Tag : Office

144 ผลลัพธ์
สิงห์ เอสเตท ลงทุนกว่า 73,000 ล้าน เดินหน้า 4 ธุรกิจหลัก สร้างรายได้ 30,000 ล้านในปี 2567

สิงห์ เอสเตท ลงทุนกว่า 73,000 ล้าน เดินหน้า 4 ธุรกิจหลัก สร้างรายได้ 30,000 ล้านในปี 2567

"สิงห์ เอสเตท" ดำเนินธุรกิจมาถึงปัจจุบันเป็นระยะเวลา 5 ปีแล้ว นับตั้งแต่เปลี่ยนชื่อมาจาก บริษัท รสา พร็อพเพอร์ตี้ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) ในช่วงปี 2557     โดยตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา บริษัทมีอัตราการเติบโตต่อเนื่อง แม้ว่าในช่วงปีที่ผ่านมา ผลการดำเนินงานในธุรกิจที่อยู่อาศัย อาจจะไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ เนื่องจากผลกระทบของภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว โดยพลาดจากเป้าหมายไปประมาณ 30% คาดว่าจะทำรายได้ประมาณ 7,500 ล้านบาท ซึ่งภาพรวมในปี 2562 บริษัทตั้งเป้าหมายรายได้รวมน่าจะทำได้ 16,000 ล้านบาท   สิงห์เอสเตท ตั้งเป้าทำรายได้ 20,000 ล้าน อย่างไรก็ตาม ในปี 2563 สิงห์ เอสเตท คาดว่าจะกลับสร้างการเติบโต พร้อมกับเป้าหมายการทำรายได้ 20,000 ล้านบาท ซึ่งมีแผนการดำเนินธุรกิจในกลุ่ม คือ   1.แผนการเปิดโครงการใหม่ 6 โครงการ มูลค่ารวม 10,000 ล้านบาท ซึ่งโครงการคอนโดมิเนียมจะมีแบรนด์ใหม่ 2 โครงการ และโครงการแนวราบจะมีแบรนด์ใหม่ 3 โครงการ และมีเป้าหมายยอดขาย 8,000 ล้านบาท พร้อมกับรับรู้รายได้จากการโอนโครงการเอส 36 จากแบ็กล็อกที่มีมูลค่า 6,000 ล้านบาท   2.ธุรกิจคอมเมอร์เชียล หรืออาคารสำนักงาน จะเน้นการพัฒนาโครงการในทำเลที่เหมาะสม โดยไม่เน้นทำเลใจกลางเมืองเป็นหลัก ส่วนธุรกิจโรงแรมยังคงขยายอย่างต่อเนื่อง โดยมีแผนใช้เงินลงทุนปีนี้ 5,000 ล้านบาท เพื่อพัฒนาและซื้อกิจการในส่วนอาคารสำนักงานและโรงแรม   3.การรับรู้รายได้จากโครงการในมัลดีฟส์มูลค่า 2,000 ล้านบาท เนื่องจากโรงแรมในโครงการคอรสโร้ดส์ เฟสแรก ได้เปิดให้บริการอย่างเต็มรูปแบบ   4.การขยายธุรกิจใหม่ ที่สร้างความยั่งยืนและช่วยเหลือสังคม ได้แก่ ธุรกิจพลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy Business)   นายนริศ เชยกลิ่น ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท สิงห์ เอสเตท จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ปีนี้จะเป็นปีที่สำคัญในการบรรลุเป้าหมายรายได้ 20,000 ล้านบาท หลังจากทำตามเป้าหมาย การพัฒนาบริษัทเป็นโกลบอลคอมปานี ได้สำเร็จมา 3 ปีแล้ว ซึ่งปัจจุบันบริษัทมีขนาดใหญ่ขึ้นมากมีมูลค่าสินทรัพย์ถึง 67,000 ล้านบาท และตามแผนในระยะ 5 ปีข้างหน้า หรือภายในปี 2567 สินทรัพย์น่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 100,000 ล้านบาท   ส่วนการดำเนินธุรกิจในปีนี้ มีปัจจัยที่ถือว่าเป็นความเสี่ยงที่จะกระทบต่อการดำเนินธุรกิจ มี 2 ประเด็นสำคัญ ได้แก่ 1.ปัญหาไข้หวัดโคโรน่า ซึ่งผลกระทบจะมากหรือน้อยนั้น ขึ้นอยู่กับระยะเวลาของการแพร่ระบาด แต่คาดว่าจะมีระยะเวลาการแพร่ระบาดไม่นาน และ 2.ปัญหาการเมืองภายในประเทศ โดยเฉพาะการเบิกจ่ายงบประมาณประจำปี จะดำเนินการได้ตามแผนหรือไม่ ส่วนปัจจัยบวกสถานการณ์ปัจจุบันอยู่ในภาวะ ค่าเงินบาทหากอ่อนค่ากกว่านี้ ในระดับ 35 บาทต่อดอลล่าห์  จะส่งผลบวกต่อตลาดนักท่องเที่ยว ซึ่งจะเข้ามาเพิ่มมากขึ้น แผน 5 ปี “สิงห์เอสเตท” ลงทุนกว่า 73,000 ล้าน 5 ปีข้างหน้า จะมุ่งขยายใน 3 แกนหลัก ได้แก่ ธุรกิจที่อยู่อาศัย ธุรกิจโรงแรม และธุรกิจคอมเมอร์เชียล ด้วยงบลงทุนรวม 68,000 ล้านบาท ขณะเดียวกันจะขยายธุรกิจอื่นที่ไม่ใช่ธุรกิจอสังหาฯ ด้วย โดยเป็นธุรกิจพลังงานหมุนเวียน ซึ่งคาดว่าจะใช้งบประมาณการลงทุนประมาณ 5,000-6,000 ล้านบาท รวมงบประมาณการลงทุนทั้ง 4 กลุ่มประมาณ 73,000-74,000 ล้านบาท แบ่งเป็น   1.ธุรกิจที่อยู่อาศัย เตรียมลงทุน 37,500 ล้าบาท เพื่อพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัย 30 โครงการ   2.ธุรกิจคอมเมอร์เชียล ซึ่งเป็นพื้นที่สำนักงานให้เช่า เตรียมลงทุน 8,500 ล้านบาท เพื่อพัฒนา 4 โครงการ ซึ่งอาจจะซื้อหรือพัฒนาขึ้นใหม่ แต่บริษัทต้องการซื้อโครงการมาพัฒนาต่ำ เนื่องจากได้รับกระแสเงินสดเข้ามาทันที แต่หากพัฒนาขึ้นใหม่ จะมีผลดีในด้านผลตอบแทนที่สูง จากปัจจุบันมีอาคารสำนักงานให้เช่า 3 อาคาร รวม 140,000 ตารางเมตร คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 300,000 ตารางเมตรในอีก 5 ปีข้างหน้า   3.ธุรกิจโรงแรม เตรียมงบประมาณการลงทุน 22,000 ล้านบาท  เพื่อพัฒนาและซื้อโรงแรมมาพัฒนาต่อ 41 แห่ง ในพื้นที่ด้านการท่องเที่ยว  ตามเป้าหมายจะมีโรงแรมรวม 80 แห่ง มีจำนวนห้อง 8,000 ห้อง ภายในปี 2568 จากปัจจุบันมีโรงแรม 39 แห่ง จำนวน 4,647 ห้อง   4.ธุรกิจพลังงานหมุนเวียน เตรียมงบประมาณ 5,000-6,000 ล้านบาท โดยจะร่วมลงทุนกับพันธมิตรที่มีความเชี่ยวชาญในธุรกิจพลังงาน โดยร่วมกันพัฒนาธุรกิจและสร้างการเติบโต เช่น ธุรกิจพลังงานจากการกำจัดขยะ  ปัจจุบันอยู่ระหว่างการศึกษาและพัฒนา “สิงห์ เอสเตท” วางเป้าหมายรายได้ 30,000 ล้าน ตามแผนในระยะ 5 ปี บริษัทวางเป้าหมายรายได้ 30,000 ล้านบาท แบ่งเป็นรายได้จากธุรกิจที่อยู่อาศัย 15,000 ล้านบาท ทั้งโครงการแนวราบและคอนโดฯ  ส่วนธุรกิจคอมเมอร์เชียลและโรงแรม วางเป้าหมายรายได้ 15,000 ล้านบาท ส่วนธุรกิจพลังงานหมุนเวียน อาจจะมีรายได้ไม่มากนัก เพราะบริษัทมุ่งเน้นการสร้างความยั่งยืนในการดำเนินธุรกิจ และช่วยเหลือสังคม โดยจะร่วมกับพันธมิตรในการพัฒนา และสร้างการเติบโต
“แสงฟ้าก่อสร้าง” วางเป้าหมาย 5-10 ปี  พร้อมเป็นบริษัทรับเหมามาตรฐานญี่ปุ่น

“แสงฟ้าก่อสร้าง” วางเป้าหมาย 5-10 ปี พร้อมเป็นบริษัทรับเหมามาตรฐานญี่ปุ่น

ภาพของกรุงเทพมหานครในปัจจุบัน กับในอดีตหลายสิบปีก่อน คงเป็นภาพที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง เพราะตอนนี้กรุงเทพมหานครทุกมุมเมือง เต็มไปด้วยตึกสูงและอาคารขนาดใหญ่มากมาย โดยเฉพาะคอนโดมิเนียม เนื่องจากคนจำนวนมากหลั่งไหลเข้ามาทำมาหากินในกรุงเทพฯ  จึงเกิดความต้องการในที่อยู่อาศัยตาม    แต่เพราะที่ดินมีจำกัดแต่ความต้องการที่อยู่อาศัยมากกว่า  ราคาที่ดินจึงมีราคาแพง ไม่เหมาะในการนำมาพัฒนาเป็นบ้านเดี่ยวหรือทาวน์เฮ้าส์  แต่เหมาะสมในการพัฒนาคอนโดฯ มากกว่า  เพราะมีราคาที่คนส่วนใหญ่เอื้อมถึง   การก่อสร้างโครงการคอนโดฯ หรืออาคารสูง ผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จ เป็นใครไปไม่ได้นอกจากบริษัทรับเหมาก่อสร้าง ซึ่งต้องยอมรับว่าทุกวันนี้บริษัทคนไทยมีฝีมือด้านการก่อสร้าง ไม่ได้แพ้ชาติใดในโลกเลย เพราะสามารถก่อสร้างอาคารขนาดสูงได้มากมาย และเป็นอาคารที่มีมาตรฐานอาคารสูง  เทียบเท่าหลายอาคารที่เกิดขึ้นทั่วโลก และนับวันบริษัทก่อสร้างของไทยจะสร้างอาคารที่มีความสูงเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ หนึ่งในบริษัทรับเหมาก่อสร้างที่ถือว่ามีชื่อเสียง  และความชำนาญในด้านการก่อสร้างอาคารสูง  ต้องมีชื่อบริษัท แสงฟ้า ก่อสร้าง จำกัด เป็นหนึ่งในทำเนียบนั้น เพราะก่อสร้างอาคารสูงมามากมาย แถมยังเป็นอาคารสูงติดอันดับ Top 10 อาคารสูงสุดในไทยด้วย  ซึ่งบริษัท แสงฟ้าฯ ถือได้ว่าเป็นบริษัทเหมาก่อสร้าง ที่อยู่คู่กับเมืองไทยมายาวนานกว่า 50 ปีแล้ว นับตั้งแต่เริ่มต้นธุรกิจมาตั้งแต่ปี 2510 (เดิมชื่อห้างหุ้นส่วนจำกัดแสงฟ้าการช่าง ก่อนเปลี่ยนชื่อในปี 2512) ซึ่งปัจจุบันอยู่ภายใต้การบริหารงานของทายาทรุ่นที่ 2 แล้ว   ปัจจุบันนายแพทย์เชิดศักดิ์ อัมพรสุขสกุล เข้ามารับผิดชอบในการดูแลบริษัท บริษัท แสงฟ้าก่อสร้าง จำกัด ในตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ ซึ่งถือเป็นทายาทรุ่นที่ 2 ต่อจากบิดา ตั้งแต่ปี 2540 หลังจากได้เรียนจบจาก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล และทำงานในด้านที่เรียนมาเป็นระยะเวลา 2 ปี  ก็ก้าวเข้ามารับผิดชอบดูแลบริษัท จุดเปลี่ยนจากอุตสาหกรรมสู่อาคารสูง จุดเริ่มต้นแรกบริษัท แสงฟ้าฯ  ไม่ได้รับงานด้านการก่อสร้างอาคารสูงเป็นหลัก เพราะงานส่วนใหญ่จะเป็นงานโครงสร้าง งานเหล็ก งานหลังคา งานก่อสร้างไซโล โรงงานเกษตร โรงงานปูนซีเมนต์ ซึ่งลูกค้าส่วนใหญ่ทำธุรกิจด้านการเกษตร แต่จุดเปลี่ยนสำคัญครั้งแรก เกิดขึ้นในช่วงปี 2524 บริษัท ปูนซีเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน)  ได้เปิดประมูลก่อสร้างสำนักงานใหญ่ บางซื่อ จึงได้เชิญบริษัทเข้าร่วมประมูลงานก่อสร้าง เนื่องจากบริษัทมีความเชี่ยวชาญด้านการก่อสร้างไซโลปูนซีเมนต์ และโรงปูนในจังหวัดสระบุรีหลายแห่ง บริษัทจึงเข้าร่วมงานและเป็นผู้ชนะการประมูล ได้ก่อสร้างอาคารของปูนซีเมนต์ไทย ซึ่งมีมูลค่าการก่อสร้างกว่า 100 ล้านบาท หลังจากนั้นจึงได้รับงานก่อสร้างอาคารมาอย่างต่อเนื่อง   จุดเปลี่ยนสำคัญอีกครั้ง เกิดขึ้นในช่วงปี 2543 บริษัทได้ถูกเชิญให้เข้าร่วมประมูลงานก่อสร้างโครงการแฮมป์ตัน ทองหล่อ 10 ของบริษัท เมเจอร์ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) ซึ่งถือว่าเป็นโครงการคอนโดฯ ลักชัวรี่โครงการแรกๆ ของกรุงเทพฯ ซึ่งบริษัทเป็นผู้ชนะการประมูล และได้ก่อสร้างจนแล้วเสร็จ ซึ่งงานก่อสร้างเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ทำให้บริษัทมีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับในการก่อสร้างอาคารสูง ถือเป็นจุดเปลี่ยนอีกครั้ง ประกอบกับช่วงเวลานั้นงานก่อสร้างอุตสาหกรรมเริ่มลดลง และงานส่วนใหญ่ก็เป็นการก่อสร้างคอนโดฯ ซึ่งทำมาอย่างต่อเนื่อง 5-6 โครงการ วางระบบ “Loop Construction” สร้างการเติบโต ธุรกิจของบริษัทดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง แต่มีการเติบโตแบบไม่หวือหวา ซึ่งนายแพทย์เชิดศักดิ์ เห็นว่าเพื่อสร้างให้บริษัทเติบโตแบบก้าวกระโดด จะต้องนำเอาระบบการบริหารงานแบบอุตสาหกรรมเข้ามาใช้ เพื่อให้ระบบงานก่อสร้างทำงานแบบเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ  ช่วงปี 2550 จึงนำเอาระบบงานที่เรียกว่า  Loop Construction เข้ามาใช้  โดยเป็นระบบงานที่เน้น  2  ขบวนการสำคัญคือ การวางแผนที่ดี และ การควบคุมติดตามงานที่ดี ส่งผลให้บริษัทมีผลประกอบการเติบโตเป็นเท่าตัว การสูญเสียลดน้อยละ และมีผลกำไรดีขึ้น นอกจากนี้ สิ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงระบบการทำงานที่ถูกวางไว้อย่างดี คือ การได้กก่อสร้างอาคารสูงอย่างต่อเนื่องมากว่า 100 โครงการ และผลงานที่สร้างชื่อเป็นสิ่งที่บริษัทภาคภูมิใจ คือ 3 อาคารที่บริษัทเป็นผู้ก่อสร้าง ติดอันดับ 10 อาคารที่สูงที่สุดในประเทศ อันได้แก่ ตึก Four Season Private Residence, Magnolia Ratchadamri Boulevard, และ Menam Residences จากการการจัดอันดับ 10 อาคารที่สูงที่สุดในประเทศไทย โดย www.terrabkk.com ในปี 2561 ปัจจุบันบริษัทยังได้รับงานก่อสร้างธนาคารออมสิน ขนาด 100,000 ตารางเมตร มูลค่า 3,000 ล้านบาท ที่จะแล้วเสร็จภายในระยะ 3 ปี ซึ่งถือเป็นโครงการมีมูลค่าสูงสุดที่บริษัทก่อสร้างมา วางแผนธุรกิจสู่เป้าหมายหมื่นล้าน ในปี 2563 บริษัทวางเป้าหมายรายได้ 7,000 ล้านบาท เติบโต 10%  จากปีที่ผ่านมามีรายได้ 6,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นไปตามสภาพเศรษฐกิจ จากปกติจะเติบโตในอัตรา 30-40% ต่อปี ปัจจุบันบริษัทมีแบ็กล็อกมูลค่า 10,000 ล้านบาท รับรู้รายได้ภายใน 2 ปี โดยหากเศรษฐกิจกลับมาดี คาดว่าบริษัทจะทำรายได้ 10,000 ล้านบาทได้ภายในระยะ 3 ปี   สมัยก่อนปี 2555-2560 บริษัทเติบโตเยอะมาก หลายปีเติบโตเป็นเท่าตัว  ปี 2559 ทำรายได้  2,000 ล้านบาท ปี 2560 ทำรายได้ 3,000 ล้านบาท และปี 2561 ทำรายได้ 4,000 ล้านบาท ส่วนโครงการคอนโดฯ ภายใต้แบรนด์  "ยู ศรีราชา" ที่บริษัทลงทุน 100% จะเริ่มโอนกรรมสิทธิ์ในปีนี้ หลังจากมียอดขายแล้ว 50% ซึ่งบริษัทยังมีที่ดินในบริเวณดังกล่าวเพื่อพัฒนาโครงการในอนาคตด้วย และในปีนี้บริษัทยังมีร่วมกับพันธมิตรธุรกิจ  พัฒนาโครงการคอนโดฯ มูลค่ากว่า 2,000 ล้านบาท เป้าหมาย 5-10 ปีเทียบชั้นบริษัทญี่ปุ่น ในระย 5-10 ปี นับจากนี้  บริษัทจะมุ่งโฟกัสด้านการก่อสร้างโฟกัส  ซึ่งมีโจทย์สำคัญคือการพัฒนาคุณภาพภายใน ด้านการบริหารจัดการ เป้าหมายสำคัญต้องการเห็นไซส์ก่อสร้างมีความสะอาด เป็นระเบียบ มีคุณภาพการจัดการเหมือนกับบริษัทญี่ปุ่น  และหากมีโอกาสจะไปรับงานในต่างประเทศ ในกลุ่มประเทศ CLMV เนื่องจากบริษัทไทยมีศักยภาพสูงกว่า อยากเห็นบริษัท ก่อสร้างเทียบเท่ากับบริษัทญี่ปุ่น บริษัทญี่ปุ่นถูกจ้างแพง อยากเบลนมาร์ค บริษัทในต่างประเทศ คนญี่ปุ่น เกิดขึ้นมาจากความมีระเบียบ ส่วนวิสัยทัศน์ในการดำเนินธุรกิจในยุค 2020 คือ  “Better is better than Best” ซึ่งแปลว่า “ดีกว่า นั้นดีกว่าดีที่สุด” แต่ความหมายในเชิงธุรกิจก็คือ ในยุค Disruption  บริษัทต้องพัฒนาธุรกิจให้เท่าทันตลอดเวลา เพราะถ้าคิดว่าดีที่สุดแล้ว เราอาจจะพึงพอใจและหยุดพัฒนา  ซึ่งสิ่งที่บริษัทต้องพัฒนาเพื่อจะนำไปสู่วิสัยทัศน์ดังกล่าว คือกลยุทธ์ 3 เสาหลักในการขับเคลื่อน ได้แก่ -เสาหลักที่ 1 การพัฒนาศักยภาพของบุคลากร ส่งเสริมและผลักดันให้ผู้ที่มีความสามารถก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำ สร้างองค์ความรู้ใหม่ ๆ เพื่อให้บริษัทเดินหน้าและบรรลุเป้าหมายได้ -เสาหลักที่ 2 การพัฒนาด้านเทคโนโลยีในการก่อสร้าง ซึ่งไม่ได้เน้นว่าจะต้องมีเทคโนโลยีหรืออุปกรณ์ที่ล้ำหน้าทันสมัยที่สุด แต่เราเรียนรู้ว่าความคิดสร้างสรรค์ในการแก้ปัญหา หาขบวนการทำงานในแบบใหม่ นั้นมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผลไม่แพ้การพึ่งพาเทคโนโลยี ที่ล้ำสมัย เพียงอย่างเดียว -เสาหลักที่ 3 การพัฒนาระบบการทำงานในทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นการ วิถีการทำงานแบบ Single Team และ การ reinforce ขบวนการทำงานแบบ Loop Construction โดยการทำซ้ำ ๆ จนเกิดเป็นนิสัย แ ละฝังอยู่จนกลายเป็น DNA  ของชาวแสงฟ้าทุกคน   3 สิ่งนี้ถือเป็นกลยุทธ์สำคัญ ที่จะใช้พัฒนาบริษัทให้เติบโตอย่างยั่งยืนเพื่อก้าวต่อไปในอีกศตวรรษต่อ ๆ ไป  
ชมออฟฟิศใหม่ “เจียไต๋” ก้าวสู่ปีที่ 100  กับแนวคิด  Work – Life Balance

ชมออฟฟิศใหม่ “เจียไต๋” ก้าวสู่ปีที่ 100 กับแนวคิด  Work – Life Balance

คนส่วนใหญ่ที่เป็นเกษตรกร หรือสนใจในเรื่องการเกษตร การปลูกต้นไม้ เชื่อว่าจะต้องรู้จักชื่อของ “เจียไต๋” บริษัทที่ทำธุรกิจด้านการเกษตรครบวงจรของประเทศไทย ในเครือซีพี หรือเจริญโภคภัณฑ์  เป็นอย่างดี ออฟฟิศ เจียไต๋ เพราะธุรกิจมีหลากหลายที่เกี่ยวกับการเกษตร ไม่ว่าจะเป็นการจำหน่ายเม็ดพันธ์ หรือสารเคมี และบริการด้านการเกษตร ที่สำคัญเป็นบริษัทที่ก่อตั้งมาอย่างยาวนาน นับอายุก็จะครบ 100 ปีแล้ว นับตั้งแต่ก่อตั้งบริษัทมาตั้งแต่ปี 2463 ออฟฟิศ เจียไต๋ จุดเริ่มต้นของ “เจียไต๋”  เริ่มต้นขึ้นจากห้องแถวเล็กๆ บนถนนทรงสวัสดิ์ ย่านเยาวราช ก่อนกิจการจะขยายใหญ่ขึ้น จนพื้นที่ของสำนักงานแห่งเก่ามีไม่เพียงพอที่จะรองรับพนักงานที่มีจำนวนมากขึ้น ทำให้ผู้บริหารมีแนวความคิดในการมองหาสำนักงานแห่งใหม่ที่ใหญ่ขึ้น และรองรับจำนวนพนักงานได้มากขึ้น ที่สำคัญต้องเป็นสถานที่ทำงาน ซึ่งสร้างแรงบันดาลใจ ปลุกไฟให้กับพนักงาน และเป็นสถานที่ดึงดูดกลุ่มรุ่นใหม่  กลุ่มมิลเลนเนียม ให้อยากเข้ามาทำงาน ตอบสนองความต้องการกลุ่มคนเหล่านั้นได้ "เจียไต๋" ทุ่ม 900 ล้านขึ้นออฟฟิศใหม่ “เจียไต๋” จึงได้ทำการย้ายออฟฟิศแห่ง  ด้วยการลงทุนก่อสร้างอาคารสำนักงานใหญ่แห่งใหม่  มูลค่า 900 ล้านบาท ตั้งอยู่บริเวณริมถนนสุขุมวิท ซอยสุขุมวิท 60 ใกล้รถไฟฟ้าบีทีเอส สถานีบางจาก เป็นอาคารขนาดความสูง 15 ชั้น มีพื้นที่ใช้สอยรวม 18,000 ตารางเมตร  โดยชั้น 1-6 เป็นพื้นที่จอดรถ และชั้น 7-15 เป็นพื้นที่ทำงาน   นายมนัส เจียรวนนท์ ประธานคณะผู้บริหาร บริษัท เจียไต๋ จำกัด เล่าว่า  “เจียไต๋กำลังจะฉลองครบรอบ 100 ปี จึงตัดสินใจย้ายสำนักงานมาที่ใหม่ เพื่อให้พนักงานทุกคนได้ทำงานอยู่ในพื้นที่เดียวกัน เน้นการออกแบบเพื่อตอบสนองความต้องการของพนักงาน สำนักงานใหญ่แห่งใหม่นี้จึงเป็นการแสดงให้เห็นถึงความพร้อม และความแข็งแกร่งของเจียไต๋ในการเดินเข้าสู่ปีที่ 100 อย่างมั่นคง” ดีไซน์ด้วยแนวคิด “เหนือกาลเวลา” สำหรับสำนักงานใหญ่แห่งใหม่ของเจียไต๋ ได้รับการออกแบบและตกแต่งโดย บริษัท สถาปนิก 49 จำกัดและ บริษัท พี ไอ เอ อินทีเรีย จำกัด  ด้วยการดีไซน์ตัวอาคารให้เป็นลักษณะโมเดิร์น ร่วมสมัย และเรียบง่าย สะท้อนความเป็นตัวตนของ “เจียไต๋” ที่อยู่เคียงคู่สังคมไทยมาทุกยุคทุกสมัยเป็นเวลาเกือบ 100 ปี  ตัวอาคารล้อมรอบด้วยพื้นที่สีเขียว บริเวณด้านหน้ามีการปลูกพืชผักและดอกไม้ตามฤดูกาล เพื่อสะท้อนสายสัมพันธ์อันลึกซึ้งของ “เจียไต๋” กับวิถีการเกษตร และยังเป็นพื้นที่พักผ่อนหย่อนใจของพนักงาน “คอนเซ็ปต์การออกแบบอยากได้อาคารเหนือกาลเวลา ไม่ว่าจะผ่านไปนานแค่ไหน ยังได้ความสวยงาม และสถาปัตยกรรมที่ดี ต้องตอบโจทย์ผู้ใช้งานด้วย จังออกแบบให้มีเส้นแนวตั้งภายนอกอาคาร ใช้ประโยช์ได้ทั้งการกันแสงแดด และประหยัดพลังงาน” ส่วนบริเวณด้านหน้าอาคาร ได้ถูกออกแบบให้เป็นสวนเกษตร หลากหลายชนิด ภายใต้แนวคิด Urban Green Area ซึ่งสามารถใช้ประโยชน์จากพืชได้จริง และยังใช้เป็นแนวรั้ว ที่กั้นแนวเขตฟุตบาทกับพื้นที่สำนักงาน แต่ทำให้รู้สึกถึงความโปร่งสบาย เพราะไม่ได้ถูกกั้นเหมือนรั้วหรือกำแพงทั่วไป “เราพยายามรักษาทั้งเรื่องความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัว ให้คนเห็นแปลงผัก ดอกไม้ได้ มองจากริมถนนได้ แต่เข้าไม่ได้ เป็นคอนเซ็ปต์รั้วโล่ง ปีก่อนหน้านี้ก็ได้มีการปลูกข้าวจริงๆ ถึง 2 ครั้ง” ดึงแนวคิด 4ฤดู ออกแบบภายใน ส่วนอาคารภายใน ออกแบบให้สะท้อนค่านิยม One Chia Tai ส่งเสริมการทำงานร่วมกันเป็นหนึ่งเดียวที่ "เจียไต๋" พนักงานทุกคนได้รับการปลูกฝังให้ทำงานร่วมกันเป็นทีมที่เรียกว่า One Chia Tai เพื่อเดินไปสู่จุดหมายหลักเดียวกันขององค์กร นั่นคือการส่งมอบนวัตกรรมการเกษตรเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีกว่าอย่างยั่งยืนของผู้คนทั่วทั้งภูมิภาค ภายในอาคาร จึงออกแบบด้วยแนวคิด “Growing as One – เติบโตไปด้วยกันเป็นหนึ่งเดียว”  ผ่านการจัดองค์ประกอบในแนวคิด “สวนหลังบ้าน” ซึ่งใช้เป็นแนวคิดหลักในการออกแบบพื้นที่ของแต่ละหน่วยงาน เช่น สนามเด็กเล่น  สวนเรือนกระจก สวนพฤกษา และบ้านต้นไม้ โดยทุกชั้นภายในอาคารจะมีส่วนที่เป็นสวน หรือการปลูกต้นไม้อยู่ทุกชั้น “คนเราถ้าอยู่ในสวนหรือธรรมชาติ 1 ชั่วโมง จะมีประสิทธิภาพการทำงานเพิ่มขึ้น 20% การออกแบบตกแต่งภายในแต่ละชั้น ยังได้นำเอาแนวคิดของ 4 ฤดูกาล เข้ามาเป็นแนวทางในการออกแบบและตกแต่งภายในด้วย -ชั้น 9 ที่ทำงานของหน่วยธุรกิจเมล็ดพันธุ์ ซึ่งออกแบบและตกแต่งภายใต้ธีม ฤดูฝน โดยใช้สีเขียวเป็นโทนสีหลัก -ชั้น 11 เป็นที่ทำงานของหน่วยธุรกิจสนับสนุน ออกแบบและตกแต่ง ภายใต้ธีมของฤดูใบไม้เปลี่ยนสี -ชั้น 12 ที่ทำงานของหน่วยธุรกิจปุ๋ย ถูกออกแบบและตกแต่งภายใต้ธีม ฤดูร้อน โดยใช้สีเหลืองเป็นโทนสีหลัก -ชั้น 12A  สถานที่ทำงานของหน่วยธุรกิจอารักขาพืช ออกแบบและตกแต่งภายใต้ธีม ฤดูหนาว ด้วยโทนสีฟ้าเป็นโทนสีหลัก   แม้ว่าจะมีการแบ่งพื้นที่การทำงาน ในแต่ละชั้นแต่ละหน่วยธุรกิจ แต่ทุกมีการสร้างพื้นที่ให้เชื่อมต่อถึงกันได้ เดินขึ้น-ลงระหว่างชั้นได้  โดยชั้น 7 เชื่อมต่อกับชั้น 8 ชั้น 9 เชื่อมต่อกับชั้น 10 ชั้น 11-12A เชื่อมต่อถึงกันได้ และชั้น 14-15  ซึ่งเป็นส่วนสำนักงานซีอีโอและห้องทำงานของซีอีโอ ก็เชื่อมต่อระหว่างกันด้วย เป็นการออกแบบเพื่อส่งเสริมการทำงานร่วมกัน มุ่งสู่การสร้างวัฒนธรรมในการคิดค้นสิ่งใหม่ๆ การทำงานร่วมกันเป็นทีม นอกจากการเชื่อมต่อระหว่างชั้นแล้ว ทุกพื้นที่ในสำนักงานใหม่ยังจัดทำในรูปแบบ Co-Working Space ที่พนักงานจากหลากหลายแผนกสามารถใช้ทำงานร่วมกันได้ด้วย สร้าง Work – Life Balance ดึงคนรุ่นใหม่ การสร้างสมดุลระหว่างชีวิตการทำงานและชีวิตส่วนตัว Work-Life Balance เป็นสิ่งที่สำคัญต่อความคิดสร้างสรรค์และการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ "เจียไต๋" ให้ความสำคัญกับพนักงานเป็นลำดับต้นๆ สำนักงานใหญ่แห่งนี้จึงออกแบบพื้นที่เพื่อส่งเสริมการสร้างสมดุลระหว่างชีวิตการทำงานและชีวิตส่วนตัวให้พนักงานได้มีความสุข สนุกกับการทำงานในทุกๆ วัน   โดยมีพื้นที่ให้พนักงานสามารถผ่อนคลายความเหนื่อยล้าจากการทำงาน เช่น ฟิตเนส ห้อง Golf Simulator ซึ่งไม่ได้มีเพียงอุปกรณ์ออกกำลังกายอย่างครบถ้วนเท่านั้น แต่ยังมีโค้ชประจำ และมีคลาสออกกำลังกายต่างๆ เช่น คลาสโยคะ หรือเต้นซุมบ้า เพื่อส่งเสริมสุขภาพพนักงานอย่างจริงจัง นอกจากนี้ ยังมีห้องสมุด ห้องอาหาร และยังคิดเผื่อไปถึงครอบครัวของพนักงาน จึงได้สร้างพื้นที่ Kid Room เพื่อรองรับบุตรหลานของพนักงานอีกด้วย   "เจียไต๋" ให้ความสำคัญกับการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมและการประหยัดพลังงาน โดยนอกจากอาคารจะใช้วัสดุเช่น กระจก และมีเพดานที่สูงเพื่อเปิดช่องให้แสงธรรมชาติผ่านเข้าได้มากที่สุด เพื่อลดการใช้พลังงานแล้ว ยังมีการติดตั้งระบบเปิด-ปิดไฟฟ้าอัตโนมัติสำหรับควบคุมไฟฟ้าภายในอาคาร ติดตั้งระบบจับความเคลื่อนไหวภายในห้องน้ำที่จะสั่งการเปิด-ปิดไฟฟ้าอัตโนมัติเมื่อมีคนใช้ ทำให้ไม่ต้องเปิดไฟทิ้งไว้ทั้งวัน และยังติดตั้งมาตรวัดปริมาณน้ำและไฟที่ใช้ในแต่ละชั้นเพื่อนำข้อมูลไปสร้างแนวทางในการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพและคุ้มค่า สำหรับด้านสิ่งแวดล้อม เจียไต๋สนับสนุนให้พนักงานแยกขยะ โดยจัดวางถังขยะแบบแยกประเภทเพื่อสร้างความตระหนักถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และรณรงค์เรื่องการแยกขยะในกลุ่มพนักงานอีกด้วย   “เรามุ่งหวังให้สำนักงานใหญ่แห่งใหม่นี้เป็นที่ทำงานที่ทันสมัย ดึงดูดพนักงานรุ่นใหม่ๆ เป็นสถานที่ในการจุดประกายความคิดสร้างสรรค์ใหม่ๆ ให้กับพนักงาน เพื่อให้ทุกคนแสดงศักยภาพของตัวเองออกมาได้อย่างเต็มที่ เจียไต๋จะฉลองครบรอบ 100 ปี ใน 2564 สำนักงานใหญ่แห่งใหม่นี้เป็นการแสดงให้เห็นถึงความพร้อมและความมุ่งมั่นในการดำเนินธุรกิจของเจียไต๋ ในการก้าวเดินสู่ศตวรรษใหม่อย่างแข็งแกร่งและมั่นคง” ปัจจุบันสำนักงานใหญ่แห่งใหม่ มีพนักงานเข้าทำงานเพียง 320 คนเท่านั้น จากจำนวนพนักงานทั้งกลุ่มบริษัท 1,300 คน บางส่วนกระจายอยู่ในโรงงานบ้าง สำนักงานสาขาบ้าง และส่วนงานวิจัยในพื้นที่ต่างจังหวัดบ้าง  สำนักงานใหญ่แห่งใหม่จึงยังสามารถรองรับพนักงานได้อีกมาก โดยเฉพาะกลุ่มคนรุ่นใหม่  ที่ถือเป็นกำลังสำคัญ จะมาสานต่อให้ “เจียไต๋” ก้าวไปเป็นองค์กรที่เติบโตอย่างยั่งยืนในอนาคต   โดยผู้บริหารคาดหวังว่า การออกแบบสำนักงานให้สอดคล้องกับความต้องการของกลุ่มคนรุ่นใหม่ กลุ่มมิลเลนเนียม จะเป็นตัวช่วยดึงให้พวกเขาเข้ามาเป็นกำลังสำคัญของ “เจียไต๋” ในอนาคต เพราะปัจจุบันยังมีพนักงานกลุ่มนี้ไม่มากนัก อายุเฉลี่ยของพนักงาน “เจียไต๋” จะอยู่ที่ 35 ปี มีอายุงานประมาณ 9 ปีเท่านั้น ซึ่งพนักงานส่วนใหญ่สัดส่วนถึง 65% เป็นกลุ่มคน Gen Y  
สำรวจตลาดพื้นที่ออฟฟิศให้เช่า อดีต-ปัจจุบัน-อนาคต

สำรวจตลาดพื้นที่ออฟฟิศให้เช่า อดีต-ปัจจุบัน-อนาคต

ดูเหมือนตลาดอสังหาริมทรัพย์ประเภท พื้นที่เชิงพาณิชย์ ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่ออฟฟิศให้เช่า หรือพื้นที่ค้าปลีก เป็นอสังหาฯ ที่พอจะสร้างการเติบโตให้กับผู้ประกอบการได้อย่างต่อเนื่อง และเป็นรายได้ประจำสม่ำเสมอ แม้จะไม่หวือหวาแต่ก็ผันผวนจากภาวะเศรษฐกิจและกำลังซื้อของผู้บริโภค  น้อยกว่าอสังหาฯ ประเภทที่อยู่อาศัย โดยเฉพาะในปีนี้แนวโน้มตลาดที่อยู่อาศัยไม่ได้สดใสเอาเสียเลย   หลายปีก่อนหน้าบรรดาดีเวลลอปเปอร์ เริ่มปรับตัวหันมาพัฒนาโครงการประเภทมิกซ์ยูส ที่มีอสังหาฯ หลากหลายประเภทรวมอยู่ในนั้น โดยเฉพาะพื้นที่ออฟฟิศให้เช่า เพราะเป็นตลาดที่มีความต้องการอย่างต่อเนื่อง  หน่วยงานวิจัยหลายแห่งจึงได้ออกบทวิเคราะห์ เพื่อให้เห็นภาพของตลาดออฟฟิศให้เช่า ถึงสภาพตลาดปัจจุบันและแนวโน้มในอนาคต ว่าจะเป็นตลาดที่สดใสและน่าสนใจจริงๆ หรือไม่   Q3 พื้นที่ออฟฟิศให้เช่าเพิ่ม 45,000 ตร.ม. กราฟที่ 1 กราฟอุปทานสำนักงานในกรุงเทพฯ   ล่าสุด  ต่างก็เห็นไปทิศทางเดียวกัน บริษัท ไนท์แฟรงค์ ประเทศไทย จำกัด ได้จัดทำรายงานภาพรวมตลาดอาคารสำนักงานในกรุงเทพฯ ไตรมาสที่ 3 ปี 2562 ที่ผ่านมา ระบุว่า มีพื้นที่ออฟฟิศให้เช่าเพิ่มขึ้น 49,800 ตารางเมตร  จากพื้นที่รวมทั้งหมด 5,125,617 ตารางเมตร เพิ่มขึ้น 1%  เมื่อเทียบไตรมาสต่อไตรมาส และเติบโต 1.6% ปีต่อปี  มีอาคารสำนักงานใหม่หนึ่งอาคารเพิ่มเข้ามาในย่านศูนย์กลางธุรกิจ (CBD) พื้นที่ 45,000 ตารางเมตร ซึ่งเป็นการเพิ่มจำนวนพื้นที่ออฟฟิศให้เช่าในย่านศูนย์กลางธุรกิจเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ไตรมาสที่ 3 ปี 2560 โดยไม่มีการย้ายออกจากอาคารเก่าในไตรมาสนี้ ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมามีพื้นที่สุทธิเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 24,418 ตารางเมตรต่อไตรมาส   สำหรับโครงการพัฒนาในอนาคตจากไตรมาสที่ 4 ปี 2562 - ปี 2566 ตลาดสำนักงานในกรุงเทพฯ คาดว่าจะเติบโตเป็น 1,171,829 ตารางเมตร หรือเฉลี่ยอยู่ที่ 275,724 ตารางเมตรต่อปี (ซึ่งคำนวนจากส่วนที่เพิ่มเข้ามาในตลาดเท่านั้น ไม่ได้คำนวนการย้ายออก) หากเปรียบเทียบจากปี 2558 - ไตรมาสที่ 3 ปี 2562 มีพื้นที่ใหม่เข้าสู่ตลาดอยู่ที่ 139,385 ตารางเมตรต่อปี ในช่วงสิ้นปี 2566 ปริมาณพื้นที่รวมของอาคารสำนักงานคาดว่าจะมีมากถึง 6 ล้านตารางเมตร   นอกจากนี้ การปรับปรุงภาษีอสังหาริมทรัพย์ใหม่ที่เริ่มต้นบังคับใช้ในปี 2563 คาดว่าจะมีย้ายพื้นที่ในอาคารเก่าเป็นจำนวนมาก ส่วนอสังหาฯ เชิงพาณิชย์ ภาษีใหม่นี้จะปรับอัตราภาษีส่วนเพิ่มจาก  0.3%  ไปถึงจุดสูงสุดที่  1.2%  ตามราคาประเมินของรัฐบาล ซึ่งจะแทนที่ภาษีครัวเรือนและภาษีที่ดินในปัจจุบันที่เรียกเก็บที่  12.5%  จากราคาประเมินเช่ารายปี ภาษีใหม่นี้จะกลายเป็นภาระหนักแก่อาคารเกรดไม่สูงนักหรืออาคารที่มีผู้เช่าน้อยในพื้นที่ย่านไพร์ม แต่อาจเป็นแรงจูงใจให้เจ้าของอาคารสำนักงานเหล่านี้ดำเนินการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานของอาคาร    ตารางที่ 1 อุปทานอาคารสำนักงานในกรุงเทพฯ ในอนาคต ตารางที่ 2 อุปทานอาคารสำนักงานในกรุงเทพฯ​ในอนาคต รายโครงการ พื้นที่ออฟฟิศถูกเช่าต่ำสุดใน 10 ปี ส่วนความต้องการใช้พื้นที่ออฟฟิศให้เช่านั้น ในไตรมาสที่ 3 ปี 2562 ปรับลดลงเล็กน้อย ซึ่งการครอบครองลดลงเหลือเพียง 51,485 ตารางเมตร จากเดิม 68,987 ตารางเมตรในไตรมาสก่อน โดยลดลง 8% ต่อไตรมาส และส่งผลต่อการครอบครองเฉลี่ยลงต่ำกว่าค่าเฉลี่ยรายไตรมาสใน 10 ปี ซึ่งอยู่ที่ 64,406 ตารางเมตร นับเป็นครั้งแรกตั้งแต่ปี 2556 ของการครอบครองในไตรมาสที่ 3 ที่มีพื้นที่ลดลงต่ำกว่า 40,000 ตารางเมตร การครอบครองพื้นที่ใหม่และอาคารสำนักงานตกแต่งใหม่คิดเป็นเพียง 41% ของพื้นที่ทั้งหมดในไตรมาสนี้ ซึ่งลดลง 10% ไตรมาสต่อไตรมาส (Q-o-Q)   ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ผู้เช่าเลือกที่จะเช่าอาคารที่มีคุณภาพสูง โดยอาคารสำนักงานใหม่และอาคารสำนักงานที่ตกแต่งใหม่เหล่านี้มักจะอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานและมักจะดึงดูดความต้องการได้อย่างดี อย่างไรก็ตามภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวอาจส่งผลให้ผู้เช่าในปัจจุบันและผู้เช่าในอนาคตบางรายรอดูสถานการณ์ในการย้ายสำนักงานหรือแผนการขยายสาขา กราฟที่ 2 การครอบครองอาคารสำนักงานในกรุงเทพฯ รายไตรมาส   การดูดซับสุทธิปรับเพิ่มพื้นที่การครอบครองรวมจำนวน 20,138 ตารางเมตร  ซึ่งรวมทั้งหมดเป็นจำนวน 4,650,635 ตารางเมตร การดูดซับสุทธิเพิ่มขึ้นจาก 11,990 ตารางเมตร ในไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดหากเทียบปีต่อปี เนื่องจากพื้นที่ครอบครองรวมลดลงไป 19,509 ตารางเมตร  ในไตรมาสที่ 3 ปี 2561 อย่างไรก็ตามในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา พื้นที่ทั้งหมดเพิ่มขึ้น 80,000 ตารางเมตร ในขณะที่พื้นที่ครอบครองรวมเพิ่มขึ้นเพียง 26,271 ตารางเมตร ความแตกต่างนี้แสดงให้เห็นว่าความต้องการรายปีต่ำกว่าปริมาณพื้นที่มากในปีที่ผ่านมา กราฟที่ 3 ไดนามิกส์ระหว่างอุปสงค์และอุปทานของอาคารสำนักงานในกรุงเทพฯ   พื้นที่ออฟฟิศให้เช่าเพิ่มมากกว่าดีมานด์ การเพิ่มขึ้นของปริมาณพื้นที่สูงกว่าการดูดซับสุทธิ ส่งผลให้อัตราการครอบครองพื้นที่ตลาดลดลงไปที่  90.7% จากเดิมอยู่ที่  91.2% ในไตรมาสก่อน แม้ว่าจะลดลงแต่อัตราการครอบครองพื้นที่ยังคงสูงกว่าค่าเฉลี่ย 10 ปี โดยอยู่ที่  89.8% ซึ่งชี้ให้เห็นว่าตลาดยังคงเสถียรภาพ อัตราการครอบครองพื้นที่ปรับลดลงในทั้งสองอาคารสำนักงานเกรด A และ B โดยลดลงไป  3.0% และ 0.5% จากไตรมาสก่อนตามลำดับ ในขณะที่อัตราการครอบครองอาคารสำนักงานเกรด C ปรับเพิ่มขึ้น 0.4% โดยรวมอยู่ที่ 87.7%   สำหรับในย่านศูนย์กลางธุรกิจ มีอัตราการครอบครองพื้นที่บนถนนวิทยุเพิ่มขึ้นสูงมากที่สุด ซึ่งเพิ่มขึ้น  0.4% ไตรมาสต่อไตรมาส คิดเป็น 0.9% ปีต่อปี โดยรวมอยู่ที่  91.8% ในทางกลับกันอัตราการครอบครองพื้นที่ในเขตสีลม-สาทรลดลงไป 0.5% ไตรมาสต่อไตรมาส และ 1.65% ปีต่อปี โดยรวมอยู่ที่ 92.6% สำหรับเขตนอกย่านศูนย์กลางธุรกิจ อัตราการครอบครองพื้นที่ในเขตบางนาปรับสูงขึ้นมากที่สุด โดยเพิ่มขึ้น  1.2% โดยรวมอยู่ที่ 85.5% กราฟที่ 4 อัตราการครอบครองพื้นที่, อุปสงค์ และอุปทานพื้นที่อาคารสำนักงานในกรุงเทพฯ   ถนนวิทยุพื้นที่ออฟฟิศให้เช่าราคาพุ่งสูงสุด ตารางที่ 3 อัตราการครอบครองพื้นที่อาคารสำนักงานในกรุงเทพฯ​ โดยแบ่งตามเกรด พื้นที่ออฟฟิศให้เช่ามีราคาค่าเช่าโดยเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 1.2% อยู่ที่ 789 บาทต่อตารางเมตรต่อเดือน แสดงให้เห็นถึงการปรับตัวต่อภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน การเพิ่มเข้ามาของพื้นที่ออฟฟิศให้เช่าใหม่ที่ตั้งราคาอยู่ในระดับเกรด A เป็นปัจจัยที่เอื้อต่อการเพิ่มขึ้นของระดับค่าเช่า ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ราคาค่าเช่าปรับเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยที่ 5.0% ต่อปี โดยในไตรมาสที่ 3 ราคาค่าเช่าโดยเฉลี่ยของอาคารสำนักงานเกรด B มีการปรับเพิ่มขึ้น 0.9% ไตรมาสต่อไตรมาส และ 5.4 ปีต่อปี อยู่ที่ 819 บาท ในขณะเดียวกัน ราคาค่าเช่าของอาคารสำนักงานเกรด A นั้นลดลงในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา แม้จะมีการเพิ่มขึ้น 8.8% ปีต่อปี แต่ราคาค่าเช่าปรับลดลงเหลือ 1,129 บาท ซึ่งลดลงติดต่อกันเป็นไตรมาสที่สอง กราฟที่ 5 ราคาเสนอเช่าโดยเฉลี่ยของพื้นที่อาคารสำนักงานในกรุงเทพฯ​โดยแบ่งตามเกรด ค่าเช่าของพื้นที่ออฟฟิศให้เช่าในย่านศูนย์กลางธุรกิจปรับเพิ่มขึ้นในไตรมาสที่ผ่านมา ยกเว้นเพียงเขตอโศก-พร้อมพงษ์ ส่วนอาคารสำนักงานบนถนนวิทยุที่นอกจากจะมีปริมาณผู้เช่าสูงที่สุดแล้ว ยังมีการปรับราคาค่าเช่าสูงที่สุดอีกด้วย โดยราคาค่าเช่าเพิ่มขึ้น 4.1%   ไตรมาสต่อไตรมาส และ 10.1% ปีต่อปี อยู่ที่ 1,148 บาท สำหรับพื้นที่นอกย่านศูนย์กลางธุรกิจ โดยเขตที่มีค่าเช่าสูงที่สุดอยู่ในเขตพหลโยธิน-วิภาวดี เพิ่มขึ้น 5.1% จากไตรมาสก่อน อยู่ที่ 760 บาท ในทางตรงกันข้าม ค่าเช่าในพื้นที่เขตอโศก-เพชรบุรีกลับลดลงไปร้อยละ 1.6% อยู่ที่ 818 บาท แต่ยังคงเพิ่มขึ้น  4.1% ปีต่อปี   “การเติบโตของราคาค่าเช่ายังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งผู้เช่าควรปรับกลยุทธ์หรือแผนการเช่าอาคารสำนักงานเนื่องจากสภาพเศรษฐกิจที่เปลี่ยนไป ซึ่งครั้งหนึ่งกรุงเทพฯ เคยเป็นหนึ่งในตลาดอาคารสำนักงานที่มีราคาต่ำที่สุดในโลก แต่ตอนนี้ค่าเช่าของอาคารเกรดเอในกรุงเทพฯ กลับเทียบเท่ากับค่าเช่าสำนักงานในเมืองอย่างมาดริด และชิคาโก”นายมาร์คัส เบอร์เทนชอว์ กรรมการบริหารและหัวหน้าฝ่ายตัวแทนนายหน้า บริษัท ไนท์แฟรงค์ ประเทศไทย จำกัด กล่าวและว่า   ตารางที่ 5 ตัวบ่งชี้ตลาดย่อยของพ้นที่อาคารสำนักงานในกรุงเทพฯ บทสรุป พื้นที่ออฟฟิศให้เช่า   สำหรับในไตรมาสที่ 4 การดูดซับสุทธิยังคงมีแนวโน้มเป็นบวก  แม้ว่าจะอยู่ในระดับต่ำก็ตาม และดูเหมือนว่าตลาดพื้นที่ออฟฟิศให้เช่า กำลังขยายจนถึงจุดสูงสุดแล้ว แต่ก็ยังคงมีโอกาสที่ยังเติบโตได้อยู่ อย่างไรก็ตามการชะลอตัวทางเศรษฐกิจในปัจจุบันมีแนวโน้มที่จะยืดไปถึงปี 2563 และอาจส่งผลกระทบต่อแผนการในอนาคตทั้งเจ้าของอาคารสำนักงานรวมถึงผู้เช่า โดยมีความเป็นไปได้ที่นักพัฒนาฯ จะชะลอการส่งมอบโครงการและคาดหวังความต้องการในปีถัดไป ราคาค่าเช่าคาดว่าจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องแต่อาจอยู่ในอัตราที่ช้าลงเพราะผู้เช่ามีอำนาจต่อรองมากขึ้นจากตัวเลือกของพื้นที่อาคารสำนักงานในตลาด   อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง -ส่องเทรนด์พื้นที่ “ออฟฟิศ-รีเทล” ปี 63 จะไปทางไหน?
วิเคราะห์ โปรเจ็กต์มิกซ์ยูส มีทั้งโอกาสและความเสี่ยง

วิเคราะห์ โปรเจ็กต์มิกซ์ยูส มีทั้งโอกาสและความเสี่ยง

รายงานล่าสุด จาก บริษัท เน็กซัส เรียลเอสเตท แอ็ดไวเซอรี่ จำกัด ระบุว่า ในอีก 5 ปีข้างหน้า จะมีพื้นที่ออฟฟิศให้เช่าเพิ่มขึ้น 10 ตารางเมตร จากปัจจุบันมีพื้นที่ออฟฟิศในกรุงเทพฯ มีประมาณ 9 ล้านตารางเมตร ซึ่งพื้นที่ทั้งหมดส่วนใหญ่จะอยู่ในโครงการมิกซ์ยูส ที่มีอสังหาริมทรัพย์ประเภทอื่นๆ ประกอบด้วย    มิกซ์ยูสหลายโครงการที่จะทยอยออกมาตั้งแต่ปีนี้นั้น  เป็นโครงการขนาดใหญ่มูลค่าระดับแสนล้านบาท  เหตุผลของดีเวลลอปเปอร์ในการพัฒนาโครงการมิกซ์ยูส คงเป็นเพราะต้องการใช้ที่ดินให้เกิดมูลค่าสูงสุด  เนื่องจากโครงการถูกพัฒนาบนทำเลใจกลางเมือง  รวมถึงเป็นการตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคยุคปัจจุบัน ที่มีความต้องการหลากหลาย นั่นเอง 2 เหตุผลดีเวลลอปเปอร์ปั้นโปรเจ็กต์มิกซ์ยูส รายงานจากนายภัทรพล ยุทธศักดิ์นุกูล นักวิเคราะห์ Economic Intelligence Center (EIC) ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)  ล่าสุด ได้เห็นไปในทิศทางเดียวกันคือ สาเหตุสำคัญที่ดีเวลลอปเปอร์หันมาพัฒนาโครงการมิกซ์ยูส เป็นเพราะ ต้องการเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้ที่ดิน และใช้พื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เนื่องจากที่ดินที่อยู่ในทำเลที่ดีโดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีศักยภาพซึ่งปัจจุบันเหลืออยู่ไม่มากนัก อีกทั้งยังมีราคาสูง ดังนั้น  การผสมผสานแต่ละการใช้งานของอสังหาฯ ให้มีความเข้ากันได้ดีจึงเป็นสิ่งสำคัญ โดยอาจมีพื้นที่บางส่วนของโครงการที่การใช้งานหลายส่วนสามารถใช้งานร่วมกันได้   นอกจากนี้ ยังมองว่า โครงการมิกซ์ยูสเป็นการช่วยลดความเสี่ยงจากการพึ่งพาอสังหาฯ รูปแบบใดรูปแบบหนึ่งและเป็นการเพิ่มความหลากหลายของช่องทางในการสร้างรายได้ที่สม่ำเสมอ (recurring income) เมื่อเกิดการชะลอตัวของเศรษฐกิจหรือธุรกิจจะช่วยบรรเทาผลกระทบไม่ให้รุนแรงมากนัก เนื่องจากมีช่องทางสร้างรายได้อื่น เช่น ในภาวะที่นักท่องเที่ยวชะลอตัวส่งผลให้รายได้จากผู้เช่าพื้นที่ค้าปลีกและโรงแรมลดลง โครงการมิกซ์ยูสยังคงมีพื้นที่สำนักงานให้เช่าเป็นแหล่งรายได้อื่นที่ไม่ได้รับผลกระทบจากภาวะชะลอตัวของนักท่องเที่ยวอยู่ ต่างกับโครงการค้าปลีกเพียงอย่างเดียว (single use) ที่อาจได้รับผลกระทบมากกว่า   ถือเป็น 2 เหตุผลสำคัญ ที่ทำให้ผู้ประกอบการหลายรายหันมาสนใจการพัฒนาโครงการมิกซ์ยูส ในภาวะเศรษฐกิจที่ผันผวนและชะลอตัว ซึ่งอาจกดดันให้ความต้องการเช่าพื้นที่เชิงพาณิชย์ให้เช่า (commercial real estate) ซึ่งประกอบด้วยพื้นที่สำนักงานให้เช่าและพื้นที่ค้าปลีกให้เช่า รวมถึงต้นทุนที่ดินที่อยู่ในระดับสูง โดยเฉพาะที่ดินในพื้นที่ศักยภาพ โครงการมิกซ์ยูสทะลัก เสี่ยง Oversupply อย่างไรก็ตาม EIC มองว่า การเติบโตอย่างก้าวกระโดดของปริมาณพื้นที่ จากโครงการมิกซ์ยูส ในช่วงปี 2563-2565 อาจเป็นหนึ่งในปัจจัยหลักที่กดดันให้การแข่งขันมีความรุนแรงมากขึ้นและนำมาสู่ความเสี่ยงปริมาณพื้นที่ส่วนเกิน (Oversupply) ในธุรกิจอสังหาฯ พาณิชย์ให้เช่าในกรุงเทพฯ โดยจะมีพื้นที่มิกซ์ยูสเปิดดำเนินการเพิ่มขึ้น 900,000 ตารางเมตร หรือ ประมาณ 40% ของจำนวนพื้นที่ของธุรกิจพาณิชย์ให้เช่าในกรุงเทพฯ ราว 2 ล้านตารางเมตรในช่วงปี 2563-2565 (รูปที่ 1)   ขณะที่ EIC คาดว่าความต้องการใหม่ต่อธุรกิจพาณิชย์ให้เช่าในกรุงเทพฯ ในช่วงเวลาเดียวกันจะอยู่ที่ราว 1 ล้านตารางเมตรเท่านั้น ซึ่งอาจนำไปสู่ความเสี่ยงจากภาวะพื้นที่มีออกมามากเกินจากการขยายตัวดังกล่าว โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีโครงการมิกซ์ยูสที่จะเข้าสู่ตลาด ทั้งนี้จากข้อมูล 14 โครงการที่ถูกเลือกเพื่อทำการศึกษาเบื้องต้น พบว่า ปริมาณพื้นที่ใหม่จากโครงการมิกซ์ยูสส่วนใหญ่จะกระจุกตัวอยู่ในพื้นที่ย่านศูนย์กลางธุรกิจ (CBD: Central Business District) ซึ่งเป็นบริเวณที่เป็นใจกลางย่านธุรกิจในกรุงเทพฯ คิดเป็นสัดส่วนราว 64% เช่น สีลม-สาธร สุขุมวิทตอนต้น (ซอย 1-41) เพชรบุรี ส่วนพื้นที่ Non CBD คิดเป็นสัดส่วนราว 36% เช่น พื้นที่บางซื่อ บางนา-ตราด ศรีนครินทร์ แจ้งวัฒนะ   นอกจากนี้ หากพิจารณาตามรูปแบบอสังหาฯ จะพบว่า จากพื้นที่โครงการมิกซ์ยูสทั้งหมด (รูปที่ 2) จะมีพื้นที่ค้าปลีกเป็นสัดส่วนถึง 22% รองลงมาคือ พื้นที่สำนักงานซึ่งเป็นสัดส่วนราว 19% ดังนั้นไม่เพียงผู้พัฒนาโครงการมิกซ์ยูสเท่านั้นที่ต้องระมัดระวังความเสี่ยงปริมาณพื้นที่ส่วนเกิน  แต่ผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ฯ พาณิชย์ให้เช่าที่อยู่รอบข้างโครงการมิกซ์ยูสก็อาจเผชิญกับผลกระทบจากความเสี่ยงดังกล่าวด้วยเช่นกัน หากพิจารณาธุรกิจพาณิชย์ให้เช่ายังคงเติบโตต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมา โดยการเติบโตของธุรกิจพื้นที่สำนักงานให้เช่าในกรุงเทพฯ มีปัจจัยขับเคลื่อนหลักจากค่าเช่าที่มีการปรับตัวขึ้น ขณะที่พื้นที่ค้าปลีกเติบโตจากการขยายตัวของพื้นที่ปล่อยเช่าที่เพิ่มขึ้น จากการวิเคราะห์ข้อมูลของ CBRE พบว่า ภาพรวมธุรกิจพื้นที่สำนักงานให้เช่าในกรุงเทพฯ ระหว่างปี 2557-2561 มูลค่าตลาดเติบโตอย่างต่อเนื่องราว 8% ต่อปีจนในปี 2561 ตลาดมีมูลค่าถึง 80,000 ล้านบาท โดยการเติบโตของมูลค่าตลาดมีปัจจัยขับเคลื่อนหลักจากอัตราค่าเช่าที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องราว 6% ต่อปี ในช่วงเวลาเดียวกัน ซึ่งเป็นผลมาจากพื้นที่สำนักงานที่ถูกเช่าเพิ่ม (new occupied space) ในแต่ละปีสูงกว่าพื้นที่ใหม่ (new supply)   ในส่วนของธุรกิจพื้นที่ค้าปลีกให้เช่าในกรุงเทพฯ ในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา มูลค่าตลาดรวมเติบโต 4% ต่อปี ทำให้ในปี 2561  ตลาดมีมูลค่าถึงราว 90,000 ล้านบาท โดยการเติบโตหลักมาจากการขยายตัวต่อเนื่องของพื้นที่ปล่อยเช่าในอัตรา 4% ต่อปีในช่วงเวลาเดียวกัน ขณะที่ราคาค่าเช่าของพื้นที่ค้าปลีกในช่วงที่ผ่านมาค่อนข้างทรงตัว   แม้ว่าธุรกิจพื้นที่สำนักงานให้เช่าในกรุงเทพฯ ยังคงมีอัตราการปล่อยเช่าและราคาค่าเช่าที่เติบโตได้ดี แต่แนวโน้มการเปิดตัวโครงการใหม่อย่างต่อเนื่องในอีก 3-4 ปีข้างหน้าโดยเฉพาะโครงการมิกซ์ยูส อาจส่งผลให้ผู้ประกอบการพื้นที่สำนักงานให้เช่าต้องเผชิญกับความเสี่ยงของภาวะปริมาณพื้นที่ส่วนเกิน พื้นที่ใหม่ 3 ปีหน้าเพิ่มอีก 1.3 ล้านตารางเมตร ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาภาพรวมของตลาด พบว่า มีการเปิดตัวโครงการใหม่อย่างต่อเนื่อง (รูปที่ 3) โดยในอีก 3 ปีข้างหน้าจะมีปริมาณพื้นที่ใหม่เข้าสู่ตลาดราว 1.3 ล้านตารางเมตร หรือคิดเป็นสัดส่วน 14% ของปริมาณพื้นที่ในปัจจุบัน โดยเป็นพื้นที่จากมิกซ์ยูสถึง 400,000 ตารางเมตร ซึ่งจะเพิ่มความเสี่ยงที่แนวโน้มของปริมาณพื้นที่ใหม่จะเข้าสู่ตลาดมากกว่าความต้องการใหม่ นำไปสู่ความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะพื้นที่ส่วนเกิน (oversupply) ในอนาคต   โดย EIC คาดว่าอัตราการปล่อยเช่า (occupancy rate) อาจทยอยปรับตัวลดลงต่อเนื่อง โดยในปี 2566อัตราการปล่อยเช่ามีโอกาสลดลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 8 ปีที่ 86-87% เทียบกับ 93% ในปี 2561 และ 92% ในปี 2562 ขณะที่อัตราการเพิ่มขึ้นของราคาค่าเช่ามีแนวโน้มที่จะชะลอตัวลง โดยในช่วงปี 2563-2566 อัตราค่าเช่าจะขยายตัวเฉลี่ยเพียงปีละ 1% ชะลอตัวลงจาก 4% ในปี 2562 และเฉลี่ยปีละ 6% ในช่วงปี 2557-2561   สำหรับธุรกิจพื้นที่ค้าปลีกให้เช่าในกรุงเทพฯ ยังต้องเผชิญกับความต้องการพื้นที่ค้าปลีกที่ชะลอตัวลง ซึ่งมาจากผลกระทบของ 1.การขยายตัวของธุรกิจค้าปลีกที่มีแนวโน้มชะลอตัวลง ทำให้มีโอกาสที่อัตราการปล่อยเช่ามีแนวโน้มลดลง นำไปสู่การแข่งขันที่อาจรุนแรงขึ้น 2.การเติบโตของธุรกิจอีคอมเมิร์ซ ยังส่งผลให้ความต้องการต่อพื้นที่ค้าปลีกมีแนวโน้มชะลอตัวลง โดยแนวโน้มธุรกิจค้าปลีกชะลอตัวลงตามภาวะเศรษฐกิจ ทั้งการใช้จ่ายของผู้บริโภคชาวไทยและนักท่องเที่ยวที่มีแนวโน้มเติบโตในอัตราชะลอลง นอกจากนี้ การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของธุรกิจค้าปลีกจากการเติบโตของธุรกิจอีคอมเมิร์ซส่งผลให้ความต้องการต่อพื้นที่ค้าปลีกมีแนวโน้มชะลอตัวลง จากกลุ่มร้านค้าต่าง ๆ ที่เป็นผู้เช่าพื้นที่ค้าปลีก ซึ่งมีทางเลือกในการจำหน่ายสินค้าเพิ่มมากขึ้น ทั้งแพลตฟอร์ม Marketplace (เช่น Lazada Shopee) โซเชียลมีเดีย หรือเว็บไซต์ของผู้ประกอบการเอง ส่งผลให้อุปสงค์ต่อพื้นที่ชะลอตัวลง   อย่างไรก็ตาม ยังมีแนวโน้มการเติบโตของ O2O (Online to Offline) ที่ช่วยสนับสนุนความต้องการพื้นที่ค้าปลีกอยู่บ้าง เช่น Multi-Brand Store ซึ่งเป็นการที่ร้านค้าออนไลน์ที่อยู่บนแพลตฟอร์มต่างๆ รวมกลุ่มกันเพื่อเช่าพื้นที่ค้าปลีกและตั้งร้านค้าออฟไลน์ขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มสินค้าแฟชั่นและสินค้าความงาม ซึ่งจะช่วยลดทอนผลกระทบจากกระแสอีคอมเมิร์ซลงได้บ้าง   โดยทั้งสองปัจจัยข้างต้นส่งผลให้การขยายสาขา/ร้านค้าใหม่ชะลอตัวลง ทำให้ความต้องการต่อพื้นที่ค้าปลีกให้เช่าชะลอตัวลง กดดันให้รายได้ค่าเช่าของพื้นที่ค้าปลีกให้เช่า[1] ขยายตัวในระดับต่ำจากค่าเช่าแบบคงที่มีโอกาสปรับตัวเพิ่มขึ้นได้ยากจากอัตราการปล่อยเช่าที่ลดลง   ทั้งนี้ EIC คาดว่าในช่วงปี 2562-2566  จะมีพื้นที่ใหม่ของพื้นที่ค้าปลีกให้เช่าอยู่ที่ 170,000 ตารางเมตรต่อปี (ซึ่งเป็นพื้นที่ในโครงการมิกซ์ยูสราว 50% ของพื้นที่ใหม่ทั้งหมด) ขณะที่ความต้องการใหม่มีอยู่เพียงปีละ 140,000 ตารางเมตร (ชะลอตัวลงจากช่วงปี 2557-2561 ที่มีความต้องการใหม่อยู่ที่ 260,000 ตารางเมตรต่อปี) จึงส่งผลให้อัตราการปล่อยเช่าจะมีแนวโน้มปรับตัวลงอยู่ที่เฉลี่ย 94% ในอีก 4 ปีข้างหน้าจาก 97% ในปี 2017 ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เริ่มจัดเก็บข้อมูลในปี 2549   นอกจากนี้ ยอดขายของธุรกิจค้าปลีกชะลอตัวลงกดดันให้ค่าเช่าในส่วนของค่าเช่าแบบแบ่งสัดส่วนยอดขายขยายตัวชะลอลง โดยภาพรวมแล้วคาดว่าราคาค่าเช่าพื้นที่ค้าปลีกยังคงมีแนวโน้มทรงตัว/ขยายตัวต่ำต่อไปในอีก 3-4 ปีข้างหน้า มิกซ์ยูสแข่งเดือด อสังหาฯ รอบข้างยังโดนกระทบ ปริมาณพื้นที่มิกซ์ยูสที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างมากในอนาคต นอกจากจะนำมาสู่การแข่งขันระหว่างกันที่มากขึ้นแล้ว ยังส่งผลกระทบกับโครงการอสังหาฯ ที่อยู่รอบข้างด้วย ซึ่งมีทั้งผลกระทบด้านบวกและด้านลบ ผลกระทบของโครงการมิกซ์ยูสที่มีต่อพื้นที่โดยรอบนั้นจะแตกต่างกันไปโดยขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายด้าน เช่น ขนาดของโครงการ พื้นที่รอบข้าง อสังหาฯ ภายในโครงการ และความสำเร็จของโครงการเป็นสำคัญ ผลกระทบด้านบวกต่อตลาดพื้นที่พาณิชย์ให้เช่าโดยรวม โครงการมิกซ์ยูสบางโครงการอาจส่งผลบวกต่อโครงการอื่น ๆ ในพื้นที่รอบข้าง โดยเฉพาะในกรณีที่การใช้งานหลักของโครงการมิกซ์ยูสไม่ตรงกับโครงการอื่น ๆ โดยรอบพื้นที่ และตั้งอยู่ในพื้นที่นอกใจกลางเมืองหรือพื้นที่ Non CBD (ที่มีการแข่งขันอยู่ในระดับต่ำ) มีความเป็นไปได้สูงที่โครงการโดยรอบจะได้รับผลดีจากการเปิดโครงการมิกซ์ยูส   ทั้งนี้ในงานแถลงข่าว The Celebrations of Glory ได้มีการเปิดเผยว่า หลังจากดำเนินโครงการ ICONSIAM มาเป็นระยะเวลา 1 ปี ส่งผลให้ธุรกิจริมแม่น้ำเจ้าพระยา อย่างเช่น แหล่งท่องเที่ยว ภัตตาคาร ร้านอาหารรอบข้าง เติบโตกว่า 20% หรือโครงการคอนโดมิเนียมที่เปิดขายใหม่ระหว่างปี 2560-2562 ที่ตั้งอยู่ใกล้โครงการมียอดขายเฉลี่ยสูงถึง 95% อีกทั้งยังทำให้อัตราการเข้าพักโรงแรมริมแม่น้ำเจ้าพระยาเพิ่มสูงขึ้น โดยในกลุ่มโรงแรม 5 ดาวอัตราการเข้าพักเพิ่มสูงขึ้นเป็น 85-90%   โครงการ Bangkok Mall ที่มีขนาดของโครงการกว่า 1.2 ล้านตารางเมตรทำให้โครงการ Bangkok Mall อาจกลายเป็น landmark ใหม่บนพื้นที่ย่านบางนา เนื่องจากในเฟสแรกของโครงการพื้นที่ใช้งานหลักของโครงการเป็นพื้นที่ค้าปลีกและสันทนาการ ซึ่งเหมาะกับการใช้เวลากับครอบครัว จึงอาจมีผลบวกต่อโครงการที่อยู่อาศัยในพื้นที่รอบข้าง อย่างเช่น โครงการที่อยู่อาศัยแนวราบ หรือคอนโดมิเนียม ผลกระทบด้านลบต่อตลาดพื้นที่พาณิชย์ให้เช่าที่มาจากการขยายตัวของโครงการมิกซ์ยูสจำนวนมาก 1.ผู้พัฒนาโครงการมิกซ์ยูสอาจต้องเผชิญกับความท้าทายจากระยะเวลาในการคืนทุนที่ยาวนานขึ้น ในภาวะเศรษฐกิจที่มีความไม่แน่นอนสูง และความต้องการที่ชะลอตัวลงตามเศรษฐกิจ ประกอบกับการขยายตัวของพื้นที่โครงการมิกซ์ยูสจำนวนมากทำให้การแข่งขันมีความรุนแรงมากขึ้น ส่งผลให้การพัฒนาโครงการมิกซ์ยูสที่มีการลงทุนขนาดใหญ่ใช้ระยะเวลาในการคืนทุนยาวนานขึ้น   2.ผู้พัฒนาของโครงการ single use เผชิญแรงกดดันจากการแข่งขันที่รุนแรงขึ้น กระทบต่อรายได้ในระยะข้างหน้า จากแนวโน้มการเปิดดำเนินการของโครงการมิกซ์ยูสที่มีมากขึ้นในอีก 3-4 ปีข้างหน้า จะส่งผลให้ผู้พัฒนาของโครงการ single use ในพื้นที่รอบข้างต้องเผชิญการแข่งขันที่เพิ่มขึ้นจากในอดีต เช่น -ในพื้นที่พระราม 4 และรอบข้างที่มีโครงการมิกซ์ยูสเตรียมเปิดดำเนินการจำนวนมาก อาทิ One Bangkok, Dusit Central Park จะส่งผลกระทบต่อ 1.อาคารสำนักงานดั้งเดิมบนถนนพระราม 4  สาธร และสีลมที่อัตราการปล่อยเช่าอาจปรับตัวลดลงจากปริมาณพื้นที่ใหม่ที่มีเข้ามาแข่งขันมากขึ้นจากโครงการมิกซ์ยูส 2.อาคารสำนักงานที่อยู่ในพื้นที่เชื่อมต่อ CBD ที่เคยได้อานิสงค์จากพื้นที่ที่มีจำกัดของช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา แต่หลังจากที่หลายโครงการมิกซ์ยูสใน CBD เริ่มเปิดใช้บริการ อานิสงค์ดังกล่าวที่เคยได้รับอาจหมดไป เนื่องจากโครงการมิกซ์ยูสใหม่จะตอบสนองความต้องการในพื้นที่สำนักงานได้มากขึ้น 3.โรงแรมในพื้นที่ถนนวิทยุ สีลมและสาธรต้องแข่งขันมากขึ้น อาจส่งผลต่ออัตราการปล่อยเช่าปรับตัวลดลง 4.คอนโดมิเนียมเกรด luxury ที่เป็นเกรดที่โครงการมิกซ์ยูสในพื้นที่พระราม 4 พัฒนา อาจต้องเผชิญกับการแข่งขันที่มากขึ้น -ในพื้นที่บางนาที่มีการพัฒนาโครงการมิกซ์ยูสใหม่อย่าง Bangkok Mall ซึ่งเป็นโครงการค้าปลีก ขนาดใหญ่ที่จะส่งผลกระทบต่อการแข่งขันของห้างสรรพสินค้าโดยรอบมากขึ้น อาทิ CentralPlaza Bangna หรือ Seacon Square   แนวทางแก้จุด้อย ทางรอดท่ามกลางสมรภูมิแข่งเดือด ท่ามกลางความท้าทายจากความเสี่ยงหลากหลายประการ โครงการมิกซ์ยูสอาจต้องปรับตัวแก้ไขจุดด้อยต่าง ๆ ของโครงการ รวมถึงการสร้างความแตกต่าง เพื่อดึงดูดผู้ใช้งานเข้าสู่โครงการ การที่แต่ละโครงการมีจุดแข็งที่แตกต่างกัน จะช่วยเพิ่มโอกาสในการทำให้โครงการประสบความสำเร็จ ขณะที่บางโครงการยังมีความท้าทายที่ต้องเผชิญ ทำให้ต้องมีการปรับตัวเพื่อลดจุดด้อยของโครงการลง เช่น   โครงการ Samyan Mitrtown เมื่อเดินทางโดยรถไฟฟ้า จำเป็นจะต้องข้ามถนนและเดินเท้าระยะทางจากสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินราว 300 เมตร โครงการเปลี่ยนจุดด้อยเป็นจุดขายด้วยการสร้างอุโมงค์เชื่อมจากรถไฟฟ้าใต้ดินเข้าสู่โครงการ ซึ่งเป็นการอำนวยความสะดวกในการเดินทางเข้าสู่โครงการ และการสร้างจุดเด่นและ traffic ให้กับโครงการเพื่อดึงดูดผู้เข้าใช้บริการ   นอกจากนี้ โครงการยังเพิ่มจุดขายสำคัญคือการเปิดใช้งาน 24 ชั่วโมง ซึ่งเหมาะกับความต้องการในพื้นที่ เช่น นักศึกษาที่ต้องการพื้นที่ทบทวนบทเรียน ทั้งนี้หากเปรียบเทียบอัตราการปล่อยเช่าพื้นที่สำนักงานภายในโครงการ Samyan Mitrtown ในเดือนแรกของการเปิดตัวอยู่ที่กว่า 60% นับว่าสูงกว่าค่าเฉลี่ยของอาคารสำนักงานทั่วไปซึ่งอยู่ที่ 50% ณ ไตรมาสแรกที่เปิดโครงการ[2] ส่วนอัตราการให้เช่าพื้นที่ของพื้นที่ค้าปลีกสูงถึง 85% ซึ่งค่อนข้างสูงหากเทียบกับศูนย์การค้าที่เปิดตัวในช่วงใกล้เคียงกันอย่าง The Market Bangkok ที่มีอัตราการปล่อยเช่า ณ วันเปิดตัวโครงการอยู่ที่ 77% เท่านั้น   ขณะที่โครงการมิกซ์ยูสอย่าง ICON free SIAM ที่เปิดตัวโครงการด้วยอัตราการปล่อยเช่าพื้นที่ค้าปลีกกว่า 91% โดยตัวโครงการอาจไม่ได้ตั้งอยู่ในพื้นที่ใจกลางเมืองนัก แต่อาศัยการสร้างจุดเด่นจากพื้นที่ตั้งริมน้ำ ขนาดและความหลากหลายภายในโครงการ รวมถึงการจัดอีเว้นท์เพื่อการสร้างแรงดึงดูดจนทำให้โครงการ ICONSIAM กลายเป็น landmark ขนาดใหญ่ของพื้นที่ฝั่งธนบุรี   สำหรับโครงการ Emsphere ที่เป็นโครงการภายใต้การบริหารของเดอะมอลล์กรุ๊ป ได้มีการสร้างความโดดเด่นและความแตกต่างให้กับโครงการ โดยได้ร่วมมือกับผู้ประกอบธุรกิจบันเทิงและกีฬาระดับโลก อย่าง Anschutz Entertainment Group (AEG) ในการสร้างอารีน่าขนาดใหญ่ EmLive ในโครงการ โดยทั้งโครงการจะเข้ามายกระดับและเติมเต็มพื้นที่ The EmDistrict ให้สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น 3 Key Success โปรเจ็กต์มิกซ์ยูส รูปแบบการพัฒนาอสังหาฯ ที่เป็นโครงการมิกซ์ยูส  ไม่ได้เป็นการรับประกันว่าโครงการมิกซ์ยูสจะต้องประสบความสำเร็จเสมอไป โดยความสำเร็จของโครงการมิกซ์ยูสขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่นๆ รวมด้วย เพื่อก้าวข้ามแรงกดดันจากการแข่งขันในตลาดอสังหาฯ ผู้พัฒนาโครงการมิกซ์ยูสจำเป็นที่จะต้องมี key success สำคัญ คือ 1.ประสบการณ์ในการดำเนินธุรกิจอสังหาฯ ประสบการณ์ของผู้พัฒนาโครงการหรือพันธมิตร อาจประเมินได้จากความสอดคล้องของลักษณะของโครงการมิกซ์ยูสที่จะเกิดขึ้นกับผลการดำเนินงานโครงการที่ผ่านมาและระยะเวลาที่ดำเนินธุรกิจอสังหาฯ ดังนั้นประสบการณ์การดำเนินโครงการอสังหาฯ แต่ละประเภทจึงมีความสำคัญโดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับลักษณะการใช้งานของโครงการ 2.พื้นที่ตั้งที่เหมาะสมและสามารถเดินทางเข้าถึงสะดวก โดยการออกแบบโครงการจำเป็นที่จะต้องคำนึงถึงความต้องการรอบพื้นที่ เช่น พื้นที่ธุรกิจอาจต้องการพื้นที่ในส่วนของสำนักงาน อย่างเช่น พื้นที่บนถนนพระราม 4 ต่อเนื่องจากถนนสีลมและสาธร สำหรับพื้นที่ชุมชนแถบที่อยู่อาศัยอาจต้องการพื้นที่ค้าปลีกเป็นหลัก เพื่อความสะดวกในการจับจ่ายใช้สอยใกล้บ้าน ตลอดจนการเดินทางเข้าสู่โครงการ เช่น อยู่ใกล้กับรถไฟฟ้า (ระยะทางไม่เกิน 100 เมตร หรือมีทางเชื่อมเข้าสู่โครงการ) หรือทางด่วน (ระยะทางไม่เกิน 1 กิโลเมตรจากทางเข้า-ออก) 3.การส่งเสริมกัน (synergy) ของแต่ละส่วนของโครงการ และใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด การออกแบบโครงการต้องคำนึงถึงการส่งเสริมกันของลักษณะการใช้พื้นที่ในแต่ละส่วนด้วย โดยพิจารณาความเข้ากันได้ของอสังหาฯ หลัก (พื้นที่ที่สร้างรายได้หลักของโครงการ) กับอสังหาฯ รอง (พื้นที่อื่น ๆ ของโครงการ) จากงานวิจัยของ The US Urban Land Institute (รูปที่ 5) ที่ให้คะแนนการสนับสนุนกันระหว่างอสังหาฯ หลักและรองไว้ จะพบว่า โครงการมิกซ์ยูสที่มีอสังหาฯ หลักเป็นพื้นที่ค้าปลีกจะได้ผลบวกจาก synergy ที่ดีกว่า เนื่องจากเป็นประเภทอสังหาฯ ที่ไปได้ดีกับหลายประเภทอสังหาฯ   ยกตัวอย่างเช่น เมื่อมีอสังหาฯ รองเป็นพื้นที่สำนักงาน พื้นที่ค้าปลีกในโครงการมิกซ์ยูสจะมีลูกค้าจากพนักงานออฟฟิศในโครงการ ขณะที่พื้นที่สำนักงานในโครงการมิกซ์ยูสก็มีความน่าดึงดูดมากกว่าโครงการที่มีเฉพาะพื้นที่สำนักงานเพียงอย่างเดียว เนื่องจากมีความสะดวกสบายจากการตั้งอยู่ติดกับพื้นที่ค้าปลีก   ในส่วนของโครงการมิกซ์ยูสที่มีอสังหาฯ หลักเป็นพื้นที่อยู่อาศัยได้ผลบวกจาก synergy ต่ำกว่าอสังหาฯ หลักประเภทอื่น ๆ เนื่องจากพื้นที่อยู่อาศัยต้องการความเป็นพื้นที่ส่วนตัวสูง โดยเฉพาะเมื่ออยู่กับอสังหาฯ รองอย่าง โรงแรม/สถานบันเทิงที่มีความวุ่นวายและความเป็นพื้นที่สาธารณะสูง ทำให้อาจต้องเผชิญกับความยากลำบากในการบริหารความเป็นส่วนตัวของพื้นที่อยู่อาศัยกับการบริหารพื้นที่สาธารณะ โดยเฉพาะประเด็นความปลอดภัยในการอยู่อาศัยของลูกบ้านในโครงการมิกซ์ยูส   3 ความท้าทายโปรเจ็กต์มิกซ์ยูส นอกเหนือจากปัจจัยที่ต้องพิจารณาเพื่อความสำเร็จในการพัฒนาโครงการมิกซ์ยูสแล้ว ยังมีความท้าทายที่สำคัญที่ผู้พัฒนาโครงการต้องระวัง คือ 1.การบริหารพื้นที่ระหว่างพื้นที่ส่วนตัวและพื้นที่ส่วนกลาง อสังหาฯ บางประเภทต้องการสิ่งอำนวย ความสะดวกที่มีความเฉพาะตัว อาทิ การจัดอีเว้นท์ในพื้นที่ค้าปลีกอาจมีข้อจำกัดบางอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการใช้เสียงหรือระยะเวลาในการจัดงาน เพื่อไม่ให้รบกวนผู้ใช้อื่นในโครงการโดยเฉพาะพื้นที่ที่ต้องการความเป็นส่วนตัวสูงอย่างพื้นที่อยู่อาศัย ดังนั้นผู้พัฒนาโครงการจำเป็นที่จะต้องลดผลกระทบที่เกิดขึ้นระหว่างอสังหาฯ แต่ละประเภท เช่น การแยกทางเข้า-ออกโครงการของแต่ละอสังหาฯ ออกจากกัน การจำกัดกิจกรรมที่ใช้เสียงมาก หรือออกแบบให้พื้นที่ในโครงการสามารถเก็บเสียงได้ดี 2.การสร้างแม่เหล็กเพื่อดึงดูดคนเข้ามาในโครงการ โครงการจำเป็นจะต้องมีสิ่งที่เป็นแรงจูงใจเพื่อดึงดูดผู้ใช้งานเข้าสู่โครงการ เช่น โครงการที่มีพื้นที่ค้าปลีกขนาดใหญ่ อาจสร้างพื้นที่นันทนาการ หรือการจัดอีเว้นท์ต่าง ๆ อย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้มีจำนวนผู้คนเข้าใช้บริการให้มากที่สุด รวมถึงการดึงดูดผู้เช่าหลักที่ขายสินค้าและบริการที่ตอบโจทย์ผู้บริโภคในปัจจุบันโดยเฉพาะร้านอาหารและซูเปอร์มาร์เก็ต] 3.การบริหารโครงสร้างพื้นฐานภายในโครงการ ให้มีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุด ทั้งนี้ความต้องการรูปแบบการใช้งานสิ่งอำนวยความสะดวกของอสังหาฯ แต่ละประเภท อสังหาฯ จะมีความแตกต่างกันตามวัตถุประสงค์การใช้งาน อาทิ การวาง layout ของสิ่งอำนวยความสะดวกในโครงการ สำหรับพื้นที่อยู่อาศัยจะต้องมีลิฟท์อยู่ใกล้กับทางเข้าคอนโดมิเนียม ขณะที่โรงแรมต้องการพื้นที่ล็อบบี้มากกว่า ซึ่งต้องอาศัยการออกแบบ การบริหาร และจัดการอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อควบคุมไม่ให้ต้นทุนเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ผู้พัฒนาโครงการควรคำนึงถึงการออกแบบให้ทรัพยากรภายในโครงการถูกใช้อย่างคุ้มค่าที่สุดด้วย เช่น การนำน้ำกลับมาใช้ใหม่ภายในโครงการ การใช้แสงจากธรรมชาติเพื่อลดการใช้แสงจากหลอดไฟ   ในภาวะการแข่งขันที่จะเพิ่มขึ้นจากการเปิดดำเนินการโครงการมิกซ์ยูส ผู้พัฒนาโครงการมิกซ์ยูส จำเป็นต้องปรับตัวเพื่อรักษาความสามารถในการแข่งขันไว้ ทั้งนี้สำหรับโครงการสำนักงานให้เช่า อาจต้องพิจารณาปรับลดค่าเช่าของโครงการตัวเองลง เพื่อจูงใจผู้เช่าเข้ามาเช่ามากขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มที่ตอบสนองมากต่อราคาค่าเช่า (กลุ่มที่อ่อนไหวกับราคาค่าเช่า) หรือการปรับปรุงโครงการเพื่อดึงดูดผู้เช่ารายใหม่   ส่วนโครงการที่เป็นพื้นที่ค้าปลีกให้เช่า ผู้ประกอบการสามารถหาผู้เช่าหลักที่เป็นแรงดึงดูดผู้ใช้งานเข้าสู่โครงการ หรือการปรับปรุงเพื่อดึงดูดลูกค้าเฉพาะกลุ่ม (niche group) มี concept เฉพาะ เช่น มุ่งเน้นกลุ่มผู้เช่าหลักเป็นร้านอาหาร หากไม่สามารถแข่งขันด้านความหลากหลายของพื้นที่ค้าปลีกกับผู้ประกอบการรายใหญ่ได้ หรือปรับปรุงพื้นที่ในโครงการเพื่อรักษาความสามารถในการแข่งขันไว้ได้ ในส่วนของโครงการคอนโดมิเนียม อาจจะต้องพิจารณาจำนวนพื้นที่ใหม่ในพื้นที่ที่จะมากขึ้นจากแผนการพัฒนาที่อยู่อาศัยในโครงการมิกซ์ยูส โดยอาจจะพัฒนาโครงการคอนโดมิเนียมที่อยู่คนละกลุ่มกับโครงการมิกซ์ยูสขนาดใหญ่ หรือปรับแผนโครงการเพื่อหลีกเลี่ยงการแข่งขันที่รุนแรง   หมายเหตุ [1] รายได้ค่าเช่าของพื้นที่ค้าปลีกให้เช่าประกอบด้วย ค่าเช่าแบบคงที่ (fixed rent) และค่าเช่าแบบแบ่งสัดส่วนยอดขาย (percent of tenant sales) [2] จากการศึกษาของ JLL เกี่ยวกับอัตราการปล่อยเช่าพื้นที่สำนักงานอาคารสำนักงานจำนวน 8 โครงการสำคัญ ได้แก่ AIA Capital Center (2014), AIA Sathorn (2015), Bhiraj Tower @EmQuartier (2015), FYI Center (2016), Gaysorn Tower (2017), Singha Complex (2018) และ T-One Building (2018)   รายละเอียดข้อมูลเพิ่มเติม EIC CBRE NEXUS   บทความอื่นที่เกี่ยวข้อง ส่องเทรนด์พื้นที่ “ออฟฟิศ-รีเทล” ปี 63 จะไปทางไหน? พร็อพเพอร์ตี้ กูรู เปิด 7 เทรนด์อสังหาฯ ปี 63 เปิด 5 ไฮไลท์ “MITRTOWN OFFICE TOWER” ออฟฟิศให้เช่า พระราม 4 1 ปี การเดินทาง “ไอคอนสยาม” กับความสำเร็จใน 7 สิ่งมหัศจรรย์  
AWC ทุ่ม 26,229 ล้าน ซื้อ 12 อสัหาฯ เติมพอร์ตธุรกิจโรงแรม-บริการ

AWC ทุ่ม 26,229 ล้าน ซื้อ 12 อสัหาฯ เติมพอร์ตธุรกิจโรงแรม-บริการ

AWC ทุ่มงบ 26,229 ล้าน ซื้อโรงแรมและโปรเจ็กต์มิกซ์ยูส 12 แห่ง เติมพอร์ตธุรกิจกลุ่มโรงแรมและการบริการ เสริมจำนวนห้องพักรวม 989 ห้องในทันที และอีกมากกว่า 2,500 ห้องในอนาคต สู่เป้าหมายเบอร์ 1 มีโรงแรมในไทยมากสุด 8,000 ห้องภายใน 5 ปี   นางวัลลภา ไตรโสรัส ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท แอสเสท เวิรด์ คอร์ป จำกัด (มหาชน) หรือ AWC เปิดเผยว่า ได้ใช้งบประมาณการลงทุนรวมกว่า 26,229 ล้านบาท  ซื้อกิจการโรงแรมและโครงการมิกซ์ยูส 12 แห่ง เพื่อเสริมศักยภาพและความหลากหลายของพอร์ตโฟลิโอกลุ่มธุรกิจโรงแรมและการบริการ และสร้างผลประกอบการอย่างก้าวกระโดดภายใน 5 ปี   สำหรับการซื้อกิจการที่เป็นเจ้าของสินทรัพย์กลุ่มที่ 3 ของบริษัท ตามสัญญาซื้อขายหุ้นปี 2562  ประกอบด้วย ซึ่งประกอบด้วย โรงแรม 4 แห่งที่เปิดดำเนินการแล้ว ได้แก่ 1.โรงแรมแบงค็อก แมริออท เดอะ สุรวงศ์ 2.โรงแรมฮอลิเดย์ อินน์ เอ็กซ์เพรส กรุงเทพ สาทร 3.โรงแรมภูเก็ต แมริออท รีสอร์ท แอนด์ สปา ในยางบีช และ 4. โรงแรมหัวหิน แมริออท รีสอร์ท และ สปา     นอกจากนี้ ยังซื้อโรงแรมและโครงการอสังหาริมทรัพย์มิกซ์ยูส (Mixed-Use Properties) ที่อยู่ระหว่างการปรับปรุงหรือพัฒนา อีก 8 แห่ง รวมห้องพักกว่า 2,500 ห้อง  อาทิ AWC CENTER PATTAYA โครงการมิกซ์ยูสระดับเมกะโปรเจคใหม่ใจกลางเมืองพัทยา ประกอบด้วย โรงแรมเจดับบลิว แมริออท เดอะ พัทยา บีช รีสอร์ท แอนด์ สปา และ โรงแรม พัทยา แมริออท มาร์คีส์ ที่มีห้องพักรวม 1,298 ห้อง  โครงการอควอทีค  โรงแรมบันยัน ทรี จอมเทียน พัทยา  ที่จะมีห้องพักและวิลล่ารวม 150 ห้อง และโครงการที่จะพัฒนาในอนาคตต่างๆ อีกมากมาย     โรงแรมสินทรัพย์กลุ่มที่ 3 ของบริษัทฯ ที่เปิดดำเนินการแล้ว มีความโดดเด่นทั้งในแง่ของศักยภาพการดำเนินงานและที่ตั้ง โดยโรงแรมแบงค็อก แมริออท เดอะ สุรวงศ์ เป็นโรงแรมในระดับ Upper Upscale   ที่มีห้องพัก 303 ห้องโดยดัชนีรายได้เฉลี่ยต่อห้องพักทั้งหมดเมื่อเทียบกับโรงแรมในระดับเดียวกัน (RevPAR Index) สำหรับไตรมาสที่ 3 ปี 2562 สูงถึง 149.4%   ในขณะที่โรงแรมฮอลิเดย์ อินน์ เอ็กซ์เพรส กรุงเทพ สาทร เป็นโรงแรมที่รองรับนักท่องเที่ยวและ  นักเดินทางเพื่อธุรกิจในระดับ Midscale ในใจกลางย่านสาทรและสีลม ที่มีห้องพักจำนวน 184 ห้อง โดยได้รับรางวัล Loved by Guests 2019 จาก Hotels.com แสดงให้เห็นถึงความพึงพอใจจากผู้เข้าพักที่มีต่อโรงแรมในระดับสูง   ส่วนโรงแรมทรัพย์สินกลุ่ม 3 ของบริษัท ที่เปิดดำเนินการแล้วนอกกรุงเทพฯ อาทิ โรงแรมภูเก็ต แมริออท รีสอร์ท แอนด์ สปา ในยางบีช เป็นรีสอร์ทริมหาด ระดับ Upper Upscale มีห้องพักและพูลวิลล่าจำนวน 180 ห้อง อีกทั้งยังเป็นสถานที่จัดงานแต่งงานยอดนิยม การันตีด้วยรางวัล Best International Wedding Hotels in the World 2019 จาก International Hotel Awards และมีดัชนีรายได้เฉลี่ยต่อห้องพักทั้งหมดเมื่อเทียบกับโรงแรมในระดับเดียวกัน  สำหรับไตรมาสที่ 3 ปี 2562 สูงถึงร้อยละ 145.2%     โรงแรมหัวหิน แมริออท รีสอร์ท และ สปา เป็นรีสอร์ทในระดับ Upper Upscale ที่โดดเด่นด้วยห้องพักแบบทันสมัยจำนวน 322 ห้อง พร้อมด้วยสระว่ายน้ำจำนวน 5 สระ และสระว่ายน้ำแบบ loop pool โดยได้รับรางวัล Best Luxury Resort Hotel Asia Pacific 2019 จาก International Hotel Awards และมีดัชนีรายได้เฉลี่ยต่อห้องพักทั้งหมดเมื่อเทียบกับโรงแรมในระดับเดียวกัน  สำหรับไตรมาสที่ 3 ปี 2562 สูงถึง 171.6%   “การเข้าซื้อกิจการที่เป็นเจ้าของทรัพย์สินกลุ่ม 3 จะทำให้แอสเสท เวิรด์ คอร์ปอเรชั่น เป็นเจ้าของโรงแรมรายใหญ่ที่สุดในประเทศไทยในโรงแรมระดับ Midscale ขึ้นไป”   เมื่อการพัฒนาโครงการทั้งหมดแล้วเสร็จ แอสเสท เวิรด์  คอร์ปอเรชั่น จะมีโรงแรมที่เปิดให้บริการทั้งสิ้น 27 แห่ง และมีจำนวนห้องพักมากกว่า 8,500 ห้อง ที่บริหารงานโดยผู้บริหารโรงแรมชั้นนำระดับสากล อาทิ Marriott International Inc., ฮิลตัน, บันยันทรี,  มีเลีย, ไอเอชจี และโอกุระ พร้อมด้วยเครือข่ายสมาชิก Loyalty Program มากกว่า 290 ล้านสมาชิก และด้วยการพัฒนาโครงการแบบมิกซ์ยูสที่หลากหลาย  
ส่องเทรนด์พื้นที่ “ออฟฟิศ-รีเทล” ปี 63 จะไปทางไหน?

ส่องเทรนด์พื้นที่ “ออฟฟิศ-รีเทล” ปี 63 จะไปทางไหน?

ตลาดอสังหาริมทรัพย์ นอกจากการพัฒนาที่อยู่อาศัย ประเภทบ้านและคอนโดมิเนียมแล้ว โครงการประเภทคอมเมอร์เชียล ในส่วนของโครงการค้าปลีกและพื้นที่สำนักงาน ก็เป็นโครงการอสังหาฯ​ ที่ถูกพัฒนาออกมาจำนวนมาก และยังเป็นอีกหนึ่งประเภทสำคัญของธุรกิจอสังหาฯ ด้วย   โดยเฉพาะเทรนด์การพัฒนาโครงการประเภทมิกซ์ยูส ซึ่งภายในโครงการประกอบด้วยอสังหาฯ หลายประเภทรวมอยู่ด้วยกัน เป็นเทรนด์ที่ถูกพัฒนาออกมาจำนวนมาก โดยโครงการได้เริ่มเสร็จและเปิดให้บริการตั้งแต่ปีนี้  ต่อเนื่องไปในอีกหลายปีข้างหน้า ส่งผลให้พื้นที่ค้าปลีกและสำนักงานให้เช่า จะมีเพิ่มออกมาอย่างต่อเนื่องด้วย   อีก 5 ปี พื้นที่ออฟฟิศเช่าทะลุ 10 ล้านตร.ม. รายงานล่าสุด จาก บริษัท เน็กซัส เรียลเอสเตท แอ็ดไวเซอรี่ จำกัด ระบุว่า ปัจจุบันพื้นที่อาคารสำนักงานในกรุงเทพฯ มีทั้งสิ้นประมาณ 9 ล้านตารางเมตร โดยเป็นอาคารเกรด เอ และ บี จำนวน 6.08 ล้านตารางเมตร ยังคงมีอัตราการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ทั้งเรื่องของราคาค่าเช่าที่มีการปรับตัวสูงขึ้น และอัตราว่างของพื้นที่ที่อยู่ในระดับต่ำมาตลอดหลายปี  ทำให้ในปัจจุบันเริ่มมีการพัฒนาอาคารสำนักงานให้เช่าเพิ่มมากขึ้น  โดยคาดการณ์ว่าจะมี  ซัพพลายใหม่จ่อเข้าตลาดกว่า 1.78 ล้านตารางเมตร ในอีก 5 ปีข้างหน้า  ทำให้มีพื้นที่โดยรวมกว่า 10.78 ล้านตารางเมตร   อัตราการเช่าพื้นที่เฉลี่ยทั้งกรุงเทพฯ มีประมาณ 94% และมีราคาค่าเช่าเฉลี่ยที่ 800 บาทต่อตารางเมตรต่อเดือน แต่หากพิจารณาเฉพาะอาคารสำนักงานเกรดเอ ที่อยู่ในย่านศูนย์กลางธุรกิจเท่านั้น พบว่า ค่าเช่าเฉลี่ยในปีนี้ปรับตัวขึ้นประมาณ 5% จากสิ้นปีที่แล้ว ไปอยู่ที่ประมาณ 1,080 บาทต่อตารางเมตรต่อเดือน และอัตราการเช่าพื้นที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยเล็กน้อยที่ 95% และจากการสำรวจยังพบความต้องการในการเช่าอาคารสำนักงานเกรดเอ ในย่านศูนย์กลางธุรกิจอีกมาก ทำให้ราคาค่าเช่าของบางอาคารพุ่งสูงขึ้น เช่น เกษร ทาวเวอร์ มีราคาค่าเช่าแพงที่สุดที่ 1,600 บาทต่อตารางเมตรต่อเดือน ซึ่งในย่านเพลินจิต พระราม 1 และวิทยุ ยังคงได้รับความสนใจจากผู้เช่าสูงอย่างต่อเนื่อง   เทรนด์ออฟฟิศให้เช่าในอนาคต นายธีระวิทย์ ลิ้มทองสกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท เน็กซัส เรียลเอสเตท แอ็ดไวเซอรี่ จำกัด เปิดเผยว่า เนื่องจากอาคารสำนักงานส่วนใหญ่ในกรุงเทพฯ มีอายุอาคารมากกว่า 20 ปี ซัพพลายใหม่ๆ ที่กำลังจะเข้ามาในตลาดจะช่วยทำให้ตลาดมีความน่าสนใจมากยิ่งขึ้น พื้นที่สำนักงานใหม่ที่กำลังจะเข้ามาในตลาด  โดยส่วนมาก จะถูกพัฒนาในรูปแบบโครงการอสังหาฯ มิกซ์ยูส มีการเพิ่มพื้นที่รีเทลในชั้นล่าง เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้เช่าให้มากขึ้น รวมถึงการพัฒนาโครงการขนาดใหญ่ มีส่วนประกอบของโครงการที่หลากหลาย     โดยตั้งแต่ปี 2565 เป็นต้นไป จะได้เห็นโครงการสำคัญ ๆ หลายโครงการพร้อมใช้งาน อาทิ ศุภาลัย ไอคอน  บนพื้นที่สถานทูตออสเตรเลียเดิม,  วัน แบงค็อก อภิมหาโปรเจกต์จาก TCC, เดอะ ฟอเรสเทียส์ โครงการเมืองในป่าแห่งแรกของเมืองไทย, แบงค็อกมอลล์ เมกะโปรเจกต์ จาก เดอะมอลล์ กรุ๊ป, และ เอ็มสเฟียร์ จิ๊กซอว์ส่วนสุดท้ายของ ดิ เอ็มดิสทริค ทั้งหมดนี้จะช่วยยกระดับมาตรฐานอาคารสำนักงานในไทยมากยิ่งขึ้น   ส่วนเทรนด์ตลาดพื้นที่ออฟฟิศให้เช่าในปีหน้านั้น  จะมีโครงการเดอะปาร์ค (The PARQ) เปิดเข้ามาเพิ่ม ซึ่งโครงการ เดอะ ปาร์ค  บริษัท ทีซีซี แอสเซ็ท (ประเทศไทย) จำกัด เป็นเจ้าของโครงการ มีพื้นที่อาคารรวม 320,000 ตารางเมตร ประกอบด้วยสำนักงานระดับพรีเมี่ยมเกรดเอ พื้นที่ร้านค้า ร้านอาหาร และโรงแรม มูลค่ากว่า 20,000 ล้านบาท   สำหรับแนวโน้มตลาดออฟฟิศในปี 2563 นั้น คาดว่าจะเติบโตทั้งในส่วนของความต้องการ และราคาค่าเช่า รวมถึงปริมาณพื้นที่จากการเปิดตัวโครงการใหม่ของโครงการเดอะ   พื้นที่ค้าปลีกได้ “นักท่องเที่ยวจีน” หนุนตลาด   ด้านพื้นที่ศูนย์การค้า  พบว่า ยังคงเติบโตอย่างสม่ำเสมอ  มีพื้นที่ใหม่เข้ามาอย่างต่อเนื่อง  ขณะที่อัตราการเช่าพื้นที่ร้านค้ายังคงอยู่ในอัตราที่สูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในย่านศูนย์กลางทางการค้าใจกลางเมือง อย่าง สยาม-ราชประสงค์-พร้อมพงษ์ ที่แม้จะมีการแข่งขันสูง แต่ยังคงเติบโตอย่างมีเสถียรภาพ  เนื่องจากย่านศูนย์กลางทางการค้ายังคงเป็นจุดหมายปลายทางสำคัญ ​ของนักท่องเที่ยวต่างชาติ ซึ่งถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้มีอัตราการเช่าพื้นที่เฉลี่ยสูงกว่า 95%   โดยปัจจุบันจะพบว่า ภาวะหนี้ครัวเรือนในไทย จะยังคงสะสมอยู่ในระดับสูง และความเชื่อมั่นของผู้บริโภคภายในประเทศจะมีตัวเลขที่ลดลง  แต่การใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวต่างชาติ ยังเข้ามาเป็นแรงสนับสนุนตลาดค้าปลีกให้เติบโตในช่วงปีที่ผ่านมา โดยครึ่งปีหลัง สถิตินักท่องเที่ยวที่เติบโตขึ้นทั้งในแง่ของจำนวนนักท่องเที่ยว และรายรับจากนักท่องเที่ยวต่างชาติ   นักท่องเที่ยวจีนยังคงเป็นกลุ่มหลัก  ที่เข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทย โดยมีผลมาจากการขยายระยะเวลามาตรการยกเว้นค่าธรรมเนียมการตรวจลงตรา (Visa on Arrival) ออกไปอีก 6 เดือน การประท้วงที่ยืดเยื้อของฮ่องกง รวมถึงการขึ้นภาษีของญี่ปุ่น ส่งผลให้ตัวเลขนักท่องเที่ยวดีขึ้นในช่วงครึ่งปีหลัง จากสถิติกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา พบว่า 9 เดือนแรกมีนักท่องเที่ยวต่างชาติจำนวน  29.47 ล้านคน ขยายตัว 3.51% และมีรายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติรวม 1.42 ล้านล้านบาท ขยายตัว 3 - 4% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันกับปีที่ผ่านมา   พื้นที่ใหม่เข้าสู่ตลาด 280,000 ตารางเมตร จากการแข่งขันที่สูงมากขึ้นในปัจจุบัน ทำให้ร้านค้า หรือแม้แต่ผู้ประกอบการศูนย์การค้า หันมาให้ความสนใจในการเรียกเก็บค่าเช่าแบบ GP (Gross Profit) มากขึ้น โดยการเรียกเก็บค่าเช่าแบบ GP จะช่วยแบ่งเบาภาระค่าเช่าให้กับร้านค้าได้ในระดับหนึ่ง แต่ทั้งนี้ ศูนย์การค้าใหญ่ ๆ จะมี Minimum guarantee หรือ Based rent กำหนดให้แก่ร้านค้าเมื่อทำสัญญาเช่า ทำให้ร้านค้าจำเป็นจะต้องทำยอดขายให้ได้ ซึ่งเป็นผลดีทั้งต่อร้านค้าและศูนย์การค้า และจากการสำรวจ  พบว่าราคาค่าเช่าเฉลี่ยชั้น G ในย่านศูนย์กลางทางการค้าปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 3,915 บาทต่อตารางเมตรต่อเดือน สูงขึ้นจากปีที่แล้วเล็กน้อย   แต่อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการพื้นที่ศูนย์การค้ายังคงต้องเผชิญกับความท้าทายจากพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป ทั้งจากตลาดสินค้าออนไลน์ การบริการส่งอาหารที่ปัจจุบันมีการเติบโตอย่างรวดเร็ว และรวมไปถึงพื้นที่ใหม่ที่จะแบ่งกำลังซื้อออกไป ทำให้ผู้ประกอบการจำเป็นจะต้องสร้างสิ่งดึงดูด สร้างประสบการณ์ใหม่ให้แก่ผู้บริโภค ซึ่งเชื่อว่าเป็นสิ่งที่ท้าทายอย่างมากสำหรับผู้ประกอบการ   ขณะเดียวกันร้านค้าแบรนด์ไทยก็ยังต้องเผชิญความท้าทายจากแบรนด์ต่างชาติที่ให้ความสนใจเข้ามาเปิดในเมืองไทยอย่างต่อเนื่อง โดยในปีที่ผ่านมา มีแบรนด์ใหม่ๆ เข้ามาเปิดอย่างหลากหลาย อาทิ ดองกิ มอลล์ (Donki Mall), ทิม ฮอร์ตันส์ (Tim Horton), อี้ ฟาง (Yi Fang), ทาโก้ เบลล์ (Taco Bell), ไทเกอร์ชูก้า (Tiger Sugar), ดิ แอลลี่ (The Alley), และ ซิง ฝู่ ถัง (Xing Fu Tang) เป็นต้น   ในปีนี้มีพื้นที่ค้าปลีกใหม่ เข้ามาสู่ตลาดหลายแห่งกว่า 280,000 ตารางเมตร เช่น วัน-โอ-วัน เดอะเทิร์ด เพลส (101 the third place), ดอง ดอง ดองกิ (Don Don Donki), เดอะ มาร์เก็ต แบงคอก (The Market Bangkok), สามย่านมิตรทาวน์ (Samyan Mitrtown), เซ็นทรัล วิลเลจ (Central Village) และ แอม ไชน่าทาวน์ (I’m Chinatown) และคาดว่าจะมีโครงการใหม่ ๆ ทยอยเข้ามาสู่ตลาดในอีก 3 ปีข้างหน้าอย่างต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 400,000 ตารางเมตร โดยมีโครงการที่น่าจับตามองหลายโครงการ อาทิ เอ็มสเฟีร์ย (EmSphere), วันแบงค็อก (One Bangkok),  และ สยาม พรีเมียม เอ้าท์เล็ต แบงค็อก (Siam Premium Outlets Bangkok)   ส่องเทรนด์พื้นที่ค้าปลีกปี 63   โดยภาพรวมแล้ว ตลาดพื้นที่ศูนย์การค้าของกรุงเทพฯ ยังคงอยู่ในเกณฑ์ที่ดีและยังคงมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ดี ผู้ประกอบการจำเป็นจะต้องเน้นการสร้างประสบการณ์ให้กับผู้บริโภค ที่หาไม่ได้จากโลกออนไลน์ หรือการเดลิเวอรี่ การตอบสนองที่ตรงใจลูกค้าและความรวดเร็วในการบริการ รวมไปถึงการสร้างและรักษาความสัมพันธ์แก่ลูกค้า และการรักษาพร้อมพัฒนาสินค้าให้อยู่ในระดับแข่งขันได้อีกด้วย   ขณะที่ปริมาณพื้นที่ค้าปลีก ที่จะเข้ามาเพิ่มในปี 2563  เป็นพื้นที่ในส่วนของโครงการเดอะปาร์ค  ที่จะมีเข้ามาอีกประมาณ 12,000 ตารางเมตร ทั้งในส่วนพื้นที่ร้านค้าปลีก ร้านอาหาร ซูเปอร์มาร์เก็ต และศูนย์อาหาร ภายใต้แนวคิด ‘Eat Well and Shop Well’ รวมไปถึงการนำเสนอบริการด้านสุขภาพและความงาม ตลอดจนร้านค้าที่ดำเนินธุรกิจอย่างรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ซูเปอร์มาร์เก็ตภายในโครงการจะมุ่งเน้นการจำหน่ายผลิตภัณฑ์และอาหารปลอดสารพิษ อาหารเพื่อสุขภาพ รวมถึงอาหารมังสวิรัติที่หลากหลายกว่าซูเปอร์มาร์เก็ตทั่วไป   นอกจากนี้ ยังมีพื้นที่โครงการสยาม พรีเมียม เอ้าท์เล็ต แบงค็อก มีพื้นที่อาคารรวมทั้งหมด (GFA) ประมาณ 50,000 ตารางเมตรจะเป็นโครงการที่เน้นสภาพแวดล้อมภายนอกอาคาร ธรรมชาติ พื้นที่สีเขียว และสายน้ำ นอกจากนี้ยังมีพื้นที่สำหรับกินดื่ม พื้นที่พักผ่อนหย่อนใจ และความบันเทิงอยู่ในโครงการด้วย ซึ่งภายในโครงการจะประกอบไปด้วยร้านค้าประมาณ 200 ร้าน  และสีลมคอมเพล็กซ์ จะมีพื้นที่อีกประมาณ 10,000 ตารางเมตร   โดยแนวโน้มราคาค่าเช่าพื้นที่ค้าปลีกในปี 2563 มีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ขณะที่ความต้องการและปริมาณพื้นที่ใหม่ก็น่าจะมีเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเช่นกัน อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง เน็กซัสชี้ ปี 2019 คือ ปีแห่งการก้าวกระโดดของธุรกิจ Co- Working Office เน็กซัสเผย 7 ประเด็นอสังหาฯ Q1 + แนวโน้มธุรกิจหลังการเลือกตั้ง
แมกโนเลียฯ เพิ่มงบ “เดอะ ฟอเรสเทียส์” ทะลุ 125,000 ล้านบาท มิกซ์ยูสใหญ่สุดในไทย

แมกโนเลียฯ เพิ่มงบ “เดอะ ฟอเรสเทียส์” ทะลุ 125,000 ล้านบาท มิกซ์ยูสใหญ่สุดในไทย

แมกโนเลียฯ เพิ่มงบลงทุน “เดอะ ฟอรสเทียส์” ทะลุ  125,000 ล้าน สร้างโปรเจ็กต์มิกซ์ยูสใหญ่สุดในเมืองไทย พร้อมผืนป่าขนาด 30 ไร่ มูลค่า 1,000 ล้าน หวังสร้างโครงการต้นแบบแห่งใหม่ในการพัฒนาเมือง     โปรเจ็กต์มิกซ์ยูสใหญ่สุดในไทย  นางทิพพาภรณ์ อริยวรารมย์ ประธานกรรมการ บริษัท แมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (MQDC) เปิดเผยว่า  ได้ประกาศเพิ่มเงินลงทุนโครงการเดอะ ฟอเรสเทียส์  บนที่ดินขนาด 300 ไร่ บนถนนบางนา-ตราด กม. 7 ในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก จากมูลค่าโครงการ 90,000 ล้านบาท เป็นมูลค่า 125,000 ล้านบาท ซึ่งการเพิ่มงบประมาณลงทุนครั้งนี้ ทำให้ โครงการเดอะ ฟอเรสเทียส์ กลายเป็นโครงการอสังหาริมทรัพย์ที่ใหญ่ที่สุดของประเทศไทย และขนาดพื้นที่โครงการได้เพิ่มขึ้นอีก 98 ไร่ เป็นพื้นที่โครงการ 398 ไร่   โดยหนึ่งในองค์ประกอบที่มีความพิเศษโดดเด่นของ โครงการเดอะ ฟอเรสเทียส์ คือ ป่าขนาดใหญ่ พื้นที่ 30 ไร่ ที่เริ่มปลูกมาตั้งแต่เป็นเมล็ดและต้นกล้า ตั้งอยู่บริเวณใจกลางของโครงการ สร้างความหลากหลายและความอุดมสมบูรณ์ให้แก่ระบบนิเวศน์ ซึ่งจะพัฒนาเติบโตและมีวิวัฒนาการความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติต่อไปอีกเรื่อยๆ     “เป็นครั้งแรกในโลก สำหรับโครงการที่มีผืนป่าขนาดใหญ่ รวมเป็นส่วนหนึ่งของโครงการเมือง และอีกหนึ่งองค์ประกอบสำคัญ คือพื้นที่สำหรับการอยู่อาศัยซึ่งถูกออกแบบขึ้นมาโดยเฉพาะ เพื่อให้ผู้สูงวัยสามารถใช้ชีวิตได้อย่างปลอดภัยและสะดวกสบาย”   โครงการเดอะ ฟอเรสเทียส์ ประกอบด้วยโครงการที่พักอาศัยหลากหลายรูปแบบ ทั้งบ้านและคอนโดมิเนียม ซึ่งมุ่งตอบสนองความหลากหลายของไลฟ์สไตล์และขนาดของครอบครัวที่แตกต่างกัน อีกทั้งยังมีพื้นที่เชิงธุรกิจสำหรับสำนักงาน สปอร์ตคอมเพล็กซ์ กิจกรรมไลฟ์สไตล์ต่างๆ ร้านค้าปลีก ร้านอาหารและเครื่องดื่ม รวมถึง พื้นที่สำหรับกิจกรรมการเรียนรู้ที่สนุกและสร้างสรรค์ของครอบครัว ใน Family Life Center   นอกจากนั้น เดอะ ฟอเรสเทียส์ ยังมีพื้นที่ Town Center สำหรับจัดกิจกรรมชุมชนและกิจกรรมทางวัฒนธรรมต่างๆ โรงละคร อีเว้นต์ฮอลล์ ตลาด รวมถึงทางเดินยกระดับความยาวกว่า 1.6 กิโลเมตร ซึ่งรวมทางเดินที่เชื่อมโยงไปยังพื้นที่ต่างๆ และองค์ประกอบหลายๆ ส่วนในโครงการ และทางเดินที่ทอดตัวอยู่เหนือผืนป่าซึ่งอยู่บริเวณใจกลางโครงการ มอบเป็นเส้นทางเดินเท้าท่ามกลางธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์   ภายในโครงการเดอะ ฟอเรสเทียส์ ยังมีโรงแรมระดับ 5 ดาว และศูนย์การแพทย์และสุขภาพขนาดใหญ่ที่ครบครันไปด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกและเครื่องมือที่ทันสมัยที่สุด และบุคลากรผู้เชี่ยวชาญที่ประสบความสำเร็จและมีชื่อเสียงที่สุดในประเทศไทยจำนวนหนึ่ง โครงการเดอะ ฟอเรสเทียส์ อยู่ในระหว่างการออกแบบและก่อสร้าง  โดยผู้เชี่ยวชาญซึ่งได้รับการยอมรับ และยกย่องมากที่สุดกลุ่มหนึ่งของโลก รวมทั้งสถาบันต่างๆ ที่เป็นสถาบันชั้นนำระดับโลก เพื่อให้มั่นใจว่าทุกองค์ประกอบของโครงการ จะส่งเสริมการมีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น   "การออกแบบโครงการได้รับการยอมรับจากอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยฮาวาร์ด ใน T.H. Chan School of Public Health ว่าเป็นโครงการที่มีวิสัยทัศน์ดีเยี่ยม” นางทิพพาภรณ์ กล่าว   ทุ่มงบ 1,000 ล้านผุดผืนป่า 30 ไร่ ด้านนายกิตติพันธุ์ อุยยามะพันธุ์ ผู้อำนวยการโครงการ เดอะ ฟอเรสเทียส์  กล่าวว่า ได้ใช้งบประมาณมากกว่า 1,000 ล้านบาท ในการพัฒนาผืนป่าขนาดใหญ่ ที่ถือเป็นหัวใจสำคัญของ โคงการเดอะ ฟอเรสเทียส์ โดยผืนป่าแห่งนี้ประกอบด้วยพื้นที่ “ป่าลึก”  ซึ่งเป็นป่าลึกที่อุดมสมบูรณ์ของจริง รวมทั้งพื้นที่ป่าที่มนุษย์สามารถเข้าถึงได้อย่างง่ายดายจากทางเดินเท้า และมีพื้นที่สีเขียวเปิดโล่งที่ให้ผู้คนสามารถเข้าไปใช้ชีวิต โครงการเดอะ ฟอเรสเทียส์ ยังให้ความสำคัญกับการสัญจรไปมาด้วยการเดินเท้า ทั้งเพื่อความสะดวกสบายและเพื่อความสุขสดชื่นจากการได้อยู่ใกล้ชิดกับธรรมชาติ ตลอดจนเพื่อการมีสุขภาพที่ดีจากการเดินออกกำลังกายเป็นประจำ ซึ่งทางเท้าและถนนได้ถูกวางผังจัดเส้นทางไว้อย่างดี ปกคลุมด้วยแนวกั้นและร่มเงาของพืชพรรณตามธรรมชาติที่ออกแบบอย่างละเอียดรอบคอบ   เดอะ ฟอเรสเทียส์ มีระบบการป้องกันน้ำท่วมโดยเฉพาะ ประกอบด้วยพื้นที่กักเก็บน้ำทิ้งขนาดใหญ่ ซึ่งสามารถรองรับน้ำได้มากกว่า 10 ล้านลิตร และสามารถป้องกันไม่ให้โครงการเกิดน้ำท่วมแม้ต้องเผชิญกับพายุฝนครั้งใหญ่ก็ตาม   “ในโครงการสามารถช่วยกันลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์  ได้เป็นปริมาณมหาศาล ซึ่งเทียบเท่ากับปริมาณที่พื้นที่ปลูกต้นไม้ขนาด 30,000 ไร่ จะดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้” นายกิตติพันธุ์ กล่าว   โครงสร้าง เดอะ ฟอเรสเทียส์ เสร็จแล้ว 90% ขณะที่นายวิสิษฐ์ มาลัยศิริรัตน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร MQDC กล่าวว่า  โครงการ เดอะ ฟอเรสเทียส์ เป็นการดำเนินโครงการตามปรัชญาของ MQDC ที่มุ่งเป็นองค์กรซึ่งไม่เพียงสร้างสรรค์โครงการที่ยิ่งใหญ่ แต่เป็นองค์กรที่ส่งเสริมความรับผิดชอบต่อสังคมและให้ความสำคัญต่อคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้นของทุกคน ผ่านการทำจริงให้เห็นเป็นแบบอย่าง “ประเทศไทยมีศักยภาพที่จะเป็นผู้นำระดับโลกได้ด้วยแนวคิดอันก้าวล้ำนำสมัยในด้านการพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ ที่เสริมความแข็งแกร่งให้กับคุณภาพชีวิตของผู้อยู่อาศัยและของชุมชนที่อยู่โดยรอบ พร้อมกับส่งเสริมในเรื่องนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน” นายวิสิษฐ์ กล่าว   โครงการเดอะ ฟอเรสเทียส์ ตั้งอยู่ในพื้นที่ยุทธศาสตร์ของระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก ซึ่งคาดการณ์ว่าจะเป็นระเบียงเศรษฐกิจที่เติบโตรวดเร็วที่สุดของประเทศไทย สามารถเข้าถึงทางด่วนและการคมนาคมขนส่งมวลชนที่สำคัญได้โดยง่าย ซึ่งการก่อสร้างเส้นทางถนนในโครงการ และการตอกเสาเข็มสำหรับโครงสร้างพื้นฐานของโครงการ ปัจจุบันเสร็จสมบูรณ์แล้ว 90%   สำหรับองค์ประกอบส่วนหนึ่งในโครงการ เดอะ ฟอเรสเทียส์ ได้แก่ คอนโดมิเนียมแบรนด์  วิสซ์ดอม คอนโดมิเนียมแบรนด์ มัลเบอร์รี่ โกรฟ ที่อยู่อาศัยแบรนด์ มัลเบอร์รี โกรฟ วิลล่า  ที่อยู่อาศัยแบรนด์ ดิ แอสเพน ทรี  ที่อยู่อาศัยแบรนด์ ซิกซ์เซนส์  โรงแรมแบรนด์  ซิกซ์เซนส์  และองค์ประกอบอื่นๆ  
สรุปข่าวอสังหาฯ รอบสัปดาห์ วันที่ 1-8 ธันวาคม 2562

สรุปข่าวอสังหาฯ รอบสัปดาห์ วันที่ 1-8 ธันวาคม 2562

หลังจากคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติโครงการ “บ้านดีมีดาวน์”  ในวันที่ 26 พฤศจิกายนที่ผ่านมา  ด้วยการสนับสนุนเงินแคชแบ็ค (Cash Back) เพื่อลดภาระผ่อนดาวน์ จำนวน 50,000 บาท ให้แก่ผู้ซื้อที่อยู่อาศัย ซึ่งผู้สนใจสามารถเข้าร่วมโครงการได้     โดยลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์ www.บ้านดีมีดาวน์.com  ตั้งแต่วันที่ 11 ธันวาคม 2562 เวลา 8.00 น. จนถึงวันที่ 31 มีนาคม 2563  และจะต้องได้รับการอนุมัติสินเชื่อที่อยู่อาศัยจากสถาบันการเงินและจดจำนองตั้งแต่วันที่27 พฤศจิกายน 2562 จนถึงวันที่ 31 มีนาคม 2563   โอกาสดีๆ แบบนี้ บรรดาดีเวลลอปเปอร์ ทั้งค่ายเล็กค่ายน้อย ย่อมไม่พลาดโอกาส ใช้เป็นจังหวะที่ดีในการจัดแคมเปญการตลาด กระตุ้นยอดขาย โดยขนบ้านและคอนโดมิเนียมในสต็อกออกมาร่วมแคมเปญกันแทบทุกราย อาทิ แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์ ขน 9 โครงการ 370 ยูนิต มูลค่า 830 ล้านบาท ทั้งบ้านและคอนโดฯ มาจัดแคมเปญร่วมกับโครงการบ้านดีมีดาวน์ และแอล.พี.เอ็น.ฯ ยังเติมเงินให้อีก 50,000 บาท (อ่านข่าวเพิ่มเติม)   บริษัท มั่นคง เคหะการ จำกัด (มหาชน) ก็ขานรับนโยบาย คัดโครงการทั้งทาวน์โฮม บ้านแฝด บ้านเดี่ยว 10 โครงการ กว่า 300 ยูนิต เข้าร่วม แถมด้วยสิทธิพิเศษต่างๆ อาทิ  ฟรีค่ามิเตอร์น้ำ – มิเตอร์ไฟ, ฟรีค่าส่วนกลาง 3 ปี, เฟอร์นิเจอร์ห้องนอนใหญ่ 1 ชุด, เครื่องปรับอากาศห้องนอนใหญ่ และเครื่องใช้ไฟฟ้าอีก  5 รายการ เป็นต้น (อ่านข่าวเพิ่มเติม)   นอกเหนือจากความเคลื่อนไหว การจัดแคมเปญของดีเวลลอปเปอร์ กับโครงการภาครัฐแล้ว ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาวงการอสังหาริมทรัพย์ มีความเคลื่อนไหวอะไรบ้าง มาอัพเดทกันได้เลย   “ซิซซา” ลุยอสังหาฯ เพื่อการลงทุน การันตีผลตอบแทน 6% วินแดม โฮเทล แอนด์ รีสอร์ท จับมือพันธมิตร ซิซซา กรุ๊ป  รุกตลาดอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน ภายใต้แบรนด์ “วินแดม แกรนด์” (Wyndham Grand) เน้นเจาะตลาดพรีเมียม ด้วยสินค้าระดับลักซูรี่ ตามหัวเมืองท่องเที่ยว พร้อมยกระดับโครงการ “วินแดม แกรนด์ ในหาน บีช ภูเก็ต”     นายอรรถนพ พันธุกำเหนิด ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ซิซซา กรุ๊ป จำกัด  เปิดเผยว่า แม้ภาพรวมตลาดอสังหาริมทรัพย์จะชะลอตัวลง แต่อสังหาริมทรัพย์ในหัวเมืองท่องเที่ยวอย่างภูเก็ตกลับยังมีความต้องการอสังหาริมทรัพย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มลูกค้าชาวต่างชาติ รวมถึงคนไทยที่เข้ามาซื้อในลักษณะเพื่อการลงทุน จนทำให้ตลาดอสังหาฯในรูปแบบการการันตีผลตอบแทน หรือ Investment Property มีความต้องการสูงเห็นได้จากจำนวนโครงการแบบ Investment Property ที่เพิ่มมากขึ้นในจังหวัดภูเก็ต   ในระยะหลายปีที่ผ่านมาผู้ประกอบการในภูเก็ตจึงหันมาพัฒนาสินค้าในลักษณะ Investment Property จำนวนมาก จนทำให้การแข่งขันสูง และซิซซา กรุ๊ป ได้เล็งเห็นทิศทางของตลาด จึงได้ประกาศความร่วมมือครั้งสำคัญกับ WYNDHAM Hotels and Resorts ซึ่งเป็นกลุ่มโรงแรมรีสอร์ทที่มีจำนวนสาขาในเครือมากที่สุดของโลก ที่จะพัฒนาสินค้าให้ตอบโจทย์กลุ่มลูกค้าในตลาดระดับบน และโครงการล่าสุดของบริษัทก็ได้รับการยกระดับขึ้นเป็น วินแดม แกรนด์ ในหาน บีช ภูเก็ต (WYNDHAM Grand Nai Harn Beach Phuket)  (อ่านข่าวเพิ่มเติม)   “ฮาบิแทท กรุ๊ป” ปั้นโปรเจ็กต์มิกซ์ยูส 4,500 ล้าน   “ฮาบิแทท กรุ๊ป” เป็นอีกหนึ่งบริษัทที่มุ่งเน้นทำตลาด อสังหาฯ เพื่อการลงทุน โดยมองแนวโน้มตลาดในปีหน้าว่ายัง เติบโตแต่ไม่หวือหวา ซึ่งแผนธุรกิจของบริษัทในปีหน้า ยังคงชูกลยุทธ์  "ไลฟ์สไตล์ อินเวสเม้นท์” พร้อมกับเตรียมเปิดโปรเจ็กต์มิกซ์ยูส 4,500 ล้าน  นอกจากนั้นยังมุ่งหน้าทำตลาดในต่างประเทศ  ด้วยการผนึกพันธมิตร ลีสต์ กรุ๊ป ญี่ปุ่น รุกขยายตลาดใหม่จับลูกค้าต่างชาติเพิ่ม ทั้ง ญี่ปุ่น ไต้หวัน ตะวันออกกลางและยุโรป ทดแทนตลาดจีน และฮ่องกง     นายชนินทร์ วานิชวงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ฮาบิแทท กรุ๊ป จำกัด เปิดเผยว่า แนวโน้มตลาดอสังหาริมทรัพย์ปี 2563 คาดว่าจะไม่เติบโตจากปีนี้ เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจโดยรวมน่าจะอยู่ในระดับใกล้เคียงกับปี 2562  ซึ่งไม่เอื้ออำนวยต่อการดำเนินธุรกิจ และค่าเงินบาทมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นต่อเนื่อง ทำให้กำลังซื้อได้รับผลกระทบ ขณะที่ปัญหาหนี้ภาคครัวเรือนที่เพิ่มสูงขึ้น ทำให้ธนาคารยังคงเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อมากกว่าระดับปกติ และยังมีปัจจัยเรื่องนโยบายการควบคุมสินเชื่อที่อยู่อาศัย (LTV)   แม้จะมีปัจจัยบวกอยู่บ้างจากการที่รัฐบาลออกมาตรการกระตุ้นตลาด ประกาศลดค่าธรรมเนียมการโอน และการจดจำนองให้เหลือเพียง 0.01% ของราคาประเมินไปจนถึงวันที่ 24 ธันวาคม 2563 และยังมีโครงการบ้านดีมีดาวน์ ขณะที่อัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำ แต่ภาพรวมตลาดอสังหาฯ น่าจะอยู่ในภาวะทรงตัว หรือใกล้เคียงกับปี 2562 (อ่านข่าวเพิ่มเติม)   เสนาฯ​ เลื่อน9โปรเจ็กต์หมื่นล้านเปิดตัวปี63 ปีนี้สถานการณ์ตลาดอสังหาฯ ไม่เอื้ออำนวยให้ดีเวลลอปเปอร์รุกตลาดมากนัก จากช่วงต้นปีที่ได้ประกาศธุรกิจ พอเอาเข้าจริงกลับไม่เป็นไปตามแผน หลายๆ บริษัทปรับแผนธุรกิจเพื่อให้สอดคล้องกับสภาพตลาดในปัจจุบัน อย่างเสนาฯ เลื่อน 9 โปรเจ็กต์ มูลค่านับหมื่นล้านไปเปิดตัวใหม่ในปีหน้า   แม้ว่า 3 ไตรมาสแรกของปี ยังโกยรายได้และกำไรเติบโต  ซึ่งสาเหตุหลักมาจากการทำการตลาดอย่างต่อเนื่อง ส่วนในไตรมาสสุดท้ายได้เปิดตัว 3 โครงการแนวราบ–แนวสูง เพื่อผลักดันยอดขายให้ได้ตามเป้าหมายที่วางไว้     นางสาวอธิกา บุญรอดชู ผู้อำนวยการ สายงานจัดสรรเงินทุนและการลงทุน บริษัท เสนา ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) หรือ SENA  เปิดเผยว่า ในไตรมาส 4 บริษัทมีแผนการเปิดโครงการใหม่ 3 โครงการทั้งโครงการบ้านและคอนโดมิเนียม  รวมมูลค่าโครงการราว 2,977 ล้านบาท ประกอบด้วย โครงการ เสนา แกรนด์ โฮม รามอินทรา กม. 8 ม, โครงการเสนา วิลล์ ลำลูกกา คลอง 6 และล่าสุด เปิดโครงการเสนา- อาศุ พระราม 9  คอนโดมิเนียมแบรนด์ใหม่ ซึ่งทั้งหมดได้เปิดขายแล้ว   สำหรับแผนธุรกิจในปีนี้ บริษัทวางแผนเปิดโครงการทั้งหมด 20 โครงการ รวมมูลค่า 18,779 ล้านบาท แต่จากสถานการณ์อสังหาฯ ที่ชะลอตัว และปัจจัยลบต่างๆ ทำให้บริษัทต้องบริษัทได้เลื่อนการเปิดโครงการใหม่ไปในปีหน้า ซึ่งช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้ ได้เปิดตัวโครงการใหม่แล้ว 8 โครงการมูลค่า 5,411 ล้านบาท และเลื่อนเปิดตัวโครงการใหม่ 9  โครงการในปี 2563 มูลค่า 10,391 ล้านบาท ซึ่งปัจจุบันบริษัทมีที่ดินเตรียมพร้อมการพัฒนาไว้ทั้งหมดแล้ว (อ่านข่าวเพิ่มเติม)   แมกโนเลียฯ จับมือ ททท.-RSTA จัดงานแสดงแสงสีเสียง   เข้าสู่ช่วงโค้งท้ายของปีแล้ว ตอนนี้สถานที่หลายแห่งเริ่มเตรียมพื้นที่เฉลิมฉลอง รับเทศกาลส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่กันแล้ว อย่างแมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น หรือ MQDC ได้จับมือกับ ททท. และสมาคมผู้ประกอบวิสาหกิจในย่านราชประสงค์ จัดงาน “Beautiful Bangkok 2020” งานแสดงแสงสีเสียงบริเวณอาคาร โครงการแมกโนเลียส์ ราชดำริ บูเลอวาร์ด ซึ่งเตรียมเปิดแสดงรอบปฐมฤกษ์วันที่ 16 ธันวาคมนี้     นายวิสิษฐ์ มาลัยศิริรัตน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (MQDC) เปิดเผยว่า ได้ร่วมกับ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) และสมาคมผู้ประกอบวิสาหกิจในย่านราชประสงค์ (RSTA)  เตรียมประกาศความพร้อมการจัดงาน “Beautiful Bangkok 2020” การแสดงแสงสีเสียง ด้วยการเนรมิตอาคารโครงการแมกโนเลียส์ ราชดำริ บูเลอวาร์ด ให้สวยงาม   โดยในปีนี้ใช้ชื่อการแสดงว่า “Beautiful Bangkok 2020: A Blossom of Happiness” ซึ่งมาพร้อมกับกิจกรรมอีกมากมาย บริเวณลานหน้าโครงการแมกโนเลียส์ ราชดำริ บูเลอวาร์ด เพื่อร่วมเฉลิมฉลองเทศกาลแห่งความสุขส่งท้ายปี  โดยจะเปิดการแสดงรอบปฐมฤกษ์วันที่ 16 ธันวาคม 2562 นี้ และจัดต่อเนื่องไปจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2562 (อ่านข่าวเพิ่มเติม)      
สรุปข่าวอสังหาฯ รอบสัปดาห์ วันที่ 25-30 พฤศจิกายน 2562

สรุปข่าวอสังหาฯ รอบสัปดาห์ วันที่ 25-30 พฤศจิกายน 2562

เข้าสู่เดือนสุดท้ายของปีอย่างเป็นทางการแล้ว สำหรับเดือนธันวาคม ช่วงเวลาที่จะทำผลงานให้ได้ตามที่ประกาศไว้ตั้งแต่ต้นปี ตอนนี้ผู้ประกอบการจึงโหมทำแคมเปญการตลาดออกมากันอย่างหนัก ในแวดวงอสังหาริมทรัพย์ มีแคมเปญออกมามากมายสารพัด ยิ่งที่ผ่านมาภาครัฐออกมาตรการมากระตุ้นด้วย ผู้ประกอบการยิ่งต้องสร้างแรงจูงใจให้มากกว่า   ช่วงเวลานี้ จึงถือเป็นช่วงจังหวะที่ดี สำหรับคนที่ได้วางแผนเอาไว้แล้วว่าจะซื้อบ้านหรือคอนโดมิเนียมสักห้อง  แต่ใครยังไม่ได้วางแผนไว้  ได้แต่เล็งหรือคิดเอาไว้บ้าง ต้องลองพิจารณาแคมเปญต่างๆ ดูว่าน่าสนใจแค่ไหน และสำรวจสภาพทางการเงินของตนเองด้วย ว่าพร้อมไหมกับการต้องแบกรับภาระหนี้ ระยะยาว 10-30 ปี  หากได้คำตอบแล้วก็ลุยเลย   ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาตลาดอสังหาฯ  จึงถือว่าคักคักพอสมควร ใคร ทำอะไร ที่ไหน อย่างไรกันบ้าง ไปอัพเดทกัน   บันยันฯ จับมือ ริชมอนทส์ คริสตี้ส์ฯ ขายโครงการหัวหิน บันยัน ไทยแลนด์ กรุ๊ป ร่วมมือกับ ริชมอนทส์ คริสตี้ส์ อินเตอร์เนชั่นแนล เรียลเอสเตท เป็นพันธมิตรทำการตลาดและขายโครงการ “บันยัน เรสซิเดนซ์ วิลล่า หัวหิน” วิลล่าระดับไฮเอนด์ ให้ลูกค้าระดับบนที่มองหาบ้านพักตากอากาศหรือที่อยู่อาศัยถาวรสุดเอกซ์คลูซีฟในหัวหิน เมืองท่องเที่ยวที่ยังคงเสน่ห์และศักยภาพการเติบโต โดยความร่วมมือในครั้งนี้ ริชมอนทส์ คริสตี้ส์ อินเตอร์เนชั่นแนล เรียลเอสเตท จะเป็นผู้ดูแลรับผิดชอบงานขายและทำการตลาดให้กับโครงการบันยัน เรสซิเดนซ์ วิลล่า หัวหิน   นายเชิ๊ท คว้อนท์ ประธานกรรมการบริหาร บันยัน ไทยแลนด์ กรุ๊ป เปิดเผยว่า ความร่วมมือกับริชมอนทส์ คริสตี้ส์ อินเตอร์เนชั่นแนล เรียลเอสเตท ในการทำการตลาดโครงการบันยัน เรสซิเดนซ์ วิลล่า หัวหิน ในครั้งนี้ จะช่วยทำให้โครงการเป็นที่รู้จักในวงกว้างและเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายในระดับบนมากยิ่งขึ้น  ซึ่งโครงการบันยัน เรสซิเดนซ์ วิลล่า หัวหิน เป็นโครงการวิลล่าระดับไฮเอนด์ของบันยัน ไทยแลนด์ กรุ๊ป ซึ่งประกอบธุรกิจบันยัน กอล์ฟ คลับ ที่มีชื่อเสียงมากว่า 10 ปี ที่หัวหิน ทั้งโครงการมีที่ดินสำหรับสร้างบ้านได้จำนวน 102 หลัง ราคาตั้งแต่ 15-80 ล้านบาท   โดยผู้ซื้อสามารถที่จะเลือกแบบวิลล่าจากแบบมาตรฐาน 4 แบบ ที่ทางโครงการมีให้ หรือปรับเปลี่ยนในรูปแบบที่ตนเองต้องการเพิ่มเติม เพื่อปลูกสร้างบนที่ดินขนาดที่เลือกเองเริ่มต้นประมาณ 100 ตารางวา ซึ่งความพิเศษของโครงการบันยัน เรสซิเดนซ์ วิลล่า หัวหิน คือ ทำเลที่ตั้ง ที่อยู่ใกล้ตัวเมืองหัวหิน และชายหาดหัวหิน มีความเป็นส่วนตัว และไลฟ์สไตล์การอยู่อาศัยที่เข้าถึงการพักผ่อนพร้อมวิวทะเลในด้านหน้าและภูเขาในด้านหลังที่สวยงาม ผู้ซื้อวิลล่ายังได้รับสิทธิ์สมัครเป็นสมาชิกบันยัน กอล์ฟ คลับ ในราคาพิเศษสุด  ทางโครงการมีบริการ Concierge คอยดูแลลูกบ้านตลอด 24 ชั่วโมง และการบริการแบบโรงแรม เช่น แม่บ้าน คนดูแลสวน คนดูแลทำความสะอาดสระว่ายน้ำ และกำจัดปลวก (อ่านข่าวเพิ่มเติม) พราว จับมือ อินเตอร์คอนฯ ปั้นโปรเจ็กตลักชัวรี่ พราว เรียล เอสเตท  เปิดตัวโครงการ “อินเตอร์คอนติเนนตัล เรสซิเดนเซส หัวหิน (InterContinental Residences Hua Hin)” ครั้งแรกของโครงการที่พักอาศัยระดับลักชัวรี่  ภายใต้แบรนด์อินเตอร์คอนติเนนตัลในประเทศไทยบนพื้นที่กว่า 7 ไร่ติดชายหาดผืนสุดท้ายใจกลางเมืองหัวหิน บนถนนเพชรเกษม ช่วงซอยหัวหิน 71 (ตรงข้ามศูนย์การค้า Market Village) ซึ่งถือเป็นสถิติราคาที่ดินสูงสุดของหัวหิน ด้วยราคาที่มากกว่า 150 ล้านบาทต่อไร่ เพื่อมอบประสบการณ์การพักอาศัยที่เหนือระดับพรั่งพร้อมด้วยบริการและสิ่งอำนวยความสะดวกครบวงจรแบบโรงแรม ด้วยมาตรฐานระดับโลกในแบบฉบับของอินเตอร์คอนติเนนตัล พร้อมแต่งตั้ง ซีบีอาร์อี บริษัทที่ปรึกษาด้านอสังหาริมทรัพย์ระดับสากล ให้เป็นตัวแทนการขายของโครงการอย่างเป็นทางการ   นางสาวพราวพุธ ลิปตพัลลภ กรรมการบริหาร  บริษัท พราว เรียล เอสเตท จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า การพัฒนาโครงการ “อินเตอร์คอนติเนนตัล เรสซิเดนเซส หัวหิน” เป็นการต่อยอดความร่วมมือกับ อินเตอร์คอนติเนนตัล โฮเทล กรุ๊ป (ไอเอชจี) และยังเป็นครั้งแรกในประเทศไทย ในการพัฒนาโครงการที่พักอาศัย ระดับลักชัวรี่ ภายใต้  แบรนด์อินเตอร์คอนติเนนตัล เรสซิเดนเซส ซึ่งเป็นแบรนด์เอ็กซ์คลูซีฟที่มีเพียงไม่กี่แห่งในมหานครชั้นนำของโลกเท่านั้น เช่น บอสตัน ดูไบ ซึ่งความร่วมมือในครั้งนี้สะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อมั่นที่อินเตอร์คอนติเนนตัล โฮเต็ล กรุ๊ป มีต่อพราว เรียล เอสเตท และสถานะของหัวหินในการเป็นเมืองท่องเที่ยวชั้นนำ  ซึ่งโครงการอินเตอร์คอนติเนนตัล เรสซิเดนเซส หัวหิน ถือว่าเป็นต้นแบบของการพัฒนาโครงการที่เป็นมากกว่าที่อยู่อาศัย ตามแนวคิด “More than just living”   ทายาทตัน ภาสกรนที เปิดตัว T-ONE อาคารสำนักงานเกรด A   "วริษา ภาสกรนที"  ทายาท "ตัน ภาสกรนที" ได้ฤกษ์เปิดอาคาร T-ONE อาคารสำนักงานและพื้นที่ Co Working Space เกรดเอแห่งเดียวในทำเลทองหล่อ-สุขุมวิท หลังมีผู้เช่าครบ 100% ภายใน 3 เดือน   นางสาววริษา ภาสกรนที กรรมการผู้จัดการ บริษัท ทีวัน บิวดิ้ง จำกัด บริษัท ทีวัน บิวดิ้ง จำกัด เปิดเผยว่า ได้เปิดตัว “อาคาร T-One” อาคารสำนักงานเกรด A ขนาด 43,700 ตารางเมตร มูลค่าการลงทุน 3,500 ล้านบาทมีความสูง 47 ชั้น แบ่งเป็นส่วนพื้นที่สำนักงาน   Co-working space  ร้านอาหาร ฟิตเนสเซ็นเตอร์ และพื้นที่ส่วนกลาง  ชูจุดเด่นเป็นอาคารสำนักงานสำหรับธุรกิจด้านเทคโนโลยี นวัตกรรม และธุรกิจคลื่นลูกใหม่ทั้งระดับประเทศ และระดับโลก อาทิ Tencent, Joox, WeWork, Wongnai, Sanook, Etigo, Zelingo, Shiseido รวมทั้งสำนักงานใหญ่ของอิชิตัน กรุ๊ป   โดยอาคารดังกล่าวตั้งอยู่ใจกลางเมืองบริเวณ ทองหล่อ - สุขุมวิท 40 ที่มาพร้อมการคมนาคมสะดวกทุกรูปแบบ เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้า บีทีเอส สถานีทองหล่อ และเข้าออกได้ทั้งถนนสุขุมวิทและถนนพระราม 4 กับสถาปัตยกรรมแบบทวิสต์ที่สวยงามไม่ซ้ำใครจนชนะรางวัลด้านการออกแบบจาก BCI Top 10 Architects 2017 Thailand และ Asia Pacific Property Award Architecture พรั่งพร้อมด้วยเทคโนโลยีอันทันสมัยในการบริหารจัดการอาคารอย่างเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ตรงความต้องการของนักธุรกิจรุ่นใหม่ที่มีไลฟ์สไตล์แบบ Work Hard, Play Harder (อ่านข่าวเพิ่มเติม)   บลูฮิลล์ เปิดตัว "อากาศ วิลล่า เขาใหญ่" บลูฮิลล์ เขาใหญ่ ลุยตลาดนิชพรีเมียมรับปีใหม่ เปิดตัว อากาศ วิลล่า เขาใหญ่ คอนโดมิเนียมกึ่งวิลล่าสไตล์ Thai Modern Loft  มูลค่าโครงการกว่า 380 ล้านบาท  เพียง 23 ยูนิต บนทำเลใกล้กรุงเทพฯ ริมถนนผ่านศึก-กุดคล้า เดินทางสะดวกจากกรุงเทพฯ เพียง 2.30 ชั่วโมง คอนโดฯ ตกแต่งพร้อมอยู่ ขนาดเริ่มต้น 130 ตารางเมตร ในราคาเริ่มต้น 13.2 ล้านบาท  หรือประมาณ 92,000 บาทต่อตารางเมตร   นางสุพิณดา แท่นเพ็ชร์รัตน์ กรรมการบริหาร บริษัท บลูฮิลล์ เขาใหญ่ จำกัด เปิดเผยว่า หลังประสบความสำเร็จกับการเปิดตัวคอนโดโลว์ไรส์ ภายใต้แบรนด์ “อากาศ เขาใหญ่” บริษัทพร้อมเปิดโครงการใหม่ล่าสุด “อากาศ วิลล่า เขาใหญ่” มูลค่าโครงการกว่า 380 ล้านบาท ชูไฮไลท์ คอนโดมิเนียมสไตล์วิลล่า 1 และ 2 ชั้น 3 อาคาร สุดเอ็กซ์คลูซีฟเพียง 23 ยูนิต ทุกห้องหันหน้ารับวิวทิวเขาสลับซับซ้อนแบบพาโนราม่า บนพื้นที่กว่า 4 ไร่ ตอบโจทย์ชีวิตที่อยากใกล้ชิดธรรมชาติมากขึ้น เปิดรับความสดชื่นของธรรมชาติเข้ามาแทนที่ความเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้าในชีวิตประจำวัน   โครงการ อากาศ วิลล่า เขาใหญ่ วิลล่าสไตล์ Thai Modern Loft   ตกแต่งพร้อมอยู่จำนวน 23 ยูนิต แบ่งเป็น 2 ประเภทได้แก่ 2 ห้องนอน 2 ห้องน้ำ ขนาด  130 - 145 ตารางเมตร จำนวน 12 ยูนิต และ 3 ห้องนอน 3 ห้องน้ำ ขนาด 145 - 195 ตารางเมตร จำนวน 11 ยูนิต (อ่านข่าวเพิ่มเติม)        
จับตาทำเลสาทร-จันทน์-เย็นอากาศ แหล่งรวมออฟฟิศ คอนโดไฮเอนด์

จับตาทำเลสาทร-จันทน์-เย็นอากาศ แหล่งรวมออฟฟิศ คอนโดไฮเอนด์

ทำเล CBD ของกรุงเทพฯ อย่างย่านสาทร ยังคงเป็นแหล่งรวมอาคารสำนักงาน ซึ่งเป็นที่ตั้งของบริษัทชั้นนำ รวมถึงคอนโดมิเนียมระดับไฮเอนด์ และสถานที่สำคัญอีกจำนวนมาก แม้ว่าปัจจุบันทำเล New CBD ขยายออกไปหลายพื้นที่ แต่ย่านสาทรยังคงมีอัตราการดูดซับไม่เคยลดลง และสูงกว่าภาพรวมของตลาดอย่างมีนัยสำคัญ ภาพรวมตลาดอาคารสำนักงานย่านสาทร นายธีระวิทย์ ลิ้มทองสกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท เน็กซัส เรียลเอสเตท แอ็ดไวเซอรี่ จำกัด เผยว่า ทำเลย่านสาทร ถือเป็นศูนย์รวมของอาคารสำนักงานที่มีทั้งบริษัทสัญชาติไทยจากทั่วประเทศ และบริษัทชั้นนำระดับโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ธนาคารและบริษัทการเงินจากหลากหลายประเทศ ทำให้สาทรยังคงเป็นย่านที่มีอัตราการเช่าสูงถึง 97% ส่งผลถึงราคาค่าเช่าสูงขึ้นทุกปีเฉลี่ย 4-5% ต่อปี โดยต่อเดือนอาคารสำนักงานเกรดเอมีค่าเช่าเฉลี่ย 920 บาทต่อตารางเมตรต่อเดือน ในบางอาคารพุ่งสูงสุดต่อเดือนกว่า 1,000 บาทต่อตารางเมตร  ตลาดอาคารสำนักงานยังคงมีความต้องการเช่าเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอาคารสำนักงานเกรดเอ อุปทานในปัจจุบันมีอยู่อย่างจำกัด ทำให้มีการพัฒนาโครงการอาคารสำนักงานใหม่ รวมถึงโครงการมิกซ์ยูสขนาดใหญ่ออกมารองรับ ซึ่งขยายออกไปในทำเลรอบๆ อย่างย่านสีลม พระราม 4 อาทิ โครงการโครนอส บนถนนสาทร โครงการดุสิต เซ็นทรัล ปาร์ค บนที่ดินโรงแรมดุสิตธานีเดิม โครงการสีลม สแควร์ ในบริเวณอาคารสีบุญเรืองเดิม โครงการวัน แบงค็อก บริเวณหัวมุมถนนพระรามที่ 4 และโครงการสถานีแม่น้ำของร.ฟ.ท. ริมแม่น้ำเจ้าพระยาล้อมรอบด้วยถนนพระราม 3 เป็นต้น อีกทั้งยังมีโครงการรถไฟฟ้าสายสีเทาผ่านถนนสาทร ถนนนราธิวาส ถนนพระราม 3 ซึ่งขณะนี้กำลังศึกษาความเป็นไปได้ และจัดทำรายงานการวิเคราะห์ทำเลดังกล่าวผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) โดยจะสามารถก่อสร้าง ได้ประมาณปี 2564 เหล่านี้ยิ่งส่งผลให้ทำเลในย่านนี้ได้รับอานิสงส์ไปด้วย และทำให้ตลาดอาคารสำนักงานยิ่งมีความคึกคัก และเป็นการขยายแหล่งงานไปด้วย           ภาพรวมตลาดคอนโดมิเนียมใจกลางเมือง-สาทร ด้านนางนลินรัตน์ เจริญสุพงษ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เน็กซัส พรอพเพอร์ตี้ มาร์เก็ตติ้ง จำกัด เผยว่า ภาพรวมของตลาดคอนโดมิเนียมระดับไฮเอนด์ทำเลใจกลางเมืองในช่วงครึ่งปีแรกที่ผ่านมานี้ มีอุปทานสะสมทั้งหมด 93,122 ยูนิต เป็นอุปทานที่เกิดขึ้นใหม่จำนวน 3,262 ยูนิต โดยมีราคาเฉลี่ยประมาณ 233,200 บาทต่อตารางเมตร ถือว่าจำนวนลดลงเมื่อเทียบกับหลายปีที่ผ่านมา เหตุเพราะผู้พัฒนาโครงการมีความระมัดระวังในการเปิดโครงการใหม่มากขึ้น ประกอบกับมุ่งเน้นกลุ่มผู้ซื้อเพื่ออยู่อาศัยจริงเป็นหลัก ส่งผลให้สินค้าที่ออกมาใหม่ในตลาดมีคุณภาพดี อยู่ในทำเลที่น่าสนใจยิ่งขึ้น ซึ่งถือเป็นผลดีต่อตลาด เพราะทำให้ห้องชุดที่เปิดใหม่สามารถขายได้เร็วขึ้น สำหรับภาพรวมตลาดคอนโดมิเนียมเฉพาะย่านสาทรมีจำนวนทั้งสิ้น 22,255 ยูนิต จากทั้งหมด 48 โครงการ มีราคาเฉลี่ยอยู่ที่ 214,400 บาทต่อตารางเมตร มียอดขายรวม 84% สูงกว่ายอดขายรวมของตลาดถึง 2% โดยยอดขายเฉลี่ยรวมของตลาดอยู่ที่ 82%   สาเหตุที่ทำให้ สาทร-จันทน์-เย็นอากาศ ยังคงมีเสน่ห์ และความน่าสนใจนั้น เนื่องจากเป็นทำเลที่ถือเป็นย่านชุมชนเก่า แต่ยังอยู่ท่ามกลางความสะดวกสบายทั้งในเรื่องของสิ่งอำนวยความสะดวก ไม่ว่าจะเป็นแหล่งธุรกิจใจกลางเมือง โรงเรียน โรงพยาบาล ศูนย์การค้า ร้านอาหาร รวมถึงการเดินทางที่ใกล้ทางด่วน และรถไฟฟ้า   ข้อมูลเพิ่มเติมของบริษัท Nexus อ่านข่าวอื่นๆ ของ Nexus เพิ่มเติมได้ที่ Reviewyourliving  
สรุปข่าวอสังหาฯ รอบสัปดาห์ วันที่ 18-24 พฤศจิกายน 2562

สรุปข่าวอสังหาฯ รอบสัปดาห์ วันที่ 18-24 พฤศจิกายน 2562

อาทิตย์สุดท้ายของเดือนพฤศจิกายน  กำลังจะผ่านพ้นไปแล้ว  และเรากำลังก้าวเข้าสู่เดือนสุดท้ายของปี  2562 ช่วงเวลาแห่งการเฉลิมฉลองและการเตรียมตัวเริ่มต้นปีใหม่  ที่เชื่อว่าหลายคนคงอยากจะเริ่มต้นกับวันใหม่  ปีใหม่  เพราะปีที่ผ่านมาอาจทำอะไรไม่ได้ตามเป้าหมายที่วางไว้   สำหรับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ปีนี้ก็ถือว่าเป็นปีที่ยากลำบากปีหนึ่ง เพราะเจอกับปัจจัยลบหลายเรื่อง เหลือเวลาอีกเดือนเดียวจะทำผลงานได้ตามเป้าหมายหรือไม่  คงลุ้นกันน่าดู เดือนธันวาคมคงเป็นช่วงเวลาสุดท้าย  ที่จะโหมแรงทำการตลาดกันสุดฤทธิ์ ได้ตามตามเป้าหมายหรือไม่ค่อนมาว่ากันอีกที   ส่วนรอบสัปดาห์ที่ผ่านมาวงการอสังหาฯ ใคร ทำอะไร ที่ไหน  อย่างไร  มาหาคำตอบกัน   พฤกษา รุกหนักคอนโด เปิด 3 โปรเจ็กต์ “The Tree"  นายปิยะ ประยงค์  ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจพฤกษา เรียลเอสเตท – แวลู  บริษัท พฤกษา เรียลเอสเตท จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ในครึ่งปีหลัง 2562 บริษัทมีการปรับกลุทธ์การเปิดขายโครงการคอนโดมิเนียม โดยเน้นโครงการที่เป็น Best in Class เจาะกลุ่มลูกค้าระดับกลางที่มีกำลังซื้อและมีศักยภาพในท่ามกลางสภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว ในทำเลใกล้รถไฟฟ้าและมีดีมานด์รองรับ  โดยในไตรมาส 4 จะเปิดคอนโดมิเนียมอีก 3 โครงการ ได้แก่ The Tree พัฒนาการ-เอกมัย, The Tree Victory Monument และ The Tree พระราม 4-สุขุมวิท มูลค่ารวม 5,100 ล้านบาท   โดยโครงการ “The Tree Victory Monument”  ถือเป็นโครงการ Highlight ของแบรนด์ The Tree โครงการแรกในระดับลักชัวรี่ มีการปรับโฉมที่ทำห้องฝ้าเพดานสูง 4.4 เมตร และ ห้อง Duplex ฝ้าเพดานสูง 4.9 เมตร ในราคาที่แข่งขันได้ (อ่านข่าวเพิ่มเติม) ชาญอิสสระ เปิดตัว "ดิ อิสสระ สาทร" นายสงกรานต์ อิสสระ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการ บริษัท ชาญอิสสระ ดีเวล็อปเมนท์ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยถึง ภาพรวมตลาดคอนโดมิเนียมในปัจจุบันนี้ว่า คอนโดมิเนียมที่มีทำเลอยู่ในย่านกลางเมืองและชานเมืองยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับตลาดกลุ่มลูกค้าระดับบน ซึ่งถือเป็นกลุ่มลูกค้าเรียลดีมานด์ยังมีความต้องการหาสินค้าที่มีคุณภาพมาตอบโจทย์การอยู่อาศัย ทั้งนี้เพื่อเป็นการตอบโจทย์ความต้องการของคนเมืองที่มองหาคอนโดมิเนียมในย่านกลางเมือง พร้อมต้องการหลีกหนีความวุ่นวาย   ล่าสุด บริษัทได้เปิดตัวลักชัวรี่คอนโด “ดิ อิสสระ สาทร” (The Issara Sathorn) ย่านถนนจันทน์-สาทร เป็นโครงการคอนโดมิเนียมสูง 37 ชั้น จำนวน 270 ยูนิต มูลค่าโครงการกว่า 2,400 ล้านบาท เริ่มก่อสร้างในปีหน้า และคาดว่าโครงการจะแล้วเสร็จประมาณปี 2565 ราคาเริ่มต้น 4.88 ล้านบาท ตั้งอยู่บนพื้นที่ประมาณ 1-2-60 ไร่ บริเวณถนนจันทน์-สาทร มีขนาดพื้นที่ห้องเริ่มต้น 32.75-188 ตารางเมตร  มีห้องให้เลือกถึง 4 รูปแบบ ได้แก่ ห้องแบบ 1 ห้องนอน, ห้องแบบ 2 ห้องนอน, ห้องแบบ 3 ห้องนอน และเพนท์เฮ้าส์ 3-4 ห้องนอน   “มั่นคงฯ” เปิดตัวสำนักงานใหม่บนถนนสุรวงศ์ นายวรสิทธิ์ โภคาชัยพัฒน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท มั่นคงเคหะการ จำกัด (มหาชน) หรือ MK  เปิดเผยว่า ได้ย้ายสำนักงานใหม่มาที่ถนนสุรวงค์  เนื่องกจากสถานที่เดิมได้ครบสัญญาเช่า 30 ปี  จึงได้ย้ายสำนักงานใหม่ด้วยการลงทุน 250 ล้านบาท เช่าที่ดินย่านสุรวงศ์ ก่อสร้างอาคารขนาด 8 ชั้น ชูแนวคิด Wellbeing ภายใต้คอนเซปต์ Workplace Wellbeing   โดยภายในอาคาร บริเวณชั้น G เป็นพื้นที่ Co-Wellnest  ซึ่งพนักงานสามารถใช้พื้นที่ในการ Sharing ความรู้ต่างๆ นอกจากนี้ยังเปิดให้บุคคลภายนอกเข้ามาใช้บริการได้, ชั้น P1 - P2ชั้นจอดรถ, ชั้น 5 ชั้นฟิตเนสให้พนักงานได้ออกกำลังกาย มีทั้งห้องโยคะและห้องกายภาพ, ชั้น 6, 7, 8 คือส่วนของสำนักงาน โดยที่ชั้น 8 จะมีในส่วนของห้องอาหาร (Canteen) สำหรับพนักงานด้วย และชั้นดาดฟ้า ที่จัดให้เป็น “Rooftop Organic Farm” ให้ผู้บริหารและพนักงานได้ร่วมกันปลูกผัก-ผลไม้ออร์แกนิค สำหรับไว้รับประทานอีกทั้งเพื่อให้พนักงาน ได้เรียนรู้ถึงความสำคัญของที่มาที่ไปของอาหาร   “แสนสิริ” เผยโฉม “KHUN by YOO inspired by Starck”   นายปิติ จารุกำจร ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการอาวุโสฝ่ายพัฒนาโครงการคอนโดมิเนียมและบริหารกลยุทธ์ บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า บริษัทได้เปิดตัวโครงการ “KHUN by YOO inspired by Starck” (คุณ บาย ยู อินสไปร์ บาย สตาร์ค)” ภายใต้บริษัทร่วมทุนกับ บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ ซึ่งได้ก่อสร้างแล้วเสร็จ 100% มูลค่ารวม 4,400 ล้านบาท ซึ่งเป็น 1st Design Branded Residence ระดับลักซ์ชัวรี่ใน Sansiri Luxury Collection ภายใต้ความร่วมมือกับ YOO Studio แบรนด์ดีไซน์สตูดิโอระดับโลกอย่างเต็มรูปแบบแห่งแรกในประเทศไทย  ปัจจุบันมียอดขายแล้วเกือบ 70% หรือคิดเป็นมูลค่า 2,800 ล้านบาท   นายปิติ กล่าวเพิ่มเติมว่า โครงการนี้เป็น 1 ในเพียงแค่ 36 โปรเจ็กต์ทั่วโลกที่ฟิลิปป์ สตาร์ค ร่วมรังสรรค์ ด้วยจำนวนจำกัดเพียง 148 ยูนิต   มาตรฐานทั่วไปที่มีในตลาด จึงถือเป็นอสังหาฯ ที่มีศักยภาพสูงมากในการลงทุนแบบ Passion Investment  ซึ่งโครงการ KHUN by YOO inspired by Starck ก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์ 100% พร้อมโอนกรรมสิทธ์แล้วตั้งแต่วันนี้ ราคาเริ่มต้นที่ 18.9 ล้านบาท  ปัจจุบัน Sansiri Luxury collection คอลเลคชั่น สร้างยอดขายรวมแล้วกว่า 17,700 ล้านบาท ได้แก่ 98 Wireless ซึ่งปัจจุบันเหลือเพียงจำนวน 3 ยูนิต, บ้านแสนสิริ พัฒนาการเหลือเพียงจำนวน 3 หลัง ตลอดจน THE MONUMENT Thong Lo ที่มียอดขายแล้วถึง 60% จากทั้งหมดของโครงการ   "ลลิล" ส่ง 7 โครงการรับกำลังซื้อ ย่านรังสิต-ปทุม-ลำลูกกา นายชูรัชฏ์ ชาครกุล กรรมการรองผู้จัดการใหญ่ บริษัท ลลิล พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) (LALIN)  เปิดเผยถึงศักยภาพของทำเลรังสิตว่า พื้นที่ในทำเลรังสิตตั้งแต่ลำลูกกา รังสิต-องครักษ์ และคลองหลวง ถือเป็นพื้นที่ของการพัฒนาโครงการบ้านจัดสรรมาอย่างยาวนาน เนื่องจากเป็นทำเลที่มีความสะดวกในด้านการเดินทางจากโครงข่ายคมนาคมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ถนนวิภาวดีรังสิต ทางด่วนดอนเมืองโทลล์เวย์ ถนนวงแหวนฝั่งตะวันออก เป็นต้น   ขณะที่ในปัจจุบันรถไฟฟ้าทั้งสายสีแดงธรรมศาสตร์ รังสิต-บางซื่อ และรถไฟฟ้าสายสีเขียว หมอชิต-คูคต ที่จะเปิดให้บริการในอนาคต และมีแผนจะขยายเส้นทางไปถึงถนนวงแหวน จะทำให้การเดินทางเข้า-ออกเมืองมีความสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น ประกอบกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกด้านต่างๆ เช่น การขยายสนามบินดอนเมือง รวมถึงห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่เกิดขึ้นในอนาคต และห้างเดิมที่มีให้บริการอยู่แล้วจะทำให้สิ่งอำนวยความสะดวกในพื้นที่มีความพร้อมและสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น จึงเป็นปัจจัยที่ทำให้ทำเลรังสิตกลับมาคึกคักอีกครั้งหนึ่ง   ทั้งนี้ โครงการที่อยู่อาศัยในทำเล ลำลูกกา-รังสิต ถือเป็นทางเลือกให้กับผู้บริโภคในเมือง ซึ่งโครงการทาวน์โฮมของบริษัทฯ ในทำเลรังสิต ราคาเริ่มต้นประมาณ 2 ล้านบาท ได้ห้องนอน 3 ห้องนอน และที่จอดรถ 2 คัน ส่วนบ้านราคาเริ่มต้นจะอยู่ที่ 2 ล้านกว่า - 6 ล้านบาท  บริษัทจึงได้เปิด 7 โครงการมูลค่ากว่า 4,000 ล้านบาท ในทำเลดังกล่าว ได้แก่   1.โครงการไลโอ บลิสซ์ รังสิต-คลองหลวง   2. โครงการไลโอ บลิสซ์ ลำลูกกา-คลอง 2  3.โครงการบุรีรมย์ รังสิต-ลำลูกกา คลอง 4  4. โครงการลลิล ทาวน์ ลำลูกกา คลอง 4-5  5. โครงการลลิล ทาวน์ วงแหวน-ลำลูกกา คลอง 6   6. โครงการลลิล ทาวน์ รังสิต-คลอง  2 และ 7. โครงการไลโอ บลิสซ์ รังสิต-คลอง 4  รวมมูลค่ากว่า 4,000 ล้านบาท   BAM เดินหน้าขายหุ้น IPO   นางทองอุไร ลิ้มปิติ ประธานกรรมการ บริษัทบริหารสินทรัพย์ กรุงเทพพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) หรือ BAM เปิดเผยว่า ได้เปิดให้ประชาชนจองหุ้น IPO ได้ในวันที่ 25 - 29 พฤศจิกายนนี้  ผ่านธนาคารกสิกรไทย ธนาคารกรุงไทย และธนาคารไทยพาณิชย์ ทุกสาขา ในช่วงราคาเสนอขาย 15.50-17.50 บาทต่อหุ้น โดยบริษัทจะเสนอขายหุ้น IPO ด้วยจำนวนรวมกันไม่เกิน 1,535 ล้านหุ้น ประกอบด้วยหุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวนไม่เกิน 280 ล้านหุ้น และหุ้นสามัญเดิมจำนวนไม่เกิน 1,255 ล้านหุ้น   นอกจากนี้ อาจมีการจัดสรรหุ้นส่วนเกิน (Greenshoe) จำนวนไม่เกิน 230 ล้านหุ้น รวมทั้งสิ้นจำนวนไม่เกิน 1,765 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้ (พาร์) หุ้นละ 5 บาท เพื่อนำเงินจากการระดมทุนไปขยายธุรกิจโดยซื้อสินทรัพย์ด้อยคุณภาพและทรัพย์สินรอการขายในอนาคต ชำระคืนเงินกู้จากสถาบันการเงิน และ/หรือชำระหุ้นกู้ที่ถึงกำหนดที่ออกโดยบริษัทฯ และ/หรือตั๋วเงินจ่าย และใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียน (อ่านข่าวเพิ่มเติม)          
เปิด 5 ไฮไลท์ “MITRTOWN OFFICE TOWER” ออฟฟิศให้เช่า พระราม 4

เปิด 5 ไฮไลท์ “MITRTOWN OFFICE TOWER” ออฟฟิศให้เช่า พระราม 4

ดูเหมือนว่าแนวทางการพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ปัจจุบัน  ดีเวลลอปเปอร์ให้ความสำคัญกับรูปแบบโครงการมิกซ์ยูส ซึ่งมีการผสมผสานรูปแบบอสังหาฯ หลากหลายประเภทเข้าไว้ด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็น พื้นที่สำนักงาน พื้นที่รีเทล คอนโดมิเนียม หรือโรงแรม ซึ่งตอนนี้ดูเหมือนเป็นเทรนด์ของดีเวลลอปเปอร์ชั้นนำ ที่หันมาพัฒนาโครงการในรูปแบบนี้ จริงๆ สาเหตุสำคัญคงเป็นเพราะ ต้องการใช้พื้นที่ในการพัฒนาให้คุ้มค่า และเป็นการตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคยุคใหม่ ซึ่งต้องการโครงการในลักษณะดังกล่าว ในระยะเวลาไม่อีกกี่ปีข้างหน้า เราจะได้เห็นโครงการมิกซ์ยูสเกิดขึ้นมากมาย โดยเฉพาะบนถนนพระราม 4   ปัจจุบันโครงการบนถนนพระราม 4 ที่ได้เปิดตัว ให้บริการเป็นที่เรียบร้อยแล้ว คือ โครงการสามย่านมิตรทาวน์ ซึ่งเป็นโปรเจ็กต์มิกซ์ยูสของ บริษัท แผ่นดินทอง พร็อพเพอร์ตี้ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) หรือ โกลเด้นแลนด์ ซึ่งภายในโครงการประกอบด้วยพื้นที่รีเทล ที่พักอาศัย โรงแรม และสำนักงานให้เช่า ถือว่าเปิดตัวชิงตลาดบนถนนพระราม 4 ก่อนเพื่อนร่วมวงการ ที่จะทยอดเปิดให้บริการออกมาอีกหลายโปรเจ็กต์ อีก 3 ปี ออฟฟิศให้เช่า พระราม 4 เพิ่มอีกล้านตร.ม. สำหรับตลาดพื้นที่สำนักงานให้เช่าปัจจุบัน ถือว่าเป็นหนึ่งธุรกิจของดีเวลลอปเปอร์ให้ความสนใจเข้ามาพัฒนา โดยมีรูปแบบหลากหลาย มีขนาดโครงการทั้งเล็กและใหญ่ เพื่อรองรับกับการเกิดขึ้นของธุรกิจใหม่ๆ ซึ่งตลาดสำนักงานให้เช่าถือว่ามีความต้องการอย่างต่อเนื่อง และหากเปรียบเทียบปริมาณพื้นที่ในปัจจุบัน กับปริมาณความต้องการใช้ ยังถือว่ามีดีมานด์มากกว่าซัพพลาย โดยเฉพาะพื้นที่ในย่านใจกลางเมือง   หากดูในเรื่องของดีมานด์และซัพพลาย ปัจจุบันยังพบว่า  ความต้องการใช้พื้นที่มีประมาณ 8.31 ล้านตารางเมตร และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง  ขณะที่พื้นที่สำนักงานให้เช่าทั้งตลาดมีอยู่ประมาณ 8.93 ล้านตารางเมตร ในปีนี้มีซัพพลายใหม่เพิ่ม 5 อาคารรวมพื้นที่ 153,000 ตารางเมตร ขณะที่ ปี 2563-2565 จะมีอาคารสำนักงานใหม่เกิดขึ้นอีก 1 ล้านตารางเมตร  อัตราค่าเช่าของพื้นที่สำนักงานเกรด A มีราคาประมาณตารางเมตรละ 1,055 บาทต่อเดือน นายวิทวัส คุตตะเทพ รองกรรมการผู้จัดการ สายงานโครงการเชิงพาณิชยกรรม ของโกลเด้นแลนด์ เปิดเผยว่า ความต้องการใช้พื้นที่สำนักงานยังมีอยู่อย่างต่อเนื่อง  ซึ่งปัจจุบันพื้นที่อาคารสำนักงานเกรด A ในย่านใจกลางธุรกิจ  ที่โกลเด้นแลนด์ดูแล มีพื้นที่รวม 210,000 ตารางเมตร ยังคงมีดีมานด์การเช่าพื้นที่มากกว่า 95% ทุกอาคาร ทั้งปาร์คเวนเชอร์ อีโคเพล็กซ์ สาทรสแควร์ และเอฟวายไอ เซ็นเตอร์ เมื่อพิจารณาเฉพาะอาคารสำนักงาน ที่อยู่บนถนนพระราม 4 ของบริษัทฯ มีอัตราการเช่าพื้นที่เติบโตจากปีที่แล้ว 15 – 20%   ส่วนโครงการสามย่านมิตรทาวน์ มูลค่ากว่า 9,000 ล้านบาท โครงการมิกซ์ยูส ซึ่งมีโซนอาคารสำนักงาน “มิตรทาวน์ ออฟฟิศ ทาวเวอร์” (MITRTOWN OFFICE TOWER) ขนาดพื้นที่ 48,000 ตารางเมตร ปัจจุบันได้เปิดให้บริการแก่ลูกค้าแล้ว โดยมีบริษัทต่างๆ เข้าเช่าพื้นที่แล้ว 70% ในอัตราค่าเช่า 1,200 บาทต่อตารางเมตร  คาดว่าพื้นที่ส่วนที่เหลือจะมีผู้เช่าเต็มภายในปีหน้า  ซึ่งจะทำให้บริษัทมีรายได้ประมาณปีละ 500 ล้านบาท เปิด 5 ไฮไลท์ ออฟฟิศให้เช่า พระราม 4 ของสามย่านมิตรทาวน์ โจทย์ไลฟ์สไตล์การทำงานของคนออฟฟิศสมัยใหม่ที่มองหาสถานที่ทำงานผสมผสาน work & play อาทิ 1.Intelligence Office Facilities Supporting Digital Transformation Generation ในโครงการนี้ นอกเหนือจากสิ่งอำนวยความสะดวก ตามคุณสมบัติอาคารสำนักงานเกรด A ยังได้เพิ่มเทคโนโลยีใหม่ล่าสุด สำหรับให้บริการในอาคารสำนักงาน อาทิ   ตู้จัดการผู้ติดต่ออาคารแบบอัตโนมัติ (automated visitor management kiosk) ที่จะอำนวยความสะดวก ช่วยลดขั้นตอนและระยะเวลาการแลกบัตรประชาชนหรือถ่ายหนังสือเดินทางเพื่อยืนยันตัวตนผู้มาติดต่อบริษัทผู้เช่าในอาคาร   ระบบ Face Recognition Turnstile Access ซึ่งเป็นระบบรักษาความปลอดภัยการเข้า-ออกอาคารด้วยการจดจำใบหน้าสำหรับพนักงานบริษัทที่เช่าพื้นที่กับโครงการ   การวางระบบการสื่อสารผ่านไฟเบอร์ออฟติก fiber optic ทั้งอาคาร เพื่อให้ผู้เช่าสามารถเชื่อมต่อการสื่อสารแบบสายหรือไร้สายความเร็วสูง wired or wireless high speed telecommunication   การพัฒนาจอ LED ร่วมกับทีมงานจากประเทศสหรัฐอเมริกา สร้างบรรยากาศและประสบการณ์ในรูป digital experience ในโถง lobby ส่วนกลางของอาคาร โดยจอส่วนกลางนี้นำเสนอภาพกราฟฟิกและข้อมูลแบบ real time แสดงเวลา อุณหภูมิ สภาพอากาศ และแสดงค่าฝุ่นละอองภายนอกอาคาร รวมถึงข้อมูลตลาดหุ้นจากตลาดหลักทรัพย์ไทยและต่างประเทศ   2.Flexible Workspace for Businesses of All Shapes and Sizes ด้วยความร่วมมือระหว่างมิตรทาวน์ ออฟฟิศ ทาวเวอร์ และจัสโค (JustCo) หนึ่งในผู้นำให้บริการพื้นที่ทำงานแบบยืดหยุ่นในเอเชีย และเป็นหนึ่งในผู้เช่าหลักที่ให้บริการพื้นที่ทำงาน co-working space และ serviced office จำนวน 6 ชั้นครอบคลุมพื้นที่กว่า 12,000 ตารางเมตร ถือเป็นพันธมิตรที่จะช่วยให้ทั้งโครงการให้บริการพื้นที่ทำงานที่หลากหลายขึ้น ตอบโจทย์ลูกค้าทุกขนาดธุรกิจ ตั้งแต่สตาร์ทอัพ ไปจนถึงบริษัทขนาดใหญ่ (Enterprise) ที่มาตั้งสาขาในประเทศไทย 3.Integrated Mixed-use Complex for Work & Play เนื่องจากเป็นโครงการมิกซ์ยูส ทำให้มีพื้นที่ส่วนอื่นๆ เข้ามาเติมความสมบูรณ์ของสถานที่ทำงาน ไม่ว่าจะเป็นส่วนโรงแรม คอนโดมิเนียม และศูนย์การค้า ช่วยอำนวยความสะดวกให้ผู้เช่าสำนักงาน สามารถจัดสรรเวลาและลดการเดินทาง สามารถทำงานได้อย่างเต็มศักยภาพ เลือกซื้อคอนโดฯ พักอาศัยใกล้ที่ทำงาน จับจ่ายซื้อของ จัดงานสัมมนา จัดกิจกรรมอีเว้นท์บริษัทที่พื้นที่ฮอลล์ หรือจะใช้บริการโรงแรมหากต้องการรับรองลูกค้าจากต่างประเทศสามารถพักได้ที่โรงแรม มีร้านอาหารและสถานออกกำลังกายให้บริการในศูนย์การค้าตลอด 24 ชั่วโมง 4.Direct Link to MRT มิตรทาวน์ ออฟฟิศ ทาวเวอร์ เชื่อมต่อการคมนาคมขนส่งที่สะดวก ติดกับสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินสามย่าน  โดยสามย่านมิตรทาวน์ทุ่มงบประมาณกว่า 300 ล้านบาท สร้างอุโมงค์ทางเดินเชื่อมต่อระหว่างตัวสถานีสามย่าน (MITR DIRECT LINK) กับโครงการ ซึ่งเพิ่มความสะดวกสบายให้กับพนักงานออฟฟิศ และเป็นการเปิดทำเลใหม่เชื่อมการเดินทางคนทำงานจากฝั่งธนบุรีมาฝั่งสามย่านได้สะดวกมากยิ่งขึ้น 5.24hrs Retail Support Zone จุดเด่นของโครงการสามย่านมิตรทาวน์ คือการมีพื้นที่ให้บริการในโซน 24 ชั่วโมง โดยมี 4 ส่วนหลัก คือ ร้านอาหาร (Dinning) ร้านค้า (Shopping) ธุรกิจบริการ (Service) และพื้นที่รองรับไลฟสไตล์ (Space Service) เช่น ฟิตเนส ซูเปอร์มาร์เก็ต พื้นที่การเรียนรู้ co-learning space ร้านอาหาร คาเฟ่ สถาบันทางการเงิน บริการจัดส่งพัสดุ 4 เทรนด์ความต้องการ “ออฟฟิศให้เช่า” ยุคปัจจุบัน การเลือกออฟฟิศให้เช่า เพื่อใช้ในการดำเนินธุรกิจ ปัจจัยพื้นฐานที่เป็นองค์ประกอบที่ดีของพื้นที่สำนักงาน ยังคงเป็นปัจจัยแรกที่บริษัทเลือกจะเช่า แต่ปัจจุบันปัจจัยต่างๆ เหล่านั้นอาจจะไม่เพียงพอ เพราะการเลือกออฟฟิศให้เช่าปัจจุบัน คงต้องคำนึงถึงสถานที่ บรรยากาศ และสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆ เพื่อให้พนักงานในองค์กรทำงานอย่างมีความสุขด้วย ซึ่งสิ่งที่กำลังเป็นเทรนด์ความต้องการ ออฟฟิศให้เช่าในปัจจุบันมีอยู่ด้วยกัน 4 องค์ประกอบสำคัญ คือ   1.พื้นที่มีความยืดหยุ่น สามารถปรับฟังก์ชั่นการใช้งานได้ตามสะดวก และตามความต้องการ   2.มีพื้นที่ทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ บางองค์กรมีพื้นที่ออกกำลังกาย พื้นที่นั่งเล่น สามารถใช้พื้นที่ส่วนไหนทำงานก็ได้   3.มีพื้นที่อำนวยความสะดวกต่างๆ อาทิ พื้นที่ประกอบอาหาร หรือรับประทานอาหาร   4.มีสิ่งอำนวยความสะดวกในการใช้ชีวิต เช่น การเดินทางสะดวก มีพื้นที่รีเทล การออกกำลังกาย เป็นต้น   นี่คงเป็นหนึ่งอาคารของ ออฟฟิศให้เช่า บนถนนพระราม 4 ที่ประเดิมเปิดตัวก่อนใคร จับตลาดในย่านพระราม 4 ก่อนที่ในอนาคตจะมีพื้นที่สำนักงานอีกมากมายมาเติมเต็มตลาด และความต้องการขององค์กรต่างๆ  ตอนเมื่อถึงตอนนั้นการแข่งขันคงจะรุนแรงน่าดู ซึ่งคงต้องดูกันต่อไปว่าออฟฟิศให้เช่าแต่ละแห่งจะมีอะไรน่าสนใจมากน้อยแค่ไหน   ข้อมูลเพิ่มเติม MITRTOWN OFFICE TOWER ข้อมูลร้านอาหารในส่วนของรีเทล SAMYAN MITRTOWN 19 ร้านคอนเซ็ปต์ “ใหม่” ในสามย่านมิตรทาวน์ ข้อมูลในส่วนคอนโด Triple Y Residence  
“เรียลแอสเสท” เจอพิษ LTV เดินหน้าปรับกลยุทธ์บุกตลาดแนวราบ

“เรียลแอสเสท” เจอพิษ LTV เดินหน้าปรับกลยุทธ์บุกตลาดแนวราบ

เรียลแอสเสท โดนผลกระทบ LTV เร่งปรับกลยุทธ์ธุรกิจครึ่งปีหลัง ต่อเนื่องจนถึงปีหน้า บุกตลาดแนวราบในพื้นที่โซนตะวันออก ชี้ยังมีศักยภาพสูงจากระบบคมนาคมรอบด้าน ขณะที่แผนปี 63 เตรียมเปิด 3 โปรเจ็กต์ 3,600 ล้าน นายบดินทร์ธร จึงรุ่งเรืองกิจ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เรียลแอสเสท ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด เปิดเผยว่า ภาพรวมตลาดอสังหาริมทรัพย์ในปีนี้ ได้รับผลกระทบจากมาตรการควบคุมสินเชื่อที่อยู่อาศัยใหม่ (LTV)  ของธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) ที่เริ่มใช้วันที่ 1 เมษายน 62 ที่ผ่านมา ประกอบกับตัวลูกค้าประสบปัญหาหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นปัญหาหนี้ครัวเรือนสูง  ส่งผลให้ธนาคารพาณิชย์มีความเข้มงวดต่อการยื่นขอสินเชื่อ   นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยภายนอกประเทศ เช่น ปัญหาส่งครามการค้าระหว่างสหรัฐฯและจีน ปัญหาการประท้วงในประเทศฮ่องกง และแนวโน้มกำลังซื้อจากต่างชาติลดลง โดยเฉพาะจากประเทศจีน  ซึ่งเป็นปัจจัยกระทบต่อภาพรวมอสังหาฯ ในปีนี้ แต่หากพิจารณาจากตลาดอสังหาฯ​ ในโซนภาคตะวันออก  ยังถือว่าเป็นทำเลที่มีศักยภาพ  เนื่องจากมีสิ่งอำนวยความสะดวก ทั้งเรื่องการเดิน มีการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีเหลือง(สำโรง-ลาดพร้าว) มีแหล่งที่อยู่อาศัย และหากในอนาคตเกิดโครงการรถไฟรางเบา (LRT) ที่จะวิ่งจากบางนา-สุวรรณภูมิ จะสร้างความคึกคักและเพิ่มศักยภาพของการอยู่อาศัยมากขึ้น ล่าสุดโครงการรถไฟความเร็วสูง(ไฮสปีดเทรน) เชื่อม 3 สนามบินได้รับการลงนามเป็นที่เรียบร้อย   ในปีนี้บริษัทจึงได้ปรับกลยุทธ์ในครึ่งปีหลัง  และต่อเนื่องถึงปี 2563 โดยชูในเรื่อง Active Wellness มาใช้ในการพัฒนาโครงการ ซึ่งเริ่มนำร่องกับโครงการ เซนส์ บางนา-สุวรรณภูมิ ที่ออกแบบให้มีพื้นที่สีเขียวรวมมากถึง 29,600 ตร.ม.มีพื้นที่ปั่นจักรยาน 2,600 ตารางเมตร และลู่วิ่ง ความยาวถึง 7,400 ตารางเมตร ซึ่งถือเป็นเทรนด์และความต้องการของผู้อยู่อาศัยในปัจจุบัน   “แม้ว่าบริษัทยังคงเน้นการพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัย ทั้งประเภทคอนโดมิเนียม และแนวราบ ทั้งบ้านเดี่ยว บ้านแฝด ทาวน์เฮาส์ โฮมออฟฟิศ แต่บริษัทต้องปรับกลยุทธ์เพื่อตอบสนองความต้องการทุกรูปแบบของลูกค้า”   นอกจากนี้ บริษัทยังมุ่งเน้นในเรื่องคุณภาพการก่อสร้าง และการใส่ใจในการบริการที่มีต่อลูกค้า ผ่านวิสัยทัศน์ We  build real matters for living  เพื่อให้ลูกค้าสัมผัสถึงความคุ้มค้าที่ได้รับจากโครงการผ่านทางคุณภาพบ้าน  รวมถึงการใส่ใจในเรื่องสุขภาพ   ด้านนายวีระชัย หาญจริยากูล ผู้อำนวยการ สายงานกลยุทธ์ ธุรกิจบ้านจัดสรรและอาคารพาณิชย์ กล่าวว่า ภาพรวมของตลาดที่อยู่อาศัยแนวราบเริ่มปรับตัวดีขึ้นตั้งแต่ไตรมาส 3 หลังจากตลาดชะลอตัวช่วงประกาศใช้มาตรการ LTV   โดยช่วง 10 เดือนที่ผ่านมา บริษัททำยอดขายโครงการแนวราบได้  600 ล้านบาท มาจากโครงการโฮมออฟฟิศ คาสเคด บางนา , บ้านเดี่ยว  โครงการ วีรัณยา วงแหวน-อ่อนนุช , ทาวน์โฮม เพล็กซ์ เกษตร-นวมินทร์ และบ้านแนวคิดใหม่ โครงการเซนส์ สายไหม 56   “ตลาดโครงการแนวราบ การแข่งขันสูง เนื่องจากผู้ประกอบการหลายค่าย หันมาเล่นตลาดแนวราบมากขึ้น ซึ่งในส่วนของบริษัท ก็มีจุดแข็งหลายด้าน มีเครือข่ายทางธุรกิจที่พร้อมสนับสนุน” ปัจจุบัน บริษัทมีที่ดินผืนใหญ่อยู่บนทำเลบางนา-สุวรรณภูมิ ประมาณ 180 ไร่ มีแผนจะทยอยนำมาสร้างมูลค่าเพิ่มผ่านการพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยในกลุ่มแนวราบต่อเนื่องได้ถึง 8 ปี หรือมีมูลค่าโครงการไม่ต่ำกว่า 5,000 ล้านบาท   ล่าสุด บริษัทฯได้นำที่ดิน 23 ไร่ มาพัฒนาโครงการ เซนส์ บางนา-สุวรรณภูมิ รูปแบบทาวน์โฮมและบ้านแฝด จำนวน 160 ยูนิต มูลค่าโครงการรวม 810 ล้านบาท แบ่งพัฒนาเป็น 4 เฟสๆละ 40 ยูนิต ราคาตั้งแต่ 4.99-6ล้านบาท ซึ่งในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2562 จะเปิดรอบวีไอพีก่อน   ส่วนแผนพัฒนาโครงการในปี 2563 จะพัฒนาโครงการอย่างน้อย 3 โครงการ รวมมูลค่า 2,600 ล้านบาท แบ่งเป็นโครงการทาวน์โฮม แบรนด์ สตอรี่ส์ จำนวน 200 ยูนิต โครงการบ้านเดี่ยว แบรนด์ วีรัณยา จำนวน 150 ยูนิต รวมทั้ง 2 โครงการมูลค่ากว่า 1,500 ล้านบาท และโครงการบริเวณสุขาภิบาล 2 ภายใต้แบรนด์ เพล็กซ์ ที่จะเปิดกลางปีหน้าจำนวจน 227 ยูนิต มูลค่ากว่า 1,100 ล้านบาท.        
LPN เริ่มโอนคอนโดฯ​ ในโปรเจ็กต์มิกซ์ยูสแห่งแรก

LPN เริ่มโอนคอนโดฯ​ ในโปรเจ็กต์มิกซ์ยูสแห่งแรก

LPN เริ่มโอนคอนโดฯ ในโครงการ “ลุมพินี พาร์ค วิภาวดี จตุจักร” โปรเจ็กต์มิกซ์ยูสมูลค่า 5,500 ล้าน แห่งแรกของบริษัท หลังกวาดยอดขายได้กว่า 90% พร้อมขนห้องชุดอีก 10% จัดโปรโมชั่นกระตุ้นยอดโค้งท้ายปี   จากสถานการณ์ตลาดอสังหาริมทรัพย์ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ส่อสัญญาณว่าตลาดคอนโดมิเนียม จะชะลอตัวลงเข้าสู่สภาวะถอดถอย แม้จะไม่ถึงขั้นกับฟองสบู่แตกเหมือนกับในอดีตก็ตาม แต่ราคาที่อยู่อาศัยปรับเพิ่มขึ้น จนทำให้คนส่วนใหญ่ของประเทศ ซื้อที่อยู่อาศัยได้ยากมากขึ้น  ส่งผลต่อบริษัท แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด(มหาชน) หรือ LPN ซึ่งเคยจับตลาดกลางลงล่างเป็นหลัก ต้องปรับตัวขนานใหญ่ สิ่งหนึ่งที่ LPN ปรับตัวอย่างชัดเจนในปีนี้ คือ การปรับพอร์ตธุรกิจไปสู่การพัฒนาโครงการที่สร้างรายได้ประจำ อย่างเช่นตลาดอาคารสำนักงาน  ภายใต้การพัฒนาโครงการในรูปแบบมิกซ์ยูส ซึ่งจึงได้เปิดตัวโครงการ “ลุมพินี พาร์ค วิภาวดี จตุจักร” มูลค่า 5,000 ล้านบาท ประกอบด้วยอาคารสำนักงานและอาคารชุดพักอาศัย จำนวน 4 อาคาร  ประกอบด้วย อาคารสำนักงาน 2 อาคาร และที่พักอาศัยอีก 2 อาคาร  บนที่ดินประมาณ​ 8 ไร่   สำหรับโครงการดังกล่าวถือเป็น 1 โครงการใน 8 โครงการที่เปิดตัวในปีนี้มูลค่า 7,700 ล้านบาท แบ่งเป็นโครงการคอนโดมิเนียมและสำนักงานให้เช่ารวม 4 โครงการมูลค่า 4,200 ล้านบาท และโครงการแนวราบ 4 โครงการมูลค่า 3,550 ล้านบาท   โดยโครงการ “ลุมพินี พาร์ค วิภาวดี จตุจักร” เตรียมจัดงานส่งมอบโครงการโครงการ “ลุมพินี พาร์ค วิภาวดี-จตุจักร” แก่ลูกค้า ในวันเสาร์ที่ 16 พฤศจิกายนนี้  จากที่ได้เริ่มส่งมอบมาตั้งแต่ช่วงต้นเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา ซึ่งโครงการสามารถทำยอดขายได้ 90 % ส่วนอีก 10% บริษัทได้จัดโปรโมชั่นส่งเสริมการขายสุดพิเศษ “One Price ราคาเดียว” ทุกยูนิต 2.19 ล้านบาท ขนาด 24 ตารางเมตร จำนวนจำกัดเพียง 20 ยูนิต เฉพาะชั้น 2,3,4 ฟรี! เฟอร์นิเจอร์ เครื่องปรับอากาศ และเครื่องทำน้ำอุ่น เมื่อโอนกรรมสิทธิ์ภายใน 18 ธันวาคมนี้ นายโอภาส ศรีพยัคฆ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการ เปิดเผยว่า  “ลุมพินี พาร์ค วิภาวดี จตุจักร” ออกแบบในลักษณะโครงการมิกซ์ยูส ถือเป็นโครงการแห่งแรกที่บริษัทพัฒนาขึ้น มูลค่ารวม 5,000 ล้านบาทภายใต้แนวคิด “Work & Life”  ภายในโครงการมีทั้งอาคารสำนักงานและอาคารชุดพักอาศัย จำนวน 4 อาคาร ประกอบด้วย อาคารสำนักงาน 2 อาคาร ตั้งอยู่ด้านหน้า อาคารจอดรถ 1 อาคาร และอาคารชุดพักอาศัย 1 อาคารตั้งอยู่ด้านหลัง   โดยอาคารสำนักงาน คือ “ลุมพินี ทาวเวอร์ วิภาวดี จตุจักร” เน้นการออกแบบและก่อสร้างให้ประหยัดพลังงาน ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสร้างสภาพแวดล้อมภายในอาคารที่ดี ทั้งยังจัดองค์ประกอบภายในโครงการให้เหมาะกับแคมเปญ “ความพอดีที่ดีกว่า” (The Better Balance) แนวทางการสร้างแบรนด์ของ LPN ที่ตกผลึกจากประสบการณ์ที่สั่งสมมากว่า 30 ปี ให้เจ้าของร่วมมีความพอดีกับการใช้ชีวิตจริงอันประกอบไปด้วย 3 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ 1. พอดีกับการออกแบบ 2. พอดีกับการใช้ชีวิตที่สะดวกสบายปลอดภัยมากกว่าที่เคย 3. พอดีกับบริการที่ลงตัวในทุกความใส่ใจ ภายใต้  กลยุทธ์ “ชุมชนน่าอยู่”   สำหรบรายละเอียดของคอนโดมิกซ์ ยูส  ประกอบด้วย จำนวน 4 อาคาร ได้แก่   ทาวเวอร์   A เป็นอาคารสำนักงาน สูง 21 ชั้น  จำนวน 105 ยูนิต ทาวเวอร์   B อาคารสำนักงาน สูง 17 ชั้น จำนวน 96 ยูนิต 1 ร้านค้า  ทาวเวอร์   C อาคารพักจอดรถ สูง 8 ชั้น จอดได้ 271 คัน 4 ร้านค้า และทาวเวอร์   D อาคารชุดพักอาศัย สูง 21 ชั้น จำนวน 736 ยูนิต      
สรุปข่าวอสังหาริมทรัพย์รอบสัปดาห์ วันที่ 4-10 พฤศจิกายน 2562

สรุปข่าวอสังหาริมทรัพย์รอบสัปดาห์ วันที่ 4-10 พฤศจิกายน 2562

นับตั้งแต่ต้นเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา วงการอสังหาริมทรัพย์ก็มีข่าวดี หลังจากรอคอยมาตรการกระตุ้นธุรกิจอสังหาฯ ด้วยการลดค่าธรรมเนียมจดทะเบียนการโอนจากเดิม 2% เหลือ 0.01% และลดค่าจดทะเบียนจดจำนองอสังหาริมทรัพย์จากเดิม 1% เหลือ 0.01% สำหรับการซื้อขายที่อยู่อาศัยที่ดินพร้อมอาคารหรือห้องชุด ราคาไม่เกิน 3 ล้านบาท ให้มีผลบังคับใช้เสียที หลังจากเดิมที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบมาก่อนหน้า  แต่ยังไม่ได้ระบุว่าจะให้มีผลเมื่อไร โดยมาตรการดังกล่าวได้ประกาศกระทรวงมหาดไทยในราชกิจจานุเบกษา ให้มีผลบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 2 พฤศจิกายน 2562 เป็นต้นไปจนถึงวันที่ 24 ธันวาคม 2563 ถือว่าเป็นข่าวดีที่รอคอย ซึ่งทำให้เกิดบรรยากาศความคึกคักมากขึ้น  และเป็นสัญญาณที่ดีต่อภาพรวมของตลาดอสังหาฯ เพราะดีเวลลอปเปอร์หลายราย เริ่มทำแคมเปญออกมารองรับ เพื่อสร้างยอดขายในช่วงเวลาสุดท้ายของปีนี้  แม้ระยะเวลาจะสร้างผลงานเหลือน้อยเต็มทีก็ตาม   ส่วนรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา มีความเคลื่อนไหวอะไรเกิดขึ้นบ้าง ในแวดวงอสังหาฯ​ ตลาดบ้านและคอนโดฯ  ไปอัพเดทกันเลย เปิดทรู ไอคอน ฮอลล์ 2,000 ล้าน หลังการเดินทางของ “ไอคอนสยาม” ศูนย์การค้าบิ๊กโปรเจ็กต์ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ครบรอบ 1 ปี  สิ่งต่างๆ ที่ได้ประกาศว่าจะดำเนินการออกมา ก็เป็นไปตามแผน ล่าสุด ได้เปิด “ทรู ไอคอน ฮอลล์” อย่างเป็นทางการ ซึ่งเป็นศูนย์การประชุมและการจัดแสดงงาน และความบันเทิงต่างๆ แห่งใหม่ของประเทศไทย บนพื้นที่ 12,000 ตารางเมตร ครอบคลุมพื้นที่ชั้น 7 และชั้น 8 ของโครงการไอคอนสยาม โดยถือเป็นศูนย์การประชุมที่ทันสมัยขนาดใหญ่แห่งแรกในพื้นที่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา   นายสุพจน์ ชัยวัฒน์ศิริกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไอคอนสยาม จำกัด เปิดเผยว่า ทรู ไอคอน ฮอลล์ ซึ่งเป็นหนึ่งใน 7 สิ่งมหัศจรรย์ของไอคอนสยาม คืออีกหนึ่งสถานที่ที่เป็นความภาคภูมิใจของชาติ และเป็นศูนย์การประชุม การจัดแสดงงานและความบันเทิงที่ล้ำสมัยที่สุดเท่าที่ประเทศไทยเคยมีมา ซึ่งจะดึงดูดงานประชุมและการแสดงที่สำคัญและเหนือระดับอย่างไม่เคยมีมาก่อน เข้าสู่ประเทศไทย โดยความโดดเด่นที่เป็นเอกลักษณ์ของ ทรู ไอคอน ฮอลล์ อยู่ที่ทัศนียภาพที่สวยงามอลังการแบบพาโนรามาของแม่น้ำเจ้าพระยา”   “การเปิดทรู ไอคอน ฮอลล์ จะเป็นตัวขับเคลื่อนที่ทรงพลังตัวใหม่ ที่มาช่วยกระตุ้นอุตสาหกรรมไมซ์ (Meetings, Incentives, Conventions & Exhibitions: MICE) ของไทยให้เติบโต รวมทั้งช่วยกระตุ้นการพัฒนาพื้นที่ฝั่งธนบุรีด้วย นอกจากนั้น ยังช่วยให้โรงแรมระดับ 4-5 ดาวริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยามีอัตราการเข้าพักสูงขึ้น ตอกย้ำความเป็นจุดหมายปลายทางระดับโลกแห่งใหม่ของแม่น้ำเจ้าพระยาได้เป็นอย่างดี”   กลุ่มทุนไต้หวันเดินหน้าลุยอสังหาฯ การเปิดตัวโครงการใหม่ ยังมีออกมาอย่างต่อเนื่อง และไม่ใช่เฉพาะผู้ประกอบการคนไทยเท่านั้น โครงการจากกลุ่มทุนต่างชาติก็มีออกมาต่อเนื่องเช่นกัน  เพราะยังคงมั่นใจในตลาดอสังหาฯ  เมืองไทย ล่าสุด กลุ่มทุนจากไต้หวัน ‘พีทีเอฟ เรียลตี้’ เปิดโครงการ  “MAYFAIR PLACE VICTORY MONUMENT ” มูลค่าโครงการ 1,200 ล้านบาท ด้วยการชูจุดขายในเรื่องการันตีผลตอบแทน Yield 5% นาน 2 ปี นายถงหยุ่ย โทนี่ ยิ่ง กรรมการผู้บริหาร บริษัท พีทีเอฟ เรียลตี้ (2018) จํากัด ในเครือ พีทีเอฟ เรียลตี้ เปิดเผยถึงภาพรวมตลาดอสังหาริมทรัพย์ในไทยว่า แม้ในปีนี้ตลาดจะอยู่ในภาวะชะลอตัวตามภาวะเศรษฐกิจ แต่ก็ยังเชื่อมั่นว่าในอนาคตจะกลับมาฟื้นตัวดีขึ้นในอีก 1-2 ปี ข้างหน้า ในขณะเดียวกันตลาดผู้บริโภคยังมีความต้องการซื้อที่อยู่อาศัย และประเทศไทยมีแนวโน้มการลงทุนที่ดี เมื่อเทียบกับหลายประเทศในภูมิภาคอาเซียนด้วยกัน   สำหรับในส่วนของกลุ่มบริษัทพีทีเอฟ เรียลตี้นั้น ได้มีการลงทุนในธุรกิจอสังหาฯมาอย่างต่อเนื่องตลอดกว่า 10 ปีที่เข้ามาดำเนินธุรกิจในประเทศไทย แต่การลงทุนพัฒนาอสังหาฯของบริษัทฯนั้นจะเป็นในลักษณะค่อยเป็นค่อยไป ไม่หวือหวาซึ่งก่อนหน้านี้ได้มีพัฒนาโครงการคอนโดมิเนียมมาแล้ว 4 โครงการรวมมูลค่ากว่า 5,400 ล้านบาท ประกอบด้วย โครงการคอนโด เดอะ ราชดำริ, โครงการเมแฟร์ เพลส สุขุมวิท 64 ,โครงการเมแฟร์ เพลส สุขุมวิท 50 โดยทั้ง 3 โครงการดังกล่าวปิดการขายเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ส่วนโครงการที่ 4 คือโครงการDEFINE by Mayfair สุขุมวิท 50 ปัจจุบันมียอดขายกว่า 60% จากมูลค่าโครงการ 800 ล้านบาท เริ่มก่อสร้าง ปี 2562 คาดว่าจะแล้วเสร็จปลายปี 2563 (อ่านข่าวเพิ่มเติม) เปิดตัว “สมาคมไทยบิม” รับมือดิจิทัล เป็นเพราะเทคโนโลยี และดิจิทัลได้เข้ามามีส่วนสำคัญในชีวิตของคนปัจจุบันในทุกเรื่อง ส่งผลให้ทุกวงการต้องปรับตัวรับมือให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว รวมถึงวงการก่อสร้างและอสังหาริมทรัพย์ไทยด้วย  โดยเฉพาะในเรื่องการออกแบบและการก่อสร้าง เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทสำคัญ  อย่างเช่นการออกแบบ 3 มิติ ที่ใช้คอมพิวเตอร์อย่าง “BIM” (Building Information Modeling) แต่เพื่อเป็นมาตรฐานและการยอมรับในระดับสากล จำเป็นต้องมีคนมาคอยตรวจสอบและกำกับดูแล ทำให้เกิดมีการจัดตั้งเป็นสมาคมแบบจำลองสารสนเทศอาคาร (TBIM) ขึ้นมา   ศ.ดร.อมร พิมานมาศ ศาสตราจารย์สาขาวิศวกรรมโยธา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในฐานะนายกสมาคมแบบจำลองสารสนเทศอาคาร (TBIM) เปิดเผยว่า ในอนาคตเทคโนโลยีจะเข้ามา Disrupt ธุรกิจก่อสร้างมากยิ่งขึ้น ทำให้อุตสาหกรรมก่อสร้างและงานออกแบบของไทยต้องเร่งพัฒนาศักยภาพและเพิ่มประสิทธิภาพด้านงานออกแบบรองรับเศรษฐกิจยุคไทยแลนด์ 4.0 เป็นการปฏิรูปหรือปฏิวัติอุตสาหกรรมก่อสร้างไทยโฉมใหม่ทั้งระบบ เพื่อสามารถแข่งขันกับต่างชาติได้ทุกรูปแบบและองค์กรเติบโตก้าวทันกระแสการพัฒนาของโลก   เนื่องจากธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ต่างชาติในปัจจุบันนี้กำลังเปลี่ยนโฉมงานออกแบบใหม่ไปสู่ระบบ 3 มิติ ด้วยการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า “BIM” (Building Information Modeling)  ซึ่งในขณะนี้กระบวนการ BIM ในประเทศไทย ยังไม่มีมาตรฐานการทำงานที่ชัดเจน จึงมีความจำเป็นที่จะต้องมีองค์กรกลาง คือ สมาคมแบบจำลองสารสนเทศอาคาร (Thai Building Information Modeling Association; TBIM) เพื่อช่วยสร้างกรอบการทำงาน และมาตรฐานให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน   โดยระบบ BIM จะสร้างแบบจำลองเสมือนจริงใน Computer ทำให้ผู้ทำงานเกี่ยวข้องสามารถเห็นส่วนประกอบทุกส่วนตรงกัน โดย BIM จะสร้างเป็นโมเดล 3 มิติขึ้นมาพร้อมกับ Intelligent Information อาทิ รายละเอียดวัสดุ เพื่อคำนวนปริมาณวัสดุก่อสร้าง ปรับปรุงกระบวนการออกแบบก่อสร้างและคำนวนพลังงานที่จะใช้ในอาคาร สร้างแบบจำลอง หรือ Digital Prototype Model ที่เสมือนจริง และเปลี่ยนจากการสร้างแบบบนกระดาษมาสู่เทคโนโลยีดิจิทัลและประสานข้อมูลบน Cloud สะดวกในการทำงานนอกสถานที่โดยสามารถใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อย่าง Tablet ได้อีกด้วย ซึ่งจะนำไปสู่การส่งมอบอาคารที่มีคุณภาพสูงขึ้นจากมาตรฐานของตลาดในปัจจุบัน (อ่านข่าวเพิ่มเติม)   เมืองไทยประกันชีวิต ลุยธุรกิจอสังหาฯ ดูเหมือนธุรกิจอสังหาฯ จะเป็นตลาดที่มีโอกาสสร้างผลตอบแทนเป็นที่น่าพอใจ ทำให้หลายคนอยากเข้ามาเป็นผู้ประกอกบการด้านอสังหาฯ ไม่เว้นแม้กระทั้งเมืองไทยประกันชีวิต ที่ได้กระโดดเข้ามาพัฒนาโครงการสำนักงานให้เช่า เพราะมองเห็นโอกาสจากความต้องการที่มีอยู่มากมาย ประกอบกับเคยมีประสบการณ์บริหารอาคารเมืองไทยภัทรมาก่อน ล่าสุด จึงเปิดตัวโครงการอาคารสำนักงาน 66 Tower (ซิคตี้ซิกส์ ทาวเวอร์)    นายสาระ ล่ำซำ กรรมการผู้จัดการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร  บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) หรือ MTL เปิดเผยว่า ได้ขยายธุรกิจมาสู่อสังหาริมทรัพย์  ด้วยการลงทุนพัฒนาโครงการอาคารสำนักงานเกรด A ภายใต้ชื่อ 66 Tower (ซิคตี้ซิกส์ ทาวเวอร์) มูลค่า 3,800 ล้านบาท บนเนื้อที่ 4 ไร่ อยู่บริเวณถนนสุขุมวิท 66 ห่างจากสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส อุดมสุข 150 เมตร ปัจจุบันได้ก่อสร้างแล้ว 15% มีกำหนดแล้วเสร็จในไตรมาส 2 ปี 2564 (อ่านข่าวเพิ่มเติม) “ASA” จัดงาน ASA Real Estate Forum 2019 ปิดท้ายกับการจัดงานอาษา เรียลเอสเตท ฟอรัม 2019 ( ASA Real Estate Forum 2019 ) โดยสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ (ASA) ภายใต้คอนเซ็ปต์งาน  “เมืองอัจฉริยะ เมืองนวัตกรรม เมืองเพื่อทุกคน” ชวนทุกภาคส่วนร่วมวางรากฐานสร้างเมืองอัจฉริยะเมืองนวัตกรรม ชูการสร้างเอกลักษณ์เมือง (City Identity) เน้นความต่างเป็นจุดขายเพื่อพัฒนาเมืองแห่งอนาคตที่ยั่งยืน   นายอัชชพล ดุสิตนานนท์ นายกสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ เปิดเผยว่า ในการสร้างเมืองอัจฉริยะและเมืองนวัตกรรมมีจุดมุ่งหมายเพื่อยกระดับคุณภาพของประชาชนอย่างตรงจุด โดยการนำเทคโนโลยีเข้าไปปรับใช้ พร้อมกับการออกแบบโครงสร้างอาคาร ที่อยู่อาศัยให้เกิดประโยชน์การใช้สอยอย่างเต็มประสิทธิภาพ และตอบสนองความต้องการของประชาชนในแต่ละพื้นที่ เนื่องจากในแต่ละพื้นที่ มีอาชีพและวิถีชีวิตที่ต่างกัน ในการพัฒนาเมืองอัจฉริยะและเมืองนวัตกรรม จึงต้องสร้างเมืองที่มีความโดดเด่นเฉพาะตัว (City Identity) กำหนดทิศทางที่ชัดเจนและสอดรับกับความต้องการในพื้นที่   โดยที่ผ่านมาภาครัฐได้มีการวางองค์ประกอบของเมืองอัจฉริยะใน 7 ด้าน ที่ช่วยให้แต่ละพื้นที่ มีทิศทางการพัฒนาที่ชัดเจนยิ่งขึ้น ประกอบด้วย 1. Smart Environment สิ่งแวดล้อมอัจฉริยะ 2. Smart Government การปกครองอัจฉริยะ 3. Smart Mobility การสัญจรอัจฉริยะ 4. Smart Energy พลังงานอัจฉริยะ 5. Smart Economy เศรษฐกิจอัจฉริยะ 6. Smart Living การใช้ชีวิตอัจฉริยะ และ 7. Smart People ประชาชนอัจฉริยะ   ภายในงานมีการถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ผ่านงานสัมมนา อาทิ สมาคมอสังหาริมทรัพย์ไทย สมาคมการผังเมืองไทย สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (DEPA) สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) อีกทั้งในการจัดงานครั้งนี้ยังได้รับเกียรติจาก นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี บรรยายในหัวข้อ อนาคตประเทศไทย อนาคตเมืองนวัตกรรมสำหรับทุกคน และนายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ อดีตรองนายกรัฐมนตรี บรรยายในหัวข้อ Thailand : Country of Opportunities & Equality    
เมืองไทยประกันชีวิตลุยธุรกิจอสังหาฯ ปั้นออฟฟิศเกรด A “66 Tower”

เมืองไทยประกันชีวิตลุยธุรกิจอสังหาฯ ปั้นออฟฟิศเกรด A “66 Tower”

เมืองไทยประกันชีวิต ลุยธุรกิจอสังหาฯ ปั้นออฟฟิศดิ้งเกรด A  “66 Tower” มูลค่า 3,800 ล้าน ย่านสุขุมวิท 66 รับดีมานด์สูง แต่ซัพพลายจำกัด มั่นใจหลังเปิดใช้มีผู้เช่าเต็ม 100% นายสาระ ล่ำซำ กรรมการผู้จัดการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร  บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) หรือ MTL เปิดเผยว่า ได้ขยายธุรกิจมาสู่อสังหาริมทรัพย์  ด้วยการลงทุนพัฒนาโครงการอาคารสำนักงานเกรด A ภายใต้ชื่อ 66 Tower (ซิคตี้ซิกส์ ทาวเวอร์) มูลค่า 3,800 ล้านบาท บนเนื้อที่ 4 ไร่ อยู่บริเวณถนนสุขุมวิท 66 ห่างจากสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส อุดมสุข 150 เมตร ปัจจุบันได้ก่อสร้างแล้ว 15% มีกำหนดแล้วเสร็จในไตรมาส 2 ปี 2564   “แม้ว่า MTL จะเป็นหน้าใหม่ในตลาดอสังหาฯ  แต่มีประสบการณ์ จากการเป็นเจ้าของอาคารเมืองไทยภัทรมากว่า 9 ปี ปัจจุบันมีอัตราเช่าพื้นที่ 90%” สำหรับอาคารซิกตี้ซิกส์ ทาวเวอร์ มีขนาดความสูง 28 ชั้น พื้นที่เช่า 30,000 ตารางเมตร แต่ละชั้นมีพื้นที่ประมาณ​1,200 ตารางเมตร สามารถเช่าเริ่มต้นได้ตั้งแต่ 100 ตารางเมตร ในราคาเริ่มต้นตารางเมตละ 850 บาทต่อเดือน ภายในอาคารยังจัดสรรเป็นพื้นที่ค้าปลีก 2 ชั้น ด้านนายนิธิพัฒน์ ทองพันธุ์ กรรมการบริหารและหัวหน้าแผนกพัฒนาธุรกิจ บริษัท ซีบีอาร์อี (ประเทศไทย) จำกัด หรือ CBRE กล่าวว่า ปัจจุบันพื้นที่สำนักงานในเขตกรุงเทพฯ มีจำนวน 8.9 ล้านตารางเมตร มีอัตราเช่าประมาณ​ 93%  มีอัตราค่าเช่าเฉลี่ยเดือนละ 600-700 บาทต่อตารางเมตร ซึ่งค่าเช่ามีอัตราการการปรับเพิ่มเฉลี่ย 5% ในระยะ 3 ปี ซึ่งตลาดอาคารสำนักงานถือว่ายังมีความต้องการสูง เนื่องจากปัจจุบันมีพื้นที่จำกัด อย่างไรก็ตาม ในตั้งแต่ช่วงปี 2565-2569 จะมีอาคารสำนักงานก่อสร้างแล้วเสร็จเพิ่มเข้ามาอย่างต่อเนื่องรวม 2 ล้านตารางเมตร หรือประมาณปีละ 400,000-500,000 ตารางเมตร ทำให้ปริมาณพื้นที่สำนักงานให้เช่ามีมากถึง 10.9 ล้านตารางเมตร ทำให้เกิดการแข่งขันสูงมากขึ้น  โดยเฉพาะพื้นที่ใจกลางเมือง ซึ่งการพัฒนาอาคารสำนักงาน  จะต้องมุ่งตอบโจทย์ความต้องการของผู้เช่า ที่ปัจจุบันพบว่ามีอัตราการใช้พื้นที่ต่อคนลดลง จากพนักงาน 1 คนใช้พื้นที่ 10 ตารางเมตร ลดลงเหลือ 6-7 ตารางเมตรต่อคน สำหรับเทรนด์ความต้องการพื้นที่สำนักงานในปัจจุบัน ซึ่งเป็นเทรนด์ของโลกที่เกิดขึ้นมา 4-5 ปีแล้ว และเริ่มเป็นเทรนด์เข้ามาในตลาดเมืองไทยช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา คือ การมุ่งตอบโจทย์หลัก 2 ข้อได้แก่ พื้นที่สำนักงานสามารถรักษาพนักงานที่มีความสามารถให้ทำงานกับองค์นั้นได้หรือไม่ และสามารถหาพนักงานที่มีความสามารถเข้ามาทำงานในองค์กรนั้นได้หรือไม่ “องค์ประกอบพื้นที่สำนักงานที่ผู้เช่าต้องการ คือ ที่ตั้งสำนักงาน การออกแบบพื้นที่ได้หลากหลาย การมีสิ่งอำนวยความสะดวก เช่น ห้องน้ำจำนวนมาก มีห้องประชุมส่วนกลางให้ใช้บริการ และมีร้านค้าต่างๆ” โดยพื้นที่สำนักงานเกรด A ในตั้งแต่บีทีเอส สถานีพระโขนง จนถึงบางนา มีเพียงอาคารภิรัชไบเทค ซึ่งมีพื้นที่รวม 32,000 ตารางเมตร มีอัตราเช่า 98% ในราคาเฉลี่ย 800-850 บาท ทำให้ในย่านดังกล่าวถือว่ามีปริมาณพื้นที่ของอาคารสำนักงานเกรด A น้อยกว่าความต้องการ ส่วนใหญ่จะเป็นอาคารสำนักงานเกรด B ที่มีอัตราเช่าเฉลี่ยประมาณ​ 700 บาท ทำให้เชื่อว่าเมื่ออาคารซิกตี้ซิกส์ ทาวเวอร์แล้วเสร็จภายใน 1 ปี จะมีอัตราการเช่าเต็ม 100% และก่อนอาคารก่อสร้างเสร็จน่าจะมีอัตราการจองไม่ต่ำกว่า 30%    
SC ลุยเปิด 5 โปรเจ็กต์ใหม่ กระตุ้นตลาดโค้งท้ายปี ’62

SC ลุยเปิด 5 โปรเจ็กต์ใหม่ กระตุ้นตลาดโค้งท้ายปี ’62

SC ลุยตลาดโค้งท้าย 2 เดือนสุดท้าย เปิดโครงการใหม่ 4โครงการ มูลค่ารวม 5,560  ล้าน พร้อมขน  34 โครงการ จัดแคมเปญใหญ่แห่งปี    นายอรรถพล สฤษฎิพันธาวาทย์ ประธานเจ้าหน้าที่ด้านสนับสนุนองค์กร บริษัท เอสซี แอสเสท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ในช่วง 2 เดือนสุดท้ายของปีนี้ ได้เตรียมเปิดโครงการใหม่ 5 โครงการ รวมมูลค่า 5,560  ล้านบาท โดยเป็นโครงการแนวราบ 1 โครงการ และโครงการคอนโดมิเนียมโลว์ไรส์อีก 1 โครงการ หลังจากช่วง 9 เดือนแรกที่ผ่านมา สามารถทำยอดขายกลุ่มบ้านเดี่ยวเติบโต 50% โดยเฉพาะบ้านระดับราคา  8-20 ล้านบาท   สำหรับโครงการแนวราบ ที่จะเปิดตัวประกอบด้วยบ้านเดี่ยว และทาวน์โฮม  มูลค่ารวม 3,860 ล้านบาท  ได้แก่ 1.โครงการเวนิวโฟลว์ พระราม 5 ใกล้รถไฟฟ้าสายสีม่วง สถานีแยกติวานนท์ และใกล้ทางด่วนศรีรัช – วงแหวนรอบนอก บนพื้นที่กว่า 18 ไร่ จำนวน 70 ยูนิต  ราคาเริ่มต้น 6.79 ล้านบาท   2.โครงการบางกอกบูเลอวาร์ด รามอินทรา-เสรีไทย 2  บนทำเลติดถนนใหญ่ เข้าออกได้ 2 ทาง คือ ถนนเสรีไทย และ เลียบวงแหวน-กาญจนา บนพื้นที่กว่า 24 ไร่ จำนวน 77 ยูนิต ราคาเริ่มต้น 12 ล้านบาท   3.โครงการบางกอกบูเลอวาร์ด ซิกเนเจอร์ ลาดพร้าว-เสรีไทย  บนถนนเสรีไทยใกล้กับนิด้า บนพื้นที่กว่า 30  ไร่ จำนวน 77 ยูนิต ราคาเริ่มต้น  ล้านบาท   4.โครงการเวิร์ฟเพชรเกษม ทาวน์โฮม 2 ชั้น หน้ากว้างเริ่ม 5.45 เมตร พร้อมกับรุ่นใหม่ดีไซน์หน้ากว้าง 7.9 เมตร ขนาด 4 ห้องนอน 3 ที่จอดรถ ทำเลเชื่อมต่อถนนสายหลักหลายสาย  ได้แก่ ถนน เพชรเกษม,ถนนเอกชัย ,พุทธมณฑล บนพื้นที่กว่า 16 ไร่ จำนวน 176 ยูนิต ราคาเริ่มต้น 2.99  ล้านบาท   ส่วนโครงการคอนโดฯ ได้เตรียมเปิดโครงการแชมเบอร์ส อ่อนนุช สเตชั่น (Chambers On Nut Station)  มูลค่า 1,700 ล้านบาท ที่ตั้งโครงการอยู่ห่างจาก BTS สถานีอ่อนนุช  เพียง 230 เมตร มีกำหนด เปิด Presale ให้ชมห้องและบรรยากาศพื้นที่ส่วนกลาง วันที่ 9-10 พฤศจิกายนนี้   นายอรรถพล  กล่าวอีกว่า เพื่อเป็นการกระตุ้นยอดขายช่วงโค้งท้ายปีนี้  บริษัทยังได้จัดแคมเปญใหญ่แห่งปี  ภายใต้แคมเปญ “SC DAY OMG ZERO DEAL” ระหว่าง วันที่ 9-10 พฤศจิกายนนี้ กับโปรโมชั่นในโครงการบ้านเดี่ยว ทาวน์โฮม โฮมออฟฟิศ และคอนโดฯ รวม 34 โครงการ มีราคาเริ่มต้น 2-50 ล้านบาท  
สรุปข่าวอสังหาฯ รอบสัปดาห์ วันที่ 21-27 ตุลาคม 2562

สรุปข่าวอสังหาฯ รอบสัปดาห์ วันที่ 21-27 ตุลาคม 2562

เข้าสู่ช่วงท้ายปลายเดือนตุลาคมแล้ว นับช่วงเวลาของปี 2562 ก็คงเหลือเพียง 2 เดือนเท่านั้น เรียกได้ว่าเป็นช่วงเวลานับถอยหลังของปีนี้แล้ว วันเวลาผ่านไปอย่างรวดเร็ว แต่สถานการณ์ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์  กลับไม่ได้ฟื้นตัวเร็วอย่างที่คาดคิดไว้เลย แต่ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาเรียกได้ว่า มีข่าวดีกับวงการธุรกิจอสังหาฯ  พอให้เป็นกำลังใจที่จะมาช่วยกระตุ้นตลาดให้ฟื้นตัวดีขึ้น ครม.ลดค่าโอน-จดจำนองเหลือ 0.01% ช่วงวันที่ 22 ตุลาคม 2562 คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้มีมติออกมาตรการกระตุ้นธุรกิจอสังหาริมทรัพย์  ด้วยมาตรการลดภาระภาษีเพื่อที่อยู่อาศัย ให้กับประชาชนทั่วไปที่มีความต้องการมีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเองในราคาซื้อขายไม่เกิน 3 ล้านบาท สำหรับซื้อที่อยู่อาศัยตั้งแต่วันที่ประกาศกระทรวงหาดไทยมีผลบังคับใช้  ยาวไปจนถึงวันที่ 24 ธันวาคม 2563   โดยมีการลดค่าธรรมเนียมจดทะเบียนการโอนจากเดิม 2% เหลือ 0.01% และลดค่าจดทะเบียนการจำนองจากเดิม 1% เหลือ 0.01% เฉพาะการซื้อขายที่อยู่อาศัยที่ดินพร้อมอาคารหรือห้องชุด ในราคาไม่เกิน 3 ล้านบาท และการจดทะเบียนการโอน และการจดจำนองอสังหาริมทรัพย์ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัย ต้องดำเนินการในคราวเดียวกัน "คิวบ์”เตรียมตัวเข้าตลาด การระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ถือเป็นการหาแหล่งเงินทุนได้ในต้นทุนที่ต่ำ หากเปรียบเทียบกับการระดมทุนในหลายแหล่งเงิน แถมยังทำให้ภาพลักษณ์ของบริษัทดูดีมากขึ้น หลายบริษัทจึงอยากเข้าไปจดทะเบียนแปลงสภาพกลายเป็นบริษัทมหาชน  บริษัท คิวบ์ เรียล พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด  ถือเป็นหนึ่งในหลายบริษัทที่มีเป้าหมายเดินหน้าไปสู่ความเป็น “มหาชน” นังตั้งแต่เริ่มต้นธุรกิจมาตั้งแต่ช่วงปี 2533   นายวิชิต  อำนวยรักษ์สกุล  ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร  บริษัท คิวบ์ เรียล พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด  เปิดเผยว่า ได้วางแผนนำบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เพื่อนำเงินมาต่อยอดธุรกิจและพัฒนาโครงการ โดยจะเพิ่มทุนจดทะเบียนเป็น 300 ล้านบาท  จากปัจจุบันบริษัทมีทุนจดทะเบียน 165 ล้านบาท   ซึ่งได้วางแนวทางการพัฒนาโครงการในแต่ละปีนั้น บริษัทกำหนดกรอบการพัฒนาไว้ 4-6 โครงการมูลค่าประมาณ​2,000-2,500 ล้านบาท แต่ละโครงการจะมีจำนวนยูนิตเฉลี่ย 300 ยูนิต มีมูลค่าโครงการประมาณ 600-700 ล้านบาท บริษัทไม่เน้นการพัฒนาโครงการขนาดใหญ่หลัก 1,000-2,000 ล้านบาท เนื่องจากเน้นกระจายความเสี่ยง และไม่ให้ธุรกิจมีความเสี่ยงมากเกินไป  โดยมุ่งเน้นการพัฒนาโครงการคอนโดฯ เป็นหลักด้วยสัดส่วน 80-85% (อ่านข่าวเพิ่มเติม) “สิงห์ เอสเตท” ส่ง SHR เข้าตลาด  แต่สำหรับบริษัท สิงห์ เอสเตท  จำกัด (มหาชน) ได้ส่งบริษัทในเครืออย่าง “เอส โฮเทล แอนด์ รีสอร์ท” เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เป็นที่เรียบร้อยแล้ว และพร้อมที่จะนำเสนอขายหุ้นสามัญต่อประชาชนเป็นครั้งแรก  (IPO) จำนวนไม่เกิน 1,473.456 ล้านหุ้น  กำหนดราคาขาย 5.10-5.50 บาทต่อหุ้น  โดยจะขายให้แก้ผู้ถือหุ้นของบริษัทเฉพาะกลุ่มที่มีสิทธิได้รับจัดสรรหุ้น ระหว่างวันที่ 28-30 ตุลาคม  และประชาชนทั่วไปในวันที่ 1-5 พฤศจิกายนนี้     นายนริศ เชยกลิ่น ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท สิงห์ เอสเตท จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ได้นำบริษัท เอส โฮเทล แอนด์ รีสอร์ท จำกัด (มหาชน) หรือ SHR ซึ่งดำเนินธุรกิจกลุ่มโรงแรมเตรียมขายหุ้น IPO ซึ่งนำเงินมาต่อยอดธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นการซื้อกิจการ การพัฒนาโครงการเอง หรือการรับบริหาร เนื่องจากเป็นธุรกิจที่มีศักยภาพเติบโตสูง  แต่บริษัทมีงบลงทุนค่อนข้างจำกัด   ปัจจุบัน SHR มีโรงแรมทั้งหมด 39 แห่ง ใน 5 ประเทศ ภายใต้ 7 แบรนด์ รวมจำนวนห้องพัก 4,647 ห้อง เป้าหมายภายในระยะ 5 ปี หรือปี 2568 จะเพิ่มจำนวนห้องเติบโตปีละ 15% หรืออย่างน้อย 2 เท่า นั่นหมายว่าจะมีจำนวนโรงแรมรวมอย่างน้อย 80 แห่ง หรือคิดเป็นจำนวนกว่า 9,000 ห้องเลย (อ่านข่าวเพิ่มเติม) BAM ได้ฤกษ์นับหนึ่ง IPO           บริษัทบริหารสินทรัพย์ กรุงเทพพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) หรือ BAM เป็นอีกหนึ่งบริษัทหลังจากที่บริษัทได้ยื่นแบบคำขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์และแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ (ไฟลิ่ง) ต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เพื่อขอเสนอขายหุ้นสามัญต่อประชาชน (IPO) ปัจจุบันสำนักงาน ก.ล.ต. ได้นับหนึ่งแบบคำขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์และแบบไฟลิ่งแล้วเมื่อวันที่ 23 ตุลาคม 2562 ที่ผ่านมา     นายสมพร มูลศรีแก้ว กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทบริหารสินทรัพย์ กรุงเทพพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) หรือ BAM เปิดเผยว่า เชื่อมั่นว่า BAM มีศักยภาพ และจุดแข็งของบริษัท ซึ่งเป็นบริษัทบริหารสินทรัพย์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของประเทศ  มีประสบการณ์ยาวนานกว่า 20 ปี มีแหล่งเงินทุนที่หลากหลาย ผลประกอบการที่แข็งแกร่ง โดยในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา บริษัทฯ มีกำไรสุทธิต่อเนื่องปีละกว่า 4,500 ล้านบาท มีสินทรัพย์เติบโตเฉลี่ย 7% ต่อปี มีเครือข่ายทั่วประเทศมากที่สุดรวม 26 แห่ง บริษัทจึงน่าจะเติบโตอย่างต่อเนื่อง (อ่านข่าวเพิ่มเติม) ศูนย์ข้อมูลฯ รายงานตลาดอสังหาฯ​ภาคเหนือ-ตะวันออก ปิดท้ายกับการจัดงานสัมมนาของศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) รายงานตลาดที่อยู่อาศัยอยู่ระหว่างการขายในช่วงครึ่งแรกปี 2562 ในพื้นที่ภาคเหนือ ได้แก่จังหวัดเชียงใหม่  เชียงรายตาก และพิษณุโลก โดยนับเฉพาะโครงการที่มีหน่วยเหลือขายไม่ต่ำกว่า 6 หน่วย พบว่า มีจำนวนโครงการที่ยังอยู่ระหว่างขาย 360 โครงการ มีจำนวนเหลือขาย 14,019 ยูนิต คิดเป็นมูลค่าเหลือขาย 49,997 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปี 2561 4.3%  11.1% และ 10.1% ตามลำดับ (ครึ่งแรกปี 2561 มี 345 โครงการ มีจำนวนยูนิตเหลือขาย12,616 ยูนิต มีมูลค่าเหลือขาย 45,402 ล้านบาท)   ดร.วิชัย วิรัตกพันธ์ ผู้ตรวจการธนาคารอาคารสงเคราะห์ และรักษาการผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ เปิดเผยว่า ส่วนรายงานสรุปผลการสำรวจตลาดอสังหาฯ ในพื้นที่ภาคตะวันออก ได้แก่จังหวัดชลบุรี  ระยองตาก และฉะเชิงเทรา มีจำนวนโครงการที่ยังอยู่ระหว่างขาย 1,062 โครงการ มีจำนวนเหลือขาย 62,060 ยูนิต  คิดเป็นมูลค่าเหลือขาย 200,136 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปี 2561 11.6% 12.2% และ 13.6% ตามลำดับ (ครึ่งแรกปี 2561 มี 952 โครงการ มีจำนวนหน่วยเหลือขาย 55,327 ยูนิต มีมูลค่าเหลือขาย 176,108 ล้านบาท)    
ดีเวลลอปเปอร์แห่งปิดพื้นที่สำนักงานเกรด A คาดอีก 5 ปีเพิ่มล้านตร.ม.

ดีเวลลอปเปอร์แห่งปิดพื้นที่สำนักงานเกรด A คาดอีก 5 ปีเพิ่มล้านตร.ม.

เน็กซัส เผยผลสำรวจ พื้นที่อาคารสำนักงานเกรด A ในกรุงเทพฯ เพิ่มขึ้น 200,000 ตารางเมตร จาก 5 อาคารใหญ่เปิดให้บริการ ขณะที่อีก 5 ปี มีอีก 10-13 อาคารเตรียมเปิด ส่งผลมีซัพพลายเพิ่มเข้าระบบอีก 1 ล้านตารางเมตร    นายธีระวิทย์ ลิ้มทองสกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท เน็กซัส เรียลเอสเตท แอทไวซอรี่ จำกัด เปิดเผยว่า ปริมาณพื้นที่สำนักงานเกรด A บริเวณกรุงเทพฯ ชั้นในและชั้นกลาง ตั้งแต่อดีตจนถึงไตรมาส 3 ของปี 2561 มีพื้นที่รวม 2.34 ล้านตารางเมตร และมีพื้นที่เพิ่มเข้ามาอีก 10% หรือประมาณ 200,000 ตารางเมตร  นับตั้งแต่ไตรมาส 3 ของปี 2561 จนถึงปัจจุบัน  จากพื้นที่ของ 5 อาคาร ซึ่งในระยะ 2 ปีข้างหน้าจะมีพื้นที่เปิดเพิ่มเข้ามาอีก 350,000 ตารางเมตร จากอาคารที่จะก่อสร้างแล้วเสร็จและเปิดให้บริการ ​      สำหรับอาคารสำนักงานเกรด A ที่เปิดตัวไปในช่วงเดือนตุลาคม 2561-กันยายน 2562 ที่ผ่านมา มีทั้งสิ้น 5 อาคาร ได้แก่ สิงห์ คอมเพล็กซ์ (Singha Complex), 101 แอท ทรู ดิจิทัล พาร์ค (101@True Digital Park), ที-วัน (T-ONE), เอ็มเอส สยาม (MS Siam) และสามย่านมิตรทาวน์ (Samyan Mitrtown) การเปิดตัวของทั้ง 5 โครงการ นับเป็นอาคารสำนักงานที่เข้ามาเติมเต็มความต้องการของผู้เช่า ทั้งเรื่องการเดินทาง และไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตในปัจจุบัน เนื่องจากทุกโครงการล้วนตั้งอยู่บนทำเลที่เป็นไข่แดง และศูนย์กลางแหล่งธุรกิจของกรุงเทพฯ และหลายอาคารยังมีทางเชื่อมต่อไปยังสถานีรถไฟฟ้าทั้ง BTS หรือ MRT ด้วย   การเพิ่มขึ้นของพื้นที่เช่าอาคารสำนักงานใหม่ ไม่ส่งผลต่ออัตราการเช่าของตลาดมากนัก โดยอัตราการเช่าลดลงเพียง 1% จาก 96% ในปีที่แล้ว เหลืออยู่ที่ 95% ในไตรมาสนี้  แสดงให้เห็นว่าความต้องการอาคารสำนักงานเกรด A ยังคงมีอยู่มาก ส่วนของราคาค่าเช่าเฉลี่ย พบว่า มีอัตราปรับเพิ่มขึ้นขึ้นถึง 7% มาอยู่ที่ 1,025 บาทต่อตารางเมตรต่อเดือน จากเดิมอยู่ที่ 960 บาทบาทตารางเมตรต่อเดือน เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว     ในอีก 2 ปีข้างหน้า คาดว่าจะมีอาคารสำนักเกรด A สร้างเสร็จและพร้อมเปิดใช้งานได้อีก 10 - 13 อาคาร อาทิ  เดอะ พาร์ค (The PARQ), สีลม เซ็นเตอร์ (Silom Center), สยาม สเคป (Siam Scape) และ โอ-เนส ทาวเวอร์ (O-NES Tower) ซึ่งอาคารเหล่านี้จะทำให้มีพื้นที่เช่าเข้ามาในตลาดเพิ่มขึ้นอีกเกือบ 350,000 ตารางเมตร  โดยคาดว่าพื้นที่เช่าอาคารสำนักงานเกรด  A จะเพิ่มมากขึ้นถึง 1 ล้านตารางเมตร ในอีก 5 ปีข้างหน้า     “จากข้อมูลทั้งหมดที่ทำการสำรวจมาสรุปได้ว่า ตลาดอาคารสำนักงานให้เช่าเกรด A ในกรุงเทพฯ ยังมีความต้องการอีกมาก การเข้ามาของซัพพลายใหม่ๆ ทำให้ตลาดมีสีสันมากยิ่งขึ้น หลังจากที่ตลาดอาคารสำนักงานให้เช่าเกรด A มีอยู่อย่างจำกัดมากว่า 20 ปีแล้ว นายธีระวิทย์ กล่าวเพิ่มว่า การพัฒนาโครงการเพื่อตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์  และความต้องการของผู้บริโภค ถือเป็นความท้าทายอย่างมาก เนื่องจากการพัฒนาโครงการนั้น คือการคิดสร้างวันนี้เพื่อขายพื้นที่วันหน้า โดยเฉพาะโครงการขนาดใหญ่ที่ต้องใช้เวลาอย่างน้อย 2 ปีในการพัฒนา จึงต้องอาศัยการมองตลาดที่เฉียบขาด  และทำเลทองของโครงการ     “การเปิดอาคารสำนักงานเพิ่มมากขึ้น ทำให้ผู้เช่ามีทางเลือกมากยิ่งขึ้น ทั้งทางเลือกด้านทำเล สิ่งอำนวยความสะดวก รวมไปถึงการให้บริการภายในอาคาร และยิ่งส่งผลดีอย่างมากกับกลุ่มผู้เช่าที่เป็นต่างชาติ (Multi-National Corporation หรือ MNC) เนื่องจากลูกค้ากลุ่มนี้ เป็นบริษัทข้ามชาติที่เข้ามาในไทย ซึ่งต้องคำนึงถึงภาพลักษณ์ที่ดีขององค์กร การเช่าอาคารสำนักงานเกรด A ใหม่ๆ ที่สวยงาม อยู่บนทำเลทอง จะเป็นการเสริมภาพลักษณ์ที่ดีให้กับลูกค้าหรือคู่ค้าของบริษัทนั้นๆ ได้เป็นอย่างดี  การเพิ่มขึ้นของซัพพลายใหม่อย่างรวดเร็วนี้ ส่งผลให้ตลาดตื่นตัวมากขึ้นและทำให้เจ้าของอาคารเดิม ต้องหันมาใส่ใจกับอาคารของตนเองให้มาก ซึ่งก็ถือเป็นกำไรของผู้บริโภคนั่นเอง”  
ถอดรหัส CPN กับตัวเลข “3-2-12-22” ตามแผนธุรกิจภายในปี 2565

ถอดรหัส CPN กับตัวเลข “3-2-12-22” ตามแผนธุรกิจภายในปี 2565

ในบรรดาดีเวลลอปเปอร์พัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์  ประเภทศูนย์การค้าซึ่งมีจำนวนพื้นที่บริหารมากสุด คงต้องยกให้กับ CPN หรือ บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) ที่ปัจจุบันมีพื้นที่บริหารอยู่กว่า 1.8 ล้านตารางเมตร จากจำนวนพื้นที่ศูนย์การค้าทั้งหมดในปีนี้ ซึ่งคาดว่ามีประมาณ 20.9 ล้านตารางเมตร    ความเคลื่อนไหวของตลาดศูนย์การค้าในปีนี้ มีจำนวนผู้เล่นหน้าใหม่เข้ามาเติมตลาดอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็น ศูนย์การค้าของกลุ่ม CPN เอง อย่างโครงการเซ็นทรัล วิลเลจ (รายละเอียดโครงการ) หรือโครงการของดีเวลลอปเปอร์รายอื่น อย่าง โครงการสามย่านมิตรทาวน์ (รายละเอียดโครงการ) โครงการวิสซ์ดอม 101 (รายละเอียดโครงการ) เป็นต้น ซึ่งประเมินกันว่า เฉพาะปีนี้พื้นที่ศูนย์การค้า จะมีเข้ามาเติมตลาดอีกกว่า 9 ล้านตารางเมตร   แม้จะมีคู่แข่งหน้าใหม่หรือหน้าเก่าเข้ามาในตลาด แต่ดูเหมือนว่า CPN ยังคงรักษาความเป็นผู้นำตลาดไว้ได้อย่างเหนียวแน่น แถมยังลงทุนต่อเนื่อง ไม่ว่าสภาพเศรษฐกิจหรือบ้านเมืองจะเป็นเช่นไร  โดยลงทุนทั้งในพื้นที่กรุงเทพฯ  ต่างจังหวัด และออกไปไกลในต่างประเทศ อย่างล่าสุด กับการเปิดตัวศูนย์การค้าเซ็นทรัลไอ-ซิตี้ (Central i-City) โครงการร่วมทุนระหว่าง CPN และไอ-เบอร์ฮาด เจ้าของโครงการ ไอ-ซิตี้ ด้วยงบลงทุนกว่า 8,500 ล้านบาท บนพื้นที่ 28 ไร่ พื้นที่โครงการ 278,000 ตารางเมตร   ส่วนภายในประเทศ CPN ได้ประกาศแผนธุรกิจ ภายในปี 2565 เตรียมพัฒนาและเปิดให้บริการ โครงการใหม่ รวมถึงการรีโนเวตโครงการเดิม ให้มีความทันสมัยและสอดคล้องกับความต้องการ ของกลุ่มลูกค้าในปัจจุบัน กับตัวเลขทางธุรกิจ “3-2-12-22” ซึ่งเป็นแผนธุรกิจที่จะดำเนินให้แล้วเสร็จ ภายในปี 2565     ถอดรหัสตัวเลข “3-2-12-22” ตามแผนธุรกิจภายในปี 2565   “3” = โปรเจ็กต์ใหม่ใน 3  ทำเล    CPN เตรียมยึดหัวหาดเมืองเศรษฐกิจใหม่ 3 แห่ง ได้แก่ จังหวัดอยุธยา  อำเภอศรีราชา และจันทบุรี สร้าง ‘Golden District’ ของจังหวัด ด้วย ‘โครงการมิกซ์ยูสรูปแบบใหม่’ ได้แก่   1.โครงการมิกซ์ยูส ‘เซ็นทรัลพลาซา อยุธยา’ พัฒนาภายใต้แนวคิด ความเรืองรองแห่งพระนครศรีอยุธยา เมืองอยุธยาถือเป็น strategic location เป็น ‘Hub ของภาคกลางตอนบน’ ครอบคลุมจังหวัดอ่างทอง สิงห์บุรี ชัยนาท สุพรรณบุรี ประชากรเกือบ 2.5 ล้านคน และยังเป็นเมืองอุตสาหกรรมสำคัญที่ต่อขยายจากกรุงเทพฯ   โครงการประกอบด้วย ศูนย์การค้า Tourist Attraction โรงแรม ที่พักอาศัย และคอนเวนชั่นฮอลล์ โครงการจะเปิดให้บริการไตรมาสที่ 2 ปี 2564   2.โครงการมิกซ์ยูส ‘เซ็นทรัลพลาซา ศรีราชา’ พัฒนาภายใต้แนวคิด Living Green in Smart City of EEC Center  โครงการที่ซีพีเอ็นลงทุนเสริมแผนภาครัฐในเมืองหลักภาคตะวันออก ผลักดันศรีราชาเป็นเมืองเศรษฐกิจใหม่ที่จะมีมูลค่าการลงทุนสูงที่สุดใน EEC ซึ่งจะเป็นการลงทุนที่คู่ขนานไปกับภาครัฐ เพื่อเชื่อมโยง กรุงเทพฯ - ชลบุรี – เพิ่มจิ๊กซอว์ ศรีราชา – บรรจบ ระยอง ให้ครบ โดยศรีราชาเป็นเมืองอุตสาหกรรม New S-Curve เมืองอุตสาหกรรมแห่งอนาคต และจะเป็น MICE Hub ของ EEC Center จึงต้องตอบโจทย์ด้วยศูนย์กลางการใช้ชีวิต   โครงการประกอบด้วย ศูนย์การค้า คอนเวนชั่นฮอลล์ เซอร์วิส อพาร์ทเมนต์ ออฟฟิศ และโรงแรมในอนาคต โดยเป็นครั้งแรกที่มีศูนย์การค้าแบบ Semi-Outdoor โมเดลเดียวกับเซ็นทรัลเฟสติวัล อีสต์วิลล์ นอกพื้นที่กรุงเทพฯ ในคอนเซ็ปต์ ‘Living Green in Smart City of EEC Center’ สร้าง Third Place ให้คนศรีราชาได้มาพักผ่อน   โดยที่นี่เป็นศูนย์การค้าฟอร์แมตใหม่แบบ Lifestyle Thematic Mall ที่แบ่งโซนร้านค้าตามไลฟ์สไตล์ของลูกค้า ตกแต่งเป็นธีมห้องต่างๆ ให้บรรยากาศเป็นกันเองเหมือนอยู่บ้าน พร้อมมี Outdoor walking street ที่ตกแต่งโดย integrate ธรรมชาติ บนพื้นที่ indoor และ outdoor ไว้ที่นี่ที่เดียว คาดว่าจะเปิดให้บริการในไตรมาสที่ 2 ปี 2564     3.โครงการมิกซ์ยูส ‘เซ็นทรัลพลาซา จันทบุรี’   เป็นการสร้างฟอร์แมทใหม่ ภายใต้แนวคิด The Shining Gem of EEC Plus 2  เป็นการเชื่อมต่อการพัฒนาตั้งแต่จังหวัดชลบุรีมาต่อเนื่องถึงจังหวัดจันทบุรี ซึ่งถือเป็นจังหวัดที่มีเศรษฐกิจเติบโตสูง เห็นได้จากยอดขายของห้างสรรพสินค้าโรบินสัน ซึ่งเป็นอันดับ 1 ในสาขานอกจังหวัดกรุงเทพฯ​ ส่วนรูปแบบโครงการอยู่ระหว่างการออกแบบ คาดว่าจะเปิดให้บริการในปี 2565   “2” = การปรับโฉมสาขาเดิมให้ทันสมัย เป็นการปลุกปั้น 2 ทำเลใหม่ -New Urbanised District ของกรุงเทพฯ ได้แก่ พระราม 2 และรามอินทรา   1.เซ็นทรัลพลาซา พระราม 2 ปรับสู่คอนเซ็ปต์ The Largest Regional mall - Gateway of South Bangkok  โดยเซ็นทรัลพลาซา พระราม 2 จะถูกพลิกโฉมยกเครื่องศูนย์ใหม่ทั้งหมด ทั้งด้านดีไซน์ การเพิ่มร้านค้าใหม่ๆ ปรับปรุงร้านค้าที่มีอยู่เดิม โดยธุรกิจต่างๆ ของกลุ่มเซ็นทรัล อาทิ ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล,TOPs, B2S ก็เตรียมปรับโฉมให้สอดคล้องกับศูนย์การค้าด้วย   ที่โดดเด่นที่สุดคือ จะมีการ re-create พื้นที่สีเขียวขนาดใหญ่ ชื่อว่า สวน Central Plearn Park ที่มีขนาดใหญ่ถึง 37 ไร่ ให้เป็นเหมือน The Oasis of South Bangkok ที่จะเป็นพื้นที่สำหรับครอบครัว  ซึ่งประกอบไปด้วย Food Garden &  Fashion Park, Kids Gym, Multi-sport recreation (ลู่วิ่ง, bike lane, ร้านค้าขายสินค้าแนวสปอร์ต) และเป็น Pet Community ที่มีทั้ง โรงพยาบาลสัตว์ Pet playground, Pet pool และ Pet Shop คาดว่าจะแล้วเสร็จในไตรมาสที่ 1 ปี 2565   2.เซ็นทรัลพลาซา รามอินทรา ภายใต้แนวคิด Living Lab of Ramindra กับการพลิกโฉมครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดในรอบ 26 ปี เพื่อรองรับกลุ่มประชากรและชุมชนที่ขยายตัวจากโครงการที่อยู่อาศัยต่างๆ เข้าไปพัฒนา รวมถึงการพัฒนาเส้นทางรถไฟฟ้าสายสี   โดยโครงการนี้จะเป็นคอมมูนิตี้มอลล์ใหม่ ที่เป็นเหมือน Third Place เช่นเดียวกับเซ็นทรัลพลาซา พระราม 3 เคยทำจนประสบความสำเร็จมาแล้ว โดยจะเป็นเดสติเนชั่นทั้งด้านอาหาร กีฬา Co-living Space รองรับทุกความต้องการ คาดว่าจะแล้วเสร็จในไตรมาสที่ 4 ปี 2564     “12” = โปรเจ็กต์เดิมเตรียมรีโนเวตเพื่อความทันสมัย   โดยในปี 2563 บริษัทฯ จะทำการปรับปรุงและขยายพื้นที่ศูนย์การค้าอีก 12 สาขาทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ได้แก่ เซ็นทรัลพลาซา พระราม 9, เซ็นทรัลเฟสติวัล อีสต์วิลล์, เซ็นทรัลพลาซา บางนา, เซ็นทรัลพลาซา แจ้งวัฒนะ, เซ็นทรัลพลาซา ขอนแก่น, เซ็นทรัลพลาซา อุดรธานี, เซ็นทรัลเฟสติวัล เชียงใหม่ และเซ็นทรัลพลาซา เชียงใหม่แอร์พอร์ต, เซ็นทรัลเฟสติวัล พัทยา บีช, เซ็นทรัล มารีนา พัทยา, เซ็นทรัลเฟสติวัล สมุย และเซ็นทรัลเฟสติวัล หาดใหญ่ ภายใต้งบประมาณ 5,000 ล้านบาท   “22” = เม็ดเงินลงทุงตามแผนธุรกิจมูลค่า 22,000 ล้าน   ตามแผนธุรกิจดังกล่าว บริษัทได้เตรียมงบประมาณไว้ทั้งสิ้น 22,000 ล้านบาท โดยแบ่งเป็น   โครงการมิกซ์ยูส ‘เซ็นทรัลพลาซา อยุธยา’ มูลค่า 6,200 ล้านบาท โครงการมิกซ์ยูส ‘เซ็นทรัลพลาซา ศรีราชา’  มูลค่า 4,200 ล้านบาท โครงการมิกซ์ยูส ‘เซ็นทรัลพลาซา จันทบุรี’  มูลค่า 3,500 ล้านบาท โครงการเซ็นทรัลพลาซา พระราม 2 มูลค่า 1,500 ล้านบาท โครงการเซ็นทรัลพลาซา รามอินทรา  มูลค่า 1.600 ล้านบาท การปรับปรุงโครงการเดิม 12 แห่ง มูลค่า 5,000 ล้านบาท   “ไม่ว่าภาวะเศรษฐกิจจะเป็นอย่างไร เราลงทุนต่อเนื่อง และลงทุนระยะยาวมาตลอด 39 ปี โดยพัฒนาสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ” นางสาววัลยา จิราธิวัฒน์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) หรือ CPN กล่าว  
5 เรื่องน่ารู้ของ AWC บิ๊กอสังหาฯ ตระกูล “สิริวัฒนภักดี” น้องใหม่ในตลาดหุ้นไทย

5 เรื่องน่ารู้ของ AWC บิ๊กอสังหาฯ ตระกูล “สิริวัฒนภักดี” น้องใหม่ในตลาดหุ้นไทย

ในวันที่ 10 ตุลาคม 2562 หุ้นของ  AWC  หรือ บริษัท แอสเสท เวิรด์ คอร์ป จำกัด(มหาชน) จะเริ่มเปิดการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) เป็นวันแรก ซึ่ง AWC ถือได้ว่าเป็นหุ้นไอพีโอมีมูลค่าสูงสุด หากคิดจากมูลค่าหลักทรัพย์ หรือ มาร์เก็ตแคป ตามราคาตลาด จากราคาไอพีโอ เท่ากับว่า AWC จะมีมูลค่ามาร์เก็ตแคปถึง 192,000 ล้านบาท    โดยการระดมทุนของ AWC ครั้งนี้ มีหุ้นจำนวน 8,000 ล้านหุ้น สัดส่วนไม่เกิน 25% ราคาหุ้นละ 6.00 บาท จึงเท่ากับว่ามีการระดมทุนรวมมูลค่า 48,000 ล้านบาท ซึ่งวัตถุประสงค์หลักของการระดมทุน จะนำเอาเงินไปในใช้เป็นเงินทุนในการเข้าซื้อกิจการ ใช้ในการลงทุนพัฒนา ปรับปรุงทรัพย์สินของบริษัท และนำเงินไปชำระหนี้เงินกู้ธนาคาร   AWC หลายคนอาจจะรู้จักว่าเป็นบริษัทในเครือทีซีซี (TCC Group) ของนายเจริญ สิริวัฒนภักดี เจ้าพ่อเบียร์ช้างและธุรกิจในมืออีกสารพัด  ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีทั่วประเทศ  สำหรับ AWC บริหารงานโดยลูกสาวของเสี่ยเจริญ คือ นางวัลลภา ไตรโสรัส ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ ซึ่ง AWC ถือเป็นหนึ่งบริษัทของกลุ่มทีซีซี ที่มีความน่าสนใจ จากธุรกิจในมือและการเติบโตมาอย่างต่อเนื่อง  และนี่ คือ 5 ข้อมูลที่น่าสนใจและทำความรู้จักกับบริษัท ก่อนจะเทรดหุ้นตัวนี้เข้าพอร์ต     1.จุดเริ่มต้นของบริษัท เกิดขึ้นตั้งแต่ปี 2519 ที่นายเจริญ และคุณหญิงวรรณา สิริวัฒนภักดี ได้ก่อตั้งกลุ่มบริษัททีซีซีขึ้น ก่อนจะจัดตั้งบริษัท เฟิร์สท์ เดสทิเนชั่น จำกัด ในปี 2552 ซึ่งเป็นหนึ่งบริษัทสำคัญของกลุ่มทีซีซี ก่อนจะเปลี่ยนชื่อบริษัทมาเป็น บริษัท แอสเสท เวิรด์ คอร์ป จำกัด ในช่วงเดือนตุลาคม 2559 หลังจากก่อนหน้าได้สะสมอสังหาริมทรัพย์เข้ามาไว้ในมือหลายโครงการ ไม่ว่าจะเป็นโรงแรม อาคารสำนักงาน และอสังหาริมทรัพย์เพื่อการพาณิชย์   2.AWC ถือเป็นหนึ่งใน 4 กลุ่มบริษัทขนาดใหญ่ ด้านธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในเครือทีซีซี ที่มุ่งเน้นการพัฒนาและบริหารโครงการอสังหาริมทรัพย์ ประเภทโรงแรม อาคารสำนักงาน และพื้นที่เชิงพาณิชย์ โดยจะไม่พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ประเภทที่อยู่อาศัย ซึ่งนอกจากการพัฒนาโครงการต่างๆ บนที่ดินทำเลศักยภาพแล้ว ยังมีแผนนำเอาอสังหาริมทรัพย์ในเครือทีซีซีเข้ามาเติมพอร์ตด้วย ปัจจุบันมีโครงการอสังหาริมทรัพย์มากกว่า 20 แห่งที่สามารถนำเอามาเข้ามาบริหารได้   3.AWC เป็นเจ้าของอาคารสำนักงานรายใหญ่ที่สุดในกรุงเทพฯ โดยมีพื้นที่เช่าสุทธิที่บริษัทเป็นเจ้าของรวมมากที่สุดถึง 270,594 ตารางเมตร (ข้อมูล ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2561) จากอาคาสำนักงานรวม 4 อาคาร ได้แก่ อาคาร 208 วายเลสโร้ด อาคารแอทธินี ทาวเวอร์ อาคารเอ็มไพร์ ทาวเวอน์​  และอาคารอินเตอร์ลิงค์ทาวเวอร์ รองลงมาเป็นกลุ่มเฟรเซอร์ ยูวี และโกลเด้นแลนด์ ที่มีรวมกัน 217,189 ตารางเมตร และอันดับ 3 เป็นของกลุ่มเซ็นทรัลที่มีพื้นที่รวม 211,999 ตารางเมตร   4.ปัจจุบัน AWC มีแบรนด์โรงแรมชั้นนำ อาทิ แมริออท,  อะ ลักซ์ชูรี คอลเล็คชั่น โฮเทล, โอกุระ, บันยันทรี, ฮิลตัน และเชอราตัน รวม 15 แห่ง โดยมีจำนวนห้องพัก 4,960 ห้อง แบ่งเป็นโรงแรมที่เปิดดำเนินการแล้วจำนวน 10 แห่ง มีจำนวนห้องพัก 3,432 ห้อง และโรงแรมที่อยู่ระหว่างการพัฒนาหรือมีแผนการในการพัฒนาจำนวน 5 แห่ง มีจำนวนห้องพัก 1,528 ห้อง ตามแผนธุรกิจในระยะ 5 ปีข้างหน้า จะซื้อและพัฒนาโรงแรมเข้ามาเติมพอร์ต ทำให้บริษัทมีห้องพักรวม 8,506 ห้อง ทำให้กลายเป็นกลุ่มธุรกิจที่มีจำนวนห้องพักโรงแรมในประเทศสูงสุด   โดยอสังหาริมทรัพย์ในกลุ่มธุรกิจโรงแรมและการบริการ ที่ทำสัญญาซื้อขายกับกลุ่มทีซีซีแล้ว และจะนำเข้ามาในอีก  6 เดือนข้างหน้า จำนวน  12 โครงการ เป็นโรงแรมที่เปิดดำเนินการในกรุงเทพฯ จำนวน 2 แห่ง ได้แก่ โรงแรม ฮอลิเดย์ อินน์ เอ็กซ์เพรส กรุงเทพ สาทร และ Bangkok Marriott Hotel The Surawongse  โรงแรมที่เปิดดำเนินการนอกกรุงเทพฯ จำนวน 2 แห่ง ได้แก่ Phuket Marriott Resort & Spa, Naiyang Beach และ Hua Hin Marriott Resort & Spa และโรงแรมที่อยู่ระหว่างการปรับปรุงหรือพัฒนา จำนวน 6 แห่ง นอกจากนี้ยังอสังหาริมทรัพย์มิกซ์ยูส (Mixed-Use Properties) ที่อยู่ระหว่างการปรับปรุงหรือพัฒนา จำนวน 2 แห่งด้วย     5.สำหรับกลุ่มธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เพื่อการพาณิชย์  บริษัทมีพื้นที่ให้เช่าสุทธิ 198,781 ตารางเมตรในเดือนมีนาคม 2562 ที่ผ่านมา จากโครงการที่เปิดดำเนินการแล้ว 9 แห่ง ได้แก่  1.เอเชียทีค เดอะ ริเวอร์ฟร้อนท์ 2.เกทเวย์ แอท บางซื่อ 3.พันธุ์ทิพย์ พลาซ่า ประตูน้ำ 4.พันธุ์ทิพย์ พลาซ่า งามวงศ์วาน 5.พันธุ์ทิพย์ พลาซ่า เชียงใหม่ 6.โอ.พี.เพลส แบงค็อก 7.ลาซาล อเวนิว 8.ตะวันนา บางกะปิ และ 9.เกทเวย์ เอกมัย ซึ่งเป็นโครงการภายใต้สัญญาบริหารโครงการ และบันทึกข้อตกลงปี 2562 เพื่อการข้าลงทุนในโครงการดังกล่าว (โดยมีพื้นที่เช่าสุทธิ 33,153 ตารางเมตร) และมีโครงการที่กำลังพัฒนาอยู่อีก 2 แห่ง   สำหรับผลประกอบการโดยรวมของ AWC ถือว่ามีอัตราการเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2559 มีรายได้รวม 9,411 ล้านบาท ปี 2560 มีรายได้รวม 11,208 ล้านบาท ปี 2561 มีรายได้รวม 12,416 ล้านบาท ส่วนช่วง 6 เดือนแรกของปี 2562 มีรายได้รวม 5,840.12 ล้านบาท   ถือเป็นหุ้นที่เข้ามาสร้างความคึกคักใหักับตลาดหุ้นไทยไม่น้อย แต่ในผลสุดท้ายราคาหุ้นจะเคลื่อนไหวไปในทิศทางใด  คงต้องติดตามดู แต่ที่แน่ๆ AWC จะเป็นอีกหนึ่งบิ๊กดีเวลลอปเปอร์ของไทย ที่พัฒนาโครงการออกมามากมาย เพราะทรัพย์สินของตระกูล "สิริวัฒนภักดี" มีอยู่ทั่วทุกมุมเมืองประเทศไทย   อ่านข่าวเกี่ยวข้องเพิ่มเติม -“เสี่ยเจริญ” จัดพอร์ตธุรกิจอสังหาฯ ส่ง AWC เข้าตลาด ลบภาพธุรกิจครอบครัวสู่มาตรฐานมืออาชีพ -AWC ไปต่ออย่างไร กับพอร์ต อสังหาฯ​ เพื่อการพาณิชย์ในมือ? -เคาะราคา IPO หุ้น AWC ของลูกสาวเสี่ยเจริญ เปิดขาย 6 บาท ทุบสถิติระดมทุนสูงสุด    
สรุปข่าวอสังหาฯ วันที่ 21-29 กันยายน 2562

สรุปข่าวอสังหาฯ วันที่ 21-29 กันยายน 2562

ไตรมาสที่ 4 กำลังมาถึงแล้ว นี่คือโค้งสุดท้ายที่บรรดาดีเวลลอปเปอร์จะทำตลาด เรียกยอดขายให้ได้ตามเป้าหมายที่ประกาศไว้ตั้งแต่ต้นปี  ไม่รู้ว่างานนี้จะทำได้กันหรือไม่ คงต้องรอลุ้น และคงต้องลุ้นกันอีกต่อว่า รัฐบาลจะมีมาตรการอะไรมากระตุ้นธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในช่วงปลายปีนี้อีกหรือเปล่า   แต่เชื่อว่าไม่ว่าจะมีมาตรการอะไรหรือไม่ ผู้ประกอบการก็คงต้องช่วยเหลือตัวเองกันอย่างเต็มที่  ส่วนรอบสัปดาห์ที่ผ่านมามีอะไรเกิดขึ้นบ้างในแวดวงธุรกิจอสังหาฯ  ไปสำรวจกันได้เลย   เสนาเดินหน้าแคมเปญ MADE FROM HER     เพราะมีความเป็น “ผู้หญิง” และต้องบริหารงาน ในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์  ที่โดยปกติแล้วน่าจะเป็นผู้ชาย ในการดูแล ทำให้  ผศ.ดร.เกษรา ธัญลักษณ์ภาคย์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เสนาดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) หรือ SENA ต้องสร้างความแตกต่างจากคู่แข่งร่วมอุตสาหกรรม ขณะเดียวกันก็ต้องตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าด้วย คอร์ปอเรตแคมเปญ “MADE FROM HER” จึงถูกนำมาใช้ต่อเนื่องจากปีที่ผ่านมา เพราะด้วยความเป็นผู้หญิง ก็ต้องเข้าใจกลุ่มลูกค้าที่เป็นผู้หญิงได้ดี ที่สำคัญการตัดสินใจส่วนใหญ่ในการเลือกซื้อที่อยู่อาศัย ผู้หญิงก็มักจะมีบทบาทสำคัญมากกว่าผู้ชายด้วย โดยเฉพาะในกลุ่มคู่รัก     ในปี 2562  ทางเสนาจึงสานต่อแคมเปญ MADE FROM HER ที่มีการเปิดตัวภาพยนตร์โฆษณาชุดใหม่ “The Real Developer”  พร้อมกับดีลสุดพิเศษแห่งปีในงาน “MADE FROM HER DAY พาเธอมาเจอดีลดี” จองเพียง 999 บาท กู้เต็ม ฟรีโอน พร้อมรับ Samsung Galaxy Note 10 กับกว่า 20 โครงการพร้อมอยู่ ตั้งแต่วันที่ 26 กันยายน - 20 ตุลาคมนี้ สำนักงานโครงการด้วย   สิงห์ เอสเตท ได้เวลาเก็บเกี่ยวรายได้     หลังบริษัท สิงห์ เอสเตท จำกัด (มหาชน) นำบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์  เมื่อ 5 ปีที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันบริษัทก็เติบโตมาอย่างต่อเนื่อง จนปีนี้ถือเป็นปีที่เริ่มเก็บเกี่ยวรายได้ จากธุรกิจต่างๆ พร้อมกับการจ่ายเงินปันผลในอัตราหุ้นละ 0.04 บาท นับได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นปีที่ดีของสิงห์ เอสเตท ซึ่งปีหน้ายังคงวางเป้าหมายการเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยคาดว่าจะสร้างรายได้ 20,000 ล้านบาท   นายนริศ เชยกลิ่น ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท สิงห์ เอสเตท จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ปีนี้เป็นปีแห่งการเก็บเกี่ยวรายได้ของ สิงห์ เอสเตท ทุกกลุ่มธุรกิจหลักมีการเติบโตและขยายตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มธุรกิจโรงแรมซึ่งมีรายได้ประจำจากการลงทุนในกิจการโรงแรม โดยการเข้าซื้อโรงแรม Outrigger 6 โรงแรมใน 4 ประเทศ และการเปิดตัว CROSSROADS นับเป็นโครงการลงทุนต่างประเทศที่ใหญ่ที่สุดของบริษัท ส่วนธุรกิจอาคารสำนักงานและพื้นที่ค้าปลีก ก็มีการเติบโตอย่างต่อเนื่องและมีความมั่นคงของรายได้ โดยเฉพาะโครงการสิงห์ คอมเพล็กซ์ บริเวณแยกอโศก-เพชรบุรี ได้รับการตอบรับจากผู้เช่าเกินความคาดหมายด้วยอัตราการเช่าพื้นที่กว่า 92%   บริษัทจึงมีแผนการพัฒนาโครงการมิกส์ยูสโครงการใหม่ ภายใต้ชื่อ “เอส โอเอสซิส” บนถนนวิภาวดี-รังสิต มูลค่า 3,695 ล้านบาท  ความสูง 36 ชั้น มีพื้นที่ให้เช่า (NLA) ประมาณ 53,000 ตารางเมตร แบ่งออกเป็นพื้นที่สำนักงาน และ พื้นที่ค้าปลีกบางส่วน ซึ่งจะใช้เวลาในการพัฒนาโครงการประมาณ 3 ปี โดยได้เริ่มการก่อสร้างในปีนี้ สำหรับแผนงานระยะยาวบริษัท คาดการณ์งบลงทุนในการขยายธุรกิจคอมเมอร์เชียลไว้ประมาณ 15,000 ล้านบาทสำหรับ 4 ปี (ระหว่างปี 2562-2566) ส่วนกลุ่มธุรกิจพัฒนาที่อยู่อาศัย มียอดขายที่รอรับรู้รายได้จากการโอน (Backlog) ของคอนโดมิเนียมมูลค่า 4,400 ล้านบาท จากโครงการ The ESSE Asoke และ The ESSE at SINGHA COMPLEX  (อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม)   รถไฟฟ้าปัจจัยบวกกระตุ้นตลาดอสังหาฯ       ต้องยอมรับว่า การพัฒนาระบบคมนาคม โดยเฉพาะเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีต่างๆ ทำให้ตลาดอสังหาฯ ขยายตัวไปตลอดสองข้างทางรถไฟฟ้า ซึ่งบริษัท เน็กซัส พรอพเพอร์ตี้ มาร์เก็ตติ้ง จำกัด  ได้เปิดบทวิเคราะห์ตลาดอสังหาฯ ไทย ว่า รถไฟฟ้าเปิดใช้หลายสถานี ส่งผลให้ที่ดินในย่านนั้นๆ มี Value และเกิดธุรกิจใหม่ๆ เพิ่มขึ้น แม้ว่าตลาดที่อยู่อาศัยในปีนี้  ยังอยู่ในภาวะทรงตัว  มาตรการ LTV ยังคงออกฤทธิ์ ส่งผลผู้ประกอบการเร่งปรับตัวครึ่งปีหลัง หลายค่ายปรับชะลอการเปิดตัวโครงการ และหันมาสนใจโครงการแนวราบมากยิ่งขึ้น    นางนลินรัตน์ เจริญสุพงษ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เน็กซัส พรอพเพอร์ตี้ มาร์เก็ตติ้ง จำกัด   เปิดเผยว่า จากการวิเคราะห์ข้อมูลตลาดอสังหาฯ ตั้งแต่ต้นปีเป็นต้นมาคาดว่า ในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2562 ตลาดยังคงอยู่ในภาวะทรงตัว  จากผลการวิจัยตลาดคอนโดฯ  ในกรุงเทพฯ  พบว่าในไตรมาสที่ 3 มีโครงการคอนโดฯ  เปิดใหม่ประมาณ 10,500 หน่วย และคาดว่าในช่วงที่เหลือของปีจะมีโครงการใหม่เปิดตัวอีกไม่เกิน 10,000 หน่วย   โดยพบว่ามีหลายโครงการที่เตรียมความพร้อมจะเปิดตัว แต่ยังชะลอดูว่าภาพรวมตลาดจะดีขึ้นหรือไม่ ในกรณีที่ภาพรวมตลาดยังดูทรง ๆ ก็มีแนวโน้มที่จะขยับแผนการเปิดไปเป็นปีหน้าแทน ส่งผลให้ยูนิตใหม่ทั้งปีมีไม่เกิน 45,000 ยูนิต ตั้งแต่ต้นปีที่บริษัทอสังหาฯ ริมทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์บอกว่า จะเปิดตัวโครงการอีก 290 โครงการ ทั้งคอนโดฯ และแนวราบ แต่ในความเป็นจริงพบว่า ขณะนี้การเปิดตัวโครงการใหม่ลดลง 30% แล้ว (อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม)   ศุภาลัย ปักหมุดโปรเจ็กต์ใหม่ทำเลท่าพระ-วงเวียนใหญ่     แม้ว่าตลาดคอนโดฯ ปีนี้จะชะลอตัว มีผู้ประกอบการบางราย เลื่อนการเปิดตัวโครงการไปในปีหน้าแทน  แต่จากปัจจัยการเปิดให้บริการสถานีรถไฟฟ้าส่วนต่อขยาย ในย่านฝั่งธน ก็กลายเป็นปัจจัยบวก ทำให้ผู้ประกอบการเดินหน้าเปิดตัว และพัฒนาโครงการคอนโดฯ​ ออกมาทำตลาดอย่างต่อเนื่อง ในทำเลที่มีศักยภพา อย่างเช่นทำเลย่านท่าพระ  ซึ่งบริษัท​ ศุภาลัย จำกัด (มหาชน) เลือกจะเปิดตัวโครงการใหม่ “ศุภาลัย ไลท์ ท่าพระ - วงเวียนใหญ่”    นายไตรเตชะ ตั้งมติธรรม กรรมการผู้จัดการ บริษัท ศุภาลัย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า สถานการณ์ตลาดอสังหาริมทรัพย์ย่านฝั่งธนบุรี ยังถือว่าเป็นตลาดที่มีผู้ประกอบการรายใหญ่เข้ามาลงทุนพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากปัจจัยสนับสนุนจากแผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของรัฐบาล และการเปิดให้บริการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย ช่วงหัวลำโพง - หลักสอง ที่เปิดให้บริการเต็มรูปแบบครบทุกสถานี  ทำให้การเดินทางเข้าสู่ศูนย์กลางธุรกิจได้อย่างสะดวกสบาย    (อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม)   ศูนย์ข้อมูลฯ เปิดเว็บรวมอสังหาฯ มือสอง     ตลาดบ้านมือสอง ถือว่าเป็นตลาดอสังหาฯ ที่มีบทบาทสำคัญต่อเศรษฐกิจไทย และประชาชนคนไทย ที่จะได้มีที่อยู่อาศัยในราคาที่ถูกลง เพราะปัจจุบันราคาอสังหาฯ ใหม่นับวันมีแต่แพงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากที่ดินหายากแถมมีราคาแพง แต่ปัจจุบันยังไม่มีหน่วยงานใด มาจัดเก็บข้อมูลของตลาดบ้านมือสองไว้ที่เดียวกัน โดยเฉพาะ  ทำให้ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์  ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ที่มีบทบาทสำคัญในการจัดทำข้อมูลอสังหาฯ ได้รับมอบหมายหน้าที่ในการเป็นตัวกลางรวบรวมข้อมูลบ้านมือสอง จากสถาบันการเงินเฉพาะกิจต่างๆ มาไว้ด้วยกัน ซึ่งได้เปิดเว็บไซต์ตลาดนัดบ้านมือสอง ให้ประชาชนได้ค้นหาบ้านมือสองจากหลายสถาบันการเงินภายในเว็บไซด์เดียว  โดยเปิดให้บริการตั้งแต่วันที่ 30 กันยายน 2562 เป็นต้นไป   ดร.วิชัย วิรัตกพันธ์ ผู้ตรวจการธนาคารอาคารสงเคราะห์ และรักษาการผู้อำนวยการ  ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ เปิดเผยว่า ศูนย์ข้อมูลฯ ได้รับมอบหมายจากธอส. ให้พัฒนาระบบฐานข้อมูลอสังหาฯ มือสอง เพื่อเป็นแหล่งข้อมูลให้กับประชาชนทั่วไปที่ต้องการที่อยู่อาศัยมือสอง และเพื่อเป็นสื่อกลางให้กับสถาบันการเงิน ผู้ประกอบการอสังหาฯ  และประชาชนทั่วไป  ซึ่งนอกจากจะทำให้เกิดสภาพคล่องของตลาดอสังหาฯ แล้ว ยังเป็นการสนับสนุนสินเชื่อ Reverse Mortgage ตามนโยบายภาครัฐ ในการยกระดับความเป็นอยู่ของผู้สูงอายุ และส่งผลต่อความต้องการอสังหาฯ ใหม่อีกด้วย (อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม)   ชนินทร์ ลิฟวิ่ง เดินหน้าขยายธุรกิจรีเทล     แม้ในภาพรวมตลาดอสังหาฯ  ปีนีอาจจะไม่เติบโตหวือหวา แต่สภาพตลาดยังถือว่าไปได้ ทำให้ธุรกิจที่เกี่ยวข้อง อย่างตลาดเฟอร์นิเจอร์ ยังคงเติบโตต่อเนื่องเช่นกัน ผู้ประกอบการแต่ละรายก็เดินหน้าทำตลาดสร้างการเติบโตให้กับบริษัทของตนเอง อย่างบริษัท ชนินทร์ ลิฟวิ่ง จำกัด ที่ดำเนินธุรกิจนำเข้าเฟอร์นิเจอร์ลักชัวรี่จากต่างประเทศ มานาน 25 ปี ก็วางแผนขยายธุรกิจ ด้วยการขยายพื้นที่รีเทล โดยเตรียมเปิดโชว์รูมขนาดใหญ่กว่า 1,000 ตารางเมตรถึง 2 แห่ง ได้แก่ CHANINTR HOME (ชนินทร์ โฮม) ในซอยทองหล่อ นำเสนอเฟอร์นิเจอร์ ของแต่งบ้าน และสินค้าไลฟ์สไตล์ ซึ่งคัดสรรมาเป็นพิเศษ รวมถึงเป็นที่ตั้งของโชว์รูม Waterworks (วอเตอร์เวิร์คส์) แบรนด์สุขภัณฑ์นำเข้าจากสหรัฐอเมริกา แห่งแรกในเอเชีย และ CHANINTR CAFE (ชนินทร์ คาเฟ่) สาขาแรก   นายชนินทร์ สิริสันต์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ชนินทร์ ลิฟวิ่ง จำกัด  กล่าวว่า บริษัทยังเปิดโชว์รูม CHANINTR OFFICE (ชนินทร์ ออฟฟิศ) ตั้งอยู่ที่โครงการ Warehouse 26 ในซอยสุขุมวิท 26 นำเสนอไอเดียและเฟอร์นิเจอร์สำนักงาน จากแบรนชั้นนำต่างๆ อาทิ Herman Miller, Emeco, Ethnicraft และ Walter Knoll ซึ่งจะมีคอฟฟี่บาร์แห่งแรกของชนินทร์อยู่ด้วย นอกจากนี้บริษัทฯขยายพอร์ตแบรนด์เฟอร์นิเจอร์ ในกลุ่มธุรกิจเฟอร์นิเจอร์ที่มีอยู่เดิม พร้อมทั้งต่อยอดธุรกิจด้านการบริการให้ครอบคลุม มากยิ่งขึ้น บริษัทเชื่อว่าโปรเจคใหม่ๆเหล่านี้จะช่วยส่งเสริมการเติบโตของบริษัททั้งในด้าน ผลประกอบการและสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น ภายใต้คอนเซ็ปต์ “Living Well” หรือปรัชญาที่มุ่งเน้น “การใช้ชีวิตอย่างสมบูรณ์” ให้แก่ลูกค้า โดยการให้ความสำคัญกับชิ้นงานคุณภาพและการให้บริการอย่างมืออาชีพ ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญ และเป็นความโดดเด่นของชนินทร์ ที่ต่างจากคู่แข่งในการดำเนินธุรกิจมาอย่างต่อเนื่อง   เอสเทลล่าฯ​จับมือแอสโฟร์ ลุยตลาดโคมไฟ คริสตัล     นอกจากผู้ประกอบธุรกิจเฟอร์นิเจอร์จะขยายตลาดอย่างต่อเนื่องแล้ว  ธุรกิจโคมไฟก็ยังคงขยายตลาดเช่นกัน โดย เอสเทลล่า เพรสทิจ   จับมือ แอสโฟร์ จากอียิปต์ นำเข้าโคมไฟคริสตัล บุกตลาดไทย โดยเตรียมงบ 10 ล้านบาท เพื่อเปิดร้านสาขาแรก ที่ศูนย์การค้าเซ็นทรัลอีสวิลล์ ภายใต้ชื่อแบรนด์แอสโฟร์   นายมานพ เหลืองกังวานกิจ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอสเทลล่า เพรสทิจ จำกัด เปิดเผยว่า  ตลาดโคมไฟ คริสตัล ในประเทศไทย เป็นตลาดค่อนข้างเล็ก แต่มีแนวโน้มการเติบโตเพิ่มมากขึ้นเพราะกลุ่มลูกค้าหลัก  เป็นกลุ่มที่มีบ้านใหม่ระดับราคา 30-50 ล้านบาท สัดส่วนมากถึง 80%  และอีก 20% เป็นกลุ่มลูกค้าโครงการอสังหาริมทรัพย์  ซึ่งมียอดขายปีละ 100 ล้านบาท  ซึ่งคาดว่าในปีนี้จะเติบโตขึ้นอีก 20-30% แม้จะได้รับผลกระทบจากปัญหาเศรษฐกิจบ้างก็ตาม แต่กลุ่มลูกค้าระดับบนยังมีกำลังซื้อ (อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม)  
สรุปข่าวรอบสัปดาห์ วันที่ 14-22 กันยายน 2562

สรุปข่าวรอบสัปดาห์ วันที่ 14-22 กันยายน 2562

เหลือเวลาไม่อีกกี่วันเดือนกันยายนก็จะผ่านพ้นไป และเป็นการก้าวเข้าสู่ไตรมาสสุดท้ายของปีนี้แล้ว วันเวลาผ่านไปเร็วมาก ฤดูกาลสุดท้ายในการทำธุรกิจและเร่งยอดขาย คงเหลือเวลาอีกแค่ 3 เดือน เพื่อพิชิตเป้าหมายให้ได้ตามที่ได้ประกาศไว้ตั้งแต่ต้นปี บรรยากาศธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ก็น่าจะคึกคักมากขึ้นกว่าที่ผ่านมา ช่วงรอบสัปดาห์ของวันที่ 14-22 กันยายน 2562 ที่ผ่านมา กิจกรรมของดีเวลลอปเปอร์ก็มีออกมาอย่างต่อเนื่อง ใครทำอะไร ที่ไหน อย่างไร ติดตามกันได้... พฤกษา เปิดคอนโดใหม่ ไลฟ์สไตล์สุขุมวิท The Privacy S101   “พฤกษา” ถือเป็นเจ้าตลาดบ้านและคอนโดมิเนียม ที่เปิดตัวโครงการใหม่ออกมาอย่างต่อเนื่อง ล่าสุด เปิดตัวคอนโดมิเนียมโครงการใหม่ The Privacy S101 (เดอะไพรเวซี่ สุขุมวิท 101) มูลค่าโครงการ 1,100 ล้านบาท  เป็นคอนโดมิเนียมโลว์ไรส์ 8 ชั้น จำนวน 2 อาคารที่เชื่อมต่อถึงกัน บนพื้นที่ประมาณ 3 ไร่ จำนวน 394 ยูนิต  เป็นแบบตกแต่งครบ (Fully Furnished) มีให้เลือก 3 รูปแบบคือ แบบ 1 Bedroom ขนาด 26-29 ตารางเมตร แบบ 1 Bedroom Plus ขนาด 35 ตารางเมตร และ Combined Unit ขนาด 55 ตารางเมตร   นายปิยะ ประยงค์  ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจพฤกษา เรียลเอสเตท - แวลู บริษัท พฤกษา เรียลเอสเตท จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า โครงการดังกล่าวพัฒนา ภายใต้แนวคิด “Live SUKhumvit Moment” ซึ่งมาจากที่ตั้งโครงการ ที่อยู่ในซอยสุขุมวิท 101 เพียง 450 เมตรถึงรถไฟฟ้าสถานีปุณณวิถี เชื่อมต่อ Skywalk ถึง ทรูดิจิทัลพาร์ค โครงการเป็นห้องชุดตกแต่งครบราคาเริ่มต้นเพียง 2.49 ล้านบาท หรือราคาเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 100,000 บาทต่อตารางเมตร   ดีแลนด์ฯ จับมือ “วราภรณ์ ซาลาเปา-ชาตรามือ” เปิดไดร์ฟทรูแห่งแรก   หลังจากบริษัท ดี-แลนด์ พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด ได้เปิดตัวคอมมูนิตี้มอลภายใต้แบรนด์ “พอร์โต้ โก” (Porto Go) ไปเมื่อ 7 ปีที่แล้ว กับทำเลบางปะอิน ตั้งอยู่บนถนนสายเอเชีย กิโลเมตรที่ 4 ฝั่งขาออกจากกรุงเทพฯ ที่อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในชื่อ “พอร์โต้ โก บางปะอิน” และประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี จึงเดินพัฒนาโครงการที่ 2   นายสุเทพ ปัญญาสาคร กรรมการผู้จัดการ บริษัท ดี-แลนด์ พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด เปิดเผยว่า ได้ทุ่มงบประมาณ 400 ล้านบาท พัฒนาโครงการ “พอร์โต้ โก ท่าจีน” บนพื้นที่  23 ไร่  ตำบลบางโทรัด อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร ก่อนถึงวัดเกตุมวดีศรีวราราม  เจาะกลุ่มนักเดินทางบนถนนพระราม 2 ซึ่งมีปริมาณการจราจร เฉลี่ยสูงถึงวันละ 120,000 คัน เพื่อสร้างประสบการณ์และความสะดวกสบาย  ไม่ว่าจะเป็นห้องน้ำติดแอร์พร้อมระบบสุขภัณฑ์แบบไร้การสัมผัส สถานีบริการน้ำมัน ร้านค้า ร้านอาหารมากถึง 30 ร้าน บริการชาร์จไฟฟ้ารถยนต์ และที่จอดรถมากกว่า 200 คัน พร้อมที่จอดรถทัวร์  คาดว่าจะสร้างเสร็จสมบูรณ์และเปิดให้บริการได้เต็ม รูปแบบภายในต้นปี 2563   บริษัทยังได้ดึงพันธมิตรทางธุรกิจที่พร้อมจะขยายธุรกิจในรูปแบบไดร์ฟทรูและรูปแบบใหม่ๆ ที่จะ เกิดขึ้นในอนาคตเข้าร่วม ซึ่งปัจจุบันโครงการ “พอร์โต้ โก ท่าจีน” มีพันธมิตร ทั้ง Starbucks และ KFC เปิดให้ บริการไดร์ฟทรู จนถึง 4 ทุ่มทุกวันแล้ว อีกทั้ง วราภรณ์ ซาลาเปา และ ชาตรามือ สองแบรนด์ดังสัญชาติไทย ได้เตรียมเปิดไดร์ฟทรูเป็นสาขาแรกในประเทศไทยในวันที่ 27 กันยายน และ 10 ตุลาคมนี้ ในส่วนสถานีบริการน้ำมัน ได้จับมือกับบริษัท เชฟรอน (ไทย) จำกัด ในการเปิดสถานีบริการน้ำมันคาลเท็กซ์ ซึ่งจะเป็นสาขาที่ 3 บนถนนพระราม 2 เปิดให้บริการในเดือนพฤศจิกายนนี้ (อ่านข่าวเพิ่มเติม) ฮาบิแทท กรุ๊ป ชู 4 จุดแข็ง ไลฟ์สไตล์อินเวสเม้นท์ ธุรกิจอสังหาฯ แม้ว่าตลาดโดยรวมจะชะลอตัว โดยเฉพาะมาตรการ LTV ที่ออกมา ส่งผลกระทบให้กำลังซื้อของกลุ่มลูกค้าบางส่วนหายไป  แต่สำหรับกลุ่มนักลงทุนที่ยังมีกำลังซื้อก็ยังคงมีอยู่ในตลาด ถ้าสินค้าใช่ ทำกำไรตอบโจทย์พวกเขาได้ กลุ่มฮาบิแทท จึงยังคงเดินหน้าจับตลาดกลุ่มนักลงทุนที่มองหาโอกาสทางการตลาดและผลตอบแทนจากธุรกิจอสังหาฯ อย่างต่อเนื่อง   นายชนินทร์ วานิชวงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ฮาบิแทท กรุ๊ป จำกัด เปิดเผยว่า แนวโน้มธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ยังคงมีอัตราการเติบโตที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอสังหาฯ เพื่อการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนอย่างคุ้มค่า ตอบโจทย์วิถีชีวิตของคนรุ่นใหม่ หรือ “ไลฟ์สไตล์ อินเวสเม้นท์” (Lifestyle Investment) ซึ่งเป็นแนวทางที่บริษัท มุ่งมั่นดำเนินธุรกิจเป็นผู้นำทางการตลาด และวันนี้พร้อมก้าวไปอีกขั้นด้วยการประกาศวิสัยทัศน์เพื่อก้าวสู่ “THE CREATOR OF LIFESTYLE INVESTMENT” ซึ่งเป็นการสร้างมาตรฐานใหม่ในตลาดอสังหาฯเพื่อการลงทุน ที่ไม่ใช่แค่พัฒนาโปรดักส์และการให้บริการเท่านั้น แต่ยังเป็นการมอบความคุ้มค่าในการลงทุน ภายใต้แนวคิด Invest Remarkably, Live Extraordinary   ทั้งนี้ ฮาบิแทท กรุ๊ป มีความมุ่งมั่นที่จะก้าวสู่ “THE CREATOR of LIFESTYLE INVESTMENT” เพื่อตอกย้ำความเป็นผู้นำในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนในรูปแบบไลฟ์สไตล์ อินเวสเม้นท์ ผ่านจุดเด่นที่แตกต่าง 4 ด้านสู่ความสำเร็จ ได้แก่ 1.UNBREAKABLE CHALLENGER ทีมงานที่มีความมุ่งมั่น และไม่หยุดแสวงหาสิ่งที่ดีที่สุดเพื่อลูกค้า มองไปข้างหน้าเพื่อพัฒนาสินค้าและบริการที่ตอบโจทย์การใช้ชีวิตและการลงทุนที่คุ้มค่าในอนาคต 2.REALISTIC OPTIMIST เตรียมพร้อมรับมือกับความท้าทายในอนาคต ด้วยการยึดถือความเป็นจริงเป็นหลัก และสร้างโอกาสความเป็นไปได้อยู่เสมอ โดยไม่หวั่นไหวกับปัญาหาและอุปสรรคใดๆ 3.SERVICE INNOVATOR มุ่งสร้างสรรค์นวัตกรรมบริการ สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว เพื่อยกระดับสู่การเป็นผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่ล้ำหน้าอยู่เสมอ 4.ZENITH OF VISIONARIES มุ่งศึกษาค้นคว้าและเรียนรู้ถึงพฤิตกรรมของลูกค้าในประเทศและต่างประเทศ เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าให้ได้มากที่สุด สอดรับกับการขยายตัวของตลาดโลก   เอสบี ปรับลุคสาขา CDC ใหม่ เป็น Flagship Store ครบวงจร ไม่เพียงแต่ธุรกิจอสังหาฯ  ต้องปรับตัวเพื่อสร้างการเติบโตให้ได้ตามเป้าหมายเท่านั้น แต่ธุรกิจเฟอร์นิเจอร์เองก็ต้องปรับตัวเช่นกัน เพราะคู่แข่งในตลาดเยอะมาก แถมการแข่งขันก็สูงจากสงครามราคา แต่ละแบรนด์จึงต้องสร้างความแตกต่าง และเพิ่มความหลากหลายในสินค้าเพื่อเป็นทางเลือกกับลูกค้ามากที่สุด   นางธัญญรักข์ ชวาลดิฐ กรรมการบริหาร กลุ่มบริษัท เอสบี เฟอร์นิเจอร์ เปิดเผยว่า ได้ทุ่มงบประมาณกว่า 200 ล้านบาท ขยายพื้นที่ เอสบี ดีไซน์สแควร์ สาขา คริสตัล ดีไซน์เซ็นเตอร์ (CDC) เพิ่มจาก 10,000 ตาราเมตร เป็น 15,000 ตารางเมตร พร้อมปรับโฉมใหม่ให้เป็น Flagship Store  ครบวงจร ภายใต้คอนเซ็ปต์ “The New Era of Luxe Design Home Decorations” เนื่องจากเป็นสาขาที่เปิดให้บริการมานานนับ 10 ปี  ซึ่งมีสินค้าตกแต่งบ้านใหม่ๆ แบรนด์ชั้นนำจากต่างประเทศเข้ามาจำหน่ายมาเพิ่มมากขึ้น  แต่พื้นที่มีจำกัดจึงจำเป็นต้องขยายพื้นที่รองรับ นอกจากการขยายพื้นที่ให้บริการแล้ว  ยังมีการเปิดตัว Zelection Built-in ซึ่งเป็นแบรนด์ของกลุ่มสินค้าบิลท์อิน และได้เปิดตัว SB Designer Club Workspace ซึ่งจะเป็น Hub แห่งแรกของเหล่าอินทีเรียดีไซเนอร์เฉพาะที่เป็นสมาชิก “SB Designer Club” เท่านั้น โดยการจัดเตรียมสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ มากมายไม่ว่าจะเป็น Meeting Rooms, Smart TV, Free WIFI, Pointer, Bluetooth Speaker, F&B Special Pack (อ่านข่าวเพิ่มเติม) “ออริจิ้น” ร่วมทุน “กลุ่มดุสิตธานี” ปั้นคอนโดไฮเอนด์ การทำธุรกิจในยุคนี้ บางครั้งก็ต้องมีเพื่อนทางธุรกิจ เพื่อสร้างการเติบโตร่วมกัน แบบว่าใช้จุดเด่นของแต่ละบริษัทมาทำให้เกิดความแข็งแกร่งมากยิ่งขึ้น ดีกว่าจะมาแข่งขันกันเอง ลุ่ดกลุ่มออริจิ้นจึงจับมือกับกลุ่มดุสิตธานี พัฒนาโครงการร่วมกัน   นายพีระพงศ์ จรูญเอก ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) หรือ ORI เปิดเผยว่า ได้จับมือกับบริษัท ดุสิตธานี จำกัด (มหาชน) หรือ DTC ร่วมกันครั้งแรกในสัดส่วน 51% ต่อ 49% เพื่อพัฒนาโครงการร่วมทุน (Joint Venture Project) ภายใต้ชื่อ “เดอะ แฮมป์ตัน ศรีราชา บาย ออริจิ้น แอนด์ ดุสิต” (The Hampton Sriracha by Origin and Dusit) เป็นโครงการคอนโดมิเนียมระดับไฮเอนด์ 26 ชั้น 1 อาคาร แบ่งเป็นยูนิตพักอาศัย 468 ยูนิต และยูนิตเพื่อการพาณิชย์ 3 ยูนิต บริเวณตรงข้ามตึกคอม ใจกลาง ศรีราชา มูลค่าโครงการประมาณ 1,400 ล้านบาท   เนื่องจากมองว่าพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC มีศักยภาพการเติบโต เนื่องจากมีทั้งเมกะโปรเจ็คท์และเม็ดเงินลงทุนสะพัดมหาศาล มีนักลงทุนเข้ามาในพื้นที่จำนวนมาก รวมถึงมีการคาดการณ์ว่าจะมีนักท่องเที่ยวเข้ามาในพื้นที่ปีละไม่ต่ำกว่า 10 ล้านคน  ประกอบกับอำเภอศรีราชา ถือเป็นทำเลที่มีศักยภาพที่สุดอีกแห่งหนึ่งใน EEC เนื่องจากมีทั้งนิคมอุตสาหกรรมดั้งเดิม เช่น นิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง และนิคมอุตสาหกรรมที่กำลังจะพัฒนาขึ้นใหม่อีกจำนวนมาก อยู่ใกล้แหล่งโลจิสติกส์ระหว่างประเทศที่กำลังจะพัฒนาขึ้นอย่างท่าเรือแหลมฉบังเฟส 3 รวมถึงยังเป็นที่ตั้งของโครงการเขตส่งเสริมอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัล หรือ ดิจิทัล พาร์ค ไทยแลนด์ ซึ่งเป็นเมกะโปรเจ็คท์และแลนด์มาร์คใหม่ของบริษัทด้านเทคโนโลยีและสตาร์ทอัพในไทยและภูมิภาคบนพื้นที่กว่า 700 ไร่   เอพี ไทยแลนด์ จับมือพันธมิตร ผนึกม.สแตนด์ฟอร์ด เปิดทำวิจัยระดับโลก การทำธุรกิจหัวใจหลักของความสำเร็จ คือ “คน” เพราะ คือ ผู้ที่จะขับเคลื่อนองค์กรให้ไปในทิศทางที่วางเอาไว้  การพัฒนาบุคลากรจึงเป็นความสำคัญอันดับแรกๆ ขององค์กร  เอพี ไทยแลนด์ จึงได้ร่วมกับเอไอเอส และธนากคารกสิกรไทย จับมือร่วมกันพร้อมด้วยมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด เปิด The Stanford Thailand Research Consortium การทำวิจัยระดับโลก ภายใต้การดูแลของ SEAC   ครั้งแรกของโลก ที่รวมศาสตราจารย์และผู้เชี่ยวชาญระดับสูงของมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด 20 คน จากกว่า 9 สาขาวิชาเพื่อดำเนินการศึกษา ค้นคว้า และวิจัยเจาะลึกเต็มรูปแบบ ครอบคลุม 4 มิติองค์ความรู้เพื่ออนาคต ได้แก่ 1. ยกระดับความสามารถคนไทยให้เท่าทันโลก 2. นำเทคโนโลยีและความคิดสร้างสรรค์มาพัฒนาธุรกิจและเศรษฐกิจไทย  3. เสริมสร้างมาตรฐานคุณภาพชีวิตของคนไทยให้สูงขึ้น  อย่างยั่งยืน และ 4. ส่งเสริมการพัฒนาสังคมเมืองที่คิดถึงสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนดำเนินการศึกษา ค้นคว้า และวิจัยผ่านหลากหลายโครงการวิจัยและพัฒนาในระยะเวลา 5 ปี  ภายใต้การดูแลและสนับสนุนจาก เอสอีเอซี (SEAC) ศูนย์พัฒนาและส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตแห่งภูมิภาคอาเซียน   นายอนุพงษ์ อัศวโภคิน ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ เอพี ไทยแลนด์ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า การก่อตั้ง “The Stanford Thailand Research Consortium” ซึ่งเป็นการทำวิจัยระดับโลกครั้งแรกของไทย ในการนำความรู้ ความสามารถ ตลอดจนทรัพยากรต่างๆ ที่มีมาช่วยพัฒนาศักยภาพประเทศไทยของเราในหลากหลายมิติ  ท่ามกลางความท้าทายที่เกิดขึ้นมากมาย ‘คุณภาพของคน’ คือ ประเด็นสำคัญที่โลกธุรกิจกำลังเผชิญอยู่ ดังนั้น ประเด็นเรื่อง การยกระดับความสามารถของคนไทยให้เท่าทันโลกนี้เองจะเป็นหัวข้อหนึ่งในงานวิจัยที่ทาง The Stanford Thailand Research Consortium จะหยิบขึ้นมาทำการศึกษา ค้นคว้า และวิจัยเจาะลึกอย่างเต็มรูปแบบ เพื่อสร้างการพัฒนาอย่างมีประสิทธิภาพ และยั่งยืน   เครือบีทีเอสกรุ๊ป ทุ่มงบ 5 พันล้าน เปิดตัวโรงเรียนนานาชาติ กลุ่มบีทีเอส เองก็ให้ความสำคัญกับเรื่องของการศึกษา เพราะเห็นไปในทิศทางเดียวกับหลายองค์กรว่า การจะเติบโตอย่างยั่งยืนได้ “คน” ที่มีคุณภาพคือปัจจัยความสำเร็จนั้น  จึงได้จับมือ พันธมิตร บริษัท ฟอร์จูน แฮนด์ เวนเจอร์ ลิมิเต็ด จากฮ่องกง ประกาศร่วมลงทุน  5,000 ล้านบาท  เพื่อก่อตั้ง “โรงเรียนนานาชาติเวอร์โซ”   นายคีรี กาญจนพาสน์ ประธานคณะกรรมการบริหาร บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า บริษัท ยู ซิตี้ จำกัด (มหาชน) ในเครือของบริษัท  ได้จับมือกับบริษัท ฟอร์จูน แฮนด์ เวนเจอร์ ลิมิเต็ด จากฮ่องกง ประกาศร่วมลงทุน 5,000 ล้านบาทเพื่อก่อตั้งโรงเรียนนานาชาติเวอร์โซ ตั้งอยู่บนพื้นที่ 168 ไร่ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเมื่อเทียบกับโรงเรียนนานาชาติแห่งอื่นๆ ในเขตกรุงเทพฯ  ติดกับโครงการธนาซิตี้ ย่านบางนา สามารถรองรับจำนวนนักเรียนได้ถึง 1,800 คน ตั้งแต่ชั้นเตรียมอนุบาลจนถึงเกรด 12 และจะเริ่มเปิดสอนตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2563 เป็นต้นไป   “การลงทุนในครั้งนี้ก็ถือเป็นส่วนหนึ่งในยุทธศาสตร์ของ ยู ซิตี้ ที่จะพัฒนาที่ดินในบริเวณใกล้กับโครงการธนาซิตี้ให้กลายเป็นทรัพย์สินที่มีมูลค่าอย่างยั่งยืนในอนาคต ทั้งนี้ โรงเรียนนานาชาติเวอร์โซมีพื้นที่รวมทั้งหมด 168 ไร่ หรือ 66 เอเคอร์ จึงถือเป็นโรงเรียนนานาชาติที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในเขตกรุงเทพฯ ตลอดจนมีพื้นที่สีเขียวรวมมากถึงประมาณ 60% ของพื้นที่ทั้งหมด เพื่อให้นักเรียนได้รับทั้งความผ่อนคลาย ใกล้ชิดกับธรรมชาติ และช่วยส่งเสริมสติปัญญาและแรงบันดาลใจด้านศิลปะ”   การร่วมลงทุนของบริษัท ฟอร์จูน แฮนด์ เวนเจอร์ จำกัด ในโรงเรียนนานาชาติเวอร์โซ ถือเป็นการลงทุนจากต่างประเทศที่มีมูลค่าสูงสุดในภาคการศึกษาระบบโรงเรียนนานาชาติในประเทศไทย โดยเงินลงทุนดังกล่าวจะถูกนำไปใช้ในการพัฒนาทั้งในด้านการก่อสร้างอาคารเรียนและสถานที่ ตลอดจนการคิดค้นรูปแบบการเรียนการสอนแบบใหม่ที่เป็นเอกลักษณ์และมีประสิทธิภาพ   ​   “บริทาเนีย” เปิด 5 โครงการใหม่ เพราะตลาดคอนโดฯ ปีนี้ได้รับผลกระทบจากมาตรการ LTV ทำให้หลายดีเวลลอปเปอร์ เบนเข็มพัฒนาโครงการแนวราบมากขึ้น  ค่ายออริจิ้นก็มาในทิศทางเดียวกัน เพิ่มสัดส่วนพอร์ตบ้านแนวราบมากกว่าที่ผ่านมา โดยล่าสุด บริษัทลูกอย่างบริษัท บริทาเนีย จำกัด ก็เดินหน้าเปิดโครงการใหม่ถึง 5 โครงการ   นางศุภลักษณ์ จันทร์พิทักษ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บริทาเนีย จำกัด ในเครือ บริษัท  ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) หรือ ORI เปิดเผยว่า หลังจากโครงการบริทาเนีย ศรีนครินทร์ โครงการแรกของบริษัทที่เปิดตัวเมื่อปลายปี 2560 สามารถปิดการขายได้ในเวลาเพียง 1 ปีเศษ และ 2 โครงการที่เปิดตัวเมื่อปลายปี 2561 คือบริทาเนีย บางนา กม.12 และบริทาเนีย เมกะทาวน์ บางนา ได้รับการตอบรับที่ดี บริษัทจึงเตรียมเปิดตัวโครงการบ้านจัดสรรใหม่เพิ่มอีก 5 โครงการ  ทั้งโครงการบ้านเดี่ยว บ้านแฝด และทาวน์โฮม เมื่อรวมกับโครงการบริทาเนีย วงแหวน-หทัยราษฎร์ ที่เปิดตัวไปแล้วในช่วงไตรมาส 1/2562 จะทำให้มีการเปิดตัวโครงการใหม่อย่างต่อเนื่องมูลค่าโครงการรวมประมาณ 10,000 ล้านบาท   แผนการพัฒนาโครงการใหม่ 5 โครงการ มูลค่าโครงการรวมกว่า 10,000 ล้านบาท ประกอบด้วย 1.บริทาเนีย บางนา-สุวรรณภูมิ เป็นโครงการบ้านเดี่ยว และบ้านแฝด จำนวน รวม 485 ยูนิต 2.บริทาเนีย บางนา กม.42 ครอบคลุมทั้งบ้านเดี่ยว บ้านแฝด และทาวน์โฮม จำนวนรวม 492 ยูนิต 3.บริทาเนีย คูคต สเตชั่น เป็นโครงการบ้านเดี่ยวและบ้านแฝด จำนวน 138 ยูนิต 4.บริทาเนีย วงแหวน-รามอินทรา เป็นโครงการบ้านเดี่ยว จำนวน 278 ยูนิต และ 5.บริทาเนีย สายไหม เป็นโครงการบ้านแฝดและทาวน์โฮม จำนวน 294 ยูนิต โดยจะเริ่มทยอยเปิดพรีเซลอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ช่วงไตรมาส 4/2562 (อ่านข่าวเพิ่มเติม) โกลเด้นแลนด์ เปิดบริการ “สามย่านมิตรทาวน์” ปิดท้ายของสัปดาห์ กับการเปิดให้บริการโปรเจ็กต์มิกซ์ยูสแรก บนถนนพระราม 4 กับโครงการสามย่านมิตรทาวน์ เมื่อวันศุกร์ที่ 20 กันยายนที่ผ่านมา ซึ่งได้รับกระแสการตอบรับที่ดี จากทั้งชาวสามย่าน จุฬาฯ และผู้อยู่ในพื้นที่ใกล้เคียง เพราะที่นี่มีโซนเปิดให้บริการแบบ 24 ชั่วโมงด้วย     นายธนพล ศิริธนชัย ประธานอำนวยการ บริษัท แผ่นดินทอง พร็อพเพอร์ตี้ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) หรือ โกลเด้นแลนด์ เปิดเผยว่า หลังจากบริษัทใช้งบประมาณกว่า 9,000 ล้านบาท พัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์รูปแบบผสมผสานหรือมิกซ์ยูส ภายใต้ชื่อ “สามย่านมิตรทาวน์” ขณะนี้พร้อมแล้วในการเปิดให้บริการแก่ผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมายเพื่อเติมเต็มไลฟ์สไตล์การอยู่อาศัย การทำงาน การพักผ่อนหย่อนใจ ตลอดจนการช้อปปิ้ง ให้ครบวงจรในที่เดียว สำหรับจุดเด่นของโครงการสามย่านมิตรทาวน์ ถือเป็นมิกซ์ยูสแห่งแรกบนหัวมุมถนนพญาไท - พระราม 4 ที่มีความสมบูรณ์แบบ รวมพื้นที่ใช้สอย 222,000 ตารางเมตร เนื่องจากภายในโครงการประกอบด้วย ที่อยู่อาศัยประเภทคอนโดมิเนียม “ทริปเปิ้ล วาย เรสซิเด้นซ์” โรงแรม “ทริปเปิ้ล วาย โฮเทล” อาคารสำนักงาน “มิตรทาวน์ ออฟฟิศ ทาวเวอร์” และพื้นที่ค้าปลีก “ศูนย์การค้าสามย่านมิตรทาวน์” (อ่านข่าวเพิ่มเติม)