Tag : Townhome

792 ผลลัพธ์
แอสเซทไวส์ พร้อมขาย IPO หลังก.ล.ต.อนุมัติให้ระดมทุน 206 ล้านหุ้น

แอสเซทไวส์ พร้อมขาย IPO หลังก.ล.ต.อนุมัติให้ระดมทุน 206 ล้านหุ้น

แอสเซทไวส์  ยิ้มรับ ก.ล.ต. อนุมัติแบบคำขออนุญาตเสนอขายหุ้น ASW เล็งหาจังหวะความพร้อมดีเดย์ขายหุ้น IPO ชี้ 9 เดือนแรกปี 63 ทำกำไรกว่า 886 ล้าน ขณะที่ปี 64 ได้โปรเจ็กต์พร้อมโอนหนุนรายได้เติบโต    นายกรมเชษฐ์ วิพันธ์พงษ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอสเซทไวส์ จำกัด (มหาชน) หรือ ASW ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ภายใต้แนวคิด “ความสุขที่ออกแบบมาเพื่อคุณ” (We Build Happiness) เปิดเผยว่า บริษัทฯ ได้รับอนุมัติแบบคำขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ จากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เมื่อวันที่ 22 มกราคม 2564 ที่ผ่านมาเรียบร้อยแล้ว ซึ่งบริษัทฯ อยู่ระหว่างเตรียมความพร้อม เพื่อเสนอขายหุ้น IPO และนำหุ้นเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) ตามแผนที่วางไว้ หลังจากเตรียมตัวมากว่า 3 ปี   ทั้งนี้ บริษัท ที่ปรึกษา เอเซีย พลัส จำกัด ในฐานะที่ปรึกษาทางการเงิน  ได้มีการเตรียมความพร้อม และอยู่ระหว่างประเมินสถานการณ์ต่าง ๆ เพื่อพิจารณาช่วงเวลาที่เหมาะสมในการเสนอขายหุ้น IPO ASW และที่ปรึกษาทางการเงิน อยู่ระหว่างติดตามดูแนวโน้มเศรษฐกิจ และบรรยากาศการลงทุนในตลาดหุ้น รวมถึงพิจารณาความเชื่อมั่นของนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศ  หากสถานการณ์โดยรวม มีความชัดเจนมากขึ้น บริษัทฯ ก็พร้อมเดินหน้าเสนอขายหุ้นไอพีโอและพร้อมเข้าจดทะเบียนใน SET ได้อย่างแน่นอน  ASW มีแผนจะเสนอขายหุ้น IPO จำนวน 206 ล้านหุ้น คิดเป็น 27.07% ของจำนวนหุ้นที่ออกและเรียกชําระแล้วทั้งหมดหลังการเสนอขายหุ้นเพิ่มทุนในครั้งนี้ โดยกลุ่มบริษัท ASW มีบริษัทย่อยทั้งหมด 15 บริษัท ซึ่งเป็นบริษัทย่อยที่ประกอบธุรกิจหลักคือ ธุรกิจพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์เพื่อขาย ทั้งโครงการอาคารชุดที่พักอาศัยประเภทคอนโดมิเนียม และโครงการอสังหาริมทรัพย์ประเภทแนวราบ ได้แก่ บ้านเดี่ยว ทาวน์โฮมและโฮมออฟฟิศ จำนวน 12 บริษัท และบริษัทย่อยอีก 3 บริษัท ประกอบธุรกิจอื่น ซึ่งเป็นธุรกิจเกี่ยวเนื่องกับธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ เช่น ธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เพื่อให้เช่า, ธุรกิจรับฝากขายฝากเช่า   สำหรับภาพรวมของผลการดำเนินงานงวด 9 เดือนปี 2563 ที่ผ่านมา  ASW มีรายได้จากการขายและบริการรวม  2,176.54 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากงวดเดียวกันจากปีก่อนที่ทำได้  1,779.30 ล้านบาท ขณะที่กลุ่มบริษัทมีกำไรสุทธิ 307.35 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 110.51 % จากงวดเดียวกันของปีก่อนที่ทำได้  146.00  ล้านบาท  โดยกลุ่มบริษัทมีกำไรขั้นต้นเท่ากับ 886.20 ล้านบาท คิดเป็นอัตรากำไรขั้นต้นที่ 40.72%   ในช่วงไตรมาส 3 และไตรมาส​4 ปี 2563 บริษัทฯ ได้มีการเปิดขายโครงการโดยมุ่งเน้นการพัฒนาโครงการบนทำเลศักยภาพที่มีความต้องการอยู่อาศัยจริงและเติบโตอย่างต่อเนื่อง เช่น โครงการโมดิซ ราห์ม รามคำแหง (Modiz Rhyme Ramkhamhaeng) ตั้งอยู่ใกล้สถานีรถไฟฟ้ารามคำแหง ซึ่งเป็นทำเลที่ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี (อ่านข่าวเพิ่มเติม...“แอสเซทไวส์” แบ่งเฟสขาย “โมดิซ ไรห์ม รามคำแหง” รับมือโควิด-19)   นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังมุ่งเน้นการพัฒนาทำเลในกลุ่มตลาดบลู โอเชี่ยน เนื่องจากมีกำลังซื้อที่มีสัญญาณดีต่อเนื่อง เช่น โครงการโมดิซ ลอนซ์ (Modiz Launch)  ทำเลย่านมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต  ซึ่งได้รับการตอบรับที่ดีจากลูกค้า และโครงการทาวน์โฮมแนวคิดใหม่ “บ้านภูริปุรี คอร์ทยาร์ด – พัฒนาการ” (Baan Puripuri Courtyard - Pattanakarn) โครงการทาวน์โฮมที่มีดีไซน์ Private Courtyard ใจกลางบ้านในระดับราคา 14.2 – 22 ล้านบาท  ซึ่งเป็นโครงการร่วมทุนระหว่างบริษัท แอสเซทไวส์ จำกัด (มหาชน) และบริษัท บ้านภูริ ปุรี โฮลดิ้ง จำกัด ขณะเดียวกัน ยังมีโครงการที่ก่อสร้างแล้วเสร็จ และอยู่ระหว่างโอนกรรมสิทธิ์อย่างต่อเนื่องไปในปี 2564 เช่น  โครงการแอทโมซ รัชดา - ห้วยขวาง (Atmoz Ratchada - Hauikwang) (อ่านรายละเอียดโครงการเพิ่มเติม....แอสเซทไวส์ เปิดตัว “แอทโมซ รัชดา-ห้วยขวาง”)  และโครงการเคฟ ทาวน์ สเปซ (Kave Town Space) ซึ่งเป็นโครงการคอนโดมิเนียมใกล้มหาวิทยาลัยกรุงเทพ  โดยโครงการต่าง ๆ จะสนับสนุนให้ผลประกอบการในปีนี้เติบโตได้เป็นอย่างดี   ในช่วงไตรมาส 1/2564 บริษัทฯ ยังคงเดินหน้าการเปิดขายโครงการอย่างต่อเนื่องในทำเลศักยภาพที่รองรับการขยายของเมืองและระบบคมนาคมเส้นทางใหม่ โดยมุ่งเน้นการพัฒนาโครงการให้สอดคล้องกับความต้องการด้านการอยู่อาศัยของลูกค้าอย่างแท้จริง
พิษโควิด-19 ระรอกใหม่ กดดันดัชนีราคาอสังหาฯ ลดต่อเนื่อง​

พิษโควิด-19 ระรอกใหม่ กดดันดัชนีราคาอสังหาฯ ลดต่อเนื่อง​

รอบปี 2563 ที่ผ่านมา ปรากฏการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นกับตลาดอสังหาริมทรัพย์ คือ การจัดโปรโมชั่น ลด แลก แจก แถม ชนิดเป็นสงครามราคาชนิดแบบไม่เคยเห็นมาก่อน ราคาอสังหาฯ โดยเฉพาะตลาดคอนโดมิเนียม ลดต่ำลงมากในรอบหลายปี เรียกได้ว่าบางโครงการนำยูนิตเหลือขายมาลดราคาชนิดแทบไม่มีกำไรกันเลยทีเดียว   ส่วนราคาอสังหาฯ ในรอบปีที่ผ่านมา มีการเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้างนั้น ทางศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (REIC) ได้จัดทำรายงานดัชนีราคาที่อยู่อาศัยใหม่ที่อยู่ระหว่างการขายในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล ประจำไตรมาส 4 ปี 2563 เพื่อสะท้อนภาพของราคาอสังหาฯ ในช่วงที่ผ่านมา ภายใต้ภาวการณ์แพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19   REIC รายงานว่า ภาพรวมของดัชนีราคาบ้านจัดสรรใหม่ที่อยู่ระหว่างการขายลดลงต่อเนื่อง 3 ไตรมาส นับตั้งแต่ไตรมาส 2 ของปี 2563 และ ดัชนีราคาคอนโดใหม่ที่อยู่ระหว่างการขายลดลงต่อเนื่อง 4 ไตรมาส นับตั้งแต่ไตรมาส 1 ของปี 2563 ที่อยู่อาศัยทั้ง 2 ประเภทยังคงมีแนวโน้มจะลดลงอย่างต่อเนื่องในไตรมาสที่ 1 ปี 2564 โดยเป็นผลมาการแพร่ระบาดโควิด-19 รอบใหม่ กระทบความเชื่อมั่นและกำลังซื้อ ทำให้ผู้ประกอบการจำต้องจัดแคมเปญส่วนลดราคาขาย  ทั้งราคาขายและของแถมต่างๆ เพื่อกระตุ้นยอดขาย บ้านจัดสรรลดเล็กน้อย 0.2% ดร.วิชัย วิรัตกพันธ์ ผู้ตรวจการธนาคาร และรักษาการผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ เปิดเผยว่า  ดัชนีราคาที่อยู่อาศัย ไตรมาส 4 ปี 2563 ลดลงต่อเนื่อง โดยดัชนีราคาบ้านจัดสรรใหม่ที่อยู่ระหว่างการขาย ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ไตรมาส 4 ปี 2563  มีค่าดัชนีเท่ากับ 127.8 จุด โดยดัชนีราคาบ้านจัดสรรลดลง 0.2% เมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2563 ซึ่งค่าดัชนีติดลบติดต่อกัน 3 ไตรมาส ตั้งแต่ไตรมาส 2 ปี 2563 เป็นต้นมา เป็นผลมาจากการลดราคาและจัดรายการส่งเสริมการขายของผู้ประกอบการ เพื่อเร่งรัดการตัดสินใจของผู้ซื้อในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่มีการล็อกดาวน์ทางเศรษฐกิจในช่วงไตรมาส 2 ปี 2563 แต่เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2562 กลับเพิ่มขึ้น​ 0.2% ซึ่งสะท้อนว่า ในภาพรวมของตลาดบ้านจัดสรรมีจุดสูงสุดของราคาที่ไตรมาส 2 ปี 2563 และมีการปรับราคาลงมาอย่างต่อเนื่อง   ส่วนดัชนีราคาบ้านเดี่ยว ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ไตรมาส 4 ปี 2563 ซึ่งมีค่าเท่ากับ 126.0 จุด มีการปรับลดลง 0.3% เมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2563 แต่มีราคาเพิ่มขึ้น 0.2% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน   ขณะที่ดัชนีราคาทาวน์เฮ้าส์มีค่าเท่ากับ 129.7 จุด มีทิศทางเดียวกับดัชนีราคาบ้านเดี่ยว คือ ลดลง​ 0.2% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (QoQ) แต่มีราคาเพิ่มขึ้น 0.2% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน  เช่นกัน สำหรับรายการส่งเสริมการขายบ้านจัดสรรใหม่ที่อยู่ระหว่างการขายในไตรมาสนี้ พบว่าส่วนใหญ่ 41.6% เป็นของแถม เช่น เครื่องปรับอากาศ เฟอร์นิเจอร์ ผ้าม่าน ปั๊มน้ำ แท้งก์น้ำ ฯลฯ รองลงมา 33.0% เป็นส่วนลดค่าใช้จ่ายในวันโอนกรรมสิทธิ์ และ/หรือ ฟรีค่าส่วนกลาง และ 25.4% เป็นส่วนลดเงินสด ราคาคอนโดไตรมาส 4 ลดลง 0.8% สำหรับ ดัชนีราคาคอนโดใหม่ที่อยู่ระหว่างการขาย ไตรมาส 4 ปี 2563 ในกรุงเทพฯ – ปริมณฑล พบว่ามีค่าดัชนีเท่ากับ 151.9 จุด ลดลง 0.8% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (QoQ) ซึ่งเป็นอัตราการขยายตัวติดลบติดต่อกัน 4 ไตรมาส นับตั้งแต่มีการล็อกดาวน์ทางเศรษฐกิจในช่วงต้นปี 2563 และยังเป็นไตรมาสแรกที่ดัชนีราคาลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า(YoY) ซึ่งลดลงถึง 1.2% สะท้อนว่า ในภาพรวมของตลาดคอนโดใหม่ที่อยู่ระหว่างการขายมีจุดสูงสุดของราคาที่ไตรมาส 4 ปี 2562 และมีการปรับราคาลงมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นผลที่กำลังซื้อหดตัวทั้งผู้ซื้อชาวไทยในกลุ่มนักลงทุนและชาวต่างชาติที่ติดปัญหาจาก โควิด-19 ประกอบกับจำนวนคอนโดที่เหลือขายที่ทยอยสร้างเสร็จจะมีจำนวนเพิ่มขึ้นพอสมควร ส่งผลให้ผู้ประกอบการต้องจัดแคมเปญลดราคาขายและจัดโปรโมชั่นเพื่อเร่งรัดการตัดสินใจของผู้ซื้ออย่างต่อเนื่อง   ทั้งนี้ ดัชนีราคาคอนโดใหม่ที่อยู่ระหว่างการขาย ในไตรมาส 4 ปี 2563 นี้ เมื่อพิจารณาแยกตามพื้นที่ พบว่ากรุงเทพฯ มีค่าดัชนีเท่ากับ 153.3 จุด ลดลง 0.9% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (QoQ) และลดลง 1.4% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน (YoY) และขณะที่ปริมณฑล มีค่าดัชนีเท่ากับ 144.8 จุด ลดลง 0.3% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (QoQ) และลดลง 0.8% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน (YoY) เช่นกัน สำหรับรายการส่งเสริมการขายคอนโดใหม่ที่อยู่ระหว่างการขายในไตรมาสนี้ พบว่า ส่วนใหญ่ 43.8% เป็นส่วนลดเงิน รองลงมา 38.4% เป็นของแถม เช่น เฟอร์นิเจอร์ เครื่องใช้ไฟฟ้า ฯลฯ และ 17.8% เป็นส่วนลดค่าใช้จ่ายในวันโอนกรรมสิทธิ์   ดร.วิชัย  กล่าวว่า ที่อยู่อาศัยที่เหลือขายที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล ที่ศูนย์ข้อมูลได้สำรวจ ณ สิ้นครึ่งแรกของปี 2563 ซึ่งเป็นบ้านจัดสรรที่มีอยู่ประมาณ  27,907 ยูนิต​ และอาคารชุดที่มีประมาณ 34,481 ยูนิต และส่วนหนึ่งจะทยอยสร้างเสร็จออกมาเป็น inventory ของผู้ประกอบการในปี 2564 ซึ่งเป็นช่วงที่ผู้ต้องการซื้อที่อยู่อาศัยอยู่ในภาวะที่อาจมีกำลังซื้อและความมั่นใจลดลง น่าจะเป็นปัจจัยที่กดดันให้ผู้ประกอบการยังคงมีการใช้มาตรการลดราคาและส่วนลดของแถมมากระตุ้นตลาดอยู่อย่างต่อเนื่อง   เนื่องจากส่วนหนึ่งผู้ประกอบการจะมีภาระด้านต้นทุนที่ลดลงจากความช่วยเหลือของรัฐบาลในเรื่องภาษีที่ดินฯ และการยืดระยะเวลาในการใช้ราคาประเมินฯ ใหม่ออกไป อีกทั้งการออกแคมเปญยังเป็นการสอดรับกับมาตรการกระตุ้นอสังหาฯ ของรัฐในการลดค่าธรรมเนียมการโอนกรรมสิทธิ์ที่จะมีขึ้นและขยายเพดานไปครอบคลุมบ้านราคาสูงกว่า 3 ล้านบาทอีกด้วย "การประสานมือของภาครัฐและเอกชนเช่นนี้ จะเป็นปัจจัยสำคัญในการกระตุ้นการซื้อที่อยู่อาศัยในตลาดได้ดี  เพราะประชาชนจะสามารถซื้อบ้านในราคาไม่แพง และค่าใช้จ่ายในวันโอนกรรมสิทธิ์ก็น้อย นับเป็นโอกาสดีสำหรับคนไทยที่ต้องการมีบ้านนะครับ  สำหรับผู้ประกอบการคงต้องอดทน การขยายโครงการใหม่ๆ จะต้องสอดคล้องความต้องการของกลุ่มผู้ซื้อที่อยู่อาศัย และต้องมีการบริหารสภาพคล่องที่ดี ผมเชื่อว่า การดำเนินการเช่นนี้จะช่วยให้เราจะผ่านวิกฤตนี้ได้อย่างดีด้วยกัน"            
จับตาตลาดอสังหาฯ 3 จังหวัดท่องเที่ยวท่ามกลางโควิด-19 ระลอกใหม่

จับตาตลาดอสังหาฯ 3 จังหวัดท่องเที่ยวท่ามกลางโควิด-19 ระลอกใหม่

หลังจากหลายฝ่ายตั้งความหวังไว้ว่าปี 2564 น่าจะเป็นการเริ่มต้นศักราชใหม่ที่เศรษฐกิจมีโอกาสฟื้นตัว และขับเคลื่อนธุรกิจทุกภาคส่วนให้กลับมาเติบโตได้อีกครั้ง เมื่อมีสัญญาณบวกจากการพัฒนาวัคซีนต้านเชื้อไวรัสโควิด-19 และแผนการฉีดวัคซีนให้กับกลุ่มเป้าหมายต่าง ๆ ซึ่งถือเป็นข่าวดีสำหรับประเทศไทย และสร้างความมั่นใจให้กับภาคธุรกิจทุกภาคส่วน แต่การแพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่เมื่อเดือนธันวาคมที่ผ่านมา ได้ทำให้ทั้งประเทศต้องปรับแผนใหม่อีกรอบแบบไม่ทันตั้งตัว   ในขณะที่ภาคอสังหาริมทรัพย์นั้น เมื่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเริ่มกลับมาในช่วงแรก ทำให้ผู้พัฒนาอสังหาฯ ต่างขนโปรโมชั่นลด แลก แจก แถมออกมาเพื่อกระตุ้นกำลังซื้ออย่างต่อเนื่อง พร้อมวางแผนเปิดตัวโครงการต่าง ๆ มาเจาะกลุ่มผู้ซื้อที่เป็นผู้อยู่อาศัยจริง (Real Demand) เพิ่มขึ้นในปี 2564 แม้การแพร่ระบาดระลอกใหม่นี้จะทำให้แผนธุรกิจต้องสะดุดไปบ้าง แต่คาดว่าสถานการณ์จะไม่หยุดชะงักกินระยะเวลายาวนานเหมือนรอบที่ผ่านมา   นางกมลภัทร แสวงกิจ ผู้จัดการใหญ่ประจำประเทศไทยของดีดีพร็อพเพอร์ตี้ เปิดเผยว่า ​การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ระลอกใหม่ในไทย ถือเป็นอีกหนึ่งตัวแปรสำคัญ ที่ส่งผลต่อการเติบโตของตลาดอสังหาฯ ปีนี้ ผู้ประกอบการหลายรายจำเป็นต้องปรับแผนเพื่อรับมือ จากที่เคยคาดการณ์ว่าปี 2564 จะเป็นปีปรับสมดุลของตลาดอสังหาฯ ทั้งในแง่ของราคาและอุปทาน และจะฟื้นตัวดีขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี แต่การแพร่ระบาดระลอกใหม่อาจส่งผลให้ต้องใช้ระยะเวลาปรับตัวนานขึ้น แม้ตอนนี้จะยังไม่สามารถประเมินผลกระทบ ที่มีต่อการเติบโตในตลาดได้ชัดเจน เนื่องจากมีระยะเวลาที่สั้นเกินไป แต่เชื่อว่าจากประสบการณ์ตรงที่ผู้พัฒนาอสังหาฯ นักลงทุน และผู้บริโภครับมือการแพร่ระบาดในปีที่ผ่านมา จะทำให้สามารถปรับตัวและจัดการกับสถานการณ์ครั้งนี้ได้ดีขึ้น ผนวกกับการที่วัคซีนต้านเชื้อไวรัสโควิด-19 กำลังจะเข้าไทยเร็ว ๆ นี้ ถือเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้ทุกฝ่ายสามารถข้ามผ่านวิกฤติครั้งนี้ไปได้ เมืองท่องเที่ยวกระทบหนัก หลังเจอโควิดระลอกใหม่ แม้ว่าทิศทางการขับเคลื่อนตลาดอสังหาฯ ของผู้ประกอบการจะยังโฟกัสกลุ่มผู้ซื้อเพื่ออยู่อาศัยจริงหรือกลุ่ม Real Demand มากขึ้น โดยภาพรวมตลาดอสังหาฯ มีสัญญาณดีขึ้นหลังจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 คลี่คลายในช่วงไตรมาส 3 ของปี 2563 ที่ผ่านมา จากรายงาน DDproperty Thailand Property Market Index ของดีดีพร็อพเพอร์ตี้ (DDproperty)  เปิดเผยข้อมูลว่า ดัชนีราคาอสังหาฯ ในช่วงดังกล่าวเพิ่มขึ้น 2% ถือเป็นการเพิ่มขึ้นครั้งแรกในรอบ 6 ไตรมาส (นับจากช่วงไตรมาสที่ 1 ปี 2562) ถือเป็นสัญญาณชีพของภาคอสังหาฯ ที่เริ่มกระเตื้องขึ้น   โดยภาพรวมเกือบทุกจังหวัดมีการกระเตื้องขึ้นของดัชนีราคาและจำนวนอุปทาน ซึ่งการรุกหัวเมืองต่างจังหวัดยังมีความน่าสนใจ เนื่องจากยังมีกลุ่ม Real Demand ที่มีกำลังซื้อในพื้นที่อยู่ และที่ดินต่างจังหวัดก็มีราคาต่ำกว่าในกรุงเทพฯ จึงเป็นอีกตลาดที่น่าจับตามองและลงทุน เพื่อสร้างแต้มต่อทางธุรกิจในอนาคตได้ ท่ามกลางการแข่งขันในตลาดที่ยังเป็น “Blue Ocean” ผนวกกับปัจจัยอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาระบบคมนาคม และระบบสาธารณูปโภคต่าง ๆ แหล่งงานในนิคมอุตสาหกรรม ตลอดจนการมีห้างสรรพสินค้าเพื่อดึงดูดกำลังซื้อผู้บริโภคในพื้นที่ ล้วนช่วยอำนวยความสะดวกให้การดำรงชีวิตในต่างจังหวัดสะดวกสบายยิ่งขึ้น   นอกจากความต้องการที่อยู่อาศัยจากกลุ่ม Real Demand ในพื้นที่แล้ว ยังมีกลุ่มผู้บริโภคที่ต้องการซื้ออสังหาฯ ในจังหวัดท่องเที่ยวไว้เป็นบ้านพักตากอากาศกับครอบครัว หลีกหนีความวุ่นวายจากการทำงาน หรือซื้อเพื่อลงทุนเก็บไว้ปล่อยเช่าสร้างผลตอบแทนในอนาคตอีกด้วย จับตา ­3 จังหวัดท่องเที่ยวท่ามกลางโควิด-19 แต่ก็เหมือนเป็นภาพฝันค้าง หลังจากมีการระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่ ทำให้ตลาดอสังหาฯ ที่เคยมีแนวโน้มไปได้ดีกลับชะงักลงอีกรอบ โดยเฉพาะในจังหวัดท่องเที่ยวที่ได้รับผลกระทบก่อนเป็นอันดับแรก ๆ ทั้งที่ช่วงปลายปีควรจะเป็นช่วงที่ตลาดท่องเที่ยวกลับมาบูมอีกครั้งหลังจากอั้นมาจากช่วงล็อกดาวน์ โดยพบว่า ใน 3 จังหวัดท่องเที่ยวสำคัญได้รับผลกระทบในช่วงปลายปี 2563 ที่ผ่านมา ทั้งในแง่ของการท่องเที่ยว และตลาดอสังหาฯ ภูเก็ต ดัชนีอุปทานเพิ่มขึ้น 18% ประเด็นผลกระทบจากโควิด-19 ต่อตลาดอสังหาฯ ในจังหวัดภูเก็ต -หลังจากได้รับผลกระทบอย่างหนักในช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 รอบแรกในไทย ตลาดอสังหาฯ ในภูเก็ตเริ่มกลับมาส่งสัญญาณฟื้นตัวอีกครั้งหลังคลายล็อกดาวน์ พร้อมทั้งได้แรงหนุนที่ดีจากการท่องเที่ยวของคนไทยที่เลือกเดินทางมาภูเก็ตมากขึ้นในช่วงที่ปิดประเทศ รวมถึงสัญญาณของภาครัฐที่เปิดประเทศให้นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเข้ามาในภูเก็ตได้อีกครั้ง แม้จะมีจำนวนไม่มากนัก แต่ก็ยังเป็นสัญญาณที่ดี ซึ่งล้วนส่งผลให้มีการเติบโตในตลาดอสังหาฯ อีกครั้ง   โดยภูเก็ตได้รับผลกระทบไม่มากนักจากการระบาดระลอกใหม่ เนื่องจากยังมีจำนวนผู้ติดเชื้อไม่มากนัก (3 ราย ณ วันที่ 15 มกราคม 2564) ดัชนีราคาอสังหาฯ ในภาพรวมยังคงเพิ่มขึ้น 5% จากไตรมาสก่อน ซึ่งเพิ่มขึ้นมาจากบ้านเดี่ยวที่มีดัชนีราคาเพิ่มขึ้นถึง 3% และคอนโดฯ เพิ่มขึ้น 5% จากไตรมาสก่อน สะท้อนให้เห็นความต้องการที่อยู่อาศัยที่มีทิศทางเติบโต   -ในขณะที่ดัชนีอุปทานเพิ่มขึ้นถึง 18% จากไตรมาสก่อนเช่นกัน โดยอยู่ในอำเภอกะทู้ อำเภอเมืองภูเก็ต และอำเภอถลางในสัดส่วนที่เท่า ๆ กัน รูปแบบที่อยู่อาศัยที่มีจำนวนมากที่สุดในภูเก็ตคือ คอนโดมิเนียม คิดเป็นสัดส่วน 56% ของอุปทานทั้งหมดในจังหวัด ส่วนใหญ่อยู่ในอำเภอกะทู้   -เมื่อพิจารณาจำนวนอุปทานตามระดับราคา พบว่า ส่วนใหญ่อยู่ที่ระดับราคา 5-10 ล้านบาท แบ่งเป็นคอนโดฯ และบ้านเดี่ยวส่วนใหญ่อยู่ในระดับราคา 5-10 ล้านบาท และทาวน์เฮ้าส์อยู่ในระดับราคา 3-5 ล้านบาท ชลบุรี ราคาอสังหาฯ ลดลง 10% ประเด็นผลกระทบจากโควิด-19 ต่อตลาดอสังหาฯ ในจังหวัดชลบุรี -ชลบุรีเป็นอีกหนึ่งจังหวัดท่องเที่ยวที่เริ่มฟื้นตัวขึ้นอีกครั้งหลังจากคลายล็อกดาวน์ ซึ่งได้อานิสงส์จากการท่องเที่ยวที่เริ่มกลับมาดีขึ้น ทั้งยังมีปัจจัยสนับสนุนจากการพัฒนาโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ที่กลับมาเดินหน้าอีกครั้ง รวมไปถึงการพัฒนาระบบคมนาคมและนิคมอุตสาหกรรมต่าง ๆ   แต่ในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2563 ดัชนีอุปทานและราคาอสังหาฯ กลับปรับลดลงอย่างมากจากไตรมาสก่อน คาดว่าเป็นผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ระลอกใหม่ ทำให้ชลบุรีกลายเป็นหนึ่งในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด โดยพบว่า ดัชนีราคาอสังหาฯ ในภาพรวมลดลง 10% ในไตรมาสที่ 4 ปี 2563 จากที่เคยเพิ่มขึ้น 5% ในไตรมาสก่อนหน้า โดยเกือบทุกทำเลมีดัชนีราคาลดลง ยกเว้นอำเภอเมืองชลบุรี ดัชนีราคาเพิ่มขึ้น 6% และอำเภอศรีราชาเพิ่มขึ้น 2% จากไตรมาสก่อน   -ดัชนีอุปทานลดลงอย่างมากถึง 70% จากไตรมาสก่อน โดยอุปทานส่วนใหญ่ถึง 70% อยู่ในอำเภอบางละมุง รูปแบบที่อยู่อาศัยที่มีจำนวนมากที่สุด ได้แก่ คอนโดฯ  มีจำนวนถึง 64% ของอุปทานทั้งหมดในจังหวัด ส่วนใหญ่อยู่ในอำเภอบางละมุงเช่นกัน   -หากแบ่งจำนวนอุปทานตามระดับราคา พบว่า ที่อยู่อาศัยส่วนใหญ่อยู่ที่ระดับราคา 1-3 ล้านบาท แบ่งเป็น คอนโดฯ และทาวน์เฮ้าส์ส่วนใหญ่อยู่ที่ระดับราคา 1-3 ล้านบาท และบ้านเดี่ยวอยู่ที่ระดับราคา 5-10 ล้านบาท ซัพพลายเชียงใหม่เพิ่มขึ้น 8% ประเด็นผลกระทบจากโควิด-19 ต่อตลาดอสังหาฯ ในจังหวัดเชียงใหม่ -เชียงใหม่ เป็นจังหวัดท่องเที่ยวทางภาคเหนือที่แม้จะมีสัญญาณดีขึ้นในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี 2563 ซึ่งตลาดอสังหาฯ ได้อานิสงส์จากภาคการท่องเที่ยวที่เริ่มกลับมาดีขึ้น รวมถึงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางด้านคมนาคมต่าง ๆ แต่ในช่วงปลายปีที่มีผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 พบว่า ดัชนีราคาอสังหาฯ ในภาพรวมลดลง 7% จากไตรมาสก่อน ถือเป็นดัชนีราคาที่ต่ำที่สุดในรอบ 4 ไตรมาส (ตั้งแต่ไตรมาสที่ 4 ปี 2562) โดยดัชนีราคาลดลงทุกรูปแบบที่อยู่อาศัยในเกือบทุกทำเล เช่น อำเภอเมืองเชียงใหม่ลดลง 3% และลดลงมากที่สุดในอำเภอพร้าว ลดลงถึง 35% ยกเว้นในอำเภอแม่แตง และอำเภอแม่วัง เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้า 23% และ 22% ตามลำดับ   -ในขณะที่ดัชนีอุปทานมีการปรับตัวเพิ่มขึ้น 8% จากไตรมาสก่อน โดยส่วนใหญ่ถึง 43% อยู่ในอำเภอเมืองเชียงใหม่ รูปแบบที่อยู่อาศัยที่มีจำนวนมากที่สุดในเชียงใหม่คือ บ้านเดี่ยว มีจำนวนถึง 66% ของอุปทานทั้งหมดในจังหวัด ส่วนใหญ่อยู่ในอำเภอเมืองเชียงใหม่ และอำเภอสันทราย   -หากแบ่งจำนวนอุปทานตามระดับราคา พบว่า ที่อยู่อาศัยส่วนใหญ่อยู่ที่ระดับราคา 1-3 ล้านบาท โดยคอนโดฯ บ้านเดี่ยว และทาวน์เฮ้าส์ ส่วนใหญ่จะอยู่ที่ระดับราคา 1-3 ล้านบาททั้งหมด          
PF ผนึกพันธมิตรต่างชาติ สร้างรายได้ 9,000 ล้าน

PF ผนึกพันธมิตรต่างชาติ สร้างรายได้ 9,000 ล้าน

กลุ่มพันธมิตรต่างชาติ ดันรายได้กลุ่ม “พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค”  คาดปี 2564 รายได้เพิ่มขึ้นจากโครงการร่วมทุน รวม 9,000 ล้าน จี้ภาครัฐใช้งบ 20,000 ล้าน ฉีดวัคซีนให้เร็ว กระตุ้นเศรษฐกิจฟื้นตัวเร็ว      นายชายนิด อรรถญาณสกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พร็อพเพอร์ตี้  เพอร์เฟค จำกัด (มหาชน) หรือ PF เปิดเผยว่า ปีนี้ธุรกิจและกิจกรรมทางเศรษฐกิจของประเทศเชื่อว่าจะกลับมาฟื้นตัว หลังจากผ่านการระบาดของโควิด-19 ที่ส่งผลกระทบเป็นวงกว้าง สำหรับกลุ่มบริษัท ยอดขายและรายได้ในปีนี้จะกลับมาเติบโต โดยเฉพาะการดำเนินงานตามแผนสร้างการเติบโต  จากการผนึกพันธมิตรที่แข็งแกร่งทั้งต่างประเทศและในประเทศ ผสานจุดแข็งการร่วมลงทุนต่อยอดธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ และการรุกเข้าสู่ธุรกิจใหม่ด้านสุขภาพหรือเฮลท์แคร์เพิ่มเติม ปีนี้ กลุ่มบริษัทคาดว่าจะมีรายได้เพิ่มขึ้น เฉพาะจากโครงการร่วมทุนรวม 9,000 ล้านบาท โดยจะมาจากธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ 4,000 ล้านบาท ประกอบด้วย โครงการคอนโดมิเนียมไฮด์ เฮอริเทจ ทองหล่อ ภายใต้การร่วมทุนกับ “ซูมิโตโม ฟอเรสทรี” จำนวน 2,000 ล้านบาท โครงการบ้านเดี่ยวระดับไฮเอนด์ “เลค เลเจ้นด์” ร่วมทุนกับ “ฮ่องกง แลนด์” ใน 2 ทำเล คือแจ้งวัฒนะ และ บางนา-สุวรรณภูมิ จำนวน 1,000 ล้านบาท รวมทั้ง โครงการบ้านเดี่ยวอีก 1,000 ล้านบาท จากการร่วมทุนทั้งกับ “เซกิซุย เคมิคอล” ใน 5 ทำเล และ “ซูมิโตโม ฟอเรสทรี” ซึ่งปีนี้จะมีการเปิดโครงการใหม่เพิ่มเติมด้วย โดยแผนพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ร่วมทุนของกลุ่มบริษัทขณะนี้มีมูลค่ารวมทั้งสิ้น 29,650 ล้านบาท   นอกจากโครงการร่วมทุนกับพันธมิตรต่างประเทศ กลุ่มบริษัทโดย บริษัท แกรนด์ แอสเสท โฮเทลส์ แอนด์ พรอพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) ยังได้ขยายไปยังธุรกิจการผลิตและส่งออกถุงมือยาง โดยร่วมลงทุนกับ บริษัท วัฒนชัย รับเบอร์เมท จำกัด ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้นำด้านการผลิตและจำหน่ายถุงมือยางที่ประสบความสำเร็จในการส่งออกไปทั่วโลก โดยขณะนี้อยู่ระหว่างก่อสร้างโรงงานผลิตถุงมือยาง ในนิคมอุตสาหกรรมทีเอฟดี จังหวัดฉะเชิงเทรา ซึ่งเริ่มก่อสร้างไปเมื่อเดือนธันวาคม 2563 ที่ผ่านมา กำหนดแล้วเสร็จในเดือนพฤษภาคมนี้ และจะดำเนินการผลิตได้ทันที คาดว่าจะมีรายได้จากธุรกิจใหม่นี้อีก 5,000 ล้านบาท จากความต้องการใช้ถุงมือยางของโลกที่เพิ่มขึ้นและยังมีแนวโน้มขยายตัวได้อีกมาก หากมีการฉีดวัคซีนโควิด-19 ได้เร็ว ธุรกิจและเศรษฐกิจจะฟื้นตัวเร็ว สิ่งที่อยากฝากให้ภาครัฐพิจารณาเพิ่มเติม คือ ควรลงทุน 20,000 ล้านบาท ในการแจกจ่ายวัคซีนให้กับประชากรในเมืองท่องเที่ยวหลัก อาทิ กรุงเทพฯ และปริมณฑล เชียงใหม่ ภูเก็ต กระบี่ สมุย ชลบุรี ระยอง และอื่นๆ  รวมถึงกลุ่มธุรกิจท่องเที่ยวและบริการเป็นกลุ่มแรก ๆ  เพราะการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยต้องอาศัยรายได้จากอุตสาหกรรมท่องเที่ยวซึ่งถือเป็นรายได้หลัก โดยมีสัดส่วนถึง 17% ของ GDP ในขณะที่ 11 เดือนแรกของปี 2563 ที่ผ่านมา รายได้จากภาคท่องเที่ยวลดลง 1.93 ล้านล้านบาท หรือติดลบ 71.75% จากช่วงเดียวกันของปี 2562 นอกจากนี้ การท่องเที่ยวยังมีบทบาทสำคัญต่อการจ้างงาน ซึ่งการจ้างงานในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและบริการมีอยู่ถึง 4,393,294 คน หรือ 11.16% ของการจ้างงานทั้งหมด ทั้งนี้ เศรษฐกิจของประเทศจะฟื้นตัวเร็ว หากธุรกิจการท่องเที่ยวฟื้นตัว และภาพรวมของธุรกิจอุตสาหกรรมอื่น ๆ ก็จะดีไปด้วย
REIC คาดตลาดอสังหาฯ ปี 64 แย่สุดทั่วประเทศติดลบ 20%

REIC คาดตลาดอสังหาฯ ปี 64 แย่สุดทั่วประเทศติดลบ 20%

เริ่มต้นปี 2564 ที่มีข่าวการประกาศแผนธุรกิจ ของบรรดาผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์หลายราย ซึ่งเป็นการประกาศแผนการลงทุน ที่ยังคงเป็นปกติ ขณะที่บางรายมีแผนการลงทุนที่เพิ่มมากขึ้น แม้ว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 จะยังมีอยู่ และยังไม่ได้เริ่มใช้วัคซีนเพื่อป้องกันโรค แต่ในภาพรวมสถานการณ์การแพร่ระบาดดังกล่าว มีทิศทางที่ปรับตัวดีขึ้น และการนำเอาวัคซีนมาใช้จริงก็มีความชัดเจนมากกว่าปีที่ผ่านมา    ปัจจัยต่าง ๆ ดังกล่าว คงเป็นสาเหตุที่ช่วยสร้างความมั่นใจ ให้กับบรรดาผู้ประกอบการอสังหาฯ  ทั้งหลาย ว่าภาวะเศรษฐกิจคงจะเริ่มฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับ ช่วงปีที่ผ่านมา ต้องยอมรับว่าแม้จะมีสถาการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 แต่จากการทำตลาด และการปรับตัวรับมือกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ตลาดอสังหาฯ ก็ยังไปได้ดี ผู้ประกอบการหลายรายสามารถทำยอดขายและรายได้เติบโตอย่างต่อเนื่อง   ความมั่นใจของผู้ประกอบการในธุรกิจอสังหาฯ  จึงมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง สอดคล้องกับรายงานของศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (REIC)  ที่ระบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการธุรกิจพัฒนาที่อยู่อาศัยในกรุงเทพฯ – ปริมณฑล ​ในช่วงไตรมาส 4 ปี 2563 (Current Situation Index) มีภาวะความเชื่อมั่นดีขึ้น   โดยมีดัชนีเท่ากับ 46.3%  เพิ่มขึ้นจากไตรมาส 3 ­ของปี 2563  ที่มีค่าดัชนีอยู่ที่ 42.8% แต่ยังคงต่ำกว่าค่ากลางที่ระดับต่ำกว่า 50% ติดต่อกัน 7 ไตรมาส ตั้งแต่ไตรมาส 2 ปี 2562 ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องมาจากการประกาศใช้มาตรการ LTV ได้สะท้อนให้เห็นว่า ปัจจุบันผู้ประกอบการฯยังคงขาดความเชื่อมั่นในการประกอบธุรกิจพัฒนาที่อยู่อาศัย   ศูนย์ข้อมูลอสังหาฯ รายงานอีกว่า ผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นในอีก 6 เดือนข้างหน้า (Expectations Index) ผู้ประกอบการฯ ที่ดำเนินการสำรวจในช่วงปลายปี 2563 ซึ่งยังไม่มีการแพร่ระบาดของโควิด-19 รอบใหม่​ มีค่าเท่ากับ​ 54.4% ที่เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าที่มีค่าดัชนีอยู่ที่  52.9%  สูงกว่าค่ากลางที่มีค่าดัชนี 50.0% สะท้อนให้เห็นว่าผู้ประกอบขณะนั้นเริ่มมีความหวังต่อการฟื้นตัวของตลาดที่อยู่อาศัยในปี 2564 เนื่องจาก ภาวะเศรษฐกิจมีการฟื้นตัวจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐอย่างต่อเนื่อง   แต่อย่างไรก็ตาม การแพร่ระบาดของโควิด-19 รอบใหม่นี้ คาดว่าจะส่งผลให้ความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการ  ใน 6 เดือนแรกของปี 2564 ปรับตัวลดลงกว่าผลที่สำรวจข้างต้นได้   ดร.วิชัย วิรัตกพันธ์ ผู้ตรวจการธนาคารอาคารสงเคราะห์ และ รักษาการผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ กล่าวว่า ในไตรมาส 4 ปี 2563 ผู้ประกอบการยังคงขาดความเชื่อมั่นในการประกอบธุรกิจพัฒนาที่อยู่อาศัย แม้ว่าค่าดัชนีความเชื่อมั่นภาพรวมได้เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อน จากการเริ่มฟื้นตัวของเศรษฐกิจจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจต่าง ๆ ของภาครัฐที่ออกมาอย่างต่อเนื่อง  แต่จะเห็นได้ว่ากลุ่มผู้ประกอบการที่จดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์​ (Llisted Companies) มีค่าดัชนีเท่ากับ 49.2% เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้า ซึ่งมีค่าดัชนีอยู่ที่ 43.1%  ขณะที่ผู้ประกอบการกลุ่มซึ่งไม่ได้จดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ (Non-listed Companies) กลับมีค่าดัชนีเท่ากับ 42.1% ลดลงเล็กน้อยจากไตรมาสก่อนหน้าที่มีค่าดัชนีอยู่ที่ 42.4%   ทั้งนี้ จะเห็นได้ว่า กลุ่มผู้ประกอบการ Listed Companies จะมีระดับความเชื่อมั่นที่สูงกว่า 50% ในด้าน ยอดขาย การจ้างงาน และการเปิดตัวโครงการใหม่ ขณะที่ผู้ประกอบการกลุ่ม Non-listed Companies ไม่มีความเชื่อมั่นด้านใดเลยที่เกินกว่า 50% ซึ่งสะท้อนได้อย่างชัดเจนว่า กลุ่มผู้ประกอบการ Listed Companies จะเป็นผู้บทบาทหลักในการลงทุนและการขยายตัวของตลาดที่อยู่อาศัยในพื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑล  (ดูตารางที่ 1 และแผนภูมิที่ 1) ดีเวลลอปเปอร์มองบวก ก่อนเกิดโควิด-19 รอบใหม่  ดร.วิชัย  กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นในอีก 6 เดือนข้างหน้า (Expectations Index) มีค่าเท่ากับ 54.4% ที่เพิ่มขึ้นจาก ไตรมาสก่อนหน้า แสดงเห็นว่าในภาพรวมผู้ประกอบการมีมุมมองเชิงบวกสำหรับธุรกิจพัฒนาที่อยุ่อาศัยในอีก 6 เดือนข้างหน้า ซึ่งคาดว่าวัคซีนป้องกันโควิด-19 จะนำมาใช้อย่างกว้างขวางและสามารถควบคุมการแพร่ระบาดได้ และเศรษฐกิจจะขยายตัวได้มากขึ้น แต่จะเห็นได้ชัดว่า มุมมองเชิงบวกเช่นนี้ เป็นผลมาจากกลุ่มผู้ประกอบการ Listed Companies ที่มีค่าดัชนีความเชื่อมั่นในอีก 6 เดือนข้างหน้าเท่ากับ  59.7% เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนซึ่งอยู่ที่ระดับ 58.0%   แต่สำหรับกลุ่มผู้ประกอบการ Non-listed Companies มีค่าดัชนีเพียง  46.5% แม้จะเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าเล็กน้อยที่ระดับ 45.2 แต่ได้แสดงให้เห็นได้ว่ากลุ่มผู้ประกอบการ Non-listed Companies ยังคงขาดความเชื่อมั่นในการประกอบธุรกิจพัฒนาที่อยู่อาศัยในปี 2564 ขณะที่กลุ่มผู้ประกอบการฯ Listed Companies มีความเชื่อมั่นมากขึ้นชัดเจนในทุกด้าน โดยเฉพาะในด้านยอดขาย การลงทุน และการเปิดตัวโครงการใหม่ (ดูตารางที่ 2 และแผนภูมิที่ 2) การสำรวจความเชื่อมั่นฯ นี้ ดำเนินการในช่วงปลายปี 2563 ก่อนการแพร่ระบาดของโควิด-19 รอบใหม่ ดังนั้นจึงคาดได้ว่า ในช่วงครึ่งปีแรก โดยเฉพาะในไตรมาสแรก ปี 2563 นี้ ความเชื่อมั่นผู้ประกอบการคงจะปรับลดลงจากการสำรวจช่วงปลายปีอย่างแน่นอน โดยเห็นว่า ผู้ประกอบการยังคงระมัดระวังเกี่ยวกับการเปิดขายโครงการใหม่ เพื่อลดจำนวนอุปทานเหลือขายที่ยังมีอยู่มากในตลาด และรอดูผลกระทบจากการระบาดรอบใหม่อีกครั้งหนึ่ง โควิด-19 ทำตลาดอสังหาฯ แย่สุดติดลบ 20% อย่างไรก็ตาม ภายใต้สถานการณ์ที่เปลี่ยนไปจากช่วงการสำรวจ ศูนย์ข้อมูลอสังหาฯ ​ประเมินว่า การเปิดตัวปี 2564 ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล จะมีจำนวนประมาณ 89,000 ยูนิต แบ่งเป็นแนวสูง 36,000 -37,000 ยูนิต คิดเป็นสัดส่วน 30-40% และแนวราบ 52,000 ยูนิต แต่ถ้าโควิด-19 ยืดเยื้ออาจจะลดลงอีก 10,000 ยูนิต เหลือ 79,000 ยูนิต เท่ากับปีนี้จะอยู่ระหว่าง 79,000 -89,000 หน่วย สูงกว่าปี 2563 ที่เปิดรวม 71,500 ยูนิต แม้ว่าปีนี้เศรษฐกิจจะยังไม่ฟื้นตัว แต่ผู้ประกอบการยังคงต้องเปิดตัวโครงการใหม่ เพราะสต็อกพร่องลงจากปีก่อน   โดยมีการคาดการณ์ผ่านการจำลองหลายสถานการณ์ (Scenario) เพื่อเปรียบเทียบให้เห็นถึงภาพรวมแบ่งเป็น 3 ระดับ คือ ระดับดีที่สุด (best) คือ ตลาดจะโต 5-10% ระดับกลาง (base) ตลาดทรงตัวบวกลบไม่เกิน 0.5% และระดับแย่ที่สุด (worst) ติดลบ 10% เท่ากับปี 2563 เท่ากับภาพรวมตลาดทั่วประเทศลดลงถึง 20% ซึ่งรุนแรงพอควร เพราะต่ำสุดในรอบ 5 ปี ใกล้เคียงกับช่วงเกิดน้ำท่วมใหญ่ปี 2554 มีความเป็นไปได้ว่าปี 2564 จะติดลบถึง 10 % ซึ่งเป็นจุดที่ต้องระมัดระวังอย่างยิ่ง เพราะปีนี้กำลังซื้อที่อั้นอยู่อาจมีไม่มากเหมือนปีที่แล้ว เนื่องจากผู้บริโภคได้รับผลกระทบในแง่ของรายได้ต่อเนื่องมานาน ส่งผลให้ดีมานด์ใหม่ของที่อยู่อาศัยได้รับผลกระทบรุนแรง  
แลนด์แอนด์เฮ้าส์ เดินหน้าลงทุน 11,000 ล.พร้อมระดมทุนผ่านหุ้นกู้ 12,000 ล.​

แลนด์แอนด์เฮ้าส์ เดินหน้าลงทุน 11,000 ล.พร้อมระดมทุนผ่านหุ้นกู้ 12,000 ล.​

แม้ว่าปี 2564 จะยังมีการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 แต่ธุรกิจยังคงต้องเดินหน้าต่อ เพื่อสร้างการเติบโตและผลตอบแทนให้กับผู้ถือหุ้น โดยบริษัท แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์  จำกัด (มหาชน) เป็นหนึ่งในดีเวลลอปเปอร์ที่ยังคงเดินหน้าลงทุนพัฒนาโครงการอย่างต่อเนื่อง ภายใต้การบริหารงานของ นายนพร สุนทรจิตต์เจริญ  ประธานคณะกรรมการบริษัท และ​นายอดิศร ธนนันท์นราพูล  กรรมการผู้จัดการ   โดยแผนธุรกิจของ แลนด์แอนด์เฮ้าส์ ในปีนี้ ประกอบไปด้วย 1.เตรียมงบลงทุนไว้ทั้งหมดประมาณ 11,000 ล้านบาท สำหรับการซื้อที่ดินเพื่อการพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยประมาณ 6,000 ล้านบาท และงบลงทุนด้านอสังหาริมทรัพย์เพื่อการให้เช่าอีกจำนวน 5,000 ล้านบาท   แผนการลงทุนในการซื้อที่ดินเพื่อรองรับการขยายตัวในอนาคต บริษัทจะพิจารณาทำเลที่สามารถนำมาพัฒนาโครงการได้ทันทีและมีศักยภาพที่ดี  ทั้งในเขตกรุงเทพฯ ปริมณฑล  และต่างจังหวัด   โดยปี 2563  ที่ผ่านมา บริษัทมีการลงทุนประมาณ 6,800 ล้านบาท  แบ่งเป็นรายจ่ายในการซื้อที่ดินเพื่อการพัฒนาที่อยู่อาศัย 4,600 ล้านบาท และรายจ่ายในการลงทุนในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เพื่อการให้เช่า มูลค่ารวม 2,200  ล้านบาท  ประกอบด้วย การลงทุนในการพัฒนาโครงการ Shopping Mall  - Terminal  21   จำนวน    900  ล้านบาท  และการลงทุนในธุรกิจโรงแรมและอพาร์ทเมนต์  จำนวน 1,300  ล้านบาท   2.บริษัทมีแผนพัฒนา 12 โครงการ มูลค่ารวม 20,660 ล้านบาท ลดลงจากปี 2563 ที่เปิดโครงการใหม่  16  โครงการ มูลค่าโครงการรวม 28,620  ล้านบาท แผนการพัฒนาโครงการในปีนี้ แบ่งเป็นโครงการบ้านเดี่ยว 5 โครงการ มูลค่า 12,730 ล้านบาท โครงการทาวน์โฮมและบ้านแฝด 7 โครงการ มูลค่า 6,950 ล้านบาท (มี 2 โครงการที่มีทั้งโครงการบ้านเดี่ยวและทาวน์โฮมอยู่ในโครงการเดียวกัน) และคอนโดมิเนียม 2 โครงการ มูลค่า 980 ล้านบาท ซึ่งมีการพัฒนาโครงการคอนโดในจังหวัดเชียงใหม่ 1 โครงการมูลค่า 160 ล้านบาท   โดยในช่วงต้นปี 2564 บริษัทมีโครงการที่เปิดดำเนินการอยู่ทั้งสิ้น  75   โครงการ  เป็นโครงการในกรุงเทพฯ และปริมณฑล  45  โครงการ  และต่างจังหวัด   30  โครงการ   3.วางแผนออกหุ้นกู้อีกจำนวน 12,000 ล้านบาท จากปี 2563 ซึ่งออกหุ้นกู้ มูลค่ารวม 8,400 ล้านบาท  ระยะเวลา 2-3 ปี  อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 2.29% ต่อปี   4.ตั้งเป้าหมายแผนการดำเนินงานในปี 2564 ด้วยยอดขาย (Booking)  28,000  ล้านบาท  และเป้าหมายรับรู้รายได้จากยอดโอนกรรมสิทธิ์  30,000 ล้านบาท มีราคาเฉลี่ยต่อยูนิต เท่ากับ 7.0 ล้านบาท ลดลงเล็กน้อยจากปี 2563 ซึ่งมีราคาเฉลี่ยต่อยูนิต  7.5  ล้านบาท   สัดส่วนของยอดขาย ในปี 2564   พิจารณาตามมูลค่า  จำแนกตามประเภทที่อยู่อาศัย มีสัดส่วน บ้านเดี่ยวและบ้านแฝด  78% , ทาวน์เฮ้าส์  13% และคอนโด  9%   จากแผนการดำเนินงานของบริษัทฯ  ในปี 2564  คาดว่า ณ  สิ้นปี  2564  บริษัทฯ จะมีอัตราส่วนหนี้สินต่อทุนอยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกับเมื่อสิ้นปี 2563  โดยจะมีต้นทุนทางการเงินเฉลี่ยลดลงกว่าระดับเฉลี่ย ณ สิ้นปี 2563  เล็กน้อย   ส่วนบริษัทในเครือในรอบปี 2563 ที่ผ่านมา มีการพัฒนาโครงการใหม่ ได้แก่ บริษัท LHMH  ได้ดำเนินการพัฒนาโครงการอีก 1  โครงการ คือ  โครงการ Grande Centre Point  Lumpini   บนที่ดิน 6-2-73.5  ไร่ ในรูปแบบ Mixed Use  ประกอบด้วย โรงแรม จำนวน 512 ห้อง อาคารสำนักงาน  13,000 ตารางเมตร  มูลค่าการลงทุน 4,830  ล้านบาท แล้วเสร็จประมาณ Q1/2567   บริษัท LH USA ได้ขายโครงการอพาร์ทเมนท์  The Mode Residence  ในรัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา  ให้กับบุคคลที่ไม่มีความสัมพันธ์กับบริษัท ในราคา 80.05 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ หรือคิดเป็นเงินไทย ประมาณ  2,415 ล้านบาท  โดยมีกำไรก่อนภาษีประมาณ  13.77 ล้านเหรียญสหรัฐ  หรือคิดเป็นเงินไทยประมาณ  416 ล้านบาท        
พีดีเฮ้าส์ ปรับแผนธุรกิจสู้โควิด -19  เปิด 2 สาขาเมืองรอง-​ลุยตลาดออนไลน์

พีดีเฮ้าส์ ปรับแผนธุรกิจสู้โควิด -19 เปิด 2 สาขาเมืองรอง-​ลุยตลาดออนไลน์

พีดีเฮ้าส์ ประเมินสถานการณ์รับสร้างบ้านต้นปี 2564 งานหนัก หลังเจอพิษโควิด-19 ระลอกใหม่ ฉุดกำลังซื้อ คาดภาพรวมตลาดรับสร้างบ้านไตรมาสแรกชะลอตัว เร่งเดินหน้าปรับตัวสร้างความแตกต่าง พร้อมนำนวัตกรรมใหม่ PD Fresh Airflow ป้องกันฝุ่น PM 2.5 เพื่อคุณภาพการอยู่อาศัยเอาใจลูกค้ารักสุขภาพ ล่าสุดลุยเปิด 2 สาขาใหม่ พิจิตร และ นครนายก เจาะดีมานด์ต่างจังหวัดหวัง   นายพิศาล ธรรมวิเศษ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปทุมดีไซน์ ดีเวลลอป จำกัด หรือศูนย์รับสร้างบ้านพีดีเฮ้าส์ เปิดเผยว่า  สถานการณ์ตลาดรับสร้างบ้านในช่วงไตรมาสแรกของปี 2564 นี้ มีแนวโน้มชะลอตัว เนื่องจากผู้บริโภคที่ต้องการปลูกสร้างบ้าน ยังคงรอดูทิศทางเศรษฐกิจและการแก้ไขปัญหาโรคระบาดโควิด-19 ของรัฐบาล  ภายหลังจากสถานการณ์ที่โควิด-19 กลับมาระบาดระลอกใหม่ ในพื้นที่หลายจังหวัด และบางจังหวัดต้องประกาศเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุด  และเข้มงวดการเดินทางข้ามจังหวัดของประชาชน อันเป็นการป้องกันการแพร่ระบาด สถานการณ์ดังกล่าว ได้ส่งผลกระทบและทำให้การตัดสินใจปลูกสร้างบ้าน ของผู้บริโภคต้องยืดระยะเวลาออกไป แม้ว่าความต้องการของผู้บริโภค ที่ต้องการใช้บริการกับบริษัทรับสร้างบ้าน ยังมีอยู่มากพอสมควรก็ตาม นอกจากนี้ ยังส่งผลทำให้บ้านที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง ต้องล่าช้าออกไปด้วยเช่นกัน ถือเป็นผลกระทบต่อภาพรวมธุรกิจรับสร้างบ้าน และผู้ประกอบการอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แน่นอนว่าสถานการณ์รอบนี้นับเป็นความยากลำบาก หากผู้ประกอบการที่ไม่สามารถปรับตัวได้ จะต้องเดือดร้อนและอยู่รอดยาก​   สำหรับ “ปทุมดีไซน์ ดีเวลลอป” ในฐานะบริษัทรับสร้างมืออาชีพที่ผู้บริโภคให้ความเชื่อถือและอยู่ในธุรกิจนี้มานานกว่า 30 ปี บริหารจัดการภายใต้ระบบแฟรนไชส์รับสร้างบ้านพีดีเฮ้าส์  ที่มีมาตรฐานเดียวกันได้มีการประเมินสถานการณ์อยู่ตลอดเวลา เพื่อปรับตัวให้ทันกับสถานการณ์ พร้อมกับได้วางกลยุทธ์การตลาด ให้สอดคล้องกับความต้องการ และกำลังซื้อของผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมาย   โดยในไตรมาสแรกนี้บริษัทฯ จะยังคงให้ความสำคัญกับตลาดรับสร้างบ้านต่างจังหวัด โดยเฉพาะจังหวัดเมืองรองในแถบภาคกลางตอนบนและภาคตะวันออก  เนื่องจากประเมินว่าลูกค้ากลุ่มเป้าหมายของบริษัทฯ​ ยังมีความต้องการรับสร้างบ้านอยู่จำนวนมาก   “เหตุผลที่ปีนี้ บริษัทฯ หันมาเจาะตลาดเมืองรองนั้น สืบเนื่องจากปีที่ผ่านมา พบว่ามีกลุ่มลูกค้าเฉพาะ (Niche Market) ที่มีกำลังซื้อสูงและต้องการสร้างบ้านพร้อมตกแต่งภายใน จากจังหวัดใกล้เคียงที่บริษัทฯ มีสาขาตั้งอยู่ในจังหวัดเศรษฐกิจหลักแล้ว เข้ามาใช้บริการเพิ่มมากขึ้นอย่างมีนัยยะ โดยเฉพาะกลุ่มราคาบ้าน 10 ล้านบาทขึ้นไป มีอัตราการเติบโตสวนทางกับภาพรวมตลาดรับสร้างบ้านที่ชะลอตัว จึงน่าจะเป็นโอกาสดีหากว่าบริษัทฯ สามารถขยายการให้บริการครอบคลุมพื้นที่ได้มากขึ้น เพื่อเป็นการเข้าถึงและอำนวยความสะดวกกับกลุ่มลูกค้าเฉพาะดังกล่าว”   ล่าสุด บริษัทฯ​ ได้เปิดตัวศูนย์รับสร้างบ้านพีดีเฮ้าส์ 2 สาขาใหม่ในพื้นที่เมืองรอง ได้แก่ สาขาจังหวัดพิจิตรและนครนายก เพื่อรองรับความต้องการและกำลังซื้อผู้บริโภคที่ต้องการเลือกใช้บริการกับบริษัทรับสร้างบ้านมืออาชีพที่น่าเชื่อถือ   ด้าน นางสาวถิรพร สุวรรณสุต ประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายงานการตลาด บริษัท พีดี เฮ้าส์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ในฐานะผู้บริหารสิทธิ์ระบบแฟรนไชส์รับสร้างบ้านพีดีเฮ้าส์ กล่าวว่า ในช่วงไตรมาสแรกปีนี้การแพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่ มีแนวโน้มทำให้ตลาดรับสร้างบ้านโดยรวมชะลอตัวลง ในส่วนของพีดีเฮ้าส์ได้มีการปรับแผนการตลาดใหม่ โดยผ่านช่องทางโซเซียลมีเดีย (Social Media) ในทุกช่องทาง เพื่อจะสื่อสารและเข้าถึงผู้บริโภคให้มากขึ้น   รวมถึงการมุ่งเน้นบริการสร้างบ้านแบบครบวงจร การนำเสนอวัสดุอุปกรณ์ที่มีมาตรฐานและคุณภาพแตกต่าง การขยายสาขาใหม่ให้ครอบคลุมพื้นที่บริการทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด เพื่อผู้บริโภคไม่ต้องมีค่าใช้จ่ายเพิ่มใด ๆ พร้อมทั้งออกแบบบ้านใหม่ ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของกลุ่มผู้บริโภคเป้าหมายที่ชื่นชอบความลักซูรี่ ซึ่งเร็ว ๆ นี้เตรียมเปิดตัวแบบบ้านหรูขนาดพื้นที่ใช้สอย 1,000 ตารางเมตรขึ้นไป ในราคาค่าก่อสร้างเริ่มต้น 20 ล้านบาท ภายใต้แนวคิดการสร้างบ้านอนุรักษ์พลังงานและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม นางสาวถิรพร กล่าวเพิ่มเติมว่า นอกจากจุดยืนเรื่องการสร้างบ้านอนุรักษ์พลังงานฯ ที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว  พีดีเฮ้าส์ยังเพิ่มจุดขายในเรื่องสุขภาพของผู้อยู่อาศัยในบ้านอีกด้วย ล่าสุดได้นำนวัตกรรมการควบคุมคุณภาพอากาศภายในบ้านที่เรียกว่า PD Fresh Airflow หรือ “ระบบสร้างอากาศบริสุทธิ์และป้องกันฝุ่น PM2.5” ซึ่งระบบดังกล่าวจะเป็นการถ่ายเทหรือดึงอากาศจากภายนอกเข้ามาสู่ภายในบ้าน ผ่านการกรองจากอุปกรณ์นำอากาศเข้าที่สามารถกรองฝุ่นละอองขนาดเล็กหรือฝุ่น PM2.5 เพื่อจะสร้างอากาศบริสุทธิ์และควบคุมเมื่ออากาศภายในบ้านเริ่มมีมลพิษหรือคุณภาพต่ำลง   ในส่วนอากาศที่เป็นมลพิษก็จะมีอุปกรณ์นำอากาศออก เพื่อจะทำให้อากาศภายในบ้านบริสุทธิ์และดีต่อสุขภาพของผู้อยู่อาศัยเหมาะ กับผู้อยู่อาศัยที่มีปัญหาโรคภูมิแพ้และระบบทางเดินหายใจ หรือผู้ที่ต้องการสร้างบ้านอาศัยอยู่ในพื้นที่ที่สภาพอากาศมีควัน พิษและฝุ่นควันเกินจากค่ามาตรฐานอากาศปกติอยู่เสมอ ๆ เช่น พื้นที่ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล รวมทั้งจังหวัดในภาคเหนือ สำหรับลูกค้าที่สนใจสามารถศึกษาข้อมูลหรือสอบถามรายละเอียดได้ที่ศูนย์รับสร้างบ้านพีดีเฮ้าส์ 25 สาขาใกล้บ้านได้ทุกวันทำการ
ทำความรู้จัก 4 เทรนด์ที่อยู่อาศัยปี 2021

ทำความรู้จัก 4 เทรนด์ที่อยู่อาศัยปี 2021

นับตั้งแต่เกิดโรคระบาด “ไวรัสโควิด-19” วิถีชีวิตและความเป็นอยู่ รวมถึงการทำงาน การดำเนินธุรกิจของคนยุคปัจจุบันก็เปลี่ยนแปลงไป ต่างต้องอยู่ภายใต้วิถีชีวิตปกติใหม่ หรือ New Normal ซึ่งต้องมีการเว้นระยะห่างทางสังคม และอยู่ภายใต้มาตรการด้านสาธารณสุข ที่เน้นความสะอาดปลอดภัย จากการได้รับเชื้อโรค ทั้งการสวมหน้ากากอนามัย การลดการสัมผัส และการล้างมือให้สะอาดหลังการสัมผัสกับสิ่งของ   ไม่เพียงแต่การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ซึ่งสร้างผลกระทบในปัจจุบัน ก่อนหน้านี้วิถีชีวิตและไลฟ์สไตล์ของคนยุคปัจจุบัน ก็เกิดการเปลี่ยนแปลงมาก่อนหน้าแล้ว จากผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี แต่ผลกระทบที่เกิดขึ้นไม่ได้ส่งผลอันตรายต่อสุขภาพและอนามัยของคน แต่เป็นเรื่องที่ทุกคนจะต้องปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี หรือ Digital Disruption   จากการเปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน ส่งผลทำให้หลายธุรกิจต้องปรับตัวให้ทัน และต้องสนองตอบความต้องการของกลุ่มลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงไป ในวงการอสังหาริมทรัพย์ ก็ไม่ได้แตกต่างจากธุรกิจอื่น ๆ ต้องมีการปรับตัวเช่นเดียวกัน  ​เพราะไลฟ์สไตล์ ความต้องการ และพฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไปไม่เหมือนเดิม 4 เทรนด์ที่อยู่อาศัยปี 2021  การจะพัฒนาสินค้าและบริการ ออกมารองรับความต้องการของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงไป นักการตลาดหรือดีเวลลอปเปอร์ คงต้องวิเคราะห์และคาดการณ์แนวโน้มกับสิ่งที่จะเกิดขึ้น  เทรนด์การอยู่อาศัย รวมถึงการก่อสร้างในปี 2021 คงจะแตกต่างจากอดีต ซึ่ง SCG ได้วิเคราะห์เทรนด์การก่อสร้างและที่อยู่อาศัย 2021 ซึ่งพบว่ามี 4 เรื่องที่จะเข้ามามีอิทธิพล และเกิดการเปลี่ยนแปลง 1.Digital Transformation คือการนำเอาดิจิทัล เทคโนโลยี มาปรับใช้กับทุกภาคส่วน ซึ่งเป็นหนึ่งตัวแปรการเปลี่ยนแปลงสำคัญที่ขับเคลื่อนอย่างรวดเร็ว โดยจะเห็นได้อย่างชัดเจนจากคนส่วนใหญ่ได้ให้เวลาและเรียนรู้การใช้งานเครื่องมือและเทคโนโลยีต่าง ๆ เพื่อความสะดวกสบายที่เพิ่มขึ้นในชีวิตประจำวัน จนกลายเป็นเรื่องปกติใหม่ (New Normal) ที่ทุกคนต้องทำไปเสียแล้ว ไม่ว่าจะเป็นแอปพลิเคชันโปรแกรมการประชุมออนไลน์ เข้ามาอำนวยความสะดวกแทนการเดินทางมาประชุมในรูปแบบเก่า หรือ การสั่งอาหารผ่านแอปพลิเคชันต่างๆ  เป็นต้น ที่ตอบโจทย์ความสะดวกสบาย และง่าย แบบ Anywhere Anytime ของคนทุกเพศ ทุกวัย 2.การใส่ใจกับพื้นที่อยู่อาศัยมากขึ้น ผู้คนหันมาให้ความสำคัญ ใส่ใจกับพื้นที่อยู่อาศัยมากขึ้น  เทรนด์นี้เกิดขึ้นจากช่วงล็อคดาวน์ เมื่อคนอยู่บ้านกันมากกว่าที่เคย จะเห็นได้ว่า มีการปรับปรุงตกแต่งบ้านให้น่าอยู่และรองรับวิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไปมากยิ่งขึ้น ดังนั้นไม่ว่าโลกจะมีการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงไปมากเพียงใด “ที่อยู่อาศัย” ก็ยังคงเป็นปัจจัยพื้นฐานสําคัญ และเป็นที่ที่ปลอดภัยที่สุด 3.Well-Being เทรนด์สุขอนามัยที่ขาดไม่ได้ เทรนด์การอยู่อาศัยซึ่งเป็นตัวแปรที่สาม คือ  Well-Being โลกกำลังตื่นตัวในเรื่องของสุขอนามัยกันมากขึ้น เทรนด์ที่กําลังอยู่ในความสนใจของผู้คนทุกเพศทุกวัย และเติบโตอย่างรวดเร็วอย่างต่อเนื่อง จากวิถีการใช้ชีวิตรูปแบบใหม่ทำให้มองเห็นการมีสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีเป็นเรื่องที่สำคัญและให้ความสนใจกับสิ่งรอบตัว ไปพร้อม ๆ กับการที่มีบ้านที่ดี มีความปลอดภัย   ในขณะเดียวกัน ประเทศไทยยังต้องปรับตัวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์ (Aged Society) สอดคล้องกับพฤติกรรมการเลือกและใส่ใจกับความปลอดภัยเป็นเรื่องแรก ทั้งการอาศัยอยู่ภายในบ้าน รวมไปถึงการเตรียมความพร้อมตัวเอง และสมาชิกในบ้าน สู่การเป็นผู้สูงวัยในอนาคต 4.Circular Economy และการใส่ใจสิ่งแวดล้อม จากสถานการณ์ที่ทั่วโลกต่างรับมือกับการสภาวการณ์เปลี่ยนแปลงของโลกเรา ผู้คนเริ่มหันมาใส่ใจสิ่งแวดล้อม การประหยัดพลังงานกันมากขึ้น หรือแม้แต่เรื่องระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) การหมุนเวียนเอาทรัพยากรมาใช้ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด เป็นสิ่งที่มนุษย์เราเริ่มหันมามองสิ่งรอบตัว จนเกิดคำถามที่ว่า เมื่อโลกเปลี่ยน ถึงเวลาที่ต้องหันกลับมามองที่ตัวเราเอง ว่าที่ผ่านมาดูแลโลกนี้ดีเพียงพอหรือยัง? นายวชิระชัย คูนำวัฒนา Head of Living Solution Business ธุรกิจ เอสซีจี ซิเมนต์-ผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง แสดงความเห็นว่า  เมื่อเกิดไวรัสโควิด-19 แล้ว เกิดคำถามขึ้นมากมายตามมาว่า ที่ผ่านมาเราดูแลโลกนี้ดีเพียงพอไหม เพราะต้องยอมรับหลาย ๆ เรื่องที่เกิดขึ้น ก็เกิดจากผลกระทบของโลกที่เปลี่ยนแปลงไป คนจะกลับมาตระหนักเหมือนกันว่าเราดูแลตัวเราเองแล้ว เราดูแลโลกไปด้วยไหม ซึ่งจริง ๆ แล้ว เรื่องเทรนด์ กระแสนิยม รวมถึงแนวโน้มที่เกิดขึ้น อาทิ การดูแลสิ่งแวดล้อม การประหยัดพลังงาน การใส่ใจด้านสุขอนามัย คงต้องมองย้อนกลับมามองถึงการใช้ชีวิต และ รอบ ๆ ตัว ว่าเราจะดูแลต่อจากนี้อย่างไร สำหรับผมมองว่าทั้ง 4 ข้อข้างต้นก็เป็นเทรนด์ที่ได้เกิดขึ้นมาแล้วในก่อนหน้านี้ แต่สถานการณ์ปัจจุบันช่วยให้มันชัดเจนขึ้น และช่วยเร่งความเร็วมากขึ้น Smart Living ตอบโจทย์ การอยู่อาศัยปี 2021 นอกจากนี้  ด้วยบริบทของสังคมที่เปลี่ยนผ่าน ได้ยกระดับความต้องการพื้นฐานทางกายภาพของมนุษย์สู่ความเป็นดิจิทัล โดยการผนวกเทคโนโลยีเข้ามาอำนวยความสะดวกสบายในทุกมิติ ส่งผลให้ภาพของ Smart City หรือ เมืองอัจฉริยะ ชัดเจนมากขึ้น นำไปสู่การใช้ชีวิตในรูปแบบ Smart Living ที่เชื่อมต่อทุกประสบการณ์ด้วยเทคโนโลยี เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น ในฐานะองค์กรต้องเตรียมพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงและแนวโน้มที่เกิดขึ้น ทั้งด้านพฤติกรรม ความเป็นอยู่ การใช้ชีวิต สุขอนามัย   ขณะที่นายชูโชค ศิวะคุณากร Managing Director บริษัท ผลิตภัณฑ์และวัตถุก่อสร้าง จำกัด กล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน สิ่งที่เห็นได้ชัดเจนอีกอย่าง คือการขาดแคลนแรงงาน รวมถึงผู้เกี่ยวข้องในสายงานก่อสร้าง และขาดแคลนในเชิงของคุณภาพและทักษะของงานก่อสร้างที่มีความหลากหลาย ซึ่งต้องเรียนรู้เรื่องเทคโนโลยี และการใช้ประโยชน์จากข้อมูลดาต้าควบคู่ อย่างเช่นการพัฒนาแรงงานฝีมือช่าง นอกจากนี้ ยังมีปัญหาอีกด้านหนึ่ง โดยเมื่อก่อนนี้นึกถึงแค่งานโครงสร้าง อาคาร แต่ปัจจุบันมันต้องมองทั้งระบบ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาโลกร้อน ซึ่งต้องใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด ปัญหาเรื่องฝุ่นละออง เรื่องการจัดการน้ำ ซึ่งมันจะเชื่อมโยงในภาคการอุปโภค บริโภค ทั้งในเชิงของการเกษตร และอุตสาหกรรม   “ตัวกำหนดทิศทางสำคัญในการขับเคลื่อนแวดวงการก่อสร้าง คือความเบ็ดเสร็จ ครบวงจรและรวดเร็ว ทั้งรูปแบบของการใช้งานตัวอาคาร และโครงสร้าง ทั้งการเพิ่มฟังก์ชันการใช้งานบนโครงสร้างเดิมให้มีความหลากหลาย หรือเป็นการเปลี่ยนวัตถุประสงค์ของการใช้งานโครงสร้างเดิมให้ต่างออกไป รวมถึงการรีโนเวทปรับปรุงอาคาร สิ่งปลูกสร้าง ไปสู่การพัฒนานวัตกรรมและโซลูชันเพื่อตอบโจทย์สูงสุด” จากความต้องการความเบ็ดเสร็จและรวดเร็ว ทำให้เกิดแนวทางการก่อสร้างแนวใหม่ คือ Smart Construction ซึ่งจะช่วยจัดการกับการออกแบบที่ไม่มีประสิทธิภาพ เทคโนโลยีที่ล้าสมัย และส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ยังปรับให้สอดคล้องกับพฤติกรรมของผู้ใช้งาน ให้มีความเป็น Smart Building มากยิ่งขึ้น   นายชูโชค ศิวะคุณากร ทิ้งท้ายว่า ความน่าสนใจอีกข้อที่ก่อตัวขึ้นจากการเปลี่ยนแปลง คือ Networking การสร้างเครือข่ายขนาดใหญ่ที่ทำให้เกิดการแชร์ข้อมูลร่วมกัน แชร์ Resource หรือแม้แต่ Knowledge แลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน ทั้งกลุ่มเจ้าของโครงการและกลุ่มคนที่เกี่ยวข้องในแวดวงการก่อสร้าง ให้เกิดประโยชน์ต่อธุรกิจและภาพรวม เพิ่มทักษะงานก่อสร้าง ภายใต้ Ecosystem เดียวกัน ซึ่งจะทำให้การพัฒนาเป็นไปอย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น  
เอพี ไทยแลนด์ เตรียมขึ้นเบอร์ 1 ผู้นำอสังหาฯ ปี 63 

เอพี ไทยแลนด์ เตรียมขึ้นเบอร์ 1 ผู้นำอสังหาฯ ปี 63 

เอพี ประกาศความสำเร็จก้าวข้ามผ่านวิกฤตมาได้อย่างสวยงาม มุ่งสู่การเป็นเบอร์ 1 ในอุตสาหกรรม คาดยอดโอนรวมปี 63 สูงถึงประมาณ 46,000 ล้านบาท โตกว่า 40% จากปี 2562 เชื่อจะเป็นยอดโอนที่มากที่สุดในตลาด       นายวิทการ จันทวิมล รองกรรมการผู้อำนวยการ สายงานกลยุทธ์องค์กรและการสร้างสรรค์ บริษัท เอพี ไทยแลนด์ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ผลการดำเนินงานในรอบปี 2563 คาดว่าจะทำยอดโอนรวมเกือบ 46,000 ล้านบาท สูงกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ตั้งแต่ต้นปีที่ 40,550 ล้านบาท หรือโตกว่า 40% จากปี 2562 และคาดว่าน่าจะเป็นยอดโอนที่มากที่สุดในตลาด พร้อมคาดการณ์ผลกำไรรวมทั้งปี 63 จะเติบโตอย่างมีนัยยะสำคัญ ผลการดำเนินงานดังกล่าว มาจากความสำเร็จในการส่งมอบสินค้า ทั้งแนวราบและคอนโดมิเนียม ซึ่งนับว่าเป็นความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่ของบริษัท และสูงสุดตั้งแต่ก่อตั้งบริษัทมา และมั่นใจว่าเอพี ไทยแลนด์จะสามารถมุ่งสู่การเป็นเบอร์ 1 ในอุตสาหกรรมอสังหาฯ ไทย นายวิทการ กล่าวอีกว่า  ความสำเร็จของบริษัท เกิดจากความพร้อมของพนักงานในองค์กรกว่า 2,000 คน ในการตั้งรับกับการปรับตัวที่รวดเร็วจากวิกฤตที่เกิดขึ้น ตลอดจนความเข้มแข็งในการทำงานโดยมองไปที่เป้าหมาย EMPOWER LIVING เดียวกัน ควบคู่ไปกับการบริหารจัดการกระแสเงินสดที่รัดกุม ส่งผลให้บริษัท สามารถก้าวข้ามผ่านวิกฤตมาได้อย่างมั่งคง สร้างผลการดำเนินงานที่เติบโตอย่างแข็งแกร่งในทุกไตรมาส   ทั้งนี้ อีกหนึ่งคีย์ซัคเซสสำคัญนอกเหนือจากการมีทีมงานที่แข็งแกร่งแล้ว นั่นคือแผนการบริหารจัดการภายในองค์กรที่ดำเนินควบคู่ไปกับการบริหารจัดการพอร์ตสินค้าที่นำมาซึ่งการตอบรับที่ดีจากลูกค้าอย่างต่อเนื่อง โดยในปีที่ผ่านมานอกจากความสำเร็จในการขายและโอนกรรมสิทธิ์สินค้าในกลุ่มธุรกิจแนวราบแล้วนั้น บริษัท  ยังได้รับการตอบรับที่ดีมากจากการโอนสินค้ากลุ่มคอนโดมิเนียม โดยมี LIFE ลาดพร้าว LIFE อโศก-พระราม 9 LIFE วัน ไวร์เลส และ Aspire อโศก-รัชดา เป็นคีย์สำคัญ ทั้งนี้ปี 2563 ที่ผ่านมาบริษัทฯ เปิดตัวโครงการใหม่ทั้งสิ้น 40 โครงการ รวมมูลค่า 45,020 ล้านบาท เป็นบ้านเดี่ยว 18 โครงการ มูลค่า 20,860  ล้านบาท ทาวน์โฮม 18 โครงการ มูลค่า 18,530 ล้านบาท และโครงการในต่างจังหวัด 3 โครงการ มูลค่า 2,430 ล้านบาท และคอนโดมิเนียม 1 โครงการ มูลค่า 3,200 ล้านบาท   บริษัทยังคงดำเนินแผนธุรกิจด้วยความรัดกุม ควบคู่ไปกับความพร้อมที่จะปรับตัวอย่างรวดเร็ว ด้วย  การบริหารจัดการกระแสเงินสด ภายใต้พันธกิจใหญ่ขององค์กร “EMPOWER LIVING” ที่พร้อมเติมเต็มทุกเป้าหมายของชีวิต ด้วยนวัตกรรมสินค้าและบริการที่มีคุณค่าและมีความหมาย
อสังหาปี 64  ไปต่ออย่างไร ? ในวิกฤติไวรัสโควิด-19

อสังหาปี 64  ไปต่ออย่างไร ? ในวิกฤติไวรัสโควิด-19

สำหรับปี 2563 ที่ผ่านมา ถือว่าเป็นอีกหนึ่งปีที่ค่อนข้างเหน็ดเหนื่อย สำหรับผู้ประกอบการในภาคอสังหาริมทรัพย์ ที่ต้องเผชิญกับปัจจัยต่าง ๆ มากมายที่เข้ามากระทบ โดยเฉพาะการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่ช่วงครึ่งปีหลังส่งสัญญาณดี จากการควบคุมการแพร่ระบาดอย่างได้ผล แต่สถานการณ์กลับมารุนแรงอีกครั้งช่วงปลายปี และลุกลามมาถึงปี 2564 ซึ่งสถานการณ์รุนแรงกว่าครั้งแรกด้วยซ้ำ   ทำให้ภาพรวมของเศรษฐกิจต้องอยู่ในภาวะชะลอตัวอีกครั้ง ซึ่งถือเป็นปัจจัยลบอย่างหนักในทุกธุรกิจ รวมถึงธุรกิจอสังหาฯ ด้วย ความหวังสำคัญของการฟื้นเศรษฐกิจกลับมาเป็นปกติ คงขึ้นอยู่กับการควบคุมการแพร่ระบาด และการนำเอาวัคซีนมาใช้ได้อย่างเป็นผล หลังจากนั้นรัฐบาลคงต้องมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจอีกครั้ง ภาพรวมเศรษฐกิจคงเริ่มฟื้นตัวตาม   ในส่วนของธุรกิจอสังหาฯ ปี 2564 จะมีทิศทางเป็นอย่างไร ท่ามกลางปัจจัยลบสำคัญเช่นนี้ แผนกวิจัยและการสื่อสาร คอลลิเออร์ส อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย ได้ทำบทวิเคราะห์คาดการณ์ภาพรวมธุรกิจในปี 2564 และมองย้อนกลับไปในปี 2563 ว่ามีสถานการณ์ภาพรวมตลาดเป็นอย่างไรบ้าง แนวโน้มตลาดคอนโดปี ​2564 -คาดว่าผู้ประกอบการส่วนใหญ่เลือกที่จะเลื่อนการเปิดตัวโครงการคอนโดมิเนียมใหม่ออกไป  เน้นการพัฒนาโครงการแนวราบทั้งในพื้นที่กรุงเทพฯ และจังหวัดยุทธศาสตร์ที่ยังคงมีกำลังซื้อ แต่อาจมีผู้ประกอบการรายใหญ่บางราย เปิดตัวโครงการใหม่บ้างในบางทำเล -คาดการณ์ปี 2564 จะมีจำนวนเปิดตัวคอนโดใหม่ในพื้นที่กรุงเทพฯ ไม่เกิน 20,000 ยูนิตเท่านั้น หรือปรับตัวลดลง 7.6% จากปีก่อนหน้า   -ในปี 2564 คาดว่าจะมีคอนโดที่ก่อสร้างแล้วเสร็จและจดทะเบียนอาคารชุดในพื้นที่กรุงเทพฯ อีกกว่า 35,000 ยูนิต ในส่วนนี้จะเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่สร้างความกังวลให้กับผู้ประกอบการ  หากเมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จและเรียกลูกค้าเข้ามาโอนกรรมสิทธิ์จะเกิดยูนิตหลุดโอนมากน้อยเพียงใด และหากยูนิตเหล่านี้มีการทิ้งโอนกันเป็นจำนวนมากในภาวะที่ตลาดชะลอตัว จะเป็นอีกปัญหาที่สำคัญที่ผู้พัฒนาจะต้องนำยูนิตเหล่านี้กลับมาขายใหม่ในตลาดอีกครั้ง หรืออย่างที่เราเห็นผู้ประกอบการหลายรายเลือกที่จะนำยูนิตเหล่านี้กลับมาขายใหม่ในการลดราคาขายลงถูกว่าในช่วง Pre-sale ก่อนหน้าด้วยซ้ำ เพื่อกระตุ้นความสนใจของกลุ่มลูกให้เพิ่มขึ้น และกระตุ้นยอดโอนกรรมสิทธิ์เพื่อการรับรู้รายได้และดึงเงินเข้ามาในบริษัทให้มากที่สุดซึ่งจะส่งผลให้เราจะเห็นสงครามราคาในตลาดคอนโดมิเนียมอย่างต่อเนื่องในปี 2564   -ผู้ประกอบการส่วนใหญ่เลือกพัฒนาโครงการคอนโดในพื้นที่กรุงเทพฯ ชั้นนอกมากขึ้น หรือในพื้นที่ตามแนวเส้นทางรถไฟฟ้าที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง โดยเฉพาะโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม โดยเฉพาะช่วงรามคำแหง – ลำสาลี  รถไฟฟ้าสายสีเหลือง โดยเฉพาะบริเวณถนนลาดพร้าวและศรีนครินทร์ และรถไฟฟ้าสายสีชมพู โดยเฉพาะถนนรามอินทรา หรือแม้กระทั้งแนวเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีทอง จะเป็นพื้นที่ที่คาดการณ์จะมีการเปิดตัวโครงการคอนโดคึกคักขึ้นในปี 2564   -ผู้ประกอบการพัฒนาคอนโดในพื้นที่ใจกลางเมืองน้อยลง เนื่องจากยังมีจำนวนคอนโดรอการขายในตลาดจำนวนมาก  จากการเปิดตัวอย่างคึกคักในช่วง 4-5 ปีก่อนหน้า บวกกับราคาที่ดินที่ยังคงปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง -ราคาคอนโด 50,001 - 100,000 บาทต่อตารางเมตร เป็นเซกต์เมนต์ ที่น่าจับตามองในปี 2564 เนื่องจากเป็นราคาที่เข้าถึงได้ง่าย ในภาวะที่กำลังซื้อยังไม่ฟื้นตัวมากนัก ตามมาด้วยราคา 100,001 - 150,000 บาทต่อตารางเมตร และระดับราคาต่ำกว่า 50,000 บาทต่อตารางเมตร   -ผู้ประกอบการรายใหญ่ในตลาดหลักทรัพย์บางราย ยังคงมีแผนพัฒนาโครงการคอนโดในช่วงราคาขายเฉลี่ยต่ำกว่า 50,000 บาทต่อตารางเมตร ทั้งในพื้นที่กรุงเทพมฯ และปริมณฑล เพื่อดึงดูดกำลังซื้อในกลุ่มลูกค้าเรียลดีมานด์ และกลุ่มนักลงทุนที่เน้นการซื้อเพื่อการปล่อยเช่าในปี 2564   -โครงการคอนโดที่มีราคา มากกว่า 200,000 บาทต่อตารางเมตรขึ้นไป จะมีการพัฒนาน้อยลง เนื่องจากเป็นตลาดที่มีกลุ่มลูกค้าจำกัด และกำลังซื้อต่างชาติยังอยู่ในภาวะชะลอตัว ผู้ประกอบการจะเลือกพัฒนาเฉพาะในทำเลที่มั่นใจว่ามีกำลังซื้อเท่านั้น เช่น ย่านทองหล่อ แนวโน้มตลาดบ้านแนวราบปี 2564 -ตลาดแนวราบ คาดว่าจะยังคงเป็นตลาดดาวเด่นของภาคอสังหาฯ ในปี 2564 ที่ผู้พัฒนาจะยังคงเดินหน้าเปิดตัวโครงการใหม่อย่างต่อเนื่อง ทั้งในพื้นที่กรุงเทพฯ และจังหวัดยุทศาสตร์สำคัญ ​ แม้ว่าภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว ที่อยู่อาศัยยังคงเป็นปัจจัย 4 ที่มีความต้องการอย่างต่อเนื่อง ​คาดว่ายอดขายตลาดแนวราบในปี 2564 ​​ยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะกลุ่มผู้พัฒนารายใหญ่ในตลาดหลักทรัพย์ -ทำเลเด่นในการพัฒนาโครงการแนวราบ คือ พื้นที่ในโซนกรุงเทพฯ ตะวันออก โดยเฉพาะย่านบางนา  วงแหวนกาญจนาภิเษก ร่มกล้า กรุงเทพกรีฑาตัดใหม่ รวมทั้งจังหวัดยุทธศาสตร์ที่สำคัญ โดยเฉพาะในพื้นที่อีอีซี ประเด็นจับตาท่ามกลางวิกฤตโควิด-19 -กำลังซื้อต่างชาติในภาคอสังหาฯ คาดการณ์ว่าจะยังคงชะลอตัวอย่างต่อเนื่องในปี 2564 เนื่องจากยังคงได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว ทำให้มองว่าไม่ใช่เวลาที่เหมาะสมสำหรับการก่อหนี้ก้อนใหญ่ แม้ว่าจะมีมาตรการกระตุ้นกำลังซื้อ​ทั้งจากภาครัฐและเอกชนก็ตาม   -การขายอสังหาฯในปี 2564 อุปสรรคที่สำคัญที่สุดคงหนีไม่พ้นในเรื่องของกำลังซื้อที่ชะลอตัวอย่างเห็นได้ชัด เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจที่เรียกหลายฝ่ายมองว่าอยู่ในช่วงขาลงทั้งเศรษฐกิจไทยและเศรษฐกิจโลก  กำลังซื้อในช่วงวัยทำงาน หรือวัยกลางคนที่เคยเป็นกำลังซื้อหลักของภาคอสังหาฯ รู้สึกไม่มั่นใจในภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน ยังคงกลัวการถูกเลิกจ้าง ตกงาน หรือแม้กระทั้งการปรับลดเงินเดือนลง ส่งผลให้ไม่อยากสร้างหนี้ก้อนใหญ่และภาวะผูกพันระยะยาวในช่วงนี้ จึงเลือกที่จะชะลอการตัดสินใจซื้ออสังหาฯออกไป   -ปัจจัยเสี่ยงที่น่ากังวลที่สุดยังคงเป็น ความกังวลในเรื่องของการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในรอบที่ 2  ที่จะส่งผลให้รัฐบาลจำเป็นต้องประกาศล็อกดาวน์ประเทศอีกรอบ เหมือนกับประเทศในกลุ่มยุโรปและอเมริกาที่ประกาศมาตรการล็อกดาวน์ประเทศอีกครั้งเพื่อควบคุมการระบาดของโควิด-19   -ส่วนปัจจัยบวกที่สำคัญที่สุดสำหรับภาคอสังหาฯ คือวัคซีนป้องกันไวรัสโควิด-19 จะพร้อมใช้งานได้เมื่อใด ซึ่งหากวัคซีนดังกล่าวสามารถใช้งานได้จริงภายในช่วงครึ่งหลังของปี 2564 จะเป็นปัจจัยบวกที่สำคัญที่สุด นอกเหนือจากมาตรากระตุ้นอสังหาริมทรัพย์อื่นๆ ทั้งจากภาครัฐและเอกชน ทางรอดอสังหาฯ ฝ่าวิกฤตโควิด-19 -ผู้พัฒนาควรหันมาเน้นจับกลุ่มลูกค้าภายในประเทศ เพื่อดึงดูดกำลังซื้อในกลุ่มลูกค้าเรียลดีมานด์ และกลุ่มนักลงทุนที่เน้นการซื้อเพื่อการปล่อยเช่าในช่วงระดับราคาที่สามารถเข้าถึงได้ง่าย ในภาวะที่กำลังซื้อยังไม่ฟื้นตัวในปี 2564   -ส่วนลูกค้าต่างชาติควรเพิ่มช่องทางการขาย ผ่านแพลตฟอร์มเอเจนท์ต่าง ๆ หรือช่องทางออนไลน์มากขึ้น เพื่อเป็นการเปิดโอกาสการขายอีกช่องทางในภาวะที่กำลังซื้อต่างชาติยังไม่สามารถเดินทางเข้ามาได้   -ผู้ประกอบการควรระมัดระวังในการกำหนดราคาขาย ซึ่งหากเปิดตัวโครงการขายใหม่ราคาที่ค่อนข้างสูงกว่าราคาตลาด อาจส่งผลให้โครงการไม่ได้รับความสนใจจากกลุ่มผู้ซื้อเท่าที่ควร   การกำหนดราคาขายที่น่าสนใจ นักลงทุนยังทำกำไรได้ และผู้ซื้อสามารถเข้าถึงได้ คาดว่าผู้ประกอบการหลายรายยังคงเลือกใช้เป็น Key Success Factor  เพื่อกระตุ้นความสนใจ และตัดสินใจซื้อได้ในระยะเวลาอันรวดเร็ว  ในภาวะที่ตลาดชะลอตัว และกำลังซื้อส่วนใหญ่ยังคงให้ความสนใจกับโครงการที่ก่อสร้างแล้วเสร็จที่นำมาลดราคา   เนื่องจากราคาที่น่าสนใจ และเป็นโครงการที่ลูกค้าสามารถเห็นห้องจริงที่จะซื้อ รวมถึงมีโปรโมชั่นอื่น ๆ ที่ผู้ประกอบการนำมาดึงดูดความสนใจ ซึ่งถือว่าโปรโมชั่นเหล่านี้สามารถดึงดูดใจให้ผู้ซื้อเกิดความสนใจกันเป็นจำนวนมาก ส่งอาจส่งผลให้หลายโครงการที่ก่อสร้างเสร็จสามารถปิดการขายลงได้ 100% ในปีนี้   -ผู้พัฒนาควรปรับลดแผนการเปิดตัวโครงการคอนโดลง เพื่อใช้เวลานี้ในการระบายสต็อกที่ยังคงค้างในตลาดก่อน เพื่อให้ตลาดกลับสู่ภาวะสมดุลเร็วขึ้น เน้นหาพื้นที่ใหม่ ๆ ในการพัฒนาโครงการแนวราบเพื่อจับกลุ่มกำลังซื้อเรียลดีมานด์ ทั้งในพื้นที่กรุงเทพฯ และจังหวัดยุทธศาสตร์อื่น ๆ ที่สำคัญ        
8 บทสรุปผลงาน “แสนสิริ” ทุบสถิติยอดโอนสูงสุดรอบ 36 ปี​

8 บทสรุปผลงาน “แสนสิริ” ทุบสถิติยอดโอนสูงสุดรอบ 36 ปี​

แสนสิริ ปิดผลงานปี 63 สร้างประวัติศาสต์โอนสูงสุดรอบ 36 ปี ทะลุ 45,000 ล้าน หลังปรับเป้าทั้งปีถึง 4 ครั้ง ชี้ คีย์ซัคเซส คือ กลยุทธ์ “Speed to Market” และโปรโมชั่นโดนใจลูกค้า ​   นายอุทัย  อุทัยแสงสุข ประธานผู้บริหารสายงานปฏิบัติการ บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) หรือ SIRI เปิดเผยว่า ในปี 2563 ที่ผ่านมาแสนสิริประสบความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจภายใต้ภาวะเศรษฐกิจและสถานการณ์ตลาดอสังหาริมทรัพย์ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 โดยได้รับการตอบรับที่ดีจากกลุ่มลูกค้าทั้งในด้านการขายและโอนโครงการ   สำหรับ 8 บทสรุปผลการดำเนินงานของปี 2563 ที่ทำให้สามารถสร้างยอดโอนได้สูงสุดในรอบ 36 ปี ได้แก่ 1.ปิดการขายโครงการที่อยู่อาศัยไปถึง 35  โครงการ มูลค่ารวมกว่า 64,600 ล้านบาท   2.มียอดโอนโครงการที่อยู่อาศัยทุกประเภทที่สร้างเสร็จและส่งมอบให้กับลูกค้า 45,000  ล้านบาท เกินจากเป้าหมายใหม่ที่มีการปรับล่าสุดในช่วงปลายปี คือ 43,000 ล้านบาท สร้างประวัติศาสต์การโอนที่สูงสุดในรอบ 36 ปี และเติบโตจากปี 2562 ถึง 45%   3.ปี 2563 มีการปรับเป้ายอดโอน 4 รอบ ซึ่งช่วงต้นปีวางเป้าหมายยอดโอน 33,000 ล้านบาท และช่วงปลายปีได้ปรับเป้าหมายเป็น 43,000 ล้านบาท   4.ปี 2563 มียอดโอนจากโครงการคอนโดมิเนียมสูงถึง 25,500 ล้านบาท โตจากปีก่อนถึง 50% มีการปิดการขายและโอนโครงการภายใต้พอร์ต Sansiri Luxury Collection ด้วยกันถึง 3 โครงการ คือ 98 Wireless แฟล็กชิพคอนโดมิเนียมซูเปอร์ลักซ์ชัวรี่ บ้านแสนสิริ พัฒนาการ แฟล็กชิพบ้านเดี่ยวระดับซูเปอร์ลักซ์ชัวรี่ เดอะ โมนูเมนต์ ทองหล่อ ลักซ์ชัวรี่คอนโดมิเนียมใจกลางย่านทองหล่อ 5.ปี 2563 มียอดโอนโครงการแนวราบ 19,500 ล้านบาท โตขึ้น 39% จากปีก่อน มีการปิดโครงการลักซ์ชัวรี่แนวราบ ได้แก่ ไทเกอร์ เลน  ลักซ์ชัวรี่โฮมออฟฟิศบนที่สุดของทำเลทอง ไพร์มโลเคชั่นตำแหน่งฮวงจุ้ยท้องมังกร ที่หายากใจกลางย่านเสือป่า เยาวราช และปิดการขายโครงการบ้านเดี่ยวนาราสิริ บางนา และ นาราสิริ พุทธมณฑล สาย 1 เป็นต้น   6.กลยุทธ์ที่ทำให้ประสบความสำเร็จ คือ กลยุทธ์ “Speed to Market” ที่มีการปรับแผนรับมือสถานการณ์โควิด-19  การรุกการขายในทุกช่องทาง ผ่าน Multi-channel และการนำเสนอโปรโมชั่น อาทิ -“มีเงินเดือนเริ่มต้น 18,000 บาทก็เป็นเจ้าของสิริ เพลส ได้ง่ายๆ” -“โปรลื่นปรื้ด” -“แสนสิริผ่อนให้ 24 เดือน” 7.การบริหารเงินสดในมือที่ดี (Cash is King) มีกระแสเงินสดที่มีความพร้อมในการดำเนินธุรกิจ 15,000 ล้านบาท   8.เป็นแบรนด์ที่ได้รับการยอมรับจากกลุ่มผู้บริโภค ด้วย 2 รางวัลคุณภาพ ทั้งจาก Marketeer : No.1 Brand Thailand ปี 2019-2020  และ รางวัลจาก Terra BKK : The Most Powerful Real Estate Brand 2020 รักษาแชมป์ 3 ปีซ้อน   นายอุทัย กล่าวอีกว่า ในระยะยาว บริษัทยังมียอดขายรอโอน (Backlog) (รวมโครงการร่วมทุนในคอนโดมิเนียม) มูลค่ารวมประมาณ 24,000 ล้านบาท แบ่งเป็นยอดขายรอโอนจากโครงการภายใต้การพัฒนาของแสนสิริ 19,800 ล้านบาท และยอดขายรอโอนจากโครงการภายใต้การร่วมทุนอีก 4,200 ล้านบาท ที่จะทยอยรับรู้ไปจนถึงปี 2566 ซึ่งจะช่วยสร้างความมั่นใจให้แสนสิริเป็นอย่างดีและเสริมความแข็งแกร่งในทุกสภาวะเศรษฐกิจ
กานดา พร็อพเพอร์ตี้ เตรียม 5 โปรเจ็กต์ใหม่ สร้างยอดขาย 3,300 ล้าน

กานดา พร็อพเพอร์ตี้ เตรียม 5 โปรเจ็กต์ใหม่ สร้างยอดขาย 3,300 ล้าน

“กานดา พร็อพเพอร์ตี้” เตรียม 5 โครงการใหม่ ปี 64 หวังสร้างยอดขาย 3,300 ล้าน พร้อมปรับกลยุทธ์-เพิ่มประสิทธิภาพธุรกิจ รับการแข่งขันตลาดแนวราบรุนแรง จากดีมานด์ลูกค้าเปลี่ยนใจจากซื้อคอนโดมาซื้อแนวราบ และดีเวลลอปเปอร์หันมาแข่งขันตลาดแนวราบ​   นายหัสกร บุญยัง รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท กานดา พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด ผู้พัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยภายใต้แบรนด์ “ไอลีฟ” เปิดเผยว่า ​ได้วางแผนธุรกิจช่วงปี 2562-2566  เตรียมเปิดโครงการใหม่ปีละ 4-8 โครงการ และขยายทำเลการพัฒนาปีละ 1-3 ทำเล เพื่อสร้างการเติบโตให้กับบริษัท   โดยในปี 2563 ได้ขยายทำเลโดยการเปิดโครงการใหม่เพิ่มที่โซนเทพารักษ์-บางบ่อ 2 โครงการ ได้แก่ โครงการไอลีฟ พรีม่า เทพารักษ์-บางบ่อ ทั้งในส่วนที่เป็นโครงการทาวน์โฮม “ไอลีฟ ทาวน์” และโครงการบ้านเดี่ยว-บ้านแฝด “ไอลีฟ พาร์ค” สำหรับทำเลเดิมที่บริษัทพัฒนาโครงการก่อนหน้า ได้เปิดโครงการใหม่เพิ่ม ได้แก่ ​ โครงการไอลีฟ ไพร์ม วงแหวน-รังสิตคลอง 4 และโครงการไอลีฟ ไพร์ม 2 ถลาง ภูเก็ต เปิด 5 โปรเจ็กต์ใหม่ สร้างรายได้ 2,200 ล. ในปี 2564 บริษัทยังคงเน้นการเติบโตอย่างมั่นคง และมีสถานะการเงินที่แข็งแรง โดยได้ชะลอการซื้อที่ดินใหม่ และนำที่ดินที่มีอยู่มาพัฒนาโครงการใหม่ โดยตั้งเป้ายอดขายไว้ที่ 3,300 ล้านบาท และเป้ารายได้อยู่ที่ 2,200 ล้านบาท และมีแผนเปิดโครงการใหม่รวมทั้งสิ้น 5 โครงการ มูลค่ารวม 3,631 ล้านบาท ประกอบด้วย 1.ไอลีฟ ไพร์ม ประชาอุทิศ 90 เป็นโครงการทาวน์โฮมจำนวน 211 ยูนิต มูลค่าโครงการ 441 ล้านบาท 2.ไอลีฟ ไพร์ม 2 พระราม 2 กม.14 เป็นโครงการบ้านเดี่ยวและบ้านแฝดจำนวนรวม 228 ยูนิต มูลค่าโครงการ 805 ล้านบาท 3.ไอลีฟ พัทยา-จอมเทียน ซึ่งเป็นการเปิดโครงการบนทำเลใหม่ในปีนี้ของบริษัท เป็นโครงการทาวน์โฮม จำนวนรวม 384 ยูนิต มูลค่าโครงการ 875 ล้านบาท 4.ไอลีฟ ไพร์ม 2 ประชาอุทิศ 90 เป็นโครงการทาวน์โฮม จำนวน 268 ยูนิต มูลค่าโครงการ 541 ล้านบาท 5.ไอลีฟ ไพร์ม 2 วงแหวน-รังสิตคลอง 4 เป็นโครงการทาวน์โฮม จำนวน 460 ยูนิต มูลค่าโครงการ 969 ล้านบาท เมื่อรวมกับโครงการที่เปิดขายมาแล้วก่อนหน้าในปี 2564 บริษัทจะมีโครงการที่อยู่ระหว่างการขายรวมทั้งสิ้น 17 โครงการ ใน 9 ทำเล มูลค่าโครงการรวมประมาณ 9,000 ล้านบาท ขณะเดียวกันยังมีที่ดินรอการพัฒนาสำหรับโครงการในอนาคตมูลค่ารวม 13,000 ล้านบาท ปรับกลยุทธ์-เพิ่มประสิทธิภาพรับการแข่งขัน ขณะเดียวกัน บริษัทได้ปรับกลยุทธ์ทั้งในด้านการก่อสร้าง การพัฒนาผลิตภัณฑ์ และบริการ เพื่อรองรับการแข่งขันที่สูงขึ้น ในส่วนของการก่อสร้าง ได้เพิ่มจำนวนบ้านสร้างเสร็จพร้อมขายพร้อมโอนให้เพียงพอกับประมาณการยอดขายในช่วงเปิดโครงการ เพื่อที่จะสามารถโอนได้เร็ว เพิ่มกระแสเงินสดให้บริษัทได้เร็วขึ้น และยังเป็นการรองรับพฤติกรรมการซื้อของคนรุ่นใหม่ที่ต้องการซื้อโดยไม่ต้องผ่อนดาวน์   นอกจากนี้ ในการรองรับการเปลี่ยนแปลงจากสถานการณ์ที่เกิดขึ้น บริษัทได้มีการออกแบบ 8 ฟังก์ชั่นการใช้งานภายในบ้าน “8 f(x)” เพิ่มเติม เพื่อรองรับการใช้ประโยชน์ที่หลากหลาย ตอบโจทย์ความต้องการที่แตกต่างจากรูปแบบการใช้ชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไป โดยยังคงยึด “4 KANDA CONCEPT” เป็นแนวคิดหลักในการออกแบบได้แก่ 1. ECO SMART 2. EASY MAINTENANCE 3. 3 GENERATIONS 4. FLOOD PROTECTION   นายหัสกร กล่าวอีกว่า นอกจากการขยายทำเลใหม่ๆ แล้ว อีกแนวทางหนึ่งที่จะช่วยสร้างการเติบโตให้กับบริษัทคือการขยายกลุ่มลูกค้าเพิ่ม จากเดิมผลิตภัณฑ์ของบริษัทจะอยู่ในระดับราคา 2 ล้านบาทขึ้นไปเป็นหลัก ขณะนี้บริษัทกำลังศึกษาความเป็นไปได้ที่จะขยายกลุ่มลูกค้าในตลาดที่ราคาต่ำกว่า 1.6 ล้านบาทลงมา ซึ่งเป็นตลาดที่ยังมีความต้องการซื้อสูง แต่ยังติดปัญหาเรื่องของต้นทุนการพัฒนาโครงการในปัจจุบันที่เพิ่มสูงขึ้น หัวใจหลักคือ ต้นทุนที่ดินต้องถูก ซึ่งจะต้องขยับออกมานอกเมือง แต่ต้องมีแหล่งงานรองรับ โดยคาดว่าจะได้ข้อสรุปในเรื่องของการขยายกลุ่มลูกค้าในเร็วๆ นี้ “สำหรับปัญหาที่เกิดจากการภาระหนี้ครัวเรือนที่เพิ่มสูงขึ้น ประกอบกับการที่ธนาคารเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อ บริษัทได้ปรับกลยุทธ์ในเชิงรุก โดยการตั้งทีมขึ้นมาทำงานร่วมกับธนาคารต่างๆ อย่างใกล้ชิด  และคอยแก้ปัญหาและให้คำปรึกษากับลูกค้าที่กู้ไม่ผ่าน เพื่อยังคงรักษาลูกค้าไว้กับบริษัทในระยะยาว” ปี 64 แนวราบยังแข่งขันรุนแรง ภาพรวมของเศรษฐกิจในปี 2564 คาดว่าไม่น่าจะแย่กว่าปี 2563 แม้เปิดศักราชใหม่มา จะมีการล็อกดาวน์​ในบางจังหวัดหรือบางพื้นที่ เนื่องจากการระบาดระลอกใหม่ของไวรัสโควิด-19 แต่เชื่อว่าประสบการณ์การในช่วงปี 2563 จะช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันให้แต่ละบริษัทในการบริหารจัดการ  ประคับประครองสถานะการเงินและบุคลากร  ของบริษัทได้อย่างมั่นคงและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น  ภาวะเศรษฐกิจโดยภาพรวมของปี 2564 น่าจะมีความคล้ายคลึงกับปี 2563 โดยมีการชะลอตัวในครึ่งปีแรก และฟื้นตัวดีขึ้นในช่วงครึ่งปีหลัง ในส่วนของตลาดที่อยู่อาศัยแนวราบ ความต้องการคงไม่ได้เพิ่มขึ้น แต่มีกลุ่มที่ต้องการซื้อคอนโดมิเนียมเปลี่ยนมาซื้อที่อยู่อาศัยแนวราบมากขึ้น และจะมีการแข่งขันในแต่ละทำเลรุนแรงขึ้น จากการที่มีผู้เล่นในตลาดที่อยู่อาศัยแนวราบมากขึ้น  ซึ่งกลยุทธ์ที่แต่ละบริษัทนำมาใช้ ยังเป็นการจัดแคมเปญ โปรโมชั่นที่เข้มข้นมากขึ้น เพื่อช่วงชิงส่วนแบ่งตลาด ส่งผลให้ตลาดที่อยู่อาศัยแนวราบมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย   อย่างไรก็ตาม ในส่วนของตลาดที่อยู่อาศัยแนวสูง คาดว่าจะยังคงติดลบอยู่ เพราะยอดขายคอนโดมิเนียมใหม่น้อยลง โดยภาพรวมของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ คาดว่าจะอยู่ในระดับทรงตัว ปี 63 กวาดยอดขายกว่า 3,000 ล. สำหรับผลการดำเนินงานในรอบปีที่ผ่านมา บริษัทสามารถทำให้ยอดขายได้มากกว่า 3,000 ล้านบาท จากเป้าที่ตั้งไว้ประมาณ 3,000 ล้านบาท และมีรายได้จากการโอน จำนวน 1,950 ล้านบาท แม้ว่าในปี 2563 ภาวะเศรษฐกิจได้รับผลกระทบจากไวรัสโควิด-19 ตั้งแต่ช่วงต้นปี แต่โครงการที่เปิดใหม่ถือว่าได้รับการตอบรับที่น่าพอใจ แต่ละโครงการมีอัตราการขายที่ดีกว่าภาพรวมของตลาดที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19   ส่วนรายได้จะลดลงเล็กน้อยจากเป้าที่ตั้งไว้ 2,000 ล้านบาท  เนื่องจากมีการชะลอการเปิดโครงการใหม่ในช่วงที่ไวรัสโควิด-19 ระบาดรุนแรง และอัตราการปฏิเสธสินเชื่อของธนาคารที่สูงขึ้น แต่ก็ถือว่าเป็นที่น่าพอใจ และยังคงเป็นไปตามแผนที่ต้องการให้บริษัทเติบโตได้อย่างมั่นคง และมีสถานะการเงินแข็งแรง  
4 Key Success ออริจิ้น สร้างยอดพรีเซลปี 63 ทะลุ 25,600 ล้าน

4 Key Success ออริจิ้น สร้างยอดพรีเซลปี 63 ทะลุ 25,600 ล้าน

4 Key Success ออริจิ้น สร้างยอดพรีเซลปี 63 ทะลุ 25,600 ล้าน ฝ่าปัจจัยลบโควิด-19 ทั้งการปรับตัวต่อเนื่อง  เพิ่มสัดส่วนธุรกิจบ้านจัดสรร การรักษาระดับการลุยธุรกิจคอนโด การวิเคราะห์และปรับกลยุทธ์เจาะดีมานด์ถูกกลุ่ม ประเมินภาพรวมทั้งปี 64 “วัคซีน” จะเป็นตัวผลิกเกมตลาดอสังหาฯ หลังผ่านจุดต่ำสุด​   นายพีระพงศ์ จรูญเอก ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) หรือ ORI เปิดเผยถึงภาพรวมยอดขาย (Presale) ของบริษัทในปี 2563 ว่า สามารถทำได้อยู่ที่ประมาณ 25,600 ล้านบาท สูงกว่าเป้าหมายของปี 2563 ที่วางไว้ที่ 21,500 ล้านบาท สวนทางสภาวะตลาดอสังหาริมทรัพย์โดยรวม   สำหรับ Key Success ของออริจิ้น ที่ทำให้สามารถสร้างยอดพรีเซลได้สูงกว่าเป้าหมายที่วางไว้  คือ 1.การปรับตัวอย่างต่อเนื่อง ทั้งช่วงก่อนและหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ส่งผลให้ปี 2563 ทำตลาดได้โดดเด่น ในกลุ่มที่อยู่อาศัยแบบพร้อมเข้าอยู่ (Ready to move) ซึ่งมีสัดส่วนประมาณ 65% ของยอดขายทั้งหมด นอกจากนี้  ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ ยังได้ปรับตัวอย่างต่อเนื่องหลายอย่าง อาทิ -การปรับสัดส่วนธุรกิจมาพัฒนาโครงการบ้านจัดสรรภายใต้บริษัท บริทาเนีย จำกัด เพิ่มขึ้น -การเปิดตัวแบรนด์บ้านจัดสรรเซ็กเมนท์ใหม่ๆ อาทิ กลุ่มตลาด 2-5 ล้านบาท ภายใต้แบรนด์ไบรตัน (Brighton) กลุ่มบ้านระดับราคา  7-10 ล้าน แบรนด์แกรนด์บริทาเนีย (Grand Britania) และกลุ่มบ้านระดับราคา  25 ล้านบาทขึ้นไป อย่างเบลกราเวีย (Belgravia) ส่งผลให้มียอดขายบ้านจัดสรรคิดเป็นสัดส่วนประมาณ  25% ของยอดขายทั้งหมด ​ 2.การวิเคราะห์ตลาดได้ตรงจุด ขณะเดียวกัน บริษัทมีจุดแข็งในการวิเคราะห์ตลาด ตลอดจนการเลือกทำเลและเซ็กเมนท์ที่มีศักยภาพ ทำให้สามารถค้นหากลุ่มลูกค้าเรียลดีมานด์เจอ และสามารถพัฒนาสินค้าคุณภาพที่มีทั้ง Living Solution และ Reaching Solution ตอบโจทย์ความต้องการ และสร้างยอดขายในกลุ่มโครงการเปิดตัวใหม่ได้ดีอย่างต่อเนื่อง 3.บุกตลาดคอนโดด้วยกลยุทธ์ที่หลากหลาย ปีที่ผ่านมาบริษัทพัฒนาโครงการคอนโดในปริมาณเท่ากับช่วงปีก่อนหน้า แต่ใช้กลยุทธ์ที่หลากหลายเพื่อให้เข้าถึงตลาดได้กว้างขึ้น จึงยังรักษาระดับการเติบโตในกลุ่มคอนโดได้เป็นอย่างดี การขยายฐานตลาดไฮเอนด์ ในกลุ่มตลาดคอนโดมิเนียม ภายใต้แบรนด์ใหม่ โซโห แบงค็อก (SOHO Bangkok) โครงการแรกบนทำเลรัชดา เพื่อขยายฐานตลาดไฮเอนด์เพิ่มขึ้น แม้จะเพิ่งเปิดตัวในช่วงปลายไตรมาส 4 แต่ก็ได้รับการตอบรับที่ดี มียอดขายแล้วกว่า 60%   การจับมือพันธมิตรเกาหลีใต้พัฒนาโครงการไนท์บริดจ์ สเปซ สุขุมวิท พระราม 4 (KnightsBridge Space Sukhumvit Rama 4) จนทำให้กวาดยอดขายไปแล้วถึง 98%   การลดต้นทุนด้านการบริหารจัดการที่ไม่กระทบต่อตัวสินค้า เพื่อให้ผู้บริโภคเข้าถึงโครงการที่อยู่อาศัยได้ง่ายขึ้น  ภายใต้กลยุทธ์ Origin Next Normal ของแบรนด์ดิ ออริจิ้น (The Origin) 4.ปั้น Micro-Influencer ช่วยขาย ขณะที่โครงการกลุ่ม Ready to move ก็ประสบความสำเร็จจากโครงการ Everyone can sell โครงการที่เปิดโอกาสให้พนักงานเครือออริจิ้นกว่า 1,200 คน กลายเป็น Micro-Influencer สร้างยอดขายได้ด้วยการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายตัวเอง โดยโครงการดังกล่าวสร้างยอดขายในปีนี้ได้ถึงราว 10% ของยอดขายทั้งปี ปี 64 วัคซีน ตัวเปลี่ยนเกมธุรกิจ นายพีระพงศ์ กล่าวอีกว่า สำหรับปี 2563 นั้น ถือเป็นปีที่ภาคเศรษฐกิจและอสังหาริมทรัพย์มีการปรับฐานครั้งใหญ่ จากปัจจัยที่ไม่เคยเผชิญมาก่อน และน่าจะเป็นจุดพักฐานที่ต่ำที่สุดในรอบหลายปี ขณะที่ปี 2564 นั้น สถานการณ์โควิด-19 ระลอกใหม่ อาจเข้ามามีส่วนกดดันตลาดในระยะสั้นช่วงต้น-กลางไตรมาสแรก แม้ระยะยาวอาจจะต้องจับตากันอย่างต่อเนื่อง แต่เชื่อว่าเรื่องดังกล่าวจะไม่ส่งผลกระทบต่อภาพรวมทั้งปีของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ และภาพรวมทั้งปี 2564 จะยังเติบโตได้มากกว่าปี 2563 “ปีนี้เรามีตัวพลิกเกม หรือ Game Changer ที่ชัดเจนกว่าปี 2563 คือการทยอยฉีดวัคซีนทั่วโลกและโอกาสกลับมาเปิดประเทศอีกครั้ง เรื่องดังกล่าวจะส่งผลทั้งทางตรงและทางอ้อมให้ผู้บริโภคกลับมามีกำลังซื้อและมีความมั่นใจในการจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น” ขณะเดียวกันทุกภาคส่วนของไทยก็มีความตื่นตัวต่อสถานการณ์ มีความจริงจังต่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาดังกล่าว ออริจิ้นและผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์รายอื่นๆ เอง ก็มีประสบการณ์การปรับตัวและการรับมือกับความท้าทายต่างๆ ตลอดทั้งปีที่ผ่านมา เชื่อว่าทั้งหมดจะเป็นปัจจัยสำคัญให้ภาพรวมตลาดปี 2564 ขับเคลื่อนไปได้มากกว่าปี 2563   นอกจากนี้ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในปี 2564 ยังมีโอกาสได้รับปัจจัยบวกอื่น ๆ เพิ่มเติม อาทิ การได้รับการจัดอันดับเป็นอันดับ 1 ของประเทศตลาดเกิดใหม่ (Emerging Market) จากบลูมเบิร์ก และนโยบายไทยแลนด์ อีลิท การ์ด ที่จะเข้ามามีส่วนสำคัญในการผลักดันให้ตลาดฮ่องกง สิงคโปร์ และอีกหลากหลายชาติที่สนใจซื้ออสังหาริมทรัพย์ไทยเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ยิ่งสนใจตลาดอสังหาริมทรัพย์ไทยมากกว่าเดิม สำหรับออริจิ้นเอง เตรียมพร้อมทั้งการวางแผนและการปรับตัวอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สอดรับกับทุกปัจจัยที่อาจจะเข้ามาในปี 2564        
5 ไฮไลท์แผนธุรกิจปี 64 “โนเบิล” กับแนวทางสู่ Top5 ผู้นำอสังหาฯ ไทย

5 ไฮไลท์แผนธุรกิจปี 64 “โนเบิล” กับแนวทางสู่ Top5 ผู้นำอสังหาฯ ไทย

เพียงระยะเวลา 1 ปีที่ “ธงชัย บุศราพันธ” กลับมาบริหารงานบริษัท โนเบิล ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) หรือ Noble อีกครั้งในตำแหน่ง ประธานกรรมการ และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เป้าหมายการนำพาบริษัทไปสู่เป้าหมายการติดยู่ในกลุ่มผู้นำตลาดอสังหาริมทรัพย์ อันดับ Top5 ภายในระยะเวลา 3-5 ปี ก็เข้าใกล้ความเป็นจริงมากขึ้น เพราะ​สเต็ปต์แรกของการไปสู่เป้าหมายดังกล่าว คือ การสร้างรายได้ปีละ 10,000 ล้านบาท   เพราะจากเป้าหมายในปี 2563 ที่ต้องการการสร้างรายได้ 10,000 ล้านบาท คาดว่าจะเป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้  แม้ว่าในภาพรวมของอุตสาหกรรมและภาวะเศรษฐกิจโดยรวม จะได้รับผลกระทบจากปัญหาการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 แต่ผลการดำเนินงานของโนเบิล ก็มีทิศทางการเติบโตที่ดีและเป็นไปตามเป้าหมาย ไม่ว่าจะเป็นยอดขายหรือรายได้ หรือแม้แต่ยอดขายจากตลาดชาวต่างชาติ ที่แม้ว่าจะไม่สามารถเดินทางเข้ามาประเทศไทยได้ แต่ก็ทำยอดขายได้สูง จนเป็นผู้นำตลาดแล้ว   สำหรับแผนธุรกิจในปี 2564 ยังคงวางเป้าหมายสานต่อเป้าหมายการไปสู่การเป็นผู้นำตลาด ติดอันดับ Top5 ให้ได้ภายในปี 2566  โดยมีรายได้ประมาณ​15,000-20,000 ล้านบาท หรือเติบโตเฉลี่ยปีละ 15% จากปัจจุบันที่สามารถสร้างรายได้เข้ามาติดอยู่ในกลุ่มผู้นำอสังหาฯ​ Top10 ของไทยเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยแผนธุรกิจในปี 2564 ของโนเบิล มีไฮไลท์สำคัญ ดังนี้ 1.เปิดโปรเจ็กต์ใหม่มูลค่าสูงสุดรอบ 30 ปี เปิดโครงการใหม่ 11 โครงการ มูลค่า 45,100 ล้านบาท มีมูลค่าสูงสุดในรอบ 30 ปีที่ดำเนินธุรกิจ ​ตั้งแต่ปี 2534 เป็นโครงการไฮไรส์   4 โครงการ มูลค่า 25,000 ล้านบาท และโครงการโลว์ไรส์ 7 โครงการ มูลค่า 20,100 ล้าบาท   ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา โนเบิลพัฒนาโครงการรวม 67 โครงการ รวมมูลค่า 152,000 ล้านบาท ปัจจุบันมีโครงการอยู่ระหว่างการขาย 18 โครงการ มูลค่าเพื่อขาย 29,000 ล้านบาท ซึ่งสัดส่วนกว่า 50% เป็นยอดขายรอรับรู้รายได้ในอีก 2-3 ปีข้างหน้า   2.ปั้นโปรเจ็กต์ร่วมทุน ในจำนวนแผนการเปิดโครงการใหม่ทั้งหมด จะเป็นฃโครงการร่วมทุนกันพันธมิตร 6 โครงการ รวมมูลค่า 32,800 ล้านบาท แบ่งเป็นโครงการร่วมทุนกับบริษัท ยู ซิตี้ จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นบริษัทในกลุ่มบริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) จำนวน 5 โครงการ มูลค่า 22,100 ล้านบาท  และโครงการที่ร่วมทุนกับฮ่องกงแลนด์ จำนวน 1 โครงการ มูลค่า 10,700 ล้านบาท 3.ทำตลาด 3 กลุ่มหลัก แนวทางการทำตลาดในปี 2564 เพื่อสร้างรายได้ให้เป็นไปตามเป้าหมาย โนเบิล จะมุ่งเน้นการจับ 3 ตลาด ได้แก่ -กลุ่มคอนโดราคา 1.1-2 ล้านบาท ในรอบปี 2563 ที่ผ่านมาโนเบิล ได้เปิดตัวแบรนด์ใหม่ คือ นิว (NUE) ตลาดในกลุ่ม Affordable price หรือราคา 1.1-2 ล้านบาท ซึ่งถือว่าได้รับการตอบรับที่ดีจากกลุ่มลูกค้าคนไทย แม้ว่าจะมีสถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 เนื่องจากสามารถพัฒนาโครงการให้ตรงตามความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย จนสามารถมียอดขายกว่า 50% ในช่วงแรกที่เปิดการขาย (อ่านข่าวเพิ่มเติม.... 3 เหตุผลโนเบิล ปั้น NUE เพิ่มรายได้สร้างพอร์ตสัดส่วน 50%) -กลุ่มตลาดไฮด์เอนด์ เป็นตลาดที่ปัจจุบันซัพพลายถูกดูดซับออกจากตลาดค่อนข้างมาก ทำให้มีปริมาณแทบไม่เหลือขายในตลาด โดยเฉพาะในพื้นที่ใจกลางเมือง แต่อสังหาฯ ในพื้นที่ใจกลางเมือง ยังเป็นที่ต้องการของตลาด ซึ่งโนเบิล วางแผนพัฒนาโครงการขายในย่านใจกลางเมือง เช่น ทำเลถนนวิทยุ ทองหล่อ ซึ่งจะขายในราคาที่ต่ำกว่าคู่แข่ง อาทิ ในทำเลทองหล่อ ปัจจุบันคอนโดขายราคาตารางเมตรละ 300,000 บาท แต่โนเบิล วางแผนขายตารางเมตรละประมาณ​ 240,000-250,000 บาท -กลุ่มอสังหาฯ แนวราบ ในอดีตที่ผ่านมาพอร์ตใหญ่ของโนเบิลกว่า 70% เป็นอสังหาฯ​ แนวราบ แต่ระยะหลังได้หันมาพัฒนาโครงการคอนโด ทำให้พอร์ตอสังหาฯ แนวราบในปัจจุบันเหลือสัดส่วนเพียง 5% ซึ่งในปี 2564 โนเบิลจะเพิ่มพอร์ตพัฒนาโครงการแนวราบมากขึ้น โดยมีทั้งประเภททาวน์โฮม บ้านแฝด และขายที่ดินเปล่า 4.เพิ่มสัดส่วนลูกค้าต่างชาติ  วางเป้าหมายการเพิ่มสัดส่วนรายได้จากลูกค้าต่างชาติ 35% จากที่ปี 2563 คาดว่าจะมีสัดส่วนรายได้ของชาวต่างชาติ 30% เฉพาะช่วง 9 เดือนแรกของปี 2563 โนเบิล มียอดขายในจากชาวต่างชาติแล้ว 1,599 ล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วน 26% และมีส่วนบ่างตลาดเป็นอันดับ 1 ในกลุ่มดีเวลลอปเปอร์ที่ขายอสังหาฯ ให้กับชาวต่างชาติ ด้วยส่วนแบ่งตลาด 37%   โดยแนวทางที่จะช่วยกระตุ้นให้ตลาดชาวต่างชาติเติบโตมากขึ้น โนเบิล มองว่ามาตรการขยายระยะเวลาสิทธิการเช่าซื้ออสังหาฯ โดยเฉพาะตลาดบ้านแนวราบให้ได้มากถึง 60-90 ปี จะทำให้ตลาดเติบโตมากขึ้น รวมถึงการเพิ่มระยะเวลาของวีซ่าเพื่อการอยู่อาศัยในประเทศไทยได้นานขึ้น 180 วัน ในอัตราค่าวีซ่าปกติ จะช่วยทำให้ตลาดเติบโตเช่นกัน  เพราะประเทศไทยเป็นประเทศจุดหมายปลายทางที่ชาวต่างชาติต้องการเข้ามาพักอาศัย ภายหลังจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ยุติลง หรือมีมาตรการด้านวัคซีนออกมาใช้ได้ผล ​ 5.สร้างรายได้ 11,000 ล้าน จากแผนงานและการมองภาพรวมในปี 2564 ยังมีปัจจัยบวกหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นการค้นพบวัคซีนและการนำมาใช้ อัตราดอกเบี้ยในอัตราต่ำ ประเทศไทยเป็นที่นิยมของชาวต่างชาติ  จึงทำให้ในปี 2564 โนเบิลจะสามารถทำรายได้รวม ตามเป้าหมายจำนวน 11,000 ล้านบาท เติบโต 10% จากปี 2563 ที่คาดว่าจะทำได้ 10,000 ล้านบาท และยอดขาย (pre-sale) จำนวน 16,000 ล้านบาท เติบโต 146% จากมูลค่า 6,500 ล้านบาท ปัจจุบันเราอยู่ Top10 หวังว่าปี 2566 น่าจะขยับสู่ Top5 เราเชื่อว่ามีความท้าทายรอยอู่ แต่เชื่อมั่นว่ามันเป็นไปได้
วิลล่า คุณาลัย วางแผน  5 ปีโต 20%  ลุยปั้นโปรเจ็กต์รอบกรุงเทพฯ ​

วิลล่า คุณาลัย วางแผน  5 ปีโต 20% ลุยปั้นโปรเจ็กต์รอบกรุงเทพฯ ​

วิลล่า คุณาลัย  วางแผนธุรกิจ 5 ปีข้างหน้า ตั้งเป้าโต 10-20% เดินหน้าหาที่ดินปั้นโปรเจ็กต์ใหม่ พร้อมขยายโซนการพัฒนา ในทิศเหนือและใต้ พร้อมอัดโปรโมชั่น ลด แลก แจก แถม กระตุ้นการซื้อ ปลายปี ดันยอดตามเป้า 750 ล้านบาท   นางประวีรัตน์ เทวอักษร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท​ วิลล่า คุณาลัย จำกัด (มหาชน) หรือ  KUN เปิดเผยว่า บริษัทฯ ได้วางแผนรอบรับธุรกิจในอีก 5 ปีข้างหน้า  ตั้งแต่ปี 2564-2568  ด้วยกการวางกลยุทธ์ในการหาที่ดินเพิ่ม เพื่อรองรับการพัฒนาโครงการใหม่โดยตั้งเป้าการเติบโตประมาณ 10-20% และยังคงมุ่งเน้นพัฒนาโครงการบ้านจัดสรร ภายใต้แนวคิด “สุขใจอยู่บ้านชานเมือง” ในทุกทำเลให้ครบ 4 ทิศ รอบกรุงเทพมหานคร (เหนือ, ใต้, ตะวันออก, ตะวันตก) ตามนโยบายและวิสัยทัศน์ที่บริษัทฯ วางไว้ โดยในขณะนี้ บริษัทฯ อยู่ระหว่างการวางแผน ศึกษาการลงทุนพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยแนวราบ ในโซนทิศเหนือ และโซนทิศใต้  จากปัจจุบันบริษัทฯ มีโครงการใน 2 โซนทิศตะวันตกของกรุงเทพฯ คือในโซนพื้นที่บางบัวทอง และทิศตะวันออกของกรุงเทพฯ คือในโซนจังหวัดฉะเชิงเทรา ซึ่งทั้ง 2 โซน ดังกล่าวถือว่าประสบความสำเร็จและได้การตอบรับจากผู้บริโภค เป็นจำนวนมาก   นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังคงเน้นกลยุทธ์ทางการตลาด ภายใต้วิถีชีวิตที่เปลี่ยนไป ด้วยแนวความคิดการอยู่อาศัยในรูปแบบใหม่ ที่เรียกว่า EVERYTHING AT HOME ทุกสิ่งเกิดขึ้นที่บ้าน เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคและรองรับกับสถานการณ์ปัจจุบัน โดยเน้นการลงลึกในพฤติกรรมของคนในแต่ละพื้นที่นั้น ๆ เพื่อออกแบบโครงการและพัฒนาสินค้าให้ตรงใจ เพิ่มความหลากหลายของสินค้าสำหรับลูกค้าในกลุ่มที่แตกต่างไปจากเดิม   ในขณะเดียวกันก็ชูจุดเด่นเรื่องของ space ที่ให้ได้มากกว่า ทั้งในส่วนของพื้นที่ส่วนกลาง และพื้นที่ใช้สอยภายในบ้านที่เหนือคู่แข่ง ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้คุณาลัยประสบความสำเร็จด้านยอดขายตลอดมา ทั้งนี้ บริษัทฯ เชื่อว่าหากบริษัทพัฒนาโครงการบ้านจัดสรร แนวราบได้ครบ 4 ทิศ รอบกรุงเทพฯ จะส่งผลให้บริษัทฯมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปี 10-20 % ในปัจจุบันบริษัทมีพื้นที่รอการพัฒนาในโซนนนทบุรีและฉะเชิงเทรารวม 40 ไร่ จะเริ่มทยอยเปิดตัวเพิ่มในปี 2564 เป็นต้นไปเพื่อทดแทนสินค้าที่กำลังจะหมดลง โดยพื้นที่ดังกล่าวสามารถรองรับการพัฒนาโครงการได้ทั้งหมด 2 โครงการ จากปัจจุบันมีโครงการอยู่ 6 โครงการ ประกอบด้วยโครงการ คุณาลัย คอร์ทยาร์ด เฟส 2, โครงการ คุณาลัย จอย, โครงการ คุณาลัย บีกินส์ 2, โครงการ คุณาลัย พรีม และคุณาลัย จอย ออน 314 จ.ฉะเชิงเทรา คิดเป็นมูลค่ารวมทั้งหมด 4,542 ล้านบาท   สำหรับกลยุทธ์ในช่วงไตรมาสของสุดท้ายของปี 2563 ว่า ตลาดอสังหาริมทรัพย์แนวราบ ยังคงมีความต้องการของผู้บริโภคอย่างต่อเนื่อง ซึ่งกลุ่มที่มีกำลังซื้อที่อยู่อาศัยจริง (Real Demand) โดยส่วนใหญ่จะมองหาอสังหาฯ ที่มีระดับราคาต่ำกว่า 3 ล้านบาท ซึ่งกลุ่มนี้ถือว่ามีความต้องการเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ส่งผลให้บริษัทฯยังคงให้ความสำคัญกับการทำโปรโมชั่นโปรโมชั่น ลด แลก แจก แถม เนื่องจากในช่วงไตรมาส 4 ของทุกปี ถือเป็นช่วงฤดูกาลขาย (ไฮซีซั่น) ของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์   ดังนั้น การทำโปรโมชั่นจะเป็นอีกปัจจัยในการประกอบการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค ส่งผลให้บริษัทฯยังคงทำการตลาดผ่านช่องทางออนไลน์ (Online) เพื่อเป็นข้อมูลให้ลูกค้าตัดสินใจ รวมถึงช่องทางการบอกต่อของกลุ่มลูกค้าเก่า ซึ่งบริษัทฯเชื่อว่าการบอกต่อเป็นการสร้างความเชื่อมั่นของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่ดี และด้วยสินค้าในทุกโครงการของบริษัทฯที่ให้ความสำคัญกับเรื่องของคุณภาพ จึงเชื่อว่าจะเป็นหนึ่งในปัจจัยที่ลูกค้าตัดสินใจซื้อโครงการของบริษัท   ในช่วงไตรมาส 4/2563 บริษัทฯยังคงให้ความสำคัญกับการสร้างยอดขาย ขณะเดียวกันยังคงเน้นการสร้างสินค้าเพื่อส่งมอบตามแผน สร้างการรับรู้รายได้จากการโอนกรรมสิทธิ์ รวมถึงให้ความสำคัญกับการควบคุมค่าใช้จ่ายให้ดีที่สุด เพื่อจะช่วยสร้างกำไรให้สูงสุดในช่วงสถานการณ์ปัจจุบัน หลังจากที่ทำยอดขายและยอดโอนกรรมสิทธิ์เป็นไปตามเป้าแล้ว สำหรับการโอนกรรมสิทธิ์ ในช่วงโค้งสุดท้าย บริษัทฯเชื่อว่าจะสามารถทำได้ตามเป้าหมายที่บริษัทฯวางไว้ หลังจากในช่วง 9 เดือนแรกที่ผ่านมา (มกราคม-กันยายน2563) ยอดโอนกรรมสิทธิ์เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างการสรุปงบไตรมาส 3/2563 และจะมีการประชุมคณะกรรมการบริษัท เพื่อแจ้งให้กับนักลงทุนได้ทราบเร็วๆ นี้   ทั้งนี้ ล่าสุดบริษัทมียอดขายรอโอน (Backlog) ในมือรวมมูลค่าประมาณ 485 ล้านบาท ซึ่งจะทยอยส่งมอบในช่วงไตรมาส 4/2563 ให้มากที่สุด ส่วนที่เหลือจะทยอยส่งมอบในปีถัดไป ทั้งนี้ บริษัทฯ ตั้งเป้ายอดโอนกรรมสิทธิ์ไว้ที่ 750 ล้านบาท จากการส่งมอบบ้านอย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งยืนยันรักษายอดขาย (Presale) ในช่วงไตรมาสสุดท้ายให้ดีที่สุด แม้สภาพเศรษฐกิจในปัจจุบันจะมีการชะลอตัว และยังมีปัจจัยกดดันภายนอกอื่น ๆ  
3 สิ่งที่ดีเวลลอปเปอร์อสังหาฯ ต้องรู้ !!  กับพฤติกรรมผู้บริโภคในวิกฤตโควิด-19

3 สิ่งที่ดีเวลลอปเปอร์อสังหาฯ ต้องรู้ !! กับพฤติกรรมผู้บริโภคในวิกฤตโควิด-19

TerraBKK เปิดผลวิจัย The Most Powerful Brand 2020 พบ 3 พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนไป จากวิกฤติโควิด-19 ทั้งการยอมจ่ายเงินแพงขึ้น กับแบรนด์อสังหาฯ ที่น่าเชื่อถือ “บริการ” ยังเป็นเรื่องสำคัญ และการใส่ใจของผู้บริหาร ผ่านโปรมั่น “ของแถม-อยู่ฟรี”   นางสาวสุมิตรา วงภักดี กรรมการผู้จัดการ บริษัท เทอร์ร่า มีเดีย แอนด์ คอลซัลติ้ง จำกัด ผู้ให้บริการเว็บไซต์ TerraBKK.com เปิดเผยถึงผลวิจัย The Most Powerful Brand 2020 จากการสำรวจข้อมูลผู้บริโภค ในการตอบแบบสอบถามออนไลน์และภาคสนามจากกลุ่มตัวอย่างทั่วประเทศ​ จำนวน 1,581 คน พบว่ามี 3 พฤติกรรมของผู้บริโภคเกิดขึ้น จากผลกระทบของการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ได้แก่ 1.ผู้บริโภคยินดีจ่ายเงินมากขึ้น 20-30% กับซื้ออสังหาฯ ในแบรนด์ที่น่าเชื่อถือ  เป็นผลจากการมีมุมมองต่ออสังหาฯ ว่า คุณค่าของแบรนด์ คือ สินทรัพย์ที่มีมูลค่าเพิ่มในอนาคต ซึ่งช่วงโควิด-19 ที่ผ่านมา ทำให้คนส่วนใหญ่เปลี่ยนมุมมองด้านการอยู่อาศัยในอนาคต ที่ “บ้าน” ไม่ใช่แค่ที่อยู่อาศัยเพียงอย่างเดียว แต่จำเป็นต้องมีพื้นที่รองรับทั้งการอยู่อาศัย การทำงานในบ้าน และรองรับไลฟ์สไตล์อื่น ๆ ด้วย ทำให้มองว่า หากมีการซื้ออสังหาฯ​ ในช่วงนี้ ผู้บริโภคยินดีจ่ายเงินมากขึ้น 20-30% เพื่อซื้อบ้านหรือคอนโด จากแบรนด์ที่น่าเชื่อถือ เมื่อเทียบกับโคงการอื่นในทำเลเดียวกัน เพราะมองว่าสินทรัพย์ที่มีแบรนด์ จะสามารถสร้างมูลค่าเพิ่ม ขายต่อได้อย่างรวดเร็วในราคาที่พึงพอใจได้ในอนาคต 2.ผู้บริโภคให้ความสำคัญกับ “บริการ” จากพนักงานขาย พฤติกรรมการเลือกซื้ออสังหาฯ ในช่วงโควิด-19 มีความต่างไปจากเดิม ลูกค้าส่วนใหญ่มักจะมองหาโครงการจากแบรนด์ที่มีความคุ้นเคย และมีตัวเลือกในใจที่น้อยลง เพื่อค้นหาข้อมูลโครงการที่สนใจในระบบออนไลน์อย่างละเอียด ก่อนที่จะเข้าเยี่ยมชมโครงการจริง ผู้ซื้อบ้านช่วงนี้จึงให้ความสำคัญกับ “บริการ” จากพนักงานขาย เพราะเป็นผู้ซื้อที่ต้องการอยู่อาศัยจริง และเป็นการซื้อที่มีความจำเป็น   ดังนั้น การส่งมอบบริการที่ดีผ่านพนักงาน ตั้งแต่การให้ข้อมูล การพาเยี่ยมชมโครงการ การหาสินเชื่อที่ตอบรับความต้องการของลูกค้า รวมถึงการช่วยแก้ไขปัญหา และติดตามผลตอบรับลูกค้าเป็นสิ่งสำคัญ ที่ช่วยสร้างประสบการณ์ ความเชื่อมั่นในแบรนด์ให้กับลูกค้าได้เป็นอย่างดี ทำให้เกิดความภักดีต่อแบรนด์ในอนาคต 3.ผู้บริโภคมองว่า “โปรมั่น- อยู่ฟรี” คือ การใส่ใจ และวิสัยทัศน์ที่ดีของผู้บริหาร ผลจากการเกิดวิกฤตการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ส่งผลให้แบรนด์อสังหาฯ ส่วนใหญ่ เกิดการปรับตัวครั้งใหญ่ มีการจัดโปรโมชั่นเพื่อกระตุ้นยอดขายอย่างต่อเนื่อง ซึ่งแคมเปญส่วนลด ของแถม การอยู่ฟรี ช่วยผล เป็นกลไกลสำคัญที่ทำให้แบรนด์เข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้มากขึ้น แต่ยังคงเอกลักษณ์ความเป็นแบรนด์นั้น ๆ ทำให้สินค้าไม่เสียราคา   ขณะที่ลูกค้าได้เห็นถึงวิสัยทัศน์ของผู้บริหาร ผ่านแคมเปญต่าง ๆ ที่ออกมาช่วยเหลือกลุ่มลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤต และกลุ่มลูกค้าใหม่ที่ได้โอกาสซื้อสินค้าคุณภาพดี ทั้งนี้ การแจกของที่มีมูลค่าสูง อาทิ ทองคำ สมาร์ทโฟน สลากออมทรัพย์ เป็นโปรโมชั่นที่ลูกค้าชื่นชอบในช่วงที่เกิดวิกฤต   อย่างไรก็ตาม ผู้บริโภคยังให้ความสำคัญกับเรื่อง การพัฒนานวัตกรรม เทคโนโลยี ที่ช่วยในการประหยัดพลังงาน และรักษาสิ่งแวดล้อมเป็นเทรนด็ที่คนส่วนใหญ่มองว่า ดีเวลลอปเปอร์  ควรนำนวัตกรรมมาผสมผสานสร้างสินค้าที่ตอบโจทย์ความต้องการ รวมถึงต้องมีการพัฒนางานดีไซน์ สีสัน แบบใหม่ ๆ ให้กับทุกโครงการ เพื่อสร้างเอกลักษณ์ ในอนาคตผู้บริโภคส่วนใหญ่ จะให้ความสำคัญกับความน่าเชื่อถือของแบรนด์มากขึ้น โดยเฉพาะผู้บริโภคเจเนอเรชั่นใหม่ ๆ ซึ่งการสร้างการจดจำแบรนด์ และการตอกย้ำให้ลูกค้าจดจำแบรนด์ จะช่วยสร้างความภักดีใหด้เป็นอย่างดี สำหรับผู้บริโภคที่มีแผนซื้อบ้านใหม่หลังเกิดวิกฤตโควิด-19 ส่วนใหญ่ หันมาให้ความสำคัญกับวัสดุที่ใช้ในการก่อสร้าง  ระบบรักษาความปลอดภัย บริการหลังการขาย พื้นที่ใช้สอยภายในที่อยู่อาศัย ด้านเทรนด์การอยู่อาศัยในอนาคต ผู้ตอบแบบสอบถามให้ความสำคัญกับ 5 อันดับ ได้แก่ เรื่อง ความคุ้มค่า คุ้มราคา มากที่สุด 72% รองลงมาเป็นเรื่อง มาตรการรักษาความปลอดภัย 69%  การประหยัดพลังงาน 56%  การออกแบบพื้นที่ใช้สอยตอบโจทย์ Work From Home 51% และออกแบบที่เน้นความสะอาด ถูกหลักอนามัย 50%
“สิวารมณ์” ขน 7 โครงการ อัดแคมเปญ ดันยอดขายรวมปี’63 คาดแตะ 2,000 ล้านบาท

“สิวารมณ์” ขน 7 โครงการ อัดแคมเปญ ดันยอดขายรวมปี’63 คาดแตะ 2,000 ล้านบาท

“สิวารมณ์” ขน 7 โครงการ อัดแคมเปญ ดันยอดขายปี’63 สิวารมณ์ ขน 7 โครงการ รวมมูลค่ากว่า 3,600 ล้านบาท จัดแคมเปญ “สิวารมณ์ เปย์ เดย์ กับเป้ อารักษ์ 28-29 พ.ย. นี้” ลดสูงสุดกว่า 1 ล้านบาท พร้อมช่วยผ่อนสูงสุด 60 เดือน ส่งท้ายปี63 คาดดันยอดขายรวมปีนี้แตะ 2,000 ล้านบาท ยอดโอนกรรมสิทธิ 1,400 ล้านบาท และปิดการขาย 2 โครงการ ภายในปีนี้     นายอรรถปวิทย์ มโนธรรมรักษา กรรมการผู้จัดการ บริษัท สิวารมณ์ เรียลเอสเตท จำกัด และ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เมซัน ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด เปิดเผยว่า ได้จัดกลยุทธส่งเสริมการขายในช่วงโค้งสุดท้ายไตรมาส 4/2563 ด้วยการจัดแคมเปญ “สิวารมณ์ เปย์ เดย์ กับเป้ อารักษ์ 28-29 พ.ย. นี้” พบบ้านหรู สไตล์ อเมริกันคอทเทจ หลายทำเลคุณภาพ ยกทัพ ลดราคา สูงสุดกว่า 1 ล้านบาท พร้อมรับข้อเสนอช่วยผ่อน 60 เดือน โดยใช้ “เป้-อารักษ์ อมรศุภศิริ” เป็นพรีเซ็นตอร์ ในการนำเสนอภาพลักษณ์ของโครงการที่ตอบโจทย์กลุ่มลูกค้า ที่ต้องการซื้อที่พักอาศัย ทำเลใกล้เมืองและแหล่งอำนวยความสะดวกในการใช้ชีวิต มีพื้นที่ส่วนกลางขนาดใหญ่ สามารถลองรับกิจกรรมของลูกบ้านได้อย่างเต็มที่ กำหนด Selling Point & Marketing Strategy Smart Location Smart Space Smart Value Smart Home หวังสร้างยอดขายสวนกระแสตลาดอสังหาริมทรัพย์ กับโครงการบ้านที่เปิดขายพร้อมโอนกรรมสิทธิ 7 โครงการ มูลค่ารวม 3,600 ล้านบาท ประกอบด้วย     สิวารมณ์ เนเจอร์ พลัส ท่าข้าม-พระราม 2 บ้านเดี่ยว และ ทาวน์โฮม อลังการส่วนกลางกว่า 4 ไร่ 10 นาที ถึงเซ็นทรัลพระราม 2 - ทางด่วน-สาทร ส่วนกลางกว่า 4 ไร่ จากราคา 4.24 ล้านบาท เหลือเพียง 2.99 ล้านบาท สิวารมณ์ เนเจอร์พลัส (สุขุมวิท-บางปู) บ้านแฝดและ ทาวน์โฮมหรู 4 นอนใหญ่ ติดถนนสุขุมวิท ใกล้รถไฟฟ้า ตรงข้ามสถานตากอากาศบางปู จากราคา 3.09 ล้านบาท เหลือเพียง 2.59 ล้านบาท สิวารมณ์ ปาร์ค สุขุมวิท - บางปู บ้านเดี่ยวหรู ติดถนนใหญ่ ใกล้โรงพยาบาลรามาฯ จากราคา 4.59 ล้านบาท เหลือเพียง 3.49 ล้านบาท สิวารมณ์ ซิตี้ (นิคมพัฒนา-ระยอง) บ้านเดี่ยวและ บ้านแฝด ทาวน์โฮม สุดหรู ติดถนนใหญ่ ใกล้ นิคมเหมราช, นิคมมาบตาพุด จากราคา 1.7 ล้านบาท เหลือเพียง 1.09 ล้านบาท ศรีราชา ฮิลล์ไซต์ ทาวน์ (ติดสุขุมวิท) บ้านหรู 4 นอนใหญ่ ติดถนนใหญ่ ใกล้นิคมแหลมฉบัง, ห้างโรบินสัน แปซิฟิก ปาร์ค, ม.เกษตร ศรีราชา จากราคา 4.7 ล้านบาท เหลือเพียง 3.79 ล้านบาท เอ็มไลฟ์ (บางนา - ลาดกระบัง) ทาวน์โฮมหรู 4 นอนใหญ่ และโฮมออฟฟิศ บนสุดยอดทำเลตรงข้าม King Power วัดศรีวารีน้อย ใกล้ทางด่วน 2 สาย + สนามบินสุวรรณภูมิ จากราคา 2.56 ล้านบาท เหลือเพียง 2.19 ล้านบาท เอ็มเวนิว (เวสเก็ต - บางใหญ่) บ้านหรู 4 ห้อนใหญ่ ใกล้รถไฟฟ้า เซนทรัลเวสเก็ต หลังสุดท้ายก่อนปิดโครงการ เพียง 3.99 ล้านบาท   -----คลิ๊กชม VDO เยี่ยมชมบ้าน สิวารมณ์  https://youtu.be/iAOO59U4Qi4   เปิดให้ผู้สนใจลงทะเบียนแล้ววันนี้ที่ FB : SIVAROM หรือ โทร. 02 295 3397 และสามารถเข้าเยี่ยมชมโครงการได้ทุกวัน ตั้งแต่เวลา 9.00 – 18.00 น. โดยคาดว่าการจัดแคมเปญดังกล่าวจะสามารถทำยอดขายได้ 300 ล้านบาท และสร้างยอดขายรวมปี 2563 นี้ที่ 2,000 ล้านบาท ยอดโอนกรรมสิทธิ 1,400 ล้านบาท พร้อมปิด 2 โครงการ ได้ภายในปีนี้    
5 เหตุผล ซิซซา กรุ๊ป ลุยตลาดสุขภาพและความงาม

5 เหตุผล ซิซซา กรุ๊ป ลุยตลาดสุขภาพและความงาม

ต้องยอมรับว่า คนยุคปัจจุบันให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพของตนเอง อาจเป็นเพราะการเจ็บป่วยต้องรักษาพยาบาลมีค่าใช้จ่ายสูง และเป็นเพราะวิทยาการความเจริญก้าวหน้าทางการแพทย์  ซึ่งทำให้สามารถดูแลตนเองให้ห่างไกลจากโรค รวมถึงการที่คนยุคปัจจุบันมีอายุที่ยืนยาวขึ้น  จึงจำเป็นต้องรักษาสุขภาพของตนเองให้แข็งแรง    เทรนด์ดังกล่าวทำให้ บรรดาดีเวลลอปเปอร์หันมาขยายธุรกิจด้านสุขภาพกันมากขึ้น ทั้งรูปแบบโรงพยาบาล เวลเนส สปา หรือศูนย์สุขภาพ ซึ่งมีทั้งแยกธุรกิจออกมาโดยเฉพาะ และการนำเอาธุรกิจต่าง ๆ เหล่านี้รวมเข้าไว้ในโครงการที่อยู่อาศัยประเภทต่าง ๆ   ซิซซา กรุ๊ป (CISSA GROUP) คือ หนึ่งในผู้ประกอบการที่พัฒนาโครงการที่อยู่อาศัย ทั้งประเภทบ้านเดี่ยว ทาวน์โฮม โรงแรม และวิลล่า การให้บริการรับเหมากก่อสร้าง และเป็นที่ปรึกษาด้านการพัฒนาโครงการอสังหาฯ รวมถึงการพัฒนาโครงการอสังหาฯ เพื่อการลงทุน ในพื้นที่ภาคใต้โดยเฉพาะในพื้นที่จังหวัดภูเก็ตและพังงามานานกว่า 15 ปี มีมูลค่าการพัฒนาโครงการรวมกว่า 10,000 ล้านบาท ได้หันมาลุยธุรกิจด้านสุขภาพและความงามด้วยเช่นกัน  โดยการร่วมมือกับ วี พลาส เมดิคัล กรุ๊ป (V PLAST MEDICAL GROUP) จัดทำโครงการนาใต้ เมดิคอล เซ็นเตอร์ แอนด์ รีสอร์ต (Natai Medical Center & Resort) มูลค่ากว่า 3,500 ล้านบาท นายอรรถนพ พันธุกำเหนิด  ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ซิซซา กรุ๊ป จำกัด เปิดเผยว่า บริษัทมุ่งสร้างคุณค่าการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ที่ยั่งยืน และสร้างผลตอบแทนที่สม่ำเสมอให้กับนักลงทุน ซึ่งโครงการนาใต้ฯ เป็นการพัฒนาเพื่อตอบรับกับไลฟ์สไตล์ของคนในปัจจุบัน ที่ให้ความสำคัญด้านการดูแลสุขภาพมากขึ้น รวมถึงการพิจารณาเข้าพักในโรงแรมที่มีการดูแลด้านสุขอนามัยอย่างจริงจัง ภายหลังเกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19   การลงทุนพัฒนาโครงการของ ซิซซา กรุ๊ป ยังมองเห็นเทรนด์และแนวโน้มการเติบโตของธุรกิจเวลเนส และเมดิคัล ทัวร์ลิซึม ที่จะสร้างมูลค่ามหาศาลในอนาคต ซึ่งมี 5 เหตุผลสำคัญที่เข้ามาดำเนินธุรกิจด้านสุขภาพและความงาม คือ 1.ประเทศไทยได้รับความเชื่อมั่นจากนานชาติอันดับ 2 ของโลก ประเทศไทยได้รับการยอมรับ ในการรับมือและจัดการการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ได้ดีเป็นอันดับ 2 ของโลก จากจำนวน 184 ประเทศทั่วโลก จากการจัดอันดับขององค์กร Global Covid-19 (GCI) ทำให้การลงทุนในธุรกิจโรงพยาบาลเพื่อสุขภาพ ความงาม และโรงแรมเพื่อการท่องเที่ยวในยุค New Normal เป็นโอกาสทางธุรกิจที่มีความน่าสนใจ มีโอกาสประสบความสำเร็จสูง 2.ประเทศไทย คือ Medical Hub ของโลก รัฐบาลมีนโยบายผลักดันให้ประเทศไทย เป็นศูนย์กลางด้านการท่องเที่ยวทางการแพทย์ของโลก (Thailand Medical Hub) โดยใช้ยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ (ปี 2560-2569) พร้อมกับให้การสนับสนุนด้านการท่องเที่ยว และมาตรการควบคุมโรค ทำให้ไทยเป็นจุดหมายปลายทางของนักท่องเที่ยวที่มีกำลังซื้อ ที่ต้องการสถานที่ปลอดภัยจากโรคระบาด สถานพยาบาลที่ได้มาตรฐาน และสถานที่พักผ่อนระดับเอ๊กซ์คลูซีฟ  3.ธุรกิจเวลเนสมูลค่ากว่า 4.5 ล้านล้านเหรียญ ภาพรวมอุตสาหกรรมเวลเนสของโลกโลก เป็นธุรกิจมีขนาดใหญ่ มีมูลค่ากว่า 4.5 ล้านล้าน เหรียญสหรัฐ ซึ่งในธุรกิจเวลเนสดังกล่าว มีที่ธุรกิจที่เกี่ยวข้องจำนวนมากมาย อาทิ ธุรกิจการรักษาเชิงป้องกัน การวางแผนดูแลรักษาแบบเฉพาะบุคคล และระบบสาธารณสุข มีมูลค่าตลาด 575,000 ล้านเหรียญ ตลาดการบริโภคเพื่อสุขภาพ โภชนการและการลดน้ำหนัก มีมูลค่า 702,000 ล้านเหรียญ และกิจกรรมทางการภาพ มีมูลค่า 828,000 ล้านเหรียญ เป็นต้น 4.กลุ่มนักท่องเที่ยวเชิงการแพทย์มีการใช้จ่ายสูง   ค่าใช้จ่ายของโรงพยาบาล/คลินิกโดยเฉลี่ย สำหรับการทำศัลยกรรมความงามในภูเก็ต เกือบ 2 เท่าของค่ารักษาพยาบาล โดยมีค่าใช้จ่ายเฉลี่ย 150,000 บาท สำหรับการใช้บริการในโรงพยาบาล  และค่าใช้จ่ายเฉลี่ย 80,000 บาท สำหรับการใช้บริการในคลินิก   โดยมีระยะเวลาการเข้าพักโดยเฉลี่ยของนักท่องเที่ยวการแพทย์ในภูเก็ตประมาณ 12 วันสำหรับการทำศัลยกรรมและประมาณ 5 วันสำหรับเวชศาสตร์ชะลอวัย ซึ่งกลุ่มผู้หญิงเข้ามาใช้บริการเกือบ 93% ของตลาดนักท่องเที่ยวทางการแพทย์ โดยมีอายุระหว่าง 18-25 ปี สัดส่วน 33% และอายุ 45-55 ปี สัดส่วน 31% เป็น 2 กลุ่มอายุที่ใหญ่ที่สุด   การท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ขาเข้าภูเก็ต ส่วนใหญ่จะเป็นชาวออสเตรเลีย และจีน ซึ่งลูกค้ามาใช้บริการด้านศัลยกรรมความงาม 70%  ซึ่งทำให้มีรายได้จากการรักษา การเดินทาง และการพักโรงแรม 5.การได้จับมือกับ วี พลาส เมดิคัล กรุ๊ป ผู้ดำเนินธุรกิจด้านสุขภาพและความงามมากว่า 20 ปี และดำเนินธุรกิจด้านเมดิคัลทัวร์ลิซึมมากว่า 10 ปี ได้รับการยอมรับจากกลุ่มลูกค้าจากต่างชาติ เป็นอันดับต้น ๆ ของเอเชีย มีฐานผู้ใช้บริการไม่ต่ำกว่าปีละ 2,000 คน โดยมีกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจโรงพยาบาล ที่ตอบโจทย์ New Normal ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ในอนาคต ที่กำลังเข้าสู่สังคมสูงวัย ตั้งโฮลดิ้ง ทุนจดทะเบียน 2,000 ล้าน สำหรับโครงการนาใต้ เมดิคอล เซ็นเตอร์ แอนด์ รีสอร์ต อยู่ภายใต้บริษัทโฮลดิ้ง ที่เตรียมจัดตั้งขึ้นด้วยทุนทะเบียนเบื้องต้น 2,500 ล้านบาท ซึ่งจะมีหุ้น 40% จำหน่ายให้กับนักลงทุนทั่วไป โดยบริษัทดังกล่าวจะพัฒนาโครงการด้วยมูลค่า 3,500 ล้านบาท แบ่งเป็น โรงแรม  2,000 ล้านบาท และโรงพยาบาล 1,500 ล้านบาท โดยแนวทางการดำเนินธุรกิจด้านสุขภาพและความงาม จะพัฒนาออกเป็น 3 เฟส ประกอบด้วย เฟสที่ 1 จะเปิดคลินิกให้บริการด้านเวลเนส  การบริการจัดสัมมนา และการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ภายใต้การพัฒนาของ วี พลาส เมดิคัล กรุ๊ป รวมถึงการเปิดให้บริการในส่วนของโรงแรม เฟสที่ 2 การเปิดให้โรงพยาบาล ในส่วนแรก 100 เตียง ซึ่งจะก่อสร้างแล้วเสร็จภายใน 2 ปีหน้า เฟสที่ 3 การเปิดให้บริการ เมดิคัล เซ็นเตอร์ เต็มรูปแบบ และโรงพยาบาลแพทย์แผนไทย พร้อมกับการจัดตั้งโรงงานผลิตยาสมุนไพร และกัญชาบำบัด    
REIC จับมือ RESAM พัฒนา “THAI-MLS” ระบบขายบ้านมือสองออนไลน์

REIC จับมือ RESAM พัฒนา “THAI-MLS” ระบบขายบ้านมือสองออนไลน์

REIC จับมือ RESAM นำร่องพัฒนาระบบขายบ้านมือสองออนไลน์ “THAI-MLS” รองรับตลาดบ้านมือสองพร้อมขายกว่า 250,000 ยูนิตต่อเดือน กระตุ้นดีมานด์คนไทยอยากมีบ้านทำเลดีราคาไม่แพง พร้อมช่วยรัฐจัดเก็บค่าธรรมเนียมและภาษีที่เกี่ยวข้องได้มากขึ้น   ในปัจจุบันตลาดที่อยู่อาศัยในประเทศไทยมีขนาดใหญ่มากและมีบทบาทสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจไทยอย่างมาก โดยมีค่าเฉลี่ยการโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยระหว่างปี 2560 – 2562 สูงถึงปีละ ประมาณ 367,000 ยูนิต และมีมูลค่า 847,000 ล้านบาท โดยประมาณการว่า เป็นการโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยมือสอง (Resale-home) ประมาณปีละ 184,000 ยูนิต และมีมูลค่า 308,000 ล้านบาท หรือคิดเป็นประมาณ 36.4% ของภาพรวมการโอนกรรมสิทธิ์ทั้งประเทศ โดยมีอัตราการขยายตัวเฉลี่ยประมาณ 17.9% ต่อปี ซึ่งสะท้อนให้เห็นความต้องการในการซื้อที่อยู่อาศัยมือสองที่มีจำนวนและอัตราการขยายตัวที่สูงอย่างต่อเนื่อง ดร.วิชัย วิรัตกพันธ์ ผู้ตรวจการธนาคาร และรักษาการผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ (REIC) เปิดเผยว่า  จากการสำรวจศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ยังพบว่า ในแต่ละเดือนมีจำนวนอสังหาริมทรัพย์ที่ประกาศขายที่อยู่อาศัยมือสองในช่องทางออนไลน์ อยู่ประมาณ 130,000 – 150,000 ยูนิต และมีทรัพย์สินรอการขาย (NPA) ของสถาบันการเงินต่าง ๆ ประมาณ 50,000 ยูนิต รวมถึงทรัพย์รอการประมูลของกรมบังคับคดีที่รอการประมูลอีกประมาณ  50,000 ยูนิต คาดว่าน่าในแต่ละเดือนจะมีปริมาณที่อยู่อาศัยมือสองที่พร้อมขายสูงถึงประมาณ 250,000 ยูนิต ซึ่งที่อยู่อาศัยมือสองเป็นสินค้าทางเลือกในทำเลที่ดีและราคาที่ถูกกว่าด้วย ปริมาณดีมาน์และซัพพลายของที่อยู่อาศัยมือสองที่มีจำนวนมากเช่นนี้ แสดงให้เห็นได้ว่า ตลาดที่อยู่อาศัยมือสองมีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าตลาดที่อยู่อาศัยใหม่ในปัจจุบัน และคาดว่าตลาดที่อยู่อาศัยมือสองมีโอกาสที่จะขยายตัวจนเท่ากับหรือใหญ่กว่าตลาดที่อยู่อาศัยใหม่ในอนาคตอันใกล้นี้ สาเหตุที่ที่อยู่อาศัยมือสองเป็นที่นิยม เพราะทำเลในการพัฒนาที่อยู่อาศัยใหม่มักจะอยู่ไกลออกไปจากเมือง ขณะที่ที่อยู่อาศัยมือสองมักจะตั้งอยู่ในทำเลที่ดีกว่าในราคาเดียวกัน หรือ มีราคาที่ถูกไม่น้อยกว่าถึง 20% - 30% ในทำเลเดียวกัน อีกทั้งขนาดของที่ดินและ/หรือพื้นที่ใช้สอยของที่อยู่อาศัยมือสองมักจะได้ขนาดที่ใหญ่กว่าที่อยู่อาศัยใหม่ในระดับราคาและทำเลเดียวกัน และประเด็นสำคัญอีกประการหนึ่ง คือ ที่อยู่อาศัยที่มีราคาต่ำ เช่น ที่อยู่อาศัยที่มีราคาไม่เกิน 1 ล้าน อาจยากที่จะหาซื้อได้จากตลาดที่อยู่อาศัยใหม่ แต่ยังมีให้เลือกซื้อได้มากกว่าในตลาดที่อยู่อาศัยมือสอง   นอกจากนี้ ในปัจจุบันตัวแทนนายหน้ามีบทบาทสูงขึ้นอย่างมากในการช่วยหาผู้ซื้อให้ เจ้าของที่อยู่อาศัย ซึ่งเป็นไปในทิศทางเช่นเดียวกับในต่างประเทศ โดยในประเทศที่มีการพัฒนาตลาดที่อยู่อาศัยมือสองที่ประสบความสำเร็จส่วนใหญ่จะมีระบบ MLS (Multiple Listed Services) เพื่อเป็นระบบฐานข้อมูลที่อยู่อาศัยมือสองสำหรับตัวแทนนายหน้าที่จะสามารถนำมาประกาศ และหาตัวแทนนายหน้าอื่นเข้าช่วยขายได้  ทำให้ที่อยู่อาศัยมือสองในระบบ MLS มีโอกาสในการขายได้ง่ายขึ้นและเร็วขึ้น ซึ่งจะเกิดประโยชน์อย่างมากต่อประชาชนในกลุ่มเจ้าของที่อยู่อาศัยที่ต้องการขาย  หรือกลุ่มที่ต้องการซื้อที่อยู่อาศัยมือสอง โดยจะมีกฎหมายในการกำกับดูแล เช่น สหรัฐอเมริกา และยุโรป หรือกลุ่มประเทศใน AEC เช่น มาเลเซีย สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ กัมพูชา และ เวียดนาม ขณะที่ประเทศเมียนมาร์ กำลังที่จะบังคับใช้กฎหมาย แต่ประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายดังกล่าว ดังนั้น เพื่อให้ประเทศไทยมีการเตรียมตัวรองรับตลาดที่อยู่อาศัยมือสองอย่างเป็นรูปธรรม ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ได้พัฒนา platform ระบบ MLS สำหรับการใช้งานในประเทศไทย ชื่อ “THAI-MLS” ขึ้น และ สมาคมการขายและการตลาดอสังหาริมทรัพย์ (RESAM) ได้เป็นผู้บริหารจัดการสมาชิกที่เข้าร่วมระบบฯ โดยได้รับการสนับสนุนและความช่วยเหลือด้านวิชาการจาก National Association of REALTORS®: NAR ซึ่งเป็นที่มาของการลงนามในบันทึกความร่วมมือ (MOU) ของโครงการนำร่องสำหรับทดลองใช้ระบบ MLS ในการดำเนินการจริง   โดยมีการนำที่อยู่อาศัยที่มีการฝากขายจริงเข้าระบบโดยตัวแทนนายหน้าขายหลัก (Major Broker) มีการเปิดให้มีการเข้าร่วมเป็นตัวแทนนายหน้าขายร่วม (Co-broker) ที่สามารถช่วยขายที่อยู่อาศัยในระบบ THAI-MLS ได้ แต่เนื่องจากการดำเนินการนี้เพียงระยะนำร่องจึงจะเปิดให้ผู้เข้าร่วมสามารถที่ยอมรับเงื่อนไขและกฎ กติกาและข้อบังคับต่าง ๆ ที่กำหนดขึ้น โดยเป็นการดำเนินการในลักษณะ Sandbox ก่อนเท่านั้น และหากได้ทดลองใช้จริงไประยะหนึ่ง และทุกอย่างเป็นได้ด้วยดี ก็ยินดีเปิดรับผู้ที่มีวิชาชีพตัวแทนนายหน้าจากทุกองค์กรเข้าร่วม   นางอรุณี เทียมหงส์ นายกสมาคมการขายและการตลาดอสังหาริมทรัพย์ (RESAM)  กล่าวว่า​ สมาคมฯ ได้ร่วมมือกับ ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ในการดำเนินการ THAI-MLS เนื่องการพัฒนาระบบ THAI-MLS ครั้งนี้ เป็นการดำเนินการอย่างจริงจังในลักษณะโครงการนำร่องครั้งแรกในประเทศไทย แม้ในวันนี้ประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายสำหรับควบคุมวิชาชีพตัวแทนนายหน้า (Brokerage Licensing Law) ซึ่งถือเป็นกฎหมายที่สร้าง กฎ กติกา และการควบคุมด้านจรรยบรรณและคุณภาพทางวิชาชีพ แต่การพัฒนาระบบ THAI-MLS นี้จะสามารถเป็น Platform ที่ช่วยสร้างเครือข่ายตัวแทนนายหน้าให้สามารถช่วยกันขายที่อยู่อาศัยมือสองให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงขึ้น ซึ่งจะเป็นการช่วยให้ผู้ที่ต้องการขายบ้านเดิมเพื่อหาซื้อบ้านใหม่สามารถทำได้ง่ายขึ้น รวดเร็วขึ้น และมีตัวแทนนายหน้าที่น่าเชื่อถือเป็นผู้ดำเนินการให้ ในระบบ THAI-MLS นี้ สมาคม RESAM ได้เข้ามาช่วยรับดูแลการบริหารจัดการด้านข้อมูลในระบบและข้อมูลสมาชิกในระบบฯ โดยผู้เข้าร่วมใช้ระบบต้องมีการลงนามในสัญญาว่าจะยอมรับการปฏิบัติตัวตาม กฎ กติกา และข้อบังคับ ต่าง ๆ ก่อนเข้าใช้ระบบฯ  ทางสมาคมฯมีความมั่นใจว่า การดำเนินการเช่นนี้ในจะช่วยยกระดับการทำงานและมาตรฐานวิชาชีพของตัวแทนนายหน้าด้านอสังหาริมทรัพย์ของประเทศไทยให้สูงขึ้นได้ และเมื่อถึงวันที่ประเทศไทยมีกฎหมายสำหรับควบคุมวิชาชีพนายหน้าแล้ว ก็จะช่วยขับเคลื่อนให้ตลาดที่อสังหาริมทรัพย์มือสองจะเติบโตได้อย่างก้าวกระโดด โดยมีพื้นฐานด้านระบบปฏิบัติการและด้านธุรกิจที่สามารถรองรับได้ทันที ทั้งนี้ประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากโครงการฯนี้ จะเกิดกับประชาชนเจ้าของที่อยู่อาศัยและผู้ต้องการซื้อที่อยู่อาศัย ธุรกิจตัวแทนนายหน้า และภาครัฐ โดยเฉพาะในเรื่องรายได้จากภาษีและค่าธรรมเนียม สามารถจัดเก็บเพิ่มได้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วยจากธุรกิจนี้ ซึ่งจะสามารถรายได้ส่วนนี้ไปช่วยพัฒนาประเทศในด้านต่าง ๆ ต่อไป    
เมเจอร์ เดิน 3 กลยุทธ์โค้งท้ายปี หลัง 9 เดือนสร้างรายได้โต 15%

เมเจอร์ เดิน 3 กลยุทธ์โค้งท้ายปี หลัง 9 เดือนสร้างรายได้โต 15%

เมเจอร์ โชว์ผลประกอบการ 9 เดือนแรก รับรู้รายได้ 5,349 ล้าน เติบโต 15% พร้อมกำไรสุทธิ 110.91 ล้าน เดินหน้า 3 กลยุทธ์ลุยตลาดโค้งท้ายปี พร้อมจัดแคมเปญใหญ่กระตุ้นยอดขายและยอดโอน กวาดรายได้ตามเป้า   นางสาวเพชรลดา พูลวรลักษณ์ กรรมการบริหาร บริษัท เมเจอร์ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) หรือ MJD เปิดเผยว่า ผลการดำเนินงาน 9 เดือนแรกของปีนี้ บริษัทยังคงขับเคลื่อนไปได้อย่างต่อเนื่อง ท่ามกลางวิกฤติเศรษฐกิจและผลกระทบจากไวรัสโควิด-19 โดยมีรายได้รวมทุกประเภทธุรกิจอยู่ที่ 5,349 ล้านบาท เติบโต 15% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า โดยมียอดโอนกรรมสิทธิ์ในโครงการที่อยู่อาศัยที่เพิ่งก่อสร้างแล้วเสร็จในไตรมาสนี้ ได้แก่ โครงการมิวนิค สุขุมวิท 23 และโครงการมารุ ลาดพร้าว 15 รวมถึงโครงการที่ทยอยโอนอย่างต่อเนื่องจากปีที่ผ่านมา ขณะเดียวกัน มีผลกำไรสุทธิรวมทั้งสิ้น 110.91 ล้านบาท “เราปรับตัวและปรับปรุงแผนการดำเนินธุรกิจ ตลอดจนกลยุทธ์อย่างต่อเนื่องตลอดช่วง 9 เดือนที่ผ่านมา มุ่งเน้นการจัดการสินค้าคงค้าง อำนวยความสะดวกผู้บริโภคในการเข้าถึงโครงการที่อยู่อาศัย พร้อมกับการรักษาระดับกระแสเงินสดให้ยังคงแข็งแกร่งรับมือทุกสถานการณ์ แม้ผลประกอบการที่ออกมาอาจไม่ได้หวือหวา แต่เราเชื่อว่าการเดินหน้าปรับตัวและจัดการ Inventory อย่างต่อเนื่อง จะเป็นพื้นฐานสำคัญของเราสู่การสร้างรายได้และดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนในระยะยาว”   สำหรับในไตรมาสสุดท้ายปีนี้ บริษัทจะดำเนินการใน 3 ส่วนหลัก เพื่อให้ธุรกิจยังขับเคลื่อนและเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง ได้แก่ 1.การวางรากฐานกระจายพอร์ตธุรกิจ (Business Diversification) สร้างรากฐานระยะยาว บริษัทจะเตรียมการพัฒนาสินค้าประเภทใหม่ๆ เซ็กเมนท์ใหม่ๆ เพื่อเข้าถึงกลุ่มลูกค้าที่หลากหลายมากขึ้นเพื่อเพิ่มโอกาสทางธุรกิจ ขณะเดียวกันจะทยอยก้าวเข้าสู่ธุรกิจ ที่ครบวงจรด้านการพัฒนาที่อยู่อาศัยมากยิ่งขึ้นด้วยประสบการณ์  ในการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่ยาวนานกว่า 20 ปี และวิสัยทัศน์ที่มุ่งมั่นในการพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยให้มีคุณภาพและมีการออกแบบที่คำนึงถึงการใช้งานเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มในระยะยาว พร้อมส่งมอบประสบการณ์การอยู่อาศัยที่แตกต่างและเหนือความคาดหมาย 2.การพัฒนาที่อยู่อาศัยให้พร้อมตอบโจทย์ Post-COVID-19 บริษัทศึกษาพฤติกรรมเชิงลึกของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปสู่ New Normal ที่เริ่มเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นรูปธรรมแล้วในช่วง Post-COVID-19 และพัฒนาสินค้าใหม่ๆ ให้มีความพร้อมตอบโจทย์ดังกล่าว 3.การจัดแคมเปญกระตุ้นยอดขายส่งท้ายปี บริษัทจัดแคมเปญ MAJOR SALE ลดได้ลด ให้ได้ให้ กระตุ้นการตัดสินใจของผู้บริโภคในช่วง 2 เดือนสุดท้ายของปี ซึ่งเป็นช่วงไฮซีซั่นของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ผ่าน 10 โครงการพร้อมอยู่ทำเลศักยภาพ ภายใต้หลากหลายแบรนด์ อาทิ มอลตัน, รีเฟล็คชั่น, เอ็ม โปรเจ็คท์, มาเอสโตร, เมทริส  แม้จะเพิ่งจัดแคมเปญไปได้ไม่ถึงครึ่งเดือน แต่ก็เห็นการตอบรับที่ดีจากผู้บริโภค ตามสภาพเศรษฐกิจที่ค่อยๆ ฟื้นตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง   ทั้งนี้ ในไตรมาส 4/2563 บริษัทจะมีโครงการคอนโดมิเนียมสร้างเสร็จใหม่พร้อมทยอยโอนกรรมสิทธิ์เพิ่มเติม  คือ โครงการมารุ เอกมัย 2 มูลค่ากว่า 2,500 ล้านบาท และโครงการแล้วเสร็จทั้งแนวสูงและแนวราบ อาทิ โครงการ  เมทริส พระราม 9-รามคำแหง, โครงการเมทริส ลาดพร้าว, โครงการมิวนิค สุขุมวิท 23, โครงการมารุ ลาดพร้าว, มอลตัน ไพรเวท เรสซิเดนซ์ อารีย์ และมอลตัน ไพรเวท เรสซิเดนซ์ สุขุมวิท 31 ยังคงโอนกรรมสิทธิ์อย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้รายได้ในปีนี้จะยังคงเป็นไปตามเป้าหมาย    
ทำเลส่วนต่อขยายรถไฟฟ้า  ราคาที่ดินก่อนการพัฒนาเพิ่มกว่า 21%

ทำเลส่วนต่อขยายรถไฟฟ้า ราคาที่ดินก่อนการพัฒนาเพิ่มกว่า 21%

แผนการพัฒนาเส้นทางรถไฟฟ้า ยังเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ราคาที่ดินปรับเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นบริเวณส่วนต่อขยายเส้นทางรถไฟฟ้าสายเดิม หรือเป็นแนวเส้นทางการพัฒนารถไฟฟ้าสายใหม่ ๆ ก็ตาม     ล่าสุด ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ รายงานดัชนีราคาที่ดินเปล่าก่อนการพัฒนา ในกรุงเทพฯ-ปริมณฑล ไตรมาส 3 ปี 2563 พบว่ามีค่าดัชนีเท่ากับ 310.7 จุด ปรับเพิ่มขึ้น  0.7% เป็นการเพิ่มขึ้นในอัตราที่ชะลอตัวเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (QoQ) ซึ่งมีค่าดัชนีเท่ากับ 308.6 จุด และปรับเพิ่มขึ้น  21.1% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน(YoY) ซึ่งมีค่าดัชนีเท่ากับ 256.5 จุด   ราคาที่ดินเปล่าก่อนการพัฒนาในไตรมาสนี้ ทำเลที่เพิ่มขึ้นมากส่วนใหญ่ยังคงเป็นพื้นที่ปลายสายรถไฟฟ้าที่เป็นส่วนต่อขยายและมีแผนจะก่อสร้างในอนาคต   ทั้งนี้ ทำเลที่มีเส้นทางรถไฟฟ้าผ่านและมีอัตราการขยายตัวของราคาที่ดินเพิ่มขึ้นสูงสุด เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน (YoY) 5 อันดับแรก ส่วนใหญ่เป็นทำเลที่มีแนวเส้นทางรถไฟฟ้าที่อยู่ระหว่างก่อสร้าง และที่มีแผนจะก่อสร้างในอนาคต 5 อันดับทำเลราคาปรับเพิ่มสูง 1.สายสีชมพู (แคราย - มีนบุรี) เป็นเส้นทางรถไฟฟ้าที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง มีอัตราการขยายตัวของราคาที่ดินเพิ่มขึ้น  35.7%  และเพิ่มขึ้น  0.3% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (QoQ) 2.สายสีเขียวเหนือ (คูคต - ลำลูกกา) เป็นเส้นทางรถไฟฟ้าที่ยังไม่เริ่มก่อสร้าง ทำเลนี้เคยมีอัตราการเพิ่มขึ้นของราคาที่ดิน (YOY) สูงสุดติดต่อกัน 5 ไตรมาส ปัจจุบันราคาที่ดินเริ่มมีอัตราชะลอตัวลงในไตรมาสนี้มีอัตราขยายตัวของราคาที่ดินเพิ่มขึ้น 34.2% 3.สายสีน้ำเงิน (บางแค - พุทธมณฑลสาย 4) เป็นทำเลของโครงการที่มีแผนจะก่อสร้างในอนาคต มีอัตราการขยายตัวของราคาที่ดินเพิ่มขึ้น  28.5% 4.สายสีแดงอ่อน (ตลิ่งชัน - ศาลายา) เป็นทำเลที่โครงการที่มีแผนจะก่อสร้างในอนาคต มีอัตราการขยายตัวของราคาที่ดินเพิ่มขึ้น 21.5% 5.สายสีเทา (วัชรพล-พระราม 9 -ท่าพระ) เป็นทำเลของโครงการที่มีแผนจะก่อสร้างในอนาคต มีอัตราการขยายตัวของราคาที่ดินเพิ่มขึ้น 14.8%   แต่เมื่อพิจารณาทำเลที่มีอัตราการขยายตัวของราคาที่ดินเพิ่มขึ้นสูงสุดเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (QoQ) ส่วนใหญ่เป็นทำเลที่มีแนวเส้นทางรถไฟฟ้าที่เปิดให้บริการแล้วและอยู่ระหว่างก่อสร้างได้แก่ 1.สายสีแดงเข้ม (บางซื่อ-หัวลำโพง) เป็นโครงการที่มีแผนจะก่อสร้างในอนาคต มีอัตราการขยายตัวของราคาที่ดินเพิ่มขึ้น 3.8% 2.MRT เป็นเส้นทางรถไฟฟ้าที่เปิดให้บริการแล้ว มีอัตราขยายตัวของราคาที่ดินเพิ่มขึ้น  3.7% 3.สายสีส้ม (ศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี) เป็นเส้นทางรถไฟฟ้าที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง มีอัตราการขยายตัวของราคาที่ดินเพิ่มขึ้น 3.6% 4.Airport Link เป็นเส้นทางรถไฟฟ้าที่เปิดให้บริการแล้ว มีอัตราขยายตัวของราคาที่ดินเพิ่มขึ้น 3.2% 5.BTS สายสุขุมวิท เป็นเส้นทางรถไฟฟ้าที่เปิดให้บริการแล้ว มีอัตราขยายตัวของราคาที่ดินเพิ่มขึ้น 3.1%
ภารกิจบทใหม่ “เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้โฮม” กับ 4 Mission สู่ผู้นำเบอร์ 3 อสังหาฯ

ภารกิจบทใหม่ “เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้โฮม” กับ 4 Mission สู่ผู้นำเบอร์ 3 อสังหาฯ

ภายหลังจากที่ บริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)  หรือ “FPT” เข้าซื้อกิจการของ บริษัท แผ่นดินทอง พร็อพเพอร์ตี้ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) หรือ “GOLD” และได้ดำเนินการต่าง ๆ ตามกฎระเบียบและข้อกฎหมายเป็นที่เรียบร้อย กลุ่มธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เพื่อที่อยู่อาศัยของโกลเด้นแลนด์ภายใต้ การบริหารงานของ FPT จึงได้เปลี่ยนมาเป็น “เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ โฮม”   แม้ว่าจะเปลี่ยนชื่อใหม่ แต่ภารกิจและบทบาทของ  “เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ โฮม” ยังคงเดินหน้าพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์คุณภาพเหมือนเดิม พร้อมกับการรักษาความเป็นผู้นำตลาดอสังหาฯ เหมือนที่ผ่านมา ซึ่งปัจจุบัน  “เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ โฮม” อยู่ในอันดับ Top 5 ของตลาดอสังหาฯ ไทย มีโครงการที่พักอาศัยงรวม 60 โครงการ   แต่ด้วยศักยภาพและขนาดของธุรกิจ ภายใต้ชายคาของ FPT  นับจากนี้ “เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ โฮม” จึงมีพันธกิจใหม่ กับการก้าวขึ้นเป็นผู้นำตลาดอสังหาฯ ที่มีรายได้สูงสุดอันดับ 3  ภายในระยะ 3 ปี หรือภายในปี 2566 โดยมีนายแสนผิน สุขี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ โฮม (ประเทศไทย) เป็นผู้ขับเคลื่อนที่สำคัญ กับ 4 พันธกิจ (Mission) สำคัญ เพื่อใช้เป็นแนวทางการไปสู่เป้าหมายดังกล่าวนั้น ได้แก่ 1.การสร้างรายได้มากกว่า 20,000 ล้านบาท เป้าหมายของ  “เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ โฮม” ในการก้าวขึ้นเป็นอันดับ 3 ของผู้นำตลาดอสังหาฯ คือการมีรายได้ มากกว่า 20,000 ล้านบาท จากปัจจุบันช่วง 9 เดือนของปีนี้ มียอดรับรู้รายได้ 10,894 ล้านบาท ซึ่งถือว่ายังเป็นที่น่าพอใจ สำหรับช่วงวิกฤตเศรษฐกิจในสถานการณ์ โควิด-19 เช่นนี้  โดยคาดว่าจะมียอดรับรู้รายได้ในปีนี้เกือบ 15,000 ล้านบาท สำหรับแนวทางการสร้างรายได้ตามเป้าหมายดังกล่าว สิ่งสำคัญคือ การพัฒนาโครงการออกมาทำตลาดอย่างต่อเนื่อง  ซึ่งในไตรมาสที่ 4 (ต.ค.-ธ.ค. 2563)  บริษัทได้เปิดโครงการใหม่ไปแล้ว 3 โครงการ เป็น นีโอ โฮม บ้านแฝด 2 โครงการ และทาวน์โฮม 1 โครงการ มูลค่ารวม 3,050 ล้านบาท  ขณะที่ปี 2564 เตรียมพร้อมเดินหน้าเปิดโครงการใหม่ทั้งหมด 24 โครงการ มูลค่ารวมกว่า 29,800 ล้านบาท ตอบโจทย์กลุ่มลูกค้าครบทุกเซ็กเมนต์ โดยตั้งเป้ารายได้ 16,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 10% เมื่อเทียบกับปีนี้   โดยแผนการพัฒนาโครงการในปี 2564 บริษัทได้วางแผนงบซื้อที่ดินเพื่อนำมาใช้พัฒนาโครงการ  20 แปลง วงเงิน 10,720 ล้านบาท เพื่อพัฒนาโครงการต่าง ๆ ให้มีสัดส่วนรายได้จากสินค้าทาวน์โฮม 42%, บ้านแฝด นีโอ โฮม 23%, บ้านเดี่ยว 21% และโครงการต่างจังหวัด 14% 2.เป็นทางเลือกอันดับที่ 1 ในใจลูกค้า สำหรับคนที่มองหาทาวน์โฮม ทําเลในเมือง แนวทางการพัฒนาโครงการทาวน์โฮมของ “เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ โฮม” ยังคงมีอย่างต่อเนื่อง โดยเลือกทำเลในเมืองที่มีศักยภาพในการพัฒนาโครงการ เพื่อรักษาความเป็นผู้นำตลาด เช่นเดียวกับปี 2564 ที่จะพัฒนาโคงการทาวน์โฮม ไปยังทำเลใหม่ ซึ่งเน้นทําเลที่ดีกว่าคู่แข่งทั้งตลาด และรักษาคุณภาพการก่อสร้าง ออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ แต่ยังคงเน้นด้านฟังก์ชั่นการใช้งาน 3.เป็นอันดับที่ 1 ในการทำบ้านแฝด (นีโอ โฮม) ขณะที่ผลิตภัณฑ์บ้านแฝด ซึ่งเป็นที่รู้จักภายใต้โครงการนีโอ โฮม ยังคงเน้นการพัฒนาโครงการใน​ทำเลใกล้เมือง โดยมีฟังก์ชั่นเช่นเดียวกับบ้านเดี่ยว และราคาไม่แพง   นอกเหนือจากการพัฒนาโครงการให้ออกมาตรงกับความต้องการของลูกค้าแล้ว “เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ โฮม” ยังมุ่งเน้นการสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า ภายหลังจากการเข้าอยู่อาศัย โดยพัฒนาแอปพลิเคชั่น พร้อมการทำโปรแปรม   ปั้นแอป Home+ ดูแลลูกค้า และอำนวยความสะดวกด้านต่าง ๆ ตั้งแต่ช่วงก่อนซื้อ ช่วงการส่งมอบ ช่วงหลังจากรับโอนและเข้า อยู่อาศัย พร้อมด้วยสิทธิประโยชน์พิเศษต่าง ๆ เพื่อสร้างความพึงพอใจ และตอบสนองพันธกิจองค์กรที่ ต้องการจะเป็นทางเลือกอันดับที่ 1 ในใจลูกค้า 4.เป็นผู้นำตลาดต่างจังหวัดด้านยอดขายสูงสุด นอกเหนือจากการพัฒนาโครงการในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ตลาดต่างจังหวัด เป็นอีกหนึ่งพื้นที่สร้างรายได้ให้กับ “เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ โฮม” ซึ่งที่ผ่านมาการขยายตลาดต่างจังหวัด ถือว่าประสบความสำเร็จด้วยดีมาโดยตลอด ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาโครงการที่นครราชสีมา เชียงใหม่ เชียงราย และพัทยา สามารถทำยอดขายในวันเปิดจองได้สูงเกินกว่า 500 ล้านบาท  เฉพาะภาพคเหนือที่ผ่านมาสามารถทำยอดขายในวันพรีเซลรวมมูลค่ากว่า 1,500 ล้านบาท ภาคอีสานทำยอดขายได้มากกว่า  500 ล้านบาท ในภาคกลางและภาคตะวันออกมูลค่ากว่า 1,900 ล้านบาท ในอนาคตบริษัทจะขยายตลาดต่างจังหวัดเพิ่ม ในจังหวัดภูเก็ตและระยอง​              
ราคาอสังหาฯ กทม. ฟื้นตัว 2% สูงสุดรอบ 6 ไตรมาส

ราคาอสังหาฯ กทม. ฟื้นตัว 2% สูงสุดรอบ 6 ไตรมาส

ดูเหมือนว่า ตลาดอสังหาริมทรัพย์ เริ่มมีทิศทางปรับตัวดีขึ้นบ้างแล้ว เพราะตามรายงานดัชนีราคาอสังหาริมทรัพย์ประจำไตรมาส 4 ปี 2563 (DDproperty Thailand Property Market Index Q4 2020) จากดีดีพร็อพเพอร์ตี้ เว็บไซต์มาร์เก็ตเพลสด้านอสังหาริมทรัพย์ ล่าสุด พบว่า ดัชนีราคาที่อยู่อาศัยในกรุงเทพฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้า 2% ถือเป็นการเพิ่มขึ้นครั้งแรกในรอบ 6 ไตรมาส   นับเป็นการแสดงให้เห็นสัญญาณบวกของตลาดอสังหาฯ ที่เริ่มเติบโตจากการเปิดตัวโครงการใหม่ ๆ ของผู้ประกอบการออกสู่ตลาด  พร้อมปล่อยสงครามราคามากระตุ้นการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคอย่างไม่หยุดยั้งหลังสถานการณ์ไวรัสโควิด-19 ในไทยเริ่มคลี่คลาย แม้กำลังซื้อผู้บริโภคเริ่มฟื้นตัวแต่ยังไม่มั่นใจในการใช้จ่าย หวังภาครัฐคลอดมาตรการกระตุ้นการซื้อขายช่วยขับเคลื่อนการเติบโตในตลาดอสังหาฯ แนะผู้ประกอบการอสังหาฯ มองหากลุ่มเป้าหมาย ต้องการซื้อเพื่ออยู่อาศัยจริง (Real Demand) ที่มีศักยภาพเพิ่มเติมเพื่อสร้างโอกาสขยายตลาดเจาะกำลังซื้อกลุ่มใหม่ในประเทศ   ตามรายงานดังกล่าว ยังเปิดเผยให้เห็นว่า จำนวนอสังหาฯ ในช่วงไตรมาสที่ 3 สูงขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าถึง 23% สะท้อนให้เห็นถึงจำนวนอสังหาฯ คงค้างในตลาดจำนวนมาก เนื่องจากผู้บริโภคใช้เวลาตัดสินใจเลือกซื้ออสังหาฯ มากขึ้น อันเป็นผลมาจากความไม่มั่นใจกับสภาวะเศรษฐกิจที่เปราะบาง ซึ่งส่งผลต่อรายได้และการพิจารณาสินเชื่อของธนาคารที่เข้มงวดขึ้น สอดคล้องกับข้อมูลรายงานแนวโน้มธุรกิจไตรมาส 3 และแนวโน้มไตรมาส 4 ปี 2563 จากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ซึ่งระบุถึงทิศทางอสังหาฯ ไทยรายภูมิภาค พบว่า ยอดขายและการโอนกรรมสิทธิ์ในภาคกลางลดลง โดยเฉพาะอาคารชุดและบ้านแนวราบระดับล่าง จากกำลังซื้อของลูกค้าชาวไทยที่ลดลง เมื่อพิจารณาการปล่อยสินเชื่ออสังหาฯ ของธนาคาร พบว่ายอดปฏิเสธสินเชื่อ (Rejection Rate) ในภาคกลางเพิ่มขึ้นมากกว่า 30% เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันในปีก่อน ขณะที่ความต้องการที่อยู่อาศัยของคนไทยในภาคเหนือยังมี แต่ไม่สามารถเข้าถึงสินเชื่อได้ โดยมียอดปฏิเสธสินเชื่อเพิ่มขึ้น 40-50% แม้เคยยื่นประเมินการขอสินเชื่อซื้ออสังหาฯ เบื้องต้น (pre-approve) ไว้   นางกมลภัทร แสวงกิจ ผู้จัดการใหญ่ประจำประเทศไทยของดีดีพร็อพเพอร์ตี้ กล่าวในงานสัมมนาภายใต้หัวข้อ “The Guru View: แนวโน้มตลาดที่อยู่อาศัยในยุคโควิด-19 ที่ยังไร้ยาต้าน” ในงาน Asia Virtual Property Expo  ว่า ตลาดอสังหาฯ ในปี 2563 นี้ถือเป็นปีที่ท้าทายอย่างมาก ทั้งในมุมผู้ประกอบการและผู้บริโภค ไม่ว่าจะเป็นตั้งแต่ต้นปีตลาดมีการชะลอตัวตามสภาพเศรษฐกิจไทย ภาวะหนี้ครัวเรือนที่ยังคงอยู่ในระดับสูง รวมทั้งมาตรการควบคุมสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย หรือ LTV ของ ธปท. ที่ส่งผลต่อการซื้อขายในตลาดอย่างมีนัยสำคัญ   เมื่อผนวกกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ยิ่งส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจทั้งระบบและทำให้ตลาดอสังหาฯ ชะลอตัวอย่างมากในช่วงครึ่งปีแรก แม้สถานการณ์หลังการล็อกดาวน์จะมีแนวโน้มไปในทิศทางที่ดีขึ้น แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่ายังคงต้องจับตาการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 รอบใหม่ในประเทศ และความไม่แน่นอนทางด้านการเมืองเป็นอีกปัจจัยที่มีผลกระทบต่อตลาดอสังหาฯ และเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศอย่างเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งต้องจับตามองต่อไปว่าภาครัฐจะออกมาตรการใดมาช่วยกระตุ้นการเติบโตในตลาดต่อจากนี้ ตลาดอสังหาฯ ในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีนี้ยังคงเป็นโอกาสทองของผู้ซื้อและนักลงทุนระยะยาวที่มีความพร้อมทางการเงิน เนื่องจากผู้ขายยังคงใช้สงครามราคามาช่วยเร่งระบายสต็อกคงค้าง ทำให้ราคาอสังหาฯ ช่วงนี้ยังไม่สูงเกินไป โดยเฉพาะรูปแบบคอนโดฯ และทาวน์เฮ้าส์ เทรนด์ซื้อที่อยู่อาศัยแนวราบยังโตต่อเนื่อง  จากข้อมูลผู้เข้าเยี่ยมชมในเว็บไซต์ DDproperty.com ในช่วงไตรมาสที่ 2 และ 3 ของปีนี้ พบว่า ผู้บริโภคให้ความสนใจเข้าชมประกาศซื้อ-ขาย-เช่าที่อยู่อาศัยในกรุงเทพฯ เติบโตขึ้นกว่า 4% แสดงถึงสัญญาณบวกของตลาด และความเชื่อมั่นของผู้บริโภคต่อมาตรการควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในประเทศของรัฐบาลได้เป็นอย่างดี   เห็นได้จากที่อยู่อาศัยแนวราบยังมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง ผู้บริโภคค้นหาบ้านเดี่ยวและทาวน์เฮ้าส์เพิ่มขึ้น 7% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า สอดคล้องกับสัดส่วนจำนวนบ้านเดี่ยวในปีนี้เติบโต 40% และทาวน์เฮ้าส์ที่เติบโต 41% เมื่อเทียบกับปี 2562 ที่ผ่านมา เนื่องจากกลุ่มผู้ซื้อเป็นผู้อยู่อาศัยจริง หันมาให้ความสำคัญในการเลือกซื้อที่อยู่อาศัยที่มีพื้นที่ใช้งานมากขึ้น ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ที่เปลี่ยนไป  จากเทรนด์ Work from Home ที่เป็นอีกหนึ่งปัจจัยในการพิจารณาเลือกซื้อบ้านในช่วงนี้ จึงเป็นโอกาสให้ผู้ประกอบการอสังหาฯ หันมาเน้นการเปิดตัวโครงการแนวราบอย่างต่อเนื่องเพื่อขยายส่วนแบ่งการตลาด โดยเฉพาะระดับราคา 1-5 ล้านบาท หลังจากที่ก่อนหน้านี้โฟกัสอยู่ที่กลุ่มตลาดกลางบน (5 ล้านบาทขึ้นไป)   ในขณะที่ตลาดให้เช่ายังมีโอกาสเติบโตเช่นกัน โดยมีการค้นหาที่อยู่อาศัยประเภทให้เช่าในกรุงเทพฯ เพิ่มขึ้น 3 % เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้านี้  ซึ่งคอนโดฯ ให้เช่ามีการเติบโตมากที่สุดถึง 9% เป็นผลมาจากสภาพเศรษฐกิจและกำลังซื้อผู้บริโภคที่ชะลอตัวทำให้การเช่าที่พักอาศัยกลายเป็นเทรนด์ที่ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น เพราะมีความเสี่ยงทางการเงินน้อยกว่า  รวมทั้งการพิจารณาการปล่อยสินเชื่อของธนาคารที่เข้มงวดขึ้นทำให้มียอดการปฏิเสธสินเชื่อเพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย   อย่างไรก็ดี ผู้บริโภคให้ความสนใจเลือกเช่าที่อยู่อาศัยที่มีอัตราค่าเช่า 30,000 บาทต่อเดือนขึ้นไป เพิ่มขึ้นถึง 20% ในรอบไตรมาสที่ผ่านมา สะท้อนให้เห็นว่า แม้ผู้บริโภคจะยังไม่พร้อมซื้ออสังหาฯ เป็นของตัวเองในตอนนี้ แต่ยังคงมีศักยภาพเพียงพอที่จะจ่ายค่าเช่าในอัตราที่สูงขึ้นในช่วง 1-2 ปี เนื่องจากมีความจำเป็นที่ต้องเลือกที่พักอาศัยในทำเลที่ต้องการ ผู้ประกอบการอสังหาฯ ควรปรับตัวรับสถานการณ์ปัจจุบันด้วยการเจาะกลุ่มกำลังซื้อใหม่ ๆ ในประเทศ เพื่อขยายโอกาสทางธุรกิจไปยังกลุ่มเป้าหมายอื่นแทนที่กลุ่มกำลังซื้อเดิมที่อาจอิ่มตัว และได้รับผลกระทบจากมาตรการ LTV
4 กลยุทธ์ “พฤกษา เรียลเอสเตท” เดินหน้าต่อ ฟื้นรายได้กลับมายืน 50,000 ล้าน

4 กลยุทธ์ “พฤกษา เรียลเอสเตท” เดินหน้าต่อ ฟื้นรายได้กลับมายืน 50,000 ล้าน

ปี 2563 ถือเป็นปีที่ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ได้รับผลกระทบจากปัจจัยลบต่าง ๆ มากมาย โดยเฉพาะการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ซึ่งส่งผลต่อเนื่องในเรื่องของภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว และกำลังซื้อของผู้บริโภคลดลง ในปัจจุบันยังมีปัญหาการเมือง ที่เข้ามาตอกย้ำให้ภาพรวมเศรษฐกิจทรุดตัวลงไปมากอีกด้วย ทำให้มีการประเมินกันว่าภาพรวมตลาดอสังหาฯ ปีนี้น่าจะติดลบไม่ต่ำกว่า 30%  โดยมูลค่าตลาดช่วง 9 เดือนแรกของปีที่มีมูลค่า 208,994 ล้านบาท ลดลง 31% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2562   สำหรับบริษัท พฤกษา เรียลเอสเตท จำกัด (มหาชน) เป็นหนึ่งในบริษัทที่ได้รับผลกระทบจากปัจจัยลบดังกล่าวไม่ต่างจากเพื่อนร่วมธุรกิจ  แต่นอกจากปัจจัยภายนอกที่กระทบต่อการดำเนินธุรกิจของพฤกษาแล้ว พฤกษายังต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงภายในองค์กรในหลายเรื่องด้วยกัน โดยเฉพาะการปรับเปลี่ยนโครงสร้างการบริหารงาน ภายหลังจากที่ “สุพัตรา เป้าเปี่ยมทรัพย์” ได้ลาออกจากการบริหารงาน ในตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ของพฤกษา เรียลเอสเตท และตำแหน่งรองประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่ม บริษัท พฤกษา โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) โดยมีนายปิยะ ประยงค์ มาดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหาร พฤกษา เรียลเอสเตท ​ แทน รวมถึงการลาออกของนายประเสริฐ แต่ดุลยสาธิตประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจพฤกษาเรียลเอสเตท – พรีเมียม ก่อนหน้านั้นด้วย ทำให้ปีนี้พฤกษา เรียลเอสเตทมีการปรับเปลี่ยนและ Reorganize ในหลายเรื่อง เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบัน 4 กลยุทธ์ Reorganize ปั้นรายได้และกำไร นายปิยะ ประยงค์  ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พฤกษา เรียลเอสเตท จำกัด (มหาชน)  เปิดเผยว่า บริษัทได้รับผลกระทบจากไวรัสโควิด-19 ทำให้ไตรมาส 2 ที่ผ่านมา ไม่มีการเปิดตัวโครงการใหม่ และบริษัทฯ มีการปรับแผนธุรกิจ ให้สอดรับกับสถานการณ์  มุ่งเน้นการเปิดโครงการใหม่  และเลือกทำการรีมาร์เก็ตติ้ง  ( Remarketing) ในโครงการ Hero Projects ซึ่งเป็นโครงการที่มีศักยภาพสูงและได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี จึงทำให้ในไตรมาสที่ 3 สามารถฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็ว  มียอดขาย​ 6,584 ล้านบาท เติบโต 88% จากไตรมาสก่อน ที่มียอดขาย 3,507 ล้านบาท มีรายได้ 6,353  ล้านบาท เติบโต 3% และมีกำไรสุทธิ 603 ล้านบาท เติบโต 9.4% จากไตรมาสก่อน ซึ่งสัดส่วนของยอดขายและรายได้ในไตรมาส 3 ที่มาจากโครงการ Hero Projects ถึง 19% และ 23% ตามลำดับ โดยที่ผ่านมา บริษัทได้ปรับองค์กรและเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารงานภายใน (Lean Organization) และจะใช้เป็นกลยุทธ์สำหรับการทำให้พฤกษา เรียลเอสเตท กลับมาเติบโตได้เหมือนช่วงที่ผ่านมา ซึ่งเน้นในการทำงานใน 4 เรื่องหลัก ดังนี้ 1.การปรับองค์กรสู่ Thinking Company พฤกษา เรียลเอสเตท ได้ปรับองค์กรใหม่ ไปสู่ Thinking Company หรือองค์กรที่มุ่งเน้นประสิทธิภาพ และการดูแลลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น  จากเดิมเป็น Operation Company หรือองค์กรที่เน้นการดำเนินงาน โดยอาจจะไม่ได้คำนึงถึงประสิทธิภาพ เช่น งานก่อสร้างโครงการแนวราบใช้ผู้รับเหมารายเล็กจำนวนมาก เปลี่ยนกลับมาใช้ผู้รับเหมารายใหญ่แทน เพื่อประสิทธิภาพมากขึ้นและต้นทุนคงที่ลดลง จากเดิมที่เคยมีประมาณ ​18-19% ลดลงเหลือ 16-17% ภายในปีหน้า และในอนาคตจะปรับลดให้ต่ำลงกว่า 15% 2.การเปิดโครงการที่เป็น Hero Project ปีที่ผ่านมาบริษัทมีโครงการเปิดดำเนินนานกว่า 200 โครงการ ในอนาคตจะปรับลดให้เหลือกว่า 100 โครงการ โดยมุ่งเน้นโครงการที่เรียกว่า Hero Project ซึ่งหมายถึงโครงการที่ตั้งอยู่ในทำเลที่ดีมีศักยภาพ พัฒนาโครงการคุณภาพ และตอบโจทย์ความต้องการของกลุ่มลูกค้าอย่างแท้จริง หรือ Customer Value  ที่ผ่านมาบริษัทอาจจะพูดคุยกับลูกค้าน้อยไปหน่อย ในการหา Customer Value และปัจจุบันการมีการวิจัยค้นหาความต้องการของลูกค้ามากขึ้น ขณะเดียวกันยังร่วมมือกับผู้รับเหมารายใหญ่ ในการบริหารต้นทุนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งทำให้สามารถลดต้นทุนการดำเนินงานได้ถึง 20-30% 3.การใช้ Data Analytic วิเคราะห์และทำการตลาด จากการพัฒนาโครงการที่มุ่งเน้น Hero Projects ทำให้บริษัทต้องทำการวิเคราะห์ข้อมูล และความต้องการลูกค้ามากขึ้นกว่าในอดีต  เพื่อพัฒนาโครงการให้ตรงตามความต้องการของลูกค้าจริง ๆ นอกจากนี้ ยังร่วมมือกับโรงพยาบาลวิมุต ในการเพิ่มบริการที่ลูกค้ามีความต้องการ เช่น เนอร์สซิ่งโฮม หรือ โฮมแคร์สำหรับผู้สูงอายุ ที่จะถูกพัฒนาไว้ในบางโครงการด้วย ​ 4.เน้นการบริหาร Stock ให้มีประสิทธิภาพ โดยปัจจุบันบริษัทบริหารสต็อกเหลือ 17,223 ล้านบาท ลดลง 31% จากปี 2562 ซึ่งจะยังคงเดินหน้าลดสต็อกสินค้าในมือให้ลดน้อยลงอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้มีอัตรากำไรสุทธิที่เพิ่มมากขึ้น ในปีหน้าคาดว่าจะลดสต็อกให้เหลือ 10,000 ล้านบาท ขณะเดียวกันยังมุ่งเน้นสร้างรายได้ให้มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยในปีหน้าคาดว่าจะเติบโตในอัตรา 15% และภายในอีก 2 ปีข้างหน้าบริษัทน่าจะกลับมารายได้เหมือนช่วงที่ผ่านมา หรือมีรายได้ประมาณ ​50,000 ล้านบาท ​ส่วนปี 2563 บริษัทคาดว่าจะทำรายได้ 31,000 ล้านบาท เปิด 2 Hero Projects ไตรมาส 4 สำหรับแนวโน้มตลาดอสังหาฯ ในช่วงโค้งท้ายปี คาดว่ายังจะมีการแข่งขันที่รุนแรง โดยเฉพาะด้านราคาและโปรโมชั่น ซึ่งพฤกษา เรียลเอสเตทยังคงใช้กลยุทธ์ราคาและโปรโมชั่น เป็นหนึ่งกลยุทธ์ในการขับเคลื่อนธุรกิจในไตรมาสสุดท้ายด้วยเช่นกัน เพื่อเร่งยอดขาย พร้อมเร่งทยอยโอน The Reserve สุขุมวิท 61 มูลค่า 2,700 ล้านบาท ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนถึง 13% ของรายได้ที่ต้องทำอีกในไตรมาส 4 เมื่อประกอบกับรายได้จากการโอนฮีโร่โปรเจคราว 32% และโครงการอื่น ๆ ที่เปิดขายอยู่อีกราว 55% คาดว่าจะช่วยผลักดันให้บริษัทฯ สามารถบรรลุเป้าหมายรายได้ที่วางไว้ได้ นอกจากนี้ ยังเตรียมเปิดโครงการใหม่ในไตรมาส 4 เพิ่มขึ้นอีก 2 โครงการ  รวมเปิดโครงการใหม่ทั้งปี 2563 จำนวน 13 โครงการ  จากช่วง 9 เดือนแรก บริษัทเปิดโครงการไปแล้ว 11  โครงการ มูลค่ารวม 13,620 ล้านบาท  ซึ่งในไตรมาส 4 จะเป็นโครงการ Hero Project  ได้แก่ The Plant รังสิต-อเวนิว บ้านเดี่ยว  มูลค่าโครงการ 985 ล้านบาท ราคา 3 - 5 ล้านบาท และโครงการ พฤกษาวิลล์ ศรีนครินทร์-บางนา  มูลค่าโครงการ 1,101 ล้านบาท  ราคาเริ่มต้น 2 – 3 ล้านบาท แผนปี 64 เปิด 30-35 โปรเจ็กต์ ในปี 2563 ถือว่าตลาดไม่เอื้ออำนวยให้พฤกษา เรียลเอสเตท เปิดตัวโปรเจ็กต์ได้ตามแผนที่วางไว้ ซึ่งโครงการประมาณ​20 โปรเจ็กต์ จะถูกเลื่อนไปเปิดตัวในปี 2564 โดยตามแผนในปีหน้า จะมีการเปิดตัวโครงการรวมทั้งหมดประมาณ 30-35 โครงการ มูลค่า 30,000-35,000 ล้านบาท ซึ่งจะมีโครงการในลักษณะ Hero Projects 30% ซึ่งจะเน้นตลาดที่มีศักยภาพในกลุ่มลูกค้าที่มีฐานรายได้ตั้งแต่ 50,000-100,000 บาท เนื่องจากไม่ได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจ และมีกำลังซื้อที่ดี  ในปีหน้าบริษัทจะเปิดโครงการคอนโดมิเนียม 7 โครงการ จับตลาดระดับราคา 2-5 ล้านลาท และหนึ่งในนั้นจะเป็นโครงการร่วมทุนกับพันธมิตรจากประเทศญี่ปุ่น ที่มีความเชี่ยวชาญด้านธุรกิจเฮลท์แคร์   ด้านความคืบหน้าโรงพยาบาลวิมุต นายแพทย์กฤตวิทย์ เลิศอุตสาหกูล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โรงพยาบาลวิมุต จำกัด เปิดเผยว่า ขณะนี้ความคืบหน้าของการก่อสร้างโรงพยาบาลวิมุตเป็นไปตามแผนงาน โดยจะเป็นสถานพยาบาลระดับ Tertiary Care ขนาด 236 เตียง 18 ชั้น ออกแบบสอดคล้องตามมาตรฐานสากล JCI ภายใต้วิสัยทัศน์ขององค์กรที่มุ่งมั่นตั้งใจรักษาให้คนไทยมีสุขภาพแข็งแรง พ้นทุกข์จากการเจ็บป่วยทั้งทางร่างกายและจิตใจ เข้าถึงการรักษาโดยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ใส่ใจดูแลคนไข้เสมือนคนในครอบครัว ตรวจวินิจฉัย และรักษาได้ตรงจุดด้วยเทคโนโลยี และเครื่องมือการแพทย์ที่ทันสมัย พร้อมยาที่มีคุณภาพ ประทับใจการบริการรักษาที่มีประสิทธิภาพ ด้วยค่าใช้จ่ายที่เข้าถึงได้ ซึ่งคาดจะเปิดให้บริการตามแผนงานในเดือนพฤษภาคม 2564