Tag : Hotel

168 ผลลัพธ์
AWC จับมือ 2C2P แพลตฟอร์มชำระเงินระดับโลก ปักหมุดที่เอ็มไพร์ทาวเวอร์

AWC จับมือ 2C2P แพลตฟอร์มชำระเงินระดับโลก ปักหมุดที่เอ็มไพร์ทาวเวอร์

         บริษัท แอสเสท เวิรด์ คอร์ป จำกัด (มหาชน) หรือ AWC เปิดบ้านเอ็มไพร์ทาวเวอร์ต้อนรับบริษัท ทูซีทูพี (ประเทศไทย) จำกัด (2C2P) ผู้ให้บริการแพลตฟอร์มการชำระเงินระดับโลก เปิดสำนักงานแห่งใหม่ที่อาคาร ‘เอ็มไพร์’ อาคารสำนักงานไลฟ์สไตล์สเปซ และทำความร่วมมือของทั้งสององค์กรที่จะเสริมความแข็งแกร่งให้กับดิจิทัลอีโคซิสเต็ม ตอบโจทย์บริษัทเทคโนโลยีชั้นนำระดับโลก สร้างพื้นที่สนับสนุนให้เกิดการเชื่อมต่อองค์กร ผู้คน และชุมชน ผ่านคอนเซ็ปต์ ‘Co-Living Collective: Empower Future’ ที่เป็นเอกลักษณ์ของอาคาร ‘เอ็มไพร์’ พร้อมนำเสนอ AWC Infinite Lifestyle (AWI) โปรแกรมสิทธิประโยชน์สำหรับผู้เช่า ตอบโจทย์ทั้งด้านการทำงานและการพักผ่อนได้อย่างลงตัว โดยอาคาร ‘เอ็มไพร์’ จะสร้างพื้นที่ Co-Living ให้เกิดการสร้างเครือข่ายระหว่างผู้เช่า ตอบโจทย์การใช้ชีวิตและไลฟ์สไตล์ที่หลากหลาย รวมถึงการส่งเสริมการแบ่งปันความรู้ผ่านการจัดกิจกรรม เวิร์คช็อป สัมมนา และการสร้างโอกาสทางธุรกิจร่วมกัน AWC จับมือ 2C2P AWC จับมือ 2C2P           นายปิยชาติ รัตน์ประสาทพร ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ทูซีทูพี (ประเทศไทย) จำกัด (2C2P) กล่าวว่า “วิสัยทัศน์ของ 2c2p คือพัฒนาและให้บริการระบบชำระเงินแบบครบวงจร โดยสร้างโครงสร้างพื้นฐานของการชำระเงินผ่านเครือข่ายการชำระเงินที่เป็นพันธมิตรกับเรา เพื่อให้ผู้ใช้มีทางเลือกที่หลากหลายในการชำระเงิน เพราะการชำระเงินถือเป็นส่วนหลักเพื่อสนับสนุนระบบนิเวศแบบอิเล็กทรอนิกส์ ที่ 2C2P เราเชื่อว่าบุคลากรคือรากฐานของความสำเร็จของเรา เราดูแลพนักงานของเราและพยายามหาวิธีการเพื่อให้เกิดความสมดุลที่ดีระหว่างงานและชีวิตส่วนตัว ดังนั้นเราจึงเลือก อาคาร 'เอ็มไพร์' เป็นที่ตั้งสำนักงานแห่งใหม่ของเราเพื่อขับเคลื่อนการเติบโตของบริษัท การตัดสินใจของเรามีรากฐานมาจากความเชื่อมั่นของเราที่มีต่ออาคาร 'เอ็มไพร์' ที่มีการจัดสรรพื้นที่ส่วนกลางเพื่อให้ผู้เช่าได้ใช้สิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ เช่น พื้นที่ทำงานแบบไม่เป็นทางการ ซึ่งสอดคล้องกับความมุ่งมั่นของเราในการผสมผสานงานและชีวิตของพนักงานของเราเข้าด้วยกัน และให้ความสำคัญกับความเป็นอยู่ที่ดีของทุกคน”   “อาคาร ‘เอ็มไพร์’ ยังมีพื้นที่ส่วนกลางที่สามารถใช้ทำงานร่วมกันแบบเอ็กซ์คลูซีฟ พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกที่ทันสมัย บวกกับอยู่บนทำเลที่ตั้งใจกลางเมือง และเพียบพร้อมด้วยสิทธิพิเศษมากมายที่ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์และการทำงานของพนักงาน 2C2P ด้วยข้อเสนอสิทธิพิเศษของ AWI (AWC Infinite Lifestyle) ที่นอกจากสามารถใช้บริการสิ่งอำนวยความสะดวกของ อาคาร 'เอ็มไพร์’ ร่วมกันอันเป็นอภิสิทธิเฉพาะผู้เช่าเท่านั้น ทางผุ้บริหาร พนักงานของ 2C2P ยังได้สิทธิในการรับบริการพิเศษจากเครือข่ายแบรนด์และพันธมิตรของ AWC ในส่วนของโรงแรม ศูนย์การค้า และอาคารสำนักงานด้วยเช่นกัน จึงทำให้ทีม 2C2P ลงตัวสำหรับการเลือกที่จะขยับขยายมาที่อาคาร 'เอ็มไพร์”                                ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท แอสเสท เวิรด์ คอร์ป จำกัด (มหาชน) หรือ AWC กล่าวว่า “AWC และ 2C2P มีวิสัยทัศน์ร่วมกันในการมุ่งสร้างสถานที่ทำงานแห่งความสุขให้กับพนักงาน เรามีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ต้อนรับ 2C2P สู่อาคาร ‘เอ็มไพร์’ และเชื่อมั่นว่าความแข็งแกร่งด้านนวัตกรรมการชำระเงินดิจิทัลของ 2C2P ผสานกับคอนเซ็ปต์ ‘Co-Living Collective: Empower Future’ ของอาคาร ‘เอ็มไพร์’ ที่ออกแบบเพื่อรองรับเทรนด์ที่ผสานการทำงานและไลฟ์สไตล์อย่างลงตัว จะตอบโจทย์ความต้องการของคนทำงานและองค์กรรุ่นใหม่ได้อย่างดี และเป็นพื้นที่เสริมความแข็งแกร่งและการเติบโตให้ดิจิทัลอีโคซิสเต็มอย่างไม่มีขีดจำกัด นอกจากนี้ภายใต้แนวคิด Co-Living ยังสร้างพื้นที่สำหรับกลุ่มคนที่มีไลฟ์สไตล์และความคิดสร้างสรรค์เหมือนกัน มารวมตัวเพื่อสร้างคุณค่าและเติบโตไปด้วยกัน โดยผู้เช่าและพนักงานจะมีโอกาสในการทำความรู้จักและสร้างการเชื่อมต่อเพื่อสร้างการเติบโตและพัฒนาโอกาสทางธุรกิจร่วมกันกับองค์กรอื่นภายในอาคารผ่านแพลตฟอร์มทั้งออฟไลน์-ออนไลน์ รวมถึงการแบ่งปันทักษะ ความรู้ร่วมกัน ผ่านกิจกรรมต่างๆ ที่จัดโดย AWC อาทิ เวิร์คช็อป การสัมมนา โดยความร่วมมือระหว่าง AWC และ 2C2P ครั้งนี้ ยังตอบสนองความต้องการของพนักงานในอีโคซิสเต็มได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งเสริมการเติบโตอย่างไร้ขอบเขต พร้อมร่วมสร้างสรรค์อนาคตที่ดีกว่าให้กับพนักงานร่วมกัน”   ทั้งนี้ สำนักงานแห่งใหม่ของ 2C2P จะเปิดอย่างเป็นทางการในเดือนมกราคมปี 2567 มีพื้นที่รวมกว่า 3,000 ตารางเมตร รองรับพนักงานได้กว่า 300 คน โดยอาคาร ‘เอ็มไพร์’ เป็นสำนักงานระดับเกรดเอ ตั้งอยู่ใจกลาง CBD ย่านสาทร ครบครันด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกและเทคโนโลยีใน Co-Living และ Collaborative Spaces ที่ใหญ่ที่สุด พร้อมด้วยการออกแบบตกแต่งที่ผสานพื้นที่ทำงานและพื้นที่ด้านไลฟ์สไตล์ได้อย่างลงตัว เชื่อมต่อผู้เช่าและพนักงานของบริษัทชั้นนำเข้าในอีโคซิสเต็ม นอกจากนี้ AWC ยังตอบสนองไลฟ์สไตล์การทำงานของผู้เช่าอาคาร ‘เอ็มไพร์’ พร้อมไลฟ์สไตล์สุดพิเศษ ผ่าน AWC Infinite Lifestyle ลอยัลตี้โปรแกรมที่มอบสิทธิประโยชน์ สินค้าและบริการในโครงการคุณภาพของ AWC ทั้งโรงแรม อาคารสำนักงานและคอมมูนิตี้ชอปปิ้งมอลล์ เพื่อส่งเสริมดิจิทัลอีโคซิสเต็มในอาคาร ‘เอ็มไพร์’ แบบครบวงจร “AWC ยังได้ร่วมมือกับ 2C2P ในการพัฒนา Pikul แอปพลิเคชันอสังหาริมทรัพย์เพื่อไลฟ์สไตล์ตัวใหม่ของเรา ซึ่งจะเป็นแพลตฟอร์มบูรณาการแบบ Omnichannel ที่ไม่เหมือนใคร โดยจะรวมประสบการณ์ออนไลน์และออฟไลน์สุดพิเศษต่าง ๆ ที่ดีที่สุดเข้าด้วยกัน ทั้งการขาย (Sales) การส่งของขวัญ (Gifting) และเกมมิฟิเคชั่นเพื่อแลกรางวัล (Gamification) ในแอปพลิเคชัน โดย Pikul ยังทำงานร่วมกับ 2C2P ในการพัฒนาช่องทางการชำระเงิน e-wallet และ prepaid-card แพลตฟอร์มการชำระเงินที่ออกแบบมาเป็นพิเศษสำหรับ Pikul โดยเฉพาะ เพื่อเสริมศักยภาพและประสบการณ์การใช้ AWC Infinite Lifestyle”   “AWC มุ่งพัฒนาอาคาร ‘เอ็มไพร์’ เป็นอาคารสำนักงานระดับสากลที่รวมบริษัทชั้นนำระดับโลกมากมาย พร้อมด้วยเครือข่ายดิจิทัลที่เป็นแกนหลักของทุกอุตสาหกรรมธุรกิจ เพื่อสร้างอีโคซิสเต็มที่รวมพลังตอบโจทย์การเติบโตทางธุรกิจ รวมถึงความสุขและไลฟ์สไตล์ของทุกคน ผ่านโมเดลรูปแบบใหม่ Co-Living ทั้งออฟไลน์และออนไลน์ โดย AWC เชิญชวนบริษัทชั้นนำระดับโลกมาร่วมส่งเสริมการเติบโตอย่างยั่งยืน ขยายเครือข่าย และสร้างความแข็งแกร่งทางด้านโซลูชั่นระหว่างอุตสาหกรรมด้วยนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อเสริมความแข็งแกร่งของอีโคซิส สร้างประโยชน์และคุณค่าให้กับทุกคน” นางวัลลภา กล่าวสรุป   บทความน่าสนใจ [PR News] AWC จับมือกับ Ant Group ร่วมสร้างความแข็งแกร่งเทคโนโลยีดิจิทัลอีโคซิสเต็ม AWC จับมือ โนบุ ผุดโรงแรม Plaza Athenee สร้างแลนด์มาร์กในนิวยอร์ก-กรุงเทพฯ
[PR News] นารายณ์ ฮอสพิทาลิตี้ กรุ๊ป พร้อมเปิดตัว “หลับดี” 3 แห่งในญี่ปุ่นและไทย

[PR News] นารายณ์ ฮอสพิทาลิตี้ กรุ๊ป พร้อมเปิดตัว “หลับดี” 3 แห่งในญี่ปุ่นและไทย

นารายณ์ ฮอสพิทาลิตี้ กรุ๊ป เตรียมเปิด 3 ที่พักใหม่ “หลับดี” ในโอซาก้า ประเทศญี่ปุ่น เกาะเต่าและย่านไชน่าทาวน์ (สามยอด) ใจกลางกรุงเทพฯ ประเทศไทย   นายนที นิธิวาสิน ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของนารายณ์ ฮอสพิทาลิตี้ กรุ๊ป เปิดเผยว่า นารายณ์ ฮอสพิทาลิตี้ กรุ๊ป ผู้พัฒนาและประกอบธุรกิจที่พักแบรนด์หลับดีและโรงแรมเครือมาราสก้า ประกาศความพร้อมเปิดตัวที่พักแบรนด์หลับดี (Lub d) เพิ่มอีก 3 แห่งในปี 2566 และ 2567 ได้แก่ หลับดี โอซาก้า ฮอนมาจิ หลับดี เกาะเต่าและหลับดี ไชน่าทาวน์  กรุงเทพฯ โดยทั้ง 3 แห่งได้ออกแบบให้มีเอกลักษณ์ รวมถึงประสบการณ์การต้อนรับอันโดดเด่นของแบรนด์หลับดี ถือเป็นที่พักแนวไลฟ์สไตล์ ดีไซน์ทันสมัย เพื่อนักเดินทางรุ่นใหม่ที่มีเป้าหมายชัดเจน และเน้นความคุ้มค่า การเปิดตัวที่พักแบรนด์หลับดีเพิ่มเติมอีก 3 แห่งถือเป็นการขยายธุรกิจเชิงกลยุทธ์ เสริมสร้างและสะท้อนความแข็งแกร่งของกลุ่มบริษัทที่กำลังขยายสาขาในเอเชีย หลังจากที่บริษัทได้ดำเนินธุรกิจโรงแรมและบริการในประเทศไทยมาเป็นระยะเวลายาวนานกว่าครึ่งศตวรรษ โรงแรมหลับดีได้ขยายกิจการไปยังจุดหมายปลายทางยอดนิยมทั้งในไทยและประเทศต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง โดยปัจจุบันโรงแรมหลับดีได้เปิดให้บริการแล้วถึง 5 แห่ง ได้แก่ หลับดีในไทย 3 แห่ง เสียมราฐ กัมพูชา 1 แห่ง และกรุงมะนิลา ฟิลิปปินส์ อีก 1 แห่ง   สำหรับในปีนี้ หลับดีมีแผนเปิดให้บริการโรงแรมเพิ่มเติมอีก 1 แห่ง คือ หลับดี โอซาก้า ฮอนมาจิ ในช่วงเดือนกันยายน และนอกจากนี้ยังมีแผนเปิดให้บริการเพิ่มเติมในปี 2567 อีก 2 แห่ง คือ หลับดี เกาะเต่า  ในไตรมาสที่ 1 และหลับดี ไชน่าทาวน์  กรุงเทพฯ ในไตรมาสที่ 3   โดยหลับดี โอซาก้า ฮอนมาจิ ตั้งอยู่ใกล้กับสถานีรถไฟฮอนมาจิ เมืองโอซาก้า หลับดี โอซาก้า ฮอนมาจิ ถือเป็นก้าวสำคัญของแบรนด์ เนื่องจากเป็นการเปิดตัว หลับดีที่แรกในญี่ปุ่น แขกผู้เข้าพักจะได้เพลิดเพลินกับบรรยากาศของเมืองที่มีสีสัน แถมยังเดินทางไปยังแหล่งท่องเที่ยวสำคัญต่าง ๆ ได้อย่างสะดวก ที่สำคัญที่พักแห่งนี้ยังมอบโอกาสให้นักเดินทางจากทั่วโลกมาพบปะทำความรู้จักกันท่ามกลางกลิ่นอายวัฒนธรรมญี่ปุ่น และการต้อนรับอย่างอบอุ่นในรูปแบบเฉพาะตัวของหลับดี ซึ่งมีสิ่งอำนวยความสะดวกสุดทันสมัยไว้คอยให้บริการ หลับดี โอซาก้า ฮอนมาจิ ยังเต็มไปด้วยการตกแต่งที่ทันสมัยพร้อมด้วยผลงานศิลปะจากศิลปินท้องถิ่น ที่จะทำให้บรรยากาศไม่น่าเบื่อและสนุกสนาน พร้อมเปิดให้บริการ ในเดือนกันยายน 2566 ส่วนหลับดี เกาะเต่า ตั้งอยู่ที่อ่าวโตนด ซึ่งติดอันดับ 1 ใน 20 แหล่งดำน้ำที่ดีที่สุดของโลก มีหาดหน้าที่พักอันเงียบสงบ ทรายขาวละเอียดและน้ำใสสวยงาม เนื่องจากเกาะเต่าเป็นจุดหมายปลายทางในดวงใจของนักดำน้ำลึก หลับดี เกาะเต่า จึงเปิดโรงเรียนสอนดำน้ำไว้คอยให้บริการด้วยเช่นกัน ใครที่พร้อมออกผจญภัย ทริปดำน้ำอันแสนเร้าใจอยู่ใกล้แค่เอื้อมเท่านั้น เรียกได้ว่าเป็นที่พักในฝันของผู้ที่ชื่นชอบการผจญภัยอย่างแท้จริง โดยหลับดี เกาะเต่ามีกำหนดเปิดให้บริการในไตรมาสแรกของปี 2567   ขณะที่หลับดี ไชน่าทาวน์ กรุงเทพฯ เตรียมจะเปิดให้บริการในไตรมาสที่ 3 ของปี 2567 ทำเลที่ตั้งอยู่ใกล้กับรถไฟฟ้าใต้ดินสถานีสามยอด ที่รายล้อมไปด้วยสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญ อาทิ เยาวราช ชุมชนชาวจีนที่เก่าแก่ วัดวาอาราม ถนนคนเดินริมคลองโอ่งอ่าง และย่านการค้าพาหุรัด ชุมชนชาวอินเดียอันมีเสน่ห์  ใครได้มาสัมผัสบรรยากาศจะได้รับประสบการณ์ดี ๆ ที่ไม่มีวันลืมเลือนอย่างแน่นอน   ด้านนางสาวนิธิดา นิธิวาสิน ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของแบรนด์หลับดี กล่าวว่า หลับดีกำลังเติบโตทั่วเอเชียเพราะเราปรับตัวเพื่อตอบสนองความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไปของนักเดินทางรุ่นใหม่ซึ่งอยากให้ที่พักที่เป็นมากกว่าที่พัก   ที่พักของเราเป็นพื้นที่สำหรับการเข้าสังคมและทำกิจกรรมเพื่อสัมพันธภาพและประสบการณ์ที่มีความหมายของนักเดินทางหนุ่มสาว หลับดีเป็นเหมือนแหล่งเติมพลังสำหรับการเดินทางสำรวจที่ท่องเที่ยวใหม่ ๆ ของนักเดินทางเหล่านี้   นางสาวนิธิดา อธิบายด้วยว่า นับตั้งแต่ก่อตั้งแบรนด์ขึ้นในปี 2551 หลับดีตั้งเป้าที่จะเปิดที่พักทั้งในเมืองและเกาะต่าง ๆ ทั่วเอเชียมาโดยตลอด เพื่อตอบสนองความต้องการของนักท่องเที่ยวที่อยากได้ที่พักที่สะดวกสบาย ราคาจับต้องได้ เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้สำรวจสิ่งแปลกใหม่และของแท้ดั้งเดิมอย่างเต็มที่   อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง -เอส โฮเทล แอนด์ รีสอร์ท ประกาศรายได้การให้บริการ-โรงแรมโตรับท่องเที่ยวฟื้นตัว ชูดิจิทัล-กลยุทธ์บริหาร RevPar สู่เป้ากว่า 10,000 ล้าน -AWC จับมือ โนบุ ผุดโรงแรม Plaza Athenee สร้างแลนด์มาร์กในนิวยอร์ก-กรุงเทพฯ
เอส โฮเทล แอนด์ รีสอร์ท ประกาศรายได้การให้บริการ-โรงแรมโตรับท่องเที่ยวฟื้นตัว ชูดิจิทัล-กลยุทธ์บริหาร RevPar สู่เป้ากว่า 10,000 ล้าน

เอส โฮเทล แอนด์ รีสอร์ท ประกาศรายได้การให้บริการ-โรงแรมโตรับท่องเที่ยวฟื้นตัว ชูดิจิทัล-กลยุทธ์บริหาร RevPar สู่เป้ากว่า 10,000 ล้าน

เอส โฮเทล แอนด์ รีสอร์ท ประกาศผลประกอบการครึ่งปีแรกปี 2566 รายได้จากการให้บริการโต 28%  ที่ 4,821 ล้าน ขณะที่ธุรกิจโรงแรมฟื้นตัว รับทั่วโลกเปิดประเทศ เฉพาะตลาดไทยอัตราการเข้าพักเฉลี่ยเพิ่ม 76% ส่วน ADR เพิ่มขึ้นถึง 72% เฉลี่ยอยู่ที่ 8,431 บาท พร้อมเดินหน้าใช้เทคโนโลยีดิจิทัลรองรับพฤติกรรมลูกค้า ดันเป้าหมาย 10,000 ล้าน   นายเดิร์ก อังเดร ลีน่า เดอ คุยเปอร์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอส โฮเทล แอนด์ รีสอร์ท จำกัด (มหาชน) หรือ SHR  บริษัทในเครือสิงห์ เอสเตท เปิดเผยว่า ผลการดำเนินงานในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2566 บริษัทมีรายงานรายได้จากการให้บริการที่ 4,821 ล้านบาท เติบโตขึ้น 28% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน พร้อมรายงานกำไรก่อนหักดอกเบี้ย ภาษี ค่าเสื่อมราคา และรายการที่ไม่ได้เกิดขึ้นประจำจากการดำเนินงานปกติ (Adjusted EBITDA) ที่ 1,112 ล้านบาทพุ่งขึ้น 74% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน   ผลประกอบการที่เติบโตขึ้น เกิดจากอัตราการเข้าพักเฉลี่ย (Occupancy Rate) ของทั้งพอร์ตโฟลิโอ ที่สูงขึ้นจาก 54% ในครึ่งปีแรกของปี 2565 เป็น 69% ในครึ่งปีแรกของปีนี้ และอัตราค่าห้องพักเฉลี่ยรายวัน (Average Daily Rate: ADR) ที่ปรับตัวขึ้นถึง 11% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปีก่อน ธุรกิจรร.ฟื้นตัว รับทั่วโลกเปิดประเทศ ส่วนผลประกอบการของกลุ่มโรงแรมในประเทศไทย ฟื้นตัวเข้าใกล้สภาวะปกติของการท่องเที่ยว ภายหลังทั่วโลกเปิดประเทศเต็มรูปแบบได้อย่างชัดเจน สะท้อนจากอัตราการเข้าพักเฉลี่ย ระหว่างเดือนมกราคมถึงเดือนมิถุนายนที่ระดับ 76% ซึ่งสูงกว่าของปี 2565 ที่ 48% จากนักท่องเที่ยวที่เดินทางเพิ่มขึ้น ทั้งในประเทศและต่างประเทศที่เลือกจุดหมายปลายทางเป็นชายหาดในประเทศไทย ขณะที่ในครึ่งปีแรกของปี 2566 ADR เฉลี่ยอยู่ที่ 8,431 บาท เพิ่มขึ้นถึง 72% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปีก่อน การทำการตลาดที่มุ่งเป้าเจาะจงในแต่ละพื้นที่ ประกอบกับช่องทางการขายที่แข็งแกร่ง ส่งผลให้โรงแรมของ SHR เป็นจุดหมายปลายทางอันดับต้น ๆ ของนักเดินทางหลายคน นับเป็นปัจจัยที่หนุนขีดความสามารถในการผลักดัน ADR ให้เติบโตได้อีกด้วย ปัจจัยท้าทายทางเศรษฐกิจของภูมิภาคยุโรปในปัจจุบัน ส่งผลต่อพฤติกรรมการท่องเที่ยวที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเห็นได้จากการที่ชาวยุโรป เลือกที่จะท่องเที่ยวภายในประเทศหรือภูมิภาคมากขึ้น ปัจจัยดังกล่าว ทำให้โรงแรมของ SHR ในสหราชอาณาจักร ยังรักษาโมเมนตัมเชิงบวกไว้ได้อย่างแข็งแกร่ง เนื่องจากฐานลูกค้าหลักประมาณ 90% เป็นนักท่องเที่ยวจากในประเทศ ส่งผลให้อัตราการเข้าพักเฉลี่ยเพิ่มสูงถึง 70% ในช่วงเดือนมกราคมถึงมิถุนายนของปี 2566 เมื่อเทียบกับ 54% ในช่วงเดียวกันของปีก่อน อุปสงค์ของโรงแรมในสหราชอาณาจักรยังเป็นที่น่าพอใจ   ทั้งนี้ เกิดจากการปรับตัวให้สอดรับกับความต้องการในตลาด และการปรับปรุงห้องพักอย่างต่อเนื่อง ยิ่งไปกว่านั้น ADR เฉลี่ยในครึ่งปีแรกของปี 2566 ปรับตัวสูงขึ้น 10% โดยอยู่ที่ 83 ปอนด์ท่ามกลางความระมัดระวังในการใช้จ่ายสำหรับสินค้าฟุ่มเพือยของลูกค้าที่เป็นผลมาจากค่าครองชีพที่สูงขึ้น ยิ่งไปกว่านั้นพอร์ตโฟลิโอของสหราชอาณาจักรยังมีอัตรากำไรก่อนหักดอกเบี้ย ภาษี และค่าเสื่อมราคา (EBITDA margin) ทั้งในไตรมาส 2 และรอบครึ่งปีแรกของปีนี้เติบโตขึ้นจากงวดเดียวกันในปีก่อนจากการบริหารต้นทุนและค่าใช้จ่ายที่มีประสิทธิภาพขึ้น   อย่างไรก็ตาม คาดการณ์ว่าทั้งอัตราการเข้าพักเฉลี่ยและ ADR จะปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่องในไตรมาส 3 สอดคล้องกับปริมาณการจองล่วงหน้าในช่วงฤดูกาลท่องเที่ยว สะท้อนความเชื่อมั่นในการเดินทางทั้งในและต่างประเทศของภาคธุรกิจและภาคการท่องเที่ยว ปัจจัยดังกล่าวส่งผลต่อเนื่องมายังผลประกอบการของโรงแรมในโครงการครอสโร้ดส์ มัลดีฟส์ (CROSSROADS Maldives) ซึ่งมีอัตราการเข้าพักเฉลี่ย ในไตรมาส 1 ปีนี้ ที่ไต่ระดับสูงถึงกว่า 87% สำหรับอัตราการเข้าพักเฉลี่ยอ่อนตัวลงในไตรมาส 2 ของปีนี้เมื่อเข้าสู่ช่วงนอกฤดูกาลท่องเที่ยวซึ่งเป็นผลมาจากนักท่องเที่ยวชาวยุโรปที่เดินทางระหว่างภูมิภาคน้อยลง ผนวกกับการกลับมาของนักท่องเที่ยวจีนที่ช้ากว่าคาด ส่งผลให้ภาพรวมของอัตราการเข้าพักเฉลี่ยในครึ่งปีแรกไม่แตกต่างจากช่วงเดียวกันในปีก่อนมากนัก ทั้งนี้ SHR มองภาพครึ่งปีหลังของมัลดีฟส์ว่าจะค่อนข้างทรงตัวเมื่อเทียบกับปี 2565 และอัตราการเข้าพักเฉลี่ยยังมีความอ่อนไหวจากการเปิดประเทศในหลายพื้นที่ทั่วโลกซึ่งกระตุ้นการกระจายตัวไปสู่ภูมิภาคอื่น ๆ ของนักท่องเที่ยว   โรงแรมในมอริเชียสได้ปิดตัวชั่วคราวเพื่อปรับปรุงระบบบริหารน้ำอย่างเต็มรูปแบบและจะกลับมาเปิดให้บริการอีกครั้งในไตรมาส 4 ปีนี้ ทั้งนี้จะส่งผลกระทบอย่างจำกัดต่อผลการดำเนินงานโดยรวมของ SHR ในปีนี้เนื่องจากรายได้จากการให้บริการของโรงแรมในมอริเชียสคิดเป็นเพียง 3% ของรายได้ทั้งหมด ผลการดำเนินงานในครึ่งปีแรกเป็นที่น่าพอใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งตัวเลขทางสถิติที่โดดเด่นของกลุ่มโรงแรมในประเทศไทยและสหราชอาณาจักร แสดงถึงการฟื้นตัวที่แข็งแกร่งอย่างต่อเนื่อง โรงแรมในภูมิภาคอื่น ๆ ทั้งในมัลดีฟส์และฟิจิก็มีแนวโน้มสดใส โดยฐานลูกค้าในฟิจินอกเหนือจากกลุ่มนักท่องเที่ยวหลักจากออสเตรเลียและนิวซีแลนด์แล้ว เราเห็นตลาดใหม่ที่เติบโตขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ คือ กลุ่มนักท่องเที่ยวจากทวีปอเมริกาเหนือโดยเฉพาะอย่างยิ่งชาวแคนาดา ทำให้มั่นใจได้ว่าภาคการท่องเที่ยวจะแข็งแกร่งได้ต่อเนื่องโดยได้รับแรงสนับสนุนจากการขยายเข้าสู่ตลาดใหม่ ๆ โรงแรม แคสอะเวย์ ไอส์แลนด์ที่ฟิจิมีอัตราการเข้าพักเฉลี่ยเกินกว่า 93% ในไตรมาส 2   ในขณะที่โรงแรมในโครงการครอสโร้ดส์ มัลดีฟส์ มีผลการดำเนินงานที่มั่นคงอย่างต่อเนื่องแม้ในช่วงนอกฤดูกาลท่องเที่ยว แนวโน้มผลการดำเนินงานในครึ่งปีหลังส่งสัญญาณบวกในเกือบทุกพื้นที่ที่โรงแรมของบริษัทฯ ตั้งอยู่ ยิ่งไปกว่านั้น ธุรกิจการบินฟื้นตัวได้ดีด้วยการประกาศเพิ่มเที่ยวบินพร้อมการเปิดเส้นทางบินใหม่ในครึ่งปีหลัง ซึ่งจะช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้โดยสารได้มากยิ่งขึ้นหนุนการเติบโตของภาคการให้บริการเพิ่มอีกทางหนึ่ง SHR ใช้ดิจิทัลดันเป้า 10,000 ล้าน​​ SHR เดินหน้าพัฒนาและนำเทคโนโลยีดิจิทัลบนแพลตฟอร์มต่าง ๆ มาใช้เพื่อให้สอดรับกับความต้องการที่หลากหลายของลูกค้าในตลาด สิ่งเหล่านี้ประกอบกับความมุ่งมั่นในการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารพอร์ตโฟลิโอโดยใช้กลยุทธ์บริหาร RevPar ที่ก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดจากการปรับปรุงห้องพักในหลายโรงแรมทั้งในประเทศไทย ฟิจิ และสหราชอาณาจักร โดยพร้อมเปิดให้บริการห้องพักรูปแบบใหม่ในปลายปี 2566 ผนวกกับมาตราการคุมค่าใช้จ่ายอย่างเข้มงวด จะสามารถสร้างความเชื่อมั่นในการบรรลุเป้าหมายรายได้ที่เกินกว่า 10,000 ล้านบาทให้ได้สำเร็จ เราจะพยายามให้ถึงที่สุดเพื่อผลักดันผลการดำเนินงานให้ถึงเป้าหมายเพื่อเสริมสร้างความมั่งคั่งให้แก่ผู้มีส่วนได้เสียทุกคนของบริษัทฯ ในปี 2566 นี้   SHR มีความพร้อมในการเผชิญต่อความท้าทายต่าง ๆ โดยมีสถานะทางการเงินอันแข็งแกร่งด้วยการรักษาระดับหนี้สินให้ต่ำอยู่เสมอและการจัดการด้านเงินลงทุนอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ บริษัท ทริสเรทติ้งได้ประเมินระดับความน่าเชื่อถือ (Credit Rating) ของ SHR ที่ระดับ BBB+ ระดับความน่าเชื่อถือนี้จะเพิ่มขีดความสามารถของ SHR ในการลดต้นทุนทางการเงินโดยรวม ในปัจจุบันการออกหุ้นกู้กำลังดำเนินไปตามแผนที่วางไว้ และ SHR พร้อมขับเคลื่อนสู่การเติบโตที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น   ท้ายที่สุด SHR มุ่งเน้นที่การเติบโตแบบยั่งยืนเป็นหัวใจหลักในการดำเนินงาน โดยโรงแรม 5 แห่ง และ เดอะ มารีน่า แอท ครอสโร้ดส์ ได้รับมาตรฐาน Green Globe สะท้อนถึงการสร้างความเชื่อมั่นต่อนักลงทุน และแขกที่มาพักว่า การดำเนินงานในโรงแรมของ SHR ได้มาตรฐานตามหลักสากลและสามารถตอบรับต่อความคาดหวังของผู้ที่มาเข้าพักได้ โดยในปี 2566 SHR ได้เริ่มวางแผนเพื่อมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon neutral company) ภายในปี 2573  เพิ่มกิจกรรมต่างๆที่ให้ความสำคัญต่อการรับผิดชอบต่อสังคม และสิ่งแวดล้อมมากขึ้น เพื่อลดผลกระทบที่เกิดจากสภาวะโลกร้อน พร้อมอนุรักษ์ธรรมชาติอันสวยงามส่งต่อให้กับนักท่องเที่ยวรุ่นต่อไป กิจกรรมเหล่านี้ไม่เพียงสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่าง SHR และชุมชน แต่ยังเป็นการสร้างสถานะที่แตกต่างโดยเป็นโรงแรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนเพื่อต้อนรับนักท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์จากที่ต่าง ๆ ทั่วโลกอีกด้วย   อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง -สิงห์ เอสเตท รุกตลาดบ้าน Ultra Luxury ปักหมุด SMYTH’S Ramintra เริ่ม 120 ล้าน -เอสโฮเทล แอนด์ รีสอร์ท กางแผนธุรกิจปี 66 ชู 3 กลยุทธ์สู่รายได้หมื่นล้าน
แอสเสท เวิรด์ คอร์ป ทำผลงาน Q2/66 รายได้-กำไรโตก้าวกระโดด​ ครึ่งปีหลังเดินหน้า​เพิ่มห้องพักและกระแสเงินสด

แอสเสท เวิรด์ คอร์ป ทำผลงาน Q2/66 รายได้-กำไรโตก้าวกระโดด​ ครึ่งปีหลังเดินหน้า​เพิ่มห้องพักและกระแสเงินสด

แอสเสท เวิรด์ คอร์ป ประกาศผลประกอบการไตรมาส 2/2566 รายได้รวม 4,518 ล้านบาท เพิ่มขึ้นก้าวกระโดด กำไรสุทธิ 1,116 ล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่า 32% ทำรายได้เฉลี่ยต่อห้องพัก 3,356 บาท สูงขึ้น 82.1% เดินหน้าเพิ่มโครงการ เพิ่มจำนวนห้องพัก เพิ่มกระแสเงินสดพร้อมเติบโตก้าวกระโดด   นางวัลลภา ไตรโสรัส ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท แอสเสท เวิรด์ คอร์ป จำกัด (มหาชน) หรือ AWC เปิดเผยถึงผลประกอบการไตรมาส 2 ปี 2566 ตามงบการเงินรวมมูลค่ายุติธรรมว่า มีรายได้รวมกว่า 4,518 ล้านบาท มีกำไรสุทธิ 1,116 ล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่า 32% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และเติบโตแบบก้าวกระโดดมากกว่าปี 2562 ก่อนเกิดสถานการณ์โควิด-19 อีกด้วย   ทั้งนี้ AWC ยังคงมุ่งพัฒนาโครงการในกลุ่มธุรกิจโรงแรมและการบริการ เปลี่ยนทรัพย์สินกำลังพัฒนา (Developing Asset) เป็นทรัพย์สินดำเนินงาน (Operating Asset) ควบคู่การยกระดับโครงการในพอร์ตโฟลิโอ (Assets Enhancement) ของกลุ่มธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เพื่อการพาณิชย์ (Retail & Commercial) สอดคล้องกลยุทธ์ GROWTH-LED เพื่อสร้างการเติบโตของกระแสเงินสดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไตรมาส 2 นี้ บริษัทมีมูลค่าทรัพย์สินดำเนินงานรวม 120,307 ล้านบาท เพิ่มสูงขึ้น 36,996 ล้านบาท คิดเป็น 44.4% เทียบกับช่วงก่อนสถานการณ์โควิด-19 ในปี 2562 ผลประกอบการไตรมาสที่ 2/2566 ของ AWC มีการเติบโตเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีกำไรจากการดำเนินงาน (อิบิทดากลุ่มธุรกิจ) อยู่ที่ 2,472 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 20.4% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ซึ่งเป็นผลมาจากการกลับมาของกลุ่มธุรกิจโรงแรมและการบริการ และภาพรวมของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของไทยที่เป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้น   รวมถึงเทศกาลสงกรานต์ในช่วงเดือนเมษายนที่มีการกลับมาจัดอย่างยิ่งใหญ่เป็นปีแรกหลังจากสถานการณ์โควิด-19 คลี่คลาย โดยเฉพาะโรงแรมในกรุงเทพฯ และโรงแรมกลุ่มประชุมสัมมนา (MICE) ซึ่งมีจำนวนนักท่องเที่ยวเข้าพักโรงแรมในเครือ AWC เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อน ส่งผลให้อัตรารายได้เฉลี่ยต่อห้องพักในภาพรวม (RevPAR) สูงถึง 3,356 บาท เพิ่มขึ้น  82.1% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และสูงกว่าปี 2562 ก่อนเกิดสถานการณ์โควิด-19 อยู่ที่ประมาณ 10% รวมถึงมีอัตราค่าห้องพักเฉลี่ยต่อวัน (Average Daily Rate: ADR) เท่ากับ 5,367 บาทต่อคืน เติบโต 25.9% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และยังสูงกว่าปี 2562 ด้วยเช่นกัน   สำหรับกลุ่มธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เพื่อการพาณิชย์ (Retail & Commercial) AWC ยังคงมุ่งเพิ่มศักยภาพในการสร้างการเติบโตของกระแสเงินสดในระยะยาว โดยบริษัทฯ ได้ปรับกลยุทธ์การดำเนินงานเพื่อสร้างมาตรฐานใหม่ให้กับอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์ด้านไลฟ์สไตล์ ตอบรับความต้องการของกลุ่มลูกค้าและนักท่องเที่ยวในยุคปัจจุบัน ธุรกิจโรงแรม AWC ทำกำไรเพิ่ม 200% ผลการดำเนินงานของกลุ่มธุรกิจโรงแรมและการบริการมีกำไรจากการดำเนินงาน (อิบิทดา) อยู่ที่ 660 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 200.2% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยเฉพาะโรงแรมในกลุ่มประชุมสัมมนา และกลุ่มโรงแรมในกรุงเทพฯ ซึ่งมีค่า Revenue Generation Index (RGI) ในภาพรวมสูงกว่าค่าเฉลี่ยเมื่อเทียบกับโรงแรมในกลุ่มเดียวกันที่อยู่ในพื้นที่ใกล้เคียง อาทิ โรงแรมแบงค็อก แมริออท เดอะ สุรวงศ์ มีค่า RGI เท่ากับ 218 เป็นต้น นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังมุ่งพัฒนาทรัพย์สินที่อยู่ระหว่างการพัฒนาให้เป็นทรัพย์สินดำเนินงานเพื่อเพิ่มศักยภาพในการสร้างกำไรจากการดำเนินงาน (อิบิทดากลุ่มธุรกิจ) อย่างต่อเนื่อง พร้อมเสริมความแข็งแกร่งพอร์ตโฟลิโอของกลุ่มโรงแรมที่ตั้งอยู่ในทําเลยุทธศาสตร์ เพื่อรองรับการกลับมาของนักท่องเที่ยวต่างชาติ อาทิ การเปิดตัวโรงแรม 'INNSiDE by Meliá Bangkok Sukhumvit' แห่งแรกในประเทศไทยในเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา เพื่อมอบประสบการณ์โมเดิร์นไลฟ์สไตล์ให้กับกลุ่มนักเดินทางรุ่นใหม่ และเป็นโรงแรมที่ได้มีการออกแบบและก่อสร้างตามกรอบการรับรองของมาตรฐานอาคาร Excellence in Design for Greater Efficiency (EDGE)   รวมถึงความร่วมมือเชิงกลยุทธ์แบบเอ็กซ์คลูซีฟกับ Nobu Hospitality ร่วมสร้างโรงแรมระดับอัลตร้า ลักชูรี่ 2 แห่งภายใต้แบรนด์ Plaza Athenee ได้แก่ โรงแรม พลาซ่า แอทธินี โนบุ โฮเทล แอนด์ สปา นิวยอร์ก (Plaza Athenee Nobu Hotel and Spa New York) และโรงแรม เดอะ พลาซ่า แอทธินี โนบุ โฮเทล แอนด์ สปา แบงคอก (The Plaza Athenee Nobu Hotel and Spa Bangkok) เชื่อม 2 มหานคร นิวยอร์กและกรุงเทพฯ ภายใต้แนวคิด River Journey Project พร้อมเชื่อมต่อหลากหลายโครงการริมแม่น้ำเจ้าพระยาของ AWC สร้างประสบการณ์การท่องเที่ยวทางสายน้ำให้แก่นักเดินทาง   ปัจจุบัน AWC มีจำนวนโรงแรมที่เปิดดำเนินการทั้งสิ้นจำนวน 22 โรงแรม รวมจำนวนห้องพักรวม 5,794 ห้อง และจะเพิ่มขึ้นเป็น 23 โรงแรม ภายในสิ้นปี 2566 รวม 6,034 ห้อง คิดเป็นการเติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 76 เมื่อเทียบกับก่อนสถานการณ์โควิด-19 ที่จำนวน 3,432 ห้อง ประกอบกับอัตรารายได้เฉลี่ยต่อห้องพัก (RevPAR) ที่สูงขึ้นอย่างแข็งแกร่งกว่าปีก่อนและก่อนสถานการณ์โควิด-19 ส่งผลให้มีรายได้ 2,287 ล้านบาท เติบโตขึ้น 76.8% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และสูงกว่าช่วงเดียวกันของปี 2562 ก่อนเกิดสถานการณ์โควิด-19 ทั้งนี้ บริษัทมุ่งเพิ่มศักยภาพในการสร้างกระแสเงินสดที่แข็งแกร่งให้กับบริษัท พร้อมตอบสนองความต้องการนักท่องเที่ยวคุณภาพและจำนวนกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย High-to-Luxury ที่เพิ่มมากขึ้น เอเชียทีค ผู้ใช้บริการเพิ่ม 47% กลุ่มธุรกิจอาคารสำนักงานยังคงสร้างกระแสเงินสดให้แก่บริษัทอย่างต่อเนื่อง โดยมีอัตราค่าเช่าเพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็นผลจากการยกระดับอาคารให้เป็นไลฟ์สไตล์สเปซแห่งใหม่ที่ตอบโจทย์การทำงานและไลฟ์สไตล์ยุคใหม่ อาทิ การเปิดตัว “Co-Living Collective: Empower Future” ของอาคารเอ็มไพร์ ซึ่งมีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ด้วยคอนเซ็ปต์ที่ผสานรูปแบบการใช้ชีวิตในบ้านมาเชื่อมต่อกับการทำงานอย่างลงตัว สร้างความแตกต่างจากอาคารสำนักงานรูปแบบเดิม ซึ่งช่วยรักษาฐานผู้เช่าเก่า พร้อมดึงดูดผู้เช่าใหม่ที่มองหาอาคารสำนักงานคุณภาพ ที่มีพื้นที่ตอบรับเทรนด์การทำงานในรูปแบบไฮบริดที่เพิ่มสูงขึ้น AWC ได้ร่วมมือกับพันธมิตรผู้ให้บริการเทคโนโลยีดิจิทัลระดับโลก เพื่อสร้างดิจิทัลอีโคซิสเต็มที่อาคารเอ็มไพร์ให้เป็นคอมมูนิตี้ดิจิทัลรูปแบบใหม่ เชื่อมต่อผู้เช่าในอุตสาหกรรมดิจิทัลเข้าด้วยกันอีกด้วย ในขณะที่กลุ่มธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เพื่อประกอบกิจการค้า (Retail and Wholesale) สามารถเติบโตได้ดี ซึ่งเป็นผลจากการฟื้นตัวเติบโตของดัชนียอดขายของร้านค้า และบริษัทได้พัฒนาพื้นที่เพื่อตอบสนองไลฟ์สไตล์ของนักท่องเที่ยวและกลุ่มลูกค้าอยู่เสมอ โดยโครงการเอเชียทีค เดอะ ริเวอร์ฟร้อนท์ เดสติเนชั่น มีจำนวนผู้มาใช้บริการเพิ่มสูงขึ้นถึง 47% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน มาจากกิจกรรม Disney100 Village at Asiatique พร้อมเสริมความแข็งแกร่งในการเป็นจุดหมายปลายด้านการท่องเที่ยวและด้านอาหารเครื่องดื่มระดับโลกที่ช่วยดึงดูดจำนวนผู้เช่าและจำนวนนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ   รวมถึงการเปิดตัวโครงการ THE PANTIP LIFESTYLE HUB ที่เชียงใหม่ ภายใต้แนวคิด “EVERY HAPPINESS FOR EVERYONE” มุ่งสร้างแลนด์มาร์คไลฟ์สไตล์สำหรับครอบครัวใจกลางเมืองเชียงใหม่ และโครงการ THE PANTIP AT NGAMWONGWAN โฉมใหม่ภายใต้แนวคิด “TREASURE HUNT” สู่การเป็นศูนย์พระเครื่อง และศูนย์รวมอาหารและไลฟ์สไตล์มาร์เก็ตที่ใหญ่ที่สุด สำหรับธุรกิจค้าส่ง AWC ได้ร่วมรวมพลังผู้นำธุรกิจอาหารทั้งภาครัฐและเอกชน ขับเคลื่อนประเทศไทยเป็น “ศูนย์กลางค้าส่งอาหารของภูมิภาค” ที่ AEC FOOD WHOLESALE PRATUNAM ตอบโจทย์การค้าส่งอาหารครบวงจร พร้อมเชื่อมผู้ค้าส่งอาหารทั่วโลกกับผู้ซื้อในเขตเศรษฐกิจอาเซียน   AWC มุ่งมั่นสร้างการเติบโตต่อเนื่องและยั่งยืน โดยบริษัทได้ลงนามสินเชื่อที่เชื่อมโยงกับการดำเนินงานด้านความยั่งยืน (Sustainability Linked Loan) รวมถึงสินเชื่อสีเขียว (Green Loan) จำนวน 20,000 ล้านบาท กับ ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) เพื่อรองรับแผนการพัฒนาโครงการคุณภาพระดับเมกะโปรเจกต์เสริมความแข็งแกร่งของพอร์ตโฟลิโอที่มุ่งเน้นการลดการใช้ทรัพยากร และส่งเสริมการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพในทุกมิติ ร่วมสร้างให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวยั่งยืน โดย AWC ตั้งเป้าที่จะเพิ่มสัดส่วนวงเงินสินเชื่อระยะยาวซึ่งเป็นสินเชื่อที่เชื่อมโยงกับความยั่งยืนและสินเชื่อสีเขียวเป็น 100% เพื่อมุ่งสร้างอนาคตที่ยั่งยืนให้กับสังคมองค์รวม และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกภาคส่วน   AWC มุ่งมั่นดำเนินธุรกิจตามแผนกลยุทธ์เพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน โดยล่าสุดบริษัทได้รับรางวัลที่สะท้อนถึงศักยภาพในการดำเนินธุรกิจภายใต้กรอบการพัฒนาอย่างยั่งยืน และได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในมาตรฐานสากลต่างๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยในปีนี้ AWC ได้รับเชิญให้เข้าร่วมการประเมินองค์กรด้านความยั่งยืน ในกลุ่มดัชนี Dow Jones Sustainability Indices (DJSI) พร้อมได้รับคัดเลือกเป็น “Top 1% S&P Global ESG Score 2022” รวมถึงยังคงรักษาการประเมินจาก MSCI ESG Rating ในระดับ "AA" เป็นต้น สะท้อนถึงความมุ่งมั่นในการสร้างคุณค่าให้กับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกภาคส่วน และสร้างมิติใหม่ให้กับอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์และอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวยั่งยืนของไทยตามพันธกิจ “สร้างสรรค์อนาคตที่ดีกว่า” (Building a Better Future)   อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง -[PR News] AWC จับมือกับ Ant Group ร่วมสร้างความแข็งแกร่งเทคโนโลยีดิจิทัลอีโคซิสเต็ม
[PR News] AWC จับมือกับ Ant Group ร่วมสร้างความแข็งแกร่งเทคโนโลยีดิจิทัลอีโคซิสเต็ม

[PR News] AWC จับมือกับ Ant Group ร่วมสร้างความแข็งแกร่งเทคโนโลยีดิจิทัลอีโคซิสเต็ม

AWC จับมือกับ Ant Group AWC จับมือกับ Ant Group มุ่งยกระดับเทคโนโลยีดิจิทัลอีโคซิสเต็ม สําหรับอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์ไลฟ์สไตล์ของไทย สร้างโอกาสการทำตลาดร่วมกัน ส่งเสริมการเติบโตอย่างไร้ขีดจํากัด ในการสร้างนวัตกรรมและดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่น ด้วย omnichannel ช่องทางการตลาดที่เชื่อมออนไลน์และออฟไลน์เข้าด้วยกันอย่างไร้รอยต่อ เพิ่มประสิทธิภาพในการเข้าถึงช่องทางการชําระเงินดิจิทัลระดับโลกสําหรับผู้ซื้อและผู้ขาย   นางวัลลภา ไตรโสรัส ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท แอสเสท เวิรด์ คอร์ป จํากัด (มหาชน) หรือ AWC เปิดเผยว่า ได้เซ็นสัญญาความร่วมมือกับ Ant Group ผู้ให้บริการเทคโนโลยีดิจิทัลระดับโลก ร่วมสร้างความแข็งแกร่งด้านเทคโนโลยีดิจิทัลอีโคซิสเต็ม (Digital Technology Ecosystem) ในกลุ่มธุรกิจของ AWC พร้อมยกระดับโซลูชันการชําระเงินดิจิทัลในอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์ไทย โดยความร่วมมือกับ Ant Group นี้ จะสร้างประสบการณ์การทําธุรกรรมที่สะดวกสบายอย่างไร้รอยต่อแก่ผู้ซื้อและผู้ขายทั่วโลก นับเป็นก้าวสําคัญในการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลของอุตสาหกรรมเพื่อส่งเสริมการเติบโตของเศรษฐกิจดิจิทัลในประเทศไทย ความร่วมมือในครั้งนี้ แสดงถึงความมุ่งมั่นของ AWC ในการสร้างสรรค์เทคโนโลยีดิจิทัลในอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์ที่มุ่งเน้นไลฟ์สไตล์ของไทย พร้อมพัฒนาอีโคซิสเต็มทางธุรกิจที่ยั่งยืนให้กับกลุ่มธุรกิจค้าส่ง กลุ่มธุรกิจอาคารสำนักงาน และกลุ่มธุรกิจโรงแรมและการบริการ โดยโซลูชันนี้ จะช่วยเพิ่มการเข้าถึงการบริการชําระเงินดิจิทัล และสร้างประสบการณ์ Omnichannel ให้กับผู้ซื้อและผู้ขายทั่วโลก ได้แก่ โซลูชันทางการเงินดิจิทัล (Payment Solution) สําหรับกลุ่มธุรกิจ ผลิตภัณฑ์ และบริการของ AWC รวมถึง 'PhenixBox' ซึ่งเป็นแพลตฟอร์ม Omnichannel ที่เชื่อมโยงการซื้อขายจากออฟไลน์สู่ออนไลน์ และ Pikul แพลตฟอร์มดิจิทัลอสังหาริมทรัพย์ไลฟ์สไตล์ของ AWC ซี่งการร่วมมือกันนี้ยังส่งเสริมให้ AWC สามารถขยายอีโคซิสเต็มสำหรับกลุ่มธุรกิจค้าส่งด้วยระบบการชำระเงินระหว่างประเทศ (Cross-Border Payment Solution) เพื่อสร้างโซลูชันการชําระเงินแบบครบวงจรสําหรับศูนย์กลางการค้าส่งของ AWC และแพลตฟอร์ม PhenixBox ที่จะช่วยให้การชําระเงินระหว่างผู้ค้าส่งและผู้ซื้อทั่วโลกในสกุลเงินต่าง ๆ เป็นไปได้อย่างราบรื่น”Thai translation. นอกจากนี้ AWC มุ่งพัฒนาอาคาร เอ็มไพร์ ให้มี ดิจิทัลอีโคซิสเต็ม (Digital Eco-System) ที่ครอบคลุม ส่งเสริมให้เป็นพื้นที่สำนักงานไลฟ์สไตล์สําหรับบริษัทเทคโนโลยีและดิจิทัล เพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืนของธุรกิจด้านเทคโนโลยี ซึ่งความร่วมมือกับ Ant Group นี้ จะส่งเสริมการทำตลาดร่วมกัน (Cross-Marketing) กระตุ้นการเติบโตอย่างยั่งยืนในระยาว พร้อมแลกเปลี่ยนความรู้และความเชี่ยวชาญ เปิดโอกาสทางธุรกิจ และขยายฐานลูกค้า ด้วยจุดแข็งที่แข็งแกร่งของ AWC ในการเป็นเจ้าของพอร์ตโฟลิโอที่ใหญ่ที่สุดในกลุ่มธุรกิจโรงแรมและการบริการไลฟ์สไตล์ และเครือข่ายสํานักงานที่มีผู้เช่าเป็นบริษัทเทคโนโลยีและดิจิทัล สนับสนุนให้ความร่วมมือกับ Ant Group นี้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น  ผลักดันการเติบโตของเทคโนโลยีดิจิทัลอีโคซิสเต็มสําหรับอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์ไลฟ์สไตล์ในระยะยาว   นางวัลลภา กล่าวอีกว่า AWC เดินหน้าอย่างต่อเนื่องเพื่อสร้างโอกาสในการยกระดับประสบการณ์การทําธุรกรรมที่ราบรื่นให้แก่ลูกค้าและผู้ประกอบการทั่วโลก พร้อมเสริมความแข็งแกร่งให้ธุรกิจในวงกว้างด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลของ Ant Group ซึ่งเป็นพันธมิตรที่มีวิสัยทัศน์ตรงกันเพื่อสร้างสรรค์อนาคตที่ดีกว่า เพื่อร่วมกันส่งมอบคุณค่าที่ยั่งยืนในธุรกิจด้วยการนําเสนอโซลูชันเทคโนโลยีดิจิทัลที่เป็นประโยชน์ต่อผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง พร้อมเป็นส่วนหนึ่งของการเติบโตทางเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศไทย   นางสาวคลารา ชิ รองประธาน Ant Group และ Head of WorldFirst กล่าวว่า การเป็นพันธมิตรกับ AWC ตอกย้ำถึงความสำคัญของระบบการชำระเงินที่มีความคล่องตัวที่ช่วยสนับสนุนการทำธุรกรรมทั่วโลก และเป็นกลไกสู่ความสำเร็จในโลกปัจจุบันที่เชื่อมต่อถึงกันด้วยการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีที่ทันสมัย ทาง ​​Ant Group ได้พัฒนาโซลูชันการชำระเงินข้ามพรมแดนอย่างครอบคลุมเพื่อเพิ่มความคล่องตัวของระบบการทำธุรกรรมข้ามประเทศ Ant Group มุ่งมั่นในการส่งเสริมธุรกิจต่างๆ ให้สามารถเข้าถึงและมอบประสบการณ์ที่ดีกับทั้งพันธมิตร ผู้ขาย และลูกค้าในแต่ละประเทศผ่านช่องทางการชำระเงินแบบ Omnichannel และการบริการทางการเงินต่างๆ ขององค์กรมากมาย 4 กลุ่มธุรกิจภายใตความร่วมมือ การเป็นพันธมิตรทางธุรกิจระหว่าง AWC และ Ant Group นี้ จะสร้างความร่วมมือในกลุ่มธุรกิจต่างๆ ได้แก่: กลุ่มธุรกิจค้าส่ง ได้ร่วมมือกับ 'WorldFirst' แพลตฟอร์มดิจิทัลสำหรับการชำระเงินและบริการทางการเงินแบบครบวงจรสำหรับ SME ที่เกี่ยวข้องกับการค้าระดับโลกหรือการค้าข้ามพรมแดน ภายใต้ Ant Group มีเป้าหมายที่จะเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้ธุรกิจค้าส่งโดยนําเสนอบริการชําระเงินข้ามประเทศ อํานวยความสะดวกสำหรับทุกขั้นตอนการใช้จ่ายจากทางออนไลน์สู่ออฟไลน์ (O2O) พร้อมขยายเครือข่ายผู้ซื้อและผู้ขายในการเป็นแพลตฟอร์ม Business-to-Business (B2B) ที่ทำให้การเข้าถึงบริการทางการเงินของซัพพลายเชนง่ายขึ้น อีกทั้ง AWC วางแผนที่จะเปิดใช้งานโซลูชันการชําระเงินข้ามประเทศในแพลตฟอร์ม  PhenixBox ที่ช่วยส่งเสริมช่องทางการชําระเงินของผู้ซื้อ การค้าขาย และการตลาด ภายในปี 2566 กลุ่มธุรกิจโรงแรมและการบริการ และกลุ่มธุรกิจศูนย์การค้า ความร่วมมือกับ 2C2P ผู้ให้บริการแพลตฟอร์มการชำระเงินเต็มรูปแบบและพันธมิตรเชิงกลยุทธ์ของ Ant Group มีเป้าหมายที่จะยกระดับช่องทางการชําระเงิน วิธีการ และประสบการณ์ของผู้ใช้ให้มีประสิทธิภาพสําหรับนักเดินทางและผู้บริโภคทั้งในและต่างประเทศ กลุ่มธุรกิจอาคารสำนักงาน ด้วยจุดแข็งของ Ant Group ในเทคโนโลยีดิจิทัลจะช่วยสร้างการเชื่อมต่อระหว่างองค์กร ผู้คน และสังคม เพื่อสร้างอีโคซิสเต็มในอาคาร ‘เอ็มไพร์’ ให้เป็นคอมมูนิตี้ดิจิทัลรูปแบบใหม่ เชื่อมต่อผู้เช่าในอุตสาหกรรมดิจิทัลเข้าด้วยกัน กลุ่มธุรกิจในด้านดิจิทัล (Digitalization Business) การทำงานร่วมกับ 2C2P เพื่อเสริมศักยภาพของช่องทางการชําระเงินและโซลูชัน e-wallet บัตรเติมเงิน และโปรแกรมระบบสมาชิกที่ปรับเพื่อการใช้งานอย่างลงตัวใน  Pikul แพลตฟอร์มดิจิทัลอสังหาริมทรัพย์ไลฟ์สไตล์ของ AWC ที่กําลังจะเปิดตัวเร็วๆ นี้   อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง -[PR News] ไทยพาณิชย์ ปล่อยสินเชื่อความยั่งยืน-สินเชื่อสีเขียว 20,000 ล้าน ให้ AWC
เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้  โชว์ผลงานรายได้-กำไร Q3/66  พร้อมรายได้ 9 เดือนกว่า 11,598 ล้าน

เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ โชว์ผลงานรายได้-กำไร Q3/66 พร้อมรายได้ 9 เดือนกว่า 11,598 ล้าน

เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ โชว์ผลงานไตรมาส 3 ทำรายได้ 4,468 ล้าน พร้อมกำไรสุทธิ 396 ล้าน​ หลังธุรกิจที่อยู่อาศัยได้รับแรงตอบรับดี ได้บ้านเดี่ยวเซกเมนต์ระดับบนหนุน ขณะที่ธุรกิจอุตสาหกรรม – พาณิชยกรรมสร้างรายได้จากค่าเช่าและค่าบริการเติบโตสูง รับอานิสงส์การย้ายและขยายฐานการลงทุนมาไทย รวมถึงการท่องเที่ยวที่ขยายตัวเต็มที่ ส่วนผลประกอบการ 9 เดือนตุนรายได้ 11,598 ล้านบาท     นายธนพล ศิริธนชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร  บริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ช่วงไตรมาส 3 ปีงบประมาณ 2566 (เมษายน – มิถุนายน 2566) บริษัทสามารถสร้างรายได้รายได้รวม 4,468 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 30% จากไตรมาส 2 ของปีงบประมาณ 2566 (มกราคม – มีนาคม 2566) มี จาก 3,424 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิ 396 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 25% จากไตรมาสก่อนหน้าที่มีกำไร 318 ล้านบาท   บริษัทยังคงเดินหน้าตามแผนธุรกิจอย่างรอบคอบ โดยให้ความสำคัญในการบริหารจัดการเงินทุน เพื่อรักษาเสถียรภาพและคงสภาพคล่องทางการเงิน รองรับโอกาสการฟื้นตัวของตลาด ภายใต้กลยุทธ์ที่ยืดหยุ่นในการรับมือสภาวะเศรษฐกิจ รวมถึงเสริมความพร้อมเข้าลงทุนธุรกิจที่มีศักยภาพในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับกิจการควบคู่กับการบริหารจัดการองค์กร เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานตามเป้าหมาย สำหรับไตรมาส 3 กลุ่มอสังหาริมทรัพย์เพื่อการอยู่อาศัยสร้างรายได้ 2,708 ล้านบาท เป็นผลมาจากการออกแคมเปญการตลาดอย่างต่อเนื่อง และสามารถสื่อสารถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงสามารถกวาดยอดขายได้ 6,134 ล้านบาท โดยเฉพาะบ้านเดี่ยวราคา 10 ล้านบาทขึ้นไปได้รับการตอบรับดี ซึ่งไตรมาส 3 ได้เปิดโครงการอัลพีน่า พระราม 2 บ้านเดี่ยวระดับลักชัวรี่ ราคา 20 – 35 ล้านบาท มูลค่าโครงการ 2,200 ล้านบาท   ขณะที่สิ้นไตรมาสบริษัทมีโครงการดำเนินการอยู่ 78 โครงการ รวมมูลค่ากว่า 108,700 ล้านบาท  ส่วนในไตรมาส 4 ของปีงบประมาณ 2566 (กรกฎาคม - กันยายน 2566) บริษัทเตรียมเปิดตัวบ้านและทาวน์โฮมเพิ่มอีก 2 โครงการ รวมมูลค่า 2,830 ล้านบาท  ปัจจุบันบริษัทมีแบ็กล็อกอีกกว่า 1,000 ล้านบาทที่จะช่วยผลักดันผลการดำเนินงานเติบโตต่อเนื่อง   ส่วนกลุ่มอสังหาริมทรัพย์เพื่ออุตสาหกรรมและอสังหาริมทรัพย์เพื่อพาณิชยกรรมสามารถทำรายได้จากค่าเช่าและค่าบริการได้ถึง 710 ล้านบาท แรงหนุนมาจากธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เพื่ออุตสาหกรรมที่ได้รับอานิสงส์จากยุทธศาสตร์ China Plus One และภูมิศาสตร์การเมืองโลกที่เปลี่ยนแปลง ส่งผลให้นักลงทุนต่างชาติย้ายฐานและขยายการลงทุนมายังประเทศไทย ซึ่งมีที่ตั้งบนทำเลยุทธศาสตร์พร้อมด้วยศักยภาพที่เหมาะกับการเป็นฐานการผลิต ทำให้โรงงานและคลังสินค้าได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากผู้เช่า โดยบริษัทได้ส่งมอบอาคารคลังสินค้าแบบสร้างตามความต้องการ (Built-to-Suit) ให้กับผู้ให้บริการโลจิสติกส์รายใหญ่อันดับต้นของเอเชียแปซิฟิก มีพื้นที่ใช้สอยรวม 20,000 ตร.ม. ในโครงการเฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ โลจิสติกส์ เซ็นเตอร์ (บางพลี 7) เฟส 2 จังหวัดสมุทรปราการ และสามารถรักษาอัตราการเช่าของพอร์ตโฟลิโอได้สูงถึง 86%   ด้านกลุ่มอสังหาริมทรัพย์เพื่อพาณิชยกรรม พอร์ตโฟลิโอของอาคารสำนักงานให้เช่าเกรดเอในพื้นที่ CBD และโครงการมิกซ์ยูสมีอัตราการเช่าสูงถึง 93% ด้วยความสามารถในการบริหารจัดการที่รองรับการใช้งานของผู้เช่า ผู้ใช้อาคาร และลูกค้าได้อย่างครอบคลุม   ล่าสุด อาคารที่อยู่ภายใต้การบริหารจัดการทั้งปาร์คเวนเชอร์ เอฟวายไอ เซนเตอร์ และสามย่านมิตรทาวน์ผ่านการรับรองจาก WiredScore มาตรฐานระดับโลกการันตีความสามารถด้านการเชื่อมต่อและโครงสร้างด้านสาธารณูปโภคดิจิทัลของอาคารเทียบเท่าในระดับสากล ส่วนศูนย์การค้าสามย่านมิตรทาวน์และสีลมเอจมีทราฟฟิกสูงต่อเนื่อง เป็นผลจากการฟื้นตัวของการบริโภคภายในประเทศ และนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เข้ามาในไทยมากขึ้น ซึ่งจากการขยายตัวของภาคท่องเที่ยวได้ส่งผลบวกต่อธุรกิจโรงแรมด้วยเช่นกัน ทั้งนี้ จากรายได้ของธุรกิจโรงแรมที่เติบโตขึ้น รวมถึงรายได้ค่าบริหารจัดการ การขายที่ดิน และการจำหน่ายเงินลงทุนในบริษัท ย่อยที่ดำเนินธุรกิจด้านดาต้าเซ็นเตอร์ ซึ่งเป็นไปตามกลยุทธ์ของ FPT ที่ปรับการใช้เงินลงทุนในอนาคตเพื่อมุ่งเน้นการลงทุนในกลุ่มธุรกิจหลัก ส่งผลให้ในไตรมาสนี้ บริษัทรับรู้รายได้อื่น ๆ รวม 1,050 ล้านบาท สำหรับโครงการในอนาคต FPT มีแผนพัฒนาสินทรัพย์โครงการเมย์แฟร์ แมริออท เอ็กเซกคิวทีฟ อพาร์ตเมนต์ (Mayfair Marriott Executive Apartment)  เป็นโครงการคอนโดมิเนียมระดับซูเปอร์ลักชัวรี่ เพื่อเป็นการต่อยอดทางธุรกิจ และเพิ่มผลตอบแทนให้กับบริษัทในระยะยาว   สำหรับผลประกอบการรอบระยะเวลา 9 เดือนของปีงบประมาณ 2566 (ตุลาคม 2565 – มิถุนายน 2566) FPT มีรายได้รวม 11,598 ล้านบาท เป็นรายได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ 7,691 ล้านบาท รายได้ค่าเช่าและค่าบริการ 2,061 ล้านบาท และรายได้อื่น ๆ 1,846 ล้านบาท โดยมีกำไรสุทธิอยู่ที่ 1,031 ล้านบาท   อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง -เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ โฮม ปรับแผนธุรกิจปี 65 เพิ่มพอร์ต บ้านหรู ปูทางโตอย่างยั่งยืน เล็งรายได้คอนโด 20% -เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ ​โชว์กำไร 6 เดือน เฉียดพันล้าน หลังใช้ธุรกิจเชิงรุก -ผลดีการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ
[PR News] CPANEL มองธุรกิจครึ่งปีหลัง 66 โตต่อเนื่องลุ้น Backlog ปีนี้แตะ 1,800 ล้าน

[PR News] CPANEL มองธุรกิจครึ่งปีหลัง 66 โตต่อเนื่องลุ้น Backlog ปีนี้แตะ 1,800 ล้าน

CPANEL เผยทิศทางธุรกิจครึ่งปีหลัง 2566 เติบโตต่อเนื่อง ดีมานด์ลูกค้าเดิม-ลูกค้าใหม่พุ่ง พร้อมแตกไลน์รับงานโรงแรม ปั้นพอร์ตคอนโด ความผันผวนทางเศรษฐกิจกระทบต้นทุนก่อสร้าง หนุน Precast Concrete ขาขึ้นลุ้น Backlog แตะ 1,800 ล้านบาท มั่นใจเป้าหมายรายได้ปีนี้โตตามแผน 10-15% ด้านโรงงานแห่งที่ 2 ก่อสร้างตัวอาคารแล้วเสร็จ คาดเริ่มติดตั้งเครื่องจักรภายในปีนี้   นายชาคริต ทีปกรสุขเกษม กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซีแพนเนล จำกัด (มหาชน) หรือ CPANEL ผู้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์แผ่นคอนกรีตสำเร็จรูป (Precast Concrete) เปิดเผยว่า ทิศทางธุรกิจครึ่งปีหลังปี 2566 ยังเติบโตอย่างต่อเนื่อง จากแนวโน้มลูกค้าใหม่ที่มากขึ้น และลูกค้าเดิมมีคำสั่งซื้อซ้ำ รวมถึงแผนขยายฐานลูกค้ากลุ่มใหม่ ๆ เพิ่มเติม ซึ่งช่วงที่ผ่านมาบริษัทรับงานก่อสร้างโรงแรมแห่งแรก มูลค่าประมาณ 13 ล้านบาท รวมถึงงานก่อสร้างคอนโดมิเนียมจากผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ชั้นนำ มูลค่าประมาณ 46 ล้านบาท ซึ่งงานประเภทดังกล่าวถือเป็นโอกาสของบริษัทในการรับงานที่หลากหลายมากขึ้นในอนาคต นอกจากนี้ยังมีโครงการแนวราบอีก 5 ราย มูลค่าประมาณ 240 ล้านบาท ส่งผลให้ปัจจุบันบริษัทมีงานในมือ (Backlog)  ประมาณ 1,400 ล้านบาท ขณะนี้อยู่ระหว่างการเจรจาลูกค้าเพิ่มเติมอีกหลายราย  จะส่งผลให้บริษัททำรายได้ตามเป้าหมายเติบโต 10-15% จากปีก่อนที่มีรายได้รวม 433.97 ล้านบาท และคาดว่าผลการดำเนินงานจะปรับตัวสูงขึ้น จากการบริหารจัดการควบคุมต้นทุนการผลิตและการขาย ทำให้เกิด  Economy of Scale   อย่างไรก็ตาม แม้ว่าภาพรวมตลาดอสังหาริมทรัพย์ครึ่งปีหลังมีแนวโน้มชะลอตัว จากภาวะความผันผวนทางเศรษฐกิจ แต่ผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์หลายรายยังมีแผนลงทุนในโครงการใหม่ๆ จึงมีความจำเป็นต้องควบคุมต้นทุนที่มีความผันแปร เช่น การขาดแคลนแรงงาน ค่าแรง ค่าวัสดุก่อสร้าง ค่าพลังงาน และดอกเบี้ยที่ปรับตัวสูงขึ้น จึงเป็นปัจจัยสนับสนุนให้ Precast Concrete มีความต้องการที่สูงขึ้น เนื่องจากสามารถตอบโจทย์ความต้องการได้ดี ส่งผลให้มีคำสั่งซื้อจากลูกค้ารายเดิมและรายใหม่เข้ามาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะเป็นแรงผลักดันที่คาดว่าภายในปีนี้จะมี Backlog 1,800 ล้านบาท นายชาคริต กล่าวอีกว่า ส่วน​ความคืบหน้าโรงงานผลิตแห่งที่ 2 ปัจจุบันก่อสร้างตัวอาคารเสร็จเรียบร้อยแล้ว คาดว่าจะเริ่มติดตั้งเครื่องจักรได้ในภายในปีนี้ หลังจากติดตั้งแล้วเสร็จจะเพิ่มกำลังการผลิตอีก 1 เท่าตัว จากปัจจุบันกำลังการผลิต 7.92 แสนตารางเมตร สามารถรองรับความต้องการใช้ Precast Concrete จากแนวโน้มคำสั่งซื้อที่มีเข้ามาอย่างต่อเนื่อง   อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง -“ซีแพนแนล” รับผลบวกมาตรการ LTVหลังดีเวลลอปเปอร์ หันมาขยายตลาดบ้านแนวราบ -5 เทรนด์อุตสาหกรรมก่อสร้างโลกที่แรงไม่หยุด
[PR News] SEN X ชู “Elite Service” อัพสกิลบริหารจัดการครบวงจร

[PR News] SEN X ชู “Elite Service” อัพสกิลบริหารจัดการครบวงจร

SEN X ยกขบวนทีมงานเสริมทักษะการบริหารจัดการ ศึกษาดูงานและฝึกปฏิบัติการให้บริการลูกบ้าน โดยผู้เชี่ยวชาญจากฮันคิว ฮันชิน โฮเทล เจ้าของโรงแรมยักษ์ใหญ่ในโอซาก้า ประเทศญี่ปุ่น พร้อมเสิร์ฟ “Elite Service” บริการมาตรฐานโรงแรมระดับ World class ประเดิมนำร่องคอนโดพรีเมี่ยมบนถนนสุขุมวิทที่แรก “ปีติ สุขุมวิท 101” ตอบโจทย์การใช้ชีวิตสุดเอ็กซ์คลูซีฟที่เหนือระดับให้แก่ลูกบ้าน   นางสุพินท์ มีชูชีพ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เซ็น เอกซ์ จำกัด (มหาชน) หรือ SEN X  เปิดเผยว่า ทางบริษัทมีความพร้อมและมีความมั่นใจในการขับเคลื่อนธุรกิจใหม่ ๆ เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภค ด้วยโซลูชัน  บริการแบบครบวงจรด้านอสังหาริมทรัพย์ (Real Estate Integrated Service Solution) โดยมีวิสัยทัศน์เพื่อการสร้างสรรค์พัฒนาอสังหาริมทรัพย์และการบริการอย่างครอบคลุม เพื่อการอยู่อาศัยในทุกมิติตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตยุคใหม่ตามมาตรฐานระดับโลก พร้อมทั้งเสริมความแข็งแกร่งให้กับธุรกิจหลักของบริษัท เสนาดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน)   โดยในส่วนของธุรกิจบริหารจัดการอสังหาริมทรัพย์ (Property Management) และกลุ่มธุรกิจโรงแรมและการบริการ (Hospitality) ทางบริษัทได้ส่งทีมงานบริหารและบริการไปเพิ่มศักยภาพด้วยการเข้ารับการอบรมเสริมทักษะบริหารจัดการแบบครบวงจรตามมาตรฐานโรงแรมระดับโลกจาก ฮันคิว ฮันชิน โฮเทล เจ้าของโรงแรมยักษ์ใหญ่ในโอซาก้า อีกหนึ่งธุรกิจในกลุ่มของพาร์ทเนอร์ญี่ปุ่นอย่างฮันคิว ฮันชิน โฮลดิ้ง กรุ๊ป ซึ่งมีประสบการณ์และมีความเชี่ยวชาญในการบริหารจัดการธุรกิจโรงแรมอันดับต้นของประเทศญี่ปุ่น เพื่อเป็นการยืนยันให้เห็นว่าบริษัทฯ ให้ความสำคัญกับการพัฒนาคุณภาพด้านการบริการเพื่อตอบสนองความต้องการและความพึงพอใจของลูกค้าอย่างสูงสุด ทางบริษัทฯ พร้อมเป็นอย่างยิ่งที่จะให้บริการในรูปแบบ “Elite Service” บริการมาตรฐานโรงแรมระดับ World class แก่ลูกบ้านสังคมระดับพรีเมี่ยม โดย “Elite Service” คือการบริการสุดเอ็กซ์คลูซีฟ ตอบสนองความต้องการของผู้อยู่อาศัยที่ต้องการความสะดวกสบายและการบริการคุณภาพระดับโรงแรม 5 ดาว พร้อมด้วยการดูแลพิเศษที่จะช่วยรังสรรค์ให้การใช้ชีวิตเหนือระดับ ประกอบไปด้วย บริการพนักงานต้อนรับ (Reception), Doorman, Bellboy , Concierge Service บริการผู้ช่วยส่วนตัว เจ้าหน้าที่จองตั๋วเครื่องบิน,ร้านอาหาร,ที่พักโรงแรม, จองรถเช่า, บริการเรียก Taxi, นัดพบแพทย์, บริการแจ้งซ่อมฉุกเฉิน บริการ Shuttle Service บริการรถรับส่งนอกโครงการ เป็นต้น พร้อมให้บริการด้วยคุณภาพตลอด 24 ชั่วโมง เรามุ่งมั่นในการสร้างมาตรฐานการบริการอย่างมืออาชีพของบุคลากรเพื่อยกระดับองค์กรสู่การบริการที่เป็นมาตรฐาน เน้นการพัฒนาสินค้าและบริการที่ตอบโจทย์ในทุกมิติของลูกบ้านผู้พักอาศัยในโครงการ/อาคารให้ได้รับประโยชน์สูงสุด    อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง -[PR News] เสนา ตั้ง “สุพินท์ มีชูชีพ” ขึ้นแท่นซีอีโอบริษัท SEN X คนใหม่ -เสนาดีเวลลอปเม้นท์ เปิด 7 โปรเจ็กต์ใหม่ Q2 หนุนเป้ายอดขายกว่า 1.8 หมื่นล.
[PR News] ไทยพาณิชย์ ปล่อยสินเชื่อความยั่งยืน-สินเชื่อสีเขียว 20,000 ล้าน ให้ AWC

[PR News] ไทยพาณิชย์ ปล่อยสินเชื่อความยั่งยืน-สินเชื่อสีเขียว 20,000 ล้าน ให้ AWC

สินเชื่อสีเขียว ธนาคารไทยพาณิชย์ ปล่อยสินเชื่อความยั่งยืน และสินเชื่อสีเขียว จำนวน 20,000 ล้าน ให้ แอสเสท เวิรด์ คอร์ป เพื่อพัฒนาโครงการเมกะโปรเจกต์ สานต่อเจตนารมณ์ด้านความยั่งยืนของทั้งสององค์กร   นายกฤษณ์ จันทโนทก ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ได้สนับสนุนสินเชื่อที่เชื่อมโยงกับการดำเนินงานด้านความยั่งยืน (Sustainability Linked Loan) และสินเชื่อสีเขียว (Green Loan) จำนวน 20,000 ล้านบาท ให้แก่ AWC เพื่อสนับสนุนการพัฒนาโครงการใหม่ ๆ และการดำเนินงานด้านความยั่งยืนของ AWC อีกทั้งยังเป็นการสนับสนุนพันธกิจด้านสิ่งแวดล้อมของธนาคาร และธุรกิจภายใต้กลุ่มเอสซีบี เอกซ์ โดยมีเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์จากการดำเนินงานภายในปี 2030 และจากการให้สินเชื่อและการลงทุนภายในปี 2050 ธนาคารมีความเชื่อมั่นในศักยภาพของ AWC และเชื่อมั่นว่าการสนับสนุนทางการเงินจำนวน 20,000 ล้านในครั้งนี้ จะช่วยเสริมศักยภาพทางธุรกิจผ่านการพัฒนาโครงการคุณภาพมากมาย ที่จะสร้างความน่าตื่นเต้นให้แก่วงการอสังหาริมทรัพย์ และเพื่อสนับสนุนประเทศไทยเป็นจุดหมายปลายทางท่องเที่ยวที่ยั่งยืนระดับโลก ด้านนางวัลลภา ไตรโสรัส ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท แอสเสท เวิรด์ คอร์ป จำกัด (มหาชน) หรือ AWC กล่าวว่า AWC มุ่งขับเคลื่อนธุรกิจภายใต้กรอบการพัฒนาที่ยั่งยืน 3 เสาหลัก 9 มิติ หรือ 3 BETTERs ประกอบไปด้วย 1.การสร้างคุณค่าด้านสิ่งแวดล้อม (BETTER PLANET) เพื่อโลกที่มีสภาพแวดล้อมที่ดีขึ้น 2.การสร้างคุณค่าด้านสังคม (BETTER PEOPLE) เพื่อผู้คนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และ 3.การสร้างคุณค่าด้านเศรษฐกิจ (BETTER PROSPERITY) เพื่อเศรษฐกิจของประเทศที่ดีขึ้น   โดยที่ผ่านมา AWC ได้ดำเนินโครงการเพื่อสนับสนุนการพัฒนาที่ยั่งยืนอย่างต่อเนื่อง อาทิ โรงแรม เชอราตัน สมุย ดำเนินโครงการธนาคารปู เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายการเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพ และโรงแรมบันยันทรี กระบี่ ที่ได้ร่วมมือกับมูลนิธิอันดามัน เพื่อนำร่องโครงการท่องเที่ยวชุมชนอย่างยั่งยืน รวมถึงการดำเนินงานด้านเศรษฐกิจหมุนเวียน ผ่านแนวคิดธุรกิจ reConcept ที่ส่งเสริมการนำเฟอร์นิเจอร์และวัสดุเก่า รวมถึงอุปกรณ์ตกแต่งของโรงแรมที่ไม่ได้ใช้งาน กลับมารีไซเคิลและใช้ซ้ำ เพื่อลดปริมาณขยะฝังกลบ ตลอดจนการลงทุนพัฒนาบริหารโครงการอสังหาริมทรัพย์ของบริษัทฯ ที่ส่งเสริมการสร้างงานและสร้างรายได้สู่ชุมชนรอบโครงการ และสนับสนุนผู้ประกอบการไทยท้องถิ่นเพื่อสร้างโอกาสรายได้ที่ยั่งยืนผ่านโครงการ เดอะ GALLERY เป็นต้น   AWC ยังคงดำเนินงานตามแผนแม่บทอนุรักษ์พลังงาน (Energy Efficiency Plan: EEP) สอดคล้องกับกรอบสินเชื่อที่เชื่อมโยงกับการดำเนินงานด้านความยั่งยืนและสินเชื่อสีเขียว เพื่อมุ่งเน้นการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ผ่านโครงการติดตั้งแผงโซลาร์บนหลังคาหรือชั้นดาดฟ้าของอาคาร การเปลี่ยนมาใช้หลอดไฟประหยัดพลังงาน การเพิ่มประสิทธิภาพระบบทำความเย็นและเครื่องปรับอากาศ ครอบคลุมโรงแรมในเครือที่มีการดำเนินงานมาตั้งแต่ปี 2019   นอกจากนี้ AWC จะพัฒนาโครงการในเครือตามกรอบเพื่อขอรับรองมาตรฐานอาคารสีเขียวสากล อาทิ มาตรฐาน EDGE LEED หรือ WELL เพื่อผลักดันให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนและคํานึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมด้วยการใช้ทรัพยากรให้เกิดความคุ้มค่าและมีประสิทธิภาพสูงสุด   โดย AWC มีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาโครงการคุณภาพระดับเมกะโปรเจกต์ให้เป็นจุดหมายปลายทางท่องเที่ยวยั่งยืนระดับโลก (Mega sustainable destination) อาทิ โครงการเอเชียทีค ที่จะสร้างเป็นแลนด์มาร์คความยั่งยืนริมแม่น้ำเจ้าพระยาให้กับกรุงเทพฯ โครงการอควอทีค กลางเมืองพัทยา และโครงการเวิ้ง นาครเกษม ศูนย์กลางคุณค่าประวัติศาสตร์วัฒนธรรมกลางไชน่า ทาวน์ รวมถึงโครงการลานนาทีค ที่มีคุณค่าของเสน่ห์ศิลปวัฒนธรรมล้านนากลางเมืองเชียงใหม่ เป็นต้น ซึ่ง AWC เชื่อมั่นว่าการพัฒนาโครงการต่างๆ ให้เป็นจุดหมายปลายทางด้านความยั่งยืนระดับโลกนี้ จะเป็นส่วนหนึ่งเพื่อสานต่อนโยบายและกลยุทธ์หลักของประเทศสู่การเป็นผู้นำการท่องเที่ยวยั่งยืนระดับโลก   AWC ยังมุ่งพัฒนาอาคารตามมาตรฐานอาคารสีเขียวในระดับสากล อาทิ โรงแรมอินน์ไซด์ บาย มีเลีย กรุงเทพ สุขุมวิท ซึ่งได้รับการรับรองมาตรฐาน EDGE (Excellence in Design for Greater Efficiencies) และโรงแรมอินเตอร์คอนติเนนตัล เชียงใหม่ แม่ปิง ได้รับการรับรอง LEED & WELL PRECERTIFIED รวมถึงอีกหลากหลายโครงการ โดยใช้สินเชื่อยั่งยืนแรกที่ได้รับการสนับสนุนจาก SCB เมื่อปีที่แล้ว   โดยปัจจุบัน AWC ได้ร่วมมือกับพันธมิตรสถาบันการเงินชั้นนำจัดวงเงินสินเชื่อระยะยาวที่เชื่อมโยงกับความยั่งยืนกว่า 75% และตั้งเป้าที่จะเพิ่มสัดส่วนวงเงินสินเชื่อระยะยาวเชื่อมโยงความยั่งยืนเป็นร้อยละ 100% เพื่อมุ่งสร้างอนาคตที่ยั่งยืนให้กับประเทศ การลงนามสัญญาในครั้งนี้เป็นการตอกย้ำวิสัยทัศน์ร่วมกันในการดำเนินธุรกิจ โดย AWC จะยังคงดำเนินการตามกลยุทธ์ความยั่งยืนอย่างต่อเนื่องผ่านโครงการริเริ่มต่างๆ เพื่อร่วมสร้างคุณค่าในระยะยาวให้แก่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่าย ภายใต้พันธกิจ สร้างสรรค์อนาคตที่ดีกว่า  พร้อมเป็นพลังสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศไทยสู่การเป็นจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวยั่งยืนระดับโลก AWC ดำเนินงานภายใต้กรอบการพัฒนาอย่างยั่งยืนต่อเนื่อง และได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในมาตรฐานสากลต่างๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ อาทิ การได้รับการประเมินจาก MSCI ESG Rating ในระดับ "AA" ได้รับการคัดเลือกเข้าสู่รายชื่อหุ้นยั่งยืน Thailand Sustainability Investment (THSI) ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ได้ติดอันดับรายงานความยั่งยืน S&P CSA Yearbook 2023 ต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 ซึ่งได้รับคัดเลือกเป็น “Top 1% S&P Global ESG Score 2022” ได้รับรางวัล “Industry Mover” ในฐานะบริษัทที่มีความยั่งยืนของกลุ่มอุตสาหกรรมโรงแรม รีสอร์ท และเรือสำราญ ได้รับการจัดอันดับรายงานการกำกับดูแลกิจการ ในระดับ “ดีเลิศ” (Excellence CG Scoring) ได้รับการรับรองให้เป็นแนวร่วมปฏิบัติของภาคเอกชนไทยในการต่อต้านการทุจริต (CAC) และได้รับการจัดอันดับในฐานะองค์กรที่มีการกำกับกิจการที่ดีของบริษัทจดทะเบียนในอาเซียนของปี 2564 (ASEAN CG Scorecard)   อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง -AWC จับมือ โนบุ ผุดโรงแรม Plaza Athenee สร้างแลนด์มาร์กในนิวยอร์ก-กรุงเทพฯ -AWC ประกาศ Q1/2566  กำไร 1,422 ล้าน ผลการใช้กลยุทธ์ GROWTH-LED
พรีโม เซอร์วิส โซลูชั่น ต่อยอด Super Living Service เข้าถือหุ้น โปรเจคส์เอเชีย

พรีโม เซอร์วิส โซลูชั่น ต่อยอด Super Living Service เข้าถือหุ้น โปรเจคส์เอเชีย

พรีโม เซอร์วิส โซลูชั่น เร่งขยายอาณาจักร Super Living Service ส่งบริษัทย่อย “ยูไนเต็ด โปรเจคต์ แมเนจเมนท์” เข้าถือหุ้น “โปรเจคส์เอเชีย” บิ๊กที่ปรึกษาทางวิศวกรรม และจัดการงานพัฒนาอสังหาฯครบวงจร หวังเสริมแกร่งธุรกิจบริหารงานก่อสร้าง เพิ่มขีดความสามารถการแข่งขัน ขยายฐานลูกค้าสู่การคุมงานโรงแรม ศูนย์การค้าขนาดใหญ่ อาคารสำนักงานเกรด A พร้อมรับรู้รายได้ทันทีจากธุรกิจในมือ ดันธุรกิจโตแบบก้าวกระโดดและยั่งยืน   นางสาวจตุพร วิไลแก้ว ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร  บริษัท พรีโม เซอร์วิส โซลูชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ PRI เปิดเผยว่า บริษัทยังคงเดินหน้าสร้างการเติบโตในทุกมิติ ภายใต้แนวคิด “Super Living Service” ทั้งกลุ่มต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ อย่างต่อเนื่อง ล่าสุด ได้ดำเนินการให้ บริษัท ยูไนเต็ด โปรเจคต์ แมเนจเมนท์ จำกัด หรือ UPM บริษัทในเครือ ซึ่งให้บริการบริหารงานก่อสร้างโครงการ เข้าซื้อกิจการ บริษัท โปรเจคส์เอเชีย จำกัด ธุรกิจที่ปรึกษาทางวิศวกรรม รวมถึงงานบริหารและควบคุมงานก่อสร้างโครงการอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งเคยมีผลงานดูแลงานขนาดใหญ่ระดับประเทศทั้งที่อยู่อาศัย โรงแรม อาคารสำนักงาน ศูนย์การค้า อาทิ 185 ราชดำริ, โรงแรมดิ โอกุระ เพรสทีจ กรุงเทพฯ, โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ แอท เซ็นทรัล ลาดพร้าว, อาคารปาร์ค เวนเชอร์ อีโคเพล็กซ์, อาคาร FYI Center, ไอคอนสยาม   การที่โปรเจคส์เอเชีย จะเข้ามาช่วยเติมฐานธุรกิจในกลุ่มต้นน้ำของเครือ PRI ใน 2 ด้าน ได้แก่ 1.ด้านการขยายฐานลูกค้า ช่วยให้ UPM เข้าถึงฐานลูกค้ารายใหญ่ในกลุ่มอสังหาริมทรัพย์เชิงพาณิชย์ เช่น โรงแรม อาคารสำนักงาน ห้างสรรพสินค้าได้มากขึ้น จากเดิมที่บริษัทมีฐานอยู่ในฝั่งที่อยู่อาศัยเป็นหลัก และ 2.ด้านองค์ความรู้และบุคลากร ช่วยให้บริษัทได้รับองค์ความรู้ ตลอดจนบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญและประสบการณ์เข้ามาร่วมงานเพิ่มเติมทันที ด้านผศ.ดร.อรุณ ศิริจานุสรณ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ของ UPM ผู้ให้บริการบริหารงานก่อสร้างโครงการ ในเครือ PRI กล่าวว่า บริษัทฯ ถือเป็นหนึ่งในกลุ่มธุรกิจต้นน้ำ - บริการก่อนเข้าอยู่อาศัย (Pre-Living Services) ที่มีอัตราการเติบโตสูงที่สุดในปี 2565 เมื่อเทียบกับกลุ่มธุรกิจอื่นของ PRI โดยมีอัตราการเติบโตถึง 3 เท่าจากปี 2564 ทำให้บริษัทมองหาโอกาสใหม่ๆ เพื่อให้สามารถเสริมแกร่งการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง   สำหรับการเข้าถือหุ้นครั้งนี้จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและขยายธุรกิจด้านที่ปรึกษาทางวิศวกรรม รวมถึงบริหารและควบคุมงานก่อสร้างโครงการขนาดใหญ่ รองรับลูกค้ากลุ่มใหม่ที่มีอัตราการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ขณะเดียวกัน ด้วยผลประกอบการที่แข็งแกร่งของโปรเจคส์เอเชีย จะทำให้เราสามารถรับรู้รายได้จากการให้บริการได้ทันที ช่วยผลักดันให้บริษัทก้าวสู่การเป็น Super Living Service ที่สามารถเติบโตได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน ขณะที่นายไบรอัน จอห์น ซิมมอนด์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท บริษัท โปรเจคส์เอเชีย จำกัด กล่าวว่า บริษัทมีความยินดีและภาคภูมิใจเป็นอย่างยิ่งกับการได้ร่วมธุรกิจกันในครั้งนี้ ถือได้ว่าเป็นความร่วมมือครั้งสำคัญของวงการอสังหาริมทรัพย์ไทยที่นำความแข็งแกร่งด้านงานที่ปรึกษาทางวิศวกรรม รวมถึงงานบริหารและควบคุมงานก่อสร้างโครงการของบริษัท มาผนวกรวมกับความโดดเด่นด้านงานบริการออกแบบสถาปัตยกรรม ของ UPM เข้าด้วยกัน เพื่อสร้างการเติบโตทางธุรกิจในอนาคต เพราะธุรกิจกลุ่มต้นน้ำเป็นกลุ่มธุรกิจที่ต้องการผู้ที่มีประสบการณ์และความชำนาญอย่างแท้จริง จากประสบการณ์อันยาวนานกว่า 33 ปีของโปรเจคส์เอเชีย ในธุรกิจที่ปรึกษา รวมถึงบริหารและควบคุมงานก่อสร้างโครงการขนาดใหญ่ระดับประเทศมากมาย จึงเชื่อมั่นได้ว่าบริษัทจะสามารถเป็นอีกหนึ่งพลังขับเคลื่อนให้ UPM และ PRI เติบโตได้อย่างแข็งแกร่งและยั่งยืน สำหรับ PRI เป็นผู้ดำเนินธุรกิจให้บริการที่เกี่ยวเนื่องกับอสังหาริมทรัพย์แบบครบวงจรชั้นนำของประเทศ มีประสบการณ์กว่า 11 ปี ปัจจุบัน ดำเนินธุรกิจภายใต้ 3 กลุ่มธุรกิจหลัก ได้แก่ 1.กลุ่มธุรกิจต้นน้ำ – บริการก่อนเข้าอยู่อาศัย (Pre-Living Services) อาทิ บริการที่ปรึกษาควบคุมงานก่อสร้าง บริการออกแบบด้านสถาปัตยกรรม งานโครงสร้าง งานโยธา และงานระบบ บริการจัดฝึกอบรมและพัฒนาทักษะบุคลากร 2.กลุ่มกลางน้ำ – บริการการจัดการเพื่อการอยู่อาศัย (Living Services) อาทิ บริการบริหารนิติบุคคลอาคารชุด บ้านจัดสรร ห้างสรรพสินค้า อาคาร และสำนักงาน บริการอพาร์ตเมนท์แบบพรีเมียม บริการซื้อ-ขาย-ปล่อยเช่าอสังหาริมทรัพย์ครบวงจร และ 3.กลุ่มปลายน้ำ - บริการหลังการขายที่อยู่อาศัย (Living & Earning Services) อาทิ บริการแม่บ้านและช่าง บริการออกแบบและตกแต่งภายใน   อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง -พรีโม ขาย IPO หุ้นละ 15 บาท 80 ล้านหุ้น วางเป้า Top 3 บริการด้านอสังหาฯ ​ -พรีโม เตรียม IPO ในปลายปีนี้ วางเป้าขึ้น Top3 ด้านบริการอสังหาฯ ​ครบวงจร
AWC  จับมือ โนบุ ผุดโรงแรม Plaza Athenee สร้างแลนด์มาร์กในนิวยอร์ก-กรุงเทพฯ

AWC จับมือ โนบุ ผุดโรงแรม Plaza Athenee สร้างแลนด์มาร์กในนิวยอร์ก-กรุงเทพฯ

AWC เดินหน้าลงทุนหุ้นธุรกิจโรงแรม พลาซ่า แอทธินี นิวยอร์ก พร้อมจับมือแบบเอ็กซ์คลูซีฟกับ โนบุ ฮอสพิทาลิตี้  สร้างโรงแรมระดับไอคอนิก 2 แห่งภายใต้แบรนด์ Plaza Athenee "โรงแรม พลาซ่า แอทธินี โนบุ โฮเทล แอนด์ สปา นิวยอร์ก" และพัฒนาจากอาคาร EAC  เป็น "โรงแรม เดอะ พลาซ่า แอทธินี โนบุ โฮเทล แอนด์ สปา แบงคอก"   นางวัลลภา ไตรโสรัส ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท แอสเสท เวิรด์ คอร์ป จำกัด (มหาชน) หรือ AWC เปิดเผยว่า ได้เดินหน้าขยายธุรกิจอย่างต่อเนื่องตามกลยุทธ์สร้างการเติบโต โดยจะเข้าลงทุนหุ้นธุรกิจโรงแรม พลาซ่า แอทธินี นิวยอร์ก และได้ขยายความร่วมมือเชิงกลยุทธ์แบบเอ็กซ์คลูซีฟกับ Nobu Hospitality แบรนด์ไลฟ์สไตล์สุดหรูที่มีการเติบโตรวดเร็วที่สุดในระดับโลก ผสานกับความเชี่ยวชาญของ AWC ด้านการพัฒนาโครงการ เพื่อร่วมสร้างโรงแรมระดับไอคอนิก 2 แห่งภายใต้แบรนด์ Plaza Athenee ได้แก่ 1.โรงแรม พลาซ่า แอทธินี โนบุ โฮเทล แอนด์ สปา นิวยอร์ก (Plaza Athenee Nobu Hotel and Spa New York) ที่จะพัฒนาจากอาคารของโรงแรมพลาซ่า แอทธินี นิวยอร์ก ที่ตั้งอยู่บนทำเลที่ดีที่สุดของแมนฮัตตัน และเป็นหนึ่งในโรงแรมที่ดีที่สุดของมหานครนิวยอร์กต่อเนื่องเกือบศตวรรษ โดยมีมูลค่าการลงทุนหุ้นในธุรกิจโรงแรม พลาซ่า แอทธินี นิวยอร์ก จำนวน 7,789 ล้านบาท   โดยการลงทุนหุ้นในธุรกิจโรงแรม พลาซ่า แอทธินี นิวยอร์กครั้งนี้ เป็นไปตามกลยุทธ์สร้างการเติบโต และสร้างกระแสเงินสดให้กับบริษัทอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน โดยได้รับการพิจารณาเห็นชอบจากคณะกรรมการของบริษัท และอยู่ในขั้นตอนการขออนุมัติจากผู้ถือหุ้น ซึ่ง AWC เชื่อมั่นว่าการลงทุนในโครงการแฟลกชิปครั้งนี้จะส่งเสริมการเติบโตให้กับองค์กรอย่างยั่งยืน พร้อมขยายกลยุทธ์การดำเนินงานการสร้างผลประกอบการ และฐานลูกค้าของทางบริษัทฯ ให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น   2.โรงแรม เดอะ พลาซ่า แอทธินี โนบุ โฮเทล แอนด์ สปา แบงคอก (The Plaza Athenee Nobu Hotel and Spa Bangkok) ซึ่งจะพัฒนาจากอาคาร EAC (East Asiatique Company) อันทรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์อายุกว่าศตวรรษ ตั้งอยู่ในทำเลที่ดีที่สุดริมแม่น้ำเจ้าพระยาในกรุงเทพฯ โดยเป็นการผนึกความพิเศษที่เป็นเอกลักษณ์ของโรงแรมทั้งสองแห่งซึ่งจะพัฒนาจากอาคารที่เปี่ยมไปด้วยคุณค่าทางประวัติศาสตร์ มีความสวยงาม และอยู่ในทำเลที่ตั้งที่ดีที่สุดของเมืองที่เป็นจุดหมายปลายทางของโลก   ทั้งนี้ การลงทุนหุ้นในธุรกิจโรงแรมพลาซ่า แอทธินี นิวยอร์ก ซึ่งเป็นอาคารที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์และมีชื่อเสียงยาวนาน ตั้งอยู่ในทำเลที่ดีที่สุดของนิวยอร์ก ได้ให้การต้อนรับบุคคลสำคัญระดับโลกจากนานาประเทศ อีกทั้งยังได้รับรางวัลต่าง ๆ มากมายอย่างต่อเนื่อง จนได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งในโรงแรมที่ดีที่สุดในนครนิวยอร์ก อีกทั้งยังเป็นทรัพย์สิน Freehold ที่ตั้งอยู่บนทำเลศักยภาพสุดพิเศษของเมือง ทำให้การลงทุนครั้งนี้เป็นโอกาสก้าวสำคัญของ AWC ในการนำศักยภาพด้านการพัฒนาโครงการระดับโลกของบริษัทไปสู่ตลาดที่มีความมั่นคงสูง เพื่อเสริมการเติบโตของบริษัทฯ อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน   นอกจากนี้ AWC ยังมีความร่วมมือในระยะยาวกับพันธมิตรอย่าง Nobu Hospitality ซึ่งเป็นแบรนด์ที่ได้รับรางวัลแบรนด์ที่ดีที่สุดในสหรัฐอเมริกา มีฐานลูกค้าขนาดใหญ่ที่มีกำลังซื้อสูง และยังมีวิสัยทัศน์ด้านธุรกิจและการพัฒนาอย่างยั่งยืนร่วมกัน ที่จะร่วมสร้างคุณค่าให้กับโครงการอสังหาริมทรัพย์ระดับแฟลกชิปของ AWC ในกรุงเทพฯ และนครนิวยอร์กภายใต้แบรนด์ Plaza Athenee ซึ่งจะรวมเอาความพิเศษของแบรนด์ Plaza Athenee ที่มีความหรูหราแบบตะวันตกอย่างเป็นเอกลักษณ์ มาผสานกับการมอบประสบการณ์แบบโมเดิร์นลักซ์ชูรี่วัฒนธรรมมินิมอลตะวันออกของแบรนด์ไลฟ์สไตล์อย่าง Nobu ได้อย่างลงตัว AWC เชื่อมั่นว่าความร่วมมือครั้งนี้ จะสร้างมิติใหม่ให้กับอุตสาหกรรมโรงแรมและการบริการระดับลักซ์ชูรี่ โดยโรงแรมทั้งสองแห่งมีกำหนดเปิดให้บริการในปี 2569 AWC X โนบุ ผุด 2 โรงแรมนิวยอร์ก-กรุงเทพฯ ด้านนาย เทรเวอร์ ฮอร์เวลล์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Nobu Hospitality กล่าวว่า โรงแรม พลาซ่า แอทธินี โนบุ โฮเทล แอนด์ สปา นิวยอร์ก ได้รับการพัฒนามาจากโรงแรม Plaza Athenee ซึ่งเป็นอาคารอันทรงคุณค่าประวัติศาสตร์ที่มีอายุเกือบร้อยปี ตั้งอยู่ในย่าน Upper East Side บนถนน 64 ระหว่างถนนปาร์ค อเวนิว และถนนเมดิสัน อเวนิว ซึ่งเป็นย่านที่พักอาศัยระดับไฮเอนด์ ใกล้สวนสาธารณะ Central Park พิพิธภัณฑ์ สถานกงสุล และแหล่งช้อปปิ้งชั้นนำ โดยมีดีไซน์ที่เป็นการผสมผสานวัฒนธรรมความหรูหราของตะวันตกจากแบรนด์ Plaza Athenee เข้ากับสไตล์โมเดิร์นลักซ์ชูรี่ที่รวมความเรียบง่ายแบบญี่ปุ่นอย่างลงตัว   นอกจากนี้ โรงแรมยังตกแต่งด้วยเฟอร์นิเจอร์ที่ได้รับการออกแบบมาโดยเฉพาะ รวมถึงงานศิลปะจากเหล่าศิลปินที่มีชื่อเสียง ประกอบไปด้วยห้องพักจำนวน 145 ห้อง พร้อมด้วยห้องอาหารสไตล์โอมากาเสะ และ Nobu Bar and Lounge ที่ออกแบบขึ้นเพื่อดึงดูดผู้ที่มีชื่อเสียง คนในพื้นที่ และแขกผู้มาเยือน รวมถึงมีรู๊ฟท็อปสำหรับจัดงานปาร์ตี้แบบส่วนตัวที่สามารถชมวิวแบบพาโนรามาของนิวยอร์กซิตี้ พร้อมทั้งออนเซ็นญี่ปุ่นแบบดั้งเดิม สปา และศูนย์สุขภาพ นอกจากนี้ยังมีห้องสวีทที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวด้วยเฉลียงกระจกทั้งในส่วนพื้นที่ร่มและกลางแจ้ง รวมไปถึงเรสซิเดนท์ที่มีเอกลักษณ์พร้อมด้วยการบริการแบบเอ็กซ์คลูซีฟ โดยทั้งหมดนี้เป็นส่วนหนึ่งของความพิเศษให้มหานครนิวยอร์ก เพื่อต้อนรับนักเดินทางระดับชั้นนำจากทั่วทุกมุมโลก   ในขณะที่โรงแรม เดอะ พลาซ่า แอทธินี โนบุ โฮเทล แอนด์ สปา แบงคอก จะถูกพัฒนาจากอาคารที่สวยงาม มีเสน่ห์อายุกว่าศตวรรษของบริษัทอีสต์เอเชียติก (EAC) ตั้งอยู่ในทำเลที่ดีที่สุดริมแม่น้ำเจ้าพระยา ก่อตั้งขึ้นปี 2427 โดยกัปตัน Hans Niels Andersen นักเดินเรือชาวเดนมาร์ก โดยโรงแรมจะยังคงอนุรักษ์โครงสร้างและศิลปะดั้งเดิมของอาคาร เพื่อถ่ายทอดเรื่องราวประวัติศาสตร์อันรุ่งโรจน์ให้ทุกคนสามารถเข้าถึงและภาคภูมิใจในพื้นที่ประวัติศาสตร์แห่งนี้ พร้อมทั้งสร้างคุณค่าในระยะยาวและยั่งยืนให้ชุมชนโดยรอบ   โดยโรงแรมแห่งนี้จะมีความคลาสสิกสไตล์ลักซ์ชูรี่ริมสายน้ำ นำเสนอความเชี่ยวชาญด้านอาหารและเครื่องดื่มและการบริการอันเป็นเลิศ พร้อมสร้างปรากกฎการณ์ที่ไม่เคยมีที่ไหนมาก่อนผ่านการเชื่อมต่อประสบการณ์รูปแบบใหม่ของประวัติศาสตร์จากอดีตสู่ปัจจุบัน ผ่านเรื่องราวของเมืองและอาคารอันทรงคุณค่า สู่ไลฟ์สไตล์ยุคใหม่ พร้อมมีสายน้ำเจ้าพระยาเชื่อมต่อโครงการริมน้ำต่างๆ ของ AWC ที่มอบความประทับใจให้แก่ผู้เข้าพัก ภายใต้แนวคิด “The River Journey” ควบคู่การเชื่อมต่อวัฒนธรรมอันทรงคู่ค่าของตะวันตกและตะวันออก สร้างมิติใหม่ให้กับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว รวมถึงยังช่วยเสริมเสน่ห์ให้กับกรุงเทพฯ ในฐานะจุดหมายปลายทางด้านการท่องเที่ยวระดับโลก   การลงนามสานต่อความร่วมมือเปิดตัวโรงแรมครั้งนี้ เป็นไปตามการลงนามแบบเอ็กซ์คลูซีฟเมื่อเดือนกรกฎาคมปี 2565 ที่ผ่านมาระหว่าง AWC และ Nobu Hospitality เพื่อพัฒนาโครงการในประเทศไทย พร้อมเปิดโรงแรมและร้านอาหารภายใต้แบรนด์ Nobu แห่งแรกในไทย ที่จะตั้งอยู่ชั้นบนสุดของอาคาร “เอ็มไพร์” อาคารสำนักงานแนวไลฟ์สไตล์แฟล็กชิพของ AWC ซึ่งตั้งอยู่ในย่านธุรกิจสำคัญใจกลางกรุงเทพฯ   อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง -AWC ประกาศ Q1/2566  กำไร 1,422 ล้าน ผลการใช้กลยุทธ์ GROWTH-LED -[PR News] AWC จับมือ Accor เตรียมขยายโรงแรมกว่า 1,000 ห้อง
วัน ออริจิ้น เตรียมขายหุ้น IPO ระดมทุนกว่า 702 ล้านหุ้น ลุยธุรกิจโรงแรม-บริการ

วัน ออริจิ้น เตรียมขายหุ้น IPO ระดมทุนกว่า 702 ล้านหุ้น ลุยธุรกิจโรงแรม-บริการ

วัน ออริจิ้น หรือ ONEO ยื่นไฟลิ่ง ต่อสำนักงาน ก.ล.ต. เตรียมเสนอขายหุ้น IPO ไม่เกิน 702,800,000 หุ้น ชูโมเดลธุรกิจสร้างรายได้ประจำอย่างต่อเนื่อง และกระจายตัวจาก 4 กลุ่มธุรกิจหลัก ธุรกิจโรงแรมและบริการ​ ธุรกิจพื้นที่ค้าปลีกและอาคารสำนักงาน กลุ่มธุรกิจร้านอาหารและเครื่องดื่ม และธุรกิจอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง    นายปิติ จารุกำจร ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหาร บริษัท วัน ออริจิ้น จำกัด (มหาชน) (“ONEO”) เปิดเผยว่า ONEO บริษัทในกลุ่มบริษัท ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) หรือ ORI ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์แบบครบวงจร โดย ONEO มีธุรกิจครอบคลุม 4 กลุ่มหลัก ซึ่ง ณ วันที่ 31 พฤษภาคม 2566 ได้แก่ กลุ่มธุรกิจโรงแรมและการบริการ (Hospitality) ซึ่งรวมถึงโรงแรม และเซอร์วิสอพาร์ทเมนท์ (Serviced Apartment) ซึ่งได้เปิดดำเนินการแล้ว 7 โครงการ มีห้องพักรวมจำนวน 1,579 ห้อง และอยู่ระหว่างการพัฒนารอเปิดดำเนินการ 12 โครงการ มีห้องพักรวมประมาณ 4,343 ห้อง กลุ่มธุรกิจพื้นที่ค้าปลีกและอาคารสำนักงาน (Retail and Office Building) หรือกลุ่มธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เพื่อการพาณิชย์ มีพื้นที่ค้าปลีก (Community Mall) เปิดดำเนินการแล้ว 1 โครงการ พื้นที่เช่าสุทธิรวม 2,053 ตารางเมตร และอยู่ระหว่างการพัฒนารอเปิดดำเนินการ 4 โครงการ พื้นที่เช่าสุทธิรวมประมาณ 16,720 ตารางเมตร นอกจากนี้ยังมีอาคารสำนักงานรอเปิดดำเนินการ 2 แห่ง พื้นที่เช่าสุทธิรวมประมาณ 59,869 ตารางเมตร กลุ่มธุรกิจร้านอาหารและเครื่องดื่ม 5 ร้าน อยู่ระหว่างรอเปิดดำเนินการอีก 4 ร้าน และ ธุรกิจอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งรวมถึงการให้บริการด้านการบริหารโครงการในกลุ่มธุรกิจของ ONEO จำนวน 12 บริษัท และการบริหารจัดการโปรแกรมการลงทุนอสังหาริมทรัพย์ (Investment Property) หรือโปรแกรมแฮมป์ตัน จำนวน 7 โครงการ โดยในส่วนของโปรแกรมแฮมป์ตันอยู่ระหว่างรอดำเนินการอีก 6 โครงการ ทั้งนี้ เพื่อยกระดับคุณภาพการใช้ชีวิตของผู้บริโภคแบบครบวงจร ทำให้ ONEO มีรายได้กระจายตัวจาก 4 กลุ่มธุรกิจหลักดังกล่าว และมีฐานลูกค้าที่หลากหลายพื้นที่ทั้งแหล่งท่องเที่ยวหลักในประเทศไทย อาทิ กรุงเทพฯ ภูเก็ต กระบี่ หัวหิน และในพื้นที่ใกล้นิคมอุตสาหกรรมในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ Eastern Economic Corridor (“EEC”) ที่มีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจค่อนข้างสูง ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหาร กล่าวอีกว่า บริษัทมีวิสัยทัศน์ที่จะเป็นผู้นำกลุ่มธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์และการบริการ ด้วยความมุ่งมั่นและสร้างสรรค์ เพื่อตอบสนองทุกความต้องการของลูกค้า ตลอดจนการสร้างผลตอบแทนที่เติบโตอย่างยั่งยืน ต่อผู้ลงทุน ควบคู่กับการดูแลพนักงาน พันธมิตร และรับผิดชอบต่อสังคม ล่าสุด ONEO ได้แต่งตั้งธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCB เป็นที่ปรึกษาทางการเงิน และได้ยื่นแบบคำขออนุญาตออกและเสนอขายหลักทรัพย์ และร่างแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ (แบบไฟลิ่ง) ต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (สำนักงาน ก.ล.ต.) เพื่อเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุน (IPO) จำนวน 702,800,000 หุ้น มูลค่าหุ้นที่ตราไว้ (พาร์) หุ้นละ 0.50 บาท คิดเป็นจำนวนไม่เกินร้อยละ 26.0 ของจำนวนหุ้นสามัญที่ออกและชำระแล้วทั้งหมดของ ONEO   ภายหลังเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนครั้งนี้ แบ่งเป็น หุ้นสามัญเพิ่มทุนที่เสนอขายต่อประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก (IPO) จำนวนไม่เกิน 675,668,000 หุ้น หุ้นสามัญเพิ่มทุนที่เสนอขายแก่กรรมการ ผู้บริหาร และ/หรือพนักงานของ ORI และบริษัทย่อยของ ORI จำนวนไม่เกิน 22,701,000 หุ้น รวมทั้งหุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวนไม่เกิน 4,431,000 หุ้น ที่เสนอขายแก่กรรมการ ผู้บริหาร และ/หรือ พนักงานของ ONEO และบริษัทย่อยของ ONEO ตามโครงการ ESOP (Employee Stock Option Program) ที่ราคาเดียวกับการเสนอขายประชาชนทั่วไป นอกจากนี้ ONEO มีการจัดสรรหุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวนไม่เกิน 4,600,000 หุ้น เพื่อรองรับการใช้สิทธิของใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นสามัญเพิ่มทุน (ESOP Warrant) ที่ออกและเสนอขายให้แก่กรรมการ ผู้บริหาร และ/หรือ พนักงานของ ONEO และบริษัทย่อยของ ONEO ตามโครงการ ESOP Warrant ทั้งนี้ ภายหลังการเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนในครั้งนี้ และการใช้สิทธิตามใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นสามัญเพิ่มทุน ภายใต้สมมติฐานว่ามีการจองซื้อหุ้นสามัญเพิ่มทุนและการใช้ตามใบสำคัญแสดงสิทธิทั้งจำนวน จะส่งผลให้ ONEO มีทุนชำระแล้วเพิ่มเป็น 1,353,700,000 บาท คิดเป็นจำนวน 2,707,400,000 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 0.50 บาท จากทุนจดทะเบียนที่เรียกชำระแล้ว 1,000,000,000 บาท   โดยวัตถุประสงค์ของการเสนอขายหุ้น IPO ครั้งนี้เพื่อนำไปใช้เป็นเงินทุนสำหรับการพัฒนาโครงการ และ/หรือการขยายธุรกิจ  และเพื่อชำระเงินกู้ยืม รวมทั้งใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนสำหรับการดำเนินงานของ ONEO   อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง  
AWC ประกาศ Q1/2566  กำไร 1,422 ล้าน ผลการใช้กลยุทธ์ GROWTH-LED

AWC ประกาศ Q1/2566  กำไร 1,422 ล้าน ผลการใช้กลยุทธ์ GROWTH-LED

AWC ประกาศผลประกอบการไตรมาส 1/2566 เติบโตแข็งแกร่ง กำไรสุทธิ 1,422 ล้านบาท เพิ่มมากกว่าเท่าตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อน และเติบโตนำปี 2562 เทียบก่อนสถานการณ์โควิด-19 ขณะที่ทำ​รายได้ไตรมาสแรกรวม 4,785 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 65.5% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน (YoY) สะท้อนการดำเนินงานตามกลยุทธ์ GROWTH-LED เพื่อสร้างการเติบโตของกระแสเงินสดอย่างมีประสิทธิภาพ   นางวัลลภา ไตรโสรัส ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท แอสเสท เวิรด์ คอร์ป จำกัด (มหาชน) หรือ AWC เผยผลประกอบการไตรมาส 1 ปี 2566 ตามงบการเงินรวมมูลค่ายุติธรรม มีรายได้รวมกว่า 4,785 ล้านบาท เพิ่มขึ้นก้าวกระโดด 65.5% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) โดยมีกำไรจากการดำเนินงาน (EBITDA) ในไตรมาส 1/2566 กว่า 2,572 ล้านบาท เพิ่มขึ้น  67.2% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยเป็นผลจากการเติบโตอย่างแข็งแกร่งต่อเนื่องของกลุ่มธุรกิจโรงแรมและการบริการในทุกเซ็กเมนต์ ซึ่งสามารถสร้างรายได้เฉลี่ยต่อห้องพัก (RevPAR) ที่ 4,152 บาท สูงกว่าปี 2562 ก่อนสถานการณ์โควิด-19 อัตรา 17%   โดยเฉพาะโรงแรมนอกกรุงเทพฯ และรีสอร์ท ระดับลักซ์ซูรี ที่มีอัตราการเข้าพักสูงโดดเด่น สอดรับการเปิดประเทศอย่างเต็มรูปแบบ รวมถึงมีจำนวนนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาติที่เข้ามาใช้บริการในกลุ่มธุรกิจต่าง ๆ ของบริษัทเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะในช่วงฤดูกาลการท่องเที่ยวอย่างเทศกาลปีใหม่ ส่งผลให้บริษัทฯ มีศักยภาพในการเติบโตอย่างแข็งแกร่ง พร้อมสร้างผลกำไรเพิ่มขึ้นแบบก้าวกระโดด โดยมีกำไรสุทธิอยู่ที่ 1,422 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 100.5% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน และยังสูงกว่าปี 2562 ก่อนเกิดสถานการณ์โควิด-19 อีกด้วย AWC ยังคงมุ่งพัฒนาทรัพย์สินคุณภาพให้เป็นทรัพย์สินดำเนินงานเพื่อเพิ่มศักยภาพในการสร้างกำไรจากการดำเนินงาน (อิบิทดากลุ่มธุรกิจ) อย่างต่อเนื่อง โดยในไตรมาส 1/2566 บริษัทมีมูลค่าทรัพย์สินดำเนินงานรวมกว่า 119,859 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 36,548 ล้านบาท เมื่อเทียบกับปี 2562 คิดเป็น 43.9% นอกจากนี้บริษัทยังมีแผนพัฒนาโครงการต่าง ๆ เพื่อสร้างกระแสเงินสดในระยะกลางอย่างแข็งแกร่ง พร้อมเข้าลงทุนทรัพย์สินในสัญญาให้สิทธิ (ROFR) จากกลุ่มทีซีซี และโอกาสการลงทุนทรัพย์สินคุณภาพอื่น ๆ ในระยะยาว และด้วยขนาดของทรัพย์สินคุณภาพที่เติบโตต่อเนื่อง บริษัทเชื่อมั่นว่าจะสามารถสร้างกระแสเงินสดได้อย่างก้าวกระโดดและมั่นคง   จากผลประกอบการที่แข็งแกร่งของ AWC ในไตรมาส 1/2566 ซึ่งเติบโตสูงขึ้นกว่าไตรมาส 4/2565 และก่อนช่วงสถานการณ์โควิด-19 ปี 2562 ถือเป็นสัญญาณบวกของการเริ่มต้นปี โดยผลประกอบการที่เติบโตก้าวกระโดดนี้ มาจากการการดำเนินงานตามกลยุทธ์ GROWTH-LED ผ่านการพัฒนาโครงการทรัพย์สินคุณภาพให้เป็นทรัพย์สินดำเนินงาน โดยมีมูลค่าเพิ่มขึ้นกว่า 36,548 ล้านบาท เมื่อเทียบกับก่อนสถานการณ์โควิด-19 ทั้งสร้างกระแสเงินสดเติบโต พร้อมเร่งสร้างการเติบโตของอัตราผลตอบแทนด้วยการพัฒนาทรัพย์สินเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าที่หลากหลาย อาทิ ผลดำเนินงานของกลุ่มธุรกิจโรงแรมและการบริการ ที่มีค่า Revenue Generation Index (RGI) ในภาพรวมสูงกว่าค่าเฉลี่ยเมื่อเทียบกับโรงแรมในกลุ่มเดียวกันที่อยู่ในพื้นที่ใกล้เคียง อาทิ โรงแรม แบงค็อก แมริออท เดอะ สุรวงศ์ มีค่า RGI เท่ากับ 201 และโรงแรม คอร์ทยาร์ด แมริออท ภูเก็ต ทาวน์ มีค่า RGI เท่ากับ 195 เป็นต้น และอัตรารายได้เฉลี่ยต่อห้องพักในภาพรวม (RevPAR) สูงถึง 4,152 บาท รวมถึงการควบคุมค่าใช้จ่ายอย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้อัตราผลตอบแทนกำไรจากการดำเนินงานต่อรายได้ ซึ่งไม่รวมมูลค่ายุติธรรม (EBITDA MARGIN) ในไตรมาส 1/2566 ของทั้งกลุ่มบริษัทสูงถึง 45% แข็งแกร่งกว่าไตรมาส 1/2565 อัตรา 14% ธุรกิจโรงแรมและการบริการโต 17% บริษัทเติบโตอย่างแข็งแกร่งต่อเนื่องในทุกเซ็กเมนต์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มรีสอร์ท ระดับลักซ์ซูรี และโรงแรมอื่น ๆ นอกกรุงเทพฯ ซึ่งสามารถเข้าถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมายที่มีศักยภาพ (High-to-Luxury) สอดรับกับมาตรการการเปิดประเทศอย่างเต็มรูปแบบ ทำให้มีดีมานด์การท่องเที่ยวในช่วงเทศกาลปีใหม่สูงขึ้นอย่างเด่นชัด ส่งผลให้รายได้เฉลี่ยต่อห้องพัก (RevPAR) อยู่ที่ 4,152 บาท ซึ่งสูงกว่าช่วงก่อนสถานการณ์โควิด-19 ในปี 2562 ที่เท่ากับ 3,549 บาท โตขึ้น 17%  โดยในไตรมาส 1/2566 กลุ่มธุรกิจโรงแรมมีรายได้ 2,743 ล้านบาท คิดเป็นกำไรจากการดำเนินงาน (EBITDA) 1,091 ล้านบาท ซึ่งเติบโตก้าวกระโดดเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) หรือเพิ่มขึ้น 28.7% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (QoQ) AWC มุ่งพัฒนาทรัพย์สินคุณภาพให้เป็นทรัพย์สินดำเนินงานเพื่อเพิ่มมูลค่าอย่างต่อเนื่อง โดยมีจำนวนห้องพักในปัจจุบันรวม 5,588 ห้อง เพิ่มขึ้น 63% เทียบกับก่อนสถานการณ์โควิด-19 รวมทั้งภายในปีนี้ ยังมีแผนเดินหน้าเพิ่มพอร์ตคุณภาพในกลุ่มโรงแรมและการรีแบรนด์โรงแรม ได้แก่ โรงแรม อินน์ไซด์ บาย มีเลีย กรุงเทพ สุขุมวิท และโรงแรม อินเตอร์คอนติเนนตัล เชียงใหม่ แม่ปิง รวมทั้งการรีแบรนด์โรงแรม เลอ เมอริเดียน เชียงใหม่ เป็น โรงแรม แมริออท เชียงใหม่   โดยบริษัทตั้งเป้าเพิ่มจำนวนโรงแรมที่เปิดดำเนินการจาก 20 โรงแรมในปี 2565 เป็น 22 โรงแรม ในปี 2566 รวม 6,036 ห้อง ซึ่งจะช่วยเพิ่มศักยภาพบริษัทให้สามารถตอบสนองความต้องการนักท่องเที่ยวและกลุ่มลูกค้าเป้าหมายได้มากขึ้น นอกจากนี้ บริษัทยังร่วมมือกับพันธมิตรระดับโลกเสริมความแข็งแกร่งของทรัพย์สินคุณภาพในกลุ่มธุรกิจโรงแรมและการบริการ (Assets Enhancement) อาทิ การร่วมมือกับ Accor ในการรีแบรนด์จากโรงแรมแกรนด์ เมอร์เคียว แบงค็อก วินด์เซอร์ เป็นโรงแรม แฟร์มอนท์ แบงคอก สุขุมวิท แห่งแรกในประเทศไทย อสังหาฯ เพื่อการพาณิชย์โต 114% กลุ่มธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เพื่อประกอบกิจการค้า (Retail and Wholesale) มีการเติบโตต่อเนื่องของผู้เช่า ซึ่งได้แรงสนับสนุนจากผู้บริโภคและนักท่องเที่ยวออกมาจับจ่ายใช้สอยกันมากขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มศูนย์การค้าเพื่อการท่องเที่ยว ส่งผลให้รายได้เติบโตมากกว่า 114% จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา   นอกจากนี้ บริษัทยังมุ่งพัฒนาโครงการต่าง ๆ เพื่อให้สอดรับกับความต้องการและไลฟ์สไตล์ของกลุ่มผู้บริโภคที่หลากหลาย อาทิ โครงการเอเชียทีค เดอะ ริเวอร์ฟร้อนท์ เดสติเนชั่น ผ่านประสบการณ์ “ALL DAY EVERYDAY HAPPINESS” พร้อมการร่วมมือกับพันธมิตรระดับโลกเปิด “Disney100 Village at Asiatique” การเปิดตัวห้องอาหาร “เดอะ คริสตัลล์ กริลล์ เฮาส์” และ “เดอะ สยาม ที รูมท์” เพื่อยกระดับโครงการเอเชียทีค เดอะ ริเวอร์ฟร้อนท์ สู่การเป็นจุดหมายปลายทางด้านอาหารและเครื่องดื่มระดับโลก ส่งผลให้โครงการเอเชียทีค เดอะ ริเวอร์ฟร้อนท์ เดสติเนชั่น มีอัตราการเช่าพื้นที่และอัตราค่าเช่าที่สูงขึ้นสอดรับกับจำนวนลูกค้าที่เข้าใช้บริการที่เพิ่มขึ้นมากกว่า  250% เทียบจากช่วงเดียวกันของปีก่อน   บริษัทยังได้มีการเปิดตัว THE PANTIP LIFESTYLE HUB ที่เชียงใหม่ ภายใต้แนวคิด “EVERY HAPPINESS FOR EVERYONE” มุ่งสร้างแลนด์มาร์คไลฟ์สไตล์สำหรับครอบครัวใจกลางเมืองเชียงใหม่ และในเดือนเมษายนที่ผ่านมา AWC ร่วมมือกับพันธมิตรทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ขับเคลื่อนประเทศไทย เป็น “ศูนย์กลางค้าส่งอาหารของภูมิภาค” โดยได้เปิดโมเดลค้าส่งอาหารรูปแบบใหม่ของโครงการ AEC FOOD WHOLESALE PRATUNAM ที่จะตอบโจทย์การค้าส่งอาหารครบวงจร พร้อมเชื่อมผู้ค้าส่งอาหารทั่วโลกกับผู้ซื้อในเขตเศรษฐกิจอาเซียน สำหรับธุรกิจอาคารสำนักงาน (Commercial) ยังคงสร้างกระแสเงินสดให้แก่บริษัทอย่างต่อเนื่อง มาจากความต้องการเช่าพื้นที่สำนักงานเกรด A ที่มีสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน ตอบรับเทรนด์อนาคตที่ผสมผสานการทำงานและไลฟ์สไตล์เข้าด้วยกัน อีกทั้งเป็นสำนักงานที่ได้รับการรับรองมาตรฐานอาคารสีเขียว (Green Building) โดยในไตรมาสที่ผ่านมา AWC ได้เปิดตัว “Co-Living Collective: Empower Future” ที่อาคาร “เอ็มไพร์” เป็นครั้งแรก นำ Co-Living Space กว่า 1,500 ตร.ม. ซึ่งมีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทยมาสร้างประสบการณ์พิเศษให้กับผู้เช่าอาคาร ตอบโจทย์ทั้งด้านการทำงานและไลฟ์สไตล์ในที่เดียว AWC ยังคงมุ่งเน้นความสามารถในการทำกำไร และควบคุมค่าใช้จ่ายอย่างมีประสิทธิภาพ ควบคู่กับการดำเนินการพัฒนาโครงการคุณภาพอย่างต่อเนื่อง”  AWC มุ่งมั่นดำเนินธุรกิจตามแผนกลยุทธ์เพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน พร้อมสร้างคุณค่าให้แก่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกภาคส่วน โดยล่าสุดบริษัทฯ ได้รับรางวัลที่สะท้อนถึงศักยภาพในการดำเนินธุรกิจ และความโดดเด่นของแบรนด์องค์กร ได้แก่  รางวัล “Thailand’s Top Corporate Brands 2022” ในฐานะองค์กรที่มีมูลค่าแบรนด์องค์กรสูงสุดของประเทศไทย ประจำปี 2565 ในหมวดธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ที่จัดขึ้นโดยหลักสูตรปริญญาโท สาขาการจัดการแบรนด์และการตลาด คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และ “Asia's Greatest Brand 2023” รางวัลระดับภูมิภาคเอเชีย ในกลุ่มธุรกิจบริการจากงาน Edition of Asian Business & Social Forum - Asia’s Greatest Brands and Leaders 2023 ที่จัดโดย Asia One Magazine นิตยสารธุรกิจชั้นนำของประเทศอินเดีย เพื่อยกย่องผู้นำทางธุรกิจและแบรนด์ที่มีความโดดเด่นในปี 2566   อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง -หมดยุคห้างสินค้าไอที พันธุ์ทิพย์ ประตูน้ำ AWC ปรับสู่ศูนย์กลางค้าส่งด้านอาหาร ใหญ่สุดในไทย -AWC เดินแผนขยายธุรกิจแสนล้าน เตรียมเปิดโรงแรมใหม่เพิ่มอีก 9 แห่ง
ออเนอร์ กรุ๊ป เดินหน้าเปิด 5 โปรเจ็กต์ในพัทยา ก่อนบุกภูเก็ต-สมุย-กระบี่

ออเนอร์ กรุ๊ป เดินหน้าเปิด 5 โปรเจ็กต์ในพัทยา ก่อนบุกภูเก็ต-สมุย-กระบี่

ออเนอร์ กรุ๊ป วางแผนเปิด 5 โปรเจ็กต์ ไม่ต่ำกว่า 6,000 ล้าน ทั้งคอนโดและโรงแรม เดินหน้าลุยพัฒนาโครงการอสังหาฯ ในเมืองพัทยา ขณะที่โครงการ วันส์ พัทยา กวาดยอดขายแล้ว 90% คาดในไตรมาส 2 เตรียมปิดโครงการ พร้อมโอนสร้างรายได้ เล็งลุยตลาดภูเก็ต สมุย กระบี่    นายคริส เชิดสุริยา ที่ปรึกษาคณะกรรมการบริหาร บริษัท ออเนอร์ กรุ๊ป จำกัด เปิดเผยว่า บริษัทวางแผนเปิดตัวโครงการใหม่ในปีนี้ 5 โครงการ ประกอบด้วย โครงการโรงแรม ฮิลตัน การ์เด้น อินน์ พัทยา ซิตี้ (HILTON GARDEN INN PATTAYA CITY) มูลค่า 1,500 ล้านบาท ตั้งอยู่บนเนื้อที่ดิน 2 ไร่ จากทั้งหมด 4.5 ไร่ ติดถนนพัทยาสาย 3 เป็นอาคารสูง 29 ชั้น ขนาด 300 ห้อง พร้อมร้านค้าปลีก 6 ร้าน ขนาดพื้นที่รวม 2,000 ตารางเมตร กำหนดก่อสร้างแล้วเสร็จในปี 2568 โครงการบ้านแนวราบ พูลวิลล่า มูลค่า 600 ล้านบาท บนทำเลนาจอมเทียน ซอย 2 (ซอยร้านอาหารปูเป็น) บนพื้นที่ 8 ไร่ จำนวน 30 ยูนิต ราคาขายประมาณ 30-40 ล้านบาท โครงการบ้านแนวราบ “ระดับลักชัวรี่” บนพื้นที่ 32 ไร่ จำนวน 110 ยูนิต รวมมูลค่า 700-800 ล้านบาท ราคาประมาณ 8-10 ล้านบาท ตั้งอยู่บริเวณรอบอ่างเก็บน้ำมาบประชัน โครงการโรงแรม ยังอยู่ระหว่างการวางแผนงาน โครงการคอนโด มูลค่าไม่ต่ำกว่า 2,200 ล้านบาท ยังอยู่ระหว่างการวางแผนงาน   ปัจจุบันบริษัทมีแลนด์แบงก์สะสมอยู่ 7 แปลง เพื่อใช้ในการพัฒนาโครงการปัจจุบันและอนาคต ซึ่งยังคงมองหาซื้อที่ดินใหม่เข้ามาเพิ่มอย่างต่อเนื่อง แต่ที่ดินพัทยาค่อนข้าหายาก และมีราคาสูงจนไม่สามารถซื้อมาพัฒนาโครงการได้ ซึ่งบริษัทมีการศึกษาและมองหาโอกาสในการพัฒนาโครงการในพื้นที่เมืองท่องเที่ยวอื่น นอกเหนือจากพัทยาด้วย อาทิ สมุย ภูเก็ต และกระบี่ แต่ปัจจุบันยังโฟกัสตลาดพัทยาเป็นหลัก พัทยาหาที่ดินยาก เป็นอุปสรรคอันดับหนึ่งในการพัฒนา และมีราคาสูงจนไม่สามารถพัฒนาโครงการได้ ราคาที่ดินตอนนี้ระดับวาละ 3-4 แสนบาท ถ้าติดทะเลก็หลักวาละล้านบาท ด้านนางสาวธิดา เชิดสุริยา ประธานกรรมการบริหาร บริษัทในเครือออเนอร์ กรุ๊ป จำกัด กล่าวว่า สำหรับ​โครงการ คอนโด “วันส์ พัทยา” (ONCE PATTAYA) ปัจจุบันได้เสร็จสมบูรณ์ 100% ซึ่งเป็นหนึ่งโครงการมิกซ์ยูส ที่รวม 3 โครงการเข้าด้วยกัน ได้แก่ 1. วันส์ พัทยา (ONCE PATTAYA) คอนโด 2.โรงแรมฮิลตัน การ์เด้น อินน์ พัทยา ซิตี้ (HILTON GARDEN INN PATTAYA CITY) และ 3.ศูนย์รวมร้านค้า โดยโครงการวันส์ พัทยา​ เป็นอาคารสูง 32 ชั้น จำนวนห้องพักอาศัยรวม 427 ยูนิต ขนาดพื้นที่ใช้สอยตั้งแต่  28.4-201 ตารางเมตร ราคาขายเฉลี่ย 140,000 บาทต่อตารางเมตร มูลค่าโครงการกว่า 2,200 ล้านบาท  ปัจจุบันมียอดขายแล้วกว่า 90% โดยโครงการยังได้มอบบัตรสมาชิก “ไทยแลนด์ อีลิท” ของบริษัท ไทยแลนด์ พริวิเลจ คาร์ด จำกัด (ทีพีซี) เพื่อรับสิทธิพิเศษ Privilege Elite Visa สามารถอยู่อาศัยระยะยาวแบบ Long Stay Visa ในเมืองไทยได้นานถึง 20 ปี   ปัจจุบันมีเริ่มรับรู้รายได้จากการโอนกรรมสิทธิ์ โดยมีมูลค่าประมาณ 300-400 ล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วน 20% คาดว่าภายในปีนี้จะทำการปิดโครงการได้ภายในไตรมาส 2 หรืออย่างช้าในช่วงต้นไตรมาส 3 และคาดว่าจะทำการโอนกรรมสิทธิ์ได้ทั้งหมดภายในปีนี้ หรืออย่าช้าภายในต้นปีหน้า ส่วนความคืบหน้าการพัฒนาโรงแรมฮิลตัน การ์เด้น อินน์ พัทยา ซิตี้ (HILTON GARDEN INN PATTAYA CITY) เป็นไปตามแผนงานของบริษัทฯ เดินหน้าพัฒนาอย่างเต็มที่ภายหลังจากที่ได้รับสินเชื่อจากธนาคารยูโอบี ซึ่งการได้รับการสนับสนุนทางการเงินจากธนาคารขนาดใหญ่   อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง -“ออเนอร์ กรุ๊ป” ทุ่ม 2,000 ล้าน ปั้นโปรเจ็กต์ ONCE PATTAYA มั่นใจทำเลพัทยาไปได้อีกไกล 
ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้  ร่วมพันธมิตรออก โทเคนดิจิทัล เรียลเอ็กซ์ ลงทุนแค่ 182 บาท

ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ ร่วมพันธมิตรออก โทเคนดิจิทัล เรียลเอ็กซ์ ลงทุนแค่ 182 บาท

ออริจิ้น  ผนึกพันธมิตร ด้านการเงิน-ดิจิทัล ร่วมสร้าง โทเคนดิจิทัล เรียลเอ็กซ์ ให้คนรุ่นใหม่ลงทุนอสังหาฯ ปล่อยเช่า ใน 3 โปรเจ็กต์คอนโดใจกลางเมือง เริ่มต้นแค่ 182 บาทต่อโทเคน รับผลตอบแทนสูงสุด 5%   การลงทุนในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ปัจจุบันมีด้วยกันหลากหลายวิธี อย่างพื้นฐานเลยก็ซื้อมาแล้วรอเวลาให้ราคาปรับสูงขึ้น จึงขายออกไปทำกำไร หรือการปล่อยเช่า เพื่อให้ได้ค่าเช่ากลับมา ซึ่งรูปแบบและวิธีการ ไม่ได้สลับซับซ้อนอะไรมากนัก เพียงแต่ต้องบริหารจัดการ อสังหาฯ ที่มีอยู่และหาผู้มาเช่า อาจจะหาเองหรือให้เอเยนซี่ช่วยก็ได้เช่นกัน   ตลาดสังหาฯ จึงมีฐานลูกค้าทั้งที่เป็นผู้อยู่อาศัยเอง และผู้ที่ซื้อมาเพื่อทำธุรกิจ ทำให้ดีเวลลอปเปอร์ต้องทำตลาด และหาลูกเล่นออกมาจับกลุ่มเป้าหมายทั้งสองไว้ โดยเฉพาะตลาดคอนโดมิเนียม จะมีกลุ่มลูกค้านักลงทุนและเก็งกำไรชัดเจน หลัง ๆ เราจึงเห็นดีเวลลอปเปอร์ที่พัฒนาโครงการออกมา มีการีนตีผลตอบแทนเป็นรายปี 4-5% บางรายก็ทำทั้งโครงการ บางรายก็แบ่งสัดส่วนของห้องออกมาจำนวนหนึ่ง แต่ปัจจุบันซึ่งเป็นโลกยุคดิจิทัล ที่ตลาดทางการเงิน ไม่ได้มีเฉพาะตัวเงินที่พิมพ์ออกมาใช้เพียงอย่างเดียว แต่มีการใช้เงินดิจิทัลมาเป็นตัวกลางในการแลกเปลี่ยน หรือซื้อสินค้าด้วย ทำให้เงินดิจิทัลได้ก้าวเข้ามามีบทบาทสำคัญต่อหลายธุรกิจ รวมถึงธุรกิจอสังหาฯ เพราะสอดคล้องกับพฤติกรรมของคนรุ่นใหม่ ที่เป็นฐานลูกค้าสำคัญต่อไปในอนาคตของตลาดอสังหาฯ 182 บาทก็ลงทุนได้ ล่าสุด บริษัท โทเคน เอกซ์ จำกัด (Token X) บริษัทภายใต้กลุ่มเอสซีบี เอกซ์ (SCBX Group) ในฐานะผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัลในประเทศไทย (ICO Portal) ที่ได้รับความเห็นชอบจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ได้ร่วมกับบริษัท เรียล เอสเตท เอกซ์โพเนนเชียล จำกัด ในฐานะ ผู้ออกโทเคนดิจิทัล ​พัฒนาโทเคนดิจิทัลที่มีคอนโดเป็นสินทรัพย์อ้างอิง (Condo-Backed Token) ขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย เพื่อเป็นทางเลือกใหม่ให้แก่นักลงทุน คนรุ่นใหม่ ใช้เป็นสื่อกลางในการลงทุนคอนโด ภายใต้ชื่อ “เรียลเอ็กซ์” (RealX Investment Token)   โดยนักลงทุนจะต้องทำการซื้อเหรียญ เรียลเอ็กซ์ ตามความต้องการ ที่มีการเสนอขายที่ราคา 182 บาทต่อโทเคน ซึ่งเงินดังกล่าวจะถูกนำไปลงทุนในสัญญา RSTA (Revenue Sale and Transfer Agreement)  ของบริษัท เรียล เอสเตท อินทิเกรชั่น จำกัด ในฐานะเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์คอนโดฯ 3 แห่งของ​บริษัท ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) หรือ ORI จำนวน  3 โครงการ ได้แก่ โครงการพาร์ค ออริจิ้น พร้อมพงษ์    โครงการพาร์ค ออริจิ้น พญาไท  และโครงการพาร์ค ออริจิ้น ทองหล่อ ขณะที่ ออริจิ้น จะมีบริษัทในเครือ คือ บริษัท แฮมตัน โฮเทล แอนด์ เรสซิเดนซ์ แมเนจเม้นท์ จำกัด บริหารคอนโดทั้ง 3 แห่งดังกล่าว ทั้งด้านการจัดหาผู้เช่า โดยเฉพาะชาวต่างชาติที่เข้ามาอยู่อาศัยระยะยาว การบริหารด้านบริการต่าง ๆ เพื่อสร้างผลตอบแทนจากการลทุนดังกล่าว ซึ่งผู้ถือโทเคนดิจิทัล เรียลเอ็กซ์ จะได้รับผลตอบแทนการลงทุน 2 ส่วน ได้แก่ 1.ผลตอบแทนจากค่าเช่า นักลงทุนจะได้ผลตอบแทนจากค่าเช่า เป็นรายไตรมาสจากค่าเช่าสุทธิของคอนโด ทั้ง 3 โครงการที่เป็นสินทรัพย์อ้างอิง เป็นระยะเวลา 10 ปีนับจากเริ่มต้นโครงการ โดยในปีที่ 1-5 บริษัท พาร์ค ลักชัวรี่ จำกัด ในเครือ บริษัท ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) หรือ ORI จะรับประกันรายรับสุทธิของโครงการที่ 4% 4.25% 4.50% 4.75% และ 5% ต่อปีของมูลค่าเสนอขายโทเคนดิจิทัลฯ ตามลำดับ 2.ผลตอบแทนจากการขายคอนโด นักลงทุนจะได้รับผลตอบแทนเป็นรายไตรมาสจากการทยอยจำหน่ายคอนโด ทั้ง 3 โครงการในปีที่ 6-10 (รวมกรณีขยายอายุโครงการ) รวมกับผลตอบแทนรายไตรมาสจากค่าเช่าสุทธิ โดยคอนโดทั้ง 3 โครงการ ได้รับการพิจารณาแล้วว่าเป็นโครงการระดับลักชัวรีที่น่าเชื่อถือ ตั้งอยู่ในทำเลศักยภาพ และมีความเหมาะสมสำหรับการลงทุนระยะยาว เปิดขาย 19 ล้านโทเคน สำหรับโทเคนดิจิทัล เรียลเอ็กซ์ หลังจากได้ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายโทเคนดิจิทัลเพื่อการลงทุน และร่างหนังสือชี้ชวนต่อสำนักงาน ก.ล.ต. เพื่อขอเสนอขายโทเคนดิจิทัล เรียลเอ็กซ์ ต่อประชาชนเป็นครั้งแรก (ICO) ปัจจุบันได้รับการพิจารณาอนุมัติจากสำนักงาน ก.ล.ต. แล้ว   ล่าสุด อยู่ระหว่างเตรียมความพร้อมเสนอขายโทเคนดิจิทัล เรียลเอ็กซ์ จำนวนไม่เกิน 19,230,769 โทเคน ที่ราคา 182 บาทต่อโทเคน รวมมูลค่าทั้งสิ้นไม่เกิน 3,500 ล้านบาท โดยมีอายุโครงการ 10 ปี  ซึ่งนักลงทุนสามารถซื้อได้ตั้งแต่ 1 เหรียญขึ้นไป ในราคาเหรียญละ 182 บาท ต่อตารางนิ้ว สำหรับ​คอนโด 3 โครงการของออริจิ้น นั้น แต่ละโครงการจะมีจำนวนที่ขายเพื่อการลงทุนเพียงบางส่วน คือ ​​ โครงการพาร์ค ออริจิ้น พร้อมพงษ์  จำนวนไม่เกิน 138 ยูนิต​  ตัวโครงารตั้งอยู่บนเนื้อที่ 12 ไร่ ระหว่างซอยสุขุมวิท 22-24 มีพื้นที่ส่วนกลางและพื้นที่สีเขียวขนาดใหญ่ จึงมีดีมานด์จากผู้เช่าที่เป็นคนทำงานในย่าน CBD และชาวต่างชาติที่เข้ามาพักอาศัยระยะยาวในประเทศไทย โครงการพาร์ค ออริจิ้น พญาไท  จำนวนไม่เกิน 123 ยูนิต​ ตัวโครงการตั้งอยู่บนเนื้อที่ 2 ไร่ติดถนนพญาไทขาเข้า มีจุดเด่นด้านทำเลที่อยู่ใกล้รถไฟฟ้าบีทีเอสและแอร์พอร์ตเรลลิงก์ โรงพยาบาลและสถาบันการศึกษา โครงการพาร์ค ออริจิ้น ทองหล่อ จำนวนไม่เกิน 100 ยูนิต ตั้งบนเนื้อที่ 5 ไร่ในซอยทองหล่อ 10 ซึ่งไม่เหลือที่ดินแปลงใหญ่อีกแล้ว และเป็นแหล่งรวมไลฟ์สไตล์รวมถึงสิ่งอำนวยความสะดวก อาทิ ห้างสรรพสินค้า คอมมูนิตี้มอลล์ โรงเรียนนานาชาติ โรงพยาบาล ฯลฯ จึงเป็นนิยมจากผู้เช่าโดยเฉพาะชาวต่างชาติที่เข้ามาอยู่อาศัยระยะยาว นายพีระพงษ์ จรูญเอก ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ออริจิ้นฯ เปิดเผยว่า ปัจจุบันตลาดอสังหาฯ ไทยมีปัญหาคนไทยมีจำนวนที่ลดน้อยลง ทำให้ดีมานด์มีจำกัด การพัฒนาโครงการคอนโดในใจกลางเมืองก็จำกัด แต่ขณะเดียวกันจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ เดินทางเข้ามาในประเทศเพิ่มมากขึ้น คาดว่าอีก 10 ปีข้างหน้า จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติจะเข้ามาเมืองไทย มีจำนวนมากเท่ากับจำนวนประชากรของไทยทั้งประเทศ ระดับ 60 ล้านคน ทำให้ตลาดอสังหาฯ มีโอกาสในการรองรับกลุ่มลูกค้าต่างชาติ ที่จะเข้ามาเป็นผู้เช่าสำคัญ คอนโดในพื้นที่ใจกลางเมือง มีกลุ่มผู้ซื้อสัดส่วนเพียง 10% ของประชากร หากการออกเหรียญโทเคนดิจิทัล เรียลเอ็กซ์ สำเร็จ คนไทยทั้งประเทศสามารถลงทุนได้หมด ต่อไปอสังหาฯ ไม่จำเป็นต้องมีเงินเยอะ ก็ซื้อได้ คนต่างชาติก็ซื้อได้ด้วย เป็นการสร้างอนาคตให้กับธุรกิจอสังหาฯ ไทย อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง -ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ วาง 3 แผนงานสร้างการโตไม่สิ้นสุด จับเมกะเทรนด์ลุยธุรกิจทั่วไทย -อสังหาฯ ลุยต่อ “ดิจิทัลแอสเซท” ปี 65 ขน NFT- คริปโทฯ เจาะไลฟ์สไตล์คนรุ่นใหม่  
หมดยุคห้างสินค้าไอที พันธุ์ทิพย์ ประตูน้ำ  AWC ปรับสู่ศูนย์กลางค้าส่งด้านอาหาร ใหญ่สุดในไทย

หมดยุคห้างสินค้าไอที พันธุ์ทิพย์ ประตูน้ำ AWC ปรับสู่ศูนย์กลางค้าส่งด้านอาหาร ใหญ่สุดในไทย

พันธุ์ทิพย์ ประตูน้ำ AWC ปิดฉาก พันธุ์ทิพย์ ประตูน้ำ ห้างสินค้าไอทีในตำนาน สู่ ศูนย์กลางค้าส่งอาหารของภูมิภาค “AEC FOOD WHOLESALE PRATUNAM” มูลค่ากว่า 10,000 ล้าน ตอบโจทย์อนาคตครบวงจร เชื่อมผู้ค้าส่งอาหารทั่วโลกกับผู้ซื้อทั่ว AEC พร้อมผนึกพันธมิตรทั้งภาครัฐและเอกชน   ถ้าพูดถึงห้างสรรพสินค้า ที่ขายสินค้าด้านไอทีและอุปกรณ์ต่าง ๆ เมื่ออดีตหลายปีที่ผ่านมา ชื่อแรกที่คนส่วนใหญ่นึกถึง ก็คือ ห้างพันธุ์ทิพย์ ประตูน้ำ แม้ปัจจุบันห้างแห่งนี้จะไม่ได้รับความนิยม ในการเดินทางไปเลือกซื้อสินค้าไอทีแล้ว เพราะได้ถูกปรับโฉม รีโนเวทใหม่ไปหลายรอบ จนสัดส่วนร้านขายสินค้าไอทีลดลงไปเหลือเพียงไม่มากเหมือนแต่ก่อน นับตั้งแต่ช่วงปี 2563 ที่ผ่านมา   โดยในปีนี้ บริษัท แอสเสท เวิรด์ คอร์ป จำกัด (มหาชน) หรือ AWC ในฐานะเจ้าของ ได้มีกำหนดฤกษ์ดีที่จะเปิดให้บริการ ห้างพันธุ์ทิพย์ ประตูน้ำ โฉมใหม่ ในช่วงปลายเดือนมิถุนายนนี้ กับคอนเซ็ปต์การเป็นศูนย์ค้าส่งด้านอาหารที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ภายใต้ชื่อใหม่ เออีซี ฟู้ด โฮเซล ประตูน้ำ (AEC FOOD WHOLESALE PRATUNAM) ภายใต้แนวคิด “INTEGRATED WHOLESALE PLATFORM FOR NON-STOP OPPORTUNITY ซึ่ง AWC มีเป้าหมายสำคัญที่พัฒนาโครงการนี้ขึ้น คือ การเป็นศูนย์กลางค้าส่งอาหารของภูมิภาค รองรับกับความต้องการของกลุ่มผู้ประกอบการต่าง ๆ และลูกค้าในภูมิภาคกว่า 800 ล้านคน จากพันธุ์ทิพย์​ ประตูน้ำ สู่​ศูนย์กลางด้านค้าส่งอาหาร สำหรับโครงการ เออีซี ฟู้ด โฮเซล ประตูน้ำ จะเป็นชื่อใหม่ที่ถูกมาแทน ห้างพันธุ์ทิพย์ ประตูน้ำ กับมูลค่าโครงการกว่า 10,000 ล้านบาท หลังจากได้ใช้เม็ดเงินลงทุน ปรับปรุง ซ่อมแซม และพัฒนา รวม 6,500 ล้านบาท ตั้งแต่เริ่มแรกที่ได้เข้ามาบริหารจนถึงปัจจุบัน เออีซี ฟู้ด โฮเซล ประตูน้ำ ตั้งอยู่บนพื้นที่กว่า 10 ไร่ โดยมีพื้นที่อาคารรวม (Gross Floor Area) กว่า 67,000 ตร.ม. ใช้เป็นพื้นที่ขายเพื่อให้ผู้ประกอบการด้านธุรกิจอาหารเข้ามาเช่ากว่า 30,000 ตร.ม. รองรับ​ผู้ประกอบการกลุ่มอาหารชั้นนำทั่วโลกกว่า 600 ราย แบ่งเป็น 8 กลุ่มธุรกิจ ​ได้แก่ อาหารแช่แข็ง อาหารแช่เย็นและผลิตภัณฑ์จากนม เครื่องปรุงและวัตถุดิบ ข้าว เครื่องดื่ม กาแฟและชา ขนมขบเคี้ยวและขนมหวาน ของใช้ในครัวเรือน   ตัวโครงการมีทั้งหมด 8 ชั้น รวมชั้นใต้ดิน (B) แบ่งพื้นที่เป็นโซนต่าง ๆ ที่สำคัญดังนี้ FOOD WHOLE SALE SPACE พื้นที่สำหรับให้ผู้ประกอบการทั้ง 8 กลุ่มสินค้ามาเปิดขาย โดยหากเป็นบูธขนาดเล็ก อัตราค่าเช่าจะอยู่ในระดับราคา 30,000-50,000 บาทต่อเดือน พื้นที่ขายสินค้านี้จะอยู่ตั้งแต่ชั้น 1-4 SSC & SHARE SHOP SSC (SERVICE SOLUTION CENTER) หรือ ศูนย์ส่งเสริมผู้ประกอบการ ที่จะคอยช่วยให้คำปรึกษาด้านการส่งออกและนำเข้าสินค้า รวมถึงการบริการด้านภาษา การจัดแสดงและนำเสนอผลิตภัณฑ์ให้กับผู้ประกอบการ จะอยู่บริเวณ ชั้น 2   นอกจากนี้ ในพื้นที่ชั้น M และชั้น 4 จะส่วนของ SHARE SHOP ที่ไว้คอยบริการผู้ประกอบการที่ยังต้องการขายสินค้า แต่ไม่มีพนักงานหรือเจ้าหน้าที่มาขายสินค้า ให้ TASTE KITCHEN พื้นที่การทดสอบสินค้า สำหรับลูกค้าที่ต้องการทดลองใช้สินค้าจริง ซึ่งจะเป็นกลุ่มเชฟทำอาหาร ที่ต้องการทดสอบว่าผลิตภัณฑ์ดังกล่าวเป็นไปตามที่ต้องการใช้งานหรือไม่ โดยจะอยู่บริเวณชั้น 5 LOGISTIC FACILITIES การให้บริการด้านโลจิสติกส์ ถือเป็นหัวใจสำคัญในการทำให้ กระบวนการทางธุรกิจสมบูรณ์แบบ ทาง AWC จึงได้จัดพื้นที่บริเวณด้านหลังโครงการเป็นคลังสินค้าและจุดให้บริการโลจิสติกส์ ขณะที่ทุก ๆ ชั้นของอาคารรถกระบะขนาดเล็กสามารถขับขึ้นมารับ-ส่งสินค้าได้สะดวก SERVICE PROVISERS พื้นที่การให้บริการด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจนำเข้าและส่งออกอาหาร ซึ่งจะอยู่บริเวณชั้น 5 FOOD LOUNGE & F&B -พื้นที่สำหรับให้ผู้ประกอบการและลูกค้า ได้เจรจาธุรกิจ การซื้อขายและนำเข้าสินค้าต่าง ๆ ซึ่งจะอยู่บริเวณชั้น 5 TRADE HALL & PROMOTION AREA พื้นที่สำหรับการจัดแสดงสินค้า จัดนิทรรศกาลแสดงสินค้า รวมถึงการนำสินค้ามาจัดรายการส่งเสริมการขาย ซึ่งจะอยู่บริเวณชั้น 1 และชั้น M   ส่วนบริเวณชั้น 6 พื้นที่จะถูกใช้เป็น CO-WORKING SPACE ,OFFICE และพื้นที่ MIX-USE   นอกจากพื้นที่ออฟไลน์ ที่ใช้เป็นจุดแสดงสินค้า การเจรจา ซื้อขาย  นำเข้า-ส่งออกสินค้าแล้ว AWC ยังได้พัฒนาแพลตฟอร์มออนไลน์ Phenix Box สำหรับการทำธุรกรรมด้านสินค้าออนไลน์ที่ได้รับการออกแบบมาเพื่อตอบโจทย์ธุรกิจค้าส่ง ทั้งในแง่การบริการจัดการธุรกรรมที่ตรงกับธุรกิจได้ง่ายขึ้น อาทิ Bulk Purchase, Group Purchase, Multi-Level Procurement และการจัดส่งที่ครอบคลุม พร้อมสนับสนุนเครื่องมือทางการตลาดและโปรแกรมลูกค้าสัมพันธ์ผ่านระบบ Loyalty Program ให้ผู้ซื้อและผู้ขายสามารถพบปะเจรจาธุรกิจกันผ่านช่องทางดังกล่าวได้ตลอด 365 วัน และตลอด 24 ชั่วโมง เชื่อมต่อผู้ซื้อผู้ขายได้ทั่วโลก ผนึกพันธมิตรรัฐ-เอกชน การพัฒนา เออีซี ฟู้ด โฮเซล ประตูน้ำ ยังมีความร่วมมือกับพันธมิตร ซึ่งเป็นผู้ผลิตและจัดจำหน่ายสินค้าอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม รวมถึงหน่วยงานภาครัฐ และที่เกี่ยวข้องอีกมากมาย 15-16 ราย อาทิ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงอุตสาหกรรม และอี้อู (Yiwu) ผู้พัฒนาและบริหารตลาดค้าส่งสินค้าเบ็ดเตล็ดที่ใหญ่ที่สุดในโลกจากเมืองอี้อู สาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งได้มีการลงนามความร่วมมือเชิงกลยุทธ์กับทาง AWC เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา   สภาหอการค้าอังกฤษแห่งประเทศไทย หอการค้าไทย-จีน หอการค้าออสเตรเลีย-ไทย หอการค้าไทย-แคนาดา หอการค้าไทย-นิวซีแลนด์ หอการค้าสวิส-ไทย สมาคมหอการค้าไทย-สเปน บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) บริษัท ซีพีเอฟ โกล บอล ฟู้ด โซลูชั่น จำกัด (มหาชน) บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) บริษัท เบทาโกร จํากัด (มหาชน) บริษัท พี อาร์ จี คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) บริษัท ทิปโก้ฟูดส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) และบริษัท เคซีจี คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)   นางวัลลภา ไตรโสรัส ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท แอสเสท เวิรด์ คอร์ป จำกัด (มหาชน) หรือ AWC เปิดเผยว่า  AWC เชื่อมั่นการรวมพลังของทั้งภาครัฐและเอกชน ในการร่วมขับเคลื่อนประเทศไทยเป็น “ศูนย์กลางค้าส่งอาหารของภูมิภาค” เชื่อมเครือข่ายค้าส่ง (WHOLESALE ECO-SYSTEM) ตอบโจทย์อนาคตครบวงจร เสริมโอกาสธุรกิจแบบไร้ขีดจำกัด ด้วยการพัฒนาแพลตฟอร์มค้าส่งที่เชื่อมโยงออนไลน์-ออฟไลน์ (ONLINE-OFFLINE INTEGRATION) ช่วยเพิ่มศักยภาพให้กับผู้ซื้อและผู้ขายให้สามารถทำธุรกรรมระหว่างกันได้สะดวกยิ่งขึ้นตลอดกระบวนการตั้งแต่ การสรรหาสินค้า ไปจนถึงการจัดส่งและชำระค่าสินค้า   นอกจากนี้การเปิดตัว “AEC FOOD WHOLESALE PRATUNAM” ในครั้งนี้ ยังเป็นการร่วมสนับสนุนประเทศไทยให้เป็นประตูเชื่อมของอุตสาหกรรมการค้าส่งในตลาด AEC หรือ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนกว่า 10 ประเทศสมาชิก ซึ่งถือเป็นตลาดที่มีศักยภาพสูงด้วยจำนวนประชากรรวมกว่า 700 ล้านคน อีกทั้งประเทศไทยยังมีศักยภาพในการเชื่อมต่อการค้าส่งไปยังประเทศต่างๆ ได้อย่างสะดวกผ่านโครงสร้างพื้นฐานด้านโลจิสติกส์ที่แข็งแกร่งอีกด้วย ซึ่งจะช่วยสนับสนุนให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางค้าส่งอาหารของภูมิภาคอย่างแท้จริง   โครงการ AEC FOOD WHOLESALE PRATUNAM จะเป็นเสมือนประตูเชื่อมที่จะพาผู้ประกอบการค้าส่งให้เติบโตได้อย่างก้าวกระโดดที่เชื่อมต่อโอกาสในรูปแบบใหม่ เพื่อตอบโจทย์อนาคตครบวงจร ผ่านเครือข่าย Eco-System ที่มี AWC และพันธมิตรจากทั้งภาครัฐและเอกชนเป็นตัวเชื่อมระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย พร้อมร่วมขับเคลื่อนอุตสาหกรรมค้าส่งของไทยสู่การเป็นศูนย์กลางค้าส่งอาหารของภูมิภาคอย่างแข็งแกร่งและยั่งยืน   อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง -AWC เดินแผนขยายธุรกิจแสนล้าน เตรียมเปิดโรงแรมใหม่เพิ่มอีก 9 แห่ง
ไนท์แฟรงค์  มองตลาดอสังหาฯ ปี 66    “ท่องเที่ยว-ไมซ์-บ้านหรู” ตัวเร่งกำลังซื้อ

ไนท์แฟรงค์ มองตลาดอสังหาฯ ปี 66   “ท่องเที่ยว-ไมซ์-บ้านหรู” ตัวเร่งกำลังซื้อ

ไนท์แฟรงค์ ประเทศไทย จัดงาน “Knight Frank Foresight 2023 It’s Time to Look Beyond the Crisis” เจาะลึกภาพรวมตลาดและแนวโน้มอสังหาริมทรัพย์ไทย ในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปี 2565 ต่อเนื่องถึงไตรมาสแรกของปี 2566 ฟื้นตัวต่อเนื่อง เผยสัญญาณบวกจากกำลังซื้อระดับบน ดันตลาดบ้านหรู กรุงเทพฯ และปริมณฑล ยอดขายโต 19,476 ยูนิต จับตาวิลล่าและคอนโดฯ ภูเก็ตร้อนแรงจากกลุ่มลูกค้ารัสเซียและจีน ด้านตลาดโรงแรมผ่านจุดต่ำสุดเริ่มขยับพร้อมรับมือตลาดไมซ์ 5 ไฮไลท์ตลาดอสังหาฯ ทำเลวิทยุ หลังสวน และเอกมัย 3 ทำเลยอดฮิตทั้งความต้องการซื้อ และตัวเลขการขายต่อ ในไตรมาสที่ 1 ปี 2566 บ้านเดี่ยว 10 -100 ล้านขึ้นไป ทำยอดขาย 19,476 ยูนิต คิดเป็น 2 % จากทั้งหมด 24,602 ยูนิต อสังหาฯ ภูเก็ตฟื้นตัวรับกำลังซื้อชาวรัสเซียและจีน ปักหมุดหาดบางเทา และ หาดลายัน แนวโน้มความต้องการอาคารสำนักงาน แนวคิด ESG (สิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล) และความยั่งยืนเติบโตต่อเนื่อง ตลาดโรงแรมทุกเซกเมนต์​เตรียมพร้อมกำลังคนรับธุรกิจฟื้นจากลูกค้ากลุ่มทัวร์และนักท่องเที่ยวกลุ่มไมซ์ (MICE) นายแฟรงค์ ข่าน กรรมการบริหารและหัวหน้าฝ่ายที่พักอาศัย บริษัท ไนท์แฟรงค์ ประเทศไทย จำกัด  เปิดเผยว่า ตลาดอสังหาริมทรัพย์ในปี 2566 มีสัญญาณเชิงบวกจากโครงการใหม่หลายแห่งที่รอเปิดตัว ซึ่งเป็นผลมาจากความเชื่อมั่นของผู้ซื้อที่สูงขึ้น การเลือกตั้งทั่วไปที่กำลังจะเกิดขึ้น และการเปิดประเทศจีน คาดว่าเป็นปัจจัยที่ทำให้ตลาดเติบโตอย่างต่อเนื่อง   ส่วนตลาดคอนโดมิเนียมในกลุ่ม Branded Residence ยังมีอัตราการขายได้ดีอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากลูกค้าเป็นกลุ่มกำลังซื้อสูง อาทิ คนไทย สิงคโปร์ และฮ่องกง  เป้าหมายเพื่อการลงทุนระยะยาว และซื้อเพื่ออยู่อาศัย ทำเลแรไอเทม ประทับใจการให้บริการระดับ 5-6 ดาว เพราะมองว่าอนาคตราคามีความเติบโตอย่างต่อเนื่อง   ในส่วนโครงการคอนโดเปิดใหม่ และการขายต่อคอนโดหรูหลายแห่ง มีผลประกอบการที่ดีและเติบโตอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยในไตรมาสที่ 1 ปี 2566 การขายต่อคอนโด​มีความต้องการและยอดขายสูงในทำเลวิทยุ หลังสวน และเอกมัย ซึ่งรับอานิสงส์กำลังซื้อที่เพิ่มขึ้นจากต่างชาติหลังการผ่อนคลายมาตรการโควิด-19 และ ส่วนใหญ่กระตุ้นการขายด้วยส่วนลดประมาณ 15% อุปทานรวมของธุรกิจอสังหาฯ มีทั้งสิ้น 8,953 ยูนิต ส่วนใหญ่อยู่ในชานเมืองกรุงเทพฯ โดยที่การเปิดตัวใหม่นั้นมีการปรับตัวลดลง 9.7% เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 3 และลดลง 20.4% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ในด้านความต้องการโครงการอสังหาฯ ​ใหม่ก็ลดลงเช่นกัน เหลือเพียง 28.8%​จาก 30.7% ในไตรมาสที่ 3 ปี 2565 ซึ่งราคาขายคอนโดในไตรมาสที่ 4 ปี 2565 ปรับตัวลดลงเล็กน้อยในทุกพื้นที่เฉลี่ย 0.29%​ เนื่องจากรัฐบาลยุติมาตรการ LTV ( Loan to Value :LTV)  โดยที่ลูกค้ากลุ่มหลักของตลาดนี้ยังเป็นนักลงทุนที่ซื้อเพื่อปล่อยเช่า บ้านเดี่ยว 10 – 20 ล้านเติบโตสูง ผลสำรวจบ้านระดับบนในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล พบว่าบ้านราคาตั้งแต่ 10 ล้านบาทถึง 100 ล้านบาทขึ้นไป มียอดขาย 19,476 ยูนิต คิดเป็นยอดขาย 79.2%​ จากทั้งหมด 24,602 ยูนิต  ทั้งนี้ อัตราการขายจะลดลง 3.9% จากครึ่งแรกของปี 2565 แต่ก็เพิ่มขึ้น 1.9%​ เทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2564 ซึ่งเป็นผลจากอุปทานที่เพิ่มขึ้นสองเท่าของอุปทานที่มีเหลืออยู่ คาด 1-2 ปีตลาดคอนโดภูเก็ตฟื้นตัวสู่สภาวะปกติ ภูเก็ตยังเป็นตลาดที่อยู่อาศัยเพื่อพักผ่อนที่ได้รับอานิสงค์จากการฟื้นตัวของภาคอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว โดยคอนโดเปิดขายใหม่ส่วนใหญ่อยู่บริเวณหาดบางเทามากถึง 45%​ รองลงมาเป็นที่หาดลายัน 31%​ และอื่น ๆ   ในภาพรวมตลาดคอนโดในจังหวัดภูเก็ตช่วงปลายปี 2565  ขายได้ 18,613 ยูนิต จาก 24,211 ยูนิต คิดเป็นยอดขาย 76.9%  ลดลงจากปี 2564 ณ ปัจจุบันมียูนิตเหลือขายอยู่ในตลาด 5,598 ยูนิต โดยภาพรวมคาดว่าตลาดจะกลับสู่ภาวะปกติเหมือนช่วงก่อนวิกฤตโควิด-19 ได้ภายใน 1-2 ปี นักท่องเที่ยวชาวรัสเซียแห่ซื้อวิลลาภูเก็ต ทิศทางตลาดวิลลา มีแนวโน้มสดใส อุปสงค์และอุปทานเติบโตทั้งการซื้อและเช่า จากกำลังซื้อที่เกิดขึ้นพบว่าชาวต่างชาติบางคนสนใจซื้อบ้านที่ภูเก็ตไว้เป็นบ้านหลังที่สอง ในขณะที่บางคนสนใจเช่าวิลลามากกว่าคอนโดมิเนียม เพราะต้องการสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยสำหรับครอบครัว และยังสามารถปล่อยเช่า สร้างผลตอบแทนได้ 8-10% ต่อปี   ในช่วงปลายปี 2565 วิลลาในภูเก็ต ขายได้ 3,595 จากทั้งหมด 4,375 ยูนิต คิดเป็นอัตราขาย 82.1% เพิ่มขึ้น 1% จากปี 2564 ที่มียูนิตใหม่ขายได้ 341 หลัง จากความต้องการที่เพิ่มขึ้นในตลาดวิลล่าเป็นผลมาจากนักท่องเที่ยวรัสเซียเดินทางเข้ามาในไทยด้วยเหตุผลต้องการหนีภาวะสงคราม และเพื่อท่องเที่ยวในช่วงไฮซีซั่น ประกอบกับความกังวลเกี่ยวกับนโยบายของประเทศที่จะประกาศห้ามโอนเงินข้ามประเทศหรืออาญัติบัญชี ซึ่งจะทำให้ไม่สามารถทำธุรกรรมประเภทเดบิตได้ในอนาคต   โดยทำเลที่ได้รับความนิยมในการพัฒนาวิลล่ามากที่สุดอยู่ในพื้นที่ตำบลเชิงทะเล แม้ไม่ติดชายหาด แต่เป็นทำเลใกล้ภูเขาและป่าไม้บรรยากาศโดยรวมเงียบสงบกว่าและเหมาะแก่การพักผ่อน   นายณัฏฐา คหาปนะ กรรมการผู้จัดการ ไนท์แฟรงค์ ประเทศไทย  กล่าวว่า ตลาดอสังหาฯ ในภูเก็ตได้รับประโยชน์จากการท่องเที่ยว โดยชาวรัสเซียมีสัดส่วนมากถึง 40-60% จากลูกค้าทั้งหมด หากเทียบกับเมื่อก่อนจะมีสัดส่วนเพียง 10-15% เท่านั้น โดยความสนใจจะอยู่ที่ทำเลหาดกะตะ หาดกะรน หาดป่าตอง หาดกมลา หาดบางเทา เชิงทะเล (ลากูนา) และหาดในทอน ทำให้ราคาอสังหาฯ ในพื้นที่ดังกล่าวขยับขึ้นอีก 15-20%   ทั้งนี้คาดว่าความต้องการของลูกค้ารัสเซียจะยังคงอยู่ในระดับสูงต่อไปอีก 1-2 ปีข้างหน้า โดยการตัดสินใจซื้อจะมองเรื่องทำเล ราคาขาย และชื่อเสียงของผู้พัฒนาโครงการ ซึ่งนอกจากชาวรัสเซียแล้วยังมีความต้องการจากลูกค้าชาวจีนสนับสนุนเข้ามาอีกทางหนึ่ง ESG สำนักงานสีเขียวทางเลือกใหม่ของผู้เช่า อุปสงค์ของอาคารสำนักงานในกรุงเทพฯ เติบโตเพียงเล็กน้อยจากไตรมาส 4 ปี 2565 ขณะที่แนวโน้มความต้องการอาคารสำนักงานในแนวคิ ESG (สิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล) และความยั่งยืนกลับขยายตัวมากขึ้น เห็นได้จากอัตราดูดซับสุทธิของอาคารสีเขียวที่สูงกว่าอาคารทั่วไปในทุก ๆ ไตรมาส   ในช่วงปลายปี 2565 มีพื้นที่อาคารสำนักงานขยายตัว 117,000 ตร.ม.หรือ 2.1 เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบไตรมาสต่อไตรมาส ส่งผลให้ภาพรวมตลาดอาคารสำนักงานมีพื้นที่ 5.79 ล้าน ตร.ม. และในจำนวนเป็นพื้นที่อาคารสำนักงานสร้างใหม่ที่ผ่านการรับรองอาคารสีเขียว 1,180,000 ตร.ม. คิดเป็น 20% ของพื้นที่สำนักงานให้เช่าทั้งหมด   ทั้งนี้หากเจาะลึกเป็นรายเซกเมนต์ พื้นที่อาคารสำนักงานทุกเกรดมีอัตราดูดซับที่เป็นบวก โดยพื้นที่เกรดบีมีอัตราการดูดซับเพิ่มขึ้นสูงสุด 17,200 ตร.ม. ในขณะที่อัตราการเช่าในตลาดโดยรวมยังคงปรับลดลงเล็กน้อยมาอยู่ที่ 801 บาทต่อ ตร.ม. โดยพื้นที่เกรดเอ เป็นเซกเมนต์เดียวที่มีอัตราค่าเช่าเพิ่มขึ้น 0.6% นายปัญญา เจนกิจวัฒนาเลิศ กรรมการบริหาร หัวหน้าแผนกอาคารสำนักงาน กล่าวว่า ภาพรวมตลาดอาคารสำนักงานยังแข็งแกร่งด้วยเม็ดเงินลงทุนที่เพิ่มขึ้นจากชาวจีนที่เข้ามาลงทุนในไทย โดยมองถึงอาคารสำนักงานที่พร้อมเปิดใช้งาน หรือตกแต่งแล้วบางส่วน ขนาดพื้นที่ตั้งแต่ 200 ถึงกว่า 1,000 ตร.ม. และเดินทางสะดวก ทำเลใกล้ระบบขนส่งสาธารณะ อัตราค่าเช่า และสภาพแวดล้อมการทำงานที่ดี   อาคารสำนักงานเก่าควรได้รับการปรับปรุงและซ่อมบำรุงเพื่อมอบสภาพแวดล้อมในการทำงานและเครื่องมือเครื่องใช้ที่ดีขึ้นเพ่อแข่งขันกับอาคารสำนักงานใหม่ ซึ่งการพัฒนานี้ต้องไม่เป็นไปเพื่อจุดประสงค์ในการขึ้นค่าเช่า แต่เพื่อดึงให้ลูกค้าเก่าพึงพอใจที่จะเช่าพื้นที่ในระยะยาว   ด้าน นายอายุธพร บูรณะกุล กรรมการบริหารและหัวหน้าฝ่ายกลยุทธ์พื้นที่สำนักงานบริการสำหรับโครงการ​ ระบุว่ามีแนวโน้มหลักสองอย่างที่จะมีอิทธิพลต่อการเช่าพื้นที่สำนักงานและอาคารสำนักงาน นั่นคือ Workplace ESG และ The Perfect PM  การเปลี่ยนผ่านสู่แนวคิด ESG เน้นบูรณาการองค์ประกอบของความยั่งยืน การส่งเสริมสุขภาวะ และชีวิตเชิงสังคม รวมถึงการออกแบบจะเป็นกุญแจในการสนองตอบต่อความต้องการของพนักงานหลากหลายช่วงวัย   โดยองค์กรต่างๆ จะมองหาพื้นที่สำนักงานแบบใดขึ้นอยู่กับพฤติกรรมการทำงานของพนักงาน นอกจากนี้แนวโน้มการเลือกสถานที่ทำงานตามลักษณะของเนื้องานก็ช่วยลดฟุตพรินท์ทางสิ่งแวดล้อม การใช้พลังงาน การปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ การสร้างขยะ และต้นทุนด้านสิ่งอำนวยความสะดวกได้อย่างมหาศาล   สำหรับ The Perfect PM ครอบคลุมถึงการกำหนดอัตราส่วนที่นั่ง การค้นหาคุณลักษณะที่เหมาะสมของสำนักงานที่ต้องการ ทำเลที่ดีเหมาะสม คำแนะนำและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับความยั่งยืน และผู้รับเหมาที่ไว้ใจได้เพื่อให้มั่นใจว่างานจะเสร็จทันเวลา   นอกจากนี้การเข้ามาของนวัตกรรม SMART จะช่วยเป็นที่ปรึกษาทางเทคโนโลยีให้ผู้เช่าวิเคราะห์ รายงาน และติดตามตรวจสอบข้อมูลของพื้นที่สำนักงานด้วยตนเอง ซึ่งจะช่วยประสิทธิภาพการทำงานและการผสานเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ากับกฏเกณฑ์ด้านดิจิทัลและสิ่งแวดล้อม ตลาดโรงแรมรับอานิสงค์การเปิดประเทศ นายคาร์ลอส มาร์ติเนซ ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยและที่ปรึกษา กล่าวว่าการเปิดประเทศทำให้อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของไทยฟื้นตัวเฉลี่ย 27% จากปี 2562 ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก 23% และคาดว่าในปี 2566 อุตสาหกรรมท่องเที่ยวจะฟื้นกลับมาได้ 70% เมื่อเทียบกับช่วงก่อนสถานการณ์โควิด-19 ที่มีตัวเลขนักท่องเที่ยว 40 ล้านคน สำหรับภาพรวมตลาดโรงแรมไทยในปี 2566 คาดว่าจะเป็นไปในเชิงบวกจากการยุติของโรคระบาด ความต้องการเดินทางของผู้คนที่อัดอั้นมานาน และการเติบโตของเศรษฐกิจที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 3-4%​ โดยจำนวนผู้เดินทางเข้าประเทศในเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์ 2566 อยู่ที่ 60% ของตัวเลขก่อนโควิด-19 และมีระดับการเข้าพักโรงแรม เฉลี่ยอยู่ที่ 72%​ เพิ่มขึ้นจาก 36% ในปี 2565   “คาดว่าจะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติ ประมาณ 28 ล้านคน ในจำนวนนี้เป็นนักท่องเที่ยว 7-8 ล้านคน แม้ว่าระดับการเข้าพักโรงแรมในปี 2566 จะยังไม่กลับมาเต็มร้อย แต่ราคาห้องพักก็อยู่ในระดับที่ใกล้เคียงหรือสูงกว่าช่วงก่อนหน้าโควิด-19 โดยโรงแรมที่ได้รับผลบวกนั้นจะครอบคลุมทั้งระดับบน โรงแรมขนาดกลาง  และขนาดเล็ก จากลูกค้ากลุ่มทัวร์ และนักท่องเที่ยวกลุ่มไมซ์ (MICE) ที่เข้ามาประชุมและจัดสัมมนา   สำหรับความท้าทายที่อุตสาหกรรมโรงแรมในปี 2566 ยังต้องเผชิญคือการขาดแคลนพนักงาน ซึ่งสมาคมโรงแรมไทยกำลังดำเนินมาตรการชั่วคราว เช่น การขอให้พนักงานทำงานควบตำแหน่งหรือเพิ่มชั่วโมงการทำงาน การจ้างพนักงานชั่วคราว และการเพิ่มค่าตอบแทน ส่วนมาตรการระยะยาวประกอบด้วยการรับนักศึกษาจบใหม่และการอนุญาตให้พนักงานต่างชาติทำงานในอุตสาหกรรมบริการ รวมถึงต้นทุนการก่อสร้าง การดำเนินงาน และการเงิน โลจิสติกส์ ไทย รุกบริการ Build-to-Suit ตลาดอสังหาฯ โลจิสติกส์ในครึ่งหลังของปี 2565 อุปทานรวมของคลังสินค้าแบบสร้างเสร็จพร้อมใช้อยู่ที่ 5.35 ล้าน ตร.ม. โดยอัตราค่าเช่ายังคงไม่เปลี่ยนแปลง โดยอยู่ที่ราคา 158.6 บาท ต่อ ตร.ม. ต่อเดือน ขณะที่ภาพรวมยังคงขยายตัวของอี-คอมเมิร์ซ และการเปิดประเทศอย่างเต็มรูปแบบ ซึ่งลูกค้าหลักที่เช่าพื้นที่ยังเป็นกลุ่มบริษัทโลจิสติกส์ ตามด้วยกลุ่มผู้เช่าจากธุรกิจเฉพาะทาง เช่น กลุ่ม FMCG และผู้ผลิตอุตสาหกรรม   นอกจากนี้แนวโน้มผู้ให้บริการคลังสินค้ากำลังหันไปให้บริการแบบทำพอดี (Built-to-Suit) แทนที่จะเป็นแบบคาดการณ์ล่วงหน้า (Speculative) เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้พื้นที่คลังสินค้าไร้ผู้เช่าเป็นเวลานาน กล่าวได้ว่าอนาคตของอสังหาริมทรัพย์โลจิสติกส์แบบพร้อมใช้งานจะยังคงสอดคล้องกับการเติบโตเฉลี่ยรายปี   ในด้านกระแสการใส่ใจ ESG (สิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล) และความยั่งยืน ของภาคธุรกิจ กำลังขยายตัวในภาคอุตสาหกรรมไทยเป็นอย่างมาก โดยคลังสินค้าบางแห่งเริ่มปรับตัวไปสู่ทิศทางนี้มากขึ้น เช่น เทคนิคการลดการไหลของน้ำ การเคลือบผิวหน้าตึกสองชั้น การระบายอากาศตามธรรมชาติ และการติดตั้งแผงพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคา เพื่อลดคาร์บอนฟุตพรินท์และต้นทุนการดำเนินงาน   อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง -ไนท์แฟรงค์ หวังเศรษฐกิจ-ท่องเที่ยว-จีนเปิดประเทศ กระตุ้นตลาดคอนโดภูเก็ตฟื้นตัว
สิงห์ เอสเตท  เปิด 5 โครงการที่อยู่อาศัยหมื่นล้าน  ขายบ้านอัลตร้า ลักชัวรี่ หลังละ 550 ล้าน

สิงห์ เอสเตท เปิด 5 โครงการที่อยู่อาศัยหมื่นล้าน ขายบ้านอัลตร้า ลักชัวรี่ หลังละ 550 ล้าน

สิงห์ เอสเตท เดินหน้าลุยตลาดบ้านเดี่ยวระดับลักชัวรี่ เปิดราคาขายตั้งแต่ 20 ล้านถึงกว่า 550 ล้านบาท หลังจัดทัพธุรกิจใหม่  มั่นใจธุรกิจที่อยู่อาศัยโต 70% ทำรายได้กว่า 4,000-5,000 ล้าน   หลังจาก "สิงห์ เอสเตท" บริษัทอสังหาริมทรัพย์ของกลุ่มเบียร์สิงห์ มีการปรับกลยุทธ์การทำธุรกิจตั้งแต่ปี  2564 ด้วยการขายเงินลงทุนสัดส่วน 51% ในบริษัท เนอวานา ไดอิ จำกัด (มหาชน) ในปี 2565 ก็เริ่มพัฒนาโครงการบ้านแนวราบโครงการแรก คือ โครงการศิรนินทร์ เรสซิเดนเซส ในช่วงปลายปี ส่วนปีนี้ ก็เริ่มหันกลับมาบุกตลาดอสังหาฯ แนวราบเพิ่มมากขึ้นอีกครั้ง โดยแผนการเปิดตัวโครงการในปี 2566 ยังคงพัฒนาบ้านในกลุ่มลักชัวรี่เหมือนเช่นเคย ซึ่งมี 4 กลุ่มหลัก คือ บ้านลักชัวรี่ ระดับราคา 20 ล้านบาทขี้นไป บ้านพรีเมียม ลักชัวรี่ ระดับราคา 30-50 ล้านบาท บ้านซุปเปอร์ ลักชัวรี่ บ้านระดับราคา 50-100 ล้านบาท บ้านอัลตร้า ลักชัวรี่ ระดับราคา 250 ล้านบาทขึ้นไป ตามแผนธุรกิจปี 2566 เตรียมเปิดโครงการที่อยู่อาศัยใหม่ 5 โครงการ รวมมูลค่า 10,000 ล้านบาท ซึ่งจะเป็นโครงการภายใต้แบรนด์ใหม่ 2 แบรนด์ ขณะเดียวกันจะมีโครงการที่เป็น ​Flgship Cluster Home Project ที่ขายบ้านระดับอัลตร้า ลักชัวรี่ ราคาเริ่มต้นหลังละ 550 ล้านบาท จำนวน 2 โครงการ   นางฐิติมา รุ่งขวัญศิริโรจน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท สิงห์ เอสเตท จำกัด (มหาชน) หรือ S  เปิดเผยว่า กลุ่มธุรกิจอสังริมทรัพย์ในปีนี้ ตั้งเป้าหมายเติบโต 70% หรือมีรายได้ 4,000-5,000 ล้านบาท โดยหลังจากที่ปิดโครงการสันติบุรีแล้ว ในปีนี้จะเป็นโครงการในคอนเซ็ปต์เดียวกันอีก  2 โครงการ ในรูปแบบ ​​Flgship Cluster Home Project สำหรับโครงการรูปแบบ Flgship Cluster Home Project มีข้อดี คือ สามารถพัฒนาได้บนที่ดินขนาดเล็กไม่เกิน 10 ไร่ มีจำนน 8-9 ยูนิต ในย่านใจกลลางธุรกิจ ซึ่งจะขายที่ดินก่อนการก่อสร้างบ้าน ทำให้สามารถปิดการขายได้เร็ว แลรับรู้รายได้ได้เร็ว โดยโครงการรูปแบบ ​Flgship Cluster Home Project โครงการแรกจะพัฒนาบริเวณซอยสุขุมวิท49 บนเนื้อที่ประมาณ 2 ไร่จำนวน 2 ยูนิต เตรียมเปิดตัวช่วงกลางปีนี้ ส่วนโครงการที่เหลือจะเปิดตัวช่วงปลายปี   นางฐิติมา กล่าวอีกว่า  ในปี 2566 เป็นปีที่สำคัญมากของสิงห์ เอสเตท ในการสร้างการเติบโต ด้วยการใช้กลยุทธ์ “S EXCELS” คือการสร้างความเป็นเลิศในทุกมิติ ประกอบด้วย   มิติแรก คือ ผลการดำเนินงานที่เป็นเลิศ ดันเป้ากำไรสู่ All-time High ในทุกพอร์ตธุรกิจ โดยปีนี้จะสามารถสร้างรายได้รวมของบริษัทให้เติบโตขึ้นสูงถึง 34% หรือมีมูลค่าแตะ 16,700 ล้านบาท   มิติที่สองคือ การเพิ่มแต้มต่อธุรกิจ เสริมแกร่งศักยภาพในการแข่งขัน เน้นการสร้าง Synergy ที่เกื้อหนุนกันระหว่าง 4 ธุรกิจ และความร่วมมือกับพันธมิตรชั้นนำ เพื่อสร้างการเติบโตเฉลี่ยปีละ 20% ตลอด 3 ปี   มิติที่สามคือ การพัฒนาอย่างยั่งยืน บริษัทฯ ตั้งเป้าบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอนในปี 2573 และกำหนดแผนอนุรักษ์ในพื้นที่ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพในบริเวณธุรกิจตั้งอยู่ ทั้งนี้ ปี 2565 ที่ผ่านมาบริษัทฯ สร้างรายได้ 1 2,500 ล้านบาท หรือเติบโตขึ้นจากปีก่อนประมาณ 62% โดยมีปัจจัยหลายประการที่ช่วยเกื้อหนุนการเติบโต ไม่ว่าจะเป็นยอดจองและยอดโอนกรรมสิทธิ์  ของโครงการศิรนินทร์ เรสซิเดนเซส ซึ่งสูงถึง 77% และ 30% ตามลำดับ นับเป็นความสำเร็จอย่างงดงามที่เกิดขึ้นเพียง 1 ปี หลังปรับโครงสร้างธุรกิจและรุกเข้าสู่การพัฒนาบ้านแนวราบอย่างเต็มตัว   ธุรกิจโรงแรมภายใต้การบริหารงานของ SHR สามารถทำรายได้ทะลุเป้าหมายอยู่ที่ 8,700 ล้านบาท ขึ้นแท่นผู้ประกอบการโรงแรมในไทยที่มีรายได้สูงสุดเป็นอันดับ 2 ของประเทศ ด้วยความแข็งแกร่งของกลยุทธ์ผนวกกับแรงหนุนจากการเปิดประเทศ ส่งผลให้อัตราค่าห้องพักเฉลี่ยรายวัน (Average Daily Rate: ADR) ปรับเพิ่มขึ้นได้กว่า28% จากปีก่อนหน้า   กลุ่มธุรกิจอาคารสำนักงานมีสัญญาณฟื้นตัวอย่างมีนัยสำคัญ มีอัตราการเช่าพื้นที่ (Occupancy) ที่ไต่ระดับสูงขึ้นขณะที่ธุรกิจนิคมอุตสาหกรรมมีรายได้จากการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินในปีก่อนได้กว่า 77 ไร่
เปิดประวัติ คุณหญิงวรรณา สิริวัฒนภักดี  ผู้ร่วมสร้างตำนานอาณาจักร TCC Group

เปิดประวัติ คุณหญิงวรรณา สิริวัฒนภักดี ผู้ร่วมสร้างตำนานอาณาจักร TCC Group

คุณหญิงวรรณา ประวัติส่วนตัว คุณหญิงวรรณา สิริวัฒนภักดี เกิดวันอังคารที่ 2 มีนาคม 2486 อายุ 80 ปี เป็นบุตรสาวของ เจ้าสัวกึ้งจู แซ่จิว ผู้คร่ำหวอดในแวดวงธุรกิจการค้าขายเครื่องดื่มสุรา สมรสกับ ​เจ้าสัวเจริญ สิริวัฒนภักดี  มีบุตรด้วยกัน 5 คน ประกอบด้วย นางอาทินันท์ พีชานนท์ นางวัลลภา ไตรโสรัส นายฐาปน สิริวัฒนภักดี นายปณต สิริวัฒนภักดี นางฐาปณี เตชะเจริญวิกุล ประวัติการศึกษา คุณหญิงวรรณา ได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จาก 8 มหาวิทยาลัย  ได้แก่ ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาการจัดการธุรกิจ มหาวิทยาลัยพะเยา ปริญญาบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ปริญญาบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ปริญญาบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาบริหารธุรกิจการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีการเกษตรแม่โจ้ ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาเทคโนโลยีชีวภาพ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ที่สะท้อนให้เห็นถึงคุณประโยชน์ทางธุรกิจของแต่ละสาขาวิชาได้เป็นอย่างดี ประวัตการทำงาน คุณหญิงวรรณา มีบทบาทสำคัญ นอกจากการเป็นภรรยาของ เจ้าสัวเจริญ สิริวัฒนภักดี ผู้ก่อตั้ง ทีซีซี กรุ๊ป ยังมีบทบาทในธุรกิจของกลุ่มทีซีซี โดยดำรงตำแหน่งสำคัญมากมาย อาทิ รองประธานกรรมการและรองประธานกรรมการบริหาร คนที่ 1 บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด รองประธานกรรมการ บริษัท ทีซีซี แอสเสท เวิรด์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด(มหาชน) รองประธานกรรมการ บริษัท บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ จำกัด(มหาชน) รองประธานกรรมการ คนที่ 1 บริษัท เครือไทย โฮลดิ้งส์ จำกัด(มหาชน) รองประธานกรรมการ และรองประธานกรรมการบริหาร บริษัท แอสเสท เวิรด์ คอร์ป จำกัด (มหาชน) รองประธานกรรมการ บริษัท เครือไทย โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) รองประธานกรรมการ บริษัท ทีซีซี แอสเซ็ทส์ (ประเทศไทย) จำกัด รองประธานกรรมการ บริษัท ทีซีซี แอสเสท เวิรด์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด กรรมการ บริษัท ทีซีซี โฮลดิ้ง (2519) จำกัด รองประธานกรรมการกลุ่มบริษัทเฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ ลิมิเต็ด รองประธานกรรมการกลุ่มบริษัทเฟรเซอร์ แอนด์ นีฟ ลิมิเต็ด รองประธานกรรมการ บริษัท สิริวนา จำกัด รองประธานกรรมการบริหาร บริษัท คริสตอลลา จำกัด รองประธานกรรมการ บริษัท พรรณธิอร จำกัด รองประธานกรรมการ บริษัท ทีซีซีแลนด์ จำกัด ประธานกรรมการ บริษัท เบียร์ทิพย์ บริวเวอรี่ (1991) จำกัด รองประธานกรรมการบริหาร บริษัท นอร์ธปาร์ค กอล์ฟแอนด์สปอร์ตคลับ จำกัด รองประธานกรรมการ บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) รองประธานกรรมการ บริษัท เครืออาคเนย์ จำกัด รองประธานกรรมการ บริษัท ทีซีซี คอร์ปอเรชั่น จำกัด ประธานกรรมการ บริษัท แสงโสม จำกัด ประธานกรรมการ บริษัท เฟื่องฟูอนันต์ จำกัด ประธานกรรมการ บริษัท ธนภักดี จำกัด รองประธานกรรมการ บริษัท มงคลสมัย จำกัด ประธานกรรมการ บริษัท กาญจนสิงขร จำกัด รองประธานกรรมการ บริษัท เบียร์ช้าง จำกัด รองประธานกรรมการ บริษัท น้ำใจไทยเบฟ (วิสาหกิจเพื่อสังคม) จำกัด รองประธานกรรมการ บริษัท อาคเนย์ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) รองประธานกรรมการ บริษัท อาคเนย์ประกันภัย จำกัด (มหาชน) รองประธานกรรมการ บริษัท อาคเนย์แคปปิตอล จำกัด รองประธานกรรมการ International Beverage Holdings Limited รองประธานกรรมการ International Beverage Holdings (UK) Limited รองประธานกรรมการ International Beverage Holdings (China) Limited รองประธานกรรมการ InterBev Investment Limited โดยคุณหญิงวรรณา ได้ร่วมกับ เจ้าสัวเจริญ  ดำเนินธุรกิจมาอย่างยาวนานกว่า 50 ปี ซึ่งปัจจุบัน ทีซีซี กรุ๊ป มี 5 กลุ่มธุรกิจหลัก ได้แก่ ธุรกิจเครื่องดื่ม มีบริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ อาทิ ทีซีซี แลนด์, ยูนิเวนเจอร์ และ เฟรเซอร์ พร็อพเพอร์ตี้ ซึ่งพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัย อาคารสำนักงาน โรงแรม ศูนย์การค้า ธุรกิจอุตสาหกรรมการค้า สินค้าอุปโภคบริโภค ได้แก่  เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ หรือบีเจซี และบิ๊กซี ธุรกิจประกัน และการเงิน ธุรกิจเกษตร และอุตสาหกรรมการเกษตร ซึ่งมีกิจการทั้งในและต่างประเทศ เช่น สปป.ลาว กัมพูชา ตำแหน่งทางสังคม นอกจากบทบาทสำคัญในด้านธุรกิจ คุณหญิงวรรณา ยังมีบทบาทสำคัญในด้านสังคม ทั้งการทำงานการกุศล และการช่วยเหลือสังคมในหลากหลายรูปแบบ โดยคุณหญิงวรรณา มีตำแหน่งทางสังคมสำคัญ ในมูลนิธิต่างๆ มากมาย อาทิ กรรมการมูลนิธิสถาบันโรคไตภูมิราชนครินทร์ กรรมการมูลนิธิรามาธิบดี กรรมการศิริราชมูลนิธิ กรรมการมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช กรรมการมูลนิธิคืนช้างสู่ธรรมชาติ กรรมการ คณะกรรมการจัดหา และส่งเสริมผู้ให้โลหิตแห่งสภากาชาดไทย กรรมการมูลนิธิศาลาเฉลิมกรุง กรรมการมูลนิธิ แอสเสท เวิรด์ เพื่อการกุศล ขอแสดงความอาลัย คุณหญิงวรรณา ที่ได้ถึงแก่กรรมด้วยอาการสงบเมื่อเวลา 01.24 น. ของวันนี้ (วันที่ 17 มีนาคม 2566)    
เอสโฮเทล แอนด์ รีสอร์ท  กางแผนธุรกิจปี 66  ชู 3 กลยุทธ์สู่รายได้หมื่นล้าน

เอสโฮเทล แอนด์ รีสอร์ท กางแผนธุรกิจปี 66 ชู 3 กลยุทธ์สู่รายได้หมื่นล้าน

เอสโฮเทล แอนด์ รีสอร์ท กางแผนธุรกิจ ชู 3 กลยุทธ์ สร้างรายได้กว่า 10,000 ล้าน โต 20% หลังรายได้ปี 2565 ทะลุเป้าที่ 8,700 ล้านบาท ด้วยกลยุทธ์สร้างความหลากหลายที่สมดุลเพื่อการเติบโตที่ยั่งยืน และมีสถานะทางการเงินที่แข็งแกร่งผนวกกับแรงหนุนจากการเปิดประเทศฟื้นการท่องเที่ยว     นายเดิร์ก เดอ คุยเปอร์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอส โฮเทล แอนด์ รีสอร์ท จำกัด (มหาชน)  เปิดเผยถึงทิศทางการดำเนินธุรกิจในปี 2566 ว่า หลังจากเห็นสัญญาณการฟื้นตัวของธุรกิจด้านการท่องเที่ยว และแนวทางการดำเนินธุรกิจในปีนี้ ทำให้บริษัทตั้งเป้าหมายรายได้ มากกว่า 10,000 ล้านบาท เติบโต 20% จากปีที่ผ่านมาทำรายได้ 8,700 ล้านบาท และจะทำกำไรอย่างต่อเนื่อง จากปีท่ผ่านมามีกำไร 14 ล้านบาท และเป้าหมายอัตราเข้าพักเฉลี่ย 75% จากปีที่ผ่านมามีอัตราเข้าพักเฉลี่ย 60%   การกลับมาของนักท่องเที่ยวจากทั่วโลก หลังการยกเลิกข้อจำกัดในการเดินทางระหว่างประเทศ ทำให้อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง  ผนวกกับกลยุทธ์ผลักดันธุรกิจ และเครือข่ายช่องทางการจัดจำหน่ายที่แข็งแกร่งของบริษัท ทำให้สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวที่หลากหลายมากขึ้นจากทั่วทุกมุมโลก ซึ่งเป็นแรงหนุนสำคัญที่ทำให้ธุรกิจของ SHR เติบโตได้เต็มอัตรา และมีผลการดำเนินงานที่ขยายตัวสูงสุดเป็นประวัติการณ์ของโรงแรมในหลายประเทศ   โดย SHR สามารถปรับค่าห้องพักเฉลี่ยต่อคืน หรือ ADR ในระดับที่สูงขึ้นกว่าช่วงก่อนเกิดการระบาดของโควิด-19 และเป็นระดับที่สูงที่สุดมาตั้งแต่เปิดให้บริการมาอีกด้วย เสริมทัพด้วยการฟื้นตัวของโรงแรมในประเทศไทยที่เติบโตอย่างก้าวกระโดดในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2565  ส่งผลให้ SHR กวาดรายได้เกินกว่าเป้าหมายที่วางเอาไว้ สู่ 8,700 ล้านบาท ก้าวขึ้นแท่นผู้ประกอบธุรกิจบริหารจัดการโรงแรมของไทยที่ทำรายได้สูงสุดเป็นอันดับ 2 ในปีที่ผ่านมา   นอกจากนั้นแล้ว บริษัทได้รับการยกย่องให้บรรจุอยู่ใน “รายชื่อหุ้นยั่งยืน” ประจำปี 2565 ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) พร้อมคะแนนจากการประเมินการกำกับดูแลกิจการในระดับ “ดีเลิศ” (5 ดาว) จากสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ตอกย้ำความมุ่งมั่นในการดำเนินธุรกิจที่เติบโตอย่างยั่งยืนพร้อมรักษาความสมดุลต่อสิ่งแวดล้อมและสร้างสังคมที่มีคุณภาพ 3 กลยุทธ์สร้างรายได้กว่า 10,000 ล้าน ปี 2566 เป็นปีแห่งการผลักดันผลประกอบการให้เติบโตโดนเด่น พร้อมใช้กลยุทธ์เสริมจุดแข็งธุรกิจ และการขยายช่องทางการขายเพื่อดึงดูดลูกค้าที่หลากหลายจากทุกมุมโลก  ซึ่งทิศทางการขับเคลื่อนธุรกิจของ SHR ในปี 2566 จะรองรับการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวได้อย่างเต็มศักยภาพ โดยบริษัทฯ ตั้งเป้าครองตำแหน่งผู้ประกอบธุรกิจบริหารจัดการโรงแรมรายได้สูงสุดเป็นอันดับ 2 ของไทยอย่างต่อเนื่อง   โดยแผนการดำเนินงานที่จะผลักดันให้รายได้บริษัทฯ สามารถขยายตัวได้ตามเป้าหมายนั้น มาจากจุดแข็งของ SHR ในด้านความหลากหลายของพอร์ตโฟลิโอ (diversified portfolio) สามารถดึงดูดลูกค้าได้หลากหลายกลุ่มจากทั่วโลก โดยหลังการเปิดประเทศอย่างสมบูรณ์ คาดว่า โรงแรมเครือที่ประเทศไทยทั้ง 4 แห่งจะเป็นฟันเฟืองหลักในการผลักดันการเติบโตของปี 2566 นี้ ซึ่งตั้งเป้าการเติบโตของรายได้ประมาณ 60% จากปีก่อนหน้า (YoY) คิดเป็นอัตราส่วน 16% ของรายได้รวมของบริษัทฯ ในขณะที่รายได้จากโรงแรมในมัลดีฟส์และสหราชอาณาจักรจะเติบโตขึ้น 30% และ 10% จากปีก่อน (YoY) คิดเป็นอัตราส่วน 31% และ 36% ตามลำดับ สำหรับแนวทางการสร้างการเติบโตดังกล่าว บริษัทวาง 3 กลยุทธ์ที่สำคัญ คือ 1.Asset Rotation & Enhancement การหมุนเวียนและต่อยอดการลงทุนสินทรัพย์ (Asset Rotation & Enhancement) โดย SHR จะทำการขายสินทรัพย์ที่มีการเติบโตจนเต็มมูลค่าแล้วเพื่อนำรายได้จากการขายผนวกกับการลงทุนเพิ่มเติมอีกราว 16 ล้านปอนด์ ไปพัฒนาสินทรัพย์ศักยภาพสูงที่สามารถสร้างการเติบโตต่อไปได้ในอนาคต โดยกลุ่มโรงแรมที่บริษัทฯ ให้ความสำคัญเป็นอันดับต้นๆ คือธุรกิจในสหราชอาณาจักร ซึ่งจะทำให้สามารถปรับขึ้นอัตรา ADR ได้  โดยเฉลี่ยอยู่ที่ 90 ปอนด์ หรือเพิ่มขึ้นราว 10% เมื่อเทียบกับปี 2565 สำหรับสินทรัพย์อื่นๆ ที่อยู่ในแผนการปรับปรุงและพัฒนาของบริษัทฯ นั้น ยังรวมถึงโครงการครอสโรดส์ มัลดีฟส์ ซึ่งได้ดำเนินการพัฒนาปรับปรุงห้องพัก (Product Enhancement) ในเฟสแรกเสร็จสมบูรณ์เป็นที่เรียบร้อยแล้วเมื่อเดือนธันวาคมปี 2565 และในปีนี้ได้มีการพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวก เช่น แกลลอรี่ท้องถิ่น คาเฟ่พร้อมเทคโนโลยีโลกเสมือนจริง (Virtual Reality Café) หรือท่าจอดเรือ super yacht ขนาดใหญ่ เป็นต้น เพื่อเสริมสร้างประสบการณ์ที่หลากหลายและน่าประทับใจ (Memorable Experience)   นอกจากนี้ ยังเตรียมเดินหน้าพัฒนาโครงการต่อ ณ ทราย รีสอร์ทสองแห่งในไทย  ได้แก่ ทราย พีพี ไอส์แลนด์ วิลเลจ (SAii Phi Phi Island Village) และ ทราย ลากูน่า ภูเก็ต (SAii Laguna Phuket) มีแผนที่จะปรับปรุงตั้งแต่ปี 2566 ไปจนถึงปี 2567 ขณะที่ โรงแรม เอาท์ริกเกอร์ ฟิจิ บีช รีสอร์ท (Outrigger Fiji Beach Resort) เริ่มแผนการปรับปรุงแล้วตั้งแต่เดือนตุลาคม 2565 และคาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2566 นี้ เพื่อรองรับเทศกาลแห่งการท่องเที่ยวที่จะเกิดขึ้นในช่วงปลายปี ด้วยแผนทั้งหมดภายใต้งบลงทุนประมาณ 1,000-1,500 ล้านบาท เราคาดว่าจะช่วยให้เราสามารถบรรลุแผนในการปรับอัตราค่าห้องพักสำหรับห้องที่ทำการปรับปรุงขึ้นได้อีกราว 15-40% 2,Merger and Acquisition SHR ยังมีการวางงบลงทุนเพื่อซื้อและควบรวมกิจการ (Merger and Acquisition) ตลอดระยะเวลา 3 ปีข้างหน้า อยู่ที่ประมาณ 7,500 ล้านบาท โดยยังคงพุ่งเป้าไปที่จุดหมายปลายทางด้านการท่องเที่ยว (Leisure Destination) เพื่อสร้างความหลากหลายให้แก่พอร์ต SHR ที่มีศักยภาพและสร้างความเติบโตที่ยั่งยืนในด้านรายได้และยังสามารถลดความผันผวนทางฤดูกาล (Seasonal Effect) ของโรงแรมในเครือได้อีกด้วย โดยเบื้องต้นยังคงทำการศึกษาสินทรัพย์ในแถบชายฝั่งทะเลเอเชียและแปซิฟิก รวมถึงประเทศไทย ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และมหาสมุทรอินเดีย 3.Asset Light ขณะเดียวกัน SHR ยังมีแผนที่จะขยายกิจการด้วยโมเดลธุรกิจแบบ Asset Light ซึ่งจะเป็นการเสริมความแข็งแกร่งให้กับธุรกิจอีกทางหนึ่ง โดยได้มีการพัฒนาร่วมทุนกับพันธมิตร อาทิเช่น SO/ Maldives ไลฟ์สไตล์สุดทันสมัยในโครงการแหล่งท่องเที่ยวระดับโลก ที่พร้อมจะเปิดตัวโครงการราวไตรมาส 4 ปีนี้ ลุยดิจิทัลเพิ่มอัตราเข้าพัก นอกจากนี้ SHR ยังเล็งเห็นความสำคัญของการนำดิจิทัลแพลตฟอร์มเข้ามาใช้เพื่อเสริมประสิทธิภาพในการกำหนดราคาห้องพักของโรงแรมในเครือให้เหมาะสมตามฤดูกาลและตอบสนองความต้องการแบบเรียลไทม์ สามารถบริหารจัดการรายได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงการทำกิจกรรมทางการตลาดออนไลน์เจาะกลุ่มตลาดที่หลากหลายเพื่อเพิ่มอัตราการจองห้องพักโดยตรง (Direct booking) และสามารถผลักดันค่าห้องพักเฉลี่ยต่อคืน (ADR) ในระดับที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง   โดยปีนี้เราคาดว่าอัตราการเข้าพัก (Occupancy Rate) ของโรงแรมในเครือทั้งหมดจะอยู่ที่ประมาณ 75% เมื่อเทียบกับผลประกอบการในปี 2565 ซึ่ง SHR สามารถรายงานผลกำไรที่พลิกกลับมาเป็นบวกได้สำเร็จ จากอัตราการเข้าพักที่ระดับเพียง 60% ดังนั้น เราเชื่อมั่นเป็นอย่างยิ่งว่า ณ ระดับการเข้าพักเป้าหมายที่ระดับ 75% นี้ จะเป็นตัวขับเคลื่อนผลกำไรของ SHR ในปี 2566 ให้เติบโตอย่างมีนัยสำคัญ เพื่อสร้างฐานกำไรใหม่ให้กับ SHR สำหรับรองรับการขยายการเติบโตในอนาคต เดินหน้าสร้างคุณค่า-ความยั่งยืน SHR ได้รับนโยบายการพัฒนาอย่างยั่งยืนจากสิงห์ เอสเตท ด้วยวิสัยทัศน์ sustainable diversity สร้างความหลากหลายที่สมดุล เพื่อการเติบโตที่ยั่งยืน ลดผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมจากกระบวนการตลอดห่วงโซ่ธุรกิจ (supply chain) ในทุกมิติ โดยเฉพาะตั้งเป้าลดคาร์บอน (Decarbonization) และทดแทนการใช้พลังงานฟอสซิลด้วยพลังงานสะอาดในปีนี้ เราได้ดำเนินการติดตั้งแผงโซลาร์ เซลล์ บนหลังคาของโรงแรมในเครือของ SHR ในประเทศไทยและมัลดีฟส์ รวมพื้นที่กว่า 10,000 ตารางเมตร ที่สามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าได้ราว 2.8 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมงต่อปี ทำให้เราสามารถบริหารต้นทุนทางพลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย” นายเดิร์ก กล่าว   ที่ผ่านมา SHR เป็นที่ยอมรับในฐานะผู้ประกอบการโรงแรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และส่งเสริมความหลากหลายทางชีวภาพ โดยได้รับการรับรองจากประกาศนียบัตร Green Globe ซึ่งถือเป็นมาตรฐานสูงสุดระดับโลกสำหรับผู้ให้บริการด้านการท่องเที่ยวและการบริการที่ยั่งยืน โดยบริษัทฯ ให้ความสำคัญในการผสมผสานการเรียนรู้ด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมร่วมกับประสบการณ์ที่เป็นเอกลักษณ์ เช่น กิจกรรมให้ความรู้ด้านการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพทางทะเล ที่ศูนย์การเรียนรู้ทางทะเล เช่น โครงการเพาะพันธุ์ปะการัง โครงการอนุรักษ์ฉลามกบ เป็นต้น และในปี 2566 นี้จะพัฒนาโครงการ   อนุรักษ์สัตว์ทะเลหายากร่วมกับ IUCN ที่โครงการครอสโรดส์ มัลดีฟส์ และร่วมกับมูลนิธิโลกสีเขียวที่โครงการอนุรักษ์ป่าโกงกางในบริเวณอุทยานแห่งชาติของหาดนพรัตน์ธารา-หมู่เกาะพีพี นอกจากนี้ยังสนับสนุนชุมชนท้องถิ่น รวมทั้งส่งเสริมวัฒนธรรมพื้นบ้านซึ่งจะนำมาประยุกต์ร่วมกับการบริการของโรงแรมในรูปแบบต่างๆ เพื่อสร้างประสบการณ์ที่มีคุณค่าแก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่ม   อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง -สิงห์ เอสเตท จับมือ ฮาร์ด ร็อค ผุดธีม โฮเทล ในโปรเจกต์ยักษ์ที่มัลดีฟส์
ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้  วาง 3 แผนงานสร้างการโตไม่สิ้นสุด  จับเมกะเทรนด์ลุยธุรกิจทั่วไทย

ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ วาง 3 แผนงานสร้างการโตไม่สิ้นสุด จับเมกะเทรนด์ลุยธุรกิจทั่วไทย

ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ ยกทัพ 5 ผู้บริหารบริษัทในเครือ ประกาศทิศทางธุรกิจปี 2566 “Origin Infinity” สู่เส้นทาง Well-Being Lifetime Company สร้างการเติบโตและดูแลบริโภคแบบไม่สิ้นสุด เปิดตัวโครงการบ้าน-คอนโดใหม่ 42 โครงการ มูลค่าโครงการ 50,000 ล้าน โรงแรม-อาคารสำนักงาน-มิกซ์ยูส มูลค่า REIT ประมาณการ 25,500 ล้าน โครงการโลจิสติกส์และคลังสินค้าอีก 4,500 ล้าน ครอบคลุมทุกเซ็กเมนท์ กระจายตัวใน 13 จังหวัดทั่วประเทศ     นายพีระพงศ์ จรูญเอก ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) หรือ ORI ผู้พัฒนาธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ครบวงจร  พร้อมทีมผู้บริหารระดับสูงของกลุ่มธุรกิจออริจิ้นร่วมกันแถลงแผนธุรกิจปี 2566 ที่ปีนี้ มาในแนวคิด “Origin Infinity” สร้างการเติบโตและการดูแลผู้บริโภคแบบไม่สิ้นสุด พัฒนาเครือออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ให้กลายเป็น Well-Being Lifetime Company หรือองค์กรที่มีธุรกิจครอบคลุมการดูแลผู้บริโภคตลอดช่วงชีวิต ซึ่งมีทีมผู้บริหารร่วมแถลงข่าวครั้งนี้ ได้แก่ นายอภิสิทธิ์ สุนทรชูเกียรติ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ออริจิ้น คอนโดมิเนียม จำกัด แกลุ่มธุรกิจสมาร์ทคอนโดมิเนียม นายปิติ จารุกำจร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท วัน ออริจิ้น จำกัด กลุ่มธุรกิจที่สร้างรายได้ประจำ (Recurring Income Business) ผศ.นพ.ชวกิจ ภูมิบุญชู ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ออริจิ้น เฮลท์แคร์ จำกัด  กลุ่มธุรกิจบริการด้านสุขภาพ นายปธาน สมบูรณสิน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอลฟา อินดัสเทรียล โซลูชั่น จำกัด กลุ่มโลจิสติกส์และคลังสินค้า (Logistics & Warehouse) ​ ออริจิ้น กับ 3 แผนงาน Origin Infinity สำหรับแผนงาน Origin Infinity ประกอบด้วยการขับเคลื่อน 3 ด้านหลัก ได้แก่ 1.การขยายสินค้าและบริการให้ครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศ (Nationwide Serve) ยกทัพธุรกิจในเครือกระจายสู่ต่างจังหวัดเพื่อพัฒนาการใช้ชีวิตที่ดีขึ้น (Better Living) ให้แก่คนในพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศ เริ่มจากกลุ่มธุรกิจพัฒนาที่อยู่อาศัยเพื่อการขาย เตรียมเปิดตัวโครงการใหม่แบบ All Time High รวมทั้งสิ้น 42 โครงการ มูลค่าโครงการรวม 50,000 ล้านบาท ครอบคลุมพื้นที่ 13 จังหวัดทั่วประเทศ แบ่งเป็น โครงการคอนโดมิเนียม 22 โครงการ มูลค่าโครงการรวม 27,500 ล้านบาท โครงการบ้านจัดสรร 20 โครงการ มูลค่าโครงการรวม 22,500 ล้านบาท เริ่มพัฒนาโครงการโรงแรม อาคารสำนักงาน และศูนย์การค้าใหม่ในปีนี้ มูลค่า REIT ประมาณการรวม 25,500 ล้านบาท โครงการกลุ่มโลจิสติกส์และคลังสินค้า (Logistics & Warehouse) มูลค่า REIT ประมาณการรวม 4,500 ล้านบาท พร้อมทยอยนำธุรกิจที่เกี่ยวข้อง ทั้งธุรกิจบริการที่เกี่ยวข้องกับอสังหาริมทรัพย์ครบวงจรในเครือบริษัท พรีโม​ เซอร์วิส โซลูชั่น จำกัด (มหาชน) ธุรกิจบริการสุขภาพภายใต้ออริจิ้น เฮลท์แคร์ ไปให้บริการในต่างจังหวัดด้วย ไฮไลต์ของปีนี้ คือ การนำหลายแบรนด์ที่เราไม่ได้เปิดตัวมาระยะหนึ่ง กลับมาร่วมบุกตลาดเพื่อให้ครอบคลุมลูกค้าหลากเซ็กเมนท์และสอดคล้องกับสภาพความต้องการของตลาดในปีนี้ อาทิ แบรนด์ดิ ออริจิ้น กลับมาเจาะตลาดคอนโดมิเนียมเพื่อคน Gen Z และกลุ่มที่เพิ่งเริ่มต้นทำงานหรือ First Jobber  แบรนด์เบลกราเวีย กลับมาเจาะตลาดบ้านเดี่ยวลักชัวรีรองรับดีมานด์หลากทำเล ปีนี้จะมีการบุกไปยังจังหวัดใหม่ๆ ที่เราไม่เคยไปบุกมาก่อน รวมถึงมีโครงการไฮไลต์ เป็นโครงการมิกซ์ยูส กระจายตัวในหัวเมืองใหญ่หลายจังหวัด เช่น ภูเก็ต เชียงใหม่ ขอนแก่น โคราช ผสมผสานหลากหลายสูตร เช่น บ้าน คอนโด โรงแรม ศูนย์การค้า บริการสุขภาพ ต่อยอดความสำเร็จของการพัฒนาโครงการออริจิ้น ดิสทริค แหลมฉบัง-ศรีราชา และออริจิ้น สมาร์ท ซิตี้ ระยอง 2.การขยายจักรวาลธุรกิจใหม่ให้มีเส้นทางเติบโตอย่างต่อเนื่อง (Multiverse Expansion) มุ่งพัฒนาช่วงชีวิตที่ดีขึ้น (Better Lifetime) ต่อยอดจากแผน Origin Multiverse ในปี 2565 ด้วยการขยายธุรกิจนอกเหนือจากที่อยู่อาศัยให้มีเส้นทางการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ครอบคลุมการดูแลคนทุกเจเนอเรชั่น ทุกช่วงจังหวะของชีวิต ตั้งแต่ยังโสด เพิ่งแต่งงาน ครอบครัวขยายตัว จนเกษียณอายุ ทุกแพลตฟอร์ม ทั้งออฟไลน์และออนไลน์ นำพาบริษัทย่อยที่ดูแลธุรกิจใหม่ๆ เติบโตเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์อย่างต่อเนื่องปีละ 1 บริษัท หลังจากนำบริษัท บริทาเนีย จำกัด (มหาชน) หรือ BRI และบริษัท พรีโม เซอร์วิส โซลูชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ PRI เข้าตลาดได้แล้วในปี 2564 และ 2565 (ตามลำดับ) ตามแผนงาน ในปี 2566 มีแผนส่งบริษัท วัน ออริจิ้น จำกัด เป็นธุรกิจถัดไป ตามด้วยบริษัท แอลฟา อินดัสเทรียล โซลูชั่น จำกัด บริษัท ออริจิ้น เฮลท์แคร์ จำกัด และบริษัท ยูไนเต็ด โปรเจคต์  แมเนจเมนท์ จำกัด โดยวัน ออริจิ้น จะมีโครงการสร้างเสร็จใหม่ในปีนี้ทั้งโรงแรม อาคารสำนักงาน อย่างต่อเนื่อง ขณะที่กลุ่มเฮลท์แคร์จะเริ่มวางรากฐาน เปิดตัวธุรกิจใหม่ๆ อาทิ คลินิกทันตกรรม คลินิกความงาม คลินิกสัตว์เลี้ยง คลินิกเส้นผม กระจายตัวไปพร้อมกับโครงการที่อยู่อาศัยและมิกซ์ยูสเครือออริจิ้น โดยมีแผนเปิดสาขารวมทั้งหมด 25 แห่งในสิ้นปี 2566 3.การดูแลสังคม (Social Attention) ร่วมใส่ใจสังคมและสิ่งแวดล้อมในหลากหลายมิติ เพื่อสร้างสังคมที่ดีขึ้น (Better Society) ได้แก่ ด้านการพัฒนาบุคลากร (Talent Development) จับมือกับสถาบันการศึกษาต่างๆ สร้าง Origin Valley ร่วมกับสถาบันการศึกษานั้นๆ เพื่อเป็นพื้นที่พัฒนาทักษะคนรุ่นใหม่ให้มีความรู้ความสามารถที่ตรงกับความต้องการขององค์กรและตลาดแรงงาน รวมถึงแลกเปลี่ยนองค์ความรู้เพื่อพัฒนาบุคลากรในเครือออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ที่มีมากกว่า 3,000 คน ให้พร้อมเติบโตอย่างแข็งแกร่ง ด้านการพัฒนาชุมชน (Community Development) ดำเนินโครงการ Origin Give เพื่อสร้างโอกาสและส่งมอบสิ่งดีๆ แก่ชุมชน อาทิ การมอบทุนการศึกษา การมอบอุปกรณ์การแพทย์ การลงพื้นที่พัฒนาโรงเรียน ด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development) ร่วมเดินหน้าแผน Net-Zero Emission 2044 เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในทุกมิติ อาทิการออกแบบโครงการที่ประหยัดพลังงานและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การเลือกใช้วัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การลดปริมาณขยะ การลดใช้ไฟฟ้าทั้งในออฟฟิศและสำนักงานขาย การเริ่มติดตั้ง Solar Roof และ EV Charger ในโครงการใหม่ๆ จากแผนงาน Origin Infinity บริษัทเชื่อมั่นว่าจะช่วยสร้างการเติบโตที่แข็งแกร่งในทุกมิติ และเป็นการกระจายการเติบโตพร้อมรับมือทุกสภาวะเศรษฐกิจ ปี 2566 นี้ จึงตั้งเป้าหมายยอดขายโครงการ ที่อยู่อาศัยไว้ที่ 45,000 ล้านบาท และเป้ารายได้รวมอยู่ที่ 19,000 ล้านบาท หรือเป็นเป้าหมายเติบโต All Time High จากวิสัยทัศน์ของบริษัทที่ต้องการขยายอาณาจักรธุรกิจ ไม่ใช่เพียงกลุ่มธุรกิจพัฒนาที่อยู่อาศัย แต่ครอบคลุมถึงเมกะเทรนด์ และธุรกิจใหม่ๆ เพื่อให้สามารถครอบคลุมทุกมิติการยกระดับการใช้ชีวิตของผู้บริโภค   อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง -ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ โชว์ทุกผลงาน Q2/65 ทำ New High เล็งจ่ายปันผลระหว่างกาล หุ้นละ 0.15 บาท -“ออริจิ้น” ตุนยอดขายครึ่งปีแรก 51% ของเป้าทั้งปี เตรียมเปิดโครงการเพิ่มอีก 26,500 ล้าน
[PR News] “เซ็นทรัลพัฒนา” ย้ำเบอร์หนึ่งผู้นำอสังหาฯ ไทย มุ่งสู่โมเดลธุรกิจแห่งอนาคต     

[PR News] “เซ็นทรัลพัฒนา” ย้ำเบอร์หนึ่งผู้นำอสังหาฯ ไทย มุ่งสู่โมเดลธุรกิจแห่งอนาคต     

เซ็นทรัลพัฒนา บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน)  เผยวิสัยทัศน์และกลยุทธ์ธุรกิจ ประกาศพัฒนาโมเดลธุรกิจแห่งอนาคตเป็น ‘The Ecosystem for All’ ด้วยการ Synergy ธุรกิจหลัก ได้แก่ Retail ที่เป็นหัวใจหลักในการสร้างความแข็งแกร่งของระบบทั้งหมด เชื่อมโยงกับธุรกิจที่อยู่อาศัย, อาคารสำนักงาน และโรงแรม พร้อมตอบโจทย์การใช้ชีวิตของทุกคนทั้ง Online & Offline ครบทั้ง 360 องศา และขยายไปสู่ธุรกิจ New Assets อื่นๆ ที่จะสร้างอนาคตแห่งการใช้ชีวิต ควบคู่ไปกับการดูแลสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน เซ็นทรัลพัฒนา นางสาววัลยา จิราธิวัฒน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.เซ็นทรัลพัฒนา กล่าวว่า “เรามองเห็นโอกาสใหม่ๆ ภายใต้วิสัยทัศน์ Imagining better futures for all โดยตลอดระยะเวลา 42 ปี เซ็นทรัลพัฒนาไม่เคยหยุดนิ่งที่จะพัฒนา พร้อมยึดมั่นในแนวคิด Centre of Life มาตลอดซึ่งเราได้ทำให้เกิดขึ้นจริงแล้วทั่วประเทศ โดยไม่เพียงสร้างความแข็งแกร่งให้กับธุรกิจศูนย์การค้า แต่ยังขยายไปสู่ธุรกิจคอมมูนิตี้ มอลล์, ที่อยู่อาศัย, อาคารสำนักงาน และโรงแรมทั่วประเทศ พร้อมทั้งพัฒนาให้ทุกส่วนเชื่อมโยงถึงกันแบบ Seamless Synergy และยังเชื่อมต่อไปสู่พันธมิตรธุรกิจ ผู้คน ชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อมอีกด้วย ดังนั้น เราจึงต้องการสร้าง ‘วิวัฒนาการ’ ให้เกิดขึ้น เดินหน้าสู่โมเดลธุรกิจแห่งอนาคตเป็น ‘The Ecosystem for All’ โดยมีธุรกิจ Retail เป็นแกนหลัก ด้วย 3 กลยุทธ์สำคัญ ได้แก่ The 360-Degree Centre of Life: เป็นศูนย์กลางการใช้ชีวิตที่ตอบโจทย์ครบทุกองศาทั้ง Offline & Online ทั้ง shop-eat-work-play-stay-live ตลอดเวลา 24 ชั่วโมง 365 วัน ทุกที่ ทั่วประเทศ โดยภายใน 5 ปี ทราฟฟิคในโครงการของเราจะเพิ่มขึ้นจาก 1.2 ล้านคนเป็น 1.8 ล้านคนต่อวัน หรือคิดเป็นการมาใช้บริการ 657 ล้านครั้งต่อปี สำหรับ ในปี 2566 นี้จะมีมิกซ์ยูสที่ครบทุกองค์ประกอบเพิ่มขึ้น ได้แก่ เซ็นทรัล อุบลราชธานี, เซ็นทรัล อยุธยา และเซ็นทรัล ระยอง   โดยในแผนลงทุน 5 ปี (ปี 2566-2570) ลงทุนทุกธุรกิจรวมกว่า 135,000 ล้านบาท เฉลี่ยปีละ 25,000-30,000 ล้านบาท โดยมีทั้งหมดมากกว่า 200 โครงการ ครอบคุลม 30 เมืองในประเทศไทยและภูมิภาคอาเซียน ประกอบด้วย ศูนย์การค้า 50 แห่ง, คอมมูนิตี้ มอลล์ 17 แห่ง, ที่อยู่อาศัย 90 แห่ง, โรงแรม 37 แห่ง, อาคารสำนักงาน 13 แห่ง และพื้นที่ใหม่ๆ Flex Offices อีก 4 แห่ง โดยจะทำให้จำนวนโครงการมิกซ์ยูสเพิ่มขึ้นจาก 18 โครงการในปี 2566 เป็น 25 โครงการในปี 2570 นอกจากนี้ ยังได้วางแผนระยะยาว 5-10 ปีในการพัฒนาโครงการมิกซ์ยูส Mega Projects รวม 5 โครงการ ซึ่งจะยกมาตรฐานให้กรุงเทพฯ เทียบเท่ามหานครระดับโลก อย่างนิวยอร์ก, โตเกียว หรือโซล โดยโครงการแรก Dusit Central Park จะทยอยเปิดตัวในปี 2567-2568 รวมถึงอีก 4 โครงการใหญ่ที่แต่ละโครงการมีพื้นที่ GFA กว่า 350,000 ตร.ม. และเงินลงทุนกว่า 20,000 ล้านบาท Total B2B2C Solutions: การเชื่อมโยงการทำธุรกิจของพันธมิตรคู่ค้า สู่การใช้ชีวิตของลูกค้าที่ครบวงจร ด้วยการลงทุนด้าน Digital Transformation & Technology Infrastructure ปีละ 300-500 ล้านบาท โดยได้มีการพัฒนา Data-driven Omnichannel ที่มีประโยชน์กับลูกค้า คู่ค้า และสังคม The Place Making for Sustainable Future: ให้ความสำคัญทั้งด้าน ‘คน’ ด้วยการส่งเสริม Local Wealth โดยใน 5 ปีข้างหน้า บริษัทฯ จะมีพนักงานกว่า 6,500 คน พร้อมผลักดันการจ้างงานใน Ecosystem อีกกว่า 100,000 ตำแหน่ง การเปิดพื้นที่ค้าขายฟรีให้เกษตรกรและ SMEs ทั่วประเทศคิดเป็นมูลค่า 300 ล้านบาทต่อปี และการสนับสนุนกิจกรรมภาครัฐและ CSR รวมมูลค่ากว่า 200 ล้านบาทต่อปี รวมไปถึงการดูแล ‘สิ่งแวดล้อม’ เดินหน้าตามโรดแมป NET Zero 2050 อาทิ การประหยัดพลังงานไปแล้วกว่า 200 ล้านบาท, ติดตั้ง Solar Rooftop และขยาย EV Charger Station อย่างต่อเนื่องทั่วประเทศ, การเพิ่มพื้นที่สีเขียว รวมถึงการจัดการขยะและขยาย Recycle Shops ในศูนย์การค้า” ธุรกิจศูนย์การค้า ในฐานะหัวใจสำคัญของ Ecosystem เน้นการเป็น No.1 Market Leader โดยมี ไฮไลท์สำคัญ ได้แก่ การเปิดตัว 4 โครงการใหม่ในปี 2566-2567: Central Westville เปิด Q4/2566 งบลงทุนกว่า 6,200 ล้านบาท ซึ่งจะเป็น The Next Evolution of Semi-Outdoor Model ที่จะพลิกโฉมย่านราชพฤกษ์ ตอนนี้ Occupancy ร้านค้าเกือบเต็ม 100% ตอกย้ำความสำเร็จเช่นเดียวกับที่ Central Eastville Central Nakhon Sawan เปิด Q1/2567 งบลงทุน 5,800 ล้านบาท และ Central Nakhon Pathom เปิด Q2/2567 งบลงทุน 8,200 ล้านบาท ซึ่งจะเป็นโครงการมิกซ์ยูสขนาดใหญ่ที่ยกระดับศักยภาพของภูมิภาค เชื่อมต่อโซนภาคเหนือ และขยายสู่ภาคตะวันตกของประเทศ Central Krabi งบลงทุน 4,500 ล้านบาท เปิดช่วง Q4/2567 มิกซ์ยูสเมืองท่องเที่ยว ซึ่งจะเป็น The New Gateway to Southern Paradise ที่ตั้งอยู่ใจกลางเมือง ประกอบด้วยศูนย์การค้า ที่อยู่อาศัย และโรงแรม เติมเต็มศักยภาพของกระบี่ที่เป็นเมืองที่มี world’s most famous islands และเป็น Top 5 จุดหมายปลายทางของนักท่องเที่ยวทั่วโลก โดยจะเป็น the first & largest complete landmark ที่ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจของจังหวัดและประเทศ การขยายและรีโนเวทเพื่อ สร้าง Big Impact ได้แก่ เซ็นทรัล พัทยา ที่ได้มีการปรับโฉมโรงแรม Hilton ทำให้มียอดเข้าพักมากกว่าปี 2019 แล้วและเตรียมรีโนเวทศูนย์การค้า เพิ่มโซนต่างๆ ตอบรับการเป็นเมืองท่องเที่ยวระดับโลก โดยจะมีแบรนด์ Bridgeline และ luxury เพิ่มเติม ตอบโจทย์นักท่องเที่ยวที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และส่วนใหญ่นิยมสินค้าแบรนด์เนม ความสำเร็จของ Central Ramindra ที่มีทราฟฟิคเพิ่มขึ้นเท่าตัว เตรียมเดินหน้าส่วนขยายของ Central Westgate ที่ประสบความสำเร็จเป็น Super Regional Mall ที่ทราฟฟิกดีต่อเนื่อง เติมเต็มด้วย New Anchor ใหญ่ ขยายพื้นที่ค้าขายเพิ่ม และเพิ่มอาคารจอดรถ และยังมี Renovation อื่นๆ ที่ตั้งใจทำให้เป็นศูนย์การค้าที่ดีที่สุดของทุกย่าน อีกทั้ง ยังมีการปรับโฉมเซ็นทรัล อุบลราชธานี เตรียมรับโรงแรม Centara เติมเต็มมิกซ์ยูส, รวมถึงเซ็นทรัล มารีนา ปิ่นเกล้า แจ้งวัฒนะ เชียงใหม่ ขอนแก่น อีกด้วย เป็น Experiential Place Making ระดับโลก นำโดย centralwOrld ตอกย้ำ Global Landmark ที่สร้างปรากฏการณ์ด้วยแบรนด์ระดับโลกเลือกมาเปิดตัวเป็นที่แรก เตรียมมอบประสบการณ์ใหม่ๆ ได้แก่ ร้านเบอร์เกอร์ระดับโลก Shake Shack ที่เตรียมเปิดปลายเดือนมีนาคมนี้เป็นสาขาแรกในไทย รวมถึง Central Phuket ซึ่งเป็น Luxury mall แห่งเดียวของไทยที่ตั้งอยู่ในเมืองท่องเที่ยวระดับโลก เตรียมต้อนรับแบรนด์ลักชูรี่ระดับโลก เดินหน้า 5 Mega Mixed-use Projects ที่แต่ละโครงการใหญ่เทียบเท่า centralwOrld นำโดยโครงการ Dusit Central Park ภายใต้การร่วมทุนกับกลุ่มดุสิตธานี งบลงทุนรวม 46,000 ล้านบาท ซึ่งเป็น One-of-a-kind Mixed-Use Project ระดับโลก ที่เชื่อมพื้นที่สีเขียวให้เข้ากับชีวิตเมืองได้อย่างลงตัว โดยมี 4 องค์ประกอบที่สำคัญที่เชื่อมโยงกันอย่างไร้รอยต่อ โดยมีศูนย์การค้า ‘Central Park’ ที่เชื่อมต่อทุกส่วนเข้าด้วยกัน โดยมีคอนเซ็ปต์ ‘Here for curated experience and inspiration’ ที่จะสร้างประสบการณ์และแรงบันดาลใจใหม่ให้คนกรุงเทพ, อาคารสำนักงาน ‘Central Park Offices’ ระดับ Grade A+ ที่ตั้งใจจะเป็น Global Prototype ของ Future Workplace, Ultra-Luxury Branded Residence, และโรงแรมระดับ Global Legendary Iconic แห่งเดียวของไทย   ธุรกิจคอมมูนิตี้มอลล์ เปิดตัวโปรเจ็คใหญ่ Marché Thonglor มูลค่าโครงการรวม 2,000 ล้านบาท(Soft Launch 26 มี.ค. 66) เป็น Flagship of Community mall และ New Landmark ที่ใหญ่และครบครันที่สุดใจกลางทองหล่อ จับกลุ่มกำลังซื้อสูง, คนทำงานจาก Office ที่อยู่ภายในโครงการเดียวกัน, และ Expat ชาวต่างชาติ เติมเต็มด้วยพื้นที่สีเขียวกว่า 2,300 ตร.ม. / Pet-Friendly / เป็น Food Destination ใหญ่ที่สุดในย่าน มีที่จอดรถ 24 ชม. และยังจะพัฒนาโครงการปัจจุบันที่นวมินทร์ ซิตี้ และปรับปรุง 4 แห่งในปีนี้ ธุรกิจที่อยู่อาศัย ชูกลยุทธ์สำคัญคือ Best Location & Best in class ในทุกโลเคชั่น อยู่ติดหรือใกล้ศูนย์การค้าเซ็นทรัล และเริ่มขยายโปรเจ็คที่อยู่ติดโรบินสัน ไลฟ์สไตล์ด้วย โดยนำจุดแข็งในเรื่องการทำ Synergy กับแบรนด์ชั้นนำ ในเครือ Central Group แผนปี 2566 เตรียมเปิดโครงการใหม่ทั้งหมด 7 โครงการ มูลค่าโครงการรวมกว่า 9,000 ล้านบาท ได้แก่ คอนโดมิเนียม 3 โครงการ คือ ESCENT เพชรบุรี, บุรีรัมย์ และนครศรีธรรมราช และโครงการแนวราบ 4 โครงการ คือ บ้านนิรติ นครศรีธรรมราช และแบรนด์ใหม่ บ้านนิรดา พระราม 2, อุทยาน และเอกชัย ในเขตกรุงเทพฯ คาดว่าภายในปี 2570 จะครอบคลุม 27 จังหวัด นอกจากนี้ ยังได้พัฒนาแพลตฟอร์มใหม่ Central Pattana Residents รวมทุกความสะดวกสบายเพื่อการอยู่อาศัยไว้ในแอปเดียว เพื่อลูกบ้านโดยเฉพาะ ธุรกิจอาคารสำนักงาน ชูจุดแข็ง Strategic Locations in CBD Bangkok โดยเตรียมเปิดเผยโปรเจ็คใหญ่ Central Park Offices ภายในโครงการ Dusit Central Park โดยเป็น World-Class Professional Hub แห่งใหม่รองรับบริษัทชั้นนำระดับโลก บนโลเคชั่น Super Core CBD เป็น interchange station ทั้งรถไฟฟ้า BTS และ MRT และมีพื้นที่สีเขียวทั้งจาก Rooftop Park ขนาดใหญ่ ที่เชื่อมต่อกับสวนลุมพินี และบนชั้นพิเศษ ยังมี Private Outdoor Gardens อีกด้วย และเป็น World-Class Design and Facilities มุ่งเน้นการพัฒนาตามมาตรฐาน World-class LEED Gold Certified และการ Customized พื้นที่เพื่อธุรกิจทุกขนาด ธุรกิจโรงแรม ชูความเชี่ยวชาญของเซ็นทรัลพัฒนาในการพัฒนาทำเลศักยภาพและเข้าถึงลูกค้าทั่วประเทศ พร้อมยกระดับมาตรฐานการเข้าพักอาศัยในโรงแรมและตอบโจทย์ทุกจุดประสงค์ของการเดินทาง ในปี 2566 นี้จะเปิดโรงแรมครบทุก 3 แบรนด์ และจะมีโรงแรมทั้งสิ้น 10 แห่ง 1,600 ห้อง สำหรับโครงการใหม่ที่เตรียมเปิดปีนี้ ได้แก่ 1) แบรนด์ Centara: Upscale Full-Service เตรียมเปิด Centara Ubon’ และ ‘Centara Ayutthaya’, 2) แบรนด์ Centara One: Lifestyle Midscale เตรียมเปิดแห่งแรกคือ Centara One Rayong และ 3) แบรนด์ GO! Hotel: Premium Budget Hotel และเป็น Pet-Friendly เตรียมเปิดที่โรบินสันบ้านฉาง, เซ็นทรัล ศรีราชา และเซ็นทรัล ชลบุรี บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) ขับเคลื่อนสู่อนาคตภายใต้เจตจำนงค์ของแบรนด์ Imagining better futures for all ด้วยการสร้างและพัฒนาพื้นที่เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตคุณภาพผู้คนและชุมชน รวมถึงสิ่งแวดล้อมให้เติบโตควบคู่ไปกับการเดินหน้าทางเศรษฐกิจและขับเคลื่อนประเทศไทย   บทความน่าสนใจ เปิดงบลงทุน 120,000 ล้าน เซ็นทรัลพัฒนา ใช้ไปกับธุรกิจอะไรบ้าง เปิดเหตุผล เซ็นทรัลพัฒนา ทุ่ม 14,000 ล้าน ปั้นมิกยูสต์ 2 โปรเจ็กต์ ปักหมุด นครสวรรค์-นครปฐม        
เอสซี แอสเสท เปิดแผนรายได้รวม 150,000 ล้าน การเติบโตด้วย 2 ENGINE ใน 5 ปี

เอสซี แอสเสท เปิดแผนรายได้รวม 150,000 ล้าน การเติบโตด้วย 2 ENGINE ใน 5 ปี

เอสซี แอสเสท มั่นใจโตเหนือชั้น เปิดแผนโรดแมป SC Thriving Beyond ตั้งเป้ารายได้ 5 ปี รวมมูลค่า 150,000 ลบ. ปี 2566 รุกเปิด 25 โครงการ รวมมูลค่า 40,000 ลบ. มุ่งสร้างคุณค่าสู่คนและโลก เพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน   บริษัท เอสซี แอสเสท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ SC ผู้นำการเป็น Living Solutions Provider คุณภาพสูง โดยนายณัฐพงศ์ คุณากรวงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เปิดวิสัยทัศน์การพัฒนาธุรกิจและองค์กร ปี 2566 - 2570 ตั้งเป้ารายได้ 5 ปี ทะยานสู่รายได้ 150,000 ล้านบาท ขับเคลื่อนบนยุทธศาสตร์ SC Thriving Beyond เติบโต อย่างมีคุณภาพ แบบเหนือชั้น และยั่งยืน  มุ่งสร้างคุณค่า สู่คนและโลก ดำเนินธุรกิจภายใต้ 4 แกนหลัก คือ ลูกค้า พนักงาน สิ่งแวดล้อม และองค์กร  ลูกค้า SC มุ่งมั่นส่งมอบสินค้าและบริการคุณภาพสูง พัฒนาสินค้าทั้งบ้านและคอนโด สรรหาและคิดค้นนวัตกรรม เพื่อตอบโจทย์ผู้อยู่อาศัยหลากหลายราคา รูปแบบการใช้ชีวิต และเจเนอเรชั่น เพื่อลูกค้ามีคุณภาพชีวิตที่ดี ไร้ความกังวลในการใช้ชีวิต   ปี 2566 มีแผนการเปิดโครงการใหม่รวม 25 โครงการ มูลค่ารวม 40,000 ล้านบาท โดยแบ่งเป็น โครงการแนวราบ: เปิดใหม่ 22 โครงการ รวมมูลค่า 30,000 ล้านบาท รักษาสถานะผู้นำในตลาดบ้านเดี่ยวคุณภาพสูง ด้วยไฮไลท์โปรดักส์ คือ #No1LuxuryHome ปีนี้ SC พร้อมเผยโฉม “95E1” (ไนน์-ตี้-ไฟว์-อีสต์-วัน) แบรนด์บ้านใหม่ในเซกเมนต์ Ultimate Luxury ราคาเริ่มต้นสูงสุดที่เคยเปิดขายมา ด้วยราคาเริ่มต้น 100 ล้านบาท จำนวนจำกัดเพียง 10 ยูนิต มูลค่าโครงการ 970 ล้านบาท #OneSizeDoesNotFitAll ด้วยการตอบรับอย่างดีมากของ “บ้านคนโสด” ปีนี้ SC ตอกย้ำความเป็นผู้นำตลาดเรื่องการพัฒนาบ้านที่ออกแบบเพื่อไลฟ์สไตล์ที่มีความเฉพาะบุคคลด้วยการเปิดตัว #บ้านเกมเมอร์ (Gamer’s Home) บ้านที่ร่วมออกแบบโดยเกมเมอร์ชื่อดัง Willcomeback และ MNJ TV เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของเจ้าของบ้านในสายอาชีพยุคใหม่มาแรง อย่าง Streamer หรือ Content Creator ทั้งหลาย พร้อมเปิดให้เข้าชมตั้งแต่วันที่ 20 มีนาคม 2566 ณ โครงการ Venue ID มอเตอร์เวย์-พระราม 9 ราคาเริ่มต้น 14.29 ล้านบาท และมีโครงการพัฒนาบ้านที่ออกแบบเฉพาะสำหรับคนที่มีไลฟ์สไตล์ Introvert และ Extrovert ในอนาคต  #SCHomesForAll สร้างบ้านตอบโจทย์ลูกค้าครอบคลุมทุกกลุ่มราคา ในปีนี้ SC จะมีสินค้าบ้านเปิดขายในราคาเริ่มต้นตั้งแต่ 2.5 ล้านบาท ไปจนถึงมากกว่า 150 ล้านบาท ด้วยการเปิดตัวบ้านซีรีส์ใหม่ของแต่ละ Sub-brand เพื่อลงแข่งขันครองความเป็นผู้นำบ้านเดี่ยว  โครงการแนวสูง: เปิดใหม่ 3 โครงการ รวมมูลค่า 10,000 ล้านบาท  ปีนี้ SC พร้อมลุยตลาดแนวสูง ส่ง 3 โครงการไฮไลท์ของปีลงแข่งขัน คือ เปิดตัวแบรนด์ใหม่ เจาะกลุ่มคนรุ่นใหม่ เน้นพัฒนาพื้นที่ส่วนกลางที่เป็นส่วนหนึ่งของ Living Solutions เพื่อประสบการณ์การพักอาศัยที่ดีขึ้น ในสังคมที่เน้นความยั่งยืน บน 2 ทำเลศักยภาพ ได้แก่ ย่านรัชดา-พระราม 9 ใกล้ MRT ศูนย์วัฒนธรรม มูลค่าโครงการ 5,500 ล้านบาท ราคาเริ่ม 2 ล้านต้น ซึ่งเป็น Segment ใหม่ของ SC ทำเลแห่งที่สองคือ เกษตร-ศรีปทุม ตรงข้ามมหาวิทยาลัยศรีปทุม ติดรถไฟฟ้า 0 เมตร มูลค่าโครงการ 1,400 ล้านบาท เน้นงานดีไซน์และการออกแบบพื้นที่ส่วนกลาง เพื่อคนเมือง รุ่นใหม่ คอนโด SCOPE ประสานมิตร เจาะกลุ่มลูกค้า International Premium ที่ให้ความสำคัญกับทั้งคุณภาพและดีไซน์  ในระดับ World-class  ใช้ชีวิตในแบบ "Live the Finest Life" หรือชีวิตที่สุขสบายและสวยงามพร้อมไปด้วยบริการระดับ Premium ราคาเริ่มต้น 35 ล้านบาท มูลค่าโครงการ 2,600 ล้านบาท นอกจากการมุ่งพัฒนาสินค้าบ้านและคอนโดมิเนียมคุณภาพสูงที่มีฟังก์ชั่นตอบโจทย์ผู้อยู่อาศัยแล้ว ตลอดหลายปีที่ผ่านมา SC ยังคงสานต่อการสรรหาและคิดค้นนวัตกรรมที่ใช้เทคโนโลยีในการส่งมอบ Living Solutions แก้ไขปัญหาชีวิตประจำวัน เพื่อลูกค้าจะได้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยแผนในปี 2566 คือ ติดตั้งชุดเทคโนโลยีเพื่อการอยู่อาศัยในบ้านและคอนโด ทั้งหมด 24 รายการ  ให้กับลูกค้า SC Asset ตามเป้าหมายคือไม่ต่ำกว่า 5,000 ครัวเรือนในปี 2566  เปิดตัว Morning Coin เชื่อมต่อลูกค้ากับโลกแห่งสิทธิพิเศษแบบเหนือชั้น ด้วยนวัตกรรม Blockchain โดยมีเป้าหมายเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สะดวกสบายมากขึ้น และมีความมั่นใจปลอดภัยในคอมมูนิตี้ที่ดีของ “รู้ใจคลับ” พร้อมใช้งานกลางปี 2566 นี้ พนักงาน พนักงาน SC เจริญก้าวหน้า ได้ทำงานที่สร้างคุณค่า ปลดปล่อยศักยภาพได้อย่างเต็มที่ SC ให้ความสำคัญกับการลงทุนในทรัพยากรบุคคลเสมอมา เพราะบุคลากรในองค์กร คือ หัวใจสำคัญที่จะทำให้องค์กรเติบโตได้อย่างยั่งยืน  โดย SC ลงทุนใน Infrastructure ต่าง ๆ เชื่อมต่อระบบฐานข้อมูลต่าง ๆ อย่างเป็นระบบ ทำให้ลดเวลาในการทำงาน เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน รองรับการเติบโตของธุรกิจ สร้างประสบการณ์ให้พนักงานมากกว่าแค่การทำงานรูปแบบเดิม ๆ มีการใช้ Morning Coin และระบบการสะสม NFTs ด้วยเทคโนโลยี Blockchain เพื่อคนทำงานได้พัฒนาตนเอง ปลดปล่อยศักยภาพของตัวเองได้อย่างเต็มที่ ทำงานอย่างมีคุณค่า มีความภาคภูมิใจพร้อมเติบโตไปกับองค์กร พร้อมใช้งานมีนาคมนี้  เปิดตัว “Inside SC” บอกเล่าเรื่องราวในองค์กรเพื่อการสรรหาบุคลากรที่มีศักยภาพมาร่วมงานกับ SC อย่างยั่งยืน คว้ารางวัลอันดับที่ 17 จาก 50 องค์กรที่ทำงานในฝัน โดยเป็นอันดับหนึ่ง ในบริษัทอสังหาฯ จัดโดย WorkVenture  สิ่งแวดล้อม SC ประกาศพันธกิจ #SCeroMission ดำเนินธุรกิจเพื่อดูแลให้สิ่งแวดล้อมดีขึ้น ก๊าซเรือนกระจกลดลง ตั้งแต่การออกแบบผลิตภัณฑ์ คิดค้นนวัตกรรม และการจับมือร่วมกับคู่ค้าชั้นนำ ที่มีแนวคิดในการมุ่งลดก๊าซเรือนกระจก ครอบคลุมตั้งแต่กระบวนการ ออกแบบ สร้าง ใช้ ตั้งแต่ต้นน้ำจนปลายน้ำ ภายใต้ 8 ภารกิจย่อย  SC ตั้งเป้าหมายลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 25% ภายในปี 2573   ตั้งแต่ปลายปี 2565 ได้มีการตั้งทีมพัฒนาการออกแบบ SC #บ้านLowCarbon ด้วยการทำการวิจัยจำลองการใช้พลังงานของบ้านพักอาศัย ร่วมกับคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง สาขาวิชาสถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อส่งมอบสินค้าที่อยู่อาศัยที่ลดการทำร้ายโลก ลดปริมาณการใช้พลังงาน ลดค่าใช้จ่าย เพื่อสุขภาพกายใจที่ดีขึ้นของลูกค้าในอนาคต องค์กร องค์กรเติบโต จากหลากหลายเครื่องยนต์ธุรกิจ ทั้งบนธุรกิจหลัก Engine1 และธุรกิจ Engine2 ที่สร้างรายได้อย่างต่อเนื่อง (Recurring Income) พร้อมตั้งเป้าเพิ่มการลงทุนอย่างต่อเนื่องทุกปี  สำหรับแผนธุรกิจในปี 2566 SC มีการตั้งเป้าหมายตัวเลขสำคัญต่างๆดังนี้ โตต่อเนื่องด้วยยอดขาย 30,000 ล้านบาท เติบโต 23% โดยแบ่งเป็น โครงการเพื่อขายแนวราบ 65% และโครงการเพื่อขายแนวสูง 35% สร้างรายได้รวม 25,000 ล้านบาท เติบโต 16% ทั้งจาก โครงการเพื่อขาย และธุรกิจที่สร้างรายได้ประจำ (Recurring Income) ในสัดส่วน 95 : 5 ตามลำดับ มูลค่าการลงทุนทั้งหมด 25,000 ล้านบาท โดยแบ่งสัดส่วนการลงทุน 80% โครงการเพื่อขายแนวราบ แนวสูง และ 20% ในธุรกิจที่สร้างรายได้ประจำ และเพื่อให้องค์กรเติบโตอย่างแข็งแกร่ง และยั่งยืน SC วางแผนเพิ่มการลงทุน และเริ่มดำเนินธุรกิจที่สร้างรายได้ต่อเนื่อง (Recurring Income) เปิดตัวโรงแรม YANH ราชวัตร รับนักท่องเที่ยวจากทั่วโลกภายใต้คอนเซ็ปต์ “Workcation Hotel” รองรับวิถี Remote Working ที่ยังเติบโตต่อเนื่อง โดยเฉพาะในประเทศไทยหลัง โควิด-19 พร้อมเปิดให้เข้าพักแล้วในเดือนมีนาคม 2566  พัฒนาแบรนด์โรงแรมใหม่ บนถนนสุขุมวิท 29 มูลค่าการลงทุน 2,500 ล้านบาท และยังมีแผนในการขยายธุรกิจโรงแรมในทำเลพัทยา เพื่อไปให้ถึงเป้ารวมจำนวน 1,000 keys ปัจจุบัน SC บริหารพื้นที่อาคารสำนักงานให้เช่า มีพื้นที่รวมกันถึง 120,000 ตร.ม.   หลังจากการประกาศความร่วมมือกับบริษัท Flash Express ไปเมื่อปี 2565 SC วางแผนขยายธุรกิจคลังสินค้าโดยตั้งเป้าหมายพัฒนาพื้นที่ Warehouse ให้ได้ 1,000,000 ตร.ม. ภายในปี 2573  SC Thriving Beyond คือเส้นทางการเติบโตอย่างยั่งยืนใน 5 ปีนี้ของ SC โดยหัวใจสำคัญ คือการสร้างคุณค่า เพื่อเติบโต “ร่วมกัน” ไปกับสิ่งแวดล้อม และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในธุรกิจของ SC คุณค่าจะกลับมาสร้างกำไรให้องค์กร และกำไรจะกลับไปสร้างคุณค่าให้ผู้คนรอบข้าง ต่อเนื่องอย่างยั่งยืน อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง -เอสซี แอสเสท ตุนยอดขาย 6 เดือนกว่า 11,500 ล้าน เตรียมเปิด 15 โปรเจ็กต์ใหม่ดันเป้ารายได้
เสนา ดีเวลลอปเม้นท์  ไม่ขายบ้าน-คอนโดอย่างเดียวแล้ว  เปิด 10 ธุรกิจใหม่ 3กลุ่ม โฮลดิ้ง

เสนา ดีเวลลอปเม้นท์ ไม่ขายบ้าน-คอนโดอย่างเดียวแล้ว เปิด 10 ธุรกิจใหม่ 3กลุ่ม โฮลดิ้ง

เสนา ดีเวลลอปเม้นท์ ประกาศมูฟเม้นต์ ปี 2023 ชูจุดยืนธุรกิจองค์กรภายใต้วิชั่นของการเป็น Sustainable Business ผ่านคีย์เวิร์ด “SENA Multiplied” เบิกทางลงทุนพัฒนาโครงการและขยายโอกาสทางธุรกิจใหม่ ด้วยมูลค่า 55,000 กว่าล้านบาท ปูทางสร้างรากฐานตามแบบ “Lifelong Trusted Partner” เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีทุกช่วงอายุ พร้อมรับความเปลี่ยนแปลงของโลก แจงแผนเปิด 26 โครงการ 24,000 ล้าน​ ตั้งเป้ายอดขาย 18,000 กว่าล้าน และยอดโอนรวม 16,500 ล้าน   ผศ.ดร.เกษรา ธัญลักษณ์ภาคย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เสนาดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยถึงภาพรวมธุรกิจและสิ่งที่คนทั่วโลกต้องเผชิญมีทั้งเรื่องภาวะเศรษฐกิจถดถอย (Economic Recession) เกิดจากหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นภาวะเงินเฟ้อ ราคาสินค้าแพงแต่รายได้เท่าเดิม และอัตราดอกเบี้ยปรับสูงขึ้น เป็นสิ่งที่ทุกคนต้องเจอไม่ต่างไปจากปีที่ผ่านมา ประกอบกับสถานการณ์โลกที่แปรปรวน และปัญหาสิ่งแวดล้อม (Climate Change) ถือเป็นความท้าทายหรือ Social Challenge ของภาคธุรกิจ ทั้งการบริหารสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน การบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อมและที่พักอาศัย ด้านสาธารณสุข รวมถึงปัญหาความเหลื่อมล้ำในสังคม ทำให้ทุกภาคธุรกิจให้ความสำคัญและผลักดันเป็นยุทธศาสตร์หลักเพื่อขับเคลื่อนธุรกิจบนแนวคิดสร้างความยั่งยืน (Sustainability) ให้กับสังคม   ด้วย Core Business SENA พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ประเภทที่อยู่อาศัยเพื่อขาย ได้แก่ บ้านเดี่ยว ทาวน์เฮ้าส์ อาคารพาณิชย์ ทาวน์โฮมและอาคารชุด ธุรกิจเช่า ได้แก่ อพาร์ทเม้นท์ให้เช่า ธุรกิจอาคารสำนักงาน ธุรกิจสนามกอล์ฟ ธุรกิจไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ธุรกิจบริหารงานนิติบุคคล ธุรกิจรับเหมาก่อสร้างที่พักอาศัย เป็นต้น วันนี้ SENA เรายกระดับ (ENHANCED) การพัฒนาโครงการบ้านติดโซลาร์สู่การพัฒนาบ้านพลังงานเป็นศูนย์ “ZERO ENERGY HOUSING” (ZEH)” ลดการใช้พลังงานได้ไม่ต่ำกว่า 20 % ในบ้านเดี่ยว และคอนโดมิเนียมของ SENA พร้อมขยายธุรกิจใหม่ (New Business) ที่หลากหลายและครอบคลุมตาม Mega Trend และ Social Challenge ผ่านแกนวิชั่นโครงสร้างองค์กรที่เป็นมากกว่า Property Developer สู่ “The Essential Lifelong Trusted Partner” เพื่อสร้างคุณภาพชีวิตที่ดี บนแกน “SENA Multiplied” อย่างไรก็ตาม ทาง SENA วางงบเพื่อการลงทุนในการพัฒนาสินค้าและขยายโอกาสสู่ธุรกิจใหม่ 9,084 ล้านบาท โดยประกอบด้วย New Business to Strengthen Core Business SENA มุ่งมั่นในการต่อยอดพัฒนาอสังหาฯ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตลูกบ้านให้มีความเป็นอยู่ที่ดียิ่งขึ้นกว่าเดิม ประกอบด้วย   1.จับมือบริษัท เอ็นอีซี คอร์ปอเรชั่น (ประเทศไทย) จำกัด หรือ NEC Thailand ที่ปรึกษาเทคโนโลยีด้านไอที บริษัทชั้นนำระดับโลก พัฒนาแพลตฟอร์ม “SMARTIFY” Smart Living Community เพิ่มความสะดวกสบายให้กับลูกค้าและลูกบ้าน   2.ธุรกิจบริการทางการเงิน “เงินสดใจดี” เพื่อเพิ่มความสามารถในการเป็นเจ้าของที่อยู่อาศัยให้กับลูกค้า พร้อมให้คำปรึกษาและให้ความรู้ทางด้านการเงิน   3. ธุรกิจนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ เพื่อบริการขายและให้เช่าอสังหาริมทรัพย์   4.ธุรกิจบริหารนิติบุคคลโครงการที่อยู่อาศัยและทรัพย์สินแบบครบวงจร (Property Management)   5.ธุรกิจบ้านมือสอง “SENA SURE” โดยร่วมกับบริษัทบริหารสินทรัพย์ กรุงเทพพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) หรือ BAM และบริษัท บริหารสินทรัพย์สุขุมวิท จำกัด (บสส.) หรือ SAM คัดเลือกทรัพย์และนำมาปรับปรุงให้มีคุณภาพ ทางเลือกหนึ่งให้คนที่ต้องการที่อยู่อาศัย New Business New Foundation ขณะเดียว SENA การขยายธุรกิจใหม่ ยกระดับคุณภาพชีวิตให้สะดวกสบาย (Convenience) ให้กับทุกคน และเน้นธุรกิจที่ปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ใหม่ให้กับการใช้ชีวิตเพื่อช่วยกันลดการปล่อยคาร์บอน (Decarbonization Lifestyle) รวมถึงการนำเทคโนโลยีด้านบริการเข้าปรับใช้เพิ่มความสะดวกสบายให้กับทุกคนและในทุกช่วงชีวิต พุ่งเป้าหมายธุรกิจเมกะเทรนด์ (Mega Trends) ของโลก สร้างสังคมที่ยั่งยืน ทั้งด้านบริการครอบคลุมครบ ขณะเดียวกัน มองว่าเทรนด์การลงทุนในธุรกิจมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก เราพุ่งเป้าไปธุรกิจที่ตอบรับเมกะเทรนด์ (Mega Trend) ทั้งความยั่งยืนในการประกอบธุรกิจที่เป็นมิตรต่อโลก สังคม สุขภาพ​ สิ่งแวดล้อม และเทคโนโลยี ประกอบด้วย   1. เตรียมขยายพอร์ตอสังหาริมทรัพย์ใหม่ Premium Segment   2. การบริหารจัดการด้าน Hospitality เต็มรูปแบบ “Hotel & Service Apartment Management” ผ่านการจัดการด้วยมืออาชีพเฉพาะด้าน   3. ธุรกิจสถานดูแลผู้สูงอายุและผู้ป่วยระยะฟื้นตัว (Nursing Home) “SJ HEALTHCARE” เพื่อรองรับการเติบโตของสังคมสูงอายุพัฒนา MEDICAL WELLNESS CENTER และ PRIMARY CARE สำหรับกลุ่มลูกค้าที่มีความต้องการและความกังวลด้านดูแลสุขภาพโดยเฉพาะ   4.ธุรกิจ WAREHOUSE ให้เช่าแบบครบวงจร “METROBOX” ซึ่งเป็นอาคารคลังสินค้ามาตรฐานสากลเพื่อผู้ประกอบการธุรกิจและอุตสาหกรรมต่างๆ เตรียมเปิด 2 ทำเล 1.บางนา บางพลี สมุทรปราการ และ 2.พหลโยธิน วังน้อย อยุธยา   5.จับมือบริษัท ชิเซ็น อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) จำกัด หรือ Shizen เพื่อลงทุนและศึกษาโอกาสความเป็นไปได้ในการขยายตลาดด้านพลังงานหมุนเวียนร่วมกันในประเทศไทย นอกจากนี้ยังมองหาพันธมิตรในการติดตั้ง “โซลาร์แนวตั้ง” สำหรับอาคารสูงในประเทศไทยเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการใช้ไฟฟ้าจากพลังงานสะอาดให้มากที่สุด   6.เดินหน้าขยายพื้นที่ให้บริการชาร์จรถไฟฟ้า หรือ EV CHARGING STATION ด้วยการใช้พลังงานไฟฟ้าจากโซลาร์ เพื่อให้สอดคล้องไปกับการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน และแนวทางการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ (SMARTCITY) ปัจจุบันติดตั้งในหมู่บ้านของ SENA ขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษาความเป็นไปได้ในการติดตั้งสถานีชาร์ตรถไฟฟ้า (EV Charging Station) เพิ่มขึ้น เพื่อรองรับลูกบ้านในโครงการและลูกค้าทั่วไปในอนาคต   7.บริษัท SENA REFORESTATION ปลูกป่ารักษาโลก ตามเป้าเจตนารมณ์ 100,000 ไร่ New Project Launch ปี 2023 เตรียมเปิดตัวโครงการใหม่ 26 โครงการ รวมมูลค่า 24,024 กว่าล้านบาท แบ่งเป็นโครงการแนวราบ 9 โครงการ 7,471 ล้านบาท และคอนโดมิเนียม 17 โครงการ 16,553 ล้านบาท (ซึ่งใน 26 โครงการ แบ่งเป็นโครงการร่วมทุนกับ ฮันคิว ฮันชิน พร็อพเพอร์ตี้ส์ คอร์ป 22 โครงการ 21,210 ล้านบาท) ตอกย้ำพันธมิตรธุรกิจที่แข็งแกร่ง 8 ปี ร่วมกันพัฒนาโครงการรวม 45 โครงการ มูลค่า 69,554 ล้านบาท ทั้งนี้ วางเป้าหมายสร้างนิวเรคคอร์ดครั้งใหม่ของบริษัท ด้วยเป้ายอดขาย 18,242 ล้านบาท และเป้าโอนรวม 16,539 ล้านบาท โดยมีสินค้าที่เหลือขาย คิดเป็นมูลค่า 22,294 ล้านบาท เพื่อรอรับรู้รายได้ในอนาคต   แต่อย่างไรก็ตาม เสนา ดีเวลลอปเม้นท์ยังมองถึงความแข็งแกร่งของธุรกิจหลัก แผนเปิดตัวโครงการใหม่ในปีนี้ และธุรกิจใหม่ รองรับ Mega Trend ที่พร้อมเติบโตอย่างยั่งยืน ด้วยการพัฒนานวัตกรรมด้านสินค้าและการบริการ สานต่อจุดยืนขององค์กรที่เป็นมากกว่าคนพัฒนาอสังหาฯ ด้วยการเป็น “THE ESSENTIAL LIFELONG TRUSTED PARTNER” เพื่อสร้างความสุขและคุณภาพชีวิตที่ดีในทุกช่วงชีวิต   อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง -เสนาฯ เปิดโมเดล​ บ้านพลังงานเป็นศูนย์ เดินหน้าสู่บริษัท ด้านความยั่งยืน -[PR News] เสนาเจ จับมือ NEC พลิกโฉม “Smart Living Community”