Tag : Home

816 ผลลัพธ์
เอพี ไทยแลนด์ เตรียมขึ้นเบอร์ 1 ผู้นำอสังหาฯ ปี 63 

เอพี ไทยแลนด์ เตรียมขึ้นเบอร์ 1 ผู้นำอสังหาฯ ปี 63 

เอพี ประกาศความสำเร็จก้าวข้ามผ่านวิกฤตมาได้อย่างสวยงาม มุ่งสู่การเป็นเบอร์ 1 ในอุตสาหกรรม คาดยอดโอนรวมปี 63 สูงถึงประมาณ 46,000 ล้านบาท โตกว่า 40% จากปี 2562 เชื่อจะเป็นยอดโอนที่มากที่สุดในตลาด       นายวิทการ จันทวิมล รองกรรมการผู้อำนวยการ สายงานกลยุทธ์องค์กรและการสร้างสรรค์ บริษัท เอพี ไทยแลนด์ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ผลการดำเนินงานในรอบปี 2563 คาดว่าจะทำยอดโอนรวมเกือบ 46,000 ล้านบาท สูงกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ตั้งแต่ต้นปีที่ 40,550 ล้านบาท หรือโตกว่า 40% จากปี 2562 และคาดว่าน่าจะเป็นยอดโอนที่มากที่สุดในตลาด พร้อมคาดการณ์ผลกำไรรวมทั้งปี 63 จะเติบโตอย่างมีนัยยะสำคัญ ผลการดำเนินงานดังกล่าว มาจากความสำเร็จในการส่งมอบสินค้า ทั้งแนวราบและคอนโดมิเนียม ซึ่งนับว่าเป็นความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่ของบริษัท และสูงสุดตั้งแต่ก่อตั้งบริษัทมา และมั่นใจว่าเอพี ไทยแลนด์จะสามารถมุ่งสู่การเป็นเบอร์ 1 ในอุตสาหกรรมอสังหาฯ ไทย นายวิทการ กล่าวอีกว่า  ความสำเร็จของบริษัท เกิดจากความพร้อมของพนักงานในองค์กรกว่า 2,000 คน ในการตั้งรับกับการปรับตัวที่รวดเร็วจากวิกฤตที่เกิดขึ้น ตลอดจนความเข้มแข็งในการทำงานโดยมองไปที่เป้าหมาย EMPOWER LIVING เดียวกัน ควบคู่ไปกับการบริหารจัดการกระแสเงินสดที่รัดกุม ส่งผลให้บริษัท สามารถก้าวข้ามผ่านวิกฤตมาได้อย่างมั่งคง สร้างผลการดำเนินงานที่เติบโตอย่างแข็งแกร่งในทุกไตรมาส   ทั้งนี้ อีกหนึ่งคีย์ซัคเซสสำคัญนอกเหนือจากการมีทีมงานที่แข็งแกร่งแล้ว นั่นคือแผนการบริหารจัดการภายในองค์กรที่ดำเนินควบคู่ไปกับการบริหารจัดการพอร์ตสินค้าที่นำมาซึ่งการตอบรับที่ดีจากลูกค้าอย่างต่อเนื่อง โดยในปีที่ผ่านมานอกจากความสำเร็จในการขายและโอนกรรมสิทธิ์สินค้าในกลุ่มธุรกิจแนวราบแล้วนั้น บริษัท  ยังได้รับการตอบรับที่ดีมากจากการโอนสินค้ากลุ่มคอนโดมิเนียม โดยมี LIFE ลาดพร้าว LIFE อโศก-พระราม 9 LIFE วัน ไวร์เลส และ Aspire อโศก-รัชดา เป็นคีย์สำคัญ ทั้งนี้ปี 2563 ที่ผ่านมาบริษัทฯ เปิดตัวโครงการใหม่ทั้งสิ้น 40 โครงการ รวมมูลค่า 45,020 ล้านบาท เป็นบ้านเดี่ยว 18 โครงการ มูลค่า 20,860  ล้านบาท ทาวน์โฮม 18 โครงการ มูลค่า 18,530 ล้านบาท และโครงการในต่างจังหวัด 3 โครงการ มูลค่า 2,430 ล้านบาท และคอนโดมิเนียม 1 โครงการ มูลค่า 3,200 ล้านบาท   บริษัทยังคงดำเนินแผนธุรกิจด้วยความรัดกุม ควบคู่ไปกับความพร้อมที่จะปรับตัวอย่างรวดเร็ว ด้วย  การบริหารจัดการกระแสเงินสด ภายใต้พันธกิจใหญ่ขององค์กร “EMPOWER LIVING” ที่พร้อมเติมเต็มทุกเป้าหมายของชีวิต ด้วยนวัตกรรมสินค้าและบริการที่มีคุณค่าและมีความหมาย
อสังหาปี 64  ไปต่ออย่างไร ? ในวิกฤติไวรัสโควิด-19

อสังหาปี 64  ไปต่ออย่างไร ? ในวิกฤติไวรัสโควิด-19

สำหรับปี 2563 ที่ผ่านมา ถือว่าเป็นอีกหนึ่งปีที่ค่อนข้างเหน็ดเหนื่อย สำหรับผู้ประกอบการในภาคอสังหาริมทรัพย์ ที่ต้องเผชิญกับปัจจัยต่าง ๆ มากมายที่เข้ามากระทบ โดยเฉพาะการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่ช่วงครึ่งปีหลังส่งสัญญาณดี จากการควบคุมการแพร่ระบาดอย่างได้ผล แต่สถานการณ์กลับมารุนแรงอีกครั้งช่วงปลายปี และลุกลามมาถึงปี 2564 ซึ่งสถานการณ์รุนแรงกว่าครั้งแรกด้วยซ้ำ   ทำให้ภาพรวมของเศรษฐกิจต้องอยู่ในภาวะชะลอตัวอีกครั้ง ซึ่งถือเป็นปัจจัยลบอย่างหนักในทุกธุรกิจ รวมถึงธุรกิจอสังหาฯ ด้วย ความหวังสำคัญของการฟื้นเศรษฐกิจกลับมาเป็นปกติ คงขึ้นอยู่กับการควบคุมการแพร่ระบาด และการนำเอาวัคซีนมาใช้ได้อย่างเป็นผล หลังจากนั้นรัฐบาลคงต้องมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจอีกครั้ง ภาพรวมเศรษฐกิจคงเริ่มฟื้นตัวตาม   ในส่วนของธุรกิจอสังหาฯ ปี 2564 จะมีทิศทางเป็นอย่างไร ท่ามกลางปัจจัยลบสำคัญเช่นนี้ แผนกวิจัยและการสื่อสาร คอลลิเออร์ส อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย ได้ทำบทวิเคราะห์คาดการณ์ภาพรวมธุรกิจในปี 2564 และมองย้อนกลับไปในปี 2563 ว่ามีสถานการณ์ภาพรวมตลาดเป็นอย่างไรบ้าง แนวโน้มตลาดคอนโดปี ​2564 -คาดว่าผู้ประกอบการส่วนใหญ่เลือกที่จะเลื่อนการเปิดตัวโครงการคอนโดมิเนียมใหม่ออกไป  เน้นการพัฒนาโครงการแนวราบทั้งในพื้นที่กรุงเทพฯ และจังหวัดยุทธศาสตร์ที่ยังคงมีกำลังซื้อ แต่อาจมีผู้ประกอบการรายใหญ่บางราย เปิดตัวโครงการใหม่บ้างในบางทำเล -คาดการณ์ปี 2564 จะมีจำนวนเปิดตัวคอนโดใหม่ในพื้นที่กรุงเทพฯ ไม่เกิน 20,000 ยูนิตเท่านั้น หรือปรับตัวลดลง 7.6% จากปีก่อนหน้า   -ในปี 2564 คาดว่าจะมีคอนโดที่ก่อสร้างแล้วเสร็จและจดทะเบียนอาคารชุดในพื้นที่กรุงเทพฯ อีกกว่า 35,000 ยูนิต ในส่วนนี้จะเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่สร้างความกังวลให้กับผู้ประกอบการ  หากเมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จและเรียกลูกค้าเข้ามาโอนกรรมสิทธิ์จะเกิดยูนิตหลุดโอนมากน้อยเพียงใด และหากยูนิตเหล่านี้มีการทิ้งโอนกันเป็นจำนวนมากในภาวะที่ตลาดชะลอตัว จะเป็นอีกปัญหาที่สำคัญที่ผู้พัฒนาจะต้องนำยูนิตเหล่านี้กลับมาขายใหม่ในตลาดอีกครั้ง หรืออย่างที่เราเห็นผู้ประกอบการหลายรายเลือกที่จะนำยูนิตเหล่านี้กลับมาขายใหม่ในการลดราคาขายลงถูกว่าในช่วง Pre-sale ก่อนหน้าด้วยซ้ำ เพื่อกระตุ้นความสนใจของกลุ่มลูกให้เพิ่มขึ้น และกระตุ้นยอดโอนกรรมสิทธิ์เพื่อการรับรู้รายได้และดึงเงินเข้ามาในบริษัทให้มากที่สุดซึ่งจะส่งผลให้เราจะเห็นสงครามราคาในตลาดคอนโดมิเนียมอย่างต่อเนื่องในปี 2564   -ผู้ประกอบการส่วนใหญ่เลือกพัฒนาโครงการคอนโดในพื้นที่กรุงเทพฯ ชั้นนอกมากขึ้น หรือในพื้นที่ตามแนวเส้นทางรถไฟฟ้าที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง โดยเฉพาะโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม โดยเฉพาะช่วงรามคำแหง – ลำสาลี  รถไฟฟ้าสายสีเหลือง โดยเฉพาะบริเวณถนนลาดพร้าวและศรีนครินทร์ และรถไฟฟ้าสายสีชมพู โดยเฉพาะถนนรามอินทรา หรือแม้กระทั้งแนวเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีทอง จะเป็นพื้นที่ที่คาดการณ์จะมีการเปิดตัวโครงการคอนโดคึกคักขึ้นในปี 2564   -ผู้ประกอบการพัฒนาคอนโดในพื้นที่ใจกลางเมืองน้อยลง เนื่องจากยังมีจำนวนคอนโดรอการขายในตลาดจำนวนมาก  จากการเปิดตัวอย่างคึกคักในช่วง 4-5 ปีก่อนหน้า บวกกับราคาที่ดินที่ยังคงปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง -ราคาคอนโด 50,001 - 100,000 บาทต่อตารางเมตร เป็นเซกต์เมนต์ ที่น่าจับตามองในปี 2564 เนื่องจากเป็นราคาที่เข้าถึงได้ง่าย ในภาวะที่กำลังซื้อยังไม่ฟื้นตัวมากนัก ตามมาด้วยราคา 100,001 - 150,000 บาทต่อตารางเมตร และระดับราคาต่ำกว่า 50,000 บาทต่อตารางเมตร   -ผู้ประกอบการรายใหญ่ในตลาดหลักทรัพย์บางราย ยังคงมีแผนพัฒนาโครงการคอนโดในช่วงราคาขายเฉลี่ยต่ำกว่า 50,000 บาทต่อตารางเมตร ทั้งในพื้นที่กรุงเทพมฯ และปริมณฑล เพื่อดึงดูดกำลังซื้อในกลุ่มลูกค้าเรียลดีมานด์ และกลุ่มนักลงทุนที่เน้นการซื้อเพื่อการปล่อยเช่าในปี 2564   -โครงการคอนโดที่มีราคา มากกว่า 200,000 บาทต่อตารางเมตรขึ้นไป จะมีการพัฒนาน้อยลง เนื่องจากเป็นตลาดที่มีกลุ่มลูกค้าจำกัด และกำลังซื้อต่างชาติยังอยู่ในภาวะชะลอตัว ผู้ประกอบการจะเลือกพัฒนาเฉพาะในทำเลที่มั่นใจว่ามีกำลังซื้อเท่านั้น เช่น ย่านทองหล่อ แนวโน้มตลาดบ้านแนวราบปี 2564 -ตลาดแนวราบ คาดว่าจะยังคงเป็นตลาดดาวเด่นของภาคอสังหาฯ ในปี 2564 ที่ผู้พัฒนาจะยังคงเดินหน้าเปิดตัวโครงการใหม่อย่างต่อเนื่อง ทั้งในพื้นที่กรุงเทพฯ และจังหวัดยุทศาสตร์สำคัญ ​ แม้ว่าภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว ที่อยู่อาศัยยังคงเป็นปัจจัย 4 ที่มีความต้องการอย่างต่อเนื่อง ​คาดว่ายอดขายตลาดแนวราบในปี 2564 ​​ยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะกลุ่มผู้พัฒนารายใหญ่ในตลาดหลักทรัพย์ -ทำเลเด่นในการพัฒนาโครงการแนวราบ คือ พื้นที่ในโซนกรุงเทพฯ ตะวันออก โดยเฉพาะย่านบางนา  วงแหวนกาญจนาภิเษก ร่มกล้า กรุงเทพกรีฑาตัดใหม่ รวมทั้งจังหวัดยุทธศาสตร์ที่สำคัญ โดยเฉพาะในพื้นที่อีอีซี ประเด็นจับตาท่ามกลางวิกฤตโควิด-19 -กำลังซื้อต่างชาติในภาคอสังหาฯ คาดการณ์ว่าจะยังคงชะลอตัวอย่างต่อเนื่องในปี 2564 เนื่องจากยังคงได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว ทำให้มองว่าไม่ใช่เวลาที่เหมาะสมสำหรับการก่อหนี้ก้อนใหญ่ แม้ว่าจะมีมาตรการกระตุ้นกำลังซื้อ​ทั้งจากภาครัฐและเอกชนก็ตาม   -การขายอสังหาฯในปี 2564 อุปสรรคที่สำคัญที่สุดคงหนีไม่พ้นในเรื่องของกำลังซื้อที่ชะลอตัวอย่างเห็นได้ชัด เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจที่เรียกหลายฝ่ายมองว่าอยู่ในช่วงขาลงทั้งเศรษฐกิจไทยและเศรษฐกิจโลก  กำลังซื้อในช่วงวัยทำงาน หรือวัยกลางคนที่เคยเป็นกำลังซื้อหลักของภาคอสังหาฯ รู้สึกไม่มั่นใจในภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน ยังคงกลัวการถูกเลิกจ้าง ตกงาน หรือแม้กระทั้งการปรับลดเงินเดือนลง ส่งผลให้ไม่อยากสร้างหนี้ก้อนใหญ่และภาวะผูกพันระยะยาวในช่วงนี้ จึงเลือกที่จะชะลอการตัดสินใจซื้ออสังหาฯออกไป   -ปัจจัยเสี่ยงที่น่ากังวลที่สุดยังคงเป็น ความกังวลในเรื่องของการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในรอบที่ 2  ที่จะส่งผลให้รัฐบาลจำเป็นต้องประกาศล็อกดาวน์ประเทศอีกรอบ เหมือนกับประเทศในกลุ่มยุโรปและอเมริกาที่ประกาศมาตรการล็อกดาวน์ประเทศอีกครั้งเพื่อควบคุมการระบาดของโควิด-19   -ส่วนปัจจัยบวกที่สำคัญที่สุดสำหรับภาคอสังหาฯ คือวัคซีนป้องกันไวรัสโควิด-19 จะพร้อมใช้งานได้เมื่อใด ซึ่งหากวัคซีนดังกล่าวสามารถใช้งานได้จริงภายในช่วงครึ่งหลังของปี 2564 จะเป็นปัจจัยบวกที่สำคัญที่สุด นอกเหนือจากมาตรากระตุ้นอสังหาริมทรัพย์อื่นๆ ทั้งจากภาครัฐและเอกชน ทางรอดอสังหาฯ ฝ่าวิกฤตโควิด-19 -ผู้พัฒนาควรหันมาเน้นจับกลุ่มลูกค้าภายในประเทศ เพื่อดึงดูดกำลังซื้อในกลุ่มลูกค้าเรียลดีมานด์ และกลุ่มนักลงทุนที่เน้นการซื้อเพื่อการปล่อยเช่าในช่วงระดับราคาที่สามารถเข้าถึงได้ง่าย ในภาวะที่กำลังซื้อยังไม่ฟื้นตัวในปี 2564   -ส่วนลูกค้าต่างชาติควรเพิ่มช่องทางการขาย ผ่านแพลตฟอร์มเอเจนท์ต่าง ๆ หรือช่องทางออนไลน์มากขึ้น เพื่อเป็นการเปิดโอกาสการขายอีกช่องทางในภาวะที่กำลังซื้อต่างชาติยังไม่สามารถเดินทางเข้ามาได้   -ผู้ประกอบการควรระมัดระวังในการกำหนดราคาขาย ซึ่งหากเปิดตัวโครงการขายใหม่ราคาที่ค่อนข้างสูงกว่าราคาตลาด อาจส่งผลให้โครงการไม่ได้รับความสนใจจากกลุ่มผู้ซื้อเท่าที่ควร   การกำหนดราคาขายที่น่าสนใจ นักลงทุนยังทำกำไรได้ และผู้ซื้อสามารถเข้าถึงได้ คาดว่าผู้ประกอบการหลายรายยังคงเลือกใช้เป็น Key Success Factor  เพื่อกระตุ้นความสนใจ และตัดสินใจซื้อได้ในระยะเวลาอันรวดเร็ว  ในภาวะที่ตลาดชะลอตัว และกำลังซื้อส่วนใหญ่ยังคงให้ความสนใจกับโครงการที่ก่อสร้างแล้วเสร็จที่นำมาลดราคา   เนื่องจากราคาที่น่าสนใจ และเป็นโครงการที่ลูกค้าสามารถเห็นห้องจริงที่จะซื้อ รวมถึงมีโปรโมชั่นอื่น ๆ ที่ผู้ประกอบการนำมาดึงดูดความสนใจ ซึ่งถือว่าโปรโมชั่นเหล่านี้สามารถดึงดูดใจให้ผู้ซื้อเกิดความสนใจกันเป็นจำนวนมาก ส่งอาจส่งผลให้หลายโครงการที่ก่อสร้างเสร็จสามารถปิดการขายลงได้ 100% ในปีนี้   -ผู้พัฒนาควรปรับลดแผนการเปิดตัวโครงการคอนโดลง เพื่อใช้เวลานี้ในการระบายสต็อกที่ยังคงค้างในตลาดก่อน เพื่อให้ตลาดกลับสู่ภาวะสมดุลเร็วขึ้น เน้นหาพื้นที่ใหม่ ๆ ในการพัฒนาโครงการแนวราบเพื่อจับกลุ่มกำลังซื้อเรียลดีมานด์ ทั้งในพื้นที่กรุงเทพฯ และจังหวัดยุทธศาสตร์อื่น ๆ ที่สำคัญ        
8 บทสรุปผลงาน “แสนสิริ” ทุบสถิติยอดโอนสูงสุดรอบ 36 ปี​

8 บทสรุปผลงาน “แสนสิริ” ทุบสถิติยอดโอนสูงสุดรอบ 36 ปี​

แสนสิริ ปิดผลงานปี 63 สร้างประวัติศาสต์โอนสูงสุดรอบ 36 ปี ทะลุ 45,000 ล้าน หลังปรับเป้าทั้งปีถึง 4 ครั้ง ชี้ คีย์ซัคเซส คือ กลยุทธ์ “Speed to Market” และโปรโมชั่นโดนใจลูกค้า ​   นายอุทัย  อุทัยแสงสุข ประธานผู้บริหารสายงานปฏิบัติการ บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) หรือ SIRI เปิดเผยว่า ในปี 2563 ที่ผ่านมาแสนสิริประสบความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจภายใต้ภาวะเศรษฐกิจและสถานการณ์ตลาดอสังหาริมทรัพย์ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 โดยได้รับการตอบรับที่ดีจากกลุ่มลูกค้าทั้งในด้านการขายและโอนโครงการ   สำหรับ 8 บทสรุปผลการดำเนินงานของปี 2563 ที่ทำให้สามารถสร้างยอดโอนได้สูงสุดในรอบ 36 ปี ได้แก่ 1.ปิดการขายโครงการที่อยู่อาศัยไปถึง 35  โครงการ มูลค่ารวมกว่า 64,600 ล้านบาท   2.มียอดโอนโครงการที่อยู่อาศัยทุกประเภทที่สร้างเสร็จและส่งมอบให้กับลูกค้า 45,000  ล้านบาท เกินจากเป้าหมายใหม่ที่มีการปรับล่าสุดในช่วงปลายปี คือ 43,000 ล้านบาท สร้างประวัติศาสต์การโอนที่สูงสุดในรอบ 36 ปี และเติบโตจากปี 2562 ถึง 45%   3.ปี 2563 มีการปรับเป้ายอดโอน 4 รอบ ซึ่งช่วงต้นปีวางเป้าหมายยอดโอน 33,000 ล้านบาท และช่วงปลายปีได้ปรับเป้าหมายเป็น 43,000 ล้านบาท   4.ปี 2563 มียอดโอนจากโครงการคอนโดมิเนียมสูงถึง 25,500 ล้านบาท โตจากปีก่อนถึง 50% มีการปิดการขายและโอนโครงการภายใต้พอร์ต Sansiri Luxury Collection ด้วยกันถึง 3 โครงการ คือ 98 Wireless แฟล็กชิพคอนโดมิเนียมซูเปอร์ลักซ์ชัวรี่ บ้านแสนสิริ พัฒนาการ แฟล็กชิพบ้านเดี่ยวระดับซูเปอร์ลักซ์ชัวรี่ เดอะ โมนูเมนต์ ทองหล่อ ลักซ์ชัวรี่คอนโดมิเนียมใจกลางย่านทองหล่อ 5.ปี 2563 มียอดโอนโครงการแนวราบ 19,500 ล้านบาท โตขึ้น 39% จากปีก่อน มีการปิดโครงการลักซ์ชัวรี่แนวราบ ได้แก่ ไทเกอร์ เลน  ลักซ์ชัวรี่โฮมออฟฟิศบนที่สุดของทำเลทอง ไพร์มโลเคชั่นตำแหน่งฮวงจุ้ยท้องมังกร ที่หายากใจกลางย่านเสือป่า เยาวราช และปิดการขายโครงการบ้านเดี่ยวนาราสิริ บางนา และ นาราสิริ พุทธมณฑล สาย 1 เป็นต้น   6.กลยุทธ์ที่ทำให้ประสบความสำเร็จ คือ กลยุทธ์ “Speed to Market” ที่มีการปรับแผนรับมือสถานการณ์โควิด-19  การรุกการขายในทุกช่องทาง ผ่าน Multi-channel และการนำเสนอโปรโมชั่น อาทิ -“มีเงินเดือนเริ่มต้น 18,000 บาทก็เป็นเจ้าของสิริ เพลส ได้ง่ายๆ” -“โปรลื่นปรื้ด” -“แสนสิริผ่อนให้ 24 เดือน” 7.การบริหารเงินสดในมือที่ดี (Cash is King) มีกระแสเงินสดที่มีความพร้อมในการดำเนินธุรกิจ 15,000 ล้านบาท   8.เป็นแบรนด์ที่ได้รับการยอมรับจากกลุ่มผู้บริโภค ด้วย 2 รางวัลคุณภาพ ทั้งจาก Marketeer : No.1 Brand Thailand ปี 2019-2020  และ รางวัลจาก Terra BKK : The Most Powerful Real Estate Brand 2020 รักษาแชมป์ 3 ปีซ้อน   นายอุทัย กล่าวอีกว่า ในระยะยาว บริษัทยังมียอดขายรอโอน (Backlog) (รวมโครงการร่วมทุนในคอนโดมิเนียม) มูลค่ารวมประมาณ 24,000 ล้านบาท แบ่งเป็นยอดขายรอโอนจากโครงการภายใต้การพัฒนาของแสนสิริ 19,800 ล้านบาท และยอดขายรอโอนจากโครงการภายใต้การร่วมทุนอีก 4,200 ล้านบาท ที่จะทยอยรับรู้ไปจนถึงปี 2566 ซึ่งจะช่วยสร้างความมั่นใจให้แสนสิริเป็นอย่างดีและเสริมความแข็งแกร่งในทุกสภาวะเศรษฐกิจ
กานดา พร็อพเพอร์ตี้ เตรียม 5 โปรเจ็กต์ใหม่ สร้างยอดขาย 3,300 ล้าน

กานดา พร็อพเพอร์ตี้ เตรียม 5 โปรเจ็กต์ใหม่ สร้างยอดขาย 3,300 ล้าน

“กานดา พร็อพเพอร์ตี้” เตรียม 5 โครงการใหม่ ปี 64 หวังสร้างยอดขาย 3,300 ล้าน พร้อมปรับกลยุทธ์-เพิ่มประสิทธิภาพธุรกิจ รับการแข่งขันตลาดแนวราบรุนแรง จากดีมานด์ลูกค้าเปลี่ยนใจจากซื้อคอนโดมาซื้อแนวราบ และดีเวลลอปเปอร์หันมาแข่งขันตลาดแนวราบ​   นายหัสกร บุญยัง รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท กานดา พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด ผู้พัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยภายใต้แบรนด์ “ไอลีฟ” เปิดเผยว่า ​ได้วางแผนธุรกิจช่วงปี 2562-2566  เตรียมเปิดโครงการใหม่ปีละ 4-8 โครงการ และขยายทำเลการพัฒนาปีละ 1-3 ทำเล เพื่อสร้างการเติบโตให้กับบริษัท   โดยในปี 2563 ได้ขยายทำเลโดยการเปิดโครงการใหม่เพิ่มที่โซนเทพารักษ์-บางบ่อ 2 โครงการ ได้แก่ โครงการไอลีฟ พรีม่า เทพารักษ์-บางบ่อ ทั้งในส่วนที่เป็นโครงการทาวน์โฮม “ไอลีฟ ทาวน์” และโครงการบ้านเดี่ยว-บ้านแฝด “ไอลีฟ พาร์ค” สำหรับทำเลเดิมที่บริษัทพัฒนาโครงการก่อนหน้า ได้เปิดโครงการใหม่เพิ่ม ได้แก่ ​ โครงการไอลีฟ ไพร์ม วงแหวน-รังสิตคลอง 4 และโครงการไอลีฟ ไพร์ม 2 ถลาง ภูเก็ต เปิด 5 โปรเจ็กต์ใหม่ สร้างรายได้ 2,200 ล. ในปี 2564 บริษัทยังคงเน้นการเติบโตอย่างมั่นคง และมีสถานะการเงินที่แข็งแรง โดยได้ชะลอการซื้อที่ดินใหม่ และนำที่ดินที่มีอยู่มาพัฒนาโครงการใหม่ โดยตั้งเป้ายอดขายไว้ที่ 3,300 ล้านบาท และเป้ารายได้อยู่ที่ 2,200 ล้านบาท และมีแผนเปิดโครงการใหม่รวมทั้งสิ้น 5 โครงการ มูลค่ารวม 3,631 ล้านบาท ประกอบด้วย 1.ไอลีฟ ไพร์ม ประชาอุทิศ 90 เป็นโครงการทาวน์โฮมจำนวน 211 ยูนิต มูลค่าโครงการ 441 ล้านบาท 2.ไอลีฟ ไพร์ม 2 พระราม 2 กม.14 เป็นโครงการบ้านเดี่ยวและบ้านแฝดจำนวนรวม 228 ยูนิต มูลค่าโครงการ 805 ล้านบาท 3.ไอลีฟ พัทยา-จอมเทียน ซึ่งเป็นการเปิดโครงการบนทำเลใหม่ในปีนี้ของบริษัท เป็นโครงการทาวน์โฮม จำนวนรวม 384 ยูนิต มูลค่าโครงการ 875 ล้านบาท 4.ไอลีฟ ไพร์ม 2 ประชาอุทิศ 90 เป็นโครงการทาวน์โฮม จำนวน 268 ยูนิต มูลค่าโครงการ 541 ล้านบาท 5.ไอลีฟ ไพร์ม 2 วงแหวน-รังสิตคลอง 4 เป็นโครงการทาวน์โฮม จำนวน 460 ยูนิต มูลค่าโครงการ 969 ล้านบาท เมื่อรวมกับโครงการที่เปิดขายมาแล้วก่อนหน้าในปี 2564 บริษัทจะมีโครงการที่อยู่ระหว่างการขายรวมทั้งสิ้น 17 โครงการ ใน 9 ทำเล มูลค่าโครงการรวมประมาณ 9,000 ล้านบาท ขณะเดียวกันยังมีที่ดินรอการพัฒนาสำหรับโครงการในอนาคตมูลค่ารวม 13,000 ล้านบาท ปรับกลยุทธ์-เพิ่มประสิทธิภาพรับการแข่งขัน ขณะเดียวกัน บริษัทได้ปรับกลยุทธ์ทั้งในด้านการก่อสร้าง การพัฒนาผลิตภัณฑ์ และบริการ เพื่อรองรับการแข่งขันที่สูงขึ้น ในส่วนของการก่อสร้าง ได้เพิ่มจำนวนบ้านสร้างเสร็จพร้อมขายพร้อมโอนให้เพียงพอกับประมาณการยอดขายในช่วงเปิดโครงการ เพื่อที่จะสามารถโอนได้เร็ว เพิ่มกระแสเงินสดให้บริษัทได้เร็วขึ้น และยังเป็นการรองรับพฤติกรรมการซื้อของคนรุ่นใหม่ที่ต้องการซื้อโดยไม่ต้องผ่อนดาวน์   นอกจากนี้ ในการรองรับการเปลี่ยนแปลงจากสถานการณ์ที่เกิดขึ้น บริษัทได้มีการออกแบบ 8 ฟังก์ชั่นการใช้งานภายในบ้าน “8 f(x)” เพิ่มเติม เพื่อรองรับการใช้ประโยชน์ที่หลากหลาย ตอบโจทย์ความต้องการที่แตกต่างจากรูปแบบการใช้ชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไป โดยยังคงยึด “4 KANDA CONCEPT” เป็นแนวคิดหลักในการออกแบบได้แก่ 1. ECO SMART 2. EASY MAINTENANCE 3. 3 GENERATIONS 4. FLOOD PROTECTION   นายหัสกร กล่าวอีกว่า นอกจากการขยายทำเลใหม่ๆ แล้ว อีกแนวทางหนึ่งที่จะช่วยสร้างการเติบโตให้กับบริษัทคือการขยายกลุ่มลูกค้าเพิ่ม จากเดิมผลิตภัณฑ์ของบริษัทจะอยู่ในระดับราคา 2 ล้านบาทขึ้นไปเป็นหลัก ขณะนี้บริษัทกำลังศึกษาความเป็นไปได้ที่จะขยายกลุ่มลูกค้าในตลาดที่ราคาต่ำกว่า 1.6 ล้านบาทลงมา ซึ่งเป็นตลาดที่ยังมีความต้องการซื้อสูง แต่ยังติดปัญหาเรื่องของต้นทุนการพัฒนาโครงการในปัจจุบันที่เพิ่มสูงขึ้น หัวใจหลักคือ ต้นทุนที่ดินต้องถูก ซึ่งจะต้องขยับออกมานอกเมือง แต่ต้องมีแหล่งงานรองรับ โดยคาดว่าจะได้ข้อสรุปในเรื่องของการขยายกลุ่มลูกค้าในเร็วๆ นี้ “สำหรับปัญหาที่เกิดจากการภาระหนี้ครัวเรือนที่เพิ่มสูงขึ้น ประกอบกับการที่ธนาคารเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อ บริษัทได้ปรับกลยุทธ์ในเชิงรุก โดยการตั้งทีมขึ้นมาทำงานร่วมกับธนาคารต่างๆ อย่างใกล้ชิด  และคอยแก้ปัญหาและให้คำปรึกษากับลูกค้าที่กู้ไม่ผ่าน เพื่อยังคงรักษาลูกค้าไว้กับบริษัทในระยะยาว” ปี 64 แนวราบยังแข่งขันรุนแรง ภาพรวมของเศรษฐกิจในปี 2564 คาดว่าไม่น่าจะแย่กว่าปี 2563 แม้เปิดศักราชใหม่มา จะมีการล็อกดาวน์​ในบางจังหวัดหรือบางพื้นที่ เนื่องจากการระบาดระลอกใหม่ของไวรัสโควิด-19 แต่เชื่อว่าประสบการณ์การในช่วงปี 2563 จะช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันให้แต่ละบริษัทในการบริหารจัดการ  ประคับประครองสถานะการเงินและบุคลากร  ของบริษัทได้อย่างมั่นคงและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น  ภาวะเศรษฐกิจโดยภาพรวมของปี 2564 น่าจะมีความคล้ายคลึงกับปี 2563 โดยมีการชะลอตัวในครึ่งปีแรก และฟื้นตัวดีขึ้นในช่วงครึ่งปีหลัง ในส่วนของตลาดที่อยู่อาศัยแนวราบ ความต้องการคงไม่ได้เพิ่มขึ้น แต่มีกลุ่มที่ต้องการซื้อคอนโดมิเนียมเปลี่ยนมาซื้อที่อยู่อาศัยแนวราบมากขึ้น และจะมีการแข่งขันในแต่ละทำเลรุนแรงขึ้น จากการที่มีผู้เล่นในตลาดที่อยู่อาศัยแนวราบมากขึ้น  ซึ่งกลยุทธ์ที่แต่ละบริษัทนำมาใช้ ยังเป็นการจัดแคมเปญ โปรโมชั่นที่เข้มข้นมากขึ้น เพื่อช่วงชิงส่วนแบ่งตลาด ส่งผลให้ตลาดที่อยู่อาศัยแนวราบมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย   อย่างไรก็ตาม ในส่วนของตลาดที่อยู่อาศัยแนวสูง คาดว่าจะยังคงติดลบอยู่ เพราะยอดขายคอนโดมิเนียมใหม่น้อยลง โดยภาพรวมของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ คาดว่าจะอยู่ในระดับทรงตัว ปี 63 กวาดยอดขายกว่า 3,000 ล. สำหรับผลการดำเนินงานในรอบปีที่ผ่านมา บริษัทสามารถทำให้ยอดขายได้มากกว่า 3,000 ล้านบาท จากเป้าที่ตั้งไว้ประมาณ 3,000 ล้านบาท และมีรายได้จากการโอน จำนวน 1,950 ล้านบาท แม้ว่าในปี 2563 ภาวะเศรษฐกิจได้รับผลกระทบจากไวรัสโควิด-19 ตั้งแต่ช่วงต้นปี แต่โครงการที่เปิดใหม่ถือว่าได้รับการตอบรับที่น่าพอใจ แต่ละโครงการมีอัตราการขายที่ดีกว่าภาพรวมของตลาดที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19   ส่วนรายได้จะลดลงเล็กน้อยจากเป้าที่ตั้งไว้ 2,000 ล้านบาท  เนื่องจากมีการชะลอการเปิดโครงการใหม่ในช่วงที่ไวรัสโควิด-19 ระบาดรุนแรง และอัตราการปฏิเสธสินเชื่อของธนาคารที่สูงขึ้น แต่ก็ถือว่าเป็นที่น่าพอใจ และยังคงเป็นไปตามแผนที่ต้องการให้บริษัทเติบโตได้อย่างมั่นคง และมีสถานะการเงินแข็งแรง  
4 Key Success ออริจิ้น สร้างยอดพรีเซลปี 63 ทะลุ 25,600 ล้าน

4 Key Success ออริจิ้น สร้างยอดพรีเซลปี 63 ทะลุ 25,600 ล้าน

4 Key Success ออริจิ้น สร้างยอดพรีเซลปี 63 ทะลุ 25,600 ล้าน ฝ่าปัจจัยลบโควิด-19 ทั้งการปรับตัวต่อเนื่อง  เพิ่มสัดส่วนธุรกิจบ้านจัดสรร การรักษาระดับการลุยธุรกิจคอนโด การวิเคราะห์และปรับกลยุทธ์เจาะดีมานด์ถูกกลุ่ม ประเมินภาพรวมทั้งปี 64 “วัคซีน” จะเป็นตัวผลิกเกมตลาดอสังหาฯ หลังผ่านจุดต่ำสุด​   นายพีระพงศ์ จรูญเอก ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) หรือ ORI เปิดเผยถึงภาพรวมยอดขาย (Presale) ของบริษัทในปี 2563 ว่า สามารถทำได้อยู่ที่ประมาณ 25,600 ล้านบาท สูงกว่าเป้าหมายของปี 2563 ที่วางไว้ที่ 21,500 ล้านบาท สวนทางสภาวะตลาดอสังหาริมทรัพย์โดยรวม   สำหรับ Key Success ของออริจิ้น ที่ทำให้สามารถสร้างยอดพรีเซลได้สูงกว่าเป้าหมายที่วางไว้  คือ 1.การปรับตัวอย่างต่อเนื่อง ทั้งช่วงก่อนและหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ส่งผลให้ปี 2563 ทำตลาดได้โดดเด่น ในกลุ่มที่อยู่อาศัยแบบพร้อมเข้าอยู่ (Ready to move) ซึ่งมีสัดส่วนประมาณ 65% ของยอดขายทั้งหมด นอกจากนี้  ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ ยังได้ปรับตัวอย่างต่อเนื่องหลายอย่าง อาทิ -การปรับสัดส่วนธุรกิจมาพัฒนาโครงการบ้านจัดสรรภายใต้บริษัท บริทาเนีย จำกัด เพิ่มขึ้น -การเปิดตัวแบรนด์บ้านจัดสรรเซ็กเมนท์ใหม่ๆ อาทิ กลุ่มตลาด 2-5 ล้านบาท ภายใต้แบรนด์ไบรตัน (Brighton) กลุ่มบ้านระดับราคา  7-10 ล้าน แบรนด์แกรนด์บริทาเนีย (Grand Britania) และกลุ่มบ้านระดับราคา  25 ล้านบาทขึ้นไป อย่างเบลกราเวีย (Belgravia) ส่งผลให้มียอดขายบ้านจัดสรรคิดเป็นสัดส่วนประมาณ  25% ของยอดขายทั้งหมด ​ 2.การวิเคราะห์ตลาดได้ตรงจุด ขณะเดียวกัน บริษัทมีจุดแข็งในการวิเคราะห์ตลาด ตลอดจนการเลือกทำเลและเซ็กเมนท์ที่มีศักยภาพ ทำให้สามารถค้นหากลุ่มลูกค้าเรียลดีมานด์เจอ และสามารถพัฒนาสินค้าคุณภาพที่มีทั้ง Living Solution และ Reaching Solution ตอบโจทย์ความต้องการ และสร้างยอดขายในกลุ่มโครงการเปิดตัวใหม่ได้ดีอย่างต่อเนื่อง 3.บุกตลาดคอนโดด้วยกลยุทธ์ที่หลากหลาย ปีที่ผ่านมาบริษัทพัฒนาโครงการคอนโดในปริมาณเท่ากับช่วงปีก่อนหน้า แต่ใช้กลยุทธ์ที่หลากหลายเพื่อให้เข้าถึงตลาดได้กว้างขึ้น จึงยังรักษาระดับการเติบโตในกลุ่มคอนโดได้เป็นอย่างดี การขยายฐานตลาดไฮเอนด์ ในกลุ่มตลาดคอนโดมิเนียม ภายใต้แบรนด์ใหม่ โซโห แบงค็อก (SOHO Bangkok) โครงการแรกบนทำเลรัชดา เพื่อขยายฐานตลาดไฮเอนด์เพิ่มขึ้น แม้จะเพิ่งเปิดตัวในช่วงปลายไตรมาส 4 แต่ก็ได้รับการตอบรับที่ดี มียอดขายแล้วกว่า 60%   การจับมือพันธมิตรเกาหลีใต้พัฒนาโครงการไนท์บริดจ์ สเปซ สุขุมวิท พระราม 4 (KnightsBridge Space Sukhumvit Rama 4) จนทำให้กวาดยอดขายไปแล้วถึง 98%   การลดต้นทุนด้านการบริหารจัดการที่ไม่กระทบต่อตัวสินค้า เพื่อให้ผู้บริโภคเข้าถึงโครงการที่อยู่อาศัยได้ง่ายขึ้น  ภายใต้กลยุทธ์ Origin Next Normal ของแบรนด์ดิ ออริจิ้น (The Origin) 4.ปั้น Micro-Influencer ช่วยขาย ขณะที่โครงการกลุ่ม Ready to move ก็ประสบความสำเร็จจากโครงการ Everyone can sell โครงการที่เปิดโอกาสให้พนักงานเครือออริจิ้นกว่า 1,200 คน กลายเป็น Micro-Influencer สร้างยอดขายได้ด้วยการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายตัวเอง โดยโครงการดังกล่าวสร้างยอดขายในปีนี้ได้ถึงราว 10% ของยอดขายทั้งปี ปี 64 วัคซีน ตัวเปลี่ยนเกมธุรกิจ นายพีระพงศ์ กล่าวอีกว่า สำหรับปี 2563 นั้น ถือเป็นปีที่ภาคเศรษฐกิจและอสังหาริมทรัพย์มีการปรับฐานครั้งใหญ่ จากปัจจัยที่ไม่เคยเผชิญมาก่อน และน่าจะเป็นจุดพักฐานที่ต่ำที่สุดในรอบหลายปี ขณะที่ปี 2564 นั้น สถานการณ์โควิด-19 ระลอกใหม่ อาจเข้ามามีส่วนกดดันตลาดในระยะสั้นช่วงต้น-กลางไตรมาสแรก แม้ระยะยาวอาจจะต้องจับตากันอย่างต่อเนื่อง แต่เชื่อว่าเรื่องดังกล่าวจะไม่ส่งผลกระทบต่อภาพรวมทั้งปีของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ และภาพรวมทั้งปี 2564 จะยังเติบโตได้มากกว่าปี 2563 “ปีนี้เรามีตัวพลิกเกม หรือ Game Changer ที่ชัดเจนกว่าปี 2563 คือการทยอยฉีดวัคซีนทั่วโลกและโอกาสกลับมาเปิดประเทศอีกครั้ง เรื่องดังกล่าวจะส่งผลทั้งทางตรงและทางอ้อมให้ผู้บริโภคกลับมามีกำลังซื้อและมีความมั่นใจในการจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น” ขณะเดียวกันทุกภาคส่วนของไทยก็มีความตื่นตัวต่อสถานการณ์ มีความจริงจังต่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาดังกล่าว ออริจิ้นและผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์รายอื่นๆ เอง ก็มีประสบการณ์การปรับตัวและการรับมือกับความท้าทายต่างๆ ตลอดทั้งปีที่ผ่านมา เชื่อว่าทั้งหมดจะเป็นปัจจัยสำคัญให้ภาพรวมตลาดปี 2564 ขับเคลื่อนไปได้มากกว่าปี 2563   นอกจากนี้ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในปี 2564 ยังมีโอกาสได้รับปัจจัยบวกอื่น ๆ เพิ่มเติม อาทิ การได้รับการจัดอันดับเป็นอันดับ 1 ของประเทศตลาดเกิดใหม่ (Emerging Market) จากบลูมเบิร์ก และนโยบายไทยแลนด์ อีลิท การ์ด ที่จะเข้ามามีส่วนสำคัญในการผลักดันให้ตลาดฮ่องกง สิงคโปร์ และอีกหลากหลายชาติที่สนใจซื้ออสังหาริมทรัพย์ไทยเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ยิ่งสนใจตลาดอสังหาริมทรัพย์ไทยมากกว่าเดิม สำหรับออริจิ้นเอง เตรียมพร้อมทั้งการวางแผนและการปรับตัวอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สอดรับกับทุกปัจจัยที่อาจจะเข้ามาในปี 2564        
วิลล่า คุณาลัย วางแผน  5 ปีโต 20%  ลุยปั้นโปรเจ็กต์รอบกรุงเทพฯ ​

วิลล่า คุณาลัย วางแผน  5 ปีโต 20% ลุยปั้นโปรเจ็กต์รอบกรุงเทพฯ ​

วิลล่า คุณาลัย  วางแผนธุรกิจ 5 ปีข้างหน้า ตั้งเป้าโต 10-20% เดินหน้าหาที่ดินปั้นโปรเจ็กต์ใหม่ พร้อมขยายโซนการพัฒนา ในทิศเหนือและใต้ พร้อมอัดโปรโมชั่น ลด แลก แจก แถม กระตุ้นการซื้อ ปลายปี ดันยอดตามเป้า 750 ล้านบาท   นางประวีรัตน์ เทวอักษร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท​ วิลล่า คุณาลัย จำกัด (มหาชน) หรือ  KUN เปิดเผยว่า บริษัทฯ ได้วางแผนรอบรับธุรกิจในอีก 5 ปีข้างหน้า  ตั้งแต่ปี 2564-2568  ด้วยกการวางกลยุทธ์ในการหาที่ดินเพิ่ม เพื่อรองรับการพัฒนาโครงการใหม่โดยตั้งเป้าการเติบโตประมาณ 10-20% และยังคงมุ่งเน้นพัฒนาโครงการบ้านจัดสรร ภายใต้แนวคิด “สุขใจอยู่บ้านชานเมือง” ในทุกทำเลให้ครบ 4 ทิศ รอบกรุงเทพมหานคร (เหนือ, ใต้, ตะวันออก, ตะวันตก) ตามนโยบายและวิสัยทัศน์ที่บริษัทฯ วางไว้ โดยในขณะนี้ บริษัทฯ อยู่ระหว่างการวางแผน ศึกษาการลงทุนพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยแนวราบ ในโซนทิศเหนือ และโซนทิศใต้  จากปัจจุบันบริษัทฯ มีโครงการใน 2 โซนทิศตะวันตกของกรุงเทพฯ คือในโซนพื้นที่บางบัวทอง และทิศตะวันออกของกรุงเทพฯ คือในโซนจังหวัดฉะเชิงเทรา ซึ่งทั้ง 2 โซน ดังกล่าวถือว่าประสบความสำเร็จและได้การตอบรับจากผู้บริโภค เป็นจำนวนมาก   นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังคงเน้นกลยุทธ์ทางการตลาด ภายใต้วิถีชีวิตที่เปลี่ยนไป ด้วยแนวความคิดการอยู่อาศัยในรูปแบบใหม่ ที่เรียกว่า EVERYTHING AT HOME ทุกสิ่งเกิดขึ้นที่บ้าน เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคและรองรับกับสถานการณ์ปัจจุบัน โดยเน้นการลงลึกในพฤติกรรมของคนในแต่ละพื้นที่นั้น ๆ เพื่อออกแบบโครงการและพัฒนาสินค้าให้ตรงใจ เพิ่มความหลากหลายของสินค้าสำหรับลูกค้าในกลุ่มที่แตกต่างไปจากเดิม   ในขณะเดียวกันก็ชูจุดเด่นเรื่องของ space ที่ให้ได้มากกว่า ทั้งในส่วนของพื้นที่ส่วนกลาง และพื้นที่ใช้สอยภายในบ้านที่เหนือคู่แข่ง ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้คุณาลัยประสบความสำเร็จด้านยอดขายตลอดมา ทั้งนี้ บริษัทฯ เชื่อว่าหากบริษัทพัฒนาโครงการบ้านจัดสรร แนวราบได้ครบ 4 ทิศ รอบกรุงเทพฯ จะส่งผลให้บริษัทฯมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปี 10-20 % ในปัจจุบันบริษัทมีพื้นที่รอการพัฒนาในโซนนนทบุรีและฉะเชิงเทรารวม 40 ไร่ จะเริ่มทยอยเปิดตัวเพิ่มในปี 2564 เป็นต้นไปเพื่อทดแทนสินค้าที่กำลังจะหมดลง โดยพื้นที่ดังกล่าวสามารถรองรับการพัฒนาโครงการได้ทั้งหมด 2 โครงการ จากปัจจุบันมีโครงการอยู่ 6 โครงการ ประกอบด้วยโครงการ คุณาลัย คอร์ทยาร์ด เฟส 2, โครงการ คุณาลัย จอย, โครงการ คุณาลัย บีกินส์ 2, โครงการ คุณาลัย พรีม และคุณาลัย จอย ออน 314 จ.ฉะเชิงเทรา คิดเป็นมูลค่ารวมทั้งหมด 4,542 ล้านบาท   สำหรับกลยุทธ์ในช่วงไตรมาสของสุดท้ายของปี 2563 ว่า ตลาดอสังหาริมทรัพย์แนวราบ ยังคงมีความต้องการของผู้บริโภคอย่างต่อเนื่อง ซึ่งกลุ่มที่มีกำลังซื้อที่อยู่อาศัยจริง (Real Demand) โดยส่วนใหญ่จะมองหาอสังหาฯ ที่มีระดับราคาต่ำกว่า 3 ล้านบาท ซึ่งกลุ่มนี้ถือว่ามีความต้องการเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ส่งผลให้บริษัทฯยังคงให้ความสำคัญกับการทำโปรโมชั่นโปรโมชั่น ลด แลก แจก แถม เนื่องจากในช่วงไตรมาส 4 ของทุกปี ถือเป็นช่วงฤดูกาลขาย (ไฮซีซั่น) ของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์   ดังนั้น การทำโปรโมชั่นจะเป็นอีกปัจจัยในการประกอบการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค ส่งผลให้บริษัทฯยังคงทำการตลาดผ่านช่องทางออนไลน์ (Online) เพื่อเป็นข้อมูลให้ลูกค้าตัดสินใจ รวมถึงช่องทางการบอกต่อของกลุ่มลูกค้าเก่า ซึ่งบริษัทฯเชื่อว่าการบอกต่อเป็นการสร้างความเชื่อมั่นของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่ดี และด้วยสินค้าในทุกโครงการของบริษัทฯที่ให้ความสำคัญกับเรื่องของคุณภาพ จึงเชื่อว่าจะเป็นหนึ่งในปัจจัยที่ลูกค้าตัดสินใจซื้อโครงการของบริษัท   ในช่วงไตรมาส 4/2563 บริษัทฯยังคงให้ความสำคัญกับการสร้างยอดขาย ขณะเดียวกันยังคงเน้นการสร้างสินค้าเพื่อส่งมอบตามแผน สร้างการรับรู้รายได้จากการโอนกรรมสิทธิ์ รวมถึงให้ความสำคัญกับการควบคุมค่าใช้จ่ายให้ดีที่สุด เพื่อจะช่วยสร้างกำไรให้สูงสุดในช่วงสถานการณ์ปัจจุบัน หลังจากที่ทำยอดขายและยอดโอนกรรมสิทธิ์เป็นไปตามเป้าแล้ว สำหรับการโอนกรรมสิทธิ์ ในช่วงโค้งสุดท้าย บริษัทฯเชื่อว่าจะสามารถทำได้ตามเป้าหมายที่บริษัทฯวางไว้ หลังจากในช่วง 9 เดือนแรกที่ผ่านมา (มกราคม-กันยายน2563) ยอดโอนกรรมสิทธิ์เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างการสรุปงบไตรมาส 3/2563 และจะมีการประชุมคณะกรรมการบริษัท เพื่อแจ้งให้กับนักลงทุนได้ทราบเร็วๆ นี้   ทั้งนี้ ล่าสุดบริษัทมียอดขายรอโอน (Backlog) ในมือรวมมูลค่าประมาณ 485 ล้านบาท ซึ่งจะทยอยส่งมอบในช่วงไตรมาส 4/2563 ให้มากที่สุด ส่วนที่เหลือจะทยอยส่งมอบในปีถัดไป ทั้งนี้ บริษัทฯ ตั้งเป้ายอดโอนกรรมสิทธิ์ไว้ที่ 750 ล้านบาท จากการส่งมอบบ้านอย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งยืนยันรักษายอดขาย (Presale) ในช่วงไตรมาสสุดท้ายให้ดีที่สุด แม้สภาพเศรษฐกิจในปัจจุบันจะมีการชะลอตัว และยังมีปัจจัยกดดันภายนอกอื่น ๆ  
3 สิ่งที่ดีเวลลอปเปอร์อสังหาฯ ต้องรู้ !!  กับพฤติกรรมผู้บริโภคในวิกฤตโควิด-19

3 สิ่งที่ดีเวลลอปเปอร์อสังหาฯ ต้องรู้ !! กับพฤติกรรมผู้บริโภคในวิกฤตโควิด-19

TerraBKK เปิดผลวิจัย The Most Powerful Brand 2020 พบ 3 พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนไป จากวิกฤติโควิด-19 ทั้งการยอมจ่ายเงินแพงขึ้น กับแบรนด์อสังหาฯ ที่น่าเชื่อถือ “บริการ” ยังเป็นเรื่องสำคัญ และการใส่ใจของผู้บริหาร ผ่านโปรมั่น “ของแถม-อยู่ฟรี”   นางสาวสุมิตรา วงภักดี กรรมการผู้จัดการ บริษัท เทอร์ร่า มีเดีย แอนด์ คอลซัลติ้ง จำกัด ผู้ให้บริการเว็บไซต์ TerraBKK.com เปิดเผยถึงผลวิจัย The Most Powerful Brand 2020 จากการสำรวจข้อมูลผู้บริโภค ในการตอบแบบสอบถามออนไลน์และภาคสนามจากกลุ่มตัวอย่างทั่วประเทศ​ จำนวน 1,581 คน พบว่ามี 3 พฤติกรรมของผู้บริโภคเกิดขึ้น จากผลกระทบของการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ได้แก่ 1.ผู้บริโภคยินดีจ่ายเงินมากขึ้น 20-30% กับซื้ออสังหาฯ ในแบรนด์ที่น่าเชื่อถือ  เป็นผลจากการมีมุมมองต่ออสังหาฯ ว่า คุณค่าของแบรนด์ คือ สินทรัพย์ที่มีมูลค่าเพิ่มในอนาคต ซึ่งช่วงโควิด-19 ที่ผ่านมา ทำให้คนส่วนใหญ่เปลี่ยนมุมมองด้านการอยู่อาศัยในอนาคต ที่ “บ้าน” ไม่ใช่แค่ที่อยู่อาศัยเพียงอย่างเดียว แต่จำเป็นต้องมีพื้นที่รองรับทั้งการอยู่อาศัย การทำงานในบ้าน และรองรับไลฟ์สไตล์อื่น ๆ ด้วย ทำให้มองว่า หากมีการซื้ออสังหาฯ​ ในช่วงนี้ ผู้บริโภคยินดีจ่ายเงินมากขึ้น 20-30% เพื่อซื้อบ้านหรือคอนโด จากแบรนด์ที่น่าเชื่อถือ เมื่อเทียบกับโคงการอื่นในทำเลเดียวกัน เพราะมองว่าสินทรัพย์ที่มีแบรนด์ จะสามารถสร้างมูลค่าเพิ่ม ขายต่อได้อย่างรวดเร็วในราคาที่พึงพอใจได้ในอนาคต 2.ผู้บริโภคให้ความสำคัญกับ “บริการ” จากพนักงานขาย พฤติกรรมการเลือกซื้ออสังหาฯ ในช่วงโควิด-19 มีความต่างไปจากเดิม ลูกค้าส่วนใหญ่มักจะมองหาโครงการจากแบรนด์ที่มีความคุ้นเคย และมีตัวเลือกในใจที่น้อยลง เพื่อค้นหาข้อมูลโครงการที่สนใจในระบบออนไลน์อย่างละเอียด ก่อนที่จะเข้าเยี่ยมชมโครงการจริง ผู้ซื้อบ้านช่วงนี้จึงให้ความสำคัญกับ “บริการ” จากพนักงานขาย เพราะเป็นผู้ซื้อที่ต้องการอยู่อาศัยจริง และเป็นการซื้อที่มีความจำเป็น   ดังนั้น การส่งมอบบริการที่ดีผ่านพนักงาน ตั้งแต่การให้ข้อมูล การพาเยี่ยมชมโครงการ การหาสินเชื่อที่ตอบรับความต้องการของลูกค้า รวมถึงการช่วยแก้ไขปัญหา และติดตามผลตอบรับลูกค้าเป็นสิ่งสำคัญ ที่ช่วยสร้างประสบการณ์ ความเชื่อมั่นในแบรนด์ให้กับลูกค้าได้เป็นอย่างดี ทำให้เกิดความภักดีต่อแบรนด์ในอนาคต 3.ผู้บริโภคมองว่า “โปรมั่น- อยู่ฟรี” คือ การใส่ใจ และวิสัยทัศน์ที่ดีของผู้บริหาร ผลจากการเกิดวิกฤตการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ส่งผลให้แบรนด์อสังหาฯ ส่วนใหญ่ เกิดการปรับตัวครั้งใหญ่ มีการจัดโปรโมชั่นเพื่อกระตุ้นยอดขายอย่างต่อเนื่อง ซึ่งแคมเปญส่วนลด ของแถม การอยู่ฟรี ช่วยผล เป็นกลไกลสำคัญที่ทำให้แบรนด์เข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้มากขึ้น แต่ยังคงเอกลักษณ์ความเป็นแบรนด์นั้น ๆ ทำให้สินค้าไม่เสียราคา   ขณะที่ลูกค้าได้เห็นถึงวิสัยทัศน์ของผู้บริหาร ผ่านแคมเปญต่าง ๆ ที่ออกมาช่วยเหลือกลุ่มลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤต และกลุ่มลูกค้าใหม่ที่ได้โอกาสซื้อสินค้าคุณภาพดี ทั้งนี้ การแจกของที่มีมูลค่าสูง อาทิ ทองคำ สมาร์ทโฟน สลากออมทรัพย์ เป็นโปรโมชั่นที่ลูกค้าชื่นชอบในช่วงที่เกิดวิกฤต   อย่างไรก็ตาม ผู้บริโภคยังให้ความสำคัญกับเรื่อง การพัฒนานวัตกรรม เทคโนโลยี ที่ช่วยในการประหยัดพลังงาน และรักษาสิ่งแวดล้อมเป็นเทรนด็ที่คนส่วนใหญ่มองว่า ดีเวลลอปเปอร์  ควรนำนวัตกรรมมาผสมผสานสร้างสินค้าที่ตอบโจทย์ความต้องการ รวมถึงต้องมีการพัฒนางานดีไซน์ สีสัน แบบใหม่ ๆ ให้กับทุกโครงการ เพื่อสร้างเอกลักษณ์ ในอนาคตผู้บริโภคส่วนใหญ่ จะให้ความสำคัญกับความน่าเชื่อถือของแบรนด์มากขึ้น โดยเฉพาะผู้บริโภคเจเนอเรชั่นใหม่ ๆ ซึ่งการสร้างการจดจำแบรนด์ และการตอกย้ำให้ลูกค้าจดจำแบรนด์ จะช่วยสร้างความภักดีใหด้เป็นอย่างดี สำหรับผู้บริโภคที่มีแผนซื้อบ้านใหม่หลังเกิดวิกฤตโควิด-19 ส่วนใหญ่ หันมาให้ความสำคัญกับวัสดุที่ใช้ในการก่อสร้าง  ระบบรักษาความปลอดภัย บริการหลังการขาย พื้นที่ใช้สอยภายในที่อยู่อาศัย ด้านเทรนด์การอยู่อาศัยในอนาคต ผู้ตอบแบบสอบถามให้ความสำคัญกับ 5 อันดับ ได้แก่ เรื่อง ความคุ้มค่า คุ้มราคา มากที่สุด 72% รองลงมาเป็นเรื่อง มาตรการรักษาความปลอดภัย 69%  การประหยัดพลังงาน 56%  การออกแบบพื้นที่ใช้สอยตอบโจทย์ Work From Home 51% และออกแบบที่เน้นความสะอาด ถูกหลักอนามัย 50%
“สิวารมณ์” ขน 7 โครงการ อัดแคมเปญ ดันยอดขายรวมปี’63 คาดแตะ 2,000 ล้านบาท

“สิวารมณ์” ขน 7 โครงการ อัดแคมเปญ ดันยอดขายรวมปี’63 คาดแตะ 2,000 ล้านบาท

“สิวารมณ์” ขน 7 โครงการ อัดแคมเปญ ดันยอดขายปี’63 สิวารมณ์ ขน 7 โครงการ รวมมูลค่ากว่า 3,600 ล้านบาท จัดแคมเปญ “สิวารมณ์ เปย์ เดย์ กับเป้ อารักษ์ 28-29 พ.ย. นี้” ลดสูงสุดกว่า 1 ล้านบาท พร้อมช่วยผ่อนสูงสุด 60 เดือน ส่งท้ายปี63 คาดดันยอดขายรวมปีนี้แตะ 2,000 ล้านบาท ยอดโอนกรรมสิทธิ 1,400 ล้านบาท และปิดการขาย 2 โครงการ ภายในปีนี้     นายอรรถปวิทย์ มโนธรรมรักษา กรรมการผู้จัดการ บริษัท สิวารมณ์ เรียลเอสเตท จำกัด และ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เมซัน ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด เปิดเผยว่า ได้จัดกลยุทธส่งเสริมการขายในช่วงโค้งสุดท้ายไตรมาส 4/2563 ด้วยการจัดแคมเปญ “สิวารมณ์ เปย์ เดย์ กับเป้ อารักษ์ 28-29 พ.ย. นี้” พบบ้านหรู สไตล์ อเมริกันคอทเทจ หลายทำเลคุณภาพ ยกทัพ ลดราคา สูงสุดกว่า 1 ล้านบาท พร้อมรับข้อเสนอช่วยผ่อน 60 เดือน โดยใช้ “เป้-อารักษ์ อมรศุภศิริ” เป็นพรีเซ็นตอร์ ในการนำเสนอภาพลักษณ์ของโครงการที่ตอบโจทย์กลุ่มลูกค้า ที่ต้องการซื้อที่พักอาศัย ทำเลใกล้เมืองและแหล่งอำนวยความสะดวกในการใช้ชีวิต มีพื้นที่ส่วนกลางขนาดใหญ่ สามารถลองรับกิจกรรมของลูกบ้านได้อย่างเต็มที่ กำหนด Selling Point & Marketing Strategy Smart Location Smart Space Smart Value Smart Home หวังสร้างยอดขายสวนกระแสตลาดอสังหาริมทรัพย์ กับโครงการบ้านที่เปิดขายพร้อมโอนกรรมสิทธิ 7 โครงการ มูลค่ารวม 3,600 ล้านบาท ประกอบด้วย     สิวารมณ์ เนเจอร์ พลัส ท่าข้าม-พระราม 2 บ้านเดี่ยว และ ทาวน์โฮม อลังการส่วนกลางกว่า 4 ไร่ 10 นาที ถึงเซ็นทรัลพระราม 2 - ทางด่วน-สาทร ส่วนกลางกว่า 4 ไร่ จากราคา 4.24 ล้านบาท เหลือเพียง 2.99 ล้านบาท สิวารมณ์ เนเจอร์พลัส (สุขุมวิท-บางปู) บ้านแฝดและ ทาวน์โฮมหรู 4 นอนใหญ่ ติดถนนสุขุมวิท ใกล้รถไฟฟ้า ตรงข้ามสถานตากอากาศบางปู จากราคา 3.09 ล้านบาท เหลือเพียง 2.59 ล้านบาท สิวารมณ์ ปาร์ค สุขุมวิท - บางปู บ้านเดี่ยวหรู ติดถนนใหญ่ ใกล้โรงพยาบาลรามาฯ จากราคา 4.59 ล้านบาท เหลือเพียง 3.49 ล้านบาท สิวารมณ์ ซิตี้ (นิคมพัฒนา-ระยอง) บ้านเดี่ยวและ บ้านแฝด ทาวน์โฮม สุดหรู ติดถนนใหญ่ ใกล้ นิคมเหมราช, นิคมมาบตาพุด จากราคา 1.7 ล้านบาท เหลือเพียง 1.09 ล้านบาท ศรีราชา ฮิลล์ไซต์ ทาวน์ (ติดสุขุมวิท) บ้านหรู 4 นอนใหญ่ ติดถนนใหญ่ ใกล้นิคมแหลมฉบัง, ห้างโรบินสัน แปซิฟิก ปาร์ค, ม.เกษตร ศรีราชา จากราคา 4.7 ล้านบาท เหลือเพียง 3.79 ล้านบาท เอ็มไลฟ์ (บางนา - ลาดกระบัง) ทาวน์โฮมหรู 4 นอนใหญ่ และโฮมออฟฟิศ บนสุดยอดทำเลตรงข้าม King Power วัดศรีวารีน้อย ใกล้ทางด่วน 2 สาย + สนามบินสุวรรณภูมิ จากราคา 2.56 ล้านบาท เหลือเพียง 2.19 ล้านบาท เอ็มเวนิว (เวสเก็ต - บางใหญ่) บ้านหรู 4 ห้อนใหญ่ ใกล้รถไฟฟ้า เซนทรัลเวสเก็ต หลังสุดท้ายก่อนปิดโครงการ เพียง 3.99 ล้านบาท   -----คลิ๊กชม VDO เยี่ยมชมบ้าน สิวารมณ์  https://youtu.be/iAOO59U4Qi4   เปิดให้ผู้สนใจลงทะเบียนแล้ววันนี้ที่ FB : SIVAROM หรือ โทร. 02 295 3397 และสามารถเข้าเยี่ยมชมโครงการได้ทุกวัน ตั้งแต่เวลา 9.00 – 18.00 น. โดยคาดว่าการจัดแคมเปญดังกล่าวจะสามารถทำยอดขายได้ 300 ล้านบาท และสร้างยอดขายรวมปี 2563 นี้ที่ 2,000 ล้านบาท ยอดโอนกรรมสิทธิ 1,400 ล้านบาท พร้อมปิด 2 โครงการ ได้ภายในปีนี้    
พรีบิลท์ ปั้นแบรนด์ “พรรณนา”  ลุยตลาดบ้านลักชัวรี่ราคา 15 ล้านอัพ !!

พรีบิลท์ ปั้นแบรนด์ “พรรณนา” ลุยตลาดบ้านลักชัวรี่ราคา 15 ล้านอัพ !!

พรีบิลท์ ลุยตลาดบ้านลักชัวรี่ราคา 15 ล้านขึ้นไป ประเดิมโครงการแรก “พรรณนา พุทธมณฑลสาย 3 มูลค่า 1,250 ล้านบาท พร้อมกวาดยอดขายแล้วกว่า 300 ล้านบาท เตรียมเดินหน้าต่อจับตลาดบ้านราคา 5-7 ล้าน   นายวิโรจน์ เจริญตรา กรรมการผู้จัดการ บริษัท พรีบิลท์ จำกัด (มหาชน) หรือ PRE-BUILT เปิดเผยว่า บริษัทได้ดำเนินธุรกิจก่อสร้างให้กับอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์ของไทยมานานกว่า 28 ปี  ทำให้เห็นการเติบโตของตลาดบ้านเดี่ยว ในกลุ่มลักชัวรี่ ระดับราคาตั้งแต่ 15 ล้านบาทขึ้นไป เป็นเซ็กเมนต์ที่มีการเติบโตต่อเนื่องตลอด 5 ปีที่ผ่านมา เพราะกลุ่มผู้ซื้อบ้านในระดับราคาดังกล่าวได้รับผลกระทบจากความผันผวนทางเศรษฐกิจค่อนข้างน้อยกว่ากลุ่มอื่น  และเป็นกลุ่มที่มองหาบ้านเดี่ยวเพื่อตอบโจทย์การใช้ชีวิตของทุกคนในครอบครัว ในทำเลที่จะมีมูลค่าสูงขึ้นในอนาคตด้วย จากปัจจัยดังกล่าวทำให้บริษัทได้เปิดตัวโครงการบ้านลักชัวรี่แห่งแรก  โครงการพรรณนา พุทธมณฑลสาย 3 มูลค่าโครงการรวม 1,250 ล้านบาท ภายใต้การบริหารของบริษัทในเครือ คือ บริษัท อีส แอม อาร์ จำกัด หรือ IS AM ARE  ซึ่งมีทุนจดทะเบียน 300 ล้านบาท  ซึ่งโครงการตั้งอยู่บนพื้นที่ขนาด 41 ไร่ บนถนนบางแวก เชื่อมต่อถนนพุทธมณฑลสาย 2 และถนนพุทธมณฑลสาย 3  โดยใน 3 เฟสแรกสามารถปิดการขายได้กว่า 80% หรือคิดเป็นมูลค่าการขายแล้วกว่า 300 ล้านบาท  ภายในระยะเวลา 6 เดือน ซึ่งทำเลดังกล่าวถือว่าเป็นทำเลศักยภาพ เนื่องจากราคาที่ดินมีการปรับเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในอัตรา 8-10%   สำหรับโครงการพรรณนา พุทธมณฑลสาย 3 ได้รับออกแบบภายใต้แนวคิด ‘Timeless’ หรือความงามอย่างยั่งยืน เพื่อตอบโจทย์ผู้อาศัยที่มองหาบ้านสำหรับการลงหลักปักฐาน และส่งต่อให้เป็นมรดกจากรุ่นสู่รุ่น ดังนั้นคุณค่าความสวยงาม และการใช้งานของบ้านหลังนี้จะต้องสามารถคงอยู่ไปอีกหลายสิบปี​  โครงการพรรณนา พุทธมณฑลสาย 3 มีแบบบ้านทั้งหมด 2 แบบ ได้แก่ แบบ P280 พื้นที่ใช้สอย 280 ตร.ม. และแบบ P326 พื้นที่ใช้สอย 326 ตร.ม. ทุกแบบบ้านมีฟังก์ชั่น 4 ห้องนอน 5 ห้องน้ำ พร้อมด้วยโถงพักผ่อนขนาดใหญ่ ห้องแม่บ้านแยกส่วน และที่จอดรถในร่มถึง 3 คัน บนพื้นที่ 100 ตร.ว. ขึ้นไป นอกจากนั้น ยังให้ความสำคัญกับการสร้างสภาพแวดล้อมที่น่าอยู่ เพื่อก่อเกิดสังคมคุณภาพ ด้วยการออกแบบผังโครงการที่ไม่ซับซ้อน เน้นความเป็นส่วนตัว โดยวางจำนวนบ้านไม่หนาแน่นมาก เพียง 4 ยูนิตต่อซอยเท่านั้น   ปัจจุบันโครงการพรรณนา พุทธมณฑลสาย 3 เปิดไปแล้ว 3 เฟส ซึ่งได้รับการตอบรับอย่างดีจากลูกค้าที่เชื่อมั่นในประสบการณ์ในแวดวงธุรกิจก่อสร้างที่ยาวนานของพรีบิลท์ รวมไปถึงลูกค้าที่เข้ามาดูโครงการได้เห็นพัฒนาการด้านการก่อสร้างอย่างต่อเนื่อง ถึงแม้จะอยู่ในช่วงโควิด-19 ทางโครงการฯ  ไม่ได้ชะลอการก่อสร้างแต่อย่างใด   ช่วงต้นปี 2564 บริษัทยังวางแผนเปิดตัวบ้านเดี่ยวระดับกลางในราคา 5 – 7 ล้านบาท ภายใต้แบรนด์พรรณนารา (PANNARA) ในแนวคิด ‘Less For More Living’ บนทำเลถนน ศรีนครินทร์ เป็นโครงการต่อไปด้วย
REIC จับมือ RESAM พัฒนา “THAI-MLS” ระบบขายบ้านมือสองออนไลน์

REIC จับมือ RESAM พัฒนา “THAI-MLS” ระบบขายบ้านมือสองออนไลน์

REIC จับมือ RESAM นำร่องพัฒนาระบบขายบ้านมือสองออนไลน์ “THAI-MLS” รองรับตลาดบ้านมือสองพร้อมขายกว่า 250,000 ยูนิตต่อเดือน กระตุ้นดีมานด์คนไทยอยากมีบ้านทำเลดีราคาไม่แพง พร้อมช่วยรัฐจัดเก็บค่าธรรมเนียมและภาษีที่เกี่ยวข้องได้มากขึ้น   ในปัจจุบันตลาดที่อยู่อาศัยในประเทศไทยมีขนาดใหญ่มากและมีบทบาทสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจไทยอย่างมาก โดยมีค่าเฉลี่ยการโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยระหว่างปี 2560 – 2562 สูงถึงปีละ ประมาณ 367,000 ยูนิต และมีมูลค่า 847,000 ล้านบาท โดยประมาณการว่า เป็นการโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยมือสอง (Resale-home) ประมาณปีละ 184,000 ยูนิต และมีมูลค่า 308,000 ล้านบาท หรือคิดเป็นประมาณ 36.4% ของภาพรวมการโอนกรรมสิทธิ์ทั้งประเทศ โดยมีอัตราการขยายตัวเฉลี่ยประมาณ 17.9% ต่อปี ซึ่งสะท้อนให้เห็นความต้องการในการซื้อที่อยู่อาศัยมือสองที่มีจำนวนและอัตราการขยายตัวที่สูงอย่างต่อเนื่อง ดร.วิชัย วิรัตกพันธ์ ผู้ตรวจการธนาคาร และรักษาการผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ (REIC) เปิดเผยว่า  จากการสำรวจศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ยังพบว่า ในแต่ละเดือนมีจำนวนอสังหาริมทรัพย์ที่ประกาศขายที่อยู่อาศัยมือสองในช่องทางออนไลน์ อยู่ประมาณ 130,000 – 150,000 ยูนิต และมีทรัพย์สินรอการขาย (NPA) ของสถาบันการเงินต่าง ๆ ประมาณ 50,000 ยูนิต รวมถึงทรัพย์รอการประมูลของกรมบังคับคดีที่รอการประมูลอีกประมาณ  50,000 ยูนิต คาดว่าน่าในแต่ละเดือนจะมีปริมาณที่อยู่อาศัยมือสองที่พร้อมขายสูงถึงประมาณ 250,000 ยูนิต ซึ่งที่อยู่อาศัยมือสองเป็นสินค้าทางเลือกในทำเลที่ดีและราคาที่ถูกกว่าด้วย ปริมาณดีมาน์และซัพพลายของที่อยู่อาศัยมือสองที่มีจำนวนมากเช่นนี้ แสดงให้เห็นได้ว่า ตลาดที่อยู่อาศัยมือสองมีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าตลาดที่อยู่อาศัยใหม่ในปัจจุบัน และคาดว่าตลาดที่อยู่อาศัยมือสองมีโอกาสที่จะขยายตัวจนเท่ากับหรือใหญ่กว่าตลาดที่อยู่อาศัยใหม่ในอนาคตอันใกล้นี้ สาเหตุที่ที่อยู่อาศัยมือสองเป็นที่นิยม เพราะทำเลในการพัฒนาที่อยู่อาศัยใหม่มักจะอยู่ไกลออกไปจากเมือง ขณะที่ที่อยู่อาศัยมือสองมักจะตั้งอยู่ในทำเลที่ดีกว่าในราคาเดียวกัน หรือ มีราคาที่ถูกไม่น้อยกว่าถึง 20% - 30% ในทำเลเดียวกัน อีกทั้งขนาดของที่ดินและ/หรือพื้นที่ใช้สอยของที่อยู่อาศัยมือสองมักจะได้ขนาดที่ใหญ่กว่าที่อยู่อาศัยใหม่ในระดับราคาและทำเลเดียวกัน และประเด็นสำคัญอีกประการหนึ่ง คือ ที่อยู่อาศัยที่มีราคาต่ำ เช่น ที่อยู่อาศัยที่มีราคาไม่เกิน 1 ล้าน อาจยากที่จะหาซื้อได้จากตลาดที่อยู่อาศัยใหม่ แต่ยังมีให้เลือกซื้อได้มากกว่าในตลาดที่อยู่อาศัยมือสอง   นอกจากนี้ ในปัจจุบันตัวแทนนายหน้ามีบทบาทสูงขึ้นอย่างมากในการช่วยหาผู้ซื้อให้ เจ้าของที่อยู่อาศัย ซึ่งเป็นไปในทิศทางเช่นเดียวกับในต่างประเทศ โดยในประเทศที่มีการพัฒนาตลาดที่อยู่อาศัยมือสองที่ประสบความสำเร็จส่วนใหญ่จะมีระบบ MLS (Multiple Listed Services) เพื่อเป็นระบบฐานข้อมูลที่อยู่อาศัยมือสองสำหรับตัวแทนนายหน้าที่จะสามารถนำมาประกาศ และหาตัวแทนนายหน้าอื่นเข้าช่วยขายได้  ทำให้ที่อยู่อาศัยมือสองในระบบ MLS มีโอกาสในการขายได้ง่ายขึ้นและเร็วขึ้น ซึ่งจะเกิดประโยชน์อย่างมากต่อประชาชนในกลุ่มเจ้าของที่อยู่อาศัยที่ต้องการขาย  หรือกลุ่มที่ต้องการซื้อที่อยู่อาศัยมือสอง โดยจะมีกฎหมายในการกำกับดูแล เช่น สหรัฐอเมริกา และยุโรป หรือกลุ่มประเทศใน AEC เช่น มาเลเซีย สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ กัมพูชา และ เวียดนาม ขณะที่ประเทศเมียนมาร์ กำลังที่จะบังคับใช้กฎหมาย แต่ประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายดังกล่าว ดังนั้น เพื่อให้ประเทศไทยมีการเตรียมตัวรองรับตลาดที่อยู่อาศัยมือสองอย่างเป็นรูปธรรม ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ได้พัฒนา platform ระบบ MLS สำหรับการใช้งานในประเทศไทย ชื่อ “THAI-MLS” ขึ้น และ สมาคมการขายและการตลาดอสังหาริมทรัพย์ (RESAM) ได้เป็นผู้บริหารจัดการสมาชิกที่เข้าร่วมระบบฯ โดยได้รับการสนับสนุนและความช่วยเหลือด้านวิชาการจาก National Association of REALTORS®: NAR ซึ่งเป็นที่มาของการลงนามในบันทึกความร่วมมือ (MOU) ของโครงการนำร่องสำหรับทดลองใช้ระบบ MLS ในการดำเนินการจริง   โดยมีการนำที่อยู่อาศัยที่มีการฝากขายจริงเข้าระบบโดยตัวแทนนายหน้าขายหลัก (Major Broker) มีการเปิดให้มีการเข้าร่วมเป็นตัวแทนนายหน้าขายร่วม (Co-broker) ที่สามารถช่วยขายที่อยู่อาศัยในระบบ THAI-MLS ได้ แต่เนื่องจากการดำเนินการนี้เพียงระยะนำร่องจึงจะเปิดให้ผู้เข้าร่วมสามารถที่ยอมรับเงื่อนไขและกฎ กติกาและข้อบังคับต่าง ๆ ที่กำหนดขึ้น โดยเป็นการดำเนินการในลักษณะ Sandbox ก่อนเท่านั้น และหากได้ทดลองใช้จริงไประยะหนึ่ง และทุกอย่างเป็นได้ด้วยดี ก็ยินดีเปิดรับผู้ที่มีวิชาชีพตัวแทนนายหน้าจากทุกองค์กรเข้าร่วม   นางอรุณี เทียมหงส์ นายกสมาคมการขายและการตลาดอสังหาริมทรัพย์ (RESAM)  กล่าวว่า​ สมาคมฯ ได้ร่วมมือกับ ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ในการดำเนินการ THAI-MLS เนื่องการพัฒนาระบบ THAI-MLS ครั้งนี้ เป็นการดำเนินการอย่างจริงจังในลักษณะโครงการนำร่องครั้งแรกในประเทศไทย แม้ในวันนี้ประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายสำหรับควบคุมวิชาชีพตัวแทนนายหน้า (Brokerage Licensing Law) ซึ่งถือเป็นกฎหมายที่สร้าง กฎ กติกา และการควบคุมด้านจรรยบรรณและคุณภาพทางวิชาชีพ แต่การพัฒนาระบบ THAI-MLS นี้จะสามารถเป็น Platform ที่ช่วยสร้างเครือข่ายตัวแทนนายหน้าให้สามารถช่วยกันขายที่อยู่อาศัยมือสองให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงขึ้น ซึ่งจะเป็นการช่วยให้ผู้ที่ต้องการขายบ้านเดิมเพื่อหาซื้อบ้านใหม่สามารถทำได้ง่ายขึ้น รวดเร็วขึ้น และมีตัวแทนนายหน้าที่น่าเชื่อถือเป็นผู้ดำเนินการให้ ในระบบ THAI-MLS นี้ สมาคม RESAM ได้เข้ามาช่วยรับดูแลการบริหารจัดการด้านข้อมูลในระบบและข้อมูลสมาชิกในระบบฯ โดยผู้เข้าร่วมใช้ระบบต้องมีการลงนามในสัญญาว่าจะยอมรับการปฏิบัติตัวตาม กฎ กติกา และข้อบังคับ ต่าง ๆ ก่อนเข้าใช้ระบบฯ  ทางสมาคมฯมีความมั่นใจว่า การดำเนินการเช่นนี้ในจะช่วยยกระดับการทำงานและมาตรฐานวิชาชีพของตัวแทนนายหน้าด้านอสังหาริมทรัพย์ของประเทศไทยให้สูงขึ้นได้ และเมื่อถึงวันที่ประเทศไทยมีกฎหมายสำหรับควบคุมวิชาชีพนายหน้าแล้ว ก็จะช่วยขับเคลื่อนให้ตลาดที่อสังหาริมทรัพย์มือสองจะเติบโตได้อย่างก้าวกระโดด โดยมีพื้นฐานด้านระบบปฏิบัติการและด้านธุรกิจที่สามารถรองรับได้ทันที ทั้งนี้ประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากโครงการฯนี้ จะเกิดกับประชาชนเจ้าของที่อยู่อาศัยและผู้ต้องการซื้อที่อยู่อาศัย ธุรกิจตัวแทนนายหน้า และภาครัฐ โดยเฉพาะในเรื่องรายได้จากภาษีและค่าธรรมเนียม สามารถจัดเก็บเพิ่มได้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วยจากธุรกิจนี้ ซึ่งจะสามารถรายได้ส่วนนี้ไปช่วยพัฒนาประเทศในด้านต่าง ๆ ต่อไป    
เมเจอร์ เดิน 3 กลยุทธ์โค้งท้ายปี หลัง 9 เดือนสร้างรายได้โต 15%

เมเจอร์ เดิน 3 กลยุทธ์โค้งท้ายปี หลัง 9 เดือนสร้างรายได้โต 15%

เมเจอร์ โชว์ผลประกอบการ 9 เดือนแรก รับรู้รายได้ 5,349 ล้าน เติบโต 15% พร้อมกำไรสุทธิ 110.91 ล้าน เดินหน้า 3 กลยุทธ์ลุยตลาดโค้งท้ายปี พร้อมจัดแคมเปญใหญ่กระตุ้นยอดขายและยอดโอน กวาดรายได้ตามเป้า   นางสาวเพชรลดา พูลวรลักษณ์ กรรมการบริหาร บริษัท เมเจอร์ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) หรือ MJD เปิดเผยว่า ผลการดำเนินงาน 9 เดือนแรกของปีนี้ บริษัทยังคงขับเคลื่อนไปได้อย่างต่อเนื่อง ท่ามกลางวิกฤติเศรษฐกิจและผลกระทบจากไวรัสโควิด-19 โดยมีรายได้รวมทุกประเภทธุรกิจอยู่ที่ 5,349 ล้านบาท เติบโต 15% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า โดยมียอดโอนกรรมสิทธิ์ในโครงการที่อยู่อาศัยที่เพิ่งก่อสร้างแล้วเสร็จในไตรมาสนี้ ได้แก่ โครงการมิวนิค สุขุมวิท 23 และโครงการมารุ ลาดพร้าว 15 รวมถึงโครงการที่ทยอยโอนอย่างต่อเนื่องจากปีที่ผ่านมา ขณะเดียวกัน มีผลกำไรสุทธิรวมทั้งสิ้น 110.91 ล้านบาท “เราปรับตัวและปรับปรุงแผนการดำเนินธุรกิจ ตลอดจนกลยุทธ์อย่างต่อเนื่องตลอดช่วง 9 เดือนที่ผ่านมา มุ่งเน้นการจัดการสินค้าคงค้าง อำนวยความสะดวกผู้บริโภคในการเข้าถึงโครงการที่อยู่อาศัย พร้อมกับการรักษาระดับกระแสเงินสดให้ยังคงแข็งแกร่งรับมือทุกสถานการณ์ แม้ผลประกอบการที่ออกมาอาจไม่ได้หวือหวา แต่เราเชื่อว่าการเดินหน้าปรับตัวและจัดการ Inventory อย่างต่อเนื่อง จะเป็นพื้นฐานสำคัญของเราสู่การสร้างรายได้และดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนในระยะยาว”   สำหรับในไตรมาสสุดท้ายปีนี้ บริษัทจะดำเนินการใน 3 ส่วนหลัก เพื่อให้ธุรกิจยังขับเคลื่อนและเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง ได้แก่ 1.การวางรากฐานกระจายพอร์ตธุรกิจ (Business Diversification) สร้างรากฐานระยะยาว บริษัทจะเตรียมการพัฒนาสินค้าประเภทใหม่ๆ เซ็กเมนท์ใหม่ๆ เพื่อเข้าถึงกลุ่มลูกค้าที่หลากหลายมากขึ้นเพื่อเพิ่มโอกาสทางธุรกิจ ขณะเดียวกันจะทยอยก้าวเข้าสู่ธุรกิจ ที่ครบวงจรด้านการพัฒนาที่อยู่อาศัยมากยิ่งขึ้นด้วยประสบการณ์  ในการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่ยาวนานกว่า 20 ปี และวิสัยทัศน์ที่มุ่งมั่นในการพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยให้มีคุณภาพและมีการออกแบบที่คำนึงถึงการใช้งานเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มในระยะยาว พร้อมส่งมอบประสบการณ์การอยู่อาศัยที่แตกต่างและเหนือความคาดหมาย 2.การพัฒนาที่อยู่อาศัยให้พร้อมตอบโจทย์ Post-COVID-19 บริษัทศึกษาพฤติกรรมเชิงลึกของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปสู่ New Normal ที่เริ่มเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นรูปธรรมแล้วในช่วง Post-COVID-19 และพัฒนาสินค้าใหม่ๆ ให้มีความพร้อมตอบโจทย์ดังกล่าว 3.การจัดแคมเปญกระตุ้นยอดขายส่งท้ายปี บริษัทจัดแคมเปญ MAJOR SALE ลดได้ลด ให้ได้ให้ กระตุ้นการตัดสินใจของผู้บริโภคในช่วง 2 เดือนสุดท้ายของปี ซึ่งเป็นช่วงไฮซีซั่นของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ผ่าน 10 โครงการพร้อมอยู่ทำเลศักยภาพ ภายใต้หลากหลายแบรนด์ อาทิ มอลตัน, รีเฟล็คชั่น, เอ็ม โปรเจ็คท์, มาเอสโตร, เมทริส  แม้จะเพิ่งจัดแคมเปญไปได้ไม่ถึงครึ่งเดือน แต่ก็เห็นการตอบรับที่ดีจากผู้บริโภค ตามสภาพเศรษฐกิจที่ค่อยๆ ฟื้นตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง   ทั้งนี้ ในไตรมาส 4/2563 บริษัทจะมีโครงการคอนโดมิเนียมสร้างเสร็จใหม่พร้อมทยอยโอนกรรมสิทธิ์เพิ่มเติม  คือ โครงการมารุ เอกมัย 2 มูลค่ากว่า 2,500 ล้านบาท และโครงการแล้วเสร็จทั้งแนวสูงและแนวราบ อาทิ โครงการ  เมทริส พระราม 9-รามคำแหง, โครงการเมทริส ลาดพร้าว, โครงการมิวนิค สุขุมวิท 23, โครงการมารุ ลาดพร้าว, มอลตัน ไพรเวท เรสซิเดนซ์ อารีย์ และมอลตัน ไพรเวท เรสซิเดนซ์ สุขุมวิท 31 ยังคงโอนกรรมสิทธิ์อย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้รายได้ในปีนี้จะยังคงเป็นไปตามเป้าหมาย    
ทำเลส่วนต่อขยายรถไฟฟ้า  ราคาที่ดินก่อนการพัฒนาเพิ่มกว่า 21%

ทำเลส่วนต่อขยายรถไฟฟ้า ราคาที่ดินก่อนการพัฒนาเพิ่มกว่า 21%

แผนการพัฒนาเส้นทางรถไฟฟ้า ยังเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ราคาที่ดินปรับเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นบริเวณส่วนต่อขยายเส้นทางรถไฟฟ้าสายเดิม หรือเป็นแนวเส้นทางการพัฒนารถไฟฟ้าสายใหม่ ๆ ก็ตาม     ล่าสุด ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ รายงานดัชนีราคาที่ดินเปล่าก่อนการพัฒนา ในกรุงเทพฯ-ปริมณฑล ไตรมาส 3 ปี 2563 พบว่ามีค่าดัชนีเท่ากับ 310.7 จุด ปรับเพิ่มขึ้น  0.7% เป็นการเพิ่มขึ้นในอัตราที่ชะลอตัวเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (QoQ) ซึ่งมีค่าดัชนีเท่ากับ 308.6 จุด และปรับเพิ่มขึ้น  21.1% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน(YoY) ซึ่งมีค่าดัชนีเท่ากับ 256.5 จุด   ราคาที่ดินเปล่าก่อนการพัฒนาในไตรมาสนี้ ทำเลที่เพิ่มขึ้นมากส่วนใหญ่ยังคงเป็นพื้นที่ปลายสายรถไฟฟ้าที่เป็นส่วนต่อขยายและมีแผนจะก่อสร้างในอนาคต   ทั้งนี้ ทำเลที่มีเส้นทางรถไฟฟ้าผ่านและมีอัตราการขยายตัวของราคาที่ดินเพิ่มขึ้นสูงสุด เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน (YoY) 5 อันดับแรก ส่วนใหญ่เป็นทำเลที่มีแนวเส้นทางรถไฟฟ้าที่อยู่ระหว่างก่อสร้าง และที่มีแผนจะก่อสร้างในอนาคต 5 อันดับทำเลราคาปรับเพิ่มสูง 1.สายสีชมพู (แคราย - มีนบุรี) เป็นเส้นทางรถไฟฟ้าที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง มีอัตราการขยายตัวของราคาที่ดินเพิ่มขึ้น  35.7%  และเพิ่มขึ้น  0.3% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (QoQ) 2.สายสีเขียวเหนือ (คูคต - ลำลูกกา) เป็นเส้นทางรถไฟฟ้าที่ยังไม่เริ่มก่อสร้าง ทำเลนี้เคยมีอัตราการเพิ่มขึ้นของราคาที่ดิน (YOY) สูงสุดติดต่อกัน 5 ไตรมาส ปัจจุบันราคาที่ดินเริ่มมีอัตราชะลอตัวลงในไตรมาสนี้มีอัตราขยายตัวของราคาที่ดินเพิ่มขึ้น 34.2% 3.สายสีน้ำเงิน (บางแค - พุทธมณฑลสาย 4) เป็นทำเลของโครงการที่มีแผนจะก่อสร้างในอนาคต มีอัตราการขยายตัวของราคาที่ดินเพิ่มขึ้น  28.5% 4.สายสีแดงอ่อน (ตลิ่งชัน - ศาลายา) เป็นทำเลที่โครงการที่มีแผนจะก่อสร้างในอนาคต มีอัตราการขยายตัวของราคาที่ดินเพิ่มขึ้น 21.5% 5.สายสีเทา (วัชรพล-พระราม 9 -ท่าพระ) เป็นทำเลของโครงการที่มีแผนจะก่อสร้างในอนาคต มีอัตราการขยายตัวของราคาที่ดินเพิ่มขึ้น 14.8%   แต่เมื่อพิจารณาทำเลที่มีอัตราการขยายตัวของราคาที่ดินเพิ่มขึ้นสูงสุดเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (QoQ) ส่วนใหญ่เป็นทำเลที่มีแนวเส้นทางรถไฟฟ้าที่เปิดให้บริการแล้วและอยู่ระหว่างก่อสร้างได้แก่ 1.สายสีแดงเข้ม (บางซื่อ-หัวลำโพง) เป็นโครงการที่มีแผนจะก่อสร้างในอนาคต มีอัตราการขยายตัวของราคาที่ดินเพิ่มขึ้น 3.8% 2.MRT เป็นเส้นทางรถไฟฟ้าที่เปิดให้บริการแล้ว มีอัตราขยายตัวของราคาที่ดินเพิ่มขึ้น  3.7% 3.สายสีส้ม (ศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี) เป็นเส้นทางรถไฟฟ้าที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง มีอัตราการขยายตัวของราคาที่ดินเพิ่มขึ้น 3.6% 4.Airport Link เป็นเส้นทางรถไฟฟ้าที่เปิดให้บริการแล้ว มีอัตราขยายตัวของราคาที่ดินเพิ่มขึ้น 3.2% 5.BTS สายสุขุมวิท เป็นเส้นทางรถไฟฟ้าที่เปิดให้บริการแล้ว มีอัตราขยายตัวของราคาที่ดินเพิ่มขึ้น 3.1%
ภารกิจบทใหม่ “เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้โฮม” กับ 4 Mission สู่ผู้นำเบอร์ 3 อสังหาฯ

ภารกิจบทใหม่ “เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้โฮม” กับ 4 Mission สู่ผู้นำเบอร์ 3 อสังหาฯ

ภายหลังจากที่ บริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)  หรือ “FPT” เข้าซื้อกิจการของ บริษัท แผ่นดินทอง พร็อพเพอร์ตี้ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) หรือ “GOLD” และได้ดำเนินการต่าง ๆ ตามกฎระเบียบและข้อกฎหมายเป็นที่เรียบร้อย กลุ่มธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เพื่อที่อยู่อาศัยของโกลเด้นแลนด์ภายใต้ การบริหารงานของ FPT จึงได้เปลี่ยนมาเป็น “เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ โฮม”   แม้ว่าจะเปลี่ยนชื่อใหม่ แต่ภารกิจและบทบาทของ  “เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ โฮม” ยังคงเดินหน้าพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์คุณภาพเหมือนเดิม พร้อมกับการรักษาความเป็นผู้นำตลาดอสังหาฯ เหมือนที่ผ่านมา ซึ่งปัจจุบัน  “เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ โฮม” อยู่ในอันดับ Top 5 ของตลาดอสังหาฯ ไทย มีโครงการที่พักอาศัยงรวม 60 โครงการ   แต่ด้วยศักยภาพและขนาดของธุรกิจ ภายใต้ชายคาของ FPT  นับจากนี้ “เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ โฮม” จึงมีพันธกิจใหม่ กับการก้าวขึ้นเป็นผู้นำตลาดอสังหาฯ ที่มีรายได้สูงสุดอันดับ 3  ภายในระยะ 3 ปี หรือภายในปี 2566 โดยมีนายแสนผิน สุขี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ โฮม (ประเทศไทย) เป็นผู้ขับเคลื่อนที่สำคัญ กับ 4 พันธกิจ (Mission) สำคัญ เพื่อใช้เป็นแนวทางการไปสู่เป้าหมายดังกล่าวนั้น ได้แก่ 1.การสร้างรายได้มากกว่า 20,000 ล้านบาท เป้าหมายของ  “เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ โฮม” ในการก้าวขึ้นเป็นอันดับ 3 ของผู้นำตลาดอสังหาฯ คือการมีรายได้ มากกว่า 20,000 ล้านบาท จากปัจจุบันช่วง 9 เดือนของปีนี้ มียอดรับรู้รายได้ 10,894 ล้านบาท ซึ่งถือว่ายังเป็นที่น่าพอใจ สำหรับช่วงวิกฤตเศรษฐกิจในสถานการณ์ โควิด-19 เช่นนี้  โดยคาดว่าจะมียอดรับรู้รายได้ในปีนี้เกือบ 15,000 ล้านบาท สำหรับแนวทางการสร้างรายได้ตามเป้าหมายดังกล่าว สิ่งสำคัญคือ การพัฒนาโครงการออกมาทำตลาดอย่างต่อเนื่อง  ซึ่งในไตรมาสที่ 4 (ต.ค.-ธ.ค. 2563)  บริษัทได้เปิดโครงการใหม่ไปแล้ว 3 โครงการ เป็น นีโอ โฮม บ้านแฝด 2 โครงการ และทาวน์โฮม 1 โครงการ มูลค่ารวม 3,050 ล้านบาท  ขณะที่ปี 2564 เตรียมพร้อมเดินหน้าเปิดโครงการใหม่ทั้งหมด 24 โครงการ มูลค่ารวมกว่า 29,800 ล้านบาท ตอบโจทย์กลุ่มลูกค้าครบทุกเซ็กเมนต์ โดยตั้งเป้ารายได้ 16,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 10% เมื่อเทียบกับปีนี้   โดยแผนการพัฒนาโครงการในปี 2564 บริษัทได้วางแผนงบซื้อที่ดินเพื่อนำมาใช้พัฒนาโครงการ  20 แปลง วงเงิน 10,720 ล้านบาท เพื่อพัฒนาโครงการต่าง ๆ ให้มีสัดส่วนรายได้จากสินค้าทาวน์โฮม 42%, บ้านแฝด นีโอ โฮม 23%, บ้านเดี่ยว 21% และโครงการต่างจังหวัด 14% 2.เป็นทางเลือกอันดับที่ 1 ในใจลูกค้า สำหรับคนที่มองหาทาวน์โฮม ทําเลในเมือง แนวทางการพัฒนาโครงการทาวน์โฮมของ “เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ โฮม” ยังคงมีอย่างต่อเนื่อง โดยเลือกทำเลในเมืองที่มีศักยภาพในการพัฒนาโครงการ เพื่อรักษาความเป็นผู้นำตลาด เช่นเดียวกับปี 2564 ที่จะพัฒนาโคงการทาวน์โฮม ไปยังทำเลใหม่ ซึ่งเน้นทําเลที่ดีกว่าคู่แข่งทั้งตลาด และรักษาคุณภาพการก่อสร้าง ออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ แต่ยังคงเน้นด้านฟังก์ชั่นการใช้งาน 3.เป็นอันดับที่ 1 ในการทำบ้านแฝด (นีโอ โฮม) ขณะที่ผลิตภัณฑ์บ้านแฝด ซึ่งเป็นที่รู้จักภายใต้โครงการนีโอ โฮม ยังคงเน้นการพัฒนาโครงการใน​ทำเลใกล้เมือง โดยมีฟังก์ชั่นเช่นเดียวกับบ้านเดี่ยว และราคาไม่แพง   นอกเหนือจากการพัฒนาโครงการให้ออกมาตรงกับความต้องการของลูกค้าแล้ว “เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ โฮม” ยังมุ่งเน้นการสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า ภายหลังจากการเข้าอยู่อาศัย โดยพัฒนาแอปพลิเคชั่น พร้อมการทำโปรแปรม   ปั้นแอป Home+ ดูแลลูกค้า และอำนวยความสะดวกด้านต่าง ๆ ตั้งแต่ช่วงก่อนซื้อ ช่วงการส่งมอบ ช่วงหลังจากรับโอนและเข้า อยู่อาศัย พร้อมด้วยสิทธิประโยชน์พิเศษต่าง ๆ เพื่อสร้างความพึงพอใจ และตอบสนองพันธกิจองค์กรที่ ต้องการจะเป็นทางเลือกอันดับที่ 1 ในใจลูกค้า 4.เป็นผู้นำตลาดต่างจังหวัดด้านยอดขายสูงสุด นอกเหนือจากการพัฒนาโครงการในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ตลาดต่างจังหวัด เป็นอีกหนึ่งพื้นที่สร้างรายได้ให้กับ “เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ โฮม” ซึ่งที่ผ่านมาการขยายตลาดต่างจังหวัด ถือว่าประสบความสำเร็จด้วยดีมาโดยตลอด ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาโครงการที่นครราชสีมา เชียงใหม่ เชียงราย และพัทยา สามารถทำยอดขายในวันเปิดจองได้สูงเกินกว่า 500 ล้านบาท  เฉพาะภาพคเหนือที่ผ่านมาสามารถทำยอดขายในวันพรีเซลรวมมูลค่ากว่า 1,500 ล้านบาท ภาคอีสานทำยอดขายได้มากกว่า  500 ล้านบาท ในภาคกลางและภาคตะวันออกมูลค่ากว่า 1,900 ล้านบาท ในอนาคตบริษัทจะขยายตลาดต่างจังหวัดเพิ่ม ในจังหวัดภูเก็ตและระยอง​              
ราคาอสังหาฯ กทม. ฟื้นตัว 2% สูงสุดรอบ 6 ไตรมาส

ราคาอสังหาฯ กทม. ฟื้นตัว 2% สูงสุดรอบ 6 ไตรมาส

ดูเหมือนว่า ตลาดอสังหาริมทรัพย์ เริ่มมีทิศทางปรับตัวดีขึ้นบ้างแล้ว เพราะตามรายงานดัชนีราคาอสังหาริมทรัพย์ประจำไตรมาส 4 ปี 2563 (DDproperty Thailand Property Market Index Q4 2020) จากดีดีพร็อพเพอร์ตี้ เว็บไซต์มาร์เก็ตเพลสด้านอสังหาริมทรัพย์ ล่าสุด พบว่า ดัชนีราคาที่อยู่อาศัยในกรุงเทพฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้า 2% ถือเป็นการเพิ่มขึ้นครั้งแรกในรอบ 6 ไตรมาส   นับเป็นการแสดงให้เห็นสัญญาณบวกของตลาดอสังหาฯ ที่เริ่มเติบโตจากการเปิดตัวโครงการใหม่ ๆ ของผู้ประกอบการออกสู่ตลาด  พร้อมปล่อยสงครามราคามากระตุ้นการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคอย่างไม่หยุดยั้งหลังสถานการณ์ไวรัสโควิด-19 ในไทยเริ่มคลี่คลาย แม้กำลังซื้อผู้บริโภคเริ่มฟื้นตัวแต่ยังไม่มั่นใจในการใช้จ่าย หวังภาครัฐคลอดมาตรการกระตุ้นการซื้อขายช่วยขับเคลื่อนการเติบโตในตลาดอสังหาฯ แนะผู้ประกอบการอสังหาฯ มองหากลุ่มเป้าหมาย ต้องการซื้อเพื่ออยู่อาศัยจริง (Real Demand) ที่มีศักยภาพเพิ่มเติมเพื่อสร้างโอกาสขยายตลาดเจาะกำลังซื้อกลุ่มใหม่ในประเทศ   ตามรายงานดังกล่าว ยังเปิดเผยให้เห็นว่า จำนวนอสังหาฯ ในช่วงไตรมาสที่ 3 สูงขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าถึง 23% สะท้อนให้เห็นถึงจำนวนอสังหาฯ คงค้างในตลาดจำนวนมาก เนื่องจากผู้บริโภคใช้เวลาตัดสินใจเลือกซื้ออสังหาฯ มากขึ้น อันเป็นผลมาจากความไม่มั่นใจกับสภาวะเศรษฐกิจที่เปราะบาง ซึ่งส่งผลต่อรายได้และการพิจารณาสินเชื่อของธนาคารที่เข้มงวดขึ้น สอดคล้องกับข้อมูลรายงานแนวโน้มธุรกิจไตรมาส 3 และแนวโน้มไตรมาส 4 ปี 2563 จากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ซึ่งระบุถึงทิศทางอสังหาฯ ไทยรายภูมิภาค พบว่า ยอดขายและการโอนกรรมสิทธิ์ในภาคกลางลดลง โดยเฉพาะอาคารชุดและบ้านแนวราบระดับล่าง จากกำลังซื้อของลูกค้าชาวไทยที่ลดลง เมื่อพิจารณาการปล่อยสินเชื่ออสังหาฯ ของธนาคาร พบว่ายอดปฏิเสธสินเชื่อ (Rejection Rate) ในภาคกลางเพิ่มขึ้นมากกว่า 30% เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันในปีก่อน ขณะที่ความต้องการที่อยู่อาศัยของคนไทยในภาคเหนือยังมี แต่ไม่สามารถเข้าถึงสินเชื่อได้ โดยมียอดปฏิเสธสินเชื่อเพิ่มขึ้น 40-50% แม้เคยยื่นประเมินการขอสินเชื่อซื้ออสังหาฯ เบื้องต้น (pre-approve) ไว้   นางกมลภัทร แสวงกิจ ผู้จัดการใหญ่ประจำประเทศไทยของดีดีพร็อพเพอร์ตี้ กล่าวในงานสัมมนาภายใต้หัวข้อ “The Guru View: แนวโน้มตลาดที่อยู่อาศัยในยุคโควิด-19 ที่ยังไร้ยาต้าน” ในงาน Asia Virtual Property Expo  ว่า ตลาดอสังหาฯ ในปี 2563 นี้ถือเป็นปีที่ท้าทายอย่างมาก ทั้งในมุมผู้ประกอบการและผู้บริโภค ไม่ว่าจะเป็นตั้งแต่ต้นปีตลาดมีการชะลอตัวตามสภาพเศรษฐกิจไทย ภาวะหนี้ครัวเรือนที่ยังคงอยู่ในระดับสูง รวมทั้งมาตรการควบคุมสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย หรือ LTV ของ ธปท. ที่ส่งผลต่อการซื้อขายในตลาดอย่างมีนัยสำคัญ   เมื่อผนวกกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ยิ่งส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจทั้งระบบและทำให้ตลาดอสังหาฯ ชะลอตัวอย่างมากในช่วงครึ่งปีแรก แม้สถานการณ์หลังการล็อกดาวน์จะมีแนวโน้มไปในทิศทางที่ดีขึ้น แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่ายังคงต้องจับตาการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 รอบใหม่ในประเทศ และความไม่แน่นอนทางด้านการเมืองเป็นอีกปัจจัยที่มีผลกระทบต่อตลาดอสังหาฯ และเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศอย่างเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งต้องจับตามองต่อไปว่าภาครัฐจะออกมาตรการใดมาช่วยกระตุ้นการเติบโตในตลาดต่อจากนี้ ตลาดอสังหาฯ ในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีนี้ยังคงเป็นโอกาสทองของผู้ซื้อและนักลงทุนระยะยาวที่มีความพร้อมทางการเงิน เนื่องจากผู้ขายยังคงใช้สงครามราคามาช่วยเร่งระบายสต็อกคงค้าง ทำให้ราคาอสังหาฯ ช่วงนี้ยังไม่สูงเกินไป โดยเฉพาะรูปแบบคอนโดฯ และทาวน์เฮ้าส์ เทรนด์ซื้อที่อยู่อาศัยแนวราบยังโตต่อเนื่อง  จากข้อมูลผู้เข้าเยี่ยมชมในเว็บไซต์ DDproperty.com ในช่วงไตรมาสที่ 2 และ 3 ของปีนี้ พบว่า ผู้บริโภคให้ความสนใจเข้าชมประกาศซื้อ-ขาย-เช่าที่อยู่อาศัยในกรุงเทพฯ เติบโตขึ้นกว่า 4% แสดงถึงสัญญาณบวกของตลาด และความเชื่อมั่นของผู้บริโภคต่อมาตรการควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในประเทศของรัฐบาลได้เป็นอย่างดี   เห็นได้จากที่อยู่อาศัยแนวราบยังมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง ผู้บริโภคค้นหาบ้านเดี่ยวและทาวน์เฮ้าส์เพิ่มขึ้น 7% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า สอดคล้องกับสัดส่วนจำนวนบ้านเดี่ยวในปีนี้เติบโต 40% และทาวน์เฮ้าส์ที่เติบโต 41% เมื่อเทียบกับปี 2562 ที่ผ่านมา เนื่องจากกลุ่มผู้ซื้อเป็นผู้อยู่อาศัยจริง หันมาให้ความสำคัญในการเลือกซื้อที่อยู่อาศัยที่มีพื้นที่ใช้งานมากขึ้น ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ที่เปลี่ยนไป  จากเทรนด์ Work from Home ที่เป็นอีกหนึ่งปัจจัยในการพิจารณาเลือกซื้อบ้านในช่วงนี้ จึงเป็นโอกาสให้ผู้ประกอบการอสังหาฯ หันมาเน้นการเปิดตัวโครงการแนวราบอย่างต่อเนื่องเพื่อขยายส่วนแบ่งการตลาด โดยเฉพาะระดับราคา 1-5 ล้านบาท หลังจากที่ก่อนหน้านี้โฟกัสอยู่ที่กลุ่มตลาดกลางบน (5 ล้านบาทขึ้นไป)   ในขณะที่ตลาดให้เช่ายังมีโอกาสเติบโตเช่นกัน โดยมีการค้นหาที่อยู่อาศัยประเภทให้เช่าในกรุงเทพฯ เพิ่มขึ้น 3 % เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้านี้  ซึ่งคอนโดฯ ให้เช่ามีการเติบโตมากที่สุดถึง 9% เป็นผลมาจากสภาพเศรษฐกิจและกำลังซื้อผู้บริโภคที่ชะลอตัวทำให้การเช่าที่พักอาศัยกลายเป็นเทรนด์ที่ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น เพราะมีความเสี่ยงทางการเงินน้อยกว่า  รวมทั้งการพิจารณาการปล่อยสินเชื่อของธนาคารที่เข้มงวดขึ้นทำให้มียอดการปฏิเสธสินเชื่อเพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย   อย่างไรก็ดี ผู้บริโภคให้ความสนใจเลือกเช่าที่อยู่อาศัยที่มีอัตราค่าเช่า 30,000 บาทต่อเดือนขึ้นไป เพิ่มขึ้นถึง 20% ในรอบไตรมาสที่ผ่านมา สะท้อนให้เห็นว่า แม้ผู้บริโภคจะยังไม่พร้อมซื้ออสังหาฯ เป็นของตัวเองในตอนนี้ แต่ยังคงมีศักยภาพเพียงพอที่จะจ่ายค่าเช่าในอัตราที่สูงขึ้นในช่วง 1-2 ปี เนื่องจากมีความจำเป็นที่ต้องเลือกที่พักอาศัยในทำเลที่ต้องการ ผู้ประกอบการอสังหาฯ ควรปรับตัวรับสถานการณ์ปัจจุบันด้วยการเจาะกลุ่มกำลังซื้อใหม่ ๆ ในประเทศ เพื่อขยายโอกาสทางธุรกิจไปยังกลุ่มเป้าหมายอื่นแทนที่กลุ่มกำลังซื้อเดิมที่อาจอิ่มตัว และได้รับผลกระทบจากมาตรการ LTV
4 กลยุทธ์ “พฤกษา เรียลเอสเตท” เดินหน้าต่อ ฟื้นรายได้กลับมายืน 50,000 ล้าน

4 กลยุทธ์ “พฤกษา เรียลเอสเตท” เดินหน้าต่อ ฟื้นรายได้กลับมายืน 50,000 ล้าน

ปี 2563 ถือเป็นปีที่ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ได้รับผลกระทบจากปัจจัยลบต่าง ๆ มากมาย โดยเฉพาะการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ซึ่งส่งผลต่อเนื่องในเรื่องของภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว และกำลังซื้อของผู้บริโภคลดลง ในปัจจุบันยังมีปัญหาการเมือง ที่เข้ามาตอกย้ำให้ภาพรวมเศรษฐกิจทรุดตัวลงไปมากอีกด้วย ทำให้มีการประเมินกันว่าภาพรวมตลาดอสังหาฯ ปีนี้น่าจะติดลบไม่ต่ำกว่า 30%  โดยมูลค่าตลาดช่วง 9 เดือนแรกของปีที่มีมูลค่า 208,994 ล้านบาท ลดลง 31% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2562   สำหรับบริษัท พฤกษา เรียลเอสเตท จำกัด (มหาชน) เป็นหนึ่งในบริษัทที่ได้รับผลกระทบจากปัจจัยลบดังกล่าวไม่ต่างจากเพื่อนร่วมธุรกิจ  แต่นอกจากปัจจัยภายนอกที่กระทบต่อการดำเนินธุรกิจของพฤกษาแล้ว พฤกษายังต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงภายในองค์กรในหลายเรื่องด้วยกัน โดยเฉพาะการปรับเปลี่ยนโครงสร้างการบริหารงาน ภายหลังจากที่ “สุพัตรา เป้าเปี่ยมทรัพย์” ได้ลาออกจากการบริหารงาน ในตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ของพฤกษา เรียลเอสเตท และตำแหน่งรองประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่ม บริษัท พฤกษา โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) โดยมีนายปิยะ ประยงค์ มาดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหาร พฤกษา เรียลเอสเตท ​ แทน รวมถึงการลาออกของนายประเสริฐ แต่ดุลยสาธิตประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจพฤกษาเรียลเอสเตท – พรีเมียม ก่อนหน้านั้นด้วย ทำให้ปีนี้พฤกษา เรียลเอสเตทมีการปรับเปลี่ยนและ Reorganize ในหลายเรื่อง เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบัน 4 กลยุทธ์ Reorganize ปั้นรายได้และกำไร นายปิยะ ประยงค์  ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พฤกษา เรียลเอสเตท จำกัด (มหาชน)  เปิดเผยว่า บริษัทได้รับผลกระทบจากไวรัสโควิด-19 ทำให้ไตรมาส 2 ที่ผ่านมา ไม่มีการเปิดตัวโครงการใหม่ และบริษัทฯ มีการปรับแผนธุรกิจ ให้สอดรับกับสถานการณ์  มุ่งเน้นการเปิดโครงการใหม่  และเลือกทำการรีมาร์เก็ตติ้ง  ( Remarketing) ในโครงการ Hero Projects ซึ่งเป็นโครงการที่มีศักยภาพสูงและได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี จึงทำให้ในไตรมาสที่ 3 สามารถฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็ว  มียอดขาย​ 6,584 ล้านบาท เติบโต 88% จากไตรมาสก่อน ที่มียอดขาย 3,507 ล้านบาท มีรายได้ 6,353  ล้านบาท เติบโต 3% และมีกำไรสุทธิ 603 ล้านบาท เติบโต 9.4% จากไตรมาสก่อน ซึ่งสัดส่วนของยอดขายและรายได้ในไตรมาส 3 ที่มาจากโครงการ Hero Projects ถึง 19% และ 23% ตามลำดับ โดยที่ผ่านมา บริษัทได้ปรับองค์กรและเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารงานภายใน (Lean Organization) และจะใช้เป็นกลยุทธ์สำหรับการทำให้พฤกษา เรียลเอสเตท กลับมาเติบโตได้เหมือนช่วงที่ผ่านมา ซึ่งเน้นในการทำงานใน 4 เรื่องหลัก ดังนี้ 1.การปรับองค์กรสู่ Thinking Company พฤกษา เรียลเอสเตท ได้ปรับองค์กรใหม่ ไปสู่ Thinking Company หรือองค์กรที่มุ่งเน้นประสิทธิภาพ และการดูแลลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น  จากเดิมเป็น Operation Company หรือองค์กรที่เน้นการดำเนินงาน โดยอาจจะไม่ได้คำนึงถึงประสิทธิภาพ เช่น งานก่อสร้างโครงการแนวราบใช้ผู้รับเหมารายเล็กจำนวนมาก เปลี่ยนกลับมาใช้ผู้รับเหมารายใหญ่แทน เพื่อประสิทธิภาพมากขึ้นและต้นทุนคงที่ลดลง จากเดิมที่เคยมีประมาณ ​18-19% ลดลงเหลือ 16-17% ภายในปีหน้า และในอนาคตจะปรับลดให้ต่ำลงกว่า 15% 2.การเปิดโครงการที่เป็น Hero Project ปีที่ผ่านมาบริษัทมีโครงการเปิดดำเนินนานกว่า 200 โครงการ ในอนาคตจะปรับลดให้เหลือกว่า 100 โครงการ โดยมุ่งเน้นโครงการที่เรียกว่า Hero Project ซึ่งหมายถึงโครงการที่ตั้งอยู่ในทำเลที่ดีมีศักยภาพ พัฒนาโครงการคุณภาพ และตอบโจทย์ความต้องการของกลุ่มลูกค้าอย่างแท้จริง หรือ Customer Value  ที่ผ่านมาบริษัทอาจจะพูดคุยกับลูกค้าน้อยไปหน่อย ในการหา Customer Value และปัจจุบันการมีการวิจัยค้นหาความต้องการของลูกค้ามากขึ้น ขณะเดียวกันยังร่วมมือกับผู้รับเหมารายใหญ่ ในการบริหารต้นทุนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งทำให้สามารถลดต้นทุนการดำเนินงานได้ถึง 20-30% 3.การใช้ Data Analytic วิเคราะห์และทำการตลาด จากการพัฒนาโครงการที่มุ่งเน้น Hero Projects ทำให้บริษัทต้องทำการวิเคราะห์ข้อมูล และความต้องการลูกค้ามากขึ้นกว่าในอดีต  เพื่อพัฒนาโครงการให้ตรงตามความต้องการของลูกค้าจริง ๆ นอกจากนี้ ยังร่วมมือกับโรงพยาบาลวิมุต ในการเพิ่มบริการที่ลูกค้ามีความต้องการ เช่น เนอร์สซิ่งโฮม หรือ โฮมแคร์สำหรับผู้สูงอายุ ที่จะถูกพัฒนาไว้ในบางโครงการด้วย ​ 4.เน้นการบริหาร Stock ให้มีประสิทธิภาพ โดยปัจจุบันบริษัทบริหารสต็อกเหลือ 17,223 ล้านบาท ลดลง 31% จากปี 2562 ซึ่งจะยังคงเดินหน้าลดสต็อกสินค้าในมือให้ลดน้อยลงอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้มีอัตรากำไรสุทธิที่เพิ่มมากขึ้น ในปีหน้าคาดว่าจะลดสต็อกให้เหลือ 10,000 ล้านบาท ขณะเดียวกันยังมุ่งเน้นสร้างรายได้ให้มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยในปีหน้าคาดว่าจะเติบโตในอัตรา 15% และภายในอีก 2 ปีข้างหน้าบริษัทน่าจะกลับมารายได้เหมือนช่วงที่ผ่านมา หรือมีรายได้ประมาณ ​50,000 ล้านบาท ​ส่วนปี 2563 บริษัทคาดว่าจะทำรายได้ 31,000 ล้านบาท เปิด 2 Hero Projects ไตรมาส 4 สำหรับแนวโน้มตลาดอสังหาฯ ในช่วงโค้งท้ายปี คาดว่ายังจะมีการแข่งขันที่รุนแรง โดยเฉพาะด้านราคาและโปรโมชั่น ซึ่งพฤกษา เรียลเอสเตทยังคงใช้กลยุทธ์ราคาและโปรโมชั่น เป็นหนึ่งกลยุทธ์ในการขับเคลื่อนธุรกิจในไตรมาสสุดท้ายด้วยเช่นกัน เพื่อเร่งยอดขาย พร้อมเร่งทยอยโอน The Reserve สุขุมวิท 61 มูลค่า 2,700 ล้านบาท ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนถึง 13% ของรายได้ที่ต้องทำอีกในไตรมาส 4 เมื่อประกอบกับรายได้จากการโอนฮีโร่โปรเจคราว 32% และโครงการอื่น ๆ ที่เปิดขายอยู่อีกราว 55% คาดว่าจะช่วยผลักดันให้บริษัทฯ สามารถบรรลุเป้าหมายรายได้ที่วางไว้ได้ นอกจากนี้ ยังเตรียมเปิดโครงการใหม่ในไตรมาส 4 เพิ่มขึ้นอีก 2 โครงการ  รวมเปิดโครงการใหม่ทั้งปี 2563 จำนวน 13 โครงการ  จากช่วง 9 เดือนแรก บริษัทเปิดโครงการไปแล้ว 11  โครงการ มูลค่ารวม 13,620 ล้านบาท  ซึ่งในไตรมาส 4 จะเป็นโครงการ Hero Project  ได้แก่ The Plant รังสิต-อเวนิว บ้านเดี่ยว  มูลค่าโครงการ 985 ล้านบาท ราคา 3 - 5 ล้านบาท และโครงการ พฤกษาวิลล์ ศรีนครินทร์-บางนา  มูลค่าโครงการ 1,101 ล้านบาท  ราคาเริ่มต้น 2 – 3 ล้านบาท แผนปี 64 เปิด 30-35 โปรเจ็กต์ ในปี 2563 ถือว่าตลาดไม่เอื้ออำนวยให้พฤกษา เรียลเอสเตท เปิดตัวโปรเจ็กต์ได้ตามแผนที่วางไว้ ซึ่งโครงการประมาณ​20 โปรเจ็กต์ จะถูกเลื่อนไปเปิดตัวในปี 2564 โดยตามแผนในปีหน้า จะมีการเปิดตัวโครงการรวมทั้งหมดประมาณ 30-35 โครงการ มูลค่า 30,000-35,000 ล้านบาท ซึ่งจะมีโครงการในลักษณะ Hero Projects 30% ซึ่งจะเน้นตลาดที่มีศักยภาพในกลุ่มลูกค้าที่มีฐานรายได้ตั้งแต่ 50,000-100,000 บาท เนื่องจากไม่ได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจ และมีกำลังซื้อที่ดี  ในปีหน้าบริษัทจะเปิดโครงการคอนโดมิเนียม 7 โครงการ จับตลาดระดับราคา 2-5 ล้านลาท และหนึ่งในนั้นจะเป็นโครงการร่วมทุนกับพันธมิตรจากประเทศญี่ปุ่น ที่มีความเชี่ยวชาญด้านธุรกิจเฮลท์แคร์   ด้านความคืบหน้าโรงพยาบาลวิมุต นายแพทย์กฤตวิทย์ เลิศอุตสาหกูล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โรงพยาบาลวิมุต จำกัด เปิดเผยว่า ขณะนี้ความคืบหน้าของการก่อสร้างโรงพยาบาลวิมุตเป็นไปตามแผนงาน โดยจะเป็นสถานพยาบาลระดับ Tertiary Care ขนาด 236 เตียง 18 ชั้น ออกแบบสอดคล้องตามมาตรฐานสากล JCI ภายใต้วิสัยทัศน์ขององค์กรที่มุ่งมั่นตั้งใจรักษาให้คนไทยมีสุขภาพแข็งแรง พ้นทุกข์จากการเจ็บป่วยทั้งทางร่างกายและจิตใจ เข้าถึงการรักษาโดยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ใส่ใจดูแลคนไข้เสมือนคนในครอบครัว ตรวจวินิจฉัย และรักษาได้ตรงจุดด้วยเทคโนโลยี และเครื่องมือการแพทย์ที่ทันสมัย พร้อมยาที่มีคุณภาพ ประทับใจการบริการรักษาที่มีประสิทธิภาพ ด้วยค่าใช้จ่ายที่เข้าถึงได้ ซึ่งคาดจะเปิดให้บริการตามแผนงานในเดือนพฤษภาคม 2564  
“ออริจิ้น” เปิด 6 โปรเจ็กต์ใหม่ หลังโชว์กำไร Q3 กว่า 717 ล้าน

“ออริจิ้น” เปิด 6 โปรเจ็กต์ใหม่ หลังโชว์กำไร Q3 กว่า 717 ล้าน

“ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้” ได้แรงหนุนโปรเจ็กต์ร่วมทุน ยอดโอนทำนิวไฮ ดันกำไรไตรมาส 3 กว่า 717 ล้าน ขณะที่ไตรมาสสุดท้ายโปรเจ็กต์ใหม่  6 โครงการ มูลค่ากว่า 8,900 ล้านทำตลาด รักษา Top 5 ผู้นำอสังหาฯ   นายพีระพงศ์ จรูญเอก ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) หรือ ORI ผู้พัฒนาธุรกิจอสังหาริมทรัพย์แบบครบวงจร เปิดเผยว่า ผลการดำเนินงานไตรมาส 3/2563 บริษัทสร้างยอดโอนรวมกว่า 3,896 ล้านบาท แบ่งเป็น กลุ่มโครงการที่ไม่ได้ร่วมทุน (Non-JV) 2,207 ล้านบาท และกลุ่มโครงการร่วมทุน (JV) 1,689 ล้านบาท ส่งผลให้บริษัทมีกำไรสุทธิอยู่ที่ 717 ล้านบาท เพิ่มขึ้นทั้งจากไตรมาสก่อนหน้าและช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ​โดยคิดเป็นอัตรากำไรสุทธิ (Net Profit Margin) อยู่ที่ระดับ 28.2% ซึ่งสูงที่สุดเท่าที่บริษัทเคยทำมา และทำให้บริษัทยังคงอันดับการทำกำไรอยู่ในกลุ่มท็อป 5 ของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ไทยได้อย่างแข็งแกร่ง ปีนี้กำไรของเราโดดเด่นติดท็อป 5 ได้ในทุกไตรมาส เนื่องจากปีนี้เป็นปีแรกที่เราเริ่มเก็บเกี่ยวผลงานจากโครงการร่วมทุน โดยเฉพาะในไตรมาส 3  ยอดโอนโครงการ JV ของเราทำสถิตินิวไฮที่ 1,689 ล้านบาท ส่วนสำคัญ มาจาก โครงการ ไนท์บริดจ์ ไพร์ม อ่อนนุช ที่มียอดโอนสูงถึง 1,000 ล้านบาท   นายพีระพงศ์ กล่าวอีกว่า สำหรับไตรมาส 4/2563 บริษัทคาดว่าจะสามารถรักษาระดับผลประกอบการให้โดดเด่นอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากเห็นสัญญาณบวกจากปัจจัยภายนอกหลายด้านต่อธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ทั้งภาพรวมเศรษฐกิจประเทศที่มีแนวโน้มดีขึ้นจากการเลือกตั้งของสหรัฐอเมริกาที่เพิ่งผ่านไป ขณะเดียวกัน นโยบายภาครัฐที่ขยายเวลารับส่วนลดค่าธรรมเนียมการโอนกรรมสิทธิ์ถึงสิ้นปีนี้ น่าจะเป็นตัวกระตุ้นให้ผู้บริโภคตัดสินใจโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยภายในไตรมาสนี้ได้ดี ส่วนปัจจัยภายในบริษัทสามารถพัฒนาโครงการใหม่แล้วเสร็จตามกำหนด พร้อมทยอยโอนกรรมสิทธิ์เพิ่มเติมอีก 8 โครงการ มูลค่าโครงการรวมประมาณ 10,540 ล้านบาท จำนวนดังกล่าวเป็นโครงการ JV 1 โครงการ คือโครงการคอนโดมิเนียมไนท์บริดจ์ สเปซ รัชโยธิน มูลค่าโครงการ 2,700 ล้านบาท ที่มี Backlog แล้วกว่า 93%  ขณะเดียวกัน โครงการทั้งกลุ่ม Non-JV และ JV ที่สร้างเสร็จก่อนหน้านี้ ก็ยังจะทยอยโอนกรรมสิทธิ์กันอย่างต่อเนื่อง บริษัทคาดว่าไตรมาส 4/2563 จะเป็นไตรมาสที่มีกิจกรรมการโอนกรรมสิทธิ์ และมีกำไรโดดเด่นที่สุดอีกไตรมาสหนึ่งของปีนี้   บริษัทยังเตรียมเปิดตัวโครงการใหม่  6 โครงการ มูลค่ารวม  8,950 ล้านบาท รวมถึงเปิดตัวแบรนด์ใหม่ 2 แบรนด์ ได้แก่ แบรนด์บ้านเดี่ยวระดับลักชัวรี่ เบลกราเวีย (BELGRAVIA) และแบรนด์คอนโดมิเนียมระดับไฮเอนด์ โซโห แบงค็อก (SOHO BANGKOK) เพื่อขยายเซ็กเมนท์การดำเนินธุรกิจของบริษัทให้ครอบคลุมตลาดมากยิ่งขึ้น ทุกคนรู้ว่าตลาดปีนี้อาจไม่ได้สดใสมากนัก เนื่องจากผลกระทบของ COVID-19 โชคดีของเราคือ เราสร้างรากฐานที่ดีมาตั้งแต่อดีต แม้เราเพิ่งมาพูดเรื่อง Open Platform ปีนี้ แต่จริงๆ เรา Open เรื่องการร่วมทุน เรื่องการผนึกกับพันธมิตรมาตั้งแต่เมื่อ 3 ปีที่แล้ว ล่าสุด ยอดขาย 10 เดือนของเราทะลุเป้าหมาย 21,500 ล้านบาทของปีนี้ไปแล้ว    
เอสซีฯ ทุบสถิติสร้างนิวไฮ Q3 เดินหน้าเปิดโปรเจ็กต์ดันเป้า 17,000 ล้าน

เอสซีฯ ทุบสถิติสร้างนิวไฮ Q3 เดินหน้าเปิดโปรเจ็กต์ดันเป้า 17,000 ล้าน

เอสซีฯ โชว์ผลประกอบการไตรมาส 3 สร้างสถิติทำนิวไฮยอดโอนแนวราบ หนุนรายได้รวม 9 เดือนถึง 13,637 ล้าน โต 25% กำไรสุทธิ 1,440 ล้าน โต 39%  มั่นใจสิ้นปีรายได้ถึงเป้า 17,000 ล้าน  พร้อมรุกลงทุนแนวราบเพิ่ม รักษาความเป็นผู้นำบ้านคุณภาพสูง   นายอรรถพล สฤษฎิพันธาวาทย์ ประธานเจ้าหน้าที่ด้านสนับสนุนองค์กร บริษัท เอสซี แอสเสท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ SC เปิดเผยถึงผลการดำเนินงานในไตรมาส 3 ที่ผ่านมาว่า บริษัทฯ มีการเติบโตต่อเนื่องทั้งรายได้และกำไรสุทธิ   โดยมีรายได้รวม 5,749 ล้านบาท เติบโต 35%  จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา และกำไรสุทธิ 684 ล้านบาท คิดเป็น 11.90% ของรายได้ เติบโต 55% จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ​ โดยในไตรมาส 3 บริษัทมีรายได้จากโครงการแนวราบ 4,406 ล้านบาท เติบโต 54% จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ซึ่งคิดเป็นสัดส่วน 80% ของรายได้จากการขายทั้งหมด   สำหรับรายได้รวม 9 เดือนที่ผ่านมา บริษัทมีจำนวน 13,637 ล้านบาท เติบโต 25% จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ซึ่งเป็นรายได้จากการดำเนินงาน 13,577 ล้านบาท เติบโต 24% สัดส่วนหลักมาจากรายได้จากการขาย 95% และอีก 5% เป็นรายได้จากค่าเช่าและบริการ  มีกำไรสุทธิ 1,440 ล้านบาท เติบโต 39% จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ในขณะที่ยอดขายรวม 12,375 ล้านบาท เติบโต 8% มาจากยอดขายหลักของแนวราบ 11,342 ล้านบาทที่เป็นสถิติยอดขายสูงสุดของ 9 เดือนด้วย  สำหรับภาพรวมสถานะทางการเงิน ณ วันที่ 30 กันยายน 2563 บริษัทฯ มีสินทรัพย์รวม และหนี้สินรวม เท่ากับ 43,674 ล้านบาท และ 25,475 ล้านบาทตามลำดับ โดยมีอัตราส่วนหนี้สินรวมต่อส่วนของผู้ถือหุ้นรวม เท่ากับ 1.40 เท่า   นายอรรถพล กล่าวเพิ่มเติมว่า  SC ยังเน้นพัฒนาโครงการแนวราบซึ่งเป็นพอร์ตหลักที่ได้รับการตอบรับที่ดีมากมาตลอดในทุกระดับราคา จากปัจจัยสำคัญคือการรักษามาตรฐานคุณภาพสูง โดยปัจจุบันมีที่ดินพร้อมสำหรับโครงการแนวราบที่จะเปิดขายใหม่  ในปี 2564 และมีความพร้อมในการลงทุนที่ดินใหม่เพื่อรองรับการสร้างรายได้ในปี 2565-2566 ส่วนในไตรมาสสุดท้ายของปีนี้ มีแผนเปิดตัว 4 โครงการใหม่โดยเป็นโครงการแนวราบทั้งหมด มูลค่ารวม 4,670 ล้านบาท ทำให้บริษัทมีโครงการเพื่อขายทั้งหมดจำนวน 58 โครงการ มูลค่าคงเหลือเพื่อขายรวม 44,670 ล้านบาท แบ่งเป็น 50 โครงการแนวราบ และอีก 8 โครงการแนวสูง พร้อมกับมี Backlog ที่รอโอนและรับรู้รายได้ในปีนี้อีกประมาณ 4,000 ล้านบาท บริษัทมีความมั่นใจว่า ปี 2563 จะสามารถบรรลุเป้ารายได้ 17,000 ล้านบาท    
เอพี ทุบสถิติรายได้ 9 เดือน สูงสุด พร้อมกำไรสูงกว่าปี 62 ทั้งปี

เอพี ทุบสถิติรายได้ 9 เดือน สูงสุด พร้อมกำไรสูงกว่าปี 62 ทั้งปี

เอพี ฝ่าวิกฤตโควิด-19  สร้างรายได้รวม 9 เดือนแรก 35,180 ล้านบาท พุ่งสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ทำกำไร สุทธิ  3,280 ล้านบาท สูงกว่าปี 2562  ทั้งปี  ผลจากการสลับพอร์ตสินค้าที่รวดเร็ว ดึงเกมแนวราบเสริมแกร่ง ควบคู่ดีมานด์คอนโดเข้าอยู่จริงมีต่อเนื่อง ชู LIFE ลาดพร้าว และ LIFE อโศก -พระราม 9 คีย์ไดรฟ์สำคัญหนุนรายได้ เพิ่มงบซื้อที่ดินรวมทั้งปีที่ 9,500 ล้าน  เติมพอร์ตแนวราบ ช่วงโค้งเตรียมเปิด ASPIRE เอราวัณ ไพร์ม มูลค่า 3,200 ล้านบาท รับดีมานด์ตลาดคอนโดยังมีอยู่​   นายอนุพงษ์ อัศวโภคิน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอพี (ไทยแลนด์) จำกัด (มหาชน) หรือ AP เปิดเผยว่า 9 เดือนแรกของปี เอพีมีอัตราการเติบโตที่สูงมากเป็นประวัติการณ์  สร้างรายได้รวมจากสินค้าแนวราบ กลุ่มคอนโดมิเนียม (100%JV) และธุรกิจอื่นๆ ได้สูงถึง 35,180 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 56% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้าที่มีรายได้รวมเท่ากับ 22,510 ล้านบาท ซึ่งเป็นผลจากการปรับแผนเพิ่มสัดส่วนการพัฒนาสินค้าแนวราบ ควบคู่ไปกับแผนการโอนกรรมสิทธิ์ คอนโดมิเนียมที่สร้างเสร็จในปีนี้ ซึ่งยังคงได้รับผลตอบรับที่ดี โดยเฉพาะในไตรมาส 3 นี้ ส่วนหนึ่งของยอดรับรู้รายได้ที่เพิ่มขึ้นมาจากการทยอยโอนกรรมสิทธิ์ LIFE ลาดพร้าว LIFE อโศก-พระราม 9 และ ASPIRE อโศก-รัชดา นับเป็นเวลานานกว่า 10 เดือนแล้วที่ทั่วโลกต้องเผชิญกับวิกฤต โควิด-19 ซึ่งวิกฤตครั้งนี้ใหญ่และแตกต่างจากทุกวิกฤตที่ผ่านมา ทางรอดเดียวที่จะก้าวผ่านไป คือ การปรับตัวที่รวดเร็ว ภายใต้การบริหารจัดการกระแสเงินสดที่รัดกุม ส่งผลให้ท่ามกลางวิกฤตที่เกิดขึ้นบริษัทฯ ยังคงสามารถสร้างผลการดำเนินงานที่เติบโตขึ้นในทุกไตรมาส ด้านกำไรสุทธิรวม 9 เดือนแรกของปี 2563  สูงถึง 3,280 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 50% หากเทียบกับงวดเดียวกันของปี 2562 ที่มีกำไรสุทธิรวมเท่ากับ 2,180 ล้านบาท และสูงกว่ากำไรของปี 2562 ที่มีจำนวน 3,060 ล้านบาท อีกด้วย ด้านสัดส่วนหนี้สินต่อทุนอยู่ที่ 0.82 เท่า ต่างจากงวดเดียวกันของปีก่อนหน้าที่ 0.99 เท่า สะท้อนได้ถึงความสามารถในการบริหารจัดการทางการเงินที่ดีภายใต้สภาวะความกดดันจากวิกฤตที่เกิดขึ้น ปัจจุบันบริษัทได้เพิ่มงบประมาณในการจัดซื้อที่ดินขึ้นเป็น 9,500 ล้านบาท หลังจากเมื่อเดือนเมษาที่ผ่านมาได้ตัดลงเหลือ 4,500 ล้านบาท   ณ วันที่ 31 ตุลาคม 2563 บริษัทฯ มีสินค้ารอรับรู้รายได้มูลค่ามากถึงเกือบ 40,000 ล้านบาท เป็นโครงการแนวราบมูลค่าราว 10,000 ล้านบาท และคอนโดมิเนียมมูลค่า 30,000 ล้านบาท (รวมโครงการร่วมทุน) ซึ่งจะทยอยรับรู้ไปจนถึงปี 2566 ซึ่งบริษัทฯ ​มั่นใจว่าไตรมาสสุดท้ายของปีจะสามารถสร้างรายได้รวมได้ตามเป้าหมายที่คาดการณ์ไว้ ที่จำนวน  40,550 ล้านบาท ด้วยแรงส่งของพอร์ตสินค้าแนวราบที่อยู่ระหว่างการขายที่มากกว่า 90 โครงการ และคอนโดมิเนียมที่ก่อสร้างแล้วเสร็จพร้อมโอนกรรมสิทธิ์อีกมากกว่า 9 โครงการ เช่น ASPIRE อโศก-รัชดา LIFE ลาดพร้าว LIFE อโศก - พระราม 9 และ LIFE วัน ไวร์เลส เป็นต้น “ผมเชื่อว่าเราจะอยู่กับวิกฤตอย่างนี้ต่อไปอีกอย่างน้อย 6 เดือน อย่างยาวผมไม่รู้ เพราะครั้งนี้ไม่ใช่วิกฤตที่เกิดขึ้นเฉพาะในประเทศเรา แต่เป็นกันทั่วโลก ช่วงที่ผ่านมาพิสูจน์ให้เราเห็นแล้วถึงผลกระทบ ของการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ทั้งวิธีการทำงาน การซื้อ-ขาย การดำเนินชีวิต ตลอดจนพฤติกรรมการอยู่อาศัย แต่การเปลี่ยนแปลงยังไม่หยุดเพียงเท่านี้ พายุลูกใหม่กำลังจะเข้ามา ผู้นำองค์กรต้องประเมินสถานการณ์รอบด้าน โดยเฉพาะลูกค้าว่าเปลี่ยนไปในทิศทางใด ทำอะไรถึงจะตอบความต้องการใหม่ของเค้าได้ เตรียมคนในองค์กร ประกอบกับการบริหารจัดการกระแสเงินสด เพื่อให้เรารอดผ่านวิกฤตนี้ไปด้วยกัน”      สำหรับแผนการดำเนินงานท่ามกลางภาวะวิกฤตที่เกิดขึ้นในปีนี้ นอกจากการปรับพอร์ตการเปิดตัวสินค้าใหม่มาเป็นบ้านเดี่ยวและทาวน์โฮมรวมทั้งสิ้น 39 โครงการ มูลค่ารวม 41,820 ล้านบาทแล้วนั้น ในช่วงไตรมาสสุดท้ายดีมานด์ตลาดคอนโดมิเนียมเริ่มส่งสัญญาณในทิศทางที่ดี บริษัทฯ​ จึงได้ปรับแผนเปิดคอนโดมิเนียม 1 โครงการ ได้แก่ ASPIRE เอราวัณ ไพร์ม มูลค่า 3,200 ล้านบาท รวมทั้งสิ้นปี 2563 นี้บริษัทเปิดตัวโครงการใหม่ทั้งสิ้น 40 โครงการ มูลค่ารวม 45,020 ล้านบาท ด้านยอดขาย 10 เดือนแรก ณ วันที่ 31 ตุลาคมนี้ บริษัทฯ สร้างยอดขายรวมได้แล้วถึง 27,300 ล้านบาท ทั้งนี้ สรุปตัวเลขทางการเงินเฉพาะไตรมาส 3 ปี 2563 บริษัทฯ มีรายได้รวมจากสินค้าแนวราบกลุ่มคอนโดมิเนียม (100%JV) และธุรกิจอื่นๆ เท่ากับ 15,219 ล้านบาท เติบโตเพิ่มขึ้น 140% หากเทียบกับงวดเดียวกันของปี 2562 ที่มีรายได้รวมเท่ากับ 6,353 ล้านบาท ด้านกำไรสุทธิเท่ากับ 1,451 ล้านบาท เติบโต 135% หากเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2562 ที่ได้ 618 ล้านบาท  
LAKE LEGEND แจ้งวัฒนะ บ้านเดี่ยวระดับซูเปอร์ลักชัวรี่ บรรยากาศริมทะเลสาบ

LAKE LEGEND แจ้งวัฒนะ บ้านเดี่ยวระดับซูเปอร์ลักชัวรี่ บรรยากาศริมทะเลสาบ

LAKE LEGEND แจ้งวัฒนะ บ้านเดี่ยวระดับซูเปอร์ลักชัวรี่ บรรยากาศริมทะเลสาบ LAKE LEGEND แจ้งวัฒนะ ปรากฏการณ์ความร่วมมือระหว่าง พร๊อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค (Property Perfect) ผู้นำในการพัฒนาบ้านหรูบรรยากาศทะเลสาบ และฮ่องกง แลนด์ บริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ยักษ์ใหญ่จากฮ่องกง ที่มีประสบการณ์ยาวนานกว่า 125 ปี ร่วมรังสรรค์โครงการคฤหาสน์หรูระดับไฮเอนด์แห่งแรกในวงการอสังหาริมทรัพย์   A Waterfront Legacy เปิดบทใหม่แห่งตำนานที่จะสืบทอดจากรุ่นสู่รุ่น ที่ LAKE LEGEND ที่ซึ่งคำว่า "บ้าน" ถ่ายทอดความหมายมากกว่าการเป็นแค่พื้นที่พักอาศัย แต่เป็นการใช้ชีวิตที่แตกต่างอย่างเหนือระดับ สร้างความภาคภูมิใจ และแบ่งปันสู่คนที่คุณรัก พร้อมความทรงจำอันแสนล้ำค่าที่ LAKE LEGEND คฤหาสน์ติดทะเลสาบสุดหรู แห่งเดียวบนทำเลศักยภาพ "แจ้งวัฒนะ"   The Artistry of Luxury โครงการคฤหาสน์หรูติดทะเลสาบ ระดับ Super Luxury ที่ได้รับแรงบันดาลใจจากสถาปัตยกรรมของ "Chateau" ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของชนชั้นสูง หรือตระกูลเก่าแก่ในฝรั่งเศส อันสง่างามเคียงคู่กับทะเลสาบ มาสู่การออกแบบภายใต้คอนเซปต์ More Than French บนที่ดินผืนพิเศษติดทะเลสาบ 25 ไร่ พร้อมคลับเฮ้าส์ขนาดใหญ่ติดทะเลสาบ ศูนย์กลางของไลฟ์สไตล์และการพักผ่อน ด้วยดีไซน์ยิ่งใหญ่ดุจปราสาท French Castle ต้อนรับที่ด้านหน้าโครงการ พร้อมบริการห้องออกกำลังกาย ฟิตเสน เล้าจ์ และสระว่ายน้ำแบบ Infinity Edge Pool ต่อเนื่องสู่ทะเลสาบขนาดใหญ่     ที่นี่รังสรรค์คฤหาสน์ 5 แบบ ออกแบบในสไตล์ Modern French หลังคาทรงสูง เรียบหรู พร้อมฟังก์ชั่นครบครันแบบ Luxury House ที่มีความพิเศษหรูหรา ตั้งแต่ Foyer ทางเข้าหลัก ห้องรับแขกเพดานสูง Double Volume และห้องนอน Master Bedroom ที่เปิดรับวิวทะเลสาบกว้าง รวมถึงรายละเอียดการตกแต่งงานปูนปั้นที่ได้แรงบันดาลใจจากชาโตว์ฝรั่งเศส ที่มีความเป็นส่วนตัวสูงสุดเพียง 57 ครอบครัวเท่านั้น   Prime Location เพียง 5 นาที สู่แจ้งวัฒนะ ศูนย์กลางการบริหารราชการและธุรกิจ ของกรุงเทพฯ ทางตอนเหนือ ศูนย์ราชการ าล และองค์กรของรัฐ ที่ตั้งสำนักงานใหญ่บริษัทชั้นนำ อาคารสำนักงาน ศูนย์กลางการเดินทาง ทางด่วนขั้นที่ 2 รถไฟฟ้าสายสีชมพู (แล้วเสร็จปี 2565) ใกล้สนามบินนานาชาติ ดอนเมือง ศูนย์กลางการศึกษา มหาวิทยาลัยชั้นนำ โรงเรียนนานาชาติชื่อดัง ISSB ศูนย์กลางไลฟ์สไตล์ ศูนย์การประชุม อิมแพ็ค เมืองทองธานี เซ็นทรัลแจ้งวัฒนะ ฯลฯ LAKE LEGEND แจ้งวัฒนะ มีแบบบ้านให้เลือก 5 แบบ Margaret พื้นที่ใช้สอย 346 ตร.ม. ขนาด 4 ห้องนอน 5 ห้องน้ำ 1 ห้องครัว 1 ห้องรับประทานอาหาร 3 ที่จอดรถ 1 ห้องแม่บ้าน Lorraine พื้นที่ใช้สอย 407 ตร.ม. ขนาด 4 ห้องนอน 5 ห้องน้ำ 1 ห้องครัว 1 ห้องรับประทานอาหาร 3 ที่จอดรถ 1 ห้องแม่บ้าน Corsica พื้นที่ใช้สอย 464 ตร.ม. ขนาด 4 ห้องนอน 5 ห้องน้ำ 1 ห้องครัว 1 ห้องรับประทานอาหาร 4 ที่จอดรถ 1 ห้องแม่บ้าน Brittany พื้นที่ใช้สอย 522 ตร.ม. ขนาด 4 ห้องนอน 5 ห้องน้ำ 1 ห้องครัว 1 ห้องรับประทานอาหาร 4 ที่จอดรถ 1 ห้องแม่บ้าน พร้อม Lake Balcony ติดริมทะเลสาบ Avignon พื้นที่ใช้สอย 570 ตร.ม. ขนาด 5 ห้องนอน 6 ห้องน้ำ 1 ห้องครัว 1 ห้องรับประทานอาหาร 4 ที่จอดรถ 2 ห้องแม่บ้าน พร้อม Lake Balcony ติดริมทะเลสาบ   สอบถามข้อมูลโครงการเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 1375  หรือ คลิก Lake Legend   บทความอื่นๆ เกี่ยวกับ Property Perfect พร็อพเพอร์ตี้ฯ เปิดตัวบ้าน 4 แบบใหม่ รับชีวิต New Normal 7 ไฮไลท์แผนธุรกิจ PF-GRAND สู่เป้าหมายรายได้ 22,000 ล้าน    
เจาะ 4 กลยุทธ์ “ลลิล พร็อพเพอร์ตี้” สร้างกำไรเป็นบวก ในภาวะตลาดอสังาหฯ ติดลบ

เจาะ 4 กลยุทธ์ “ลลิล พร็อพเพอร์ตี้” สร้างกำไรเป็นบวก ในภาวะตลาดอสังาหฯ ติดลบ

ตลาดอสังหาริมทรัพย์ในปี 2563 ได้รับผลกระทบจากปัจจัยลบสารพัด นับตั้งแต่มาตรการ LTV  ซึ่งเกิดขึ้นมาก่อนหน้าในปี 2562 จนมาถึงสงครามการค้าโลก ที่ทำให้ภาวะเศรษฐกิจโดยรวมชะลอตัว จนมาถึงการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทำให้ตลาดอสังหาฯ ปีนี้คงมีตัวเลขติดลบไปตาม ๆ กัน  ซึ่งคาดว่าตลาดอสังหาฯ จะติดลบกว่า 10% เลยทีเดียว   อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะมีบางบริษัทที่สามารถสร้างยอดขาย ทุบสถิติของตนเองได้อย่างไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ปรากฏให้เห็น แต่นั่นคงเป็นผลจากการทำตลาด และการหั่นราคาลง พร้อม ๆ กับการอัดโปรโมชั่น แบบไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนด้วยเช่นกัน แต่หากจะวัดประสิทธิภาพ (Performance) ของการบริหารธุรกิจ ที่ดูตัวเลขในบรรทัดสุดท้ายของงบกำไรขาดทุนทางบัญชี ตัวเลขของผลกำไร น่าจะชี้วัดได้ดีที่สุด ว่าบริษัทไหนมีความสามารถในการดำเนินธุรกิจมากกว่ากัน ​​   บริษัท ลลิล พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาน) บริษัทขนาดไม่ใหญ่มากนัก หากวัดกันด้วยขนาดสินทรัพย์แล้ว ลลิล พร็อพเพอร์ตี้ มีมูลค่าสินทรัพย์รวม ณ ไตรมาส 2 ปี 2563 กว่า 12,427.39 ล้านบาท ห่างไกลอย่างมากเมื่อเทียบกับผู้นำตลาดอสังหาฯ  ซึ่งมีมูลค่าสินทรัพย์ระดับใกล้แสนล้านหรือมากกว่าแสนล้านบาท แต่หากวัดกันที่ผลงานการทำกำไร ต้องยอมรับว่าลลิล พร็อพเพอร์ตี้ ในปีนี้ทำผลงานได้ดีไม่แพ้บริษัทขนาดใหญ่  เรียกได้ขึ้นติดอันดับ Top 10 เลยทีเดียว  เโดยไตรมาส 2  บริษัทสามารถสร้างกำไรให้เป็นบวกได้ ซึ่งมีกำไรสุทธิ จำนวน 395.83 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 164.26% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ จำนวน 149.79 ล้านบาท   นายชูรัชฏ์ ชาครกุล กรรมการรองผู้จัดการใหญ่ บริษัท ลลิล พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน)  เปิดเผยถึงยอดขายในช่วง 10 เดือนแรกของปีนี้ว่า สามารถทำยอดขายได้ 5,250 ล้านบาท เติบโต 15% จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ซึ่งในปีนี้บริษัทคาดว่าจะทำยอดขายได้ 6,200 ล้านบาท ส่วนรายได้คาดว่าจะทำได้ 4,600 ล้านบาท ปัจจุบันบริษัทมียอดขายรอรับรู้รายได้ 1,200 ล้านบาท ซึ่งจะทยอยโอนภายในปีนี้   สำหรับกำไรในปีนี้คาดว่าจะยังคงเป็นไปตามเป้าหมายที่ได้วางไว้ เนื่องจากบริษัทเน้นการพัฒนาโครงการแนวราบ ซึ่งไม่มีการทำสงครามราคาเพื่อแข่งขันในตลาด เหมือนกับกลุ่มคอนโดมิเนียม แม้ว่าจะมีกลุ่มลูกค้าบางส่วนหายออกไปจากตลาด เพราะได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มพนักงานในธุรกิจสายการบิน หรือที่เกี่ยวข้อง กลุ่มโรงงานอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออก   ปัจจัยความสำเร็จและกลยุทธ์ที่ทำให้ลลิล พร็อพเพอร์ตี้ยังทำกำไรและสร้างการเติบโตสวนท่ามกลางปัจจัยลบของปีนี้ คงมาจาก 4 ปัจจัยหลัก ดังนี้ 1.การพัฒนาสินค้าตรงตามความต้องการของลูกค้า การพัฒนาบ้านให้มีห้องอเนกประสงค์บริเวณชั้นล่าง ที่ให้ลูกค้าปรับเปลี่ยนห้องได้ตามความต้องการ ไม่ว่าจะใช้เป็นห้องผู้สูงอายุ ห้องทำงาน หรือห้องเรียนออนไลน์ของลูก ซึ่งถือว่าตอบโจทย์คนในยุควิถีชีวิตปกติใหม่ (New Normal) ที่ใช้เวลาอยู่บ้านมากขึ้น 2.การทำราคาบ้านที่แข่งขันได้ การบริหารต้นทุนสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นค่าที่ดิน หรือค่าก่อสร้าง รวมถึงค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ทำให้การพัฒนาโครงการสามารถทำราคาได้ถูกกว่าคู่แข่ง และเป็นราคาที่ลูกค้าสามารถเข้าถึงได้ แม้ว่าจะไม่ได้ทำโปรโมชั่นแรง ๆ หรือการทำสงครามราคาก็ตาม 3.การทำตลาดดิจิตอล การหันมาให้ความสำคัญกับการทำตลาดดิจิตอล โดยเฉพาะสื่อออนไลน์ ทำให้ประสิทธิภาพการโฆษณาสูงขึ้น และเข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถเลือกและโฟกัสกลุ่มเป้าหมายได้ตรงจุด และสามารถปรับเปลี่ยนได้อย่างรวดเร็ว ขณะที่ต้นทุนการใช้งบประมาณลดลงกว่าการใช้สื่อออฟไลน์ 4.การบริหารที่มีประสิทธิภาพ บริษัทได้ปรับปรุงประสิทธิภาพการบริหารมาอย่างต่อเนื่อง  โดยเฉพาะการบริหารต้นทุนในการดำเนินธุรกิจ ซึ่งทำให้บริษัทสามารถสร้างการเติบโตและมีผลกำไรเป็นบวกได้  โดยเฉพาะต้นทุนสำคัญทั้ง 5 ด้าน ได้แก่ ต้นทุนทางการเงิน การซื้อที่ดิน การก่อสร้าง การบริหารจัดการ และต้นทุนทางการเงิน ซึ่งต้นทุนทั้งหมดอยู่ในอัตราที่ต่ำ หากดูสถิติย้อนหลังในระยะ 5 ปีที่ผ่านมา จะพบว่า ลลิล พร็อพเพอร์ตี้ มีค่าบริหารจัดการต่าง ๆ อยู่ในอัตราต่ำติดอันดับ Top 5 ในอุตสาหกรรม จึงทำให้การบริหารงานมีประสิทธิภาพ และสร้างผลกำไรให้เป็นบวกได้ บริษัทบริหารจัดการต้นทุนและปรับองค์กรให้ลีนมาโดยตลอด ปรับทุกปี ซึ่งปีนี้ปรับกันแทบทุกอาทิตย์ ไม่ได้ปรับเพราะเจอโควิด จากผลการปรับตัวมาสม่ำเสมอ พอเจอโควิดจึงทำให้เราผ่านมาได้ และยังสามารถสร้างกำไรเป็นบวก   ล่าสุด บริษัทเปิดตัว 2 โครงการใหม่ โครงการลลิล ทาวน์ ไลโอ บลิสซ์ รัตนาธิเบศร์-บางใหญ่  และโครงการไลโอ บลิสซ์ วงแหวน-ปิ่นเกล้า (พระราม 5) รวมมูลค่า 1,450 ล้านบาท  ซึ่งโครงการลลิล ทาวน์ ไลโอ บลิสซ์ รัตนาธิเบศร์-บางใหญ่  มีมูลค่าโครงการ 900 ล้านบาท รวม 457 ยูนิต ราคาเริ่มต้น 1.99 ล้านบาท  และโครงการไลโอ บลิสซ์ วงแหวน-ปิ่นเกล้า (พระราม 5) มูลค่าโครงการ 550 ล้านบาท รวม 283 ยูนิต กับการเปิดตัวโครงการทาวน์โฮมเฟสใหม่ใกล้คลับเฮ้าส์ ราคาเริ่มต้น 1.89 ล้านบาท
[PR News] พร็อพเพอร์ตี้ฯ เปิดตัวบ้าน 4 แบบใหม่ รับชีวิต New Normal

[PR News] พร็อพเพอร์ตี้ฯ เปิดตัวบ้าน 4 แบบใหม่ รับชีวิต New Normal

พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค เปิดตัว 4 แบบบ้านรุ่นใหม่ในโครงการเพอร์เฟค เพลส พร้อมปรับเปลี่ยนใหม่ทั้งรูปแบบและฟังก์ชั่น รับชีวิต New Normal     นายวงศกรณ์ ประสิทธิ์วิภาต กรรมการผู้จัดการ บริษัท พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า สถานการณ์ปัจจุบันผู้คนตระหนักถึงความสำคัญ กับการใช้ชีวิตภายในบ้านมากขึ้น โดยมีวิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างชัดเจน ทั้งด้านการใช้ชีวิตทั่วไป การทำงาน รวมถึงการเลือกทำกิจกรรมต่าง ๆ ภายในบ้านมากขึ้น ซึ่งส่งผลต่อแนวโน้มการตัดสินใจในการเลือกซื้อบ้าน ทำให้ลูกค้าให้ความสำคัญกับขนาดพื้นที่ใช้สอยและมีความต้องการด้านฟังก์ชั่นที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น   ดังนั้น เพื่อการรองรับกับความต้องการของลูกค้าที่ปรับเปลี่ยน พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค ได้พัฒนาแบบบ้านรุ่นใหม่ Modern Oriental Series 2021 ในโครงการเพอร์เฟค เพลส ในแนวคิด New Space for Happiness เพื่อสร้างพื้นที่ความสุขให้เกิดขึ้นภายในบ้านได้มากที่สุด เน้นการจัดวางพื้นที่ใช้สอยที่มีหลากหลายฟังก์ชั่น โดยมี 5 จุดเด่น ได้แก่ 1.Space for Creation การปรับเปลี่ยนการใช้งานได้ตามความต้องการ เช่น เปลี่ยนห้องอเนกประสงค์เป็นห้องทำงานแบบ Work from Home หรือห้องพักผ่อนผู้สูงอายุ 2.Space for Healthy Living การปรับพื้นที่อเนกประสงค์ชั้น 2 เป็นพื้นที่ออกกำลังกายภายในบ้าน หรือพื้นที่สวนที่สามารถทำงานอดิเรก เช่น การปลูกพืชผักสวนครัวหรือปลูกดอกไม้ 3.Space for Collection มุม Walk in Closet ที่กว้างขวางมากขึ้น สามารถ จัดเป็นมุมของสะสม 4.Space for Care การเพิ่มพื้นที่เชื่อมต่อระหว่างภายในบ้านและสวนให้ผู้อยู่อาศัยได้ใกล้ชิดธรรมชาติ 5.Space for Family Activity พื้นที่ที่พร้อมรองรับทุกกิจกรรมของครอบครัว และยังคงให้บรรยากาศการอยู่อาศัยที่สามารถเว้นระยะได้อย่างเป็นสัดส่วนและมีความเป็นส่วนตัว   สำหรับแบบบ้าน Modern Oriental Series 2021 ดีไซน์สไตล์โมเดิร์นผสมกับความเป็นธรรมชาติ และยังตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์กลุ่มลูกค้าที่ใส่ใจด้านสุขอนามัยได้มากยิ่งขึ้นด้วย Smart AIRflow System ซึ่งเป็นนวัตกรรมระบบระบายอากาศ สามารถช่วยลดอุณหภูมิ ความอับชื้น แบคทีเรีย รวมถึง ฝุ่นละออง เพิ่มคุณภาพอากาศที่ดีให้แก่ผู้อยู่อาศัย พร้อมด้วยความสะดวกในการใช้งานผ่านแอพพลิเคชั่นได้จากโทรศัพท์มือถือ   ทั้งนี้ แบบบ้านรุ่นใหม่มีพื้นที่ใช้สอยขนาดตั้งแต่ 158 – 245 ตารางเมตร พร้อมเปิดตัวในโครงการเพอร์เฟค เพลส บน 5 ทำเล ได้แก่ แจ้งวัฒนะ,​รังสิต – ทางด่วนบางพูน, รัตนาธิเบศร์ – สถานีไทรม้า, สุขุมวิท 77 – สุวรรณภูมิ และ พระราม 9 – กรุงเทพกรีฑา ในราคาพิเศษเริ่ม 6.29 – 12 ล้านบาท
แสนสิริ เปิด 10 โปรเจ็กต์ Q4 เตรียมปรับเป้าใหม่อีกรอบ

แสนสิริ เปิด 10 โปรเจ็กต์ Q4 เตรียมปรับเป้าใหม่อีกรอบ

แสนสิริ เล็งปรับเป้ายอดขายและรายได้ หลัง 9 เดือนแรกทำผลงานดีเกินคาด พร้อมเปิดโปรเจ็กต์ใหม่ไตรมาส 4 อีก 10 โครงการ 11,700 ล้าน มั่นใจตลาดยังมีดีมานด์แต่ต้องระมัดระวัง หลังลูกค้ากู้ไม่ผ่านพุ่ง 20-30% ต้องอัดโปรโมชั่นช่วย   นายอาณัติ  กิตติกุลเมธี รองกรรมการผู้จัดการฝ่ายพัฒนาโครงการแนวราบ บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) หรือ SIRI เปิดเผยว่า อาจจะพิจารณาปรับเป้าหมายรายได้ใหม่ในช่วงปลายปีนี้  หลังจากช่วง 9 เดือนแรกสามารถทำผลประกอบการในกลุ่มโครงการแนวราบประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี โดยทำยอดโอนได้ 14,300 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 81% ของเป้าหมายที่คาดว่าจะทำได้ในปีนี้ 17,500 ล้านบาท ซึ่งยอดโอนช่วง 9 เดือนเติบโต 57% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่ช่วง 9 เดือนที่ผ่านมาทำยอดขายได้  17,600 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 92% จากเป้าหมายยอดขายโครงการแนวราบในปีนี้ที่​วางเป้าหมายไว้ 19,000 ล้านบาท และเติบโตจากช่วงเดียวกันของปีก่อนเกือบ 100%  ซึ่งยอดขายดังกล่าวแบ่งเป็นยอดขายจากโครงการบ้านเดี่ยวและ Mix Products สัดส่วน 83% มูลค่า 14,600 ล้านบาท และโครงการทาวน์เฮ้าส์  สัดส่วน 17% มูลค่า 3,000 ล้านบาท   โดยช่วงไตรมาสสุดท้ายจะบริษัทจะพิจารณาการปรับเป้าหมายยอดขายและรายได้ใหม่อีกครั้ง  จากผลตอบรับที่ดีในช่วง 9  เดือนแรกที่ผ่านมา เพราะช่วงเวลาที่เหลือต้องทำยอดขายเพียง 1,400 ล้านบาท ส่วนยอดโอนเหลือมูลค่าที่ต้องทำให้ได้อีก 3,200 ล้าบาทเท่านั้น ก็จะทำผลประกอบการตามเป้าหมายที่วางไว้ แต่คงต้องพิจารณาจากการตอบรับของ 10 โครงการ มูลค่า 11,700 ล้านบาท ที่เตรียมเปิดตัวใหม่ในไตรมาสที่ 4 ด้วยจากช่วง 9 เดือนแรกเปิดโครงการไปแล้ว 3 โครงการ  ซึ่งตามแผนในปีนี้จะเปิดโครงการใหม่ 13 โครงการรวมมูลค่า 14,800 ล้านบาท ส่วนในปีหน้าบริษัทยังพัฒนาโครงการต่อเนื่องอีก 18-20 โครงการด้วย นายอาณัติ  กล่าวอีกว่า แนวโน้มธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในไตรมาสที่ 4 ยังถือว่ามีความต้องการ แต่ธนาคารยังระมัดระวังการปล่อยสินเชื่อ ซึ่งแสนสิริยังต้องช่วยเหลือกลุ่มลูกค้าที่ต้องการซื้อที่อยู่อาศัย ด้วยแคมเปญและโปรโมชั่นพิเศษ แต่จะพิจารณาเป็นรายบุคคล เนื่องจากอัตราการกู้ไม่ผ่านพุ่งสูงขึ้น 20-30% จากช่วง 2 ปีก่อนหน้านี้มีสัดส่วน 10-15% เท่านั้น รวมถึงการดำเนินธุรกิจที่ต้องระมัดระวังมากขึ้น โดยการบริหารการขายและการก่อสร้างให้เหมาะสม ไม่ก่อสร้างบ้านออกมาขายจนเกินกว่ายอดขาย เพื่อลดความเสี่ยง เนื่องจากแนวโน้มตลาดอสังหาฯ ในปีหน้ายังถือว่าไม่ฟื้นตัว   โดยในวันที่ 28- 29 พฤศจิกายนนี้เตรียมเปิดพรีเซลล์อย่างเป็นทางการของโครงการอณาสิริ 4 โครงการพร้อมกัน ได้แก่ ทั้งนี้  อณาสิริ รังสิต – คลอง 2 อณาสิริ บางนา อณาสิริ ชัยพฤกษ์ – วงแหวน และอณาสิริ กรุงเทพ – ปทุมธานี  หลังจากก่อนหน้านี้ได้เปิดให้ลูกค้าลงทะเบียนออนไลน์ให้เข้าชม 2 โครงการแรก คือ อณาสิริ ชัยพฤกษ์ – วงแหวน และอณาสิริ กรุงเทพ – ปทุมธานี ปรากฎว่าได้รับการตอบรับที่ดีมาก มีลูกค้าที่ให้ความสนใจกว่า 3,650 ราย มียอดเข้าชมโครงการกว่า 700 ราย และมียอดจองโครงการทันที 140 ยูนิต มูลค่ารวมกว่า 600 ล้านบาท สามารถปิดการขายในเฟสแรกได้ทันทีแม้จะยังไม่เปิดขายพรีเซลล์อย่างเป็นทางการ
เปิด 4 Key Factors ปั้นโปรเจ็กต์แนวราบ การกลับมาทำตลาดต่างจังหวัดอีกครั้งของ “เอพี”

เปิด 4 Key Factors ปั้นโปรเจ็กต์แนวราบ การกลับมาทำตลาดต่างจังหวัดอีกครั้งของ “เอพี”

เอพี ไทยแลนด์ เดินหน้าลุยตลาดแนวราบ ปักธงตลาดต่างจังหวัด 3 โปรเจ็กต์ ในขอนแก่น ระยอง และนครศรีธรรมราช มูลค่ารวม 2,450 ล้านบาท หลังหยุดทำตลาดมาหลายปี จากก่อนหน้าที่มาลุยตลาดคอนโด ในพิษณุโลกและอุดรธานี มั่นใจหลังศึกษาตลาดมาอย่างดี และนำโมเดลธุรกิจความสำเร็จจากกรุงเทพฯ มาลุยตลาด มั่นใจทำยอดขายได้ตามเป้า 300 ล้าน   ในปีนี้ตลาดแนวราบ คือ พระเอกของตลาดอสังหาริมทรัพย์ ที่จะเข้ามากระตุ้นตลาดสร้างการเติบโต ดีเวลลอปเปอร์รายเล็กรายใหญ่ ต่างก็เปิดตัวโครงการแนวราบ และหยุดการเปิดตัวโครงการคอนโดมิเนียม เลื่อนแผนออกไปก่อน มีเพียงไม่กี่รายเท่านั้นที่ยังคงเปิดโครงการคอนโดมิเนียมตามแผนที่ได้วางไว้ เอพี เป็นหนึ่งในผู้ประกอบการที่ไม่เปิดตัวโครงการคอนโดมิเนียมใหม่ในปีนี้ แต่หันมาเปิดโครงการบ้านแนวราบ ล่าสุด ได้เปิดตัวแบรนด์ใหม่ “อภิทาวน์” (APITOWN) แบรนด์ที่จะใช้เจาะตลาดต่างจังหวัดโดยเฉพาะ โดยเป็นแบรนด์ที่ภายในโครงการมีความหลากหลายของประเภทบ้าน เริ่มตั้งแต่บ้านเดี่ยวหรือทาวน์เฮ้าส์ชั้นเดียว ไปจนถึงบ้านเดี่ยวหรือทาวน์โฮม 2 ชั้น   นายวิทการ จันทวิมล รองกรรมการผู้อำนวยการ สายงานกลยุทธ์องค์กรและการสร้างสรรค์ บริษัท เอพี (ไทยแลนด์) จำกัด (มหาชน) หรือ เอพี เปิดเผยว่า จากพันธกิจใหญ่ EMPOWER LIVING ที่พร้อมสนับสนุนให้ทุกคนในสังคมสามารถเติมเต็มการใช้ชีวิตได้ตามที่ปรารถนา จึงเปิดตัวแบรนด์ใหม่ “อภิทาวน์” ในโครงการแบบมิกซ์ โปรดักส์ (Mix Products) ซึ่งแบรนด์อภิทาวน์ จะอยู่ในกลุ่มสินค้าระดับกลางในพอร์ตโครงการต่างจังหวัด การมาทำตลาดต่างจังหวัด เพราะต้องการขยายธุรกิจ จึงต้องขยายตลาด และมองหาโอกาสที่จะสร้างการเติบโตขึ้น 4 Key Factors เลือกทำเลลุยตลาด ในการคัดเลือกว่าจะไปทำตลาดที่จังหวัดอะไรนั้น เอพี มี 4 หลักเกณฑ์การพิจารณาด้วยกัน ได้แก่ 1.การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานเมกะโปรเจ็กต์ของภาครัฐ (GOVERNMENT MAJOR INFRASTRUCTURE PROJECT) 2.การเติบโตทางเศรษฐกิจในหลายมิติ (URBANIZATION AND PURCHASING POWER) 3.การขยายตัวของความเป็นเมืองและการเติบโตของกำลังซื้อ (LOCAL ECONOMIC GROWTH IN MULTI-SEGMENTS) 4.การเป็นศูนย์กลางทางการศึกษาหรือการแพทย์ของภูมิภาค (REGION’S EDUCATION OR MEDICAL HUB)   นายวิทการ กล่าวอีกว่า สำหรับการลงทุนภาครัฐ จะเน้นจังหวัดที่มีความคืบหน้าของการพัฒนาโครงการที่ชัดเจนเป็นรูปธรรม ซึ่งขอนแก่นถือเป็นหนึ่งในจังหวัดที่วางแผนพัฒนาให้เป็น Smart City โดยปัจจุบันถือว่าโครงการมีความชัดเจนเป็นรูปธรรมมากที่สุด จากการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนจากภาครัฐและเอกชน อาทิ โครงการรถไฟฟ้ารางเบา โครงการขยายสนามบินนานาชาติขอนแก่น รองรับผู้โดยสารได้ 1,000 คนต่อชั่วโมง เป็น 2,000 คนต่อชั่วโมง หรือ 5 ล้านคนต่อปี ที่กำหนดแล้วเสร็จ เดือนมีนาคม 2564 ทำให้กลายเป็น “ขอนแก่น โมเดล” ที่จะนำไปประยุกต์ใช้ในจังหวัดอื่น ๆ ต่อไป   โดยจ.ขอนแก่นมีกิจกรรมทางเศรษฐกิจแหล่งงานที่สร้างรายได้จากหลายเซ็กเมนต์ อาทิ อุตสาหกรรม การลงทุน การเกษตร และการท่องเที่ยว เป็นต้น ซึ่งเมืองขอนแก่น ประชากรมีรายได้ต่อหัวสูงสุดในภาคอีสาน ปัจจุบันขอนแก่นมีจำนวนประชากรในจังหัด 1.8 ล้านคน อยู่ในอำเภอเมืองกว่า 4.16 แสนคน โดย 63% มีรายได้จากเงินเดือนหรือธุรกิจส่วนตัว   ในเมืองขอนแก่นยังมีการลงทุนและพัฒนาศูนย์การค้าที่รองรับกับไลฟ์สไตล์คนในปัจจุบันเพื่อการเติบโตของเศรษฐกิจ ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาศูนย์การค้าขนาดใหญ่ถึง 2 แห่ง และมี 2 ศูนย์การค้า ซึ่งจำหน่ายสินค้าตกแต่งบ้านและเกี่ยวกับบ้านขนาดใหญ่ การลงทุนต่าง ๆในทุกด้าน ส่งผลให้เศรษฐกิจของขอนแก่นปีที่ผ่านมาเติบโต 3-4%   เมืองขอนแก่นเป็นศูนย์กลางขนาดใหญ่ของการศึกษาในภาคอีสาน มีมหาวิทยาลัยขอนแก่น (มข.) โรงเรียนนานาชาติขอนแก่น และโรงเรียนประถม มันธยมอีกหลายแห่ง ขณะเดียวกันขอนแก่นกำลังจะเป็นศูนย์กลางด้านการแพทย์ ที่มีโรงพยาบาลของรัฐขนาดใหญ่ที่สุดในไทยและอาเซียนด้วย เพราะมีการลงทุนกว่า 24,500 ล้าน เพื่อดำเนินการก่อสร้าง โครงการเมดิคัลฮับ ของโรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทย์ศาสตร์ (มข.) ที่มีขนาดถึง 5,000 เตียง บาท   โครงการอภิทาวน์ นครศรีธรรมราช มูลค่าโครงการ 650 ล้านบาท บนที่ดินขนาด 34-2-86.4 ไร่ จำนวน 215 หลัง ในรูปแบบบ้านเดี่ยว 2 ชั้น บ้านแฝด 2 ชั้น และ ทาวน์โฮม 2 ชั้น ชูแนวคิด REINVENT YOUR MODERN LIVING ในเฟสแรกพร้อมเปิดจองบ้านเดี่ยว 2 ชั้น ขนาดที่ดินเริ่ม 50 ตารางวา พื้นที่ใช้สอย 154 - 225 ตารางเมตร 4 ห้องนอนใหญ่ 4 ห้องน้ำ 2 ส่วนพักผ่อน ครัว และ 2 ที่จอดรถ ราคาเริ่ม 4.19-8 ล้านบาท เน้น “ความคุ้มค่า” สร้างจุดขายแตกต่าง นายรัชต์ชยุตม์ นันทโชติโสภณ รองกรรมการผู้อำนวยการ สายงานพัฒนาธุรกิจกลุ่มสินค้าบ้านเดี่ยว เอพี กล่าวว่า การทำพัฒนาและตลาดภายใต้แบรนด์ อภิทาวน์ ถือว่ามีความท้าทายของตลาด แต่ 9 เดือนที่ผ่านมาสินค้ากลุ่มสินค้าแนวราบของเอพี ยังสามารถสร้างการเติบโตทั้งยอดขายและยอดโอนได้อย่างโดดเด่น โดยมียอดขายทะลุ 20,900 ล้านบาท คิดเป็น 93% จากเป้าแนวราบทั้งปีที่ 22,500 ล้านบาท ซึ่งสามารถการันตีกำลังซื้อและความเชื่อมั่นของลูกค้าต่อโครงการแนวราบเครือเอพีได้เป็นอย่างดี   การออกทำตลาดในต่างจังหวัดของเอพีครั้งนี้ ไม่ได้ถือว่าเป็นเรื่องใหม่ เพราะหลายปีก่อนหน้านี้ ได้ออกมาทำตลาดใน 2 จังหวัดแล้ว คือ จังหวัดอุดรธานี และพิษณุโลก แต่ครั้งนี้เป็นการนำเอาโครงการคอนโดมิเนียมออกมาทำตลาด คือ แบรนด์แอสปาย อุดรธานี และคูล (COO)พิษณุโลก ซึ่ง 2 โครงการหากวัดผลถึงความสำเร็จ คงไม่สามรถพูดได้เต็มปาก แม้ว่าโครงการจะขายหมดแล้วทั้ง 2 โครงการก็ตาม เพราะต้องใช้ระยะเวลาการขายนานหลายปีกว่าจะหมด ทำให้ช่วงหลายปีที่ผ่านมาเอพีไม่ได้ออกมาทำตลาดต่างจังหวัดเหมือนกับเพื่อน ๆ ร่วมวงการ แต่ในครั้งนี้ดูเหมือนว่าเอพีมีความพร้อมในการออกมาทำตลาดต่างจงหวัดแล้ว เพราะก่อนที่จะตัดสินใจเลือก 3 จังหวัดทำตลาด คือ จ.ขอนแก่น ระยอง และนครศรีธรรมราช ได้ทำการศึกษาตลาดและศึกษาคู่แข่งในตลาด ไม่ว่าจะเป็นผู้ประกอบการท้องถิ่น หรือผู้ประกอบการจากกรุงเทพฯ ที่เข้าไปปักหมุดก่อนหน้า ซึ่งสิ่งที่ทำให้เอพี มั่นใจกับการมาครั้งนี้ คือ การนำเสนอสิ่งที่เป็น “ความคุ้มค่า” ในสินค้าที่มีลักษณะและราคาใกล้เคียงกัน เพราะจากการศึกษาข้อมูลทางการตลาด พบว่า ผู้บริโภคในต่างจังหวัดต้องการสิ่งเหล่านี้ ประกอบกับการนำเอาความรู้และความสำเร็จของการพัฒนาโครงการในกรุงเทพฯ ไปปรับใช้ในแต่ละพื้นที่เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าให้ได้อย่างตรงจุดด้วย   นางพิมพรรณ ปรีชานนท์ ผู้อำนวยการอาวุโส สายงานบริหารแบรนด์และพัฒนาสินค้าบ้านเดี่ยว เอพี  กล่าวว่า โครงการอภิทาวน์  เน้นเจาะกลุ่มเป้าหมายครอบครัวรุ่นใหม่ในหัวเมืองใหญ่ อายุระหว่าง 30-45 ปี ที่มองหาโครงการที่อยู่อาศัยสำหรับการเป็นเจ้าของบ้านหลังใหม่ ที่ถูกคิด พัฒนา ตลอดจนดูแลบริหารจัดการโดยนักพัฒนาอสังหาฯ ที่มีชื่อเสียงอันดันต้นของประเทศ เน้นรูปแบบบ้านที่มีเอกลักษณ์ดีไซน์ทันสมัย พื้นที่ใช้สอยที่มากกว่าและสามารถใช้งานได้จริงทุกตารางเมตร พร้อมการผสานเทคโนโลยีที่จะอำนวยความสะดวกและเพิ่มความอุ่นใจในการอยู่อาศัยที่เหนือกว่าโครงการทั่วไป และพื้นที่ส่วนกลางที่ครบครันตอบทุกเทรนด์ไลฟ์สไตล์เมือง บนทำเลที่ตั้งที่ดีที่สุดในจังหวัดนั้นๆ
อัพเดท ตำแหน่งคนในวงการอสังหาฯ หลังจัดองค์กรใหม่

อัพเดท ตำแหน่งคนในวงการอสังหาฯ หลังจัดองค์กรใหม่

ในวงการราชการ ช่วงเวลานี้ คงเป็นช่วงเวลาของการโยกย้าย-แต่งตั้ง รวมถึงการอำลาการทำงาน ด้วยการเกษียณอายุราชการที่กำลังจะสิ้นสุดในปลายเดือนกันยายนนี้ แต่แวดวงธุรกิจเอกชน การเปลี่ยนแปลงโยกย้าย หรือลาออกมักจะเป็นช่วงเวลาปลายปี หรือไม่ก็ต้นปี เพราะต้องรอรับโบนัสจากการทำงานมาตลอดทั้งปีก่อน   แต่สำหรับปีนี้ ดูเหมือนสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้นเร็ว และเกิดขึ้นมากมายในภาคธุรกิจเอกชน สาเหตุหนึ่งอาจจะเป็นเพราะผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจ ซึ่งชะลอตัวมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เกิดเหตุการณ์แพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทำให้องค์กรต้องรัดเข็มขัด หรือไม่ก็ต้องยอมลดจำนวนพนักงานลง เพื่อให้บริษัทยังคงไปต่อได้ แต่ก็มีหลายบริษัทที่ไปต่อไม่ไหว ต้องปิดกิจการลง ก็มีเห็นอยู่ไม่น้อย   ในแวดวงธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ช่วงเวลานี้ ก็เกิดการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ มากมาย โดยเฉพาะกับการปรับเปลี่ยนผู้บริหาร มีเข้า-ออก ปรับโครงสร้างธุรกิจ จัดทัพรับมือกับภาวะตลาดที่ชะลอตัวลง จากกำลังซื้อและภาวะเศรษฐกิจโดยรวม ข่าวคราวการปรับเปลี่ยนทีมผู้บริหารองค์กรมีมาอย่างต่อเนื่อง ในช่วงที่ผ่านมา ลองมาดูกันว่าในแวดวงคนอสังหาฯ มีใครยังอยู่ ย้ายบ้านหลังใหม่ หรือไม่ได้ไปต่อกันบ้าง พฤกษาได้เวลาผลัดใบ ดันลูกลูกหม้อบริหาร เริ่มต้น คงต้องพูดถึงค่าย “พฤกษา” ยักษ์ใหญ่ในวงการของ “ทองมา วิจิตรพงศ์พันธุ์” ที่ก่อนหน้านี้ดึงเอามือการตลาดและนักสร้างแบรนด์จากค่ายยูนิลีเวอร์ “คุณจุ๋ม - สุพัตรา เป้าเปี่ยมทรัพย์” มานั่งเก้าอี้บริหารในตำแหน่ง รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่ม บริษัท พฤกษา โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) และประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท พฤกษา เรียลเอสเตท จำกัด (มหาชน)  ยาวนาน  3 ปี  ก่อนจะมีการสละเก้าอี้ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ให้กับคุณปิยะ ประยงค์ ลูกหม้อพฤกษา ให้ขึ้นมารับหน้าที่แทน จากก่อนหน้านี้คุณปิยะ ดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจพฤกษา เรียลเอสเตท แวลู ซึ่งถือเป็นหนึ่งธุรกิจของพฤกษาเท่านั้น   โดยคุณปิยะ จะดำรงตำแหน่ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พฤกษาเรียลเอสเตท (CEO-PS)  ซึ่งปฏิบัติหน้าที่รับผิดชอบงานบริหาร ธุรกิจพฤกษาเรียลเอสเตททั้งหมด และจะรายงานตรงต่อ  คุณสุพัตรา จะเน้นบริหารจัดการธุรกิจในกลุ่มพฤกษา โฮลดิ้ง เป็นหลัก มีผลตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2563 เป็นต้นไป   เหตุผลที่ พฤกษา มีการปรับโครงสร้างการบริหารใหม่ และการแต่งตั้งผู้บริหารระดับสูงในครั้งนี้ อ้างว่าเพื่อเพิ่มศักยภาพและเป็นกลไกสำคัญในการบริหารธุรกิจต่าง ๆ ของกลุ่มบริษัทฯ ให้เข้มแข็งและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น  แต่ระยะเวลาผ่านไปไม่นาน ในช่วงกลางเดือนกันยายนที่ผ่านมา พฤกษาก็ปรับเปลี่ยนตัวผู้บริหารอีกครั้ง โดยคุณสุพัตราได้ลาออกจาก พฤกษา โดยไม่มีการระบุถึงสาเหตุที่แน่ชัด ซึ่งคุณทองมา ก็ได้จัดทำพิธีมอบช่อดอกไม้อำลา และแสดงความขอบคุณ ถือเป็นการส่งไม้ต่อการบริหารงานของพฤกษา เรียลเอสเตทให้กับปิยะ ประยงค์ ลูกหม้อพฤกษาอย่างเต็มตัว   การเปลี่ยนแปลงของพฤกษา ได้เกิดขึ้นมาตั้งแต่ช่วงประมาณเดือนเมษายนที่ผ่านมา มือบริหารที่อยู่เคียงคู่คุณทองมา มายาวนานอย่าง “ประเสริฐ แต่ดุลยสาธิต” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจพฤกษา เรียลเอสเตท - พรีเมียม บริษัท พฤกษา เรียลเอสเตท จำกัด (มหาชน) ได้โบกมืออำลาจากคุณทองมา  ไปนั่งเก้าอี้ ประธานเจ้าหน้าที่สายงานปฏิบัติการ ของบริษัท อนันดา ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน)  ตั้งแต่วันที่ 10 มิถุนายน 2563 (ช่วงที่ออกจากพฤกษาใหม่ ๆ คุณประเสริฐ ยังไปลงสมัครชิงตำแหน่งผู้ว่าการเคหะแห่งชาติด้วย แต่ไม่ได้รับการคัดเลือก)   บทบาทหน้าที่รับผิดชอบของคุณประเสริฐ กับบ้านหลังใหม่ คือ การจัดการด้านภาพรวมของผลการดำเนินงานของบริษัทฯ ทั้งธุรกิจคอนโดและบ้านจัดสรร รวมทั้งการตลาดต่างประเทศ (International Sales) และธุรกิจตัวแทนด้านอสังหาริมทรัพย์ บริษัท ดิ เอเจ้นท์ (พร็อพเพอร์ตี้ เอ๊กซ์เพิร์ท) จำกัด นอกจากนี้ ยังมีหน้าที่ดูแลการทำงานที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการก่อนการก่อสร้าง (Pre-construction)  การก่อสร้าง (Construction), การให้บริการหลังการขาย (Aftersales services) และ การตลาด (Marketing) อีกด้วย เฟรเซอร์ส จัดทัพ สู่องค์กร 1 แสนล้าน ต้องบอกว่าการดำเนินธุรกิจภายใต้นามสกุล “สิริวัฒนภักดี” เล็ก ๆ ไม่น่าจะใช่ ต้องใหญ่ ๆ เท่านั้น กลุ่มบริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ ลิมิเต็ด หรือ “FPL” ซึ่งเป็นบริษัทภายใต้การบริหารงานของ คุณปณต สิริวัฒนภักดี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (Group CEO) หนึ่งในทายาทของ “เสี่ยเจริญ สิริวัฒนภักดี” จึงต้องสร้างขนาดองค์กรให้ไม่น้อยหน้านักธุรกิจอื่น ๆ   เริ่มต้นจากการ ควบรวมเอาบริษัท แผ่นดินทอง พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) หรือ โกลเด้นแลนด์ (GOLD) เข้ามารวมอยู่ภายใต้ชายคาเดียวกัน ซึ่งตั้งแต่วันที่ 19 พฤษภาคม 2563 ที่ผ่านมาโกลด์เด้นแลนด์ ได้รับคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมด  เพื่อเพิกถอนหลักทรัพย์ของกิจการออกจากการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จากบริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ฯ ที่ได้ประกาศเริ่มรับซื้อรอบแรกในเดือนมิถุนายนปี 2562 ที่ผ่านมา เพื่อปรับกลยุทธ์ เพิ่มศักยภาพของการเชื่อมโยง ต่อยอด ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ของกลุ่มให้อยู่ในแพลตฟอร์มเดียวกัน  ที่สำคัญการรวมกันแล้ว จะทำให้บริษัท เฟรเซอร์สฯ กลายเป็นบริษัทที่มีสินทรัพย์รวมมากกว่า 100,000 ล้านบาทเลยทีเดียว   หลังจากปรับโครงสร้างธุรกิจเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ก็ถึงเวลาจัดทัพด้วยการประกาศแต่งตั้งทีมผู้บริหารต่าง ๆ ขึ้นมาดูแลรับผิดชอบงาน โดยล่าสุดคุณปณต ได้ประกาศแต่งตั้งทีมผู้บริหารใหม่ แม้บางรายจะหน้าเดิม แต่ก็มากด้วยประสบการณ์ในแวดวงอสังหาริมทรัพย์  โดยการแต่งตั้งทั้งหมดจะเริ่มมีผลตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2563  ซึ่งทีมบริหารชุดใหม่ประกอบด้วย   1.คุณธนพล ศิริธนชัย ขึ้นดำรงตำแหน่ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (Country CEO) บมจ.เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ฯ  มีผลตั้งแต่วันที่ 17 สิงหาคม 2563 และตำแหน่ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เพื่อพาณิชยกรรมหรือ “เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ คอมเมอร์เชียล” จากก่อนหน้าดำรงตำแหน่งประธานอำนวยการ โกลเด้นแลนด์    2.คุณแสนผิน สุขี ดำรงตำแหน่ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เพื่อที่อยู่อาศัย บริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ “เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ โฮม” โดยจะมีบทบาทสำคัญในการกำหนดยุทธศาสตร์ เพื่อสร้างการเติบโตอย่างต่อเนื่อง และเป็นผู้นำในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เพื่อที่อยู่อาศัยทั้งแนวราบ และแนวสูง โดยนำนวัตกรรมใหม่ ๆ มาปรับใช้เพื่อตอบโจทย์ลูกค้าได้อย่างครบครัน และมุ่งเน้นการสร้างคุณภาพชีวิตให้ผู้อยู่อาศัยได้อย่างสูงสุด ก่อนหน้านี้เคยดำรงตำแหน่ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โกลเด้นแลนด์เรสซิเดนซ์ จำกัด    3.คุณโสภณ ราชรักษา ดำรงตำแหน่ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เพื่ออุตสาหกรรม บริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ “เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ อินดัสเทรียล” เพื่อสร้างการเติบโตและรักษาสถานะผู้นำด้านการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เพื่ออุตสาหกรรมยุคใหม่ และอาคารประเภทสร้างตามความต้องการ หรือ Built-to-Suit ที่เน้นการส่งมอบโซลูชั่นเพื่อตอบโจทย์ทุกความต้องการที่หลากหลายของลูกค้าแต่ละราย จากก่อนหน้านี้เคยดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการใหญ่ เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้   4.คุณสมบูรณ์ วศินชัชวาล ให้ดำรงตำแหน่ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านการเงิน บริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) โดยจะรับหน้าที่ในการบริหารและวางกลยุทธ์ด้านการเงิน ซึ่งก่อนหน้านี้เคยดำรงตำแหน่ง กรรมการ ของโกลเด้นแลนด์ และเคยเป็นผู้บริหารของพฤกษา เรียลเอสเตท ในตำแหน่งผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ สายวางแผนการเงินมาก่อนด้วย   5.คุณศุภรัฒศ์ ศิวะเพ็ชรานาถ สิงหรา ณ อยุธยา ดำรงตำแหน่ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านเทคโนโลยี ดิจิทัล บริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) รับหน้าที่ในการบริหารงานด้านเทคโนโลยีและดิจิทัล พร้อมกำหนดกลยุทธ์ที่สอดคล้องกับการปรับเปลี่ยนของเทรนด์ในปัจจุบัน ก่อนหน้านี้เคยดำรงตำแหน่ง ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เอสทีที จีดีซี (ประเทศไทย) จำกัด ผู้จัดการทั่วไป บริษัท ทรูอินเตอร์เน็ต ดาต้า เซ็นเตอร์ จำกัด หรือ ทรูไอดีซี ประธานคณะผู้บริหาร บริษัท แอสเซนด์ กรุ๊ป จำกัด ไรมอนด์แลนด์ ดึง ดร.สุรเกียรติ์ คุมทีม  สำหรับบริษัท ไรมอน แลนด์​ จำกัด (มหาชน) ได้ประกาศแต่งตั้ง ศ.ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย อดีตรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีกระทรวงการคลัง ให้ดำรงตำแหน่ง ประธานกิตติมศักดิ์ ตั้งแต่วันที่ 26 สิงหาคม 2563 ที่ผ่านมา เพื่อเป็นผู้ให้คำปรึกษาวางกลยุทธ์ทางธุรกิจและการลงทุนใหม่ ๆ เพราะเป็นผู้ทรงคุณวุฒิ มีความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ในการช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้มีการเติบโต รวมทั้งเคยดำรงตำแหน่งประธานบริษัทให้กับองค์กรใหญ่หลายแห่ง รวมถึงเคยเป็นประธานคณะกรรมการของ บริษัท ไรมอน แลนด์ จำกัด (มหาชน) มาก่อนเป็นเวลานานกว่า 1 ปีด้วย   นอกจากนี้ ไรมอน แลนด์ ยังได้เปลี่ยนแปลงโครงสร้างการบริหารภายในใหม่ ด้วยการแต่งตั้ง คุณกรณ์ ณรงค์เดช ให้ดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายปฏิบัติการ (Chief Operating Officer) มีประสบการณ์ทางด้านการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ระดับลักซ์ชัวรี่ เคยดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าบริหารฝ่ายการตลาดกลุ่มเคพีเอ็น รองประธานกรรมการ บริษัท เคพีเอ็น แลนด์ จำกัด และเป็นผู้ที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของโครงการ ดิโพลแมท ซีรีย์ส และ เดอะ แคปปิตอล  ซีรีย์ส                         คุณมนาเทศ อันนวัฒน์ ดำรงตำแหน่ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร  ฝ่ายการตลาดและการขาย (Chief Marketing Officer-Marketing & Sales) ซึ่งมีประสบการณ์ความเชี่ยวชาญในการบริหารงานด้านการตลาด การขาย และการสื่อสารองค์กร จากองค์กรระหว่างประเทศชั้นนำหลายแห่ง และล่าสุดดำรงตำแหน่งรองกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส ศูนย์การค้า ดิ เอ็มโพเรียม และดิ เอ็มควอเทียร์ ฯลฯ  โดยจะเข้ามาดูแลรับผิดชอบงานด้านการวางแผนกลยุทธ์การตลาด การขาย การสื่อสารองค์กร และการบริหารจัดการด้านลูกค้าสัมพันธ์ แสนสิริ  ปรับลด พนักงานไม่ได้ไปต่อ ขณะที่บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) มีกระแสข่าวใหญ่ออกมา คือ การปลดพนักงานกว่า 600 คนของบริษัท พลัส พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด บริษัทในเครือแสนสิริ แม้ภายหลังคุณเศรษฐา ทวีสิน กรรมการผู้จัดการใหญ่ แสนสิริ จะออกมาปฏิเสธว่า การปลดพนักงานไม่ได้มีตัวเลขมากถึง 600 คน โดยได้ระบุข้อความผ่านทวิตเตอร์ ว่า “ขออนุญาตชี้แจงก่อนว่าเรามีการเลิกจ้าง 5% ของจำนวนพนักงานแสนสิริและพลัสทั้งหมด ตัวเลขน้อยกว่า 600 คนมากครับ ผมมองว่าเป็นเรื่องปกติของภาคธุรกิจที่ปรับการดำเนินงานให้เหมาะสมกับสถานการณ์และกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจมากกว่า ซึ่งเราเองก็ทำทุกปี” อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ แสนสิริได้มีการปรับเปลี่ยนผู้บริหารคนสำคัญ  คือ คุณวันจักร บุรณศิริ ประธานผู้บริหารสายงานการเงินและสนับสนุนธุรกิจ (CFO) ได้ขอลาออกจากบริษัท มีผลตั้งแต่วันที่ 26 สิงหาคม 2563 ที่ผ่านมา ซึ่งบริษัทได้ทำการแต่งตั้ง คุณวรางคณา อัครสถาพร  ให้ดำรงตำแหน่งประธานผู้บริหารสายงานการเงิน (CFO) โดยมีผลตั้งแต่ วันที่ 26 สิงหาคม 2563 ซึ่งก่อนหน้านี้มีตำแหน่ง  ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ อาวุโสสายงานการเงินและพัฒนาธุรกิจใหม่  และยังให้รักษาการในตำแหน่งดังกล่าวจนกว่าจะดำเนินการอบรบตามเกณฑ์ของสำนักงาน ก.ล.ต. ในเรื่องคุณสมบัติ CFO เป็นที่เรียบร้อยต่อไป