Reic Eec 1h64

7 บทสรุปตลาดที่อยู่อาศัยใน EEC ครึ่งปีแรก 64 ลดทั้งดีมาน์และซัพพลาย​

โครงการที่อยู่อาศัยในพื้นที่ 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดชลบุรี ระยอง และฉะเชิงเทรา ซึ่งอยู่ในโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ  EEC ก็ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ไม่ต่างจากพื้นที่ของจังหวัดอื่น ๆ แถมยังเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด (สีแดงเข้ม)  ด้วย ทำให้ได้รับผลกระทบด้านกำลังซื้อ และความมั่นใจต่อตลาดอสังหาริมทรัพย์เป็นอย่างมากด้วย สะท้อนได้จากการชะลอตัวลงของทั้งฝั่งดีมานด์และซัพพลาย 

 

โดยล่าสุด ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) หรือ REIC ได้สรุปสถานการณ์ตลาดอสังหาฯ ในส่วนที่อยู่อาศัยของพื้นที่ 3 จังหวัดดังกล่าว ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2564 พบว่าทั้งซัพพลายและดีมานด์หดตัวลงอย่างต่อเนื่อง

1.ใบอนุญาตจัดสรรที่ดินลด แต่ใบอนุญาติก่อสร้างเพิ่ม

-การออกใบอนุญาตจัดสรรที่ดิน ในช่วงครึ่งปีแรก จำนวนโครงการ ลดลง 22.8% และจำนวนยูนิตลดลง 15.7%

-การออกใบอนุญาตก่อสร้างที่อยู่อาศัยปรับตัวเพิ่มขึ้น  7.1%  ซึ่งเป็นการปรับตัวเพิ่มขึ้นจากฐานที่ต่ำมากในช่วงที่ไม่ปกติ

-การโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัย จำนวนยูนิตลดลง​ 21.9% และมูลค่าลดลง 18.1%

 

โครงการที่อยู่อาศัยที่ได้รับอนุญาตจัดสรรที่ดินจากกรมที่ดินจำนวน  71 โครงการ 7,090 ยูนิต จำนวนโครงการลดลง 22.8%  และจำนวนยูนิตลดลง 15.7% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2563 ซึ่งมี  92  โครงการ  8,409 ยูนิต ในจำนวน 7,090 ยูนิต

ตารางใบอนุญาตก่อสร้างอาคาร

2.ทาวน์เฮ้าส์ได้ใบอนุญาตจัดสรรที่ดินมากสุด

ใบอนุญาตจัดสรรที่ดินมากที่สุด เรียงตามลำดับดังนี้

-ทาวน์เฮ้าส์ ​จำนวน  3,682 ยูนิต คิดเป็นสัดส่วน 51.9% ของจำนวนการออกใบอนุญาตจัดสรรที่ดินทั้งหมด บ้านแฝด  จำนวน  1,676 ยูนิต คิดเป็นสัดส่วน 23.6%

-บ้านเดี่ยว จำนวน  1,667 ยูนิต คิดเป็นสัดส่วน  23.5%

-ส่วนที่เหลือเป็น อาคารพาณิชย์ และที่ดินจัดสรร ตามลำดับ

3.ชลบุรี ออกใบอนุญาตจัดสรรมากสุด

เมื่อพิจารณารายจังหวัดในพื้นที่ EEC ในครึ่งแรกปี 2564 จังหวัดที่มีการออกใบอนุญาตจัดสรรมากที่สุด เรียงลำดับได้ดังนี้

อันดับ 1 จังหวัดชลบุรี มีจำนวน 3,704 ยูนิต คิดเป็นสัดส่วน​ 52.2% ของการออกใบอนุญาตจัดสรรที่ดินทั้งหมด และมีการออกใบอนุญาตจัดสรรเพิ่มขึ้น​ 9.2%

อันดับ 2 จังหวัดระยอง มีจำนวน 2,782 ยูนิต คิดเป็นสัดส่วน 39.2% มีการออกใบอนุญาตจัดสรรลดลง 7.3%

อันดับ 3 จังหวัดฉะเชิงเทรา มีจำนวน 604 ยูนิต คิดเป็นสัดส่วน 8.5% มีการออกใบอนุญาตจัดสรรลดลงมากถึง 70.0%

4.ใบอนุญาตก่อสร้างเพิ่ม 7.1%

การออกใบอนุญาตก่อสร้าง ทั้งที่เป็นบ้านที่ประชาชนสร้างเอง บ้านในโครงการจัดสรร และอาคารชุด มีจำนวนประมาณ 17,049 ยูนิต เพิ่มขึ้น 7.1% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2563 แบ่งออกเป็น

-การออกใบอนุญาตก่อสร้างที่อยู่อาศัยแนวราบจำนวนประมาณ 13,895  ยูนิต ลดลง 1.8%

-การออกใบอนุญาตก่อสร้างที่อยู่อาศัยอาคารชุด จำนวนประมาณ 3,154  ยูนิต เพิ่มขึ้น 78.9%  เมื่อเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2563

ตารางใบอนุญาตจัดสรรที่ดิน

5.ชลบุรี ออกใบอนุญาตก่อสร้างกว่า 10,000 ยูนิต

จังหวัดที่มีการออกใบอนุญาตก่อสร้างที่อยู่อาศัยมากที่สุด

อันดับ 1 จังหวัดชลบุรี มีการออกใบอนุญาตก่อสร้างที่อยู่อาศัยประมาณ 10,389 ยูนิตคิดเป็นสัดส่วน  60.9%  ของการออกใบอนุญาตก่อสร้างที่อยู่อาศัยทั้งหมด

อันดับ 2 จังหวัดระยอง มีการออกใบอนุญาตก่อสร้างที่อยู่อาศัยประมาณ 3,722 ยูนิตคิดเป็นสัดส่วน 21.8% ของการออกใบอนุญาตก่อสร้างที่อยู่อาศัยทั้งหมด

อันดับ 3 จังหวัดฉะเชิงเทรา มีการออกใบอนุญาตก่อสร้างที่อยู่อาศัยประมาณ 2,938 ยูนิตคิดเป็นสัดส่วน17.2% ของการออกใบอนุญาตก่อสร้างที่อยู่อาศัยทั้งหมด

6.ครึ่งปีแรก 64 โอนกรรมสิทธิ์ลดลง 21.9%

การโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัย มีจำนวน 16,045 ยูนิต ลดลง 21.9% จากช่วงเดียวกันของปี 2563 มีจำนวน 20,550 ยูนิต มีมูลค่าการโอนกรรมสิทธิ์ 37,855 ล้านบาท  ลดลง 18.1% ​ เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2563 มีมูลค่า 46,209 ล้านบาท

ตารางการโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัย

7.ชลบุรี โอนกรรมสิทธิ์กว่า 30,000 ล้าน

เมื่อพิจารณารายจังหวัดที่มีการโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัย

อันดับ 1 จังหวัดชลบุรี มีจำนวน 12,489 ยูนิต ลดลง 5.3% และมีมูลค่า 30,436 ล้านบาท ลดลง 3.6%

อันดับ 2 จังหวัดระยอง มีจำนวน 2,794 ยูนิต ลดลง 47.5% และมีมูลค่า 5,874 ล้านบาท ลดลง

​43.8%

อันดับ 3 จังหวัดฉะเชิงเทรา มีจำนวน 762 ยูนิต ลดลง 62.6%  และมีมูลค่า 1,545  ล้านบาท ลดลง 63.1%

ประเมินสถานการณ์ภาพรวมปี 2564

  • การขอใบอนุญาตจัดสรรที่ดิน  จะมีอัตราขยายตัวอยู่ในช่วง -17.5% ถึง -0.8%
  • การขอใบอนุญาตก่อสร้างที่อยู่อาศัย จะมีอัตราขยายตัวอยู่ในช่วง  -9.2% ถึง 11.0%
  • ยูนิตการโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัย จะมีอัตราขยายตัวอยู่ในช่วง​ -37.8% ถึง -24.0%
  • มูลค่าการโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัย ​ จะมีอัตราขยายตัวอยู่ในช่วง​ 9.5% ถึง 33.8% เนื่องจากราคาที่อยู่อาศัยต่อยูนิตปรับตัวสูงขึ้น เมื่อเทียบกับปี 2563

 

 

บทความ ข่าวโปรโมชั่น ล่าสุด