Ryl Info Law Rent 1200x628

อยากปล่อยเช่าอสังหาฯ ต้องรู้กฎหมายที่เกี่ยวข้อง จะได้ไม่มีปัญหาภายหลัง

Categories : Life+Style
Tags : , , , ,

ปล่อยเช่าอสังหาฯ

การปล่อยเช่าอสังหาฯ หรือคอนโดมิเนียม อาจจะดูเหมือนไม่ได้มีอะไรยุ่งยาก ใครเป็นเจ้าของห้องคอนโด บ้าน หรืออาคารพาณิชย์ก็สามารถปล่อยเช่าได้ง่าย ๆ ไม่ยุ่งยากอะไร แต่สำหรับมือใหม่ที่อาจจะยังไม่เคยมีประสบการณ์มาก่อนก็คงต้องหาความรู้ ศึกษาข้อมูล ขั้นตอนและวิธีการเพื่อให้สามารถปล่อยเช่าได้ค่าเช่าตามที่ต้องการ และถูกต้องตามกฎหมายด้วย ​

 

โดยเรื่องสำคัญ ที่เจ้าของห้องจะต้องดำเนินการให้ถูกต้องตามกฎหมาย ในการปล่อยเช่าอสังหาฯ เพื่อผลประโยชน์และความเป็นธรรมของทั้ง 2 ฝ่าย  นั่นก็คือ การทำสัญญาเช่า ที่จะต้องมีรายละเอียดที่ครอบคลุม ชัดเจน และยอมรับด้วยกันทั้ง 2 ฝ่าย ตามที่ระบุไว้ในหนังสือสัญญา เพราะหนังสือสัญญาเช่า จะนำมาใช้เป็นข้อบังคับทางกฎหมาย หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ทำตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในหนังสือสัญญานั่นเอง หากไม่ทำก็ไม่สามารถฟ้องร้องกันได้ วันนี้ Reviewyourliving จึงจะมาเล่าให้ฟังว่า หนังสือสัญญาเช่ามีรูปแบบอย่างไรบ้าง ​

Ryl Info Law Rent

การ ปล่อยเช่าอสังหาฯ     

การทำสัญญาเช่า จะมีรายละเอียด และข้อปฏิบัติที่แตกต่างกันไป ตามระยะเวลาเช่าที่ได้ตกลงกันไว้ ซึ่งมี 2 รูปแบบ ดังนี้ คือ ​​

1.สัญญาเช่าแบบไม่เกิน 3 ปี

การทำสัญญาเช่าที่มีระยะเวลาไม่เกิน 3 ปี โดยอาจเป็นได้ทั้งสัญญาเช่าคอนโด 1 ปี สัญญาเช่าคอนโด 6 เดือน หรือแบบอื่น ๆ ที่ไม่เกิน 3 ปี กฎหมายระบุว่า กรณีเช่าแบบนี้ต้องมีการลงลายมือชื่อ ทั้งผู้เช่าและผู้ให้เช่า และหากไม่มีหนังสือสัญญาเช่า หากเกิดอะไรขึ้น ไม่ว่าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งทำผิดสัญญา ก็ไม่สามารถฟ้องร้องกันตามกฎหมายได้

2.สัญญาเช่าแบบเกิน 3 ปี 

กฎหมายไทยให้ทำสัญญาเช่าได้สูงสุดไม่เกิน 30 ปี  ซึ่งกรณีที่มีการทำสัญญาเช่ากินกว่า 3 ปี ขึ้นไป หรือตลอดอายุของผู้เช่า/ผู้ให้เช่า กฎหมายกำหนดไว้ว่า ต้องทำสัญญาเช่าเป็นหนังสือ และยังต้องไป “จดทะเบียนการเช่า” และต้องเสียค่าธรรมเนียมการจดทะเบียน ในอัตรา 1% โดยติดตามค่าเช่าตลอดเวลาที่เช่าหรือเงินกินเปล่า หรือทั้งสองอย่างรวมกัน

 

โดยมีกฎหมายที่มาบังคับใช้ คือ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 538  ที่ระบุไว้ว่า การทำเป็นหนังสือ คือ เอกสารที่มีลายมือชื่อของคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายเป็นหลัก ต่างจากหลักฐานเป็นหนังสือ ซึ่งมีลายมือชื่อของผู้รับผิดเพียงคนเดียวเท่านั้น และที่สำคัญต้องไปจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ด้วย จึงจะมีผลบังคับใช้ได้ตามกฎหมายตั้งแต่ปีที่ 3 เป็นต้นไป แต่ถ้าหากว่าไม่ได้ไปจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ดิน แต่มีสัญญาเช่าก็จะมีผลบังคับทางกฎหมายได้เพียง 3 ปี เท่านั้น

Contract Signing

ในหนังสือสัญญาจะต้องมีการระบุรายละเอียดต่าง ๆ ดังนี้

  • ค่าใช้จ่ายด้านสาธารณูปโภคที่ผู้เช่าแยกจ่ายเองตามจริง ต้องระบุให้ชัดเจนว่าผู้เช่าต้องจ่ายอะไรบ้าง
  • ข้อกำหนดของคอนโดแห่งนั้น เช่น ห้ามเลี้ยงสัตว์ ห้ามสูบบุหรี่
  • รายการเฟอร์นิเจอร์ และสิ่งของทั้งหมดที่เรา นำมาไว้ให้ผู้เช่าได้ใช้  หากสูญหาย หรือชำรุด เวลาคืนห้องตอนหมดสัญญาเช่าด้วย จะต้องหาซื้อมาคืน หรือชำระเป็นเงินตามมูลค่า​
  • เงื่อนไขอื่น ๆ เช่น ห้ามต่อเติม เปลี่ยนแปลงห้องพัก การซ่อมแซมบำรุง​​เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในห้อง ใครจะเป็นคนรับผิดชอบ อย่างเช่นการล้างแอร์ประจำทุก 6 เดือน

อีกเรื่องที่มีกฎหมายเข้ามาเกี่ยวข้องกับการปล่อยเช่า คือ เจ้าของห้องไม่สามารถ ปล่อยเช่า​คอนโดแบบรายวันได้ เพราะถือว่าผิดกฎหมาย ที่เป็นกฎข้อบังคับเกี่ยวกับโรงแรม ที่ระบุว่า อาคารหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของอาคารที่ปล่อยเช่าเพื่อพักอาศัยเป็นรายวัน เข้าข่ายโรงแรม ต้องขอจดทะเบียนเป็นโรงแรม ซึ่งกรณีที่เป็นโครงการคอนโดจะจดทะเบียนเป็นโรงแรมไม่ได้  นอกจากนี้ ยังขัดกับกฎหมายเกี่ยวกับอาคารชุดที่ระบุว่า ห้ามนำห้องชุดไปจดทะเบียนเป็นโรงแรม เนื่องจากไม่ใช่เจ้าของคนเดียว และถือเป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลของผู้อื่น เป็นต้น

 

 

หมายเหตุ

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการเช่า

ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา เรื่อง ให้ธุรกิจการให้เช่าอาคารเพื่ออยู่อาศัยเป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา พ.ศ. 2562

กฎกระทรวงกำหนดประเภทและหลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจโรงแรม พ.ศ. 2551

 

ที่มา- ราชกิจจานุเบกษา, thebkkresidence.com​

 

อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง

สูตรคำนวณผลตอบแทน ก่อนปล่อยเช่าคอนโด

 

บทความ Life+Style ล่าสุด