Lpn Wisdom 3 Mega Trands Covid 1

3 Mega Trends การอยู่อาศัยหลังผ่านวิกฤตโควิด-19

LPN Wisdom เผย  3 Mega Trends พลิกโฉมการออกแบบและพัฒนา โครงการอสังหาริมทรัพย์ไทย หลังการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ต้องมุ่งเน้นใน 3 ประเด็นหลัก  Wellness, Work-Life Balance และ  Virtual Livable Connect แต่มากกว่านั้น ต้องสร้างความยั่งยืนให้กับสังคม

 

การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ได้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของวิถีชีวิตคนในยุคปัจจุบัน ให้มุ่งเน้นในการคำนึงถึงสุขภาพและความปลอดภัยของการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 เพิ่มมากขึ้น ทุก ๆ ส่วนของสังคม ต้องมุ่งเน้นความปลอดภัย และการอยู่ภายใต้มาตรฐานด้านการสาธารณสุข ทำให้ไม่ว่าชีวิตส่วนตัวหรือชีวิตการทำงาน ต้องปรับเปลี่ยนกันใหม่  ไปสู่วิถีชีวิตแบบ New Normal หรือ วิถีชีวิตปกติใหม่

 

สำหรับธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการอยู่อาศัยของคน อย่างธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ นับว่าเป็นธุรกิจที่ต้องปรับตัวอย่างมาก ไม่เพียงแค่ผลกระทบโดยตรงจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่ทำให้การดำเนินธุรกิจต้องปรับเปลี่ยนเท่านั้น แต่กลุ่มลูกค้าหลัก คือ ประชาชนทั่วไป ได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบวิถีชีวิต หรือไลฟ์สไตล์ของการอยู่อาศัยไปด้วย เช่น การทำงานจากที่บ้าน หรือ Work From Home เพราะต้องเว้นระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) หรือ การหันมาซื้อสินค้าทางออนไลน์มากขึ้น เพราะลดความเสี่ยงจากการได้รับเชื้อไวรัสโควิด-19 เป็นต้น

 

การเปลี่ยนแปลงรูปแบบวิชีวิต หรือไลฟ์สไตล์ของคนยุคปัจจุบัน จึงส่งผลให้นักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์  ต้องกลับมาตีโจทย์ธุรกิจใหม่ กับการออกแบบและพัฒนาโครงการ เพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ซึ่ง LPN Wisdom หรือ บริษัท ลุมพีนี วิสดอม แอนด์ โซลูชั่น จำกัด ได้มองว่า การพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ หลังการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 จะถูกให้ความสำคัญใน 3 ประเด็นหลัก หรือ 3 Mega Trends ดังนี้ คือ 1.เรื่องสุขภาพ (Wellness) 2.การออกแบบที่ตอบโจทย์การใช้ชีวิตอย่างสมดุล (Work-Life Balance) และ 3.การใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมในการใช้ชีวิต (Virtual Livable Connect)

Md Lpn Wisdom

นายประพันธ์ศักดิ์ รักษ์ไชยวรรณ กรรมการผู้จัดการ LPN Wisdom  บริษัทด้านการวิจัยและที่ปรึกษาในการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในเครือ บริษัท แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) ระบุว่า การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในช่วงที่ผ่านมา ทำให้พฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะการอยู่อาศัยที่ให้ความสำคัญในเรื่องของสุขอนามัย (Wellness) และรูปแบบการทำงาน ที่ต้องการความสมดุลในการใช้ชีวิต (Work-Life Balance) ปรับเปลี่ยนจากการทำงานที่สำนักงาน ไปสู่การทำงานที่บ้าน (Work From Home)  หรือการทำงานในที่อื่น ๆ ในแบบ Anytime Anywhere

 

ในขณะที่รูปแบบการทำงาน และการใช้ชีวิตในปัจจุบัน  ผู้บริโภคสามารถใช้เทคโนโลยีดิจิทัล (Virtual Livable Connect) มาตอบโจทย์การใช้ชีวิตได้มากขึ้นผ่านแอปพลิเคชั่นต่าง ๆ  ที่พัฒนาขึ้นมาเพื่ออำนวยความสะดวกในการใช้ชีวิตให้กับผู้บริโภค จนกลายเป็นวิถีปกติใหม่ (New Normal) ในการใช้ชีวิตของผู้คนในปัจจุบัน

3 Mega Trends ในการพัฒนาที่อยู่อาศัย

สำหรับรูปแบบการใช้ชีวิตที่เปลี่ยนไป ทำให้ความต้องการที่อยู่อาศัยของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไปด้วย  โดยคำนึงถึง 3 ปัจจัยสำคัญที่เราเรียกว่า 3 Mega Trends ในการพัฒนาที่อยู่อาศัย  ซึ่งประกอบด้วย

1.Wellness หรือ การให้ความสำคัญในเรื่องสุขอนามัย

Covid Health

การให้ความสำคัญในเรื่องของสุขอนามัย  ซึ่งเป็นเรื่องที่มาพร้อม ๆ กับการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 การออกแบบที่อยู่อาศัยและการเลือกใช้วัสดุอุปกรณ์ ต้องคำนึงถึงเรื่องของสภาพแวดล้อมและสุขอนามัยที่ดีต่อผู้อยู่อาศัย ลดการสัมผัส (Touchless) ในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ ทั้งในพื้นที่โครงการที่พักอาศัยและเชิงพาณิชย์ เป็นโจทย์ใหม่ในการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในปัจจุบันและในอนาคต

2.Work-Life Balance หรือ การสร้างสมดุลให้กับการใช้ชีวิต

Covid Social Distancing

นอกจากเรื่องของสุขอนามัยที่เป็นโจทย์หลักของผู้บริโภคในปัจจุบันแล้ว การออกแบบที่คำนึงถึงประโยชน์ใช้สอยที่สร้างสมดุลให้กับการใช้ชีวิต ในรูปของการทำงานและการใช้ชีวิตที่ต้องดำเนินไปอย่างสมดุล ทำให้การออกแบบที่อยู่อาศัยต้องคำนึงถึงการจัดสรรพื้นที่ที่ลงตัว  ตอบทุกโจทย์ของการใช้ชีวิต ไม่ว่าจะเป็นที่อยู่อาศัยในแนวราบ หรืออาคารชุดที่มีขนาดเล็ก ต้องมีการจัดฟังก์ชั่นการใช้งานที่มีความหลากหลาย และสามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้งาน (Multi-Function) เพื่อรองรับกับรูปแบบการใช้ชีวิตและการทำงานที่บ้านได้

 

การเว้นระยะห่างในพื้นที่ส่วนกลาง การปรับเปลี่ยนแนวคิดจากสังคมแบ่งปันในรูปแบบของ Co-Working Space มาสู่แนวคิดการใช้พื้นที่ส่วนกลางในรูปแบบของ Co-Separate Space เป็นการใช้พื้นที่ร่วมกันแบบมีระยะห่าง ทำให้การออกแบบการใช้พื้นที่ส่วนกลาง ในโครงการทั้งแนวราบและอาคารชุด ต้องเปลี่ยนแนวคิดในการออกแบบเช่นเดียวกัน

3.Virtual Livable Connect หรือ การนำเอาเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการออกแบบโครงการ

Work Life Balance Covid

การนำเอาเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในการออกแบบโครงการ มีเป้าหมายสำคัญเพื่ออำนวยความสะดวกสบายในการใช้ชีวิต ของผู้อยู่อาศัยในโครงการ  และตอบโจทย์กับแนวคิดการใช้ชีวิตวิถีปกติใหม่ ภายหลังการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 เพราะเทคโนโลยีต่างๆ ที่ถูกนำมาใช้ไม่เพียงแต่อำนวยความสะดวกเท่านั้น แต่ยังมีความปลอดภัยจากการต้องติดต่อหรือสัมผัสกันระหว่างมนุษย์ด้วย

มากกว่า Mega Trend ต้องสร้างความยั่งยืน

นอกเหนือนจากการออกแบบภายใต้วิถีชีวิตปกติใหม่ ภายหลังไวรัสโควิด-19 ที่อาจจะหยุดการแพร่ระบาด หรือเราสามารถควบคุมการแพร่ระบาดได้ แต่ไวรัสโควิด-19 ยังคงอยู่กับมนุษย์โดยไม่ได้หายไปไหน แนวทางการออกแบบและพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์  นอกจากจะมีแนวทางที่ต้องตอบโจทย์ Mega Trend ดังกล่าวแล้ว สิ่งสำคัญที่ต้องคิดถึงและจำเป็นต้องนำมาใช้ด้วย คือ แนวคิดในการออกแบบที่เรียกว่า การออกแบบเพื่อความยั่งยืน (Sustainable Development  Design)

Sustainable Development Design

แนวคิดดังกล่าว เป็นแนวคิดของการออกแบบ โดยคำนึงถึงการใช้งานอาคารอย่างยั่งยืน ด้วยการออกแบบโดยคำนึงถึงการเลือกใช้วัสดุ การใช้พลังงานและทรัพยากรของอาคารที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รวมทั้งสร้างสุขอนามัยที่ดีให้กับผู้อยู่อาศัย ลดปริมาณก๊าซเรือนกระจก หรือ คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2)ในอากาศ

 

รวมถึงเรื่องของการประหยัดพลังงาน การใช้ทรัพยากรน้ำและทรัพยากรธรรมชาติอื่น ๆ อย่างประหยัด เพื่อตอบโจทย์กับการสร้างสุขอนามัยที่ดีในการอยู่อาศัยทั้งในรูปแบบของ LEED (Leadership in Energy and Environmental Design) เกณฑ์อาคารเขียวของ US Green Building Council และ TREES (Thai’s Rating of Energy and Environmental Sustainability ) ของสถาบันอาคารเขียวไทย

 

ข้อมูล ณ วันที่ 31 พฤษภาคม 2563 ประเทศไทยมีอาคารที่ได้รับ LEED Certification จาก US Green Building Council ทั้งสิ้น 171 อาคาร และอยู่ระหว่างการพิจารณาอีก 85 อาคาร ในขณะเดียวกันมีอาคารที่ได้รับ TREES Certification จาก สถาบันอาคารเขียวไทย ณ วันที่ 31 พฤษภาคม 2563 ทั้งสิ้น 63 อาคาร และอยู่ระหว่างการพิจารณาอีก 55 อาคาร

บทความ ข่าวโปรโมชั่น ล่าสุด