พันธุ์ทิพย์ ประตูน้ำ
AWC ปิดฉาก พันธุ์ทิพย์ ประตูน้ำ ห้างสินค้าไอทีในตำนาน สู่ ศูนย์กลางค้าส่งอาหารของภูมิภาค “AEC FOOD WHOLESALE PRATUNAM” มูลค่ากว่า 10,000 ล้าน ตอบโจทย์อนาคตครบวงจร เชื่อมผู้ค้าส่งอาหารทั่วโลกกับผู้ซื้อทั่ว AEC พร้อมผนึกพันธมิตรทั้งภาครัฐและเอกชน
ถ้าพูดถึงห้างสรรพสินค้า ที่ขายสินค้าด้านไอทีและอุปกรณ์ต่าง ๆ เมื่ออดีตหลายปีที่ผ่านมา ชื่อแรกที่คนส่วนใหญ่นึกถึง ก็คือ ห้างพันธุ์ทิพย์ ประตูน้ำ แม้ปัจจุบันห้างแห่งนี้จะไม่ได้รับความนิยม ในการเดินทางไปเลือกซื้อสินค้าไอทีแล้ว เพราะได้ถูกปรับโฉม รีโนเวทใหม่ไปหลายรอบ จนสัดส่วนร้านขายสินค้าไอทีลดลงไปเหลือเพียงไม่มากเหมือนแต่ก่อน นับตั้งแต่ช่วงปี 2563 ที่ผ่านมา
โดยในปีนี้ บริษัท แอสเสท เวิรด์ คอร์ป จำกัด (มหาชน) หรือ AWC ในฐานะเจ้าของ ได้มีกำหนดฤกษ์ดีที่จะเปิดให้บริการ ห้างพันธุ์ทิพย์ ประตูน้ำ โฉมใหม่ ในช่วงปลายเดือนมิถุนายนนี้ กับคอนเซ็ปต์การเป็นศูนย์ค้าส่งด้านอาหารที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ภายใต้ชื่อใหม่ เออีซี ฟู้ด โฮเซล ประตูน้ำ (AEC FOOD WHOLESALE PRATUNAM) ภายใต้แนวคิด “INTEGRATED WHOLESALE PLATFORM FOR NON-STOP OPPORTUNITY ซึ่ง AWC มีเป้าหมายสำคัญที่พัฒนาโครงการนี้ขึ้น คือ การเป็นศูนย์กลางค้าส่งอาหารของภูมิภาค รองรับกับความต้องการของกลุ่มผู้ประกอบการต่าง ๆ และลูกค้าในภูมิภาคกว่า 800 ล้านคน
สำหรับโครงการ เออีซี ฟู้ด โฮเซล ประตูน้ำ จะเป็นชื่อใหม่ที่ถูกมาแทน ห้างพันธุ์ทิพย์ ประตูน้ำ กับมูลค่าโครงการกว่า 10,000 ล้านบาท หลังจากได้ใช้เม็ดเงินลงทุน ปรับปรุง ซ่อมแซม และพัฒนา รวม 6,500 ล้านบาท ตั้งแต่เริ่มแรกที่ได้เข้ามาบริหารจนถึงปัจจุบัน
เออีซี ฟู้ด โฮเซล ประตูน้ำ ตั้งอยู่บนพื้นที่กว่า 10 ไร่ โดยมีพื้นที่อาคารรวม (Gross Floor Area) กว่า 67,000 ตร.ม. ใช้เป็นพื้นที่ขายเพื่อให้ผู้ประกอบการด้านธุรกิจอาหารเข้ามาเช่ากว่า 30,000 ตร.ม. รองรับผู้ประกอบการกลุ่มอาหารชั้นนำทั่วโลกกว่า 600 ราย แบ่งเป็น 8 กลุ่มธุรกิจ ได้แก่
ตัวโครงการมีทั้งหมด 8 ชั้น รวมชั้นใต้ดิน (B) แบ่งพื้นที่เป็นโซนต่าง ๆ ที่สำคัญดังนี้
พื้นที่สำหรับให้ผู้ประกอบการทั้ง 8 กลุ่มสินค้ามาเปิดขาย โดยหากเป็นบูธขนาดเล็ก อัตราค่าเช่าจะอยู่ในระดับราคา 30,000-50,000 บาทต่อเดือน พื้นที่ขายสินค้านี้จะอยู่ตั้งแต่ชั้น 1-4
SSC (SERVICE SOLUTION CENTER) หรือ ศูนย์ส่งเสริมผู้ประกอบการ ที่จะคอยช่วยให้คำปรึกษาด้านการส่งออกและนำเข้าสินค้า รวมถึงการบริการด้านภาษา การจัดแสดงและนำเสนอผลิตภัณฑ์ให้กับผู้ประกอบการ จะอยู่บริเวณ ชั้น 2
นอกจากนี้ ในพื้นที่ชั้น M และชั้น 4 จะส่วนของ SHARE SHOP ที่ไว้คอยบริการผู้ประกอบการที่ยังต้องการขายสินค้า แต่ไม่มีพนักงานหรือเจ้าหน้าที่มาขายสินค้า ให้
พื้นที่การทดสอบสินค้า สำหรับลูกค้าที่ต้องการทดลองใช้สินค้าจริง ซึ่งจะเป็นกลุ่มเชฟทำอาหาร ที่ต้องการทดสอบว่าผลิตภัณฑ์ดังกล่าวเป็นไปตามที่ต้องการใช้งานหรือไม่ โดยจะอยู่บริเวณชั้น 5
การให้บริการด้านโลจิสติกส์ ถือเป็นหัวใจสำคัญในการทำให้ กระบวนการทางธุรกิจสมบูรณ์แบบ ทาง AWC จึงได้จัดพื้นที่บริเวณด้านหลังโครงการเป็นคลังสินค้าและจุดให้บริการโลจิสติกส์ ขณะที่ทุก ๆ ชั้นของอาคารรถกระบะขนาดเล็กสามารถขับขึ้นมารับ-ส่งสินค้าได้สะดวก
พื้นที่การให้บริการด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจนำเข้าและส่งออกอาหาร ซึ่งจะอยู่บริเวณชั้น 5
-พื้นที่สำหรับให้ผู้ประกอบการและลูกค้า ได้เจรจาธุรกิจ การซื้อขายและนำเข้าสินค้าต่าง ๆ ซึ่งจะอยู่บริเวณชั้น 5
พื้นที่สำหรับการจัดแสดงสินค้า จัดนิทรรศกาลแสดงสินค้า รวมถึงการนำสินค้ามาจัดรายการส่งเสริมการขาย ซึ่งจะอยู่บริเวณชั้น 1 และชั้น M
ส่วนบริเวณชั้น 6 พื้นที่จะถูกใช้เป็น CO-WORKING SPACE ,OFFICE และพื้นที่ MIX-USE
นอกจากพื้นที่ออฟไลน์ ที่ใช้เป็นจุดแสดงสินค้า การเจรจา ซื้อขาย นำเข้า-ส่งออกสินค้าแล้ว AWC ยังได้พัฒนาแพลตฟอร์มออนไลน์ Phenix Box สำหรับการทำธุรกรรมด้านสินค้าออนไลน์ที่ได้รับการออกแบบมาเพื่อตอบโจทย์ธุรกิจค้าส่ง ทั้งในแง่การบริการจัดการธุรกรรมที่ตรงกับธุรกิจได้ง่ายขึ้น อาทิ Bulk Purchase, Group Purchase, Multi-Level Procurement และการจัดส่งที่ครอบคลุม พร้อมสนับสนุนเครื่องมือทางการตลาดและโปรแกรมลูกค้าสัมพันธ์ผ่านระบบ Loyalty Program ให้ผู้ซื้อและผู้ขายสามารถพบปะเจรจาธุรกิจกันผ่านช่องทางดังกล่าวได้ตลอด 365 วัน และตลอด 24 ชั่วโมง เชื่อมต่อผู้ซื้อผู้ขายได้ทั่วโลก
การพัฒนา เออีซี ฟู้ด โฮเซล ประตูน้ำ ยังมีความร่วมมือกับพันธมิตร ซึ่งเป็นผู้ผลิตและจัดจำหน่ายสินค้าอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม รวมถึงหน่วยงานภาครัฐ และที่เกี่ยวข้องอีกมากมาย 15-16 ราย อาทิ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงอุตสาหกรรม และอี้อู (Yiwu) ผู้พัฒนาและบริหารตลาดค้าส่งสินค้าเบ็ดเตล็ดที่ใหญ่ที่สุดในโลกจากเมืองอี้อู สาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งได้มีการลงนามความร่วมมือเชิงกลยุทธ์กับทาง AWC เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา
สภาหอการค้าอังกฤษแห่งประเทศไทย หอการค้าไทย-จีน หอการค้าออสเตรเลีย-ไทย หอการค้าไทย-แคนาดา หอการค้าไทย-นิวซีแลนด์ หอการค้าสวิส-ไทย สมาคมหอการค้าไทย-สเปน บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) บริษัท ซีพีเอฟ โกล บอล ฟู้ด โซลูชั่น จำกัด (มหาชน) บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) บริษัท เบทาโกร จํากัด (มหาชน) บริษัท พี อาร์ จี คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) บริษัท ทิปโก้ฟูดส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) และบริษัท เคซีจี คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)
นางวัลลภา ไตรโสรัส ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท แอสเสท เวิรด์ คอร์ป จำกัด (มหาชน) หรือ AWC เปิดเผยว่า AWC เชื่อมั่นการรวมพลังของทั้งภาครัฐและเอกชน ในการร่วมขับเคลื่อนประเทศไทยเป็น “ศูนย์กลางค้าส่งอาหารของภูมิภาค” เชื่อมเครือข่ายค้าส่ง (WHOLESALE ECO-SYSTEM) ตอบโจทย์อนาคตครบวงจร เสริมโอกาสธุรกิจแบบไร้ขีดจำกัด ด้วยการพัฒนาแพลตฟอร์มค้าส่งที่เชื่อมโยงออนไลน์-ออฟไลน์ (ONLINE-OFFLINE INTEGRATION) ช่วยเพิ่มศักยภาพให้กับผู้ซื้อและผู้ขายให้สามารถทำธุรกรรมระหว่างกันได้สะดวกยิ่งขึ้นตลอดกระบวนการตั้งแต่ การสรรหาสินค้า ไปจนถึงการจัดส่งและชำระค่าสินค้า
นอกจากนี้การเปิดตัว “AEC FOOD WHOLESALE PRATUNAM” ในครั้งนี้ ยังเป็นการร่วมสนับสนุนประเทศไทยให้เป็นประตูเชื่อมของอุตสาหกรรมการค้าส่งในตลาด AEC หรือ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนกว่า 10 ประเทศสมาชิก ซึ่งถือเป็นตลาดที่มีศักยภาพสูงด้วยจำนวนประชากรรวมกว่า 700 ล้านคน อีกทั้งประเทศไทยยังมีศักยภาพในการเชื่อมต่อการค้าส่งไปยังประเทศต่างๆ ได้อย่างสะดวกผ่านโครงสร้างพื้นฐานด้านโลจิสติกส์ที่แข็งแกร่งอีกด้วย ซึ่งจะช่วยสนับสนุนให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางค้าส่งอาหารของภูมิภาคอย่างแท้จริง
โครงการ AEC FOOD WHOLESALE PRATUNAM จะเป็นเสมือนประตูเชื่อมที่จะพาผู้ประกอบการค้าส่งให้เติบโตได้อย่างก้าวกระโดดที่เชื่อมต่อโอกาสในรูปแบบใหม่ เพื่อตอบโจทย์อนาคตครบวงจร ผ่านเครือข่าย Eco-System ที่มี AWC และพันธมิตรจากทั้งภาครัฐและเอกชนเป็นตัวเชื่อมระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย พร้อมร่วมขับเคลื่อนอุตสาหกรรมค้าส่งของไทยสู่การเป็นศูนย์กลางค้าส่งอาหารของภูมิภาคอย่างแข็งแกร่งและยั่งยืน
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
-AWC เดินแผนขยายธุรกิจแสนล้าน เตรียมเปิดโรงแรมใหม่เพิ่มอีก 9 แห่ง