Tag : Townhome

792 ผลลัพธ์
ชีวาทัย เดินหน้าระบาสสต็อก ตุนเงินสดสร้างรายได้​ 2,500 ล้าน

ชีวาทัย เดินหน้าระบาสสต็อก ตุนเงินสดสร้างรายได้​ 2,500 ล้าน

ชีวาทัย มั่นใจตลาดอสังหาฯ 64 ฟื้นตัว จากความมั่นใจในวัคซีนโควิด-19 เดินหน้าลงทุนซื้อที่ดิน เตรียมพัฒนาโปรเจ็กต์ใหม่ พร้อมเร่งระบายสต็อกในมือ สร้างกระแสเงินสด เพื่อทำรายได้ 2,500 ล้าน           นายบุญ ชุน เกียรติ กรรมการ ผู้จัดการ บริษัท ชีวาทัย จำกัด (มหาชน) หรือ CHEWA เปิดเผยถึงแผนธุรกิจในปี 2564 ว่า จะมุ่งเน้นการระบายสินค้าในสต็อก เพื่อสร้างสภาพคล่องทางด้านการเงิน โดยปัจจุบันบริษัทมีสินค้าพร้อมขาย (Inventory)  มูลค่า 3,500 ล้านบาท จาก 15 โครงการที่อยู่ระหว่างการพัฒนา และมียอดขายรอรับรู้รายได้ สิ้นปีที่ผ่านมา 2,178 ล้านบาท เป็นยอดขายจากโครงการคอนโดมิเนียม 95% ซึ่งในปีนี้บริษัทวางเป้าหมายรายได้ 2,500 ล้านบาท เติบโต 52% จากปีที่ผ่านมา    สำหรับปีนี้บริษัทยังไม่มีแผนเปิดตัวโครงการใหม่แต่มีแผนซื้อที่ดิน 3 แปลง มูลค่าประมาณ 2,830 ล้านบาท เพื่อพัฒนาโครงการในอนาคต ซึ่งเตรียมงบประมาณการก่อสร้างไว้ 1,350 ล้านบาท โดยจะพัฒนาเป็นโครงการคอนโด​ 2 โครงการ และบ้านแนวราบ 1 โครงการ ภายใต้แบรนด์ชีวาโฮม บ้านเดี่ยวระดับราค 8-15 ล้านบาท ขณะเดียวกันเพื่อสร้างยอดขายต่อเนื่อง ในปีนี้ได้วางแผนเปิดการขายโครงการฮอลมาร์ค ลาดพร้าว โชคชัย 4 เฟส 2 มูลค่าโครงการราว 900 ล้านบาท นอกจากการพัฒนาภายใต้การบริหารงานของบริษัทแล้วปัจจุบันบริษัทยังอยู่ระหว่างการเจรจากับพันธมิตร 2-3 ราย เพื่อพัฒนาโครงการในรูปแบบต่างๆ อาทิ  โครงการคอนโดมิเนียม บ้านเดี่ยว หรือมิกซ์ยูส ซึ่งรูปแบบการร่วมทุนมีทั้ง การร่วมทุนกันพัฒนาโครงการใหม่ หรือการที่บริษัทเข้าไปร่วมลงทุนกับพันธมิตรที่มีโครงการพัฒนาอยู่แล้ว ​   นายบุญ กล่าวอีกว่า ตลาดอสังหาริมทรัพย์ปี 2564 นี้ มีแนวโน้มการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง จากปัจจัยเรื่องความมั่นใจในวัคซีนป้องกันโรคไวรัสโควิด-19 ที่ได้เริ่มมีการฉีดป้องกัน แต่คาดว่าตลาดจะฟื้นตัวอย่างชัดเจนได้ตั้งแต่ไตรมาส 3 เป็นต้นไป ขณะเดียวกันกลุ่มนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ คาดว่าจะเริ่มกลับมาได้ในช่วงปลายปีนี้ หรืออย่างช้าต้นปีหน้า และตลาดจะกลับมาเติบโตอย่างชัดเจนอีกครั้งในปี 2565 อย่างไรก็ตาม สิ่งที่สร้างความมั่นใจว่าตลาดอสังหาฯ ในปีนี้จะฟื้นตัวดีขึ้น เห็นได้จากยอดขายของบริษัทในช่วงไตรมาสแรกนี้ ที่มีเข้ามาจำนวนมาก    กลยุทธ์ของบริษัทในปีนี้จะเน้นระบายสต็อกขาย Inventory เพื่อเก็บกระแสเงินสดกลับมา ทำให้ ตัวเบา ​และเดินหน้าสร้างมาตรฐานการก่อสร้างให้มี zero defect เพื่อเป้าหมายการเป็นที่ 1 ด้านคุณภาพและบริการ​ สำหรับ ปี 2564 เป็นปีที่บริษัทก่อตั้งครบ 13 ปี บริษัทจึงได้จัดแคมเปญ ฉลองครบรอบ 13 ปี ตลอดทั้งปี โดยลูกค้าที่ทำการจองและโอนกรรมสิทธิ์โครงการจะมีสิทธิ์ลุ้นรับเงินฝากรวมกว่า 13 ล้านบาท จับรางวัลทุกวันที่ 9 ของ ทุกเดือน ประกาศผลทุกวันที่ 13 ของเดือน ทั้งนี้ บริษัทจะจับรางวัลทุกเดือน ต่อเนื่อง 10 เดือน ลุ้นเงินสด 1 ล้านบาท          
SENA ปิดงบ 63 สร้างกำไรนิวไฮ 1,119 ล้าน​เดินหน้ากลยุทธ์ “7 Strong” ปั้นรายได้

SENA ปิดงบ 63 สร้างกำไรนิวไฮ 1,119 ล้าน​เดินหน้ากลยุทธ์ “7 Strong” ปั้นรายได้

SENA ผ่านวิกฤตโควิด-19 จบปี 63 ทุบสถิตินิวไฮทั้งรายได้และกำไร สูงสุดตั้งแต่ดำเนินรกิจเกือบ 30 ปี  พร้อมเดินหน้าธุรกิจปี 64 วางกลยุทธ์ “7 Strong” สร้างรายได้ 10,000 ล้าน ​พร้อมเปิด 17 โครงการ รวมมูลค่า 15,700 ล้านบาท เน้นตลาดคอนโดต่ำล้าน   รอบปีที่ผ่านมา แม้ว่าจะมีสถานการณ์ไวรัสโควิด-19 แต่สำหรับเสนาฯ ถือเป็นปีที่สามารถสร้างผลงานได้อย่างสวยงาม กับการทำรายได้และกำไรสูงสุดนับตั้งแต่ดำเนินธุรกิจเกือบ 30 ปี โดยปีที่ผ่านมาสามารถทำยอดขาย 8,600 ล้านบาท และกำไรสุทธิ 1,119 ล้านบาท   ผศ.ดร.เกษรา ธัญลักษณ์ภาคย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เสนาดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) หรือ SENA  เปิดเผยถึงปีที่ผ่านมา ว่า การแพร่ระบาดของโควิด – 19 ถือเป็นสถานการณ์วิกฤตที่ทำให้เศรษฐกิจหยุดชะงักไปหลายเดือน บริษัทหลายแห่งปิดตัวลง หลายแห่งเลิกจ้างพนักงาน เพราะไม่สามารถสร้างยอดขายให้บริษัทไปต่อได้ แต่เป็นความโชคดีที่เสนาสามารถฟื้นตัวได้ภายในระยะเวลาไม่นาน ซึ่งเสนาฯ สามารถทำผลงานได้ดี จนมียอดขายและกำไรสูงสุดนับตั้งแต่ดำเนินธุรกิจมา   โดยมียอดขาย 8,600 ล้านบาท เติบโตจากปี 2562 ที่มียอดขาย 7,421 ล้านบาท มียอดโอน 7,600 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 46% จากปีก่อนหน้าที่มียอดโอน 5,203 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิ 1,119 ล้านบาท เติบโต 25% จากปีก่อนหน้าที่มีกำไร 890 ล้านบาท  ส่วนหนึ่งเกิดจากการบริหารต้นทุนที่ดี และความระมัดระวังในการเปิดตัวโครงการ ประกอบกับที่อยู่อาศัยเป็นปัจจัย 4 ถึงแม้จะเกิดวิกฤติก็ยังมี Demand อยู่เสมอ บริษัทได้พัฒนาโปรดักส์ใหม่ที่เข้ากับสถานการณ์ ไม่ว่าจะเป็นทาวน์โฮมติดโซลาร์เพื่อรับกระแส Work From Home และคอนโดต่ำล้านเพื่อคนรายได้จำกัดที่เป็นประชากรส่วนใหญ่ของประเทศแต่ต้องการความมั่นคงในด้านการอยู่อาศัย ทำให้สร้างยอดขายเป็นที่น่าพอใจ 7 Strong ขับเคลื่อนธุรกิจสู่เป้า หลังจากทำผลการดำเนินนิวไฮด์ ทั้งด้านรายได้และกำไร ปี 2564 เสนาฯ ยังคงเดินหน้าลงทุนและพัฒนาธุรกิจต่อเนื่องโดยได้วาง Business Direction 2021 ผ่านกรอบวิธีคิด “7 Strong”  เพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายและการเติบโตอย่างแข็งแกร่งทุกด้านของบริษัท ดังนี้ 1.Strong Step เปิด 17 โปรเจ็กต์ 15,700 ล้าน โครงการใหม่ในปีนี้ เตรียมเปิด​17 โครงการ รวมมูลค่า 15,700  ล้านบาท แบ่งเป็นคอนโดมิเนียมในย่าน Prime Area 3 โครงการ มูลค่า 7,100 ล้านบาท แบรนด์เสนา คิทท์ ซึ่งเป็นกลุ่มคอนโดราคาต่ำกว่า 1 ล้านบาท จำนวน  6 โครงการ มูลค่า 2,100 ล้านบาท เสนา อีโค ทาวน์ 2 โครงการ มูลค่า 1,100 ล้านบาท และโครงการแนวราบ ทั้งบ้านเดี่ยว บ้านแฝด และทาวน์โฮม 6 โครงการ มูลค่า 5,400 ล้านบาท 2.Strong Affordable Condo รอบปีที่ผ่านมาหนึ่งในสินค้าขายดีสำหรับเสนาฯ​ คือ กลุ่มคอนโดราคาต่ำกว่า 1 ล้านบาท หรือคอนโดต่ำล้าน ภายใต้แบรนด์เสนา คิทท์ เนื่องจากเป็นกลุ่มระดับราคาที่คนส่วนใหญ่ สามารถซื้อได้ และเป็นกลุ่มลูกค้าที่ปัจจุบันพักอาศัยในห้องเช่า หรืออพาร์ทเม้นท์ ซึ่งมีเสียค่าเช่า 3,000-5,000 บาท ที่ต้องการมีบ้านเป็นของตนเอง การซื้อคอนโดต่ำล้าน ก็ผ่อนชำระสินเชื่อในระดับเดียวกันกับค่าเช่าห้อง  คนส่วนใหญ่จึงเลือกที่จะซื้อคอนโดคอนโดต่ำล้าน ซึ่งเสนาฯ มีส่วนแบ่งตลาดในกลุ่มคอนโดต่ำล้านมากถึง 38% หรือจำนวน 3,301 ยูนิต จากปริมาณคอนโดต่ำล้าน ที่เปิดขายตั้งแต่ปี 2558 ถึงช่วงครึ่งปีแรกของปีที่ผ่านมา ซึ่งมีจำนวน 8,739 ยูนิต   นอกจากทางเสนาจะเน้นโครงการแนบราบแล้ว ในปีนี้ยังหันมาโฟกัสคอนโดต่ำล้าน ภายใต้แบรนด์คอนโดน้องใหม่ “เสนา คิทท์”  เน้นเจาะกลุ่มลูกค้าเรียลดีมานด์ที่แท้จริง มองว่ายังมีกำลังซื้ออย่างต่อเนื่อง ทำเลโซนบางแค ลาดกระบัง เวสต์เกต-บางบัวทอง บางปู รังสิต-คลอง 4 และเทพารักษ์ ซึ่งได้รับผลตอบรับเป็นอย่างดี เพราะในความเป็นจริงแล้วกลุ่มคนรายได้จำกัดเหล่านี้เป็นคนกลุ่มใหญ่ และต้องการมีที่อยู่อาศัย  3.Strong Partner ฮันคิว ฮันชิน พร็อพเพอร์ตี้ส์ คอร์ป นอกจาก เสนาฯ​ จะพัฒนาโครงการด้วยตัวเองแล้ว ยังได้จับมือกับพันธมิตรญี่ปุ่น อย่างกลุ่มฮันคิว ฮันชิน พร็อพเพอร์ตี้ส์ คอร์ป พัฒนาโครงการมาอย่างต่อเนื่อง​กว่า 5 ปีแล้ว ปัจจุบันร่วมมือกันพัฒนาโครงการ ทั้งสิ้น 14 โครงการ รวมมูลค่าโครงการ 40,000 ล้านบาท  และในปีนี้ยังมีแผนพัฒนาโครงการแนวราบ และ Affordable Condo ซึ่งข้อดีของการจับมือกัน นอกจากเรื่องของการมีแหล่งเงินทุนในการพัฒนาแล้ว  ยังมีเรื่องนวัตกรรมและเทคโนโลยีการอยู่อาศัยของญี่ปุ่น ที่ถูกนำมาใช้ในโครงการด้วย ซึ่งปีนี้จะมีการนำนวัตกรรม Geo fit+ และเทคโนโลยีต่าง ๆ มาใช้ในโครงการกลุ่ม Affordable Condo ด้วย 4.Strong Solar เสนาฯ ได้เริ่มทำธุรกิจโซลาร์มากว่า 5 ปี มีโครงการที่ติดตั้งโซลาร์แล้ว 27 โครงการแล้วทั้งโครงการบ้านและคอนโด  ซึ่งถือได้ว่าเป็นดีเวลลอปเปอร์รายแรกที่จริงจังเรื่องการนำพลังงานโซลาร์มาใช้ในบ้านและคอนโด เพื่อช่วยประหยัดค่าไฟฟ้า และปัจจุบันขยาย segment ตอบโจทย์ Work From Home ติดตั้งโซลาร์ในโครงการทาวน์โฮมและในปีนี้ยังคงดำเนินการอย่างต่อเนื่อง วางแผนติดตั้งเพิ่ม 15 โครงการ จำนวน 538 ยูนิต  5. Strong Digitalized Service App SENA 360 ที่ทางบริษัทพัฒนา New Function อย่างต่อเนื่อง เพื่อตอบโจทย์การใช้งานของลูกค้าให้ครบในทุกมิติ ตั้งแต่เริ่มจอง บริการหลังการขาย จนกระทั่งการขายต่อ เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับลูกบ้านคนพิเศษ 6. Strong Agent บริการพิเศษจากบริษัท แอคคิวท์ เรียลตี้ จำกัด ที่มีความชำนาญเรื่องการฝากขายเช่า เพิ่มบริการใหม่ให้ตอบโจทย์ตลาดต่างประเทศ และตลาดนักลงทุนไทยที่ขยายตัวด้วยบริการ Tenancy Management ดูแลลูกค้าเปรียบเสมือนเลขาส่วนตัว 7. Strong Management Team ธุรกิจจะเติบโตและไปได้ไกล หัวใจสำคัญ คือ “Team Work” ที่ดี เสนามีการปรับโครงการสร้างการทำงานใหม่ให้คล่องตัวยิ่งขึ้น  รวมทั้งมีผู้บริหารทัพหน้าเข้ามาเสริมความแข็งแกร่ง พร้อมลุยในปีนี้ วางเป้ารายได้ 10,000 ล้านบาท หลังจากปีที่ผ่านมาสามารถสร้างความสำเร็จด้านยอดขายและกำไร ในปีนี้บริษัทยังคงเดินหน้าเพื่อสร้างรายได้ต่อเนื่อง โดยวางเป้ายอดขายไว้ 11,100 ล้านบาท แบ่งเป็นยอดขายกลุ่มคอนโด 6,800 ล้านบาท แบรนด์เสนา คิทท์ 1,700 ล้านบาท และบ้านแนวราบ 2,600 ล้านบาท ส่วนรายได้วางเป้าหมายไว้ 10,000 ล้านบาท แบ่งเป็นรายได้จากคอนโด 6,200 ล้านบาท แบรนด์เสนา คิทท์ 1,300 ล้านบาท และบ้านแนวราบ 2,500 ล้านบาท ภายใต้ 7 กลยุทธ์การดำเนินธุรกิจดังกล่าว ที่จะสร้างการเติบโตอย่างแข็งแกร่งในภาวะวิกฤตให้กับบริษัท   โดยปัจจุบันมีโครงการอยู่ระหว่างการขาย 38 โครงการ รวมมูลค่า 44,263 ล้านบาท และมียอดขายรอรับรู้รายได้เกือบ 9,000 ล้านบาท จะรับรู้ภายในปีนี้ 6,000 ล้านบาท ซึ่งหากเศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีหลัง บริษัทอาจจะเปิดตัวโครงการเพิ่มมากขึ้นกว่า 17 โครงการ โดยได้เตรียมงบประมาณซื้อที่ดินไว้ 2,000 ล้านบาท ส่วนโครงการที่จะเปิดในปีนี้มีที่ดินรองรับไว้ทั้งหมดแล้ว   อย่างไรก็ตาม ทางเสนาเตรียมความพร้อมรับมือต่อทุกสถานการณ์และการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในอนาคต ตามแนวคิด Made From Her “คิดละเอียดกว่า ก็อยู่สบายกว่า” ไม่ว่าจะเป็นการใส่ใจในทุกรายละเอียดทุกเรื่องทั้งพฤติกรรมผู้บริโภคในปัจจุบัน พร้อมศึกษาเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ ดึงเข้ามาปรับใช้สอดรับกับธุรกิจ เพื่อพัฒนาสินค้าและบริการให้มีคุณภาพออกสู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง ที่สำคัญมีพันธมิตรชั้นนำที่เข้ามามีส่วนช่วยผลักดันให้บริษัทเติบโต จึงทำให้มั่นใจว่าจะสามารถบรรลุตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ในปี 2564 ได้อย่างแน่นอน
ออริจิ้น ฝ่าวิกฤติโควิด-19 ทำกำไรกว่า 2,662 ล. ได้แรงหนุน 4 โปรเจ็กต์ร่วมทุนสร้างเสร็จพร้อมโอน

ออริจิ้น ฝ่าวิกฤติโควิด-19 ทำกำไรกว่า 2,662 ล. ได้แรงหนุน 4 โปรเจ็กต์ร่วมทุนสร้างเสร็จพร้อมโอน

“ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้” ฝ่าวิกฤตโควิด-19 ปี 63 ได้แรงหนุนจากโครงการร่วมทุน 4 โปรเจ็กต์สร้างเสร็จเริ่มโอนปีแรก ทำกำไรกว่า 2,662 ล้านบาท แต่ลดลง 12% จากปีก่อนหน้า แต่สร้างยอดโอนทำนิวไฮด์ ​ขณะที่ไตรมาสแรกของปี 64 กวาดยอดขายแล้ว 4,000 ล้าน มั่นใจสามารถสร้างรายได้และกำไรโตต่อเนื่อง   นายพีระพงศ์ จรูญเอก ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) หรือ ORI เปิดเผยว่า ผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในปี 2563 ถือเป็นความท้าทายที่สุดของทุกธุรกิจและอุตสาหกรรมในรอบหลาย 10 ปี สำหรับบริษัทเองได้เดินหน้าปรับตัวอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้บริษัทมีกำไรสุทธิอยู่ที่ 2,662 ล้านบาท หรือคิดเป็นอัตรากำไรสุทธิ (Net Profit Margin) ที่ 24% ซึ่งยังคงสูงเป็นอันดับท็อปของกลุ่มธุรกิจอสังหาริมทรัพย์   สำหรับผลการดำเนินงานสำหรับปี 2563 บริษัทสร้างนิวไฮด์ใหม่กับการโอนกรรมสิทธิ์ รวมทั้งโครงการร่วมทุนด้วย​ ซึ่งทำได้กว่า 15,086 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 23%  แบ่งเป็นการโอนกรรมสิทธิ์โครงการของบริษัทจำนวน 9,870 ล้านบาทและการโอนกรรมสิทธิ์ของโครงการร่วมทุน​จำนวน 5,216 ล้านบาท   อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาจากงบการเงินเฉพาะของบริษัท จะพบว่ารายได้จากการขายอสังหาฯ ที่ไม่รวมโครงการร่วมทุนในปี 2563 ที่ผ่านมา ถือว่ามีรายได้ลดลง 19.6% จากปีก่อนหน้าที่มีรายได้จากการขายอสังหาฯ 12,278 ล้านบาท ขณะที่มีกำไรสุทธิ 2,662 ล้านบาท ลดลง 12% จากปีก่อนหน้าที่มีกำไร 3,027 ล้านบาท ในปีที่ผ่านมาบริษัทได้ปรับตัวหลายด้านพร้อมกัน ทั้งควบคุมต้นทุนค่าใช้จ่าย ส่วนที่ไม่จำเป็นและพัฒนาช่องทางและวิธีการใหม่ ๆ ให้ผู้บริโภคเข้าถึงและตัดสินใจโอนกรรมสิทธิ์โครงการได้ง่ายขึ้น  มีการจัดทำโครงการ Everyone Can Sell ให้พนักงานกว่า 1,000 คน  เป็น Micro-Influencer และปีที่ผ่านมาเป็นปีแรกที่โครงการร่วมทุนของบริษัท​ก่อสร้างแล้วเสร็จ 4 โครงการ ได้แก่ ไนท์บริดจ์ ไพร์ม รัชโยธิน ไนท์บริดจ์ คอลลาจ รามคำแหง ไนท์บริดจ์ ไพร์ม อ่อนนุช ไนท์บริดจ์ สเปซ รัชโยธิน และเริ่มทยอยโอนกรรมสิทธิ์ได้เป็นปีแรก ทำให้มียอดโอนกรรมสิทธิ์และกำไรเข้ามาอย่างต่อเนื่อง   นายพีระพงศ์ กล่าวว่า ​​ ในปี 2563 บริษัทเปิดตัวโครงการใหม่ทั้งสิ้น 10 โครงการ มูลค่าโครงการรวม 13,300 ล้านบาท โดยมีอัตรายอดขายเปิดตัวสูงถึง 65% มียอดขายรวมทั้งสิ้น 25,774 ล้านบาท คิดเป็น 120% ของเป้าหมายที่วางไว้ และมีรายได้รวมอยู่ที่ 11,114 ล้านบาท โดยปิดการขายโครงการไปได้ถึง 6 โครงการ   จากผลการดำเนินงานดังกล่าว ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท มีมติเห็นชอบให้เสนอต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นสามัญจ่ายปันผลสำหรับผลการดำเนินงานของบริษัทงวด 3 เดือนที่เหลือของปี 2563 ในอัตรา 0.39 บาทต่อหุ้น หรือ คิดเป็น Dividend Yield กว่า 7% จากราคาปิดเมื่อวันที่ 1 มี.ค. 2564 ที่ 6.85 บาท เป็นเงินปันผลจ่ายเป็นเงินสดทั้งสิ้นไม่เกิน 957 ล้านบาท โดยกำหนดรายชื่อผู้ถือหุ้นที่มีสิทธิได้รับเงินปันผล (Record Date) ในวันที่ 10 พ.ค. 2564 ขึ้นเครื่องหมาย XD ในวันที่ 7 พ.ค.2564 และกำหนดจ่ายปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นภายในวันที่ 18 พ.ค. 2564   นายพีระพงศ์ กล่าวอีกว่า สำหรับสถานการณ์ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในปี 2564 มีแนวโน้มเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดีขึ้นเป็นลำดับ เนื่องจากมีปัจจัยบวกหลายด้านที่ทยอยเกิดขึ้นต่อเนื่อง อาทิ การต่ออายุมาตรการลดภาษีค่าธรรมเนียมการโอนกรรมสิทธิ์และค่าจดจำนองที่มีผลตั้งแต่เมื่อ 3 ก.พ.ที่ผ่านมา การเริ่มทยอยฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ให้แก่บุคคลกลุ่มต่าง ๆ ต่อเนื่องตลอดทั้งปี อย่างไรก็ดี สภาพเศรษฐกิจไทยและเศรษฐกิจโลกยังคงมีปัจจัยกดดันหลายด้าน กุญแจสำคัญสู่ความสำเร็จที่จะช่วยให้ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ยังเติบโตได้ในปีนี้ คือเรื่องขีดความสามารถในการปรับตัว และความเข้าถึงความต้องการของผู้บริโภค ปี 2564 จะเป็นอีกปีหนึ่งที่เราก้าวสู่การปรับตัวใหม่ ๆ ในอีกระดับ เพื่อการตอบโจทย์ผู้บริโภคที่หลากหลายขึ้น และเป็นหนึ่งในผู้นำตลาดที่สามารถเติบโตได้ในปีนี้และในระยะยาว   สำหรับผลการดำเนินงานในไตรมาส 1/2564 นั้น มีแนวโน้มที่ดี สังเกตได้จากยอดขายล่าสุดถึงสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ ที่มียอดขายแล้วถึงกว่า 4,000 ล้านบาท โดยส่วนใหญ่เป็นยอดขายในกลุ่มโครงการพร้อมอยู่ (Ready to move) และมีโครงการสร้างเสร็จ พร้อมโอนกรรมสิทธิ์เพิ่มเติมในไตรมาสนี้อีก 10 โครงการ มูลค่าโครงการรวมกว่า 13,150 ล้านบาท ได้แก่ โครงการ ไนท์บริดจ์ สเปซ รัชโยธิน , ไนท์บริดจ์ สเปซ พระราม 9 ,ไนท์บริดจ์ เกษตร โซไซตี้, ดิ ออริจิ้น รามอินทรา 83 สเตชั่น ,เคนซิงตัน ระยอง 1 และ 2, เบลกราเวีย เอ็กซ์คลูซีฟ พูลวิลล่า บางนา-พระราม 9, ไบรตัน อมตะ สุขประยูร, ไบรตัน บางนา กม. 26 และไบรตัน คูคต สเตชั่น จึงมั่นใจว่าในช่วงไตรมาส 1/2564 บริษัทจะมีรายได้เติบโตทั้งเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (QoQ) และเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา (YoY)  
แสนสิริ ทำนิวไฮด์รายได้สูงสุด​ 34,707 ล. แต่กำไรสุทธิลดลงกว่า 52%

แสนสิริ ทำนิวไฮด์รายได้สูงสุด​ 34,707 ล. แต่กำไรสุทธิลดลงกว่า 52%

แสนสิริ แจ้งผลประกอบการปี 2563 ทำรายได้สูงสุดในตลาดอสังหาริมทรัพย์ 34,707 ล้านบาท โต 34% ขณะที่มียอดขาย โตขึ้น 67% แต่กำไรลดลงทั้งในส่วนที่เป็นของผู้ถือหุ้นใหญ่ ลดลงกว่า 30% เหลือ 1,673 ล้าน ส่วนกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จลดลงกว่า  52% เหลือแค่ 923 ล้าน มั่นใจปีนี้ยังทำยอดขายต่อเนื่อง หลังตุนยอดขายไว้แล้ว 28,300 ล้าน รับรู้ได้ถึง 3 ปี กลางปีเตรียมเปิดตัวแบรนด์ใหม่​บูก้าน จับตลาดไฮเอนด์   นางสาววรางคณา อัครสถาพร ประธานผู้บริหารสายงานการเงิน บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) หรือ SIRI​ เปิดเผยถึงผลการดำเนินงานในรอบปี 2563 ว่า  สามารถทำยอดขายได้ตามเป้าหมาย 35,000 ล้านบาท เติบโตขึ้น 67% จากปี 2562 มียอดโอนโครงการที่อยู่อาศัยทุกประเภท ที่สร้างเสร็จและส่งมอบให้กับลูกค้าไปถึง 45,000 ล้านบาท เติบโต 45% จากปีก่อนหน้า สูงกว่าเป้าหมายที่วางไว้ และเป็นการโอนที่สูงสุดในรอบ 36 ปีของแสนสิริ โดยปีที่ผ่านมาสามารถปิดการขายโครงการที่อยู่อาศัย 35  โครงการ มูลค่ารวมกว่า 64,600 ล้านบาท ปี 2563 ที่ผ่านมา เป็นปีที่แสนสิริต้องเผชิญกับอีกหนึ่งความท้าทายในการทำธุรกิจ ภายใต้สถานการณ์โควิด – 19 ที่ส่งผลกระทบไปทั่วโลกรวมถึงประเทศไทย นับเป็นอีกหนึ่งความท้าทายที่เราสามารถผ่านมาได้อย่างแข็งแกร่งในรอบ 36 ปีเช่นเดียวกับวิกฤตต้มยำกุ้งปี 2540   ในปี 2563  แสนสิริมีรายได้รวมสูงสุดในตลาดอสังหาริมทรัพย์ ด้วยรายได้ 34,707 ล้านบาท เติบโตขึ้น 34% จากปีก่อนหน้า ที่มีรายได้ 25,859 ล้านบาท เป็นผลจากรายได้จากการขายโครงการที่เพิ่มขึ้น 60% จาก 19,126 ล้านบาทในปี 2562 มาอยู่ที่ 30,559 ล้านบาทในปี 2563   จากผลงานการโอนที่โดดเด่นในปีที่ผ่านมาโดยเฉพาะไตรมาสที่ 2 ที่บันทึกการโอนสูงสุดเป็นประวัติการณ์ (All Time High)     ขณะที่บริษัทมีกำไรสุทธิส่วนที่เป็นของผู้ถือหุ้นของบริษัทใหญ่ 1,673 ล้านบาท ลดลง 30% จากปี 2562 ที่มีจำนวน 2,392 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิรวมสำหรับปี 2563 จำนวน 923 ล้านบาท ลดลง 52% จากปีก่อนหน้าที่มีจำนวน 1,953 ล้านบาท โดยปีที่ผ่านมาแสนสิริ มีการทำการตลาดและแคมเปญต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง  อาทิ “แสนสิริผ่อนให้ 24 เดือน” ที่ช่วยให้ลูกค้าซื้อที่อยู่อาศัยและมีที่อยู่อาศัยได้ง่ายที่สุด   นอกจากนี้ ผลจาก Cash Flow Strategy ยังส่งผลให้แสนสิริเป็นบริษัทที่มีความแข็งแกร่งในด้านการเงิน จากการบริหารจัดการสต็อคที่อยู่อาศัยที่ดี สามารถบริหารจัดการให้มี Inventory หรือสินค้าพร้อมขาย ลดลงมาต่ำสุดอยู่ที่ 10,000 ล้านบาท จากการขายสินค้าสร้างเสร็จได้มาก ทำให้มีเงินสดกลับมาในมือ (Cash is King) ลดอัตราหนี้สินและมีสภาพคล่องในมือ ณ ปัจจุบันกว่า 17,000 ล้านบาท Gearing Ratio ลดลงจาก 1.82 เท่า อยู่ที่ 1.42 เท่า   แสนสิริยังมียอดขายรอโอน (รวมโครงการร่วมทุน) รองรับการเติบโตระยะยาวในอีก 3 ปี อีกถึง 28,300 ล้านบาท ขณะที่มี Secured Revenue ไปแล้วถึง 62% ของเป้ารายได้ที่ 24,400 ล้านบาท เสริมความแข็งแกร่งในทุกสภาวการณ์   สำหรับแผนธุรกิจในการเดินหน้า ปีแห่งความหวัง (The Year of Hope) แสนสิริจะเปิดตัว “BuGaan” (บูก้าน) เอ็กคลูซีฟ เรสซิเดนท์ 3 ชั้น แบรนด์ใหม่ใน Sansiri Luxury Collection กับแนวคิด “My Home Speaks for Myself” บ้านที่บ่งบอกความเป็นตัวตน ความชอบและสไตล์ที่แตกต่างไม่เหมือนใคร กับดีไซน์การออกแบบในสไตล์ Modern Luxury Living  พร้อมส่วนกลางแบบส่วนตัว สระว่ายน้ำ Freshwater Swimming Pool และลิฟท์ส่วนตัวภายในบ้าน เน้นออกแบบบ้านให้มีความเป็น Private Residence สูงสุด กับทำเลใจกลางเมือง บนโยธินพัฒนา  เพียง 14 ครอบครัว ราคา 30-80 ล้านบาท เตรียมเปิดการขายในเดือนพฤษภาคมนี้
ลลิล พร็อพเพอร์ตี้ ส่งแบรนด์ใหม่ขยายฐานลูกค้า 5-8 ล้าน พร้อมปั้น 12 โปรเจ็กต์ลุยแนวราบ    

ลลิล พร็อพเพอร์ตี้ ส่งแบรนด์ใหม่ขยายฐานลูกค้า 5-8 ล้าน พร้อมปั้น 12 โปรเจ็กต์ลุยแนวราบ    

“ลลิล พร็อพเพอร์ตี้” ลุยตลาดอสังหาฯ ปี 64 ขยายธุรกิจต่อเนื่อง เตรียมเปิดโครงการใหม่ 10 – 12 โครงการ มูลค่า 6,000 – 7,000 ล้าน เดินหน้าขยายฐานลูกค้า 5-8 ล้านเพิ่ม พร้อมตั้งเป้า ยอดขาย 7,000 ล้านบาท และยอดรับรู้รายได้ 6,000 ล้านบาท   นายไชยยันต์ ชาครกุล ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ลลิล พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) หรือ LALIN เปิดเผยว่า ในปี 2564 นี้ บริษัทได้ตั้งเป้าหมายยอดขายไว้ที่ 7,000 ล้านบาท และยอดรับรู้รายได้ที่ 6,000 ล้านบาท เติบโตขึ้นประมาณ 7% จากในปี 2563 แม้ว่าภาวะเศรษฐกิจ​โดยรวมของไทย คาดว่าจะขยายตัวได้ประมาณ 3% แต่ทั้งนี้ขึ้นกับการกระจายวัคซีนให้ประชาชนในวงกว้างทำได้รวดเร็วเพียงใดด้วย   ขณะที่ภาคอสังหาริมทรัพย์ ในปี 2564 ยังต้องเผชิญปัจจัยลบหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็น กำลังซื้อภายในประเทศที่ยังอ่อนตัวตามภาวะเศรษฐกิจ  ระดับหนี้ครัวเรือนที่ปรับสูงขึ้น  ความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ แต่ยังมีปัจจัยสนับสนุนจากมาตรการภาครัฐ ที่ได้มีการต่ออายุมาตรการลดค่าธรรมเนียมการโอน และค่าธรรมเนียมจำนอง สำหรับที่อยู่อาศัยที่ราคาไม่เกิน 3 ล้านบาทออกไปจนถึงสิ้นปี 2564 รวมถึงสินค้าแนวราบยังได้รับปัจจัยหนุนจาก New Normal ที่ผู้บริโภคบางส่วนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจากที่เคยต้องการซื้อที่อยู่อาศัยแนวสูง มาซื้อที่อยู่อาศัยแนวราบซึ่งมีพื้นที่ใช้สอยมากกว่า สามารถตอบโจทย์การอยู่อาศัยได้จริงกว่า ทั้งนี้แม้สภาวะตลาดจะไม่เอื้อมากนัก แต่บริษัทยังมีความเชื่อมั่นว่าจะสามารถดำเนินธุรกิจให้เติบโตได้ต่อเนื่องตามเป้าหมายที่วางไว้​   โดยในปีนี้บริษัทยังคงให้ความสำคัญกับตลาดที่อยู่อาศัยในกลุ่มแนวราบ ที่เป็น Real Demand โดยมีแผนขยายโครงการใหม่ทั้งในทำเลใหม่ที่มีศักยภาพ และการเปิดโครงการใหม่เพื่อทดแทนโครงการเดิมของบริษัทที่กำลังจะปิดโครงการลง  ซึ่งมีแผนเปิดโครงการใหม่ 10 – 12 โครงการ มูลค่ารวมประมาณ 6,000 – 7,000 ล้านบาท  โดยตั้งเป้าหมายยอดขายไว้ที่ 7,000 ล้านบาท และยอดรับรู้รายได้ที่ 6,000 ล้านบาท   ทั้งนี้ บริษัทเตรียมเปิดโครงการบ้านเดี่ยวหรู รูปแบบใหม่ ภายใต้แบรนด์ บ้านลลิล The Prestige ซึ่งเป็นออกแบบในสไตล์ French Colonial  ระดับราคาจะอยู่ในช่วง 5 - 8 ล้านบาท ซึ่งเป็นการขยายตลาดให้กว้างขึ้น จากที่ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก ภายใต้แบรนด์ Lanceo ซึ่งจะเน้นกลุ่มลูกค้าในช่วง 3 – 6 ล้านบาท   ด้านนายชูรัชฏ์ ชาครกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท ลลิลฯ กล่าวว่า ในปีนี้ จะเป็นการต่อยอดการใช้กลยุทธ์ Lifestyle Marketing  โดยมุ่งเน้นการใช้สื่อ Digital Marketing เพิ่มมากขึ้น จากที่ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมากในปีที่ผ่านมา  โดยบริษัทมีการยกระดับการจัดการข้อมูลสารสนเทศสู่ Digital Company อย่างเต็มรูปแบบ  มีการนำ Big Data มาใช้ในการวิเคราะห์หา Customer Insights เพื่อเข้าถึง และตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้อย่างแม่นยำ ซึ่งได้ตั้งงบด้านการตลาดในปีนี้ไว้ที่ประมาณ 3% – 4% ของยอดขาย ทางด้านการเงิน บริษัทมีความแข็งแกร่งเป็นอย่างมาก โดยบริษัทมีอัตราส่วนหนี้สินต่อทุน (D/E Ratio) ที่ลดลงจาก 0.75 เท่า ณ สิ้นปี 2562 มาอยู่ที่ระดับเพียง 0.67 เท่า ณ สิ้นปี 2563  ซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ยโดยรวมของอุตสาหกรรมซึ่งอยู่ราว 1.4 – 1.5 เท่า และมีเงินสดสำรองเพื่อใช้ในการขยายธุรกิจอีกราว 1,000 ล้านบาท  ตลอดจนมีวงเงินสนับสนุนทางการเงิน (Committed Line) ที่ยังไม่ได้เบิกใช้ จากธนาคารพาณิชย์พันธมิตรมากกว่า 2,000 ล้านบาท   โดยในปี 2564 นี้บริษัทวางงบซื้อที่ดินไว้ที่ประมาณ 1,000 – 1,200 ล้านบาท  โดยแหล่งเงินทุนจะมาจากกระแสเงินสดจากการดำเนินงาน และกำไรสะสมของบริษัท ตลอดจนมีการใช้หุ้นกู้ และแหล่งเงินกู้ระยะสั้นจากสถาบันการเงิน  โดยมีการพิจารณาออกในจำนวนและช่วงเวลาที่เหมาะสม เพื่อให้สอดรับกับการขยายธุรกิจ และการเติบโตในระยะยาวของบริษัท   สำหรับผลประกอบการปี 2563 ที่ผ่านมา บริษัทสามารถทำผลงานได้ดีกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ แม้จะเป็นปีที่เศรษฐกิจทั่วโลกและไทยได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง จากการระบาดของโควิด-19  ซึ่งมียอดรับรู้ทั้งปีที่ 5,765 ล้านบาท เติบโตขึ้น 24.2%  ในขณะที่มีกำไรสุทธิที่ 1,333.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 49.5%  
ริสแลนด์ ไม่หวั่นสงครามราคาคอนโด อัพราคา 10%  “เดอะลิฟวิ่น รามคำแหง”

ริสแลนด์ ไม่หวั่นสงครามราคาคอนโด อัพราคา 10%  “เดอะลิฟวิ่น รามคำแหง”

ริสแลนด์ ไม่หวั่นสงครามราคาตลาดคอนโด เดินหน้าเปิดขายโครงการเดอะลิฟวิ่น รามคำแหง เฟส 3 พร้อมอัพราคาขายขึ้นอีก 10% มั่นใจราคาต่ำกว่าคู่แข่ง แม้มีอีก 4 โปรเจ็กต์ รวมกว่า 1,824 ยูนิต เล็งเปิดตัวโปรเจ็กต์ใหม่อีก 2-3 โครงการ มูลค่า 6,000-7,000 ล้าน หลังสถานการณ์โควิด-19 ฟื้นตัวดีขึ้น ​   นับตั้งแต่ประเทศไทยมีการพัฒนาเส้นทางรถไฟฟ้า นับตั้งแต่เมื่อกว่า 10 ปีที่ผ่านมา ชีวิตของคนเมืองกรุงเทพฯ นับว่าได้รับความสะดวกสบายในการเดินทางเพิ่มมากขึ้น ยิ่งแผนการพัฒนาเส้นทางรถไฟฟ้าของไทย ที่จะมีกระจายและครอบคลุมไปในทุกพื้นที่ ทั้งในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ยิ่งทำให้การเดินทางของคนกรุงเทพฯ ยิ่งได้รับความสะดวกสบาย สามารถเดินทางไปได้ในทุกจุด แม้ว่าต้นทุนค่าเดินทางอาจจะปรับสูงขึ้นก็ตาม   นอกเหนือจากความสะดวกสบายในด้านการเดินทางแล้ว สิ่งหนึ่งที่ตามมาพร้อม ๆ กับการเกิดขึ้นของเส้นทางรถไฟฟ้า คือ การเติบโตของเมือง ที่ขยายตัวออกไปตามแนวเส้นทางรถไฟฟ้า โดยเฉพาะการพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ ของผู้ประกอบการได้เกิดขึ้นตลอดเส้นทางรถไฟฟ้า ไม่ว่าจะเกาะติดตามแนวเส้นทางรถไฟฟ้า หรือตามซอยต่าง ๆ ล้วนเกิดขึ้นมาก เพราะมองว่าเส้นทางรถไฟฟ้า คือ ปัจจัยบวกที่จะช่วยทำให้ยอดขายโครงการอสังหาฯ ประสบความสำเร็จ และได้รับความสนใจจากผู้บริโภค 4 โปรเจ็กต์คอนโดจ่อเปิดเพิ่ม​ 1,824 ยูนิต  โครงการอสังหาฯ ที่ใช้เส้นทางรถไฟฟ้าเป็นจุดขายหลัก ส่วนใหญ่จะเป็นโครงการประเภทคอนโดมิเนียม และทำเลที่มักจะมีโครงการเกิดขึ้นหนาแน่น คือ ทำเลบริเวณจุเชื่อมต่อของเส้นทางรถไฟฟ้าหลาย ๆ สาย เพราะทำให้การเดินทางของคนอยู่อาศัย สามารถมีทางเลือกได้มากขึ้น  และหนึ่งในบริเวณจุดเชื่อมต่อ ซึ่งปัจจุบันได้รับความนิยมมาก คือ ย่านรามคำแหง บริเวณแยกลำสาลี เนื่องจากอยู่ใกล้กับเส้นทางรถไฟฟ้า 3 สาย ได้แก่ สายสีส้ม สายสีเหลือง และสายสีน้ำตาล ทำเลบริเวณรามคำแหง ถือว่าเป็นอีกหนึ่งทำเลที่มีดีเวลลอปเปอร์ เข้ามาพัฒนาโครงการคอนโดจำนวนมาก หากดูตัวเลขล่าสุดในปี 2564 มีจำวนยูนิตที่พัฒนาออกมาขายมากถึง 25,900 ยูนิต โดยมี 2 โครงการใหม่ที่เปิดตัว ได้แก่ โครงการ “โมดิซ ไรห์ม รามคำแหง” (Modiz Rhyme Ramkhamhaeng)  ของบริษัท แอสเซทไวส์ จำกัด (มหาชน)  มูลค่า 5,000 ล้านบาท และโครงการเดอะ ลิฟวิ่น รามคำแหง ของบริษัท ริสแลนด์ (ประเทศไทย) จำกัด มูลค่า 4,900 ล้านบาท ซึ่งในย่านรามคำแหงมีอัตราดูดซับออกไปแล้วถึง 40% ขณะที่ปี 2564 มีดีเวลลอปเปอร์ประกาศแผนเตรียมเปิดตัวโครงการใหม่อีก 4 โครงการ รวม 1,824 ยูนิต   ดร.วอลเต้อร์ หลง ผู้อำนวยการโครงการ เดอะ ลิฟวิ่น รามคำแหง บริษัท ริสแลนด์ (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า ​ปัจจุบันบริษัทสามารถทำยอดขายโครงการเดอะ ลิฟวิ่น รามคำแหง ได้แล้วกว่า 1,300 ล้านบาท  หรือประมาณ 563 ยูนิต คิดเป็นสัดส่วน 30% ของโครงการ หลังจากเปิดขายอย่างเป็นทางการเพียง 5 เดือน​ นับจากเดือนสิงหาคมปีที่ผ่านมา​ ซึ่งเป็นโครงการที่ทำยอดขายได้มากที่สุดในย่านรามคำแหง   โดยในปีนี้บริษัทวางแผนเปิดการขายต่อเนื่องในเฟสที่ 3 ซึ่งคาดว่าจะทำยอดขายได้ประมาณ 1,000 ล้านบาท พร้อมกับวางแผนปรับราคาขายเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 10% หรือมีราคาเฉลี่ย 80,000 บาทต่อตารางเมตร จากปีที่ผ่านมามีราคาขายเฉลี่ย 70,000 บาทต่อตารางเมตร โดยมีราคาเริ่มต้นยูนิตละ 1.6 ล้านบาท ขนาดพื้นที่ 22 ตารางเมตร และสูงสุดราคา 5 ล้านบาท ขนาด 2 ห้องนอน พื้นที่ 60 ตารางเมตร โดยราคาขายดังกล่าว ยังถือว่าถูกกว่าคู่แข่งในพื้นที่ เนื่องจากราคาขายปัจจุบันเป็นราคาใกล้เคียงกับช่วง 2 ปีที่ผ่านมา   โครงการเดอะ ลิฟวิ่น รามคำแหง เป็นคอนโดมิเนียมไฮไรส์สูง 42 ชั้น บนเนื้อที่กว่า 8 ไร่ บริเวณแยกลำสาลี  มีห้องพัก 5 ประเภท ได้แก่ ห้องสตูดิโอขนาด 22 ตารางเมตร, 1 ห้องนอนขนาด 27 ตารางเมตร, 1 ห้องนอนพลัสขนาด 32 ตารางเมตร, 2 ห้องนอนขนาด 38 ตารางเมตร และ 2 ห้องนอนขนาด 55 ตารางเมตร รวม 1,938 ยูนิต  คาดว่าจะเริ่มโอนกรรมสิทธิ์ได้ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2567 พร้อมกับการก่อสร้างแล้วเสร็จ ซึ่งโครงการจะเริ่มก่อสร้างในวันที่ 10 มีนาคมนี้ รอจังหวะโควิด-19 จบเปิดโปรเจ็กต์ 7,000 ล้าน ด้านนายเนีย ชงเชียน ผู้อำนวยการฝ่ายการขายและการตลาด ประจำภูมิภาคไทย กล่าวว่า ในปีนี้บริษัทวางแผนเปิดตัวโครงการใหม่ 2-3 โครงการ รวมมูลค่าไม่ต่ำกว่า 6,000-7,000 ล้านบาท แต่ทั้งนี้จะพิจารณาจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 และการจัดซื้อที่ดินว่ามีความเหมาะสมในการพัฒนาโครงการอย่างไรบ้าง แต่โครงการในรูปแบบรีสอร์ทซึ่งจะพัฒนาโครงการที่จังหวัดภูเก็ต บริษัทชะลอแผนเปิดตัวโครงการออกไปก่อน จนกว่าสถานการณ์และสภาพเศรษฐกิจ รวมถึงภาวการณ์ท่องเที่ยวจะฟื้นตัวดีขึ้น ​ อย่างไรก็ตาม หากปีนี้บริษัทไม่เปิดตัวโครงการใหม่ บริษัทยังมีโครงการเดิมที่เปิดตัวก่อนหน้า จะเปิดการขายในเฟสต่อเนื่อง เช่น โครงการเดอะ ลิฟวิ่น รามคำแหง เฟส 3 เพื่อสร้างการรับรู้ด้านยอดขายเติบโตไม่ต่ำกว่า 10% จากปีที่ผ่านมาสามารถทำยอดขายได้กว่า 7,400 ล้านบาท จากโครงการคอนโด 4 โครงการ โครงการมิกซ์ยูส 2 โครงการ และโครงการบ้านเดี่ยว 1 โครงการ ซึ่งปีที่ผ่านมาบริษัททำยอดขายเติบโต 15% จากปี 2562 เราต้องเพลย์เซฟ และต้องวิเคราะห์ตลาดให้ดี เน้นตลาดที่มีดีมานด์ และเลือกที่ดินมาพัฒนาให้เหมาะสม
LPN วาง 4 กลยุทธ์เทิร์นอะราวด์  กลับขึ้นท็อป 5 ในปี 67 

LPN วาง 4 กลยุทธ์เทิร์นอะราวด์ กลับขึ้นท็อป 5 ในปี 67 

LPN วางยุทธศาสตร์ระยะ 3 ปี กลับมาขึ้นแท่นท็อป 5 อีกครั้ง เดินหน้าปรับองค์กร เพื่อปูทางสร้างรายได้ใกล้ 20,000 ล้าน ภายในปี 2567 ด้วย 4 กลยุทธ์สำคัญ หลังปี 63 สามารถฝ่าวิกฤตโควิด-19 ทำผลงานดีกว่าที่คาดการณ์   นายโอภาส ศรีพยัคฆ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการ บริษัท แอล.พี.เอ็น. ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) หรือ ​LPN เปิดเผยถึงทิศทางการดำเนินธุรกิจในระยะ 3 ปี  (ปี  2564-2567) ว่า ได้วางยุทธศาสตร์แผน 3 ปี ให้เป็นปีของการขับเคลื่อนองค์กรไปสู่การเป็นองค์กรที่มีอัตราการเติบโตในด้านของรายได้ และความสามารถในการทำกำไรอย่างยั่งยืน ผ่านการบริหารต้นทุนให้มีประสิทธิภาพ การใช้ข้อมูล (Big Data) มาวิเคราะห์ความต้องการของลูกค้า (Customer Insight) เพื่อการพัฒนาทั้งบ้านพักอาศัย และอาคารชุดพักอาศัย ให้มีฟังก์ชั่นการใช้งาน ที่ตอบโจทย์ทุกความต้องการของลูกค้าในทุกมิติในระดับราคาที่เหมาะสม (Affordable Price) สำหรับผู้ซื้อในทุกกลุ่มภายใต้แนวคิด “ความพอดีที่ดีกว่า : The Better Balance”       โดยในปีนี้ บริษัทได้มีการปรับโครงสร้างองค์กร (Reorganization) จากโครงสร้างการทำงานตามหน้าที่ (Functional Organization) สู่การบริหารงานในรูปแบบของหน่วยธุรกิจ (Business Unit) รวมถึงการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการปรับปรุงกระบวนการทำงาน (Digital Transform)  เพื่อให้การทำงานมีความคล่องตัวในการตัดสินใจ และเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารค่าใช้จ่ายและต้นทุนในการดำเนินงาน  ซึ่งมีเป้าหมายในปี 2567 ต้องกลับมาเติบโตสร้างรายได้ให้ใกล้ 20,000 ล้านบาท หรือสูงกว่า 16,000 ล้านบาท ที่เป็นสถิติที่บริษัทเคยทำได้สูงสุดในปี 2558 และติดอันดับท็อป 5 ตลาดอสังหาริมทรัพย์   ในปีที่ผ่านมาบริษัทตั้งเป้าไว้ว่าจะทำรายได้รวม 10,000 ล้านบาท แต่เมื่อเกิดสถานการณ์ไวรัสโควิด-19 ระบาดรุนแรงทำให้ต้องปรับแผน และคิดว่าน่าจะมีรายได้จากการพัฒนาโครงการเพื่อขายเพียงเดือนละประมาณ 100 ล้านบาท หรือทั้งปีประมาณ​ 1,000 ล้านบาท  แต่เมื่อสถานการณ์ทุกอย่างคลี่คลาย ในสุดท้ายบริษัทสามารถสร้างรายได้ 7,300 ล้านบาท เป็นรายได้จากโครงการอสังหาฯ 6,000 ล้านบาท ถือว่าบริษัทสามารถก้าวข้ามผ่านความเสี่ยงทางธุรกิจที่เกิดขึ้นในปี 2563 มาได้ และยังสามารถรักษาความสามารถในการสร้างรายได้และกำไรไว้ได้ในอัตราที่เหมาะสม บริษัทวางแผนให้กลับมาเทิร์นอะราว โดย 3 ปีข้างหน้า เราจะกลับไปในจุดที่ควรจะเป็น จะกลับมาเทิร์นอะราวด์  เพราะที่ผ่านมามาเราผ่านร้อนผ่านหนาว ผ่านมาทุกวิกฤต   4 กลยุทธ์กลับมาเทิร์นอะราวด์ สำหรับปี 2564 นอกจากปรับโครงสร้างขององค์กรแล้ว บริษัทได้กำหนดแผนในการทำธุรกิจโดยมุ่งให้ทุกหน่วยธุรกิจ “เพิ่มรายได้และบริหารต้นทุน” เพื่อให้บริษัทมีรายได้ตามเป้าหมาย โดยกำหนด 4 ยุทธศาสตร์หลัก ประกอบด้วย 1.การรุกตลาดบ้านพักอาศัยตอบโจทย์ผู้ซื้อในปัจจุบัน ปี 2564 บริษัทเน้นการเปิดตัวโครงการบ้านพักอาศัยเพิ่มขึ้นเพื่อตอบโจทย์กับความต้องการของผู้ซื้อในตลาดที่ให้ความสนใจซื้อบ้านพักอาศัยทั้งบ้านเดี่ยว บ้านแฝด และทาวน์เฮ้าส์ เพิ่มขึ้น หลังการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 โดยมีแผนเปิดตัวบ้านพักอาศัย 6 โครงการ มูลค่า 5,500 ล้านบาท เป็นโครงการบ้านเดี่ยว สำหรับตลาดพรีเมี่ยมในระดับราคาตั้งแต่ 10 ล้านบาทขึ้นไป ภายใต้แบรนด์ “บ้าน 365” 1-2 โครงการ มูลค่าประมาณ 3,000 ล้านบาท  โดยเน้นการเปิดตัวโครงการในย่านใจกลางเมืองในพื้นที่ขนาดเล็ก แต่มีความเป็นส่วนตัวสูงภายใต้แนวคิด “Private Resident” เพื่อตอบโจทย์กับความต้องการของผู้ซื้อในกลุ่มนี้ที่ต้องการที่อยู่อาศัยใจกลางเมืองและมีความเป็นส่วนตัว และโครงการบ้านพักอาศัยภายใต้แบรนด์  “บ้านลุมพินี ทาวน์เพลส” และ “บ้านลุมพินี ทาวน์วิลล์” ที่ระดับราคาไม่เกิน 10 ล้านบาทต่อหน่วย ประมาณ 3-5 โครงการ มูลค่าประมาณ  2,500 ล้านบาท  โดยออกแบบฟังก์ชั่นการใช้งานทาวน์เฮ้าส์หน้ากว้างที่สามารถจอดรถได้ 3 คัน เพื่อสมาชิกทุกคนในครอบครัว   ส่วนโครงการคอนโดมิเนียม บริษัทวางแผนเปิดตัว  3 โครงการ มูลค่า 3,000 ล้านบาท  ซึ่งบริษัทมีเป้าหมายที่จะเพิ่มสัดส่วนรายได้บ้านพักอาศัยจาก 20% ในปี 2563 เป็น 30% ในปี 2564 และมีแผนที่จะเพิ่มสัดส่วนรายได้ของบ้านพักอาศัยขึ้นมาอยู่ที่ 50% ภายในปี 2567  ในขณะเดียวกันบริษัทยังคง รักษารายได้จากโครงการคอนโดในปี 2564 ให้มีสัดส่วนไม่ต่ำกว่าปี 2563 ทำให้ในปีนี้ บริษัทเปิดตัวโครงการทั้งหมด 9 โครงการ มูลค่า 8,500 ล้านาท 2.ขยายฐานรายได้จากภาคธุรกิจบริการ บริษัทรุกขยายฐานรายได้จากงานบริการเพิ่มขึ้นจากฐานธุรกิจเดิมที่มีอยู่ไปสู่กลุ่มลูกค้าใหม่นอกเหนือจากของ LPN โดยมีการนำแพลตฟอร์มธุรกิจ (Business Platform) สร้างเครือข่ายกับพันธมิตรทางธุรกิจ เพื่อสร้างรายได้เพิ่มให้กับกลุ่มธุรกิจบริการภายใต้การบริหารของบริษัทในเครือทั้ง บริษัท ลุมพินี พรอพเพอร์ตี้ มาเนจเมนท์ จำกัด (LPP) บริษัท แอล พี ซี วิสาหกิจ เพื่อสังคม จำกัด (LPC) บริษัท ลุมพินี วิสดอม แอนด์ โซลูชั่น จำกัด (LPN Wisdom) และบริษัท รักษาความปลอดภัย แอลเอสเอส โซลูชั่นส์ จำกัด (LSS) โดยตั้งเป้ารายได้ในส่วนของงานบริการเติบโตไม่น้อยกว่า 20%  ในปี 2564  เทียบกับปี 2563 ที่มีรายได้จากงานบริการและธุรกิจให้เช่าที่ 1,361 ล้านบาท 3.บริหารสภาพคล่องรองรับความเสี่ยงทางธุรกิจ ปี 2564 บริษัทมีนโยบายบริหารสภาพคล่องทางการเงิน โดยชะลอแผนการซื้อที่ดินใหม่เพื่อนำมาใช้ในการพัฒนาคอนโด  เนื่องจากบริษัทมีที่ดินที่ซื้อเก็บไว้ในปี 2563 ทั้งสิ้น 6-8 แปลง  สามารถนำมาใช้ในการพัฒนาโครงการอาคารชุดพักอาศัยในปี 2564 ได้ตามแผนที่วางไว้ ประกอบกับปัจจุบันบริษัทมีโครงการคอนโดที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างและที่สร้างเสร็จพร้อมขายรองรับกับการเติบโตของธุรกิจได้ต่อเนื่องในปี 2564-2567 บริษัทจึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องซื้อที่ดินใหม่เพื่อการพัฒนาอาคารชุดพักอาศัย ทำให้บริษัทสามารถรักษากระแสเงินสดของบริษัทให้สามารถที่จะรองรับกับแผนการลงทุนในด้านอื่นๆ หรือสามารถที่จะรองรับกับความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นได้จากความไม่แน่นอนของการควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19      ในขณะเดียวกันบริษัทมีแผนที่จะออกหุ้นกู้ประมาณ  3,000 ล้านบาท  เพื่อนำมาใช้ในการชำระคืนหุ้นกู้ที่จะครบกำหนดชำระคืนในปี 2564 จำนวน 2,000 ล้านบาท และเพื่อลงทุนซื้อที่ดินสำหรับการพัฒนาโครงการบ้านพักอาศัยที่บริษัทมีแผนใช้งบลงทุนประมาณ 4,000 ล้านบาทในปี 2564 โดยที่บริษัทยังคงสามารถรักษาสัดส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (Debt to Equity Ratio) ในสัดส่วนไม่เกิน 1:1 เพื่อสร้างความมั่นคงทางการเงินให้กับบริษัท 4.การสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับทรัพย์สินที่มีอยู่  โดยการสร้างรายได้และ Backlog จากทรัพย์สินที่มีอยู่  ซึ่งในปี 2564 บริษัทมีแผนที่จะนำเอาทรัพย์สินที่มีอยู่ เช่น อาคารชุดพักอาศัยที่สร้างเสร็จรอขายแล้วนั้นมาปล่อยเช่าเพื่อสร้างรายได้และรวมถึงการสร้าง Backlog เพื่อขายในอนาคต ทั้งนี้ บริษัทมีแผนนำที่ดินที่รอการพัฒนาบางส่วนมาพัฒนาในรูปแบบที่แตกต่างออกไป เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับที่ดินที่บริษัทถือครองอยู่ เพิ่มเติมจากที่ดำเนินการไปแล้วในปี 2563 ที่สามารถทำรายได้เติบโตในส่วนนี้ได้ถึง 30% วางเป้าหมื่นล.ปูทางสู่ 20,000 ล. จาก 4 ยุทธศาสตร์ในการทำธุรกิจในปี 2564  บริษัทตั้งเป้ารักษาการเติบโตของรายได้ไม่น้อยกว่าปี 2563 โดยแบ่งสัดส่วนรายได้จากบ้านพักอาศัยประมาณ 30% ของรายได้รวม และรายได้จากอาคารชุดพักอาศัยประมาณ 70% ของรายได้รวม และรายได้ที่มาจากธุรกิจบริการและการเช่าเติบโตประมาณ 20% โดยมีเป้าหมายที่จะมีรายได้จากการขาย (Presale) ประมาณ 10,000 ล้านบาท ในปี 2564 ใกล้เคียงกับปี 2563 ที่มีรายได้จากการขายและบริการ 7,362 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิ 734 ล้านบาท   ทั้งนี้  ณ สิ้นปี 2563 บริษัทมียอดขายรอโอน (Backlog) ประมาณ 2,200 ล้านบาท ที่จะรับรู้รายได้ในปี 2564 และมีสินค้าคงเหลือที่พร้อมขายประมาณ 11,000 ล้านบาท   เรามั่นใจว่าหลังจากที่ผ่านวิกฤติ COVID-19 ในปี 2563 มาแล้ว เราได้เรียนรู้จากทุกวิกฤติที่ผ่านมาตลอดเวลา 32 ปี ทำให้เรามีความแข็งแกร่งและความพร้อมที่เราจะเติบโตอย่างยั่งยืนตามเป้าหมายที่เราได้วางไว้  
เอพี วางเป้าขึ้นเบอร์ 1 อสังหาฯ ไทย ขน 147 โครงการสร้างรายได้กว่า 4 หมื่นล.

เอพี วางเป้าขึ้นเบอร์ 1 อสังหาฯ ไทย ขน 147 โครงการสร้างรายได้กว่า 4 หมื่นล.

เอพี วาง 3 กลยุทธ์ ขึ้นเบอร์ 1 อสังหาฯ ไทย หลังดำเนินธุรกิจมา 3 ทศวรรษ พร้อมขน 147 โครงการ สร้างรายได้และยอดขายปี 64 กว่า 43,100 ล้าน จากปีที่ผ่านมาทำนิวไฮด์สูงสุดในประวัติศาสตร์กว่า 46,130 ล้านบาท เติบโตกว่า 42% เดินหน้าขยายตลาดบ้านต่ำกว่า 3 ล้านและมากกว่า 10 ล้าน หลังซัพพลายเริ่มลดลง   นายอนุพงษ์ อัศวโภคิน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ​เอพี ไทยแลนด์ จำกัด (มหาชน) หรือ AP เปิดเผยถึงทิศทางสร้างการเติบโตของบริษัทนับจากนี้ หลังจากดำเนินธุรกิจมา 3 ทศวรรษว่า จะใช้ 3 ยุทธศาสตร์ในการขับเคลื่อนองค์กร ได้แก่ 1.การสร้างผู้นำอิสระ เพิ่มโอกาสในการแข่งขันที่มากกว่า (Create Independent Responsible Leaders)  2.การสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่เอื้อต่อการสร้างนวัตกรรม (INNOVATIVE CULTURE) และ 3.พลิกเกมส์ธุรกิจเดินหน้าเต็มลูป ทรานฟอร์มทุกมิติด้วยดิจิทัล (eVERYTHING DIGITAL)  เพื่อเป้าหมายสู่การเป็นเบอร์ 1 ในอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์ไทย วันนี้ เอพี ไทยแลนด์ ก้าวสู่การดำเนินธุรกิจปีที่ 30 โดยมี EMPOWER LIVING เป็นเจตจำนงสำคัญในการดำรงอยู่ของเอพี ไทยแลนด์จากอดีต ปัจจุบัน และก้าวต่อ ๆ ไปในอนาคต ภายใต้บทบาทหน้าที่สำคัญยิ่งในการเป็นผู้สร้างและจัดหาสินค้าหรือบริการที่เกื้อหนุนให้ลูกค้าและผู้ที่เกี่ยวข้องกับเอพี สามารถเลือกที่จะใช้ชีวิตที่ดี ในแบบที่ต้องการด้วยตนเอง ส่วนแผนธุรกิจในปี 2564  นายอนุพงษ์  กล่าวว่า ได้วางแผนการเปิดตัวโครงการใหม่จำนวน 34 โครงการ มูลค่าประมาณ 43,000 ล้านบาท แบ่งเป็นโครงการแนวราบจำนวน 30 โครงการ มูลค่าประมาณ 28,800 ล้านบาท และคอนโดมิเนียมที่คาดว่าจะพร้อมเปิดตัวในช่วงครึ่งปีหลังจำนวน 4 โครงการ มูลค่าประมาณ 14,200 ล้านบาท และปัจจุบันโครงการที่อยู่ระหว่างการขายมี 113 โครงการ มูลค่าสินค้าพร้อมขายประมาณ 78,890 ล้านบาท  ทั้งในพื้นที่กรุงเทพฯ ปริมณฑล และต่างจังหวัด ทำให้ปีนี้มีโครงการพัฒนาและพร้อมขายมากถึง 147 โครงการ มูลค่ากว่า 121,890 ล้านบาท โดยในปี 2564 นี้ บริษัทตั้งเป้ารับรู้รายได้ (รวม 100% JV) มูลค่า 43,100 ล้านบาท และเป้ายอดขายที่ 35,500 ล้านบาท ซึ่งในช่วงที่ผ่านมาได้เปิดการขายไป 2 โครงการในโครงการอภิทาวน์ เชียงราย มูลค่า 900 ล้านบาท และอภิทาวน์ อยุธยา มูลค่า 1,400 ล้านบาท ซึ่งทั้ง 2 โครงการสามารถทำยอดขายได้กว่า 10% ขณะที่ยอดขายตั้งแต่ช่วงต้นปีจนถึงวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2563 บริษัททำยอดขายได้แล้ว 4,500 ล้านบาท เติบโต 37% จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยแบ่งเป็นยอดขายโครงการแนวราบ 4,100 ล้านบาท เติบโต 50% และคอนโด มียอดขาย 400 ล้านบาท   ด้านนายวิทการ จันทวิมล รองกรรมการผู้อำนวยการ สายงานกลยุทธ์และการสร้างสรรค์ กล่าวว่า ปัจจุบันบริษัทมียอดขายรอรับรู้รายได้ หรือแบ็คล็อก มูลค่า 37,938 ล้านบาท แบ่งเป็นโครงการแนวราบ 12,456 ล้านบาท ซึ่งจะรับรู้ได้ภายในปีนี้ และเป็นโครงการคอนโด 25,482 ล้านบาท จะรับรู้ภายใน 3 ปีนับจากนี้ และมีสินค้าพร้อมขายมูลค่า 3,100 ล้านบาท เป็นโครงการร่วมทุน มูลค่า 2,000 ล้านบาท และของเอพี มูลค่า 1,000 ล้านบาท โดยในปีนี้บริษัทจะขยายการพัฒนาที่อยู่อาศัยในกลุ่มระดับราคาต่ำกว่า 3 ล้านบาท และมากกว่า 10 ล้านบาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการ และที่อยู่อาศัยในระดับราคาดังกล่าวถูกขายออกไปจากตลาดจำนวนมาก มีเหลือขายไม่มากนัก ถือเป็นการขยายตลาดให้กว้างขึ้นจากปัจจุบันที่บริษัทพัฒนาโครงการระดับราคา 3-10 ล้านบาทเป็นหลัก   ในส่วนงบประมาณการจัดซื้อที่ดินในปีนี้ บริษัทวางงบประมาณไว้ 12,000 ล้านบาท แต่ทั้งนี้บริษัทจะพิจารณากระแสเงินสดในการจัดซื้อที่ดินในแต่ละไตรมาส ซึ่งปีที่ผ่านมาบริษัทใช้งบซื้อที่ดิน 4,000 ล้านบาท ปัจจุบันบริษัทมีกระแสเงินสด 14,000 ล้านบาท และวงเงินเบิกเงินกู้จากสถาบันการเงินมูลค่า 11,000 ล้านบาท สำหรับใช้ในการพัฒนาโครงการ สำหรับผลการดำเนินงานในปี 2563 ที่ผ่านมา  เอพีมีการเติบโตอย่างก้าวกระโดดสูงสุดเกินจากคาดการณ์ ทั้งในรายได้รวมจากสินค้าแนวราบ กลุ่มคอนโดมิเนียม (100% JV) และธุรกิจอื่น ๆ ได้สูงถึง 46,130 ล้านบาท เติบโตกว่า 42% จากปีก่อนหน้า มีกำไรสุทธิ สิ้นปี 2563 อยู่ที่ 4,225 ล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่า 38% ด้านสัดส่วนหนี้สินต่อทุนอยู่ในระดับต่ำมากเพียง 0.71 เท่า ซึ่งทั้งหมดล้วนสะท้อนถึงความสามารถใน   การบริหารจัดการภายในองค์กร ควบคู่ไปกับการบริหารพอร์ตสินค้า และการบริหารกระแสเงินสดที่รัดกุมและมีประสิทธิภาพท่ามกลางสภาวะวิกฤติที่เกิดขึ้น  
ซื้อบ้าน-คอนโด ในปี 64 อย่างไรเสียค่าใช้จ่ายน้อยที่สุด

ซื้อบ้าน-คอนโด ในปี 64 อย่างไรเสียค่าใช้จ่ายน้อยที่สุด

ผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่มีต่อธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ไทย ตั้งแต่ปี 2563 ที่ผ่านมา ทำให้ผู้ประกอบการต้องปรับกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจ ทั้งการลดจำนวนการเปิดตัวโครงการใหม่ โดยเฉพาะในกลุ่มคอนโดมิเนียม และหันมาเร่งระบายสต็อก รวมถึงการใช้กลยุทธ์โปรโมชั่น ลด แลก แจก แถม มาช่วยกระตุ้นตลาดและยอดขาย โดยเฉพาะกลยุทธ์ด้านการลดราคา รวมถึงการอยู่ฟรี เพราะลูกค้าส่วนใหญ่ไม่มั่นใจต่อสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบันและอนาคต ทำให้ต่างชะลอการตัดสินใจซื้ออสังหาฯ ออกไป   นอกจากบรรดาดีเวลลอปเปอร์จะพยายามกระตุ้นตลาดด้วยตัวเองแล้ว ภาครัฐเองก็มองเห็นว่ามีความจำเป็นจะต้องมีมาตรการออกมาช่วยธุรกิจ ให้สามารถดำเนินต่อไปได้ จึงออกมาตรการในส่วนของการลดค่าธรรมเนียมการโอนและการจดจำนอง ให้เหลือในอัตรา 0.01% ซึ่งเดิมกำหนดสิ้นสุดในช่วงปลายปี 2563 แต่จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ระรอกใหม่ ทำให้ภาครัฐจึงต้องนำเอามาตรการดังกล่าวกลับมาใช้อีกครั้ง และมีการขยายกรอบเวลาไปจนถึงสิ้นปี 2564 นี้ มาตรการรัฐปี 64 ตัวช่วยทำให้เรามีบ้าน เป็นของตนเองง่ายขึ้น ในการจะเป็นเจ้าของบ้านหรือคอนโดนั้น นอกจาก “ราคาขาย” ที่ต้องจ่ายแล้วก็ยังมีค่าใช้จ่ายอื่น ๆ อยู่อีกหลายส่วนที่ต้องรับผิดชอบ ซึ่ง​ 2 ค่าใช้จ่ายที่ถือว่าไม่น้อยเลยก็คือ “ค่าโอนกรรมสิทธิ์” และ “ค่าจดจำนอง” ​ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อราคาบ้านหรือคอนโดสูงขึ้นเท่าไร ก็จะเป็นต้องจ่ายค่าโอนกรรมสิทธิ์และค่าจดจำนองมากยิ่งขึ้นเท่านั้น และด้วยเหตุ นี้เองจึงทำให้ มาตรการรัฐมีส่วนสำคัญในการช่วยให้เราเป็นเจ้าของ บ้านหรือคอนโดได้ง่ายมากขึ้น เพราะจะช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายใน 2 ส่วนนี้ลงไปได้มาก โดยมีรายละเอียดในการลดหย่อน ดังนี้ 1.ลดค่าโอนกรรมสิทธิ์ เหลือเพียง 0.01% โดยปกติแล้วในการซื้อบ้านหรือคอนโด เราจะต้องเสียค่า “โอนกรรมสิทธิ์” เป็นจำนวน 2% ของราคาประเมินหรือราคาขาย ซึ่งต้องชำระให้กับกรมที่ดิน แต่ด้วยมาตรการรัฐเพื่อที่อยู่อาศัยปี 2564  จึงทำให้เราชำระค่าโอนกรรมสิทธิ์เหลือเพียง 0.01% เท่านั้น ซึ่งถือว่าช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายลงไปได้มาก ทำให้เราเหลือเงินเพิ่มมากขึ้น สำหรับนำไปใช้จ่ายในการดำเนินชีวิต ​เพราะหากบ้านหรือคอนโดราคา หลังละ 3,00,000 บาท จากเดิมที่ต้องชำระค่าโอนกรรมสิทธิ์สูงถึง 60,000 บาท แต่ผลจากมาตรการรัฐจะทำให้เหลือต้องชำระเพียงแค่ 300 บาทเท่านั้น 2.ลดค่าจดจำนอง​เหลือเพียง 0.01% ค่าจดจำนอง คือ อีกหนึ่งค่าธรรมเนียมที่จำเป็นจะต้องชำระให้กับกรมที่ดิน ​ในการซื้อบ้านหรือคอนโดเช่นเดียวกับค่าโอนกรรมสิทธิ์ โดยมีการขอสินเชื่อหรือใช้บริการเงินกู้กับธนาคาร ซึ่งปกติจะคิดอยู่ที่ 1% ของวงเงินจำนอง หรือยอดเงินกู้ในกรณีที่ขอสินเชื่อกับธนาคารมาซื้อ  มาตรการรัฐเพื่อที่อยู่อาศัยปี 2564 จะทำให้เราจ่ายค่าจดจำนอง น้อยลงกว่าเดิม เหลือเพียง 0.01% โดยหากบ้านหรือคอนโดหลังละ 3,000,000 บาท จากที่ต้องชำระค่าจดจำนอง 30,000 บาท ก็จะเหลือชำระเพียงแค่ 300 บาทเท่านั้น   ทั้งนี้ ในการกระบวนการซื้อขายบ้านหรือคอนโด เราจะต้อง ชำระค่าโอนกรรมสิทธิ์ และค่าจดจำนอง พร้อมกันซึ่ง​พอรวมกันแล้ว จะทำให้กลายเป็นค่าใช้จ่ายที่สูงมาก อย่างในกรณีบ้านหรือคอนโดราคา 3,000,000 บาท ก็ต้องชำระค่าใช้จ่ายสูงถึง 90,000 บาทเลยทีเดียว แต่ผลจากมาตรการรัฐปี 2564 ทำให้เราเหลือชำระเพียงแค่ 600 บาท เท่านั้น หลักเกณฑ์และเงื่อนไข การใช้มาตรการรัฐ เพื่อที่อยู่อาศัยปี 64 มาตรการรัฐเพื่อที่อยู่อาศัยปี 2564 สามารถช่วยให้ความฝัน ของคนที่อยากมีบ้านหรือคอนโดเป็นของตัวเอง สำเร็จเป็นจริงได้ง่าย มากขึ้น เสียค่าใช้จ่ายต่าง ๆ น้อยลง แต่ทั้งนี้ การจะได้สิทธิ์และ เข้าเกณฑ์ตามเงื่อนไขที่ได้รับการลดหย่อนค่าโอนและค่าจดจำนองนั้น ก็มีรายละเอียดที่ต้องปฏิบัติให้ได้ตามเงื่อนไขเช่นกัน ดังต่อไปนี้ Check List ที่ต้องใส่ใจ ซื้อบ้าน-คอนโด แบบไหน ถึงใช้มาตรการรัฐได้ -ผู้ซื้อจะต้องเป็นบุคคลธรรมดาและเป็นคนไทยเท่านั้น -ต้องเป็นการซื้อบ้านหรือคอนโดที่เป็นที่อยู่อาศัยใหม่ บ้านหรือคอนโดมือสอง รวมถึงบ้านสร้างเอง จะไม่ได้รับสิทธิ์ลดหย่อนตามเงื่อนไข -ต้องเป็นการซื้อบ้านพร้อมที่ดิน หรือคอนโดจากโครงการที่ได้รับอนุญาตให้จัดสร้างถูกต้องตามกฎหมาย -ต้องเป็นบ้านหรือคอนโดที่มีมูลค่าไม่เกิน 3 ล้านบาทเท่านั้น -ต้องเป็นการโอนจากการซื้อ-ขายเท่านั้น และเป็นการโอนจากการซื้อ-ขายพร้อมจดจำนองในคราวเดียวกัน -ใช้สิทธิ์ได้ตั้งแต่วันที่ 3 กุมภาพันธ์–31ธันวาคม2564 หากเป็นการโอนและจดจำนองหลังจากนี้ อาจไม่ได้สิทธิ์ลดหย่อน ดังกล่าว ขึ้นอยู่กับการต่อระยะเวลาของ มาตรการในอนาคต ตารางแสดง การลดค่าใช้จ่าย จากการใช้มาตรการรัฐ ตามเงื่อนไขของการลดหย่อนค่าโอนและจดจำนอง ของมาตรการรัฐเพื่อที่อยู่อาศัยปี 2564 ที่กำหนดราคาบ้านและคอนโดไว้ ไม่เกิน 3,000,000 บาท เพื่อให้มองเห็นภาพของการแบ่งเบาภาระ ค่าใช้จ่ายได้ชัดเจนมากขึ้น สามารถพิจารณาจำนวนเงินที่ประหยัด ไปได้ดังนี้ สรุปเพื่อให้เห็นภาพง่ายขึ้น คือ ทุก ๆ 1 ล้านบาทของราคาบ้านหรือคอนโดที่เราซื้อ ​จะเสียค่าโอนและจดจำนองเพียงแค่ 200 บาทเท่านั้น จากเดิมที่ต้องเสียค่าใช้จ่ายสูงถึง ล้านละ 30,000 บาท เตรียมตัวอย่างไรดี ให้ปีนี้ มีบ้าน เป็นของตนเอง ได้สำเร็จ จากมาตรการรัฐ ปี 2564 นี้ ถือว่ามีส่วนช่วยให้การ ซื้อบ้านหรือคอนโดที่อยู่อาศัยแห่งแรกได้เป็นอย่างดี แต่ทั้งนี้  เพื่อความมั่นคงและให้มีความเสี่ยงน้อยที่สุด ก็ควรต้องมีการเตรียมตัวและให้รอบครอบ โดยสิ่งที่จำเป็นต้องใส่ใจในการซื้อที่อยู่อาศัย โดยใช้มาตรการรัฐสำหรับปีนี้ ได้แก่ ​ 1.ตรวจสอบความต้องการ ที่อยู่อาศัยให้เป็นไปตาม เงื่อนไขมาตรการรัฐ เงื่อนไขสำคัญที่ต้องใส่ใจเป็นอันดับแรกสุดเลย คือ เราต้องถามตัวเองให้แน่ใจว่า เราต้องการบ้านหรือว่าคอนโดกันแน่ ซึ่งควรพิจารณาแบบวางแผนระยะยาว เช่น เลือกทำเลให้เหมาะกับสถานที่ทำงาน หรือ เลือกจากขนาดของครอบครัว โดยหากอยู่คนเดียว ก็อาจเลือกซื้อเป็นคอนโด  แต่หากวางแผนจะแต่งงาน หรือเป็นครอบครัวที่มีสมาชิกมากกว่า 3 คนขึ้นไป การเลือกซื้อบ้านก็จะตอบโจทย์มากกว่า ซึ่งเมื่อตั้งเป้าหมายได้แล้ว ลำดับต่อมาก็ต้องไม่ลืมว่า การจะได้สิทธิ์ลดหย่อนตามมาตรการรัฐนั้น จะต้องเป็นบ้านหรือคอนโดใหม่ ที่มี​มูลค่า ไม่เกิน 3 ล้านบาท 2.เลือกซื้อบ้านหรือคอนโด ที่พร้อมโอนและเข้าอยู่ได้ทันที สิทธิ์ลดหย่อนค่าโอนและค่าจดจำนองตามมาตรการรัฐ จะใช้ได้ถึงภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2564 ดังนั้น ในการเลือกซื้อบ้าน หรือคอนโดเพื่ออยู่อาศัย จึงควรเลือกซื้อบ้านหรือคอนโดที่สร้างเสร็จแล้ว พร้อมโอนและเข้าอยู่ได้เลยทันทีภายในสิ้นปีนี้ หรือหากเป็น คอนโดหรือบ้านที่ยังสร้างไม่เสร็จ ก็จะต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่า จะดำเนินการก่อสร้างและโอนได้ภายในปีนี้ เพราะหากยืดระยะเวลาการโอนออกไป ก็จะไม่ได้สิทธิ์ลดหย่อนตามมาตรการ และทำให้เราต้องสูญเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก ​​ 3.ตรวจสอบสถานะการเงิน และเอกสารในการขอสินเชื่อ ให้พร้อม แม้จะได้สิทธิ์ลดหย่อนค่าโอนและค่าจดจำนองก็จริง แต่เราจะสามารถซื้อบ้านหรือคอนโดได้จริงหรือไม่นั้น ก็ขึ้นอยู่กับว่า สถานะการเงินของเราผ่านพิจารณาตามเงื่อนไขของธนาคารหรือไม่ด้วย​ ซึ่งหากต้องการยื่นขอสินเชื่อให้อนุมัติ เราควรมีภาระผ่อนหนี้รวมกัน ต่อเดือนไม่เกิน 40% เช่นถ้ามีรายได้เดือนละ 40,000 บาท ก็ควรมี หนี้ผ่อนบ้านและอื่น ๆ รวมกันไม่เกิน​ 16,000 บาท ถ้ามากกว่านั้น ธนาคารก็อาจไม่พิจารณาอนุมัติสินเชื่อให้ เพราะเมื่อต้องรับภาระ ผ่อนบ้านอาจไม่เพียงพอต่อการใช้จ่ายได้   นอกจากนั้นแล้ว เราก็ควรมีเงินเก็บสำรองเผื่อฉุกเฉินไว้ด้วยก้อนหนึ่ง เพราะต้องไม่ลืมว่าเราจะเป็นต้องมีเงินก้อนประมาณ 20-30% ของค่าบ้านเตรียมไว้ด้วยก้อนหนึ่ง เนื่องจากธนาคารอาจไม่อนุมัติสินเชื่อให้ 100% เต็ม ทั้งนี้ เอกสาร สำคัญในการอนุมัติขอสินเชื่อจากธนาคารที่ต้องเตรียมให้พร้อม เพื่อ ไม่ให้เป็นการเสียเวลา และอาจทำให้สูญเสียโอกาสในการใช้สิทธิ์ ตามมาตรการรัฐ ได้แก่ -หลักฐานเอกสารประจำตัว ได้แก่ สำเนาทะเบียนบ้าน สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน ทะเบียนสมรส สำเนาเอกสารการเปลี่ยนชื่อ-สกุล (ถ้ามี) -หลักฐานเอกสารเกี่ยวกับการแสดงรายได้ ในกรณีของผู้มีรายได้ประจำสิ่งที่ต้องเตรียม ได้แก่ ใบรับรองเงินเดือน หรือหลักฐานการรับ/จ่ายเงินเดือนจากนายจ้าง สมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร กรณีผู้ที่ประกอบอาชีพอิสระ ต้องเตรียมสำเนาทะเบียน การค้า หรือหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล และบัญชีเงินฝาก พร้อมหลักฐานแสดงการเดินบัญชีย้อนหลังอย่างน้อย 6 เดือน ซึ่งนอกจากนี้แล้วหากมีเอกสารรายได้หรือทรัพย์สินอื่น ๆ อีก ก็จะยิ่ง ทำให้การรับพิจารณาอนุมัติสำเร็จได้ง่ายมากขึ้น -หลักฐานเกี่ยวกับหลักทรัพย์และการซื้อขาย ได้แก่​ สำเนาโฉนดที่ดิน สำเนาหนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ห้องชุด แผนที่แสดงทำเลที่ตั้งของที่ดินหลักประกัน สำเนาสัญญา จะซื้อจะขายหรือสัญญามัดจำเป็น ถ้าเป็นกรณีการซื้อห้องชุด ต้องมีสำเนาหนังสือสำคัญการจดทะเบียนอาคารชุด รวมถึงรายละเอียดทรัพย์ส่วนบุคคล และทรัพย์ส่วนกลาง ​ -กรณีมีผู้กู้ร่วม จะต้องมีหลักฐานส่วนตัว และเอกสารหลักฐานแสดงรายได้ของผู้กู้ร่วมยื่นประกอบการพิจารณาคำร้องของสินเชื่อด้วย 4.ซื้อบ้านหรือคอนโดกับใคร ต้องแน่ใจว่าน่าเชื่อถือ การจะได้สิทธิ์ลดหย่อนค่าโอนและค่าจดจำนองจาก มาตรการรัฐปี 2564 นั้น จะต้องเป็นบ้านหรือคอนโดที่ขายโดยผู้ประกอบการที่ได้สิทธิ์ดำเนินการโครงการตามกฎหมายเท่านั้น ดังนั้น ​เราจึงจำเป็นจะต้องตรวจสอบความน่าเชื่อถือของโครงการบ้านหรือ คอนโดก่อนซื้อให้ดี ซึ่งไม่เพียงแต่จะทำให้เราได้สิทธิ์ตามมาตรการรัฐ แล้ว ก็ยังทำให้เราได้บ้านหรือคอนโดที่มีคุณภาพคุ้มค่ากับราคาที่จ่าย ไปด้วย   แม้ปี 2564 นี้ สถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ยังคงไม่หายไป แต่ท่ามกลางวิกฤตก็ยังมีโอกาสสำหรับคนไทยที่ฝันอยากมีบ้านหลังแรกเป็นของตัวเองอยู่จากมาตรการรัฐเพื่อที่อยู่อาศัย​  ซึ่งหากเราวางแผนเตรียมความพร้อม และเตรียมตัวเป็นอย่างดี ตามเงื่อนไขแล้วล่ะก็ จะสามารถซื้อบ้านหรือ คอนโดได้อย่างคุ้มค่าและลดค่าใช้จ่ายลงได้เป็นจำนวนมาก อันจะส่งผลให้เรามีเงินเหลือเก็บไว้ ใช้เพิ่มมากขึ้น มีบ้านเป็นของตัวเอง และดำเนินชีวิตต่อไปได้อย่างมี ความสุขและราบรื่นแม้จะอยู่ท่ามกลางสภาวะเศรษฐกิจที่ไม่แน่นอน   ที่มา-ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธอส.
พฤกษา เปิดโปรเจ็กต์ 2.6 หมื่นล้าน สร้างยอดขายโต 45%

พฤกษา เปิดโปรเจ็กต์ 2.6 หมื่นล้าน สร้างยอดขายโต 45%

พฤกษาเชื่อมั่นตลาดอสังหาฯ ยังเติบโต เดินหน้าสร้างธุรกิจปีแห่งคุณภาพ “A Year of Value” พร้อม 3 กลยุทธ์ ลุยธุรกิจ หวังเพิ่มรายได้และยอดขาย เตรียม​เปิด 29 โครงการใหม่ มูลค่า 26,630 ล้านบาท พร้อมเปิดให้บริการโรงพยาบาลวิมุต สร้างรายได้ปีแรก 400 ล้าน ปูทางสร้างสัดส่วนรายได้ประจำในอนาคต 10-20%   นายปิยะ ประยงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พฤกษา เรียลเอสเตท จำกัด (มหาชน) เปิดเผยถึงแนวโน้มตลาดอสังหาริมทรัพย์ในปี 2564 ยังมีหลายปัจจัยที่ต้องติดตาม ทั้งด้านเศรษฐกิจ ภาคการส่งออกและท่องเที่ยว โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัจจัยโควิด-19 ทั้งในและต่างประเทศ รวมถึงการจัดหาวัคซีนให้ทั่วถึงที่จะเป็นตัวแปรสำคัญ แต่ยังเชื่อมั่นว่าภาพรวมตลาดในปีนี้จะดีขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา 9 % ที่มีมูลค่าตลาดกว่า 268,811 ล้านบาท   ส่วนแผนธุรกิจของกลุ่มพฤกษาในปี 2564  ได้วางกลยุทธ์ให้เป็นปีแห่งคุณค่า หรือ “A Year of Value” ในการสร้างสินค้าที่มีคุณภาพตอบโจทย์ความต้องการของกลูกค้า ซึ่งไม่ใช่แค่ที่อยู่อาศัยแต่รวมถึงไลฟ์สไตล์ด้านอื่น ๆ โดยเฉพาะด้านสุขภาพจากแผนการเปิดให้บริการโรงพยาบาลวมุตในช่วงเดือนพฤษภาคมนี้  โดยมี​ 3 กลยุทธ์สำคัญในการขับเคลื่อนธุรกิจ ได้แก่ 1.การบริหารจัดการสินทรัพย์ 2.การสร้างคุณค่าในโครงการ และ 3.การผนวกธุรกิจด้านสุขภาพ เดินหน้าอัดโปร กระตุ้นยอดขาย สำหรับกลยุทธ์ด้านการบริหารจัดการสินทรัพย์  บริษัทยังคงใช้กลยุทธ์ด้านราคาและโปรโมชั่นอย่างต่อเนื่อง เพื่อทำตลาดและสร้างยอดขาย ซึ่งถือว่าในช่วงปีที่ผ่านมาและปีนี้ เป็นโอกาสของผู้ซื้อเพราะราคาที่อยู่อาศัยลดต่ำลงมาอย่างมาก จากความสำเร็จจากไตรมาสที่ผ่านมา ส่งผลให้ในต้นปีนี้ พฤกษายังคงใช้กลยุทธ์ทางด้านราคาและโปรโมชั่นอย่างต่อเนื่อง  ปล่อยแคมเปญในไตรมาสแรก “มหกรรมแจกฟรี PRUKSA FREE FEST”  มอบสิทธิ อยู่ฟรี นานสูงสุดถึง 36 เดือน  หรือ ดอกเบี้ยฟรี 0% สูงสุด 36 เดือน หรือ ฟรี ค่าส่วนกลาง สูงสุดนานถึง 36 เดือน (เงื่อนไขตามที่แต่ละโครงการกำหนด) สำหรับลูกค้าที่จองและโอนที่อยู่อาศัยภายใน  31 มี.ค. นี้   โดยพฤกษาเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ให้ลูกค้าทั้งหมด ซึ่งมีโครงการทาวน์เฮาส์ บ้านเดี่ยวและคอนโดมิเนียมที่เข้าร่วมแคมเปญทั่วประเทศมากกว่า 1,000 ยูนิต มูลค่ารวมอยู่ที่ 3,377 ล้านบาท และเชื่อว่าแคมเปญนี้กระตุ้นการตัดสินใจ และช่วยบรรเทาความกังวลสำหรับคนที่อยากมีบ้านได้ดี  ประกอบกับมาตรการรัฐที่ขยายระยะเวลาลดค่าธรรมเนียมการโอนและจดจำนองเหลือ 0.01% ซึ่งถือเป็นกำไรเพิ่มอีกขั้นสำหรับลูกค้า  อย่างไรก็ตามเห็นว่าหากภาครัฐมีการขยายเพดานไปยังบ้านราคา 3-5 ล้านบาทด้วย มาตรการดังกล่าวน่าจะช่วยกระตุ้นภาคอสังหาริมทรัพย์ และช่วยเหลือคนไทยที่อยากมีบ้านได้มากขึ้นไปอีก ปั้น 29 โปรเจ็กต์สร้างยอดโต 45% ส่วนการสร้างคุณค่าในโครงการ ปีนี้บริษัทวางแผนเปิดตัว 29 โครงการใหม่ มูลค่า 26,630 ล้านบาท แบ่งเป็นโครงการทาวน์เฮ้าส์ 17 โครงการ มูลค่า 14,680 ล้านบาท โครงการบ้านเดี่ยว 8 โครงการ มูลค่า 7,560 ล้านบาท และเปิดคอนโดมิเนียม 4 โครงการมูลค่า 4,390 ล้านบาท  ทั้งนี้ การเปิดตัวโครงการใหม่บริษัทจะมุ่งเน้นตลาดระดับราคา 2-3 ล้านบาท เนื่องจากกลุ่มลูกค้าที่สามารถซื้อที่อยู่อาศัยในระดับราคาดังกล่าวได้ เป็นกลุ่มที่มีศักยภาพจะมีฐานรายได้เฉลี่ย 30,000-50,000 บาทต่อเดือน และเป็นกลุ่มราคาที่สามารถเข้าถึงได้ง่าย ซึ่งปีนี้จะมีการพัฒนาสินค้ากลุ่มราคา 2-3 ล้านบาทออกมาทำตลาดกว่า 33% นายปิยะ กล่าวอีกว่า ในปีนี้บริษัทตั้งเป้าหมายยอดขายไว้ 32,000 ล้านบาท เติบโตจากปีก่อน 45% สามารถทำยอดขายได้ 21,968 ล้านบาท และตั้งเป้ารายได้ 32,000 ล้านบาท เติบโต 9% จากปีที่ผ่านมา ​รายได้ 29,244 ล้านบาท ด้านผลการดำเนินงานในปี 2563 บริษัทมีกำไรสุทธิ 2,771 ล้านบาท เปิดตัวโครงการทั้งสิ้น 13 โครงการ มูลค่า 15,756 ล้าน มียอดรอรับรู้รายได้ (Backlog) มูลค่าสูงถึง 21,940  ล้านบาท  โดยสามารถลดสินค้าคงค้างไปได้ถึง (Inventory) 41% จากปลายปี 2562 โดยเฉพาะอย่างยิ่งในไตรมาส 4 ที่ใช้กลยุทธ์ทางด้านราคาผนวกกับโครงการฮีโร่โปรเจค (Hero Projects) โดยทุ่มงบการตลาดไปยังโครงการที่มีศักยภาพสูง ทำให้รายได้ในไตรมาส 4 มีมูลค่า 9,584 ล้านบาท เติบโตจากไตรมาส 3 ถึง 51% พร้อมทั้งทำยอดขาย 5,807 ล้านบาท เติบโต 409% เมื่อเทียบกับยอดขายไตรมาสเดียวกันในปี  2562 เตรียมเปิดรพ.วิมุตสร้างรายได้ 400 ล. สำหรับกลยุทธ์การผนวกธุรกิจด้านสุขภาพ ในปีนี้ได้เตรียมเปิดให้บริการโรงพยาบาลวิมุต ซึ่งได้ลงทุนกว่า 4,900 ล้านบาท ตั้งแต่ช่วงปี 2560 เป็นโรงพยาบาลทั่วไป ระดับตะติยภูมิ ขนาด 236 เตียง เน้นการดูแลรักษาโรคด้านกระดูก หัวใจ และสมอง​ตั้งอยู่บนพื้นที่ 4 ไร่ ริมถนนพหลโยธิน ติดสี่แยกสะพานควาย ซึ่งนอกจากการเปิดให้บริการโรงพยาบาลวิมุตแล้ว บริษัทยังวางแผนสร้างเครือข่ายการให้บริการด้านสุขภาพ ในพื้นที่โครงการของบริษัทและตามแหล่งชุมชนต่าง ๆ  โดยจะเปิดศูนย์ดูแลสุขภาพ  ประกอบด้วยคลีนิค ศูนย์กายภาพ ศูนย์ดูแลและบริบาลผู้สูงอายุ รวมทั้งการให้บริการดูแลสุขภาพถึงบ้าน (Home Health Care)   ด้านนายแพทย์กฤตวิทย์ เลิศอุตสาหกูล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท วิมุต โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ​โรงพยาบาลวิมุต พหลโยธิน เป็นโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ (Tertiary Care) ที่สามารถรักษาโรครุนแรง และซับซ้อนได้ มีการออกแบบตามมาตรฐานสากล JCI มีทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ รักษาได้ตรงจุดด้วยเทคโนโลยี และเครื่องมือที่ทันสมัย โดยมีค่าใช้จ่ายที่เข้าถึงได้  มีศูนย์เฉพาะทางที่โดดเด่นคือ ศูนย์กระดูก หัวใจ สมอง  ศูนย์เบาหวานครบวงจร และจัดตั้ง ศูนย์ผู้สูงอายุ (Geriatric center) เพื่อตอบโจทย์การเป็นสังคมผู้สูงอายุ รวมทั้งให้ความสำคัญกับกลุ่มโรค NCDs (โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง) ซึ่งมีสถิติการเจ็บป่วยสูงและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น อย่างรวดเร็ว มีแพทย์ประจำครอบครัว (Family Medicine Doctor) ดูแลสมาชิกในครอบครัวแบบองค์รวม มี Transitional care ฟื้นฟูหลังการเจ็บป่วย เพื่อเตรียมผู้ป่วยก่อนกลับบ้าน รวมทั้งเปิด Nursing Home ในโรงพยาบาล เพื่อการเติบโตและก้าวหน้าของธุรกิจโรงพยาบาล ล่าสุดโรงพยาบาลวิมุตได้เข้าลงทุนในโรงพยาบาล  เทพธารินทร์ ถนนพระราม 4  ซึ่งเป็นโรงพยาบาลที่มีชื่อเสียงเชี่ยวชาญในด้านโรคเบาหวานและต่อมไร้ท่อมานานกว่า 36 ปี เพื่อรวมทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ และองค์ความรู้มา พัฒนาศูนย์เบาหวานครบวงจรให้มีความเป็นเลิศ รวมทั้งขยายผล การป้องกัน ดูแลรักษา สู่สังคมให้กว้างขวางยิ่งขึ้นต่อไป   ทั้งนี้ พฤกษาได้วางเป้าหมายจะสร้างโรงพยาบาลเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการควบรวมกิจการกับโรงพยาบาลที่มีแนวทางการดำเนินงานในทิศทางเดียวกัน ในอนาคตวางเป้าหมายมีเครือข่ายโรงพยาบาบภายใน 8 ปี อีก 2-3 แห่ง เพื่อสร้างรายได้ให้กับกลุ่มพฤกษาสัดส่วน 10-20% แต่ระยะ 3-5 ปีคาดว่าจะทำรายได้ประมาณ 5% ของรายได้รวม ส่วนในปีแรกน่าจะทำรายได้ 400 ล้านบาท  
อนันดา ขน 26 โปรเจ็กต์ ผ่อนให้ 36 เดือน ดึง “น้าค่อม” กระตุ้นยอดขาย

อนันดา ขน 26 โปรเจ็กต์ ผ่อนให้ 36 เดือน ดึง “น้าค่อม” กระตุ้นยอดขาย

อนันดา ขน 26 โปรเจ็กต์ ผ่อนให้ 36 เดือน ดึง “น้าค่อม” กระตุ้นยอดขายไตรมาสแรก หวังสร้างยอดขาย 18,570 ล้าน เล็งเปิดตัว 5 โครงการ 24,422 ล้าน พร้อมปัดฝุ่นโปรเจ็กต์ทำเลสะพานควาย รอจังหวะเปิดตัวใหม่ ​   นายชานนท์ เรืองกฤตยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า  ภาพรวมตลาดอสังหาริมทรัพย์ในปี 2564 ยังเป็นปีที่มีความท้าทาย และความไม่แน่นอน  จากผลกระทบของไวรัสโควิด-19  โดย​บริษัทได้มีการวางแผนเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือกับความเสี่ยง และความไม่แน่นอนต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น  พร้อมรองรับ ปรับเปลี่ยน ยืดหยุ่นไปตามสถานการณ์ เพื่อให้ธุรกิจสามารถดำเนินไปได้อย่างต่อเนื่อง โดยในไตรมาส 1 ของปี 2564 เตรียมเปิดตัวแคมเปญพิเศษ #อนันดาทุบไม่ยั้ง” เป็น “อนันดา” x “น้าค่อม” ดาราตลกอารมณ์ดี คาแรกเตอร์โดดเด่น ขวัญใจมหาชน ทุกเพศ ทุกวัย มาสร้างสีสันให้กับวงการอสังหาริมทรัพย์ ให้กับแคมเปญ #อนันดาทุบไม่ยั้ง” ผ่อนให้ฟรี นานถึง 36 เดือน ในราคาที่ดีที่สุด ที่ไม่เคยมีมาก่อน กับ 26 โครงการ ทั้งคอนโดติดรถไฟฟ้า บ้าน และทาวน์โฮม พร้อมเข้าอยู่ทุกทำเล   สำหรับในปี 2564  บริษัทได้วางเป้าหมายการสร้างยอดขาย 18,570 ล้านบาท แบ่งเป็นยอดขายจากโครงการคอนโดมิเนียม 16,762 ล้านบาท และบ้านแนวราบ 1,808 ล้านบาท วางเป้าหมายยอดโอน 16,008 ล้านบาท แบ่งเป็นโครงการคอนโด 14,311 ล้านบาท และบ้านแนวราบ 1,697 ล้านบาท โดยในปี 2563 ที่ผ่านมา บริษัทมียอดขาย 17,495 ล้านบาท แบ่งเป็นยอดขายจากโครงการคอนโด 15,074 ล้านบาท และบ้านแนวราบ 2,421 ล้านบาท มียอดโอน 18,340 ล้านบาท แบ่งเป็นยอดโอนจากโครงการคอนโด 16,913 ล้านบาท และบ้านแนวราบ 1,427 ล้านบาท   ด้านนายประเสริฐ แต่ดุลยสาธิต ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สายงานธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ กล่าวว่า ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ยอดขายของตลาดคอนโดทั้งหมดในปี 2563 ดูลดลงอย่างมากจากปีก่อนหน้า เนื่องมาจากการลดลงของการเปิดโครงการ และการขายโครงการใหม่ที่มีอัตราการลดลงถึง 63% แต่ทั้งนี้เมื่อมองดูตัวเลขภาพรวมการโอนกรรมสิทธิ์ของคอนโด พบว่าลดลงจากปีก่อนหน้าเพียง 10% เท่านั้น ดังนั้น จากข้อมูลนี้ แสดงให้เห็นว่า คอนโดพร้อมเข้าอยู่ยังคงเป็นสิ่งที่ลูกค้าต้องการ และยังคงมีการโอนอยู่ เพราะยอดการโอนกรรมสิทธิ์ลดลงเพียงเล็กน้อยจากปีที่ผ่านมา แม้ว่าจะผ่านสถานการณ์ Lock down ประเทศ และกำลังซื้อของชาวต่างชาติที่ลดลงก็ตาม สำหรับปี 2564 บริษัทเชื่อมั่นทิศทางเศรษฐกิจที่คาดว่าจะดีขึ้น แม้ว่าจะยังมีความไม่แน่นอนอยู่บ้างก็ตาม โดยได้วางแผนเปิดตัวโครงการใหม่จำนวน 5 โครงการ  มูลค่ารวม 24,422 ล้านบาท บน 5 ทำเล ได้แก่ ทองหล่อ สุรวงศ์ สะพานควาย สุขุมวิท 38 และลำสาลี ที่มาพร้อมแนวคิดใหม่ ดีไซน์การออกแบบใหม่ เพื่อตอบโจทย์วิถีการใช้ชีวิตแบบใหม่ตามสถานการณ์ปัจจุบันและในอนาคต           
REIC มองตลาดอสังหาฯ 64 เปิดตัวใหม่เพิ่มแต่การโอนยังลด

REIC มองตลาดอสังหาฯ 64 เปิดตัวใหม่เพิ่มแต่การโอนยังลด

จากภาวะเศรษฐกิจไทยในปี 2563 ซึ่งได้รับผลกระทบอย่างหนักจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19  ส่งผลให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ หรือ GDP มีการปรับลดลง 6.1% ซึ่งเป็นการขยายตัวที่ต่ำสุดในรอบ 22 ปี   ภาพรวมดังกล่าวส่งผลกระทบโดยตรงต่อธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์  โดยจากการจัดเก็บข้อมูลตลอดปี 2563 ที่ผ่านมาของศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ หรือ REIC พบความเคลื่อนไหวที่น่าสนใจ รวมถึงแนวโน้มของตลาดอสังหาฯ ที่จะเกิดขึ้นในรอบปี 2564 ปี 64 หลายปัจจัยบวกและลบ แม้ว่าความสามารถในการควบคุมการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ของไทย จะทำได้ดีกว่าในหลายประเทศทั่วโลก แต่ยังถือว่ามีความล่าช้า โดยเฉพาะยังมีความไม่มั่นใจในประสิทธิภาพของวัคซีน และยังมีการล็อกดาวน์ในธุรกิจบางประเภทด้วย จึงถือว่าเป็นปัจจัยลบต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ และภาพรวมของธุรกิจอสังหาฯ นอกจากนี้ยังมีปัจจัยลบอีกหลายเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของหนี้ครัวเรือนที่ยังเพิ่มขึ้น ปัญหาการขาดแคลนแรงงาน การเข้มงวดของสถาบันการเงินในการปล่อยสินเชื่อ ต่างชาติยังไม่สามารถเดินทางเข้ามาในประเทศได้  ส่งผลต่อตลาดคอนโดมิเนียมอย่างชัดเจน   แต่อย่างไรก็ตาม ในหลากหลายปัจจัยลบต่าง ๆ ยังคงพอมีมุมมองในเชิงบวกต่อภาพรวมเศรษฐกิจและตลาดอสังหาฯ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำ การต่ออายุมาตรการลดค่าธรรมเนียม จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมอีก 1 ปี การลดภาษีที่ดิน และสิ่งปลูกสิ่งสร้างเหลือ 10% การเลื่อนประกาศใช้ราคาประเมินที่ดินใหม่ไปในปี 2565 การเริ่มทยอยฉีดวัคซีนให้กับประชาชนในหลาย ๆ ประเทศ ราคาอสังหาฯ มีแนวโน้มปรับตัวลดลง เพราะผู้ประกอบการยังคงจัดโปรโมชั่นกระตุ้นยอดขายอย่างต่อเนื่อง เปิดตัวใหม่เริ่มฟื้นตัวแต่การโอนยังลด ดร.วิชัย วิรัตกพันธ์ ผู้ตรวจการธนาคารอาคารสงเคราะห์ และรักษาการผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ (REIC) เปิดเผยถึงทิศทางธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในปี 2564 ว่า พบการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากการปรับตัวของผู้ประกอบการพัฒนาอสังหาฯ ​โดยมีการลดจำนวนโครงการใหม่เข้าสู่ตลาด  เพื่อให้ที่อยู่อาศัยที่เปิดการขายก่อนหน้านี้ ได้ถูกดูดซับออกไปจากระบบ คาดว่าปี 2564 จะมีการเปิดตัวใหม่ในกรุงเทพฯ​ และปริมณฑล จำนวน 82,594 ยูนิต เพิ่มขึ้น 32.7% จากปี 2563 ที่เปิดตัว 62,227 ยูนิต โดยการเปิดตัวใหม่จะเห็นชัดเจนได้ในช่วงไตรมาส 3 และไตรมาส 4 ของปี 2564 และคาดว่าผู้ประกอบการยังจะลงทุนในบ้านจัดสรรมากกว่าคอนโด  ซึ่งคาดว่าบ้านจัดสรรจะเปิดตัวใหม่ในปี 2564 เพิ่มขึ้น 22.5% จากปี 2563 หรือมีจำนวนยูนิตประมาณ 43,732 ยูนิต ส่วนโครงการคอนโดเปิดตัวใหม่ ปี 2564 คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 46.5% จากปี 2563  สัดส่วนอาจจะดูเพิ่มขึ้นมากแต่เป็นการเพิ่มขึ้นจากฐานที่ต่ำมากจากปี 2563 หรือมีจำนวนยูนิตประมาณ 38,862 ยูนิต   สถานการณ์ที่อยู่อาศัยเปิดตัวใหม่ ปี 2563 ถือว่าผู้ประกอบการเปิดตัวอยู่อาศัยใหม่ต่ำที่สุดในรอบ 10 ปี โดยสัดส่วนการเปิดตัวใหม่เริ่มเปลี่ยนไปจากเดิมที่คอนโดจะมากกว่าบ้านจัดสรร แต่ในปี 2563 สัดส่วนเปิดตัวใหม่บ้านจัดรรมากกว่าคอนโด เท่ากับ 57.4 ต่อ 42.6 ด้านการเปิดตัวโครงการใหม่จากการสำรวจพบว่า จำนวนยูนิตที่เปิดขายใหม่ (ไม่นับรวมบ้านมือสอง) เฉพาะในพื้นที่กรุงเทพฯ-ปริมณฑล ปี 2563 ลดลง 36.7% จากปี 2562  โดยมีการเปิดตัวใหม่ จำนวน 62,227 ยูนิต ประกอบด้วยโครงการบ้านจัดสรรเปิดตัวใหม่ 35,702 ยูนิต ลดลง 17.9% จากปี 2562  และโครงการคอนโดเปิดตัวใหม่ 26,525 ยูนิต ลดลง 51.6% จากปี 2562 โอนบ้าน-คอนโด ยังลดลงต่อเนื่อง REIC ประเมินสถานการณ์โดยรวมว่าปี 2564 จากการเกิดขึ้นของโควิด-19 ระรอกใหม่ ทำให้มียูนิตโอนกรรมสิทธิ์ประมาณ 353,236 ยูนิต จะลดลง 1.5% จากปี 2563  ซึ่งการโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยแนวราบจะลดลงเพียงเล็กน้อยหรือประมาณ 0.1% ในขณะที่คอนโดจะลดลง 4.2% ปี 2563 ที่ผ่านมาการโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยทั่วประเทศมีจำนวน 358,496 ยูนิตลดลง 8.5% จากปี 2562  เป็นการโอนกรรมสิทธิ์ที่ยู่อาศัยแนวราบจำนวน 236,158 ยูนิต ลดลง 10.0% จากปี 2562 และเป็นการโอนกรรมสิทธิ์โครงการคอนโด 122,338 ยูนิต ลดลง 5.5% จากปี 2562   ด้านมูลค่าการโอนกรรมสิทธิ์คาดว่าปี 2564 จะมีมูลค่าโอนกรรมสิทธิ์ประมาณ 876,121 ล้านบาท ลดลง 5.6% จากปี 2563  โดยมูลค่าการโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยแนวราบจะลดลง 7.7% ขณะที่คาดว่ามูลค่าการโอนกรรมสิทธิ์คอนโดจะลดลง 1.4%   ส่วนมูลค่าการโอนกรรมสิทธิ์ในปี 2563 มีมูลค่า 928,376 ล้านบาท ลดลง 0.3% จากปี 2562  โดยเป็นการลดลงของมูลค่าการโอนกรรมสิทธิ์คอนโด 4.7% ขณะที่การโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยแนวราบมีมูลค่าเพิ่มขึ้น 2.2% หวังเศรษฐกิจฟื้นดันยอดสินเชื่อโต 7% ขณะที่สถานการณ์สินเชื่อที่อยู่อาศัยยังคงมีแนวโน้มลดลงต่อเนื่อง โดยในปี 2564 คาดว่าจะมีมูลค่าสินเชื่อที่อยู่อาศัยประมาณ 595,141 ล้านบาท ลดลงต่อเนื่อง 2.8% จากปีที่ผ่านมา ซึ่งเป็นผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 แต่หากสถานการเศรษฐกิจในปีนี้กลับมาฟื้นตัวได้ในภายหลัง อาจจะทำให้สินเชื่อปล่อยใหม่กลับมาเติบโตเพิ่มขึ้น 7.0% หรือมียอดสินเชื่อ 654,655 ล้านบาท โดยในปี 2563 มูลค่าสินเชื่อที่อยู่อาศัยบุคคลปล่อยใหม่ทั่วประเทศ มีมูลค่า  612,084 ล้านบาท ลดลง 4.4% จากปี 2562 ซึ่งเป็นผลกระทบของไวรัสโควิด-19 ระรอกแรก ตั้งแต่ไตรมาสแรกของปี 2563 และต่อเนื่องมาถึงไตรมาส 2 แม้ว่าช่วงครึ่งปีหลังของปี 2563 สถานการณ์จะปรับตัวดีขึ้น และมีมาตรการออกมากระตุ้น แต่ผลกระทบของไวรัสโควิด-19 ส่งผลในวงกว้างทำให้ในภาพรวมของปี 2563 การปล่อยสินเชื่อยังลดลง ใช้มาตการรัฐกระตุ้นตลาดบ้าน3-7ล. จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทำให้ภาพรวมของธุรกิจอสังหาฯ ยังคงชะลอตัวลงต่อเนื่อง ทางศูนย์ข้อมูลอสังหาฯ จึงเห็นว่าภาครัฐควรกระตุ้นตลาด ด้วยการขยายเพดานาราคาของที่อยู่อาศัย ให้ได้รับสิทธิประโยชน์จากมาตรการภาครัฐที่ออกมาก่อนหน้า โดยเฉพาะกลุ่มตลาดบ้านระดับราคา 3-7 ล้านบาท เพราะเป็นตลาดหลักและครอบคลุมตลาดอสังหาฯ ได้มากถึง 80% เมื่อรวมกับกลุ่มบ้านไม่เกิน 3 ล้านบาท ที่ภาครัฐได้ออกมาตรการมาช่วยเหลือก่อนหน้านี้แล้ว   นอกจากนี้ เห็นว่ามาตรการที่จะให้สิทธิประโยชน์กับกลุ่มบ้านมือ 2 ด้วย เพราะปัจจุบันมาตรการด้านภาษีและค่าธรรมเนียมที่ออกมา บ้านใหม่เท่านั้นที่ได้รับประโยชน์ การให้สิทธิประโยชน์กับกลุ่มบ้านมือ 2 จะส่งผลดีที่ทำให้เกิดเศรษฐกิจหมุนเวียนทั้งระบบ เพราะเจ้าของบ้านที่ขายบ้านเก่าไปแล้ว ก็จะต้องหาซื้อบ้านใหม่ที่ใหญ่ขึ้น หรือในทำเลใหม่ ทำให้เกิดสภาพคล่องของตลาดอสังหาฯ
เอ็น.ซี.ฯ ลุยอ 7 โปรเจ็กต์แนวราบ สร้างรายได้ 2,000 ล้าน

เอ็น.ซี.ฯ ลุยอ 7 โปรเจ็กต์แนวราบ สร้างรายได้ 2,000 ล้าน

เอ็น.ซี. เฮ้าส์ซิ่ง ลุยตลาดบ้านแนวราบ เปิด 7 โปรเจ็กต์ใหม่ 5,000 ล้าน พร้อม 3 กลยุทธ์สู่เป้าหมายรายได้ 2,000 ล้าน แตกธุรกิจใหม่ด้านสุขภาพ สร้างรายได้ประจำ ​​   นายสมนึก  ตันฑเทอดธรรม กรรมการผู้จัดการ  บริษัท เอ็น.ซี.เฮ้าส์ซิ่ง จำกัด (มหาชน) เปิดเผยถึงทิศทางการดำเนินธุรกิจในปี 2564 ว่า ได้วางแผนเปิดตัวโครงการใหม่  7 โครงการใน  4  ทำเลกลักของพื้นที่กรุงเทพฯ โดยเป็นโครงการแนวราบทั้งหมด รวมมูลค่า  5,000 ล้านบาท พร้อมตั้งเป้ายอดขาย 3,500 ล้านบาท และรับรู้รายได้ปี 2564  ที่ 2,000 ล้านบาท เติบโต 30% จากเป้าหมายรายได้ในปี 2563 ที่คาดว่าจะทำได้ 1,600 ล้านบาท ปัจจุบันบริษัทมียอดขายรอรับรู้รายได้ประมาณ​  500-600 ล้านบาท ซึ่งจะรับรู้ภายในปี 2564 ทั้งหมด และมีโครงการอยู่ระหว่างการขายรวมมูลค่า 8,000 ล้านบาท   สำหรับราคาบ้านที่บริษัทจะมุ่งเน้นการทำตลาดหลักในปีนี้ คือ กลุ่มบ้านแนวราบระดับราคา 3-5 ล้านบาท เนื่องจากสอดคล้องกับกำลังซื้อและความต้องการของลูกค้าปัจจุบัน เป็นกลุ่มราคาที่ลูกค้าสามารถจับต้องได้  และเป็นกลุ่มที่มีอัตราการเติบโตต่อเนื่อง ซึ่งแนวทางการทำตลาดบริษัทจะเน้น 3 กลยุทธ์หลัก ได้แก่ 1.เปิดตลาดเชิงรุกใน 4 ทำเล ด้วยการพัฒนาโครงการแนวราบ  ทั้งโครงการทาวน์เฮ้าส์​  บ้านแฝด และบ้านเดี่ยว ในระดับราคาที่สอดคล้องกับความต้องการของตลาดบ้านแนวราบ โดยขยายทำเลเพิ่มครอบคลุมพื้นที่ 4 ทำเลศักยภาพ (โซนเหนือ , โซนตะวันตก,โซนใต้ และตะวันออก ของกรุงเทพฯและปริมณฑล) เพิ่มกำลังการผลิตบ้านด้วยระบบเทคโนโลยีการก่อสร้างทันสมัย การทำตลาดผ่านช่องทางการสื่อสารออนไลน์ แพลตฟอร์มดิจิทัลการชมบ้าน 360องศา และ Facebook Live 2.พัฒนาโปรดักส์ตอบโจทย์คนทุกช่วงวัย การพัฒนานวัตกรรมบ้านตอบโจทย์ผู้อยู่อาศัย ในทุกไลฟ์สไตล์และกลุ่มลูกค้าทุกช่วงวัย (a///gen)  ควบคู่การพัฒนาสินค้าด้วยนวัตกรรมผ่าน  Smart Eco, Smart Care เพิ่มความแตกต่าง Function ที่ตอบรับครอบครัววิถีใหม่ เพิ่มทางเลือกรูปแบบการใช้ชีวิต Life Style หลากหลาย การอยู่บ้านอย่างมีความสุข ผสานเทคโนโลยีที่ทำให้ชีวิตในบ้านสะดวกสบายมากขึ้น การดูแลสุขภาพของสมาชิกในครอบครัวยุค New Normal 3.ผนึกพันธมิตรลุยธุรกิจสุขภาพ การร่วมมือกับห้างหุ้นส่วนจำกัด เดอะแคร์แอนด์เฮลธ์ กรุ๊ป เพื่อดำเนินธุรกิจด้านศูนย์บริการด้านการฟื้นฟูสุขภาพ และดูแลผู้สูงอายุ (Wellness & Healthcare Business) เพื่อเป็นฐานรายได้ประจำในอนาคต ปัจจุบันเปิดให้บริการแล้ว 3 ศูนย์ด้วยกัน ภายใต้แนวคิด Vacation Time   นายสมนึก กล่าวอีกว่า ​ทิศทางอสังหาริมทรัพย์ในปีนี้ ยังคงเป็นโอกาสทองของผู้ซื้อบ้านแนวราบ และยังเป็นตลาดของผู้ซื้อที่มีความพร้อมเรื่องบ้าน ด้วยปัจจัยบวกทั้งอัตราดอกเบี้ยซื้อบ้านที่ลดลงและ จากมาตรการรัฐ ที่มอบให้กับกลุ่มผู้ซื้อบ้านหลังแรก ที่ผ่านมา เอ็น.ซี ได้มีการเรียนรู้จากวิกฤตโควิด-19 มีมาตรการป้องกันรองรับอย่างฉับไวทุกส่วนงาน สร้างความเชื่อมั่นทุกโครงการ ในฐานะผู้ประกอบการอสังหาฯ คาดการณ์ว่าตลาดที่อยู่อาศัยแนวราบยังเติบโตเนื่อง โดยเฉพาะตลาดบ้านระดับ 3-5 ล้านบาท
เปิดข้อมูลตลาดบ้านหรู 5 ปีพัฒนา 40,000 ล้าน

เปิดข้อมูลตลาดบ้านหรู 5 ปีพัฒนา 40,000 ล้าน

เน็กซัสฯ เปิดข้อมูลตลาดบ้านหรู 5 ปีพัฒนา 40,000 ล้าน โดย 5 ทำเลหลัก อยู่ย่านใจกลางเมืองและพื้นที่เชื่อมต่อสู่ใจกลางเมืองได้สะดวก ราคาที่พัฒนามากสุดคือ บ้านหรู 30-50 ล้าน   นางนลินรัตน์  เจริญสุพงษ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เน็กซัส พรอพเพอร์ตี้ มาร์เก็ตติ้ง จำกัด เปิดเผยว่า ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาภาพรวมตลาดบ้านหรูใจกลางเมืองยังคงเติบโต มีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง​ โดยมีโครงการใหม่เกิดขึ้น 56 โครงการ มีจำนวนอยู่ในตลาด 796 ยูนิต คิดเป็นมูลค่าตลาดมากกว่า 40,000 ล้านบาท  เป็นบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ สัดส่วน 39% และบริษัทรายย่อยในสัดส่วน 61% สำหรับทำเลที่ตั้งหลักของโครงการบ้านหรู​ จะอยู่ใจกลางเมืองที่มีความสะดวกสบาย  โดย 90% ของจำนวนทั้งหมด อยู่ในโซนที่เชื่อมต่อกับใจกลางเมือง มีการเดินทางสะดวกและคล่องตัว ไม่ไกลจากรถไฟฟ้าหรือขนส่งสาธารณะ โดยทำเลที่มีบ้านมากที่สุดคือ 1.ทำเลเอกมัย-รามอินทรา สัดส่วน 26% 2.ทำเลสาทร-พระราม 3 สัดส่วน 21% 3.ทำเลสุขุมวิท สัดส่วน 20% 4.ทำเลรัชดา-ลาดพร้าวตอนต้น สัดส่วน 17% 5.ทำเลพหลโยธิน สัดส่วน 6%   ทั้งนี้ ส่วนใหญ่โครงการจะอยู่ในซอยย่อย ที่สามารถเดินทางเข้าออกสะดวก โดยที่ดินนั้นอาจมีข้อจำกัดในการพัฒนาโครงการขนาดใหญ่ ส่งผลทำให้ราคาที่ดินต่ำกว่าบริเวณใกล้เคียง ซึ่งก็ถือว่าเป็นข้อได้เปรียบทางการตลาดจากศักยภาพที่ดินที่ต่างกัน โดยสินค้าในตลาดนี้ ระดับราคาต่อยูนิตมีความแตกต่างกันมาก ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ ประกอบไปด้วย ทำเลที่ตั้ง ขนาดของที่ดิน ขนาดบ้าน และวัสดุที่ใช้ในโครงการ โดยนิยามบ้านหรูในระดับนี้ จะเริ่มต้นที่ระดับราคา 20 ล้านบาทขึ้นไป จนถึงมากกว่า 100 ล้านบาท   สัดส่วนราคาในการพัฒนาโครงการบ้านหรู 1.บ้านหรูระดับราคา​ 30 - 50 ล้านบาท สัดส่วน 42% 2.บ้านหรูระดับราคา​ 20 - 30 ล้านบาท สัดส่วน 27% 3.บ้านหรูระดับราคา​ 50 - 75 ล้านบาท สัดส่วน 21% 4.บ้านหรูระดับราคา​ 75 ล้านบาทขึ้นไป สัดส่วน 9% การจะเปรียบเทียบราคาบ้านในกลุ่มนี้ได้ดีที่สุด คือ เปรียบเทียบกับราคาคอนโดมิเนียม โดยที่บ้านระดับนี้ ราคาต่อตารางเมตรในแต่ละทำเล จะมีราคาถูกกว่าคอนโดอย่างน้อย 3 เท่า เช่น บริเวณสาทร คอนโดซูเปอร์ลักซูรี่ เฉลี่ย 293,000 บาทต่อตารางเมตร ในขณะที่บ้าน ราคาคิดเป็นตารางเมตรอยู่ที่ 78,000 บาท จะเห็นได้ว่าในงบประมาณ 50 ล้านบาท อาจจะได้คอนโดเพนท์เฮาส์ 200 ตารางเมตร เปรียบเทียบกับบ้าน ที่ได้บ้านพร้อมที่ดินที่ใหญ่กว่า 700 ตารางเมตร เป็นต้น   นางนลินรัตน์ กล่าวอีกว่า สำหรับความต้องการบ้านประเภทนี้ ยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง ​ส่วนหนึ่งจะมาจากไลฟ์สไตล์ที่เปลี่ยนไป ของผู้ซื้อที่อยู่อาศัยระดับบน จากคอนโดมาเป็นบ้านใจกลางเมือง แต่ยังคงความสะดวกสบายและหรูหรา เหมือนใช้ชีวิตในตึกสูง ขณะเดียวกัน ยังได้เป็นเจ้าของที่ดินและบ้านด้วย เป็นกลุ่มผู้อยู่อาศัยจริง (Real demand)  โดยปกติแล้ว การขายบ้านประเภทนี้อาจไม่ได้รวดเร็วมากนัก ซึ่งระยะเวลาการขายเฉลี่ยแต่ละโครงการอยู่ที่ 2 - 3 ปี ยอดขายเฉลี่ยในตลาดอยู่ที่ 53% ปัจจัยที่ทำให้ยอดขายแตกต่างกันขึ้นอยู่กับราคา เมื่อเปรียบเทียบกับทำเลที่เหมาะสม ความสะดวกสบายของทำเลเมื่อเทียบกับราคา และคุณภาพของสินค้าโดยรวม 9 บทสรุปความน่าสนใจตลาดบ้านหรู จากข้อมูลทางการตลาดและผลวิจัยเบื้องต้น เน็กซัส สรุปความน่าสนใจและข้อดีของตลาดบ้านหรูกลางเมืองสำหรับผู้บริโภค โดยแบ่งเป็น 9 ข้อดีของการมีบ้านในเมือง ได้แก่ 1.ตลาดยังคงเติบโตและมีอุปทานคุณภาพดีเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง 2.ทำเลกลางเมืองเดินทางสะดวกสบาย 3.ราคาที่คุ้มค่าเมื่อเทียบกับทำเลและพื้นที่ใช้สอยที่ได้ 4.ได้ทรัพย์สินเป็นที่ดิน และความรู้สึกความเป็นเจ้าของที่แท้จริง 5.มีความเป็นส่วนตัวสูง 6.ได้บ้านที่แตกต่างสะท้อนตัวตนของผู้อยู่อาศัย 7.คุณภาพและวัสดุที่ใช้ 8.ไลฟ์สไตล์คนเมือง 9.สำคัญที่สุดเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าทั้งในปัจจุบันและอนาคต   จากความน่าสนใจของตลาดบ้านหรูใจกลางเมือง เราจึงมองเห็นโอกาส ที่จะทำให้ “ผู้ซื้อ” สามารถเลือกซื้อสินค้าประเภทนี้ ได้อย่างเหมาะสมกับความต้องการที่แท้จริง ทั้งในแง่ของงบประมาณและไลฟ์สไตล์ ในขณะที่ “ผู้ขาย” ก็มีโอกาสขายสินค้าได้ ตรงกลุ่มเป้าหมายมากยิ่งขึ้น จึงเป็นที่มาของการจัดแคมเปญ “Luxury House Grand Sale” เพื่อรวบรวมบ้านหรู Rare Item โครงการคุณภาพใจกลางเมืองกว่า 20 โครงการ มาให้เลือกช้อปแบบครบ จบที่เดียว!  ในราคาเริ่มต้น 22.9 - 70 ล้านบาท พร้อมส่วนลดสูงสุดถึง 11 ล้านบาท* และ Voucher เฟอร์นิเจอร์โดย Euro Creations จากอิตาลี รวมทั้งโปรโมชั่นพิเศษอีกมากมาย พิเศษเฉพาะลูกค้าเน็กซัส! ตั้งแต่วันนี้ – 31 มี.ค. 2564      
โควิดระรอกใหม่ ฟาดตลาดอสังหาฯ ซึมต่อเนื่อง

โควิดระรอกใหม่ ฟาดตลาดอสังหาฯ ซึมต่อเนื่อง

โควิดระรอกใหม่ ฟาดตลาดอสังหาฯ ซึมต่อเนื่อง สงครามราคาคาดเอาไม่อยู่ ดัชนีลดลงต่อเนื่อง ขณะที่คอนโด ยังเหลือมากสุดในตลาด หวัง “วัคซีนต้านไวรัส - มาตรการภาครัฐ” ปลุกตลาดฟื้นตัวเร็วขึ้น   ดีดีพร็อพเพอร์ตี้ (DDproperty) เปิดเผยข้อมูลล่าสุดจากรายงาน DDproperty Thailand Property Market Index  พบว่า ดัชนีราคาที่อยู่อาศัยในกรุงเทพฯ ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ 197 จุด จาก 201 จุด หรือลดลง 2% จากไตรมาสก่อน ถือเป็นดัชนีราคาที่ต่ำที่สุดในรอบ 14 ไตรมาส (นับตั้งแต่ไตรมาสที่ 2 ปี 2560) หลังจากเคยมีแนวโน้มฟื้นตัวในช่วงคลายล็อกดาวน์จากการแพร่ระบาดรอบแรก คาดแนวโน้มราคาอสังหาริมทรัพย์​ และจำนวนจะลดลงต่อเนื่องจากไตรมาส 4 ปีที่แล้ว และยังไม่ปรับตัวเพิ่มขึ้นในช่วงครึ่งปีแรก แต่ยังคงมีความหวังว่าวัคซีนต้านไวรัสโควิด-19 และมาตรการเยียวยาเพิ่มเติมจากภาครัฐจะช่วยกระตุ้นให้ตลาดอสังหาฯ กลับมาฟื้นตัวเร็วขึ้น สงครามราคาไม่ช่วยกระตุ้นตลาดอสัหาฯ นางกมลภัทร แสวงกิจ ผู้จัดการใหญ่ประจำประเทศไทยของดีดีพร็อพเพอร์ตี้ เปิดเผยว่า  คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 0.50% ต่อปี เพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่ยังมีความไม่แน่นอนสูง สาเหตุหลักมาจากจำนวนนักท่องเที่ยวที่น่าจะน้อยกว่าที่คาด และความไม่แน่นอนจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ระลอกใหม่ ซึ่งนอกจากจะส่งผลต่อการฟื้นตัวของสภาพเศรษฐกิจโดยตรงแล้ว ยังส่งผลกระทบต่อการเติบโตในตลาดอสังหาฯ พอสมควร โดยคาดว่าเศรษฐกิจไทยในปี 2564 จะฟื้นตัว 3.2%   เมื่อผนวกกับความท้าทายจากกำลังซื้อของชาวต่างชาติที่หายไปเป็นระยะเวลานาน และความไม่แน่นอนทางการเมือง ปัจจัยเหล่านี้อาจทำให้ตลาดอสังหาฯ ไทยกลับมาฟื้นตัวช้าขึ้น จากเดิมที่เคยคาดไว้ว่าจะเริ่มฟื้นตัวดีขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ เห็นได้จากรายงานล่าสุด พบว่า การแพร่ระบาดระลอกใหม่ ได้ส่งผลให้แนวโน้มราคาอสังหาฯ ลดลงต่อเนื่องจากไตรมาส 4 ปีที่แล้ว และคาดการณ์ว่าจะไม่มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2564   ส่วนดัชนีอุปทานก็มีแนวโน้มลดลงเช่นกัน เนื่องจากผู้ประกอบการหันมาเร่งระบายสต็อกคงค้างและชะลอการเปิดโครงการใหม่ออกไปก่อนในช่วงนี้ ในขณะที่ความต้องการซื้อของผู้บริโภคก็ถูกดูดซับไปแล้วจำนวนมาก จากสงครามราคาที่รุนแรงในช่วงที่ผ่านมา จึงส่งผลให้การเติบโตในตลาดช่วงต้นปีนี้ไม่คึกคักเท่าที่ควร   ปีนี้สงครามราคาอาจไม่ใช่ปัจจัยสำคัญที่มาช่วยกระตุ้นการฟื้นตัวในตลาดได้เหมือนเดิม โดยมองว่าความชัดเจนของการฉีดวัคซีนต้านไวรัสโควิด-19 ในไทย และมาตรการเยียวยาจากภาครัฐอย่างตรงจุดจะเป็นตัวแปรสำคัญที่เร่งการฟื้นตัวในตลาดอสังหาฯ ได้ดีขึ้น   อย่างไรก็ตาม แม้ว่าภาครัฐจะมีการออกมาตรการลดภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง และลดค่าธรรมเนียมการโอนอสังหาฯ เพื่อบรรเทาผลกระทบในรอบนี้แล้ว แต่คาดว่ามาตรการดังกล่าวจะช่วยกระตุ้นความต้องการซื้อของผู้บริโภคได้ไม่มากนัก เนื่องจากเพดานของมาตรการยังคงจำกัดอยู่แค่การซื้อบ้านและคอนโด ใหม่จากผู้ประกอบการอสังหาฯ ในราคาไม่เกิน 3 ล้านบาทเท่านั้น คนไทย ต้องการซื้อบ้านไม่เกิน 5 ล้าน จากข้อมูลผู้เข้าเยี่ยมชมในเว็บไซต์ DDproperty.com ทั่วประเทศในรอบ 6 เดือนที่ผ่านมา พบว่า เกือบ 3 ใน 4 ของผู้บริโภค (74%) ให้ความสนใจเข้าชมประกาศซื้อ-ขาย-เช่าที่อยู่อาศัยในระดับราคาไม่เกิน 5 ล้านบาท ในขณะที่การเข้าชมอสังหาฯ ระดับราคาไม่เกิน 3 ล้านบาท มี 55%   สะท้อนให้เห็นเทรนด์ความต้องการซื้อของผู้บริโภค (Demand) ที่มองหาที่อยู่อาศัยในระดับราคาไม่เกิน 5 ล้านบาท แม้อาจมีความจำเป็นต้องชะลอการใช้จ่ายออกไปก่อน แต่ถือเป็นอีกโอกาสในตลาดที่ไม่ควรมองข้าม หากภาครัฐต้องการกระตุ้นภาคอสังหาฯ จึงควรที่จะขยายเพดานของมาตรการลดค่าโอน-ค่าจดจำนองให้สูงกว่าเดิม เพื่อช่วยดึงกำลังซื้อใหม่ ๆ เข้าสู่ตลาดมากขึ้น รวมทั้งช่วยดูดซับโครงการคงค้างที่มีราคามากกว่า 3 ล้านบาทของผู้ประกอบการอสังหาฯ ในช่วงที่ผ่านมาให้ลดลงได้ โควิด-19 ระรอกใหม่ ทำตลาดอสังหาฯ สั่นคลอน   รายงาน DDproperty Thailand Property Market Index ฉบับล่าสุด เผยข้อมูลเชิงลึกและทิศทางตลาดอสังหาฯ ไทยหลังต้องเผชิญการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ระลอกใหม่แบบไม่ทันตั้งตัว ส่งผลกระทบให้การเติบโตของตลาดที่อยู่อาศัยและการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคปรับทิศทางชะลอตัวลง ราคาอสังหาฯ ลด ที่อยู่อาศัยแนวราบยังทรงตัว เมื่อผู้บริโภคเพิ่มความระมัดระวังในการใช้จ่ายมากขึ้น ส่งผลให้ผู้ประกอบการอสังหาฯ จำเป็นต้องใช้สงครามราคา ออกมาเป็นตัวช่วยในการเร่งระบายสต็อกคงค้างอย่างต่อเนื่อง เพื่อเร่งการตัดสินใจซื้อในเวลานี้ ข้อมูลจากรายงานยังพบว่า ดัชนีราคาอสังหาฯ ไตรมาสที่ผ่านมาทุกรูปแบบที่อยู่อาศัยมีแนวโน้มลดลง  โดยเฉพาะประเภทคอนโด ที่ดัชนีราคาลดลง 2% จากไตรมาสก่อน และลดลงถึง 5% ในรอบปี (YoY)   ในขณะที่อสังหาฯ แนวราบได้อานิสงส์ จากการที่ผู้บริโภคหันมา Work from Home ในช่วงที่มีการแพร่ระบาดฯทำให้สนใจโครงการแนวราบมากขึ้น ส่งผลให้ดัชนีราคาทาวน์เฮ้าส์ยังคงทรงตัว ในขณะที่บ้านเดี่ยวแม้ดัชนีราคาจะลดลง 2% จากไตรมาสก่อน แต่ถือว่ามีการปรับตัวเพิ่มขึ้นถึง 10% ในรอบ 2 ปี สะท้อนให้เห็นโอกาสจากกลุ่มผู้ซื้อเพื่ออยู่อาศัยจริงที่ยังคงมีอยู่ในตลาด (Real Demand) คอนโด ยังครองแชมป์สต็อกเหลือมากสุด นอกจากการระบาดฯ ระลอกใหม่ จะส่งผลกระทบต่อการวางแผนใช้จ่ายของผู้ซื้อโดยตรงแล้ว ยังส่งผลให้ผู้ประกอบการอสังหาฯ นักลงทุน และผู้บริโภคที่ต้องการขายอสังหาฯ ที่มีอยู่ตอนนี้ เลือกที่จะชะลอการขายออกไปก่อนอีกด้วย   จากรายงานพบว่า ดัชนีอุปทานลดลงมาอยู่ที่ 363 จุด จาก 385 จุด หรือลดลงถึง 6% จากไตรมาสก่อน และคาดการณ์ว่าจะส่งผลต่อเนื่องไปอีกอย่างน้อยหนึ่งไตรมาส ในช่วงที่ผ่านมาตลาดคอนโด ถือว่าได้รับผลกระทบมากที่สุดจนมีสินค้าคงค้างในตลาดเป็นจำนวนมาก แม้ไตรมาสนี้จำนวนคอนโด จะลดลงจากไตรมาสก่อน 7% แต่เมื่อมองภาพรวมแล้วคอนโด ยังคงมีสัดส่วนมากที่สุดถึง 88% ของจำนวนอสังหาฯ ทั้งหมดในกรุงเทพฯ ในขณะที่ดัชนีอุปทานบ้านเดี่ยวมีสัดส่วน 7% และทาวน์เฮ้าส์มีเพียง 5% เท่านั้น เขตคลองเตย ตลาดเช่ามาแรง   สำหรับทำเลในกรุงเทพฯ ที่มีจำนวนลดลงมากที่สุดในรอบไตรมาส ส่วนใหญ่อยู่ในทำเลใจกลางเมือง ได้แก่ เขตวัฒนา เขตคลองเตย และเขตสาทร แม้ภาพรวมการซื้อขายในตลาดอสังหาฯ จะยังมีแนวโน้มชะลอตัว แต่หากมองในมุมอสังหาฯ ให้เช่ากลับพบว่ายังมีโอกาสเติบโตไม่น้อย โดยผู้บริโภคยังมีความต้องการเช่าที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในเขตคลองเตยที่มีการเติบโตในหลายทำเล ได้แก่ แขวงคลองเตย เพิ่มขึ้นถึง 17% ตามมาด้วยแขวงพระโขนง เพิ่มขึ้น 12% และแขวงคลองตัน เพิ่มขึ้น 11%   ส่วนในเขตวัฒนาก็ได้รับความสนใจไม่แพ้กัน โดยผู้บริโภคสนใจเช่าที่อยู่อาศัย ในแขวงคลองเตยเหนือ เพิ่มขึ้น 15% ตามมาด้วยแขวงคลองตันเหนือ เพิ่มขึ้น 10% และแขวงพระโขนงเหนือ เพิ่มขึ้น 9% สะท้อนให้เห็นทิศทางตลาดที่อยู่อาศัยแบบให้เช่าที่ยังมีแนวโน้มเติบโตในอนาคต สวนทางกับจำนวนอุปทานที่ลดลงในบางทำเล ถือเป็นโอกาสที่น่าสนใจสำหรับนักลงทุนที่มีอสังหาฯ ในทำเลดังกล่าว ที่อาจจะเลือกชะลอการขายออกไปก่อนเพื่อรอจังหวะในการสร้างผลตอบแทนที่ดีกว่า และเปลี่ยนมาปล่อยเช่าแทนในเวลานี้ เพื่อจับความต้องการผู้บริโภคที่มีในตลาด        
เอสซี ทุ่มกว่า 2.5 หมื่นล้าน รุกหนักแนวราบขึ้นเบอร์ 1 บ้านเดี่ยว

เอสซี ทุ่มกว่า 2.5 หมื่นล้าน รุกหนักแนวราบขึ้นเบอร์ 1 บ้านเดี่ยว

เอสซี แอสเสท เดินหน้าลุยตลาดแนวราบ ปั้น 8 โปรเจ็กต์ใหม่ 9,000 ล้าน สู่ผู้นำเบอร์ 1 บ้านเดี่ยว ราคา 10  ล้านบาทขึ้นไป พร้อมเปิดตัว 2 บ้านฟังก์ชั่นใหม่ เอาใจคนโสด และเจนวาย ปูทางสร้างรายได้ 19,000 ล้านบาท ​​   นายณัฐพงศ์ คุณากรวงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอสซี แอสเสท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ SC เปิดเผยถึงแผนธุรกิจในปี 2564-2565 ว่า ได้วางแผนรุกตลาดแนวราบอย่างหนัก ด้วยการทุมเม็ดเงินลงทุน 25,000 ล้านบาท เพื่อเป้าหมายสู่การเป็นแบรนด์บ้านเดี่ยวอันดับ 1 ภายใต้ความพร้อมใน 3 ด้าน ได้แก่ ความพร้อมด้านที่ดิน ด้านสภาพคล่อง และสินค้า โดยกลยุทธ์สำคัญทั้ง 3 ประการ ภายใต้ความพร้อมของ SC ในแบบ Fully-Loaded ประกอบด้วย​ 1.ที่ดินพร้อม         ทุ่มเงินลงทุน 25,000 ล้านบาท ใน 2 ปีนี้ (2564-2565)  เพื่อโอนที่ดินจำนวนมากกว่า 30 แปลง  และรุกพัฒนาโครงการแนวราบแบบจัดหนัก  ครอบคลุมทุกระดับราคาทั่วกรุงเทพ-ปริมณฑล 2.สภาพคล่องพร้อม มีสภาพคล่องแข็งแกร่ง มีเงินสดและวงเงินพร้อมเบิกมากกว่า 10,000 ล้านบาท พร้อมกับมีระดับหนี้ลดเหลือ D/E 1.38 จาก D/E 1.58  ในปี 2562  ถือว่าปัจจุบันมีระดับหนี้ต่ำสุดในรอบ 5 ปี 3.สินค้าพร้อม โดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาสินค้าตามปรัชญาแบรนด์ ‘For Good Mornings’ สร้างทุกเช้าที่ดีให้ลูกค้าทุกคน  ใน  3 เรื่องหลัก ได้แก่ Design, Technology และ Living Solutions เพื่อตอบโจทย์ลูกค้าในยุค new normal  พร้อมรองรับกิจกรรมที่เพิ่มขึ้นภายในบ้าน นายณัฐพงศ์ กล่าวว่า ในปี 2564  บริษัทตั้งเป้ายอดขาย 20,000 ล้านบาท และรายได้ 19,000 ล้านบาท ซึ่งจะมาจากโครงการเพื่อขายทั้งหมดในปีนี้จำนวน 69 โครงการ มูลค่า รวม 57,500 ล้านบาท โดยในจำนวนดังกล่าวเป็นโครงการใหม่  11 โครงการ​ มูลค่ารวม 17,000 ล้านบาท  แบ่งเป็นแนวราบ  8 โครงการ มูลค่า 9,000 ล้านบาท และแนวสูง 3 โครงการ มูลค่า 8,000 ล้านบาท   ในส่วนบ้านแนวราบปีนี้ จะมีการเปิดตัวบ้านซีรี่ส์ใหม่ ได้แก่ บ้านคนโสด และ บ้าน SoU-21 ภายใต้แนวคิด  ‘One Size doesn’t Fit All’ บ้านที่ปรับเปลี่ยนได้ตามไลฟ์สไตล์ จะเปิดตัวครั้งแรกที่โครงการเวนิว พระราม 9 การเปิดตัวบ้านซีรี่ยส์ใหม่ดังกล่าว เนื่องจาก SC มีนโยบายในการพัฒนาบ้านเพื่อตอบโจทย์คนทุกกลุ่ม ในทุกระดับราคา ​ สำหรับผลการดำเนินงานในรอบ​ปี 2563 ที่ผ่านมาถือเป็นปีแห่งความท้าทายของบริษัท เนื่องจากมีปัญหาการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 แต่บริษัทสามารถสร้างผลการดำเนินงานเป็นที่น่าพอใจ ทำยอดขายสูงสุดเป็นประวัติศาสตร์ ด้วยยอดขายรวม​ 16,602 ล้านบาท  และสามารถทำยอดขายแนวราบสูงสุดเติบโตสวนกระแสตลาด คิดเป็นยอดขายแนวราบ 14,757 ล้านบาท เติบโต 37% จากช่วงปีก่อนหน้า  ส่งผลให้ส่วนแบ่งการตลาดของบ้านเดี่ยวในกลุ่มราคามากกว่า 10 ล้านบาทขึ้นไป  เพิ่มขึ้นเป็นอันดับ 1 มีส่วนแบ่งการตลาด 26% เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าที่มีส่วนแบ่งการตลาด 19%  
แสนสิริ x บาร์บีกอน ดันยอดขายสู่ 5,000 ล้าน

แสนสิริ x บาร์บีกอน ดันยอดขายสู่ 5,000 ล้าน

แสนสิริ จับมือ บาร์บีคิวพลาซ่า ปั้นยอดขายไตรมาสแรก 5,000 ล้าน พร้อมสร้างแบรนด์สู่ตลาดแมส ใช้ฐานลูกค้าบาร์บีคิวพลาซ่ากว่า 2 ล้านราย สร้างการรับรู้บุกตลาดบ้าน-คอนโด ราคาล้านกว่าบาท   ก่อนหน้านี้ นายเศรษฐา ทวีสิน กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) ได้ออกมาสร้างกระแสบนโลกออนไลน์ ด้วยการนำเอาตัว “บาร์บีกอน” ตัวการ์ตูนคาแรคเตอร์ร้านปิ้งย่าง บาร์บีคิวพลาซ่า มาสร้างกระแสทางการตลาด ด้วยการนำเอาตัวบาร์บีกอนไปอยู่ตามบ้านและคอนโดมิเนียม ในโครงการต่าง ๆ ของแสนสิริ จากเดิมที่ตั้งอยู่บริเวณหน้าร้าน เพื่อสร้างความสงสัยว่าจะเกิดความร่วมมืออะไรกันขึ้น   ล่าสุด ผู้บริหารจากแสนสิริและบาร์บีคิวพลาซ่า ได้ออกมาจัดงานแถลงข่าว เพื่อเฉลยถึงความร่วมมือที่ทั้งสองบริษัทจะดำเนินการร่วมกัน ซึ่งประเด็นหลัก คือ การจัดทำแคมเปญการตลาดร่วมกัน เพื่อขยายตลาดและสร้างยอดขาย  ซึ่งทางแสนสิริคาดว่าแคมเปญที่ทำร่วมกันครั้งนี้  จะได้ยอดขาย 1,500 ล้านบาท  เพื่อทำให้ไตรมาสแรกของปี 2564 แสนสิริทำยอดขายได้ 5,000 ล้านบาท จากเดือนมกราคมที่ผ่านมา สามารถทำยอดขายได้แล้ว 3,500 ล้านบาท   นางสาวชลีรัตน์ ต่อจรัส ผู้อำนวยการฝ่ายลูกค้าสัมพันธ์และองค์กร บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ได้ร่วมมือกับบาร์บีคิวพลาซ่า จัดทำแคมเปญ “แสนสิริ x บาร์บีคิวพลาซ่า กระจายความสุข” และนำแคมเปญ “แสนสิริ ผ่อนให้ 24 เดือน*” กลับมาทำการตลาดอีกครั้ง เพื่อกระตุ้นตลาดและสร้างยอดขาย โดยคาดว่าแคมเปญที่ร่วมกับบาร์บีคิวพลาซ่า จะสร้างยอดขายได้ 1,500 ล้านบาท สำหรับแคมเปญแสนสิริ x บาร์บีคิว พลาซ่า กระจายความสุขให้คนไทยทั้งประเทศ และ​ แสนสิริ ผ่อนให้ 24 เดือน จะเป็นการให้สิทธิพิเศษกับผู้ที่ซื้อ​โครงการบ้าน คอนโดมิเนียม และ ทาวน์โฮมพร้อมอยู่ รวม 59 โครงการ ระหว่างวันที่ 11 ก.พ. – 31 มี.ค. 2564 ซึ่ง​จะได้รับสิทธิพิเศษ คือ ​1. แสนสิริ ผ่อนให้ 24 เดือน 2.ได้ลุ้นเพิ่ม อาทิ ทองคำ, ส่วนลด on top, บัตรกำนัลเงินสด,  ค่าส่วนกลางเพิ่ม, เครื่องใช้ไฟฟ้าครบชุด และเฟอร์นิเจอร์ครบเซ็ต ​​​3. ลูกค้าบาร์บีคิวพลาซ่า ซึ่งปัจจุบันมีฐานลูกค้ากว่า 2 ล้านราย ชวนเพื่อนมาซื้อโครงการแสนสิริ รับค่าแนะนำไปเลยสูงสุด 200,000 บาท และ​ 4. รับ ฟรี! Gift voucher ชุดหมูพิเศษ ‘แสนสิริ มงGON’ ไปกินที่ร้าน Bar B Q plaza เมื่อเยี่ยมชมโครงการแสนสิริและร่วมกิจกรรมถ่ายภาพ* กับบาร์บีกอนที่โครงการบ้าน คอนโดมิเนียม และทาวน์โฮม จากแสนสิริ แสนสิริมีบ้านทุกเซ็กเมนต์ ตั้งแต่ราคา 1-20 ล้านบาท กระจายทุกเซ็กเมนต์ แต่แคมเปญนี้น่าจะทำให้เกิดการรับรู้มากขึ้นในกลุ่ม affordable ด้านนางสาวบุณย์ญานุช บุญบำรุงทรัพย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ด้านการสร้างโอกาสทางการตลาดกลุ่มธุรกิจอาหาร บริษัท ฟู้ดแพชชั่น จำกัด กล่าวว่า​ กลยุทธ์การดำเนินธุรกิจของบริษัทในปีนี้ มุ่งเน้นการตอบโจทย์ปัจจัย 4 ของผู้บริโภค ซึ่งการร่วมมือกับแสนสิริ เป็นการตอบโจทย์ด้านการอยู่อาศัย ในอนาคตบริษัทยังจะมีความร่วมมือกับพันธมิตร ในการตอบโจทย์ความต้องการด้านเครื่องแต่งกาย และด้านยาหรือ Hospitality ต่อไปด้วย   สำหรับความร่วมมือกันครั้งนี้ ถือเป็นการตอบโจทย์การดำเนินธุรกิจของบริษัทในปีนี้ รวมถึงเป็นการต่อยอดการทำโมเดล Licensing Partnership  จากการที่เรามีความแข็งแกร่งและเชี่ยวชาญเรื่องการทำ Character Marketing ซึ่งเป็นโอกาสอันดีในการต่อยอดสำหรับการสร้างรายได้ช่องทางใหม่ให้กับองค์กร ด้วยการใช้มาสคอต บาร์บีกอน  ที่เป็นตัวแทนของความสุข ไป Stay with customers ในทุก ๆ กิจกรรมการตลาด และเพื่อสนับสนุนให้พาร์ทเนอร์ไปถึงเป้าหมายที่ต้องการเข้าถึงกลุ่มลูกค้าใหม่ๆมากขึ้น เช่น การขยายฐานไปยังกลุ่มลูกค้าที่เป็น GON Lover โดยลูกค้าของแสนสิริที่ปัจจุบันมีกว่า 1 แสนครอบครัว จะได้รับสิทธิพิเศษจาก บาร์บีคิวพลาซ่า  ตั้งแต่ 11 ก.พ. – 30 มิ.ย. 2564 อาทิ สั่งชุดแสนสิริ มงGON สำหรับชุดหมู ในราคาเพียง 249 บาท  ชุดเนื้อ ในราคาเพียง 259 บาท และสามารถสั่งกลับบ้านได้ด้วย ซึ่ง แสนสิริ มงGON เป็นชื่อชุดอาหารพิเศษจากการ​ผสมผสานชื่อเมนู จาก แสนสิริ และ บาร์บีกอน  เข้าไว้ด้วยกัน  การบริการจัดส่งเดลิเวอรี่ ให้ลูกบ้านนแสนสิริ 134 โครงการ  สมาชิกลูกบ้านแสนสิริรับโค้ดส่วนลดพิเศษ 100 บาท  และการนำรถ GON Food Truck ให้บริการที่โครงการของแสนสิริ โดยรถคันแรกจะเปิดตัวที่โครงการเศรษฐสิริ กรุงเทพกรีฑา ตั้งแต่วันที่​ 7 มี.ค. 2564  
ซีบีอาร์อี แนะใช้ยาแรงฟื้นตลาดบ้าน-คอนโด  ขยายฐานราคา0-15ล.รับมาตรการรัฐ

ซีบีอาร์อี แนะใช้ยาแรงฟื้นตลาดบ้าน-คอนโด ขยายฐานราคา0-15ล.รับมาตรการรัฐ

ซีบีอาร์อี คาดตลาดอสังหาฯ ไทยปี 64 แต่ละธุรกิจฟื้นตัวแตกต่างกัน  จากภาวะเศรษฐกิจยังไม่ฟื้น มีความท้าทายจากความผันผวนของโรคโควิด-19  ตลาดโลจิสติกส์ขึ้นแท่นนำ ขณะที่ตลาดอาคารสำนักงานต้องเตรียมรับมือกับซัพพลายใหม่จำนวนมาก ส่วนตลาดโรงแรมและพื้นที่ค้าปลีกจะฟื้นตัวช้าสุด แนะภาครัฐอัดยาแรงในตลาดที่อยู่อาศัย ขยายฐานกลุ่มบ้าน-คอนโด ราคาตั้งแต่ 0-15 ล้านให้ได้รับอานิสงค์ พร้อมปลดล็อกขายลิสโฮลด์ขายบ้าน-ที่ดินได้ถึง 60 ปี ตลาดที่พักอาศัย : ปรับสมดุลราคา ซีบีอาร์อีเชื่อว่าตลาดที่พักอาศัยโดยรวมในกรุงเทพฯ จะยังคงชะลอตัวในปี 2564 และมีความเสี่ยงเนื่องจากโควิด-19 รอบใหม่ ได้ทำให้ผู้ซื้อชาวไทยและชาวต่างชาติใช้เวลาในการตัดสินใจนานขึ้น   การเปิดตัวโครงการใหม่จะมีไม่มากนักโดยจะเป็นโครงการในย่านรอบนอกใจกลางเมือง (มิดทาวน์) และชานเมือง เพราะราคาที่ดินยังอยู่ในระดับราคาที่พัฒนาได้และทำให้ราคาขายเริ่มมีความสมเหตุสมผลมากขึ้น   ในปี 2564 ผู้พัฒนาโครงการจะยังให้ความสำคัญกับยูนิตที่แล้วเสร็จแต่ยังเหลือขายที่มีอยู่ในมือ แต่ขณะเดียวกันก็มองหาโอกาสใหม่ในทำเลใหม่ๆ และให้ความสำคัญกับสภาพคล่องทางการเงินด้วย   ตลาดที่พักอาศัยแนวราบจะเป็นตลาดหลักสำหรับการพัฒนาโครงการใหม่ๆ เนื่องจากผู้พัฒนาโครงการต้องการลดความเสี่ยง   ขณะที่ความต้องการซื้อคอนโดมิเนียมยังคงมีอยู่แต่มีงบประมาณที่น้อยลง   นอกจากนี้ผู้พัฒนาโครงการจะเปลี่ยนไปพัฒนาโครงการที่มีขนาดเล็กลง เพื่อลดขนาดการลงทุน และทำให้ผ่านเกณฑ์การอนุมัติเงินทุนจากธนาคารได้ง่ายขึ้น   นางสาวอลิวัสสา พัฒนถาบุตร กรรมการผู้จัดการ ซีบีอาร์อี ประเทศไทย ให้ความเห็นว่า  จากธุรกรรมซื้อขายที่ผ่านซีบีอาร์อีในปี 2563 พบว่าตลาดที่พักอาศัยระดับลักซ์ชัวรี่ที่เป็นกลุ่มเฉพาะยังคงเป็นที่ต้องการอย่างมากจากทั้งลูกค้าที่ซื้อเพื่ออยู่อาศัยเองและนักลงทุน โดยเฉพาะที่พักอาศัยที่บริหารโดยเครือโรงแรมและบ้านหรู แต่ลูกค้าใช้ระยะเวลาการตัดสินใจนานขึ้น   เป็นที่น่าสังเกตว่ายูนิตขนาดใหญ่ในตลาดระดับซูเปอร์ลักซ์ชัวรี่ซึ่งยอดขายชะลอตัวในอดีตกลับมามียอดขายมากขึ้นในปีที่ผ่านมา  นักลงทุนต่างชาติที่สนใจลงทุนในไทย โดยเฉพาะชาวจีน ยังคงให้ความสนใจตลาดในทุกระดับ แต่ยอดขายจากลูกค้ากลุ่มนี้จะกลับมาก็ต่อเมื่อสามารถเดินทางเข้ามาไทยได้ โปรโมชั่นและมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่มีประสิทธิภาพจากรัฐบาลยังคงมีความจำเป็นสำหรับการดึงดูดผู้ซื้อต่างชาติ  ซีบีอาร์อีคาดหวังว่าจะมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ได้ผลออกมาอีกโดยควรจะครอบคลุมมากยิ่งขึ้นเพื่อช่วยตลาดในปีนี้   โดยเห็นว่ามาตรการที่จะช่วยกระตุ้นตลาดที่อยู่อาศัยได้ดี คือ การขยายฐานระดับราคาที่อยู่อาศัย ให้ครอบคลุมมากขึ้น จากปัจจุบันที่ให้เฉพาะระดับบ้านไม่เกิน 3 ล้านบาท เห็นว่าควรขยายฐานราคาที่อยู่อาศัยตั้งแต่ 0 บาทไปจนถึง 15 ล้านบาท ขณะที่กลุ่มที่อยู่อาศัยแบบสิทธิการเช่า หรือ ลิสโฮลด์นั้นควรขยายระยะเวลาให้เช่านานถึง 60 ปี เพื่อกระตุ้นตลาดในกลุ่มชาวต่างชาติให้เข้ามาซื้ออสังหาฯ​ ไทยเพิ่มมากขึ้น​ สิ่งที่จะช่วยกระตุ้นตลาดอสังหาฯ ได้ คือ นโยบายของรัฐบาล ซึ่งปัจจุบันมาตรการยังกระจัดกระจายและยังไม่อิมแพคมากพอ ตลาดอาคารสำนักงาน: ปรับเปลี่ยนอนาคตของสถานที่ทำงาน ซีบีอาร์อีมองเห็นว่าองค์กรต่างๆ กำลังคิดทบทวนเรื่องการออกแบบสถานที่ทำงานและวิธีการใช้พื้นที่ เนื่องจากการให้พนักงานเป็นศูนย์กลางและการทำงานแบบไฮบริดหรือการใช้พื้นที่สำนักงานรูปแบบเดิมควบคู่ไปกับการผสมผสานระหว่างการใช้พื้นที่ที่มีความยืดหยุ่นกับการทำงานระยะไกลจะเป็นสิ่งที่สำคัญ โดยความสำเร็จจะขึ้นอยู่กับหน้าที่และลักษณะเฉพาะของแต่ละบริษัทและแต่ละหน่วยธุรกิจ นางสาวรุ่งรัตน์ วีระภาคย์การุณ หัวหน้าแผนกพื้นที่สำนักงาน ซีบีอาร์อี ประเทศไทย ให้ความเห็นว่า สำหรับอนาคตของตลาดอาคารสำนักงาน ความกังวลที่สำคัญประการหนึ่งของซีบีอาร์อีคือจำนวนซัพพลายใหม่ที่จะเพิ่มเข้าสู่ตลาด  โดยในปี 2564 มีพื้นที่สำนักงานที่คาดว่าจะแล้วเสร็จจำนวน 334,000 ตารางเมตร  ซึ่งจะทำให้พื้นที่สำนักงานทั้งหมดในกรุงเทพฯ ขยับขึ้นไปอยู่ที่ 9.49 ล้านตารางเมตร   ในสภาวะตลาดที่ไม่แน่นอนเช่นนี้  ซีบีอาร์อีได้เห็นว่าเจ้าของอาคารมีการเลื่อนกำหนดแล้วเสร็จของอาคารเพื่อหลีกเลี่ยงการแข่งขัน  นอกจากนี้ยังคาดว่าค่าเช่าโดยรวมในตลาดจะอยู่ในระดับทรงตัว  และตลาดจะเปลี่ยนไปสู่การเป็นตลาดของผู้เช่าโดยเฉพาะผู้เช่ารายใหญ่ที่ใช้พื้นที่สำนักงานขนาดใหญ่ ตลาดพื้นที่ค้าปลีก: พฤติกรรมเปลี่ยนส่งผลให้ต้องปฏิรูป ธุรกิจค้าปลีกของไทยได้รับผลกระทบอย่างหนักจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 และส่งผลให้ในปี 2563 ยอดผู้ใช้บริการลดลงอย่างมากและความเชื่อมั่นผู้บริโภคก็ลดลงเช่นกัน   ซีบีอาร์อีเห็นว่าเจ้าของพื้นที่ค้าปลีกได้มีการทบทวนโครงการที่มีการวางแผนไว้ รวมถึงแผนการลงทุน  ซึ่งจะมีการเสนอสัญญาเช่าที่ยืดหยุ่นมากขึ้นให้กับผู้เช่าและจะมีนวัตกรรมใหม่ๆ ภายในพื้นที่ศูนย์การค้า    ในทางกลับกัน ผู้ค้าปลีกจะลดขนาดและปรับรูปแบบพื้นที่เช่าเพื่อลดค่าใช้จ่ายและทำให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้น  ธนาคารต่างกำลังย้ายไปสู่แพลตฟอร์มออนไลน์และต้องการพื้นที่สาขาน้อยลง   ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มจะให้ความสำคัญกับบริการส่งอาหารมากขึ้น และร้านขายสินค้าแฟชั่นจะมีช่องทางการจัดจำหน่ายที่หลากหลายมากขึ้น   นอกจากการเปลี่ยนสถานะการเช่าจากแบบถาวรมาเป็นแบบชั่วคราวแล้ว ผู้เช่าจะพัฒนาให้เป็นร้านค้ารูปแบบที่เล็กลง เช่น ป๊อปอัปสโตร์ เพื่อรักษาผลกำไรในช่วงที่สถานการณ์ไม่แน่นอนเช่นนี้   ตลาดโรงแรมและเซอร์วิสอพาร์ตเมนต์: เปลี่ยนกลุ่มเป้าหมายผู้เข้าพักและผู้เช่า ตลาดโรงแรมและเซอร์วิสอพาร์ตเมนต์ในกรุงเทพฯ คือหนึ่งในตลาดอสังหาริมทรัพย์ที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด เพราะนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาในประเทศไทยลดลงจาก 40 ล้านคนในปี 2562 ไปเป็นต่ำกว่า 7 ล้านคนในปี 2563 ซีบีอาร์อีคาดการณ์ว่าอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของไทยจะกลับคืนสู่ระดับเดียวกับปี 2562 ได้ในปี 2565 โดยต้องขึ้นอยู่กับความสำเร็จของวัคซีนและการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของประเทศที่เป็นนักท่องเที่ยวหลักของไทยอย่างจีน รัสเซีย ญี่ปุ่น และอินเดีย   นายรัฐวัฒน์ คูวิจิตรสุวรรณ หัวหน้าแผนกวิจัยและที่ปรึกษาการพัฒนาโครงการ ซีบีอาร์อี ประเทศไทย  กล่าวว่า “ในขณะเดียวกัน  เจ้าของโรงแรมและผู้บริหารจัดการโรงแรมถูกบังคับให้มุ่งเน้นไปที่ตลาดท่องเที่ยวในประเทศ โดยอาศัยรายได้จากนักท่องเที่ยวในประเทศแต่เพียงอย่างเดียวเพื่อให้อยู่รอด   ซีบีอาร์อีเห็นว่าโรงแรมต่างๆ ได้หาหนทางใหม่ๆ ในการดำเนินงานและทำการตลาด ตั้งแต่แพ็กเกจการทำงานจากโรงแรม (Work From Hotel) แพ็กเกจการเข้าพักแบบ Staycation (การพักผ่อนในสถานที่ใกล้ๆ) ไปจนถึงข้อเสนอพิเศษสำหรับลูกค้าที่ไม่ได้เข้าพัก    โรงแรมบางแห่งอาจเลือกที่จะเปิดให้บริการเป็นบางส่วนหรือเปิดเฉพาะร้านอาหารและเครื่องดื่ม  โดยอาศัยช่วงเวลาที่มีผู้เข้าใช้บริการน้อยเป็นการทดลองเปิดให้บริการ และพยายามให้มีค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานน้อยที่สุด” ตลาดพื้นที่อุตสาหกรรมและโลจิสติกส์: ความต้องการสะสมถูกขัดขวางด้วยการห้ามเดินทาง นายอาดัม เบลล์ หัวหน้าแผนกพื้นที่อุตสาหกรรมและโลจิสติกส์ ซีบีอาร์อี ประเทศไทย กล่าวว่า ตลาดโลจิสติกส์ได้พิสูจน์แล้วว่าเป็นหนึ่งในตลาดที่ได้รับผลกระทบน้อยที่สุดจากการแพร่ระบาด เนื่องจากโควิด-19 เป็นตัวกระตุ้นให้ผู้บริโภคไทยปรับตัวเข้าสู่อี-คอมเมิร์ซและเศรษฐกิจดิจิทัลมากขึ้น ซึ่งผลักดันให้เกิดความต้องการพื้นที่คลังสินค้าและศูนย์กระจายสินค้ารุ่นใหม่ (Modern Logistics Property - MLP) ในประเทศไทย   พื้นที่คลังสินค้าและศูนย์กระจายสินค้ารุ่นใหม่มากกว่า 400,000 ตร.ม. ซึ่งส่วนใหญ่จะเข้าสู่ตลาดภายในปี 2564 ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปแบบสร้างขึ้นตามความต้องการเฉพาะ (Built-to-Suit)   สำหรับด้านซัพพลายเชน  ผู้ผลิตในจีนหลายรายพิจารณาย้ายฐานการผลิตมายังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งมีค่าใช้จ่ายที่ต่ำกว่า  นักลงทุนเริ่มให้ความสนใจซื้อโรงงานมากกว่าเช่าโรงงานมากขึ้นเรื่อยๆ เพื่อให้สามารถควบคุมดูแลสถานที่ได้มากขึ้น  ในขณะที่ผู้พัฒนาโรงงานหลายรายชะลอการสร้างโรงงานสำเร็จรูป (Ready-Built Factory - RBF) แบบสร้างเสร็จก่อนขาย   ตลาดการลงทุน: ทบทวนพอร์ตและกลยุทธ์การลงทุน โควิด-19 ทำหน้าที่เป็นตัวเร่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลง  ตลาดอสังหาริมทรัพย์จะเป็นตลาดของผู้เช่าและผู้ซื้อมากขึ้น โดยผู้เช่าจะมีอำนาจในการต่อรองมากขึ้นโดยอสังหาริมทรัพย์จะถูกนำออกมาขายมากขึ้น  เนื่องจากเจ้าของพื้นที่และเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ต้องการถือเงินสด  ซีบีอาร์อีเชื่อว่าเรื่องนี้อาจเป็นโอกาสที่ดีสำหรับนักลงทุนที่กำลังมองหาอสังหาริมทรัพย์ที่ยอมลดราคา แต่ความคาดหวังที่แตกต่างกันระหว่างผู้ขายและผู้ซื้อจะยังคงเป็นปัญหาสำคัญ  ราคาที่ดินจะอยู่ในระดับที่สมเหตุสมผลมากขึ้นเพราะราคาที่ดินโดยรวมในทำเลชั้นนำยังไม่เปลี่ยนแปลง  อย่างไรก็ตาม ราคาที่ดินในย่านรอบนอกใจกลางเมืองและชานเมืองโดยรวมลดลง ยกเว้นบางพื้นที่จะปรับตัวสูงขึ้นตามการขยายเส้นทางระบบขนส่งมวลชนและการขยายถนนในพื้นที่   นางกุลวดี สว่างศรี หัวหน้าแผนกการลงทุนและที่ดิน ซีบีอาร์อี ประเทศไทย กล่าวสรุปว่า เจ้าของพื้นที่และเจ้าของอสังหาริมทรัพย์จำเป็นต้องมีการบริหารจัดการสินทรัพย์ในเชิงรุกเพื่อรักษารายได้และบริหารจัดการค่าใช้จ่ายต่างๆ   การลงทุนแต่ละครั้งจะได้รับการประเมินหลายครั้งเพื่อทำความเข้าใจกับการแทรกแซงจากคู่แข่ง รวมถึงความต้องการของผู้เช่านั้นกำลังเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร และช่วงเวลานี้เหมาะสมที่จะลงทุนเพิ่มในสินทรัพย์ที่มีอยู่หรือขายออก      
เรียลแอสเสท ปั้น 4 โปรเจ็กต์ สร้างยอดโต 15%

เรียลแอสเสท ปั้น 4 โปรเจ็กต์ สร้างยอดโต 15%

เรียลแอสเสท เดินหน้าเปิด 4 โปรเจ็กต์ใหม่ สร้างยอดขาย 2,350 ล้าน  โต 15%  รับปี 64 วางเป้าหมายรายได้สู่ 4,000 ล้าน ในอีก 3 ปี หลังเทคโอเวอร์โปรเจ็กต จากอารียามาลุยต่อ   นายบดินทร์ธร จึงรุ่งเรืองกิจ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เรียลแอสเสท ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด เปิดเผยว่า  ได้วางแผนพัฒนาโครงการใหม่ในปีนี้จำนวน 4 โครงการ มูลค่ารวม 4,660 ล้านบาท แบ่งเป็น โครงการแนวราบ จำนวน 3 โครงการ มูลค่ารวม 2,510 ล้านบาท ได้แก่ 1.สตอรี่ส์ บางนา - สุวรรณภูมิ 2.สตอรี่ส์ รังสิต - วงแหวน  3.วิรัณยา บางนา - วงแหวน และ โครงการคอนโดมิเนียม มูลค่า 2,150 ล้านบาท  จำนวน 1 โครงการ ได้แก่ โครงการ “เดอะ สเตจ มายด์สเคป รัชดา - ห้วยขวาง” (THE STAGE Mindscape Ratchada – Huai Khwang)   นอกจากนี้ ยังมีโครงการที่เทกโอเวอร์ มาจาก บริษัท อารียา พรอพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) ภายใต้แบรนด์ “MEGA Space 1&2” เป็นคอนโดไฮไรส์ จำนวน 2 อาคาร รวม 2,329 ยูนิต มูลค่าโครงการ 4,300 ล้านบาท ในปี 2564 คาดว่า บริษัทจะสามารถสร้างยอดขายจำนวน 2,350 ล้านบาท  เติบโตขึ้น 15% จากปีก่อนที่มียอดขาย 2,050 ล้านบาท และจากการเทคโอเวอร์จะสามารถทำให้บริษัทโตได้อย่างก้าวกระโดด โดยตั้งเป้าว่าในปี 2567 จะสามารถสร้างรายได้แตะ 4,000 ล้านบาท และมี Backlog ทั้งหมด 5,660  ล้านบาทระหว่างปี 2564-2567   นายบดินทร์ธร กล่าวอีกว่า จากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในปี 2563 ที่ผ่านมา ส่งผลให้ภาพรวมธุรกิจอสังหาริมทรัพย์  มีการเปิดตัวโครงการใหม่ลดลงจาก​ปี 2562  ซึ่งผู้ประกอบการมีการปรับแผนการดำเนินธุรกิจและเลื่อนการเปิดตัวโครงการใหม่ออกไป โดยเฉพาะกลุ่มคอนโดมิเนียม ส่งผลให้สต๊อกคงค้างในภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ลดลง  รวมทั้งกลุ่มลูกค้าชาวต่างชาติลดลงจำนวนมาก เนื่องจากไม่สามารถเดินทางเข้ามาประเทศไทยได้ และกลุ่มนักลงทุนที่ชะลอการลงทุน เพื่อรอดูความชัดเจนของสถานการณ์ ปัจจัยต่าง ๆ ดังกล่าว ส่งผลให้ตลาดอสังหาฯ ไม่เติบโต ผลกระทบดังกล่าวยังคงต่อเนื่องมาถึงต้นปี 2564 ทำให้บริษัทพิจารณาถึงความรอบคอบในการดำเนินงานเพื่อให้สอดรับกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ทบทวนแผนงานรายเดือนและรักษากระแสเงินสดสร้างความมั่นคงของการดำเนินธุรกิจ สำหรับแนวโน้มในปี 2564  ทางบริษัทฯยังคงมั่นใจในทำเลและสินค้าของโครงการที่จะเปิดใหม่ในปีนี้ เน้นฐานลูกค้าเรียลดีมานด์เป็นหลัก มุ่งการทำวิจัยตลาดอสังหาฯศึกษาถึงข้อมูลและพฤติกรรมของกลุ่มลูกค้า เพิ่อให้สินค้าออกมา ตรงตามความต้องการมากที่สุด เน้นกลยุทธ์การตลาดในด้านราคามากขึ้น  ชูราคาเป็นจุดขาย เนื่องจากสภาวะความคิด และพฤติกรรมของลูกค้า ณ ปัจจุบันต้องการความคุ้มค่าในราคาที่จับต้องได้  
ศุภาลัย วาง 4 กลยุทธ์ ทำรายได้ New High 28,000 ล้านบาท

ศุภาลัย วาง 4 กลยุทธ์ ทำรายได้ New High 28,000 ล้านบาท

ศุภาลัย วาง 4 กลยุทธ์ ปูทางสร้างรายได้ในปี 64 จำนวน 28,000 ล้าน New High สูงสุดในรอบ 32 ปี ทั้งโอน 4 โปรเจ็กต์ยักษ์ ปั้นแบรนด์ใหม่ ลุยตลาดแนวราบ และเปิดตัวแอป “ศุภาลัย สบาย” มัดใจลูกค้า   แม้ว่าในปี 2564 จะยังมีสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ภาวะเศรษฐกิจยังไม่กลับมาเติบโตเป็นปกติ แต่การเติบโตของการ “ศุภาลัย” ในปีนี้  ยังคงคาดหวังว่าจะปรับตัวดีกว่าปีที่ผ่านมา และน่าจะสร้างรายได้เติบโตแบบ New High ด้วยรายได้ถึง 28,000 ล้านบาท ท่ามกลางกำลังซื้อที่ยังไม่กลับมาเป็นปกติ สภาพตลาดอสังหาริมทรัพย์ก็ยังคงชะลอตัวลง   นายไตรเตชะ ตั้งมติธรรม กรรมการผู้จัดการ บริษัท ศุภาลัย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ได้ตั้งเป้าหมายรายได้ในปี 2564 จำนวน 28,000 ล้านบาท ซึ่งรายได้จะสูงสุดในรอบ 32 ปีนับจากดำเนินธุรกิจมาและเป้าหมายยอดขาย 27,000 ล้านบาท เติบโตประมาณ 9% จากปีที่ผ่านมาทำได้ 24,376 ล้านบาท ศุภาลัยวาง 4 กลยุทธ์ทำรายได้ New High   สำหรับเหตุผลสำคัญที่ทำให้ ศุภาลัย มั่นใจว่าจะสร้างสถิติรายได้สูงสุด แม้ว่าภาวะตลาดอสังหาฯ จะยังไม่กลับมาฟื้นตัวเป็นปกตินั้น เป็นเพราะเหตุผลสำคัญ 4 เรื่อง คือ 1.รายได้จาก 4 โปรเจ็กต์ยักษ์ พร้อมโอน ในปี 2564 จะมีโครงการขนาดใหญ่ สร้างเสร็จพร้อมโอน ทำให้มีรายได้เข้ามาอย่างชัดเจน หลังจากเปิดตัวขายในช่วง 2-3 ปีก่อนหน้านี้ อาทิ ​  -ศุภาลัยพรีเมียร์ เจริญนคร มูลค่า 2,990 ล้านบาท ถือเป็นโครงการที่สร้างกระแส talk of the town ในช่วงเปิดตัวโครงการ เพราะมีลูกค้านับร้อยรายมาต่อแถวเพื่อจอง  และสามารถปิดการขายได้ภายในวันแรกของการเปิดตัว ด้วยศักยภาพของทำเลติดสายรถไฟฟ้าสายสีทอง  และห่างจากศูนย์การค้าไอคอนสยามเพียง 1 สถานีเท่านั้น -ศุภาลัย ริเวอร์แกรนด์ มูลค่า 6,800 ล้านบาท   เป็นโครงการขนาดใหญ่ แต่มีที่จอดรถมากถึง 130% ทำให้ได้รับความสนใจ ปัจจุบันมียอดขายแล้ว 73% -ศุภาลัย เวอรันดา ภาษีเจริญ มูลค่า 4,500 ล้านบาท โครงการตั้งอยู่ห่างจากรถไฟฟ้าที่เปิดใช้บริการแล้ว เพียง 100 เมตร ทำให้ได้รับความสนใจจากกลุ่มลูกค้า ปัจจุบันมียอดขายขายแล้ว 87% -ศุภาลัย ออเรนทัล สุขุมวิท 39 มูลค่า 10,000 ล้านบาท เป็นโครงการที่เริ่มโอนกรรมสิทธิ์ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2563 แต่จะมาโอนกรรมสิทธิ์จำนวนมากต่อเนื่องมาในปีนี้ 2.เปิด 31 โปรเจ็กต์ 34,000 ล้านบาท แผนธุรกิจในปี 2564 ศุภาลัยวางแผนเปิดตัว 31 โครงการ มูลค่า 34,000 ล้านบาท แบ่งเป็นแนวราบ 27 โครงการ ในกรุงเทพฯ 11 โครงการ ต่างจังหวัด 16 โครงการ และคอนโดมิเนียม 4 โครงการ อยู่ในกรุงเทพฯ 3 โครงการ ต่างจังหวัด 1 โครงการ และวางงบประมาณการจัดซื้อที่ดิน 8,000 ล้านบาท โดยเฉพาะโครงการแนวราบที่จะเป็นโครงการที่สามารถรับรู้รายได้ภายในปีนี้ เพราะเป็นสินค้าสร้างเสร็จพร้อมขาย และโอนกรรมสิทธิ์ได้ทันที โดยเชื่อว่าตลาดอสังหาฯ แนวราบยังเติบโตได้ดี แม้ว่าในภาพรวมตลาดอสังหาฯ จะได้รับผลกระทบจากไวรัสโควิด-19 ปีที่ผ่านมาทั้งตลาดคอนโดมิเนียม และแนวราบติดลบทั้งหมด แต่สำหรับศุภาลัยยังสามารถสร้างการเติบโตในตลาดแนวราบได้ 16-17% 3.ปั้นแบรนด์ใหม่ บุกตลาด 3-5 ล้าน ในปีนี้ ศุภาลัย วางแผนพัฒนาแบรนด์สินค้าใหม่ออกมาทำตลาด ในกลุ่มระดับราคา 3-5 ล้านบาท เพื่อทำตลาดกลุ่มลูกค้าในพื้นที่กรุงเทพฯ พร้อมกับการพัฒนาแบบบ้านใหม่ และฟังก์ชั่นบ้านในรูปแบบใหม่ เพื่อขยายตลาดและตอบสนองความต้องการของตลาดที่หลากหลายมากขึ้น และทำให้ได้ส่วนแบ่งตลาดเพิ่มขึ้นด้วย 4.เปิดตัวแอพ “ศุภาลัยสบาย” อีกหนึ่งกลยุทธ์การสร้างความสำเร็จของศุภาลัยในปี 2564 คือ การนำเทคโนโลยีใหม่มาประยุกต์ใช้ในการบริหารและดำเนินธุรกิจ ด้วยการเปิดตัวแอปพลิเคชั่นใหม่ “ศุภาลัย สบาย” (Supalai Sabai) เพื่อให้บริการกับกลุ่มลูกค้าของศุภาลัยแบบครบวงจร ตั้งแต่ก่อนจะเข้ามาเป็นลูกค้า ในการเลือกซื้อสินค้า จนถึงเป็นลูกค้า และบริการหลังการขายทั้งหมด คาดว่าจะเปิดตัวได้ในช่วงกลางเดือนกุมภาพันธ์นี้   นอกจากนี้ ศุภาลัย ยังวางกลยุทธ์การดำเนิน​ธุรกิจในปี 2564 ด้วยการบริหารงานภายในองค์กรด้วย​การนำหลักการทำงานแบบ Agile มาปรับใช้ภายในองค์กร เพื่อพัฒนาสินค้า และบริการ ขององค์กรได้อย่างรวดเร็ว และการส่งเสริมด้าน Waste management ในกระบวนการก่อสร้าง โดยกำหนดแนวทางการทำงานเพื่อลดปริมาณความสูญเสียของวัสดุก่อสร้างได้อย่างเหมาะสม และสามารถจัดการกับเศษวัสดุก่อสร้างให้เกิดมูลค่าสูงสุด รวมทั้งลดผลกระทบที่มีต่อสิ่งแวดล้อม อีกทั้งการจับมือกับพันธมิตรทางธุรกิจรายใหญ่ ที่มีความน่าเชื่อถือ และเลือกใช้วัสดุก่อสร้างที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม  
4 มุมคิดชาว Millennials ต่อตลาดอสังหาฯ ไทยในช่วงโควิด-19

4 มุมคิดชาว Millennials ต่อตลาดอสังหาฯ ไทยในช่วงโควิด-19

เพราะสถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัสโควิด -19  จึงทำให้หลายธุรกิจต้องหยุดชะงัก หรือไม่ก็ต้องปรับแผนรับมือ งัดสารพัดกลยุทธ์ออกมา เพื่อสร้างยอดขายและการเติบโต ตลาดบ้านและคอนโดมิเนียมก็เช่นเดียวกัน จากที่ยอดขายดี ๆ ก็ต้องสะดุดลง เพราะคนไม่มั่นใจว่า จะมีเงินมาจ่ายค่าผ่อนหนี้ธนาคารหรือไม่ เพราะการงานและอาชีพของตนจะไม่รู้จะยังมั่นคงนานแค่ไหน แม้ว่าความต้องการซื้อบ้านหรือคอนโดจะยังมีอยู่มากก็ตาม โดยเฉพาะกลุ่มคนรุ่นใหม่ ซึ่งเป็นกลุ่ม Millennials  หรือ Gen Y (ผู้ที่เกิดช่วงปี พ.ศ. 2527 – 2539) ที่เพิ่งเริ่มต้นทำงาน หรือเริ่มต้นสร้างครอบครัว   ผู้บริโภคกลุ่ม Millennials นับว่ามีความสำคัญ และได้กลายมาเป็นฟันเฟืองสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศในศตวรรษที่ 21 ด้วยพื้นฐานการเติบโตมากับโลกดิจิทัลจึงเรียนรู้และรับเทคโนโลยีมาใช้ได้อย่างรวดเร็ว และนำมาพัฒนาทักษะใหม่ ๆ ตลอดเวลา นอกจากนั้นยังตัดสินใจรวดเร็ว จึงทำให้คนกลุ่มนี้พร้อมรับมือการเปลี่ยนแปลงได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสังคม เศรษฐกิจ หรือการดำเนินชีวิต อีกทั้งยังเป็นวัยที่เต็มไปด้วยไฟในการทำงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายในชีวิตและอยู่ในช่วงสร้างฐานะให้มั่นคง จึงทำให้เป็นกลุ่มที่มีศักยภาพการใช้จ่ายสูงและคาดว่าจะเป็นกำลังซื้อสำคัญในอนาคตไปอีกหลายปี จากข้อมูลจากการคาดประมาณประชากรของประเทศไทย พ.ศ.2553-2583 (ฉบับปรับปรุง) ของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พบว่า ในปีนี้ประชากรไทยในช่วงอายุ 25-39 ปี จะมีจำนวนถึง 13.7 ล้านคน หรือคิดเป็น 31.53% ของประชากรวัยแรงงานทั้งหมด (ช่วงอายุ 15-59 ปี) กว่า 43 ล้านคน จึงทำให้หลายธุรกิจจับตามองและช่วงชิงกำลังซื้อจากคนกลุ่มนี้มากขึ้น   แน่นอนว่าเมื่อชาว Millennials เป็นกลุ่มลูกค้าที่มีศักยภาพในสายตาของหลากหลายธุรกิจ ย่อมถูกดึงดูดให้ใช้จ่ายสนองความต้องการด้านต่าง ๆ เสมอ และกลายเป็นอีกช่วงวัยที่เริ่มมีภาระหนี้เพื่อซื้อทรัพย์สินที่มีราคาสูงโดยเฉพาะที่อยู่อาศัยเมื่อเกิดวิกฤติการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในไทย ภาคธุรกิจและผู้บริโภคต่างได้รับผลกระทบกันถ้วนหน้าอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ไม่ว่าจะทางตรงหรือทางอ้อม รวมทั้งกลุ่ม Millennials ด้วยเช่นกัน   บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด ได้เปิดเผยข้อมูลอัปเดต ณ สิ้นไตรมาสแรกปี 2563 ซึ่งเป็นช่วงที่เริ่มมีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในไทย พบว่า กลุ่มผู้บริโภคที่มีการสร้างหนี้มากที่สุด คือ กลุ่ม Millennials  หรือ Gen Y โดยมีหนี้สินรวมกันถึง 4 ล้านล้านบาท คิดเป็นหนี้เสีย (NPL) คงค้าง 270,000 ล้านบาท เมื่อพิจารณาเรื่องสินเชื่อบ้านที่อนุมัติใหม่ในช่วงเวลานั้นจำนวน 80,494 สัญญา พบว่าเป็นของกลุ่ม Millennials หรือ Gen Y มากที่สุดถึง 64% และเป็นที่น่ากังวลในเรื่องปัญหาค้างชำระในอนาคต สะท้อนให้เห็นถึงสภาพคล่องในการใช้จ่ายของผู้บริโภคกลุ่มนี้ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดฯ และเริ่มส่งสัญญาณเตือนให้เห็นปัญหาการวางแผนด้านการเงิน แม้จะมีกำลังซื้อสูงก็ตาม   ข้อมูลจากดีดีพร็อพเพอร์ตี้ (DDproperty) ยังรายงานผลสำรวจความคิดเห็นของผู้บริโภคที่มีต่อตลาดที่อยู่อาศัย DDproperty’s Thailand Consumer Sentiment Study ฉบับล่าสุด เจาะลึกมุมมองด้านการวางแผนการใช้จ่ายของกลุ่ม Millennials และความต้องการด้านที่อยู่อาศัยท่ามกลางความท้าทายทั้งด้านการเงินและการงานจากสภาพเศรษฐกิจที่เปราะบางและสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่ยังไม่คลี่คลาย ว่าส่งผลกระทบต่อกำลังซื้อของชาว Millennials ในตลาดอสังหาฯ มากน้อยเพียงใด 4 มุมคิด มนุษย์กลุ่ม Millennials โดยผลสำรวจพบ 4 มุมมองซึ่งประเด็นสำคัญ ดังนี้ 1.อยากใช้จ่ายหลากหลาย แต่ครอบครัวต้องมาก่อน เมื่อพูดถึงการวางแผนการใช้จ่ายใน 1 ปีข้างหน้าของผู้บริโภคกลุ่ม Millennials นั้น ส่วนใหญ่ให้ความสำคัญไปที่การใช้จ่ายภายในครอบครัวถึง 74% สะท้อนให้เห็นถึงการเป็นกำลังสำคัญในการสร้างรายได้และดูแลรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในครอบครัวของคนวัยนี้ อย่างไรก็ตาม ชาว Millennials ยังคงมีความต้องการซื้อที่อยู่อาศัยเป็นของตัวเองอยู่ไม่น้อยแม้จะยังไม่มีความพร้อมด้านการเงินในตอนนี้ โดย 59% เผยว่ามีความตั้งใจออมเงินเพื่อวางแผนซื้อบ้านในอนาคต ในขณะที่ 46% ระบุว่าอยากออกไปท่องเที่ยวในวันหยุด เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดฯ ปัจจุบันทำให้ทุกคนจำเป็นต้องเก็บตัวอยู่บ้าน และชะลอแผนท่องเที่ยวออกไป เพื่อช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 และหยุดการแพร่ระบาดในประเทศ 2.เตรียมความพร้อม หวังซื้อบ้านหลังแรกตอน 31 ปี เมื่อพิจารณาในด้านการครอบครองอสังหาฯ ในปัจจุบัน พบว่ายังมีสัดส่วนที่ไล่เลี่ยกัน โดยผู้ตอบแบบสอบถามกลุ่ม Millennials มีที่อยู่อาศัยเป็นของตัวเองแล้วถึง 57% ในขณะที่อีก 43% ยังไม่ได้เป็นเจ้าของอสังหาฯ ใด ๆ ซึ่ง 2 ใน 3 ของผู้บริโภคกลุ่มนี้ (66%) เผยว่า พวกเขาได้วางแผนที่จะซื้อบ้านหลังแรกเมื่ออายุ 31 ปีขึ้นไป ซึ่งน่าจะเป็นช่วงวัยที่มีความพร้อมมากพอทั้งด้านหน้าที่การงานที่มั่นคงและสถานะทางการเงินที่เหมาะสมเมื่อต้องเป็นหนี้ก้อนใหญ่มากกว่าตอนนี้ 3.สถานะทางการเงินสั่นคลอน อุปสรรคหลักของการมีบ้าน กลุ่ม Millennials ยอมรับว่าปัญหาทางการเงินจากความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจในตอนนี้ถือเป็นอุปสรรคหลัก ๆ ที่ทำให้พวกเขายังไม่มีแผนย้ายออกจากบ้านพ่อแม่ โดย 1 ใน 2 ของกลุ่มนี้ (50%) เผยว่า ยังไม่มีเงินออมมากพอที่จะไปเช่าหรือซื้อบ้านเป็นของตนเอง ในขณะที่ 41% ต้องการที่จะอยู่บ้านเดิมเพื่อดูแลพ่อแม่อย่างใกล้ชิด ตามมาด้วยกลุ่มที่ไม่คิดจะย้ายออกเพราะยังไม่ได้แต่งงาน 33% และตั้งใจจะรับช่วงต่อบ้านเดิมจากพ่อแม่อยู่แล้ว 33% จึงยังไม่มีความจำเป็นที่จะต้องซื้ออสังหาฯ เป็นของตัวเองในตอนนี้ 4.การเช่าโดนใจ ตอบโจทย์ที่อยู่อาศัยแบบไร้ข้อผูกมัดระยะยาว ด้วยข้อจำกัดทางการเงินจากปัจจัยต่าง ๆ ส่งผลให้ชาว Millennials  94% ตัดสินใจเช่าแทนการซื้อที่อยู่อาศัยในตอนนี้ เนื่องจากมองว่าการเช่าบ้าน/คอนโดฯ จะมีค่าใช้จ่ายที่น้อยกว่าการซื้ออสังหาฯ ซึ่งต้องมีความพร้อมทางการเงินในระดับหนึ่งจึงจะได้รับการอนุมัติสินเชื่อ ผู้บริโภคส่วนใหญ่จึงเลือกเก็บเงินก้อนที่มีสำรองไว้ใช้ในยามฉุกเฉินและหันไปเลือกเช่าอสังหาฯ ในรูปแบบที่ตอบโจทย์การอยู่อาศัยแทน นอกจากนี้การมีสถานภาพโสดอยู่ตัวคนเดียวก็เป็นอีกปัจจัยที่ส่งผลให้การเช่าที่อยู่อาศัยได้รับความนิยมมากกว่าการซื้อเช่นกัน แม้ผลกระทบจากภาพรวมเศรษฐกิจที่ยังไม่ฟื้นตัวจากหลายปัจจัยในตอนนี้ จะทำให้แผนบริหารจัดการเงินของชาว Millennials ต้องสะดุดลงหรือชะลอการใช้จ่ายในเรื่องที่ยังไม่จำเป็นเร่งด่วนออกไปก่อน อย่างไรก็ตาม ผู้บริโภคกลุ่มนี้ยังคงเป็นกำลังซื้อที่สำคัญในหลายอุตสาหกรรมในระยะยาว เพียงแต่รอดูสัญญาณบวกของสถานการณ์ต่าง ๆ เพื่อหาเวลาที่เหมาะสมในการออกมาใช้จ่ายแทน   ดังจะเห็นได้จากการวางแผนใช้จ่ายในอนาคตที่ผู้บริโภคกลุ่ม Millennials  ยังคงให้ความสำคัญไปยังสิ่งที่จำเป็นมาก่อนความต้องการส่วนตัว ด้วยการวางแผนบริหารจัดการการเงินที่รอบคอบนี้เชื่อว่าจะช่วยให้กลุ่ม Millennials สามารถปรับพฤติกรรมและปรับเปลี่ยนแผนการใช้จ่ายที่มีให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันได้อย่างทันท่วงที และกลับมาเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยให้เติบโตได้ในอนาคตแน่นอน    
ศุภาลัย วางเป้ารายได้ 5,350 ล้าน จาก 7 โปรเจ็กต์ในออสเตรเลีย

ศุภาลัย วางเป้ารายได้ 5,350 ล้าน จาก 7 โปรเจ็กต์ในออสเตรเลีย

นโยบายกระจายความเสี่ยง สร้างรายได้ให้ “ศุภาลัย” กว่า 1,983 ล้าน จากโปรเจ็กต์ในออสเตรเลีย ปี 64 เดินหน้าปั้นรายได้จาก 7 โปรเจ็กต์ขายดี หวังสร้างรายได้เพิ่มกว่า 5,350 ล้าน ​   ดร.ประทีป ตั้งมติธรรม ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ศุภาลัย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ปี 2563 ที่ผ่านมา บริษัทสามารถทำยอดขายจากการร่วมลงทุน พัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ในประเทศออสเตรเลีย ได้จำนวน 1,983 ล้านบาท คิดเป็น 7.5% ของยอดขายรวมในประเทศไทยของบริษัทฯ ซึ่งเป็นไปตามเป้าหมาย แม้จะเกิดเหตุการณ์โควิด-19 ซึ่งนโยบายการลงทุนในต่างประเทศ เพื่อกระจายความเสี่ยงและเพิ่มศักยภาพการเติบโตของศุภาลัยนั้น นับว่าได้ผลดี   ส่วนในปี 2564 นี้ บริษัทน่าจะมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง และคาดว่าจะสามารถทำยอดขายได้เพิ่มเป็น 5,350 ล้านบาท หรือคิดเป็นประมาณ 19% ของเป้าการขายรวมในประเทศไทย ทั้งนี้ เพราะออสเตรเลียเป็นประเทศใหญ่ ที่มีความมั่นคง ประกอบกับรัฐบาลออสเตรเลีย สร้างแรงจูงใจที่ส่งเสริมการซื้อที่อยู่อาศัยของประชาชน เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจที่แรงกว่าประเทศไทยมาก  ในปีที่ผ่านมา รัฐบาลของออสเตรเลีย มีงบประมาณช่วยผู้ซื้อบ้านรายละ 40,000 เหรียญออสเตรเลีย หรือประมาณ 930,000 บาท   ส่วนดร.ประศาสน์ ตั้งมติธรรม กรรมการที่ปรึกษา  ซึ่งรับผิดชอบดูแลโครงการลงทุนต่างประเทศ กล่าวว่า ปัจจุบันศุภาลัยเข้าไปลงทุนในประเทศออสเตรเลียแล้วจำนวน 11 โครงการ ได้แก่ Balmoral Quay, Officer, Greenvale, Gen Fyansford, Eden’s Crossing, Whole Green, Narangba, Ballarat Street, Eglinton, Madora Bay และ Katalia  โดยมีการเติบโตด้านยอดขายอย่างต่อเนื่อง   ในปี 2564 บริษัทมีแผนการขายโครงการของศุภาลัยในออสเตรเลีย ที่ได้รับความสนใจจากลูกค้าอย่างต่อเนื่อง 7 โครงการ ดังนี้   1.โครงการ Balmoral Quay เป็นโครงการที่อยู่อาศัยโดดเด่นริมทะเล ที่ขนาบด้วยสวนสาธารณะ  ทั้งซ้าย-ขวา มีทั้งที่อยู่อาศัยแบบทาวน์เฮ้าส์ คอนโดมิเนียม และที่จอดเรือสำราญ 300 ลำ โดยโครงการได้เปิดขายไปประมาณครึ่งหนึ่ง และมีลูกค้าย้ายเข้าอยู่แล้วบางส่วน ปัจจุบันอยู่ระหว่างดำเนินการก่อสร้างงานสาธารณูปโภค ก่อสร้างตัวอาคารในเฟสสุดท้าย 2.โครงการ Officer เป็นโครงการที่อยู่อาศัยขนาดใหญ่ อยู่ทิศตะวันออกของ Melbourne ที่ร่วมทุนกับ Satterley ซึ่งเป็นบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เอกชนที่ใหญ่ที่สุดใน Australia เป็นโครงการที่มีสถานีรถไฟฟ้า ถึง 2 แห่ง ท้ายของโครงการ มีโรงเรียน ศูนย์สันทนาการ ศูนย์การค้าฯ เปิดขายตั้งแต่ปี 2557 และสามารถทำยอดขายได้ดีอย่างต่อเนื่อง แม้แต่ในช่วงเศรษฐกิจชะลอตัว ปี 2561 - 2562 ก็สามารถสร้างผลการดำเนินงานที่ยอดเยี่ยม (Best Performer) ปัจจุบันโครงการใกล้ดำเนินการแล้วเสร็จ และคาดว่าจะมีสินค้าสามารถขายได้ถึงช่วงปลาย  ปี 2565 โดยมีอัตราการขายของโครงการ จำนวน 12 แปลงต่อเดือน รวมเป็นยอดขายและยอดสัญญา จำนวน 180 แปลงในปี 2564 3.โครงการ Greenvale   เป็นโครงการที่ร่วมทุนกับ Satterley เช่นกัน ทำเลตั้งอยู่ฝั่งตะวันตกของ Melbourne และเป็นแหล่งทำเลที่ราคาที่ดินค่อนข้างสูง ทำให้อัตราการขายไม่ได้สูงเท่า Officer แต่สามารถสร้างยอดขายได้ต่อเนื่อง โดยคาดว่าอัตราการขายจะอยู่ที่ 10 แปลงต่อเดือน  สาเหตุที่ยอดขายโดยรวมไม่สูง เนื่องจากที่ดิน Neighborhood 4 ยังไม่มีผังเมืองรองรับ ซึ่งจะทำให้เกิดความล่าช้าในการเปิดขายประมาณ 3 เดือน 4.โครงการ Whole Green เป็นโครงการร่วมทุนกับ Peet ซึ่งเป็นบริษัทจดทะเบียนอสังหาฯ ที่เก่าแก่ที่สุดในออสเตรเลีย โครงการตั้งอยู่ทางตะวันตกของ Melbourne ห่างไปประมาณ 30 กม. ซึ่งเป็นบริเวณที่มีโครงการอยู่จำนวนมาก ทั้งนี้เนื่องจากระดับราคาที่ดินไม่สูงมากนัก อีกทั้งถือว่าไม่ไกลจากตัวเมือง Melbourne คาดว่ายอดขาย/ยอดสัญญาจะอยู่ที่ 100 แปลง ในปี 2564 5.โครงการ Gen Fyansford เป็นโครงการจัดสรรที่ดินบนทำเลที่เป็นเหมืองหินปูนเดิม ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันตกของเมือง Geelong ซึ่งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของ Melbourne ปัจจุบันกำลังเปิดขายเฟสที่ 9.1 และ 9.2 จากที่โครงการมีทั้งหมด 9 เฟส และขายหมดไปแล้ว 3 เฟส 6.โครงการ Ballarat Street เป็นอพาร์ทเม้นท์ทำเลดี ตั้งอยู่ที่ Brunswick ห่างจาก Melbourne ไปทางเหนือประมาณ 6 กม. เปิดขายอย่างเป็นทางการในเดือนมกราคม 2564 นี้  โดยช่วงครึ่งปีหลังคาดว่าจะเริ่มดำเนินการก่อสร้างได้ ​ 7.โครงการ Katalia เป็นการร่วมเป็นพันธมิตรกับกลุ่ม Stockland บริษัทจดทะเบียนอสังหาริมทรัพย์  ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศออสเตรเลีย โดยเริ่มเปิดขายในปี 2563 ซึ่งเป็นช่วงที่เกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลให้ประมาณการขายอยู่ที่ 10 แปลงต่อเดือน  ไตรมาส 4 ของปี 2563 นั้น ได้รับผลตอบรับที่ดีเกินกว่าที่คาดการณ์ไว้ โดยสามารถทำยอดขายอยู่ที่ 20 แปลงต่อเดือน โครงการนี้อยู่ทางเหนือของ Melbourne ห่างออกไปประมาณ 50 กม. และที่ดินราคาถูก เหมาะสมสำหรับครอบครัวที่ซื้อบ้านเป็นหลังแรก ด้วยเป้าการขายของโครงการและชื่อเสียงของกลุ่ม Stockland จะสามารถสร้างยอดขายและยอดสัญญาในปี 2564 โดยคาดว่าจะอยู่ที่ประมาณ 240 แปลง สำหรับโครงการต่าง ๆ ดังกล่าว บริษัท ศุภาลัย จำกัด (มหาชน) ถือหุ้นในสัดส่วนโดยรวมเฉลี่ยประมาณ 50% เมื่อพิจารณาจากประมาณการยอดขายโครงการทั้งหมดแต่ละโครงการ ด้วยสัดส่วนการถือหุ้นของบริษัท คาดว่าจะทำให้มียอดสัญญาจากโครงการทั้งหมดในประเทศออสเตรเลีย เฉพาะส่วนของศุภาลัย เป็นจำนวนเงินประมาณ 226 ล้านเหรียญออสเตรเลีย หรือคิดเป็นจำนวนเงินประมาณ 5,350 ล้านบาท        
“Affordable Housing” คำตอบของคนกรุง​ ในวันที่เงินเดือนโตไม่ทันราคาอสังหาฯ ​

“Affordable Housing” คำตอบของคนกรุง​ ในวันที่เงินเดือนโตไม่ทันราคาอสังหาฯ ​

หลายคนคงเคยตั้งเป้าหมายว่าในวันนึง เมื่อมีรายได้สูงมากพอ จะหาซื้อคอนโดมิเนียม หรือบ้านใจกลางเมืองที่ตนเองใฝ่ฝัน เพื่อจะได้อยู่ใกล้เมืองมากขึ้น เพื่อให้เดินทางได้สะดวกสบาย และใกล้แหล่งความเจริญต่าง ๆ  ไม่ว่าจะเป็นศูนย์การค้า ธนาคาร โรงพยาบาล หรือโรงเรียนที่มีคุณภาพ เพื่อความสะดวกของคนในครอบครัว แต่ความเป็นจริงกลับไม่ง่ายอย่างที่คิด เมื่อระดับเงินเดือนของคนกรุงเทพฯ ส่วนใหญ่นั้น เพิ่มขึ้นไม่ทันกับราคาที่พักอาศัยในเมือง ที่สูงขึ้นแบบก้าวกระโดด ซึ่งพวกเค้าวาดฝันว่าอยากจะมีโอกาศอยู่อาศัยได้ในระยะยาว   ทางออกในการอยากเป็นเจ้าของที่พักอาศัยของตัวเองนั้น ก็ต้องเลือกโครงการที่ห่างไกลออกจากตัวเมือง เมื่อมีความต้องการที่พักอาศัยในลักษณะแบบนี้มากขึ้น บริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ก็เลือกที่จะตั้งโครงการแบบกระจัดกระจาย และห่างไกลจากระบบขนส่งสาธารณะหลัก เพื่อให้คนกลุ่มนี้ซื้อที่พักอาศัยในราคาย่อมเยาว์ขึ้น ซึ่งทำให้เกิดปัญหาเมืองกระจัดกระจาย (Urban sprawl) เพิ่มมากขึ้นตาม รวมทั้งยังทำให้ต้นทุนค่าครองชีพ โดยเฉพาะค่าเดินทาง สูงขึ้นมากในคนกลุ่มนี้ คนกรุงเทพฯไม่สามารถซื้อที่อยู่อาศัยในเมืองได้ ในปัจจุบัน “คนกรุงเทพส่วนใหญ่ไม่สามารถซื้อที่อยู่อาศัยในเมืองได้” จากข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติและการเคหะแห่งชาติ ในปี 2563 พบว่า รายได้เฉลี่ยต่อครัวเรือนของคนกรุงเทพฯ นั้นอยู่ที่ 37,750 บาทต่อเดือน โดยหากคิดตามความสามารถในการกู้คนกลุ่มนี้จะสามารถกู้ซื้อที่อยู่อาศัยได้ในราคาไม่เกิน 2 ล้านบาท (คิดเทียบเงินเดือนกับวงเงินที่จะสามารถกู้ได้ โดยคิดที่ 40% ระยะสัญญา 30 ปี และไม่มีภาระทางการเงินอื่น ๆ) ซึ่ง งบประมาณดังกล่าว คนกลุ่มนี้จะสามารถซื้อคอนโดในเขตปทุมวันได้เพียงแค่ 8 ตารางเมตร จึงไม่น่าแปลกใจที่คนกรุงเทพฯ กว่า 50% ไม่มีกรรมสิทธิในที่อยู่อาศัย และมีแนวโน้มที่จำนวนจะสูงขึ้นต่อเนื่องในทุกปี เพราะ “ราคาอสังหาริมทรัพย์ที่เติบโตเร็วกว่ารายได้ต่อครัวเรือน”   ปัญหาดังกล่าวส่งผลกระทบกับคนกรุงเทพฯ ในทุกระดับรายได้ โดยเฉพาะกลุ่มผู้มีรายได้น้อย ที่ไม่มีความมั่นคงและความแน่นอนในอาชีพการงานและรายได้ และส่วนใหญ่ไม่มีเงินเก็บสำรองไว้ในยามฉุกเฉิน ในหลายๆ ประเทศ จึงมีนโยบายสนับสนุนให้ประชาชนเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้น เพื่อให้อัตราการถือครองที่อยู่อาศัยสูงขึ้น เช่น ในประเทศสหรัฐอเมริกา และหลายประเทศในยุโรป รวมทั้งในเอเชีย เช่น ญี่ปุ่น และเกาหลี ซึ่งสะท้อนการลดปัญหาสังคมในเรื่องการขาดแคลนที่อยู่อาศัยได้   สำหรับประเทศไทยนั้น ภาครัฐได้เริ่มให้ความสำคัญกับประเด็นดังกล่าว ด้วยการออกนโยบายเพื่อดึงดูดให้ภาคเอกชนหันมาลงทุน พัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยเพื่อผู้มีรายได้น้อยมากขึ้น ด้วยการเพิ่มสิทธิพิเศษต่างๆ เพื่อลดภาระให้กับภาคเอกชน ไม่ว่าจะเป็นด้านภาษี การให้อัตราดอกเบี้ยพิเศษ หรือมาตรการส่งเสริมการพัฒนาด้วยการเพิ่มอัตราส่วนพื้นที่อาคารรวมต่อพื้นที่ดิน (Floor Area Ratio Bonus :FAR Bonus) ในผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2556   แต่อย่างไรก็ตาม มาตราการดังกล่าว ยังไม่สามารถดึงดูดภาคเอกชนให้ร่วมลงทุนได้มากนัก เนื่องจากผู้ประกอบการเห็นว่าเป็นภาระค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น และไม่ได้สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับโครงการได้ โดยเฉพาะมาตรการการจัดให้มีหรือพัฒนาที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อยภายในพื้นที่โครงการ (Affordable Housing) จนถึงปัจจุบัน โครงการที่เข้าร่วมมาตรการ FAR Bonus เลือกทำเพียงมาตรการเดียวเท่านั้น ที่มีต้นทุนน้อยที่สุดและไม่ส่งผลกระทบกับโครงการ นั่นคือ มาตรการการจัดให้มีพื้นที่รับน้ำในแปลงที่ดิน ทั้งหมดนี้ทำให้โครงการที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อยในเขตเมืองนั้นเกิดขึ้นได้ยากมาก สวนทางกับความต้องการของคนกรุงเทพฯ ที่ต้องการอยู่อาศัยในเขตเมืองกันมากขึ้น “วัฒนา-จตุจักร” ควรเพิ่ม Affordable Housing มากขึ้น ที่มา: ข้อมูลจากการเคหะแห่งชาติและสำนักงานสถิติแห่งชาติ ปี 2563   จากข้อมูลรายงาน การคาดประมาณความต้องการของที่อยู่อาศัยในประเทศไทย ที่จัดทำโดยการเคหะแห่งชาติ มีการคาดประมาณว่าเฉพาะในปี 2564 ความต้องการที่อยู่อาศัยของจำนวนครัวเรือนผู้มีรายได้น้อย ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 4,972 ครัวเรือน โดยเขตที่มีความต้องการที่อยู่อาศัยของครัวเรือนของคนกลุ่มดังกล่าวมากที่สุดคือ เขตจตุจักร จำนวน 166 ครัวเรือน รองลงมา คือ เขตบางเขน จำนวน 166 ครับเรือน และเขตบางกะปิ จำนวน 163 ครัวเรือน ตามลำดับ   เมื่อเปรียบเทียบข้อมูล ระหว่างระดับความต้องการที่อยู่อาศัย ของจำนวนครัวเรือนผู้มีรายได้น้อย (Real demand) กับความสามารถในการซื้อที่อยู่อาศัย ของครัวเรือนที่มีรายได้น้อย (Affordability) พบว่า เขตวัฒนา​และเขตจตุจักร เป็นพื้นที่ที่เหมาะสมต่อการพัฒนาโครงการ Affordable Housing มากที่สุด ทั้งในด้านอุปสงค์ (Demand) และด้านการเพิ่มโอกาสให้ผู้มีรายได้น้อย สามารถเข้าถึงอสังหาริมทรัพย์ในเขตเมือง ที่มีราคาตลาดสูงกว่าความสามารถในการซื้อของคนกลุ่มดังกล่าว นอกจากนั้น โครงการในเขตเมืองเหล่านี้ ยังสามารถช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของคนกลุ่มดังกล่าวได้ ไม่ว่าจะเป็น -การเข้าถึงบริการสาธารณะได้ง่ายขึ้น -ลดต้นทุนด้านเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทาง -เพิ่มความปลอดภัยในการใช้ชีวิต เป็นต้น ถ้าภาครัฐและภาคเอกชนร่วมกันพัฒนาโครงการ (Joint development) หรือสนับสนุนให้ภาคเอกชนพัฒนาโครงการที่พักอาศัยสำหรับคนทุกระดับรายได้ (Affordable housing) มากขึ้น ภายใต้แผนพัฒนาเมืองที่มีประสิทธิภาพ เพื่อให้ผู้มีรายได้น้อยได้มีโอกาสอยู่อาศัยภายในเมือง จะช่วยลดปัญหาความเหลื่อมล้ำในสังคมลงได้ รวมทั้งช่วยเพิ่มอัตราการถือครองกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยในกรุงเทพฯ สูงขึ้นอีกด้วย ซึ่งจะช่วยสนับสนุนแนวความคิดการพัฒนาเมืองสมัยใหม่อย่างยั่งยืน ที่เรียกว่า “การพัฒนาที่ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง (Inclusive Development)”       บทความโดย -นายภาวิน ศิริพงษ์ นักศึกษาปริญญาโท สาขาธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ – MRE (รุ่น 19) -ดร.พรรัตน์ พงษ์ประเสริฐ อาจารย์ประจำ ภาควิชาธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์      
แอสเซทไวส์ พร้อมขาย IPO หลังก.ล.ต.อนุมัติให้ระดมทุน 206 ล้านหุ้น

แอสเซทไวส์ พร้อมขาย IPO หลังก.ล.ต.อนุมัติให้ระดมทุน 206 ล้านหุ้น

แอสเซทไวส์  ยิ้มรับ ก.ล.ต. อนุมัติแบบคำขออนุญาตเสนอขายหุ้น ASW เล็งหาจังหวะความพร้อมดีเดย์ขายหุ้น IPO ชี้ 9 เดือนแรกปี 63 ทำกำไรกว่า 886 ล้าน ขณะที่ปี 64 ได้โปรเจ็กต์พร้อมโอนหนุนรายได้เติบโต    นายกรมเชษฐ์ วิพันธ์พงษ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอสเซทไวส์ จำกัด (มหาชน) หรือ ASW ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ภายใต้แนวคิด “ความสุขที่ออกแบบมาเพื่อคุณ” (We Build Happiness) เปิดเผยว่า บริษัทฯ ได้รับอนุมัติแบบคำขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ จากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เมื่อวันที่ 22 มกราคม 2564 ที่ผ่านมาเรียบร้อยแล้ว ซึ่งบริษัทฯ อยู่ระหว่างเตรียมความพร้อม เพื่อเสนอขายหุ้น IPO และนำหุ้นเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) ตามแผนที่วางไว้ หลังจากเตรียมตัวมากว่า 3 ปี   ทั้งนี้ บริษัท ที่ปรึกษา เอเซีย พลัส จำกัด ในฐานะที่ปรึกษาทางการเงิน  ได้มีการเตรียมความพร้อม และอยู่ระหว่างประเมินสถานการณ์ต่าง ๆ เพื่อพิจารณาช่วงเวลาที่เหมาะสมในการเสนอขายหุ้น IPO ASW และที่ปรึกษาทางการเงิน อยู่ระหว่างติดตามดูแนวโน้มเศรษฐกิจ และบรรยากาศการลงทุนในตลาดหุ้น รวมถึงพิจารณาความเชื่อมั่นของนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศ  หากสถานการณ์โดยรวม มีความชัดเจนมากขึ้น บริษัทฯ ก็พร้อมเดินหน้าเสนอขายหุ้นไอพีโอและพร้อมเข้าจดทะเบียนใน SET ได้อย่างแน่นอน  ASW มีแผนจะเสนอขายหุ้น IPO จำนวน 206 ล้านหุ้น คิดเป็น 27.07% ของจำนวนหุ้นที่ออกและเรียกชําระแล้วทั้งหมดหลังการเสนอขายหุ้นเพิ่มทุนในครั้งนี้ โดยกลุ่มบริษัท ASW มีบริษัทย่อยทั้งหมด 15 บริษัท ซึ่งเป็นบริษัทย่อยที่ประกอบธุรกิจหลักคือ ธุรกิจพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์เพื่อขาย ทั้งโครงการอาคารชุดที่พักอาศัยประเภทคอนโดมิเนียม และโครงการอสังหาริมทรัพย์ประเภทแนวราบ ได้แก่ บ้านเดี่ยว ทาวน์โฮมและโฮมออฟฟิศ จำนวน 12 บริษัท และบริษัทย่อยอีก 3 บริษัท ประกอบธุรกิจอื่น ซึ่งเป็นธุรกิจเกี่ยวเนื่องกับธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ เช่น ธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เพื่อให้เช่า, ธุรกิจรับฝากขายฝากเช่า   สำหรับภาพรวมของผลการดำเนินงานงวด 9 เดือนปี 2563 ที่ผ่านมา  ASW มีรายได้จากการขายและบริการรวม  2,176.54 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากงวดเดียวกันจากปีก่อนที่ทำได้  1,779.30 ล้านบาท ขณะที่กลุ่มบริษัทมีกำไรสุทธิ 307.35 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 110.51 % จากงวดเดียวกันของปีก่อนที่ทำได้  146.00  ล้านบาท  โดยกลุ่มบริษัทมีกำไรขั้นต้นเท่ากับ 886.20 ล้านบาท คิดเป็นอัตรากำไรขั้นต้นที่ 40.72%   ในช่วงไตรมาส 3 และไตรมาส​4 ปี 2563 บริษัทฯ ได้มีการเปิดขายโครงการโดยมุ่งเน้นการพัฒนาโครงการบนทำเลศักยภาพที่มีความต้องการอยู่อาศัยจริงและเติบโตอย่างต่อเนื่อง เช่น โครงการโมดิซ ราห์ม รามคำแหง (Modiz Rhyme Ramkhamhaeng) ตั้งอยู่ใกล้สถานีรถไฟฟ้ารามคำแหง ซึ่งเป็นทำเลที่ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี (อ่านข่าวเพิ่มเติม...“แอสเซทไวส์” แบ่งเฟสขาย “โมดิซ ไรห์ม รามคำแหง” รับมือโควิด-19)   นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังมุ่งเน้นการพัฒนาทำเลในกลุ่มตลาดบลู โอเชี่ยน เนื่องจากมีกำลังซื้อที่มีสัญญาณดีต่อเนื่อง เช่น โครงการโมดิซ ลอนซ์ (Modiz Launch)  ทำเลย่านมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต  ซึ่งได้รับการตอบรับที่ดีจากลูกค้า และโครงการทาวน์โฮมแนวคิดใหม่ “บ้านภูริปุรี คอร์ทยาร์ด – พัฒนาการ” (Baan Puripuri Courtyard - Pattanakarn) โครงการทาวน์โฮมที่มีดีไซน์ Private Courtyard ใจกลางบ้านในระดับราคา 14.2 – 22 ล้านบาท  ซึ่งเป็นโครงการร่วมทุนระหว่างบริษัท แอสเซทไวส์ จำกัด (มหาชน) และบริษัท บ้านภูริ ปุรี โฮลดิ้ง จำกัด ขณะเดียวกัน ยังมีโครงการที่ก่อสร้างแล้วเสร็จ และอยู่ระหว่างโอนกรรมสิทธิ์อย่างต่อเนื่องไปในปี 2564 เช่น  โครงการแอทโมซ รัชดา - ห้วยขวาง (Atmoz Ratchada - Hauikwang) (อ่านรายละเอียดโครงการเพิ่มเติม....แอสเซทไวส์ เปิดตัว “แอทโมซ รัชดา-ห้วยขวาง”)  และโครงการเคฟ ทาวน์ สเปซ (Kave Town Space) ซึ่งเป็นโครงการคอนโดมิเนียมใกล้มหาวิทยาลัยกรุงเทพ  โดยโครงการต่าง ๆ จะสนับสนุนให้ผลประกอบการในปีนี้เติบโตได้เป็นอย่างดี   ในช่วงไตรมาส 1/2564 บริษัทฯ ยังคงเดินหน้าการเปิดขายโครงการอย่างต่อเนื่องในทำเลศักยภาพที่รองรับการขยายของเมืองและระบบคมนาคมเส้นทางใหม่ โดยมุ่งเน้นการพัฒนาโครงการให้สอดคล้องกับความต้องการด้านการอยู่อาศัยของลูกค้าอย่างแท้จริง