Infographic

 

Infographic ล่าสุด

1 ... 9 10 11 ... 13
เรื่องที่มักเข้าใจผิด เมื่อคิดจะโปะบ้าน

เรื่องที่มักเข้าใจผิด เมื่อคิดจะโปะบ้าน

อย่างที่รู้ๆ กันว่าเงินที่เราจ่ายเป็นค่าผ่อนบ้านในแต่ละเดือนนั้น ส่วนหนึ่งต้องนำไปหักดอกเบี้ยจ่ายก่อนส่วนที่เหลือถึงค่อยนำไปหักเงินต้น หากใครที่คิดว่าจะผ่อนแบบปกติตามที่ธนาคารกำหนด โดยไม่มีการโปะหนี้บ้านเลย ก็อาจต้องเสียดอกเบี้ยจ่ายสูงเกือบเท่ากับวงเงินกู้เลยทีเดียว ดังนั้นการเลือกที่จะโปะหนี้บ้านในเวลาที่เรามีเงินก้อน จึงถือว่าเป็นการช่วยประหยัดดอกเบี้ยจ่ายได้มากมาย แล้วเพราะเหตุใดหลายๆ คนที่มีโอกาสได้รับเงินก้อน เช่น ได้โบนัส คอมมิชชั่น ถึงไม่นำเงินก้อนเหล่านี้ไปโปะหนี้บ้าน โปะบ้านแล้วเสียค่าธรรมเนียม หลายคนมักเข้าใจผิด โดยคิดว่าเมื่อกู้บ้านกับธนาคารแล้วจะต้องผ่อนชำระในแต่ละเดือนตามจำนวนเงินที่ธนาคารกำหนดไว้ในสัญญาเงินกู้บ้านเท่านั้น และหากโปะหรือปิดบ้านต้องเสียค่าธรรมเนียม แต่ในความเป็นจริงแล้วเราสามารถจ่ายค่าผ่อนบ้านในแต่ละเดือน ได้มากกว่าที่ธนาคารกำหนด เช่น จ่ายเพิ่มทุกเดือน เดือนละ 2,000 บาท หรือจ่ายเงินก้อนในบางเดือน เช่น จ่ายเพิ่ม 50,000 บาท และการโปะหรือปิดหนี้ด้วยเงินของเราเองปกติแล้วจะไม่เสียค่าธรรมเนียม ส่วนการปิดหนี้ที่เสียค่าธรรมเนียมโดยปกติแล้วจะเป็นลักษณะของการย้ายวงเงินกู้ไปกู้เงินกับธนาคารแห่งใหม่ หรือที่เรียกกันว่า “รีไฟแนนซ์” อย่างไรก็ตามไม่ว่าจะตัดสินใจ โปะ ปิดหนี้ หรือรีไฟแนนซ์ เพื่อความมั่นใจว่าจะไม่ทำผิดเงื่อนไขการจ่ายชำระหนี้ของธนาคาร แนะนำให้ตรวจสอบในสัญญาเงินกู้บ้าน หรือสอบถามโดยตรงกับธนาคาร เนื่องจากเงื่อนไขของแต่ละธนาคารมีความแตกต่างกันครับ นำเงินไปลงทุนได้ผลตอบแทนดีกว่าดอกเบี้ยบ้าน หากใครยังลังเลว่าจะนำเงินก้อนไปโปะบ้านดี หรือนำเงินไปลงทุนเพื่อให้ได้ผลตอบแทนที่สูงกว่าดอกเบี้ยเงินกู้บ้านดี ต้องบอกว่าการลงทุนที่จะให้ผลตอบแทนที่สูงกว่าดอกเบี้ยบ้านนั้น หากอัตราดอกเบี้ยจ่ายที่ได้รับอยู่ในช่วงที่เป็นอัตราดอกเบี้ยแบบลอยตัว เช่น  6-7% ต่อปี การที่จะลงทุนเพื่อให้ได้ผลตอบแทนสูงกว่า 6-7% ต่อปี ก็ต้องเป็นการลงทุนที่มีความเสี่ยงสูงอย่างเช่น หุ้นหรือกองทุนหุ้น ซึ่งการลงทุนที่มีความเสี่ยงสูงก็มีโอกาสที่จะกำไรหรือขาดทุนได้เช่นกันครับ ต่างกับการเลือกนำเงินก้อนไปโปะบ้านเพราะไม่มีความเสี่ยง และช่วยประหยัดดอกเบี้ยจ่ายได้อย่างแน่นอน ทั้งนี้การนำเงินก้อนไปโปะบ้านถึงแม้จะช่วยให้เราประหยัดดอกเบี้ยจ่ายได้ก็จริง แต่ต้องไม่ลืมที่จะสำรวจตัวเองก่อนครับ ว่ามีเงินสำรองเผื่อฉุกเฉินเพียงพอแล้วหรือยัง เพราะหากนำเงินไปโปะบ้านจนหมดไม่มีเงินสำรองไว้อย่างเพียงพอ หากเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันจำเป็นต้องใช้เงินขึ้นมา อาจไม่มีเงินเพียงพอสำหรับใช้จ่ายทำให้เกิดความเดือดร้อน หรือต้องไปกู้ยืมในอัตราดอกเบี้ยที่สูงกว่าดอกเบี้ยบ้านก็เป็นได้ ดังนั้นก่อนนำเงินก้อนไปโปะบ้านแนะนำว่าควรเก็บเงินไว้เป็นเงินสำรองเผื่อฉุกเฉินก่อนอยู่ที่ 6 เท่าของค่าใช้จ่ายต่อเดือน เช่น มีค่าใช้จ่ายเดือนละ 20,000 บาท ควรมีเงินสำรองเผื่อฉุกเฉิน 120,000 บาท เพราะหากเกิดเหตุฉุกเฉินต้องใช้เงินในยามจำเป็นขึ้นมา จะได้นำเงินส่วนนี้มาใช้จ่ายได้ทันทีครับ   ขอขอบคุณข้อมูลจาก K-Expert
เตรียมกู้บ้านให้ผ่าน แบบเจ้าของกิจการ

เตรียมกู้บ้านให้ผ่าน แบบเจ้าของกิจการ

“เวลาเป็นเงินเป็นทอง” คำพูดนี้น่าจะเหมาะกับคนที่เป็นเจ้าของกิจการ เพราะวันไหนหยุด หรือปิดร้าน วันนั้นก็จะไม่มีรายได้เข้ามา และสำหรับกิจการเจ้าของคนเดียวที่ต้องทำทุกอย่างเองหมด ไม่ว่าจะเป็นการซื้อของมาขาย เปิด ปิดร้าน ทำให้เวลาส่วนใหญ่หมดไปกับการหารายได้ จนบางครั้งเผลอหรือลืมที่จะเก็บเอกสารทางการค้าเอาไว้ หรือไม่มีเวลาพอที่จะนำเงินไปเข้าบัญชีธนาคาร สาเหตุเหล่านี้ทำให้เจ้าของกิจการหลายรายประสบปัญหาในการกู้ซื้อบ้าน เนื่องจากเอกสารต่างๆ ไม่พร้อม แล้วจะทำอย่างไรให้พร้อมยื่นกู้ เรามีคำแนะนำสำหรับเจ้าของกิจการที่กำลังมีแผนยื่นกู้ซื้อบ้านดังนี้ครับ     บอกให้ได้ว่ากิจการทำอะไร    เอกสารสำคัญที่เจ้าของกิจการจะต้องเตรียมให้กับธนาคารสำหรับการยื่นกู้ เพื่อให้ธนาคารทราบว่าประกอบกิจการอะไรนั้น ได้แก่ - ทะเบียนการค้าหรือทะเบียนพาณิชย์ ของกิจการที่เป็นบุคคลธรรมดา ซึ่งรายละเอียดในทะเบียนการค้าจะระบุว่ากิจการที่ทำอยู่นั้นคืออะไร และวันที่จดทะเบียนจะสะท้อนให้เห็นว่าประกอบกิจการมานานแค่ไหน สำหรับเจ้าของกิจการรายใหม่ที่กำลังจะมีแผนจดทะเบียนการค้าหรือทะเบียนพาณิชย์ก็สามารถยื่นเอกสารขอจดทะเบียนได้ที่สำนักงานเขต หรือองค์การบริหารส่วนตำบล(อบต.) หรือเทศบาล - สัญญาเช่า เช่น เปิดร้านค้าในห้างสรรพสินค้า เช่าร้านค้าในตึกแถว เอกสารสัญญาเช่าจะช่วยบอกได้ว่ากิจการตั้งอยู่ที่ใด ทำมาแล้วนานแค่ไหน โดยอาจใช้สัญญาเช่าที่ทำไว้ในอดีตควบคู่กัน   บอกให้ได้ว่ากิจการมีรายได้เท่าไร   สิ่งสำคัญที่จะสะท้อนรายได้ของกิจการบุคคลธรรมดานั่นก็คือ รายการเดินบัญชีย้อนหลัง (Statement) ซึ่งนอกจากจะช่วยประเมินให้เห็นว่ากิจการมีรายได้เท่าไรแล้ว ยังสะท้อนได้ว่ากิจการประกอบการค้าเป็นอย่างไร เช่น ได้รับเงินทุกวันอย่างการขายของชำ ขายอาหาร หรือมีรายได้เป็นรายสัปดาห์ เช่น โรงเรียนสอนพิเศษ โดยการเดินบัญชีที่ดีควรฝากเงินหรือถอนเงินตามรายได้หรือค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริง และไม่ตกแต่งบัญชี โดยธนาคารจะพิจารณารายการเดินบัญชีย้อนหลังอย่างน้อย 6 เดือน นอกจากรายการเดินบัญชีย้อนหลังแล้ว หากกิจการมีเอกสารเพิ่มเติมที่ช่วยสะท้อนรายได้ของกิจการก็ควรยื่นประกอบการพิจารณาสินเชื่อด้วยครับ ซึ่งได้แก่ - บิลการค้า สำหรับกิจการที่ทำการค้าแล้วมีการออกบิลหรือใบเสร็จให้กับลูกค้า หรือใบเสร็จที่ได้จากการซื้อสินค้ามาขาย -  เอกสารการเสียภาษี เช่น ภพ. 30 สำหรับกิจการที่มีการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม เจ้าของกิจการถือว่าเป็นอาชีพที่สร้างรายได้มากมายอย่างไม่จำกัด แต่ในการกู้เงินหากไม่สามารถสะท้อนให้เห็นได้ว่ากิจการมีรายได้เป็นอย่างไร หรือไม่ชัดเจนว่าประกอบกิจการอะไร โอกาสในการได้รับอนุมัติเงินกู้ก็อาจจะเป็นไปได้ยากครับ   ขอขอบคุณข้อมูลจาก  K-Expert
ผ่อนบ้านหมดไว เหมือนได้รถใหม่ 1 คัน

ผ่อนบ้านหมดไว เหมือนได้รถใหม่ 1 คัน

หากใครที่กำลังจะซื้อบ้าน แล้วคิดว่าจะซื้อด้วยวิธีการกู้เงิน ผ่อนรายเดือนกับธนาคาร ต้องไม่ลืมว่าค่าผ่อนที่จ่ายในแต่ละเดือนนั้น ไม่ได้นำไปชำระเงินต้นทั้งหมด แต่จะชำระดอกเบี้ยจ่ายก่อน ส่วนที่เหลือจึงค่อยชำระเงินต้น ซึ่งการจ่ายค่าผ่อนตามจำนวนเงินที่ธนาคารกำหนดไว้ในแต่ละเดือน โดยไม่มีการผ่อนชำระเพิ่ม เมื่อจ่ายแบบนี้ไปเรื่อยๆ จนครบกำหนด ดอกเบี้ยทั้งหมดอาจจะสูงถึงประมาณ 70% ของวงเงินกู้เลยทีเดียว แต่ถ้าเราเลือกที่จะชำระค่าผ่อนบ้านเพิ่มจากการผ่อนปกติ รู้หรือไม่ว่าวิธีนี้จะช่วยให้เราประหยัดดอกเบี้ยจ่ายเท่ากับได้รถใหม่มา 1 คัน ทำไมถึงเป็นเช่นนั้นเรามีคำตอบครับ   ยิ่งจ่ายมาก ยิ่งลดมาก ปกติแล้วดอกเบี้ยบ้านจะคิดแบบลดต้นลดดอก หมายความว่าดอกเบี้ยที่ต้องชำระในแต่ละเดือนจะคำนวณจากเงินต้นคงเหลือของเดือนนั้นๆ   ตัวอย่างเช่น สมมุติว่า กู้เงินซื้อบ้าน 2,000,000 บาท ธนาคารกำหนดให้ผ่อนชำระเดือนละ 15,000 บาท เป็นระยะเวลา 30 ปี อัตราดอกเบี้ยปีแรก 2.50% ต่อปี หลังจากนั้น MRR-1 (สมมุติให้ 1 เดือนเท่ากับ 30 วัน) ในเดือนแรกจะเสียดอกเบี้ยอยู่ที่ [2,000,000X2.5%] X [30/365]  = 4,109.59 บาท เมื่อจ่ายชำระค่าผ่อน 15,000 บาท จะถูกนำไปชำระดอกเบี้ยก่อน 4,109.59 บาท ส่วนที่เหลือ 15,000 – 4,109.59 = 10,890.41 บาท ค่อยนำไปชำระเงินต้น เท่ากับว่าเงินต้นคงเหลือจะอยู่ที่ 2,000,000 – 10,890.41 = 1,989,109.59 บาท และเงินต้นคงเหลือก็จะนำไปใช้คำนวณดอกเบี้ยในเดือนถัดไป ซึ่งเท่ากับ [1,989,109.59X2.5%] X [30/365]  = 4,087.21 บาท จะเห็นได้ว่าหากอัตราดอกเบี้ยเท่ากัน ในเดือนถัดไปดอกเบี้ยจะลดลงตามเงินต้นที่ลดลง ดังนั้นการผ่อนชำระหนี้ในแต่ละเดือนด้วยจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้นก็จะยิ่งทำให้เงินต้นลดลง ซึ่งเท่ากับว่าดอกเบี้ยจ่ายก็จะลดลงด้วยเช่นกันครับ   ผ่อนเพิ่มแค่เดือนละ 2,000 บาท ประหยัดดอกเบี้ยเท่ากับราคารถอีโคคาร์ 1 คัน จากตัวอย่างจะพบว่าหากเลือกผ่อนชำระเดือนละ 15,000 บาท ตามที่ธนาคารกำหนดไว้ไปเรื่อยๆ จนครบกำหนด ดอกเบี้ยจ่ายทั้งหมดจะอยู่ที่ประมาณ 1,600,000 บาท แต่หากผ่อนเพิ่มแค่เดือนละ 2,000 บาท จากผ่อนเดือนละ 15,000 บาท เป็น 17,000 บาท ดอกเบี้ยจ่ายทั้งหมดจะอยู่ที่ประมาณ 1,170,000 บาท เมื่อเปรียบเทียบดอกเบี้ยจ่ายแล้ว การผ่อนเพิ่มเดือนละ 2,000 บาท จะช่วยให้ประหยัดดอกเบี้ยได้ถึง 430,000 บาท และช่วยร่นระยะเวลาในการผ่อนบ้านให้เร็วขึ้นถึงประมาณ 5 ปี   นอกจากนี้หากเราได้รับเงินก้อน ไม่ว่าจะเป็น เงินโบนัส ค่าคอมมิชชั่น ก็อย่าลืมแบ่งเงินบางส่วนนี้ไปโปะบ้านด้วยนะครับ จะได้ประหยัดดอกเบี้ยจ่าย และหมดภาระหนี้สินเร็วขึ้นครับ   ขอขอบคุณข้อมูลจาก K-Expert
ค่าใช้จ่ายที่ตามมา หากคิดว่าจะอยู่คอนโด

ค่าใช้จ่ายที่ตามมา หากคิดว่าจะอยู่คอนโด

หนุ่มสาวรุ่นใหม่วัยเริ่มต้นทำงาน เมื่อทำงานไปได้สักพัก พอมีเงินเก็บบ้างแล้ว เชื่อว่าหลายคนคงมองหาคอนโดสักห้องไว้อยู่อาศัยเพื่อให้ชีวิตสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น เพราะไม่ต้องตื่นแต่เช้า เดินทางฝ่ารถติดจากบ้านมาถึงที่ทำงาน จะไปไหนมาไหนก็ใกล้ เหมาะกับไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตที่เร่งรีบในปัจจุบัน แต่การซื้อคอนโดสักห้องก็ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง พอๆ กับการซื้อบ้านสักหลังเลยทีเดียว นอกจากเงินดาวน์ เงินผ่อนต่อเดือนแล้ว ยังมีค่าใช้จ่ายตามมาอีกมากมายเมื่อเข้าอยู่คอนโด ซึ่งค่าใช้จ่ายที่ว่าจะมีอะไรบ้างนั้น ไปดูกันเลยครับ ค่าใช้จ่ายที่เลี่ยงไม่ได้หากจะใช้ชีวิตในคอนโด ค่าเฟอร์นิเจอร์ ถ้าคอนโดที่ซื้อเป็นห้องเปล่าซึ่งยังไม่ได้ตกแต่งหรือมีเฟอร์นิเจอร์ ข้าวของเครื่องใช้ใดๆ แน่นอนว่าต้องมีค่าใช้จ่ายในการซื้อเฟอร์นิเจอร์มาตกแต่งห้องให้พร้อมอยู่ ไม่ว่าจะเป็น เตียงนอน ตู้เสื้อผ้า โซฟา รวมไปถึงเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ ที่จำเป็น รวมกันแล้วเป็นค่าใช้จ่ายหลักหมื่นถึงหลักแสนบาทเลยทีเดียวครับ ค่าใช้จ่ายส่วนกลาง ค่าใช้จ่ายในส่วนนี้คือค่าดูแลรักษาทรัพย์สินของส่วนกลาง ไม่ว่าจะเป็น ระบบรักษาความปลอดภัย สระว่ายน้ำ ฟิตเนส สวนในโครงการ หรือที่จอดรถ ซึ่งจะเรียกเก็บจากเราล่วงหน้าเป็นรายปี โดยคิดราคาตามขนาดพื้นที่ห้อง เป็นราคาต่อตารางเมตร ทั้งนี้ อัตราค่าส่วนกลางจะแตกต่างกันไปในแต่ละโครงการ เช่น 50 บาท/เดือน/ตร.ม. สมมติเราเลือกคอนโดแบบ 1 ห้องนอน ขนาด 25 ตารางเมตร ค่าใช้จ่ายส่วนกลางจะอยู่ที่ 15,000 บาท ต่อปีครับ ค่าประกันอัคคีภัย ค่าประกันอัคคีภัยถือเป็นอีกหนึ่งค่าใช้จ่ายที่มาพร้อมกับการกู้ซื้อคอนโด หรือนิติบุคคลเรียกเก็บจากเจ้าของร่วมทุกคน เพื่อช่วยป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับคอนโด ซึ่งค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ปกติจะจ่ายพร้อมกับค่าผ่อนคอนโดในงวดแรก หรือถูกเรียกเก็บจากนิติบุคคลเป็นรายปี โดยค่าเบี้ยประกันจะแตกต่างกันไปตามขนาดพื้นที่ห้อง รวมถึงชั้นของคอนโดที่อยู่ ซึ่งจะมีค่าใช้จ่ายอยู่ที่ประมาณหลักพันบาทต่อปี ค่าสาธารณูปโภค เมื่อเข้าอยู่คอนโดแล้วย่อมมีค่าสาธารณูปโภคเกิดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็น ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ หรือค่าอินเทอร์เน็ต ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายที่เราต้องจ่ายเป็นประจำทุกเดือน แต่จะมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับปริมาณการใช้ของแต่ละคน ซึ่งค่าใช้จ่ายในส่วนนี้จะอยู่ที่ประมาณ 1,500 บาทต่อเดือนขึ้นไป จะเห็นว่าเมื่อรวมค่าใช้จ่ายต่างๆ เข้าด้วยกันแล้วจะเป็นค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูงเลยทีเดียว หากไม่เตรียมตัวเก็บเงินก้อนไว้ หรือไม่ได้วางแผนบริหารจัดการรายจ่ายในแต่ละเดือน แต่ละปีให้ดี ก็มีโอกาสที่จะกู้ซื้อคอนโดแล้วผ่อนไม่ไหว ดังนั้น ใครที่คิดว่าคอนโดสามารถตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตได้ และสนใจอยากซื้อคอนโดสักห้อง ต้องไม่มองเพียงแค่ว่ามีเงินดาวน์ เงินผ่อนแล้วจะเข้าอยู่ได้เลย ต้องเตรียมเงินสำหรับค่าใช้จ่ายที่จะตามมาด้วยครับ ทั้งนี้ แม้ว่าธนาคารจะกำหนดให้เรามีภาระผ่อนต่อเดือนได้ถึง 40% ของรายได้ แต่ทางที่ดีแนะนำว่า ไม่ควรผ่อนเกิน 30% ของรายได้ครับ เพราะต้องเผื่อเงินไว้สำหรับค่าใช้จ่ายที่จะตามมาด้วย เพื่อไม่ให้ภาระผ่อนตึงมือจนเกินไปหรือกระทบกับค่าใช้จ่ายอื่นๆ ในแต่ละเดือนของเรา   ขอขอบคุณข้อมูลจาก : K-Expert
อยากได้เงินมาซ่อมบ้าน ต้องทำอย่างไร 

อยากได้เงินมาซ่อมบ้าน ต้องทำอย่างไร 

เชื่อว่าใครๆ ก็อยากให้บ้านแสนรักยังคงสภาพสวยงามเหมือนใหม่อยู่เสมอ แต่ในความเป็นจริงแล้ว เมื่อระยะเวลาผ่านไปนานๆ บ้านของเราก็ย่อมที่จะทรุดโทรมลงไปตามกาลเวลา การซ่อมแซมบ้านเพื่อให้มีสภาพสวยงามพร้อมอยู่เหมือนเช่นเดิมจึงเป็นสิ่งที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ซึ่งในการซ่อมแซมบ้านแต่ละครั้ง ต้องยอมรับว่าใช้เงินจำนวนไม่น้อย แล้วจะทำอย่างไรเพื่อให้มีเงินเพียงพอไว้สำหรับซ่อมแซมบ้าน ใช้เงินของตัวเอง จากการเก็บออม สำหรับใครที่ต้องการเตรียมเงินไว้ซ่อมแซมบ้านในอนาคต โดยปัจจุบันยังไม่มีเรื่องเร่งด่วนให้ต้องรีบซ่อมแซมบ้าน หรือไม่อยากเสียดอกเบี้ยจากการกู้ยืมเงิน แนะนำให้ใช้วิธีเก็บออมเงินเอาไว้ล่วงหน้า โดยตั้งเป้าหมายว่าจะซ่อมแซมบ้านเมื่อไหร่ และใช้งบประมาณเป็นจำนวนเงินเท่าไร เช่น จะซ่อมแซมบ้านด้วยจำนวนเงิน 100,000 บาท ในอีก 2 ปีข้างหน้า ก็เท่ากับว่าจะต้องเก็บออมเงินประมาณเดือนละ 4,100 บาท ซึ่งเงินจำนวนนี้แนะนำให้เก็บออมไว้ในสินทรัพย์ทางการเงินที่มีความเสี่ยงต่ำ เช่น ฝากประจำรายเดือนปลอดภาษี หรือกองทุนตลาดเงิน เพื่อให้มั่นใจว่าในอีก 2 ปีข้างหน้าจะมีเงินไว้ใช้ซ่อมแซมบ้านอย่างแน่นอน ขอวงเงินเพิ่ม จากสินเชื่อบ้านที่กำลังผ่อน หากมีความจำเป็นต้องใช้เงินซ่อมแซมบ้านทันที หรือไม่สามารถรอเวลาให้เก็บออมเงินได้เพียงพอเสียก่อน  เราก็สามารถขอสินเชื่อเพิ่มจากธนาคารปัจจุบันที่เรากำลังผ่อนชำระสินเชื่อบ้านอยู่ได้ โดยธนาคารจะมีการกำหนดเงื่อนไขสำหรับการกู้เพิ่ม เช่น ต้องเป็นลูกค้าที่มีประวัติการผ่อนชำระดี ไม่มีการค้างชำระและผ่อนมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี หรือกำหนดเงื่อนไขอื่นๆ เช่น ให้วงเงินไม่เกิน 80% ของวงเงินที่ได้ผ่อนชำระไปแล้ว ทั้งนี้เงื่อนไขของแต่ละธนาคารอาจมีความแตกต่างกันไป อย่างไรก็ตามการขอวงเงินเพิ่มจากยอดเงินกู้ที่ผ่อนชำระไปแล้วนั้น อัตราดอกเบี้ยจ่ายอาจจะสูงกว่าดอกเบี้ยสินเชื่อบ้านที่กำลังผ่อนอยู่ และดอกเบี้ยจ่ายสำหรับวงเงินกู้เพิ่มครั้งนี้จะไม่สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ เหมือนกับดอกเบี้ยเงินกู้ซื้อบ้านครับ ขอสินเชื่อใหม่ จากบ้านที่ปลอดภาระ การนำบ้านที่ปลอดภาระไปใช้เป็นหลักประกันในการขอสินเชื่อ เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่จะทำให้มีเงินมาซ่อมแซมบ้าน ซึ่งการนำบ้านที่ปลอดภาระไปใช้ขอกู้เงินกับธนาคารอีกครั้ง เงื่อนไขที่ได้รับจะแตกต่างจากการกู้ซื้อบ้านครั้งแรกครับ เช่นระยะเวลาการผ่อนชำระจะสั้นกว่า อาจผ่อนได้ไม่เกิน 15 ปี แต่สินเชื่อกู้ซื้อบ้านจะผ่อนได้สูงถึง 30 ปี ส่วนอัตราดอกเบี้ยอาจจะคิดในอัตราที่สูงกว่าการกู้ซื้อบ้านใหม่ โดยสินเชื่อประเภทนี้จะไม่สามารถนำดอกเบี้ยจ่ายไปลดหย่อนภาษีได้ ทั้งนี้ในการขอสินเชื่อใหม่จะต้องเสียค่าใช้จ่ายเหมือนกับการกู้ซื้อบ้านใหม่ ไม่ว่าจะเป็น ค่าจำนอง 1% ของวงเงินจำนอง ค่าประเมิน ค่าประกันอัคคีภัย ค่าอากรแสตมป์ ค่าทำสัญญาวงเงินกู้ เป็นต้น การหมั่นตรวจเช็คสภาพบ้านอยู่เสมอจะทำให้พบจุดซ่อมแซมเล็กๆ น้อยๆ ซึ่งเราสามารถทยอยซ่อมแซมบ้านไปได้เรื่อยๆ ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ทำให้บ้านคงสภาพสวยงามเช่นเดิมอยู่เสมอ โดยที่ไม่ต้องเสียเงินก้อนโตไปกับการซ่อมแซมบ้านครั้งใหญ่ครับ   ขอบคุณข้อมูลจาก  k-expert
5 วิธีเลือกซื้อคอนโดเพื่ออยู่อาศัยเอง

5 วิธีเลือกซื้อคอนโดเพื่ออยู่อาศัยเอง

การเลือกซื้อคอนโดนั้น มีปัจจัยหลายอย่างให้ตัดสินใจเลือก และผู้ที่จะซื้อคอนโดเองก็ต้องศึกษาหาข้อมูลเอาไว้แล้วไม่มากก็น้อย ดังนั้นก่อนที่จะตัดสินใจเลือกซื้อคอนโดสักห้องเพื่ออยู่อาศัยเอง เราควรจะมีหลักเกณฑ์ในการตรวจเช็คเพื่อพิจารณาเลือกซื้อ ดังต่อไปนี้ครับ 1. เช็ครายการความต้องการ หรือเตรียมข้อมูลในการเลือกซื้อคอนโด เช่น ทำเลที่ตั้ง ระยะทาง การเดินทาง ระบบคมนาคมขนส่ง การจราจร หรือแม้กระทั้งการเช็คขนาดของห้องชุดที่อยู่ว่าเหมาะสมกับจำนวนคนที่เข้าอยู่หรือไม่ 2. เช็คพฤติกรรมการดำเนินชีวิตของตัวเอง ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญที่เราควรเช็คว่าเรามีชีวิตประจำวันอย่างไร มีไลฟ์สไตล์แบบไหน ทำเลรอบข้างมีอะไรที่เหมาะกับไลฟ์สไตล์เราหรือไม่ เพื่อที่จะได้เลือกคอนโดได้เหมาะสมกับความเป็นอยู่ของเราได้มากขึ้น 3. เช็คสังคมและพฤติกรรมของเพื่อนบ้าน เพื่อที่จะได้ตรวจเช็คว่าสังคมและเพื่อนบ้านของคอนโดที่เราจะเลือกอยู่นั้นเป็นอย่างไร ซึ่งจะส่งผลกระทบไปถึงความรับผิดชอบในการดูแลรับผิดชอบอาคารนี้ เมื่อมีการจัดตั้งนิติบุคคลอาคารชุด เพื่อร่วมรับผิดชอบให้คอนโดน่าอยู่อาศัยมากขึ้น ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับทีมผู้บริหารอาคารและทีมงานนิติบุคคลด้วย 4. เช็คราคาซื้อขาย ก่อนอื่นควรตั้งงบไว้ก่อนว่าจะสามารถซื้อได้ในราคาเท่าไร และควรเลือกซื้อคอนโดที่สามารถซื้อได้ โดยพิจารณาเลือกให้ดีตามความสมดุลของทำเล และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆของคอนโดนั้น 5. เช็คความสามารถในการผ่อนชำระ และอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ไม่ควรเกินความสามารถของเรา โดยทางที่ดีคือต้องมีเงินดาวน์จำนวนมากพอเท่าที่จะทำได้ เพราะจะทำให้เราจ่ายดอกเบี้ยจำนวนน้อยๆ ด้วยครับ   ขอขอบคุณข้อมูลจาก home.co.th
บ้านมีหลายหลัง ดอกเบี้ยลดหย่อนอย่างไร?

บ้านมีหลายหลัง ดอกเบี้ยลดหย่อนอย่างไร?

หลายคนทราบดีอยู่แล้วว่า "ดอกเบี้ยบ้าน" เป็นอีกค่าลดหย่อนหนึ่งที่สามารถนำมาใช้ลดหย่อนภาษีได้ ซึ่งหากมีบ้านหลังเดียวก็คงทำความเข้าใจได้ไม่ยาก ว่าสามารถนำดอกเบี้ยบ้านมาใช้ลดหย่อนภาษีได้เท่าไร แต่หากมีบ้านหลายหลัง บางคนอาจสับสนว่าจะนำดอกเบี้ยบ้านมาลดหย่อนอย่างไร วันนี้เรามีคำแนะนำที่เข้าใจได้ง่ายๆ สำหรับคนที่มีบ้านหลายหลังมาฝากครับ บ้านหลายหลังแบบกู้คนเดียว โดยปกติแล้วดอกเบี้ยบ้านสามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 100,000 บาทครับ หากมีบ้านหลายหลังมาจากการกู้คนเดียว สามารถนำดอกเบี้ยจ่ายของบ้านที่เราเป็นผู้กู้ มารวมกันแล้วลดหย่อนได้ไม่เกิน 100,000 บาท เช่น มีบ้าน 2 หลัง หลังที่ 1 มีดอกเบี้ยจ่าย 50,000 บาท หลังที่ 2 มีดอกเบี้ยจ่าย 60,000 บาท เท่ากับว่าสามารถนำดอกเบี้ยบ้านมาลดหย่อนได้ไม่เกิน 100,000 บาทครับ ถึงแม้ดอกเบี้ยจ่ายจริงจะอยู่ที่ 110,000 บาทก็ตาม บ้านหลายหลังแบบกู้ร่วม หากใครที่มีบ้านหลายหลังและเป็นการกู้ร่วม การนำดอกเบี้ยบ้านมาลดหย่อนให้หารเฉลี่ยเท่าๆ กันตามจำนวนผู้กู้ร่วมครับ แต่ก่อนที่จะนำดอกเบี้ยมาหารเฉลี่ย ดอกเบี้ยจ่ายของการกู้ร่วมของบ้านแต่ละหลังจะต้องไม่เกิน 100,000 บาท เช่น กู้ร่วม 2 คน ดอกเบี้ยบ้านจากการกู้ร่วมทั้งปีอยู่ที่ 120,000 บาท ตามเกณฑ์ของการลดหย่อนดอกเบี้ยบ้านสามารถลดหย่อนได้ตามจริงไม่เกิน 100,000 บาท จึงทำให้ดอกเบี้ยบ้านที่แต่ละคนนำมาลดหย่อนได้จะเท่ากับคนละ 50,000 บาทเท่านั้นครับ และหากมีบ้านหลายๆ หลัง เมื่อนำจำนวนดอกเบี้ยบ้านที่หารเฉลี่ยแล้วมารวมกัน ในหนึ่งคนจะลดหย่อนได้ไม่เกิน 100,000 บาทเช่นกันครับ ตัวอย่างเช่น มีบ้าน 3 หลัง กู้ร่วม 2 หลัง กู้เดี่ยว 1 หลัง สมมติว่า หลังที่ 1 กู้ร่วมหารเฉลี่ยผู้กู้ร่วมได้ดอกเบี้ยบ้านคนละ 40,000 บาท หลังที่ 2 กู้ร่วมหารเฉลี่ยผู้กู้ร่วมได้ดอกเบี้ยบ้านคนละ 30,000 บาท หลังที่ 3 กู้เดี่ยวดอกเบี้ยบ้านอยู่ที่ 50,000 บาท รวมแล้วดอกเบี้ยบาททั้งหมดเท่ากับ 120,000 บาท แต่สามารถนำมาใช้สิทธิลดหย่อนดอกเบี้ยบ้านได้ไม่เกิน 100,000 บาทครับ แต่หากรวมกันแล้ว 3 หลังดอกเบี้ยตามจริงไม่ถึง 100,000 บาท ก็สามารถลดหย่อนได้ตามจริงเท่านั้น เช่น ดอกเบี้ยบ้าน 3 หลัง รวมกันแล้วอยู่ที่ 80,000 บาท สิทธิลดหย่อนจะใช้ได้ตามจริงก็คือ 80,000 บาทครับ อย่างไรก็ตามดอกเบี้ยบ้านจากการกู้เงินบางประเภทไม่สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ เช่น การกู้เพื่อตกแต่งบ้าน การนำบ้านปลอดภาระมาเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันเพื่อขอกู้เงินกับธนาคาร การกู้เอนกประสงค์โดยกู้เพิ่มจากวงเงินกู้บ้านเดิม ดังนั้นก่อนการนำดอกเบี้ยบ้านมาลดหย่อนภาษีควรตรวจสอบสัญญาด้วยครับว่าเป็นเงินกู้ประเภทใด เพื่อไม่ให้ใช้สิทธิแบบผิดเงื่อนไขของกรมสรรพากร   ขอขอบคุณข้อมูลจาก K-Expert
ซื้อหรือเช่าคอนโดฯ ใกล้โรงเรียนของลูก แบบไหนดีกว่ากัน

ซื้อหรือเช่าคอนโดฯ ใกล้โรงเรียนของลูก แบบไหนดีกว่ากัน

เมื่อถึงเวลาที่ลูกๆ ต้องเข้าโรงเรียน มักจะมีหลายๆ เรื่องให้คุณพ่อคุณแม่ต้องวางแผน นอกจากเรื่องโรงเรียนที่จะให้ลูกเข้าเรียนแล้ว เรื่องการเดินทางก็สำคัญไม่แพ้กัน ถ้าโรงเรียนของลูกอยู่ใกล้บ้านหรือที่ทำงานของคุณพ่อคุณแม่ ก็คงไม่มีปัญหาอะไร แต่ถ้าโรงเรียนไม่ได้อยู่ใกล้อย่างที่บอกล่ะ? หลายๆ ท่านจึงมักจะหาทางออกด้วยการซื้อคอนโดหรือหาเช่าคอนโดใกล้ๆ โรงเรียนของลูกแทน แต่ก็มีคำถามตามมาว่า ควรซื้อหรือเช่าคอนโด แบบไหนดีกว่ากัน วันนี้เรามีคำแนะนำมาฝาก ลองใช้ข้อมูลเหล่านี้ประกอบการตัดสินใจกันดูนะครับ วางแผนเลือกโรงเรียนให้ลูกอย่างไร คุณพ่อคุณแม่ที่วางแผนให้ลูกเรียนในโรงเรียนเดิมในแต่ละระดับชั้น หรือถ้ามีการย้ายโรงเรียน ก็เป็นโรงเรียนที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียงกัน หรืออยู่ใกล้เส้นรถไฟฟ้า หรือรถใต้ดิน คุณพ่อคุณแม่อาจตัดสินใจซื้อคอนโดฯ เพราะมีโอกาสที่ลูกจะได้อยู่คอนโดฯ นี้นานกว่า 10 ปี และการซื้อคอนโดฯ ก็มีข้อดีที่สำคัญคือ ทำให้มีสินทรัพย์เป็นของเราเอง และในอนาคตถ้าไม่ได้อยู่คอนโดฯ ที่ซื้อนี้แล้ว ก็มีโอกาสสร้างรายได้ด้วยการปล่อยเช่า หรือขายทำกำไรจากการปรับขึ้นของมูลค่าคอนโดฯ แต่สำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่วางแผนให้ลูกเรียนในโรงเรียนที่แตกต่างกันไปในแต่ละระดับชั้น การเช่าคอนโดฯ อาจจะเหมาะกว่า เพราะเมื่อต้องการย้ายที่เรียน ก็เพียงแค่มองหาคอนโดฯ ให้เช่าแห่งใหม่ที่ใกล้โรงเรียนของลูก แต่ถ้าคุณพ่อคุณแม่ได้ตัดสินใจซื้อคอนโดฯ ไปแล้ว เมื่อต้องย้ายคอนโดฯ อาจเกิดความยุ่งยากในการขายคอนโดฯ เดิม ซึ่งอาจขายไม่ได้ในทันที หรือต้องหาผู้มาเช่า เพื่อลดภาระค่าใช้จ่าย มีเงินดาวน์เพียงพอหรือไม่ ส่วนใหญ่การซื้อคอนโดฯ สักห้องหนึ่งมักซื้อด้วยการขอสินเชื่อ โดยทั่วไปธนาคารจะให้วงเงินกู้ประมาณ 80-90% ของราคาคอนโดฯ เท่ากับว่า ผู้กู้จะต้องมีเงินดาวน์อย่างน้อย 10-20% ของราคาคอนโดฯ เช่น คอนโดฯ ราคา 2 ล้านบาท ก็ควรมีเงินดาวน์อย่างน้อย 2-4 แสนบาท ถ้ามีเงินก้อนสำหรับเป็นเงินดาวน์เพียงพอแล้ว ก็สามารถตัดสินใจกู้ซื้อคอนโดฯ ได้ แต่ถ้าเงินดาวน์ยังมีไม่เพียงพอ อาจต้องเช่าคอนโดฯ และระหว่างนี้ก็เก็บออมเงินดาวน์ไปก่อน หรืออีกทางเลือกหนึ่ง คือ การผ่อนดาวน์คอนโดฯ ซึ่งจะเป็นคอนโดฯ ที่กำลังก่อสร้างอยู่ ภาระหนี้ปัจจุบันมีมากน้อยเพียงใด ถ้าวางแผนซื้อคอนโดฯ ด้วยการขอสินเชื่อ ธนาคารจะพิจารณาว่าเรามีความสามารถในการผ่อนชำระหนี้มากน้อยเพียงใด โดยทั่วไปภาระผ่อนหนี้ทั้งหมดต่อเดือน ไม่ว่าจะเป็น ผ่อนบ้าน ผ่อนรถ หรือสินเชื่อส่วนบุคคล ไม่ควรเกิน 40% ของรายได้ต่อเดือน สมมติเงินเดือน 50,000 บาท จะสามารถผ่อนชำระหนี้ได้เดือนละประมาณ 20,000 บาท ถ้าไม่มีภาระหนี้สินใด โอกาสขอสินเชื่อบ้านผ่านก็มีสูง แต่ถ้ามีภาระผ่อนหนี้อื่นอยู่ โอกาสขอสินเชื่อบ้านผ่านก็อาจเป็นไปได้ยาก หรือได้วงเงินกู้ที่ไม่สูงมากนัก ซึ่งการเช่าคอนโดฯ อยู่ก็จะเหมาะกว่า อย่างไรก็ตาม ถ้ามีภาระหนี้สินอยู่เยอะแล้ว ก็ต้องระวังเรื่องค่าใช้จ่ายในส่วนค่าเช่าที่เพิ่มเข้ามา โดยอาจต้องปรับลดค่าใช้จ่ายส่วนอื่นลง เพื่อให้รายได้เพียงพอกับค่าใช้จ่ายทั้งหมดของครอบครัว ไม่ว่าคุณพ่อคุณแม่จะตัดสินใจซื้อหรือเช่าคอนโดฯ สิ่งสำคัญอยู่ที่ความพร้อมทางการเงินของครอบครัว เพราะจะมีค่าผ่อนหรือค่าเช่าที่ต้องจ่ายทุกเดือน ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่จำเป็นต้องวางแผนให้ดีจะได้ไม่เกิดปัญหาการเงินตามมาในอนาคต
รายได้เสริมแบบไหน ใช้กู้บ้านได้

รายได้เสริมแบบไหน ใช้กู้บ้านได้

ต้องยอมรับว่า ปัจจุบันมีหลายคนมองหารายได้เพิ่มหรืออาชีพเสริมทำควบคู่ไปพร้อมกับงานประจำ นั่นอาจเป็นเพราะค่าครองชีพที่สูงขึ้น การมีรายได้จากงานประจำเพียงอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอสำหรับใช้จ่าย หรือเพราะอยากทำในสิ่งที่ชอบแถมมีรายได้เพิ่มด้วย ซึ่งในบางครั้งรายได้ที่มาจากการทำอาชีพเสริมอาจจะได้มากกว่างานประจำเสียอีก เชื่อว่ามีหลายๆ คนสงสัยว่า เราสามารถนำรายได้เสริมเหล่านี้มายื่นกู้ซื้อบ้านได้หรือไม่ วันนี้เรามีคำตอบคมาให้ครับ     รายได้เสริมต้องได้รับเป็นประจำสม่ำเสมอ  ก่อนที่จะนำรายได้เสริมต่างๆ ไปแสดงกับธนาคารเพื่อยื่นกู้ ต้องดูว่ารายได้เสริมนั้น เราได้รับเป็นประจำสม่ำเสมอหรือไม่ เพราะรายได้ที่ธนาคารจะนำมาพิจารณาความสามารถในการชำระหนี้ ปกติแล้วต้องเป็นรายได้ที่ได้รับเป็นประจำสม่ำเสมอทุกๆ เดือน นั่นหมายถึงว่าเราจะมีเงินจากรายได้เสริมไปชำระค่าผ่อนบ้านได้ทุกๆ เดือนเช่นกันครับ หากใครที่มีรายได้เสริมแบบบางเดือนได้บ้างไม่ได้บ้างก็อาจจะยากสักหน่อยที่ธนาคารจะนำรายได้ในส่วนนี้ไปพิจารณาการยื่นกู้ซื้อบ้านครับ มีเอกสารแสดงรายได้เสริมอย่างชัดเจน เมื่อเรามีรายได้เสริมแล้ว ต้องแสดงให้ได้ครับว่ารายได้เสริมที่ได้รับในทุกๆ เดือน เป็นจำนวนเงินเท่าไร เพื่อให้ธนาคารนำไปประเมินเป็นรายได้เฉลี่ยต่อเดือน สำหรับเอกสารที่สามารถใช้ยืนยันรายได้เสริมต่างๆ ขอยกตัวอย่างดังนี้ครับ - รายได้เสริมจากการรับจ้างอิสระ เช่น สอนพิเศษตามโรงเรียนสอนพิเศษ รับจ้างทำบัญชี ขายประกัน ซึ่งบริษัทที่จ้างเราทำงานจะต้องมีการออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 50 ทวิให้ครับ โดยจะแสดงประเภทรายได้ และจำนวนเงินที่เราได้รับจากการจ้างทำงาน รวมทั้งรายการเดินบัญชี (Statement) ที่บริษัทโอนเงินเข้าบัญชีเป็นค่าจ้างให้กับเรา หรือหากรับเป็นเงินสดก็ควรนำเงินเข้าบัญชีก่อนแล้วค่อยถอนออกมาใช้จ่ายครับ - รายได้เสริมจากกิจการส่วนตัว เช่น ทำเบเกอรี่ขาย ขายเสื้อผ้า ขายของออนไลน์ เอกสารแสดงรายได้ของการทำกิจการส่วนตัวที่ต้องใช้คือ รายการเดินบัญชี (Statement) ครับ หากใครที่ได้รับเงินจากลูกค้าเป็นเงินสดควรนำเงินเข้าบัญชีก่อนแล้วค่อยถอนออกมาใช้จ่ายตามลักษณะของกิจการ เช่น ได้รับเงินทุกวัน ก็ควรนำเงินเข้าบัญชีทุกวัน นอกจากนี้ต้องมีเอกสารที่แสดงได้อย่างชัดเจนว่าเราทำกิจการอะไร เช่น ทะเบียนการค้า หรือทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ สำหรับการขายออนไลน์ หรือสัญญาเช่าพื้นที่ขายของ เป็นต้น - รายได้เสริมจากการให้เช่า เช่น ให้เช่าบ้าน คอนโด หรือที่ดินเปล่า เอกสารแสดงรายได้สำหรับการให้เช่า ได้แก่ สัญญาเช่าและรายการเดินบัญชี (Statement) ที่ผู้เช่าโอนเข้าบัญชีให้กับเรา การมีรายได้เพิ่มนอกเหนือจากงานประจำจะช่วยแบ่งเบาภาระผ่อนหนี้บ้านในแต่ละเดือนให้กับเราได้ครับ ดังนั้นหากใครที่มีรายได้มาจากการทำอาชีพเสริมต่างๆ ก็ควรทำอย่างจริงจัง ไม่ย่อท้อกับอุปสรรคหรือปัญหาใดๆ จะได้มีเงินเพิ่มไว้ผ่อนบ้านได้อย่างสบายๆ  
สูตรเด็ดเคล็ดลับ ลงทุนคอนโด การรันตีผลตอบแทน

สูตรเด็ดเคล็ดลับ ลงทุนคอนโด การรันตีผลตอบแทน

“คอนโด การันตีผลตอบแทน” หรือที่ในต่างประเทศนิยมเรียกว่า “Sales & Leaseback Stratgies (คอนโดที่ขายโดยใช้กลยุทธ์ขายแล้วเช่ากลับคืน) ” ในแง่การลงทุนแล้วจัดว่าน่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง คอนโดแบบนี้มักพบเจอได้ไม่ยากตามหัวเมืองท่องเที่ยวต่างๆ อาทิ พัทยา หัวหิน ภูเก็ต และเชียงใหม่ รวมถึงในกรุงเทพฯ ด้วย จุดน่าสนใจของคอนโดฯ ลักษณะนี้อยู่ตรงที่ผู้ลงทุนที่ซื้อเป็นเจ้าของจะมีสิทธิได้รับผลตอบแทนจากการที่โครงการรับเอาไปบริหารจัดการปล่อยเช่า โดยอาจทำเป็นโรงแรมหรือเซอร์วิสอพาร์ตเมนต์ให้แทน โดยผลตอบแทนนี้จะได้รับแน่ๆ ตามข้อตกลงหรือสัญญาที่การันตีเอาไว้ ซึ่งปกติมักจ่ายออกมาในรูปของค่าเช่านั่นเอง ไม่เพียงเท่านั้นการถือครองคอนโดฯ แบบนี้ยังช่วยให้เจ้าของไม่มีภาระจ่ายค่าส่วนกลางในระหว่างการถือครอง ขณะเดียวกันก็ยังมีโอกาสกลับมาใช้ประโยชน์คอนโดฯ เพื่อพักผ่อนในยามที่ต้องการได้ด้วย และข้อดีสุดท้ายก็คือเมื่อคิดขายเมื่อไร คอนโดฯ แบบนี้ก็มักขายได้ง่ายและได้ราคากว่าคอนโดฯ ทั่วไป แม้คอนโดฯ ประเภทนี้จะน่าจูงใจอย่างยิ่งต่อการลงทุนซื้อ แต่ความสำเร็จสำคัญในการลงทุนจะเกิดขึ้นได้หรือไม่ล้วนขึ้นอยู่กับคุณลักษณะและทำเลที่ตั้งของตัวคอนโดฯ เป็นสำคัญ ซึ่งจะต้องเหมาะกับการนำมาใช้หาผลประโยชน์ในการปล่อยเช่าด้วย หากไม่เป็นเช่นนั้นแล้ว คนที่ลงทุนก็มีโอกาสประสบปัญหาต่างๆ ได้เช่นกัน อาทิ ทำสัญญากันแล้วไม่อาจ ดำเนินการอย่างต่อเนื่องในระยะยาว หรือบางครั้งอาจเลวร้ายถึงชั้นมีการผิดสัญญาเกขึ้นได้ ในบ้านเราเมื่อไม่นานมานี้ได้เคยมีผู้ทำการวิจัยและศึกษาคอนโดฯ การันตีผลตอบแทนเอาไว้ โดยพบว่าปัจจัยกำหนดความสำเร็จในการซื้อคอนโดฯ แบบขายแล้วเช่ากลับคืนมาบริหาร โดยทั่วไปจะขึ้นอยู่กับ 7 ปัจจัยสำคัญดังนี้ วิวทิวทัศน์และบรรยากาศ เป็นปัจจัยสำคัญอันดับต้นๆ ที่จะช่วยให้คอนโดฯ ปล่อยเช่าง่าย ได้ราคาและประสบความสำเร็จ ทำเลที่ตั้ง คอนโดฯ ที่ทำเลที่ตั้งที่ดีกว่า เมื่อนำห้องชุดไปบริหารเป็นโรงแรมก็จะทำให้มีลูกค้ามาใช้บริการมากกว่าตามไปด้วย การเพิ่มมูลค่าคอนโดฯ หลังลงทุนไป ต้องเน้นเลือกคอนโดฯ เฉพาะที่อยู่ในทำเลที่มีแนวโน้มเพิ่มค่าได้ดีเท่านั้น คือต้องเป็นพื้นที่ที่มีแนวโน้มเจริญขึ้นได้เรื่อยๆ และไม่มีปัญหาการแข่งขันทั้งในปัจจุบันและในอนาคต การการันตีค่าเช่า ควรต้องมีระบุในสัญญาไว้อย่างชัดเจนเป็นลายลักษรณ์อักษร ผลตอบแทนและความคุ้มค่าในการลงทุน ต้องพิจารณาดูว่าผลตอบแทนที่คาดว่าจะเกิดขึ้นมากน้อยแค่ไหนและคุ้มค่าเพียงใด ปกติเกณฑ์ที่ใช้วัดความคุ้มค่าควรต้องสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ซื้อคอนโดฯถัวเฉลี่ยอย่างน้อย 1% ความปลอดภัยในโครงการ โดยทั่วไปคอนโดฯ ที่มีปัญหาเรื่องความปลอดภัยมักส่งผลลบตามมา ทำให้คอนโดฯนั้น มีปัญหาในการปล่อยเช่าในอนาคต การมีสิทธิได้กลับมาพักที่โครงการ ถือเป็นส่วนที่ทำให้ผู้ซื้อเกิดความภาคภูมิใจและรู้สึกดีที่ได้เป็นเจ้าของคอนโดฯ เพราะมีโอกาส มาใช้พักผ่อนเมื่อต้องการได้
ก่อสร้างหรือดัดแปลงบ้าน ต้องมีระยะร่น

ก่อสร้างหรือดัดแปลงบ้าน ต้องมีระยะร่น

กฎหมายควบคุมอาคารมีข้อกำหนดให้อาคารทุกประเภทต้อง “ร่นแนวอาคาร” จากแนวเขตที่ระบุไว้ นอกเหนือจากการต้องเว้นให้มีที่ว่างสำหรับอาคารทุกหลังที่ก่อสร้างหรือดัดแปลงแล้ว กฎหมายควบคุมอาคารยังมีข้อกำหนดให้อาคารทุกประเภทต้อง ร่นแนวอาคาร  จากแนวเขตที่ระบุไว้ ไม่ว่าจะเป็นการต้องร่นแนวอาคารจากเขตถนนสาธารณะ หรือร่นจากเขตทางน้ำสาธารณะ บางข้อกำหนดให้ ผนังหรือระเบียงต้องห่าง  จากแนวเขตที่ดิน หรือต้องห่างจากผนังอาคารของผู้อื่นที่อยู่ข้างเคียง หรือต้องห่างจากผนังหรือระเบียงอาคารอื่นที่อยู่ในที่ดินเจ้าของเดียวกัน หลายคนเรียกข้อกำหนดนี้ว่า “ระยะร่น” และ “ระยะห่าง” ของอาคาร ก่อนดูในรายละเอียดของระยะร่น ท่านเจ้าของบ้านควรต้องทราบแนวปฏิบัติของเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับการร่นแนวอาคาร เพราะกฎหมายควบคุมอาคารกำหนดให้ต้อง ร่นแนวอาคาร  แต่ไม่ได้เขียนให้ชัดว่า แนวอาคาร  ที่ว่านั้นหมายถึงแนวไหนของตัวอาคาร หากไม่ใช่ข้อกำหนดที่ระบุชัดว่าเป็นผนังหรือระเบียง หลายคนเลยอาจคิดว่าแนวอาคารอาจหมายถึง แนวชายคา แนวกันสาด หรือแนวใดๆของอาคารยื่นออกไปมากที่สุด ปัจจุบันแนวทางปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นโดยทั่วไปแล้วจะพิจารณาแนวอาคาร โดยถือเอาแนวผนังอาคาร หรือแนวเสาของอาคารที่อยู่ริมด้านนอกสุด แต่จะไม่รวมถึงกันสาด ชายคา หรือหลังคา  (อ้างอิงจากหนังสือตอบข้อหารือของกรมโยธาธิการและผังเมือง ที่ มท.0710/10880 และที่ มท.0710/13604) โดยระยะร่นทั้งหลายก็ให้วัดจากแนวเขตที่กฎหมายกำหนด เช่น กึ่งกลางถนนสาธารณะไปจนถึงผนังอาคารหรือเสาที่อยู่ริมนอกสุดของอาคารที่จะ ก่อสร้างหรือดัดแปลงนั่นเอง อย่างไรก็ตามเนื่องจากเป็นเพียงแนวปฏิบัติ ดังนั้นในอนาคตก็อาจมีแนวปฏิบัติที่แตกต่างออกไป ระยะร่นอาคารจากแนวเขตที่กฎหมายกำหนดที่สำคัญ คือ ระยะร่นจากถนนสาธารณะ  เนื่อง เพราะถนนเป็นที่สาธารณะ ซึ่งอาคารส่วนใหญ่มักจะก่อสร้างใกล้ถนน และต้องก่อสร้างไม่ให้ส่วนใดของอาคารล้ำเข้าไปในที่สาธารณะ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตเป็นกรณีไป ระยะร่นจากถนนสาธารณะ กฎหมายควบคุมอาคารกำหนดให้อาคารทุกประเภทที่ก่อสร้างหรือดัดแปลงต้องมีระยะร่นจากถนนสาธารณะ โดยระยะที่ต้องร่นแนวอาคารขึ้นกับว่าถนนสาธารณะที่อยู่ใกล้นั้นมีความกว้างเท่าใด และขึ้นกับว่าอาคารที่ก่อสร้างหรือดัดแปลงนั้นเป็นอาคารประเภทใด โดยกฎหมายเขียนเรื่องนี้อยู่ในข้อเดียวกัน แต่เขียนเป็นสองวรรค (แต่ละวรรคก็คือแต่ละย่อหน้านั่นเอง เพียงแต่กฎหมายในระดับรอง เช่นกฎกระทรวงหรือข้อบัญญัติ ใช้คำเรียกว่า “วรรค” ในที่นี้จึงขอเขียนคำว่าวรรคนำหน้าเพื่อให้อ้างอิงได้) - วรรคแรก ถนนสาธารณะที่มีความกว้างเขตทางน้อยกว่า 6 เมตร ให้ร่นแนวอาคารห่างจากกึ่งกลางถนนสาธารณะไม่น้อยกว่า 3 เมตร กรณีนี้ไม่ได้ระบุประเภทอาคารจึงบังคับใช้กับทุกอาคาร - วรรคสอง สำหรับอาคารที่สูงเกิน 2 ชั้นหรือเกิน 8 เมตร ห้องแถว ตึกแถว บ้านแถว อาคารพาณิชย์ โรงงาน อาคารสาธารณะ ป้ายหรือสิ่งที่สร้างขึ้นสำหรับติดหรือตั้งป้าย หรือคลังสินค้า ที่ก่อสร้างสร้างใกล้ถนนสาธารณะที่มีความกว้างต่างๆ ให้มี ระยะร่นดังนี้ 1. ถนนสาธารณะที่มีความกว้างน้อยกว่า 10 เมตร ให้ร่นแนวอาคารห่างจากกึ่งกลางถนนสาธารณะไม่น้อยกว่า 6 เมตร 2. ถนนสาธารณะที่มีความกว้างตั้งแต่ 10 เมตรขึ้นไป แต่ไม่เกิน20 เมตร ให้ ร่นแนวอาคารห่างจากเขตถนนสาธารณะไม่น้อยกว่า 1 ใน 10 ของความกว้างของเขตถนนนั้นๆ เช่น ถ้าถนนกว้าง 12 เมตร แนวอาคารต้องร่นห่างจากเขตถนนเท่ากับ 1.20 เมตร 3. ถนนสาธารณะที่มีความกว้างตั้งแต่ 20 เมตรขึ้นไป ให้ร่นแนวอาคารห่างจากเขตถนนสาธารณะไม่น้อยกว่า 2 เมตร หลายคนอ่านแล้วอาจคิดต่อว่าในวรรคสอง (1) กำหนดความกว้างของถนนสาธารณะว่ากว้างน้อยกว่า 10 เมตร แปลว่า ถ้าถนนกว้างเพียง 4 เมตร จะเข้าเกณฑ์ทั้งวรรคแรกและวรรคสอง (1) แล้วจะใช้ระยะร่นตามวรรคไหน เพราะวรรคแรกให้ร่นเพียง 3 เมตรแต่วรรคสอง (1) ให้ร่นถึง 6 เมตร แต่ให้สังเกตว่าในวรรคสองนั้นมีกำหนดประเภทของอาคารไว้ด้วย หมายความว่าอาคารตามที่ระบุเท่านั้นจึงใช้ตัวเลขระยะร่นตามวรรคสอง (1) นอกจากนั้นจึงให้ใช้ตัวเลขระยะร่นตามวรรคแรก ซึ่งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัดก็มีระบุไว้แตกต่างกัน ดังนั้น ถ้าสร้างบ้านใกล้ถนนสาธารณะที่กว้างน้อยกว่า 6 เมตร จะใช้ระยะร่นตามวรรคแรกก็ต่อเมื่อ บ้านนั้นสูงไม่เกิน 2 ชั้นหรือไม่เกิน 8 เมตร กรณีสร้างอยู่ต่างจังหวัด แต่หากเป็นบ้านที่สร้างในกรุงเทพฯ จะต้องเป็นบ้านที่สูงไม่เกิน 3 ชั้นหรือไม่เกิน 10 เมตร และพื้นที่ไม่เกิน 1,000 ตารางเมตร โดยบ้านที่สร้างนั้นต้องไม่ใช่ห้องแถว ตึกแถวหรือบ้านแถว นอกเหนือจากนี้ต้องใช้ตัวเลขระยะร่นตามวรรคสอง (1) ตัวอย่างเช่น ถ้าก่อสร้างบ้านพักอาศัยสูง 4 ชั้นใกล้กับถนนสาธารณะที่กว้างน้อยกว่า 6 เมตร จะต้องร่นแนวอาคารจากกึ่งกลางถนนสาธารณะไม่น้อยกว่า 6 เมตร ประเด็นสำคัญที่ท่านเจ้าของบ้านต้องทราบไว้ คือ หากท่านหรือใครก็ตามเป็นเจ้าของที่ดินในต่างจังหวัด แล้วยินยอมให้คนทั่วไปใช้ที่ดินนั้นเป็นทางผ่าน โดยจะเก็บค่าผ่านทางหรือไม่ก็ตาม กฎหมายควบคุมอาคารจะถือว่าที่ดินนั้นเข้าข่ายเป็น “ถนนสาธารณะ” ทันที เมื่อเป็นถนนสาธารณะ อาคารที่สร้างใกล้กับที่ดินที่ยอมให้คนทั่วไปผ่านนั้น ก็ต้องก่อสร้างให้มีระยะร่นเช่นเดียวกับที่ต้องร่นจากถนนสาธารณะ สำหรับในเขตกรุงเทพฯ ที่ดินที่ยินยอมให้คนทั่วไปใช้เป็นทางผ่าน หากมีความยาวไม่เกิน 500 เมตรหรือมีการปักป้ายหวงห้ามกรรมสิทธิ์ไว้ จะถือว่าเป็น “ทางส่วนบุคคล” ไม่ถือเป็นถนนสาธารณะ แต่หากไม่เข้าสองเงื่อนไขนี้จะเข้าข่ายเป็นถนนสาธารณะตามกฎหมายควบคุมอาคารและก็จะต้องมีระยะร่นเช่นกัน เรื่องของกฎหมายควบคุมอาคารเกี่ยวกับระยะร่นหรือระยะห่างอาคารนั้น มีข้อกำหนดอยู่ค่อนข้างมาก จะค่อยๆ นำแต่ละกรณีมาเขียนให้ทราบต่อไป หมายเหตุ : ท่านที่ต้องการอ้างอิงข้อกฎหมายในเรื่องระยะร่นจากถนนสาธารณะ หากเป็นที่ดินในต่างจังหวัดให้ดูกฎกระทรวงฉบับที่ 55 (พ.ศ. 2543) ข้อ 41 หากเป็นที่ดินในกรุงเทพฯ ให้ดูข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องควบคุมอาคาร พ.ศ. 2544 ข้อ 50   ขอขอบคุณแหล่งที่มาจาก คมกฤช ชูเกียรติมั่น ผู้อำนวยการสถาบันสถาปนิกสยาม สมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์
เงื่อนไขดีๆ เมื่อคิดรีไฟแนนซ์

เงื่อนไขดีๆ เมื่อคิดรีไฟแนนซ์

ในช่วงแรกของการผ่อนชำระหนี้บ้านธนาคารมักให้อัตราดอกเบี้ยคงที่ หรืออัตราดอกเบี้ยโปรโมชั่น เพื่อจูงใจให้เราตัดสินใจกู้ซื้อบ้านกับธนาคารนั้นๆ เชื่อว่าหลายคนเมื่อผ่อนชำระหนี้บ้านไปสักระยะหนึ่ง โดยผ่านพ้นอัตราดอกเบี้ยโปรโมชั่นไปแล้ว ก็มักคิดที่จะหาดอกเบี้ยถูกด้วยการรีไฟแนนซ์ไปธนาคารอื่น แต่รู้หรือไม่ว่าการรีไฟแนนซ์เราสามารถเปลี่ยนเงื่อนไขบางอย่างเพื่อให้เป็นประโยชน์มากขึ้น เพิ่มผู้กู้ สร้างความสามารถในการชำระหนี้ เมื่อมีความจำเป็นที่ต้องขอสินเชื่อเพิ่ม เช่น จำเป็นต้องกู้ซื้อรถยนต์ไปใช้ในการทำงานหรือทำธุรกิจ หรือต้องการกู้เงินเพื่อใช้ศึกษาต่อ แต่ความสามารถในการชำระหนี้ไม่เพียงพอ เพราะติดภาระผ่อนหนี้บ้านอยู่ การรีไฟแนนซ์สามารถเพิ่มความสามารถในการชำระหนี้ด้วยการเพิ่มผู้กู้ที่เป็นเครือญาติได้ครับ ซึ่งหลังจากที่เรารีไฟแนนซ์โดยเปลี่ยนจากการกู้คนเดียวเป็นการกู้ร่วมแล้ว ในการขอสินเชื่อครั้งต่อไป ภาระผ่อนที่ธนาคารนำไปพิจารณาก็จะหารตามจำนวนผู้กู้ร่วมแทนที่จะคิดเต็มจำนวน ทั้งนี้การกู้ร่วมช่วยให้เรามีโอกาสกู้ผ่านได้ก็จริง แต่ควรให้ความสำคัญกับการผ่อนชำระหนี้ด้วยครับว่า มีรายได้เพียงพอสำหรับการชำระหนี้หรือไม่ ในกรณีที่เราต้องเป็นผู้จ่ายชำระหนี้เพียงคนเดียวซึ่งอาจจะส่งผลกระทบให้เกิดปัญหาทางด้านการเงินได้ หากมีรายได้ตามที่แจ้งกับธนาคารเท่านั้น แต่ถ้ามีรายได้อื่นๆ ที่ธนาคารไม่ได้นำมารวม เช่น รายได้จากอาชีพเสริม ก็จะช่วยให้เรามีรายได้เพิ่มในการจ่ายชำระหนี้ได้เป็นปกติ และเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาการผ่อนชำระหนี้ แนะนำว่าควรมีภาระผ่อนต่อเดือนไม่เกิน 30% ของรายได้ครับ เช่น มีรายได้เดือนละ 40,000 บาท ควรมีภาระผ่อนต่อเดือนไม่เกิน 12,000 บาท เพิ่มระยะเวลาผ่อน ลดภาระค่าใช้จ่าย หากใครที่ทำสัญญาวงเงินกู้กับธนาคารเดิมไว้ โดยเลือกระยะเวลาการผ่อนชำระสั้นกว่าที่ธนาคารกำหนด เช่น มีสิทธิที่จะกู้ได้สูงสุดถึง 30 ปี แต่เลือกกู้เพียงแค่ 15 ปี ทำให้ยอดผ่อนชำระต่อเดือนเป็นจำนวนเงินที่สูง หากต่อมาปัจจุบันมีภาระค่าใช้จ่ายอย่างอื่นเพิ่มมากขึ้น ทำให้ไม่สามารถผ่อนหนี้บ้านได้ตามปกติ การรีไฟแนนซ์สามารถเลือกยืดระยะเวลาการผ่อนครั้งใหม่ ให้ผ่อนได้ยาวขึ้น ซึ่งจะทำให้ค่าผ่อนต่อเดือนลดลง โดยระยะเวลาผ่อนที่เลือกใหม่จะต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่ธนาคารแห่งใหม่กำหนด อย่างไรก็ตามการเพิ่มระยะเวลาในการผ่อนชำระถึงแม้จะช่วยให้ภาระผ่อนต่อเดือนน้อยลงก็จริง แต่ต้องไม่ลืมว่าการผ่อนชำระด้วยจำนวนเงินที่น้อยลงจะส่งผลให้ภาระดอกเบี้ยจ่ายโดยรวมสูงขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับการผ่อนสั้นด้วยจำนวนเงินที่มากกว่า เพิ่มวงเงิน มีเงินไว้ใช้จ่ายยามจำเป็น สำหรับวงเงินกู้ของการรีไฟแนนซ์ไม่จำเป็นต้องเท่ากับภาระหนี้คงเหลือจากธนาคารเดิมเสมอไปครับ ถ้าหากใครที่กำลังคิดจะรีไฟแนนซ์ และมีความจำเป็นต้องใช้เงิน เช่น อยากซ่อมแซมบ้าน ก็สามารถขอวงเงินเพิ่มให้สูงกว่าภาระหนี้คงเหลือได้ ซึ่งวงเงินทั้งหมดจะต้องไม่เกินมูลค่าหลักประกันตามเงื่อนไขที่ธนาคารกำหนด เช่น วงเงินกู้สูงสุดไม่เกิน 80% ของราคาประเมิน หรือบางธนาคารอาจกำหนดเงื่อนไขการได้เพิ่มวงเงิน เช่น สามารถขอเพิ่มได้ไม่เกิน 5 ล้านบาท เป็นต้น แต่การขอวงเงินเพิ่มธนาคารจะต้องพิจารณาความสามารถในการชำระหนี้ของผู้กู้ประกอบด้วยครับว่า รายได้เมื่อเปรียบเทียบกับภาระหนี้แล้วเพียงพอ สามารถผ่อนชำระหนี้ได้ตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารกำหนดหรือไม่
การเลือกอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อ และการเลือกธนาคาร

การเลือกอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อ และการเลือกธนาคาร

ปัจจุบันหลายธนาคารต่างก็ออกสินเชื่อรูปแบบต่างๆ รวมทั้งเงื่อนไข และอัตราดอกเบี้ยที่น่าจูงใจมากมาย พอถึงเวลาที่เราจะต้องตัดสินใจเลือกกู้สินเชื่อเพื่อซื้อบ้านหรือคอนโดซักครั้ง เลยเกิดอาการตาลาย มึนกับข้อมูลต่างๆ จนทำให้ตัดสินใจเลือกไม่ได้ หรือถ้าเลือกได้ก็อาจจไม่ใช่เงื่อนไขที่ดีที่สุดตามใจเรา วันนี้เราเลยนำหลักเกณฑ์ง่ายๆ ในการตัดสินใจเลือกธนาคาร และอัตราดอกเบี้ยสำหรับการกู้สินเชื่อมาให้เป็นข้อมูลเพื่อช่วยให้การตัดสินใจง่ายขึ้น ก่อนอื่นเรามาดูกันที่อัตราดอกเบี้ยสินเชื่อ กันก่อน โดยหลักๆ แล้ว มักจะมีให้เลือกกัน 3 แบบคือ 1. สินเชื่อดอกเบี้ยแบบลอยตัว (Floating Rate Loan) คือ อัตราดอกเบี้ยที่คิด ณ วันที่ทำสัญญาที่ผู้กู้ตกลงกู้ ซึ่งทางธนาคารสามารถปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้นลงได้ตามสถานการณ์ตลาดเงิน หรือต้นทุนทางการเงินของธนาคาร โดยการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยอาจจะกระทบต่อเงินงวดในแต่ละเดือนซึ่งอาจจะเพิ่มสูงขึ้น แต่ข้อดีคือ ถ้าอัตราดอกเบี้ยลดลง เงินงวดที่เคยจ่ายก็จะนำไปตัดเงินต้นได้เยอะขึ้น ทำให้เราสามารถผ่อนได้หมดเร็วขึ้น 2. สินเชื่อดอกเบี้ยแบบคงที่ (Fixed Rate Loan) คือ อัตราเงินกู้ที่กำหนดเอาไว้ให้คงที่ เช่นเดียวกันกับจำนวนเงินที่ต้องชำระในแต่ละงวดก็จะเท่ากันตลอดระยะเวลากู้ ซึ่งมักจะเป็นแบบดอกเบี้ยคงที่ระยะสั้น 1-2 ปี ข้อดีก็คือ เราสามารถวางแผนการเงินได้ เพราะเงินค่างวดไม่เปลี่ยนแปลง 3. สินเชื่อดอกเบี้ยแบบผสม (Rollover Mortgage Loan) คือ การกู้เงินที่ใช้อัตราดอกเบี้ยคงที่ในระยะหนึ่ง แต่เมื้อพ้นกำหนดไปแล้ว จะเปลี่ยนเป็นอัตราดอกเบี้ยแบบลอยตัวแทน ซึ่งสินเชื่อแบบนี้จะมีอัตราดอกเบี้ยในช่วงแรกค่อนข้างถูก ทำให้ผู้กู้สามารถโปะเงินงวดเพื่อลดเงินต้นได้เร็วขึ้น ทั้งนี้ผู้กู้ควรคำนวนอัตราดอกเบี้ยรวมทั้งหมดให้รอบคอบเสียก่อนด้วย ** ทั้งนี้ หลังจากวันที่ 1 สิงหาคม 2556 เป็นต้นมา ทางธนาคารแห่งประเทศไทยได้กำหนดให้สถาบันการเงินต้องแสดงอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา (Effective Interest Rate - EIR) เพื่อช่วยเป็นแนวทางในการเปรียบเทียบดอกเบี้ยจากโปรโมชั่น และอัตราดอกเบี้ยจริง แต่อย่างไรก็ดี ผู้กู้ก็ควรสังเกตุฐานการคำนวนของแต่ละธนาคารด้วยว่าใช้วงเงินและระยะเวลาผ่อนชำระเท่าไหร่ในการคำนวน   พอได้อัตราดอกเบี้ยที่ต้องการแล้ว การเลือกธนาคาร ก็เป็นสิ่งสำคัญไม่แพ้กันนะครับ ซึ่งเราควรพิจารณาจาก อัตราดอกเบี้ย ที่ต้องจ่าย วงเงินสินเชื่อ ที่ทางธนาคารให้ครอบคลุมกับวงเงินที่ต้องการหรือไม่ ระยะเวลาในการผ่อนชำระค่างวด ให้ดูว่าเหมาะสมกับกำลังการจ่ายของเราด้วยหรือไม่ ค่าใช้จ่ายอื่นๆ ในการขอสินเชื่อ เช่น ค่าธรรมเนียมสินเชื่อ ค่าจดจำนอง เป็นต้น ความรวดเร็วในการอนุมัติสินเชื่อ เงื่อนไขอื่นๆ เกี่ยวกับการชำระเงินงวด ค่าธรรมเนียม หรือค่าปรับต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นกรณีจ่ายค่างวดล่าช้า หรือผิดนัด เงื่อนไขในการรีไฟแนนซ์ หรือการปิดบัญชี มีค่าปรับหรือค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง ความสะดวกในการใช้บริการ เช่น มีจุดจ่ายเงินหลายแห่ง หรือธนาคารสาขาอยู่ใกล้บ้าน เป็นต้น โดยปกติแล้ว เรามักจะให้ความสำคัญกับอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำที่สุด แต่ก็ไม่ควรลืมพิจารณาปัจจัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องด้วย ตามหัวข้อในข้างต้น เพื่อให้ได้ธนาคารที่มีทางเลือกที่ดีที่สุดสำหรับเรา ที่สำคัญต้องไม่ลืมดูเงื่อนไขต่างๆ ให้ครบถ้วนทุกข้อด้วยนะครับ เพื่อจะได้ไม่มีข้อเสียเปรียบธนาคารในภายในหลังยังไงล่ะครับ  
ผู้ซื้ออาคารชุดต้องพิทักษ์สิทธิตนเอง

ผู้ซื้ออาคารชุดต้องพิทักษ์สิทธิตนเอง

ผู้ซื้อที่ได้รับโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดในอาคารชุดตามสัญญา และเข้าอยู่อาศัยในห้องชุดที่เป็นทรัพย์ส่วนบุคคลของตน และเป็นผู้ใช้สิทธิในห้องชุดแต่เพียงผู้เดียว ซึ่งเจ้าของห้องชุดแต่ละห้องมีกรรมสิทธิ์ร่วมในทรัพย์ส่วนกลาง ดังนั้นแต่ละคนมีหน้าที่ร่วมกันออกค่าใช้จ่ายเพื่อบำรุงดูแลรักษาทรัพย์สินส่วนกลางได้แก่ (1) ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการบริการส่วนรวม เช่น ค่าจ้างยามรักษาความปลอดภัย ค่าจ้างเก็บขยะ ค่าจ้างดูแลรักษาความสะอาด (2) ค่าใช้จ่ายที่เกิดจากเครื่องมือเครื่องใช้ที่มีไว้เพื่อประโยชน์ร่วมกัน เช่น ค่ากระแสไฟฟ้าสำหรับลิฟท์ส่วนกลาง (3) ค่าภาษีอากร เช่น ค่าภาษีอากรที่จะต้องชำระในนามของอาคารชุดและเกิดขึ้นจากการดูแลรักษา และการดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์ส่วนกลางเท่านั้น (4) ค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการดูแลรักษาทรัพย์ส่วนกลาง (5) ค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์ส่วนกลาง เช่น เงินเดือนของผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุด ค่าเครื่องใช้และอุปกรณ์ต่างๆ ในสำนักงานนิติบุคคลอาคารชุด เป็นต้น ทรัพย์ส่วนกลางของอาคารชุด ได้แก่ (1) ที่ดินแปลงที่ปลูกสร้างอาคารชุด (2) ที่ดินที่มีไว้เพื่อใช้ประโยชน์ร่วมกันเช่น ที่ดินสวนพักผ่อนร่วมกัน ที่ลานจอดรถยนต์ร่วมกัน (3) โครงสร้างและสิ่งก่อสร้างเพื่อความมั่นคงและป้องกันความเสียหายต่ออาคารชุด เช่นรากฐาน เสาเข็ม หลังคา ฝาผนังด้านนอกโดยรอบ เขื่อนกั้นน้ำ (4)อาคารหรือส่วนของอาคารและเครื่องอุปกรณ์ที่มีไว้ใช้ประโยชน์ร่วมกัน เช่นอาคารที่เก็บรถยนต์ร่วมกัน ระเบียงที่มีไว้เพื่อประโยชน์ร่วมกัน (5) เครื่องมือและเครื่องใช้ที่มีไว้เพื่อใช้หรือเพื่อประโยชน์ร่วมกัน เช่น เครื่องดับเพลิงส่วนรวม เครื่องดูดฝุ่นส่วนรวม (6) สถานที่มีไว้เพื่อบริการส่วนรวม เช่น สระว่ายน้ำ ห้องรับแขกร่วมกัน (7) ทรัพย์สินอื่นที่มีไว้เพื่อใช้ประโยชน์ร่วมกัน เช่น ลิฟท์ เป็นต้น นิติบุคคลอาคารชุด เป็นองค์กรจัดการดูแลทรัพย์สินส่วนกลางของอาคารชุด โดยมีคณะกรรมการควบคุมการจัดการนิติบุคคลอาคารชุด เป็นผู้บริหารจัดการดูแลทรัพย์ส่วนกลางในนามของนิติบุคคลอาคารชุด ในการดำเนินการจะเป็นไปตามข้อบังคับของนิติบุคคลอาคารชุด ผู้ดำเนินการแทนนิติบุคคลอาคารชุดที่เรียกว่า ผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุดนั้นจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลก็ได้ ซึ่งเจ้าของห้องชุดแต่ละห้องต้องจัดให้มีคณะกรรมการเข้าควบคุมการจัดการนิติบุคคลอาคารชุดด้วยตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด กำหนดให้เจ้าของห้องชุดแต่ละห้อง มีหน้าที่ร่วมกันตรวจสอบการบริหารงานของนิติบุคคลอาคารชุดว่าเป็นไปตามข้อบังคับของนิติบุคคลอาคารชุดหรือไม่หากพบว่าผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุดปฏิบัติหน้าที่บกพร่อง ไม่มีประสิทธิภาพ ก่อให้เกิดปัญหาอาคารชุดดังกล่าว ตามกฎหมายกำหนดให้เจ้าของห้องชุดมีสิทธิเรียกประชุมเจ้าของห้องชุด เพื่อให้ผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุดชี้แจงข้อเท็จจริง หากผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุดไม่ชี้แจงหรือปฏิบัติหน้าที่บกพร่อง ก่อให้เกิดความเสียหาย ก็ให้เจ้าของห้องชุดนำเรื่องเสนอที่ประชุมเจ้าของร่วมทั้งหมด เพื่อมีมติถอดถอนผู้จัดการได้ ทั้งนี้โดยได้รับคะแนนเสียงเกินกึ่งหนึ่งของจำนวนคะแนนเสียงของเจ้าของร่วมทั้งหมดนั้น
รับโอนบ้าน คอนโดฯ ทั้งที่ยังมีจุดแก้ไข จะกลายเป็นไก่รองบ่อน

รับโอนบ้าน คอนโดฯ ทั้งที่ยังมีจุดแก้ไข จะกลายเป็นไก่รองบ่อน

เรื่องหนึ่งที่อยากจะเตือนผู้ซื้อบ้าน หรือคอนโดทั้งหลายให้จำขึ้นใจไว้เลยว่า หากบ้านหรือคอนโดที่เราซื้อไว้ ยังมีจุดที่ต้องแก้ไขในระหว่างขั้นตอนการตรวจรับ เราจะต้องแน่ใจว่าทางโครงการได้ทำการแก้ไขให้เราครบถ้วนเรียบร้อยตามที่เราพอใจ ก่อนจะเซ็นรับโอนบ้านหรือคอนโด ไม่ว่าจะเป็นจุดบกพร่องเหล่านั้นจะเล็กน้อยแค่ไหนก็ตาม บางทีปัญหาเล็กๆ น้อยๆ อย่าง งานเก็บสีเลอะเทอะตามขอบประตู หน้าต่าง, ประตูปิดไม่สนิท หรือหน้าต่างฝืดเปิด-ปิดลำบาก และแม้กระทั่งพวกปัญหารอยรั่วซึมนิดๆ หน่อยๆ ในห้องน้ำที่เราอาจจะคิดว่าไม่น่าจะมีอะไรวุ่นวาย อาจจะกลายมาเป็นปัญหาใหญ่ที่ต้องตามแก้กันยาวนานให้เราปวดหัวซ้ำแล้วซ้ำอีก ยิ่งถ้าเราโชคร้ายไปเจอกับโครงการที่ไร้ความรับผิดอบ ไม่ใส่ใจไม่ทำตามสัญญาทั้งๆ ที่รับปากกันไว้แล้ว หรือกว่าจะมาแก้ให้ก็ต้องโทรตามช่างกันถี่ยิบ หรือตามจิกกันเป็นเดือนๆ จาก และอาจจะต้องเสียเงินเพิ่มเติมถ้าปัญหาเหล่านั้นเรื้อรังต้องซ่อมต้องแก้กันจนเกินระยะเวลาประกัน บางครั้งทางโครงการอาจจะพยายามยื่นข้อเสนออันน่าจูงใจเพื่อให้เราเซ็นรับมอบไปก่อน แล้วค่อยมาแก้ปัญหา (ที่คิดว่า) เล็กๆ น้อยๆ พวกนี้ทีหลัง โดยสัญญากันปากเปล่าไม่มีหนังสืออะไรรับรอง ถ้าหากเราเกิดเห็นแก่ข้อเสนอหรือของแถมเพิ่มเติม เช่น บัตรกำนัลเฟอร์นิเจอร์, ส่วนลดค่าโอน หรือออกค่าใช้จ่ายในการโอนให้ทั้งหมด ยอมเซ็นรับมอบโอนบ้านหรือคอนโดไปแล้ว ทางโครงการอาจตุกติกไม่ยอมเข้ามาซ่อมแก้ไขให้ตามที่สัญญา ดึงเวลาให้ยืดเยื้อยาวนานออกไปอีก ทีนี้ก็เท่ากับเราตกหลุมพลางที่ถูกหลอกล่อไว้ด้วยสิ่งจูงใจเพียงเล็กน้อย เข้าตำรา " เสียน้อยเสียยาก เสียมากเสียง่าย" แล้วต้องกลายมาเสียสุขภาพจิต หรือเสียเงินจ้างช่างมาซ่อมเองเสียอีก....จะได้ไม่คุ้มเสียเอานะครับ จำไว้!!!
เรื่องต้องรู้ก่อนกู้ร่วมซื้อบ้าน

เรื่องต้องรู้ก่อนกู้ร่วมซื้อบ้าน

“กู้ร่วมซื้อบ้าน เป็นทางออกหนึ่งของผู้ที่กู้คนเดียวอาจผ่านยาก หรือต้องการวงเงินกู้บ้านที่สูงขึ้น” “อยากมีบ้านเป็นของตัวเองสักหลังหนึ่ง” เชื่อว่าเป็นความฝันที่ทุกคนมีเหมือนๆ กัน ซึ่งปัจจุบันเราสามารถเป็นเจ้าของบ้านได้ง่ายขึ้น ไม่ต้องรอเก็บเป็นเงินก้อนใหญ่ก็สามารถกู้เงินซื้อบ้านได้ โดยผู้ที่มีฐานรายได้สูงอาจทำเรื่องกู้บ้านเพียงคนเดียวก็ผ่าน แต่ผู้ที่มีรายได้ไม่สูงนัก หรือมีภาระค่าใช้จ่ายด้านอื่นมากทำให้มีความสามารถในการผ่อนชำระค่าบ้านลดลง หากยังต้องการซื้อบ้าน เพื่อให้สามารถกู้ผ่าน ก็จะต้องหาผู้กู้ร่วม ทั้งนี้ การกู้ร่วมนั้นมีประเด็นสำคัญๆ ที่ควรคำนึงถึง 3 เรื่องด้วยกัน ผู้กู้ร่วมซื้อบ้าน ... เป็นใครได้บ้าง แม้ว่าการกู้ร่วมจะเป็นทางออกที่ช่วยให้การกู้เงินซื้อบ้านง่ายขึ้น และได้วงเงินกู้เพิ่มขึ้น แต่ใช่ว่าจะเลือกใครมาเป็นผู้กู้ร่วมก็ได้ หรือกู้ร่วมกี่คนก็ได้ เนื่องจากธนาคารจะมีเงื่อนไขของการกู้ร่วมไว้ โดยทั่วไปกำหนดว่าผู้กู้ร่วม ต้องมีสายโลหิตเดียวกัน หรือมีความสัมพันธ์ทางเครือญาติ เช่น - ผู้ที่มีนามสกุลเดียวกัน อาจเป็นสามีภรรยา พี่น้อง พ่อ/แม่กับลูก รวมทั้งเป็นญาติกันโดยมีนามสกุลเดียวกัน - พี่น้องท้องเดียวกันแต่คนละนามสกุลก็สามารถกู้ร่วมกันได้ เพียงแต่แสดงทะเบียนบ้านหรือสูติบัตรระบุว่าพ่อแม่เดียวกัน - กรณีสมรสไม่จดทะเบียนก็แสดงหลักฐาน เช่น ภาพถ่ายงานแต่ง การ์ดแต่ง หรือการมีบุตรร่วมกัน แต่กรณีผู้ที่เป็นแฟนกันเฉยๆ โดยทั่วไปมักจะกู้ร่วมไม่ได้ นอกจากนี้ ธนาคารอาจกำหนดจำนวนผู้กู้ร่วมไว้ เช่น กู้ร่วมได้ไม่เกิน 2 คน เป็นต้น สำหรับการอนุมัติสินเชื่อบ้านของการกู้ร่วม จะพิจารณารายได้ของทุกคน หักภาระค่าใช้จ่ายของทุกคนแล้วดูว่ามีความสามารถที่จะผ่อนได้ต่อเดือนเท่าไรแล้วพิจารณาวงเงินสินเชื่อกู้บ้าน กรรมสิทธิ์ในอสังหาฯ ... เป็นของคนเดียว หรือ หลายคน แน่นอนว่ากรณีของการกู้เดี่ยว เมื่อผ่อนชำระสินเชื่อบ้านหมดแล้ว กรรมสิทธ์ในบ้านหลังนั้นจะเป็นของผู้กู้ สำหรับกรณีของการกู้ร่วมนั้น โดยทั่วไป การกู้ร่วมซื้อบ้านทำได้ 2 แบบ แบบแรกคือ การใส่ชื่อคนเดียวเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ แต่เวลากู้ยืมใช้หลายคนมากู้ร่วม และแบบที่สอง การกู้ร่วมโดยใส่ชื่อผู้กู้ร่วมทุกคนเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมกัน ในทางปฏิบัติ ส่วนใหญ่แล้วผู้กู้จะเลือกแบบที่สอง เพราะผู้กู้ทุกคนมีกรรมสิทธิ์ในบ้านหรืออสังหาฯ นั้นร่วมกัน แต่การถือกรรมสิทธิ์ร่วม มีเรื่องที่ต้องคำนึงคือ หากต้องการขายบ้านหรืออสังหาฯ นั้น จะทำได้ก็ต่อเมื่อได้รับการยินยอมจากผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วมทุกคน หรือแม้กระทั่ง ต้องการยกกรรมสิทธิ์ในบ้านหรืออสังหาฯ ให้เป็นของบุคคลใดบุคคลหนึ่งที่อยู่ในชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วมนั้น กรมที่ดินจะถือว่า มีการซื้อขายบ้านหรืออสังหาฯ เกิดขึ้น ทำให้มีค่าธรรมเนียมต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียมการโอน ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย รวมถึงค่าอากรแสตมป์หรือภาษีธุรกิจเฉพาะเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย สิทธิประโยชน์ด้านภาษีจากดอกเบี้ยจ่าย ... ลดหย่อนอย่างไร ดอกเบี้ยจ่ายของเงินกู้บ้านสามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริงแต่สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาทต่อปีภาษี ดอกเบี้ยจ่ายของเงินกู้บ้านสามารถดูได้จากหนังสือรับรองดอกเบี้ยจ่ายที่สถาบันการเงินจะส่งมาให้ผู้กู้ตอนต้นปี กรณีของการกู้เดี่ยว การใช้สิทธิลดหย่อนภาษีจากดอกเบี้ยบ้านดังกล่าวจะเป็นของผู้กู้เพียงผู้เดียว จ่ายดอกเบี้ยทั้งปีเท่าไร ก็ลดหย่อนได้เท่านั้น แต่ไม่เกิน 100,000 บาท เช่น ดอกเบี้ยจ่ายทั้งปี 80,000 บาท ก็สามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ 80,000 บาท แต่หากดอกเบี้ยจ่ายทั้งปีอยู่ที่ 120,000 บาท ก็ใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้เพียง 100,000 บาท สำหรับกรณีของการกู้ร่วม ให้หารเฉลี่ยตามจำนวนผู้กู้ กรณีกู้ร่วมสองคนก็คือหารครึ่งนั่นเอง สมมติจ่ายดอกเบี้ยทั้งปี 80,000 บาท สามารถใช้สิทธิลดหย่อนได้คนละ 40,000 บาท จะแบ่งเองว่าฝ่ายหนึ่งมากกว่าอีกฝ่ายหนึ่งไม่ได้ ทั้งนี้ มีข้อควรทราบเกี่ยวกับการใช้สิทธิลดหย่อนดอกเบี้ยสำหรับการกู้ร่วมคือ สมมติว่ากู้ร่วมกันสองคน ปรากฏว่าทั้งปีจ่ายดอกเบี้ยไป 140,000 บาท ไม่ใช่ว่า จะสามารถหารครึ่งแล้วใช้สิทธิลดหย่อนภาษีคนละ 70,000 บาท เนื่องจากสัญญาเงินกู้บ้านนั้นจะใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้เพียง 100,000 บาท นั่นคือ จะสามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้สูงสุดคนละ 50,000 บาท อย่างไรก็ตาม ในกรณีนี้จะสังเกตได้ว่าแต่ละฝ่ายยังใช้สิทธิลดหย่อนภาษีจากดอกเบี้ยไม่เต็มสิทธิ 100,000 บาท ดังนั้น หากมีดอกเบี้ยเงินกู้อสังหาฯ อื่น เช่น อาจกู้ไว้เองหรือกู้ร่วมกับคนอื่น ก็ยังสามารถนำมาใช้สิทธิลดหย่อนได้เพิ่มเติมสูงสุด 50,000 บาท กรณีที่ต้องการซื้อบ้านหรือที่อยู่อาศัย แต่กู้คนเดียวไม่ผ่านหรือรายได้ไม่พอ การกู้ร่วมเป็นทางออกหนึ่งของปัญหาที่นิยมเลือกใช้ ทั้งนี้ ก่อนจะกู้ซื้อบ้าน ต้องคำนวณความสามารถในการผ่อนชำระ ซึ่งตามเกณฑ์คือยอดผ่อนชำระไม่เกิน 40% ของรายได้ และควรมีเงินก้อนเผื่อเป็นค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นด้วย เช่น ค่าธรรมเนียมการจดจำนอง 1% ของวงเงินกู้ ค่าธรรมเนียมการโอน คิดที่ 2% ของราคาประเมิน (ขึ้นอยู่กับว่าผู้ซื้อ หรือผู้ขายจะเป็นผู้ออก หรือแบ่งครึ่งกัน) รวมถึงค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่ตามมา ไม่ว่าจะเป็นค่าส่วนกลางกรณีซื้อบ้านในโครงการหมู่บ้านจัดสรร หรือค่าเฟอร์นิเจอร์ ค่าตกแต่งบ้านต่างๆ จะต้องวางแผนการเงินให้รอบคอบ เพื่อชีวิตจะได้มีความสุข
ยื่นขออนุญาตก่อสร้างบ้านให้ผ่านก็สร้างบ้านได้

ยื่นขออนุญาตก่อสร้างบ้านให้ผ่านก็สร้างบ้านได้

การจะปลูกสร้างบ้านซักหลัก เราจะต้องยื่นคำขออนุญาตก่อสร้างตามที่กฏหมายกำหนดซะก่อน ซึ่งขั้นตอนการยื่นเรื่องขออนุญาตก่อสร้างนั้น เจ้าบ้านอาจจะรู้สึกกังวลใจ กลัวว่าจะมีขั้นตอนยุ่งยากสารพัด แต่ในความเป็นจริงแล้วถ้าเรามีการเตรียมพร้อมเป็นอย่างดี มีเอกสารแบบบ้านจากสถาปนิกและวิศวกรครบถ้วน ก็จะช่วยให้ผ่านขั้นตอนการยื่นขออนุญาตไปได้ และไม่มีปัญหาก่อนลงมือสร้างตามมาทีหลัง ซึ่งครั้งนี้เรามีขั้นตอนในการเตรียมตัวเพื่อยื่นขออนุญาตมาให้ทราบกันครับ เตรียมเอกสารให้พร้อม สถาปนิกและวิศวกรจะเป็นผู้เตรียมเอกสารเกี่ยวกับแบบทั้งหมดให้เรา ทั้งแบบก่อสร้าง และรายการคำนวณต่างๆ รวมทั้งเอกสารหลักฐานการประกอบวิชาชีพของผู้ออกแบบ ซึ่งในส่วนของเจ้าบ้านจะต้องเตรียมเอกสารส่วนตัว เช่น สำเนาบัตรประชาชน สำเนาทะเบียนบ้าน และสำเนาโฉนดที่ดิน เป็นต้น โดยเราสามารถตรวจรายการเอกสารที่ต้องเตรียมได้ที่ กองควบคุมอาคารสำนักการโยธา หรือ เว็บไซต์ตามแต่ละสำนักงานเขต ยื่นขออนุญาต เมื่อเอกสารพร้อมแล้ว เจ้าบ้านสามารถยื่นขออนุญาตก่อสร้างได้ที่เจ้าหน้าที่ฝ่ายโยธาสำนักงานเขต หรือ อบต. ที่รับผิดชอบพื้นที่ที่กำลังจะก่อสร้างบ้าน ซึ่งขั้นตอนนี้จะมีค่าธรรมเนียมเล็กน้อย เช่น ค่าอากรแสตมป์ ค่าเอกสาร เป็นต้น หลังจากนั้น เจ้าหน้าที่จะตรวจสอบเอกสารเบื้องต้นว่าครบถ้วนหรือไม่ แล้วนัดวันเข้าตรวจที่ดิน หากมีการแก้ไขแบบที่ยื่นขอฯ เจ้าจะหน้าที่แจ้งเจ้าบ้านให้ทราบเพื่อให้สถาปนิกนำไปแก้ไขให้ถูกต้อง ระหว่างรอใบอนุญาตก่อสร้าง เจ้าหน้าที่โยธาจะตรวจสอบแบบที่จะก่อสร้างทั้งหมดให้ถูกต้องตามกฏหมายควบคุมอาคาร และดูว่าการออกแบบทั้งหมดสอดคล้องกัน มีข้อมูลทั้งหมดถูกต้องไม่มีส่วนใดขัดแย้งกัน ซึ่งขั้นตอนนี้จะใช้เวลาประมาณ 30 วัน แต่ทั้งนี้ระยะเวลาในการตรวจสอบก็จะขึ้นอยู่กับปริมาณงานที่ต้องแก้ไขด้วย ได้ใบอนุญาตก่อสร้าง เมื่อได้รับใบอนุญาตก่อสร้างมาแล้ว เจ้าบ้านควรถ่ายสำเนาแล้วแจกจ่ายให้กับ สถาปนิก วิศวกร และผู้รับเหมาไว้อย่างน้อยคนละหนึ่งชุด เพื่อเก็บไว้เป็นหลักฐานในการก่อสร้างบ้าน ซึ่งปกติแล้วใบอนุญาตนี้จะมีอายุ 1 ปี นับจากวันอนุมัติที่ระบุในใบอนุญาต โดยเจ้าบ้านจะต้องก่อสร้างบ้านให้เสร็๗ทันเวลาที่กำหนด แต่ถ้าไม่สามารถสร้างเสร็จได้ทันเวลา จะต้องทำการขอต่ออายุเพิ่ม ขั้นตอนการขออนุญาตจริงๆ แล้วไม่ได้ยุ่งยากอะไรเลย และเป็นเรื่องที่เจ้าบ้านทุกคนควรทำ เพื่อเป็นข้อยืนยันว่าบ้านของเรานั้น มีการก่อสร้างที่ถูกต้อง มั่นคง แข็งแรง และสามารถอยู่อาศัยได้อย่างปลอดภัยด้วย แต่ทั้งนี้เจ้าบ้านทุกคนก็ควรจะให้ความใส่ในขั้นตอนการก่อสร้าง และดูแลงานก่อสร้างด้วย เพื่อให้ตรงตามแบบที่ยื่นขออนุญาตไว้ จะไม่ได้มีส่งผลกระทบจนต้องเกิดข้อร้องเรียน หรือทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายอื่นๆ ตามมาในภายหลัง  
OLYMPUS DIGITAL CAMERA

OLYMPUS DIGITAL CAMERA

เราเชื่อว่าหลายๆ คนอยากจะสร้างความมั่นคงในชีวิต หน้าที่การงาน การเงิน รวมถึงมีครอบครัว โดยเฉพาะคนที่ทำงานเก็บเงินมาได้สักระยะหนึ่ง ย่อมอยากที่จะซื้อบ้านสักหลังเป็นของตัวเอง เพราะหลายๆ คนคิดว่าบ้านคือวิมานของครอบครัว แต่บอกเลยว่าถ้าผ่อนไม่ไหว ก็จะกลายเป็นวิมาร(ผจญ) ทันที วันนี้เราจึงจะมาช่วยแบ่งปันความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการกู้ซื้อบ้าน รวมถึงการจัดสรรเรื่องการเงินเพื่อให้ครอบครัวมีความมั่นคงแข็งแรง มาดูกันดีกว่าครับ ว่าต้องทำยังไงกันบ้าง วางแผนผ่อนบ้านให้มีสุข หลายคนต้องการจะซื้อบ้าน แต่ลืมวางแผนหรือหาข้อมูลเพิ่มเติมให้ครบถ้วนเสียก่อน ไหนจะเรื่องภาระต่างๆ ที่ต้องรับผิดชอบ รายได้กับรายจ่ายไม่สัมพันธ์กัน อาจจะส่งผลให้มีเงินไม่เพียงพอต่อการผ่อนชำระสินเชื่อบ้าน ทำให้ภาระหนี้สินเพิ่มมากขึ้น และที่เลวร้ายที่สุดคือ ทำให้บ้านที่เราตั้งใจหาเงินมาทั้งชีวิต อาจจะถูกยึดได้!!! ดังนั้น เราควรจะวางแผนให้รอบคอบ และเตรียมความในด้านต่างๆ ซึ่งเรื่องแรกที่ควรรู้ก็คือ การวางแผนการเงิน จะมีเรื่องอะไรบ้างไปดูกันเลยครับ   การประเมินและประมาณเงินที่ต้องผ่อน เราควรเก็บเงินออมเตรียมไว้เพื่อเป็นเงินดาวน์ประมาณ 10-15% ของราคาบ้าน จะได้ไม่เป็นภาระหนักเกินไปในการผ่อนแต่ละงวด โดยทั่วไปธนาคารมักจะอนุมัติให้วงเงินผ่นอต่องวดประมาณ 30-40% ของรายได้ของผู้กู้ เข้าใจเรื่องรูปแบบอัตราดอกเบี้ยเงินกู้สินเชื่อบ้าน โดยทั่วไปธนาคารจะมีอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อบ้าน 2 รูปแบบ ซึ่งเราควรเลือกให้เหมาะสมกับความสามารถในการผ่อนของเรา ทั้งแบบคงที่ และแบบลอยตัว หรือส่วนใหญ่ทางธนาคารจะผสมผสานการคิดดอกเบี้ยทั้ง 2 แบบเข้าด้วยกัน ลองเข้าไปดูรายละเอียดเรื่องดอกเบี้ยเกี่ยวกับบ้านได้ที่  ดอกเบี้ย-เกี่ยวกับบ้าน หาสินเชื่อประเภทที่เหมาะกับตัวเอง ปัจจุบันนี้ ทางธนาคารมักมีสินเชื่อให้เลือกหลากหลายประเภท แบ่งแยกไปตามกลุ่มลูกค้า สาขาอาชีพ หรือความต้องการของลูกค้า รวมถึงบริการอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น สินเชื่อเพื่อการต่อเติมบ้าน หรือตกแต่งบ้าน ซึ่งเราควรวางแผน และทำการเปรียบเทียบข้อมูลสินเชื่อของแต่ละธนาคารให้ดีเพื่อให้ได้ข้อเสนอที่ดีและเหมาะสมกับเรามากที่สุด ผ่อนบ้านอย่างมีชั้นเชิง แน่นอนว่าใครก็ต้องการจะปลดภาระการผ่อนบ้านให้หมดเร็วๆ และต้องการจะประหยัดดอกเบี้ยให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ซึ่งมีวิธีที่สามารถทำได้ทั้ง การจ่ายเงินต่อเดือนเพิ่ม และการทำการรีไฟแนนซ์บ้าน ก็จะช่วยให้เรามีโอกาสผ่อนดอกเบี้ยได้ถูกลง รวมถึงการโปะเงินก้อนลงไปคราวละมากๆ ก็จะช่วยลดระยะเวลาในการผ่อนบ้านได้ด้วยเช่นกันยกตัวอย่างเช่น ถ้าเราเลือกจ่ายค่าผ่อนบ้านเพิ่มขึ้นอีก 10% ต่อเดือน เราจะมีโอกาสผ่อนบ้านหมดเร็วขึ้นประมาณ 7 ปีเลยทีเดียว รวมถึงค่าใช้จ่ายของดอกเบี้ยบ้านก็สามารถนำไปลดหย่อยภาษีได้มาถึง 1 แสนบ้านด้วย ถ้าเราวางแผนให้ดีๆ ก็จะช่วยให้เราลดหย่อนภาษีได้มากขึ้น เป็นการแปรภาษีมาเป็นเงินออม สร้างความมั่นคงและมั่งคั่งได้อีกทาง   วางแผนป้องกันความเสี่ยง แบบมีเงินเหลือใช้ การวางแผน และป้องกันความเสี่ยง ก็เป็นเรื่องที่สำคัญไม่แพ้กัน เพื่อให้ไม่ต้องนำเงินเก็บออกมาใช้หมดในยามฉุกเฉิน และไม่ต้องมีหนี้สินก้อนโดให้เป็นภาระไปถึงคนอื่นๆ ในครอบครัวด้วย ซึ่งวิธีง่ายๆ ที่เราสามารถทำได้ในการกำจัดความเสี่ยงก็คือ การเตรียมเงินฉุกเฉินให้เพียงพอ การทำประกันชีวิต หรือการซื้อกองทุน RMF ไว้เป็นเงินออมยามเกษียณ แถมยังสามารถนำไปลดหย่อยภาษีได้อีกทาง แค่นี้เราก็จะสามารถสร้างความมั่นคงให้กับชีวิตให้มากขึ้น แม้ว่าจะมีภาระจากการผ่อนบ้านก็ตาม
OLYMPUS DIGITAL CAMERA

OLYMPUS DIGITAL CAMERA

ใครๆ ก็อยากมีบ้านในฝันจริงมั้ยครับ แต่ก็ไม่ใช่ทุกคนที่จะสามารถซื้อบ้านได้ด้วยเงินสดก้อนโต กว่าจะรอเก็บเล็กผสมน้อยให้ได้จำนวนเงินก้อนใหญ่ ราคาบ้านก็พุ่งสูงจนเกินเอื้อมอีกแล้ว ดังนั้นการกู้สินเชื่อเผื่อซื้อบ้านจึงเป็นทางเลือกที่จะทำให้ฝันของเราเป็นจริงได้มากที่สุดใช่มั้ยล่ะครับ แต่หลายคนก็ยังกังวลว่าจะกู้ไม่ผ่าน เราจึงมีเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยที่จะมาช่วยให้คุณยื่นขอกู้สินเชื่อแล้วมีโอกาสผ่านเกณฑ์มากขึ้น เลือกจ่ายเงินดาวน์ก้อนใหญ่ โดยปกติจำนวนเงินดาวน์มักจะคิดเป็น 20% ของราคาบ้าน ดังนั้นธนาคารจะปล่อยสินเชื่อให้เราอีกประมาณ 80% ดังนั้นถ้าหากว่าเรามีแนวโน้มไม่สามารถผ่านเกณฑ์การพิจารณาเนื่องจาก รายได้น้อยกว่าความสามารถในการผ่อนชำระ ทางออกที่จะสามารถช่วยเราได้ก็คือ การจ่ายเงินดาวน์ในจำนวนที่มากขึ้น เช่น เพิ่มเป็น 30% หรือ 40% ของราคาบ้าน ทำให้ค่างวดในการผ่อนชำระแต่ละเดือนลดลง แค่นี้โอกาสที่จะกู้ผ่านก็มากขึ้นแล้วครับ หาผู้กู้ร่วม ทางออกที่จะช่วยเพิ่มความสามารถในการผ่อน ถ้าหากมีเงินเก็บไม่มากพอที่จะจ่ายเงินดาวน์ก้อนโต ดังนั้นทางเลือกสำหรับคนที่ต้องการดาวน์น้อยผ่อนสบาย ก็คือ หาผู้กู้ร่วม โดยที่ผู้กู้ร่วมจะต้องมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกัน ไม่ว่าจะเป็น พ่อ แม่ พี่ น้อง คู่สมรส หรือแม้แต่ลูกก็ได้ เพราะอย่างไรแล้ว เมื่อรวมรายได้ของผู้กู้ร่วม ก็จะทำให้ความสามารถในการผ่อนชำระเพิ่มมากกว่าการเลือกผ่อนคนเดียวจริงมั้ยครับ แต่ทั้งนี้คนทั้งคู่ก็ต้องไม่มีภาระผ่อนชำระอื่นๆ ค้างอยู่นะครับ ไม่อย่างนั้นทางธนาคารก็จะมองว่า ความสามารถในการชำระหนี้ของคุณน้อยลง เลือกขนาดบ้านให้เล็กลง หากบ้านในฝันมีราคาที่สูงจนเกินไป และไม่สามารถใช้ทางออกในข้อข้างต้นได้ การเลือกบ้านที่มีขนาดเล็กลง หรือเลือกบ้านที่มีราคาลดลงกว่าที่ฝันไว้ ก็พอจะทำให้ชีวิตเราสบายมาขึ้น ไม่ต้องสร้างภาระหนี้ก้อนใหญ่เกินตัว รวมถึงไม่ต้องรบกวนคนอื่นให้มากู้ร่วมด้วยนะครับ นอกจากเรื่องการกู้สินเชื่อเพื่อซื้อบ้านแล้ว อย่าลืมเตรียมเงินไว้สำหรับ ค่าโอนกรรมสิทธิ์ ค่ามัดจำมิเตอร์น้ำและไฟฟ้า ค่าส่วนกลางที่ต้องจ่ายล่วงหน้าตามที่โครงการกำหนด รวมถึงค่าตกแต่งบ้านอีก และที่สำคัญก็คือ การกันเงินสำรองไว้เผื่อกรณีฉุกเฉินอีกก้อนด้วยนะครับ ถึงเวลาจำเป็นขึ้นมาจะได้ไม่เดือดร้อนมากจนเกินไป... การมีบ้านในฝันเป็นเรื่องดี แต่ก็อย่าให้เป็นภาระหนักจนต้องเป็นทุกข์นะครับ
4 ปัจจัย ผ่อนบ้านให้สบายกระเป๋า

4 ปัจจัย ผ่อนบ้านให้สบายกระเป๋า

4 ปัจจัย ผ่อนบ้านให้สบายกระเป๋า เงินดาวน์มีเท่าไรตามหลักเกณฑ์ของธนาคารแห่งประเทศไทย กำหนดให้ผู้ที่จะซื้อบ้านต้องมีเงินดาวน์ไม่น้อยกว่า 10% ของราคาบ้าน ดังนั้น หากจะซื้อบ้านราคาสัก 3 ล้านบาท ต้องมีเงินเก็บเพื่อเป็นเงินดาวน์อย่างน้อย 3 แสนบาท การเก็บออมเงินดาวน์อาจจะเก็บออมในรูปของกองทุนรวมตลาดเงิน เพื่อให้มีสภาพคล่องและมีผลตอบแทนที่ดีกว่าเงินฝากออมทรัพย์ทั่วไป   ยอดผ่อนชำระต่อเดือนปกติแล้วภาระการผ่อนรายเดือนที่ไม่หนักจนเกินไป หรือไม่ควรเกิน 40% ของรายได้ก่อนภาษี หากรายได้คนเดียวผ่อนไม่ไหว สามารถกู้ร่วมได้ ทั้งนี้ ผู้กู้ร่วมต้องมีความสัมพันธ์ทางสายเลือด หรือเป็นสามีภรรยา ปกติทั่วไป หากขอสินเชื่อ จำนวน 1 ล้านบาท ระยะเวลาผ่อน 30 ปี อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 7% ต่อปี จะมียอดผ่อนชำระประมาณ 8,000 บาทต่อเดือน จึงควรลองพิจารณาปัจจัยดังที่ได้กล่าวในเบื้องต้นว่า จะผ่อนบ้านอย่างไรให้สบายกระเป๋ากัน   ระยะเวลาในการผ่อนชำระปกติจะผ่อนสูงสุดไม่เกิน 30 ปี และเมื่อรวมกับอายุของผู้กู้แล้ว ต้องไม่เกิน 60-65 ปี (ช่วงอายุเกษียณ) ระยะเวลาผ่อนสั้นยอดผ่อนชำระรายเดือนจะมากกว่าระยะเวลาผ่อนยาว หากมีความสามารถในการผ่อนสูงสามารถเลือกผ่อนสั้นได้เพื่อให้หมดภาระได้เร็วและประหยัดค่าดอกเบี้ยจ่าย   รูปแบบอัตราดอกเบี้ยสถาบันการเงินมักมีทางเลือกให้กับผู้ขอสินเชื่อ ดังนั้นควรเลือกอัตราดอกเบี้ยแบบคงที่ เมื่ออัตราดอกเบี้ยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และควรเลือกอัตราดอกเบี้ยแบบลอยตัว เมื่ออัตราดอกเบี้ยมีแนวโน้มลดลง   นอกจากนี้ อย่าลืมพิจารณาเรื่องการวางแผนภาษี เนื่องจากสิทธิสำหรับผู้ที่ซื้อบ้านสามารถนำดอกเบี้ยจ่ายมาลดหย่อนได้สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท เป็นการบรรเทาค่าใช้จ่ายทางภาษีได้อีกทางหนึ่ง (เพิ่มเงินในกระเป๋ามากขึ้น) ซึ่งชื่อเจ้าของกรรมสิทธิ์ในบ้านหรือคอนโดฯ ก็เป็นเรื่องสำคัญในการวางแผนภาษีด้วย ที่มา : http://k-expert.askkbank.com/
9 จุดต้องตรวจก่อนรับโอนบ้าน

9 จุดต้องตรวจก่อนรับโอนบ้าน

9 จุดต้องตรวจ ก่อนรับโอนบ้าน ใกล้จะเป็นเจ้าของบ้านเต็มทีแล้ว อยากจะอยู่บ้านใหม่เต็มแก่ แต่ก่อนรับโอนบ้าน ต้องอย่าลืมว่าควรตรวจสอบบ้านให้ดีก่อน เพื่อไม่ให้มีปัญหา และไม่ต้องปวดหัวหลังจากเข้าไปอยู่ สำหรับการตรวจสอบบ้าน แนะนำให้ตรวจสอบในทุกๆ จุด ทุกพื้นที่ โดยตรวจสอบทั้งภายนอกและภายในบ้าน ดังนี้ ภายนอก - สีทาอาคารบ้าน เป็นสิ่งที่เห็นได้ชัด ดังนั้น สีที่ทาต้องมีความสม่ำเสมอ ไม่มีรอยด่าง สีไม่ลอกหลุดล่อนหรือปูดโปนง่าย - หลังคา ต้องมีสภาพดี สีไม่เก่า แนะนำให้ฉีดน้ำขึ้นหลังคาเพื่อดูว่ามีรอยรั่ว หรือมีแสงลอดผ่านลงมาหรือไม่ ภายใน - ฝ้าเพดาน เป็นสิ่งที่อยู่ส่วนบน แนะนำให้สังเกตดูให้ทั่วทุกห้อง โดยจะต้องได้ระดับเสมอกันตลอดห้อง ไม่เป็นริ้วคลื่น ที่สำคัญต้องดูว่ามีร่องรอยน้ำที่รั่วจากหลังคาหรือไม่ - ผนัง ดูว่ามีรอยแตกลายงาหรือไม่ ซึ่งอาจเกิดจากการแยกตัวของปูนฉาบที่แห้งไม่สม่ำเสมอกัน สามารถให้ช่างมาแก้ไขโดยการโป๊วสี หรือการสกัดปูนฉาบหน้าออกและฉาบทับ ใหม่ รวมถึงสีที่ทาต้องสม่ำเสมอกัน - ประตูหน้าต่าง ดูความเรียบร้อยของอุปกรณ์และบาน ทดลองเปิด-ปิด ว่ามีเสียงรบกวนหรือเกิดการติดขัดหรือไม่ กลอนประตูหน้าต่างต้องสามารถใช้ได้ดี ตำแหน่งของรูกลอนต้อง พอดีกับกลอน ไม่หลวมจนล็อคไม่อยู่ หรือฝืดจนไม่สามารถล็อคได้ - ระบบไฟฟ้า แนะนำให้เปิดไฟทุกดวงในบ้าน ว่าไฟติดทุกดวงหรือไม่ รวมถึงปุ่มเปิดปิดไฟมีปัญหาติดขัดไหม นอกจากนี้ แนะนำให้ทดลองใช้อุปกรณ์ไฟฟ้า เพื่อดูว่าปลั๊กไฟมีกระแสไฟ เข้าเรียบร้อยดีทุกจุด - ระบบน้ำ ทดลองเปิดก๊อกน้ำทุกก๊อก ไม่ว่าจะเป็นอ่างล้างหน้า อ่างล้างจาน รวมถึงดูทางเดินน้ำทิ้งว่าน้ำสามารถไหลได้สะดวกหรือไม่ หากมีน้ำขังแสดงว่าท่ออาจอุดตันหรือท่อเล็กเกินไป - มิเตอร์น้ำ-ไฟ ในกรณีที่ปิดไฟทุกดวง ปิดสวิทช์ไฟ และปิดก๊อกน้ำทุกจุด หากมิเตอร์ยังหมุนอยู่ อาจเกิดจากท่อน้ำรั่ว หรือกระแสไฟฟ้ารั่ว - พื้น ต้องเรียบเสมอกัน ไม่แอ่น โก่งตัว หรือยุบ นอกจากนี้หากเป็นพื้นที่ใช้สำหรับการซักล้าง ต้องดูว่ามีความลาดเอียงเพียงพอให้น้ำสามารถระบายได้สะดวก มีน้ำไม่ระบาย หรือเป็น แอ่งขังอยู่หรือไม่ หากทำการตรวจสอบและให้ช่างมาแก้ไขเรียบร้อยแล้ว ก็สามารถรับโอนบ้านได้อย่างสบายใจ แต่หากตรวจบ้านแล้ว ผู้ขายไม่มาทำการแก้ไขให้ หรือทำการแก้ไขให้ล่าช้าทำให้เราเสียสิทธิในการเข้าอยู่อาศัยบ้าน ผู้ซื้อสามารถปรับผู้ขายเป็นรายวันในอัตราไม่ต่ำกว่า 0.01% ของราคาที่ดินพร้อมบ้าน แต่รวมกันแล้วไม่เกิน 10% ของราคาที่ดินพร้อมบ้าน โดยต้องดูในสัญญาว่ามีเงื่อนไขข้อนี้ระบุด้วยหรือไม่ เช่น มูลค่าบ้านพร้อมที่ดิน 1 ล้านบาท สามารถปรับได้วันละ 100 บาท แต่เมื่อรวมกันแล้วต้องไม่เกิน 100,000 บาท ดังนั้น นอกเหนือจากการตรวจสอบก่อนรับโอนบ้านแล้ว อย่าลืมอ่านสัญญาให้ดีๆ ก่อนด้วยครับ  
3 คำถามฮิตก่อนคิดจะซื้อบ้าน

3 คำถามฮิตก่อนคิดจะซื้อบ้าน

3 คำถามฮิตที่คิดจะซื้อบ้าน “รายได้และภาระหนี้ในปัจจุบัน เป็นปัจจัยหลักที่ธนาคารใช้ในการพิจารณาอนุมัติสินเชื่อบ้าน” “อยากกู้ซื้อบ้านต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง” เชื่อว่าคำถามนี้คงเกิดขึ้นในใจของผู้ที่อยากเป็นเจ้าของบ้าน เพราะเมื่อคิดจะซื้อบ้านและต้องขอสินเชื่อกับธนาคาร มีหลายปัจจัยที่เราต้องพิจารณาและเตรียมตัวให้พร้อม แล้วมีปัจจัยอะไรบ้าง มาดูกันเลยครับ 1. รายได้เท่าไรจะขอสินเชื่อได้ รายได้ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่จะบอกว่า เราสามารถกู้ซื้อบ้านได้หรือไม่ และกู้ได้เป็นเงินเท่าไร ปกติแล้ว รายได้ขั้นต่ำที่จะขอสินเชื่อได้อยู่ที่ประมาณ 10,000-15,000 บาทต่อเดือน ซึ่งจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของแต่ละธนาคาร โดยรายได้มาก ก็จะมีโอกาสขอสินเชื่อได้วงเงินสูงขึ้น ถ้าหากใครเป็นมนุษย์เงินเดือน การขอกู้มักทำได้ไม่ยาก เพราะมีหลักฐานแสดงว่ามีรายได้เข้ามาอย่างสม่ำเสมอ แต่ถ้าเป็นผู้ที่ประกอบอาชีพอิสระ ไม่ได้มีรายได้ประจำ ก็ควรแสดงให้ธนาคารเห็นว่า มีรายได้เข้ามาอย่างสม่ำเสมอ โดยนำรายได้ฝากเข้าธนาคารในวันเดียวกันเป็นประจำทุกเดือน เช่น นำเงิน 20,000 บาท ฝากทุกวันที่ 30 ของทุกเดือน 2. มีภาระผ่อนอยู่แล้ว จะขอสินเชื่อได้หรือไม่ แม้ว่าปัจจุบันจะมีภาระหนี้สินอยู่แล้ว ก็ยังมีโอกาสขอสินเชื่อบ้านได้ครับ ปกติแล้ว ในการพิจารณาสินเชื่อ ธนาคารจะมีเกณฑ์ว่า ภาระหนี้ในแต่ละเดือนต้องไม่เกิน 40-60% ของรายได้ต่อเดือน ในเบื้องต้น เราสามารถเช็คด้วยตัวเองง่ายๆ ว่า จะขอสินเชื่อกับธนาคารผ่านหรือไม่ เช่น ปัจจุบันเงินเดือน 20,000 บาท ถ้าธนาคารตั้งเกณฑ์ไว้ว่า ภาระผ่อนต้องไม่เกิน 40% ของรายได้ ดังนั้น ภาระผ่อนโดยรวมต้องไม่เกิน 8,000 บาท โดยลองคำนวณดูว่า ถ้ามีภาระผ่อนหนี้อื่นอยู่ หากผ่อนบ้านเพิ่มขึ้น จะทำให้ภาระผ่อนโดยรวมสูงเกินเกณฑ์ที่ธนาคารกำหนดหรือไม่ ถ้าไม่เกิน ก็มีโอกาสขอสินเชื่อบ้านได้ สำหรับการคำนวณภาระผ่อนของสินเชื่อบ้าน อาจคำนวณง่ายๆ ได้ว่า สินเชื่อบ้าน 1 ล้านบาท ระยะเวลาผ่อน 30 ปี ยอดผ่อนต่อเดือนจะประมาณ 7,200 บาทครับ 3. ต้องเตรียมเงินสำหรับค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง ในการกู้ซื้อบ้าน นอกจากเงินดาวน์ประมาณ 20% ของราคาบ้านที่เราต้องเตรียมให้พร้อมแล้ว ยังมีค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการกู้ซื้อบ้านที่เราต้องเตรียม โดยสามารถแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ 1. ค่าใช้จ่ายของธนาคาร เช่น ค่าประเมินหลักทรัพย์ (ขึ้นอยู่กับธนาคารกำหนด) ค่าอากรแสตมป์ 0.05% ของวงเงินกู้ และค่าเบี้ยประกันอัคคีภัย (ขึ้นอยู่กับมูลค่าบ้าน) 2. ค่าใช้จ่ายของกรมที่ดิน เช่น ค่าธรรมเนียมการจดจำนอง 1% ของวงเงินกู้ และค่าธรรมเนียมการโอน 2% ของราคาประเมิน ดังนั้น แม้ว่าคุณสมบัติต่างๆ ในด้านรายได้และภาระหนี้จะผ่านเกณฑ์ขอสินเชื่อบ้านกับธนาคารแล้ว ก็ต้องไม่ลืมที่จะเตรียมเงินสำหรับดาวน์บ้านและค่าใช้จ่ายต่างๆ ไว้ด้วยนะคะ เมื่อขอสินเชื่อบ้านผ่านแล้ว สามารถหมดภาระหนี้ได้เร็วขึ้นด้วยการโปะหนี้บ้านหรือชำระหนี้มากกว่ายอดผ่อนที่กำหนดไว้ในแต่ละเดือน เพราะการโปะหนี้จะทำให้ยอดเงินต้นลดลง และประหยัดดอกเบี้ยจ่าย ดังนั้น หากได้รับโบนัสหรือเงินก้อนพิเศษเข้ามา การนำไปโปะหนี้บ้านจะช่วยให้ภาระหนี้บ้านหมดไวขึ้นครับ
6 เหตุผลที่ควรลงทุนอสังหาฯ ก่อนอายุ 30

6 เหตุผลที่ควรลงทุนอสังหาฯ ก่อนอายุ 30

การลงทุนยิ่งเริ่มต้นไว ยิ่งได้ผลตอบแทนเร็ว วัยที่เหมาะกับการลงทุนมากที่สุด คือ วัยที่จบการศึกษาและมีงานมีการทำเรียบร้อย นั่นคือช่วงอายุระหว่าง 25 – 30 ปี แต่ในวัยดังกล่าว มักเป็นวัยที่มีสิ่งยั่วยุสูง เพราะเพิ่งเริ่มต้นสัมผัสอำนาจของเงินและรายได้ด้วยตัวเองรายได้ของคนในวัยนี้จึงมักละลายไปกับสังคม ข้าวของ ท่องเที่ยว จนพบได้บ่อยๆ ว่าคนทำงานช่วง 2 – 3 ปีแรกไม่สามารถเก็บเงินได้ จะเริ่มมีเงินเก็บจริงๆ จังๆ คือเมื่อเริ่มแตะหลัก 30 ไปแล้ว ซึ่งหากเทียบกับคนที่เตรียมตัวไวกว่าก็ถือเป็นการเสียโอกาส หนึ่งในการลงทุนที่น่าสนใจสำหรับคนวัยไม่ถึงเลข 3 คือ การลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งมีข้อดีคือได้ผลตอบแทนในระยะยาว เป็นเงินจำนวนมาก และสม่ำเสมอ การลงทุนอสังหาริมทรัพย์อย่างมีประสิทธิภาพ ควรเริ่มต้นก่อนอายุ 30 ด้วย 6 เหตุผล ต่อไปนี้ เป็นที่อยู่อาศัย คนวัยก่อน 30 หลายคนทำงานไกลบ้าน พักอยู่หอพักและเสียค่าเช่าทุกเดือน ซึ่งจำนวนค่าเช่าที่เสียไป สามารถนำมาผ่อนบ้านหรือคอนโดมิเนียมได้ เป็นการกู้ยืมอัตราดอกเบี้ยต่ำ ระยะยาว ดอกเบี้ยบ้านคือดอกเบี้ยที่น้อยที่สุดกับเงินก้อนใหญ่และมีระยะเวลาในการผ่อนชำระนานที่สุด การผ่อนบ้าน มีระยะเวลาในสัญญาสูงสุดนานถึง 30 ปี และด้วยอัตราดอกเบี้ยที่หลากหลาย การซื้ออสังหาริมทรัพย์จึงไม่ใช่ภาระหนักอึ้ง ปล่อยเช่าได้ (Passive Income) อสังหาริมทรัพย์มีข้อดีที่สุดคือเป็นทรัพย์สินถาวร และมีมูลค่าเพิ่มตลอดเวลา ยิ่งซื้อบ้านและปล่อยเช่าเมื่ออายุน้อยเท่าไหร่ รายรับที่ได้ก็จะมากขึ้นตามไปด้วย เช่น ซื้อคอนโดมิเนียมมา 2 ล้านบาท ปล่อยเช่าเดือนละ 15,000 บาท สินทรัพย์ชิ้นนี้จะทำรายได้ 180,000 บาท/ปี และอาจเพิ่มได้เรื่อยๆตามศักยภาพของทำเล หากปล่อยเช่าเมื่ออายุ 25 เมื่ออายุ 30 จะมีรายได้จากคอนโดมิเนียมแห่งนี้แล้ว 900,000 บาท ทำเงินได้เกือบล้าน เมื่ออายุ 30 น่าสนใจใช่ไหม เป็นมรดก อสังหาริมทรัพย์ถือเป็นสินทรัพย์ประเภทหนึ่งที่คนทุกยุคทุกสมัยเลือกที่จะนำมาเป็นสินทรัพย์ที่สร้างความมั่งคั่งให้กับตัวเองและจุดเด่นอีกจุดหนึ่งคือนำมาเป็นมรดกส่งต่อไปยังรุ่นลูกรุ่นหลานได้ จะเห็นได้จากนักลงทุนที่ประสบความสำเร็จหลายคนที่ได้รับมรดกจากพ่อแม่และบรรพบุรุษทั้งที่ดิน บ้าน โรงแรม เป็นต้น แล้วสามารถนำทรัพย์สินเหล่านั้นมาพัฒนาหรือขายต่อเพื่อก่อร่างสร้างตัวจากอสังหาริมทรัพย์จนประสบความสำเร็จในอนาคตได้ เป็นหลักประกันชั้นเยี่ยม อสังหาริมทรัพย์เป็นหลักประกันที่ทุกสถาบันการเงินอ้าแขนรับหากต้องการเงินลงทุนก้อนใหญ่ อสังหาริมทรัพย์ที่อยู่ในมือจะแปรเป็นเงินได้อย่างง่ายดาย เพราะชีวิตคือความไม่แน่นอน ยิ่งในคนอายุน้อยๆการเปลี่ยนแปลงทางหน้าที่การงานหรือความผิดพลาดทางธุรกิจคือสิ่งที่เกิดขึ้นได้ เป็นการลงทุนที่ชนะเงินเฟ้อ เนื่องจากในปัจจุบันปัญญาเงินเฟ้อเป็นอุปสรรคสำคัญที่จะลดทอนมูลค่าเงินในกระเป๋าของท่านให้มีค่าลดน้อยลง การลงทุนอีกรูปแบบหนึ่งที่สามารถเอาชนะกับปัญหาเงินเฟ้อได้คือการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ บางคนอาจจะบอกว่าก่อนอายุ 30 ปี จะมีเงินพอได้อย่างไรที่จะนำเงินไปลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ที่มีมูลค่าสูงหลักแสนหลักล้าน เพราะคนส่วนใหญ่ในช่วงอายุนี้ทำงานประจำและเป็นมนุษย์เงินเดือนที่มีเงินไม่มากพอที่จะลงทุน ซึ่งปัญหาเหล่านี้ได้ถูกแก้ปัญหาออกไปเนื่องจากนวัตกรรมทางด้านการเงินที่เปลี่ยนแปลงไปสามารถนำอสังหาริมทรัพย์แบ่งออกเป็นหน่วยย่อยๆได้เพื่อให้คนหลายๆคนสามารถเข้ามาถือครองในอสังหาริมทรัพย์ชิ้นนั้นเป็นการถือกรรมสิทธิ์ร่วมกันได้ เราเรียกการลงทุนนี้ว่า การลงทุนในกองทุนรวมอสังริมทรัพย์ ซึ่งไม่จำเป็นต้องลงทุนหลักแสน หลักล้าน เพียงแค่มีเงินลงทุนขึ้นต่ำ 500 บาท ขึ้นไป สามารถลงทุนได้ การลงทุนก่อนอายุ 30 เป็นสิ่งที่ดีและควรทำที่สุดด้วยเหตุผลต่างๆที่กล่าวมาแล้ว แต่คนวัยนี้มักมีข้อจำกัดคือยังไม่สามารถหาทุนมาใช้กับอสังหาริมทรัพย์ได้ เพราะช่วงเวลา 2 – 3 ปีแรก รายได้จากการทำงานไม่ได้มากมายและอำนาจของเงินที่ได้ด้วยตัวเองก็ช่างเย้ายวน ดังนั้นเมื่อเริ่มทำงานใหม่ๆจึงควรตั้งสติให้มั่นและเก็บเงินเก็บทองให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่ออนาคต   ขอขอบคุณข้อมูลจาก : www.terrabkk.com
3 ข้อต้องคิดก่อนรีไฟแนนซ์

3 ข้อต้องคิดก่อนรีไฟแนนซ์

ความฝันของผู้ที่มีบ้านส่วนใหญ่ คือ อยากจะปิดหนี้ไวๆ ยิ่งเมื่อได้รับใบเสร็จจากธนาคารทุกคนคงตกใจ เมื่อเห็นว่าเงินที่ผ่อนชำระเกือบทั้งหมดเป็นส่วนของดอกเบี้ย แทบจะไม่ได้ลดเงินต้นลงเลย จนทำให้รู้สึกว่า “การผ่อนบ้านนั้นช่างยาวนานเสียเหลือเกิน” และเมื่อกู้เงินผ่านมาสักระยะหนึ่ง คนส่วนมากจะคิดถึงการ “รีไฟแนนซ์บ้าน” เพื่อให้ภาระดอกเบี้ยลดลง การรีไฟแนนซ์ คือ การกู้เงินก้อนใหม่ไปชำระหนี้ยอดเดิมที่มีอยู่ ทำให้การผ่อนต่อเดือนน้อยลง โดยขยายระยะเวลากู้ออกไป หรือขอลดอัตราดอกเบี้ยให้ต่ำลงตามโปรโมชั่นที่มีอยู่ของสถาบันการเงิน นอกจากนี้ สถาบันการเงินบางแห่งยังยื่นข้อเสนอเพิ่มเงินกู้ให้อีก หากมูลค่าบ้านในการประเมินครั้งใหม่สูงกว่ายอดหนี้เดิมที่มี อย่างไรก็ดี บทความนี้มี 3 ข้อควรคิด…ก่อนวางแผนรีไฟแนนซ์ ที่ควรพิจารณาให้รอบคอบ ดังนี้ 1.ค่าใช้จ่ายในการรีไฟแนนซ์ แบ่งเป็น - ค่าใช้จ่ายให้กับสถาบันการเงินเดิม ได้แก่ ค่าปรับกรณีไถ่ถอนหลักประกันก่อนกำหนด ซึ่งโดยทั่วไปมักกำหนดระยะเวลาห้ามไถ่ถอนไว้ที่ไม่เกิน 3 ปีนับจากวันเริ่มกู้ และมักมีค่าปรับประมาณ 2-3% ของยอดหนี้ - ค่าใช้จ่ายให้กับสถาบันการเงินใหม่ ได้แก่ ค่าประเมินมูลค่าหลักประกัน ค่าธรรมเนียมการใช้อัตราดอกเบี้ยคงที่ (Fix Rate) และนอกจากนี้ยังมีเบี้ยประกันอัคคีภัย หากกรมธรรม์เดิมยังมีความคุ้มครอง เจ้าของบ้านสามารถแจ้งโอนผลประโยชน์จากสถาบันการเงินเดิม เพื่อยกผลประโยชน์ให้สถาบันการเงินแห่งใหม่ได้ - ค่าใช้จ่ายกรมที่ดิน ได้แก่ ค่าธรรมเนียมการจดจำนอง 1% และค่าอากรแสตมป์ 0.05% ของวงเงินกู้ 2.ผลประโยชน์ที่ได้รับเพิ่มขึ้นจากการรีไฟแนนซ์ เช่น หากมียอดหนี้ที่ต้องการโอน 1 ล้านบาท ปัจจุบันเสียอัตราดอกเบี้ยที่ 7.13% ต่อปี ขณะที่สถาบันการเงินแห่งใหม่เสนออัตราดอกเบี้ยคงที่ 3 ปี เท่ากับ 3.45% ต่อปี คิดเป็นส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยเท่ากับ 3.68% ต่อปี หรือสามารถประหยัดดอกเบี้ยในช่วง 3 ปี ได้ถึง 108,253 บาท (คิดแบบลดต้นลดดอกเบี้ย) 3.เงื่อนไขอื่นๆ จากการรีไฟแนนซ์ เพื่อใช้ในการพิจารณาก่อนการตัดสินใจ - พิจารณาค่าใช้จ่ายอื่นๆ เช่น หากมีโครงการที่จะขายบ้านในช่วง 3 ปีหลังรีไฟแนนซ์ อาจมีค่าปรับในการปิดบัญชีก่อนกำหนดเพิ่มอีก 2-3% ของวงเงินกู้ - พิจารณายอดหนี้และระยะเวลาการผ่อนชำระที่เหลือ เช่น หากยอดหนี้คงเหลือไม่มากนัก ระยะเวลาการผ่อนเหลืออีกแค่ 1-2 ปี หรืออาจมีเงินโบนัสมาปิดหนี้ก่อนกำหนด การรีไฟแนนซ์อาจเป็นทางเลือกที่ได้ไม่คุ้มเสีย - พิจารณาเงื่อนไขอื่น เช่น สถาบันการเงินบางแห่งมีเงื่อนไขให้ผ่อนค่างวดได้ไม่เกิน 2 เท่าของยอดผ่อนปกติ หรือมีค่าปรับกรณีชำระหนี้ก่อนกำหนด เท่ากับว่าหากมีเงินสดก็ไม่สามารถลดยอดหนี้ได้ในระยะเวลาที่ใช้อัตราดอกเบี้ยคงที่ การวางแผนรีไฟแนนซ์จะคุ้มค่าหรือไม่นั้น เจ้าของบ้านควรเปรียบเทียบค่าใช้จ่าย ผลประโยชน์ที่ได้รับเพิ่มขึ้นและเงื่อนไขอื่นๆ ที่เป็นข้อจำกัด ทั้งนี้ ควรพิจารณาถึงปัจจัยที่ไม่ได้เป็นตัวเงินด้วย เช่น ค่าเดินทาง ค่าเสียเวลาในการประเมินหลักประกัน ฯลฯ สำหรับหลายๆ ท่านที่ติดเงื่อนไขการไถ่ถอนหลักประกันก่อนกำหนด ทำให้ต้องเสียค่าปรับเพิ่ม 2-3% หากตัดเงื่อนไขนี้ออกไปแล้ว จะทำให้การรีไฟแนนซ์นั้นได้รับประโยชน์มากขึ้น ดังนั้น การรีไฟแนนซ์ที่ดีควรดูช่วงจังหวะเวลาที่เหมาะสมด้วยจึงจะได้ประโยชน์สูงสุด   ขอขอบคุณข้อมูลจาก K-Expert

1 ... 9 10 11 ... 13