Ryl Info Timeline2

สรุปไทม์ไลน์ 25 ปี มาตรการกระตุ้นอสังหาฯ จากวิกฤตต้มยำกุ้งถึงพิษโควิด-19 (ตอนที่ 2)

มาตรการกระตุ้นอสังหาฯ

ในตอนที่ 1 เราได้เห็นจุดเริ่มต้นของมาตรการกระตุ้นตลาดอสังหาริมทรัพย์ ที่เกิดขึ้นจากวิกฤตเศรษฐกิจปี ​ 2540 หรือวิกฤตต้มยำกุ้ง ที่เกิดฟองสบู่ในธุรกิจอสังหาฯ มีบ้านและคอนโดมิเนียม เหลือเป็นซัพพลายในตลาดจำนวนมาก เพราะผู้ประกอบการได้รับผลกระทบภาวะเศรษฐกิจ และค่าเงินบาทถูกปรับลดลง รวมถึงสถาบันการเงินหลายแห่งที่ปิดตัวลง รัฐบาลจึงต้องออกมาตรการมาพยุงเศรษฐกิจ และกระตุ้นตลาดให้มีอัตราการเติบโต เพราะธุรกิจอสังหาฯ มีบทบาทสำคัญและมีความเกี่ยวโยงกับหลายธุรกิจ

Timeline Real Estate

มาสู่ทศวรรษที่ 2 ของ มาตรการกระตุ้นอสังหาฯ ในช่วงปี 2550-2559 เป็นช่วงเวลา 10 ปีที่ประเทศไทยต้องเผชิญกับเหตุการณ์และการเปลี่ยนแปลงสำคัญ ทั้งผลกระทบจากวิฤตแฮมเบอร์เกอร์ หรือวิฤตสินเชื่อซับไพรม์ในปี 2551 และเหตุการณ์สำคัญในประเทศอย่าง ความไม่มั่นคงทางด้าน​การเมือง  อาทิ เหตุการณ์ชุมนุมทางการเมืองที่แยกราชประสงค์  และเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล ที่ส่งผลต่อธุรกิจอสังหาฯ อย่างมาก และกลายเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญในการพัฒนาหลายอย่างด้วยกัน  โดยตลอดระยะเวลา 10 ปี รัฐบาลได้มีมาตรการกระตุ้นอสังหาฯ ออกมาเป็นระยะ ๆ  ซึ่งมีไทม์ไลน์ดังนี้

Timeline Real Estate 2

ตอนที่ 2 วิกฤตการเมืองไทย สลายการชุมนุมคนเสื้อแดง

ปี 2550

มีการขยายผลของมาตรการ ด้านค่าลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่ประกาศใช้ในปี 2543 ด้วยการปรับเพิ่มวงเงินค่าลดหย่อนในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา จาก 50,000 บาท เป็น 100,000 บาท กรณีดอกเบี้ยเงินกู้ยืม เพื่อซื้อ เช่าซื้อ หรือสร้างที่อยู่อาศัย

ปี 2551

รัฐบาลได้นำเอาออกมาตรการลดค่าจดทะเบียนโอนอสังหาริมทรัพย์ จาก 2% เหลือ 0.01% และค่าจดทะเบียนการจำนอง อสังหาฯ จาก 1% เหลือ 0.01% เพื่อใช้เป็น มาตรการกระตุ้นอสังหาฯ อีกครั้ง โดยไปสิ้นสุดวันที่ 28 มีนาคม 2552  หลังจากนั้นก็ได้ขยายระยะเวลามาตรการดังกล่าว ไปสิ้นสุดวันที่ 28 มีนาคม​ 2553

ปี 2552

มีการนำเอามาตรการด้านการลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดามาใช้อีกครั้ง  ซึ่งครั้งนี้ได้ยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ให้แก่ผู้ที่จ่ายเงินค่าซื้ออสังหาฯ ที่ไม่เคยผ่านการใช้งานมาก่อน โดยกรณีโอนกรรมสิทธิ์อสังหาฯ ดังกล่าวภายในปี 2552 ให้ได้รับการยกเว้นภาษีสำหรับเงินได้ พึงประเมิน เป็นจำนวนเท่ากับมูลค่าที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 300,000 บาท ซึ่งมาตรการตามเสนอ เป็นมาตรการเพิ่มเติมจากที่ให้หักค่าลดหย่อนดอกเบี้ยเงินกู้ยืมซื้อบ้านเป็นจำนวนไม่เกิน 100,000 บาทต่อปี ไปก่อนหน้านี้แล้ว

ปี 2553

เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2553 ครม. ได้เห็นชอบให้กระทรวงมหาดไทยดำเนินการออกประกาศกระทรวงมหาดไทย เพื่อขยายเวลามาตรการลดการจัดเกิดบค่าธรรมเนียมการโอน และค่าจดจดนำนองเหลือ 0.01% จากเดิมตั้งแต่วันที่ 29 มีนาคม 2552 ถึงวันที่ 28 มีนาคม 2553 ไปเป็นสิ้นสุดวันที่ 31 พฤษภาคม 2553 และยังได้ให้กรมที่ดินเปิดให้บริการในวันเสาร์ที่ 29 พฤษภาคม และวันอาทิตย์ที่ 30 พฤษภาคม 2553 ด้วย

 

ต่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2553 ครม.ยังได้มีมติเห็นชอบในหลักการขยายระยะเวลาของมาตรการดังกล่าวไปสุ้นิสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2553 โดยให้กรมที่ดิน ออกกฎหมายเพื่อให้มีผลบังคับต่อไป ซึ่งเป็นผลกระทบจาก เหตุการณ์การชุมนุมทางการเมืองบริเวณแยกราชประสงค์ ของแนวทางร่วมประชาธิปไตยต่อต้าน เผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ตั้งแต่วันที่ 12 มีนาคม 2553 เป็นต้นมา ซึ่งได้ทวีความรุนแรงส่งผลให้ต้องมีการประกาศวันหยุดราชการเป็นกรณีพิเศษ ระหว่างวันที่ 17-21 มีนาคม 2553 ทำให้การดำเนินธุรกรรม การปล่อยสินเชื่อและการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมอสังหาฯ ​ตามมาตรการต้องหยุดชะงักลง  ส่งผลกระทบต่อประชาชนและผู้ประกอบการทั่วไป กระทรวงการคลังจึงเห็นควร ขยายระยะเวลามาตรการดังกล่าวออกไป​

Home Loan 2

ปี 2554

เป็นปีที่กรุงเทพฯ และปริมณฑลเกิดปัญหาน้ำท่วมใหม่ในหลายพื้นที่ ซึ่งส่งผลกระทบต่อบ้านเรือนประชาชน และธุรกิจจำนวนมาก และยังส่งผลต่อการพัฒนาที่อยู่อาศัย ที่หันมาให้ความสำคัญกับปัญหาน้ำท่วม และการพัฒนาโครงการคอนโดเพิ่มมากขึ้นด้วย

 

ส่วนวันที่ 3 พฤษภาคม 2554 ครม.เห็นชอบโครงการบ้านธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) เพื่อที่อยู่อาศัยแห่งแรก หรือโครงการบ้นานหลังแรก ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ โดยกำหนดวงเงินปล่อยกู้ของโครงการ จำนวน 25,000 ล้านบาท โดยโครงการบ้านหลังแรก เป็นโครงการของรัฐบาล ที่มุ่งช่วยเหลือประชาชน ที่ไม่เคยมีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเองให้สามารถซื้อบ้านหลังแรกเป็นของตนเองได้อย่างทั่วถึง ทั้งในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล และในจังหวัดภูมิภาคทั่วประเทศ

 

โดยโครงการดังกล่าว มีเงื่อนไข พิเศษที่มอบให้แก่ผู้กู้หลายประการ เช่น ให้อัตราดอกเบี้ยต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ 0% 2 ปีแรก นอกจากนี้ รัฐบาลช่วยแบ่งเบาภาระค่าธรรมเนียมการโอนครึ่งหนึ่ง จากค่าโอนปกติ 2% ของราคาประเมิน​ และไม่ต้องเสียค่าจดจำนอง 1% โดยธอส.ได้เริ่มเปิดให้ประชาชนยื่นกู้ได้ตั้งแต่ วันที่ 9 พฤษภาคม 2554 เป็นต้นไป ซึ่งโครงการสิ้นสุดในเดือนกันยายน 2555

ปี 2555

หลังจากเกิดน้ำท่วมใหญ่ในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑลในช่วงปี 2554 ที่ผ่านมา รัฐบาลจึงมีมาตรการออกมากระตุ้นธุรกิจอสังหาฯ หลังจากได้รับผลกระทบจากปัญหาน้ำท่วม นอกจากการออกโครงการบ้านหลังแรกแล้ว ยังมีมาตรการลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สำหรับผู้ซื้อบ้านราคาไม่เกิน 5 ล้านบาท โดยนำเงินมาลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน 500,000 บาท ​

Home Loan 33

ปี 2558

เนื่องจากภาวการณ์ชะลอตัวของเศรษฐกิจไทยซึ่งส่งผลให้ประชาชนผู้มีรายได้น้อยมีกำลังซื้อที่อยู่อาศัย ลดลง ประกอบกับตลาดอสังหาฯ ​ของประเทศในภาพรวมมีสต็อกคงค้างในตลาดจำนวนมาก ทั้งในเขตพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล รวมทั้งเมืองสำคัญในภูมิภาค เช่น พัทยา ภูเก็ต เชียงใหม่ อุดรธานี และขอนแก่น เป็นต้น วันที่ 13 ตุลาคม 2558 ครม.จึงได้มีมติเห็นชอบมาตรการการเงินการคลังเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจภาคอสังหาฯ รวม 2 มาตรการ ดังนี้

1.มาตรการการเงิน

ให้ธอส. ปล่อยกู้กับผู้มีรายได้น้อยและปานกลาง เพื่อซื้อที่อยู่อาศัยวงเงินให้สินเชื่อเบื้องต้นรวม 10,000 ล้านบาท กำหนดระยะเวลาขอกู้ภายใน 1 ปี  นับตั้งแต่วันที่ 19 ตุลาคม 2558 แต่ให้ ธอส. สามารถขยายระยะเวลาได้ตามความเหมาะสม  โดยกลุ่มเป้าหมายหลักที่จะได้รับสินเชื่อครั้งนี้ เป็นผู้ที่มีรายได้สุทธิต่อเดือนไม่เกิน 30,000 บาท โดยเกณฑ์หลักประกันเป็นไปตามระเบียบปฏิบัติงานสินเชื่อของ ธอส.  มีระยะเวลาการกู้ไม่เกิน 30 ปี

2.มาตรการการคลัง

-การลดค่าธรรมเนียมการโอน จาก​เดิม  2%  และค่าจดจำนอง อสังหาฯ ของราคาประเมินทุนทรัพย์ 1%  ของ มูลค่าที่จำนอง แต่ไม่เกิน 200,000 บาท ในกรณีการจำนองฯ เหลือ 0.01%  เป็นเวลา 6 เดือน

-การยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สำหรับรายได้ที่จ่ายไปเพื่อซื้ออสังหาฯ ราคาไม่เกิน 3 ล้านบาท เพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัย ของตนเองเป็นจำนวน 20%  ของมูลค่าอสังหาฯ ​โดยผู้ได้รับสิทธิจะต้องไม่เคยมีกรรมสิทธิ์ในอสังหาฯ  มาก่อน และมีชื่อเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในอสังหาฯ ที่ซื้อเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 5 ปี

 

สรุป​คือ ต้องเป็นการซื้อครั้งแรกและเพื่อเป็นที่อยู่อาศัยจริง โดยใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาต่อเนื่องกัน 5 ปีภาษี นับแต่ ปีภาษีที่มีการจดทะเบียนการโอน​ โดยให้แบ่งใช้สิทธิเป็น จำนวนเท่าๆ กันในแต่ละปีภาษี ทั้งนี้ ต้องจ่ายค่าซื้ออสังหาฯ และจดทะเบียนโอน​ ตั้งแต่วันที่ครม.​มีมติเห็นชอบถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2559

ติดตามตอนที่ 3   วิฤกตโควิด สู่ชีวิต New Normal

 

อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง

-สรุปไทม์ไลน์ 25 ปี มาตรการกระตุ้นอสังหาฯ จากวิกฤตต้มยำกุ้งถึงพิษโควิด-19 ตอนที่ 1

บทความ ข่าวโปรโมชั่น ล่าสุด