% กลุ่มทาวน์เฮ้าส์ระดับราคา 3-10 ล้านบาท มียอดพรีเซลล์ 40% ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นเพราะ การเปลี่ยนจากการซื้อคอนโดมาซื้อทาวน์เฮ้าส์แทน เพราะผู้บริโภคต้องการพื้นที่มากขึ้น แต่ระดับราคาเดียวกัน ส่วนกลุ่ม Super Luxury จะพบว่าอสังหาฯ ทุกประเภทยังมียอดพรีเซลล์ที่สูง   8.ความต้องการที่ซื้อลดลง ส่งผลต่อจำนวนที่อยู่อาศัย ทั้งโครงการเปิดตัวแล้วและอยู่ระหว่างการก่อสร้าง โดยโครงการที่เปิดตัวแล้วและอยู่ระหว่างการก่อสร้าง จะได้รับผลกระทบเรื่องการขาดเงินทุนในการก่อสร้าง เพราะยอดพรีเซลล์ที่ต่ำทำให้ไม่สามารถได้รับเงินกู้จากสถาบันการเงิน ทำให้ดีเวลลอปเปอร์ต้องใช้เงินทุนของตนเองเข้ามาพัฒนา แต่ในสถานการณ์ปัจจุบันแนวทางนี้เป็นไปได้ยาก เพราะต้องมีสภาพคล่องเพื่อต่อสู่กับวิกฤตเศรษฐกิจมากกว่า ทำให้แนวทางที่เป็นไปได้ ดีเวลลอปเปอร์จะชะลอการก่อสร้าง 9.ความต้องการซื้อที่ลดลง ยังส่งผลทำให้ดีเวลลอปเปอร์เลื่อนการเปิดตัวโครงการใหม่ โดยแผนการเปิดตัวโครงการใหม่ในปีนี้ จากการสำรวจดีเวลลอปเปอร์รายใหญ่ 8 บริษัท ที่วางแผนเปิดตัวโครงการในปีนี้  จะเห็นว่าก่อนเกิดโควิด-19 วางแผนเปิดโครงการใหม่มูลค่า 195,500 ล้านบาท โดยโครงการบ้านแนวราบมีมูลค่า 139,100 ล้านบาท และคอนโดมูลค่า 56,400 ล้านบาท ภายหลังจากเกิดเหตุการณ์โควิด-19 ในไตรมาส 2 ดีเวลลอปเปอร์ได้ปรับแผน และเลื่อนเปิดโครงการใหม่ออกไป โดยวางแผนเปิดมูลค่า 137,800 ล้านบาท แบ่งเป็นบ้านแนวราบมูลค่า 116,800 ล้านบาท และคอนโด มูลค่า 21,000 ล้านบาท   การเปิดตัวใหม่ในปี 2563 คาดว่าจะมีที่อยู่อาศัยเปิดใหม่ 72,000 ยูนิต ลดลง 40%  โดยมีแรงกดดันหลักจากการที่ดีเวลลอปเปอร์เลื่อนแผนการเปิดตัวโครงการใหม่ออกไป เฉพาะ 5 เดือนแรกของปีนี้ ดีเวลลอปเปอร์เปิดตัวใหม่ลดลงแล้ว 54%   10.มูลค่าโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยในปีนี้ คาดว่าจะลดลง 27% มีมูลค่า 420,000 ล้านบาท บ้านจัดสรรมีมูลค่า ลดลง 24% คอนโด ลดลง 30%   11.สต็อกที่อยู่อาศัยเหลือขายสะสมปีนี้ น่าจะเพิ่มขึ้น 5% มีจำนวน 185,000 ยูนิต โดยสต็อกคอนโด กระจายอยู่ในหลายทำเล ขณะที่บ้านจัดสรรจะอยู่ที่ทำเลบางบัวทอง และรังสิต-ปทุมธานี เป็นหลัก 12.คาดการณ์แนวโน้มเศรษฐกิจในปี 2564 เศรษฐกิจฟื้นตัวได้อัตรา 6.1%   13.มูลค่าการโอนกรรมสิทธิ์ ที่อยู่อาศัยในปี 2564 น่าจะเติบโต 12% มีมูลค่า 470,000 ล้านบาท   14.ในปี 2564 คาดว่าดีเวลลอปเปอร์จะเปิดตัวโครงการใหม่ จำนวน 85,000 ยูนิต เติบโต 18%   15.โครงการที่อยู่อาศัยเหลือขาย ปี 2564 คาดว่ามีจำนวน 192,000 ยูนิต 3 แนวทางการปรับตัวของดีเวลลอปเปอร์ เพื่อรับกับพฤติกรรมผู้บริโภคในยุค New Normal   1.การซื้ออสังหาฯ ผ่านออนไลน์ อาจกลายเป็นเรื่องปกติ มีสถิติการเยี่ยมชมเว็บไซต์ของดีเวลลอปเปอร์ชั้นนำ มีจำนวนผู้เข้าชมเพิ่มขึ้น 40% ในช่วงการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19  ซึ่งเดือนมกราคมมียอดเข้าชมเว็บไซต์ 8,400 ครั้งต่อวันต่อเว็บไซต์ และเพิ่มขึ้นเป็น 11,700 คนต่อวันต่อเว็บไซต์ หรือเพิ่มขึ้น 40% ในเดือนพฤษภาคม ซึ่งช่วงการแพร่ระบาด หลายดีเวลลอปเปอร์ได้ทำโปรโมชั่น โปรโมทการซื้อขายอสังหาฯ จึงส่งผลให้อัตราเข้าชมเว็บไซต์เพิ่มสูงขึ้นมาก โดนแนวทางการปรับตัวของดีเวลลอปเปอร์ คือ การมีกลยุทธ์และศึกษาพฤติกรรมกลุ่มลูกค้า ว่าทำอย่างไรให้ผู้บริโภคเข้าชมโครงการผ่านช่องทางออนไลน์ได้ เช่น การโฆษณาผ่านอินฟลูเอนเซอร์ การสร้างความเชื่อมั่นให้ผุ้บริโภค ด้วยการพัฒนาระบบ Virtual Visits ให้กับผู้บริโภคสามารถชมโครงการเสมือนจริง และการยกระดับระบบหลังบ้าน (Back-office) ให้กับผู้บริโภคสามารถชำระเงิน และดำเนินการเรื่องเอกสารผ่านเว็บไซต์ได้เลย 2.ปัจจัยด้านทำเล อาจไม่สำคัญเท่า “ขนาดของที่อยู่อาศัย” เพื่อรองรับการการใช้ชีวิตในที่อยู่อาศัยที่นานขึ้น โดยเฉพาะ Work From Home  ซึ่งแนวทางการปรับตัวของดีเวลลอปเปอร์ คือ พิจารณาความเป็นไปได้ที่จะลดสัดส่วนห้อง Studio และเพิ่มห้อง One Bed+ ของโครงการคอนโดในบางทำเล และหันมาพัฒนาโครงการแนวราบแทนการพัฒนาคอนโด 3.อยากใช้พื้นที่ส่วนกลางแบบมี “พื้นที่ส่วนตัว” ดีเวลลอปเปอร์ ต้อง Re-design พื้นที่ส่วนกลาง และติดตั้งอุปกรณ์ Touchless เพื่อตอบโจทย์ความปลอดภัยของบริโภค เช่น Touchless door, Private Fitness, Touchless life และ Private Working Space ดร.พชรพจน์ นันทรามาศ ผู้อำนวยการฝ่ายอาวุโส ศูนย์วิจัย Krungthai COMPASS ธนาคารกรุงไทย กล่าวสรุปว่า  ตลาดที่อยู่อาศัยในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล สำหรับปี 2563 จะถูกกดดันจากการแพร่ระบาดของ ไวรัสโควิด -19 เป็นอย่างมาก ผ่านสภาพเศรษฐกิจที่หดตัว รายได้ของผู้บริโภคที่หายไป และการ ไม่สามารถเดินทางเข้ามาดูโครงการและโอนกรรมสิทธิ์ของผู้ซื้อต่างชาติในช่วง Lockdown ซึ่งจะส่งผลให้มูลค่าตลาดหดตัว 27%YoY และแม้เศรษฐกิจไทยจะมีแนวโน้มทยอยฟื้นตัวในปี 2021 แต่กว่าตลาดที่อยู่อาศัยจะกลับมาอยู่ในระดับเดียวกับช่วงก่อนเกิดวิกฤติไวรัสโควิด-19 (ปี 2562) ก็อาจต้องใช้เวลาอีก 4-5 ปี (ปี 2567-2568) อย่างไรก็ดี ผู้พัฒนาอสังหาฯ ควรติดตามพฤติกรรมการอยู่อาศัยของผู้บริโภค ที่อาจเปลี่ยนไปหลังเกิดวิกฤติ ไวรัสโควิด -19 เพื่อนำมาปรับปรุงการออกแบบ และพัฒนาที่อยู่อาาศัยให้เหมาะสม    
โควิด-19 ทุบความมั่นใจดีเวลลอปเปอร์ ลดต่ำต่อเนื่อง 5 ไตรมาส

โควิด-19 ทุบความมั่นใจดีเวลลอปเปอร์ ลดต่ำต่อเนื่อง 5 ไตรมาส

ผู้ประกอบการอสังหาฯ ไม่มั่นใจตลาด หลังเจอวิกฤตโควิด-19 ดัชนีความเชื่อมั่นลดลงต่อเนื่อง 5 ไตรมาส ขณะที่แนวโน้มอีก 6 เดือนข้างหน้าผู้ประกอบการมองตลาดบวกเล็กน้อย   ปัจจัยที่มีผลต่อการเติบโตของตลาดอสังหาริมทรัพย์  นอกเหนือจากปัจจัยด้านเศรษฐกิจ กำลังซื้อ และความต้องการของผู้บริโภคแล้ว ทัศนคติและแนวคิดของผู้ประกอบการ ก็นับว่ามีผลสำคัญต่อการสร้างการเติบโตให้กับตลาดอสังหาฯ ไม่น้อย แม้ว่าปัจจัยที่กล่าวมาจะเป็นตัวคาดการณ์ทิศทางของตลาด แต่หากผู้ประกอบการเกิดไม่มั่นใจต่อปัจจัยต่างๆ ดังกล่าวแล้ว ส่วนของซัพพลายหรือจำนวนที่อยู่อาศัยที่ผู้ประกอบการจะพัฒนาออกมาคงไม่เกิดขึ้น   โดยปกติการที่ผู้ประกอบการ พัฒนาโครงการออกมาทำตลาด มักจะเกิดขึ้นจากการนำเอาข้อมูลทางการตลาด มาวิเคราะห์ร่วมกับสภาพเศรษฐกิจโดยรวม แล้วจึงพัฒนาโครงการออกมาตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค นั่นหมายถึงว่า ผู้ประกอบการมีความมั่นใจแล้วว่า ตลาดมีความต้องการ แต่การจะให้การตอบรับกับโครงการนั้น ๆ นั้นหรือไม่ ก็อาจจะมีอีกหลายปัจจัยมาสนับสนุน ไม่ว่าจะเป็นชื่อเสียงของผู้ประกอบการเอง ทำเลในการเลือกพัฒนา แนวทางการทำตลาด และการจับกลุ่มเป้าหมายที่เหมาะสมหรือไม่ เรื่องของความมั่นใจในตลาดอสังหาฯ ของกรุงเทพฯ และปริมณฑลนั้น  ทางศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) หรือ REIC ได้มีการจัดทำออกมาอย่างต่อเนื่อง  โดยล่าสุด ได้เปิดเผยรายงานดัชนีความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการธุรกิจพัฒนาที่อยู่อาศัย ในกรุงเทพฯ – ปริมณฑล ในภาวะปัจจุบัน (Current Situation Index) ณ ไตรมาส 2 ปี 2563   โดยรายงาน ระบุว่า ดัชนีคามเชื่อมั่นของผู้ประกอบการมีเท่ากับ 42.6   ลดลงต่ำกว่าค่ากลางที่ 50.0 แต่มีสัญญาณดีขึ้นเล็กน้อยจากไตรมาสก่อนหน้า ซึ่งมีค่าดัชนีอยู่ที่ 41.2 ดัชนีความเชื่อมั่นฯ ในภาวะปัจจุบันของผู้ประกอบการธุรกิจพัฒนาที่อยู่อาศัย ลดต่ำกว่าค่ากลางที่ 50.0 ติดต่อกัน 5 ไตรมาส นับตั้งแต่ไตรมาส 2 ปี 2562 ซึ่งมีการประกาศใช้มาตรการ Macroprudential หรือมาตรการ LTV ของธนาคารแห่งประเทศไทย ดร.วิชัย วิรัตกพันธ์ ผู้ตรวจการธนาคารอาคารสงเคราะห์ และรักษาการผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ กล่าวว่า ผู้ประกอบการธุรกิจพัฒนาที่อยู่อาศัยยังมีมุมมองเชิงลบต่อสถานการณ์ตลาดที่อยู่อาศัยในปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม ความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการฯ ในไตรมาสนี้เพิ่มขึ้นกว่าไตรมาสก่อนหน้า สาเหตุจากการที่รัฐบาลได้ดำเนินการมาตรการผ่อนคลายการล็อคดาวน์ให้ธุรกิจสามารถกลับมาดำเนินการได้ตามปกติ   แต่ทั้งนี้ ดัชนีก็ยังคงต่ำกว่าค่ากลางที่ระดับ 50.0  โดยเฉพาะกลุ่มบริษัทรายกลางและรายย่อยซึ่งไม่ได้จดทะเบียนบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ฯ มีความเชื่อมั่นต่อสถานการณ์ตลาดที่อยู่อาศัยในปัจจุบันลดลงอย่างมาก เมื่อแยกกลุ่มผู้ประกอบการฯ ตามประเภทบริษัทพบว่า ความเชื่อมั่นในภาวะปัจจุบันของผู้ประกอบการกลุ่ม Listed Companies มีค่าดัชนีเท่ากับ 45.7 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้า ซึ่งมีค่าดัชนีอยู่ที่ 41.7 แต่ยังคงต่ำกว่าค่ากลางที่ระดับ 50.0 ขณะที่ผู้ประกอบการกลุ่ม Non-listed Companies มีค่าดัชนีเท่ากับ 38.0 ลดลงจากไตรมาสก่อนหน้าที่มีค่าดัชนีอยู่ที่ 40.5 และต่ำกว่าค่ากลางที่ระดับ 50.0 สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นในอีก 6 เดือนข้างหน้า (Expectations Index) มีค่าเท่ากับ 51.8 เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากไตรมาสก่อนหน้า  ซึ่งอยู่ที่ระดับ 51.5  และสูงกว่าค่ากลางที่ระดับ 50.0 สะท้อนให้เห็นว่าผู้ประกอบการคาดว่าอีก 6 เดือนข้างหน้าธุรกิจพัฒนาที่อยู่อาศัยจะปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อย แม้ว่าภาคธุรกิจจะกลับมาดำเนินการได้ตามปกติมากขึ้น และรัฐบาลได้ออกมาตรการต่างๆ เพื่อกระตุ้นภาวะเศรษฐกิจ แต่ผู้ประกอบการยังคงกังวลเกี่ยวกับการระบาดรอบที่สองของเชื้อไวรัสโควิด-19   ผู้ประกอบการฯ กลุ่ม Listed Companies มีค่าดัชนีความเชื่อมั่นในอีก 6 เดือนข้างหน้าเท่ากับ 57.0 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนซึ่งอยู่ที่ระดับ 54.8 แต่ผู้ประกอบการฯ กลุ่ม Non-listed Companies มีค่าดัชนีเท่ากับ 44.1 จุด ลดลงจากไตรมาสก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 46.4            
เอพี ลุยตลาดอสังหาฯครึ่งปีหลัง เปิด 26 โปรเจ็กต์แนวราบ มูลค่า 26,000 ล้าน

เอพี ลุยตลาดอสังหาฯครึ่งปีหลัง เปิด 26 โปรเจ็กต์แนวราบ มูลค่า 26,000 ล้าน

เอพี ลุย 26 โปรเจ็กต์แนวราบ มูลค่า 26,000 ล้าน ในช่วงครึ่งปีหลัง พร้อมปักหมุด 5 จังหวัดในภูธร ชิมลางทำตลาด ปั้นแบรนด์ใหม่ “อภิทาวน์” มั่นใจทั้งปียังคงทำยอดขาย 33,500 ล้าน และ รายได้ 40,550 ล้าน ตามเป้าหมาย แม้ครึ่งปีแรกมีสถานการณ์โควิด-19 แต่ยังเติบโตสวนกระแส มีลุ้นไตรมาส 2 ทำสถิติสร้างรายได้สูงสุดนับตั้งแต่ก่อตั้งบริษัท   แม้ว่าประเทศไทยต้องเผชิญกับการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ตั้งแต่ต้นปีจนถึงปัจจุบัน ที่ทำให้หลายธุรกิจได้รับผลกระทบอย่างหนัก บางแห่งต้องปิดกิจการและเลิกจ้างพนักงาน หรือไม่ก็เปิดกิจการชั่วคราว แต่ดูเหมือนว่าในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ปีนี้  ในวิกฤตที่เกิดขึ้นกลับกลายเป็นโอกาสทางการตลาดอย่างที่ผู้ประกอบการหลายรายคาดคิดมาก่อน  เพราะผู้ประกอบการหลายราย แม้ว่าจะได้รับผลกระทบ ต้องปรับแผนธุรกิจและปรับตัวหาหนทางการอยู่รอด แต่ในมุมบวกกลับสามารถทำยอดขายและยอดโอนได้จำนวนมาก มากชนิดที่ทุบสถิติยอดขายและยอดโอนในภาวะสภาพตลาดปกติด้วยซ้ำ ​   หนึ่งในผู้ประกอบการที่สามารถสร้างยอดขายและยอดโอนเติบโตได้ดีนั้น คือ บริษัท เอพี (ไทยแลนด์) จำกัด (มหาชน) หรือ AP ที่สามารถสร้างยอดขายในช่วงครึ่งปีแรกได้มากถึง 15,085 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 45% ของเป้าหมายยอดขายในปีนี้ที่คาดว่าจะทำได้ 33,500 ล้านบาท โดยส่วนรายได้น่าจะทำได้สูงกว่าผลการดำเนินงานในอดีตที่ผ่านมา โดยเฉพาะไตรมาส 2 ซึ่งปกติจะเป็นไตรมาสที่ทำรายได้ได้ต่ำสุดในรอบปี  แต่ปีนี้คาดว่าจะเป็นไตรมาสที่สร้างรายได้ได้สูงที่สุดกว่าไตรมาส 2 ของทุกปีที่ผ่านมา และอาจจะสูงสุดนับตั้งแต่ก่อตั้งบริษัทมาเกือบ 30 ปีด้วยซ้ำ     นายวิทการ จันทวิมล รองกรรมการผู้อำนวยการ สายงานกลยุทธ์องค์กรและการสร้างสรรค์ บริษัท  เอพี ไทยแลนด์ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า  วิกฤตการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 เปรียบเหมือนเป็นซูเปอร์โนวาที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์โลก สร้างผลกระทบที่ใหญ่และรุนแรงกว่าวิกฤตครั้งไหนในอดีต ซึ่งตลอด 6 เดือนที่ผ่านมาบริษัทดำเนินงานด้วยความระมัดระวัง ควบคู่ไปกับการปรับแผนงานให้สอดรับกับสถานการณ์ในแต่ละช่วงเวลา โดยมี EMPOWER LIVING เป็นจุดมุ่งหมายสำคัญขององค์กร   โดยแนวโน้มการโอนกรรมสิทธิ์ในไตรมาส 2 ของปีนี้ คาดว่าจะดีกว่าทุกไตรมาส 2 ที่บริษัทเคยทำได้ ซึ่งไตรมาส 2 ที่มียอดโอนกรรมสิทธิ์สูงสุด คือ ปี 2561 มีมูลค่า 10,000 ล้านบาท และน่าจะมียอดโอนกรรมสิทธิ์สูงสุดในประวัติศาสตร์การก่อตั้งบริษัท ซึ่งเคยทำยอดโอนสูงสุดในช่วงไตรมาส 4 ปี 2559 มูลค่า 11,500 ล้านบาท สำหรับความสำเร็จในช่วงครึ่งปีแรกที่ผ่านมา น่าจะเกิดจากการปรับตัวของบริษัท ในการตอบสนองความต้องการของลูกค้า แม้ว่าจะอยู่ในช่วงโควิด-19 แต่ลูกค้ายังสามารถตรวจห้องผ่านระบบออนไลน์ได้ การชมห้องตัวอย่างหรือโครงการได้ผ่านออนไลน์ รวมถึงการนำเอาเทคโนโลยีมาช่วย  และการจัดโปรโมชั่นเกือบทุกสัปดาห์ มาสร้างความสำเร็จดังกล่าว ​ นายวิทการ กล่าวอีกว่า ในช่วงครึ่งปีแรกบริษัทไม่ได้เปิดตัวคอนโดมิเนียมโครงการใหม่  แต่ขายโครงการเดิมที่มีอยู่ ซึ่งตลาดยังให้การตอบรับที่ดี มียอดขายกว่า 2,200 ล้านบาท ขณะที่บางกอก ซิตี้สมาร์ท (BC) บริษัทในเครือ ยังสามารถทำยอดขายกลุ่มคอนโดได้สูงกว่า 4,200 ล้านบาท แสดงให้เห็นถึงการตอบรับของตลาดคอนโดว่ายังมีต่อเนื่อง และยังคาดว่าภายในสิ้นปีนี้บีซี จะสามารถสร้างยอดขายคอนโดได้ถึง 10,000 ล้านบาทด้วย   ในปีนี้บริษัทจึงมั่นใจว่าจะสามารถรักษาเป้าหมายการเติบโตของบริษัทตามแผนธุรกิจไว้ได้ โดยคาดว่าจะทำยอดขายได้ 33,500 ล้านบาท รายได้ 40,550 ล้านบาท ซึ่งในช่วงครึ่งปีหลังบริษัทยังเตรียมเปิดตัวโครงการใหม่อีก 26 โครงการ  มูลค่า 26,000 ล้านบาท โดยเป็นโครงการแนวราบทั้งหมด แบ่งเป็นโครงการในเขตกรุงเทพฯ 21 โครงการ  มูลค่า 21,300 ล้านบาท และในพื้นที่ 5 จังหวัด มูลค่า 4,700 ล้านบาท   ครึ่งปีหลังบริษัทยังไม่มีแผนเปิดโครงการคอนโดมิเนียม เนื่องจากสถานการณ์ปัจจุบันยังไม่เหมาะสมในการเปิดตัวโครงการใหม่ แต่มีที่ดิน 4-5 แปลงสำหรับพัฒนาโครงการไว้พร้อมแล้ว  โดยจะพิจารณาตามความเหมาะสมของตลาด แต่คาดว่าน่าจะเลื่อนการเปิดตัวโครงการคอนโดไปในปีหน้าแทน     สำหรับการพัฒนาโครงการในต่างจังหวัด ได้พัฒนาโครงการภายใต้แบรนด์ อภิทาวน์ เป็นโครงการรูปแบบมิกซ์โปรดักส์ ทั้งบ้านเดี่ยว บ้านแฝด และทาวน์โฮม ระดับราคา 1.5-9 ล้านบาท ซึ่งจะเริ่มต้นพัฒนาโครงการแรกที่จังหวัดนครราชสีมา ในเดือนกันยายน หลังจากนั้นจะเปิดตัวอีก 4 โครงการใน 4 จังหวัด ได้แก่ ระยอง อยุธยา ขอนแก่น และเชียงราย   ครึ่งปีหลังมีอีก 2 โครงการคอนโดที่จะก่อสร้างแล้วเสร็จ และรับรู้รายได้  ตั้งแต่เดือนสิงหาคมนี้. ได้แก่ LIFE อโศก-พระราม 9 มูลค่า 9,800 ล้านบาท ปัจจุบันมียอดขายแล้ว 94% และ ASPIRE อโศก-รัชดา มูลค่า 2,900 ล้านบาท ปัจจุบันมีขาย 95%   บริษัทมีโครงการคอนโดอยู่ระหว่างการขาย 18 โครงการ มูลค่า 21,000 ล้านบาท  ซึ่ง ณ วันที่ 31 มิถุนายน 2563 บริษัทมีสินค้ารอรับรู้รายได้รวมโครงการร่วมทุน (Backlog) มูลค่า 56,149 ล้านบาท เป็นโครงการแนวราบ มูลค่า 13,234 ล้านบาท ซึ่งคาดว่าจะรับรู้ทั้งหมดภายในปีนี้ และคอนโด มูลค่า 42,915 ล้านบาท จะทยอยรับรู้ในปีนี้ประมาณ 15,602 ล้านบาท ส่วนที่เหลือทยอยรับรู้ไปจนถึงปี 2566
MJD ลุยตลาดบ้านซูเปอร์ลักชัวรี่รอบ 20 ปี ปักหมุด 2 ทำเลสุขุมวิท-อารีย์

MJD ลุยตลาดบ้านซูเปอร์ลักชัวรี่รอบ 20 ปี ปักหมุด 2 ทำเลสุขุมวิท-อารีย์

เมเจอร์ ดีเวลลอปเม้นท์ ลุยโปรเจ็กต์แนวราบ รอบ 20 ปี เปิดตัว “Malton Private Residences” จับตลาดซูเปอร์ลักชัวรี่  2 ทำเลใจกลางเมือง  สุขุมวิท และอารีย์ ราคาเริ่มต้น 62 ล้านบาท พร้อมเลื่อน 3 โปรเจ็กต์คอนโดไปปี 64 หนีสถานการณ์ไวรัสโควิด-19   นางสาวเพชรลดา พูลวรลักษณ์ กรรมการบริหาร บริษัท เมเจอร์ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) หรือ MJD เปิดเผยว่า แผนธุรกิจในปี 2563 เดิมได้เตรียมเปิดตัวโครงการใหม่ 5 โครงการ มูลค่าประมาณ 20,000 ล้านบาท แบ่งเป็นโครงการคอนโดมิเนียม 3 โครงการ และโครงการแนวราบ 2 โครงการ แต่จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทำให้บริษัทต้องเลื่อนการเปิดตัวโครงการคอนโดไปในปี 2564 แทน     โดยเป้าหมายรายได้ในปีนี้ บริษัทคาดว่าจะใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมา ซึ่งในปี 2562 บริษัทมีรายได้รวม 6,279.91 ล้านบาท ซึ่งแม้ว่าปีนี้จะเลื่อนการเปิดตัวโครงการใหม่ออกไปในปีหน้า แต่ไม่ส่งผลกระทบต่อรายได้ของบริษัท เนื่องจากยังมีโครงการอยู่ระหว่างการขายประมาณ​ 11,000 ล้านบาท เป็นโครงการอยู่ระหว่างการก่อสร้าง 3,000 ล้านบาท   คิดว่าโควิด-19 น่าจะอยู่ระยะยาว ปีนี้ทั้งปี เราจะโฟกัส เน้นระบายสต็อกให้ได้มากและเร็วที่สุด เท่าที่จะทำได้   ขณะที่แนวโน้มผลประกอบการในช่วงไตรมาสที่ 2 คาดว่าจะทำได้ดีกว่าหรือใกล้เคียงกับผลประกอบการในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ ที่มีรายได้รวม 2,023.64 ล้านบาท เติบโตจากช่วงเดียวกันของปี 2562 ในอัตรา 40% เนื่องจากมีการจัดแคมเปญการตลาด โดยเฉพาะแคมเปญ Secret Deal โปรลับ!! ดีลพิเศษ ที่สามารถสร้างยอดขายได้กว่า 700 ล้านบาท   นางสาวเพชรลดา กล่าวอีกว่า สำหรับแผนการเปิดตัวแนวราบ 2 โครงการในปีนี้ ได้เปิดตัวโครงการ “Malton Private Residences” แบรนด์บ้านระดับซูเปอร์ลักชัวรี่  2 ทำเล ได้แก่สุขุมวิทและอารีย์  มูลค่ารวมกว่า 1,150  ล้านบาท  ซึ่งโครงการแรก  คือ โครงการ Malton Private Residences Sukhumvit 31 มูลค่า 550 ล้านบาท ตั้งอยู่บนพื้นที่ 1-1-98.8 ไร่ ในทำเลใจกลางสุขุมวิทที่มีความเป็นส่วนตัวอย่างซอยสวัสดี ประกอบด้วยบ้านระดับซูเปอร์ลักชัวรี่ 4 ชั้น จำนวนเพียง 7 ยูนิต ขนาดพื้นที่ดิน 52.4-72.3 ตร.ว. ขนาดพื้นที่ใช้สอยตั้งแต่ 451-555 ตร.ม. ราคาเริ่มต้น 68 ล้านบาท   ส่วนโครงการที่ 2 ได้แก่ โครงการ Malton Private Residence Ari มูลค่า 600 ล้านบาท ตั้งอยู่บนพื้นที่ 1-1-97.7 ไร่ ใน ซ.พหลโยธิน 8 (ซอยสายลม) ย่านอารีย์ อีกหนึ่งย่านที่เป็นย่านอยู่อาศัยที่มีลักษณะเฉพาะตัวเพราะเป็นทั้งแหล่งงานและแหล่งไลฟ์สไตล์ ประกอบด้วยบ้านระดับซูเปอร์ลักชัวรี่ 5 ชั้น จำนวนเพียง 8 ยูนิต ขนาดพื้นที่ดิน 50.1-64.0 ตร.ว. ขนาดพื้นที่ใช้สอยตั้งแต่ 489-526 ตร.ม. ราคาเริ่มต้น 62 ล้านบาท   สำหรับการเปิดตัวโครงการแนวราบครั้งนี้ ถือว่าเป็นการหันมาพัฒนาโครงการแนวราบในรอบเกือบ 20 ปี และเป็นแบรนด์ที่ 2 ต่อจากแบรนด์แรก คือ โครงการการ์เด้นท์ วิลล์ คสัสเตอร์โฮม ​​ซึ่งในอนาคตบริษัทยังวางแผนพัฒนาโครงการแนวราบอย่างต่อเนื่อง โดยปีนี้บริษัทวางงบประมาณในการซื้อที่ดิน เพื่อพัฒนาโครงการต่อเนื่อง 2,000-3,000 ล้านบาท   น.ส.เพชรลดา กล่าวเพิ่มเติมว่า ตลาดระดับซูเปอร์ลักชัวรี่ ถือเป็นตลาดที่ยังมีความต้องการสูง และเป็นตลาดที่ยังสามารถขับเคลื่อนไปได้ในทุกสภาวะเศรษฐกิจ เพราะกลุ่มลูกค้าเป้าหมายมีความอ่อนไหวต่อปัจจัยภายนอกค่อนข้างน้อยเมื่อเทียบกับตลาดเซ็กเมนท์อื่นๆ ขณะเดียวกัน ยังเป็นตลาดที่ไม่ค่อยมีซัพพลายใหม่ เนื่องจากที่ดินในการพัฒนาโครงการใหม่ค่อนข้างหายาก โดยเฉพาะบ้านจัดสรรที่มีซัพพลายใหม่ค่อนข้างน้อย แต่คุ้มค่ากว่าเพนท์เฮาส์ด้วยพื้นที่ใช้สอยและความเป็นส่วนตัวที่มากกว่า  
โควิด-19 ทุบตลาดอสังหาฯ คอนโด – บ้านจัดสรร ลดราคาขาย 36%

โควิด-19 ทุบตลาดอสังหาฯ คอนโด – บ้านจัดสรร ลดราคาขาย 36%

โควิด-19 ทุบราคาขายคอนโด - บ้านจัดสรร ไตรมาส 2 ลดลงต่อเนื่องสูงถึง 36% แม้แต่คอนโดสร้างเสร็จติดรถไฟฟ้า หลังผู้บริโภคไม่มั่นใจเศรษฐกิจและถูกเลิกจ้าง  หวั่นเกิดสงครามราคา หากดีเวลลอปเปอร์ยังลดราคาต่อเนื่อง   ผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 และมาตรการล็อกดาวน์ประเทศเพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของโรค ส่งผลต่อการดำเนินธุรกิจจำนวนมาก หลายธุรกิจต้องหยุดดำเนินการชั่วคราว แต่ก็มีหลายธุรกิจที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักจนถึงขั้นต้องปิดกิจการลงเลยก็มี  ผลกระทบต่อเนื่อง ก็คงเป็นการเลิกจ้างแรงงานจำนวนมาก   การเลิกจ้างแรงงาน ยังส่งผลกระทบต่อเนื่อง ไปยังหลายธุรกิจด้วยกัน หนึ่งในนั้น คือ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ เพราะทำให้กำลังซื้อในตลาดที่อยู่อาศัยลดลง หรือแม้แต่พนักงานที่ไม่ได้ถูกเลิกจ้าง ก็เกิดความกังวลใจในอาชีพและรายได้ในอนาคต  ผู้ที่วางแผนจะซื้อที่อยู่อาศัยจึงชะลอการตัดสินใจซื้อออกไปก่อน ทำให้ผู้ประกอบการอสังหาฯ  ต้องออกแคมเปญการตลาดมากระตุ้น เพื่อให้มียอดขายและสร้างรายได้ต่อเนื่อง   แคมเปญการตลาดช่วงที่ผ่านมา จึงถือว่าผู้ประกอบการ “จัดหนัก” มากที่สุดในรอบหลายปีที่ผ่านมา หรือแทบจะเรียกได้ว่า ไม่เคยจัดแคมเปญมากมายขนาดนี้มาก่อน ไม่ว่าจะเป็นการผ่อนให้ก่อน ให้ผู้ซื้อได้อยู่ฟรีมากสุดถึง 5 ปี หรือแม้แต่การลดราคาขาย ซึ่งมากที่สุดก็คือ ลดราคากันไปเลย 50%  ทำให้ราคาขายบ้านและคอนโดมิเนียมช่วงที่ผ่านมา ลดต่ำลงจากก่อนหน้านี้อย่างมาก จากปกติราคาอสังหาฯ จะต้องปรับเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง  ดร.วิชัย วิรัตกพันธ์ รักษาผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ หรือ REIC  เปิดเผยรายงานดัชนีราคาที่อยู่อาศัยที่อยู่ระหว่างการขาย ในกรุงเทพฯ - ปริมณฑล ไตรมาส 2 ปี 2563 พบว่า โครงการอาคารชุด มีการลดราคาขายมากที่สุดถึง 36%  โครงการทาวน์เฮ้าส์มีการลดราคาขายมากที่สุดถึง 32% ขณะที่โครงการบ้านเดี่ยวมีการลดราคาขายมากที่สุดถึง 12%   ทั้งนี้ หากสถานการณ์การลดราคาขายที่อยู่อาศัยสร้างใหม่ยังคงมีอย่างต่อเนื่อง จนเกิดสงครามราคา (Price war) อาจส่งผลกระทบต่อตลาดบ้านมือสองที่ต้องลดราคาขายเพื่อแข่งขันกับที่อยู่อาศัยสร้างใหม่ และจะมีผลต่อมูลค่าทรัพย์สินของสถาบันการเงิน และวงเงินกู้ของผู้ซื้อบ้านที่จะต้องลดลงตามราคาขาย   ผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 และมาตรการล็อกดาวน์ประเทศ เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของโรค มีการปิดกิจการและลดการจ้างแรงงานในหลายธุรกิจ ส่งผลต่อกำลังซื้อที่อยู่อาศัยมีการชะลอตัวเป็นอย่างมาก ทำให้ผู้ประกอบการต้องเร่งระบายสต็อกหน่วยสร้างเสร็จเหลือขาย ด้วยการลดราคาขาย   สำหรับในไตรมาส 2 ปี 2563  ดัชนีราคาบ้านจัดสรรใหม่ที่อยู่ระหว่างการขาย ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล มีค่าดัชนีเท่ากับ 128.3 เพิ่มขึ้น 1.9% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน  แต่ลดลง 0.1 % เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า ดัชนีราคาบ้านจัดสรรลดลงเป็นครั้งแรก ตั้งแต่ปี 2555 ซึ่งศูนย์ข้อมูลฯ ได้เริ่มจัดทำดัชนีราคาบ้านจัดสรร   ส่วนดัชนีราคาบ้านเดี่ยวที่อยู่ระหว่างการขาย  มีค่าดัชนีเท่ากับ 126.6 เพิ่มขึ้น 2.3% เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา แต่ลดลง 0.1% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า และดัชนีราคาทาวน์เฮ้าส์ที่อยู่ระหว่างการขาย มีค่าดัชนีเท่ากับ 130.2  เพิ่มขึ้น 1.5% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ลดลง 0.1% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า   ขณะที่ดัชนีราคาคอนโดใหม่ที่อยู่ระหว่างการขาย ในกรุงเทพฯ-ปริมณฑล ในไตรมาส 2 ปี 2563 มีค่าดัชนีเท่ากับ 153.2 เพิ่มขึ้น 1.8% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า แต่ลดลง 0.1% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า ซึ่งดัชนีราคาคอนโดลดลงต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 2 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า โดยโครงการคอนโดที่ปรับลดราคาลงมากที่สุด เป็นโครงการคอนโดสร้างเสร็จเหลือขายทำเลปลายสายรถไฟฟ้าสายสีเขียวในจังหวัดสมุทรปราการ ส่วนทำเลที่โครงการอาคารชุดปรับราคาเพิ่มขึ้น เป็นโครงการที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างทำเลแนวเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีเหลือง และสายสีส้มที่อยู่ระหว่างก่อสร้างในขณะนี้    
“แอสเซทไวส์” แบ่งเฟสขาย “โมดิซ ไรห์ม รามคำแหง” รับมือโควิด-19

“แอสเซทไวส์” แบ่งเฟสขาย “โมดิซ ไรห์ม รามคำแหง” รับมือโควิด-19

แอสเซทไวส์ ปรับแผนขาย “โมดิซ ไรห์ม รามคำแหง” รับมือโควิด-19 แบ่งเป็น 2 เฟส พร้อมออกแบบสอดคล้องกับวิถีชีวิต New Normal พร้อมเดินหน้าลุย 2 โปรเจ็กต์ใหม่ ครึ่งปีหลัง ปั้นรายได้สิ้นปี 3,500 ล้าน  ขณะที่แผนระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ เดินหน้ายื่นไฟลิ่ง   นายกรมเชษฐ์ วิพันธ์พงษ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอสเซทไวส์ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ภายหลังจากเกิดการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 บริษัทได้ปรับแผนการพัฒนาโครงการ “โมดิซ ไรห์ม รามคำแหง” (Modiz Rhyme Ramkhamhaeng) ใหม่ จากเดิมจะพัฒนาเป็นโครงการขนาดสูงเพียง 1 อาคาร มูลค่าประมาณ ​5,000 ล้านบาท และเปิดตัวขายในครั้งเดียว แต่ได้ปรับแผนใหม่ ด้วยการพัฒนาเป็นอาคารสูง 2 อาคาร และแบ่งการขายออกเป็น 2 เฟส แต่ยังคงมีมูลค่าประมาณ 5,000 ล้านบาท และจำนวนยูนิตใกล้เคียงเดิม โดยเริ่มต้นเปิดการขายโครงการ “โมดิซ ไรห์ม รามคำแหง” เฟสแรกในเดือนกรกฏาคมนี้ ด้วยการขายอาคารด้านหน้า ที่ประกอบด้วยคอนโดมิเนียมไฮไรส์สูง 30 ชั้น ตั้งอยู่บนพื้นที่กว่า 2 ไร่ แบ่งเป็นที่พักอาศัย จำนวน 546 ยูนิต และไลฟ์สไตล์ รีเทล จำนวน 9 ยูนิต มูลค่าโครงการรวมกว่า 1,790 ล้านบาท ซึ่งมีราคาเริ่มต้น 1.89 ล้านบาท ในขนาด 23.38 ตารางเมตร โดยอาคารเฟสแรกคาดว่าจะก่อสร้างแล้วเสร็จในช่วงไตรมาส 4 ปี 2565   ส่วนโครงการในเฟสที่ 2 บริษัทจะเปิดการขาย โดยดูจากกระแสตอบรับจากการขายในเฟสแรกก่อน ซึ่งบริษัทคาดว่าภายในระยะเวลา 4-6 เดือนน่าจะมียอดพรีเซลล์ประมาณ 50% แต่กำหนดการก่อสร้างของเฟส 2 ยังเป็นไปตามแผน ซึ่งคาดว่าจะก่อนสร้างแล้วเสร็จในช่วงปี 2567 นอกจากการปรับรูปแบบการพัฒนาโครงการและการขายแล้ว บริษัทยังได้ปรับงานดีไซน์และรูปแบบห้อง ให้มีความเหมาะสมกับการอยู่อาศัยของผู้บริโภคในยุค New Normal ด้วย โดยเน้นใน 3 เรื่องหลัก ได้แก่ 1.Multi-Living Space New Normal  การออกแบบให้พื้นที่ต่าง ๆ สามารถใช้ได้จริง และมีความหลากหลายในการใช้งาน 2.Residence Utilization การเพิ่มพื้นที่ตามความต้องการของผู้อยู่อาศัย  โดยเฉพาะในด้านสุขภาพ จึงมีการเพิ่มพื้นที่ Health Station สำหรับการบริการด้านสุขภาพ 3.Virtual Community การนำแอปพลิเคชั่น หรือเทคโนโลยีต่าง ๆ  เข้ามาปรับใช้ เพื่อเพิ่มความสะดวกสบายแก่ลูกค้า เช่น การนำ Telemedicine มาบริการภายในโครงการ เป็นต้น   ส่วนแผนธุรกิจของบริษัทในปีนี้ ยังเป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ โดยช่วงครึ่งปีหลัง ยังเตรียมเปิดตัวอีก 2 โครงการ ได้แก่ โครงการโมดิช ธรรมศาสตร์ รังสิต มูลค่า 1,200 ล้านบาท และโครงการบ้านภูริปุรี พัฒนาการ มูลค่า 500 ล้านบาท โดยในปีนี้คาดว่าบริษัทจะมีรายได้ 3,500 ล้านบาท โดยช่วงครึ่งปีแรกที่ผ่านมายังทำรายได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ ซึ่งในช่วงปลายปีจะมีโครงการก่อสร้างแล้วเสร็จ และรับรู้รายได้ในปีนี้ต่อเนื่องไปถึงปีหน้าอีก 2 โครงการ มีมูลค่าโครงการรวม 3,400 ล้านบาทด้วย สำหรับแผนการนำบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ยังคงเป็นไปตามแผนที่วางไว้ ซึ่งล่าสุดได้ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวน (Filing) ต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เพื่อขอเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุน ให้แก่ประชาชนเป็นครั้งแรก (IPO) เรียบร้อย เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคมที่ผ่านมา และน่าจะได้รับการพิจารณาภายใน 120 วัน โดยการเข้าระดมทุนและจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ครั้งนี้ บริษัทต้องการเพิ่มศักยภาพการเติบโตให้บริษัท ซึ่งในแต่ละปีวางแผนเปิดตัวโครงการใหม่ปีละ 4-6 โครงการ มูลค่า 4,000-5,000 ล้านบาท