Tag : Interior

72 ผลลัพธ์
พรีโม เซอร์วิส โซลูชั่น ต่อยอด Super Living Service เข้าถือหุ้น โปรเจคส์เอเชีย

พรีโม เซอร์วิส โซลูชั่น ต่อยอด Super Living Service เข้าถือหุ้น โปรเจคส์เอเชีย

พรีโม เซอร์วิส โซลูชั่น เร่งขยายอาณาจักร Super Living Service ส่งบริษัทย่อย “ยูไนเต็ด โปรเจคต์ แมเนจเมนท์” เข้าถือหุ้น “โปรเจคส์เอเชีย” บิ๊กที่ปรึกษาทางวิศวกรรม และจัดการงานพัฒนาอสังหาฯครบวงจร หวังเสริมแกร่งธุรกิจบริหารงานก่อสร้าง เพิ่มขีดความสามารถการแข่งขัน ขยายฐานลูกค้าสู่การคุมงานโรงแรม ศูนย์การค้าขนาดใหญ่ อาคารสำนักงานเกรด A พร้อมรับรู้รายได้ทันทีจากธุรกิจในมือ ดันธุรกิจโตแบบก้าวกระโดดและยั่งยืน   นางสาวจตุพร วิไลแก้ว ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร  บริษัท พรีโม เซอร์วิส โซลูชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ PRI เปิดเผยว่า บริษัทยังคงเดินหน้าสร้างการเติบโตในทุกมิติ ภายใต้แนวคิด “Super Living Service” ทั้งกลุ่มต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ อย่างต่อเนื่อง ล่าสุด ได้ดำเนินการให้ บริษัท ยูไนเต็ด โปรเจคต์ แมเนจเมนท์ จำกัด หรือ UPM บริษัทในเครือ ซึ่งให้บริการบริหารงานก่อสร้างโครงการ เข้าซื้อกิจการ บริษัท โปรเจคส์เอเชีย จำกัด ธุรกิจที่ปรึกษาทางวิศวกรรม รวมถึงงานบริหารและควบคุมงานก่อสร้างโครงการอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งเคยมีผลงานดูแลงานขนาดใหญ่ระดับประเทศทั้งที่อยู่อาศัย โรงแรม อาคารสำนักงาน ศูนย์การค้า อาทิ 185 ราชดำริ, โรงแรมดิ โอกุระ เพรสทีจ กรุงเทพฯ, โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ แอท เซ็นทรัล ลาดพร้าว, อาคารปาร์ค เวนเชอร์ อีโคเพล็กซ์, อาคาร FYI Center, ไอคอนสยาม   การที่โปรเจคส์เอเชีย จะเข้ามาช่วยเติมฐานธุรกิจในกลุ่มต้นน้ำของเครือ PRI ใน 2 ด้าน ได้แก่ 1.ด้านการขยายฐานลูกค้า ช่วยให้ UPM เข้าถึงฐานลูกค้ารายใหญ่ในกลุ่มอสังหาริมทรัพย์เชิงพาณิชย์ เช่น โรงแรม อาคารสำนักงาน ห้างสรรพสินค้าได้มากขึ้น จากเดิมที่บริษัทมีฐานอยู่ในฝั่งที่อยู่อาศัยเป็นหลัก และ 2.ด้านองค์ความรู้และบุคลากร ช่วยให้บริษัทได้รับองค์ความรู้ ตลอดจนบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญและประสบการณ์เข้ามาร่วมงานเพิ่มเติมทันที ด้านผศ.ดร.อรุณ ศิริจานุสรณ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ของ UPM ผู้ให้บริการบริหารงานก่อสร้างโครงการ ในเครือ PRI กล่าวว่า บริษัทฯ ถือเป็นหนึ่งในกลุ่มธุรกิจต้นน้ำ - บริการก่อนเข้าอยู่อาศัย (Pre-Living Services) ที่มีอัตราการเติบโตสูงที่สุดในปี 2565 เมื่อเทียบกับกลุ่มธุรกิจอื่นของ PRI โดยมีอัตราการเติบโตถึง 3 เท่าจากปี 2564 ทำให้บริษัทมองหาโอกาสใหม่ๆ เพื่อให้สามารถเสริมแกร่งการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง   สำหรับการเข้าถือหุ้นครั้งนี้จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและขยายธุรกิจด้านที่ปรึกษาทางวิศวกรรม รวมถึงบริหารและควบคุมงานก่อสร้างโครงการขนาดใหญ่ รองรับลูกค้ากลุ่มใหม่ที่มีอัตราการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ขณะเดียวกัน ด้วยผลประกอบการที่แข็งแกร่งของโปรเจคส์เอเชีย จะทำให้เราสามารถรับรู้รายได้จากการให้บริการได้ทันที ช่วยผลักดันให้บริษัทก้าวสู่การเป็น Super Living Service ที่สามารถเติบโตได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน ขณะที่นายไบรอัน จอห์น ซิมมอนด์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท บริษัท โปรเจคส์เอเชีย จำกัด กล่าวว่า บริษัทมีความยินดีและภาคภูมิใจเป็นอย่างยิ่งกับการได้ร่วมธุรกิจกันในครั้งนี้ ถือได้ว่าเป็นความร่วมมือครั้งสำคัญของวงการอสังหาริมทรัพย์ไทยที่นำความแข็งแกร่งด้านงานที่ปรึกษาทางวิศวกรรม รวมถึงงานบริหารและควบคุมงานก่อสร้างโครงการของบริษัท มาผนวกรวมกับความโดดเด่นด้านงานบริการออกแบบสถาปัตยกรรม ของ UPM เข้าด้วยกัน เพื่อสร้างการเติบโตทางธุรกิจในอนาคต เพราะธุรกิจกลุ่มต้นน้ำเป็นกลุ่มธุรกิจที่ต้องการผู้ที่มีประสบการณ์และความชำนาญอย่างแท้จริง จากประสบการณ์อันยาวนานกว่า 33 ปีของโปรเจคส์เอเชีย ในธุรกิจที่ปรึกษา รวมถึงบริหารและควบคุมงานก่อสร้างโครงการขนาดใหญ่ระดับประเทศมากมาย จึงเชื่อมั่นได้ว่าบริษัทจะสามารถเป็นอีกหนึ่งพลังขับเคลื่อนให้ UPM และ PRI เติบโตได้อย่างแข็งแกร่งและยั่งยืน สำหรับ PRI เป็นผู้ดำเนินธุรกิจให้บริการที่เกี่ยวเนื่องกับอสังหาริมทรัพย์แบบครบวงจรชั้นนำของประเทศ มีประสบการณ์กว่า 11 ปี ปัจจุบัน ดำเนินธุรกิจภายใต้ 3 กลุ่มธุรกิจหลัก ได้แก่ 1.กลุ่มธุรกิจต้นน้ำ – บริการก่อนเข้าอยู่อาศัย (Pre-Living Services) อาทิ บริการที่ปรึกษาควบคุมงานก่อสร้าง บริการออกแบบด้านสถาปัตยกรรม งานโครงสร้าง งานโยธา และงานระบบ บริการจัดฝึกอบรมและพัฒนาทักษะบุคลากร 2.กลุ่มกลางน้ำ – บริการการจัดการเพื่อการอยู่อาศัย (Living Services) อาทิ บริการบริหารนิติบุคคลอาคารชุด บ้านจัดสรร ห้างสรรพสินค้า อาคาร และสำนักงาน บริการอพาร์ตเมนท์แบบพรีเมียม บริการซื้อ-ขาย-ปล่อยเช่าอสังหาริมทรัพย์ครบวงจร และ 3.กลุ่มปลายน้ำ - บริการหลังการขายที่อยู่อาศัย (Living & Earning Services) อาทิ บริการแม่บ้านและช่าง บริการออกแบบและตกแต่งภายใน   อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง -พรีโม ขาย IPO หุ้นละ 15 บาท 80 ล้านหุ้น วางเป้า Top 3 บริการด้านอสังหาฯ ​ -พรีโม เตรียม IPO ในปลายปีนี้ วางเป้าขึ้น Top3 ด้านบริการอสังหาฯ ​ครบวงจร
10 เรื่องอินไซต์อาคาร OCC  ตึกสูงสุดในไทย 317.95 เมตรของ RML

10 เรื่องอินไซต์อาคาร OCC ตึกสูงสุดในไทย 317.95 เมตรของ RML

10 เรื่องอินไซต์อาคาร OCC ตึกสูงสุดในไทย 317.95 เมตรของ RML ที่เบียดอาคารแมกโนเลียส์ วอเตอร์ฟร้อนท์ เรสซิเดนซ์ แอท ไอคอนสยามตกไปเป็นที่ 2   ถ้าวัดระดับความสูงของอาคารที่สูงที่สุดในไทยตอนนี้ คงต้องยกให้เป็นอาคารแมกโนเลียส์ วอเตอร์ฟร้อนท์ เรสซิเดนซ์ แอท ไอคอนสยาม ของบริษัท แมกโนเลีย ควอลิตี้ ดิเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) อาคารประเภทคอนโดมิเนียม ด้วยความสูงอาคาร 317.95 เมตร   แต่อีกไม่นาน จะมีอาคารแห่งใหม่ที่มาทำลายสถิติของแมกโนเลียส์ฯ และก้าวขึ้นเป็นอาคารสูงที่สุดในประเทศไทยแทน นั่นคื อาคาร OCC  (One City Centre) อาคารสำนักงานเกรดเอระดับลักชัวรี่แห่งใหม่ ในทำเลใจกลางเพลินจิต ซึ่งพัฒนาโดยบริษัท ไรมอน แลนด์ จำกัด (มหาชน) หรือ RML ร่วมทุนกับ มิตซูบิชิ เอสเตท หนึ่งในผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ชั้นนำ และมีชื่อเสียงยาวนานที่สุดของญี่ปุ่น   นายกรณ์ ณรงค์เดช ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร RML เปิดเผยว่า อาคาร OCC เกิดขึ้นจากความมุ่งหวังที่จะสร้างสุดยอดสถาปัตยกรรมแห่งใหม่ขึ้นในกรุงเทพฯ โดยจะเป็นแลนด์มาร์คใหม่ของเอเชีย ทั้งในฐานะที่ตั้งขององค์กรธุรกิจชั้นนำทั้งไทยและระดับโลก และยังเป็นจุดหมายปลายทางที่ทั้งคนไทยและนักเดินทางจากทั่วโลกอยากแวะเวียนมาเยือน การพัฒนาโครงการนี้ก้าวข้ามทุกขีดจำกัดแห่งจินตนาการ สู่การสร้างสรรค์โลกใบใหม่ภายใต้แนวคิด REIMAGINE YOUR WORLD โดยเป็นการผสานความร่วมมือกัน ระหว่างบริษัทออกแบบชั้นนำระดับโลกและบริษัทสถาปนิกที่มีชื่อเสียงของไทย ตั้งแต่การออกแบบสถาปัตยกรรม ตกแต่งภายใน ตลอดจนภูมิทัศน์ เพื่อให้ที่นี่เป็นหนึ่งในอาคารสำนักงานที่เป็นสุดยอดในประเทศไทย ซึ่งผนวกพื้นที่สำนักงานระดับลักชัวรี่และศูนย์กลางไลฟ์สไตล์เหนือระดับเข้าไว้ด้วยกัน   โดยบริเวณด้านหน้าอาคารเป็นพื้นที่สาธารณะ ที่เปิดให้ทุกคนมาพักผ่อนกับพื้นที่สีเขียวแห่งใหม่ ยาวตลอดด้านหน้าอาคาร รวมทั้งเสพงานศิลป์จากผลงานศิลปะหลายชิ้นของคุณโด่ง-พงษธัช อ่วยกลาง ศิลปินเเถวหน้าของเมืองไทย ที่มีรูปปั้นผลงานชิ้นเอกตั้งเรียงรายอยู่ด้านหน้า และด้านในอาคาร ภายในอาคารออกแบบฟังก์ชั่นเสริมสร้างแรงบันดาลใจในการทำงาน โดยมาพร้อมกับสิ่งอำนวยความสะดวกที่ล้ำสมัยและครบครัน นอกจากนี้ ยังมีร้านค้าในพื้นที่รีเทล คาเฟ่ บาร์ และร้านอาหารชั้นนำที่   โดยมีที่ปรึกษาในการวางแนวคิดการออกแบบอาคาร คือ สกิดมอร์, โอวิงส์ และเมอร์ริล ไทยแลนด์ (Skidmore, Owings & Merrill (Thailand) หรือ SOM (Thailand) บริษัทดีไซน์ชั้นนำระดับโลก ซึ่งทำงานร่วมกับ ดีไซน์ 103 อินเตอร์เนชั่นแนล (Design 103 International) บริษัทออกแบบสถาปัตยกรรมชั้นนำของไทยที่มีประวัติยาวนาน และมีผลงานอาคารระดับมาซเตอร์พีซมากมาย และแทนเดม อาร์คิเท็ค (2001) (Tandem Architects) บริษัทสถาปนิกแถวหน้าของไทยที่มีความเชี่ยวชาญด้านอาคารสูง โดยมี ฉมา (Shma) บริษัทภูมิสถาปัตย์ชั้นนำที่เชี่ยวชาญด้านภูมิทัศน์ ระบบนิเวศ และสิ่งแวดล้อมเป็นที่ปรึกษาด้านภูมิทัศน์ ดีดับเบิ้ลยูพี (ประเทศไทย) (DWP (Thailand)) บริษัทออกแบบและตกแต่งภายในชั้นนำ  เป็นที่ปรึกษาด้านการตกแต่งภายใน   นอกจากนี้ ยังมีออเรคอน คอนซัลติ้ง (ประเทศไทย) (Aurecon Consulting (Thailand)) ผู้นำด้านบริการงานออกแบบ ให้คำปรึกษาและบริหารงานทางวิศวกร เป็นที่ปรึกษาด้านงานระบบไฟฟ้า และงานระบบเครื่องกล ด้วยจุดมุ่งหมาย ในการสร้างอาคารสำนักงานลักชัวรี่ที่มีดีไซน์สุดล้ำ ผสมผสานระหว่างสถาปัตยกรรมระดับโลกและศิลปะวัฒนธรรมไทยเข้าด้วยกัน เห็นได้จากแผงแนวเฉียงที่พาดอยู่บนส่วนหน้าของอาคาร (façade) ซึ่งเป็นดีไซน์ที่มีความสอดคล้องลงตัวกับสภาพอากาศเมืองไทย โดยทำหน้าที่ลดความร้อนจากแสงอาทิตย์เข้าสู่อาคาร ด้านนายนพดล ตันพิวัฒน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ดีไซน์ 103 อินเตอร์เนชั่นแนล (D103i) บริษัทออกแบบชั้นนำของประเทศไทย กล่าวถึงการต่อยอดแนวคิดการออกแบบ OCC ว่า ได้วางภาพของ OCC ให้เป็นระบบนิเวศแบบสมาร์ทลิฟวิ่ง ที่ผสานเทคโนโลยีอาคารอันล้ำสมัย เพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพของระบบบริหารจัดการอาคาร ให้สามารถประหยัดพลังงานได้สูงสุด รวมทั้งส่งเสริมการบรรลุเป้าหมายในด้านความยั่งยืนด้วย แนวคิด REIMAGINE YOUR WORLD ของ OCC ประกอบด้วย: Reimagined Daily Work Rhythm – พื้นที่สำนักงานที่ OCC ได้รับการออกแบบอย่างพิถีพิถันเพื่อหล่อเลี้ยงพลังชีวิตของคนทำงาน สร้างความสุขให้กับช่วงเวลาทำงานโดยมีนวัตกรรมที่ทันสมัย Reimagined Daily Green Intake - ด้วยเป้าหมายที่จะนำต้นไม้และธรรมชาติกลับมาสู่วิถีคนเมืองในกรุงเทพฯ OCC เป็นศูนย์กลางการใช้ชีวิตใจกลางเมืองที่เขียวชอุ่มที่สุดในย่านเพลินจิต ด้วยพื้นที่สีเขียวกว่า 5,000 ตร.ม. Reimagined Office Space Possibilities - ด้วยโครงสร้างอาคารที่ไม่มีเสาคั่นกลาง ผู้เช่าจึงสามารถออกแบบ เลย์เอาต์สำนักงานได้อย่างอิสระตามความต้องการ สร้างสรรค์พื้นที่สำนักงานที่ดีที่สุดได้อย่างใจ Reimagined Retail and Food Selection - OCC มาพร้อมกับพื้นที่รีเทล คาเฟ่ บาร์ และร้านอาหารที่คัดสรรมาอย่างมีเอกลักษณ์ไม่เหมือนใคร รวมถึงบาร์และภัตตาคารหรูบนชั้นดาดฟ้าที่จะกลายเป็นทอล์คออฟเดอะทาวน์และเป็นหนึ่งในรูฟท็อปเดสทิเนชั่นที่ดีที่สุดในเอเชีย Reimagined Journey In and Out – สุดท้ายนี้ การเดินทางเข้าและออกจากอาคาร OCC ง่ายและสะดวกสบายติดสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสเพลินจิต โดยใช้เวลาเดินเพียง 2 นาทีจากบีทีเอส และสามารถเดินเชื่อมต่อเข้าไปในอาคารผ่าน Sky Bridge ได้เลย หรือถ้าขับรถมาก็อยู่ห่างจากทางด่วนเพลินจิต เพียง 200 เมตร 10 เรื่อง OCC ตึกสูงสุดในไทย นอกจากนั้น 10 อินไซต์ต่อไปนี้จะช่วยขยายความแนวคิดของ OCC ให้เห็นภาพชัดเจนยิ่งขึ้นในการเปิดมิติใหม่สู่โลกของอาคารออฟฟิศและสุดยอดศูนย์กลางไลฟ์สไตล์แห่งอนาคต 1.แลนด์มาร์คใหม่เหนือเส้นขอบฟ้ากรุงเทพฯ OCC คืออาคารสำนักงานที่สูงที่สุดในไทยในปัจจุบัน ด้วยความสูง 275.76 เมตร และจะกลายเป็นแลนด์มาร์กใหม่อันโดดเด่น รวมทั้งไฮไลต์คือรูฟท็อปเดสทิเนชั่นบนชั้นดาดฟ้า ที่น่าตื่นตาตื่นใจที่สุดแห่งหนึ่ง พร้อมทัศนียภาพที่สวยเหนือคำบรรยายของกรุงเทพฯ 2.สถาปัตยกรรมชิ้นเอกของโลก ตัวอาคารแบ่งออกเป็นสองส่วนหลักที่มีลักษณะตรงกันข้าม คือส่วนแกนกลางเป็นแท่งทึบรูปทรงที่เพรียวบางหันสู่ทิศตะวันตก และส่วนผนังกระจกใสตลอดความยาวตึกซึ่งเป็นพื้นที่ออฟฟิศหันสู่ทิศตะวันออก รวมทั้งพื้นที่สีเขียวตามจุดต่าง ๆ ทั้งพื้นที่โถงใหญ่กลางอาคาร (Atrium) ระเบียง และสวนหย่อมกระจายอยู่ทั่วอาคาร 3.ความยั่งยืน + สุขภาวะของผู้ใช้อาคาร เริ่มต้นที่จากถนนหน้าอาคาร พื้นที่สีเขียวอันกว้างขวางซึ่งส่งผลให้พื้นที่ส่วนกลางของโครงการมีบรรยากาศที่เย็นสบาย เป็นประโยชน์ทั้งสำหรับผู้ใช้อาคารและตัวเมืองกรุงเทพฯ เมื่อเข้ามาสู่ภายในอาคาร การออกแบบเพดานสูงเปิดรับทั้งแสงธรรมชาติให้ส่องเข้ามาได้อย่างเต็มที่ รวมทั้งทิวทัศน์กรุงเทพฯ แบบพาโนรามาอันน่าหลงใหล เป็นการลดทั้งการใช้พลังงานและช่วยสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่สบายและผ่อนคลาย และงานระบบอาคารต่าง ๆ อันล้ำสมัย ทั้งเครื่องกล ไฟฟ้า และประปา (MEP) ช่วยให้อากาศภายในสะอาดบริสุทธิ์ 4.การออกแบบและก่อสร้างที่อาศัยเทคโนโลยีดาต้า การพัฒนาโครงการ OCC มีการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลที่ล้ำสมัยที่สุด เช่น การสร้างแบบจำลองข้อมูลอาคาร (BIM) โดยใช้ข้อมูลอาคารเพื่อช่วยให้การออกแบบ การก่อสร้าง       และการดำเนินงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น ส่งผลดีต่อโครงการทั้งด้านการประหยัดต้นทุน ความยั่งยืน รวมทั้งก่อสร้างได้อย่างรวดเร็วและปลอดภัย 5.โซลูชั่นออฟฟิศสุดเหนือระดับ พื้นที่ทำงานภายใน OCC ได้รับการออกแบบให้มีความยืดหยุ่นและสามารถปรับเปลี่ยนได้ในอนาคตเพื่อรองรับความต้องการในการทำงานที่แตกต่างกันและเปลี่ยนแปลงไป โดยมีระเบียงบนชั้น 14 และ 61 เป็นพื้นที่พักผ่อนอีกหนึ่งจุด รวมทั้งพบปะสังสรรค์ในโอกาสต่างๆ ระบบกรองอากาศในอาคารใช้แผ่นกรองประสิทธิภาพสูง MERV14 ช่วยให้อากาศภายสะอาดและสดชื่นตลอดเวลา 6.ประสบการณ์อัจฉริยะเพื่อผู้เช่า OCC ติดตั้งเทคโนโลยีอัจฉริยะเพื่อสร้างประสบการณ์ที่เหนือระดับแก่ผู้เช่า เช่น แอปพลิเคชั่นมือถือสำหรับผู้เช่าอาคาร ระบบจดจำใบหน้า และระบบจดจำป้ายทะเบียนรถอัตโนมัติ มอบความสะดวกสบายด้วยระบบไร้สัมผัส ตั้งแต่การเข้า-ออกที่จอดรถ ลิฟต์ และอาคารสำนักงาน รวมทั้งการจองใช้บริการสิ่งอำนวยความสะดวกส่วนกลางและร้านอาหารผ่านโมบายแอป 7.รางวัลและการรับรองมาตรฐานระดับนานาชาติ OCC ได้รับรางวัลการพัฒนาอาคารสำนักงานแห่งปี (Office Development of the Year) จากเวที Real Estate Asia Awards 2021 และยังเป็นอาคารสำนักงานแห่งแรกในประเทศไทยที่ได้รับการรับรอง Fitwel ในระดับ 2 ดาวจาก Center for Active Design (CfAD ) ในหมวด Multi-Tenant Building ในฐานะอาคารที่มีคุณภาพการบริหารจัดการอันโดดเด่นและสร้างสุขภาวะที่ดีเยี่ยมให้กับผู้ใช้อาคาร และอยู่ในระหว่างการยื่นขอการรับรองมาตรฐาน LEED Gold สำหรับการออกแบบ การก่อสร้าง และการดำเนินงานของอาคารที่มีความยั่งยืน 8.สุดยอดรูฟท็อปเดสทิเนชั่นใจกลางกรุง บนชั้น 58 และ 61 ของอาคารคือสเปซแห่งการดื่มด่ำกับมื้ออาหารสุดพิเศษ ด้วยบาร์และภัตตาคารสุดหรู ดีไซน์และตกแต่งทุกรายละเอียดอย่างเหนือระดับพร้อมทิวทัศน์กรุงเทพฯ แบบ            พาโนรามา 360 องศา รวมทั้งภาพโค้งน้ำเจ้าพระยาที่สะกดทุกสายตาอย่างไม่มีอะไรมาขวางกั้น ซึ่งแน่นอนว่าจะเป็นหนึ่งในจุดหมายปลายทางยอดนิยมสำหรับผู้มีไลฟ์สไตล์แห่งการกินดื่มอันละเมียดทุกคน ทั้งชาวไทยและนานาชาติ 9.ผสานกลมกลืนเป็นหนึ่งเดียวกับชุมชน ที่ตั้งโครงการแต่เดิมเป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่สีเขียวที่ประวัติความเป็นมายาวนาน ซึ่งได้รับการอนุรักษ์ให้คงเดิมมากที่สุด โดยออกแบบด้วยการเพิ่มพื้นที่เปิดโล่งหันหน้าสู่ถนนด้านหน้าได้เต็มที่ และยกพื้นที่กลางแจ้งทั้งหมดนี้ให้เป็นสวนสาธารณะที่ทุกคนสามารถใช้ประโยชน์ได้ 10.สุดยอดทำเลใจกลางเมือง บนพื้นที่ 6 ไร่ ตรงข้ามศูนย์การค้าเซ็นทรัล เอ็มบาสซี ใช้เวลาเดินเพียง 2 นาทีจากสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสเพลินจิต และมีทางเชื่อมลอยฟ้าจากอาคารเข้าสู่สถานีโดยตรง รวมทั้งอยู่ห่างจากจุดขึ้น-ลงทางด่วนเพลินจิตเพียง 200 เมตร   ทั้งหมดนี้ คือ 10 เรื่องอินไซต์อาคาร OCC ตึกสูงสุดในไทย 317.95 เมตรของ RML ที่เบียดอาคารแมกโนเลียส์ วอเตอร์ฟร้อนท์ เรสซิเดนซ์ แอท ไอคอนสยามตกไปเป็นที่ 2   อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง -ไรมอนแลนด์ ปั้น แบรนด์เด็ดเรสซิเดนซ์ ขายวิลล่าหลังละ 1,000 ล้าน พร้อมสู่ธุรกิจ New Economy สร้างรายได้ประจำ
ทอสเท็ม ฉลอง 100 ปี ตั้งเป้าโต 20%  เดินหน้าขยายโชว์รูมบุกตลาดคอนซูเมอร์

ทอสเท็ม ฉลอง 100 ปี ตั้งเป้าโต 20% เดินหน้าขยายโชว์รูมบุกตลาดคอนซูเมอร์

ทอสเท็ม (TOSTEM) ฉลองครบรอบ 100 ปี การผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ประตู-หน้าต่างอะลูมิเนียมสำเร็จรูป  รุกตลาดปี 2566 เปิดตัวนวัตกรรมสีใหม่ “DUSK GRAY” ชูจุดเด่นด้วยเทคโนโลยีหนึ่งเดียวในอุตสาหกรรมการชุบสีอะลูมิเนียมด้วยกระแสไฟฟ้าระบบอะโนไดซ์และเคลือบผิวด้วยระบบ TEXGUARD พร้อมขนทัพนวัตกรรมเรือธงและผลิตภัณฑ์ใหม่ที่สามารถตอบโจทย์ลูกค้าทุกเซกเมนต์ พร้อมเดินหน้าขยายโชว์รูมครอบคลุมทั่วประเทศ จับตลาดคอนซูเมอร์ ตั้งเป้ายอดขายปีนี้โต 20%   นายวิชา วรสายัณห์ ลีดเดอร์ กลุ่มธุรกิจเฮาส์ซิ่งเทคโนโลยี บริษัท แอล เอช ที เอเซีย เซลส์ แอนด์ มาร์เก็ตติ้ง จำกัด ผู้ผลิตประตูหน้าต่างอะลูมิเนียมแบรนด์ ทอสเท็ม (TOSTEM)  เปิดเผยถึงแผนการดำเนินธุรกิจในปี 2566 ว่า หลังจากเดินหน้าพัฒนานวัตกรรมที่ตอบโจทย์ลูกค้ามาอย่างยาวนานถึง 100 ปีในประเทศญี่ปุ่น และครบ 40 ปีในการตั้งโรงงานประเทศไทย ถึงเวลาก้าวเข้าสู่ศตวรรษใหม่ในปีนี้พร้อมตอกย้ำความเป็นผู้นำ ในงานสถาปนิก’66 (Architect Expo 2023) งานแสดงเทคโนโลยีสถาปัตยกรรม และผลิตภัณฑ์ก่อสร้างใหญ่ที่สุดในอาเซียน ด้วยการเปิดตัวนวัตกรรมสีใหม่ “DUSK GRAY” ซึ่งเป็นนวัตกรรมล่าสุดและหนึ่งเดียวในอุตสาหกรรมการชุบสีอะลูมิเนียมด้วยกระแสไฟฟ้าระบบอะโนไดซ์และเคลือบผิวด้วยระบบ TEXGUARD   นอกจากนี้ บริษัทได้ขนทัพนวัตกรรมเรือธงและผลิตภัณฑ์ใหม่ อาทิ GRANTS ดีไซน์ใหม่ เพื่อเปิดมุมมองให้ลูกค้าได้มีความสุขกับทิวทัศน์ภายนอกได้อย่างเต็มสายตา GRANTS Corner Sliding Doors นวัตกรรมโซลูชั่นที่มอบทิวทัศน์แบบพาโนรามาที่ไร้สิ่งกีดขวาง ขยายขนาดพื้นที่พักผ่อนด้วยบานเลื่อนเข้ามุมที่เลื่อนเปิดบานออกโดยไม่เหลือเสามุมบดบังสายตา ผลิตภัณฑ์ประตูบานเลื่อนเข้ามุมบนรางเรียบ ดีไซน์เพื่อเชื่อมต่อสเปซภายในและภายนอกตัวบ้านด้วยดีไซน์แบบเข้ามุมที่เลื่อนเปิดออกได้โล่ง เหมาะสำหรับพื้นที่พักผ่อน ที่ได้ใช้ประโยชน์จากพื้นที่ และรับแสงสว่างธรรมชาติได้สูงสุด กลุ่มผลิตภัณฑ์ ATIS กับ Streamline Design ดีไซน์ไร้รอยต่อที่มาพร้อมกับ อุปกรณ์อันสวยงาม เส้นกรอบ พื้นผิวกรอบประตูหน้าต่างและการใช้งานทำงานร่วมกันอย่างนุ่มนวล และบานหน้าต่างรูปแบบใหม่ที่สามารถใช้งานได้สะดวกมากขึ้น รวมถึง Smart Insect Screen นวัตกรรมมุ้งลวดล่องหน ที่ช่วยป้องกันแมลงและมลพิษจากภายนอกมุ้งลวดที่สามารถเพิ่มการมองเห็น เชื่อมต่อพื้นที่ภายในและภายนอกได้มากขึ้น โดยทอสเท็มพร้อมจัดโปรโมชั่นพิเศษและกิจกรรมทางการตลาดมาร่วมในงานสถาปนิก’66 ครั้งนี้กับส่วนลด 10% สำหรับทุกผลิตภัณฑ์ของทอสเท็มและลุ้นรับตั๋วเครื่องบิน (ไป-กลับ) ประเทศญี่ปุ่น จำนวน 5  รางวัล / รางวัลละ 2 ที่นั่ง   นายวิชา กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า สำหรับภาพรวมการดำเนินธุรกิจในปี 2566 ได้ตั้งเป้าหมายยอดขายรวมเพิ่มขึ้น 20% จากปีที่แล้ว โดยในช่วงสถานการณ์ก่อนโควิด-19 ระบาด รายได้ส่วนใหญ่ของทอสเท็มประมาณ 80% มาจากตลาดอสังหาริมทรัพย์แบบโครงการหรืออสังหาริมทรัพย์เชิงพาณิชย์ แต่หลังวิกฤตโควิด-19 เริ่มมีสัดส่วนรายได้จากตลาดลูกค้าที่อยู่อาศัยรายย่อยเพิ่มมากขึ้น จาก 20% เป็น 30% ของยอดขายทั้งหมด   ทั้งนี้ ทางทอสเท็มวางแผนที่จะขยายตลาดไปยังกลุ่มลูกค้าอยู่อาศัย (Retails) มากขึ้น พร้อมขยายส่วนแบ่งการตลาดกลุ่มรายได้สูง  Upper mass – Luxury segment เพราะพฤติกรรมของลูกค้าที่เปลี่ยนไป คืออยู่บ้านมากขึ้นจึงเลือกมองหาอุปกรณ์ในบ้านเอง ได้เลือกซื้อ สัมผัส ทดลอง และเห็นสินค้าจริงเพื่อนำไปปรับปรุงบ้านให้อยู่อาศัยอย่างสะดวกสบายมากขึ้น  ซึ่งทอสเท็มได้วางแผนกลยุทธ์การตลาดที่จะขยายสัดส่วนลูกค้ารายย่อยกลุ่มนี้ต่อไป   ทอสเท็มได้เพิ่มช่องทางการเข้าถึงให้ผู้บริโภคได้เลือกซื้อ สัมผัส ทดลอง และเห็นสินค้าจริงผ่าน TOSTEM Flagship Showroom โดยปัจจุบันทอสเท็มมีโชว์รูมและเดโม่รูมอยู่ในกรุงเทพฯ และตามหัวเมืองทั้งหมด 4 แห่ง ได้แก่ ทอสเท็มแฟลกชิปโชว์รูม (TOSTEM Flagship Showroom) ที่คริสตัล ดีไซน์ เซ็นเตอร์, ทอสเท็มโชว์รูม ในบุญถาวร สาขาราชพฤกษ์,  ทอสเท็ม เดโม่รูมในจังหวัดเชียงใหม่ และจังหวัดภูเก็ต รวมถึงยังผนึกกำลังกับพันธมิตรทางธุรกิจขยาย TOSTEM Studio ที่บริหารโดยตัวแทนจำหน่าย ขยายโชว์รูมในพื้นที่จริงให้ครอบคลุมในต่างจังหวัดโดยเน้นหัวเมืองใหญ่และเมืองท่องเที่ยว เพื่อหวังขยายตลาดลูกค้ากลุ่มที่อยู่อาศัย, รีสอร์ท และบริษัทรับสร้างบ้านในพื้นที่ดังกล่าว โดยขณะนี้ได้ทำการเปิด TOSTEM Studio ไปแล้ว 4  แห่ง ในจังหวัดปทุมธานี พิษณุโลก อุดรธานี และขอนแก่น และมีแผนจะเปิดเพิ่มอีก 10 แห่ง ได้แก่ จังหวัดเชียงราย อุบลราชธานี นครราชสีมา กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ ชลบุรี ระยอง กาญจนบุรี เพชรบุรี สงขลา โดยคาดภายในสิ้นปี 2566 ทอสเท็ม จะสามารถขยายโชว์รูมครอบคลุมได้ครบทั่วทุกภูมิภาคทั่วประเทศ   อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง -[PR News] ทอสเท็มเปิดตัว “ATIS” นวัตกรรมประตูหน้าต่างรวม 2 ฟังก์ชั่นในหนึ่งบาน
“ดิ โอลด์ สยาม พลาซ่า” เปลี่ยนไป  ปรับ 4 โซนใหม่ ครั้งใหญ่รอบ  30 ปี

“ดิ โอลด์ สยาม พลาซ่า” เปลี่ยนไป ปรับ 4 โซนใหม่ ครั้งใหญ่รอบ  30 ปี

ดิ โอลด์ สยาม พลาซ่า ฉลองครบรอบ 30 ปี ทุ่มงบกว่า 400 ล้าน อวดโฉมใหม่ “ศูนย์กลางธุรกิจ – ไลฟ์สไตล์ชอปปิ้ง - บ้านพักอาศัย” ใจกลางเกาะรัตนโกสินทร์ บนสุดยอดทำเลการค้า “พาหุรัด – ตรีเพชร – เจริญกรุง - บูรพา” ดึงแบรนด์ดังเสริมทัพส่วนพลาซ่า และศูนย์อาหาร เติมสีสันวิถีชีวิต ดันกราฟธุรกิจเติบโตมั่งคั่งและยั่งยืน   นายอภิชัย สิริดำรงพันธุ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการกลุ่มธุรกิจอาคารพาณิชย์ บริษัท สยามสินธร จำกัด  เปิดเผยว่า บริษัทมุ่งมั่นพัฒนา “ดิ โอลด์ สยาม พลาซ่า” ให้เป็นศูนย์กลางการค้าและชอปปิ้งของผู้คนทั้งในกรุงเทพฯ และคนต่างจังหวัด ที่เดินทางเข้ามาติดต่อธุรกิจกับร้านค้าพันธมิตร ซึ่งภาพความสำเร็จดังกล่าวได้เกิดขึ้นมาอย่างยาวนานร่วม 30 ปี นับตั้งแต่เปิดให้บริการอย่างเป็นทางการในปี 2536 เป็นต้นมา และในครั้งนี้จะเป็นอีกก้าวที่สำคัญกับแผนพัฒนา  “ปรับโฉม” ดิโอลด์ สยาม พลาซ่า ให้เป็นศูนย์กลาง “ธุรกิจ  -ไลฟ์สไตล์ชอปปิ้ง - บ้านพักอาศัย” ให้เต็มไปด้วยสีสันและประสบการณ์ใหม่ให้กับผู้คนในย่านนี้ และรองรับนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เพิ่มมากขึ้นทุกปี มิกซ์ยูสที่เป็นมิตรใกล้ชิดย่านการค้า “ดิ โอลด์ สยาม พลาซ่า” แหล่งธุรกิจที่มีเอกลักษณ์ และเจริญมั่นคงมายาวนาน เป็นศูนย์รวมร้านทองส่ง แหล่งผลิตเครื่องประดับ เพชร ปืน ผ้าไทย อีกทั้งยังเป็นแหล่งรวมผ้าไหมที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศ นำเข้าผ้าลูกไม้จากต่างประเทศ ศูนย์รวมอาหาร ขนมไทยที่ขึ้นชื่อ และบ้านพักอาศัยที่อยู่สบายใจกลางเมืองติดรถไฟฟ้า นับเป็นโครงการมิกซ์ยูสแห่งแรกบนเกาะรัตนโกสินทร์ และเป็นพลาซ่าที่ใหญ่ที่สุดในทำเลนี้ บนที่ดิน 13.61 ไร่ ซึ่งเดิมเป็นตลาดมิ่งเมืองที่ได้ชื่อว่าเป็นย่านการค้าหลักของกรุงเทพฯ อย่างยาวนาน   ด้วยความโดดเด่นของทำเลที่ตั้ง อยู่ติดกับถนนสายการค้าทั้ง 4 ด้าน คือ พาหุรัด ตรีเพชร เจริญกรุง บูรพา ทำให้มีผู้คนไหลเวียนเข้ามาใช้บริการอย่างต่อเนื่อง รวมถึงนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เข้ามาเที่ยวชม สถานที่สำคัญใกล้เคียง อาทิ พระบรมมหาราชวังฯ วัดพระแก้ว ชมการแสดงโขนที่ศาลาเฉลิมกรุง แวะทานอาหารและขนมไทยที่ศูนย์การค้าฯ นอกจากความเป็นเอกลักษณ์ของย่านการค้าที่เต็มไปด้วยเสน่ห์และความหลากหลายของสินค้าและบริการ เช่น ผ้าไหม ร้านเพชร และขนมไทยที่หาทานได้ยากจะรวมอยู่ที่นี่แล้ว ในด้านการเดินทางมีความสะดวกสบาย ทั้งโดยรถยนต์ส่วนตัว ซึ่งทางศูนย์การค้าฯ มีบริการที่จอดรถมากกว่า 1,100 คัน หรือสะดวกสบายเดินทางโดยรถไฟฟ้า MRT สถานีสามยอด แลนด์มาร์ค "ธุรกิจ – ไลฟ์สไตล์ชอปปิ้ง - เรสซิเดนซ์" แผนพัฒนา “ดิ โอลด์ สยาม” เดินหน้าปรับพื้นที่ภายในและภายนอกทั้งหมด ทั้งในส่วนพลาซ่า และบ้านพักอาศัย โดยคงเอกลักษณ์ของอาคารในสไตล์โคโลเนียลที่มีความคลาสสิค บนพื้นที่ให้บริการ 98,500 ตารางเมตร   ในส่วนของพลาซ่า พื้นที่รวม 17,945 ตารางเมตร เตรียมออกแบบและตกแต่งให้มีความร่วมสมัยมากขึ้น พร้อมปรับพื้นที่ร้านค้าให้ตอบโจทย์ความต้องการทั้งลูกค้ากลุ่มธุรกิจ (B2B : Business to Business) และ ลูกค้ากลุ่มค้าปลีก (B2C : Business to Consumer)   โดยพื้นที่พลาซ่า ชั้น 1 ยังคงเป็นแหล่งรวม ร้านเพชร ร้านทองส่งชั้นนำ ผ้าลูกไม้นำเข้า ร้านเครื่องประดับ และขนมไทยโบราณที่มีชื่อเสียงมายาวนาน   พื้นที่พลาซ่า ชั้น 2 เป็นศูนย์รวมผ้าไหม เครื่องประดับ ห้องเสื้อ ชุดราตรี ชุดแต่งงาน ที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศ   พื้นที่พลาซ่า ชั้น 3 พบกับโฉมใหม่ ศูนย์รวมร้านอาหาร และ มาร์เก็ต ที่เตรียมยกระดับให้เป็น Food Experience แห่งใหม่ของย่านนี้ ที่จำหน่ายสินค้าและให้บริการที่จะอำนวยความสะดวก และตอบสนองความต้องการของลูกค้ามากขึ้น   ในส่วนของชั้น 4 เป็นพื้นที่บ้านพักอาศัย (Residence) ประกอบด้วย 128 ยูนิต ขนาดพื้นที่เริ่มต้น 95 ตารางเมตร แบบ Duplex 2 ห้องนอน ห้องรับแขกขนาดใหญ่ 1 ห้องครัว  2 ห้องน้ำ พื้นที่รวมทั้งหมด 13,000 ตารางเมตร เตรียมปรับโฉมในคอนเซ็ปต์ที่ทันสมัย พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน ทั้ง Lobby , Outdoor Living , Meeting Room , Fitness และ Sky Pavilion โดยมุ่งไปกลุ่มคนทำงาน นักเรียน นักศึกษา ในพื้นที่ใกล้เคียง และกลุ่มครอบครัวที่ต้องการความสะดวกสบายในการใช้ชีวิตและการเดินทาง ในราคาเริ่มต้น 3.2 ล้านบาท ส่งต่อธุรกิจมั่งคั่งสู่เจเนอเรชั่นใหม่ สำหรับแนวทางการพัฒนา “ดิ โอลด์ สยาม พลาซ่า” ในครั้งนี้นอกจากการปรับปรุงอาคารให้มีความทันสมัย สินค้าที่มีเอกลักษณ์และมีความหลากหลาย รวมถึงบริการที่ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ของคนทุกช่วงวัย ยังมาพร้อมแนวคิดของการต่อยอดและสร้างโอกาสทางธุรกิจให้เกิดขึ้น  โดยการปรับรูปแบบการให้เช่าพื้นที่ ที่ครอบคลุมความต้องการ และสนับสนุนให้ผู้ประกอบการมีความคล่องตัว ทั้งแบบสัญญาเช่าระยะสั้น และสัญญาเช่าระยะยาว เพื่อให้เอื้อต่อการทำธุรกิจและการพักอาศัย จุดเด่นของดิ โอลด์ สยาม พลาซ่า คือ ร้านค้ามากกว่า 50% เป็นธุรกิจที่ขายให้กับธุรกิจ หรือ B2B โดยเป็นกลุ่มธุรกิจที่มีกำลังซื้อสูง เพื่อสร้างโอกาสทางธุรกิจให้ผู้ประกอบการจากรุ่นสู่รุ่น อาทิ ธุรกิจร้านเครื่องประดับ ร้านเพชร  หากต้องการเพชรคุณภาพระดับพรีเมี่ยม หรือ ร้านทองส่ง ให้นึกถึง ดิ โอลด์ สยาม พลาซ่า อีกก้าวใหม่ของความสำเร็จ นายอภิชัย กล่าวว่า จากประสบการณ์และความมุ่งมั่นของทีมงาน ที่พัฒนาโครงการ  “เวลา สินธร วิลเลจ หลังสวน” (Velaa Sindhorn Village Langsuan) ซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี ในการบริหารพื้นที่ ที่เข้าถึงไลฟ์สไตล์และความต้องการของคนเมือง   ในการพัฒนา “ดิ โอลด์ สยาม พลาซ่า” ครั้งนี้ก็เช่นกัน ทีมงานมีความมุ่งหวังที่จะเติมสีสันให้กับผู้คนในย่านนี้ และผลักดันธุรกิจให้เติบโตได้อย่างยั่งยืน โดยวางแผนเพิ่มผู้เช่าในกลุ่มร้านค้าและบริการอื่นๆ เพื่อรองรับความต้องการ ในกลุ่ม B2C ให้มากยิ่งขึ้น เน้นการสร้าง One stop service อีกแห่งใจกลางเมือง พร้อมรับกลุ่มคนรุ่นใหม่และนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ มาใช้บริการภายในศูนย์การค้าฯ มากยิ่งขึ้น   อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง -“สยามสินธร” ดึง “เคมปินสกี้” แบรนด์โรงแรมชั้นนำระดับโลก สร้างสรรค์โครงการใหม่ ที่พักอาศัยและโรงแรมระดับ 5 ดาว
คอตโต้ จับ 5 บริษัทรวมกลุ่มสู่ SCG Decor  ลุยตลาดวัสดุตกแต่งพื้นผิวและสุขภัณฑ์

คอตโต้ จับ 5 บริษัทรวมกลุ่มสู่ SCG Decor ลุยตลาดวัสดุตกแต่งพื้นผิวและสุขภัณฑ์

คอตโต้ จับ 5 บริษัทในกลุ่มธุรกิจวัสดุตกแต่งพื้นผิวและสุขภัณฑ์ รวมเป็นหนึ่งเดียว สู่กลุ่ม SCG Decor บุกตลาดอาเซียน ขยายฐานจับลูกค้ากว่า 560 ล้านคน หวังเติบโตถึง 6 เท่า ชู 5 กลยุทธ์สู่ความสำเร็จ​ ​   นายนำพล มลิชัย กรรมการผู้จัดการ บริษัทเอสซีจี เซรามิกส์ จำกัด (มหาชน) หรือ คอตโต้ (COTTO) และประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เอสซีจี เดคคอร์ จำกัด หรือ SCG Decor เปิดเผยว่า COTTO เป็นบริษัทที่เติบโตต่อเนื่องและมีผลประกอบการที่ดี โดยมียอดขายกระเบื้องปูพื้น บุผนัง เป็นอันดับ 1 ในประเทศไทย ด้วยส่วนแบ่งการตลาด 33.0%  อีกทั้งนักลงทุนให้ความสนใจและเชื่อมั่นด้วยดีตลอดมา   อย่างไรก็ตาม COTTO ยังมีโอกาสขยายตลาดให้ครอบคลุมทุกวัสดุตกแต่งพื้นผิว ดังนั้นการปรับโครงสร้างโดยการขยายสินค้าให้ครอบคลุมทุกวัสดุตกแต่งพื้นผิวและสุขภัณฑ์ พร้อมทั้งขยายธุรกิจไปยังตลาดอาเซียนที่มีศักยภาพสูง ภายใต้ SCG Decor นับเป็นก้าวสำคัญในการสร้างความแข็งแกร่งให้ธุรกิจเติบโตยิ่งขึ้น รวม 5 บริษัทสู่ SCG Decor SCG Decor เป็นบริษัทแกนหลักของ เอสซีจี ในการประกอบธุรกิจตกแต่งพื้นผิวและสุขภัณฑ์ (Decor Surfaces & Bathroom) พร้อมช่องทางจัดจำหน่ายทั่วทั้งภูมิภาคอาเซียน โดยมีกลุ่มบริษัทย่อยที่ประกอบธุรกิจในประเทศไทย ประเทศเวียดนาม ประเทศฟิลิปปินส์ และประเทศอินโดนีเซีย ได้แก่   1.บริษัท เอสซีจี เซรามิกส์ จำกัด (มหาชน) หรือ COTTO ดำเนินธุรกิจผลิตและจำหน่ายกระเบื้องปูพื้นและบุผนังในประเทศไทย มียอดขายกระเบื้องเซรามิกเป็นอันดับ 1 ในประเทศ ด้วยส่วนแบ่งการตลาด 33.0%   2.บริษัท สยามซานิทารีแวร์ จำกัด (SSW) ดำเนินธุรกิจผลิตและจำหน่ายสุขภัณฑ์ในประเทศไทยและส่งออกไปต่างประเทศ มียอดขายสุขภัณฑ์เป็นอันดับ 1 ในประเทศ ด้วยส่วนแบ่งการตลาด 32.8%   3.Prime Group ดำเนินธุรกิจผลิตและจำหน่ายกระเบื้องปูพื้นและบุผนังในประเทศเวียดนาม มียอดขายเป็นอันดับ 1 ในประเทศ ด้วยส่วนแบ่งการตลาด 26.4%   4.บริษัท Mariwasa-Siam Ceramics, Inc (MSC) ดำเนินธุรกิจผลิตและจำหน่ายกระเบื้องปูพื้นและบุผนังในประเทศฟิลิปปินส์ มียอดขายเป็นอันดับ 1 ในประเทศ ด้วยส่วนแบ่งการตลาด 16.8%   5.PT Keramika Indonesia Assosiasi, Tbk (KIA) ดำเนินธุรกิจผลิตและจำหน่ายกระเบื้องปูพื้นและบุผนังในประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งมีประชากร 274 ล้านคน สูงที่สุดในภูมิภาคอาเซียน   นายนำพล กล่าวว่า  การรวมแต่ละบริษัทในกลุ่มธุรกิจกระเบื้องปูพื้น บุผนัง และสุขภัณฑ์ของ เอสซีจี เข้ามาอยู่ภายใต้ SCG Decor  เป็นการเสริมความแข็งแกร่ง และสร้างประโยชน์สูงสุดจากการประสานพลังร่วมกันระหว่างทุกบริษัท (Business Synergy) เพิ่มความสามารถในการแข่งขัน และเร่งการขยายการเติบโตอย่างรวดเร็วไปสู่ภูมิภาคอาเซียน  ด้วยผลิตภัณฑ์และบริการที่หลากหลายครอบคลุมทุกวัสดุตกแต่งพื้นผิวและสุขภัณฑ์ รวมถึงช่องทางจัดจำหน่ายทั้งในประเทศไทย เวียดนาม ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าทุกระดับได้อย่างครบวงจร โดยมีโอกาสสร้างการเติบโตได้ถึง 6 เท่า จากประชากรไทยที่มี 70 ล้านคนไปสู่ตลาดที่มีประชากรมากกว่า 560 ล้านคน   (1 อ้างอิงมูลค่าตลาดสำหรับปี 2564 ของกลุ่มผลิตภัณฑ์ตกแต่งพื้นผิวและสุขภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องของประเทศไทย เทียบกับมูลค่าตลาดรวมของประเทศไทย ประเทศเวียดนาม ประเทศฟิลิปปินส์ และประเทศอินโดนีเซีย ตามรายงานของ Euromonitor) การปรับโครงสร้างธุรกิจครั้งนี้ จะส่งผลดีต่อผู้ถือหุ้นของ COTTO ที่เปลี่ยนเป็นผู้ถือหุ้นของ SCG Decor คือ ยกระดับเป็น ผู้ถือหุ้นของบริษัทที่ประกอบธุรกิจตกแต่งพื้นผิวและธุรกิจสุขภัณฑ์ชั้นนำระดับอาเซียน และยังคงสถานะเป็น ผู้ถือหุ้นทางอ้อมของ COTTO และบริษัทในกลุ่ม SCG Decor 5 กลยุทธ์เติบโตในอาเซียน 5 กลยุทธ์ SCG Decor เติบโตสู่ผู้นำธุรกิจตกแต่งพื้นผิวและสุขภัณฑ์ครบวงจรในอาเซียน ได้แก่ 1.ขยายตลาดสู่อาเซียน ขยายธุรกิจสุขภัณฑ์ (Bathroom) จากประเทศไทย เพื่อก้าวสู่การเป็นผู้นำในอาเซียน ซึ่งกลุ่มสุขภัณฑ์ ในประเทศไทย เป็นกลุ่มธุรกิจที่มีอัตรากำไรสูง มียอดขายและส่วนแบ่งการตลาดเป็นอันดับ 1 โดยนำเสนอนวัตกรรมใหม่ ๆ อาทิ “COTTO Smart Toilet” ตอบโจทย์เทรนด์ด้านสุขภาพและอนามัย 2.สร้างแบรนด์วัสดุตกแต่งพื้นผิว ต่อยอดความแข็งแกร่งของธุรกิจตกแต่งพื้นผิว (Decor Surfaces) ทั้งในประเทศไทยและในอาเซียน โดยประยุกต์โมเดลธุรกิจที่เข้มแข็งของไทยถ่ายทอดองค์ความรู้เพื่อเร่งการเติบโต ผลักดันแบรนด์สินค้าทุกประเทศให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น เช่น PRIME ในเวียดนาม MARIWASA ในฟิลิปปินส์ และ KIA ในอินโดนีเซีย พร้อมเสริมความแข็งแกร่งทุกช่องทางการขาย และขยายการส่งออกไปทั่วโลก ด้วยนวัตกรรมการออกแบบและวิจัย นำเสนอสินค้าหลากหลาย ตอบสนองทุกไลฟ์สไตล์ ตั้งแต่กลุ่มประหยัด กลุ่มมาตรฐาน และกลุ่มพรีเมียม โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าเพิ่มสูง (HVA - High Value Added Products & Services) เช่น “LT แผ่นปูพื้น Smart Flexible by COTTO” นวัตกรรมวัสดุสร้างความยืดหยุ่น ติดตั้ง-ดูแลสะดวก ลวดลายและสัมผัสเสมือนธรรมชาติ “AIR ION” กระเบื้องฟอกอากาศ และสินค้าอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่อง เช่น ผลิตภัณฑ์ติดตั้งและซ่อมแซม  ปูนกาว และยาแนว เป็นต้น 3.แตกไลน์ธุรกิจใกล้เคียงเพิ่ม ขยายธุรกิจสู่ผลิตภัณฑ์และบริการที่เกี่ยวเนื่อง ตอกย้ำการเป็นผู้นำด้านการให้บริการแบบครบวงจร เพิ่มศักยภาพในการดำเนินธุรกิจ ด้านตกแต่งพื้นผิว สุขภัณฑ์ และบริการ ด้วยโซลูชั่นแบบครบวงจรจากการผนึกกำลังของบริษัทในกลุ่มและธุรกิจที่เกี่ยวข้อง 4.บริหารซัพพลายเชนทั้งผลิต-จัดหา การบริหารห่วงโซ่อุปทานทั้งด้านการผลิตและการจัดหาอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด (Regional Optimization and Global Sourcing Powerhouse) ผสานความร่วมมือระหว่างฐานการผลิตในภูมิภาคและบริษัทในกลุ่มเพื่อบริหารกำลังการผลิตในภาพรวมอย่างมีประสิทธิภาพและสรรหาผลิตภัณฑ์ชั้นนำจากภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วโลก 5.สร้างสินค้ามาตรฐานโลก เติบโตอย่างมั่นคงและยั่งยืนด้วยมาตรฐานระดับโลก พัฒนาผลิตภัณฑ์รักษ์โลกและกระบวนการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม  ลดของเสียจากการผลิตและนำกลับมาหมุนเวียนเป็นผลิตภัณฑ์รักษ์โลกเพื่อสร้างรายได้ ลดต้นทุนพลังงานด้วยการเพิ่มการใช้พลังงานหมุนเวียนและเพิ่มการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ มุ่งบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ในปี 2593 (NET ZERO 2050) สอดคล้องกับแนวทาง ESG (Environmental, Social, and Governance)   นายนำพล กล่าวเสริมว่า SCG Decor เติบโตอย่างต่อเนื่อง มีรายได้จากการขาย ปี 2563 – 2565 ที่ 24,378.6 ล้านบาท 25,937.4 ล้านบาท และ 30,253.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 6.4% และ 16.6% ตามลำดับ ปี 2565 ส่งออกสินค้าไปสู่ตลาดในอาเซียน เช่น กัมพูชา ลาว พม่า และประเทศอื่น ๆ รวมกว่า 53 ประเทศ มีรายได้จากการส่งออกกว่า 4,500 ล้านบาท คิดเป็น 15.0% ของรายได้รวม   ล่าสุดที่ประชุมคณะกรรมการของ COTTO เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2566 พิจารณาให้นำเสนอต่อที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น COTTO เพื่อขออนุมัติเพิกถอนหุ้นของบริษัทฯ ออกจากตลาดหลักทรัพย์ฯ โดยจะเสนอต่อที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น ครั้งที่ 1/2566 ในวันที่ 23 พฤษภาคม 2566 เพื่อพิจารณาอนุมัติต่อไป ตามแผนการปรับโครงสร้างบริษัทร่วมกับ SCG Decor โดยมีเงื่อนไขสำคัญ คือ COTTO ต้องได้รับอนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้น ด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 3 ใน 4 ของผู้ถือหุ้นทั้งหมด และต้องไม่มีผู้ถือหุ้นของ COTTO คัดค้านการเพิกถอนหลักทรัพย์เกินกว่า 10% ในวันประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น ครั้งที่ 1/2566 ปูพรมจับตลาด 560 ล้านคน นายสมิทธิ โกสีย์เจริญ ประธานเจ้าหน้าที่สายงานการเงิน บริษัทเอสซีจี เดคคอร์ จำกัด  กล่าวว่า อุตสาหกรรมกระเบื้องเซรามิก และอุตสาหกรรมสุขภัณฑ์ ทั้งในประเทศไทย รวมถึงเวียดนาม ฟิลิปปินส์ และ อินโดนีเซีย เป็นตลาดที่มีศักยภาพสูง รองรับประชากรเกือบ 560 ล้านคน มีมูลค่าตลาดกระเบื้องปูพื้น บุผนัง และสุขภัณฑ์ รวมกันกว่า 1.9 แสนล้านบาท  จึงเป็นโอกาสที่  SCG Decor จะขยายธุรกิจและเติบโตต่อไปในอาเซียนได้อีก   ทั้งนี้ อัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปี (CAGR) ปี 2565-2569 ของ ตลาดกระเบื้องเซรามิกในประเทศไทยเติบโตเฉลี่ย 1.2% ขณะที่ตลาดในไทย รวม เวียดนาม ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย เติบโตเฉลี่ย 7.1% SCG Decor ส่วนตลาดสุขภัณฑ์ในประเทศไทยเติบโตเฉลี่ย 2.1% เทียบกับรวม 3 ประเทศข้างต้น เติบโตเฉลี่ยต่อปี 8.6% (อ้างอิงจาก Euromonitor ปี 2564)   เมื่อ COTTO ได้รับอนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นแล้ว SCG Decor จะยื่นแบบคำขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ และแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ (ยื่นแบบ Filing) ต่อสำนักงาน ก.ล.ต. เพื่อขออนุมัติการเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนต่อประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก (IPO) ภายหลังจากแบบไฟลิ่งมีผลใช้บังคับ SCG Decor จะเริ่มทำคำเสนอซื้อหุ้นทั้งหมดของ COTTO ในราคา 2.40 บาทต่อหุ้น โดยจะชำระค่าหุ้นเป็นหุ้นสามัญเพิ่มทุนของ SCG Decor เท่านั้น ซึ่งจะเกิดขึ้นในช่วงเวลาเดียวกันกับการเสนอขายหุ้น IPO ของ SCG Decor หลังจากการทำคำเสนอซื้อสิ้นสุดลง COTTO จะถูกเพิกถอนออกจากตลาดหลักทรัพย์ฯ โดยผู้ถือหุ้น COTTO ที่ตอบรับคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ดังกล่าว จะกลายเป็นผู้ถือหุ้นของ SCG Decor และยังคงเป็นเจ้าของ COTTO ทางอ้อม จากนั้น SCG Decor จะเข้าเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ต่อไป   นายนำพล กล่าวสรุปเพิ่มเติมว่า บริษัท ฯ หวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้รับการสนับสนุน และได้รับการอนุมัติอย่างเป็นเอกฉันท์จากผู้ถือหุ้น COTTO ในปัจจุบัน รวมถึงมอบความไว้วางใจตอบรับคำเสนอซื้อในครั้งนี้ ด้วยการแลกหุ้นและกลายเป็นผู้ถือหุ้นของ SCG Decor ต่อไป พร้อมทั้งขอเรียนเชิญผู้ถือหุ้นและนักลงทุนทุกท่าน ร่วมเป็นพลังสำคัญในการนำ SCG Decor สยายปีกสู่การเป็นผู้นำธุรกิจตกแต่งพื้นผิวและสุขภัณฑ์ครบวงจรในอาเซียน     อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง -คอตโต้ เผย 5 ดีไซน์เทรนด์สุขภัณฑ์หลังโควิด กับ 2 ความท้าทายหลังเปิดประเทศ
จระเข้  เดินหน้าโตอย่างยั่งยืน สู่ทศวรรษที่ 4 วางเป้าหมายรายได้ 5,000 ล้าน

จระเข้ เดินหน้าโตอย่างยั่งยืน สู่ทศวรรษที่ 4 วางเป้าหมายรายได้ 5,000 ล้าน

จระเข้  เดินหน้าสู่ทศวรรษที่ 4 วางวิสัยทัศน์-ทิศทางธุรกิจ มุ่งสร้างสรรค์นวัตกรรมสินค้าก่อสร้าง เพื่อความสุขที่ยั่งยืน พร้อมเป้าหมายรายได้ 5,000 ล้าน เตรียมรุกหนักตลาดประเทศเพื่อนบ้าน หวังเพิ่มสัดส่วนรายได้ขึ้นเป็น 20%   นายศุภพงษ์ เพชรสุทธิ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท จระเข้ คอร์ปอเรชั่น จำกัด ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายสินค้าตรา “จระเข้” เปิดเผยว่า นับตั้งแต่เริ่มก่อตั้งบริษัทเมื่อปี 2535 จนถึงปัจจุบัน  ได้ดำเนินธุรกิจมากว่า 30 ปีแล้ว  ซึ่งปีนี้ถือเป็นปีที่ก้าวสู่ทศวรรษที่ 4 ในการดำเนินธุรกิจผลิตและจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์กลุ่มกาวยาแนว กาวซีเมนต์ สี และผลิตภัณฑ์เคมีก่อสร้าง ซึ่งยังคงมุ่นเน้นการ​สร้างสรรค์นวัตกรรมสินค้าก่อสร้าง เพื่อคุณภาพชีวิตและสร้างความสุขที่ยั่งยืน บนพื้นฐานของการให้ความสำคัญกับการดูแลสิ่งแวดล้อมและสังคม   สำหรับก้าวสู่ทศวรรษที่ 4 บริษัทได้วางทิศทางการดำเนินธุรกิจในอีก 5 ปีข้างหน้า ยังคงเดินหน้าตอกย้ำความเป็นผู้นำในตลาดกาวซีเมนต์  กาวยาแนวปูกระเบื้อง และไม่หยุดยั้งในการพัฒนานวัตกรรมเคมีก่อสร้าง  ที่ช่วยแก้ปัญหาให้ลูกค้า ไม่ว่าจะเป็น นวัตกรรมซ่อมแซม และตกแต่งแบบครบวงจร เพื่อบ้าน อาคาร  ไปจนถึงงานโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure)  สีจระเข้ (SEE JORAKAY) สีธรรมชาติที่มีเอกลักษณ์แตกต่างจากสีทั่วไป โจทย์เทรนด์สุขภาพและการดูแลสิ่งแวดล้อม  ผลิตภัณฑ์น้ำยาเคลือบและปกป้องพื้นผิว (Coating) และ JORAKAY GREEN PRODUCTS  ตอบโจทย์อาคารเขียว โดยวางเป้าหมายทำรายได้ 4,000-5,000 ล้านบาท ทั้งนี้ แผนการลงทุนใน 3-5 ปี จะมีการพัฒนานวัตกรรม ทั้งในด้านของการขยายสินค้ากลุ่มเคมีก่อสร้างให้ครอบคลุมมากขึ้น ใช้ Enterprise Resource Planning หรือ ERP พัฒนาระบบการจัดการตั้งแต่การผลิต จัดส่ง และเชื่อมต่อการชำระเงิน รองรับการขยายช่องทางการจัดจำหน่าย สอดคล้องกับธุรกิจยุคใหม่ ผนวกกับ Customer Data / Digital Transformation เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างแม่นยำมากขึ้น รวดเร็วขึ้น ในรูปแบบของ B2B2C  เสริมด้วย Non Products เช่น บริการติดตั้ง โดยช่างฝีมือที่ได้รับการรับรองจากศูนย์ฝึกอบรม จระเข้ อะคาเดมี่ (JORAKAY ACADEMY TRAINING CENTER) เป็นการต่อยอดบริการให้คำปรึกษาและบริการเกี่ยวเนื่องกับการอยู่อาศัยอย่างครบวงจร   นายศุภพงษ์ กล่าวอีกว่า เพื่อการเติบโตตามเป้าหมายดังกล่าว ส่วนหนึ่งบริษัทจะมุ่งเน้นขยายตลาดต่างประเทศ โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศเพื่อนบ้าน CLMV และมาเลเซีย ที่สำคัญจะมุ่งทำตลาดในประเทศเวียดนาม เนื่องจากเป็น​ตลาดที่มีโอกาสการเติบโตสูง และยังมีอัตราการใช้งานผลิตภัณฑ์คุณภาพสูงไม่มากนัก ซึ่งจะมีรูปแบบการทำตลาดใหม่ หลังจากที่ได้เข้าไปทำตลาดเมื่อ 4-5 ปีก่อนหน้านี้ เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มลูกค้าชาวเวียดนาม โดยบริษัทตั้งเป้าหมายเพิ่มสัดส่วนรายได้จากต่างประเทศเป็น 20% จากปัจจุบันมีไม่ถึง 10% ส่วนในปีนี้บริษัทคาดว่าจะทำรายได้มากกว่า 3,000 ล้านบาท  มีอัตราการเติบโตไม่ต่ำกว่า 20% จากปีที่ผ่านมา ซึ่งมีรายได้ 2,800 ล้านบาท  ปัจจุบันสินค้าที่มียอดขายสูงสุดกว่า 80% ของยอดขายทั้งหมด ได้แก่ กลุ่มกาวซีเมนต์ เขียว แดง เงิน ทอง โดยเฉพาะกาวเขียวที่มียอดขายอันดับ 1 กลุ่มกาวยาแนวพรีเมียม พลัส ป้องกันราดำ ที่มียอดขายอันดับ 1 ซึ่งจระเข้เป็นผู้ริเริ่มนวัตกรรมนี้รายแรกในตลาดกาวยาแนว และกลุ่มผลิตภัณฑ์กันซึม รวมทั้งเป็นผู้ริเริ่มนวัตกรรมซีเมนต์กันซึมส่วนผสมเดียวรายแรก ส่วนช่องทางในการจัดจำหน่ายปัจจุบัน แบ่งเป็นออฟไลน์ 95% ผ่านช่องทางดีลเลอร์กว่า 3,000 ราย ร้านโมเดิร์นเทรด 300 แห่ง และช่องทางออนไลน์อยู่ที่ 5%   ด้านของการดำเนินธุรกิจที่สอดคล้องกับการดูแลสังคมและสิ่งแวดล้อม ได้กำหนด 5 กลยุทธ์สำคัญด้านความยั่งยืนครอบคลุมทุกห่วงโซ่ ได้แก่ 1. ลดการปล่อย CO2 ในกระบวนการต่างๆ  2. ลดปริมาณขยะและของเสียเน้นใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด 3. ลดองค์ประกอบหรือกระบวนการที่ก่อให้เกิดสารพิษ 4. เพิ่มสัดส่วนยอดขายสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 5. สนับสนุนกิจกรรมส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีกว่า ด้านการศึกษา สุขอนามัย และสิ่งแวดล้อม   อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง -สีจระเข้ รีแบรนด์ครั้งใหญ่ในรอบเกือบ 20 ปี ปูทางสร้างยอดขาย 300 ล้าน -สีจระเข้ เปิดแฟลกชิพ สโตร์ โชว์ผลิตภัณฑ์ พร้อมสร้างประสบการณ์ใช้จริงให้ลูกค้า​
ไวด์เฮ้าส์ลุยตลาดรับสร้างบ้าน 2 แสนล้านประเดิมปีแรกทำรายได้ 60 ล้าน

ไวด์เฮ้าส์ลุยตลาดรับสร้างบ้าน 2 แสนล้านประเดิมปีแรกทำรายได้ 60 ล้าน

ไวด์เฮ้าส์ ดีไซน์ แอนด์ บิลด์ ลุยธุรกิจรับสร้างบ้าน 200,000 ล้าน ​ชูจุดเด่นด้านงานดีไซน์ พร้อมตอบสนองความต้องการของลูกค้า มั่นใจเปิดตัวปีแรกทำรายได้ 60 ล้าน ก่อนทะยานโต 300% ในปี 66 เล็งขยายสาขาเพิ่มในต่างจังหวัดรับดีมานด์โตต่อเนื่อง ​   นายธนัชพงศ์ จิระชาติชัยวงษ์ กรรมการบริหาร บริษัท ไวด์เฮ้าส์ ดีไซน์ แอนด์ บิลด์ จำกัด หรือ WIDE HOUSE เปิดเผยว่า ได้มองเห็นโอกาสทางการตลาดของธุรกิจรับสร้างบ้านที่มีมูลค่ารวมกว่า 200,000 ล้านบาท ซึ่งมีอัตราการเติบโตอย่างต่อเนื่อง และความต้องการของกลุ่มผู้บริโภคระดับกลางถึงสูง ที่ต้องการปลูกสร้างบ้านด้วยตนเอง ตามรูปแบบงานดีไซน์ ไลฟ์สไตล์ และพฤติกรรมการอยู่อาศัยเป็นของตนเอง ทีมผู้บริหารจึงได้จัดตั้งบริษัทขึ้นเมื่อช่วงเดือนเมษายน 2565 ที่ผ่านมา เพื่อดำเนินธุรกิจรับสร้างบ้าน   โดยทีมผู้บริหารที่รวมตัวจัดตั้งบริษัทครั้งนี้ เป็นทีมบริหารจากบริษัท ศ.ศิวะ การช่าง จำกัด เอสดับเบิ้ล ยู สตูดิโอ (SW STUDIO) และ SWA and Associate Co.,ltd. ซึ่งผู้ที่ดำเนินธุรกิจด้านงานก่อสร้าง งานออกแบบ และดีไซน์มานานกว่า 20 ปี มีกลุ่มลูกค้าสำคัญเป็นกลุ่มธุรกิจรีสอร์ท โรงแรม และบ้านพักอาศัยที่มีระดับมูลค่างานกว่า 50 ล้านบาทขึ้นไป ซึ่งบริษัทจะนำเอาประสบการณ์และความชำนาญดังกล่าว มาปรับใช้และตอบสนองกลุ่มลูกค้าที่ต้องการสร้างบ้านในสไตล์ และฟังก์ชั่นการใช้งานของบ้านในแบบของตนเอง โดยจับกลุ่มลูกค้าระดับกลางขึ้นไป   ทั้งนี้ ไวด์เฮ้าส์ จะทำงานร่วมกันกับสถาปนิกและวิศวกรมืออาชีพมากประสบการณ์ ซึ่งผ่านประสบการณ์ออกแบบให้กับโรงแรม รีสอร์ตระดับสากลมาแล้วกว่า 10 ปี จากบริษัทชั้นนำในเครือ เอสดับเบิ้ล ยู สตูดิโอ (SW STUDIO) รวมพื้นที่ก่อสร้าง 561,026 ตารางเมตร จากกว่า 80 โครงการ  ครอบคลุมบริการด้านงานออกแบบและปรับแบบ, บริการให้คำปรึกษาในการสร้างบ้านอย่างครบวงจร ดำเนินงานก่อสร้างและควบคุมโดยวิศวกรจาก บริษัท ศ.ศิวะ การช่าง จำกัด  ผู้นำด้านงานรับเหมาก่อสร้างแบบครบวงจร นายธนัชพงศ์  กล่าวว่า บริษัทได้เริ่มทำการตลาดเปิดตัวครั้งแรกในงานสถาปนิก 65 ครั้งที่ผ่านมา ซึ่งได้รับการตอบรับที่ดีเกินกว่าที่คาดไว้ โดยมีลูกค้าเซ็นต์สัญญาจ้างงานแล้ว 5 ราย มีผู้สนใจลงทะเบียนให้ข้อมูลไว้กว่า 500 ราย และปัจจุบันยังมีลูกค้าอีก 20 รายที่อยู่ระหว่างการออกแบบบ้าน จึงทำให้มั่นใจว่าภายในสิ้นปีนี้จะมีรายได้ไม่ต่ำกว่า 60 ล้านบาท ส่วนในปีหน้าคาดว่าจะสร้างยอดขายเติบโตได้ 300% โดยวางแผนขยายสาขาเพิ่มอีก 1 แห่ง ในต่างจังหวัดด้วย   ความแตกต่างที่ผู้บริโภคจะได้รับเมื่อใช้บริการของ ไวด์เฮ้าส์ คือ การเปิดกว้างและอิสระทางความคิดในการดีไซน์บ้านตามสไตล์ที่ตนเองชอบ ไม่ตีกรอบลูกค้าให้เลือกใช้เฉพาะแบบบ้านที่มี ลูกค้าสามารถครีเอทฟังก์ชันตามไลฟ์สไตล์ได้อย่างเต็มที่ร่วมกับทีมสถาปนิกมืออาชีพของ WIDE HOUSE พร้อมด้วยทีมนักออกแบบภายในจากบริษัทพาร์ทเนอร์ SW STUDIO       สำหรับการรับสร้างบ้านบริษัทมีแบบให้ลูกค้าเลือกเป็นมาตรฐานด้วยกัน 4 แบบ ประกอบด้วย บ้านสไตล์มินิมอล ที่เน้นความเรียบง่ายแต่ดูทันสมัย บ้านสไตล์โมเดิร์น ลอฟท์ ที่เน้นผนังปูนเปลือย เหล็ก และกระจก บ้านสไตล์ทรอปิคอล เน้นการออกแบบให้มีสเปซขนาดใหญ่ และความโปร่งโล่ง และบ้านสไตล์คลาสสิค คอนเทมโพรารี ที่ผสมผสานความเป็นโมเดิร์นและคลาสสิคเข้าด้วยกัน แน้นพื้นที่เปิดโล่ง โดยราคาขายเริ่มต้นตารางเมตรละ 25,000 บาท หรือราคาเริ่มต้นหลังละ 5 ล้านบาท ซึ่งแม้ว่าจะมีแบบมาตรฐาน แต่กลุ่มลูกค้าส่วนใหญ่จะมีการปรับเปลี่ยนฟังก์ชั่น การใช้งานของบ้าน ให้สอดคล้องกับรูปแบบที่ดิน   ปัจจุบัน WIDE HOUSE มีกลุ่มเป้าหมายทางธุรกิจแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มหลัก ๆ ทั้งครอบครัวขยายที่รวมสมาชิกภายในบ้านไม่เกิน 2 เจนเนอเรชัน และครอบครัวเดี่ยว ครอบครัวขนาดใหญ่ที่มีสมาชิกภายในบ้านมากกว่า 3 เจนเนเรชันขึ้นไป ประกอบด้วยบ้านหลายหลังที่อยู่ในบริเวณเดียวกัน โดยลูกค้าส่วนใหญ่ของ WIDE HOUSE จะมีที่ดินเดิมอยู่แล้ว โดยเป็นที่ดินมรดกตกทอดจากรุ่นสู่รุ่น และต้องการสร้างบ้านหลังใหม่ทดแทนหลังเดิมที่ปลูกสร้างมาตั้งแต่รุ่นคุณปู่คุณย่าหรือรุ่นพ่อแม่ โดยฟังก์ชันบ้านของลูกค้ากลุ่มนี้มักจะเป็นการขยับขยายครอบครัว ซึ่งส่วนใหญ่จะมีผู้สูงอายุอาศัยอยู่ร่วมด้วย 1-2 เจนเนอเรชันขึ้นไป ส่วนอีกกลุ่มที่เป็นครอบครัวคนรุ่นใหม่ที่แยกตัวออกมาเป็นครอบครัวขยาย มีกำลังซื้อค่อนข้างสูง มักจะมองหาที่ดินในเมือง อาจมีพื้นที่ไม่มากนัก อยู่ในซอย แต่ไม่ต้องออกไปถึงแถบชานเมือง และมีสไตล์บ้านที่ตนเองชื่นชอบอยู่แล้ว มีฟังก์ชันการใช้งานที่ต้องการเป็นพิเศษอย่างชัดเจน สิ่งที่สัมผัสได้คือโจทย์ความต้องการที่มีความแตกต่างกันออกไป แต่ละครอบครัวมีความต้องการที่ชัดเจนก่อนจะเดินเข้ามาหาเรา เมื่อมีการมานั่งพูดคุยกันกับทีมสถาปนิก WIDE HOUSE จึงออกมาในรูปแบบการระดมและแลกเปลี่ยนมุมมองความคิด  เพื่อใช้เป็นโจทย์ตั้งต้นให้เราสร้างสรรค์บ้านดีไซน์ใหม่ให้แก่ลูกค้าแต่ละครอบครัวโดยเฉพาะ   อย่างไรก็ตาม แม้ช่วงการสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ผ่านมาจะส่งผลให้ธุรกิจรับสร้างบ้านของไทยต้องเผชิญกับความท้าทายครั้งใหญ่ ทำให้เกิดการชะลอการตัดสินใจในระยะสั้นโดยเฉพาะกลุ่มบ้านราคาต่ำกว่า 10 ล้านบาท ซึ่งได้รับผลกระทบจากดอกเบี้ยสถาบันการเงินและปัญหาสภาพคล่อง แต่ปัจจุบันสถานการณ์เริ่มคลี่คลาย จึงเชื่อว่าความต้องการสร้างบ้านในกลุ่มนี้จะกลับมาดีขึ้นกว่าช่วง 2 ปีที่ผ่านมา แต่ที่น่าจับตาคือ  กลุ่มบ้านราคา 10 ล้านบาทขึ้นไปที่ไม่ได้รับผลกระทบใดๆ  เพราะเป็นกลุ่มลูกค้าที่มีความพร้อมด้านงบประมาณอยู่แล้ว และเป็นกลุ่มที่มีศักยภาพทางการเงินสูง   อ่านข่าวเพิ่มเติม -รับสร้างบ้านปี 63 ยังทรงตัว 5G จะเข้ามาเปลี่ยนโฉมธุรกิจ -[PR News] ปิดฉากงานรับสร้างบ้าน ยอดขายต่ำเป้า สมาคมหวังโค้งท้ายฟื้นตัวจบปีตลาดโต 5-8%
อิเกีย  x STEPS  ออกแบบออฟฟิศสำหรับทุกคน ด้วย 5 เทคนิครองรับความแตกต่าง

อิเกีย x STEPS ออกแบบออฟฟิศสำหรับทุกคน ด้วย 5 เทคนิครองรับความแตกต่าง

อิเกีย อิเกีย  จับมือ STEPS  ออกแบบออฟฟิศสำหรับทุกคน เพราะโลกมีความแตกต่าง ด้วย 5 เทคนิคการออกแบบพื้นที่ และออฟฟิศ ที่สามารถรองรับความแตกต่างของคนได้รูปแบบ   แม้ว่ามนุษย์ทุกคนที่เกิดมาบนโลกใบนี้ จะได้ขึ้นชื่อว่าเป็น “คน” แต่ต้องยอมรับว่าแต่ละคนต่างก็มีความแตกต่าง และมีความหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของความคิด วิถีชีวิต รสนิยมทางเพศ  แม้กระทั่งรูปร่าง หน้าตา หรือโครงสร้างของร่างกาย ซึ่งแต่ละคนอาจจะมีความปกติทั่วไป หรืออาจจะมีพิเศษกว่าคนอื่น   แต่สรุปสุดท้ายแล้ว คนทุกคนบนโลกนี้ ล้วนแต่มีความเป็น “มนุษย์” ที่เหมือนกันและเท่าเทียมกัน จึงต้องได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียม และเสมอภาคไม่ว่าคน ๆ นั้นจะเป็นใคร เกิดมาด้วย รูปลักษณ์ หน้าตา หรือมีความพิเศษแตกต่างจากคนทั่วไปก็ตาม โดยเฉพาะประเทศไทย ที่คนไทยทุกคน อยู่ภายใต้การปกครองที่มีรัฐธรรมนูญฉบับเดียวกัน ย่อมจะต้องได้รับการปฏิบัติอย่างเสมอภาคกัน ตามหลักสิทธิมนุษยชน ​ซึ่งเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของความเป็นมนุษย์ ช่วงหลายปีที่ผ่านมา จะพบว่าคนส่วนใหญ่ของสังคม เริ่มตระหนักและให้ความสำคัญ กับความเสมอภาค และความเท่าเทียมกัน เพราะคนส่วนใหญ่เริ่มเข้าใจ และยอมรับกับความแตกต่าง และความหลากหลายของผู้คนในสังคม ที่แม้จะเป็นคนเหมือนกัน แต่ก็มีความแตกต่างกันไปในหลากหลายเรื่อง   ไม่เพียงแต่ผู้คนในสังคมเท่านั้น ที่ตระหนักและให้ความสำคัญกับประเทศความเท่าเทียม และความเสมอภาคกันเท่านั้น หน่วยงานหรือองค์กรต่าง ๆ ก็หันมาให้ความสำคัญ​และตระหนักถึงประเด็นสังคมนี้ด้วย เพราะทุกคน ทุกองค์กร ต่างเชื่อและเคารพในทุกความต่างของคนในสังคม ซึ่งหนึ่งในองค์กรนั้น คือ “อิเกีย” ศูนย์จำหน่ายเฟอร์นิเจอร์ และของแต่งบ้าน สัญชาติสวีเดน   นางสาววรันธร เตชะคุณากร ผู้จัดการแผนก Inspiration & Communication อิเกีย ประเทศไทย  เล่าว่า วิสัยทัศน์การดำเนินธุรกิจของอิเกีย คือ การสร้างสรรค์ชีวิตที่ดีกว่าให้กับคนทั่วไป รวมถึงการเคารพในทุกความต่าง และต้องการที่จะสร้างโลกใบนี้ให้เป็นบ้านสำหรับทุกคน ให้สามารถใช้ชีวิตที่ดีได้อย่างเท่าเทียมกัน ตั้งแต่จุดเริ่มต้นของการดำเนินธุรกิจ อิเกีย จึงได้ออกแบบสินค้าที่มีความหลากหลาย ทั้งด้านความสวยงาม ราคา และฟังก์ชั่น เพื่อรองรับการใช้งานของคนที่มีความแตกต่างในสังคม ล่าสุด อิเกีย ได้ร่วมมือกับ STEPS องค์กรที่ให้การฝึกอาชีพและสนับสนุนการจ้างงาน ให้กับบุคคลที่มีความหลากหลายทางการรับรู้ จัดทำพื้นที่ “Inclusive Office” หรือโมเดลออฟฟิศต้นแบบที่ออกแบบสำหรับทุกคน ด้วยการนำเอาเฟอร์นิเจอร์และของใช้สำนักงาน มาจัดพื้นที่สำนักงานให้พนักงานของ STEPS ได้ทำงานอย่างคล่องตัว และสอดล้องกับความต้องการของแต่ละบุคคล ซึ่งถือเป็น 1 ในกิจกรรมเพื่อสังคม หรือ CSR ของอิเกียในปีนี้ นางสาววรันธร  เล่าอีกว่า อิเกียรู้สึกภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการนี้ เพราะอิเกียตระหนักดีถึงศักยภาพของกลุ่มคนที่มีความหลากหลายทางการรับรู้ (Neurodivergent people) รวมไปถึงบุคคลที่มีภาวะออทิสซึม ดาวน์ซินโดรม ฯลฯ พวกเขาสามารถทำงานและใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับทุกคนได้เป็นอย่างดี เพียงแต่องค์กรจะต้องออกแบบสภาพแวดล้อม และสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ โดยคำนึงถึงความหลากหลาย และแตกต่างของผู้ใช้งาน เรายอมรับในความแตกต่าง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเพศ ศาสนา เชื้อชาติ เราไม่มีการแบ่งแยกเรื่องเหล่านี้ และเวลาออกแบบสินค้า จะมองหาสิ่งที่พัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีกว่าของผู้คน สำหรับแนวทางการออกแบบเพื่อที่ออฟฟิศสำหรับทุกคน  อิเกีย จะมุ่งเน้นในเรื่องของฟังก์ชั่นการใช้งาน มากกว่าเรื่องความสวยงาม ซึ่งการออกแบบจะต้องเข้าใจผู้ใช้งาน และรู้ถึงความต้องการของแต่ละบุคคล ว่ามีการใช้งานและกิจกรรมในแต่ละวันอย่างไร เพื่อออกแบบให้เหมาะสม ตั้งแต่เรื่องของโต๊ะและเก้าอี้ทำงาน แสงสว่าง อุปกรณ์กาจัดเก็บ ด้านนางสาวแม็กซ์ ซิมป์สัน ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้ร่วมก่อตั้ง STEPS Community กล่าวว่า องค์กรหรือบริษัทในประเทศไทย ยังมีอัตราการรับกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางการรับรู้เข้าทำงาน ในหน่วยงานนั้นในอัตราที่ต่ำ ซึ่งตาม พ.ร.บ. ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 กำหนดสัดส่วนองค์กรที่มีพนักงาน 100 คน จะต้องรับบุคคลที่มีความหลากหลายทางการรับรู้เข้าทำงาน 1 คน หากไม่ปฏิบัติตามจะต้องชำระเป็นเงินค่าปรับให้กับกองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการเป็นรายปีแทน  ซึ่งองค์กรส่วนใหญ่เลือกจะเสียเงินค่าปรับแทน 98% ขององค์กรในประเทศไทย เลือกที่จะเสียค่าปรับแทนการรับคนเหล่านี้เข้าทำงาน โดยการทำงานของ STEPS จะมุ่งเน้นการฝึกสอนทักษะการทำงาน และการช่วยเหลือด้านการทำงาน สร้างกระบวนการทำงานที่กลุ่มคนเหล่านี้เข้าใจ เพื่อให้สามารถทำงานร่วมกับบุคคลอื่น ๆ ในองค์กรได้ ซึ่งความต้องการของกลุ่มคนเหล่านี้ จะมี 3 เรื่องหลัก คือ รูปแบบการทำงาน ระบบการทำงาน และคนที่จะมาช่วยสอนการทำงาน ขณะเดียวกันองค์กรก็จะต้องมีนโยบาย ในการสนับสนุนการทำงานของคนเหล่านี้ และมีสิ่งอำนวยความสะดวก มีสภาพแวดล้อมที่สอดคล้องกับการทำงานของกลุ่มคนเหล่านี้ด้วย "เรามุ่งมั่นที่จะสร้าง Inclusive Community หรือชุมชนที่ไม่แบ่งแยก จึงเป็นโอกาสดีที่เราได้ร่วมมือกับอิเกีย องค์กรที่มีวิสัยทัศน์ตรงกัน ในการจัดทำโมเดลต้นแบบออฟฟิศสำหรับทุกคน โดยเฉพาะกลุ่มคนที่มีความพิการ และบุคคลที่มีความหลากหลายทางการรับรู้ ซึ่งองค์กรต่างๆ สามารถนำไปปรับใช้ได้ ออฟฟิศต้นแบบของเรามีพื้นที่ 100 ตร.ม. รองรับคนทำงาน 25 คน โดยอิเกียได้ให้การสนับสนุนด้านเฟอร์นิเจอร์ และของตกแต่ง" 5 เทคนิคจัดออฟฟิศสำหรับทุกความต่าง สำหรับไอเดียในการจัดพื้นที่และออฟฟิศ ที่สามารถรองรับกับการอยู่ร่วมกันของคนที่มีความหลากหลาย และความแตกต่าง ทางอิเกีย มี 5 ไอเดียมาแนะนำ ให้กับองค์กรหรือหน่วยงานที่สนใจ นำเอาไปปรับใช้ได้ตามขนาดและพื้นที่ของแต่ละแห่ง ดังนี้ 1.จัดแบ่งพื้นที่ตามกิจกรรมหรือประเภทงานที่ทำ เพื่อช่วยให้คนทำงาน/พนักงาน โฟกัสกับงานที่รับผิดชอบได้ดียิ่งขึ้น อาจหาตู้วางของ หรือตู้หนังสือมาช่วยแบ่งโซน 2.เลือกความสว่างและแสงไฟที่เหมาะสมกับแต่ละคน  แสงไฟ หรือความสว่างมีผลต่อการทำงาน ดังนั้นการเลือกใช้ไฟที่สามารถปรับหรือกระจายความสว่าง หรือปรับความสูงได้ ก็จะช่วยให้คนทำงานแต่ละคน สามารถปรับได้ตามความชอบ โดยไม่รบกวนเพื่อนร่วมงานคนอื่น 3.เลือกเก้าอี้ที่เหมาะสมกับแต่ละคน  เก้าอี้เป็นอีกหนึ่งเฟอร์นิเจอร์ที่แต่ละคนมีความถนัดหรือความชอบไม่เหมือนกัน บางคนชอบแบบมีล้อเลื่อน บางคนชอบแบบที่อยู่นิ่ง บางคนชอบแบบมีที่วางแขน รวมถึงความสูงต่ำของพนักพิง ดังนั้นควรเปิดโอกาสให้ผู้ใช้เลือกเก้าอี้ด้วยตัวเอง แต่สามารถคุมโทนได้โดยการใช้สี หรือวัสดุแบบเดียวกัน 4.เลือกโต๊ะทำงานที่เหมาะสมกับแต่ละคน   ควรเลือกใช้โต๊ะที่สามารถปรับระดับความสูงได้ให้เหมาะกับการใช้งานและสรีระของแต่ละคน นอกจากนี้ พนักงานบางคนชอบที่จะยืนทำงานเพื่อเปลี่ยนอิริยาบถ หรือบางงานจำเป็นจะต้องยืนทำงานเพื่อให้เคลื่อนไหวได้สะดวก 5.จัดพื้นที่ให้เป็นระบบ การวางระบบ/แบบแผน (systematic) ไว้ล่วงหน้าว่าอะไรจะต้องอยู่ตรงไหนเป็นอีกสิ่งที่สำคัญ เพื่อตอบโจทย์ workflow หรือกระบวนการทำงาน จะช่วยให้พนักงานสามารถทำงานได้ด้วยตนเอง และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น   เราได้แต่หวังว่า นับจากนี้ต่อไป จะได้เห็นการอยู่ร่วมกันของคนในสังคม ที่มีความหลากหลายและแตกต่าง ร่วมกันมากขึ้น ไม่เพียงแต่การใช้ชีวิตประจำวัน แต่ยังหมายความรวมถึงการทำงาน การประกอบอาชีพ เพราะเชื่อว่ามนุษย์ทุกคนเกิดมาพร้อมกับศักยภาพเป็นของตนเอง ซึ่งอาจจะมีความแตกต่างกันออกไป  ซึ่งสิ่งที่จะทำให้มนุษย์ทุกคนอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข จุดเริ่มต้นคงต้องเกิดจากความเข้าใจ และยอมรับในความแตกต่างนั้น และหลังจากนั้น ก็จะเป็นการหาแนวทางที่จะใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข และเคารพสิทธิของความเป็นคนที่ทุกคนมีอย่างเท่าเทียมกัน    อ่านบทความที่น่าสนใจ -อิเกียสุขุมวิท ซิตี้สโตร์แห่งแรกในเซาท์อีสเอเชีย ปักหมุด ดิ เอ็มสเฟียร์ พร้อม เปิดปลายปี 66 -10 ปีอิเกีย กับ 5 กลยุทธ์ สร้างการเติบโตปีละ 5%
3 เหตุผล ชิค รีพับบลิค  ระดมทุนในตลาด เอ็ม เอ ไอ  ขาย 360 ล้านหุ้น

3 เหตุผล ชิค รีพับบลิค ระดมทุนในตลาด เอ็ม เอ ไอ ขาย 360 ล้านหุ้น

ชิค รีพับบลิค เดินหน้าตามแผนระดมทุนขายหุ้น 360 ล้านหุ้น ในตลาด เอ็ม เอ ไอ ดีเดย์เตรียมเคาะราคาภายในเดือนกรกฎาคมนี้ หลังต้องเลื่อนกำหนดมา 2 ครั้ง ยันมีความพร้อมและมองเห็นโอกาสการเติบโตในธุรกิจเฟอร์นิเจอร์ เล็งนำเงินไปต่อยอดธุรกิจ เพิ่มสาขาใหม่จ.อุดรธานี และใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนธุรกิจ   ในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์มีธุรกิจเฟอร์นิเจอร์ เป็นหนึ่งในธุรกิจเกี่ยวเนื่องที่สำคัญ เพราะเป็นสินค้าที่จำเป็นเพื่อการอยู่อาศัยภายในบ้าน หรือคอนโดมิเนียม ซึ่งแน่นอนว่าในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา เกิดเหตุการณ์แพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่ส่งผลกระทบกับธุรกิจเฟอร์นิเจอร์  ไม่ต่างจากภาพรวมของธุรกิจอสังหาฯ เช่นกัน โดยหนึ่งในผู้ดำเนินธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 คือ บริษัท ชิค รีพับบลิค จำกัด (มหาชน)  หรือ “CHIC” ผู้จัดจำหน่ายเฟอร์นิเจอร์ สินค้าตกแต่งบ้าน ของใช้ในบ้าน ที่นอนและเครื่องนอนครบวงจร ในรูปแบบร้านค้าเดี่ยวขนาดใหญ่ ซึ่งได้รับผลกระทบหลัก ๆ ใน 3 เรื่อง คือ 1.เลื่อนแผนการระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ จากกำหนดที่จะเข้าจดทะเบียนในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา จากก่อนหน้านี้ได้เลื่อนแผนมาแล้วครั้งหนึ่ง เพราะภาวะตลาดหุ้นไม่ดีนัก   2.การล็อกดาวน์ประเทศ ส่งผลให้ต้องปิดร้านจำหน่ายสินค้าเฟอร์นิเจอร์   3.การปิดแคมป์คนงานก่อสร้าง ซึ่งส่งผลต่อการส่งมอบงานเฟอร์นิเจอร์และการติดตั้ง กับลูกค้าโครงการอสังหาฯ   อย่างไรก็ตาม แม้ว่าการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 จะส่งผลกระทบต่อธุรกิจเฟอร์นิเจอร์ แต่ผู้ประกอบการส่วนใหญ่มีการปรับตัว  ปรับแผนธุรกิจให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ซึ่งในภาพรวมส่วนใหญ่ก็สามารถผ่านพ้นวิกฤติโควิด-19 มาได้ด้วยดี รวมถึง ชิค รีพับบลิค ที่ผ่านพ้นวิกฤตมาได้ และเดินหน้าตามแผนธุรกิจ ในการเข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ อีกครั้ง   นายกิจจา ปัทมสัตยาสนธิ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ชิค รีพับบลิคฯ เปิดเผยว่า ช่วง 5 ปีที่ผ่านมาบริษัทเคยยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ (ไฟลิ่ง) เพื่อเสนอขายหุ้น IPO ต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เป็นที่เรียบร้อยแล้ว และเตรียมจดทะเบียนเข้าตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ แต่สภาวะตลาดในช่วงเวลาดังกล่าวไม่ดีนัก เกรงว่าจะส่งผลกระทบต่อนักลงทุน บริษัทที่ปรึกษาด้านการเงิน จึงปรึกษากับคณะกรรมการบริษัท ประกอบกับ​บริษัทยังไม่จำเป็นต้องรีบเข้าจดทะเบียน จึงเลื่อนการเสนอขายหุ้นออกไปก่อน   หลังจากนั้นในช่วง 2 ปีก่อน เกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 บริษัทจึงเลื่อนไฟลิ่งเป็นครั้งที่ 2  และกลับมาปรับปรุงโครงสร้างภายในเพื่อความแข็งแกร่งของธุรกิจ จนกระทั้งปลายปีที่ผ่านมา  บริษัทได้ดำเนินการยื่นไฟลิ่งอีกครั้ง และได้รับการอนุมัติจากก.ล.ต.เป็นที่เรียบร้อย  บริษัทจึงดำเนินการตามขั้นตอนต่าง ๆ ซึ่งคาดว่าบริษัทจะเสนอขายหุ้น และเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ได้ ภายในเดือนกรกฎาคมนี้ 3 เหตุผลทำไม ชิค รีพับบลิค ต้องเข้าตลาดหลักทรัพย์ นายกิจจา กล่าวว่า การจะนำบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ  ต้องใช้เวลา และต้องทุ่มเท เพราะมีการจัดการระบภายในค่อนข้างเยอะ  ซึ่งเหตุผลสำคัญที่ตัดสินใจนำบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์นั้น มีด้วยกัน 3 ประเด็นหลัก  คือ 1.มีศักยภาพในการเติบในอนาคต ​การนำบริษัทเข้าไปจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ บริษัทจะต้องมีศักยภาพในการเติบโตได้ในอนาคต ซึ่งบริษัทได้พิจารณาศักยภาพของบริษัทแล้ว เห็นว่ามีความพร้อม มองเห็นโอกาสทางธุรกิจ และเห็นว่าธุรกิจจะมีการเติบโตต่อไปในอนาคตได้อย่างไร  จากการที่มีประสบการณ์ในธุรกิจเฟอร์นิเจอร์มากว่า 30 ปี และได้จัดตั้งบริษัทขึ้นเมื่อกว่า 10 ปีที่ผ่านมา มองเห็นว่าธุรกิจนี้ยังสามารถสร้างการเติบโตในอนาคตได้อีกมาก  หากสามารถปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยน 2.เพิ่มขีดความสามารถด้านการแข่งขัน บริษัทมีความสามารถในการแข่งขัน เพราะจับกลุ่มลูกค้าระดับ B+ ขึ้นไป โดยมีจุดแข็ง จากการนำเสนอสินค้าที่มีรูปแบบดีไซน์ ซึ่งเป็นตลาด Blue Ocean ที่มีช่องว่างและโอกาสทางการตลาด ไม่ใช่เช่น Red Ocean ที่มีการแข่งขันสูง โดยเฉพาะการแข่งขันด้วยการตัดราคา บริษัทไม่เข้าไปในตลาดดังกล่าวเพื่อของแบ่งส่วนแบ่งทางการตลาด ​แต่บริษัทจะไปตลาดใหม่ที่เรียกว่า Home Fashion แห่งแรกของเมืองไทย ที่รองรับกลุ่มลูกค้ามีกำลังซื้อ ต้องการสินค้าที่มีดีไซน์ มีความเป็นเอกลักษณ์ของตัวเอง และมีความแตกต่างจากที่อื่น เราคือคำตอบ เมื่อบริษัทมีความสามารถทางการแข่งขัน เมื่อไปอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ จะทำให้บริษัทมีการเติบโต จากการมีแหล่งเงินทุนและความน่าเชื่อถือ สามารถดึงทีมบริหารและบุคลากรมืออาชีพเข้ามาช่วยงานได้ 3.สร้างการเติบโตอย่างยั่งยืน เมื่อธุรกิจเกิดแล้วจะต้องเติบโต ที่สำคัญเติบโตแบบยั่งยืน การเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ สิ่งสำคัญ คือ การทำตามระเบียบของก.ล.ต. จะต้องมีคณะกรรมการอิสระ มากำกับดูแลบริษัท ดูด้านความโปร่งใส รักษาผลประโยชน์ให้ทั้งกลุ่มนักลงทุนรายใหญ่และรายย่อย   นอกจากนี้ ในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมาบริษัทมีการปรับโครงสร้างขององค์กรให้มีประสิทธิภาพ ให้มีความสามารถด้านการแข่งขัน จากการปรับองค์กรทำให้รู้ว่าอะไรคือปัญหา หรืออะไรเป็นสิ่งที่จะต้องแก้ไข ที่สำคัญการอยู่ในตลาดหลักทรัพย์จะต้องมี ผู้ตรวจสอบ (Auditor) เพื่อความโปร่งใส ซึ่งการจะให้องค์กรเติบโตได้อย่างยั่งยืน จะต้องมีกระบวนการต่าง ๆ เหล่านี้ ​เพื่อทำให้บริษัทมีมาตรฐาน และทำให้คนรุ่นใหม่อยากเข้ามาร่วมงาน ถือเป็นความยั่งยืนของธุรกิจ 4 แนวทางบริหารเงินจากการระดมทุน โดยบริษัทวางแผนการเสนอขายหุ้น IPO ครั้งนี้ จำนวน 360 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 0.50 บาท ซึ่งมีทุนจดทะเบียนที่ชำระแล้ว 500 ล้านบาท และภายหลังการเสนอขายหุ้นครั้งนี้ CHIC จะมีทุนจดทะเบียนเพิ่มเป็น 680 ล้านบาท ซึ่งปัจจุบันยังไม่ได้มีการกำหนดราคาที่จะขาย แต่ได้มีการวางแผนเอาไว้แล้วว่า เงินที่ได้จากการระดมทุนครั้งนี้ จะถูกนำไปขยายธุรกิจต่อไป ซึ่งวางแผนใช้เงินไว้ดังนี้ 1.ขยายสาขาใหม่ที่ จ.อุดรธานี บริษัทวางแผนขยายสาขาเพิ่มที่จ.อุดร เป็นสาขาที่ 6 ในประเทศไทย และยังเป็นศูนย์กระจายสินค้าสำหรับพื้นที่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หลังจากที่เห็นศักยภาพของจังหวัดอุดรธานี เป็นจังหวัดมีขนาดเศรษฐกิจที่ใหญ่  มีการขยายตัวของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ และจังหวัดใกล้เคียงก็มีการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ดี รวมถึงยังมีกลุ่มชาวสปป.ลาว ที่มีกำลังซื้อสูง เข้ามาซื้อสินค้าในจังหวัดอุดรธรธานีด้วย   บริษัทคาดว่าในช่วงต้นปี 2566 จะเริ่มทำการออกแบบและขอใบอนุญาตก่อสร้าง หลังจากนั้นจะมีการเปิดประมูลการก่อสร้าง โดยคาดว่าจะใช้ระยะเวลาการก่อสร้าง 1 ปี และน่าจะเปิดให้บริการได้ในช่วงปี 2567 2.ชำระคืนเงินกู้ เงินที่ได้จากการระดมทุน บริษัทจะนำมาชำระคืนเงินกู้ เพื่อช่วยลดค่าใช้จ่ายทางด้านการเงิน 3.การปรับปรุงสาขา บริษัทวางแผนนำเงินส่วนหนึ่งมาปรับปรุงสาขา 2 แห่ง เพื่อเพิ่มพื้นที่รองรับร้านค้า ซูปเปอร์มาร์เก็ต ซึ่งจะช่วยเพิ่มรายได้จากการให้เช่า เป็นการกระจายความเสี่ยงจากการพึ่งพารายได้หลัก และยังเพิ่มปริมาณลูกค้าเข้ามาใช้บริการมากขึ้น 4.การสำรองเงินทุนหมุนเวียน เพื่อให้ธุรกิจมีความมั่นคง บริษัทจึงจะนำเงินส่วนหนึ่งจากการระดมทุน มาใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในการดำเนินธุรกิจ เพื่อสร้างการเติบโต   ปัจจุบันชิค รีพับบลิค มีร้านค้าเดี่ยวขนาดใหญ่  ที่รวบรวมเฟอร์นิเจอร์ สินค้าตกแต่งบ้าน ของใช้ในบ้าน ที่นอนและเครื่องนอน ที่มีดีไซน์และสไตล์ที่หลากหลาย มีรูปแบบทันสมัย และมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว (Uniqueness)  ภายใต้แบรนด์หลัก “ชิค รีพับบลิค” (CHIC) และ“ริน่า เฮย์” (RINA HEY) และสินค้านำเข้าจากต่างประเทศภายใต้ แบรนด์ “แอชลีย์ (Ashley)”   มีช่องทางจำหน่ายหลัก ได้แก่ 1.ร้านสาขา 5 แห่งในประเทศไทย และ 1 แห่งที่กัมพูชา 2.ช่องทางออนไลน์และมาร์เก็ตเพลส 3.งานโครงการที่จำหน่ายให้กับดีเวลลอปเปอร์อสังหาฯ รายใหญ่ในตลาดหลักทรัพย์ต่าง ๆ โดยในปีนี้มีแผนขยายเข้าสู่ช่องทางโรงแรมและโรงพยาบาล รวมถึงการขยายธุรกิจการให้เช่าเฟอร์นิเจอร์และของแต่งบ้านกับกลุ่มลูกค้าต่าง ๆ ด้วย ​   อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง -[PR News]CHIC ชูกลยุทธ์สร้าง New S Curves ใหม่ ลุยเข้าตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai)
พรีโม เตรียม IPO ในปลายปีนี้  วางเป้าขึ้น Top3 ด้านบริการอสังหาฯ ​ครบวงจร

พรีโม เตรียม IPO ในปลายปีนี้ วางเป้าขึ้น Top3 ด้านบริการอสังหาฯ ​ครบวงจร

“พรีโม เซอร์วิส โซลูชั่น” ในเครือออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ กางแผนธุรกิจปี 2565 เตรียม IPO ช่วงปลายปีนี้ หวังเติบโตตามบริษัทแม่ ตั้งเป้ารายได้โต 2-3 เท่าภายใน 3 ปี พร้อมขึ้นผู้นำ Top3 ในด้านธุรกิจบริการอสังหาฯ ครบวงจร ​   นางสาวจตุพร วิไลแก้ว ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พรีโม เซอร์วิส โซลูชั่น จำกัด ในเครือบริษัท ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) หรือ ORI ผู้พัฒนาธุรกิจอสังหาริมทรัพย์แบบครบวงจร เปิดเผยว่า ได้วางแผนนำบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (IPO) ในช่วงปลายไตรมาส 4/2565  โดยจะเริ่มยื่นไฟลิ่งในช่วงไตรมาส 3 นี้   ในปีนี้ตั้งเป้าหมายสร้างรายได้เติบโต 25-30% จากปีที่ผ่านมามีรายได้กว่า 489 ล้านบาท  ซึ่งจะเป็นรายได้ในกลุ่มบริษัทออริจิ้น สัดส่วน 30% และนอกกลุ่มบริษัทออริจิ้น สัดส่วน 70% โดยบริษัทวางแผนลงทุนต่อเนื่อง ซึ่งจะนำเอาเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการพัฒนาการบริการให้ดีขึ้น เช่น การพัฒนาแอปพลิเคชั่นช่วยการฝึกอบรมบุคลากร และการบริการ พร้อมตั้งเป้าภายในปี 2566 จะขึ้นเป็นผู้นำตลาดติดอันดับ Top 3 ด้านการให้บริการในธุรกิจอสังหาฯ ครบวงจรในประเทศไทย   นางสาวจตุพร กล่าวอีกว่า  ภายใน 3 ปีข้างหน้า หรือในปี 2568 คาดว่ารายได้จะเติบโต 2-3 เท่า ด้วยจุดแข็งของบริษัทที่ให้บริการธุรกิจต่าง ๆ แบบครบวงจร ตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ ซึ่ง​บริษัทวางแผนขยายงานบริการต่าง ๆ แบบครบวงจร ทั้งฝั่ง B2B และ B2C ครอบคลุมตั้งแต่ก่อนสร้างบ้าน ไปจนถึงการลงทุนบ้านหลังที่ 2  ขณะเดียวกันบริษัทคาดว่าจะสามารถเดินหน้าเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้ตามแผนงานที่วางเอาไว้   ในปี 2565 นี้ บริษัทเร่งขับเคลื่อนองค์กรตามแผนการเติบโตแบบพหุจักรวาล หรือ Origin Multiverse ให้บริษัทสามารถแยกและเติบโตแบบคู่ขนานกับบริษัทแม่ เดินหน้าธุรกิจบริการที่เกี่ยวข้องกับอสังหาฯ อย่างเต็มกำลัง ภายใต้แนวคิด “At Your Service Every Moment”  ด้วยการจัดทัพงานบริการของ 8 บริษัทย่อย ขยายสู่การบริการแบบครบวงจรใน 3 กลุ่มหลัก เป็น One-Stop Service ที่พร้อมให้บริการในทุกช่วงจังหวะของการใช้ชีวิต ให้บริการแก่ทั้งผู้บริโภค ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ และผู้ที่เกี่ยวข้องในแวดวงอสังหาริมทรัพย์ 3 กลุ่มธุรกิจบริการด้านอสังหาฯ 1.กลุ่ม Pre-Living Services ให้บริการตั้งแต่ก่อนเริ่มอยู่อาศัย ประกอบด้วย -ธุรกิจที่ปรึกษาและตัวแทนขายอสังหาริมทรัพย์ ดำเนินการโดย บริษัท แพสชั่น เรียลเตอร์ จำกัด (Passion Realtor) การให้คำปรึกษาด้านการพัฒนาโครงการ บริการทำการตลาด บริการซื้อ-ขายที่ดิน เป็นตัวแทนขายโครงการที่อยู่อาศัย ให้แก่ผู้พัฒนาอสังหาฯ พร้อมทั้งเป็นผู้ช่วยดูแลให้ผู้บริโภคได้มีบ้านและคอนโดที่ดีตั้งแต่ตอนซื้อ   -ธุรกิจออกแบบอาคาร โดย บริษัท ยูพีเอ็ม ดีไซน์ สตูดิโอ จำกัด (UPM Design Studio) ให้บริการออกแบบสถาปัตยกรรมทั้งภายนอกและภายในอาคารแก่ผู้พัฒนาอสังหา   -ธุรกิจบริหารงานโครงการและบริหารงานก่อสร้าง โดย บริษัท ยูไนเต็ด โปรเจคต์ แมเนจเมนท์ จำกัด (United Project Management หรือ UPM) ให้บริการบริหารงานโครงการและบริหารงานก่อสร้าง ให้บริการแก่ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ และโครงการก่อสร้างภาครัฐ   -ธุรกิจที่ปรึกษางานออกแบบ ตกแต่งและขนย้าย โดย บริษัท วายด์ อินทีเรีย จำกัด (Wyde Interior) ให้บริการตกแต่งภายในพร้อมทั้งมีบริการขนย้ายแก่ผู้บริโภคที่ต้องการย้ายจากบ้านเดิมไปยังบ้านใหม่ 2.กลุ่ม Living Services ให้บริการเมื่อผู้บริโภคเข้าพักอาศัยแล้ว ประกอบด้วย -ธุรกิจบริหารจัดการอาคาร ดำเนินการโดย บริษัท พรีโม แมเนจเม้นท์ จำกัด (Primo Management) และบริษัท คราวน์ เรสซิเดนซ์ จำกัด (Crown Residence) รับบริหารจัดการนิติบุคคลอาคารชุด บ้านจัดสรร อาคารสำนักงาน ศูนย์การค้า ดูแลคุณภาพชีวิตของลูกบ้านระหว่างการพักอาศัยทั้งในระดับโครงการทั่วไปจนถึงระดับลักชัวรี   -ธุรกิจบริการความสะอาดครบวงจร โดย บริษัท อูโน่ เซอร์วิส จำกัด บริการทำความสะอาดครบวงจร ให้บริการแก่ทั้งลูกค้าองค์กรและผู้บริโภคทั่วไป 3.กลุ่ม Living & Earning Services ให้บริการแก่ผู้อยู่อาศัยที่ต้องการได้รับประโยชน์จากอสังหาริมทรัพย์เพิ่มเติม เช่น ผลตอบแทนจากการลงทุนคอนโดมิเนียม เซอร์วิสอพาร์ตเมนท์ ความรู้ด้านการตลาดอสังหาฯ ​ประกอบด้วย   -ธุรกิจรับจ้างบริหารโรงแรมและที่อยู่อาศัย โดย บริษัท แฮมป์ตัน โฮเทล แอนด์ เรสซิเดนซ์ แมเนจเมนท์ จำกัด ดำเนินงานบริหารจัดการสินทรัพย์ (Asset Management) ช่วยบริหารจัดการผู้เช่าหรือผู้เข้าพัก สร้างรายได้หรือผลตอบแทนให้เป็นไปตามเป้าหมายของเจ้าของโรงแรมหรือที่พักอาศัย ร่วมวางแผนตกแต่ง จัดหาบริการและสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้เช่าหรือผู้เข้าพัก เพื่อสร้างประสบการณ์ที่ยอดเยี่ยมให้แก่ผู้เข้าพัก   -ธุรกิจอบรมด้านอสังหาริมทรัพย์ โดย บริษัท ยูไนเต็ด โปรเจคต์ แมเนจเมนท์ จำกัด จัดคอร์สอบรมให้ความรู้ด้านอสังหาริมทรัพย์แก่ผู้สนใจ ที่ต้องการเพิ่มพูนความรู้ตัวเองในการพัฒนาโครงการ การทำการตลาดอสังหาริมทรัพย์   นางสาวจตุพร กล่าวอีกว่า สำหรับสถานการณ์ธุรกิจบริการอสังหาฯ​​มีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่องตามทิศทางของธุรกิจพัฒนาอสังหาฯ โดยในช่วงปีนี้ กลุ่มธุรกิจที่มีแนวโน้มจะมีโอกาสเติบโตสูงคือกลุ่ม Pre-Living หรือกลุ่มก่อนการอยู่อาศัย เนื่องจากผู้พัฒนาอสังหาฯ​​ หลายราย มีแผนพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยกันในระดับ New-High ในรอบหลายปี ทำให้มีความต้องการที่ปรึกษาด้านการขาย ผู้บริหารงานโครงการก่อสร้าง ทีม Interior Design เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง บริษัทจะใช้จุดแข็งใน 3 ด้านหลัก ประกอบด้วย 1.ความเข้าใจพฤติกรรมและไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคยุคใหม่ 2.ความพร้อมการบริการครบวงจรแบบ One-Stop Service และ 3.ความเชี่ยวชาญของพนักงานบริการในแต่ละประเภทธุรกิจ เข้าแข่งขันกับตลาดทั้งฝั่ง B2B และ B2C ในช่วงนับจากนี้   อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง -เปิดโรดแมพธุรกิจ “ออริจิ้น” ใน 3 ปี ปูทางสู่มาร์เก็ตแคปกลุ่มธุรกิจ 1 แสนล้าน
เปิด 12 ไอเดีย 24 นักสร้างสรรค์ เบื้องหลังการออกแบบพาวิลเลียน งานสถาปนิก’65

เปิด 12 ไอเดีย 24 นักสร้างสรรค์ เบื้องหลังการออกแบบพาวิลเลียน งานสถาปนิก’65

หลังจากเกิดเหตุการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ตลอดระยะเวลากว่า 2 ปีที่ผ่านมา ได้ส่งผลให้หลายกิจกรรมไม่ว่าจะด้านธุรกิจ หรือด้านสังคม ได้หยุดชะงักลง ไม่สามารถจัดกิจกรรมต่าง ๆ ได้ แต่สำหรับปีนี้ สถานการณ์ทุกอย่างเริ่มคลี่คลาย ประชาชนส่วนใหญ่มีการฉีดวัคซีนเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันแล้วอย่างน้อยก็ 2 เข็ม ทำให้กิจกรรมต่าง ๆ เริ่มกลับมาจัดกันได้ปกติ อย่างเช่น งานสถาปนิก ที่เคยจัดประจำทุกปี   ในปีนี้งานสถาปนิก ’65  หรือ  Architect’22​ ก็เริ่มกลับมาจัดงานแล้ว โดยกำหนดจัดขึ้นตั้งแต่วันที่ 26 เมษายน – 1 พฤษภาคม 2565 ที่ชาเลนเจอร์ ฮอลล์ อิมแพ็ค เมืองทองธานี  ภายใต้แนวคิด CO-WITH CREATORS: พึ่งพา-อาศัย   หนึ่งในไฮไลท์สำคัญของงานสถาปนิก ’65 ที่เชื่อว่าหลายคนตั้งตารอ ในการจะเข้าไปมองหาไอเดียมาใช้ในงาน หรือการออกแบบสร้างสรรค์ที่อยู่อาศัยของตนเอง คือ การจัดแสดงนิทรรศการ ที่แต่ละปีก็มีธีมการจัดแสดงแตกต่างกัน  สำหรับปีนี้เป็นการจัดงานภายใต้แนวคิด “CO-WITH CREATORS: พึ่งพา-อาศัย” งานนิทรรศการจึงได้รวบรวมผลงานการสร้างสรรค์พาวิลเลียน ของสถาปนิกและนักสร้างสรรค์ 24 คน รวมทั้งหมด 12 ผลงาน ซึ่งแต่ละผลงานจะทำให้ผู้ชมเกิดแรงบันดาลใจและได้ความคิดสร้างสรรค์ใหม่ ๆ กลับบ้านไปอย่างแน่นอน 12 ผลงาน จาก 24 นักสร้างสรรค์พาวิลเลียน สถาปนิก '65 1.Co-with COVID : ชีวิต-ก้าวผ่าน-วิกฤต นิทรรศการที่เกิดจากน้ำพักน้ำแรงของ สาริน นิลสนธิ สถาปนิกหนุ่มผู้เชี่ยวชาญการออกแบบพื้นที่ขนาดเล็กจาก D KWA Design Studio และ ผศ.เจะอับดุลเลาะ เจ๊ะสอเหาะ ศิลปินผู้ทรงคุณวุฒิจาก Patani Artspace ซึ่งทั้งสองคนได้ยกการแพร่ระบาดของโควิด-19 มาเป็นไอเดียในการสร้างสรรค์พาวิลเลียนแห่งนี้ ทีมออกแบบได้ใช้ผ้าเป็นวัสดุหลักในการทำโครงสร้างและตัวกำหนดขอบเขตของพาวิลเลียน และภายในมีการแบ่งพื้นที่ออกเป็นส่วนๆ เพื่อสอดแทรกเนื้อหาที่พยายามตอบคำถามเรื่องการใช้ชีวิตร่วมกันในยุคโรคระบาด   นอกจากนี้ พวกเขายังจำลองความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และสิ่งมีชีวิตด้วยเอฟเฟคที่เกิดขึ้นจากวัสดุต่างๆ เช่น ท่อนำแสง (Lighting tube) แทนสิ่งมีชีวิต หรือ วัสดุสะท้อนแสงแทนเชื้อไวรัส เป็นต้น ซึ่งการจำลองนี้พยายามแสดงให้เห็นว่ามีชีวิตคู่ขนานที่ต้องอยู่ร่วมกันและพึ่งพาอาศัยกันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ตั้งแต่พวกเขาเกิดจนกลับสู่ธรรมชาติ และยังทำให้ผู้ชมคิดถึงเรื่องกฎเกณฑ์ของธรรมชาติและวัฏจักรของสิ่งมีชีวิตอีกด้วย 2.Local Innovation : ภาคภูมิ-ภูมิภาค Co-breathing house  Co-breathing house เป็นพื้นที่ส่วน Local Innovation pavilion ของงานสถาปนิกประจำปีนี้ ซึ่งถูกออกแบบโดย คำรน สุทธิ สถาปนิกจาก Eco Architect ผู้เชื่อว่าสถาปัตยกรรมทุกหลังที่ออกแบบจะต้องอยู่สบายและหายใจร่วมกับธรรมชาติ และ จีรศักดิ์ พานเพียรศิลป์ หรือ Joez19 ช่างภาพสายธรรมชาติที่เคยถ่ายภาพโฆษณาให้ Apple จนมีโอกาสพา Tim Cook ไปท่องเที่ยวเมืองไทย   จุดเด่นของพาวิลเลียนนี้ คือ การแบ่งพื้นที่ภายในออกเป็น 6 ห้องที่สามารถเข้าถึงได้เป็นลำดับแบบ linear circulation โดยแต่ละห้องจะมีการนำวัสดุพื้นถิ่นไทยมาทดลองทำเป็นเปลือกอาคาร (Facade) และมีการออกแบบผนังกั้นภายในห้องให้มีความกลมกลืนกับวัสดุพื้นถิ่นที่แตกต่างกัน นอกจากนี้ยังมีการเล่นภาพ เสียง และสัมผัส เพื่อให้คนที่อยู่ในห้องซึบซับทุกเนื้อหาของวัสดุพื้นถิ่นในแต่ละภาคที่อยู่ภายในได้อย่างเต็มที่ 3.Professional Collaboration : พึ่งพา-อาศัย  ปกรณ์ อยู่ดี และวิภาดา อยู่ดี จาก INLY STUDIO ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบบ้านสไตล์โมเดิร์น อยากสร้างพื้นที่ที่ให้ความรู้สึกเสมือนอยู่ท่ามกลางเกลียวคลื่นที่ถูกปกคลุมด้วยขยะรีไซเคิล ภายใต้โจทย์ที่ได้รับมอบหมายให้ออกแบบพื้นที่ที่แสดงถึงเอกลักษณ์ของพวกเขา รวมถึงชูบุคลิกและแนวคิดของ ดร.ณัฐพงศ์ นิธิอุทัย ผู้ก่อตั้งธุรกิจเพื่อสังคม ‘ทะเลจร’ ให้โดดเด่นด้วย พวกเขาจึงร่วมกันสร้างพาวิลเลียนที่ชื่อว่า Professional collaboration ขึ้นมา   สำหรับโครงสร้างของพาวิลเลียนจะเป็นการนำงานประติมากรรมมาจัดเรียงกัน เพื่อให้เกิดการรับชมแบบ 360 องศา แถมยังสร้างประสบการณ์การรับชมที่ไม่เหมือนกันในแต่ละจุดของพาวิลเลียนอีกด้วย ยิ่งไปกว่านั้นพาวิลเลียนนี้ยังทำให้คนตระหนักถึงจุดเด่นของวัสดุจากขยะในเรื่องความยืดหยุ่นและการใช้งานหลากหลายรูปแบบ รวมไปถึงปัญหาเรื่องขยะในมหาสมุทร และการแก้ไขปัญหาขยะด้วยการรีไซเคิลซึ่งเป็นเรื่องที่ ดร.ณัฐพงศ์ พยายามสื่อสารมาตลอด 4.รังมดแดง (Rang Mod Deang)  มดแดงเป็นสิ่งมีชีวิตที่ต้องพึ่งพาสิ่งรอบตัวเพื่อดำรงชีวิต ไม่ว่าจะเป็นแหล่งอาหาร ที่พักอาศัย ไปจนถึงสมาชิกภายในรังเองต่างก็มีหน้าที่ของตัวเองที่ต้องทำภายในรัง เรื่องนี้เป็นแรงบันดาลใจให้ ธรรศ วัฒนาเมธี และ อัชฌา สมพงษ์ สองสถาปนิกจาก Chan Cher Architects and Design จังหวัดสกลนคร และ ศุภชัย แกล้วทนงค์ นักออกแบบผลิตภัณฑ์แห่ง Nakkhid Design Studio ร่วมกันสร้างพาวิลเลียนที่สามารถจัดแสดงหุ่นจำลอง (Model) ได้ 100 ชิ้น จากสำนักงานสถาปนิก 100 แห่ง   โดยหุ่นจำลองแต่ละชิ้นก็เปรียบเสมือนตัวอ่อนของมดหรือไข่มดที่สมาชิกของสมาคมสถาปนิกสยามในพระราชูปถัมภ์ (ASA) ได้เลี้ยงดูฟูมฟักจนเติบโตขึ้นเป็นผลงาน แถมยังสะท้อนให้เห็นถึงการทำงานแบบพึ่งพาอาศัยกันอีกด้วย นอกจากนี้ภายในพาวิลเลียนยังมีการนำฟอร์มของไข่มดแดงมาทำเป็นแท่นจัดวางงานและโคมไฟตกแต่ง พร้อมนำวัสดุธรรมชาติที่เป็นเอกลักษณ์ท้องถิ่นของจังหวัดสกลนครและซี่ลูกกรงไม้กระถินณรงค์มาเป็นองค์ประกอบเสริมอีกด้วย 5.Street Wonder ดร.ณรงค์วิทย์ อารีมิตร  สถาปนิกผู้เชี่ยวชาญจากบริษัทออกแบบระดับนานาชาติ บริษัท สถาปนิก 49 จำกัด (ขอนแก่น) และ สร้างสรรค์ ณ สุนทร นักสร้างสรรค์จากเชียงใหม่ ได้รับโจทย์ให้ออกแบบพื้นที่สำหรับจัดแสดงผลงานนิสิตนักศึกษาสถาปัตยกรรม (ASA Student and Workshop) ซึ่งมีลักษณะเป็นพาวิลเลียนที่สามารถนำเสนอและเผยแพร่ความรู้ความสามารถของนักศึกษาสถาปัตยกรรม รวมถึงการทำความเข้าใจสภาวะแวดล้อม และปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตนักศึกษาได้เป็นอย่างดี   พวกเขายังต้องสร้างนิทรรศการที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด จึงได้ข้อสรุปออกมาว่า จะไม่เน้นการสร้าง แต่ใช้การหยิบยืมและปรับวิธีการใช้สิ่งต่างๆ ให้เกิดประโยชน์ใหม่กับบริบทใหม่ และด้วยเศรษฐกิจที่ตกต่ำจาก COVID-19 ทีมออกแบบจึงค้นหาหน่วยเล็กๆ ของประชาชนที่สามารถตอบโจทย์เรื่องการเคลื่อนที่ได้   สุดท้าย พวกเขาสนใจรถเข็นอาหารของพ่อค้าแม่ค้าในตลาด และอยากทำงานร่วมกับกลุ่มคนเหล่านั้นเพื่อให้เกิดประโยชน์ซึ่งกันและกัน จึงได้สร้างพาวิลเลียน Street Wonder ที่ชื่อพ้องเสียงกับ Street vendor (ผู้ค้าขายบนท้องถนน) ที่ได้นำเงินที่ใช้สร้างพาวิลเลียนไปเช่า รถเข็น โต๊ะ และที่นั่งจากพ่อค้าแม่ค้าตามทางเท้าและท้องถนน มาทำเป็นองค์ประกอบพื้นฐานในการทำพาวิลเลียนแทนการสร้างใหม่ 6.The Hijab  พาวิลเลียนที่ต้องการสื่อถึง ‘ฮิญาบ’ โดยสาโรช พระวงค์ สถาปนิก นักเขียน และอาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ และเอ็มโซเฟียน เบญจเมธา นักออกแบบเซรามิกจากจังหวัดปัตตานี ได้เนรมิตพื้นที่นี้โดยการใช้ไม้เคร่ามาขึ้นรูปเป็นโครงสร้างของพาวิลเลียนพร้อมใช้ผ้าสีดำมาห่อหุ้มตัวโครงสร้างไว้ สำหรับตัวผ้านอกจากจะสื่อถึงฮิญาบอันเป็นตัวแทนความรู้สึก วิถีชีวิต และวัฒนธรรมของภาคใต้แล้ว สีดำบนตัวผ้ายังช่วยดูดซับสี และทำให้ผู้ชมมีสมาธิในการรับชมงานนิทรรศการมากขึ้น พร้อมกันนั้น มันยังกระตุ้นให้ผู้ชมเกิดความอยากรู้อยากเห็นผลงานหรือสิ่งที่อยู่เบื้องหลังผืนผ้าสีดำอีกด้วย 7.กำแพงแห่งปัญญา (Wall of Wisdom)  พาวิลเลียนสำหรับจัดแสดงผลงานรางวัลการออกแบบสถาปัตยกรรมดีเด่นและนิทรรศการรางวัลอาคารอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรมประจำปี 2565 ที่เกิดขึ้นด้วยฝีมือของ ธนชาติ สุขสวาสดิ์ และ กานต์ คำแหง สองสถาปนิกจาก Pommballstudio และ  กาญจนา ชนาเทพาพร เจ้าของแบรนด์แฟชั่น BWILD ISAN   ตัวพาวิลเลียนถูกนำเสนอในลักษณะ sculpture architecture ซึ่งมีการนำแรงบันดาลใจจากสิ่งที่เป็นธรรมชาติมาปรับและใช้เป็นแนวทางในการกำหนดพื้นที่และพัฒนารูปลักษณ์ พร้อมแนวคิดในการออกแบบพาวิลเลียนให้คล้ายคลึงกับการลำเลียงอาหารของใบไม้ โดยมีการใช้ผนังกั้น (Partition) มาใช้เป็นองค์ประกอบของจุดจัดแสดงหลักและตัวถ่ายทอดแนวคิดในการออกแบบ ตัวผนังกั้นทั้งหมดถูกนำมาจัดเรียงซ้อนกันเพื่อสร้างทางสัญจรที่ถูกแยกออกเป็นแฉก   นอกจากนี้ ผนังแต่ละผืนจะมีความสูงต่ำไม่เท่ากัน โดยมีการวางไล่เรียงลำดับต่ำไปสูง และจากเล็กไปใหญ่สลับกัน เพื่อจำลองการซ้อนทับกันของวัสดุจากธรรมชาติอย่างหน่อไม้และเปลือกไม้ ซึ่งการออกแบบในลักษณะนี้ยังทำให้ผู้ชมเกิดประสบการณ์และการรับรู้ที่หลากหลายแบบไม่ซ้ำกันในแต่ละจุดอีกด้วย 8.ชาวนาและช่างก่อสร้าง (Farmer and Builder) ซัลมาน มูเก็ม จากกลุ่มสถาปนิกมุสลิมเพื่อชุมชน และ รติกร ตงศิริ นักสร้างสรรค์ และผู้ก่อตั้ง ‘ป่านาคำหอม’ ได้ร่วมกันสร้างสรรค์พาวิลเลียนสำหรับจัดแสดงนิทรรศการประกวดแบบภาครัฐ ซึ่งพื้นที่ภายในต้องการเล่าเรื่องของกลุ่มชาวนาไทอีสานที่เป็นคนรุ่นใหม่ซึ่งมีเป้าหมายเดียวกัน คือ ทำนาประณีตแบบอินทรีย์ จึงมีการจัดแสดงพันธุ์ข้าวที่ชาวนาไทอีสานอนุรักษ์ไว้กว่า 150 สายพันธุ์ เพื่อเล่าถึงความหลากหลายของพันธุ์ข้าวที่เป็นการส่งต่อวัฒนธรรมและภูมิปัญญาของบรรพบุรุษมาจนถึงชาวนารุ่นปัจจุบัน   การก่อสร้างพื้นที่นี้จะใช้เทคนิคที่เป็นการนำทักษะเชิงช่างพื้นฐานของช่างก่อสร้างมาใช้ในการออกแบบ พร้อมกับการนำวัสดุจากงานก่อสร้างง่ายๆ มาใช้ เพื่อสื่อถึงความงามและศิลปะที่เกิดขึ้นจากฝีมือของช่างเหล่านี้ นักออกแบบยังอยากให้คนเห็นถึงว่าอาชีพช่างมีบทบาทสำคัญและเท่าเทียมกับวิชาชีพอื่น 9.หมอบ้านอาษา หนึ่งในไฮไลท์ของงานสถาปนิกที่ผู้คนเฝ้ารอทุกปี คือ คลินิกหมอบ้านอาษา ซึ่งเป็นพาวิลเลียนที่เปิดให้ทุกคนสามารถปรึกษาทุกปัญหาเรื่องบ้านและการก่อสร้างกับทีมสถาปนิกที่เป็นจิตอาสาได้ โดยการออกแบบบูทของปีนี้เป็นฝีมือของ จักรพันธุ์ บุษสาย และ วาสิฏฐี ลาธุลี สองสถาปนิกจาก S OO N T A R E E + และ วีรดา ศิริพงษ์ นักออกแบบผลิตภัณฑ์และผู้ก่อตั้งแบรนด์ ‘carpenter   พวกเขาร่วมกันเสนอแนวคิดที่ผสมกันระหว่างปรัชญาในการออกแบบผลงานของวีรดากับกระบวนการการออกแบบของทีมสถาปนิก  S OO N T A R E E + ผ่านการออกแบบพาวิลเลียนที่สร้างขึ้นจากฟอร์มสามเหลี่ยมด้านเท่าขนาด 1 เมตรที่ถูกนำมาประกอบกันเป็นฟอร์มของพาวิลเลียน ซึ่งสามเหลี่ยมด้านเท่านับเป็นเอกลักษณ์ของ ”TRI SCALE” สินค้าที่เป็นภาพจำของ ‘carpenter   สำหรับตัวพาวิลเลียนได้ถูกสร้างขึ้นจากไม้อัด OSB ที่ได้จากเศษไม้และขี้เลื่อย, ผ้าจากแบรนด์ moreloop ที่เหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมสิ่งทอ และยังใช้แผ่นโพลีคาร์บอเนตใส ซึ่งเป็นวัสดุก่อสร้างที่หาได้ง่ายในท้องตลาดเพื่อสร้างให้พื้นที่พาวิลเลียนมีความกึ่งทึบกึ่งโปร่งแสง แถมยังทำให้ตัวพื้นที่ดูน่าดึงดูดขึ้นอีกด้วย 10.ASA SHOP PLAYBRARY ASA SHOP จะเป็นพื้นที่สำหรับขายหนังสือ สื่อสิ่งพิมพ์ และผลิตภัณฑ์จากสมาคมสถาปนิกสยามฯ นอกจากนี้ยังเป็นพื้นที่ในการจำหน่ายงานออกแบบของเหล่าสถาปนิกและนักสร้างสรรค์ด้วย ซึ่งการออกแบบพาวิลเลียนในปีนี้เป็นผลงานของ ชารีฟ ลอนา สถาปนิกและดีไซน์เนอร์ผู้คิดบวกจาก Studio Act of Kindness และ สเริงรงค์ วงษ์สวรรค์ จากแบรนด์กระเป๋าชื่อดังอย่าง Rubber Killer   ทั้งสองอยากให้พื้นที่นี้เหมาะสมกับทุกคน พวกเขาเลยเนรมิตพื้นที่ experience space ที่ทำให้เกิดความสนุกในการเรียนรู้และทุกคนใช้งานได้ สำหรับสินค้าที่อยู่ในร้านจะถูกจัดเรียงเหมือนเป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่ทั้งหมด เพราะทีมออกแบบอยากเล่นกับประสบการณ์ของผู้ใช้งาน ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่เริ่มกลับมาอยู่ในพื้นที่สาธารณะอีกครั้ง หลังจากอยู่ภายใต้มาตรการรักษาระยะห่างในช่วงเวลาของโรคระบาดกว่า 2 ปีที่ผ่านมา   ความโดดเด่นของพื้นที่แห่งนี้ คือ มีการจัดสรรพื้นที่ออกเป็น 3 ส่วนตามการใช้งาน ได้แก่ ส่วนขาย ส่วนนั่งเล่น และส่วนชมสินค้า และตัวโครงสร้างยังทำมาจากวัสดุทางสถาปัตยกรรม การออกแบบภายใน และการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่สามารถนำไปใช้ต่อได้หลังงานจบ 11.'รส < ลด > สัมผัส' (Touchless) สำหรับพื้นที่ที่เป็นจุดนัดพบ พักผ่อน และรับประทานของว่างในงานอย่าง ASA Club จะถูกรังสรรค์โดย ปรัชญา สุขแก้ว สถาปนิกจาก Nuzen ผู้ทำงานสถาปัตยกรรมที่สร้างจากความไม่เชื่อ (An Architecture from disbelief) และ สุเมธ ยอดแก้ว เจ้าของค่ายเพลงอินดี้จากเชียงใหม่ Minimal Records โดยตัวพาวิลเลียนได้ถูกสร้างขึ้นภายใต้แนวคิดการลดทอนสิ่งที่ไม่จำเป็นออกจนเหลือเพียงใจความสำคัญ   ตัวโครงสร้างของพาวิลเลียนจะทำมาจากกระดาษซึ่งถูกนำมาขึ้นรูปเป็นหุ่นจำลองกระดาษหรือการจัดการพื้นที่ของลังกระดาษ และยังมีการนำความโดดเด่นของนักออกแบบมาผสมและแสดงในรูปแบบแสงและเสียงที่เป็นเอฟเฟคที่ซ่อนอยู่ในตัวงาน จนเกิดเป็นพื้นที่สร้างสรรค์ที่ถ่ายทอดมุมมองและเรื่องราวของครีเอเตอร์ออกมาได้เป็นอย่างดี 12.ขวัญ (เอย ขวัญ มา) (Spiral) สำหรับลานกิจกรรมภายในงานได้รับการออกแบบโดย ปณชัย ชัยจิรรัตน์ และ ปุญญิศา ศิลปรัศมี สองนักออกแบบจากพื้นที่ศิลปะร่วมสมัยในอุดรธานี Noir Row Art Space และ ภูริทัต ชลประทิน สถาปนิกผู้มีสไตล์โดดเด่นจาก Thammada Architect ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจมาจากลวดลายก้นหอยอันเป็นภาพจำของเครื่องปั้นดินเผาบ้านเชียงในจังหวัดอุดรธานี และมีการพัฒนาไอเดียต่อโดยการนำลายเส้นก้นหอยหรือขวัญที่อยู่กับร่างกายมนุษย์มาช้านาน มาทำเป็นพาวิลเลียนชื่อว่า ขวัญ (เอย ขวัญ มา)’ หรือ ‘Spiral’ ซึ่งมีวิธีการสร้างโดยการนำเส้นฝ้ายมาขึ้นรูปด้วยการเรียงเป็นเส้นๆ ตามโครงฉากที่ถูกออกแบบให้เป็นเสมือนผนังบางๆ วนโดยรอบพื้นที่ ก่อให้เกิดน้ำหนักตามสีที่ถูกเรียงซ้อนทับกัน สำหรับผู้สนใจเข้าชมงานเตรียมตัวให้พร้อมไปชมนิทรรศการได้ตลอด 6 วัน ตั้งแต่วันที่ 26 เมษายน – 1 พฤษภาคม 2565 ที่ชาเลนเจอร์ ฮอลล์ อิมแพ็ค เมืองทองธานี  สามารถลงทะเบียนเข้าชมงานล่วงหน้าได้ที่: https://bit.ly/36s6t2A หรือ ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่: www.asaexpo.org   อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง -งานสถาปนิก’63 โดนพิษโควิด-19 เลื่อนจัดงานเป็นวันที่ 7-12 กรกฎาคมนี้
10 ไอเดีย เปลี่ยนผนังห้องธรรมดาด้วยเทปกาวง่ายๆ ทำได้เอง

10 ไอเดีย เปลี่ยนผนังห้องธรรมดาด้วยเทปกาวง่ายๆ ทำได้เอง

10 ไอเดีย เปลี่ยนผนังห้องธรรมดาด้วยเทปกาวง่ายๆ ทำได้เอง ในช่วงที่ต้องทำงานแบบ work from home นี้ การอยู่ในห้องทั้งวันหลายคนคงจะเกิดอาการเบื่อ อาจจะต้องมีการปรับเปลี่ยนบรรยากาศภายในห้อง หรือลองตกแต่งสิ่งรอบๆ ข้างบ้าง เพื่อเป็นการเพิ่มความน่าสนใจให้กับห้องเดิมที่เราเห็นอยู่ทุกวันจนชินตา ครั้งนี้เรามีไอเดียมานำเสนอ ใช้อุปกรณ์ไม่เยอะ และสามารถทำได้ง่ายๆ ด้วยตัวเอง ที่สำคัญใช้งบประมาณไม่มาก ก็สามารถเปลี่ยนบรรยากาศจากห้องเดิมให้เหมือนได้ห้องใหม่กันไปเลย   ครั้งนี้เราเลือกวิธีการอย่างง่าย ที่เชื่อว่าทุกคนสามารถทำได้ด้วยตัวเอง อย่างการทาสีผนัง บางคนอาจจะรู้สึกว่าเป็นงานที่ยากเพราะไม่เคยทำ แต่จริงๆ แล้วเราสามารถทำได้ด้วยตัวเองเพียงแค่ใช้เทปกาวเป็นตัวช่วยสร้างแพทเทิร์นลวดลายต่างๆ เพื่อเปลี่ยนสีผนังห้อง และปรับบรรยากาศให้ห้องของเราน่าอยู่มากยิ่งขึ้น แล้วจะมีแพทเทิร์นลวดลายอะไรบ้างไปดูพร้อมๆ กันเลยดีกว่า   10 ไอเดีย เปลี่ยนผนังห้องธรรมดาด้วยเทปกาวง่ายๆ ทำได้เอง   1.Color blocking การทาสีบล็อกแบบนี้เป็นวิธีที่ง่ายที่สุดในการทาผนังโดยใช้เทปกาว เนื่องจากส่วนใหญ่แล้วผนังจะมีสีเดียวกัน และยังเป็นลายที่มีการใช้เทปกาวก็จำนวนน้อยกว่าเทคนิคอื่นๆ เหมาะสำหรับห้องที่เปิดกว้างและมีพื้นที่ผนังโล่งกว้าง การทาสีบล็อกแบบนี้เป็นวิธีที่ดีอีกรูปแบบนึงในการไม่ทำให้พื่นที่ดูว่างโล่งจนเกินไป     2.Triangle pattern หากว่าคุณกำลังมองหาการออกแบบลวดลายฝาผนังที่เรียบง่าย สบายตา แต่ในขณะเดียวกันก็ยังดูมีดีไซน์เก๋ไม่น่าเบื่อจนเกินไป ลายสามเหลี่ยมนี้ก็เป็นหนึ่งในตัวเลือกที่ดี ซึ่งแพทเทิร์นนี้อาจจะใช้เวลาทาสีนานมากขึ้นอีกหน่อย เนื่องจากต้องรอให้สีแต่ละส่วนแห้งก่อนจึงจะทาสีในส่วนถัดไปได้ แต่ผลลัพธ์ที่ได้ก็น่าประทับใจไม่น้อยเลยทีเดียว ลองเลือกชุดสีที่ใกล้เคียงกัน หรือเลือกใช้สีที่เป็นคู่ตรงข้ามกันหากคุณต้องการความฉูดฉาดโดดเด่นไม่ซ้ำใคร รับรองว่าจากผนังบานเรียบๆ จะป๊อปขึ้นทันตา     3.Vertical stripes ลายทางแนวตั้งก็เป็นอีกหนึ่งลายที่นิยมใช้กันมาก เนื่องจากมีความดึงดูดสายตา และสามารถช่วยให้ห้องที่มีเพดานต่ำดูสูงขึ้นได้ ส่วนใหญ่เรามักจะเลือกใช้เทปกาวให้มีขนาดเท่าๆ กัน หรือกะระยะแบ่งความกว้างให้สม่ำเสมอ แต่ถ้าอยากจะลองเปลี่ยนความกว้างของแถบสีแต่ละแถบให้กว้างขึ้น หรือเป็นแพทเทิร์นแบบไม่เท่ากันเพื่อเพิ่มความน่าสนใจให้กับผนังก็น่าสนใจไม่น้อย แม้กระทั่งการเลือกทาแถบสีไปจนถึงบนเพดานเลยก็สวยไปอีกแบบ     4.Horizontal stripes เทคนิคการทาสีเป็นแถบแนวนอนนั้นเหมือนกับการใช้กระดาษกาวแบ่งแถบสีเส้นแนวตั้งเลย แค่เปลี่ยนจากการใช้เทปกาวแปะขึ้นลงก็สลับเป็นซ้ายขวาแทน ลวดลายแพทเทิร์นแนวนอนนี้เป็นอีกรูปแบบที่ดีในการช่วยให้ห้องแคบรู้สึกกว้างขึ้น นอกจากนี้การใช้ลายทางกว้างเท่ากันก็ช่วยให้ความรู้สึกสว่างและโปร่ง สบายตามากขึ้นด้วย ซึ่งเราอาจจะเพิ่มลูกเล่นของสีเข้าไปโดยใช้เฉดสีต่างๆ ของสีเดียวกันก็จะสร้างเอฟเฟกต์แบบ Ombre หรือการไล่สีให้กับผนังธรรมดาสวยขึ้นได้ โดยให้เริ่มด้วยสีที่เข้มที่สุดอยู่ด้านล่างแล้วค่อยๆ ไล่เฉดสีขึ้นไป และใช้สีที่สว่างที่สุดทาด้านบน     5.Geometric blocks หากคุณเบื่อกับแพทเทิร์นง่ายๆ ลายเดิมๆ แล้ว ลองเลือกใช้รูปแบบของรูปทรงเรขาคณิตมาช่วยให้ผนังดูสดใส และมีลวดลายที่ซับซ้อนมากยิ่งขึ้นได้ ทั้งรูปทรงสี่เหลี่ยมขนาดต่างๆ วางทับซ้อนกัน หรือรูปสามเหลี่ยมที่หลากหลายมาใช้ หรือแม้แต่การนำรูปทรงในแบบต่างๆ มามิกซ์แอนด์แมทช์เข้าด้วยกัน และลองใช้สีโทนตรงข้ามกัน ทั้งโทนร้อนหรือโทนเย็นมาสร้างลูกเล่นเพิ่มเข้าไปให้กับผนังขาวๆ มีรูปแบบที่ดูน่าสนใจยิ่งขึ้น     6.Paint a trellis วิธีการของลวดลายแบบตาข่ายนี้ เป็นการทาสีให้เป็นช่องบนผนัง ซึ่งเป็นวิธีที่ดีในการสร้างความรู้สึกให้เหมือนกับมีสวนอยู่ในห้อง โดยเราจะใช้เทปกาวสร้างลวดลายตาข่ายเพื่อหลอกตา เพียงแค่กะระยะห่างให้เท่าๆ กัน แล้วเลือกทาสีเฉพาะช่องที่เว้นไว้ จากนั้นเราสามารถลองวาดเถาวัลย์ พวกไม้เลื้อยอย่าง Wisteria หรือแม้แต่เลือกหาไม้ประดับทั้งของไม้จริง และไม้ประดิษฐ์มาประดับเพิ่ม ก็เป็นทางเลือกที่ทำให้ห้องดูร่มรื่มและสบายตาได้อีก     7.Herringbone pattern ลวดลายกางปลานี้คนส่วนใหญ่มักจะนำไปเป็นลายสำหรับปูพื้นห้อง เพราะเป็นลายที่เพิ่มความหรูหรา และเป็นแพทเทิร์นที่สวยงาม เพียงแค่ใช้วัสดุจากไม้เข้ามา ก็ทำให้บรรยากาศของห้องดูคลาสสิค อีกทั้งยังเป็นรูปแบบที่นิยมกันมาอย่างยาวนาน ครั้งนี้เราลองเปลี่ยนจากลวดลายบนพื้นมาเป็นลวดลายกางปลาบนผนังดูบ้าง โดยเราสามารถวาดได้ด้วยตัวเอง เป็นเส้นทะแยงไปมาอย่างเป็นระเบียบ แต่ถ้าอยากได้เส้นของลายกางปลาเท่าๆ กัน ก็แค่ใช้เทปกาวแปะเป็นแนวเฉียงสลับกัน ทั้งนี้อาจจะใช้สีที่คล้ายกับไม้ด้วยก็ได้ หรือลองเลือกเป็นสีโทนอ่อนไม่เข้มจนเกินไป ก็จะเพิ่มความน่าสนใจได้เช่นกัน     8.Diamond pattern ลวดลายเพชรนี้ก็เป็นแพทเทิร์นอีกรูปแบบหนึ่งที่สามารถใช้เทปกาวในการสร้างสรรค์งานศิลปะลงบนผนังได้ไม่ยาก และเป็นอีกลายที่คลาสสิค เพียงแค่ใช้เทปกาวแปะเป็นแนวเฉียงสลับซ้ายขวาในแนวทะแยงมุมในมุมที่เท่าๆ กัน แล้วทางสีในช่องที่ต้องการได้เลย แค่นี้ก็เป็นอีกทางเลือกที่ดีสำหรับห้องที่เปิดโล่งและมีพื้นที่เยอะที่จะทำให้ห้องสดใสขึ้นมาได้ทันที     9.Argyle ลวดลายนี้เป็นการเพิ่มความยากและเลเวลอัพการทาผนังให้ดูมืออาชีพมายิ่งขึ้น เพราะเป็นแพทเทิร์นที่กินเวลากว่ารูปแบบของ Diamond pattern ในขั้นเริ่มต้นอาจจะมีความคล้ายกัน แต่อาจจะใช้เทปกาวเยอะกว่า และมีความซับซ้อนมากกว่าในการเลือกสี และการเลือกเว้นระยะของแถบสีให้มีเส้นเล็กหรือใหญ่เพื่อสร้างลวดลายที่ซับซ้อนมากขึ้น รวมถึงการเลือกทาสีในเฉดเดียวกันแต่มีความเข้มอ่อนไม่เท่ากันในแต่ละช่อง ซึ่งต้องอาศัยการวางแผนที่ดี แต่เมื่อเสร็จแล้ว แพทเทิร์นนี้จะช่วยให้ห้องดูโมเดิร์นขึ้นมาได้     10.Gingham ผนังลายตารางถือเป็นแพทเทิร์นยอดฮิตสุดคลาสสิคอีกอันนึงที่น่ารัก สดใส และนิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย โดยมักจะเลือกใช้สีอ่อนไม่ว่าจะเป็นสีโทนร้อนหรือโทนเย็นก็ได้หมด โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเลือกสีพาสเทลมาใช้กับลายตารางก็จะเพิ่มความหวานให้กับห้องได้ เนื่องจากเรามักจะเลือกสีที่มาใช้ตัดกับพื้นสีขาวเดิมของผนัง แค่นี้ก็จะช่วยให้ไม่ดูทึบและหนักเกินไป เราสามารถทาได้ทั้งผนังในบางผนังของห้อง หรือจะทาแค่ครึ่งเดียวของผนังก็น่าสนใจเช่นกัน ซึ่งเป็นอีกแพทเทิร์นยอดนิยมที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้กับในทุกๆ งานศิลปะจริงๆ   เป็นอย่างไรบ้างกับไอเดียการออกแบบเพ้นท์ผนังด้วยเทปกาวที่เรานำมาฝากในครั้งนี้ ใครที่กำลังเบื่อกับสีผนังห้องเรียบๆ แบบเดิม ก็สามารถนำไปปรับใช้ให้เข้ากับผนังที่มีหรือส่วนอื่นๆ ในบ้านได้ ไม่ว่าจะเป็นห้องนั่งเล่น ห้องโถง ห้องนอน หรือแม้แต่ห้องครัว ไม่ต้องกลัวว่าจะทำเองไม่ได้ ลองเลือกลวดลายง่ายๆ เป็นการเริ่มต้นก่อน เราเชื่อว่าทุกคนสามารถทำตามได้อย่างแน่นอน และจะยิ่งเพิ่มความภาคภูมิใจได้เมื่อเสร็จแล้ว เพราะทุกอย่างเราได้ทำด้วยสองมือของตัวเอง   cr. fromhousetohome   บทความที่น่าสนใจ แต่งห้องนอน 12 ราศี ให้ถูกโฉลก  เฮง ๆ ปัง ๆ กับ  “หมอช้าง” ของแต่งบ้านเสริมฮวงจุ้ย ความรัก หาคู่แท้  
6 ไฮไลท์ศูนย์ฯ สิริกิติ์โฉมใหม่ ที่พร้อมใช้งาน ก.ย.65

6 ไฮไลท์ศูนย์ฯ สิริกิติ์โฉมใหม่ ที่พร้อมใช้งาน ก.ย.65

เฟรเซอร์ส ประกาศพร้อมส่งมอบงาน สร้างศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์โฉมใหม่ ทันกำหนดเวลา เปิดบริการแน่ กันยาย 65 หลังก่อสร้างคืบหน้าแล้ว 60% พร้อมชู 6 ไฮไลท์น่าสนใจ   ในเดือนกันยายน 2565 ทางบริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ “FPT” ในฐานะผู้พัฒนาและบริหารงานก่อสร้าง “ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์” (Queen Sirikit National Convention Center หรือ QSNCC) ของ บริษัท เอ็น.ซี.ซี. แมนเนจเม้นท์ แอนด์ ดิเวลลอปเม้นท์ จำกัด หรือ “NCC” ยืนยันแล้วว่า ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ จะพร้อมเปิดให้บริการอย่างแน่นอน  จากกำหนดระยะเวลาการพัฒนาและก่อสร้างประมาณ 3 ปี ซึ่งการดำเนินการก่อสร้างปัจจุบันเป็นไปตามกำหนดการและแผนที่ได้วางเอาไว้  ปัจจุบันโครงการมีความคืบหน้าแล้วกว่า 60% นายวิทวัส คุตตะเทพ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส สายโครงการเชิงพาณิชยกรรม เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ คอมเมอร์เชียล (ประเทศไทย)  เปิดเผยว่า ช่วงที่ผ่านมาแม้จะมีปัญหากจากการล็อกดาวน์แคมป์ก่อสร้างในช่วงเดือนมิถุนายน – กรกฎาคม 2564 ร่วม 60 วัน แต่บริษัทฯ ยังคงสามารถรักษาไทม์ไลน์การก่อสร้างได้ตามแผน   เมื่อมีการปรับปรุงศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์โฉมใหม่ โจทย์สำคัญในการพัฒนา คือ ต้องสร้างความแตกต่างและความเป็นสุดยอดศูนย์ประชุมที่ดีที่สุดในประเทศไทย มาใช้ในการพัฒนาโครงการ เพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมายของ QSNCC ในการเป็น The Ultimate Inspiring World Class Event Platform for All และนี่น่าจะเป็น 6 ไฮไลท์สำคัญที่จะได้เห็นใน​ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์โฉมใหม่ ที่จะเปิดตัวในเดือนกันยายน 2565 6 ไฮไลท์ศูนย์ฯ สิริกิติ์โฉมใหม่ 1.ทางเชื่อมเข้า MRT เดิมผู้ที่เดินทางด้วยรถไฟฟ้าใต้ดิน มาลงสถานีคลองเตย จะต้องขึ้นบันไดเลื่อน เพื่อเข้ามายังศูนย์ประชุมฯ แต่หลังจากนี้ มีทางเลือกเพิ่มขึ้นกับทางเชื่อมโดยตรงจากสถานีรถไฟฟ้า เข้าสู่ตัวศูนย์ประชุมโดยไม่ต้องขึ้นมายับระดับพื้นถนน ซึ่งทางศูนย์ประชุมฯ ได้ดำเนินการก่อสร้างทางเชื่อม ด้วยงบประมาณ 60 ล้านบาท ปัจจุบันการก่อสร้างมีความคืบหน้าแล้ว 35% กำหนดแล้วเสร็จพร้อมใช้งานได้ในช่วงเดือนมิถุนายน 2565 2.ที่จอดรถ 3,000 คัน ความลำบากในการมาใช้บริการศูนย์ประชุมฯ ของผู้ที่ใช้รถยนต์ส่วนตัว ในอดีตก่อนหน้านี้ คือ การหาที่จอดรถ ซึ่งถือว่าหาได้ยาก เพราะพื้นที่จอดรถของศูนย์ประชุมฯ มีจำกัดได้เพียง 600 คันเท่านั้น แต่นับจากนี้ผู้ที่ขับรถยนต์ส่วนตัวมาใช้บริการจะหมดปัญหาสถานที่จอดรถที่หาได้ยาก  เพราะศูนย์ประชุมฯ ได้เพิ่มพื้นที่จอดรถมากถึง 5 เท่า หรือประมาณ 3,000 คันเลยทีเดียว และไม่ต้องปล่อยให้รถตากแดดตากฝน เพราะลานจอดรถอยู่ในร่ม บริเวณชั้นใต้ดิน 2 ชั้น 3.พื้นที่ใหญ่เท่า 50 สนามฟุตบอล ที่ผ่านมาศูนย์ประชุมฯ ได้รับการตอบรับจากบริษัท หน่วยงานและองค์กรต่าง ๆ มาใช้พื้นที่จัดงานระดับเล็ก ๆ จนถึงระดับประเทศมากมาย แต่พื้นที่ก็มีไม่เพียงพอกับความต้องการ ทำให้เอ็น.ซี.ซี.วางแผนขยายพื้นที่ให้ใหญ่ขึ้น โดยมีการก่อสร้างศูนย์ประชุมฯ แบบเต็มพื้นที่ โดยมีพื้นที่รวม 300,000 ตารางเมตร ใหญ่กว่าเดิมถึง 5 เท่า ขนาดความใหญ่ของศูนย์ประชุมฯ เทียบเท่ากับสนามฟุตบอลมาตรฐานถึง 50 สนามมาเรียงกัน แต่ถ้าเฉพาะพื้นที่จัดงานซึ่งเป็น Main Hall จะมีขนาดเท่ากับ 10 สนามฟุตบอล หรือ 50,000 ตารางเมตร และแน่นอนว่าเมื่อพื้นที่ขนาดใหญ่เท่านี้แล้ว ทำให้ศูนย์ประชุมฯ โฉมใหม่ จะรองรับผู้เข้ามาใช้บริการได้มากถึง 100,000 คนต่อวันเลยทีเดียว จากเดิมรองรับได้วันละ 25,000 คน   โดยศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ประกอบด้วยฮอลล์ขนาดใหญ่ 2 ฮอลล์ ห้องสำหรับจัดประชุมสัมมนาขนาดใหญ่ 2 ห้อง และ ห้องประชุมกว่า 50 ห้อง จึงมีความยืดหยุ่นในการรองรับความต้องการด้านอีเวนต์และงานประชุมทุกรูปแบบ 4.จุดชมวิวสวนเบญจกิติ ศูนย์ประชุมฯ โฉมใหม่ จะได้ปรับผนังของพื้นที่ Pleanary Hall ด้านทิศที่ติดกับสวนเบญจกิติ ให้เป็นกระจกทั้งหมด ทำให้มองเห็นวิวของสวนเบญจกิติ ซึ่งได้ปรับปรุงโฉมใหม่เช่นกัน ซึ่งทางเฟรเซอร์ฯ ยืนยันว่า จะทำให้ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ กลายเป็นศุนย์ประชุมที่มีจุดชมวิวสวยที่สุดของกรุงเทพฯ นอกจากนี้ ในอนาคตทางศูนย์ประชุมฯ จะทำการเชื่อมต่อพื้นที่ของสวนป่าที่ทางกรุงเทพมหานครจะดำเนินการในอนาคตด้วย 5.ศูนย์ประชุมรองรับเทคโนโลยี 6G ปัจจุบันถือได้ว่าเราอยู่ในยุคการสื่อสารด้วยเทคโนโลยี 5G แม้ว่าการใช้งานยังไม่เต็มพื้นที่ และผู้คนส่วนใหญ่ก็ยังไม่ได้ใช้เทคโนโลยี 5G ทั้งหมด แต่สำหรับการนำเอาระบบเทคโนโลยีเข้ามาใช้ภายในศูนย์ประชุมฯ โฉมใหม่ ได้เตรียมรองรับกับเทคโนโลยี 5G ไว้ทั้งหมดแล้ว และยังสามารถรองรับได้ถึง 6G ด้วยซ้ำ รวมถึงเทคโนโลยีอื่น ๆ ที่รองรับกับวิถีชีวิต New Normal อาทิ Touchless access ระบบตรวจจับความหนาแน่นของผู้คน เป็นต้น 6.ศูนย์ประชุมแห่งแรกได้รับ LEED การพัฒนาและก่อสร้างศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ในรูปโฉมใหม่ ได้ยึดหลักความยั่งยืน (Sustainability) มาใช้ในการดำเนินการตั้งแต่เริ่มต้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการประหยัดพลังงาน การใช้โซล่าห์เซลมาช่วยลดการใช้พลังงานไฟฟ้า การใช้วัสดุการก่อสร้างที่สามารถนำมารีไซเคิลได้ถึง 70% การใช้วัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากกว่า 25% เป็นต้น ส่งผลให้ปัจจุบันศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ได้รับการรับรางวัล LEED* ระดับ Silver จากสหรัฐอเมริกา ถือเป็นศูนย์ประชุมแห่งแรกในประเทศไทยที่ได้รับรางวัลนี้ ( *LEED:Leadership in Energy and Environmental Design หรือการออกแบบเพื่อความเป็นผู้นําทางด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม คือระบบที่ถูกนำมาใช้ประเมินมาตรฐานอาคารประหยัดพลังงานและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และเป็นระบบอาคารเขียวที่ถูกนำมาใช้ทั่วโลก  โดยสภาอาคารสีเขียวสหรัฐอเมริกาหรือ U.S. Green Building Council (USGBC) ได้เป็นผู้กำหนดเกณฑ์ในการประเมินอาคารต่าง ๆ ทั้งในสหรัฐอเมริกาและประเทศต่าง ๆ เกือบทั่วโลก มานานกว่า 10 ปี รวมถึงการตั้งระบบสำหรับการออกแบบ การก่อสร้าง การดำเนินงาน การบำรุงรักษาอาคารเขียว บ้านและพื้นที่โดยรอบ ซึ่งมีเป้าหมายให้เจ้าของและผู้ดำเนินการมีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ-wikipedia.com)
คอตโต้ เผย 5 ดีไซน์เทรนด์สุขภัณฑ์หลังโควิด  กับ 2 ความท้าทายหลังเปิดประเทศ

คอตโต้ เผย 5 ดีไซน์เทรนด์สุขภัณฑ์หลังโควิด กับ 2 ความท้าทายหลังเปิดประเทศ

ตั้งแต่เกิดสถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 คนส่วนใหญ่ก็อยู่อาศัยในบ้านมากขึ้น สิ่งหนึ่งที่จำเป็นต้องทำเมื่อต้องอยู่บ้านมากขึ้น หรือต้องอยู่กับสมาชิกในบ้านหลายคน คือ การจัดสรรพื้นที่ความเป็นส่วนตัว หรือพื้นที่ในการทำงานจากที่บ้าน (Work from Home) เพราะไม่อย่างนั้นแล้ว คงไม่สามารถทำงานได้อย่างราบรื่น   นอกจากพื้นที่ส่วนตัวหรือพื้นที่สำหรับการทำงานแล้ว  ห้องน้ำ ก็เป็นอีกหนึ่งห้องที่ถูกปรับปรุงให้สะดวกต่อการใช้งานมากขึ้น เพราะเมื่อคนหลายคนมาอยู่รวมกัน การใช้ห้องน้ำก็ต้องรองรับสมาชิกทั้งครอบครัวได้อย่างสะดวกสบาย และถูกสุขลักษณะด้วย เพราะห้องน้ำถือเป็นหนึ่งสถานที่ที่สามารถเกิดการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ได้ง่าย   แม้ว่าพื้นที่หรือห้องทำงานและห้องน้ำ จะเป็น 2 ห้องหลักที่คนในยุคโควิด-19 เลือกจะปรับปรุงให้พร้อมใช้งานได้ดี ตลอดระยะเวลา 2 ปีที่ต้องเผชิญอยู่กับการแพร่ระบาดของเชื้อโรค แต่ก็ไม่ได้ทำให้ตลาดวัสดุก่อสร้าง โดยเฉพาะตลาดก๊อกน้ำและสุขภัณฑ์สามารถเติบโตได้ เพราะภาวะเศรษฐกิจและกำลังซื้อโดยรวมชะลอตัว โดยในปีนี้ประเมินว่าภาพรวมตลาดน่าจะลดลง 5% มีมูลค่าประมาณ 10,000 ล้านบาท   นายอนุวัตร เฉลิมไชย Head of Ceramics Business ในธุรกิจซีเมนต์และผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง เอสซีจี ประเมินว่า จากทิศทางการเปิดประเทศตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2564 เป็นต้นไป เชื่อว่าทุกภาคส่วนจะร่วมกันผลักดันให้ภาวะเศรษฐกิจฟื้นตัว โดยเฉพาะด้านการท่องเที่ยว ซึ่งจะทำให้ภาพรวมเศรษฐกิจของไทยฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง จึงส่งผลดีต่อกำลังซื้อของประชาชน และทำให้ภาพรวมของธุรกิจก๊อกน้ำและสุขภัณฑ์ในปี 2565 น่าจะกลับมาฟื้นตัวและเติบโตได้อย่างน้อย 2% จากปีนี้ที่ติดลบไป ความท้าทายตลาดก็อกน้ำและสุขภัณฑ์หลังโควิด-19 แม้ว่าภาพรวมและแนวโน้มเศรษฐกิจจะไปในทิศทางที่ดี จากการเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ แต่สถานการณ์ทุกอย่างแปรผันได้ตลอดเวลา และความไม่แน่นอนเกิดขึ้นเสมอ ทำให้ในปี 2565 ตลาดสุขภัณฑ์และก๊อกน้ำยังคงมีความท้าทายที่จะต้องเผชิญและต้องฟันฝ่าไปให้ได้ด้วย   นายกิตติพงษ์ โพธิ์ธรานนท์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท สยามซานิทารีแวร์ จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายสุขภัณฑ์ชั้นนำภายใต้แบรนด์คอตโต้ กล่าวว่า ความท้าทายของบริษัทในการดำเนินธุรกิจปี 2565 มี 2 เรื่องสำคัญ คือ  1. ต้นทุนพลังงานที่ปรับตัวสูง และ 2. การเข้าไปทำตลาดในอาเซียน ซึ่งแนวทางที่บริษัทวางแผนรับมือในเรื่องของต้นทุนพลังงานที่ปรับตัวสูง คือ การบริหารจัดการระบบซัพพลายเชนด้านพลังงาน การควบคุมต้นทุนการผลิต และการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วย เช่น การติดตั้งโซลาร์ลูฟ เพื่อนำมาใช้ลดการใช้พลังงานไฟฟ้า ส่วนการทำตลาดในอาเซียน ได้เน้นการสร้างแบรนด์และสร้างการรับรู้ในผลิตภัณฑ์มากขึ้น รวมถึงการร่วมมือกับกลุ่มเอสซีจีที่ได้ขยายตลาดไปในประเทศต่าง ๆ ของอาเซียน เช่น ในอินโดนีเซียร่วมกับพันธมิตรของเอสซีจี ขยายช่องทางการจำหน่ายผลิตภัณฑ์คอตโต้ เป็นต้น   โดยในปี 2565 บริษัทคาดว่าจะสามารถทำยอดขายได้เติบโต 10% จากปีนี้ที่คาดว่ากลุ่มผลิตภัณฑ์ก๊อกน้ำและสุขภัณฑ์จะมียอดขาย 3,800-3,900 ล้านบาท เติบโตเพียงเล็กน้อยจากปีที่ผ่านมา โดยกลยุทธ์และแผนสร้างการเติบโตต่อเนื่องของบริษัทในช่วง 2-3 ปีนับจากนี้ คือ 1.การทำตลาดและตอกย้ำในความเป็นผู้นำผลิตภัณฑ์กลุ่มสมาร์ทและไฮยีน 2.การขยายตลาดไปยังประเทศต่าง ๆ ในอาเซียน เพิ่มมากขึ้น และ 3.การลงทุนพัฒนาโรงงานด้วยเทคโนโลยีและเป็นมิตรสิ่งแวดล้อมมากขึ้น  5 ดีไซน์เทรนด์รักษาผู้นำสมาร์ท-ไฮยีน แนวทางในการตอกย้ำความเป็นผู้นำของกลุ่มสินค้าสมาร์ทและไฮยีน คือ การทุ่มงบประมาณด้านการพัฒนาและวิจัยมากถึง 3% ของยอดขาย เพื่อศึกษาเทรนด์ของตลาดและผู้บริโภค ซึ่งเปลี่ยนแปลงอยู่ตลาดเวลา โดยเฉพาะช่วง 2 ปีที่ผ่านมามีปัจจัยด้านการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 เข้ามากระตุ้นให้พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วด้วย โดยเฉพาะด้านการรักษาสุขภาวะอนามัยที่ดี สำหรับผลวิจัยล่าสุดด้านเทรนด์ของคอตโต้ ได้ถูกสะท้อนออกมากับงานดีไซน์ของผลิตภัณฑ์ ​ 5 ห้อง 5 ดีไซน์เทรนด์ ดังนี้ ​ 1.RE-VITAL เทรนด์ที่ผสานระหว่างเทคโนโลยีกับความเรียบง่าย เป็นเทรนด์สำหรับยกระดับความสุขทั้งกายและใจ รี-ไวทัลเป็น Gen Y ที่กล้าลอง และเปิดใจรับเทคโนโลยีใหม่ แต่ต้องใช้งานง่าย ไม่ซับซ้อน เน้นดีไซน์ที่เป็นมิตร เรียบง่าย อย่างสุขภัณฑ์ VERZO ที่มีนวัตกรรม ULTRA CLEAN+ ยับยั้งแบคทีเรียได้เอง 99% ใน 24 ชั่วโมง เรียกว่าทุกชิ้นต้องดูแลสุขภาพและความเป็นอยู่ของสมาชิกในครอบครัวได้จริง 2.RE-BALANCE เทรนด์ความสมดุลระหว่างมนุษย์ เทคโนโลยี และธรรมชาติ เป็นเทรนด์ที่ให้ความสำคัญกับความสมดุลระหว่างการใช้งานของมนุษย์ เทคโนโลยี และธรรมชาติ การดึงสีเขียวมาเป็นส่วนหนึ่งของจุดสนใจในห้อง เพราะพลังของสีเขียวทำให้ประสาทตาผ่อนคลาย และความดันโลหิตลดลง  รี-บาลานซ์จึงเป็นเทรนด์แห่งการ Blending Environment หรือเทรนด์แห่งการปลอบประโลมจิตใจ เพื่อให้ชีวิตสมดุล อย่างอ่างล้างหน้าเฉดสีเขียว เฉดสีใหม่ที่คอตโต้ได้ออกแบบมาเพื่อนำไปตกแต่งห้องน้ำให้ดูกลมกลืนและเสมือนได้ใกล้ชิดธรรมชาติ 3.RE-VIBE เทรนด์แห่งความเป็นอิสระ เทรนด์แห่งความเป็นอิสระในตัวเอง ฟุ้งฝัน และสร้างสรรค์ หลุดออกจากกรอบเดิม ๆ เพื่อช่วยเยียวยาจิตใจ เทรนด์รีไวป์เป็นเทรนด์แห่งการมิกซ์แอนด์แมทช์ของสะสม ของรัก รวมถึงของโบราณ หรือรสนิยมความชอบส่วนตัว ที่ ‘ต้องเลือกเอง’ เท่านั้น อย่าง ก๊อกน้ำ Geo Series ซีรีส์ใหม่ ที่ทุกคนสามารถ Mix & Match ส่วนประกอบต่าง ๆ ให้ออกมาเป็นก๊อกน้ำสไตล์เฉพาะของตัวเอง 4.RE-CO เทรนด์ให้ความสำคัญกับธรรมชาติ เทรนด์ที่ให้ความสำคัญกับธรรมชาติในเชิงที่รักษาสิ่งแวดล้อม แต่ต้องดูดี ดูเท่ ไม่เชยเหมือนแนว go green แบบเดิม ๆ ทำให้เกิดเป็นนิยาม Black is a New Green ชาวรีโค่มักมองหาสินค้าที่ประหยัดน้ำ แต่ยังมีดีไซน์ อย่างสุขภัณฑ์ Simply Modish สีดำด้านที่ประหยัดน้ำมากกว่าสุขภัณฑ์ทั่วไป เพราะพวกเขาใส่ใจทั้งตนเอง คนรุ่นถัดไป และโลกในวันข้างหน้าด้วย 5.RE-WILD เทรนด์แห่งการอยู่ร่วมสมัยกันระหว่างวัย จากการคาดการณ์ว่าในปี 2583 ประเทศไทยจะมีผู้สูงอายุมากถึง 1 ใน 4 ของประชากรทั้งหมด การอยู่ร่วมกับผู้สูงวัยจึงต้องให้ความสำคัญกับความต้องการที่หลากหลาย อย่างทรงวงรีของอ่างอาบน้ำ หรือสุขภัณฑ์รุ่นฟรีเกทที่มีรูปทรงโค้ง และดูเป็นมิตร ใช้งานได้ทั้งครอบครัว ในเชิงดีไซน์ และการตกแต่งก็จะใช้รูปทรงที่ร่วมสมัย เข้าถึงง่าย หรือ สุขภัณฑ์ตัวใหม่รุ่น Simply Modish - Waving Sensor ในกลุ่มTouchless ที่เพิ่มฟังก์ชั่นด้านความสะดวกสบาย ลดสัมผัส พร้อมฝารองนั่ง Slim Design ที่เพิ่มเรื่อง Comfort seat ช่วยให้นั่งสบายเหมาะกับหลากหลายสรีระ สำหรับเทรนด์ทั้งหมดถูกนำเสนอผ่านโชว์รูมเสมือนจริง หรือ Virtual Showroom ที่จะทำให้ผู้บริโภคได้รับประสบการณ์ใหม่ที่สะดวกสบาย เข้าถึงง่าย และสามารถซื้อสินค้าได้โดยไม่ต้องสัมผัส ซึ่งบริษัทจะใช้ Virtual Showroom เป็นสถานที่เปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ด้วย ซึ่งกลุ่มผลิตภัณฑ์สมาร์ทและไฮยีนบริษัทนับว่าเป็นผู้นำตลาดในกลุ่มนี้ ด้วยส่วนแบ่งตลาดกว่า 40% และมีอัตราการเติบโตถึง 50% หรือคิดเป็นสัดส่วน 7-8% ของยอดขายบริษัท และวางเป้าหมายว่าจะมีสัดส่วนยอดขาย 10% ของบริษัท รวมถึงเติบโตประมาณ 20%
6 สิ่งต้องมี ในห้องนอน เพื่อการหลับอย่างมีคุณภาพ

6 สิ่งต้องมี ในห้องนอน เพื่อการหลับอย่างมีคุณภาพ

ทุกคนต่างรู้ดีว่าการนอนหลับพักผ่อน เป็นปัจจัยที่สำคัญอย่างมากต่อสุขภาพร่างกายและจิตใจ แต่ในภาวะและสถาการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่ทำให้หลายคนวิตกกังวล ว่าตนเองจะติดหรือได้รับเชื้อหรือยัง  จนทำให้อาจจะเกิดภาวะกังวลใจ ส่งผลทำให้ “นอนไม่หลับ” ก็ได้ หรือแม้แต่ปัจจัยอื่น ๆ อีกหลายเรื่อง เช่น การทำงานหนัก ความเครียด ล้วนแต่เป็นสาเหตุทำให้นอนไม่หลับได้เช่นกัน     อิเกีย ศูนย์จำหน่ายสินค้า เฟอร์นิเจอร์ และของตกแต่งบ้าน ได้นำเสนอเทคนิคและแนวทางในการจัดห้องนอน ให้มีบรรยากาศเหมาะสม เพื่อเสริมสร้างให้เกิดการนอนและการผักผ่อนที่มีคุณภาพอย่างแท้จริง  นอกจากนี้ จากรายงาน Life at Home ของอิเกีย พบว่า คนไทยทำกิจกรรมเกือบทุกอย่างในห้องนอน ไม่ว่าจะเป็น นอนหลับ อ่านหนังสือ ทำงาน เล่นเกม ออกกำลังกาย และกินข้าว แต่จะพบว่ายังมีปัญหาในการตกแต่งห้องนอน คือ มีงบประมาณและพื้นที่ที่จำกัด ทำให้ไม่สามารถเลือกซื้อเฟอร์นิเจอร์ที่เหมาะสมได้ ขณะเดียวกันหลายๆ ครอบครัวก็ใช้ห้องนอนร่วมกัน รวมถึงไม่มีไอเดียในการปรับเปลี่ยนบรรยากาศในห้องนอนให้เอื้อต่อพฤติกรรมการนอนที่มีคุณภาพอีกด้วย   อิเกียจึงได้ให้คำแนะนำในการแต่งห้องนอน เพื่อการนอนที่มีคุณภาพว่า การลดปัญหานอนไม่หลับ การนอนแล้วไม่สบายตัว ปวดหลัง หรือหลับไม่สนิทนั้น สามารถทำได้หลายวิธี โดยไม่ต้องใช้งบประมาณมากมาย ด้วยการเริ่มต้นจาก 6 องค์ประกอบหลักที่จำเป็นต้องมีในห้องนอน ได้แก่ 1.ความสบาย 2.แสงสว่าง​ 3.เสียง 4.​อุณหภูมิ  5.คุณภาพอากาศ  และ 6.การตกแต่ง ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นปัจจัยพื้นฐานที่ช่วยให้เรานอนหลับได้อย่างเต็มที่ และตื่นขึ้นมาในวันใหม่อย่างสดชื่น เทคนิคการจัด 6 องค์ประกอบหลักในห้องนอนเพื่อการนอนอย่างมีคุณภาพ 1.สบาย อุปกรณ์การนอน ไม่ว่าจะเป็น​เตียง ฟูก หมอน และเครื่องนอนทั้งหมด ควรเลือกที่สามารถรองรับร่างกายและกระดูกสันหลังตามหลักสรีรศาสตร์ จะช่วยให้นอนหลับสบายไม่ปวดหลัง นอกจากนี้ การเลือกเครื่องนอนยังควรคำนึงถึงการควบคุมอุณหภูมิและความชื้นอีกด้วย 2.แสง โดยทั่วไป ยิ่งห้องนอนมืดมากเท่าไร ก็จะช่วยให้หลับได้ดียิ่งขึ้น การใช้ไฟที่สามารถหรี่ได้ และผ้าม่านช่วยบังแสงไฟจากข้างนอก (แล้วยังเพิ่มความเป็นส่วนตัวด้วย) เป็นตัวช่วยที่ดี ซึ่งอิเกีย มีระบบบ้านอัจฉริยะที่สามารถควบคุม การทำงานของไฟ และผ้าม่านได้ผ่านแอปพลิเคชั่นและรีโมทคอนโทรล ช่วยให้ไม่ต้องลุกขึ้นไปปิดไฟ หรือผ้าม่านในตอนที่คุณรู้สึกง่วงนอนแล้ว 3.เสียง จากการวิจัยพบว่า แม้เราจะหลับ แต่หูของเราก็ยังคงฟังเสียงอยู่ และเมื่อได้ยินเสียงก็จะกระตุ้นการทำงานของสมอง ดังนั้นห้องที่เงียบจะส่งผลต่อคุณภาพการนอนของเรา วิธีแก้ปัญหาง่ายๆ ที่ช่วยลดเสียงรบกวนในห้องนอน คือการเลือกใช้ผ้าม่าน พรม หรือสิ่งทอพวกกำมะหยี่จะช่วยดูดซับเสียงได้เป็นอย่างดี 4.อุณหภูมิ โดยปกติแล้วตอนนอน ความร้อนในร่างกายประมาณ 80% จะระบายผ่านผ้าห่มออกมา ดังนั้นหากยังรู้สึกหนาวตอนนอน ควรเลือกผ้านวมที่หนา อัดไส้แน่น หรือเตรียมผ้าห่มที่นุ่มสบายไว้ใกล้ตัว เพิ่มเพิ่มความอบอุ่น โดยทั่วไปเราจะหลับในห้องเย็นๆ ได้ดีกว่าห้องที่มีอุณหภูมิสูง 5.คุณภาพอากาศ อากาศที่ไม่สะอาดหรือระดับความชื้นที่ไม่สมดุล อาจรบกวนการนอนหลับและส่งผลต่อสุขภาพได้ ห้องนอนควรมีการระบายอากาศที่ดี ไม่ชื้น-ไม่แห้งเกินไป การใช้เครื่องฟอกอากาศก็เป็นตัวช่วยที่ดี หรือเปิดหน้าต่างเพื่อให้อากาศถ่ายเท และรับอากาศบริสุทธิ์ รวมถึงการใช้ต้นไม้เล็ก ๆ ก็ช่วยฟอกอากาศได้ดี เหมาะกับห้องนอนขนาด 10 ตร.ม. 6.การตกแต่งและการจัดเก็บ สภาพแวดล้อมที่สงบและสบายเป็นสิ่งสำคัญในการทำให้นอนหลับสนิท หลับสบายตลอดคืน การเลือกของตกแต่งภายในห้องที่มีสไตล์แบบเดียวกัน จะทำให้ห้องนอนมีบรรยากาศสงบยิ่งขึ้น การเก็บข้าวของและเสื้อผ้าให้เข้าที่เรียบร้อยพ้นสายตา ก็จะทำให้ตอนกลางคืนนอนหลับสนิทไร้ความกังวลใจ   ด้วย 6 องค์ประกอบหลักดังกล่าว หากนำมาปรับใช้ และจัดห้องนอนให้ได้ตามทั้งหมด เชื่อว่าจะทำให้เราสามารถนอนหลับได้ดีขึ้น แต่สิ่งสำคัญคงต้องหมั่นดูแลร่างกาย และจิตใจ ต้องไม่เครียดหรือกังวลใจมากเกินไป การออกกำลังกาย การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ก็เป็นสิ่งที่ช่วยให้การนอนหลับได้ดีขึ้นเช่นกัน
ถอดรหัสเทรนด์สีใหม่ ปี 64 เพื่อที่อยู่อาศัยในยุค New Normal

ถอดรหัสเทรนด์สีใหม่ ปี 64 เพื่อที่อยู่อาศัยในยุค New Normal

เข้าสู่ปีใหม่ปี 2564 อย่างเป็นทางการแล้ว เชื่อว่าในช่วงเทศกาลปีใหม่นี้ หลายคนจะใช้เป็นโอกาสในการเริ่มต้นทำอะไรใหม่ ๆ หรือการตั้งเป้าหมายการทำงานหรือการใช้ชีวิต แต่สำหรับคนที่มีความคิดจะปรับปรุงบ้าน หรือห้องพัก สร้างสีสันการอยู่อาศัยรับปีใหม่  เพราะ “สี” จัดเป็นองค์ประกอบสำคัญที่มีอิทธิพลต่ออารมณ์และความรู้สึกของผู้อยู่อาศัยเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะในยุค New Normal ผู้คนมักใช้เวลาส่วนใหญ่ทำกิจกรรมต่าง ๆ ภายในบ้านที่พักอาศัยมากขึ้น สำหรับปี 2564 นี้ เรามีเทรนด์สีใหม่ในปี 2564 จาก TOA ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจากสถาปนิกนักออกแบบชื่อดังของไทย  มาแนะนำให้กับการอยู่อาศัยในปี 2564 ภายใต้แนวคิด “TOA COLOR DECODING TRENDS 2021 - ถอดรหัสเทรนด์สีแห่งปี 2564” เพราะ TOA เล็งเห็นถึงความสำคัญของการนำสีสัน มาช่วยเติมเต็มพื้นที่ความสุข สร้างสุขภาวะที่ดีให้กับที่อยู่อาศัยตามสไตล์การใช้ชีวิตวิถีใหม่ โดยการถอดรหัสสีครั้งนี้ ได้รับเกียรติจาก 10 กลุ่มสถาปนิกและนักออกแบบชื่อดังของไทย มาร่วมกันสร้างสรรค์พลังความคิดของแต่ละท่านในงานออกแบบ โดยมีสีสันเป็นสื่อกลางในการเล่าเรื่องราว จนเกิดเป็นผลงานการออกแบบเฉดสี 10 แรงบันดาลใจ สู่ 10 เฉดสีใหม่  ดังนี้ 1.คุณอมตะ หลูไพบูลย์  ผู้ร่วมก่อตั้ง Department of ARCHITECTURE  2.คุณพงศ์ภัทร เอื้อสังคมเศรษฐ์ และคุณปานดวงใจ รุจจนเวท  ผู้ก่อตั้ง Anonym 3.คุณชนะ สัมพลัง สถาปนิก พาร์ทเนอร์บริษัท สถาปนิก 49 จำกัด  4.คุณจีรเวช หงสกุล ผู้ก่อตั้ง บริษัท สถาปนิก ไอดิน 5.คุณจูน เซคิโน สถาปนิกเจ้าของรางวัลสถาปัตยกรรมดีเด่นแห่งเอเชีย 2018 6.คุณกิจธเนศ ขจรรัตนเดช Interior Designer ผู้ก่อตั้ง Taste Space 7.คุณมนัสพงษ์ สงวนวุฒิโรจนา สถาปนิกและDesign Director แห่ง Hypothesis  8. PHTAA Living Design โดยคุณพลวิทย์ รัตนธเนศวิไล, คุณหฤษฎี ลีละยุวพันธ์ และคุณธนวรรธน์ ปัจฉิมะศิริ 9.ม.ล.วรุตม์  วรวรรณ สถาปนิกและผู้ก่อตั้ง Vin Varavarn Architects และ 10.คุณวสุ วิรัชศิลป์ สถาปนิกผู้ก่อตั้ง VaSLab ARCHITECTURE   จากแนวคิดในการเลือกใช้สีสันที่มีความหลากหลายของเหล่าสถาปนิกและนักออกแบบชั้นนำทั้ง 10 กลุ่ม TOA จึงได้นำข้อมูลมาทำการศึกษาและวิจัยโดยผู้เชี่ยวชาญ เพื่อวิเคราะห์แนวโน้มของสีสันที่มีความสัมพันธ์กับทัศนคติ รสนิยม และบริบทในการอยู่อาศัยของผู้คนในปี 2021 (TRENDSCOPE) แบ่งเป็น 5 กลุ่ม ได้แก่ 1.Psychology อิทธิพลของสีในเชิงจิตวิทยาที่ส่งผลต่อความรู้สึกนึกคิดและอารมณ์ 2.Culture & Lifestyle แรงบันดาลใจจากสีสันในมุมมองต่างๆ ผ่านศิลปะ ดนตรี ภาพยนตร์ และวัฒนธรรมอาหาร 3.Experience ประสบการณ์จากการเดินทาง การสัมผัส พบเห็น ถ่ายทอดเป็นเป็นสีสันแห่งภาพจำ บอกเล่าเรื่องราวที่ประทับใจ 4.Element Design & Material สีสันของวัสดุ ทั้งจากธรรมชาติและการสังเคราะห์ขึ้น หรือสีสันที่เกิดจากองค์ประกอบในงานออกแบบ 5.Science หลักการทางวิทยาศาสตร์ที่ทำให้เกิดสีสันในรูปแบบใหม่ๆ จนทำให้เกิดเป็น 10 เทรนด์สีใหม่ ประจำปี 2564 (New Colors 2021) ประกอบด้วย กลุ่มสี Muted แสดงถึงความเรียบง่ายของสีโทนกลางๆ ด้วย 5 เฉดสี ที่มักใช้เป็นสีพื้นฐานในการออกแบบ ง่ายต่อการจับคู่ผสมผสานกับวัสดุที่หลากหลายได้อย่างลงตัว กลุ่มสี Chroma แสดงถึงการเติมเต็มความรู้สึกที่ขาดหายไปด้วยสีสันที่ชัดเจนและจัดจ้านอีก  5 เฉดสี เพื่อแต่งแต้มและกระตุ้นให้ชีวิตวิถีใหม่ มีชีวิตชีวามากยิ่งขึ้น
3 Mega Trends การอยู่อาศัยหลังผ่านวิกฤตโควิด-19

3 Mega Trends การอยู่อาศัยหลังผ่านวิกฤตโควิด-19

LPN Wisdom เผย  3 Mega Trends พลิกโฉมการออกแบบและพัฒนา โครงการอสังหาริมทรัพย์ไทย หลังการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ต้องมุ่งเน้นใน 3 ประเด็นหลัก  Wellness, Work-Life Balance และ  Virtual Livable Connect แต่มากกว่านั้น ต้องสร้างความยั่งยืนให้กับสังคม   การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ได้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของวิถีชีวิตคนในยุคปัจจุบัน ให้มุ่งเน้นในการคำนึงถึงสุขภาพและความปลอดภัยของการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 เพิ่มมากขึ้น ทุก ๆ ส่วนของสังคม ต้องมุ่งเน้นความปลอดภัย และการอยู่ภายใต้มาตรฐานด้านการสาธารณสุข ทำให้ไม่ว่าชีวิตส่วนตัวหรือชีวิตการทำงาน ต้องปรับเปลี่ยนกันใหม่  ไปสู่วิถีชีวิตแบบ New Normal หรือ วิถีชีวิตปกติใหม่   สำหรับธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการอยู่อาศัยของคน อย่างธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ นับว่าเป็นธุรกิจที่ต้องปรับตัวอย่างมาก ไม่เพียงแค่ผลกระทบโดยตรงจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่ทำให้การดำเนินธุรกิจต้องปรับเปลี่ยนเท่านั้น แต่กลุ่มลูกค้าหลัก คือ ประชาชนทั่วไป ได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบวิถีชีวิต หรือไลฟ์สไตล์ของการอยู่อาศัยไปด้วย เช่น การทำงานจากที่บ้าน หรือ Work From Home เพราะต้องเว้นระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) หรือ การหันมาซื้อสินค้าทางออนไลน์มากขึ้น เพราะลดความเสี่ยงจากการได้รับเชื้อไวรัสโควิด-19 เป็นต้น   การเปลี่ยนแปลงรูปแบบวิชีวิต หรือไลฟ์สไตล์ของคนยุคปัจจุบัน จึงส่งผลให้นักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์  ต้องกลับมาตีโจทย์ธุรกิจใหม่ กับการออกแบบและพัฒนาโครงการ เพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ซึ่ง LPN Wisdom หรือ บริษัท ลุมพีนี วิสดอม แอนด์ โซลูชั่น จำกัด ได้มองว่า การพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ หลังการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 จะถูกให้ความสำคัญใน 3 ประเด็นหลัก หรือ 3 Mega Trends ดังนี้ คือ 1.เรื่องสุขภาพ (Wellness) 2.การออกแบบที่ตอบโจทย์การใช้ชีวิตอย่างสมดุล (Work-Life Balance) และ 3.การใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมในการใช้ชีวิต (Virtual Livable Connect) นายประพันธ์ศักดิ์ รักษ์ไชยวรรณ กรรมการผู้จัดการ LPN Wisdom  บริษัทด้านการวิจัยและที่ปรึกษาในการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในเครือ บริษัท แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) ระบุว่า การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในช่วงที่ผ่านมา ทำให้พฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะการอยู่อาศัยที่ให้ความสำคัญในเรื่องของสุขอนามัย (Wellness) และรูปแบบการทำงาน ที่ต้องการความสมดุลในการใช้ชีวิต (Work-Life Balance) ปรับเปลี่ยนจากการทำงานที่สำนักงาน ไปสู่การทำงานที่บ้าน (Work From Home)  หรือการทำงานในที่อื่น ๆ ในแบบ Anytime Anywhere   ในขณะที่รูปแบบการทำงาน และการใช้ชีวิตในปัจจุบัน  ผู้บริโภคสามารถใช้เทคโนโลยีดิจิทัล (Virtual Livable Connect) มาตอบโจทย์การใช้ชีวิตได้มากขึ้นผ่านแอปพลิเคชั่นต่าง ๆ  ที่พัฒนาขึ้นมาเพื่ออำนวยความสะดวกในการใช้ชีวิตให้กับผู้บริโภค จนกลายเป็นวิถีปกติใหม่ (New Normal) ในการใช้ชีวิตของผู้คนในปัจจุบัน 3 Mega Trends ในการพัฒนาที่อยู่อาศัย สำหรับรูปแบบการใช้ชีวิตที่เปลี่ยนไป ทำให้ความต้องการที่อยู่อาศัยของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไปด้วย  โดยคำนึงถึง 3 ปัจจัยสำคัญที่เราเรียกว่า 3 Mega Trends ในการพัฒนาที่อยู่อาศัย  ซึ่งประกอบด้วย 1.Wellness หรือ การให้ความสำคัญในเรื่องสุขอนามัย การให้ความสำคัญในเรื่องของสุขอนามัย  ซึ่งเป็นเรื่องที่มาพร้อม ๆ กับการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 การออกแบบที่อยู่อาศัยและการเลือกใช้วัสดุอุปกรณ์ ต้องคำนึงถึงเรื่องของสภาพแวดล้อมและสุขอนามัยที่ดีต่อผู้อยู่อาศัย ลดการสัมผัส (Touchless) ในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ ทั้งในพื้นที่โครงการที่พักอาศัยและเชิงพาณิชย์ เป็นโจทย์ใหม่ในการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในปัจจุบันและในอนาคต 2.Work-Life Balance หรือ การสร้างสมดุลให้กับการใช้ชีวิต นอกจากเรื่องของสุขอนามัยที่เป็นโจทย์หลักของผู้บริโภคในปัจจุบันแล้ว การออกแบบที่คำนึงถึงประโยชน์ใช้สอยที่สร้างสมดุลให้กับการใช้ชีวิต ในรูปของการทำงานและการใช้ชีวิตที่ต้องดำเนินไปอย่างสมดุล ทำให้การออกแบบที่อยู่อาศัยต้องคำนึงถึงการจัดสรรพื้นที่ที่ลงตัว  ตอบทุกโจทย์ของการใช้ชีวิต ไม่ว่าจะเป็นที่อยู่อาศัยในแนวราบ หรืออาคารชุดที่มีขนาดเล็ก ต้องมีการจัดฟังก์ชั่นการใช้งานที่มีความหลากหลาย และสามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้งาน (Multi-Function) เพื่อรองรับกับรูปแบบการใช้ชีวิตและการทำงานที่บ้านได้   การเว้นระยะห่างในพื้นที่ส่วนกลาง การปรับเปลี่ยนแนวคิดจากสังคมแบ่งปันในรูปแบบของ Co-Working Space มาสู่แนวคิดการใช้พื้นที่ส่วนกลางในรูปแบบของ Co-Separate Space เป็นการใช้พื้นที่ร่วมกันแบบมีระยะห่าง ทำให้การออกแบบการใช้พื้นที่ส่วนกลาง ในโครงการทั้งแนวราบและอาคารชุด ต้องเปลี่ยนแนวคิดในการออกแบบเช่นเดียวกัน 3.Virtual Livable Connect หรือ การนำเอาเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการออกแบบโครงการ การนำเอาเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในการออกแบบโครงการ มีเป้าหมายสำคัญเพื่ออำนวยความสะดวกสบายในการใช้ชีวิต ของผู้อยู่อาศัยในโครงการ  และตอบโจทย์กับแนวคิดการใช้ชีวิตวิถีปกติใหม่ ภายหลังการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 เพราะเทคโนโลยีต่างๆ ที่ถูกนำมาใช้ไม่เพียงแต่อำนวยความสะดวกเท่านั้น แต่ยังมีความปลอดภัยจากการต้องติดต่อหรือสัมผัสกันระหว่างมนุษย์ด้วย มากกว่า Mega Trend ต้องสร้างความยั่งยืน นอกเหนือนจากการออกแบบภายใต้วิถีชีวิตปกติใหม่ ภายหลังไวรัสโควิด-19 ที่อาจจะหยุดการแพร่ระบาด หรือเราสามารถควบคุมการแพร่ระบาดได้ แต่ไวรัสโควิด-19 ยังคงอยู่กับมนุษย์โดยไม่ได้หายไปไหน แนวทางการออกแบบและพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์  นอกจากจะมีแนวทางที่ต้องตอบโจทย์ Mega Trend ดังกล่าวแล้ว สิ่งสำคัญที่ต้องคิดถึงและจำเป็นต้องนำมาใช้ด้วย คือ แนวคิดในการออกแบบที่เรียกว่า การออกแบบเพื่อความยั่งยืน (Sustainable Development  Design) แนวคิดดังกล่าว เป็นแนวคิดของการออกแบบ โดยคำนึงถึงการใช้งานอาคารอย่างยั่งยืน ด้วยการออกแบบโดยคำนึงถึงการเลือกใช้วัสดุ การใช้พลังงานและทรัพยากรของอาคารที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รวมทั้งสร้างสุขอนามัยที่ดีให้กับผู้อยู่อาศัย ลดปริมาณก๊าซเรือนกระจก หรือ คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2)ในอากาศ   รวมถึงเรื่องของการประหยัดพลังงาน การใช้ทรัพยากรน้ำและทรัพยากรธรรมชาติอื่น ๆ อย่างประหยัด เพื่อตอบโจทย์กับการสร้างสุขอนามัยที่ดีในการอยู่อาศัยทั้งในรูปแบบของ LEED (Leadership in Energy and Environmental Design) เกณฑ์อาคารเขียวของ US Green Building Council และ TREES (Thai’s Rating of Energy and Environmental Sustainability ) ของสถาบันอาคารเขียวไทย   ข้อมูล ณ วันที่ 31 พฤษภาคม 2563 ประเทศไทยมีอาคารที่ได้รับ LEED Certification จาก US Green Building Council ทั้งสิ้น 171 อาคาร และอยู่ระหว่างการพิจารณาอีก 85 อาคาร ในขณะเดียวกันมีอาคารที่ได้รับ TREES Certification จาก สถาบันอาคารเขียวไทย ณ วันที่ 31 พฤษภาคม 2563 ทั้งสิ้น 63 อาคาร และอยู่ระหว่างการพิจารณาอีก 55 อาคาร
ดูไอเดีย การดีไซน์ ร้านนวด-สปา ยุค New Normal ให้ปลอดภัยห่างไกล โควิด-19

ดูไอเดีย การดีไซน์ ร้านนวด-สปา ยุค New Normal ให้ปลอดภัยห่างไกล โควิด-19

แม้ว่าขณะนี้ประเทศไทยจะมีมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ จนไม่พบการผู้ติดเชื่อรายใหม่ภายในประเทศ  ติดต่อกันหลายสิบวันแล้วก็ตาม  แต่เรื่องของความปลอดภัย ยังคงเป็นหัวใจสำคัญสูงสุด ไม่อย่างนั้น การแพร่ระบาดระรอก 2 จะเกิดขึ้น และอาจรุนแรงจนเกินจะรับมือได้เหมือนกัน   การใช้ชีวิตภายหลังจากนี้ พูดกันว่าต้องอยู่ภายใต้ความปกติวิถีใหม่ หรือ New Normal ซึ่งก็คือการใช้ชีวิตปกติเหมือนที่เคยเป็นมา แต่อยู่ภายใต้มาตรฐานการควบคุม และเข้มงวดเรื่องของความปลอดภัย ไม่เป็นผู้แพร่เชื้อโรคไวรัสโควิด-19 หรือเป็นผู้ป่วยที่ไปได้รับเชื้อไวรัสโควิด-19 เข้ามา   ไม่เพียงแต่เราทุกคนจะต้องปฏิบัติตัวเองให้อยู่ภายใต้วิถีชีวิตแบบ New Normal เท่านั้น  ธุรกิจและสถานประกอบการต่าง ๆ ก็ต้องปรับตัวเอง จัดการธุรกิจให้อยู่ในมาตรฐานความปลอดภัยด้วยเช่นกัน  อย่างเช่น ธุรกิจร้านนวดแผนไทย-สปา ที่นับว่าเป็นธุรกิจเสี่ยงต่อการติดต่อของไวรัสโควิด-19 เป็นลำดับต้น ๆ เพราะผู้ให้บริการและผู้รับบริการ ต้องสัมผัสร่างกายและอยู่ใกล้ชิดกัน แถมยังเป็นสถานที่มีผู้เข้ามาใช้บริการจำนวนมาก กลุ่มสถานประกอบการประเภทนี้จึงต้องเข้มงวดอย่างมากในการดูแลสภาพแวดล้อม   โดยภาครัฐได้กำหนดมาตรฐานข้อปฏิบัติสำหรับผู้ให้บริการ ซึ่งผู้ให้บริการต้องผ่านการประเมินความพร้อมก่อนจึงจะสามารถกลับมาให้บริการได้ หลังจากช่วงก่อนหน้าได้มีการล็อกดาวน์ ปิดการให้บริการเป็นการชั่วคราว เพื่อความเชื่อมั่นและความปลอดภัยต่อสุขอนามัยของผู้ใช้บริการ และจากข้อปฏิบัติด้านการจัดการสถานที่โดยกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ได้มุ่งเน้นเรื่องความปลอดภัย ลดการสัมผัส การคัดกรอง เว้นระยะห่างระหว่างบุคคล   วันนี้ เรามีไอเดียในการออกแบบร้านนวดแผนไทยและสปา จากอาจารย์ธนิต จึงดำรงกิจ และ ดร.ศรีดารา ติเพียร อาจารย์ประจำหลักสูตรออกแบบภายในคณะศิลปกรรมศาสตร์ และ RDI มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต มาฝาก เพื่อให้ร้านนวดไทยและสปา ภายใต้ยุค New Normal มีความปลอดภัย อยู่ภายใต้มาตรฐานของภาครัฐ   โดยอาจารย์ทั้ง 2 ท่าน  ได้ให้ความเห็นว่า ในด้านของการออกแบบร้านนวดแผนไทยและสปา  มีทั้งแนวทางการออกแบบและจัดการร้านได้ 2 แนวทาง คือ แบบระยะสั้น (Short Term) และแบบระยะยาว (Long Term) การออกแบบร้านในระยะสั้น (Short  Term) การปรับปรุงร้านในระยะสั้น  (Short Term) ได้แก่ การจัดการกับพื้นที่ ที่มีผลกับความปลอดภัยของผู้ใช้บริการโดยตรง ซึ่งมีพื้นที่ 3 ส่วนหลัก ๆ ที่จำเป็นต้องให้ความสำคัญ ดังนี้ 1.พื้นที่ต้อนรับและรอรับบริการ เป็นพื้นที่บริเวณส่วนหน้าร้าน ประกอบด้วยส่วนต้อนรับ จุดนั่งพักรอรับบริการ ให้คำปรึกษาคอร์สบริการ แสดงตัวอย่างผลิตภัณฑ์เพื่อจำหน่าย เคาท์เตอร์ประชาสัมพันธ์ รับชำระเงิน สามารถปรับปรุงได้โดยแยกสัดส่วนพื้นที่ -สำหรับจุดคัดกรอง พื้นที่รอรับบริการ หากไม่มีพื้นที่ด้านนอกอาคาร ให้กันพื้นที่ต้อนรับส่วนหนึ่งไว้เป็นจุดคัดกรอง และมีฉากกั้นก่อนเข้าสู่พื้นที่นั่ง   -พื้นที่รอรับบริการ ควรมีไม่เกิน 2 ที่นั่ง และจะต้องเว้นระยะห่างต่อที่นั่ง 1.50 เมตร และควรเป็นที่นั่งเดี่ยว   -พื้นที่ให้คำปรึกษา เคาท์เตอร์ประชาสัมพันธ์ แคชเชียร์ ให้วางตำแหน่งของผู้ใช้บริการด้านหน้าเคาท์เตอร์ มีระยะห่าง 1.50 เมตร พร้อมติดตั้งฉากกั้นระหว่างผู้ใช้บริการ และผู้ให้บริการ 2.พื้นที่ให้บริการนวด -พื้นที่บริการนวด หากเป็นพื้นที่รวม ให้เว้นระยะห่างระหว่างเตียงนวด อย่างน้อย 1.50 เมตร และติดตั้งฉากกั้นซึ่งเป็นวัสดุที่ทำความสะอาดง่าย แต่ควรใช้ผ้าเนื่องจากเป็นวัสดุที่จับติดกับสิ่งสกปรกและสะสมเชื้อโรคได้ง่าย   -ห้องนวดสปา ควรจัดเป็นห้องเตียงเดี่ยว และมีพื้นที่บริเวณรอบเตียงกว้างพอเหมาะ เหมาะสมกับการเคลื่อนไหวของผู้ใช้งาน 3.พื้นที่เก็บอุปกรณ์   -พื้นที่จัดเก็บอุปกรณ์ทำความสะอาด 1-2 จุด เพื่อความสะดวกในการหยิบใช้งาน เนื่องจากเป็นข้อกำหนดที่สถานบริการต้องทำความสะอาดทุกครั้ง หลังให้บริการ   -พื้นที่เก็บอุปกรณ์ ควรแยกพื้นที่เก็บอุปกรณ์และผ้าที่ยังไม่ได้ใช้และที่ใช้แล้วห่างจากกัน และมิดชิด 3 องค์ประกอบ จัดการร้านนวด-สปา แบบระยะยาว (Long Term ) จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 สามารถคาดการณ์ได้ว่าจะส่งผลกระทบต่อการออกแบบพื้นที่ในอนาคต ดังนั้นสถานประกอบการจึงควรมีแผนการปรับตัวและการจัดเตรียมสถานที่รับรองผู้ใช้บริการในระยะยาว (Long Term) ทั้งนี้ วงการวิชาชีพสถาปนิกต้องสามารถคิดค้นการออกแบบที่สร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้ใช้บริการให้รู้สึกปลอดภัยต่อสุขอนามัย โดยผสมผสานศิลปะการออกแบบเข้ากับจิตวิทยาสภาพแวดล้อม ซึ่งควรออกแบบบนพื้นฐานที่ตอบสนองทางสรีระวิทยา และจิตวิทยา ปลอดภัยต่อสุขอนามัยของผู้ใช้งาน ดังนั้นในมุมมองของนักออกแบบเอง จะมีอยู่ 3 องค์ประกอบที่ผู้ประกอบการควรให้ความสำคัญ ได้แก่   องค์ประกอบที่ 1. การจัดการเชิงพื้นที่ในสถานบริการ ควรคำนึงถึงหลักการจัดวางพื้นที่ ทางเดินสัญจรภายใน ขนาด ระยะห่างของพื้นที่ที่เหมาะสม พื้นที่ใช้สอยภายใน ควรแยกกลุ่มการใช้งานอย่างชัดเจน จำกัดพื้นที่ของผู้ใช้บริการแต่ละคน รวมทั้งการสัญจรภายในร้าน ต้องแยกชัดเจนระหว่างผู้ให้บริการและผู้ใช้บริการ แบ่งเส้นทางในการเก็บสิ่งของที่ใช้งานแล้ว เช่น ผ้าปูที่นอน เสื้อผ้า เพิ่มขนาดทางเดิน ขนาดเฟอร์นิเจอร์ ที่แยกการใช้งานเฉพาะบุคคล เน้นความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้บริการ ซึ่งการจัดการเชิงพื้นที่มี  3 ส่วนที่ควรให้ความสำคัญ คือ 1.พื้นที่ต้อนรับและจุดรอรับบริการ -จุดคัดกรองด้านนอก เพิ่มจุดล้างมือในตำแหน่งที่เหมาะสม เพื่อความปลอดภัยก่อนผู้ใช้บริการจะเข้าสู่พื้นที่ต้อนรับหรือจุดรอรรับบริการ   -จุดรอรับบริการ ควรใช้เก้าอี้แบบเดียว และมีการเว้นระยะห่าง หรือขั้นด้วยโต๊ะข้าง   -จุดให้คำปรึกษา ควรจัดเป็นพื้นที่แยกต่างหาก เป็นชุดละ 2 ที่นั่ง และแบ่งขอบเขตพื้นที่ชัดเจน -เคาท์เตอร์ประชาสัมพันธ์และแคชเชียร์ ควรเพิ่มระยะห่างระหว่างพื้นที่ของผู้ให้บริการและผู้ใช้บริการ พร้อมจัดระยะห่างระหว่างที่นั่งอย่างน้อย 1.50 เมตร 2.พื้นที่ให้บริการนวด -พื้นที่นวดเท้าและนวดไทย หากเป็นพื้นที่นวดรวม ให้เว้นระยะของเตียงนวด 1.50 เมตรและติดตั้งฉากกั้นระหว่างเตียง สามารถปิดเปิดได้ แต่ต้องมีส่วนของผนังยื่นออกมา 1.00 เมตร และควรใช้เป็นประตูบานเลื่อนที่เชื่อมพื้นที่ได้แทนผ้าม่าน -พื้นที่นวดสปา ควรเป็นพื้นที่เตียงเดี่ยว หากจะออกแบบให้เป็นห้องเตียงคู่ ควรจัดวางตำแหน่งให้หันด้านปลายเท้าเข้าหากัน 3.พื้นที่สุขอนามัยในสถานบริการ -จัดวางพื้นที่ส่วนเก็บของที่ยังไม่ได้ใช้งานไว้ส่วนกลางของสถานบริการ และแยกพื้นที่ส่วนเก็บอุปกรณ์ที่ใช้แล้วไว้ส่วนด้านหลังสถานบริการ จัดการให้เป็นพื้นที่ปิดมิดชิด   องค์ประกอบที่ 2. การตกแต่งด้วยวัสดุปิดผิว การเลือกใช้วัสดุภาย ควรเลือกใช้วัสดุลักษณะผิวเรียบ ไม่กักเก็บสิ่งสกปรกและเชื้อโรค เช่นวัสดุที่มีพื้นผิวเป็นรูพรุนเพื่อง่ายต่อการทำความสะอาด เช่น การใช้กระเบื้องเซรามิคผิวเรียบที่ผ่านการอบด้วยความร้อนสูง หรือใช้วัสดุปูพื้นด้วยไวนิล หรือกระเบื้องยางแบบม้วน อาจนำมาใช้สำหรับเป็นพื้นห้องนวด เนื่องจากเป็นวัสดุที่มีรอยต่อน้อย ลดการกักเก็บความชื้น ลดเสียงสะท้อน หลีกเลี้ยงการใช้วัสดุจากผ้าเนื่องจากจับกับสิ่งสกปรกได้ง่าย และกักเก็บเชื้อไวรัสได้นานถึง 8-12 ชั่วโมง (ข้อมูลจากกองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค) ยกเว้นกรณีผ้าปูเตียง ส่วนเฟอร์นิเจอร์ที่บุด้วยผ้า ควรเปลี่ยนวัสดุเป็นเบาะ PVC หรือหนังแทน   องค์ประกอบที่ 3. การระบายอากาศภายใน หากสถานประกอบเอื้ออำนวย ควรจัดระบบระบายอากาศให้ไหลเวียนได้ดี ด้วยการมีช่องระบายอากาศให้ไหลเวียนได้ดีด้วยช่องเปิดรับอากาศจากภายนอกสู่ภายใน ยกเว้นกรณีที่สภาพภูมิอากาศรอบอาคารไม่เอื้ออำนวย อาจจำเป็นต้องใช้ระบบปรับอากาศช่วยเพื่อให้เกิดการไหลเวียน และต้องกำหนดจุดติดตั้งที่เหมาะสม เช่น ยึดติดฝาพนัง แขวนฝ้าเพดาน หรือวางกับพื้น เพื่อให้อากาศที่สะอาดไหวเวียนไปยังพื้นที่ที่มีการใช้งาน  และต้องมีระบบดูดอากาศเพื่อการไหลเวียนที่ดี   อย่างไรก็ดี การปรับปรุงสภาพแวดล้อมของสถานบริการร้านนวดแผนไทย - สปา ต้องอาศัยความเข้าใจต่อการรับรู้สภาพแวดล้อมของตัวผู้ประกอบการเอง ซึ่งสภาพแวดล้อมส่งผลกระทบต่อความรู้สึกของผู้ใช้บริการ ในด้านการออกแบบสถานบริการจึงต้องสื่อสารบางอย่างให้ผู้ใช้บริการรู้สึกปลอดภัยและมั่นใจในสุขลักษณะของสถานประกอบการนั้น ๆ ด้วย    
5 โซลูชั่น “S-E-N-S-E” การออกแบบการพัฒนาเมือง กับวิถีชีวิต The Next Normal

5 โซลูชั่น “S-E-N-S-E” การออกแบบการพัฒนาเมือง กับวิถีชีวิต The Next Normal

การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ถือเป็นปรากฎการณ์ ของการแพร่ระบาดครั้งใหญ่ของโลก เพราะมีการแพร่กระจายออกไปทั่วทุกมุมโลก ซึ่งส่งผลทำให้วิถีชีวิตของผู้คนในยุคปัจจุบัน ต้องปรับเปลี่ยน และเปลี่ยนแปลงไปในหลายเรื่อง เพื่อที่จะป้องกันตนเองไม่ให้ได้รับเชื้อโรค ซึ่งภายหลังจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ยุติลง  เชื่อว่า วิถีชีวิตของคนนับจากนี้ จะมีการเปลี่ยนแปลงไป กลายเป็นวิถีชีวิตปกติในรูปแบบใหม่ หรือ New Normal หรืออีกคำที่มักมีการพูดถึง คือ The Next Normal ซึ่งมีความหมายไม่แตกต่างกันมากนัก   ไม่เพียงแต่วิถีชีวิตประจำวันที่จะเป็นรูปแบบใหม่ และกลายเป็นวิถีชีวิตปกติของคนเราเท่านั้น  แต่วิถีชีวิตของคนในสายงานและสายอาชีพต่างๆ รวมถึงแวดวงธุรกิจ ก็มีทิศทางเปลี่ยนไปแบบใหม่เช่นกัน อย่างในแวดวงธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ที่เริ่มเห็นความชัดเจน จากการที่ผู้ประกอบการปรับเปลี่ยนวิธีการขาย ด้วยการใช้สื่อออนไลน์และโซเชียลมีเดีย เข้ามาเป็นเครื่องมือสื่อสารถึงผู้บริโภค โดยลดการสัมผัสหรือมีการเว้นระยะห่างกันให้มากที่สุด เป็นต้น ซึ่งเชื่อว่าหลังจากนี้ คงจะมีการเปลี่ยนแปลงแบบใหม่ออกมาอย่างต่อเนื่องแน่นอน   ด้านการออกแบบและการพัฒนาเมืองในอนาคต ก็คงจะไม่แตกต่างกันเท่าไร เพราะสิ่งต่างๆ เหล่านี้คือ ปัจจัย 4 ที่มนุษย์ทุกคนต้องเข้าไปเกี่ยวข้อง และอยู่ร่วมกันแบบสัตว์สังคม ซึ่งตามมุมมองของ นายรติวัฒน์ สุวรรณไตรย์ สถาปนิก ผู้ก่อตั้ง OPENBOX GROUP บริษัทสถาปนิกที่มีผลงานการออกแบบตึกสูง โรงงานไฟฟ้าพลังงานทดแทน รวมถึงที่อยู่อาศัยประเภท Complex Residence ชื่อดังทั้งในและต่างประเทศ ได้อธิบาย The Next Normal ที่อาจจะเกิดขึ้นกับเมืองและชีวิตผู้คน ที่จะมุ่งสู่โซลูชั่นของการพัฒนาเมืองแห่งอนาคต (City of Future) ไว้อย่างน่าสนใจ The Next Normal ของการพัฒนาเมือง โดย โซลูชั่น City of Future นี่เอง จะเป็นเหมือนสูตรสำเร็จ ของการออกแบบการพัฒนาเมืองที่สอดรับกับ The Next Normal ซึ่งไม่เพียงตอบโจทย์การใช้ชีวิตในยุคโควิด-19  ที่จะอยู่กับโลกใบนี้ไปอีกนานเท่านั้น แต่ยังตอบโจทย์วิถีการดำเนินชีวิตใหม่ ซึ่งถูกบังคับให้ต้องเปลี่ยนแปลงจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี (Digital Disruption) และสอดคล้องกับแนวคิดในกระแสโลกยุคใหม่ คือการอยู่ร่วมกันกับธรรมชาติอย่างยั่งยืน   “เมืองที่มีความคิดสร้างสรรค์การออกแบบในด้านต่าง ๆ รวมเข้ามาประกอบกัน ไม่ว่าจะเป็นการจัดการพื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพ, การออกแบบอาคาร สถานที่ หรือเมืองให้สามารถตอบโจทย์การใช้งานได้ในสถานการณ์ที่หลากหลาย, การให้ความสำคัญกับธรรมชาติและพื้นที่สีเขียว และการใช้พลังงานร่วมกันอย่างประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ยังมีอีก 2 ปัจจัยที่จะเข้ามาเติมเต็มทำให้เมืองมีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น ก็คือ การขนส่ง และนวัตกรรมเพื่อการอยู่อาศัย” “S-E-N-S-E”  สำหรับเมืองแห่งอนาคตที่ยั่งยืน  นายรติวัฒน์  ได้เสนอแนวคิดการออกแบบการพัฒนาเมือง  ภายใต้แนวคิด “S-E-N-S-E” ที่รวม 5 โซลูชั่น สำหรับ City of the Future เมืองแห่งอนาคตที่ยั่งยืน ที่ประกอบไปด้วย S - Space Efficiency การจัดการพื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด (Space Efficiency) เป็นแนวคิดการจัดการพื้นที่ที่สามารถตอบโจทย์การอยู่อาศัยรูปแบบใหม่ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นกว่าเดิมให้แก่ผู้อยู่อาศัย โดยหนึ่งในโซลูชั่นที่จะเข้ามาตอบโจทย์แนวคิดนี้ก็คือ อาคารสูง เช่น คอนโดมิเนียม ซึ่งเชื่อว่าจะเข้ามาแก้ปัญหาการใช้พื้นที่และทรัพยากรที่มีจำกัดให้เกิดประสิทธิภาพ กล่าวคือหากเปลี่ยนการใช้พื้นที่ในแนวราบแบบกระจายตัวมารวบเป็นอาคารสูง จะทำให้มีพื้นที่เหลือในการใช้ประโยชน์อื่น ๆ ได้มากขึ้น โดยเฉพาะการมีพื้นที่สีเขียว หรือพื้นที่ในเชิงเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น ขณะเดียวกัน อาคารสูงยังตอบโจทย์การใช้ชีวิตในยุคโควิดที่ผู้อยู่อาศัยจะแยกกันอยู่คนละชั้น ได้รับแสงแดดที่เพียงพอ และไม่มีปัญหาเรื่องการใช้อากาศร่วมกัน ให้ความรู้สึกปลอดภัยห่างไกลโควิดได้มากกว่าบ้านที่เป็นแนวราบ E-Energy Sharing การออกแบบเพื่อให้เกิดการใช้พลังงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ (Energy Sharing)  โดยปัจจุบันจะพบว่า คอนโดมิเนียม จะมีการใช้พลังงานสูงสุดในช่วงเวลากลางคืน แต่ช่วงกลางวันการใช้พลังงานจะลดลงไป ขณะที่อาคารสำนักงาน จะใช้พลังงานสูงสุดในช่วงเวลากลางวันเท่านั้น แต่จะลดการใช้ลงในช่วงกลางคืน ซึ่งแต่ละอาคารเหล่านั้นจะติดตั้งอุปกรณ์การจัดการพลังงานของตนเอง อุปกรณ์เหล่านั้นจึงทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ มีพลังงานเหลือเกินความต้องการ ทำให้เกิดแนวคิดใหม่ที่เรียกว่า Energy Blockchain หรือ Digital Energy กรณีมีพลังงานเหลือก็จะนำไปขายให้แก่ตึกที่อยู่ใกล้เคียงและใช้ในแบบเหลื่อมเวลากัน หรืออีกแนวคิดที่เรียกว่า District Cooling ระบบปรับอากาศแบบรวมศูนย์ โดยสามารถส่งความเย็นไปยังสถานที่อื่น ๆ ใกล้เคียงไม่ว่าจะเป็นบ้าน อาคารสำนักงาน  ห้าง และ คอนโดมิเนียม ถือเป็นแนวคิดการลดใช้พลังงาน ลดการใช้อุปกรณ์ที่เกินความจำเป็น N - Nature & Green การให้ความสำคัญกับธรรมชาติและพื้นที่สีเขียว (Nature & Green) เช่น แนวคิดการขยายพื้นที่สวนสาธารณะขนาดย่อม (pocket park) ให้กระจายตัวมากขึ้นในเขตเมือง และให้เพียงพอกับระยะคนเดิน ซึ่งประเทศญี่ปุ่นถือเป็นเจ้าแห่ง pocket park แห่งหนึ่งของโลก หรือในประเทศสิงคโปร์ และสหรัฐอเมริกา ที่นอกจากจะมีสวนสาธารณะขนาดใหญ่แล้วยังมี pocket park อีกหลายแห่ง ส่วนอีกแนวคิดหนึ่งที่น่าสนใจ คือ park network สวนสาธารณะหลาย ๆ แห่งที่ผู้คนสามารถเดิน วิ่ง หรือขี่จักรยาน เชื่อมถึงกันได้โดยไม่ต้องผ่านหรือใช้ถนน ซึ่งแนวคิดเหล่านี้สามารถเกิดขึ้นได้ด้วยการออกแบบทั้งสิ้น S – Synchronization of Multi-Functions การออกแบบอาคาร สถานที่ หรือเมือง ให้สามารถตอบโจทย์การใช้งานได้ในสถานการณ์ที่หลากหลาย (Synchronization of Multi-Functions)  สอดคล้องกับลักษณะเฉพาะของเมืองในซีกโลกตะวันออกที่เป็นแบบผสมสาน (Mixed-use) โดยออกแบบให้สามารถปรับเปลี่ยนโหมดของอาคาร สถานที่ หรือเมืองได้ตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลานั้น ๆอย่างเช่น คอนโดมิเนียมในช่วงที่มีการระบาดของเชื้อโควิด จะเห็นได้ว่าหลายแห่งจะกำหนดการใช้ลิฟท์แบบจำกัด หรือจำกัดจำนวนของคนใช้ลิฟท์ ซึ่งในอนาคตการออกแบบจะสามารถเข้ามาเพิ่มเติมฟังก์ชั่นต่าง ๆ ให้ทุกชีวิตในยุคโควิดมีความสบายใจมากขึ้น อาทิ ล็อกเกอร์รับ-ส่งอาหาร หรือสิ่งของต่าง ๆ โดยผู้รับและผู้ส่งไม่ต้องเจอหน้ากัน และการออกแบบพื้นที่แบบ space in space ภายในบริเวณพื้นที่ส่วนกลางโดยใช้อุปกรณ์เพื่อแยกความเป็นส่วนตัวให้แก่ผู้อยู่อาศัยมากขึ้น เพื่อไม่เกิดความระแวงในการใช้พื้นที่ส่วนรวม ส่วนในระดับเมือง อาจจะนึกถึงประเทศโมนาโค หรือสิงคโปร์ ที่จะมีการจัดโหมดเมืองสำหรับการแข่งรถ สร้างรายได้ให้กับประเทศได้อีกมาก ขณะที่ประเทศไทยเอง มีโหมดเรื่องการป้องกันน้ำท่วม แต่ยังสามารถออกแบบเมืองให้สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามโหมดอื่น ๆ เช่น โหมดการเฝ้าระวังเชื้อโควิด หรือโหมดการจัดบิ๊กอีเว้นท์ เช่นวันสงกรานต์ เป็นต้น E - Explorations of Innovations การคิดค้น พัฒนาและสร้างสรรค์นวัตกรรมการอยู่อาศัยที่จะเข้ามาช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้คน (Explorations of Innovations) โดยการออกแบบบ้าน คอนโดมิเนียม และอาคารสำนักงาน สามารถดึงนวัตกรรมเหล่านี้เข้ามาเป็นอุปกรณ์ที่ช่วยตอบโจทย์กับชีวิต New Normal อย่างเช่น ลิฟท์ ปัจจุบันคอนโดมิเนียมหลายแห่งใช้โถงลิฟท์ (private lift) ส่วนตัวเข้ามาใช้มากขึ้น นอกจากจะเป็นโซลูชั่นด้านความปลอดภัยในยุคโควิดแล้ว ยังตอบโจทย์การซื้อคอนโดมิเนียมเพื่อการลงทุนได้ เพราะลิฟท์ที่แยกออกมาต่างหากนั้น จะไม่เป็นการรบกวนกับเจ้าของห้องจริงที่เป็นผู้อาศัยอยู่ในคอนโดมิเนียมนั้น ๆ เลย ปัจจุบันยังพบด้วยว่ามีการคิดค้นลิฟท์ในรูปแบบต่าง ๆ ไว้มากมาย เพื่อรูปแบบการอยู่อาศัยที่หลากหลาย เช่น ลิฟท์ที่เคลื่อนตัวในแนวราบ (double deck lift) เป็นต้น   นอกจากนี้ ยังมีนวัตกรรมใหม่ ๆ ที่ตอบโจทย์ในยุคโควิดได้เป็นอย่างดี อาทิ ประตูสองชั้น ที่ติดตั้งอุปกรณ์ช่วยในการคัดกรองคนเข้าออก และอุปกรณ์ฆ่าเชื้อ, การออกแบบพื้นที่ในสำนักงาน หรือ โค-เวิร์คกิ้ง สเปซ ที่ช่วยลดความเสี่ยงการแพร่กระจายของเชื้อโรค และ Smog-eating surface สีหรือพื้นผิวที่สามารถดูดซับเชื้อโรค ฝุ่นละลองพิษต่าง ๆ เป็นต้นรวมถึงนวัตกรรมด้าน Transportation หรือการขนส่ง โดยเมืองแห่งอนาคตจะสมบูรณ์แบบมากยิ่งขึ้นหากมีการจัดการด้านการขนส่งอย่างเหมาะสม ซึ่งการใช้ชีวิตอยู่ในเมืองนั้น ผู้คนยังต้องเดินทาง ต้องติดต่อสื่อสาร และรับ-ส่งสิ่งของระหว่างกัน การออกแบบเมืองจึงสามารถออกแบบให้รองรับกับแนวคิดการขนส่งในรูปแบบใหม่ ๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เช่น Hyperloop, drone transportเป็นต้น ทั้งหมดนี้ คือโซลูชั่นใหม่ ๆ ที่จะเข้ามาตอบโจทย์สถานการณ์ในปัจจุบัน และเป็นการเตรียมความพร้อมไปสู่อนาคตนั่นเอง   แนวคิดเหล่านี้เป็นแนวคิดการออกแบบโดยมีคนเป็นศูนย์กลาง ซึ่งเป็นโซลูชั่นที่ต้องการเข้าไปช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของผู้คน เป็นคุณภาพชีวิตที่ดีทั้งด้านสุขภาพและจิตใจ และสำคัญที่สุดคือ เมืองแห่งอนาคตนั้นจะต้องสามารถตอบโจทย์ได้ครบถ้วนทั้งด้านสังคม และเศรษฐกิจ เพื่อให้เป็นเมืองที่ยั่งยืนได้อย่างแท้จริง
งานสถาปนิก’63 โดนพิษโควิด-19 เลื่อนจัดงานเป็นวันที่ 7-12 กรกฎาคมนี้

งานสถาปนิก’63 โดนพิษโควิด-19 เลื่อนจัดงานเป็นวันที่ 7-12 กรกฎาคมนี้

งานสถาปนิก’63 เจอวิกฤตไวรัสโควิด-19 เลื่อนจัดงานไปวันที่ 7-12 กรกฎาคมนี้ พร้อมเตรียม 8 มาตรการเสริมสร้างความปลอดภัยในการเข้าจัดแสดงและเข้าชมงาน ยังมั่นใจผู้ประกอบการในวงการเข้าร่วมงาน 700 บริษัท   นายอัชชพล ดุสิตนานนท์ นายกสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ เปิดเผยว่า เนื่องด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่ส่งผลกระทบเป็นวงกว้างไปทั่วโลก และยังส่งผลต่อการจัดงานสถาปนิกในปี 2363 ด้วย ซึ่งปกติจัดขึ้นเป็นประจำทุกปีในช่วงเดือนเมษายนถึงพฤษภาคม แต่จากสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ทำให้คณะผู้จัดงานได้ตระหนักถึงความปลอดภัยและผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับผู้ร่วมแสดงสินค้า ผู้ชมงาน ผู้เกี่ยวข้อง จึงมีมติให้เลื่อนการจัดงานออกไปเป็นวันที่ 7-12 กรกฎาคมนี้ จากกำหนดเดิมจะจัดวันที่ 28 เมษายน – 3 พฤษภาคม 2563   สำหรับงานสถาปนิก’63 ซึ่ถือเป็นงานจัดแสดงสินค้านวัตกรรมด้านสถาปัตยกรรม และวัสดุก่อสร้างที่ใหญ่ที่สุดในอาเซียน ในปี 2563 เตรียมจัดในธีม “มองเก่า ให้ใหม่ : Refocus Heritage” ซึ่งเป็นการปรับมุมมองในการมองและการอนุรักษ์มรดกทางสถาปัตยกรรมใหม่ เป็นการปรับจูนความคิดให้มองสิ่งเดิมๆ แตกต่างออกไป   ดร. วสุ โปษยะนันทน์ ประธานการจัดงานสถาปนิก’63 กล่าวว่า ถ้ามองอีกมุมหนึ่ง สถานการณ์ไวรัสในครั้งนี้ก็เป็นอีกหนึ่งเครื่องยืนยันว่าการปรับตัว ปรับทัศนคติเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตเสมอ และเราหวังว่าการเลื่อนกำหนดการจัดงานสถาปนิก’63 ในครั้งนี้จะช่วยเสริมสร้างความมั่นใจ ทั้งในส่วนของผู้มาจัดแสดงสินค้า รวมถึงผู้เข้าชมงานเอง สามารถมางานสถาปนิกและเดินชมนวัตกรรมและนิทรรศการต่างๆ ได้อย่างอุ่นใจเช่นเคย สำหรับการจัดงานสถาปนิกเป็นเวทีสำคัญของวงการสถาปัตยกรรมและการก่อสร้าง ที่จัดขึ้นเพียงปีละหนึ่งครั้ง เพื่อตอบโจทย์ทางธุรกิจสำหรับกลุ่มผู้ประกอบการที่ต้องการมาร่วมจัดแสดงเทคโนโลยีและนวัตกรรมต่างๆ เพื่อแสดงศักยภาพ โดยคาดว่าการจัดงานในครั้งนี้จะมีผู้ประกอบการพร้อมร่วมจัดแสดงงานและสนับสนุนอุตสาหกรรมกว่า 700 บริษัท จากทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ   ในส่วนของกลุ่มผู้ซื้อได้รับการตอบรับที่ดี จากบริษัทชั้นนำที่เกี่ยวข้องกับวงการสถาปนิก ผู้ประกอบการด้านอาคารและการก่อสร้าง การออกแบบตกแต่งภายใน บริษัทในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งเป็นสมาชิกของสมาคมต่างๆ จากกลุ่มประเทศ CLMV ที่กำลังมีการพัฒนาโครงการก่อสร้างมากมายภายในกลุ่มประเทศนั้น นายศักดิ์ชัย ภัทรปรีชากุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอ็น.ซี.ซี. เอ็กซิบิชั่น ออกาไนเซอร์ จำกัด หรือ นีโอ ผู้บริหารงานสถาปนิก’63 กล่าวว่า การจัดงานแสดงสินค้าและนิทรรศการ (Exhibition) เป็นอีกหนึ่งเวทีสำคัญที่จะช่วยกระตุ้นให้เกิดการพบปะเพื่อให้เกิดแลกเปลี่ยนความร่วมมือภายในอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นการสนับสนุนเศรษฐกิจและผลักดันให้อุตสาหกรรมเติบโตอย่างมั่นคงและยั่งยืน   ทั้งนี้ ทางสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) หรือ ทีเส็บ มีนโยบายในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมงานแสดงสินค้าของประเทศไทย และมุ่งมั่นในการยกระดับมาตรฐานการจัดงานแสดงสินค้าของไทยสู่ระดับสากล โดยการออกแคมเปญ Exhibiz in Market และ ASEAN+6 Privilege Campaign สนับสนุนค่าใช่จ่ายเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ประกอบการและผู้ที่สนใจร่วมชมงานจากต่างประเทศ เตรียม 8 มาตรการป้องกัน “ไวรัสโควิด-19” เพื่อเป็นการดูแลความปลอดภัยและสุขภาพของผู้เข้าร่วมงานอย่างสูงสุด ทางคณะผู้จัดงานได้ร่วมกับศูนย์แสดงสินค้าและการประชุม อิมแพ็ค เมืองทองธานี ในการวางมาตรการเฝ้าระวังเเละป้องกันโรคระบาดภายใต้การควบคุมของระบบการจัดการด้านการรักษาความปลอดภัยสำหรับการจัดประชุมสัมมนา เเละนิทรรศการ มอก.22300 เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้เข้าร่วมงานทุกท่าน ดังนี้   1.เตรียมแอลกอฮอล์บริการลูกค้า ณ ทางเข้าอาคารหลัก ห้องประชุมย่อยรวมถึงห้องน้ำ เพื่อใช้ทำความสะอาด   2.ติดตั้งเครื่องเทอร์มัลสแกน (Thermo scan) บริเวณทางเข้าอาคารหลักและหน้างาน สำหรับคัดกรองอุณหภูมิร่างกาย และผู้ป่วยที่เข้าข่ายต้องคัดแยกเพื่อเฝ้าระวังติดตามอาการ   3.จัดเตรียมอุปกรณ์เทอร์มัลสแกน (Thermo Gun) สำหรับตรวจวัดอุณหภูมิ คัดกรองผู้ป่วย โดยมีการติดสติกเกอร์ต่างสีในแต่ละวัน เพื่อให้มั่นใจว่าบุคคลที่เข้าร่วมงานได้รับการตรวจคัดกรองเป็นที่เรียบร้อยแล้ว   4.เตรียมห้องปฐมพยาบาลเพื่อคัดกรองผู้ป่วยโดยมีเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ประจำการ   5.ประสานทีมแพทย์และพยาบาล จากสถาบันบำราศนราดูรให้การช่วยเหลือสนับสนุนทางการแพทย์   6.จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ ให้ความรู้สร้างความเข้าใจ เกี่ยวกับโรคปอดอักเสบจากเชื้อไวรัส โคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 พร้อมขอความร่วมมือผู้เข้ามาใช้บริการปฏิบัติตามข้อแนะนำในการป้องกันการแพร่ระบาด   7.เพิ่มความถี่ในการทำความสะอาดอาคาร สถานที่ บริเวณห้องจัดงาน จุดบริการอาหารเครื่องดื่ม ห้องน้ำ และอื่นๆ ด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อโรคทุกวัน ตลอดจนฉีดพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อในพื้นที่จัดแสดงงานทั้งการก่อสร้างและหลังจากการรื้นถอน   8.จัดเตรียมถังขยะสำหรับทิ้งหน้ากากอนามัยโดยเฉพาะ เพื่อการนำไปกำจัดอย่างถูกวิธี   งานสถาปนิก’63 “มองเก่า ให้ใหม่: Refocus Heritage” จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 7-12 กรกฎาคม 2563 ระหว่างเวลา 10.00 – 20.00 น. ณ อาคารชาเลนเจอร์ อิมแพ็ค เมืองทองธานี ดูข้อมูลเพิ่มเติมที่ www.architectexpoasia.com  
Booking.com เปิดตัวรถบัสพักได้สไตล์ไทยแลนด์ หนึ่งเดียวของโลก

Booking.com เปิดตัวรถบัสพักได้สไตล์ไทยแลนด์ หนึ่งเดียวของโลก

Booking.com เปิดตัว Bangkok Booking Bus รถบัสพักได้ ที่พักแปลกใหม่โดดเด่นด้วยดีไซน์แบบไทย เตรียมเปิดให้พักคืนเดียวเท่านั้น ในวันที่ 22 กุมภาพันธ์ นี้ ที่ เอเชียทีค ริเวอร์ฟอร์น      นางสาวมิเชล เกา ผู้จัดการประจำภูมิภาคของ Booking.com  เปิดเผยว่า จากความนิยมเข้าพักในที่พักแปลกใหม่ต่างๆ ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และรายงานล่าสุดของ Booking.com ที่ชี้ว่า นักเดินทางจำนวนมากขึ้นกำลังมองหาที่พักแปลกใหม่ เพื่อตอบสนองความต้องการที่อยากจะลองประสบการณ์การเข้าพักในที่พักรูปแบบต่างๆ     โดยนักเดินทางชาวไทยมากกว่า 2 ใน 5 (42%) วางแผนจะเข้าพักในที่พักที่มีเอกลักษณ์อย่างน้อยสักครั้งหนึ่ง ซึ่งนอกจากจะเป็นการหาแรงบันดาลใจให้ตัวเองแล้ว ผู้เดินทางยังต้องการทำให้คนรอบตัวรู้สึกประทับใจไปกับตัวเลือกของที่พักในรูปแบบแปลกใหม่ ที่สามารถแสดงออกถึงความเป็นตัวของตัวเองของผู้เข้าพักได้   Bangkok Booking Bus จะเปิดให้จองบน Booking.com ที่เดียวเท่านั้น และเข้าพักได้เพียง 1 คืน สำหรับผู้เข้าพัก 2 ท่าน นับเป็นประสบการณ์สุดพิเศษครั้งหนึ่งในชีวิต ที่บริเวณลานจอดรถ โครงการเอเชียทีค เดอะ ริเวอร์ฟร้อนท์ แหล่งรวมไลฟ์สไตล์และความบันเทิงยามค่ำคืนที่หลากหลาย ทำให้การเข้าพักครั้งนี้น่าประทับใจไม่มีวันลืม     โดย Bangkok Booking Bus จะเปิดให้เข้าพักได้ในวันเสาร์ที่ 22 กุมภาพันธ์นี้ สำหรับการเข้าพัก 1 คืน ต่อผู้เข้าพัก 2 ท่าน โดยสามารถทำการสำรองที่พักได้ในวันพฤหัสบดีที่ 20 กุมภาพันธ์ ตั้งแต่เวลา 20.00 น. เป็นต้นไป โดยจะให้สิทธิ์ในการเข้าพักตามลำดับของผู้ที่จองเข้าพักก่อน สามารถจองที่พักบนรถบัสพักได้ที่เว็บไซต์ของ www.Booking.com ที่เดียวเท่านั้น   ด้วยพันธกิจที่ต้องการให้ทุกคนได้สัมผัสกับประสบการณ์ที่พักที่หลากหลายทั่วโลกได้ง่ายดายขึ้น เราภูมิใจที่จะนำเสนอ Bangkok Booking Bus รถบัสพักได้ ที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจากความเป็นไทย ใจกลางกรุงเทพฯ   หลังจากที่แขกผู้โชคดีได้เข้าพักที่รถบัสพักได้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว Booking.com จะส่งมอบรถบัสพักได้ดังกล่าวให้กับ Local Alike ซึ่งเป็นกิจการเพื่อสังคมสัญชาติไทยด้านการท่องเที่ยวเพื่อพัฒนาชุมชน และยังเป็นสตาร์ทอัพในโครงการ  Booking Booster ปี 2560 ซึ่ง Local Alike จะนำรถบัสพักได้ไปใช้งานเพื่อสานต่อความยั่งยืนต่อไป   วิธีการสำรองที่พัก Bangkok Booking Bus รถบัสพักได้คันแรกที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจากความเป็นไทยเข้าไปที่ Booking.com ในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ เวลา 20.00 น. เป็นต้นไป เพื่อลุ้นเข้าพักใน Bangkok Booking Bus ซึ่งราคาพักของ Bangkok Booking Bus ต่อคืนราคา 2,020 บาท (รับเงินคืนหลังจากเช็ค-เอาท์)
ชมออฟฟิศใหม่ “เจียไต๋” ก้าวสู่ปีที่ 100  กับแนวคิด  Work – Life Balance

ชมออฟฟิศใหม่ “เจียไต๋” ก้าวสู่ปีที่ 100 กับแนวคิด  Work – Life Balance

คนส่วนใหญ่ที่เป็นเกษตรกร หรือสนใจในเรื่องการเกษตร การปลูกต้นไม้ เชื่อว่าจะต้องรู้จักชื่อของ “เจียไต๋” บริษัทที่ทำธุรกิจด้านการเกษตรครบวงจรของประเทศไทย ในเครือซีพี หรือเจริญโภคภัณฑ์  เป็นอย่างดี ออฟฟิศ เจียไต๋ เพราะธุรกิจมีหลากหลายที่เกี่ยวกับการเกษตร ไม่ว่าจะเป็นการจำหน่ายเม็ดพันธ์ หรือสารเคมี และบริการด้านการเกษตร ที่สำคัญเป็นบริษัทที่ก่อตั้งมาอย่างยาวนาน นับอายุก็จะครบ 100 ปีแล้ว นับตั้งแต่ก่อตั้งบริษัทมาตั้งแต่ปี 2463 ออฟฟิศ เจียไต๋ จุดเริ่มต้นของ “เจียไต๋”  เริ่มต้นขึ้นจากห้องแถวเล็กๆ บนถนนทรงสวัสดิ์ ย่านเยาวราช ก่อนกิจการจะขยายใหญ่ขึ้น จนพื้นที่ของสำนักงานแห่งเก่ามีไม่เพียงพอที่จะรองรับพนักงานที่มีจำนวนมากขึ้น ทำให้ผู้บริหารมีแนวความคิดในการมองหาสำนักงานแห่งใหม่ที่ใหญ่ขึ้น และรองรับจำนวนพนักงานได้มากขึ้น ที่สำคัญต้องเป็นสถานที่ทำงาน ซึ่งสร้างแรงบันดาลใจ ปลุกไฟให้กับพนักงาน และเป็นสถานที่ดึงดูดกลุ่มรุ่นใหม่  กลุ่มมิลเลนเนียม ให้อยากเข้ามาทำงาน ตอบสนองความต้องการกลุ่มคนเหล่านั้นได้ "เจียไต๋" ทุ่ม 900 ล้านขึ้นออฟฟิศใหม่ “เจียไต๋” จึงได้ทำการย้ายออฟฟิศแห่ง  ด้วยการลงทุนก่อสร้างอาคารสำนักงานใหญ่แห่งใหม่  มูลค่า 900 ล้านบาท ตั้งอยู่บริเวณริมถนนสุขุมวิท ซอยสุขุมวิท 60 ใกล้รถไฟฟ้าบีทีเอส สถานีบางจาก เป็นอาคารขนาดความสูง 15 ชั้น มีพื้นที่ใช้สอยรวม 18,000 ตารางเมตร  โดยชั้น 1-6 เป็นพื้นที่จอดรถ และชั้น 7-15 เป็นพื้นที่ทำงาน   นายมนัส เจียรวนนท์ ประธานคณะผู้บริหาร บริษัท เจียไต๋ จำกัด เล่าว่า  “เจียไต๋กำลังจะฉลองครบรอบ 100 ปี จึงตัดสินใจย้ายสำนักงานมาที่ใหม่ เพื่อให้พนักงานทุกคนได้ทำงานอยู่ในพื้นที่เดียวกัน เน้นการออกแบบเพื่อตอบสนองความต้องการของพนักงาน สำนักงานใหญ่แห่งใหม่นี้จึงเป็นการแสดงให้เห็นถึงความพร้อม และความแข็งแกร่งของเจียไต๋ในการเดินเข้าสู่ปีที่ 100 อย่างมั่นคง” ดีไซน์ด้วยแนวคิด “เหนือกาลเวลา” สำหรับสำนักงานใหญ่แห่งใหม่ของเจียไต๋ ได้รับการออกแบบและตกแต่งโดย บริษัท สถาปนิก 49 จำกัดและ บริษัท พี ไอ เอ อินทีเรีย จำกัด  ด้วยการดีไซน์ตัวอาคารให้เป็นลักษณะโมเดิร์น ร่วมสมัย และเรียบง่าย สะท้อนความเป็นตัวตนของ “เจียไต๋” ที่อยู่เคียงคู่สังคมไทยมาทุกยุคทุกสมัยเป็นเวลาเกือบ 100 ปี  ตัวอาคารล้อมรอบด้วยพื้นที่สีเขียว บริเวณด้านหน้ามีการปลูกพืชผักและดอกไม้ตามฤดูกาล เพื่อสะท้อนสายสัมพันธ์อันลึกซึ้งของ “เจียไต๋” กับวิถีการเกษตร และยังเป็นพื้นที่พักผ่อนหย่อนใจของพนักงาน “คอนเซ็ปต์การออกแบบอยากได้อาคารเหนือกาลเวลา ไม่ว่าจะผ่านไปนานแค่ไหน ยังได้ความสวยงาม และสถาปัตยกรรมที่ดี ต้องตอบโจทย์ผู้ใช้งานด้วย จังออกแบบให้มีเส้นแนวตั้งภายนอกอาคาร ใช้ประโยช์ได้ทั้งการกันแสงแดด และประหยัดพลังงาน” ส่วนบริเวณด้านหน้าอาคาร ได้ถูกออกแบบให้เป็นสวนเกษตร หลากหลายชนิด ภายใต้แนวคิด Urban Green Area ซึ่งสามารถใช้ประโยชน์จากพืชได้จริง และยังใช้เป็นแนวรั้ว ที่กั้นแนวเขตฟุตบาทกับพื้นที่สำนักงาน แต่ทำให้รู้สึกถึงความโปร่งสบาย เพราะไม่ได้ถูกกั้นเหมือนรั้วหรือกำแพงทั่วไป “เราพยายามรักษาทั้งเรื่องความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัว ให้คนเห็นแปลงผัก ดอกไม้ได้ มองจากริมถนนได้ แต่เข้าไม่ได้ เป็นคอนเซ็ปต์รั้วโล่ง ปีก่อนหน้านี้ก็ได้มีการปลูกข้าวจริงๆ ถึง 2 ครั้ง” ดึงแนวคิด 4ฤดู ออกแบบภายใน ส่วนอาคารภายใน ออกแบบให้สะท้อนค่านิยม One Chia Tai ส่งเสริมการทำงานร่วมกันเป็นหนึ่งเดียวที่ "เจียไต๋" พนักงานทุกคนได้รับการปลูกฝังให้ทำงานร่วมกันเป็นทีมที่เรียกว่า One Chia Tai เพื่อเดินไปสู่จุดหมายหลักเดียวกันขององค์กร นั่นคือการส่งมอบนวัตกรรมการเกษตรเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีกว่าอย่างยั่งยืนของผู้คนทั่วทั้งภูมิภาค ภายในอาคาร จึงออกแบบด้วยแนวคิด “Growing as One – เติบโตไปด้วยกันเป็นหนึ่งเดียว”  ผ่านการจัดองค์ประกอบในแนวคิด “สวนหลังบ้าน” ซึ่งใช้เป็นแนวคิดหลักในการออกแบบพื้นที่ของแต่ละหน่วยงาน เช่น สนามเด็กเล่น  สวนเรือนกระจก สวนพฤกษา และบ้านต้นไม้ โดยทุกชั้นภายในอาคารจะมีส่วนที่เป็นสวน หรือการปลูกต้นไม้อยู่ทุกชั้น “คนเราถ้าอยู่ในสวนหรือธรรมชาติ 1 ชั่วโมง จะมีประสิทธิภาพการทำงานเพิ่มขึ้น 20% การออกแบบตกแต่งภายในแต่ละชั้น ยังได้นำเอาแนวคิดของ 4 ฤดูกาล เข้ามาเป็นแนวทางในการออกแบบและตกแต่งภายในด้วย -ชั้น 9 ที่ทำงานของหน่วยธุรกิจเมล็ดพันธุ์ ซึ่งออกแบบและตกแต่งภายใต้ธีม ฤดูฝน โดยใช้สีเขียวเป็นโทนสีหลัก -ชั้น 11 เป็นที่ทำงานของหน่วยธุรกิจสนับสนุน ออกแบบและตกแต่ง ภายใต้ธีมของฤดูใบไม้เปลี่ยนสี -ชั้น 12 ที่ทำงานของหน่วยธุรกิจปุ๋ย ถูกออกแบบและตกแต่งภายใต้ธีม ฤดูร้อน โดยใช้สีเหลืองเป็นโทนสีหลัก -ชั้น 12A  สถานที่ทำงานของหน่วยธุรกิจอารักขาพืช ออกแบบและตกแต่งภายใต้ธีม ฤดูหนาว ด้วยโทนสีฟ้าเป็นโทนสีหลัก   แม้ว่าจะมีการแบ่งพื้นที่การทำงาน ในแต่ละชั้นแต่ละหน่วยธุรกิจ แต่ทุกมีการสร้างพื้นที่ให้เชื่อมต่อถึงกันได้ เดินขึ้น-ลงระหว่างชั้นได้  โดยชั้น 7 เชื่อมต่อกับชั้น 8 ชั้น 9 เชื่อมต่อกับชั้น 10 ชั้น 11-12A เชื่อมต่อถึงกันได้ และชั้น 14-15  ซึ่งเป็นส่วนสำนักงานซีอีโอและห้องทำงานของซีอีโอ ก็เชื่อมต่อระหว่างกันด้วย เป็นการออกแบบเพื่อส่งเสริมการทำงานร่วมกัน มุ่งสู่การสร้างวัฒนธรรมในการคิดค้นสิ่งใหม่ๆ การทำงานร่วมกันเป็นทีม นอกจากการเชื่อมต่อระหว่างชั้นแล้ว ทุกพื้นที่ในสำนักงานใหม่ยังจัดทำในรูปแบบ Co-Working Space ที่พนักงานจากหลากหลายแผนกสามารถใช้ทำงานร่วมกันได้ด้วย สร้าง Work – Life Balance ดึงคนรุ่นใหม่ การสร้างสมดุลระหว่างชีวิตการทำงานและชีวิตส่วนตัว Work-Life Balance เป็นสิ่งที่สำคัญต่อความคิดสร้างสรรค์และการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ "เจียไต๋" ให้ความสำคัญกับพนักงานเป็นลำดับต้นๆ สำนักงานใหญ่แห่งนี้จึงออกแบบพื้นที่เพื่อส่งเสริมการสร้างสมดุลระหว่างชีวิตการทำงานและชีวิตส่วนตัวให้พนักงานได้มีความสุข สนุกกับการทำงานในทุกๆ วัน   โดยมีพื้นที่ให้พนักงานสามารถผ่อนคลายความเหนื่อยล้าจากการทำงาน เช่น ฟิตเนส ห้อง Golf Simulator ซึ่งไม่ได้มีเพียงอุปกรณ์ออกกำลังกายอย่างครบถ้วนเท่านั้น แต่ยังมีโค้ชประจำ และมีคลาสออกกำลังกายต่างๆ เช่น คลาสโยคะ หรือเต้นซุมบ้า เพื่อส่งเสริมสุขภาพพนักงานอย่างจริงจัง นอกจากนี้ ยังมีห้องสมุด ห้องอาหาร และยังคิดเผื่อไปถึงครอบครัวของพนักงาน จึงได้สร้างพื้นที่ Kid Room เพื่อรองรับบุตรหลานของพนักงานอีกด้วย   "เจียไต๋" ให้ความสำคัญกับการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมและการประหยัดพลังงาน โดยนอกจากอาคารจะใช้วัสดุเช่น กระจก และมีเพดานที่สูงเพื่อเปิดช่องให้แสงธรรมชาติผ่านเข้าได้มากที่สุด เพื่อลดการใช้พลังงานแล้ว ยังมีการติดตั้งระบบเปิด-ปิดไฟฟ้าอัตโนมัติสำหรับควบคุมไฟฟ้าภายในอาคาร ติดตั้งระบบจับความเคลื่อนไหวภายในห้องน้ำที่จะสั่งการเปิด-ปิดไฟฟ้าอัตโนมัติเมื่อมีคนใช้ ทำให้ไม่ต้องเปิดไฟทิ้งไว้ทั้งวัน และยังติดตั้งมาตรวัดปริมาณน้ำและไฟที่ใช้ในแต่ละชั้นเพื่อนำข้อมูลไปสร้างแนวทางในการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพและคุ้มค่า สำหรับด้านสิ่งแวดล้อม เจียไต๋สนับสนุนให้พนักงานแยกขยะ โดยจัดวางถังขยะแบบแยกประเภทเพื่อสร้างความตระหนักถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และรณรงค์เรื่องการแยกขยะในกลุ่มพนักงานอีกด้วย   “เรามุ่งหวังให้สำนักงานใหญ่แห่งใหม่นี้เป็นที่ทำงานที่ทันสมัย ดึงดูดพนักงานรุ่นใหม่ๆ เป็นสถานที่ในการจุดประกายความคิดสร้างสรรค์ใหม่ๆ ให้กับพนักงาน เพื่อให้ทุกคนแสดงศักยภาพของตัวเองออกมาได้อย่างเต็มที่ เจียไต๋จะฉลองครบรอบ 100 ปี ใน 2564 สำนักงานใหญ่แห่งใหม่นี้เป็นการแสดงให้เห็นถึงความพร้อมและความมุ่งมั่นในการดำเนินธุรกิจของเจียไต๋ ในการก้าวเดินสู่ศตวรรษใหม่อย่างแข็งแกร่งและมั่นคง” ปัจจุบันสำนักงานใหญ่แห่งใหม่ มีพนักงานเข้าทำงานเพียง 320 คนเท่านั้น จากจำนวนพนักงานทั้งกลุ่มบริษัท 1,300 คน บางส่วนกระจายอยู่ในโรงงานบ้าง สำนักงานสาขาบ้าง และส่วนงานวิจัยในพื้นที่ต่างจังหวัดบ้าง  สำนักงานใหญ่แห่งใหม่จึงยังสามารถรองรับพนักงานได้อีกมาก โดยเฉพาะกลุ่มคนรุ่นใหม่  ที่ถือเป็นกำลังสำคัญ จะมาสานต่อให้ “เจียไต๋” ก้าวไปเป็นองค์กรที่เติบโตอย่างยั่งยืนในอนาคต   โดยผู้บริหารคาดหวังว่า การออกแบบสำนักงานให้สอดคล้องกับความต้องการของกลุ่มคนรุ่นใหม่ กลุ่มมิลเลนเนียม จะเป็นตัวช่วยดึงให้พวกเขาเข้ามาเป็นกำลังสำคัญของ “เจียไต๋” ในอนาคต เพราะปัจจุบันยังมีพนักงานกลุ่มนี้ไม่มากนัก อายุเฉลี่ยของพนักงาน “เจียไต๋” จะอยู่ที่ 35 ปี มีอายุงานประมาณ 9 ปีเท่านั้น ซึ่งพนักงานส่วนใหญ่สัดส่วนถึง 65% เป็นกลุ่มคน Gen Y  
1 ปี การเดินทาง “ไอคอนสยาม” กับความสำเร็จใน 7 สิ่งมหัศจรรย์

1 ปี การเดินทาง “ไอคอนสยาม” กับความสำเร็จใน 7 สิ่งมหัศจรรย์

วันที่ 30 ตุลาคม 2562 ที่ผ่านมา คือ วันครบรอบ 1 ปี ของการเปิดให้บริการ “ไอคอนสยาม” อภิมหาโปรเจ็กต์ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ของ 3 บริษัทระดับบิ๊ก ที่ร่วมกันปั้นโปรเจ็กต์นี้ขึ้น ได้แก่ บริษัท สยามพิวรรธน์ จำกัด เครือเจริญโภคภัณฑ์  และบริษัท แมกโนเลีย ควอลิตี้ ดิเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด  ด้วยมูลค่าการลงทุนสูงสุดในประวัติศาสตร์ถึง 55,000 ล้านบาท กับระยะเวลาการพัฒนาในระยะเวลา 5 ปี ​ เนรมิตโปรเจ็กต์ขนาดใหญ่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาได้สำเร็จ   ย้อนหลังไป 7 ปีก่อน นางชฎาทิพ จูตระกูล กรรมการ บริษัท ไอคอนสยาม จำกัด และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท สยามพิวรรธน์ จำกัด ซึ่งเป็นหนึ่งในพันธมิตรเจ้าของไอคอนสยาม  ได้ประกาศวิสัยทัศน์ไว้เมื่อว่าจะต้องพัฒนาโครงการให้สำเร็จ  พร้อมกับสร้างให้ไอคอนสยามเป็น Game Changer Destination ที่สามารถสร้างศูนย์กลางธุรกิจและการท่องเที่ยวกลางเมืองของกรุงเทพฯ อยู่ที่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาและฝั่งธนบุรีได้สำเร็จ   โดยตลอดระยะเวลา 1 ปีที่ผ่านมา คงเป็นเครื่องพิสูจน์ความสำเร็จดังกล่าว ได้เป็นอย่างดี และบริษัทได้ทำภารกิจสำคัญตามวิสัยทัศน์ที่ประกาศไว้สำเร็จลุล่วงแล้วทุกประการ  ที่สำคัญโครงการไอคอนสยาม เป็นโครงการของบริษัทคนไทยสามารถดึงเงินลงทุนจากต่างประเทศเข้าสู่ประเทศไทย ผ่านการลงทุนเปิดธุรกิจร้านต่างๆ ในโครงการ เป็นมูลค่ามากกว่า 5,000 ล้านบาท ไม่ว่าจะเป็น Apple Store สาขาแรกในประเทศไทย และ Luxury Brands ต่างๆ ที่แม้จะเปิดในประเทศไทยอยู่แล้ว แต่ก็ให้ความเชื่อมั่นและเปิดอีกสาขาระดับแฟล็กชิฟสโตร์ในไอคอนสยามได้ “เวลาผ่านพ้นมา 1 ปี  หลายร้านมีผลประกอบการที่ดี  และหลายร้านมียอดขายเป็นอันดับ 2 ของประเทศไทยรองจากสาขาสยามพารากอน”   นอกจากนี้ ไอคอนสยาม ยังสามารถสร้างสิ่งที่ถือว่าเป็น “ไฮไลท์” ของโครงการ แถมเป็นแม่เหล็กสำคัญในการดึงดูดนักท่องเที่ยว นักช้อปปิ้ง ไม่ว่าจะเป็นชาวไทยหรือชาวต่างชาติ  กับการสร้าง 7 สิ่งมหัศจรรย์แห่งไอคอนสยาม ที่ถือได้ว่าเป็นองค์ประกอบสำคัญของความสำเร็จ  โครงการระดับบิ๊กเช่นนี้ (แม้จะมีสิ่งมหัศจรรย์บางอย่างไม่แล้วเสร็จ แต่ไม่ได้เริ่มต้นพัฒนาขึ้นแล้ว) 7 สิ่งมหัศจรรย์แห่งไอคอนสยาม ประกอบด้วย 1.สุขสยาม พื้นที่รวบรวม Local Heroes ศิลปิน ช่างฝีมือ ผู้ประกอบการ และวิสาหกิจชุมชนจำนวนมาก ซึ่งอยู่ในทุกมุมประเทศ ให้ได้มีโอกาสเข้ามาค้าขายในไอคอนสยาม ซึ่งในช่วงปีที่ผ่านมา สุขสยามได้ดึงดูดผู้คนเข้ามาที่สุขสยามไม่ต่ำกว่า 50,000 – 70,000 คนต่อวัน  ยิ่งไปกว่านั้นผู้ประกอบการหลายรายได้เป็นที่รู้จักในหมู่นักท่องเที่ยวจนได้มีโอกาสไปทำธุรกิจในต่างประเทศแล้วอีกด้วย 2.ริเวอร์ พาร์ค จากปณิธานของไอคอนสยามในการอุทิศพื้นที่ในโครงการขนาดใหญ่ 10 ไร่ ให้เป็น Community Space วันนี้ริเวิอร์พาร์คได้กลายเป็นพื้นที่สำคัญที่ชุมชนสามารถมาใช้ประโยชน์ได้เสมือนเป็นระเบียงหน้าบ้าน  มีการใช้พื้นที่ในการจัดประเพณีไทย 12 เดือน เต็มตลอดทุกเดือน เกิดปรากฏการณ์ใหม่ๆ ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน อาทิ ประติมากรรมเทียนพรรษายักษ์ที่เดินทางมาจากจังหวัดอุบลราชธานีเข้าสู่กรุงเทพฯ เป็นครั้งแรก กลายเป็น world class destination ที่สามารถดึงดูดผู้คนจากทั่วประเทศและทั่วโลก 3.การแสดงระบำสายน้ำ แสง สี เสียง มัลติมีเดีย การแสดงที่ยาวและยิ่งใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้พิสูจน์ความสำเร็จแล้ว ในการทำให้แม่น้ำเจ้าพระยากลายเป็น New Global Destination ด้วยการมี World Class Attraction ที่ทรงพลัง ซึ่งนอกเหนือจากการดึงดูดผู้คนให้มาชมการแสดงได้อย่างล้นหลามแล้ว ล่าสุดการแสดงระบำสายน้ำ แสง สี เสียง มัลติมีเดีย ของไอคอนสยาม ยังได้รับคัดเลือกให้ได้รางวัลชนะเลิศ รางวัล Gold Stevie Award 2019 สาขา Art, Entertainment & Public - Art Event จาก The International Business Awards การประกวดธุรกิจนานาชาติประจำปี 2019 บนเวทีระดับโลก 4.ทรู ไอคอน ฮอลล์ ศูนย์การประชุมระดับโลกแห่งแรกในประเทศไทย บนชั้น 7 ด้วยความจุขนาด 2,700  ที่นั่ง  รองรับการจัดงานประชุม ด้วยเทคโนโลยีที่ดีที่สุดในภูมิภาคเอเชีย และสามารถรองรับโชว์ต่างๆ ที่มีชื่อเสียงจากต่างประเทศได้ซึ่งจะจุดประกายให้กับอุตสาหกรรม MICE และทำให้กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางของการประชุมนานาชาติและการแสดงระดับชั้นนำของโลก 5.ริเวอร์ มิวเซียม แบงค็อก พื้นที่ศิลปะและพิพิธภัณฑ์ระดับโลกแห่งแรกในประเทศไทย โดยได้เปิดเฟสแรก ‘ไอคอนสยาม อาร์ท สเปซ’ เมื่อเดือนกันยายนศกนี้ พื้นที่ 2,000 ตารางเมตร ซึ่งเป็นพื้นที่แห่งความคิดสร้างสรรค์ เพื่อเปิดโอกาสให้ศิลปินไทยทุกแขนงตั้งแต่ศิลปินรุ่นใหม่ ศิลปินท้องถิ่น ไปจนถึงศิลปินระดับชาติใช้แสดงผลงาน โดยงานแรก กลุ่มบริษัทโตชิบา ประเทศไทย ได้จัดนิทรรศการศิลปกรรม “นำสิ่งที่ดีสู่ชีวิต” งานแสดงผลงานจากประกวดศิลปกรรม “นำสิ่งที่ดีสู่ชีวิต” ของศิลปินทั่วประเทศ ภายใน 1 เดือนถึงวันนี้มีผู้ชมงานมากถึง 100,000 คน   หลังจากนี้จะเปิดเฟสสองคือ ‘ริเวอร์ มิวเซียม ฮอลล์’ จะเป็นพื้นที่สำหรับการจัดแสดงงานสำคัญจากทั่วโลก และการร่วมมือกับแบรนด์ดังระดับโลก และส่วนสุดท้ายคือ ‘ริเวอร์ มิวเซียม แบงค็อก’ ซึ่งจะเป็นพิพิธภัณฑ์ระดับโลกแห่งแรกในประเทศไทยจะเปิดให้บริการปลายปี 2563 ทั้งหมดนี้จะทำให้กรุงเทพมหานครกลายเป็นจุดศูนย์กลางวงการศิลปะโลกอีกแห่งหนึ่งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 6.รถไฟฟ้าสายสีทอง ระบบคมนาคมขนส่งทางราง ซึ่งเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีเขียวผ่านถนนเจริญนครไปสิ้นสุดที่โรงพยาบาลตากสินรวม 3 สถานี และในอนาคตจะเป็น Feeder Line ที่เชื่อมเข้ากับรถไฟฟ้าสายสีแดงและสายสีม่วง ขณะนี้อยู่ในความรับผิดชอบของบริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด และ บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน)  โดยคาดว่าจะเปิดให้บริการได้กลางปี 2563   รถไฟฟ้าสายสีทอง จะเป็นรถไฟฟ้าสายแรกในประเทศไทยที่เปิดเดินรถโดยใช้ระบบ AGT (Automated Guideway Transit) ทำให้ก่อสร้างบนพื้นที่จำกัดได้ จึงไม่ต้องเวนคืนที่ดินของประชาชน อีกทั้งการเดินรถระบบนี้มีน้ำหนักเบา ส่งผลให้สามารถใช้โครงสร้างเสาขนาดเล็กกว่าระบบเดิม นอกจากนั้นตัวรถเป็นระบบล้อยาง ทำให้เวลาเดินรถเสียงจะเงียบกว่ารถไฟฟ้าแบบเดิม ลดผลกระทบด้านเสียง และ AGT ยังเป็นระบบเดินรถแบบไร้คนขับ (Driverless) ที่จะถูกนำมาใช้เป็นครั้งแรกในเมืองไทย ควบคุมการเดินรถด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะควบคุมระยะเวลาในการเดินรถได้อย่างแม่นยำและมีความปลอดภัยสูง 7.ปรากฏการณ์รวมโลกในรอยไทย  จากศิลปินไทยระดับอาจารย์ ศิลปินแห่งชาติ ศิลปินท้องถิ่นจากทั่วประเทศไทย และรวมถึงผลงานสร้างสรรค์โดยศิลปินต่างชาติ ได้แสดงความสามารถและผลงานสร้างสรรค์ทางศิลปะซึ่งกระจายตัวอยู่ในพื้นที่ต่างๆ ทั่วทั้งโครงการกว่า 100 ชิ้น หรือแม้กระทั่งในร้านค้าต่างๆ เป็นการสนับสนุนผลงานสร้างสรรค์ของศิลปินและช่างฝีมือไทยเหล่านั้นให้ได้เป็นที่ประจักษ์ต่อสายตาโลก และจะยังมีเพิ่มเติมเข้ามาเรื่อยๆ อย่างต่อเนื่อง ตลอด 1 ปีของการเปิดดำเนินการ  โครงการไอคอนสยามยังได้รางวัลจากเวทีต่างๆ ทั่วโลก มาเป็นเครื่องการันตีความสำเร็จอีกมากายหลายรางวัล อาทิ  การได้รับคัดเลือกให้เป็นผู้ชนะรางวัล ‘ออกแบบดีที่สุดในโลก’ จากสภาการค้าปลีกโลก (World Retail Congress) และคว้ารางวัลชนะเลิศสูงสุดด้าน ‘การออกแบบที่ดีที่สุด’ จากสมาคมศูนย์การค้าโลก (International Council of Shopping Centers – ICSC) ถือเป็น 1 ปี ของเส้นทางความสำเร็จที่สวยงามจริงๆ   ข้อมูลเพิ่มเติม ไอคอนสยาม
SB สาขา CDC ปรับลุคเป็น Flagship Store ส่ง Zelection Built-in ปฏิวัติวงการบิลท์อิน

SB สาขา CDC ปรับลุคเป็น Flagship Store ส่ง Zelection Built-in ปฏิวัติวงการบิลท์อิน

SB Design Square ทุ่มงบกว่า 200 ล้านบาท ปรับลุคสาขา CDC ใหม่ เป็น Flagship Store สุดครบวงจร บนพื้นที่ 15,000 ตารางเมตร ภายใต้คอนเซ็ปต์ “The New Era of Luxe Design Home Decorations” ประกาศปฏิวัติวงการบิลท์อินด้วยนวัตกรรมดีไซน์ล่าสุดและเทคโนโลยีล้ำสมัยแห่งแรกในเมืองไทยกับ “Zelection Built-in” ที่ทลายทุกกฎการตกแต่งบ้าน เสริมทัพด้วยเฟอร์นิเจอร์ 2 แบรนด์ดังจากฝั่งยุโรปและอเมริกา Laura Ashley (ลอร่า แอชลี่)และ Universal (ยูนิเวอร์แซล) พร้อมเปิด “Designer Club”   นางธัญญรักข์ ชวาลดิฐ กรรมการบริหาร กลุ่มบริษัท เอสบี เฟอร์นิเจอร์ เผยว่าแม้ภาพรวมตลาดเฟอร์นิเจอร์ปี 2562 อาจจะไม่สวยหรูนัก เนื่องจากผลกระทบ ทางเศรษฐกิจและตลาดอสังหาฯ แต่กลุ่มลูกค้าตลาดระดับบนของที่อยู่อาศัยแนวราบนับว่ายังพอไปได้ ดังนั้น การเปิดตัว “Zelection Built-in” ครั้งนี้ เราจึงเน้นเจาะลูกค้ากลุ่มนี้เป็นหลัก และเพื่อเพิ่มทางเลือกให้แก่ลูกค้าของเรามากยิ่งขึ้น ครั้งนี้เราได้รับเกียรติจาก 2 แบรนด์เฟอร์นิเจอร์ชั้นนำจากฝั่งยุโรปและอเมริการ ได้แก่ Laura Ashley และ Universal มาเปิดที่สาขา CDC แห่งนี้    เราพยายามเสาะแสวงหา global brand ที่ดีมาเพิ่มสีสันความหลากหลาย เพื่อตอบโจทย์ผู้บริโภคให้มากที่สุด  นายฌอห์ณ แองลิม ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงินและประธานเจ้าหน้าที่บริหารร่วม ฝ่ายปฏิบัติการแบรนด์ Laura Ashley (ลอร่า แอชลี่) สัญชาติอังกฤษที่มีความโดดเด่นเรื่องลวดลายและสีสันของงานผ้าที่เป็นเอกลักษณ์สะท้อนความมีระดับในแบบฉบับอังกฤษ ทั้งเฟอร์นิเจอร์สำหรับห้องนอน ห้องนั่งเล่น ห้องรับประทานอาหาร ห้องน้ำ รวมถึงของตกแต่งต่างๆ  มากมาย เผยถึงความร่วมมือกับ SB ครั้งนี้ว่า "เรามองว่า SB เป็นแบรนด์ที่มีความเข้มแข็งมากในตลาดเฟอร์นิเจอร์เมืองไทย มีทีมงานที่เป็นมืออาชีพ เราหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้ขยายแบรนด์ลอร่าร่วมกับเอสบีไปอีกหลายสาขา"  นายแมททิว คิม รองประธานฝ่ายขายต่างประเทศ แบรนด์ Universal (ยูนิเวอร์แซล) เผยว่า ทั้ง SB และเราต่างเป็นแบรนด์ที่มีประวัติศาสตร์ อันยาวนานกว่า 50 ปี ในอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ เรามักจะแชร์กระบวนการคิดความเข้าใจต่อความต้องการของลูกค้า และทำงานร่วมกันในการที่จะตอบสนองความต้องการนั้นๆ ในหลายแง่มุม ไม่ว่าจะเรื่องสไตล์ ราคา คุณภาพ และความสบายในการใช้งาน โดย Universal มีความหรูหราสง่างามและทันสมัยสไตล์ Modern American เป็นจุดเด่นของแบรนด์ เฟอร์นิเจอร์ทุกชิ้นล้วนเป็นงาน Handcraft เน้นการใช้วัสดุเกรดพรีเมี่ยม เพื่อสร้างสัมผัสที่โดดเด่นแบบ American Signature เชื่อว่าคนรักการแต่งบ้านที่มาเยี่ยมชมภายในร้านต้องได้Inspire ดีๆ ในการตกแต่งบ้านแน่นอน       นอกจากนี้ยังได้เปิดตัว Zelection Built-in แบรนด์ของกลุ่มสินค้าบิลท์อินที่ไม่ได้จำกัดอยู่แค่เฟอร์นิเจอร์ แต่สามารถรองรับการตกตแ่งภายในได้อย่างครบวงจร โดยใช้กระบวนการ “PREFAB” เริ่มตั้งแต่ Design Automation ซอฟต์แวร์สุดล้ำจากเยอรมัน เป็นตัวเชื่อมระหว่างการออกแบบและกระบวนการผลิต ให้ทุกออเดอร์ดีไซน์จากหน้าโชว์รูมพุ่งตรงสู่โรงงานผลิต ลด Human Error ช่วยให้ลูกค้าได้ชิ้นงานที่ถูกต้องแม่นยำได้มาตรฐานในเวลาอันรวดเร็ว แล้วยกชิ้นงานที่ได้จากโรงงานนำมาติดตั้ง ซึ่งสามารถลดเวลาการติดตั้งลงได้กว่าเวลาปกติกว่า 50% ซึ่งในการติดตั้งนี้มีจุดเด่นตรงที่สามารถเดินงานสายไฟภายในโครงสร้างผนังได้     SB Design Square สาขา CDC ไม่ได้มีแค่เฟอร์นิเจอร์และงานตกแต่งภายในเท่านั้น แต่ยังมี โซน Custom Shop เป็นศูนย์รวมสินค้าสั่งทำ ที่เปิดโอกาสให้ลูกค้า “ออกแบบได้ตรงใจ เลือกดีไซน์ในแบบที่เป็นตัวเอง” สำหรับสินค้ากลุ่มเตียงนอน, โซฟา, สตูล, เก้าอี้, หมอนอิง และผ้าม่าน     อย่างเตียงนอน ก็เลือกได้ตั้งแต่ขนาดเตียง ความสูงของหัวเตียง ดีไซน์ขาเตียง กระทั่งสีสันของหมุดตอกและลวดลวย การตอกหมุดก็เลือกได้เพื่อเพิ่มดีไซน์ความเก๋ นอกจากนี้ยังมีฟังก์ชั่นบอดี้เตียงเสริมหรือเตียงลิ้นชัก เพื่อตอบโจทย์ ที่เพิ่มเติมด้วย เพื่อให้สามารถออกแบบได้ตามที่ต้องการและตรงใจมากที่สุด โซน Power Buy ศูนย์รวมเครื่องใช้ไฟฟ้าชั้นนำที่จะเติมเต็มความสมบูรณ์ให้ประสบการณ์ช้อป และ Pacamara ร้านกาแฟที่ขึ้นชื่อเรื่องเมล็ดกาแฟที่คั่วเอง