Tag : Townhome

792 ผลลัพธ์
เอสซีฯ ทุบสถิติสร้างนิวไฮ Q3 เดินหน้าเปิดโปรเจ็กต์ดันเป้า 17,000 ล้าน

เอสซีฯ ทุบสถิติสร้างนิวไฮ Q3 เดินหน้าเปิดโปรเจ็กต์ดันเป้า 17,000 ล้าน

เอสซีฯ โชว์ผลประกอบการไตรมาส 3 สร้างสถิติทำนิวไฮยอดโอนแนวราบ หนุนรายได้รวม 9 เดือนถึง 13,637 ล้าน โต 25% กำไรสุทธิ 1,440 ล้าน โต 39%  มั่นใจสิ้นปีรายได้ถึงเป้า 17,000 ล้าน  พร้อมรุกลงทุนแนวราบเพิ่ม รักษาความเป็นผู้นำบ้านคุณภาพสูง   นายอรรถพล สฤษฎิพันธาวาทย์ ประธานเจ้าหน้าที่ด้านสนับสนุนองค์กร บริษัท เอสซี แอสเสท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ SC เปิดเผยถึงผลการดำเนินงานในไตรมาส 3 ที่ผ่านมาว่า บริษัทฯ มีการเติบโตต่อเนื่องทั้งรายได้และกำไรสุทธิ   โดยมีรายได้รวม 5,749 ล้านบาท เติบโต 35%  จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา และกำไรสุทธิ 684 ล้านบาท คิดเป็น 11.90% ของรายได้ เติบโต 55% จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ​ โดยในไตรมาส 3 บริษัทมีรายได้จากโครงการแนวราบ 4,406 ล้านบาท เติบโต 54% จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ซึ่งคิดเป็นสัดส่วน 80% ของรายได้จากการขายทั้งหมด   สำหรับรายได้รวม 9 เดือนที่ผ่านมา บริษัทมีจำนวน 13,637 ล้านบาท เติบโต 25% จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ซึ่งเป็นรายได้จากการดำเนินงาน 13,577 ล้านบาท เติบโต 24% สัดส่วนหลักมาจากรายได้จากการขาย 95% และอีก 5% เป็นรายได้จากค่าเช่าและบริการ  มีกำไรสุทธิ 1,440 ล้านบาท เติบโต 39% จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ในขณะที่ยอดขายรวม 12,375 ล้านบาท เติบโต 8% มาจากยอดขายหลักของแนวราบ 11,342 ล้านบาทที่เป็นสถิติยอดขายสูงสุดของ 9 เดือนด้วย  สำหรับภาพรวมสถานะทางการเงิน ณ วันที่ 30 กันยายน 2563 บริษัทฯ มีสินทรัพย์รวม และหนี้สินรวม เท่ากับ 43,674 ล้านบาท และ 25,475 ล้านบาทตามลำดับ โดยมีอัตราส่วนหนี้สินรวมต่อส่วนของผู้ถือหุ้นรวม เท่ากับ 1.40 เท่า   นายอรรถพล กล่าวเพิ่มเติมว่า  SC ยังเน้นพัฒนาโครงการแนวราบซึ่งเป็นพอร์ตหลักที่ได้รับการตอบรับที่ดีมากมาตลอดในทุกระดับราคา จากปัจจัยสำคัญคือการรักษามาตรฐานคุณภาพสูง โดยปัจจุบันมีที่ดินพร้อมสำหรับโครงการแนวราบที่จะเปิดขายใหม่  ในปี 2564 และมีความพร้อมในการลงทุนที่ดินใหม่เพื่อรองรับการสร้างรายได้ในปี 2565-2566 ส่วนในไตรมาสสุดท้ายของปีนี้ มีแผนเปิดตัว 4 โครงการใหม่โดยเป็นโครงการแนวราบทั้งหมด มูลค่ารวม 4,670 ล้านบาท ทำให้บริษัทมีโครงการเพื่อขายทั้งหมดจำนวน 58 โครงการ มูลค่าคงเหลือเพื่อขายรวม 44,670 ล้านบาท แบ่งเป็น 50 โครงการแนวราบ และอีก 8 โครงการแนวสูง พร้อมกับมี Backlog ที่รอโอนและรับรู้รายได้ในปีนี้อีกประมาณ 4,000 ล้านบาท บริษัทมีความมั่นใจว่า ปี 2563 จะสามารถบรรลุเป้ารายได้ 17,000 ล้านบาท    
เอพี ทุบสถิติรายได้ 9 เดือน สูงสุด พร้อมกำไรสูงกว่าปี 62 ทั้งปี

เอพี ทุบสถิติรายได้ 9 เดือน สูงสุด พร้อมกำไรสูงกว่าปี 62 ทั้งปี

เอพี ฝ่าวิกฤตโควิด-19  สร้างรายได้รวม 9 เดือนแรก 35,180 ล้านบาท พุ่งสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ทำกำไร สุทธิ  3,280 ล้านบาท สูงกว่าปี 2562  ทั้งปี  ผลจากการสลับพอร์ตสินค้าที่รวดเร็ว ดึงเกมแนวราบเสริมแกร่ง ควบคู่ดีมานด์คอนโดเข้าอยู่จริงมีต่อเนื่อง ชู LIFE ลาดพร้าว และ LIFE อโศก -พระราม 9 คีย์ไดรฟ์สำคัญหนุนรายได้ เพิ่มงบซื้อที่ดินรวมทั้งปีที่ 9,500 ล้าน  เติมพอร์ตแนวราบ ช่วงโค้งเตรียมเปิด ASPIRE เอราวัณ ไพร์ม มูลค่า 3,200 ล้านบาท รับดีมานด์ตลาดคอนโดยังมีอยู่​   นายอนุพงษ์ อัศวโภคิน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอพี (ไทยแลนด์) จำกัด (มหาชน) หรือ AP เปิดเผยว่า 9 เดือนแรกของปี เอพีมีอัตราการเติบโตที่สูงมากเป็นประวัติการณ์  สร้างรายได้รวมจากสินค้าแนวราบ กลุ่มคอนโดมิเนียม (100%JV) และธุรกิจอื่นๆ ได้สูงถึง 35,180 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 56% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้าที่มีรายได้รวมเท่ากับ 22,510 ล้านบาท ซึ่งเป็นผลจากการปรับแผนเพิ่มสัดส่วนการพัฒนาสินค้าแนวราบ ควบคู่ไปกับแผนการโอนกรรมสิทธิ์ คอนโดมิเนียมที่สร้างเสร็จในปีนี้ ซึ่งยังคงได้รับผลตอบรับที่ดี โดยเฉพาะในไตรมาส 3 นี้ ส่วนหนึ่งของยอดรับรู้รายได้ที่เพิ่มขึ้นมาจากการทยอยโอนกรรมสิทธิ์ LIFE ลาดพร้าว LIFE อโศก-พระราม 9 และ ASPIRE อโศก-รัชดา นับเป็นเวลานานกว่า 10 เดือนแล้วที่ทั่วโลกต้องเผชิญกับวิกฤต โควิด-19 ซึ่งวิกฤตครั้งนี้ใหญ่และแตกต่างจากทุกวิกฤตที่ผ่านมา ทางรอดเดียวที่จะก้าวผ่านไป คือ การปรับตัวที่รวดเร็ว ภายใต้การบริหารจัดการกระแสเงินสดที่รัดกุม ส่งผลให้ท่ามกลางวิกฤตที่เกิดขึ้นบริษัทฯ ยังคงสามารถสร้างผลการดำเนินงานที่เติบโตขึ้นในทุกไตรมาส ด้านกำไรสุทธิรวม 9 เดือนแรกของปี 2563  สูงถึง 3,280 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 50% หากเทียบกับงวดเดียวกันของปี 2562 ที่มีกำไรสุทธิรวมเท่ากับ 2,180 ล้านบาท และสูงกว่ากำไรของปี 2562 ที่มีจำนวน 3,060 ล้านบาท อีกด้วย ด้านสัดส่วนหนี้สินต่อทุนอยู่ที่ 0.82 เท่า ต่างจากงวดเดียวกันของปีก่อนหน้าที่ 0.99 เท่า สะท้อนได้ถึงความสามารถในการบริหารจัดการทางการเงินที่ดีภายใต้สภาวะความกดดันจากวิกฤตที่เกิดขึ้น ปัจจุบันบริษัทได้เพิ่มงบประมาณในการจัดซื้อที่ดินขึ้นเป็น 9,500 ล้านบาท หลังจากเมื่อเดือนเมษาที่ผ่านมาได้ตัดลงเหลือ 4,500 ล้านบาท   ณ วันที่ 31 ตุลาคม 2563 บริษัทฯ มีสินค้ารอรับรู้รายได้มูลค่ามากถึงเกือบ 40,000 ล้านบาท เป็นโครงการแนวราบมูลค่าราว 10,000 ล้านบาท และคอนโดมิเนียมมูลค่า 30,000 ล้านบาท (รวมโครงการร่วมทุน) ซึ่งจะทยอยรับรู้ไปจนถึงปี 2566 ซึ่งบริษัทฯ ​มั่นใจว่าไตรมาสสุดท้ายของปีจะสามารถสร้างรายได้รวมได้ตามเป้าหมายที่คาดการณ์ไว้ ที่จำนวน  40,550 ล้านบาท ด้วยแรงส่งของพอร์ตสินค้าแนวราบที่อยู่ระหว่างการขายที่มากกว่า 90 โครงการ และคอนโดมิเนียมที่ก่อสร้างแล้วเสร็จพร้อมโอนกรรมสิทธิ์อีกมากกว่า 9 โครงการ เช่น ASPIRE อโศก-รัชดา LIFE ลาดพร้าว LIFE อโศก - พระราม 9 และ LIFE วัน ไวร์เลส เป็นต้น “ผมเชื่อว่าเราจะอยู่กับวิกฤตอย่างนี้ต่อไปอีกอย่างน้อย 6 เดือน อย่างยาวผมไม่รู้ เพราะครั้งนี้ไม่ใช่วิกฤตที่เกิดขึ้นเฉพาะในประเทศเรา แต่เป็นกันทั่วโลก ช่วงที่ผ่านมาพิสูจน์ให้เราเห็นแล้วถึงผลกระทบ ของการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ทั้งวิธีการทำงาน การซื้อ-ขาย การดำเนินชีวิต ตลอดจนพฤติกรรมการอยู่อาศัย แต่การเปลี่ยนแปลงยังไม่หยุดเพียงเท่านี้ พายุลูกใหม่กำลังจะเข้ามา ผู้นำองค์กรต้องประเมินสถานการณ์รอบด้าน โดยเฉพาะลูกค้าว่าเปลี่ยนไปในทิศทางใด ทำอะไรถึงจะตอบความต้องการใหม่ของเค้าได้ เตรียมคนในองค์กร ประกอบกับการบริหารจัดการกระแสเงินสด เพื่อให้เรารอดผ่านวิกฤตนี้ไปด้วยกัน”      สำหรับแผนการดำเนินงานท่ามกลางภาวะวิกฤตที่เกิดขึ้นในปีนี้ นอกจากการปรับพอร์ตการเปิดตัวสินค้าใหม่มาเป็นบ้านเดี่ยวและทาวน์โฮมรวมทั้งสิ้น 39 โครงการ มูลค่ารวม 41,820 ล้านบาทแล้วนั้น ในช่วงไตรมาสสุดท้ายดีมานด์ตลาดคอนโดมิเนียมเริ่มส่งสัญญาณในทิศทางที่ดี บริษัทฯ​ จึงได้ปรับแผนเปิดคอนโดมิเนียม 1 โครงการ ได้แก่ ASPIRE เอราวัณ ไพร์ม มูลค่า 3,200 ล้านบาท รวมทั้งสิ้นปี 2563 นี้บริษัทเปิดตัวโครงการใหม่ทั้งสิ้น 40 โครงการ มูลค่ารวม 45,020 ล้านบาท ด้านยอดขาย 10 เดือนแรก ณ วันที่ 31 ตุลาคมนี้ บริษัทฯ สร้างยอดขายรวมได้แล้วถึง 27,300 ล้านบาท ทั้งนี้ สรุปตัวเลขทางการเงินเฉพาะไตรมาส 3 ปี 2563 บริษัทฯ มีรายได้รวมจากสินค้าแนวราบกลุ่มคอนโดมิเนียม (100%JV) และธุรกิจอื่นๆ เท่ากับ 15,219 ล้านบาท เติบโตเพิ่มขึ้น 140% หากเทียบกับงวดเดียวกันของปี 2562 ที่มีรายได้รวมเท่ากับ 6,353 ล้านบาท ด้านกำไรสุทธิเท่ากับ 1,451 ล้านบาท เติบโต 135% หากเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2562 ที่ได้ 618 ล้านบาท  
เจาะ 4 กลยุทธ์ “ลลิล พร็อพเพอร์ตี้” สร้างกำไรเป็นบวก ในภาวะตลาดอสังาหฯ ติดลบ

เจาะ 4 กลยุทธ์ “ลลิล พร็อพเพอร์ตี้” สร้างกำไรเป็นบวก ในภาวะตลาดอสังาหฯ ติดลบ

ตลาดอสังหาริมทรัพย์ในปี 2563 ได้รับผลกระทบจากปัจจัยลบสารพัด นับตั้งแต่มาตรการ LTV  ซึ่งเกิดขึ้นมาก่อนหน้าในปี 2562 จนมาถึงสงครามการค้าโลก ที่ทำให้ภาวะเศรษฐกิจโดยรวมชะลอตัว จนมาถึงการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทำให้ตลาดอสังหาฯ ปีนี้คงมีตัวเลขติดลบไปตาม ๆ กัน  ซึ่งคาดว่าตลาดอสังหาฯ จะติดลบกว่า 10% เลยทีเดียว   อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะมีบางบริษัทที่สามารถสร้างยอดขาย ทุบสถิติของตนเองได้อย่างไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ปรากฏให้เห็น แต่นั่นคงเป็นผลจากการทำตลาด และการหั่นราคาลง พร้อม ๆ กับการอัดโปรโมชั่น แบบไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนด้วยเช่นกัน แต่หากจะวัดประสิทธิภาพ (Performance) ของการบริหารธุรกิจ ที่ดูตัวเลขในบรรทัดสุดท้ายของงบกำไรขาดทุนทางบัญชี ตัวเลขของผลกำไร น่าจะชี้วัดได้ดีที่สุด ว่าบริษัทไหนมีความสามารถในการดำเนินธุรกิจมากกว่ากัน ​​   บริษัท ลลิล พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาน) บริษัทขนาดไม่ใหญ่มากนัก หากวัดกันด้วยขนาดสินทรัพย์แล้ว ลลิล พร็อพเพอร์ตี้ มีมูลค่าสินทรัพย์รวม ณ ไตรมาส 2 ปี 2563 กว่า 12,427.39 ล้านบาท ห่างไกลอย่างมากเมื่อเทียบกับผู้นำตลาดอสังหาฯ  ซึ่งมีมูลค่าสินทรัพย์ระดับใกล้แสนล้านหรือมากกว่าแสนล้านบาท แต่หากวัดกันที่ผลงานการทำกำไร ต้องยอมรับว่าลลิล พร็อพเพอร์ตี้ ในปีนี้ทำผลงานได้ดีไม่แพ้บริษัทขนาดใหญ่  เรียกได้ขึ้นติดอันดับ Top 10 เลยทีเดียว  เโดยไตรมาส 2  บริษัทสามารถสร้างกำไรให้เป็นบวกได้ ซึ่งมีกำไรสุทธิ จำนวน 395.83 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 164.26% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ จำนวน 149.79 ล้านบาท   นายชูรัชฏ์ ชาครกุล กรรมการรองผู้จัดการใหญ่ บริษัท ลลิล พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน)  เปิดเผยถึงยอดขายในช่วง 10 เดือนแรกของปีนี้ว่า สามารถทำยอดขายได้ 5,250 ล้านบาท เติบโต 15% จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ซึ่งในปีนี้บริษัทคาดว่าจะทำยอดขายได้ 6,200 ล้านบาท ส่วนรายได้คาดว่าจะทำได้ 4,600 ล้านบาท ปัจจุบันบริษัทมียอดขายรอรับรู้รายได้ 1,200 ล้านบาท ซึ่งจะทยอยโอนภายในปีนี้   สำหรับกำไรในปีนี้คาดว่าจะยังคงเป็นไปตามเป้าหมายที่ได้วางไว้ เนื่องจากบริษัทเน้นการพัฒนาโครงการแนวราบ ซึ่งไม่มีการทำสงครามราคาเพื่อแข่งขันในตลาด เหมือนกับกลุ่มคอนโดมิเนียม แม้ว่าจะมีกลุ่มลูกค้าบางส่วนหายออกไปจากตลาด เพราะได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มพนักงานในธุรกิจสายการบิน หรือที่เกี่ยวข้อง กลุ่มโรงงานอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออก   ปัจจัยความสำเร็จและกลยุทธ์ที่ทำให้ลลิล พร็อพเพอร์ตี้ยังทำกำไรและสร้างการเติบโตสวนท่ามกลางปัจจัยลบของปีนี้ คงมาจาก 4 ปัจจัยหลัก ดังนี้ 1.การพัฒนาสินค้าตรงตามความต้องการของลูกค้า การพัฒนาบ้านให้มีห้องอเนกประสงค์บริเวณชั้นล่าง ที่ให้ลูกค้าปรับเปลี่ยนห้องได้ตามความต้องการ ไม่ว่าจะใช้เป็นห้องผู้สูงอายุ ห้องทำงาน หรือห้องเรียนออนไลน์ของลูก ซึ่งถือว่าตอบโจทย์คนในยุควิถีชีวิตปกติใหม่ (New Normal) ที่ใช้เวลาอยู่บ้านมากขึ้น 2.การทำราคาบ้านที่แข่งขันได้ การบริหารต้นทุนสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นค่าที่ดิน หรือค่าก่อสร้าง รวมถึงค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ทำให้การพัฒนาโครงการสามารถทำราคาได้ถูกกว่าคู่แข่ง และเป็นราคาที่ลูกค้าสามารถเข้าถึงได้ แม้ว่าจะไม่ได้ทำโปรโมชั่นแรง ๆ หรือการทำสงครามราคาก็ตาม 3.การทำตลาดดิจิตอล การหันมาให้ความสำคัญกับการทำตลาดดิจิตอล โดยเฉพาะสื่อออนไลน์ ทำให้ประสิทธิภาพการโฆษณาสูงขึ้น และเข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถเลือกและโฟกัสกลุ่มเป้าหมายได้ตรงจุด และสามารถปรับเปลี่ยนได้อย่างรวดเร็ว ขณะที่ต้นทุนการใช้งบประมาณลดลงกว่าการใช้สื่อออฟไลน์ 4.การบริหารที่มีประสิทธิภาพ บริษัทได้ปรับปรุงประสิทธิภาพการบริหารมาอย่างต่อเนื่อง  โดยเฉพาะการบริหารต้นทุนในการดำเนินธุรกิจ ซึ่งทำให้บริษัทสามารถสร้างการเติบโตและมีผลกำไรเป็นบวกได้  โดยเฉพาะต้นทุนสำคัญทั้ง 5 ด้าน ได้แก่ ต้นทุนทางการเงิน การซื้อที่ดิน การก่อสร้าง การบริหารจัดการ และต้นทุนทางการเงิน ซึ่งต้นทุนทั้งหมดอยู่ในอัตราที่ต่ำ หากดูสถิติย้อนหลังในระยะ 5 ปีที่ผ่านมา จะพบว่า ลลิล พร็อพเพอร์ตี้ มีค่าบริหารจัดการต่าง ๆ อยู่ในอัตราต่ำติดอันดับ Top 5 ในอุตสาหกรรม จึงทำให้การบริหารงานมีประสิทธิภาพ และสร้างผลกำไรให้เป็นบวกได้ บริษัทบริหารจัดการต้นทุนและปรับองค์กรให้ลีนมาโดยตลอด ปรับทุกปี ซึ่งปีนี้ปรับกันแทบทุกอาทิตย์ ไม่ได้ปรับเพราะเจอโควิด จากผลการปรับตัวมาสม่ำเสมอ พอเจอโควิดจึงทำให้เราผ่านมาได้ และยังสามารถสร้างกำไรเป็นบวก   ล่าสุด บริษัทเปิดตัว 2 โครงการใหม่ โครงการลลิล ทาวน์ ไลโอ บลิสซ์ รัตนาธิเบศร์-บางใหญ่  และโครงการไลโอ บลิสซ์ วงแหวน-ปิ่นเกล้า (พระราม 5) รวมมูลค่า 1,450 ล้านบาท  ซึ่งโครงการลลิล ทาวน์ ไลโอ บลิสซ์ รัตนาธิเบศร์-บางใหญ่  มีมูลค่าโครงการ 900 ล้านบาท รวม 457 ยูนิต ราคาเริ่มต้น 1.99 ล้านบาท  และโครงการไลโอ บลิสซ์ วงแหวน-ปิ่นเกล้า (พระราม 5) มูลค่าโครงการ 550 ล้านบาท รวม 283 ยูนิต กับการเปิดตัวโครงการทาวน์โฮมเฟสใหม่ใกล้คลับเฮ้าส์ ราคาเริ่มต้น 1.89 ล้านบาท
[PR News] พร็อพเพอร์ตี้ฯ เปิดตัวบ้าน 4 แบบใหม่ รับชีวิต New Normal

[PR News] พร็อพเพอร์ตี้ฯ เปิดตัวบ้าน 4 แบบใหม่ รับชีวิต New Normal

พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค เปิดตัว 4 แบบบ้านรุ่นใหม่ในโครงการเพอร์เฟค เพลส พร้อมปรับเปลี่ยนใหม่ทั้งรูปแบบและฟังก์ชั่น รับชีวิต New Normal     นายวงศกรณ์ ประสิทธิ์วิภาต กรรมการผู้จัดการ บริษัท พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า สถานการณ์ปัจจุบันผู้คนตระหนักถึงความสำคัญ กับการใช้ชีวิตภายในบ้านมากขึ้น โดยมีวิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างชัดเจน ทั้งด้านการใช้ชีวิตทั่วไป การทำงาน รวมถึงการเลือกทำกิจกรรมต่าง ๆ ภายในบ้านมากขึ้น ซึ่งส่งผลต่อแนวโน้มการตัดสินใจในการเลือกซื้อบ้าน ทำให้ลูกค้าให้ความสำคัญกับขนาดพื้นที่ใช้สอยและมีความต้องการด้านฟังก์ชั่นที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น   ดังนั้น เพื่อการรองรับกับความต้องการของลูกค้าที่ปรับเปลี่ยน พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค ได้พัฒนาแบบบ้านรุ่นใหม่ Modern Oriental Series 2021 ในโครงการเพอร์เฟค เพลส ในแนวคิด New Space for Happiness เพื่อสร้างพื้นที่ความสุขให้เกิดขึ้นภายในบ้านได้มากที่สุด เน้นการจัดวางพื้นที่ใช้สอยที่มีหลากหลายฟังก์ชั่น โดยมี 5 จุดเด่น ได้แก่ 1.Space for Creation การปรับเปลี่ยนการใช้งานได้ตามความต้องการ เช่น เปลี่ยนห้องอเนกประสงค์เป็นห้องทำงานแบบ Work from Home หรือห้องพักผ่อนผู้สูงอายุ 2.Space for Healthy Living การปรับพื้นที่อเนกประสงค์ชั้น 2 เป็นพื้นที่ออกกำลังกายภายในบ้าน หรือพื้นที่สวนที่สามารถทำงานอดิเรก เช่น การปลูกพืชผักสวนครัวหรือปลูกดอกไม้ 3.Space for Collection มุม Walk in Closet ที่กว้างขวางมากขึ้น สามารถ จัดเป็นมุมของสะสม 4.Space for Care การเพิ่มพื้นที่เชื่อมต่อระหว่างภายในบ้านและสวนให้ผู้อยู่อาศัยได้ใกล้ชิดธรรมชาติ 5.Space for Family Activity พื้นที่ที่พร้อมรองรับทุกกิจกรรมของครอบครัว และยังคงให้บรรยากาศการอยู่อาศัยที่สามารถเว้นระยะได้อย่างเป็นสัดส่วนและมีความเป็นส่วนตัว   สำหรับแบบบ้าน Modern Oriental Series 2021 ดีไซน์สไตล์โมเดิร์นผสมกับความเป็นธรรมชาติ และยังตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์กลุ่มลูกค้าที่ใส่ใจด้านสุขอนามัยได้มากยิ่งขึ้นด้วย Smart AIRflow System ซึ่งเป็นนวัตกรรมระบบระบายอากาศ สามารถช่วยลดอุณหภูมิ ความอับชื้น แบคทีเรีย รวมถึง ฝุ่นละออง เพิ่มคุณภาพอากาศที่ดีให้แก่ผู้อยู่อาศัย พร้อมด้วยความสะดวกในการใช้งานผ่านแอพพลิเคชั่นได้จากโทรศัพท์มือถือ   ทั้งนี้ แบบบ้านรุ่นใหม่มีพื้นที่ใช้สอยขนาดตั้งแต่ 158 – 245 ตารางเมตร พร้อมเปิดตัวในโครงการเพอร์เฟค เพลส บน 5 ทำเล ได้แก่ แจ้งวัฒนะ,​รังสิต – ทางด่วนบางพูน, รัตนาธิเบศร์ – สถานีไทรม้า, สุขุมวิท 77 – สุวรรณภูมิ และ พระราม 9 – กรุงเทพกรีฑา ในราคาพิเศษเริ่ม 6.29 – 12 ล้านบาท
แสนสิริ เปิด 10 โปรเจ็กต์ Q4 เตรียมปรับเป้าใหม่อีกรอบ

แสนสิริ เปิด 10 โปรเจ็กต์ Q4 เตรียมปรับเป้าใหม่อีกรอบ

แสนสิริ เล็งปรับเป้ายอดขายและรายได้ หลัง 9 เดือนแรกทำผลงานดีเกินคาด พร้อมเปิดโปรเจ็กต์ใหม่ไตรมาส 4 อีก 10 โครงการ 11,700 ล้าน มั่นใจตลาดยังมีดีมานด์แต่ต้องระมัดระวัง หลังลูกค้ากู้ไม่ผ่านพุ่ง 20-30% ต้องอัดโปรโมชั่นช่วย   นายอาณัติ  กิตติกุลเมธี รองกรรมการผู้จัดการฝ่ายพัฒนาโครงการแนวราบ บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) หรือ SIRI เปิดเผยว่า อาจจะพิจารณาปรับเป้าหมายรายได้ใหม่ในช่วงปลายปีนี้  หลังจากช่วง 9 เดือนแรกสามารถทำผลประกอบการในกลุ่มโครงการแนวราบประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี โดยทำยอดโอนได้ 14,300 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 81% ของเป้าหมายที่คาดว่าจะทำได้ในปีนี้ 17,500 ล้านบาท ซึ่งยอดโอนช่วง 9 เดือนเติบโต 57% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่ช่วง 9 เดือนที่ผ่านมาทำยอดขายได้  17,600 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 92% จากเป้าหมายยอดขายโครงการแนวราบในปีนี้ที่​วางเป้าหมายไว้ 19,000 ล้านบาท และเติบโตจากช่วงเดียวกันของปีก่อนเกือบ 100%  ซึ่งยอดขายดังกล่าวแบ่งเป็นยอดขายจากโครงการบ้านเดี่ยวและ Mix Products สัดส่วน 83% มูลค่า 14,600 ล้านบาท และโครงการทาวน์เฮ้าส์  สัดส่วน 17% มูลค่า 3,000 ล้านบาท   โดยช่วงไตรมาสสุดท้ายจะบริษัทจะพิจารณาการปรับเป้าหมายยอดขายและรายได้ใหม่อีกครั้ง  จากผลตอบรับที่ดีในช่วง 9  เดือนแรกที่ผ่านมา เพราะช่วงเวลาที่เหลือต้องทำยอดขายเพียง 1,400 ล้านบาท ส่วนยอดโอนเหลือมูลค่าที่ต้องทำให้ได้อีก 3,200 ล้าบาทเท่านั้น ก็จะทำผลประกอบการตามเป้าหมายที่วางไว้ แต่คงต้องพิจารณาจากการตอบรับของ 10 โครงการ มูลค่า 11,700 ล้านบาท ที่เตรียมเปิดตัวใหม่ในไตรมาสที่ 4 ด้วยจากช่วง 9 เดือนแรกเปิดโครงการไปแล้ว 3 โครงการ  ซึ่งตามแผนในปีนี้จะเปิดโครงการใหม่ 13 โครงการรวมมูลค่า 14,800 ล้านบาท ส่วนในปีหน้าบริษัทยังพัฒนาโครงการต่อเนื่องอีก 18-20 โครงการด้วย นายอาณัติ  กล่าวอีกว่า แนวโน้มธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในไตรมาสที่ 4 ยังถือว่ามีความต้องการ แต่ธนาคารยังระมัดระวังการปล่อยสินเชื่อ ซึ่งแสนสิริยังต้องช่วยเหลือกลุ่มลูกค้าที่ต้องการซื้อที่อยู่อาศัย ด้วยแคมเปญและโปรโมชั่นพิเศษ แต่จะพิจารณาเป็นรายบุคคล เนื่องจากอัตราการกู้ไม่ผ่านพุ่งสูงขึ้น 20-30% จากช่วง 2 ปีก่อนหน้านี้มีสัดส่วน 10-15% เท่านั้น รวมถึงการดำเนินธุรกิจที่ต้องระมัดระวังมากขึ้น โดยการบริหารการขายและการก่อสร้างให้เหมาะสม ไม่ก่อสร้างบ้านออกมาขายจนเกินกว่ายอดขาย เพื่อลดความเสี่ยง เนื่องจากแนวโน้มตลาดอสังหาฯ ในปีหน้ายังถือว่าไม่ฟื้นตัว   โดยในวันที่ 28- 29 พฤศจิกายนนี้เตรียมเปิดพรีเซลล์อย่างเป็นทางการของโครงการอณาสิริ 4 โครงการพร้อมกัน ได้แก่ ทั้งนี้  อณาสิริ รังสิต – คลอง 2 อณาสิริ บางนา อณาสิริ ชัยพฤกษ์ – วงแหวน และอณาสิริ กรุงเทพ – ปทุมธานี  หลังจากก่อนหน้านี้ได้เปิดให้ลูกค้าลงทะเบียนออนไลน์ให้เข้าชม 2 โครงการแรก คือ อณาสิริ ชัยพฤกษ์ – วงแหวน และอณาสิริ กรุงเทพ – ปทุมธานี ปรากฎว่าได้รับการตอบรับที่ดีมาก มีลูกค้าที่ให้ความสนใจกว่า 3,650 ราย มียอดเข้าชมโครงการกว่า 700 ราย และมียอดจองโครงการทันที 140 ยูนิต มูลค่ารวมกว่า 600 ล้านบาท สามารถปิดการขายในเฟสแรกได้ทันทีแม้จะยังไม่เปิดขายพรีเซลล์อย่างเป็นทางการ
เปิด 4 Key Factors ปั้นโปรเจ็กต์แนวราบ การกลับมาทำตลาดต่างจังหวัดอีกครั้งของ “เอพี”

เปิด 4 Key Factors ปั้นโปรเจ็กต์แนวราบ การกลับมาทำตลาดต่างจังหวัดอีกครั้งของ “เอพี”

เอพี ไทยแลนด์ เดินหน้าลุยตลาดแนวราบ ปักธงตลาดต่างจังหวัด 3 โปรเจ็กต์ ในขอนแก่น ระยอง และนครศรีธรรมราช มูลค่ารวม 2,450 ล้านบาท หลังหยุดทำตลาดมาหลายปี จากก่อนหน้าที่มาลุยตลาดคอนโด ในพิษณุโลกและอุดรธานี มั่นใจหลังศึกษาตลาดมาอย่างดี และนำโมเดลธุรกิจความสำเร็จจากกรุงเทพฯ มาลุยตลาด มั่นใจทำยอดขายได้ตามเป้า 300 ล้าน   ในปีนี้ตลาดแนวราบ คือ พระเอกของตลาดอสังหาริมทรัพย์ ที่จะเข้ามากระตุ้นตลาดสร้างการเติบโต ดีเวลลอปเปอร์รายเล็กรายใหญ่ ต่างก็เปิดตัวโครงการแนวราบ และหยุดการเปิดตัวโครงการคอนโดมิเนียม เลื่อนแผนออกไปก่อน มีเพียงไม่กี่รายเท่านั้นที่ยังคงเปิดโครงการคอนโดมิเนียมตามแผนที่ได้วางไว้ เอพี เป็นหนึ่งในผู้ประกอบการที่ไม่เปิดตัวโครงการคอนโดมิเนียมใหม่ในปีนี้ แต่หันมาเปิดโครงการบ้านแนวราบ ล่าสุด ได้เปิดตัวแบรนด์ใหม่ “อภิทาวน์” (APITOWN) แบรนด์ที่จะใช้เจาะตลาดต่างจังหวัดโดยเฉพาะ โดยเป็นแบรนด์ที่ภายในโครงการมีความหลากหลายของประเภทบ้าน เริ่มตั้งแต่บ้านเดี่ยวหรือทาวน์เฮ้าส์ชั้นเดียว ไปจนถึงบ้านเดี่ยวหรือทาวน์โฮม 2 ชั้น   นายวิทการ จันทวิมล รองกรรมการผู้อำนวยการ สายงานกลยุทธ์องค์กรและการสร้างสรรค์ บริษัท เอพี (ไทยแลนด์) จำกัด (มหาชน) หรือ เอพี เปิดเผยว่า จากพันธกิจใหญ่ EMPOWER LIVING ที่พร้อมสนับสนุนให้ทุกคนในสังคมสามารถเติมเต็มการใช้ชีวิตได้ตามที่ปรารถนา จึงเปิดตัวแบรนด์ใหม่ “อภิทาวน์” ในโครงการแบบมิกซ์ โปรดักส์ (Mix Products) ซึ่งแบรนด์อภิทาวน์ จะอยู่ในกลุ่มสินค้าระดับกลางในพอร์ตโครงการต่างจังหวัด การมาทำตลาดต่างจังหวัด เพราะต้องการขยายธุรกิจ จึงต้องขยายตลาด และมองหาโอกาสที่จะสร้างการเติบโตขึ้น 4 Key Factors เลือกทำเลลุยตลาด ในการคัดเลือกว่าจะไปทำตลาดที่จังหวัดอะไรนั้น เอพี มี 4 หลักเกณฑ์การพิจารณาด้วยกัน ได้แก่ 1.การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานเมกะโปรเจ็กต์ของภาครัฐ (GOVERNMENT MAJOR INFRASTRUCTURE PROJECT) 2.การเติบโตทางเศรษฐกิจในหลายมิติ (URBANIZATION AND PURCHASING POWER) 3.การขยายตัวของความเป็นเมืองและการเติบโตของกำลังซื้อ (LOCAL ECONOMIC GROWTH IN MULTI-SEGMENTS) 4.การเป็นศูนย์กลางทางการศึกษาหรือการแพทย์ของภูมิภาค (REGION’S EDUCATION OR MEDICAL HUB)   นายวิทการ กล่าวอีกว่า สำหรับการลงทุนภาครัฐ จะเน้นจังหวัดที่มีความคืบหน้าของการพัฒนาโครงการที่ชัดเจนเป็นรูปธรรม ซึ่งขอนแก่นถือเป็นหนึ่งในจังหวัดที่วางแผนพัฒนาให้เป็น Smart City โดยปัจจุบันถือว่าโครงการมีความชัดเจนเป็นรูปธรรมมากที่สุด จากการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนจากภาครัฐและเอกชน อาทิ โครงการรถไฟฟ้ารางเบา โครงการขยายสนามบินนานาชาติขอนแก่น รองรับผู้โดยสารได้ 1,000 คนต่อชั่วโมง เป็น 2,000 คนต่อชั่วโมง หรือ 5 ล้านคนต่อปี ที่กำหนดแล้วเสร็จ เดือนมีนาคม 2564 ทำให้กลายเป็น “ขอนแก่น โมเดล” ที่จะนำไปประยุกต์ใช้ในจังหวัดอื่น ๆ ต่อไป   โดยจ.ขอนแก่นมีกิจกรรมทางเศรษฐกิจแหล่งงานที่สร้างรายได้จากหลายเซ็กเมนต์ อาทิ อุตสาหกรรม การลงทุน การเกษตร และการท่องเที่ยว เป็นต้น ซึ่งเมืองขอนแก่น ประชากรมีรายได้ต่อหัวสูงสุดในภาคอีสาน ปัจจุบันขอนแก่นมีจำนวนประชากรในจังหัด 1.8 ล้านคน อยู่ในอำเภอเมืองกว่า 4.16 แสนคน โดย 63% มีรายได้จากเงินเดือนหรือธุรกิจส่วนตัว   ในเมืองขอนแก่นยังมีการลงทุนและพัฒนาศูนย์การค้าที่รองรับกับไลฟ์สไตล์คนในปัจจุบันเพื่อการเติบโตของเศรษฐกิจ ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาศูนย์การค้าขนาดใหญ่ถึง 2 แห่ง และมี 2 ศูนย์การค้า ซึ่งจำหน่ายสินค้าตกแต่งบ้านและเกี่ยวกับบ้านขนาดใหญ่ การลงทุนต่าง ๆในทุกด้าน ส่งผลให้เศรษฐกิจของขอนแก่นปีที่ผ่านมาเติบโต 3-4%   เมืองขอนแก่นเป็นศูนย์กลางขนาดใหญ่ของการศึกษาในภาคอีสาน มีมหาวิทยาลัยขอนแก่น (มข.) โรงเรียนนานาชาติขอนแก่น และโรงเรียนประถม มันธยมอีกหลายแห่ง ขณะเดียวกันขอนแก่นกำลังจะเป็นศูนย์กลางด้านการแพทย์ ที่มีโรงพยาบาลของรัฐขนาดใหญ่ที่สุดในไทยและอาเซียนด้วย เพราะมีการลงทุนกว่า 24,500 ล้าน เพื่อดำเนินการก่อสร้าง โครงการเมดิคัลฮับ ของโรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทย์ศาสตร์ (มข.) ที่มีขนาดถึง 5,000 เตียง บาท   โครงการอภิทาวน์ นครศรีธรรมราช มูลค่าโครงการ 650 ล้านบาท บนที่ดินขนาด 34-2-86.4 ไร่ จำนวน 215 หลัง ในรูปแบบบ้านเดี่ยว 2 ชั้น บ้านแฝด 2 ชั้น และ ทาวน์โฮม 2 ชั้น ชูแนวคิด REINVENT YOUR MODERN LIVING ในเฟสแรกพร้อมเปิดจองบ้านเดี่ยว 2 ชั้น ขนาดที่ดินเริ่ม 50 ตารางวา พื้นที่ใช้สอย 154 - 225 ตารางเมตร 4 ห้องนอนใหญ่ 4 ห้องน้ำ 2 ส่วนพักผ่อน ครัว และ 2 ที่จอดรถ ราคาเริ่ม 4.19-8 ล้านบาท เน้น “ความคุ้มค่า” สร้างจุดขายแตกต่าง นายรัชต์ชยุตม์ นันทโชติโสภณ รองกรรมการผู้อำนวยการ สายงานพัฒนาธุรกิจกลุ่มสินค้าบ้านเดี่ยว เอพี กล่าวว่า การทำพัฒนาและตลาดภายใต้แบรนด์ อภิทาวน์ ถือว่ามีความท้าทายของตลาด แต่ 9 เดือนที่ผ่านมาสินค้ากลุ่มสินค้าแนวราบของเอพี ยังสามารถสร้างการเติบโตทั้งยอดขายและยอดโอนได้อย่างโดดเด่น โดยมียอดขายทะลุ 20,900 ล้านบาท คิดเป็น 93% จากเป้าแนวราบทั้งปีที่ 22,500 ล้านบาท ซึ่งสามารถการันตีกำลังซื้อและความเชื่อมั่นของลูกค้าต่อโครงการแนวราบเครือเอพีได้เป็นอย่างดี   การออกทำตลาดในต่างจังหวัดของเอพีครั้งนี้ ไม่ได้ถือว่าเป็นเรื่องใหม่ เพราะหลายปีก่อนหน้านี้ ได้ออกมาทำตลาดใน 2 จังหวัดแล้ว คือ จังหวัดอุดรธานี และพิษณุโลก แต่ครั้งนี้เป็นการนำเอาโครงการคอนโดมิเนียมออกมาทำตลาด คือ แบรนด์แอสปาย อุดรธานี และคูล (COO)พิษณุโลก ซึ่ง 2 โครงการหากวัดผลถึงความสำเร็จ คงไม่สามรถพูดได้เต็มปาก แม้ว่าโครงการจะขายหมดแล้วทั้ง 2 โครงการก็ตาม เพราะต้องใช้ระยะเวลาการขายนานหลายปีกว่าจะหมด ทำให้ช่วงหลายปีที่ผ่านมาเอพีไม่ได้ออกมาทำตลาดต่างจังหวัดเหมือนกับเพื่อน ๆ ร่วมวงการ แต่ในครั้งนี้ดูเหมือนว่าเอพีมีความพร้อมในการออกมาทำตลาดต่างจงหวัดแล้ว เพราะก่อนที่จะตัดสินใจเลือก 3 จังหวัดทำตลาด คือ จ.ขอนแก่น ระยอง และนครศรีธรรมราช ได้ทำการศึกษาตลาดและศึกษาคู่แข่งในตลาด ไม่ว่าจะเป็นผู้ประกอบการท้องถิ่น หรือผู้ประกอบการจากกรุงเทพฯ ที่เข้าไปปักหมุดก่อนหน้า ซึ่งสิ่งที่ทำให้เอพี มั่นใจกับการมาครั้งนี้ คือ การนำเสนอสิ่งที่เป็น “ความคุ้มค่า” ในสินค้าที่มีลักษณะและราคาใกล้เคียงกัน เพราะจากการศึกษาข้อมูลทางการตลาด พบว่า ผู้บริโภคในต่างจังหวัดต้องการสิ่งเหล่านี้ ประกอบกับการนำเอาความรู้และความสำเร็จของการพัฒนาโครงการในกรุงเทพฯ ไปปรับใช้ในแต่ละพื้นที่เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าให้ได้อย่างตรงจุดด้วย   นางพิมพรรณ ปรีชานนท์ ผู้อำนวยการอาวุโส สายงานบริหารแบรนด์และพัฒนาสินค้าบ้านเดี่ยว เอพี  กล่าวว่า โครงการอภิทาวน์  เน้นเจาะกลุ่มเป้าหมายครอบครัวรุ่นใหม่ในหัวเมืองใหญ่ อายุระหว่าง 30-45 ปี ที่มองหาโครงการที่อยู่อาศัยสำหรับการเป็นเจ้าของบ้านหลังใหม่ ที่ถูกคิด พัฒนา ตลอดจนดูแลบริหารจัดการโดยนักพัฒนาอสังหาฯ ที่มีชื่อเสียงอันดันต้นของประเทศ เน้นรูปแบบบ้านที่มีเอกลักษณ์ดีไซน์ทันสมัย พื้นที่ใช้สอยที่มากกว่าและสามารถใช้งานได้จริงทุกตารางเมตร พร้อมการผสานเทคโนโลยีที่จะอำนวยความสะดวกและเพิ่มความอุ่นใจในการอยู่อาศัยที่เหนือกว่าโครงการทั่วไป และพื้นที่ส่วนกลางที่ครบครันตอบทุกเทรนด์ไลฟ์สไตล์เมือง บนทำเลที่ตั้งที่ดีที่สุดในจังหวัดนั้นๆ
อัพเดทดอกเบี้ยรีไฟแนนซ์ บ้านและคอนโดประจำเดือนกันยายน 63

อัพเดทดอกเบี้ยรีไฟแนนซ์ บ้านและคอนโดประจำเดือนกันยายน 63

อัพเดทดอกเบี้ยรีไฟแนนซ์  สภาพเศรษฐกิจปีนี้ถือว่ายังคงชะลอตัวต่อเนื่องจากช่วงที่ผ่านมา แถมยังมาเจอการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 อีก ทำให้กำลังซื้อของผู้บริโภคส่วนใหญ่ ก็ชะลอตัวตามอย่างปฏิเสธไม่ได้ ทำให้คนส่วนใหญ่ ระมัดระวังการใช้จ่าย อะไรเซฟได้ต้องเซฟ อะไรประหยัดได้ก็ต้องประหยัด และแน่นอนว่าอะไรที่จะช่วยเพิ่มรายได้ ลดรายใจ คนส่วนใหญ่ต้องเลือกช่องทางนั้นแน่ ๆ แต่สำหรับใครยังมีหนี้สินก็คงต้องแบกรับภาระนั้นต่อไป หากยังมีรายได้มาจ่ายได้พอเพียง สำหรับคนที่ต้องผ่อนบ้านหรือคอนโด หนทางที่จะช่วยลดภาระหนี้สินให้เบาบางลง แม้อาจจะไม่มากนักในแต่ละเดือน แต่ในระยะยาวก็ถือว่า มีจำนวนมากอยู่เหมือนกัน คือ การหาแหล่งปล่อยเงินกู้ที่คิดอัตราดอกเบี้ยถูก ๆ หรือการเปลี่ยนไปใช้สถาบันการเงินอื่น ๆ ที่คิดดอกเบี้ยถูกกว่าที่ชำระอยู่ในปัจจุบัน ที่เรียกว่า รีไฟแนนซ์ นั่นเอง  ลองมาดูกันว่า ปัจจุบันนี้ แต่ละธนาคารมีการคิดอัตราดอกเบี้ย สินเชื่อสำหรับการรีไฟแนนซ์บ้าน เท่าไรกันบ้าง ธนาคารกสิกร สินเชื่อบ้านรีไฟแนนซ์ Super Save  แบบทำประกันตามเงื่อนไข ดอกเบี้ยปีที่ 1-3                                       = MRR-2.47% ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี                                   = 3.50% ดอกเบี้ยแท้จริงตลอดอายุสัญญา            = 4.12% หมายเหตุ - อัตราดอกเบี้ยลูกค้ารายย่อยชั้นดี เท่ากับ 5.97% ประกาศ ณ วันที่ 22 พ.ค.2563 ,ยื่นกู้ถึง 15 ต.ค.2563 และจดจำนองภายใน 15 ธ.ค.2563, รายละเอียดเพิ่มเติม ศึกษาได้จากธนาคารกสิกร ธนาคารกรุงไทย มีสินเชื่อให้บริการรีไฟแนนซ์ แบบคงที่ 1 ปี ผ่อนล้านละ 1,000 บาทในปีที่ 1  แบบทำประกัน      ดอกเบี้ยปีที่ 1                                           = 0.75% ดอกเบี้ยปีที่ 2-3                                      = MRR-2.70% ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี                                   = 2.60% ดอกเบี้ยแท้จริงตลอดอายุสัญญา            = 3.97% แบบคงที่ 1 ปี ผ่อนล้านละ 1,000 บาทในปีที่ 1  แบบไม่ทำประกัน ดอกเบี้ยปีที่ 1                                            = 0.75% ดอกเบี้ยปีที่ 2-3                                        = MRR-2.55% ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี                                     = 2.70% ดอกเบี้ยแท้จริงตลอดอายุสัญญา             = 4.01% แบบคงที่ 3 ปี ผ่อนล้านละ 3,500 บาทในปีที่ 1-3  แบบทำประกัน ดอกเบี้ยปีที่ 1                                             = 1.79% ดอกเบี้ยปีที่ 2-3                                        = 3.00% ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี                                     = 2.60% ดอกเบี้ยแท้จริงตลอดอายุสัญญา             = 3.99% แบบคงที่ 3 ปี ผ่อนล้านละ 3,500 บาทในปีที่ 1-3  แบบไม่ทำประกัน ดอกเบี้ยปีที่ 1                                            = 2.09% ดอกเบี้ยปีที่ 2-3                                        = 3.00% ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี                                     = 2.70% ดอกเบี้ยแท้จริงตลอดอายุสัญญา             = 4.03% แบบลอยตัว  แบบทำประกัน ดอกเบี้ยปีที่ 1-3                                        = MRR-3.72% ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี                                    = 2.50% ดอกเบี้ยแท้จริงตลอดอายุสัญญา            = 3.97% แบบลอยตัว แบบไม่ทำประกัน ดอกเบี้ยปีที่ 1-3                                       = MRR-3.62% ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี                                   = 2.60% ดอกเบี้ยแท้จริงตลอดอายุสัญญา            = 4.00% ทางเลือกแบบธนาคารออกค่าธรรมเนียมการจดจำนอง 1% แบบคงที่ 2 ปี  แบบทำประกัน ดอกเบี้ยปีที่ 1-2                                       = 2.38% ดอกเบี้ยปีที่ 3                                           = MRR-2.18% ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี                                    = 2.93% ดอกเบี้ยแท้จริงตลอดอายุสัญญา             = 4.11% แบบคงที่ 2 ปี  แบบไม่ทำประกัน ดอกเบี้ยปีที่ 1-2                                        = 2.49% ดอกเบี้ยปีที่ 3                                           = MRR-2.10% ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี                                    = 3.03% ดอกเบี้ยแท้จริงตลอดอายุสัญญา            = 4.14% แบบคงที่ 3 ปี  แบบทำประกัน ดอกเบี้ยปีที่ 1                                           = 2.00% ดอกเบี้ยปีที่ 2-3                                      = 3.40% ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี                                   = 2.93% ดอกเบี้ยแท้จริงตลอดอายุสัญญา           = 4.11% แบบคงที่ 3 ปี   แบบไม่ทำประกัน ดอกเบี้ยปีที่ 1                                           = 2.29% ดอกเบี้ยปีที่ 2-3                                      = 3.40% ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี                                  = 3.03% ดอกเบี้ยแท้จริงตลอดอายุสัญญา          = 4.14% หมายเหตุ - อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง คำนวณจากวงเงินกู้ 1 ล้านบาท อายุสัญญา 20 ปี ผ่อนชำระ 6,500 บาทต่อเดือน เงื่อนไขเป็นไปตามที่ธนาคารกำหนด, ยื่นสมัครสินเชื่อภายในวันที่ 30 ก.ย.2563 MRR = 6.22% ประกาศ ณ วันที่ 30 ก.ย.2563 รายละเอียดเพิ่มเติม ศึกษารายละเอียดกับธนาคารกรุงไทย ธนาคารกรุงศรีอยุธยา แบบวงเงิน 1 ล้านบาทแต่ไม่ถึง 1.5 ล้านบาท วงเงินกู้สูงสุด 95% ของราคาประเมิน ทางเลือก 1 ดอกเบี้ยปีที่ 1                                         = 0.75% ดอกเบี้ยปีที่ 2-3                                     = MRR-1.85% ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี                                  = 3.05% ดอกเบี้ยแท้จริงตลอดอายุสัญญา          = 3.55% ทางเลือก 2 ดอกเบี้ยปีที่ 1-2                                      = 2.90% ดอกเบี้ยปีที่ 3                                         = MRR-3.15% ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี                                  = 2.90% ดอกเบี้ยแท้จริงตลอดอายุสัญญา          = 3.55% ทางเลือก 3  ฟรีค่าจดจำนอง ดอกเบี้ยปีที่ 1                                          = 0.50% ดอกเบี้ยปีที่ 2-3                                      = MRR-1.35% ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี                                   = 3.30% ดอกเบี้ยแท้จริงตลอดอายุสัญญา           = 3.66% แบบวงเงิน 1.5 ล้านบาท วงเงินกู้สูงสุด 95% ของราคาประเมิน ทางเลือก 1 ดอกเบี้ยปีที่ 1                                           = 0.75% ดอกเบี้ยปีที่ 2-3                                      = MRR-2.15% ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี                                   = 2.85% ดอกเบี้ยแท้จริงตลอดอายุสัญญา           = 3.45% ทางเลือก 2 ดอกเบี้ยปีที่ 1                                           = 1.75% ดอกเบี้ยปีที่ 2                                          = 2.20% ดอกเบี้ยปีที่ 3                                          = MRR-1.75% ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี                                   = 2.75% ดอกเบี้ยแท้จริงตลอดอายุสัญญา           = 3.40% ทางเลือก 3 ดอกเบี้ยปีที่ 1-3                                       = MRR-2.90% ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี                                   = 3.15% ดอกเบี้ยแท้จริงตลอดอายุสัญญา           = 3.15% ทางเลือก 4 ฟรีค่าจดจำนอง ดอกเบี้ยปีที่ 1                                          = 0.50% ดอกเบี้ยปีที่ 2-3                                      = MRR-16.5% ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี                                   = 3.10% ดอกเบี้ยแท้จริงตลอดอายุสัญญา           = 3.57% หมายเหตุ -ฟรีค่าธรรมเนียมสำรวจและประเมินหลักประกัน,ฟรีค่าจดจำนอง เมื่อซื้อประกันตามเงื่อนไข  ฟรีค่าประเมินหลักประกัน มูลค่า 3,210 บาท รายละเอียดอื่น ๆ ศึกษาเพิ่มเติมกับธนาคารกรุงศรี เกียรตินาคิน มีสินเชื่อสำหรับการรีไฟแนนซ์ให้ลูกค้าได้เลือก 4 แบบ ได้แก่ สินเชื่อบ้าน รีไฟแนนซ์ แบบลอยตัว  ทำประกัน ฟรีค่าประเมิน ดอกเบี้ยปีที่ 1-3                                        = 2.515%-2.625% (MLR-4.01)-(MLR-3.91) ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี                                    = 2.515%-2.625% (MLR-4.01)-(MLR-3.91) ดอกเบี้ยแท้จริงตลอดอายุสัญญา            = 4.502% (MLR-1.75%) สินเชื่อบ้าน รีไฟแนนซ์ แบบลอยตัว  ไม่ทำประกัน ฟรีค่าประเมิน ดอกเบี้ยปีที่ 1-3                                       = 2.775%-2.875% (MLR-3.75%)-(MLR-3.65%) ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี                                    = 2.775%-2.875% (MLR-3.75%)-(MLR-3.65%) ดอกเบี้ยแท้จริงตลอดอายุสัญญา            = 4.502% (MLR-1.75%) สินเชื่อบ้าน รีไฟแนนซ์ แบบคงที่ 5 ปี ทำประกัน ฟรีค่าประเมินและค่าจำนอง ดอกเบี้ยปีที่ 1-2                                         = 2.79%-2.89% ดอกเบี้ยปีที่ 3                                            = 3.79%-3.89% ดอกเบี้ยปีที่ 4-5                                        = 4.39% ดอกเบี้ยแท้จริงตลอดอายุสัญญา            = 4.502% (MLR-1.75%) สินเชื่อบ้าน รีไฟแนนซ์ แบบคงที่ 5 ปี ไม่ทำประกัน ฟรีค่าประเมินและค่าจำนอง ดอกเบี้ยปีที่ 1-2                                       = 3.05%-3.15% ดอกเบี้ยปีที่ 3                                          = 4.05%-4.15% ดอกเบี้ยปีที่ 4-5                                      = 4.39% ดอกเบี้ยแท้จริงตลอดอายุสัญญา           = 4.502% (MLR-1.75%) หมายเหตุ – วงเงินคงเหลือต้องมากกว่า 5 แสนบาท,  มีประวัติผ่อนชำระกับสถาบันการเงินเดิมไม่ต่ำกว่า 12 เดือน  MLR อัตรา 6.525% ประกาศ ณ 25 พ.ค.2653 ,ค่าจดจำนองที่ธนาคารออกให้สูงสุดไม่เกิน 1 แสนบาท ,รายละเอียดอื่นๆ เพิ่มเติม ติดต่อธนาคารเกียรตินาคิน ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย สินเชื่อรีไฟแนนซ์และขอเงินเพิ่ม สำหรับพนักงานประจำรายได้ 30,000 บาท ทางเลือกที่ 1 ทำประกันชีวิต ดอกเบี้ยปีที่ 1-3                                        = 3.79 %  (MRR-3.56%) ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี                                    = 3.79% ดอกเบี้ยแท้จริงตลอดอายุสัญญา            = 4.95% ไม่ทำประกันชีวิต ดอกเบี้ยปีที่ 1-3                                        = 4.09%  (MRR-3.26%) ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี                                    = 4.09% ดอกเบี้ยแท้จริงตลอดอายุสัญญา            = 5.03% สินเชื่อรีไฟแนนซ์และขอเงินเพิ่ม สำหรับพนักงานประจำรายได้ 15,000 บาท หรือเจ้าของกิจการ รายได้30,000 บาท ทางเลือกที่ 2 ทำประกันชีวิต ดอกเบี้ยปีที่ 1-3                                        = 4.09 %  (MRR-3.26%) ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี                                    = 4.09% ดอกเบี้ยแท้จริงตลอดอายุสัญญา            = 5.03% ไม่ทำประกันชีวิต ดอกเบี้ยปีที่ 1-3                                       = 4.39%  (MRR-2.96%) ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี                                   = 4.39% ดอกเบี้ยแท้จริงตลอดอายุสัญญา            = 5.11% หมายเหตุ - MRR = 7.35% ประกาศ ณ 10 เม.ย.2563 ,อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงคำนวณจากวงเงินกู้ 2 ล้านบาท ระยะเวลา 15 ปี ประเภทหลักประกัน ได้แก่ บ้านเดี่ยว บ้านแฝด ทาวน์เฮ้าส์ ทาวน์โฮม และคอนโด  ยกเว้น อาคารพาณิชย์, รายละเอียดอื่น ๆ เพิ่มเติม ติดต่อธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย ธนาคารทีเอ็มบี สินเชื่อบ้าน ทีเอ็มบี รีไฟแนนซ์ มีให้เลือก 2 แบบ ได้แก่ แบบสมัครพร้อมผลิตภัณฑ์เสริม 3 ประเภท เลือกรับฟรี ค่าจดทะเบียนจำนอง ค่าเบี้ยประกันอัคคีภัย และค่าประเมินราคาหลักทรัพย์ ดอกเบี้ยปีที่ 1-3                                         = 3.05% (MRR-3.23%) ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี                                     = 3.05% ดอกเบี้ยแท้จริงตลอดอายุสัญญา*           = 4.12% แบบสมัครพร้อมผลิตภัณฑ์เสริม 3 ประเภท เลือกรับฟรีค่าเบี้ยประกันอัคคีภัย และค่าประเมินราคาหลักทรัพย์ ดอกเบี้ยปีที่ 1-3                                         = 2.70% (MRR-3.58%) ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี                                     = 2.70% ดอกเบี้ยแท้จริงตลอดอายุสัญญา*           = 4.00% แบบสมัครผลิตภัณฑ์เสริมไม่ครบทั้ง 3 ประเภท เลือกรับฟรีค่าเบี้ยประกันอัคคีภัย และค่าประเมินราคาหลักทรัพย์ ดอกเบี้ยปีที่ 1-3                                         = 3.65% (MRR-2.63%) ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี                                     = 3.65% ดอกเบี้ยแท้จริงตลอดอายุสัญญา*           = 4.49% หมายเหตุ -ผลิตภัณฑ์ทั้ง 3 ประเภท ได้แก่ 1.ประกันชีวิตคุ้มครองสินเชื่อ ทีเอ็มบีคุ้มบ้าน 2.หักบัญชีอัตโนมัติผ่านบัญชีออมทรัพย์ทีเอ็มบี เพื่อผ่อนชำระสินเชื่อบ้าน 3.สมัครบัตรเดบิต -MRR = 6.28% ณ วันที่ 1 มิ.ย.2563, -*คำนวณจากเงินกู้ 3 ล้านบาท ระยะเวลา 20 ปี -ฟรีประกันอัคคีภัย ธนาคารจ่ายให้ตามมูลค่าเบี้ยประกันภัย ประมาณ​1,000 บาท ต่อปี ต่อราคาบ้าน 1 ล้านบาท -ฟรีค่าจดทะเบียนจำนอง ธนาคารจ่ายให้ 1% ของเงินกู้สูงสุด 2 แสนบาท สำหรับกรณีซื้อบ้านจากบริษัทอสังหาริมทรัพย์ที่ธนาคารกำหนด -รายละเอียดอื่น ๆ ติดต่อธนาคารทีเอ็มบี ธนาคารธอส. สินเชื่อบ้านสุขสันต์ ดอกเบี้ยปีที่ 1                                             = 2.45% ดอกเบี้ยปีที่ 2                                            = 2.95% ดอกเบี้ยปีที่ 3                                            = 3.45% (MRR-2.70%) ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี                                     = 2.95% ดอกเบี้ยปีที่ 4 เป็นต้นไป                           = 5.65% (MRR-0.5%) หมายเหตุ - กรณีลูกค้ารายย่อยทั่วไป ,ยกเว้นค่าธรรมเนียมการยื่นกู้ 0.1% ของวงเงินทำนิติกรรม ยกเว้นค่าจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม 1,000 บาท ,MRR ลูกค้ารายย่อยชั้นดี 6.15% ธนาคารไทยพาณิชย์ มีทางเลือกสำหรับการขอสินเชื่อวงเงินกู้บ้านรีไฟแนนซ์จากสถาบันการเงินอื่น 2 แบบ แบบทำประกันคุ้มครองสินเชื่อ  (Credit Life) มากกว่าหรือเท่ากับ 70% ของวงเงินกู้ ดอกเบี้ยปีที่ 1-3                                        = 4.90% ดอกเบี้ยปีต่อไป                                        = MRR-0.72% ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี                                    = 4.90% ดอกเบี้ยแท้จริงตลอดอายุสัญญา            = 5.174% แบบไม่ทำประกันคุ้มครองสินเชื่อ  (Credit Life) ดอกเบี้ยปีที่ 1-3                                        = 5.15% ดอกเบี้ยปีต่อไป                                        = MRR-0.72% ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี                                    = 5.15% ดอกเบี้ยแท้จริงตลอดอายุสัญญา            = 5.242% หมายเหตุ – อัตราดอกเบี้ย MRR = 5.995% เริ่มใช้ตั้งแต่​วันที่ 22 พ.ค. 2563, รายละเอียดเพิ่มเติมอื่น ๆ ศึกษาจากธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารออมสิน ธนาคารออมสินมีสินเชื่อบ้านรีไฟแนนซ์ GSB Home Loan ให้เลือก 2  แบบ แบบผู้กู้ ทำประกันชีวิต ดอกเบี้ยปีที่ 1                                            = 1.50% ดอกเบี้ยปีที่ 2                                           = 2.70% (MRR-3.545%) ดอกเบี้ยปีที่ 3                                           = 3.55% (MRR-2.695%) ดอกเบี้ยปีที่ 4 เป็นต้นไป                          = 4.87% (MRR-1.375%) ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี                                    = 2.583% ดอกเบี้ยแท้จริงตลอดอายุสัญญา            = 4.027% แบบผู้กู้ ไม่ทำประกันชีวิต ดอกเบี้ยเดือนที่ 1-6                                  = 1.50% ดอกเบี้ยเดือนที่ 7-12                                = 2.25% (MRR-3.995%) ดอกเบี้ยปีที่ 2                                           = 3.05% (MRR-3.195%) ดอกเบี้ยปีที่ 3                                           = 4.05% (MRR-2.195%) ดอกเบี้ยปีที่ 4 เป็นต้นไป                          = 5.37% (MRR-0.875%) ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี                                    = 2.992% ดอกเบี้ยแท้จริงตลอดอายุสัญญา            = 4.477% หมายเหตุ – จัดทำนิติกรรมสัญญาให้แล้วเสร็จภายใน 30 ก.ย. 2563 ฟรีค่าบริการสินเชื่อ ค่านิติกรรมสัญญา สำหรับวงเงินกู้ 1.5 ล้านบาท, ดอกเบี้ยแท้จริงคำนวณจาก วงเงินกู้ 1 ล้านบาท ระยะเวลาผ่อน 30 ปี, รายละเอียดอื่น ๆ เพิ่มเติม ติดต่อธนาคาออมสิน ธนาคาร แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ มีสินเชื่อรีไฟแนนซ์ 2 แบบ ให้ลูกค้าได้เลือก แบบที่ 1 สำหรับผู้กู้รายได้ตั้งแต่ 75,000 ต่อเดือนขึ้นไป แบบบ 1.1 ดอกเบี้ยปีที่ 1                                            = 0.59% (MRR-6.76%) ดอกเบี้ยปี 2-3                                          = 3.53% (MRR-3.82%) ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี                                    = 2.55% ดอกเบี้ยปีที่ 4 เป็นต้นไป                          = 5.10% (MRR-2.25%) ดอกเบี้ยแท้จริงตลอดอายุสัญญา            = 3.50% แบบบ 1.2 ดอกเบี้ยปีที่ 1                                            = 0.79% ผ่อนล้านละ 3,500 บาทในปีแรก ดอกเบี้ยปี 2-3                                          = 3.58% (MRR-3.77%) ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี                                    = 2.65% ดอกเบี้ยปีที่ 4 เป็นต้นไป                          = 5.10% (MRR-2.25%) ดอกเบี้ยแท้จริงตลอดอายุสัญญา            = 3.57% แบบบ 1.3 ดอกเบี้ยปีที่ 1-2                                        = 1.90% (MRR-5.45%) ดอกเบี้ยปีที่    3                                        = 3.70% (MRR-3.65%) ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี                                    = 2.50% ดอกเบี้ยปีที่ 4 เป็นต้นไป                          = 5.10% (MRR-2.25%) ดอกเบี้ยแท้จริงตลอดอายุสัญญา            = 3.51% แบบบ 1.4 ดอกเบี้ยปีที่ 1-2  คงที่                              = 2.00% (ผ่อนล้านละ 3,500 ใน 2 ปีแรก) ดอกเบี้ยปีที่  3                                          = 3.80% (MRR-3.55%) ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี                                    = 2.60% ดอกเบี้ยปีที่ 4 เป็นต้นไป                          = 5.10% (MRR-2.25%) ดอกเบี้ยแท้จริงตลอดอายุสัญญา            = 3.57% แบบที่ 2 ผู้กู้รายได้ 20,000 บาทต่อเดือนขึ้นไป แบบบ 2.1 ดอกเบี้ยปีที่ 1                                           = 0.79% (MRR-6.56%) ดอกเบี้ยปี 2-3                                          = 3.58% (MRR-3.77%) ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี                                    = 2.65% ดอกเบี้ยปีที่ 4 เป็นต้นไป                          = 5.10% (MRR-2.25%) ดอกเบี้ยแท้จริงตลอดอายุสัญญา            = 3.57% แบบบ 2.2 ดอกเบี้ยปีที่ 1                                            = 0.99% ผ่อนล้านละ 3,500 บาทในปีแรก ดอกเบี้ยปี 2-3                                          = 3.63% (MRR-3.72%) ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี                                    = 2.75% ดอกเบี้ยปีที่ 4 เป็นต้นไป                          = 5.10% (MRR-2.25%) ดอกเบี้ยแท้จริงตลอดอายุสัญญา            = 3.64% แบบบ 2.3 ดอกเบี้ยปีที่ 1-2                                        = 2.00% (MRR-5.35%) ดอกเบี้ยปีที่    3                                        = 3.80% (MRR-3.55%) ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี                                    = 2.60% ดอกเบี้ยปีที่ 4 เป็นต้นไป                          = 5.10% (MRR-2.25%) ดอกเบี้ยแท้จริงตลอดอายุสัญญา            = 3.57% แบบบ 2.4 ดอกเบี้ยปีที่ 1-2  คงที่                              = 2.10% (ผ่อนล้านละ 3,500 ใน 2 ปีแรก) ดอกเบี้ยปีที่  3                                          = 3.90% (MRR-3.45%) ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี                                    = 2.70% ดอกเบี้ยปีที่ 4 เป็นต้นไป                          = 5.10% (MRR-2.25%) ดอกเบี้ยแท้จริงตลอดอายุสัญญา            = 3.64% หมายเหตุ- กรณีทำประกันคุ้มครองวงเงินสินเชื่อ ธนาคารทดรองจ่ายค่าจดจำนองให้ 1% ของวงเงินกู้อนุมัติ หรือสูงสุดไม่เกิน 2 แสนบาท , MRR เท่ากับ 7.350  ประกาศ ณ 14 เม.ย.2563 อัตราดอกเบี้ยถึง 30 ก.ย.2563 , เงื่อนไขเป็นไปตามที่ธนาคารกำหนด ,รายละเอียดเพิ่มเติมศึกษาข้อมูลกับธนาคารแลนด์แอนด์เฮ้าส์ ธนาคารยูโอบี สำหรับธนาคารยูโอบี เสนอสินเชื่อรีไฟแนนซ์ สำหรับลูกค้าที่ยื่นคำขอสินเชื่อ ตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค.-30 ก.ย.63 และจดจำนองหลักประกันกับธนาคารภายในวันที่ 31 ต.ค.63 สินเชื่อรีไฟแนนซ์ (UOB Home Loan) ไม่รวมวงเงินกู้เพิ่มอเนกประสงค์ วงเงินกู้สูงสุด 100% ของราคาประเมิน ขึ้นอยู่กับรายได้ ประเภทของลูกค้า ประเทศและที่ตั้งของหลักประกัน ราคาหลักประกัน และจำนวนสัญญากู้สินเพื่อที่อยูอาศัยของลูกค้า  สำหรับวงเงินกู้อนุมัติตั้งแต่ 5 แสนบาทสูงสุดถึง 50 ล้านบาท ขึ้นอยู่กับที่ตั้งของหลักประกัน โดยมี 4 ทางเลือกให้ลูกค้า ดังนี้ 1.ทำประกันชีวิตคุ้มครองวงเงินสินเชื่อ* ดอกเบี้ยปีที่ 1-3                                 = 2.89% ปีที่ 4 เป็นต้นไป                                 = MRR-1.60% อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี                    = 2.89% ดอกเบี้ยแท้จริงตลอดอายุสัญญา     = 4.60% 2.ไม่ทำประกันชีวิตคุ้มครองวงเงินสินเชื่อ ดอกเบี้ยปีที่ 1-3                                 = 2.99% ปีที่ 4 เป็นต้นไป                                 = MRR-1.60% อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี                    = 2.99% ดอกเบี้ยแท้จริงตลอดอายุสัญญา      = 4.64% 3.ทำประกันชีวิตคุ้มครองวงเงินสินเชื่อ ดอกเบี้ยปีที่ 1-2                                = 1.99% ดอกเบี้ยปีที่ 3                                   = 4.99% ปีที่ 4 เป็นต้นไป                                = MRR-1.60% อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี                   = 2.99% ดอกเบี้ยแท้จริงตลอดอายุสัญญา    = 4.60% 4.ไม่ทำประกันชีวิตคุ้มครองวงเงินสินเชื่อ ดอกเบี้ยปีที่ 1-2                                = 2.09% ดอกเบี้ยปีที่ 3                                   = 5.09% ปีที่ 4 เป็นต้นไป                                = MRR-1.60% อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี                   = 3.09% ดอกเบี้ยแท้จริงตลอดอายุสัญญา    = 4.64% หมายเหตุ *อัตราดอกเบี้ยแบบทำประกันชีวิตคุ้มครองวงเงินสินเชื่อ ผ่านธนาคารยูโอบี ทุนประกันเต็มวงเงินกู้ และมีระยะเวลาเอาประกันขั้นต่ำ 10 ปี หรือ ทุนประกันขั้นต่ำ 80% ของวงเงินกู้ และมีระยะเวลาเอาประกันเต็มตามระยะเวลากู้ -อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา สำหรับวงเงิน 1 ล้านบาท อายุสัญญา 15 ปี MRR = 7.35% ต่อปี อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงข้างต้นเป็นเพียงตัวอย่างที่คำนวณตามเงื่อนไขที่ใช้ในสื่อโฆษณาเท่านั้น  อัตราดอกเบี้ยสำหรับการทำสัญญากู้ยืมของลูกค้าแต่ละรายอาจมีความแตกต่างกันตามเงื่อนไขการกู้ยืมของลูกค้าแต่ละราย -รายละเอียดอื่น ๆ ศึกษากับธนาคารยูโอบี สินเชื่อรีไฟแนนซ์ (UOB Home Loan) รวมวงเงินกู้เพิ่มอเนกประสงค์ วงเงินกู้รีไฟแนนซ์ + ส่วนกู้เพิ่ม ต้องไม่เกิน 95% ของราคาประเมิน ขึ้นอยู่กับรายได้ ประเภทลูกค้า ประเภทและที่ตั้งของหลักประกัน ราคาหลักประกัน จำนวนสัญญากู้สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยของลูกค้า มี 2 ทางเลือกให้กับลูกค้า คือ 1.ทำประกันชีวิตคุ้มครองวงเงินสินเชื่อ ดอกเบี้ยปีที่ 1-3                                = 3.29% ปีที่ 4 เป็นต้นไป                                = MRR-1.60% อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี                   = 3.29% ดอกเบี้ยแท้จริงตลอดอายุสัญญา    = 4.77% 2.ไม่ทำประกันชีวิตคุ้มครองวงเงินสินเชื่อ ดอกเบี้ยปีที่ 1-3                                = 3.49% ปีที่ 4 เป็นต้นไป                                = MRR-1.60% อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี                   = 3.49% ดอกเบี้ยแท้จริงตลอดอายุสัญญา    = 4.85% หมายเหตุ *อัตราดอกเบี้ยแบบทำประกันชีวิตคุ้มครองวงเงินสินเชื่อ ผ่านธนาคารยูโอบี ทุนประกันเต็มวงเงินกู้ และมีระยะเวลาเอาประกันขั้นต่ำ 10 ปี หรือ ทุนประกันขั้นต่ำ 80% ของวงเงินกู้ และมีระยะเวลาเอาประกันเต็มตามระยะเวลากู้ -อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา สำหรับวงเงิน 1 ล้านบาท อายุสัญญา 15 ปี MRR = 7.35% ต่อปี อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงข้างต้นเป็นเพียงตัวอย่างที่คำนวณตามเงื่อนไขที่ใช้ในสื่อโฆษณาเท่านั้น  อัตราดอกเบี้ยสำหรับการทำสัญญากู้ยืมของลูกค้าแต่ละรายอาจมีความแตกต่างกันตามเงื่อนไขการกู้ยืมของลูกค้าแต่ละราย -อัตราดอกเบี้ยนี้สำหรับวงเงินกู้เพิ่มไม่เกิน 50% ของวงเงินกู้รวม ทั้งนี้ ไม่นับรวมวงเงินสินเชื่อเพื่อชำระเบี้ยประกันชีวิตคุ้มครองวงเงินสินเชื่อ -รายละเอียดอื่น ๆ ศึกษาข้อมูลกับธนาคารยูโอบี   บทความที่เกี่ยวข้อง อัพเดทดอกเบี้ยกู้ซื้อบ้าน และคอนโด ประจำเดือนสิงหาคม 63
ส่องตลาดที่อยู่อาศัย…ความท้าทายของการฟื้นตัวหลัง COVID-19

ส่องตลาดที่อยู่อาศัย…ความท้าทายของการฟื้นตัวหลัง COVID-19

COVID-19 ส่งผลให้ตลาดที่อยู่อาศัยที่อ่อนแออยู่แล้ว จากผลกระทบของมาตรการ LTV ในปี 2562 หดตัวลงต่อเนื่องในปี 2563  สะท้อนได้จากผลกระทบใน 2 ประเด็นหลัก คือ    1.ความต้องการ (Demand) ที่ปรับตัวลดลงมาก จากทั้งกำลังซื้อและความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่ลดลงมาก ส่งผลให้ยอดขายและยอดโอนปรับตัวลดลง   2.จำนวนที่อยู่อาศัย (Supply) ที่ปรับตัวลดลง จากการที่ผู้ประกอบการเลื่อนการเปิดโครงการใหม่ออกไป โดยเฉพาะโครงการคอนโดมิเนียม และหันมาพัฒนาโครงการแนวราบมากขึ้น ขณะเดียวกันยังมุ่งเน้นการระบายสต็อกเหลือขายที่ยังอยู่ในระดับสูง   นอกจากนี้  ยังซ้ำเติมให้ยอดขายที่อยู่อาศัยในปีนี้ หดตัวลงต่อเนื่องด้วย ภายหลังจากที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการ LTV ในปี 2562 หากมองภาพตลาดที่อยู่อาศัยในช่วงที่ผ่านมา จะพบว่า ตลาดเข้าสู่ภาวะซบเซาลงอย่างต่อเนื่อง จากภาวะเศรษฐกิจที่หดตัวและกำลังซื้อของต่างชาติที่อ่อนแอลง ผนวกกับมาตรการ LTV ที่มีผลบังคับใช้เมื่อเดือนเมษายนปี 2562 ส่งผลให้ยูนิตขายได้ที่อยู่อาศัยในกรุงเทพฯ และปริมณฑลในปีที่ผ่านมาหดตัวลดลง 17% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน  และต่อเนื่องมาในปีนี้ ครึ่งปีแรกยูนิตขายได้ลดลง 45% การแพร่ระบาดของ COVID-19 ซ้ำเติมให้ตลาดที่อยู่อาศัยหดตัวลงมากขึ้น สะท้อนได้จากข้อมูลของ AREA ที่จำนวนยูนิตขายได้ในครึ่งแรกของปี 2563 ที่หดตัวถึง 45% เมื่อเทียบจากช่วงเดียวกันของปีก่อน  (รูปที่ 1) จากกำลังซื้อที่ปรับลดลงและผลกระทบจากมาตรการ lockdown ที่ส่งผลให้ผู้บริโภคชะลอการออกไปทำกิจกรรมต่าง ๆ นอกบ้าน ขณะที่ยอดขายจากต่างชาติต้องหยุดชะงักลง จากการจำกัดการเดินทางระหว่างประเทศและภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลง   นอกจากนี้ ยอดขายที่ปรับลดลงมาก ยังเป็นผลจากการชะลอการเปิดโครงการใหม่ออกไป ทั้งนี้จะพบว่าอัตราขายได้ในเดือนแรกของโครงการเปิดใหม่[1] (sale rate) ปรับลดลงอย่างต่อเนื่องต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ทั้งในส่วนของคอนโดมิเนียมและแนวราบ โดยเฉลี่ยในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ อัตราขายได้สำหรับคอนโดมิเนียมอยู่ที่ 26% ทาวน์เฮาส์อยู่ที่ 13% บ้านเดี่ยวและบ้านแฝดอยู่ที่ 8% ของจำนวนที่อยู่อาศัยที่เปิดใหม่ทั้งหมดในแต่ละประเภท   หากเปรียบเทียบอัตราขายได้เดือนแรกของโครงการเปิดตัวใหม่ในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ ของกลุ่มบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เทียบกับกลุ่มบริษัทที่ไม่ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ จะพบว่ายอดขายของกลุ่มบริษัทจดทะเบียนมีอัตราการขายที่สูงกว่าโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 17% เทียบกับอัตราการขายของบริษัทที่ไม่จดทะเบียนที่อยู่ที่ 12% (รูปที่ 2)   โดยเป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นของยอดขายจากทั้งโครงการแนวราบและคอนโด จากการที่บริษัทขนาดใหญ่หันมาเน้นเจาะตลาดแนวราบ ขณะเดียวกันเน้นระบายสต็อกคอนโด โดยมีการแข่งขันออกโปรโมชั่น​มากขึ้น   มีการส่งเสริมการขายหลากหลายช่องทาง อาทิ ช่องทางออนไลน์ ซึ่งเป็นช่องทางที่เข้ามามีบทบาทมากขึ้น ประกอบกับชื่อเสียงของแบรนด์ที่มีความน่าเชื่อถือ ส่งผลให้ได้รับการตอบรับที่ดีขึ้น สะท้อนได้จากยอดขายของบริษัทจดทะเบียนในตลาดบางบริษัทที่ประกาศงบการเงินออกมาในไตรมาส 2 ที่ปรับตัวดีขึ้น [1] อัตราขายได้ในเดือนแรกของโครงการที่เปิดตัวใหม่หมายถึง จำนวนที่อยู่อาศัยเปิดใหม่ที่ขายได้ในเดือนแรกที่เปิดตัวต่อจำนวนยูนิตเปิดใหม่ที่ขายทั้งหมด โปรเจ็กต์เปิดตัวใหม่ลดลง 43% สภาวะตลาดที่ปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ผู้ประกอบการชะลอการเปิดโครงการใหม่ออกไป โดยเฉพาะคอนโด  ขณะเดียวกันหันมาเน้นเปิดโครงการแนวราบมากขึ้น โดยเฉพาะทาวน์เฮาส์ที่มีการเปิดตัวเพิ่มขึ้น   ภาวะตลาดที่ชะลอตัวลงต่อเนื่องในปีที่ผ่ามา ส่งผลให้จำนวนยูนิตเหลือขายมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ทำให้ผู้ประกอบการต้องเพิ่มความระมัดระวังในการเปิดโครงการใหม่มากขึ้น แต่จากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ส่งผลให้ผู้ประกอบการเพิ่มความระมัดระวังมากขึ้นไปอีก เห็นได้จากการเลื่อนการเปิดโครงการใหม่ออกไป  โดยเฉพาะในช่วงครึ่งแรกของปี  ที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการ lockdown   โดยช่วง 7 เดือนแรกของปีนี้ มีจำนวนที่อยู่อาศัยเปิดใหม่ปรับลดลงถึง 43% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน มาอยู่ที่ 34,390 ยูนิต (รูปที่ 3) โดยส่วนใหญ่เป็นการปรับลดลงของโครงการคอนโด ซึ่งยังมียูนิตเหลือขายสะสมอยู่ในระดับสูง ขณะเดียวกันหันมาเน้นเปิดโครงการแนวราบมากขึ้น เนื่องจากส่วนใหญ่เป็นตลาดที่เน้นเจาะลูกค้ากลุ่ม real demand   ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ หันมาเปิดโครงการในระดับราคาที่ถูกลง โดยเน้นตลาด affordable (ราคาไม่แพง) มากขึ้น ทั้งนี้ ถ้าดูยูนิตเปิดขายใหม่แยกตามระดับราคา และตามประเภทที่อยู่อาศัย จะเห็นได้ว่าผู้ประกอบการหันมาเปิดโครงการแนวราบ โดยเฉพาะในส่วนของทาวน์เฮาส์มากขึ้น สะท้อนได้จากสัดส่วนของยูนิตเปิดใหม่ที่อยู่ในช่วงระดับราคา 2-3 ล้านที่มีสัดส่วนมากขึ้น (รูปที่ 4) นอกจากนี้ ยูนิตเปิดใหม่ส่วนใหญ่ยังอยู่ในแนวรถไฟฟ้า อาทิ สายสีน้ำเงิน สีเขียว สีเหลือง และพื้นที่รอบนอกกรุงเทพฯ ภาวะซัพพลายส่วนเกินยังคงเป็นประเด็นที่ต้องระมัดระวัง โดยเฉพาะที่อยู่อาศัยประเภทคอนโด ที่ผู้ประกอบการยังต้องเน้นระบายสต็อกส่งผลให้แนวโน้มการแข่งขันด้านราคารุนแรงมากขึ้น โดยเฉพาะราคาคอนโดที่มีแนวโน้มปรับตัวลดลง  แม้ว่าผู้ประกอบการจะมีการปรับตัวโดยชะลอการเปิดโครงการใหม่ ๆ ออกไปค่อนข้างมาก แต่ยูนิตเหลือขายสะสมยังคงอยู่ในระดับค่อนข้างสูง โดยยูนิตเหลือขายที่อยู่อาศัยในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ณ กลางปี 2563 ยังอยู่ในระดับสูงที่ 2.21 แสนยูนิต โดยกว่า 41% เป็นประเภทคอนโด   นอกจากนี้ หากพิจารณาในแง่ของยูนิตเหลือขายตามระดับราคา จะพบว่าส่วนใหญ่เป็นที่อยู่อาศัยที่ราคาต่ำกว่า 3 ล้านบาท โดยยูนิตเหลือขายสะสมของคอนโดที่ระดับราคาต่ำกว่า 3 ล้านบาทยังอยู่ในระดับสูงที่ราว 63,000 ยูนิต หรือคิดเป็นสัดส่วนราว 70% ของยูนิตคอนโดเหลือขายทั้งหมด   แม้ว่าในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ ผู้ประกอบการส่วนใหญ่จะมีการเลื่อนเปิดตัวโครงการใหม่ออกไป ซึ่งส่งผลให้จำนวนยูนิตเหลือขายสะสมของที่อยู่อาศัยบางประเภท อาทิ คอนโดที่ราคามากกว่า 2 ล้านเริ่มปรับลดลงจากในปีที่ผ่านมา แต่อัตราขายได้ต่อเดือนยังมีแนวโน้มปรับลดลง สะท้อนถึงทิศทางตลาดที่ยังมีความเสี่ยงจำนวนซัพพลายส่วนเกิน จากการที่อัตราการขายที่ยังต่ำกว่าการลดลงของยูนิตเปิดใหม่   นอกจากนี้ การที่ผู้ประกอบการส่วนใหญ่หันมาเน้นโครงการแนวราบมากขึ้น ส่งผลให้ยูนิตเหลือขายของโครงการแนวราบบางส่วนเร่งตัวขึ้นด้วย อาทิ ทาวน์เฮาส์ระดับราคา 2-3 ล้านที่มีแนวโน้มเข้ามาในตลาดมากขึ้น (รูปที่ 5 ) ดังนั้น จึงต้องจับตามองภาวะซัพพลายส่วนเกิน โดยเฉพาะที่อยู่อาศัยในกลุ่มราคาระดับต่ำกว่า 3 ล้าน ที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวทางเศรษฐกิจค่อนข้างมาก เนื่องจากเน้นกลุ่มเป้าหมายที่เป็นกลุ่มกำลังซื้อระดับปานกลางถึงต่ำ ที่คาดว่าจะฟื้นตัวอย่างช้า ๆ จากผลกระทบของ COVID-19   ทั้งนี้ ยูนิตเหลือขายสะสมที่ยังอยู่ในระดับค่อนข้างสูง โดยเฉพาะคอนโดระดับราคาต่ำกว่า 3 ล้านบาทส่งผลให้ผู้ประกอบการยังต้องเน้นการเร่งระบายสต็อก และทำให้การแข่งขันด้านราคารุนแรงมากขึ้น สะท้อนได้จากแนวโน้มการปรับตัวลดลงของราคาคอนโด จากฐานข้อมูลการโอนกรรมสิทธิ์จากนิติบุคคลซึ่งสะท้อนถึงการโอนที่อยู่อาศัยใหม่ โดยในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ ราคาคอนโดปรับลดลงประมาณ10% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน   นอกจากนี้ EIC ยังได้วิเคราะห์ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงราคาคอนโด จากฐานข้อมูลอสังหาฯ ที่ประกาศใน website Hipflat พบว่า ราคาต่อตารางเมตรที่ประกาศขายมีแนวโน้มชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2561 จากค่าเฉลี่ยในช่วงปี 2554-2562 ที่เพิ่มขึ้นราว 3% ต่อปี ล่าสุด ในไตรมาส 1 ปีนี้ เพิ่มขึ้นเพียง 1.7% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน   ขณะที่ราคาคอนโดในตลาดต่างจังหวัดเริ่มเห็นตัวเลขของราคาที่ปรับตัวลดลง 1.8% (รูปที่ 6) สะท้อนถึงภาวะซัพพลายส่วนเกิน ที่ยังมีแนวโน้มกดดันให้ราคาที่อยู่อาศัย โดยเฉพาะคอนโดที่ยังมีแนวโน้มปรับตัวลดลงต่อไปอีกระยะหนึ่งจนกว่าตลาดจะเริ่มกลับมาฟื้นตัวดีขึ้นในระยะ 2 ปีข้างหน้า ยูนิตขายได้ลดลง 29% สภาวะตลาดที่มีทิศทางหดตัวลงอย่างมากจากผลกระทบของ COVID-19 ส่งผลให้ EIC คาดการณ์จำนวนยูนิตขายได้ที่อยู่อาศัยในปีนี้ลดลง 29%   แม้ว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ล่าสุดในไทยจะปรับตัวดีขึ้นเป็นลำดับ จนส่งผลให้ภาครัฐมีการผ่อนคลายมาตรการ lockdown ค่อนข้างมากแล้ว แต่จากผลกระทบทางเศรษฐกิจที่รุนแรงทำให้เศรษฐกิจไทยเข้าสู่ภาวะถดถอย กำลังซื้อผู้บริโภคปรับลดลงอย่างรุนแรง ซึ่ง EIC คาดการณ์เศรษฐกิจไทยปีนี้ จะหดตัวลดลง 7.3% (ณ มิถุนายน 2563)   โดยคาดว่าการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจะเป็นไปอย่างช้า ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความต้องการในภาคอสังหาฯ ที่ต้องอาศัยระยะเวลา กว่าผู้บริโภคจะมีความเชื่อมั่น และสามารถซ่อมแซมงบดุลของตน รวมทั้งสะสมความมั่งคั่งให้กลับมาดังเดิม  แม้ว่าภายหลังการผ่อนคลาย lockdown อาจจะมีกลุ่ม real demand บางส่วนที่ได้รับผลกระทบน้อย อาจกลับมาฟื้นตัวดีขึ้น สะท้อนจากยอดขายที่อยู่อาศัยแนวราบของผู้ประกอบการรายใหญ่ที่ค่อย ๆ ปรับตัวดีขึ้น   แต่โดยรวม EIC มองว่ายอดขายที่อยู่อาศัยในช่วงที่เหลือของปีนี้ ยังฟื้นตัวอย่างช้าๆ และยังอยู่ในภาวะซบเซา ส่งผลให้คาดการณ์จำนวนยูนิตขายได้ในปีนี้​ คาดว่าจะหดตัวลดลง 29% (รูปที่ 7) จากในช่วงครึ่งแรกของปีที่หดตัวลดลง 45% จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่ามา คาดโอนที่อยู่อาศัยหดตัว 7% EIC คาดการณ์มูลค่าโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยปีนี้ ลดลง 7% จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา  หากดูภาพรวมการโอนที่อยู่อาศัย จะเห็นทิศทางการปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่มีการบังคับใช้มาตรการ LTV ตั้งแต่เดือนเมษายนปี 2562 และต่อเนื่องมาถึงปี 2563  โดยยูนิตโอนที่อยู่อาศัยในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ในช่วงครึ่งแรกของปีนี้หดตัวลดลง 6.3% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน  และมีมูลค่าการโอนลดลง 5.2% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน   ทั้งนี้ ยอดโอนที่ยังไม่ติดลบมากนัก ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการโอนคอนโดมิเนียมที่มาจากสัญญาซื้อขายในช่วง 1-2 ปีก่อนหน้า โดยเฉพาะในช่วงปี 2561 ที่มียูนิตขายได้ของคอนโดที่สูงถึง 69,352 ยูนิต โดยคอนโดที่สร้างในปีดังกล่าว จะเริ่มทยอยสร้างเสร็จและพร้อมโอนได้ในช่วงปีนี้ รวมถึงจากผลของมาตรการกระตุ้นตลาดอสังหาฯ ของภาครัฐเพื่อบรรเทาผลกระทบจากมาตรการ LTV อาทิ การลดค่าธรรมเนียมการโอนและจดจำนอง โครงการบ้านดีมีดาวน์ และมาตรการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ซึ่งดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2562 และหลายมาตรการยังมีผลบังคับใช้ต่อเนื่องมาจนถึงในปีนี้   โดย EIC มองว่าแม้สถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 จะเริ่มคลี่คลาย แต่ภาวะเศรษฐกิจที่หดตัวลงแรงทำให้แนวโน้มการทิ้งดาวน์ (cancellation) มีโอกาสเร่งตัวสูงขึ้น จากโดยเฉลี่ยที่อยู่ที่ราว 20-25% เพิ่มขึ้นมาเป็น 30-40% ของยอดพรีเซลล์ทั้งหมด ประกอบกับการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงินที่ยังมีความเข้มงวด สะท้อนได้จากยอดสินเชื่อที่อยู่อาศัยปล่อยใหม่ในช่วงครึ่งแรกของปี 2020 ที่หดตัวที่ลดลง 14% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน  ทำให้คาดว่ายอดโอนกรรมสิทธิ์ในช่วงที่เหลือของปีนี้ ยังมีแนวโน้มหดตัว ส่งผลให้มูลค่าโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยทั้งปี  คาดว่าจะหดตัวลดลง 7%  เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนมาอยู่ที่ 8.7 แสนล้านบาท (รูปที่ 8) ตลาดอสังหาฯ ฟื้นตัวเร็วสุดปี 65 COVID-19 ส่งผลให้ธุรกิจอสังหาฯ ที่อยู่อาศัยชะลอตัวลงมาก และการฟื้นตัวคงต้องอาศัยระยะเวลาค่อนข้างยาวนาน โดย EIC คาดการณ์ว่ายอดขายของผู้ประกอบการจะกลับมาสู่ระดับก่อนเกิด COVID-19 ได้อย่างเร็วในปี 2565   เนื่องจาก COVID-19 ส่งผลกระทบโดยตรงต่อกำลังซื้อของผู้บริโภคเป็นวงกว้าง ไม่เจาะจงแต่เฉพาะกลุ่มผู้มีรายได้น้อยเท่านั้น แม้สถานการณ์การแพร่ระบาดจะทยอยปรับตัวดีขึ้น แต่กำลังซื้อและความเชื่อมั่นของผู้บริโภค ยังคงต้องอาศัยระยะเวลาในการปรับตัว กว่าที่จะส่งผลบวกมายังตลาดที่อยู่อาศัย  อีกทั้งผลกระทบจากมาตรการ LTV ยังส่งผลให้ผู้บริโภค ยังต้องอาศัยระยะเวลาในการสะสมความมั่งคั่งและเงินดาวน์ ก่อนที่จะกลับมาซื้อที่อยู่อาศัย   ทั้งนี้ EIC ประเมินว่ายอดขายที่อยู่อาศัยจะกลับมาใกล้เคียงกับระดับยอดขายในปี 2562 ซึ่งเป็นช่วงก่อนเกิด COVID-19 ได้ ในช่วงครึ่งหลังของปี 2565 โดยกลุ่มกำลังซื้อระดับกลางถึงบน จะเป็นกลุ่มที่นำการฟื้นตัวของตลาด โดยโครงการแนวราบน่าจะยังเป็นตลาดที่มีสัดส่วนหลัก เนื่องจากตอบโจทย์กลุ่ม real demand ที่อยู่อาศัยจริงมากที่สุด ขณะที่กลุ่มกำลังซื้อน้อยคาดว่าจะฟื้นตัวอย่างช้า ๆ เช่นเดียวกันกับยอดขายต่างชาติ ที่คาดว่ายังไม่กลับมาฟื้นตัวได้ในระยะเวลาอันใกล้ เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจโลกที่ยังมีทิศทางชะลอตัวลง   นอกจากนี้ ยังคงต้องจับตามองปัจจัยอื่น ๆ ที่จะส่งผลกระทบต่อตลาด อาทิ นโยบายกระตุ้นอสังหาฯ จากภาครัฐ นโยบายสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำจากสถาบันการเงินของรัฐ ความคืบหน้าโครงการรถไฟฟ้าเส้นทางใหม่ ๆ รวมถึง ภาษีที่ดินที่แม้ว่าภาครัฐจะผ่อนปรนลดภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างลง 90% ในปีนี้ แต่คาดว่าจะส่งผลเพียงในระยะสั้น แต่ในระยะยาวภาระภาษีที่ดินยังคงเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทั้งผู้ซื้อและผู้ขายอสังหาฯ ต้องนำมาพิจารณาก่อนการตัดสินใจซื้อหรือพัฒนาโครงการในอนาคต 4 แนวทางปรับตัวรับชีวิตหลัง COVID-19 ผู้ประกอบการธุรกิจอสังหาฯ ที่อยู่อาศัย ควรต้องปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ เพื่อให้ตอบโจทย์พฤติกรรมผู้บริโภคและไลฟ์สไตล์ที่เปลี่ยนแปลงไป ทั้งในแง่ของ 1.ช่องทางการขาย online เสริมความสะดวกผู้ซื้อ เครื่องมือสำคัญที่ใช้ในการทำการตลาด การแพร่ระบาดของ COVID-19 เป็นปัจจัยผลักดันให้เทคโนโลยีรวมถึงดิจิทัลแพลตฟอร์มต่าง ๆ เข้ามามีบทบาทต่อการซื้อขายที่อยู่อาศัยมากขึ้น ตั้งแต่การเลือกซื้อบ้านผ่านทางช่องทาง online ที่ได้รับการยอมรับมากขึ้น โดยจะเป็นช่องทางเสริมในการเข้าถึงผู้บริโภคเนื่องจากผู้บริโภคสามารถเปรียบเทียบโครงการต่าง ๆ ได้พร้อม ๆ กันหลายโครงการโดยไม่ต้องตระเวนไปทุกโครงการ นอกจากนี้ การนำเอาเทคโนโลยีต่าง ๆ อย่างเช่น AR VR รวมถึงการ live ยังมีส่วนช่วยกระตุ้นความสนใจของผู้บริโภคอีกด้วย 2.โครงการใหม่จะเน้นความคุ้มค่า รับกำลังซื้อที่ลดลง แข่งกับตลาดมือสอง ในการพัฒนาโครงการใหม่ ๆ ผู้ประกอบการจะเน้นความคุ้มค่าเพื่อให้สอดคล้องกับกำลังซื้อและความสามารถในการซื้อบ้านที่ลดลง อีกทั้งยังต้องแข่งขันกับอุปทานบ้านมือสองที่คาดว่าจะมีทรัพย์สินที่รอการขาย (Non Performing Asset) เข้ามาในตลาดมากขึ้นจากผลกระทบของ COVID-19 ที่คาดว่าจะทำให้เกิดหนี้เสียในตลาดที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้น 3.Work From Home ส่งผลให้ผู้บริโภค ให้ความสำคัญกับปัจจัยด้านทำเลและพื้นที่ใช้สอยที่ ตอบโจทย์ การเลือกทำเลที่เดิมอาจเป็นปัจจัยหลักในการเลือกที่อยู่อาศัย แต่แนวโน้มผู้บริโภคอาจให้น้ำหนักความสำคัญของพื้นที่ใช้สอยในการพิจารณาเลือกที่อยู่อาศัยมากขึ้น เนื่องจากผู้บริโภคมีแนวโน้มที่จะใช้เวลาอยู่ในบ้านมากขึ้น กระแสการ Work Fom Home ส่งผลให้ผู้บริโภคอาจต้องการบ้านที่มีพื้นที่ใช้สอยมากขึ้นภายใต้งบประมาณเดิม ส่งผลให้ที่อยู่อาศัยประเภททาวน์เฮาส์ซึ่งมีพื้นที่ใช้สอยมากกว่าคอนโดในเมือง แต่อาจอยู่ทำเลห่างออกไปเล็กน้อยแต่ยังอยู่ในทำเลใกล้กับโครงข่ายรถไฟฟ้าเส้นต่าง ๆ อาจได้รับความสนใจมากขึ้นเนื่องจากการขยายโครงข่ายส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าเส้นทางใหม่ ๆ ที่มีความครอบคลุมและครบวงจรจะส่งผลให้การเดินทางมีความสะดวกรวดเร็วมากขึ้น 4.รูปแบบของการพัฒนาโครงการ ที่ต้องตอบโจทย์เทรนด์ผู้บริโภคยุคใหม่ อาทิ ด้านสุขภาพและสุขอนามัย การออกแบบโครงการในอนาคตต้องตอบโจทย์วิถีชีวิตในรูปแบบใหม่ ส่งผลให้รูปแบบโครงการที่จะตอบโจทย์ความต้องการในอนาคตต้องปรับเปลี่ยนไป อาทิ การออกแบบที่ตอบโจทย์ Work From Home เช่นการออกแบบให้มีพื้นที่โล่ง ที่ผู้ซื้อสามารถปรับแต่งตามไลฟ์สไตล์ และรูปแบบที่ต้องการใช้งานได้มากขึ้น หรือแม้แต่การออกแบบที่เน้นการประหยัดพลังงาน เนื่องจากผู้อยู่อาศัยต้องใช้ชีวิตในบ้านมากขึ้น และการพัฒนาโครงการจะต้องคำนึงถึงความปลอดภัย และสุขลักษณะที่ดีในการอยู่อาศัยมากขึ้น อย่างเช่น การนำเอาเทคโนโลยีที่ไร้การสัมผัส (untouch) มาประยุกต์ใช้ในพื้นที่ส่วนกลางต่าง ๆ ให้มากที่สุด อาทิ การเปิดปิดประตูและลิฟท์ที่ใช้ระบบการสแกน key card ต่าง ๆ
THER LADPRAO 93 ทาวน์โฮมหรู บนถนนลาดพร้าว

THER LADPRAO 93 ทาวน์โฮมหรู บนถนนลาดพร้าว

THER LADPRAO 93 ทาวน์โฮมหรูทำเลดี ย่านลาดพร้าว THER LADPRAO 93 ทาวน์โฮมหรูขนาด 3 ชั้นครึ่ง บนถนนลาดพร้าว โครงการบ้านทาวน์โฮมใหม่ล่าสุดจาก แพทโก้ กรุ๊ป ปักหมุดทำเลใจกลางลาดพร้าว "THER LADPRAO 93" จัดเป็นทาวน์โฮมระดับ Luxury ที่มาพร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกมากมาย เดินทางสะดวก ชูจุดเด่นโครงการแสนอบอุ่น ที่ใส่ใจในทุกการออกแบบบนความพิเศษ โอบล้อมด้วยผืนไม้ใหญ่ที่ร่มรื่นชวนคำนึงถึง เพื่อเติมเต็มความสุขในทุกวินาทีของชีวิต ให้แก่คุณและคนที่คุณรัก พร้อมใส่ใจความปลอดภัย เพิ่มสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน ตอบโจทย์การสร้างครอบครัว  ที่มองหาบรรยากาศที่อยู่อาศัยยุคใหม่ ในความหมายที่แตกต่างจากเดิมๆ   THER LADPRAO 93 บ้านของฉัน.. คือ 'เธอ' ตัวโครงการออกแบบภายใต้แนวคิด "บ้านของฉัน..คือ เธอ" เพราะบ้านเป็นดังสิ่งที่เข้ามาเติมเต็มชีวิต และทำให้พื้นที่แสนอบอุ่นของเรากลายเป็นคำว่า “บ้าน”  เน้น 7 หัวใจหลักของโครงการ ตอบโจทย์ความต้องการของผู้อาศัยได้มากที่สุด คือ TRUST ไว้วางใจด้วยระบบรักษาความปลอดภัย, CONFIDE พื้นที่โปร่งโล่ง สบายตา สบายใจ, SPACE พื้นที่ส่วนตัว เติมเต็มสไตล์ในแบบของตนเอง, ENCOURAGE พื้นที่สีเขียว รับลมและเติมเต็มพลังในแต่ละวัน, CARE ใส่ใจทุกความต้องการ, TIME ออกแบบพื้นที่ให้ใช้เวลากับคนที่คุณรัก และ MAKING THE FUTHER ต่อยอดอนาคต ด้วยพื้นที่ใช้สอยอเนกประสงค์   รายละเอียดโครงการ THER LADPRAO 93 ลักษณะโครงการ: เป็นทาวน์โฮม 3.5 ชั้น จำนวนทั้งหมด 84 ยูนิต บนพื้นที่โครงการขนาด 8 ไร่ พื้นที่ใช้สอยประมาณ 244.54 ตร.ม. และเนื้อที่บ้านเริ่มต้นตั้งแต่ 22.1 – 43.9 ตร.ว. ที่จอดรถ : 2 – 3 คัน สิ่งอำนวยความสะดวก: คลับเฮ้าส์, สระว่ายน้ำ, ฟิตเนส, ห้องรับรอง และสวนสาธารณะ ระบบรักษาความปลอดภัย: เข้า-ออกระบบ Key Card Access, กล้องวงจรปิด CCTV และระบบรักษาความปลอดภัยตลอด 24 ชม. ราคาเริ่มต้น: 8.9 ล้านบาท   โครงการ THER LADPRAO 93 มีแบบบ้านให้เลือก 3 แบบ คือ GATHER ที่ดินเริ่มต้น 22.1 ตร.ว. พื้นที่ใช้สอย 221-223 ตร.ม. 3 ห้องนอน 4 ห้องน้ำ ที่จอดรถ 2 คัน   ALTOGETHER ที่ดินเริ่มต้น 24.2 ตร.ว. พื้นที่ใช้สอย 244-246 ตร.ม. 4 ห้องนอน 4 ห้องน้ำ ที่จอดรถ 2 คัน   FURTHER ที่ดินเริ่มต้น 28.5 ตร.ว. พื้นที่ใช้สอย 282-284 ตร.ม. 4 ห้องนอน 5 ห้องน้ำ ที่จอดรถ 3 คัน   สนใจโครงการลงทะเบียน https://www.therladprao93.com  
บริทาเนียปั้น 3 แบรนด์ใหม่ บุกตลาดแนวราบสร้างรายได้ 4,500 ล้าน

บริทาเนียปั้น 3 แบรนด์ใหม่ บุกตลาดแนวราบสร้างรายได้ 4,500 ล้าน

บริทาเนีย ชู 3 กลยุทธ์ สร้างรายได้ 4,500 ล้าน เปิดตัว 3 แบรนด์ใหม่ ขยายตลาดครบทุกเซ็กเมนต์ ตั้งแต่ 2-35 ล้านบาท มั่นใจตลาดเรียลดีมานด์เติบโตสูง ลูกค้าซื้ออยู่จริงรับวิถีชีวิตยุค New Normal   ท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่ผ่านมา ส่งผลทำให้ตลาดอสังหาริมทรัพย์ โดยเฉพาะคอนโดมิเนียม ผู้ประกอบการส่วนใหญ่แทบไม่เปิดตัวโครงการใหม่ออกมาทำตลาด เพราะสต็อกสินค้าเดิมยังมีเหลืออยู่ในพอร์ตจำนวนมาก ทำให้ดูจะเป็นการเสี่ยงหากเปิดตัวโครงการใหม่ และไม่สามารถสร้างยอดขายให้ได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ ซึ่งยังอาจจะเป็นการแบกรับภาระต้นทุนอีกจำนวนมาก เพราะการพัฒนาโครงการคอนโด หากเป็นโครงการประเภทอาคารสูง ต้องใช้ระยะเวลา 2-3 ปีกว่าจะก่อสร้างแล้วเสร็จ   ท่ามกลางภาวะที่ผู้บริโภคส่วนใหญ่มีความกังวลใจ ทั้งเรื่องการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ภาวะเศรษฐกิจโดยรวม ทำให้ผู้ประกอบการต้องระมัดระวังในการทำธุรกิจมากขึ้น  เพราะกำลังซื้อส่วนหนึ่งหายไปอย่างแน่นอน ทำให้ช่วงที่ผ่านมา การทำตลาดในกลุ่มที่อยู่อาศัยประเภทคอนโด จึงเน้นในเรื่องแคมเปญการส่งเสริมการขาย การลดราคาสินค้า กระตุ้นให้ลูกค้าซื้อโครงการที่มีอยู่ เพื่อจะได้แปลงจากสต็อกกลับมาเป็นรายได้เข้าบริษัท  เพราะโครงการปัจจุบันส่วนใหญ่จะเป็นโครงการพร้อมอยู่ นอกจากการมุ่งระบายสต็อก โครงการคอนโดพร้อมอยู่แล้ว สิ่งหนึ่งที่ผู้ประกอบการทำ คือ การหันมามุ่งเน้นทำตลาดแนวราบกันมากขึ้น เพราะเป็นตลาดที่มีความต้องการที่แท้จริง ประกอบกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่นำมาสู่ New Normal หรือความปกติใหม่ และการทำงานจากที่บ้าน หรือ Work From Home พนักงานที่เคยทำงานในออฟฟิศ ต้องทำงานจากที่บ้าน ต้องการใช้พื้นที่ของบ้านมากขึ้น ซึ่งการพักอาศัยอยู่ในคอนโด ไม่ตอบโจทย์แน่นอน ทำให้ช่วงที่ผ่านมาตลาดบ้านแนวราบจึงเติบโตเพิ่มมากขึ้น   โดยพบว่าช่วงที่ผ่านมาตลาดบ้านแนวราบยังมีอัตราการเติบโต ท่ามกลางภาวะปัจจัยลบ แม้จะเติบโตเพียงเล็กน้อย ในอัตรา 0.03% แต่หากเปรียบเทียบกับตลาดคอนโด ถือว่าทำได้ดีกว่าเพราะตลาดคอนโด ลดลงในอัตรา 6.5% ซึ่งแนวโน้มการชะลอตัวของตลาดคอนโด  เริ่มเกิดขึ้นมาตั้งแต่ปีที่ผ่านมา หลังการบังคับใช้มาตรการ LTV  ทำให้กลุ่มลูกค้าที่ซื้อคอนโด ถูกปฏิเสธการขอสินเชื่อจากสถาบันการเงินด้วย   นางศุภลักษณ์ จันทร์พิทักษ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บริทาเนีย จำกัด  เปิดเผยว่า ตลาดแนวราบถือว่าเป็นตลาด Real Demand และตอบโจทย์การใช้ชีวิตในยุค New Normal ทำให้ตลาดแนวราบมีผู้ประกอบการเข้ามาทำตลาดกันจำนวนมาก ซึ่งแผนธุรกิจของบริษัทในปีนี้ วางแผนการเปิดตัวโครงการใหม่ 10 โครงการ โดยเปิดตัวโครงการใหม่ไปแล้ว 2 โครงการ ในช่วงไตรมาสแรกที่ผ่านมา ส่วนที่เหลือจะเปิดตัวอีก 8 โครงการใหม่ มูลค่ารวม 8,800 ล้านบาท โดยบริษัทได้เปิดตัวโครงการบ้านแบรนด์ใหม่อีก 3 แบรนด์เพื่อให้สามารถเข้าถึงลูกค้าในเซ็กเมนท์ที่หลากหลายมากขึ้น ได้แก่ เบลกราเวีย (Belgravia) เป็นแบรนด์บ้านเดี่ยวลักชัวรี่ ราคา 15-35 ล้านบาท แกรนด์ บริทาเนีย (Grand Britania) เป็นแบรนด์บ้านเดี่ยวและบ้านแฝดระดับพรีเมียม ราคา 7-15 ล้านบาท และไบรตัน (Brighton) เป็นแบรนด์บ้านแฝดและทาวน์โฮม ราคา 2-5 ล้านบาท   การเพิ่มจำนวนแบรนด์และระดับราคา ถือเป็นหนึ่งในสามกลยุทธ์สำคัญของการทำตลาดในปีนี้ คือ การขยายเซ็กเมนท์ (Segment Expansion) จากเดิมที่เจาะตลาดกลุ่ม Middle Income ด้วยบ้านแบรนด์บริทาเนียราคา 3-7 ล้าน นอกจากนี้ ยังมีอีก 2 กลยุทธ์สำคัญ คือ ขยายทำเลในการเจาะตลาด (Area Expansion) จากเดิมที่ทำตลาดโซนตะวันออก และเริ่มขยายอาณาจักรสู่บริเวณตอนเหนือของกรุงเทพฯ ตั้งแต่ปลายปีที่ผ่านมา บริษัทจะเดินหน้าบุกทำเลใหม่ๆ ที่มีศักยภาพในการเติบโตทุกโซนรอบกรุงเทพฯและปริมณฑล อาทิ ราชพฤกษ์ ฯลฯ   กลยุทธ์ขยายนวัตกรรมการอยู่อาศัย (Living Solutions Expansion) เพิ่มสิ่งอำนวยความสะดวกใหม่ๆ เพื่อเติมเต็มการใช้ชีวิตที่สมบูรณ์กว่าเดิม สามารถใช้ชีวิตได้อย่างอัจฉริยะ ด้วยการนำเทคโนโลยี และนวัตกรรมใหม่ๆ มาจัดการการใช้ชีวิต ให้สะดวกง่ายดายมากยิ่งขึ้น เชื่อมต่อระบบการสื่อสารไร้สาย เพื่อตอบสนองการใช้ชีวิต พร้อมของคนยุคใหม่ โดยมีการพัฒนาจาก B Genius Mode นางศุภลักษณ์ กล่าวอีกว่า ในปีนี้บริษัทตั้งเป้าหมายรายได้ไว้ 4,500 ล้านบาท ปัจจุบันมีรายได้แล้ว 2,000 ล้านบาท และตั้งยอดขายไว้ 8,000 ล้านบาท ปัจจุบันมียอดขายแล้ว 4,000 ล้านบาท  ซึ่งผลการดำเนินงานปัจจุบันถือว่า สามารถเพิ่มสัดส่วนรายได้จากช่วงเริ่มต้นธุรกิจในปี 2560 ซึ่งมีสัดส่วนเลขตัวเดียว ขึ้นมาเป็น 30% ของรายได้รวมของกลุ่มออริจิ้น ซึ่งปัจจุบันบริษัทยังไม่มีแผนปรับเป้าหมายรายได้ เนื่องจากเชื่อว่าในช่วงปลายปีหากตลาดกลับมาฟื้นตัว จะสามารถทำผลประกอบการได้ตามเป้าหมายที่วางไว้แน่นอน   ตัวเลขรายได้ของเราจากเลขตัวเดียว กลายมาเป็น 30% ภายใน 2 ปีกว่า ถือว่าเป็นการตัดสินใจได้เร็ว และมาในจังหวะที่ตลาดมีดีมานด์ เพราะตลาดแนวราบตอบโจทย์วิถีชีวิตยุค New Normal
ภาษีที่ดิน ใครต้องจ่าย จ่ายเท่าไหร่ จ่ายที่ไหน และใครได้ประโยชน์

ภาษีที่ดิน ใครต้องจ่าย จ่ายเท่าไหร่ จ่ายที่ไหน และใครได้ประโยชน์

ภาษีที่ดิน เป็นภาระจำเป็นที่เจ้าของอสังหาริมทรัพย์ต้องรับผิดชอบชำระ ซึ่งก่อนหน้านี้หลายคนคงได้รับ “ใบแจ้งการชำระภาษีที่ดิน” กันมาระยะหนึ่งแล้วและประเด็นเกี่ยวกับ “ภาษีที่ดิน” ก็ถูกนำกลับมาพูดถึงกันอีกครั้งในแวดวงอสังหาฯ ทำเอาเจ้าของที่ดิน บ้านหรือห้องชุดมีเครื่องหมายคำถามในหัวกันอีกครั้งว่าจะต้องเตรียมตัวเสียภาษีกันอย่างไร เพราะใกล้ได้เวลาครบกำหนดชำระเข้าไปทุกที   เนื่องจากภาษีที่ดินนี้เป็นประกาศใหม่ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ปีที่แล้ว อีกทั้งยังมีอัตราภาษีและเงื่อนไขที่หลากหลาย  ทำเอาหลาย ๆ คนมองว่าเป็นเรื่องยากที่จะเข้าใจ และเกิดคำถามต่าง ๆ มากมาย ทั้งเรื่องใครต้องเสียภาษีบ้าง? เสียเท่าไร? ถ้ามีบ้านมากกว่าหนึ่งหลังจะเสียภาษีอย่างไร? มีข้อยกเว้นอย่างไรบ้าง? และสุดท้ายใครได้ประโยชน์จากภาษีนี้ นางกมลภัทร แสวงกิจ ผู้จัดการใหญ่ประจำประเทศไทยของดีดีพร็อพเพอร์ตี้ เปิดเผยว่า แม้ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างใหม่ จะไม่ส่งผลกระทบกับคนทั่วไป ที่มีบ้านหรือคอนโดมิเนียมสำหรับอยู่อาศัยเองเพียงหลังเดียว ในราคาไม่เกิน 50 ล้านบาท แต่จะกระทบกับกลุ่มคนที่มีบ้านหรือคอนโดหลังที่สอง หรือมีอสังหาริมทรัพย์ปล่อยเช่า รวมทั้งผู้ที่ถือครองไว้โดยไม่ได้ทำประโยชน์  คนกลุ่มนี้จะต้องชำระภาษีตาม พ.ร.บ. ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างปี 2562     การคำนวณภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างใหม่ ถือว่าไม่ใช่เรื่องยาก และเจ้าหน้าที่ก็เป็นผู้ประเมินภาษีให้ด้วย  แต่การรู้วิธีคิดเพื่อคำนวณภาษีที่ต้องจ่ายล่วงหน้า ถือเป็นเรื่องที่ควรจะรู้ไว้ เพื่อวางแผนค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับอสังหาฯ  ของตัวเอง โดย ดีดีพร็อพเพอร์ตี้ ได้สรุปรายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูลที่ผู้เสียภาษีที่ดินสำหรับกลุ่มที่อยู่อาศัยที่ควรรู้ ดังนี้ ภาษีที่ดิน คืออะไร อันดับแรก เรามาย้ำความเข้าใจว่าภาษีที่ดินที่ต้องชำระคืออะไรกันอีกที ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง คือ ภาษีที่ผู้ครอบครองอสังหาฯ ไม่ว่าจะเป็นเจ้าของบ้าน ที่ดิน คอนโด หรือสิ่งปลูกสร้างใด ๆ ทั้งที่ใช้และไม่ได้ใช้ประโยชน์  ต้องเสียให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ซึ่งอสังหาฯ นั้นตั้งอยู่ โดยภาษีที่ชำระให้กับ อปท. ดังกล่าว จะถูกนำไปใช้ในการพัฒนาท้องถิ่นนั้น ๆ   โดยภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างถูกประกาศเมื่อเดือนมีนาคม 2562 ที่ผ่านมา และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ต้นปี 2563 เป็นต้นไป เพื่อทดแทนภาษีโรงเรือนและภาษีบำรุงท้องที่ฉบับเก่าที่ใช้มานานหลายสิบปี โดยการชำระภาษีตามประกาศใหม่ครั้งแรกนี้ เลื่อนมาเป็นภายในเดือนสิงหาคม 2563 จากเดิมต้องเสียภาษีภายในเดือนเมษายน 2563 และเพื่อช่วยลดภาระของประชาชนจากผลกระทบการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 รัฐบาลยังได้ออกมาตรการลดภาษีสำหรับที่อยู่อาศัยถึง 90% อีกด้วย   โดยประเภทของทรัพย์สินที่จะเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง แบ่งออกเป็น ประเภทเกษตรกรรม ที่อยู่อาศัย และอื่น ๆ (ซึ่งรวมประเภทพาณิชยกรรม อุตสาหกรรม และที่ดินรกร้างด้วย) ดังตารางสรุปด้านล่างนี้ ภาษีที่ดิน ใครจะเป็นผู้รับผิดชอบ  สำหรับกลุ่มที่อยู่อาศัย และการจัดการปัญหาเกี่ยวกับรายละเอียดในจดหมายภาษีที่ดิน   สิ่งที่ต้องพิจารณาอันดับแรกเลยคือ คุณมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านหรือไม่? ถ้าไม่มีชื่อในทะเบียนบ้านจะถูกนับเป็นบ้านหลังรอง กรณีนี้ไม่ว่าราคาประเมินจะเท่าไหร่ก็ต้องเสียภาษี แต่หากมีชื่อในทะเบียนบ้าน (บ้านหลังหลัก) ก็ต้องมาดูต่อว่า เป็นสิ่งปลูกสร้างอย่างเดียว หรือเป็นที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง   ถ้าเป็นสิ่งปลูกสร้างอย่างเดียว (บ้านเราแต่ไปสร้างบนที่ดินคนอื่น) กรณีราคาประเมินน้อยกว่า 10 ล้านบาท ไม่ต้องเสียภาษี ส่วนกรณีมากกว่า 10 ล้านบาท จะต้องเสียภาษี และถ้าเป็นที่ดินและบ้านหลังหลัก กรณีราคาประเมินน้อยกว่า 50 ล้านบาท ไม่ต้องเสียภาษี ส่วนกรณีมากกว่า 50 ล้านบาท จะต้องเสียภาษี ปัญหาที่พบในจดหมายแจ้งภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ส่วนใหญ่จะพบว่า ข้อมูลที่ระบุมาไม่ถูกต้องตามความเป็นจริง เช่น ขนาดพื้นที่ไม่ถูกต้อง ประเภทการใช้สอยไม่ถูกต้อง ชื่อของเจ้าของบ้านไม่ถูกต้อง เป็นต้น สิ่งที่ต้องรู้ก็คือ การยื่นเรื่องแก้ไขข้อมูลเหล่านี้ต้องทำให้เสร็จสิ้นภายใน 15 วันหลังจากจดหมายแจ้งฯ ส่งถึงผู้รับ ไม่เช่นนั้นจะถือว่าข้อมูลถูกต้องแล้ว จะไปแก้ไขหลังจากนั้นก็ยังไม่มีรายละเอียดว่าทำได้หรือไม่ และทำได้อย่างไร   โดยในจดหมายที่ได้รับจะมีคิวอาร์โค้ด (QR Code) สำหรับการแจ้งขอเปลี่ยนแปลงข้อมูลอยู่ ซึ่งหลังจากแก้ไขมาเรียบร้อยแล้วก็อย่าลืมตรวจสอบอย่างละเอียดอีกครั้ง หากยังมีจุดผิดก็ต้องยื่นเรื่องแก้ไขกันอีก แต่คาดว่าจะดำเนินการได้รวดเร็วกว่าการแจ้งครั้งแรก เพราะมีข้อมูลพร้อมเอกสารต่าง ๆ อยู่ก่อนแล้ว ข้อแตกต่าง หลักการคำนวณภาษีบ้านและคอนโด ที่ควรรู้ ต่อมาประเด็นที่หลายคนตั้งคำถาม สำหรับการประเมินว่าจะต้องเสียภาษีหรือไม่ และจำนวนเงินเท่าไรที่ต้องชำระ โดยในครั้งนี้เราจะเน้นไปที่ ภาษีของบ้านและคอนโด  ที่มีวิธีคิดและหลักการคำนวณที่แตกต่างกันออกไป ดังนี้ หลักการคำนวณภาษีบ้าน การคำนวณภาษีจะแบ่งเป็น 2 กรณี ได้แก่ กรณีที่เป็นเจ้าของทั้งที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง กับกรณีที่เป็นเจ้าของเฉพาะสิ่งปลูกสร้างเท่านั้น และเงื่อนไขของทั้ง 2 กรณีก็คือ ผู้ที่เป็นเจ้าของจะต้องมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านด้วย วิธีการคิดภาษีจะวัดตามการประเมินมูลค่าซึ่งมีรายละเอียดดังนี้ กรณีที่ 1: บ้าน (สิ่งปลูกสร้างพร้อมที่ดิน) บ้านพร้อมที่ดิน มูลค่าต่ำกว่า 50 ล้านบาท ได้รับการยกเว้น ไม่ต้องเสียภาษี บ้านพร้อมที่ดิน มูลค่า 50-75 ล้านบาท คิดภาษี 0.03 % บ้านพร้อมที่ดิน มูลค่า 75-100 ล้านบาท คิดภาษี 0.05% บ้านพร้อมที่ดิน มูลค่ามากกว่า 100 ล้านบาท คิดภาษี 0.1% กรณีที่ 2: บ้าน (เฉพาะสิ่งปลูกสร้าง) บ้าน มูลค่าต่ำกว่า 10 ล้านบาท ได้รับการยกเว้น ไม่ต้องเสียภาษี บ้าน มูลค่า 10-50 ล้านบาท คิดภาษี 0.02% บ้าน มูลค่า 50-75 ล้านบาท คิดภาษี 0.03% บ้าน มูลค่า 75-100 ล้านบาท คิดภาษี 0.05% บ้าน มูลค่ามากกว่า 100 ล้านบาท คิดภาษี 0.1% หลักการคำนวณภาษีสำหรับคอนโดฯ  การคิดภาษีของคอนโด  จะมีรายละเอียดมากกว่า ต้องใช้ข้อมูลทั้งการประเมินมูลค่าและขนาดของพื้นที่ แล้วนำมาเข้าสูตร จากนั้นก็หักลบกับเงื่อนไขของแต่ละประเภทคอนโด  อีกทีหนึ่งถึงจะได้จำนวนเงินที่ต้องจ่ายจริง สูตรสำหรับคิดภาษีคอนโด (ราคาประเมินต่อตารางเมตร x ขนาดพื้นที่ห้องชุด) = (มูลค่าของคอนโด x อัตราภาษีแบบขั้นบันได) โดยมีการจำแนกประเภทของคอนโด ออกเป็น 3 กลุ่ม ซึ่งมีเงื่อนไขในการคิดภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างต่างกัน ดังนี้ คอนโดฯ หลังแรก และมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน จะได้รับการยกเว้นภาษี 50 ล้านแรก คอนโดฯ หลังที่ 2 เป็นต้นไป ไม่มีชื่อในทะเบียนบ้าน ให้คิดภาษีทั้งหมดไม่มีส่วนยกเว้น คอนโดฯ ปล่อยเช่า จะคิดภาษีในอัตราที่อยู่อาศัย ชำระภาษีกับใคร ภายในเมื่อไหร่? เนื่องจากหน้าที่การจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างไม่ได้ขึ้นกับกรมสรรพากร แต่เป็นหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น/สำนักงานเขต โดยจะออกหนังสือแจ้งการครอบครองที่ดิน/บ้าน ให้ผู้เสียภาษีทราบภายในเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี และมีกำหนดให้ผู้เสียภาษีจะต้องชำระภาษีภายในเดือนเมษายนของทุกปี ทั้งนี้ ก่อนเดินทางไปจ่ายภาษีให้ตรวจสอบว่าพื้นที่ที่ได้รับแจ้งให้จ่ายภาษีขึ้นอยู่กับหน่วยงานใด เช่น สำนักงานเทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล สำนักงานเขต กรุงเทพมหานคร ศาลาว่าการเมืองพัทยา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนด อย่างไรก็ดี สำหรับในปี 2563 ซึ่งเป็นปีที่เริ่มจัดเก็บภาษีที่ดินเป็นปีแรก กระทรวงมหาดไทยได้ประกาศขยายกำหนดเวลาจัดเก็บภาษีที่ดินออกเป็นภายในเดือนสิงหาคม 2563  และอีกประเด็นหนึ่งที่หลายคนอาจยังไม่รู้ ว่าภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง สามารถผ่อนชำระได้ด้วย โดยกำหนดระยะเวลาใหม่นั้น ยังคงการผ่อนชำระเป็น 3 งวด ได้แก่ สิงหาคม กันยายน และงวดสุดท้ายในเดือน ตุลาคม 2563   สำหรับใครที่ไม่ได้ชำระภาษีที่ดินภายในเดือนกันยายน ก็จะมีหนังสือแจ้งเตือนผู้เสียภาษีที่ยังค้างชำระ และขั้นตอนสุดท้ายในหน้าที่ของ อปท. คือ การแจ้งรายการภาษีค้างชำระให้กับสำนักงานที่ดินและสำนักงานที่ดินสาขา ภายในเดือนตุลาคม 2563   แม้ว่าภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างจะบังคับใช้แล้ว แต่จะเห็นได้ว่าผู้ที่ได้รับผลกระทบจริง ๆ นั้น ไม่ได้เกิดขึ้นกับทุกคนที่มีบ้าน ในขณะเดียวกันก็ยังมีการผ่อนปรนต่าง ๆ เช่น ที่อยู่อาศัยเพื่อปล่อยเช่า เสียภาษีเท่ากับที่อยู่อาศัย แทนที่จะเสียเท่ากับประเภทพาณิชยกรรม นอกจากนี้ในปี 2563 ยังมีการลดอัตราภาษีลงถึง 90% ทำให้เจ้าของอสังหาฯ จ่ายภาษีน้อยลง   อย่างไรก็ตามเจ้าของอสังหาฯ ควรต้องตระหนักถึงความสำคัญของภาษีที่ดิน และเตรียมตัวให้พร้อมว่าจะต้องมีค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ หากมีอสังหาฯ อยู่ในเกณฑ์ที่ต้องเสียภาษีทั้งในปัจจุบันและอนาคต   ภาษีที่ดิน นี้ ผู้ที่ได้รับประโยชน์คือประชาชนเอง เพื่อแก้ปัญหาเรื่องภาษีท้องที่ และภาษีโรงเรือนและที่ดิน ที่เก็บได้ไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วย และเป็นการเพิ่มรายได้ให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อนำไปพัฒนาพื้นที่ของตนเองให้ดียิ่งขึ้น รวมทั้งยังเป็นการแก้ปัญหาที่ดินรกร้างให้นำมาใช้ประโยชน์มากขึ้น
10 บิ๊กอสังหาฯ ทำกำไรได้สูงสุด ในสถานการณ์ไวรัสโควิด-19

10 บิ๊กอสังหาฯ ทำกำไรได้สูงสุด ในสถานการณ์ไวรัสโควิด-19

แม้ว่าในช่วงไตรมาส 2 ที่ผ่านมา บริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ส่วนใหญ่ จะสามารถสร้างผลงาน ให้ยังมีรายได้กลับเข้ามา ในภาวะวิกฤตที่ต้องเผชิญกับปัญหาการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 แต่ดูเหมือนว่าผู้ประกอบการ ต้องลงแรงทำงานกันหนักมากขึ้นกว่าปกติ    เพื่อกระตุ้นให้ลูกค้าเกิดความต้องการซื้อบ้านและคอนโดมิเนียม โดยเฉพาะการลดราคาสินค้า จัดโปรโมชั่นอยู่ฟรี ส่งผลให้ตัวเลขค่าใช้จ่ายทางการตลาดหลายบริษัทเพิ่มมากขึ้น เมื่อบวกลบคูณหารกับตัวเลขรายได้ในธุรกิจอื่น ๆ หรือค่าใช้จ่ายด้านอื่นด้วย อัตรากำไรของหลายบริษัทจึงลดน้อยลงอย่างปฎิเสธไม่ได้   จากการรวบรวมข้อมูลบริษัทมหาชน (บมจ.) ซึ่งดำเนินธุรกิจหลักด้านการพัฒนาที่อยู่อาศัย ซึ่งจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์จำนวน 31 บริษัท พบว่า มีกำไรจากการดำเนินงานของทั้ง 31 บริษัท ลดลงอย่างมากถึง 48.72% โดยกำไรสุทธิที่ทำได้ในไตรมาสที่ 2 ของปีนี้มีจำนวน 5,025.19 ล้านบาท จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้ามีกำไรสุทธิ 9,715.31 ล้านบาท กำไรส่วนหนึ่งที่ลดลง เป็นผลจากมี 11 บริษัทประสบภาวะขาดทุนในช่วงไตรมาสที่ 2 10 บิ๊กอสังหาฯ กำไรลดกว่า 5% สำหรับบริษัทอสังหาฯ รายใหญ่ 10 อันดับแรก ในช่วงไตรมาส 2 ที่ผ่านมา มีอัตรากำไรรวม 6,478.63 ล้านบาท ลดลง 5.10% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไร 6,826.71 ล้านบาท โดย 10 บริษัทแรกที่มีอัตรากำไรสุทธิสูงสุด ได้แก่ 1.แลนด์แอนด์เฮ้าส์ มีกำไรสุทธิ จำนวน 1,386.28 ล้านบาท  ลดลง 25.24% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ จำนวน 1,854.30 ล้านบาท   สำหรับสาเหตุที่กำไรลดลง เกิดจาก -บริษัทมีรายได้จากการขายเท่ากับ 7,230.22 ล้านบาท ในขณะที่งวดเดียวกันของปีก่อนมีรายได้จากการขายเท่ากับ 6,539.03 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจำนวน 691.19 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 10.57%   - บริษัทฯ มีอัตรากำไรขั้นต้นจากการขายเท่ากับ  31.00%  ในขณะที่งวดเดียวกันของปีก่อน มีอัตรากำไรขั้นต้น จากการเขายเท่ากับ 31.94% อัตราขั้นต้นลดลง​ 0.94% เป็นผลมาจากการแข่งขันที่สูงขึ้น และสถานการณ์ไวรัสโควิด-19   -นอกจากนี้ บริษัทยังได้รับผลกระทบจาก กำไรขั้นต้นจากรายได้ค่าเช่า และค่าบริการที่ลดลงจานวน 504.48 ล้านบาทจาก การให้บริการของกิจการโรงแรมในเครือเป็นการชั่วคราวด้วย 2.เอพี (ไทยแลนด์) มีกำไรสุทธิ จำนวน 1,214.61ล้านบาท เพิ่มขึ้น 149.35% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ จำนวน 487.09 ล้านบาท สาเหตุสำคัญที่ทำให้ เอพี (ไทยแลนด์) รักษาอัตรากำไรให้เติบโตได้ เป็นผลมาจาก -การทำรายได้เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะโครงการแนวราบ ซึ่งเติบโตทําสถิติสูงสุดถึง​ 6,732 ล้านบาท ​เพิ่มขึ้น 107.9% จากปีก่อน  โดยเป็นสัดส่วนรายได้ที่ใกล้เคียงกัน ระหว่าง ทาวเฮาส์และบ้านเดี่ยว   -การให้ความสำคัญกับการควบคุมค่าใช้จ่ายในการขาย และ​บริหาร ​โดยในไตรมาส 2 ที่ผ่านมา บริษัทค่าใช้จ่ายในการขายและการบริหารอยู่ที่ 1,516 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 19.5% ของรายได้ (ไม่รวมโครงการร่วมทุน) โดยลดลง 4.4% จากปีก่อน เนื่องจากค่าใช้จ่ายใน การขายและบริหารครอบคลุมการดําเนินงานของโครงการร่วมทุน เมื่อคิดรวมรายได้​ 51% จาก โครงการร่วมทุนอตัราส่วนค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร ณ ไตรมาส 2 จะลดลงไปอยู่ 16.4% (ลดลง 5.8% จากปีก่อน) 3.ควอลิตี้ เฮ้าส์ มีกำไรสุทธิ จำนวน 968.58 ล้านบาท ลดลง 33.77% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ จำนวน 1,462.40 ล้านบาท   สาเหตุหลักที่ทำให้ ควอลิตี้ เฮ้าส์ มีกำไรลดลง ทั้ง ๆ ที่รายได้จากการขายเพิ่มขึ้น เป็นเพราะบริษัท มีส่วนแบ่งกำไรจากเงินลงทุนในบริษัทร่วม ลดลง และกำไรขั้นต้นจากธุรกิจโรงแรมลดลงจำนวน 112 ล้านบาท   รวมถึงผลกระทบจากรายได้ในธุรกิจอื่น ๆ เช่น ธุรกิจโรงแรม ศูนย์การค้า ลดลงด้วย 4.ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ มีกำไรสุทธิ จำนวน 707.07 ล้านบาท ลดลง 4.08% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ จำนวน 737.16 ล้านบาท   บริษัทยังคงรักษาอัตรากำไรได้ใกล้เคียงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน แม้มีปัญหาไวรัสโควิด-19  เนื่องจากมีการรับรู้กำไรจากโครงการร่วมทุน  กับบริษัท โนมูระ เรียลเอสเตท ดีเวลล็อปเมนท์ จํากัด ต่อเนื่องจากไตรมาสแรกของปีนี้  รวมทั้งบริษัทยังคงให้ความสําคัญกับการบริหารและควบคุมค่าใช้จ่ายให้เกิดประสิทธิภาพ​ 5.เอสซีแอสเสท คอร์ปอเรชั่น มีกำไรสุทธิ จำนวน 454.20 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 62.53% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ จำนวน 279.46 ล้านบาท   เหตุผลสำคัญที่ทำให้ เอสซีแอสเสท คอร์ปอเรชั่น มีอัตรากำไรสุทธิพิ่มขึ้น มาจากรายได้จากขายที่เพิ่มมากขึ้น เพราะลูกค้ามีความต้องการบ้านเพิ่มขึ้น  ทำสถิติยอดขายรายไตรมาสสูงสุดในช่วงไตรมาส 2/63  โดยมียอดขายรวม 6,220 ล้านบาท เติบโต 47% (YoY) ทั้งนี้มาจากยอดขายแนวราบ 5,652 ล้านบาท เติบโตพุ่งถึง 116% (YoY) 6.ศุภาลัย มีกำไรสุทธิ จำนวน 423.30 ล้านบาท ลดลง 45.53% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ จำนวน 777.15 ล้านบาท   กำไรที่ลดลงมาจาก รายได้จากการโอนกรรมสิทธิในช่วงไตรมาส 2 ลดลง 32% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และเกิดจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคไวรัสโควิด-19 7.เฟรเซอร์ พร็อพเพอร์ตี้ (ประเทศไทย) มีกำไรสุทธิ จำนวน 398.69 ล้านบาท ลดลง​49.99%จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ จำนวน 797.29 ล้านบาท   เหตุผลสำคัญเกิดจาก บริษัทมีค่าใช้จ่ายรวมจำนวน 4,421.54 ล้านาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 13.1%  เป็นจำนวน 510.28 ล้านบาท จากสาเหตุ -ต้นทุนขายอสังหาริมทรัพย์ เพิ่มขึ้นเป็นจานวนเงิน 536.51 ล้านบาท พรือเพิ่มขึ้น 23.9% เพิ่มมากกว่าการเพิ่มขึ้นของรายได้จาการขายอสังหาริมทรัพย์เนื่องจากการปรับลดราคาและการส่งเสริมการขาย   -ค่าใช้จ่ายในการบริหารเพิ่มขึ้นเป็นจานวนเงิน 65.84 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 10.6% เป็นผลจากรับรู้ขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน 106 ล้านบาท แต่ในไตรมาสนี้ กลุ่มบริษัท ได้รับส่วนลดภาษีที่ดิน 90% คิดเป็น จำนวนเงิน 26.76 ล้านบาท   อย่างไรก็ตาม กำไรสุทธิในส่วนของผู้ถือหุ้นของบริษัท  ในไตรมาสที่ 3 ปี 2563 จำนวน 384.54 ล้านบาทนั้น เพิ่มขึ้น จากช่วงเวลาเดียวกันจำนวน 110.28 ล้านบาทหรือเพิ่มขึ้น 40.2% จากการรวมผลการดำเนินงานของบริษัท แผ่นดินทอง พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) หรือ GOLD ในงวดปีนี้ 8.ลลิล พร็อพเพอร์ตี้ มีกำไรสุทธิ จำนวน 395.83 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 164.26% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ จำนวน 149.79 ล้านบาท   สาเหตุสำคัญของบริษัทที่มีกำไรเพิ่มขึ้น เกิดจาก -รายได้จากการขายที่เพิ่มขึ้น จากรายได้  864.93  ล้านบาท ในช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็น 1,301.08 ล้านบาท ซึ่งเป็นไปตามแผนการวางกลยุทธ์ธุรกิจ  การวางแผนด้านการขายและการตลาดได้ดี   -กำไรจากการถูกเวนคืน  ในไตรมาส 2 ปี 2563 บริษัทมีการบันทึกกำไรที่เกิดจากการที่มีโคงการขายของบริษัทถูกเวนคืน ซึ่งมีกำไรก่อนภาษีเงินได้ ทั้งสิ้น 155.66 ล้านบาท ค่าใช่จ่ายในการขาย และบริหาร ปรับเพิ่มขึ้นต่ำกว่า รายได้จากการขายที่เพิ่มขึ้นสูงมาก ซึ่งค่าใช้จ่ายจากการขายและบริหารเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเพียง 5.57% แต่รายได้เพิ่มขึ้น 50.43%   -ค่าใช้จ่ายทางด้านการเงินที่ลดลง  ในไตรมาส 2 ที่ผ่านมา มีค่าใช้จ่ายด้านการเงินเท่ากับ  3.75 ล้านบาท ลดลง จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มี   5.62 ล้านบาท 9.โนเบิล ดีเวลลอปเมนท์ มีกำไรสุทธิ จำนวน 303.38 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 84.46% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ จำนวน 164.47 ล้านบาท   สาเหตุสำคัญ คือ การโอนกรรมสิทธิ์ในช่วงไตรมาส 2 ของปีนี้ ที่มีจำนวนมากขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา ทำให้อัตรากำไรเพิ่มสูงขึ้น 10.เสนา ดีเวลลอปเมนท์ มีกำไรสุทธิ จำนวน 226.69 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 92.76% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ จำนวน 117.60 ล้านบาท   สาเหตุที่ทำให้อัตรากำไรสุทธิของเสนา ดีเวลลอปเมนท์ เพิ่มขึ้น เป็นเพราะการรับรู้ส่วนแบ่งกำไรจากเงินลงทุนในกิจการร่วมค้า ที่มียอดโอนของโครงการร่วมทุนมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ไตรมาส 4 ปี 2562 ได้แก่ โครงการ นิชโมโน สุขุมวิท-แบริ่ง และในไตรมาส 2 ที่ผ่านมา มีการโอนโครงการ นิช ไพรด์ เตาปูน อินเตอร์เชนจ์ ทำให้บริษัทรับรู้ส่วนแบ่งกำไรเพิ่มขึ้นอีก 6.7 ล้านบาท   นอกจากนี้  บริษัทยังได้จัดทำแผนรับมือกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ภายใต้มาตรการ SENA Zero COVID มีการบริหารปรับลดค่าใช้จ่ายนการขายและบริหาร ทำให้ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารลดลง 16.5% จากจำนวน 218.3 ล้านบาทในปีที่ผ่านมาเหลือ 170.0 ล้านบาทในช่วงไตรมาส 2 ของปีนี้   แม้ว่าจะมีบางบริษัทที่อัตรากำไรลดลง แต่ยังถือว่าในภาพรวมสามารถสร้างผลกำไรได้ดี ในภาวะที่ประเทศเผชิญกับปัจจัยลบเช่นนี้  กำไรอาจจะลดลงบ้างแต่ยังดีที่มีกำไร ซึ่งคงต้องมาลุ้นกันต่อไปสำหรับช่วงเวลาที่เหลือ ว่าดีเวลลอปเปอร์จะยังคงรักษาฝีมือในการดำเนินธุรกิจได้ดีต่อไปแค่ไหน
31 บิ๊กอสังหาฯ  โดนพิษโควิด-19 กำไรรวมไตรมาส 2 ลดกว่า 48%

31 บิ๊กอสังหาฯ โดนพิษโควิด-19 กำไรรวมไตรมาส 2 ลดกว่า 48%

แม้ว่าประเทศไทยต้องเผชิญกับปัญหาการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ตั้งแต่ช่วงต้นปีที่ผ่านมา ส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจทำให้ยอดขายและรายได้ลดลง ซึ่งบางรายได้รับผลกระทบจนต้องปิดกิจการก็มีให้เห็น แต่หลายธุรกิจสามารถปรับตัวรับมือกับสถานการณ์ที่เกิดได้เป็นอย่างดี  เห็นได้จากผลประกอบการในช่วงไตรมาสที่ 2 ที่ยังสามารถสร้างการเติบโต ไม่ว่าจะเป็นด้านรายได้หรือกำไร   ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ก็เป็นหนึ่งธุรกิจที่ได้รับผลกระทบแบบเต็มๆ ไม่ได้แตกต่างจากหลายธุรกิจ ซึ่งมีทั้งผู้ที่ยังทำกำไรเติบโต ขณะเดียวกันก็มีหลายรายที่ประสบภาวะขาดทุน  ผู้ที่สามารถปรับตัวรับมือกับสถานการณ์ได้ดี ก็สามารถสร้างผลงานชนิดทุบสถิติรายได้ของตนเอง นับตั้งแต่เริ่มทำธุรกิจจนมาถึงปัจจุบัน ถือเป็นการสร้างประวัติศาสตร์ใหม่ให้กับตนเอง โดยเฉพาะบริษัทอสังหาฯ ที่จดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย   จากการรวบรวมข้อมูลบริษัทมหาชน (บมจ.) ซึ่งดำเนินธุรกิจหลักด้านการพัฒนาที่อยู่อาศัย ซึ่งจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยจำนวน 31 บริษัท พบว่า ผลประกอบการในช่วงไตรมาส 2 ยังคงทำรายได้รวมจำนวน 73,712.62 ล้านบาท ลดลงเล็กน้อยเพียง 1.66% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ที่มีจำนวน 74,960.02 ล้านบาท แต่กำไรจากการดำเนินงานของทั้ง 31 บริษัท ลดลงอย่างมากถึง 48.72%   อัตรากำไรที่ลดลงดังกล่าว  เป็นผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่ทำให้ธุรกิจอสังหาฯ ประเภทอื่นๆ อาทิ โรงแรม ศูนย์การค้า สำนักงานให้เช่า ไม่สามารถเปิดดำเนินการได้ปกติ จึงทำให้บริษัทอสังหาฯ ซึ่งไม่ได้ขายแต่บ้านและคอนโดมิเนียม ต้องอัตรากำไรสุทธิลดลง แม้ว่ารายได้เฉพาะที่มาจากการขายบ้านและคอนโด ของทั้ง 31 บริษัท จะยังเติบโตในอัตรา 10.96% ซึ่งมีรายได้ 66,330.98 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงไตรมาส 2 ปี 2562 ที่มีรายได้จากการขายอสังหาฯ 59,778.80 ล้านบาทก็ตาม 10 บิ๊กอสังหาฯ กวาดรายได้รวมกว่า 5.6 หมื่นล้าน สำหรับบริษัทที่มีรายได้รวมมากที่สุด 10 อันแรก ยังคงเป็นผู้ประกอบการรายใหญ่และเป็นผู้นำตลาด โดยมีรายได้รวมทั้ง 10 บริษัท จำนวน  56,424.75 ล้านบาท เติบโต 10.10% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ซึ่งมีรายได้รวมจำนวน 51,250.03 ล้านบาท 10 อันดับแรกบริษัทอสังหาฯ ทำรายได้รวมสูงสุด ได้แก่ 1.แสนสิริ  มีรายได้รวม 11,305.51 ล้าบาท เติบโต 163.82% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน มีจำนวน 4,285.37 ล้านบาท 2.แลนด์แอนด์เฮ้าส์  มีรายได้รวม 8,298.86 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 5.59% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีจำนวน 7,859.46 ล้านบาท 3.เอพี (ไทยแลนด์)  มีรายได้รวม 7,792.00 ล้านบาท เติบโต 62.23%  จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ที่มีจำนวน 4,803.09 ล้านบาท 4.พฤกษา โฮลดิ้ง  มีรายได้รวม 6,222.81ล้านบาท ลดลง 20.27% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีจำนวน 7,805.09 ล้านบาท 5.เฟรเซอร์ พร็อพเพอร์ตี้ 4,882.54 ล้านบาท ลดลง 2.95% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มี จำนวน 5,031.11 ล้านบาท 6.เอสซีแอสเสท คอร์ปอเรชั่น   มีรายได้รวม 4,568.77 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 30.67% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน จำนวน 3,496.42 ล้านบาท 7.ควอลิตี้ เฮ้าส์   มีรายได้รวม 4,341.24 ล้านบาท ลดลง 26.14% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มี จำนวน 5,878.01 ล้านบาท 8.ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้   มีรายได้รวม จำนวน 3,292.37 ล้านบาท ลดลง 1.32% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีจำนวน 3,336.49 ล้านบาท 9.ศุภาลัย  มีรายได้รวม จำนวน 3,039.88 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 32.1% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ที่มีจำนวน 4,477.10 ล้านบาท 10.พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค  มีรายได้รวม จำนวน 2,680.77 ล้านบาท ลดลง -37.33% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ที่มีจำนวน 4,277.89 ล้านบาท 10 บิ๊กอสังหาฯ​ ขายบ้าน-คอนโด สร้างรายได้โต 22.11% อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาเฉพาะผลประกอบการ  ในส่วนที่เป็นรายได้ด้านการขายที่อยู่อาศัย ในกลุ่มบิ๊กอสังหาฯ 10 อันดับแรก พบว่า มีรายได้รวมกันจำนวน 51,940 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 22.11% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีรายได้จาการขายอสังหาฯ รวม 42,536.33 ล้านบาท สำหรับ 10 อันดับแรกของบริษัทที่มีรายได้จากการขายอสังหาฯ​ สูงสุด ได้แก่ 1.แสนสิริ  มีรายได้จากการขายอสังหาฯ รวม 10,338.20 ล้านบาท เติบโต 309.41% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีจำนวน  2,525.14 ล้านบาท 2.เอพี (ไทยแลนด์) มีรายได้จากการขายอสังหาฯ รวม 7,582.90 ล้านบาท เติบโต  67.4% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีจำนวน 4,529.82 ล้านบาท 3.แลนด์แอนด์เฮ้าส์ มีรายได้จากการขายอสังหาฯ รวม 7,230.21 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 10.57% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีจำนวน 6,539.03 ล้านบาท 4.พฤกษา โฮลดิ้ง มีรายได้จากการขายอสังหาฯ รวม 6,165.52 ล้านบาท ลดลง​ 20.76% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีจำนวน 7,780.66 ล้านบาท 5.เอสซีแอสเสท คอร์ปอเรชั่น มีรายได้จากการขายอสังหาฯ รวม 4,360.22 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 33.13% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีจำนวน  3,275.08 ล้านบาท 6.เฟรเซอร์ พร็อพเพอร์ตี้ (ประเทศไทย)* มีรายได้จากการขายอสังหาฯ รวม 3,880.16 ล้านบาท เติบโต 12.81% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีจำนวน 3,439.54 ล้านบาท 7.ควอลิตี้ เฮ้าส์ มีรายได้จากการขายอสังหาฯ รวม 3,859.15 ล้านบาท ลดลง​ 23.50%  จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีจำนวน 5,044.68 ล้านบาท 8.ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ มีรายได้จากการขายอสังหาฯ รวม 3,088.49 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 9.30% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีจำนวน  2,825.80 ล้านบาท 9.ศุภาลัย มีรายได้จากการขายอสังหาฯ รวม 2,917.91 ล้านบาท ลดลง​ 32.46% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีจำนวน 4,320.04 ล้านบาท 10.พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค มีรายได้จากการขายอสังหาฯ รวม 2,517.51ล้านบาท  เติบโต 11.57% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีจำนวน 2,256.54 ล้านบาท หมายเหตุ - * ผลการดำเนินงานของบริษัท เฟรเซอร์ พร็อพเพอร์ตี้ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ประจำไตรมาส 3/2563 งวดเดือนเมษายน-มิถุนายน 2563 10 บิ๊กอสังหาฯ กำไรลดกว่า 5% แม้ว่า 10 บริษัทขนาดใหญ่ จะสามารถสร้างรายได้รวม และรายได้จากการขายอสังหาฯ เติบโตจากไตรมาส 2 ของปีที่ผ่านมาได้ แต่ดูเหมือนว่าความสามารถในทำกำไรจะลดลงอย่างมาก ส่วนหนึ่งต้องยอมรับว่า เป็นผลจากการลดราคาสินค้า การจัดทำแคมเปญกระตุ้นการขาย และการมีต้นทุนทางการตลาดที่เพิ่มมากขึ้น เมื่อรวมกับธุรกิจอื่น ๆ ที่บริษัทนั้น ๆ ดำเนินการ ที่รับผลกระทบ เช่น การปิดบริการธุรกิจโรงแรม หรือ ปิดศูนย์การค้า จึงทำให้กำไรโดยรวมลดน้อยลงนั่นเอง   โดยบริษัทอสังหาฯ รายใหญ่ 10 อันดับแรก มีอัตรากำไรรวม 6,478.63 ล้านบาท ลดลง 5.10% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไร 6,826.71 ล้านบาท แต่เมื่อเทียบกับภาพรวมทั้งอุตสาหกรรม ยังถือว่าทั้ง 10 บริษัทดังกล่าว ยังมีความสามารถทำกำไรได้ดีกว่า เพราะภาพรวมกำไรลดไปกว่า 48.28% โดย 10 บริษัทแรกที่มีอัตรากำไรสุทธิสูงสุด ได้แก่ 1.แลนด์แอนด์เฮ้าส์ มีกำไรสุทธิ จำนวน 1,386.28 ล้านบาท  ลดลง 25.24% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ จำนวน 1,854.30 ล้านบาท 2.เอพี (ไทยแลนด์) มีกำไรสุทธิ จำนวน 1,214.61ล้านบาท เพิ่มขึ้น 149.35% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ จำนวน 487.09 ล้านบาท 3.ควอลิตี้ เฮ้าส์ มีกำไรสุทธิ จำนวน 968.58 ล้านบาท ลดลง 33.77% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ จำนวน 1,462.40 ล้านบาท 4.ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ มีกำไรสุทธิ จำนวน 707.07 ล้านบาท ลดลง 4.08% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ จำนวน 737.16 ล้านบาท 5.เอสซีแอสเสท คอร์ปอเรชั่น มีกำไรสุทธิ จำนวน 454.20 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 62.53% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ จำนวน 279.46 ล้านบาท 6.ศุภาลัย มีกำไรสุทธิ จำนวน 423.30 ล้านบาท ลดลง 45.53% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ จำนวน 777.15 ล้านบาท 7.เฟรเซอร์ พร็อพเพอร์ตี้ (ประเทศไทย)* มีกำไรสุทธิ จำนวน 398.69 ล้านบาท ลดลง​49.99%จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ จำนวน 797.29 ล้านบาท 8.ลลิล พร็อพเพอร์ตี้ มีกำไรสุทธิ จำนวน 395.83 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 164.26% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ จำนวน 149.79 ล้านบาท 9.โนเบิล ดีเวลลอปเมนท์ มีกำไรสุทธิ จำนวน 303.38 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 84.46% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ จำนวน 164.47 ล้านบาท 10.เสนา ดีเวลลอปเมนท์ มีกำไรสุทธิ จำนวน 226.69 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 92.76% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ จำนวน 117.60 ล้านบาท หมายเหตุ - * ผลการดำเนินงานของบริษัท เฟรเซอร์ พร็อพเพอร์ตี้ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ประจำไตรมาส 3/2563 งวดเดือนเมษายน-มิถุนายน 2563 11 บริษัทสู้พิษโควิดไม่ไหว ขาดทุนรวม 2,209.58 ล. การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19ไม่เพียงแต่ทำให้หลายบริษัทมีกำไรลดลงเท่านั้น แต่ทำให้ผู้ประกอบการบางรายประสบภาวะขาดทุนจากการดำเนินงานเลยทีเดียว ซึ่งจากการสำรวจพบว่ามีถึง 11 บริษัท ที่ประสบภาวะขาดทุนในช่วงไตรมาส 2 ที่ผ่านมา โดยมีผลขาดทุนรวมกัน 2,537.09 ล้านบาท จากก่อนหน้านี้ที่ทั้ง 11 บริษัทมีกำไรรวม 923.51 ล้านบาท   โดย 11 บริษัทที่ประสบภาวะขาดทุนในไตรมาส 2 ได้แก่ 1.สิงห์ เอสเตท ขาดทุน จำนวน 946.05 ล้านบาท  ลดลง 606.07% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไร 186.94 ล้านบาท 2.อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์ ขาดทุน จำนวน 544.70 ล้านบาท ลดลง 424.09% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไร 168.07 ล้านบาท 3.พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค ขาดทุน จำนวน 470.70 ล้านบาท ลดลง 238.98% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไร 255.84 ล้านบาท 4.ชาญ อิสระ ขาดทุน จำนวน 158.59 ขาดทุนเพิ่ม 39.04% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ขาดทุน 114.06 ล้านบาท 5.ไรมอนด์ แลนด์ ขาดทุน จำนวน 130.44 ล้านบาท ลดลง 309.9% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไร 54.73 ล้านบาท 6.นุศาศิริ ขาดทุน จำนวน 128.71 ล้านบาท ลดลง 620.46%  จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไร 24.73 ล้านบาท 7.เมเจอร์ดีเวลลอปเมนท์ ขาดทุน จำนวน 79.95 ล้านบาท ขาดทุนเพิ่มขึ้น 467.02 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไร 14.10ล้านบาท 8.มั่นคง เคหะการ ขาดทุน จำนวน 35.22 ล้านบาท  ลดลง 126.83% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไร 131.25 ล้านบาท 9.เนอวานา ไดอิ ขาดทุน จำนวน 34.47 ล้านบาท ลดลง 268.89% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไร 20.41 ล้านบาท 10.สัมมากร ขาดทุน จำนวน 4.70 ล้านบาท ลดลง 102.16% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไร 217.70 ล้านบาท 11.ปรีชา กรุ๊ป ขาดทุน จำนวน 3.56 ล้านบาท ขาดทุนลดลง 55.5% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีขาดทุน 8.00 ล้านบาท สำหรับธุรกิจอสังหาฯ​ ในปีนี้ ถือว่าเป็นปีที่มีความท้าทาย และเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก ที่สำคัญเป็นปีที่ดีสำหรับผู้ที่มีกำลังซื้อ และมีความต้องการที่อยู่อาศัยอย่างแท้จริง เพราะผู้ประกอบการต่างจัดโปรโมชั่น การส่งเสริมการขาย เพื่อระบายสต็อกในมือที่มีอยู่  แลกเป็นกระแสเงินสดให้เข้ามาใช้ในการบริหารธุรกิจในภาวะวิกฤตเช่นนี้ ซึ่งผู้ซื้อก็ต้องเลือกพิจารณาโครงการให้รอบครอบ  ราคาก็เป็นส่วนสำคัญในการตัดสินใจซื้อ แต่เรื่องของคุณภาพและบริการหลังการขาย  ก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน เพราะเราต้องอยู่กับบ้านที่ซื้อไม่ใช่แค่ปีสองปี แต่คงเป็นระยะเวลานับสิบ ๆปี หากไม่คิดขายก่อนเพื่อเก็งกำไร   แต่สำหรับผู้ประกอบการ เชื่อว่าวิกฤตครั้งนี้ น่าจะเป็นอีกหนึ่งบทเรียนทางธุรกิจสำคัญ ที่จะทำให้นับจากนี้ต้องพิจารณาทิศทางการดำเนินธุรกิจให้รอบครอบ รวมถึงต้องเตรียมแผนสำรอง และการบริหารความเสี่ยงในมุมต่าง ๆ เอาไว้ให้รอบด้านด้วย
ผลประกอบการ แสนสิริ Q2/63  รายได้ทะลุหมื่นล้าน แต่กำไรลดกว่า 9%

ผลประกอบการ แสนสิริ Q2/63 รายได้ทะลุหมื่นล้าน แต่กำไรลดกว่า 9%

แสนสิริ ทำรายได้รวมไตรมาส 2 กว่า 11,306 ล้าน สูงสุดในตลาดอสังหาฯ แต่โดนผลกระทบโควิด-19 ทำกำไรลดกว่า 9.49% ส่วน 6 เดือนแรกของปีกำไรหายไปกว่าครึ่ง มั่นใจครึ่งปีหลังยังกวาดยอดขายและรายได้ต่อเนื่อง เตรียมโอนโครงการสร้างแล้วเสร็จอีก 5 โครงการ พร้อมเปิดโปรเจ็กต์ใหม่ไตรมาส 4 อีก 10 โครงการมูลค่ากว่า 11,700 ล้าน   สำหรับผลการดำเนินงานของบริษัทอสังหาริมทรัพย์  ที่จดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ช่วงไตรมาส 2 ที่ผ่านมา ถือว่าในภาพรวมหลายบริษัทยังคงสามารถสร้างการเติบโตได้ ท่ามกลางภาวะการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 โดยบริษัทที่ทำรายได้สูงสุดในกลุ่มธุรกิจพัฒนาอสังหาฯ  คงต้องยกให้กับ บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) ที่มีรายได้ระดับหมื่นล้านบาท ขึ้นเป็นเบอร์ 1 ของอุตสาหกรรมไปเรียบร้อยแล้ว รายได้รวมทะลุหมื่นล้าน แสนสิริ มีรายได้รวม ในไตรมาสที่ 2 จำนวน 11,306 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 164% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีจำนวน  4,285 ล้านบาท สาเหตุของการเพิ่มขึ้น เป็นเพราะรายได้จากการขายโครงการเพื่อขายที่เพิ่มขึ้นมากถึง 309% ทำให้ภาพรวมช่วง 6 เดือนแรก แสนสิริรายได้จากโครงการเพื่อขายเพิ่มขึ้นถึง 112% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน  ส่วนรายได้ช่วง 6 เดือนแรกของปี 2563  มีจำนวน 17,929 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 64% เมื่อเทียบกับรายได้รวมจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีจำนวน 10,923 ล้านบาท สำหรับรายได้ในช่วงไตรมาส 2 ของแสนสิริและบริษัทย่อย มีรายได้ธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ 10,338 ล้านบาท แบ่งออกเป็น -โครงการบ้านเดี่ยว จำนวน 4,917 ล้านบาท -โครงการคอนโดมิเนียม จำนวน 4,062 ล้านบาท -โครงการทาวน์เฮาส์ จำนวน 1,077 ล้านบาท -โครงการมิกซ์ จำนวน 282 ล้านบาท   โครงการบ้านเดี่ยว จำนวน 4,917 ล้านบาท  เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าที่มีจำนวน 1,651 ล้านบาท ซึ่งมาจาก 3 โครงการหัก ได้แก่ โครงการบ้านแสนสิริ พัฒนาการ เศรษฐสิริ กรุงเทพกรีฑา และเศรษฐสิริ จรัญ-ปิ่นเกล้า 2 มีมูลค่ารวม 1,372 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 13% ของรายได้จากโครงการเพื่อขายทั้งหมด   รายได้จากการขายโครงการทาวน์เฮาส์ ในไตรมาส 2 ที่ผ่านมา มีจำนวน 1,077 ล้านบาท  ปรับเพิ่มขึ้นจากจำนวน 480 ล้านบาทในไตรมาสที่ 2 ปี​ 2562 ซึ่งมาจากรายได้หลักของ 4 โครงการทาวน์เฮาส์ ได้แก่ โครงการสิริเพลส สุขสวัสดิ์ - พระราม3 โครงการไทเกอร์เลน โครงการสิริเพลส เพชรเกษม-สาย 4 และโครงการสิริเพลส จรัญฯ-ปิ่นเกล้า ซึ่งทั้ง 4โครงการ มีรายได้รวม​ 452 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 4% ของรายได้จากโครงการเพื่อขายทั้งหมด ส่วนรายได้จากการขายโครงการมิกซ์  มีจำนวน 282 ล้านบาท ปรับเพิ่มขึ้นจากจำนวน 7 ล้านบาท จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งรายได้หลักมาจากโครงการอณาสิริ บางใหญ่   รายได้จากการขายโครงการคอนโดมิเนียม ปรับเพิ่มขึ้น 950% จากจำนวน 387 ล้านบาทใน ไตรมาสที่ 2 ปีที่ผ่านมา เป็นจำนวน 4,062 ล้านบาท ในไตรมาสที่ 2 ของปีนี้ ซึ่ง​รายได้ส่วนใหญ่มาจาก 3 โครงการหลัก ได้แก่ โครงการคาวะ เฮาส์ โครงการเดอะโมนูเมนต์ ทองหล่อ และโครงการดีคอนโด ริน  ทั้ง 3 โครงการ มีรายได้รวมจำนวน​ 2,429 ล้านบาท คิดเป็น 23% ของรายได้จากโครงการเพื่อขายทั้งหมด 6 เดือนแรกกำไรลดกว่า 50% อย่างไรก็ตาม แม้ว่าแสนสิริจะสามารถทำรายได้เติบโต แต่ในส่วนของกำไรสุทธิ ในไตรมาส 2 พบว่ามีอัตรากำไรลดลง 9.49% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีกำไรสุทธิจำนวน  258.16 ล้านบาท ส่วนในไตรมาส 2 ปี 2562 มีกำไรสุทธิ 285.23 ล้านบาท  โดยอัตรากำไรสุทธิคิดเป็น 2.3% ของรายได้รวม ปรับลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มี อัตรากำไรสุทธิ 6.7% ซึ่งปัจจัยหลักมาจากการขาดทุนของธุรกิจการบริหารโรงแรม เพราะเกิดการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 และการเพิ่มขึ้นของต้นทุนทางการเงินและค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้ ซึ่งภาพรวมในช่วง 6 เดือนแรก มีกำไรสุทธิอยู่ที่ 320 ล้านบาท  ลดลง 53.62% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ที่มีจำนวน 690 ล้านบาท   นายวันจักร์ บุรณศิริ ประธานผู้บริหารสายงานการเงินและสนับสนุนธุรกิจ บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) (SIRI) เปิดเผยว่า ในครึ่งปีแรกบริษัทมีผลงานการโอนที่โดดเด่น ล่าสุด มียอดโอนโครงการที่อยู่อาศัยทุกประเภทที่สร้างเสร็จสมบูรณ์ และส่งมอบให้กับลูกค้าไปแล้วถึง 28,200 ล้านบาท แบ่งเป็นยอดโอนเฉพาะไตรมาสที่ 2 สูงถึง 25,200 ล้านบาท ซึ่งนับว่าเป็นยอดโอนกรรมสิทธิ์ที่ทำสถิติสูงสุดใหม่ ทั้งในรอบครึ่งปีและรายไตรมาสตั้งแต่ก่อตั้งบริษัท ตุน Backlog 5.4 หมื่นล้าน นอกจากนี้ บริษัทยังมียอดขายรอโอน (Backlog) (รวมโครงการร่วมทุนในคอนโดมิเนียม) มูลค่ารวมประมาณ 54,100 ล้านบาท แบ่งเป็นยอดขายรอโอนจากโครงการภายใต้การพัฒนาของแสนสิริ 40,000 ล้านบาท และยอดขายรอโอนจากโครงการภายใต้การร่วมทุนอีก 14,000 ล้านบาท ที่จะทยอยรับรู้ไปจนถึงปี 2566 ซึ่งช่วยสร้างผลงานการโอนให้เป็นไปตามเป้าหมายในปีนี้ 42,000 ล้านบาท สำหรับยอดขาย (Presale) ในช่วง 7 เดือนของปี 2563 บริษัทมียอดขายรวมแล้วกว่า 25,000 ล้านบาท คิดเป็น 70% จากเป้าหมายยอดขายทั้งปี  35,000 ล้านบาท แบ่งเป็นยอดขายจากโครงการแนวราบถึง 16,200 ล้านบาท เติบโต 110% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และคิดเป็น 85% ของเป้าหมายยอดขายแนวราบทั้งปีที่ตั้งไว้ 19,000 ล้านบาท   กุญแจสำคัญ ซึ่งจะผลักดันสู่ผลการดำเนินงานที่ดีต่อเนื่องในครึ่งปีหลัง คือการบริหารเงินสดในมือที่ดี ที่จะส่งผลให้แสนสิริเป็นองค์กรที่มีสภาพคล่องสูง มีกระแสเงินสดที่มีความพร้อมในการดำเนินธุรกิจ ล่าสุดบริษัทมีสภาพคล่องในมือรวม 12,000 ล้านบาท ไตรมาส 4 เปิดอีก 10 โปรเจ็กต์ ขณะที่ปัจจัยสำคัญที่จะผลักดันแสนสิริ ให้บรรลุเป้าหมายการโอน สู่การสร้างรายได้ที่ดีต่อเนื่องในปีนี้มาจากแผนการโอนคอนโดมิเนียมสร้างเสร็จใหม่ อีก 5 โครงการใหม่ มูลค่าโครงการรวม 16,200 ล้านบาท ได้แก่ เดอะ เบส สะพานใหม่ เริ่มโอนกรรมสิทธิ์โครงการวันที่ 21 – 23 สิงหาคมนี้ ,โอกะ เฮาส์ เริ่มโอนกรรมสิทธิ์โครงการวันที่ 18 – 20 กันยายน, XT เอกมัย เริ่มโอนกรรมสิทธิ์โครงการวันที่ 2 – 4 ตุลาคม, ลา ฮาบานา หัวหิน เริ่มโอนกรรมสิทธิ์โครงการวันที่ 16 – 18 ตุลาคม และดีคอนโด ธาร จรัญฯ เริ่มโอนกรรมสิทธิ์โครงการวันที่ 30 ตุลาคม ถึง 1 พฤศจิกายน 2563   ด้านแผนการเปิดตัวโครงการใหม่  เตรียมเปิดตัวในช่วงไตรมาสที่ 4 อีกจำนวน  10 โครงการ รวมมูลค่ากว่า 11,700 ล้านบาท แบ่งการพัฒนาเป็นการเปิดตัวบ้านเดี่ยว จำนวน 3 โครงการ มูลค่าโครงการรวม 5,500 ล้านบาท บ้านและทาวน์โฮมภายใต้แบรนด์ อณาสิริ 4 โครงการ มูลค่าโครงการรวม 4,200 ล้านบาท และทาวน์โฮมแบรนด์ สิริ เพลส 3 โครงการ มูลค่าโครงการรวม 2,000 ล้านบาท รวมทั้งบริษัทยังมีแผนเปิดตัวคอนโดมิเนียมโครงการใหม่ ภายใต้แบรนด์ เดอะ เบส ในชื่อและทำเล “เดอะ เบส อีส-บางแค” มูลค่าโครงการ 1,000 ล้านบาท ในวันที่ 26 – 27 กันยายนนี้อีกด้วย  
ส่องทิศทางอสังหาฯ ไทย หลังผ่านวิกฤตโควิด-19

ส่องทิศทางอสังหาฯ ไทย หลังผ่านวิกฤตโควิด-19

ตลาดอสังหาฯ คาดซึมยาว 2-3 ปี หลังโดนผลกระทบจากไวรัสโควิด-19 ธุรกิจโรงแรมโดนหนักสุด เหตุนักท่องเที่ยวไม่สามารถเดินทางเข้าประเทศได้ คาดทั้งปีนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้าไทย 8-10 ล้านคน  ขณะที่ศูนย์การค้าโดนกระทบไม่ต่างกัน ส่วนออฟฟิศให้เช่าปรับตัวได้ดี แนวโน้มราคาลดลงเล็กน้อย ด้านตลาดคอนโด​ดีเวลลอปเปอร์หั่นราคา พร้อมอัดโปรอยู่ฟรี กระตุ้นยอดขาย   ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ เป็นหนึ่งธุรกิจสำคัญที่มีส่วนผลักดัน ให้เศรษฐกิจของประเทศเติบโต เพราะมีส่วนเกี่ยวข้องกับธุรกิจอื่น ๆ และยังมีธุรกิจต่อเนื่องอีกมากมาย ซึ่งธุรกิจอสังหาฯ​ ไม่ได้มีเฉพาะตลาดที่อยู่อาศัยเท่านั้น  แต่ยังมีธุรกิจโรงแรม ศูนย์การค้า และสำนักงานให้เช่า ซึ่งล้วนแต่เป็นธุรกิจขนาดใหญ่แทบทั้งสิ้น   นับตั้งแต่เกิดเหตุการณ์ระบาดของไวรัสโควิด-19 ตั้งแต่ช่วงต้นปีที่ผ่านมา ต้องยอมรับว่า ปัจจุบันธุรกิจอสังหาฯ หลายประเภทยังไม่กลับมาฟื้นตัวเป็นปกติ แม้ว่าระบบสาธารณสุขไทยจะสามารถควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ได้อย่างมีประสิทธิภาพก็ตาม เพราะยังมีหลายปัจจัยที่ยังไม่ได้กลับมาเป็นปกติ เหมือนก่อนเกิดการแพร่ระบาด โรงแรมโดนพิษโควิดหนักสุด อัตราเข้าพักแค่ 10% นางสุพินท์ มีชูชีพ ประธานคณะกรรมการตัดสินรางวัลพร็อพเพอร์ตี้กูรู ไทยแลนด์ พร็อพเพอร์ตี้ อวอร์ดส์  และกรรมการผู้จัดการ  บริษัท โจนส์ แลง ลาซาลล์ (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า ธุรกิจโรงแรมถือว่าได้รับผลกระทบอย่างมาก เนื่องจากการท่องเที่ยวของไทยได้รับผลกระทบค่อนข้างมาก เพราะที่ผ่านมามีมาตรการล็อกดาวน์ ตั้งแต่ช่วงเดือนมีนาคมที่ผ่านมา  จึงส่งผลให้ตลาดโรงแรมได้รับผลกระทบตั้งแต่ไตรมาสแรก แต่ในช่วงไตรมาส 2 มีผลกระทบรุนแรงมากที่สุดเพราะมีอัตราการเข้าพักต่ำแม้ว่าภาครัฐจะไม่ได้สั่งปิดโรงแรม  ทำให้การเปิดบริการไม่คุ้มค่ากับค่าใช้จ่ายในการบริหาร จึงไม่สามารถเปิดให้บริการได้ปกติ โดยเฉพาะกลุ่มโรงแรมระดับ 5-6 ดาว ที่มีต้นทุนการเปิดดำเนินการค่อนข้างสูง   อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ต่อตลาดโรงแรมยังคงมีอย่างต่อเนื่อง จนกว่าจะมีการอนุญาตให้นักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้ามาในประเทศได้  แม้ว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 จะควบคุมได้ดี และมีความผ่อนคลายมากขึ้นขึ้น แต่ยังมีข้อจำกัดเรื่องการเว้นระยะห่างทางสังคม ทำให้มีข้อจำกัดเรื่องการจัดประชุม สัมมนาขนาดใหญ่ได้   โดยในปีนี้  คาดว่าจะมีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้ามาประมาณ​ 8-10 ล้านคน จากเดิมที่ตั้งเป้าว่าจะมีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้ามา 40 ล้านคน จำนวนนักท่องเที่ยวดังกล่าว ประกอบกับอัตราการเข้าพักที่อยู่ระดับ 10% จึงทำให้ตลาดโรงแรมยังได้รับผลกระทบ ซึ่งก่อนหน้านี้มีการตั้งเป้าหมายว่าอัตราเข้าพักในโรงแรมต่างๆ ของปีนี้จะมีอัตราเฉลี่ย 75-80% และในช่วงไฮซีซั่นคาดว่าจะมีอัตราเข้าพัก 80-90%   แม้ว่าปีนี้รัฐบาลจะพยายามส่งเสริมและกระตุ้นการท่องเที่ยวภายในประเทศ แต่เชื่อว่าไม่สามารถกระตุ้นตลาดให้กลับมาเหมือนช่วงก่อนเกิดวิกฤตโควิดได้ ออฟฟิศให้เช่าหดตัว10-15% สำหรับตลาดศูนย์การค้า เป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการล็อกดาวน์  เพราะถูกสั่งให้ปิดบริการ จึงได้รับผลกระทบจากการที่ลูกค้าไม่สามารถเดินทางมาซื้อสินค้าได้ รวมถึงศูนย์การค้าที่จับกลุ่มตลาดนักท่องเที่ยว ยังได้รับผลกระทบจากจำนวนนักท่องเที่ยวที่หายไปด้วย ซึ่งหลังจากนี้ยังเชื่อว่าธุรกิจศูนย์การค้า จะยังไม่กลับมาเป็นปกติโดยเร็ว เพราะยังมีผลกระทบจากกำลังซื้อที่ชะลอตัวลง และธุรกิจอื่น ๆ ก็ได้รับผลกระทบเช่นเดียวกัน ส่งผลให้ธุรกิจศูนย์การค้ายังต้องเผชิญความท้าทายในช่วงเวลาที่เหลือ   ส่วนตลาดสำนักงานให้เช่า  สามารถรับมือกับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19ได้ดี​ แม้ว่าจะมีการทำงานจากที่บ้าน (Work From Home) หรือผู้เช่าจะขอเว้นระยะการจ่ายค่าเช่าจากผู้ให้บริการพื้นที่บ้างก็ตาม แต่ตลาดสำนักงานให้เช่า ถือว่าได้รับผลกระทบน้อยสุด  โดยแนวโน้มการใช้พื้นที่สำนักงานให้เช่า คาดว่าจะมีความต้องการลดลงเล็กน้อยประมาณ 10-15% แต่ทั้งนี้ คงต้องพิจารณาสถานการณ์และผลกระทบของเศรษฐกิจ จะได้รับผลกระทบแตกต่างกันอย่างไร  ซึ่งความต้องการตลาดสำนักงานให้เช่ามีแนวโน้มลดลงแน่นอน   ตลาดออฟฟิศไทยยังมีปริมาณจำกัด จึงน่าจะรองรับความต้องการได้ และราคาไม่น่าจะปรับเพิ่มขึ้น หรืออาจะจะลดลงเล็กน้อยภายในระยะ  6-12 เดือน จากเดิมที่คาดว่าราคาจะปรับเพิ่มขึ้น หยุดเปิดโปรเจ็กต์คอนโด 2 ปี สำหรับตลาดคอนโดมิเนียม ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 น้อย โดยเฉพาะกลุ่มตลาดลักชัวรี่ ในพื้นที่ย่านใจกลางเมือง ทำเลสุขุมวิท สีลม เพลินจิต เป็นต้น ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นเพราะมีซัพพลายน้อย เมื่อเทียบกับภาพรวมของตลาด ส่งผลให้ได้รับผลกระทบไม่มากนัก แต่จากความไม่มั่นใจในภาวะเศรษฐกิจ ทำให้ดีเวลลอปเปอร์มีแพคเกจต่าง ๆ ออกมากระตุ้นการตัดสินใจซื้อ รวมถึงการลดราคาคอนโดลง  แต่สำหรับการเปิดตัวโครงการใหม่ เชื่อว่าจะยังมีน้อยหรืออาจจะไม่มีการเปิดตัวภายในระยะ 2 ปีข้างหน้า และหากมีการเปิดตัวโครงการใหม่ เชื่อว่าราคาจะไม่ต่ำกว่าในช่วงที่ผ่านมาแน่นอน วัคซีนป้องกันโควิดไม่รู้จะมาเมื่อไร ทำให้เกิดความไม่มั่นใจ และความกังวลต่อโควิดยังมีอยู่  และนักลงทุนยังไม่สามารถเดินทางเข้ามาในประเทศได้ ส่งผลกระทบต่อการลงทุนขนาดใหญ่ เพราะเข้ามาดูสินค้าไม่ได้ ทำให้การตัดสินใจล่าช้าออกไป นางสุพินท์ กล่าวอีกว่า  ประเทศไทยต้องเผชิญกับวิกฤตหลายครั้ง นับตั้งแต่วิกฤตต้มยำกุ้ง ประท้วงทางการเมือง วิกฤตแฮมเบอเกอร์  แต่ตลาดอสังหาฯ ​ไทยมีแรงต้านทานวิกฤตมาก แม้จะต้องใช้ระยะเวลาปรับตัวสู้กับวิกฤตก็ตาม  ซึ่งในภาวะวิกฤตโควิดครั้งนี้  คาดว่าอาจจะต้องใช้ระยะเวลา 2-3 ปี เพื่อให้ตลาดกลับมาฟื้นตัว ซึ่งประเทศไทยถือว่ามีข้อดี ที่สามารถควบคุมโควิดได้ดีในอันดับต้น ๆ ของโลก  ซึ่งเป็นแรงกระตุ้นให้นักลงทุนเข้ามาในประเทศ   ตลาดท่องเที่ยวหากยังไม่ฟื้นตัวเหมือนเดิม จะทำให้เศรษฐกิจไทยไม่ฟื้นตัวตาม เพราะธุรกิจการท่องเที่ยวคิดเป็นสัดส่วนมากถึง 15-20% ของจีดีพีไทย ดีเวลลอปเปอร์หั่นราคาอัดโปรกระตุ้นตลาดคอนโด ด้านนางกมลภัทร แสวงกิจ ผู้จัดการใหญ่ประจำประเทศไทย ดีดี พร็อพเพอร์ตี้ กล่าวว่า ราคาอสังหาฯ​ ในช่วงไตรมาส 2 ปรับลดลง 4% จากไตรมาสแรกของปี  ซึ่งถือว่าเป็นผลดีที่ทำให้ลูกค้าตัดสินใจซื้ออสังหาฯ ได้ง่ายขึ้น  โดยราคาคอนโดลดลง 9% ส่วนบ้านเดี่ยวราคาปรับเพิ่มขึ้น 3% ทาวน์โฮมปรับเพิ่มขึ้น 2% เนื่องจากความต้องการโครงการแนวราบมีเพิ่มมากขึ้น นอกจากการปรับตัวเรื่องราคาอสังหาฯ แล้ว ยังพบว่าลูกค้ามีวิธีการเลือกซื้ออสังหาฯ  เปลี่ยนไป เช่น ต้องการห้องลิฟวิ่งรูมขนาดใหญ่ และอินเตอร์เน็ต มาพร้อมกับบ้าน ต้องการใช้พื้นที่ส่วนกลาง  แต่ต้องมีความเป็นส่วนตัวมากขึ้น  ทำเลที่ตั้งยังคงมีความสำคัญ ซึ่งอดีตคนอยากอยู่ในเมือง ซึ่งส่งผลให้ราคาคอนโดแพงขึ้น แต่ปัจจุบันสามารถทำงานจากที่บ้านได้  ทำให้คนส่วนใหญ๋ไม่จำเป็นต้องการซื้อทั้อยู่ในเมือง  สามารถซื้อที่อยู่ไกลออกไปได้ แต่ยังต้องเดินทางสะดวก จึงเลือกที่อยู่อาศัยตามแนวเส้นทางรถไฟฟ้า แม้สถานีไกลออกไป  และเลือกบ้านแนวราบมากขึ้น   ซัพพลายที่อยู่อาศัยลดลง 15% จากการปรับราคาลดลง ของดีเวลลอปเปอร์ รวมถึงการออกโปรโมชั่นอยู่ฟรี 2-5 ปี  ซึ่งนักลงทุนประมาณ 15% ยังซื้อคอนโด  เพราะเห็นว่าราคาน่าซื้อ แต่รูปแบบการซื้อและโลเคชั่นแตกต่างกันไปแต่ลูกค้าในภาพรวมยังพิจารณามากขึ้น ดูความสามารถในการผ่อนในอนาคต    
รีวิว ศุภาลัย พรีโม่ รังสิต ทาวน์โฮมใหม่จากศุภาลัย ราคาเริ่ม 2 ล้านกว่า

รีวิว ศุภาลัย พรีโม่ รังสิต ทาวน์โฮมใหม่จากศุภาลัย ราคาเริ่ม 2 ล้านกว่า

ศุภาลัย พรีโม่ รังสิต ทาวน์โฮมใหม่จากศุภาลัย ราคาเริ่ม 2 ล้านกว่า ศุภาลัย พรีโม่ รังสิต / Supalai Primo Rangsit โครงการใหม่ล่าสุดจากศุภาลัย ปักหมุดบนทำเลศักยภาพ เดินทางสะดวกสบาย ใกล้รถไฟฟ้า เดินทางเข้าสู่ใจกลางเมืองได้อย่างรวดเร็ว ด้วยแนวคิด "ทาวน์โฮม ดีไซน์ใหม่ ฟังก์ชั่นใหม่ ด้วยการสร้างแรงบันดาลใจที่แตกต่าง กับทาวน์โฮมมิติใหม่ มุมมองใหม่ สร้างจุดเด่นและความแตกต่างและลงตัวมากขิ้น ตอบโจทย์ทุกไลฟ์สไตล์แบบ New Normal   Create your inspiration... with a new path of living.. สร้างแรงบันดาลใจที่แตกต่าง กับทาวน์โฮมมิติใหม่   ศุภาลัย พรีโม่ รังสิต ทาวน์โฮมใหม่จากศุภาลัย ราคาเริ่ม 2 ล้านกว่า จุดเด่นโครงการ 1.ทาวน์โฮม 2 ชั้นใหม่สไตล์ Modern พื้นที่ใช้สอยครบถ้วนสำหรับครอบครัวคนรุ่นใหม่ โดยห้องมุมมีหน้ากว้างพิเศษ (6.25เมตร) 2.ฟังก์ชั่นบ้าน ตอบโจทย์ คนรุ่นใหม่ สไตล์ New normal พื้นที่ห้องครัวเป็นครัวปิดขนาดใหญ่เป็นสัดส่วน ป้องกันกลิ่นและระบายอากาศสู่ภายนอกได้โดยตรง 3.จุดเด่นเรื่องการออกแบบบ้านประหยัดพลังงาน โดยเพิ่มช่องแสง Skylight บริเวณโถงบันไดกลางบ้าน นำแสงสว่างกลับมาสู่บ้าน เพื่อสุขอนามัยและประหยัดค่าไฟเพิ่มขึ้น รวมถึงเลือกสรรวัสดุประหยัดพลังงาน อาทิ ประตูหน้าต่างกระจกเขียวตัดแสง หลังคากระเบื้องคอนกรีตลดความร้อน 4.จุดเด่นเรื่องพื้นที่ช้สอยหลังบ้านสามารถจัดสวนได้อย่างเต็มที่ ไม่ต้องกังวลกับงานระบบสุขาภิบาลหลังบ้านอีกต่อไป 5.ทำเลศักยภาพ เดินทางสะดวกสบาย ใกล้รถไฟฟ้า เดินทางเข้าสู่ใจกลางเมืองได้อย่างรวดเร็ว แวดล้อมด้วยสิ่งอำนายความสะดวกมากมาย อาทิ ห้างสรรพสินค้า ฟิวเจอร์พาร์ค รังสิต & SPELL 6.ตอบโจทย์ชีวิตทันสมัย ด้วย ระบบบ้านอัจฉริยะ HOME AUTOMATION   สอบถามข้อมูลโครงการเพิ่มเติม https://lin.ee/JuPQAaY โครงการอื่นๆ ของ ศุภาลัย ศุภาลัย ลอฟท์ สาทร-ราชพฤกษ์ Supalai Urbana แจ้งวัฒนะ-ปากเกร็ด Supalai City Resort Charan 91  
เอพี ทุบสถิติยอดขายครึ่งปีแรก “สูงสุด” ส่งทาวน์โฮม 13 โปรเจ็กต์เพิ่มรายได้

เอพี ทุบสถิติยอดขายครึ่งปีแรก “สูงสุด” ส่งทาวน์โฮม 13 โปรเจ็กต์เพิ่มรายได้

เอพี เดินหน้าทุบสถิติยอดขาย 7 เดือน สูงสุดในประวัติศาสตร์ พร้อมส่ง 13 โปรเจ็กต์กลุ่มทาวน์โฮม  มูลค่า 15,350 ล้านบาท  เดินหน้าทำตลาดช่วงโค้งท้ายปี หลังพบดีมานด์จริงยังต้องการซื้อบ้านอยู่อาศัย   ปฏิเสธไม่ได้ว่า “พระเอก” ในตลาดอสังหาริมทรัพย์ปีนี้ คือ กลุ่มบ้านแนวราบ ทั้งบ้านเดี่ยว ทาวน์โฮม และบ้านแฝด เพราะถือว่าเป็นตลาด Real Demand ที่ผู้ซื้อต้องการอาศัยอยู่จริง ที่สำคัญ ผู้คนส่วนใหญ่เริ่มมีวิถีชีวิต ตามแบบความปกติใหม่ หรือ New Normal หลังจากเกิดเหตุการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่ต้องตระหนักถึงความปลอดภัยเรื่องของสุขภาพ การเว้นระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) และการต้องใช้พื้นที่ เพื่อทำงานจากที่บ้าน (Work From Home)    ตลาดคอนโดมิเนียม ที่เคยเป็น “พระเอก” เมื่อหลายปีก่อน มาปีนี้ตลาดทรุดตัวลงอย่างหนัก เห็นได้จากผู้ประกอบการหลายราย เลือกที่จะไม่เปิดโครงการใหม่ และเร่งระบายสต็อกสินค้าในมือออกให้ได้มากที่สุด เพื่อบริหารความเสี่ยงและต้องการกระแสเงินสดเข้ามา เพราะเทรนด์การพักอาศัยนับจากนี้ คงเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก ตลาดคอนโดคงไม่เฟื่องฟูเหมือนอดีต หากมองจากสถานการณ์ปัจจุบัน ถึงอนาคตอันใกล้ในช่วง 2-3 ปีนับจากนี้   ช่วงที่ผ่านมาเรียกได้ว่าดีเวลลอปเปอร์แทบจะทุกราย หันมาโฟกัสการทำตลาดแนวราบ เปิดโครงการใหม่อออกมาทำตลาด  และเวลาช่วงครึ่งปีแรกที่ผ่านมา หลายบริษัทก็ได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า ตลาดแนวราบเป็น “พระเอก” ตัวจริง เพราะสามารถสร้างยอดขายและทำรายได้สูง อย่างไม่เคยปรากฎมาก่อน บางรายสามารถ “ทุบสถิติ” ยอดขายของตัวเอง ที่เคยทำได้สูงสุดอดีต กลายเป็นยอดขายแบบ “นิวไฮด์” นับตั้งแต่เริ่มทำธุรกิจอสังหาฯ​ มาเลยก็มีให้เห็น   สำหรับบริษัท เอพี ไทยแลนด์ จำกัด (มหาชน) ก็เป็นหนึ่งในดีเวลลอปเปอร์ ที่มีไดเรคชั่นการดำเนินธุรกิจ ไปในทิศทางเดียวกับสภาพตลาด โดยหันมาเน้นการเปิดตัวโครงการใหม่ ที่เป็นตลาดแนวราบ ไม่เปิดตัวโครงการคอนโด แต่ยังคงมีห้องชุดออกขาย ซึ่งเป็นโครงกาเก่าที่เปิดตัวมากก่อนหน้านี้  ที่สำคัญยังเป็นหนึ่งในดีเวลลอปเปอร์ที่สามารถสร้างผลงาน ทุบสถิติทำยอดขายได้สูงสุดนับตั้งแต่ตั้งบริษัทมาเลยเช่นกัน (อ่านข่าวเพิ่มเติม....เอพี ลุยตลาดอสังหาฯครึ่งปีหลัง เปิด 26 โปรเจ็กต์แนวราบ มูลค่า 26,000 ล้าน)   ทิศทางของบริษัทในช่วงครึ่งปีหลัง ยังคงเดินตามแนวทางดังกล่าว คือ การเปิดตัวโครงการแนวราบ โดยหนึ่งใน “พระเอก” ที่จะเข้ามาสร้างการเติบโต อย่างมีนัยะสำคัญ คือ กลุ่มทาวน์โฮม ภายใต้แบรนด์บ้านกลางเมือง และพลีโน่ (Pleno) ที่วางแผนเปิดตัวในช่วงเวลาที่เหลืออีก 13 โครงการ มูลค่า 15,350 ล้านบาท     นายภมร ประเสริฐสรรค์ รองกรรมการผู้อำนวยการ สายงานพัฒนาธุรกิจกลุ่มสินค้าทาวน์โฮม บริษัท เอพี (ไทยแลนด์) จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า จะเปิดตัวโครงการภายใต้แบรนด์  บ้านกลางเมือง  5 โครงการใหม่ มูลค่าโครงการรวม 7,855 ล้านบาท ในราคาเริ่มต้นที่ 3.99 - 8 ล้านบาท  ส่วนแบรนด์ พลีโน่ ​จะเปิดทั้งหมด 8 โครงการ มูลค่ารวมมากถึง 7,495 ล้านบาท ในราคาเริ่มต้น 1.99 – 6.8 ล้านบาท   โดยขาย 7 เดือนที่ผ่านมา มียอดขายรวมแล้วกว่า 18,175 ล้านบาท คิดเป็น 55% จากเป้าหมายที่ตั้งไว้ 33,500 ล้านบาท โดยเป็นยอดขายจากโคงการแนวราบมูลค่า 15,540 ล้านบาท เติบโต 11% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า และคิดเป็น 70% ของเป้ายอดขายแนวราบทั้งปีที่ 22,500 ล้านบาท ซึ่งยอดขายสินค้าแนวราบทั้งหมดที่เกิดขึ้น มาจากโครงการที่อยู่ระหว่างการขายกว่า 85 โครงการ มูลค่าคงเหลือขาย 46,750 ล้านบาท (รวมโครงการแนวราบที่เปิดตัวใหม่ในครึ่งปีแรก 14 โครงการ มูลค่า 15,475 ล้านบาท)     ที่ผ่านมาเอพีมียอดขายเฉลี่ยของตลาดแนวราบต่อสัปดาห์ไม่ต่ำกว่า 500 ล้านบาท ตั้งแต่ในช่วงหลังการคลายล็อกดาวน์ แสดงให้เห็นถึงความต้องการที่อยู่อาศัยที่แท้จริงยังมีอยู่ และความมั่นใจของลูกค้าเริ่มกลับเข้าสู่สภาวะปกติ   “ในครึ่งปีแรกที่ผ่านมา เอพี ไทยแลนด์ ประสบความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจอย่างมาก โดยมี EMPOWER LIVING เป็นจุดมุ่งหมายสำคัญขององค์กร ทั้งนี้ ท่ามกลางสภาวะวิกฤตที่เกิดขึ้น ยังสามารถสร้างสถิติการเติบโตทางด้านรายได้ครั้งใหม่ที่สูงสุดเป็นประวัติการณ์ โดยในครึ่งปีแรกบริษัทฯ มีรายได้รวมจากสินค้าแนวราบและกลุ่มคอนโดฯ (100% JV) มากถึง 19,960 ล้านบาท ด้านกำไรสุทธิ (Net Profit) 2 ไตรมาสแรกสูงถึง 1,830 ล้านบาท หากดูในส่วนของรายได้รวม (100% JV) เฉพาะไตรมาส 2 ที่ 13,140 ล้านบาท ซึ่งถือว่าเป็นช่วงเวลาที่มีการประกาศใช้มาตรการล็อกดาวน์”  
โกลเด้นแลนด์ ยังทำรายได้และกำไร 6 เดือนแม้เจอวิกฤตโควิด-19

โกลเด้นแลนด์ ยังทำรายได้และกำไร 6 เดือนแม้เจอวิกฤตโควิด-19

เน้นคุมค่าใช้จ่าย รักษากระแสเงินสด ท่ามกลางโควิด-19 เตรียมออกจากการเทรดหุ้นในตลาด วันที่ 11 สิงหาคมนี้ หลังเฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ เสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดแล้ว    โกลเด้นแลนด์ (GOLD) หรือ บริษัท แผ่นดินทอง พร็อพเพอร์ตี้ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) เผยผลประกอบการสำหรับรอบระยะเวลา 6 เดือน (1 มกราคม 2563 – 30 มิถุนายน 2563) สามารถทำรายได้รวมจำนวน 8,308 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิจำนวน 830 ล้านบาท ใกล้เคียงกันจากงวดเดียวกันของปีก่อน จากการเปิดตัวโครงการครอบคลุมทั้งกรุงเทพฯ ปริมณฑล และต่างจังหวัด รวมถึงการควบคุมค่าใช้จ่ายอย่างมีประสิทธิภาพ และการเน้นรักษากระแสเงินสด   อย่างไรก็ตาม แม้ว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 จะกระทบกับการรับรู้รายได้ของบริษัท เนื่องจากลูกค้าพิจารณานานขึ้น แต่บริษัทยังคงมั่นใจจะสามารถรับรู้รายได้  ในระดับที่ประคับประคองธุรกิจให้ผ่านพ้นวิกฤตการณ์ดังกล่าวไปได้  เนื่องจากผู้บริโภคยังคงให้ความสนใจอสังหาริมทรัพย์แนวราบ ซึ่งบริษัทยังเดินหน้าเปิดโครงการใหม่ และทำโปรโมชั่นส่งเสริมการขายอย่างต่อเนื่อง อาทิ อยู่ฟรี 3 ปี เมื่อพิจารณาเฉพาะรายได้หลักจากการขายอสังหาฯ งวด 6 เดือน  บริษัทมีรายได้ส่วนนี้รวม 7,438 ล้านบาท ใกล้เคียงกันจากงวดเดียวกันของปีก่อน เป็นผลมาจากยังคงสามารถรับรู้รายได้จากโครงการที่เปิดขายตั้งแต่ปี 2562 อย่างต่อเนื่อง   ในขณะที่รายได้ค่าเช่าและอื่น ๆ งวด 6 เดือน บริษัทมีรายได้ส่วนนี้รวม 757ล้านบาท ใกล้เคียงจากงวดเดียวกันของปีก่อน โดยธุรกิจอาคารสำนักงานให้เช่าสามารถทำรายได้เพิ่มสูงขึ้นจากงวดเดียวกันของปีก่อน แต่ธุรกิจโรงแรมได้รับผลกระทบตรงจากวิกฤตการณ์ไวรัสโควิด-19 จึงมีรายได้ลดลง ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2563 ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) ได้อนุมัติให้บริษัทเพิกถอนออกจากสถานะการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้ ตั้งแต่วันที่ 11 สิงหาคม 2563 โดยหุ้นสามัญของ GOLD จะซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ฯ เป็นวันสุดท้ายในวันที่ 10 สิงหาคม 2563   โดยเป็นไปตามกระบวนการเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดของกิจการ เพื่อเพิกถอนหลักทรัพย์ของกิจการออกจากการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ โดยบริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) (“FPT”) เป็นผู้ทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ได้ดำเนินการตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับของตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้เสร็จสิ้นสมบูรณ์แล้ว โดยผลของการทำคำเสนอซื้อทำให้ FPT เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของ GOLD มากกว่า 99% สำหรับกระบวนการนี้เป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์บริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) เพื่อเพิ่มศักยภาพธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ของกลุ่มให้อยู่ในแพลตฟอร์มเดียวกัน ก้าวเป็นผู้นำในการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่มีความหลากหลาย ครอบคลุมอสังหาริมทรัพย์ประเภทที่อยู่อาศัย (Residential) โครงการเชิงพาณิชย์ (Commercial) และพื้นที่เชิงอุตสาหกรรม (Industrial) ภายใต้บริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)
1 ปี SANSIRI BACKYARD จากพื้นที่สีเขียว สู่สวนผักทานได้ ปลูกง่ายในบ้าน

1 ปี SANSIRI BACKYARD จากพื้นที่สีเขียว สู่สวนผักทานได้ ปลูกง่ายในบ้าน

แสนสิริ ต่อยอดโปรเจ็กต์ SANSIRI BACKYARD จากการปั้นพื้นที่ว่างเปล่าเป็นพื้นที่สีเขียว สู่สวนผักทานได้  กระตุ้นลูกบ้านกว่า 120,000 ครอบครัว หันมาดูแลตนเองใช้พื้นที่ว่างปลูกพืชผักไว้กินเอง แสนสิริ ได้เริ่มต้นวิสัยทัศน์ For Greater Well-being ที่ใส่ใจสุขภาพและสิ่งแวดล้อมเพื่อตอบโจทย์ความต้องการคุณภาพชีวิตที่ดีของคนเมือง จากการมองเห็นเทรนด์การใช้ชีวิตของผู้บริโภค ที่เปลี่ยนแปลงไปโดยเฉพาะเทรนด์การรักษ์โลก ด้วยการปลูกต้นไม้ไว้ในบ้านหรือห้องพักตามคอนโดมิเนียม จึงได้สานต่อวิสัยทัศน์ดังกล่าว เปิดตัว Sansiri Backyard (แสนสิริ แบคยาร์ด) คอมมูนิตี้สีเขียวในเมือง ซึ่งปัจจุบันโครงการดังกล่าวได้เดินทางมาครบ 1 ปีแล้ว   โครงการ Sansiri Backyard นำที่ดินรอการพัฒนาพื้นที่รวมกว่า 14 ไร่ ของ T77 บริเวณสุขุมวิท77 ให้เป็นฟาร์มผักปลอดสาร เพื่อกระตุ้นให้ผู้คนในเมืองใหญ่เห็นความสำคัญการใช้ชีวิตใกล้ชิดธรรมชาติและคุณภาพชีวิตที่ดีที่มาจากการทานอาหารสดใหม่ ปลอดสารและไม่ปรุงแต่ง  ซึ่งแสนสิริคาดหวังว่าโครงการนี้ จะช่วยจุดประกายและสร้างแรงบันดาลใจ ให้ผู้คนเริ่มต้นสร้างพื้นที่สีเขียวบนพื้นที่ว่างเปล่าใกล้ตัว และปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ทำให้เกิดคุณภาพชีวิตที่ดี ทั้งต่อตนเองและสิ่งแวดล้อมได้     ขณะที่ช่วงเกิดการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 สถานการณ์ดังกล่าวได้ส่งผลให้ผู้คนหันมาดูแลสุขภาพเชิงป้องกันเพิ่มมากขึ้น จากผลสำรวจของดุสิตโพลล่าสุดชี้ว่าประชากร 45.39% ปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์หันมาให้ความสำคัญกับการออกกำลังกาย และเลือกบริโภคอาหารปลอดภัย ด้วยความคิดที่ว่าการดูแลสุขภาพให้ดีอยู่เสมอจะช่วยป้องกันไวรัส และการบริโภคอาหารที่ปลอดภัยจะช่วยสร้างภูมิคุ้มกันได้   นางจริยา จันทร์เจิดศักดิ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการสายพัฒนาผลิตภัณฑ์ บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ตลอด 1 ปีที่ผ่านมาโครงการ SANSIRI BACKYARD ภายใต้หลัก 3GS หรือ GREEN-GROW-GIVE นั้น ไม่ได้มองเฉพาะเรื่องของการให้ความร่มรื่นในที่อยู่อาศัยเท่านั้น แต่ต้องใช้พื้นที่ในบ้านให้เป็นประโยชน์ด้วยการเป็นแหล่งอาหารที่ปลอดภัยของครอบครัว จึงเกิดเป็นแนวคิด “SANSIRI BACKYARD: EAT-ABLE GARDEN (แสนสิริ แบคยาร์ด: อีท-เอเบิ้ล การ์เด้น) สวนผักทานได้ ปลูกง่ายในบ้าน” สนับสนุนให้ลูกบ้านใช้พื้นที่ว่างบางส่วน เช่นสวนหลังบ้านหรือริมระเบียงคอนโด มาทำสวนผักทานได้ และสามารถเป็นผู้ผลิตอาหารด้วยตัวเอง (FOOD PRODUCER)   โดย SANSIRI BACKYARD: EAT-ABLE GARDEN ได้จัดโชว์เคสในโชว์ยูนิต ทั้งโครงการบ้านและคอนโด ได้แก่ คาวะ เฮาส์ (kawa HAUS), อณาสิริ ชัยพฤกษ์–วงแหวนและอณาสิริ กรุงเทพ-ปทุมธานี ควบคู่ไปกับการจัดกิจกรรมสนับสนุนให้ลูกค้าและ SANSIRI FAMILY กว่า 120,000 ครอบครัว สามารถปลูกสวนผักทานได้ในบ้านให้เกิดขึ้นจริงภายใต้คอนเซ็ปต์ GREEN INSPIRE-GROW COMMUNITY-GIVE EXPERIENCE ตั้งแต่ ส่งมอบชุดปลูกผักทานได้ (EDIBLE PLANT KIT) แบ่งปันทิปส์เกี่ยวกับ EDIBLE PLANT ทั้งผัก สมุนไพรไทยและต่างประเทศ รวมถึงดอกไม้ และจัดป๊อปอัพสวนทานได้ รวมถึงไลน์อัพสิทธิพิเศษอีกมากมายจากไร่กำนันจุล, ท็อปส์ มาร์เก็ต  และวิลล่า มาร์เก็ต พร้อมผลักดัน ZTHEGARDEN หนึ่งในผู้ชนะจาก THE FOUNDER โปรเจคปั้นพนักงานสู่สตาร์ทอัพ เพื่อส่งมอบบริการจัดสวนทานได้ถึงที่พักอาศัย     ในครึ่งปีหลังของแสนสิริพร้อมเดินหน้าสานต่อความสำเร็จของ SANSIRI BACKYARD ทั้งบนพื้นที่ส่วนกลางและพื้นที่รอพัฒนาเป็นแหล่งอาหารของชุมชน ขยายพื้นที่สีเขียวรวมเป็น 17 ไร่ของ SANSIRI BACKYARD x CHUL FARM ที่ T77 COMMUNITY เพิ่มนาข้าวไรซ์เบอร์รี่ และเลี้ยงเป็ดในแปลงนา เพื่อกำจัดวัชพืช ศัตรูข้าว รวมทั้งเพิ่มปุ๋ยให้ต้นข้าว โดยอยู่ภายใต้การดูแลอย่างของไร่กำนันจุล หนึ่งใน CO-GROWING PARTNER พันธมิตรธุรกิจรักษ์โลกของแสนสิริ   พร้อมกันนี้ยังมีการเพิ่มลู่วิ่งออกกำลังกายความยาว 1.5 ก.ม. รอบโครงการ T77 COMMUNITY ที่ผ่านเข้าไปชมความอุดมสมบูรณ์ของ SANSIRI BACKYARD x CHUL FARM และงานศิลปะ WALL ART  ขณะที่วางเป้าสร้าง SANSIRI BACKYARD เป็นสวนผักทานได้และแหล่ง FOOD SUPPLY บนพื้นที่ส่วนกลางรวม 160 โครงการคอนโดฯ บ้านเดี่ยว ทาวน์โฮมและทาวน์เฮาส์ภายในปีนี้   “SANSIRI BACKYARD: EAT-ABLE GARDEN เป็นการปรับปัจจัยแวดล้อมของการพัฒนาโครงการของแสนสิริให้เข้ากับเทรนด์ปัจจุบันของการใช้ชีวิตของผู้บริโภค ที่หันมาใส่ใจต่อการใช้ชีวิตเพื่อสุขภาพดีอย่างยั่งยืน รวมถึงใช้ชีวิตแบบเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ผู้บริโภคใช้จ่ายอย่างมีจิตสำนึกเรื่องความยั่งยืน การอยู่ร่วมกับธรรมชาติ และการกินอยู่ที่ปลอดภัย ปลอดสารมากขึ้น”   นางจริยา กล่าวตอนท้ายว่า ตลอดช่วงที่รัฐบาลประกาศล็อคดาวน์ ที่ทุกคนใช้ชีวิตส่วนใหญ่ในบ้านและคอนโด SANSIRI BACKYARD ได้ทำหน้าที่เป็น FOOD SUPPLY หรือแหล่งอาหารแก่ชุมชนทั้งที่หัวหินและชุมชนลูกบ้านใน T77 COMMUNITY และอีก 30 โครงการ มากกว่า 15,000 ครอบครัวรวมไปถึงชุมชนใกล้เคียง ที่เชื่อมั่นในความสะอาดปลอดภัยจากการปลูกผักแบบปลอดสารของ SANSIRI BACKYARD    
เปิด 5 ทำเล ราคาที่ดินเปล่า ปรับเพิ่มสูงสุด

เปิด 5 ทำเล ราคาที่ดินเปล่า ปรับเพิ่มสูงสุด

REIC เปิด 5 ทำเล แนวรถไฟฟ้า ดัชนีราคาที่ดินเปล่าก่อนการพัฒนาในกรุงเทพฯ-ปริมณฑล ไตรมาส 2 ปี 2563 ปรับเพิ่มขึ้นกว่า 30%  แนวรถไฟฟ้าสายสีเขียวเหนือ (คูคต - ลำลูกกา) ที่ยังไม่ก่อสร้าง ครองแชมป์ราคาปรับเพิ่มสูงสุด 5 ไตรมาสติดต่อกัน   ดร.วิชัย วิรัตกพันธ์ ผู้ตรวจการธนาคารอาคารสงเคราะห์ และรักษาการผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์  หรือ REIC เปิดเผยว่า ศูนย์ข้อมูลฯ  ได้จัดทำดัชนีราคาที่ดินเปล่าก่อนการพัฒนาในกรุงเทพฯ-ปริมณฑล ในไตรมาส 2 ปี 2563  พบว่า มีค่าดัชนีเท่ากับ 308.6  เพิ่มขึ้น  5.2%  เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า ซึ่งมีค่าดัชนีเท่ากับ 293.3 และปรับเพิ่มขึ้น 30.3% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ซึ่งมีค่าดัชนีเท่ากับ 236.9 จุด   การปรับเพิ่มขึ้นของดัชนีราคาที่ดินเปล่าก่อนการพัฒนาในไตรมาสนี้ ทำเลที่มีการปรับเพิ่มขึ้นมากกว่าทำเลอื่นๆ ส่วนใหญ่ยังคงเป็นพื้นที่ปลายสายรถไฟฟ้า ที่เป็นส่วนต่อขยายและมีแผนจะก่อสร้างในอนาคต  โดยทำเลที่มีเส้นทางรถไฟฟ้าผ่าน 5 อันดับแรกที่มีอัตราการขยายตัวของราคาที่ดินเพิ่มขึ้นสูงสุด เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ได้แก่   ดัชนีราคาที่ดินเปล่าก่อนการพัฒนาตามเส้นทางรถไฟฟ้าที่มีการเปลี่ยนแปลงสูงสุด 5 อันดับแรก ในไตรมาส 2 ปี 2563 1.สายสีเขียวเหนือ (คูคต - ลำลูกกา) เป็นเส้นทางรถไฟฟ้าที่ยังไม่เริ่มก่อสร้าง ซึ่งเป็นส่วนต่อขยายของสายสีเขียว ในไตรมาส 2 ปี 2563 เปิดให้บริการ 4 สถานี ได้แก่ สถานีกรมป่าไม้ สถานีบางบัว สถานีกรมทหารราบที่ 11 และสถานีวัดพระศรีมหาธาตุ ส่งผลให้ราคาที่ดินในบริเวณตามแนวรถไฟฟ้านี้มีอัตราขยายตัวของราคาที่ดินเพิ่มขึ้น 61.4 และเป็นทำเลที่มีการเพิ่มขึ้นของราคาที่ดินมากที่สุดต่อเนื่องมา 5 ไตรมาส   2.สายสีชมพู (แคราย - มีนบุรี) เป็นเส้นทางรถไฟฟ้าที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง มีความคืบหน้าการก่อสร้างโดยรวมอยู่ที่ 57% มีอัตราการขยายตัวของราคาที่ดินเพิ่มขึ้น  53.6%   3.สายสีน้ำเงิน (บางแค - พุทธมณฑลสาย 4) เป็นโครงการที่มีแผนจะก่อสร้างในอนาคต มีอัตราการขยายตัวของราคาที่ดินเพิ่มขึ้น  28.5% อัตราขยายตัวของดัชนีราคาที่ดินเปล่าก่อนการพัฒนาในกรุงเทพฯ – ปริมณฑล 4.สายสีแดงอ่อน (ตลิ่งชัน - ศาลายา) เป็นโครงการที่มีแผนจะก่อสร้างในอนาคต มีอัตราการขยายตัวของราคาที่ดินเพิ่มขึ้น  26.5%   5.สายสีเขียวใต้ (สมุทรปราการ - บางปู) เป็นโครงการที่มีแผนจะก่อสร้างในอนาคต และสายสีเขียวใต้ (แบริ่ง - สมุทรปราการ) ซึ่งก่อสร้างเสร็จและเปิดให้บริการแล้ว มีอัตราขยายตัวของราคาที่ดินเพิ่มขึ้นเท่ากัน  23.1%
สิงห์ เอสเตท เจอพิษโควิด-19 ปรับเป้ารายได้ลง 50% เหลือ 9,000 ล้าน

สิงห์ เอสเตท เจอพิษโควิด-19 ปรับเป้ารายได้ลง 50% เหลือ 9,000 ล้าน

สิงห์ เอสเตท หั่นเป้ารายได้ 50% เหลือ 9,000 ล้าน แต่ยังทุ่มงบลงทุน 5,000 ล้าน พร้อมเดินหน้าตามแผนธุรกิจ 5 ปี เพิ่มโรงแรมทั่วโลกแห่ง 80 แห่ง สร้างการเติบโตและมุ่งหน้าสู่ “โกลบอล โฮลดิ้ง คอมปานี”   แม้ว่าปีนี้ประเทศไทยจะเผชิญกับปัญหาการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ซึ่งส่งผลต่อการดำเนินธุรกิจที่ทำให้ ต้องหยุดการทำธุรกรรมต่าง ๆ แน่นอนว่าต้องทำให้ยอดขายและรายได้ลดลง แต่อาจจะมีบางธุรกิจหรือบางบริษัทที่ยังคงรักษาการเติบโตและรายได้เอาไว้ได้  หลังจากปรับตัวและปรับกลยุทธ์แสวงหาโอกาสภายใต้วิกฤตที่เกิดขึ้น   สำหรับบริษัท สิงห์ เอสเตท จำกัด (มหาชน) หรือ S ก็ได้รับผลกระทบจากวิกฤตดังกล่าวเช่นกัน ทำให้จำเป็นต้องปรับเป้าหมายรายได้รวมในปี 2563 ลดลงประมาณ 50% หรือมีมูลค่า 9,000 ล้านบาท จากเป้าหมายที่คาดว่าจะทำได้ 18,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นเป้าหมายที่ลดลงมาจากช่วงต้นปี ที่ได้ประกาศก่อนหน้านี้ว่าจะทำรายได้ 20,000 ล้านบาท     นายนริศ เชยกลิ่น ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท สิงห์ เอสเตทฯ เปิดเผยว่า สิงห์ เอสเตท ยังคงเดินหน้าลงทุนตามแผนธุรกิจเดิมในระยะเวลา 5 ปี (2563 – 2567) ด้วยงบลงทุน 68,000 ล้านบาท ด้วยกลยุทธ์เติบโตอย่างยั่งยืน  แต่เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไปในปัจจุบัน จึงได้มีการปรับเป้ารายได้รวมในปีนี้ลดลง ซึ่งคาดว่าสถานการณ์ภาพรวมตลาด จะกลับมาฟื้นตัวได้ในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีนี้   บริษัทหวังเป็นอย่างยิ่งว่าวิกฤตโควิด-19 จะผ่านพ้นไปโดยเร็ว และภายหลังวิกฤต เราเห็นถึงโอกาสทางธุรกิจและการลงทุนใหม่ๆที่น่าสนใจพร้อมการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ โดยเราจะพิจารณาลงทุนตามความเหมาะสมและมีเกณฑ์ที่เข้มงวดในการตัดสินใจลงทุน เพื่อให้ได้สินทรัพย์ที่มีคุณภาพและโอกาสเพิ่มมูลค่าในอนาคต โดยแผนการลงทุนระยะ 5 ปี จะมุ่งเน้นใน 3 ธุรกิจหลัก ได้แก่ ธุรกิจที่พักอาศัย ธุรกิจอาคารสำนักงาน และธุรกิจโรงแรม 1.เดินแผนปั้นโปรเจ็กต์ปีละ 5-7 โครงการ โดยแผนการพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยในระยะ 5 ปี บริษัทยังพัฒนาโครงการปีละ 5-7 โครงการ และยังมุ่งขยายการพัฒนาโครงการที่พักอาศัย ไปในทำเลรอบเมือง  ภายใต้คอนเซปต์ “New Living and Working” เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงความต้องการของกลุ่มลูกค้าในอนาคต เนื่องจากมองเห็นโอกาสในการพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัย ที่จะขยายตัวออกจากเมืองไปยังทำเลใหม่ๆ ตามการขยายตัวของระบบขนส่งมวลชน และโครงข่ายถนน ซึ่งจะเป็นโครงการแนวราบในรูปแบบมิกซ์ยูส อันประกอบไปด้วย บ้านเดี่ยว ทาวน์โฮม รีเทล ออฟฟิศแนวราบ  ตลอดจนโครงการที่อยู่อาศัยแบบ Wellness จะเป็นสิ่งใหม่ๆ ที่มีโอกาสเกิด 2.เพิ่มพื้นที่สำนักงาน 300,000 ตร.ม. ใน 5 ปี โดยในช่วงไวรัสโควิด-19 ธุรกิจนี้ได้รับผลกระทบไม่มากนัก ซึ่งบริษัทได้ลดค่าเช่าให้กับผู้เช่าที่ได้รับผลกระทบ และการปรับปรุงคุณภาพด้านสุขอนามัย โดยติดตั้ง Touchless Solution และ UV ในระบบปรับอากาศเพื่อตอบโจทย์ New Normal ให้กับผู้เช่าอาคาร  รวมถึงมองหาผู้เช่าใหม่ๆ ที่อยู่ในธุรกิจที่มีการเติบโตดี เช่น E-commerce, Technology และ Consumer Product   ขณะเดียวกันยังคงเป้าหมายขยายพื้นที่สำนักงาน 300,000 ตารางเมตร ในระยะเวลา 5 ปี  ซึ่งเชื่อว่าในอนาคตจะยังคงมีความต้องการพื้นที่สำนักงานอยู่ในรูปแบบต่าง ๆ โดยบริษัทเตรียมนำเสนอพื้นที่สำนักงานรูปแบบใหม่ “Workspace Solution” ซึ่งมีหลายรูปแบบและหลายทำเล ทั้งอาคารขนาดใหญ่ อาคารขนาดกลาง  ออฟฟิศแนวราบ 3.ขยายโรงแรมเป็น 80 แห่ง สำหรับธุรกิจโรงแรมยังตั้งเป้าขยายจำนวนโรงแรมจาก 39 โรงแรมเป็น 80 โรงแรม ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ในระยะ 5 ปี โดยมุ่งเจาะกลุ่มนักท่องเที่ยวในระดับบน (Upper Upscale Segment) และมอบประสบการณ์การพักผ่อน ในรูปแบบที่แตกต่างและสร้างสรรค์ให้กับลูกค้า   นอกจากนี้ ยังได้พัฒนาแบรนด์ใหม่ที่จะเปิดตัวในเร็ว ๆ นี้ เป็นโมเดลธุรกิจในแบบ Asset Light Model หรือการเข้าไปลงทุนในโรงแรมที่มีศักยภาพ โดยไม่จำเป็นต้องใช้เงินลงทุนสูง แต่ใช้แบรนด์ที่บริษัทพัฒนาขึ้นเข้าบริหาร เช่น แบรนด์ซายด์ (SAii) ซึ่งจะช่วยสร้างรายได้ประจำให้มากขึ้น และเพิ่มการเติบโตของพอร์ตโฟลิโอของบริษัท เดินหน้าแผนธุรกิจครึ่งปีหลัง สำหรับแผนในช่วงครึ่งปีหลัง บริษัทยังคงเดินหน้าขยายธุรกิจ และสร้างการเติบโตต่อเนื่อง 1.จะทยอยรับรู้รายได้จากโครงการที่อยู่อาศัยที่ก่อสร้างแล้วเสร็จ ได้แก่ โครงการดิเอส สุขุมวิท 36 (THE ESSE Sukhumvit 36) ซึ่งมีมูลค่าโครงการกว่า 6,500 ล้านบาท ปัจจุบันมียอดขายประมาณ 60% จะเริ่มโอนกรรมสิทธิ์ได้ในไตรมาส 3 ซึ่งคาดว่าน่าจะมียอดรับรู้รายได้ 1,400 ล้านบาท และปัจจุบันบริษัทมียอดขายรอรับรู้รายได้ 5,500 ล้านบาท   2.ทำตลาดโครงการ ดิ เอ็กซ์โทร พญาไท-รางน้ำ (The EXTRO Phayathai-Rangnam) ใหม่อีกครั้ง หลังจากหยุดทำตลาดไปเพราะสถานการณ์ไวรัสโควิด-19 ซึ่งปัจจุบันมียอดขายแล้ว 15% 3.การปรับปรุงอาคารสำนักงาน นำเสนอพื้นที่สำนักงานรูปแบบใหม่ “Workspace Solution” โดยมีหลายรูปแบบและหลายทำเล และ Co-Working Space ในทำเลใหม่ โดยเน้นเชื่อมโยงการทำงานผ่านระบบ IT ให้ลูกค้าในทุกที่ และการขยายธุรกิจโรงแรมต่อเนื่อง ภายใต้งบประมาณรวม 5,000 ล้านบาท   4.เริ่มเดินหน้าธุรกิจพลังงานทางเลือก (Renewable Energy) ในช่วงปลายปี ที่ประเทศมัลดีฟส์ มีขนาด 5 เมกะวัตต์ ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นในธุรกิจอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และการขยายธุรกิจต่อเนื่องจากธุรกิจอสังหาฯ รวมถึงการสร้างรายได้ประจำเพิ่มขึ้น   ตลาดคอนโดอาจจะอืด ๆ ส่วนตลาดแนวราบ เราก็มอง แต่เราคงทำไม่เหมือนคนอื่น ซึ่งเชื่อว่าโควิด-19 จะผ่านไปในปีนี้ และกลับสู่โหมดเดิมในปีหน้า  คือ การแข่งขันที่รุนแรงเหมือนเดิม ตอกย้ำการเป็น Global Holding Company สิงห์ เอสเตท ยังคงเดินหน้าตามกลยุทธ์การเป็น Global Holding Company ตามแผนที่วางไว้ปี 2020  พร้อมกับการสร้างความเชื่อมั่นแบรนด์ของบริษัท ให้เป็น Most Trusted Brand ซึ่งนอกจากการพัฒนาโครงการให้มีคุณภาพสูงสุดแล้ว ยังต่อยอดความเชี่ยวชาญจากกลยุทธ์ด้านความยั่งยืน รวมทั้งยกระดับการบริการของกลุ่มธุรกิจทั้งหมดให้เป็นไปตามมาตรฐานด้านสุขอนามัยและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในระดับสากล  
3 ทางรอดอสังหาฯ สู้วิกฤตปี 63-64

3 ทางรอดอสังหาฯ สู้วิกฤตปี 63-64

ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์  นับว่ามีบทบาทสำคัญต่อภาพรวมเศรษฐกิจของไทย เพราะเป็นธุรกิจที่มีมูลค่ามหาศาล และยังก่อให้เกิดธุรกิจที่เกี่ยวข้องมากมายตามมา  หากธุรกิจอสังหาฯ เกิดปัญหา ย่อมส่งผลกระทบในวงกว้างและต่อภาพรวมเศรษฐกิจของประเทศ อย่างในอดีตเกิดวิกฤตฟองสบู่ในปี 2540   ในปีนี้ประเทศไทยต้องเผชิญกับปัญหาการแพร่ระบดของไวรัสโควิด-19 ซึ่งส่งผลกระทบต่อภาพรวมเศรษฐกิจของประเทศ และแน่นอนธุรกิจอสังหาฯ ก็โดนไปเต็ม ๆ เช่นกัน เพราะการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทำให้ธุรกรรมต่าง ๆ ต้องหยุดชะงัก ผู้บริโภคต้องหยุดการทำงาน “อยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ”   จะว่าไปแล้วธุรกิจอสังหาฯ เริ่มชะลอความร้อนแรงมาตั้งแต่ปี 2562 ที่ผ่านมา จากการออกมาตรการ LTV ทำให้ปีที่ผ่านมาธุรกิจอสังหาฯ เติบโตเพียง 4% แม้ว่าจะมีขนาดธุรกิจคิดเป็นสัดส่วน 3% ของ GDP ก็ตาม โดยธุรกิจอสังหาฯ ชะลอตัวลงต่อเนื่อง ในไตรมาสแรกของปีนี้ มีอัตราการเติบโตเพียง 2% เท่านั้น จึงถึงว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทำให้ธุรกิจอสังหาฯ อยู่ในภาวะที่ยากลำบาก 15 ประเด็นอสังหาฯ ท่ามกลางวิกฤตโควิด-19 ล่าสุด ศูนย์วิจัย Krungthai COMPASS ธนาคารกรุงไทย ได้ทำการประเมินภาพรวมธุรกิจอสังหาฯ ในปี 2563 พร้อมกับมองแนวโน้มธุรกิจในปี 2564 จากผลกระทบของการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ซึ่งมีบทสรุปสำคัญ ดังนี้   1.ปี 2563 เศรษฐกิจไทยจะได้รับผลกระทบจากไวรัสโควิด-19 มีแนวโน้มหดตัวอย่างรุนแรง ในอัตรา 8.8% ส่งผลทำให้กิจกรรมต่าง ๆ ทางเศรษฐกิจหยุดชะงัก อัตราการจ้างงานลดลง ผู้บริโภคมีรายได้ลดลง จำเป็นต้องเอาเงินออมออกมาใช้จ่าย ทำให้ความสามารถในการซื้อสินค้าขนาดใหญ่ อย่างรถยนต์หรืออสังหาริมทรัพย์ หดตัวลงตาม 2.ยอดพรีเซลล์มีแนวโน้มหดตัวอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ในไตรมาส 4 ปี 2562 มียอดพรีเซลล์  20% ไตรมาสแรก ยอดพรีเซลล์ลดลงเหลืออัตรา 15% และไตรมาส 2 ซึ่งได้รับผลกระทบจากไวรัสโควิด-19 และมีมาตรการล็อกดาวน์ ทำให้ยอดพรีเซลล์ลดลงมีอัตราเพียง 12% ซึ่งเป็นหนึ่งในเครื่องชี้วัดว่าตลาดอสังหาฯ หดตัวอย่างรุนแรง   3.ผลสำรวจจาก Wunderman Thompson พบว่า ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 สัดส่วน 80% จะเลื่อนกำหนดการซื้อที่อยู่อาศัยอย่างไม่มีกำหนด เนื่องจากต้องสำรองเงินไว้ใช้จ่ายในสิ่งที่จำเป็น และยังมองว่าการลงทุนอสังหาฯ ในเวลานี้ให้ผลตอบแทนไม่มากพอ และ 20% จะเลื่อนการซื้ออสังหาฯ ออกไปอย่างน้อย 1 ปี   4.ผู้บริโภคที่มีรายได้น้อยกว่า 40,000 บาทต่อเดือน ต้องสำรองเงินไว้ใช้จ่ายกับสินค้าที่จำเป็นต่อการบริโภค ส่วนผู้บริโภคที่มีรายได้มากกว่า 40,000 บาทต่อเดือน มองว่าการลงทุนในอสังหาฯ ให้ผลตอบแทนไม่ดีเท่าที่ควร เลยเลื่อนการซื้ออสังหาฯ ออกไปก่อน   5.อสังหาฯ กลุ่ม Economy ซึ่งมีระดับราคาต่ำกว่า 3 ล้านบาท และกลุ่ม Middle ราคา 3-10 ล้านบาท ยอดพรีเซลล์ช่วงเดือนเมษายนและพฤษภาคม จะมีอัตราต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในรอบ 1 ปีคอนข้างมาก เพราะกลุ่มลูกค้าหลักเป็นกลุ่มที่มีระดับรายได้ต่อครัวเรือนต่ำกว่า 100,000 บาท มีความอ่อนไหวต่อสภาพเศรษฐกิจ รวมถึงเป็นกลุ่มที่มีอาชีพอิสระ และจ้างงานตัวเองค่อนข้างมาก 6.อสังหาฯ กลุ่ม Luxury ระดับราคา 10-20 ล้านบาท และกลุ่ม Super Luxury ราคามากกว่า  20 ล้านบาท  ยอดพรีเซลล์ช่วงเดือนเมษายนและพฤษภาคม ยังถือว่ายังดี โดยเฉพาะกลุ่ม Super Luxury สูงกว่าค่าเฉลี่ยในรอบ 1 ปีด้วย  เพราะกลุ่มลูกค้าหลักเป็นกลุ่มที่มีรายได้เกิน 100,000 บาทต่อครัวเรือนขึ้นไป มีความมั่นคงทางด้านรายได้ และส่วนใหญ่จะมีความมั่นคงทางอาชีพ มีสัดส่วนอาชีพราชการค่อนข้างมาก ซึ่งเป็นอาชีพที่มีความมั่นคงจึงทำให้ การซื้อที่อยู่อาศัยในกลุ่ม Luxury  และกลุ่ม Super Luxury ไม่ได้รับผลกระทบจากไวรัสโควิด-19 เท่าที่ควร   7.แม้ว่าการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 จะส่งผลต่อธุรกิจอสังหาฯ แต่มีอสังหาฯ บางประเภทและบางราคาที่ไม่ได้รับผลกระทบ เช่น กลุ่มคอนโด ระดับราคาต่ำกว่า 3 ล้านบาท มีผลตอบรับที่ดี มียอดพรีเซลล์ 35% กลุ่มทาวน์เฮ้าส์ระดับราคา 3-10 ล้านบาท มียอดพรีเซลล์ 40% ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นเพราะ การเปลี่ยนจากการซื้อคอนโดมาซื้อทาวน์เฮ้าส์แทน เพราะผู้บริโภคต้องการพื้นที่มากขึ้น แต่ระดับราคาเดียวกัน ส่วนกลุ่ม Super Luxury จะพบว่าอสังหาฯ ทุกประเภทยังมียอดพรีเซลล์ที่สูง   8.ความต้องการที่ซื้อลดลง ส่งผลต่อจำนวนที่อยู่อาศัย ทั้งโครงการเปิดตัวแล้วและอยู่ระหว่างการก่อสร้าง โดยโครงการที่เปิดตัวแล้วและอยู่ระหว่างการก่อสร้าง จะได้รับผลกระทบเรื่องการขาดเงินทุนในการก่อสร้าง เพราะยอดพรีเซลล์ที่ต่ำทำให้ไม่สามารถได้รับเงินกู้จากสถาบันการเงิน ทำให้ดีเวลลอปเปอร์ต้องใช้เงินทุนของตนเองเข้ามาพัฒนา แต่ในสถานการณ์ปัจจุบันแนวทางนี้เป็นไปได้ยาก เพราะต้องมีสภาพคล่องเพื่อต่อสู่กับวิกฤตเศรษฐกิจมากกว่า ทำให้แนวทางที่เป็นไปได้ ดีเวลลอปเปอร์จะชะลอการก่อสร้าง 9.ความต้องการซื้อที่ลดลง ยังส่งผลทำให้ดีเวลลอปเปอร์เลื่อนการเปิดตัวโครงการใหม่ โดยแผนการเปิดตัวโครงการใหม่ในปีนี้ จากการสำรวจดีเวลลอปเปอร์รายใหญ่ 8 บริษัท ที่วางแผนเปิดตัวโครงการในปีนี้  จะเห็นว่าก่อนเกิดโควิด-19 วางแผนเปิดโครงการใหม่มูลค่า 195,500 ล้านบาท โดยโครงการบ้านแนวราบมีมูลค่า 139,100 ล้านบาท และคอนโดมูลค่า 56,400 ล้านบาท ภายหลังจากเกิดเหตุการณ์โควิด-19 ในไตรมาส 2 ดีเวลลอปเปอร์ได้ปรับแผน และเลื่อนเปิดโครงการใหม่ออกไป โดยวางแผนเปิดมูลค่า 137,800 ล้านบาท แบ่งเป็นบ้านแนวราบมูลค่า 116,800 ล้านบาท และคอนโด มูลค่า 21,000 ล้านบาท   การเปิดตัวใหม่ในปี 2563 คาดว่าจะมีที่อยู่อาศัยเปิดใหม่ 72,000 ยูนิต ลดลง 40%  โดยมีแรงกดดันหลักจากการที่ดีเวลลอปเปอร์เลื่อนแผนการเปิดตัวโครงการใหม่ออกไป เฉพาะ 5 เดือนแรกของปีนี้ ดีเวลลอปเปอร์เปิดตัวใหม่ลดลงแล้ว 54%   10.มูลค่าโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยในปีนี้ คาดว่าจะลดลง 27% มีมูลค่า 420,000 ล้านบาท บ้านจัดสรรมีมูลค่า ลดลง 24% คอนโด ลดลง 30%   11.สต็อกที่อยู่อาศัยเหลือขายสะสมปีนี้ น่าจะเพิ่มขึ้น 5% มีจำนวน 185,000 ยูนิต โดยสต็อกคอนโด กระจายอยู่ในหลายทำเล ขณะที่บ้านจัดสรรจะอยู่ที่ทำเลบางบัวทอง และรังสิต-ปทุมธานี เป็นหลัก 12.คาดการณ์แนวโน้มเศรษฐกิจในปี 2564 เศรษฐกิจฟื้นตัวได้อัตรา 6.1%   13.มูลค่าการโอนกรรมสิทธิ์ ที่อยู่อาศัยในปี 2564 น่าจะเติบโต 12% มีมูลค่า 470,000 ล้านบาท   14.ในปี 2564 คาดว่าดีเวลลอปเปอร์จะเปิดตัวโครงการใหม่ จำนวน 85,000 ยูนิต เติบโต 18%   15.โครงการที่อยู่อาศัยเหลือขาย ปี 2564 คาดว่ามีจำนวน 192,000 ยูนิต 3 แนวทางการปรับตัวของดีเวลลอปเปอร์ เพื่อรับกับพฤติกรรมผู้บริโภคในยุค New Normal   1.การซื้ออสังหาฯ ผ่านออนไลน์ อาจกลายเป็นเรื่องปกติ มีสถิติการเยี่ยมชมเว็บไซต์ของดีเวลลอปเปอร์ชั้นนำ มีจำนวนผู้เข้าชมเพิ่มขึ้น 40% ในช่วงการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19  ซึ่งเดือนมกราคมมียอดเข้าชมเว็บไซต์ 8,400 ครั้งต่อวันต่อเว็บไซต์ และเพิ่มขึ้นเป็น 11,700 คนต่อวันต่อเว็บไซต์ หรือเพิ่มขึ้น 40% ในเดือนพฤษภาคม ซึ่งช่วงการแพร่ระบาด หลายดีเวลลอปเปอร์ได้ทำโปรโมชั่น โปรโมทการซื้อขายอสังหาฯ จึงส่งผลให้อัตราเข้าชมเว็บไซต์เพิ่มสูงขึ้นมาก โดนแนวทางการปรับตัวของดีเวลลอปเปอร์ คือ การมีกลยุทธ์และศึกษาพฤติกรรมกลุ่มลูกค้า ว่าทำอย่างไรให้ผู้บริโภคเข้าชมโครงการผ่านช่องทางออนไลน์ได้ เช่น การโฆษณาผ่านอินฟลูเอนเซอร์ การสร้างความเชื่อมั่นให้ผุ้บริโภค ด้วยการพัฒนาระบบ Virtual Visits ให้กับผู้บริโภคสามารถชมโครงการเสมือนจริง และการยกระดับระบบหลังบ้าน (Back-office) ให้กับผู้บริโภคสามารถชำระเงิน และดำเนินการเรื่องเอกสารผ่านเว็บไซต์ได้เลย 2.ปัจจัยด้านทำเล อาจไม่สำคัญเท่า “ขนาดของที่อยู่อาศัย” เพื่อรองรับการการใช้ชีวิตในที่อยู่อาศัยที่นานขึ้น โดยเฉพาะ Work From Home  ซึ่งแนวทางการปรับตัวของดีเวลลอปเปอร์ คือ พิจารณาความเป็นไปได้ที่จะลดสัดส่วนห้อง Studio และเพิ่มห้อง One Bed+ ของโครงการคอนโดในบางทำเล และหันมาพัฒนาโครงการแนวราบแทนการพัฒนาคอนโด 3.อยากใช้พื้นที่ส่วนกลางแบบมี “พื้นที่ส่วนตัว” ดีเวลลอปเปอร์ ต้อง Re-design พื้นที่ส่วนกลาง และติดตั้งอุปกรณ์ Touchless เพื่อตอบโจทย์ความปลอดภัยของบริโภค เช่น Touchless door, Private Fitness, Touchless life และ Private Working Space ดร.พชรพจน์ นันทรามาศ ผู้อำนวยการฝ่ายอาวุโส ศูนย์วิจัย Krungthai COMPASS ธนาคารกรุงไทย กล่าวสรุปว่า  ตลาดที่อยู่อาศัยในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล สำหรับปี 2563 จะถูกกดดันจากการแพร่ระบาดของ ไวรัสโควิด -19 เป็นอย่างมาก ผ่านสภาพเศรษฐกิจที่หดตัว รายได้ของผู้บริโภคที่หายไป และการ ไม่สามารถเดินทางเข้ามาดูโครงการและโอนกรรมสิทธิ์ของผู้ซื้อต่างชาติในช่วง Lockdown ซึ่งจะส่งผลให้มูลค่าตลาดหดตัว 27%YoY และแม้เศรษฐกิจไทยจะมีแนวโน้มทยอยฟื้นตัวในปี 2021 แต่กว่าตลาดที่อยู่อาศัยจะกลับมาอยู่ในระดับเดียวกับช่วงก่อนเกิดวิกฤติไวรัสโควิด-19 (ปี 2562) ก็อาจต้องใช้เวลาอีก 4-5 ปี (ปี 2567-2568) อย่างไรก็ดี ผู้พัฒนาอสังหาฯ ควรติดตามพฤติกรรมการอยู่อาศัยของผู้บริโภค ที่อาจเปลี่ยนไปหลังเกิดวิกฤติ ไวรัสโควิด -19 เพื่อนำมาปรับปรุงการออกแบบ และพัฒนาที่อยู่อาาศัยให้เหมาะสม    
โควิด-19 ทุบความมั่นใจดีเวลลอปเปอร์ ลดต่ำต่อเนื่อง 5 ไตรมาส

โควิด-19 ทุบความมั่นใจดีเวลลอปเปอร์ ลดต่ำต่อเนื่อง 5 ไตรมาส

ผู้ประกอบการอสังหาฯ ไม่มั่นใจตลาด หลังเจอวิกฤตโควิด-19 ดัชนีความเชื่อมั่นลดลงต่อเนื่อง 5 ไตรมาส ขณะที่แนวโน้มอีก 6 เดือนข้างหน้าผู้ประกอบการมองตลาดบวกเล็กน้อย   ปัจจัยที่มีผลต่อการเติบโตของตลาดอสังหาริมทรัพย์  นอกเหนือจากปัจจัยด้านเศรษฐกิจ กำลังซื้อ และความต้องการของผู้บริโภคแล้ว ทัศนคติและแนวคิดของผู้ประกอบการ ก็นับว่ามีผลสำคัญต่อการสร้างการเติบโตให้กับตลาดอสังหาฯ ไม่น้อย แม้ว่าปัจจัยที่กล่าวมาจะเป็นตัวคาดการณ์ทิศทางของตลาด แต่หากผู้ประกอบการเกิดไม่มั่นใจต่อปัจจัยต่างๆ ดังกล่าวแล้ว ส่วนของซัพพลายหรือจำนวนที่อยู่อาศัยที่ผู้ประกอบการจะพัฒนาออกมาคงไม่เกิดขึ้น   โดยปกติการที่ผู้ประกอบการ พัฒนาโครงการออกมาทำตลาด มักจะเกิดขึ้นจากการนำเอาข้อมูลทางการตลาด มาวิเคราะห์ร่วมกับสภาพเศรษฐกิจโดยรวม แล้วจึงพัฒนาโครงการออกมาตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค นั่นหมายถึงว่า ผู้ประกอบการมีความมั่นใจแล้วว่า ตลาดมีความต้องการ แต่การจะให้การตอบรับกับโครงการนั้น ๆ นั้นหรือไม่ ก็อาจจะมีอีกหลายปัจจัยมาสนับสนุน ไม่ว่าจะเป็นชื่อเสียงของผู้ประกอบการเอง ทำเลในการเลือกพัฒนา แนวทางการทำตลาด และการจับกลุ่มเป้าหมายที่เหมาะสมหรือไม่ เรื่องของความมั่นใจในตลาดอสังหาฯ ของกรุงเทพฯ และปริมณฑลนั้น  ทางศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) หรือ REIC ได้มีการจัดทำออกมาอย่างต่อเนื่อง  โดยล่าสุด ได้เปิดเผยรายงานดัชนีความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการธุรกิจพัฒนาที่อยู่อาศัย ในกรุงเทพฯ – ปริมณฑล ในภาวะปัจจุบัน (Current Situation Index) ณ ไตรมาส 2 ปี 2563   โดยรายงาน ระบุว่า ดัชนีคามเชื่อมั่นของผู้ประกอบการมีเท่ากับ 42.6   ลดลงต่ำกว่าค่ากลางที่ 50.0 แต่มีสัญญาณดีขึ้นเล็กน้อยจากไตรมาสก่อนหน้า ซึ่งมีค่าดัชนีอยู่ที่ 41.2 ดัชนีความเชื่อมั่นฯ ในภาวะปัจจุบันของผู้ประกอบการธุรกิจพัฒนาที่อยู่อาศัย ลดต่ำกว่าค่ากลางที่ 50.0 ติดต่อกัน 5 ไตรมาส นับตั้งแต่ไตรมาส 2 ปี 2562 ซึ่งมีการประกาศใช้มาตรการ Macroprudential หรือมาตรการ LTV ของธนาคารแห่งประเทศไทย ดร.วิชัย วิรัตกพันธ์ ผู้ตรวจการธนาคารอาคารสงเคราะห์ และรักษาการผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ กล่าวว่า ผู้ประกอบการธุรกิจพัฒนาที่อยู่อาศัยยังมีมุมมองเชิงลบต่อสถานการณ์ตลาดที่อยู่อาศัยในปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม ความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการฯ ในไตรมาสนี้เพิ่มขึ้นกว่าไตรมาสก่อนหน้า สาเหตุจากการที่รัฐบาลได้ดำเนินการมาตรการผ่อนคลายการล็อคดาวน์ให้ธุรกิจสามารถกลับมาดำเนินการได้ตามปกติ   แต่ทั้งนี้ ดัชนีก็ยังคงต่ำกว่าค่ากลางที่ระดับ 50.0  โดยเฉพาะกลุ่มบริษัทรายกลางและรายย่อยซึ่งไม่ได้จดทะเบียนบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ฯ มีความเชื่อมั่นต่อสถานการณ์ตลาดที่อยู่อาศัยในปัจจุบันลดลงอย่างมาก เมื่อแยกกลุ่มผู้ประกอบการฯ ตามประเภทบริษัทพบว่า ความเชื่อมั่นในภาวะปัจจุบันของผู้ประกอบการกลุ่ม Listed Companies มีค่าดัชนีเท่ากับ 45.7 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้า ซึ่งมีค่าดัชนีอยู่ที่ 41.7 แต่ยังคงต่ำกว่าค่ากลางที่ระดับ 50.0 ขณะที่ผู้ประกอบการกลุ่ม Non-listed Companies มีค่าดัชนีเท่ากับ 38.0 ลดลงจากไตรมาสก่อนหน้าที่มีค่าดัชนีอยู่ที่ 40.5 และต่ำกว่าค่ากลางที่ระดับ 50.0 สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นในอีก 6 เดือนข้างหน้า (Expectations Index) มีค่าเท่ากับ 51.8 เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากไตรมาสก่อนหน้า  ซึ่งอยู่ที่ระดับ 51.5  และสูงกว่าค่ากลางที่ระดับ 50.0 สะท้อนให้เห็นว่าผู้ประกอบการคาดว่าอีก 6 เดือนข้างหน้าธุรกิจพัฒนาที่อยู่อาศัยจะปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อย แม้ว่าภาคธุรกิจจะกลับมาดำเนินการได้ตามปกติมากขึ้น และรัฐบาลได้ออกมาตรการต่างๆ เพื่อกระตุ้นภาวะเศรษฐกิจ แต่ผู้ประกอบการยังคงกังวลเกี่ยวกับการระบาดรอบที่สองของเชื้อไวรัสโควิด-19   ผู้ประกอบการฯ กลุ่ม Listed Companies มีค่าดัชนีความเชื่อมั่นในอีก 6 เดือนข้างหน้าเท่ากับ 57.0 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนซึ่งอยู่ที่ระดับ 54.8 แต่ผู้ประกอบการฯ กลุ่ม Non-listed Companies มีค่าดัชนีเท่ากับ 44.1 จุด ลดลงจากไตรมาสก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 46.4            
เอพี ลุยตลาดอสังหาฯครึ่งปีหลัง เปิด 26 โปรเจ็กต์แนวราบ มูลค่า 26,000 ล้าน

เอพี ลุยตลาดอสังหาฯครึ่งปีหลัง เปิด 26 โปรเจ็กต์แนวราบ มูลค่า 26,000 ล้าน

เอพี ลุย 26 โปรเจ็กต์แนวราบ มูลค่า 26,000 ล้าน ในช่วงครึ่งปีหลัง พร้อมปักหมุด 5 จังหวัดในภูธร ชิมลางทำตลาด ปั้นแบรนด์ใหม่ “อภิทาวน์” มั่นใจทั้งปียังคงทำยอดขาย 33,500 ล้าน และ รายได้ 40,550 ล้าน ตามเป้าหมาย แม้ครึ่งปีแรกมีสถานการณ์โควิด-19 แต่ยังเติบโตสวนกระแส มีลุ้นไตรมาส 2 ทำสถิติสร้างรายได้สูงสุดนับตั้งแต่ก่อตั้งบริษัท   แม้ว่าประเทศไทยต้องเผชิญกับการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ตั้งแต่ต้นปีจนถึงปัจจุบัน ที่ทำให้หลายธุรกิจได้รับผลกระทบอย่างหนัก บางแห่งต้องปิดกิจการและเลิกจ้างพนักงาน หรือไม่ก็เปิดกิจการชั่วคราว แต่ดูเหมือนว่าในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ปีนี้  ในวิกฤตที่เกิดขึ้นกลับกลายเป็นโอกาสทางการตลาดอย่างที่ผู้ประกอบการหลายรายคาดคิดมาก่อน  เพราะผู้ประกอบการหลายราย แม้ว่าจะได้รับผลกระทบ ต้องปรับแผนธุรกิจและปรับตัวหาหนทางการอยู่รอด แต่ในมุมบวกกลับสามารถทำยอดขายและยอดโอนได้จำนวนมาก มากชนิดที่ทุบสถิติยอดขายและยอดโอนในภาวะสภาพตลาดปกติด้วยซ้ำ ​   หนึ่งในผู้ประกอบการที่สามารถสร้างยอดขายและยอดโอนเติบโตได้ดีนั้น คือ บริษัท เอพี (ไทยแลนด์) จำกัด (มหาชน) หรือ AP ที่สามารถสร้างยอดขายในช่วงครึ่งปีแรกได้มากถึง 15,085 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 45% ของเป้าหมายยอดขายในปีนี้ที่คาดว่าจะทำได้ 33,500 ล้านบาท โดยส่วนรายได้น่าจะทำได้สูงกว่าผลการดำเนินงานในอดีตที่ผ่านมา โดยเฉพาะไตรมาส 2 ซึ่งปกติจะเป็นไตรมาสที่ทำรายได้ได้ต่ำสุดในรอบปี  แต่ปีนี้คาดว่าจะเป็นไตรมาสที่สร้างรายได้ได้สูงที่สุดกว่าไตรมาส 2 ของทุกปีที่ผ่านมา และอาจจะสูงสุดนับตั้งแต่ก่อตั้งบริษัทมาเกือบ 30 ปีด้วยซ้ำ     นายวิทการ จันทวิมล รองกรรมการผู้อำนวยการ สายงานกลยุทธ์องค์กรและการสร้างสรรค์ บริษัท  เอพี ไทยแลนด์ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า  วิกฤตการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 เปรียบเหมือนเป็นซูเปอร์โนวาที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์โลก สร้างผลกระทบที่ใหญ่และรุนแรงกว่าวิกฤตครั้งไหนในอดีต ซึ่งตลอด 6 เดือนที่ผ่านมาบริษัทดำเนินงานด้วยความระมัดระวัง ควบคู่ไปกับการปรับแผนงานให้สอดรับกับสถานการณ์ในแต่ละช่วงเวลา โดยมี EMPOWER LIVING เป็นจุดมุ่งหมายสำคัญขององค์กร   โดยแนวโน้มการโอนกรรมสิทธิ์ในไตรมาส 2 ของปีนี้ คาดว่าจะดีกว่าทุกไตรมาส 2 ที่บริษัทเคยทำได้ ซึ่งไตรมาส 2 ที่มียอดโอนกรรมสิทธิ์สูงสุด คือ ปี 2561 มีมูลค่า 10,000 ล้านบาท และน่าจะมียอดโอนกรรมสิทธิ์สูงสุดในประวัติศาสตร์การก่อตั้งบริษัท ซึ่งเคยทำยอดโอนสูงสุดในช่วงไตรมาส 4 ปี 2559 มูลค่า 11,500 ล้านบาท สำหรับความสำเร็จในช่วงครึ่งปีแรกที่ผ่านมา น่าจะเกิดจากการปรับตัวของบริษัท ในการตอบสนองความต้องการของลูกค้า แม้ว่าจะอยู่ในช่วงโควิด-19 แต่ลูกค้ายังสามารถตรวจห้องผ่านระบบออนไลน์ได้ การชมห้องตัวอย่างหรือโครงการได้ผ่านออนไลน์ รวมถึงการนำเอาเทคโนโลยีมาช่วย  และการจัดโปรโมชั่นเกือบทุกสัปดาห์ มาสร้างความสำเร็จดังกล่าว ​ นายวิทการ กล่าวอีกว่า ในช่วงครึ่งปีแรกบริษัทไม่ได้เปิดตัวคอนโดมิเนียมโครงการใหม่  แต่ขายโครงการเดิมที่มีอยู่ ซึ่งตลาดยังให้การตอบรับที่ดี มียอดขายกว่า 2,200 ล้านบาท ขณะที่บางกอก ซิตี้สมาร์ท (BC) บริษัทในเครือ ยังสามารถทำยอดขายกลุ่มคอนโดได้สูงกว่า 4,200 ล้านบาท แสดงให้เห็นถึงการตอบรับของตลาดคอนโดว่ายังมีต่อเนื่อง และยังคาดว่าภายในสิ้นปีนี้บีซี จะสามารถสร้างยอดขายคอนโดได้ถึง 10,000 ล้านบาทด้วย   ในปีนี้บริษัทจึงมั่นใจว่าจะสามารถรักษาเป้าหมายการเติบโตของบริษัทตามแผนธุรกิจไว้ได้ โดยคาดว่าจะทำยอดขายได้ 33,500 ล้านบาท รายได้ 40,550 ล้านบาท ซึ่งในช่วงครึ่งปีหลังบริษัทยังเตรียมเปิดตัวโครงการใหม่อีก 26 โครงการ  มูลค่า 26,000 ล้านบาท โดยเป็นโครงการแนวราบทั้งหมด แบ่งเป็นโครงการในเขตกรุงเทพฯ 21 โครงการ  มูลค่า 21,300 ล้านบาท และในพื้นที่ 5 จังหวัด มูลค่า 4,700 ล้านบาท   ครึ่งปีหลังบริษัทยังไม่มีแผนเปิดโครงการคอนโดมิเนียม เนื่องจากสถานการณ์ปัจจุบันยังไม่เหมาะสมในการเปิดตัวโครงการใหม่ แต่มีที่ดิน 4-5 แปลงสำหรับพัฒนาโครงการไว้พร้อมแล้ว  โดยจะพิจารณาตามความเหมาะสมของตลาด แต่คาดว่าน่าจะเลื่อนการเปิดตัวโครงการคอนโดไปในปีหน้าแทน     สำหรับการพัฒนาโครงการในต่างจังหวัด ได้พัฒนาโครงการภายใต้แบรนด์ อภิทาวน์ เป็นโครงการรูปแบบมิกซ์โปรดักส์ ทั้งบ้านเดี่ยว บ้านแฝด และทาวน์โฮม ระดับราคา 1.5-9 ล้านบาท ซึ่งจะเริ่มต้นพัฒนาโครงการแรกที่จังหวัดนครราชสีมา ในเดือนกันยายน หลังจากนั้นจะเปิดตัวอีก 4 โครงการใน 4 จังหวัด ได้แก่ ระยอง อยุธยา ขอนแก่น และเชียงราย   ครึ่งปีหลังมีอีก 2 โครงการคอนโดที่จะก่อสร้างแล้วเสร็จ และรับรู้รายได้  ตั้งแต่เดือนสิงหาคมนี้. ได้แก่ LIFE อโศก-พระราม 9 มูลค่า 9,800 ล้านบาท ปัจจุบันมียอดขายแล้ว 94% และ ASPIRE อโศก-รัชดา มูลค่า 2,900 ล้านบาท ปัจจุบันมีขาย 95%   บริษัทมีโครงการคอนโดอยู่ระหว่างการขาย 18 โครงการ มูลค่า 21,000 ล้านบาท  ซึ่ง ณ วันที่ 31 มิถุนายน 2563 บริษัทมีสินค้ารอรับรู้รายได้รวมโครงการร่วมทุน (Backlog) มูลค่า 56,149 ล้านบาท เป็นโครงการแนวราบ มูลค่า 13,234 ล้านบาท ซึ่งคาดว่าจะรับรู้ทั้งหมดภายในปีนี้ และคอนโด มูลค่า 42,915 ล้านบาท จะทยอยรับรู้ในปีนี้ประมาณ 15,602 ล้านบาท ส่วนที่เหลือทยอยรับรู้ไปจนถึงปี 2566