Tag : Townhome

792 ผลลัพธ์
เอพี ลุยตลาดอสังหาฯครึ่งปีหลัง เปิด 26 โปรเจ็กต์แนวราบ มูลค่า 26,000 ล้าน

เอพี ลุยตลาดอสังหาฯครึ่งปีหลัง เปิด 26 โปรเจ็กต์แนวราบ มูลค่า 26,000 ล้าน

เอพี ลุย 26 โปรเจ็กต์แนวราบ มูลค่า 26,000 ล้าน ในช่วงครึ่งปีหลัง พร้อมปักหมุด 5 จังหวัดในภูธร ชิมลางทำตลาด ปั้นแบรนด์ใหม่ “อภิทาวน์” มั่นใจทั้งปียังคงทำยอดขาย 33,500 ล้าน และ รายได้ 40,550 ล้าน ตามเป้าหมาย แม้ครึ่งปีแรกมีสถานการณ์โควิด-19 แต่ยังเติบโตสวนกระแส มีลุ้นไตรมาส 2 ทำสถิติสร้างรายได้สูงสุดนับตั้งแต่ก่อตั้งบริษัท   แม้ว่าประเทศไทยต้องเผชิญกับการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ตั้งแต่ต้นปีจนถึงปัจจุบัน ที่ทำให้หลายธุรกิจได้รับผลกระทบอย่างหนัก บางแห่งต้องปิดกิจการและเลิกจ้างพนักงาน หรือไม่ก็เปิดกิจการชั่วคราว แต่ดูเหมือนว่าในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ปีนี้  ในวิกฤตที่เกิดขึ้นกลับกลายเป็นโอกาสทางการตลาดอย่างที่ผู้ประกอบการหลายรายคาดคิดมาก่อน  เพราะผู้ประกอบการหลายราย แม้ว่าจะได้รับผลกระทบ ต้องปรับแผนธุรกิจและปรับตัวหาหนทางการอยู่รอด แต่ในมุมบวกกลับสามารถทำยอดขายและยอดโอนได้จำนวนมาก มากชนิดที่ทุบสถิติยอดขายและยอดโอนในภาวะสภาพตลาดปกติด้วยซ้ำ ​   หนึ่งในผู้ประกอบการที่สามารถสร้างยอดขายและยอดโอนเติบโตได้ดีนั้น คือ บริษัท เอพี (ไทยแลนด์) จำกัด (มหาชน) หรือ AP ที่สามารถสร้างยอดขายในช่วงครึ่งปีแรกได้มากถึง 15,085 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 45% ของเป้าหมายยอดขายในปีนี้ที่คาดว่าจะทำได้ 33,500 ล้านบาท โดยส่วนรายได้น่าจะทำได้สูงกว่าผลการดำเนินงานในอดีตที่ผ่านมา โดยเฉพาะไตรมาส 2 ซึ่งปกติจะเป็นไตรมาสที่ทำรายได้ได้ต่ำสุดในรอบปี  แต่ปีนี้คาดว่าจะเป็นไตรมาสที่สร้างรายได้ได้สูงที่สุดกว่าไตรมาส 2 ของทุกปีที่ผ่านมา และอาจจะสูงสุดนับตั้งแต่ก่อตั้งบริษัทมาเกือบ 30 ปีด้วยซ้ำ     นายวิทการ จันทวิมล รองกรรมการผู้อำนวยการ สายงานกลยุทธ์องค์กรและการสร้างสรรค์ บริษัท  เอพี ไทยแลนด์ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า  วิกฤตการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 เปรียบเหมือนเป็นซูเปอร์โนวาที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์โลก สร้างผลกระทบที่ใหญ่และรุนแรงกว่าวิกฤตครั้งไหนในอดีต ซึ่งตลอด 6 เดือนที่ผ่านมาบริษัทดำเนินงานด้วยความระมัดระวัง ควบคู่ไปกับการปรับแผนงานให้สอดรับกับสถานการณ์ในแต่ละช่วงเวลา โดยมี EMPOWER LIVING เป็นจุดมุ่งหมายสำคัญขององค์กร   โดยแนวโน้มการโอนกรรมสิทธิ์ในไตรมาส 2 ของปีนี้ คาดว่าจะดีกว่าทุกไตรมาส 2 ที่บริษัทเคยทำได้ ซึ่งไตรมาส 2 ที่มียอดโอนกรรมสิทธิ์สูงสุด คือ ปี 2561 มีมูลค่า 10,000 ล้านบาท และน่าจะมียอดโอนกรรมสิทธิ์สูงสุดในประวัติศาสตร์การก่อตั้งบริษัท ซึ่งเคยทำยอดโอนสูงสุดในช่วงไตรมาส 4 ปี 2559 มูลค่า 11,500 ล้านบาท สำหรับความสำเร็จในช่วงครึ่งปีแรกที่ผ่านมา น่าจะเกิดจากการปรับตัวของบริษัท ในการตอบสนองความต้องการของลูกค้า แม้ว่าจะอยู่ในช่วงโควิด-19 แต่ลูกค้ายังสามารถตรวจห้องผ่านระบบออนไลน์ได้ การชมห้องตัวอย่างหรือโครงการได้ผ่านออนไลน์ รวมถึงการนำเอาเทคโนโลยีมาช่วย  และการจัดโปรโมชั่นเกือบทุกสัปดาห์ มาสร้างความสำเร็จดังกล่าว ​ นายวิทการ กล่าวอีกว่า ในช่วงครึ่งปีแรกบริษัทไม่ได้เปิดตัวคอนโดมิเนียมโครงการใหม่  แต่ขายโครงการเดิมที่มีอยู่ ซึ่งตลาดยังให้การตอบรับที่ดี มียอดขายกว่า 2,200 ล้านบาท ขณะที่บางกอก ซิตี้สมาร์ท (BC) บริษัทในเครือ ยังสามารถทำยอดขายกลุ่มคอนโดได้สูงกว่า 4,200 ล้านบาท แสดงให้เห็นถึงการตอบรับของตลาดคอนโดว่ายังมีต่อเนื่อง และยังคาดว่าภายในสิ้นปีนี้บีซี จะสามารถสร้างยอดขายคอนโดได้ถึง 10,000 ล้านบาทด้วย   ในปีนี้บริษัทจึงมั่นใจว่าจะสามารถรักษาเป้าหมายการเติบโตของบริษัทตามแผนธุรกิจไว้ได้ โดยคาดว่าจะทำยอดขายได้ 33,500 ล้านบาท รายได้ 40,550 ล้านบาท ซึ่งในช่วงครึ่งปีหลังบริษัทยังเตรียมเปิดตัวโครงการใหม่อีก 26 โครงการ  มูลค่า 26,000 ล้านบาท โดยเป็นโครงการแนวราบทั้งหมด แบ่งเป็นโครงการในเขตกรุงเทพฯ 21 โครงการ  มูลค่า 21,300 ล้านบาท และในพื้นที่ 5 จังหวัด มูลค่า 4,700 ล้านบาท   ครึ่งปีหลังบริษัทยังไม่มีแผนเปิดโครงการคอนโดมิเนียม เนื่องจากสถานการณ์ปัจจุบันยังไม่เหมาะสมในการเปิดตัวโครงการใหม่ แต่มีที่ดิน 4-5 แปลงสำหรับพัฒนาโครงการไว้พร้อมแล้ว  โดยจะพิจารณาตามความเหมาะสมของตลาด แต่คาดว่าน่าจะเลื่อนการเปิดตัวโครงการคอนโดไปในปีหน้าแทน     สำหรับการพัฒนาโครงการในต่างจังหวัด ได้พัฒนาโครงการภายใต้แบรนด์ อภิทาวน์ เป็นโครงการรูปแบบมิกซ์โปรดักส์ ทั้งบ้านเดี่ยว บ้านแฝด และทาวน์โฮม ระดับราคา 1.5-9 ล้านบาท ซึ่งจะเริ่มต้นพัฒนาโครงการแรกที่จังหวัดนครราชสีมา ในเดือนกันยายน หลังจากนั้นจะเปิดตัวอีก 4 โครงการใน 4 จังหวัด ได้แก่ ระยอง อยุธยา ขอนแก่น และเชียงราย   ครึ่งปีหลังมีอีก 2 โครงการคอนโดที่จะก่อสร้างแล้วเสร็จ และรับรู้รายได้  ตั้งแต่เดือนสิงหาคมนี้. ได้แก่ LIFE อโศก-พระราม 9 มูลค่า 9,800 ล้านบาท ปัจจุบันมียอดขายแล้ว 94% และ ASPIRE อโศก-รัชดา มูลค่า 2,900 ล้านบาท ปัจจุบันมีขาย 95%   บริษัทมีโครงการคอนโดอยู่ระหว่างการขาย 18 โครงการ มูลค่า 21,000 ล้านบาท  ซึ่ง ณ วันที่ 31 มิถุนายน 2563 บริษัทมีสินค้ารอรับรู้รายได้รวมโครงการร่วมทุน (Backlog) มูลค่า 56,149 ล้านบาท เป็นโครงการแนวราบ มูลค่า 13,234 ล้านบาท ซึ่งคาดว่าจะรับรู้ทั้งหมดภายในปีนี้ และคอนโด มูลค่า 42,915 ล้านบาท จะทยอยรับรู้ในปีนี้ประมาณ 15,602 ล้านบาท ส่วนที่เหลือทยอยรับรู้ไปจนถึงปี 2566
MJD ลุยตลาดบ้านซูเปอร์ลักชัวรี่รอบ 20 ปี ปักหมุด 2 ทำเลสุขุมวิท-อารีย์

MJD ลุยตลาดบ้านซูเปอร์ลักชัวรี่รอบ 20 ปี ปักหมุด 2 ทำเลสุขุมวิท-อารีย์

เมเจอร์ ดีเวลลอปเม้นท์ ลุยโปรเจ็กต์แนวราบ รอบ 20 ปี เปิดตัว “Malton Private Residences” จับตลาดซูเปอร์ลักชัวรี่  2 ทำเลใจกลางเมือง  สุขุมวิท และอารีย์ ราคาเริ่มต้น 62 ล้านบาท พร้อมเลื่อน 3 โปรเจ็กต์คอนโดไปปี 64 หนีสถานการณ์ไวรัสโควิด-19   นางสาวเพชรลดา พูลวรลักษณ์ กรรมการบริหาร บริษัท เมเจอร์ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) หรือ MJD เปิดเผยว่า แผนธุรกิจในปี 2563 เดิมได้เตรียมเปิดตัวโครงการใหม่ 5 โครงการ มูลค่าประมาณ 20,000 ล้านบาท แบ่งเป็นโครงการคอนโดมิเนียม 3 โครงการ และโครงการแนวราบ 2 โครงการ แต่จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทำให้บริษัทต้องเลื่อนการเปิดตัวโครงการคอนโดไปในปี 2564 แทน     โดยเป้าหมายรายได้ในปีนี้ บริษัทคาดว่าจะใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมา ซึ่งในปี 2562 บริษัทมีรายได้รวม 6,279.91 ล้านบาท ซึ่งแม้ว่าปีนี้จะเลื่อนการเปิดตัวโครงการใหม่ออกไปในปีหน้า แต่ไม่ส่งผลกระทบต่อรายได้ของบริษัท เนื่องจากยังมีโครงการอยู่ระหว่างการขายประมาณ​ 11,000 ล้านบาท เป็นโครงการอยู่ระหว่างการก่อสร้าง 3,000 ล้านบาท   คิดว่าโควิด-19 น่าจะอยู่ระยะยาว ปีนี้ทั้งปี เราจะโฟกัส เน้นระบายสต็อกให้ได้มากและเร็วที่สุด เท่าที่จะทำได้   ขณะที่แนวโน้มผลประกอบการในช่วงไตรมาสที่ 2 คาดว่าจะทำได้ดีกว่าหรือใกล้เคียงกับผลประกอบการในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ ที่มีรายได้รวม 2,023.64 ล้านบาท เติบโตจากช่วงเดียวกันของปี 2562 ในอัตรา 40% เนื่องจากมีการจัดแคมเปญการตลาด โดยเฉพาะแคมเปญ Secret Deal โปรลับ!! ดีลพิเศษ ที่สามารถสร้างยอดขายได้กว่า 700 ล้านบาท   นางสาวเพชรลดา กล่าวอีกว่า สำหรับแผนการเปิดตัวแนวราบ 2 โครงการในปีนี้ ได้เปิดตัวโครงการ “Malton Private Residences” แบรนด์บ้านระดับซูเปอร์ลักชัวรี่  2 ทำเล ได้แก่สุขุมวิทและอารีย์  มูลค่ารวมกว่า 1,150  ล้านบาท  ซึ่งโครงการแรก  คือ โครงการ Malton Private Residences Sukhumvit 31 มูลค่า 550 ล้านบาท ตั้งอยู่บนพื้นที่ 1-1-98.8 ไร่ ในทำเลใจกลางสุขุมวิทที่มีความเป็นส่วนตัวอย่างซอยสวัสดี ประกอบด้วยบ้านระดับซูเปอร์ลักชัวรี่ 4 ชั้น จำนวนเพียง 7 ยูนิต ขนาดพื้นที่ดิน 52.4-72.3 ตร.ว. ขนาดพื้นที่ใช้สอยตั้งแต่ 451-555 ตร.ม. ราคาเริ่มต้น 68 ล้านบาท   ส่วนโครงการที่ 2 ได้แก่ โครงการ Malton Private Residence Ari มูลค่า 600 ล้านบาท ตั้งอยู่บนพื้นที่ 1-1-97.7 ไร่ ใน ซ.พหลโยธิน 8 (ซอยสายลม) ย่านอารีย์ อีกหนึ่งย่านที่เป็นย่านอยู่อาศัยที่มีลักษณะเฉพาะตัวเพราะเป็นทั้งแหล่งงานและแหล่งไลฟ์สไตล์ ประกอบด้วยบ้านระดับซูเปอร์ลักชัวรี่ 5 ชั้น จำนวนเพียง 8 ยูนิต ขนาดพื้นที่ดิน 50.1-64.0 ตร.ว. ขนาดพื้นที่ใช้สอยตั้งแต่ 489-526 ตร.ม. ราคาเริ่มต้น 62 ล้านบาท   สำหรับการเปิดตัวโครงการแนวราบครั้งนี้ ถือว่าเป็นการหันมาพัฒนาโครงการแนวราบในรอบเกือบ 20 ปี และเป็นแบรนด์ที่ 2 ต่อจากแบรนด์แรก คือ โครงการการ์เด้นท์ วิลล์ คสัสเตอร์โฮม ​​ซึ่งในอนาคตบริษัทยังวางแผนพัฒนาโครงการแนวราบอย่างต่อเนื่อง โดยปีนี้บริษัทวางงบประมาณในการซื้อที่ดิน เพื่อพัฒนาโครงการต่อเนื่อง 2,000-3,000 ล้านบาท   น.ส.เพชรลดา กล่าวเพิ่มเติมว่า ตลาดระดับซูเปอร์ลักชัวรี่ ถือเป็นตลาดที่ยังมีความต้องการสูง และเป็นตลาดที่ยังสามารถขับเคลื่อนไปได้ในทุกสภาวะเศรษฐกิจ เพราะกลุ่มลูกค้าเป้าหมายมีความอ่อนไหวต่อปัจจัยภายนอกค่อนข้างน้อยเมื่อเทียบกับตลาดเซ็กเมนท์อื่นๆ ขณะเดียวกัน ยังเป็นตลาดที่ไม่ค่อยมีซัพพลายใหม่ เนื่องจากที่ดินในการพัฒนาโครงการใหม่ค่อนข้างหายาก โดยเฉพาะบ้านจัดสรรที่มีซัพพลายใหม่ค่อนข้างน้อย แต่คุ้มค่ากว่าเพนท์เฮาส์ด้วยพื้นที่ใช้สอยและความเป็นส่วนตัวที่มากกว่า  
เสนา ลุยทำเล ลำลูกกาคลอง 6 ขึ้นโปรเจ็กต์ทาวน์โฮมติดโซลาร์รายแรก

เสนา ลุยทำเล ลำลูกกาคลอง 6 ขึ้นโปรเจ็กต์ทาวน์โฮมติดโซลาร์รายแรก

เสนา ปักหมุดโปรเจ็กต์ ทาวน์โฮมติดโซลาร์ รายแรกของไทย พร้อมลุยตลาดย่านลำลูกกาคลอง 6 โปรเจ็กต์แรกของปีนี้ หลังมองเห็นศักยภาพของทำเล และดีมานด์ยังเพิ่มสูง ตลาดเหลือขายไม่ถึง 1,000 ยูนิต เปิดพรีเซลล์อย่างเป็นทางการ 18-19 ก.ค.นี้ หวังยอดขาย 20 ล้าน   นายประกิต อัครเสรีนนท์ ผู้ช่วย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เสนา ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) (SENA)เปิดเผยว่า ได้เตรียมเปิดตัวพรีเซลล์อย่างเป็นทางการ โครงการเสนา วิลล์ ลำลูกกา คลอง 6 มูลค่า 800 ล้านาท ในวันที่ 18-19 กรกฎาคมนี้ ซึ่งว่าจะทำยอดขายได้ประมาณ 20 ล้านบาท จากปัจจุบันมียอดขายโครงการแล้วประมาณ​80 ล้านบาท โดยโครงการดังกล่าวเป็นโครงการทาวน์โฮมติดโซลาร์โครงการแรกของประเทศไทย ในรูปแบบทาวน์โฮมขนาด 2 ชั้น ติดตั้งระบบโซลาร์ขนาด 1.28 กิโลวัตต์ สำหรับโครงการเสนา วิลล์ ลำลูกกา คลอง 6 ถือเป็นโครงการแรกที่เปิดตตัว หลังจากนี้วางแผนจะเปิดตัวโครงการในรูปแบบดังกล่าวอีก 1 โครงการในช่วงปลายปี ภายใต้แบรด์เสนา วีว่า บริเวณพุทธมณฑลสาย 7 ซึ่งเป็นรูปแบบทาวน์โฮมขนาด 2 ชั้น เนื้อที่เริ่มต้น 18 ตารางวา ซึ่งเป็นโครงการทาวน์โฮมติดโซลาร์เช่นกัน   การที่บริษัทหันมาพัฒนาโครงการทาวน์โฮมขนาด 2 ชั้น หลังจากหยุดพัฒนาโครงการขายมานานนับ 10 ปี เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการอยู่อาศัยของคนในยุคปัจจุบัน ที่สนใจบ้านแนวราบมากขึ้น เพราะต้องการพื้นที่สำหรับการทำงานที่บ้าน และกำลังซื้อที่ชะลอตัวลงจึงต้องทำบ้านขนาดเล็ก ขณะที่การเปิดตัวโครงการในย่านลำลูกกาคลอง 6 ซึ่งถือเป็นโครงการเดียวในย่านดังกล่าว ที่เปิดตัวในปีนี้ ส่วนใหญ่โครงการที่เปิดการขาย เป็นโครงการเก่าซึ่งเปิดตัวมาก่อนหน้าแล้วหลายปี เป็นเพราะบริษัทมองว่าเป็นทำเลที่ยังมีศักยภาพ ตลาดยังมีความต้องการ และเป็นทำเลที่มีการเดินทางสะดวกสบาย  ปัจจุบันในทำเลดังกล่าวมีสินค้าเหลือในตลาดประเภทบ้านเดี่ยวและทาวน์โฮมไม่ถึง 1,000 ยูนิต   กลุ่มเป้าหมายที่บริษัทมอง เป็นกลุ่มผู้ทำงานในย่านสายไหม หทัยราษฎร์ และลำลูกกา มีรายได้เฉลี่ยต่อครัวเรือน 25,000-30,000 บาท ซึ่งที่ผ่านมาพบว่าย่านนี้มีอัตราการขายที่ดีต่อเนื่องเฉลี่ย 4-5 ยูนิตต่อเดือน สำหรับแผนที่ในปีนี้ บริษัทจะเปิดโครงการทั้งหมด 10 โครงการ มูลค่า 7,500 ล้านบาท โดยในไตรมาส 3 และไตรมาส 4 จะเปิด 7 โครงการ ดังนี้  1.เดอะ คิทท์ พลัส พหลโยธิน-คูคต (เฟส 2) 2.เสนา วิลเลจ รังสิต-ติวานนท์ 3.เสนา เวล่า เทพารักษ์-บางบ่อ 4.เสนา คิทท์ เทพารักษ์-บางบ่อ 5.โครงการ ปีติ สมเด็จเจ้าพระยา 6. นิช ไพรด์ บางโพ และ 7. เสนา วีว่า เทพารักษ์  โดยในปีนี้บริษัทยังคงตั้งเป้ายอดขายไว้ที่ 11,500 ล้านบาท และรายได้ 10,600 ล้านบาท ส่วนผลการดำเนินงานในช่วง  6 เดือนแรกของปีนี้ กลุ่มบ้านแนวราม บริษัทมียอดขายแนวราบ 500 ล้านบาท จากที่ตั้งเป้าหมายในปีนี้ไว้ 1,800 ล้านบาท  ซึ่งรายได้จากกลุ่มแนวราบ ปัจจุบันมีสัดส่วน 15-16% จากรายได้รวม ในอนาคตบริษัทจะเพิ่มสัดส่วนแนวราบมากขึ้น ตามแนวโน้มและความต้องการของสภาพตลาด   สำหรับโครงการ เสนา วิลล์ ลำลูกกา คลอง 6 พัฒนาทาวน์โฮม 2 ชั้น หน้ากว้าง 5.5 เมตร ที่ดินเริ่ม 22 ตารางวา พื้นที่ใช้สอย 138 ตารางเมตร 4 ห้องนอน 2 ห้องน้ำ พร้อมที่จอดรถ 1 คัน ราคาเริ่ม 2.49 ล้านบาท  
โควิด-19 ทุบตลาดอสังหาฯ คอนโด – บ้านจัดสรร ลดราคาขาย 36%

โควิด-19 ทุบตลาดอสังหาฯ คอนโด – บ้านจัดสรร ลดราคาขาย 36%

โควิด-19 ทุบราคาขายคอนโด - บ้านจัดสรร ไตรมาส 2 ลดลงต่อเนื่องสูงถึง 36% แม้แต่คอนโดสร้างเสร็จติดรถไฟฟ้า หลังผู้บริโภคไม่มั่นใจเศรษฐกิจและถูกเลิกจ้าง  หวั่นเกิดสงครามราคา หากดีเวลลอปเปอร์ยังลดราคาต่อเนื่อง   ผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 และมาตรการล็อกดาวน์ประเทศเพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของโรค ส่งผลต่อการดำเนินธุรกิจจำนวนมาก หลายธุรกิจต้องหยุดดำเนินการชั่วคราว แต่ก็มีหลายธุรกิจที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักจนถึงขั้นต้องปิดกิจการลงเลยก็มี  ผลกระทบต่อเนื่อง ก็คงเป็นการเลิกจ้างแรงงานจำนวนมาก   การเลิกจ้างแรงงาน ยังส่งผลกระทบต่อเนื่อง ไปยังหลายธุรกิจด้วยกัน หนึ่งในนั้น คือ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ เพราะทำให้กำลังซื้อในตลาดที่อยู่อาศัยลดลง หรือแม้แต่พนักงานที่ไม่ได้ถูกเลิกจ้าง ก็เกิดความกังวลใจในอาชีพและรายได้ในอนาคต  ผู้ที่วางแผนจะซื้อที่อยู่อาศัยจึงชะลอการตัดสินใจซื้อออกไปก่อน ทำให้ผู้ประกอบการอสังหาฯ  ต้องออกแคมเปญการตลาดมากระตุ้น เพื่อให้มียอดขายและสร้างรายได้ต่อเนื่อง   แคมเปญการตลาดช่วงที่ผ่านมา จึงถือว่าผู้ประกอบการ “จัดหนัก” มากที่สุดในรอบหลายปีที่ผ่านมา หรือแทบจะเรียกได้ว่า ไม่เคยจัดแคมเปญมากมายขนาดนี้มาก่อน ไม่ว่าจะเป็นการผ่อนให้ก่อน ให้ผู้ซื้อได้อยู่ฟรีมากสุดถึง 5 ปี หรือแม้แต่การลดราคาขาย ซึ่งมากที่สุดก็คือ ลดราคากันไปเลย 50%  ทำให้ราคาขายบ้านและคอนโดมิเนียมช่วงที่ผ่านมา ลดต่ำลงจากก่อนหน้านี้อย่างมาก จากปกติราคาอสังหาฯ จะต้องปรับเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง  ดร.วิชัย วิรัตกพันธ์ รักษาผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ หรือ REIC  เปิดเผยรายงานดัชนีราคาที่อยู่อาศัยที่อยู่ระหว่างการขาย ในกรุงเทพฯ - ปริมณฑล ไตรมาส 2 ปี 2563 พบว่า โครงการอาคารชุด มีการลดราคาขายมากที่สุดถึง 36%  โครงการทาวน์เฮ้าส์มีการลดราคาขายมากที่สุดถึง 32% ขณะที่โครงการบ้านเดี่ยวมีการลดราคาขายมากที่สุดถึง 12%   ทั้งนี้ หากสถานการณ์การลดราคาขายที่อยู่อาศัยสร้างใหม่ยังคงมีอย่างต่อเนื่อง จนเกิดสงครามราคา (Price war) อาจส่งผลกระทบต่อตลาดบ้านมือสองที่ต้องลดราคาขายเพื่อแข่งขันกับที่อยู่อาศัยสร้างใหม่ และจะมีผลต่อมูลค่าทรัพย์สินของสถาบันการเงิน และวงเงินกู้ของผู้ซื้อบ้านที่จะต้องลดลงตามราคาขาย   ผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 และมาตรการล็อกดาวน์ประเทศ เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของโรค มีการปิดกิจการและลดการจ้างแรงงานในหลายธุรกิจ ส่งผลต่อกำลังซื้อที่อยู่อาศัยมีการชะลอตัวเป็นอย่างมาก ทำให้ผู้ประกอบการต้องเร่งระบายสต็อกหน่วยสร้างเสร็จเหลือขาย ด้วยการลดราคาขาย   สำหรับในไตรมาส 2 ปี 2563  ดัชนีราคาบ้านจัดสรรใหม่ที่อยู่ระหว่างการขาย ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล มีค่าดัชนีเท่ากับ 128.3 เพิ่มขึ้น 1.9% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน  แต่ลดลง 0.1 % เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า ดัชนีราคาบ้านจัดสรรลดลงเป็นครั้งแรก ตั้งแต่ปี 2555 ซึ่งศูนย์ข้อมูลฯ ได้เริ่มจัดทำดัชนีราคาบ้านจัดสรร   ส่วนดัชนีราคาบ้านเดี่ยวที่อยู่ระหว่างการขาย  มีค่าดัชนีเท่ากับ 126.6 เพิ่มขึ้น 2.3% เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา แต่ลดลง 0.1% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า และดัชนีราคาทาวน์เฮ้าส์ที่อยู่ระหว่างการขาย มีค่าดัชนีเท่ากับ 130.2  เพิ่มขึ้น 1.5% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ลดลง 0.1% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า   ขณะที่ดัชนีราคาคอนโดใหม่ที่อยู่ระหว่างการขาย ในกรุงเทพฯ-ปริมณฑล ในไตรมาส 2 ปี 2563 มีค่าดัชนีเท่ากับ 153.2 เพิ่มขึ้น 1.8% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า แต่ลดลง 0.1% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า ซึ่งดัชนีราคาคอนโดลดลงต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 2 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า โดยโครงการคอนโดที่ปรับลดราคาลงมากที่สุด เป็นโครงการคอนโดสร้างเสร็จเหลือขายทำเลปลายสายรถไฟฟ้าสายสีเขียวในจังหวัดสมุทรปราการ ส่วนทำเลที่โครงการอาคารชุดปรับราคาเพิ่มขึ้น เป็นโครงการที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างทำเลแนวเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีเหลือง และสายสีส้มที่อยู่ระหว่างก่อสร้างในขณะนี้    
“แอสเซทไวส์” แบ่งเฟสขาย “โมดิซ ไรห์ม รามคำแหง” รับมือโควิด-19

“แอสเซทไวส์” แบ่งเฟสขาย “โมดิซ ไรห์ม รามคำแหง” รับมือโควิด-19

แอสเซทไวส์ ปรับแผนขาย “โมดิซ ไรห์ม รามคำแหง” รับมือโควิด-19 แบ่งเป็น 2 เฟส พร้อมออกแบบสอดคล้องกับวิถีชีวิต New Normal พร้อมเดินหน้าลุย 2 โปรเจ็กต์ใหม่ ครึ่งปีหลัง ปั้นรายได้สิ้นปี 3,500 ล้าน  ขณะที่แผนระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ เดินหน้ายื่นไฟลิ่ง   นายกรมเชษฐ์ วิพันธ์พงษ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอสเซทไวส์ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ภายหลังจากเกิดการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 บริษัทได้ปรับแผนการพัฒนาโครงการ “โมดิซ ไรห์ม รามคำแหง” (Modiz Rhyme Ramkhamhaeng) ใหม่ จากเดิมจะพัฒนาเป็นโครงการขนาดสูงเพียง 1 อาคาร มูลค่าประมาณ ​5,000 ล้านบาท และเปิดตัวขายในครั้งเดียว แต่ได้ปรับแผนใหม่ ด้วยการพัฒนาเป็นอาคารสูง 2 อาคาร และแบ่งการขายออกเป็น 2 เฟส แต่ยังคงมีมูลค่าประมาณ 5,000 ล้านบาท และจำนวนยูนิตใกล้เคียงเดิม โดยเริ่มต้นเปิดการขายโครงการ “โมดิซ ไรห์ม รามคำแหง” เฟสแรกในเดือนกรกฏาคมนี้ ด้วยการขายอาคารด้านหน้า ที่ประกอบด้วยคอนโดมิเนียมไฮไรส์สูง 30 ชั้น ตั้งอยู่บนพื้นที่กว่า 2 ไร่ แบ่งเป็นที่พักอาศัย จำนวน 546 ยูนิต และไลฟ์สไตล์ รีเทล จำนวน 9 ยูนิต มูลค่าโครงการรวมกว่า 1,790 ล้านบาท ซึ่งมีราคาเริ่มต้น 1.89 ล้านบาท ในขนาด 23.38 ตารางเมตร โดยอาคารเฟสแรกคาดว่าจะก่อสร้างแล้วเสร็จในช่วงไตรมาส 4 ปี 2565   ส่วนโครงการในเฟสที่ 2 บริษัทจะเปิดการขาย โดยดูจากกระแสตอบรับจากการขายในเฟสแรกก่อน ซึ่งบริษัทคาดว่าภายในระยะเวลา 4-6 เดือนน่าจะมียอดพรีเซลล์ประมาณ 50% แต่กำหนดการก่อสร้างของเฟส 2 ยังเป็นไปตามแผน ซึ่งคาดว่าจะก่อนสร้างแล้วเสร็จในช่วงปี 2567 นอกจากการปรับรูปแบบการพัฒนาโครงการและการขายแล้ว บริษัทยังได้ปรับงานดีไซน์และรูปแบบห้อง ให้มีความเหมาะสมกับการอยู่อาศัยของผู้บริโภคในยุค New Normal ด้วย โดยเน้นใน 3 เรื่องหลัก ได้แก่ 1.Multi-Living Space New Normal  การออกแบบให้พื้นที่ต่าง ๆ สามารถใช้ได้จริง และมีความหลากหลายในการใช้งาน 2.Residence Utilization การเพิ่มพื้นที่ตามความต้องการของผู้อยู่อาศัย  โดยเฉพาะในด้านสุขภาพ จึงมีการเพิ่มพื้นที่ Health Station สำหรับการบริการด้านสุขภาพ 3.Virtual Community การนำแอปพลิเคชั่น หรือเทคโนโลยีต่าง ๆ  เข้ามาปรับใช้ เพื่อเพิ่มความสะดวกสบายแก่ลูกค้า เช่น การนำ Telemedicine มาบริการภายในโครงการ เป็นต้น   ส่วนแผนธุรกิจของบริษัทในปีนี้ ยังเป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ โดยช่วงครึ่งปีหลัง ยังเตรียมเปิดตัวอีก 2 โครงการ ได้แก่ โครงการโมดิช ธรรมศาสตร์ รังสิต มูลค่า 1,200 ล้านบาท และโครงการบ้านภูริปุรี พัฒนาการ มูลค่า 500 ล้านบาท โดยในปีนี้คาดว่าบริษัทจะมีรายได้ 3,500 ล้านบาท โดยช่วงครึ่งปีแรกที่ผ่านมายังทำรายได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ ซึ่งในช่วงปลายปีจะมีโครงการก่อสร้างแล้วเสร็จ และรับรู้รายได้ในปีนี้ต่อเนื่องไปถึงปีหน้าอีก 2 โครงการ มีมูลค่าโครงการรวม 3,400 ล้านบาทด้วย สำหรับแผนการนำบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ยังคงเป็นไปตามแผนที่วางไว้ ซึ่งล่าสุดได้ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวน (Filing) ต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เพื่อขอเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุน ให้แก่ประชาชนเป็นครั้งแรก (IPO) เรียบร้อย เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคมที่ผ่านมา และน่าจะได้รับการพิจารณาภายใน 120 วัน โดยการเข้าระดมทุนและจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ครั้งนี้ บริษัทต้องการเพิ่มศักยภาพการเติบโตให้บริษัท ซึ่งในแต่ละปีวางแผนเปิดตัวโครงการใหม่ปีละ 4-6 โครงการ มูลค่า 4,000-5,000 ล้านบาท      
ตลาดคอนโด จ.ภูเก็ต ปี 63  ซัพพลายเหลือเพียบ ฉุดตลาดชะลอตัว

ตลาดคอนโด จ.ภูเก็ต ปี 63  ซัพพลายเหลือเพียบ ฉุดตลาดชะลอตัว

บรรดาเมืองท่องเที่ยวชายทะเล ซึ่งเป็นที่ชื่นชอบของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ  อันดับแรก ๆ ของเมืองไทย  ในการเข้ามาทั้งท่องเที่ยวระยะสั้น และการพักอาศัยอาศัยระยะยาว  คงหนีไม่พ้น จ.ภูเก็ต เพราะถือว่ามีความสวยงามทางธรรมชาติ และความพร้อมด้านสาธารณูปโภคครบ ส่งผลให้จ.ภูเก็ต เกิดการพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ หลากหลายรูปแบบ ทั้งโครงการวิลล่า โรงแรม คอนโดมิเนียม หรือบ้านจัดสรรจำนวนมาก เพื่อรองรับกับความต้องการที่เกิดขึ้น   เช็คสต็อกที่อยู่อาศัยจ.ภูเก็ต คอนโดเหลือเพียบ ตัวเลขจากการสำรวจของศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ (REIC) ในช่วงครึ่งหลังปี 2562 พบว่า  ที่อยู่อาศัยที่อยู่ระหว่างการขาย ในพื้นที่จ.ภูเก็ต  มีจำนวนทั้งสิ้น 133 โครงการ จำนวน 9,291 ยูนิตลดลงจากช่วงครึ่งปีแรก 13.5% แบ่งเป็นคอนโด จำนวน 5,978 ยูนิต บ้านจัดสรร จำนวน 3,313 ยูนิต ได้แก่ บ้านเดี่ยวจำนวน 812 ยูนิต  ทาวน์เฮ้าส์ 1,602 ยูนิต  บ้านแฝด 839 ยูนิต และอาคารพาณิชย์ 60 ยูนิต สัดส่วนการพัฒนาในพื้นที่จ.ภูเก็ต ส่วนใหญ่ยังเป็นผู้ประกอบการ ที่ไม่ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ จะมีเฉพาะประเภททาวน์เฮ้าส์ที่พบว่า บริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์  เข้ามาพัฒนามากกว่าผู้ประกอบการในท้องถิ่น โดยมีสัดส่วนการพัฒนา 58% ส่วนที่เหลือเป็นบริษัทที่ไม่ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์  ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการในท้องถิ่นของจ.ภูเก็ตเป็นหลัก   การพัฒนาโครงการในจ.ภูเก็ตระยะหลัง จะพบว่า ส่วนใหญ่จะพัฒนาโครงการคอนโด มากกว่าบ้านแนวราบเป็นหลัก แต่สัดส่วนไม่ได้แตกต่างกันมากนัก อย่างเช่นในจำนวน 133 โครงการ พบว่าเป็นโครงการคอนโด 69 โครงการ และบ้านแนวราบ 64 โครงการ สาเหตุที่แนวโน้มการพัฒนาโครงการคอนโดมากขึ้น เป็นเพราะที่ดินในจ.ภูเก็ตมีต้นทุนราคาที่สูงมาก โครงการส่วนใหญ่จึงพัฒนาเป็นคอนโด  โดยโครงการที่เปิดขายใหม่ในช่วงครึ่งปีหลังก็ยังคงมีสัดส่วนอาคารชุดเปิดขายใหม่สูงกว่าเช่นกัน ซึ่งจากจำนวนยูนิตเปิดขายใหม่ 1,207 ยูนิต ประกอบด้วยอาคารชุด 868 ยูนิต และบ้านจัดสรร 339 ยูนิต ส่วนปริมาณที่อยู่อาศัยเหลือขายในช่วงครึ่งหลังปี 2562 พบว่า มีจำนวน 7,741 ยูนิต มูลค่า 37,409 ล้านบาท แบ่งเป็นคอนโด จำนวน 4,918 ยูนิต  คิดเป็นสัดส่วสน 77% และบ้านจัดสรร จำนวน 2,823 ยูนิต คิดเป็นสัดส่วน 23% ซึ่งแบ่งเป็น บ้านเดี่ยว จำนวน 709 ยูนิต บ้านแฝด 746 ยูนิต ทาวน์เฮ้าส์ 1.321 ยูนิต และอาคารพาณิชย์ 47 ยูนิต ภาพรวมตลาดที่อยู่อาศัยในช่วงครึ่งปีหลัง 2562 จะพบว่าโครงการคอนโดเหลืออยู่ในตลาดจำนวนมาก ทำให้ REIC มีคำแนะนำผู้ประกอบการให้ลงทุนอย่างระมัดระวัง ในการเปิดตัวใหม่ประเภทคอนโด   เปิดทำเลบ้าน-คอนโด เหลือขายและขายดี ในจ.ภูเก็ต สำหรับทำเลบ้านและคอนโด ใน จ.ภูเก็ต ช่วงครึ่งปีหลัง 2562 ซึ่งเหลือขายจำนวน 7,741 ยูนิต มูลค่า 37,409 ล้านบาทนั้น  พบว่า ทำเลที่เหลือขายมากที่สุด จะเป็นทำเลหาดบางเทา-สุรินทร์ เหลือขาย 1,922 ยูนิต รองลงมาเป็นทำเลเทพกระษัตรี-ศรีสุนทร 1,380 ยูนิต ทำเลหาดในยาง-หาดไม้ขาว 1,148 ยูนิต  ทำเลหาดกมลา 867 ยูนิต และทำเลเกาะแก้ว-รัษฎา 706 ยูนิต   โดยระดับราคาบ้านและคอนโด จ.ภูเก็ต เหลือขายมากที่สุด จะเป็นกลุ่มระดับราคา 3.01-5.00 ล้านบาท เหลือขาย จำนวน 3,002 ยูนิต รองลงมาเป็นราคา 2.01-3.00 ล้านบาท เหลือขาย 1,884 ยูนิต  ราคา 5.01-7.50 ล้านบาท เหลือขาย 1,620 ยูนิต  ราคา 7.51-10.00 ล้านบาท ​เหลือขาย 499 ยูนิต และราคา 1.51-2.00 ล้านบาท  เหลือขาย 327 ยูนิต   อัตราการขายบ้านและคอนโด จ.ภูเก็ต ในช่วงครึ่งหลังของปี 2562 จะพบว่า มีอัตราการดูดซับที่ลดต่ำลงกว่าค่าเฉลี่ย 5 ปี ที่มีอัตราดูดซับเฉลี่ย 4.4% โดยมีอัตราการดูดซับเพียง 2.8% เท่านั้น เป็นเพราะปริมาณสินค้าเหลือขายในตลาดจำนวนมาก รวมถึงภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลง ซึ่งทำเลที่มีอัตราการขายได้ใหม่นั้น อันดับแรกจะอยู่ในทำเลหาดบางเทา-หาดสุรินทร์ ขายได้จำนวน 365 ยูนิต รองลงมาเป็นทำเลเกาะแก้ว-รัษฎา จำนวน 214 ยูนิต ทำเลหาดราไวย์ จำนวน 183 ยูนิต  ทำเลหาดกมลา จำนวน 171 ยูนิต และทำเลเทพกระษัตรี-ศรีสุนทร จำนวน 127 ยูนิต โดยในช่วงสิ้นปี 2562 พบว่า บ้านและคอนโด จ.ภูเก็ต ซึ่งมีการก่อสร้างแล้วเสร็จพร้อมโอนกรรมสิทธิ์ มีอยู่ในตลาดจำนวน 1,037 ยูนิต มูลค่า 4,645 ล้านบาท แบ่งเป็น คอนโด จำนวน 626 ยูนิต บ้านเดี่ยว 94 ยูนิต บ้านแฝด 85 ยูนิตทาวน์เฮ้าส์ 219 ยูนิต และอาคารพาณิชย์ 13 ยูนิต   ทำเลบ้านและคอนโด จ.ภูเก็ต ที่สร้างเสร็จเหลือขายมากที่สุด อันดับแรกเป็นทำเลเกาะแก้ว-รัษฎา จำนวน 268 ยูนิต  รองลงมาเป็นทำเลหาดในยาง-หาดไม้ขาว จำนวน 221 ยูนิต  ทำเลหาดป่าตอง จำนวน 131 ยูนิต ทำเลเทพกระษัตรี-ศรีสุนทร จำนวน 100 ยูนิต  และทำหาดบางเทา-หาดสุรินทร์ จำนวน 86 ยูนิต  โดยระดับ ราคาบ้านและคอนโด จ.ภูเก็ต สร้างเสร็จเหลือขายมากที่สุด ได้แก่ กลุ่มระดับราคา 3.01-5.00 ล้านบาท เหลือขาย 436 ยูนิต ราคา 2.01-3.00 ล้านบาท เหลือขาย 273 ยูนิต ราคา 5.01-7.50 ล้านบาท เหลือขาย 121 ยูนิต ราคา 1.51-2.00 ล้านบาท เหลือขาย 69 ยูนิต และราคา 1.01-1.50 ล้านบาท เหลือขาย 41 ยูนิต แนวโน้มตลาดอสังหาฯ จ.ภูเก็ต ปี 63 ดร.วิชัย วิรัตกพันธ์ ผู้ตรวจการธนาคารอาคารสงเคราะห์และรักษาการผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ มองแนวโน้มตลาดอสังหาฯ ในปี 2563 จะมีที่อยู่อาศัยเหลือขายอยู่ในตลาดจำนวน 8,966 ยูนิต ประกอบด้วยคอนโด จำนวน 5,679 ยูนิต ทาวน์เฮ้าส์จำนวน 1,510 ยูนิต บ้านเดี่ยวจำนวน 937 ยูนิต บ้านแฝดจำนวน 786 ยูนิต และอาคารพาณิชย์จำนวน 54 ยูนิต มีโครงการเปิดขายใหม่จำนวน 2,700 ยูนิต ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 2 ปีที่มีการเปิดขายปีละประมาณ 4,800 ยูนิต   คาดว่าในปี 2563 อัตราดูดซับจะลดทุกกลุ่มประเภทที่อยู่อาศัย โดยลดเหลือประมาณ 1.1-1.8%  และที่อยู่อาศัยเหลือขายจะยังคงเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะกลุ่มคอนโด  จึงต้องเพิ่มความระมัดระวังในการลงทุน     ส่วนการโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัย  ซึ่งแสดงถึงความต้องการที่แท้จริงคาดการณ์ในปี 2563 ก็จะลดลงมาอยู่ที่ 6,553 ยูนิต ลดลง​18.1%  มีมูลค่าประมาณ 14,401 ล้านบาท ลดลง 40.2% เมื่อเทียบกับปี 2562 ซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ยที่มีมูลค่า 19,157 ล้านบาท ด้วยภาพรวมดังกล่าวผู้ประกอบการจำเป็นต้องปรับกลยุทธ์การเสนอขาย โดยเฉพาะที่อยู่อาศัยประเภทคอนโด ที่มีอัตราการดูดซับชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่องจากช่วงต้นปี 2562 และคาดว่าจะต่อเนื่องมาถึงปี 2563 ด้วย
3 บิ๊กอสังหาฯ ฝ่าวิกฤตโควิด-19 กับยอดขายครึ่งปีแรกที่ดีเกินคาด !!

3 บิ๊กอสังหาฯ ฝ่าวิกฤตโควิด-19 กับยอดขายครึ่งปีแรกที่ดีเกินคาด !!

เริ่มต้นปี 2563 เชื่อว่าหลายคนคงไม่คาดคิดว่า ปีนี้ประเทศไทยจะต้องเผชิญกับการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ซึ่งส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงไปเกือบทุกเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องส่วนตัว เรื่องการทำงาน หรือทำธุรกิจ ทุกคนต้องปรับตัว ปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้ชีวิตและการทำงานกันแทบทั้งหมด   ในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ก็เกิดปรากฏการณ์หลายอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ไม่ว่าจะเป็นการขายและการตลาดออนไลน์ เพราะผู้บริโภคไม่ออกจากบ้าน ต้องอยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ รูปแบบการขายจึงมุ่งเน้นไปที่การไลฟ์สด การขายผ่านออนไลน์ช่องทางต่าง ๆ ผสมกับแคมเปญการตลาด ลด แลก แจก แถม ที่กระหน่ำใส่กันเข้ามา โดยเฉพาะการหั่นราคาขายหนักสุดเท่าที่เคยมีมาก่อน หรือแม้แต่กลยุทธ์ช่วยผ่อนก่อนมากถึง 5 ปี เพื่อทำให้ลูกค้าที่อยากมีที่อยู่แล้วเกิดลังเล กล้าจะตัดสินใจซื้อ   ช่วงเกิดการแพร่ระบาดช่วงแรก ๆ ดีเวลลอปเปอร์หลายราย วิตกและกังวล กลัวว่าปีนี้ธุรกิจอาจจะไม่เป็นไปตามเป้าหมาย อาจจะย่ำแย่จากปัจจัยที่ไม่ได้คาดคิดว่าจะเกิดขึ้น แต่ผลจากการทำตลาดอย่างหนัก บวกกับการปรับตัวที่รวดเร็วของดีเวลลอปเปอร์ ในการทำตลาดและรับมือกับเหตุการณ์ที่เกิด ทำให้ช่วงครึ่งปีแรกที่ผ่านมา หลายบริษัทยังรักษาการเติบโต สามารถกวาดยอดขายมาตุนไว้ในมือ ซึ่งหลายรายทำได้ดีเกินกว่าที่คาดเอาไว้ด้วยซ้ำ ORI โชว์พรีเซลครึ่งปีแรก 11,200 ล้าน นายพีระพงศ์ จรูญเอก ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) หรือ ORI  เปิดเผยว่า ในไตรมาส 2 ที่ผ่านมาบริษัทมียอดพรีเซลล์กว่า 6,400 ล้านบาท สูงกว่าในไตรมาสแรกกว่า 32% แบ่งเป็นยอดขายจากกลุ่มบ้านจัดสรร 30% และคอนโดมิเนียม 70% ยอดขายดังกล่าวส่งผลให้ภาพรวมในช่วงครึ่งปีแรก บริษัทมียอดขายสะสมแล้วกว่า 11,200 ล้านบาท แบ่งสัดส่วนเป็น บ้านจัดสรร 32% และคอนโดมิเนียม 68%   ยอดขายครึ่งปีแรก คิดเป็นกว่า 52% ของเป้าหมายทั้งปีที่ตั้งไว้ 21,500 ล้านบาท  ทำให้มีโอกาสที่ภาพรวมทั้งปีนี้  จะสามารถทำยอดขายได้มากกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ สาเหตุสำคัญที่ผลักดันยอดขายของบริษัทให้เติบโตโดดเด่นต่อเนื่อง มาจากการกลยุทธ์การขายที่ตอบสนองกับสถานการณ์ตลาด ควบคู่ไปกับการปรับเดินเกมการตลาดเชิงรุก เพิ่มช่องทางขายสินค้าบุกแพลตฟอร์มออนไลน์มากขึ้น อาทิ การเปิด Official Store บนแพลตฟอร์ม Shopee และ Lazada รวมทั้งการผลักดันพนักงานให้ก้าวสู่ Micro Influencer ขายสินค้าผ่านช่องทางสื่อสารส่วนบุคคล ภายใต้โปรเจ็คท์ Everyone can sell เพื่อเพิ่มการเข้าถึงผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมายโดยตรง สำหรับภาพรวมครึ่งปีหลัง  บริษัทจะมีโครงการสร้างเสร็จ  พร้อมทยอยโอนกรรมสิทธิ์เพิ่มเติมอีก 6 โครงการ มูลค่ารวมประมาณ 10,000 ล้านบาท เริ่มจากไตรมาส 3 จำนวน 2 โครงการ ได้แก่ 1.โครงการไนท์บริดจ์ ไพร์ม อ่อนนุช และ 2.โครงการ ไนท์บริดจ์ คอลลาจ สุขุมวิท 107 และในช่วงไตรมาสสุดท้ายอีก 4 โครงการ ได้แก่ 1.โครงการ ดิ ออริจิ้น สุขุมวิท 105, 2.โครงการ เคนซิงตัน ระยอง, 3.โครงการ ไนท์บริดจ์ เกษตร โซไซตี้ และ 4.โครงการ ไนท์บริดจ์ สเปซ รัชโยธิน โดยภาพรวมโครงการต่างๆ มียอดขายเฉลี่ยประมาณ 80-90% คาดว่าหลังก่อสร้างเสร็จแล้ว จะช่วยสร้างทั้งยอดขายใหม่และยอดโอนกรรมสิทธิ์อย่างต่อเนื่อง แสนสิริ ปรับเป้าใหม่ พร้อมตุนยอดขาย 65% นายอภิชาติ จูตระกูล ประธานอำนวยการ บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) เผยว่า  ช่วงครึ่งปีแรกบริษัทสามารถทำยอดขายได้จำนวน 22,000 ล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วน 63% จากเป้าหมายยอดขาย 35,000 ล้านบาท  โดยเป้าหมายยอดขาย 35,000 ล้านบาท เป็นเป้าหมายยอดขายใหม่ที่บริษัทได้ปรับเพิ่มจากช่วงต้นปี ที่ประกาศว่าจะทำยอดขายได้ 29,000 ล้านบาท ซึ่งไม่เพียงแต่เป้าหมายยอดขายเท่านั้น แต่ยังปรับเป้ายอดโอนด้วย  โดยวางเป้าหมายยอนในปีนี้ใหม่เป็น 39,000 ล้านบาท จากแผนเดิมวางเป้าหมายยอดโอน 33,000 ล้านบาท ซึ่งถือว่าเป็นเป้าหมายที่เติบโตสูงกว่าปีที่ผ่านมา 26% ความสำเร็จของแสนสิริดังกล่าว คงมาจากหลายปัจจัย ที่สำคัญคงเป็นเรื่องของกลยุทธ์การทำตลาด ซึ่งทำให้สามารถสร้างยอดขายได้ในท่ามกลางภาวะการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 (อ่านข่าวประกอบ .. 8 เหตุผลที่แสนสิริ ประกาศปรับเป้าเพิ่มทั้ง “รายได้-ยอดขาย”) “อนันดา” ตุนยอดขาย 7,500 ล้าน สำหรับบริษัท อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) ในปีนี้มีแผนเปิดตัวโครงการใหม่เพียง 1 โครงการเท่านั้น ซึ่งเป็นโครงการคอนโด  ไอดีโอ พหล-สะพานควาย (IDEO Phahol-Saphankwai) ซึ่งเป็นโครงการที่ปรับแผนการเปิดตัวมาจากช่วงปี 2562 ส่วยยอดขายและรายได้สำหรับปีนี้ จะมาจากโครงการที่เปิดขายก่อนหน้า และโครงการที่จะก่อสร้างแล้วเสร็จในปีนี้   ดร. ชัยยุทธ ชุณหะชา ประธานเจ้าหน้าที่สายงานการเงิน บริษัท อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน)  เปิดเผยว่า  บริษัททำยอดขายช่วง 6 เดือนแรก ได้ประมาณ 7,500 ล้านบาท หรือคิดเป็นเกือบ 50% ของเป้ายอดขายทั้งปีที่ตั้งไว้ 16,600 ล้านบาท ซึ่งแนวโน้มยอดขายไตรมาส 2/2563 ค่อนข้างดีกว่าที่คาด โดยเฉพาะเดือนเมษายน-พฤษภาคม ที่ทำยอดขายสูงถึง 3,000 ล้านบาท ส่วนแนวโน้มรายได้ในครึ่งหลังของปี 2563 คาดว่าจะสูงกว่าครึ่งปีแรก   โดยช่วงครึ่งปีหลังจะมีการโอนคอนโดมิเนียมสร้างเสร็จใหม่ทั้งหมด 5 โครงการ ในไตรมาส 3 มีจำนวน 4 โครงการ  ประกอบด้วย Ashton  Asoke-Rama 9, Ideo Q Sukhumvit 36 , Ideo Mobi Sukhumvit Eastpoint และ Ideo Ratchada-Sutthisan และไตรมาส 4 จะเริ่มทยอยโอนโครงการ Elio Sathorn-Wutthakat ขณะที่แนวโน้มธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ จะมีสัญญาณการฟื้นตัวที่ชัดเจนมาก โดยเฉพาะยอดขายและยอดโอน หลังจากสถานการณ์โควิด-19 ในประเทศเริ่มคลี่คลายลง และมีการผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ ส่งผลให้ภาพรวมของกิจกรรมทางเศรษฐกิจกลับเข้าสู่สภาวะปกติ โดยสัญญาณดังกล่าวมีแนวโน้มดีขึ้นตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงมิถุนายน ที่ยอดการเข้าเยี่ยมชมโครงการของบริษัทฯ เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 300-400 คนต่อวัน จากช่วงก่อนหน้าที่ 100 คนต่อวัน ซึ่งสะท้อนว่ากลุ่มลูกค้ากลับมาให้ความสนใจซื้อที่อยู่อาศัยมากขึ้น ขณะเดียวกัน บริษัทฯ ยังได้ปรับกลยุทธ์การตลาดและเพิ่มการขายผ่านช่องทางออนไลน์ ซึ่งได้รับการตอบรับที่ดี และสามารถสร้างยอดขายได้เป็นอย่างดี  
เรื่องต้องรู้ !! “ภาษีและค่าธรรมเนียม” ก่อนซื้อขายอสังหาฯ

เรื่องต้องรู้ !! “ภาษีและค่าธรรมเนียม” ก่อนซื้อขายอสังหาฯ

ถ้าตอนนี้ ใครมีความคิดจะซื้ออสังหาริมทรัพย์  ไม่ว่าจะเป็นบ้าน คอนโดมิเนียม หรือที่ดินเปล่า หรือจะเอาอสังหาฯ ที่มีอยู่ออกขาย ไม่ว่าจะเหตุผลอะไร และเป็นมือใหม่เพิ่งจะเริ่มทำธุรกรรมนี้เป็นครั้งแรก ยังไม่เคยซื้อหรือขายอสังหาฯ มาก่อน เรามี ภาษี และ ค่าธรรมเนียม เรื่องต้องรู้ก่อนซื้อขายอสังหาฯ ก่อนซื้อขายอสังหาฯ มาให้เรียนรู้ และทำความเข้าใจ เพราะเราไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้นั่นเอง ถ้าหากจะต้องทำธุรกรรมเกี่ยวกับอสังหา   สำหรับผู้สนใจการลงทุนในอสังหาฯ ซึ่งถือว่าเป็นอีกหนึ่งการลงทุนทางเลือกที่น่าสนใจ ไม่ว่าจะเป็นแบบซื้อมาเพื่อปล่อยเช่า หรือเพื่อการเก็งกำไร โดยคาดหวังว่าจะได้ส่วนต่างกำไรจากราคาอสังหาฯ  ที่ซื้อมาและขายไป อย่างไรก็ตามการขายอสังหาฯ ย่อมมีภาระภาษี ค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมต่างๆ มาเกี่ยวข้องเสมอ   โดยบทความ ซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ทั้งที ต้องรู้เรื่องภาษีและค่าธรรมเนียมกันก่อน จาก “นิภาพันธ์ พูนเสถียรทรัพย์” CFP®   นักวางแผนการเงินอิสระ นักเขียนและวิทยากร ได้นำเสนอข้อมูลไว้อย่างน่าสนใจ  ซึ่งระบุว่า กรณีที่เป็นบุคคลธรรมดา หากขายอสังหาฯ จะต้องเสียภาษี ค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมต่างๆ ภาษี และ ค่าธรรมเนียม เรื่องต้องรู้ก่อนซื้อขายอสังหาฯ ดังนี้1.ค่าธรรมเนียม เป็นค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ คิดในอัตรา  2% จากราคาประเมินหรือราคาขาย แล้วแต่ราคาใดจะสูงกว่า ก็ใช้ราคานั้นในการคำนวณ โดยราคาประเมิน คือ ราคาที่รัฐบาลกำหนดให้เป็นราคากลางของอสังหาฯ ทั่วประเทศ เพื่อใช้เป็นเกณฑ์ในการคิดค่าธรรมเนียมและภาษีจากการซื้อขายอสังหาฯ โดยจะมีการปรับราคาประเมินใหม่ทั่วประเทศทุก ๆ 4 ปี   ปัจจุบันกรมที่ดินอัพโหลดข้อมูลเกี่ยวกับราคาที่ดินทั่วประเทศ เพื่อให้ประชาชนได้เข้าไปตรวจสอบเบื้องต้น บนเว็บไซต์ http://property.treasury.go.th/pvmwebsite/index.asp เพื่อให้ผู้ที่จะซื้อหรือจะขายที่ดิน จะได้กำหนดราคาได้เหมาะสม ซึ่งราคาประเมินอาจจะสูงหรือต่ำกว่าราคาซื้อขายจริงก็ได้ แต่โดยส่วนใหญ่แล้วราคาประเมินจะต่ำกว่า ส่วนราคาตลาด คือ ราคาที่ใช้ในการซื้อขายกันจริง ซึ่งจะสอดคล้องกับดีมานด์และซัพพลายของตลาดในแต่ละช่วงเวลา มีการปรับตัวตามภาวะค่าครองชีพอยู่ตลอดเวลา  ราคาตลาดจึงมักสูงกว่าราคาประเมิน 2.ค่าอากรแสตมป์ คือ ค่าอากรแสตมป์ที่ผู้ขายต้องเสียในขั้นตอนการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ อยู่ที่  0.5% ของราคาซื้อขายหรือราคาประเมินโดยเลือกราคาที่สูงกว่ามาใช้ในการคำนวณ 3.ภาษีธุรกิจเฉพาะ กรณีผู้ขายถือครองอสังหาฯ เป็นเวลาน้อยกว่า 5 ปี (แบบนับวันชนวัน) จะต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ ซึ่งคิดในอัตรา 3.3% ของราคาซื้อขาย หรือราคาประเมิน โดยเลือกราคาที่สูงกว่ามาใช้เป็นฐานในการคำนวณ กรณีที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ จะได้รับยกเว้นค่าอากรแสตมป์ในข้อ 2 แต่ถ้าถือครองนานเกินกว่า 5 ปี หรือมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านนานกว่า 1 ปี จะได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ 4.ภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่าย เนื่องจากเงินจากการขายอสังหาริมทรัพย์ถือเป็นรายได้ จึงต้องนำมาคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เพื่อเสียภาษีหัก ณ ที่จ่าย โดยใช้ราคาประเมิน (40(8) มาตรา 49 ทวิ แห่ง ประมวลรัษฎากร) หักด้วยค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาตามที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 165 พ.ศ. 2529) ตามจำนวนปีที่ถือครอง ดังนี้ หากอสังหาฯ นั้น ได้รับมาโดยทางมรดก หรือ รับจากการให้โดยเสน่หาให้หักค่าใช้จ่ายได้ 50% จำนวนปีที่ถือครองนั้นจะนับตามปีบัญชี โดยหนึ่งปีจะเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคมไปจนถึง 31 ธันวาคมของปีเดียวกัน การซื้อขายภายในปีเดียวกันนับเป็นการถือครอง 1 ปี หากครอบครองตั้งแต่เดือนธันวาคมปีนี้ถึงมีนาคมปีหน้าก็ให้นับเป็นถือครอง 2 ปี กรณีการขายอสังหาฯ ที่ได้มาโดยมิได้มุ่งค้ากำไร ภาษีที่คำนวณหัก ณ ที่จ่าย สูงสุดต้องไม่เกิน 20% ของราคาขาย แต่หากเป็นกรณีขายโดยมุ่งค้ากำไร จะไม่มีการจำกัดเพดานภาษี นอกจากนี้การขายอสังหาฯ ที่ตั้งอยู่นอกเขตกรุงเทพมหานคร เทศบาล สุขาภิบาล หรือ เมืองพัทยา ยังได้รับยกเว้น 200,000 บาทก่อน เหลือเท่าใดจึงนำไปคำนวณหักค่าใช้จ่าย ตัวอย่างวิธีคำนวณภาษีเงินได้ นายมั่งคั่งได้ซื้อที่ดินมาเดือนมิถุนายน 2555 และขายไปเมื่อเดือน มกราคม 2562 ในราคา 4,000,000 บาท * การคำนวณภาษีจากการขายอสังหาริมทรัพย์ ไม่ได้รับยกเว้นสำหรับเงินได้สุทธิ 0 - 150,000 บาทแรก ** การนับจำนวนปีในการถือครองอสังหาริมทรัพย์ เศษของปี ให้นับเป็น 1 ปี และหากถือครองเกิน 10 ปี ให้นับเพียง 10 ปี ทั้งนี้รายได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ที่ไม่ได้มุ่งค้ากำไร ผู้มีเงินได้มีสิทธิ์เลือกที่จะเสียภาษีตามจำนวนที่ถูกหัก ณ ที่จ่ายไว้ โดยไม่ต้องนำไปรวมคำนวณภาษีกับรายได้อื่นตามปกติได้ จากตัวอย่างการซื้อขายที่ดินข้างต้น จะมีค่าใช้จ่ายทั้งหมด ดังนี้ 1.ค่าธรรมเนียมการโอน 2% ของราคาซื้อขาย หรือเท่ากับ 2% x 4,000,000 = 80,000 บาท ซึ่งค่าธรรมเนียมการโอนนี้สามารถเจรจาต่อรองระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายได้ว่าใครจะเป็นผู้ชำระค่าธรรมเนียมนี้ 2.ค่าอากรแสตมป์ 0.5% ของราคาซื้อขาย หรือเท่ากับ 0.5% x 4,000,000 = 20,000 บาท ผู้ขายเป็นผู้ชำระ 3.ภาษีธุรกิจเฉพาะ เนื่องจากนายมั่งคั่ง (ผู้ขาย) ถือครองที่ดินมาเกินกว่า 5 ปีจึงได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะนี้ 4.ภาษีเงินได้หักภาษี ณ ที่จ่าย ผู้ขายเป็นผู้ชำระตามที่ได้คำนวณดังตารางข้างต้น   ที่มา : www.scb.co.th   บทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ลดหย่อนภาษี สำหรับมนุษย์เงินเดือน ครม. ลดภาษี 90% ช่วยเจ้าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้างโดนพิษโควิด-19 EIC วิเคราะห์ ใครคือผู้ได้รับผลกระทบจากภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง  
สำรวจตลาดอสังหาฯ ชลบุรี ปี 63 “คอนโด-ทาวน์เฮ้าส์” แนวโน้มชะลอตัว

สำรวจตลาดอสังหาฯ ชลบุรี ปี 63 “คอนโด-ทาวน์เฮ้าส์” แนวโน้มชะลอตัว

พื้นที่ภาคตะวันออก นับว่ามีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ มาอย่างต่อเนื่องและยาวนาน เพราะเป็นพื้นที่สำคัญทั้งด้านการท่องเที่ยว การเกษตร และเมืองอุตสาหกรรม พื้นที่ภาคตะวันออก ยิ่งมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจไทยมากขึ้น เมื่อรัฐบาลจัดทำโครงการการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor) หรืออีอีซี (EEC)  ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ 3 จังหวัด  ได้แก่ จังหวัดฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง   เมื่อพื้นที่ดังกล่าว ได้ถูกวางให้เป็นอีกหนึ่งศูนย์กลางเศรษฐกิจของประเทศ ทำให้พื้นที่ดังกล่าวหนาแน่นไปได้ด้วยจำนวนประชากร  ทั้งที่ย้ายมาเพื่อทำงาน และอยู่อาศัย จึงทำให้เกิดการพัฒนาธุรกิจอื่นๆ ออกมารองรับ หนึ่งในนั้นคือการพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์  เพื่อการอยู่อาศัย เป็นการสร้างซัพพลายออกมารองรับ กับจำนวนประชากรที่ย้ายถิ่นเข้ามาทำงานในพื้นที่ดังกล่าว และในบรรดาจังหวัดที่มีโคงการอสังหาฯ เกิดขึ้นอย่างหนาแน่น และเพิ่มจำนวนมาต่อเนื่อง คือ จังหวัดชลบุรี   โดยจากผลการสำรวจล่าสุด ในช่วงครึ่งหลังปี 2562 ในพื้นที่ภาคตะวันออก ของศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ (REIC) พบว่า จังหวัดชลบุรีมีจำนวนที่อยู่อาศัยเสนอขายมากที่สุดในกลุ่มจังหวัด EEC ซึ่งคาดว่าในปี 2563 นี้จะมีที่อยู่อาศัยเปิดตัวใหม่ จำนวน 6,689 ยูนิต แม้จะลดลงจากช่วงปี 2562 ที่มีเปิดตัวโครงการใหม่ 17,295 ยูนิต  ก็ตาม  โดยจะเป็นการเปิดตัวใหม่ในช่วงครึ่งปีแรก 3,651 ยูนิต และเปิดตัวใหม่ในช่วงครึ่งปีหลัง จำนวน 3,038 ยูนิต ขณะที่ยูนิตเหลือขายทั้งหมดคาดว่าจะมี 88,644 ยูนิต เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมามีจำนวน 85,481 ยูนิต ปี 63 ยอดขาชะลอตัวอัตรดูดซับเหลือ 1.1-1.3% ดร.วิชัย วิรัตกพันธ์ ผู้ตรวจการธนาคารอาคารสงเคราะห์และรักษาการผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ กล่าวว่า แนวโน้มที่อยู่อาศัยในจังหวัดชลบุรีในปี 2563 จะเหลือขายอยู่ในตลาดจำนวน 44,060 ยูนิต  ซึ่งเมื่อพิจารณาเปรียบเทียบกับอัตราดูดซับที่ลดต่ำลงมาอยู่ที่  2.1%  ในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2562 และคาดว่าในปี 2563 อัตราดูดซับจะเหลือประมาณ 1.1-1.3% และคาดการโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยก็จะลดลงมาอยู่ที่ 30,141 ยูนิต มูลค่าประมาณ  59,293 ล้านบาท ซึ่งต่ำกว่าค่ามาตรฐานซึ่งมีมูลค่า 64,095 ล้านบาท ลดลง 20.0% โดยช่วงครึ่งปีหลังปี 2563 มีที่อยู่อาศัยเหลือขายอยู่ในตลาดจำนวน 44,060 ยูนิต ประกอบด้วย คอนโด  19,348 ยูนิต ทาวน์เฮ้าส์  12,699 ยูนิต บ้านเดี่ยว  5,730 ยูนิต บ้านแฝด  4,979 ยูนิต อาคารพาณิชย์  1,304 ยูนิต ในปี 2563 คาดว่าอัตราดูดซับจะเหลือประมาณ  1.1-1.3%  โดยคาดว่าที่อยู่อาศัยในแต่ละประเภท จะมีอัตราดูดซับในปี 2563 ดังนี้ คอนโด  มีอัตราดูดซับ 1.2% บ้านแฝด  มีอัตราดูดซับ 1.3% ทาวน์เฮ้าส์  มีอัตราดูดซับ 1.3% อาคารพาณิชย์   มีอัตราดูดซับ 1.2% บ้านเดี่ยว  มีอัตราดูดซับ 1.1% อสังหาฯ ชลบุรีโอนกรรมสิทธิ์ลดลง 12.9% การโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยในปี 2563 คาดว่า จะลดลงมาอยู่ที่ 30,141 ยูนิต หรือลดลง 12.9% จากปี 2562 ที่มีจำนวนการโอนกรรมสิทธิ์ 34,593 ยูนิต  ซึ่งปีนี้การโอนกรรมสิทธิ์ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยช่วง 5 ปีตั้งแต่ปี 2558-2562 ที่มีระดับการโอนกรรมสิทธิ์อยู่ที่ 33,812 ยูนิต  ส่วนมูลค่าการโอนกรรมสิทธิ์คาดว่าจะมีมูลค่าประมาณ  59,293 ล้าน  บาท ซึ่งต่ำกว่าค่ามาตรฐานซึ่งมีมูลค่า 64,095 ล้านบาท ซึ่งลดลง 20.0% จากปี 2562 ที่มีมูลค่าการโอนกรรมสิทธิ์ 74,106 ล้านบาท   ด้วยภาพรวมดังกล่าวผู้ประกอบการจำเป็นต้องปรับกลยุทธ์การเสนอขาย โดยเฉพาะ คอนโด และทาวน์เฮ้าส์ที่มีอัตราการดูดซับชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่องจากช่วงต้นปี 2562 และคาดว่าจะต่อเนื่องมาถึงปี 2563 มองตลาดอสังหาฯ ชลบุรี ครึ่งหลังปี 62 สำหรับผลการสำรวจตลาดที่อยู่อาศัยในพื้นที่จังหวัดชลบุรี ช่วงสิ้นปี 2562 มีจำนวนที่อยู่อาศัยที่อยู่ระหว่างเสนอขายจำนวนทั้งสิ้น 675 โครงการ  แบ่งเป็นโครงการบ้านจัดสรร 510 โครงการ โครงการคอนโด 165 โครงการ  จำนวนรวม 50,655 ยูนิต คิดเป็นมูลค่า 176,116 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงครึ่งปีแรกที่มีจำนวน 49,750 ยูนิต  ในจำนวนที่อยู่อาศัยทั้งหมด แบ่งเป็น คอนโด  21,806 ยูนิต บ้านเดี่ยว  6,534 ยูนิต บ้านแฝด  5,747 ยูนิต ทาวน์เฮ้าส์  15,053 ยูนิต อาคารพาณิชย์  1,515 ยูนิต โดยมีโครงการที่เปิดขายใหม่ในช่วงครึ่งปีหลังเพียง 6,593 ยูนิต แบ่งเป็นอาคารชุด 3,700 ยูนิต และบ้านจัดสรร 2,893 ยูนิต เมื่อพิจารณาจากยูนิตขายได้ใหม่จากการสำรวจพบว่าในช่วงครึ่งหลังปี 2562 มียูนิตขายได้ใหม่จำนวน 6,270 ยูนิต ลดลงจากช่วงครึ่งปีแรก 27.5% ในจำนวนดังกล่าวเป็นการขายคอนโด  2,535 ยูนิต และเป็นบ้านจัดสรร 3,735 ยูนิต และมียูนิตเหลือขายจำนวน 44,385 ยูนิต เพิ่มขึ้นจากช่วงครึ่งปีแรก  8% มูลค่ารวม 155,838 ล้านบาท โดยมียูนิตเหลือขายประเภทโครงการคอนโดจำนวน 19,271 ยูนิต บ้านจัดสรรจำนวน 25,114 ยูนิต   โดยบ้านจัดสรรที่เหลือขาย จำนวน 25,114 ยูนิต ยังแบ่งออกเป็นที่อยู่ประเภทต่างๆ ได้แก่ บ้านเดี่ยว  5,789 ยูนิต บ้านแฝด  5,002 ยูนิต ทาวน์เฮ้าส์  12,923 ยูนิต อาคารพาณิชย์  1,400 ยูนิต จากการที่จำนวนยูนิตขายได้ใหม่มีอัตราการขายได้ลดลงถึงร้อยละ 27.5% จึงส่งผลให้จำนวนที่อยู่อาศัยเหลือขายมีอัตราเพิ่มขึ้น 8% เปิด 5 ทำเลอสังหาฯ ขายดีในจังหวัดชลบุรี สำหรับทำเลที่อยู่อาศัยขายดี ของจังหวัดชลบุรี ได้แก่ 1.ทำเลพัทยา-เขาพระตำหนัก จำนวน 7,185 ยูนิต 2.ทำเลหาดจอมเทียน จำนวน 6,864 ยูนิต 3.ทำเลนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร-บายพาส จำนวน 3,798 ยูนิต 4.ทำเลนิคมอุตสาหกรรมบ่อวิน จำนวน 3,729 ยูนิต 5.ทำเลบางแสน-หนองมน-บางพระ จำนวน 3,306 ยูนิต   ระดับราคาที่เหลือขายมากที่สุด ใน 5 อันดับแรก ได้แก่ 1.ระดับราคา 3.01-5.00 ล้านบาท เหลือขาย 13,411 ยูนิต 2.ระดับราค 2.01-3.00 ล้านบาท เหลือขาย 13,352 ยูนิต 3.ระดับราคา 1.51-2.00 ล้านบาท เหลือขาย 8,739 ยูนิต 4.ระดับราคา 5.01-7.50 ล้านบาท เหลือขาย 3,662 ยูนิต 5.ระดับราคา 1.01-1.50 ล้านบาท เหลือขาย 1,801 ยูนิต บทสรุปอสังหาฯ​ ชลบุรี ณ สิ้นปี 62 ส่วนตลาดที่อยู่อาศัยในจังหวัดชลบุรี มียูนิตเหลือขายในช่วงสิ้นปี 2562 จำนวน 44,385 ล้านบาท มูลค่า 155,838 ล้านบาท แบ่งเป็นโครงการยังไม่ได้ก่อสร้าง 20,219 ล้านบาท อยู่ระหว่างการก่อสร้าง 14,639 ล้านบาท และโครงการที่ก่อสร้างเสร็จ 9,527 ล้านบาท  ซึ่งเป็นโครงการพร้อมโอน  หรือเป็น Inventory ในตลาด คิดเป็นมูลค่า 31,501 ล้านบาท  แบ่งเป็น คอนโด  4,608 ยูนิต บ้านเดียว  963 ยูนิต บ้านแฝด   691 ยูนิต ทาวน์เฮ้าส์   2,639 ยูนิต อาคารพาณิชย์  626 ยูนิต สำหรับทำเลที่มียูนิตสร้างเสร็จเหลือขายมากที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ 1.ทำเลหาดจอมเทียน จำนวน 1,496 ยูนิต 2.ทำเลพัทยา-เขาพระตำหนัก จำนวน 1,311 ยูนิต 3.ทำเลศรีราชา-อัสสัมชัญ จำนวน 1,209 ยูนิต 4.ทำเลนิคมอุตสาหกรรมบ่อวิน จำนวน 1,145 ยูนิต 5.ทำเลแหลมฉบัง จำนวน 1,051 ยูนิต   โดยระดับราคาที่อยู่อาศัย ซึ่งเหลือขายมากที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ 1.ระดับราคา 2.01-3.00 ล้านบาท จำนวน 2,958 ยูนิต 2.ระดับราคา 3.01-5.00 ล้านบาท จำนวน 2,377 ยูนิต 3.ระดับราคา 1.51-2.00 ล้านบาท จำนวน 1,779 ยูนิต 4.ระดับราคา 5.01-7.50 ล้านบาท จำนวน 678 ยูนิต 5.ระดับราคาต่ำกว่า 1 ล้านบาท จำนวน 670 ยูนิต   ทำเลขายได้ใหม่สูงสุด 5 อันดับได้แก่ 1.ทำเลหาดจอมเทียน จำนวน 1,037 ยูนิต มีอัตราดูดซับ 2.2% 2.ทำเลพัทยา-เขาพระตำหนัก จำนวน 718 ยูนิต มีอัตราดูดซับ 1.5% 3.ทำเลนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร-บายพาส จำนวน 712 ยูนิต มีอัตราดูดซับ 2.6% 4.ทำเลบางแสน-หนองมน-บางพระ จำนวน 703 ยูนิต มีอัตราดูดซับ 2.9% 5.ทำเลศรีราชา-อัสสัมชัญ จำนวน 581 ยูนิต มีอัตราดูดซับ 2.7%
10 วิธีป้องกันสัตว์มีพิษเข้าบ้าน ช่วงหน้าฝน

10 วิธีป้องกันสัตว์มีพิษเข้าบ้าน ช่วงหน้าฝน

แม้ว่าตอนนี้ เมืองไทยอากาศจะร้อนถึงร้อนมาก แต่ถือว่าเข้าสู่ฤดูฝนอย่างเป็นทางการแล้ว แต่ฝนอาจจะตกบ้างไม่ตกบ้าง หรือตกน้อยกว่าที่ควรจะเป็นก็ตาม ยังไงเราก็อยู่ในช่วงหน้าฝนกันแล้ว (10 วิธีป้องกันสัตว์มีพิษเข้าบ้าน ช่วงหน้าฝน)   เมื่อเข้าสู่ฤดูฝน สิ่งที่น่าห่วงและน่ากังวลคงมีด้วยกันหลายเรื่อง สำหรับการอยู่อาศัย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องปัญหา น้ำรั่ว น้ำขัง หรือน้ำท่วม ปัญหาเชื้อโรคที่มากับหน้าฝน หรือการเจ็บป่วย ปัญหาการเดินทางที่ไม่สะดวกสบาย และอีกสารพัดปัญหา นอกจากนี้ ยังมีปัญหาที่อาจจะไม่ใช่เรื่องใหญ่ แต่ก็เป็นปัญหาสำคัญสำหรับการอยู่อาศัย ในช่วงหน้าฝนนี่ เพราะจากปัญหาเล็กๆ อาจจะลุกลามเป็นปัญหาใหญ่ได้ นั่นก็คือ ปัญหาสัตว์มีพิษเข้าบ้าน   สัตว์มีพิษ ที่มักจะเข้ามาในบ้าน ก็เพราะพวกสัตว์เหล่านั้น ต้องการหาที่หลบฝน ไม่อยากโดนน้ำฝนท่วมตาย จึงพยายามหาสถานที่เพื่อหลบภัย ซึ่งก็มักจะไม่ใช่ที่ไหน แต่เป็นบ้านของพวกเรานั้นเอง ยิ่งการอยู่อาศัยในเมือง ป่าหรือสวนซึ่งเป็นสถานที่ธรรมชาติ ให้สัตว์มีพิษอยู่อาศัยนั้นแทบจะไม่มี บ้านพักอาศัยจึงเป็นที่พึ่งพิงของ สัตว์มีพิษ   สัตว์มีพิษ มีมากมายหลายชนิด ที่ชอบเข้ามาหลบฝนอยู่ในบ้านของเรา นับตั้งแต่แมลงตัวเล็กมีพิษไม่มาก อย่างมด แมลงก้นกระดก แมลงป่อง ตะขาบ ไล่ไปจนถึงสัตว์มีพิษ ที่ทุกคนคงไม่ชอบ และมีอันตรายมากที่สุด อย่างงูต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นงูมีพิษ ประเภทงูเห่า งูจงอาง หรืองูขนาดใหญ่ ไม่มีพิษ แต่ก็มีอันตรายสูง อย่างงูเหลือม งูหลาม เป็นต้น   เราจะมีวิธีการป้องกัน สัตว์มีพิษ เข้าบ้านได้อย่างไร วันนี้มีเทคนิคและเคล็ดไม่รับ ซึ่งสามารถนำเอาไปปรับใช้กันได้ ตามสะดวก และตามความเหมาะสม เพื่อให้หน้าฝนนี้ บ้านที่เราอยู่อาศัย จะได้ห่างไกลจาก สัตว์มีพิษ เข้ามาทำร้าย และสร้างความน่ารำคาญ ในช่วงหน้าฝนนี้ 10 วิธีป้องกันสัตว์มีพิษเข้าบ้าน ช่วงหน้าฝน ได้แก่ 1.ทำความสะอาดรอบบ้าน การทำความสะอาดบ้าน ถือเป็นเรื่องพื้นฐานเริ่มต้น และช่วยป้องกัน สัตว์มีพิษ​ เข้ามาในบ้านได้อย่างง่ายๆ ไม่เสียเงินมากมาย แถมยังทำให้บ้านที่เราอยู่อาศัย มีสุขลักษณะที่ดี เป็นระเบียบน่าอยู่อาศัยด้วย   การป้องกัน สัตว์มีพิษ​ เข้ามาในบ้านช่วงหน้าฝน เราจึงต้องกำจัดขยะ สิ่งของต่างๆ รอบบ้าน เพราะการมีขยะ ก็จะทำให้มีแหล่งอาหารและแหล่งซ่อนตัว ของบรรดาสัตว์มีพิษทั้งหลาย นอกจากการจัดขยะ และทำความสะอาดบ้านแล้ว เราควรจัดบ้านให้เป็นระเบียบเรียบร้อยอยู่เสมอด้วย เพราะบ้านที่สกปรกไม่ใช่เป็นแค่ที่หลบภัยของสัตว์มีพิษ ที่เรามองเห็นได้ด้วยตาเท่านั้น แต่ยังเป็นแหล่งสะสมเชื้อโรคต่างๆ ที่เรามองไม่เห็นอีกมากมายด้วย 2.ตรวจเช็คจุดอับของบ้าน สาเหตุสำคัญของ สัตว์มีพิษ เข้ามาในบ้านช่วงหน้าฝน เป็นเพราะต้องการหาที่หลบฝน ซึ่งหนีไม่พ้นจุดอับ หรือซอกหลืบต่างในบ้าน เพื่อใช้เป็นที่พรางตัวและหลบฝน รวมถึงหลบภัยจากศัตรูของพวกมันเองด้วย การที่บ้านมีมุมอับ มีซอกหลืบ ที่มีสิ่งของระเกะระกะจึงเป็นจุดซ่อนตัวของสัตว์มีพิษได้อย่างดี จึงต้องรีบจัดระเบียนโดยเร็ว   3.ปิดจุดแตกร้าวของผนังบ้าน-รูโหว่รอบบ้าน อีกหนึ่งจุด ที่สัตว์มีพิษ แอบซ่อนตัวเสมอๆ ต่อไม่ให้ใช่ช่วงหน้าฝนก็ตาม คือ จุดแตก รอยร้าว หรือรูโหว่ต่างๆ ของบ้าน  เพื่อไม่ให้สัตว์มีพิษ ไม่ว่าจะเป็นประเภทอะไรซ่อนตัวอยู่ จึงต้องสำรวจดูให้ดี โดยเฉพาะตามรอยต่อของผนัง วงกบของหน้าต่าง หากตรวจพบต้องรีบดำเนินการอุดรูรั่ว ช่องโหว่นั้นทันที อาจจะใช้กาวยาแนว ซิลิโคลน หรือปูนซีเมนต์ มาเป็นตัวช่วยก็ได้ ขึ้นอยู่กับชนิดของวัสดุที่ต้องการจะปกปิด ซึ่งสามารถหาซื้อได้ตามร้านวัสดุก่อสร้างทั่วไป หากไม่รู้ว่าจะใช้ชนิดอะไร ปรึกษาทางร้านได้ แต่หากไม่อยากลงมือทำด้วยตัวเอง หรืองานซ่อมแซมมีขนาดใหญ่เกินไป งานนี้คงต้องเรียกช่างมาซ่อมแซมแทน 4.ตัดแต่ง-ดูแลกระถางต้นไม้ สำหรับบ้านที่มีการปลูกต้นไม้ มีรั้วต้นไม้ หรือไม้กระถาง สถานที่เหล่านั้น คือ แหล่งที่อยู่อาศัยโดยธรรมชาติ ของบรรดา สัตว์มีพิษทั้งหลาย เพื่อไม่ให้ต้นไม้ที่เราปลูกไว้ ต้องมีสัตว์มีพิษมาอยู่อาศัย จึงต้องดูแลในเรื่องของการตัดแต่งกิ่งไม้ที่มีพุ่มหนา กำจัดวัชพืช ทำให้สนามหรือต้นไม้มีความโปร่ง เพื่อไม่ให้เป็นสถานที่ซ่อนตัวของสัตว์มีพิษได้ รวมถึง กระถางต้นไม้ ต้องจัดระเบียบให้เรียบร้อย โดยเฉพาะบริเวณใต้กระถาง สัตว์มีพิษมักจะแฝงตัวอาศัยอยู่เสมอ ๆ 5.ใช้สารเคมีโรยรอบบ้าน อีกวิธีสำหรับการป้องกัน สัตว์มีพิษ เข้าบ้าน ที่ดูจะเป็นวิธีที่สะดวก และอาจจะเรียกได้ว่า เป็นยาแรงในการป้องกันสัตว์มีพิษ คือ การใช้สารเคมีประเภทต่างๆ มาโรยไว้รอบบ้าน หรือตามจุดที่คาดว่าจะเป็นทางเดินของสัตว์มีพิษ  รวมถึงตามท่อระบายน้ำ เช่น กำมะถันผสมน้ำ ป้องกันงูพิษ การใช้โซดาไฟ ไล่ตะขาบ ตามท่อระบายน้ำ เป็นต้น ซึ่งสารเคมีที่ใช้กำจัดพิษมีมากมาย รวมถึง ผงเคมีที่ใช้กำจัดสัตว์มีพิษแต่ละชนิดโดยตรง ก็มีวางจำหน่ายเช่นกัน 6.ปลูกต้นไม้ไร้สัตว์มีพิษ วิธีนี้ อาจจะเป็นการป้องกันสัตว์มีพิษเข้าบ้าน แบบที่เรียกว่า ธรรมชาติบำบัด คือ การปลูกต้นไม้บางชนิดไว้รอบๆ บริเวณบ้าน ซึ่งต้นไม้หรือดอกไม้บางชนิด สามารถป้องกันสัตว์มีพิษได้   เช่น ฟ้าทะลายโจร นอกจากจะช่วยเรื่องป้องกันโรคไข้หวัดอย่างดีแล้ว ฟ้าทะลายโจร ยังป้องกันงูเข้าบ้านได้ด้วย แถมมีชื่อเรียกอีกอย่างว่า หญ้ากันงู  ไม่ใช่แค่ชื่อ เพราะคุณสมบัติของฟ้าทะลายโจร ที่เมื่องูสัมผัสกับราก หรือใบ จะทำให้ผิวหนังเกิดการปวดบวมได้ ดอกดาวเรือง ดอกไม้สีเหลืองสวยงาม มักนำมาร้อยเป็นอุบะพวงมาลัย และยังมีประโยชน์ทั้งการไล่แมลงศัตรูพืชบางชนิด จากกลิ่นขอดอกดาวเรืองนั่นเอง รวมถึงงูด้วย นอกจากยางในลำต้นของดอกดาวเรือง ก็มีฤทธิ์ทำให้งูระคายเคืองผิว และทำให้สายตาของงูพร่าเลือนได้ด้วย ดอกไพรีทรัม ป้องกันแมลงก้นกระดกได้ เพราะกลิ่นของดอกไม้ชนิดนี้ จะช่วยทำลายระบบประสาทของแมลงก้นกระดก ทำให้ให้แมลงสลบและอาจถึงตายได้ด้วย 7.เลี้ยงสัตว์เลี้ยง การเลี้ยงสัตว์ นอกจากจะมีความสุขทางใจ และมีสัตว์เลี้ยงเป็นเพื่อนเล่นแล้ว สัตว์บางชนิด ยังมีประโยชน์ในการป้องกันสัตว์มีพิษเข้าบ้านได้อีกต่างหาก เช่น ไก่ จะกำจัดตะขาบ เมื่อพบเห็น เพราะตะขาบคืออาหารอันแสนอร่อยของไก่ หรือแม้แต่สุนัข อาจจะไม่ได้กินหรือกัดสัตว์มีพิษ แต่ก็มักจะเป็นหน่วยเตือนภัยสัตว์เหล่านั้นได้เป็นอย่างดี เพราะสุนัขเจอสัตว์พิษ ก็จะเห่าส่งสัญญาณเตือนภัยให้เราได้รู้ล่วงหน้าเสมอ 8.ติดตาข่าย-มุ้งลวด การติดตาข่าย หรือมุ้งลวด เป็นอีกวิธีที่ไม่ยุ่งยาก และได้ผลดี แต่อาจจะต้องลงทุนในการทำบ้าง โดยเฉพาะการติดตาข่ายไว้รอบบริเวณบ้าน เพื่อป้องกันสัตว์มีพิษเข้าบ้านในด่านแรก ซึ่งส่วนใหญ่อาจจะป้องกันได้เฉพาะสัตว์ขนาดใหญ่ เช่น งู สัตว์ขนาดเล็ก อย่างตะขาบ หรือแมลงก้นกระดก อาจจะต้องป้องกันอีกชั้นหนึ่ง ด้วยมุ้งลวดตามประตูและหน้าต่างของบ้าน รวมถึงช่องลม หรือจุดที่แมลงและสัตว์มีพิษจะเข้ามาในบ้านได้ 9.ทำรัวทึบ การทำรั้วทึบและให้สูงพอที่สัตว์จะไม่เข้ามาภายในบ้านได้  ก็นับเป็นวิธีที่ป้องกันสัตว์มีพิษ เข้ามาในบ้านได้ค่อนข้างดี และป้องกันได้อย่างระยะยาว แต่อาจจะมีสัตว์ขนาดเล็ก หรือสัตว์มีพิษบางชนิด ที่เล็ดลอดออกมาได้ หากรั้วที่เราทำไว้ เกิดการแตกร้าวหรือมีช่องโหว่ ซึ่งเราก็ต้องตรวจตราดูแล รวมถึงซ่อมแซมให้ดีอยู่เสมอเช่นกัน 10.อุปกรณ์เสริมอื่นๆ บางครั้ง การป้องกันสัตว์มีพิษเข้าบ้าน ก็อาจจะต้องมีตัวช่วย เช่น การใใช้อุปกรณ์เสริมอื่นๆ อาทิ การติดแผ่นกันงู หรือเครื่องไล่แมลง เพราะวิธีการป้องกันต่างๆ ที่กล่าวมาข้างต้น อาจจะไม่สามรถป้องกันได้ 100% หรือบางครั้งอาจจะเกิดจากความผิดพลาดของผู้อยู่อาศัยเองได้เช่นกัน การป้องกันที่ดีที่สุดอาจจะต้องใช้หลายๆ วิธีร่วมกัน   นี่ก็คือ 10 วิธีป้องกันสัตว์มีพิษเข้าบ้าน ช่วงหน้าฝน ซึ่งเชื่อว่าจะช่วยทำให้บ้านที่เราอยู่อาศัย ห่างไกลจากสัตว์มีพิษ และทำให้คนในบ้านอยู่กันอย่างปลอดภัยในช่วงหน้าฝนนี้ ยังไงลองนำไปปรับใช้กันดูตามสะดวกได้เลย   เรื่องอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง มันมากับหน้าฝน ตะขาบเข้าบ้านทำอย่างไรดี วิธีป้องกันงูเข้าบ้าน ง่ายๆ แต่ได้ผล 10 จุดเสี่ยงของบ้าน ต้องเช็กด่วน!! ก่อนสร้างปัญหาในหน้าฝน    
อสังหาฯ จ.พิษณุโลกปี 63 ซัพพลายเหลือเพียบ แนะชะลอเติมสินค้าใหม่เข้าตลาด

อสังหาฯ จ.พิษณุโลกปี 63 ซัพพลายเหลือเพียบ แนะชะลอเติมสินค้าใหม่เข้าตลาด

จังหวัดพิษณุโลก ถือเป็นหนึ่งจังหวัดสำคัญทางภาคเหนือ ที่มีผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์จากส่วนกลาง ได้เข้าไปปักหมุดพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยกันอย่างต่อเนื่อง รวมถึงนักพัฒนาในท้องถิ่นเอง ก็พัฒนาโครงการขึ้นมารองรับความต้องการภายในจังหวัดด้วย เพราะจังหวัดพิษณุโลกถือเป็นหนึ่งจังหวัดสำคัญด้านเศรษฐกิจ การลงทุน และการค้า รวมถึงศูนย์กลางความเจริญด้านต่าง ๆ ของภาคเหนือในตอนล่าง ไม่แพ้จังหวัดอื่น ๆ   โดยผลการสำรวจของศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ หรือ REIC ในช่วงครึ่งปีหลัง 2562 ซึ่งทำการสำรวจตลาดอสังหาริมทรัพย์ในพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก เพียงอำเภอเดียวเพราะถือเป็นศูนย์กลางด้านอสังหาฯ ของจังหวัด  ซึ่งผลจากการสำรรวจเป็นที่น่าสังเกตว่า ช่วงครึ่งหลังปี 2562 จำนวนที่อยู่อาศัยอยู่ระหว่างการขาย มีจำนวนยูนิตลดลงจากช่วงครึ่งแรกของปี 2562  เนื่องจากมีที่อยู่อาศัยเปิดขายใหม่เข้าสู่ตลาดเพียง 180 ยูนิตเท่านั้น     ดร.วิชัย วิรัตกพันธ์ ผู้ตรวจการธนาคารอาคารสงเคราะห์ และรักษาการผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ เปิดเผยว่า ช่วงครึ่งปีหลังปี 2562 จังหวัดพิษณุโลกมีจำนวนที่อยู่อาศัยทั้งหมด 2,595 ยูนิต ลดลงจากครึ่งปีแรก 0.8% จากทั้งหมด 2,615 ยูนิต และมียูนิตเหลือขายในครึ่งปีหลังจำนวน 2,461 ยูนิต แบ่งเป็นคอนโดมิเนียม จำนวน 338 ยูนิต และบ้านจัดสรรจำนวน 2,207 ยูนิต ลดลงจากครึ่งปีแรก 0.2% ที่มีจำนวน 2,466 ยูนิต แต่หากเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2561 พบว่ามีอัตราการเพิ่มขึ้นถึง 20.3% โดยมียูนิตเหลือขายรวม 2,829 ยูนิต แบ่งเป็นบ้านจัดสรร 2,461 ยูนิต และ อาคารชุด 368 ยูนิต เปิด5 ทำเลขายดีในจ.พิษณุโลก สำหรับทำเลที่มีหน่วยเหลือขายมากที่สุด ได้แก่ 1.หัวรอ จำนวน 648 ยูนิต 2.บึงพระ จำนวน 440 ยูนิต 3.ในเมืองพิษณุโลก จำนวน 409 ยูนิต 4.แม่น้ำน่านฝั่งตะวันตก (ทะเลแก้ว) จำนวน 335 ยูนิต 5.ม.นเรศวร จำนวน 293 ยูนิต   ส่วนทำเลขายได้ใหม่สูงสุดของจังหวัดพิษณุโลก ได้แก่ 1.หัวรอ จำนวน 46 ยูนิต มีอัตราดูดซับ 1.1% 2.ในเมืองพิษณุโลก 24 ยูนิต มีอัตราดูดซับ 0.9% 3.แม่น้ำน่านฝั่งตะวันตก (ทะเลแก้ว) จำนวน 18 ยูนิต มีอัตราดูดซับ 0.8% 4.ม.นเรศวร จำนวน 17 ยูนิต มีอัตราดูดซับ 0.9% 5.วัดจันทร์ จำนวน 15 ยูนิต มีอัตราดูดซับ 1.3% อสังหาฯ 63 แนะชะลอเติมซัพพลายใหม่ สำหรับแนวโน้มในปี 2563  ศูนย์ข้อมูลฯ ได้ประมาณการว่า จะมีที่อยู่อาศัยเหลือขาย ในพื้นที่จังหวัดพิษณุโลกอยู่ในตลาดจำนวน 2,521 ยูนิต ประกอบด้วย 1.คอนโด จำนวน 362 ยูนิต 2.บ้านเดี่ยว จำนวน 1,254 ยูนิต 3.บ้านแฝด จำนวน 531 ยูนิต 4.ทาวน์เฮ้าส์ จำนวน 212 ยูนิต 5.อาคารพาณิชย์ จำนวน 162 ยูนิต     เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบกับอัตราดูดซับจะมีอัตราที่ลดต่อลงต่อเนื่องจากปี 2561 โดยในครึ่งหลังปี 2562 อัตราดูดซับปรับลงมาอยู่ที่ 0.9% หากจำนวนที่อยู่อาศัยใหม่เข้ามาในตลาดตามที่ศูนย์ข้อมูลฯ ประมาณการไว้ ภายใต้เงื่อนไขกำลังซื้อที่ลดต่ำลงเช่นในปัจจุบัน คาดว่าในปี 2563 อัตราดูดซับจะเหลือประมาณสูงสุดจะอยู่ในระดับ 1.1%   ด้านการโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัย คาดการณ์ว่าการโอนกรรมสิทธิ์จะลดลงมาอยู่ที่ 2,085 ยูนิต มูลค่าประมาณ 3,610 ล้านบาท จำนวนยูนิตอาจต่ำกว่าค่าเฉลี่ยแต่ในส่วนของมูลค่ายังสูงกว่าค่าเฉลี่ยซึ่งมีมูลค่า 3,304 ล้านบาท โดยมูลค่าลดลง 9.1% เป็นการปรับตัวลดลงจาก 2561  การโอนกรรมสิทธิ์ในปี 2563 คาดว่าจะมีประเภทคอนโด 180 ยูนิต สัดส่วน 8.6% คิดเป็นมูลค่า 338 ล้านบาท สัดส่วน 9.4% และบ้านจัดสรรร 1,905 ยูนิต สัดส่วน 91.4% คิดเป็นมูลค่า 3,272 ล้านบาท สัดส่วน 90.6%   สำหรับคำแนะนำในการทำตลาดและพัฒนาโครงการอสังหาฯ ในจังหวัดพิษณุโลกนั้น ศูนย์ข้อมูลเห็นว่า ไม่ควรพัฒนาโครงการใหม่ออกมาเพิ่ม เพราะในตลาดมีซัพพลายจำนวนมาก ต้องรอให้มีการกระตุ้นกำลังซื้อในระดับที่เหมาะสม เพื่อให้ตลาดโดยรวมเข้าสู่ภาวะสมดุลก่อน เป็นการลดความเสี่ยง     
10 จุดเสี่ยงของบ้าน ต้องเช็กด่วน!! ก่อนสร้างปัญหาในหน้าฝน

10 จุดเสี่ยงของบ้าน ต้องเช็กด่วน!! ก่อนสร้างปัญหาในหน้าฝน

เข้าหน้าฝนแล้วเรามี 10 จุดเสี่ยงของบ้าน ต้องเช็กด่วน ก่อนสร้างปัญหาในหน้าฝน มาเป็นตัวช่วยให้เช็คลิสต์ จะได้ไม่ต้องปวดใจ ปวดหัว รวมถึงปวดเงินในกระเป๋าด้วย   ปัญหาใหญ่ที่กวนใจคนอยู่อาศัยในช่วงหน้าฝนเสมอๆ คงเป็นเรื่องผลกระทบจากฝนตก โดยเฉพาะปัญหาน้ำฝนรั่วซึมเข้าสู่ตัวบ้าน ซึ่งไม่ใช่ปัญหาแค่การอยู่อาศัยเท่านั้น แต่ยังเป็นปัญหาที่ทำให้เราต้องเสียเงิน ในการดูแลซ่อมแซมด้วย ซึ่งหากไม่ป้องกันก่อนจะเกิดปัญหา ปล่อยให้เกิดความเสียหายมาก เงินในกระเป๋าเราก็จะหายไปมากเช่นกัน   เพื่อไม่ให้น้ำฝนมาสร้างปัญหาและความเสียหายกับบ้านเราได้ เราจึงต้องเช็คก่อนว่าบ้านเราอยู่ในสภาพสมบูรณ์ หรือมีปัญหาตรงจุดไหนที่จะต้องแก้ไขโดยด่วน เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาและความเสียหายกับบ้านและเฟอร์นิเจอร์ในบ้านรวมถึงผู้อยู่อาศัยเองด้วย 10 จุดเสี่ยงของบ้าน ต้องเช็กด่วน ก่อนสร้างปัญหาในหน้าฝน ได้แก่ 1. ระบบหลังคาและฝ้าเพดาน จุดใหญ่ที่มักเกิดปัญหาน้ำฝนรั่วซึมเข้าสู่ตัวบ้าน มักจะเกิดบริเวณหลังคา ต่อเนื่องมายังฝ้าเพดาน เพราะระบบหลังคารับน้ำฝนเต็มๆ ดังนั้น จึงจำเป็นต้องตรวจเช็ค ไม่ให้เกิดรอยรั่ว หรือรอยร้าว โดยเฉพาะบริเวณจุดเชื่อมต่อของหลังคา ตามหน้าจั่ว และเช็คฝ้าเพดานว่ามีน้ำหยด รั่วซึมมาหรือไม่ หากตรวจพบต้องรีบดำเนินการแก้ไขโดยเร็ว 2. กันสาดและระแนงกันฝน บริเวณกันสาด และระแนงกันฝน ก็เป็นจุดใหญ่ที่ปะทะกับน้ำฝนที่ตกลงมา ดังนั้นจึงควรตรวจสอบสภาพการใช้งาน ทั้งในเรื่องของความแข็งแรง ไม่พุกร่อนของวัสดุ หรืออุปกรณ์ยึดติดกับตัวบ้าน รวมถึงต้องตรวจสอบว่าไม่มีรอยรั่ว หรือการแตกร้าวของวัสดุ เพราะไม่อย่างนั้น กันสาดและระแนงกันฝน ก็ไม่สามารถป้องกันน้ำฝนเข้าสู่ตัวบ้านได้ 3. ประตู-หน้าต่าง บริเวณประตูและหน้าต่าง เราต้องตรวจสอบบริเวณวงกบ และจุดเชื่อมต่อระหว่างหน้าต่างกับผนังบ้าน ต้องไม่มีรอยแตกร้าว หรือรูโหว่ เพราะไม่เช่นนั้นอาจจะมีน้ำรั่วซึมเข้าสู่ตัวบ้านได้เช่นกัน หากพบต้องทำการอุดซ่อมแซมโดยเร็ว นอกจากนี้ อุปกรณ์ที่เป็นโลหะ เช่น บานพับ ก็ต้องตรวจสอบดูว่าไม่เกิดสนิม เพราะอาจจะทำให้เราปิดประตูและหน้าต่างได้ไม่สนิท และบางครั้งยังเกิดเสียงดัง สร้างความรำคาญได้ด้วย โดยเฉพาะประตูและหน้าต่างรุ่นเก่าๆ วิธีการแก้ไขเบื้องต้นหากเกิดเสียงดัง สามารถใช้น้ำมันหล่อลื่นหยดบริเวณบานพับได้ 4. ผนังบ้านและบริเวณรอยต่อผนัง ผนังบ้านและบริเวณรอยต่อของผนัง อีกจุดหนึ่งที่มักก่อให้เกิดปัญหาใหญ่ ในเรื่องน้ำรั่วซึมเข้าสู่ตัวบ้าน ผู้อยู่อาศัยจึงต้องคอยหมั่นสั่งเกต และตรวจสอบว่ามีน้ำฝนไหลซึม หรือเกิดรอยแตกร้าวหรือไม่ หากตรวจพบกต้องรีบแก้ไขโดยเร็ว 5. รางน้ำฝน และระบบท่อระบายน้ำ สำหรับบ้านเรือนที่มีรางน้ำฝน และท่อระบายน้ำ สิ่งที่ต้องทำคือการดูแลเรื่องของความสะอาด ไม่มีขยะ หรือสิ่งสกปรก ใบไม้ หรือเศษวัสดุอะไร มาขวางกั้นการระบายน้ำ เพราะหากมีจะทำให้เกิดปัญหาน้ำเอ่อล้นเข้าสู่ตัวบ้าน หรือน้ำท่วมขังได้เช่นกัน รวมถึงต้องมีฝาท่อปิดท่อระบายน้ำ หรือรางระบายน้ำ ซึ่งต้องตรวจเช็คว่าสามารถปิดได้แนบสนิทหรือไม่ 6. พื้นบ้านด้านนอก-ระเบียง พื้นบ้านด้านนอก และบริเวณระเบียงของบ้าน ช่วงหน้าฝนอาจจะไม่ได้สร้างปัญหาต่อตัวบ้าน หรือโครงสร้าง แต่อาจจะสร้างปัญหากับผู้อยู่อาศัย ที่อาจจะส่งผลในเรื่องของการบาดเจ็บ จากพื้นที่ลื่นเพราะฝนตก การมีตะไคร่น้ำเกาะอยู่ หรือมีเชื้อรา เชื้อโรคตามพื้น เพื่อความปลอดภัยของผู้อยู่อาศัย ในหน้าฝนจึงต้องหมั่นตรวจสอบความสะอาดของพื้นระเบียง และบริเวณพื้นบ้านด้านนอก ไม่ให้ก่อเกิดอันตราย หรือมีเชื้อโรค 7. ระบบไฟฟ้ารอบบ้าน-สนามหญ้า อันตรายมากที่สุดของช่วงหน้าฝน คือ ปัญหาไฟรั่ว หรือไฟฟ้าช็อต จากอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าชำรุด หรือไฟฟ้ารั่วซึม โดยเฉพาะอุปกรณ์ที่อยู่ภายนอกบ้าน บริเวณสนามหญ้า ทั้งปลั๊กไฟ หลอดไฟ โคมไฟต่างๆ ที่มีระบบไฟฟ้าเข้าไปเกี่ยวข้อง ก่อนฝนจะตกต้องตรวจสอบอุปกรณ์เหล่านั้น ไม่ให้ชำรุดเสียหาย หรือเสื่อมสภาพ เพราะอาจจะทำอันตรายผู้อยู่อาศัยได้ถึงชีวิตเลยทีเดียว 8. ต้นไม้ใหญ่-กระถางต้นไม้ อีกหนึ่งปัญหาที่สร้างความเสียหายต่อตัวบ้าน รวมถึงผู้อยู่อาศัยได้ แบบที่ไม่ควรละเลยหรือมองข้าม คือ การโค่นล้มของต้นไม้ใหญ่ หากบริเวณบ้านมีต้นไม้ใหญ่ จึงจำเป็นต้องตัดแต่งกิ่งแห้ง หรือกิ่งที่อาจจะหักโค่นล้มทับตัวบ้าน นอกจากนี้ ควรตัดแต่งให้ต้นไม้มีความโปร่ง เพื่อป้องกันการอยู่อาศัยของสัตว์มีพิษ รวมถึงการตรวจเช็คกระถางต้นไม้ ต้องตั้งอยู่ในจุด ที่จะไม่ล้มเสียหาย หรือเป็นแหล่งซ่อนตัวของสัตว์พิษ เรื่องเล็กๆ น้อยๆ แต่เราไม่ควรละเลย หรือมองข้าม 9. เฟอร์นิเจอร์นอกบ้าน นอกจาก การดูแลต้นไม้ และกระถางต้นไม้นอกบ้านแล้ว เฟอร์นิเจอร์ต่างๆ ที่อยู่นอกบ้าน หรือบริเวณที่อาจจะถูกน้ำฝนสาด ควรจะจัดเก็บไว้ในที่ปลอดภัย  ไม่โดนน้ำฝน หรืออาจจะหาวัสดุมาคลุมป้องกัน ไม่ให้เกิดความเสียหายจากน้ำฝนก็ได้ 10. ภาชนะ หรือสิ่งของ และความสะอาดของบ้าน วิธีสุดท้ายของ 10 จุดเสี่ยงของบ้าน ที่ต้องเช็กด่วน ก่อนสร้างปัญหาในหน้าฝน คงเป็นเรื่องง่ายๆ ที่ทำได้ไม่ยาก คือ การดูแลความสะอาดของบ้าน การจัดบ้านให้เป็นระเบียบเรียบร้อย และการจัดเก็บวัสดุ สิ่งของไม่ให้เป็นแหล่งน้ำขัง เพราะอาจจะเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุง รวมถึงอาจจะเป็นที่ซ่อนตัวของสัตว์มีพิษได้เช่นกัน   ทั้ง 10 จุดเสี่ยงของบ้าน ต้องเช็กด่วน ก่อนสร้างปัญหาในหน้าฝน จะเห็นว่า ผู้อยู่อาศัยสามารถตรวจสอบด้วยตนเองเบื้องต้น และบางอย่างเราก็สามารถทำได้เอง แต่หากปัญหาไหนใหญ่เกินไป คงต้องเรียกช่างผู้ชำนาญมาเป็นผู้ช่วย ซึ่งเราควรตรวจเช็คและป้องกันปัญหาตั้งแต่เนิ่นๆ เพื่อไม่ให้ปัญหาเล็กกลายเป็นปัญหาใหญ่ ซึ่งจะทำให้หน้าฝนนี้ เราไม่ต้องปวดหัว ปวดใจ และเสียเงินในกระเป๋าจำนวนมากๆ   infographic อื่นที่เกี่ยวข้อง วิธีแก้ปัญหาน้ำฝนรั่วซึมเข้าบ้าน คู่มือเตรียมบ้านให้พร้อมรับมือกับหน้าฝน รีโนเวทบ้านหลังหน้าฝน    
การเคหะฯ ช่วยลูกค้าโดนพิษโควิด-19 ขยายเวลาลงทะเบียนถึง 30 มิ.ย.63 นี้

การเคหะฯ ช่วยลูกค้าโดนพิษโควิด-19 ขยายเวลาลงทะเบียนถึง 30 มิ.ย.63 นี้

การเคหะแห่งชาติขยายระยะเวลาลงทะเบียนมาตรการช่วยเหลือลูกค้าถึง 30 มิถุนายน 2563 นี้ พร้อมเน้นย้ำ ขอให้ลูกค้าเร่งลงทะเบียนเพื่อรักษาสิทธิก่อนหมดมาตรการช่วยเหลือดังกล่าว พร้อมร่วมกับกระทรวงแรงงานจัดกิจกรรมนัดพบแรงงานตามพื้นที่ชุมชนต่างๆ ของการเคหะแห่งชาติ       นายวิญญา สิงห์อินทร์ รักษาการผู้ว่าการการเคหะแห่งชาติ เปิดเผยว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อประชาชนทั่วประเทศ ปัจจุบันรัฐบาลได้กระจายให้ความช่วยเหลือประชาชนในทุกด้าน รวมทั้งกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ที่มีภารกิจเกี่ยวข้องกับการช่วยเหลือมนุษย์ในทุกมิติ นายจุติ ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (รมว.พม.) จึงมอบนโยบายให้การเคหะแห่งชาติออกมาตรการช่วยเหลือประชาชนที่เป็นลูกค้าของการเคหะแห่งชาติ เพื่อลดภาระรายจ่ายด้านที่อยู่อาศัยชั่วคราว นายณัฐพงศ์ พันธเกียรติไพศาล ประธานกรรมการการเคหะแห่งชาติ จึงได้การประชุมร่วมกับฝ่ายบริหารระดับสูงของการเคหะแห่งชาติเพื่อติดตามและประเมินสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง และมอบนโยบายให้การเคหะแห่งชาติออกมาตรการช่วยเหลือลูกค้าของการเคหะแห่งชาติเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนจากผลกระทบของการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 พร้อมทั้งประสานความร่วมมือกับภาคเอกชนช่วยเหลือผู้อยู่อาศัยในด้านสังคมเพื่อให้ผู้อยู่อาศัยในโครงการของการเคหะแห่งชาติมีคุณภาพชีวิตที่ดีในสถานการณ์ปัจจุบัน   สำหรับมาตรการช่วยเหลือลูกค้าของการเคหะแห่งชาติที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 มี 4 มาตรการ ได้แก่ 1.พักชำระหนี้ค่าเช่าซื้อ 2.พักชำระเงินดาวน์ 3.ปลอดค่าเช่า 4.ลดค่าเช่า 50% เป็นระยะเวลา 3 เดือน เริ่มตั้งแต่ 1 เมษายน – 30 มิถุนายน 2563 โดยลูกค้าของการเคหะแห่งชาติสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมพร้อมลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์ https://covid.nha.co.th และลงทะเบียนผ่านแอปพลิเคชั่น Line ID : @NHA.THAILAND ได้ถึง 30 มิถุนายน 2563 นี้ พร้อมกันนี้การเคหะแห่งชาติได้ร่วมกับกรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน จัดกิจกรรมนัดพบแรงงานตามพื้นที่ต่างๆ ในโครงการของการเคหะแห่งชาติ โดยนำร่องที่โครงการบ้านเอื้ออาทรบ้านหลุมแก้ว 2 จังหวัดปทุมธานี เป็นที่แรก ซึ่งได้รับความร่วมมือจากบริษัท ห้างร้าน และโรงงานต่างๆ มาเปิดรับสมัครงานในตำแหน่งว่างให้กับผู้อยู่อาศัยในชุมชนที่ถูกเลิกจ้างหรือว่างงานจากสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้เลือกงานที่เหมาะสม ตรงกับถนัด และความต้องการของตนเอง ซึ่งจะนำไปสู่การเกิดรายได้เพิ่มขึ้นในครัวเรือน เกิดการกระตุ้นเศรษฐกิจในระดับชุมชน และระดับประเทศต่อไป  
เฟรเซอร์ส ตั้ง “ธนพล ศิริธนชัย” บริหารองค์กรแสนล้าน

เฟรเซอร์ส ตั้ง “ธนพล ศิริธนชัย” บริหารองค์กรแสนล้าน

เฟรเซอร์สแต่งตั้ง “นายธนพล ศิริธนชัย” นั่งเก้าอี้ ซีอีโอ นำทัพองค์กร 1 แสนล้าน  สร้างการเติบโตให้กับแพลตฟอร์มใหม่ ที่รวมธุรกิจอสังหาริมทรัพย์แบบครบวงจร   คณะกรรมการบริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ FPT มีมติแต่งตั้งนายธนพล ศิริธนชัย ประธานอำนวยการ บริษัท แผ่นดินทอง พร็อพเพอร์ตี้ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) หรือ โกลเด้นแลนด์ (GOLD) ขึ้นดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (Country CEO) บริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ  FPT  โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 17 สิงหาคม 2563 เป็นต้นไป   โดยนายธนพล ศิริธนชัย จะรับภารกิจสำคัญในการเป็นหัวเรือใหญ่ที่จะสร้างการเติบโตให้กับ เฟรเซอร์ส  พร็อพเพอร์ตี้ (ประเทศไทย) รวมถึงการเดินหน้าภายใต้นโยบายการลงทุนของบริษัทฯ ในการเพิ่มศักยภาพที่จะเติบโตอย่างสมดุลให้อยู่ในแพลตฟอร์มเดียวกัน ในการเป็นผู้นำในการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่มีความหลากหลาย ครอบคลุมอสังหาริมทรัพย์ประเภทที่อยู่อาศัย (Residential) โครงการเชิงพาณิชย์ (Commercial) และพื้นที่เชิงอุตสาหกรรม (Industrial) จากผู้บริหาร GOLD สู่เก้าอี้ซีอีโอ FPT สำหรับนายธนพล ศิริธนชัย  ถือว่าเป็นผู้มีความรู้ความสามารถ และคร่ำหวอดในแวดวงธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ กว่า 30 ปี โดยก่อนร่วมงานกับเฟรเซอร์ส เคยดำรงตำแหน่งประธานอำนวยการ บริษัท แผ่นดินทอง พร็อพเพอร์ตี้ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) หรือ โกลเด้นแลนด์ ผู้พลิกฟื้นจากที่บริษัทฯขาดทุน ให้กลับมามีกำไรภายใน 3 ปี และก้าวกลับมาสู่ท็อป 5 ของประเทศไทยภายใน 7 ปี  (อ่านข่าวผลประกอบการ 3 เดือนแรกปี 2563) พร้อมพัฒนาโครงการครอบคลุมทั้งอาคารสำนักงาน เซอร์วิส อพาร์ทเม้นท์ โรงแรม และโครงการแนวราบ เช่น บ้านเดี่ยว และทาวน์โฮม และล่าสุด พัฒนาโครงการมิกซ์ยูสใจกลางเมืองสามย่านมิตรทาวน์  ซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี   นอกจากนี้ นายธนพล ยังเคยดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ ของ บริษัท ยูนิเวนเจอร์ จำกัด​ (มหาชน)  ผู้สร้างประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของโครงการอาคารสำนักงานที่ดีที่สุด ด้วยมาตรฐานการอนุรักษ์พลังงานสูงที่สุดระดับโลก กับโครงการปาร์คเวนเชอร์ ดิ อีโคเพล็กซ์ ออน วิทยุ โดยนายธนพลยังได้ปฏิบัติหน้าที่เพื่อสังคมและการกุศลต่างๆ มาอย่างต่อเนื่อง อาทิเช่น ประธานโครงการ IMET Mentorship Academy for Excellent Leaders (IMET MAX) โครงการภายใต้มูลนิธิเพื่อสถาบันการศึกษาวิชาการจัดการแห่งประเทศไทย และรองผู้อำนวยการอาวุโส สถาบันออกแบบนานาชาติชนาพัฒน์   นายธนพล สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ด้านวิศวกรรมศาสตร์ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท ด้านบริหารธุรกิจ (MBA) จากมหาวิทยาลัยเทกซัส ออสติน ประเทศสหรัฐอเมริกา และสำเร็จการศึกษาหลักสูตร Advanced Management Program มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ประเทศสหรัฐอเมริกา 1+1 เท่ากับสินทรัพย์ 1 แสนล้าน สำหรับ  FPT  เป็นบริษัทในกลุ่มบริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้  ซึ่ง FPT ผู้นำการให้บริการแพลตฟอร์มด้านอสังหาริมทรัพย์ครบวงจรของประเทศไทย  ที่มีความเชี่ยวชาญในการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์หลากหลายประเภท ภายหลังควบรวมกับ  GOLD เป็นบริษัทย่อย ทำให้ภาพรวมการประกอบธุรกิจของ FPT มีสินทรัพย์รวมมากกว่า 100,000 ล้านบาท ก้าวสู่ความเป็นผู้นำในการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่มีความหลากหลาย ครอบคลุมอสังหาริมทรัพย์ที่อยู่อาศัย  พาณิชยกรรมและโรงแรม  และการอุตสาหกรรม   โดยเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2563 GOLD ได้รับคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ของบริษัททั้งหมด  จาก FPT เพื่อเพิกถอนหลักทรัพย์ของกิจการ ออกจากการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย  ซึ่งเป็นไปตามแผนของบริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ (ประเทศไทย) ที่ได้ประกาศเริ่มรับซื้อรอบแรกในเดือนมิถุนายนปี 2562 ที่ผ่านมา เพื่อปรับกลยุทธ์ เพิ่มศักยภาพของการเชื่อมโยง ต่อยอด ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ของกลุ่มให้อยู่ในแพลตฟอร์มเดียวกัน ในการเป็นผู้นำในการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่มีความหลากหลาย   ทั้งนี้ การขอเพิกถอนหลักทรัพย์ของ GOLD ออกจากตลาดหลักทรัพย์ฯ นั้น ได้รับอนุมัติจากที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นของ GOLD เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2562 และ วันที่ 19 พฤษภาคม 2563 FPT เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของ GOLD จำนวน 2,222,623,901 หุ้น คิดเป็นประมาณ 95.65% ของหุ้นที่ออกและจำหน่ายได้แล้วทั้งหมดของ GOLD โดย FPT จะทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ที่เหลือทั้งหมดของ GOLD จำนวน 101,096,099 หุ้น คิดเป็นประมาณ 4.35% ของหุ้นที่ออกและจำหน่ายได้แล้วทั้งหมดของ GOLD โดยมีราคาเสนอซื้อ 8.50 บาทต่อหุ้น ระยะเวลารับซื้อรวมทั้งสิ้น 45 วันทำการ ตั้งแต่วันที่ 20 พฤษภาคม 2563 – 23 กรกฎาคม 2563   นายธนพล กล่าวว่า ก้าวต่อไปของโกลเด้นแลนด์ คือการก้าวเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในการเป็นบริษัทอสังหาริมทรัพย์ครบวงจร  ที่มีความหลากหลาย ครอบคลุมอสังหาริมทรัพย์ประเภทที่อยู่อาศัย โครงการเชิงพาณิชย์  และพี้นที่เชิงอุตสาหกรรม  แห่งแรกของประเทศไทย ภายใต้นโยบายการลงทุนของเฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ (ประเทศไทย) ในการเพิ่มศักยภาพที่จะเติบโตอย่างสมดุล และยั่งยืนของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทย นอกจากนี้ FPT ยังเป็นผู้สนับสนุนและผู้จัดการกองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์และสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์เพื่ออุตสาหกรรมเฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ หรือ FTREIT ซึ่งปัจจุบันเป็นกองทรัสต์ฯ อุตสาหกรรมที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย  ซึ่งมุ่งเน้นการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์เพื่อการอุตสาหกรรมและโลจิสติกส์ อีกทั้ง FPT ยังเป็นผู้สนับสนุนและผู้จัดการทรัสต์เพื่อการลงทุนในสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์โกลเด้นเวนเจอร์ (GVREIT) ซึ่งมุ่งเน้นการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์เชิงพาณิชยกรรม  ซึ่ง FPT, FTREIT และ GVREIT เป็นบริษัทและกองทรัสต์ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย.    
ส่องตลาดอสังหาฯ​ เชียงใหม่ 63 ซัพพลายสูง-กำลังซื้อต่ำ

ส่องตลาดอสังหาฯ​ เชียงใหม่ 63 ซัพพลายสูง-กำลังซื้อต่ำ

แนวโน้มตลาดอสังหาฯ เชียงใหม่ 63 ขายได้น้อยลง เหตุซัพพลายในตลาดยังมีมาก กำลังซื้อยังต่ำ ศูนย์ข้อมูลฯ​แนะผู้ประกอบการลงทุนอย่างระมัดระวัง ในกลุ่มตลาดระดับราคา 2-5 ล้าน แม้เป็นตลาดขายดีแต่คู่แข่งยังเยอะ   ดร.วิชัย วิรัตกพันธ์ ผู้ตรวจการธนาคารอาคารสงเคราะห์ และรักษาการผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ หรือ REIC  เปิดเผยว่า แนวโน้มตลาดบ้าน-คอนโด ในเชียงใหม่ปี 2563 คาดว่าในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2563 จะมีบ้าน-คอนโดเหลือขายประมาณ ​9,343 ยูนิต ลดลงจากช่วงสิ้นปี 2562 ที่มีอยู่ 9,149 ยูนิต  ซึ่งยังสูงกว่าค่าเฉลี่ย 5 ปีย้อนหลัง (ปี 2558-2562) ที่อยู่ในระดับ 8,694 ยูนิต   โดยจำนวนบ้านและคอนโดเหลือขายในปี 2563 ประกอบด้วยอาคารชุดจำนวน 2,050 ยูนิต บ้านเดี่ยวจำนวน 4,321 ยูนิตทาวน์เฮ้าส์จำนวน 1,814 ยูนิต บ้านแฝดจำนวน 1,025 ยูนิต และอาคารพาณิชย์จำนวน 133 ยูนิต ซึ่งคาดว่าในปีนี้ จะมีการเปิดตัวโครงการใหม่รวม 1,224 โครงการ ซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 1,778 โครงการ  แต่ถือว่าเพิ่มขึ้นมากจากปี 2562 ที่มีโครงการเปิดใหม่เพียง 512 โครงการเท่านั้น   สำหรับการโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยปี 2563 ในจังหวัดเชียงใหม่  ศูนย์ข้อมูลฯ ประเมินว่าจะมีจำนวน 12,156 ยูนิต คิดเป็นมูลค่าประมาณ 23,141 ล้านบาท ลดลง 14.6% จากปีก่อนหน้าที่มีจำนวน 13,201 ยูนิต มูลค่า 27,091 ล้านบาท ซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ยซึ่งมีมูลค่า 26,817 ล้านบาท ถือว่าทั้งจำนวนยูนิตและมูลค่าการโอน เป็นการปรับตัวลดลงต่อเนื่องจาก 2561 ที่ผ่านมา แนะการลงทุนบ้าน-คอนโด จ.เชียงใหม่อย่างระมัดระวัง ขณะที่แนวโน้มการขายบ้าน-คอนโด ในจังหวัดเชียงใหม่ จะมีอัตราการขายได้ลดลง อัตราดูดซับสูงสุดไม่น่าจะเกิน 1.6%  เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงครึ่งปีหลังปี 2562 ซึ่งมีอัตราการดูดซับที่ 3.4%  หากจำนวนที่อยู่อาศัยใหม่เข้ามาในตลาด ตามที่ศูนย์ข้อมูลประมาณการไว้ ภายใต้เงื่อนไขกำลังซื้อที่ลดต่ำลงเช่นในปัจจุบัน   โดยคาดว่าตลาดอสังหาฯ​ เชียงใหม่ ในแต่ละประเภท จะมีอัตราการดูดซับต่อเดือนในช่วงครึ่งปีหลัง 2563 ดังนี้ คอนโด อัตราดูดซับ 1.5%  ทาวน์เฮ้าส์ อัตราดูดซับ 1.6% บ้านเดี่ยว อัตราดูดซับ 1.1% อาคารพาณิชย์ อัตราดูดซับ 0.6% และ บ้านแฝด อัตราดูดซับ 1.2% ดร.วิชัย เสนอแนะว่า ผู้ประกอบการต้องลงทุนอย่างระมัดระวัง ในการพัฒนาโครงการใหม่ เนื่องจากยังมียูนิตสร้างเสร็จเหลืออยู่ในตลาดจำนวนมาก โดยเฉพาะระดับราคา 2-3 ล้านบาท และ 3-5 ล้านบาท แม้กลุ่มนี้จะเป็นกลุ่มตลาดที่ขายดีก็ตาม   โดยเฉพาะในพื้นที่ทำเลสารภี และหางดง แม้ที่ผ่านมาจะมีอัตราการดูดซับที่สูงขึ้น แต่เป็นเพราะมีสินค้าใหม่เข้าไปในตลาดน้อยมาก   ด้วยภาพรวมดังกล่าวผู้ประกอบการจำเป็นต้องปรับกลยุทธ์การเสนอขาย โดยเฉพาะที่อยู่อาศัยประเภทบ้านเดี่ยว และอาคารชุดพักอาศัย ที่มีอัตราการดูดซับชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่องจากช่วงต้นปี 2562 และคาดว่าจะต่อเนื่องมาถึงปี 2563 เช็คตลาดอสังหาฯ เชียงใหม่ ปี 2562 จังหวัดเชียงใหม่ในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2562 มีโครงการอยู่ระหว่างการขายรวมทั้งสิ้น 221 โครงการ รวม 11,465 ยูนิต คิดเป็นมูลค่า 42,820 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงครึ่งปีแรกของปี 2563 อัตรา  7%  ในจำนวนดังกล่าวแบ่งเป็นอาคารชุด 2,582 ยูนิต และบ้านจัดสรร 8,883 ยูนิต ซึ่งถือว่าช่วงครึ่งปีหลังของปี 2562 จังหวัดเชียงใหม่มีการเปิดตัวโครงการใหม่น้อยมาก เมื่อพิจารณาจากยูนิตขายได้ใหม่ จากการสำรวจพบว่า ในช่วงครึ่งหลังปี 2562  พื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ มีที่อยู่อาศัยขายได้ใหม่ จำนวน 2,316 ยูนิต เพิ่มขึ้นจากช่วงครึ่งปีแรก 13.3%  แบ่งเป็น ขายห้องชุด 647 ยูนิต  บ้านจัดสรร 1,669 ยูนิต แต่หากเทียบกับช่วงครึ่งปีหลังของปี 2562 ถือว่าขายได้น้อยกว่า 11.8%   หากดูสินค้าเหลือในตลาด จะพบว่า ช่วงครึ่งปีหลังปี 2562 มียูนิตเหลือขายจำนวน 9,149 ยูนิต เพิ่มขึ้นจากช่วงครึ่งปีแรก 5.5%  ยูนิตเหลือขาย แบ่งเป็น ประเภทคอนโดจำนวน 1,935 ยูนิต บ้านจัดสรรจำนวน 7,214 ยูนิต  จำนวนที่อยู่อาศัยเหลือขายทั้งหมด คิดเป็นมูลค่ารวมประมาณ 35,426 ล้านบาท เปิด 5 ทำเลบ้านและคอนโดขายดีในเชียงใหม่ สำหรับทำเลที่อยู่อาศัยขายดีมากที่สุด 5 อันดับแรก โดยพิจารณาจากยูนิตที่ขายได้ใหม่ ได้แก่ 1.ทำเลสารภี จำนวน 560 ยูนิต  มีอัตราดูดซับ 6.9% 2.ทำเลหางดงตอนบน จำนวน 536 ยูนิต มีอัตราดูดซับ 6.7% 3.ทำเลแม่โจ้ จำนวน 229 ยูนิต มีอัตราดูดซับ 2.4% 4.ทำเลสันทราย จำนวน 208 ยูนิต มีอัตราดูดซับ 2.3% 5.ทำเลสันกำแพง จำนวน 187 ยูนิต มีอัตราดูดซับ 2.5%   ส่วนทำเลที่มีที่อยู่อาศัยสร้างเสร็จเหลือขายมากที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ 1.ทำเลสันทราย จำนวน 448 ยูนิต 2.ทำเลหางดงตอนบน จำนวน 430 ยูนิต 3.ทำเล ม.พายัพ จำนวน 426 ยูนิต 4.ทำเลแม่โจ้ จำนวน 317 ยูนิต 5.ทำเล หางดงตอนล่าง จำนวน 190 ยูนิต มีอัตราดูดซับ   รูปภาพจาก วิกิพีเดีย
12 ปรากฎการณ์ “ราคาอสังหาฯ” ท่ามกลางวิกฤตโควิด-19

12 ปรากฎการณ์ “ราคาอสังหาฯ” ท่ามกลางวิกฤตโควิด-19

จะว่าไปแล้ว ตลาดอสังหาริมทรัพย์ โดยเฉพาะคอนโดมิเนียม เริ่มได้รับผลกระทบมาตั้งแต่ไตรมาสแรกของปี 2562 จากมาตรการ LTV ที่ออกมาบังคับใช้  ส่งผลให้ผู้ประกอบการต่างทำการตลาด แข่งขันกันด้วยแคมเปญการตลาดต่างๆ เพื่อกระตุ้นลูกค้าให้รีบโอนกรรมสิทธิ์  ก่อนมาตรการ LTV  เริ่มใช้อย่างเป็นทางการในไตรมาส 2 ของปีที่ผ่านมา เพราะมาตรการ LTV มีผลทำให้ลูกค้าบางส่วนมีกำลังซื้อลดลง และธนาคารมีความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อมากขึ้น   พอถึงช่วงต้นปี 2563 ตลาดอสังหาฯ ก็ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่ส่งผลทำให้ตลาดอสังหาฯ ชะลอตัวอย่างมาก ผู้ประกอบการแทบไม่เปิดตัวโครงการใหม่ออกมาทำตลาด แต่มุ่งเน้นการระบายสต็อกสินค้าเก่าในมือ เพื่อไม่ให้เกิดความเสี่ยงจากการลงทุน ปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้น จึงเกิดการทำตลาดกันอย่างดุเดือด มีการแข่งขันกันอย่างรุนแรง โดยเฉพาะด้านราคา ซึ่งเป็นสิ่งที่แทบจะไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน อย่างแคมเปญการอยู่ฟรี ที่เห็นทำตลาดมากถึง 5 ปีเลยทีเดียว   ล่าสุด ดีดีพร็อพเพอร์ตี้ ได้เปิดเผยข้อมูล ตลาดอสังหาฯ ที่เผชิญสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในช่วงไตรมาสแรกและไตรมาส 2 ของปีนี้  ซึ่งพบว่าภาวะราคาของอสังหาฯ ไทย มี 12 ประเด็นสำคัญเกิดขึ้น คือ 1.ไตรมาสแรกของปีนี้ ดัชนีราคาที่อยู่อาศัยปรับตัวลดลงมาต่อเนื่อง เป็นไตรมาสที่ 5 โดยลดลงในอัตรา 1% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า และลดลง 9% เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา แน่นอนว่าหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ทำให้ราคาปรับตัวลดลงมา คือ การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19   2.ก่อนหน้าที่ตลาดอสังหาฯ ไทยจะเผชิญกับปัญหาการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 จะพบว่าในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ที่อยู่อาศัยในกรุงเทพฯ​ มีดัชนีราคาที่เติบโตเพิ่มขึ้นมากถึง 104% จากราคาเฉลี่ยประมาณ​ 60,000 บาทต่อตารางเมตร ในช่วงปี 2558ปรับเพิ่มขึ้นมาเป็น 120,000 บาทต่อตารางเมตร ในปี 2562 ที่ผ่านมา   3.ตลาดคอนโดฯ ค่อนข้างได้รับผลกระทบด้านราคาน้อย เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า โดยลดลงเพียง 0.4% แต่หากเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จะพบว่ามีอัตราการเติบโตลดลงมากถึง 6% ซึ่งเป็นเพราะตลาดคอนโดฯ ได้รับผลกระทบจากมาตรการ LTV มาก่อนหน้านี้แล้ว   4.ตลาดบ้านเดี่ยว เป็นกลุ่มสินค้าเดียวที่มีดัชนีราคาปรับเพิ่มขึ้นในอัตรา 2% เมื่อเปรียบเทียบไตรมาสต่อไตรมาส สาเหตุหลักเป็นเพราะ กลุ่มบ้านเดี่ยวเป็นตลาดเรียลดีมานด์ ซึ่งผู้ซื้อเพื่ออยู่อาศัยจริง และในปีนี้ผู้ประกอบการอสังหาฯ ชะลอแผนการพัฒนาโครงการคอนโดฯ และหันมาเน้นตลาดแนวราบเป็นหลัก 5.ตลาดทาวน์เฮ้าส์ เป็นอีกหนึ่งกลุ่มที่อยู่อาศัย ที่ดัชนีราคาปรับลดลงมา ในอัตรา 2% ซึ่งสาเหตุหลักเป็นเพราะการแข่งขันด้านราคา และการจัดทำโปรโมชั่นกระตุ้นยอดขาย ของผู้ประกอบการ นอกจากนี้ ตลาดทาวน์เฮ้าส์เป็นตลาดแมสที่ระดับราคาอยู่ในช่วง 3-5 ล้านบาท ที่ถือว่ามีการแข่งขันสูง และมีซัพพลายในตลาดจำนวนมาก   6.หากพิจารณาในเรื่องของระดับราคาสินค้า จะพบว่าที่อยู่อาศัยที่ปรับลดลงมากที่สุด คือ ที่อยู่อาศัยราคาต่ำกว่า 3.5 ล้านบาท ปรับลดลงในอัตรา 8% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา   7.กลุ่มตลาดที่อยู่อาศัยราคาแพง ในระดับราคา 8.5-15 ล้านบาท มีดัชนีราคาปรับเพิ่มขึ้น 5% และหากมองย้อนไปในช่วงไตรมาส 4 ปี 2559 จะพบว่าบ้านและคอนโดฯ ในกลุ่มระดับราคา 15 ล้านบาทขึ้นไป มีอัตราการเพิ่มขึ้นถึง 35%   8.พื้นที่ในกรุงเทพฯ ที่มีดัชนีราคาเติบโตโดดเด่นที่สุด ในไตรมาสแรกที่ผ่านมา คือ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย มีราคาที่อยู่อาศัยเฉลี่ยตารางเมตรละ 219,048 บาท ปรับเพิ่มขึ้น 23% จากช่วงไตรมาส 4 ปี 2562 ถือว่าเป็นเขตที่มีราคาปรับเพิ่มสูงสุด สาเหตุหลักมาจาก การเปิดให้บริการส่วนต่อขยายของรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงหัวลำโพง-หลักสอง 9.สถานีวัดมังกร เป็นพื้นที่ที่มีราคาของที่อยู่อาศัยแพงมากที่สุด ถึงตารางเมตรละ 200,000 บาท และมีการปรับเพิ่มขึ้นถึง 143% ตั้งแต่ช่วงปี 2560 จนถึงปัจจุบัน   10.แนวโน้มราคาในแนวรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินที่เพิ่งเปิดให้บริการในไตรมาสที่ผ่านมา พบว่า ที่อยู่อาศัยในบริเวณสถานีบางอ้อและสถานีบางพลัด มีอัตราการเติบโตของราคาสูงสุดถึง 76% ตั้งแต่ช่วงไตรมาส 4 ปี 2559 ถึงปัจจุบัน โดยมีราคาขายเฉลี่ย 85,009 บาทต่อตารางเมตร   11.บริเวณรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงสถานีไฟฉาย ถือว่าเป็นบริเวณที่มีที่อยู่อาศัย ซึ่งมีราคาขายเฉลี่ยสูงที่สุดของรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงต่อขยายสถานีเตาปูน-จรัญ 13 โดยมีราคาขายเฉลี่ยอยู่ที่ 126,471 บาทต่อตารางเมตร ซึ่งปรับลดลงเพียง 1% จากช่วงปี 2560 ที่ผ่านมา  (อ่านเพิ่มเติม...รีวิวคอนโด ส่องทำเลเตาปูน-บางโพ ฉบับอัปเดต 2563) 12.บริเวณรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงสถานีบางขุนนนท์ ถือว่าเป็นบริเวณที่มีราคาของที่อยู่อาศัยถูกที่สุด และอัตราการเติบโตลดลงมากที่สุด ของรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงต่อขยายสถานีเตาปูน-จรัญ 13 โดยมีราคาขายเฉลี่ยอยู่ที่ 53,476 บาทต่อตารางเมตร ปรับลดลงมากถึง 56% จากช่วงปี 2560 ที่ผ่านมา   หลังจากนี้ หากประเทศสามารถควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ จนไม่พบการแพร่เชื้อ หรือการเกิดขึ้นของผู้ป่วยรายใหม่  รวมถึง หากมีการค้นพบวัคซีน ที่สามารถใช้ได้ผลจริงกับมนุษย์ เชื่อว่าสถานการณ์ต่างๆ จะกลับมาเป็นปกติ แม้ว่าในอนาคตทุกคนอาจจะต้องอยู่ภายใต้วิถีปกติรูปแบบใหม่ หรือ New Normal ก็ตาม   โดยเชื่อว่าตลาดอสังหาฯ ของไทยเอง ก็น่าจะกลับมาเติบโตเป็นปกติ และคาดว่าจะปรับตัวไปในทิศทางที่ดีขึ้นด้วย เพราะภายใต้สถานการณ์วิกฤต จะเห็นได้ว่าคนไทยเป็นชาติที่ไม่แพ้ใครในโลก สามารถบริหารจัดการการแพร่ระบาดของโลกได้ดี รวมถึงประเทศไทยยังคงเป็นประเทศจุดหมายปลายทางที่ชาวต่างชาติยังต้องการมาท่องเที่ยวและพักอาศัยเป็นอันดับ 1 ของภูมิภาคอาเซียน และอันดับต้นๆ ของโลกอีกด้วย      
LPN Wisdom คาดอสังหาฯ ครึ่งปีหลัง 63 ฟื้นตัว แต่เปิดโปรเจ็กต์ใหม่ลดลงกว่า 50%

LPN Wisdom คาดอสังหาฯ ครึ่งปีหลัง 63 ฟื้นตัว แต่เปิดโปรเจ็กต์ใหม่ลดลงกว่า 50%

LPN Wisdom ประเมินตลาดอสังหาฯ 63 ติดลบ 15-20% แม้ครึ่งหลังของปีมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น หลังการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ส่งสัญญาณดีขึ้น คาดทั้ง 29 ดีเวลอปเปอร์ในตลาดหลักทรัพย์ หั่นเปิดโครงการใหม่ลงกว่าครึ่งจากปีที่ผ่านมา เหลือเปิดแค่  50,000-55,000 ยูนิต คิดเป็นมูลค่า 175,000-190,000 ล้านบาท      นายประพันธ์ศักดิ์ รักษ์ไชยวรรณ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ลุมพีนี วิสดอม แอนด์ โซลูชั่น จำกัด (LPN Wisdom) บริษัทด้านการวิจัยและพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในเครือ บริษัท แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด(มหาชน)(LPN) เปิดเผยถึง ทิศทางตลาดอสังหาริมทรัพย์ไทย ในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2563 ว่า มีแนวโน้มทิศทางที่ดี มีแนวโน้มฟื้นตัวภายหลังจากเห็นสถานการณ์การแพร่ระบาดของโคโรน่าไวรัส 2019 (โควิด-19) มีแนวโน้มคลี่คลาย บิ๊กอสังหาฯ ยังทำกำไร Q1 กว่า 8,176.88 ล้าน ขณะเดียวกัน ยังพบว่าช่วงไตรมาสแรกที่ผ่านมา 29 บริษัทอสังหาริมทรัพย์ ที่จดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ยังมีความสามารถในการสร้างรายได้รวม 59,207.66 ล้านบาท ถึงแม้ผลการดำเนินงานจะลดลง 30.43% รวมถึงกำไรสุทธิ 8,176.88 ล้านบาท ปรับตัวลดลง 40.68% เมื่อเทียบกับไตรมาสแรกของปี 2562 ก็ตาม  แต่เมื่อเทียบความสามารถในการทำกำไร (Net Profit Margin)ของบริษัทอสังหาฯ ดังกล่าว  ยังคงสามารถรักษาระดับความสามารถในการทำกำไรเฉลี่ยอยู่ที่  13.81% ซึ่งถือว่ายังอยู่ในระดับสูงเมื่อเทียบกับอุตสาหกรรมอื่น   นอกจากนี้  สัดส่วนหนี้สินต่อทุน (Debt to Equity Ratio) ของผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ ณ สิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม 2563 โดยเฉลี่ยยังต่ำกว่า 2:1 เท่า ซึ่งสะท้อนถึงความแข็งแกร่งทางการเงินของบริษัทอสังหาฯ  ซึ่งแตกต่างจากวิกฤติเศรษฐกิจในปี 2540 ที่สัดส่วนหนี้ต่อทุนของบริษัทอสังหาฯ  ในระบบในขณะนั้น มีสัดส่วนสูงเกินกว่า 2:1 ทำให้มีความเสี่ยงในการทำธุรกิจเมื่อเผชิญกับภาวะเศรษฐกิจหดตัว LPN Wisdom ประเมินอสังหาฯ หดตัว  15-20% ขณะเดียวกันทาง  LPN Wisdom ประมาณการณ์ว่า เศรษฐกิจไทยจะติดลบประมาณ 5-7%  ซึ่งสอดคล้องกับการประมาณการณ์เศรษฐกิจไทยจะติดลบที่ 5-6% ของสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ซึ่งแม้ว่าผู้ประกอบการจะมีความแข็งแกร่งทางการเงิน แต่การเผชิญกับภาวะเศรษฐกิจหดตัว  จะส่งผลให้ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในปี 2563 มีแนวโน้มติดลบในสัดส่วน 15-20% เมื่อเทียบกับปี 2562   LPN Wisdom มั่นใจว่าโครงสร้างทางการเงินที่แข็งแกร่งของผู้ประกอบการ โดยเฉพาะบริษัทที่ดำเนินธุรกิจโดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล (Environment, Social, Governance: ESG) ซึ่งอยู่ในบัญชีรายชื่อหุ้นยั่งยืนหรือ Thailand Sustainability Investment (THSI) จะสามารถสร้างรายได้ ยอดขาย และรักษาอัตราการทำกำไร ในห้วงเวลาที่เศรษฐกิจชะลอตัว   ในขณะเดียวกันจากการวิเคราะห์กำลังซื้อในไตรมาสแรกของปี 2563 พบว่า ความต้องการซื้อเพื่อการอยู่อาศัยยังคงมีกำลังซื้ออย่างต่อเนื่องทั้งแนวราบและอาคารชุดเพื่อการอยู่อาศัย รายได้ที่ลดลงของผู้ประกอบการอสังหาฯ โดยเฉลี่ย 30.43% ในไตรมาสแรก เป็นผลมาจากไม่สามารถโอนที่อยู่อาศัยให้กับผู้ซื้อจากต่างประเทศได้ตามแผนที่วางไว้ ซึ่งเป็นผลจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 และบางส่วนเป็นกลุ่มลูกค้าที่ซื้อเพื่อการลงทุนที่ชะลอการลงทุนในภาวะที่เศรษฐกิจชะลอตัว LPN Wisdom คาดเปิดโปรเจ็กต์ใหม่ลดกว่า 50-55% อย่างไรก็ตาม แนวโน้มการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในประเทศไทย  ที่มีแนวโน้มคลี่คลายและคาดว่า  จะสามารถปลดล็อกได้สิ้นไตรมาส 2 ของปี 2563 ทำให้ LPN Wisdom คาดว่า ตลาดอสังหาริมทรัพย์จะค่อยๆ ฟื้นตัว ในไตรมาส 3 และไตรมาส 4ของปี 2563 โดยคาดว่าผู้ประกอบการจะทยอยเปิดตัวโครงการใหม่ในไตรมาส 3 และไตรมาส 4  หลังจากที่ชะลอแผนเปิดตัวโครงการใหม่ในไตรมาส 2 ของปี 2563  ซึ่งคาดว่าจะมีจำนวนการเปิดตัวโครงการใหม่ในปี 2563 จะอยู่ที่ 50,000-55,000 ยูนิต คิดเป็นมูลค่า 175,000-190,000 ล้านบาท  หรือลดลง 50-55% เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปี 2562 ภายใต้เงื่อนไขที่ไม่มีการระบาดของไวรัส โควิด-19 ระลอกสอง นายประพันธ์ศักดิ์ กล่าวอีกว่า ถึงแม้ภาพรวมตลาดอสังหาริมทรัพย์จะฟื้นตัวในช่วงครึ่งหลังของปี 2563 ก็ตามแต่เนื่องจากจำนวนสินค้าคงเหลือและโครงการที่อยู่ระหว่างการพัฒนาของผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ยังคงมีมูลค่าสูง เฉพาะ 29 บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยมีจำนวนสินค้าคงเหลือและโครงการที่อยู่ระหว่างการพัฒนา ณ วันที่ 31 มีนาคม 2562 สูงถึง 576,406 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 6.74% จาก ณ สิ้นปี 2562  ซึ่งต้องใช้เวลาในการขายไม่น้อยกว่า 36 เดือน ทำให้แนวโน้มผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ จะเร่งขายโครงการเดิม แทนการเปิดโครงการใหม่   อย่างไรก็ตาม จะมีบางบริษัทที่ยังคงเปิดโครงการใหม่ในบางทำเลที่มีกำลังซื้อสูง โดยเฉพาะโครงการแนวราบทั้งบ้านเดี่ยวและทาวน์เฮ้าส์ ที่มีความต้องการสูง ตามพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป  ตามรูปแบบการใช้ชีวิตในวิถีปรกติใหม่ (New Normal) ที่ต้องการพื้นที่ใช้สอยเพิ่มขึ้น ตอบโจทย์การทำงานที่บ้าน (Work From Home) ที่กำลังกลายเป็นรูปแบบการทำงานรูปแบบใหม่ หลังการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่ LPN Wisdom เชื่อว่า การทำงานที่บ้านจะยังคงอยู่แม้จะไม่มีการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 แล้วก็ตาม  
ริชี่ จัดหนักไตรมาส 2 ซื้อบ้านแถมรถเบนซ์ หรืออยู่ฟรี 5 ปี

ริชี่ จัดหนักไตรมาส 2 ซื้อบ้านแถมรถเบนซ์ หรืออยู่ฟรี 5 ปี

ริชี่  จัดหนักอัดโปร Double Choice แรงสุดในรอบ 10 ปี ให้ลูกค้ามี 2 ทางเลือกมากสุดในตลาดอสังหาฯ ซื้อบ้าน-คอนโดฯ ได้รถเบสซ์  หรือไม่ต้องผ่อนนาน 5 ปี ขน 12 โครงการ 12 ทำเลพร้อมอยู่กระตุ้นยอดขายไตรมาส 2 หลังช่วง 3 เดือนแรกของปี กำไรและรายได้ลดตามสภาพตลาด และเจอพิษโควิด-19   ดร.อาภา อรรถบูรณ์วงศ์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ริชี่เพลซ 2002 จำกัด (มหาชน) หรือ RICHY เปิดเผยว่า จากสภาวะตลาดอสังหาฯ ที่ปัจจุบันแข่งขันกันสูงมาก  บริษัทมองตอนนี้เป็นโอกาสทองของลูกค้าที่จะเลือกที่อยู่อาศัยดีๆ ในราคาที่จับต้องได้  จึงส่งโปรโมชั่น  “Double Choice” ที่แรงสุด คุ้มสุดในรอบ 10 ปีของบริษัท  และแรงสุดเมื่อเทียบกับทุกเจ้าในตลาดฯ เพื่อช่วยให้ลูกค้ามั่นใจและยังไม่ต้องการแบกภาระในช่วงเวลาแบบนี้ไปอีก 5 ปี โดยให้ทางเลือกลูกค้าดังนี้   ช้อยซ์ที่ 1  ริชี่ให้อยู่ฟรีหรือช่วยผ่อนให้สูงสุด 60 เดือน หรือ 5 ปี เปลี่ยนจากผู้เช่าเป็นเจ้าของได้ทันที ปลอดภาระรายจ่าย หากเป็นลูกค้านักลงทุนเท่ากับจะมีรายได้เพิ่มในการนำไปปล่อยเช่าต่อ ทั้งนี้ขึ้นกับภาระเดิมและอายุของผู้ซื้อประกอบการใช้สิทธิ์ ช้อยซ์ที่ 2 ซื้อคอนโด บ้าน หรือทาวน์โฮม รับฟรีรถยนต์ 1 คัน เหมาะกับลูกค้าที่ต้องการมีทั้งบ้านและรถ แต่ไม่สามารถมีภาระได้พร้อมกัน ริชี่จัดรถยนต์ให้ฟรีๆ ไป 1 คัน อาทิ รถเบนซ์ มินิคูเปอร์ ฮอนด้า ซีวิค ฮอนด้า ซิตี้ และอีกหลายรุ่น ขึ้นกับโครงการที่คุณเลือก   นอกจากนี้ ทุกโครงการลูกค้าจะได้รับผลิตภัณฑ์ในกลุ่ม WellTech ตามนโยบายของ ริชี่ ที่มุ่งหวังให้ลูกบ้านมีสุขภาวะที่ดีอย่างยั่งยืน อาทิ เครื่องฟอกอากาศ PM 2.5 เครื่องกรองน้ำดื่ม เครื่องกรองน้ำอาบช่วยลดคลอรีนเพื่อผิวพรรณที่ดี เป็นต้น โดยส่วนลดและของแถมทั้งหมดของโปรชั่นดังกล่าว มีมูลค่ากว่า 50 ล้านบาท ซึ่งโปรโมชั่นจะเริ่มตังแต่วันนี้จนถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2563   ดร.อาภา กล่าวอีกว่า  โครงการที่ร่วมโปรโมชั่น RICHY Double Choice ทั้งหมด 12 โครงการ ทั้งคอนโดมิเนียมแนวสูง แนวราบ และ ทาวน์โฮม อาทิ The Rich เอกมัย, The Rich เพลินจิต-นานา, The Rich สาทร-ตากสิน, Rich Park @เตาปูนอินเตอร์เชนจ์, Rich Point @BTS วุฒากาศ และ The Rich Ville ราชพฤกษ์-รัตนาธิเบศร์ เป็นต้น   สำหรับผลการดำเนินงานในไตรมาสแรกที่ผ่านมา  บริษัทมีรายได้รวม 237.93 ล้านบาท ลดลง 210.19 ล้านบาท หรือลดลง 46.90% เมื่อเทียบกับปีก่อนในงวดเดียวกัน  ปัจจัยหลักมาจากการโอนรับรู้รายได้จากอสังหาริมทรัพย์ ลดลง จำนวน 209.94 ล้านบาท หรือลดลงคิดเป็น 47.33%  เมื่อเทียบกับปีก่อน เป็นผลมาจากปัจจัยหลายอย่าง ทั้งสภาวการณ์ภายในประเทศ และภายนอกประเทศ ที่เกิดการแพร่กระจายของโรคระบาดไวรัสโควิด-19 จึงส่งผลให้การรับรู้รายได้ลดลง   สำหรับในไตรมาสแรก ปี 2563 ที่ผ่านมา บริษัทมีรายได้จากการขายอาคารชุดจำนวนเงิน 218.10 ล้านบาท ลดลง 199.79 ล้านบาท หรือลดลง  47.81% เนื่องจากยอดโอนกรรมสิทธิ์จากอาคารชุดส่วนใหญ่ รับรู้รายได้น้อยลงกว่า ปี 2562 ซึ่งเป็นรายได้หลักจากการขายอสังหาริมทรัพย์ รายได้จากการขายทาวน์โฮมจำนวนเงิน 15.55 ล้านบาท ลดลง 10.15 ล้านบาท หรือลดลง 39.49%   บริษัทมีกำไรสุทธิสำหรับไตรมาสแรก ปี 2563 เท่ากับ 21.28 ล้านบาทหรือคิดเป็น​ 8.94%  ของรายได้รวม โดยมีกำไรสุทธิลดลงจากงวดเดียวกันของปีก่อนเท่ากับ 50.65 ล้านบาทหรือลดลง  70.42% ปัจจัยหลักมาจากรายได้ จากการโอนกรรมสิทธิ์ที่ลดลง  
แลนดี้ โฮม จับตลาด “รื้อบ้านเก่า สร้างบ้านใหม่” หวังสร้างยอดขาย 200 ล้านบาท

แลนดี้ โฮม จับตลาด “รื้อบ้านเก่า สร้างบ้านใหม่” หวังสร้างยอดขาย 200 ล้านบาท

แลนดี้ โฮม  บุกตลาด "รื้อบ้านเก่าสร้างใหม่" รับดีมานด์ลูกค้าอยู่ในไพร์มแอเรีย ที่ดินราคาสูง ไม่อยากย้ายทำเล ส่งแคมเปญให้ส่วนลดสูงสุด 30% พร้อมค่ารื้อถอนสูงสุด  65,000 บาท คาดทำยอดขาย 200 ล้าน   นางสาวภัทรา มณีรัตนะพร ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดและพัฒนาผลิตภัณฑ์ บริษัท แลนดี้ โฮม (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า ในปีนี้ แลนดี้ โฮม หันมาจับตลาดทุบบ้านเก่าสร้างบ้านใหม่ ซึ่งกำลังได้รับความนิยมในกลุ่มเจ้าของที่ดิน โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีมูลค่าสูง เช่น สุขุมวิท พระราม 4 พัฒนาการ รามคำแหง ศรีนครินทร์ วิภาวดี พหลโยธิน ฯลฯ ซึ่งส่วนใหญ่เจ้าของที่ดินเป็นกลุ่มผู้สูงอายุ ไม่อยากย้ายออกจากทำเลเดิม และไม่ต้องการขายที่ดินให้กับนักพัฒนาที่ดิน  แต่ต้องการอยู่อาศัยเอง หรือต้องการให้เป็นมรดกแก่ลูกหลาน   โดยการรื้อบ้านเก่า สร้างบ้านใหม่ ถือเป็นเทรนด์ใหม่ที่น่าจับตามอง โดยเฉพาะในทำเลไพรม์แอเรีย ที่ตัวบ้านหลังเดิมอาจจะมีสภาพเก่า 30 - 50 ปีขึ้นไป และฟังก์ชั่นการใช้งานอาจจะไม่ตอบโจทย์แล้ว  เจ้าของที่ดินหรือบ้าน ยังผูกพันกับย่านที่อยู่อาศัยเดิม จึงมีแนวคิดที่จะทุบทิ้ง และสร้างบ้านแบบใหม่ที่มีดีไซน์ และฟังก์ชั่นตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ในยุคปัจจุบันมากขึ้น   ประกอบกับในช่วงสถานการณ์โควิด-19  จำเป็นต้องใช้เวลาอยู่บ้านมากขึ้น จึงทำให้หันมาให้ความสำคัญกับตัวบ้าน เกิดการรีโนเวทบ้าน และการสร้างบ้านใหม่ขึ้นมา เพื่อตอบสนองความต้องการในการอยู่อาศัยของสมาชิกในครอบครัวทุกช่วงวัย   อีกทั้งค่าใช้จ่ายในการสร้างบ้านใหม่ กับการรีโนเวทนั้น แทบจะไม่แตกต่างกัน แต่การทุบทิ้งแล้วสร้างใหม่จะทำให้ได้ฟังก์ชั่นการใช้งานที่ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ได้มากกว่าการรีโนเวท   บริษัทจึงได้ออกแคมเปญพิเศษ “รื้อบ้านเก่า สร้างบ้านใหม่ เป็นมรดกให้ลูกหลาน” เพื่อให้บริการแบบ One Stop Service ที่ทำให้การสร้างบ้านใหม่เป็นเรื่องง่าย โดยมอบสิทธิพิเศษให้กับลูกค้า ด้วยการช่วยสนับสนุนค่ารื้อบ้าน มูลค่าสูงสุด 65,000 บาท และยังช่วยสนับสนุนค่าเช่าในระหว่างรื้อบ้าน และก่อสร้างบ้าน สูงสุด 250,000 บาท โดยบริษัทได้จัดเตรียมแบบบ้านไว้ให้เลือกมากกว่า 300 แบบ พร้อมมอบส่วนลดสร้างบ้านสูงสุด 30% สำหรับลูกค้าที่เข้าร่วมแคมเปญ ซึ่งตั้งเป้าว่าน่าจะทำยอดขายได้ 200 ล้านบาท   นางสาวภัทรา กล่าวอีกว่า ที่ดินในจุดไพรม์แอเรียบางแห่ง ไม่ได้มีขนาดใหญ่มาก แต่มีราคาที่ดินค่อนข้างสูง ซึ่งสามารถส่งต่อเป็นสินทรัพย์ให้ลูกหลานได้ แลนดี้ โฮม เข้าใจถึงความต้องการลูกค้าในส่วนนี้ จึงนำเสนอแบบบ้านที่หลากหลาย เหมาะกับที่ดินรูปแบบต่างๆ ทั้งหน้ากว้าง-ตื้น หรือ หน้าแคบ-ลึก โดยการสร้างบ้านใหม่ลูกค้าสามารถเลือกแบบบ้านได้ตามต้องการ และความเหมาะสม โดยทุกแบบจะได้รับการออกแบบและควบคุมการก่อสร้างโดยสถาปนิกและวิศวกรมืออาชีพ ที่คำนึงถึงความสวยงามและฟังก์ชั่นการใช้งานที่ลงตัวสำหรับทุกคนในบ้าน สำหรับภาพรวมของตลาดรับสร้างบ้านในปีนี้ คาดว่ามูลค่าตลาดในปีนี้อยู่ที่ประมาณ 13,000 – 13,500 ล้านบาท โดยสัดส่วนของตลาดทุบบ้านเก่าสร้างบ้านใหม่นี้ จะอยู่ที่ประมาณ 30% ของตลาดรับสร้างบ้านรวมทั้งหมด
ศูนย์ข้อมูลฯ วิเคราะห์ ตลาดอสังหาฯ 2563 โดนพิษโควิด-19 ปรับตัวลดต่ำสุด 15%

ศูนย์ข้อมูลฯ วิเคราะห์ ตลาดอสังหาฯ 2563 โดนพิษโควิด-19 ปรับตัวลดต่ำสุด 15%

ศูนย์ข้อมูลฯ​ เปิดผลสำรวจข้อมูลตลาดที่อยู่อาศัยทั่วประเทศ  ช่วงไตรมาสแรกของปี 2563 ท่ามกลางการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 คาดได้รับผลกระทบ ทำตลาดอสังหาฯภาพรวมลดต่ำลงมากสุด 15% แต่หากปรับตัวดีขึ้น น่าจะติดลบระดับ 10% แม้ตลาดแย่แต่ยังไม่เท่ากับวิกฤติเศรษฐกิจปี 2540     ดร.วิชัย วิรัตกพันธ์ ผู้ตรวจการธนาคารอาคารสงเคราะห์ และรักษาการผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ เปิดเผยว่า สถานการณ์ตลาดที่อยู่อาศัยไตรมาส 1 ปี 2563 เป็นช่วงเวลาที่สะท้อนผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา หรือ ไวรัส COVID-19 ต่อการลงทุนในภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ และการซื้อขายที่อยู่อาศัยอย่างเป็นรูปธรรม โดยภาพรวมชะลอตัวลงทั้งในด้านดีมานด์และซัพพลาย  ซึ่งเป็นการปรับสมดุลของตลาดลดความเสี่ยงปัญหาอุปทานส่วนเกิน โอนกรรมสิทธิ์ปรับตัวลดทั้งจำนวนและมูลค่า สถานการณ์ด้านความต้องการที่อยู่อาศัยไตรมาส 1 ปี 2563 ประเมินจากข้อมูลการโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัย พบว่าภาพรวมทั่วประเทศในช่วงไตรมาส 1 ปี 2563 มีจำนวนยูนิตการโอนกรรมสิทธิ์จำนวน 89,024 ยูนิต ลดลงจากไตรมาส 4 ปีที่ผ่านมา​ 16.7% แต่เมื่อเทียบจากช่วงเดียวกันของปี 2562 จะเพิ่มขึ้น  2.5% โดยมีมูลค่ารวม 210,294 ล้านบาท ลดลงจากไตรมาส 4 ปีที่แล้ว  20.6% แต่เมื่อเทียบจากช่วงเดียวกันของปี 2562 จะเพิ่มขึ้น 6.4% โดยการโอนกรรมสิทธิ๋ที่อยู่อาศัยประเภทห้องชุดมีสัดส่วนใกล้เคียงกับบ้านเดี่ยว แต่มูลค่าการโอนกรรมสิทธิ์บ้านเดี่ยวมีสัดส่วนสูงที่สุด ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาภาพรวมการโอนกรรมสิทธิ์เฉพาะในพื้นที่กรุงเทพฯ-ปริมณฑล ไตรมาส 1 ปี 2563 พบว่า มีจำนวนรวม 45,678 ยูนิต ลดลงจากไตรมส 4 ปีที่แล้ว 18.3% และลดลง 4.4% เมื่อเทียบจากช่วงเดียวกันของปี 2562 โดยมูลค่าการโอนกรรมสิทธิ์มีจำนวน 129,406 ล้านบาท ลดลงจากไตรมาส 4 ปีที่แล้ว 24.4% และลดลง 2.7% เมื่อเทียบจากช่วงเดียวกันของปี 2562 ในส่วนของภูมิภาค ไตรมาส 1 ปี 2563 มีจำนวนรวม 43,346 ยูนิต ลดลงจากไตรมาส 4 ปีที่ผ่านมา 14.9% แต่เพิ่มขึ้น 10.9% เมื่อเทียบจากช่วงเดียวกันของปี 2562 โดยมูลค่าการโอนกรรมสิทธิ์มีจำนวน 80,888 ล้านบาท ลดลงจากไตรมาส 4 ปีที่ผ่านมา 13.5% แต่เพิ่มขึ้น  25.0% เมื่อเทียบจากช่วงเดียวกันของปี 2562   โดยศูนย์ข้อมูลฯคาดการว่าในปี 2563 จะมีการโอนกรรมสิทธิ์ทั่วประเทศจำนวน 311,719 ยูนิต ลดลง 16.7% จากปี 2562 มูลค่าการโอนกรรมสิทธิ์รวม 746,206 ล้านบาท ลดลง 14.8% จากปี 2562 ในจำนวนดังกล่าวประมาณการเฉพาะพื้นที่กรุงเทพฯ-ปริมณฑลจะมีการโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยจำนวน 160,350 ยูนิต มูลค่ารวม 472,401 ล้านบาท ลดลงจากปีที่ผ่านมา 19.1% และลดลง 17.4% ตามลำดับ ประมาณการยูนิตการโอนกรรมสิทธิ์ในภูมิภาครวม 151,369 ยูนิต มูลค่ารวม 273,805 ล้านบาท ลดลงจากปีจากปีที่ผ่านมา 14.0% และลดลง 9.9% ตามลำดับ ด้านภาพรวมสินเชื่อที่อยู่อาศัยบุคคลปล่อยใหม่ทั่วประเทศ พบว่าในไตรมาส 1 ปี 2563 มีมูลค่ารวม 138,238 ล้านบาท ลดลง 13.0% เมื่อเทียบจากช่วงเดียวกันของปี 2562 โดยคาดการว่าปี 2563 จะมีจำนวนสินเชื่อที่อยู่อาศัยบุคคลปล่อยใหม่ทั่วประเทศรวม 571,196 ล้านบาท ลดลง 10.8% จากปี 2562 ซัพพลายที่อยู่อาศัยลดลงต่ำกว่าค่าเฉลี่ย สำหรับซัพพลายใหม่ในช่วงไตรมาส 1 ปี 2563 พบว่ามีการออกใบอนุญาตก่อสร้างอาคารที่อยู่อาศัยทั่วประเทศ จำนวน 60,165 ยูนิต ลดลง 17.9% จากไตรมาส 4 ปี 2562 และลดลง 27.7% เมื่อเทียบจากช่วงเดียวกันของปี 2562 ในจำนวนดังกล่าวเป็นการออกใบอนุญาตก่อสร้างที่อยู่อาศัยเฉพาะในพื้นที่กรุงเทพฯ-ปริมณฑล จำนวน 20,590 ยูนิต ลดลง 18.6% จากไตรมาส 4 ปี 2562 และลดลง 36.5% เมื่อเทียบจากช่วงเดียวกันของปี 2562 ส่วนในภูมิภาคพบว่ามีการออกใบอนุญาตก่อสร้างอาคารที่อยู่อาศัยจำนวน 39,575 ยูนิต ลดลง 27.8% จากไตรมาส 4 ปี 2562 และลดลง 30.9% เมื่อเทียบจากช่วงเดียวกันของปี 2562   โดยศูนย์ข้อมูลฯ คาดการว่าในปี 2563 จะมีการออกใบอนุญาตก่อสร้างอาคารที่อยู่อาศัยทั่วประเทศจำนวน 256,601 ยูนิต ลดลง 16.5% เมื่อเทียบจากปี 2562 โดยในพื้นที่กรุงเทพฯ-ปริมณฑล จะมีการออกใบอนุญาตก่อสร้างที่อยู่อาศัยจำนวน 97,441 ยูนิต ลดลง 20.7% ในส่วนภูมิภาคคาดว่าจะมีการออกใบอนุญาตก่อสร้างอาคารที่อยู่อาศัยจำนวน 154,160 ยูนิต ลดลง 22.7% นอกจากนี้ จากข้อมูลสำรวจโครงการที่อยู่อาศัยเปิดขายใหม่ของศูนย์ข้อมูลฯ พบว่าในช่วงไตรมาส1ปี 2563 ในพื้นที่กรุงเทพฯ-ปริมณฑล มีที่อยู่อาศัยทุกประเภทเปิดขายใหม่จำนวนรวม 15,932 ยูนิต ลดลง 49.3% จากไตรมาส 4 ปี 2562 และลดลงจากช่วงเดียวกันของปี 2562  อัตรา 29.6% โดยประมาณการว่า ปี 2563 เฉพาะในพื้นที่กรุงเทพฯ-ปริมณฑล จะมีที่อยู่อาศัยเปิดขายใหม่ทุกประเภทรวม 79,408 ยูนิต เป็นโครงการบ้านจัดสรรเปิดตัวใหม่ประมาณ 35,734 ยูนิต และอาคารชุดเปิดขายใหม่ประมาณ 43,674 ยูนิต ลดลง 19. %เมื่อเทียบกับปี 2562 ในขณะที่รายงานที่อยู่อาศัยสร้างเสร็จจดทะเบียนในพื้นที่กรุงเทพฯ-ปริมณฑล ไตรมาส 1 ปี 2563 ก็ลดลงด้วยเช่นกัน โดยมีจำนวน 21,260 ยูนิต ลดลง 24.7% จากไตรมาส 4 ปี 2562 และลดลง 12.3% เมื่อเทียบจากช่วงเดียวกันของปี 2562 โดยคาดการว่าในปี 2563 จะมีที่อยู่อาศัยสร้างเสร็จจดทะเบียนจำนวนประมาณ 80,563 ยูนิต ลดลง 27.8% จากปี 2562 ตลาดที่อยู่อาศัย ปี 2563 ติดลบหนักสุด 15%  อย่างไรก็ตาม จากการประเมินสถานการณ์ โดยภาพรวมจากสถิติข้อมูลทั้งในด้านดีมานด์และซัพพลาย ศูนย์ข้อมูลฯคาดการว่าในปี 2563 แม้เศรษฐกิจโดยรวมของประเทศจะชะลอตัว แต่ในส่วนของตลาดที่อยู่อาศัยจะไม่เกิดปัญหารุนแรงเช่นที่เคยเกิดขึ้นเมื่อปี 2541 เนื่องจากมีการปรับตัวทั้งในด้านดีมานด์และซัพพลาย  ทั้งส่วนกลางและภูมิภาค   โดยคาดการว่าในปีนี้ แม้เศรษฐกิจโดยรวมของประเทศจะชะลอตัว มีตัวเลขจีดีพีติดลบในอัตรา 5.5% แต่ในส่วนของตลาดที่อยู่อาศัยจะไม่เกิดปัญหารุนแรง ซึ่งประเมินว่าตลาดที่อยู่อาศัยในภาพรวม จะติดลบมากที่สุด 15% หรือหากปรับตัวดีขึ้นจะติดลบ 10% เพราะว่าความต้องการซื้อที่อยู่อาศัยยังมีอยู่ เพียงแต่ผู้บริโภคยังไม่มั่นใจ และกังวลต่อแนวโน้มรายได้และอาชีพของตนเองในอนาคต แต่ยังมีผู้บริโภคส่วนหนึ่งที่ยังมีรายได้และอาชีพที่มั่นคง ทำให้ผู้ประกอบการหันไปจับตลาดในกลุ่มดังกล่าวมากขึ้น ซึ่งหากปัญหาทุกอย่างคลี่คลายเชื่อว่ากำลังซื้อจะกลับมาเป็นปกติ แต่อาจจะต้องใช้ระยะเวลาหนึ่ง
ดีมานด์บ้านแนวราบยังโต LPN ส่งโปรเจ็กต์ใหม่กวาดยอดทะลุเป้า

ดีมานด์บ้านแนวราบยังโต LPN ส่งโปรเจ็กต์ใหม่กวาดยอดทะลุเป้า

LPN เปิดโปรเจ็กต์ “ลุมพินี ทาวน์วิลล์ พหลโยธิน - สะพานใหม่” แค่ 2 เดือน ยอดทะลุเป้า กวาดยอดขายกว่า 200 ล้าน หลังปั้นโปรดักส์ตอบโจทย์ ราคาเอื้อมถึง ตอบรับโจทย์คนรุ่นใหม่ ในวิถี New Normal     นายโอภาส ศรีพยัคฆ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการ บริษัท แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด(มหาชน) (LPN) เปิดเผยว่า ปีนี้บริษัทได้วางแผนพัฒนาผลิตภัณฑ์บ้านให้ตอบโจทย์ผู้บริโภคมากยิ่งขึ้น ตั้งแต่การเฟ้นหาทำเลศักยภาพที่เดินทางสะดวกสบาย ใกล้เขตเมือง ใกล้ระบบขนส่งมวลชนสาธารณะ สามารถเข้า-ออกได้หลายเส้นทางเพื่อลดความแออัดของการจราจรในชั่วโมงเร่งรีบ รวมถึงการกำหนดราคาขาย ที่ทำให้ผู้บริโภคเป็นเจ้าของได้ง่าย (Affordable Price) เพราะราคาเป็นปัจจัยสำคัญในการตัดสินใจซื้อของลูกค้า   โดยช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา LPN เปิดขายบ้านโครงการ “ลุมพินี ทาวน์วิลล์ พหลโยธิน-สะพานใหม่” ซึ่งถือว่าประสบความสำเร็จ เพราะสามารถสร้างยอดขายทะลุเป้าหมายที่วางไว้ได้  โดยมียอดขาย 80 หลัง จากเป้าที่ตั้งไว้  10 หลังต่อเดือน คิดเป็นมูลค่ากว่า 200 ล้านบาท เพียงระยะเวลา 2 เดือน  ซึ่งบ้านที่เปิดขายมีราคาเริ่มต้นเพียง 2.3 ล้านบาท จับกลุ่มคนทำงานที่กำลังขยายครอบครัว นับเป็นความสำเร็จที่สวนกระแสในสภาวะตลาดซบเซาจากวิกฤติไวรัส Covid-19  ระบาด ถือว่า LPN มาถูกทางกับตลาดบ้านในราคาที่ลูกค้าเอื้อมถึง ที่คุ้มค่าทั้งราคา ทำเล การบริหารหลังการขายภายใต้กลยุทธ์ “ชุมชนน่าอยู่” รวมถึงการพัฒนาดีไซน์ให้ตอบโจทย์ผู้บริโภค นอกจากนี้ จากการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผู้บริโภค ในการอยู่อาศัยที่เรียกว่า New Normal หลังสถานการณ์ Covid-19 เริ่มคลี่คลายและสังคมเข้าสู่สภาวะปกติ ผู้คนในสังคมจะยังคงใช้ชีวิตแบบมีระยะห่าง หรือ Social Distancing เพื่อป้องกันการแพร่ระบาด Covid-19 ระลอกใหม่ ดังนั้นการเลือกซื้อบ้านในยุคปัจจุบันจึงต้องตอบโจทย์ผู้บริโภค ด้วยการเน้นความเป็นพื้นที่ส่วนตัว  ไม่ต้องสัมผัสใกล้ชิดกับบุคคลอื่น มีพื้นที่ใช้สอยอย่างกว้างขวาง รองรับการใช้ชีวิตตลอด 24 ชั่วโมง ทั้งการพักอาศัยในบ้านก็รองรับการทำงานแบบ Work from Home  ที่สามารถเปลี่ยนวิถีใหม่ในการดำเนินชีวิต   สำหรับโครงการลุมพินี ทาวน์วิลล์ พหลโยธิน-สะพานใหม่  เป็นทาวน์โฮมดีไซน์ใหม่ ภายใต้การออกแบบตามคอนเซ็ปต์ “Modern Casual” ได้รับแรงบันดาลใจจากสีสัน และลวดลายในโลกแฟชั่น มาผสมผสานกับความเรียบง่าย  เป็นโครงการทาวน์โฮม 2 ชั้น หน้ากว้าง 5 และ 5.5 เมตร พื้นที่โครงการกว่า 21 ไร่ จำนวนบ้าน 262 ยูนิต คิดเป็นมูลค่า 755 ล้านบาท มีแบบบ้านให้เลือก 2 แบบ ได้แก่ TYPE A  ทาวน์โฮม 2 ชั้น หน้ากว้าง 5.5 เมตร และ TYPE B ทาวน์โฮม 2 ชั้น หน้ากว้าง 5 เมตร ที่ดินเริ่มต้น 16.8 ตร.ว.ขึ้นไป พื้นที่ใช้สอย เริ่มต้น 110-126.5 ตารางเมตร ขนาด 2 ห้องนอน 2-3 ห้องน้ำ 1 ห้องอเนกประสงค์ พร้อมที่จอดรถ 2 คัน ภายในโครงการยังมีพื้นที่ส่วนกลางจัดสรรสิ่งอำนวยความสะดวกไว้อย่างครบครัน ทั้งสโมสร ห้องออกกำลังกาย สระว่ายน้ำระบบเกลือ พร้อมสระเด็ก สนามเด็กเล่น สวนพักผ่อน และระบบรักษาความปลอดภัยตลอด 24 ชม.ในราคาเริ่มต้น 2.30-2.50 ล้านบาท ยอดขายปัจจุบันกว่า 60% ของจำนวนหลังที่เปิดขาย หรือ กว่า 30% ของทั้งโครงการ โดยปัจจุบันมีโปรโมชั่นฟรีปั๊มน้ำ, แท็งค์น้ำ, เครื่องปรับอากาศ, ค่าส่วนกลาง  2 ปีและค่าธรรมเนียมการโอนกรรมสิทธิ์ ​
แสนสิริ เจอพิษโควิด-19 ทำกำไรลดเหลือแค่ 62 ล้าน เร่งสปีดธุรกิจปั้มยอดขาย  

แสนสิริ เจอพิษโควิด-19 ทำกำไรลดเหลือแค่ 62 ล้าน เร่งสปีดธุรกิจปั้มยอดขาย  

แสนสิริ ยังทำรายได้ขายอสังหาฯ  ไตรมาสแรกกว่า 5,393 ล้าน แต่กำไรลดฮวบเหลือแค่ 62 ล้าน จากช่วงเดียวกันของปีก่อนทำได้กว่า 400 ล้าน เหตุขาดทุนในกิจการโรงแรม แถมค่าบริหารธุรกิจพุ่งสูง จากผลกระทบโควิด-19 เดินหน้าเร่งสปีดธุรกิจ หวังโกยยอดขายเพิ่ม หลังตุนยอดได้กว่า 21,000 ล้าน   นายอภิชาติ  จูตระกูล ประธานอำนวยการ บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) หรือ SIRI เปิดเผยว่า ในไตรมาสแรกของปีนี้ บริษัทมีรายได้รวม 6,623 ล้านบาท ใกล้เคียงกับช่วงเดียวกันของปีก่อนแบ่งเป็นรายได้จากการขาย 5,393 ล้านบาท เติบโตขึ้น 10% จากปีก่อน มาจากการโอนโครงการแนวราบและแนวสูงในสัดส่วนใกล้เคียงกัน คือ 59 : 41 % อาทิ โครงการบุราสิริ พัฒนาการ โครงการบ้านแสนสิริ พัฒนาการ  ไทเกอร์ เลน รวมถึงโครงการคอนโดมิเนียม ที่ได้รับการตอบรับโอนที่ดีจากลูกค้า อาทิ โครงการ เดอะ โมนูเมนต์ ทองหล่อ โครงการดีคอนโด ริน เชียงใหม่ และ ลา กาซิตา หัวหิน เป็นต้น   นอกจากนี้ บริษัทยังมีกำไรจากการลงทุนจากการเพิ่มมูลค่าของ JustCo ที่แสนสิริเข้าไปลงทุนถือหุ้น โดย Daito Trust บริษัทด้านอสังหาริมทรัพย์และการก่อสร้างชั้นนำจากประเทศญี่ปุ่น ได้เล็งเห็นถึงศักยภาพการเติบโตทางธุรกิจของ Justco และได้เข้าซื้อส่วนลงทุนของ Justco มูลค่ากว่า 50 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในเดือน มกราคม 2563 ที่ผ่านมา ส่งผลให้ Valuation ของ Justco เพิ่มมูลค่าอย่างมาก โดยแสนสิริในฐานะผู้ถือหุ้น สามารถรับรู้กำไรจากการเพิ่มมูลค่าของเงินลงทุนนี้ได้กว่า 703 ล้านบาท อย่างไรก็ดี ตามมาตรฐานการบัญชีนั้น กำไรจากการเพิ่มมูลค่าของเงินลงทุนนี้จะไม่ปรากฏอยู่ในงบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ แต่จะถูกบันทึกเป็นกำไรสะสมในงบดุลโดยตรง สำหรับ JustCo นับเป็น Coworking space & Serviced Office รูปแบบใหม่ ที่มีอัตราการเติบโตเฉลี่ยถึง 150% ในแต่ละปี ปัจจุบันประกอบด้วย 42 จัสท์โค เซ็นเทอร์ ใน 8 เมืองใหญ่ต่างประเทศ โดยในประเทศไทยจัสท์โคเปิดตัว 4 แห่ง   อย่างไรก็ตาม จากผลการดำเนินงานในช่วงไตรมาสแรกที่ผ่านมา พบว่า แสนสิริมีรายได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์กว่า 5,382.99 ล้านบาท เพิ่มขึ้นประมาณ​ 10% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าที่ทำได้ 4,892.57 ล้านบาท  แม้ว่ารายได้จะเพิ่มขึ้น แต่ความสามารถในการทำกำไรกลับลดต่ำลงอย่างมาก โดยในไตรมาสแรกปีนี้ แสนสิริและบริษัทย่อยมีกำไรสุทธิ 62 ล้านบาท ซึ่งถือว่าลดต่ำลงอย่างมาก เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ซึ่งทำกำไรไปกว่า 404.30 ล้านบาท  สาเหตุหลักมาจากการลดลงของอัตรากำไรขั้นต้นจากการขายโครงการ รวมถึงการขาดทุนจากธุรกิจการบริหารโรงแรม ซึ่งได้รับผลกระทบอย่างมากจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ประกอบ กับการเพิ่มขึ้นของค่าใช้จ่ายในการบริหาร   สำหรับแผนการดำเนินธุรกิจของแสนสิริ เพื่อรองรับความแข็งแกร่งควบคู่ไปกับการสร้างความแข็งแกร่งด้านการเงิน คือ การสานต่อการสร้างแบรนด์แสนสิริให้แข็งแกร่งมากขึ้น  ปัจจุบันแสนสิริมียอดขายล่วงหน้า (Pre-Sale Backlog) โครงการที่อยู่อาศัยต่างๆ เป็นมูลค่ารวมเกือบ 46,900 ล้านบาท ที่จะทยอยรับรู้รายได้อย่างต่อเนื่องใน 1-3 ปีข้างหน้า นอกจากนี้ แสนสิริยังมีแผนขยายการพัฒนาธุรกิจที่อยู่อาศัยใหม่ๆ เพื่อรองรับทุกความต้องการของลูกค้า สิ่งที่สำคัญที่สุด คือการมีฐานเงินทุนที่แข็งแกร่ง เพื่อรองรับการขยายธุรกิจได้อย่างต่อเนื่อง โดยไม่มีผลกระทบต่อแผนการลงทุนระยะยาว อันจะสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ลงทุนและสถาบันการเงินได้เป็นอย่างดี  รวมถึงบริษัทยังมีสภาพคล่องและ Cash flow หรือกระแสเงินสด อีกถึง 10,000 ล้านบาท ที่มีความพร้อมในการดำเนินธุรกิจและมีความแข็งแกร่งในทุกสภาวการณ์   ทั้งนี้ ความสำเร็จจากการออกหุ้นกู้ระยะยาวในช่วงที่ผ่านมา ทำให้บริษัทเล็งเห็นศักยภาพในการรักษาการเติบโตได้ จึงมีการพิจารณาแผนความแข็งแกร่งด้านการเงินระยะยาวโดยการเตรียมความพร้อมสำหรับการเติบโตในอนาคต ด้วยการออก Perpetual Bond 2,500 ล้านบาท เพื่อเพิ่มความแข็งแกร่งให้กับแสนสิริ   ปัจจุบันแสนสิริมียอดขายล่าสุดอยู่ที่ 21,000 ล้านบาท จากการดำเนินธุรกิจ ด้วยกลยุทธ์การตลาดที่แข็งแกร่งนำหน้าคู่แข่งในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งภายใต้สถานการณ์โควิด-19 ยังทำให้แสนสิริต้องเร่งการขายโครงการที่อยู่อาศัยต่างๆ ให้เร็วกว่าแผนเดิม เพื่อแข่งขันกับสภาพตลาด (Speed to Market)   ขณะเดียวกัน เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2563 ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ ครั้งที่ 6/2563 ได้มีมติอนุมัติแผนเตรียมความพร้อมรองรับการเติบโต ในอนาคตของบริษัท โดยการขออนุมัติออกหุ้นสามัญรวมจำนวน 4,600​ ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1.07 บาท ส่งผลให้ทุนจดทะเบียนของบริษัทฯ เพิ่มขึ้นจากเดิมที่ 16,224,125,722.40 บาท มาเป็นทุนจดทะเบียนใหม่ที่ 21,146,125,722.40 บาท   โดยการเตรียมความพร้อมในครั้งนี้ เพื่อรองรับการใช้สิทธิตามใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นสามัญเพิ่มทุน (Warrant) ที่ออกให้แก่บุคคลในวงจำกัด (Private Placement) จำนวน 2,500 ล้านหุ้น โดยมีราคาใช้สิทธิที่ 1.10 บาทต่อหุ้น ซึ่งจะจัดสรรให้แก่ผู้ลงทุนที่จองซื้อหุ้นกู้ที่ครบกำหนดไถ่ถอนเมื่อมีการเลิกบริษัท (Perpetual Bond) ที่บริษัทจะออกและเสนอขายโดยมีมูลค่าการเสนอขายรวมไม่เกิน 2,500 ล้านบาท และเพื่อรองรับการใช้สิทธิตามโครงการออกและเสนอขายใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นสามัญเพิ่มทุนของบริษัท (ESOP#8) ให้แก่กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานของบริษัท จำนวน 700 ล้านหุ้น โดยมีราคาใช้สิทธิที่ 1.10 บาทต่อหุ้น ทั้งนี้ เพื่อสร้างความมีส่วนร่วมในความเป็นเจ้าของบริษัท ช่วยเสริมสร้างกำลังใจให้แก่ผู้บริหารและพนักงานในการปฏิบัติงาน อีกทั้งยังเป็นการจูงใจและรักษาบุคลากรที่มีความสามารถและมีประสิทธิภาพในการทำงานให้อยู่กับบริษัทต่อไปในระยะยาว อันจะส่งผลดีต่อการปฏิบัติงานและการเติบโตของธุรกิจในอนาคต   นอกจากนี้ จะมีการขออนุมัติกรอบการเพิ่มทุนแบบมอบอำนาจทั่วไป (General Mandate) ไว้จำนวน 1,400 ล้านหุ้น โดยจะมีการดำเนินการขออนุมัติมติที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นในวันที่ 24 กรกฎาคม 2563 นี้ สำหรับหุ้นสามัญที่จะออกเพิ่มให้กับนักลงทุนสถาบัน ในวงจำกัด (private placement) มีกลุ่มทุนที่ให้ความสนใจ ได้แก่ กองทุนที่ฮ่องกง ซึ่งจะช่วยเสริมความแข็งแกร่งทางด้านการเงินและเป็นพันธมิตรทางธุรกิจกับแสนสิริ
ถอดบทเรียนอสังหาฯ ไทย-อาเซียน หลังเผชิญปัญหาโควิด-19

ถอดบทเรียนอสังหาฯ ไทย-อาเซียน หลังเผชิญปัญหาโควิด-19

การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในปัจจุบันส่งผลกระทบไปทั่วโลก ซึ่งรวมถึงประเทศในแถบภูมิภาคอาเซียนด้วย โดยแต่ละประเทศต่างก็มีมาตรการเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้    ในขณะเดียวกันอีกหลายประเทศในภูมิภาคอาเซียนก็เริ่มผ่อนปรนมาตรการล็อกดาวน์ เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดลดน้อยลง เปิดโอกาสให้หลายธุรกิจกลับมาเปิดกิจการได้ตามปกติ แม้จะยังมีความกังวลหลังจากบทเรียนจากบางประเทศที่มีการกลับมาระบาดของโรคซ้ำสองหลังมีมาตรการผ่อนปรน   จากรายงานของสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN) ระบุว่า การท่องเที่ยว ค้าปลีก และธุรกิจบริการต่าง ๆ จะได้รับผลกระทบหนักสุด เนื่องจากมาตรการล็อกดาวน์ที่ประกาศใช้ ทำให้การดำเนินธุรกิจหยุดชะงัก ทั้งห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) การจ้างงานและอาชีพพื้นฐานที่มีความเสี่ยงต่าง ๆ ในขณะที่ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคลดลง   การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ยังตอกย้ำถึงโอกาสฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ ที่ยังคงชะลอตัวทั่วโลก เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา โดยรายงานจากหลายๆ แหล่ง ได้คาดการณ์ไปในทิศทางเดียวกันว่า ในช่วงเริ่มแรกของการระบาดอาจส่งผลเล็กน้อยต่อเศรษฐกิจทั่วโลก แต่เนื่องจากการแพร่ระบาดที่รวดเร็วของไวรัสที่กระจายตัวทั่วโลก ยิ่งตอกย้ำภาพรวมเศรษฐกิจที่จะเติบโตลดลงอย่างต่อเนื่อง ราคาอสังหาฯ ไทยดิ่งติดลบ 9% ทั้งนี้ ภาคอสังหาริมทรัพย์ถือเป็นอีกหนึ่งภาคธุรกิจที่ได้รับผลกระทบอย่างมากจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ซึ่งตลาดอสังหาริมทรัพย์ในภูมิภาคอาเซียนมีการปรับตัว เพื่อตอบรับความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่นี้ โดย DDproperty.com ได้จัดทำรายงานและวิเคราะห์ความเคลื่อนไหวเพื่อเป็นแนวทางให้ทั้งผู้บริโภคและผู้ประกอบการได้พิจารณาในช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19  ตลาดอสังหาฯ ไทยเปิดโครงการใหม่ลดลง 3% จากรายงาน DDproperty Thailand Property Market Index Q2 2563 พบว่า ตลาดอสังหาริมทรัพย์ของไทยในปี 2563 มีแนวโน้มชะลอตัวลง โดยมีสัญญาณมาตั้งแต่ปลายปี 2562 ที่ราคาและอุปทานลดลงอย่างต่อเนื่อง จากปัจจัยท้าทายหลายด้านทั้งสภาพเศรษฐกิจที่ยังชะลอตัว หนี้ครัวเรือนที่ยังอยู่ในระดับสูง และยิ่งเห็นได้ชัดเมื่อการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19    โดยดัชนีราคาในไตรมาสแรกของปี 2563 ลดลง 1% จากไตรมาสก่อนหน้า และลดลงถึง 9% ในรอบ 1 ปี ส่วนดัชนีอุปทานแม้จะยังทรงตัว แต่ก็ลดลง 3% ในรอบ 1 ปี   อย่างไรก็ตาม แม้ว่าวิกฤติโควิด-19 จะทำให้ตลาดอสังหาฯ ชะลอตัว แต่จะเห็นได้ว่าราคาคอนโดมิเนียม และทาวน์เฮ้าส์ ปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับโปรโมชันลด แลก แจก แถมต่าง ๆ ของผู้ประกอบการอสังหาฯ หลายราย เพื่อเร่งระบายสินค้าคงค้าง จึงเป็นโอกาสที่ดีของผู้ซื้อที่มีความพร้อม ที่จะได้สินค้าในราคาที่เหมือนกับช่วงเปิดตัวโครงการ นอกจากจะเป็นการซื้อเพื่ออยู่อาศัยเองแล้ว ยังเหมาะกับการซื้อเพื่อลงทุน เนื่องจากราคาอสังหาฯ มีแนวโน้มเติบโตเพิ่มขึ้นอีกเมื่อสถานการณ์กลับมาเป็นปกติ โดยเฉพาะสินค้าระดับกลาง-บน ที่มีการเติบโตของระดับราคาเป็นอย่างมาก อสังหาฯ สิงคโปร์ แห่ลดราคาสู้โควิด-19 ผู้ประกอบการอสังหาฯ จำนวนมากมีแนวโน้มที่จะลดราคาอสังหาฯ ลงอีกในไตรมาสที่ 2 ของปี 2563 หากสถานการณ์ชัตดาวน์ประเทศสิงคโปร์ยังยืดเยื้อ ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องจากความเชื่อมั่นและการคาดการณ์ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ หรือ GDP ที่ลดลง จากรายงาน PropertyGuru Singapore Property Market Index ฉบับล่าสุด พบว่า ดัชนีราคาลดลง 1.1% ในไตรมาสแรกของปี 2563 สอดคล้องกับข้อมูลจาก Urban Redevelopment Authority ที่ระบุว่าราคาอสังหาฯ ที่ไม่ใช่ที่ดินและคอนโดมิเนียมจะปรับตัวลดลง 1% ซึ่งนับเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้ผู้ประกอบการอสังหาฯ จำเป็นต้องลดราคาอย่างเลี่ยงไม่ได้ ด้านผู้ประกอบการอสังหาฯ ในประเทศยังคงมองตลาดอสังหาฯ เป็นบวกและเฝ้าติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด   อย่างไรก็ดี ภาคธุรกิจในประเทศส่วนใหญ่ไม่หวั่นวิตกกับสถานการณ์การแพร่ระบาดมากนัก เนื่องจากเชื่อมั่นในมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล รวมทั้งความแข็งแกร่งของภาคอสังหาฯ ที่มีการออกมาตรการคุมภาระหนี้ต่อรายได้ (TDSR) และ มาตรการกำกับควบคุมการปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัย (LTV) ตลาดอสังหาฯ มาเลเซีย ราคาเพิ่มสวนกระแสไควิด-19 จากการแพร่ระบาดอย่างรุนแรงของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในมาเลเซียตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา จนภาครัฐต้องใช้มาตรการชัตดาวน์ประเทศ ทำให้ภาคธุรกิจหยุดชะงัก ส่งผลให้เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำลงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่ภาพรวมตลาดอสังหาฯ ยังคงรักษาการเติบโตได้อย่างแข็งแกร่งต่อเนื่องมาจากไตรมาสแรกของปี 2563 โดยวัดได้จากดัชนีราคาที่เพิ่มขึ้น   สอดคล้องกับรายงาน PropertyGuru Malaysia Property Market Index ฉบับล่าสุด ที่พบว่า  ดัชนีราคาในไตรมาสแรกของปี 2563 ปรับตัวขึ้นเล็กน้อย หรือเพิ่มขึ้น 0.63% แสดงให้เห็นว่าผู้บริโภคยังมองอสังหาฯ ว่าเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดหากต้องการสร้างความมั่นคง สวนทางกับจำนวนอุปทานใหม่ที่ลดลงถึง 10.47% ซึ่งลดลงมากสุดในรอบ 3 ปี   อย่างไรก็ตาม จากการเปลี่ยนแปลงของดัชนีราคา จำนวนอุปทาน รวมถึงมูลค่าการทำธุรกรรมในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา อาจส่งผลกระทบต่อการกำหนดราคาในตลาด ซึ่งเพิ่มโอกาสให้ผู้ประกอบการอสังหาฯ รักษาระดับราคาอสังหาฯ ในพื้นที่สำคัญ ๆ ให้คงที่หรือเพิ่มราคาได้อีก อสังหาฯ อินโดนีเซีย แห่แข่งราคา รับดีมานด์ ตามรายงานของธนาคารแห่งประเทศอินโดนีเซียคาดการณ์ว่า ภาคอสังหาฯ ของประเทศในปีนี้จะเติบโตขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับรายงาน Rumah.com Indonesia Property Market Index ฉบับล่าสุด ที่ชี้ให้เห็นว่า ปี 2563 จะเป็นปีแห่งการฟื้นฟูภาคอสังหาฯ เนื่องจากการสนับสนุนของภาครัฐฯ ที่ออกนโยบายผ่อนปรนมาตรการ LTV สำหรับผู้ซื้อบ้านหลังที่สอง ซึ่งเพิ่มความเชื่อมั่นให้กับผู้ประกอบการอสังหาฯ นักลงทุน และภาคธุรกิจอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องมากขึ้น   อย่างไรก็ดี จากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ส่งผลให้เศรษฐกิจของประเทศชะลอตัวตั้งแต่เดือนมีนาคมเป็นต้นมา ทางด้านภาคอสังหาฯ ในไตรมาสแรกของปี 2563 พบว่า มีจำนวนอุปทานใหม่ลดลง สวนทางการเติบโตของความต้องการซื้อ ทำให้ผู้ที่ขับเคลื่อนตลาดอสังหาฯ ของอินโดนีเซียในไตรมาสที่ผ่านมาเป็นกลุ่มผู้บริโภค   นอกจากนี้ยังพบว่า ผู้บริโภคให้ความสำคัญกับราคาอสังหาฯ มากกว่าโปรโมชันส่วนลดหรือของแถมอื่น ๆ ส่งผลให้ผู้ประกอบการต้องแข่งขันด้านราคากันอย่างรุนแรง โดยผู้ประกอบการอสังหาฯ รายใดที่นำเสนอราคาได้ถูกกว่า ก็มีโอกาสขายได้   นอกจากนี้ยังจะได้เห็นการปรับเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินธุรกิจและการให้บริการของภาคอสังหาฯ​ ในอาเซียนที่หันมาสร้าง “New Norm” ให้เกิดขึ้น ถือเป็นการพลิกวิกฤติให้เป็นโอกาสได้ โดยใช้โอกาสนี้เข้าถึงลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ผ่านการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ และการเข้าถึงผู้บริโภคด้วยแพลตฟอร์มออนไลน์ ถอดบทเรียนจากโควิด-19  นางกมลภัทร แสวงกิจ ผู้จัดการใหญ่ประจำประเทศไทย ดีดีพร็อพเพอร์ตี้ ในเครือพร็อพเพอร์ตี้กูรู กรุ๊ป กล่าวว่า ธุรกิจอสังหาฯ ทั่วอาเซียนต้องเผชิญกับความท้าทายที่ยิ่งใหญ่จากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ส่งผลให้ภาครัฐต้องออกมาตรการล็อกดาวน์ประเทศ ทำให้ผู้ประกอบการอสังหาฯ หลายราย ต้องพับแผนในการเปิดตัวโครงการใหม่ การก่อสร้างหยุดชะงัก งานแสดงบ้านระดับบิ๊กอีเวนท์ที่โกยรายได้มากมายในแต่ละปีก็ไม่สามารถจัดขึ้นได้ เนื่องจากการ Social Distancing    อย่างไรก็ดี ผู้ประกอบการในอาเซียนต่างเห็นตรงกันว่า กุญแจสำคัญสำหรับการรอดพ้นในช่วงวิกฤติ คือ การวางแผนการเงินสำรองฉุกเฉิน การทำแผนตลาดให้มีความยืดหยุ่นเพื่อรับมือกับสถานการณ์ที่เกินความคาดหมาย ยกระดับการแข่งขันด้วยเทคโนโลยีเพื่อต่อเกมธุรกิจ สร้างประสบการณ์ดิจิทัลแก่พนักงานและลูกค้าได้ต่อเนื่องแม้ทุกอย่างจะหยุดชะงัก ซึ่งอาจจะมีอีกหลากหลายคำตอบที่ใช้เอาชนะความท้าทายต่าง ๆ ได้ เพียงแค่ต้องบริหารจัดการให้เหมาะสม บทเรียนที่วิกฤติโควิด-19 ได้ฝากไว้คือ ภายใต้สถานการณ์ที่ทุกอย่างหยุดชะงัก ผู้บริโภคได้เรียนรู้ที่จะปรับและค้นหาวิธีการใหม่ ๆ ในการจัดการชีวิต การทำงาน รวมทั้งการค้นหาบ้าน แม้จะอยู่ในช่วงวิกฤติโควิด-19 แต่ผู้บริโภคยังคงให้ความสนใจอสังหาฯ อย่างต่อเนื่อง ยืนยันได้ด้วยจำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ DDproperty.com พบว่า จำนวนการเข้าชมและทำการค้นหาต่อบนเว็บไซต์ เพิ่มสูงขึ้นถึง 8% เมื่อเทียบกับช่วงก่อนเคอร์ฟิว   ดังนั้น ผู้ประกอบการอสังหาฯ ที่ปรับตัวได้ก่อน อาทิ การใช้ช่องทางออนไลน์แบบครบวงจร หรือใช้เทคโนโลยี Virtual Tour ในการรีวิวโครงการ แทนการเข้าชมจริง ก็จะสามารถประคองธุรกิจ หรือก้าวไปข้างหน้าได้แม้จะอยู่ในสถานการณ์นี้   ด้านผู้บริโภค ยังยืนยันว่าช่วงนี้เหมาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ซื้อที่มีความพร้อม ที่ต้องการซื้อที่อยู่อาศัยในทำเลดี ที่ราคาไม่สูง พร้อมโปรโมชันมากมาย ทั้งเพื่ออยู่เอง รวมทั้งการขยายพอร์ตการลงทุนสำหรับผู้ที่มองหาช่องทางการลงทุนที่ดีหลังจากผ่านวิกฤติโควิด-19 เนื่องจากอสังหาฯ ยังมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่องในอนาคต      
พฤกษา พอใจผลงานไตรมาสแรก  เดินหน้าใช้การตลาดดิจิทัลรับไลฟ์สไตล์ New Normal

พฤกษา พอใจผลงานไตรมาสแรก เดินหน้าใช้การตลาดดิจิทัลรับไลฟ์สไตล์ New Normal

พฤกษา เผยผลการดำเนินงานไตรมาส 1 ปี 2563 ดีกว่าที่คาดการณ์ ทำรายได้ 7,143 ล้านบาท ยอดขาย 6,069 ล้านบาท กำไรสุทธิ 922 ล้านบาท เชื่อผู้บริโภคยังมีความต้องการซื้อที่อยู่อาศัยต่อเนื่อง เล็งปรับกลยุทธ์ธุรกิจรับ New Normal  ในทุกมิติ ชูช่องทางขายผ่านดิจิทัล อัดโปรโมชั่นชิงส่วนแบ่งตลาด   นางสุพัตรา เป้าเปี่ยมทรัพย์  ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พฤกษา เรียลเอสเตท จำกัด (มหาชน)  เผยถึงผลประกอบการไตรมาส 1 ปี 2563 ว่า  แม้บริษัทฯ จะได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19  แต่โดยภาพรวมผลการดำเนินธุรกิจยังอยู่ในเกณฑ์ที่น่าพึงพอใจกว่าที่คาดไว้ เนื่องจากบริษัทฯ สามารถบริหารจัดการความเสี่ยง และปรับตัวรับมือต่อผลกระทบของสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ได้เป็นอย่างดี ส่งผลให้บริษัทฯ มีรายได้ 7,143 ล้านบาท ยอดขาย 6,069 ล้านบาท กำไรสุทธิ 922 ล้านบาท  และมียอดขายรอรับรู้รายได้ (Backlog) อยู่ 26,810 ล้านบาท ซึ่งจะทยอยรับรู้รายได้ในปีนี้ 9,000 ล้านบาท พร้อมยังคงสภาวะทางการเงินที่แข็งแกร่งจากการบริหารสภาพคล่องของกระแสเงินสด (Cash Flow) อย่างมีประสิทธิภาพ   โดยสัดส่วนรายได้ในไตรมาส 1 ราว 66% หรือ 4,699 ล้านบาท มาจากกลุ่มสินค้าทาวน์เฮาส์และบ้านเดี่ยว และมีรายได้จากกลุ่มสินค้าคอนโดมิเนียมประมาณ 34% หรือ 2,435 ล้านบาท ด้านสัดส่วนยอดขาย แบ่งเป็นยอดขายมาจาก ทาวน์เฮาส์ 2,808  ล้านบาท  คอนโดมิเนียม 2,081 ล้านบาท และบ้านเดี่ยว 1,180 ล้านบาท ยังคงอัตราการทำกำไรในระดับที่ดี เห็นได้จากอัตรากำไรขั้นต้น (Gross Profit Margin) ที่ 35.9% สูงขึ้นเล็กน้อยจากช่วงเดียวกันของปีก่อน   ในช่วงไตรมาสแรกบริษัทได้เปิดโครงการใหม่ 5 โครงการ เป็นทาวน์เฮาส์ 3 โครงการ มูลค่า 1,930 ล้านบาท และ คอนโดมิเนียม 2 โครงการ มูลค่า 3,250 ล้านบาท ได้แก่  เดอะทรี วิคทอรี่ โมนูเมนต์ และเดอะ ทรี สุขุมวิท พระรามสี่  มีอัตรายอดขาย (Take Up Rate) ของโครงการเปิดใหม่ที่ 25% สูงกว่าตลาดที่มีอัตรายอดขายอยู่ที่ 16%     สำหรับแผนการดำเนินธุรกิจในช่วงต่อไป จะเน้นการบริหารค่าใช้จ่ายทุกประเภทภายในองค์กรให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด  รักษาสภาพคล่อง เร่งแปรสินค้าสต็อก (Inventory) ให้เป็นรายได้ พร้อมออกแคมเปญส่งเสริมการขายด้วยข้อเสนอพิเศษสุด สำหรับลูกค้าที่จองและโอนกรรมสิทธิ์โครงการต่างๆ ของพฤกษาที่เข้าร่วม จำนวนถึง 167 โครงการ ตั้งแต่วันนี้ – 30 มิถุนายน 2563 พฤกษาผ่อนให้นานสูงสุด 2  ปี พร้อมรับส่วนลดสูงสุดถึง 1 ล้านบาท ฟรีค่าใช้จ่ายอื่นๆ อาทิ ฟรีค่าใช้จ่ายวันโอน  ฟรีส่วนกลาง 3 ปี ฟรีค่ามิเตอร์น้ำ-ไฟ และเพิ่มเติมสำหรับทาวน์เฮาส์ รับทองคำสูงสุด 1 บาทหรือเลือกรับส่วนลดมูลค่า 25,000 บาท โดยโปรโมชั่นมีเงื่อนไขตามที่แต่ละโครงการกำหนด   นอกจากนี้ หลังเกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ส่งผลให้พฤติกรรมและความต้องการของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) ที่จำกัดการออกจากบ้านของผู้บริโภค เป็นตัวเร่งให้สังคมเข้าสู่จุดที่ทุกคนทุกวัยเชื่อมต่อสู่โลกออนไลน์เร็วขึ้นและเพิ่มขึ้น  ผู้ประกอบการทุกรายจึงต้องปรับกลยุทธ์ด้วยการนำเอาสินค้าของตัวเองเข้าไปอยู่ในโลกดิจิทัลตลอดทุกช่วงของ Customer Journey ให้ได้มากที่สุด     เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการและพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปของลูกค้า  พฤกษาจึงเตรียมยกระดับการพัฒนาสินค้า นวัตกรรม และการบริการ แบบบูรณาการในทุกมิติ พร้อมทั้งปรับกลยุทธ์การตลาดและการขาย โดยได้ปรับการขายผ่าน Digital Platform ตั้งแต่ระยะต้น อาทิ Facebook Live พาเยี่ยมชมโครงการ ซื้อสินค้าผ่านทางไลน์แชท (Line Chat) ชมโครงการผ่าน VDO 360 องศา และ VDO Call  การคัดเลือกบ้านยูนิตพิเศษ (Hot Deals)  พร้อมราคาและเงื่อนไขสุดพิเศษ ซึ่งได้ผลตอบรับเป็นอย่างดี   สำหรับภาพรวมตลาดอสังหาริมทรัพย์ในช่วงครึ่งปีหลัง จากแนวโน้มสถานการณ์ผู้ติดเชื้อลดลงในขณะที่คนไทยมีการปรับตัวในการดำเนินชีวิตแบบเว้นระยะห่างทางสังคม  ด้วยแล้ว มองว่าสถานการณ์น่าจะดีขึ้น หลังจากความกังวลลดลง คาดว่าลูกค้าที่มีความต้องการซื้อที่อยู่อาศัยจะกลับมาตัดสินใจซื้อเพิ่มขึ้น