Q2 Reic

REIC เปิด ค่าก่อสร้างบ้าน Q2/66 เพิ่ม 2.1% กระเบื้อง-ค่าแรง  ขึ้นราคา ​หวั่นกระทบต้นทุนก่อสร้างสูงขึ้น

ศูนย์ข้อมูลอสังฯ รายงานดัชนีราคา ค่าก่อสร้างบ้านมาตรฐาน Q2 ปรับตัวขึ้นจากปีก่อน 2.1% แต่ลดลง 0.3% จากไตรมาสก่อนหน้า  งานออกแบบและระบบ พบการปรับเพิ่มขึ้นเฉพาะในงานสถาปัตยกรรม 5.4% แต่งานอื่นมีการปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อน ขณะที่กระเบื้องปรับขึ้นราคาถึง 12.5%  ส่วนค่าแรงงานมีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้น 5.8% หวั่นกระทบค่าก่อสร้างบ้านของประชาชน และต้นทุนการพัฒนาโครงการ 

 

ดร.วิชัย วิรัตกพันธ์ ผู้ตรวจการธนาคารอาคารสงเคราะห์ และรักษาการผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ (REIC) ธนาคารอาคารสงเคราะห์ เปิดเผยว่า ดัชนีราคาค่าก่อสร้างบ้านมาตรฐาน ไตรมาส 2 ปี 2566 มีค่าดัชนีเท่ากับ 134.0  จุด ซึ่งปรับเพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน 2.1% แต่เป็นการเพิ่มที่มีทิศทางการชะลอตัวลงจากไตรมาสก่อน 0.3%

Reic Q22023 (1)

ดัชนีราคาค่าก่อสร้างบ้านมาตรฐานในไตรมาส 2 ปี 2566 แสดงให้เห็นว่าในหมวดงานออกแบบและงานระบบ มีค่าดำเนินการในงานสถาปัตยกรรมมีการเพิ่มขึ้นสูงที่สุด 5.4% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน (YoY) แต่เป็นการเพิ่มแบบชะลอตัวลง 0.1% เมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2566 (QoQ) ซึ่งงานสถาปัตยกรรมมีสัดส่วน 65.8% ของหมวดงานออกแบบและงานระบบ สำหรับงานอื่นๆ มีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้

  • งานวิศวกรรมโครงสร้าง

มีอัตราค่าตอบแทนลดลง 4.1% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน (YoY) และลดลง 0.8% เมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2566 (QoQ) โดยมีสัดส่วน 27.9% ของหมวดงานออกแบบและงานระบบ

  • งานระบบไฟฟ้าและระบบสื่อสาร

อัตราค่าตอบแทนลดลง 0.01% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน (YoY) และลดลง 0.2% เมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2566 (QoQ) โดยมีสัดส่วน 3.6% ของหมวดงานออกแบบและงานระบบ

  • งานระบบสุขาภิบาล

มีอัตราค่าตอบแทนลดลง 3.2% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน (YoY) และลดลง 0.8% เมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2566 (QoQ) โดยมีสัดส่วน 2.7% ของหมวดงานออกแบบและงานระบบ

Reic Q22023

สำหรับหมวดราคาวัสดุก่อสร้าง พบว่า วัสดุก่อสร้างที่มีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนใน 2 ประเภท ได้แก่ วัสดุประเภทกระเบื้อง และ ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ที่เพิ่มสูงขึ้นถึง 12.5% และ 4.6% แต่วัสดุประเภทเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก อุปกรณ์ไฟฟ้าและประปา ผลิตภัณฑ์คอนกรีต และวัสดุก่อสร้างอื่น ๆ มีการปรับตัวลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งราคาเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กที่ลดลงมากที่สุดถึงประมาณ 17.8% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี (YoY) โดยเป็นผลมาจากปริมาณอุปทานเหล็กในตลาดโลกเพิ่มมากขึ้น ประกอบกับราคาวัตถุดิบมีการปรับลดตามราคาพลังงาน รวมถึงอาจชะลอเกิดจากการซื้อและความต้องการลงทุนของเอกชนในภาคอสังหาริมทรัพย์ ส่งผลให้ดัชนีราคาลดลง แต่หมวดแรงงานมีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้น 5.8% เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเป็นไปตามสภาวะตลาดที่มีการเพิ่มของค่าแรงขั้นต่ำ และการขาดแคลนช่างฝีมือแรงงานคุณภาพ

Reic Q22023 (3)

สำหรับราคาหมวดวัสดุก่อสร้าง ซึ่งคิดเป็นสัดส่วน 60.4% ของค่าก่อสร้างบ้านมาตรฐาน มีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้

  • ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้

ราคาเพิ่มขึ้น 4.6% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน (YoY) และราคาไม่มีการเปลี่ยนแปลง เมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2566 (QoQ) โดยมีสัดส่วน 27.5% ของหมวดวัสดุก่อสร้าง

  • เหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก

ราคาลดลง 17.8% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน (YoY) และลดลง 2.9% เมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2566 (QoQ) โดยมีสัดส่วน 9.3% ของหมวดวัสดุก่อสร้าง

  • ผลิตภัณฑ์คอนกรีต

ราคาลดลง 0.5% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน (YoY) และราคาไม่มีการเปลี่ยนแปลง เมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2566 (QoQ) โดยมีสัดส่วน 7.1% ของหมวดวัสดุก่อสร้าง

  • อุปกรณ์ไฟฟ้าและประปา

ราคาลดลง 1.8% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน (YoY) และลดลง 0.6% เมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2566 (QoQ) โดยมีสัดส่วน 6.1% ของหมวดวัสดุก่อสร้าง

  • กระเบื้อง

ราคาเพิ่มขึ้น 12.5% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน (YoY) แต่ลดลง 1.4% เมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2566 (QoQ) โดยมีสัดส่วน 5.6% ของหมวดวัสดุก่อสร้าง

  • สุขภัณฑ์

ราคาไม่มีการเปลี่ยนแปลง เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน (YoY) และ เทียบกับไตรมาส 1 ปี 2566 (QoQ) โดยมีสัดส่วน 3.3% ของหมวดวัสดุก่อสร้าง

  • วัสดุก่อสร้างอื่นๆ

ราคาลดลง 0.1% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน (YoY) แต่เพิ่มขึ้น 2.6% เมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2566 (QoQ) โดยมีสัดส่วน 41.2% ของหมวดวัสดุก่อสร้าง

ค่าก่อสร้าง

สำหรับภาพรวมการเปลี่ยนแปลงตามดัชนีราคา ค่าก่อสร้างบ้านมาตรฐานในไตรมาส 2 ปี 2566 ที่ ได้สะท้อนต้นทุนการสร้างที่อยู่อาศัย เพิ่มสูงขึ้นมากกว่าปีก่อนเล็กน้อยและแนวโน้มการทรงตัวในทิศทางที่ชะลอตัวลงเล็กน้อย แต่ยังมีตัวแปรสำคัญที่ต้องคำนึงถึงทั้งในปัจจุบันและอนาคต คือ ค่าจ้างแรงงาน ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 39.6% ของ ค่าก่อสร้างบ้านมาตรฐาน

ในไตรมาส 2 ปี 2566 ค่าแรงงานมีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้น 5.8% เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งหากมีการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำให้สูงกว่าปัจจุบันมาก ก็จะกระทบค่าก่อสร้างบ้านของประชาชน และยังอาจส่งผลไปถึงต้นทุนการพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยต่าง ๆ ด้วย

 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

ศูนย์ข้อมูลอสังหาฯ ประเมินที่อยู่อาศัยปี 66 เจอ 3 ปัจจัยลบกดดันติดลบทุกด้าน​

REIC เผย ยอดโอนคอนโดต่างชาติ Q1/65 ลดทั้งจำนวน-มูลค่า เหตุลูกค้าจีนยังปิดประเทศ  

บทความ ข่าวโปรโมชั่น ล่าสุด