Tag : condo

1512 ผลลัพธ์
ออริจิ้น ทรานฟอร์ม แตก 6 บริษัทเพื่อเติบโต

ออริจิ้น ทรานฟอร์ม แตก 6 บริษัทเพื่อเติบโต

“ออริจิ้น” เข้าสู่ยุคทรานฟอร์ม แตก 6 บริษัทย่อยปั้นรายได้ พร้อมเปิดรับพันธมิตรทุกรูปแบบ เตรียมแผนเปิด 14 โครงการใหม่มูลค่า 20,000 ล้าน สร้างยอดขาย 21,500 ล้าน และรายได้ 16,000 ล้าน   นายพีระพงศ์ จรูญเอก ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) หรือ ORI เปิดเผยถึงทิศทางการดำเนินธุรกิจในปี 2563 ว่า ในวาระก้าวเข้าสู่ทศวรรษที่ 2 บริษัทได้วางวิสัยทัศน์ระยะยาวในการปรับเปลี่ยนบริษัทให้กลายเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ที่สามารถเติบโตไปได้อย่างยั่งยืน พร้อมรับมือทุกสภาวะความเปลี่ยนแปลงของโลก โดยในปีนี้วางแนวทางปีนี้จะเป็นทศวรรษแห่งการปฏิรูป (The Decade of Transformation) ปฏิรูปองค์กรสู่ลักษณะกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ ปรับเปลี่ยนออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ โดยแตกบริษัทย่อยออกมา 6 กลุ่มบริษัท เพื่อเดินหน้าใน 6 ประเภทธุรกิจ ประกอบด้วย 1.บริษัท ออริจิ้น คอนโดมิเนียม จำกัด  ดำเนินธุรกิจพัฒนาคอนโดมิเนียมกลุ่มสมาร์ทคอนโด มีแบรนด์หลักคือ ดิ ออริจิ้น (The Origin) 2.บริษัท พาร์ค ลักชัวรี่ จำกัด  ดำเนินธุรกิจพัฒนาคอนโดมิเนียมระดับลักชัวรี่ มีแบรนด์หลักคือ ไนท์บริดจ์ (KnightsBridge) และพาร์ค ออริจิ้น (PARK ORIGIN) 3.บริษัท บริทาเนีย จำกัด  ดำเนินธุรกิจพัฒนาบ้านจัดสรร มีแบรนด์หลักคือ บริทาเนีย (Britania) 4.บริษัท ออริจิ้น อีอีซี จำกัด   ดำเนินธุรกิจพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ในแถบเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) 5.บริษัท วัน ออริจิ้น จำกัด  ดำเนินธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่สร้างรายได้ต่อเนื่อง (Recurring Income Business) เช่น โรงแรม พื้นที่ค้าปลีก สำนักงานให้เช่า โครงการมิกซ์ยูส 6.บริษัท พรีโม เซอร์วิส โซลูชั่น จำกัด ดำเนินธุรกิจบริการด้านอสังหาริมทรัพย์สมัยใหม่ครบวงจร วางลยุทธ์ “Open for Growth, Open Platform” การเติบโตในปีนี้ “ออริจิ้น” วางกลยุทธ์ “Open for Growth, Open Platform” เพื่อสร้างการเติบโต ด้วยการเปิดรับพันธมิตรทางธุรกิจในหลากหลายรูปแบบ  เข้ามาร่วมธุรกิจกับบริษัทในทุกกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นกรที่สนใจเข้าร่วมทุน (JV Partner) เจ้าของที่ดิน  ผู้พัฒนาเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการบริการและอสังหาริมทรัพย์ กลุ่มซัพพลายเออร์ต่างๆ   ล่าสุด บริษัทได้เซ็นต์ MOU ร่วมทุนกับพันธมิตรใหม่จากประเทศเกาหลีใต้ คือ GS E&C (GS Engineering and Construction corporation) เพื่อพัฒนาคอนโดฯ 2 โครงการ ได้แก่ The Origin ลาดพร้าว 111 มูลค่า 1,900 ล้านบาท และ Knightsbridge Space พระราม 4 มูลค่า 2,300 ล้านบาท ซึ่งคาดว่าจะเริ่มเปิดตัวได้ในช่วงไตรมาส 2 ของปีนี้   สำหรับแผนธุรกิจในปี 2563 บริษัทจะให้ความสำคัญกับการปรับโครงสร้างภายในองค์กร สร้างรากฐานการเติบโตของทุกประเภทธุรกิจอย่างยั่งยืน พร้อมทั้งปรับแผนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจัยภายนอก เปิด 14 โปรเจ็กต์รับมือ “ไวรัสโควิค” แผนกการเปิดโครงการใหม่ในปีนี้ เตรียมพัฒนา 14 โครงการ รวมมูลค่ากว่า 20,000 ล้านบาท เป็นโครงการคอนโดฯ 4 โครงการ มูลค่า 7,900 ล้านบาท เป็นโครงการสมาร์ทคอนโดฯ แบรนด์ดิ ออริจิ้น 2 โครงการ มูลค่ารวม 4,200 ล้านบาท โครงการลักชัวรี่คอนโดฯ 1 โครงการ มูลค่ารวม 2,300 ล้านบาท และโครงการบ้านจัดสรร 10 โครงการ มูลค่ารวม 12,100 ล้านบาท  ภายใต้แบรนด์บริทาเนีย และอีก 3 แบรนด์ใหม่ คือ แบรนด์แกรนด์บริทาเนีย, ไบรตัน และเบลกราเวีย นอกจานี้ยังมีโครงการกลุ่มอีอีซีอีก 1 โครงการ มูลค่ารวม 1,400 ล้านบาท ภายใต้แบรนด์เดอะ แฮมป์ตัน (The Hampton) ในศรีราชา ถ้าหากสถานการณ์ไวรัสโควิด-19 แก้ไขได้เร็ว และสถานการณ์ทุกอย่างดีขึ้น บริษัทพร้อมเปิดตัวโครงการคอนโดฯ เพิ่มอีก 4 โครงการ ส่วนเป้าหมายรายได้ในปีนี้คาดว่าบริษัทจะทำได้ 16,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมามีรายได้รวม 14,122 ล้านบาท (อ่านข่าวผลประกอบการปี 2562) วางเป้าหมายยอดโอน 14,000 ล้านบาท และตั้งเป้ายอดขาย 21,500 ล้านบาท ลดลงจากปีที่ผ่านมา ทำยอดขายได้ 28,942 ล้านบาท ในปีนี้บริษัทวางงบลงทุนไว้ที่ 15,000 ล้านบาท แบ่งเป็นงบซื้อที่ดินและเช่า สำหรับธุรกิจโรงแรมจำนวน 7,000 ล้านบาท และอีก 8,000 ล้านบาท ใช้สำหรับการก่อสร้าง ปัจจุบันรายได้จารขาย ลดลง จากสัดส่วน 90% เหลือ 85% ในอีก 5 ปีข้างหน้า รายได้อื่นๆ  เช่น รายได้จากการเช่า การบริการ โดยรวมน่าจะมีสัดส่วน 30% เหลือรายได้จากกขายสัดส่วน 70%    
รีวิวคอนโด ส่องทำเลเตาปูน-บางโพ ฉบับอัปเดต 2563

รีวิวคอนโด ส่องทำเลเตาปูน-บางโพ ฉบับอัปเดต 2563

ย้อนเวลากลับไปกว่า 10 ปีที่แล้ว ในบ้านเราเริ่มเข้าสู่ยุคคอนโด Fever วิถีของคนเมืองเริ่มเปลี่ยนไปอีกครั้ง ด้วยการหันมาใช้ชีวิตในแนวสูงกันมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นโครงการทำเลใจกลางเมือง ใกล้รถไฟฟ้า หรือแม้แต่ทำเลนอกเมือง แต่ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา สังเกตกันบ้างไหมคะ? ว่าในทุกทำเลที่เหล่าผู้พัฒนาสังหาฯ ไปทำโครงการในแต่ละพื้นที่จะต้องมีองค์ประกอบที่ดีอยู่หลายด้าน ไม่ว่าจะด้วยสิ่งที่มีอยู่เดิมหรือการพัฒนาในอนาคต อาทิ ศูนย์การค้า ไฮเปอร์มาร์เก็ต ซุปเปอร์มาร์เก็ต ตลาด โรงพยาบาล สถาบันการศึกษา สถานที่สำคัญต่างๆ การเดินทางก็ต้องสะดวกทั้งการใช้รถส่วนตัวและสาธารณะ โดยเฉพาะรถไฟฟ้าที่ยังคงเป็นปัจจัยหลักของการเดินทางอันสะดวกสบายมากที่สุดในบ้านเรา ซึ่งตามแผนทั้งหมด 13 สาย ครอบคลุมทั่วทั้งกรุงเทพฯ – ปริมณฑล ทำให้สถานี Interchange กลายเป็นอีกจุดขายสำคัญของคอนโดมิเนียม เมื่อเอ่ยถึงสถานี Interchange ทุกวันนี้ก็เริ่มมีมากขึ้นตามรถไฟฟ้าที่ขยายตัวอยู่ทั่วทุกมุมเมือง หลายจุดมีความน่าสนใจแตกต่างกันไป แต่จุดที่เป็น Interchange ล่าสุด ณ เวลานี้ นั่นคือ สถานีเตาปูน ที่กำลังจะกลายเป็นจุดเชื่อมต่อสำคัญที่ทำให้วงแหวนสายสีน้ำเงินสมบูรณ์ในอีกไม่ช้า สำหรับ Update Status คอนโดในครั้งนี้ เราจะประเดิมย่านแรกกันที่ถนนประชาราษฎร์ สาย 2 ซึ่งเป็นถนนเส้นที่มีรถไฟฟ้าที่เป็น Interchange ของสายสีน้ำเงินเองกับสายสีม่วง และสถานีบางโพ ที่เป็นสถานีก่อนจะข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาไปทางฝั่งธนบุรี แล้วเหล่าคอนโดฯ ทั้ง 8 โครงการบนถนนเส้นนี้จะมีความคืบหน้าอะไรบ้าง เราไปอัปเดตพร้อมๆ กันค่ะ ไอดีโอ โมบิ บางซื่อ แกรนด์ อินเตอร์เชนจ์ ถ้าดูจากที่ตั้งของโครงการ แม้จะได้ขึ้นชื่อว่าอยู่บนถนนประชาราษฎร์ สาย 2 แต่ทางเข้า - ออก จะอยู่ทางฝั่งถนนประชาชื่นค่ะ โดยที่ดินจะอยู่หัวมุมสี่แยกประชาชื่นพอดี โดยโครงการนี้สร้างเสร็จช่วงปลายปี 2560 ปัจจุบันยังคงมียูนิตเหลือขายอยู่ ในราคาเริ่มต้นที่ 2.68 ล้านบาท มีห้องปล่อยเช่าในช่วงราคา 9,500 - 35,000 บาทต่อเดือน นิช ไพรด์ เตาปูน-อินเตอร์เชนจ์ ในบรรดาโครงการคอนโดมิเนียมบนถนนประชาราษฎร์ สาย 2 ทั้งหมด “นิช ไพรด์ เตาปูน - อินเตอร์เชนจ์” จาก Sena ถือว่าติดกับสถานีรถไฟฟ้ามากที่สุดเลยค่ะ คือลงมาจากสถานี ทางออก 4 ไม่กี่ก้าว ไม่ต้องข้ามถนน ก็ถึงตัวโครงการเลยค่ะ โดยเตรียมจะเริ่มทยอยโอนกรรมสิทธิ์กันในเดือนเมษายน 2563 นี้แล้ว ซึ่งช่วงก่อนเปิดอาคารมีโปรโมชั่นราคาเริ่มต้นที่ 3.59 ล้านบาท เหลือขายประมาณ 100 กว่ายูนิตค่ะ     ชีวาทัย อินเตอร์เชนจ์ ถ้าเดินลงมาจากสถานี ทางออกที่ 1 เราจะพบกับ “ชีวาทัย อินเตอร์เชนจ์” ก่อนเป็นโครงการแรก สร้างเสร็จตั้งแต่ปี 2558 แน่นอนว่า sold out ไปแล้ว แต่ยังคงทำราคาค่าเช่าได้ดีไม่แพ้โครงการรุ่นน้องในย่านเดียวกัน ซึ่งปัจจุบันราคาค่าเช่าอยู่ที่ 10,000 – 32,000 บาทต่อเดือน ริชพาร์ค 2 @เตาปูนอินเตอร์เชนจ์ ถือเป็นคอนโดฯ โครงการแรกๆ ของย่านนี้ โดยสร้างเสร็จตั้งแต่ปลายปี 2557 ซึ่งเป็นโครงการที่ทำราคามาถูกที่สุดในปัจจุบันของถนนเส้นนี้ โดยราคาตอนเปิดตัวอยู่ที่ 1.88 ล้านบาท ส่วนราคาโปรโมชั่นปัจจุบัน 1.99 ล้านบาท ส่วนค่าเช่าประมาณ 8,000 - 12,000 บาทต่อเดือน เดอะ สเตจ เตาปูน - อินเตอร์เชนจ์ 1 ใน 3 โครงการคอนโดมิเนียมจาก Real Asset (แอบกระซิบกันนิดนึงค่ะว่า กำลังจะเป็นทั้งหมด 4 โครงการแล้ว) สำหรับโครงการนี้สร้างเสร็จปลายปี 2560 ราคาตอนเปิดตัวอยู่ที่ 1.89 ล้านบาท ปัจจุบันมีโปรโมชั่นก่อนปิดโครงการช็อค One price ผ่อนล้านละ 1,500 บาท* อยู่ฟรี 2 ปี* เริ่มต้น 2.99 ล้านบาท สำหรับห้องขนาด 33.20 ตร.ม. ค่าเช่าปัจจุบันประมาณ 9,000 - 15,000 บาทต่อเดือน ด้วยตัวโครงการที่ทำออกมาได้สวยทีเดียว ใครที่ได้มือแรกๆ ไปก็ถือว่าคุ้มค่ะ เดอะ ทรี อินเตอร์เชนจ์ โครงการนี้เห็นยูนิตเพียบ แต่หมดเรียบแล้วนะคะ สำหรับ “เดอะ ทรี อินเตอร์เชนจ์” จากค่ายใหญ่ Pruksa ที่นับว่าเป็นโครงการที่มีจำนวนยูนิตมากที่สุดในละแวกนี้ถึง 1,734 ยูนิต และยังตั้งอยู่ใกล้กับศูนย์การค้าเกตเวย์ บางซื่อ มากที่สุด ประมาณ 60 เมตรเท่านั้น เรียกว่าแทบจะเดินไปได้ทุกวันแบบไม่ต้องเสียเวลาขับรถวนให้เวียนหัว ปัจจุบันทำราคาค่าเช่าที่ 8,000 - 25,000 บาทต่อเดือน ซึ่งตัวอาคารสร้างเสร็จประมาณปี 2557 ใกล้เคียงกับ ริชพาร์ค 2 ชีวาทัย เรสซิเดนซ์ บางโพ ถ้านับจากสี่แยกบางโพ โครงการนี้ถือว่าอยู่ใกล้ที่สุดเลยค่ะ นั่นหมายความว่าก็จะใกล้กับรถไฟฟ้า สถานีบางโพ ประมาณ 80 เมตร และยังห่างจากศูนย์การค้าเกตเวย์ บางซื่อ ประมาณ 100 เมตรเท่านั้น แต่สำหรับ “ชีวาทัย เรสซิเดนซ์ บางโพ” จะมีความแตกต่างจากโครงการก่อนหน้านี้ เพราะคอนโดฯ ถูกวางให้อยู่ใน High End Segment ซึ่งราคาเปิดตัวอยู่ที่ 3.9 ล้านบาท และแม้ว่าอาคารจะสร้างเสร็จเมื่อปี 2560 แต่ปัจจุบันทำราคาค่าเช่าได้ถึง 12,000 - 45,000 บาทต่อเดือน 333 Riverside ไม่บ่อยนักที่เราจะได้เห็นคอนโดจาก Land & House แต่เมื่อไรที่เราได้เห็นคอนโดจาก Developer เจ้านี้ ก็มักจะไม่ทำให้เราผิดหวังค่ะ ซึ่ง “333 Riverside” เป็นโครงการหรูที่สุดบนถนนเส้นนี้ แถมยังอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ถนนด้านหน้าก็เงียบสงบมาก มีบันไดสถานีบางโพมาเกยถึงหน้าโครงการอีกต่างหาก แม้ว่าโครงการแห่งนี้จะสร้างเสร็จตั้งแต่ปี 2560 มีราคาเปิดตัวที่ 5 ล้านบาท แต่ทุกวันนี้โครงการยังคงสวยงามโดดเด่นอยู่ริมแม่น้ำ ประกอบกับบรรยากาศภายในโครงการแล้ว ทำให้ 333 Riverside กลายเป็นคอนโดฯ ที่ให้อารมณ์เหมือนอยู่ในหัวหินหรือพัทยาเลยทีเดียวค่ะ ซึ่งปัจจุบันทำราคาค่าเช่าที่ 18,000 -150,000 บาทต่อเดือน   นี่คือ Update Status สำหรับคอนโดฯ ทั้งหมด 8 โครงการ บนถนนประชาราษฎร์ สาย 2 ที่เชื่อว่าในอนาคตอีก 2 - 3 ปีข้างหน้า เราจะได้เห็นความเปลี่ยนแปลงที่ดีกว่าทุกวันนี้ขึ้นไปอีก ด้วยองค์ประกอบแวดล้อมใกล้เคียงที่กำลังจะขยายตัว อาทิ สถานีกลางบางซื่อ รัฐสภาแห่งใหม่ และท่าเรือบางโพที่เตรียมปรับปรุงใหม่ สิ่งเหล่านี้จะเป็นแรงผลักสำคัญทำให้ทำเลโซนนี้เติบโตอย่างแทบจะพลิกโฉมต่อไป และสำหรับคอลัมน์ของเราในครั้งถัดไปจะพาไปอัปเดตกันในทำเลไหน อย่าลืมติดตามกันนะคะ รายละเอียดโครงการและสิ่งที่น่าสนใจในย่านเตาปูน-บางโพ รีวิวคอนโด The Stage Taopoon Interchange  รีวิวคอนโด 333 Riverside รีวิวคอนโด Ideo Mobi บางซื่อ-แกรนด์ อินเตอร์เชนจ์ รีวิว Gateway Bangsue ปลุกบางซื่อให้มีชีวิตชีวา
แสนสิริ เปิดโปรเจ็กต์ใหม่ ปั้นยอดขายโต 40%

แสนสิริ เปิดโปรเจ็กต์ใหม่ ปั้นยอดขายโต 40%

แสนสิริ เปิดโปรเจ็กต์ใหม่ 24,000 ล้าน หวังสร้างยอดขายโต 40% มุ่งจับตลาดกำลังซื้อระดับกลางลงล่าง กลุ่มราคา 1.5-5 ล้าน ปั้นรายได้ 24,000 ล้าน ไม่หวั่นลูกค้าจีน 2,000 ล้าน ยกเลิกซื้อคอนโดฯ เหตุได้เงินดาวน์ตุนไว้แล้ว 30% พร้อมนำกลับมาขายใหม่ทำกำไร   นายวันจักร์ บุรณศิริ ประธานผู้บริหารสายงานการเงินและสนับสนุนธุรกิจ บริษัทแสนสิริ จำกัด (มหาชน) หรือ SIRI เปิดเผยถึงแผนการดำเนินธุรกิจในปี 2563 ว่า แสนสิริวางแผนเปิดตัวโครงการใหม่ 18 โครงการ รวมมูลค่า 24,000 ล้านบาท แบ่งเป็นคอนโดมิเนียม 6 โครงการ มูลค่ารวม 8,800 ล้านบาท บ้านเดี่ยว 6 โครงการ มูลค่ารวม 8,600 ล้านบาท และทาวน์โฮม และมิกซ์ โปรเจกต์ 6 โครงการ มูลค่ารวม 6,600 ล้านบาท ซึ่งอยู่ในเซกเมนต์ Medium และ Affordable เป็นหลัก หรือระดับราคา 1.5-5 ล้านบาท เพื่อให้บริษัทเป็นแบรนด์ที่เข้าถึงง่ายในกลยุทธ์ด้านการวางราคาขาย ขณะเดียวก็ยังคงขยายฐานลูกค้าในเซกเมนต์ Luxury และ Super Luxury  ด้วยคอนโดมิเนียมพร้อมอยู่ภายใต้ Sansiri Luxury Collection อาทิ 98 ไวร์เลส, เดอะ โมนูเมนต์ ทองหล่อ, คุณ บาย ยู และบ้านแสนสิริ โดยคาดว่าจะสามารถสร้างยอดขาย 29,000 ล้านบาทในปี 2563 เติบโตขึ้น 40% จากปีก่อนที่มียอดขาย 21,000 ล้านบาท รวมทั้งวางเป้าหมายการโอนไว้ 33,000 ล้านบาท นอกจากนี้ แสนสิริยังมียอดขายรอโอนรองรับการเติบโตระยะยาวในอีก 4 ปี อีกถึง 47,500 ล้านบาท ซึ่งช่วยสร้างความมั่นใจให้แสนสิริได้เป็นอย่างดี และเสริมความแข็งแกร่งในทุกสภาวะเศรษฐกิจ ตั้งเป้ายอดขาย 63 โต 40% โดยบริษัทตั้งเป้าหมายยอดขายในปีนี้มูลค่า 29,000 ล้านบาท เติบโต 40% จากปีก่อนที่มียอดขาย 21,000 ล้านบาท วางเป้าหมายการโอน 33,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมามียอดโอน 31,000 ล้านบาท ซึ่งบริษัทยังมียอดขายรอโอน 47,500 ล้านบาท ซึ่งจะทยอยโอนไปอีก 4 ปีข้างหน้า แบ่งรับรู้รายได้ภายในปีนี้ 24,000 ล้านบาทในจำนวนนี้เป็นของบริษัทร่วมทุน 14,000 ล้านบาท เป็นของแสนสิริ 10,000 ล้านบาท   ยอดขายกว่า 62% ของปี 2562 มาจากความสำเร็จของยอดขายแนวราบในปีที่ผ่านมา อาทิ แบรนด์ทาวน์โฮม ‘สิริ เพลส’, แบรนด์บ้านเดี่ยว ‘บุราสิริ’, ‘คณาสิริ’ ราชพฤกษ์-346 และ ‘เศรษฐสิริ’ จรัญฯ – ปิ่นเกล้า 2 ขณะที่กลุ่มคอนโดมิเนียม ได้รับการตอบรับที่ดีจากการโอนคอนโดมิเนียมที่สร้างเสร็จพร้อมโอน อาทิ เดอะ ไลน์ สุขุมวิท 101,  เดอะ ไลน์ พหล-ประดิพัทธ์, เดอะ เบส สุขุมวิท 50, เดอะ เบส เพชรเกษม, ทากะ เฮาส์, ดีคอนโด แคมปัส โดม รังสิต และดีคอนโด หาดใหญ่ วางยุทธศาสตร์ “Made for Life…Made for Everyone” ด้านนายอุทัย อุทัยแสงสุข ประธานผู้บริหารสายงานปฏิบัติการ บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ในปีนี้ บริษัทได้วางยุทธศาสตร์ “Made for Life…Made for Everyone” เพื่อสร้างภาพแบรนด์ที่จับต้องง่ายขึ้น และเป็น “แบรนด์ที่ทุกคนเข้าถึงได้” โดยได้กำหนดกลยุทธ์สำคัญที่จะตอบสนองความต้องการของลูกค้าในทุกเซกเมนต์ ได้แก่ การเดินหน้ามุ่งพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยคุณภาพ ครอบคลุมความต้องการที่หลากหลาย โฟกัสในตลาดกลุ่มใหญ่ที่มีดีมานด์  ด้วยการพัฒนาโครงการ ภายใต้แบรนด์ดีคอนโด, เดอะเบส, สิริ เพลส, อณาสิริและสราญสิริ รวมทั้งขยายการพัฒนาโครงการไปในย่าน Community ใกล้เมืองในราคาเข้าถึงง่าย  ตลอดจนพัฒนาโครงการไปในทำเลใหม่ๆ อาทิ ทำเลย่านสุวรรณภูมิด้วย สราญสิริ ศรีวารี และการเข้าไปยังทำเลป่าคลอก ภูเก็ต ของแบรนด์อณาสิริ ส่วนคอนโดมิเนียม แสนสิริมีการเตรียมส่งมอบโครงการคอนโดมิเนียมพร้อมอยู่ 8 โครงการ ในปีนี้ ได้แก่ ดีคอนโด ริน เชียงใหม่, ดีคอนโด บลิซ ศรีราชา, เดอะ เบส เซ็นทรัล ภูเก็ต, เดอะ เบส สะพานใหม่,เอ็กซ์ที เอกมัย, เอ็กซ์ที  ห้วยขวาง, คาวะ เฮาส์ และลา ฮาบาน่า หัวหิน” โดยมียอดขายแล้ว 60% จากมูลค่าโครงการรวม 24,000 ล้านบาท  ในปีนี้แสนสิริยังมีการขยายารลงทุน ในโรงงานพรีคาสต์ เพื่อรองรับการพัฒนาโครงการอย่างต่อเนื่อง โดยจะเปิดตัวโรงงานพรีคาสต์แห่งที่ 3 และ 4  ซึ่งจะส่งผลให้สามารถเพิ่มกำลังการผลิตจาก 700,000 ตารางเมตรต่อปี เพิ่มขึ้นเป็น 1,200,000 ตารางเมตร  รองรับการพัฒนาที่อยู่อาศัยจาก 2,000 ยูนิต เพิ่มขึ้นเป็น 3,500 ยูนิต ไม่ห่วงชาวจีนยกเลิก ตุนเงินดาวน์แล้ว 30% สำหรับกลุ่มลูกค้าต่างชาติ โดยเฉพาะลูกค้าชาวจีน บริษัทได้รับผลกระทบมาตั้งแต่ เกิดเหตุการณ์สงครามการค้าระหว่างสหรัฐอเมริกาและจีน ซึ่งทำให้ยอดขายของกลุ่มลูกค้าต่างชาติลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยยอดขายที่เคยทำได้กว่า 10,000 ล้านบาท ในปี 2561 ลดลงเหลือประมาณ 3,000 ล้านบาท ในปี 2562 ซึ่งมีกลุ่มลูกค้าชาวจีนประมาณ 50%   ปัจจุบันบริษัทมีกลุ่มลูกค้าชาวจีนประมาณ 500 ราย ซื้อคอนโดฯ คิดเป็นมูลค่า 2,000 ล้านบาท ใน 8 โครงการ ที่จะเริ่มก่อสร้างแล้วเสร็จและโอนในปีนี้ โดยโครงการแรกจะเริ่มโอนในช่วงไตรมาส 2 ซึ่งหากปัญหาไวรัสโควิค-19 ไม่ยุติ หรือยังมีผลกระทบต่อเนื่อง บริษัทมีแนวทางในการผ่อนปรนการโอน อาจจะเป็นการยืดระยะเวลาออกไป แต่อย่างไรก็ตาม กลุ่มลูกค้าชาวจีนไม่น่าจะเป็นปัญหา หากทำการยกเลิกเนื่องจากมีการวางเงินดาวน์สูงในอัตรา 30% หากลูกค้ายกเลิก บริษัทยังมีรายได้และสามารถนำกลับมาขายใหม่ได้  
ORI สร้างยอดขายปี 2562 เติบโตกว่า 29,000 ล้านบาท

ORI สร้างยอดขายปี 2562 เติบโตกว่า 29,000 ล้านบาท

ออริจิ้น สร้างผลงานปี 62 คว้ากำไรสุทธิ 3,027 ล้านบาท หลังเปิดโครงการไป 20 โครงการ มูลค่ากว่า 24,200 ล้านบาท พร้อมกวาดยอดขายกว่า 29,000 ล้าน สูงกว่าเป้าหมาย ตุนแบ็คล็อกกว่า 41,000 ล้านสร้างรายได้ต่อเนื่องใน 3 ปี    นายพีระพงศ์ จรูญเอก ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) หรือ ORI   เปิดเผยว่า แม้ภาพรวมธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในปี 2562 จะถือเป็นช่วงปรับฐาน แต่บริษัทยังคงความสามารถในการรักษาระดับกำไรและอัตราการทำกำไรไว้ได้ดี โดยมีกำไรสุทธิอยู่ที่ 3,027 ล้านบาท ซึ่งสะท้อนความสามารถในการบริหารต้นทุนขายได้ดี ส่งผลให้อัตรากำไรขั้นต้นอยู่ที่ระดับ 43.5% รวมถึงการบริหารค่าใช้จ่ายที่มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น จนสามารถทำอัตรากำไรสุทธิได้ถึง 21.4% ซึ่งถือเป็นอัตรากำไรที่โดดเด่นเมื่อเทียบกับภาพรวมของกลุ่มธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่กำลังเผชิญมรสุมสงครามราคาในภาวะตลาดอสังหาฯหดตัว   ด้วยความตั้งใจของทีมงาน ผนวกกับการปรับกลยุทธ์และการวางแผนงาน เลือกเจาะตลาดลูกค้าได้ถูกกลุ่ม ทำให้บริษัทสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ที่มีราคาขายไม่แพง มีความสามารถสู้กับตลาดในภาวการณ์แข่งขันที่สูง จนทำให้สร้างยอดขายในโครงการที่เปิดใหม่ในปีที่ผ่านมาเฉลี่ยสูงถึงกว่า 76% ขณะเดียวกัน ด้วยคุณภาพของโครงการภายใต้แบรนด์ต่างๆ ทำให้ผู้บริโภคให้ความไว้วางใจ และยังคงทยอยโอนกรรมสิทธิ์ สร้างทั้งรายได้และกำไรกลับเข้าสู่บริษัทอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งผลการขยายธุรกิจใหม่ในส่วนรายได้จากธุรกิจบ้านจัดสรรที่เติบโตจากปี 2561 กว่า 200% ทำให้มี Contribution ในผลประกอบการ ปี 2562 ราว 1,500 ล้านบาท หรือ 11% ของรายได้รวม   รวมถึงการกระจายความเสี่ยงในการสร้างธุรกิจบริการในกลุ่มบริษัท พรีโม ที่เติบโตกว่า 30% และรุกคืบขยายไปสู่ธุรกิจสร้างรายได้ประจำ หรือ Recurring income ที่สามารถสร้างโรงแรมใหม่ ในทำเลทองอย่าง ทองหล่อ และ ศรีราชา เสร็จก่อนกำหนดในปี 2562 ที่ผ่านมา และจะเริ่มเปิดให้บริการเต็มรูปแบบในไตรมาส 2 ปีนี้   ทั้งนี้ ในปี 2562 บริษัทเปิดตัวโครงการใหม่ไปทั้งสิ้น 20 โครงการ มูลค่าโครงการรวมประมาณ 24,200 ล้านบาท แบ่งเป็นโครงการบ้าน 4 โครงการ มูลค่ารวม 6,000 ล้านบาท และโครงการคอนโดมิเนียม 16 โครงการ มูลค่ารวม 18,200 ล้านบาท ขณะเดียวกัน บริษัทมียอดขายในปีที่ผ่านมาอยู่ที่ 28,942 ล้านบาท และมีรายได้รวมอยู่ที่ 14,122 ล้านบาท ตุนแบ็คล็อก 3 ปี 41,000 ล้านสร้างรายได้ นายพีระพงศ์ กล่าวอีกว่า สำหรับปี 2563 บริษัทมั่นใจว่าจะยังคงสามารถรักษาประสิทธิภาพของอัตรากำไรขั้นต้นและอัตรากำไรสุทธิได้ในระดับเดิม โดยในปี 2563 บริษัทมีโครงการคอนโดมิเนียมขนาดใหญ่หลายโครงการที่มีแผนรับรู้รายได้ต่อเนื่อง และที่จะทยอยสร้างเสร็จและรับรู้รายได้อย่างต่อเนื่อง อาทิ โครงการไนท์บริดจ์ ไพรม์ สาทร มูลค่าโครงการ 3,900 ล้านบาท โครงการไนท์บริดจ์ ไพรม์ รัชโยธิน มูลค่าโครงการ 1,680 ล้านบาท โครงการไนท์บริดจ์ ไพรม์ อ่อนนุช มูลค่าโครงการ 2,600 ล้านบาท โครงการไนท์บริดจ์ คอลลาจ รามคำแหง มูลค่าโครงการกว่า 2,054 ล้านบาท โครงการไนท์บริดจ์ สเปซ รัชโยธิน มูลค่าโครงการกว่า 2,700 ล้านบาท และโครงการไนท์บริดจ์ เกษตรโซไซตี้ มูลค่าโครงการกว่า 1,300 ล้านบาท โดยปัจจุบันบริษัทมีแบ็คล็อกพร้อมทยอยรับรู้รายได้ต่อเนื่องกว่า 3 ปีสูงถึงกว่า 41,000 ล้านบาท   นอกจากนี้ บริษัทจะเริ่มมีการรับรู้รายได้จากธุรกิจโรงแรมที่เปิดให้บริการในปี 2563 จำนวน 2 โรงแรมได้แก่ ได้แก่ โรงแรมสเตย์บริดจ์ สวีท แบงค็อก ทองหล่อ และโรงแรมฮอลิเดย์ อินน์ แอนด์ สวีทส์ ศรีราชา แหลมฉบัง รวม 650 ห้องพัก ซึ่งจะช่วยเพิ่มพอร์ตการรับรู้รายได้ให้แก่บริษัท ผนึกพันธมิตรสร้างรายได้และโอกาสทางธุรกิจ ขณะที่ไตรมาส 4 ปี 2562 กลุ่มธุรกิจโรงแรมได้จับมือกับพันธมิตรใหม่ โดย บริษัท วัน ออริจิ้น จำกัด ได้เข้าร่วมทุนกับพันธมิตรรายใหม่ชื่อ CI:Z Limited Liability Partnership ซึ่งเป็นนักลงทุนสัญชาติญี่ปุ่น โดยการขายหุ้น บริษัท วัน สุขุมวิท 59 จำกัด ซึ่งจะพัฒนาโครงการ Intercontinental Bangkok Thonglor ร่วมกันต่อไป   ทั้งนี้บริษัทยังคงมองเห็นโอกาสในการเติบโตจากธุรกิจหลัก รวมทั้งในธุรกิจใหม่ๆ และยังเปิดรับพันธมิตรใหม่ๆ มาร่วมทุนและร่วมขับเคลื่อนแพลทฟอร์มในทุกกลุ่มธุรกิจของบริษัท โดยบริษัทจะเปิดเผยแผนธุรกิจประจำปี 2563 ของทุกกลุ่มบริษัทในเครือในวันที่ 4 มี.ค.นี้   ในปี 2562 บริษัท มีการร่วมทุนกับพันธมิตรเดิม และ พันธมิตรใหม่เพิ่มเติม อันได้แก่  1.บริษัท โนมูระ เรียลเอสเตท ดีเวลล็อปเมนท์ จํากัด เพื่อพัฒนาโครงการ “พาร์ค ออริจิ้น จุฬา-สามย่าน” 2.บริษัท เอสคอน เจแปน (ประเทศไทย) จํากัด เพื่อพัฒนาโครงการ “ไนท์บริดจ์ สุขุมวิท-เทพารักษ์” 3.บริษัท ดุสิตธานี จํากัด (มหาชน) เพื่อพัฒนาโครงการ “เดอะ แฮมป์ตัน ศรีราชา บาย ออริจิ้น แอนด์ ดุสิต” และ 4.CI:Z Limited Liability Partnership จากประเทศญี่ปุ่น เพื่อพัฒนาโรงแรมระดับไฮเอนด์ต่อไป ทุกกลุ่มบริษัทในเครือจะยังคงเป็นฟันเฟืองสำคัญในการขับเคลื่อนการเติบโตของบริษัทในปีนี้ ทั้งกลุ่มธุรกิจดั้งเดิมอย่างธุรกิจพัฒนาที่อยู่อาศัยเพื่อการขาย ไปจนถึงธุรกิจใหม่ๆ อย่างธุรกิจที่สร้างรายได้ต่อเนื่อง ธุรกิจบริการ เพื่อสร้างความยั่งยืนกลับมาสู่บริษัท   นายพีระพงศ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท มีมติเห็นชอบให้เสนอต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นสามัญจ่ายปันผลสำหรับผลการดำเนินงานของบริษัทรอบหกเดือนหลัง ของปี 2562 ในอัตรา 0.29 บาทต่อหุ้น หรือ คิดเป็น Dividend Yield กว่า 9% จากราคาปิดเมื่อวานนี้ เป็นเงินปันผลจ่ายทั้งสิ้นไม่เกิน 711.33 ล้านบาท โดยบริษัทจะจ่ายเงินปันผลเป็นเงินสด โดยกำหนดในวันที่ 15 พฤษภาคม 2563 เป็นวันกำหนดรายชื่อผู้ถือหุ้นที่มีสิทธิได้รับเงินปันผล (Record Date) และกำหนดจ่ายปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นภายในวันที่ 29 พฤษภาคม​ 2563  
CPN โชว์ผลงานปี 62  ทำกำไรได้กว่า 1.1 หมื่นล้าน 

CPN โชว์ผลงานปี 62  ทำกำไรได้กว่า 1.1 หมื่นล้าน 

CPN ประกาศผลประกอบการปี 2562 รายได้รวม 38,403 ล้านบาท เติบโต 9% จากปีก่อน และทำกำไรสุทธิ 11,738 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 5% จากปีก่อน และเตรียมจ่ายเงินปันผล 1.30 บาทต่อหุ้น  พร้อมเดินหน้าสร้างรายได้ตามแผน 5 ปี เติบโตเฉลี่ย 12% ต่อปี นางสาวนภารัตน์ ศรีวรรณวิทย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารการเงิน และรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานการเงิน บัญชี และบริหารความเสี่ยง  บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) หรือ CPN เปิดเผยว่า ในปี 2562 ที่ผ่านมา แม้ว่าการขยายตัวเศรษฐกิจไทยจะชะลอตัว แต่ผลประกอบการของ CPN ยังคงเติบโตต่อเนื่อง โดยมีรายได้รวม 38,403 ล้านบาท โต 9% และกำไรสุทธิ 11,738 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 5% เมื่อเทียบกับปีก่อน โดยในปีที่ผ่านมาบริษัทมีรายได้จากการเติบโตของธุรกิจศูนย์การค้าเป็นหลัก ประกอบกับบริหารจัดการต้นทุนและค่าใช้จ่ายการบริหารงานอย่างมีประสิทธิภาพ  สำหรับอัตราการเช่าพื้นที่ศูนย์การค้าช่วงสิ้นปี 2562 อยู่ที่ 93%  ซึ่งบริษัทให้ความสำคัญในการเพิ่มประสิทธิภาพการสร้างรายได้ จากทั้งศูนย์การค้าใหม่ การปรับปรุงศูนย์การค้าที่เปิดดำเนินการอยู่แล้ว และการลงทุนในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ประเภทอื่น  ตามแผนการพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์แบบผสม (mixed-use)  จาผลการดำเนินงานในปีที่ผ่านมา บริษัทยังพร้อมจ่ายเงินปันผลสำหรับปี 2562 ในอัตราหุ้นละ 1.30 บาทด้วย   สำหรับเหตุการณ์สำคัญในปี 2562 บริษัทได้เปิดให้บริการเซ็นทรัล ไอ-ซิตี้ ศูนย์การค้าในต่างประเทศแห่งแรกของ CPN ในเดือนมีนาคม และการเปิดตัวโซนลักชูรี่ของเซ็นทรัล ภูเก็ต ที่รวบรวมแบรนด์หรูชั้นนำระดับโลกไว้ รวมทั้งเปิดให้บริการแอทแทรคชั่นระดับโลก "ไตรภูมิ มหัศจรรย์สามโลก"  ธีมพาร์ครูปแบบ 3 มิติอินเตอร์แอ็กทีฟแห่งแรกของโลก และ “AQUARIA Phuket” พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ซึ่งภายในยังมี Andasi ร้านอาหารใต้น้ำที่ใหญ่ที่สุดในโลกและบาร์ใต้น้ำแห่งแรกในภูมิภาคเอเชียอีกด้วย นอกจากนี้ ยังเปิดให้บริการเซ็นทรัล วิลเลจ โครงการรีเทลรูปแบบลักชูรี่เอาท์เล็ตระดับโลกแห่งแรกของประเทศไทย บนทำเลที่ดีที่สุดใกล้สนามบินสุวรรณภูมิ รองรับทั้งลูกค้าชาวไทยและนักท่องเที่ยวต่างประเทศ รวมทั้งมีการจับมือพันธมิตรระดับโลกอย่างบริษัท Mitsubishi Estate Asia Pte. Ltd. (MEA) เข้าร่วมทุนโครงการเซ็นทรัล วิลเลจ ผ่านการเข้าซื้อหุ้นในบริษัท ซีพีเอ็น วิลเลจ จำกัด ในสัดส่วนการถือหุ้นอยู่ที่ 30% และ CPN 70% เพื่อร่วมกันพัฒนาเซ็นทรัล วิลเลจ ให้ขึ้นแท่นเอาท์เล็ตเบอร์หนึ่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้   ปัจจุบันบริษัทบริหารจัดการศูนย์การค้า 34 แห่ง มีพื้นที่ให้เช่าสุทธิรวม 1.8 ล้านตารางเมตร  (อยู่ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล   15 โครงการ, ต่างจังหวัด 18 โครงการ และในมาเลเซีย 1 โครงการ) ศูนย์อาหาร 30 แห่ง อาคารสำนักงาน 7 อาคาร โรงแรม 2 แห่ง โครงการที่พักอาศัยอีก 10 โครงการ ประกอบด้วยคอนโดมิเนียมภายใต้แบรนด์ ESCENT, ESCENT  VILLE และ ESCENT PARK VILLE  ซึ่งตั้งอยู่ในบริเวณที่ดินซึ่งติดศูนย์การค้าของเซ็นทรัลพัฒนา ได้แก่ โครงการ ESCENT เชียงใหม่ ระยอง ขอนแก่น นครราชสีมา และอุบลราชธานี ESCENT VILLE เชียงใหม่ เชียงราย และ ESCENT PARK VILLE เชียงใหม่ รวมถึงโครงการคอนโดมิเนียมในกรุงเทพฯ ได้แก่ “ฟิล พหล 34” (PHYLL PAHOL 34) และมีโครงการบ้านเดี่ยวแห่งแรกของเซ็นทรัลพัฒนา คือ “นิยาม บรมราชชนนี” ในกรุงเทพฯ นอกจากนี้เซ็นทรัลพัฒนา เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในบริษัท แกรนด์ คาแนล แลนด์ จำกัด (มหาชน) หรือ GLAND ซึ่งเป็นผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์บนทำเลศักยภาพสูงในกรุงเทพฯอีกด้วย     สำหรับโครงการมิกซ์ยูสที่อยู่ระหว่างการพัฒนา ได้แก่ เซ็นทรัลพลาซา อยุธยา ที่จะเชิดชูความเรืองรองและย้อนรอยความเจริญรุ่งเรืองของเมืองอยุธยา ผลักดันอยุธยาให้เป็น Top destination เมืองท่องเที่ยวของโลก (กำหนดเปิดปี 2564) เซ็นทรัลพลาซา ศรีราชา ในคอนเซ็ปต์ ‘Living Green in Smart City of EEC Center’ ให้คนศรีราชาได้หลบหลีกจากความวุ่นวายมาผ่อนคลายในบรรยากาศธรรมชาติ และจะเสริมให้ศรีราชาเป็น MICE Hub ของ EEC Center ในอนาคต (กำหนดเปิดปี 2564) เซ็นทรัลพลาซา จันทบุรี ศูนย์การค้า format ใหม่ภายใต้แนวคิด ‘The Shining Gem of EEC plus 2’ ที่จะเป็น The Best Modern Living Area ที่แรกที่ดีที่สุดในจันทบุรี (กำหนดเปิดปี 2565) และโครงการ ดุสิต เซ็นทรัล พาร์ค ที่ร่วมพัฒนากับบริษัท ดุสิตธานี จำกัด (มหาชน) บนทำเลทอง “Super Core CBD” ในกรุงเทพฯ โดยจะทยอยเปิดให้บริการในปี 2565 เป็นต้นไป นอกจากนี้ เซ็นทรัลพัฒนา อยู่ระหว่างเตรียมแผนการพัฒนาโครงการมิกซ์ยูสภายใต้ GLAND ในกรุงเทพฯ โดยคาดว่าจะสรุปได้ในปี 2563   บริษัทตั้งเป้าหมายทางธุรกิจในระยะ 5 ปี (ปี 2563-2567) ที่จะมีรายได้เติบโตในอัตราเฉลี่ย (CAGR) ประมาณ 12% ต่อปี โดยบริษัทฯ ได้กำหนดแนวทางการขยายธุรกิจในรูปแบบการพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์แบบผสม (Mixed-use Development) การพัฒนาศูนย์การค้าใหม่ การปรับปรุงสินทรัพย์ที่มีอยู่เพื่อเพิ่มมูลค่า การพัฒนาโครงการที่พักอาศัย รวมทั้งศึกษาโอกาสการลงทุนธุรกิจใหม่ในรูปแบบอื่น การเข้าซื้อกิจการ และการลงทุนในต่างประเทศในแถบภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อาทิ มาเลเซีย และเวียดนาม เพื่อเดินหน้าสู่การเป็นบริษัทอสังหาริมทรัพย์ระดับโลกและเพื่อการเติบโตอย่างมั่นคงและยั่งยืน
THG ได้ “รพ.ธนบุรี บำรุงเมือง-จิณณ์ เวลบีอิ้ง” หนุนรายได้เติบโต 16%

THG ได้ “รพ.ธนบุรี บำรุงเมือง-จิณณ์ เวลบีอิ้ง” หนุนรายได้เติบโต 16%

ธนบุรี เฮลท์แคร์ กรุ๊ป หรือ THG โชว์ผลงานปี 2562 ทำรายได้รวมเติบโต 16% จำนวน 8,232 ล้าน และกำไรเพิ่มขึ้น 33%  หลังเปิดให้บริการโรงพยาบาลธนบุรี บำรุงเมือง พร้อมกับเริ่มโอนห้องโครงการจิณณ์ เวลบีอิ้ง เคาน์ตี้      นายแพทย์ธนาธิป ศุภประดิษฐ์ รองประธานกรรมการ บริษัท ธนบุรี เฮลท์แคร์ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ THG  เปิดเผยถึงภาพรวมผลการดำเนินงานปี 2562 ว่า บริษัทมีการเติบโตที่ดีท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว โดยมีรายได้รวม 8,232 ล้านบาท เติบโต 16% จากปี 2561 ที่มีรายได้รวม 7,094 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิ 462 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 33% เทียบกับปี 2561 ที่มีกำไรสุทธิ 348 ล้านบาท ทั้งนี้ หากไม่นับรวมกำไรพิเศษจากการขายเงินลงทุนในบริษัท โรงพยาบาลราชธานี จํากัด (มหาชน) ที่เกิดขึ้นในไตรมาส 2 ปี 2562 บริษัท ยังมีกำไรสุทธิ 311 ล้านบาท สูงกว่าปีก่อนหน้า 10% ส่วนผลการดำเนินงานไตรมาส 4 ปี 2562 ยังเติบโตในระดับที่น่าพอใจ โดยมีรายได้รวม 2,116 ล้านบาทเพิ่มขึ้น 12% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีรายได้รวม 1,883 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิ 82 ล้านบาท เติบโต 272% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 22 ล้านบาท   สำหรับการเติบโตของผลการดำเนินงานปีที่ผ่านมามีปัจจัยหลักจาก 1. ผลการดำเนินงานของโรงพยาบาลที่เปิดตัวใหม่ ได้แก่ โรงพยาบาลธนบุรี บำรุงเมือง ซึ่งเป็นโรงพยาบาลที่มีบริการระดับ 6 ดาว มีศูนย์การรักษาเฉพาะทาง พร้อมเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการแพทย์ที่ทันสมัยที่สุดแห่งหนึ่งของภูมิภาคอาเซียน มีผู้มารับบริการจำนวนมาก จนถึงจุดที่เริ่มมีกำไรในไตรมาส 3 ปี 2562 ซึ่งเร็วกว่าแผนงานที่วางไว้ และ 2. รับรู้รายได้จากการโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยในโครงการ จิณณ์ เวลบีอิ้ง เคาน์ตี้ (Jin Wellbeing County) รวม 88 ยูนิตในปีที่ผ่านมา ในปี 2562 ที่ผ่านมา ผลการดำเนินงานโดยรวมของเรายังเติบโตได้ดี ด้วยโรงพยาบาลธนบุรี บำรุงเมือง ที่มีคนไข้ให้การตอบรับดี มีผู้มาใช้บริการจำนวนมาก จนเริ่มมีกำไรได้เร็วกว่าเป้าหมาย เราจึงเตรียมพร้อมเพื่อการขยายเพิ่มเติมรองรับการเติบโต โดยล่าสุดเมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา โรงพยาบาลธนบุรี บำรุงเมือง เพิ่งเปิดบริการศูนย์การแพทย์เฉพาะทางเพิ่มขึ้นอีก 4 ศูนย์ ได้แก่ ศูนย์หัวใจ ศูนย์ระบบทางเดินอาหารและตับ จิณณ์ เวลเนส คลินิก และศูนย์ศัลยกรรมความงามและผิวหนัง อีกทั้งยังมีแผนจะขยายความสามารถให้บริการคนไข้ในด้วย ซึ่งคาดว่าจะมีผลตอบรับที่ดีและช่วยเพิ่มปริมาณคนไข้ที่เข้าใช้บริการ   อีกส่วนหนึ่งคือการโอนห้องพักอาศัยในโครงการจิณณ์ เวลบีอิ้ง เคาน์ตี้ ก็มีส่วนช่วยเพิ่มรายได้ในปีที่ผ่านมาเช่นกัน และในปี 2563 คาดว่าโครงการจะได้รับความสนใจมากขึ้นด้วยความพร้อมให้บริการดูแลผู้สูงวัยและผู้ป่วยอัลไซเมอร์จากโรงพยาบาลธนบุรีบูรณา ที่เปิดตัวเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ และสถาบันจิณณ์ เวลเนส ซึ่งเตรียมเปิดบริการเป็นลำดับต่อไป จากผลการดำเนินงานในรอบปีที่ผ่านมา ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทมีมติเตรียมเสนอที่ประชุมผู้ถือหุ้น เพื่อขออนุมัติจ่ายเงินปันผล จากกำไรสุทธิตามงบการเงินรวมงวดครึ่งปีหลัง 2562 (หลังหักภาษีเงินได้นิติบุคคล) ในอัตราหุ้นละ 0.30 บาท รวมเป็นเงิน 254.72 ล้านบาท ซึ่งเมื่อรวมกับที่บริษัทได้จ่ายเงินปันผลระหว่างกาลจากผลการดำเนินงานงวดครึ่งปีแรก 2562 ไปแล้วในอัตราหุ้นละ 0.10 บาท คาดว่าบริษัทจะจ่ายเงินปันผลจากผลการดำเนินงานปี 2562 ในอัตรารวมหุ้นละ 0.40 บาท ทั้งนี้การจ่ายเงินปันผลดังกล่าว จะต้องขออนุมัติจากที่ประชุมใหญ่สามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2563 ต่อไป  
14 คำถามกับ AP เดินกลยุทธ์เติบโตอย่างไร ให้ได้รายได้  40,550 ล้าน

14 คำถามกับ AP เดินกลยุทธ์เติบโตอย่างไร ให้ได้รายได้  40,550 ล้าน

เอพี ไทยแลนด์ กรุ๊ป วางเป้าหมายการเติบโตในปี 2563 ด้านรายได้ 40,550 ล้านบาท กับการเปิดตัวโครงการในปีนี้ 37 โครงการ รวมมูลค่า 47,150 ล้านบาท แบ่งเป็นโครงการแนวราบ 33 โครงการ มูลค่า 35,050 ล้านบา และคอนโดมิเนียม 4 โครงการ มูลค่า 12,100 ล้านบาท ถือเป็นความท้าทาย ท่ามกลางบรรยากาศทางการตลาด ซึ่งล้วนแต่มีปัจจัยฉุดให้ไม่เติบโต และต้องทำงานกันอย่างยากลำบาก   นายวิทการ จันทวิมล รองกรรมการผู้อำนวยการ สายงานกลยุทธ์องค์กรและการสร้างสรรค์ เอพี ไทยแลนด์ กรุ๊ป หรือ AP ได้ไขข้อสงสัยและตอบคำถาม 14 ข้อ เพื่อให้เห็นภาพรวมของบริษัทที่จะมุ่งหน้าไป และแนวทางที่จะทำให้บริษัทสามารถเติบโตต่อไปได้ คำถามที่ 1 วิเคราะห์ภาพรวมตลาด อสังหาริมทรัพย์ปี 2020 และการรับมือกับความท้าทาย ? ปีนี้เป็นปีท้าทายมากๆ ไม่ว่าจะธุรกิจอะไรก็ตาม สำหรับตลาดอสังหาริมทรัพย์ เราก็ได้รับผลกระทบจากกวิกฤตเศรษฐกิจต่างๆ เยอะมาก และเป็นปีที่ทดสอบเราจริงๆ ด้วยวิสัยทัศน์ และด้วยวิธีการปรับปรุงองค์กร ทุกครั้งเมื่อธุรกิจเริ่มจะช้าลง ใช้โอกาสในการปรับปรุงองค์กร การนำเอา AP Value หรือค่านิยมใหม่ๆ เข้ามา  ก็จะเป็นหนึ่งที่ทำให้เราแข็งแรงขึ้น ไม่ใช่ว่าที่ผ่านมาเราอ่อนแอนะ เราแข็งแรงบ้างแล้ว แต่การไปต่อในอนาคตเราต้องปรับปรุงตัวอย่างมาก   ธุรกิจแนวราบเป็นธุรกิจที่มีศักยภาพสูง ในการที่จะทำเราเตรียมตัวเรื่องพวกนี้ค่อนข้างดี การพัฒนาระบบ ECOSYSTEM โคซิสเต็ม ตั้งแต่การนำเอาเทคโนโลยี และการทำงานร่วมกับพาร์ทเนอร์ เชื่อว่าจะทำให้เราผ่านปีนี้ไปได้ คำถามที่ 2 รายได้รวม ปี 2019 เท่าไหร่ 3 ภาคธุรกิจใหม่ที่เปิดตัวขึ้นมา เมื่อต้นปีที่ผ่านมา (SEAC-CLAYMORE-VARRI) ได้เริ่มสร้างรายได้แล้วหรือยัง ? ปีที่แล้วเรามีรายได้ 32,452 ล้านบาท จากเป้าหมายที่วางไว้ 35,700 ล้านบาท เราทำไปได้ 91% ของเป้าที่วางไว้ ด้วยความท้าทายปีที่แล้ว   ซึ่งถือว่าเราทำได้ดีมาก 56% เป็นแนวราบ 18,145 ล้านบาท  แนวสูงอีก 40% มูลค่า 12,877 ล้านบาท ที่น่าสนใจคือ เซอร์วิส ไม่ว่าจะเป็น บางกอกซิตี้สมาร์ท ที่ทำเรื่องรีเซล มีมูลค่า 1100 ล้านบาท เซอร์วิสเป็นส่วนหนึ่งเริ่มโชว์ขึ้นมา ปีที่แล้วมีสัดส่วนอยู่ 4% ปีนี้ ของรายได้รวมทั้งหมด และปีต่อไปน่าจะเห็นเพิ่มมากขึ้น   3 ธุรกิจที่เปิดตัวขึ้นมา มีรายได้แล้วสำหรับแต่ละธุรกิจ แต่รายได้ยังไม่กลับเข้ามาที่เอพี เพราะยังขาดทุนอยู่ เรื่องอินโนเวชั่น ต้องใช้เวลา SEAC ปีนี้เริ่มเข้าสู่โหมดไม่ขาดทุนแล้ว และอีก 2 ปีข้างหน้าจะเป็นรายได้กลับเข้ามาหาเอพี ส่วน CLAYMORE น่าจะเป็นรูปเป็นร่างมากขึ้น เริ่มเอาออกสู่ตลาด แต่ปีแรกยังคงไม่มีกำไร ยังขาดทุนอยู่ แต่อีกสัก 2 ปีข้างหน้าจะมีรายได้กลับมาหาเอพี   SEAC เราทำขึ้นมาได้รับความสนใจจากองค์กรหลายองค์กร ไม่ใช่องค์กรที่อยากเข้ามาเรียนรู้ หลายองค์กรอยากเป็น Share Holder ด้วยซ้ำ คำถามที่ 3 ปัจจุบัน เอพีมี Backlog เท่าไหร่ แบ่งการรับรู้อย่างไร ? เรามี Backlog อยู่ 51987 ล้าน ถึงวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2563 เป็นแนวราบ 8,300 ล้านบาท รับรู้รายได้หมด เทียบยอดรับรู้รายได้ทั้งหมดของแนวราบ 21,000 ล้านบาท ประมาณ​ 40% ที่เหลือเป็นการเปิดโครงการใหม่ ส่วนแนวสูง เรามี Backlog โอนปีนี้  16560 ล้านบาท  เทียบรายได้ที่ตั้งใจ 18,000 เรามีพร้อมโอนแล้ว 90% แนวสูงก็พร้อมจะโอน แต่อาจจะมียกเลิก ซึ่งมีแค่ 15% แต่เราก็มีโครงการที่พร้อมขายพร้อมโอน เรื่องนี้เราไม่ค่อยห่วงเท่าไร คำถามที่ 4 ปีนี้ Developer ส่วนใหญ่ ปรับแผนบุกตลาดแนวราบ เอพีมีแผนรับมืออย่างไร ? ปีนี้เป็นปีแห่งแนวราบ ทุกคนเข้ามา สิ่งที่เราจะรับมือกับคู่แข่งที่จะเข้ามาในตลาดมากขึ้น ประสบการณ์ที่ทำมา 2 ปี ได้ลองผิดลองถูกมา แม้ว่าเราจะทำแนวราบมานาน  แต่วิธีการทำสมัยใหม่ เรามีการปรับเปลี่ยนวิธีคิด และได้ทดลองมา 2 ปี เราเชื่อว่าวันนี้ มิกซ์องค์ประกอบ ที่ทำให้ลูกค้ามาซื้อบ้านเอพีได้ ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาสเปซ​ ที่อยู่อาศัย การทำเรื่องราคา การพัฒนาคุณภาพ และการมีเซอร์วิส การเอาบางกอกซิตี้สมาร์ท เข้าไปจับ หรือการเอาอินโนเวชั่นไปจับ ทุกวันนี้ถูกเอาไปใช้ในโครงการแนวราบทุกโครงการ   และจะเป็นปีแรกที่เราไปทดสอบตลาดต่างจังหวัด เพราะมีหลายจังหวัดมีศักยภาพ เมื่อ 5 ปีที่แล้วไปแนวสูง ปีนี้ไปแนวราบ ทั้งบ้านเดี่ยว ทาวน์เฮ้าส์  บ้านแฝด จังหวัดแรกที่ไป คือ  นครศรีธรรมราช เหมือนเป็นเมืองรองแต่มีศักยภาพมาก มีเศรษฐีเยอะ คำถามที่ 5 ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา เอพีได้เปิดตัวไปแล้วกี่โครงการ ผลตอบรับเป็นอย่างไร ? เราเปิดบ้านเดี่ยวไป 4 โครงการ ทาวน์เฮ้าส์ไป 7 ช่วง 8 สัปดาห์ บ้านเดี่ยว ทาวน์เฮ้าส์ มียอดขายเฉลี่ยต่อสัปดาห์ 200-300 ล้านบาท ถึงวันที่ 23 กุมภาพันธ์  2563 มียอดขายแล้ว 4,230 ล้านบาท เป็นแนวราบ 3,493 ล้านบาท ถ้าเทียบกับปีที่แล้วก็ยังสูสี ทั้งๆ ที่สถานการณ์ปีนี้เลวร้ายมาก ปีที่แล้วลูกค้าอยากซื้อก็ต้องรีบโอน แต่ปีนี้ไม่ใช่ แม้กระทั้งคอนโดฯ  ไม่ได้โครงการเปิดใหม่ แต่เรายังขายได้  737 ล้านบาน  ในช่วง 8 สัปดาห์ที่ผ่านมา ด้วยสถานการณ์แบบนี้ ไม่มีโครงการใหม่เปิด ขายสัปดาห์ละ 70-80 ล้านบาท ถือว่าไม่น้อยทีเดียว ถ้าเราทำโปรดักส์ ถูก ราคาถูก การทำตลาดได้ถูกต้อง ยังถือว่าได้ผลลัพท์ที่ดี  ยังมีดีมานด์ในตลาด คำถามที่ 6 ปีนี้เอพีเปิดตัวคอนโดลดลงหรือไม่ ทางพันธมิตรญี่ปุ่น Concern เรื่องการลงทุนในประเทศไทยหรือไม่ ? คอนโดฯ เราเปิดปีละ 4-6 โครงการอยู่แล้ว ปีนี้เราเปิด 4 โครงการ ถ้าถามเรื่องการคอนเซิร์นของพันธมิตรญี่ปุ่น เราต้องมองว่า พันธมิตรเรา บริษัทมิตซูบิชิ เอสเตท กรุ๊ป (MEC)  เป็นมืออาชีพในการพัฒนาอสังหาฯ​ ในญี่ปุ่น เขามีความเข้าใจในการทำธุรกิจอสังหาฯ​ มันมีขึ้นมีลง เขาคุยเสมอว่าเขาเข้าใจ ว่าอะไรบ้างมีผลกระทบต่อตลาดอสังหาฯ แต่ความมั่นใจของเขา ไม่ได้อยู่ที่สภาพแวดล้อม หรือเรื่องเศรษฐกิจที่ทำให้ลดตัวลง แต่มันอยู่ที่การบริหารจัดการภายใน   ตลอดระยะเวลา 5-6 ปีที่ทำงานมา เราทำให้เขาเห็นถึงความมั่นใจ การทำงานของเรา ไม่ว่าจะเรื่องระบบ ความเชื่อถือเชื่อมั่น และที่สำคัญ คือ แผนงานของเรา แผนการเปิดตัวคอนโดฯ มีการผ่อนหนักผ่อนเบา โอกาสมาก็เปิดเยอะ โอกาสน้อยก็เปิดน้อย แล้วจะเห็นว่าการได้มาซึ่งการรับรู้รายได้ มันต้องบาลานซ์ให้คงที่อยู่ตลอด อาจจะมีลดบ้างเพิ่มบ้าง แต่เรามีการทำให้มีการรับรู้รายได้อยู่ตลอดเวลา  อย่างปีที่แล้วก็เริ่มมีการรับรู้รายได้ของโครงการที่สร้างเสร็จ ปีนี้ก็จะมีอีก แล้วปีนี้จะเปิดตัวถึง 4 โครงการ ภายใต้สถานการณ์แบบนี้ แต่การเปิดโครงการเป็นการรับรู้รายได้ อีก 2-3 ปีข้างหน้า เรามีระยะเวลาการขาย   เราไม่ได้มองว่าเปิดมาแล้วต้องขายหมด เช่น เมื่อ 2-3 ปีที่ผ่านมามีการเปิดตัว เราก็ได้รับผลประโยชน์ในปีนี้ ด้วยแผนการ วิธีการการทำงาน ความเชื่อมั่นที่เราปฏิบัติกับเขา  เราไม่มีการหมกเม็ด เราเปิดเผยข้อมูลทั้งหมด เขาอยากรู้อะไร เราตอบเขาหมด เรามีการพบปะผู้บริหารอยู่ตลอดเวลา ทำให้ญี่ปุ่นมีความมั่นใจในศักยภาพของตลาดเมืองไทย เพราะอย่างไรก็ตามมันมีวงจรของการขายไม่คงที แต่การรับรู้รายได้มีอย่างต่อเนื่อง คำถามที่ 7 งบซื้อที่ดินปี 2020 เท่าไหร่ ใช้ไปแล้วเท่าไหร่ และโครงการต่างจังหวัด มีที่ดินครบแล้วหรือยัง ? ปีนี้ เรามีงบซื้อที่ดิน 8,500 ล้านบาท สำหรับการซื้อที่ดิน เราใช้ไป 700 ล้านบาท เป็นการพัฒนาแนวราบเสียเยอะ ส่วนต่างจังหัดที่จบไป คือ ที่นครศรีธรรมราช ส่วนที่เหลือ ก็อยู่ระหว่างการจัดซื้อ และการตัดสินใจ ว่าเราจะไปจังหวัดไหนต่อ คำถามที่ 8 AP มี Stock สินค้า พร้อมขายพร้อมอยู่กี่โครงการ และมีแผนการขายอย่างไร ท่ามกลางกำลังซื้อหดตัว ? องค์รวมยอดขายหดตัวอยู่แล้ว แต่มาดูรายเซ็กเมนต์แนวราบยังไปได้ แต่เรายังเห็นการเติบโตอยู่ ส่วนเรื่องสต็อก แนวราบแทบไม่มีสต็อกเลย ซื้อมาโอนไป ส่วนแนวสูง มีสต็อกเหลืออยู่ โครงการพร้อมขาย พร้อมโอน 3,200 ล้านบาท ถ้าเทียบจากอัตราการขาย 70-80 ล้านต่อสัปดาห์ ถ้าไม่มีอะไรที่เลวร้ายไปกว่านี้ สต็อกนี้ไม่เป็นปัญหาในการที่เราจะเคลียร์ได้ คำถามที่ 9สถานการณ์ลูกค้าต่างประเทศ เป็นอย่างไร มีปัญหาเรื่องการโอนคอนโดหรือไม่ ? ถ้าบอกลูกค้าต่างประเทศไม่มีปัญหา มันคงไม่ใช่ เป็นปัญหาแน่ๆ แต่เราอยู่ที่การบริหารจัดการมากกว่า ปีที่แล้ว ไลฟ์ วิทยุ ที่มีลูกค้าต่างชาติเข้ามา เราโอนไปได้ 180 ยูนิต เกือบ 200 ยูนิตในเดือนเดียว มันมีองค์ประกอบหลายอย่าง ที่จะบริหารลูกค้าต่างชาติ ประการแร  เริ่มจากการขาย เรามีการบริหารจัดการขาย ผ่านบางกอกซิตี้สมาร์ท 2. กระบวนการจะส่งมอบ อย่างไลฟ์ วิทยุ เราตั้งเป้าให้ลูกค้าโอนเร็วที่สุด เพราะลูกค้าอาจจะเปลี่ยนใจได้ จึงทำเรื่อง Zero defect  ซึ่งเราทำได้ถึง 90% ลูกค้าเข้ามาตรวจ ถ้าต้องการแก้งาน เราแก้งานให้จบในวันนั้นแล้วโอนเลย มันเป็นสิ่งที่กระบวนการจัดการการโอน เพื่อส่งมอบสินค้าอย่างมีคุณภาพ ส่งผลให้การโอนไลฟ์วิทยุ ภายในเดือนธันวาคมเราทำได้ตามเป้าหมายที่วางไว้  และ 3.การกลับไปบางกอกซิตี้สมาร์ท การบริหารลูกค้า ติดตามลูกค้า การปรับเอาห้องของลูกค้าไปขายต่อ ซึ่งก็ขายได้ดี มันอยู่ที่องค์ประกอบในการแก้ไขปัญหา มันมีปัญหาแหละ ขึ้นอยู่กับการเตรียมตัวมาอย่างดี คำถามที่ 10 งบประมาณในการลงทุนเรื่อง BIM และ BIM ช่วยลดต้นทุนการก่อสร้างได้เท่าไหร่ มีผลต่อราคาขายหรือไม่ ? BIM ลงทุนไปเกือบ 20 ล้านบาท ทั้งในเรื่องของการพัฒนากระบวนการ การยอมรับของคน การพัฒนาศักยภาพของคน รวมถึงการซื้อซอฟท์แวร์ต่างๆ แน่นอนว่า เรามองเป้าหมายใหญ่กว่านั้น เป็นการส่งมอบคุณภาพของสินค้าให้กับลูกค้า และในมุมของดีเวลลอปเปอร์ นอกจากเรื่องคุณภาพแล้ว ยังมองเรื่องการบริหารจัดการเรื่องราคาขาย ที่ผ่านมา ที่ดินก็ราคาขึ้น ค่าก่อสร้างก็ราคาขึ้น ทำไมเรายังทำราคาขายให้อยู่ในการแข่งขันที่ดี   เราพยายามเมนเทนราคาของเราไม่ให้เกิน 200,000 บาทต่อตารางเมตร อยู่แสนต้นๆ ถึงแสนปลายๆ เราก็ทำได้ไม่ว่าราคาที่ดินจะเป็นเท่าไร แน่นอนว่า ราคาที่ดินไม่สูงเกินไป หรือในอดีตที่ดินราคา 200,000-300,000 บาท มาวันนี้ 600,000-700,000 บาท เราก็ต้องทำราคาให้ได้ให้อยู่ในราคานี้  ราคาที่ดินและค่าก่อสร้างมันขึ้นมาก แต่รายได้ของคนไม่ได้ขึ้นไปตามนั้น BIM มีส่วนช่วย ทำให้ลูกค้าได้ราคาที่ดี ลูกค้าสามารถได้ของมีคุณภาพ สิ่งที่เราเอาบินมาลดต้นทุน เราเอากลับไปให้ลูกค้า ในเชิงรูปแบบของราคา เราลดต้นทุน คือ Crack detection  เราต้องไปแก้งาน ยกตัวอย่าง ไลฟ์พระราม 9 เราลดต้นทุนไปได้ 70-80 ล้านบาท จากการไม่ต้องไปทุบคาน ไม่ต้องแก้คาน การเดินงานใหม่ เป็นต้นทุนที่ซ่อนอยู่ ที่เราจ่ายออกไปง่ายมาก ในการแก้งาน แต่การแก้ในซอฟแวร์ต้นทุนไม่มี และเป็นการประหยัดเวลาด้วย การลด Crack detection การลดเวลาการก่อสร้างลง เป็นการประหยัดต้นทุน   การก่อสร้างถ้าโอนเร็วขึ้นสักเดือน เราสามารถประหยัดไปได้เกือบ 10 ล้านบาท เพราะเป็นต้นทุนทางด้านไฟแนนซ์ เรื่องการกู้ แต่พวกนี้เรามีประสบการณ์มากขึ้น เราลดต้นทุนได้ ก็จะถูกส่งกลับไปให้ลูกค้าในเชิงราคา มันสร้าง Competitiveness ให้กับ เอพี ลูกค้าก็ได้ราคาที่ดี คุณภาพที่ดี เทคโนโลยีที่ Implement ทุกวันนี้มันต้องทำให้ดีขึ้น  แต่การเปลี่ยนแปลงนั้นยาก การเปลี่ยนแปลงให้คนมาทำ BIM ไม่ง่าย เราใช้เวลามา 2 ปีแล้ว  การประสบความสำเร็จของเราที่ทำได้ขนาดนี้  อาจจะทำได้แค่ 50% เหลืออีก 50% ที่เราต้องทำงานต่อไป คำถามที่ 11 ธุรกิจการศึกษา ปีที่ผ่านมา ผลตอบรับเป็นยังไง ทำไมถึงพัฒนาหลักสูตรสำหรับเด็ก ธุรกิจการศึกษา ปีที่แล้วเป็นปีแรกที่เราเข้ามาทำจริงจัง แล้วมีการเปิดตัว YOUR NET U  เราจะเห็นว่า เราได้รับการตอบรับจากองค์กรดีมาก องค์กรใหญ่ๆ มีการมุ่งมันพัฒนาศักยภาพของคนในองค์กรของตัวเอง เพราะทุกคนรู้ว่าตัวเองต้องเตรียมความพร้อมในการรับมือกับ Digital disrupt ที่เกิดขึ้น การพัฒนาศักยภาพของคนวันนี้ ส่วนใหญ่ไม่ใช่ Functional skill แต่เป็น Soft skill เป็น เรื่องของ Mindset เรื่องของความคิด เราจะเห็นว่าทุกองค์กรให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มาก   เราทำ YOUR NET U  จะเห็นว่าคนที่ได้รับผลกระทบจาก Digital disrupt  คือ กลุ่มสตาร์ทอัพ เอสเอ็มอี คนเหล่านี้หันมาสนใจการศึกษา การเพิ่มพูนความรู้ การปรับเปลี่ยนวิธีคิดของตนเองมาก พนักงานในองค์กรยังไม่เห็นความจำเป็นของเรื่องพวกนี้มาก เพราะยังใช้ชีวิตสะดวกสบาย ทำงานไป ได้เงินเดือน มีโบนัส ​แต่ตั้งแต่ปีนี้เป็นต้นไป จะมีผลกระทบกับพนักงานแรงๆ จะเห็นการปิดตัว ของหลายบริษัท การลดคนงาน  คนจะอยู่ในโหมด Survival จะเกิดขึ้นทันที การเอาตัวรอด ซึ่ง คือ การเรียนรู้ ธุรกิจการศึกษาเป็นธุรกิจที่มีศักยภาพมากๆ   ส่วนทำไมเราถึงพัฒนาสำหรับเด็ก ต้องยอมรับว่า เราเห็น gap ของการทำงาน ของเด็กจบใหม่ก็เยอะ เด็กจบใหม่ตกงานก็เยอะ บริษัทอยากได้คนทำงานก็เยอะ แต่สองอันนี้ไม่ชนกัน สิ่งหนึ่งที่เห็นคือ คนไม่ได้มี passion ในสิ่งที่ตนเองเรียนมา และไม่สามารถเอาความรู้เหล่านั้นมาใช้เต็มศักยภาพที่เป็น แต่ถ้ามองถอยหลังกลับไป มันเกิดจากตอนเอ็นซ์ฯ ก่อนสอบเข้ามหาลัย คนส่วนใหญ่ไม่ค่อยรู้ตัว จะเอ็นซ์ฯ ไปตามเทรนด์ที่เกิดขึ้น เด็กผู้ชายต้องเอ็นซ์ฯ วิศวะ สิ่งเหล่านี้ ถ้าเราจะพัฒนาระบบการศึกษา หรือพัฒนาคน ต้องพัฒนาตั้งแต่ก่อนเอ็นซ์ฯ เราเลยหลักสูตรขึ้นมา เป็นการพัฒนาวิธีคิด พัฒนา mindset ให้พร้อมรับมือกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต คำถามที่ 12 ปัจจุบัน Platform ’SMART WORLD’ มีผู้ใช้จำนวนเท่าไร มีโครงการนอกเครือเอพีหรือไม่ คิดเป็นสัดส่วนเท่าไร ได้รับผลตอบรับจากผู้ใช้อย่างไรบ้าง ? บางกอกซิตี้ สมาร์ท  เราดูแลลูกบ้าน 58,000 ครอบครัว วันนี้ มีคนดาวน์โหลดไปแล้ว 40,000 เราเชื่อว่าต้องทำให้ครบ ให้คนมีโอกาสใช้งาน สิ่งที่ต้องทำมากขึ้น คือ engagement กับแอพพลิเคชั่น ยังต่ำ 10-15%  เป้าหมายของเราทำอย่างไรให้คน ใช้แอพทุกวันเหมือนเปิดเฟสบุ๊ค ไลน์​เป็นความท้าทายของคนทำ SMART WORLD แต่เรายังเชื่อมั่นว่า เราจะทำได้ ถ้าเราใส่องค์ประกอบที่ถูกต้องลงไป คำถามที่ 13 ทำไมทาง Claymore ถึงโฟกัสเรื่อง Health และ Ageing เป็นการศึกษาของเรา เทรนด์ของโลกนี้ เป็น Health และ Ageing กลับไปมองที่คน คนแก่มากขึ้น เด็กน้อยลง และคนให้ความสำคัญกับสุขภาพมากขึ้น เนื่องจากเรามีมลภาวะ ทางอากาศ การกิน เรื่องนี้เกิดขึ้นแล้ว และเป็นเทรนด์ในอนาคต  เรื่อง Ageing เราพัฒนาเพื่อบริการคน 70-80 ปี ก็จริง แต่เราไม่ได้มองว่าจะเซอร์วิสคนเหล่านี้ เราหาอินไซด์ เราจะไปหาจากคนก่อนเกษียณ  เพราะคนเหล่านี้ จะใช้เซอร์วิสเราจริงๆ ในอนาคต คนปัจจุบันส่วนใหญ่ยังเป็น Gen baby boomer บ้าง Gen X บ้าง ซึ่งยังมีครอบครัว แต่วันนี้สิ่งที่เราพบ Ageing ไปอยู่คนเดียวเยอะมาก เราเป็นลูกหลาน Gen X Gen Y อยากดูแลพ่อแม่ แต่เป็นความอยากหรือแค่ความฝัน เพราะลำพัง แค่เอาตัวเองให้รอดไปวันๆ ก็ลำบากจะแย่อยู่แล้ว สิ่งที่เรากลับไปคิดว่ามีอะไรบ้างจะช่วงเรื่องพวกนี้บ้าง   ส่วนเรื่อง Health  ทุกคนมีความฝันเรื่องการมีสุขภาพดี ทุกคนมีความฝันว่าตัวเองมีซิคแพก รู้สึกว่าตัวเองมีแคลอรี่ไม่เกิน แต่พอไปตรวจร่างกายแล้วจะรู้สึกว่าฉันต้องออกกำลังกายทุกที แต่พอผ่านไปสักเดือนก็เลิกแล้ว มันเป็นไซเคิล เพราะอุปสรรคมันเยอะเหลือเกิน เราจะเข้าไปแก้ไขทำอย่างไรให้ตรงนี้มันง่ายขึ้น ให้เขามีสุขภาพดีได้ง่ายขึ้น คำถามที่  14 ความคาดหวังของพันธกิจ EMPOWER LIVING คืออะไร ? นวัตกรรมวันนี้มันเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ พอพูดถึงนวัตกรรม ไม่ใช่แค่รีโมทเปิดไฟได้ เรื่องพวกนี้มันธรรมดาไปแล้ว แต่ในอนาคตจะทำอย่างไร บ้านวันนี้มีวิธีคิดใหม่ เราก็ไม่รู้ในอนาคตจะมีเทคโนโลยีใหม่ๆ อะไรออกมาบ้าง  แต่เราจะทำอย่างไร ให้บ้านมันถูกปรับแต่งได้ง่ายขึ้น มันถูกเอาไปใช้ปลั๊กอินได้มากขึ้น ถ้าทำให้บ้านมีระบบปลั๊กอิน  เพราะเราคงไม่สามารถไปรื้อบ้านสร้างใหม่ได้ตลอดเวลา  ปรับเปลี่ยนไปตามยุคสมัยที่เป็นมันน่าจะตอบโจทย์ลูกบ้านมากเลย          
มั่นคงฯ ปิดปี 62 โชว์ผลงานธุรกิจ “เช่า-บริการ” โต 27%

มั่นคงฯ ปิดปี 62 โชว์ผลงานธุรกิจ “เช่า-บริการ” โต 27%

มั่นคงฯ แจงผลการดำเนินงานปี 2562  สร้างรายได้ธุรกิจเพื่อเช่าและบริการ โต 27%  ขณะที่ธุรกิจพัฒนาอสังหาฯ ชะลอตัว หลังโดนผลกระทบจาก LTV ทำรายได้ลดลง 5.2% แต่ยังคง ทำรายได้รวม 4,438.11 ล้าน มีกำไรสุทธิกว่า 177 ล้าน   นายสุเทพ วงศ์วรเศรษฐ ประธานกรรมการ บริษัท มั่นคงเคหะการ จำกัด (มหาชน) หรือ MK เปิดเผยถึงผลประกอบการปี 2562 ว่า บริษัทและบริษัทย่อยสามารถทำรายได้รวมจากการขายและบริการได้ถึง 4,438.11 ล้านบาท โดยแบ่งเป็นรายได้จากธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เพื่อขายจำนวน 3,936.77 ล้านบาท รายได้จากธุรกิจเพื่อเช่าและบริการ  จำนวน 501.34 ล้านบาท เติบโต 27% จากปีที่ 2561 บริษัทสามารถทำกำไรสุทธิ 177.45 ล้านบาท คิดเป็นกำไรต่อหุ้น 0.16 บาท ซึ่งตลอดช่วงระยะ 4 ปีที่ผ่านมากลุ่มบริษัทสามารถดำเนินธุรกิจเป็นไปตามแผนการปรับโครงสร้างรายได้ระยะยาว โดยสามารถเพิ่มสัดส่วนกำไรขั้นต้นจากธุรกิจเพื่อเช่าและการบริการ ต่อรายได้จากการดำเนินการในทุกธุรกิจเป็น 25.8% ในปี 2562 จากสัดส่วน 4.5% เมื่อสิ้นปี 2558   ในปี 2562  บริษัทมีรายได้จากธุรกิจพัฒนาอสังหาฯ เป็นจำนวน 3,936.77 ล้านบาท ลดลงเพียงเล็กน้อยจากปี 2561 จำนวน 216.16 ล้านบาท หรือ 5.2%  ปัจจัยมาจากผลกระทบของธุรกิจภาคอสังหาริมทรัพย์ ไม่ว่า จะเป็นความเข้มงวดของ LTV ซึ่งผลกระทบดังกล่าวส่งผลต่อความสามารถในการซื้อที่อยู่อาศัยของผู้บริโภค อย่างไรก็ดี บริษัทมีมาตรการช่วยเหลือลูกค้า เพื่อผ่อนคลายผลกระทบจากมาตรการดังกล่าว เช่น ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการจัดเตรียมข้อมูลทางการเงินอย่างรัดกุม การยื่นขออนุมัติเครดิตเบื้องต้น (Pre Approve) และให้ลูกค้าเช็คเครดิตบูโรกับธนาคารพาณิชย์ก่อนทำการเปิด  ใบจอง   นอกจากนี้ ในช่วงปลายปีได้มีมาตรการกระตุ้นของภาครัฐเรื่องการลดค่าธรรมเนียม จดทะเบียนการโอน และค่าจดทะเบียนการจำนองสำหรับบ้านราคาต่ำกว่า 3 ล้านบาท ซึ่งบริษัทมีสินค้าที่อยู่ในระดับราคานี้  หลายโครงการ อีกทั้งลูกค้าส่วนใหญ่ของบริษัทกว่า 70% เป็นลูกค้าที่ไม่ติดภาระสัญญากู้เงินที่อยู่อาศัย จึงทำให้บริษัทยังคงสามารถรักษาระดับรายได้จากการขายโครงการอสังหาริมทรัพย์ได้ใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมา   ในส่วนของรายได้จากธุรกิจให้เช่าและบริการ ในปี 2562 มีรายได้ถึง 501.34 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2561 ถึง 107.4 ล้านบาท หรือคิดเป็น 27% โดยรายได้หลักมาจากโครงการบางกอกฟรีเทรดโซน ของ บริษัท พรอสเพค ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด จำนวน 291.88 ล้านบาท เพิ่มขึ้นถึง 78.53 ล้านบาท คิดเป็นอัตราการเติบโต 36.81% ซึ่งโครงการบางกอกฟรีเทรดโซนสามารถขยายสัดส่วนพื้นที่ให้เช่าเพิ่มขึ้นเป็น 193,872 ตารางเมตร ส่วนธุรกิจสนามกอล์ฟและบริหารอสังหาริมทรัพย์ มีรายได้ 119.77 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 10.52 ล้านบาท คิดเป็น 9.63% นอกจากนี้ยังมีรายได้มาจาก โครงการพาร์คคอร์ท สุขุมวิท 77 และ บริษัท ยัวร์ส พร็อพเพอร์ตี้ แมเนจเม้นท์ จำกัด   นายสุเทพ กล่าวว่า จากผลการดำเนินงานในแต่ละธุรกิจของกลุ่มบริษัท ถึงแม้ว่ารายได้หลักจากธุรกิจพัฒนาอสังหาฯ จะชะลอตัวลดลง เนื่องจากผลกระทบในหลายปัจจัยในปีที่ผ่านมา แต่บริษัทก็ยังสามารถควบคุมต้นทุนการดำเนินงานทำให้สามารถรักษาอัตรากำไรขั้นต้นได้มากกว่า 30% ใกล้เคียงกับปีก่อนหน้า รวมถึงได้เพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการที่เป็นระบบและมีมาตรฐานมากยิ่งขึ้น
ถอดกลยุทธ์ “เอสซี แอสเสท” ใช้ความยืดหยุ่น สร้างพอร์ตธุรกิจให้เติบโต พร้อมเพิ่มรายได้ประจำ

ถอดกลยุทธ์ “เอสซี แอสเสท” ใช้ความยืดหยุ่น สร้างพอร์ตธุรกิจให้เติบโต พร้อมเพิ่มรายได้ประจำ

ปีที่ผ่านมาภาพรวมตลาดอสังหาริมทรัพย์ ต้องเผชิญกับปัจจัยลบมากมาย ส่งผลให้ภาพรวมของการเปิดโคงการใหม่ลดลง 20% ยอดขายลดลง 23% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า ส่วนปีนี้ปัจจัยลบต่างๆ ยังมีต่อเนื่อง แถมยังมีปัญหาใหม่เพิ่ม ไม่ว่าจะเป็นงบประมาณภาครัฐที่ล่าช้า ไวรัสโคโรนา ตัวเลขจีดีพีซึ่งมีโอกาสต่ำกว่า 2 ทำให้ไม่สามารถประเมินสถานการณ์ตลาดได้ว่าจะเป็นอย่างไร   สำหรับบริษัท เอสซี แอสเสท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) แม้ว่าปีที่ผ่านมาสามารถสร้างการเติบโต และทำนิวไฮด์ได้หลายตัวเลข  ไม่ว่าจะเป็นรายได้ และกำไรโดยมีรายได้รวม 17,787 ล้านบาท เติบโต 15%  มีกำไรสุทธิ 2,026 ล้านบาท  เติบโต 13% ซึ่งถือเป็นครั้งแรกที่ “เอสซี แอสเสท” สามารถทำกำไรได้มากกว่า   2,000 ล้านบาท แต่การดำเนินธุรกิจต่อไปนับจากนี้ อาจจะไม่ใช่เรื่องง่าย และมีความท้าทายหลายเรื่อง ซึ่งกลยุทธ์ที่ถูกนำมาใช้เพื่อสร้างการเติบโตต่อไป คือ “ความยืดหยุ่น” หรือ Resilient ชูกลยุทธ์ “ความยืดหยุ่น” สู้ความยุ่งเหยิง เพื่อความยั่งยืน นายณัฐพงศ์ คุณากรวงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอสซี แอสเสท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)  เปิดเผยว่า กลยุทธ์ในการรับมือกับภาวะเศรษฐกิจที่มีความผันผวนและไม่แน่นอน “เอสซี แอสเสท” ใช้กลยุทธ์ความยืดหยุ่น หรือ  Resilient เพื่อความยั่งยืน พร้อมปรับตัว และมองโอกาสหา S-curve ให้บริษัทสำหรับการเติบโตระยะยาว โดยขับเคลื่อนใน  2 เรื่องหลัก  คือ “Resilient Portfolio” กับ “Resilient People” แนวทาง Resilient Portfolio ที่จะสร้างการเติบโต แบ่งเป็น 3 เรื่องสำคัญ ได้แก่ 1.For Sale เน้นโปรเจ็กต์แนวราบ ในปี 2562 ที่ผ่านมาบริษัทมีการเติบโตของบ้านเดี่ยวทุกระดับราคา  และยังสามารถสร้างส่วนแบ่งตลาดได้เป็น อันดับ 1 กลุ่มบ้านราคา 20-50 ล้านบาท และ อันดับ 3 ของบ้านเดี่ยวทุกระดับราคา แผนธุรกิจในปีนี้ จึงเน้นการเพิ่มการเติบโตของแนวราบ โดยเพิ่มสัดส่วนของแนวราบราคาน้อยกว่า 10 ล้านบาท จาก 40%  เป็น 50% ในปี 3 ปีนี้ 2.For Rent เสริมพอร์ตรายได้ประจำ “เอสซี แอสเสท” จะกระจายความเสี่ยงและเพิ่มพอร์ตรายได้ประจำ (recurring income) ให้มากขึ้น โดยวางสัดส่วนให้มีกำไรสุทธิเพิ่มขึ้นในอนาคตมากกว่า 20% ผ่านธุรกิจโรงแรม ออฟฟิศ และอพาร์ทเม้นท์ ในต่างประเทศโดยได้จัดตั้งบริษัท เอสซี เอ็กซ์เพดิชั่น จำกัด (SC Expedition) เพื่อพัฒนาธุรกิจโรงแรมกลุ่มตลาดระดับ 3-4 ดาว (mid-to-upscale) รองรับนักท่องเที่ยวทั้งต่างประเทศและในไทย โดยเฉพาะกลุ่มนักท่องเที่ยวเดินทางด้วยตนเอง หรือ FIT (Free Individual Travelers) ที่ชอบท่องเที่ยวด้วยตนเองและกำลังเติบโต   บริษัทวางแผนลงทุนโรงแรมภายในปี 2566 จะมีโรงแรม 5 แห่ง รวม 1,000 ห้อง โดยปีนี้จะเปิดแห่งแรกที่ย่านราชวัตร ขนาด 70-80 ห้อง ใช้เงินลงทุนประมาณ​ 100 ล้านบาท ส่วนปีหน้าจะลงทุนเปิดที่ทำเลรัชดา  ส่วนปีต่อไปจะเปิดที่ทำเลสุขุมวิท วิภาวดี และพัทยา ซึ่งบริษัทจะใช้แบรนด์ของตนเอง ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณา   นอกจากนี้ ยังจัดตั้ง บริษัท เอสซี อัลฟ่า อินคอร์ปอเรชั่น (SC Alpha Inc.) เพื่อลงทุนในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ในประเทศสหรัฐอเมริกา  ซึ่งจากปัจจัยและโอกาสของตลาด อพาร์ทเม้นท์ในบอสตันที่มีศักยภาพพร้อมเติบโต จึงได้ทำสัญญาซื้อและบริหารอาคาร ที่ 244 Hanover Street & 20 Parmenter Street ในเมืองบอสตัน รัฐ แมสซาชูเซตส์  มูลค่า 24.5 ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อดำเนินธุรกิจอพาร์ทเม้นท์ ซึ่งจะมีการลงทุนพัฒนาอพาร์ทเม้นท์อย่างต่อเนื่อง โดยบริษัทวางงบลงทุนแต่ละปี 30 ล้านเหรียญ หรือประมาณ 900 ล้านบาท 3.หา S-curve ใหม่สร้างรายได้จาก Living Solutions  นอกจาก รายได้จากการขายและรายได้ประจำแล้ว “เอสซี แอสเสท” ยังมองหาโอกาสในการสร้างรายได้จากธุรกิจที่เป็น S-curve ใหม่ๆ ซึ่งเป็นการต่อยอดจากโมเดลธุรกิจ Living Solutions บนการพัฒนา platform  โดยได้เตรียมเปิดตัว  RueJai Club ไว้ดูแลลูกค้า ซึ่งเป็นวิถีของโลกยุคใหม่ ที่ใช้เทคโนโลยีเพื่อส่งมอบ solutions ให้กับลูกค้าทุกๆ บ้าน ด้วยโมเดลช่วยเรื่องบ้าน จัดการเรื่องชีวิต  ประกอบด้วยแพ็กเกจบริการรายครั้งหรือรายเดือน  สำหรับอำนวยความสะดวกทุกสิ่งที่เกี่ยวกับบ้าน ได้แก่ แม่บ้าน, ทำสวน , ล้างแอร์ เป็นต้น พร้อม solutions ที่มากกว่า  ได้แก่ บริการส่งน้ำ ,ส่งแก็ส , ตัดผม, ซักรีด , ประกันภัย, อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า และอื่นๆ  อีกมากมายที่จะร่วมกับบริษัทพาร์ทเนอร์ชั้นนำในอนาคต   นายณัฐพงศ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ส่วนแนวทาง “Resilient People” การให้ความสำคัญกับบุคลากร ที่เป็นหัวใจของความสำเร็จขององค์กร  บริษัทได้นำวัฒนธรรมองค์กรชื่อ #SKYDIVE ภายใต้ค่านิยม (core values) 4 ประการคือ care, courage, collaboration, continuous improvement  โดยทั้งหมดเป็นส่วนผสมที่ลงตัว เปิดโอกาสให้กล้าคิดและทำอย่างมีประสิทธิภาพ  เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการขับเคลื่อนองค์กรให้สอดคล้องต่อการเป็น Living Solutions Provider แผน "เอสซี แอสเสท" เปิด 13 โปรเจ็กต์ 16,000 ล้าน สำหรับแผนธุรกิจในปี 2563 บริษัทตั้งเป้ารายได้ที่ 17,800 ล้านบาท และ ยอดขาย 18,000 ล้านบาท  โดยการเติบโตของรายได้และยอดขาย มาจากโครงการเปิดขายทั้งหมด 64 โครงการมูลค่ารวมกว่า 58,300 ล้านบาท แบ่งเป็นโครงการต่อเนื่อง 51 โครงการ มูลค่ารวม 42,300 ล้านบาท พร้อมกับการเปิด 13 โครงการใหม่ มูลค่า 16,000 ล้านบาท แบ่งเป็นแนวราบ 12 โครงการใหม่ มูลค่า 12,500 ล้านบาท มีทั้งบ้านเดี่ยว บ้านแฝด และทาวน์โฮมซีรีย์ใหม่ทุกระดับราคา  เริ่มต้น 2-50 ล้านบาท ทำเลวิภาวดี พระราม 5 , แจ้งวัฒนะ, พระราม 9, พัฒนาการ , บางนา-อ่อนนุช   โดยเตรียมเปิดโครงการแรก วี คอมพาวด์  ติวานนท์-รังสิต ในเดือนมี.ค.นี้ ส่วนโครงการคอนโดมิเนียม ปีนี้เปิดเพียง 1 โครงการ ได้แก่ โครงการ The Crest Park Residences คอนโดฯระดับลัชัวรี่ พัฒนาภายใต้บริษัท เอสซี เอ็นเอ็นอาร์ วัน  จำกัด(SC NNR1 Co.,Ltd.) ที่บริษัทร่วมทุนกับ Nishitetsu Group ยักษ์ใหญ่และผู้นำในภูมิภาคคิวชูของประเทศญี่ปุ่น  บนทำเลห้าแยกลาดพร้าว เพียง 75 เมตร ถึง MRT พหลโยธิน ขนาดพื้นที่ประมาณ 2 ไร่ จำนวน 429 ยูนิต มูลค่าโครงการ 3,500 ล้านบาท กำหนดเปิดขายในไตรมาส 2 ของปีนี้ หรือประมาณเดือนพฤษภาคมนี้ มีราคาเฉลี่ยกว่า 200,000-250,000 บาทต่อตารางเมตร หรือราคาเริ่มต้น 5.9 ล้านบาท
พฤกษาวาง 5 กลยุทธ์ ลุยปัจจัยลบ สร้างยอดขาย 38,000 ล้าน

พฤกษาวาง 5 กลยุทธ์ ลุยปัจจัยลบ สร้างยอดขาย 38,000 ล้าน

พฤกษา ชู 5 กลยุทธ์ ฝ่าวิกฤตปัจจัยลบรักษาผู้นำตลาด เดินหน้าเปิดโครงการใหม่ 30 โครงการ มูลค่า 36,000 ล้าน สร้างยอดขาย 38,000 ล้าน และรายได้ 40,000 ล้าน พร้อมรุกรายได้การขายแผ่นพรีคาสท์ให้ผู้รับเหมาและดีเวลลอปเปอร์รายอื่น อีก 3 ปีหวังทำยอดเสริมรายได้ 500 ล้าน ขณะที่เลื่อนเปิดโรงพยาบาลวิมุตไปปี 2564    ปี 2562 ที่ผ่านมา ตลาดดอสังหาริมทรัพย์ ต่างเผชิญกับปัจจัยลบมากมาย ไม่ว่าจะเป็นภาวะการค้าโลก ค่าเงินบาทแข็งค่า กำลังซื้อ หนี้ครัวเรือน และมาตรการ LTV ส่งผลกระทบต่อตลาดอสังหาฯ  ซึ่งติดลบไปถึง 24% ในด้านมูลค่าที่เหลือ 387,300 ล้านบาท จำนวนยูนิตลดลง 20% เหลือ 96,893 ยูนิต มูลค่าการโอนเหลือ 409,191 ล้านบาท ซึ่งติดลบไป ปัจจุบันมีสินค้าคงเหลือในตลาด 209,107 ยูนิต หรือเพิ่มขึ้น 10% จากปี 2561   ภาพรวมตลาดในปีนี้ ยังต้องเผชิญกับปัจจัยลบต่อเนื่องจากปีที่ผ่านมา  แถมด้วยปัญหาไวรัสโคโรน่า ที่ส่งผลต่อภาวะตลาดของกลุ่มลูกค้าชาวจีน ซึ่งชะลอตัวลงและอาจจะไม่โอนกรรมสิทธิ์ จากการซื้อสินค้าก่อนหน้านี้แล้ว ทำให้ผู้ประกอบการต่างเป็นกังวล และพยายามปรับตัว รวมถึงหากลยุทธ์เพื่อสร้างการเติบโตในปี 2563 พฤกษา เปิด 30 โครงการ 36,000 ล้าน นางสุพัตรา เป้าเปี่ยมทรัพย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พฤกษา เรียลเอสเตท จำกัด (มหาชน) เปิดเผยถึงทิศทางการดำเนินธุรกิจในปี  2563 ว่า เตรียมเปิดโครงการใหม่รวม 30 โครงการ มูลค่า 36,000 ล้านบาท แบ่งเป็นทาวน์เฮาส์ 18 โครงการ บ้านเดี่ยว 6 โครงการ คอนโดมิเนียมกลุ่มแวลู 4 โครงการ และคอนโดมิเนียมกลุ่มพรีเมียม 2 โครงการ ซึ่งจะเน้นทำเลที่มีศักยภาพ  และมีความต้องการซื้อจริง โดยจะเปิดขายในช่วงจังหวะที่เหมาะสม   โดยในปีนี้บริษัทตั้งเป้าหมายยอดขาย 38,000 ล้านบาท เติบโต 6% จากปีที่ผ่านมา และรายได้รวม 40,000  ล้านบาท ใกล้เคียงกับผลงานดำเนินงานปีที่แล้ว  ซึ่งมียอดขาย 35,601 ล้านบาท รายได้ 39,885 ล้านบาท และกำไรสุทธิ 5,359 ล้านบาท  จากปีที่ผ่านมาเปิดตัวโครงการทั้งสิ้น 36 โครงการ มูลค่า  41,170 ล้านบาท ซึ่งถือว่าเป็นการเปิดตัวไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ เนื่องจากมีการเลื่อนบางโครงการมาเปิดในปีนี้  แต่ถือว่าผลการดำเนินงานยังเป็นที่น่าพึงพอใจ  เนื่องจากปีที่ผ่านมามีปัจจัยลบมากมาย โดยรวมถือว่ายังเป็นที่น่าพึงพอใจ เนื่องจากปีที่ผ่านมามีปัจจัยที่เหนือการควบคุมไม่ว่าจะเป็นสภาพเศรษฐกิจที่ไม่เอื้ออำนวย รวมถึงมาตรการ LTV ที่ทำให้ตลาดหดตัวลง ไม่ห่วงจีนหาย-พร้อมเปิดโปรเจ็กต์เพิ่ม ที่ผ่านมาพฤกษา มีกลุ่มลูกค้าจีนที่ซื้อโครงการต่างๆ ของพฤกษา มูลค่า 1,800 ล้านบาท ซึ่งมั่นใจว่าลูกค้าจีนจะกลับมาโอนกรรมสิทธิ์  แต่อาจจะต้องภายหลังจากไวรัสหยุดการระบาดแล้ว อาจจะเป็นในช่วงครึ่งปีหลัง โดยบริษัทไม่ได้มีความกังวลกับกลุ่มลูกค้าชาวจีน เนื่องจากเป็นกลุ่มที่วางเงินดาวน์ 20-30%   นางสุพัตรา กล่าวเพิ่มว่า หากสถานการณ์ตลาดฟื้นตัวเป็นปกติ หรือมีสัญญาณที่ดีขึ้น บริษัทพร้อมเปิดโครงการเพิ่ม เนื่องจากมีการเตรียมความพร้อมไว้แล้ว ทั้งโครงการบ้านเดี่ยว ทาวน์โฮม และคอนโดฯ  ส่วนปีนี้ได้เตรียมใช้งบซื้อที่ดิน 2,000 ล้านบาท เพื่อซื้อที่ดินจำนวน 5-6 แปลง เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาใช้งบซื้อที่ดิน 1,700 ล้านบาท ในการซื้อที่ดิน 8 แปลง วาง 5 กลยุทธ์พฤกษา ฝ่าวิกฤตอสังหา สำหรับกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจ ท่ามกลางปัจจัยลบในปีนี้  บริษัทมุ่งเน้นสร้างประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจ ท่ามกลางเศรษฐกิจที่ชะลอตัวให้เติบโตอย่างมั่นคง ภายใต้ 5 กลยุทธ์หลัก เพื่อรักษาความเป็นผู้นำในตลาดอสังหาริมทรัพย์อย่างต่อเนื่อง ได้แก่   1.Strengthen Core Business รักษาฐานกลุ่มธุรกิจหลักของพฤกษา ออกแบบสินค้า ฟังก์ชั่นและ IOT รองรับไลฟ์สไตล์ของลูกค้าในแต่ละเซ็กเมนต์ และพร้อมขยายเซ็กเมนต์ไปกลุ่มบนมากขึ้น ที่ผ่านมาพฤกษาประสบความสำเร็จเป็นอย่างมากในการเปิดขายโครงการบ้านเดี่ยวระดับลักชัวรี่   โดยมีอัตราการขาย (Take up rate) มากกว่า 50% ในปีนี้จึงมีแผนเปิดโครงการ “เดอะ ปาล์ม” อีก 2 โครงการบนทำเลศักยภาพ เพื่อเจาะกลุ่มที่มีกำลังซื้อมากขึ้น รวมถึงทาวน์เฮาส์ที่จะขยายไปยังเซ็กเมนต์ 3-5 ล้านมากขึ้นภายใต้แบรนด์พฤกษาวิลล์และเดอะคอนเนค พร้อมใช้แบรนด์พาทิโอ ขยายตลาดเจาะกลุ่มทาวน์เฮาส์ระดับลักชัวรี่   นอกจากนี้ บริษัทมีการเพิ่มทีมขายและทีมตรวจสอบเครดิตลูกค้า หรือ “Credit smile”  เพื่อให้สามารถขอสินเชื่อกับสถาบันการเงินได้ เนื่องจากปีที่ผ่านมาลูกค้าพฤกษา มีอัตราการปฎิเสธสินเชื่อสูงถึง 12% เฉพาะไตรมาสสุดท้ายสูงถึง 39%   ในปีนี้จะขยายฐานตลาดไปยังกลุ่มบนเพิ่มมากขึ้น เช่น ทาวน์เฮ้าส์ระดับราคา 3-5 ล้าน บ้านเดียวราคา 5-10 ล้าน2.Innovation and Data Tech เพิ่มช่องทางการขายในรูปแบบใหม่ ตอบโจทย์ลูกค้าให้ครบในทุกมิติ และพัฒนา Data Science ในการวิเคราะห์ฐานข้อมูลลูกค้าพร้อมทั้งนำเสนอ Solution ที่ตอบโจทย์ รวมไปถึงการเพิ่มขีดความสามารถของ Digital Marketing ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น 3.Asset Management เน้นขายโครงการในสต็อก (inventory) โดยเฉพาะโครงการคอนโดมิเนียม และเลือกเปิดขายโครงการใหม่เฉพาะทำเลที่มีศักยภาพในช่วงเวลาเหมาะสมกับสภาพตลาด ควบคุมการก่อสร้างและวัสดุเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพสูงสุด รวมถึงกลยุทธ์ในการเลือกซื้อที่ดิน 4.Recurring Income สร้างรายได้ประจำอย่างต่อเนื่อง ด้วยการผลิตแผ่นคอนกรีตเสริมเหล็กสำเร็จรูปเพื่อขายให้กับหน่วยงานภายนอก พฤกษามีโรงงานที่มีกำลังการผลิตสูงที่สุดและใช้เครื่องจักรที่ทันสมัยที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ซึ่งจะช่วยสร้างรายได้ให้กับพฤกษาอย่างต่อเนื่องโดยจะเริ่มดำเนินการในปีนี้  ซึ่งเบื้องต้นจะขายชิ้นส่วนพรีคาสท์ให้กับกลุ่มผู้รับเหมา ดีเวลลอปเปอร์ต่างๆ ที่อยู่ระหว่างเจรจา 4-5 ราย คาดว่าจะทำรายได้ปีแรกไม่เกิน 100 ล้านบาท และภายใน 3 ปีจะทำรายได้ 500 ล้านบาท   ในขณะที่ธุรกิจโรงพยาบาลวิมุต การก่อสร้างยังเป็นไปตามแผนคาดว่าจะเปิดให้บริการได้ในเดือนพฤษภาคม 2564  ซึ่งปีนี้ใช้เงินลงทุน 3,000 ล้านบาท จากมูลค่าโครงการ 4,900 ล้านบาท ปัจจุบันการก่อสร้างคืบหน้าไปแล้ว 90% 5.Bottom Line การบริหารต้นทุนอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ได้กำไรสูงขึ้น ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ มีการ Optimize ดีไซน์ของตัวบ้านให้เหมาะกับไลฟ์สไตล์ของลูกค้าในแต่ละเซ็กต์เมนต์ รวมถึงเพิ่มการใช้ Digital Marketing ให้มากขึ้น สัดส่วน 40% จากปีที่ผ่านมาใช้ 20% เพื่อให้มีประสิทธิภาพสูงสุด  ในด้านการขายและเข้าถึงกลุ่มลูกค้า ปัจจุบันบริษัทมียอดรอรับรู้รายได้ (Backlog) มูลค่าสูงถึง 29,000  ล้านบาท ซึ่งคาดว่าจะรับรู้รายได้ในปีนี้ 10,900 ล้านบาท ที่เหลือจะทยอยรับรู้ใน 2-3 ปีข้างหน้า ในปีนี้บริษัทมีมติจ่ายเงินปันผลประจำปี 2562 ในอัตราหุ้นละ 1.55 บาท โดยจ่ายเงินปันผลระหว่างกาลไปแล้วในอัตราหุ้นละ 0.60 บาท เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2562 จึงคงเหลือจ่ายเงินปันผลในรอบนี้ในอัตราหุ้นละ 0.95 บาท โดยจะนำเสนอขออนุมัติต่อที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นในที่ 29 เมษายน 2563 และกำหนดจะจ่ายเงินปันผลในวันที่ 22 พฤษภาคม 2563  
รีวิวคอนโด ปุณณวิถี ติดรถไฟฟ้า “Whizdom Inspire Sukhumvit” บนอาณาจักรมิกซ์ยูส จาก MQDC

รีวิวคอนโด ปุณณวิถี ติดรถไฟฟ้า “Whizdom Inspire Sukhumvit” บนอาณาจักรมิกซ์ยูส จาก MQDC

MQDC ถือเป็น Developer รายแรกๆ ที่ลุยทำอาณาจักรมิกซ์ยูสเป็นของตัวเองอย่างจริงจัง ซึ่งมีคอนเซปที่โดดเด่น เป็นเอกลักษณ์ชัดเจน นั่นคือการเนรมิตที่ดินติดริมถนนสุขุมวิท บนพื้นที่กว่า 43 ไร่ ที่ใช้ชื่อว่า "101 True Digital Park at True Digital Park" ให้กลายเป็นอาณาจักรที่รวมเอานวัตกรรม และธรรมชาติเข้ามารวมไว้ภายในโครงการอย่างลงตัว เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตคนเมือง ตั้งแต่การวางผังออกแบบทุกอาคารให้ลดการใช้พลังงาน การใช้วัสดุก่อสร้างที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ตลอดจนคำนึงถึงการใช้ชีวิตจริงของผู้คนทุกช่วงวัยภายในอาคาร จนได้รับรางวัลบนเวทีทั้งในประเทศไทยและระดับโลกมาแล้ว   Whizdom Inspire Sukhumvit คือหนึ่งในสามคอนโดมิเนียมที่อยู่ภายในโครงการมิกซ์ยูสแห่งนี้ ซึ่งสองโครงการก่อนหน้านี้ได้ Sold Out ไปเรียบร้อย โดยได้ Capital Gain ไปประมาณ 5% สำหรับ Whizdom Inspire Sukhumvit คอนโดมิเนียมโครงการสุดท้ายภายในมิกซ์ยูสแห่งนี้ ได้วางแนวคิดให้เป็นที่อยู่อาศัยของคนรุ่นใหม่ ที่ต้องมีความสะดวกสบายรอบด้าน มีเทคโนโลยีรองรับการใช้ชีวิตให้ง่ายขึ้น ได้พื้นที่สีเขียวขนาดใหญ่ เพื่อเอื้อต่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นท่ามกลางสังคมเมืองในยุคปัจจุบัน อาทิ ใกล้ไลฟ์สไตล์คอมเพล็กซ์ ที่เข้ามาปลุกย่านปุณณวิถีให้คึกคักกว่าที่เคยอย่าง 101 True Digital Park ด้วยพื้นที่ 40,000 ตารางเมตร ครบทุกสิ่งอำนวยความสะดวกในแห่งเดียว ไม่ว่าจะเป็น ร้านอาหาร บริการต่างๆ Co-Working Space ฟิตเนสระดับโลก พื้นที่จัดกิจกรรมที่น่าสนใจ รองรับได้ทั้งครอบครัว พร้อมพื้นที่สีเขียวกว่า 5,000 ตารางเมตร   เดินทางสะดวกทั้งรถไฟฟ้าและรถยนต์ส่วนตัว ซึ่ง Whizdom Inspire Sukhumvit ไม่ใช่แค่ใกล้กับบีทีเอสปุณณวิถีเพียง 300 เมตร แต่ยังเชื่อมต่อบน Sky Walk ถึงตัวโครงการ ทำให้สะดวก ปลอดภัยมากกว่า อีกทั้งยังใกล้กับจุดขึ้น-ลงทางด่วนเฉลิมมหานคร ด่านสุขุมวิท 62 กับด่านบางนา และทางด่วนบูรพาวิถีอีกด้วย   นวัตกรรมเพื่อคุณภาพชีวิตที่จะทำให้ลูกบ้านใช้ชีวิตอย่างมีสุขภาพดีและปลอดภัย อาทิ เซนเซอร์จับความเคลื่อนไหว ควบคุมการเปิด-ไฟได้เองอัตโนมัติ, ระบบ Energy Measurement ตรวจสอบสถานะการใช้ไฟของห้อง ทำให้ประหยัดไฟมากกว่า, สามารถวัดค่าฝุ่น อุณหภูมิ ความชื้น ให้ทราบได้อยู่ตลอด, ระบบ Smart Contact เช็คสถานะของประตูห้อง และประตูระเบียงได้ เป็นต้น ภาพ Facilities คอนโด ปุณณวิถี Whizdom Inspire Sukhumvit ส่วนกลางเริ่มตั้งแต่ชั้น 1 ที่สามารถใช้เป็นสถานที่รับแขกหรือนัดประชุมใน Private Meeting Room, Co-Working Space ได้ ส่วนกลางหลักอยู่ชั้น 6 ซึ่งจะเป็นโซนที่มีทั้งสระว่ายน้ำกลางแจ้ง แบ่งโซนที่สามารถว่ายออกกำลังกาย และโซนสำหรับนั่งแช่น้ำพักผ่อน ท่ามกลางบรรยากาศสวนสีเขียวรอบสระ และฟิตเนสพร้อมอุปกรณ์ ชั้น 31 เป็น Skycamp Lounge นั่งชมวิวเมืองโล่งๆ พร้อมเสียงน้ำไหลที่ล้อมรอบ Sunken Seat   ห้องตัวอย่าง คอนโด ปุณณวิถี Whizdom Inspire Sukhumvit รายละเอียดคอนโด ปุณณวิถี ติดรถไฟฟ้าเพิ่มเติม Whizdom Inspire Sukhumvit รีวิวโครงการอื่นๆ จาก MQDC รีวิวคอนโด เอกมัย “Mulberry Grove Sukhumvit” รีวิวคอนโด อโศก “Whizdom Asoke-Sukhumvit” รีวิวคอนโด ท่าพระ "Whizdom Station Ratchada–Thapra"
เอสซี แอสเสท ทำนิวไฮรายได้และกำไรปี 2562

เอสซี แอสเสท ทำนิวไฮรายได้และกำไรปี 2562

เอสซี ประกาศความสำเร็จปี 62  ผลการดำเนินงานทำนิวไฮทั้งรายได้และกำไรสุทธิ  มีรายได้รวม  17,787 ล้าน เติบโต 15%  จากสถิติใหม่ของรายได้โครงการแนวราบ  หนุนกำไรสุทธิ  2,026 ล้าน เตรียมเสนอปันผลหุ้นละ 0.19 บาท   นายอรรถพล สฤษฎิพันธาวาทย์ ประธานเจ้าหน้าที่ด้านสนับสนุนองค์กร บริษัท เอสซี แอสเสท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ SC เปิดเผยถึงผลการดำเนินงานในปี 2562 ที่ผ่านมา ว่า บริษัทมีรายได้รวม 17,787 ล้านบาท เติบโต 15% จากปี 2561 แบ่งเป็น รายได้จากการดำเนินงาน 17,637 ล้านบาท เติบโต 14%  เป็นรายได้จากการขายสัดส่วน 95% และรายได้จากค่าเช่าและบริการสัดส่วน 5% ส่งผลให้บริษัทมีกำไรสุทธิ 2,026 ล้านบาท เติบโต 13% นอกจากนี้ ยังมีรายได้จากการขาย 16,771 ล้านบาท เติบโต 15% มาจากรายได้จากโครงการแนวราบ 11,260 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 67% ซึ่งเป็นสถิติใหม่ด้วยจุดแข็งของบ้านโครงการของเอสซีที่ มีครอบคลุมทุกระดับราคาและมีการตอบรับที่ดี  ส่วนอีก 33% ที่เหลือมาจากโครงการแนวสูง 5,511 ล้านบาท เติบโต 45% จากปีก่อนหน้า   โดยในปี 2562 บริษัทมียอดขายรวมเท่ากับ 14,425 ล้านบาท จากโครงการที่เปิดขายรวมทั้งสิ้น 55 โครงการ มูลค่ารวม 56,200 ล้านบาท มียอดขายรอโอน หรือ Backlog รวม 7,388 ล้านบาทที่พร้อมโอนในปีนี้ 65% และอีก 35% จะโอนในปี 2564-2565   ปี 2562 บริษัทมีผลการดำเนินงานเติบโต สามารถทำสถิติใหม่ทั้งรายได้ และกำไรสุทธิ นายอรรถพล  กล่าวอีกว่า ณ วันที่ 31 ธันวาคม 62 บริษัทและบริษัทย่อยมีสินทรัพย์ 45,083 ล้านบาท และหนี้สินรวม 27,526 ล้านบาท โดยมีส่วนของผู้ถือหุ้น 17,557 ล้านบาท คิดเป็นราคาตามบัญชีต่อหุ้น เท่ากับ 4.20 บาท และมีกำไรต่อหุ้น เท่ากับ 0.4848 บาท ทั้งนี้ คณะกรรมการบริษัทได้มีมติเห็นชอบให้บริษัทจ่ายเงินปันผลประจำปี 2562 ในอัตรา 0.19 บาทต่อหุ้น โดยจะนำเสนอขออนุมัติต่อที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นในวันที่ 23 เมษายน 2563 ต่อไป            
อสังหาฯ ปี 63 เจอสารพัดปัจจัย ศขอ.ประเมินขยายตัว -0.2% ถึง 7.3%

อสังหาฯ ปี 63 เจอสารพัดปัจจัย ศขอ.ประเมินขยายตัว -0.2% ถึง 7.3%

อสังหาฯ ปี 63 เจอสารพัดปัจจัย ฉุดตลาดให้ชะลอตัว ศขอ.ประเมินตลาดดีสุดจะเติบโต 7.3% แต่ถ้าแย่สุดมีโอกาสติดลบ 0.2% ชี้ปัญหาไขหวัดโคโรนา ส่งผลให้ลูกค้าจีนไม่โอนกรรมสิทธิ์ 25% จากสัดส่วนลูกค้าจีนทั้งระบบ   นายวิชัย วิรัตกพันธ์ ผู้ตรวจการธนาคารอาคารสงเคราะห์ และรักษาการผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ (ศขอ.) เปิดเผยถึงแนวโน้มตลาดอสังหาริมทรัพย์ในปี 2563 ว่า  ยังคงต้องเผชิญกับปัจจัยต่างๆ ที่มากระทบตลาดมากมาย ได้แก่ ปัจจัยบวกอัตราดอกเบี้ยต่ำและเป็นขาลง มาตรการกระตุ้นอสังหาฯของรัฐบาล การผ่อนปรนเกณฑ์ LTV ของ ธปท. และปัจจัยลบ  ภาวะเศรษฐกิจอยู่ในช่วงชะลอตัวในหลายกิจกรรมเศรษฐกิจที่สำคัญ การระบาดของไวรัสโคโรนา สงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และ จีน อสังหาฯ ดีสุดโต 7.3% แย่สุดติดลบ 0.2% ในภาพรวมของตลาดอสังหาฯ ปีนี้ น่าส่งผลให้การโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัย ทุกประเภททั่วประเทศจะอยู่ที่ประมาณ 372,500 –400,660 ยูนิต ขยายตัวระหว่าง -0.2% ถึง 7.3% และมีมูลค่าถึง 853,100 – 917,100 ล้านบาท  ขยายตัวระหว่าง -2.5% ถึง 4.8%  และเกิดการปรับตัวในภาคธุรกิจที่อยู่อาศัย เพื่อรองรับกับปัจจัยต่างๆ ที่เกิดขึ้น ส่วนการโอนกรรมสิทธิ์   ในพื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑลคาดว่าจะมีประมาณ 197,500 – 214,300 ยูนิต ขยายตัวระหว่าง -0.2% ถึง 8.3% และมีมูลค่าถึง 571,200 – 614,000 ล้านบาท  ขยายตัวระหว่าง -0.2% ถึง 7.3%   สำหรับการโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดทั่วประเทศ จะอยู่ที่ประมาณ 117,400 – 126,780 ยูนิต เป็นมูลค่าถึงประมาณ 284,360 –305,700 ล้านบาท โดยกรุงเทพฯและปริมณฑล จะมีหน่วยการโอนกรรมสิทธิ์ คิดเป็นสัดส่วน 73.6% และมูลค่าการโอนกรรมสิทธิ์มีสัดส่วน 78.1% ของการโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดทั่วประเทศ   ขณะที่ปัญหาการระบาดไวรัสโคโรนา จะส่งผลกระทบให้ลูกค้าชาวจีน ชะลอการโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยลงไปบ้าง โดยเฉพาะในช่วงครึ่งปีแรกนี้ น่าจะทำให้ลูกค้าชาวจีนชะลอการโอนกรรมสิทธิ์ ประมาณ 25% ของจำนวนชาวจีนทั้งหมด  ซึ่งสัดส่วนลูกค้าชาวจีนที่โอนกรรมสิทธิ์มีประมาณ 6% ของผู้ซื้อทั้งหมดเท่านั้น เปิดตัวโครงการใหม่ 114,400- 122,600 ยูนิต ในปี 2563 มีการประมาณการณ์ จำนวนที่อยู่อาศัยเปิดตัวใหม่ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล มีประมาณ 114,400- 122,600 ยูนิต โดยเป็นคอนโดฯ ประมาณ 55% หรือประมาณ 62,900-67,400 ยูนิต โดยการขอใบอนุญาตจัดสรรทั่วประเทศจะอยู่ในระดับใกล้เคียงกับปี 2562 ประมาณ 97,500-100,400 ยูนิต และจะอยู่ในกรุงเทพฯ และปริมณฑลประมาณ 58.4% การออกใบอนุญาตก่อสร้างอาคารทั่วประเทศประมาณการว่าจะอยู่ในระดับใกล้เคียงกับปี 2562 ประมาณ 292,100-300,900 ยูนิต โดยมีใบอนุญาตก่อสร้างอาคารชุดประมาณ 27.4% หรือประมาณ 80,000-82,400 ยูนิต และใบอนุญาตก่อสร้างอาคารในกรุงเทพฯ และปริมณฑลก็จะอยู่ในระดับใกล้เคียงกับปี 2562 แต่อาจมากกว่าเล็กน้อยประมาณ 129,000-132,900 ยูนิต โดยมีใบอนุญาตก่อสร้างคอนโดฯ มีสัดส่วน 51.1% หรือประมาณ 65,900-67,900 ยูนิต ซึ่งหมายความว่า 82% ของคอนโดฯ ที่ได้รับใบอนุญาตก่อสร้างอาคารทั่วประเทศจะกระจายตัวอยู่ในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล   จากการคาดการณ์ตัวเลขในเครื่องชี้หลักต่างๆ ที่ได้กล่าวมาแล้ว อาจสรุปได้ว่า ตลาดอสังหาฯ ในปี 2563 น่าจะมีภาวะที่ค่อนข้างทรงตัวต่อเนื่องจากปี 2562 แต่มีโอกาสที่จะขยายตัวได้สูงถึง 5-7% หากเศรษฐกิจภาพรวมของประเทศมีการขยายตัวดีขึ้น ซึ่งจะทำให้เกิดการจ้างงานและความมั่นใจของผู้ที่ต้องการซื้อที่อยู่อาศัยในการตัดสินใจที่จะซื้อที่อยู่อาศัยมากขึ้น มาตรการกระตุ้นอสังหาฯ ดึงตลาดโต 2.7% สำหรับสถานการณ์ในปี 2562 ที่รัฐบาลได้ออก 3 มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ประกอบด้วยมาตรการลดหย่อนภาษีเงินได้จากการซื้อบ้านและห้องชุด (บ้านหลังแรก) ไม่เกิน 200,000 บาท มาตรการ ลดค่าธรรมเนียมจดทะเบียนการโอนและลดค่าจดทะเบียนการจำนองอสังหาริมทรัพย์เหลือประเภทละ 0.01% สำหรับการซื้อบ้านจัดสรรและห้องชุดราคาไม่เกิน 1 ล้านบาท (รวมบ้านสร้างใหม่ และบ้านมือสอง) และมาตรการลดค่าธรรมเนียมจดทะเบียนการโอน และลดค่าจดทะเบียนการจำนองอสังหาริมทรัพย์เหลือประเภทละ 0.01% สำหรับการซื้อบ้านจัดสรรและห้องชุดราคาไม่เกิน 3 ล้านบาทที่ซื้อจากผู้ประกอบการ   โดยมาตรการต่างๆ ดังกล่าวได้ส่งผลให้สถานการณ์การโอนกรรมสิทธิ์ทั่วประเทศในปี 2562 ปรับตัวดีขึ้นจากปี 2561 ได้ โดยมียอดจำนวนหน่วยโอนกรรมสิทธิ์ถึง 373,365 ยูนิต และมูลค่าการโอนกรรมสิทธิ์ถึง 875,189 ล้านบาท ซึ่งมีจำนวนยูนิตขยายตัวจากปี 2561 ถึง 2.7%   และมีมูลค่าขยายตัว 4.3% ทั้งที่คาดการณ์ว่าจะต้องติดลบถึง 8.4% และ 8.2%   จำนวนยูนิตที่ได้รับในอนุญาตจัดสรรทั่วประเทศ มีการขยายตัวในไตรมาส 2 และ 3 และในไตรมาส 4 ปี 2562 มีจำนวนยูนิตการขออนุญาตจัดสรรใกล้เคียงกับปี 2561 ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ผู้ประกอบการฯ ได้ปรับแนวการผลิตที่อยู่อาศัยมาสู่แนวราบมากยิ่งขึ้น   สำหรับผู้ประกอบการฯในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล เห็นได้ว่า เริ่มมีการปรับตัวมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2559 และ 2560 แล้ว โดยจำนวนยูนิตที่ได้รับใบอนุญาตก่อสร้างทั่วประเทศปี 2562 มีจำนวนลดลงถึง 9.0% โดยจำนวนยูนิตที่ได้รับใบอนุญาตก่อสร้างคอนโดฯ ลดลง 24.0% และหากพิจารณาจำนวนและสัดส่วนของใบอนุญาตก่อสร้างคอนโดฯ ได้ลดลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2559 – 2562 ซึ่งเป็นสัญญาณว่า ปริมาณของคอนโดฯ เกิดใหม่ในช่วง 1 – 2 ปีข้างหน้านี้น่าจะมีปริมาณลดลง ในส่วนของจำนวนยูนิตที่อยู่อาศัยเปิดตัวใหม่ในกรุงเทพฯและปริมณฑลปี 2562 มีจำนวนลดลงถึงประมาณ 32.1% โดยจำนวนหน่วยเปิดตัวใหม่ของอาคารชุดลดลง 34.3% และ บ้านจัดสรรลดลง 29.0% ซึ่งทำให้ภาวะที่มีหน่วยเหลือขายมากจากการเพิ่มขึ้นอย่างมากของที่อยู่อาศัยเปิดตัวใหม่ในปี 2561 จะทยอยถูกดูดซับไป   ที่ผ่านมา ศขอ. ได้นำข้อมูลที่ใช้เพื่อสนับสนุนภาคอสังหาฯ อย่างต่อเนื่อง เห็นได้จากรัฐบาลได้ออกมาตรการในการกระตุ้นตลาดอสังหาฯ ในปีที่ผ่านมา ซึ่งให้ผลลัพธ์ที่ดีขึ้น มูลค่าการโอนที่คาดว่าจะติดลบ 8.4% กลับมาเป็น บวกถึง 2.7%   ส่วนในปี 2561ที่ ศขอ. ได้นำเสนอข้อมูลสู่สังคมและสาธารณชน รวมถึงผู้ประกอบการอสังหาฯ ให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้อง ว่ายังไม่มีสถานการณ์ของฟองสบู่อสังหาฯ ในประเทศไทยในขณะนั้นแต่อย่างไร และทิศทางในปี 2562 ก็จะไม่มีภาวะฟองสบู่เช่นกัน  
โกลเด้นแลนด์ ชู Classic Model ฝ่าวิกฤตอสังหาฯ ปั้นรายได้ 19,000 ล้าน

โกลเด้นแลนด์ ชู Classic Model ฝ่าวิกฤตอสังหาฯ ปั้นรายได้ 19,000 ล้าน

โกลเด้นแลนด์ ชู 2 กลยุทธ์ ฝ่าปัจจัยลบตลาดอสังหาฯ หันกลับมาจับตลาดเรียลดีมานด์ เน้นบ้านคุ้มค่า คุ้มราคา ในทำเลที่ดี หวังสร้างรายได้โตต่อเนื่อง ตั้งเป้ารายได้รวม 19,000 ล้านบาท พร้อมเปิด 19 โครงการใหม่ มูลค่ารวม 25,000 ล้านบาท  เล็งขยายตลาดต่างจังหวัดเพิ่มอีก 4 แห่ง พร้อมหาซื้อคอนโดฯ มาพัฒนาต่อ   ทิศทางตลาดอสังหาริมทรัพย์ในปีนี้ ต้องยอมรับว่ายังคงชะลอตัวต่อเนื่อง จากปัจจัยลบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นหนี้ครัวเรือนที่ยังคงสูง ภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว ค่าเงินบาทแข็งค่า ส่งผลต่อภาคการท่องเที่ยวและการส่งออก สงครามการค้า และปัญหา LTV ทำให้ผู้ประกอบการต้องเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และต้องหากลยุทธ์มาสร้างการเติบโต   นายแสนผิน สุขี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โกลเด้นแลนด์เรสซิเดนซ์ จำกัด  ในเครือบริษัท แผ่นดินทอง พร็อพเพอร์ตี้ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) หรือโกลเด้นแลนด์ เปิดเผยว่า ปีนี้ปัจจัยต่างๆ อาจยังไม่เอื้อต่อการเติบโตของตลาดอสังหาฯ จากแนวโน้มเศรษฐกิจที่ยังทรงตัว และผลกระทบจากมาตรการ LTV ที่ยังส่งผลต่อลูกค้าที่ซื้อบ้านหลังที่ 2 และ 3 มาตรการเข้มงวดเรื่อง DSR (Debt Service Ratio) หรือ อัตราส่วนหนี้สินต่อรายได้ เป็นอัตราส่วนที่แสดงถึง สัดส่วนรายจ่ายในการชำระหนี้ต่อรายได้ของครัวเรือน  ซึ่งทำให้ลูกค้ากู้ได้ยากขึ้น ขณะที่หนี้สินครัวเรือนยังสูงอยู่ และค่าเงินบาทแข็ง ทำให้ลูกค้าต่างชาติชะลอการตัดสินใจซื้อ เป็นต้น แต่ก็ยังมีปัจจัยที่ช่วยส่งเสริมโอกาสทางธุรกิจ อาทิ อัตราดอกเบี้ยที่ลดลง ราคาวัสดุก่อสร้างที่มีแนวโน้มคงตัวและลดลง และแรงงานทางธุรกิจก็มีมาก คาดว่าตลาดอสังหาฯ ปีนี้ไม่ดี เพราะแย่มาตั้งแต่ปี 2562   เปิด 19 โครงการใหม่ มูลค่า 25,000 ล้าน แม้ว่าปีนี้จะมีปัจจัยลบมากมาย แต่โกลเด้นแลนด์ ยังวางเป้าหมายในการสร้างการเติบโตกับกลุ่มธุรกิจที่อยู่อาศัย ซึ่งปีนี้วางแผนเปิดตัวโครงการใหม่ 19 โครงการใหม่ เป็นโครงการแนวราบทั้งหมด ได้แก่  ทาวน์โฮม 9 โครงการ มูลค่า 11,000 ล้านบาท โครงการ นีโอ โฮม 6 โครงการ มูลค่า 8,500 ล้านบาท ต่างจังหวัด 2 โครงการ มูลค่า 3,500 ล้านบาท และ Big Home บ้านเดี่ยว 1 โครงการ มูลค่า 2,000 ล้านบาท เพื่อสร้างรายได้ที่อยู่อาศัยแนวราบมูลค่า 17,000 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 11% จากปีที่ผ่านมา มีรายได้รวม 17,168 ล้านบาท   รายได้ในปีนี้ จะมาจาก โครงการทาวน์โฮม 8,800 ล้านบาท สัดส่วน 52%  Big Home บ้านเดี่ยว 3,000 ล้านบาท สัดส่วน 18% นีโอ โฮม บ้านแฝด 3,000 ล้านบาท สัดส่วน 17% และต่างจังหวัด 2,200 ล้านบาท สัดส่วน 13% ซึ่งวางแผนจัดซื้อที่ดินไว้ที่ 17 แปลงมูลค่ารวม 8,000 ล้านบาท   ชู 2 กลยุทธ์ฝ่าอสังหาฯ 2020 จากแนวโน้มและทิศทางตลาดอสังหาฯ ในปีนี้ ที่ยังคงมีปัจจัยลบรอบด้าน ทั้งภาวะเศรษฐกิจโดยรวม กำลังซื้อ หนี้สินครัวเรือน ค่าเงินบาท สงครามการค้าโลก และมาตรการ LTV การสร้างการเติบโต จึงมุ่งเน้นการจับตลาดกลุ่มลูกค้าเรียลดีมานด์ โดยเน้นความคุ้มค่า คุ้มราคาของสินค้า ซึ่งสำหรับโกลเด้นแลนด์ได้วาง 2 กลยุทธ์ เพื่อสร้างความสำเร็จ คือ 1.กลยุทธ์ Classic Model สำหรับองค์กร ได้ใช้กลยุทธ์ในรูปแบบที่เรียกว่า Classic Model คือ การจับกลุ่มเป้าหมายที่เป็นเรียลดีมานด์  ที่มีความต้องการซื้อที่อยู่อาศัยจริง โดยวางระดับราคาสินค้าแต่ละประเภทให้เหมาะกับกำลังซื้อ กลุ่มทาวน์โฮม 2-5 ล้านบาท นีโอ โฮม 5-8 ล้านบาท BIG HOME บ้านเดี่ยว ระดับราคาที่ 8-15 ล้านบาท นอกจากนี้ ยังต้องบริหารงานก่อสร้างให้สอดคล้องกับสถานะขายและโอน ควบคุมค่าใช้จ่ายการขายและการบริหารให้ลดลง 3% เลือกใช้วัสดุ ที่ควบคุมต้นทุนได้ หรือสินค้าที่มีแนวโน้มราคาที่ลดลง เช่นสุขภัณฑ์ หรือค่าถมดิน เป็นต้น 2.กลยุทธ์สินค้า ที่ผ่านมาบ้านโกลเด้นแลนด์ นับได้ว่าเป็นต้นแบบนวัตกรรม ที่ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี  ในปีนี้บริษัทยังคงเน้นจุดแข็งในเรื่องฟังก์ชั่น เช่น นวัตกรรมครัวไทย ห้องพระในทาวน์โฮม บริเวณหลังบ้านที่สามารถปรับพื้นที่ได้ เป็นทั้งห้องซักรีด หรือห้องครัว และยังเพิ่มเรื่องของการออกแบบทั้งตัวบ้านและส่วนกลาง เพื่อเพิ่มบรรยากาศเพื่อการอยู่อาศัยที่ดีให้มากขึ้นอีกด้วย   นอกจากเรื่องสินค้า ยังคงเน้นเรื่องทำเลที่ตั้ง ซึ่งมุ่งเน้นทำเลติดถนนใหญ่ มีสิ่งอำนวยความสะดวก และกระจายไปในทุกพื้นที่ แต่ต้องคำนึงถึงราคาที่สอดคล้องและทำให้ลูกค้าจับต้องได้ด้วย ซึ่งจะเน้นไปยังทำเลเส้นทางรถไฟฟ้า ตามแนวรถไฟฟ้าสายสีเขียว โซนตะวันออกและใต้ จับทำเลที่ซัพพลายเหลือน้อย แต่ยังมีความต้องการสูง สานต่อความสำเร็จ “นีโอ โฮม” สำหรับปีนี้ โกลเด้นแลนด์ กลุ่มสินค้าที่เน้นให้ความสำคัญต่อเนื่อง คือ บ้านแฝด “นีโอ โฮม” (NEO HOME) ซึ่งพัฒนาภายใต้แนวคิด  “สวย ครบ คุ้ม และใกล้เมือง” จับกลุ่มลูกค้าระดับกลางถึงกลางบน ที่ต้องการทำเลใกล้เมือง เดินทางสะดวก ได้ฟังก์ชั่นครบคุ้มค่าเหมือนบ้านเดี่ยว ตลาดนีโอ โฮม มีแนวโน้มการเติบโตเพิ่มขึ้นทุกปี ในปีที่ผ่านมามียอดรับรู้รายได้จาก นีโอ โฮม 3,114 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก ปี 2561 ถึง 92% นีโอ​โฮมของโกลเด้นแลนด์ มีกระแสตอบรับที่ดีมาโดยตลอดทุกโครงการ จากจุดเด่นสินค้าในเรื่องความสวย ด้วยแบบบ้านในสไตล์อิตาลีและอังกฤษ พร้อมแบบบ้านใหม่ อีกหลายแบบในปีนี้ ฟังก์ชั่นเพื่อการอยู่อาศัยเทียบเท่าบ้านเดี่ยว พร้อมฟังก์ชั่นพิเศษ อาทิ ห้องพระ   ห้องซัก ตาก รีด ที่ตากผ้าได้ ไม่ต้องกลัวฝนหรือฝุ่น ห้องพักผ่อนชั้นบน ห้องนอนผู้สูงอายุ เป็นต้น   นอกจากนี้ ยังมีความคุ้มค่าของโครงการ  ด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกส่วนกลางที่หรูหรา  คลับเฮ้าส์ สวนพักผ่อน ซุ้มประตูทางเข้า ระบบรักษาความปลอดภัย เทียบเท่าโครงการบ้านระดับ 10-20 ล้านบาท ทำใกล้เมืองเดินทางสะดวก ใกล้สิ่งอำนวยความสะดวก เช่น บิ๊กซีซูปเปอร์เซ็นเตอร์ ขยาย 4 ตลาดต่างจังหวัดเพิ่ม นอกจากการพัฒนาโครงการในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑลแล้ว โกลเด้นแลนด์ ยังขยายตลาดออกไปยังพื้นที่ต่างจังหวัด อาทิ จังหวัดเชียงราย อยุธยา และพัทยา ซึ่งถือได้ว่าประสบความสำเร็จด้วยดี จากการนำเอาโมเดลธุรกิจ และรูปแบบบ้านมาพัฒนาและทำตลาดเช่นเดียวกับการทำตลาดในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล ส่งผลให้ได้รับการตอบรับที่ดี   ปีนี้ โกลเด้นแลนด์เตรียมขยายตลาดต่างจังหวัดต่อเนื่อง โดยจะเปิดโครงการเพิ่มอีก 2 แห่ง ที่เชียงใหม่-กาดรวมโชค เป็นทาวน์โฮมในทำเลคอนโด และ อ่างศิลา เพื่อรองรับการขยายตัวของจังหวัดชลบุรี พร้อมกับขยายตลาดเพิ่ม อย่างน้อยอีก 4 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดอุดรธานี ขอนแก่น ภูเก็ต และหาดใหญ่ ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างการจัดหาที่ดินเพื่อการพัฒนาโครงการ ส่วนพื้นที่ซึ่งมีที่ดินรองรับสำหรับการพัฒนาแล้ว คือ จังหวัดเชียงรายและชลบุรี  ซึ่งการพัฒนาโครงการในพื้นที่ต่างจังหวัด จะเลือกทำเลที่ตั้งในโลเกชั่นที่ดี เช่น การเดินทางสะดวก ใกล้แหล่งชุมชน หรือสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ไม่เน้นการซื้อที่ดินราคาถูกในทำเลห่างไกลเมือง เพราะจะทำให้ไม่สามารถแข่งขันกับ ผู้ประกอบการในท้องถิ่นได้ เตรียม 2,000 ล้านซื้อคอนโดฯ ปั้นโครงการต่อ ส่วนตลาดคอนโดมิเนียม แม้ว่าจะไม่ใช่ตลาดหลักของ “โกลเด้นแลนด์” แถมปีนี้ยังมีสินค้าเหลือขายในตลาดจำนวนมาก เพราะกำลังซื้อที่ลดลง กลุ่มนักเก็งกำไรที่หายจากตลาด รวมถึงตลาดคนจีนที่หายไป แต่ปีนี้ โกลเด้นแลนด์ มองเห็นว่าเป็นโอกาสทางการตลาด ในการเข้ามาทำตลาดคอนโดฯ ซึ่งแนวทางคือ เตรียมเงินทุน 2,000 ล้านบาท ในการซื้อโครงการหรือเข้าร่วมหุ้น เพื่อนำโครงการมาพัฒนาต่อ เพื่อรับรู้รายได้ทันที โดยมุ่งเน้นจับกลุ่มเรียลดีมานด์   เป็นกลุ่มคนทำงานในเมืองที่ต้องการหลีกเลี่ยงปัญหารถติด โดยบริษัทมีแผนจะลงทุนในโครงการพร้อมขายแล้วนำมาพัฒนาต่อ ขณะนี้อยู่ระหว่างการเจรจา ซึ่งคาดว่าจะเห็นความชัดเจนภายในครึ่งปีหลังนี้  และคาดสัดส่วนรายได้จากโครงการคอนโดฯ  10-20% ภายในปี 2565-2566    
รีวิวคอนโด หัวหิน “Carapace Huahin-Khaotao” ติดหาดเขาเต่า

รีวิวคอนโด หัวหิน “Carapace Huahin-Khaotao” ติดหาดเขาเต่า

หัวหิน เมืองท่องเที่ยวยอดนิยมตลอดกาลของบ้านเรา ไม่ว่าจะเป็นชาวไทยหรือชาวต่างชาติที่ต้องการแวะมาพักผ่อนสูดอากาศริมทะเล เดินเล่นบนหาดทรายอันเงียบสงบ ทานอาหารทะเลอร่อยๆ แต่อยู่ไม่ไกลจากกรุงเทพฯ เดินทางสะดวก จนเชื่อว่าใครหลายคนอยากจะมีคอนโดมิเนียมริมทะเลสักห้อง ซึ่ง "หัวหิน" คือคำตอบของจุดหมายปลายทางนี้ ที่สำคัญคือราคาในแบบมนุษย์เงินเดือนก็สามารถเป็นเจ้าของได้ เพียง 2 ล้านต้นๆ เท่านั้น   ในวันหยุดสุดสัปดาห์ ถ้าอยากหาสถานที่พักผ่อนริมชายหาดที่ผู้คนไม่พลุ่กพล่านมากนัก ก็คงต้องขับรถออกไปจากตัวเมืองกันสักนิด แต่ยังไม่ไกลจากสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ อย่างที่หัวหินก็คงจะชวนให้นึกถึงหาดเขาเต่า ซึ่งเป็นที่ตั้งของ "Carapace Huahin-Khaotao" โครงการติดชายหาดที่เป็นทั้ง Hotel Commercial 1 อาคาร 8 ชั้น อีก 2 อาคาร สูง 7 ชั้น และ Condominium Residential 3 อาคาร สูง 4 ชั้น แยกอาคารฟิตเนสอีก 1 อาคาร โดยจะแบ่งเป็น 2 เฟส แยกอาคารกันชัดเจน จึงไม่ต้องห่วงเรื่องความเป็นส่วนตัว แต่จะยังอยู่ในพื้นที่โครงการเดียวกัน สามารถเชื่อมต่อถึงกันได้ไปจนถึงริมหาดส่วนตัว ดีไซน์สไตล์คอนโด หัวหิน ริมทะเล หน้าตาของอาคารทั้ง 2 เฟส ใช้การออกแบบตามแนวคิด Modern Contemporary Concept มีทั้งความทันสมัยไปพร้อมกับการใช้ Texture และเส้นสายของ Facade ที่โค้งพริ้วรับกับ Landscape รอบอาคารส่งไปถึงริมทะเลอย่างสอดคล้องกัน ประกอบกับการวางตัวอาคารให้เปิดมุมมองเห็นพื้นที่สวนและทะเล แทรก Court ลงตรงพื้นที่กลางโครงการเพิ่มความน่าสนใจได้เป็นอย่างดี Facilities คอนโด หัวหิน เหมาะกับการพาครอบครัวมาพักผ่อน บรรยากาศริมชายหาด Interior คอนโด หัวหินก็น่าสนใจไม่แพ้กัน ขึ้นชื่อว่าเป็นโครงการริมชายหาดเขาเต่าแห่งเมืองหัวหินอันเลื่องชื่อ บรรยากาศภายในห้องพักก็ต้องให้อารมณ์เหมือนอยู่ริมทะเลด้วยเช่นกัน "Carapace Huahin-Khaotao" จึงได้หยิบเอาเปลือยหอยที่ถูกคลื่นซัดอยู่บนผืนทรายมาเป็นแรงบันดาลใจในการออกแบบภายในห้องพัก ไม่ว่าจะเป็นพื้นกระเบื้องลายไม้ วัสดุหัวเตียงที่มีลายเปลือกหอยมาเป็น Signature รวมถึงเฟอร์นิเจอร์ที่ใช้วัสดุและโทนสีออกมาเป็นสไตล์ Sapphire Earth Tone รายละเอียดคอนโด หัวหิน Carapace Huahin-Khaotao โครงการคอนโด หัวหิน อื่นๆ ที่น่าสนใจ อินเตอร์คอนติเนนตัล เรสซิเดนเซส หัวหิน THEW TALAY ESTATE Blu ชะอำ-หัวหิน  
7 ไฮไลท์แผนธุรกิจ PF-GRAND สู่เป้าหมายรายได้ 22,000 ล้าน

7 ไฮไลท์แผนธุรกิจ PF-GRAND สู่เป้าหมายรายได้ 22,000 ล้าน

กลุ่มบริษัทพร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค แถลงแผนธุรกิจปี 63 เดินหน้าสร้างรายได้และยอดขายกว่า  20,000 ล้าน พร้อมใช้กลยุทธ์ “Product Strategy” ผลักดันสู่เป้าหมาย  ทั้งการเปิดโปรเจ็กต์แนวราบ 12 โครงการ  การออกบ้านแบบใหม่ พัฒนาบ้านป้องกันฝุ่น PM 2.5 และเดินหน้าหั่นหนี้ 10,000 ล้าน หวังลด D/E เหลือ 1.2   นายชายนิด อรรถญาณสกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร นายวงศกรณ์ ประสิทธิ์วิภาต กรรมการผู้จัดการ และ นางสาวศิริรัตน์ วงศ์วัฒนา ประธานเจ้าหน้าที่กลุ่มการเงิน บริษัท พร็อพเพอร์ตี้  เพอร์เฟค จำกัด (มหาชน) หรือ PF​ ร่วมด้วย นายวิทวัส วิภากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และ นางสาววิลาวัณย์ เหลืองนาคทองดี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มการเงิน บริษัท แกรนด์ แอสเสท โฮเทลส์ แอนด์ พรอพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) หรือ GRAND ร่วมกันแถลงถึงแผนธุรกิจของกลุ่มบริษัท ประจำปี 2563 โดยแผนธุรกิจในปี 2563 มี 7 ประเด็นไฮไลท์ สำคัญ คือ 1.วางเป้าหมายรายได้รวมของกลุ่มบริษัท มูลค่า 22,000 ล้านบาท เติบโต 6.3% เมื่อเทียบกับปีก่อน  แบ่งเป็น ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ 16,400 ล้านบาท แบ่งเป็น -พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค มูลค่า 15,400 ล้านบาท รวมโครงการในประเทศญี่ปุ่น -แกรนด์ แอสเสทฯ มูลค่า 1,000 ล้านบาท ธุรกิจโรงแรม มูลค่า 3,300 ล้านบาท -โรงแรมในประเทศ 2,000 ล้านบาท -โรงแรมในญี่ปุ่น 1,300 ล้านบาท การขายที่ดินและการลงทุน 2,000 ล้านบาท ธุรกิจให้เช่า 300 ล้านบาท 2.พร็อพเพอร์ตี้ เฟอร์เฟค วางเป้าหมายยอดขาย 18,000 ล้านบาท แบ่งเป็น โครงการแนวราบ 10,000 ล้านบาท โครงการร่วมทุน 1,500 ล้านบาท โครงการคอนโดมิเนียม 6,500 ล้านบาท ในประเทศ 4,500 ล้านบาท และประเทศญี่ปุ่น 2,000 ล้านบาท 3.พร็อพเพอร์ตี้ เฟอร์เฟค  สร้างการเติบโตด้วย Product strategy มี 4 แนวทางสำคัญ  ได้แก่ -การเปิด 12 โครงการแนวราบ มูลค่ารวม 18,560 ล้านบาท แบ่งเป็น บ้านเดี่ยว 10 โครงการ มูลค่า 17,110 ล้านบาท ทาวน์เฮ้าส์ 2 โครงการ มูลค่า 1,450 ล้านบาท -การเพิ่มแบบบ้านใหม่ 26 โมเดล -การเปิดตัวบ้านคอนเซ็ปต์ใหม่ Pure Air Technology หรือ “บ้านป้องกันฝุ่น PM 2.5” -การเป็นองค์สร้างสิ่งแวดล้อมที่ดี ด้วยการการปลูกต้นไม้ใหญ่ 5,000 ต้นในโครงการต่างๆ  การติดตั้งแผงโซล่าร์ผลิตไฟฟ้าเพื่อใช้พลังงานสะอาดในสำนักงานและคลับเฮ้าส์ 4.แกรนด์ แอสเสทฯ วางเป้าหมายยอดขาย 3,000 ล้านบาท แบ่งเป็น -โครงการคอนโดฯ 2,500 ล้านบาท -โครงการวิลล่า ในจ.ระยอง 500 ล้านบาท 5.วางเป้าหมายลดหนี้ 10,000 ล้านบาท เพื่อลดอัตราหนี้สินต่อทุน หรือ D/E ให้ต่ำกว่า 1.5 เท่า จากปัจจุบันมี D/E ที่ 1.7 เท่า ซึ่งหากทำได้ตามแผนที่วางไว้จะมี D/E เหลือ 1.2 เท่า โดยวางแผน -ขายหุ้นโรงแรมรอยัล ออร์คิด เชอราตัน ขั้นต่ำ 40% คิดเป็นมูลค่า  2,500 ล้านบาท จากมูลค่า 6,000 ล้านบาท -การโอนกรรมสิทธิ์คอนโดมิเนียม ยู คิโรโระ ในประเทศญี่ปุ่น สามารถมาลดหนี้ได้ มูลค่า 1,500 ล้านบาท จากปีที่ผ่านมาโอนกรรมสิทธิ์ไปแล้ว 1,700 ล้านบาท -ขายหอพักยูนิลอฟท์ และที่ดินใน จ.เชียงใหม่ มูลค่า 1,000 ล้านบาท ซึ่งวางแผนขายให้กับโรงเรียนนานาชาติ -ขายที่ดินย่านรามอินทรา มูลค่า 2,500 ล้านบาท -ขายที่ดินย่านรัชดาภิเษก มูลค่า 2,500 ล้านบาท 6.พร็อพเพอร์ตี้ เฟอร์เฟค ไม่มีแผนเปิดโครงการคอนโดฯ โดยจะขายสต็อกเก่าที่มีอยู่ 6,800 ล้านบาทที่สร้างเสร็จแล้ว จะรับรู้รายได้ปีนี้ 4,200 ล้านบนาท โดยมียอดขายรอรับรู้รายได้ หรือ Backlog  ช่วงสิ้นปี 2562 มูลค่า  2,845 ล้านบาท  แบ่งเป็น Backlog จากโครงการคอนโดฯ  1,427 ล้านบาท ซึ่งในปี 2563 จะมีรายได้จากโครงการคอนโดฯ  2 โครงการ ได้แก่ โครงการ ไอ คอนโด กรีนสเปซ พัฒนาการ-ศรีนครินทร์ และโครงการ เมโทร สกาย วุฒากาศ และมี Backlog จากโครงการแนวราบ 1,118 ล้านบาท และเป็น Backlog จากโครงการคอนโดฯ  ยู คิโรโระ 300 ล้านบาท 7.เดินหน้าแผนพัฒนาโครงการร่วมทุนกับ 3 พันธมิตร  -ร่วมทุนกับฮ่องกงแลนด์ เพื่อพัฒนาโครงการ “เลค เลเจ้นด์” บ้านเดี่ยวระดับไฮเอนด์  2 โครงการ มูลค่ารวม 13,500 ล้านบาท -ร่วมมือกับ  ซูมิโตโม ฟอเรสทรี พัฒนาโครงการบ้านเดี่ยวในทำเลราชพฤกษ์ตัดใหม่ 2 โครงการ มูลค่า 3,900 ล้านบาท จากนอกเหนือจากคอนโดมิเนียม ไฮด์ เฮอริเทจ ทองหล่อ มูลค่าโครงการ 6,000 ล้านบาทแล้ว ในปีนี้ยังจะร่วมกัน -ร่วมทุนกับ เซกิซุย เคมิคอล พัฒนาโครงการในเพิ่มอีก 1 ทำเล  มูลค่ารวม 3,100 ล้านบาท จากปีที่ผ่านมามีการร่วมมือกันใน 4 ทำเล   ภาพรวมการร่วมทุนของกลุ่มบริษัทขณะนี้มีมูลค่าทั้งสิ้น 26,500 ล้านบาท เป็นแนวทางหนึ่งที่จะช่วยเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับกลุ่มบริษัท ปีที่ผ่านมาบริษัทยังประสบความสำเร็จจากโครงการ “ยู คิโรโระ” คอนโดมิเนียมในประเทศญี่ปุ่น ทำให้มีรายได้เข้ามา 1,700 ล้านบาท ปัจจุบันโครงการมียอดขายแล้ว 2,600 ล้านบาท หรือ 70% ของจำนวนยูนิตทั้งหมด  และคาดว่าจะได้รับการตอบรับที่ดีต่อเนื่อง สามารถโอนกรรมสิทธิ์ปิดโครงการได้ภายในปีนี้  
NCH ลุยตลาดบ้านแนวราบ เปิด 5 โปรเจ็กต์สร้างยอด 2,700 ล้าน

NCH ลุยตลาดบ้านแนวราบ เปิด 5 โปรเจ็กต์สร้างยอด 2,700 ล้าน

เอ็น.ซี.เฮ้าส์ซิ่ง เปิดแผนธุรกิจปี 63 เดินหน้าพัฒนา 5 โปรเจ็กต์แนวราบมูลค่า 3,600 ล้าน  พร้อมใช้ 3 กลยุทธ์  ผลักดันเป้าหมายยอดขาย 2,700 ล้าน   นายสมนึก ตันฑทอดธรรม กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอ็น.ซี.เฮ้าส์ซิ่ง จำกัด (มหาชน) หรือ NCH เปิดเผยถึงแผนธุรกิจในปี 2563 เตรียมพัฒนาโครงการแนวราบ ทั้งบ้านเดี่ยว บ้านแฝด และทาวน์เฮ้าส์ จำนวน 5 โครงการ มูลค่า 3,600 ล้านบาท บนที่ดินซึ่งเป็นแลนด์แบงก์ของบริษัท ประมาณ 200 ไร่ ทั้งในพื้นที่กรุงเทพฯ​ ตอนเหนือ จังหวัดนครปฐม และพัทยา   โดยได้วางเป้าหมายในปีนี้ จะทำยอดขาย 2,700 ล้านบาท ใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมา และรับรู้รายได้ 1,600 ล้านบาท ปัจจุบันมีโครงการที่อยู่ระหว่างการพัฒนาและการขายรวม 9 โครงการ มูลค่า 4,000-5,000 ล้านบาท และมียอดขายรอรับรู้รายได้หรือแบ็กล็อก ในช่วงไตรมาส 3 ปี 2562 มูลค่า 300 ล้านบาท 3 กลยุทธ์สร้างยอดขาย 2,700 ล้าน สำหรับแนวทางการดำเนินธุรกิจ เพื่อให้ไปถึงเป้าหมายที่วางไว้ ได้เตรียม 3 กลยุทธ์ สำคัญ ได้แก่ 1.กลยุทธ์โปรดักส์ มุ่งพัฒนาสินค้าที่ตรงความต้องการของผู้บริโภค ในระดับราคา 2-5 ล้านบาท เป็นสินค้าที่มีความคุ้มค่า และใช้ประโยชน์สูงสุด รองรับกับกลุ่มลูกค้าที่ต้องการอยู่อาศัยได้ทุกช่วงวัย หรือ “alllgen” 2.กลยุทธ์ Customer Centric   ให้ความสำคัญกับลูกค้าเป็นอันดับแรก  เพิ่มการบริการที่ยกระดับการอยู่อาศัยในสังคมชุมชนสอดคล้องกับแนวคิด “รู้จักบ้าน รู้ใจคุณ” ซึ่งปีนี้จะร่วมกับพันธมิตรทางธุรกิจ ในการเพิ่มบริการที่หลากหลายมากขึ้น 3.กลยุทธ์ Home Innovation เอ็น.ซี.นำนวัตกรรม และเทคโนโลยีเพื่อที่อยู่อาศัยมาพัฒนาโครงการ โดยผนึกพันธมิตร เพื่อการอยู่อาศัยที่ดีขึ้น มีความทันสมัย สะดวก สบาย  เอื้อต่อการใช้ชีวิตประจำวันอย่างมีความสุข โดยในปีนี้ยังเตรียมเปิดให้บริการธุรกิจเฮลท์แคร์ ที่ร่วมกับพันธมิตร เพื่อให้บริการลูกบ้านของบริษัทด้วย ส่วนแนวทางการทำตลาดในช่วงไตรมาสแรกของปี บริษัทเตรียมแคมเปญ  NC 5G แรง ด้วยการมอบโปรโมชั่น (ตามเงื่อนไข) ได้แก่  G1 : GOLD  ซื้อบ้านได้ทอง  สูงสุด 20  บาท  G2 : GIFT  ซื้อบ้านรับของแถม Apple Series ครบคุ้ม อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า  G3 : GIFT VOUCHER  ตกแต่งบ้าน มูลค่าสูง ถึง 100,000 บาท G4 : GIVE AWAY  เอ็น.ซี ร่วมสมทบเงินมอบส่วนหนึ่ง เพื่อโครงการรักษ์โลก ทุกยอดโอน  ล้านละ 1,000 บาท ร่วมบริจาคสนับสนุน ด้านการคัดแยกขยะลดปัญหาสิ่งแวดล้อม G5 : GET MORE  รับส่วนลดสูงสุด 2 ล้านบาท ฟรีทุกค่าใช้จ่ายวันโอนกรรมสิทธ์ทุกรายการ ซึ่งบริษัทคาดว่าจะทำยอดขายได้ประมาณ​ 400-500 ล้านบาท      
“ดับบลิวแอนด์ดับบลิว”เปิดแผนปีหนู ผุด 3 โครงการใหม่ รวมมูลค่า 4,000 ล้าน

“ดับบลิวแอนด์ดับบลิว”เปิดแผนปีหนู ผุด 3 โครงการใหม่ รวมมูลค่า 4,000 ล้าน

ดับบลิวแอนด์ดับบลิว พร็อพเพอร์ตี้ แอนด์ ดีเวลลอปเม้นท์ฯ เผยภาพรวมตลาดอสังหาฯปี 63 ตลาดแนวสูงฝั่งกทม. ชั้นนอกไม่คึกคัก รายเล็กและรายใหญ่ เร่งวางแผนให้รัดกุม เปิดแผนปีหนูจ่อผุด 3 โครงการใหม่ รวมมูลค่า 4,000 ล้านบาท ประเดิมโครงการ “Matier Rama9” โฮมออฟฟิศ ย่านพระราม 9 – รามคำแหง พร้อมเปิดพรีเซล ก.พ.นี้ ด้าน“โพลิส คอนโด สุขสวัสดิ์ 64” กวาดยอดขายแล้ว 90% คาดปีนี้รับรู้รายได้ไม่ต่ำกว่า 1,000 ล้านบาท   นายวิทยา พรหมชนก กรรมการผู้จัดการบริษัท ดับบลิวแอนด์ดับบลิว พร็อพเพอร์ตี้ แอนด์ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด เปิดเผยว่า ภาพรวมตลาดอสังหาฯปี 2562 ที่ผ่านมาว่า  เป็นปีที่ผู้ประกอบการอสังหาฯ ทั้งรายเล็กและรายใหญ่ต่างเห็นพ้องตรงกันว่าเป็นปีที่ยากลำบากในการดำเนินธุรกิจมากที่สุด และเป็นปีแห่งความท้าทาย  ส่วนในปี 2563 มองว่าตลาดแนวสูงฝั่งกทม.ชั้นนอกยังไม่คึกคักเท่าที่ควร  ผู้ประกอบการรายใหญ่-รายเล็กต้องมีการวางแผนอย่างรัดกุม ในส่วนของบริษัทฯเองก็มีแนวคิดและวางกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจใหม่ๆ เพื่อรองรับการเติบโตของบริษัท สามารถปรับตัวให้สอดคล้องกับทิศทางของตลาดอสังหาฯ ที่เปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็วและคล่องตัว     โดยในปีนี้บริษัทฯตั้งเป้าที่จะเปิดตัวโครงการใหม่ประมาณ 3 โครงการ รวมมูลค่าไม่ต่ำกว่า 4,000 ล้านบาท ได้แก่ โครงการ “Metier Rama9” ตั้งอยู่บนถนนพระราม9 ตัดกับถนนรามคำแหง พัฒนาในรูปแบบของโฮมออฟฟิศ เพื่อหวังเจาะกลุ่มเป้าหมายระดับ Super Luxury ซึ่งคาดว่าจะสามารถเปิดตัวอย่างเป็นทางการได้ภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2563 นี้ ส่วนอีก 2 โครงการจะเป็นคอนโดมิเนียมขนาดกลาง ใกล้แนวรถไฟฟ้า 1 โครงการ และโครงการแนวราบ ในจังหวัดหัวเมืองท่องเที่ยวภาคใต้ 1 โครงการ  ที่คาดว่าจะสามารถเปิดตัวได้ในช่วงปลายปี 2563 แต่ยังไม่สามารถเปิดเผยรายละเอียดได้ในขณะนี้ ด้านความคืบหน้าโครงการ “โพลิส คอนโด สุขสวัสดิ์ 64” (Polis Condo Suksawat 64) ตั้งอยู่บนพื้นที่กว่า 5 ไร่ ในซอยสุขสวัสดิ์ พัฒนาในรูปแบบคอนโดมิเนียมแบบโลว์ไรซ์ 8 ชั้น 2 อาคาร จำนวน 459 ยูนิต มูลค่าโครงการรวมกว่า 700 ล้านบาท ถูกออกแบบภายใต้แนวคิด “เปิดโล่งให้กับชีวิต ต่อติดทุกการเดินทาง” โดยมีจุดเด่นของโครงการ คือ ความสะดวกสบายด้วยทำเลที่ดีเยี่ยมเข้าออกได้หลายเส้นทาง พื้นที่เปิดโล่งโปร่งสบายด้วยการจัดผังโครงการให้มีพื้นที่ใช้งานอย่างลงตัว พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกแบบครบครัน อาทิ โถงล็อบบี้ส่วนกลาง เพื่อรับแขกและพักผ่อน , สระว่ายน้ำขนาดใหญ่ 2 สระ เพื่อรองรับการพักผ่อนและการออกกำลังกาย, ฟิตเนสครบวงจร, ห้องซ้อมมวย, ลานโยคะ, ห้องสำหรับชมภาพยนต์, พื้นที่ขนาดใหญ่สำหรับร่วมกันสังสรรค์ทำงานและห้องประชุมส่วนตัวบนพื้นที่ส่วนกลาง, สนามเด็กเล่น, สวนหย่อม และสวนขนาดใหญ่รอบโครงการ และดึงดูดใจกลุ่มลูกค้าระดับกลางในราคาที่เป็นเจ้าของได้ง่ายๆ  ซึ่งโครงการดังกล่าวได้เปิดพรีเซลไปเมื่อปลายปี 2561 ที่ผ่านมา โดยแบ่งออกเป็น 3 Type ได้แก่ Type A 1Bedroom 28 ตร.ม. , Type B 1 Bedroom Plus 34.5 ตร.ม. และ Type C 2 Bedroom 45 ตร.ม. ราคาเริ่มต้นที่ 1.49 ล้านบาท ซึ่งปัจจุบันมียอดขายแล้วกว่า 90 % โดยได้นัดลูกค้าเพื่อตรวจรับห้องไปแล้วบางส่วน และคาดว่าจะสามารถทำการตรวจรับห้องได้ครบทั้งหมด และเริ่มโอนกรรมสิทธิ์ได้ภายในไตรมาสแรกของปี 2563 นี้และคาดว่าจะปิดการขายได้ภายในไตรมาสที่ 3 ของปี 2563 นอกจากนี้ บริษัทได้ให้ความสำคัญกับกิจกรรมเพื่อดูแลหลังการขาย และดูแลความสุขของลูกบ้านอย่างเต็มที่ โดยที่ผ่านมาทุกโครงการของบริษัท ได้มีการปฏิสัมพันธ์กับลูกบ้านมาโดยตลอด เพื่อที่จะรับรู้ทั้งสิ่งที่ดี และสิ่งที่อยากให้ปรับปรุงเพิ่มเติม โดยในหลายๆครั้ง เมื่อมีนวัตกรรมหรือ ฟีเจอร์ใหม่ๆสำหรับที่อยู่อาศัยออกสู่ท้องตลาด ทางโครงการได้มีการนำสิ่งเหล่านี้กลับไปเพิ่มเติมและปรับใช้อย่างเหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นด้านของทัศนียภาพหรือประโยชน์ใช้สอยก็ตาม เพราะว่าโครงการได้ตั้งใจสร้างที่อยู่อาศัย ที่อยู่ได้จริง ไม่ว่าจะเป็นแนวราบหรือแนวสูง และเป็นที่ๆลูกบ้านค้นพบความสุขได้จากการพักผ่อนในบ้านของตนเอง ทางโครงการจึงได้จัดงาน “Polis Open house” ขึ้น เพื่อเป็นการตอบแทนคำขอบคุณลูกค้าจากโครงการ และยังถือเป็นกิจกรรมเพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีร่วมกัน ภายในงานประกอบด้วยกิจกรรมจับฉลากแจกของรางวัลและเกมส์สนุกๆมากมาย ซึ่งบรรยากาศภายในงานเต็มไปด้วยความสนุกและความอบอุ่น  ตอกย้ำวิสัยทัศน์ในการดำเนินงานของโครงการที่ว่า “เหนือกว่าราคาคือความคุ้มค่าและตรงใจ” ซึ่งนั่นถือเป็นหัวใจสำคัญในการทำงานของบริษัทได้เป็นอย่างดี   “ในปีนี้ยอดรับรู้รายได้ไม่ต่ำกว่า 1,000 ล้านบาท  ซึ่งเป็นปีที่บริษัทเตรียมจะเปิดตัวโครงการเพิ่มอีกในทำเลที่มีศักยภาพที่ดี และประเภทโครงการที่หลากหลายเซกเมนต์ รวมถึงจำนวนโครงการที่อยู่ในแผนพัฒนา ซึ่งเป้าหมายในระยะยาวนั้น คือการได้เป็นองค์กรที่พัฒนาที่อยู่อาศัยและสถานที่พักผ่อนได้ตรงใจผู้อยู่อาศัยมากที่สุด การขยายโครงการนี้จึงถือเป็นจังหวะที่จะได้พิสูจน์ความตั้งใจในวิเคราะห์ข้อมูล พฤติกรรมของกลุ่มลูกค้า เพื่อนำมาเป็นปัจจัยในการพัฒนาโครงการที่หลากหลายมากขึ้น เราตั้งใจ และที่สำคัญคือการได้รับรู้เสียงตอบรับของลูกบ้านทุกท่านของบริษัทในปีนี้ เพื่อนำทั้งความคิดเห็นและคำติชม ไปปรับปรุงพัฒนาโครงการต่อๆไป” นายวิทยา กล่าวในที่สุด รายละเอียดโครงการจากดับบลิวแอนด์ดับบลิว พร็อพเพอร์ตี้ แอนด์ ดีเวลลอปเม้นท์ W&W Property And Development เกี่ยวกับ W&W Property And Development Polis Condo Suksawat 64
บิ๊กอสังหาฯ มาเลเซียประกาศร่วมลงทุนโครงการ “ณ รีวา” คอนโดฯ พรีเมียม ถนนเจริญนคร มูลค่าโครงการ 1,300 ล้านบาท

บิ๊กอสังหาฯ มาเลเซียประกาศร่วมลงทุนโครงการ “ณ รีวา” คอนโดฯ พรีเมียม ถนนเจริญนคร มูลค่าโครงการ 1,300 ล้านบาท

กลุ่มทุนยักษ์ใหญ่ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์จากประเทศมาเลเซีย Paramount Corporation Berhad ร่วมลงทุนโครงการอสังริมทรัพย์ไทย โดยเข้าถือหุ้น 49% ในบริษัท ณวรางค์ เจริญนคร จำกัด เจ้าของโครงการ “ณ รีวา” ถนนเจริญนคร โครงการที่พักอาศัยแนวสูงระดับพรีเมียม มูลค่าโครงการ 1,300 ล้านบาท ที่กำลังเตรียมเปิดตัวโครงการภายในเดือนกุมภาพันธ์ ศกนี้   การพัฒนาโครงการ ณ รีวา อยู่ภายใต้การดำเนินงานของบริษัท ณวรางค์ เจริญนคร จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนระหว่าง บริษัท ณวรางค์ แอสเซท จำกัด ถือหุ้น 51% และ Paramount Corporation Berhad ถือหุ้น 49% โดยเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2563 ได้มีพิธีฉลองความร่วมมืออย่างเป็นทางการในการลงทุนร่วมโครงการ ณ รีวา เจริญนคร ระหว่าง บริษัท ณวรางค์ แอสเซท จำกัด โดย นายอภิภู  พรหมโยธี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และ Paramount Corporation Berhad โดยนายเจฟเฟรย์  จิว  (Mr.Jeffrey Chew) ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มพาราเมาท์ คอร์ปอเรชัน  เบอร์ฮาด ประเทศมาเลเซีย โดยระบุว่าดีลนี้เป็นข้อบ่งชี้สำคัญสำหรับทั้งสองฝ่ายที่ต่างให้ความเชื่อมั่นในศักยภาพการเติบโตของตลาดอสังหาริมทรัพย์ไทยในประเภทที่พักอาศัยแนวสูงระดับพรีเมียมถึงไฮเอนด์ รายละเอียดโครงการ ณ รีวา เพิ่มเติม Na Reva Charoennakhon ข่าวอื่นๆ จาก NAVARANG ASSET “ณ วีรา พหลฯ-อารีย์” แอคทีฟแบบชีวิตติดเมือง “ณวรางค์ แอสเซท” กางแผน 3 ปี ผุดโปรเจ็คต์ใหม่กว่า 5,000 ล้าน จับตาราคาที่ดิน “อารีย์-พหลโยธิน” พุ่ง รับ New CBD
โกลเด้นแลนด์ กวาดรายได้และกำไร โตสวนกระแสตลาดชะลอตัว

โกลเด้นแลนด์ กวาดรายได้และกำไร โตสวนกระแสตลาดชะลอตัว

โกลเด้นแลนด์ เผยผลประกอบการปี 2562 ทำรายได้รวม 17,168 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 8.6% พร้อมทำกำไร  2,085 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 7.3%  เหตุทุกธุรกิจเติบโตถ้วนหน้า ทั้งที่พักอาศัย อาคารสำนักงาน และศูนย์การค้า ส่วนปี 2563 เดินธุรกิจด้วยความระมัดระวัง ฝ่าวิกฤตตลาดชะลอตัว   นายธนพล ศิริธนชัย ประธานอำนวยการ บริษัท แผ่นดินทอง พร็อพเพอร์ตี้ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) หรือ โกลเด้นแลนด์ เปิดเผยว่า บริษัทมีรายได้หลักจากการขายอสังหาริมทรัพย์รวม 15,305 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1,268 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 9% จากงวดเดียวกันของปีก่อน โดยประสบความสำเร็จทั้งโครงการใหม่ที่เริ่มเปิดขายและโอนในระหว่างปี 2562 รวมถึง โครงการเดิมที่ยังขาย และโอนได้อย่างต่อเนื่อง โดยยอดขายบ้านนีโอโฮม ราคา 5-8 ล้านบาท มีสัดส่วนสูงขึ้นอย่างชัดเจน รวมถึงยอดขายจากการขยายโครงการไปต่างจังหวัด     ในขณะที่รายได้ค่าเช่าและรายได้อื่นๆ งวด 12 เดือน (1 มกราคม 2562  – 31 ธันวาคม 2562) มีรายได้รวม 1,863 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 89 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 5% จากงวดเดียวกันของปีก่อน เป็นผลมาจากการรับรู้รายได้จากการให้เช่าในอาคารสำนักงาน  ที่บริษัทบริหารพื้นที่ มีอัตราการเช่าสูงกว่า 95% ทุกอาคาร และมีรายได้ที่เพิ่มขึ้นจากธุรกิจโรงแรม   ส่วนโครงการสามย่านมิตรทาวน์ที่แล้วเสร็จในปีที่ผ่านมา  ศูนย์การค้าสามย่านมิตรทาวน์ มีอัตราการเช่าแล้ว 95% ส่วนพื้นที่อาคารสำนักงาน มิตรทาวน์ ออฟฟิศ ทาวเวอร์ มีอัตราการเช่าแล้ว 75% มีผู้เช่าทยอยเข้าตกแต่ง  และส่วนที่พักอาศัย ทริปเปิ้ล วาย เรสซิเด้นซ์ มีอัตราการขายสิทธิการเช่า 75% และทริปเปิ้ล วาย โฮเทล ที่มีอัตราการเข้าพักเฉลี่ย 45%   “จากผลประกอบการรอบ 12 เดือน ปี 2562 ที่ผ่านมาสะท้อนให้เห็นว่า เรายังทำได้ดีตามเป้าหมาย ซึ่งเป็นผลจากการเลือกพัฒนาโครงการบนทำเลที่มีความต้องการต่อเนื่อง และราคาสินค้าตอบโจทย์กำลังซื้อของกลุ่มลูกค้า แม้ว่าจะเผชิญความท้าทายจากหลายปัจจัยภายนอกที่กระทบกับตลาดที่อยู่อาศัย โดยเฉพาะ 6 เดือนสุดท้ายของปี 2562 ที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการคุมเข้มสินเชื่อ LTV”     ขณะที่ทิศทางของโครงการเชิงพาณิชย์ ตลาดอาคารสำนักงานยังไปได้ดี สะท้อนจากอัตราการเช่าพื้นที่ทุกอาคารของโกลเด้นแลนด์ และอาคารสำนักงานให้เช่าแห่งใหม่ล่าสุดในโครงการสามย่านมิตรทาวน์ มิตรทาวน์ ออฟฟิศ ทาวเวอร์ ที่มียอดผู้เช่าในสัดส่วนที่สูง แม้ว่าอาคารจะเพิ่งก่อสร้างแล้วเสร็จเมื่อปลายปีที่ผ่านมา เช่นเดียวกับศูนย์การค้าสามย่านมิตรทาวน์ที่ยังคงมีผู้ใช้บริการสูงอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่เปิดให้บริการในเดือนกันยายน 2562 ที่ผ่านมา และมีอัตราผู้เช่าสูงตามเป้าหมาย   สำหรับภาพรวมธุรกิจในปี 2563 ในส่วนของธุรกิจที่อยู่อาศัย โกลเด้นแลนด์ได้มีการปรับกลยุทธ์ให้เติบโตอย่างระมัดระวัง ในการฝ่าภาวะตลาดอสังหาริมทรัพย์ชะลอตัว เช่น การบริหารค่าใช้จ่ายในการขาย รวมทั้งการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานและใช้ทรัพยากร บริษัทฯ คาดการณ์การแข่งขันในปีนี้จะยังรุนแรงเช่นเดิมโดยเฉพาะตลาดบ้านแนวราบ จากการที่ผู้ประกอบการรายใหญ่หลายรายหันมาให้ความสำคัญกับตลาดนี้แทนที่ตลาดคอนโดมิเนียม   ส่วนธุรกิจเชิงพาณิชย์ อาคารสำนักงานที่อยู่ใจกลางเมือง เดินทางสะดวก ติดรถไฟฟ้าจะยังได้รับความสนใจจากกลุ่มผู้เช่าภาคธุรกิจต่างๆ ส่วนธุรกิจศูนย์การค้าใจกลางเมือง นอกจากร้านค้าที่ตอบโจทย์ความต้องการของผู้ใช้บริการแล้ว การจัดอีเวนท์อย่างต่อเนื่องก็จะดึงกลุ่มลูกค้าได้ดี   อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง “สามย่านมิตรทาวน์” เปิดพื้นที่ 24 ชั่วโมง ให้คนกรุงใช้ชีวิตทั้งวันทั้งคืน “กิน ดื่ม ทำงาน และออกกำลังกาย” 19 ร้านคอนเซ็ปต์ “ใหม่” ในสามย่านมิตรทาวน์ [PR News] โกลเด้นแลนด์ เปิดอาณาจักร GOLDEN EMPIRE แจ้งวัฒนะขายหมดภายใน 2 วัน เปิด 5 ไฮไลท์ “MITRTOWN OFFICE TOWER” ออฟฟิศให้เช่า พระราม 4 5 เหตุผล “โกลเด้นแลนด์” ปักหมุดเชียงรายปั้น โกลเด้น เอ็มไพร์ 2,600 ล้าน
ตลาดอสังหาฯ จะไปต่ออย่างไร หลังปลดล็อค LTV หนุนตลาดโตเพิ่มแค่ 0.8%

ตลาดอสังหาฯ จะไปต่ออย่างไร หลังปลดล็อค LTV หนุนตลาดโตเพิ่มแค่ 0.8%

ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) แถลงการณ์ปรับปรุงหลักเกณฑ์การกำกับ ดูแลสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย (LTV) ที่แม้จะครอบคลุมถึง การกู้ซื้อ ที่อยู่อาศัยในทุกระดับราคา แต่ ธปท. ได้มุ่งผ่อนปรนให้กับการกู้ซื้อที่เป็นสัญญาที่ 1 และ 2 เป็นหลัก   สำหรับการกู้ที่อยู่อาศัยมูลค่าไม่ เกิน 10 ล้านบาท ผู้กู้ซื้อบ้านในสัญญาที่ 1 สามารถกู้เงินเพิ่ม 10% เพื่อใช้เป็นค่าใช้จ่ายที่จาเป็นต่อการอยู่ อาศัย เช่น ค่าตกแต่งที่อยู่อาศัยได้ ขณะที่ผู้กู้ในสัญญาที่ 2 ที่ผ่อนหลังแรกเกิน 2 ปี (จากเดิมกาหนด ไว้ที่ 3 ปี) สามารถใช้เงินดาวน์เพียง 10% ส่วนการกู้ที่อยู่อาศัยมูลค่าตั้งแต่ 10 ล้านบาทขึ้นไปในสัญญาที่ 1 ธปท. ผ่อนปรนใช้สัดส่วนเงินดาวน์ลดลงจาก 20% เหลือ 10% ทั้งนี้ การปรับปรุงหลักเกณฑ์ LTV ดังกล่าวจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 20 มกราคม 2663 เป็นต้นไป ธปท.ผ่อนปรน LTV เพราะตลาดอสังหาฯ หดตัว 4.5% Krungthai COMPASS มองว่าการหดตัวของตลาดที่อยู่อาศัย และผลประกอบการ ของผู้ประกอบการอสังหาฯ ที่แย่ลง คือแรงกดดันสำคัญให้ ธปท. ต้องผ่อนปรนเกณฑ์ LTV หลังจากที่ ธปท. ได้บังคับใช้เกณฑ์ LTV ใหม่ในวันที่ 1 เมษายน 2562 ที่ระบุให้ผู้กู้ ตั้งแต่สัญญาที่ 2 ขึ้นไปต้องเตรียมเงินดาวน์มากขึ้น ได้ส่งผลกระทบให้ตลาดที่อยู่ อาศัยปรับตัวลงอย่างเห็นได้ชัด   โดยมูลค่าตลาดที่อยู่อาศัยในกรุงเทพฯ และ ปริมณฑล หลังจาก LTV มีผลบังคับใช้ (เมษายน - ตุลาคม 2562) หดตัว 4.5% จากช่วงเวลาเดียวกันของปี 2561 แบ่งเป็นบ้านจัดสรรที่ยังเติบโตได้ 2% ขณะที่ คอนโดมิเนียมติดลบมากถึง 12% ทั้งนี้ หากพิจารณาข้อมูลบัญชีสินเช่ือที่อยู่อาศัย ปล่อยใหม่ในช่วง 9 เดือนแรกของปี2562 จาก ธปท. จะพบว่าการหดตัวของตลาด คอนโดมิเนียมเป็นผลมาจากการกู้ยืมในสัญญาที่ 2 และ 3 ที่ติดลบสูงถึง 26% และ 41% ตามลาดับ ดีเวลลอปเปอร์กำไรวูบ 36% สภาพตลาดที่หดตัวลงก็เป็นภาพใหญ่ที่สะท้อนให้เห็นถึงผลประกอบการของ ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่หดตัวลงเช่นกันโดยหากนับผลประกอบการในช่วงไตรมาส ที่ 2-3 ของผู้พัฒนาอสังหาฯ รายใหญ่ๆ ในตลาดหลักทรัพย์ พบว่าผู้ประกอบการมี รายได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์และกำไรสุทธิในช่วงไตรมาสที่ 2-3 ของปี 2562 เท่ากับ 65,017 ล้านบาท และ 10,560 ล้านบาท หดตัว 24% และ 36% จากปีก่อน โดยเป็นการหดตัวที่ครอบคลุมทั้ง 8 ราย ด้วยผลประกอบการที่ออกมา จึงไม่น่าแปลกที่ตัวแทนของสมาคมผู้ประกอบการอสังหาฯ ในกลุ่มต่างๆ ได้เข้าไปหารือกับ กระทรวงการคลัง และส่งสัญญาณให้ธปท. ผ่อนปรนเกณฑ์ LTV อยู่บ่อยครั้ง 3 ผลกระทบจากมาตรการ LTV  Krungthai COMPASS ประเมินเป็นการเบื้องต้น (Initial Assessment) ว่าการผ่อนปรนเกณฑ์ LTV ของธปท. มีโอกาสที่จะส่งผลให้เกิดผลกระทบใน 3 ประเด็น ด้วยกัน คือ ประเด็นที่ 1 Sentiment ของตลาดที่อยู่อาศัยจะปรับตัวไปในทิศทางที่ดีขึ้น เพราะหากนับตั้งแต่ปลายปี 2562 ถึง ต้นปี 2563 ตลาดที่อยู่อาศัยของไทยล้วน เผชิญหน้ากับปัจจัยบวกใหญ่ๆ ถึง 3 ข่าว ตั้งแต่ 1.การออกมาตรการกระตุ้นภาคอสังหาฯ ของรัฐบาล เช่น มาตรการลดค่าธรรมเนียมโอนและจดจำนอง และ มาตรการบ้านดีมีดาวน์ ในช่วงเดือน พฤศจิกายน -ธันวาคม 2562 ต่อด้วย 2.ปลายเดือน ธันวาคม​ 2562 รัฐบาลให้ความชัดเจนเกี่ยวกับภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง โดยระบุให้ที่อยู่อาศัย นั้นเสียภาษีในอัตรา 0.02% 3.การผ่อนเกณฑ์ LTV ของธปท. ในกลางเดือน มกราคม 2563 แสดงให้เห็นว่าภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับรู้ถึงปัญหาที่เกิด ขึ้นกับตลาดที่อยู่อาศัยในปีที่ผ่านมา ประเด็นที่ 2 การผ่อนเกณฑ์ให้ผู้กู้สินเชื่อเพื่อซื้อที่อยู่อาศัยมูลค่าต่ำกว่า 10 ล้านบาท เป็นสัญญาที่ 2 ที่ผ่อนชำระสัญญา 1 มาแล้วไม่ต่ำกว่า 2 ปี สามารถใช้เงิน ดาวน์ 10% ได้ อาจทำให้ความต้องการซื้อคอนโดมิเนียมในปี 2563 กลับมาราว 4,500 ล้านบาท จากตลาดคอนโดมิเนียมในปี 2562 ที่มีโอกาสติดลบ -11% (คิดเป็น มูลค่า 31,480 ล้านบาท) แบ่งเป็นการหดตัวของผู้กู้ในสัญญา 1 ที่ -1% (1,805 ล้าน บาท) สัญญา 2 ที่ -26% (13,466 ล้านบาท) และสัญญา 3 ขึ้นไปที่ -41% (15,700 ล้านบาท) Krungthai COMPASS ประเมินว่าเหตุผลที่ทำให้การกู้ในสัญญาที่ 2 ติด ลบมาจากข้อกำหนดของเกณฑ์LTVเดิมที่ระบุให้ผู้กู้ต้องผ่อนชำระสัญญาที่1มาก่อน เป็นระยะเวลา 3 ปี ถึงจะสามารถใช้เงินดาวน์ 10% ในการกู้ซื้อสัญญาที่ 2 ได้ เกณฑ์ ดังกล่าวส่งผลผู้กู้สัญญาที่ 1 ในช่วงปี 2559-2561 มีความต้องการกู้สัญญาที่ 2 ในปี 2562 ลดลง จากข้อสรุปดังกล่าว Krungthai COMPASS ประเมินว่าการผ่อนปรนเกณฑ์ LTV จาก 3 ปี ลงมาเหลือ 2 ปี นั้นอาจช่วยให้ความต้องการกู้ซื้อที่อยู่อาศัยในสัญญา ที่ 2 กลับมาได้ประมาณ 1 ใน 3 จากขนาดของการหดตัวทั้งหมดในปี 2562 คิดเป็น มูลค่าเกือบ 4,500 ล้านบาท ซึ่งสามารถเป็น Upside ให้กับตลาดที่อยู่อาศัยในปี 2563 ได้ราว 0.8% ประเด็นที่ 3 เงื่อนไขที่ผ่อนปรนขึ้น อาจทำให้การลงทุนระยะยาวในคอนโดมิเนียมมีความน่าสนใจมากขึ้นและอาจช่วยทดแทน Demand จากต่างประเทศ ที่ลดลงจากการแข็งค่าของเงินบาท ในปี 2562 ที่ผ่านมา Krungthai COMPASS พบว่าสัดส่วนการโอนกรรมสิทธิ์คอนโดมิเนียมของผู้ซื้อชาวจีนซึ่งคิดเป็นครึ่งหนึ่ง ชาวต่างชาติทั้งหมดที่ซื้อคอนโดมิเนียมในไทยหดตัวลงอย่างเห็นได้ชัดจาก11%ของ มูลค่าโอนกรรมสิทธิ์คอนโดมิเนียมของไทยใน มกราคม 2562 เหลือ 8% ในธันวาคม 2562 โดยมีสาเหตุหลักมาจากการแข็งค่าเงินบาทเมื่อเปรียบเทียบกับเงินหยวนในช่วงเวลา เดียวกัน    ได้ส่งผลต่อเนื่องให้ราคาที่อยู่อาศัยในไทยปรับตัวสูงขึ้นจากวันทำ สัญญาจองโดยเฉลี่ยถึง 9% บทสรุปผลกระทบมาตรการ LTV อย่างไรก็ดี Krungthai COMPASS มองว่าการผ่อนปรนเกณฑ์ LTV ในครั้งนี้ อาจช่วยให้กลุ่มผู้บริโภคที่ต้องการลงทุนคอนโดมิเนียมระยะยาวกลับมาให้ความสนใจ มากขึ้นเนื่องจากการลงทุนคอนโดมิเนียมในไทยที่ให้ผลตอบแทนราว 2.7-6.6%  ก็ ยังเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกของการลงทุนในยุคดอกเบี้ยต่ำของคนไทย ประเด็นนี้อาจ ช่วยทดแทน demand จากต่างประเทศโดย จีนที่ลดลง Krungthai COMPASS มองว่าตลาดที่อยู่อาศัยในปี 2563 จะได้รับประโยชน์จากมาตรการต่างๆ ของภาครัฐ โดยเฉพาะ มาตรการลดค่าธรรมเนียมโอนและจดจำนอง ซึ่งทำให้มีโอกาสที่ตลาดจะกลับมาฟื้นตัวได้ 5.5% จากปีก่อนหน้า โดยมีการผ่อนปรนเกณฑ์ LTV ของธปท. เป็น Upside สำคัญที่อาจทำให้อัตราการเติบโตของตลาดเร่งขึ้นไปได้อีก 0.8%        
สิงห์ เอสเตท ลงทุนกว่า 73,000 ล้าน เดินหน้า 4 ธุรกิจหลัก สร้างรายได้ 30,000 ล้านในปี 2567

สิงห์ เอสเตท ลงทุนกว่า 73,000 ล้าน เดินหน้า 4 ธุรกิจหลัก สร้างรายได้ 30,000 ล้านในปี 2567

"สิงห์ เอสเตท" ดำเนินธุรกิจมาถึงปัจจุบันเป็นระยะเวลา 5 ปีแล้ว นับตั้งแต่เปลี่ยนชื่อมาจาก บริษัท รสา พร็อพเพอร์ตี้ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) ในช่วงปี 2557     โดยตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา บริษัทมีอัตราการเติบโตต่อเนื่อง แม้ว่าในช่วงปีที่ผ่านมา ผลการดำเนินงานในธุรกิจที่อยู่อาศัย อาจจะไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ เนื่องจากผลกระทบของภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว โดยพลาดจากเป้าหมายไปประมาณ 30% คาดว่าจะทำรายได้ประมาณ 7,500 ล้านบาท ซึ่งภาพรวมในปี 2562 บริษัทตั้งเป้าหมายรายได้รวมน่าจะทำได้ 16,000 ล้านบาท   สิงห์เอสเตท ตั้งเป้าทำรายได้ 20,000 ล้าน อย่างไรก็ตาม ในปี 2563 สิงห์ เอสเตท คาดว่าจะกลับสร้างการเติบโต พร้อมกับเป้าหมายการทำรายได้ 20,000 ล้านบาท ซึ่งมีแผนการดำเนินธุรกิจในกลุ่ม คือ   1.แผนการเปิดโครงการใหม่ 6 โครงการ มูลค่ารวม 10,000 ล้านบาท ซึ่งโครงการคอนโดมิเนียมจะมีแบรนด์ใหม่ 2 โครงการ และโครงการแนวราบจะมีแบรนด์ใหม่ 3 โครงการ และมีเป้าหมายยอดขาย 8,000 ล้านบาท พร้อมกับรับรู้รายได้จากการโอนโครงการเอส 36 จากแบ็กล็อกที่มีมูลค่า 6,000 ล้านบาท   2.ธุรกิจคอมเมอร์เชียล หรืออาคารสำนักงาน จะเน้นการพัฒนาโครงการในทำเลที่เหมาะสม โดยไม่เน้นทำเลใจกลางเมืองเป็นหลัก ส่วนธุรกิจโรงแรมยังคงขยายอย่างต่อเนื่อง โดยมีแผนใช้เงินลงทุนปีนี้ 5,000 ล้านบาท เพื่อพัฒนาและซื้อกิจการในส่วนอาคารสำนักงานและโรงแรม   3.การรับรู้รายได้จากโครงการในมัลดีฟส์มูลค่า 2,000 ล้านบาท เนื่องจากโรงแรมในโครงการคอรสโร้ดส์ เฟสแรก ได้เปิดให้บริการอย่างเต็มรูปแบบ   4.การขยายธุรกิจใหม่ ที่สร้างความยั่งยืนและช่วยเหลือสังคม ได้แก่ ธุรกิจพลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy Business)   นายนริศ เชยกลิ่น ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท สิงห์ เอสเตท จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ปีนี้จะเป็นปีที่สำคัญในการบรรลุเป้าหมายรายได้ 20,000 ล้านบาท หลังจากทำตามเป้าหมาย การพัฒนาบริษัทเป็นโกลบอลคอมปานี ได้สำเร็จมา 3 ปีแล้ว ซึ่งปัจจุบันบริษัทมีขนาดใหญ่ขึ้นมากมีมูลค่าสินทรัพย์ถึง 67,000 ล้านบาท และตามแผนในระยะ 5 ปีข้างหน้า หรือภายในปี 2567 สินทรัพย์น่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 100,000 ล้านบาท   ส่วนการดำเนินธุรกิจในปีนี้ มีปัจจัยที่ถือว่าเป็นความเสี่ยงที่จะกระทบต่อการดำเนินธุรกิจ มี 2 ประเด็นสำคัญ ได้แก่ 1.ปัญหาไข้หวัดโคโรน่า ซึ่งผลกระทบจะมากหรือน้อยนั้น ขึ้นอยู่กับระยะเวลาของการแพร่ระบาด แต่คาดว่าจะมีระยะเวลาการแพร่ระบาดไม่นาน และ 2.ปัญหาการเมืองภายในประเทศ โดยเฉพาะการเบิกจ่ายงบประมาณประจำปี จะดำเนินการได้ตามแผนหรือไม่ ส่วนปัจจัยบวกสถานการณ์ปัจจุบันอยู่ในภาวะ ค่าเงินบาทหากอ่อนค่ากกว่านี้ ในระดับ 35 บาทต่อดอลล่าห์  จะส่งผลบวกต่อตลาดนักท่องเที่ยว ซึ่งจะเข้ามาเพิ่มมากขึ้น แผน 5 ปี “สิงห์เอสเตท” ลงทุนกว่า 73,000 ล้าน 5 ปีข้างหน้า จะมุ่งขยายใน 3 แกนหลัก ได้แก่ ธุรกิจที่อยู่อาศัย ธุรกิจโรงแรม และธุรกิจคอมเมอร์เชียล ด้วยงบลงทุนรวม 68,000 ล้านบาท ขณะเดียวกันจะขยายธุรกิจอื่นที่ไม่ใช่ธุรกิจอสังหาฯ ด้วย โดยเป็นธุรกิจพลังงานหมุนเวียน ซึ่งคาดว่าจะใช้งบประมาณการลงทุนประมาณ 5,000-6,000 ล้านบาท รวมงบประมาณการลงทุนทั้ง 4 กลุ่มประมาณ 73,000-74,000 ล้านบาท แบ่งเป็น   1.ธุรกิจที่อยู่อาศัย เตรียมลงทุน 37,500 ล้าบาท เพื่อพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัย 30 โครงการ   2.ธุรกิจคอมเมอร์เชียล ซึ่งเป็นพื้นที่สำนักงานให้เช่า เตรียมลงทุน 8,500 ล้านบาท เพื่อพัฒนา 4 โครงการ ซึ่งอาจจะซื้อหรือพัฒนาขึ้นใหม่ แต่บริษัทต้องการซื้อโครงการมาพัฒนาต่ำ เนื่องจากได้รับกระแสเงินสดเข้ามาทันที แต่หากพัฒนาขึ้นใหม่ จะมีผลดีในด้านผลตอบแทนที่สูง จากปัจจุบันมีอาคารสำนักงานให้เช่า 3 อาคาร รวม 140,000 ตารางเมตร คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 300,000 ตารางเมตรในอีก 5 ปีข้างหน้า   3.ธุรกิจโรงแรม เตรียมงบประมาณการลงทุน 22,000 ล้านบาท  เพื่อพัฒนาและซื้อโรงแรมมาพัฒนาต่อ 41 แห่ง ในพื้นที่ด้านการท่องเที่ยว  ตามเป้าหมายจะมีโรงแรมรวม 80 แห่ง มีจำนวนห้อง 8,000 ห้อง ภายในปี 2568 จากปัจจุบันมีโรงแรม 39 แห่ง จำนวน 4,647 ห้อง   4.ธุรกิจพลังงานหมุนเวียน เตรียมงบประมาณ 5,000-6,000 ล้านบาท โดยจะร่วมลงทุนกับพันธมิตรที่มีความเชี่ยวชาญในธุรกิจพลังงาน โดยร่วมกันพัฒนาธุรกิจและสร้างการเติบโต เช่น ธุรกิจพลังงานจากการกำจัดขยะ  ปัจจุบันอยู่ระหว่างการศึกษาและพัฒนา “สิงห์ เอสเตท” วางเป้าหมายรายได้ 30,000 ล้าน ตามแผนในระยะ 5 ปี บริษัทวางเป้าหมายรายได้ 30,000 ล้านบาท แบ่งเป็นรายได้จากธุรกิจที่อยู่อาศัย 15,000 ล้านบาท ทั้งโครงการแนวราบและคอนโดฯ  ส่วนธุรกิจคอมเมอร์เชียลและโรงแรม วางเป้าหมายรายได้ 15,000 ล้านบาท ส่วนธุรกิจพลังงานหมุนเวียน อาจจะมีรายได้ไม่มากนัก เพราะบริษัทมุ่งเน้นการสร้างความยั่งยืนในการดำเนินธุรกิจ และช่วยเหลือสังคม โดยจะร่วมกับพันธมิตรในการพัฒนา และสร้างการเติบโต
ทางเลือกซื้อคอนโด สำหรับคนงบน้อย

ทางเลือกซื้อคอนโด สำหรับคนงบน้อย

เชื่อว่าหลายคนที่ใช้ชีวิตอยู่ในกรุงเทพฯ โดยเฉพาะใครที่ต้องทำงานย่านใจกลางเมืองอยู่ทุกวันก็ย่อมอยากจะมีคอนโดฯ เป็นของตัวเองสักห้อง เอาแบบที่เดินทางสะดวก ใกล้รถไฟฟ้า ไม่ไกลจากออฟฟิศ แต่ติดตรงที่ราคาคอนโดสมัยนี้สามารถซื้อบ้านเดี่ยวได้เลยใช่ไหมครับ! เพียงแต่จะได้ทำเลที่ต่างกันมากทีเดียว สำหรับมนุษย์เงินเดือนงบน้อยก็ใช่ว่าจะซื้อคอนโดไม่ได้เลย เรายังมีทางเลือกที่จะสามารถเป็นเจ้าของคอนโดได้ไม่ยากเลยครับ เพียงแค่ต้องมีวิธีพิจารณากันสักหน่อยเท่านั้นเอง มองหาทำเลรอง แน่นอนครับว่า คอนโดมิเนียมใจกลางเมืองย่อมมีราคาแพงไปตามราคาที่ดิน ซึ่งทุกวันนี้ราคาแตะตารางวาหลักล้านบาทเข้าไปแล้ว สำหรับคนงบน้อยคงเอื้อมถึงยากกันสักหน่อย ถ้าอย่างนั้นก็ลองมองหาทำเลรอง ห่างออกมาจากใจกลางเมืองกันอีกนิด เป็น Low Rise เข้าซอยไปสักหน่อย เพราะเดี๋ยวนี้คอนโดมักจะมี Shuttle Bus รับ-ส่งถึงสถานีรถไฟฟ้า และการขยายเส้นทางรถไฟฟ้าในปัจจุบันที่ออกไปถึงชานเมืองกันมากขึ้นแล้ว ถือว่ายังสามารถเดินทางได้อย่างสะดวกด้วยรถไฟฟ้าเหมือนกัน เพียงแต่อาจจะต้องเดินทางหลายสถานีกันมากขึ้น แต่ก็จะได้มีโอกาสเป็นเจ้าของคอนโดได้อย่างที่ต้องการนะครับ ยกตัวอย่างตามแนวรถไฟฟ้าอย่างสายสีลม ก็ลองมองหาคอนโดย่านฝั่งธนตั้งแต่สถานีวงเวียนใหญ่ออกไป ส่วนสายสุขุมวิท ก็ลองมองหาโครงการย่านสถานีอ่อนนุชออกไปจนถึงจ.สมุทรปราการ เป็นต้น เลือกธนาคารที่ให้กู้สินเชื่อได้เกินอายุ 60 ปี ทราบหรือไม่ครับว่า ปัจจุบันมีธนาคารบางแห่งเสนอเงื่อนไขการกู้สินเชื่อที่อยู่อาศัยได้เกินอายุ 60 ปี ไปจนถึงอายุ 70 ปี นั่นหมายความว่าเราจะได้ชำระงวดรายเดือนน้อยลง เพราะได้ระยะเวลาผ่อนที่นานมากขึ้น ทั้งนี้ธนาคารจะพิจารณาจากความสามารถในการชำระหนี้ ซึ่งหากจะเลือกวิธีนี้เราแนะนำว่า หากได้รับการอนุมัติให้กู้ได้เกินอายุ 60 ปี ก็ควรจะใช้วิธีโปะเงินเพิ่มในเดือนที่เราพร้อม เพื่อไม่ให้เกิดเป็นภาระหลังเกษียณ หาผู้กู้ร่วมซื้อ คอนโด การมีผู้กู้ร่วมจะช่วยเพิ่มวงเงินในการกู้ได้มากขึ้น แต่ผู้กู้ร่วมจะต้องมีความเกี่ยวข้องกับผู้กู้หลัก ตามเงื่อนไขของแต่ละธนาคาร แต่แนะนำว่าให้เลือกผู้กู้ร่วมที่มองแล้วในอนาคตจะไม่เกิดปัญหากันเกิดขึ้นด้วยนะครับ ซื้อคอนโด แบบทิ้งดาวน์หรือมือสอง ลองหาข้อมูลคอนโดที่ใกล้จะสร้างเสร็จแล้วเริ่มให้มีการโอนกรรมสิทธิ์ดูนะครับ จังหวะนี้จะมีคนขายทิ้งดาวน์กันจำนวนหนึ่งเลยทีเดียว อาจเพราะกู้สินเชื่อไม่ผ่านหรือไม่พร้อมโอน เมื่อจำยอมต้องทิ้งดาวน์ก็จะมีบางคนที่ยอมขายแบบไม่บวกกำไรหรือยอมขาดทุน หรืออาจมองหาคอนโดมือสองสภาพดี ซึ่งข้อดีของคอนโดมือสองคือเราจะได้เห็นสภาพแวดล้อม การอยู่อาศัยจริง รวมถึงการบริหารจัดการของนิติบุคคล เผลอๆ จะได้ขนาดห้องที่ใหญ่มากกว่าคอนโดรุ่นใหม่ ยิ่งหากมีโครงการใหม่เกิดขึ้นในละแวกเดียวกันก็จะทำให้ได้ราคามือสองที่ถูกลง แต่สำหรับคอนโดคอนโดทิ้งดาวน์หรือมือสองแบบนี้ ต้องออกแรงทำการบ้านตามหาแล้วเทียบราคากันสักหน่อยครับ เก็บเงินซื้อคอนโดไปก่อน ไม่ต้องรีบ “ผ่อนถูกกว่าเช่า” หลายคนคงเคยได้ยินประโยคแนวนี้กันบ่อยใช่ไหมล่ะครับ เพราะมีโปรโมชั่นออกมาบอกว่าผ่อนต่อเดือนไม่กี่พันบาท ตรงนี้ต้องดูรายละเอียดกันดีๆ โดยส่วนมากแล้วราคานี้จะหมายถึงการผ่อนดาวน์ต่อเดือนขณะที่คอนโดกำลังสร้างอยู่ แต่ยังไม่รวมค่าใช้จ่ายอื่นๆ จิปาถะอีกมากมาย เช่น ค่าใช้จ่ายวันโอนกรรมสิทธิ์ การเริ่มผ่อนจริงหลังจากโอนกรรมสิทธิ์แล้ว ค่าส่วนกลาง ค่ากองทุน ค่าจดจำนอง ฯลฯ คิดรวมๆ แล้วก็ต้องมีเงินก้อนจำนวนหนึ่งสำรองเอาไว้อยู่ดี ฉะนั้นหากยังไม่มีเงินก้อนที่พร้อมจริงๆ ก็อย่าเพิ่งรีบร้อนซื้อคอนโดครับ ควรศึกษาข้อมูลแต่ละโครงการและโปรโมชั่นที่ออกมาให้ดีก่อนจะเริ่มมีภาระหนี้ระยะยาว     สุดท้ายการจะซื้อคอนโดสักยูนิตก็ควรจะมีเงินก้อนที่เป็นเงินเย็นเอาไว้เป็นค่าใช้จ่ายจุกจิกหลายอย่างที่ต้องเกิดขึ้นแน่นอน ที่สำคัญคือติดตามโปรโมชั่นที่เหมาะกับตัวเราให้ดี จะช่วยประหยัดไปได้หลายบาททีเดียวครับ รายละเอียดการซื้อคอนโด โดยกู้สินเชื่อได้เกินอายุ 60 ปี ธนาคารออมสิน ธอส. Infographic ที่น่าสนใจอื่นๆ โปรโมชั่นบ้าน-คอนโด เลือกอย่างไรให้คุ้ม 5 ข้อต้องรู้ก่อนจะเป็น “ผู้กู้ร่วม” กู้ไม่ผ่าน เกิดจากอะไร  
รีวิวคอนโด จรัญ ใกล้รถไฟฟ้า “Supalai City Resort Charan 91”

รีวิวคอนโด จรัญ ใกล้รถไฟฟ้า “Supalai City Resort Charan 91”

ศุภาลัย ซิตี้ รีสอร์ท จรัญฯ 91 คอนโด จรัญ ใกล้รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน สถานีบางอ้อ เพียง 190 เมตร 2 สถานีถึงจุด Interchange สายสีม่วง สถานีเตาปูน ได้แรงบันดาลใจจากการออกแบบสถาปัตยกรรม โดยการดึงเอาเสน่ห์ของชุมชนและวิถีชีวิตดั่งเดิมของคนฝั่งธนบุรี มาใช้เป็นเส้นสายของเกษตรกรรม หัตถกรรมเครื่องสาน ทั้งในงานออกแบบตกแต่งอาคารทั้งภายนอก-ภายใน และพื้นที่ส่วนกลางของโครงการที่วางเอาตรงกลางพื้นที่ แล้วล้อมรอบด้วยตัวอาคารพักอาศัยในสไตล์รีสอร์ท เพื่อเพิ่มความเป็นส่วนตัวของผู้พักอาศัยภายในโครงการ ตามคอนเซ็ปต์ "ทิ้งตัวได้ทุกวันกับจรัญฯ ที่คุ้นเคย"   Green Concept Design บรรยากาศรอบโครงการตกแต่งด้วยพรรณไม้กลมกลืมไปกับตัวอาคาร วางรูปแบบอาคารและห้องนอนภายในยูนิตให้อยู่ในทิศทางที่ดี ใช้วัสดุที่จะช่วยลดความร้อนเข้าสู่ห้องพักอาศัย เช่น ใช้กระจกเขียวตัดแสง ลดเสียงรบกวนจากภายนอก      ชื่อโครงการ Supalai City Resort Charan 91 (ศุภาลัย ซิตี้ รีสอร์ท จรัญฯ 91)  เจ้าของโครงการ บริษัท ศุภาลัย จํากัด (มหาชน) ที่ตั้งโครงการ ซ.จรัญสนิทวงศ์ 91 แขวงบางอ้อ บางอ้อ กรุงเทพฯ 10700 พื้นที่โครงการ ประมาณ 11 ไร่กว่า ลักษณะโครงการ Low Rise  จำนวนอาคาร 5 อาคาร  จำนวนชั้น 8 ชั้น จำนวนยูนิต 1,036 ยูนิต ร้านค้าจำนวน 4 ยูนิต ขนาดห้อง 1 BEDROOM-2 BEDROOM 27.00–57.00 ตร.ม. ที่จอดรถ 62% สิ่งอำนวยความสะดวกส่วนกลาง ล็อบบี้, อาคารสโมสร, สระว่ายน้ำ, ฟิตเนส, พื้นที่สีเขียว, Co-Living Space, Library,Metting Room,​ เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย 24 ชม.  ราคาเริ่มต้น 1.39 ล้านบาท  จุดเด่นโครงการ โครงการดีไซน์ให้มีความเป็นส่วนตัว ตั้งอยู่ภายในซ.จรัญสนิทวงศ์ 91 ซึ่งอยู่ตรงข้ามกับรพ.ยันฮี ห่างจากรถไฟฟ้าประมาณ 190 เมตร   ระบบขนส่งสาธารณะใกล้เคียง รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน สถานีบางอ้อ, ท่าเรือข้ามฟากวัดอาวุธวิกสิตาราม  จุดขึ้น-ลงทางด่วน ทางด่วนศรีรัช สถานที่ใกล้เคียง แมคโคร จรัญฯ 31, เซ็นทรัล พลาซ่า ปิ่นเกล้า, พาต้า ปิ่นเกล้า, เทสโก้ โลตัส, The sense ปิ่นเกล้า,  Major Cineplex ปิ่นเกล้า, ช่างชุ่ย, ตลาดอินดี้ ปิ่นเกล้า,รพ.ยันฮี,รพ.ศิริราช,รพ.เจ้าพระยา, รพ.ตา หู คอ จมูก, ม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ,​ ม.เทคโนโลยีราชมงคลพระนคร, โรงเรียนโยธินบูรณ, โรงเรียนทิวไผ่งาม, โรงเรียนเซนต์คาเบรียล, โรงเรียนราชวินิต ภาพ Exterior คอนโด จรัญ ใกล้รถไฟฟ้า "Supalai City Resort Charan 91" ภายในอาคารของ "Supalai City Resort Charan 91" คอนโด จรัญ ภาพภายในยูนิต คอนโด "Supalai City Resort Charan 91"   รายละเอียดโครงการ Supalai City Resort Charan 91 เพิ่มเติม ศุภาลัย ซิตี้ รีสอร์ท จรัญฯ 91 โครงการอื่นจาก Supalai ศุภาลัย ไลท์ ท่าพระ-วงเวียนใหญ่ ศุภาลัย ซิตี้ รีสอร์ท สุขุมวิท 107 ศุภาลัย เบลล่า พระราม 2–พันท้ายนรสิงห์