Tag : Retails

240 ผลลัพธ์
“แอลฟา” ปักหมุด คลังสินค้า ใหม่ย่านรังสิต  เปิดพื้นที่เช่า 56,000 ตร.ม. 1,450 ล้าน

“แอลฟา” ปักหมุด คลังสินค้า ใหม่ย่านรังสิต เปิดพื้นที่เช่า 56,000 ตร.ม. 1,450 ล้าน

“แอลฟา อินดัสเทรียล โซลูชั่น” เดินหน้าตามแผน 5 ปี  ขยายอาณาจักร คลังสินค้า เกาะทำเลคลัสเตอร์ภาคอุตสาหกรรมและยุทธศาสตร์การขนส่ง ปักหมุดลงเสาเอกคลังสินค้าแห่งใหม่ “แอลฟา รังสิต” มูลค่ากว่า 1,450 ล้าน พื้นที่เช่ากว่า 56,000 ตร.ม. คาดก่อสร้างแล้วเสร็จ Q2/2566 พร้อมประเดิมลูกค้ารายใหญ่ “เอสซีจีโฮม รีเทล” สร้างคลังสินค้า Built-to-Suit บนพื้นที่กว่า 22,000 ตร.ม.     นายปธาน สมบูรณสิน กรรมการผู้จัดการ บริษัท แอลฟา อินดัสเทรียล โซลูชั่น จำกัด หรือ ALPHA ผู้พัฒนาธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เพื่อการอุตสาหกรรมพร้อมบริการครบวงจร ภายใต้การร่วมทุนระหว่างบริษัท ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) หรือ ORI และบริษัท เจดับเบิ้ลยูดี อินโฟโลจิสติกส์ จำกัด (มหาชน) หรือ JWD เปิดเผยว่า ได้เริ่มแผนธุรกิจตามแผนงาน 5 ปีที่มุ่งพัฒนาโรงงานและคลังสินค้าในทำเลยุทธศาสตร์ให้ได้รวม 1 ล้าน ตร.ม. โดยได้เริ่มต้น​ทำพิธีลงเสาเอกโครงการคลังสินค้า แอลฟา รังสิต (ALPHA Rungsit) หนึ่งในโครงการร่วมทุนพัฒนากับบริษัท โตคิว แลนด์ เอเชีย จำกัด พันธมิตรยักษ์ใหญ่ด้านอสังหาริมทรัพย์จากญี่ปุ่น ​ขนาดที่ดินกว่า 54 ไร่ บนถนนพหลโยธิน กม.33 ที่มีความโดดเด่นด้านทำเล ถือได้ว่าเป็นพื้นที่ยุทธศาสตร์สำคัญด้านการขนส่ง มีพื้นที่รวมกว่า 87,000 ตร.ม. คิดเป็นพื้นที่ให้เช่าสูงถึง 56,000 ตร.ม. โครงการคลังสินค้า แอลฟา รังสิต มีผู้เช่ารายแรกแล้ว และลงนามสัญญาเช่าระยะยาว ​คือ บริษัท เอสซีจีโฮม รีเทล จำกัด ในเครือเอสซีจี ถือเป็นการตอกย้ำให้เห็นถึงศักยภาพของทำเลและคุณภาพของคลังสินค้าที่เพียบพร้อมด้วยนวัตกรรมทันสมัย ได้มาตรฐานตอบโจทย์ความต้องการเป็นอย่างดี   ทั้งนี้ คลังสินค้าของเอสซีจีโฮม รีเทล จะเป็นการพัฒนาตามความต้องการของผู้เช่า (Built-to-Suit) โดยทีมงานของทั้ง 2 บริษัทร่วมกันออกแบบในทุกขั้นตอน เพื่อให้ตัวอาคารสามารถตอบสนองทุกกิจกรรมภายในคลังสินค้าได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ อาทิ การออกแบบให้มีประตูเปิด 3 ด้าน การออกแบบ Floor Load ให้รองรับน้ำหนักได้ถึง 5 ตันต่อ ตร.ม. การวางระบบจัดเก็บสินค้าแบบวีเอ็นเอ (Very Narrow Aisle Racking System) เพื่อให้สามารถวางของแนวสูงได้อย่างเต็มประสิทธิภาพโดยยังสามารถเข้าถึงชั้นวางได้ง่าย การออกแบบฟังก์ชันและตกแต่งพื้นที่ออฟฟิศให้มีบรรยากาศน่าทำงาน ตลอดจนการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ทันสมัยเข้ามาตอบโจทย์การทำงานในคลังสินค้า ด้าน นายสิทธิศักดิ์ ทยานุวัฒน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอสซีจีโฮม รีเทล จำกัด หรือ SCGH กล่าวว่า ทำเลย่านรังสิตถือเป็นทำเลยุทธศาสตร์สำคัญที่มีความได้เปรียบในการขนส่ง เหมาะสมในการเป็นศูนย์กลางการขนส่งสินค้า เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของศูนย์กระจายสินค้าประจำภูมิภาค (Regional Distribution Center) สนับสนุนการขนส่งสินค้าให้กับสาขาอย่างมีประสิทธิภาพ และสะดวกต่อการประสานงานกับคู่ค้าและซัพพลายเออร์ของบริษัท ขณะเดียวกัน ยังเป็นทำเลย่านพักอาศัยที่มีหมู่บ้านขนาดใหญ่จำนวนมาก ถือเป็นทำเลที่เหมาะสมต่อการขนส่งสินค้าระยะสุดท้ายสู่มือผู้บริโภค (Last Mile Transportation) และทำให้สินค้าถึงมือผู้บริโภคได้อย่างรวดเร็ว   ทั้งนี้ บริษัทจึงตัดสินใจเช่าพื้นที่ประมาณ 22,000 ตร.ม.ของโครงการแอลฟา รังสิต โครงการคลังสินค้าบนทำเลศักยภาพ เพื่อเป็นคลังสินค้าและศูนย์กระจายสินค้าหลักของบริษัท สามารถใช้จัดเก็บสินค้าได้มากกว่า 26,000 พาเลท พร้อมสนับสนุนการขนส่งสินค้าให้กับสาขาต่างๆ ตลอดจนรองรับการขยายสาขาเพิ่มเติมในอนาคต โดยจะบริหารพื้นที่กองเก็บ และพื้นที่รวบรวมสินค้าเพื่อให้สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ   สำหรับโครงการแอลฟา รังสิต  ตั้งอยู่บน ถ.พหลโยธิน รังสิต คลอง 1 ในเขตพื้นที่สีม่วง (ที่ดินประเภทอุตสาหกรรม) ที่ใกล้กรุงเทพที่สุด มีที่ดินขนาดกว่า 54 ไร่ มีพื้นที่รวมกว่าประมาณ 87,000 ตร.ม. เป็นพื้นที่ให้เช่ากว่า 56,000 ตร.ม. พัฒนาใน 2 ลักษณะ ได้แก่ คลังสินค้าที่สร้างตามความต้องการของผู้เช่า (Built-to-Suit หรือ BTS) และ คลังสินค้าสำเร็จรูปพร้อมใช้งาน (Ready Built Warehouse หรือ RBW) ปัจจุบันได้เริ่มดำเนินการก่อสร้างคลังสินค้าแบบ Ready Built แล้ว โดยยังมีพื้นที่ว่างเพียงพอรองรับความต้องการแบบ Built-to-Suit คาดว่าจะก่อสร้างแล้วเสร็จพร้อมเปิดให้บริการเต็มรูปแบบในไตรมาส 2/2566 โดยโครงการตั้งอยู่ในทำเลยุทธศาสตร์ที่สามารถรองรับความต้องการด้านคลังสินค้าได้หลากอุตสาหกรรม อาทิ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ อีคอมเมิร์ซ ชิ้นส่วนยานยนต์ วัสดุก่อสร้างและตกแต่งบ้าน ค้าปลีก สินค้าอุปโภคบริโภค ผลิตภัณฑ์สุขภาพ บริการด้านโลจิสติกส์ ตลอดจนสินค้าอาหารสด เหมาะสมที่จะเป็นศูนย์กระจายสินค้าห้องเย็น (Cold Chain Storage)   อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง -เปิดเหตุผล​  “พรอสเพค” ทุ่ม 5,000 ล้าน เพิ่มพื้นที่เช่าโรงงาน-คลังสินค้าสู่ 1 ล้านตร.ม. -เสนาฯ จับมือ ลีโอ ลุยคลังสินค้าครบวงจร ประเดิมแห่งแรกที่เสนาเฟสท์ เจริญนคร 16  
[PR News] อีซี่วิซ  เปิดตัว กล้องวงจรปิด ซีรีย์ใหม่​ “H8 Pro” ความคมชัดระดับ

[PR News] อีซี่วิซ เปิดตัว กล้องวงจรปิด ซีรีย์ใหม่​ “H8 Pro” ความคมชัดระดับ

EZVIZ (อีซี่วิซ) เตรียมอวดโฉม กล้องวงจรปิด สำหรับการติดตั้งภายนอกอาคารซีรีย์ใหม่ “H8 Pro” กล้องสมาร์ท Wi-Fi แบบแพนและเอียง หมุนได้ 360 องศา     EZVIZ H8 Pro Series นวัตกรรมกล้องวงจรปิดอัจฉริยะสำหรับการติดตั้งภายนอกอาคาร เชื่อมต่อสัญญาณผ่านระบบ Wi-Fi ที่มีนวัตกรรมโดดเด่น 4 ด้าน ได้แก่   นวัตกรรมที่ทำงานด้วยระบบอัตโนมัติที่โดดเด่นน่าจับตา ทั้งการตรวจจับด้วยเทคโนโลยีอัจฉริยะขั้นสูง แยกแยะการเคลื่อนไหวของมนุษย์หรือรถยนต์ได้อย่างชาญฉลาด พร้อมล็อกและติดตามเป้าหมายได้อย่างแม่นยำ และยังเพิ่มวิสัยทัศน์การมองเห็นที่ครอบคลุมทุกมิติมากขึ้น แสดงภาพสีคมชัดทั้งกลางวันและกลางคืน พร้อมสลับโหมดการแสดงภาพอัตโนมัติกับฟีเจอร์ Smart Night Vision (มีไฟ IR 2 ดวง) ช่วยให้คุณตรวจจับทุกเหตุการณ์ที่เคลื่อนไหวได้อย่างรวดเร็วและไกลถึง 30 เมตร (98 ฟุต) มาพร้อมระบบเตือนภัยเชิงรุก แจ้งเตือนผู้บุกรุกด้วยไฟกระพริบและไซเรนดังอัตโนมัติ พร้อมส่งข้อความแจ้งเตือนให้คุณรับรู้ในทันที ให้คุณไม่พลาดทุกความเคลื่อนไหวและป้องกันภัยได้อย่างทันท่วงที   เสริมวิสัยทัศน์การมองเห็นครอบคลุมทุกมิติด้วยเลนส์ประสิทธิภาพสูงแบบเรียลไทม์ ช่วยทลายทุกกรอบการมองเห็นเพื่อการปกป้องที่กว้างมากขึ้น ด้วยการออกแบบให้กล้องปรับหมุนได้ทั้งแนวตั้ง 340° และแนวนอน 80° (Pan and tilt camera) ครอบคลุมมุมมองพาโนรามา 360° ผ่านเลนส์อัจฉริยะที่ให้ภาพคมชัดสูงสุด กับ 2 โมเดลที่แตกต่างให้เลือก คือ วิดีโอความละเอียดระดับ 2K (3 ล้านพิกเซล) และระดับ 3K (5 ล้านพิกเซล) ที่คมชัดทุกรายละเอียด ผสานการทำงานกับเซ็นเซอร์ DWDR (Digital Wide Dynamic Range) ที่ช่วยปรับสมดุลความสว่างในภาพย้อนแสงอัตโนมัติ ช่วยให้การบันทึกภาพมีความคมชัดสมจริงแม้อยู่ในที่แสงน้อยที่สุด   นวัตกรรมที่สนับสนุนการควบคุมและสั่งงานจากระยะไกล ผ่าน EZVIZ App ซึ่ง อีซี่วิซ ไม่เคยหยุดยั้งการพัฒนาระบบให้มีความทันสมัยอยู่เสมอ เพื่อให้สามารถเฝ้าติดตามดูแลและควบคุมการสั่งงานได้จากทุกที่ทุกเวลาผ่านสมาร์ทโฟนได้ง่ายและรวดเร็ว มีฟังก์ชั่น “การสื่อสารสองทาง” พร้อมเสริมประสิทธิภาพเสียงให้คมชัดมากยิ่งขึ้นด้วยไมโครโฟนแบบตัดเสียงรบกวนและลำโพงในตัว  สามารถเชื่อมต่อการสื่อสารกับคนในครอบครัวได้จากทุกที่ทุกเวลา และยังมาพร้อมฟีเจอร์เด็ดที่ผู้บริโภคกำลังมองหามากที่สุด กำหนดตำแหน่งเริ่มต้น (Home) ให้กล้องปรับหมุนไปยังจุดที่บันทึกไว้ล่วงหน้าได้มากถึง 12 ตำแหน่งแบบอัตโนมัติ ช่วยลดความยุ่งยากกับการใช้งาน ไม่ต้องคอยกดหมุนกล้องทุกครั้งที่ต้องการเฝ้าดูเหตุการณ์ต่างๆ ในบริเวณโดยรอบ และฟีเจอร์พิเศษที่มีเฉพาะในกล้องรุ่น H8 Pro 3K ให้คุณสามารถสร้างคำสั่งให้กล้องจดจำท่าทาง “การโบกมือ” เพื่อให้คุณ VDO Call หากันได้ง่ายๆ อีกด้วย   ระบบการปกป้องข้อมูลและความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้ในระดับสูงสุด ด้วยการเข้ารหัสลับแบบ AES 128 บิต และการยืนยันตัวตนหลายขั้นตอน บน EZVIZ Cloud ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มระดับโลกสำหรับการจัดเก็บวิดีโอที่ปลอดภัย เพื่อให้ทุกข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้งานได้รับการรักษาความปลอดภัยสูงสุด และอีกหนึ่งความพิเศษ กล้อง H8 Pro ได้เพิ่มความจุเมมโมรี่ได้สูงถึง 512 GB เสริมด้วยเทคโนโลยีการบีบอัดวิดีโอรูปแบบใหม่ H.265 ที่ออกแบบมาเพื่อเพิ่มความสามารถในการบีบอัดข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพและใช้พื้นที่ความจุน้อยลง เพื่อให้การบันทึกมีความต่อเนื่อง พร้อมทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยเฝ้าดูแลบ้านคุณให้ปลอดภัยตลอด 24 ชม.   EZVIZ H8 Pro มาอวดโฉมด้วยดีไซน์ที่ดูทันสมัยและมีความมินิมัลมากขึ้น ตัวเครื่องออกแบบให้มีสีขาวสะท้อนความเรียบง่ายที่เข้าได้กับการตกแต่งทุกสไตล์ ผลิตภัณฑ์จากวัสดุที่ได้มาตรฐาน กันน้ำ กันฝุ่น ทนต่อทุกสภาพอากาศในเมืองไทย โดยสามารถหาซื้อ EZVIZ “H8 Pro” กล้องสมาร์ท Wi-Fi Outdoor Camera ได้แล้ววันนี้ ที่ตัวแทนจำหน่ายทั่วประเทศ
ใครท็อปฟอร์มสุด ในธุรกิจ ร้านวัสดุ-เฟอร์นิเจอร์ Q3/65

ใครท็อปฟอร์มสุด ในธุรกิจ ร้านวัสดุ-เฟอร์นิเจอร์ Q3/65

หลังสถานการณ์โควิด-19 ปรับตัวดีขึ้น คนส่วนใหญ่ได้รับวัคซีนกันหลายเข็ม วิถีชีวิตของคนส่วนใหญ่ก็เลยกลับเข้าสู่โหมดปกติ คนออกมาทำมาหากิน ไปทำงานที่ออฟฟิศกันแทบจะเหมือนก่อนหน้าเกิดโควิดระบาดแล้ว ทุกอย่างจึงเริ่มฟื้นตัวดีขึ้น รวมถึงผลการดำเนินงานของหลาย ๆ ธุรกิจที่เคยได้รับผลกระทบจากการล็อกดาวน์ประเทศไปก่อนหน้านี้ อย่างธุรกิจจัดจำหน่ายวัสดุก่อสร้าง เฟอร์นิเจอร์ ของใช้และของแต่งบ้าน หรือร้านวัสดุ   สิ่งที่สะท้อนการฟื้นตัวดังกล่าวได้ดี  คงเห็นได้จากรายงานล่าสุด ของกลุ่มบริษัทที่ดำเนินธุรกิจด้านจัดจำหน่ายวัสดุก่อสร้าง เฟอร์นิเจอร์ ของใช้และของแต่งบ้าน หรือร้านวัสดุ ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) และตลาดเอ็ม เอ ไอ (mai) ที่มีผู้เล่นหลัก ๆ คือ โฮมโปร โกลบอลเฮ้าส์ ดูโฮม อินเด็กซ์ลิฟวิ่งมอลล์ และชิค รีพับบลิค ซึ่งส่วนใหญ่มีรายได้และกำไรเติบโตต่อเนื่อง โฮมโปรครองเบอร์ 1 รายได้-กำไร โฮมโปร ถือว่าเป็นผู้นำตลาดร้านวัสดุ เฟอร์นิเจอร์ ของใช้และของแต่งบ้าน ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เพราะมีสาขาอยู่ทั่วประเทศ 92 สาขา (รวมโฮมโปรเอส) รวมถึงยังมีรายได้จากธุรกิจในเครือ อย่างเมกาโฮม ที่มีอยู่ 16 สาขา และโฮมโปรในต่างประเทศอีก 7 สาขาด้วย ทำให้ช่วงไตรมาส 3 ที่ผ่านมาสามารถทำรายได้ รวม 1,6941.50 ล้านบาท เติบโต 22.97% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีรายได้รวม 13,776.84 ล้านบาท   ส่วนรายได้รวมช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้ มีกว่า 50,921.57 ล้านบาท เติบโต 9.36% จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมามีรายได้รวม 46,563.69 ล้านบาท และสามารถทำกำไรได้มากถึง 4,564.35 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 24.52% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ทำกำไร 3,665.47 ล้านบาท ขณะที่ไตรมาส 3 มีกำไร 1,533.33 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 76.16% จากไตรมาส 3 ปีที่ผ่านมามีกำไร 870.41 ล้านบาท   กลยุทธ์สำคัญที่ทำให้โฮมโปร ประสบความสำเร็จด้านรายได้และกำไร นอกจากมีสาขาจำนวนมากแล้ว ยังเป็นเพราะการจัดกิจกรรมการตลาดอย่างต่อเนื่อง อาทิ Homepro Super Expo, Homepro Electric Expo 2022 และการขายสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ ทำให้ยังมียอดขายต่อเนื่อง ถือเป็นผู้นำตลาดในกลุ่มธุรกิจดังกล่าว ดูโฮมรายได้โต-แต่กำไรลด หากมามองเฉพาะผลประกอบการในช่วงไตรมาส 3 ที่ผ่านมา จะพบว่า แม้โฮมโปร จะมีรายได้และกำไรมากที่สุด แต่คู่แข่งทางธุรกิจอย่าง ดูโฮม ก็เป็นผู้ประกอบการร้านวัสดุก่อสร้าง เฟอร์นิเจอร์ ของใช้และของแต่งบ้าน ที่ถือว่าสามารถทำผลการดำเนินงานได้ดี แม้ว่าจะมีรายได้รวมในไตรมาสเพียง 7,518.76 ล้านบาท ยังห่างจากโฮมโปรอยู่มาก แต่อัตราการเติบโตด้านรายได้ ถือว่าทำได้ดีกว่า โดยมีอัตราการเติบโตถึง 24.0% เป็นการเติบโตสูงที่สุดในกลุ่มธุรกิจ จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าที่ทำรายได้รวม 6,062.78 ล้านบาท   แม้ว่าดูโฮม จะสามารถสร้างรายได้เติบโต แต่อัตราทำกำไรกลับลดลง โดยกำไรในไตรมาส 3 ทำได้ 50.31 ล้านบาท ลดลง 85.2% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ทำได้ 340.39 ล้านบาท รวมถึงกำไรในช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้ ที่มี 825.22 ล้านบาท ลดลง 44.4% จากช่วง 9 เดือนของปีที่ผ่านมามีกำไร 1,484.86 ล้านบาท แม้ว่าช่วง 9เดือนแรกของปีนี้มีรายได้รวม 23,473.04 ล้านบาท เติบโต 27.8% จากช่วง 9 เดือนของปี 2564 ที่ทำได้ 18,362.01 ล้านบาทก็ตาม   ปัจจัยสำคัญที่กระทบต่ออัตราทำกำไรของดูโฮม คือ ต้นทุนสินค้า ค่าขนส่งที่เพิ่มสูง และต้นทุนการบริหารจัดการที่เพิ่มสูงขึ้น จากอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้น ราคาน้ำมันที่เพิ่มสูง และผลกระทบจากภาวะฝนตก น้ำท่วมในหลายพื้นที่ของประเทศ โกลบอลเฮ้าส์-อินเด็กซ์ ยังโตต่อ โกลบอลเฮ้าส์ หรือบริษัท สยามโกลบอลเฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) ถือได้ว่าเป็นผู้เล่นในตลาด ร้านวัสดุ ที่มีสาขาค่อนข้างเยอะ ถึงสิ้นเดือนกันยายนที่ผ่านมา มีสาขารวม 77 แห่ง ซึ่งสามารถทำรายได้ช่วงไตรมาส 3 มากถึง 8,347.08 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 5.69% มีกำไร 778.83 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 17.41% ช่วง 9 เดือนมีรายได้ 27,571.48 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 6.7% และมีกำไร 2,973.96 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 13.97% ถึงแม้โกลบอลเฮ้าส์ จะมีรายได้และกำไรเป็นรองโฮมโปร แต่ต้องยอมรับว่าก็มีผลประกอบการที่เติบโตดีไม่น้อยหน้าเลย   ส่วน อินเด็กซ์ หรือ บริษัท อินเด็กซ์ ลิฟวิ่งมอลล์ จำกัด (มหาชน) ผู้เล่นรายสำคัญของตลาดร้านจำหน่ายเฟอร์นิเจอร์ และของแต่งบ้าน ที่สามารถสร้างรายได้รวมช่วงไตรมาส 3 ได้ 2,219.84 ล้านบาท เติบโต 20.02% มีกำไร 152.59 ล้านบาท เติบโต 173.21% ถือว่าเติบโตสูงสุดในกลุ่มธุรกิจ และมีรายได้รวมช่วง 9 เดือน 6,538.81 ล้านบาท เติบโต 8.17% มีกำไร 475.54 ล้านบาท เติบโต 57.34% ถือว่ามีอัตราการเติบโตสูงเป็นอันดับต้น ๆ ของกลุ่มธุรกิจ ชิค รีพับบลิค เข้าตลาดก็ขาดทุน สำหรับน้องใหม่ที่เข้ามาจดทะเบียนตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ อย่างบริษัท ชิค รีพับบลิค จำกัด (มหาชน) ซึ่งเริ่มทำการซื้อขายหุ้นในตลาดเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2565 ที่ผ่านมา แม้ว่าจะสามารถนำบริษัทเข้ามาจดทะเบียนในตลาด เอ็ม เอ ไอ ได้ แต่ผลการดำเนินงานดูเหมือนจะยังไม่โดดเด่นเท่ากับผู้ประกอบการรายอื่น ๆ แถมยังขาดทุนจากการดำเนินงานอีกด้วย   โดยกำไรในไตรมาส 3 ที่ผ่านมาขาดทุน 110,000 บาท แต่ขาดทุนน้อยลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าที่ขาดทุน 2.97 ล้านบาท  ส่วนผลประกอบการช่วง 9 เดือนแรก ยังคงมีกำไรรวม 14.89 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 72.34% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าที่มีกำไร 8.64 ล้านบาท ขณะที่มีรายได้รวมช่วง 9 เดือน 601.14 ล้านบาท เพิ่มขั้น 29.16% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าที่มีรายได้รวม 465.41 ล้านบาท สำหรับผลการดำเนินงานในไตรมาส 3 ที่ผ่านมา บริษัทขาดทุน มีสาเหตุหลักสำคัญ 3 เรื่องได้แก่ การลดลงของรายได้จากงานโครงการ เนื่องจากพื้นที่หน้างานไม่พร้อมให้เข้าติดตั้งเฟอร์นิเจอร์ โครงการจึงเลื่อนการส่งมอบพื้นที่ ทำให้บริษัทไม่สามารถเข้าติดตั้งงานได้ตามแผน การแก้ไขสัญญาเช่า – สาขาอุดรธานี โดยมีการปรับลดพื้นที่เช่าลงทำให้มูลค่าสินทรัพย์สิทธิการใช้และหนี้สินตามสัญญาเช่าลดลง ทำให้เกิดผลต่างจากการแก้ไขสัญญาเช่าจำนวน 4.20 ล้านบาท ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นครั้งเดียว ค่าใช้จ่ายทางการตลาดที่จ่ายไปในไตรมาส 3  เนื่องจากบริษัทมีการใช้สื่อทางการตลาดในการทำประชาสัมพันธ์เพื่อรองรับการเข้าเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ นอกเหนือจากการซื้อสื่อทางการตลาดมากขึ้นและการจัดโปรโมชั่นต่าง ๆ เพื่อกระตุ้นยอดขายทั้งหน้าร้านและออนไลน์ ทั้งหมดนี้ก็เป็นผลการดำเนินงานในรอบไตรมาส 3 และช่วง 9 เดือนแรกของปี ที่จะเห็นว่าโฮมโปรยังคงเป็นผู้นำตลาด และท็อปฟอร์มสุด เพราะต้องยอมรับว่าอยู่ในตลาดมานาน  มีสาขาเยอะ และทำการตลาดต่อเนื่อง ส่วนผู้เล่นอื่น ๆ ก็พยายามเร่งสปีดการทำธุรกิจ ขยายสาขา ปรับตัวให้ทันกับสถานการณ์ ซึ่งคงทำให้ยังคงรักษาการเติบโตในแบบของตนเองได้อย่างต่อเนื่อง   หมายเหตุ : ข้อมูลเฉพาะ 5 บริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์   อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง -3 เหตุผล ชิค รีพับบลิค ระดมทุนในตลาด เอ็ม เอ ไอ ขาย 360 ล้านหุ้น -อินเด็กซ์ฯ ปรับตัวสู้โควิด ลุยออนไลน์ สร้างยอดโต 150% เดินหน้าปรับโฉมสาขาจับลูกค้าไฮเอนด์
AWC  เดินแผนขยายธุรกิจแสนล้าน  เตรียมเปิดโรงแรมใหม่เพิ่มอีก 9 แห่ง

AWC เดินแผนขยายธุรกิจแสนล้าน เตรียมเปิดโรงแรมใหม่เพิ่มอีก 9 แห่ง

awc AWC เดินแผนธุรกิจ 5 ปี ลงทุน 100,000 ล้าน ทั้งขยายโครงการใหม่ และซื้อกิจการ รับการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว ที่ทั้งปีน่าจะทำตัวเลขต่างชาติทะลุ 10 ล้านคน เตรียมขยายพอร์ตโรงแรมเพิ่มอีก 9 แห่ง จากปัจจุบันมีอยู่ 19 แห่งทั่วประเทศ พร้อมจับมือ ททท. กระตุ้นท่องเที่ยวตามนโยบาย ททท. พันธมิตรทางภาครัฐ   ตอนนี้ประเทศไทยได้เปิดประเทศอย่างเต็มรูปแบบ มีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางกลับเข้ามาในประเทศกันมากขึ้นแล้ว ข้อมูลล่าสุดจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) รายงานว่า จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางมาประเทศไทยตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 26 ตุลาคม 2565 มีจำนวน 7.39 ล้านคน หรือเฉลี่ยเดือนละ 51,000 คน โดยคาดว่าภายในสิ้นเดือนตุลาคมนี้ตัวเลขน่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 7.5 ล้านคน และภายในสิ้นปีนี้น่าจะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้ามาประเทศไทย 10 ล้านคน และปีหน้าตัวเลขนักท่องเที่ยวต่างชาติน่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 20 ล้านคน   สัญญาณการท่องเที่ยวที่ฟื้นตัวนี้ ได้สร้างความเชื่อมั่นในธุรกิจการท่องเที่ยวให้กับ AWC หรือ บริษัท แอสเสท เวิรด์ คอร์ป จำกัด (มหาชน) ที่จะเดินหน้าตามแผนธุรกิจขยายพอร์ตโรงแรมและธุรกิจต่าง ๆ โดยเฉพาะแผนธุรกิจในระยะ 5 ปี (2565-2569) ในการลงทุน 100,000 ล้านบาท เพื่อพัฒนาโครงการต่าง ๆ พร้อมลงทุน แสนล้านเพิ่มพอร์ตธุรกิจ นางวัลลภา ไตรโสรัส ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่  AWC เปิดเผยว่า ตามแผนธุรกิจในระยะ 5 ปี โดยเริ่มนับจากปี 2565 นี้ บริษัทได้วางงบลงทุนไว้ 100,000 ล้านบาท  เพื่อใช้สำหรับการพัฒนาโครงการต่าง ๆ อย่างต่อเนื่องจำนวน 15 โครงการ มูลค่ารวม 60,000 ล้านบาท ส่วนอีก 40,000 ล้านบาท จะมองโอกาสในการเข้าซื้อกิจการ รวมถึงการลงทุนที่เน้นการพัฒนาสู่ความยั่งยืนพร้อมกับการบริหารต้นทุนและกระแสเงินสดจากการที่ดอกเบี้ยปรับเพิ่มขึ้น   โดยปัจจุบันยังมีโรงแรมที่เข้ามาเสนอขายให้กับบริษัทจำนวนกว่า 200 โรงแรม มีโรงแรมหลายขนาด ซึ่งอยู่ในพื้นที่กรุงเทพฯ และต่างจังหวัด ซึ่งบริษัทจะพิจารณาดูศักยภาพและคัดเลือกโรงแรมที่เหมาะสม ให้สอดคล้องกับกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจของบริษัท​ แต่ปัจจุบันยังไม่มีข้อสรุป ​จากช่วงต้นปี 2564 ที่ผ่านมาได้มีการซื้อโรงแรมไปแล้วหลายแห่ง   ส่วนโรงแรมที่อยู่ระหว่างการพัฒนาปัจจุบัน มี 9 แห่ง ได้แก่ โรงแรมอินเตอร์คอนติเนนตัล เชียงใหม่ แม่ปิง โรงแรมเจดับบลิว แมริออท เดอะ พัทยา บีช รีสอร์ท แอนด์ สปา โรงแรมพัทยา แมริออท มาร์คีส์ โรงแรมอควาทีค พัทยา ออโตทราฟ คอลเลคชัน โรงแรมพัทยา แมริออท รีสอร์ท แอนด์ สปา แอท จอมเทียนบีช ​ โรงแรมเดอะ ริทช์ – คาร์ลตัน แบงค็อก เดอะ ริเวอร์ไซต์  โรงแรมเจดับบลิว แมริออท มาร์คีส์ โฮเทล เอเชียทีค กรุงเทพ โรงแรมดิ เอเชียทีค แบงค็อก, ออโตกราฟ คอลเลคชัน และโรงแรมอินน์ไซด์ กรุงเทพ สุขุมวิท   ทั้งนี้ ในจำนวนโรงแรมที่อยู่ระหว่างการพัฒนาปัจจุบัน จะมีโรงแรมที่พร้อมเปิดให้บริการในปี 2566 จำนวน 400 ห้อง จากช่วงไตรมาส 2 ปี 2565 ที่ผ่านมา บริษัทมีจำนวนโรงแรมและห้องที่​บริหารงานและดำเนินการอยู่ 19 แห่ง จำนวน 5,195 ห้อง เพิ่มขึ้นจากช่วงปี 2562 ที่มีจำนวนห้อง 4,200 ห้อง โดยช่วงเวลาดังกล่าวโรงแรมในกลุ่ม AWC มีอัตราเข้าพักเฉลี่ย 79% ในช่วงเกิดสถานการณ์โควิด ได้คุยกับพันธมิตรระดับโลก เขาบอกว่านักเดินทางจะกลับมาเมืองไทย เนื่องจากไทยมีมาตรฐานด้านการท่องเที่ยวที่ชัดเจนอย่างมาตรฐาน SHA ปัจจุบันอัตราการจองเข้าพักล่วงหน้า (Booking) มีอัตราการจองที่สูงกว่าช่วงก่อนเกิดโควิดในปี 2562 แล้ว เฉพาะในช่วงเดือนพฤศจิกายนและธันวาคมนี้ อัตราการจองแบบก้าวกระโดด เนื่องจากประเทศไทยจะมีการจัดประชุมสุดยอดผู้นำเอเปค และเป็นช่วงไฮซีซั่นที่มีกิจกรรมต่าง ๆ ​โดยอัตราการเข้าพักช่วงที่ผ่านมาอยู่ในระดับ​ 30-40% และปรับเพิ่มขึ้นเป็น 50% ส่วนปัจจุบันปัจจุบันมีอัตราจองเข้าพัก​ 60% ทำให้อัตราการจองมีต่อเนื่องถึงกลางปี 2566 ถือเป็นสัญญาณที่ดี มีอัตราการจองวันละ​ 51,000 คน แม้จะเป็นครึ่งหนึ่งจากปี 2562 ที่เฉลี่ยวันละแสนคน เพราะต้องรอสายการบินกลับมาบิน แต่รายได้ต่อห้อง​ หรือ Room rate สูงขึ้น จากคืนละ 4,200 บาทเป็นคืน 4,900 บาท เพราะได้นักท่องเที่ยวคุณภาพ เดินหน้าการท่องเที่ยวยั่งยืน นอกจากการดำเนินธุรกิจเพื่อสร้างการเติบโตแล้วบริษัทยังมีพันธกิจ “สร้างสรรค์อนาคตที่ดีกว่า” เพื่อส่งมอบคุณค่าให้กับผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนและอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของประเทศไทยอย่างยั่งยืน และ เชื่อมั่นว่าการรวมพลังและความร่วมมือจากทุกภาคส่วนจะสามารถร่วมขับเคลื่อนประเทศไทยไปสู่การเป็นจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวยั่งยืนระดับโลก   ล่าสุด ได้ตอบรับนโยบาย “ททท. พันธมิตรทางภาครัฐ” กับทางททท. ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการผลักดันและเป็นศูนย์กลางรวบรวมผู้ประกอบการทั้งหมดมาร่วมสร้างคุณค่าให้กับการท่องเที่ยวยั่งยืนของไทยไปด้วยกัน โดยตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาบริษัทได้ดำเนินธุรกิจตามแผนกลยุทธ์ความอย่างยั่งยืนตลอดการะบวนการดำเนินงาน และโครงการต่างๆ  อาทิ โรงแรม ดิ แอทธินี โฮเทล แบงค็อก, อะ ลักซ์ชูรี คอลเล็คชั่น โฮเทล ได้เป็นโรงแรมแห่งแรกของโลกที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO 20121 ซึ่งเป็นมาตรฐานด้านการจัดงานอย่างยั่งยืน   ทั้งนี้  บริษัทได้ตั้งเป้าหมายสำคัญ จะเป็น Carbon Neutral คือการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์หรือก๊าซเรือนกระจกสุทธิให้เป็นศูนย์ รวมไปถึงไม่มีขยะฝังกลบจากการดำเนินงาน ภายในปี 2572 โดยในช่วง 5 ปีจากนี้ ตั้งแต่ปี 2565-2569 บริษัทจะเน้นลงทุนพัฒนาโครงการตามกลยุทธ์ Carbon Neutral ที่คำนึงถึงมาตรฐานอาคารสีเขียว และได้รับการรับรองมาตรฐาน EDGE ด้วย สำหรับการดำเนินงานการพัฒนาอย่างยั่งยืนของ  AWC และพันธมิตรจากภาคส่วนต่างๆ ดำเนินการภายใต้ 3 เสาหลัก 6 มิติ หรือ 3BETTERs ได้แก่ 1.สิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้น (BETTER PLANET) การผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนผ่านสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) และการดำเนินธุรกิจตามแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ตั้งแต่กระบวนการวางแผนและก่อสร้าง การจัดการ และการบริหารงาน ด้วยการร่วมมือกับพันธมิตรในการบูรณาการกรอบแนวคิดในระดับสากลเข้ามาใช้ในการพัฒนาโครงการตามมาตรฐานอาคารสีเขียว ทั้งผู้ผลิตวัสดุอุปกรณ์ ผู้รับเหมา ที่ปรึกษาโครงการ และอื่นๆ ต่อเนื่องถึงพันธมิตรในด้านการจัดการและบริหารการดำเนินงานที่จะร่วมรวมพลัง เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ 2.คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น (BETTER PEOPLE) การพัฒนาบุคคลากรทั้งภายในและภายนอกองค์กร การยกระดับการดำเนินงานด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย และการส่งเสริมคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีของสังคมและชุมชน ผ่านความร่วมมือกับชุมชนท้องถิ่นในการเสริมสร้างความรู้และพัฒนาอาชีพ เพื่อสร้างรายได้อย่างยั่งยืนผ่านโครงการ “เดอะ GALLERY” ที่มุ่งจัดจำหน่ายสินค้าฝีมือคนในชุมชน อีกทั้งยังเป็นอีกช่องทางที่ช่วยชุมชนเพิ่มมูลค่างานศิลปะ ซึ่ง AWC ตั้งใจขอชวนพันธมิตรและชุมชนติดต่อ เดอะ GALLERY เพื่อเพิ่มสินค้าและผลงานศิลปะเพื่อเป็นช่องทางการขาย ผ่านโครงการต่างๆ ของบริษัท​ ทำการตลาดถึงลูกค้าจากทั่วโลก 3.เศรษฐกิจที่ดีขึ้น (BETTER PROSPERITY) การผลักดันให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจและกระตุ้นความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจในวงกว้าง โดยวางแผนกลยุทธ์องค์กรให้สอดคล้องกับแผนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ผ่านการลงทุนพัฒนาบริหารโครงการอสังหาริมทรัพย์ที่หลากหลายของบริษัทฯ สร้างงาน สร้างรายได้สู่ชุมชนและธุรกิจท้องถิ่น สร้างคุณค่าทวีคูณและธุรกิจองค์รวม (Ecosystem) ที่แข็งแกร่ง เพื่อยกระดับประเทศไทยให้เป็นจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวยั่งยืนระดับโลก อีกทั้งส่งเสริมให้เศรษฐกิจประเทศเติบโตอย่างก้าวกระโดด     อ่านข่าวเพิ่มเติม -AWC ปี 64 ทำกำไรกว่า 861 ล้าน หลังคลายล็อกดาวน์-เปิดการท่องเที่ยว -[PR News] AWC ทุ่มงบ 435 ล้าน ซื้อ “ดุสิต ดีทู เชียงใหม่” ผนึกกำลัง “กลุ่มดุสิตธานี” เดินหน้ากระตุ้นการท่องเที่ยวภาคเหนือ  
4 โซนไฮไลท์ ใน “เกษรอัมรินทร์”   ชื่อใหม่ของ อัมรินทร์พลาซ่า

4 โซนไฮไลท์ ใน “เกษรอัมรินทร์”  ชื่อใหม่ของ อัมรินทร์พลาซ่า

เกษร พร็อพเพอร์ตี้ กรุ๊ป ทุ่ม 1,000 ล้าน พลิกโฉม อัมรินทร์พลาซ่า ศูนย์การค้าเก่ากว่า 40 ปี สู่ “เกษรอัมรินทร์” ต่อยอดโปรเจ็กต์มิกซ์ยูส สร้างความสมบูรณ์แบบให้ย่านราชประสงค์ กับ 4 โซนไฮไลท์ที่พร้อมให้บริการปี 66 นี้   หลังจากเกษร พร็อพเพอร์ตี้ กรุ๊ป ได้ปรับโฉมศูนย์การค้าเกษรและพื้นที่สำนักงานใหม่ กลายเป็น เกสรวิลเลจ ต่อยอดการเป็นจุดไฮไลท์สำคัญของย่านราชประสงค์แล้ว ตอนนี้ก็เดินหน้าปรับโฉม อัมรินทร์พลาซ่า ศูนย์การค้าเก่าแก่อีกแห่งหนึ่งในพื้นที่ย่านราชประสงค์ กับรูปโฉมใหม่ ที่จะมาเติมเต็มให้แยกราชประสงค์แลนด์มาร์คและพื้นที่ใจกลางธุรกิจสำคัญของกรุงเทพฯ ให้สมบูรณ์แบบมากยิ่งขึ้   สำหรับเกษรอัมรินทร์ เดิมเป็นที่รู้จักในชื่อ “อัมรินทร์พลาซ่า” ที่มีตำนานอันยาวนานกว่า 40 ปีของประเทศไทยในย่านราชประสงค์ กำลังเข้าสู่มิติใหม่ของความเป็นศูนย์กลางแห่งไลฟ์สไตล์อินเทรนด์ในแนวคิด Immersive Experience สร้างสีสันและประสบการณ์ใหม่ที่เจิดจรัสบนย่านที่เปี่ยมไปด้วยคุณค่าและความงดงามที่สั่งสมจากหลายมิติ ทั้งประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ความคิดสร้างสรรค์ การผสมผสานของความล้ำสมัย ในฐานะศูนย์กลางเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทยและระดับโลก 4 โซนไฮไลท์ ใน “เกษรอัมรินทร์” โดยเกษรวิลเลจ ยกระดับจากโครงการมิกซ์ยูสสู่การพัฒนา “Placemaking” อย่างเต็มรูปแบบแห่งแรกและแห่งเดียวในประเทศไทย เริ่มปรับโฉมครั้งใหญ่ของ “เกษรอัมรินทร์”  ให้เป็นพื้นที่ที่เต็มไปด้วยการสร้างแรงบันดาลใจ ความคิดสร้างสรรค์ และพื้นที่ให้กลุ่ม like-minded community พบปะและมีปฏิสัมพันธ์กันได้อย่างลงตัว  ซึ่งเตรียมเปิดบริการอย่างเป็นทางการใน ไตรมาส 4 ปี 2566   โฉมใหม่ของ เกษรอัมรินทร์ จะเป็นการขยายพื้นที่ของแต่ละองค์ประกอบ (Component) พร้อมกับการรังสรรค์พัฒนาควบคู่กับแบรนด์ บริษัทชั้นนำทั้งระดับโลก และชั้นนำของประเทศไทย เพื่อสร้างประสบการณ์ให้กับกลุ่มผู้ใช้บริการและลูกค้า ซึ่งจะมี 4 โซนไฮไลท์ที่สำคัญ  ได้แก่ 1.Fashion Style Component ต่อยอดจาก Designer Lane พื้นที่รวบรวมแบรนด์แฟชั่นระดับโลก เพิ่มเติมแบรนด์แอคทีฟแฟชั่นสปอร์ตเข้ามาในพื้นที่ให้ลูกค้าและดีไซเนอร์ได้มาเจอกั   สำหรับพื้นที่โซน Fashion Style Component ต่อยอดจาก Designer Lane  จะมีแบรนด์แฟชั่นระดับโลก อาทิ Club 21, Comme des Garçons, Diane Von Furstenberg, Boss by Hugo Boss, Boyy, Max Mara และอีกมากมาย ขยายเพิ่มเติมแบรนด์แอคทีฟแฟชั่นสปอร์ตเข้ามาในพื้นที่ พร้อมจัดกิจกรรมให้เป็นพื้นที่ที่ให้เหล่าดีไซเนอร์ชั้นนำของโลกและประเทศไทยได้จัดแสดงผลงาน art & culture แชร์ประสบการณ์ และเรื่องราวของผลงานให้กับลูกค้าที่ชื่นชอบในตัวดีไซเนอร์ 2.Food Style Component ขยายส่วนของ Gaysorn Food Village จากปัจจุบันที่รวบรวมร้านอาหารระดับมิชลินสตาร์ เติมเต็มด้วยร้านอาหารที่เป็น specialty ที่ร่วมรังสรรค์ใหม่กับเชฟ และมิกโซโลจิตส์ระดับรางวัล   พื้นที่ Food Style Component จะมีร้านอาหารชั้นนำ ตั้งแต่ร้านอาหารระดับมิชลินสตาร์ ได้แก่ Ginza Sushi Ichi, Paste ร้านโอมากาเสะ ร้าน One & Only และ First to Thailand (new to market) ได้แก่ Hei Yin, Burger & Lobster, Isola เติมเต็มประสบการณ์ให้ผู้คนได้สังสรรค์ในพื้นที่ Hanging Garden เกษรอัมรินทร์ นำเสนอ Specialty Food & Beverage เช่น ร้าน Izakaya ร้าน Thai Grill และร้านอาหารคอนเซ็ปต์ใหม่ ๆ จากเชฟระดับรางวัล รวมไปถึงพื้นที่บาร์ รังสรรค์โดยมิกโซโลจิสต์ระดับประเทศ ที่จะเป็นศูนย์กลางของแหล่งแฮงเอาท์ที่ใหม่ในย่านราชประสงค์ 3.Life & Wellness style  ให้ตรงตามความต้องการของลูกค้าคนเมือง คำนึงไปถึงการใช้ชีวิตที่มีสุขภาพที่ดี การออกกำลังกาย และพัฒนาความสวยความงามของแต่ละบุคคล รวมไปถึงไลฟ์สไตล์แบบลักชัวรี และผู้ที่ชื่นชอบกิจกรรม outdoor sport   โซน Life & Wellness style Component curate concept Gaysorn Urbanist Retreat ได้ถูกพัฒนาพื้นที่ให้ตรงตามความต้องการของลูกค้าคนเมือง โดยคำนึงถึงการใช้ชีวิตที่มีสุขภาพที่ดี การออกกำลังกาย และพัฒนาความสวยความงามของแต่ละบุคคล และผู้ใช้ชีวิตในเมืองให้บาลานซ์ชีวิตในการทำงานและการดูแลตนเอง รวมไปถึงการรวบรวมแบรนด์ไลฟ์สไตล์แบบลักชัวรีจากแบรนด์ระดับโลก อาทิ Steinway & Sons, Bang & Olufsen, Leica, Rimowa ฯลฯ ไปจนถึงผู้ที่ชื่นชอบใช้ชีวิตแบบแอคทีฟ และกิจกรรม outdoor sport ต่าง ๆ เช่น Camping ปีนเขา และเล่นเซิร์ฟ ฯลฯ 4.Workstyle Component ด้วยคำนึงถึงการใช้ชีวิตของคนทำงานในเกษรวิลเลจ และในย่านราชประสงค์ให้สามารถเพิ่มประสิทธิภาพของการทำงานได้อย่างสะดวกสบาย และสนุกไปกับการใช้ชีวิตอย่างลงตัว   โซน Workstyle Component ที่คำนึงถึงการใช้ชีวิตของคนทำงานในเกษรวิลเลจและในย่านราชประสงค์ให้สามารถเพิ่มประสิทธิภาพของการทำงาน เพิ่มพื้นที่ที่ให้คนกลุ่ม workstyle สามารถใช้ความคิดสร้างสรรค์ และมีการทำงานร่วมกับเพื่อนร่วมงาน รวมถึงพันธมิตรในธุรกิจ ได้อย่างสะดวกสบาย และสนุกไปกับการใช้ชีวิตอย่างลงตัว ทุ่ม 1,000 ล้านพลิกโฉม เกษรอัมรินทร์ โฉมใหม่ของ “เกษรอัมรินทร์” ครั้งนี้ มีบริษัท CL3 สถาปนิกชื่อดังที่มาสร้างสรรค์ และออกแบบให้เกษรวิลเลจมีประสบการณ์ต่อเนื่องอย่างไร้รอยต่อ ภายใต้คอนเซ็ปต์ “Old-New Spirit” กับการสืบสานคุณค่าที่มีมาจากในอดีตพร้อมก้าวสู่อนาคตเบื้องหน้าอย่างมั่นคงและยั่งยืน   นายชาญ ศรีวิกรม์ ประธานบริหารกลุ่มเกษร พร๊อพเพอร์ตี้ กรุ๊ป เล่าว่า เส้นทางการพัฒนาเกษรวิลเลจในวันนี้และในอนาคตจะเหนือกว่าการเป็นห้างสรรพสินค้าที่พร้อมให้ทุกคนเข้ามาพบกับประสบการณ์การช้อปปิ้ง หรือเป็นอาคารมิกซ์ยูสที่รวม 3 อาคาร ได้แก่ เกษรทาวเวอร์ เกษรเซ็นเตอร์ และเกษรอัมรินทร์ ที่ไม่เพียงแต่มอบความหลากหลายของการใช้ประโยชน์ในพื้นที่เท่านั้น แต่ยังจะมีบทบาทใหม่ของการเป็นผู้พัฒนา Placemaking สร้างพื้นที่ที่ทุกคนสามารถดื่มด่ำหรือร่วมสร้างแรงบันดาลใจ และความคิดสร้างสรรค์ได้อย่างมีเอกลักษณ์ในแบบฉบับของแต่ละบุคคล เกษรวิลเลจจะทำให้ทุกคนได้สัมผัสกับวิถีการใช้ชีวิตที่เพิ่มคุณค่า สร้างความผูกผัน และใช้เวลาให้เกิดประโยชน์ในเออร์บันวิลเลจที่โดดเด่นและแตกต่าง หลอมรวมกันได้จาก 4 Component ที่เราจัดเตรียมไว้ หนึ่งในความสำเร็จของเกษรวิลเลจกับการเป็นผู้พัฒนา Placemaking ในรูปแบบ “วิลเลจ” คือการสร้างการเชื่อมโยงอย่างไร้รอยต่อของผู้คนที่เข้ามาใช้บริการในพื้นที่ จากการเริ่มพัฒนาเฟสแรกทางฝั่งเหนือคือ เกษรเซ็นเตอร์ และเกษรทาวเวอร์ ในปี 2560 โดยมี Ratchaprasong Walk (R Walk) ให้เข้าถึงอาคารได้สะดวกสบายหลายจุด โดยรูปลักษณ์ใหม่ของเกษรอัมรินทร์สัมผัสได้จากการดีไซน์มุมมองใหม่ด้านหน้าอาคาร (Façade) เป็นแนวคิดสถาปัตยกรรมที่เรียกว่า “เกษร โคคูน” (Gaysorn Cocoon) ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจากรังไหม อันเป็นสัญลักษณ์ของการเจริญเติบโตงอกงามอย่างสวยงาม พร้อมการผสมผสานไปกับเสาโรมัน ที่เป็นสัญลักษณ์ของความรอบรู้ และภูมิปัญญาอย่างยั่งยืน การออกแบบยังได้คำนึงถึงลูกค้าเป็นศูนย์กลาง (Customer Centric) โดยจะมีประสบการณ์จากทั้งภายนอกเชื่อมโยงสู่ภายในอาคาร เติมเต็มพื้นที่สีเขียว และสร้างสถานที่ตอบโจทย์ผู้คนให้ได้มาพบปะสังสรรค์ในพื้นที่ Hanging Garden อีกด้วย ขณะเดียวกัน ยังมีพื้นที่ลานอเนกประสงค์ Piazza ที่กว้างขวางเปิดรับผู้คน สอดประสานกลมกลืนเป็นหนึ่งเดียวกับพื้นที่นอกอาคารจรดถนน สร้างสรรค์บรรยากาศอันสดใสเหมาะสำหรับการจัดอีเวนต์ต่าง ๆ ตลอดจนพื้นที่ Forum ด้านใน เป็นพื้นที่อีเวนต์สเปซ เพื่อมอบประสบการณ์แห่งไลฟ์สไตล์ที่เปี่ยมด้วยบรรยากาศอันคึกคัก สนุกสนาน และเพลิดเพลินยิ่งกว่าเดิม   นอกจากนี้ การปรับโฉมอัมรินทร์พลาซ่าสู่การเป็น “เกษรอัมรินทร์” ที่จะเปิดตัวเต็มรูปแบบปลายปี 2566 จะส่งเสริมการท่องเที่ยวและสร้างชีวิตชีวาทางธุรกิจให้ย่านราชประสงค์เป็นศูนย์กลางไลฟ์สไตล์ (Bangkok’s Capital of Lifestyle District) ใจกลางเมืองแห่งแรกหนึ่งเดียวของกรุงเทพฯ ย่านราชประสงค์จะครบครันที่สุดด้วยทุกองค์ประกอบ ทั้งอาคารสำนักงาน ศูนย์การค้า เอ็นเตอเทนเมนต์ โรงแรม ที่พักอาศัย และสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ หลากหลายรูปแบบ ตลอดจนพื้นที่สีเขียว และสวนสาธารณะที่เชื่อมโยงถึงกันหมดภายในระยะเดินเพียงไม่กี่ก้าว เติมเต็มการใช้ชีวิตในทุกช่วงเวลาของทุกวันให้กับลูกค้า นักท่องเที่ยว ตลอดจนพันธมิตร ผู้เช่า และผู้อยู่อาศัย การก้าวสู่การเป็นผู้พัฒนา Placemaking ของเกษรวิลเลจในครั้งนี้ ใช้งบลงทุนกว่า 1,000 ล้านบาท  โดยเกษรวิลเลจพร้อมให้พื้นที่ทั้ง 3 ส่วนเป็นจุดเชื่อมโยงประสบการณ์การใช้ชีวิต การทำงาน และช้อปปิ้งที่เต็มเปี่ยมไปด้วยพลังและความคิดสร้างสรรค์ได้อย่างเต็มที่ อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง -เกษร พร็อพเพอร์ตี้ เปิดตัว “GAYSORN VILLAGE – เกษรวิลเลจ -เกษร วิลเลจ เปิดอาณาจักรเกษร ทาวเวอร์ ดันยอดเช่าพื้นที่กว่า 60% โชว์กลยุทธ์ “Workplace Strategy”
พร้อมเปิด ศูนย์ฯ สิริกิติ์โฉมใหม่ 12 ก.ยนี้  160 อีเวนต์จ่อคิวเข้าจัดงาน ถึงสิ้นปี 66

พร้อมเปิด ศูนย์ฯ สิริกิติ์โฉมใหม่ 12 ก.ยนี้ 160 อีเวนต์จ่อคิวเข้าจัดงาน ถึงสิ้นปี 66

ศูนย์ฯ สิริกิติ์โฉมใหม่ พร้อมเปิดให้บริการ 12 กันยายน ตามแผน หลังลงทุน 15,000 ล้านปรับโฉมใหม่นาน 3 ปี สร้างพื้นที่ใหญ่กว่าเดิม 5 เท่า ประเดิม 2 งานแรก หลังตุนงานไว้ในมือแล้ว 160 งานพร้อมจัดปี 66   หลังจากศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ (Queen Sirikit National Convention Center-QSNCC) เริ่มปรับปรุงโฉมใหม่  ตั้งแต่วันที่ 11 กันยายน 2562 ในวันที่ 12 กันยายน 2565 ก็จะเป็นวันเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการ ในส่วนของพื้นที่การจัดงานประชุม และอีเวนต์แล้ว หลังใช้ระยะเวลานานถึง 3 ปีเต็ม กับเม็ดเงินลงทุนมูลค่า 15,000 ล้านบาท   ศูนย์ฯ สิริกิติ์โฉมใหม่ มาพร้อมกับพื้นที่ขนาดใหญ่กว่าเดิมถึง 5 เท่า ​หรือมีพื้นที่รวม 300,000 ตร.ม. รองรับพื้นที่การจัดงานได้มากถึง 78,500 ตร.ม. มีห้องประชุม 50 ห้อง พื้นที่รีเทล 12,000 ตร.ม. และพื้นที่จอดรถ 3,000 คัน นายศักดิ์ชัย ภัทรปรีชากุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอ็น.ซี.ซี.แมนเนจเม้นท์ ​แอนด์ ดิเวลลอปเม้นท์ จำกัด เปิดเผยว่า การกลับมาของศูนย์ฯ สิริกิติ์โฉมใหม่ มีศักยภาพที่จะรองรับการจัดงานในทุกรูปแบบ และผู้ใช้บริการทุกไลฟ์สไตล์ ซึ่งคาดว่ามีผู้เข้าใช้บริการมากกว่า 13 ล้านคนต่อปี เพิ่มจากช่วงก่อนปิดปรับปรุงที่มีผู้เข้าใช้บริการ 6 ล้านคนต่อปี   โดยได้ตั้งเป้าหมายให้ศูนย์ฯ สิริกิติ์โฉมใหม่ เป็นมากกว่า “ศูนย์การประชุม”  และรองรับงานมากกว่า “ไมซ์” (MICE) ศูนย์ฯ สิริกิติ์ โฉมใหม่ จึงถูกออกแบบมาเพื่อตอบโจทย์ดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นการออกแบบพื้นที่ให้มีความยืดหยุ่นรองรับการจัดงานทุกรูปแบบได้พร้อม ๆ กัน และเอื้อต่อการจัดการด้านโลจิสติกส์ และขนย้ายสินค้าจัดแสดงทุกประเภท พร้อมมีอุโมงค์ทางเชื่อมกับรถไฟฟ้าใต้ดิน MRTเข้าสู่พื้นที่จัดงาน ด้านนายสุทธิชัย บัณฑิตวรภูมิ รองกรรมการผู้จัดการ  กล่าวว่า งานแรกของการเปิดให้บริการศูนย์ฯ สิริกิติ์โฉมใหม่ จะเป็น 2 งานที่จัดพร้อมกัน คือ  ASEAN SUSTAINABILITY AND ENERGY WEEK 2022 ระหว่างวันที่ 14-16 กันยายน 2565 และงาน T   ISSUE & PAPER BANGKOK 2022   โดยปัจจุบันมีงานอีเวนต์ที่คอนเฟิร์มมาจัดงานจนถึงปี 2566 แล้ว 160 งาน แบ่งเป็นงานเดิมที่เคยจัดที่ศูนย์ฯ สิริกิติ์มาแล้ว 50% และอีก 50% เป็นงานใหม่ ส่วนภายในปีนี้จะมีงานที่จัดขึ้นประมาณ​ 20% งาน คาดว่าจะทำรายได้ประมาณ​ 400 ล้านบาท ซึ่งราคาการใช้บริการจะปรับเพิ่มขึ้นจากเดิมประมาณ 10-15% ขณะที่หากเปรียบเทียบราคากับศูนย์ประชุมที่อื่นจะสูงกว่าประมาณ​ 20% สำหรับงานอีเวนต์ที่จะจัดขึ้นภายในปี 2565 อาทิ - Asia Pacific Leather Fair หรือ APLF งานแสดงสินค้าเครื่องหนังชั้นนำของโลก ปกติแล้วจะจัดอยู่ที่ประเทศฮ่องกง จะจัดในวันที่ 19 – 21 ตุลาคม 2565 - ASIA FRUIT LOGISTICA งานแสดงสินค้านานาชาติด้านผักและผลไม้แห่งภูมิภาคเอเชีย ซึ่งเคยจัดอยู่ที่ฮ่องกงเช่นกัน จะจัดในวันที่ 2 – 4 พฤศจิกายน 2565 - Jewellery & Gem ASEAN Bangkok (JGAB) งานจัดแสดงสินค้าอัญมณีครั้งยิ่งใหญ่ รวบรวมทั้งการค้าขาย สัมมนา และกิจกรรมเสริมความรู้ด้านอัญมณี เพื่อผู้ซื้อและซัพพลายเออร์จากทั่วโลก เดิมจัดที่ประเทศสิงคโปร์ จะจัดในวันที่ 2 – 5 พฤศจิกายน 2565 -“T-Pop Concert Fest” รวมศิลปินเพลงป๊อปแนวหน้าชั้นนำของไทย เช่น พีพี บิวกิ้น, ศิลปินเกิร์ลกรุ๊ป “4EVE”, โบกี้ ไลอ้อน ในวันที่ 29-30 ตุลาคม 2565 -งานมหกรรมเกมที่ยิ่งใหญ่ทีสุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ “Thailand Game Show” ในวันที่ 21-23 ตุลาคม 2565  -งานประชุมความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (Asia-Pacific Economic Cooperation: APEC) ในวันที่ 13-18 พฤศจิกายน 2565 นอกจากนี้ ยังมีอีกหนึ่งไฮไลต์สำคัญของศูนย์ฯ สิริกิติ์ ในการก้าวสู่การเป็น The Ultimate Inspiring World Class Event Platform for All คือ พื้นที่โซนรีเทล ภายใต้คอนเซ็ปต์ “แอคทีฟไลฟ์สไตล์มอลล์” เต็มรูปแบบแห่งแรกของกรุงเทพฯ (BALM - Bangkok Active Lifestyle Mall) บนเนื้อที่กว่า 11,000 ตารางเมตร BALM จะเป็นตัวสร้างสีสันและเติมเต็มให้กับศูนย์ฯ สิริกิติ์โฉมใหม่ใจกลางกรุงเทพ ที่ดึงดูดทุกกลุ่มไลฟ์สไตล์ทั้งในและต่างประเทศ ช่วยให้ย่านพระราม 4 - รัชดา กลายเป็นอีกหนึ่งที่พบปะสังสรรค์พูดคุยและใช้ชีวิตที่เนืองแน่นไปด้วยร้านค้ารีเทลหลากหลายหมวดหมู่ ไม่ว่าจะเป็นร้านอาหาร ร้านกาแฟ    ร้านสะดวกซื้อ ร้านขายยา ร้านอุปกรณ์กีฬา ร้านขายสินค้าไอที เป็นต้นโดยพื้นที่รีเทลในเบื้องต้นจะเปิดให้บริการประมาณ 50%   อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง -6 ไฮไลท์ศูนย์ฯ สิริกิติ์โฉมใหม่ ที่พร้อมใช้งาน ก.ย.65 -โฉมใหม่ “ศูนย์ประชุมสิริกิติ์” ใหญ่กว่าเดิม 5 เท่า เปิดแน่!! กันยายน 2565      
สิงห์เอสเตท  ครึ่งปีแรกรายได้โต 92% พลิกมีกำไร 102 ล้าน

สิงห์เอสเตท  ครึ่งปีแรกรายได้โต 92% พลิกมีกำไร 102 ล้าน

สิงห์เอสเตท  สร้างรายได้ครึ่งปีแรกเพิ่มขึ้น 92% มีมูลค่า 5,790 ล้าน รับอานิสงค์การทยอยฟื้นตัวของธุรกิจ ​ การควบคุมค่าใช้จ่ายอย่างมีประสิทธิภาพ  โดยเฉพาะธุรกิจโรงแรมโตเกือบ 3 เท่าตัว ส่งผลภาพรวมพลิกทำกำไร 102 ล้าน   นางฐิติมา รุ่งขวัญศิริโรจน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท สิงห์ เอสเตท จำกัด (มหาชน) หรือ S เปิดเผยว่า  ครึ่งปีแรกปี 2565 มีรายได้ 5,790 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 92% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน จากการเติบโตของรายได้ในทุกกลุ่มธุรกิจ และเริ่มรับรู้รายได้จากการขายที่ดินนิคมอุตสาหกรรมเป็นครั้งแรกในไตรมาส 2 รวมถึง เป็นผลสำเร็จจากการปรับโครงสร้างธุรกิจในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา โดยมุ่งเน้นกลยุทธ์กระจายการลงทุนเพื่อสร้างความหลากหลายใน 4 กลุ่มธุรกิจที่เชื่อมโยงกัน   โดยธุรกิจโรงแรมมีรายได้ 3,761 ล้านบาท เติบโตขึ้นเกือบ 3 เท่าตัวจากครึ่งปีแรกปี 2564 ซึ่งโรงแรมทั้ง 2 แห่งในโครงการครอสโร้ด เฟส1 (CROSSROADS) สาธารณรัฐมัลดีฟส์ และพอร์ตโรงแรมในสหราชอาณาจักร ที่เติบโตขึ้น 128% จากช่วงครึ่งปีแรกปี 2564 ซึ่งสัดส่วนรายได้รวมกันคิดเป็น 75% ของรายได้รวมทั้งหมด   ขณะที่พอร์ตโรงแรมเอาท์ริกเกอร์ (Outrigger) และพอร์ตโรงแรมในประเทศไทย มีแนวโน้มการฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว ซึ่งมีรายได้เติบโตกว่า 8 เท่าตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อน และคิดเป็น 25% ของรายได้รวม แต่บริษัทตั้งเป้าหมายเพิ่มสัดส่วนรายได้เป็น 35% ของรายได้รวมในช่วงที่ธุรกิจดำเนินการได้ปกติ หรือกว่า 4,000 ล้านบาท จาก​สถานการณ์การท่องเที่ยวและการให้บริการเส้นทางบินต่าง ๆ สามารถดำเนินการได้อย่างเป็นปกติ   สำหรับรายได้จากธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เพื่อการค้าที่ปรับตัวดีขึ้น 5% ซึ่งเป็นผลมาจากการรักษาอัตราการปล่อยเช่าโดยรวมไว้ที่ 88% และสามารถปรับเพิ่มอัตราค่าเช่าขึ้นได้แม้จะอยู่ระหว่างสถานการณ์ที่ท้าทาย ส่งผลให้รายได้จากการขายและให้บริการรวมเติบโตขึ้น 132% สู่ 4,371 ล้านบาท   ส่วนธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เพื่อการขาย มีรายได้รวม 1,419 ล้านบาท เติบโตขึ้น 25% จากช่วงครึ่งปีแรกปี 2564 สะท้อนความสำเร็จในการโอนกรรมสิทธิ์คอนโดมิเนียมโครงการ ดิ เอส สิงห์ คอมเพล็กซ์ และดิ เอส อโศก  รวมถึงการรับรู้รายได้จากการขายที่ดินนิคมอุตสาหกรรมเป็นครั้งแรกในไตรมาส 2 ปี 2565 ด้วยการรับรู้รายได้จากการขายที่ดินให้กับโรงไฟฟ้า บี.กริม เพาเวอร์ (อ่างทอง) จำนวน 77 ไร่ นอกจากนี้ เป็นผลจากการทยอยฟื้นตัวของธุรกิจอื่น ๆ และการควบคุมค่าใช้จ่ายอย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ สิงห์เอสเตท พลิกรายงานกำไรสุทธิ 102 ล้านบาท นางฐิติมา กล่าวว่า  ไตรมาสที่ 2 ที่ผ่านมา ถือเป็นช่วงเวลาเก็บเกี่ยวผลสำเร็จจากการปรับโครงสร้างธุรกิจของสิงห์เอสเตท โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเข้าลงทุนเพิ่มเติมในโรงแรมที่จะสร้างสมดุลรายได้ด้านฤดูกาลให้กับพอร์ตโฟลิโอของบริษัท โดยในไตรมาส 2 ถือเป็นช่วงเข้าสู่ฤดูกาลท่องเที่ยวของสหราชอาณาจักรและสาธารณรัฐหมู่เกาะฟิจิ รายได้ทั้ง 2 พอร์ตดังกล่าวเติบโตขึ้น 40% และ 100% จากไตรมาสก่อน นอกจากนั้นแล้ว การเข้าลงทุนในธุรกิจนิคมอุตสาหกรรมที่นอกจากจะช่วยเพิ่มสมดุลรายได้ด้านฐานลูกค้าให้กับสิงห์ เอสเตท แล้ว ยังเป็นธุรกิจที่สร้างโอกาสในการหารายได้จากทรัพย์สิน  (Recurring income) ให้บริษัทฯ ในระยะยาว ภาพรวมผลประกอบการในช่วงที่เหลือของปีนี้ คาดว่าจะเติบโตขึ้นต่อเนื่องราว 30% จากในช่วงครึ่งปีแรก ผลักดันโดยรายได้จากธุรกิจโรงแรม และรายได้จากการขายบ้านและอาคารชุด ซึ่งบริษัทเห็นสัญญาณบวกที่เด่นชัดจากสถิติการดำเนินงานโรงแรมในเดือนกรกฎาคม 2565 โดยอัตราการเข้าพักเฉลี่ยของทั้งพอร์ตโฟลิโอปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 70% และคาดว่าจะมีทิศทางที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเช้าสู่ฤดูกาลท่องเที่ยวของสาธารณรัฐมัลดีฟส์ และประเทศไทยในไตรมาสที่ 4   นอกจากนี้ บริษัทใช้กลยุทธ์ในการปรับปรุงห้องพักของโรงแรม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของพอร์ตโฟลิโอ ซึ่งเป็นกลไกสำคัญในการผลักดันอัตราค่าห้องพักต่อคืน (ADR) ให้เติบโตขึ้น โดยเฉพาะโรงแรมในโครงการ ครอสโร้ดส์ (CROSSROADS) และพอร์ตโรงแรมในสหราชอาณาจักร ที่คาดว่าจะมีอัตราค่าห้องพักต่อคืนที่สูงขึ้นกว่าปี 2562 ได้ถึง 41% และ 27% ตามลำดับ   สำหรับพอร์ตโรงแรมในประเทศไทย เริ่มเห็นสัญญาณการฟื้นตัวที่รวดเร็วตั้งแต่เดือนกรกฎาคม ซึ่งเป็นเดือนแรกในการเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติเต็มรูปแบบ ส่งผลให้โรงแรม ทราย ลากูน่า ภูเก็ต (SAii Laguna Phuket) และโรงแรมทราย พีพี ไอส์แลนด์ วิลเลจ (SAii Phi Phi Island Village) มีอัตราการเข้าพักที่ 68% และ 63% ตามลำดับ ด้วยจุดแข็งด้านที่ตั้งของโรงแรมทั้งหมดของบริษัทฯ ที่ล้วนแล้วแต่อยู่ในทำเลที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญ ผนวกกับผลสำเร็จจากการสร้างการรับรู้ต่อแบรนด์ของบริษัท จึงมีความมั่นใจต่อแนวโน้มผลการดำเนินงานที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และคาดว่าพอร์ตโรงแรมในประเทศไทยจะสามารถสร้างรายได้ที่เติบโตขึ้นเกือบสองเท่าตัวในช่วงครึ่งปีหลังของปี บริษัทคาดการณ์ว่าการโอนกรรมสิทธิ์ของโครงการบ้านแนวราบ สันติบุรี เดอะ เรสซิเดนเซส จะมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นในครึ่งปีหลัง และการรับรู้รายได้จากบ้านเดี่ยวโครงการใหม่ ศิรนินทร์ เรสซิเดนเซส (Siraninn Residences) ที่คาดว่าจะทยอยโอนกรรมสิทธิ์ได้ในไตรมาสที่ 4 ปี 2565 เป็นต้นไป จะช่วยสร้างการเติบโตของรายได้ธุรกิจที่พักอาศัยให้เพิ่มขึ้น 50% หรือกว่า 3,300 ล้านบาทในปี 2565 นี้   สำหรับโครงการศิรนินทร์ เรสซิเดนเซส คาดว่าจะเปิดการขายภายในเดือนกันยายน 2565 ตั้งอยู่ในซอยพัฒนาการ 32 ซึ่งเป็นทำเลที่อยู่อาศัยสำหรับโครงการแนวราบเขตเมือง โครงการเป็นบ้านเดี่ยวแนบราบระดับลักชัวรี่ (Horizontal Luxury House) ในรูปแบบบ้านเดี่ยว 2 ชั้น จำนวน 28 แปลง ราคา 65 – 180 ล้านบาท และโฮมออฟฟิศ ราคา 20 ล้านบาท จำนวน 4 แปลง นอกจากนี้ บริษัทยังวางเป้าหมายการเปิดตัวโครงการที่พักอาศัยใหม่ ภายในระยะเวลา 5 ปี จะมีมูลค่าประมาณ 52,000 ล้านบาท โดยมุ่งเน้นการพัฒนาโครงการแนวราบระดับลักชัวรี่ ผ่าน 3 เซ็กเมนท์ใหม่ ที่ครอบคลุมระดับราคาที่กว้างขึ้น ด้วยการปรับราคาลงมาในแต่ละโครงการตั้งแต่ 100 ล้าน สู่ 10 ล้านบาทต่อยูนิต  โดยบ้านเดี่ยวโครงการใหม่ในอีก 2 เซ็กเมนท์ จะมีการเปิดตัวอย่างเป็นทางการภายในปี 2565   ทั้งนี้ บริษัทมีที่ดินที่พร้อมพัฒนาแล้ว 2 แปลง และอยู่ระหว่างรอโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินเพิ่มเติม เพื่อเดินหน้าพัฒนา 4 โครงการที่พร้อมเปิดขายในปี 2566 พร้อมตั้งเป้าหมายในการซื้อที่ดินในทำเลศักยภาพอีกจำนวน  5 - 7 แห่งต่อปีสำหรับการพัฒนาและทยอยเปิดตัวโครงการตั้งแต่ปี 2566 อย่างต่อเนื่อง ปีละกว่าหมื่นล้านบาท   สำหรับความคืบหน้าของการนำพื้นที่ค้าปลีกให้เช่าระยะยาว แก่กองทรัสต์เพื่อการลงทุนในสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ เอส ไพรม์ โกรท (SPRIME) นั้น เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2565 ได้ปล่อยเช่าส่วนพื้นที่ค้าปลีก ในโครงการอาคารซันทาวเวอร์ส มูลค่า 213 ล้านบาท โดยพื้นที่ดังกล่าวที่ เอส ไพรม์  เข้าลงทุนเพิ่มเติมนั้น ปัจจุบันมีอัตราการเช่าสูงถึง 98% จึงมั่นใจได้ว่า เอสไพรม์ เข้าลงทุนเพิ่มเติมในอสังหาริมทรัพย์ที่มีศักยภาพและจะช่วยเพิ่มผลตอบแทนที่ดีในระยะยาวให้แก่กองทรัสต์ SPRIM ต่อไป   อย่างไรก็ตาม แผนในการให้เช่าระยะยาวในส่วนอาคารสำนักงานสิงห์ คอมเพล็กซ์ ได้ถูกพิจารณาเลื่อนออกไป เนื่องจากสภาวะตลาดทุนที่ผันผวน และสภาพเศรษฐกิจที่ยังถูกกดดันจากแนวโน้มการปรับตัวของอัตราดอกเบี้ย ภาวะเงินเฟ้อ ราคาน้ำมัน โรคระบาด ตลอดจนประเด็นความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างประเทศต่าง ๆ โดยยังคงมีความเชื่อมั่นในผลการดำเนินงานของอาคารสำนักงาน สิงห์ คอมเพล็กซ์ ที่สร้างกำไรจากการดำเนินงานให้แก่บริษัทราว 400 ล้านบาทต่อปี   อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง -สิงห์ เอสเตท ขอท้าทายตัวเอง กับกลยุทธ์ RISE ABOVE พร้อมแผน 5 ปีปั้นโปรเจ็กต์บ้านหรู 52,000 ล้าน
เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้  ​โชว์กำไร 6 เดือน เฉียดพันล้าน  หลังใช้ธุรกิจเชิงรุก -ผลดีการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ

เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ ​โชว์กำไร 6 เดือน เฉียดพันล้าน หลังใช้ธุรกิจเชิงรุก -ผลดีการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ

เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ ​ประกาศผลการดำเนินงาน 6 เดือนแรกปี​ 65 ทำรายได้​ 7,788 ล้าน กำไรเฉียดพันล้าน ตามเป้า อานิสงค์ประยุกต์ใช้แผนกลยุทธ์ธุรกิจเชิงรุก  และการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจภายในประเทศ ขณะที่ผลงานรอบเม.ย.-มิ.ย. ทำรายได้ 4,374 ล้าน กำไร 680 ล้าน ครึ่งปีหลังเตรียมเปิดโครงการที่อยู่อาศัยอีก​ 12 โครงการ   นายธนพล ศิริธนชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (Country Chief Executive Officer) บริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ FPT  เปิดเผยถึง​ผลการดำเนินงานรอบ 6 เดือนแรกของปีนี้ (มกราคม-มิถุนายน 2565) ว่า สามารถสร้างรายได้จำนวน 7,788 ล้านบาท มีกำไรสุทธิ 991 ล้านบาท  ส่วนรายได้รวมในรอบ 3 เดือน (เมษายน-มิถุนายน 2565) ในจำนวน 4,374 ล้านบาท คิดเป็นกำไรสุทธิจำนวน 680 ล้านบาท  และสามารถรับรู้อัตรากำไรขั้นต้นในสัดส่วนที่สูงขึ้น 6% เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว   ผลการดำเนินงานดังกล่าวบริษัทพอใจและเป็นไปตามที่วางแผนไว้ ซึ่งไตรมาสที่ผ่านมา เป็นช่วงเวลาที่บริษัทได้เริ่มเก็บเกี่ยวผลสำเร็จ จากความพยายามของในการปรับตัว ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ด้านเศรษฐกิจ ผ่านแผนกลยุทธ์การรุกตลาด และการจับกลุ่มลูกค้าใหม่เพิ่มขึ้น   โดยบริษัทจะยังคงมุ่งเน้นให้ความสำคัญกับการพัฒนานวัตกรรมสินค้าและบริการที่ทันสมัย เพื่อส่งมอบประสบการณ์และตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา พร้อมกับสร้างความแข็งแกร่งให้กับแบรนด์ “เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ ประเทศไทย” ให้เป็นแบรนด์ในใจลูกค้า ในภาพรวมของรอบปฎิทินไตรมาสที่สอง ปี 2565 บริษัทฯ ได้ออกหุ้นกู้ในมูลค่า 3,000 ล้านบาท ซึ่งได้รับความสนใจจากนักลงทุนกลุ่มผู้มีความมั่งคั่งสูง (High Net Worth Individuals) และ กลุ่มสหกรณ์อย่างล้นหลาม สะท้อนถึงความเชื่อมั่นในศักยภาพของแพลตฟอร์มอสังหาฯ ครบวงจร และผลการดำเนินงานที่ผ่านมาของเฟรเซอร์ โดยบริษัทฯจะนำเงินที่ได้จากครั้งนี้ไปชำระคืนเงินกู้ รวมถึงใช้เป็นเงินทุนขยายธุรกิจ และเงินทุนหมุนเวียนในปี 2565   สำหรับ "เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ โฮม" กลุ่มธุรกิจอสังหาฯ เพื่อที่อยู่อาศัย มีการปรับกลยุทธ์ธุรกิจ ด้วยการ พัฒนาโครงการบ้านเดี่ยวเพิ่มมากขึ้น เพื่อขยายเซ็กเมนต์ของกลุ่มลูกค้ากำลังซื้อสูง  ซึ่งในช่วงครึ่งปีแรกของปีนี้ ได้เปิดโครงการไปแล้ว  6 โครงการ มูลค่ารวม 20,000 ล้านบาท  มีระดับราคา  2-35 ล้านบาท จากทั้งหมด 18 โครงการ  ซึ่งในช่วงครึ่งหลังของปี 2565  บริษัทมีแผนเปิดโครงการบ้านเดี่ยว บ้านแฝด  ทาวน์โฮม และโครงการต่างจังหวัด อีก 12 โครงการ   กลุ่มธุรกิจ “เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ อินดัสเทรียล” และ กลุ่มธุรกิจ “เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ คอมเมอร์เชียล” ในครึ่งปีแรกมีรายได้ที่ 597 ล้านบาท โดยธุรกิจโรงงานและคลังสินค้ายังมีอัตราการเช่ารวมสูงถึง  85.4%  และยังได้รับอานิสงส์จากการชะลอการส่งออก ที่ทำให้มีดีมานด์เช่าคลังสินค้าระยะสั้นเข้ามาเพิ่ม  ซึ่งคาดการณ์ว่าจะส่งผลยาวถึงสิ้นปี 2565   สำหรับไตรมาสที่ผ่านมา เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ อินดัสเทรียล ได้เพิ่มสัดส่วนการลงทุนเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ของโครงการคลังสินค้าสมัยใหม่ที่ประเทศอินโดนีเซีย  ตั้งอยู่ในเมืองคาราวัง เมืองมากัซซาร์ และ เมืองบันจาร์มาซิน ทำให้พอร์ตโฟลิโอในต่างประเทศเพิ่มขึ้นกว่า 150,000 ตารางเมตร  ทำให้มีพอร์ต อสังหาฯ  เพื่ออุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นเป็น 3.25 ล้านตารางเมตร นอกจากนี้ ยังมีการทยอยขายทรัพย์ให้กับทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาฯ และสิทธิการเช่าอสังหาฯ เพื่ออุตสาหกรรม FTREIT ซึ่งส่งผลให้ไตรมาสล่าสุดมีรายได้พิเศษรวมเป็นจำนวน 622 ล้านบาท ด้านธุรกิจอสังหาฯ  เพื่อพาณิชยกรรม สามารถรักษาอัตราการเช่าได้ในระดับสูง ในส่วนอาคารสำนักงานสามารถรักษาระดับผู้เช่าไว้ได้กว่า 90% โดยมุ่งเน้นการให้บริการแบบใหม่ Core & Flex ที่ผสานการให้บริการพื้นที่สำนักงานแบบมาตรฐานและแบบยืดหยุ่น เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของผู้เช่าได้อย่างครอบคลุม   สำหรับ 2 โครงการมิกซ์ยูส “สีลมเอจ” ที่อยู่ระหว่างการพัฒนา บริษัทพัฒนาได้คืบหน้าตามเป้าหมาย โดยจะเปิดให้บริการเป็นครั้งแรกในเดือนกันยายน 2565 นี้  ซึ่งเป็นช่วงระยะเวลาเดียวกับที่บริษัทจะส่งมอบโครงการศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ให้แก่ บริษัท เอ็น.ซี.ซี. แมนเนจเม้นท์ แอนด์ ดิเวลลอปเม้นท์ จำกัด ด้วยเช่นกัน นอกจากนี้ การเดินหน้าเปิดประเทศยังขับเคลื่อนให้ประชาชนมีการจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น จะส่งผลให้ธุรกิจศูนย์การค้า สามย่านมิตรทาวน์กลับมาคึกคัก และธุรกิจโรงแรมเริ่มฟื้นตัวดีขึ้น   อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง -เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ โฮม ปรับแผนธุรกิจปี 65 เพิ่มพอร์ต บ้านหรู ปูทางโตอย่างยั่งยืน เล็งรายได้คอนโด 20% -เฟรเซอร์สฯ ชู 4 กลยุทธ์ลุยธุรกิจรีเทล เตรียมเปิด “สีลมเอจ” เพิ่มพื้นที่ 24 ชั่วโมง
มิสเตอร์ ดี.ไอ.วาย.  เร่งสปีดขยายร้าน 2 วันต่อ 1 สาขา  วางเป้าสิ้นปีครบ 550 แห่งทั่วไทย

มิสเตอร์ ดี.ไอ.วาย. เร่งสปีดขยายร้าน 2 วันต่อ 1 สาขา วางเป้าสิ้นปีครบ 550 แห่งทั่วไทย

มิสเตอร์ ดี.ไอ.วาย. เดินหน้าขยายสาขาต่อเนื่อง เร่งสปีดขยายร้าน 2 วันต่อ 1 สาขา วางเป้าสิ้นปีครบ 550 แห่งทั่วไทย ล่าสุดฉลองสาขา 500 ที่โลตัส บางกะปิ   มิสเตอร์ ดี.ไอ.วาย. (Mr.D.I.Y.) ร้านค้าปลีกสินค้าตกแต่งและซ่อมแซมบ้าน สัญชาติมาเลเซีย ได้เข้ามาปักหมุดในตลาดไทยสาขาแรกที่ศูนย์การค้าซีคอน บางแค​ ในปี 2559 หลังจากนั้นก็ใช้ระยะเวลาประมาณ 6 ปี ก็สามารถขยายสาขาได้ครบ 500 สาขา ซึ่งได้ฉลองการเปิดสาขาที่ 500 ในโลตัส บางกะปิ ไปเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม ที่ผ่านมา   โดยมิสเตอร์ ดี.ไอ.วาย.ไม่ได้จะหยุดการขยายสาขาไว้เพียงเท่านี้ แต่ยังคงวางเป้าหมายการขยายสาขาอย่างต่อเนื่อง เฉพาะสิ้นปี 2565 วางแผนไว้ว่าจะขยายสาขาให้ครบ 550 สาขา ขณะที่แผน 3-5 ปีข้างหน้ายังคงขยายสาขาในเชิงรุก ด้วยอัตราการขยายเช่นนี้อย่างต่อเนื่อง นายแอนดี้ ชิน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร มิสเตอร์ ดี.ไอ.วาย.(ประเทศไทย) เปิดเผยว่า ตลาดประเทศไทยถือว่ามีการขยายสาขามากที่สุดในกลุ่มประเทศที่บริษัทแม่ได้เข้าไปลงทุนขยาย ซึ่งปัจจุบันมีทำตลาดอยู่ 10 ประเทศ ได้แก่ มาเลเซีย ไทย บรูไน อินโดนีเซีย สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ กัมพูชา อินเดีย ตุรเคีย และสเปน โดยประเทศไทยมีสาขาคิดเป็นสัดส่วน 25% จากจำนวนทั้งหมด 2,000 สาขาทั่วโลก ​ ประเทศไทย ถือเป็นตลาดสำคัญ เพราะลูกค้าไทยมากกว่าในมาเลเซียถึง 2 เท่าตัว และตลาดรีเทลมีการเติบโต ซึ่งการขยายสาขาในไทยมีอัตราการเติบโตถึง 40% เฉลี่ย 1 สาขาใช้ระยะเวลาประมาณ 2 วัน ซึ่งบริษัทมีทีมงานในการซัพพอทจึงขยายร้านได้เร็ว 2 ปัจจัยขยายร้านได้เร็ว สำหรับเหตุผลสำคัญที่ทำให้มิสเตอร์ ดี.ไอ.วาย.ได้อย่างรวดเร็วมาจาก 2 เหตุผลสำคัญ 1.การมีเงินทุนที่มีมั่นคง มิสเตอร์ ดี.ไอ.วาย.ประเทศไทย มีบริษัทแม่อยู่ที่ประเทศมาเลเซีย ซึ่งจดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ ที่นำเสนอขายหุ้น IPO ใหญ่ที่สุดในรอบ 3 ปี(จดทะเบียนปี 2563) ซึ่งการขยายสาขาทั้งหมดในไทยเป็นการลงทุนโดยมิสเตอร์ ดี.ไอ.วาย.เองทั้งหมด ไม่มีการขายแฟรนไชส์ จึงถือว่ามิสเตอร์ ดี.ไอ.วาย.มีฐานะทางการเงินที่แข็งแกร่ง พร้อมลงทุนขยายสาขาได้อย่างต่อเนื่อง   นอกจากนี้ จากการที่มิสเตอร์ ดี.ไอ.วาย.ขายสินค้าราคาถูก เริ่มต้นราคาหลักบาท ไปจนถึงหลักพันบาท จึงทำให้ราคาเข้าถึงกลุ่มคนส่วนใหญ่ของไทย ทำให้มีเงินหมุนเวียนอยู่ในบริษัท  สามารถนำเงินมาลงทุนขยายสาขาได้อย่างรวดเร็ว 2.มีทีมงานในการขยายธุรกิจ-จับมือโลตัส แม้ว่ามิสเตอร์ ดี.ไอ.วาย. จะไม่เปิดเผยตัวเลขของทีมงานในการขยายสาขา แต่จากจำนวนสาขาที่สามารถขยายได้อย่างรวดเร็วในช่วงที่ผ่านมา ก็ยืนยันได้ว่าทีมงานของมิสเตอร์ ดี.ไอ.วาย.คือ หัวใจสำคัญที่ทำให้เปิดสาขาได้อย่ารวดเร็ว   นอกจากนี้ การมีพันธมิตรทางธุรกิจสำคัญ อย่างโลตัส ก็ช่วยส่งเสริมให้สามารถขยายสาขาไปได้อย่างรวดเร็ว เพราะโลตัสพร้อมจะนำเสนอพื้นที่ให้กับมิสเตอร์ ดี.ไอ.วาย. ปัจจุบันมิสเตอร์ ดี.ไอ.วาย.มีสาขาในโลตัสแล้ว 86 สาขา และภายในสิ้นปีนี้จะขยายสาขาเพิ่มเป็น 90 สาขา 3 คีย์ซัคเซสสู่ 500 สาขา การที่ มิสเตอร์ ดี.ไอ.วาย. สามารถขยายสาขาจนได้ครบ 500 สาขาได้ ถือเป็นดัชนีชี้วัดความสำเร็จได้ระดับหนึ่ง แม้ว่าผู้บริหารจะไม่เปิดตัวเลขผลประกอบการด้านรายได้หรือกำไรก็ตาม ซึ่งปัจจัยความสำเร็จ หรือ Key Success สำคัญของมิสเตอร์ ดี.ไอ.วาย. คงมาจาก 3 เรื่องหลักเหล่านี้ คือ 1.ราคาเข้าถึงได้ง่าย สินค้าของมิสเตอร์ ดี.ไอ.วาย.เป็นระดับราคาที่คนส่วนใหญ่เข้าถึงได้ง่าย เริ่มต้นหลักบาทไปจนถึงหลักพันบาท เพราะใช้หลักการ Economy of Scale ด้วยปริมาณการสั่งซื้อสินค้าจำนวนมาก ทำให้มีอำนาจการต่อรองและบริหารจัดการต้นทุนสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ  แม้ภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว หรือมีปัจจัยลบต่าง ๆ ก็ไม่ได้ส่งผลต่อยอดขายของมิสเตอร์ ดี.ไอ.วาย.เพราะคนที่จำเป็นต้องใช้สินค้า จะหันมาเลือกซื้อสินค้าของมิสเตอร์ ดี.ไอ.วาย.ที่มีราคาถูกกว่าที่อื่น ซึ่งลูกค้าที่เข้ามาซื้อสินค้าจะมีอัตราการซื้อเฉลี่ย 220-250 บาทต่อใบเสร็จ หรือประมาณ 4-5 รายการ 2.สินค้ามีความหลากหลาย 18,000 รายการ มีสินค้าหลากหลายกว่า 18,000 รายการ ครอบคลุม 10 กลุ่มสินค้า ได้แก่ ฮาร์ดแวร์ เครื่องใช้ในครัวเรือน เครื่องใช้ไฟฟ้า อุปกรณ์ประดับยนต์ อุปกรณ์ตกแต่งบ้าน เครื่องเขียน อุปกรณ์กีฬา ของเล่น ของขวัญ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์และโทรศัพท์มือถือ เครื่อ่งประดับ เครื่องสำอาง 3.ทำเลหลากหลายและจำนวนมาก เพื่อให้ลูกค้าเข้าถึงสินค้าได้ง่ายมิสเตอร์ ดี.ไอ.วาย.จึงเน้นที่จะขยายสาขาให้ครอบคลุมทั่วประเทศมากที่สุด ปัจจุบันครอบคลุม 70 จังหวัด ใน 3 รูปแบบ คือ รูปแบบสแตนด์อโลน รูปแบบในศูนย์การค้า และรูปแบบเอ็กซ์เพรส ที่จะเน้นเปิดในแหล่งชุมชนสำคัญขนาดเล็ก ด้วยการนำสินค้าขายดีไปขาย ทั้ง 3 ปัจจัยดังกล่าว จึงถือเป็นคีย์ความสำเร็จของมิสเตอร์ ดี.ไอ.วาย. ในการทำตลาดประเทศไทย ที่เชื่อว่าในอนาคตจะขยายสาขาไปถึง 1,000 สาขาได้ไม่ยากนัก
[PR News] “CHIC” เคาะราคาขาย IPO 0.90 บาท จำนวน 360 ล้านหุ้น  เปิดจองซื้อ 18-21 ก.ค.นี้

[PR News] “CHIC” เคาะราคาขาย IPO 0.90 บาท จำนวน 360 ล้านหุ้น เปิดจองซื้อ 18-21 ก.ค.นี้

“CHIC” เคาะราคาขายหุ้นไอพีโอ ราคาหุ้นละ 0.90 บาท จำนวน 360 ล้านหุ้น เปิดจองซื้อ 18-21 ก.ค. เตรียมเข้าเทรด mai ก.ค. นี้ แต่งตั้ง เมย์แบงก์ (MST) พร้อมด้วย ASP และ LHS ผู้จัดการการจัดจำหน่ายและรับประกันการจำหน่าย เผยธุรกิจมีโอกาสเติบโตสูง ผนึก KSS และ KTBST เป็นผู้ร่วมจัดจำหน่ายและรับประกันการจัดจำหน่าย   นายธีร์ จารุศร กรรมการผู้จัดการ ฝ่ายวาณิชธนกิจ บริษัทหลักทรัพย์ เมย์แบงก์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ในฐานะที่ปรึกษาทางการเงิน และผู้จัดการการจัดจำหน่ายและรับประกันการจำหน่ายหุ้นสามัญเพิ่มทุน บริษัท ชิค รีพับบลิค จำกัด (มหาชน) หรือ “CHIC” เปิดเผยว่า หลังจาก บมจ. ชิค รีพับบลิค ได้ยื่นแบบคำขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์และแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ (Filing) ต่อสำนักงาน ก.ล.ต. เพื่อเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนต่อประชาชนเป็นครั้งแรก (IPO) จำนวน 360 ล้านหุ้น คิดเป็น 26.47% ของจำนวนหุ้นสามัญทั้งหมด มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 0.50 บาท  ปัจจุบัน สำนักงาน ก.ล.ต.ได้อนุมัติแบบคำขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์และแบบ   ไฟลิ่งมีผลใช้บังคับแล้ว   ล่าสุด บมจ.ชิค รีพับบลิค ลงนามสัญญาแต่งตั้ง บริษัทหลักทรัพย์ เมย์แบงก์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)  บริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส จำกัด และ บริษัทหลักทรัพย์ แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) เป็นผู้จัดการการจัดจำหน่ายและรับประกันการจำหน่ายหุ้นสามัญเพิ่มทุน ให้กับประชาชนเป็นครั้งแรก (IPO) พร้อมผู้ร่วมจัดจำหน่ายและรับประกันการจัดจำหน่ายอีก 2 แห่ง ได้แก่ บริษัทหลักทรัพย์ กรุงศรี จำกัด (มหาชน) และบริษัทหลักทรัพย์ เคทีบีเอสที จำกัด (มหาชน) (KTBST)   โดยกำหนดราคา IPO ที่หุ้นละ 0.90 บาท เปิดให้นักลงทุนจองซื้อหุ้นระหว่างวันที่ 18-20 กรกฏาคม 2565 ระหว่างเวลา 9.00-16.00 น. และวันที่ 21 กรกฏาคม 2565 ระหว่างเวลา 9.00-12.00 น.  คาดว่าหุ้น CHIC จะเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) กลุ่มอุตสาหกรรมบริการ (Service) หมวดธุรกิจพาณิชย์ (Commerce) ภายในเดือน ก.ค. 2565 โดยใช้ชื่อย่อในการซื้อขายหลักทรัพย์ว่า “CHIC” สำหรับการกำหนดราคา IPO ดังกล่าว ถือเป็นระดับราคาเหมาะสมกับปัจจัยพื้นฐาน และสอดคล้องกับสภาวะตลาดปัจจุบัน  คาดว่า CHIC จะได้รับการตอบรับที่ดีจากนักลงทุน เนื่องจากมีปัจจัยพื้นฐานที่ดี ทั้งโอกาสการเติบโตของธุรกิจ และมีความพร้อมในการขยายธุรกิจรองรับการเติบโตในอนาคต นางยอดฤดี สันตติกุล กรรมการบริหาร บริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส จำกัด ผู้จัดการการจัดจำหน่ายและรับประกันการจำหน่ายร่วม กล่าวว่า CHIC เป็นบริษัทชั้นนำในธุรกิจเฟอร์นิเจอร์ ผู้บริหารและทีมงานมีประสบการณ์ ความเชี่ยวชาญในธุรกิจเฟอร์นิเจอร์มายาวนาน เข้าใจความต้องการและพฤติกรรมของผู้บริโภคที่หลากหลาย โดยเฉพาะในกลุ่มลูกค้าระดับกลาง-บน ซึ่งเป็นกลุ่มลูกค้าที่มีกำลังซื้อ อีกทั้งได้รับการยอมรับจากผู้ประกอบการภาคอสังหาริมทรัพย์ชั้นนำในประเทศ การระดมทุนเพื่อเพิ่มศักยภาพและขยายธุรกิจ รองรับความต้องการของตลาดที่มีแนวโน้มสูงขึ้น จะช่วยเสริมการเติบโตได้ในอนาคต   ด้านนายกานต์ อรรถธรรมสุนทร  กรรมการผู้อำนวยการ บริษัทหลักทรัพย์ แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) ผู้จัดการการจัดจำหน่ายและรับประกันการจำหน่ายร่วม กล่าวว่า บริษัทมีศักยภาพเติบโต ตามความต้องการใช้เฟอร์นิเจอร์ของภาคอสังหาริมทรัพย์ อีกทั้ง จุดแข็งของบริษัทที่มีนโยบายบริหารจัดการต้นทุน ควบคุมค่าใช้จ่ายด้านการผลิต กำหนดราคาสินค้าที่เหมาะสม สามารถสร้างความได้เปรียบด้านการแข่งขัน อีกทั้งความสามารถด้านการเงิน ของบริษัทที่มีพื้นฐานแข็งแกร่ง ซึ่งหลังจากการระดมทุนครั้งนี้  จะส่งผลให้บริษัทมีความสามารถในการทำกำไรมากขึ้น เนื่องจากสัดส่วนหนี้สินต่อทุนลดลง   ขณะที่นายกิจจา ปัทมสัตยาสนธิ กรรมการผู้จัดการ  CHIC​ เปิดเผยว่า บริษัทจะนำเงินที่ได้รับจากการเสนอขายหลักทรัพย์ในครั้งนี้ไปใช้ เพื่อเพิ่มศักยภาพในการดำเนินธุรกิจ ขยายสาขาทั้งในและต่างประเทศ พัฒนาเว็บไซต์ของบริษัทเพิ่มเติม สำหรับการขายแบบ E-Commerce ในประเทศและกัมพูชา เพื่อรองรับฐานลูกค้าที่มีแนวโน้มขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ปรับปรุงพื้นที่บางสาขาในประเทศและขยายพื้นที่ให้เช่า สร้างแหล่งที่มาของรายได้ประจำ รวมถึงใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในกิจการและชำระคืนเงินกู้ยืมจากสถาบันทางการเงิน เพิ่มสภาพคล่องด้านการเงินของบริษัท   "เชื่อมั่นว่าการเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) จะช่วยเสริมศักยภาพและความแข็งแกร่งในการขยายธุรกิจตามแผนงานที่วางไว้ ปัจจุบันบริษัทฯ มีสาขาที่เปิดดำเนินการแล้วรวม 6 สาขา โดยแบ่งเป็น 5 สาขาในประเทศ ได้แก่ สาขาประดิษฐ์มนูธรรม พัทยา บางนา ราชพฤกษ์ และรามอินทรา และ 1 สาขาในต่างประเทศ ได้แก่ สาขากัมพูชา โดยมีแผนเตรียมขยายสาขาในจังหวัดอุดรธานี ซึ่งถือเป็นจังหวัดที่มีศักยภาพในการเติบโตสูง รวมถึงเป็นฐานการจำหน่ายและการกระจายสินค้าสู่ประเทศเพื่อนบ้าน เช่น ประเทศลาว เป็นโอกาสในการขยายฐานลูกค้าของบริษัทในอนาคต"   นอกจากนี้ บริษัทเล็งเห็นถึงโอกาสในการเพิ่มรายได้ จากการทยอยฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ธุรกิจงานโครงการมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง มีกระแสตอบรับที่ดีจากผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ชั้นนำทั้งแนวราบ-แนวสูง เตรียมขยายฐานลูกค้าโครงการบ้านเดี่ยว ทาวน์โฮม โรงแรม โรงพยาบาล เพิ่มยอดขายและเพิ่มอัตรากำไรขั้นต้น รวมถึงขยายบริการ “Chic Design Studio” ให้บริการออกแบบและตกแต่งภายในแบบครบวงจร ตอบโจทย์กลุ่มลูกค้าบริษัทอสังหาริมทรัพย์ชั้นนำ รวมถึงธุรกิจให้เช่าและรับจัดตกแต่งเฟอร์นิเจอร์ ของตกแต่งบ้าน ภายใต้ชื่อ “Chic Rent In Style” รองรับความต้องการลูกค้ากลุ่มบริษัทรับออกแบบ-ตกแต่ง บริษัทรับจัดงาน Event ต่าง และเจ้าของบ้าน ควบคู่กับการพัฒนาช่องทางจำหน่ายออนไลน์ ตอบสนองพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลง สนับสนุนธุรกิจหลักของบริษัท และนำไปสู่การเติบโตอย่างยั่งยืนในอนาคต   อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง -3 เหตุผล ชิค รีพับบลิค ระดมทุนในตลาด เอ็ม เอ ไอ ขาย 360 ล้านหุ้น  
อิเกียสุขุมวิท  ซิตี้สโตร์แห่งแรกในเซาท์อีสเอเชีย ปักหมุด ดิ เอ็มสเฟียร์ พร้อม เปิดปลายปี 66

อิเกียสุขุมวิท ซิตี้สโตร์แห่งแรกในเซาท์อีสเอเชีย ปักหมุด ดิ เอ็มสเฟียร์ พร้อม เปิดปลายปี 66

อิเกียสุขุมวิท อิเกีย ปักหมุดสาขา 4 กับคอนเซ็ปต์ซิตี้สโตร์ ที่ดิ เอ็มสเฟียร์ สุขุมวิท แห่งแรกในเซาท์อีสเอเชีย เปิดแน่ปลายปี 66 ชี้ 4 เหตุผลสำคัญเลือกย่านใจกลางธุรกิจ มั่นใจคนเดินช้อปปิ้ง 4 ล้านคนต่อปี   หลังจากอิเกีย ร้านจำหน่ายเฟอร์นิเจอร์และของตกแต่งบ้าน สัญชาติสวีเดน ได้มาปักหมุดในประเทศไทยเมื่อ 10 ปีก่อนหน้านี้ โดยสาขาแรกที่ปักหมุดลงมือทำธุรกิจ คือ อิเกียบางนา ซึ่งอยู่ที่ศูนย์การค้าเมกาบางนา บนถนนบางนา-ตราด ในพื้นที่จังหวัดสมุทรปราการ ต่อมาขยายสาขาไปที่ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวสต์เกต พื้นที่จังหวัดนนทบุรี ขณะเดียวกัน อิเกียยังมีจุดสั่งซื้อและรับสินค้าที่จังหวัดภูเก็ต เพื่อรองรับกับความต้องการของกลุ่มลูกค้าในภาคใต้ ที่กำลังซื้อสูงไม่แพ้พื้นที่อื่น ๆ ก่อนจะพัฒนาขึ้นเป็นสาขาขนาดเล็ก ซึ่งมีพื้นที่ประมาณ 2,198 ตารางเมตร   ล่าสุด อิเกีย วางแผนเปิดสาขาแห่งที่ 4 บนถนนสุขุมวิท ย่านใจกลางธุรกิจของกรุงเทพฯ โดยการจับมือกับกลุ่มเดอะมอลล์ ที่จะเปิดสาขาแห่งที่ 4 บริเวณชั้น 3 ของศูนย์การค้าดิ เอ็มสเฟียร์ (The Emsphere) ในโครงการช้อปปิ้งมอลล์ขนาดใหญ่ของกลุ่มเดอะมอลล์ คือ ดิ เอ็มดิสทริค (The EM District) ซึ่งกำหนดเปิดตัวอย่างเป็นทางการในช่วงปลายปี 2566 4 เหตุผลทำไมต้องเลือกถนนสุขุมวิท ด้วยคอนเซ็ปต์การทำธุรกิจของอิเกีย คือ การขายสินค้าปริมาณมาก ในราคาที่ต่ำ หรือ High Value Low Price จึงทำให้อิเกียต้องมีร้านค้าขนาดใหญ่ เพื่อขายสินค้าจำนวนมากมายหลายพันรายการ การให้ลูกค้าเลือกหยิบสินค้าด้วยตนเอง และนำเอาไปประกอบเองที่บ้าน ที่สำคัญตั้งอยู่ในพื้นที่ชานเมือง เพราะจะได้ราคาต้นทุนที่ดินหรือการพัฒนาโครงการได้ไม่สูง เป็นโมเดลธุรกิจที่ช่วยสร้างความสำเร็จ ในการเข้าไปทำธุรกิจในหลายประเทศทั่วโลก รวมถึงประเทศไทยด้วย   แต่การขยับเข้ามาเปิดสาขาอิเกียสุขุมวิท ซึ่งเป็นสาขาแห่งที่ 4 ในประเทศไทยนั้น เป็นเพราะอิเกียมองว่าเป็นทำเลศักยภาพที่มีโอกาสสร้างการเติบโต และสร้างยอดขายได้สูง จากกำลังซื้อของคนในย่านสุขุมวิทและใกล้เคียง โดยนางสาวลีโอนี่ ฮอสกิ้น ผู้จัดการฝ่ายธุรกิจค้าปลีก อิเกีย ประเทศไทย และเวียดนาม ได้ให้เหตุผลสำคัญที่อิเกียเลือกมาเปิดสาขาที่ถนนสุขุมวิท ​ดังนี้ ​ 1.ชื่อเสียงถนนสุขุมวิทเป็นที่รู้จัก ถนนสุขุมวิท เป็นทำเลที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นถนนเศรษฐกิจ และเป็นที่รู้จักไม่เฉพาะชาวไทยเท่านั้น แต่รวมถึงต่างชาติด้วย หลายช่วงซอยของถนนสุขุมวิท เป็นแหล่งที่อยู่และชื่นชอบของชาวต่างชาติหลายเชื้อชาติด้วยกัน 2.ประชากรหนาแน่น 3 แสนคน  ถนนสุขุมวิทนอกจากจะเป็นแหล่งธุรกิจสำคัญของกรุงเทพฯ แล้ว ยังพบว่าเป็นอีกหนึ่งทำเลที่คนนิยมพักอาศัย ไม่ว่าจะเป็นชาวไทยหรือต่างชาติ จากการศึกษาของอิเกียพบว่า บริเวณรอบ ๆ รถไฟฟ้าบีทีเอส สถานีพร้อมพงษ์ พบว่ามีจำนวนประชกรอาศัยอยู่อย่างหนาแน่น มากกว่า 300,000 คน ถือเป็นกลุ่มเป้าหมายสำคัญที่จะมาเป็นลูกค้าของอิเกีย 3.การคมนาคมสะดวกด้วยรถไฟฟ้า รถไฟฟ้าบีทีเอส คือ รถไฟฟ้าสายแรกของไทย ที่เข้ามาสร้างความสะดวกสบาย ในการเดินทางของคนกรุงเทพฯ ซึ่งรถไฟฟ้าบีทีเอสก็วิ่งผ่านถนนสุขุมวิทยาวไปตลอดสายจนถึงจังหวัดสมุทรปราการ ทำให้การเดินทางเข้ามาสู่ย่านธุรกิจเป็นไปได้สะดวก จึงเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญ ที่ทำให้อิเกีย เลือกปักหมุดที่โครงการเอ็มสเฟียร์ ของกลุ่มเดอะมอลล์ ​นอกจากนี้ ทำเลที่ตั้งของโครงการยังอยู่ไม่ไกลจากรถไฟฟ้าใต้ดิน MRT สถานีอโศกด้วย จึงทำให้การเดินทางมายังอิเกียสุขุมวิทสะดวกมากขึ้น 4.การจับมือกับกลุ่มเดอะมอลล์ อิเกีย มีการศึกษาตลาดและวางแผนในการจะพัฒนาสาขาในรูปแบบซิตี้สโตร์​มาตั้งแต่ปี 2560  จนเมื่อเกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ขึ้นจึงได้กลับมาทบทวนแผนกันอีกครั้ง ประกอบกับการได้พันธมิตรอย่างกลุ่มเดอะมอลล์ ที่มีการพัฒนาโครงการดิ เอ็ม ดิสทริค  และมีการเจรจากันลงตัว จึงเลือกมาเช่าพื้นที่ของศูนย์การค้าดิ เอ็มสเฟียร์ ขนาด 12,000 ตร.ม. บริเวณชั้น 3 3 เรื่องน่ารู้ของอิเกียสุขุมวิท สำหรับอิเกียสุขุมวิท ถือเป็นสาขาที่อิเกียตั้งใจ และพยายามจะทำการตลาด เพื่อสร้างความสำเร็จให้เกิดขึ้น ตามเป้าหมายที่จะต้องดึงคนให้เข้ามาช้อปปิ้งซื้อสินค้าที่สาขาให้ได้ปีละ 4 ล้านคน ขณะที่จำนวนลูกค้าเฉลี่ยใน 3 สาขาที่เข้าไปซื้อสินค้ามีประมาณ 30,000 คนต่อวัน นอกจากนี้ ยังคาดว่าอิเกียสุขุมวิท จะมีส่วนแบ่งทางการตลาดในพื้นที่สุขุมวิทได้ 10% จากตลาดสินค้าเดียวกันด้วย   อย่างไรก็ตาม แม้ว่าอิเกียสุขุมวิทจะเป็นสาขาที่มีขนาดเล็ก เมื่อเทียบกับสาขาบางนาและสาขาบางใหญ่ แต่ถือว่ามี 3 เรื่องที่น่าสนใจและเป็นบทสรุปสำคัญ ดังกนี้ ​ 1.ซิตี้สโตร์แห่งแรกและใหญ่สุดใน Southeast Asia   อิเกียสุขุมวิท ถือเป็นสาขาในคอนเซ็ปต์ซิตี้สโตร์ (City-Centre Store) ใหญ่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Southeast Asia) ด้วยขนาดพื้นที่ 12,000 ตารางเมตร อยู่ที่ชั้น 3 โครงการดิเอ็มสเฟียร์ หากไม่นับเกาะฮ่องกง ที่มีขนาดพื้นที่ 15,000 ตารางเมตร แต่มีจำนวนหลายชั้น ที่สำคัญเป็นสาขาในคอนเซ็ปต์​ซิตี้สโตร์แห่งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วย   ขณะเดียวกัน​ อิเกียสุขุมวิท เป็นสาขาที่ถูกพัฒนาขึ้น เพื่อเป็นสาขาในย่านใจกลางเมืองโดยเฉพาะ จะแตกต่างจากสาขาในคอนเซ็ปต์ซิตี้สโตร์ที่อยู่ในเมืองอื่น ไม่ว่าจะเป็นที่ลอนดอน หรือปารีส ซึ่งแม้จะมีสาขาในรูปแบบซิตี้สโตร์ แต่พัฒนามาจากร้านในรูปแบบ Pop-Up Store ที่ทำขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ทางการตลาด ก่อนจะพัฒนาขึ้นมาเป็นสาขา 2.ซื้อสินค้าได้ครบเหมือนสาขาใหญ่ แม้ว่าพื้นที่ของอิเกียสุขุมวิท จะอยู่ในศูนย์การค้ามีขนาดพื้นที่ 12,000 ตารางเมตร แต่ยังถือว่าเล็กกว่าในสาขาปกติ  อย่างสาขาบางใหญ่ ที่มีขนาดพื้นที่สโตร์  50,278 ตารางเมตร และสาขาบางนา ที่มีขนาด 44,000 ตารางเมตร ซึ่งยังไม่ได้รวมพื้นที่อื่น ๆ เช่น พื้นที่โชว์รูม พื้นที่มาร์เก็ตฮออล์ พื้นที่เซลฟ์เสิร์ฟ และพื้นที่ร้านอาหาร แต่อิเกียสุขุมวิท ก็มีพื้นที่จำหน่ายสินค้าครบเช่นเดียวกับสาขาใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นโชว์รูม มาร์เก็ตฮอลล์ ร้านอาหาร   ขณะที่สินค้าภายในอิเกียสุขุมวิท ก็มีครบกว่า 9,400-9,500 รายการ เป็นสินค้าจัดโชว์ 2,500 รายการ และสินค้าที่สามารถหยิบซื้อกลับบ้านได้เลย 4,500-5,000 รายการ 3.สินค้าราคาเดียวกันทั่วไทย จากคอนเซ็ปต์ในการทำธุรกิจของอิเกีย หรือการขายสินค้าในปริมาณมากแต่มีราคาถูก ซึ่งแม้ว่าจะเข้ามาเปิดตลาดในย่านใจกลางสุขุมวิท ที่ราคาที่ดินพุ่งแตะตารางวาละ 7 หลัก และเปิดในศูนย์การค้าระดับไฮเอ็นด์อย่างดิ เอ็มสเฟียร์  แต่สินค้าที่นำมาขายจะมีราคาเดียวกันกับสาขาอื่น ๆ ตามนโยบาย One Price   แต่เพื่อความพิเศษของการเปิดอิเกียสุขุมวิท ทางบริษัทจึงวางแผนที่จะนำสินค้าพิเศษเฉพาะสาขาสุขุมวิทมาขาย รวมถึงสินค้าพิเศษเฉพาะประเทศไทย ที่ไม่มีสินค้าชนิดดังกล่าวขายในประเทศอื่นด้วย   นางสาวลีโอนี่ กล่าวอีกว่า  นอกจากสาขาสุขุมวิทแล้ว อิเกีย ยังวางแผนการพัฒนาพื้นที่สาขาจังหวัดภูเก็ตให้มีขนาดใหญ่ขึ้น รวมถึงการขยายสาขาไปยังพื้นที่ต่างจังหวัด อาทิ นครราชสีมา เชียงใหม่ เพื่อรองรับกับความต้องการสินค้าของกลุ่มลูกค้าต่างจังหวัดด้วย อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง -10 ปีอิเกีย กับ 5 กลยุทธ์ สร้างการเติบโตปีละ 5%
เปิดงบลงทุน 120,000 ล้าน เซ็นทรัลพัฒนา ใช้ไปกับธุรกิจอะไรบ้าง

เปิดงบลงทุน 120,000 ล้าน เซ็นทรัลพัฒนา ใช้ไปกับธุรกิจอะไรบ้าง

เซ็นทรัลพัฒนา เซ็นทรัลพัฒนา วางแผน 5  ปี ทุ่มงบ 120,0000  ล้าน  ลุยขยาย 4 ธุรกิจ  รีเทล-โรงแรม-ที่อยุ่อาศัย-อาคารสำนักงาน ขึ้นโปรเจ็กต์​180 โครงการใน 30 เมืองทั่วไทย    บ้านเรามีตระกูลที่เป็นเจ้าของศูนย์การค้าและห้างสรรพสินค้าใหญ่ ๆ อยู่ไม่กี่ราย หนึ่งในนั้นคงเป็นตระกูล “จิราธิวัฒน์” ซึ่งเป็นเจ้าของอาณาจักร “เซ็นทรัล” ที่ไม่ได้มีแค่ศูนย์การค้าและห้างสรรพสินค้า “เซ็นทรัล” เท่านั้น แต่ยังมี โรงแรม และสำนักงานให้เช่าอีกจำนวนมาก   โดยการพัฒนาโครงการต่าง ๆ เหล่านั้น อยู่ภายใต้กลุ่มบริษัท “เซ็นทรัลพัฒนา” หรือ CPN ซึ่งมีจุดเริ่มต้นโครงการแรก คือ ศูนย์การค้าเซ็นทรัล สาขาลาดพร้าว ที่มีทั้งศูนย์การค้า ห้างสรรพสินค้า โรงแรม และสำนักงานให้เช่า ถือโครงการมิ๊กซ์ยูสขนาดใหญ่ ที่ดำเนินธุรกิจมาถึงปัจจุบันเป็นระยะเวลากว่า 40 ปีแล้ว​   เซ็นทรัลพัฒนา ยังคงเดินหน้าต่อ กับการดำเนินธุรกิจ เพื่อสร้างการเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุด ประกาศแผนธุรกิจในระยะ 5 ปี (2565-2569) นับจากนี้ กับเม็ดเงินลงทุนถึง 120,000 ล้านบาท ครอบคลุมกว่า 30 จังหวัดทั่วประเทศ เพื่อพัฒนาทุกธุรกิจในมือด้วยจำนวนมากถึง 180 โครงการ ภายใต้ 4 กลุ่มธุรกิจหลัก เซ็นทรัลพัฒนา เทงบ 1.2 แสนล้านปั้น 4 ธุรกิจ โดยสิ่งที่เราจะได้เห็นจากงบประมาณการลงทุน 120,000 ล้านบาท ในแต่ละธุรกิจนั้น มีดังนี้ 1.ธุรกิจ “ศูนย์การค้า” -วางแผนพัฒนาโครงการใหญ่ 50 โครงการทั้งในและต่างประเทศ -คอมมูนิตี้ มอลล์ 16 แห่ง บุกทำเลศักยภาพสูง CBD Bangkok อาทิ โครงการใหม่ที่จะเปิดให้บริการในไตรมาส 4 ปีนี้ คือ โครงการ Marche Thonglor 2.ธุรกิจ “โครงการที่อยู่อาศัย” วางแผนพัฒนาโครงการทั้งแนวราบและแนวสูงรวม 68 โครงการทั่วประเทศ ปัจจุบันกลุ่มธุรกิจที่อยู่อาศัย ​มีโครงการทั้งหมด 22 โครงการรวมมูลค่ากว่า 30,000 ล้านบาท ซึ่งมียอดโอนแล้ว 10,000 ล้านบาท และยอดรอรับรู้รายได้ 3,700 ล้านบาท มีลูกบ้านเซ็นทรัลแล้วกว่า 10,000 ราย ในปีนี้จะเพิ่มการพัฒนาที่อยู่อาศัยขึ้นเป็น 46 โครงการ มูลค่าอีก 60,000 ล้านบาท 3.ธุรกิจ “โรงแรม” วางแผนพัฒนาโรงแรมใหม่รวม 37 โครงการ 4,000 ห้อง จากปัจจุบันมีโรงแรมทั้งหมด 560 ห้อง ภายใต้ 3 แบรนด์ ได้แก่ -แบรนด์ระดับ Upscale ได้แก่ แบรนด์ Centara ที่มาพร้อมส่วนสัมมนาและการจัดเลี้ยง, -แบรนด์ Lifestyle Midscale ที่สามารถตอบโจทย์ลูกค้าได้ทุกแบบทั้งทำงานและพักผ่อน  ซึ่งจะเน้นการขยายไปยังหัวเมืองรองเป็นหลัก -แบรนด์ Premium budget  ที่สามารถขยายไปได้ทุกจังหวัด ทุกพื้นที่ทั่วประเทศ ระดับราคาห้อง 700-1,000 บาทต่อคืน ขึ้นอยู่กับทำเลที่ตั้ง 4.ธุรกิจ “อาคารสำนักงาน” ปัจจุบันเซ็นทรัลพัฒนา มีสำนักงานบริหารอยู่ 330,000 ตารางเมตร ภายในระยะ 5 ปีจะพัฒนาเพิ่มเป็น 500,000 ตารางเมตร ใน 13 โครงการ เพื่อก้าวสู่การเป็น The Most Preferred Workplace ของทั้งบริษัทผู้เช่าและคนทำงาน   ส่วนในปีนี้จะมีการปรับโฉม The Offices at centralwOrld และวางแผนขยายโปรเจ็กต์ในอนาคต ได้แก่ Central Park Office ภายในโครงการดุสิต เซ็นทรัล พาร์ค  และโครงการภายใต้บริษัท GLAND ในย่านพระราม 9 นางสาววัลยา จิราธิวัฒน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท​ เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า  ทุกธุรกิจสามารถเติบโตไปพร้อมกับเซ็นทรัลพัฒนา หรือเติบโตไปพร้อมกับกลุ่มเซ็นทรัลก็ได้ หรือจะไปสร้างการเติบโตของตนเองก็ได้เช่นกัน เพราะจุดแข็งของกลุ่มเซ็นทรัล คือ การมีฐานข้อมูลจากสมาชิก  The 1 โดยสัดส่วนการลงทุนมูลค่า 120,000 ล้านบาท จะเป็นกลุ่มรีเทล 70% กลุ่มที่อยู่อาศัย 20% กลุ่มธุรกิจโรงแรมและสำนักงานอีก 10% ขณะเดียวกันยังเตรียมงบอีกส่วนหนึ่ง เพื่อใช้ในการซื้อกิจการหรือการลงทุนในธุรกิจอื่น ๆ ด้วย เพื่อตอบรับเทรนด์แห่งอนาคต นอกจาก 4 ธุรกิจหลักภายใต้ Retail-Led Mixed-Use Development เซ็นทรัลพัฒนายังมีกลุ่มธุรกิจ Alternative Assets เพื่อมองหาโอกาสในการขยายและลงทุนในธุรกิจใหม่ๆ ที่จะเติมเต็ม Ecosystem และเชื่อมโยงกับธุรกิจหลัก อาทิ การร่วมทุน Grab ที่เป็น Delivery Platform และ Common Ground ที่เป็น Co-Working Space และเตรียมศึกษาการลงทุนใน Venture Capital ที่เตรียมเปิดเผยรายละเอียดเร็วๆ นี้   เพื่อตอบรับเทรนด์แห่งอนาคต นอกจาก 4 ธุรกิจหลักภายใต้ Retail-Led Mixed-Use Development เซ็นทรัลพัฒนายังมีกลุ่มธุรกิจ Alternative Assets เพื่อมองหาโอกาสในการขยายและลงทุนในธุรกิจใหม่ๆ ที่จะเติมเต็ม Ecosystem และเชื่อมโยงกับธุรกิจหลัก อาทิ การร่วมทุน Grab ที่เป็น Delivery Platform และ Common Ground ที่เป็น Co-Working Space และเตรียมศึกษาการลงทุนใน Venture Capital ที่เตรียมเปิดเผยรายละเอียดเร็วๆ นี้   อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง -เซ็นทรัลพัฒนา ทุ่มงบ 120,000 ล้านบาทใน 5 ปี ตั้งเป้า องค์กร Mixed-use Developer รายแรกสู่ Net Zero ปี 2050 -เซ็นทรัลพรัฒนา ปั้นแบรนด์ นิรติ จับตลาดเรียลดีมานด์ เปิดโปรเจ็ตก์ใหม่ 1,850 ล้าน  
[PR News]ซีอาร์ซี ไทวัสดุ ตั้งเป้าแท่นเบอร์ 1 วงการค้าปลีกวัสดุก่อสร้าง  อัดฉีดงบ 7,000 ลบ. ปี 65

[PR News]ซีอาร์ซี ไทวัสดุ ตั้งเป้าแท่นเบอร์ 1 วงการค้าปลีกวัสดุก่อสร้าง อัดฉีดงบ 7,000 ลบ. ปี 65

เซ็นทรัล รีเทล ดัน ซีอาร์ซี ไทวัสดุ   บริษัท ซีอาร์ซี ไทวัสดุ จำกัด ในเครือเซ็นทรัล รีเทล ผู้ดำเนินธุรกิจค้าปลีกวัสดุก่อสร้าง และสินค้าตกแต่งบ้าน ภายใต้แบรนด์ไทวัสดุ บีเอ็นบี โฮม ออโต้วัน และ โก! ว้าว กางแผนปี 2565 สานต่อยุทธศาสตร์ CRC Retailligence ภายใต้วิสัยทัศน์การขึ้นเป็นผู้นำค้าปลีกออมนิชาแนลตลาดสินค้าวัสดุก่อสร้างและตกแต่งบ้านอย่างครบวงจรในภูมิภาคเอเชีย อัดงบลงทุนกว่า 7,000 ล้านบาท โดยชู 5 กลยุทธ์ CRC Thai Watsadu : Build the future พร้อมตั้งเป้าการเติบโตอย่างก้าวกระโดด ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยอย่างยั่งยืน   นายสุทธิสาร จิราธิวัฒน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ซีอาร์ซี ไทวัสดุ จำกัด ในเครือเซ็นทรัล รีเทล กล่าวว่า ตลอดระยะเวลา 12 ปี ในการก่อตั้ง ซีอาร์ซี ไทวัสดุ ได้ขยายธุรกิจสินค้าวัสดุก่อสร้าง และสินค้าตกแต่งบ้าน รวมถึงสินค้าที่เติมเต็มไลฟ์สไตล์ของผู้คน ครอบคลุมทุกเรื่องเกี่ยวกับบ้านและรถ เป็นส่วนหนึ่งของการสร้างเศรษฐกิจไทยให้เข้มแข็ง แม้ในช่วงระยะเวลา 2 ปีที่ผ่านมาซึ่งนับเป็น ความท้าทายของธุรกิจค้าปลีกทั่วโลก แต่ด้วยการปรับตัวโดยไม่หยุดยั้ง ธุรกิจของบริษัทฯ ยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง แม้ในช่วงระบาดหนักของโควิด-19 โดยในปี 2564 บริษัทฯ สร้างยอดขายเติบโตขึ้น 20% เมื่อเทียบกับปี 2563 พร้อมกับการขยายสาขาไทวัสดุ 5 สาขา และการเปิดธุรกิจใหม่ภายใต้แบรนด์ โก! ว้าว รองรับเทรนด์ Home Convenience ของผู้บริโภคในอนาคต ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว     สำหรับปี 2565 ซีอาร์ซี ไทวัสดุ มุ่งเป้าการเติบโตของธุรกิจอย่างแข็งแกร่ง ภายใต้วิสัยทัศน์ การเป็นผู้นำค้าปลีกออมนิชาแนลตลาดสินค้าวัสดุก่อสร้าง และสินค้าตกแต่งบ้านอย่างครบวงจรในภูมิภาคเอเชีย พร้อมสานต่อยุทธศาสตร์ CRC Retailligence สร้างอัตราการเติบโตของธุรกิจ (CAGR) ในระยะ 10 ปี (2560-2569) โดยใน 5 ปี แรก อัตราการเติบโตของธุรกิจอยู่ที่ 12% ในขณะที่ 5 ปีข้างหน้า (2565-2569) คาดการณ์อัตราการเติบโตของธุรกิจอยู่ที่ 18% และตั้งเป้าผลกำไรเพิ่มขึ้น 30% ผ่านการขับเคลื่อนธุรกิจใน 5 กลยุทธ์สำคัญ ประกอบด้วย   1.Thriving เสริมสร้างความแข็งแกร่งของธุรกิจ รองรับการเติบโตในอนาคต พร้อมก้าวขึ้นเป็นผู้นำค้าปลีกออมนิชาแนลตลาดสินค้าวัสดุก่อสร้าง และสินค้าตกแต่งบ้านอย่างครบวงจร ด้วยงบลงทุนกว่า 7,000 ล้านบาท ผ่านกุญแจสำคัญ (Multi-Key Drivers) เพื่อการขยายสาขาใหม่ ปรับปรุงสาขาเดิม การรีแบรนด์ และพัฒนารูปแบบบริการ ในทุกแบรนด์ (Multi-Brands) ครอบคลุม ไทวัสดุ บีเอ็นบีโฮม ออโต้วัน โก! ว้าว และหลากหลายในทุกฟอร์แมท (Multi-Formats) ทั้งช่องทางออฟไลน์และออนไลน์ รวมถึงการเพิ่มช่องทางการขายใหม่ (Multi-Channels : Chat & Shop, Call & Shop, e-ordering, Direct Sales) ขยายประเภทและชนิดของสินค้าให้หลากหลาย (Multi-Ranges) ครอบคลุมทุกความต้องการของผู้บริโภค (Multi-Segments) 2.Seamless Omnichannel Shopping Experience ด้วยความสำเร็จในปี 2564 ช่องทางออนไลน์เติบโตขึ้นกว่า 400% ด้วยรายการสินค้ากว่า 70,000 รายการ มียอดการเยี่ยมชมกว่า 17 ล้านครั้งต่อเดือน มีลูกค้าจำนวน 2 ล้านรายต่อเดือน สร้างยอดขายกว่า 60,000 ออเดอร์ต่อเดือน โดยในปี 2565 พร้อมส่งต่อประสบการณ์การช้อปปิ้งผ่านช่องทางออมนิชาแนลอย่าง ไร้รอยต่อ ตั้งเป้าการเติบโตช่องทางออนไลน์เพิ่มขึ้น 150% ยกระดับแพลตฟอร์มออมนิชาแนล เปิดตัวโมบายแอปพลิเคชัน ‘ไทวัสดุ’ ในเดือนพฤษภาคมและกำลังอยู่ระหว่างการพัฒนาแอป บีเอ็นบี โฮม และออโต้วัน ที่จะพร้อมเปิดตัวในอนาคตอันใกล้ นอกจากนี้ได้พัฒนาฟีเจอร์ใหม่ของเว็บไซต์ อัปเกรดระบบโครงสร้าง IT ระบบ Order & Transportation Management System ด้วยมาตรฐานบริการระดับเวิลด์คลาส 3.Supply Chain & Logistics Expansion ปรับปรุงและขยายคลังสินค้าแห่งใหม่บนพื้นที่กว่า 160,000 ตารางเมตร เพิ่มขึ้นกว่า 120% เพื่อรองรับการเติบโตอย่างก้าวกระโดดของกลุ่มธุรกิจเดิมและธุรกิจใหม่ในอีก 5 ปีข้างหน้า นอกจากนี้ยังได้พัฒนาระบบโลจิสติกส์ ลงทุนขยาย fleet รถบรรทุกกว่า 25 % และเริ่มทดลองวิ่งรถบรรทุก EV Charge พลังสะอาด ตั้งเป้าเพิ่มเป็น 30 คัน ในปี 2566 ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เทียบเท่าการปลูกต้นไม้กว่า 200 ต้นต่อปี     4.Driving Sustainability การขับเคลื่อนธุรกิจที่ยั่งยืนที่เคียงข้างในทุกมิติ ทั้งพนักงาน คู่ค้า สังคมและสิ่งแวดล้อม อันเป็นส่วนหนึ่งในพันธกิจการสร้างคุณค่าร่วม (Creating Shared Values) ตามนโยบายของเซ็นทรัลทำ โดยมุ่งเน้นใน 3 มิติหลัก ได้แก่ People Centric ให้ความสำคัญในการพัฒนาศักยภาพคน ตลอดระยะเวลา 12 ปีในการดำเนินธุรกิจ สร้างรายได้และสร้างอาชีพให้กับผู้พิการ ผู้สูงอายุ เพิ่มโอกาสสร้างงานและขยายสาขาอย่างต่อเนื่อง แม้ในช่วงวิกฤตโควิด-19 มีการจ้างงานกว่า 1,000 อัตรา นอกจากนี้ ยังเล็งเห็นถึงความสำคัญของการสร้างบัณฑิตคุณภาพ โดยการมอบทุน และฝึกภาคปฏิบัติเรียนรู้จากประสบการณ์จริง เพื่อตอบโจทย์ตลาดแรงงาน ณ ปัจจุบันได้มอบทุนการศึกษาไปแล้วกว่า 62 ล้านบาท Sharing Society ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการตอบแทนสังคมผ่านโครงการสำคัญต่างๆ อาทิ โครงการ “รวมหัวใจให้บ้านเกิด” ที่เปิดโอกาสให้พนักงานมีส่วนร่วมสร้างประโยชน์ต่อชุมชนของตนเอง โดยการเข้าไปช่วยเหลือปรับปรุงสถานที่ และ มอบอุปกรณ์ให้แก่ โรงพยาบาล โรงเรียน สร้างบ้านให้ผู้ยากไร้ รวมไปถึงการสนับสนุนและช่วยเหลือสังคมในยามวิกฤติ เช่น การบริจาคเงินช่วยเหลือผู้ที่ประสบภัยพิบัติทางธรรมชาติ และยังเป็นผู้สนับสนุนโครงการที่ให้ความช่วยเหลือประชาชน หน่วยงานทางการแพทย์ที่ได้ผลกระทบจากโควิด -19 อาทิ การบริจาคทุนและอุปกรณ์เพื่อสร้างศูนย์พักคอย สร้างโรงพยายาลสนาม การผลิตยาฟ้าทะลายโจร การบริจาคเจลแอลกอฮอล์ เป็นต้น Environmental Oriented สร้างการเติบโตของธุรกิจที่เคียงข้างกับการรักษาสิ่งแวดล้อม โดยร่วมกับองค์การป่ารักษ์น้ำแห่งประเทศไทยเป็นเวลากว่า 4 ปี มอบฝายจำนวน 1,130 แห่ง ในพื้นที่ จ. เชียงใหม่ ช่วยบรรเทาวิกฤติของป่าต้นน้ำคืนความสมดุลให้แก่ธรรมชาติ พร้อมกันนี้ บริษัทฯ ได้ขานรับนโยบาย BCG อันเป็นหนึ่งในวาระสำคัญของประเทศ เริ่มติดตั้ง Solar Roof ตั้งเป้าทุกสาขาในปี 2566 ช่วยลดภาวะโลกร้อน และ ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ เทียบเท่ากับการปลูกต้นไม้ถึง 2.5 ล้านต้น     5.New Market Penetration การลงทุนขยายธุรกิจใหม่ในกลุ่มฟาสต์ฟิตของแบรนด์ออโต้วันเป็นผู้นำบริการตรวจสภาพรถฟรี 38 รายการ เช่น ฟรีเติมลมไนโตรเจน ฟรีปะยาง เร่งเดินหน้าขยายสาขาอย่างต่อเนื่อง โดยสิ้นปี 2565 จะมีสาขารวมทั้งสิ้น 30 สาขา พร้อมเปิดตัว Super App AUTO1 และ Line Connect (Live Chat) ให้บริการสั่งซื้อ จองคิวรับบริการ การแจ้งเตือนเมื่อถึงกำหนดระยะ รวมถึงแจ้งเหตุฉุกเฉิน นอกจากนี้ สำหรับ โก! ว้าว ซึ่งเป็นธุรกิจน้องใหม่ ภายใต้แนวคิด ของใช้ราคาเริ่มต้น 5 บาท ตอบรับกระแสสินค้า Home Convenience ครอบคลุมสินค้าเบ็ดเตล็ดที่ใช้ในชีวิตประจำวันกว่า 20,000 รายการ  เร่งขยายสาขาโดยสิ้นปี 2565 จะมีสาขารวมทั้งสิ้น 70 สาขา   “บริษัท ซีอาร์ซี ไทวัสดุ จำกัด มุ่งมั่นในการเติบโตทางธุรกิจอย่างมั่นคงเคียงข้างสังคมไทย ภายใต้ยุทธศาสตร์ CRC Retailligence โดยเชื่อมั่นว่าจะเป็นการสร้างมิติใหม่แห่งวงการค้าปลีกวัสดุก่อสร้างและสินค้าตกแต่งบ้าน นำเสนอโซลูชันครบวงจรเพื่อที่อยู่อาศัยที่ดีขึ้น สร้างอนาคตมิติใหม่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยยั่งยืน” นายสุทธิสาร กล่าวสรุป   บทความที่น่าสนใจ กลุ่มเซ็นทรัล เปิดไทวัสดุโมเดลใหม่ ใช้เทคโนโลยีเสริมไลฟ์สไตล์ผู้บริโภค-ลดต้นทุน เซ็นทรัลพัฒนา ทุ่มงบ 120,000 ล้านบาทใน 5 ปี ตั้งเป้า องค์กร Mixed-use Developer รายแรกสู่ Net Zero ปี 2050 เซ็นทรัลพัฒนา เตรียมเปิด “เซ็นทรัล วิลเลจ” เฟส 2 ต้นปี 65  
[PR News] GLAND จับมือหัวเว่ย  ร่วมพัฒนา Smart Digital Township & Intelligent Connectivity

[PR News] GLAND จับมือหัวเว่ย ร่วมพัฒนา Smart Digital Township & Intelligent Connectivity

GLAND จับมือหัวเว่ย ยกระดับอสังหาฯไทย ก้าวสู่ยุคดิจิทัลอย่างสมบูรณ์แบบ ร่วมพัฒนา Smart Digital Township & Intelligent Connectivity ด้วยเทคโนโลยีระดับโลก เดินหน้านโยบายไทยแลนด์ 4.0   นางสาวนภารัตน์ ศรีวรรณวิทย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แกรนด์ คาแนล แลนด์ จำกัด (มหาชน) หรือ GLAND เปิดเผยว่า บริษัทได้ลงนามบันทึกข้อตกลงการเป็นพันธมิตรเชิงกลยุทธ์  กับบริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัดเพื่อเดินหน้าพัฒนาออฟฟิศอัจฉริยะและดิจิทัลสเปซ ตอกย้ำพื้นที่แห่งการใช้ชีวิตและการทำงานในอนาคต ผสานโลก Physical และ Digital เชื่อมโยง ICT และ IOT สู่วงการอสังหาริมทรัพย์อย่างเต็มรูปแบบ   การได้ร่วมมือกับหัวเว่ยในครั้งนี้ ถือเป็นการช่วยเติมเต็ม และนำเอาความรู้ความเชี่ยวชาญของหัวเว่ย มาช่วยเพิ่มศักยภาพความแข็งแกร่งและสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ ให้กับมิกซ์ยูสโปรเจ็ค ต่าง ๆ อาทิ อาคารสำนักงาน ศูนย์การค้า ที่อยู่อาศัย และ โรงแรม ในอนาคต ของ GLAND รวมถึงบริษัทในเครือในอนาคต เพื่อสร้างเมืองแห่งการอยู่อาศัยอัจฉริยะ เป็น Smart Digital Township ที่ทันสมัย สร้างการเติบโตอย่างก้าวกระโดดให้ธุรกิจ และ ยกระดับวงการอสังหาริมทรัพย์ไทยให้ทันต่อโลกที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ประเทศไทย กำลังมุ่งสู่การก้าวสู่ยุคสังคมดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ โดยประเทศไทยจะกลายเป็น ดิจิทัลฮับที่สำคัญของภูมิภาคอาเซียน ภายใต้นโยบาย Thailand 4.0 ของภาครัฐ รวมถึงเป็น ตลาดยุทธศาสตร์ที่สำคัญในด้านการค้าการลงทุนจากต่างประเทศ GLAND ซึ่งถือหุ้นใหญ่โดยบริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) เป็นผู้พัฒนาและบริหารอสังหาริมทรัพย์ โดยมีสินทรัพย์หลักอยู่ในโครงการ เดอะ แกรนด์ พระราม 9 (The Grand Rama 9) พื้นที่ใจกลางเมืองบนพื้นที่ประมาณ 73 ไร่ ตั้งอยู่บนถนนพระราม 9 ติดถนนรัชดาภิเษก ซึ่งเป็นทำเลศักยภาพสูงในย่านธุรกิจแห่งใหม่ (The New CBD) ของกรุงเทพฯ โดยโครงการมีองค์ประกอบหลักอยู่ 3 ธุรกิจ ได้แก่ อาคารสำนักงานให้เช่าที่อยู่ภายใต้การบริหาร 3 แห่ง ได้แก่ 1. จี ทาวเวอร์ 2.เดอะไนน์ ทาวเวอร์ และ 3.ยูนิลีเวอร์ เฮ้าส์ ด้วยพื้นที่เช่าสุทธิในทุกโครงการรวมกันกว่า 145,000 ตารางเมตร  โครงการคอนโดมิเนียมเพื่อขาย เบ็ล แกรนด์ พระราม 9 ซึ่งได้ทำการขายและโอนเสร็จสิ้นทั้งโครงการแล้ว และพื้นที่ค้าปลีกให้เช่าสุทธิในอาคารสำนักงานและคอนโดมิเนียมรวมกันกว่า 20,000 ตารางเมตร   นอกจากนี้ GLAND มีที่ดินที่รอการพัฒนาอยู่อีก 4 แห่ง รวมกันกว่า 190 ไร่ ซึ่งตั้งอยู่บนทำเลที่ศักยภาพสูงในกรุงเทพฯ เพื่อรองรับการเติบโตของธุรกิจในระยะยาว โดยที่ดินดังกล่าวประกอบด้วย 1.ที่ดินเปล่าในโครงการ เดอะ แกรนด์ พระราม 9 2. ที่ดินบริเวณพหลโยธิน ซึ่งที่ดินทั้งสองแห่งอยู่ระหว่างการสรุปแผนการพัฒนาโครงการมิกซ์ยูส นอกจากนี้ยังมี 3. ที่ดินบริเวณดอนเมือง โดยได้นำที่ดินบางส่วนไปพัฒนาโครงการนิรติ ดอนเมือง ซึ่งเริ่มเปิดขายและโอนในปี 2564 และ 4.ที่ดินบริเวณกำแพงเพชร ซึ่งอยู่ระหว่างการศึกษาแนวทางการพัฒนาโครงการในอนาคต ดร.ชวพล จริยาวิโรจน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด ได้กล่าวถึงความร่วมมือในครั้งนี้ว่า  หัวเว่ยและทาง GLAND เป็นพันธมิตรที่ทำงานร่วมกันมาอย่างใกล้ชิดและยาวนาน นับตั้งแต่เราเริ่มธุรกิจในไทยอย่างเป็นทางการเมื่อปี 2542 โดยสำนักงานใหญ่ของหัวเว่ย เทคโนโลยี่ ประเทศไทย ตั้งอยู่ในอาคารจีทาวเวอร์ แกรนด์ ซึ่งเป็นอาคารในเครือของ GLAND   นอกจากนี้ หัวเว่ยยังได้นำร่องเปิดตัวศูนย์ Huawei Open Lab Bangkok ในปี 2560 ที่อาคารเดียวกัน เพื่อช่วยพัฒนาทักษะดิจิทัลในประเทศไทย สร้างสรรค์นวัตกรรม และรองรับเป้าหมายของประเทศในการขึ้นเป็นศูนย์กลางดิจิทัลระดับอาเซียน เราหวังว่าความร่วมมือระหว่างหัวเว่ยและ GLAND ครั้งนี้  จะช่วยเสริมความอัจฉริยะให้แก่ภาคอสังหาริมทรัพย์ของประเทศไทย ซึ่งถือเป็นการตอบโจทย์พันธกิจของหัวเว่ยในการเป็นผู้สนับสนุนการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัล รวมทั้งนำเทคโนโลยีดิจิทัลไปสู่ทุกคน บ้านทุกหลัง และองค์กรทุกแห่ง เพื่อสร้างประเทศไทยอัจฉริยะที่เชื่อมโยงกันอย่างเต็มรูปแบบ ความร่วมมือระหว่าง  GLAND และ หัวเว่ย ที่จะพัฒนา ecosystem ที่ครบวงจร ผ่านทาง 5 องค์ประกอบสำคัญ ในการสร้าง Smart Digital Township ผ่านอสังหาฯต่างๆ ของ GLAND ได้แก่ 1.Smart Building พัฒนาอาคารอัจฉริยะด้วยเทคโนโลยีระดับโลก ซึ่งช่วยอำนวยความสะดวกสบายด้านการใช้งานต่อผู้ใช้อาคาร และ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม   2.Smart Asset Management การบริหารจัดการสินทรัพย์ด้วย เทคโนโลยี 5G, เทคโนโลยีแอคเซสพอยท์ Wi-Fi 6 ความเร็วระดับอัลตร้าไฮสปีด, โมดูล IoT และ กล้องตรวจจับอัจฉริยะ   3.Smart Hospitality and Retail เชื่อมโยงระบบ Fiber Backbone สู่การเป็นโรงแรมและศูนย์การค้าอัจฉริยะแห่งโลกอนาคต   4.Smart Campus and Living ระบบอาคารและพื้นที่อยู่อาศัย ที่มุ่งเน้นด้านความปลอดภัย รวมถึงระบบที่จอดรถอัจฉริยะ   5.Intelligent Connectivity การเชื่อมต่ออัจฉริยะด้วยระบบ AI หรือปัญญาประดิษฐ์, VDO & Imaging Technology และ ไฟเบอร์ออพติก รวมถึง พื้นที่เก็บข้อมูลในคลาวด์  
เซ็นทรัลพัฒนา ทุ่มงบ 120,000 ล้านบาทใน 5 ปี ตั้งเป้า องค์กร Mixed-use Developer รายแรกสู่ Net Zero ปี 2050

เซ็นทรัลพัฒนา ทุ่มงบ 120,000 ล้านบาทใน 5 ปี ตั้งเป้า องค์กร Mixed-use Developer รายแรกสู่ Net Zero ปี 2050

เซ็นทรัลพัฒนา องค์กรยั่งยืนระดับโลก เดินหน้าวิสัยทัศน์ Imagining better futures for all สร้าง Sustainable Ecosystem ที่แข็งแกร่ง ทุ่มงบ 120,000 ล้านบาทใน 5 ปี ยกระดับคุณภาพชีวิตผู้คน ตั้งเป้า องค์กร Mixed-use Developer รายแรกสู่ Net Zero ปี 2050 เซ็นทรัลพัฒนา ทุ่มงบ 120,000 ล้านบาทใน 5 ปี ตั้งเป้า องค์กร Mixed-use Developer รายแรกสู่ Net Zero ปี 2050 บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน)  ผู้พัฒนาธุรกิจศูนย์การค้าเซ็นทรัล, ที่พักอาศัย, อาคารสำนักงาน และโรงแรมทั่วประเทศ เดินหน้าวิสัยทัศน์ Imagining better futures for all สร้าง Sustainable Ecosystem ที่แข็งแกร่งและยั่งยืน ด้วยบทบาทของ ‘Place Maker’ นักพัฒนาพื้นที่แห่งอนาคต ที่บุกเบิกสร้างเมืองและความเจริญทั่วประเทศชูแผนธุรกิจ 5 ปี (2022-2026) ทุ่มงบ 120,000 ล้านบาท ด้วย 3 กลยุทธ์สู่ความยั่งยืน ด้วยการ Synergy ผนึกกำลังธุรกิจมิกซ์ยูส คู่ค้า ชุมชน ทุกฝ่าย, บุกเบิกสร้างมาตรฐานใหม่ของพื้นที่การใช้ชีวิตแห่งอนาคต และมุ่งสู่องค์กรแห่งการสร้างโอกาส พัฒนา ‘คน’ พัฒนาเมืองและประเทศ และยกระดับวงการอสังหาฯ และรีเทลของไทย นางสาววัลยา จิราธิวัฒน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ได้เผยวิสัยทัศน์การดำเนินธุรกิจ พร้อมประกาศ Brand Commitment for Better Futures เพื่อมุ่งมั่นสร้างสรรค์คุณภาพชีวิตและอนาคตที่ดีให้กับผู้คน สังคม และโลกของเรา ตอกย้ำการเป็นบริษัทยั่งยืนในระดับโลก พร้อมเผย Brand Identity ใหม่ทั้ง Corporate และศูนย์การค้าทั่วประเทศ สะท้อนอัตลักษณ์ความภูมิใจท้องถิ่น และแตกต่างโมเดิร์นได้แนวคิดจากเอเจนซี่ด้านดีไซน์ระดับโลก นางสาววัลยา จิราธิวัฒน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.เซ็นทรัลพัฒนา กล่าวว่า “ตลอดระยะกว่า 40 ปี เซ็นทรัลพัฒนารู้สึกภาคภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของผู้คน ได้อยู่เคียงข้างและช่วยพัฒนาประเทศชาติมาโดยตลอด จนกลายเป็นภาพจำของการเป็น ‘Center of Life’ ศูนย์กลางการใช้ชีวิตของทุกคนและทุกชุมชนที่โครงการเราไปตั้งอยู่ ในวันนี้ภายใต้บทบาทของการเป็น ‘Place Maker’ นักพัฒนาที่ต้องการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้คนทุกแห่ง สร้างพื้นที่ที่จะเป็นอนาคตที่ดีให้กับทุกคน โดยเชื่อมโยง 2 สิ่งที่สำคัญคือ ‘People’ คนและชุมชนที่เป็นพลังขับเคลื่อนสังคมและสร้างความเปลี่ยนแปลง และ ‘Planet’ สิ่งแวดล้อมและโลกใบนี้ เข้ามาอยู่ใน Sustainable Ecosystem ที่แข็งแกร่งและยั่งยืนของเรา” โดยภายใต้วิสัยทัศน์ใหม่ เซ็นทรัลพัฒนาเดินหน้าสร้าง Better Futures ด้วย 3 กลยุทธ์สำคัญ ได้แก่ กลยุทธ์ที่ 1: SYNERGY for new solutions ผนึกกำลังทุกฝ่าย สร้างแพลตฟอร์มยกระดับการใช้ชีวิตและธุรกิจอย่างครบวงจร 1.1     Synergy within Retail-Led Mixed-Use Development: ผนึกกำลังทุกองค์ประกอบที่แข็งแกร่งของเซ็นทรัลพัฒนา มอบประสบการณ์ที่ Seamless โดยให้ศูนย์การค้าเป็นธุรกิจหลัก (Retail-Led Mixed-use development) ทั้งศูนย์การค้า, ที่อยู่อาศัย, อาคารสำนักงาน และโรงแรม โดยในอีก 5 ปี (2022-2026) บริษัทฯ จะมีโครงการอสังหาริมทรัพย์ต่างๆ อยู่ในมากกว่า 30 จังหวัด ซึ่งจะทำให้จำนวนโครงการทั้งหมด (รวมปัจจุบันและอนาคต) ได้แก่ ศูนย์การค้า 50 แห่ง ทั้งในและต่างประเทศ และคอมมูนิตี้มอลล์ 16 แห่ง (อยู่ระหว่างการศึกษาการขยาย), โครงการที่พักอาศัย 68 แห่ง, อาคารสำนักงาน 13 แห่ง และโรงแรม 37 แห่ง โดยมากกว่า 50% ของโครงการทั้งหมดจะเป็นรูปแบบมิกซ์ยูสที่มีมากกว่า 1 ธุรกิจ และมีศูนย์การค้าเป็นหัวใจสำคัญ โดยเร่งขยายการเติบโตของทุกๆ ธุรกิจพร้อมกันไปอย่างต่อเนื่อง ซึ่งทั้งหมดจะเชื่อมโยงยกระดับการใช้ชีวิตทุกรูปแบบทั้ง shop-work-stay-play-live ด้วยโครงการรีเทลที่เติมเต็มทุกฟอร์แมตและเทรนด์ใหม่ๆ, โครงการที่อยู่อาศัยที่มีคุณภาพและเชื่อมโยงสิทธิประโยชน์ในเครือเพื่อลูกบ้านเซ็นทรัล พร้อมเชื่อมต่อออฟฟิศให้เป็นสถานที่ที่ทำงานที่ดีที่สุดเพราะใกล้ศูนย์การค้าและโรงแรม รวมถึงปั้นโรงแรมแบรนด์น้องใหม่ เพื่อยกระดับทำให้ทุกเมืองเป็นเมืองท่องเที่ยว นอกจากนี้ ยังได้ตั้งทีม Business & Digital Transformation ลงทุน 450 ล้านบาทในปี 2022 เพื่อทรานฟอร์มสู่การเป็น Omnichannel Platform ซึ่งมากกว่าการเชื่อม offline และ online แต่ยังเชื่อมโยงทุกธุรกิจใน ecosystem เข้าด้วยกัน และเชื่อมโยงธุรกิจที่อยู่กับเราไปยังลูกค้าด้วยเป็น B2B2C สร้างประสบการณ์ใหม่ให้ลูกค้าในอนาคต 1.2     Synergy with business partners: มุ่งมั่นสร้างความเติบโตอย่างยั่งยืนให้กับธุรกิจของคู่ค้า พร้อมจัดตั้งทีม Partner Champions ที่จะเป็น Business Consultant ในการเป็น End-to-End Solutions ให้กับคู่ค้าอย่างครบวงจร ได้แก่ การช่วยเหลือการเติบโตและขยายสาขาด้วยโมเดล Co-investment, Funding, และ Franchise การช่วยเหลือด้าน Business Operation ต่างๆ, การใช้ Big Data จาก The 1 และ The 1 Biz, และ Retail Omnichannel เพื่อส่งเสริมและผลักดันธุรกิจของคู่ค้า, รวมไปถึงการจัดการ Transaction และบริการต่างๆ ที่จะช่วยพันธมิตรทุกราย 1.3     Synergy with communities: ทุกโครงการของเซ็นทรัลพัฒนามีส่วนสะท้อนอัตลักษณ์ Local Essence ของชุมชน ทั้งได้ด้าน Art & Culture รวมไปถึง Local Wealth การสร้างและกระจายรายได้ให้กับชุมชน นอกจากนี้ ยังเป็นแพลตฟอร์มยกระดับ SMEs และอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในแบบ Cross-Region ให้ผู้ประกอบการ, เกษตรกร และอาชีพต่างๆ ได้เข้าถึงพื้นที่การขายและลูกค้า โดยรวมแล้วไม่ต่ำกว่า 40,000 ตร.ม. หรือคิดเป็นมูลค่ากว่า 300 ล้านบาทต่อปี กลยุทธ์ที่ 2: PIONEER for better lives สร้างมาตรฐานใหม่ของพื้นที่แห่งการใช้ชีวิตที่ดีในอนาคต ต่อไปนี้ภายในทุกโครงการใหม่ของเซ็นทรัลพัฒนาจะมีการบริหารจัดการที่ใส่ใจหัวใจสำคัญ 2 ด้านเพื่อการใช้ชีวิตของทุกคนอย่างยั่งยืน ได้แก่ Green & Energy ด้วย Green Building Standard มาตรฐานอาคารเขียวระดับสากล, ติดตั้งเซลล์ผลิตพลังงานไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ในทุกโครงการ, พัฒนาอาคารอัจฉริยะหรือ Building Automation, การเพิ่มจุด EV Charging และ Recycle Station สนับสนุนการใช้พลังงานสะอาดและแนวทางเศรษฐกิจหมุนเวียน เป็นต้น Health & Wellness พื้นที่ที่มีส่วนช่วยยกระดับการใช้ชีวิตของผู้คน ด้วยการตอกย้ำแผนแม่บทและมาตรการด้านความสะอาดและความปลอดภัย, การเพิ่มพื้นที่สีเขียวทั้ง indoor-outdoor, การออกแบบที่ตอบสนองคนทุกกลุ่ม (Inclusive Design) ให้เป็นพื้นที่ที่ทุกคนมาใช้ได้จริง รวมถึงพื้นที่เพื่อชุมชน เช่น ลานออกกำลังกาย, สนามเด็กเล่น, ศูนย์การเรียนรู้, ศูนย์ฉีดวัคซีน, พื้นที่รับบริจาคโลหิต, พื้นที่เพื่อ well-being สำหรับชุมชน เป็นต้น กลยุทธ์ที่ 3: OPPORTUNITIES with Purpose ขับเคลื่อนสังคมและธุรกิจ เปิดโอกาสให้ทุกคน เป็นองค์กรแห่งการสร้าง ‘โอกาส’ พัฒนาคน พัฒนาเมือง พัฒนาประเทศ และยกระดับวงการอสังหาฯ และรีเทลของไทย เทียบเท่าระดับโลก เพื่อสร้างอนาคตที่ดีกว่าร่วมกัน ให้คนได้มาเรียนรู้ แลกเปลี่ยนประสบการณ์ จับคู่ทางธุรกิจ และขยายไปทั้งในและต่างประเทศ ผ่านโครงการ Central Pattana Lead และ Retail Academy สร้าง Local Wealth ให้เกิดการจ้างงานในพื้นที่ ขยายความเจริญจากส่วนกลางสู่ท้องถิ่น และยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในจังหวัด ให้คนรุ่นใหม่ได้เข้ามาร่วมงานกับเซ็นทรัลพัฒนา ผ่านโปรแกรมให้ได้ทดลองไอเดียใหม่ๆ เช่น Retail Hackathon ซึ่งนำไปต่อยอดจริง ให้โอกาสอย่างทั่วถึงกับกลุ่มคนที่หลากหลาย LGBTQ+ ข้อจำกัดทางร่างกาย บุคคลพิเศษ และมีความเป็น Global Citizen ให้ความสำคัญกับ Global Values อาทิ Human Rights, Equality, Diversity เป็นต้น จากกลยุทธ์ทั้งหมดนำไปสู่การสร้าง Big impact ในเชิงเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อมของทุกเจเนอร์เรชั่น โดยนางสาววัลยากล่าวต่อไปว่า “ภายใต้วิสัยทัศน์ใหม่ เราจึงมุ่งมั่นที่จะทำตาม Brand Commitment สำคัญคือการเดินหน้าสร้าง Sustainable Ecosystem ที่แข็งแกร่งและยั่งยืน เพื่อผู้คนและโลก ยืนหยัด สร้างพื้นที่ที่มีคุณภาพ ส่งเสริมการใช้ชีวิตในทุกมิติ สร้างสรรค์สิ่งที่ที่ดีเพื่ออนาคตที่ยั่งยืนสำหรับคนไทยและประเทศไทย โดยมีเป้าหมายที่ชัดเจน ได้แก่ ยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้คนและชุมชนทั่วประเทศ: โดยปัจจุบัน เซ็นทรัลพัฒนามีส่วนช่วยสร้างเงินสะพัดในระบบเศรษฐกิจเทียบเท่าประมาณ 1% ของ GDP ของประเทศมาอย่างต่อเนื่อง และในอีก 5 ปีข้างหน้า จะยังคงเติบโตเช่นนี้ และทำให้เกิดการจ้างงานไม่ต่ำกว่า 150,000 ตำแหน่ง ที่อยู่ใน sustainable ecosystem ของเซ็นทรัลพัฒนา ตั้งเป้าเป็นองค์กร Mixed-use Developer รายแรกสู่ Net Zero ภายในปี 2050 ด้วยแผนระยะยาวตั้งเป็น Net Zero Carbon Emission ให้ได้ผ่านการลดการใช้พลังงานให้ได้ 50% ลดการใช้ CFC และสารที่ทำลายชั้นบรรยากาศ และส่งเสริมการใช้พลังงานสะอาดหรือ Clean Energy ให้ได้อีก 50% นอกจากนี้เรายังตั้งเป้าปลูกต้นไม้เพิ่มพื้นที่สีเขียวทั้งภายในและภายนอกโครงการให้ได้ถึง 1 ล้านต้นโดยเร็วอีกด้วย” บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) ขับเคลื่อนสู่อนาคตภายใต้เจตจำนงค์ของแบรนด์ Imagining better futures for all ด้วยการสร้างและพัฒนาพื้นที่ที่มีคุณภาพเพื่อดูแลคนและชุมชน รวมถึงสิ่งแวดล้อม ให้เติบโตควบคู่ไปกับการเดินหน้าทางเศรษฐกิจและขับเคลื่อนประเทศไทย ที่ผ่านมา บริษัทฯ ดำเนินธุรกิจเพื่อความยั่งยืนมาอย่างต่อเนื่อง โดยเป็นบริษัทอสังหาฯ หนึ่งเดียวในไทยที่เป็นสมาชิกดัชนีความยั่งยืนระดับโลก DJSI World ต่อเนื่องเป็นปีที่ 4 และ DJSI Emerging Markets ต่อเนื่องเป็นปีที่ 8 นอกจากนี้ บริษัทฯ ได้เปิดตัวภาพยนตร์โฆษณาใหม่ เพื่อสะท้อน Commitment for better futures โปรดรับชมได้ทาง https://youtu.be/ZrUKWsxGZks   บทความหน้าสนใจ The Forestias – เมืองต้นแบบกลางป่าใหญ่ในกรุงเทพฯ 6 วิธีช้อปปิ้งในห้าง-ซุปเปอร์มาร์เก็ต ให้ปลอดภัยจากโควิด-19  
7 บิ๊กอสังหาฯ ระดมทุน ผ่าน “หุ้นกู้”  2 เดือนเฉียด 10,000 ล้าน

7 บิ๊กอสังหาฯ ระดมทุน ผ่าน “หุ้นกู้” 2 เดือนเฉียด 10,000 ล้าน

หุ้นกู้ 7 บิ๊กอสังหาฯ ออกรวมมูลค่าเฉียด 10,000 ล้าน เสนอดอกเบี้ย 3.1-7.5% นำเงินต่อยอดพัฒนาโครงการ พร้อมลุยธุรกิจปี 65 หลังจากปีที่ผ่านมามีการรดมทุนผ่านหุ้นกู้กว่า 270,000 ล้าน การระดมทุนเพื่อมาดำเนินธุรกิจ นอกจากจะมาจากส่วนของเจ้าของกินการและกรรมการ ที่จะนำออกมาใช้แล้ว การกู้ยืมเงินทุนกับสถาบันการเงิน ก็เป็นวิธีปกติที่ทุกธุรกิจเลือกที่จะใช้กัน แต่บางครั้งการกู้ยืมเงินกับสถาบันการเงิน ก็อาจจะไม่ได้คล่องตัวมากนัก หรือเจ้าของธุรกิจคงต้องมีหลักทรัพย์ หรือมีคุณสมบัติที่ดีพอในการจะไปกู้เงิน  นอกเหนือจากการกู้ยืมเงินกับสถาบันการเงินแล้ว วิธีการระดมทุนเพื่อมาใช้ดำเนินธุรกิจ หรือขยายกิจการ ก็ยังมีอีกหลายวิธี หนึ่งในวิธีที่บริษัทชั้นนำนิยมทำ โดยเฉพาะบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ คือ การระดมทุนผ่าน หุ้นกู้   โดยหุ้นกู้โดยทั่วไป จะมีการกำหนดมูลค่าไว้ที่หน่วยละ 1,000 บาท และหุ้นกู้ส่วนใหญ่มักกำหนดมูลค่าการซื้อขั้นต่ำไว้ที่ 100,000 บาท หรืออาจมากกว่านั้นในกรณีการขายให้นักลงทุนสถาบัน หรือนักลงทุนรายใหญ่  โดยผู้ซื้อหุ้นกู้จะมีสถานะเป็นเจ้าหนี้ ในขณะที่ผู้ออกหุ้นกู้จะมีสถานะเป็นลูกหนี้ที่มาขอยืมเงินพร้อมสัญญาว่าจะจ่ายดอกเบี้ยเงินกู้คืนให้ผู้กู้ในอัตราที่แน่นอน ตามระยะเวลาของสัญญาการกู้เงิน เช่น หุ้นกู้อายุ 3 ปีจนถึง 10 ปี   สำหรับผลตอบแทนของหุ้นกู้จะอยู่ในรูปของดอกเบี้ย การจ่ายดอกเบี้ยจะจ่ายปีละ 2 ครั้ง หรือทุก ๆ 6 เดือน แต่สำหรับหุ้นกู้บางรุ่นอาจจ่ายปีละ 4 ครั้ง หรือทุก ๆ 3 เดือนก็ได้ และดอกเบี้ยที่ได้รับจากหุ้นกู้ต้องเสียภาษีหัก ณ ที่จ่ายที่ 15% เช่นเดียวกับรายได้จากดอกเบี้ยชนิดอื่น ๆ   ในแวดวงธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ บรรดาดีเวลลอปเปอร์จำนวนมากก็เลือกใช้วิธีการขายหุ้นกู้ เป็นหนึ่งในเครื่องมือทางการเงิน สำหรับการระดมทุนเพื่อมาต่อยอดธุรกิจ พัฒนาโครงการใหม่ เสริมสภาพคล่องทางธุรกิจ โดยในช่วงปี 2564 ที่ผ่านมา พบว่า บริษัทในตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งเป็นกลุ่มธุรกิจพัฒนาอสังหาฯ มีการระดมทุนผ่านการขายหุ้นกู้กว่า 270,000 ล้านบาทเลยทีเดียว สำหรับปี 2565 เฉพาะแค่ 2 เดือนแรก ก็พบว่ามีบริษัทอสังหาฯ เสนอขายหุ้นกู้แล้วเกือบ 10,000 ล้านบาท ยังไม่นับรวมบริษัท แลนด์​ แอนด์ เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) ที่ประกาศแผนว่าจะระดมทุนผ่านหุ้นกู้อีก 14,000 ล้านบาท ซึ่งยังไม่ได้ระบุว่าจะเริ่มเสนอขายเมื่อใดด้วย 5 ประโยชน์หุ้นกู้ รู้ไว้ก่อนจ่ายเงินซื้อ* สิ่งหนึ่งที่นักลงทุนให้ความสนใจในการลงทุนหรือซื้อหุ้นกู้นั้น คือ ผลตอบแทนจากอัตราดอกเบี้ย ที่สูงกว่าอัตราเงินฝากธนาคาร แม้ว่าระยะเวลาการไถ่ถอนคืนจะมีระยะเวลาหลายปีก็ตาม แต่หากวัดจากอัตราดอกเบี้ยที่ได้รับ นักลงทุนที่มีเงินออมหรือไม่จำเป็นต้องรีบใช้เงิน จึงเลือกที่จะมาลงทุนในหุ้นกู้มากกว่า แต่อย่างไรก็ตาม  นักลงทุนที่ตัดสินใจซื้อหุ้นกู้ควรคำนึงถึงปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้ ที่จะได้รับจากการลงทุน ก่อน​ ได้แก่ 1.อัตราผลตอบแทน   หุ้นกู้ของบริษัทเอกชน มักจะเสนออัตราผลตอบแทนที่สูงกว่าการลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลที่มีลักษณะและอายุคงเหลือใกล้เคียงกัน ผลตอบแทนสส่วนที่เพิ่มสูงขึ้นนี้ จะเป็นการชดเชยให้กับความเสี่ยงที่เพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากหุ้นกู้ที่ออกโดยบริษัทเอกชนถือว่ามีความเสี่ยงในด้านการผิดนัดชำระหนี้ มากกว่าพันธบัตรรัฐบาล 2.เป็นแหล่งรายได้ประจำ   เนื่องจากหุ้นกู้และตราสารหนี้จ่ายดอกเบี้ยเป็นงวดๆ แก่ผู้ลงทุน และจะจ่ายคืนเงินต้นเมื่อครบกำหนดของอายุกุ้นกู้ หากนักลงทุนที่ต้องการรายได้ประจำ โดยที่เงินต้นของการลงทุนนั้นยังคงอยู่ครบ จึงอาจพิจารณาลงทุนในหุ้นกู้และตราสารหนี้อื่น ๆ ไว้ในพอร์ตการลงทุน ​​ 3.ความมั่นคงปลอดภัยของเงินลงทุน  นักลงทุนควรพิจารณาอันดับความน่าเชื่อถือของหุ้นกู้ที่ท่านลงทุน โดยอันดับความน่าเชื่อถือที่สูง ก็ถือว่ามีความปลอดภัยสูง หรือแปลได้ว่า มีความเสี่ยงที่จะไม่ได้รับชำระเงินคืนค่อนข้างต่ำ อันดับความน่าเชื่อถือนี้จะประเมินจากประวัติทางการเงินและความสามารถในการชำระหนี้ของผู้ออกหุ้นกู้ ทั้งนี้ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) กำหนดให้หุ้นกู้ที่ออกขายในประเทศไทยจะต้องได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ 4.การกระจายความเสี่ยงของการลงทุน  หุ้นกู้อาจถือว่าเป็นเครื่องมือการลงทุนที่ตอบสนองต่อวัตถุประสงค์ของความต้องการของนักลงทุนในเรื่องการกระจายความเสี่ยง โดยนักลงทุนสามารถกระจายการลงทุนไปสู่ธุรกิจประเภทต่าง ๆ โดยมีอันดับความน่าเชื่อถือที่หบากหลายได้ 5.สามารถซื้อขายเปลี่ยนมือได้   หุ้นกู้ สามารถซื้อขายแลกเปลี่ยนมือกันได้ในตลาดรอง โดยไม่ต้องรอให้ถึงวันครบกำหนดอายุ อย่างไรก็ตาม สภาพคล่องการซื้อขายอาจแตกต่างไปตามขนาดและเงื่อนไขของแต่ละหุ้นกู้ บิ๊กอสังหาฯ​เสนอขายหุ้นกู้เฉียด 10,000 ล้าน สำหรับในช่วงเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์ 2565 บริษัทอสังหาฯ ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ได้มีการเสนอขายหุ้นกู้ให้กับประชาชนทั่วไป และนักลงทุนสถาบัน 7 บริษัท รวมวงเงินเบื้องต้น 9,950 ล้านบาท โดยมีผลตอบแทนเป็นอัตราดอกเบี้ยตั้งแต่ 3.1-7.5% ต่อปี อนันดา ขายหุ้นได้ตามเป้า 5,000 ล้าน บริษัท อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) หรือ ANAN ได้เสนอขายหุ้นกู้รุ่น 1 อายุ 1 ปี 6 เดือน ผลตอบแทน 4.50% ต่อปี และรุ่นอายุ 2 ปี 6 เดือน ผลตอบแทน 5.40% ต่อปี ซึ่งได้เสนอขายให้แก่ผู้ลงทุนทั่วไปและผู้ลงทุนสถาบัน ในวันที่ 11-13 มกราคม 2565 ผ่านสถาบันการเงิน 7 แห่ง ที่ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการการจัดจำหน่ายหุ้นกู้ ได้แก่  ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (มหาชน) บริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส จำกัด บริษัทหลักทรัพย์ กรุงไทย ซีมิโก้ จำกัด บริษัทหลักทรัพย์ เคทีบีเอสที จำกัด (มหาชน) และบริษัทหลักทรัพย์ หยวนต้า (ประเทศไทย) จำกัด   สำหรับหุ้นกู้ของบริษัทได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อจากบริษัท ทริส เรทติ้ง จำกัด เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2564 ที่ระดับ "BBB-" เช่นเดียวกับอันดับเครดิตองค์กร และมีแนวโน้ม "คงที่" (Stable) โดยตั้งเป้าเสนอขายหุ้นกู้ 5,000 ล้านบาท ซึ่งภายหลังจากการเปิดจำหน่ายก็สามารถขายได้ตามเป้าที่วางเอาไว้ แม้ว่าในสภาวะที่ตลาดตราสารหนี้ยังคงได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด-19 อย่างต่อเนื่อง ซึ่งในเดือนกุมภาพันธ์ 2565 บริษัทฯ มีแผนไถ่ถอนหุ้นกู้ด้อยสิทธิที่มีลักษณะคล้ายทุนฯ ที่ถึงกำหนด 5 ปี จำนวน 770 ล้านบาทและเดือนมีนาคม 2565 จำนวน 230 ล้านบาท หุ้นกู้ดิจิทัล “แสนสิริ” ขายเกลี้ยงไม่ถึง 4 วิ. บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) (SIRI) ได้มีการเสนอขายหุ้นกู้ในนรูปแบบใหม่ ด้วยการซื้อผ่านแอปพลิเคชั่น “เป๋าตัง” ที่มีมูลค่าเสนอขาย 2,000 ล้านบาท ในวันที่ 18 มกราคมที่ผ่านมา โดยให้ผลตอบแทนดอกเบี้ยคงที่ 3.10% ต่อปี ระยะเวลาลงทุนเพียง 2 ปี 6 เดือน รับดอกเบี้ยทุก 3 เดือนตลอดอายุหุ้นกู้ เมื่อเปิดขายหุ้นกู้สามารถมียอดจองซื้อเต็มมูมูลค่าเสนอขาย 2,000 ล้านบาท ในระยะเวลาเพียง 3 นาที 38 วินาที โดยเป็นหุ้นกู้ดิจิทัลแสนสิริตามแผนการเสนอขาย 1,000 ล้านบาท และมีหุ้นกู้สำรองเพื่อการเสนอขายเพิ่มเติม (กรีนชู) อีกจำนวน 1,000 ล้านบาท  จากนักลงทุนจำนวน 5,800 ราย ซึ่งเป็นนักลงทุนรายย่อยที่เข้าถึงหุ้นกู้ดิจิทัลแสนสิริ แกรนด์ แอสเสทฯ ขายหุ้นกู้ ดอกเบี้ย 7% บริษัท ​แกรนด์ แอสเสท โฮเทลส์ แอนด์ พรอพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) (GRAND) ได้ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล (ไฟลิ่ง) ต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เพื่อออกและเสนอขายหุ้นกู้มีประกันมูลค่าไม่เกิน 1,000 ล้านบาท อายุ 1 ปี 6 เดือน ซึ่งผู้ออกหุ้นกู้มีสิทธิไถ่ถอนหุ้นกู้ก่อนวันครบกำหนดไถ่ถอน มีอัตราดอกเบี้ยคงที่ 7%  ต่อปี จ่ายดอกเบี้ยทุก 3 เดือนตลอดอายุหุ้นกู้ โดยเสนอขายให้ผู้ลงทุนสถาบัน และ/หรือผู้ลงทุนรายใหญ่ ระหว่างวันที่ 24-26 ม.ค.65 ผ่าน บล.โกลเบล็ก บล.กรุงไทย ซีมีโก้ และ บล.เคจีไอ (ประเทศไทย) โดยบริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด จัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ระดับ "BB-" แนวโน้มอันดับเครดิต"Negative" เมื่อวันที่ 19 มี.ค.64   สำหรับหลักประกัน ได้แก่ หลักประกันประเภทอสังหาริมทรัพย์มูลค่าไม่น้อยกว่า 1.05 เท่าของมูลค่าหุ้นกู้ที่จำหน่ายได้ ได้แก่ ที่ดินระยอง และห้องชุดโครงการไฮด์ สุขุมวิท 11 และ หลักประกันประเภทหุ้น มูลค่าไม่น้อยกว่า 0.54 เท่า ของมูลค่าหุ้นกู้ที่จำหน่ายได้ ได้แก่ หุ้นสามัญของบมจ.โรงแรมรอยัลออคิด(ประเทศไทย)  (ROH)  บริษัทมีวัตถุประสงค์จะนำเงินที่ได้มาใช้ชำระคืนหนี้สถาบันการเงิน จำนวน 380 ล้านบาท และที่เหลือ 620 ล้านบาทใช้ชำระคืนหนี้หุ้นกู้ที่จะครบกำหนดเดือน ก.พ.65 จำนวน 1,489 ล้านบาท โนเบิล ขายหุ้นระดมทุนพัฒนาโครงการใหม่ บริษัท โนเบิล ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) หรือ NOBLE   หลังจากได้ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลเพื่อขออนุญาตและเสนอขายหุ้นกู้ชุดใหม่ต่อสำนักงาน ก.ล.ต. ไปเมื่อช่วงเดือนธันวาคมที่ผ่านมา ขณะนี้บริษัทได้รับอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้จากสำนักงาน ก.ล.ต. เป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยเป็นการออกและเสนอขายหุ้นกู้ให้แก่ผู้ลงทุนทั่วไป และผู้ลงทุนสถาบัน อายุ 3 ปี อัตราดอกเบี้ย 4.60% ต่อปี จ่ายดอกเบี้ยทุก ๆ 3 เดือน จองซื้อขั้นต่ำ 100,000 บาท และทวีคูณทุก ๆ 100,000 บาท เสนอขายระหว่างวันที่ 25-27 มกราคม 2565 นี้ โดยวัตถุประสงค์ในการออกหุ้นกู้ครั้งนี้เพื่อขยายการลงทุนและการพัฒนาโครงการใหม่ ๆ โดยเพิ่มสัดส่วนการลงทุนในแนวราบมากขึ้นรวมถึงการลงทุนในบริษัทร่วมทุน ทั้งนี้บริษัทฯและหุ้นกู้ที่ออกในครั้งนี้ ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือจากบริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด เมื่อวันที่ 7 มกราคม 2565 ที่ระดับ “BBB” แนวโน้มอันดับเครดิต “Stable” ซึ่งหุ้นกู้ที่ออกครั้งนี้และหุ้นกู้ชุดอื่น ๆ ของบริษัทฯ ในปัจจุบันได้รับการเพิ่มอันดับเครดิตจากเดิมที่ระดับ “BBB-” มาที่ระดับ “BBB” เช่นเดียวกัน ไรมอนแลนด์ ขายหุ้นกู้ 300 ล้าน บริษัท  ไรมอนแลนด์ จำกัด (มหาชน) หรือ ​ RML ได้ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เพื่อออกและเสนอขายหุ้นกู้มีประกันของบริษัท ครั้งที่ 1/2565 มูลค่าไม่เกิน 300 ล้านบาท อายุ 1 ปี 3 เดือน ครบกำหนดไถ่ถอนปี 2566 มีอัตราดอกเบี้ยคงที่  6.25% ต่อปี ชำระดอกเบี้ยทุก 3 เดือนตลอดอายุหุ้นกู้ เสนอขายให้แก่ผู้ลงทุนสถาบัน และ/หรือ ผู้ลงทุนรายใหญ่ ระหว่างวันที่ 8-10 ก.พ.65 โดยมีผู้จัดการการจัดจำหน่ายหุ้นกู้ ได้แก่ บล.คิงส์ฟอร์ด บล.ยูโอบีเคย์เฮียน (ประเทศไทย) บริษัท ฟิทช์ เรทติ้งส์ (ประเทศไทย) จำกัด จัดอันดับความน่าเชื่อถือของหุ้นกู้ CCC(tha) เมื่อวันที่ 29 ธ.ค.64 ซึ่งบริษัทมีวัตถุประสงค์จะนำเงินที่ได้จากการเสนอขายหุ้นกู้ครั้งนี้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในการดำเนินธุรกิจในปี 65-66 ไซมิส ขายหุ้นกู้ 1,200 ล้าน ต่อยอดธุรกิจ บริษัท ไซมิส แอสเสท จำกัด (มหาชน) หรือ SA ได้ออกหุ้นกู้จำนวน 2 ชุด วงเงินไม่เกิน 1,200 ล้านบาท  โดยแบ่งเป็นชุดที่ 1 หุ้นกู้ ผลตอบแทน 6.25% อายุ 2 ปี 6 เดือน มีหลักประกัน จ่ายดอกเบี้ยทุก 3 เดือน และชุด 2​ หุ้นกู้ ผลตอบแทน 6.8% อายุ 2 ปี ไม่มีหลักประกัน จ่ายดอกเบี้ยทุก 3 เดือน โดยเปิดขายระหว่างวันที่ 11 และ 14 – 15 ก.พ.นี้   โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเงินไปต่อยอดในธุรกิจต่าง ๆ เช่น Recurring Income, F&B, Cloud Kitchen, AMC, Technology, Wellness, พัฒนาโครงการแนวราบต่าง ๆ และบางส่วนนำเงินไปไถ่ถอนหุ้นกู้ก่อนครบกำหนด  โดยธุรกิจใหม่ๆ นี้ จะสร้างรายได้เพื่อการเติบโตแบบยั่งยืน  อีกทั้งจะทำให้มีการกระจายแหล่งที่มาของรายได้ ตอบโจทย์แผนธุรกิจระยะยาว ออลอินสไปร์ ระดมขายหุ้นกู้ 450 ล้าน บริษัท ​ออลล์ อินสไปร์ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) หรือ ALL ได้ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เพื่อออกและเสนอขายหุ้นกู้มีประกันของบริษัท ครั้งที่ 1/2565 มูลค่าไม่เกิน 450 ล้านบาท ชุดที่ 1 หุ้นกู้อายุ 2 ปี ครบกำหนดไถ่ถอนปี 2567 มีอัตราดอกเบี้ยคงที่ 7.00% ต่อปี ชำระดอกเบี้ยทุก 3 เดือนตลอดอายุหุ้นกู้ และชุดที่ 2 หุ้นกู้อายุ 3 ปี ครบกำหนดไถ่ถอนปี 2568 มีอัตราดอกเบี้ยคงที่ 7.50% ต่อปี ชำระดอกเบี้ยทุก 3 เดือนตลอดอายุหุ้นกู้   โดยหุ้นกู้ดังกล่าวจะเสนอขายให้แก่ผู้ลงทุนสถาบัน และ/หรือผู้ลงทุนรายใหญ่ ระหว่างวันที่ 17-18 และ 21-22 ก.พ.65 ผู้จัดการการจัดจำหน่ายหุ้นกู้ ได้แก่  บล.เอเอสแอล บล.บียอนด์ บล.คันทรี่กรุ๊ป  และ บล.อาร์เอชบี (ประเทศไทย) สำหรับหลักประกัน ได้แก่ ที่ดินเปล่ารวมถึงส่วนควบบนที่ดินที่จะมีขึ้นในอนาคต และ กรรมสิทธิ์ห้อง โครงการ The Excel Ratchada 18 และโครงการ The Excel Ladprao-Sutthisan โดยดำรงมูลค่าทรัพย์สินที่เป็นประกันในอัตราส่วนไม่น้อยกว่า 1:1 เท่า บริษัทมีวัตถุประสงค์นำเงินที่ได้จากการเสนอขายหุ้นกู้ครั้งนี้ เพื่อใช้ชำระคืนหุ้นกู้ ALL222A ที่จะครบกำหนด 28 ก.พ.65 ประมาณ 413 ล้านบาท เพื่อใช้เป็นเงินหมุนเวียนในกิจการ และในโครงการที่มีอยู่ปัจจุบัน ประมาณ 37 ล้านบาท แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ วางแผนขายหุ้นกู้ 14,000 ล้าน สำหรับบริษัท แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) หรือ LH ​มีแผนที่จะออกหุ้นกู้อีกจำนวน 14,000 ล้านบาทในปี 2565 นี้ซึ่งคาดว่าจะส่งผลให้อัตราส่วนหนี้สินต่อทุนจะอยู่ในระดับที่ลดลงจากสิ้นปี 2564 โดยอยู่ในระดับที่ไม่เกิน 100% ซึ่งในปี 2564 บริษัทได้มีการออกหุ้นกู้มูลค่ารวม 16,000 ล้านบาท ระยะเวลา 2-3 ปี อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 1.40% ต่อปี โดยปัจจุบันยังไม่มีรายละเอียดการจำหน่ายหุ้นกู้ออกมา ​​   ที่มา : *ดีดี พร็อพเพอร์ตี้ www.set.or.th, Reviewyourliving รวมรวม
เฟรเซอร์สฯ  ชู 4 กลยุทธ์ลุยธุรกิจรีเทล  เตรียมเปิด “สีลมเอจ” เพิ่มพื้นที่ 24 ชั่วโมง

เฟรเซอร์สฯ ชู 4 กลยุทธ์ลุยธุรกิจรีเทล เตรียมเปิด “สีลมเอจ” เพิ่มพื้นที่ 24 ชั่วโมง

เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ คอมเมอร์เชียล ชู 4 กลยุทธ์เอาตัวรอดจากโควิด-19 พร้อมใช้เป็นเครื่องมือลุยต่อปี 65 เดินหน้าเติมพอร์ตธุรกิจรีเทล เตรียมเปิดพื้นที่ 10,000 ตร.ม. “สีลมเอจ” ​จับกลุ่มลูกค้าย่านสีลม-พระราม 4 ให้บริการร้านอาหาร 24 ชั่วโมง   นางสาวธีรนันท์ กรศรีทิพา รองกรรมการผู้จัดการ สายงานพัฒนาธุรกิจรีเทล เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ คอมเมอร์เชียล (ประเทศไทย) หรือ  FPCT เปิดเผย ถึงทิศทางการดำเนินธุรกิจในปี 2565 ว่ายังเป็นปีที่ภาพรวมของธุรกิจรีเทล ยังมีความท้าทายเหมือนกับช่วงที่ผ่านมา และยังมีการแข่งขันเช่นเดิม แต่สถานการณ์การแข่งขันจะรุนแรงมากยิ่งขึ้น ภายหลังจากที่มีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาในประเทศได้เป็นปกติ เพราะพฤติกรรมของนักท่องเที่ยว จะไม่ใช้บริการเฉพาะแต่ศูนย์การค้าในย่านใจกลางเมืองเท่านั้น แต่จะเดินทางไปทุกศูนย์การค้า จึงถือเป็นความท้าทายในการที่ผู้ประกอบการจะทำตลาดและเพิ่มส่วนแบ่งรายได้จากกลุ่มนักท่องเที่ยวดังกล่าว   สำหรับศูนย์การค้าสามย่านมิตรทาวน์ ปัจจุบันถือว่ายังไม่มีกลุ่มนักท่องเที่ยวเข้ามาใช้บริการ ลูกค้าหลักยังเป็นกลุ่มคนไทย โดยเฉพาะนักเรียน นักศึกษา ผู้ทำทงาน และผู้ที่อาศัยในพื้นที่ใกล้เคียง ปัจจุบันมีปริมาณทราฟิคถือว่า 100% จากช่วงก่อนหน้านี้มีผู้เข้าใช้บริการเฉลี่ย 55,000 คน/วัน และยังคงรักษาอัตราผู้เช่าไว้ในระดับสูงที่ 98% โดยหลังจากที่รัฐบาลได้ประกาศคลายล็อคดาวน์ โดยเป็นผลจากการรักษามาตรฐานความปลอดภัยของโครงการ การดำเนินงานเชิงรุก การเน้นการจับกระแสอย่างรวดเร็ว แล้วลงมือสร้างกิจกรรมทางการตลาดผ่านแคมเปญต่าง ๆ 4 กลยุทธ์อยู่รอดและไปต่อในปี 65 สำหรับในรอบปีที่ผ่านมา สามย่านมิตรทาวน์ ต้องเผชิญกับปัญหาการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ต่อเนื่องจากปีก่อนหน้า แต่ยังคงสามารถทำผลประกอบการได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ ซึ่งกลยุทธ์ที่ทำให้สามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้ และยังจะใช้เป็นกลยุทธ์ในการขับเคลื่อนธุรกิจต่อในปี 2565 นี้ด้วย คือ 4 กลยุทธ์สำคัญ ดังนี้ 1.Fluid Approach หมายถึง การลื่นไหลไปกับกระแสนิยมแบบ Real Time ซึ่งเป็นรูปแบบการตลาดแบบอิงกับกระแสนิยมของสถานการณ์ในช่วงเวลานั้น ๆ ซึ่งมักเกิดขึ้นระยะเวลาสั้น ๆ 7 วันถึง 1 เดือน แล้วทำการตลาดสอดคล้องไปกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น เช่น การทำตลาดตามความนิยมของซีรีย์เกาหลี ไม่ว่าจเป็นเรื่อง  SQUID GAME ,Hometown Cha-Cha-Cha  ถือเป็นการทำตลาดที่ใช้ความเร็ว หรือ Speed Marketing เข้ามาบริหาร 2.Redefine Physical Location เป็นการบริหารพื้นที่ของศูนย์การค้าให้เกิดประโยชน์ โดยไม่กำหนดว่าจะต้องเป็นการจัดกิจกรรมเพื่อการขาย หรือ Sale Promotion เท่านั้น แต่เป็นการใช้ประโยชน์จากสถานที่ ด้วยการพัฒนาพื้นที่ที่เปิดกว้างและยืดหยุ่นมากยิ่งขึ้น โดยมุ่งเน้นการสร้างพื้นที่ให้เกิดประโยชน์กับชุมชนเป็นสำคัญ ซึ่งรูปแบบกิจกรรมมีหลากหลาย ทั้งที่เป็นของพันธมิตร การจัดโดยสามย่านมิตรทาวน์เอง ซึ่งเป็นรูปแบบ Signature Event ที่ปีนี้จะจัดขึ้นด้วยกันประมาณ 4 งาน รวมถึงการจัดและตกแต่งพื้นที่อุโมงค์เชื่อมมิตร ที่ทำให้กลายเป็นจุดในการดึงดูดคนให้เข้ามาใช้บริการที่ศูนย์การค้า และเป็นสถานที่สำหรับการมาถ่ายภาพ และเช็คอิน 3.Leverage Digital Technology การนำเอาเทคโนโลยีและดิจิทัลเข้ามาช่วยเสริมการบริการ และการบริหารศูนย์การค้า เช่นการ​ใช้เทคโนโลยีในพื้นที่รีเทล (เตรียมรองรับการชำระค่าบริการด้วยเงินดิจิทัล เพื่อเพิ่มความสะดวกสบายและความปลอดภัยให้แก่ลูกค้า) การใช้แอปพลิเคชัน MitrCare  ซึ่งได้ร่วมมือกับ KBTG เพิ่มฟังก์ชั่นระบบจัดซื้อ หรือ E-Catalogue อำนวยความสะดวกให้กับคู่ค้า ร้านค้าตลอด 24 ชั่วโมง ในด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะกลุ่มลูกค้า SME ที่มีกว่า 40 ราย สามารถซื้อสินค้าที่จำเป็นสำหรับการดำเนินธุรกิจได้ 4.Hygiene and Safety Practice เป็นการส่งเสริมสุขอนามัยของผู้ใช้บริการและป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19 อย่างต่อเนื่อง  ตามมาตรการ PREVENTIVE ด้วยการความเข้มงวดในการคัดกรองผู้ใช้บริการ ณ จุดตรวจวัดอุณหภูมิ การรักษาระยะห่างอย่างเหมาะสม การบังคับสวมหน้ากาก และการทำความสะอาดฆ่าเชื้อโรคอย่างสม่ำเสมอตามระยะเวลาที่กำหนด สีลมเอจ เติมพอร์ตรีเทลให้เฟรเซอร์ฯ ปัจจุบันกลุ่มเฟรเซอร์ฯ มีพื้นที่รีเทลในส่วนของศูนย์การค้าแห่งเดียว คือ สามย่านมิตรทาวน์ แต่ในช่วงเดือนกันยายน 2565 นี้ จะมีพื้นที่รีเทลเพิ่มเติมเข้ามาในพอร์ตธุรกิจ คือ โครงการสีลมเอจ (Silom Edge) ซึ่งเป็นโครงการมิ๊กซ์ยูส มีทั้งส่วนพื้นที่สำนักงานและส่วนของศูนย์การค้า โดยมีขนาดพื้นที่รีเทล 10,000 ตารางเมตร จำนวน 7 ชั้น   โดยจะมีโซนรีเทลที่ทำการเปิดตั้งแต่ 11:00 น. ถึงเที่ยงคืน และโซนพิเศษ 2 ชั้นแรก คือ ชั้น B1 และชั้น G ที่เปิดให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง รองรับลูกค้าที่ต้องการใช้บริการร้านอาหาร ร้านสะดวกซื้อ ร้านขายยา และเครื่องจำหน่ายสินค้าคุณภาพด้วยระบบอัตโนมัติ   สำหรับชั้น 1-4 จะเป็นพื้นที่สำหรับสินค้าแอคเซสซอรี่ จิวเวอรี่ สินค้าเทคโนโลยี ร้านสำหรับการดูแลผิว ธุรกิจเวลเนส  และแพทย์ทางเลือก ส่วนในชั้นที่ 7 จะเป็นส่วนของร้านอาหาร โดยคาดว่าหลังจากเปิดให้บริการแล้วจะมีผู้ใช้บริการวันละ 40,000 คน จากปัจจุบันในย่านสีลมมีผู้ทำงานและเดินทางเข้ามากว่า 700,000 คน และในวันหยุดมีคนเดินทางเข้ามาย่านสีลมกว่า 500,000 คน หัวใจสำคัญสู่ความสำเร็จในยุคที่ธุรกิจต้องเผชิญหน้ากับความท้าทายและ ความไม่แน่นอน คือการทลายทุกข้อจำกัด และเตรียมพร้อมรับมือกับสถานการณ์อยู่เสมอ   อ่านข่าวที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม -สีลมเอจ x จัสโค ประเดิมรายแรก เช่าพื้นที่  4,400 ตร.ม. ผุดโคเวิร์คกิ้งสเปซ เติมเต็มสังคมแซนด์บ็อกซ์ -จากโรบินสันสีลม สู่ สีลมเอจ มิกซ์ยูส 1,800 ล้านของ เฟรเซอร์สฯ  
ค้าปลีกไทยชู 5 แนวทางปฏิบัติ  รับมือโอมิครอน-ฟื้นเศรษฐกิจไทย

ค้าปลีกไทยชู 5 แนวทางปฏิบัติ รับมือโอมิครอน-ฟื้นเศรษฐกิจไทย

สมาคมผู้ค้าปลีกไทย พร้อมสู้โอมิครอน ร่วมกับภาครัฐ  ชู 5 แนวทางปฏิบัติ เพื่อผลักดัน และพลิกฟื้นเศรษฐกิจไทย พร้อมเสนอ 4 มาตรการให้รัฐบาลเร่งช่วยประชาชน​   ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโอมิครอน ที่ทุกประเทศทั่วโลกกำลังเผชิญอยู่ และจากการศึกษาเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของโอมิครอนพบว่า โอกาสของการติดเชื้อสามารถเกิดขึ้นได้รวดเร็วกว่าโควิดสายพันธุ์อื่น ๆ  โดยประเทศไทยเองก็ได้มีการแพร่กระจายไปยัง 47 จังหวัดทั่วประเทศไทย สมาคมผู้ค้าปลีกไทย จึงมีความกังวลต่อแนวโน้มของจำนวนผู้ติดเชื้อโอมิครอนที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมุ่งเน้นให้ทุกภาคส่วน ต้องร่วมมือกันสกัดการแพร่ระบาด และลดความรุนแรงให้ลดลงให้ได้มากที่สุด   สมาคมฯ จึงขอนำเสนอแนวทางให้ความร่วมมือเพื่อร่วมกับภาครัฐในการรับมือกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในขณะนี้ ด้วยการช่วยเหลือให้ประชาชนเข้าถึงวัคซีนได้อย่างรวดเร็วและทั่วถึง รวมทั้งฟื้นฟูและเยียวยา SMEs ไทย และขอร่วมผลักดันในการช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจไทยให้เติบโตอย่างต่อเนื่อง   นายญนน์ โภคทรัพย์ ประธานสมาคมผู้ค้าปลีกไทย เปิดเผยว่า ทุกภาคส่วนต้อง ร่วมมือ ร่วมใจ และร่วมผลักดันอย่างพร้อมเพรียงในการควบคุมการแพร่ระบาดในครั้งนี้ และประชาชนทุกคนต้องมีวินัย  ป้องกันตนเองอย่างเคร่งครัด ตามมาตรการของกระทรวงสาธารณสุข เนื่องจากมีความเป็นไปได้มากว่า จำนวนผู้ติดเชื้อจะเพิ่มสูงขึ้นถึง 30,000 คนต่อวัน ตามที่เคยคาดการณ์ไว้  เราน่าจะผ่านความท้าทายนี้ไปได้ไม่ยาก เศรษฐกิจไทยกำลังจะฟื้นตัวจากวิกฤต และเราทุกคนต้องร่วมผลักดันไม่ให้ประเทศไทยของเราเข้าสู่วิกฤตอีกครั้ง เราไม่สามารถกลับมาเจอกับบาดแผลที่จะซ้ำตรงที่เดิมได้อีกแล้ว  ดังนั้น การทำให้จำนวนผู้ติดเชื้อของโอมิครอนลดลง หรือให้มีจำนวนน้อยที่สุดเท่าที่จะน้อยได้ จำเป็นต้องใช้ระบบป้องกันแบบปูพรม (Innate Immunity) เพิ่มความช่วยเหลือให้ SMEs ไทยมีสภาพคล่อง และการฟื้นฟูเศรษฐกิจไทยอย่างต่อเนื่อง จึงเป็นคีย์หลักที่สมาคมฯ พร้อมที่จะร่วมผลักดันให้ประเทศไทยก้าวผ่านพ้นวิกฤตในครั้งนี้ไปได้อีกครั้ง   โดยสมาคมฯ และภาคีเครือข่าย ยังคงยึด 5 แนวทางปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง ดังนี้ 1.สนับสนุนพื้นที่จุดฉีดวัคซีนทั่วประเทศ สมาคมฯ และภาคีเครือข่ายพร้อมที่จะนำพื้นที่จุดฉีดวัคซีนของภาคเอกชนกลับมาทันที เพื่อช่วยรัฐบาลในการเป็นจุดกระจายการฉีดวัคซีนให้เข้าถึงประชาชนทั่วประเทศอย่างทั่วถึง รวมทั้งให้การสนับสนุนหน่วยฉีดวัคซีนเคลื่อนที่เพื่อให้ชุมชนต่างๆ เข้าถึงวัคซีนได้อย่างรวดเร็ว 2.ยกระดับมาตรฐานสาธารณสุข สมาคมฯ และภาคีเครือข่าย ยังคงยกระดับมาตรการสาธารณสุขไทยอย่างเคร่งครัดเข้มข้นขั้นสูงสุด ยึดหลัก Covid Free Setting ทุกคนต้องป้องกันตนเองแบบครอบจักรวาล (Universal Prevention) และพร้อมให้ความร่วมมือปฏิบัติตามนโยบาย Work From Home เพื่อเป็นการช่วยลดการกระจายและแพร่ระบาดของโอมิครอน 3.ร่วมฟื้นฟูเศรษฐกิจไทย โดยเร่งผลักดันให้ SMEs เข้าถึงแหล่งเงินทุน ดอกเบี้ยต่ำ ผ่านแฟลตฟอร์ม Digital Supplychain Finance ร่วมกับสมาคมธนาคารไทย รวมทั้งยังลด Credit Term ให้สั้นลงเพื่อเสริมสภาพคล่องและช่วยลดความเหลื่อมล้ำ ซึ่งเป็นการสร้างแต้มต่อให้ SMEs ไทยสามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้ 4.ตรึงราคาสินค้าอุปโภค-บริโภค สมาคมฯ และภาคีเครือข่าย พร้อมสร้างความมั่นใจให้แก่ประชาชนใน  การช่วยลดภาระค่าครองชีพด้วยการตรึงราคาสินค้าอุปโภค-บริโภค เพื่อช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายของประชาชน 5.เร่งการลงทุนในประเทศ ภาคค้าปลีกและบริการ ยังคงไว้ซึ่งแผนการลงทุน และการขยายสาขาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งถือเป็นการช่วยอัดฉีดเม็ดเงินหมุนเวียนเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจไทย และยังสร้างการจ้างงานเพิ่มขึ้นจากเดิมที่มีอยู่แล้วในระบบค้าปลีกและบริการกว่า 1.1 ล้านคน   ทั้งนี้ สมาคมผู้ค้าปลีกไทย มีข้อเสนอแนะให้รัฐบาลเร่งดำเนินการอย่างต่อเนื่องในเรื่อง ดังต่อไปนี้ 1.รัฐต้องมีมาตรการเชิงรุก  สำหรับพื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดให้มีการควบคุมอย่างเคร่งครัด อย่างไรก็ตาม หากมีการระบาดในแต่ละพื้นที่ รัฐควรมีการปิดเฉพาะพื้นที่ที่เป็นคลัสเตอร์เท่านั้น 2.การยกระดับการเตรียมพร้อมของระบบสาธารณสุข 2.1 เร่งกระจายวัคซีน ทั้งในส่วนที่ประชาชนได้จองไว้ผ่านโรงพยาบาลเอกชน และในส่วนที่รัฐบาลจัดหามา เพื่อให้วัคซีนกระจายถึงประชาชนให้มากที่สุด และเร็วที่สุด 2.2 เสริมชุดตรวจ ATK ที่มีคุณภาพสูง ในราคาที่ภาคเอกชนและประชาชนสามารถเข้าถึงได้ เนื่องจาก   มีความจำเป็นต้องใช้เป็นจำนวนมากเพื่อการตรวจเชื้อโควิด-19 2.3 เตรียมยารักษาโควิด-19 ให้พร้อม เผื่อในกรณีที่มีจำนวนผู้ติดเชื้อในวงกว้าง เพื่อเป็นการตัดตอนการแพร่ระบาดให้ได้ทันท่วงที 2.4 สำรองเตียงสำหรับผู้ป่วยหนัก ให้มีความพร้อมรับมือกับสถานการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้นทั่วประเทศ 3.อัดฉีดเม็ดเงินเข้าระบบเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง ผ่านโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจต่างๆ ของภาครัฐที่มีผลลัพธ์ที่ดี เช่น โครงการคนละครึ่ง ช้อปดีมีคืน เป็นต้น รวมทั้งการเร่งเบิกงบประมาณทุกหน่วยงานของภาครัฐเพื่อกระตุ้นเงินหมุนเวียนในระบบฯ 4.ช่วยภาคเอกชนและประชาชนลดค่าใช้จ่าย โดยช่วยลดค่าน้ำ ค่าไฟ ลดเงินสมทบประกันสังคม ภาษีป้าย รวมถึงดอกเบี้ยเงินกู้จากสถาบันการเงิน ดอกเบี้ยบัตรเครดิต ดอกเบี้ยเงินกู้ที่ไม่มีการค้ำประกัน และพิจารณาลดค่าใช้จ่ายของผู้ประกอบการทั้งที่เกี่ยวข้องกับโควิดทางตรงและทางอ้อม สมาคมฯ ขอยืนยันให้การสนับสนุนรัฐบาลอย่างเต็มที่ในการควบคุมการแพร่ระบาดของโอมิครอน และเร่งการฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศไทย พร้อมเน้นย้ำความสำคัญของการร่วมมือกันของทุกภาคส่วนในสภาวะที่เปราะบางเช่นนี้ การร่วมมือกันจะเป็นพลังขับเคลื่อนหลักในการพลิกฟื้นเศรษฐกิจไทยอย่างมีประสิทธิผลและต่อเนื่อง      
สีเดอลต้า  ออกสินค้าใหม่-เพิ่มเครื่องจักรนับ 100  ลุยตลาดสีปี 65 หวังสร้างยอดขายโตต่อเนื่อง

สีเดอลต้า ออกสินค้าใหม่-เพิ่มเครื่องจักรนับ 100 ลุยตลาดสีปี 65 หวังสร้างยอดขายโตต่อเนื่อง

สีเดลต้า ลุยตลาดสีปี 65 ส่งสินค้านวัตกรรมจับตลาดพรีเมียม พร้อมเดินหน้าลงทุนเพิ่มเครื่องจักร 100 เครื่อง ขยายช่องทางขายเพิ่ม หวังปั๊มยอดขายโตต่อเนื่อง หลังปี 64 เข็นบริษัทเข้าตลาด mai และจับมือ เดอะ วอลท์ ดิสนีย์ ประเทศไทย บุกตลาดสีสร้างยอดขายโตทะลุเป้า  ขยายฐานร้านค้าเพิ่มอีก 14%   นายรณฤทธิ์ ตั้งคารวคุณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท สีเดลต้า จำกัด (มหาชน) หรือ DPAINT เปิดเผยถึงทิศทางการดำเนินธุรกิจในปี 2565 ว่า บริษัทยังคงรุกตลาดด้วยผลิตภัณฑ์ในกลุ่มพรีเมียม ซึ่งเป็นสินค้าที่พัฒนาขึ้นด้วยการใช้นวัตนกรรม ถือเป็นเซกเมนต์ที่ใหญ่ที่สุดของตลาดสีทาอาคาร โดยเตรียมเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ เพิ่มอีก 4 ผลิตภัณฑ์ เพื่อสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง   นอกจากนี้ ยังวางแผนการขยายเครือข่ายพันธมิตรทางธุรกิจเพิ่มมากขึ้น จากที่ผ่านนมา​ได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MOU) ร่วมกับผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ชั้นนำของไทย 2 ราย และขยายช่องทางการจัดจำหน่ายอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนการพัฒนาด้านบุคลากร โดยสรรหาผู้ที่มีความสามารถและประสบการณ์มาเสริมทีม   บริษัทยังมีแผนการลงทุน ด้วยการซื้อเครื่องผสมสีเพิ่มอีกจำนวน 100 เครื่อง คิดเป็นสัดส่วน 25% ของจำนวนเครื่องทั้งหมด ดำเนินการวางระบบ ERP ใหม่ เพื่อยกระดับการบริหารทรัพยากรในองค์กรผ่านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่ล้ำสมัย ซึ่งคาดว่าจะเริ่มใช้งานจริงได้ในช่วงไตรมาส 2 ปี 2565 รวมทั้งดำเนินการออกแบบและเตรียมก่อสร้างโรงงานใหม่   นายรณฤทธิ์ กล่าวอีกว่า  สำหรับปี 2565 บริษัทคาดหวังว่าจะเป็นปีแห่งการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ ซึ่งส่งผลให้มีการขยายตัวของอุตสาหกรรมก่อสร้าง ทั้งโครงการสาธารณูปโภคขนาดใหญ่ของภาครัฐ และการพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ของภาคเอกชน และส่งผลดีต่ออุตสาหกรรมสีทาอาคาร และจากกลยุทธ์การเปิดตัวผลิตภัณฑ์นวัตกรรมใหม่ จึงคาดว่าเราจะสามารถรักษาอัตราการเติบโตที่ดีได้อย่างต่อเนื่อง   สำหรับช่วงปลายเดือนตุลาคม​ 2564 ที่ผ่านมา ​บริษัทสามารถเข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ไอ (mai) ซึ่งการเข้าซื้อขายในวันแรกประสบความสำเร็จด้วยราคาหุ้นอยู่ที่  22.50 บาท เหนือจองถึง 200% หรือเพิ่มขึ้น 15 บาท จากราคาไอพีโอ (IPO) ที่ 7.50 บาท ในปี 2564 ถือว่าเป็นปีที่น่าจดจำสำหรับ DPAINT จากความสำเร็จที่เหนือความคาดหมายในการเข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งส่งผลให้ฐานะทางการเงินของเราแข็งแกร่งขึ้นพร้อมสร้างการเติบโตในอนาคตอย่างมั่นคงและยั่งยืน ในส่วนของผลประกอบการและยอดขายมีการเติบโตอย่างน่าพอใจ เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ ซึ่งสวนทางกับแนวโน้มของอุตสาหกรรม เนื่องจากทีมทำงานทุกฝ่ายทั้งองค์กรเตรียมพร้อมปรับตัวและรับมือกับสถานการณ์โควิดได้อย่างดี สำหรับยอดขายเติบโตอย่างโดดเด่นในช่วงปีที่ผ่านมา เกิดจากการเพิ่มไลน์ผลิตภัณฑ์ที่เปิดตัวใหม่  การมุ่งพัฒนาสินค้าในกลุ่มพรีเมียม และขยายจำนวนช่องทางการจัดจำหน่ายตามแผนธุรกิจของบริษัท เพื่อรองรับและเข้าถึงลูกค้าอย่างครอบคลุมมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นร้านค้าโมเดิร์นรีเทล และร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิม ซึ่งปัจจุบันมีรวมกันมากกว่า 1,000 สาขาทั่วประเทศ   นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยบวกที่สนับสนุนจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมการก่อสร้าง โดยเฉพาะในกลุ่มอสังหาฯ ตลอดจนการเติบโตของการซ่อมแซมปรับปรุงที่อยู่อาศัยในกลุ่มผู้บริโภคทั่วไป ซึ่งช่วยสนับสนุนความต้องการใช้ผลิตภัณฑ์สีทาอาคารขยายตัวขึ้นตลอดทั้งปี   โดยในเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา บริษัทได้เปิดตัวผลิตภัณฑ์สีดิสนีย์ สีเดลต้า เมจิก ชิลด์ ซึ่งเป็นการจับมือกับเดอะ วอลท์ ดิสนีย์ ประเทศไทย และดิสนีย์ โกลบอล ทำงานร่วมกันตั้งแต่ขั้นตอนการผลิตสี จนถึงการผลิตวิดีโอแอนิเมชัน 3 มิติ เพื่อใช้เป็นสื่อโฆษณา ถือผลิตภัณฑ์ไฮไลท์ที่ปฏิวัติอุตสาหกรรมสีแบบที่ไม่เคยมีมาก่อนในประเทศไทย ส่งผลให้ผลิตภัณฑ์ประสบความสำเร็จอย่างสูงมียอดขายสูงกว่าเป้าหมายที่วางไว้ รวมถึงมีร้านค้าให้ความสนใจเข้ามาเป็นคู่ค้าใหม่อีกจำนวนมาก โดยมีจำนวนร้านค้าใหม่ที่เพิ่มขึ้น14% จากปีที่ก่อนหน้า    
“ออริจิ้น” จับมือ มือ “บุญภา 2020” ลุยอสังหาฯ ประเดิมโปรเจ็กต์มิกซ์ยูส 4,000 ล้า

“ออริจิ้น” จับมือ มือ “บุญภา 2020” ลุยอสังหาฯ ประเดิมโปรเจ็กต์มิกซ์ยูส 4,000 ล้า

ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ จับมือ “บุญภา 2020” บริษัทของ 2 ตระกูล “สวาทยานนท์-วรเศรษฐการกิจ” ลุยธุรกิจอสังหาฯ ประเดิมโปรเจ็กต์แรก “ออริจิ้น สมาร์ท คอมเพล็กซ์ บางนา” มิกซ์ยูส 4,000 ล้าน ย่านบางนา รับการเติบโตกรุงเทพฯ ฝั่งตะวันออก จากนโยบายอีอีซี-เมกะโปรเจ็กต์   นายพีระพงศ์ จรูญเอก ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) หรือ ORI เปิดเผยว่า ได้ร่วมกับบริษัท บุญภา 2020 จำกัดจัดตั้งบริษัทร่วมทุนจำนวน 2 บริษัท เพื่อร่วมกันพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยและโครงการอสังหาริมทรัพย์ที่สร้างรายได้ประจำ ภายใต้วิสัยทัศน์ ORIGIN NEXT LEVEL โดยมีการขยายธุรกิจทั้งเชิงกว้างและเชิงลึก   ที่ผ่านมา ผู้คนอาจชินกับภาพออริจิ้นร่วมทุนกับบริษัทต่างชาติหรือบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯเป็นหลัก แต่ความเป็นจริง เราเปิดกว้างในการสร้างความร่วมมือ หรือ Synergy เพื่อสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ กับพันธมิตรทุกรูปแบบ สำหรับโครงการนำร่องที่จะพัฒนาร่วมกันโครงการแรก คือ “ออริจิ้น สมาร์ท คอมเพล็กซ์ บางนา” (Origin Smart Complex Bangna) มูลค่าโครงการรวมกว่า 4,000 ล้านบาท เป็นโครงการมิกซ์ยูสขนาดใหญ่ติดถนนบางนา-ตราด บนพื้นที่รวมกว่า 8 ไร่ของกลุ่มบุญภา ภายในโครงการจะประกอบด้วย 2 โครงการย่อย ได้แก่ โครงการวัน ออริจิ้น มาสเตอร์พีซ บางนา (One Origin Masterpiece Bangna) เป็นโครงการร่วมทุนระหว่างกลุ่มบุญภาและบริษัท วัน ออริจิ้น จำกัด ตัวโครงการประกอบด้วยอาคารสำนักงานและพื้นที่ค้าปลีกรวม 29 ชั้น 1 อาคาร แบบ Leasehold 3+30 ปี พื้นที่รวม (Gross Floor Area) 56,700 ตร.ม. พื้นที่ให้เช่า (Lettable Area) ประมาณ 30,000 ตร.ม. คาดว่าจะเริ่มเปิดให้บริการได้ในช่วงปี 2567 โครงการที่ 2 คือ ออริจิ้น เพลส บางนา (Origin Place Bangna) เป็นโครงการร่วมทุนระหว่างกลุ่มบุญภาและบริษัท ออริจิ้น คอนโดมิเนียม จำกัด ผู้พัฒนาโครงการกลุ่ม Smart Condominium ในเครือออริจิ้น ตัวโครงการเป็นโครงการที่อยู่อาศัย ผสมผสานระหว่างคอนโดมิเนียมและอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน (Investment Property) แบบ Freehold สูง 26 ชั้น ภายในอาคารประกอบด้วยคอนโดมิเนียมพักอาศัย 1-2 ห้องนอน ขนาด 27-55 ตร.ม. จำนวน 774 ยูนิต คาดว่าจะเริ่มเปิดขายรอบ Presales ในช่วงไตรมาส 1/2565 เริ่มก่อสร้างในช่วงไตรมาส 2/2565 และก่อสร้างแล้วเสร็จช่วงไตรมาส 2/2567   สำหรับทำเลย่านบางนา-ตราด มีศักยภาพที่จะเติบโตอย่างต่อเนื่องจากการเกิดขึ้นของหลากหลายเมกะโปรเจ็คท์ อาทิ โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง ที่คาดว่าจะเกิดให้บริการช่วงกลางปี 2565 โครงการรถไฟฟ้ารางคู่ขนาดเบา บางนา-สุวรรณภูมิ โครงการเชื่อมต่อเส้นบางนากับสนามบินสุวรรณภูมิ ทำให้การเดินทางไปยังต่างจังหวัดและต่างประเทศสะดวกยิ่งขึ้น หลากหลายเมกะโปรเจ็คท์ที่อยู่อาศัย เมกะโปรเจ็คท์ด้านโลจิสติกส์ เติมเต็มย่านบางนา-ตราดให้มีความน่าสนใจมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ โครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) จะส่งผลให้เกิดการจ้างงานและมีความต้องการสำนักงานในทำเลที่เดินทางไป EEC ได้สะดวกอย่างเส้นบางนา-ตราด ขณะเดียวกัน กลุ่มบุญภา ก็มีที่ดินแปลงใหญ่ในย่านบางนา-ตราด ออริจิ้นเองก็ถือเป็นผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์จ้าวทำเลฝั่งตะวันออกของกรุงเทพฯ และ EEC ที่เติบโตและเชี่ยวชาญในทำเลนี้มานับสิบปี ประเมินว่าตลาดสำนักงานให้เช่าในทำเลศักยภาพยังคงมีแนวโน้มขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ช่วงเวลาที่โครงการของเราก่อสร้างแล้วเสร็จตอนปี 2567 น่าจะเป็นช่วงที่ตลาดขยายตัวอย่างเต็มที่ บางนา-ตราดจะกลายเป็นสุดยอดทำเลทองที่มีความต้องการทั้งที่อยู่อาศัยและสำนักงานให้เช่ามากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตามการเติบโตของเมกะโปรเจ็คท์จำนวนมหาศาล ด้านนายพิสิษฏ์พงศ์ วรเศรษฐการกิจ กรรมการบริหาร บริษัท บุญภา 2020 จำกัด กล่าวว่า บริษัทในเครือของบุญภามีประสบการณ์ในการพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์มาเป็นเวลาอันยาวนาน โดยเฉพาะในกลุ่ม Commercial Real Estate และ Industrial Real Estate เน้นลงทุนในที่ดินทำเลศักยภาพมาโดยตลอด ความร่วมมือกับออริจิ้นในครั้งนี้ มีความเชื่อมั่นเป็นอย่างยิ่งว่าจะสามารถนำความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ของทั้งสองกลุ่มมาร่วมกันพัฒนาโครงการคุณภาพที่จะสามารถส่งมอบคุณค่าให้กับลูกค้าในทำเลย่านบางนานี้ได้ โดยบริษัท บุญภา 2020 จำกัด ก่อตั้งขึ้นโดยทายาท 2 ตระกูลดัง ตระกูลสวาทยานนท์ และตระกูลวรเศรษฐการกิจ ซึ่งทั้ง 2 ตระกูล มีความเชี่ยวชาญในหลากหลายธุรกิจและอุตสาหกรรมมายาวนานกว่า 70 ปี อาทิ ธุรกิจเชือก แห อวน ธุรกิจพลาสติกและเคมี ธุรกิจบริหารและพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ธุรกิจสิ่งทอ โดยมีรายได้รวมจากธุรกิจในเครือปีละกว่า 8,000 ล้านบาท   ปัจจุบันบริษัท บุญภา 2020 จำกัด เป็นผู้ดำเนินธุรกิจพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ โดยบริษัทในเครือดำเนินธุรกิจหลากหลาย อาทิ กลุ่มบริษัทสยามบราเดอร์ ดำเนินธุรกิจเชือก แห อวน พลาสติกและเคมีภัณฑ์ มีบริษัทที่ดำเนินธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ภายใต้ชื่อโครงการต่างๆ เช่น The Master, สยามนิเวศน์, ทัศนีย์นิเวศน์, Burlington, ทรัพย์ทวี Factory Park มีธุรกิจสิ่งทอโดยบริษัทเอกรัตน์อุตสาหกรรมสิ่งทอ   นอกจากนี้ ยังดำเนินธุรกิจอาคารสำนักงานให้เช่าใน Prime Business Location เช่น อาคาร Thai CC Tower (อาคาร 34 ชั้นขนาด 110,000 ตร.ม. หน้าสถานีรถไฟฟ้าสุรศักดิ์ถนนสาทร) อาคารมหาทุนพลาซ่า (อาคาร 18 ชั้นขนาด 56,000 ตร.ม. หน้าสถานีรถไฟฟ้าเพลินจิต) อาคาร MS Siam Tower (อาคาร 38 ชั้นขนาด 80,000 ตร.ม. ริมถนนพระรามสาม) และอื่นๆ มีประสบการณ์มากมายและดำเนินธุรกิจอันมั่นคงและยาวนานมากกว่า 70 ปี
เดอะมอลล์ x โตโต้  ปรับโฉมห้องน้ำสาขาท่าพระ  รับวิถีชีวิตยุคโควิด-19

เดอะมอลล์ x โตโต้ ปรับโฉมห้องน้ำสาขาท่าพระ รับวิถีชีวิตยุคโควิด-19

เดอะมอลล์ จับมือ โตโต้ ตอบโจทย์ชีวิตคนเดินห้างยุคโควิด-19  รีโนเวทห้องน้ำ ใช้สุขภัณฑ์อัตโนมัติ สร้างพื้นที่ความสุขมากกว่าการขับถ่าย ขณะที่คนไทยยังเลือกซื้อสุขภัณฑ์ ด้วยการให้ความสำคัญกับ 3 เรื่องหลัก ดีไซน์ ขนาด​และราคา    ปัจจุบันพื้นที่ของ “ห้องน้ำ” ที่อยู่ตามห้างสรรพสินค้า หรือศูนย์การค้าต่าง ๆ ที่ผู้คนเข้าไปใช้บริการจำนวนมาก กลายเป็นพื้นที่สำคัญที่เจ้าของโครงการได้ให้ความสำคัญเป็นอันดับต้น ๆ ไม่ต่างจากพื้นที่ขาย แม้ว่า “ห้องน้ำ” จะไม่ใช่พื้นที่สร้างรายได้หรือยอดขาย แต่ถือว่าเป็นพื้นที่สร้างแรงดึงดูดให้คนได้เข้ามาใช้บริการภายในพื้นที่นั้น ๆ ได้เป็นอย่างดี   เทรนด์นี้จริง ๆ แล้วมีมานานมากพอสมควร เห็นได้จากปั๊มน้ำมันทั่วไป ที่ให้ความสำคัญกับห้องน้ำ มีการทุ่มงบประมาณในการสร้างให้สวยงาม บางแห่งมีการติดเครื่องปรับอากาศ แต่สำคัญที่สุด คือ การดูแลและทำความสะอาดให้ดีอยู่เสมอ ปั้นน้ำมันขนาดใหญ่หลายแห่ง จึงมีการติดข้อความประกาศว่า “ห้องน้ำสะอาด” เพื่อดึงดูดให้คนเข้ามาใช้บริการ   ปัจจุบันการทำให้ห้องน้ำสะอาดน่าใช้บริการ ไม่ใช่แค่เป็นจุดดึงดูดคนให้เข้ามายังพื้นที่เท่านั้น แต่การให้ความสำคัญกับความสะอาดของน้ำ เป็นเรื่องของสุขอนามัย และความปลอดภัย ภายใต้มาตรการด้านการรักษาความปลอดภัยในสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ด้วย เพราะห้องน้ำ คือ จุดสัมผัสที่มีโอกาสเกิดเชื้อโรคต่าง ๆ ได้ง่าย ไม่เฉพาะไวรัสโควิด-19 เท่านั้น และภายใต้วิถีชีวิตปกติใหม่ (New Normal) คนส่วนใหญ่ไม่ต้องการสัมผัสกับสิ่งของต่าง ๆ การนำเอาเทคโนโลยีแบบ Touchless จึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับสถานที่ต่าง ๆ ในยุคปัจจุบัน เดอะมอลล์ท่าพระ รีโนเวทใหญ่รอบ 32 ปี เดอะมอลล์ กรุ๊ป ถือเป็นผู้ดำเนินธุรกิจด้านการพัฒนาศูนย์การค้า ที่ได้ให้ความสำคัญกับพื้นที่ของ “ห้องน้ำ” เช่นกัน เพราะถือว่าเป็นพื้นที่หลักแห่งหนึ่งที่ลูกค้าต้องเข้าใช้บริการทุกครั้ง เมื่อเข้ามาซื้อสินค้าหรือใช้บริการภายในศูนย์การค้า เฉลี่ยอย่างน้อยคนละ 2 ครั้งต่อวัน  ทำให้แผนการรีโนเวทศูนย์การค้าเดอะมอลล์ไม่ว่าจะเป็น สาขางามวงศ์วาน ท่าพระ บางแค หรือบางกะปิ มีการดีไซน์พื้นที่ของห้องน้ำให้ทั้งสวย สะอาด มีการใช้งานที่สะดวกสบาย และมีจำนวนที่มากเพียงพอรองรับกับจำนวนลูกค้า   โดยล่าสุด เดอะมอลล์ กรุ๊ป​ ได้คัดเลือกสุขภัณฑ์โตโต้ (TOTO) เข้ามาใช้กับห้องน้ำของเดอะมอลล์ ท่าพระ เป็นสาขาแรก จากก่อนหน้านี้ใช้แบรนด์อเมริกันสแตนดาร์ดมาโดยตลอด รวมถึงการรีโนเวทสาขา งามวงศ์วาน ก็ได้ใช้สุขภัณฑ์ของอเมริกันสแตนดาร์ด   สาเหตุที่เดอะมอลล์ กรุ๊ป เลือกใช้สุขภัณฑ์จากแบรนด์โตโต้ นางเมธินี สุวรรณะบุณย์ ผู้อำนวยการใหญ่อาวุโส เดอะมอลล์ กรุ๊ป เปิดเผยว่า จากสถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ส่งผลให้คนส่วนใหญ่ หันมาให้ความสำคัญกับเรื่องของสุขอนามัยกันมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งสุขอนามัยในพื้นที่สาธารณะ เช่น ห้องน้ำ ขณะที่แผนการรีโนเวทศูนย์การค้าเดอะมอลล์ ให้ความสำคัญกับพื้นี่ภายในห้องน้ำ จึงเลือกสุขภัณฑ์ที่ลดการสัมผัส และมีคุณภาพมาตรฐานสุขอนามัย เป็นสินค้าที่มีเทคโนโลยี มีระบบอัตโนมัติ จึงเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ของโตโต้ เป็นเป็นสินค้าที่ตอบโจทย์ตรงกับศูนย์การค้าเดอะมอลล์   สำหรับแผนการรีโนเวทของเดอะมอลล์ กรุ๊ป ได้วางงบประมาณไว้ 20,000 ล้านบาท ภายในระยะ 5 ปีดำเนินการภายใต้คอนเซ็ปต์ A HAPPY PLACE TO LIVE LIFE : ชีวิตที่มีความสุขทุกครอบครัว ปัจจุบันรีโนเวทแล้วเสร็จ 2 ศูนย์การค้า คือ สาขางามวงศ์วาน และสาขาท่าพระ ซึ่งสาขาท่าพระเป็นสาขาล่าสุดที่เปิดให้บริการหลังจากการรีโนเวทมาได้ 1 ปี ภายใต้การออกแบบตกแต่งภายในด้วยคอนเซ็ปต์ URBAN PLAYGROUND สร้างพื้นที่แห่งความสนุก สุขทุการใช้ชีวิตสำหรับทุกคนในครอบครัว  ด้วยงบประมาณการลงทุน 3,000 ล้านบาท บนพื้นที่ 150,000 ตารางเมตร ถือเป็นการรีโนเวทครั้งใหญ่ที่สุดในรอบ 32 ปีนับตั้งแต่สาขาท่าพระเปิดให้บริการมาตั้งแต่ปี 2532 คนมาเดินห้างเฉลี่ยวันละ 2-3 ชั่วโมงในวันหยุด และประมาณ 1.30 ชั่วโมงในวันธรรมดา และใช้ห้องน้ำอย่างน้อย 2 ครั้ง เข้าเมื่อมาถึงและเข้าก่อนออกจากห้าง ซึ่งสิ่งที่ลูกค้าต้องการคือ ห้องน้ำสะอาด และมีฟังก์ชั่นการใช้งานที่ตอบโจทย์ชีวิตนิว นอร์มอล โตโต้ แนะ 2 เรื่องเลือกซื้อสุขภัณฑ์ให้คุ้มค่า ด้านนายทาคายะสุ ชิมาดะ ประธานบริษัท โตโต้ (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า  คนไทยส่วนใหญ่เลือกซื้อสุขภัณฑ์โดยพิจารณาจาก 3 เหตุผลหลัก​​​ ได้แก่  1.ดีไซน์ 2.ขนาดของสุขภัณฑ์ และ 3.ราคา  แต่ความจริงหลักการเลือกสุขภัณฑ์ที่ดีนั้น ควรเลือกจาก 2 เหตุผลนี้ คือ 1.การฟลัชน้ำครั้งเดียวต้องสะอาด และ 2.สุขภัณฑ์ต้องทำความสะอาดง่าย 1.การฟลัชน้ำครั้งเดียวต้องสะอาด เพราะตามปกติในชีวิตปกติประจำวัน คนจะใช้ห้องน้ำเฉลี่ยวันละ 1-2 ครั้งเป็นอย่างน้อย หากสุขภัณฑ์ไม่ประหยัดน้ำ หรือกดครั้งเดียวไม่สะอาด ก็จะทำให้สูญเสียน้ำต่อวันเป็นจำนวนมาก เพราะการกดน้ำเพื่อชำระสิ่งสกปรก 1 ครั้งจะต้องใช้น้ำประมาณ 6 ลิตร หากกดฟลัชแล้วไม่สะอาดจะทำให้การใช้น้ำมีปริมาณเพิ่มมากขึ้น การใช้สุขภัณฑ์ที่สามารถฟลัชน้ำเพียงครั้งเดียวแล้วสะอาด จะช่วยทำให้ประหยัดน้ำ และยังทำให้ถูกสุขลักษณะทีดี 2.สุขภัณฑ์ต้องทำความสะอาดง่าย สุขภัณฑ์ที่ดี วัสดุจะต้องทำความสะอาดได้ง่าย หรือจะไม่มีสิ่งปฏิกูลเกาะติดได้ง่าย ซึ่งคุณสมบัติที่ดีอย่างแรก คือ เมื่อฟลัชน้ำแล้วสามารถชำระสิ่งปฏิกูลออกไปได้ทั้งหมด หลังจากนั้นการใช้งานตามปกติ หากต้องมีการทำความสะอาดจะต้องทำความสะอาดได้ง่าย วัสดุต้องไม่เกิดคราบสกปรกหรือคราบฝังแน่นได้ง่าย  ส่วนเรื่องราคาและดีไซน์ เป็นเรื่องที่ตามมาเป็นโจทย์ที่ผู้บริโภคจะต้องพิจารณาให้ดี ซึ่งการซื้อสุขภัณฑ์ที่มีราคาถูกอาจจะไม่ได้คุณสมบัติในการช่วยประหยัดน้ำ หรือดีไซน์ที่สวยงามแต่การใช้งานไม่ได้ฟังก์ชั่นอื่น ก็อาจจะทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมภายหลัง   ทั้ง 2 เรื่องดังกล่าว จึงเป็นโจทย์ทางการตลาด ที่ทางโตโต้ต้องการสื่อสารและสร้างความเข้าใจให้กับผู้บริโภคคนไทย จึงทำให้เกิด Restroom Revolution แคมเปญการตลาดและการสื่อสารการตลาด ที่ทำอย่างไรให้การใช้สุขภัณฑ์ได้อย่างมีความสุข ซึ่งเริ่มทำมาตั้งแต่ปี  2563 มาจนถึงปัจจุบัน และในปี 2565 ยังเป็นแคมเปญการตลาดที่ทำต่อเนื่องด้วย ซึ่งหนึ่งเรื่องสำคัญของแคมเปญดังกล่าว คือ การปรับปรุงพื้นที่ห้องน้ำในสถานที่ต่าง ๆ เพื่อการใช้ห้องน้ำให้เป็นพื้นที่ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตอย่างแท้จริง ไม่ใช่แค่เรื่องการขับถ่าย นอกจากนี้ โตโต้ยังวางแผนขยายฐานลูกค้าไป ยังกลุ่มลูกค้าใหม่ ๆ เพิ่มเติมไม่ว่าจะเป็นช้อปปิ้งมอลล์ ห้างสรรพสินค้า จากเดิมที่โฟกัสและทำตลาดในกลุ่มคอนโดมิเนียมและโรงแรมเป็นหลัก    
เซ็นทรัลพัฒนา เตรียมเปิด “เซ็นทรัล วิลเลจ” เฟส 2 ต้นปี 65

เซ็นทรัลพัฒนา เตรียมเปิด “เซ็นทรัล วิลเลจ” เฟส 2 ต้นปี 65

เซ็นทรัลพัฒนา เตรียมเปิด เซ็นทรัล วิลเลจ เฟส 2 ต้นปี 65 หลังเฟสแรกทำยอดการเช่าสูง 99% พร้อมเดินหน้า 4 กลยุทธ์สร้างความสำเร็จต่อ ​ นายชาติ จิราธิวัฒน์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ฝ่ายพัฒนาโครงการ บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา  จำกัด (มหาชน) หรือ CPN เปิดเผยว่า ได้เตรียมเปิดโครงการเซ็นทรัล วิลเลจ ในเฟสที่ 2 วันที่ 28 มกราคม 2565 ตามแผนที่ได้วางเอาไว้ หลังจากโครงการได้เปิดให้บริการในเฟสแรกไปเมื่อเดือนสิงหาคม 2562 ซึ่งถือว่าประสบความสำเร็จ จากการตอบรับที่ดีของทั้งกลุ่มลูกค้าคนไทยและต่างชาติ   โดยเฟสแรกมียอดทราฟฟิกที่สูงในวันเปิดตัว มีอัตราการเข้าใช้พื้นที่ (Occupancy Rate) 99% มาตลอด และหลังคลายล็อคดาวน์มียอด Transaction เฉลี่ยเพิ่มขึ้น 14% (เปรียบเทียบปี 2020 กับ 2021) หลายแบรนด์มียอดขายที่ดีเกินความคาดหมายหรือ Impressive Sales อาทิ JIM THOMPSON FACTORY STORE, THE COSMETICS COMPANY STORE รวมถึงแบรนด์ที่เป็น Exclusive Stores ก็มียอดขายที่ดี ได้แก่ ERMENEGILDO ZEGNA, POLO RALPH LAUREN, CALVIN KLEIN, TOMMY HILFIGER, MARIMEKKO, BATH & BODY WORKS, VICTORIA’S SECRET, OUTLET BY CLUB21, COACH, MICHAEL KORS, KATE SPADE และ ADIDAS ในเฟส 2 มีกลยุทธ์ที่ช่วยสร้างความมั่นใจให้คู่ค้า ด้วยกลยุทธ์การตลาดที่ช่วยดึงดูดทราฟฟิก  ซึ่งเป็นความสำเร็จของเราในทุกโครงการ อย่างเซ็นทรัล ศรีราชา, เซ็นทรัล อยุธยา ที่มียอดทราฟฟิกที่ดีตั้งแต่วันแรก รวมไปถึงแผนธุรกิจที่จะช่วยให้คู่ค้าขยายธุรกิจได้อย่างมั่นใจ กับ Flexible Leasing Programme 4 กลยุทธ์สร้างการเติบโตต่อเนื่องในโครงการเฟส 2 1.การเพิ่มแบรนด์สินค้าใหม่ โดยเฟส 2 มีแบรนด์ใหม่ๆ หลากหลายเติมเต็มทุก lifestyle ทั้งกลุ่ม Sport & Adventure สำหรับแฟชั่นกีฬาที่เจาะลึก ทั้ง Golf, การวิ่ง กลุ่มเครื่องสำอางและแฟชั่น อย่าง Pomelo, Beautrium กลุ่มครอบครัว ทั้งร้านของเล่นแบรนด์ดังจากญี่ปุ่น, ร้าน Pet N Me ครั้งแรกของเอาท์เล็ต ซึ่งเป็น Category ใหม่สำหรับเอาท์เล็ตในเมืองไทย, B2S เอาท์เล็ตครั้งแรก และแบรนด์ technology อย่าง XIAOMI BY Dimi Technology 2.ขยายฐานลูกค้ากำลังซื้อสูงอย่างต่อเนื่อง โดยขยายฐานลูกค้าทั้งในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล รวมถึงมีลูกค้าประจำที่อยู่รอบศูนย์ฯ มีโรงเรียนอินเตอร์, หมู่บ้านระดับกลางถึงไฮเอนด์ ซึ่งฐานลูกค้าสำคัญ ได้แก่ -กลุ่ม Family ด้วยการเพิ่มแบรนด์ดังจากประเทศญี่ปุ่น อาทิ สินค้า Home & Living, เครื่องครัว, ของเล่นเด็กและเสื้อผ้า พร้อมด้วยสนามเด็กเล่นขนาดใหญ่แบบ Full-scale playground, Pet-Friendly สร้างคอมมิวนิตี้คนรักสัตว์ และร้านชา-กาแฟ สไตล์ญี่ปุ่น -กลุ่ม Wealth เจาะกลุ่มลูกค้ากำลังซื้อสูง ด้วยการจัดกิจกรรม Supercar meeting ทุกสัปดาห์ และใช้ฐานลูกค้าของศูนย์การค้าเซ็นทรัลในสาขาอื่น ๆ ทั่วประเทศมาต่อยอดทำ CRM Marketing -กลุ่ม Sport Lifestyle ด้วยการเพิ่มแบรนด์ใหม่ ๆ อาทิ Rev-Runner ร้านรองเท้าวิ่ง และอุปกรณ์วิ่งโดยเฉพาะ, Columbia อุปกรณ์แคมป์ปิ้ง, จักรยาน, กอล์ฟ, วิ่ง และลาน Skate park  ทำให้โครงการกลายเป็น Sport Destination มีกลุ่มคนที่ชื่นชอบการเล่นกีฬา เล่น Skateboard 3.เพิ่มช่องทางการขาย Intensive Omnichannel ทั่วประเทศ การเพิ่มช่องทางออนไลน์ CHAT & SHOP ทำให้สามารถขายสินค้าได้ทั่วประเทศ รวมถึงมีแผนเจาะกลุ่มตลาดเอเชียและอาเซียน โดยเฉพาะกลุ่ม CLMV และมาเลเซีย 4.การสร้าง Festive Vibes ตลอดทั้งปี อาทิ การเป็น Food destination รวมร้านอาหารดังไว้มากมาย และ “ตรอกญี่ปุ่น”​ สำหรับคนชื่นชอบอาหารญี่ปุ่น จุด Attraction landmark อาทิ ลานน้ำพุขนาดใหญ่  ช่วงเทศกาลปลายปีเตรียมต้นคริสต์มาสยักษ์กลางลานน้ำพุ การประดับไฟทั่วทั้งพื้นที่ จุด Instagrammable Photo Landmark สีสันสดใสทั่วทั้งศูนย์ฯ   สำหรับโครงการเซ็นทรัล วิลเลจ​ มีมูลค่าโครงการรวม 5,000 ล้านบาท บนพื้นที่ 36,000 ตร.ม. มีที่จอดรถมากกว่า 2,000 คัน เดินทางจากในเมืองประมาณ 30-45 นาที  ใกล้สนามบินสุวรรณภูมิ ซื้อสินค้าแบรนด์เนมลดสูงสุด 35-70% ช่วงแคมเปญพิเศษลดถึง 90% เปิดให้บริการทุกวัน จันทร์ - ศุกร์ เวลา 11.00 - 21.00 น. เสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ เวลา 10.00 - 22.00 น. โดยโครงการในเฟส 2 ยังคงมีดีไซน์ต่อเนื่องกับเฟสแรกกับเอกลักษณ์ Thai Modern พร้อมได้แรงบันดาลใจมาจากวิถีชีวิตและศิลปวัฒนธรรมไทย นำเสนอในรูปแบบหมู่บ้านไทยร่วมสมัยที่  โดยเฟส 2 ได้ขยายเพิ่มอีก 4 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่บ้านช่างทอ (Textile Village) โดดเด่นด้วยลายเส้นผ้าทอของไทย, หมู่บ้านช่างก่อ (Brick Village) กับการก่ออิฐเป็นแพทเทิร์นที่แปลกตา, หมู่บ้านช่างลายคราม (Porcelain Village) นำความสวยงามของเครื่องลายครามมาออกแบบให้มีลูกเล่น และหมู่บ้านช่างเงินช่างทอง (Goldsmith Village) กับลวดลายสีเงินสีทองสื่อถึงความหรูหราและความประณีตท่ามกลางบรรยากาศแบบ Outdoor Experience ที่ร่มรื่นด้วยพื้นที่สีเขียว ทางเดินมีหลังคาที่กว้างขึ้น  มีน้ำพุ, บ้านต้นไม้, ภูเขา และจุดถ่ายรูปไฮไลท์ Instagrammable Landmarks รวมถึงมีการจัดอีเว้นท์ งานอาร์ต ศิลปะร่วมสมัย ที่หมุนเวียนตลอดทั้งปี   นอกจากนี้ การจับมือกับพาร์ทเนอร์ มิตซูบิชิ เอสเตท (ไทยแลนด์) ​ยังเป็นอีกหนึ่งจุดแข็งสำคัญ โดยเซ็นทรัลพัฒนามีความเชี่ยวชาญในการพัฒนาโครงการที่เป็น Destination Landmark มาแล้วทั่วประเทศ ตอนนี้มี 36 สาขาในประเทศไทยและต่างประเทศ สามารถเจาะกลุ่มลูกค้ากำลังซื้อสูงซึ่งเป็นฐานลูกค้าของศูนย์การค้าเซ็นทรัล  ผ่านช่องทาง Intensive Omnichannel ในขณะที่มิตซูบิชิ เอสเตท กรุ๊ป มีประสบการณ์ในการพัฒนาเอาท์เล็ตชื่อดังของเอเชีย ทำให้เซ็นทรัล วิลเลจ เป็นลักชูรี่เอาท์เล็ต ที่มีศักยภาพและมาตรฐานไม่แพ้เอาท์เล็ตแห่งอื่นของโลก   ด้านนานยโทโมฮิโกะ เองูจิ กรรมการผู้จัดการ บริษัท มิตซูบิชิ เอสเตท (ไทยแลนด์) กล่าวว่า โครงการเซ็นทรัล วิลเลจ เป็นหนึ่งในการบุกเบิกพอร์ตโฟลิโอใหม่ของบริษัทฯ ที่ได้รุกตลาดลักชูรี่เอาท์เล็ตครั้งแรกในประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งการร่วมเป็นพันธมิตรกับเซ็นทรัลพัฒนา ในแบบ “Two Nations, One Success” ได้พิสูจน์แล้วถึงความสำเร็จของเซ็นทรัล วิลเลจ ในเฟสแรก โดยบริษัทยังคงเชื่อมั่นในศักยภาพการเติบโตและการฟื้นตัวด้านการท่องเที่ยวของประเทศไทย รวมไปถึงความต้องการซื้อสินค้าแบรนด์เนมในประเทศไทยที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง สำหรับการขยายโครงการเฟสสอง ทางมิตซูบิชิฯ เตรียมแผนที่จะดึงแบรนด์สินเค้าของประเทศญี่ปุ่นเข้ามาเปิดตลาดในไทยมากขึ้น ​   อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง CPN ยืนยัน “เซ็นทรัล วิลเลจ” เปิดแน่ 31 สิงหาคมนี้ มั่นใจได้รับอนุญาตและก่อสร้างถูกต้อง เปิดพรุ่งนี้ (วันที่ 31 สิงหาคม 2562) แน่นอน !!!  หลังศาลปกครองสั่งคุ้มครอง “เซ็นทรัล วิลเลจ” ช้อปเลย รออะไร? เซ็นทรัล วิลเลจ เปิดวันแรก ลูกค้ารอเปิดประตูกว่า 2,000 คน
IWG x รัตนากร ขยายสำนักงานให้เช่า วางเป้า 10 ปี 40 แห่งทั่วไทย

IWG x รัตนากร ขยายสำนักงานให้เช่า วางเป้า 10 ปี 40 แห่งทั่วไทย

IWG x รัตนากร แอสเซท ลงนามสัญญาแฟรนไชส์ บริหารพื้นที่สำนักงานให้เช่า 40 แห่งทั่วไทย ใน 10 ปี ตอบสนองการทำงานแบบไฮบริด ประเดิมปี 65 เปิด 5 แห่ง ได้แก่ ในเมืองพัทยา ชลบุรี ศรีราชา ระยอง     มาร์ค ดิกสัน ผู้ก่อตั้งธุรกิจและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร IWG เปิดเผยว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 หลายธุรกิจเล็งเห็น และปรับตัวอย่างรวดเร็วเพื่อตอบรับความต้องการในการทำงานแบบไฮบริด (Hybrid working) ซึ่งมีธุรกิจจำนวนมากทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ กำลังนำมาใช้อยู่ เพื่อดึงดูดและรักษาบุคลากรที่มีความสามารถไว้ได้ ไม่เพียงเท่านั้นการปรับเปลี่ยนมาสู่โมเดลการทำงานในรูปแบบดังกล่าว ยังช่วยลดต้นทุนการดำเนินงานได้อีกด้วย บรรดาธุรกิจต่าง ๆ กำลังกำหนดพื้นที่การทำงานใหม่ ให้เข้าไปใกล้ที่พักของบุคลากรมากขึ้น เพื่อให้พวกเขาสามารถทำงานได้อย่างยืดหยุ่น เป็นการเปลี่ยนแปลง ที่ตอบสนองความต้องการและความจำเป็นของบุคลากร ปัจจุบันการทำงานแบบยืดหยุ่นที่ไม่ยึดติดกับสถานที่ ได้รับความนิยมมากขึ้นในหลากหลายอาชีพ โดยเฉพาะกลุ่มคนยุคมิลเลนเนียม (เจเนอเรชั่น วาย) ซึ่งคุ้นชินกับดิจิทัลเทคโนโลยีและชื่นชอบในความคล่องตัวและยืดหยุ่นในการทำงาน การทำงานแบบไฮบริดพนักงานไม่เพียงแต่ได้ทำงานในสถานที่ที่หลากหลาย ยังใช้เวลาในการเดินทางไปทำงานลดลง สามารถทำงาน ณ สถานที่แห่งไหนก็ได้ สำนักงาน บ้าน หรือ พื้นที่ทำงานในรูปแบบ Flexible Workspace เป็นแนวทางการทำงานที่มีความยืดหยุ่นสูง ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานมากขึ้น   ล่าสุด IWG  ได้เซ็นสัญญามอบสิทธิ์หลักในการบริหารแฟรนไชส์ระดับภูมิภาคหรือมาสเตอร์แฟรนไชส์ให้กับ รัตนากร แอสเซท ผู้ประกอบการด้านอสังหาริมทรัพย์ของไทย เป็นผู้ร่วมพัฒนาและขยายธุรกิจในประเทศไทย ภายใต้ข้อตกลงแฟรนไชส์ที่ รัตนากร แอสเซท สามารถพัฒนาพื้นที่สำนักงานให้เช่าแบบยืดหยุ่น (Flexible Workspace) ได้ทุกจังหวัดทั่วทุกภูมิภาคในประเทศไทย ยกเว้นกรุงเทพฯ และปริมณฑล โดยในปี 2565 รัตนากร แอสเซท ร่วมมือกับ IWG เปิดศูนย์ใหม่ จำนวน 5 แห่ง ได้แก่ ในเมืองพัทยา จำนวน 2 แห่ง ในชลบุรี ศรีราชา และระยอง พื้นที่ละ 1 แห่ง ซึ่งการเปิดศูนย์แห่งใหม่นี้เป็นกลยุทธ์การขยายธุรกิจร่วมกันระหว่าง IWG และ รัตนากร แอสเซท โดยตั้งเป้าเปิดศูนย์อย่างน้อย 40 แห่งทั่วไทยภายใน 10 ปี   นายมาร์ค กล่าวว่า ความต้องการ ในการทำงานแบบไฮบริด ของหลายธุรกิจที่เพิ่มสูงขึ้นนี้ ประกอบกับการคิดทบทวนใหม่ ในกลยุทธ์การดำเนินงานด้านอสังหาริมทรัพย์ จึงเกิดเป็นความร่วมมือทางธุรกิจร่วมกับรัตนากร แอสเซท ที่จะเอื้อประโยชน์ให้เกิดการขยายธุรกิจได้รวดเร็วขึ้น ตอบสนองความต้องการของผู้คนในการทำงานแบบไฮบริดทั่วประเทศไทย และรองรับการขยายตัวของสังคมเมือง ซึ่งเป็นหนึ่งในเมกะเทรนด์ที่เกิดขึ้นทั่วโลกมาอย่างต่อเนื่อง การกระจายความเจริญจากเมืองหลวงสู่หัวเมืองใหญ่ ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คน ทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคมในหลากมิติ   ปัจจุบัน IWG ผู้ให้บริการพื้นที่สำนักงานให้เช่าในรูปแบบ Flexible Workspace แถวหน้าระดับโลก เปิดดำเนินการมาเป็นเวลากว่า 30 ปี  สำหรับในประเทศไทยนั้น IWG เปิดให้บริการตั้งแต่ปี 2542 ปัจจุบันมีสาขาเปิดให้บริการในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัดทั้งสิ้น 26 แห่งนับตั้งแต่ต้นปี 2564 IWG มีลูกค้าใหม่ในเครือข่ายทั่วโลกเพิ่มขึ้นถึง 2 ล้านราย เนื่องจากบริษัทต่าง ๆ รับรู้ถึงประโยชน์ของการให้พนักงานเข้าถึงสำนักงานให้เช่าระดับมืออาชีพที่มีอุปกรณ์ครบครันที่ตั้งอยู่ใจกลางเมืองบนทำเลไม่ไกลจากที่พักอาศัย   ด้านนายจักรรัตน์ เรืองรัตนากร กรรมการผู้จัดการ บริษัท รัตนากร แอสเซท จำกัด บริษัทอสังหาริมทรัพย์ของไทยที่มีประสบการณ์มากกว่า 20 ปี มีมูลค่าสินทรัพย์กว่า 33,000 ล้านบาท ดำเนินงานครอบคลุม ทั้งที่อยู่อาศัย พื้นที่ค้าปลีก โรงงาน และโรงแรม กล่าวว่า บริษัทมีแผนจัดหาพื้นที่สำนักงานให้เช่าในพื้นที่ซึ่งเป็นศูนย์กลางของแต่ละภูมิภาค อย่างเชียงใหม่ เชียงราย และภูเก็ต โดยศูนย์เหล่านี้จะอยู่ในโครงการมิกซ์ยูสที่มีอยู่แล้วบางส่วน รวมถึงโรงแรม คอนโดมิเนียม ห้างสรรพสินค้า และพื้นที่ค้าปลีกที่บริษัทบริหารจัดการอยู่ เพื่อให้ลูกค้าได้มีพื้นที่ทำงานที่สะดวกสบายพร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ โดยจะช่วยยกระดับชีวิตของผู้คนให้ใช้ชีวิตอย่างสมดุล ทั้งการทำงานและการใช้ชีวิตส่วนตัว นี่เป็นการตอบโจทย์แนวโน้มการทำงานแบบไฮบริด คนกลุ่มนี้จะแสวงหาสถานที่ใหม่ ๆ ที่ชื่นชอบและเลือกใช้เป็นสถานที่ในการทำงานสำหรับพวกเขา ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้ยังก่อให้เกิดประโยชน์แก่ธุรกิจท้องถิ่นอีกด้วย การทำธุรกิจไม่จำเป็นต้องมีสำนักงานเป็นของตัวเอง หรือทำสัญญาเช่าระยะยาวอีกต่อไป นายจักรรัตน์ กล่าวอีกว่า ​IWG เป็นโคเวิร์กกิ้งสเปซที่ใหญ่ที่สุดในโลก ด้วยแบรนด์ที่หลากหลาย ดังนั้น รัตนากร แอสเซท จึงร่วมมือกับ IWG เพราะเชื่อมั่นในธุรกิจ flexspace หรือ พื้นที่พร้อมใช้ตามความต้องการ และมองเห็นโอกาสในการเติบโตของธุรกิจนี้ การเป็นพันธมิตรทางธุรกิจระหว่างรัตนากร แอสเซท กับ IWG มุ่งเน้นไปที่การพัฒนาร่วมกัน ซึ่งจะส่งผลให้รัตนากร แอสเซท สามารถขยายธุรกิจและเติบโตต่อไปในอนาคต​​
วัน แบงค็อก ดึง 6 ผู้รับเหมาพัฒนาเฟสแรก พื้นที่ 1.3 ล้านตร.ม.เสร็จใช้ปี 66

วัน แบงค็อก ดึง 6 ผู้รับเหมาพัฒนาเฟสแรก พื้นที่ 1.3 ล้านตร.ม.เสร็จใช้ปี 66

โครงการวัน แบงค็อก อภิมหาโปรเจ็กต์ 1.2 แสนล้าน แต่งตั้ง 6 ผู้รับเหมาแนวหน้า พัฒนาเฟสแรก พื้นที่ 1.3 ล้าน ตร.ม. กำหนดแล้วเสร็จปี 66   โครงการวัน แบงค็อก​ (One Bangkok) อภิมหาโปรเจ็กต์ที่มีมูลค่าการลงทุนกว่า 120,000 ล้านบาท (เฉพาะการลงทุนพัฒนาไม่รวมค่าที่ดิน) บนพื้นที่รวมกว่า 1.83 ล้านตารางเมตร  ของตระกูลสิริวัฒนภักดี หรือ “เสี่ยเจริญ” มหาเศรษฐีของเมืองไทย  ได้แต่งตั้ง 6 บริษัทผู้รับเหมา เพื่อพัฒนางานก่อสร้างอาคารต่าง ๆ   โดยจะพัฒนาในเฟสแรก ที่ประกอบด้วยอาคารสูง 8 อาคาร และพื้นที่รีเทลและพื้นที่ไลฟ์สไตล์ 3 แห่ง บนพื้นที่รวมทั้งหมด 896,000 ตารางเมตร ที่พร้อมจะเปิดให้บริการในปี 2566 ซึ่งเมื่อรวมกับพื้นที่งานโครงสร้างใต้ดิน 500,000 ตารางเมตร จะมีพื้นที่ของโครงสร้างในส่วนนี้ทั้งหมดกว่า 1.3 ล้านตารางเมตร สำหรับผู้รับเหมาแต่ละรายมีขอบข่ายงานดังนี้ 1.ไทยโอบายาชิ (บริษัท นันทวัน จำกัด) ดูแลงานก่อสร้างอาคารสำนักงาน พื้นที่รีเทลและพื้นที่ไลฟ์สไตล์ บนพื้นที่ 200,000 ตารางเมตร   2.อิตาเลียนไทย-ไทยทาเคนาคา (จากการร่วมทุนระหว่าง บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) และบริษัท ไทยทาเคนาคาสากลก่อสร้าง จำกัด) ดูแลงานก่อสร้างอาคารสำนักงาน พื้นที่รีเทลและพื้นที่ไลฟ์สไตล์ บนพื้นที่ 280,000 ตารางเมตร   3.บริษัท พรีบิลท์ จำกัด (มหาชน) ดูแลงานก่อสร้างอาคารสำนักงาน อาคารที่อยู่อาศัย พื้นที่รีเทลและพื้นที่ไลฟ์สไตล์ บนพื้น 260,000 ตารางเมตร   4.บริษัท วิศวภัทร์ จำกัด ดูแลงานก่อสร้างโรงแรมและอาคารที่อยู่อาศัย บนพื้นที่ 80,000 ตารางเมตร   5.บริษัท กรณิศ ก่อสร้าง จำกัด ดูแลงานก่อสร้างโรงแรม 2 อาคาร บนพื้นที่ 46,000 ตารางเมตร   6.บริษัท ที.ที.เอส.เอ็นจิเนียริ่ง (2004) จำกัด ดูแลงานก่อสร้างศูนย์ประชุม บนพื้นที่ 30,000 ตารางเมตร   สำหรับโครงการวัน แบงค็อก พัฒนาภายใต้บริษัท วัน แบงค็อก โฮลดิ้งส์ จำกัด เป็นกิจการร่วมทุนระหว่างบริษัท ทีซีซี แอสเซ็ทส์ (ประเทศไทย) จำกัด และบริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ โฮลดิ้งส์ (ประเทศไทย) จำกัด เมื่อเสร็จสมบูรณ์ จะเป็น โครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์โดยภาคเอกชนที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทยใจกลางเมือง ซึ่งเมื่อเสร็จสมบูรณ์แล้วจะประกอบด้วยอาคารสูงทั้งหมด 11 อาคาร พื้นที่รีเทลและพื้นที่ไลฟ์สไตล์ 4 แห่ง ได้แก่ อาคารสำนักงานแบบพรีเมี่ยมเกรดเอ จำนวน 5 อาคาร พื้นที่รีเทล 4 โซน โรงแรมระดับลักชัวรี่ จำนวน 5 แห่ง อาคารที่พักอาศัยระดับลักชัวรี่อีกจำนวน 3 อาคาร   นอกจากนี้ ยังมีพื้นที่ศูนย์กลางสำหรับการจัดกิจกรรมและการแสดงผลงานทางศิลปะและวัฒนธรรมที่เชื่อมต่อทั่วถึงกันทั้งโครงการ โดยมีพื้นที่ทั้งหมดมีขนาด 104 ไร่ หรือ 166,440 ตารางเมตร บนถนนวิทยุและถนนพระราม 4 โครงการ วัน แบงค็อก พร้อมเปิดให้บริการเฟสแรกในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2566 และคาดว่าจะเสร็จสมบูรณ์ในปี 2570   นายปณต สิริวัฒนภักดี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มบริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ ลิมิเต็ด ผู้พัฒนาโครงการวัน แบงค็อก เปิดเผยว่า ได้จับมือร่วมกับผู้รับเหมาระดับแนวหน้าของไทย เดินหน้าการก่อสร้างเฟสแรกที่สมบูรณ์แบบที่สุด เป้าหมายเพื่อให้โครงการวัน แบงค็อกได้เป็นแลนด์มาร์คระดับโลกอย่างสง่างาม พร้อมดึงดูดนักลงทุนและนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ อีกทั้งเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนและกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศให้กลับคืนสู่ภาวะปกติโดยเร็ว   เรามีความเชื่อมั่นในการผสานพลังอันแข็งแกร่งของทุกภาคส่วน และด้วยมาตรฐานการก่อสร้างที่ใส่ใจในทุกมิติ ผู้รับเหมาทั้งหมดจึงล้วนผ่านการคัดสรรโดยพิจารณาจากความเชี่ยวชาญ ชื่อเสียง และประสบการณ์ในการก่อสร้างโครงการอสังหาริมทรัพย์ชั้นนำทั้งในประเทศและต่างประเทศ นอกจากนั้น ผู้รับเหมาทุกรายต่างได้รับการรับรองมาตรฐานระดับนานาชาติทั้งในด้านการบริหารงานก่อสร้างที่เป็นระบบ คุณภาพ และความปลอดภัย ทำให้ระยะเวลาการก่อสร้างเป็นไปอย่างรวดเร็วตามแผนงานที่กำหนดและเปี่ยมไปด้วยประสิทธิภาพ หากเปรียบเทียบกับโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ระดับอินเตอร์เนชั่นแนลที่มีพื้นที่ใกล้เคียงกัน บริษัทยังคงมุ่งมั่นที่จะพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนของประเทศ รวมถึงเป็นผู้นำด้านการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่แข็งแกร่งของกรุงเทพฯ ในภูมิภาคนี้ ตามนโยบายของกลุ่มบริษัทเฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้   ด้านนางสาว ซู หลิน ซูน ประธานเจ้าหน้าที่บริหารโครงการ วัน แบงค็อก กล่าวเสริมว่า โครงการ วัน  แบงค็อก ถือเป็นโครงการขนาดใหญ่ที่สุดใจกลางเมือง และมีความละเอียด ซับซ้อน ดังนั้นผู้พัฒนาโครงการและ ผู้รับเหมาทั้งหมดจึงต้องมีความเชี่ยวชาญ ในการวางแผน การบริหาร การจัดการ การตรวจสอบและควบคุมมาตราฐานคุณภาพ เพื่อรับมือกับความท้าทายจากงานก่อสร้างที่อยู่ภายในพื้นที่ใจกลางเมืองเช่นนี้   โดยทุกบริษัทล้วนมีประสบการณ์ในการก่อสร้างโครงการที่มีข้อกำหนดภายใต้มาตรฐาน LEED ซึ่งเป็นมาตรฐานสำหรับการออกแบบและก่อสร้างอาคารสีเขียวที่ยั่งยืนและได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลายที่สุดในโลก รวมถึงมาตรฐาน WELL ซึ่งเป็นมาตรฐานระดับสูงสุดที่ใช้กับอาคาร การออกแบบพื้นที่เพื่อสุขอนามัยของผู้อยู่อาศัย สอดคล้องกับเป้าหมายของของ วัน แบงค็อก ที่มุ่งสู่การเป็นโครงการแรกในประเทศไทยที่ได้รับการรับรองทั้งมาตรฐาน LEED for Neighborhood Development ระดับ Platinum สำหรับการพัฒนาชุมชนแวดล้อม  และมาตรฐานรับรองอาคาร WELL เพื่อสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีของผู้อยู่อาศัยและผู้ใช้อาคาร   อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง -“วัน แบงค็อก” เผยโฉมมาสเตอร์แพลน บิ๊กโปรเจ็กต์ 120,000 ล้าน