Tag : condo

1488 ผลลัพธ์
บทวิเคราะห์ ไวรัส “โควิด-19” กับก้าวย่างที่ไม่ง่ายของอสังหาฯไทย

บทวิเคราะห์ ไวรัส “โควิด-19” กับก้าวย่างที่ไม่ง่ายของอสังหาฯไทย

สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา หรือ ไวรัส COVID-19 ที่ส่งผลอย่างมากต่อทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคมหลายประเทศทั่วโลก ซึ่งรวมถึงประเทศไทยด้วย ทั้งนี้ภาคอสังหาริมทรัพย์เป็นภาคเศรษฐกิจหนึ่งที่ได้รับผลกระทบอย่างมาก คำถามที่อยู่ในใจของเรา คือ “แล้วภาคอสังหาริมทรัพย์จะเดินหน้าต่อไปอย่างไร”   ดร.วิชัย วิรัตกพันธ์ ผู้ตรวจการธนาคารอาคารสงเคราะห์ และรักษาการผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ กล่าวว่า  คำถามนี้เป็นคำถามที่ไม่มีใครทราบคำตอบที่แน่นอน แต่ในเบื้องต้นลองมาพิจารณาข้อมูลล่าสุด ของศูนย์ข้อมูลฯ  กัน เนื่องจากจะเป็นโจทย์ที่สำคัญในการขับเคลื่อนภาคอสังหาฯ ด้านที่อยู่อาศัยในปี 2563 ยอดขายใหม่ลดฮวบ ! 30% จากข้อมูลการสำรวจตลาดที่อยู่อาศัยจาก 26 จังหวัดหลักทั่วประเทศ  ของศูนย์ข้อมูลฯ ที่สรุปตัวเลขเบื้องต้นออกมา พบว่า “ยอดขายได้ใหม่” ในช่วงครึ่งหลังของปี 2562 ขายได้ประมาณ 54,000 ยูนิต ลดลงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนประมาณ  30% และยังพบว่ามีการปรับตัวลดลงของ “อัตราการดูดซับ” เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน  โดยลดลงเหลือ 2.54% จาก 4.11% ในปีก่อน ภาวะเช่นนี้ได้สะท้อนให้เห็นว่า สถานการณ์ด้านการขายอสังหาฯ ด้านที่อยู่อาศัยครึ่งหลังของปี 2562 มีการชะลอตัวที่ชัดเจน หลังจากที่มีการใช้มาตรการตั้งแต่เดือนเมษายน 2562 ประกอบกับภาวะเศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2562 ก็มีภาวะที่ชะลอตัวเช่นกัน  ส่งผลให้สถาบันการเงินมีการเข้มงวด การพิจารณาการให้สินเชื่อที่อยู่อาศัยมากขึ้น   ประเด็นที่มีการจับตามองของทุกภาคส่วนคือ ปริมาณที่อยู่อาศัยเหลือขาย โดยผลการสำรวจพบว่า “ยูนิตที่อยู่อาศัยเหลือขาย” ทั่วประเทศ ณ สิ้นปี 2562 มีประมาณ 300,000 ยูนิต ซึ่งมีจำนวนยูนิตเพิ่มขึ้นกว่าปีก่อนประมาณ 10% ทั้งที่การเปิดตัวของโครงการที่อยู่อาศัยใหม่ในปี 2562 ลดลงกว่าปีก่อนหน้าถึงประมาณ 20% นับว่าเพิ่มมากกว่าที่ศูนย์ข้อมูลฯ ได้คาดไว้ ซึ่งประเด็นสำคัญคงเป็นผลมาจากภาวการณ์ของตลาดดังเช่นที่กล่าวมาข้างต้น   หากพิจารณาแยกสถานะของการก่อสร้างของที่อยู่อาศัยเหลือขาย พบว่ามี “ยูนิตเหลือขายที่สร้างเสร็จแล้ว” ประมาณ 68,000 ยูนิต หรือเพิ่มขึ้นกว่าปีก่อนประมาณ 12% แต่หากมองแยกประเภทที่อยู่อาศัยจะเห็นได้ว่ามี “อาคารชุด (คอนโดมิเนียม) เหลือขายที่สร้างเสร็จแล้ว” เพียงประมาณ 30,000 ยูนิต หรือเพิ่มขึ้นกว่าปีก่อนเพียง 2% ซึ่ง 2 ใน 3 อยู่ในกรุงเทพฯและปริมณฑล จึงอาจกล่าวได้ว่าไม่ผิดปกติอะไร โดยอาคารชุดที่สร้างเสร็จเหล่านี้ส่วนหนึ่งมาจากโครงการที่ทยอยก่อสร้างเสร็จตามแผน   ดังนั้น จึงอาจกล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า ยูนิตเหลือขายที่สร้างเสร็จแล้ว ที่เพิ่มขึ้นส่วนใหญ่จะเป็นบ้านแนวราบ โดยจำนวนรวม 38,000 ยูนิต มีการเพิ่มสูงกว่าปีก่อนถึง 21% ตามกระแสของการพัฒนาที่อยู่อาศัยในปัจจุบันที่ผู้ประกอบการทุกค่ายมุ่งไปสู่ Real Demand กันเป็นส่วนใหญ่ ทั้งนี้ ผู้ประกอบการต้องให้ความสำคัญกับตัวเลขนี้ในการวางแผนทางธุรกิจอย่างมาก เพราะจะกระทบต่อสภาพคล่องและต้นทุนในการประการ   อย่างไรก็ตาม เรายังต้องให้ความสำคัญกับ “ยูนิตเหลือขายที่อยู่ระหว่างก่อสร้าง” อีกประมาณ 98,000 ยูนิต ที่เป็นอาคารชุดประมาณ 47,000 ยูนิต ซึ่งประมาณ 3 ใน 4 อยู่ในกรุงเทพฯและปริมณฑล  และบ้านแนวราบประมาณ 51,000 ยูนิต ซึ่งประมาณครึ่งหนึ่งอยู่ในกรุงเทพฯและปริมณฑล โดยยูนิตเหลือขายเหล่านี้อยู่กำลังก่อสร้าง และกำลังจะเสร็จในอีก 1 – 2 ปีข้างหน้า ซึ่งผู้ประกอบการต้องทำการขายให้ได้ก่อนที่จะก่อสร้างเสร็จ และนี่คืออีกหนึ่งภาระที่หนักอึ้งของผู้ประกอบการภายใต้สถานการณ์ในปัจจุบัน ที่มีสถานการณ์โรคระบาด และภาวะเศรษฐกิจที่กำลังจะเข้าสู่ภาวะถดถอย ยอดโอนทั่วประเทศขยายตัว 2.7% ในภาวะที่ดูเหมือนว่าการขายในตลาดที่อยู่อาศัยในปัจจุบัน  ยังดูซบเซาลงอย่างมาก แต่ยังมีสัญญานที่ดีในเรื่องการโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยทั่วประเทศ จะเห็นได้ว่าในปี 2562 ตัวเลขยูนิตโอนกรรมสิทธิ์ทั่วประเทศยังคงขยายตัวอยู่ประมาณ 2.7% และมีมูลค่าการโอนกรรมสิทธิ์กลับสูงถึง 4.3% โดยเป็นการขยายตัวของยูนิตการโอนกรรมสิทธิ์จากบ้านแนวราบถึง 4.4% ส่วนอาคารชุดแทบจะไม่ลดลงเลย คือลดลงเพียง 0.6% เท่านั้น สำหรับยอดโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยทั่วประเทศในเดือนมกราคม 2563 ก็ใกล้เคียงกับช่วงเดียวกันของปี 2562 ซึ่งมียอดลดลงเพียง 0.5% เท่านั้น แต่มีมูลค่าสูงขึ้น 3.9% โดยยูนิตโอนกรรมสิทธิ์ของบ้านแนวราบขยายตัว2.8% แต่ยูนิตการโอนกรรมสิทธิ์อาคารชุดมีการเคลื่อนไหวลดลง  6.9% ซึ่งส่วนใหญ่ลดลงจากการโอนกรรมสิทธิ์ของคนต่างชาติเนื่องจากภาวะโรคระบาดไวรัส COVID-19 สิ่งนี้ได้สะท้อนให้เห็นได้ว่า การโอนกรรมสิทธิ์ของคนในประเทศของเรายังแข็งแรง และจะเป็นแรงขับเคลื่อนภาคอสังหาริมทรัพย์ของไทยต่อไป   สำหรับสถานการณ์โอนกรรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยทั่วประเทศ  ในภาพรวมทั้งปี 2563 ซึ่งได้รับผลกระทบที่รุนแรง จากไวรัส COVID-19 และส่งผลรุนแรงต่อเศรษฐกิจของประเทศ อาจส่งผลให้ภาพรวมยูนิตโอนกรรมสิทธิ์ลดลงในช่วงประมาณ 333,000 – 312,000 ยูนิต หรือลดลง 11.1% ถึง 16.7% และมูลค่าโอนกรรมสิทธิ์ลดลงในช่วงประมาณ 755,000 – 726,000 ล้านบาท หรือลดลง 13.8% ถึง 17.1% ซึ่งจะมียูนิต ที่ต่ำที่สุดเมื่อเทียบกับ 5 ปีก่อนหน้า แม้ว่ายังคงมีนโยบายกระตุ้นภาคอสังหาฯ ในการลดค่าธรรมเนียมการโอน และค่าจดจำนองให้เหลือประเภทละ 0.01% อยู่ถึงปลายปี   อย่างไรก็ตาม จากแนวทางเชิงนโยบายของรัฐบาล ที่จะใช้ภาคอสังหาฯ เป็นเครื่องจักรสำคัญในการกระตุ้นเศรษฐกิจให้ฟื้นขึ้นมาโดยเร็ว เนื่องจากสามารถสร้างการจ้างงานได้จำนวนมากแล้ว ทำให้เชื่อว่า รัฐบาลจะออกนโยบายและมาตรการใหม่ๆ ในการกระตุ้นเศรษฐกิจออกมา หลังจากภาวการณ์แพร่ระบาดในภาวะวิกฤต  ในช่วงเดือนมีนาคม – เมษายน 2563 ได้ผ่านไป แนะรัฐกระตุ้น Real Demands ทั้งนี้ ศูนย์ข้อมูลฯ ขอสนับสนุนนโยบายต่างๆ ที่ผ่านมาของรัฐบาล และขอเสนอเป็นแนวทางเพื่อพิจารณาเพิ่มเติมในการเสริมสร้างให้ภาคอสังหาฯ  กลับมาแข็งแรง โดยมีความเห็นว่าการสร้าง Demand ใหม่ๆ เข้ามาหนุนเสริมตลาดเป็นเรื่องที่สำคัญ โดยส่งเสริมให้กลุ่มที่มีกำลังซื้อและมีเงินเก็บ นำเงินออกมาลงทุนในการซื้อที่อยู่อาศัย ในภาวะที่ดอกเบี้ยต่ำมากในปัจจุบัน  พร้อมไปกับการเสริมสร้างแรงจูงใจและความมั่นใจให้กับ Real Demands เข้ามาซื้อที่อยู่อีกครั้งหนึ่งเป็นเรื่องสำคัญ เพื่อเป็นการระบาย Supply ส่วนเกินออกไปได้เร็วขึ้น   การกระตุ้นให้เกิดการโอนกรรมสิทธิ์ ผู้ซื้อที่อยู่อาศัยชาวไทย โดยพิจารณาพิจารณาเลื่อนการใช้มาตรการ  Macroprudential และสร้างโอกาสเข้าถึงแหล่งเงินกู้ของประชาชนให้ง่ายขึ้น นับเป็นปัจจัยสำคัญ และสำหรับกลุ่มผู้ซื้อชาวต่างชาติ อาจพิจารณาเร่งการโอนกรรมสิทธิ์ โดยใช้มาตรการจูงใจในด้านวีซ่าเพื่อการอยู่อาศัย และการลดค่าธรรมเนียมบางประการในช่วงสั้นๆ ประกอบกัน การย่างเท้าเพื่อก้าวเดินหน้าแต่ละก้าวของภาคอสังหาริมทรัพย์ในวันนี้นับเป็นเรื่องที่ยาก แต่เมื่อย่างก้าวแรกไปให้ได้แล้ว ก้าวต่อไปจะง่ายขึ้น เนื่องจากโมเมนตั้มของระบบเศรษฐกิจจะผลักผลักดันให้การขับเคลื่อนไปได้อย่างลื่นไหลได้อย่างดี ขอให้กำลังใจต่อผู้ประกอบการอวังหาริมทรัพย์ทุกบริษัท และขอให้มีความอดทนและรอบคอบกับสถานการณ์เช่นนี้ แล้วเราจะผ่านมันไปด้วยกัน  
เปิดแผนธุรกิจ ไรมอน แลนด์ ลุยตลาดเชิงรุก สู้วิกฤตโควิด-19

เปิดแผนธุรกิจ ไรมอน แลนด์ ลุยตลาดเชิงรุก สู้วิกฤตโควิด-19

ไรมอน แลนด์ กางแผนธุรกิจปี 63 ปฏิวัติโครงสร้างธุรกิจ ฝ่าวิกฤตโควิด-19 ทำการตลาดเชิงรุก เน้นอสังหาฯ เพื่อการลงทุน ในคอนโดฯ ปล่อยเช่าเป็นเซอร์วิส อพาร์ตเม้นท์ และจับตลาดคอนโดฯ ระดับลักซ์ชัวรี่ พร้อมเพิ่มรายได้จากธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม    นายไลโอเนล ลี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไรมอน แลนด์ จำกัด (มหาชน) หรือ RML เปิดเผยว่า จากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19  ภาพรวมของภาวะเศรษฐกิจทั่วโลกที่ชะลอตัว  และตลาดอสังหาริมทรัพย์ปี 2563 มีปัจจัยที่ส่งผลกระทบในทางลบ  ในระยะสั้นถึงระยะกลาง ซึ่งแผนธุรกิจในปีนี้ บริษัทจะปรับกลยุทธ์ในการรับมือกับผลกระทบของไวรัสโควิด-19โดยไม่เน้นการกระจายการลงทุน  ขณะเดียวกันได้เน้นให้ความสำคัญในการดูแลพนักงาน นักลงทุน และลูกค้า ควบคู่ไปด้วย   อย่างไรก็ตาม แม้ว่าปีนี้จะมีปัจจัยลบมากมาย แต่ยังมีปัจจัยบวกให้เห็นบ้าง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของอัตราดอกเบี้ยต่ำ และมีแนวโน้มลดดลง  มาตรการกระตุ้นอสังหาฯ ของรัฐบาล การผ่อนปรนเกณฑ์ LTV ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ซึ่งอาจเป็นปีที่น่าสนใจ สำหรับนักลงทุนที่มีความพร้อม. และเน้นการลงทุนในระยะกลางถึงระยะยาว  เพราะเป็นโอกาสดีที่จะได้ลงทุนในอสังหาฯ ที่ถูกลง มีโอกาสรับผลตอบแทนที่คุ้มค่า ทั้งในแง่ของการเพิ่มขึ้นของราคาในอนาคต ตลอดจนรายได้จากให้เช่า แผน ไรมอนแลนด์ เน้นทำตลาดเชิงรุก โดยกลยุทธ์การทำธุรกิจของบริษัทในปีนี้ มุ่งเน้นการทำตลาดเชิงรุก (Strategic Marketing) สร้างโอกาสการเติบโตในธุรกิจหลัก  โดยบริษัทออกโปรดักส์ สำหรับการลงทุนในคอนโดฯ​เพื่อปล่อยเช่า ในโครงการคอนโดฯ ระดับลักซ์ชัวรี่ บนทำเลใจกลางเมือง อาทิ เดอะ ลอฟท์ อโศก (The Lofts Asoke) เดอะ ดิโพลแมท 39 (The Diplomat 39) และ  เดอะ ดิโพลแมท สาทร (The Diplomat Sathorn) ภายใต้การบริหารงานจาก Klapsons The River Residences Bangkok  และบริษัท อสังหา เรียลตี้ บริษัทย่อยของ RML ขณะเดียวกัน บริษัทวางแผนส่งเสริมการขายผ่านช่องทาง Online ด้วยกลยุทธ์ O2O (Online to Offline) เพื่อให้ลูกค้าสามารถรับชมโครงการระดับลักซ์ชัวรี่ผ่านระบบ Online ก่อนตัดสินใจเข้าชมโครงการจริง เพื่อกระตุ้นความต้องการซื้อและเข้าถึงลูกค้าโดยตรง และในช่วงสถานการณ์ปัจจุบัน. ยังเป็นช่องทางที่สามารถสร้างความปลอดภัยด้านสุขภาพให้กับลูกค้าอีกด้วย ซึ่งคาดว่าจะสามารถผลักดันยอดขายโครงการได้เพิ่มมากขึ้น โควิด-19 พ่นพิษ เลื่อนเปิดโรงแรมครึ่งปีหลัง สำหรับแผนการเปิดโครงการใหม่  บริษัทวางแผนเปิดตัวโครงการคอนโดฯ ระดับลักซ์ชัวรี่  1โครงการ บนถนนสุขุมวิท ซอย 38  โดยเป็นการร่วมทุนกับโตเกียว ทาเทโมโนะ (Tokyo Tatemono) ซึ่งเป็นธุรกิจยักษ์ใหญ่และก่อตั้งมาอย่างยาวนานในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งโครงการดังกล่าว ถือเป็นโครงการที่ 3 ในการร่วมทุนกับโตเกียว ทาเทโมโนะ   ด้านธุรกิจสร้างรายได้ประจำ (Recurring Income) ประกอบด้วย ธุรกิจร้านอาหารและธุรกิจโรงแรม ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์แพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 บริษัทจึงเลื่อนเปิดตัวโรงแรม HOTEL KITCH จากเดิมในเดือนเมษายน 2563 เป็นช่วงครึ่งปีหลังแทน โดยโรงแรมHOTEL KITCH เป็นคอนเซ็ปต์ใหม่และบริหารโรงแรมด้วยตนเอง จำนวน 72 ห้อง และมีแผนจะเปิดตัวโรงแรมใหม่อีก 1 แห่ง ตั้งอยู่ในย่านสุขุมวิท จำนวน 300 ห้อง เน้นคอนเซ็ปต์ที่ทันสมัยโดยการใช้เทคโนโลยีมานำเสนอ เล็งจับมือพันธมิตร ลุยธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม ส่วนธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม ( Food & Beverage ) เพื่อจัดการความเสี่ยงของธุรกิจ ปัจจุบันบริษัทอยู่ระหว่างการวางแผนในการวางกลยุทธ์ใหม่ของร้านอาหารบ้านหญิง และกำลังศึกษาความเป็นไปได้ในการร่วมทุนกับพันธมิตรทางธุรกิจ F&B ซึ่งหากมีรายละเอียดแผนงานที่แน่ชัดจะแจ้งให้ทราบในลำดับต่อไป ขณะที่ตัวเลขยอดขายรอโอน (Backlog) ของบริษัททั้งหมด ณ สิ้นปี 2562 มีมูลค่ารวม 8,010.5 ล้านบาท   ซึ่งจะทยอยรับรู้รายได้ตั้งแต่ปี 2563 เป็นต้นไป ขณะที่ในปีนี้ยอดโอนส่วนใหญ่มาจากโครงการ The Lofts Silom ที่คาดว่าลูกค้าจะทยอยโอนกรรมสิทธิ์ตั้งแต่ต้นปี ปัจจุบันมียอดขายแล้ว 80%  บริษัทจะยังลงทุนในการทำกลยุทธ์ทางการตลาดในการสร้างแบรนด์ ไรมอน แลนด์ ในฐานลูกค้าทั้งในและต่างประเทศ   บริษัทยังคงมุ่งมั่นที่จะร่วมมือกับพันธมิตรธุรกิจ นักลงทุน และลูกค้าของเรา ให้ผ่านช่วงเวลานี้ไปพร้อม ๆ กัน  
แสนสิริ ทำยอดขายไตรมาสแรก 11,000 ล้าน เดินหน้าบุกทำตลาดออนไลน์ต่อ

แสนสิริ ทำยอดขายไตรมาสแรก 11,000 ล้าน เดินหน้าบุกทำตลาดออนไลน์ต่อ

แสนสิริโชว์ยอดขายไตรมาสแรก ทำยอดพุ่ง 11,000 ล้าน  คิดเป็น 40%  ของเป้ารวมทั้งปี 63   ประกาศลุยต่อไตรมาส 2 ขนอสังหาฯ พร้อมอยู่ทำตลาด และขายผ่านทุกช่องทาง     นายอุทัย  อุทัยแสงสุข ประธานผู้บริหารสายงานปฏิบัติการ บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) หรือ SIRI เปิดเผยว่า บริษัทสามารถสร้างยอดขายไตรมาสแรกของปี 2563 ได้สูงถึง 11,000 ล้านบาท ซึ่งนับเป็นยอดขายที่สูงที่สุดในกลุ่มธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในขณะนี้ และคิดเป็นการสร้างยอดขายได้ถึง 40% จากเป้าหมายยอดขายทั้งปีที่วางไว้ 29,000 ล้านบาท เป็นการสร้างยอดขายที่ประสบความสำเร็จและรวดเร็วได้ภายในไตรมาสแรกของปีนี้  รวมทั้งยังเติบโตขึ้นเกือบ 70% จากช่วงไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ความสำเร็จของยอดขายดังกล่าว เป็นผลมาจากแสนสิริเป็น “แบรนด์อันดับหนึ่งของคนอยากมีบ้าน” ที่ได้รับรางวัลผู้นำแบรนด์อสังหาฯ ทรงพลังที่สุดต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 จากผลการวิจัยเชิงลึกของ Terra BKK นอกจากนี้ ยังรวมถึงการบริการ ทั้งในส่วนของ Sansiri Service ที่ให้บริการทั้งก่อนและหลังการขาย  LIV-24  การบริการที่ดูแลความปลอดภัยส่งตรงจากศูนย์ควบคุมแบบเรียลไทม์ 24 ชั่วโมง มาตรฐานแสนสิริ พร้อมเจ้าหน้าที่พร้อมดูแลทุกจุดในโครงการ  การให้สิทธิพิเศษจากแสนสิริ แฟมิลี่  รวมถึงภาพรวมดีมานต์ที่อยู่อาศัยที่ยังคงมีอย่างต่อเนื่อง   ขณะเดียวกัน บริษัทยังประสบความสำเร็จ จากการนำเสนอขายหุ้นกู้มูลค่า 4,000 ล้านบาทในช่วงที่ผ่านมา ส่งผลให้มีสภาพคล่องที่สูงจากการนำเงินทุนที่ได้มาพัฒนาโครงการใหม่อย่างมีประสิทธิภาพและขยายการลงทุนได้อย่างเต็มที่  รวมถึงบริษัทยังมี Presale Backlog ที่พร้อมเป็นยอดขายที่สำคัญให้กับแสนสิริในปีนี้และรองรับการเติบโตระยะยาวใน 4 ปี อีกถึง 49,100 ล้านบาท   สำหรับแผนการดำเนินธุรกิจในช่วงไตรมาส 2 บริษัทยังมีโครงการที่อยู่อาศัยพร้อมเข้าอยู่ในทุกรูปแบบ ทั้งบ้านเดี่ยว ทาวน์โฮม มิกซ์โปรดักส์ และคอนโดมิเนียม ที่ครอบคลุมในทุกระดับราคา เริ่มตั้นตั้งแต่ 990,000 บาท ขณะเดียวกันยังได้เตรียมพร้อม และมีมาตรการป้องกัน เพื่อความปลอดภัยของลูกค้าในการเข้ามาใน Sale Gallery ของแสนสิริ   ส่วนในไตรมาสที่ 2 บริษัทได้เตรียมเปิดตัวแคมเปญใหม่  ที่จะช่วยกระตุ้นตลาดและตอบรับกลุ่มลูกค้าได้ดีเช่นเดียวกับไตรมาสแรก รวมถึงการรุกการขายในทุกช่องทาง โดยได้เตรียมต่อยอด “24 Hrs. Pre-Sale Online Booking” พรีเซลแบบออนไลน์เรียลไทม์ 100%  ครั้งแรกในไทย ที่ประสบความสำเร็จจากการนำร่องเปิดขายที่โครงการ เดอะ ไลน์ พหลโยธิน พาร์ค ในสัปดาห์ที่ผ่านมา   โดยลูกค้าสามารถเลือกซื้อโครงการคุณภาพพร้อมอยู่ด้วยตนเอง ผ่านช่องทางออนไลน์แบบเรียลไทม์ 24 ชั่วโมง สะดวก ง่าย ปลอดภัย และคุ้มค่า ด้วยระบบติดต่อและรับคำปรึกษาจากที่ปรึกษาการขาย Online Agent ผ่าน Live Chat หรือ VDO Call รวมถึงเจ้าหน้าที่คอยดูแลและให้ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับโครงการ ระบบธุรกรรมการเงิน ที่สามารถชำระเงินจองผ่านบัตรเครดิตที่มีความปลอดภัยสูง โดยไม่เสียค่าธรรมเนียม   แสนสิริ ยังขนทัพโครงการพร้อมอยู่อีก 10 โครงการ ใน 10 สุดยอดทำเล ให้ลูกค้าสามารถเลือกซื้อและชมโครงการได้ทาง Sansiri 24 Online Booking พร้อมโปรโมชั่นพิเศษลุ้นรับส่วนลดสูงสุดถึง 1 ล้านบาท โดยแสนสิริ ได้เริ่มนำเอาเทคโนโลยีออนไลน์  เข้ามาทำการตลาดเพื่ออำนวยความสะดวก และตอบโจทย์พฤติกรรมที่เปลี่ยนไปของลูกค้า ในปี 2552  ซึ่งเริ่มนำ Digital Sales Kit มาใช้  รวมถึงพัฒนา Home Service Application ขึ้น และยังขยายฐานการตลาดเพิ่มช่องทางการขายออนไลน์ สู่แพลตฟอร์มอื่น โดยร่วมกับลาซาด้าเปิด “แสนสิริ ออฟฟิเชียล สโตร์ บน LazMall” ที่ปัจจุบันสร้างยอดขายแล้วกว่า 100 ล้านบาท   ก่อนหน้านี้ แสนสิริ ได้เปิดบริการ Online Booking สำหรับลูกค้าที่สนใจจองโครงการเป็นรอบพิเศษที่ทำควบคู่กับกลยุทธ์การตลาดโปรโมชั่นและราคาที่ดึงดูดเปิดการขายผ่านช่องทางออนไลน์มาแล้วหลายโครงการ อาทิ kawa HAUS, oka HAUS, EDGE Central Pattaya และ THE BASE Phetkasem โดยทุกโครงการมียอดจองมากกว่า 90% ของจำนวนที่เปิดจอง   สำหรับแนวทางการเตรียมความพร้อมรับมือ Covid-19 บริษัทโดยได้ผนึก พลัส พร็อพเพอร์ตี้  วางมาตรการเน้นย้ำความปลอดภัยและสุขอนามัยของลูกบ้าน ลูกค้า พนักงานและพันธมิตร ซึ่งนับเป็นหัวใจสำคัญ โดยชูแนวทาง “Sansiri Care เพราะเราห่วงใย” เตรียมความพร้อมในการป้องกันและเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโควิด-19 โดยยกระดับ 3 มาตรการแบบเต็มขั้น ได้แก่   -มาตรการการป้องกัน การดูแล และการรับมือ ครอบคลุมทั้งในด้านความสะอาด -การอำนวยความสะดวกและเตรียมพร้อมรับมือ -การจัดตั้งทีมงานศึกษาและติดตามสถานการณ์การแพร่ระบาดอย่างใกล้ชิด  
พฤกษาปรับกลยุทธ์การขายสู้โควิด-19 ลุยทุกช่องทางออนไลน์  พร้อมอัดแคมเปญพิเศษดันยอดขาย

พฤกษาปรับกลยุทธ์การขายสู้โควิด-19 ลุยทุกช่องทางออนไลน์ พร้อมอัดแคมเปญพิเศษดันยอดขาย

พฤกษา ลุยตลาดออนไลน์ สู้โควิด-19 ที่ทวีความรุแรง พร้อมจับตาสถานสถานการณ์รายววัน เดินหน้าอัดสารพัดแคมเปญและโปรโมชั่นกระตุ้นยอดขาย    นางสุพัตรา เป้าเปี่ยมทรัพย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท พฤกษา เรียลเอสเตท จำกัด (มหาชน)  เปิดเผยว่าจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่มีความรุนแรงขึ้น ซึ่งบริษัทฯ ได้มีการติดตามและประเมินสถานการณ์อย่างใกล้ชิดเป็นรายวัน บริษัทฯ จึงได้เร่งปรับกลยุทธ์การขายโดยเน้นในทุกช่องทางออนไลน์ และมีการจัดแคมเปญพิเศษเพื่อกระตุ้นการตัดสินใจซื้อ และเป็นการบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายของลูกค้าในช่วงนี้   ไม่ว่าจะเป็น   -Online Booking กดจองซื้อบ้านได้ง่ายๆ ตลอด 24 ชม. ผ่าน pruksa.com ที่มีการคัดยูนิตสวย ทั้งทาวน์เฮาส์ บ้านเดี่ยว คอนโด หลายหลายทำเล ในราคาและเงื่อนไขสุดพิเศษ (Hot Deals) โดยลูกค้าสามารถจองโครงการ และชำระเงินด้วยบัตรเครดิตผ่านระบบ Online ได้ทันที   -จัดแคมเปญพิเศษร่วมกับ Shopee เพียงซื้อ Voucher สำหรับจองโครงการพลัมคอนโด พหลโยธิน 89  ในราคา 4,000 บาท จะได้รับส่วนลดราคาห้อง  10% สำหรับยูนิตที่ร่วมรายการ โดยสามารถซื้อ Voucher ได้ตั้งแต่วันนี้  - 30 เมษายน  2563  พิเศษ !! รับเพิ่มทองคำมูลค่าสูงสุด 2 บาท เพียงโอนในภายใน 31 พฤษภาคม 2563   -ลูกค้าสามารถเยี่ยมชมโครงการผ่าน Facebook Live : Pruksa family club ที่เสมือนชมโครงการด้วยตนเอง และสามารถจองผ่านช่องทางออนไลน์ได้เช่นกัน   -เพิ่มช่องทางการขายผ่านแอพลิเคชั่น Line พร้อมทีมเซลล์คอยซัพพอร์ตผ่าน Live เมื่อต้องการชมห้องตัวอย่างจริง   -บริการผ่อนดาวน์ชำระค่างวดบ้านผ่าน The Living App โดยสามารถเช็คจำนวนงวดผ่อนชำระคงเหลือ พร้อมรับใบเสร็จผ่าน App ได้ทันที     สำหรับลูกค้าที่สนใจเข้าชมโครงการที่สำนักงานขายด้วยตนเอง ยังสามารถเข้าชมโครงการได้ตามตามเวลาทำการปกติ จนกว่าจะมีคำสั่งการเปลี่ยนแปลงจากรัฐบาล โดยบริษัทฯ มีมาตรการรับมือกับไวรัสโควิด-19 อย่างเข้มข้น โดยคำนึงถึงสุขอนามัยของลูกค้าและพนักงานเป็นสำคัญ   นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังมีบริการให้คำปรึกษาในด้านของการขอสินเชื่อรวมถึงการวางแผนทางการเงินเพื่อให้ลูกค้าทุกคนสามารถมีบ้านได้ในช่วงสถานการณ์นี้  ลูกค้าสามารถนัดหมายเข้าเยี่ยมชมโครงการและสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมผ่าน Contact Center โทร. 1739 หรือ ผ่าน www.pruksa.com ได้ตลอด 24 ช.ม.  
เปิดข้อมูลโอนกรรมสิทธิ์คอนโดฯ ปี 2562  จีนยังครองแชมป์เบอร์ 1

เปิดข้อมูลโอนกรรมสิทธิ์คอนโดฯ ปี 2562 จีนยังครองแชมป์เบอร์ 1

คนต่างด้าวโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุด ปี 2562 มูลค่ารวมกว่า 16% ของตลาดรวม  ชาวจีน เป็นสัญชาติที่มีสัดส่วนมูลค่าการโอนกรรมสิทธิ์สูงสุด 55.4%    ตลาดอสังหาริมทรัพย์ไทยช่วงที่ผ่านมา ต้องยอมรับว่า นอกจากกลุ่มลูกค้าคนไทยซึ่งเป็นกลุ่มลูกค้าหลักแล้ว ชาวต่างชาติก็เป็นกลุ่มลูกค้าสำคัญ  ที่ได้เข้ามามีส่วนทำให้ตลาดอสังหาฯ เมืองไทยเจริญเติบโต โดยเฉพาะตลาดคอนโดมิเนียม เพราะกฎหมายไทยสามารถให้ลูกค้าชาวต่างชาติ  ถือครองกรรมสิทธิ์ห้องชุดได้มากถึง 49% แต่ช่วงปีที่ผ่านมาดูเหมือนว่าตลาดลูกค้าชาวต่างชาติ  เริ่มชะลอตัวลงจากมาตรการ LTV  ส่งผลให้ยอดขายใหม่ในตลาดกลุ่มลูกค้าต่างชาติต่อตลาดคอนโดฯ ลงลงตามไปด้วย   ส่วนการซื้อคอนโดฯ ไปก่อนหน้านี้ ปีที่ผ่านมาก็ถึงเวลาที่จะต้องโอนกรรมสิทธิ์  เพราะโครงการก่อสร้างแล้วเสร็จและพร้อมเข้าอยู่ ซึ่งปีที่ผ่านมากลุ่มลูกค้าต่างชาติ  มีการโอนกรรมสิทธิ์คอนโดฯ มากน้อยแค่ไหนนั้น  ทางศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ได้จัดทำรายงานมานำเสนอ เพื่อให้เห็นว่ามาตรการที่ออกมา ได้ส่งผลต่อตลาดอสังหาฯ มากน้อยแค่ไหน และบรรดาลูกค้าต่างชาติมีความเชื่อมั่นอย่างไรบ้าง   สำหรับภาพรวมการโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดของลูกค้าต่างชาติในปี 2562 พบว่า ตลอดปีที่ผ่านมามีการโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดของคนต่างด้าวทั่วประเทศ จำนวน 13,232 ยูนิต คิดเป็นสัดส่วน 10.5% เมื่อเทียบกับจำนวนห้องชุดที่โอนกรรมสิทธิ์ทั้งหมด มีมูลค่าการโอนกรรมสิทธิ์  52,070 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน​ 16.4%  และมีจำนวนพื้นที่ห้องชุด 521,725 ตารางเมตร คิดเป็นสัดส่วน 12.0%   หากเปรียบเทียบกับปี 2561 พบว่า ปี 2562 ต่างชาติมีจำนวนการโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดลดลง 9.9%  มูลค่าลดลง 12.0%  พื้นที่ห้องชุดลดลง 13.4% โดยห้องชุดที่ชาวต่างชาติโอนกรรมสิทธิ์ในปี 2562 มีมูลค่าเฉลี่ยต่อยูนิต 3.94 ล้านบาท และพื้นที่เฉลี่ยต่อยูนิต 39.4 ตารางเมตร     กรุงเทพฯ เมืองที่ชาวจีนซื้อคอนโดฯ มากสุด จังหวัดที่คนต่างชาติซื้อห้องชุดมากที่สุด จะอยู่ในกรุงเทพฯ ปริมณฑล และในจังหวัดท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งชาวจีน เป็นสัญชาติที่มีสัดส่วนมูลค่าการโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดทั่วประเทศมากที่สุดในปี 2562 โดยมีสัดส่วนถึง 55.4% ของมูลค่าการโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดของคนต่างชาติทั้งหมดทั่วประเทศ มีมูลค่า 52,070 ล้านบาท รองลงมาเป็นรัสเซีย มีสัดส่วน  4.6% สหราชอาณาจักร มีสัดส่วน  3.1% ญี่ปุ่นมีสัดส่วน 3.0%  และฝรั่งเศส มีสัดส่วน 2%   ในปี 2562 จังหวัดที่มีจำนวนยูนิตที่ชาวต่างชาติโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ 1.กรุงเทพฯ จำนวน 5,481 ยูนิต คิดเป็นสัดส่วน 41.4% ของยูนิตทั้งหมด 2.ชลบุรี จำนวน 4,740 ยูนิต คิดเป็นสัดส่วน 35.8% 3.สมุทรปราการ จำนวน 1,104 ยูนิต คิดเป็นสัดส่วน 8.3% 4.เชียงใหม่ จำนวน 729 ยูนิต คิดเป็นสัดส่วน 5.5% 5.ภูเก็ต จำนวน 519 ยูนิต คิดเป็นสัดส่วน 3.9%   เมื่อเทียบกับปี 2561 จังหวัดที่มีจำนวนยูนิตที่คนต่างชาติโอนกรรมสิทธิ์ลดลง ได้แก่ กรุงเทพฯ โดยลดลง 22.6%  ชลบุรี ลดลง 2.1% และเชียงใหม่ ลดลง 37.3% ตามลำดับ ส่วนในจังหวัดสมุทรปราการและภูเก็ต มีจำนวนยูนิตเพิ่มขึ้น 83.4% และ 7.5% ตามลำดับ   จังหวัดที่มีมูลค่าการโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดของคนต่างชาติสูงสุด 5 อันดับแรก คือ 1.กรุงเทพฯ  มีมูลค่า 31,628 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 60.7% ของจำนวนมูลค่าทั้งหมด 2.ชลบุรี มีมูลค่า 12,202 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 23.4% 3.ภูเก็ต มีมูลค่า 2,596 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 5.0% 4.สมุทรปราการ มีมูลค่า 2,489 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 4.8% 5.เชียงใหม่ มีมูลค่า 1,683 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 3.2%   เมื่อเทียบกับปี 2561 จังหวัดที่มีมูลค่าการโอนกรรมสิทธิ์ลดลง ได้แก่ กรุงเทพฯ ลดลง 19.4% ชลบุรี ลดลง 0.9% และเชียงใหม่ ลดลง 43.9% ตามลำดับ ส่วนในจังหวัดภูเก็ตและสมุทรปราการ มีมูลค่าการโอนกรรมสิทธิ์เพิ่มขึ้น 8.2% และ 113.5% ตามลำดับ   จังหวัดที่มีพื้นที่การโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดของคนต่างชาติสูงสุด 5 อันดับแรก คือ 1.กรุงเทพฯ มีพื้นที่  224,280 ตารางเมตร คิดเป็นสัดส่วน 43.0% ของจำนวนพื้นที่ทั้งหมด 2.ชลบุรี มีพื้นที่ 178,515 ตารางเมตร คิดเป็นสัดส่วน 34.2% 3.เชียงใหม่ มีพื้นที่ 33,117 ตารางเมตร คิดเป็นสัดส่วน 6.3% 4.สมุทรปราการ มีพื้นที่ 32,900 ตารางเมตร คิดเป็นสัดส่วน 6.3% 5.ภูเก็ต มีพื้นที่ 27,287 ตารางเมตร คิดเป็นสัดส่วน 5.2% เมื่อเทียบกับปี 2561 จังหวัดที่มีพื้นที่การโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดของคนต่างชาติลดลง ได้แก่ กรุงเทพฯ ลดลง 25.6% ชลบุรี ลดลง 3.5% และเชียงใหม่ ลดลง 35.5% ตามลำดับ ส่วนในจังหวัดสมุทรปราการ และภูเก็ต มีจำนวนพื้นที่เพิ่มขึ้น 78.0% และ 7.4% ตามลำดับ   เมื่อพิจารณาจังหวัดที่มีมูลค่าการโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดให้คนต่างชาติสูงสุดในปี 2562 จะพบว่า -กรุงเทพฯ มีมูลค่าการโอนกรรมสิทธิ์สูงสุดในเขตห้วยขวาง วัฒนา คลองเตย พระโขนง และคลองสาน ตามลำดับ -ชลบุรี มีมูลค่าการโอนกรรมสิทธิ์สูงสุดในอำเภอบางละมุง สัตหีบ และศรีราชา ตามลำดับ โดยกว่า 88.5% จะอยู่ในอำเภอบางละมุง -ภูเก็ต มีมูลค่าการโอนกรรมสิทธิ์สูงสุดในอำเภอถลาง กะทู้ และเมืองภูเก็ต ตามลำดับ -สมุทรปราการ มีมูลค่าการโอนกรรมสิทธิ์สูงสุดในอำเภอเมืองสมุทรปราการ เป็นส่วนใหญ่ โดยมีสัดส่วนสูงถึง 96.6% -เชียงใหม่ มีมูลค่าการโอนกรรมสิทธิ์สูงสุดในอำเภอเมืองเชียงใหม่ เป็นส่วนใหญ่ โดยมีสัดส่วนสูงถึง 92.0% รองลงมาคือ แม่ริม สัดส่วน 5.0% จีนครองแชมป์โอนคอนโดฯ มากสุด ในปี 2562 จีน เป็นสัญชาติที่มีการโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดมากที่สุด ทั้งจำนวนยูนิต มูลค่า และพื้นที่ห้องชุด โดยมีการโอนมากถึง 7,506 ยูนิต คิดเป็นสัดส่วน 56.7% ของห้องชุดที่มีการโอนกรรมสิทธิ์โดยชาวต่างชาติทั้งหมด มีมูลค่า 28,860 ล้านบาท  คิดเป็นสัดส่วน 55.4% ของมูลค่าการโอนกรรมสิทธิ์โดยชาวต่างชาติทั้งหมด  และพื้นที่ห้องชุด 254,546 ตารางเมตร คิดเป็นสัดส่วน  48.8% ของพื้นที่การโอนห้องชุดโดยชาวต่างชาติทั้งหมด   ชาวต่างชาติที่มีการรับโอนกรรมสิทธิ์มากที่สุดรองลงมา ได้แก่ สัญชาติรัสเซีย สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส และญี่ปุ่น ตามลำดับ  พื้นที่เฉลี่ยต่อหน่วย ในกลุ่มสัญชาติที่มีการโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุด  ซึ่งมีพื้นที่เฉลี่ยต่อยูนิตมากที่สุด 5 อันดับแรกในปี 2562 ได้แก่ จีน รัสเซีย สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส และญี่ปุ่น  โดยเฉพาะชาวสหราชอาณาจักร มีการโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดขนาดพื้นที่เฉลี่ยต่อยูนิตใหญ่ที่สุด 51.1 ตารางเมตร ส่วนจีนมีขนาดพื้นที่เฉลี่ยต่อยูนิตต่ำสุดคือ 33.9 ตารางเมตร แสดงให้เห็นว่าแม้ชาวจีนจะซื้อห้องชุดมากที่สุด แต่เป็นการซื้อห้องขนาดเล็ก มูลค่าเฉลี่ยต่อหน่วย ญี่ปุ่นมีการโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดในราคาเฉลี่ยต่อยูนิตสูงสุดคือ 4.2 ล้านบาท ในขณะที่รัสเซียมีราคาเฉลี่ยต่อยูนิตต่ำสุดคือ 3.0 ล้านบาท  ซึ่งการที่ชาวญี่ปุ่นซื้อห้องชุดในราคาเฉลี่ยต่อยูนิตแพงที่สุด มีความเป็นไปได้ว่าเป็นเพราะ ชาวญี่ปุ่นมักจะเลือกพักอาศัยอยู่ในทำเลสุขุมวิทตอนต้น เช่น นานา ซึ่งเป็นย่านใจกลางธุรกิจซึ่งราคาคอนโดฯ จะแพงกว่าในทำเลอื่นๆ มูลค่าการโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดแยกรายจังหวัด เมื่อพิจารณาสัญชาติที่มีมูลค่าการโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดสูงสุด แยกตามจังหวัด ในปี 2562 พบว่า กรุงเทพฯ ชาวจีนเป็นสัญชาติที่โอนกรรมสิทธิ์มากที่สุด จำนวน 19,784 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 62.6% ของมูลค่าการโอนในจังหวัด แต่มูลค่าลดลงจากปี 2561  5.0%  รองลงมาเป็น มาเลเซีย สิงคโปร์ ญี่ปุ่น และไต้หวันซึ่ง 4 สัญชาตินี้มีสัดส่วนการโอนรวมกันเพียง 11.6% และมีเพียงมาเลเซียที่มีมูลค่าการโอนเพิ่มขึ้นจากปี 2561 แต่อีก 3 สัญชาติมีมูลค่าการโอนลดลง ชลบุรี   ชาวจีน ยังเป็นสัญชาติที่มีมูลค่าการโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดมากที่สุดถึง 5,255 ล้านบาท  สัดส่วน  43.1% เพิ่มขึ้นจากปี 2561  5.0%  รองลงมาคือ รัสเซีย สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส และญี่ปุ่น โดย 4 สัญชาตินี้มีสัดส่วนรวมกัน 25.2% และรัสเซียเป็นสัญชาติเดียวที่มีมูลค่าการโอนลดลงจากปี 2561 ภูเก็ต  รัสเซียเป็นสัญชาติที่มีมูลค่าการโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดมากที่สุด 831 ล้านบาท (สัดส่วน 32.0%) เพิ่มขึ้นจากปี 2561 27.7% รองลงมาคือ จีน สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส และสหรัฐอเมริกา ซึ่ง 4 สัญชาตินี้มีสัดส่วนรวมกัน 30.3% โดยสหรัฐอเมริกาเป็นสัญชาติเดียวที่มีมูลค่าการโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดเพิ่มขึ้นจากปี 2561 สมุทรปราการ ชาวจีนมากที่สุด จำนวน 1,980 ล้านบาท (สัดส่วน 79.6%) เพิ่มขึ้นจากปี 2561 130.4% รองลงมาเป็น ฮ่องกง ญี่ปุ่น ไต้หวัน และสหราชอาณาจักร ซึ่งทั้ง 4 สัญชาติ มีสัดส่วนรวมกันเพียง 14.0%  โดยทั้ง 4 สัญชาติมีมูลค่าการโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดเพิ่มขึ้นจากปี 2561 เชียงใหม่ ชาวจีน เป็นสัญชาติที่มีมูลค่าการโอนมากที่สุด 1,111 ล้านบาท (สัดส่วน 66.0%) ลดลงจากปี 2561  46.4% รองลงมาเป็น เกาหลีใต้ สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส และสหรัฐอเมริกา ซึ่งทั้ง 4 สัญชาติ มีสัดส่วนรวมกัน 17.9% โดยฝรั่งเศส เป็นสัญชาติเดียวที่มูลค่าการโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดเพิ่มขึ้นจากปี 2561 ต่างชาติโอนคอนโดฯ ราคา 2.01-3 ล้านเยอะสุด  ในปี 2562 จำนวนยูนิตห้องชุดที่โอนกรรมสิทธิ์ให้คนต่างด้าวมากที่สุด จะอยู่ในระดับราคา 2.01 – 3.00 ล้านบาท มีจำนวน 3,657 ยูนิต คิดเป็นสัดส่วน 27.6% ของจำนวนยูนิตที่โอนทั้งหมด 13,232 ยูนิต โดยเพิ่มขึ้นจากปี 2561  20.8% ซึ่งเป็นระดับราคาเดียวที่มีการปรับตัวเพิ่มขึ้น ส่วนในระดับราคาอื่น ๆ มีการปรับตัวลดลงทั้งหมด ระดับราคาที่มีจำนวนยูนิตโอนรองลงมาคือ 3.01 – 5.00 ล้านบาท มีจำนวน 3,162 ยูนิต คิดเป็นสัดส่วน​ 23.9% ส่วนระดับราคาที่มีจำนวนหน่วยน้อยที่สุดคือ 7.51 – 10.00 ล้านบาท มีจำนวน 499 ยูนิต คิดเป็นสัดส่วน 3.8%   มูลค่าการโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดให้คนต่างด้าว ในปี 2562 มีสัดส่วนสูงสุดอยู่ในระดับราคา มากกว่า 10 ล้านบาท โดยมีมูลค่า 13,424 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 25.8% ของมูลค่าที่โอนทั้งหมด 52,070 ล้านบาท รองลงมาคือระดับราคา 3.01 – 5.00 ล้านบาท มีมูลค่า 12,128 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 23.3% ส่วนระดับราคาที่มีสัดส่วนมูลค่าน้อยที่สุดคือไม่เกิน1 ล้านบาท มีมูลค่า 701 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 1.3% ทั้งนี้ ในทุกระดับราคามีการปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับปี 2561 ยกเว้นระดับราคา 2.01 – 3.00 ล้านบาท ที่มีการปรับตัวเพิ่มขึ้น 20.2%    
ORI กวาดยอดขายกว่า 4,500 ล. พร้อมออก 3 มาตรการรับมือโควิด-19

ORI กวาดยอดขายกว่า 4,500 ล. พร้อมออก 3 มาตรการรับมือโควิด-19

“ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้”  คาดปิดยอดขายไตรมาสแรกได้มากกว่า 4,500 ล้าน สวนกระแสปัจจัยลบ ไวรัส COVID-19 พร้อมเดินหน้า 3 มาตรการเข้าสู้ มั่นใจทำผลงานทั้งปีได้ตามเป้าหมาย 21,500 ล้าน   นายพีระพงศ์ จรูญเอก ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) หรือ ORI เปิดเผยว่า สถานการณ์ของภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมทุกกลุ่มในปีนี้ ถือเป็นสถานการณ์แห่งความท้าทาย เนื่องจากมีปัจจัยภายนอกที่ควบคุมได้ยากอย่าง COVID-19 เข้ามากระทบ อย่างไรก็ดี ยอดขายของบริษัทตั้งแต่ต้นปีจนถึงวันที่ 24 มีนาคม 2563 ยังถือว่าเป็นไปได้อย่างยอดเยี่ยมภายใต้สถานการณ์ดังกล่าว  โดยมียอดขายประมาณ  4,500 ล้านบาท หรือคิดเป็น 21% ของเป้ายอดขายทั้งปี 2563   ทั้งนี้ ยอดขายดังกล่าวแบ่งเป็นยอดขายจากกลุ่มธุรกิจคอนโดมิเนียม ทั้งโครงการที่เพิ่งเปิดขายเมื่อปี 2562 และโครงการสร้างเสร็จพร้อมอยู่ (Ready to move) รวมกว่า 3,000 ล้านบาท และจากกลุ่มธุรกิจบ้านจัดสรร อีกกว่า 1,500 ล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่มาจากกระแสตอบรับที่ดีของโครงการเปิดตัวใหม่ 2 โครงการ ได้แก่ โครงการบริทาเนีย สายไหม และโครงการแกรนด์บริทาเนีย วงแหวน-รามอินทรา “เราได้ทำแผนการดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง หรือ Business Continuity Plan มาตั้งแต่ต้นปี พยายามทำการบ้านอย่างหนักมากในช่วงก่อนหน้านี้ เพื่อให้ผู้บริโภคยังคงมั่นใจ ไว้ใจ เข้าใจ และสามารถเข้าถึงโครงการของเราได้อย่างปลอดภัย ไม่มีผลกระทบต่อสุขภาพ ทั้งผ่านมาตรการการจัดการ COVID-19 อย่างเข้มงวดในบริเวณสำนักงานขาย ตลอดจนการติดต่อสื่อสารกับลูกค้าผ่านช่องทางออนไลน์ต่างๆ ทำให้เรายังคงได้รับการตอบรับที่ดีจากผู้บริโภค”     นายพีระพงศ์ กล่าวอีกว่า ปี 2563 ถือเป็นปีแห่งความท้าทาย โดยเฉพาะจากเรื่อง COVID-19 ที่สถานการณ์ยังมีความเปลี่ยนแปลงและมีมาตรการใหม่ๆ จากภาครัฐออกมาอย่างต่อเนื่อง บริษัทให้ความสำคัญกับเรื่องดังกล่าว จึงได้จัดประชุมผู้บริหารอยู่เป็นประจำ เพื่อให้สามารถออกมาตรการใหม่ๆ ได้อย่างทันท่วงที และในช่วงเวลานี้ บริษัทตระหนักดีว่าทุกภาคส่วนจำเป็นต้องมีความเข้าอกเข้าใจ (Empathy) ซึ่งกันและกัน   เพื่อให้ผ่านสถานการณ์อันยากลำบากไปได้ จึงพิจารณามาตรการใหม่ๆ เพื่อคน 3 กลุ่ม ได้แก่ 1.มาตรการเพื่อผู้บริโภค ทั้งเพื่อกลุ่มที่กำลังพิจารณาจะซื้อโครงการของออริจิ้น และกลุ่มที่ปัจจุบันเป็นลูกบ้านออริจิ้นแล้ว 2.มาตรการเพื่อพนักงาน โดยมีมาตรการที่ได้เริ่มดำเนินการไปแล้ว เช่น การเปิดให้พนักงานบางส่วนที่ไม่ต้องทำงานเกี่ยวข้องกับลูกค้าโดยตรง สามารถ Work From Home ได้ตั้งแต่เมื่อวันจันทร์ที่ 23 มีนาคมที่ผ่านมา 3.มาตรการเชิงธุรกิจ เพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการธุรกิจ เดินหน้าจับมือพันธมิตรใหม่ๆ ในรูปแบบ Open Platform เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ผู้บริโภค พร้อมทั้งพิจารณาปรับปรุงแผนให้ธุรกิจยังคงสามารถขับเคลื่อนไปได้ภายใต้ทุกสถานการณ์ โดยคาดว่าจะเริ่มเห็นมาตรการใหม่ๆ ในทั้ง 3 ด้านดังกล่าว ออกมาอย่างต่อเนื่องในเดือน เมษายนนี้   สำหรับปี 2563 บริษัทมีแผนเปิดตัวโครงการใหม่ทั้งสิ้น 14 โครงการ มูลค่าโครงการรวมกว่า 20,000 ล้านบาท โดยเปิดตัวไปแล้ว 2 โครงการในช่วงไตรมาส 1 คือ โครงการ บริทาเนีย สายไหม มูลค่าโครงการ 1,400 ล้านบาท และ โครงการ แกรนด์ บริทาเนีย วงแหวน-รามอินทรา มูลค่าโครงการ 1,900 ล้านบาท   “ตามปกติแล้ว ช่วงไฮซีซั่นของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์คือช่วงไตรมาส 3 และไตรมาส 4 เราจึงเชื่อมั่นว่า ด้วยยอดขายที่สามารถทำได้อย่างยอดเยี่ยมในไตรมาส 1 ประกอบกับยอดขายในไตรมาส 3 และ 4 ซึ่งสถานการณ์น่าจะคลี่คลายไปในทิศทางที่ดีขึ้นแล้ว เราจะยังสามารถทำยอดขายได้ 21,500 ล้านบาทตามเป้า”    
ดีเวลลอปเปอร์ ต้องรอด!! ออกมาตรการสู้ไวรัสโควิด-19

ดีเวลลอปเปอร์ ต้องรอด!! ออกมาตรการสู้ไวรัสโควิด-19

ตอนนี้สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ขยายวงกว้างมากขึ้น แถมจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง แม้ไม่รุนแรงเหมือนหลายประเทศ แต่ก็ยังไม่มีท่าทีว่าจะจบลง และไม่รู้จะจบเมื่อไรด้วย   ไม่เพียงแต่ไวรัสโควิด-19 จะส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนโดยทั่วไป แต่ยังได้กระทบไปถึงธุรกิจต่างๆ แทบจะทุกธุรกิจไม่ว่าจะทางตรงหรือทางอ้อมก็ตาม ทำให้เจ้าของกิจการพยายามหาหนทาง เพื่อที่จะอยู่รอดให้ได้ในสถานการณ์ปัจจุบัน   สำหรับแวดวงอสังหาริมทรัพย์ ผู้ประกอบการโดนผลกระทบมาต่อเนื่อง จากมาตรการ LTV ปัญหาค่าเงินบาท ปัญหาเศรษฐกิจชะลอตัว กำลังซื้อหดหาย ซ้ำร้ายปีนี้มาเจอกับไวรัสโควิด-19 เป็นแรงหนุนเพิ่มปัญหาให้หนักเข้าไปอีก แต่ผู้ประกอบการต่างพยายามดิ้นรน หาหนทางรอดเพื่อสู้กับปัญหา หลายรายยังมองว่าทุกวิกฤติมีโอกาส หากมีกำลังใจและต่อสู้กับปัญหาอย่างเต็มที่ มาดูกันว่าตอนนี้ผู้ประกอบการอสังหาฯ  ใช้อะไรในการสู้กับวิกฤตครั้งนี้บ้าง เพอร์เฟค จับมือ วิริยะ มอบประกันโควิด-19    พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค มอบประกันคุ้มครองไวรัสโคโรนา โดย วิริยะประกันภัย สำหรับลูกค้าที่ซื้อบ้านและทาวน์โฮม รวมถึง ลูกค้าที่เข้าเยี่ยมชมทุกโครงการ ภายในเดือนเมษายนนี้ นายวงศกรณ์ ประสิทธิ์วิภาต กรรมการผู้จัดการ บริษัท พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ได้ร่วมกับ บริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด (มหาชน) มอบความคุ้มครองให้แก่ลูกค้าของ พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค ด้วยแผนประกันโควิดชีลด์  ติดปุ๊ปรับปั๊ป เมื่อตรวจพบว่าติดเชื้อโควิด-19 รับเงินก้อนทันที 100,000 บาท หากนอนรักษาตัวในโรงพยาบาลจากโควิด-19 มีค่าชดเชยรายวัน วันละ 300 บาท สูงสุด 14 วัน พร้อมคุ้มครองการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุอีก 100,000 บาท   โดยลูกค้าที่ซื้อบ้านและทาวน์โฮมที่โอนกรรมสิทธิ์ภายในเดือนเมษายนนี้ จะได้รับความคุ้มครองดังกล่าว เป็นระยะเวลา 1 ปี  เพื่อให้ความอุ่นใจในช่วงที่โควิด-19 มีการแพร่ระบาดอย่างรวดเร็ว  นอกจากนี้ ลูกค้าที่เข้าเยี่ยมชมโครงการของพร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค ทุกโครงการ ภายในเดือนเมษายนนี้ จะได้รับสิทธิ์ความคุ้มครองนาน 30 วัน โดยไม่มีค่าใช้จ่าย หากตรวจพบว่าติดเชื้อโควิด-19 รับทันที 30,000 บาท พร้อมค่าชดเชยรายวันกรณีนอนรักษาตัวในโรงพยาบาลและประกันชีวิตด้วยเช่นกัน เป็นการส่งมอบความห่วงใยแก่ลูกค้าที่มีความกังวลเรื่องการระบาดของไวรัสโควิด-19 ในขณะนี้ LPN ให้พนักงาน Work from Home LPN ออกนโยบาย Work from Home ลดความเสี่ยงติดเชื้อไวรัสโควิด-19 หลังพบอัตราการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในระยะที่ผ่านมา เตรียมแผนรับมือและจัดตั้งทีมเฉพาะกิจ ให้พนักงานสามารถทำงานที่บ้านได้อย่างราบรื่น เน้นย้ำเรื่องการสื่อสารในภาวะวิกฤต ต้องรวดเร็วและถูกต้อง   นายโอภาส ศรีพยัคฆ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการ บริษัท แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) (LPN) เปิดเผยว่า  จากสถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่ระบาดทั่วโลกและมีอัตราการระบาดเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในประเทศไทยในระยะเวลาที่ผ่านมา LPN ได้ติดตามและเฝ้าดูสถานการณ์อย่างใกล้ชิดมาโดยตลอด และเตรียมมาตรการ Work from Home เพื่อให้พนักงานสามารถทำงานที่บ้าน เป็นการลดความแออัดและลดโอกาสในการแพร่เชื้อ   โดยบริษัทได้ประกาศคิกออฟมาตรการดังกล่าว เริ่มต้นวันแรกในวันที่ 17 มีนาคม 2563 ซึ่งได้ลดสัดส่วนจำนวนพนักงานประจำสำนักงานใหญ่ให้เหลือ 50% สลับกับพนักงานที่ทำงานที่บ้าน โดยบริษัทได้เตรียมพร้อมในแง่ระบบการทำงาน มีการใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อความคล่องตัวในการสื่อสารและการประชุมร่วมกัน รวมถึงสนับสนุนอุปกรณ์การทำงาน เพื่อให้สามารถทำงานได้อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ ในส่วนของสำนักงานขายและนิติบุคคลตามโครงการต่างๆ ยังปฏิบัติหน้าที่ตามปกติ โดยมีแผนรองรับหากเกิดภาวะฉุกเฉิน   มาตรการ Work from Home 50% ในครั้งนี้ ถือเป็นการเตรียมความพร้อมของบริษัท หากประเทศไทยเข้าสู่ภาวะติดเชื้อโควิด-19 ระยะ 3 และจำเป็นต้องปิดสำนักงานทั้งหมด เพื่อให้ลูกค้าสามารถมั่นใจได้ว่า LPN จะยังคงดำเนินงานได้แบบไม่มีสะดุด จะยังคงให้บริการลูกค้าอย่างสมบูรณ์ที่สุด   ในส่วนของการดูแลพนักงานนั้น นอกเหนือจากนโยบาย Work from Home ที่ลดความเสี่ยงในการติดเชื้อของพนักงานแล้ว LPN ยังได้ยกเลิกระบบสแกนนิ้วที่อาจเสี่ยงต่อการติดเชื้อ รวมถึงได้ทำการพ่นยาฆ่าเชื้อที่สำนักงานใหญ่ นอกจากนี้ ยังมีระบบเฝ้าระวังและติดตามพร้อมให้การดูแลหากพนักงานติดเชื้อโควิด-19 และมีการซื้อประกันโควิด-19 ให้กับกลุ่มพนักงานผู้ปฏิบัติงานประจำโครงการต่างๆ อีกด้วย   ที่ผ่านมา บริษัทได้เชิญวิทยากรจากกรมคุมโรคติดต่อ กระทรวงสาธารณสุข มาจัดอบรมแก่พนักงานและบริษัทในเครือ ในการดูแลตัวเอง และแนวทางการปฏิบัติหากเกิดกรณีพนักงานหรือเจ้าของร่วมในโครงการต่างๆ ติดเชื้อโควิด-19 จึงถือว่า LPN มีการเตรียมพร้อมอย่างเต็มที่ต่อสถานการณ์ขณะนี้ แสนสิริ ขายคอนโดฯ ออนไลน์ รับดีมานด์ลูกค้าช่วง COVID-19 แสนสิริ เปิดขายคอนโดฯ ออนไลน์ ผ่าน “Sansiri 24 Online Booking” รับไลฟ์สไตล์ลูกค้าในยุคดิจิทัล และดีมานด์ลูกค้าไม่ออกจากบ้านช่วง COVID-19 ขน 10 โปรเจ็กต์ 70 ยูนิตจัดราคาพิเศษ   นายปิติ จารุกำจร รองกรรมการผู้จัดการฝ่ายพัฒนาโครงการคอนโดมิเนียมและบริหารกลยุทธ์โครงการ บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ได้รุกตลาดผ่านกลยุทธ์การขายและบริการออนไลน์ “Sansiri 24 Online Booking” เพื่อให้สอดคล้องกับพฤติกรรมและไลฟ์สไตล์ลูกค้าในยุคดิจิทัล ตอบโจทย์ดีมานด์ในตลาดที่ยังมีอยู่สูง ซึ่งต้องการซื้อที่อยู่อาศัยพร้อมเข้าอยู่ได้ทันที ผ่านช่องทางการตลาดออนไลน์ที่อำนวยความสะสวกให้กับลูกค้าได้ซื้อคอนโดฯพร้อมอยู่ง่ายขึ้น โดยไม่ต้องออกจากบ้าน   รวมถึงเพิ่มโอกาสรองรับดีมานด์ลูกค้าช่วง COVID-19 อีกด้วย ซึ่งบริษัทยังจัดโปรโมชั่นราคาพิเศษ  ให้ลูกค้าเลือกซื้อยูนิตที่ชอบ และชมโครงการได้เสมือนกับมาที่โครงการ โดยมีเจ้าหน้าฝ่ายขายติดต่อกลับทันที เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกหลังการจอง โดยมีโครงการของแสนสิริเข้ารวม 10 โครงการ จำนวน 70 ยูนิตพิเศษ ซึ่งลูกค้าสามารถซื้อคอนโดฯ ได้ง่าย ทุกที่ตลอด 24 ชั่วโมง   “แสนสิริ ยังมีบริการ Sansiri Service เพื่อมอบประสบการณ์ดีที่แตกต่างแก่ลูกค้า โดยพร้อมดูแลตลอดทุกช่วงการอยู่อาศัย ที่ทำให้บ้านได้มากกว่าบ้าน ตั้งแต่บริการโอน ดูแลบริหารโครงการโดยพลัส พร็อพเพอร์ตี้ อุ่นใจมากกว่าด้วยบริการ LIV-24 ปลอดภัย 24 ชม. บริการ Move-In Experience เตรียมความพร้อมก่อนการเข้าอยู่อาศัยอย่างครบวงจรผ่าน และไลฟ์สไตล์พริวิเล็จมากมายจากแสนสิริ แฟมิลี่”  “อัลติจูด แจกประกันลูกค้าเยี่ยมชมโครงการ  “อัลติจูด ดีเวลลอปเม้นท์” รับมือไวรัสโควิด-19 เตรียมแจกประกันภัย สำหรับผู้เข้าชมโครงการ   นายชยพล หรรรุ่งโรจน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อัลติจูด ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ภายใต้แบรนด์ ‘ALTITUDE’ เปิดเผยว่า ภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในปีนี้แม้จะได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจโดยรวมที่ชะลอตัว และจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่กระทบกับทั้งประเทศไทยและทั่วโลก บริษัทฯ ได้ตระหนักและคำนึงถึงสถานการณ์ที่เกิดขึ้น โดยมีการปรับตัวในการดำเนินธุรกิจมาตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา   โดยให้ความสำคัญด้านความปลอดภัยกับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทุกภาคส่วน จึงได้ซื้อประกันภัยโควิด-19 มอบให้กับพนักงาน และผู้เข้าเยี่ยมชมโครงการของอัลติจูด ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป โดยผู้ต้องการเข้าชมโครงการต้องลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์ของบริษัท www.altiude.co.th เค.อี. เน้นความสะอาดสูงสุด รับมือโควิด-19 เค.อี.แลนด์ เน้นความสะอาดสูงสุด รับมือไวรัสโควิด-19 พร้อมออก 7 มาตรการให้พนักงานปฎิบัติ พร้อมเฝ้าระวัง-ติดตามข่าวสารอย่างใกล้ชิด    นางศุภานวิต เอี่ยมสกุลรัตน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มบริษัท เค.อี. และผู้บริหารกองทรัสต์ BKER เปิดเผยว่า บริษัทได้เตรียมมาตรการรับมือไวรัสโควิด-19 เพื่อสุขภาพและความปลอดภัย ของร้านค้า ผู้เช่า ลูกค้าที่มาใช้บริการศูนย์การค้า คริสตัล ดีไซน์ เซ็นเตอร์ (ซีดีซี)  เดอะ คริสตัล (เอกมัย-รามอินทรา, ราชพฤกษ์, ชัยพฤกษ์) เพลินนารี่ มอลล์, เดอะซีน (ทาวน์อินทาวน์)  อมอรินี่, แอมพาร์ค (จุฬา)  สัมมากร (รามคำแหง, ราชพฤกษ์, รังสิต) และพนักงานทุกคน   โดยออกประกาศมาตรการป้องกันและเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 โดยกำชับทุกหน่วยงานให้เข้มงวดและดำเนินมาตรการป้องกันสูงสุด ทั้งการเฝ้าระวัง การป้องกัน และการควบคุม ตามที่กระทรวงสาธารณสุขและราชกิจจานุเบกษา ประกาศให้โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โควิด-19 (Coronavirus Disease 2019 : COVID-19) เป็นโรคติดต่ออันตราย   สำหรับมาตรการการดูแลความสะอาดของสถานที่อย่างต่อเนื่อง มีดังนี้ 1.การฉีดพ่นทำความสะอาดด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อและการเช็ดทำความสะอาดบริเวณพื้นที่ส่วนกลาง 2.ให้บริการเจลแอลกอฮอล์ล้างมือในจุดต่างๆ บริเวณทางเข้า-ออกหน้าลิฟท์ บันไดเลื่อน ห้องน้ำ โดยเติมแอลกอฮอล์ไม่ให้ขาด 3.เพิ่มความถี่ในการทำความสะอาดจุดสัมผัสต่างๆ ในพื้นที่ที่ใช้ร่วมกัน เช่น ปุ่มลิฟท์โดยสาร ราวบันไดเลื่อน 4.ทำความสะอาดห้องน้ำด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ เช่น ก๊อกน้ำ ชักโครก สายฉีดชำระ ทุกครึ่งชั่วโมง 5.จัดเตรียมอุปกรณ์ทำความสะอาดภายในห้องน้ำส่วนกลางให้มีเพียงพอ 6.กำหนดให้พนักงาน ร้านค้าผู้เช่า สวมหน้ากากอนามัย และหากพบมีอาการป่วย ไอ เป็นไข้ ให้หยุดปฏิบัติงานทันที โดยให้พบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัย และรักษาจนกว่าจะหาย หรือกรณีเดินทางกลับจากต่างประเทศจะให้หยุดงานเพื่อเฝ้าระวัง 14 วัน 7.กรณีฉุกเฉินหรือมีข้อสงสัยเพิ่มเติม สามารถติดต่อได้ที่ สายด่วนกรมควบคุมโรค 1422 นอกจากนี้ ยังมีการรณรงค์และขอความร่วมมือจากร้านค้าผู้เช่า โดยการให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการป้องกันเชื้อไวรัสดังกล่าว โดยร่วมกับทุกร้านค้าทำความสะอาดพื้นที่ภายในร้าน (Big Cleaning) เพื่อสร้างความปลอดภัยและความเชื่อมั่นให้กับลูกค้าที่มาใช้บริการ และพนักงานของร้านค้าผู้เช่าด้วย   ทั้งนี้ บริษัทฯ จะติดตามสถานการณ์และเตรียมความพร้อมในการเสริมมาตรการต่างๆ เพื่อสร้างความปลอดภัยให้กับร้านค้าผู้เช่า ลูกค้าที่มาใช้บริการ และพนักงานทุกคนอย่างดีที่สุด เพื่อให้ทุกฝ่ายร่วมผ่านพ้นวิกฤติครั้งนี้ไปพร้อมกัน
รวมโปรโมชั่น “บ้าน-คอนโดฯ” สู้ไวรัสโควิด-19

รวมโปรโมชั่น “บ้าน-คอนโดฯ” สู้ไวรัสโควิด-19

ระยะเวลาปี 2563 เดินทางมาเกือบจะหมดไตรมาสแรกของปีกันแล้ว แวดวงอสังหาริมทรัพย์ดูเหมือนจะเงียบเหงา ดีเวลลอปเปอร์ส่วนใหญ่แทบไม่มีใครเปิดโครงการใหม่ออกขาย ส่วนใหญ่จะกินบุญเก่ากับโครงการเดิมๆ ที่เปิดขายมาก่อนหน้า เพราะสถานการณ์ปีนี้ เต็มไปด้วยปัจจัยลบที่ส่งผลกระทบต่อเนื่องมาจากปีที่ผ่านมา  และต้นปีนี้ยังมีปัญหาไวรัสโควิด-19 มาซ้ำเติมให้เจ็บหนักกันไปอีก   สิ่งหนึ่งที่ดีเวลลอปเปอร์ทำกันตอนนี้ คงหนีไม่พ้นการจัดโปรโมชั่น เพื่อเรียกยอดขาย และหาแนวทางในการกระตุ้นยอดขายให้มากขึ้น จากสถานการณ์ที่เต็มไปด้วยปัจจัยลบ มาดูกันว่าตอนนี้มีโปรโมชั่นจากผู้ประกอบการอะไรออกมากันบ้าง เมเจอร์ จัด LAST CHANCE!! LUCKY NO.9 เมเจอร์ ดีเวลลอปเม้นท์ จัดโปร LAST CHANCE!! LUCKY NO.9  ส่งท้ายกับ คอนโดฯ 8 โครงการ ทำเลใจกลางเมือง ใกล้รถไฟฟ้า ราคาพิเศษเริ่ม 2.9 ล้านบาท รับโปรโมชั่นฟรี 9 รายการ พร้อมลุ้นรับ On Top ส่วนลดเพิ่มสูงสุด 200,000 บาท   นางสาวเพชรลดา พูลวรลักษณ์ กรรมการบริหาร บริษัท เมเจอร์ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า บริษัทประสบความสำเร็จจากแคมเปญ “LUCKY NO.9 เฮง 9 ต่อ รับฟรี 9 อย่าง” จึงได้จัดแคมเปญต่อเนื่องโอกาสสุดท้าย สำหรับผู้ที่ต้องการเลือกซื้อคอนโดฯ ใจกลางเมืองใกล้รถไฟฟ้า กับแคมเปญ LAST CHANCE!! LUCKY NO.9  ฟรี! โปรโมชั่นกว่า 9 รายการ ด้วยฟรีค่าโอนฯ, ส่วนกลาง, เงินกองทุน, ประกันและติดตั้งมิเตอร์ไฟ, บัตรกำนัลเฟอร์นิเจอร์และเครื่องใช้ไฟฟ้า, ที่พักสุดชิคจาก Centra Maris Resort Jomtien และแก็ตเจต โดนใจ IPhone 11   โดยบริษัทได้คัดสรร 8 โครงการ พร้อมอยู่ มาจัดแคมเปญครั้งนี้  อาทิ  โครงการเอ็ม จตุจักร ใกล้ BTS หมอชิต และ สะพานควาย, MRT จตุจักร และ กำแพงเพชร  โครงการมาเอสโตร19 รัชดา19 – วิภา ทำเลใจกลางรัชดาฯ ใกล้ MRT สถานีรัชดาภิเษก โครงการมาเอสโตร 03 รัชดา – พระราม 9 ใกล้ MRT สถานีพระราม 9, สถานีศูนย์วัฒนธรรม Airport Link สถานีมักกะสัน และใกล้จุดขึ้นลงทางด่วนพิเศษศรีรัช  โครงการมาเอสโตร 14 สยาม – ราชเทวี ทำเลศักยภาพ 'ราชเทวี' ใกล้รถไฟฟ้า BTS ราชเทวี เพียง 300 เมตร สถานีเดียวถึงสยาม นอกจากนี้ยังมีโครงการเมทริส พระราม 9 - รามคำแหง ทำเลติดริม ถ.พระราม 9 และถนนรามคำแหง ใกล้ MRT รามคำแหง 12  โครงารเมทริส พัฒนาการ – เอกมัย ตั้งอยู่บนถนนพัฒนาการ ใกล้ทางด่วนรามอินทรา-อาจณรงค์ โครงการเอ็ม ทองหล่อ 10 ใกล้ BTS ทองหล่อ และโครงการมาเอสโตร 01 สาทร-เย็นอากาศ ทำเลย่านธุรกิจ ใกล้ BTS ศาลาแดง และ MRT ลุมพินี   ขณะเดียวกันในวันที่ 21-22 มีนาคมนี้ บริษัทได้เพิ่มข้อเสนอสุดพิเศษ ลุ้นรับส่วนลด On Top สูงสุดถึง 200,000 บาท** ในงาน Event ที่ Sales Gallery สำหรับ 6 โครงการ ได้แก่  เอ็ม จตุจักร, มาเอสโตร19 รัชดา19 – วิภา, มาเอสโตร 03 รัชดา – พระราม 9, มาเอสโตร 14  สยาม – ราชเทวี, เมทริส พระราม 9 – รามคำแหง และเมทริส พัฒนาการ – เอกมัย  อีกด้วย   ตลาดอสังหาฯ ปีนี้ยังคงเติบโต แต่ไม่ได้หวือหวามากนัก มั่นใจว่าตลาดยังมีเรียลดีมานด์ มีความต้องการที่อยู่อาศัยอย่างแท้จริง  เอ็น.ซี. เฮ้าส์ซิ่ง จัด NC EXPO 2020 เอ็น.ซี. เฮ้าส์ซิ่ง  เปิดแคมเปญใหญ่ NC EXPO 2020   Hot Price Hot Zone  ผนึก 8 แบงค์ มอบอัตราดอกเบี้ยพิเศษ ชูมหกรรมบ้าน เอ็น.ซี  9 แบรนด์คุณภาพ รีบจอง ภายใน 31 มีนาคมนี้   นายสมนึก ตันฑเทอดธรรม กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอ็น.ซี. เฮ้าส์ซิ่ง จำกัด (มหาชน) เปิดเผยถึง แคมเปญใหญ่ต้นปี 2020  “NC EXPO 2020 Hot Price Hot Zone” นำโครงการบ้าน-คอนโดฯ พร้อมอยู่ 9 โครงการทุกทำเล จัดราคาพิเศษ และได้รับแคมเปญพิเศษ อาทิ G1 GOLD  ซื้อบ้านได้ทอง  สูงสุด 20 บาท  G2 GIFT ซื้อบ้านรับของแถม ครบคุ้ม อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า G3 GIFT VOUCHER ตกแต่งบ้าน มูลค่าสูง ถึง 100,000 บาท G4 GIVE AWAY ซึ่งเป็นการร่วมสมทบเงินมอบส่วนหนึ่ง เพื่อโครงการรักษ์โลก  ทุกยอดโอน 1 ล้านบาท ร่วมบริจาคสนับสนุน ด้านการคัดแยกขยะลดปัญหาสิ่งแวดล้อม และ G5 GET MORE  รับส่วนลดสูงสุด 2 ล้านบาท  ฟรีทุกค่าใช้จ่ายวันโอนกรรมสิทธ์ ทุกรายการ กรณีโอนเร็ว ภายในเดือนมีนาคม รับ iPhone 11 Pro Max ,IPad gen 7,Apple Wach ,Air Pods ความมั่นใจแคมเปญใหญ่ NC EXPO 2020 Hot Price Hot Zone จะสามารถทำยอดขายกว่า  270 ล้านบาท นอกจากนี้ บริษัทยังได้ร่วมกับ 8 สถาบันการเงิน ให้อัตราดอกเบี้ยพิเศษ ได้แก่ ธนาคารไทยพาณิชย์กู้สูงสุด 110% ธนาคารออมสิน ดอกเบี้ยพิเศษ 2.7% 3 ปี ธนาคารกสิกรไทย รับดอกเบี้ย 3.32%นาน 3 ปี ธนาคารทหารไทย รับดอกเบี้ย 2.89 % 3 ปี ฟรีค่าประกันอัคคีภัย ธนาคารกรุงไทย ดอกเบี้ยพิเศษ 0.99% ปีแรก ธนาคารกรุงศรี รับดอกเบี้ยคงที่ 1% นาน 1 ปี พร้อมฟรี จดจำนอง ธนาคารอาคารสงเคราะห์ กู้ได้วงเงินสูงสุด 110%  และ LH Bank รับดอกเบี้ยเริ่มเต้น 2.9% หรือผ่อนต่ำล้านละ 3,500 บาท  (2ปีแรก ) “อัลติจูด” แจกประกันโควิด-19   “อัลติจูด ดีเวลลอปเม้นท์” ลุยตลาดแนวราบ เจาะกลุ่มผู้ซื้อที่อยู่อาศัยเพื่ออยู่จริง เตรียมแจกประกันภัยโควิด-19 สำหรับผู้เข้าชมโครงการ ตั้งเป้ายอดขาย 2,000 ล้านบาท     นายชยพล หรรรุ่งโรจน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อัลติจูด ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ภายใต้แบรนด์ "ALTITUDE" เปิดเผยว่า ภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในปีนี้แม้จะได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจโดยรวมที่ชะลอตัว และจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่กระทบกับทั้งประเทศไทยและทั่วโลก บริษัทฯ ได้ตระหนักและคำนึงถึงสถานการณ์ที่เกิดขึ้น โดยมีการปรับตัวในการดำเนินธุรกิจมาตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ซึ่งในปี 2563 จึงยังเน้นย้ำกลยุทธ์การเติบโตด้วยธุรกิจร่วมทุนและรับจัดการและพัฒนาสินทรัพย์ (Turnkey Asset Development) เป็นการขับเคลื่อนธุรกิจด้วยโครงการร่วมทุนและร่วมค้า เพื่อเป็นการแก้เกมเศรษฐกิจช่วงขาลง   สำหรับเป้าหมายยอดขายปี 2563 ตั้งเป้ายอดขายไว้ที่ 2,000 ล้านบาท ใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมา นับเป็นการเติบโตแบบก้าวกระโดดจากปี 2561 ซึ่งเป็นผลมาจากการดำเนินตามกลยุทธ์ธุรกิจ และกลยุทธ์การตลาดที่บริษัท วางไว้ได้อย่างถูกต้อง และจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 บริษัทได้ตระหนักและให้ความสำคัญด้านความปลอดภัยกับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทุกภาคส่วน จึงได้ซื้อประกันภัยโควิด-19 มอบให้กับพนักงาน และผู้เข้าเยี่ยมชมโครงการของอัลติจูด ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป โดยผู้ต้องการเข้าชมโครงการต้องลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์ของบริษัท www.altiude.co.th แสนสิริ จัดโปรลื่นปรื้ด แสนสิริ เปิดเกมส์รุกหนักไตรมาสแรกปี 63  ยกทัพโครงการพร้อมอยู่และเปิดขายใน 55 โครงการทั่วประเทศ จัดแคมเปญใหญ่ “โปรลื่นปรื้ด”  ตั้งเป้ากวาดยอดขายแคมเปญ 3,000 ล้านบาท กระตุ้นตลาดอสังหาฯ คึกคัก ดันยอดขายปิดไตรมาสแรก   นายอุทัย  อุทัยแสงสุข  ประธานผู้บริหารสายงานปฎิบัติการ บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ได้ลุยสร้างยอดขายและกระตุ้นตลาดอสังหาฯ ตั้งแต่ไตรมาสแรก ด้วยราคาและและข้อเสนอพิเศษแบบไม่เคยมีใครให้มาก่อน กับแคมเปญ “โปรลื่นปรื้ด” ล้มทุกโปร ลื่นทุกข้อเสนอ ยกทัพโครงการพร้อมอยู่และเปิดขายใน 55 โครงการทั่วประเทศ ทั้งบ้านเดี่ยว คอนโดมิเนียม และทาวน์โฮม มาจัดราคาพิเศษ พร้อมข้อเสนอพิเศษทางการเงินจาก 3 ธนาคารชั้นนำ ทั้งธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารกรุงไทย และธนาคารออมสิน ที่จะร่วมมอบอัตราดอกเบี้ยสุดพิเศษเฉพาะลูกค้าแสนสิริอีกด้วย   ตัวอย่างโครงการที่ร่วมแคมเปญ อาทิ ดีคอนโด แคมปัส กำแพงแสน เริ่มต้นเพียง 890,000 บาท  ดีคอนโด แคมปัส โดม รังสิต เริ่มต้นเพียง 1.69 ล้านบาท ทาวน์โฮมแบรนด์สิริ เพลส ราชพฤกษ์ – 346  ราคาพิเศษเริ่มเพียง 1.89 ล้านบาท มิกซ์โปรดักส์ รวมบ้านเดี่ยว บ้านแฝด และทาวน์โฮมไว้ในโครงการเดียว อณาสิริ มะลิวัลย์ ขอนแก่น ราคาพิเศษเริ่มเพียง 2.29 ล้านบาท และคณาสิริ บนหลายทำเล อาทิ บางนา, พระราม 2, ราชพฤกษ์ – 346 ราคาพิเศษเริ่มเพียง 3.99 ล้านบาท สราญสิริ โคราช ราคาพิเศษเริ่ม 4.99 ล้านบาท และบ้านเดี่ยวแบรนด์บุราสิริ ราคาพิเศษเฉพาะในงาน เริ่ม 4.99 บ้านเดี่ยวแบรนด์เศรษฐสิริ ราคาพิเศษเฉพาะในงาน เริ่ม 5.99 ล้านบาท   ไฮไลท์ที่น่าสนใจของแคมเปญ ยังลุ้นเป็นเจ้าของยูนิตราคาสุดพิเศษ ใน 12 คอนโดฯ พร้อมอยู่ อาทิ ลา กาซิต้า หัวหิน ลุ้นรับราคาพิเศษ 1.79 ล้านบาท เดอะ เบส ไฮท์ อุดรธานี ลุ้นรับราคาพิเศษเพียง 1.39 ล้านบาท  เดอะ เบส เพชรเกษม ลุ้นรับราคาพิเศษเพียง 1.79 ล้านบาท และเดอะ เบส สุขุมวิท 50 ลุ้นรับราคาพิเศษ 1.99 ล้านบาท สำหรับโครงการบ้านเดี่ยว และทาวน์โฮม นอกจากพบแปลงสวยราคาพิเศษในทุกโครงการ ทุกทำเลแล้ว ยังมีโปรโมชั่นจัดเต็มส่วนลดสูงสุดกว่า 1 ล้านบาท ให้คุณเป็นเจ้าของบ้านได้ง่ายที่สุด เพราะแสนสิริจ่ายให้ทั้งหมด ทั้งค่าจดจำนอง ค่าโอนกรรมสิทธิ์ และค่าส่วนกลางสูงสุด ถึง 10 ปี   คาดว่าแคมเปญนี้จะได้รับการตอบรับที่ดีจากลูกค้า และสามารถทำยอดขายได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ 3,000 ล้านบาท และยังจะช่วยผลักดันให้ยอดขายในช่วงไตรมาสแรกเป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้  
LPN ปรับกลยุทธ์การขาย รับมือ โควิด-19 ปั้นยอดขาย750 ล้าน

LPN ปรับกลยุทธ์การขาย รับมือ โควิด-19 ปั้นยอดขาย750 ล้าน

LPN ปรับกลยุทธ์การขายโครงการ “ลุมพีนี เพลส เตาปูน อินเตอร์เชนจ์” โปรเจ็กต์แรกที่เปิดขายของปี 63 ใช้ระบบ  Telesales สร้างยอด 750 ล้าน รับมือปัญหา โควิด-19 ระบาด    นายโอภาส ศรีพยัคฆ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการ บริษัท แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด(มหาชน) เปิดเผยว่า  จากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทำให้บริษัทปรับกลยุทธ์การขายโครงการ  “ลุมพีนี เพลส เตาปูน-อินเตอร์เชนจ์” ระหว่างวันที่ 5-8 มีนาคมที่ผ่านมา ด้วยการติดต่อกับลูกค้าที่เยี่ยมชมโครงการและลงทะเบียนแสดงความสนใจซื้อโครงการก่อนหน้านี้ทางโทรศัพท์ (Telesales) ในระหว่างวันที่ 5-6 มีนาคมที่ผ่านมา เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับลูกค้าและป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 จากการที่ลูกค้าจำนวนมากมาชุมนุมกันที่สำนักงานขายของโครงการในวันเปิดขายจริงวันที่ 7-8 มีนาคม 2563   “การนำระบบการติดต่อกับลูกค้าทางโทรศัพท์มาใช้ในช่วงวันที่ 5-6 มีนาคม ช่วยลดปริมาณของลูกค้าที่เดินทางไปที่สำนักงานขายในวันที่เปิดขายระหว่างวันที่ 7-8 มีนาคมลงไปได้มาก และยังสามารถสร้างยอดขายได้สูงถึง 300 ยูนิต คิดเป็นสัดส่วน  70% ของจำนวนยูนิตที่เปิดขาย สร้างยอดขายขายกว่า 750 ล้านบาท ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงกำลังซื้อในตลาดที่ยังคงมีความต้องการซื้อที่อยู่อาศัย ในทำเลที่ใกล้กับแนวรถไฟฟ้า ในระดับราคาที่เหมาะสม ถึงแม้เศรษฐกิจจะมีแนวโน้มชะลอตัว”      โครงการลุมพีนี เพลส เตาปูน อินเตอร์เชนจ์ เป็นโครงการคอนโดมิเนียมโครงการแรกที่ LPN เปิดขายในปี 2563  เพราะมองเห็นศักยภาพของทำเลเตาปูน - บางซื่อ ที่เป็นทำเลที่ยังคงมีความต้องการที่อยู่อาศัยเป็นจำนวนมาก จากการสำรวจของบริษัทพบว่า ย่านนี้มีบริษัทขนาดใหญ่ที่มีพนักงานมากกว่า 12,500 คน รวมทั้งทำเลที่ตั้งอยู่ใกล้กับรัฐสภาใหม่ที่มีเจ้าหน้าที่ทำงานอยู่มากกว่า 2,000 คน ประกอบกับทำเลนี้อยู่ติดกับแนวรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ส่วนต่อขยายช่วงสถานีบางซื่อ-ท่าพระ และการก่อสร้างสถานีกลางบางซื่อที่คาดว่าจะเปิดให้บริการได้ภายในต้นปี 2564 ที่คาดว่าจะมีผู้มาใช้บริการไม่น้อยกว่า 200,000 คนต่อวัน ทำให้บริษัทมั่นใจว่าจะมีลูกค้าให้ความสนใจซื้อที่อยู่อาศัยที่อยู่โดยรอบพื้นที่เตาปูน ที่เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยและมีชุมชนโดยรอบเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะที่อยู่อาศัยที่ระดับราคาไม่เกิน 2.5 ล้านบาทต่อยูนิต   เมื่อสถานีกลางบางซื่อเปิดให้บริการในปี 2564 สถานีกลางบางซื่อจะกลายเป็นสถานีศูนย์กลางระบบขนส่งมวลชนที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย โดยจะมีรถไฟฟ้าถึง 4 สายที่เชื่อมต่อกับสถานีกลางบางซื่อในอนาคต ได้แก่ สายสีน้ำเงิน สายสีม่วง สายสีแดงเข้ม และสายสีแดงอ่อน รวมทั้งยังเป็นสถานีต้นทางของรถไฟฟ้าความเร็วสูง 2 เส้นทาง ได้แก่ กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ระยะทาง 670 กิโลเมตร และกรุงเทพฯ-หนองคาย ระยะทาง 615 กิโลเมตร อีกทั้งยังมีส่วนต่อขยายแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ 5 สถานี จากสถานีพญาไทเชื่อมต่อไปยังสนามบินดอนเมืองกับสนามบินสุวรรณภูมิ   “เตาปูนเป็นทำเลที่ใกล้กับสถานีกลางบางซื่อ และมีรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินผ่าน ทำให้เป็นทำเลที่เหมาะทั้งการซื้อเพื่ออยู่อาศัย และเพื่อการลงทุน โดยการซื้อเพื่อการลงทุนให้ผลตอบแทนเฉลี่ยอยู่ที่  5% ต่อปี โดยมีการปล่อยเช่าเฉลี่ยอยู่ที่ 8,000 – 10,000 บาทต่อเดือนสำหรับห้องที่มีพื้นที่ประมาณ 22-28 ตารางเมตร ในแบบสตูดิโอ และ 1 ห้องนอน ถือว่าเป็นอีกหนึ่งทำเลที่เหมาะสำหรับการซื้อเพื่ออยู่อาศัยและการลงทุน”       โครงการลุมพีนี เพลส เตาปูน อินเตอร์เชนจ์ เป็นคอนโดสูงขนาด 30 ชั้น 1 อาคาร บนพื้นที่โครงการขนาด 3 ไร่ จำนวนห้อง 710 ยูนิต มีห้องพักให้เลือก 3 รูปแบบ ได้แก่ 1. รูปแบบสตูดิโอ ขนาด 22.50 – 23.00 ตารางเมตร 2.รูปแบบ 1 ห้องนอน ขนาด 28.00 – 34.00 ตารางเมตร 3. รูปแบบ 2 ห้องนอน ขนาด 43.00 ตารางเมตร มูลค่าโครงการรวม 1,780 ล้านบาท  ปัจจุบันโครงการได้รับอนุมัติรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมจากคณะกรรมการพิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมเรียบร้อยแล้ว   โครงการ ลุมพีนี เพลส เตาปูน-อินเตอร์เชนจ์ อยู่บนถนนกรุงเทพ-นนทบุรี  ใกล้รถไฟฟ้าสถานีเตาปูนเพียง 100 เมตร พร้อมเชื่อมต่อทุกการเดินทางได้อย่างรวดเร็วด้วยทางด่วนศรีรัชฯ ภายในโครงการออกแบบสิ่งอำนวยความสะดวกอย่างครบครัน อาทิ โถงพักผ่อน ห้องอเนกประสงค์ ห้องคุณหนู สระว่ายน้ำ ห้องเฮ้าส์เวิร์ก สวนอินฟินิตี้ ฟิตเนสและสวนดาดฟ้า พร้อมที่จอดรถ 278 คัน พร้อมระบบรักษาความปลอดภัยตลอด 24 ชั่วโมง ราคาเริ่มต้น 1.98 ล้านบาท
ไซมิสฯ วางโรดแมปธุรกิจ ลุยต่างจังหวัด-ต่างประเทศ

ไซมิสฯ วางโรดแมปธุรกิจ ลุยต่างจังหวัด-ต่างประเทศ

ไซมิส แอทเสท วาง 3 กลยุทธ์ พร้อมปั้นธุรกิจใหม่ ต่อยอดแนวคิด Asset of Life ก่อนระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ เตรียมปั้นโปรเจ็กต์มิกซ์ยูส 4,000-5,000 ​ล้าน สร้างรายได้ต่อเนื่อง พร้อมวางโรดแมปธุรกิจ 5-10 ปี บุกตลาดต่างจังหวัดและต่างประเทศ   นายขจรศิษฐ์ สิ่งสรรเสริญ กรรมการบริหารและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไซมิส แอทเสท จำกัด (มหาชน) เปิดเผยถึงแผนการดำเนินธุรกิจในปี 2563 ว่า ได้เตรียมพัฒนาโครงการใหม่ 1 โครงการ มูลค่า 4,000-5,000 ล้านบาท เป็นโครงการมิกซ์ยูสในย่านแฟชั่นไอแลนด์ ภายในโครงาการจะมีประกอบไปด้วย คอนโดมิเนียมเพื่อพักอาศัย 1 อาคาร คอนโดฯ เพื่อให้เช่า 1 อาคาร และโรงแรม 1 อาคาร บนเนื้อที่ 5 ไร่ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการออกแบบโครงการ   นอกจากนี้ บริษัทยังอยู่ระหว่างการเจรจา เพื่อร่วมทุนกับเจ้าของที่ดินขนาด 17 ไร่ถนนบางนา-ตราด เพื่อพัฒนาโครงการร่วมกัน ซึ่งหากไม่สามารถเจรจาได้ลงตัว บริษัทยังมีแผนซื้อที่ดินในทำเลใกล้เคียงประมาณ 10 ไร่ เพื่อการพัฒนาโครงการในอนาคตด้วย   สำหรับทิศทางการเติบโตในปีนี้ บริษัทคาดว่าจะเติบโตอย่างต่อเนื่องจากปีที่ผ่านมา ซึ่งสามารถสร้างรายได้ 3,430 ล้านบาท และกำไรสุทธิ 629 ล้านบาท ซึ่งมีกำไรเติบโตเฉลี่ย 3 ปีย้อนหลังมากกว่า 100% โดยการพัฒนาโครงการภายใจ้แนวคิด Asset of Life สร้างกำไรให้กับการใช้ชีวิต เพิ่ม 3 ธุรกิจต่อยอดสร้างรายได้เพิ่ม นายขจรศิษฐ์  กล่าวว่า ช่วง 10 ปีที่แล้วบริษัทเริ่มต้นธุรกิจด้วยเงินทุนจดทะเบียนเพียง 200 ล้านบาท ปัจจุบันสามารถพัฒนาโครงการจนมีมูลค่าร่วม 47,000 ล้านบาท และเพิ่มทุนจดทะเบียนเป็น 1,200 ล้านบาท เพื่อสร้างการเติบโตอย่างต่อเนื่อง จึงเตรียมนำบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เพื่อระดมทุนมาพัฒนาธุรกิจ โดยปัจจุบันแม้บริษัทยังไม่ได้เงินทุนมาพัฒนาโครงการ แต่บริษัทได้เริ่มวางแผนและขยายธุรกิจใหม่เพื่อสร้างการเติบโตแล้ว   สำหรับแนวทางการพัฒนาและขยายธุรกิจ บริษัทได้วาง 3 กลยุทธ์สำคัญ​ คือ 1.พัฒนาโครงการในรูปแบบ Branded Residence เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับโครงการ และสร้างจุดขาย ซึ่งจะร่วมมือกับเครือโรงแรมชั้นนำ ในการเข้ามาบริหารโครงการ อาทิ ไฮแอท บันยันทรี ดุสิต และฮิลล์ตัน เป็นต้น โดยทำราคาให้เหมาะสม เพื่อให้กลุ่มลูกค้าที่ซื้อโครงการของบริษัท สามารถนำเอาห้องชุดไปสร้างมูลค่าเพิ่มได้ ทั้งจากการปล่อยเช่าหรือการขายต่อเมื่อมูลค่าทรัพย์สินเพิ่มขึ้น 2.ขยายธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม (Food and Beverage) โดยในปีที่ผ่านมาได้เปิดร้านอาหาร แบรนด์ โรสแมรี่ 1 สาขา และร้านกาแฟ ภายใต้แบรนด์ Kafeology 2 สาขา นอกจากนี้ ยังเตรียมวางแผนเปิดธุรกิจจัดส่งอาหารเดลิเวอรี่ ภายใต้บริการ Cloud Kitchen ซึ่งจะมีการดึงร้านอาหารที่มีชื่อเสียงมาไว้ด้วยกัน และมีครัวกลางสำหรับการจัดเตรียมอาหาร เพื่อจัดส่งให้กับลูกค้าผ่านบริการจัดส่งผ่านแอปพลิเคชั่น เช่น แกร็บฟูด เป็นต้น โดยวางเป้าหมายภายใน 3-5 ปี จะขยายจุดให้บริการ 100 แห่ง  แต่ละแห่งจะมีร้านอาหารเข้าร่วมประมาณ 6-8 ร้าน เพื่อบริการลูกค้าในรัศมีไม่เกิน 8 กิโลเมตร ซึ่งปัจจุบันมีร้านอาหารเข้าร่วมแล้ว 6 ร้าน   นอกจากนี้ การพัฒนาโครงการใหม่ของบริษัททุกโครงการจะมีเลาจ์ เพื่อบริการอาหารและเครื่องดื่มให้กับลูกบ้านและลูกค้าทั่วไป ส่วนบางโครงการจะเปิดพื้นที่ร้านอาหารบนชั้นดานฟ้า (Rooftop Restaurant) เช่น โครงการไซมิส เอ๊กซ์คลูซีพ ควีนส์ (Siamese Exlusive Queens) 3.ขยายสู่ธุรกิจการดูแลสุขภาพ (Wellness) นอกจากธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม บริษัทยังขยายไปสู่ธุรกิจการดูแลสุขภาพ ซึ่งเป็นไปตามเทรนด์ของสังคมไทยที่กำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ซึ่งบริษัทจะร่วมกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลสุขในเชิงการป้องกัน (Preventive Medicine) ซึ่งแพทย์ดังกล่าวมีแพลตฟอร์มด้านการให้บริการ และมีจำนวนผู้ติดตามในสื่อออนไลน์มากกว่า 50,000 คน โดยการให้บริการจะเป็นรูปแบบครบวงจร ซึ่งมีทั้งอาหารสุขภาพ บริการสปา และบริการเสริมความงาม เล็งบุกหัวเมืองท่องเที่ยว-ต่างประเทศ นอกจากการขยายตลาดในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑลแล้ว บริษัทยังวางแผนพัฒนาโครงการในต่างจังหวัด ซึ่งเป็นหัวเมืองหลักด้านารท่องเที่ยว โดยการนำเอาโมเดลธุรกิจการพัฒนาโครงกคอนโดฯ เพื่ออยู่อาศัย และคอนโดฯ เพื่อปล่อยเช่า ไปพัฒนาในต่างจังหวัด รวมถึงการพัฒนาโครงการในตลาดต่างประเทศ ซึ่งมองเมืองเป้าหมาย ได้แก่ มะนิลา จาร์กาต้า และบังคลาเทศ เนื่องจากเป็นเมืองที่มีประชากรจำนวนมาก   โดยบริษัทวางแผนในระยะ 5 ปีนับจานี้จะพัฒนาโครงการตามหัวเมืองใหญ่ด้านการท่องเที่ยว และภายใน 5-10 ปี จะขยายตลาดไปยังต่างประเทศดังล่าว ซึ่งถือว่าทั้ง 2 ตลาดเป็นบลูโอเชียนที่ยังมีคู่แข่งน้อย และที่ผ่านมายังไม่มีผู้ประกอบการคนไทยประสบความสำเร็จ ในการพัฒนาโครงกอสังหาริมทรัพย์ในต่างประเทศเลย   เราจะไปหาบลูโอเชี่ยน ไทยยังไม่มีใครซัคเซสในต่างประเทศ เราจะไปให้ได้
สรุปผลงานบิ๊กอสังหาฯ ปี 2562 ทำรายได้รวมกว่า 2.77 แสนล้าน

สรุปผลงานบิ๊กอสังหาฯ ปี 2562 ทำรายได้รวมกว่า 2.77 แสนล้าน

รอบปี 2562 ที่ผ่านมา ต้องยอมรับเลยว่าตลาดอสังหาริมทรัพย์เมืองไทย ต้องเผชิญภาวะชะลอตัวอย่างชัดเจน จากปัจจัยลบสำคัญ คือ ผลกระทบจากมาตรการ LTV ที่มาซ้ำเติมกับภาวะกำลังซื้อของคนส่วนใหญ่ชะลอตัวลง เพราะภาพโดยรวมไม่ว่าจะเป็นเศรษฐกิจโลก หรือเศรษฐกิจไทย ต่างก็มีปัญหามาก่อนหน้านี้ เมื่อกำลังซื้อมีจำกัด มาเจอกับการเข้มงวดจากการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงิน และวงเงินการปล่อยกู้ที่ลดลง ตลาดอสังหาฯ จึงได้รับผลกระทบแบบเต็มๆ   จากการสำรวจผลประกอบการของบริษัทอสังหาฯ ที่จะทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) ประมาณ 30 บริษัท ซึ่งดำเนินธุรกิจพัฒนาโครงการอสังหาฯ ประเภทที่อยู่อาศัย ไม่ว่าจะเป็นบ้านเดี่ยว ทาวน์โฮม หรือคอนโดมิเนียม พบว่ารายได้เมื่อสิ้นปี 2562 ต่างได้รับผลกระทบ ตัวเลขรายได้และกำไรต่างลดลงจากปี 2561 ส่วนใหญ่เหตุผลมาจาก ลูกค้าไม่สามารถกู้เงินซื้อบ้านได้  เพราะมีข้อจำกัดเรื่อง LTV แม้ลูกค้าที่มีความสามารถในการซื้อ แต่ความมั่นใจก็ลดลง จึงชะลอแผนการซื้อที่อยู่อาศัยไปก่อน ขณะที่ฝั่งผู้ประกอบการเอง ยังชะลอการเปิดตัวโครงการใหม่ออกไปก่อน และบางรายก็ลดจำนวนโครงการที่เปิดใหม่ในปีที่ผ่านมาด้วย 30 ดีเวลลอปเปอร์ทำรายได้ลด 4.07% หากดูตัวเลขจากการสำรวจข้อมูลในปี 2562 ที่ผ่านมาพบว่า ผู้ประกอบการอสังหาฯ 30 รายหลัก มีรายได้จากการพัฒนาอสังหาฯ ซึ่งเป็นประเภทที่อยู่อาศัย มีรายได้รวมกว่า 277,810 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อนหน้า 4.07% ซึ่งมีรายได้รวม 289,607 ล้านบานท ขณะที่กำไรในส่วนที่บริษัทได้รับมีมูลค่ารวม  50,144 ล้านบาท ลดลง 6.37% จากปีก่อนหน้าที่มีกำไร 53,558 ล้านบาท แต่หากพิจาณาจากรายได้รวมทั้งหมด ของผู้ประกอบการอสังหาฯ ในปีที่ผ่านมา จะพบว่า มีรายได้เติบโตเล็กน้อย ประมาณ 1.49% จากรายได้รวมจำนวน 332,651 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าที่มีจำนวน 327,766.65 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิรวม 50,438 ล้านบาท ลดลงเล็กน้อยในอัตรา 0.51% จากปีก่อนหน้าที่มีกำไรสุทธิรวม 50,698 ล้านบาท   เหตุผลที่บริษัทอสังหาฯ ส่วนใหญ่ยังทำรายได้รวมเพิ่มขึ้น และกำไรลดลงเล็กน้อย ซึ่งเรียกได้ว่ายังรักษาความสามารถในการทำกำไรได้ดี ในภาวะและสถานการณ์ที่มีแต่ปัจจัยลบนั้น เป็นเพราะการขยายพอร์ตธุรกิจไปสูตลาดอสังหาฯ ประเภทอื่นๆ ที่ไม่ได้จำกัดตัวเองไว้แต่เฉพาะตลาดที่อยู่อาศัยเท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นตลาดสำนักงานให้เช่า ศูนย์การค้า โรงแรม เซอร์วิสอพาร์ทเมนท์ ธุรกิจบริการ คลังสินค้า หรือแม้แต่โรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งหลายธุรกิจไม่ได้รับผลกระทบจากกำลังซื้อที่ชะลอตัวลง แถมยังเป็นธุรกิจทำกำไรได้ดีกว่าธุรกิจที่อยู่อาศัยด้วยซ้ำ ดีเวลลอปเปอร์ Top10 ครองตลาดกว่า 73% ถ้าพิจารณาบรรดาผู้ประกอบการรายใหญ่ 10 อันดับแรก ยังพบว่าเป็นผู้ประกอการที่สามารถสร้างรายได้จากธุรกิจอสังหาฯ เพื่ออยู่อาศัยได้ระดับหมื่นล้านบาทขึ้นไป และยังเป็นกลุ่มผู้ประกอบการที่ครองส่วนแบ่งการตลาดรวมกันมากกว่า 73% อีกด้วย โดยกลุ่มพฤกษา โฮลดิ้ง (PSH) ยังคงเป็นแชมป์ทำรายได้สูงสุดถึง 39,885.21 ล้านบาท แม้ว่าจะลดลง 11.17% จากปีก่อนหน้าที่ทำได้ 44,900.70 ล้านบาทก็ตาม โดยกลุ่มออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ (ORI) เป็นกลุ่มผู้ประกอบการ Top10 ที่ทำรายได้น้อยสุดด้วยรายได้ 12,278.60 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อนหน้า 15.5% ที่ทำรายได้ 14.523.10 ล้านบาท   หากมาดูการเปลี่ยนแปลงของรายได้จากธุรกิจอสังหาฯ เพื่ออยู่อาศัย 7 ใน 10 บริษัท มีรายได้ลดลงทั้งหมด ที่ลดลงมาก็คือ กลุ่มแลนด์แอนด์เฮ้าส์ (LH) ลดงถึง 17.57%  รายได้ที่ทำได้ในปี 2561 จำนวน 30,513.63 ล้านบาท ลดลงเหลือ 25,15137 ล้านบาท ส่วนบริษัทที่มีรายได้ลดลงเพียงเล็กน้อย คือ กลุ่มศุภาลัย (SPALI) ที่มีรายได้จากการขายอสังหาฯ เพื่อที่อยู่อาศัยดลง 7.85% จากปี 2561 มีรายได้ 25,203.08 ล้านบาท เหลือ 25,151.37 ล้านบาท ในปีที่ผ่านมา   ขณะที่ดีเวลลอปเปอร์ซึ่งติด Top10 สามารถฝ่าปัจจัยลบ สร้างยอดขายเติบโตได้ดี คือ กลุ่มโนเบิล ดีเวลลอปเปอร์ (NOBLE) ซึ่งมีสาเหตุหลักมาจาก การรับรุ้รายได้จากการขายที่ดินรอการพัฒนา มูลค่า 8,680.7 ล้านบาท รวมถึงการขายสินทรัพย์เข้ากองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาฯ จำนวน 210 ล้านบาท ซึ่งอาจจะถือว่าเป็นรายได้จากการขายที่พิเศษขึ้นมา หากหักรายการพิเศษนี้ออกไป กลุ่มโนเบิลฯ จะมีรายได้ประมาณ 6,000 ล้านบาท ซึ่งคงไม่ได้ติดอันดับ Top10 แต่ยังคงมีรายได้เติบโตจากปีที่ผ่านมา ซึ่งทำได้ประมาณ 4,974.20 ล้านบาท   ส่วนอีก 2 บริษัทที่สามารถสร้างรายได้จากการขายเติบโต คือ บริษัท แผ่นดินทอง พร็อพเพอร์ตี้ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) (GOLD) ที่ทำรายได้ในช่วง ปี 2562 (มกราคาถึงธันวาคม 2562) จำนวน 15,299.99 ล้านบาท เติบโต 9.02% จากปีที่ผ่านมามีรายได้ 14,034.33 ล้านบาท และอีกบริษัท คือ กลุ่มพร็อพเพอร์ตี้ เฟอร์เฟค (PF) ที่สามารถสร้างการเติบโตได้ 5.01% ด้วยรายได้ 16,367.10 ล้านบาท จากปีก่อนหน้าทำได้ 15,586.60 ล้านบาท   Top10 โกยกำไรกว่า 4 หมื่นล้าน สำหรับปีที่ผ่านมาบิ๊กดีเวลลอปเปอร์รายใหญ่ ยังคงความสามารถในการทำกำไรในส่วนของบริษัท ได้ใกล้เคียงกับปีก่อนหน้า โดย 10 บริษัทรายใหญ่ทำกำไรในส่วนของบริษัทได้มากถึง 40,088.45 ล้านบาท ลดลงเล็กน้อยเพียง 2.76% จากปี 2561 ที่ทำได้จำนวน 41,224.19 ล้านบาท บริษัทที่ทำกำไรได้สูงสุด และแตะระดับหมื่นล้านบาทนั้น ยังคงเป็นบริษัท แลนด์แอนด์เฮ้าส์ฯ ที่มีกำไร 10,024.90 ล้านบาท ลดลง 4.30% จากปีก่อนหน้าทำได้ 10,475.42 ล้านบาท ส่วนบริษัทที่กำไรลดลงมากสุด คือ บริษัท ควอลิตี้ เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) (QH) โดยกำไรลดลง 24.86% จากกำไรในปี 2561 จำนวน 3,797.85 ล้านบาท เหลือจำนวน 2,853.86 ล้านบาท ในปีที่ผ่านมา แม้บริษัทส่วนใหญ่จะกำไรลดลง แต่ยังพบว่ากลุ่ม Top10 มี 3 บริษัทที่กำไรเติบโต คือ บริษัท โนเบิลฯ มีกำไรเติบโต 211.18% จากกำไรจำนวน 986.97 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเป็น 3,071.21 ล้านบาท. ซึ่งเป็นผลจากการขายรายการพิเศษนั่นเอง ส่วนอีก 2 บริษัทที่มีกำไรเติบโต คือ บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) (SIRI) มีกำไรเติบโต 16.93% จากกำไร 2,045.97 ล้านบาท ในปี 2561  เพิ่มขึ้นเป็น 2,392.44 ล้านบาท ในปีที่ผ่านมา และบริษัท แผ่นดินทองฯ เป็นอีกหนึ่งบริษัทในกลุ่ม Top10 ที่มีกำไร โดยกำไร 2,093.92 ล้านบาท เติบโต 7.27% จากปี 2561 ซึ่งมีกำไร 1,951.97 ล้านบาท 3 บริษัทกำไรเติบโตเกิน 100% ส่วนภาพรวมในรอบปี 2562 บริษัทอสังหาฯ ในตลาดหลักทรัพย์ประมาณ 30 บริษัท สามารถทำกำไรในส่วนของบริษัทรวม  50,144.63 ล้านบาท ลดลง 6.37% จากปี 2561 ที่ทำกำไรได้ 53,558.26 ล้านบาท โดยบริษัทที่ไม่ได้อยู่ในกลุ่ม Top10 มีกำไรเติบโตโดดเด่น มี 3 บริษัท  คือ  บริษัท ไรมอนแลนด์ จำกัด (มหาชน) (RML)  มีกำไรเติบโต 228.30% จากกำไรในปี 2561 จำนวน 17.67 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเป็น 79.30 ล้านบาท ในปีที่ผ่านมา และบริษัท ชาญอิสสระดีเวล็อปเนท์ จำกัด (มหาชน) (CI) ซึ่งทำกำไรเติบโตถึง 228.39% จากกำไรจำนวน 82.4 ล้านบาท ในปี 2561 เพิ่มขึ้นเป็น 270.59 ล้านบาท เป็นผลจากการโอนกรรมสิทธิ์จากโครงการต่างๆ ที่เปิดขายมาก่อนหน้า   ส่วนอีกบริษัทที่มีกำไรเติบโตโดดเด่น ไม่พูดถึงไม่ได้ เพราะสามารถผลิกฟื้นธุรกิจจากขาดทุนมาเป็นกำไร คือ บริษัท เอเวอร์แลนด์ จำกัด (มหาชน) (EVER)  ที่สามารถผลิกจากการขาดทุนในปี 2561 จำนวน  340.86 ล้านบาท มาเป็นกำไรได้ 323.84 ล้านบาท หรือเติบโตถึง 195% ซึ่งเป็นผลมาจาก การโอนกรรมสิทธิ์โครงการต่างๆ อาทิ  เดอะโพลิแทน รีฟ เฟส 1 และโครงการทาวน์โฮม แบรนด์เอเวอร์ ซิติ้ สุขสวัสดิ์ 30-พุทธบูชา โครงการเอเวอร ซิตี้ ศรีนครินทร์-หนามแดง และโครงการมายโอม อเวนิว เป็นต้น ถือว่าทำผลงานได้ดีที่สุดในรอบ 7 ปีเลยทีเดียว   บทสรุป ของปี 2562 ที่ผ่านมา คงเห็นภาพได้ชัดเจนว่า ตลาดอสังหาฯ​ ได้รับผลกระทบจากมาตรการ LTV ภาวะเศรษฐกิจ และกำลังซื้อ และน่าจะยังคงส่งผลกระทบต่อเนื่องมาถึงปี 2563 ยิ่งสถานการณ์ตอนนี้ เกิดปัญหาไวรัสโควิด-19 อีกด้วย เชื่อว่าตลาดอสังหาฯ ปีนี้ ก็คงชะลอตัวต่อเนื่องเช่นกัน แต่จะมากน้อยแค่ไหนนั้น คงต้องวัดผลกันอีกครั้งในช่วงสิ้นปี                        
รีวิวคอนโด อ่อนนุช “Chambers อ่อนนุช สเตชั่น” คอนโดอารมณ์บ้าน ติดรถไฟฟ้า

รีวิวคอนโด อ่อนนุช “Chambers อ่อนนุช สเตชั่น” คอนโดอารมณ์บ้าน ติดรถไฟฟ้า

SC asset หนึ่งในผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่ใครหลายคนหมายปองอยากจะเป็นเจ้าของให้ได้สักโครงการ เพราะชื่อเสียงด้านคุณภาพงานก่อสร้างที่ออกมาประณีตเรียบร้อยในทุกมุมตารางเมตร การใช้วัสดุที่ดี งานดีไซน์สวย ไปจนถึงการดูแลลูกบ้านในทุกโครงการภายใต้แบรนด์มากมายทั้งคอนโดมิเนียมและโครงการแนวราบ สิ่งเหล่านี้เกิดจากการหล่อหลอมทุกดีเทลจนเกิดเป็นความเชื่อมั่นของลูกค้า   Chambers (แชมเบอร์ส) แบรนด์คอนโดมิเนียมพร้อมอยู่แบบ Low Rise ที่ชูคอนเซป "คอนโดอารมณ์บ้าน" เมื่อลอดผ่านอาคาร A เข้าสู่โครงการเข้าไปก็ให้ความรู้สึกเหมือนเดินผ่านสวนสีเขียว มีมุมนั่งเล่นพักผ่อนท่ามกลางความเงียบสงบก่อนเข้าถึงตัวอาคารผ่าน Double Space Lobby ที่ได้แสงธรรมชาติเข้ามาทำให้ดูโปร่งโล่ง สร้างบรรยากาศให้ดูอบอุ่นด้วยโทนสีเบจ ใช้เฟอร์นิเจอร์สีอ่อนสลับด้วยสีเข้มแบบเอิร์ธโทน ประดับตกแต่งด้วยไม้ประดับต้นเล็กกระจายอยู่ทั่วทั้งล็อบบี้ ภาพรวมทั้งภายในและนอกอาคารออกมาโทนเดียวกันอย่างกลมกลืน ไม่มีอะไรที่ดูฉูดฉาดหวือหวาแต่คงคอนเซปของอารมณ์เหมือนอยู่บ้านได้อย่างดีทีเดียว   ส่วนกลางหลักจะอยู่ที่อาคาร C ด้านในสุดของพื้นที่โครงการ ซึ่งจะเป็นที่ตั้งของฟิตเนสและสระว่ายน้ำระบบเกลือลักษณะ L shape มีมุม Jacuzzi ให้ได้นั่งแช่ผ่อนคลายใต้ร่มไม้ใหญ่ริมสระ และ Sunken ให้ได้นั่งเล่นกลางสระว่ายน้ำ ทำเลคอนโด อ่อนนุช Chambers อ่อนนุช สเตชั่น โครงการนี้ SC asset เลือกปักหมุดย่านอ่อนนุช ในซอยสุขุมวิท 81 ถือเป็นสุขุมวิทช่วงกลางที่ถูกจับตามองในแง่ของการพัฒนารอบด้านมาได้สักระยะ เห็นได้จากโครงการคอนโดมิเนียมจากหลาย Developer ค่ายใหญ่ในบ้านเรามาร่วมกันสร้างอ่อนนุชให้คึกคัก ประกอบกับสิ่งอำนวยความสะดวก อาทิ โลตัส อ่อนนุช เซ็นจูรี่ บิ๊กซี อ่อนนุช เดอะฟิล รวมถึงสถานีรถไฟฟ้า สถานีอ่อนนุช ในระยะเดินได้ แค่ 230 เมตร และยังใกล้กับทางด่วนถึง 3 สาย ทั้งทางด่วนเฉลิมมหานคร ทางด่วนฉลองรัช และทางด่วนบูรพาวิถี ไม่ว่าจะเดินทางเข้าใจกลางเมืองหรือออกนอกเมืองโซนบางนา-สุวรรณภูมิ ก็สะดวก ภาพโครงการ "Chambers อ่อนนุช สเตชั่น" Facilities "Chambers อ่อนนุช สเตชั่น" ห้องตัวอย่าง รายละเอียดคอนโดเพิ่มเติม Chambers อ่อนนุช สเตชั่น โครงการอื่นจาก SC asset CENTRIC RATCHAYOTHIN Bangkok Boulevard Rama 9 Grand Bangkok Boulevard Ramintra-Seritha    
5 ปัจจัยหนุนทำเลเตาปูน สู่ย่านใจกลางธุรกิจแห่งใหม่

5 ปัจจัยหนุนทำเลเตาปูน สู่ย่านใจกลางธุรกิจแห่งใหม่

ถ้าพูดถึงทำเลที่มีการพัฒนาโครงการคอนโดมิเนียมหนาแน่น  นอกจากทำเลพื้นที่ย่านใจกลางเมือง หรือ ย่านใจกลางธุรกิจ อีกทำเลที่มีการพัฒนาคอนโดฯ​ อย่างหนาแน่น ก็คงเป็นทำเลตามแนวเส้นทางรถไฟฟ้า ทั้งเส้นทางรถไฟฟ้าที่เปิดให้บริการแล้ว และกำลังจะเกิดขึ้นในอนาคต  เพราะคนจะเลือกที่อยู่ทำเลไหน การเดินทางต้องมีความสะดวกสบายด้วย ซึ่งเรื่องของความสะดวกในการเดินทาง ถือเป็นตัวตัดสินใจอันดับแรกๆ ในการเลือกซื้อที่อยู่อาศัยเลยก็ว่าได้   สำหรับแนวเส้นทางรถไฟฟ้า ซึ่งมีการพัฒนาโครงการคอนโดฯ หนาแน่นแห่งหนึ่ง คงเป็นทำเลเตาปูน บริเวณรถไฟฟ้าสถานีเตาปูน อินเตอร์เชนจ์ ต่อเนื่องไปถึงสถานีบางโพ ยิ่งเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย จากสถานีเตาปูน-ท่าพระ ได้เริ่มทดลองวิ่งแล้ว ทำเลนี้น่าสนใจและเป็นที่จับตามอง ดีเวลลอปเปอร์หลายราย มองว่าทำเลนี้ในอนาคตจะถูกพัฒนาและกลายเป็นย่านใจกลางธุรกิจแห่งใหม่ จากปัจจัยบวกหลายประการ   หากพิจารณาถึงเหตุผลตอกย้ำทำเลเตาปูน คือ ย่านใจกลางธุรกิจแห่งใหม่ในอนาคตนั้น  คงจะมาจากเหตุผลสำคัญ 5 ประการ คือ 1.การพัฒนาโครงการ “สถานีกลางบางซื่อ” สถานีกลางบางซื่อ เป็นโครงการของการรถไฟแห่งประเทศไทย มีเป้าหมายสำคัญเพื่อใช้เป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงเส้นทางรถไฟ และรถไฟฟ้า ซึ่งมีการริเริ่มโครงการมาตั้งแต่ปี 2553 โดยขณะนั้นสถานีกลางบางซื่อ ถือเป็นส่วนหนึ่งของโครงการถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง ซึ่งเดิมกำหนดให้มีโครงสร้างสถานีจำนวน 2 ชั้น ได้แก่ ชั้นรถไฟทางไกล และชั้นสำหรับรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง และรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิส่วนต่อขยาย   ต่อมาในปี  2557 รัฐบาล คสช. และกระทรวงคมนาคมได้ดำเนินโครงการต่อมา จากก่อนหน้าโครงการล่าช้าเพราะมีการปรับแบบก่อสร้างมาโดยตลอดเวลา  ซึ่งแบบสถานีกลางบางซื่อใหม่ที่ถูกปรับขึ้น ล่าสุด จะประกอบด้วย ชั้นที่ 1 เป็นพื้นที่สำหรับห้องจำหน่ายตั๋วโดยสาร ชั้นที่ 2 เป็นชั้นชานชาลาสำหรับรถไฟที่ใช้รางขนาด 1.000 เมตร ประกอบด้วยรถไฟทางไกล 8 ชานชาลา และรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง 4 ชานชาลา และชั้นที่ 3 เป็นชั้นชานชาลาสำหรับรถไฟที่ใช้รางขนาด 1.435 เมตร ประกอบด้วย รถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ  (Airport Rail Link) และรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน 2 ชานชาลา รถไฟฟ้าความเร็วสูงสายตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 4 ชานชาลา รถไฟฟ้าความเร็วสูงสายเหนือ และรถไฟฟ้าความเร็วสูงสายใต้ จำนวนสายละ 2 ชานชาลา รวมทั้งสิ้น 10 ชานชาลา (ข้อมูลจาก วิกิพีเดีย)   ความสำคัญของสถานีกลางบางซื่อ คือ การเป็นศูนย์กลางด้านคมนาคมขนส่งระบบรางที่เชื่อมโยงการเดินทางด้วยรถไฟฟ้า รถไฟทางคู่ และรถไฟความเร็วสูง จากกรุงเทพฯ สู่ภูมิภาค และภายในเขตกรุงเทพฯ​ และปริมณฑลเอง  ซึ่งมีขนาดใหญ่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สถานีกลางบางซื่อจึงเป็นปัจจัยสำคัญในการผลักให้พื้นโดยรอบกลายเป็นศูนย์กลางธุรกิจแห่งใหม่ ที่สร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจและการอยู่อาศัย เพราะคาดว่าสถานีกลางบางซื่อจะมีผู้ใช้บริการ หมุนเวียนต่อวันมากถึง 200,000 คนเลยทีเดียว 2.จุดเชื่อมต่อรถไฟฟ้าสี “น้ำเงิน-ม่วง” นับตั้งแต่รถไฟฟ้าสายสีม่วง เปิดให้บริการอย่างเป็นทางการ ในช่วงปี 2560 ทำเลเตาปูน ก็ได้รับความสนใจจากบรรดาดีเวลลอปเปอร์อย่างต่อเนื่อง หลายรายเข้ามาปักหมุดขึ้นโครงการ  นับตั้งแต่รู้ข่าวว่าจะมีเส้นทางรถไฟฟ้าด้วยซ้ำ และเมื่อมีการพัฒนาเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีม่วง มาเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน บริเวณสถานีเตาปูน อินเตอร์เชนจ์ ทำเลเตาปูน จึงกลายเป็นจุดเชื่อมต่อของเส้นทางรถไฟฟ้า ทั้งสองสีอย่างมีนัยสำคัญต่อการเดินทางของคนในกรุงเทพฯ และจังหวัดนนทบุรี   ที่สำคัญ การเริ่มเปิดให้บริการเดินรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงเตาปูน-ท่าพระ ตั้งแต่ปลายปี 2562 แม้จะเป็นช่วงเวลา 10.00-16.00 น. ก่อนจะขยายระยะเวลาให้บริการเป็น 06.00-24.00 น. ตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ซึ่งแม้จะยังไม่ได้จัดเก็บค่าโดยสาร และจะเริ่มจัดเก็บค่าโดยสารและเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการวันที่ 30 มีนาคม 2563 นี้  ทำเลเตาปูนจึงถือเป็นจุดเชื่อมต่อของการเดินทาง  ซึ่งทำให้คนมีความสะดวก ไม่ว่าจะไปทางทิศตะวันออก หรือไปทางทิศตะวันตกของกรุงเทพฯ 3.การเดินทางครบเชื่อมโยงทั้งระบบ “ราง-รถ-เรือ” นอกจากย่านเตาปูน จะเป็นจุดเชื่อมต่อของเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน และสายสีม่วงแล้ว ในอนาคต ยังมีการพัฒนาระบบคมนาคม เชื่อมโยงระหว่างกันทั้งระบบราง รถ และเรือ  ซึ่งเป็นปัจจัยทำให้ทำเลเตาปูน  จะกลายเป็นทำเลย่านใจกลางธุรกิจแห่งใหม่ในอนาคตได้ไม่ยาก ซึ่งแผนการพัฒนาระบบคมนาคม ที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคต ได้แก่ -การพัฒนาเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ เส้นทาง เตาปูน-ราษฎร์บูรณะ นอกจากเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน-บางใหญ่ (สถานีคลองบางไผ่) ซึ่งเชื่อมโยงคนจากจังหวัดนนทบุรีเข้าสู่ใจกลางเมืองกรุงเทพฯ ได้สะดวกสบายแล้วรถไฟฟ้าสายสีม่วง ยังมีแผนพัฒนาเส้นทางต่อเนื่องจากสถานีเตาปูน อินเตอร์เชนจ์ คือ เส้นทางรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) ระยะทาง 23.6 กิโลเมตร เงินลงทุน 101,112 ล้านบาท   แนวเส้นทางโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน–ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) เริ่มต้นจากจุดเชื่อมต่อรถไฟฟ้า สถานีเตาปูน อินเตอร์เชนจ์ เลี้ยวขวาเข้าสู่ถนนทหารผ่านแยกเกียกกาย ผ่านแยกบางกระบือ, แยกศรีย่าน เชื่อมต่อกับโครงการรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงอ่อน โครงข่ายในเมือง ช่วงบางบำหรุ–มักกะสันเข้าสู่ถนนสามเสนผ่านอาคารรัฐสภาใหม่ โรงเรียนราชินีบน กรมชลประทาน โรงพยาบาลวชิรพยาบาล หอสมุดแห่งชาติ คลองบางลำพู เลี้ยวซ้ายเข้าสู่ถนนพระสุเมรุ ถนนราชดำเนินกลาง เลียบคลองรอบกรุงไปเชื่อมต่อกับโครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้มที่สถานีผ่านฟ้าลีลาศ เชิงสะพานผ่านฟ้าลีลาศ ลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณสะพานพระปกเกล้า เข้าสู่ถนนประชาธิปก ผ่านสี่แยกบ้านแขก เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงเข้มช่วงหัวลำโพง–มหาชัยที่สถานีรถไฟวงเวียนใหญ่ และรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีลม ที่สถานีวงเวียนใหญ่ ลอดใต้วงเวียนใหญ่ เข้าสู่ถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน ลอดใต้แยกมไหสวรรย์ จากนั้นแนวเส้นทางจะเปลี่ยนยกระดับวิ่งไปตามกลางถนนสุขสวัสดิ์ ข้ามสะพานข้ามแยกพระราม 2 ผ่านสามแยกพระประแดงและสิ้นสุดที่ครุใน   -การพัฒนาท่าเรือบางโพ โฉมใหม่ เดิมบริเวณบางโพ มีท่าเรือบางโพคอยให้บริการอยู่ก่อนหน้านี้แล้ว แต่ได้หยุดการใช้งานไป เพราะมีการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน  หลังจากเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ได้ก่อสร้างแล้วเสร็จ ทางกรมเจ้าท่า กระทรวงคมนาคม ผู้ดูแลและรับผิดชอบโดยตรง จึงวางแผนปรับปรุงท่าเรือให้สอดรับกับระบบรถไฟฟ้า  และบริการประชาชนให้สามารถเดินทางเชื่อมต่อได้แบบครบวงจร  ทั้งทางถนน ระบบราง และทางเรือ   โดยกรมเจ้าท่าได้เตรียมขอจัดสรรงบประมาณปี 2564- 2565 ปรับปรุงท่าเรือบางโพ  ประกอบด้วยงาน 3 ส่วน คือการปรับปรุงและก่อสร้างท่าเทียบเรือ พร้อมโป๊ะเทียบเรือ ขนาด 6x12 เมตร จำนวน 2 ตัว การก่อสร้างอาคารพักผู้โดยสารรูปแบบไทยประยุกต์ 1 หลัง และลานหลังท่าเรือขนาด 200 ตารางเมตร  ซึ่งคาดว่าน่าจะดำเนินการก่อสร้างและแล้วเสร็จ พร้อมเปิดให้บริการได้ในเดือนมิถุนายนปี 2565  ท่าเรือบางโพจึงถือเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญ ผลักดันให้ทำเลเตาปูนได้รับความสนใจมากขึ้น -การพัฒนาถนน เพิ่มช่องทางการเดินรถ ในช่วงปี 2565 บริเวณใกล้เคียงกับทำเลเตาปูน ยังจะมีการขยายถนนช่วงสามเสน-ประชาราษฎร์สาย 1 ขยายถนนทหาร เป็น 8  ช่องจารจร การสร้างถนนใหม่ ขนานกับถนนสามเสนเดิม ต่อเนื่องจากถนนกรุงเทพ-นนทบุรี บริเวณแยกเตาปูนไปบรรจบกับถนนพิชัย ซึ่งเป็นแนวเส้นทางเดียวกับเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ ซึ่งจะทำให้ในอนาคตทำเลเตาปูน มีโครงข่ายของถนนเชื่อมโยงไปยังทำเลหรือพื้นที่อื่นๆ ได้มากมาย เป็นการเพิ่มทางเลือกในการเดินทางให้กับคนในพื้นที่ หรือผู้ที่ต้องเดินทางเข้ามาในทำเลเตาปูน 4.แหล่งงาน สำคัญทั้งรัฐและเอกชน ทำเลเตาปูน ที่ผ่านมา อาจจะไม่ใช่ย่านใจกลางธุรกิจหนาแน่น เมื่อเปรียบเทียบกับย่านธุรกิจในทำเลอื่นๆ เพราะทำเลนี้ เป็นทำเลของการพักอาศัย ที่มีบ้านเรือนของคนกระจายอยู่ทั่วไป และเป็นแหล่งการค้าเก่าแก่ อย่างตลาดไม้บางโพ แหล่งค้าไม้และอุปกรณ์ ซึ่งอยู่มาอย่างยาวนาน  แต่ขณะเดียวกันย่านเตาปูน ก็มีสำนักงานเก่าแก่ ซึ่งก่อตั้งบริษัทมานานนับ 100 ปี อย่างเครือซีเมนต์ไทย  สำนักงานใหญ่ ซึ่งมีพนักงานจำนวนมาก ถือได้ว่าเป็นแหล่งงานสำคัญ ใกล้กับย่านเตาปูนเลยก็ว่าได้   ในอนาคตย่านเตาปูน จะกลายเป็นทำเลใกล้กับแหล่งงานขนาดใหญ่ ทั้งภาครัฐและเอกชน  เพราะปัจจุบันมีโครงการและหน่วยงาน ที่เปิดให้บริการและกำลังจะเปิดบริการในอนาคต  ไม่ว่าจะเป็นรัฐสภาแห่งใหม่  สถานีกลางบางซื่อ  ศูนย์การค้าเกตเวย์ แอท บางซื่อ และสำนักงานเขตบางซื่อ นี่ยังไม่นับรวมกับหน่วยงานภาครัฐอื่นๆ โรงเรียน มหาวิทยาลัย โรงพยาบาลต่างๆ ที่ตั้งอยู่โดยรอบของทำเลเตาปูนอีกมากมายด้วย 5.ชุมชนเก่าสู่โลกการค้ายุคใหม่ ย่านเตาปูน มีตลาดเก่าแก่ที่อยู่ในพื้นที่ คือ ถนนสายไม้ ซึ่งอยู่ในซอยประชานฤมิตร  แหล่งรวมของสินค้าประเภทไม้ เฟอร์นิเจอร์ และอุปกรณ์  ซึ่งเป็นที่รู้จักของคนทั่วไป หากนึกถึงหรือต้องการจะซื้อสินค้าประเภทไม้  มักจะต้องเดินทางมาที่ซอยประชานฤมิตร  บรรดาร้านค้าไม้และสินค้าประเภทไม้ ในซอยประชานฤมิตร คาดว่าจะอยู่คู่กับทำเลเตาปูนมายาวนานมากว่า 50 ปี   แต่จากการพัฒนาของระบบคมนาคม โดยเฉพาะเส้นทางรถไฟฟ้า ซึ่งทำให้การเดินทางสะดวกสบาย เกิดแหล่งชุมชนที่พักอาศัยใหม่เพิ่มขึ้น  ซึ่งเป็นปัจจัยผลักดันให้เกิดการพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกออกมารองรับ  อย่างที่เห็นได้ชัดเจน คือ ศูนย์การค้า หรือช้อปปิ้งมอลล์ เพราะเป็นหนึ่งในปัจจัยสี่ ของคนอยู่ในทำเลนั้น ต้องใช้บริการเพื่อซื้อสินค้าใช้หรือบริโภค   ตอนนี้ทำเลเตาปูนมีศูนย์การค้าขนาดใหญ่เกิดขึ้นแล้ว คือ ศูนย์การค้าเกตเวย์ แอท บางซื่อ (Gateway at Bangsue) ที่บริษัท แอสเสท เวิรด์ รีเทล จำกัด ในเครือของ แอสเสท เวิรด์ คอร์ปอเรชั่น ได้ลงทุน 4,000 ล้านบาท พัฒนาโครการขึ้นมาบนเนื้อที่กว่า 10 ไร่ รองรับการมาของเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินและสายสีม่วง จุดเชื่อมต่อสำคัญของทำเลเตาปูน ซึ่งศูนย์การค้าเกตเวย์ แอท บางซื่อเปิดให้บริการมาตั้งแต่ช่วงปลายปี 2561   อนาคตไม่นานจากนี้ คนที่อยู่ในทำเลเตาปูน ยังจะมีแหล่งช้อปปิ้งใหม่ ซึ่งอยู่ในบริเวณสถานีกลางบางซื่อ เพราะภายในโครงการนอกจากจะเป็นจุดเชื่อมต่อของเส้นทางคมนาคมต่างๆ แล้ว ยังมีพื้นที่เชิงพาณิชย์ ซึ่งจะมีร้านค้าต่างๆ เปิดให้บริการด้วย ส่วนจะมีร้านค้าอะไรบ้างนั้น อดใจรออีกไม่นานคงได้เห็นกัน   และนี่คงเป็น 5 ปัจจัยสำคัญ ที่ทำให้ทำเลเตาปูน มีศักยภาพในการเป็นศูนย์กลางธุรกิจแห่งใหม่ในอนาคต หากโครงการต่างๆ ทั้งของรัฐและเอกชนพัฒนาออกมาแล้วเสร็จ  โฉมหน้าของย่านเตาปูน รวมถึงทำเลใกล้เคียงคงเปลี่ยนแปลงไปจากปัจจุบันอย่างมาก
สิงห์ เอสเตท ได้ยอดขายบ้านและคอนโดฯ ดันรายได้รวมปี 62 พุ่งกว่า 1.2 หมื่นล้าน

สิงห์ เอสเตท ได้ยอดขายบ้านและคอนโดฯ ดันรายได้รวมปี 62 พุ่งกว่า 1.2 หมื่นล้าน

สิงห์ เอสเตท เผยผลประกอบการปี 62 เติบโตสูงต่อเนื่อง ทำรายได้รวมโต 63% จำนวนกว่า12,275 ล้าน หลังจากยอดขายบ้านและคอนโดฯ สูงขึ้น 104% ขณะที่สร้างกำไรสุทธิราว 1,200 ล้าน   นายนริศ เชยกลิ่น ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท สิงห์ เอสเตท จำกัด (มหาชน) หรือ “S” เปิดเผย ถึงผลการดำเนินงานประจำปี 2562 ว่า สิงห์ เอสเตท มีรายได้รวมทั้งสิ้น 12,275 ล้านบาท แบ่งเป็นรายได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ประกอบด้วยบ้าน ทาวน์เฮ้าส์ และคอนโดมิเนียมรวม 7,385 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 104% รายได้จากการให้เช่าและบริการ 4,805 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 27% และรายได้จากการขายสินค้า 85 ล้านบาท ลดลง 32%   โดยรายได้จากการให้เช่าและบริการ ส่วนใหญ่มาจากธุรกิจโรงแรม 3,818 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 48%จากปีก่อน เนื่องจากการรับรู้รายได้เต็มปีของโรงแรมภายใต้แบรนด์ Outrigger จำนวน 6 แห่ง ที่บริษัทฯ ซื้อกิจการเข้ามาเมื่อเดือนมิถุนายน 2561 และการเปิดโรงแรมใหม่ 2 แห่งในโครงการ CROSSROADS (ครอสโร้ดส์) ที่มัลดีฟส์  ขณะเดียวกัน รายได้จากการเช่าพื้นที่สำนักงานและพื้นที่ค้าปลีกเพิ่มขึ้น 13% เป็น 759 ล้านบาท จากการเปิดอาคารสิงห์ คอมเพล็กซ์ ช่วงปลายปี 2561 สิงห์ เอสเตท มีกำไรขั้นต้นจากการดำเนินงาน 5,033 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 55% จากปี 2561 และอัตรากำไรขั้นต้นสำหรับปี 2562 เท่ากับ 41% ลดลงจาก 43% ในปี 2561 เป็นผลจากธุรกิจโรงแรมที่อัตรากำไรในช่วงแรกของโรงแรมในโครงการ CROSSROADS ที่มัลดีฟส์ ยังไม่สูงนัก เนื่องจากการเปิดธุรกิจโรงแรมใหม่ซึ่งปกติอัตรากำไรขั้นต้นจะค่อยๆ สูงขึ้นตามลำดับ และใช้เวลาในการดำเนินธุรกิจประมาณ 2-3 ปี จึงจะเห็นอัตรากำไรสำหรับการดำเนินกิจการในระยะยาว   ในขณะที่สิงห์ เอสเตท มีกำไรสุทธิในปี 2562 เท่ากับ 1,209 ล้านบาท ลดลง 16% เนื่องจากอัตรากำไรขั้นต้นที่ลดลง ดอกเบี้ยจ่ายที่เพิ่มสูงขึ้นจากการขยายกิจการและภาษีสูงขึ้นจากการโอนโครงการที่อยู่อาศัยมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม บริษัท เอส โฮเทล แอนด์ รีสอร์ท จำกัด (มหาชน) หรือ SHR ได้คืนเงินกู้เพื่อซื้อกิจการโรงแรม Outrigger จำนวน 5,357.8 ล้านบาท จากการเพิ่มทุนได้สำเร็จเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2562 ส่งผลให้หนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ยของบริษัทฯ ลดลง   “ปี 2562 เป็นปีที่ธุรกิจพัฒนาที่อยู่อาศัยของสิงห์ เอสเตท เติบโตมากกว่าเท่าตัว ถึงแม้ว่าสภาวะตลาดอสังหาฯ โดยรวมยังคงเผชิญความท้าทายในหลายๆ ด้าน บริษัทเริ่มโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดในโครงการ ดิ เอส แอท สิงห์ คอมเพล็กซ์ เมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา และโอนโครงการ ดิ เอส อโศก และบันยันทรี เรสซิเดนซ์ ริเวอร์ไซด์ กรุงเทพฯ ที่พัฒนาโดยบริษัทในเครืออย่าง เนอวานา ไดอิ ได้อย่างต่อเนื่องอีกด้วย นอกจากนี้เรายังมี Backlog ที่จะโอนในปี 2563 มากกว่า 6,000 ล้านบาท” ส่วนธุรกิจโรงแรมทั้งหมดของบริษัทอยู่ภายใต้การบริหารงานของ SHR ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของสิงห์ เอสเตท สามารถระดมทุนจากการขายหุ้นเพิ่มทุนให้ประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก (Initial public offering) และเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ เมื่อ 12 พฤศจิกายน 2562   SHR ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562 มีการลงทุนในโรงแรม 39 แห่ง มีจำนวนห้องพัก 4,647 ห้อง ครอบคลุม 5 ประเทศ ได้แก่ ไทย มัลดีฟส์ ฟิจิ มอริเชียส และสหราชอาณาจักร โดยอัตราการเข้าพักเฉลี่ยของโรงแรมที่บริหารเองในปี 2562 เท่ากับ 72% กลุ่มโรงแรม Outrigger 78% โรงแรมในสหราชอาณาจักร 70% และโรงแรมในโครงการ CROSSROADS 34% และรายได้ต่อห้องพักต่อคืน (Revenue per available rooms) ของโรงแรมที่บริหารเองในปี 2562 เท่ากับ 5,591 บาท กลุ่มโรงแรม Outrigger 4,691 บาท โรงแรมในสหราชอาณาจักร 1,851 บาท และโรงแรมในโครงการ CROSSROADS 4,262 บาท   เมื่อปลายปี 2562 SHR ได้ลงนามในสัญญาร่วมทุนกับบริษัท Wai Eco World Developer Pte Ltd (WEWD)  กลุ่มธุรกิจใหญ่จากประเทศเมียนมาร์ที่ดำเนินธุรกิจหลากหลาย อาทิ อสังหาริมทรัพย์ โรงแรม อาหารและเครื่องดื่ม และเหมืองแร่ เพื่อพัฒนาไลฟสไตล์รีสอร์ทระดับไฮเอนด์ (High-end Lifestyle Resort) บนเกาะ 3 ในโครงการ CROSSROADS ประเทศมัลดีฟส์ โดยรีสอร์ทแห่งใหม่นี้จะมีห้องพักในรูปแบบวิลล่า 80 ห้อง ระดับราคา 900-1,000 เหรียญสหรัฐต่อคืน คาดว่าจะเริ่มก่อสร้างในปี 2563 และเปิดดำเนินการในปี 2565 ทั้งนี้การจำหน่ายหุ้น 50% ของบริษัท Prime Location Management 3 Limited ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนได้แล้วเสร็จไปเมื่อ 19 กุมภาพันธ์ 2563 การได้พันธมิตรที่ดีอย่าง WEWD มาเสริมความแข็งแกร่งทั้งในด้านธุรกิจและด้านการเงินในครั้งนี้ ทำให้เรามั่นใจว่าโครงการ CROSSROADS  ประเทศมัลดีฟส์ เกาะ 3 จะประสบความสำเร็จและเปิดดำเนินการตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ได้อย่างแน่นอน   นอกจากนี้ บริษัท ได้รับโอนสิทธิการเช่าที่ดินและเข้าซื้ออาคารสำนักงานเมโทรโพลิส บริเวณใกล้กับสถานี BTS พร้อมพงษ์ ซึ่งมีพื้นที่ประมาณ 26,157 ตารางเมตร มูลค่า 1,725 ล้านบาท เมื่อต้นเดือนมกราคม ที่ผ่านมา และมีความประสงค์จะขายสิทธิการเช่าที่ดินและอาคารดังกล่าวให้กองทรัสต์ S Prime Growth Leasehold Real Estate Trust (SPRIME) ในลำดับถัดไป   “ปี 2563 ถือเป็นก้าวสำคัญของสิงห์ เอสเตท ที่จะต่อยอดการเติบโตจากฐานธุรกิจในรูปแบบ Global Holding Company อย่างสมบรูณ์แบบ นอกเหนือจากการลงทุนขยายธุรกิจในทุกมิติอย่างยั่งยืนแล้ว (Sustainable Growth)สิงห์ เอสเตท จะเริ่มพัฒนาธุรกิจใหม่อย่างพลังงานทดแทน (Renewable Energy) ที่จะเริ่มดำเนินการในปีนี้ เพื่อตอบโจทย์ความต้องการในตลาดโลกและสร้างความยั่งยืนให้กับสิ่งแวดล้อม”     ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562 สิงห์ เอสเตท มีสินทรัพย์รวม 67,681 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 8,751 ล้านบาท จากสิ้นปี 2561 แบ่งเป็น สินทรัพย์หมุนเวียน 24,087 ล้านบาท และสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน 43,594 ล้านบาท ในส่วนของหนี้สินรวม มีมูลค่า 40,085 ล้านบาท โดยมีอัตราหนี้สินทีมีภาระดอกเบี้ยสุทธิต่อส่วนของผู้ถือหุ้นอยู่ที่เพียง 0.77 เท่า ด้วยอัตราหนี้สินที่ต่ำเช่นนี้ ถือได้ว่าบริษัทมีสถานะทางการเงินที่แข็งแกร่งและพร้อมสำหรับการเติบโตอย่างต่อเนื่อง   ทั้งนี้ ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทครั้งที่ 2/2562 วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2563 อนุมัติการนำเสนอการจ่ายเงินปันผลในอัตรา 0.045 บาทต่อหุ้น จากกำไรสุทธิของผลประกอบการระหว่างวันที่ 1 มกราคม - 31 ธันวาคม 2562 โดยมีกำหนด Record Date วันที่ 7 พฤษภาคม 2563 และจ่ายเงินปันผลในวันที่ 21 พฤษภาคม 2563 ซึ่งมติการจ่ายเงินปันผลนี้ จะต้องได้รับการพิจารณาและอนุมัติจากที่ประชุมใหญ่สามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2563 ซึ่งจะจัดขึ้นในวันที่ 27 เมษายน 2563  
ริสแลนด์ ลุยเปิด 4 โปรเจ็กต์กว่า 3 หมื่นล้าน ไม่หวั่นไวรัสโควิด 

ริสแลนด์ ลุยเปิด 4 โปรเจ็กต์กว่า 3 หมื่นล้าน ไม่หวั่นไวรัสโควิด 

ริสแลนด์ ประเทศไทย เดินหน้าปั้น 4 โปรเจ็กต์ใหม่กว่า 30,000 ล้าน ไม่หวั่นปัจจัยลบรอบด้าน มั่นใจเงินทุนหนา สามารถทำตลาดได้ต่อเนื่องจนกว่าไวรัสโควิด-19 จะแก้ไขได้ วางเป้าลุยตลาดไทยสร้างการเติบโตปีละ 50%   นายเนี่ย ซงเชียน  ผู้อำนวยการใหญ่ฝ่ายการขายและการตลาด ประจำภูมิภาคไทย บริษัท ริสแลนด์ (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า ได้เตรียมเปิดตัวโครงการใหม่ 4 โครงการมูลค่ารวมกว่า 30,400 ล้านบาท แบ่งเป็นคอนโดเนียม 2 โครงการ และโครงการ Mixed use 2 โครงการ โดยมุ่งเน้นเปิดโครงการในทำเลที่มีศักยภาพ การคมนาคมสะดวกสบาย ในระดับราคาที่เอื้อมถึง ตอบสนองกลุ่มลูกค้าที่มีความต้องการอย่างแท้จริง   สำหรับโครงการคอนโดฯ ที่เปิดตัวในปีนี้ ได้แก่ 1. โครงการ คลาวด์ เรสซิเดนซ์ สุขุมวิท 23 มูลค่ากว่า 3,600 ล้านบาท เป็นคอนโดฯ  High Rise ตกแต่งพร้อมอยู่ 1 อาคาร สูง 43 ชั้น มีห้องชุดรวม 372 ยูนิต มีห้องพัก 5 รูปแบบ  ได้แก่  ขนาด 1 ห้องนอนขนาด 29 - 30 ตารางเมตร ขนาด 1 ห้องนอน เอ๊กซ์ตร้าขนาด 41 - 43 ตารางเมตร ขนาด 2 ห้องนอนขนาด 57 - 60 ตารางเมตร ขนาดดับเบิ้ลสเปซขนาด 47 - 95 ตารางเมตร และเพนท์เฮ้าส์ ขนาด 79 - 99 ตารางเมตร โครงการตั้งอยู่ใจในซอยสุขุมวิท 23  ซึ่งจะเปิดขายอย่างเป็นทางการ (FIRST CALL) ในวันที่ 20 – 21 มีนาคม 2563 นี้ นอกจานี้ ยังเตรียมเปิดตัวโครงการคอนโดฯ อีก 1 โครงการในช่วงไตรมาส 3 คือ โครงการ เดอะ ลิฟวิน รามคำแหง (The Livin Ramkhamhaeng) มูลค่า 5,000 ล้านบาท จำนวน 1,938 ยูนิต ส่วนโครงการมิกซ์ยูสที่เตรียมเปิดในปีนี้ ได้แก่ 1.สกาย ไรส์ อเวนิว (Sky Rise Avenue) โครงการคอนโดฯ 7 อาคาร รวม 3,000 ยูนิต และพื้นที่ออฟฟิศให้เช่า 4 ชั้นขนาด 2,000 ตารางเมตร โดยจะแบ่งการพัฒนาออกเป็น 3 เฟส ซึ่งเฟสแรกจะเปิดตัวก่อน 1,000 ยูนิต  ในช่วงไตรมาส 2   ขณะที่ในไตรมาสที่ 4 บริษัทเตรียมเปิดตัวโครงารมิกซ์ยูสอีก 1 โครงการ มูลค่ามากกว่า 10,000 ล้านบาท  ในจังหวัดภูเก็ต ประกอบด้วยที่พักอาศัยประเภทคอนโดฯ และวิลล่า ซึ่งจะใช้เชนโรงแรมมาบริหาร หรือแบรนด์เด็ดเรสซิเดนซ์ ซึ่งเฟสแรกจะเปิดตัวที่อยู่อาศัยจำนวน 650 ยูนิต  มูลค่า 5,800 ล้านบาท   นายเนี่ย กล่าวอีกว่า สถานการณ์ตลาดอสังหาริมทรัพย์ ในปี 2563 นี้ ต้องเผชิญกับความท้าทายในหลายๆด้าน ทั้งการชะลอตัวของเศรษฐกิจในระดับโลก จากสงครามการค้าที่ส่งผลไปยังหลายประเทศรวมถึงประเทศไทยค่าเงินบาทที่แข็งตัวอย่างต่อเนื่อง และการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ยังซ้ำเติมให้เศรฐกิจยิ่งซบเซา แต่แผนการดำเนินธุรกิจของบริษัทยังดำเนินอย่างต่อเนื่อง  เพราะมีความมั่นใจในสถานะการเงินของบริษัท  ที่สามารถรองรับสภาวะตลาดที่ไม่เอื้ออำนวยได้นาน  จนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลาย   สำหรับปีผ่านมา ริสแลนด์ ประเทศไทย เปิดตัวโครงการไป 2 โครงการ ได้แก่ คลาวด์ ทองหล่อ-เพชรบุรี ปัจจุบันปิดการขายไปได้แล้วกว่า 50% และโครงการ The LIVIN เพรชเกษม ซึ่งมียอดจองจากการเปิดขาย เฟสแรกมูลค่ารวม 750 ล้านบาท และสามารถขายไปได้มากถึง 700 ล้านบาท ทำให้ปีที่ผ่านมา บริษัทฯ มียอดขายเพิ่มขึ้นจาก 2 โครงการรวมกว่า 2,400 ล้านบาท   ปัจจุบัน ริสแลนด์ มีโครงการอสังหาฯ อยู่ใน 7 ประเทศ รวม 15 โครงการ อาทิ ประเทศสหรัฐอเมริกา นิวซีแลนด์ อินเดีย อังกฤษ เวียดนาม และประเทศไทย รวมมูลค่าโครงการทั่วโลกประมาณ 100,000 ล้านบาท โดยในปี 2563 นี้ ริสแลนด์ตั้งเป้ารายได้จากทั่วโลก เพิ่มขึ้น 50%  โดยใช้กลยุทธ์ "Think Global, Act Local” ดำเนินงานภายใต้แนวคิด “Be the Change, Create the Future” กล้าที่จะเป็นผู้นำในการเปลี่ยนแปลง กล้าที่จะสร้างอนาคตด้วยการลองผิดลองถูก ล้มเร็วลุกเร็ว เรียนรู้จากอดีต และนำมาแก้ไข เพื่อพัฒนาอนาคต   ด้านนางสาวมณีกานต์ อิสรีย์โกศล ผู้อำนวยการฝ่ายกลยุทธ์การตลาดและสื่อสารภาพลักษณ์องค์กร ประจำภูมิภาคไทย บริษัท ริสแลนด์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า ภาพรวมตลาดคอนโดฯ ในโซนสุขุมวิท  ที่มีราคามากกว่ายูนิตละ 5 ล้านบาท มีการเปิดขายใหม่จำนวน 8,795 ยูนิต ปรับตัวลดลงจากปี 2561 ที่มีการเปิดขายอยู่ที่ 19,691 ยูนิต มียูนิตคงค้างลดลงจากปี 2561 ในอัตรา 3% ในปี 2563 นี้คาดการณ์ว่า ตลาดคอนโดมิฯ ระดับราคายูนิตละ 5 ล้านบาทขึ้นไป จะมีสัดส่วนในตลาดอยู่ที่ 17% เท่ากับปี 2561  แสดงให้เห็นว่าภาพรวมตลาดคอนโดฯ ลักซ์ชัวรี ยังคงไปได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในทำเลอโศก ที่ยังมีอัตราการดูดซับของตลาดกว่า 82% และมีโครงการใหม่ที่เข้ามาในตลาดน้อยลง ทำให้คอนโดฯ ในกลุ่มนี้มีการตอบรับที่ค่อนข้างดี   ส่วนพฤติกรรมผู้บริโภคในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา ส่วนใหญ่จะเป็นการซื้อเพื่อการอยู่อาศัยอย่างแท้จริง แต่การซื้อเพื่อการลงทุนลดลงพอสมควร และในช่วง 1-2 ปีนี้ กลุ่มนักลงทุนนักเก็งกำไรได้หายไปจากตลาดบางส่วน จากปัจจัยภาวะเศรษฐกิจโลก และนโยบายของภาครัฐที่ส่งผลกระทบทางตรงกับลูกค้ากลุ่มนี้   ขณะที่กลุ่มคนรุ่นใหม่ที่มีอายุในช่วง 25-35 ปี จะมีพฤติกรรมชอบและเลือกซื้อคอนโดฯ ใจกลางเมือง ที่มีการออกแบบที่มีอัตลักษณ์เฉพาะตัว สอดคล้องกับไลฟ์สไตล์การทำงานและการใช้ชีวิต ซึ่งนิยมพักอาศัยอยู่ใจกลางเมือง ส่งผลให้คอนโดฯ ลักซ์ชัวรี ในเขตกลางเมือง กลายเป็นตัวเลือกแรกๆ ในการเลือกซื้อที่อยู่อาศัย   นอกจากนี้ จากการท่องเที่ยวไทยที่มีการขยายตัวสูง ได้รับความนิยมจากกลุ่มนักท่องเที่ยวต่างประเทศโดยเฉพาะประเทศจีน ที่หลั่งไหลเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศอย่างต่อเนื่อง จนส่งผลให้ในช่วง 3 ถึง 5 ปีที่ผ่านมา มียอดนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทยมากกว่า 30 ล้านคนต่อปี ทำให้ชาวต่างชาติเข้ามาทำธุรกิจและซื้อที่อยู่อาศัยในบ้านเราจำนวนไม่น้อย โดยมีเม็ดเงินต่อปีประมาณ 37,561 ล้านบาทในกรุงเทพฯ ซึ่งไม่นับการซื้อเพื่อการลงทุน เก็งกำไร รวมถึงการซื้อเพื่อลงทุนปล่อยเช่าในรูปแบบอื่นๆ  
ออริจิ้น ทรานฟอร์ม แตก 6 บริษัทเพื่อเติบโต

ออริจิ้น ทรานฟอร์ม แตก 6 บริษัทเพื่อเติบโต

“ออริจิ้น” เข้าสู่ยุคทรานฟอร์ม แตก 6 บริษัทย่อยปั้นรายได้ พร้อมเปิดรับพันธมิตรทุกรูปแบบ เตรียมแผนเปิด 14 โครงการใหม่มูลค่า 20,000 ล้าน สร้างยอดขาย 21,500 ล้าน และรายได้ 16,000 ล้าน   นายพีระพงศ์ จรูญเอก ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) หรือ ORI เปิดเผยถึงทิศทางการดำเนินธุรกิจในปี 2563 ว่า ในวาระก้าวเข้าสู่ทศวรรษที่ 2 บริษัทได้วางวิสัยทัศน์ระยะยาวในการปรับเปลี่ยนบริษัทให้กลายเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ที่สามารถเติบโตไปได้อย่างยั่งยืน พร้อมรับมือทุกสภาวะความเปลี่ยนแปลงของโลก โดยในปีนี้วางแนวทางปีนี้จะเป็นทศวรรษแห่งการปฏิรูป (The Decade of Transformation) ปฏิรูปองค์กรสู่ลักษณะกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ ปรับเปลี่ยนออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ โดยแตกบริษัทย่อยออกมา 6 กลุ่มบริษัท เพื่อเดินหน้าใน 6 ประเภทธุรกิจ ประกอบด้วย 1.บริษัท ออริจิ้น คอนโดมิเนียม จำกัด  ดำเนินธุรกิจพัฒนาคอนโดมิเนียมกลุ่มสมาร์ทคอนโด มีแบรนด์หลักคือ ดิ ออริจิ้น (The Origin) 2.บริษัท พาร์ค ลักชัวรี่ จำกัด  ดำเนินธุรกิจพัฒนาคอนโดมิเนียมระดับลักชัวรี่ มีแบรนด์หลักคือ ไนท์บริดจ์ (KnightsBridge) และพาร์ค ออริจิ้น (PARK ORIGIN) 3.บริษัท บริทาเนีย จำกัด  ดำเนินธุรกิจพัฒนาบ้านจัดสรร มีแบรนด์หลักคือ บริทาเนีย (Britania) 4.บริษัท ออริจิ้น อีอีซี จำกัด   ดำเนินธุรกิจพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ในแถบเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) 5.บริษัท วัน ออริจิ้น จำกัด  ดำเนินธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่สร้างรายได้ต่อเนื่อง (Recurring Income Business) เช่น โรงแรม พื้นที่ค้าปลีก สำนักงานให้เช่า โครงการมิกซ์ยูส 6.บริษัท พรีโม เซอร์วิส โซลูชั่น จำกัด ดำเนินธุรกิจบริการด้านอสังหาริมทรัพย์สมัยใหม่ครบวงจร วางลยุทธ์ “Open for Growth, Open Platform” การเติบโตในปีนี้ “ออริจิ้น” วางกลยุทธ์ “Open for Growth, Open Platform” เพื่อสร้างการเติบโต ด้วยการเปิดรับพันธมิตรทางธุรกิจในหลากหลายรูปแบบ  เข้ามาร่วมธุรกิจกับบริษัทในทุกกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นกรที่สนใจเข้าร่วมทุน (JV Partner) เจ้าของที่ดิน  ผู้พัฒนาเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการบริการและอสังหาริมทรัพย์ กลุ่มซัพพลายเออร์ต่างๆ   ล่าสุด บริษัทได้เซ็นต์ MOU ร่วมทุนกับพันธมิตรใหม่จากประเทศเกาหลีใต้ คือ GS E&C (GS Engineering and Construction corporation) เพื่อพัฒนาคอนโดฯ 2 โครงการ ได้แก่ The Origin ลาดพร้าว 111 มูลค่า 1,900 ล้านบาท และ Knightsbridge Space พระราม 4 มูลค่า 2,300 ล้านบาท ซึ่งคาดว่าจะเริ่มเปิดตัวได้ในช่วงไตรมาส 2 ของปีนี้   สำหรับแผนธุรกิจในปี 2563 บริษัทจะให้ความสำคัญกับการปรับโครงสร้างภายในองค์กร สร้างรากฐานการเติบโตของทุกประเภทธุรกิจอย่างยั่งยืน พร้อมทั้งปรับแผนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจัยภายนอก เปิด 14 โปรเจ็กต์รับมือ “ไวรัสโควิค” แผนกการเปิดโครงการใหม่ในปีนี้ เตรียมพัฒนา 14 โครงการ รวมมูลค่ากว่า 20,000 ล้านบาท เป็นโครงการคอนโดฯ 4 โครงการ มูลค่า 7,900 ล้านบาท เป็นโครงการสมาร์ทคอนโดฯ แบรนด์ดิ ออริจิ้น 2 โครงการ มูลค่ารวม 4,200 ล้านบาท โครงการลักชัวรี่คอนโดฯ 1 โครงการ มูลค่ารวม 2,300 ล้านบาท และโครงการบ้านจัดสรร 10 โครงการ มูลค่ารวม 12,100 ล้านบาท  ภายใต้แบรนด์บริทาเนีย และอีก 3 แบรนด์ใหม่ คือ แบรนด์แกรนด์บริทาเนีย, ไบรตัน และเบลกราเวีย นอกจานี้ยังมีโครงการกลุ่มอีอีซีอีก 1 โครงการ มูลค่ารวม 1,400 ล้านบาท ภายใต้แบรนด์เดอะ แฮมป์ตัน (The Hampton) ในศรีราชา ถ้าหากสถานการณ์ไวรัสโควิด-19 แก้ไขได้เร็ว และสถานการณ์ทุกอย่างดีขึ้น บริษัทพร้อมเปิดตัวโครงการคอนโดฯ เพิ่มอีก 4 โครงการ ส่วนเป้าหมายรายได้ในปีนี้คาดว่าบริษัทจะทำได้ 16,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมามีรายได้รวม 14,122 ล้านบาท (อ่านข่าวผลประกอบการปี 2562) วางเป้าหมายยอดโอน 14,000 ล้านบาท และตั้งเป้ายอดขาย 21,500 ล้านบาท ลดลงจากปีที่ผ่านมา ทำยอดขายได้ 28,942 ล้านบาท ในปีนี้บริษัทวางงบลงทุนไว้ที่ 15,000 ล้านบาท แบ่งเป็นงบซื้อที่ดินและเช่า สำหรับธุรกิจโรงแรมจำนวน 7,000 ล้านบาท และอีก 8,000 ล้านบาท ใช้สำหรับการก่อสร้าง ปัจจุบันรายได้จารขาย ลดลง จากสัดส่วน 90% เหลือ 85% ในอีก 5 ปีข้างหน้า รายได้อื่นๆ  เช่น รายได้จากการเช่า การบริการ โดยรวมน่าจะมีสัดส่วน 30% เหลือรายได้จากกขายสัดส่วน 70%    
รีวิวคอนโด ส่องทำเลเตาปูน-บางโพ ฉบับอัปเดต 2563

รีวิวคอนโด ส่องทำเลเตาปูน-บางโพ ฉบับอัปเดต 2563

ย้อนเวลากลับไปกว่า 10 ปีที่แล้ว ในบ้านเราเริ่มเข้าสู่ยุคคอนโด Fever วิถีของคนเมืองเริ่มเปลี่ยนไปอีกครั้ง ด้วยการหันมาใช้ชีวิตในแนวสูงกันมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นโครงการทำเลใจกลางเมือง ใกล้รถไฟฟ้า หรือแม้แต่ทำเลนอกเมือง แต่ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา สังเกตกันบ้างไหมคะ? ว่าในทุกทำเลที่เหล่าผู้พัฒนาสังหาฯ ไปทำโครงการในแต่ละพื้นที่จะต้องมีองค์ประกอบที่ดีอยู่หลายด้าน ไม่ว่าจะด้วยสิ่งที่มีอยู่เดิมหรือการพัฒนาในอนาคต อาทิ ศูนย์การค้า ไฮเปอร์มาร์เก็ต ซุปเปอร์มาร์เก็ต ตลาด โรงพยาบาล สถาบันการศึกษา สถานที่สำคัญต่างๆ การเดินทางก็ต้องสะดวกทั้งการใช้รถส่วนตัวและสาธารณะ โดยเฉพาะรถไฟฟ้าที่ยังคงเป็นปัจจัยหลักของการเดินทางอันสะดวกสบายมากที่สุดในบ้านเรา ซึ่งตามแผนทั้งหมด 13 สาย ครอบคลุมทั่วทั้งกรุงเทพฯ – ปริมณฑล ทำให้สถานี Interchange กลายเป็นอีกจุดขายสำคัญของคอนโดมิเนียม เมื่อเอ่ยถึงสถานี Interchange ทุกวันนี้ก็เริ่มมีมากขึ้นตามรถไฟฟ้าที่ขยายตัวอยู่ทั่วทุกมุมเมือง หลายจุดมีความน่าสนใจแตกต่างกันไป แต่จุดที่เป็น Interchange ล่าสุด ณ เวลานี้ นั่นคือ สถานีเตาปูน ที่กำลังจะกลายเป็นจุดเชื่อมต่อสำคัญที่ทำให้วงแหวนสายสีน้ำเงินสมบูรณ์ในอีกไม่ช้า สำหรับ Update Status คอนโดในครั้งนี้ เราจะประเดิมย่านแรกกันที่ถนนประชาราษฎร์ สาย 2 ซึ่งเป็นถนนเส้นที่มีรถไฟฟ้าที่เป็น Interchange ของสายสีน้ำเงินเองกับสายสีม่วง และสถานีบางโพ ที่เป็นสถานีก่อนจะข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาไปทางฝั่งธนบุรี แล้วเหล่าคอนโดฯ ทั้ง 8 โครงการบนถนนเส้นนี้จะมีความคืบหน้าอะไรบ้าง เราไปอัปเดตพร้อมๆ กันค่ะ ไอดีโอ โมบิ บางซื่อ แกรนด์ อินเตอร์เชนจ์ ถ้าดูจากที่ตั้งของโครงการ แม้จะได้ขึ้นชื่อว่าอยู่บนถนนประชาราษฎร์ สาย 2 แต่ทางเข้า - ออก จะอยู่ทางฝั่งถนนประชาชื่นค่ะ โดยที่ดินจะอยู่หัวมุมสี่แยกประชาชื่นพอดี โดยโครงการนี้สร้างเสร็จช่วงปลายปี 2560 ปัจจุบันยังคงมียูนิตเหลือขายอยู่ ในราคาเริ่มต้นที่ 2.68 ล้านบาท มีห้องปล่อยเช่าในช่วงราคา 9,500 - 35,000 บาทต่อเดือน นิช ไพรด์ เตาปูน-อินเตอร์เชนจ์ ในบรรดาโครงการคอนโดมิเนียมบนถนนประชาราษฎร์ สาย 2 ทั้งหมด “นิช ไพรด์ เตาปูน - อินเตอร์เชนจ์” จาก Sena ถือว่าติดกับสถานีรถไฟฟ้ามากที่สุดเลยค่ะ คือลงมาจากสถานี ทางออก 4 ไม่กี่ก้าว ไม่ต้องข้ามถนน ก็ถึงตัวโครงการเลยค่ะ โดยเตรียมจะเริ่มทยอยโอนกรรมสิทธิ์กันในเดือนเมษายน 2563 นี้แล้ว ซึ่งช่วงก่อนเปิดอาคารมีโปรโมชั่นราคาเริ่มต้นที่ 3.59 ล้านบาท เหลือขายประมาณ 100 กว่ายูนิตค่ะ     ชีวาทัย อินเตอร์เชนจ์ ถ้าเดินลงมาจากสถานี ทางออกที่ 1 เราจะพบกับ “ชีวาทัย อินเตอร์เชนจ์” ก่อนเป็นโครงการแรก สร้างเสร็จตั้งแต่ปี 2558 แน่นอนว่า sold out ไปแล้ว แต่ยังคงทำราคาค่าเช่าได้ดีไม่แพ้โครงการรุ่นน้องในย่านเดียวกัน ซึ่งปัจจุบันราคาค่าเช่าอยู่ที่ 10,000 – 32,000 บาทต่อเดือน ริชพาร์ค 2 @เตาปูนอินเตอร์เชนจ์ ถือเป็นคอนโดฯ โครงการแรกๆ ของย่านนี้ โดยสร้างเสร็จตั้งแต่ปลายปี 2557 ซึ่งเป็นโครงการที่ทำราคามาถูกที่สุดในปัจจุบันของถนนเส้นนี้ โดยราคาตอนเปิดตัวอยู่ที่ 1.88 ล้านบาท ส่วนราคาโปรโมชั่นปัจจุบัน 1.99 ล้านบาท ส่วนค่าเช่าประมาณ 8,000 - 12,000 บาทต่อเดือน เดอะ สเตจ เตาปูน - อินเตอร์เชนจ์ 1 ใน 3 โครงการคอนโดมิเนียมจาก Real Asset (แอบกระซิบกันนิดนึงค่ะว่า กำลังจะเป็นทั้งหมด 4 โครงการแล้ว) สำหรับโครงการนี้สร้างเสร็จปลายปี 2560 ราคาตอนเปิดตัวอยู่ที่ 1.89 ล้านบาท ปัจจุบันมีโปรโมชั่นก่อนปิดโครงการช็อค One price ผ่อนล้านละ 1,500 บาท* อยู่ฟรี 2 ปี* เริ่มต้น 2.99 ล้านบาท สำหรับห้องขนาด 33.20 ตร.ม. ค่าเช่าปัจจุบันประมาณ 9,000 - 15,000 บาทต่อเดือน ด้วยตัวโครงการที่ทำออกมาได้สวยทีเดียว ใครที่ได้มือแรกๆ ไปก็ถือว่าคุ้มค่ะ เดอะ ทรี อินเตอร์เชนจ์ โครงการนี้เห็นยูนิตเพียบ แต่หมดเรียบแล้วนะคะ สำหรับ “เดอะ ทรี อินเตอร์เชนจ์” จากค่ายใหญ่ Pruksa ที่นับว่าเป็นโครงการที่มีจำนวนยูนิตมากที่สุดในละแวกนี้ถึง 1,734 ยูนิต และยังตั้งอยู่ใกล้กับศูนย์การค้าเกตเวย์ บางซื่อ มากที่สุด ประมาณ 60 เมตรเท่านั้น เรียกว่าแทบจะเดินไปได้ทุกวันแบบไม่ต้องเสียเวลาขับรถวนให้เวียนหัว ปัจจุบันทำราคาค่าเช่าที่ 8,000 - 25,000 บาทต่อเดือน ซึ่งตัวอาคารสร้างเสร็จประมาณปี 2557 ใกล้เคียงกับ ริชพาร์ค 2 ชีวาทัย เรสซิเดนซ์ บางโพ ถ้านับจากสี่แยกบางโพ โครงการนี้ถือว่าอยู่ใกล้ที่สุดเลยค่ะ นั่นหมายความว่าก็จะใกล้กับรถไฟฟ้า สถานีบางโพ ประมาณ 80 เมตร และยังห่างจากศูนย์การค้าเกตเวย์ บางซื่อ ประมาณ 100 เมตรเท่านั้น แต่สำหรับ “ชีวาทัย เรสซิเดนซ์ บางโพ” จะมีความแตกต่างจากโครงการก่อนหน้านี้ เพราะคอนโดฯ ถูกวางให้อยู่ใน High End Segment ซึ่งราคาเปิดตัวอยู่ที่ 3.9 ล้านบาท และแม้ว่าอาคารจะสร้างเสร็จเมื่อปี 2560 แต่ปัจจุบันทำราคาค่าเช่าได้ถึง 12,000 - 45,000 บาทต่อเดือน 333 Riverside ไม่บ่อยนักที่เราจะได้เห็นคอนโดจาก Land & House แต่เมื่อไรที่เราได้เห็นคอนโดจาก Developer เจ้านี้ ก็มักจะไม่ทำให้เราผิดหวังค่ะ ซึ่ง “333 Riverside” เป็นโครงการหรูที่สุดบนถนนเส้นนี้ แถมยังอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ถนนด้านหน้าก็เงียบสงบมาก มีบันไดสถานีบางโพมาเกยถึงหน้าโครงการอีกต่างหาก แม้ว่าโครงการแห่งนี้จะสร้างเสร็จตั้งแต่ปี 2560 มีราคาเปิดตัวที่ 5 ล้านบาท แต่ทุกวันนี้โครงการยังคงสวยงามโดดเด่นอยู่ริมแม่น้ำ ประกอบกับบรรยากาศภายในโครงการแล้ว ทำให้ 333 Riverside กลายเป็นคอนโดฯ ที่ให้อารมณ์เหมือนอยู่ในหัวหินหรือพัทยาเลยทีเดียวค่ะ ซึ่งปัจจุบันทำราคาค่าเช่าที่ 18,000 -150,000 บาทต่อเดือน   นี่คือ Update Status สำหรับคอนโดฯ ทั้งหมด 8 โครงการ บนถนนประชาราษฎร์ สาย 2 ที่เชื่อว่าในอนาคตอีก 2 - 3 ปีข้างหน้า เราจะได้เห็นความเปลี่ยนแปลงที่ดีกว่าทุกวันนี้ขึ้นไปอีก ด้วยองค์ประกอบแวดล้อมใกล้เคียงที่กำลังจะขยายตัว อาทิ สถานีกลางบางซื่อ รัฐสภาแห่งใหม่ และท่าเรือบางโพที่เตรียมปรับปรุงใหม่ สิ่งเหล่านี้จะเป็นแรงผลักสำคัญทำให้ทำเลโซนนี้เติบโตอย่างแทบจะพลิกโฉมต่อไป และสำหรับคอลัมน์ของเราในครั้งถัดไปจะพาไปอัปเดตกันในทำเลไหน อย่าลืมติดตามกันนะคะ รายละเอียดโครงการและสิ่งที่น่าสนใจในย่านเตาปูน-บางโพ รีวิวคอนโด The Stage Taopoon Interchange  รีวิวคอนโด 333 Riverside รีวิวคอนโด Ideo Mobi บางซื่อ-แกรนด์ อินเตอร์เชนจ์ รีวิว Gateway Bangsue ปลุกบางซื่อให้มีชีวิตชีวา
แสนสิริ เปิดโปรเจ็กต์ใหม่ ปั้นยอดขายโต 40%

แสนสิริ เปิดโปรเจ็กต์ใหม่ ปั้นยอดขายโต 40%

แสนสิริ เปิดโปรเจ็กต์ใหม่ 24,000 ล้าน หวังสร้างยอดขายโต 40% มุ่งจับตลาดกำลังซื้อระดับกลางลงล่าง กลุ่มราคา 1.5-5 ล้าน ปั้นรายได้ 24,000 ล้าน ไม่หวั่นลูกค้าจีน 2,000 ล้าน ยกเลิกซื้อคอนโดฯ เหตุได้เงินดาวน์ตุนไว้แล้ว 30% พร้อมนำกลับมาขายใหม่ทำกำไร   นายวันจักร์ บุรณศิริ ประธานผู้บริหารสายงานการเงินและสนับสนุนธุรกิจ บริษัทแสนสิริ จำกัด (มหาชน) หรือ SIRI เปิดเผยถึงแผนการดำเนินธุรกิจในปี 2563 ว่า แสนสิริวางแผนเปิดตัวโครงการใหม่ 18 โครงการ รวมมูลค่า 24,000 ล้านบาท แบ่งเป็นคอนโดมิเนียม 6 โครงการ มูลค่ารวม 8,800 ล้านบาท บ้านเดี่ยว 6 โครงการ มูลค่ารวม 8,600 ล้านบาท และทาวน์โฮม และมิกซ์ โปรเจกต์ 6 โครงการ มูลค่ารวม 6,600 ล้านบาท ซึ่งอยู่ในเซกเมนต์ Medium และ Affordable เป็นหลัก หรือระดับราคา 1.5-5 ล้านบาท เพื่อให้บริษัทเป็นแบรนด์ที่เข้าถึงง่ายในกลยุทธ์ด้านการวางราคาขาย ขณะเดียวก็ยังคงขยายฐานลูกค้าในเซกเมนต์ Luxury และ Super Luxury  ด้วยคอนโดมิเนียมพร้อมอยู่ภายใต้ Sansiri Luxury Collection อาทิ 98 ไวร์เลส, เดอะ โมนูเมนต์ ทองหล่อ, คุณ บาย ยู และบ้านแสนสิริ โดยคาดว่าจะสามารถสร้างยอดขาย 29,000 ล้านบาทในปี 2563 เติบโตขึ้น 40% จากปีก่อนที่มียอดขาย 21,000 ล้านบาท รวมทั้งวางเป้าหมายการโอนไว้ 33,000 ล้านบาท นอกจากนี้ แสนสิริยังมียอดขายรอโอนรองรับการเติบโตระยะยาวในอีก 4 ปี อีกถึง 47,500 ล้านบาท ซึ่งช่วยสร้างความมั่นใจให้แสนสิริได้เป็นอย่างดี และเสริมความแข็งแกร่งในทุกสภาวะเศรษฐกิจ ตั้งเป้ายอดขาย 63 โต 40% โดยบริษัทตั้งเป้าหมายยอดขายในปีนี้มูลค่า 29,000 ล้านบาท เติบโต 40% จากปีก่อนที่มียอดขาย 21,000 ล้านบาท วางเป้าหมายการโอน 33,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมามียอดโอน 31,000 ล้านบาท ซึ่งบริษัทยังมียอดขายรอโอน 47,500 ล้านบาท ซึ่งจะทยอยโอนไปอีก 4 ปีข้างหน้า แบ่งรับรู้รายได้ภายในปีนี้ 24,000 ล้านบาทในจำนวนนี้เป็นของบริษัทร่วมทุน 14,000 ล้านบาท เป็นของแสนสิริ 10,000 ล้านบาท   ยอดขายกว่า 62% ของปี 2562 มาจากความสำเร็จของยอดขายแนวราบในปีที่ผ่านมา อาทิ แบรนด์ทาวน์โฮม ‘สิริ เพลส’, แบรนด์บ้านเดี่ยว ‘บุราสิริ’, ‘คณาสิริ’ ราชพฤกษ์-346 และ ‘เศรษฐสิริ’ จรัญฯ – ปิ่นเกล้า 2 ขณะที่กลุ่มคอนโดมิเนียม ได้รับการตอบรับที่ดีจากการโอนคอนโดมิเนียมที่สร้างเสร็จพร้อมโอน อาทิ เดอะ ไลน์ สุขุมวิท 101,  เดอะ ไลน์ พหล-ประดิพัทธ์, เดอะ เบส สุขุมวิท 50, เดอะ เบส เพชรเกษม, ทากะ เฮาส์, ดีคอนโด แคมปัส โดม รังสิต และดีคอนโด หาดใหญ่ วางยุทธศาสตร์ “Made for Life…Made for Everyone” ด้านนายอุทัย อุทัยแสงสุข ประธานผู้บริหารสายงานปฏิบัติการ บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ในปีนี้ บริษัทได้วางยุทธศาสตร์ “Made for Life…Made for Everyone” เพื่อสร้างภาพแบรนด์ที่จับต้องง่ายขึ้น และเป็น “แบรนด์ที่ทุกคนเข้าถึงได้” โดยได้กำหนดกลยุทธ์สำคัญที่จะตอบสนองความต้องการของลูกค้าในทุกเซกเมนต์ ได้แก่ การเดินหน้ามุ่งพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยคุณภาพ ครอบคลุมความต้องการที่หลากหลาย โฟกัสในตลาดกลุ่มใหญ่ที่มีดีมานด์  ด้วยการพัฒนาโครงการ ภายใต้แบรนด์ดีคอนโด, เดอะเบส, สิริ เพลส, อณาสิริและสราญสิริ รวมทั้งขยายการพัฒนาโครงการไปในย่าน Community ใกล้เมืองในราคาเข้าถึงง่าย  ตลอดจนพัฒนาโครงการไปในทำเลใหม่ๆ อาทิ ทำเลย่านสุวรรณภูมิด้วย สราญสิริ ศรีวารี และการเข้าไปยังทำเลป่าคลอก ภูเก็ต ของแบรนด์อณาสิริ ส่วนคอนโดมิเนียม แสนสิริมีการเตรียมส่งมอบโครงการคอนโดมิเนียมพร้อมอยู่ 8 โครงการ ในปีนี้ ได้แก่ ดีคอนโด ริน เชียงใหม่, ดีคอนโด บลิซ ศรีราชา, เดอะ เบส เซ็นทรัล ภูเก็ต, เดอะ เบส สะพานใหม่,เอ็กซ์ที เอกมัย, เอ็กซ์ที  ห้วยขวาง, คาวะ เฮาส์ และลา ฮาบาน่า หัวหิน” โดยมียอดขายแล้ว 60% จากมูลค่าโครงการรวม 24,000 ล้านบาท  ในปีนี้แสนสิริยังมีการขยายารลงทุน ในโรงงานพรีคาสต์ เพื่อรองรับการพัฒนาโครงการอย่างต่อเนื่อง โดยจะเปิดตัวโรงงานพรีคาสต์แห่งที่ 3 และ 4  ซึ่งจะส่งผลให้สามารถเพิ่มกำลังการผลิตจาก 700,000 ตารางเมตรต่อปี เพิ่มขึ้นเป็น 1,200,000 ตารางเมตร  รองรับการพัฒนาที่อยู่อาศัยจาก 2,000 ยูนิต เพิ่มขึ้นเป็น 3,500 ยูนิต ไม่ห่วงชาวจีนยกเลิก ตุนเงินดาวน์แล้ว 30% สำหรับกลุ่มลูกค้าต่างชาติ โดยเฉพาะลูกค้าชาวจีน บริษัทได้รับผลกระทบมาตั้งแต่ เกิดเหตุการณ์สงครามการค้าระหว่างสหรัฐอเมริกาและจีน ซึ่งทำให้ยอดขายของกลุ่มลูกค้าต่างชาติลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยยอดขายที่เคยทำได้กว่า 10,000 ล้านบาท ในปี 2561 ลดลงเหลือประมาณ 3,000 ล้านบาท ในปี 2562 ซึ่งมีกลุ่มลูกค้าชาวจีนประมาณ 50%   ปัจจุบันบริษัทมีกลุ่มลูกค้าชาวจีนประมาณ 500 ราย ซื้อคอนโดฯ คิดเป็นมูลค่า 2,000 ล้านบาท ใน 8 โครงการ ที่จะเริ่มก่อสร้างแล้วเสร็จและโอนในปีนี้ โดยโครงการแรกจะเริ่มโอนในช่วงไตรมาส 2 ซึ่งหากปัญหาไวรัสโควิค-19 ไม่ยุติ หรือยังมีผลกระทบต่อเนื่อง บริษัทมีแนวทางในการผ่อนปรนการโอน อาจจะเป็นการยืดระยะเวลาออกไป แต่อย่างไรก็ตาม กลุ่มลูกค้าชาวจีนไม่น่าจะเป็นปัญหา หากทำการยกเลิกเนื่องจากมีการวางเงินดาวน์สูงในอัตรา 30% หากลูกค้ายกเลิก บริษัทยังมีรายได้และสามารถนำกลับมาขายใหม่ได้  
ORI สร้างยอดขายปี 2562 เติบโตกว่า 29,000 ล้านบาท

ORI สร้างยอดขายปี 2562 เติบโตกว่า 29,000 ล้านบาท

ออริจิ้น สร้างผลงานปี 62 คว้ากำไรสุทธิ 3,027 ล้านบาท หลังเปิดโครงการไป 20 โครงการ มูลค่ากว่า 24,200 ล้านบาท พร้อมกวาดยอดขายกว่า 29,000 ล้าน สูงกว่าเป้าหมาย ตุนแบ็คล็อกกว่า 41,000 ล้านสร้างรายได้ต่อเนื่องใน 3 ปี    นายพีระพงศ์ จรูญเอก ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) หรือ ORI   เปิดเผยว่า แม้ภาพรวมธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในปี 2562 จะถือเป็นช่วงปรับฐาน แต่บริษัทยังคงความสามารถในการรักษาระดับกำไรและอัตราการทำกำไรไว้ได้ดี โดยมีกำไรสุทธิอยู่ที่ 3,027 ล้านบาท ซึ่งสะท้อนความสามารถในการบริหารต้นทุนขายได้ดี ส่งผลให้อัตรากำไรขั้นต้นอยู่ที่ระดับ 43.5% รวมถึงการบริหารค่าใช้จ่ายที่มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น จนสามารถทำอัตรากำไรสุทธิได้ถึง 21.4% ซึ่งถือเป็นอัตรากำไรที่โดดเด่นเมื่อเทียบกับภาพรวมของกลุ่มธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่กำลังเผชิญมรสุมสงครามราคาในภาวะตลาดอสังหาฯหดตัว   ด้วยความตั้งใจของทีมงาน ผนวกกับการปรับกลยุทธ์และการวางแผนงาน เลือกเจาะตลาดลูกค้าได้ถูกกลุ่ม ทำให้บริษัทสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ที่มีราคาขายไม่แพง มีความสามารถสู้กับตลาดในภาวการณ์แข่งขันที่สูง จนทำให้สร้างยอดขายในโครงการที่เปิดใหม่ในปีที่ผ่านมาเฉลี่ยสูงถึงกว่า 76% ขณะเดียวกัน ด้วยคุณภาพของโครงการภายใต้แบรนด์ต่างๆ ทำให้ผู้บริโภคให้ความไว้วางใจ และยังคงทยอยโอนกรรมสิทธิ์ สร้างทั้งรายได้และกำไรกลับเข้าสู่บริษัทอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งผลการขยายธุรกิจใหม่ในส่วนรายได้จากธุรกิจบ้านจัดสรรที่เติบโตจากปี 2561 กว่า 200% ทำให้มี Contribution ในผลประกอบการ ปี 2562 ราว 1,500 ล้านบาท หรือ 11% ของรายได้รวม   รวมถึงการกระจายความเสี่ยงในการสร้างธุรกิจบริการในกลุ่มบริษัท พรีโม ที่เติบโตกว่า 30% และรุกคืบขยายไปสู่ธุรกิจสร้างรายได้ประจำ หรือ Recurring income ที่สามารถสร้างโรงแรมใหม่ ในทำเลทองอย่าง ทองหล่อ และ ศรีราชา เสร็จก่อนกำหนดในปี 2562 ที่ผ่านมา และจะเริ่มเปิดให้บริการเต็มรูปแบบในไตรมาส 2 ปีนี้   ทั้งนี้ ในปี 2562 บริษัทเปิดตัวโครงการใหม่ไปทั้งสิ้น 20 โครงการ มูลค่าโครงการรวมประมาณ 24,200 ล้านบาท แบ่งเป็นโครงการบ้าน 4 โครงการ มูลค่ารวม 6,000 ล้านบาท และโครงการคอนโดมิเนียม 16 โครงการ มูลค่ารวม 18,200 ล้านบาท ขณะเดียวกัน บริษัทมียอดขายในปีที่ผ่านมาอยู่ที่ 28,942 ล้านบาท และมีรายได้รวมอยู่ที่ 14,122 ล้านบาท ตุนแบ็คล็อก 3 ปี 41,000 ล้านสร้างรายได้ นายพีระพงศ์ กล่าวอีกว่า สำหรับปี 2563 บริษัทมั่นใจว่าจะยังคงสามารถรักษาประสิทธิภาพของอัตรากำไรขั้นต้นและอัตรากำไรสุทธิได้ในระดับเดิม โดยในปี 2563 บริษัทมีโครงการคอนโดมิเนียมขนาดใหญ่หลายโครงการที่มีแผนรับรู้รายได้ต่อเนื่อง และที่จะทยอยสร้างเสร็จและรับรู้รายได้อย่างต่อเนื่อง อาทิ โครงการไนท์บริดจ์ ไพรม์ สาทร มูลค่าโครงการ 3,900 ล้านบาท โครงการไนท์บริดจ์ ไพรม์ รัชโยธิน มูลค่าโครงการ 1,680 ล้านบาท โครงการไนท์บริดจ์ ไพรม์ อ่อนนุช มูลค่าโครงการ 2,600 ล้านบาท โครงการไนท์บริดจ์ คอลลาจ รามคำแหง มูลค่าโครงการกว่า 2,054 ล้านบาท โครงการไนท์บริดจ์ สเปซ รัชโยธิน มูลค่าโครงการกว่า 2,700 ล้านบาท และโครงการไนท์บริดจ์ เกษตรโซไซตี้ มูลค่าโครงการกว่า 1,300 ล้านบาท โดยปัจจุบันบริษัทมีแบ็คล็อกพร้อมทยอยรับรู้รายได้ต่อเนื่องกว่า 3 ปีสูงถึงกว่า 41,000 ล้านบาท   นอกจากนี้ บริษัทจะเริ่มมีการรับรู้รายได้จากธุรกิจโรงแรมที่เปิดให้บริการในปี 2563 จำนวน 2 โรงแรมได้แก่ ได้แก่ โรงแรมสเตย์บริดจ์ สวีท แบงค็อก ทองหล่อ และโรงแรมฮอลิเดย์ อินน์ แอนด์ สวีทส์ ศรีราชา แหลมฉบัง รวม 650 ห้องพัก ซึ่งจะช่วยเพิ่มพอร์ตการรับรู้รายได้ให้แก่บริษัท ผนึกพันธมิตรสร้างรายได้และโอกาสทางธุรกิจ ขณะที่ไตรมาส 4 ปี 2562 กลุ่มธุรกิจโรงแรมได้จับมือกับพันธมิตรใหม่ โดย บริษัท วัน ออริจิ้น จำกัด ได้เข้าร่วมทุนกับพันธมิตรรายใหม่ชื่อ CI:Z Limited Liability Partnership ซึ่งเป็นนักลงทุนสัญชาติญี่ปุ่น โดยการขายหุ้น บริษัท วัน สุขุมวิท 59 จำกัด ซึ่งจะพัฒนาโครงการ Intercontinental Bangkok Thonglor ร่วมกันต่อไป   ทั้งนี้บริษัทยังคงมองเห็นโอกาสในการเติบโตจากธุรกิจหลัก รวมทั้งในธุรกิจใหม่ๆ และยังเปิดรับพันธมิตรใหม่ๆ มาร่วมทุนและร่วมขับเคลื่อนแพลทฟอร์มในทุกกลุ่มธุรกิจของบริษัท โดยบริษัทจะเปิดเผยแผนธุรกิจประจำปี 2563 ของทุกกลุ่มบริษัทในเครือในวันที่ 4 มี.ค.นี้   ในปี 2562 บริษัท มีการร่วมทุนกับพันธมิตรเดิม และ พันธมิตรใหม่เพิ่มเติม อันได้แก่  1.บริษัท โนมูระ เรียลเอสเตท ดีเวลล็อปเมนท์ จํากัด เพื่อพัฒนาโครงการ “พาร์ค ออริจิ้น จุฬา-สามย่าน” 2.บริษัท เอสคอน เจแปน (ประเทศไทย) จํากัด เพื่อพัฒนาโครงการ “ไนท์บริดจ์ สุขุมวิท-เทพารักษ์” 3.บริษัท ดุสิตธานี จํากัด (มหาชน) เพื่อพัฒนาโครงการ “เดอะ แฮมป์ตัน ศรีราชา บาย ออริจิ้น แอนด์ ดุสิต” และ 4.CI:Z Limited Liability Partnership จากประเทศญี่ปุ่น เพื่อพัฒนาโรงแรมระดับไฮเอนด์ต่อไป ทุกกลุ่มบริษัทในเครือจะยังคงเป็นฟันเฟืองสำคัญในการขับเคลื่อนการเติบโตของบริษัทในปีนี้ ทั้งกลุ่มธุรกิจดั้งเดิมอย่างธุรกิจพัฒนาที่อยู่อาศัยเพื่อการขาย ไปจนถึงธุรกิจใหม่ๆ อย่างธุรกิจที่สร้างรายได้ต่อเนื่อง ธุรกิจบริการ เพื่อสร้างความยั่งยืนกลับมาสู่บริษัท   นายพีระพงศ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท มีมติเห็นชอบให้เสนอต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นสามัญจ่ายปันผลสำหรับผลการดำเนินงานของบริษัทรอบหกเดือนหลัง ของปี 2562 ในอัตรา 0.29 บาทต่อหุ้น หรือ คิดเป็น Dividend Yield กว่า 9% จากราคาปิดเมื่อวานนี้ เป็นเงินปันผลจ่ายทั้งสิ้นไม่เกิน 711.33 ล้านบาท โดยบริษัทจะจ่ายเงินปันผลเป็นเงินสด โดยกำหนดในวันที่ 15 พฤษภาคม 2563 เป็นวันกำหนดรายชื่อผู้ถือหุ้นที่มีสิทธิได้รับเงินปันผล (Record Date) และกำหนดจ่ายปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นภายในวันที่ 29 พฤษภาคม​ 2563  
CPN โชว์ผลงานปี 62  ทำกำไรได้กว่า 1.1 หมื่นล้าน 

CPN โชว์ผลงานปี 62  ทำกำไรได้กว่า 1.1 หมื่นล้าน 

CPN ประกาศผลประกอบการปี 2562 รายได้รวม 38,403 ล้านบาท เติบโต 9% จากปีก่อน และทำกำไรสุทธิ 11,738 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 5% จากปีก่อน และเตรียมจ่ายเงินปันผล 1.30 บาทต่อหุ้น  พร้อมเดินหน้าสร้างรายได้ตามแผน 5 ปี เติบโตเฉลี่ย 12% ต่อปี นางสาวนภารัตน์ ศรีวรรณวิทย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารการเงิน และรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานการเงิน บัญชี และบริหารความเสี่ยง  บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) หรือ CPN เปิดเผยว่า ในปี 2562 ที่ผ่านมา แม้ว่าการขยายตัวเศรษฐกิจไทยจะชะลอตัว แต่ผลประกอบการของ CPN ยังคงเติบโตต่อเนื่อง โดยมีรายได้รวม 38,403 ล้านบาท โต 9% และกำไรสุทธิ 11,738 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 5% เมื่อเทียบกับปีก่อน โดยในปีที่ผ่านมาบริษัทมีรายได้จากการเติบโตของธุรกิจศูนย์การค้าเป็นหลัก ประกอบกับบริหารจัดการต้นทุนและค่าใช้จ่ายการบริหารงานอย่างมีประสิทธิภาพ  สำหรับอัตราการเช่าพื้นที่ศูนย์การค้าช่วงสิ้นปี 2562 อยู่ที่ 93%  ซึ่งบริษัทให้ความสำคัญในการเพิ่มประสิทธิภาพการสร้างรายได้ จากทั้งศูนย์การค้าใหม่ การปรับปรุงศูนย์การค้าที่เปิดดำเนินการอยู่แล้ว และการลงทุนในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ประเภทอื่น  ตามแผนการพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์แบบผสม (mixed-use)  จาผลการดำเนินงานในปีที่ผ่านมา บริษัทยังพร้อมจ่ายเงินปันผลสำหรับปี 2562 ในอัตราหุ้นละ 1.30 บาทด้วย   สำหรับเหตุการณ์สำคัญในปี 2562 บริษัทได้เปิดให้บริการเซ็นทรัล ไอ-ซิตี้ ศูนย์การค้าในต่างประเทศแห่งแรกของ CPN ในเดือนมีนาคม และการเปิดตัวโซนลักชูรี่ของเซ็นทรัล ภูเก็ต ที่รวบรวมแบรนด์หรูชั้นนำระดับโลกไว้ รวมทั้งเปิดให้บริการแอทแทรคชั่นระดับโลก "ไตรภูมิ มหัศจรรย์สามโลก"  ธีมพาร์ครูปแบบ 3 มิติอินเตอร์แอ็กทีฟแห่งแรกของโลก และ “AQUARIA Phuket” พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ซึ่งภายในยังมี Andasi ร้านอาหารใต้น้ำที่ใหญ่ที่สุดในโลกและบาร์ใต้น้ำแห่งแรกในภูมิภาคเอเชียอีกด้วย นอกจากนี้ ยังเปิดให้บริการเซ็นทรัล วิลเลจ โครงการรีเทลรูปแบบลักชูรี่เอาท์เล็ตระดับโลกแห่งแรกของประเทศไทย บนทำเลที่ดีที่สุดใกล้สนามบินสุวรรณภูมิ รองรับทั้งลูกค้าชาวไทยและนักท่องเที่ยวต่างประเทศ รวมทั้งมีการจับมือพันธมิตรระดับโลกอย่างบริษัท Mitsubishi Estate Asia Pte. Ltd. (MEA) เข้าร่วมทุนโครงการเซ็นทรัล วิลเลจ ผ่านการเข้าซื้อหุ้นในบริษัท ซีพีเอ็น วิลเลจ จำกัด ในสัดส่วนการถือหุ้นอยู่ที่ 30% และ CPN 70% เพื่อร่วมกันพัฒนาเซ็นทรัล วิลเลจ ให้ขึ้นแท่นเอาท์เล็ตเบอร์หนึ่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้   ปัจจุบันบริษัทบริหารจัดการศูนย์การค้า 34 แห่ง มีพื้นที่ให้เช่าสุทธิรวม 1.8 ล้านตารางเมตร  (อยู่ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล   15 โครงการ, ต่างจังหวัด 18 โครงการ และในมาเลเซีย 1 โครงการ) ศูนย์อาหาร 30 แห่ง อาคารสำนักงาน 7 อาคาร โรงแรม 2 แห่ง โครงการที่พักอาศัยอีก 10 โครงการ ประกอบด้วยคอนโดมิเนียมภายใต้แบรนด์ ESCENT, ESCENT  VILLE และ ESCENT PARK VILLE  ซึ่งตั้งอยู่ในบริเวณที่ดินซึ่งติดศูนย์การค้าของเซ็นทรัลพัฒนา ได้แก่ โครงการ ESCENT เชียงใหม่ ระยอง ขอนแก่น นครราชสีมา และอุบลราชธานี ESCENT VILLE เชียงใหม่ เชียงราย และ ESCENT PARK VILLE เชียงใหม่ รวมถึงโครงการคอนโดมิเนียมในกรุงเทพฯ ได้แก่ “ฟิล พหล 34” (PHYLL PAHOL 34) และมีโครงการบ้านเดี่ยวแห่งแรกของเซ็นทรัลพัฒนา คือ “นิยาม บรมราชชนนี” ในกรุงเทพฯ นอกจากนี้เซ็นทรัลพัฒนา เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในบริษัท แกรนด์ คาแนล แลนด์ จำกัด (มหาชน) หรือ GLAND ซึ่งเป็นผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์บนทำเลศักยภาพสูงในกรุงเทพฯอีกด้วย     สำหรับโครงการมิกซ์ยูสที่อยู่ระหว่างการพัฒนา ได้แก่ เซ็นทรัลพลาซา อยุธยา ที่จะเชิดชูความเรืองรองและย้อนรอยความเจริญรุ่งเรืองของเมืองอยุธยา ผลักดันอยุธยาให้เป็น Top destination เมืองท่องเที่ยวของโลก (กำหนดเปิดปี 2564) เซ็นทรัลพลาซา ศรีราชา ในคอนเซ็ปต์ ‘Living Green in Smart City of EEC Center’ ให้คนศรีราชาได้หลบหลีกจากความวุ่นวายมาผ่อนคลายในบรรยากาศธรรมชาติ และจะเสริมให้ศรีราชาเป็น MICE Hub ของ EEC Center ในอนาคต (กำหนดเปิดปี 2564) เซ็นทรัลพลาซา จันทบุรี ศูนย์การค้า format ใหม่ภายใต้แนวคิด ‘The Shining Gem of EEC plus 2’ ที่จะเป็น The Best Modern Living Area ที่แรกที่ดีที่สุดในจันทบุรี (กำหนดเปิดปี 2565) และโครงการ ดุสิต เซ็นทรัล พาร์ค ที่ร่วมพัฒนากับบริษัท ดุสิตธานี จำกัด (มหาชน) บนทำเลทอง “Super Core CBD” ในกรุงเทพฯ โดยจะทยอยเปิดให้บริการในปี 2565 เป็นต้นไป นอกจากนี้ เซ็นทรัลพัฒนา อยู่ระหว่างเตรียมแผนการพัฒนาโครงการมิกซ์ยูสภายใต้ GLAND ในกรุงเทพฯ โดยคาดว่าจะสรุปได้ในปี 2563   บริษัทตั้งเป้าหมายทางธุรกิจในระยะ 5 ปี (ปี 2563-2567) ที่จะมีรายได้เติบโตในอัตราเฉลี่ย (CAGR) ประมาณ 12% ต่อปี โดยบริษัทฯ ได้กำหนดแนวทางการขยายธุรกิจในรูปแบบการพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์แบบผสม (Mixed-use Development) การพัฒนาศูนย์การค้าใหม่ การปรับปรุงสินทรัพย์ที่มีอยู่เพื่อเพิ่มมูลค่า การพัฒนาโครงการที่พักอาศัย รวมทั้งศึกษาโอกาสการลงทุนธุรกิจใหม่ในรูปแบบอื่น การเข้าซื้อกิจการ และการลงทุนในต่างประเทศในแถบภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อาทิ มาเลเซีย และเวียดนาม เพื่อเดินหน้าสู่การเป็นบริษัทอสังหาริมทรัพย์ระดับโลกและเพื่อการเติบโตอย่างมั่นคงและยั่งยืน
THG ได้ “รพ.ธนบุรี บำรุงเมือง-จิณณ์ เวลบีอิ้ง” หนุนรายได้เติบโต 16%

THG ได้ “รพ.ธนบุรี บำรุงเมือง-จิณณ์ เวลบีอิ้ง” หนุนรายได้เติบโต 16%

ธนบุรี เฮลท์แคร์ กรุ๊ป หรือ THG โชว์ผลงานปี 2562 ทำรายได้รวมเติบโต 16% จำนวน 8,232 ล้าน และกำไรเพิ่มขึ้น 33%  หลังเปิดให้บริการโรงพยาบาลธนบุรี บำรุงเมือง พร้อมกับเริ่มโอนห้องโครงการจิณณ์ เวลบีอิ้ง เคาน์ตี้      นายแพทย์ธนาธิป ศุภประดิษฐ์ รองประธานกรรมการ บริษัท ธนบุรี เฮลท์แคร์ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ THG  เปิดเผยถึงภาพรวมผลการดำเนินงานปี 2562 ว่า บริษัทมีการเติบโตที่ดีท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว โดยมีรายได้รวม 8,232 ล้านบาท เติบโต 16% จากปี 2561 ที่มีรายได้รวม 7,094 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิ 462 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 33% เทียบกับปี 2561 ที่มีกำไรสุทธิ 348 ล้านบาท ทั้งนี้ หากไม่นับรวมกำไรพิเศษจากการขายเงินลงทุนในบริษัท โรงพยาบาลราชธานี จํากัด (มหาชน) ที่เกิดขึ้นในไตรมาส 2 ปี 2562 บริษัท ยังมีกำไรสุทธิ 311 ล้านบาท สูงกว่าปีก่อนหน้า 10% ส่วนผลการดำเนินงานไตรมาส 4 ปี 2562 ยังเติบโตในระดับที่น่าพอใจ โดยมีรายได้รวม 2,116 ล้านบาทเพิ่มขึ้น 12% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีรายได้รวม 1,883 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิ 82 ล้านบาท เติบโต 272% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 22 ล้านบาท   สำหรับการเติบโตของผลการดำเนินงานปีที่ผ่านมามีปัจจัยหลักจาก 1. ผลการดำเนินงานของโรงพยาบาลที่เปิดตัวใหม่ ได้แก่ โรงพยาบาลธนบุรี บำรุงเมือง ซึ่งเป็นโรงพยาบาลที่มีบริการระดับ 6 ดาว มีศูนย์การรักษาเฉพาะทาง พร้อมเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการแพทย์ที่ทันสมัยที่สุดแห่งหนึ่งของภูมิภาคอาเซียน มีผู้มารับบริการจำนวนมาก จนถึงจุดที่เริ่มมีกำไรในไตรมาส 3 ปี 2562 ซึ่งเร็วกว่าแผนงานที่วางไว้ และ 2. รับรู้รายได้จากการโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยในโครงการ จิณณ์ เวลบีอิ้ง เคาน์ตี้ (Jin Wellbeing County) รวม 88 ยูนิตในปีที่ผ่านมา ในปี 2562 ที่ผ่านมา ผลการดำเนินงานโดยรวมของเรายังเติบโตได้ดี ด้วยโรงพยาบาลธนบุรี บำรุงเมือง ที่มีคนไข้ให้การตอบรับดี มีผู้มาใช้บริการจำนวนมาก จนเริ่มมีกำไรได้เร็วกว่าเป้าหมาย เราจึงเตรียมพร้อมเพื่อการขยายเพิ่มเติมรองรับการเติบโต โดยล่าสุดเมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา โรงพยาบาลธนบุรี บำรุงเมือง เพิ่งเปิดบริการศูนย์การแพทย์เฉพาะทางเพิ่มขึ้นอีก 4 ศูนย์ ได้แก่ ศูนย์หัวใจ ศูนย์ระบบทางเดินอาหารและตับ จิณณ์ เวลเนส คลินิก และศูนย์ศัลยกรรมความงามและผิวหนัง อีกทั้งยังมีแผนจะขยายความสามารถให้บริการคนไข้ในด้วย ซึ่งคาดว่าจะมีผลตอบรับที่ดีและช่วยเพิ่มปริมาณคนไข้ที่เข้าใช้บริการ   อีกส่วนหนึ่งคือการโอนห้องพักอาศัยในโครงการจิณณ์ เวลบีอิ้ง เคาน์ตี้ ก็มีส่วนช่วยเพิ่มรายได้ในปีที่ผ่านมาเช่นกัน และในปี 2563 คาดว่าโครงการจะได้รับความสนใจมากขึ้นด้วยความพร้อมให้บริการดูแลผู้สูงวัยและผู้ป่วยอัลไซเมอร์จากโรงพยาบาลธนบุรีบูรณา ที่เปิดตัวเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ และสถาบันจิณณ์ เวลเนส ซึ่งเตรียมเปิดบริการเป็นลำดับต่อไป จากผลการดำเนินงานในรอบปีที่ผ่านมา ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทมีมติเตรียมเสนอที่ประชุมผู้ถือหุ้น เพื่อขออนุมัติจ่ายเงินปันผล จากกำไรสุทธิตามงบการเงินรวมงวดครึ่งปีหลัง 2562 (หลังหักภาษีเงินได้นิติบุคคล) ในอัตราหุ้นละ 0.30 บาท รวมเป็นเงิน 254.72 ล้านบาท ซึ่งเมื่อรวมกับที่บริษัทได้จ่ายเงินปันผลระหว่างกาลจากผลการดำเนินงานงวดครึ่งปีแรก 2562 ไปแล้วในอัตราหุ้นละ 0.10 บาท คาดว่าบริษัทจะจ่ายเงินปันผลจากผลการดำเนินงานปี 2562 ในอัตรารวมหุ้นละ 0.40 บาท ทั้งนี้การจ่ายเงินปันผลดังกล่าว จะต้องขออนุมัติจากที่ประชุมใหญ่สามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2563 ต่อไป  
14 คำถามกับ AP เดินกลยุทธ์เติบโตอย่างไร ให้ได้รายได้  40,550 ล้าน

14 คำถามกับ AP เดินกลยุทธ์เติบโตอย่างไร ให้ได้รายได้  40,550 ล้าน

เอพี ไทยแลนด์ กรุ๊ป วางเป้าหมายการเติบโตในปี 2563 ด้านรายได้ 40,550 ล้านบาท กับการเปิดตัวโครงการในปีนี้ 37 โครงการ รวมมูลค่า 47,150 ล้านบาท แบ่งเป็นโครงการแนวราบ 33 โครงการ มูลค่า 35,050 ล้านบา และคอนโดมิเนียม 4 โครงการ มูลค่า 12,100 ล้านบาท ถือเป็นความท้าทาย ท่ามกลางบรรยากาศทางการตลาด ซึ่งล้วนแต่มีปัจจัยฉุดให้ไม่เติบโต และต้องทำงานกันอย่างยากลำบาก   นายวิทการ จันทวิมล รองกรรมการผู้อำนวยการ สายงานกลยุทธ์องค์กรและการสร้างสรรค์ เอพี ไทยแลนด์ กรุ๊ป หรือ AP ได้ไขข้อสงสัยและตอบคำถาม 14 ข้อ เพื่อให้เห็นภาพรวมของบริษัทที่จะมุ่งหน้าไป และแนวทางที่จะทำให้บริษัทสามารถเติบโตต่อไปได้ คำถามที่ 1 วิเคราะห์ภาพรวมตลาด อสังหาริมทรัพย์ปี 2020 และการรับมือกับความท้าทาย ? ปีนี้เป็นปีท้าทายมากๆ ไม่ว่าจะธุรกิจอะไรก็ตาม สำหรับตลาดอสังหาริมทรัพย์ เราก็ได้รับผลกระทบจากกวิกฤตเศรษฐกิจต่างๆ เยอะมาก และเป็นปีที่ทดสอบเราจริงๆ ด้วยวิสัยทัศน์ และด้วยวิธีการปรับปรุงองค์กร ทุกครั้งเมื่อธุรกิจเริ่มจะช้าลง ใช้โอกาสในการปรับปรุงองค์กร การนำเอา AP Value หรือค่านิยมใหม่ๆ เข้ามา  ก็จะเป็นหนึ่งที่ทำให้เราแข็งแรงขึ้น ไม่ใช่ว่าที่ผ่านมาเราอ่อนแอนะ เราแข็งแรงบ้างแล้ว แต่การไปต่อในอนาคตเราต้องปรับปรุงตัวอย่างมาก   ธุรกิจแนวราบเป็นธุรกิจที่มีศักยภาพสูง ในการที่จะทำเราเตรียมตัวเรื่องพวกนี้ค่อนข้างดี การพัฒนาระบบ ECOSYSTEM โคซิสเต็ม ตั้งแต่การนำเอาเทคโนโลยี และการทำงานร่วมกับพาร์ทเนอร์ เชื่อว่าจะทำให้เราผ่านปีนี้ไปได้ คำถามที่ 2 รายได้รวม ปี 2019 เท่าไหร่ 3 ภาคธุรกิจใหม่ที่เปิดตัวขึ้นมา เมื่อต้นปีที่ผ่านมา (SEAC-CLAYMORE-VARRI) ได้เริ่มสร้างรายได้แล้วหรือยัง ? ปีที่แล้วเรามีรายได้ 32,452 ล้านบาท จากเป้าหมายที่วางไว้ 35,700 ล้านบาท เราทำไปได้ 91% ของเป้าที่วางไว้ ด้วยความท้าทายปีที่แล้ว   ซึ่งถือว่าเราทำได้ดีมาก 56% เป็นแนวราบ 18,145 ล้านบาท  แนวสูงอีก 40% มูลค่า 12,877 ล้านบาท ที่น่าสนใจคือ เซอร์วิส ไม่ว่าจะเป็น บางกอกซิตี้สมาร์ท ที่ทำเรื่องรีเซล มีมูลค่า 1100 ล้านบาท เซอร์วิสเป็นส่วนหนึ่งเริ่มโชว์ขึ้นมา ปีที่แล้วมีสัดส่วนอยู่ 4% ปีนี้ ของรายได้รวมทั้งหมด และปีต่อไปน่าจะเห็นเพิ่มมากขึ้น   3 ธุรกิจที่เปิดตัวขึ้นมา มีรายได้แล้วสำหรับแต่ละธุรกิจ แต่รายได้ยังไม่กลับเข้ามาที่เอพี เพราะยังขาดทุนอยู่ เรื่องอินโนเวชั่น ต้องใช้เวลา SEAC ปีนี้เริ่มเข้าสู่โหมดไม่ขาดทุนแล้ว และอีก 2 ปีข้างหน้าจะเป็นรายได้กลับเข้ามาหาเอพี ส่วน CLAYMORE น่าจะเป็นรูปเป็นร่างมากขึ้น เริ่มเอาออกสู่ตลาด แต่ปีแรกยังคงไม่มีกำไร ยังขาดทุนอยู่ แต่อีกสัก 2 ปีข้างหน้าจะมีรายได้กลับมาหาเอพี   SEAC เราทำขึ้นมาได้รับความสนใจจากองค์กรหลายองค์กร ไม่ใช่องค์กรที่อยากเข้ามาเรียนรู้ หลายองค์กรอยากเป็น Share Holder ด้วยซ้ำ คำถามที่ 3 ปัจจุบัน เอพีมี Backlog เท่าไหร่ แบ่งการรับรู้อย่างไร ? เรามี Backlog อยู่ 51987 ล้าน ถึงวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2563 เป็นแนวราบ 8,300 ล้านบาท รับรู้รายได้หมด เทียบยอดรับรู้รายได้ทั้งหมดของแนวราบ 21,000 ล้านบาท ประมาณ​ 40% ที่เหลือเป็นการเปิดโครงการใหม่ ส่วนแนวสูง เรามี Backlog โอนปีนี้  16560 ล้านบาท  เทียบรายได้ที่ตั้งใจ 18,000 เรามีพร้อมโอนแล้ว 90% แนวสูงก็พร้อมจะโอน แต่อาจจะมียกเลิก ซึ่งมีแค่ 15% แต่เราก็มีโครงการที่พร้อมขายพร้อมโอน เรื่องนี้เราไม่ค่อยห่วงเท่าไร คำถามที่ 4 ปีนี้ Developer ส่วนใหญ่ ปรับแผนบุกตลาดแนวราบ เอพีมีแผนรับมืออย่างไร ? ปีนี้เป็นปีแห่งแนวราบ ทุกคนเข้ามา สิ่งที่เราจะรับมือกับคู่แข่งที่จะเข้ามาในตลาดมากขึ้น ประสบการณ์ที่ทำมา 2 ปี ได้ลองผิดลองถูกมา แม้ว่าเราจะทำแนวราบมานาน  แต่วิธีการทำสมัยใหม่ เรามีการปรับเปลี่ยนวิธีคิด และได้ทดลองมา 2 ปี เราเชื่อว่าวันนี้ มิกซ์องค์ประกอบ ที่ทำให้ลูกค้ามาซื้อบ้านเอพีได้ ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาสเปซ​ ที่อยู่อาศัย การทำเรื่องราคา การพัฒนาคุณภาพ และการมีเซอร์วิส การเอาบางกอกซิตี้สมาร์ท เข้าไปจับ หรือการเอาอินโนเวชั่นไปจับ ทุกวันนี้ถูกเอาไปใช้ในโครงการแนวราบทุกโครงการ   และจะเป็นปีแรกที่เราไปทดสอบตลาดต่างจังหวัด เพราะมีหลายจังหวัดมีศักยภาพ เมื่อ 5 ปีที่แล้วไปแนวสูง ปีนี้ไปแนวราบ ทั้งบ้านเดี่ยว ทาวน์เฮ้าส์  บ้านแฝด จังหวัดแรกที่ไป คือ  นครศรีธรรมราช เหมือนเป็นเมืองรองแต่มีศักยภาพมาก มีเศรษฐีเยอะ คำถามที่ 5 ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา เอพีได้เปิดตัวไปแล้วกี่โครงการ ผลตอบรับเป็นอย่างไร ? เราเปิดบ้านเดี่ยวไป 4 โครงการ ทาวน์เฮ้าส์ไป 7 ช่วง 8 สัปดาห์ บ้านเดี่ยว ทาวน์เฮ้าส์ มียอดขายเฉลี่ยต่อสัปดาห์ 200-300 ล้านบาท ถึงวันที่ 23 กุมภาพันธ์  2563 มียอดขายแล้ว 4,230 ล้านบาท เป็นแนวราบ 3,493 ล้านบาท ถ้าเทียบกับปีที่แล้วก็ยังสูสี ทั้งๆ ที่สถานการณ์ปีนี้เลวร้ายมาก ปีที่แล้วลูกค้าอยากซื้อก็ต้องรีบโอน แต่ปีนี้ไม่ใช่ แม้กระทั้งคอนโดฯ  ไม่ได้โครงการเปิดใหม่ แต่เรายังขายได้  737 ล้านบาน  ในช่วง 8 สัปดาห์ที่ผ่านมา ด้วยสถานการณ์แบบนี้ ไม่มีโครงการใหม่เปิด ขายสัปดาห์ละ 70-80 ล้านบาท ถือว่าไม่น้อยทีเดียว ถ้าเราทำโปรดักส์ ถูก ราคาถูก การทำตลาดได้ถูกต้อง ยังถือว่าได้ผลลัพท์ที่ดี  ยังมีดีมานด์ในตลาด คำถามที่ 6 ปีนี้เอพีเปิดตัวคอนโดลดลงหรือไม่ ทางพันธมิตรญี่ปุ่น Concern เรื่องการลงทุนในประเทศไทยหรือไม่ ? คอนโดฯ เราเปิดปีละ 4-6 โครงการอยู่แล้ว ปีนี้เราเปิด 4 โครงการ ถ้าถามเรื่องการคอนเซิร์นของพันธมิตรญี่ปุ่น เราต้องมองว่า พันธมิตรเรา บริษัทมิตซูบิชิ เอสเตท กรุ๊ป (MEC)  เป็นมืออาชีพในการพัฒนาอสังหาฯ​ ในญี่ปุ่น เขามีความเข้าใจในการทำธุรกิจอสังหาฯ​ มันมีขึ้นมีลง เขาคุยเสมอว่าเขาเข้าใจ ว่าอะไรบ้างมีผลกระทบต่อตลาดอสังหาฯ แต่ความมั่นใจของเขา ไม่ได้อยู่ที่สภาพแวดล้อม หรือเรื่องเศรษฐกิจที่ทำให้ลดตัวลง แต่มันอยู่ที่การบริหารจัดการภายใน   ตลอดระยะเวลา 5-6 ปีที่ทำงานมา เราทำให้เขาเห็นถึงความมั่นใจ การทำงานของเรา ไม่ว่าจะเรื่องระบบ ความเชื่อถือเชื่อมั่น และที่สำคัญ คือ แผนงานของเรา แผนการเปิดตัวคอนโดฯ มีการผ่อนหนักผ่อนเบา โอกาสมาก็เปิดเยอะ โอกาสน้อยก็เปิดน้อย แล้วจะเห็นว่าการได้มาซึ่งการรับรู้รายได้ มันต้องบาลานซ์ให้คงที่อยู่ตลอด อาจจะมีลดบ้างเพิ่มบ้าง แต่เรามีการทำให้มีการรับรู้รายได้อยู่ตลอดเวลา  อย่างปีที่แล้วก็เริ่มมีการรับรู้รายได้ของโครงการที่สร้างเสร็จ ปีนี้ก็จะมีอีก แล้วปีนี้จะเปิดตัวถึง 4 โครงการ ภายใต้สถานการณ์แบบนี้ แต่การเปิดโครงการเป็นการรับรู้รายได้ อีก 2-3 ปีข้างหน้า เรามีระยะเวลาการขาย   เราไม่ได้มองว่าเปิดมาแล้วต้องขายหมด เช่น เมื่อ 2-3 ปีที่ผ่านมามีการเปิดตัว เราก็ได้รับผลประโยชน์ในปีนี้ ด้วยแผนการ วิธีการการทำงาน ความเชื่อมั่นที่เราปฏิบัติกับเขา  เราไม่มีการหมกเม็ด เราเปิดเผยข้อมูลทั้งหมด เขาอยากรู้อะไร เราตอบเขาหมด เรามีการพบปะผู้บริหารอยู่ตลอดเวลา ทำให้ญี่ปุ่นมีความมั่นใจในศักยภาพของตลาดเมืองไทย เพราะอย่างไรก็ตามมันมีวงจรของการขายไม่คงที แต่การรับรู้รายได้มีอย่างต่อเนื่อง คำถามที่ 7 งบซื้อที่ดินปี 2020 เท่าไหร่ ใช้ไปแล้วเท่าไหร่ และโครงการต่างจังหวัด มีที่ดินครบแล้วหรือยัง ? ปีนี้ เรามีงบซื้อที่ดิน 8,500 ล้านบาท สำหรับการซื้อที่ดิน เราใช้ไป 700 ล้านบาท เป็นการพัฒนาแนวราบเสียเยอะ ส่วนต่างจังหัดที่จบไป คือ ที่นครศรีธรรมราช ส่วนที่เหลือ ก็อยู่ระหว่างการจัดซื้อ และการตัดสินใจ ว่าเราจะไปจังหวัดไหนต่อ คำถามที่ 8 AP มี Stock สินค้า พร้อมขายพร้อมอยู่กี่โครงการ และมีแผนการขายอย่างไร ท่ามกลางกำลังซื้อหดตัว ? องค์รวมยอดขายหดตัวอยู่แล้ว แต่มาดูรายเซ็กเมนต์แนวราบยังไปได้ แต่เรายังเห็นการเติบโตอยู่ ส่วนเรื่องสต็อก แนวราบแทบไม่มีสต็อกเลย ซื้อมาโอนไป ส่วนแนวสูง มีสต็อกเหลืออยู่ โครงการพร้อมขาย พร้อมโอน 3,200 ล้านบาท ถ้าเทียบจากอัตราการขาย 70-80 ล้านต่อสัปดาห์ ถ้าไม่มีอะไรที่เลวร้ายไปกว่านี้ สต็อกนี้ไม่เป็นปัญหาในการที่เราจะเคลียร์ได้ คำถามที่ 9สถานการณ์ลูกค้าต่างประเทศ เป็นอย่างไร มีปัญหาเรื่องการโอนคอนโดหรือไม่ ? ถ้าบอกลูกค้าต่างประเทศไม่มีปัญหา มันคงไม่ใช่ เป็นปัญหาแน่ๆ แต่เราอยู่ที่การบริหารจัดการมากกว่า ปีที่แล้ว ไลฟ์ วิทยุ ที่มีลูกค้าต่างชาติเข้ามา เราโอนไปได้ 180 ยูนิต เกือบ 200 ยูนิตในเดือนเดียว มันมีองค์ประกอบหลายอย่าง ที่จะบริหารลูกค้าต่างชาติ ประการแร  เริ่มจากการขาย เรามีการบริหารจัดการขาย ผ่านบางกอกซิตี้สมาร์ท 2. กระบวนการจะส่งมอบ อย่างไลฟ์ วิทยุ เราตั้งเป้าให้ลูกค้าโอนเร็วที่สุด เพราะลูกค้าอาจจะเปลี่ยนใจได้ จึงทำเรื่อง Zero defect  ซึ่งเราทำได้ถึง 90% ลูกค้าเข้ามาตรวจ ถ้าต้องการแก้งาน เราแก้งานให้จบในวันนั้นแล้วโอนเลย มันเป็นสิ่งที่กระบวนการจัดการการโอน เพื่อส่งมอบสินค้าอย่างมีคุณภาพ ส่งผลให้การโอนไลฟ์วิทยุ ภายในเดือนธันวาคมเราทำได้ตามเป้าหมายที่วางไว้  และ 3.การกลับไปบางกอกซิตี้สมาร์ท การบริหารลูกค้า ติดตามลูกค้า การปรับเอาห้องของลูกค้าไปขายต่อ ซึ่งก็ขายได้ดี มันอยู่ที่องค์ประกอบในการแก้ไขปัญหา มันมีปัญหาแหละ ขึ้นอยู่กับการเตรียมตัวมาอย่างดี คำถามที่ 10 งบประมาณในการลงทุนเรื่อง BIM และ BIM ช่วยลดต้นทุนการก่อสร้างได้เท่าไหร่ มีผลต่อราคาขายหรือไม่ ? BIM ลงทุนไปเกือบ 20 ล้านบาท ทั้งในเรื่องของการพัฒนากระบวนการ การยอมรับของคน การพัฒนาศักยภาพของคน รวมถึงการซื้อซอฟท์แวร์ต่างๆ แน่นอนว่า เรามองเป้าหมายใหญ่กว่านั้น เป็นการส่งมอบคุณภาพของสินค้าให้กับลูกค้า และในมุมของดีเวลลอปเปอร์ นอกจากเรื่องคุณภาพแล้ว ยังมองเรื่องการบริหารจัดการเรื่องราคาขาย ที่ผ่านมา ที่ดินก็ราคาขึ้น ค่าก่อสร้างก็ราคาขึ้น ทำไมเรายังทำราคาขายให้อยู่ในการแข่งขันที่ดี   เราพยายามเมนเทนราคาของเราไม่ให้เกิน 200,000 บาทต่อตารางเมตร อยู่แสนต้นๆ ถึงแสนปลายๆ เราก็ทำได้ไม่ว่าราคาที่ดินจะเป็นเท่าไร แน่นอนว่า ราคาที่ดินไม่สูงเกินไป หรือในอดีตที่ดินราคา 200,000-300,000 บาท มาวันนี้ 600,000-700,000 บาท เราก็ต้องทำราคาให้ได้ให้อยู่ในราคานี้  ราคาที่ดินและค่าก่อสร้างมันขึ้นมาก แต่รายได้ของคนไม่ได้ขึ้นไปตามนั้น BIM มีส่วนช่วย ทำให้ลูกค้าได้ราคาที่ดี ลูกค้าสามารถได้ของมีคุณภาพ สิ่งที่เราเอาบินมาลดต้นทุน เราเอากลับไปให้ลูกค้า ในเชิงรูปแบบของราคา เราลดต้นทุน คือ Crack detection  เราต้องไปแก้งาน ยกตัวอย่าง ไลฟ์พระราม 9 เราลดต้นทุนไปได้ 70-80 ล้านบาท จากการไม่ต้องไปทุบคาน ไม่ต้องแก้คาน การเดินงานใหม่ เป็นต้นทุนที่ซ่อนอยู่ ที่เราจ่ายออกไปง่ายมาก ในการแก้งาน แต่การแก้ในซอฟแวร์ต้นทุนไม่มี และเป็นการประหยัดเวลาด้วย การลด Crack detection การลดเวลาการก่อสร้างลง เป็นการประหยัดต้นทุน   การก่อสร้างถ้าโอนเร็วขึ้นสักเดือน เราสามารถประหยัดไปได้เกือบ 10 ล้านบาท เพราะเป็นต้นทุนทางด้านไฟแนนซ์ เรื่องการกู้ แต่พวกนี้เรามีประสบการณ์มากขึ้น เราลดต้นทุนได้ ก็จะถูกส่งกลับไปให้ลูกค้าในเชิงราคา มันสร้าง Competitiveness ให้กับ เอพี ลูกค้าก็ได้ราคาที่ดี คุณภาพที่ดี เทคโนโลยีที่ Implement ทุกวันนี้มันต้องทำให้ดีขึ้น  แต่การเปลี่ยนแปลงนั้นยาก การเปลี่ยนแปลงให้คนมาทำ BIM ไม่ง่าย เราใช้เวลามา 2 ปีแล้ว  การประสบความสำเร็จของเราที่ทำได้ขนาดนี้  อาจจะทำได้แค่ 50% เหลืออีก 50% ที่เราต้องทำงานต่อไป คำถามที่ 11 ธุรกิจการศึกษา ปีที่ผ่านมา ผลตอบรับเป็นยังไง ทำไมถึงพัฒนาหลักสูตรสำหรับเด็ก ธุรกิจการศึกษา ปีที่แล้วเป็นปีแรกที่เราเข้ามาทำจริงจัง แล้วมีการเปิดตัว YOUR NET U  เราจะเห็นว่า เราได้รับการตอบรับจากองค์กรดีมาก องค์กรใหญ่ๆ มีการมุ่งมันพัฒนาศักยภาพของคนในองค์กรของตัวเอง เพราะทุกคนรู้ว่าตัวเองต้องเตรียมความพร้อมในการรับมือกับ Digital disrupt ที่เกิดขึ้น การพัฒนาศักยภาพของคนวันนี้ ส่วนใหญ่ไม่ใช่ Functional skill แต่เป็น Soft skill เป็น เรื่องของ Mindset เรื่องของความคิด เราจะเห็นว่าทุกองค์กรให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มาก   เราทำ YOUR NET U  จะเห็นว่าคนที่ได้รับผลกระทบจาก Digital disrupt  คือ กลุ่มสตาร์ทอัพ เอสเอ็มอี คนเหล่านี้หันมาสนใจการศึกษา การเพิ่มพูนความรู้ การปรับเปลี่ยนวิธีคิดของตนเองมาก พนักงานในองค์กรยังไม่เห็นความจำเป็นของเรื่องพวกนี้มาก เพราะยังใช้ชีวิตสะดวกสบาย ทำงานไป ได้เงินเดือน มีโบนัส ​แต่ตั้งแต่ปีนี้เป็นต้นไป จะมีผลกระทบกับพนักงานแรงๆ จะเห็นการปิดตัว ของหลายบริษัท การลดคนงาน  คนจะอยู่ในโหมด Survival จะเกิดขึ้นทันที การเอาตัวรอด ซึ่ง คือ การเรียนรู้ ธุรกิจการศึกษาเป็นธุรกิจที่มีศักยภาพมากๆ   ส่วนทำไมเราถึงพัฒนาสำหรับเด็ก ต้องยอมรับว่า เราเห็น gap ของการทำงาน ของเด็กจบใหม่ก็เยอะ เด็กจบใหม่ตกงานก็เยอะ บริษัทอยากได้คนทำงานก็เยอะ แต่สองอันนี้ไม่ชนกัน สิ่งหนึ่งที่เห็นคือ คนไม่ได้มี passion ในสิ่งที่ตนเองเรียนมา และไม่สามารถเอาความรู้เหล่านั้นมาใช้เต็มศักยภาพที่เป็น แต่ถ้ามองถอยหลังกลับไป มันเกิดจากตอนเอ็นซ์ฯ ก่อนสอบเข้ามหาลัย คนส่วนใหญ่ไม่ค่อยรู้ตัว จะเอ็นซ์ฯ ไปตามเทรนด์ที่เกิดขึ้น เด็กผู้ชายต้องเอ็นซ์ฯ วิศวะ สิ่งเหล่านี้ ถ้าเราจะพัฒนาระบบการศึกษา หรือพัฒนาคน ต้องพัฒนาตั้งแต่ก่อนเอ็นซ์ฯ เราเลยหลักสูตรขึ้นมา เป็นการพัฒนาวิธีคิด พัฒนา mindset ให้พร้อมรับมือกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต คำถามที่ 12 ปัจจุบัน Platform ’SMART WORLD’ มีผู้ใช้จำนวนเท่าไร มีโครงการนอกเครือเอพีหรือไม่ คิดเป็นสัดส่วนเท่าไร ได้รับผลตอบรับจากผู้ใช้อย่างไรบ้าง ? บางกอกซิตี้ สมาร์ท  เราดูแลลูกบ้าน 58,000 ครอบครัว วันนี้ มีคนดาวน์โหลดไปแล้ว 40,000 เราเชื่อว่าต้องทำให้ครบ ให้คนมีโอกาสใช้งาน สิ่งที่ต้องทำมากขึ้น คือ engagement กับแอพพลิเคชั่น ยังต่ำ 10-15%  เป้าหมายของเราทำอย่างไรให้คน ใช้แอพทุกวันเหมือนเปิดเฟสบุ๊ค ไลน์​เป็นความท้าทายของคนทำ SMART WORLD แต่เรายังเชื่อมั่นว่า เราจะทำได้ ถ้าเราใส่องค์ประกอบที่ถูกต้องลงไป คำถามที่ 13 ทำไมทาง Claymore ถึงโฟกัสเรื่อง Health และ Ageing เป็นการศึกษาของเรา เทรนด์ของโลกนี้ เป็น Health และ Ageing กลับไปมองที่คน คนแก่มากขึ้น เด็กน้อยลง และคนให้ความสำคัญกับสุขภาพมากขึ้น เนื่องจากเรามีมลภาวะ ทางอากาศ การกิน เรื่องนี้เกิดขึ้นแล้ว และเป็นเทรนด์ในอนาคต  เรื่อง Ageing เราพัฒนาเพื่อบริการคน 70-80 ปี ก็จริง แต่เราไม่ได้มองว่าจะเซอร์วิสคนเหล่านี้ เราหาอินไซด์ เราจะไปหาจากคนก่อนเกษียณ  เพราะคนเหล่านี้ จะใช้เซอร์วิสเราจริงๆ ในอนาคต คนปัจจุบันส่วนใหญ่ยังเป็น Gen baby boomer บ้าง Gen X บ้าง ซึ่งยังมีครอบครัว แต่วันนี้สิ่งที่เราพบ Ageing ไปอยู่คนเดียวเยอะมาก เราเป็นลูกหลาน Gen X Gen Y อยากดูแลพ่อแม่ แต่เป็นความอยากหรือแค่ความฝัน เพราะลำพัง แค่เอาตัวเองให้รอดไปวันๆ ก็ลำบากจะแย่อยู่แล้ว สิ่งที่เรากลับไปคิดว่ามีอะไรบ้างจะช่วงเรื่องพวกนี้บ้าง   ส่วนเรื่อง Health  ทุกคนมีความฝันเรื่องการมีสุขภาพดี ทุกคนมีความฝันว่าตัวเองมีซิคแพก รู้สึกว่าตัวเองมีแคลอรี่ไม่เกิน แต่พอไปตรวจร่างกายแล้วจะรู้สึกว่าฉันต้องออกกำลังกายทุกที แต่พอผ่านไปสักเดือนก็เลิกแล้ว มันเป็นไซเคิล เพราะอุปสรรคมันเยอะเหลือเกิน เราจะเข้าไปแก้ไขทำอย่างไรให้ตรงนี้มันง่ายขึ้น ให้เขามีสุขภาพดีได้ง่ายขึ้น คำถามที่  14 ความคาดหวังของพันธกิจ EMPOWER LIVING คืออะไร ? นวัตกรรมวันนี้มันเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ พอพูดถึงนวัตกรรม ไม่ใช่แค่รีโมทเปิดไฟได้ เรื่องพวกนี้มันธรรมดาไปแล้ว แต่ในอนาคตจะทำอย่างไร บ้านวันนี้มีวิธีคิดใหม่ เราก็ไม่รู้ในอนาคตจะมีเทคโนโลยีใหม่ๆ อะไรออกมาบ้าง  แต่เราจะทำอย่างไร ให้บ้านมันถูกปรับแต่งได้ง่ายขึ้น มันถูกเอาไปใช้ปลั๊กอินได้มากขึ้น ถ้าทำให้บ้านมีระบบปลั๊กอิน  เพราะเราคงไม่สามารถไปรื้อบ้านสร้างใหม่ได้ตลอดเวลา  ปรับเปลี่ยนไปตามยุคสมัยที่เป็นมันน่าจะตอบโจทย์ลูกบ้านมากเลย          
มั่นคงฯ ปิดปี 62 โชว์ผลงานธุรกิจ “เช่า-บริการ” โต 27%

มั่นคงฯ ปิดปี 62 โชว์ผลงานธุรกิจ “เช่า-บริการ” โต 27%

มั่นคงฯ แจงผลการดำเนินงานปี 2562  สร้างรายได้ธุรกิจเพื่อเช่าและบริการ โต 27%  ขณะที่ธุรกิจพัฒนาอสังหาฯ ชะลอตัว หลังโดนผลกระทบจาก LTV ทำรายได้ลดลง 5.2% แต่ยังคง ทำรายได้รวม 4,438.11 ล้าน มีกำไรสุทธิกว่า 177 ล้าน   นายสุเทพ วงศ์วรเศรษฐ ประธานกรรมการ บริษัท มั่นคงเคหะการ จำกัด (มหาชน) หรือ MK เปิดเผยถึงผลประกอบการปี 2562 ว่า บริษัทและบริษัทย่อยสามารถทำรายได้รวมจากการขายและบริการได้ถึง 4,438.11 ล้านบาท โดยแบ่งเป็นรายได้จากธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เพื่อขายจำนวน 3,936.77 ล้านบาท รายได้จากธุรกิจเพื่อเช่าและบริการ  จำนวน 501.34 ล้านบาท เติบโต 27% จากปีที่ 2561 บริษัทสามารถทำกำไรสุทธิ 177.45 ล้านบาท คิดเป็นกำไรต่อหุ้น 0.16 บาท ซึ่งตลอดช่วงระยะ 4 ปีที่ผ่านมากลุ่มบริษัทสามารถดำเนินธุรกิจเป็นไปตามแผนการปรับโครงสร้างรายได้ระยะยาว โดยสามารถเพิ่มสัดส่วนกำไรขั้นต้นจากธุรกิจเพื่อเช่าและการบริการ ต่อรายได้จากการดำเนินการในทุกธุรกิจเป็น 25.8% ในปี 2562 จากสัดส่วน 4.5% เมื่อสิ้นปี 2558   ในปี 2562  บริษัทมีรายได้จากธุรกิจพัฒนาอสังหาฯ เป็นจำนวน 3,936.77 ล้านบาท ลดลงเพียงเล็กน้อยจากปี 2561 จำนวน 216.16 ล้านบาท หรือ 5.2%  ปัจจัยมาจากผลกระทบของธุรกิจภาคอสังหาริมทรัพย์ ไม่ว่า จะเป็นความเข้มงวดของ LTV ซึ่งผลกระทบดังกล่าวส่งผลต่อความสามารถในการซื้อที่อยู่อาศัยของผู้บริโภค อย่างไรก็ดี บริษัทมีมาตรการช่วยเหลือลูกค้า เพื่อผ่อนคลายผลกระทบจากมาตรการดังกล่าว เช่น ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการจัดเตรียมข้อมูลทางการเงินอย่างรัดกุม การยื่นขออนุมัติเครดิตเบื้องต้น (Pre Approve) และให้ลูกค้าเช็คเครดิตบูโรกับธนาคารพาณิชย์ก่อนทำการเปิด  ใบจอง   นอกจากนี้ ในช่วงปลายปีได้มีมาตรการกระตุ้นของภาครัฐเรื่องการลดค่าธรรมเนียม จดทะเบียนการโอน และค่าจดทะเบียนการจำนองสำหรับบ้านราคาต่ำกว่า 3 ล้านบาท ซึ่งบริษัทมีสินค้าที่อยู่ในระดับราคานี้  หลายโครงการ อีกทั้งลูกค้าส่วนใหญ่ของบริษัทกว่า 70% เป็นลูกค้าที่ไม่ติดภาระสัญญากู้เงินที่อยู่อาศัย จึงทำให้บริษัทยังคงสามารถรักษาระดับรายได้จากการขายโครงการอสังหาริมทรัพย์ได้ใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมา   ในส่วนของรายได้จากธุรกิจให้เช่าและบริการ ในปี 2562 มีรายได้ถึง 501.34 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2561 ถึง 107.4 ล้านบาท หรือคิดเป็น 27% โดยรายได้หลักมาจากโครงการบางกอกฟรีเทรดโซน ของ บริษัท พรอสเพค ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด จำนวน 291.88 ล้านบาท เพิ่มขึ้นถึง 78.53 ล้านบาท คิดเป็นอัตราการเติบโต 36.81% ซึ่งโครงการบางกอกฟรีเทรดโซนสามารถขยายสัดส่วนพื้นที่ให้เช่าเพิ่มขึ้นเป็น 193,872 ตารางเมตร ส่วนธุรกิจสนามกอล์ฟและบริหารอสังหาริมทรัพย์ มีรายได้ 119.77 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 10.52 ล้านบาท คิดเป็น 9.63% นอกจากนี้ยังมีรายได้มาจาก โครงการพาร์คคอร์ท สุขุมวิท 77 และ บริษัท ยัวร์ส พร็อพเพอร์ตี้ แมเนจเม้นท์ จำกัด   นายสุเทพ กล่าวว่า จากผลการดำเนินงานในแต่ละธุรกิจของกลุ่มบริษัท ถึงแม้ว่ารายได้หลักจากธุรกิจพัฒนาอสังหาฯ จะชะลอตัวลดลง เนื่องจากผลกระทบในหลายปัจจัยในปีที่ผ่านมา แต่บริษัทก็ยังสามารถควบคุมต้นทุนการดำเนินงานทำให้สามารถรักษาอัตรากำไรขั้นต้นได้มากกว่า 30% ใกล้เคียงกับปีก่อนหน้า รวมถึงได้เพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการที่เป็นระบบและมีมาตรฐานมากยิ่งขึ้น
ถอดกลยุทธ์ “เอสซี แอสเสท” ใช้ความยืดหยุ่น สร้างพอร์ตธุรกิจให้เติบโต พร้อมเพิ่มรายได้ประจำ

ถอดกลยุทธ์ “เอสซี แอสเสท” ใช้ความยืดหยุ่น สร้างพอร์ตธุรกิจให้เติบโต พร้อมเพิ่มรายได้ประจำ

ปีที่ผ่านมาภาพรวมตลาดอสังหาริมทรัพย์ ต้องเผชิญกับปัจจัยลบมากมาย ส่งผลให้ภาพรวมของการเปิดโคงการใหม่ลดลง 20% ยอดขายลดลง 23% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า ส่วนปีนี้ปัจจัยลบต่างๆ ยังมีต่อเนื่อง แถมยังมีปัญหาใหม่เพิ่ม ไม่ว่าจะเป็นงบประมาณภาครัฐที่ล่าช้า ไวรัสโคโรนา ตัวเลขจีดีพีซึ่งมีโอกาสต่ำกว่า 2 ทำให้ไม่สามารถประเมินสถานการณ์ตลาดได้ว่าจะเป็นอย่างไร   สำหรับบริษัท เอสซี แอสเสท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) แม้ว่าปีที่ผ่านมาสามารถสร้างการเติบโต และทำนิวไฮด์ได้หลายตัวเลข  ไม่ว่าจะเป็นรายได้ และกำไรโดยมีรายได้รวม 17,787 ล้านบาท เติบโต 15%  มีกำไรสุทธิ 2,026 ล้านบาท  เติบโต 13% ซึ่งถือเป็นครั้งแรกที่ “เอสซี แอสเสท” สามารถทำกำไรได้มากกว่า   2,000 ล้านบาท แต่การดำเนินธุรกิจต่อไปนับจากนี้ อาจจะไม่ใช่เรื่องง่าย และมีความท้าทายหลายเรื่อง ซึ่งกลยุทธ์ที่ถูกนำมาใช้เพื่อสร้างการเติบโตต่อไป คือ “ความยืดหยุ่น” หรือ Resilient ชูกลยุทธ์ “ความยืดหยุ่น” สู้ความยุ่งเหยิง เพื่อความยั่งยืน นายณัฐพงศ์ คุณากรวงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอสซี แอสเสท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)  เปิดเผยว่า กลยุทธ์ในการรับมือกับภาวะเศรษฐกิจที่มีความผันผวนและไม่แน่นอน “เอสซี แอสเสท” ใช้กลยุทธ์ความยืดหยุ่น หรือ  Resilient เพื่อความยั่งยืน พร้อมปรับตัว และมองโอกาสหา S-curve ให้บริษัทสำหรับการเติบโตระยะยาว โดยขับเคลื่อนใน  2 เรื่องหลัก  คือ “Resilient Portfolio” กับ “Resilient People” แนวทาง Resilient Portfolio ที่จะสร้างการเติบโต แบ่งเป็น 3 เรื่องสำคัญ ได้แก่ 1.For Sale เน้นโปรเจ็กต์แนวราบ ในปี 2562 ที่ผ่านมาบริษัทมีการเติบโตของบ้านเดี่ยวทุกระดับราคา  และยังสามารถสร้างส่วนแบ่งตลาดได้เป็น อันดับ 1 กลุ่มบ้านราคา 20-50 ล้านบาท และ อันดับ 3 ของบ้านเดี่ยวทุกระดับราคา แผนธุรกิจในปีนี้ จึงเน้นการเพิ่มการเติบโตของแนวราบ โดยเพิ่มสัดส่วนของแนวราบราคาน้อยกว่า 10 ล้านบาท จาก 40%  เป็น 50% ในปี 3 ปีนี้ 2.For Rent เสริมพอร์ตรายได้ประจำ “เอสซี แอสเสท” จะกระจายความเสี่ยงและเพิ่มพอร์ตรายได้ประจำ (recurring income) ให้มากขึ้น โดยวางสัดส่วนให้มีกำไรสุทธิเพิ่มขึ้นในอนาคตมากกว่า 20% ผ่านธุรกิจโรงแรม ออฟฟิศ และอพาร์ทเม้นท์ ในต่างประเทศโดยได้จัดตั้งบริษัท เอสซี เอ็กซ์เพดิชั่น จำกัด (SC Expedition) เพื่อพัฒนาธุรกิจโรงแรมกลุ่มตลาดระดับ 3-4 ดาว (mid-to-upscale) รองรับนักท่องเที่ยวทั้งต่างประเทศและในไทย โดยเฉพาะกลุ่มนักท่องเที่ยวเดินทางด้วยตนเอง หรือ FIT (Free Individual Travelers) ที่ชอบท่องเที่ยวด้วยตนเองและกำลังเติบโต   บริษัทวางแผนลงทุนโรงแรมภายในปี 2566 จะมีโรงแรม 5 แห่ง รวม 1,000 ห้อง โดยปีนี้จะเปิดแห่งแรกที่ย่านราชวัตร ขนาด 70-80 ห้อง ใช้เงินลงทุนประมาณ​ 100 ล้านบาท ส่วนปีหน้าจะลงทุนเปิดที่ทำเลรัชดา  ส่วนปีต่อไปจะเปิดที่ทำเลสุขุมวิท วิภาวดี และพัทยา ซึ่งบริษัทจะใช้แบรนด์ของตนเอง ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณา   นอกจากนี้ ยังจัดตั้ง บริษัท เอสซี อัลฟ่า อินคอร์ปอเรชั่น (SC Alpha Inc.) เพื่อลงทุนในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ในประเทศสหรัฐอเมริกา  ซึ่งจากปัจจัยและโอกาสของตลาด อพาร์ทเม้นท์ในบอสตันที่มีศักยภาพพร้อมเติบโต จึงได้ทำสัญญาซื้อและบริหารอาคาร ที่ 244 Hanover Street & 20 Parmenter Street ในเมืองบอสตัน รัฐ แมสซาชูเซตส์  มูลค่า 24.5 ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อดำเนินธุรกิจอพาร์ทเม้นท์ ซึ่งจะมีการลงทุนพัฒนาอพาร์ทเม้นท์อย่างต่อเนื่อง โดยบริษัทวางงบลงทุนแต่ละปี 30 ล้านเหรียญ หรือประมาณ 900 ล้านบาท 3.หา S-curve ใหม่สร้างรายได้จาก Living Solutions  นอกจาก รายได้จากการขายและรายได้ประจำแล้ว “เอสซี แอสเสท” ยังมองหาโอกาสในการสร้างรายได้จากธุรกิจที่เป็น S-curve ใหม่ๆ ซึ่งเป็นการต่อยอดจากโมเดลธุรกิจ Living Solutions บนการพัฒนา platform  โดยได้เตรียมเปิดตัว  RueJai Club ไว้ดูแลลูกค้า ซึ่งเป็นวิถีของโลกยุคใหม่ ที่ใช้เทคโนโลยีเพื่อส่งมอบ solutions ให้กับลูกค้าทุกๆ บ้าน ด้วยโมเดลช่วยเรื่องบ้าน จัดการเรื่องชีวิต  ประกอบด้วยแพ็กเกจบริการรายครั้งหรือรายเดือน  สำหรับอำนวยความสะดวกทุกสิ่งที่เกี่ยวกับบ้าน ได้แก่ แม่บ้าน, ทำสวน , ล้างแอร์ เป็นต้น พร้อม solutions ที่มากกว่า  ได้แก่ บริการส่งน้ำ ,ส่งแก็ส , ตัดผม, ซักรีด , ประกันภัย, อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า และอื่นๆ  อีกมากมายที่จะร่วมกับบริษัทพาร์ทเนอร์ชั้นนำในอนาคต   นายณัฐพงศ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ส่วนแนวทาง “Resilient People” การให้ความสำคัญกับบุคลากร ที่เป็นหัวใจของความสำเร็จขององค์กร  บริษัทได้นำวัฒนธรรมองค์กรชื่อ #SKYDIVE ภายใต้ค่านิยม (core values) 4 ประการคือ care, courage, collaboration, continuous improvement  โดยทั้งหมดเป็นส่วนผสมที่ลงตัว เปิดโอกาสให้กล้าคิดและทำอย่างมีประสิทธิภาพ  เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการขับเคลื่อนองค์กรให้สอดคล้องต่อการเป็น Living Solutions Provider แผน "เอสซี แอสเสท" เปิด 13 โปรเจ็กต์ 16,000 ล้าน สำหรับแผนธุรกิจในปี 2563 บริษัทตั้งเป้ารายได้ที่ 17,800 ล้านบาท และ ยอดขาย 18,000 ล้านบาท  โดยการเติบโตของรายได้และยอดขาย มาจากโครงการเปิดขายทั้งหมด 64 โครงการมูลค่ารวมกว่า 58,300 ล้านบาท แบ่งเป็นโครงการต่อเนื่อง 51 โครงการ มูลค่ารวม 42,300 ล้านบาท พร้อมกับการเปิด 13 โครงการใหม่ มูลค่า 16,000 ล้านบาท แบ่งเป็นแนวราบ 12 โครงการใหม่ มูลค่า 12,500 ล้านบาท มีทั้งบ้านเดี่ยว บ้านแฝด และทาวน์โฮมซีรีย์ใหม่ทุกระดับราคา  เริ่มต้น 2-50 ล้านบาท ทำเลวิภาวดี พระราม 5 , แจ้งวัฒนะ, พระราม 9, พัฒนาการ , บางนา-อ่อนนุช   โดยเตรียมเปิดโครงการแรก วี คอมพาวด์  ติวานนท์-รังสิต ในเดือนมี.ค.นี้ ส่วนโครงการคอนโดมิเนียม ปีนี้เปิดเพียง 1 โครงการ ได้แก่ โครงการ The Crest Park Residences คอนโดฯระดับลัชัวรี่ พัฒนาภายใต้บริษัท เอสซี เอ็นเอ็นอาร์ วัน  จำกัด(SC NNR1 Co.,Ltd.) ที่บริษัทร่วมทุนกับ Nishitetsu Group ยักษ์ใหญ่และผู้นำในภูมิภาคคิวชูของประเทศญี่ปุ่น  บนทำเลห้าแยกลาดพร้าว เพียง 75 เมตร ถึง MRT พหลโยธิน ขนาดพื้นที่ประมาณ 2 ไร่ จำนวน 429 ยูนิต มูลค่าโครงการ 3,500 ล้านบาท กำหนดเปิดขายในไตรมาส 2 ของปีนี้ หรือประมาณเดือนพฤษภาคมนี้ มีราคาเฉลี่ยกว่า 200,000-250,000 บาทต่อตารางเมตร หรือราคาเริ่มต้น 5.9 ล้านบาท