7 Policy Foreiner

7 มาตรการดึงต่างชาติกระตุ้นเศรษฐกิจ-การลงทุนไทย เพิ่มเม็ดเงิน 1 ล้านล้าน

ภาวะเศรษฐกิจไทย มีหลายอุตสาหกรรมที่เป็นตัวขับเคลื่อนและสร้างการเติบโต ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมการผลิต การส่งออก การเกษตร การท่องเที่ยว และอสังหาริมทรัพย์  ซึ่งส่วนใหญ่ต้องพึ่งพาตลาดต่างประเทศ หรือไม่ก็เป็นกลุ่มค้าชาวต่างชาติ เพราะลำพังการบริโภคภายในประเทศ อาจจะไม่เพียงพอต่อการสร้างการเติบของเศรษฐกิจไทยได้มากพอ

Ryl Info 7 Measure

แต่จากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ตั้งแต่ปีที่ผ่านมา ภาวะเศรษฐกิจไทยก็ชะลอตัวลงอย่างมาก โดยเฉพาะภาคการท่องเที่ยวและอสังหาริมทรัพย์ เพราะ 2 กลุ่มนี้มีฐานลูกค้าต่างชาติช่วยสร้างการเติบโตอย่างมีนัยะสำคัญ เมื่อมีการแพร่ระบาดของเชื้อโรค ทำให้ต้องล็อกดาวน์ประเทศ หยุดการเดินทางหยุดการท่องเที่ยว แน่นอนกลุ่มลูกค้าต่างชาติสำหรับตลาดการท่องเที่ยวและอสังหาฯ หายไปจนแทบจะเป็นศูนย์ ซึ่งทุกประเทศในโลกนี้ต่างก็เผชิญชะตากรรมไม่ได้แตกต่างกันมากนัก

 

รัฐบาลไทยเองจึงพยายามเร่งหามาตรการเพื่อมาฟื้นฟูเศรษฐกิจ และกระตุ้นตลาดกลับมาให้ได้เร็วและมากที่สุด เมื่อสถานการณ์การแพร่ระบาดส่งสัญญาณดีขึ้น มาตรการควบคุมโรคทำได้ดี ประชาชนคนไทยได้รับการฉีดวัคซีนกันมากตามเกณฑ์ที่กำหนด

 

ล่าสุด การประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 14 กันยายนที่ผ่านมา จึงมีมติเห็นชอบมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการลงทุน โดยการดึงดูดชาวต่างชาติที่มีศักยภาพสูงเข้ามาภายในประเทศไทย ตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เสนอ ซึ่งมีด้วยกัน 7 เรื่องสำคัญ ดังนี้ ​

 

1.เห็นชอบในหลักการของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการลงทุนโดยการดึงดูดชาวต่างชาติที่มีศักยภาพสูงสู่ประเทศไทย (มาตรการฯ) และมอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (สกท.) รับผิดชอบการดำเนินมาตรการฯ โดยพิจารณาจัดตั้งหน่วยบริการขึ้นเพื่อสนับสนุนและเชิญชวนให้ชาวต่างชาติที่มีศักยภาพสูงเข้ามาเป็นผู้พำนักระยะยาวในประเทศไทย หรือพิจารณาให้เอกชนเข้าร่วมดำเนินงานส่วนใดส่วนหนึ่งภายใต้กำกับของ สกท. ทั้งนี้ เพื่อให้การดำเนินมาตรการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและไม่เป็นภาระต่องบประมาณแผ่นดินเกินสมควร

Tourism

2.มอบหมายให้กระทรวงมหาไทย (มท.) พิจารณาความเหมาะสมในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดวีซ่าประเภทผู้พำนักระยะยาวใหม่ รวมทั้งข้อยกเว้นและสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

(1) ยกเว้นให้ผู้ถือวีซ่าประเภทผู้พำนักอาศัยระยะยาวและวีซ่าประเภท Smart Visa ทั้งหมดไม่ต้องมีหนังสือแจ้งให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทราบหากอยู่ในประเทศเกินเก้าสิบวัน ตามมาตรา 37 (5) แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 และให้มีคุณสมบัติของผู้ขอวีซ่า สิทธิประโยชน์ และรายละเอียดอื่น ๆ ตามที่เสนอ

(2) ให้ศึกษาแนวทางการแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการถือครองที่ดิน

 

3.มอบหมายให้กระทรวงแรงงาน (รง.) พิจารณาความเหมาะสมในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการการทำงานและอนุญาตให้ทำงานของคนต่างด้าว โดยให้ผู้ถือวีซ่าประเภทผู้พำนักระยะยาวสามารถทำงานให้นายจ้างทั้งที่อยู่ในราชอาณาจักรและนอกราชอาณาจักรได้โดยได้รับอนุญาตให้ทำงานโดยอัตโนมัติพร้อมกับการขอวีซ่าประเภทผู้พำนักระยะยาว

 

4.มอบหมายให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตช.) พิจารณาให้ผู้ถือวีซ่าประเภทผู้พำนักระยะยาวไม่อยู่ภายใต้หลักเกณฑ์การพิจารณาออกใบอนุญาตทำงาน เรื่อง การกำหนดให้การจ้างคนต่างด้าว 1 คนต้องจ้างงานพนักงานคนไทยทำงานประจำ 4 คน ตามคำสั่ง ตช. ที่ 327/2557 เรื่อง หลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการพิจารณากรณีคนต่างด้าวขออนุญาตอยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว

Wine

5.มอบหมายให้กระทรวงการคลัง (กค.) พิจารณาความเหมาะสมในส่วนที่เกี่ยวข้องกับภาษีประเภทต่าง ๆ และระเบียบวิธีปฏิบัติด้านการศุลกากร ดังนี้

1.ปรับลดพิกัดอัตราอากรขาเข้าเพื่ออำนวยความสะดวกและลดต้นทุนในการนำสินค้าประเภทไวน์ สุรา และยาสูบประเภทซิการ์ลงกึ่งหนึ่งเป็นเวลา 5 ปี

2.ปรับปรุงประกาศกรมศุลกากรที่เกี่ยวกับการปฏิบัติพิธีการศุลกากรของติดตัวผู้โดยสารที่นำติดตัวเข้ามาในหรือส่งออกไปนอกราชอาณาจักรพร้อมกับตนทางท่าอากาศยานให้เหมาะสมและเป็นปัจจุบัน โดยให้ใช้หลักการพิจารณาจากปริมาณ จำนวน หรือสภาพของสิ่งของที่นำเข้าหรือส่งออกว่าเป็นไปเพื่อการใช้ประโยชน์ส่วนตนหรือไม่ แทนการพิจารณาจากมูลค่าของสิ่งของ

3.ดำเนินการจัดทำและเสนอร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรเพื่อกำหนดอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับผู้ถือวีซ่าผู้พำนักระยะยาวประเภทกลุ่มผู้มีทักษะเชี่ยวชาญพิเศษ โดยเทียบเคียงกับมาตรการภาษีในลักษณะเดียวกันของเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก เพื่อให้สอดคล้องกับแนวทางการดึงดูดกลุ่มผู้พำนักระยะยาวเป้าหมายที่มีศักยภาพสูงและมีรายได้จากการทำงานในประเทศไทยระหว่างที่ได้รับอนุญาตให้อยู่อาศัยในราชอาณาจักร

 

6.มอบหมายให้ สกท. พิจารณาการบริหารจัดการวีซ่าประเภทผู้พำนักระยะยาวและวีซ่าประเภทอื่น ๆ ที่มีอยู่แล้วเพื่อไม่ให้เกิดความซ้ำซ้อน

 

7.มอบหมายให้หน่วยงานที่รับผิดชอบข้างต้นเร่งรัดดำเนินการภายใน 90 วัน และให้รายงานความคืบหน้าของผลการพิจารณาผ่าน สศช. เพื่อรายงานให้คณะรัฐมนตรีทราบต่อไป

Money

โดยเป้าหมายในระยะ 5 ปี (2565-2569) ประเทศไทยต้องการมีชาวต่างชาติที่มีรายได้สูง นักลงทุน ผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมเป้าหมาย ผู้เกษียณอายุที่มีรายได้สูงจากบำนาญมาอาศัยในไทย 1 ล้านคน เพื่อทำให้มีเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจไทยเพิ่มขึ้น 1 ล้านล้านบาท  ซึ่งคาดว่านักท่องเที่ยวที่เข้ามาอยู่อาศัยในประเทศไทย จะมีการใช้จ่ายเงินเบื้องต้นคนละ 1  ล้านบาทต่อปี

 

ที่มา : เว็บไซต์นสพ.แนวหน้า, มติครม.วันที่ 14 ก.ย.2564

 

 

 

บทความ ข่าวโปรโมชั่น ล่าสุด