Tag : Transportations

48 ผลลัพธ์
ณวรางค์ แอสเซท ได้แรงหนุนสายสีชมพูสร้างใกล้เสร็จ  ส่ง “ณ รีวา รามอินทรา” รับลูกค้าย่านลาดปลาเค้า

ณวรางค์ แอสเซท ได้แรงหนุนสายสีชมพูสร้างใกล้เสร็จ ส่ง “ณ รีวา รามอินทรา” รับลูกค้าย่านลาดปลาเค้า

ณวรางค์ แอสเซท ชี้โซนลาดปลาเค้า กลายเป็นทำเลทองการอยู่อาศัย ดีมานด์พุ่งทั้งกลุ่มคนทำงาน-นักเรียนนักศึกษา รับอานิสงส์แผนเปิดใช้รถไฟฟ้า สายสีชมพู สายแคราย-มีนบุรี หลังการก่อสร้างคืบหน้ากว่า 97% เตรียมส่งโครงการ ณ รีวา รามอินทรา รองรับเทรนด์การเลือกซื้อที่อยู่อาศัยคนยุคปัจจุบัน เลือก “ทำเล” มาเป็นอันดับ 1 ชูจุดเด่นโครงการ เพียง 10 นาทีถึง ม.ศรีปทุม 18 นาทีถึง ม.เกษตรศาสตร์   นายอภิภู พรหมโยธี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ณวรางค์ แอสเซท จำกัด ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่ออกแบบโครงการเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของผู้อยู่อาศัย เปิดเผยว่า ปัจจัยสำคัญของการเลือกที่อยู่อาศัยของคนยุคปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นคนเจเนอเรชั่นไหน ยังคงให้ความสำคัญกับทำเลที่ตั้งมาเป็นอันดับแรก เพราะต้องการใช้ชีวิตอยู่ในโครงการที่สามารถเดินทางไปยังจุดต่าง ๆ ได้สะดวก ไม่ว่าจะเป็นการเดินทางไปทำงาน  เรียนหนังสือ การจับจ่ายใช้สอย หรือการพักผ่อน ซึ่งปัจจัยการเลือกอยู่อาศัยดังกล่าว ทำให้ผู้บริโภคจะเลือกโครงการที่อยู่ใกล้กับระบบการคมนาคมขนส่งที่สะดวกสบายมากที่สุด โดยเฉพาะอยู่ใกล้เส้นทางรถไฟฟ้า ทั้งเส้นทางรถไฟฟ้าเดิมที่เปิดให้บริการแล้ว เส้นทางรถไฟฟ้าที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง และมีแผนการเปิดให้บริการในเร็ว ๆ นี้   สำหรับรถไฟฟ้าที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง มีความคืบหน้าไปมาก และพร้อมจะเปิดให้บริการในเร็ว ๆ นี้ คือ รถไฟฟ้า สายสีชมพู เส้นทางแคราย-มีนบุรี ซึ่งเป็นระบบรถไฟฟ้ารางเดี่ยว หรือโมโนเรล ที่มีระยะทางยาว 34.5 กิโลเมตร จำนวน 30 สถานีหลัก โดยความคืบหน้าล่าสุดในเดือนมิถุนายน 2566 มีการก่อสร้างงานโยธา อยู่ที่ 96.97% งานระบบไฟฟ้า อยู่ที่ 97.34% มีความก้าวหน้าโดยรวมอยู่ที่ 97.15% มีการวางแผนเตรียมทดสอบเดินรถเสมือนจริงช่วงปลายปี 2566 และมีแผนเปิดให้บริการเป็นระยะ ๆ รวมถึงการเปิดให้บริการเต็มรูปแบบเชิงพาณิชย์ภายในเดือนมิถุนายน 2567 นายอภิภู กล่าวว่า จากแผนการพัฒนาและเปิดใช้บริการ เส้นทางรถไฟฟ้าสายสีชมพูที่มีความคืบหน้าและชัดเจน ส่งผลให้ตลอดเส้นทางรถไฟฟ้ากลายเป็นทำเลทองสำคัญของการอยู่อาศัย เกิดความต้องการเข้ามาอยู่อาศัยตามแนวเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีชมพูอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในทำเลลาดปลาเค้า เนื่องจากเป็นถนนที่สามารถเชื่อมต่อไปยังจุดสำคัญ ๆ ของกรุงเทพมหานคร และพื้นที่ใกล้เคียงได้สะดวก เป็นทำเลที่ตั้งของสถานที่สำคัญ ไม่ว่าจะเป็น มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม สถานที่ราชการทางทหาร การเชื่อมต่อไปยังถนนสำคัญ อาทิ ถนนลาดพร้าว ถนนรามอินทรา ถนนเลียบทางด่วน-รามอินทรา ถนนเกษตร-นวมินทร์ และถนนพหลโยธิน   "ย่านลาดปลาเค้า เป็นจุดศูนย์กลางสำคัญแห่งใหม่ในกรุงเทพฯ ที่สามารถเชื่อมต่อไปยังพื้นที่ต่าง ๆ ได้มากมาย ไม่ว่าจะเป็นโรงพยาบาลซีจีเอช สถานศึกษา หน่วยงานราชการมากมาย ศูนย์กีฬาต่าง ๆ ของกองทัพบก แหล่งช้อปปิ้ง ร้านอาหาร การใช้ชีวิตไลฟ์สไตล์กลางคืน เพื่อการกิน ดื่ม หรือแม้แต่การทำบุญหรือปฏิบัติธรรม อาทิ วัดพระศรีมหาธาตุวรวิหาร เรียกได้ว่ามีครบทุกความต้องการ และทุกไลฟ์สไตล์ของคนกรุงเทพฯ เลยก็ว่าได้​"  จากเทรนด์การเลือกที่อยู่อาศัยของผู้บริโภคที่มุ่งเน้นในเรื่องทำเลที่ตั้งมาเป็นอันดับแรก บริษัทจึงวางนโยบายการดำเนินธุรกิจ ด้วยการพัฒนาที่อยู่อาศัยที่ให้ความสำคัญกับเรื่องทำเลที่ตั้ง และออกแบบโครงการเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของผู้อยู่อาศัยในทุกเจเนอเรชั่น ซึ่งที่ผ่านมามีโครงการต่าง ๆ มากมายที่พัฒนาออกมาและได้รับการยอมรับด้วยดีจากกลุ่มลูกค้า อาทิ โครงการคอนโดมิเนียมหรูบนถนนหลังสวน ใกล้เซ็นทรัลชิดลม และคอนโดมิเนียมวิวแม่น้ำเจ้าพระยา ณ รีวา เจริญนคร ซึ่งเป็นโครงการที่มีคุณภาพ ที่สำคัญตอบโจทย์ความต้องการอยู่อาศัยของลูกค้าที่ต้องการในทำเลนั้น ๆ ด้วย   นายอภิภู กล่าวอีกว่า จากการศึกษาและวิจัยตลาด ประกอบกับศักยภาพทำเลลาดปลาเค้า ที่ตั้งอยู่ใกล้เส้นทางรถไฟฟ้าสายสีชมพู จึงได้เตรียมเปิดตัวโครงการ ณ วีรา รามอินทรา เป็นโครงการคอนโดมิเนียมเพื่อการอยู่อาศัย ที่จับกลุ่มเป้าหมายทั้งกลุ่มผู้เริ่มต้นวัยทำงาน กลุ่มนักเรียนนักศึกษา และกลุ่มนักลงทุน ที่ต้องการซื้อเพื่อปล่อยเช่า ด้วยจุดเด่นของทำเลที่ตั้งอยู่ในซอยลาดปลาเค้า 72 ถนนลาดปลาเค้า ใช้เวลาเดินทางเพียง 3 นาทีถึงรถไฟฟ้าสายสีชมพู สถานีลาดปลาเค้า ใช้เวลาเพียง 10 นาทีถึงมหาวิทยาลัยศรีปทุม และ 18 นาทีถึงมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ นอกจากนี้ ยังใกล้ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลรามอินทรา The Jas รามอินทรา โดยบริษัทกำหนดเปิดการขายโครงการ ณ วีรา รามอินทรา ในช่วงปลายเดือนสิงหาคมนี้   โครงการ ณ วีรา รามอินทรา มีแนวคิดการออกแบบในสไตล์ Modern Minimal ห้องสไตล์โมเดิร์น กว้าง โปร่งสบาย แบ่งสัดส่วนอย่างลงตัวระหว่างห้องนอนกับ Living Area ภายในโครงการยังมีสิ่งอำนวยความสะดวก เพื่อการอยู่อาศัย อาทิ คลับเฮ้าส์ส่วนกลาง 2 ชั้น Co-working space เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการ Work from home สระว่ายน้ำ และห้องฟิตเนสที่มาพร้อมกับวิวธรรมชาติ ทำให้การออกกำลังกายได้อย่างเต็มที่ Rooftop เพื่อการชมบรรยากาศที่สวยงามของวิวกรุงเทพฯ ซึ่งชมวิวได้ทั้งช่วงเวลากลางวันและกลางคืน เพิ่มความอุ่นใจในการอยู่อาศัย ด้วยระบบรักษาความปลอดภัยตลอด 24 ชั่วโมง ทั้งระบบ CCTV & Security Guard   นายอภิภู กล่าวเพิ่มเติมว่า บริษัทตั้งใจและมุ่งมั่นในการพัฒนา โครงการ ณ วีรา รามอินทรา เพื่อให้การอยู่อาศัยของลูกค้าสะดวกสบาย มีคุณภาพชีวิตที่ดี จึงเลือกทำเลลาดปลาเค้า เพราะมีศักยภาพการเติบโตทั้งในปัจจุบัน และอนาคต เนื่องจากกรุงเทพฯ มีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง และอนาคตอันใกล้รถไฟฟ้าสายสีชมพูจะเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการ จะเข้ามาช่วยเสริมศักยภาพให้ทำเลลาดปลาเค้าน่าสนใจมากยิ่งขึ้น ซึ่งโครงการ ณ วีรา รามอินทราเหมาะสำหรับผู้ต้องการซื้อเพื่ออยู่อาศัยจริง หรือกลุ่มนักลงทุนที่มองหาโอกาสสร้างผลตอบแทนจากการลงทุนด้วยการปล่อยเช่า เพราะเป็นทำเลที่เดินทางไปยังสถานศึกษา และแหล่งงานสำคัญต่าง ๆ ได้อย่างมากมาย สามารถปล่อยเช่าให้กับนักเรียน นักศึกษา และกลุ่มคนทำงานได้มหาศาล   อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง -[PR News] ณวรางค์ แอสเซท ปั้น “ณ รีวา เจริญนคร” รับเทรนด์ Well-being -ณวรางค์ แอสเซท เปิดคอนโด “ณ วรา พหลโยธิน 8” 300 ล้าน ลุยตลาดอสังหาฯ ไตรมาสสุดท้าย
เปิด 5 ทำเล ราคาที่ดินปรับสูงใน Q2/66  บางพลี-บางบ่อ-บางเสาธง ขยับมากสุด 54.9%

เปิด 5 ทำเล ราคาที่ดินปรับสูงใน Q2/66 บางพลี-บางบ่อ-บางเสาธง ขยับมากสุด 54.9%

ราคาที่ดิน REIC เผย ราคาที่ดินเปล่าก่อนการพัฒนา ในกรุงเทพฯ - ปริมณฑล ไตรมาส 2 ปี 2566​ ชะลอตัวลง​มีค่าดัชนีเท่ากับ 376.5 จุด เพิ่มขึ้น​ 6.2% จากปีก่อน​ แต่ลดลง​ 2.4%​ จากไตรมาสก่อนหน้า ​เหตุเริ่มมีการชะลอตัวของตลาดจากปัจจัยลบต่าง ๆ     ดร.วิชัย วิรัตกพันธ์ รักษาการผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (REIC) เปิดเผยว่าดัชนีราคาที่ดิน เปล่าก่อนการพัฒนา ในกรุงเทพฯ - ปริมณฑล ไตรมาส 2 ปี 2566 มีค่าดัชนีเท่ากับ 376.5 จุด เพิ่มขึ้น 6.2% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน (YoY) แต่เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (QoQ) ลดลง 2.4% ซึ่งแสดงให้เห็นว่าราคาที่ดินเปล่าก่อนการพัฒนายังคงมีทิศทางที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่มีการชะลอตัวจากไตรมาสแรก   โดยอัตราการเพิ่มของดัชนีราคาที่ดินในไตรมาสนี้ ยังเป็นการเพิ่มที่ไม่สูงเมื่อเปรียบเทียบกับการปรับเพิ่มขึ้นของอัตราค่าเฉลี่ย 5 ปี ในช่วงก่อนเกิดวิกฤต COVID-19 (ปี 2558 – 2562) ซึ่งมีอัตราเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 14.8% เมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2565 (YoY) อีกทั้งยังมีอัตราเฉลี่ยของอัตราการเปลี่ยนแปลงจากไตรมาสก่อนหน้า (QoQ) ที่เพิ่มขึ้นถึง 4.1% แสดงให้เห็นอัตราเร่งของดัชนีราคาที่ดินในช่วงดังกล่าวที่สูงกว่าปัจจุบัน ปัจจัยที่ทำให้ราคาที่ดินเปล่ามีการเพิ่มขึ้นในอัตราที่ชะลอตัวลง เนื่องจากการที่เศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่งปี 2566 มีการขยายตัวลดลงกว่าที่คาดการณ์ไว้ รวมทั้งการยกเลิกการผ่อนคลายมาตรการ LTV ของ ธปท. และภาวะหนี้ครัวเรือนที่ยังคงมีอัตราส่วนที่สูงถึง 90% ของ GDP  อีกทั้งเป็นช่วงภาวะดอกเบี้ยขาขึ้น ซึ่งล้วนเป็นปัจจัยที่จะทำให้ความสามารถในการซื้อและการผ่อนชำระที่อยู่อาศัยของประชาชนลดลง ส่งผลให้กำลังซื้อที่อยู่อาศัยชะลอตัว ผู้ประกอบการจึงชะลอแผนในการเปิดขายโครงการใหม่ในปีนี้ถึงปี 2567 มีผลให้เกิดการชะลอการซื้อที่ดินเปล่าเพื่อรองรับการพัฒนาลงบ้างในหลายทำเล ประกอบกับรัฐบาลได้ประกาศจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเต็มอัตราในปี 2566 จึงทำให้ผู้ประกอบการต้องปรับแผนการซื้อที่ดินสะสมเพื่อรองรับการพัฒนาโครงการในอนาคต  ส่งผลให้ความต้องการซื้อที่ดินสะสมในตลาดเพื่อเป็น Land Bank ลดลง เพื่อควบคุมภาระต้นทุนจากการถือครองที่ดิน โดยภาระภาษีที่ดินฯ ซึ่งเป็นต้นทุนในการพัฒนาโครงการในระยะต่อไป 5 ทำเล ราคาที่ดินเพิ่มสูงสุด ในไตรมาส 2 ปี 2566 REIC พบว่าโซนที่มีอัตราการขยายตัวของราคาที่ดินเพิ่มขึ้นสูงสุด 5 อันดับแรก เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน (YoY) มีดังนี้ อันดับ 1 ได้แก่ ที่ดินในโซนบางพลี-บางบ่อ-บางเสาธง มีอัตราการเปลี่ยนราคามากถึง 54.9% อันดับ 2 ได้แก่ ที่ดินในโซนสมุทรสาคร มีอัตราการเปลี่ยนราคา  26.1% อันดับ 3 ได้แก่ ที่ดินในโซนเมืองปทุมธานี-ลาดหลุมแก้ว-สามโคก มีอัตราการเปลี่ยนราคาราคา 17.6% อันดับ 4 ได้แก่ ที่ดินในโซนราษฎร์บูรณะ-บางขุนเทียน-ทุ่งครุ-บางบอน-จอมทอง มีอัตราการเปลี่ยนราคาราคา 17.5% อันดับ 5 ได้แก่ ที่ดินในโซนเมืองสมุทรปราการ-พระประแดง-พระสมุทรเจดีย์ มีอัตราการเปลี่ยนราคาราคา 11.4% จากภาวะราคาที่ดินที่มีการเปลี่ยนแปลงข้างต้น สะท้อนให้เห็นว่าที่ดินที่อยู่บริเวณพื้นที่ชานเมืองของกรุงเทพฯและปริมณฑลมีการเปลี่ยนแปลงของราคามาก เนื่องจากที่ดินที่อยู่บริเวณพื้นที่ชานเมืองมีราคาไม่แพงและยังสามารถนำไปใช้ในการพัฒนาเป็นที่อยู่อาศัยแนวราบได้ ซึ่งทำให้สามารถควบคุมต้นทุนของราคาที่อยู่อาศัยให้สอดคล้องกับความสามารถในการซื้อที่อยู่อาศัยได้ ทั้งนี้ โซนเหล่านี้เป็นโซนที่มีการพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยเป็นจำนวนมาก และที่สำคัญเป็นโซนที่มียอดขายในระดับต้น ๆ อีกด้วย 5 ทำเลรถไฟฟ้ารถไฟฟ้าราคาเพิ่มสูง สำหรับราคาที่ดินเปล่าก่อนการพัฒนาในแนวเส้นทางที่มีรถไฟฟ้าผ่านในไตรมาสนี้ พบว่าเส้นทางรถไฟฟ้า 5 อันดับแรกที่มีอัตราการขยายตัวของราคาที่ดินเพิ่มขึ้นสูงสุดเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน (YoY)  ส่วนใหญ่เป็นที่ดินที่มีโครงการรถไฟฟ้าเปิดให้บริการแล้ว และเป็นโครงการในอนาคตที่มีการเชื่อมต่อกับพื้นที่สำคัญด้านพาณิชยกรรมและเป็นพื้นที่ที่มีการพัฒนาโครงการอยู่ในปัจจุบัน โดยมีรายละเอียด ดังนี้ อันดับ 1 ได้แก่ สายสีเขียว (สมุทรปราการ-บางปู) และ สายสีเขียว (แบริ่ง-สมุทรปราการ) เป็นโครงการในอนาคตและโครงการที่เปิดให้บริการแล้ว ซึ่งมีค่าดัชนีเท่ากับ 256.6 จุด และ 252.8 จุด ตามลำดับ และอัตราการขยายตัวของราคาที่ดินเพิ่มขึ้น 11.4% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน (YoY) โดยราคาที่ดินในเขตเมืองสมุทรปราการและพระสมุทรเจดีย์ เป็นบริเวณที่มีราคาปรับเพิ่มขึ้นมาก อันดับ 2 ได้แก่ สายสีม่วง (บางใหญ่-เตาปูน) เป็นโครงการในอนาคต ซึ่งมีค่าดัชนีเท่ากับ 415.1 จุด และอัตราการขยายตัวของราคาที่ดินเพิ่มขึ้น 4.5% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน (YoY) โดยราคาที่ดินในเขตเมืองนนทบุรี บางใหญ่ และบางบัวทอง เป็นบริเวณที่มีราคาปรับเพิ่มขึ้นมาก อันดับ 3 ได้แก่ MRT และสายสีแดงเข้ม (บางซื่อ-หัวลำโพง) เป็นโครงการที่เปิดให้บริการแล้วและโครงการในอนาคต ซึ่งมีค่าดัชนีเท่ากับ 474.4 จุด และ 467.0 จุด ตามลำดับ และอัตราการขยายตัวของราคาที่ดินเพิ่มขึ้น  3.8% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน (YoY) โดยราคาที่ดินในเขตจตุจักร ห้วยขวาง และพญาไท เป็นบริเวณที่มีราคาปรับเพิ่มขึ้นมาก อันดับ 4 ได้แก่ สายสีเขียว (หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต) และ สายสีแดงเข้ม (บางซื่อ-มธ.รังสิต)  ซึ่งเป็นโครงการที่เปิดให้บริการแล้ว ซึ่งมีค่าดัชนีเท่ากับ 443.4 และ 436.6 จุด ตามลำดับ และอัตราการขยายตัวของราคาที่ดินเพิ่มขึ้น 3.3% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน (YoY) โดยราคาที่ดินในเขตบางเขน หลักสี่ ดอนเมือง และคลองหลวง เป็นบริเวณที่มีราคาปรับเพิ่มขึ้นมาก อันดับ 5 ได้แก่ สายสีแดงเข้ม (หัวลำโพง-มหาชัย) เป็นโครงการในอนาคต ซึ่งมีค่าดัชนีเท่ากับ 440.4 จุด และอัตราการขยายตัวของราคาที่ดินเพิ่มขึ้น 2.4% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน (YoY) โดยราคาที่ดินในเขตจอมทอง บางบอน และบางขุนเทียน เป็นบริเวณที่มีราคาปรับเพิ่มขึ้นมาก อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง -REIC เปิด 5 ทำเลราคาที่ดินยังพุ่งสูง​​ ท่ามกลางโควิด-19 ระรอกใหม่ -ทำเลส่วนต่อขยายรถไฟฟ้า ราคาที่ดินก่อนการพัฒนาเพิ่มกว่า 21%
REIC รายงานตลาดที่อยู่อาศัย Q1/66 กทม.คอนโดเหลือกว่า 4.7 หมื่นยูนิต 2 ปีกว่าจะขายหมด

REIC รายงานตลาดที่อยู่อาศัย Q1/66 กทม.คอนโดเหลือกว่า 4.7 หมื่นยูนิต 2 ปีกว่าจะขายหมด

REIC รายงานตลาดที่อยู่ Q1/66 ขายได้ 21,291 ยูนิต ขายลดลง​ 29.1% มีมูลค่า 105,768 ล้านบาท ลดลง​ 22.0% หลังบ้านแนวราบเสนอขายกว่า 124,723 ยูนิต เพิ่มขึ้น 6.9% ด้วยมูลค่า 679,672 ล้าน เพิ่ม 13.0% แต่คอนโด​มีขายลดลง ลดลง 4.3% ด้วยจำนวน 79,503 ยูนิต มูลค่า 309,579 ล้าน​ ลดลง 9.5% ระบุ 5 ทำเลบ้านเหลือขายเยอะน่าเป็นห่วง ทำบางใหญ่-บางบัวทอง-บางกรวย-ไทรน้อย เหลือขายมากสุดถึง 16,803 ยูนิต มูลค่า 80,150 ล้าน ส่วนคอนโด ทำเลธนบุรี-คลองสาน-บางกอกน้อย-บางกอกใหญ่-บางพลัด เหลือขายเยอะสุด 8,544 ยูนิต มูลค่า 27,045 ล้าน Q1 ที่อยู่อาศัยยอดขายลดเหลือกว่า 1 แสนล้าน ดร. วิชัย วิรัตกพันธ์ ผู้ตรวจการธนาคารอาคารสงเคราะห์ และรักษาการผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (REIC) เปิดเผยถึงภาวะภาพรวมตลาดที่อยู่อาศัย ทั้งโครงการแนวราบและอาคารชุด (คอนโดมิเนียม) ที่มียูนิตเหลือขายไม่ต่ำกว่า 6 ยูนิต ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ในไตรมาส 1 ปี 2566 ว่า มีการเสนอขายที่อยู่อาศัยรวม (บ้านจัดสรรและคอนโด) จำนวน 204,226 ยูนิต ขยายตัว 2.3% และมีมูลค่า 989,251 ล้านบาท ขยายตัว 4.9% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ในจำนวนนี้เป็นยูนิตเกิดจากโครงการเปิดตัวใหม่เพียง 21,680 ยูนิต หรือเพียง 10.62% ของยูนิตที่เสนอขายทั้งหมด มีมูลค่า 82,246 ล้านบาท หรือเพียง 8.31% ของมูลค่าที่เสนอขายทั้งหมด ซึ่งยูนิตที่เปิดตัวใหม่มีจำนวนลดลง 26.0% และมูลค่าที่ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน​ 22.5%  ​   เมื่อดูถึงยอดขายใหม่ที่เกิดในไตรมาสแรกที่ผ่านมา มีจำนวน 21,291 ยูนิต พบว่าลดลง​ 29.1% และมูลค่า 105,768 ล้านบาท ลดลง​ 22.0% และมีอัตราการดูดซับที่ปรับตัวลดลงเล็กน้อยจาก 3.5% ต่อเดือน หรือระยะเวลาขายหมดประมาณ 26 เดือน (ลดลงจากปีก่อน 5.0% และระยะเวลาขายหมด 17 เดือน) แสดงให้เห็นว่า ภาพรวมของตลาดที่อยู่อาศัยปรับตัวลงค่อนข้างแรงเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน โดยเฉพาะการปรับตัวลงของยอดขายคอนโด ประกอบกับส่วนต่างของยูนิตเปิดตัวใหม่ มากกว่ายูนิตที่ขายได้ใหม่ในไตรมาสนี้ มีจำนวนเพิ่มขึ้น 389 ยูนิต ส่งผลให้ยูนิตที่เหลือขายภาพรวมที่อยู่อาศัย (แนวราบและคอนโด) ในตลาดเพิ่มขึ้นเป็น 182,935 ยูนิต ขยายตัว 7.8% และมูลค่า 883,484 ล้านบาท ขยายตัว 9.4% ​จากไตรมาส 1 ปี 2565 ที่ผ่านมา บ้านแนวราบเสนอขายกว่า 1.24 แสนยูนิต เมื่อแยกวิเคราะห์เฉพาะตลาดบ้านแนวราบ ในไตรมาส 1 ปี 2566 ในพื้นที่กรุงเทพฯ-ปริมณฑล พบว่า ยูนิตที่มีการเสนอขายที่อยู่อาศัยแนวราบ 124,723 ยูนิต ขยายตัว 6.9% มูลค่า 679,672 ล้านบาท ขยายตัว 13.0% ​เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งพบว่า ประเภทบ้านที่มีการขยายตัวของยูนิตเสนอขายมากได้แก่ บ้านเดี่ยว ขยายตัวจากปีก่อนถึง 13.0% และทาวน์เฮ้าส์ ที่มีจำนวนยูนิต ขยายตัวจากปีก่อน 2.8% โดยบ้านเดี่ยวมูลค่าขยายตัว 21.5% และทาวน์เฮ้าส์ขยายตัว 2.0% ​ในจำนวนนี้เป็นยูนิตเกิดจากโครงการแนวราบเปิดตัวใหม่เพียง 8,699 ยูนิต หรือเพียง 6.97% ของยูนิตที่เสนอขายทั้งหมด และมูลค่า 51,473 ล้านบาท หรือเพียง 7.57% ของมูลค่าที่เสนอขายทั้งหมด ซึ่งยูนิตที่เปิดตัวใหม่มีจำนวนลดลง 16.8% และมูลค่าที่ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 12.8%  โดยประเภทที่มีการลดลงมากคือ ทาวน์เฮ้าส์ ที่ลดลงทั้งยูนิต 23.4% และมูลค่าลดลง 35.3%   เมื่อดูถึงยอดขายใหม่ของที่อยู่อาศัยแนวราบที่เกิดในไตรมาส 1 ปี 2566 จำนวน 11,581 ยูนิต ขยายตัว 5.1% และ มูลค่า 69,599 ล้านบาท ลดลง 0.02% และมีอัตราการดูดซับทรงตัวอยู่ในระดับ 3.1% ต่อเดือน หรือจะขายหมดในเวลาประมาณ 29 เดือน ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ตลาดที่อยู่อาศัยแนวราบค่อนข้างคงตัวเช่นเดียวกับไตรมาส 1 ปี 2565 ทั้งนี้ บ้านแฝด เป็นประเภทที่มียอดยูนิต ขยายตัว 6% และมูลค่าการขายได้ใหม่ขยายตัวมากสุด 11.5% แม้ว่าจะยังมีขนาดของตลาดยังไม่ใหญ่ และยังมีอัตราการดูดซับที่ต่ำสุดเมื่อเทียบกับประเภทอื่น บ้านเดี่ยวมียอดขายใหม่ในไตรมาสนี้ที่ขยายตัวทั้งยูนิต 8% และมูลค่า​ขยายตัว 3.2% โดยมีอัตราการดูดซับที่ 3.3% ซึ่งสูงที่สุดเมื่อเทียบกับประเภทอื่น หรือระยะเวลาขายหมดประมาณ 27 เดือน (ลดลงเล็กน้อยจากปีก่อน 3.5% และระยะเวลาขายหมด 26 เดือน) ทาวน์เฮ้าส์ พบว่า ยอดขายใหม่ แม้จะมีขนาดตลาดที่ใหญ่ และยังมีการขยายตัวของยูนิตขายใหม่ 8% แต่มีมูลค่าการขายได้ใหม่ ลดลง 7.4% แสดงให้เห็นว่า ตลาดบ้านเดี่ยว และ ทาวเฮ้าส์ ยังคงมีการขยายตัวอย่างอย่างสม่ำเสมอ ขณะที่ บ้านแฝด เป็นประเภทที่มีการตอบรับที่ดีจากตลาดมากขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับความสามารถในการซื้อของผู้ซื้อที่อยู่อาศัยในปัจจุบัน เนื่องจากราคาที่ดิน ค่าวัสดุก่อสร้าง และค่าแรงงานที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง   จากการที่ยอดขายใหม่ที่เพิ่มขึ้น และมียูนิตเปิดตัวใหม่น้อยกว่ายูนิตที่ขายได้ใหม่ในไตรมาสนี้ถึง -2,882 ยูนิต ส่งผลให้ยูนิตที่เหลือขายของที่อยู่อาศัยแนวราบ ในตลาดเพิ่มขึ้นเป็น 113,142 ยูนิต มูลค่า 610,073 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 7.1% และ 14.7% ตามลำดับ จากไตรมาส 1 ปี 2565 ที่ผ่านมา   ทั้งนี้ บ้านเดี่ยว มีการขยายตัวของยูนิตเหลือขายอย่างมากถึง 13.4% และ บ้านแฝดขยายตัว 15.1%  ขณะที่บ้านเดี่ยวมูลค่าก็มีการขยายตัวสูงถึง 24.2%  และบ้านแฝดมูลค่าขยายตัว 19.5%  สำหรับ ทาวน์เฮ้าส์ มียูนิตเหลือขายขยายตัวเล็กน้อยที่ 2.9% และมูลค่าขยายตัว 3.1% การที่อัตราขยายตัวของมูลค่าที่เพิ่มมากกว่าของจำนวนยูนิตได้สะท้อนเห็นว่าที่อยู่อาศัยแนวราบมีการปรับราคาขึ้นจากปีก่อนอีกด้วย คอนโด Q1 เสนอขายลดทั้งจำนวน-มูลค่า ตลาดคอนโด ในไตรมาส 1 ปี 2566 ในพื้นที่กรุงเทพฯ-ปริมณฑล พบว่า ยูนิตที่มีการเสนอขายคอนโด 79,503 ยูนิต ลดลง 4.3%  และมูลค่า 309,579 ล้านบาท ลดลง 9.5% ​เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ในจำนวนนี้เป็นยูนิตเกิดจากโครงการคอนโดเปิดตัวใหม่สูงถึง 12,981 ยูนิต หรือ 16.33% ของยูนิตที่เสนอขายทั้งหมด และมูลค่า 30,773 ล้านบาท หรือ 9.94% ของมูลค่าที่เสนอขายทั้งหมด ซึ่งยูนิตที่เปิดตัวใหม่มีจำนวนลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 31.1% และมูลค่าที่ลดลง 34.7% ตามลำดับ และเมื่อดูยอดขายใหม่ของคอนโดที่เกิดในไตรมาส 1 ปี 2566 จำนวน 9,710 ยูนิต ลดลง 48.9%​ มูลค่า 36,169 ล้านบาท ลดลง 45.2% และมีอัตราการดูดซับทรงตัวอยู่ในระดับ 4.1% ต่อเดือน หรือจะขายหมดในเวลาประมาณ 21 เดือน   ทั้งนี้ สาเหตุที่ยูนิตเปิดใหม่และยูนิตขายได้ใหม่ของคอนโดปรับตัวลดลงอย่างมากในไตรมาส 1 ปี 2566 เมื่อเทียบกับปีก่อนนั้น มาจากการที่การเปิดตัวใหม่เป็นจำนวนมากและสามารถสร้างยอดขายใหม่จากโครงการคอนโดที่เป็นโครงการบ้านล้านหลัง หรือ โครงการ BOI ที่เปิดขึ้นจำนวนมากในช่วงไตรมาส 1 และ 2 ปี 2565 โดยเป็นที่น่าสังเกตว่าการเปิดตัวโครงการใหม่เริ่มกลับมามากขึ้นและเริ่มขยับเข้ามามีจำนวนใกล้เคียงกับช่วงก่อนเกิด COVID-19 แต่ยอดขายยังคงต่ำกว่าในช่วงก่อนเกิด COVID-19   โดยในไตรมาสแรกยูนิตเปิดตัวใหม่ของลดลงมาก รวมถึงยอดขายใหม่ด้วย ​ซึ่งพบว่า ยูนิตเปิดตัวใหม่มีจำนวนมากกว่ายูนิตที่ขายได้ใหม่ถึง 3,271 ยูนิต ส่งผลให้ยูนิตที่เหลือขายของคอนโดในตลาดเพิ่มขึ้นเป็น 69,793 ยูนิต ขยายตัว 9.0% และมีมูลค่า 273,411 ล้านบาท ลดลง 0.9% ตามลำดับ จากไตรมาส 1 ปี 2565 ที่ผ่านมา   จากผลการสำรวจภาคสนาม  ได้แสดงให้เห็นทำเลศักยภาพของตลาดที่อยู่อาศัยแนวราบ ในไตรมาสที่ 1 ปี 2566 ซึ่งพบว่า ทำเลที่มียอดขายสูงสุดและมีอัตราการดูดซับสูงกว่าค่ากลางของที่อยู่อาศัยแนวราบที่ 3.1% ต่อเดือน ประกอบด้วยโซน บางพลี-บางบ่อ-บางเสาธง ยอดขาย 2,674 ยูนิต มูลค่า 16,579 ล้านบาท และ อัตราดูดซับ 5.0%ต่อเดือน เมืองสมุทรปราการ-พระประแดง-พระสมุทรเจดีย์ ยอดขาย 1,477 ยูนิต มูลค่า 5,394 ล้านบาท และอัตราดูดซับ 4.7% ต่อเดือน บางใหญ่-บางบัวทอง-บางกรวย-ไทรน้อย ยอดขาย 942 ยูนิต มูลค่า 5,521 ล้านบาท และอัตราดูดซับ 1.8% ต่อเดือน คลองสามวา-มีนบุรี-ลาดกระบัง ยอดขาย 918 ยูนิต มูลค่า 5,990 ล้านบาท และอัตราดูดซับ 5.6% ต่อเดือน เมืองสมุทรสาคร ยอดขาย 821 ยูนิต มูลค่า 3,091 ล้านบาท และอัตราดูดซับ 4.2% ต่อเดือน 5 ทำเลบ้านเหลือขายมากสุด อย่างไรก็ตาม ทำเลสำหรับบ้านแนวราบที่ต้องระมัดระวังเนื่องจากยังคงมียูนิตเหลือขายที่มากติดอันดับต้น ๆ แม้ว่าบางพื้นที่จะมียอดขายและอัตราการดูดซับที่ดี ได้แก่ ทำเลบางใหญ่-บางบัวทอง-บางกรวย-ไทรน้อย เหลือขาย 16,803 ยูนิต มูลค่า 80,150 ล้านบาท ทำเลบางพลี-บางบ่อ-บางเสาธง เหลือขาย 15,221 ยูนิต มูลค่า 84,580 ล้านบาท ทำเลลำลูกกา-ธัญบุรี เหลือขาย 13,726 ยูนิต มูลค่า 54,287 ล้านบาท ทำเลคลองหลวง-หนองเสือ เหลือขาย 12,146 ยูนิต มูลค่า 43,574 ล้านบาท ทำเลเมืองปทุมธานี-ลาดหลุมแก้ว-สามโคก เหลือขาย 10,021 ยูนิต มูลค่า 40,796 ล้านบาท 5 ทำเลศักยภาพตลาดคอนโด สำหรับทำเลศักยภาพของตลาดคอนโด ในไตรมาสที่ 1 ปี 2566 ที่มียอดขายสูงสุดและมีอัตราการดูดซับสูงกว่าค่ากลางของที่อยู่อาศัยคอนโดที่ 4.1% ต่อเดือน ประกอบด้วยโซน ทำเลคลองหลวง-หนองเสือ ยอดขาย 1,628 ยูนิต มูลค่า 3,550 ล้านบาท และอัตราดูดซับ 14.4% ต่อเดือน ทำเลพระโขนง-บางนา-สวนหลวง-ประเวศ ยอดขาย 799 ยูนิต มูลค่า 2,539 ล้านบาท และอัตราดูดซับ 3.8% ต่อเดือน ทำเลเมืองสมุทรปราการ-พระประแดง-พระสมุทรเจดีย์ ยอดขาย 775 ยูนิต มูลค่า 2,010 ล้านบาท และอัตราดูดซับ 4.7% ต่อเดือน ทำเลเมืองนนทบุรี-ปากเกร็ด ยอดขาย 758 ยูนิต มูลค่า 1,468 ล้านบาท และอัตราดูดซับ 3.5% ต่อเดือน ทำเลห้วยขวาง-จตุจักร-ดินแดง ที่มียอดขายจำนวน 689 ยูนิต มูลค่า 2,674 ล้านบาท และอัตราดูดซับ 2.7% ต่อเดือน เป็นทำเลที่ยังได้รับความสนใจในการหาซื้อคอนโดอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่มีระบบสาธารณูปโภคที่ดี และสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ แต่มีจุดอ่อนคือมีอุปทานในตลาดมาก 5 ทำเลคอนโดเหลือขายเยอะ ทั้งนี้ ทำเลที่มียูนิตเหลือขายของคอนโดมาก ที่ควรจะต้องระมัดระวังเนื่องจากยังคงมียูนิตเหลือขายที่มากติดอันดับต้น ๆ แม้ว่าบางพื้นที่จะมียอดขายและอัตราการดูดซับที่ดี ได้แก่ ทำเลธนบุรี-คลองสาน-บางกอกน้อย-บางกอกใหญ่-บางพลัด เหลือขาย 8,544 ยูนิต มูลค่า 27,045 ล้านบาท ทำเลห้วยขวาง-จตุจักร-ดินแดง เหลือขาย 7,951 ยูนิต มูลค่า 31,786 ล้านบาท ทำเลเมืองนนทบุรี-ปากเกร็ด เหลือขาย 6,432 ยูนิต มูลค่า 14,774 ล้านบาท ทำเลพระโขนง-บางนา-สวนหลวง-ประเวศ เหลือขาย 6,204 ยูนิต มูลค่า 18,007 ล้านบาท ทำเลสุขุมวิท เหลือขาย 5,348 ยูนิต มูลค่า 47,222 ล้านบาท กทม.แบกซัพพลายคอนโดเหลือกว่า 4.7 หมื่นยูนิต​ ผลสำรวจข้อมูลแสดงให้เห็นว่า ภาพรวมไตรมาส 1 ปี 2566 ตลาดที่อยู่อาศัยในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑลยังขับเคลื่อนตัวด้วยโครงการบ้านแนวราบเป็นหลัก โดยมีสัดส่วนในเชิงมูลค่ายอดขายของตลาดถึง 69,599 ล้านบาท หรือเท่ากับ 65.8% แต่คอนโดมีมูลค่าตลาดรวม 36,169 ล้านบาท หรือเท่ากับ 34.2%  ของมูลค่าตลาดโดยรวม   แต่สิ่งที่มีน่าจะเป็นข้อสังเกตที่สำคัญ คือ จังหวัดที่มียอดขายใหม่ของบ้านจัดสรรมากที่สุดคือ จังหวัดสมุทรปราการที่มีจำนวนถึง 4,151 ยูนิต มูลค่า 21,974 ล้านบาท รองลงมาที่กรุงเทพมหานคร มีจำนวน 2,734 ยูนิต มูลค่า 27,105 ล้านบาท แต่ยูนิตเหลือขาย ณ สิ้นไตรมาส 1 ปี 2566 อยู่ที่จังหวัดปทุมธานีมากสุดถึง 35,893 ยูนิต มูลค่า 138,658 ล้านบาท ทั้งที่จังหวัดปทุมธานีที่มียอดขายเป็นอันดับ 3 เท่านั้น ทำให้ปทุมธานีมีอัตราการดูดซับเพียง 1.3% ต่อเดือนเท่านั้น ซึ่งคำนวณได้ว่าต้องใช้เวลาถึง 74 เดือนจึงจะขายได้หมด ทั้งที่ภาพรวมของกรุงเทพฯและปริมณฑลอยู่ที่ 3.1% ต่อเดือน ซึ่งสะท้อนภาวะตลาดบ้านแนวราบในจังหวัดปทุมธานีเริ่มมีภาวะ Oversupply แล้ว ผู้ประกอบการต้องให้ความสนใจในการลงทุนเป็นพิเศษ   ขณะที่ตลาดคอนโดยังคงอยู่ในพื้นที่เป็นหลัก โดยจังหวัดที่มียอดขายสูงสุดอยู่ที่กรุงเทพมหานคร มีจำนวนถึง 5,221 ยูนิต มูลค่า 24,686 ล้านบาท ซึ่งเป็นยอดขายกว่า 60% ของการขายห้องชุดในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล รองลงมาที่จังหวัดปทุมธานี มีจำนวน 2,205 ยูนิต มูลค่า 4,664 ล้านบาท แต่ยูนิตเหลือขาย ณ สิ้นไตรมาส 1 ปี 2566 และ จังหวัดสมุทรปราการ มีจำนวน 1,227 ยูนิต มูลค่า 4,732 ล้านบาท   แต่อย่างไรก็ตาม กรุงเทพมหานครก็ยังมียูนิตเหลือขายสูงสุดถึง 47,225 ยูนิต มูลค่า 225,596 ล้านบาท ทำให้มีอัตราการดูดซับเพียง 3.3% ต่อเดือนเท่านั้น ซึ่งคำนวณได้ว่าต้องใช้เวลาถึง 27 เดือนจึงจะขายได้หมด ทั้งที่ภาพรวมของกรุงเทพฯ และปริมณฑลอยู่ที่ 4.1%/เดือน ขณะที่จังหวัดปทุมธานี มีอัตราการดูดซับถึง 7.3% และสมุทรปราการ มีอัตราดูดซับ 5.3% ต่อเดือน ซึ่งสะท้อนว่า ตลาดคอนโดของกรุงเทพมหานครยังคงมีการแบกอุปทานที่หนักอยู่ หากต้องการลงทุนอาจต้องพิจารณาถึงอุปทานในแต่ละ Segment ของราคาและรูปแบบของแต่ละทำเลอย่างละเอียดเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ ผู้ประกอบการฯ คงต้องติดตามดูทิศทางทางการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ และผลกระทบจากปัจจัยลบของภาคอสังหาริมทรัพย์อย่างใกล้ชิดอีกด้วย     อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง -REIC เผย ยอดโอนคอนโดต่างชาติ Q1/65 ลดทั้งจำนวน-มูลค่า เหตุลูกค้าจีนยังปิดประเทศ   -REIC เปิด ค่าก่อสร้างบ้าน Q2/66 เพิ่ม 2.1% กระเบื้อง-ค่าแรง  ขึ้นราคา ​หวั่นกระทบต้นทุนก่อสร้างสูงขึ้น
“ออริจิ้น” เปิดกลยุทธ์บุก ทำเลรถไฟฟ้า 6 สายส่งคอนโด 19,580 ล้าน ทั่วกทม.-ปริมณฑล

“ออริจิ้น” เปิดกลยุทธ์บุก ทำเลรถไฟฟ้า 6 สายส่งคอนโด 19,580 ล้าน ทั่วกทม.-ปริมณฑล

เปิดกลยุทธ์ “ออริจิ้น” บุก ทำเลรถไฟฟ้า 6 สาย ส่งคอนโด 19,580 ล้าน ทั่วกทม.-ปริมณฑล จากแผนเปิดคอนโดทั่วประเทศ 22 โปรเจ็กต์ กว่า 30,000 ล้าน   สานต่อความเป็น “เจ้าตลาดคอนโด” อย่างต่อเนื่อง สำหรับบริษัท ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) หรือ ORI ผู้พัฒนาธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ครบวงจร ที่ปีนี้ประกาศแผน “Origin Infinity” เดินหน้าสร้างการเติบโตแบบไม่สิ้นสุด พร้อมแผนเปิดตัวโครงการคอนโดมิเนียมใหม่ทั่วประเทศ  22 โครงการ รวมมูลค่ากว่า 30,370 ล้านบาท สูงที่สุดของการเปิดคอนโดในตลาดปี 2566 โดยมี นายอภิสิทธิ์ สุนทรชูเกียรติ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ออริจิ้น คอนโดมิเนียม จำกัด เป็นหนึ่งในผู้นำทัพฝั่งคอนโดมิเนียม   แม้กลยุทธ์หลักจะเน้นการยกทัพธุรกิจในเครือให้ครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศ (Nationwide Serve) ทำให้ปีนี้จะได้เห็นโครงการคอนโดในเครือออริจิ้น ออกสู่พื้นที่ต่างจังหวัดนอกเหนือเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) เป็นครั้งแรก ขณะเดียวกัน ออริจิ้นก็ยังไม่ทิ้งทำเลยุทธ์ศาสตร์ “ใกล้รถไฟฟ้า” ในกรุงเทพฯ-ปริมณฑล อีกหนึ่ง Key Success ที่ทำให้คอนโดของออริจิ้น สามารถครองใจคนเมืองทุกเพศทุกวัย จนมียอดขายคอนโดในไตรมาสแรกของปี 2566 ถึง 9,459 ล้านบาท   “ปีนี้เรามีโครงการคอนโดทำเลกรุงเทพฯ-ปริมณฑล ในไปป์ไลน์ทั้งหมด 12 โครงการ รวมมูลค่ากว่า 19,580 ล้านบาท คิดเป็น 64% ของพอร์ตคอนโดทั้งหมดในเครือ ซึ่งปีนี้เรายังคงบุกทำเลใกล้รถไฟฟ้า 6 สายต่อเนื่องจากปีที่แล้ว ให้ครอบคลุมหลายสถานีมากยิ่งขึ้น" ปักหลักสายสีเขียว เจาะครบทุกเซ็กเมนต์ บริษัทยังคงยึดฐานที่มั่นตามแนวรถไฟฟ้า “สายสีเขียวอ่อน” โดยส่งแบรนด์คอนโดครอบคลุมแทบทุกเซ็กเมนต์และไลฟ์สไตล์ ตั้งแต่ระดับ Entry ไปจนถึงระดับ Luxury เริ่มจากย่าน CBD ใกล้สถานีทองหล่อ ซึ่งเป็นย่านที่มีนักธุรกิจและชาวต่างชาติอยู่อาศัยเยอะ จึงส่งแบรนด์ใหม่โครงการแกรนด์ แฮมป์ตัน ทองหล่อ (Grand Hampton Thonglor) แบรนด์คอนโดมิเนียมสุดหรูสไตล์ Hotel Serviced Residence จากเมกะโปรเจกต์ออริจิ้น ทองหล่อ เวิลด์ (ORIGIN THONGLOR WORLD) มารองรับดีมานด์กลุ่มนี้ พร้อม IP Program สร้างผลตอบแทนสำหรับนักลงทุน   ขณะที่ย่านคลาสสิกอย่างพระโขนง เป็นอีกทำเลที่มีชาวต่างชาติ โดยเฉพาะชาวญี่ปุ่นมาอาศัยอยู่มากขึ้น ทำให้ย่านนี้คึกคัก รายล้อมด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกและแหล่งไลฟ์สไตล์มากมาย จึงได้เห็นการกลับมาอีกครั้งของแบรนด์โซโห แบงค็อก (SOHO Bangkok) คอนโดมิเนียมระดับ Luxury ในเครือพาร์ค ลักชัวรี่ ที่มีจุดเด่นตรงทำเลดี ใกล้สถานีพระโขนง จำนวนยูนิตน้อย มอบความเป็นส่วนตัวให้กับผู้อยู่อาศัย พร้อมเซอร์วิสระดับโรงแรม มาเป็นตัวบุกตลาด   ส่วนทำเลถนัดของออริจิ้น อย่าง บางนา-สมุทรปราการ บริษัทเตรียมส่งแบรนด์โซ ออริจิ้น (So Origin) คอนโดระดับ High End ห้อง Duo Space เพดานสูง 4.2 ม. พร้อม Excellent Services ใกล้สถานีแบริ่ง ขณะที่อีกฝั่งของส่วนต่อขยาย เลือกส่ง แบรนด์ออริจิ้น เพลส (Origin Place) คอนโดเจาะตลาด Upper Class ที่ดีไซน์ห้องพัก และส่วนกลางเจาะกลุ่มคนรักสัตว์โดยเฉพาะ บนทำเลดีใกล้สถานีพหลโยธิน 59 บุกสายสีน้ำเงิน-สีแดงต่อเนื่อง หลังประกาศบุกฝั่งธนบุรีในปีที่แล้ว ปีนี้ออริจิ้นยังเดินหน้าพัฒนาโครงการคอนโด  เจาะทำเลตามแนวรถไฟฟ้า “สายสีน้ำเงิน”  ถึง 4 โครงการรวด ไม่ว่าจะเป็นย่านศิริราช อีกหนึ่ง Medical Hub ที่ขึ้นชื่อของกรุงเทพฯ ทั้งยังเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยเก่าแก่ บริษัทจึงเตรียมส่งแบรนด์โซ ออริจิ้น คอนโดมิเนียมใกล้สถานีไฟฉาย พร้อมบริการเหนือระดับ อำนวยความสะดวกให้กับผู้อยู่อาศัย เจาะกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ พร้อมทั้งส่งแบรนด์ดิ ออริจิ้น เจาะโซนบางแค และ ออริจิ้น เพลส เจาะสถานีภาษีเจริญตรงข้ามซีคอน บางแค เอาใจผู้บริโภคทั้ง Gen Y Gen Z ที่กำลังมองหาคอนโดมิเนียมย่านฝั่งธนบุรี   ขณะเดียวกัน ออริจิ้นยังเตรียมมาเปิด ดิ ออริจิ้น อีกหนึ่งโครงการที่รถไฟฟ้าสายสีแดง สถานีบางบำหรุ คาดว่าจะได้เห็นปลายปีนี้ เจาะ Blue Ocean สายสีเหลือง-ชมพู-ส้ม ส่วนทำเล Blue Ocean ตามแนวรถไฟฟ้าสายใหม่ ที่เตรียมเปิดให้บริการเร็วๆ นี้ ไม่ว่าจะเป็น “สายสีเหลือง” ซึ่งเป็นย่านที่อยู่อาศัยและมีคอมมูนิตี้มอลล์ แหล่งไลฟ์สไตล์ครบครัน ทำเล “สายสีชมพู” สถานีศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ อีกหนึ่งแหล่งงานขนาดใหญ่ ที่มีข้าราชการและบุคลากรถึง 25,000 คน และรถไฟฟ้า “สายสีส้ม” สถานีน้อมเกล้า ที่สามารถเชื่อมได้ทั้งรถไฟฟ้าสายสีเหลืองและสายสีชมพู บริษัทจะใช้ 2 แบรนด์หลัก อย่างออริจิ้น เพลส และออริจิ้น เพลย์ เป็นแบรนด์เรือธงในการบุกตลาด โดยมีทั้ง Duo Space ห้อง 2 ชั้น เพิ่มพื้นที่ใช้สอยให้กับผู้อยู่อาศัย และคอนโดเลี้ยงสัตว์ได้ เจาะกลุ่ม Pet Lover และคนรุ่นใหม่   “แม้จะเป็นเส้นรถไฟฟ้าสายสีเดียวกัน แต่แค่ต่างสถานี ความต้องการของผู้อยู่อาศัยก็ไม่เหมือนกัน ทีมงานออริจิ้นจึงทำการบ้านกันอย่างหนัก นอกจากมองศักยภาพของทำเลแล้ว เราพยายามศึกษาลงลึกเพื่อเข้าถึง Insight และเห็นภาพทุก Journey ของผู้บริโภคในทุกๆ ทำเลว่าคนย่านนี้ทำงานอะไรมีไลฟ์สไตล์แบบไหนต้องการอะไรบ้างในแต่ละวัน เพื่อให้เราออกแบบฟังก์ชันทั้งในห้องพักและพื้นที่ส่วนกลางได้ตรงใจผู้อยู่อาศัยให้มากที่สุด นี่จึงเป็น Key Success ที่ทำให้คอนโดมิเนียมของออริจิ้น ยังสามารถครองใจผู้บริโภคได้ทุกทำเล”     อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง -ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ ร่วมพันธมิตรออก โทเคนดิจิทัล เรียลเอ็กซ์ ลงทุนแค่ 182 บาท -ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ วาง 3 แผนงานสร้างการโตไม่สิ้นสุด จับเมกะเทรนด์ลุยธุรกิจทั่วไทย
เปิด ราคาที่อยู่อาศัย 7 โซน  เขตปทุมวันขึ้นมา 2.5 แสนต่อตร.ม.

เปิด ราคาที่อยู่อาศัย 7 โซน เขตปทุมวันขึ้นมา 2.5 แสนต่อตร.ม.

เปิดราคาที่อยู่อาศัย ในไตรมาสแรกที่ผ่านมา กับ 7 โซนที่ขยับสูง 3-6% พื้นที่ CBD ในเขตปทุมวัน ราคาขยับขึ้น 250,000 บ.ต่อตร.ม. ขณะที่ค่าเช่าในทำเลแนวรถไฟฟ้าสายปัจจุบัน และแหล่งงานขนาดใหญ่ ค่าเช่าขยับสูงสุด 8% ในเขต​​ธนบุรี ด้วยราคาค่าเช่า 390 บ./ตร.ม./ด.   ภาพรวมตลาดอสังหาริมทรัพย์ ช่วงครึ่งปีแรก​ที่ผ่านมา เติบโตไม่หวือหวา เพราะยังเผชิญปัจจัยท้าทายรอบด้าน แม้ทิศทางเงินเฟ้อเริ่มชะลอตัวแต่กำลังซื้อผู้บริโภคยังไม่แข็งแรงเพียงพอ ประกอบกับอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นยังคงเป็นอุปสรรคในการเป็นเจ้าของที่อยู่อาศัย ส่งผลให้ความต้องการซื้อที่อยู่อาศัยในไตรมาสที่ผ่านมาลดลง 2%   ขณะที่แนวโน้มราคายังไม่ฟื้นตัว ดัชนีราคาที่อยู่อาศัยก็ปรับลดลงทุกประเภท หลังจากผู้ประกอบการรวมถึงผู้บริโภคที่มีสินค้าอยู่ในมือ ตรึงราคาสินค้าต้นทุนเดิม เพื่อกระตุ้นการตัดสินใจซื้อ ด้านตลาดเช่ามีแนวโน้มเติบโตอย่างน่าสนใจ หลังผู้บริโภคชะลอแผนการซื้อ ส่งผลดัชนีค่าเช่าปรับเพิ่มขึ้น 3%   แม้ภาพรวมความต้องการเช่าจะลดลงจากไตรมาสก่อนเล็กน้อย แต่เพิ่มขึ้น 17% ในรอบปี คาดการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย​ ยังเป็นตัวแปรสำคัญ​ในการตัดสินใจซื้อที่อยู่​อาศัยของผู้บริโภคระดับกลางและล่างในปีนี้ หวังความชัดเจนแผนกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลชุดใหม่ จะเป็นตัวช่วยสำคัญพลิกฟื้น​เศรษฐกิจพร้อมกระตุ้นกำลังซื้อผู้บริโภค ซึ่งจะเป็นปัจจัยบวกช่วยสร้างการเติบโตแก่ตลาดอสังหาฯ ให้กลับมาคึกคัก​อีกครั้งในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ ราคาที่อยู่อาศัยปรับตัวลดลง 18% ข้อมูลล่าสุด จากรายงาน DDproperty Thailand Property Market Report Q2 2566 ซึ่งวิเคราะห์จากข้อมูลประกาศขาย-เช่าอสังหาฯ บนเว็บไซต์ DDproperty พบว่า ภาพรวมดัชนีราคาที่อยู่อาศัยในกรุงเทพฯ ปรับตัวลดลง 10% จากไตรมาสก่อน (QoQ) หรือลดลง 18% จากปีก่อนหน้า (YoY) โดยมีการปรับลดลงถึง 31% จากช่วงก่อนเกิดการแพร่ระบาดฯ (ไตรมาส 4 ปี 2562) สะท้อนให้เห็นว่าแนวโน้มราคาที่อยู่อาศัยยังชะลอตัวต่อเนื่อง   ทั้งนี้ ดัชนีราคาที่อยู่อาศัยมีการปรับตัวลดลงทุกประเภท ซึ่งเป็นผลจากกำลังซื้อผู้บริโภคที่ยังไม่ฟื้นตัว  ผู้ประกอบการ รวมถึงผู้บริโภคที่มีสินค้าอยู่ในมือ ตรึงราคาขายของสินค้าต้นทุนเดิมไว้ และจัดโปรโมชั่นส่งเสริมการขายอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้มีเพียงทาวน์เฮ้าส์ที่มีดัชนีราคาทรงตัวจากไตรมาสก่อน ขณะที่ดัชนีราคาบ้านเดี่ยวและคอนโดมิเนียมลดลงในสัดส่วนเท่ากันที่ 4% QoQ สะท้อนให้เห็นว่าความนิยมของที่อยู่อาศัยแนวราบในปีนี้เริ่มชะลอตัวพอสมควร  หากเทียบกับช่วงก่อนเกิดการแพร่ระบาดฯ พบว่า บ้านเดี่ยวยังมีการเติบโตอย่างน่าสนใจ โดยถือเป็นที่อยู่อาศัยประเภทเดียวที่มีดัชนีราคาเพิ่มขึ้น 6% ขณะที่ทาวน์เฮ้าส์ลดลง 5% และคอนโดฯ ลดลงมากที่สุดถึง 20%   นายวิทยา อภิรักษ์วิริยะ ผู้จัดการทั่วไป Think of Living และ ดีดีพร็อพเพอร์ตี้ (ฝั่งดีเวลลอปเปอร์) กล่าวว่า ปัจจัยบวกที่ช่วยกระตุ้นตลาดอสังหาฯ ในช่วงครึ่งปีแรกที่หลายฝ่ายจับตามอง คือ การที่จีนเปิดประเทศ ซึ่งส่งผลให้ตลาดท่องเที่ยวและตลาดอสังหาฯ มีแนวโน้มเติบโตตามไปด้วย เนื่องจากจีนเป็นกลุ่มลูกค้าหลักที่เข้ามาซื้ออสังหาฯ ไทยมากที่สุด   อย่างไรก็ตาม แม้จะมีปัจจัยบวกจากกำลังซื้อต่างชาติที่เพิ่มขึ้น แต่ตลาดอสังหาฯ ยังคงเผชิญความท้าทายจากกำลังซื้อในประเทศเช่นกัน แม้ภาวะเงินเฟ้อจะชะลอตัวลง แต่ปัจจัยท้าทายสำคัญมาจากอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มสูงขึ้น หลังจากคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายติดต่อกัน ทำให้อัตราดอกเบี้ยนโยบายปัจจุบันอยู่ที่ 1.75% ต่อปี และยังมีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้นอีกในอนาคต ส่งผลให้ธนาคารและสถาบันการเงินต่าง ๆ ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและเงินกู้ทุกประเภทตามไปด้วย กระทบกับผู้ที่วางแผนซื้อที่อยู่อาศัยและผู้ที่กำลังผ่อนบ้านอยู่อย่างเลี่ยงไม่ได้”   จากแนวโน้มเศรษฐกิจที่ยังไม่แน่นอนและอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น รวมถึงค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการซื้ออสังหาฯ ที่เพิ่มสูงขึ้น อาจส่งผลให้ความสนใจซื้อของผู้บริโภคในประเทศชะลอตัวลง  โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ซื้อเพื่ออยู่อาศัยจริง (Real Demand) ระดับกลางและล่าง ซึ่งต้องพึ่งพาสินเชื่อจากสถาบันการเงินในการกู้ซื้อที่อยู่อาศัยเป็นของตัวเอง   โดยอาจต้องทบทวนความพร้อมทางการเงินและวางแผนรับมือหากต้องผ่อนบ้านในยุคดอกเบี้ยขาขึ้น ซึ่งจะมีภาระผ่อนชำระเพิ่มขึ้นตามไปด้วย นอกจากนี้ สถาบันการเงินยังมีเกณฑ์การพิจารณาอนุมัติสินเชื่อที่เข้มงวด ซึ่งจะส่งผลให้โอกาสเป็นเจ้าของที่อยู่อาศัยในกลุ่ม Real Demand โดยเฉพาะกลุ่มที่รายได้ยังคงอ่อนแอจะมีความท้าทายยิ่งขึ้น   อย่างไรก็ตาม โครงการรีเซลหรือตลาดบ้านมือสองซึ่งมีต้นทุนราคาเดิมที่ถูกกว่า จึงอาจกลายเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับผู้ที่ต้องการเป็นเจ้าของที่อยู่อาศัยในเวลานี้ สำหรับความท้าทายด้านการเงินและกำลังซื้อของผู้บริโภคที่ยังไม่กลับมา อาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ตลาดเช่ามีแนวโน้มเติบโตมากขึ้น โดยเฉพาะในทำเลแหล่งงานและแนวรถไฟฟ้าสายปัจจุบัน เห็นได้ชัดจากความต้องการเช่าที่เพิ่มขึ้น 118% จากช่วงก่อนเกิดการแพร่ระบาดฯ และอาจกลายเป็นเทรนด์สำหรับคนยุคปัจจุบันที่ต้องการความยืดหยุ่นในการอยู่อาศัยโดยไม่จำเป็นต้องเป็นเจ้าของ และไม่ต้องการมีภาระหนี้ระยะยาว จึงนับเป็นโอกาสของผู้ที่ต้องการซื้ออสังหาฯ เพื่อลงทุนปล่อยเช่าเช่นกัน   อย่างไรก็ตาม แน่นอนว่าการฟื้นตัวของเศรษฐกิจยังคงเป็นหัวใจสำคัญที่ภาคธุรกิจและผู้บริโภคเฝ้ารอ สิ่งที่หลายฝ่ายจับตามองต่อจากนี้ คือ ความชัดเจนของแผนกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลชุดใหม่ที่จะเข้ามาขับเคลื่อนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยให้เติบโตอย่างต่อเนื่อง แก้ปัญหาค่าครองชีพที่สูงขึ้น รวมทั้งช่วยกระตุ้นกำลังซื้อของผู้บริโภคให้กลับมาดีดังเดิม   ขณะเดียวกันผู้พัฒนาอสังหาฯ และผู้บริโภคต่างคาดหวังนโยบายที่เกี่ยวข้องกับภาคอสังหาฯ ที่จะเข้ามาเพิ่มโอกาสให้คนไทยเป็นเจ้าของที่อยู่อาศัยได้ง่ายขึ้นในยุคดอกเบี้ยขาขึ้น รวมทั้งช่วยขับเคลื่อนการเติบโตของตลาดอสังหาฯ ช่วงครึ่งหลังของปี 2566 ให้ฟื้นตัวดีดังเดิมเช่นกัน เกาะติดทิศทางตลาดที่อยู่อาศัย ส่วนรายงาน DDproperty Thailand Property Market Report Q2 2566 ซึ่งวิเคราะห์จากข้อมูลประกาศขาย-เช่าอสังหาฯ บนเว็บไซต์ DDproperty เผยข้อมูลเชิงลึกของตลาดอสังหาฯ ไทยในไตรมาสล่าสุด พร้อมสรุปภาพรวมดัชนีราคา และความต้องการที่อยู่อาศัยที่น่าจับตามองในตลาดซื้อและเช่า รวมทั้งอัปเดตทำเลศักยภาพที่ดัชนีราคามีแนวโน้มเติบโตอย่างน่าสนใจ ดีมานด์คนซื้อยังไม่ฟื้น ภาพรวมอุปทานหรือจำนวนที่อยู่อาศัยในกรุงเทพฯ ไตรมาสที่ผ่านมา พบว่าที่อยู่อาศัยแนวราบยังคงมีสัดส่วนเติบโตต่อเนื่อง โดยบ้านเดี่ยวมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 15% และทาวน์เฮ้าส์มีสัดส่วนที่ 11% ของจำนวนที่อยู่อาศัยทั้งหมดในกรุงเทพฯ (เพิ่มขึ้นในสัดส่วนเท่ากันที่ 3% QoQ) ด้านคอนโดฯ แม้จะครองสัดส่วนมากที่สุดในตลาดถึง 74% แต่มีสัดส่วนลดลง 6% QoQ สะท้อนให้เห็นเทรนด์ที่อยู่อาศัยในช่วงที่ผ่านมาอย่างชัดเจน หลังผู้พัฒนาอสังหาฯ ได้มุ่งเน้นไปที่การเปิดตัวโครงการแนบราบอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับผู้ขายที่มีสินค้าแนวราบต่างนำสินค้าออกมาขายมากขึ้น เพื่อรองรับพฤติกรรมของผู้บริโภคที่ต้องการที่อยู่อาศัยที่มีพื้นที่ใช้สอยเพิ่มขึ้น   ขณะที่ภาพรวมที่อยู่อาศัยส่วนใหญ่มีราคาขายอยู่ที่ 1-3 ล้านบาท ด้วยสัดส่วนถึง 29% ของที่อยู่อาศัยทั้งหมดในกรุงเทพฯ เมื่อพิจารณาตามประเภทอสังหาฯ พบว่า คอนโดฯ (31%) และทาวน์เฮ้าส์ (44%) ส่วนใหญ่มีราคาอยู่ที่ 1-3 ล้านบาท ด้านบ้านเดี่ยวส่วนใหญ่ (41%) มีราคามากกว่า 15 ล้านบาท ซึ่งเป็นกลุ่มบ้านระดับพรีเมียมและบ้านหรูที่ตอบโจทย์กลุ่มผู้บริโภคระดับบนที่มีกำลังซื้อสูงและมีความพร้อมทางการเงิน ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายที่ผู้พัฒนาอสังหาฯ หันมาทำตลาดทดแทนกำลังซื้อระดับกลางและล่างที่ชะลอตัวลง   อย่างไรก็ดี ภาพรวมความต้องการซื้อที่อยู่อาศัยในกรุงเทพฯ ในระยะสั้นมีการปรับตัวลดลง 2% QoQ และลดลง 15% YoY ซึ่งเมื่อพิจารณาตามประเภทที่อยู่อาศัยพบว่าปรับลดลงใกล้เคียงกัน โดยบ้านเดี่ยวลดลงมากที่สุด 3% QoQ และคอนโดฯ ลดลง 2% QoQ มีเพียงทาวน์เฮ้าส์ที่ถือเป็นที่อยู่อาศัยประเภทเดียวที่มีดัชนีความต้องการซื้อเพิ่มขึ้น 1% QoQ หากเปรียบเทียบกับช่วงก่อนเกิดการแพร่ระบาดฯ จะพบว่าภาพรวมความต้องการซื้อที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้นถึง 44% และมีความต้องการเพิ่มขึ้นอย่างมากในทุกประเภทที่อยู่อาศัย โดยเฉพาะแนวราบที่มีการเติบโตอย่างเห็นได้ชัด โดยบ้านเดี่ยวมีความต้องการซื้อเพิ่มขึ้นมากถึง 60% ตามมาด้วยทาวน์เฮ้าส์ และคอนโดฯ (เพิ่มขึ้น 47% และ 38% ตามลำดับ) ดังนั้น แม้ความต้องการซื้อที่อยู่อาศัยจะชะลอตัวลงในระยะสั้นในรอบไตรมาส แต่หากมองในระยะยาวยังมีสัญญาณที่ดี 7 ทำเลราคาที่อยู่อาศัยปรับขึ้นสูง สำหรับทำเลที่มีดัชนีราคาที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้นมากที่สุดในรอบไตรมาส ปัจจุบันเริ่มกลับมาอยู่ในย่านใจกลางเมือง และพื้นที่นอกเขตศูนย์กลางธุรกิจแล้ว ต่างจากรอบก่อนหน้าที่ทำเลส่วนใหญ่เป็นพื้นที่กรุงเทพฯ รอบนอก โดยทำเลที่น่าจับตามองในไตรมาสนี้ส่วนใหญ่จะอยู่ในทำเลแนวรถไฟฟ้าสายปัจจุบัน ได้แก่ 1.เขตปทุมวัน เขตปทุมวัน ถือเป็นทำเล CBD ที่มีดัชนีราคาเพิ่มขึ้นมากที่สุด โดยเพิ่มขึ้น 6% QoQ (เพิ่มขึ้น 4% YoY) หรือมีราคาเฉลี่ย 250,000 บ./ตร.อานิสงส์จากการเป็นทำเลใจกลางเมืองหลวงที่มีศูนย์การค้าขนาดใหญ่ และเป็นแหล่งงาน รวมทั้งใกล้รถไฟฟ้าสายสีเขียว สายสุขุมวิท 2.เขตสัมพันธวงศ์ เขตสัมพันธวงศ์ ทำเลนอก CBD ถือเป็นทำเลแหล่งการค้าขนาดใหญ่ เดินทางสะดวกด้วยรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน หัวลำโพง-หลักสอง มีราคาเฉลี่ย 105,000 บ./ตร.ม. มีดัชนีราคาเพิ่มขึ้น 4% QoQ (เพิ่มขึ้น 4% YoY) 3.เขตบางคอแหลม เขตบางคอแหลม ทำเลนอก CBD มีดัชนีราคาเฉลี่ย 110,000 บ./ตร.ม. เพิ่มขึ้น 4% QoQ (ลดลง 7% YoY) ทำเลแหล่งงานย่านพระราม 3 ใกล้สาทร-สีลม ความน่าสนใจอยู่ที่ปัจจุบันยังมีโครงการพัฒนาต่อเนื่อง เช่น ศูนย์การค้าขนาดใหญ่ 4.เขตคลองสาน เขตคลองสาน ทำเลนอก CBD ราคาเฉลี่ย 134,000 บ./ตร.ม. มีดัชนีราคาเพิ่มขึ้น 3% QoQ (เพิ่มขึ้น 5% YoY) อีกหนึ่งทำเลศูนย์การค้าขนาดใหญ่ ใกล้รถไฟฟ้าสายสีทอง กรุงธนบุรี-คลองสาน 5.เขตคลองสามวา เขตคลองสามวา มีราคาเฉลี่ย 23,000 บ./ตร.ม. หรือมีค่าดัชนีราคาเพิ่มขึ้น 3% QoQ (เพิ่มขึ้น 3% YoY) เป็นทำเลพื้นที่กรุงเทพฯ รอบนอก ที่มีที่อยู่อาศัยส่วนใหญ่เป็นสินค้าแนวราบ ซึ่งตอบโจทย์กลุ่มผู้ซื้อเพื่ออยู่อาศัยจริง (Real Demand) 6.เขตวัฒนา ​ เขตวัฒนา มีดัชนีราคาเพิ่มขึ้น 3% QoQ (ลดลง 2% YoY) หรือมีราคาเฉลี่ย 152,000 บ./ตร.ม. เนื่องจากเป็นทำเลธุรกิจสำคัญของกรุงเทพฯ เป็นแหล่งงานขนาดใหญ่ และใกล้รถไฟฟ้าสายสีเขียว สายสุขุมวิท 7.เขตหลักสี่    เขตหลักสี่ มีดัชนีราคาเพิ่มขึ้น 3% QoQ (ลดลง 25% YoY) มีราคาเฉลี่ย 48,000 บ./ตร.ม. เติบโตจากอานิสงส์ของรถไฟฟ้าสายสีเขียว ส่วนต่อขยาย หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต ที่เชื่อมต่อการเดินทางไปยังใจกลางเมืองให้ง่ายขึ้น ที่อยู่แนวรถไฟฟ้าค่าเช่าขยับสูงสุด 8% ภาพรวมดัชนีค่าเช่าในกรุงเทพฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้น 3% QoQ หรือเพิ่มขึ้น 3% YoY แต่ยังต่ำกว่าช่วงก่อนเกิดการแพร่ระบาดฯ อยู่ถึง 10% โดยเมื่อแบ่งตามประเภทที่อยู่อาศัยพบว่า มีเพียงทาวน์เฮ้าส์เท่านั้นที่มีดัชนีค่าเช่าเพิ่มขึ้น 2% QoQ (ทรงตัวจากปีก่อนหน้า) ขณะที่บ้านเดี่ยวลดลง 6% QoQ (ลดลง 18% YoY) ด้านคอนโดฯ ยังทรงตัวจากไตรมาสก่อน (เพิ่มขึ้น 2% YoY)   อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาเทียบกับช่วงก่อนเกิดการแพร่ระบาดฯ พบว่า ดัชนีค่าเช่าของที่อยู่อาศัยแนวราบยังมีทิศทางเติบโต โดยบ้านเดี่ยวมีดัชนีค่าเช่าเพิ่มขึ้น 8% และทาวน์เฮ้าส์ เพิ่มขึ้น 4% สวนทางกับคอนโดฯ ที่ดัชนีค่าเช่าปรับลดลงถึง 12% จากช่วงก่อนเกิดการแพร่ระบาดฯ สะท้อนให้เห็นว่าตลาดเช่าคอนโดฯ ยังมีการแข่งขันสูง ผู้ให้เช่าบางส่วนจึงใช้กลยุทธ์ปรับลดราคาให้สอดคล้องกับกำลังซื้อของผู้บริโภคเพื่อดึงดูดการตัดสินใจเช่า   ด้านจำนวนที่อยู่อาศัยสำหรับเช่านั้น แม้คอนโดฯ จะครองสัดส่วนมากที่สุดถึง 93% ของจำนวนที่อยู่อาศัยสำหรับเช่าทั้งหมดในกรุงเทพฯ แต่มีสัดส่วนลดลง 2% QoQ ต่างจากจำนวนที่อยู่อาศัยแนวราบที่มีการปรับเพิ่มในรอบไตรมาส ส่งผลให้บ้านเดี่ยวมีสัดส่วนเพิ่มมาอยู่ที่ 4% และทาวน์เฮ้าส์มีสัดส่วนอยู่ที่ 3% (เพิ่มขึ้นในสัดส่วนเท่ากันที่ 1% QoQ) ทำให้ตลาดเช่ามีตัวเลือกที่อยู่อาศัยแนวราบที่หลากหลายและตอบโจทย์ความต้องการของผู้เช่าที่มีครอบครัวมากขึ้น   สำหรับภาพรวมดัชนีความต้องการเช่าที่อยู่อาศัยในกรุงเทพฯ แม้จะปรับลดลง 3% QoQ แต่เพิ่มขึ้น 17% YoY เมื่อพิจารณาตามประเภทที่อยู่อาศัยพบว่า มีเพียงทาวน์เฮ้าส์ที่ดัชนีความต้องการเช่าเพิ่มขึ้น 7% QoQ ขณะที่บ้านเดี่ยวลดลง 8% QoQ และคอนโดฯ ลดลง 3% QoQ   ทั้งนี้ ดีมานด์ในตลาดเช่ายังมีทิศทางเติบโตน่าสนใจ โดยเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงก่อนเกิดการแพร่ระบาดฯ พบว่าดัชนีความต้องการเช่าที่อยู่อาศัยในกรุงเทพฯ เพิ่มขึ้นถึง 118% และปรับเพิ่มขึ้นทุกประเภทที่อยู่อาศัย โดยเฉพาะที่อยู่อาศัยแนวดิ่งอย่างคอนโดฯ ที่ยังคงครองความนิยมในตลาดเช่า โดยมีดัชนีความต้องการเช่าเพิ่มขึ้น 143% จากช่วงก่อนเกิดการแพร่ระบาดฯ ตามมาด้วยบ้านเดี่ยว และทาวน์เฮ้าส์ (เพิ่มขึ้น 36% และ 24% ตามลำดับ) 5 ทำเล ค่าเช่าที่อยู่เพิ่มขึ้นมากสุด ทำเลที่มีดัชนีค่าเช่าเพิ่มขึ้นมากที่สุดในรอบไตรมาส ส่วนใหญ่อยู่ในทำเลแนวรถไฟฟ้าสายปัจจุบัน และเป็นทำเลแหล่งงานขนาดใหญ่ซึ่งมีความต้องการที่อยู่อาศัยสูงตามไปด้วย โดย 5 ทำเล ค่าเช่าที่อยู่เพิ่มขึ้นมากสุด ได้แก่ 1.เขตธนบุรี เขตธนบุรี ดัชนีค่าเช่าเพิ่มขึ้นถึง 8% QoQ (เพิ่มขึ้น 8% YoY) มีค่าเช่า 390 บ./ตร.ม./ด. ความน่าสนใจอยู่ที่เป็นทำเลใกล้ย่านธุรกิจ และสามารถเดินทางสะดวกด้วยรถไฟฟ้าสายสีเขียว สายสีลม 2.เขตสัมพันธวงศ์ เขตสัมพันธวงศ์ ดัชนีค่าเช่าเพิ่มขึ้น 8% QoQ (ทรงตัวจากปีก่อนหน้า) ด้วยค่าเช่า 360 บ./ตร.ม./ด. ซึ่งถือ เป็นทำเลแหล่งการค้าขนาดใหญ่ ได้อานิสงส์จากโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน หัวลำโพง-หลักสอง 3.เขตดินแดง เขตดินแดง ดัชนีค่าเช่าเพิ่มขึ้น 7% QoQ (เพิ่มขึ้น 8% YoY) ด้วยค่าเช่า 460 บ./ตรม./ด. ซึ่งเป็นทำเลศูนย์กลางธุรกิจของกรุงเทพฯ (CBD) แห่งใหม่ ใกล้รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน หัวลำโพง-บางซื่อ 4.เขตสายไหม เขตสายใหม ในทำเลกทม.รอบนอก มีดัชนีราคาค่าเช่า 280 บ./ตรม./ด. เพิ่มขึ้น 5% ​QoQ (เพิ่มขึ้น 5% YoY) ทำเลใกล้รถไฟฟ้าสายสีเขียว ส่วนต่อขยาย หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต 5.เขตประเวศ เขตประเวศ ดัชนีค่าเช่าเพิ่มขึ้น 5% QoQ (เพิ่มขึ้น 2% YoY) ค่าเช่า 270 บ./ตรม./ด. ถือเป็นทำเลกทม.รอบนอก ที่เดินทางสะดวกทั้งจากรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ พญาไท-สนามบินสุวรรณภูมิ และรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ลาดพร้าว-สำโรง     อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง -ไนท์แฟรงค์ มองตลาดอสังหาฯ ปี 66   “ท่องเที่ยว-ไมซ์-บ้านหรู” ตัวเร่งกำลังซื้อ -ส่องตลาดอสังหาฯ 66 ท่ามกลางปัจจัยบวก-ลบ มีดีมานด์บ้าน-คอนโด 1.2 แสนยูนิต
อัปเดต ค่ารถไฟฟ้า และการเปิดให้บริการเส้นทางใช้ใหม่ ในปี 2566

อัปเดต ค่ารถไฟฟ้า และการเปิดให้บริการเส้นทางใช้ใหม่ ในปี 2566

อัปเดต ค่ารถไฟฟ้า และการเปิดให้บริการเส้นทางใช้ใหม่ ในปี 2566 คนกรุงเตรียมเฮ เปิดเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีชมพู และสีเหลือง แต่เส้นทางรถไฟฟ้าเดิมปรับราคาขึ้นสูงสุดถึง 3 บาท   นับตั้งแต่เมืองไทยเรามีรถไฟฟ้าสายแรก คือ รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีเขียว ให้คนไทยได้นั่งโดยสารกันในวันที่ 5 ธันวาคม 2542 ตอนนี้ก็เป็นระยะเวลา 23  ปีแล้ว ซึ่งตามแผนการพัฒนารถไฟฟ้าของเมืองไทย จะมีรถไฟฟ้ามากถึง 13 สี ครอบคลุมพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล ระยะทางกว่า 553.41 กิโลเมตร จำนวน 365 สถานี ซึ่งหากการพัฒนาเป็นไปตามแผนในปี  2572 เมืองไทยจะมีรถไฟฟ้าวิ่งให้บริการครบทั้ง 13 สี​ ​แต่แผนกับการปฏิบัติจริงอาจจะไม่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ระหว่างทางอาจจะมีการปรับเปลี่ยนหรือติดปัญหาอะไรก็เป็นไปได้ คงต้องติดตามข่าวสารกันต่อไป   แต่สำหรับปี 2566 คนไทยจะมีโอกาสได้นั่งรถไฟฟ้าสีใหม่ที่เปิดบริการอีก 2 สี 2 เส้นทางแล้ว หลังรอคอยมาเป็นเวลานานพอสมควร กับรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี ระยะทาง 34.5 กิโลเมตร และรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง ระยะทาง 30.4 กิโลเมตร รถไฟฟ้าสายสีชมพูเปิดส.ค.66 รถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี อัปเดตเดือนพฤศจิกายน 2565 ตอนนี้มีความคืบหน้าด้านงานโยธา 93.85% ความก้าวหน้างานระบบรถไฟฟ้า 94.12% ความก้าวหน้าโดยรวม 94.00% เบื้องต้นมีแผนจะเปิดทดลองให้บริการ สำหรับเป็นกลุ่มผู้ใช้บริการที่ขอเข้ารับการทดลอง (Control Group Public Trial Run) ตั้งแต่สถานีมีนบุรี-สถานีศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ ในช่วงปลายเดือนกรกฎาคม 2566 ระยะเวลา 1 เดือนและเปิดให้บริการเชิงพาณิชย์ภายในเดือนสิงหาคม 2566  ส่วนค่าโดยสารเบื้องต้นคาดว่าจะจัดเก็บ  15-45* บาท โดยจะมีการคำนวณอีกครั้งจากค่าดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนพฤษภาคม 2566   รถไฟฟ้าสีชมพู เป็นระบบขนส่งมวลชนสายรองประเภทรถไฟฟ้ารางเดี่ยว (Straddle Monorail) ที่เป็นทางยกระดับตลอดเส้นทาง รวมระยะทางให้บริการ 34.5 กิโลเมตร ประกอบด้วยสถานีทั้งหมด 30 แห่ง โครงสร้างสถานีเป็นลักษณะโครงสร้างยกระดับเหนือพื้นผิวถนน ชานชาลาของสถานีจะอยู่ในรูปแบบของชานชาลาด้านข้างหรืออยู่ตรงกลางขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของใน แต่ละสถานี   นอกจากรถไฟฟ้าสายสีชมพูจะมีเส้นทางแคราย-มีนบุรีแล้ว ยังมีสายสีชมพูส่วนต่อขยายช่วงสถานีศรีรัช - เมืองทองธานี (โครงการส่วนต่อขยายฯ) ในแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลด้วย ​​โดยจะเป็นระบบขนส่งมวลชนประเภทรถไฟรางเดี่ยว (Straddle Monorail) มีลักษณะเป็นโครงสร้างยกระดับตลอดเส้นทาง มีจุด​​เชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีชมพูสายหลัก ที่สถานีเมืองทองธานี (PK10) เข้าสู่ ซอยแจ้งวัฒนะ - ปากเกร็ด 39 ไปสิ้นสุดที่บริเวณทะเลสาบในเมืองทองธานี ระยะทางโดยประมาณ 3 กิโลเมตร​ประกอบด้วย 2 สถานี สถานีที่ 1 สถานีอิมแพ็ค เมืองทองธานี (MT01) และสถานีที่ 2 สถานีทะเลสาบ เมืองทองธานี (MT02) รถไฟฟ้าสายสีเหลืองเปิดมิ.ย.66 รถไฟฟ้าอีกหนึ่งสีที่คนไทยจะได้นั่งกัน คือ รถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง ที่วางแผนกันไว้ว่าจะเปิดให้บริการสำหรับกลุ่มผู้ใช้บริการที่ขอเข้ารับการทดลอง (Control Group Public Trial Run) ตลอดทั้งสาย ภายในเดือนพฤษภาคม 2566 ระยะเวลา 1 เดือน และเปิดให้บริการเชิงพาณิชย์ภายในเดือนมิถุนายน 2566  โดยอัตราค่าโดยสารจะอยู่ประมาณ 15-45** ซึ่งจะมีการคำรวนจากค่าดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนมีนาคม 2566 อีกครั้ง   ส่วนอัปเดตงานก่อสร้างล่าสุด เดือนพฤศจิกายน 2565 ดำเนินงานไปได้แล้วถึง​ 97.73% ความก้าวหน้างานระบบรถไฟฟ้า 97.72% ความก้าวหน้าโดยรวม 97.73% โดยรถไฟฟ้าสายสีเหลือง เป็นโครงสร้างยกระดับตลอดแนวเส้นทาง มีระยะทางทั้งสิ้น 30.4 กิโลเมตรรวม 23 สถานี แบ่งโครงการออกเป็น 2 ช่วง ได้แก่ ช่วงรัชดา/ลาดพร้าว–พัฒนาการ และช่วงพัฒนาการ–สำโรง ซึ่งใช้ระบบรถไฟฟ้ารางเดี่ยว หรือ Monorail ตลอดเส้นทาง อัปเดตค่ารถไฟฟ้าปี 66 ปรับขึ้นเท่าไร? นอกจากปีหน้าเราจะได้นั่งรถไฟฟ้าสีใหม่ เส้นทางใหม่อีก 2 สี 2 เส้นทางแล้ว รถไฟฟ้าสายเดิมที่วิ่งให้บริการอยู่ ก็จะพาเหรดกันปรับขึ้นราคาขึ้น กันหลายสายเลยทีเดียว โดยมีการคิดค่าโดยสารเพิ่มขึ้นตั้งแต่ 1-3 บาท   สำหรับอัปเดตค่ารถไฟฟ้าปี 2566 ที่ปรับขึ้นมีดังนี้ 1.BTS สายสีเขียว ปรับขึ้นสูงสุด 3 บาทต่อเที่ยว สำหรับรถไฟฟ้าบีทีเอส มีการปรับค่าโดยสารเริ่มต้นสถานีแรก 17 บาท จากก่อนหน้าเริ่มต้น 16 บาท และสูงสุดต่อเที่ยวเดินทาง คือ 47 บาท ปรับเพิ่มขึ้น 3 บาท จากก่อนหน้าที่คิด ​44​ บาท มีกำหนดเริ่มคิดค่าโดยสารใหม่ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคมนี้   โดยอัตราค่าโดยสารเริ่มต้นของรถไฟฟ้าบีทีเอส ครั้งแรกกำหนดราคา 10-40 บาท หลังจากนั้นได้มีการปรับราคาใหม่ ซึ่งตลอดระยะเวลา 23 ปีของการเปิดให้บริการรถไฟฟ้าบีทีเอสนั้น มีการปรับค่าโดยสารมาแล้ว 3 ครั้ง ดังนี้ ครั้งที่ 1 วันที่ 1 ธันวาคม 2549 ปรับราคาเป็น 15-40 บาท ครั้งที่ 2 วันที่ 1 มิถุนายน 2556 ปรับราคาเป็น 15-42 บาท ครั้งที่ 3 วันที่ 1 ตุลาคม 2560 ปรับราคาเป็น 16-44 บาท ตามเงื่อนไขสัญญาสัมปทาน ทางบีทีเอสสามารถปรับขึ้นได้ทุก ๆ 18 เดือน ​แต่การปรับขึ้นทางบีทีเอสจะพิจารณาจากหลายปัจจัย เพื่อไม่ให้กระทบกับผู้โดยสารมากนัก ​โดยค่าโดยสารที่ปรับขึ้นในวันที่ 1 มกราคม 2566 เป็นต้นนั้น จะเป็น​บัตรโดยสารเที่ยวเดียว (Single Journey Card) บัตรแรบบิทบุคคลทั่วไป (Adult) บัตรแรบบิทนักเรียน นักศึกษา (Student)   ส่วนบัตรแรบบิทสำหรับผู้สูงอายุ (Senior) จะยังคงได้รับส่วนลด 50% ของอัตราค่าโดยสารปกติ สำหรับผู้ที่ต้องการเดินทางแบบไม่จำกัดเที่ยว และระยะทางต่อวัน สามารถซื้อบัตรโดยสารประเภทหนึ่งวัน (One-Day Pass) ในราคา 150 บาท 2.MRT สีน้ำเงิน ปรับขึ้นสูงสุด 1 บาทต่อเที่ยว ส่วนรถไฟฟ้าใต้ดิน MRT สายสีน้ำเงิน ก็ปรับค่าโดยสารขึ้นตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2566 เช่นกัน โดยปรับขึ้น 1 บาท เริ่มต้นจาก 17-42 บาท เป็น 17- 43 บาท  โดยเป็นการปรับค่าโดยสารสำหรับการเดินทางสถานที่ 6, 9, 11 และ 12  การปรับค่าโดยสารเป็นการคิดตามดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ที่กำหนดในสัญญาสัมปทาน   ความจริงค่าโดยสารดังกล่าว มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 3 ก.ค.2565 ที่ผ่านมาแล้ว แต่เนื่องจากการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ​กระทรวงคมนาคม และบริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM ในฐานะผู้รับสัมปทาน ได้หารือร่วมกันเพื่อช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายของประชาชนในภาวะค่าครองชีพสูง จึงยังคงอัตราค่าโดยเดิมไว้ก่อนจนถึง​วันที่ 31 ธันวาคม 2565 3.สีทองปรับขึ้น 1 บาทต่อเที่ยว สำหรับรถไฟฟ้าสายสีทอง ซึ่งเป็นเส้นทางรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายจากรถไฟฟ้าบีทีเอส เส้นทางกรุงธนบุรี-คลองสาน ก็มีแผนปรับค่าโดยสารขึ้นตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2566 เช่นกัน โดยจะปรับขึ้น 1 บาท จากราคา 15 บาท เป็น 16 บาทตลอดสาย ซึ่งเป็นไปตามแผนการบริหารโครงการของบริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด ผู้บริหารจัดการรถฟ้าสายสีทองระยะที่ 1 สถานีรถไฟฟ้ากรุงธนบุรี-สำนักงานเขตคลองสาน ​แต่ก็ยังคงมีค่าลดหย่อนให้กับผู้โดยสารต่าง ๆ เช่น ผู้สูงอายุ ผู้พิการที่มีบัตรประจำตัวคนพิการ ในอัตราค่าโดยสาร 8 บาทตลอดสายเช่นเดิม ​   ส่วนรถไฟฟ้าเส้นทางอื่น หรือสีอื่น ไม่ว่าจะเป็นสีม่วง สีแดง หรือแอร์พอร์ต เรียลลิงค์ ยังไม่มีความเคลื่อนไหวในด้านราคาว่าจะมีการปรับขึ้นหรือไม่อย่างไร ยังไงหากมีความคืบหน้าจะนำมาอัปเดตและแจ้งข่าวให้ทราบอีกครั้ง       หมายเหตุ *อัตราค่าโดยสารพื้นฐานอ้างอิง ตามเอกสารสำหรับคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนของ (RFP) อัตราโดยสาร จะคำนวณใหม่อีกครั้ง อ้างอิงจากดัชนีราคาผู้บริโภคเดือนพฤษภาคม 2566 **อัตราค่าโดยสารเบื้องต้นอ้างอิงจากดัชนีราคาผู้บริโภค​เดือนมีนาคม 2565 คำนวณใหม่อีกครั้ง ​-สายสีชมพูช่วงสถานีศรีรัช-เมืองทองธานี ยังไม่ได้กำหนดอัตราค่าโดยสาร ที่มา : Reviewyourliving รวมรวม, การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชลแห่งประเทศไทย, ก.คมนาคม  
พาไปดู โปรเจ็กต์หมื่นล้าน “ไวส์พาร์ค มีนบุรี”  มิกซ์ยูสใหญ่สุดของ แอสเสทไวส์ ในรอบ 10 ปี

พาไปดู โปรเจ็กต์หมื่นล้าน “ไวส์พาร์ค มีนบุรี” มิกซ์ยูสใหญ่สุดของ แอสเสทไวส์ ในรอบ 10 ปี

ไวส์พาร์ค แอสเสทไวส์ ปั้นโปรเจ็กต์มิกซ์ยูส์ หมื่นล้าน ใหญ่สุดรอบ 10 ปี เจาะพื้นที่ มีนบุรี รองรับเส้นทางรถไฟฟ้า 2 สาย “ชมพู-เหลือง” ประเดิม “แอทโมซ โฟลว์ มีนบุรี” มูลค่า​ 1,350 ล้าน พร้อมวางโรดแมปพัฒนาจบใน 6 ปี กับ 4,500 ยูนิตที่พักอาศัย   ถ้าย้อนดูโครงการที่บริษัท แอสเซทไวส์ จำกัด (มหาชน) พัฒนามาตลอดระยะเวลา 9 ปี นับตั้งแต่ก่อตั้งธุรกิจในปี 2556 โครงการที่นับมีขนาดใหญ่พื้นที่ใหญ่สุด และมูลค่ามากที่สุด ก็คือ โครงการเคฟทาว์ รังสิต ด้วยมูลค่าโครงการรวม 9,100 ล้านบาท มีจำนวนยูนิตรวม 5,000 ยูนิต บนเนื้อที่ 60 ไร่ จากจำนวนโครงการที่พัฒนามาทั้งสิ้น 44 โครงการ มูลค่ารวมกว่า 46,700 ล้านบาท   แต่ก้าวขึ้นสู่ปีที่ 10 ในปี 2565 แอสเซทไวส์ ก็ได้พัฒนาโครงการที่มีมูลค่ามากที่สุดในประวัติศาสตร์การดำเนินธุรกิจ กับ “ไวส์พาร์ค มีนบุรี” (WISEPARK Minburi) โครงการมิกซ์ยูส ขนาดใหญ่บนพื้นที่ 33 ไร่ ย่านมีนบุรี มูลค่ารวม 10,000 ล้านบาท หลังจากได้ซื้อที่ดินมาในช่วง 2 ปีก่อนหน้านี้ นายกรมเชษฐ์ วิพันธ์พงษ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร แอสเซทไวส์ เล่าว่า ได้ตัดสินใจซื้อที่ดินแปลงนี้มา ซึ่งมีขนาดใหญ่แต่อยู่ในทำเลที่มีศักยภาพ เพราะอยู่ใกล้สถานนีรถไฟฟ้าสายสีชมพู สถานีตลาดมีนบุรี และรถไฟฟ้าสายสีส้ม สถานีมีนบุรี  และมองเห็นศักยภาพของที่ดิน ในการพัฒนาโครงการให้เป็นรูปแบบมิกซ์ยูส เพราะมีประสบการณ์การพัฒนาในรูปแบบดังกล่าวมาแล้ว จากโครงการเคฟทาวน์รังสิต ที่ได้กระแสตอบรับที่ดี ไวส์พาร์ค มีนบุรี โปรเจ็กต์หมื่นล้าน สำหรับโครงการไวส์พาร์ค มีนบุรี จะมีมูลค่ารวม 10,000 ล้านบาท ประกอบไปด้วยโครงการคอนโดมิเนียม ทั้งรูปแบบโลว์ไรส์ และไฮไลท์ คอมมูนิตี้มอลล์ พื้นที่อาคารสำนักงานให้เช่า และพื้นที่สีเขียวขนาดใหญ่ ซึ่งในโครงการจะแบ่งการพัฒนาออกเป็นเฟส ใช้ระยะเวลาการพัฒนาและก่อสร้างประมาณ 6 ปี ซึ่งภายในโครงการมีรายละเอียดดังนี้ 1.”มิงเกิ้ล มีนบุรี” คอมมูนิตี้ มอลล์ บริเวณด้านหน้าโครงการฝั่งซ้ายมือเมื่อหันหน้าเข้าโครงการ จะถูกพัฒนาเป็นคอมมูนิตี้มอลล์  “มิงเกิ้ล มีนบุรี”  ขนาดพื้นที่อาคาร 8,857 ตร.ม. มูลค่าโครงการประมาณ 300 ล้านบาท คาดว่าจะเปิดให้บริการได้ในปีหน้า ภายในคอมมูนิตี้มอลล์ จะประกอบด้วยร้านอาหาร ร้านค้า และร้านสะดวกซื้อต่าง ๆ อาทิ สุกี้ตี๋น้อย โลตัส โก เฟรช เป็นต้น   ส่วนบริเวณด้านหน้าฝั่งขวามือ ปัจจุบัน คือ  ไวส์พาร์ค พาวิลเลี่ยน ซึ่งเป็นสำนักงานขายของโครงการ ที่ออกแบบและพัฒนาให้มีพื้นที่สีเขียวบนอาคาร ซึ่งทำให้สามารถใช้เป็นสวนส่วนกลางสำหรับลูกบ้าน หรือคนในชุมชนใกล้เคียงได้ทั้งปัจจุบันและในอนาคตด้วย ขณะที่ทั้งโครงการมีพื้นที่สีเขียวรวมกว่า 12 ไร่ เพื่อให้ลูกบ้านได้ใช้บริการด้วย 2.มิกซ์ยูสคอนโด+ออฟฟิศ ถัดจากคอมมูนิตี้มอลล์เข้ามา แอสเซทไวส์ วางแนวทางการพัฒนาเป็นโครงการขนาดสูง 45 ชั้น 1 อาคาร ที่จะประกอบไปด้วยส่วนพักอาศัยและพื้นที่สำนักงาน  ส่วนที่พักอาศัยเบื้องต้นจะใช้แบรนด์โมดิซ แต่ทั้งนี้อาจจะปรับเปลี่ยนแบรนด์ได้ในอนาคต โดยพิจารณาสภาวะตลาดและผลการตอบรับจากกลุ่มลูกค้าอีกครั้งหนึ่ง   สำหรับพื้นที่ออฟฟิศได้วางสัดส่วนไว้ประมาณ 10-15% ของอาคาร มีการจัดพื้นที่แยกกับส่วนพักอาศัย ด้วยการมีลิฟต์ส่วนตัว มีการจดทะเบียนเป็นพื้นที่พาณิชย์ ที่ผู้ซื้อสามารถจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทได้ โดยเป็นการขายพื้นที่ไม่ได้เป็นการให้เช่า​ ซึ่งแอสเซสไวส์มองกลุ่มเป้าหมายเป็นผู้ประกอบการขนาดเล็ก หรือกลุ่ม SME ที่มีพนักงานไม่เกิน 10 คน สามารถทำงานออนไลน์ได้ 3.พื้นที่พักอาศัย 3 โปรเจ็กต์คอนโด ในพื้นที่ด้านหลังโครงการ ถูกจัดวางไว้เป็นพื้นที่ส่วนพักอาศัย ซึ่งจะเป็นโครงการคอนโดโรว์ไรส์  2 โครงการ และไฮไลท์ 1 โครงการ อยู่บริเวณด้านหลังสุด มีขนาดความสูงประมาณ 33 ชั้น คาดว่าจะพัฒนาภายใต้แบรนด์โมดิซ โดยวายแผนเปิดตัวในอนาคตอีกครั้ง   ก่อนถึงคอนโดไฮไลท์ ปัจจุบันพัฒนาเป็นโครงการ “แอทโมซ โฟลว์ มีนบุรี” (Atmoz Flow Minburi)  ซึ่งได้เปิดตัวโครงการไปก่อนหน้านี้แล้ว  โดยโครงการพัฒนาในรูปแบบคอนโดมิเนียมสไตล์รีสอร์ท มูลค่าโครงการ 1,350 ล้านบาท ขนาดพื้นที่ 6-0-13 ไร่ จำนวน 3 อาคาร รวม 739 ยูนิต  ซึ่งเริ่มเปิดจองแล้ว ในราคาเริ่มต้น 1.65 ล้านบาท  และพื้นที่ด้านหน้าโครงการแอทโมซ โฟลว์ ยังวางแผนพัฒนาเป็นโครงการคอนโดโลว์ไรส์อีก 1 โครงการเช่นกัน ภายใรต้แบรนด์โมดิซ โครงการไวส์พาร์ค จะมีส่วนพักอาศัยทั้งหมดของโครงการภายใต้แบรนด์ต่าง ๆ จำนวนรวม 4,500 ยูนิต ใช้ระยะเวลาการก่อสร้างและพัฒนาประมาณ 6 ปี ระยะเวลาการเปิดตัว และการใช้แบรนด์ที่มาพัฒนา จะมีการพิจารณาจากสภาวะตลาดและการตอบรับของกลุ่มลูกค้าเป็นเกณฑ์ในการพิจารณา แต่เบื้องต้นโครงการแอทโมช โฟลว์ มีนบุรี คาดว่าจะก่อสร้างแล้วเสร็จได้ในช่วงปลายปีหน้า ซึ่งใกล้เคียงกับการเปิดให้บริการรถไฟฟ้าสายสีชมพู   สำหรับคอนเซ็ปต์ของ ไวส์พาร์ค มีนบุรี ภายใต้แนวคิด “WISECOLOGY” มีจุดเด่นของการอยู่อาศัยแห่งอนาคต 3 ด้าน ได้แก่ Smart Living, Sustainable Life และ Environment Friendly  ​   อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง -[PR News] แอสเซทไวส์ กวาดยอดขาย Q1 กว่า 3,250 ล้าน เดินหน้าไตรมาส 2 เปิดอีก 3 โปรเจ็กต์ใหม่ -แอสเซทไวส์ เปิด 5 กลยุทธ์ความสำเร็จแบรนด์เคฟ แคมปัสคอนโด จับกลุ่มนศ.มหาลัย-นักลงทุน
บางกอกแลนด์ เตรียมเปิดใช้รถไฟฟ้าสายสีชมพู 2 สถานีเข้าเมืองทองธานี ปี 68

บางกอกแลนด์ เตรียมเปิดใช้รถไฟฟ้าสายสีชมพู 2 สถานีเข้าเมืองทองธานี ปี 68

เตรียมใช้รถไฟฟ้าสายสีชมพู เข้าเมืองทองธานี ปี 68 รวมระยะทาง 3 กิโลเมตร กับ 2 สถานี บางกอกแลนด์หวังอำนวยความสะดวกให้ลูกบ้านกว่า 300,000 คน และคนทั่วไปเข้าใช้บริการปีละ 10 ล้านคน เล็งปั้นโปรเจ็กต์มิกซ์ยูสบนเนื้อที่ 400 ไร่ กระตุ้นธุรกิจอสังหาฯ ในเมืองทองเติบโต 10-20%   รถไฟฟ้าสายสีชมพู ส่วนต่อขยาย 2 สถานีที่จะเข้าสู่เมืองทองธานี มูลค่า 4,000 ล้านบาท ได้เริ่มดำเนินการก่อสร้างแล้ว ตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2565 ที่ผ่านมา โดยคาดว่าจะก่อสร้างแล้วเสร็จและสามารถเปิดให้บริการได้ในปี 2568   ​โดยโครงการสถานีรถไฟฟ้าสายสีชมพู ส่วนต่อขยาย 2 สถานีที่เข้าสู่เมืองทองธานี รวมระยะทาง 3 กิโลเมตร มีชื่ออย่างเป็นทางการแล้ว หลังจากที่การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทสไทย (รฟม.)  กรมการขนส่งทางราง กระทรวงคมนาคม และบริษัท บางกอกแลนด์ จำกัด (มหาชน) หรือ ​BLAND​ ได้ตกลงร่วมกัน คือ 1.สถานีอิมแพ็ค เมืองทองธานี (ชาเลนเจอร์อาคาร 1) 2.สถานีทะเลสาบ เมืองทองธานี ล่าสุด ในวันที่ 2 สิงหาคม 2565  บางกอกแลนด์ ได้จัดพิธีลงนามเซ็นสัญญากับ บริษัท นอร์ทเทิร์น บางกอกโมโนเรล จำกัด หรือ ​NBM  ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของกลุ่มกิจการร่วมค้าบีเอสอาร์ (BSR JV consortium) ที่ร่วมทุนกันระหว่างบริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน)  หรือ BTSG , บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ STEC และบริษัท ราช กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ใน “โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูส่วนต่อขยายเข้าเมืองทองธานี”      นายปีเตอร์ กาญจนพาสน์ ประธานกรรมการ บริษัท บางกอกแลนด์ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ความร่วมมือในครั้งนี้ ทางบางกอกแลนด์ไม่ได้มีการแบ่งผลประโยชน์ในด้านค่าตั๋ว หรือจัดสรรผลประโยชน์จากรถไฟฟ้าสายสีชมพูส่วนต่อขยาย แต่มองว่าจะเป็นการอำนวยความสะดวกให้กับผู้พักอาศัยในเมืองทองธานีกว่า 300,000 คน และผู้ที่เดินทางเข้ามาร่วมงานแสดงสินค้าและการประชุมที่มีกว่า 10 ล้านคนต่อปี นอกจากนี้ ยังจะช่วยทำให้ธุรกิจต่าง ๆ ในเมืองทองธานีมีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้น 10-20% โดยเฉพาะอสังหาริมทรัพย์เพื่อเช่า อาทิ ศูนย์การแสดงสินค้าและการประชุม อิมแพ็ค, โรงแรม, คอสโม บาซาร์, คอสโม วอล์ค, เอาท์เล็ท  สแควร์, บีไฮฟ ไลฟ์สไตล์มอลล์ และ คอสโม ออฟฟิศ พาร์ค  ๆ นอกจากนี้ ยังจะช่วยให้ที่ดินภายในเมืองทองธานีมีมูลค่าและศักยภาพเพิ่มมากขึ้นด้วย ปัจจุบันบางกอกแลนด์ยังมีที่ดินเปล่าที่รอการพัฒนาอีก 600 ไร่ ซึ่งวางแผนการพัฒนาเป็นโครงการลักษณะมิกซ์ยูส 400 ไร่รอบทะเลสาบเมืองทองธานี มีคนถามว่าเราลงทุนโครงการนี้เพื่ออะไร การที่รถไฟฟ้าเข้ามา ธุรกิจเราจะดีขึ้น ที่ดินที่มีอยู่จะมีศักยภาพพัฒนาที่ดีขึ้น โดยนอกจากบางกอกแลนด์จะให้งบประมาณสนับสนุนโครงการมูลค่า 1,293.75 ล้านบาทแล้ว บริษัทยังลงทุนอีก 1,000 ล้านบาท สำหรับการพัฒนาทางเชื่อม หรือ Skywalk  เพื่อเชื่อมต่อจากสถานีไปยังศูนย์ แสดงสินค้าและการประชุม อิมแพ็ค, โรงแรม, ร้านค้าปลีก และห้างสรรพสินค้าต่างๆ เพื่อรองรับการเติบโตและมอบความสะดวกสบายให้แก่ผู้ที่มาใช้บริการ ด้านนายกวิน กาญจนพาสน์  กรรมการบริหาร บริษัท นอร์ทเทิร์น บางกอกโมโนเรล จำกัด  กล่าวว่า การลงนามในครั้งนี้ระหว่าง NBM และ BLAND เป็นการลงนามในสัญญา 2 ฉบับ แบ่งเป็น 1.สัญญาให้การสนับสนุนการก่อสร้าง (Construction Support Agreement) โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ส่วนต่อขยายเข้าเมืองทองธานี   2.สัญญาก่อสร้างทางเชื่อม (Skywalk Connection Agreement) จากโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูส่วนต่อขยายเข้ามายังตัวอาคารของเมืองทองธานี   โดยภายใต้สัญญาดังกล่าว ทางบางกอกแลนด์ ได้อนุมัติเงินสมทบและค่าสิทธิให้กับ NBM ประมาณ 1,293.75 ล้านบาท (รวมภาษี มูลค่าเพิ่ม) เพื่อสนับสนุนการก่อสร้าง และพัฒนาส่วนต่อขยายเมืองทองธานี และเพื่อสิทธิของ บางกอกแลนด์ หรือบริษัทในเครือของบางกอกแลนด์ ในการก่อสร้างทางเชื่อมสถานี เพื่อเชื่อมต่ออาคารหรือสิ่งก่อสร้างใด ๆ อันเป็นกรรมสิทธิ์ของกลุ่ม บางกอกแลนด์ ซึ่งตั้งอยู่ในบริเวณเมืองทองธานี เข้ากับสถานีรถไฟฟ้าในส่วนต่อขยายเมืองทองธานี นับแต่วันที่ทำสัญญา จนถึงวันที่สิทธิในการดำเนินงานระบบรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายเมืองทองธานี ตามสัญญาร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูระหว่าง NBM และ รฟม.สิ้นสุดลง และยังได้อนุมัติเงินสมทบเพื่อสนับสนุนการบำรุงรักษาจำนวน 10.35 ล้านบาทต่อปี (รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) นับจากวันที่ส่วนต่อขยายเมืองทองธานีเปิดให้บริการด้วย โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูส่วนต่อขยายเข้าเมืองทองธานี ถือเป็นอีกหนึ่งโครงการในธุรกิจ MOVE ที่บีทีเอส กรุ๊ปฯ ให้ความสำคัญ เพราะเรามุ่งหวังจะเป็นผู้ให้บริการเดินทางแบบ door-to-door เพื่อตอบโจทย์การเดินทาง ตั้งแต่ก้าวแรกถึงก้าวสุดท้ายให้กับผู้โดยสารอย่างสมบูรณ์ ภายใต้การให้บริการที่สะดวกและปลอดภัย โดยโครงการดังกล่าว จะเป็นส่วนหนึ่งของโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูเส้นทางหลัก ช่วงแคราย-มีนบุรี ซึ่งสามารถเดินทางเชื่อมต่อไปยังรถไฟฟ้าได้อีก 4 สายได้แก่ รถไฟฟ้าสายสีม่วง (ช่วงบางใหญ่-บางซื่อ), รถไฟชานเมืองสายสีแดง (ช่วงบางซื่อ-รังสิต), รถไฟฟ้าสายสีเขียว (ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต) และรถไฟฟ้าสายสีส้ม (ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-มีนบุรี)   ทั้งนี้โครงการดังกล่าวจะใช้ระยะเวลาการก่อสร้างประมาณ 37 เดือน และคาดว่าจะก่อสร้างแล้วเสร็จ เปิดให้บริการได้ในปี 2568 ซึ่งคาดว่าจะมีปริมาณผู้โดยสารอยู่ที่ 13,785 คน/เที่ยว/วัน หากโครงการดำเนินการแล้วเสร็จ จะช่วยบรรเทาปัญหาการจราจรในการเดินทางเข้าพื้นที่เมืองทองธานีได้เป็นอย่างดี เพราะพื้นที่ดังกล่าวเป็นชุมชนขนาดใหญ่ และมีผู้เดินทางเข้า-ออกเป็นจำนวนมาก ส่วนภาพรวมโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี จำนวน 30 สถานี (ไม่รวมสถานีอิมแพ็คเมืองทองธานี และสถานีทะเลสาบเมืองทองธานี) มีความคืบหน้าโครงการ 89.43% แบ่งเป็นงานโยธา 91.01% และงานระบบรถไฟฟ้า 87.90% ซึ่งคาดว่าจะเปิดให้บริการได้บางส่วนช่วงต้นปี 2566  
7 เทคนิคขับรถให้ประหยัดน้ำมัน

7 เทคนิคขับรถให้ประหยัดน้ำมัน

ขับรถให้ประหยัดน้ำมัน การขับรถให้ประหยัดน้ำมัน ในภาวะราคาน้ำมันเพิ่มขึ้นสูง น่าจะเป็นตัวเลือกที่เราทำได้เอง เพราะต้องยอมรับว่าปัจจุบันราคาน้ำมันมีการปรับตัวสูงขึ้นกว่าช่วงก่อนหน้านี้ ด้วยปัจจัยหลาย ๆ อย่างที่เราไม่อาจจะควบคุมได้ และเราก็จำเป็นจะต้องจ่ายเงินเพื่อซื้อน้ำมัน เพราะยังคงต้องใช้รถยนต์เพื่อการเดินทางไปทำงาน หรือเพื่อการดำเนินชีวิตประจำวัน ทำให้ต้องยอมรับกับสภาพปัญหาราคาน้ำมันเพิ่มสูงขึ้น แต่สิ่งหนึ่งที่เราทำได้ คือ การประหยัดการใช้รถยนต์เท่าที่มีความจำเป็น หรือไม่ก็ต้องมาหาวิธีการใช้รถยนต์ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด และทำให้การใช้งานสิ้นเปลืองน้ำมันน้อยที่สุดด้วย โดย Reviewyourliving มี 7 เทคนิคขับรถให้ประหยัดน้ำมันมาแชร์ให้เป็นไอเดีย ในการนำไปปรับใช้เพื่อประหยัดน้ำมัน และประหยัดเงินในกระเป๋า เป็นเทคนิคประหยัดน้ำมันที่ทำได้ไม่ยาก และเห็นผลจริง ไม่เชื่อต้องลองทำตาม ได้ผลลัพธ์อย่างไรอย่าลืมมาแบ่งปันกันด้วยนะ 7 เทคนิค ขับรถให้ประหยัดน้ำมัน 1.วางแผนเส้นทางก่อนเดินทาง หลีกเลี่ยงเส้นทางที่การจราจรติดขัด แน่นอนการวางแผนเส้นทางก่อนเดินทางจะช่วยประหยัดเวลา และที่สำคัญลดการสิ้นเปลืองของน้ำมันจากการขับรถออกนอกเส้นทาง ถือเป็นเทคนิคประหยัดน้ำมัน ที่ทำได้และมีประโยชน์หลายอย่างด้วยกัน 2.ตรวจสอบเครื่องยนต์ให้พร้อมใช้งาน การใช้รถยนต์ให้เต็มประสิทธิภาพ ด้วยการหมั่นตรวจสอบสภาพรถ และสภาพเครื่องยนต์ตามเวลาที่กำหนด บำรุงรักษาอุปกรณ์ให้พร้อมใช้งานอยู่เสมอ จะทำให้ลดอัตราการสิ้นเปลืองของน้ำมันเชื้อเพลิงลงได้มาก และยังช่วยเพิ่มความปลอดภัยในการเดินทาง เป็นอีกเทคนิคการประหยัดน้ำมัน ที่ดีต่อรถและดีต่อเงินในกระเป๋าเราด้วย 3.ไม่บรรทุกของหนักเกินจำเป็น การบรรทุกของหนักเกินจำเป็น จะทำให้เครื่องยนต์ทำงานหนัก และมีผลต่ออัตราการสิ้นเปลืองของน้ำมันเชื้อเพลิงที่เพิ่มมากขึ้น เพราะรถต้องออกแรง ใช้พลังงานมากขึ้น จึงควรบรรทุกสิ่งของเท่าที่จำเป็นก็พอ 4.เติมลมยางให้เหมาะสม สาเหตุหนึ่งที่ทำให้รถยนต์ต้องใช้น้ำมันเยอะ คือ การที่ยางรถยนต์มีลมยางไม่เหมาะสม ดังนั้น เจ้าของรถยนต์ควรหมั่นตรวจสอบและเติมลมยางให้เหมาะสม ลมยางที่อ่อนเกินไปจะทำให้อัตราการสิ้นเปลืองน้ำมันเพิ่มมากขึ้น 5.ขับรถในความเร็วที่เหมาะสม การขับรถที่มีความเร็วเหมาะสม และตามที่กฎหมายกำหนด ไม่ช้าไปหรือไม่เร็วเกินไป จะได้ทั้งความปลอดภัย และประสิทธิภาพการทำงานของรถ ที่ไม่สิ้นเปลืองน้ำมัน โดยอัตราความเร็วไม่เกิน 80 กิโลเมตร/ชั่วโมง จะช่วยประหยัดน้ำมันได้มากขึ้น เป็นวิธีประหยัดน้ำมันที่ช่วยเซฟเงินในกระเป๋า และให้ความปลอดภัยขณะขับขี่ด้วย 6.ไม่เปลี่ยนเลนบ่อย การขับรถแล้วเปลี่ยนเลนบ่อย นอกจากเสี่ยงอันตรายจากการเกิดอุบัติเหตุแล้ว หลายคนอาจจะไม่รู้ว่า เป็นสาเหตุที่ทำให้รถยนต์ใช้น้ำมันเยอะขึ้นด้วย  เพราะการเปลี่ยนเลนบ่อย จะมีการเร่งเครื่องและหยุดรถกะทันหัน  ซึ่งเป็นสาเหตุให้สิ้นเปลืองน้ำมัน ขับรถจึงควรเปลี่ยนเลนเมื่อมีความจำเป็น และตามความเหมาะสมของการขับขี่จะดีที่สุด เพราะช่วยประหยัดน้ำมัน และยังถนอมผ้าเบรกและจานเบรกให้ใช้ได้นานขึ้น ไม่ติดเครื่องยนต์ขณะจอดรถ แน่นอน การติดเครื่องยนต์ขณะจอดรถนอกจากจะเป็นการสร้างมลพิษให้กับอากาศแล้ว ยังทำให้สิ้นเปลืองน้ำมัน เพราะการจอดติดเครื่องเพียง 5 นาที ทำให้สิ้นเปลืองน้ำมันถึง 3 ลิตร หากจะประหยัดน้ำมัน ก็ต้องไม่ติดเครื่องยนต์ขณะจอดรถไว้ โดยเฉพาะการจอดทิ้งไว้เกินกว่า 5 นาที   ทั้งหมดก็เป็น 7 เทคนิค ที่ทำได้ง่าย ๆ และใช้ได้จริง เป็นเทคนิคประหยัดน้ำมัน ที่ช่วยเซฟเงินในกระเป๋า แถมยังได้ความปลอดภัยในการขับขี่ และช่วยทำให้อายุการใช้งานของรถยนต์เราได้นานมากขึ้นอีกด้วย   ที่มา: กระทรวงพลังงาน และกระทรวงคมนาคม   บทความที่น่าสนใจ บ้านกับรถ ซื้ออะไรก่อนดี ?  
[PR News] LET เดินหน้าลดอาชญากรรม จับมือ บขส. ติดตั้งกล้อง CCTV พร้อมเทคโนโลยี AI สถานีหมอชิต

[PR News] LET เดินหน้าลดอาชญากรรม จับมือ บขส. ติดตั้งกล้อง CCTV พร้อมเทคโนโลยี AI สถานีหมอชิต

LET เดินหน้าลดอาชญากรรม จับมือ บขส. ติดตั้งกล้อง CCTV พร้อมเทคโนโลยี AI สร้างความปลอดภัยในสถานีขนส่งหมอชิต ขณะเดียวกันมอบรถโมบายศูนย์ปฏิบัติการส่วนหน้าเคลื่อนที่ต้นแบบ ให้ตำรวจภูธรภาค 5 เสริมงประสิทธิภาพการทำงาน เติมเต็มโครงการสมาร์ท ซิตี้   นายยุทธพร จิตตเกษม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการ บริษัท ล็อกซเล่ย์ อีโวลูชั่น เทคโนโลยี จำกัด หรือ LET เปิดเผยว่าบริษัทได้รับความไว้วางใจจากบริษัท ขนส่ง จำกัด หรือ บขส. ให้นำเทคโนโลยีด้านความปลอดภัยมาใช้บูรณาการภายในสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ (หมอชิต) จตุจักร เพื่อแก้ไขปัญหากลุ่มมิจฉาชีพก่อคดีลักทรัพย์ หลอกลวง สร้างความเดือดร้อน แก่ผู้โดยสารภายในสถานีฯ และเป็นส่วนหนึ่งของการเตรียมความพร้อมสู่การเป็น SMART Station (Modern Bus) ตามนโยบาย Smart Digital Transport ของ บขส. หัวใจหลักของระบบรักษาความปลอดภัย ไม่ใช่แค่อุปกรณ์ทันสมัยเพียงอย่างเดียว แต่ต้องสามารถบูรณาการเทคโนโลยีที่มีอยู่ให้ทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วย โดยบริษัทได้ดำเนินการติดตั้งกล้อง CCTV คุณภาพสูงจำนวนมากภายในสถานีขนส่งหมอชิต ผสานเข้ากับเทคโนโลยี AI ระบบวิเคราะห์ใบหน้า (Face Recognition) ระบบจดจำป้ายทะเบียน และระบบตรวจนับจำนวนคน (People Counting ) ในเวลาเดียวกัน เทคโนโลยี AI เหล่านี้ ทางบริษัทได้นำเข้ามาบูรณาการ ได้อย่างลงตัว ภายใต้คอนเซ็ปต์ Modern Security ทำให้สามารถลดจำนวนเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยลงอย่างมีนัยสำคัญ อีกทั้งระบบ AI ต่าง ๆ ที่นำมาใช้ จะถูกส่งข้อมูลมาที่ห้องปฏิบัติการ Single Command Control Center ของ บขส. คอยดูแลและเฝ้าระวังตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อบริหารจัดการด้านความปลอดภัยภายในสถานีขนส่งหมอชิตแบบเรียลไทม์ และสามารถทำรายงานสรุปรวมถึงแสดงผลเหตุการณ์ต่าง ๆ ให้ผู้บริหารรับทราบได้อย่างมีประสิทธิภาพ สำหรับผลงานที่ผ่านมาระบบ AI ที่บริษัทเลือกมาใช้  สามารถติดตามจับกุมมิจฉาชีพและลดปัญหาการเกิดอาชญากรรมภายในสถานีขนส่งหมอชิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ อาทิ กรณีจับคนร้ายลำเลียงยาเสพติดบริเวณสถานีขนส่ง กรณีจับผู้ต้องสงสัยก่อเหตุระเบิด 4 จุดระหว่างเดินทางหลบหนีที่สถานีขนส่ง กรณีจับกุมโชเฟอร์แท็กซี่ล่อลวงผู้โดยสารบริเวณลานจอดรถสถานีขนส่ง รวมถึงกรณีจับมิจฉาชีพลักทรัพย์ผู้โดยสารภายในสถานีขนส่งได้หลายราย ซึ่งสร้างความอุ่นใจด้านความปลอดภัยให้ผู้เดินทางเป็นอย่างมาก   นอกจากงานด้านความปลอดภัยในสถานีขนส่งหมอชิตแล้ว บริษัทยังได้ร่วมสนับสนุน "ระบบบูรณาการรักษาความปลอดภัยของตำรวจภูธรภาค 5" ซึ่งเป็นระบบสำคัญในโครงการสมาร์ท ซิตี้ (Smart City) ที่เป็นการบูรณาการร่วมกัน 5 หน่วยงานทางภาคเหนือ ภายใต้การนำของตำรวจภูธรภาค 5 โดยล่าสุดบริษัทได้ส่งมอบรถโมบายศูนย์ปฏิบัติการส่วนหน้าเคลื่อนที่ต้นแบบ (Mobile Incident Command Post) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานรักษาความสงบเรียบร้อย ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินแก่ประชาชน โดยเจ้าหน้าที่สามารถควบคุมและสั่งการได้จากศูนย์ปฏิบัติการเคลื่อนที่เสมือนห้องควบคุมหลักเพื่อรับมือสถานการณ์นอกพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ  
[PR News] เพอร์เฟค จับมือ 7 พันธมิตร  เดินพัฒนา “ถนนหอการค้าไทย” ให้เป็นถนนสีเขียว

[PR News] เพอร์เฟค จับมือ 7 พันธมิตร เดินพัฒนา “ถนนหอการค้าไทย” ให้เป็นถนนสีเขียว

พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค จับมือ 7 องค์กร ร่วมสร้าง “ถนนหอการค้าไทย” ยาว 4 กิโลเมตร ให้เป็นถนนสีเขียว มุ่งเน้นการใช้พลังงานสะอาดเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต   โดยร่วมกับ “อีวีโลโม” บริษัทชั้นนำจากอเมริกา สร้างสถานีชาร์จรถไฟฟ้าและติดตั้งเครื่องชาร์จรถไฟฟ้าในบ้านเดี่ยวทุกโครงการ จับมือบริษัทในกลุ่ม ปตท. ได้แก่ “อรุณ พลัส, อีวี มี พลัส, สวอพ แอนด์ โก” ให้บริการซื้อหรือเช่ารถยนต์ไฟฟ้าผ่านแอปพลิเคชั่น ศึกษาการให้บริการ EV Bus และตู้สลับแบตเตอรี่มอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าในชุมชน พร้อมจับมือ “โลตัส โกเฟรช” ที่มาเปิดสาขาใหม่ในแนวคิดเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และ “โรงเรียนนานาชาติเอสไอเอสบี” ร่วมเป็นส่วนหนึ่งด้วยโรงเรียนพลังงานทางเลือก   นายวงศกรณ์ ประสิทธิ์วิภาต กรรมการผู้จัดการ บริษัท พร็อพเพอร์ตี้  เพอร์เฟค จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ได้ร่วมกับ 7 องค์กรร่วมสร้าง “ถนนหอการค้าไทย” ให้เป็นถนนสีเขียว เพื่อส่งเสริมการใช้พลังานสะอาดบนถนนหอการค้าไทย ด้วยการตั้งสถานีชาร์จไฟฟ้าบนพื้นที่ส่วนกลางและบริเวณชุมชน มีการติดตั้ง EV Charger Home Box ให้กับบ้านเดี่ยวทุกโครงการทุกระดับราคา เพื่อเตรียมความพร้อมรองรับการใช้รถยนต์ไฟฟ้า และยังมีการศึกษาถึงการให้บริการ EV Bus และตู้สลับแบตเตอรี่สำหรับมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าเพื่อให้บริการในชุมชน ตลอดจนยังได้รับความร่วมมือจากภาคธุรกิจที่ตั้งอยู่บนถนนนี้ ที่มีแนวทางการดำเนินงานในแบบเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รวมทั้งจะติดตั้งเครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าในศูนย์ราชการนนทบุรี เพื่อจุดประกายให้คนหันมาสนใจการใช้พลังงานสะอาดมากขึ้น   โดยความร่วมมือกับ 7 องค์กรประกอบด้วย “อีวีโลโม” บริษัทชั้นนำจากอเมริกา สร้างสถานีชาร์จรถไฟฟ้าและติดตั้งเครื่องชาร์จรถไฟฟ้าในบ้านเดี่ยวทุกโครงการ บริษัทในกลุ่ม ปตท. ได้แก่ “อรุณ พลัส, อีวี มี พลัส, สวอพ แอนด์ โก” ให้บริการซื้อหรือเช่ารถยนต์ไฟฟ้าผ่านแอปพลิเคชั่น ศึกษาการให้บริการ EV Bus และตู้สลับแบตเตอรี่มอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าในชุมชน “โลตัส โกเฟรช” ที่มาเปิดสาขาใหม่ในแนวคิดเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และ “โรงเรียนนานาชาติเอสไอเอสบี” ร่วมเป็นส่วนหนึ่งด้วยโรงเรียนพลังงานทางเลือก   สำหรับถนนหอการค้าไทยเป็นถนนที่บริษัทสร้างขึ้น มีระยะทาง 4 กิโลเมตร เชื่อมระหว่างถ.ชัยพฤกษ์และถ.สะพานนนทบุรี-บางบัวทอง ซึ่งถนนดังกล่าวมีพื้นที่สำหรับพัฒนาโครงการรวม 1,226 ไร่ ปัจจุบันเติบโตเป็นชุมชนขนาดใหญ่ มีโครงการที่อยู่อาศัย สถาบันการศึกษา โรงเรียนนานาชาติ ศูนย์การค้าชุมชน ธุรกิจร้านค้าต่างๆ เกิดขึ้นมากมาย อีกทั้งยังมีพื้นที่รอการพัฒนาและ   มีศักยภาพที่จะขยายตัวต่อเนื่องในอนาคต จากการเติบโตอย่างรวดเร็วนี้ บริษัทจึงมีแนวคิดที่จะผลักดันให้ถนนหอการค้าไทย เป็นถนนที่มุ่งเน้นการใช้พลังงานสะอาด เพื่อสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้คนในชุมชนอย่างเป็นรูปธรรม   สำหรับความร่วมมือจากบริษัทใน กลุ่ม ปตท. นายชาญ กุลภัทรนิรันดร์  Head of 2 Wheel and Bus Business Development  บริษัท อรุณ พลัส จำกัด  กล่าวว่า อรุณ พลัส เป็นบริษัทที่ดำเนินธุรกิจด้าน EV Value Chain รองรับการขยายฐานธุรกิจยานยนต์ไฟฟ้าของกลุ่ม ปตท. โดยรถบัสไฟฟ้า หรือ  E-Bus เป็นหนึ่งการดำเนินงานที่อยู่ระหว่างพัฒนาเพื่อสามารถให้บริการได้ในราคาที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ  ปัจจุบัน อรุณ พลัส ให้บริการ Shuttle E-Bus สำหรับรับส่งพนักงานในกลุ่ม ปตท. และมีแผนให้บริการแก่ผู้ที่สนใจภายนอกสามารถเลือกซื้อหรือเช่า E-Bus ได้ในรูปแบบต่าง ๆ ซึ่งคาดว่าจะพร้อมให้บริการได้กลางปี 2565 สำหรับความร่วมมือในครั้งนี้ พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค และ อรุณ พลัส จะหารือเพื่อพัฒนาการให้บริการ E-Bus ร่วมกัน เพื่อให้ชุมชนบนถนนหอการค้าไทยได้มีโอกาสทดลองใช้งาน E-Bus ของอรุณ พลัส ซึ่งเป็นเทคโนโลยีพลังงานสะอาด อันจะมีส่วนช่วยพัฒนาชุมชนนี้ ให้เป็นชุมชนสีเขียว   นายสุวิชชา สุดใจ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการจัดการ บริษัท อีวี มี พลัส จำกัด  กล่าวว่า  อีวี มี พลัส บริษัทสตาร์ทอัพของ กลุ่ม ปตท. พร้อมมอบประสบการณ์การเป็นเจ้าของ EV ที่สะดวกยิ่งขึ้น ผ่านแอปพลิเคชัน EVme ซึ่งเป็นดิจิทัลแพลตฟอร์มให้บริการ EV เต็มรูปแบบรายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่สามารถเลือกใช้บริการซื้อหรือเช่า EV ได้ในราคาพิเศษ โดยมีตัวเลือกรถหลากรุ่นหลายแบรนด์  ตลอดจนให้บริการข้อมูลที่ตั้งสถานีอัดประจุไฟฟ้าที่ครอบคลุมทั่วประเทศ ปัจจุบัน EVme อยู่ระหว่างทดสอบการให้บริการ โดยจะพร้อมเปิดให้บริการเต็มรูปแบบในต้นปี 2565 สำหรับโครงการของ พร็อพเพอร์ตี้ เฟอร์เฟค บน  “ถนนหอการค้าไทย” ซึ่งเตรียมโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการใช้งานยานยนต์ไฟฟ้าเรียบร้อยแล้ว อีวี มี พลัส จะนำเสนอบริการทดลองใช้งาน EV ได้ในราคาพิเศษก่อนตัดสินใจซื้อ ให้กับลูกบ้าน เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนให้เกิดการใช้พลังงานสะอาดผ่าน EV ต่อไป   นางสาวอาวีมาศ สิริแสงทักษิณ กรรมการผู้จัดการ บริษัท สวอพ แอนด์ โก จำกัด  กล่าวว่า สวอพ แอนด์ โก เป็นอีกหนึ่งบริษัทในกลุ่ม ปตท. ที่ดำเนินธุรกิจให้บริการแพลตฟอร์มสลับแบตเตอรี่แก่ผู้ใช้งานมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าแบบไม่ต้องรอชาร์จ เพื่อรองรับการขยายตัวของผู้ใช้งานยานยนต์ไฟฟ้าที่เพิ่มมากขึ้นในอนาคต ปัจจุบัน สวอพ แอนด์ โก เปิดให้บริการสถานีสลับแบตเตอรี่มอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าแบบไม่ต้องรอชาร์จ จำนวน 22 แห่งทั่วกรุงเทพฯ และมีแผนขยายการให้บริการครอบคลุมทั่วประเทศ สำหรับโครงการ “ถนนหอการค้าไทย” นี้  สวอพ แอนด์ โก จะมีบริการตู้สลับแบตเตอรี่ พร้อมแบตเตอรี่ ประมาณ 30 ก้อน เพื่อสามารถรองรับรถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าในพื้นที่ ได้กว่า 10 คัน ซึ่งผู้ใช้งานสามารถดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน Swap & Go เชื่อมต่อกับรถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าที่รองรับการใช้งาน เพื่อเข้ากระบวนการสลับแบตเตอรี่ได้ด้วยตัวเอง ได้อย่างสะดวก ง่ายดาย   สำหรับ อีวีโลโม  นางสาวนิโคล วู กรรมการผู้จัดการ บริษัท อีวีโลโม เทคโนโลยีส์ จำกัด เปิดเผยว่า อีวีโลโม เป็นบริษัทชั้นนำด้านยานยนต์ไฟฟ้าจากสหรัฐอเมริกา มีความร่วมมือเชิงกลยุทธ์กับ พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค เพื่อรุกเข้าสู่ตลาดบ้าน EV Ready ในประเทศไทย  โดยจะเป็นผู้ติดตั้ง EV Charger Home Box ให้กับบ้านเดี่ยวในทุกโครงการของ พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค พร้อมบริการบำรุงรักษา ซึ่งทั่วไปแล้วผู้ใช้รถยนต์ไฟไฟฟ้าจะมีการชาร์จไฟที่บ้านมากกว่า 80% จึงตั้งเป้าหมายจะร่วมกันติดตั้งเครื่องชาร์จในบ้านรวมจำนวน 10,000 หลัง โดยเป็นเครื่องชาร์จอัจฉริยะ EVLOMO ELO Series ซึ่งมีจุดเด่นในเรื่องการป้องกันฝุ่นและน้ำ ใช้งานได้ในทุกสภาพอากาศ มีความปลอดภัย สามารถเชื่อมต่อ 4G และ Wi-Fi สำหรับการชาร์จจากระยะไกล และยังรองรับทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษในการแสดงผลบนหน้าจอ  EVLOMO ยังได้เปิดตัวสถานีชาร์จไฟฟ้าในพื้นที่ส่วนกลางและบริเวณชุมชน อาทิ หน้าคลับเฮ้าส์ ลานจอดรถหน้าร้านค้า ฯลฯ เพื่อให้บริการแก่คนในชุมชนและประชาชนทั่วไป เป็นการส่งเสริมให้มีการใช้รถยนต์ไฟฟ้าในวงกว้างมากขึ้น”   ในส่วน โลตัส โดย นางสาวสลิลลา สีหพันธุ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านความยั่งยืนและกฏหมาย บริษัท เอก-ชัย ดิสทริบิวชั่น ซิสเทม จำกัด กล่าวว่า บริษัทจะเปิด “โลตัส โกเฟรช” สาขาใหม่บนถนนหอการค้าไทย ในวันที่ 25 พฤศจิกายน ด้วยแนวคิดมินิซุปเปอร์มาร์เก็ตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะติดตั้งเครื่องรับขวดน้ำพลาสติกอัตโนมัติ (Reverse Vending Machine) เพื่อเก็บบรรจุภัณฑ์กลับไปรีไซเคิล โดยลูกค้าสามารถแลกไข่ไก่ฟรี 1 ฟอง สำหรับขวดพลาสติกทุกๆ 10 ขวดที่นำมารีไซเคิลผ่านเครื่องนี้ พร้อมส่งเสริมให้ลดการใช้พลาสติก ด้วยการงดแจกถุงพลาสติก ซึ่งทางโลตัสมี “ถุงคืนชีพ” จำหน่าย ที่ผลิตจากพลาสติกรีไซเคิล ใช้ซ้ำได้หลายครั้ง เมื่อชำรุดก็นำมาเปลี่ยนใบใหม่ได้ฟรี ทั้งนี้ โลตัสมีนโยบายลดใช้บรรจุภัณฑ์เพื่อลดขยะต่างๆ โดยเฉพาะขยะพลาสติกและขยะอาหาร รวมทั้งส่งเสริมให้มีการนำทรัพยากรวนกลับมาใช้ด้วย   ด้าน โรงเรียนนานาชาติเอสไอเอสบี นายเคลวิน โคว ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กล่าวว่า ที่ผ่านมา เอสไอเอสบี ได้ก้าวไปสู่การเป็นโรงเรียนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และดำเนินการตามแนวทางที่จะไปสู่การพัฒนาสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน  สำหรับโรงเรียนนานาชาติเอสไอเอสบี นนทบุรี ตั้งอยู่บนพื้นที่ 18.5 ไร่ บนถนนหอการค้าไทย มีกำหนดเปิดตัวในเดือนสิงหาคม 2566 โดยโรงเรียนเอสไอเอสบี สาขาที่ 5 แห่งนี้ พร้อมเป็นส่วนหนึ่งในโครงการถนนสีเขียว เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีสำหรับนักเรียน อาทิเช่น การนำระบบปรับอากาศอัจฉริยะมาใช้ การออกแบบให้ใช้แสงธรรมชาติเพื่อลดการใช้ไฟฟ้า ซึ่งช่วยประหยัดพลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังพร้อมมีความร่วมมือเพื่อเปลี่ยนการใช้พลังงานของโรงเรียนไปสู่การใช้พลังงานสะอาด เพื่อให้โรงเรียนเอสไอเอสบี นนทบุรี เป็นโรงเรียนสีเขียวชั้นนำ และเป็นต้นแบบของโรงเรียนที่ใช้พลังงานทางเลือก
Auto Parking กับเรื่องกวนใจที่คาดไม่ถึง

Auto Parking กับเรื่องกวนใจที่คาดไม่ถึง

Auto Parking กับเรื่องกวนใจที่คาดไม่ถึง “Auto Parking” หรือ “ระบบจอดรถอัตโนมัติ” มีผู้พัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์หลายรายให้ความสำคัญ และนำเข้ามาใช้ในโครงการมากขึ้น โดยเฉพาะคอนโดมิเนียมหรูใจกลางเมืองเพื่อลดปัญหาเรื่องที่จอดรถในโครงการ เพราะใช้พื้นที่จอดระหว่างคันน้อยกว่าแบบปกติ และหลายโครงการก็มีพื้นที่โครงการค่อนข้างจำกัด นอกจากนี้ยังเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับลูกบ้านไม่ต้องขับรถวนหาที่จอด   ปัจจุบันก็มีเทคโนโลยีที่ช่วยบริหารระบบจอดรถอัตโนมัติ หรือ Auto Parking หลายประเภท แบ่งเป็น 4 ประเภทหลักๆ คือ Tower Parking – เป็นการจอดแบบซ้อนกันในแนวตั้ง ใช้พื้นที่น้อยเพราะสามารถจอดซ้อนกันได้ 2-4 คันต่อชั้น จึงเป็นที่นิยมในคอนโดมิเนียม Rotary Parking – เป็นลักษณะการจอดแบบกระเช้า ชุดจอดจะเคลื่อนที่แบบหมุนวนในแนวดิ่ง ปัจจุบันลานจอดรถบางแห่งก็หันมาใช้ระบบการจอดในลักษณะนี้ เพื่อประหยัดพื้นที่ เนื่องจากชุดจอด 1 ชุด สามารถจอดรถได้ 16 คัน Multi Floor Parking – ระบบนี้จะเป็นการจอดในแนวราบ โดยการใช้ลิฟต์ยกรถขึ้นไประหว่างชั้น แล้วเลื่อนส่งรถเข้าจอดในแนวราบ เหมาะกับโครงการที่มีพื้นที่ค่อนข้างมาก Circulation Parking – ระบบนี้จะเป็นการเคลื่อนที่หมุนวนในแนวราบ สามารถจอดรถได้ 10-30คันต่อหนึ่งชุด เหมาะกับโครงการที่พื้นที่น้อย   นอกจากนี้ Auto Parking หรือ ระบบการจอดรถอัตโนมัติ ในอาคารยังแบ่งตามลักษณะของช่องจอดได้อีก 2 ประเภท คือ จอดรถในลิฟต์ - ช่องจอดรถจะอยู่ด้านในลิฟต์ เมื่อประตูลิฟต์เปิดผู้ใช้จะต้องขับรถเข้าไปจอดในตำแหน่งที่กำหนดภายในลิฟต์ จอดรถด้านนอกลิฟต์ – ตำแหน่งที่ต้องจอดรถจะอยู่ที่ด้านหน้าประตูลิฟต์ เมื่อจอดตรงตำแหน่งเรียบร้อยแล้ว รถจะถูกลำเลียงเข้าไปในลิฟต์ และนำเข้าสู่ที่จอด Auto Parking ก็มีข้อดี Auto Parking หรือ ระบบจอดรถอัตโนมัติ มีข้อดีหลายข้อ เช่น จำนวนในการรองรับรถได้มากขึ้นในพื้นที่ที่จำกัด, ประหยัดเวลาในการวนรถขึ้นลานจอดรถซึ่งหลายโครงการแจ้งความเร็วในการนำรถออกจากระบบแค่ 3-5 นาทีเท่านั้น (ไม่นับเวลารอคิว) รวมถึงความปลอดภัยต่อทรัพย์สิน เพราะเมื่อรถเราเข้าไปจอดอยู่ในระบบแล้ว ก็หมดกังวลเรื่องการถูกเฉี่ยวชน หรือการโจรกรรมทรัพย์สินภายในรถด้วย   แต่ถึงแม้จะมีข้อดีที่โดดเด่นในเรื่องความสะดวกสบาย แต่หลายครั้งที่ผู้ใช้จริงก็อาจจะไม่ปลื้ม และมีเรื่องกวนใจที่คาดไม่ถึงหากต้องนำรถเข้าจอดในระบบอัตโนมัติ หรือ Auto Parking เพราะปัจจุบัน Auto Parking ในประเทศไทยที่มีใช้อยู่โครงการคอนโดมิเนียมเกือบทั้งหมดจะเป็น “การจอดรถในลิฟต์” ลองไปดูกันว่ามีเรื่องจุกจิกกวนใจอะไรบ้าง? ที่ทำให้ Auto Parking ไม่ได้เป็นที่ปลาบปลื้มสำหรับบางคน Auto Parking กับเรื่องกวนใจที่คาดไม่ถึง จัดการสัมภาระยุ่งยาก – เมื่อต้องนำรถเข้าไปจอดในลิฟต์ที่มีพื้นที่จำกัด ก่อนอื่นเราก็ต้องนำสิ่งของและคนลงจากรถก่อนนำรถเข้าลิฟต์ ซึ่งนับว่าเป็นเรื่องวุ่นวายและใช้เวลาไม่น้อยที่เราจะต้องนำของออกมากองตรงจุด Drop Off ก่อนแล้วค่อยขับรถเข้าลิฟต์ ถ้ามีสมาชิกโดยสารมาด้วย ก็ต้องให้ผู้โดยสารลงมายืนรอหน้าลิฟต์ แล้วถ้าเป็นครอบครัวที่มีลูกเล็ก ก็คงจะไม่สะดวกใจถ้าหากต้องปล่อยให้เด็กๆ ยืนรอเราจอดรถโดยลำพัง   รถเป็นรอยขูดขีด – เนื่องจากพื้นที่ในลิฟต์จอดมีจำกัด แค่เปิดประตูเบี่ยงตัวลงจากรถที่ก็อาจจะชนกับผนังลิฟต์ แล้วถ้าวันไหนมีสัมภาระเยอะต้องหิ้ว ต้องหอบจนล้นมือก็ลำบากไปอีก หรือบางทีเลี้ยวรถไม่พ้นก็ขูดตรงนั้นตรงนี้ให้เกิดรอยฝากไว้ให้เจ็บจี๊ดๆ ไม่ถูกใจคนรักรถเอาซะเลย   จอดล้อไม่ตรงล็อค – การนำรถเข้าจอดในลิฟต์ จะต้องจอดให้ตรงล็อคพอดี เพื่อให้ระบบสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และไม่เกิดปัญหาตามมา ทุกระบบจะมีการป้องกัน เมื่อระบบไม่สามารถล็อคตำแหน่งล้อได้ ระบบก็จะไม่ทำงาน เราก็ต้องขยับจอดใหม่ให้พอดี ซึ่งถ้าเป็นมือใหม่ขับรถยังไม่ชำนาญก็คงเป็นเรื่องที่ทำให้เสียเวลาไม่น้อย   เสียงดังรบกวน – ระบบจอดรถอัตโนมัติที่ใช้โครงเหล็ก อาจมีเสียงดังรบกวนเมื่อใช้งานไปนานๆ แล้วถ้าระบบการเก็บเสียงในอาคารไม่ดีพอ บางทีก็อาจจะทำให้เสียงรบกวนไปถึงห้องพักอาศัยได้ ซึ่งเคยมีเคสดังในโลกออนไลน์ให้เห็นแล้ว   ส้นติด!!! – อีกหนึ่งปัญหาที่คาดไม่ถึง ที่อาจเกิดกับคุณสาวๆ โดยเฉพาะคนที่ใส่รองเท้าส้นสูง ซึ่งมีความเสี่ยงที่ส้นรองเท้าอาจจะไปติดตามซอก หรือช่องบนพื้นลิฟต์ได้   รอรถนานไม่ทันใจ – ในช่วงเวลาเร่งรีบที่ลูกบ้านต้องออกเดินทางพร้อมๆ กัน ถ้าต้องรอคิวนำรถออกจากระบบนานๆ ก็เป็นเรื่องที่ชวนหงุดหงิดไม่น้อยเลย ถึงแม้จะบอกว่า Auto Parking ปัจจุบันใช้เวลาแค่ 3-5 นาทีเท่านั้นในการนำรถออกจากระบบ แต่นั่นไม่ได้นับรวมเวลาในการรอคิวด้วย หากมีรถรอคิวออกจากระบบ 10 คิว และในโครงการติดตั้งลิฟต์ไว้แค่ 2 ตัว คิวท้ายๆ ก็ต้องรอนานกว่า 20 นาทีแล้ว ซึ่งไม่ใช่เรื่องที่น่าประทับใจแน่   ทั้งนี้การเลือกใช้ Auto Parking หรือ ระบบจอดรถอัตโนมัติ ก็ถือเป็นทางออกที่ดีในการจัดการปัญหาที่จอดรถที่มีอย่างจำกัด ซึ่งในฐานะลูกบ้านโครงการคอนโดมิเนียมที่ต้องเลือกอยู่อาศัย และใช้ระบบจอดรถอัตโนมัติทุกวัน คงต้องให้ความสนใจเรื่องของระบบการจัดการจอดรถในรูปแบบต่างๆ ให้มากขึ้น เช่น ทางโครงการเลือกใช้ Auto Parking ระบบอะไร, มีข้อจำกัดเรื่องขนาดรถเข้าจอดหรือไม่, ความสะดวก ปลอดภัยต่อทรัพย์สิน, รวมไปจนถึงความรวดเร็ว แม่นยำในการนำรถเข้า-ออกจากระบบ ซึ่งเรื่องเหล่านี้จะกลายเป็นชีวิตประจำวันของลูกบ้านในโครงการทุกคน หากเกิดปัญหาที่คาดไม่ถึง หรือมีเรื่องกวนใจอยู่บ่อยครั้ง คงไม่ใช่เรื่องดีแน่ๆ แล้วถ้าจะหวังว่าจะเปลี่ยนกลับไปเป็นที่จอดรถธรรมดาก็คงเป็นไปไม่ได้   บทความที่น่าสนใจ เห็นด้วยไหม? คอนโดจะไม่สร้างที่จอดรถ ปาร์คทูโก ลุย ‘จองก่อนจอด’ ทำอย่างไรเมื่อพื้นที่จอดรถทรุด  
REIC เปิด 5 ทำเลราคาที่ดินยังพุ่งสูง​​ ท่ามกลางโควิด-19 ระรอกใหม่

REIC เปิด 5 ทำเลราคาที่ดินยังพุ่งสูง​​ ท่ามกลางโควิด-19 ระรอกใหม่

รอบปีที่ผ่านมา ดีเวลลอปเปอร์อสังหาริมทรัพย์ มีการเปิดตัวโครงการที่อยู่อาศัยใหม่ลดจำนวนลงเป็นอย่างมาก เพราะความไม่มั่นใจในภาวะเศรษฐกิจและกำลังซื้อของผู้บริโภค ที่ได้รับจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทำให้การซื้อที่ดินใหม่เพื่อนำมาพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยลดลงตามไปด้วย รวมถึงชะลอแผนการสะสมที่ดินเพื่อเตรียมไว้พัฒนาโครงการในอนาคต  โดยหันมาพัฒนาโครงการบนที่ดินเดิมที่ซื้อไว้ก่อนแล้ว ​   เมื่อความต้องการซื้อที่ดินชะลอตัวลง ทำให้ประเมินกันว่าในช่วงปีที่ผ่านมา ราคาที่ดินอาจจะมีการปรับลดราคาลง ตามหลักดีมานด์และซัพพลาย ซึ่งพบว่าในช่วงปีที่ผ่านมา ดัชนีราคาที่ดินเปล่าก่อนการพัฒนา ในช่วงไตรมาส 3 หลังเกิดการแพร่ระบาดอย่างรุนแรงของไวรัสโควิด-19 จนนำมาสู่การล็อกดาวน์ประเทศในช่วงไตรมาส 2 นั้น พบว่าดัชนีราคาที่ดินเปล่ามีการขยายตัวเพียง 0.7% จากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวถึง 5.2% และขยายตัวในอัตรา 21.1% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน   อย่างไรก็ตาม ค่าดัชนีราคาที่ดินเปล่าก่อนการพัฒนาในไตรมาส 4 มีทิศทางที่ดีขึ้น เพราะสถาการณ์แพร่ระบาดเริ่มปรับตัวดีขึ้น แม้ว่าจะยังต่ำกว่าช่วงที่ผ่านมาในอดีตก็ตาม โดยมีค่าดัชนีเพิ่มขึ้นเป็น 7.3% เมื่อเทียบกับไตรมาส 3 แต่มีค่าดัชนีลดลงเท่ากับ 17.1% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ราคาที่ดินลดต่ำลงครั้งแรกในรอบ 5 ปี​ สำหรับปี 2564 ที่สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 กลับมาระบาดรุนแรงอีกครั้ง ได้ส่งผลกระทบทำให้ค่าดัชนีราคาที่ดินได้รับผลกระทบ และมีอัตราการขยายตัวต่ำสุด นับตั้งแต่มีการจัดเก็บข้อมูลมาตั้งแต่ปี 2559 โดยศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (REIC) รายงานว่า ค่าดัชนีราคาที่ดินเปล่าก่อนการพัฒนาในกรุงเทพฯ-ปริมณฑล ไตรมาส 1 ปี 2564 มีค่าดัชนีเท่ากับ 326.2 จุด หากเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน (YoY) ยังเพิ่มขึ้นเพียง 11.2% แต่เริ่มเห็นสัญญาณราคาที่ดินเริ่มลดลง ซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 5 ปีย้อนหลัง (ปี 2559 – 2563) ที่มีค่าดัชนี 17.7% ต่อไตรมาส   นอกจากนี้  เมื่อเปรียบเทียบกับค่าดัชนีราคาที่ดินในไตรมาสก่อนหน้า  พบว่า ในไตรมาสแรกของปี 2564 มีค่าดัชนีลดลงติดลบ 2.2% ซึ่งเป็นการลดลงครั้งแรก ตั้งแต่เริ่มมีการจัดทำดัชนีราคาที่ดินเปล่าของศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ในปี 2555 ด้วย   ดร. วิชัย วิรัตกพันธ์ ผู้ตรวจการธนาคารอาคารสงเคราะห์ และรักษาการผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ (REIC) เปิดเผยว่า ​ ศูนย์ข้อมูลฯ ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2564 ได้เห็นภาวการณ์ชะลอตัว และการปรับลดลงของราคาที่ดิน เป็นไตรมาสแรกเมื่อเทียบกับไตรมาสสุดท้ายของปี 2563 ซึ่งเป็นผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่ยังมีการแพร่ระบาดต่อเนื่องในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะในพื้นที่กรุงเทพฯ ทั้งนี้ ภาวการณ์ลดลงของดัชนีราคาที่ดินเปล่าก่อนการพัฒนา ยังถูกสะท้อนถึงความต้องการซื้อขายที่ดินเปล่าในกรุงเทพฯ-ปริมณฑล ที่มีจำนวนการโอนกรรมสิทธิ์ลดลงถึง 13.3% เมื่อเทียบกับปี 2562 ซึ่งเป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นได้ว่า ผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ได้มีการปรับตัว โดยอาจมีการซื้อที่ดินสะสมไว้น้อยลง และมีการซื้อที่ดินใหม่เมื่อต้องใช้ในการพัฒนา ​มากกว่าที่จะซื้อมาเก็บไว้รอการพัฒนาในอนาคต 5 ทำเลราคาดินปรับตัวสูง แต่อย่างไรก็ตาม  ยังพบว่า มีราคาที่ดินเปล่าก่อนการพัฒนาเพิ่มขึ้นมากในไตรมาส 1 ปี 2564 ซึ่งส่วนใหญ่ยังคงเป็นที่ดินในทำเลตามแนวเส้นทางรถไฟฟ้า โดยพบ 5 ทำเลแนวรถไฟฟ้าที่ราคาที่ดินปรับตัวสูงขึ้น ได้แก่ 1.แนวรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ทำเลที่มีการปรับเพิ่มขึ้นสูงสุดของดัชนีราคาที่ดินก่อนการพัฒนา คือ ที่ดินในทำเลแนวรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน (บางแค-พุทธมณฑล สาย 4) ที่มีแผนจะก่อสร้างในอนาคต มีอัตราการขยายตัวของราคาที่ดินเพิ่มขึ้น  38.3% เป็นที่ดินโซนตะวันตกของกรุงเทพฯ  ซึ่งเป็นเส้นทางรถไฟฟ้าที่เชื่อมต่อกับเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน (หัวลำโพง-บางแค) ที่เปิดให้บริการแล้ว 2.แนวรถไฟฟ้าสายสีทอง-น้ำเงิน-ส้ม  ที่ดินตามแนวรถไฟฟ้าสายสีทอง (ธนบุรี-ประชาธิปก) ที่เพิ่งเปิดให้บริการไปเมื่อเดือนธันวาคม 2563 และสายสีน้ำเงิน (หัวลำโพง-บางแค) และ สายสีส้ม (ตลิ่งชัน-ศูนย์วัฒนธรรม) ที่เป็นโครงการที่มีแผนจะก่อสร้างในอนาคต  โดยทั้ง 3 โครงการมีอัตราการขยายตัวของราคาที่ดินเพิ่มขึ้น  35.9% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน (YoY) 3.แนวรถไฟฟ้าสีส้ม ที่ดินตามแนวรถไฟฟ้า สายสีส้ม (ศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี) ซึ่งเป็นโครงการที่กำลังอยู่ระหว่างการก่อสร้างที่มีความคืบหน้าการก่อสร้างโดยรวมอยู่ที่ 79.44% (ณ มีนาคม 2564) มีอัตราขยายตัวของราคาที่ดินเพิ่มขึ้น 35.7% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน (YoY) ดัชนีราคานี้ทำให้เห็นว่าราคาที่ดินโซนตะวันตก และโซนตะวันออกของกรุงเทพฯ มีราคาเพิ่มขึ้นมากในไตรมาสนี้ 4.แนว MRT ที่ดินตามแนว MRT ซึ่งเป็นโครงการที่เปิดให้บริการแล้ว และ สายสีแดงเข้ม (บางซื่อ-หัวลำโพง) ซึ่งเป็นโครงการที่มีแผนจะก่อสร้างในอนาคต โดยทั้ง 2 โครงการ มีอัตราการขยายตัวของราคาที่ดินเพิ่มขึ้นร้อยละ 35.1% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน (YoY) 5.แนว BTS สายสุขุมวิท  ทำเลที่ดิน BTS สายสุขุมวิท ซึ่งเป็นโครงการที่เปิดให้บริการแล้ว มีอัตราการขยายตัวของราคาที่ดินเพิ่มขึ้น 34.0% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน (YoY)    
เช็กความพร้อมประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้ม…เส้นทางยุทธศาสตร์ใหม่ในการเดินทาง

เช็กความพร้อมประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้ม…เส้นทางยุทธศาสตร์ใหม่ในการเดินทาง

การประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้มฝั่งตะวันตก (บางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย) กลับมาอยู่ในสปอร์ตไลท์อีกครั้ง หลังศาลปกครองกลางมีคำสั่งคุ้มครองฉุกเฉินให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ยึดหลักเกณฑ์เดิมในการประมูลโครงการ ซึ่งเป็นการพิจารณาทีละขั้นตอน โดยเริ่มจากคุณสมบัติทั่วไปของเอกชนผู้เข้าประมูล ต่อด้วยข้อเสนอทางเทคนิค และสุดท้ายข้อเสนอการลงทุนและผลตอบแทน จากเมื่อเดือนสิงหาคม 2563 คณะกรรมการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนตามมาตรา 36 แห่ง พ.ร.บ.ร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562  ได้เสนอปรับปรุงวิธีการประเมินข้อเสนอการร่วมลงทุน โดยให้พิจารณาข้อเสนอทางด้านเทคนิคและด้านข้อเสนอการลงทุนและผลตอบแทนควบคู่กันในสัดส่วนคะแนน 30% และ 70% ตามลำดับ สายสีส้ม จุดเชื่อมต่อรถไฟฟ้า 5 สาย รถไฟฟ้าสายสีส้ม (บางขุนนนท์-มีนบุรี) ถือเป็นเส้นทางรถไฟฟ้าที่เป็นเส้นทางยุทธศาสตร์ที่สำคัญ เพราะนอกจากจะเป็นเส้นทางที่เชื่อมระหว่างกรุงเทพฯ ฝั่งตะวันออก (เขตคลองสามวา เขตมีนบุรี เขตลาดกระบัง) และกรุงเทพฯ ฝั่งตะวันตก (เขตบางกอกน้อย) แล้ว ยังเป็นเส้นทางที่มีการเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าทุกเส้นทางที่กำลังให้บริการอยู่และกำลังก่อสร้างในปัจจุบัน เช่น -รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินที่สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทยและสถานีบางขุนนนท์ -รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ที่สถานีราชปรารภ -รถไฟฟ้าสายสีเขียวที่สถานีราชเทวี -รถไฟฟ้าสายสีชมพูที่สถานีมีนบุรี -รถไฟฟ้าสายสีเหลืองที่สถานีลำสาลี เป็นต้น   การเชื่อมต่อดังกล่าวนอกจากจะเป็นการขยายโครงข่ายรถไฟฟ้าเพื่อดึงดูดจำนวนผู้โดยสารในภาพรวมให้มากขึ้นแล้ว ยังเป็นการเพิ่มปริมาณผู้โดยสาร (traffic) ที่ต้องมาเปลี่ยนเส้นทางบริเวณสถานีรถไฟฟ้าที่เป็นจุดตัด (intersection) อีกด้วย   รูปที่ 1 : แนวเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีส้ม (บางขุนนนท์-มีนบุรี) เอกชนควักเงินลงทุนกว่า 1.28 แสนล้าน การประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้มส่วนตะวันตก ถือเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านการร่วมลงทุนระหว่างรัฐ และเอกชน (Public Private Partnership : PPP)  ซึ่งเอกชนผู้ชนะประมูลจะรับผิดชอบในงานโยธาส่วนตะวันตก  ระบบรถไฟฟ้า และขบวนรถไฟฟ้าทั้งหมดราว 1.28 แสนล้านบาท เพื่อแลกกับสิทธิสัมปทานเดินรถไฟฟ้าสายสีส้มตลอดสาย (ทั้งฝั่งตะวันออกและตะวันตก) เป็นระยะเวลา 30 ปี โดยภาครัฐจะรับผิดชอบการเวนคืนที่ดินและการสนับสนุน (subsidy) ไม่เกินค่างานโยธาราว 96,000 ล้านบาท   โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มประกอบไปด้วยเส้นทาง 2 ฝั่ง ได้แก่ ฝั่งตะวันออก (ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-มีนบุรี) และฝั่งตะวันตก (บางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย) โดยโครงการฝั่งตะวันออกเป็นระบบรถไฟฟ้าแบบใต้ดินและยกระดับ ระยะทางรวมประมาณ 22.5 กิโลเมตร ประกอบด้วยสถานีใต้ดิน 10 สถานีและสถานียกระดับ 7 สถานี มูลค่าการลงทุนรวมราว 1.13 แสนล้านบาท แบ่งเป็น ค่าเวนคืนที่ดิน 9,625 ล้านบาท ค่างานโยธาและค่าที่ปรึกษางานโยธาราว 82,900 ล้านบาท และค่างานระบบรถไฟฟ้าและขบวนและค่าที่ปรึกษางานระบบราว 20,750 ล้านบาท และได้เริ่มการก่อสร้างแล้วตั้งแต่ปี 2560 โดยมีภาครัฐเป็นผู้ลงทุนในส่วนค่าเวนคืนที่ดินและค่างานโยธาและค่าที่ปรึกษางานโยธา   ขณะที่รถไฟฟ้าสายสีส้มฝั่งตะวันตก เป็นโครงสร้างทางวิ่งใต้ดินทั้งหมดระยะทางประมาณ 13.4 กิโลเมตรและมีสถานีใต้ดิน 11 สถานี มูลค่าการลงทุนรวมราว 1.2 แสนล้านบาท (แบ่งเป็น ค่าเวนคืนที่ดิน 14,660 ล้านบาท ค่างานโยธาและค่าที่ปรึกษางานโยธาราว 96,000 ล้านบาท และค่างานระบบรถไฟฟ้าและขบวนและค่าที่ปรึกษางานระบบราว 11,370 ล้านบาท) ซึ่งรถไฟฟ้าสายสีส้มฝั่งตะวันตกจะมีการยื่นประมูลในวันที่ 9 พฤศจิกายน 2563 โดยหลังจากประกาศผู้ชนะประมูลแล้ว เม็ดเงินลงทุนกว่า 1.28แสนล้านบาทจะไหลเข้าสู่ธุรกิจที่ปรึกษาการลงทุน ธุรกิจ ที่ปรึกษาการก่อสร้าง ธุรกิจก่อสร้าง ธุรกิจวัสดุก่อสร้าง ธุรกิจระบบรถไฟฟ้า ธุรกิจขบวนรถไฟฟ้า ซึ่งจะก่อให้เกิด เม็ดเงินหมุนเวียนในการซื้อขายสินค้าและบริการ การจ้างงานในธุรกิจเหล่านี้ รวมถึงผลบวก (spillover effect) ต่อธุรกิจอื่น ๆ ก่อนที่จะทำการเริ่มเดินรถส่วนตะวันออกในปี 2567 และทำการเดินรถทั้งส่วนตะวันออกและตะวันตกในปี 2570 ยึด 3 ประเด็นหลักเพื่อประโยชนสูงสุด อย่างไรก็ดี  EIC ประเมินว่า ภาครัฐและเอกชนผู้เข้าร่วมประมูลโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ควรมีการพิจารณา 3 ประเด็นสำคัญเพื่อสร้างประโยชน์สูงสุดจากการพัฒนาโครงการ ได้แก่ 1.การพัฒนาการเชื่อมต่อบริเวณสถานีจุดตัดกับรถไฟฟ้าเส้นทางอื่น ๆ และระบบขนส่งคมนาคมในรูปแบบอื่น ๆ 2.การสร้างรายได้จากพื้นที่พาณิชยกรรมบริเวณสถานีและการหาโอกาสทางธุรกิจใหม่ 3.การควบคุมรายจ่ายที่เกิดจากการให้บริการ การพัฒนาการเชื่อมต่อบริเวณสถานีจุดตัดกับรถไฟฟ้าเส้นทางอื่น ๆ และระบบขนส่งคมนาคมในรูปแบบอื่น ๆ   ด้วยลักษณะโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ที่มีสถานีจุดตัดมากมายจึงมีแนวโน้มที่จะมีปริมาณผู้โดยสารมาใช้บริการเป็นจำนวนมาก การพัฒนาโครงการจึงต้องมีการออกแบบเพื่อรองรับการเปลี่ยนเส้นทางโดยสารให้มีความสะดวก ไม่สร้างความสับสนให้แก่ผู้โดยสาร และการวางระบบการเชื่อมต่อกับการขนส่งรูปแบบอื่น เช่น รถประจำทาง เรือ ควรมีการสอดประสานกันทั้งในด้านจุดขึ้น/ลงพาหนะและตารางเวลาเดินรถ เพื่ออำนวยความสะดวกในการเดินทาง   อีกทั้งการวางแผนระบบตั๋วร่วม (common ticket) ในอนาคตที่ภาครัฐและผู้รับสัมปทานควรมีการวางแผนเพื่อใช้ตั๋วโดยสารใบเดียวในการเดินทาง ทั้งกับรถไฟฟ้าทุกเส้นทางและการขนส่งรูปแบบอื่น ๆ รวมถึงยังต้องเตรียมพร้อมในการกำหนดอัตราค่าโดยสารร่วม (common fare) ที่เหมาะสม ซึ่งในปัจจุบันโครงสร้างอัตราค่าโดยสาร (fare structure) ของรถไฟฟ้าประกอบด้วย 2 ส่วนได้แก่ 1.ค่าแรกเข้าระบบรถไฟฟ้าในแต่ละเส้นทาง 2.ค่าโดยสารที่ผันแปรตามระยะทาง ซึ่งการมีจุดเชื่อมต่อกับรถฟ้าเส้นทางอื่น ๆ เป็นจำนวนมาก ทำให้การกำหนดอัตราค่าโดยสารแรกเข้าของรถไฟฟ้าสายสีส้มควรมีการร่วมพิจารณากับผู้ให้บริการรถไฟฟ้าสายอื่น ๆ เพื่อกำหนดราคาที่เหมาะสมและเป็นธรรมกับผู้โดยสาร แนะ 3 แนวทางหารายได้เพิ่มจากพื้นที่สถานี การสร้างรายได้จากพื้นที่พาณิชยกรรมบริเวณสถานี และการหาโอกาสทางธุรกิจใหม่ โดยในช่วงการเดินรถนอกจากค่าโดยสาร (farebox revenue) ที่เป็นรายได้หลักของเอกชนผู้รับสัมปทานแล้วผู้ประกอบการควรเน้นการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชยกรรมเพื่อสร้างรายได้เพิ่มเติม ยกตัวอย่างเช่น   1.การให้เช่าพื้นที่เพื่อขายสินค้า เพื่อรับฝากกระเป๋าเดินทางและพัสดุบริเวณสถานีรถไฟฟ้า โดยเฉพาะสถานีที่เป็นจุดตัด ซึ่งมีโอกาสที่จะพัฒนาเป็นฮับ (hub) คมนาคมที่มีผู้โดยสารหนาแน่น   2.การหารายได้จากการโฆษณาบริเวณสถานีและขบวนรถไฟฟ้า ซึ่งการสร้างรายได้เหล่านี้ถือเป็นส่วนสำคัญที่จะเพิ่มเติมรายได้ให้กับเอกชนผู้รับสัมปทานรถไฟฟ้า   3.การสร้างพันธมิตรเพื่อเตรียมพัฒนาโมเดลทางธุรกิจใหม่ ๆ ถือเป็นอีกปัจจัยสำคัญในการสร้างความยั่งยืนของธุรกิจในอนาคต เช่น กรณีของสถานีรถไฟ Birmingham New Street ในอังกฤษที่มีการสร้างพันธมิตรกับ Vodafone หนึ่งในผู้ให้บริการด้านโทรคมนาคมของโลก ในการเปิดใช้เทคโนโลยี 5G เพื่อใช้สนับสนุนการวางรากฐานในระบบบริหารการจัดการยานพาหนะอัจฉริยะ (Smart transport) ที่เป็นองค์ประกอบหนึ่งของการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ (Smart city) และต่อยอดสู่การนำเทคโนโลยี เช่น Artificial Intelligence (A.I.), Internet of Things (IOT) และ Robotics ไปพัฒนาโมเดลทางธุรกิจใหม่อีกด้วย   การควบคุมรายจ่ายที่เกิดจากการให้บริการ โดยในช่วงการก่อสร้าง ถึงแม้ว่าเอกชนจะเป็นผู้ลงทุนในงานโยธา ระบบรถไฟฟ้า และขบวนรถไฟฟ้า แต่ภาครัฐยังมีการช่วยเหลือให้เงินสนับสนุนตามจำนวนที่เอกชนยื่นขอในการประมูลแต่ไม่เกินค่างานโยธา (ราว 96,000 ล้านบาท) เริ่มตั้งแต่ปีที่ 2 ซึ่งการให้เงินสนับสนุนดังกล่าวเอกชนผู้รับสัมปทานจะได้รับกระแสเงินเข้ามาแบ่งเบาภาระรายจ่ายระหว่างการก่อสร้างได้บางส่วน   ขณะที่ในช่วงการให้บริการ เนื่องจากลักษณะโครงการของรถไฟฟ้าสายสีส้มที่มีสถานีใต้ดิน 21 สถานีจากสถานีทั้งหมด 28 สถานี  ทำให้เอกชนผู้รับสัมปทานต้องมีการบำรุงรักษาระบบต่าง ๆ  มากกว่ารถไฟฟ้าที่ใช้ทางวิ่งยกระดับ ยกตัวอย่างเช่น ระบบระบายอากาศ ระบบปรับอากาศ รวมถึงการบำรุงรักษาโครงสร้างพื้นฐาน เช่น อุโมงค์ทางวิ่ง สถานีใต้ดิน ส่งผลให้ค่าดำเนินการและค่าบำรุงรักษาของรถไฟฟ้าใต้ดินมากกว่ารถไฟฟ้าที่ใช้ทางวิ่งยกระดับตามไปด้วย ซึ่งเป็นความท้าทายในการบริหารโครงการในอนาคตที่ไม่ควรมองข้าม   โดยในเบื้องต้น เอกชนผู้รับสัมปทานควรพิจารณาการทำการศึกษาวิธีการประหยัดพลังงานบริเวณสถานีและการทำการศึกษาความเป็นไปได้ในการใช้พลังงานทางเลือก เช่น โซลาร์เซลล์ ซึ่งเริ่มมีแนวคิดในการติดตั้งตามสถานีรถไฟฟ้าในหลายประเทศ เช่น อังกฤษ นอร์เวย์ อินเดีย เพื่อลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานในอนาคต   การพัฒนาโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มถือเป็นอีกหนึ่งโครงการโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ที่เป็นเส้นทางยุทธศาสตร์สำคัญที่มีผลกระทบต่อระบบขนส่งมวลชนในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล การเตรียมความพร้อมและศึกษาผลกระทบจากการพัฒนาโครงการอย่างถี่ถ้วนจึงเป็นสิ่งสำคัญ ที่จะก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดทั้งกับภาครัฐ ผู้รับสัมปทาน และประชาชนทั่วไป ในอนาคต   บทวิเคราะห์โดย ดร.สุปรีย์ ศรีสำราญ ผู้จัดการคลัสเตอร์โครงสร้างพื้นฐาน  Economic Intelligence Center (EIC) ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)   ภาพประกอบ จากรฟม. เป็นภาพตัวอย่างขบวนรถไฟฟ้าที่ใช้ในโครงการรถไฟฟ้าสายอื่นๆ ในปัจจุบันของรฟม.                          
ทดลองนั่งรถไฟฟ้าสายสีทอง ที่ไม่มีคนขับ !! ไป ไอคอนสยาม

ทดลองนั่งรถไฟฟ้าสายสีทอง ที่ไม่มีคนขับ !! ไป ไอคอนสยาม

คนกรุงเทพฯ เตรียมใช้บริการ รถไฟฟ้าสายสีทอง รถไฟฟ้าที่ไม่มีคนขับ แห่งแรกของไทย ไปไอคอนสยาม-โรงพยาบาลตากสิน-สำนักงานเขตคลองสาน กลางเดือนธันวาคม 2563 นี้แน่นอน ด้วยค่าโดยสารแค่ 15 บาท ใช้ระยะเวลาเดินทางแค่ 5 นาทีเท่านั้น   เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2563 พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) พร้อมด้วยคณะผู้บริหารกรุงเทพมหานคร เดินทางมาตรวจเยี่ยมโครงการระบบขนส่งมวลชนขนาดรอง สายสีทอง ระยะที่ 1 (สถานีกรุงธนบุรี-สถานีสำนักงานเขตคลองสาน) พร้อมกับเปิดทดลองเดินรถก่อนเปิดใช้บริการจริงในช่วงกลางเดือนธันวาคมนี้ โดยมี ผู้บริหารสำนักการจราจรและขนส่ง ผู้บริหารบริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด ผู้บริหาร บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) และสื่อมวลชนไปร่วมทดลองนั่งด้วย เปิดให้ใช้แน่กลางเดือนธ.ค.63 โครงการรถไฟฟ้าสายสีทองเป็นโครงการรถไฟฟ้าสายใหม่ที่กรุงเทพมหานคร ได้ดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) โดยเริ่มก่อสร้างในปี 2561 และขณะนี้การก่อสร้างและติดตั้งระบบในภาพรวมมีความก้าวหน้า 96 % แบ่งออกเป็นความก้าวหน้างานโยธา 98 % และความก้าวหน้างานระบบการเดินรถ 92 % โดยหลังจากติดปัญหาเรื่องผลกระทบจากโรคโควิด-19 ที่ทำให้การจัดส่งขบวนรถและอุปกรณ์ต่าง ๆ ต้องล่าช้า รวมทั้งการปรับปรุงแบบทางขึ้นลงสถานีให้ตรงตามความต้องการของชุมชน ทำให้ต้องเลื่อนกำหนดการเปิดให้บริการจากเดิมที่กำหนดไว้ในเดือนตุลาคม 2563 โดยหลังจากที่สถานการณ์โรคระบาดคลี่คลายก็ได้รับมอบขบวนรถในโครงการมาครบทั้งหมดแล้ว ทั้ง 3 ขบวน และขณะนี้อยู่ระหว่างทดสอบการเดินรถในเส้นทาง ซึ่งผลการทดสอบเป็นไปตามแผน โดยคาดว่าจะสามารถเปิดให้บริการประชาชนได้กลางเดือนธันวาคม 2563 นี้ถือเป็นของขวัญปีใหม่ให้กับชาวกรุงเทพฯ โดยเฉพาะประชาชนในย่านฝั่งธนฯ ที่จะมีทางเลือกในการเดินทางด้วยรถไฟฟ้าเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะที่สถานีคลองสาน เป็นที่ตั้งของหน่วยงานราชการหลายแห่ง ทั้งโรงพยาบาลตากสิน สำนักงานเขตคลองสาน สน.ปากคลองสาน และสำนักการศึกษา กทม. จะช่วยให้การเดินทางมาติดต่อราชการสะดวกมากขึ้น รู้จักรถไฟฟ้าสายสีทอง โครงการรถไฟฟ้าสายสีทอง มีระยะทางรวม 2.75 กิโลเมตร 4 สถานี วิ่งตามแนวถนนกรุงธนบุรี ถนนเจริญนครและถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน  การดำเนินงานแบ่งออกเป็น 2 ระยะ ระยะที่ 1 ระยะทาง 1.80 กิโลเมตร (ดำเนินการในปัจจุบัน) ประกอบด้วย สถานีกรุงธนบุรี (G1) สถานีเจริญนคร (G2) สถานีคลองสาน (G3) ระยะที่ 2 ระยะทาง 0.88 กิโลเมตร ประกอบด้วย 1 สถานี สถานีประชาธิปก (G4) ข้อมูลรถไฟฟ้าสายสีทอง รถที่นำมาใช้เป็นรถไฟฟ้ารุ่น Bombardier Innovia APM 300 รถวิ่งได้ความเร็วสูงสุดที่ 80 กิโลเมตร/ชั่วโมง แต่ช่วงที่ได้มาทดลองวิ่งด้วยความเร็วประมาณ 30-60 กิโลเมตร/ชั่วโมง เพราะเส้นทางรถไฟฟ้ามีความโค้งหลายจุด ซึ่งระยะเวลาวิ่งจากสถานีกรุงธนบุรีถึงสถานี สำนักงานเขตคลองสาน ใช้เวลาประมาณ 5 นาที มีจำนวน 3 ขบวน ขบวนละ 2 ตู้ ซึ่งใช้งานจริง 2 ขบวน และอีก 1 ขบวนสำรองไว้สำหรับรถไฟฟ้าขบวนจริงต้องซ่อมแซม หรือต้องหยุดวิ่ง และตู้ของรถไฟฟ้าแต่ละตู้ จะแยกจากกัน ไม่สามารถเดินไปมาระหว่างตู้ขบวน เหมือนกับรถไฟฟ้าบีทีเอส หรือรถใต้ดินได้ ขนาดความจุผู้โดยสาร 138 คน/ตู้ ตู้รถไฟฟ้ามีความกว้าง 2.8 เมตร ความยาว 12.75 เมตร ความสูง 3.5 เมตร ประตูมีความกว้าง 1.9 เมตร ความสูงของพื้นรถ 1.1 เมตร ระบบรถไฟฟ้าเป็นระบบ Automated Guideway Transit (AGT) หรือระบบขนส่งมวลชนแบบนำทางอัตโนมัติ หรือรถไฟฟ้าระบบ Automated People Mover (APM) เป็นระบบล้อยาง ซึ่งไม่มีคนขับรถไฟฟ้าอยู่ในขบวน แต่จะถูกควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ โดยพนักงานประจำสถานี ถือเป็นรถไฟฟ้าเส้นทางแรกของไทย ที่ไร้คนขับอยู่ในขบวน ไม่เหมือนรถไฟฟ้าบีทีเอสหรือเอ็มอาร์ที   ไปไอคอนสยามได้ง่าย ๆ แค่ 5 นาที รถไฟฟ้าสายสีทอง จะเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าบีทีเอสสถานีกรุงธนบุรี ด้วยอัตราค่าโดยสารเพียง 15 บาทตลอดสาย ทำให้ต่อไปผู้ที่จะเดินทางไปช้อปปิ้งที่ศูนย์การค้าไอคอนสยาม ก็ใช้ระยะเวลาเดินทางเพียง 5 นาทีเท่านั้น ทำให้เป็นการเพิ่มทางเลือกได้มากขึ้น ต่อไปนี้ถ้าจะไปช้อปปิ้งที่ไอคอนสยาม หรือไปรักษาพยาบาลที่โรงพยาบาลตากสินก็มีทางเลือกหลากหลาย เพราะรถไฟฟ้าสายสีทองยังเชื่อมต่อการเดินทาง ล้อ ราง เรือ รองรับผู้โดยสารจากรถไฟฟ้าสายสีเขียวที่สถานีกรุงธนบุรี และเชื่อมต่อโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง (ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ) และสายสีแดง (ช่วงหัวลำโพง-บางบอน-มหาชัย) ในอนาคต รวมทั้งเชื่อมการเดินทางของประชาชนที่ใช้บริการเรือโดยสารในแม่น้ำเจ้าพระยาด้วย ซึ่งคาดการณ์ปริมาณผู้โดยสารเมื่อเปิดให้บริการ อยู่ที่ประมาณ 42,260 เที่ยว-คน/วัน   การพัฒนาโครงข่ายรถไฟฟ้ายังช่วยเพิ่มมูลค่าของที่ดินในแนวรถไฟฟ้า เสริมสร้างเศรษฐกิจในพื้นที่ เห็นได้จากมีโครงการคอนโดมิเนียมของผู้ประกอบการทั้งหลาย เข้าไปปักหมุดกันมากมาย และจะเป็นจุดไฮไลท์อีกแห่งหนึ่งที่จะดึงดูดนักท่องเที่ยว เป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจในพื้นที่หลังจากที่ได้รับผลกระทบจากโรคโควิด-19 ได้อีกด้วย
อัพเดท ความคืบหน้า “สถานีกลางบางซื่อ” ได้ใช้แน่ต้นปี 64

อัพเดท ความคืบหน้า “สถานีกลางบางซื่อ” ได้ใช้แน่ต้นปี 64

การรถไฟแห่งประเทศไทย พาสื่อมวลชนลงพื้นที่ ดูความคืบหน้าโครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) ช่วงบางซื่อ-รังสิต  หรือ สถานีกลางบางซื่อ (Grand Station)  ซึ่งโปรเจ็กต์นี้จะกลายเป็นศูนย์กลางการเดินทางด้วยระบบรางแห่งใหม่ของประเทศในอนาคต  ที่มีกำหนดจะเปิดทดลองให้บริการครั้งแรก ในช่วงปี 2564 ที่จะถึงนี้แน่นอน ศูนย์รวมการคมนาคมระบบราง สถานีกลางบางซื่อ วางแผนพัฒนาให้เป็นสถานีรถไฟหลักของประเทศไทย เพื่อจะใช้แทนสถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง)  ซึ่งเป็นสถานีรถไฟต้นทางของรถไฟทางไกล และรถไฟฟ้าความเร็วสูง ที่วิ่งออกไปภูมิภาคต่างๆ ของประเทศ รวมถึงยังเป็นสถานีศูนย์กลางของรถไฟฟ้าสายสีแดง ทั้งสายสีแดงเข้มและสีแดงอ่อน เมื่อโครงการก่อสร้างแล้วเสร็จ  สถานีกลางบางซื่อจะไม่เป็นเพียงสถานีรถไฟหลักแห่งใหม่ของประเทศไทยเท่านั้น แต่ยังเป็นจะสถานีรถไฟใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยโครงการเริ่มต้นก่อสร้างตั้งแต่ ปี 2556 และมีกำหนดเปิดใช้งานในปี 2564  ขนาดของสถานีมีความยาว 596.6 เมตร ความกว้าง 244 เมตร ความสูง 43 เมตร พื้นที่ใช้สอยรวม 274,192 ตารางเมตร ตัวอาคารหลักมีพื้นที่ทั้งหมด 4 ชั้น ประกอบด้วย   ชั้นใต้ดิน เป็นพื้นที่จอดรถ 72,542 ตารางเมตรที่จะรองรับได้ทั้งหมด  1,624 คัน ชั้นที่ 1 เป็นพื้นที่สำหรับห้องจำหน่ายตั๋วโดยสาร ชั้นที่ 2 เป็นชั้นชานชาลาสำหรับรถไฟที่ใช้รางขนาด 1.00 เมตร ประกอบด้วยรถไฟทางไกล 8 ชานชาลา และ รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง 4 ชานชาลา ชั้นที่ 3 เป็นชั้นชานชาลาสำหรับรถไฟที่ใช้รางขนาด 1.435 เมตร ประกอบด้วย รถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (Airport Rail Link) และรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน 2 ชานชาลา รถไฟฟ้าความเร็วสูงสายเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 6 ชานชาลา รถไฟฟ้าความเร็วสูงสายใต้ จำนวน 4 ชานชาลา รวมทั้งสิ้น 12 ชานชาลา งานก่อสร้างคืบหน้ากว่า 98% สำหรับความคืบหน้าด้านการก่อสร้าง ขณะนี้สถานีกลางบางซื่อมีความคืบหน้าในการก่อสร้างถึง 98 %  โดยงานก่อสร้างได้แบ่งออกเป็น 3 สัญญา ซึ่งแต่ละสัญญามีความก้าวหน้า ดังนี้ สัญญาที่ 1 งานโยธาสำหรับสถานีกลางบางซื่อและศูนย์ซ่อมบำรุง ประกอบด้วย สถานีกลางบางซื่อ และสถานีจตุจักร ทางรถไฟยกระดับ จาก กม.6+000 ถึง กม.12+201.700 ศูนย์ซ่อมบำรุงรถไฟฟ้าชานเมือง ศูนย์ซ่อมบำรุงรถไฟทางไกล ย่านจอดรถไฟ และอาคารอื่นๆ ที่เกี่ยวกับการควบคุมการเดินรถ ตลอดจนถนน สะพานยกระดับเข้า-ออกสถานี และระบบระบายน้ำ ซึ่งมีความคืบหน้าคิดเป็น 98.62 % สัญญาที่ 2 เป็นงานโยธาสำหรับทางรถไฟ ช่วงบางซื่อ-รังสิต ประกอบด้วย สถานี 8 สถานี ทางรถไฟยกระดับและทางรถไฟระดับดิน ถนนเลียบทางรถไฟ สะพานกลับรถ สะพานข้ามทางรถไฟ และระบบระบายน้ำ ซึ่งการก่อสร้างแล้วเสร็จสมบูรณ์แล้ว สัญญาที่ 3 งานระบบไฟฟ้าและเครื่องกล รวมจัดหาตู้รถไฟ สำหรับช่วงบางซื่อ-รังสิต และบางซื่อ-ตลิ่งชัน มีความก้าวหน้าของงานที่ดำเนินการแล้วเสร็จคิดเป็น 73.53% ชงของบ 3,000 ล. ตั้งบริษัทเดินรถสายสีแดง สำหรับการจัดตั้งบริษัทเดินรถไฟชานเมืองสายสีแดง จะมีการขออนุมัติเงินกู้วงเงิน 3,000 ล้านบาทจากคณะรัฐมนตรี(ครม.) เพื่อใช้เป็นทุนจดทะเบียนบริษัทและจัดสรรบุคลากร ในช่วงแรก 773 อัตรา โดยมาจากการโอนย้ายพนักงานจาก บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด พนักงานจากการรถไฟแห่งประเทศไทย และเปิดรับสมัครพนักงานใหม่ ส่วนทางเลือกในการบริหารสถานี รฟท. มีแนวทางเลือกอยู่หลากหลายแนวทาง เช่น รฟท. ดำเนินการบริหารงานสถานีด้วยตนเองทั้งหมด จัดตั้งบริษัทลูกให้ดำเนินการแทน เชิญชวนเอกชนร่วมลงทุน จัดจ้างเอกชนเข้ามาบริหาร หรือให้สิทธิ์เอกชนเป็นผู้ดำเนินการและจ่ายผลตอบแทน เป็นต้น ซึ่งขณะนี้ยังอยู่ระหว่างการพิจารณาทางเลือกที่สอดคล้องและเหมาะสมที่สุด   ส่วนสถานีรถไฟหัวลำโพง จะยกเลิกการใช้งาน แต่เปลี่ยนมาเป็นการลดบทบาทลง เนื่องจากไม่สามารถทำตามแผนเดิมได้  เพราะโครงการทั้งหมดล่าช้า  ในระยะแรกจะย้ายเฉพาะรถขบวนทางไกลมาที่สถานีกลางบางซื่อก่อน คงเหลือขบวนระยะใกล้ทิศทางตะวันออกไว้   แต่ด้วยปัจจุบันรถขบวนทางไกล เป็นรถไฟดีเซลใช้น้ำมันเป็นเชื้อเพลิง สภาพรถเก่า โดยเฉพาะหัวจักรใช้งานมากว่า 20 ปี มีเสียงดังและกลิ่นของเครื่องปั่นไฟและไอร้อนจากตู้โดยสารปรับอากาศ ทางคณะกรรมการ (บอร์ด) รฟท. ชุดเดิม จึงเห็นว่าหากนำรถขบวนทางไกลดังกล่าวขึ้นไปอยู่ชั้น 2 ของสถานีกลางบางซื้อที่เป็นระบบปิดจะเป็นมลพิษในอาคาร จึงมีมติไม่ให้นำขึ้นชั้น 2  โดยให้สร้างสถานีชั่วคราว วงเงิน 300 ล้านบาท จะตั้งอยู่ด้านหลังสถานีกลางบางซื่อ บริเวณสถานีรถไฟบางซื่อ และสถานีบางซื่อ 2 ในปัจจุบัน  เพื่อรองรับรถไฟกลุ่มนี้ประมาณ 5 ปี   นอกจากนี้ รฟท.จะจัดหารถไฟใหม่ ซึ่งเป็นระบบไฟฟ้า 184 คัน เพื่อนำมาทดแทน และสามารถขึ้นไปให้บริการที่ชั้น 2 ได้โดยเร็วที่สุด ส่วนสายสีแดงได้รับรถมาแล้ว 5 ขบวน ประกอบด้วย 1 ขบวน 6 ตู้ 2 ชุด และ 2ขบวน 4 ตู้ 3 ชุด ส่วนที่เหลืออีก 20 ขบวน 106 ตู้ จะทยอยเดินทางมาถึงประเทศไทยภายในเดือน มิถุนายนนี้ รถไฟสายสีแดง และรถไฟสีแดงรุ่นใหม่จากจีน ที่สามารถขึ้นชานชาลาชั้น 2 ได้ ประมาณ 30-40 ขบวนจากทั้งหมด130 ขบวน คาดผู้ใช้ทะลุ 2 แสนคน สำหรับโครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) ช่วงบางซื่อ-รังสิต คาดว่าจะเปิดดำเนินการได้ในช่วงต้นปี 2564 โดยคาดการณ์ผู้โดยสารที่ใช้บริการสถานีกลางบางซื่อในปี 2564 จำนวน 208,000 คน-เที่ยว/วัน และเพิ่มเป็น 396,000 คน-เที่ยว/วัน ในปี 2575เมื่อทั้งระบบแล้วเสร็จ ซึ่งจะส่งผลให้สถานีกลางบางซื่อกลายเป็นศูนย์กลางการเดินทางด้วยระบบรางแห่งใหม่ของประเทศ รวมทั้งเป็นจุดเชื่อมต่อการเดินทางที่ใหญ่และทันสมัยที่สุดแห่งหนึ่งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เกี่ยวกับรถไฟฟ้า Update รถไฟฟ้า ปี 2563 รถไฟฟ้าสายสีส้ม สายแห่งการเชื่อมต่อกรุงเทพฯ เปิดทดลองวิ่งแล้ว BTS สถานีห้าแยกลาดพร้าว-สถานี ม.เกษตร
5 ปัจจัยหนุนทำเลเตาปูน สู่ย่านใจกลางธุรกิจแห่งใหม่

5 ปัจจัยหนุนทำเลเตาปูน สู่ย่านใจกลางธุรกิจแห่งใหม่

ถ้าพูดถึงทำเลที่มีการพัฒนาโครงการคอนโดมิเนียมหนาแน่น  นอกจากทำเลพื้นที่ย่านใจกลางเมือง หรือ ย่านใจกลางธุรกิจ อีกทำเลที่มีการพัฒนาคอนโดฯ​ อย่างหนาแน่น ก็คงเป็นทำเลตามแนวเส้นทางรถไฟฟ้า ทั้งเส้นทางรถไฟฟ้าที่เปิดให้บริการแล้ว และกำลังจะเกิดขึ้นในอนาคต  เพราะคนจะเลือกที่อยู่ทำเลไหน การเดินทางต้องมีความสะดวกสบายด้วย ซึ่งเรื่องของความสะดวกในการเดินทาง ถือเป็นตัวตัดสินใจอันดับแรกๆ ในการเลือกซื้อที่อยู่อาศัยเลยก็ว่าได้   สำหรับแนวเส้นทางรถไฟฟ้า ซึ่งมีการพัฒนาโครงการคอนโดฯ หนาแน่นแห่งหนึ่ง คงเป็นทำเลเตาปูน บริเวณรถไฟฟ้าสถานีเตาปูน อินเตอร์เชนจ์ ต่อเนื่องไปถึงสถานีบางโพ ยิ่งเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย จากสถานีเตาปูน-ท่าพระ ได้เริ่มทดลองวิ่งแล้ว ทำเลนี้น่าสนใจและเป็นที่จับตามอง ดีเวลลอปเปอร์หลายราย มองว่าทำเลนี้ในอนาคตจะถูกพัฒนาและกลายเป็นย่านใจกลางธุรกิจแห่งใหม่ จากปัจจัยบวกหลายประการ   หากพิจารณาถึงเหตุผลตอกย้ำทำเลเตาปูน คือ ย่านใจกลางธุรกิจแห่งใหม่ในอนาคตนั้น  คงจะมาจากเหตุผลสำคัญ 5 ประการ คือ 1.การพัฒนาโครงการ “สถานีกลางบางซื่อ” สถานีกลางบางซื่อ เป็นโครงการของการรถไฟแห่งประเทศไทย มีเป้าหมายสำคัญเพื่อใช้เป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงเส้นทางรถไฟ และรถไฟฟ้า ซึ่งมีการริเริ่มโครงการมาตั้งแต่ปี 2553 โดยขณะนั้นสถานีกลางบางซื่อ ถือเป็นส่วนหนึ่งของโครงการถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง ซึ่งเดิมกำหนดให้มีโครงสร้างสถานีจำนวน 2 ชั้น ได้แก่ ชั้นรถไฟทางไกล และชั้นสำหรับรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง และรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิส่วนต่อขยาย   ต่อมาในปี  2557 รัฐบาล คสช. และกระทรวงคมนาคมได้ดำเนินโครงการต่อมา จากก่อนหน้าโครงการล่าช้าเพราะมีการปรับแบบก่อสร้างมาโดยตลอดเวลา  ซึ่งแบบสถานีกลางบางซื่อใหม่ที่ถูกปรับขึ้น ล่าสุด จะประกอบด้วย ชั้นที่ 1 เป็นพื้นที่สำหรับห้องจำหน่ายตั๋วโดยสาร ชั้นที่ 2 เป็นชั้นชานชาลาสำหรับรถไฟที่ใช้รางขนาด 1.000 เมตร ประกอบด้วยรถไฟทางไกล 8 ชานชาลา และรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง 4 ชานชาลา และชั้นที่ 3 เป็นชั้นชานชาลาสำหรับรถไฟที่ใช้รางขนาด 1.435 เมตร ประกอบด้วย รถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ  (Airport Rail Link) และรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน 2 ชานชาลา รถไฟฟ้าความเร็วสูงสายตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 4 ชานชาลา รถไฟฟ้าความเร็วสูงสายเหนือ และรถไฟฟ้าความเร็วสูงสายใต้ จำนวนสายละ 2 ชานชาลา รวมทั้งสิ้น 10 ชานชาลา (ข้อมูลจาก วิกิพีเดีย)   ความสำคัญของสถานีกลางบางซื่อ คือ การเป็นศูนย์กลางด้านคมนาคมขนส่งระบบรางที่เชื่อมโยงการเดินทางด้วยรถไฟฟ้า รถไฟทางคู่ และรถไฟความเร็วสูง จากกรุงเทพฯ สู่ภูมิภาค และภายในเขตกรุงเทพฯ​ และปริมณฑลเอง  ซึ่งมีขนาดใหญ่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สถานีกลางบางซื่อจึงเป็นปัจจัยสำคัญในการผลักให้พื้นโดยรอบกลายเป็นศูนย์กลางธุรกิจแห่งใหม่ ที่สร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจและการอยู่อาศัย เพราะคาดว่าสถานีกลางบางซื่อจะมีผู้ใช้บริการ หมุนเวียนต่อวันมากถึง 200,000 คนเลยทีเดียว 2.จุดเชื่อมต่อรถไฟฟ้าสี “น้ำเงิน-ม่วง” นับตั้งแต่รถไฟฟ้าสายสีม่วง เปิดให้บริการอย่างเป็นทางการ ในช่วงปี 2560 ทำเลเตาปูน ก็ได้รับความสนใจจากบรรดาดีเวลลอปเปอร์อย่างต่อเนื่อง หลายรายเข้ามาปักหมุดขึ้นโครงการ  นับตั้งแต่รู้ข่าวว่าจะมีเส้นทางรถไฟฟ้าด้วยซ้ำ และเมื่อมีการพัฒนาเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีม่วง มาเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน บริเวณสถานีเตาปูน อินเตอร์เชนจ์ ทำเลเตาปูน จึงกลายเป็นจุดเชื่อมต่อของเส้นทางรถไฟฟ้า ทั้งสองสีอย่างมีนัยสำคัญต่อการเดินทางของคนในกรุงเทพฯ และจังหวัดนนทบุรี   ที่สำคัญ การเริ่มเปิดให้บริการเดินรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงเตาปูน-ท่าพระ ตั้งแต่ปลายปี 2562 แม้จะเป็นช่วงเวลา 10.00-16.00 น. ก่อนจะขยายระยะเวลาให้บริการเป็น 06.00-24.00 น. ตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ซึ่งแม้จะยังไม่ได้จัดเก็บค่าโดยสาร และจะเริ่มจัดเก็บค่าโดยสารและเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการวันที่ 30 มีนาคม 2563 นี้  ทำเลเตาปูนจึงถือเป็นจุดเชื่อมต่อของการเดินทาง  ซึ่งทำให้คนมีความสะดวก ไม่ว่าจะไปทางทิศตะวันออก หรือไปทางทิศตะวันตกของกรุงเทพฯ 3.การเดินทางครบเชื่อมโยงทั้งระบบ “ราง-รถ-เรือ” นอกจากย่านเตาปูน จะเป็นจุดเชื่อมต่อของเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน และสายสีม่วงแล้ว ในอนาคต ยังมีการพัฒนาระบบคมนาคม เชื่อมโยงระหว่างกันทั้งระบบราง รถ และเรือ  ซึ่งเป็นปัจจัยทำให้ทำเลเตาปูน  จะกลายเป็นทำเลย่านใจกลางธุรกิจแห่งใหม่ในอนาคตได้ไม่ยาก ซึ่งแผนการพัฒนาระบบคมนาคม ที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคต ได้แก่ -การพัฒนาเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ เส้นทาง เตาปูน-ราษฎร์บูรณะ นอกจากเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน-บางใหญ่ (สถานีคลองบางไผ่) ซึ่งเชื่อมโยงคนจากจังหวัดนนทบุรีเข้าสู่ใจกลางเมืองกรุงเทพฯ ได้สะดวกสบายแล้วรถไฟฟ้าสายสีม่วง ยังมีแผนพัฒนาเส้นทางต่อเนื่องจากสถานีเตาปูน อินเตอร์เชนจ์ คือ เส้นทางรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) ระยะทาง 23.6 กิโลเมตร เงินลงทุน 101,112 ล้านบาท   แนวเส้นทางโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน–ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) เริ่มต้นจากจุดเชื่อมต่อรถไฟฟ้า สถานีเตาปูน อินเตอร์เชนจ์ เลี้ยวขวาเข้าสู่ถนนทหารผ่านแยกเกียกกาย ผ่านแยกบางกระบือ, แยกศรีย่าน เชื่อมต่อกับโครงการรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงอ่อน โครงข่ายในเมือง ช่วงบางบำหรุ–มักกะสันเข้าสู่ถนนสามเสนผ่านอาคารรัฐสภาใหม่ โรงเรียนราชินีบน กรมชลประทาน โรงพยาบาลวชิรพยาบาล หอสมุดแห่งชาติ คลองบางลำพู เลี้ยวซ้ายเข้าสู่ถนนพระสุเมรุ ถนนราชดำเนินกลาง เลียบคลองรอบกรุงไปเชื่อมต่อกับโครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้มที่สถานีผ่านฟ้าลีลาศ เชิงสะพานผ่านฟ้าลีลาศ ลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณสะพานพระปกเกล้า เข้าสู่ถนนประชาธิปก ผ่านสี่แยกบ้านแขก เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงเข้มช่วงหัวลำโพง–มหาชัยที่สถานีรถไฟวงเวียนใหญ่ และรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีลม ที่สถานีวงเวียนใหญ่ ลอดใต้วงเวียนใหญ่ เข้าสู่ถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน ลอดใต้แยกมไหสวรรย์ จากนั้นแนวเส้นทางจะเปลี่ยนยกระดับวิ่งไปตามกลางถนนสุขสวัสดิ์ ข้ามสะพานข้ามแยกพระราม 2 ผ่านสามแยกพระประแดงและสิ้นสุดที่ครุใน   -การพัฒนาท่าเรือบางโพ โฉมใหม่ เดิมบริเวณบางโพ มีท่าเรือบางโพคอยให้บริการอยู่ก่อนหน้านี้แล้ว แต่ได้หยุดการใช้งานไป เพราะมีการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน  หลังจากเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ได้ก่อสร้างแล้วเสร็จ ทางกรมเจ้าท่า กระทรวงคมนาคม ผู้ดูแลและรับผิดชอบโดยตรง จึงวางแผนปรับปรุงท่าเรือให้สอดรับกับระบบรถไฟฟ้า  และบริการประชาชนให้สามารถเดินทางเชื่อมต่อได้แบบครบวงจร  ทั้งทางถนน ระบบราง และทางเรือ   โดยกรมเจ้าท่าได้เตรียมขอจัดสรรงบประมาณปี 2564- 2565 ปรับปรุงท่าเรือบางโพ  ประกอบด้วยงาน 3 ส่วน คือการปรับปรุงและก่อสร้างท่าเทียบเรือ พร้อมโป๊ะเทียบเรือ ขนาด 6x12 เมตร จำนวน 2 ตัว การก่อสร้างอาคารพักผู้โดยสารรูปแบบไทยประยุกต์ 1 หลัง และลานหลังท่าเรือขนาด 200 ตารางเมตร  ซึ่งคาดว่าน่าจะดำเนินการก่อสร้างและแล้วเสร็จ พร้อมเปิดให้บริการได้ในเดือนมิถุนายนปี 2565  ท่าเรือบางโพจึงถือเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญ ผลักดันให้ทำเลเตาปูนได้รับความสนใจมากขึ้น -การพัฒนาถนน เพิ่มช่องทางการเดินรถ ในช่วงปี 2565 บริเวณใกล้เคียงกับทำเลเตาปูน ยังจะมีการขยายถนนช่วงสามเสน-ประชาราษฎร์สาย 1 ขยายถนนทหาร เป็น 8  ช่องจารจร การสร้างถนนใหม่ ขนานกับถนนสามเสนเดิม ต่อเนื่องจากถนนกรุงเทพ-นนทบุรี บริเวณแยกเตาปูนไปบรรจบกับถนนพิชัย ซึ่งเป็นแนวเส้นทางเดียวกับเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ ซึ่งจะทำให้ในอนาคตทำเลเตาปูน มีโครงข่ายของถนนเชื่อมโยงไปยังทำเลหรือพื้นที่อื่นๆ ได้มากมาย เป็นการเพิ่มทางเลือกในการเดินทางให้กับคนในพื้นที่ หรือผู้ที่ต้องเดินทางเข้ามาในทำเลเตาปูน 4.แหล่งงาน สำคัญทั้งรัฐและเอกชน ทำเลเตาปูน ที่ผ่านมา อาจจะไม่ใช่ย่านใจกลางธุรกิจหนาแน่น เมื่อเปรียบเทียบกับย่านธุรกิจในทำเลอื่นๆ เพราะทำเลนี้ เป็นทำเลของการพักอาศัย ที่มีบ้านเรือนของคนกระจายอยู่ทั่วไป และเป็นแหล่งการค้าเก่าแก่ อย่างตลาดไม้บางโพ แหล่งค้าไม้และอุปกรณ์ ซึ่งอยู่มาอย่างยาวนาน  แต่ขณะเดียวกันย่านเตาปูน ก็มีสำนักงานเก่าแก่ ซึ่งก่อตั้งบริษัทมานานนับ 100 ปี อย่างเครือซีเมนต์ไทย  สำนักงานใหญ่ ซึ่งมีพนักงานจำนวนมาก ถือได้ว่าเป็นแหล่งงานสำคัญ ใกล้กับย่านเตาปูนเลยก็ว่าได้   ในอนาคตย่านเตาปูน จะกลายเป็นทำเลใกล้กับแหล่งงานขนาดใหญ่ ทั้งภาครัฐและเอกชน  เพราะปัจจุบันมีโครงการและหน่วยงาน ที่เปิดให้บริการและกำลังจะเปิดบริการในอนาคต  ไม่ว่าจะเป็นรัฐสภาแห่งใหม่  สถานีกลางบางซื่อ  ศูนย์การค้าเกตเวย์ แอท บางซื่อ และสำนักงานเขตบางซื่อ นี่ยังไม่นับรวมกับหน่วยงานภาครัฐอื่นๆ โรงเรียน มหาวิทยาลัย โรงพยาบาลต่างๆ ที่ตั้งอยู่โดยรอบของทำเลเตาปูนอีกมากมายด้วย 5.ชุมชนเก่าสู่โลกการค้ายุคใหม่ ย่านเตาปูน มีตลาดเก่าแก่ที่อยู่ในพื้นที่ คือ ถนนสายไม้ ซึ่งอยู่ในซอยประชานฤมิตร  แหล่งรวมของสินค้าประเภทไม้ เฟอร์นิเจอร์ และอุปกรณ์  ซึ่งเป็นที่รู้จักของคนทั่วไป หากนึกถึงหรือต้องการจะซื้อสินค้าประเภทไม้  มักจะต้องเดินทางมาที่ซอยประชานฤมิตร  บรรดาร้านค้าไม้และสินค้าประเภทไม้ ในซอยประชานฤมิตร คาดว่าจะอยู่คู่กับทำเลเตาปูนมายาวนานมากว่า 50 ปี   แต่จากการพัฒนาของระบบคมนาคม โดยเฉพาะเส้นทางรถไฟฟ้า ซึ่งทำให้การเดินทางสะดวกสบาย เกิดแหล่งชุมชนที่พักอาศัยใหม่เพิ่มขึ้น  ซึ่งเป็นปัจจัยผลักดันให้เกิดการพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกออกมารองรับ  อย่างที่เห็นได้ชัดเจน คือ ศูนย์การค้า หรือช้อปปิ้งมอลล์ เพราะเป็นหนึ่งในปัจจัยสี่ ของคนอยู่ในทำเลนั้น ต้องใช้บริการเพื่อซื้อสินค้าใช้หรือบริโภค   ตอนนี้ทำเลเตาปูนมีศูนย์การค้าขนาดใหญ่เกิดขึ้นแล้ว คือ ศูนย์การค้าเกตเวย์ แอท บางซื่อ (Gateway at Bangsue) ที่บริษัท แอสเสท เวิรด์ รีเทล จำกัด ในเครือของ แอสเสท เวิรด์ คอร์ปอเรชั่น ได้ลงทุน 4,000 ล้านบาท พัฒนาโครการขึ้นมาบนเนื้อที่กว่า 10 ไร่ รองรับการมาของเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินและสายสีม่วง จุดเชื่อมต่อสำคัญของทำเลเตาปูน ซึ่งศูนย์การค้าเกตเวย์ แอท บางซื่อเปิดให้บริการมาตั้งแต่ช่วงปลายปี 2561   อนาคตไม่นานจากนี้ คนที่อยู่ในทำเลเตาปูน ยังจะมีแหล่งช้อปปิ้งใหม่ ซึ่งอยู่ในบริเวณสถานีกลางบางซื่อ เพราะภายในโครงการนอกจากจะเป็นจุดเชื่อมต่อของเส้นทางคมนาคมต่างๆ แล้ว ยังมีพื้นที่เชิงพาณิชย์ ซึ่งจะมีร้านค้าต่างๆ เปิดให้บริการด้วย ส่วนจะมีร้านค้าอะไรบ้างนั้น อดใจรออีกไม่นานคงได้เห็นกัน   และนี่คงเป็น 5 ปัจจัยสำคัญ ที่ทำให้ทำเลเตาปูน มีศักยภาพในการเป็นศูนย์กลางธุรกิจแห่งใหม่ในอนาคต หากโครงการต่างๆ ทั้งของรัฐและเอกชนพัฒนาออกมาแล้วเสร็จ  โฉมหน้าของย่านเตาปูน รวมถึงทำเลใกล้เคียงคงเปลี่ยนแปลงไปจากปัจจุบันอย่างมาก
Booking.com เปิดตัวรถบัสพักได้สไตล์ไทยแลนด์ หนึ่งเดียวของโลก

Booking.com เปิดตัวรถบัสพักได้สไตล์ไทยแลนด์ หนึ่งเดียวของโลก

Booking.com เปิดตัว Bangkok Booking Bus รถบัสพักได้ ที่พักแปลกใหม่โดดเด่นด้วยดีไซน์แบบไทย เตรียมเปิดให้พักคืนเดียวเท่านั้น ในวันที่ 22 กุมภาพันธ์ นี้ ที่ เอเชียทีค ริเวอร์ฟอร์น      นางสาวมิเชล เกา ผู้จัดการประจำภูมิภาคของ Booking.com  เปิดเผยว่า จากความนิยมเข้าพักในที่พักแปลกใหม่ต่างๆ ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และรายงานล่าสุดของ Booking.com ที่ชี้ว่า นักเดินทางจำนวนมากขึ้นกำลังมองหาที่พักแปลกใหม่ เพื่อตอบสนองความต้องการที่อยากจะลองประสบการณ์การเข้าพักในที่พักรูปแบบต่างๆ     โดยนักเดินทางชาวไทยมากกว่า 2 ใน 5 (42%) วางแผนจะเข้าพักในที่พักที่มีเอกลักษณ์อย่างน้อยสักครั้งหนึ่ง ซึ่งนอกจากจะเป็นการหาแรงบันดาลใจให้ตัวเองแล้ว ผู้เดินทางยังต้องการทำให้คนรอบตัวรู้สึกประทับใจไปกับตัวเลือกของที่พักในรูปแบบแปลกใหม่ ที่สามารถแสดงออกถึงความเป็นตัวของตัวเองของผู้เข้าพักได้   Bangkok Booking Bus จะเปิดให้จองบน Booking.com ที่เดียวเท่านั้น และเข้าพักได้เพียง 1 คืน สำหรับผู้เข้าพัก 2 ท่าน นับเป็นประสบการณ์สุดพิเศษครั้งหนึ่งในชีวิต ที่บริเวณลานจอดรถ โครงการเอเชียทีค เดอะ ริเวอร์ฟร้อนท์ แหล่งรวมไลฟ์สไตล์และความบันเทิงยามค่ำคืนที่หลากหลาย ทำให้การเข้าพักครั้งนี้น่าประทับใจไม่มีวันลืม     โดย Bangkok Booking Bus จะเปิดให้เข้าพักได้ในวันเสาร์ที่ 22 กุมภาพันธ์นี้ สำหรับการเข้าพัก 1 คืน ต่อผู้เข้าพัก 2 ท่าน โดยสามารถทำการสำรองที่พักได้ในวันพฤหัสบดีที่ 20 กุมภาพันธ์ ตั้งแต่เวลา 20.00 น. เป็นต้นไป โดยจะให้สิทธิ์ในการเข้าพักตามลำดับของผู้ที่จองเข้าพักก่อน สามารถจองที่พักบนรถบัสพักได้ที่เว็บไซต์ของ www.Booking.com ที่เดียวเท่านั้น   ด้วยพันธกิจที่ต้องการให้ทุกคนได้สัมผัสกับประสบการณ์ที่พักที่หลากหลายทั่วโลกได้ง่ายดายขึ้น เราภูมิใจที่จะนำเสนอ Bangkok Booking Bus รถบัสพักได้ ที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจากความเป็นไทย ใจกลางกรุงเทพฯ   หลังจากที่แขกผู้โชคดีได้เข้าพักที่รถบัสพักได้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว Booking.com จะส่งมอบรถบัสพักได้ดังกล่าวให้กับ Local Alike ซึ่งเป็นกิจการเพื่อสังคมสัญชาติไทยด้านการท่องเที่ยวเพื่อพัฒนาชุมชน และยังเป็นสตาร์ทอัพในโครงการ  Booking Booster ปี 2560 ซึ่ง Local Alike จะนำรถบัสพักได้ไปใช้งานเพื่อสานต่อความยั่งยืนต่อไป   วิธีการสำรองที่พัก Bangkok Booking Bus รถบัสพักได้คันแรกที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจากความเป็นไทยเข้าไปที่ Booking.com ในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ เวลา 20.00 น. เป็นต้นไป เพื่อลุ้นเข้าพักใน Bangkok Booking Bus ซึ่งราคาพักของ Bangkok Booking Bus ต่อคืนราคา 2,020 บาท (รับเงินคืนหลังจากเช็ค-เอาท์)
กางแผน LH  เปิด 16 โปรเจ็กต์แนวราบสร้างยอดขาย 28,000 ล้าน

กางแผน LH เปิด 16 โปรเจ็กต์แนวราบสร้างยอดขาย 28,000 ล้าน

“แลนด์แอนด์เฮ้าส์”  กางแผนปี 63 เปิด 16 โปรเจ็กต์ใหม่แนวราบ มูลค่ากว่า 30,535 ล้านบาท  พร้อมตั้งเป้ายอดขาย 28,000 ล้านบาท  ยอมรับสภาพเศรษฐกิจปีที่ผ่านมา ทุบความมั่นใจผู้บริโภค ส่งผลให้ผลประกอบการปี 62 ต่ำกว่าเป้าหมาย คาดอีก 2 ปีตลาดฟื้นตัว   นายนพร สุนทรจิตต์เจริญ ประธานกรรมการและประธานกรรมการบริหาร บริษัท แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) หรือ LH  เปิดเผยถึงแผนธุรกิจในปี 2563 ว่า ได้วางแผนพัฒนาโครงการใหม่รวม 16 โครงการ มูลค่ากว่า 30,535 ล้านบาท  แบ่งเป็น โครงการบ้านเดี่ยว 10 โครงการ บ้านแฝด 3 โครงการ และทาวน์เฮ้าส์ 3 โครงการ  เป็นโครงการในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล 13 โครงการ และต่างจังหวัด 3 โครงการ ในพื้นที่จังหวัดอยุธยา, ภูเก็ต และเชียงใหม่   โดยบริษัทได้เตรียมงบประมาณการลงทุนไว้ 11,000 ล้านบาท เพื่อใช้ในการซื้อที่ดินสำหรับพัฒนาโครงการต่างๆ  แบ่งเป็น การพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยมูลค่า 7,000 ล้านบาท และ การพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ให้เช่ามูลค่า  4,000 ล้านบาท จำนวน 4-5 โครงการ   นอกจากนี้  บริษัทมีแผนขายอพาร์ทเม้นท์ 1 แห่งในสหรัฐอเมริกา จากปัจจุบันมีอยู่ 4 แห่ง มูลค่ารวม 450 ล้านเหรียญ  ซึ่งก่อนหน้านี้ได้ขายไปแล้ว 2 โครงการ ซึ่งทำกำไรได้มากกว่า 10%  ทุกโครงการ  และบริษัทยังอยู่ระหว่างศึกษาความเป็นไปได้ ในการนำสินทรัพย์ขายเข้ากองทรัสต์ เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์เพิ่มเติม  และเตรียมออกหุ้นกู้ 14,000 ล้านบาท เพื่อรีไฟแนนซ์หุ้นกู้ชุดเดิมที่จะครบกำหนดด้วย   “บริษัทได้ขายโรงแรม Grande Centre Point สุขุมวิท 55 ให้กับกองทุนทรัสต์ เพื่อการลงทุนในสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ LHHOTEl มูลค่ากว่า 4,000 ล้านบาท โดยมีกำไรก่อนภาษีเป็นจำนวนกว่า 2,000 ล้านบาท”   ในปี 2563  บริษัทตั้งเป้าหมายมียอดขาย 28,000 ล้านบาท และยอดโอน  28,000 ล้านบาท โดยปัจจุบันมียอดขายรอโอน (Backlog) ประมาณ 8,000-9,000 ล้านบาท ส่วนผลการดำเนินงานในปี 2562 ที่ผ่านมา บริษัททำผลประกอบการไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ โดยทำยอดขายได้ประมาณ 25,000-26,000 ล้านบาท ต่ำกว่าเป้าหมายประมาณ 22%  จากที่คาดว่าจะทำได้ 33,000 ล้านบาท ซึ่งยอดรับรู้รายคาดว่าจะไม่เป็นไปตามเป้าหมายเช่นกัน โดยปีที่ผ่านมาตั้งเป้าหมายยอดรับรู้รายได้ 32,000 ล้านบาท   สาเหตุสำคัญที่ทำให้ผลประกอบการไม่เป็นไปตามเป้าหมาย มาจากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวกระทบต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภค แม้ว่ากลุ่มลูกค้าเป้าหมายของบริษัทจะไม่ได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจก็ตาม  แต่กลุ่มลูกค้าไม่มีอารมณ์ในการใช้จ่ายเงิน  เพราะขาดความเชื่อมั่นต่อภาวะเศรษฐกิจ โดยเฉพาะตลาดคอนโดมิเนียม ที่มีกลุ่มผู้ซื้อบางส่วนเป็นนักลงทุนหรือนักเกร็งกำไร   นายนพร  กล่าวอีกว่า แนวโน้มตลาดอสังหาฯ ในปี 2563 คาดว่าจะปรับตัวดีขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยเฉพาะในตลาดคอนโดฯ ซึ่งอาจจะใช้ระยะเวลานานกว่าโครงการแแนวราบ เนื่องจากเป็นตลาดที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด มีจำนวนห้องชุดในตลาดจำนวนมาก  คาดว่าจะใช้ระยะเวลาประมาณ 2 ปี สภาพตลาดจึงจะฟื้นตัวีขึ้น   “ในปีนี้ สิ่งที่น่ากังวลคงไม่มีอะไรไปมากกว่าสภาพเศรษฐกิจ  การตัดสินใจซื้อลดลง  จำนวนยูนิตเหลือขายยังคงมีมากในหลายโลเคชั่น  โดยเฉพาะตลาดคอนโดฯ ที่ซบเซามาตลอดปีที่ผ่านมา แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ เห็นว่าปีนี้ถึงเวลาที่จะกลับมามองตัวเอง พัฒนาตัวเอง กลับมาดูหลังบ้าน พัฒนาเทคโนโลยี”  
Update รถไฟฟ้า ปี 2563

Update รถไฟฟ้า ปี 2563

ทุกวันนี้ไม่ว่าจะเดินทางไปย่านไหนของกรุงเทพฯ ก็มักจะพบเจอกับการก่อสร้างรถไฟฟ้าอยู่หลายสาย ซึ่งตั้งแต่ปีที่แล้วก็เริ่มมีการเปิดให้ใช้บริการเพิ่มขึ้น ยิ่งทำให้การเดินทางเป็นไปได้อย่างสะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น ซึ่งภายในปี 2563 นี้ ก็จะมีการเปิดให้ใช้บริการเพิ่มขึ้นอีก เราจึงชวนมาอัพเดทกันครับว่า จะมีเส้นทางไหนที่ทั้งเปิดให้บริการอย่างเต็มรูปแบบไปแล้ว และกำลังจะเปิดให้ใช้บริการในอนาคตอันใกล้นี้ เผื่อเป็นตัวเลือกในการเดินทางเพิ่มเติม สำหรับกรุงเทพฯ เมืองที่ประสบปัญหารถติดอยู่เกือบทุกเมื่อเชื่อวันเช่นนี้ รถไฟฟ้า สายสีเขียวเข้ม สุขุมวิท BTS สายสีเขียวทั้งเขียวสุขุมวิท และเขียว สีลม เป็นรถไฟฟ้าสายแรกในประเทศไทยที่เปิดให้บริการมาตั้งแต่วันที่ 5 ธันวาคม 2542 ซึ่งยังคงเป็นเส้นทางหลักในบ้านเรามาจนปัจจุบัน เพราะผ่านใจกลางเมืองแหล่งทำงานอยู่หลายโซน ไม่ว่าจะเป็นช่วงห้าแยกลาดพร้าว อารีย์ อโศก พร้อมพงษ์ ทองหล่อ สีลม สาทร ฯลฯ เมื่อดูจากเส้นทางทั้งหมดแล้วจะเป็นรถไฟฟ้าสายหนึ่งที่ชัดเจนมากในแง่ของการขนส่งคนจากนอกเมืองเข้าสู่ใจกลางเมืองได้อย่างรวดเร็วที่สุดในบรรดาการคมนาคมในเมืองหลวงเช่นนี้ และเนื่องจากสายนี้มีเส้นทางทั้งหมดยาวมากทีเดียวครับ เราจึงแบ่งออกเป็น 2 เส้นทาง คือสายสีเขียวเหนือ กับสายสีเขียวใต้ ดังนี้   รถไฟฟ้า สายสีเขียวเหนือ ภาพของผู้คนแน่นขนัดที่ยืนรอรถเมล์อยู่ใต้สถานีหมอชิต ฝั่งขาออกทุกเย็นวันทำงาน หลังจากนี้อาจจะเบาบางลงบ้างนะครับ เพราะสายสีเขียวเหนือ ซึ่งเปิดให้บริการไปจนถึงสถานีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และเตรียมเปิดให้บริการเต็มรูปแบบตลอดสายไปจนถึงสถานีคูคต ในช่วงปลายปี 2563 นี้ จะทำให้การเดินทางสะดวกสบายขึ้นอีกเยอะ เพียงแต่ก็ยังต้องพิจารณากันดีๆ ในแง่ของค่าใช้จ่ายที่จะต้องเพิ่มขึ้นแน่นอน สำหรับใครที่ตัดสินใจนั่งรถไฟฟ้าต่อออกไป รถไฟฟ้า สายสีเขียวใต้ ปัจจุบันเปิดให้บริการตลอดสายแล้วครับ โดยที่สถานีสำโรง จะเป็นจุด Interchange ต้องลงเพื่อเปลี่ยนขบวน เพื่อต่อออกไปยังสถานีปู่เจ้า-เคหะฯ ซึ่งค่าใช้จ่ายตลอดสาย หากเริ่มจากสถานีสยามไปจนถึงเคหะฯ ก็มีราคาปกติอยู่ที่ 59 บาท ใช้เวลาเดินทางประมาณ 42 นาที รถไฟฟ้า สายสีเขียวอ่อน สีลม รถไฟฟ้าสายแรกที่สร้างข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาจากใจกลางเมืองข้ามไปฝั่งธนฯ โดยราคาจากสถานีสนามกีฬาไปจนถึงบางหว้าอยู่ที่ 59 บาท ใช้เวลาประมาณ 23 นาที รถไฟฟ้า สายสีน้ำเงิน รถไฟฟ้าใต้ดิน MRT สายแรกในบ้านเราครับ ซึ่งเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการครั้งแรกตั้งแต่วันที่ 3 กรกฎาคม 2547 จากเดิมเริ่มจากสถานีบางซื่อ-หัวลำโพง แต่ในปัจจุบันได้เปิดเพิ่มขึ้น โดยแบ่งเป็น 2 สาย คือ ช่วงหัวลำโพง-หลักสอง เปิดให้ใช้บริการตั้งแต่ปีที่แล้ว และช่วงเตาปูน-ท่าพระ จะให้บริการอย่างเป็นทางการ วันที่ 30 มีนาคม 2563 นี้แล้ว เมื่อสายสีน้ำเงินเดินรถอย่างเต็มรูปแบบก็จะกลายเป็นวงแหวนล้อมรอบกรุงเทพ ผ่านสถานที่สำคัญหลายแห่ง ไม่ว่าจะเป็นย่านที่อยู่อาศัย แหล่งออฟฟิศ และสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญ จนกลายเป็นอีกหนึ่งสายหลักที่น่าจับตามองทีเดียวครับ   ช่วงเตาปูน-หลักสอง จากเดิมเปิดให้บริการเตาปูน-หัวลำโพง แต่ปัจจุบันสามารถเดินทางกันยาวๆ ไปจนถึงสถานีหลักสอง โดยไม่ต้องเปลี่ยนขบวนครับ โดยที่เตาปูนจะเป็นสถานีแบบยกระดับ ส่วนช่วงสถานีบางซื่อจะเป็นการเดินรถใต้ดินก่อนจะมายกระดับที่สถานีท่าพระ-หลักสอง ซึ่งอัตราค่าโดยสารสูงสุด 42 บาท ใช้เวลาเดินทางตั้งแต่สถานีเตาปูน-หลักสอง ประมาณ 57 นาที ช่วงเตาปูน-ท่าพระ เป็นช่วงที่ใช้รถไฟฟ้าแบบยกระดับตลอดสาย โดยตอนนี้ยังเป็นช่วงทดลองวิ่ง ซึ่งเปิดให้บริการ 10.00-16.00 น. และจะให้บริการอย่างเป็นทางการ วันที่ 30 มีนาคม 2563 มีอัตราค่าโดยสารสูงสุด 42 บาท ใช้เวลาเดินทางตั้งแต่สถานีเตาปูน-ท่าพระ ประมาณ 44 นาที รถไฟฟ้า สายสีม่วง MRT สายสีม่วง ถือว่าได้รับกระแสตอบรับดีทีเดียวสำหรับชาวนนทบุรี ซึ่งมักจะใช้เดินทางเข้าไปทำงานในเมืองโดยเปลี่ยนขบวนเป็นสายสีน้ำเงินที่สถานีเตาปูน เปิดให้บริการอย่างเป็นทางการครั้งแรกวันที่ 6 สิงหาคม 2559 เป็นช่วงเตาปูน-บางใหญ่ โดยมีราคาสูงสุดที่ 42 บาท ใช้เวลาเดินทางประมาณ 28 นาที ส่วนสายสีม่วงใต้ ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ มีกำหนดเปิดให้บริการภายในปี 2569 รถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิ้งค์ รถไฟฟ้าที่เป็นหัวใจหลักของผู้ที่ต้องการเดินทางจากสนามบินสุวรรณภูมิ รวมถึงผู้ที่พักอาศัยอยู่ในโซนตะวันออกของกรุงเทพฯ เข้าเมืองที่สถานีพญาไท ในราคาสูงสุด 45 บาท ใช้เวลาเดินทางทั้งสายประมาณ 26 นาที ที่สำคัญเลยคือ ในอนาคตสายนี้จะเป็นส่วนหนึ่งของโครงการรถไฟความเร็วสูง เชื่อม 3 สนามบิน ซึ่งหากเปิดให้บริการอย่างสมบูรณ์เมื่อไร เราจะสามารถเดินทางจากกรุงเทพฯ-มาบตาพุด ได้ภายในเวลา 2 ชั่วโมงเท่านั้น   Infographic เรื่องอื่นๆ ลดหย่อนภาษี สำหรับมนุษย์เงินเดือน บ้านกับรถ ซื้ออะไรก่อนดี ? เคล็ดลับผ่อนบ้านให้หมดเร็ว ดอกเบี้ยลด หมดหนี้ไว
[PR News] ศุภาลัย บุกตลาดอสังหาฯ แนวราบ ประเดิมโครงการแรกย่านพระราม 2  

[PR News] ศุภาลัย บุกตลาดอสังหาฯ แนวราบ ประเดิมโครงการแรกย่านพระราม 2  

“ศุภาลัย” เจาะตลาดแนวราบต่อเนื่อง เตรียมเปิดตัวโครงการแรก “ศุภาลัย เบลล่า พระราม 2 - พันท้ายนรสิงห์” บนทำเลศักยภาพถนนพระราม 2 ที่ตอบโจทย์ครบจบทุกความต้องการในที่เดียว ในราคาพิเศษ 2.09 ล้านบาท   นายไตรเตชะ ตั้งมติธรรม กรรมการผู้จัดการ บริษัท ศุภาลัย จำกัด (มหาชน)  เปิดเผยว่า   ปี 2563 นี้ บริษัทเดินหน้าขยายธุรกิจอย่างต่อเนื่อง  โดยเฉพาะตลาดอสังหาริมทรัพย์แนวราบ  เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า โดยมีแผนบุกตลาดที่อยู่อาศัยแนวราบ ทำเลกรุงเทพฯ โซนตอนใต้ ในย่านพระราม 2 ซึ่งเป็นอีกหนึ่งทำเลที่น่าจับตามอง เนื่องจากมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง จากปัจจัยในเรื่อยงความเจริญทางเศรษฐกิจที่มีแหล่งงานขนาดใหญ่ และสิ่งอำนวยความสะดวกมากมาย     นอกจากนี้ ในพื้นที่โซนดังกล่าว ยังเป็นเส้นทางหลักในการเชื่อมต่อระหว่างกรุงเทพฯ กับจังหวัดใกล้เคียง และยังมีแผนการขยายระบบโครงข่ายคมนาคมรอบทิศของภาครัฐ ไม่ว่าจะเป็นถนน ทางด่วน และรถไฟฟ้า ช่วยเพิ่มทางเลือกในการเดินทางเข้าสู่ศูนย์กลางธุรกิจได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว ส่งผลให้ทำเลดังกล่าวมีความต้องการซื้อที่อยู่อาศัยเพิ่มมากขึ้น   ล่าสุดบริษัท เตรียมเปิดตัวโครงการ “ศุภาลัย เบลล่า พระราม 2 - พันท้ายนรสิงห์” มูลค่า 522 ล้านบาท บนพื้นที่โครงการ 23 ไร่ ชูแนวคิด “ไม่มีสะดุดทุกการเดินทาง ให้คุณใช้ชีวิตง่ายขึ้น...ไปอีกขั้น” ในราคาเริ่มต้น 2.09 ล้านบาท ซึ่งเป็นอีกหนึ่งโครงการแนวราบที่ตอบโจทย์ครบจบทุกความต้องการในที่เดียว    มีหลายแบบบ้านให้คุณเลือกทั้งทาวน์โฮม 2 ชั้น สไตล์โมเดิร์น ขนาดพื้นที่ใช้สอย 113 ตารางเมตร 3 ห้องนอน 2 ที่จอดรถ บ้านรุ่นใหม่ ขนาดพื้นที่ใช้สอย 128 ตารางเมตร 3 ห้องนอน 2 ที่จอดรถ และบ้านเดี่ยว ขนาดพื้นที่ใช้สอย 150 - 197 ตารางเมตร​ 3 - 4  ห้องนอน 2 ที่จอดรถ พร้อมให้ความเป็นส่วนตัวกับจำนวนบ้านเพียง 179 หลัง  
เปิดทดลองนั่งฟรี รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน เตาปูน–ท่าพระ

เปิดทดลองนั่งฟรี รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน เตาปูน–ท่าพระ

กระทรวงคมนาคม รฟม. และ BEM พร้อมขยายการให้บริการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย ช่วงเตาปูน–ท่าพระ 23 ธันวาคมนี้ เพื่อเติมเต็มโครงข่ายรถไฟฟ้าและมอบความสุขในการเดินทางให้ประชาชน นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นประธานในพิธีเปิดให้ประชาชนทดลองใช้บริการ โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย ช่วงเตาปูน–ท่าพระ โดยมี นายอธิรัฐ รัตนเศรษฐ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม นายธีรภัทร ประยูรสิทธิ ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีและกรรมการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย นายพิศักดิ์ จิตวิริยะวศิน รองปลัดกระทรวงคมนาคม (หัวหน้ากลุ่มภารกิจการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านทางหลวง) และโฆษกกระทรวงคมนาคม นายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ รองอธิบดีกรมการขนส่งทางราง รักษาราชการแทนอธิบดีกรมการขนส่งทางราง นายสราวุธ ทรงศิวิไล ประธานกรรมการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.) และนายปลิว ตรีวิศวเวทย์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (BEM) เข้าร่วมในพิธีฯ ณ สถานีท่าพระ จากนั้น นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม พร้อมด้วยคณะผู้บริหารกระทรวงคมนาคม รฟม. และ BEM ได้โดยสารรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินจากสถานีท่าพระไปยังสถานีเตาปูน พร้อมทั้งทักทายประชาชนกลุ่มแรกที่มารอขึ้นรถไฟฟ้า ก่อนจะเปิดให้ประชาชนทดลองใช้บริการท่ามกลางบรรยากาศที่เป็นไปอย่างคึกคัก นั่งฟรี 4 สถานี ทั้งนี้ กระทรวงคมนาคม รฟม. และ BEM ได้เปิดให้ประชาชนทดลองใช้บริการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ส่วนต่อขยาย ช่วงเตาปูน–ท่าพระ จากสถานีบางโพ–สถานีสิรินธร จำนวน 4 สถานี โดยไม่คิดค่าโดยสาร ตั้งแต่วันที่ 4 ธันวาคม 2562 ที่ผ่านมา และได้เร่งรัดดำเนินงานในการขยายการให้บริการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายให้ครบทุกสถานีเต็มโครงข่ายของเส้นทาง เพื่ออำนวยความสะดวกด้านการเดินทางให้กับประชาชน โดยพร้อมจะเปิดให้ประชาชนทดลองใช้ เพิ่มอีก 4 สถานี ได้แก่ สถานีบางยี่ขัน สถานีบางขุนนนท์ สถานีไฟฉาย และสถานีจรัญฯ 13 รวมเป็น 8 สถานี คือ จากสถานี บางโพ–สถานีจรัญฯ 13 ในวันที่ 23 ธันวาคม 2562–29 มีนาคม 2563 ตั้งแต่เวลา 10.00–16.00 น. เฉพาะในวันที่ 23 ธันวาคม 2562 นี้ จะเปิดทดลองให้บริการจากสถานีเตาปูน–สถานีสิรินธร ตั้งแต่เวลา 10.00 น. และจากสถานีเตาปูน–สถานีท่าพระ ตั้งแต่เวลา 14.30–18.00 น. โดยจะให้บริการรถไฟฟ้าแบบวิ่งไป-กลับ จากสถานีเตาปูน–สถานีท่าพระ มีรถไฟฟ้าให้บริการจำนวน 6 ขบวน ระยะห่างระหว่างขบวนประมาณ 8 นาที ซึ่งผู้โดยสารจากสายสีน้ำเงินปัจจุบันหรือสายสีม่วงที่ต้องการเดินทางไปปลายทางระหว่างสถานีจรัญฯ 13–สถานีบางโพ จะต้องเปลี่ยนขบวนรถที่สถานีท่าพระหรือสถานีเตาปูน รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน เปิดเต็มรูปแบบ 30 มีนาคม 2563 นอกจากนี้ กระทรวงคมนาคม รฟม. และ BEM ได้เตรียมพร้อมที่จะเปิดให้บริการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินอย่างเป็นทางการเต็มรูปแบบครบทั้งโครงข่ายและจัดเก็บค่าโดยสารตามปกติทั้งเส้นทาง ในวันที่ 30 มีนาคม 2563 เป็นต้นไป โดยจะคิดอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินตามระยะทาง ตั้งแต่สถานีแรกที่อัตรา 16 บาท สูงสุด 42 บาท ในกรณีเดินทางเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีม่วง จะคิดอัตราค่าโดยสารสูงสุดไม่เกิน 70 บาท โดยเมื่อผู้โดยสารแตะบัตรหรือเหรียญโดยสารที่ประตูอัตโนมัติแล้ว จะสามารถอยู่ในระบบรถไฟฟ้าได้ไม่เกิน 180 นาที สำหรับรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย ช่วงหัวลำโพง–บางแค และช่วงบางซื่อ–ท่าพระ เป็นส่วนหนึ่งของแผนแม่บทระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ที่รัฐบาลและกระทรวงคมนาคม ได้มอบหมายให้ รฟม. ทำหน้าที่กำกับดูแลในการดำเนินงานโครงการ เพื่อขยายเส้นทางรถไฟฟ้าให้ครอบคลุมและรองรับการเดินทางของประชาชน โดยมีแนวเส้นทางเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ระยะทางรวมทั้งสิ้น 28 กิโลเมตร แบ่งเป็น 2 ช่วง ได้แก่ ช่วงหัวลำโพง–บางแค เชื่อมต่อจากสถานีหัวลำโพงไปยังสถานีหลักสอง มีระยะทางประมาณ 16 กิโลเมตร จำนวน 11 สถานี และช่วงบางซื่อ–ท่าพระ เชื่อมต่อจากสถานีบางซื่อ ผ่านแยกเตาปูนและไปสิ้นสุดที่สถานีท่าพระ บริเวณแยก ท่าพระ มีระยะทางประมาณ 12 กิโลเมตร จำนวน 9 สถานี ภายในสถานีมีสิ่งอำนวยความสะดวก เช่น ลิฟต์ ทางลาดสำหรับคนพิการ บันไดทางขึ้น–ลงสถานี บันไดเลื่อน ห้องจำหน่ายบัตรโดยสาร และเครื่องจำหน่ายบัตรโดยสารอัตโนมัติ เป็นต้น เพื่อรองรับการใช้งานของผู้โดยสารทุกประเภท ทั้งนี้ เมื่อรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินเปิดให้บริการอย่างเต็มโครงข่ายแล้ว จะมีระยะทางรวมทั้งสิ้น 48 กิโลเมตร จำนวน 38 สถานี และมีสถานีท่าพระเป็นสถานีร่วม (Interchange Station) เชื่อมต่อเส้นทางเป็นโครงข่ายวงกลมที่ครอบคลุมพื้นที่ใจกลางกรุงเทพมหานครและเติมเต็มโครงข่ายระบบรถไฟฟ้าให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น นอกจากนี้ เส้นทางของรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ยังมีจุดที่เชื่อมต่อกับระบบขนส่งสาธารณะรูปแบบอื่นๆ ทั้งทางราง ทางบก และทางน้ำในเขตเมือง ซึ่งจะช่วยอำนวยความสะดวกในการเดินทาง บรรเทาปัญหาการจราจรที่ติดขัด อันเป็นการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนและยกระดับการเดินทาง พร้อมทั้งช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ ทำให้ประชาชนได้รับความสะดวกสบายและมีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น  
เปิดทดลองวิ่งแล้ว BTS สถานีห้าแยกลาดพร้าว-สถานี ม.เกษตร ให้บริการฟรีถึง 2 ม.ค.63

เปิดทดลองวิ่งแล้ว BTS สถานีห้าแยกลาดพร้าว-สถานี ม.เกษตร ให้บริการฟรีถึง 2 ม.ค.63

เมื่อวันที่ 4 ธ.ค.62 เวลา 11.00 น. พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีเปิดทดลองให้บริการเดินรถโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต จำนวน 4 สถานี จากสถานีห้าแยกลาดพร้าว-สถานีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยมีพล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พร้อมด้วยนางศิลปสวย ระวีแสงสูรย์ ปลัดกรุงเทพมหานคร คณะผู้บริหารกรุงเทพมหานคร ผู้บริหารกระทรวงคมนาคม ผู้บริหารการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ผู้บริหารบริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด ผู้บริหารบริษัท ระบบขนส่งมวลชน-กรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (BTSC)  และผู้ที่เกี่ยวข้อง ให้การต้อนรับและร่วมในพิธีเปิด โอกาสนี้นายกรัฐมนตรี และคณะผู้บริหารโดยสารรถไฟฟ้าจากสถานีห้าแยกลาดพร้าว ไปยังสถานีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ก่อนเปิดให้ประชาชนใช้บริการอย่างเป็นทางการ   โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวช่วงหมอชิต- สะพานใหม่- คูคต ได้เริ่มก่อสร้างในปี 2558 โดยการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) และกรุงเทพมหานครเป็นผู้ดำเนินงานติดตั้งระบบรถไฟฟ้าและเดินรถไฟฟ้าตามมติของคณะกรรมการจัดการระบบจราจรทางบกเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2558 ซึ่งเป็นโครงการหนึ่งของการดำเนินงานในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านระบบนส่งมวลชนทางรางตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561- พ.ศ.2580) ของรัฐบาล เพื่อเชื่อมต่อการเดินทางระหว่างกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ปัจจุบันโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวช่วงหมอชิต- สะพานใหม่-คูคต การก่อสร้างงานโยธาแล้วเสร็จเกือบ 100% อยู่ระหว่างการทดสอบระบบรถไฟฟ้าและเก็บรายละเอียดเพียงเล็กน้อย จึงได้เริ่มเปิดทดลองให้บริการเดินรถไฟฟ้าฟรี ไม่เก็บค่าโดยสาร จนถึงวันที่ 2 ม.ค.63  เพิ่มเติมจำนวน 4 สถานี ได้แก่ สถานีพหลโยธิน 24(N10) สถานีรัชโยธิน(N11) สถานีเสนานิคม(N12) และสถานีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์(N13) โดยกรุงเทพมหานคร เป็นผู้บริหารจัดการเดินรถโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการและช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต   สำหรับรูปแบบการเดินรถ แบ่งระยะเวลาการให้บริการเป็น 2 ช่วง คือ ช่วงเวลาเร่งด่วน (Peak) เช้าและเย็น ตั้งแต่เวลา 07.00 - 09.00 น. และตั้งแต่เวลา 16.30 -20.00 น. จะให้บริการเดินรถตั้งแต่สถานีเคหะสมุทรปราการ (E23) ไปตามเส้นทางสายสุขุมวิทจนถึงมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (N13) แล้วกลับรถวิ่งให้บริการในเส้นทางเดิมไปจนถึงเคหะสมุทรปราการ (E23) ซึ่งจะวิ่งสลับแบบ 1 ต่อ 1 กับขบวนรถไฟฟ้าที่วิ่งให้บริการในเส้นทางสถานีหมอชิต (N8) ถึงสถานีสำโรง (E15)   นอกเวลาเร่งด่วน และวันหยุด (เสาร์-อาทิตย์) จะให้บริการตั้งแต่สถานีเคหะสมุทรปราการ (E23) ไปตามเส้นทางสายสุขุมวิท จนถึงมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (N13) แล้วกลับรถวิ่งให้บริการในเส้นทางเดิมไปจนถึงเคหะสมุทรปราการ (E23)   คาดว่ามีผู้ใช้บริการอยู่ที่ 100,000 เที่ยวคนต่อวัน เนื่องจากเป็นเส้นทางที่อยู่ใกล้กับสถานที่ราชการ สถานศึกษา ศูนย์การค้า และย่านที่พักอาศัยหนาแน่น และหากเปิดเดินรถเต็มระบบจากสถานีหมอชิตถึงสถานีปลายทางคูคต ในช่วงปลายปี 2563 คาดการณ์ว่าจะมีผู้โดยสารมากกว่า 200,000 เที่ยวคนต่อวัน ลักษณะโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต เป็นทางยกระดับตลอดเส้นทาง เริ่มตั้งแต่สถานีหมอชิตในปัจจุบัน ข้ามทางยกระดับดอนเมืองโทลล์เวย์บริเวณห้าแยกลาดพร้าว ผ่านแยกรัชโยธิน แยกมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ไปจนถึงบริเวณแยกหลักสี่และเบี่ยงออกด้านขวาเลียบไปตามขอบอุโมงค์ลอดแยกหลักสี่ และเบี่ยงเข้าสู่เกาะกลางดังเดิม ไปจนถึงบริเวณสะพานใหม่หน้าตลาดยิ่งเจริญ โดยเมื่อถึงประมาณกิโลเมตรที่ 25 ของถนนพหลโยธิน แนวเส้นทางจะเบี่ยงไปทางด้านทิศตะวันออก (ด้านเหนือของพื้นที่ประตูกรุงเทพฯ) ข้ามคลองสอง  ผ่านบริเวณด้านข้างของสถานีตำรวจภูธรคูคต เข้าสู่บริเวณเกาะกลางของถนนลำลูกกา และสิ้นสุดที่บริเวณคลองสอง (บริเวณสถานีคูคต) ระยะทางรวม 19 กิโลเมตร ประกอบด้วย 16 สถานี ได้แก่ สถานีห้าแยกลาดพร้าว, สถานีพหลโยธิน 24, สถานีรัชโยธิน, สถานีเสนานิคม, สถานี ม.เกษตรศาสตร์, สถานีกรมป่าไม้, สถานีบางบัว, สถานีกรมทหารราบที่ 11, สถานีวัดพระศรี-มหาธาตุ, สถานีพหลโยธิน 59, สถานีสายหยุด, สถานีสะพานใหม่, สถานี รพ.ภูมิพลอดุลยเดช, สถานีพิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศ, สถานีแยก คปอ. และสถานีคูคต ซึ่งเป็นที่ตั้งของศูนย์ซ่อมบำรุงรถไฟฟ้า (Depot) จำนวน 1 แห่ง  และอาคารจอดแล้วจร (Park&Ride) จำนวน 2 แห่ง ได้แก่สถานีแยก คปอ. บริเวณถนนพหลโยธิน กิโลเมตรที่ 25 ที่สามารถจอดรถได้ถึง 1,042 คัน และสถานีคูคต บริเวณใกล้กับสถานีตำรวจภูธรคูคต ซึ่งสามารถจอดรถได้ประมาณ 713 คัน พร้อมทั้งมีจุดเชื่อมต่อกับระบบขนส่งมวลชนอื่นๆเช่นจุดเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้ามหานครสายเฉลิมรัชมงคล หรือรถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงิน ที่สถานีห้าแยกลาดพร้าวและจุดเชื่อมต่อกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ที่สถานีวัดพระศรีมหาธาตุ เป็นต้น   ทั้งนี้ กรุงเทพมหานครจะเร่งดำเนินการและประสานความร่วมมือกับ รฟม. ทุกๆด้านต่อไป เพื่อให้สามารถเปิดบริการเดินรถไฟฟ้าสายสีเขียวช่วงหมอชิต- สะพานใหม่- คูคต ตลอดทั้งโครงการได้โดยเร็ว เพื่อเชื่อมโยงการเดินทาง รวมทั้งยกระดับคุณภาพการเดินทางและคุณภาพชีวิตของประชาชนต่อไป  
พร็อพเพอร์ตี้ กูรู เปิด 7 เทรนด์อสังหาฯ ปี 63

พร็อพเพอร์ตี้ กูรู เปิด 7 เทรนด์อสังหาฯ ปี 63

พร็อพเพอร์ตี้กูรู เตรียมจัดงาน Asia Real Estate Summit 2019 ระดมกูรูด้านอสังหาฯ และวิทยากรชั้นนำทั่วโลก ชี้เทรนด์อสังหาฯ ในปีหน้า ชูไฮไลท์เรื่องเทคโนโลยี กำลังจะเข้ามาผลิกโฉมวงการที่อยู่อาศัย พร้อมเปิด 7 เทรนด์อสังหาฯ​ ไทยในปี 63      นายเจสัน เกรกอรี กรรมการผู้จัดการ พร็อพเพอร์ตี้ กูรู อินเตอร์ชันแนล (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า บริษัทได้เตรียมจัดงานสัมมนาให้ความรู้ด้านอสังหาริมทรัพย์  "Asia Real Estate Summit 2019" ระหว่างวันที่ 21-22 พฤศจิกายน 2562  โรงแรม The Athenee Hotel, a Luxury Collection Hotel, Bangkok โดยภายในงานวิทยากรผู้เชี่ยวชาญในธุรกิจอสังหาฯ  และที่เกี่ยวข้องระดับโลก มาร่วมบรรยายสถานการณ์ตลาดในปัจจุบัน พร้อมอัพเดทเทรนด์การเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ ต่อวงการอสังหาฯ ในอนาคต   สำหรับหัวข้อที่น่าสนใจ อาทิ การออกแบบให้เหมาะกับมนุษย์ : โซลูชั่นที่ชาญฉลาดและการบูรณาการแบบครบวงจรที่มนุษย์ต้องการ บรรยายโดย Tim Kobe ผู้ก่อตั้ง Eight,lnc และผู้สร้างต้นแบบของ Apple Store หรือ Charles Reed Anderson ผู้ก่อตั้ง CRA & Associates บรรยายในหัวข้อ “การสร้างอาคารที่ปลอดภัยและระบบนิเวศที่ชาญฉลาด สำหรับบ้านของคนเอเชีย” ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับ วิธีการพัฒนาเทคโนโลยี ที่สามารถตระหนักถึงการสร้างเมืองอัจฉริยะที่แท้จริง เป็นระยะต่อไปของ Internet of Things (IoT) ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะส่งผลกระทบต่อผู้บริโภคอสังหาฯ ในเอเชีย ทั้งปัจจุบันและอนาคตอย่างไร   นายเจสัน กล่าวอีกว่า ภายในงานยังมีการอภิปรายเกี่ยวกับเทคโนโลยี 5G ในหัวข้อ "5G การปลดปล่อยคลื่นลูกใหม่แห่งการเชื่อมต่อ" เป็นการนำเสนอประเด็น ความก้าวหน้าของ Internet of Things (IoT) ในอาคารและบ้านอัจฉริยะของคนเอเชีย การแนะนำและการปรับใช้เทคโนโลยี 5G สามารถพัฒนาเมืองอัจฉริยะได้อย่างไร ความน่าเชื่อถือของอุปกรณ์ที่รองรับ Bluetooth 5.1 และ Wi-Fi 6 และคุณสมบัติการเชื่อมต่อในภูมิภาค ซึ่งจะมีผู้ร่วมอภิปราย ได้แก่ นายอัศนีย์ วิภาตเวทย์ หัวหน้าส่วนงานผลิตภัณฑ์ลูกค้าองค์กร และบริการระหว่างรประเทศ AIS ดร.เจษฎา ศิวรักษ์ หัวหน้าฝ่ายรัฐกิจและธุรกิจสัมพันธ์ บริษัท อีริคสัน (ประเทศไทย) จำกัด และ Look Fan หัวหน้ากลุ่มทุน TechNode “ไฮไลท์ของงานครั้งนี้ จะเป็นเรื่องเทคโนโลยี และเทรนด์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งเทรนด์ที่เกิดขึ้นในการพัฒนาอสังหาฯ ปัจจุบัน คือ การพัฒนาโครงกางการไปตามแนวเส้นทางการเดินทางของคน เช่น ระบบรถไฟฟ้า จากเมื่อก่อนอสังหาฯ จะถูกพัฒนาในเขตซีบีดี ในใจกลางเมืองธุรกิจ แต่วันนี้ไม่ใช่ซีบีดีอาจจะอยู่พื้นที่รอบนอก แต่เดินทางเข้ามาในเมืองได้”สำหรับเทรนด์ตลาดอสังหาฯ ประเทศไทยที่จะเกิดขึ้นในปี 2563 กูรูพร็อพเพอร์ตี้ มองว่าจะมี 7 เรื่องดังนี้   1.ผู้บริโภคยุคมิลเลนเนียล เลือกซื้ออสังหาฯ โดยมองเรื่องการลงทุนเป็นหลัก ต่างจากผู้บริโภคในอดีตที่ต้องการซื้ออสังหาฯ เพื่อการอยู่อาศัยร่วมกับคนในครอบครัว   2.ตลาดอสังหาฯ​ในเมืองไทย มีความหลากหลายมากที่สุด ด้านราคามีตั้งแต่ราคาต่ำสุดไปจนถึงแพงสุด โดยตลาดที่เป็นกลุ่มใหญ่ คือ ตลาดระดับราคาที่คนส่วนใหญ่เข้าถึงได้ ในราคาต่ำกว่า 3 ล้านบาทลงมา   3.ทำเลการพัฒนาอสังหาฯ ยังมุ่งเน้นตามแนวรถไฟฟ้า แต่มีการพัฒนาพื้นที่ใหม่สำหรับตลาดอสังหาฯ อย่างเช่น พื้นที่อีอีซี ทำให้มีการขยายพื้นที่การพัฒนาออกไปรองรับ เช่น โซนบางนา     4.ผู้ประกอบการหันมาพัฒนาโครงการในรูปแบบมิกซ์ยูสเพิ่มมากขึ้น เพื่อสร้างจุดขาย และตอบสนองไลฟ์สไตล์ของคนในยุคปัจจุบันมากขึ้น   5.ทิศทางการพัฒนาอสังหาฯ ในปี 2563 ผู้ประกอบการยังลงทุนต่อเนื่อง แม้ว่าภาพรวมตลาดจะยังไม่เติบโต แต่ไม่ถึงกับติดลบ ซึ่งรูปแบบการพัฒนาจะมีความคิดสร้างสรรค์มากขึ้น มีการพัฒนารูปแบบใหม่ เช่น การพัฒนาที่อยู่อาศัยรวมกับโรงแรม ซึ่งผู้ประกอบการแต่ละรายจะพัฒนารูปแบบโครงการ ตามความถนัดของตนเอง ในแต่ละเซ็กเมนต์   6.ดีเวลลอปเปอร์จะพัฒนาโครงการ โดยขยายตลาดไปสู่กลุ่มเป้าหมายชาวต่างชาติเพิ่มมากขึ้น จากเดิมที่โฟกัสตลาดคนไทยเป็นหลัก โดยเฉพาะในพื้นที่ท่องเที่ยวสำคัญ อาทิ พัทยา และจังหวัดภูเก็ต   7.การนำเอาเทคโนโลยี เข้ามาช่วยในด้านการขายอสังหาฯ เช่น การใช้เทคโนโลยี 3D เพื่อดูห้องตัวอย่างและโครงการ ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นในต่างประเทศแล้ว รวมถึงเทคโนโลยีอื่นๆ มีโอกาสที่ถูกนำเข้ามาใช้ประเทศไทย เช่น ฟินเทค ระบบการประเมินคุณสมบัติผู้กู้ซื้ออสังหาฯ ผ่านช่องทางออนไลน์ หรือ Home Loan Pre Approval Online เป็นต้น   “ปีหน้าตลาดอสังหาฯ ยังมีความเคลื่อนไหวอยู่ แต่จะมีความไดนามิกซ์มาก ยังมีการเปิดโปรเจ็กต์ใหม่ แม้จะน้อยลง ผู้ประกอบการแต่ละราย จะปรับตัวไปตามความถนัดของตัวเอง”