Tag : News

2376 ผลลัพธ์
8 บทสรุปผลงาน “แสนสิริ” ทุบสถิติยอดโอนสูงสุดรอบ 36 ปี​

8 บทสรุปผลงาน “แสนสิริ” ทุบสถิติยอดโอนสูงสุดรอบ 36 ปี​

แสนสิริ ปิดผลงานปี 63 สร้างประวัติศาสต์โอนสูงสุดรอบ 36 ปี ทะลุ 45,000 ล้าน หลังปรับเป้าทั้งปีถึง 4 ครั้ง ชี้ คีย์ซัคเซส คือ กลยุทธ์ “Speed to Market” และโปรโมชั่นโดนใจลูกค้า ​   นายอุทัย  อุทัยแสงสุข ประธานผู้บริหารสายงานปฏิบัติการ บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) หรือ SIRI เปิดเผยว่า ในปี 2563 ที่ผ่านมาแสนสิริประสบความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจภายใต้ภาวะเศรษฐกิจและสถานการณ์ตลาดอสังหาริมทรัพย์ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 โดยได้รับการตอบรับที่ดีจากกลุ่มลูกค้าทั้งในด้านการขายและโอนโครงการ   สำหรับ 8 บทสรุปผลการดำเนินงานของปี 2563 ที่ทำให้สามารถสร้างยอดโอนได้สูงสุดในรอบ 36 ปี ได้แก่ 1.ปิดการขายโครงการที่อยู่อาศัยไปถึง 35  โครงการ มูลค่ารวมกว่า 64,600 ล้านบาท   2.มียอดโอนโครงการที่อยู่อาศัยทุกประเภทที่สร้างเสร็จและส่งมอบให้กับลูกค้า 45,000  ล้านบาท เกินจากเป้าหมายใหม่ที่มีการปรับล่าสุดในช่วงปลายปี คือ 43,000 ล้านบาท สร้างประวัติศาสต์การโอนที่สูงสุดในรอบ 36 ปี และเติบโตจากปี 2562 ถึง 45%   3.ปี 2563 มีการปรับเป้ายอดโอน 4 รอบ ซึ่งช่วงต้นปีวางเป้าหมายยอดโอน 33,000 ล้านบาท และช่วงปลายปีได้ปรับเป้าหมายเป็น 43,000 ล้านบาท   4.ปี 2563 มียอดโอนจากโครงการคอนโดมิเนียมสูงถึง 25,500 ล้านบาท โตจากปีก่อนถึง 50% มีการปิดการขายและโอนโครงการภายใต้พอร์ต Sansiri Luxury Collection ด้วยกันถึง 3 โครงการ คือ 98 Wireless แฟล็กชิพคอนโดมิเนียมซูเปอร์ลักซ์ชัวรี่ บ้านแสนสิริ พัฒนาการ แฟล็กชิพบ้านเดี่ยวระดับซูเปอร์ลักซ์ชัวรี่ เดอะ โมนูเมนต์ ทองหล่อ ลักซ์ชัวรี่คอนโดมิเนียมใจกลางย่านทองหล่อ 5.ปี 2563 มียอดโอนโครงการแนวราบ 19,500 ล้านบาท โตขึ้น 39% จากปีก่อน มีการปิดโครงการลักซ์ชัวรี่แนวราบ ได้แก่ ไทเกอร์ เลน  ลักซ์ชัวรี่โฮมออฟฟิศบนที่สุดของทำเลทอง ไพร์มโลเคชั่นตำแหน่งฮวงจุ้ยท้องมังกร ที่หายากใจกลางย่านเสือป่า เยาวราช และปิดการขายโครงการบ้านเดี่ยวนาราสิริ บางนา และ นาราสิริ พุทธมณฑล สาย 1 เป็นต้น   6.กลยุทธ์ที่ทำให้ประสบความสำเร็จ คือ กลยุทธ์ “Speed to Market” ที่มีการปรับแผนรับมือสถานการณ์โควิด-19  การรุกการขายในทุกช่องทาง ผ่าน Multi-channel และการนำเสนอโปรโมชั่น อาทิ -“มีเงินเดือนเริ่มต้น 18,000 บาทก็เป็นเจ้าของสิริ เพลส ได้ง่ายๆ” -“โปรลื่นปรื้ด” -“แสนสิริผ่อนให้ 24 เดือน” 7.การบริหารเงินสดในมือที่ดี (Cash is King) มีกระแสเงินสดที่มีความพร้อมในการดำเนินธุรกิจ 15,000 ล้านบาท   8.เป็นแบรนด์ที่ได้รับการยอมรับจากกลุ่มผู้บริโภค ด้วย 2 รางวัลคุณภาพ ทั้งจาก Marketeer : No.1 Brand Thailand ปี 2019-2020  และ รางวัลจาก Terra BKK : The Most Powerful Real Estate Brand 2020 รักษาแชมป์ 3 ปีซ้อน   นายอุทัย กล่าวอีกว่า ในระยะยาว บริษัทยังมียอดขายรอโอน (Backlog) (รวมโครงการร่วมทุนในคอนโดมิเนียม) มูลค่ารวมประมาณ 24,000 ล้านบาท แบ่งเป็นยอดขายรอโอนจากโครงการภายใต้การพัฒนาของแสนสิริ 19,800 ล้านบาท และยอดขายรอโอนจากโครงการภายใต้การร่วมทุนอีก 4,200 ล้านบาท ที่จะทยอยรับรู้ไปจนถึงปี 2566 ซึ่งจะช่วยสร้างความมั่นใจให้แสนสิริเป็นอย่างดีและเสริมความแข็งแกร่งในทุกสภาวะเศรษฐกิจ
กานดา พร็อพเพอร์ตี้ เตรียม 5 โปรเจ็กต์ใหม่ สร้างยอดขาย 3,300 ล้าน

กานดา พร็อพเพอร์ตี้ เตรียม 5 โปรเจ็กต์ใหม่ สร้างยอดขาย 3,300 ล้าน

“กานดา พร็อพเพอร์ตี้” เตรียม 5 โครงการใหม่ ปี 64 หวังสร้างยอดขาย 3,300 ล้าน พร้อมปรับกลยุทธ์-เพิ่มประสิทธิภาพธุรกิจ รับการแข่งขันตลาดแนวราบรุนแรง จากดีมานด์ลูกค้าเปลี่ยนใจจากซื้อคอนโดมาซื้อแนวราบ และดีเวลลอปเปอร์หันมาแข่งขันตลาดแนวราบ​   นายหัสกร บุญยัง รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท กานดา พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด ผู้พัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยภายใต้แบรนด์ “ไอลีฟ” เปิดเผยว่า ​ได้วางแผนธุรกิจช่วงปี 2562-2566  เตรียมเปิดโครงการใหม่ปีละ 4-8 โครงการ และขยายทำเลการพัฒนาปีละ 1-3 ทำเล เพื่อสร้างการเติบโตให้กับบริษัท   โดยในปี 2563 ได้ขยายทำเลโดยการเปิดโครงการใหม่เพิ่มที่โซนเทพารักษ์-บางบ่อ 2 โครงการ ได้แก่ โครงการไอลีฟ พรีม่า เทพารักษ์-บางบ่อ ทั้งในส่วนที่เป็นโครงการทาวน์โฮม “ไอลีฟ ทาวน์” และโครงการบ้านเดี่ยว-บ้านแฝด “ไอลีฟ พาร์ค” สำหรับทำเลเดิมที่บริษัทพัฒนาโครงการก่อนหน้า ได้เปิดโครงการใหม่เพิ่ม ได้แก่ ​ โครงการไอลีฟ ไพร์ม วงแหวน-รังสิตคลอง 4 และโครงการไอลีฟ ไพร์ม 2 ถลาง ภูเก็ต เปิด 5 โปรเจ็กต์ใหม่ สร้างรายได้ 2,200 ล. ในปี 2564 บริษัทยังคงเน้นการเติบโตอย่างมั่นคง และมีสถานะการเงินที่แข็งแรง โดยได้ชะลอการซื้อที่ดินใหม่ และนำที่ดินที่มีอยู่มาพัฒนาโครงการใหม่ โดยตั้งเป้ายอดขายไว้ที่ 3,300 ล้านบาท และเป้ารายได้อยู่ที่ 2,200 ล้านบาท และมีแผนเปิดโครงการใหม่รวมทั้งสิ้น 5 โครงการ มูลค่ารวม 3,631 ล้านบาท ประกอบด้วย 1.ไอลีฟ ไพร์ม ประชาอุทิศ 90 เป็นโครงการทาวน์โฮมจำนวน 211 ยูนิต มูลค่าโครงการ 441 ล้านบาท 2.ไอลีฟ ไพร์ม 2 พระราม 2 กม.14 เป็นโครงการบ้านเดี่ยวและบ้านแฝดจำนวนรวม 228 ยูนิต มูลค่าโครงการ 805 ล้านบาท 3.ไอลีฟ พัทยา-จอมเทียน ซึ่งเป็นการเปิดโครงการบนทำเลใหม่ในปีนี้ของบริษัท เป็นโครงการทาวน์โฮม จำนวนรวม 384 ยูนิต มูลค่าโครงการ 875 ล้านบาท 4.ไอลีฟ ไพร์ม 2 ประชาอุทิศ 90 เป็นโครงการทาวน์โฮม จำนวน 268 ยูนิต มูลค่าโครงการ 541 ล้านบาท 5.ไอลีฟ ไพร์ม 2 วงแหวน-รังสิตคลอง 4 เป็นโครงการทาวน์โฮม จำนวน 460 ยูนิต มูลค่าโครงการ 969 ล้านบาท เมื่อรวมกับโครงการที่เปิดขายมาแล้วก่อนหน้าในปี 2564 บริษัทจะมีโครงการที่อยู่ระหว่างการขายรวมทั้งสิ้น 17 โครงการ ใน 9 ทำเล มูลค่าโครงการรวมประมาณ 9,000 ล้านบาท ขณะเดียวกันยังมีที่ดินรอการพัฒนาสำหรับโครงการในอนาคตมูลค่ารวม 13,000 ล้านบาท ปรับกลยุทธ์-เพิ่มประสิทธิภาพรับการแข่งขัน ขณะเดียวกัน บริษัทได้ปรับกลยุทธ์ทั้งในด้านการก่อสร้าง การพัฒนาผลิตภัณฑ์ และบริการ เพื่อรองรับการแข่งขันที่สูงขึ้น ในส่วนของการก่อสร้าง ได้เพิ่มจำนวนบ้านสร้างเสร็จพร้อมขายพร้อมโอนให้เพียงพอกับประมาณการยอดขายในช่วงเปิดโครงการ เพื่อที่จะสามารถโอนได้เร็ว เพิ่มกระแสเงินสดให้บริษัทได้เร็วขึ้น และยังเป็นการรองรับพฤติกรรมการซื้อของคนรุ่นใหม่ที่ต้องการซื้อโดยไม่ต้องผ่อนดาวน์   นอกจากนี้ ในการรองรับการเปลี่ยนแปลงจากสถานการณ์ที่เกิดขึ้น บริษัทได้มีการออกแบบ 8 ฟังก์ชั่นการใช้งานภายในบ้าน “8 f(x)” เพิ่มเติม เพื่อรองรับการใช้ประโยชน์ที่หลากหลาย ตอบโจทย์ความต้องการที่แตกต่างจากรูปแบบการใช้ชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไป โดยยังคงยึด “4 KANDA CONCEPT” เป็นแนวคิดหลักในการออกแบบได้แก่ 1. ECO SMART 2. EASY MAINTENANCE 3. 3 GENERATIONS 4. FLOOD PROTECTION   นายหัสกร กล่าวอีกว่า นอกจากการขยายทำเลใหม่ๆ แล้ว อีกแนวทางหนึ่งที่จะช่วยสร้างการเติบโตให้กับบริษัทคือการขยายกลุ่มลูกค้าเพิ่ม จากเดิมผลิตภัณฑ์ของบริษัทจะอยู่ในระดับราคา 2 ล้านบาทขึ้นไปเป็นหลัก ขณะนี้บริษัทกำลังศึกษาความเป็นไปได้ที่จะขยายกลุ่มลูกค้าในตลาดที่ราคาต่ำกว่า 1.6 ล้านบาทลงมา ซึ่งเป็นตลาดที่ยังมีความต้องการซื้อสูง แต่ยังติดปัญหาเรื่องของต้นทุนการพัฒนาโครงการในปัจจุบันที่เพิ่มสูงขึ้น หัวใจหลักคือ ต้นทุนที่ดินต้องถูก ซึ่งจะต้องขยับออกมานอกเมือง แต่ต้องมีแหล่งงานรองรับ โดยคาดว่าจะได้ข้อสรุปในเรื่องของการขยายกลุ่มลูกค้าในเร็วๆ นี้ “สำหรับปัญหาที่เกิดจากการภาระหนี้ครัวเรือนที่เพิ่มสูงขึ้น ประกอบกับการที่ธนาคารเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อ บริษัทได้ปรับกลยุทธ์ในเชิงรุก โดยการตั้งทีมขึ้นมาทำงานร่วมกับธนาคารต่างๆ อย่างใกล้ชิด  และคอยแก้ปัญหาและให้คำปรึกษากับลูกค้าที่กู้ไม่ผ่าน เพื่อยังคงรักษาลูกค้าไว้กับบริษัทในระยะยาว” ปี 64 แนวราบยังแข่งขันรุนแรง ภาพรวมของเศรษฐกิจในปี 2564 คาดว่าไม่น่าจะแย่กว่าปี 2563 แม้เปิดศักราชใหม่มา จะมีการล็อกดาวน์​ในบางจังหวัดหรือบางพื้นที่ เนื่องจากการระบาดระลอกใหม่ของไวรัสโควิด-19 แต่เชื่อว่าประสบการณ์การในช่วงปี 2563 จะช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันให้แต่ละบริษัทในการบริหารจัดการ  ประคับประครองสถานะการเงินและบุคลากร  ของบริษัทได้อย่างมั่นคงและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น  ภาวะเศรษฐกิจโดยภาพรวมของปี 2564 น่าจะมีความคล้ายคลึงกับปี 2563 โดยมีการชะลอตัวในครึ่งปีแรก และฟื้นตัวดีขึ้นในช่วงครึ่งปีหลัง ในส่วนของตลาดที่อยู่อาศัยแนวราบ ความต้องการคงไม่ได้เพิ่มขึ้น แต่มีกลุ่มที่ต้องการซื้อคอนโดมิเนียมเปลี่ยนมาซื้อที่อยู่อาศัยแนวราบมากขึ้น และจะมีการแข่งขันในแต่ละทำเลรุนแรงขึ้น จากการที่มีผู้เล่นในตลาดที่อยู่อาศัยแนวราบมากขึ้น  ซึ่งกลยุทธ์ที่แต่ละบริษัทนำมาใช้ ยังเป็นการจัดแคมเปญ โปรโมชั่นที่เข้มข้นมากขึ้น เพื่อช่วงชิงส่วนแบ่งตลาด ส่งผลให้ตลาดที่อยู่อาศัยแนวราบมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย   อย่างไรก็ตาม ในส่วนของตลาดที่อยู่อาศัยแนวสูง คาดว่าจะยังคงติดลบอยู่ เพราะยอดขายคอนโดมิเนียมใหม่น้อยลง โดยภาพรวมของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ คาดว่าจะอยู่ในระดับทรงตัว ปี 63 กวาดยอดขายกว่า 3,000 ล. สำหรับผลการดำเนินงานในรอบปีที่ผ่านมา บริษัทสามารถทำให้ยอดขายได้มากกว่า 3,000 ล้านบาท จากเป้าที่ตั้งไว้ประมาณ 3,000 ล้านบาท และมีรายได้จากการโอน จำนวน 1,950 ล้านบาท แม้ว่าในปี 2563 ภาวะเศรษฐกิจได้รับผลกระทบจากไวรัสโควิด-19 ตั้งแต่ช่วงต้นปี แต่โครงการที่เปิดใหม่ถือว่าได้รับการตอบรับที่น่าพอใจ แต่ละโครงการมีอัตราการขายที่ดีกว่าภาพรวมของตลาดที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19   ส่วนรายได้จะลดลงเล็กน้อยจากเป้าที่ตั้งไว้ 2,000 ล้านบาท  เนื่องจากมีการชะลอการเปิดโครงการใหม่ในช่วงที่ไวรัสโควิด-19 ระบาดรุนแรง และอัตราการปฏิเสธสินเชื่อของธนาคารที่สูงขึ้น แต่ก็ถือว่าเป็นที่น่าพอใจ และยังคงเป็นไปตามแผนที่ต้องการให้บริษัทเติบโตได้อย่างมั่นคง และมีสถานะการเงินแข็งแรง  
4 Key Success ออริจิ้น สร้างยอดพรีเซลปี 63 ทะลุ 25,600 ล้าน

4 Key Success ออริจิ้น สร้างยอดพรีเซลปี 63 ทะลุ 25,600 ล้าน

4 Key Success ออริจิ้น สร้างยอดพรีเซลปี 63 ทะลุ 25,600 ล้าน ฝ่าปัจจัยลบโควิด-19 ทั้งการปรับตัวต่อเนื่อง  เพิ่มสัดส่วนธุรกิจบ้านจัดสรร การรักษาระดับการลุยธุรกิจคอนโด การวิเคราะห์และปรับกลยุทธ์เจาะดีมานด์ถูกกลุ่ม ประเมินภาพรวมทั้งปี 64 “วัคซีน” จะเป็นตัวผลิกเกมตลาดอสังหาฯ หลังผ่านจุดต่ำสุด​   นายพีระพงศ์ จรูญเอก ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) หรือ ORI เปิดเผยถึงภาพรวมยอดขาย (Presale) ของบริษัทในปี 2563 ว่า สามารถทำได้อยู่ที่ประมาณ 25,600 ล้านบาท สูงกว่าเป้าหมายของปี 2563 ที่วางไว้ที่ 21,500 ล้านบาท สวนทางสภาวะตลาดอสังหาริมทรัพย์โดยรวม   สำหรับ Key Success ของออริจิ้น ที่ทำให้สามารถสร้างยอดพรีเซลได้สูงกว่าเป้าหมายที่วางไว้  คือ 1.การปรับตัวอย่างต่อเนื่อง ทั้งช่วงก่อนและหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ส่งผลให้ปี 2563 ทำตลาดได้โดดเด่น ในกลุ่มที่อยู่อาศัยแบบพร้อมเข้าอยู่ (Ready to move) ซึ่งมีสัดส่วนประมาณ 65% ของยอดขายทั้งหมด นอกจากนี้  ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ ยังได้ปรับตัวอย่างต่อเนื่องหลายอย่าง อาทิ -การปรับสัดส่วนธุรกิจมาพัฒนาโครงการบ้านจัดสรรภายใต้บริษัท บริทาเนีย จำกัด เพิ่มขึ้น -การเปิดตัวแบรนด์บ้านจัดสรรเซ็กเมนท์ใหม่ๆ อาทิ กลุ่มตลาด 2-5 ล้านบาท ภายใต้แบรนด์ไบรตัน (Brighton) กลุ่มบ้านระดับราคา  7-10 ล้าน แบรนด์แกรนด์บริทาเนีย (Grand Britania) และกลุ่มบ้านระดับราคา  25 ล้านบาทขึ้นไป อย่างเบลกราเวีย (Belgravia) ส่งผลให้มียอดขายบ้านจัดสรรคิดเป็นสัดส่วนประมาณ  25% ของยอดขายทั้งหมด ​ 2.การวิเคราะห์ตลาดได้ตรงจุด ขณะเดียวกัน บริษัทมีจุดแข็งในการวิเคราะห์ตลาด ตลอดจนการเลือกทำเลและเซ็กเมนท์ที่มีศักยภาพ ทำให้สามารถค้นหากลุ่มลูกค้าเรียลดีมานด์เจอ และสามารถพัฒนาสินค้าคุณภาพที่มีทั้ง Living Solution และ Reaching Solution ตอบโจทย์ความต้องการ และสร้างยอดขายในกลุ่มโครงการเปิดตัวใหม่ได้ดีอย่างต่อเนื่อง 3.บุกตลาดคอนโดด้วยกลยุทธ์ที่หลากหลาย ปีที่ผ่านมาบริษัทพัฒนาโครงการคอนโดในปริมาณเท่ากับช่วงปีก่อนหน้า แต่ใช้กลยุทธ์ที่หลากหลายเพื่อให้เข้าถึงตลาดได้กว้างขึ้น จึงยังรักษาระดับการเติบโตในกลุ่มคอนโดได้เป็นอย่างดี การขยายฐานตลาดไฮเอนด์ ในกลุ่มตลาดคอนโดมิเนียม ภายใต้แบรนด์ใหม่ โซโห แบงค็อก (SOHO Bangkok) โครงการแรกบนทำเลรัชดา เพื่อขยายฐานตลาดไฮเอนด์เพิ่มขึ้น แม้จะเพิ่งเปิดตัวในช่วงปลายไตรมาส 4 แต่ก็ได้รับการตอบรับที่ดี มียอดขายแล้วกว่า 60%   การจับมือพันธมิตรเกาหลีใต้พัฒนาโครงการไนท์บริดจ์ สเปซ สุขุมวิท พระราม 4 (KnightsBridge Space Sukhumvit Rama 4) จนทำให้กวาดยอดขายไปแล้วถึง 98%   การลดต้นทุนด้านการบริหารจัดการที่ไม่กระทบต่อตัวสินค้า เพื่อให้ผู้บริโภคเข้าถึงโครงการที่อยู่อาศัยได้ง่ายขึ้น  ภายใต้กลยุทธ์ Origin Next Normal ของแบรนด์ดิ ออริจิ้น (The Origin) 4.ปั้น Micro-Influencer ช่วยขาย ขณะที่โครงการกลุ่ม Ready to move ก็ประสบความสำเร็จจากโครงการ Everyone can sell โครงการที่เปิดโอกาสให้พนักงานเครือออริจิ้นกว่า 1,200 คน กลายเป็น Micro-Influencer สร้างยอดขายได้ด้วยการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายตัวเอง โดยโครงการดังกล่าวสร้างยอดขายในปีนี้ได้ถึงราว 10% ของยอดขายทั้งปี ปี 64 วัคซีน ตัวเปลี่ยนเกมธุรกิจ นายพีระพงศ์ กล่าวอีกว่า สำหรับปี 2563 นั้น ถือเป็นปีที่ภาคเศรษฐกิจและอสังหาริมทรัพย์มีการปรับฐานครั้งใหญ่ จากปัจจัยที่ไม่เคยเผชิญมาก่อน และน่าจะเป็นจุดพักฐานที่ต่ำที่สุดในรอบหลายปี ขณะที่ปี 2564 นั้น สถานการณ์โควิด-19 ระลอกใหม่ อาจเข้ามามีส่วนกดดันตลาดในระยะสั้นช่วงต้น-กลางไตรมาสแรก แม้ระยะยาวอาจจะต้องจับตากันอย่างต่อเนื่อง แต่เชื่อว่าเรื่องดังกล่าวจะไม่ส่งผลกระทบต่อภาพรวมทั้งปีของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ และภาพรวมทั้งปี 2564 จะยังเติบโตได้มากกว่าปี 2563 “ปีนี้เรามีตัวพลิกเกม หรือ Game Changer ที่ชัดเจนกว่าปี 2563 คือการทยอยฉีดวัคซีนทั่วโลกและโอกาสกลับมาเปิดประเทศอีกครั้ง เรื่องดังกล่าวจะส่งผลทั้งทางตรงและทางอ้อมให้ผู้บริโภคกลับมามีกำลังซื้อและมีความมั่นใจในการจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น” ขณะเดียวกันทุกภาคส่วนของไทยก็มีความตื่นตัวต่อสถานการณ์ มีความจริงจังต่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาดังกล่าว ออริจิ้นและผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์รายอื่นๆ เอง ก็มีประสบการณ์การปรับตัวและการรับมือกับความท้าทายต่างๆ ตลอดทั้งปีที่ผ่านมา เชื่อว่าทั้งหมดจะเป็นปัจจัยสำคัญให้ภาพรวมตลาดปี 2564 ขับเคลื่อนไปได้มากกว่าปี 2563   นอกจากนี้ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในปี 2564 ยังมีโอกาสได้รับปัจจัยบวกอื่น ๆ เพิ่มเติม อาทิ การได้รับการจัดอันดับเป็นอันดับ 1 ของประเทศตลาดเกิดใหม่ (Emerging Market) จากบลูมเบิร์ก และนโยบายไทยแลนด์ อีลิท การ์ด ที่จะเข้ามามีส่วนสำคัญในการผลักดันให้ตลาดฮ่องกง สิงคโปร์ และอีกหลากหลายชาติที่สนใจซื้ออสังหาริมทรัพย์ไทยเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ยิ่งสนใจตลาดอสังหาริมทรัพย์ไทยมากกว่าเดิม สำหรับออริจิ้นเอง เตรียมพร้อมทั้งการวางแผนและการปรับตัวอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สอดรับกับทุกปัจจัยที่อาจจะเข้ามาในปี 2564        
บทสรุปตลาดคอนโด ปี 63 คาดเปิดตัวใหม่ลดลง 50%

บทสรุปตลาดคอนโด ปี 63 คาดเปิดตัวใหม่ลดลง 50%

ตลอดปี 2563 ต้องยอมรับว่า การแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ส่งผลกระทบทำให้หลายธุรกิจต้องชะลอตัวไปตาม ๆ กัน และยังจะมีผลต่อเนื่องไปถึงปี 2564 ด้วย เพราะเกิดการแพร่ระบาดครั้งใหม่ในช่วงปลายปี ซึ่งสถานการณ์ยังไม่รู้ว่าจะสิ้นสุดลงเมื่อไร   ผลกระทบของไวรัสโควิด-19 ทำให้ตลาดคอนโดมิเนียมปี 2563 ชะลอตัวลงอย่างหนัก การเปิดใหม่ลดลงอย่างมาก เพราะผู้ประกอบการเน้นระบายสต๊อกคอนโดที่ค้างอยู่ออกให้ได้มากที่สุด เพื่อนำเงินมาใช้บริหารงาน และเพิ่มสภาพคล่องของธุรกิจ สิ่งที่เห็นชัดเจน คือ การจัดแคมเปญ ลด แลก แจก แถม สารพัดแคมเปญโปรโมชั่น ทำให้ราคาคอนโดในปีนี้ลดลงอย่างมากเช่นกัน คอนโดปี 63 เปิดใหม่ลดลง 50% นางสาวริษิณี สาริกบุตร ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยและที่ปรึกษา บริษัท ไนท์แฟรงค์ ประเทศไทย จำกัด   แสดงความเห็นเกี่ยวกับแนวโน้มของตลาดคอนโดในกรุงเทพฯ ในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2563 ว่า น่าจะมีคอนโดเปิดขายใหม่ประมาณ 8,000 ยูนิต ซึ่งใกล้เคียงกับช่วงไตรมาสที่ 3 ของปีนี้  ส่งผลให้ในปีนี้จะมีจำนวนคอนโดเปิดขายใหม่รวม 25,000 – 30,000 ยูนิต ซึ่งจำนวนเปิดขายใหม่ปีนี้ ลดลงในอัตรา​ 50% จากปี 2562  โดยคอนโดเปิดขายใหม่จะมีระดับราคาขายประมาณ 1.5 – 3 ล้านบาทต่อยูนิต ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีความต้องการมากที่สุด หรือมีราคาขายเฉลี่ย 60,000 - 80,000 บาท ต่อ ตารางเมตร และเป็นคอนโดที่เน้นขายผู้ที่ซื้อเพื่ออยู่อาศัยจริง (Real Demand)   ตลาดคอนโดในไตรมาสสุดท้ายของปีนี้ มีแนวโน้มที่จะปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อยหากเทียบกับช่วงครึ่งปีแรกของปีนี้ เนื่องมาจากจำนวนที่เปิดขายใหม่ในปีนี้ลดลงอย่างชัดเจน อีกทั้งราคาขายในโครงการที่ตั้งราคา over priced และโครงการดังกล่าวได้ปรับลดราคาลงในช่วงเศรษฐกิจที่ย่ำแย่ ทำให้ผู้ประกอบการสามารถระบายยูนิตเหลือขายออกไปได้ส่วนหนึ่ง แต่ตลาดคอนโดอาจยังไม่กลับเข้าสู่สภาวะที่ดีเหมือนใน 2-3 ปีก่อนหน้า  เพราะชาวต่างชาติยังไม่สามารถเดินทางเข้ามาในประเทศได้ปกติ  แม้ว่าจะมีการเปิดให้ชาวต่างชาติบางกลุ่มเดินทางเข้ามาในประเทศบ้างแล้วก็ตาม​ ไตรมาส 3 เปิดขายใหม่เกือบเท่าตัว ที่ตลาดคอนโดมิเนียมในไตรมาสที่ 3 ปี 2563 ปรับตัวดีขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้า ​หลังจากที่ทางรัฐบาลสามารถควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้ คอนโดเริ่มกลับมาเปิดตัวเพิ่มขึ้นในไตรมาสที่ 3 ของปีนี้ หากเทียบกับไตรมาสที่ 2 จากการสำรวจพบว่า คอนโดที่เปิดขายใหม่บางส่วน มีอัตราการขายที่ดีในการเปิดตัวระยะแรก โดยโครงการเหล่านี้เปิดตัวด้วยโปรดักส์และราคาที่มุ่งเน้นไปที่กลุ่มผู้ซื้อที่เป็นกลุ่มใหญ่ของตลาด และตั้งอยู่ในทำเลที่น่าสนใจ ที่ยังมีคอนโดในพื้นที่ไม่มากนัก   การซื้อคอนโดในเวลานี้หลาย ๆ คน อาจมองว่าไม่ใช่ช่วงเวลาที่เหมาะสม เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว แต่เวลานี้กลับกลายเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมที่สุดสำหรับผู้ที่มีความพร้อม เนื่องจากสามารถซื้อคอนโดได้ในราคาที่ไม่สูง และยังมีของแถมและส่วนลดพิเศษเพิ่มเติมอีกมากมาย  เวลานี้น่าจะเป็นเวลาที่ตลาดจะทำการปรับสภาวะของคอนโดให้อยู่ในภาวะสมดุล ทั้งในเรื่องราคาขายที่สูงเกินไป และ ปัญหาภาวะคอนโดที่ล้นตลาด เนื่องจากผู้ประกอบการต่างชะลอการเปิดขายคอนโด และหันไปพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยแนวราบ เช่น บ้านเดี่ยว บ้านแฝด ทาวเฮ้าส์ และ โฮมออฟฟิต ในช่วงนี้ ทำให้ตลาดคอนโดน่าจะกลับมาสร้างโอกาสในอนาคตอันใกล้ จากผลวิจัยของบริษัท ไนท์แฟรงค์ ประเทศไทย เปิดเผยว่า การเปิดตัวของคอนโด ช่วงไตรมาสที่ 3 ปี 2563 มีจำนวนคอนโดเปิดขายใหม่ทั้งสิ้น 7,943 ยูนิต ปรับตัวเพิ่มขึ้นในอัตรา​ 97.5% หากเทียบกับไตรมาสที่ 2 ของปีนี้อยู่ที่ 4,022 ยูนิต อย่างไรก็ดี จำนวนคอนโดใหม่ปรับตัวลดลงในอัตรา​ 30.7% หากเทียบกับไตรมาส  3 ของปี 2562 อยู่ที่ 11,460 ยูนิต   คอนโดที่เปิดขายใหม่ในไตรมาสที่ 3 ปี 2563 โดยส่วนใหญ่เป็นคอนโดเกรดบี มีระดับราคาขายประมาณ 80,000 – 120,000 บาท ต่อตารางเมตร  คิดเป็นสัดส่วน 52% รองลงมาได้แก่ คอนโดเกรดซี ระดับราคาขายอยู่ที่ 55,000 – 70,000 บาท ต่อ ตารางเมตร  คิดเป็นสัดส่วน 43% คอนโดเปิดขายใหม่ที่เป็นเกรดเอมีเพียง 1 โครงการ จำนวน 380 ยูนิต หรือ คิดเป็นสัดส่วน 5%   คอนโดที่เปิดขายใหม่ในไตรมาสที่ 3 ของปีนี้โดยส่วนใหญ่ ตั้งอยู่ในบริเวณชานเมืองกรุงเทพฯ คิดเป็นสัดส่วน 68% รองลงมาได้แก่คอนโดที่ตั้งอยู่บริเวณรอบเขตศูนย์กลางธุรกิจ คิดเป็นสัดส่วน 26% ในส่วนบริเวณศูนย์กลางธุรกิจมีคอนโด ที่เปิดขายใหม่เป็นสัดส่วน 6% เท่านั้น ตลาดคอนโดไตรมาส 3 เริ่มฟื้นตัว ในส่วนของความต้องการ พบว่า ช่วงไตรมาสที่ 3 ปี 2563 เป็นช่วงที่ตลาดคอนโดเริ่มฟื้นตัวจากไตรมาส 2 โดย ไตรมาสที่ 2 ตลาดคอนโดเปิดขายใหม่ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงมาก จากการระบาดของไวรัสโควิด-19 ส่งผลให้กำลังซื้อลดลงอย่างชัดเจน สำหรับไตรมาสที่ 3 มีคอนโดที่เปิดขายใหม่ขายได้  3,123 ยูนิต จากจำนวนที่เปิดขายใหม่ในไตรมาสที่ 3 ของปีนี้มีจำนวนทั้งสิ้น 7,943 ยูนิต คิดเป็นอัตราการขาย 39%  มีอัตราการขายเพิ่มขึ้น​ 25% หากเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า โดยอัตราการขายคอนโดที่เปิดขายใหม่ในไตรมาสที่ 2 ปี 2563 อยู่ในอัตรา 14% ส่วนระดับราคาเสนอขายของคอนโดทั้งตลาดในไตรมาสที่ 3 ของปี 2563 ปรับตัวลดลงในทุกพื้นที่ จากไตรมาสก่อนหน้า -บริเวณศูนย์กลางธุรกิจ มีราคาขายอยู่ที่ 265,000 บาทต่อตารางเมตร ปรับตัวลดลง 0.7% เมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ​ซึ่งราคาเสนอขายคอนโดในบริเวณศูนย์กลางธุรกิจ ซึ่งขายอยู่ที่ 267,000 บาท ต่อ ตารางเมตร ราคาเสนอขาย -บริเวณรอบเขตศูนย์กลางธุรกิจ (City Fringe) ในไตรมาสที่ 3 ที่ผ่านมาราคาขายคอนโดในบริเวณรอบศูนย์กลางธุรกิจ มีราคาขายอยู่ที่ 146,000 บาท ต่อ ตารางเมตร ปรับตัวลดลงในอัตรา 0.9% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า  ซึ่งมีราคาเสนอขายคอนโดในบริเวณรอบเขตศูนย์กลางธุรกิจ   มีราคาเสนอขายอยู่ที่ 147,356 บาท ต่อ ตารางเมตร -บริเวณชานเมืองกรุงเทพฯ ราคาเสนอขายของคอนโดในบริเวณชานเมือง อยู่ที่ 79,400 บาท ต่อ ตารางเมตร ปรับตัวลดลง 0.7% หากเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า ซึ่งราคาเสนอขายคอนโดในบริเวณชานเมืองกรุงเทพฯ ในไตรมาสที่ 2 มีราคาเสนอขายอยู่ที่ 80,000 บาท ต่อ ตารางเมตร สำหรับราคาคอนโดในบริเวณดังกล่าที่ปรับตัวลดลง เนื่องจากผู้ประกอบการต้องการกระแสเงินสดเพื่อเพิ่มสภาพคล่องทางการเงิน จึงได้นำคอนโดมาลดราคา โดยคอนโดที่นำมาลดราคาส่วนใหญ่จะเป็นคอนโดจากโครงการที่สร้างเสร็จเรียบร้อยหรือคาดว่าจะสร้างเสร็จในปีนี้ บทสรุปของตลาดคอนโดในปี 2563 จะจบลงอย่างไร คงต้องรอลุ้นว่าในสุดท้ายแล้วโควิด-19 เราจะสามารถควบคุมและจำกัดไม่ให้สร้างผลเสียหายต่อตัวเราและธุรกิจได้มากน้อยแค่ไหน คงต้องติดตามกันต่อไป                 
5 ไฮไลท์แผนธุรกิจปี 64 “โนเบิล” กับแนวทางสู่ Top5 ผู้นำอสังหาฯ ไทย

5 ไฮไลท์แผนธุรกิจปี 64 “โนเบิล” กับแนวทางสู่ Top5 ผู้นำอสังหาฯ ไทย

เพียงระยะเวลา 1 ปีที่ “ธงชัย บุศราพันธ” กลับมาบริหารงานบริษัท โนเบิล ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) หรือ Noble อีกครั้งในตำแหน่ง ประธานกรรมการ และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เป้าหมายการนำพาบริษัทไปสู่เป้าหมายการติดยู่ในกลุ่มผู้นำตลาดอสังหาริมทรัพย์ อันดับ Top5 ภายในระยะเวลา 3-5 ปี ก็เข้าใกล้ความเป็นจริงมากขึ้น เพราะ​สเต็ปต์แรกของการไปสู่เป้าหมายดังกล่าว คือ การสร้างรายได้ปีละ 10,000 ล้านบาท   เพราะจากเป้าหมายในปี 2563 ที่ต้องการการสร้างรายได้ 10,000 ล้านบาท คาดว่าจะเป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้  แม้ว่าในภาพรวมของอุตสาหกรรมและภาวะเศรษฐกิจโดยรวม จะได้รับผลกระทบจากปัญหาการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 แต่ผลการดำเนินงานของโนเบิล ก็มีทิศทางการเติบโตที่ดีและเป็นไปตามเป้าหมาย ไม่ว่าจะเป็นยอดขายหรือรายได้ หรือแม้แต่ยอดขายจากตลาดชาวต่างชาติ ที่แม้ว่าจะไม่สามารถเดินทางเข้ามาประเทศไทยได้ แต่ก็ทำยอดขายได้สูง จนเป็นผู้นำตลาดแล้ว   สำหรับแผนธุรกิจในปี 2564 ยังคงวางเป้าหมายสานต่อเป้าหมายการไปสู่การเป็นผู้นำตลาด ติดอันดับ Top5 ให้ได้ภายในปี 2566  โดยมีรายได้ประมาณ​15,000-20,000 ล้านบาท หรือเติบโตเฉลี่ยปีละ 15% จากปัจจุบันที่สามารถสร้างรายได้เข้ามาติดอยู่ในกลุ่มผู้นำอสังหาฯ​ Top10 ของไทยเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยแผนธุรกิจในปี 2564 ของโนเบิล มีไฮไลท์สำคัญ ดังนี้ 1.เปิดโปรเจ็กต์ใหม่มูลค่าสูงสุดรอบ 30 ปี เปิดโครงการใหม่ 11 โครงการ มูลค่า 45,100 ล้านบาท มีมูลค่าสูงสุดในรอบ 30 ปีที่ดำเนินธุรกิจ ​ตั้งแต่ปี 2534 เป็นโครงการไฮไรส์   4 โครงการ มูลค่า 25,000 ล้านบาท และโครงการโลว์ไรส์ 7 โครงการ มูลค่า 20,100 ล้าบาท   ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา โนเบิลพัฒนาโครงการรวม 67 โครงการ รวมมูลค่า 152,000 ล้านบาท ปัจจุบันมีโครงการอยู่ระหว่างการขาย 18 โครงการ มูลค่าเพื่อขาย 29,000 ล้านบาท ซึ่งสัดส่วนกว่า 50% เป็นยอดขายรอรับรู้รายได้ในอีก 2-3 ปีข้างหน้า   2.ปั้นโปรเจ็กต์ร่วมทุน ในจำนวนแผนการเปิดโครงการใหม่ทั้งหมด จะเป็นฃโครงการร่วมทุนกันพันธมิตร 6 โครงการ รวมมูลค่า 32,800 ล้านบาท แบ่งเป็นโครงการร่วมทุนกับบริษัท ยู ซิตี้ จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นบริษัทในกลุ่มบริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) จำนวน 5 โครงการ มูลค่า 22,100 ล้านบาท  และโครงการที่ร่วมทุนกับฮ่องกงแลนด์ จำนวน 1 โครงการ มูลค่า 10,700 ล้านบาท 3.ทำตลาด 3 กลุ่มหลัก แนวทางการทำตลาดในปี 2564 เพื่อสร้างรายได้ให้เป็นไปตามเป้าหมาย โนเบิล จะมุ่งเน้นการจับ 3 ตลาด ได้แก่ -กลุ่มคอนโดราคา 1.1-2 ล้านบาท ในรอบปี 2563 ที่ผ่านมาโนเบิล ได้เปิดตัวแบรนด์ใหม่ คือ นิว (NUE) ตลาดในกลุ่ม Affordable price หรือราคา 1.1-2 ล้านบาท ซึ่งถือว่าได้รับการตอบรับที่ดีจากกลุ่มลูกค้าคนไทย แม้ว่าจะมีสถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 เนื่องจากสามารถพัฒนาโครงการให้ตรงตามความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย จนสามารถมียอดขายกว่า 50% ในช่วงแรกที่เปิดการขาย (อ่านข่าวเพิ่มเติม.... 3 เหตุผลโนเบิล ปั้น NUE เพิ่มรายได้สร้างพอร์ตสัดส่วน 50%) -กลุ่มตลาดไฮด์เอนด์ เป็นตลาดที่ปัจจุบันซัพพลายถูกดูดซับออกจากตลาดค่อนข้างมาก ทำให้มีปริมาณแทบไม่เหลือขายในตลาด โดยเฉพาะในพื้นที่ใจกลางเมือง แต่อสังหาฯ ในพื้นที่ใจกลางเมือง ยังเป็นที่ต้องการของตลาด ซึ่งโนเบิล วางแผนพัฒนาโครงการขายในย่านใจกลางเมือง เช่น ทำเลถนนวิทยุ ทองหล่อ ซึ่งจะขายในราคาที่ต่ำกว่าคู่แข่ง อาทิ ในทำเลทองหล่อ ปัจจุบันคอนโดขายราคาตารางเมตรละ 300,000 บาท แต่โนเบิล วางแผนขายตารางเมตรละประมาณ​ 240,000-250,000 บาท -กลุ่มอสังหาฯ แนวราบ ในอดีตที่ผ่านมาพอร์ตใหญ่ของโนเบิลกว่า 70% เป็นอสังหาฯ​ แนวราบ แต่ระยะหลังได้หันมาพัฒนาโครงการคอนโด ทำให้พอร์ตอสังหาฯ แนวราบในปัจจุบันเหลือสัดส่วนเพียง 5% ซึ่งในปี 2564 โนเบิลจะเพิ่มพอร์ตพัฒนาโครงการแนวราบมากขึ้น โดยมีทั้งประเภททาวน์โฮม บ้านแฝด และขายที่ดินเปล่า 4.เพิ่มสัดส่วนลูกค้าต่างชาติ  วางเป้าหมายการเพิ่มสัดส่วนรายได้จากลูกค้าต่างชาติ 35% จากที่ปี 2563 คาดว่าจะมีสัดส่วนรายได้ของชาวต่างชาติ 30% เฉพาะช่วง 9 เดือนแรกของปี 2563 โนเบิล มียอดขายในจากชาวต่างชาติแล้ว 1,599 ล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วน 26% และมีส่วนบ่างตลาดเป็นอันดับ 1 ในกลุ่มดีเวลลอปเปอร์ที่ขายอสังหาฯ ให้กับชาวต่างชาติ ด้วยส่วนแบ่งตลาด 37%   โดยแนวทางที่จะช่วยกระตุ้นให้ตลาดชาวต่างชาติเติบโตมากขึ้น โนเบิล มองว่ามาตรการขยายระยะเวลาสิทธิการเช่าซื้ออสังหาฯ โดยเฉพาะตลาดบ้านแนวราบให้ได้มากถึง 60-90 ปี จะทำให้ตลาดเติบโตมากขึ้น รวมถึงการเพิ่มระยะเวลาของวีซ่าเพื่อการอยู่อาศัยในประเทศไทยได้นานขึ้น 180 วัน ในอัตราค่าวีซ่าปกติ จะช่วยทำให้ตลาดเติบโตเช่นกัน  เพราะประเทศไทยเป็นประเทศจุดหมายปลายทางที่ชาวต่างชาติต้องการเข้ามาพักอาศัย ภายหลังจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ยุติลง หรือมีมาตรการด้านวัคซีนออกมาใช้ได้ผล ​ 5.สร้างรายได้ 11,000 ล้าน จากแผนงานและการมองภาพรวมในปี 2564 ยังมีปัจจัยบวกหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นการค้นพบวัคซีนและการนำมาใช้ อัตราดอกเบี้ยในอัตราต่ำ ประเทศไทยเป็นที่นิยมของชาวต่างชาติ  จึงทำให้ในปี 2564 โนเบิลจะสามารถทำรายได้รวม ตามเป้าหมายจำนวน 11,000 ล้านบาท เติบโต 10% จากปี 2563 ที่คาดว่าจะทำได้ 10,000 ล้านบาท และยอดขาย (pre-sale) จำนวน 16,000 ล้านบาท เติบโต 146% จากมูลค่า 6,500 ล้านบาท ปัจจุบันเราอยู่ Top10 หวังว่าปี 2566 น่าจะขยับสู่ Top5 เราเชื่อว่ามีความท้าทายรอยอู่ แต่เชื่อมั่นว่ามันเป็นไปได้
วิลล่า คุณาลัย วางแผน  5 ปีโต 20%  ลุยปั้นโปรเจ็กต์รอบกรุงเทพฯ ​

วิลล่า คุณาลัย วางแผน  5 ปีโต 20% ลุยปั้นโปรเจ็กต์รอบกรุงเทพฯ ​

วิลล่า คุณาลัย  วางแผนธุรกิจ 5 ปีข้างหน้า ตั้งเป้าโต 10-20% เดินหน้าหาที่ดินปั้นโปรเจ็กต์ใหม่ พร้อมขยายโซนการพัฒนา ในทิศเหนือและใต้ พร้อมอัดโปรโมชั่น ลด แลก แจก แถม กระตุ้นการซื้อ ปลายปี ดันยอดตามเป้า 750 ล้านบาท   นางประวีรัตน์ เทวอักษร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท​ วิลล่า คุณาลัย จำกัด (มหาชน) หรือ  KUN เปิดเผยว่า บริษัทฯ ได้วางแผนรอบรับธุรกิจในอีก 5 ปีข้างหน้า  ตั้งแต่ปี 2564-2568  ด้วยกการวางกลยุทธ์ในการหาที่ดินเพิ่ม เพื่อรองรับการพัฒนาโครงการใหม่โดยตั้งเป้าการเติบโตประมาณ 10-20% และยังคงมุ่งเน้นพัฒนาโครงการบ้านจัดสรร ภายใต้แนวคิด “สุขใจอยู่บ้านชานเมือง” ในทุกทำเลให้ครบ 4 ทิศ รอบกรุงเทพมหานคร (เหนือ, ใต้, ตะวันออก, ตะวันตก) ตามนโยบายและวิสัยทัศน์ที่บริษัทฯ วางไว้ โดยในขณะนี้ บริษัทฯ อยู่ระหว่างการวางแผน ศึกษาการลงทุนพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยแนวราบ ในโซนทิศเหนือ และโซนทิศใต้  จากปัจจุบันบริษัทฯ มีโครงการใน 2 โซนทิศตะวันตกของกรุงเทพฯ คือในโซนพื้นที่บางบัวทอง และทิศตะวันออกของกรุงเทพฯ คือในโซนจังหวัดฉะเชิงเทรา ซึ่งทั้ง 2 โซน ดังกล่าวถือว่าประสบความสำเร็จและได้การตอบรับจากผู้บริโภค เป็นจำนวนมาก   นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังคงเน้นกลยุทธ์ทางการตลาด ภายใต้วิถีชีวิตที่เปลี่ยนไป ด้วยแนวความคิดการอยู่อาศัยในรูปแบบใหม่ ที่เรียกว่า EVERYTHING AT HOME ทุกสิ่งเกิดขึ้นที่บ้าน เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคและรองรับกับสถานการณ์ปัจจุบัน โดยเน้นการลงลึกในพฤติกรรมของคนในแต่ละพื้นที่นั้น ๆ เพื่อออกแบบโครงการและพัฒนาสินค้าให้ตรงใจ เพิ่มความหลากหลายของสินค้าสำหรับลูกค้าในกลุ่มที่แตกต่างไปจากเดิม   ในขณะเดียวกันก็ชูจุดเด่นเรื่องของ space ที่ให้ได้มากกว่า ทั้งในส่วนของพื้นที่ส่วนกลาง และพื้นที่ใช้สอยภายในบ้านที่เหนือคู่แข่ง ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้คุณาลัยประสบความสำเร็จด้านยอดขายตลอดมา ทั้งนี้ บริษัทฯ เชื่อว่าหากบริษัทพัฒนาโครงการบ้านจัดสรร แนวราบได้ครบ 4 ทิศ รอบกรุงเทพฯ จะส่งผลให้บริษัทฯมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปี 10-20 % ในปัจจุบันบริษัทมีพื้นที่รอการพัฒนาในโซนนนทบุรีและฉะเชิงเทรารวม 40 ไร่ จะเริ่มทยอยเปิดตัวเพิ่มในปี 2564 เป็นต้นไปเพื่อทดแทนสินค้าที่กำลังจะหมดลง โดยพื้นที่ดังกล่าวสามารถรองรับการพัฒนาโครงการได้ทั้งหมด 2 โครงการ จากปัจจุบันมีโครงการอยู่ 6 โครงการ ประกอบด้วยโครงการ คุณาลัย คอร์ทยาร์ด เฟส 2, โครงการ คุณาลัย จอย, โครงการ คุณาลัย บีกินส์ 2, โครงการ คุณาลัย พรีม และคุณาลัย จอย ออน 314 จ.ฉะเชิงเทรา คิดเป็นมูลค่ารวมทั้งหมด 4,542 ล้านบาท   สำหรับกลยุทธ์ในช่วงไตรมาสของสุดท้ายของปี 2563 ว่า ตลาดอสังหาริมทรัพย์แนวราบ ยังคงมีความต้องการของผู้บริโภคอย่างต่อเนื่อง ซึ่งกลุ่มที่มีกำลังซื้อที่อยู่อาศัยจริง (Real Demand) โดยส่วนใหญ่จะมองหาอสังหาฯ ที่มีระดับราคาต่ำกว่า 3 ล้านบาท ซึ่งกลุ่มนี้ถือว่ามีความต้องการเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ส่งผลให้บริษัทฯยังคงให้ความสำคัญกับการทำโปรโมชั่นโปรโมชั่น ลด แลก แจก แถม เนื่องจากในช่วงไตรมาส 4 ของทุกปี ถือเป็นช่วงฤดูกาลขาย (ไฮซีซั่น) ของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์   ดังนั้น การทำโปรโมชั่นจะเป็นอีกปัจจัยในการประกอบการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค ส่งผลให้บริษัทฯยังคงทำการตลาดผ่านช่องทางออนไลน์ (Online) เพื่อเป็นข้อมูลให้ลูกค้าตัดสินใจ รวมถึงช่องทางการบอกต่อของกลุ่มลูกค้าเก่า ซึ่งบริษัทฯเชื่อว่าการบอกต่อเป็นการสร้างความเชื่อมั่นของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่ดี และด้วยสินค้าในทุกโครงการของบริษัทฯที่ให้ความสำคัญกับเรื่องของคุณภาพ จึงเชื่อว่าจะเป็นหนึ่งในปัจจัยที่ลูกค้าตัดสินใจซื้อโครงการของบริษัท   ในช่วงไตรมาส 4/2563 บริษัทฯยังคงให้ความสำคัญกับการสร้างยอดขาย ขณะเดียวกันยังคงเน้นการสร้างสินค้าเพื่อส่งมอบตามแผน สร้างการรับรู้รายได้จากการโอนกรรมสิทธิ์ รวมถึงให้ความสำคัญกับการควบคุมค่าใช้จ่ายให้ดีที่สุด เพื่อจะช่วยสร้างกำไรให้สูงสุดในช่วงสถานการณ์ปัจจุบัน หลังจากที่ทำยอดขายและยอดโอนกรรมสิทธิ์เป็นไปตามเป้าแล้ว สำหรับการโอนกรรมสิทธิ์ ในช่วงโค้งสุดท้าย บริษัทฯเชื่อว่าจะสามารถทำได้ตามเป้าหมายที่บริษัทฯวางไว้ หลังจากในช่วง 9 เดือนแรกที่ผ่านมา (มกราคม-กันยายน2563) ยอดโอนกรรมสิทธิ์เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างการสรุปงบไตรมาส 3/2563 และจะมีการประชุมคณะกรรมการบริษัท เพื่อแจ้งให้กับนักลงทุนได้ทราบเร็วๆ นี้   ทั้งนี้ ล่าสุดบริษัทมียอดขายรอโอน (Backlog) ในมือรวมมูลค่าประมาณ 485 ล้านบาท ซึ่งจะทยอยส่งมอบในช่วงไตรมาส 4/2563 ให้มากที่สุด ส่วนที่เหลือจะทยอยส่งมอบในปีถัดไป ทั้งนี้ บริษัทฯ ตั้งเป้ายอดโอนกรรมสิทธิ์ไว้ที่ 750 ล้านบาท จากการส่งมอบบ้านอย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งยืนยันรักษายอดขาย (Presale) ในช่วงไตรมาสสุดท้ายให้ดีที่สุด แม้สภาพเศรษฐกิจในปัจจุบันจะมีการชะลอตัว และยังมีปัจจัยกดดันภายนอกอื่น ๆ  
วีรันดา  เปิดโมเดลใหม่ ต่อยอดแบรนด์เพิ่มรายได้เติบโต 2 ดิจิต

วีรันดา เปิดโมเดลใหม่ ต่อยอดแบรนด์เพิ่มรายได้เติบโต 2 ดิจิต

วีรันดา เปิดโมเดลธุรกิจใหม่ ปั้น วีรันดา คอลเลคชัน สู้วิกฤตโควิด-19 หวังต่อยอดแบรนด์สร้างรายได้ จากการรับบริหารโรงแรม ตั้งเป้าประเดิมบริหารโรงแรม 2 แห่งในปี 64 สร้างรายได้เติบโต 2 หลัก   ประมาณกลางเดือนธันวาคม 2563 บริษัท วีรันดา รีสอร์ท จำกัด (มหาชน) เตรียมเปิดให้บริการโรงแรมแห่งใหม่ “เวอโซ หัวหิน วีรันดา คอลเลคชัน” (VERSO Hua Hin – a Veranda Collection) ในรูปแบบรีสอร์ทขนาดเล็กด้วยจำนวนห้องพัก 39 ห้อง ถือเป็นโมเดลธุรกิจใหม่ที่ออกมารองรับกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19   สำหรับ “เวอโซ หัวหิน วีรันดา คอลเลคชัน” ถือเป็นแบรนด์ใหม่ ที่อยู่ภายใต้โมเดลธุรกิจใหม่ กับการพัฒนาโรงแรมที่อยู่ในกลุ่ม “วีรันดา คอลเลคชัน” ซึ่งอาจจะไม่ใช่โมเดลใหม่ เพราะมีการใช้โมเดลนี้มาแล้ว อาทิ เครือแมริออท แต่เป็นโมเดลที่กำลังเติบโตและได้รับความนิยมสูง เนื่องจากมีจุดดีในเรื่องของความยืดหยุ่น ในด้านการพัฒนาและการบริหาร รวมถึงการใช้ประโยชน์จากแบรนด์ที่ถูกนำมาใช้เป็นนามสกุล ให้เกิดประโยชน์และสร้างรายได้เพิ่ม นายวีรวัฒน์ องค์วาสิฏฐ์  ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท วีรันดา รีสอร์ท จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า เหตุผลที่บริษัทได้นำโมเดลนี้มาใช้ เนื่องจากมองเห็นว่าแบรนด์วีรันดา เป็นแบรนด์ที่ได้รับการตอบรับที่ดีจากกลุ่มลูกค้า เพราะหากดูจากผลประกอบการช่วงที่ผ่านมาในปีนี้ ถือว่าทำได้ดีกว่าผู้ประกอบการในกลุ่มอุตสาหกรรมเดียวกัน ที่จดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งเป็นภาวะที่ประเทศเกิดการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 จึงถือว่าเป็นจังหวะที่ดีที่บริษัทจะเปิดตัวธุรกิจในโมเดลใหม่ ​   สำหรับความน่าสนใจของโมเดลธุรกิจโรงแรม ภายใต้นามสกุล วีรันดา คอลเลคชัน คือ 1.ความรวดเร็วและความยืดหยุ่นในการขยายธุรกิจ การพัฒนาโรงแรมในรูปแบบดังกล่าว ไม่จำเป็นต้องหาที่ดินแปลงใหญ่ ที่ต้องใช้พื้นที่ 8-15 ไร่ เพื่อพัฒนาโครงการขนาด 150 ห้อง แต่โมเดลนี้สามารถเริ่มต้นการพัฒนาได้ตั้งแต่ที่ดินขนาด 3 ไร่ เพื่อการพัฒนาโครงการขนาด 30 ห้องได้   นอกจากมีความยืดหยุ่นในเรื่องของขนาดโรงแรมและการลงทุน ยังมีความยืดหยุ่นในทำเลที่ตั้งที่จะพัฒนาได้ โดยไปในทำเลที่บริษัทยังไม่มี หรืออาจจะมีแล้วแต่ไปในพื้นที่ห่างไกลออกมา โดยทำเลที่บริษัทมองไว้มีทั้งทำเลใหม่และทำเลเดิม เช่น จังหวัดกระบี่ ภูเก็ต พังงา นครราชสีมา และเชียงใหม่ 2.รูปแบบการลงทุนที่หลากหลาย ในโมเดลธุรกิจนี้ บริษัทสามารถเลือกการลงทุนได้หลากหลาย ไม่ว่าการลงทุนพัฒนาโดยบริษัทเอง การร่วมลงทุนกับเจ้าของโรงแรมเดิม ด้วยการเข้าไปปรับปรุงและรีแบรนด์ใหม่ ภายใต้นามสกุล วีรันดา คอลเลคชัน หรือการเข้าร่วมบริหารโรงแรม ซึ่งจะมีความแตกต่างจากการรับบริหารของเชนโรงแรมจากเชนชั้นนำ เพราะบริษัทสามารถเข้าไปร่วมพัฒนา ปรับปรุง หรือรีแบรนด์ภายใต้คอนเซ็ปต์ของแบรนด์ วีรันดา คอลเลคชัน แต่ยังคงชื่อโรงแรมเดิมไว้   ​นายวีรวัฒน์ กล่าวอีกว่า เป้าหมายสำคัญของการพัฒนาโมเดลธุรกิจใหม่ เพื่อเข้าร่วมลงทุนหรือบริหารโรงแรมอื่นมากขึ้น เพราะจะทำให้สามารถขยายธุรกิจไปยังในทำเลที่บริษัทไม่มี หรืออาจจะมีแต่อยู่ในอีกทำเลที่มีศักยภาพได้ ซึ่งสิ่งที่บริษัทดำเนินการมากกว่าการบริหารโรงแรมทั่วไป คือ การเข้าร่วมลงทุนในส่วนการปรับปรุงหรือรีแบรนด์ให้กับเจ้าของโรงแรม ประมาณ 5-20 ล้านบาท เพราะในปัจจุบันธุรกิจโรงแรมหากจะขอสินเชื่อจากธนาคาร ถือว่ามีความเป็นไปได้ยาก ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในสถานการณ์นี้ เราต้องหาโมเดลใหม่ ในการใช้แบรนด์ของเราให้เกิดประโยชน์ เพื่อหารายได้ หรือมาร์จิ้นเพิ่ม โดยปี 2564 ตั้งเป้ามีโรงแรมบริหารอย่างน้อย 2 แห่ง อาจจะเปิดดำเนินการเลยหรือเซ็นสัญญาไว้ก่อนก็ได้ “เวอโซ หัวหิน วีรันดา คอลเลคชัน” ถือเป็นตัวอย่างในการขยายสาขาเอง ภายใต้โมเดลธุรกิจใหม่ เพื่อให้กลุ่มลูกค้าได้มองเห็นภาพตัวอย่าง เป็นตัวแทนของแบรนด์ วีรันดา คอลเลคชัน ซึ่งจะเห็นขนาดของโรงแรม ดีไซน์ และระดับราคา ซึ่งกลุ่มลูกค้าจะได้เห็นความเป็นวีรันดา แต่ไม่ใช่วีรันดา 100% แบรนด์เวอโซ เป็นการรวมคำของ Veranda กับ SO เข้าด้วยกัน ซึ่งเวอโซ มีความหมายถึง ด้านหน้าซ้ายของหนังสือ ​เพราะมองว่าเป็นอีกหนึ่ง Page ของบริษัท ที่อยากให้คนรู้จัก และเราคงต้องตั้งทีมเพื่อไปแอคไควร์โรงแรมใหม่ ๆ เข้ามาในอนาคต ขณะที่ปีหน้าบริษัทน่าจะกลับมาเติบโตด้วยตัวเลข 2 หลัก      
4 กลยุทธ์ปรับพื้นที่ออฟฟิศ สู่วิกฤตโควิด-19

4 กลยุทธ์ปรับพื้นที่ออฟฟิศ สู่วิกฤตโควิด-19

นับตั้งแต่เกิดเหตุการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 บริษัทต่าง ๆ ได้มีนโยบายการให้พนักงานทำงานจากที่บ้าน หรือ Work From Home เพื่อลดอัตราเสี่ยงการติดเชื้อโรค และเข้าสู่มาตรการเว้นระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) แต่หลังจากหน่วยงานภาครัฐมีระบบการจัดการ และควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาดได้อย่างดี จนไม่พบผู้ติดเชื้อรายใหม่ พนักงานที่เคยทำงานจากที่บ้าน ก็เริ่มกลับมาเข้ามาทำงานในสำนักงานเช่นเดิม   แต่จากสถานการณ์ล่าสุด ที่พบผู้ติดเชื้อรายใหม่เกิดขึ้น ก็มีความวิตกกังวลกันว่า การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด​-19 จะกลับมารุนแรงอีกครั้ง ซึ่งทำให้หลายองค์กรต้องเพิ่มมาตรการความเข้มข้น ในการดูแลเรื่องความสะอาดและการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 โดยเฉพาะในพื้นที่สำนักงาน หรืออาคารต่าง ๆ   อย่างไรก็ตาม แม้ว่าตอนนี้สถานการณ์ที่เกิดขึ้น ยังไม่รุนแรงจนต้องนำมาตรการล็อกดาวน์มาใช้อีกครั้ง แต่มีการคาดการณ์ถึงสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ว่าจะดำเนินต่อไปยาวนานอีกเป็นปี ขณะที่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยอาจลากยาวไปจนถึงปี 2565 ก่อนจะเริ่มฟื้นตัว   โดย นายอายุธพร บูรณะกุล กรรมการบริหารและหัวหน้าฝ่ายการวางกลยุทธ์พื้นที่ทำงาน บริษัท พีเพิลสเปซ คอนซัลติง (ประเทศไทย) จำกัด และบริษัท ไนท์แฟรงค์ ประเทศไทย จำกัด  มองว่าสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจะส่งผลทำให้ CEO และผู้บริหารระดับสูงขององค์กรต้องปรับเปลี่ยนทิศทางการบริหารจัดการองค์กรกันอย่างจริงจัง ในขณะที่องค์กรทั่วโลกมีรายรับลดลงจากผลกระทบของการประกาศล็อคดาวน์ในหลายๆประเทศ และความยากลำบากในการแข่งขันเนื่องมาจากข้อจำกัดในการเข้าทำงานของบุคลากร แต่องค์กรกลับมีภาระรายจ่ายเท่าเดิมหรือมากขึ้น ซึ่งแน่นอนว่าการบริหารกระแสเงินสด (cash flow) จำเป็นต้องยกประเด็นดังกล่าวมาพิจารณา รวมไปถึงเรื่องของพื้นที่ทำงานและสิ่งอำนวยความสะดวกในการทำงาน 4 กลยุทธ์สู่วิกฤตโควิด-19 ทั้งนี้  จากรายงาน Work+Life during COVID-19 Impact ของ บริษัท ไนท์แฟรงค์ ประเทศไทย จำกัด และ บริษัท พีเพิลสเปซ คอนซัลติง (ประเทศไทย) จำกัด พบว่ากว่า 64% ของผู้บริหารองค์กรในประเทศไทยส่วนใหญ่ คิดว่าองค์กรต้องหันกลับไปมองการใช้งานพื้นที่ทำงาน และให้ความสำคัญกับการวางกลยุทธ์การจัดพื้นที่สำนักงาน (Workplace Strategy) เพื่อวิเคราะห์และวางกลยุทธ์การใช้งานพื้นที่ทำงานใหม่   โดย 40% วางแผนลดพื้นที่ทำงาน 29% กำลังพิจารณาหาแนวทางที่จะให้พนักงานทำงานใกล้บ้านมากขึ้น มีเพียงแค่ 11% ของผู้บริหารคิดว่าต้องการเพิ่มขนาดพื้นที่ทำงานเพื่อตอบสนองระยะห่างทางสังคม ซึ่งทั้งหมดส่งผลให้เกิด กลยุทธ์และเทรนพื้นที่ทำงานในช่วงโควิด-19 ทั้งหมด 4 อย่างดังนี้ 1.เปลี่ยนแปลงสู่ Activity-Based Workplace จากผลสำรวจความเห็นของพนักงานส่วนใหญ่ในประเทศไทย พบว่ากว่า 76% มีความต้องการที่จะทำงานที่บ้านต่อไปในอนาคตแม้โควิด-19 จะหายไปแล้วก็ตาม โดยกว่า 41% เห็นว่าองค์กรควรมีนโยบายให้ทำงานที่บ้าน ประมาณ 1-2 วันต่อสัปดาห์ ในขณะที่ 24% ของพนักงานไม่ต้องการทำงานที่บ้านเลย   นอกจากนี้ผู้บริหารองค์กรในประเทศไทยกว่า 81% เห็นว่ารูปแบบพื้นที่ทำงานของตนเองในปัจจุบันยังไม่สอดคล้องกับรูปแบบการทำงานที่เป็นอยู่ ด้วยเหตุนี้เอง องค์กรจึงมองเห็นโอกาสในการปรับเปลี่ยนพื้นที่ทำงานเพื่อตอบโจทย์ด้านการลดค่าใช้จ่ายและตอบโจทย์การเพิ่มประสิทธิภาพให้พนักงาน โดยหลังเกิดสถานการณ์โควิด-19 องค์กรมีความคาดหวังที่จะลดพื้นที่ให้ได้กว่า 30%-50% 2.ปรับองค์กรสู่Digital Workplace การปรับเปลี่ยนองค์กรสู่ Digital Workplace (S.M.A.R.T.)  เพื่อเพิ่มศักยภาพและประสิทธิภาพการทำงานของพนักงาน ซึ่ง Smart Workplace ในที่นี้ ประกอบไปด้วย Self-Monitoring, Analysing, Reporting Technology หรือเทคโนโลยีที่สามารถเก็บข้อมูลด้วยตัวเอง วิเคราะห์ และรายงานผลออกมาเพื่อให้ผู้ใช้งานตัดสินใจ ซึ่งไม่เพียงแต่จะเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์การทำงานเพียงอย่างเดียว แต่ยังสามารถทำให้องค์กรบริหารจัดการพื้นที่ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ลดค่าใช้จ่ายในอนาคตได้เป็นอย่างดี 3.ลดการสัมผัสในการทำงาน การจัดการออฟฟิศในยุคโควิด-19 ที่สำคัญอีกเรื่อง คือ การลดการสัมผัสในการทำงาน (Contactless Journey) เพื่อช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้พนักงาน และสร้างสุขอนามัยที่ดีในองค์กร  โดยผลสำรวจ พบว่า เรามักสัมผัสกับผิวสัมผัสต่าง ๆ ในพื้นที่ทำงานมากกว่า 200 ครั้งต่อวัน เช่น ประตู ลูกบิด ปุ่มกดลิฟต์ เก้าอี้โต๊ะประชุม รีโมต ก๊อกน้ำ โถสุขภัณฑ์ ถังขยะ บัตรจอดรถ ฯลฯ นั่นคือ 200 ความเสี่ยงที่มีโอกาสสัมผัสกับเชื้อโควิด-19 แน่นอนว่าการออกแบบเพื่อลดการสัมผัสในกิจวัตรการทำงาน (contactless journey) ในที่ทำงานจึงเป็นการลดความเสี่ยงในการแพร่ระบาด แต่รวมไปถึงการบริหารทรัพยากรอาคาร การทำความสะอาด และการควบคุมจะมีประสิทธิผลมากขึ้นตามไปด้วย 4.Well-Working และCollaborative Climate องค์กรต้องหันมาให้ความสนใจด้าน สุขอนามัยในที่ทำงาน (Well-Working)  และ การกระตุ้นบรรยายกาศในการทำงานร่วมกัน​ (Collaborative Climate) ให้มากขึ้น เพราะนั่นหมายถึงประสบการณ์การทำงานที่ตอบสนองกับความต้องการของพนักงาน และควรถือโอกาสนี้ปรับพื้นที่ทำงาน การลงทุนออกแบบตกแต่งพื้นที่ทำงานให้สวยงามอาจจะไม่ใช่สิ่งที่พนักงานให้ความสำคัญที่สุดอีกต่อไป แต่การปรับเปลี่ยนเฟอร์นิเจอร์สำนักงานให้เหมาะสมกับกิจกรรมและการทำงานร่วมกัน อาจเป็นสิ่งที่องค์กรควรพิจารณา   การวางกลยุทธ์การจัดพื้นที่ทำงานให้ตอบโจทย์ต่อธุรกิจ (Workplace Strategy) ต้องจัดความสัมพันธ์ระหว่าง “คน”  และ “พื้นที่” ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดและลดค่าใช้จ่าย เพื่อตอบโจทย์วัตถุประสงค์ในการลงทุนขององค์กรต่อพื้นที่ทำงานใหม่ให้เกิดความคุ้มค่าและลดค่าใช้จ่ายในระยะยาว (Cost Saving & ROI) สนับสนุนประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานให้ดีขึ้น (Staff Productivity) ตอบสนองความพอใจของพนักงาน (Employee Satisfaction) ดึงดูดพนักงานทั้งเก่าและใหม่ให้อยากทำงาน (Retain & Attract Workforce Calibre) และส่งเสริมภาพลักษณ์คุณค่าขององค์กร (Enhancing Brand Value) การวางกลยุทธ์การจัดพื้นที่ทำงาน (Workplace Strategy) จึงไม่ใช่แต่การออกแบบพื้นที่ทำงานให้สวยงาม แต่เป็นการบริหารจัดการพื้นที่ทำงานให้มีประสิทธิภาพ (Not design for the eyes, but design for the performance) และจัดอยู่ในประเภทงานด้านการบริหารทรัพยากรอาคารและสิ่งอำนวยความสะดวกในพื้นที่ทำงาน หรือ Facility Management (FM) และ Corporate Real Estate (CRE) เป็นสำคัญ มุ่งเน้นการบริหารความสัมพันธ์ระหว่างการเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ใช้งานอาคารและการเพิ่มประสิทธิผลสนับสนุนธุรกิจหลัก   อย่างไรก็๖ม องค์กรควรต้องใช้โอกาสจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิค-19 ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ทั้งการปรับพื้นที่ทำงานให้ประหยัดค่าใช้จ่ายให้มากที่สุด และปรับรูปแบบที่ทำงานให้เหมาะสมกับสภาพกิจกรรมการทำงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ดึงดูดพนักงาน และสร้างความเชื่อมั่นให้พนักงาน เป็นแนวทางสร้างธุรกิจให้ยั่งยืนในอนาคต    
3 สิ่งที่ดีเวลลอปเปอร์อสังหาฯ ต้องรู้ !!  กับพฤติกรรมผู้บริโภคในวิกฤตโควิด-19

3 สิ่งที่ดีเวลลอปเปอร์อสังหาฯ ต้องรู้ !! กับพฤติกรรมผู้บริโภคในวิกฤตโควิด-19

TerraBKK เปิดผลวิจัย The Most Powerful Brand 2020 พบ 3 พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนไป จากวิกฤติโควิด-19 ทั้งการยอมจ่ายเงินแพงขึ้น กับแบรนด์อสังหาฯ ที่น่าเชื่อถือ “บริการ” ยังเป็นเรื่องสำคัญ และการใส่ใจของผู้บริหาร ผ่านโปรมั่น “ของแถม-อยู่ฟรี”   นางสาวสุมิตรา วงภักดี กรรมการผู้จัดการ บริษัท เทอร์ร่า มีเดีย แอนด์ คอลซัลติ้ง จำกัด ผู้ให้บริการเว็บไซต์ TerraBKK.com เปิดเผยถึงผลวิจัย The Most Powerful Brand 2020 จากการสำรวจข้อมูลผู้บริโภค ในการตอบแบบสอบถามออนไลน์และภาคสนามจากกลุ่มตัวอย่างทั่วประเทศ​ จำนวน 1,581 คน พบว่ามี 3 พฤติกรรมของผู้บริโภคเกิดขึ้น จากผลกระทบของการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ได้แก่ 1.ผู้บริโภคยินดีจ่ายเงินมากขึ้น 20-30% กับซื้ออสังหาฯ ในแบรนด์ที่น่าเชื่อถือ  เป็นผลจากการมีมุมมองต่ออสังหาฯ ว่า คุณค่าของแบรนด์ คือ สินทรัพย์ที่มีมูลค่าเพิ่มในอนาคต ซึ่งช่วงโควิด-19 ที่ผ่านมา ทำให้คนส่วนใหญ่เปลี่ยนมุมมองด้านการอยู่อาศัยในอนาคต ที่ “บ้าน” ไม่ใช่แค่ที่อยู่อาศัยเพียงอย่างเดียว แต่จำเป็นต้องมีพื้นที่รองรับทั้งการอยู่อาศัย การทำงานในบ้าน และรองรับไลฟ์สไตล์อื่น ๆ ด้วย ทำให้มองว่า หากมีการซื้ออสังหาฯ​ ในช่วงนี้ ผู้บริโภคยินดีจ่ายเงินมากขึ้น 20-30% เพื่อซื้อบ้านหรือคอนโด จากแบรนด์ที่น่าเชื่อถือ เมื่อเทียบกับโคงการอื่นในทำเลเดียวกัน เพราะมองว่าสินทรัพย์ที่มีแบรนด์ จะสามารถสร้างมูลค่าเพิ่ม ขายต่อได้อย่างรวดเร็วในราคาที่พึงพอใจได้ในอนาคต 2.ผู้บริโภคให้ความสำคัญกับ “บริการ” จากพนักงานขาย พฤติกรรมการเลือกซื้ออสังหาฯ ในช่วงโควิด-19 มีความต่างไปจากเดิม ลูกค้าส่วนใหญ่มักจะมองหาโครงการจากแบรนด์ที่มีความคุ้นเคย และมีตัวเลือกในใจที่น้อยลง เพื่อค้นหาข้อมูลโครงการที่สนใจในระบบออนไลน์อย่างละเอียด ก่อนที่จะเข้าเยี่ยมชมโครงการจริง ผู้ซื้อบ้านช่วงนี้จึงให้ความสำคัญกับ “บริการ” จากพนักงานขาย เพราะเป็นผู้ซื้อที่ต้องการอยู่อาศัยจริง และเป็นการซื้อที่มีความจำเป็น   ดังนั้น การส่งมอบบริการที่ดีผ่านพนักงาน ตั้งแต่การให้ข้อมูล การพาเยี่ยมชมโครงการ การหาสินเชื่อที่ตอบรับความต้องการของลูกค้า รวมถึงการช่วยแก้ไขปัญหา และติดตามผลตอบรับลูกค้าเป็นสิ่งสำคัญ ที่ช่วยสร้างประสบการณ์ ความเชื่อมั่นในแบรนด์ให้กับลูกค้าได้เป็นอย่างดี ทำให้เกิดความภักดีต่อแบรนด์ในอนาคต 3.ผู้บริโภคมองว่า “โปรมั่น- อยู่ฟรี” คือ การใส่ใจ และวิสัยทัศน์ที่ดีของผู้บริหาร ผลจากการเกิดวิกฤตการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ส่งผลให้แบรนด์อสังหาฯ ส่วนใหญ่ เกิดการปรับตัวครั้งใหญ่ มีการจัดโปรโมชั่นเพื่อกระตุ้นยอดขายอย่างต่อเนื่อง ซึ่งแคมเปญส่วนลด ของแถม การอยู่ฟรี ช่วยผล เป็นกลไกลสำคัญที่ทำให้แบรนด์เข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้มากขึ้น แต่ยังคงเอกลักษณ์ความเป็นแบรนด์นั้น ๆ ทำให้สินค้าไม่เสียราคา   ขณะที่ลูกค้าได้เห็นถึงวิสัยทัศน์ของผู้บริหาร ผ่านแคมเปญต่าง ๆ ที่ออกมาช่วยเหลือกลุ่มลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤต และกลุ่มลูกค้าใหม่ที่ได้โอกาสซื้อสินค้าคุณภาพดี ทั้งนี้ การแจกของที่มีมูลค่าสูง อาทิ ทองคำ สมาร์ทโฟน สลากออมทรัพย์ เป็นโปรโมชั่นที่ลูกค้าชื่นชอบในช่วงที่เกิดวิกฤต   อย่างไรก็ตาม ผู้บริโภคยังให้ความสำคัญกับเรื่อง การพัฒนานวัตกรรม เทคโนโลยี ที่ช่วยในการประหยัดพลังงาน และรักษาสิ่งแวดล้อมเป็นเทรนด็ที่คนส่วนใหญ่มองว่า ดีเวลลอปเปอร์  ควรนำนวัตกรรมมาผสมผสานสร้างสินค้าที่ตอบโจทย์ความต้องการ รวมถึงต้องมีการพัฒนางานดีไซน์ สีสัน แบบใหม่ ๆ ให้กับทุกโครงการ เพื่อสร้างเอกลักษณ์ ในอนาคตผู้บริโภคส่วนใหญ่ จะให้ความสำคัญกับความน่าเชื่อถือของแบรนด์มากขึ้น โดยเฉพาะผู้บริโภคเจเนอเรชั่นใหม่ ๆ ซึ่งการสร้างการจดจำแบรนด์ และการตอกย้ำให้ลูกค้าจดจำแบรนด์ จะช่วยสร้างความภักดีใหด้เป็นอย่างดี สำหรับผู้บริโภคที่มีแผนซื้อบ้านใหม่หลังเกิดวิกฤตโควิด-19 ส่วนใหญ่ หันมาให้ความสำคัญกับวัสดุที่ใช้ในการก่อสร้าง  ระบบรักษาความปลอดภัย บริการหลังการขาย พื้นที่ใช้สอยภายในที่อยู่อาศัย ด้านเทรนด์การอยู่อาศัยในอนาคต ผู้ตอบแบบสอบถามให้ความสำคัญกับ 5 อันดับ ได้แก่ เรื่อง ความคุ้มค่า คุ้มราคา มากที่สุด 72% รองลงมาเป็นเรื่อง มาตรการรักษาความปลอดภัย 69%  การประหยัดพลังงาน 56%  การออกแบบพื้นที่ใช้สอยตอบโจทย์ Work From Home 51% และออกแบบที่เน้นความสะอาด ถูกหลักอนามัย 50%
ทีโอเอ แก้ปัญหางานก่อสร้าง-ซ่อมแซม  เปิดแพลตฟอร์มใหม่ “WHO Service”

ทีโอเอ แก้ปัญหางานก่อสร้าง-ซ่อมแซม เปิดแพลตฟอร์มใหม่ “WHO Service”

ทีโอเอ  เปิดโมเดลธุรกิจแพลตฟอร์มใหม่ “WHO Service” ตอบโจทย์ผู้บริโภค ด้วยโซลูชั่นงานก่อสร้างและซ่อมแซมบ้านครบวงจร พร้อมปั้นดีลเลอร์สู่ “MEGA PAINT Warehouse” 50 สาขาใน 3 ปี เป็นศูนย์กลางรวมวัสดุก่อสร้างและบริการครบวงจร   นายจตุภัทร์ ตั้งคารวคุณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ทีโอเอ เพ้นท์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า  ได้เปิดแพลตฟอร์มใหม่ WHO Service ช่องทางแนะนำช่างผู้รับเหมามืออาชีพให้กับเจ้าของบ้าน ที่ต้องการงานก่อสร้าง ซ่อมบ้าน รีโนเวทบ้าน ปรับปรุงโรงงาน ซึ่งทีมช่างได้ผ่านการตรวจสอบและคัดเลือกจาก TOA เพื่อให้ลูกค้าเกิดความมั่นใจ โดยมีบริการ 8 โซลูชั่น ได้แก่ 1.บริการรับทาสีอาคารทั้งระบบ 2.บริการติดตั้งระบบกันซึมดาดฟ้า หลังคา 3.บริการติดตั้งระบบกันซึมห้องน้ำและปูกระเบื้อง 4.บริการติดตั้งระบบกันซึมด้วยแผ่นยางชนิดไฟเป่า และแผ่นยางกันซึมชนิดมียางในตัว 5.บริการรับติดตั้งฝ้า เพดานและผนัง 6.บริการระบบพื้นโรงงานอุตสาหกรรม 7.บริการรับซ่อมพื้น ปรับระดับพื้นอีพ็อกซี่ พื้นพียู 8.บริการรับเหมางานฉาบปูนลอฟท์ ปูนฉาบขัดมันสำเร็จรูป   นายจตุภัทร์ กล่าวว่า  TOA สร้างโมเดลธุรกิจแพลตฟอร์มใหม่  เพื่อตอบสนองความต้องการของเจ้าของบ้าน ที่มาจากปัญหาในการหาช่างผู้รับเหมางานก่อสร้างและซ่อมแซมบ้านที่ไว้วางใจได้ และเรื่องการทำงานที่ได้มาตรฐาน มีความรับผิดชอบไม่ทิ้งงาน มีการรับประกันคุณภาพงาน ให้บริการด้วยราคาที่ยุติธรรม และตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่ขนาดเล็ก เช่น คอนโดมิเนียม 1 ห้อง หรือปัญหาเล็กน้อย อย่างปัญหาห้องน้ำรั่วซึม เป็นต้น นอกจากนี้ บริษัทยังได้พัฒนาร้านค้าขายสีแบบดังเดิม ซึ่งเป็นคู่ค้าร้านขายสี (Retail Dealers)  กว่า 6,000 ร้านค้าทั่วประเทศให้กลายเป็น ศูนย์รวมวัสดุก่อสร้าง  (Light Construction Materials) และบริการแบบครบวงจร ในชื่อ “MEGA PAINT Warehouse” ครบ จบ ในที่เดียว และยังทำให้ช่างผู้รับเหมางานต่าง ๆ ​ได้เข้าถึงสินค้าของบริษัทอย่างครบ รวมถึงเจ้าของบ้านสามารถใช้บริการงานช่าง “WHO Service” ได้ง่ายและสะดวกยิ่งขึ้นด้วย   โดยบริษัทจะเข้าไปวางโซลูชั่นสำหรับการขายแบบครบวงจร ทั้งเรื่องผลิตภัณฑ์และบริการ เพื่อรองรับผู้บริโภคและช่างผู้รับเหมา รวมถึงช่วยวางแผนจัดการระบบต่าง ๆ ให้กับร้านค้า ตั้งแต่การออกแบบและตกแต่งร้าน ทั้ง หน้าร้าน​ ป้าย​ ชั้นวางสินค้า จุดดิสเพลย์ตกแต่งสำหรับโชว์ระบบการใช้งานต่าง ๆ วางระบบจัดเรียงสินค้าที่เป็นหมวดหมู่ (Category Management)​ ระบบการจัดการคลังสินค้าที่ได้มาตรฐาน (Warehouse Management) รวมทั้งยังมี ศูนย์อบรมให้ความรู้ด้านผลิตภัณฑ์และการใช้งาน (Training Center) ให้แก่ช่างผู้รับเหมาและผู้ที่สนใจเข้าร่วม โดยจะจัดขึ้นทุกไตรมาส   นอกจากนี้ ยังมีผู้เชี่ยวชาญ Technical PC ที่จะให้คำแนะนำการใช้งานผลิตภัณฑ์สำหรับระบบการก่อสร้างและซ่อมแซมบ้าน โดยบริษัทตั้งเป้าพัฒนาร้านในรูป “MEGA PAINT Warehouse” ให้ได้มากกว่า 50 สาขา ภายในต้นปี 2564 ครอบคลุมในจังหวัดหัวเมืองใหญ่ทั่วประเทศ  โดยจะเปิด 3 สาขาแรกอย่างเป็นทางการ ได้แก่ สาขาซิตี้ โฮมมาร์ท (บางบอน)  สาขานวการ จ.ปทุมธานี และสาขาสมาร์ทเพ้นท์ (ถ.ราชพฤกษ์)   โมเดลธุรกิจแพลตฟอร์มใหม่นี้ จะช่วยขับเคลื่อนกลยุทธ์ของบริษัทฯ ที่มุ่งเน้นตอบสนองการใช้งานแบบครบวงจร  เพื่อสร้าง Synergy ให้แก่ Product Line อื่น ๆ ของ TOA ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น  รวมทั้งยังเป็นแรงสนับสนุนสร้างการเติบโตของบริษัทฯ พร้อมกับการพลิกฟื้นของเศรษฐกิจไทยในปี 2564  ในอัตรา 10% โดย  “MEGA PAINT Warehouse” มีบริการตั้งแต่การจำหน่ายผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ อาทิ ผลิตภัณฑ์เคมีก่อสร้าง (ปูนกาวซีเมนต์ปูกระเบื้อง)  แผ่นยิปซั่มบอร์ด (TOA Gypsum Board) ผลิตภัณฑ์สีตกแต่งผนังลอฟท์สำเร็จรูป (TOA Loft) ผลิตภัณฑ์สีทาอาคาร ผลิตภัณฑ์งานไม้ (TOA Wood Expert) ผลิตภัณฑ์ Protective Coating  เครื่องผสมสีอัตโนมัติ (TOA Color World) และศูนย์บริการโซลูชั่นงานก่อสร้างและซ่อมแซมบ้าน (TOA Protect & Repair Center)   นายจตุภัทร์ กล่าวอีกว่า แนวโน้มตลาดสีในปี 2564 เชื่อว่าจะฟื้นตัว เพราะจากแนวโน้มเศรษฐกิจเริ่มปรับตัวดีขึ้น และตลาดอสังหาริมทรัพย์น่าจะกลับมาฟื้นตัว ธุรกิจหลายประเภทน่าจะกลับมาทำการปรับปรุงซ่อมแซมอาคารหรือสำนักงานของตัวเอง ซึ่งจะต้องใช้สีเป็นส่วนประกอบ โดยบริษัทมีสินค้าใหม่ที่มีแนวโน้มการเติบโตอย่างต่อเนื่องออกมาทำตลาด และโมเดลธุรกิจใหม่ ที่จะเข้ามาช่วยทำให้ผลประกอบการเติบโตตามเป้าหมายที่วางไว้ แม้ว่าในปีนี้ตลาดสีจะชะลอตัวลงไป 10% แต่บริษัทยังทำผลประกอบการได้ดีกว่าภาพรวมอุตสาหกรรม ซึ่งช่วง 9 เดือนแรกมีอัตราการชะลอตัวเพียง 3.4% ด้านการลงทุนในปีหน้า บริษัทเตรียมงบประมาณไว้ 600 ล้านบาท สำหรับการลงทุนด้านต่าง ๆ อาทิ การปรับปรุงโรงงาน เป็นต้น
อัพเดทดอกเบี้ยกู้ซื้อบ้าน และคอนโด ประจำเดือนธันวาคม 2563

อัพเดทดอกเบี้ยกู้ซื้อบ้าน และคอนโด ประจำเดือนธันวาคม 2563

อัพเดทดอกเบี้ยกู้ซื้อบ้าน ถือว่าเป็นช่วงเวลาโค้งท้ายของปีนี้แล้ว  สำหรับผู้ที่กำลังจะวางแผนซื้อบ้านหรือคอนโดมิเนียมใหม่ ที่จะยื่นขอกู้เงินจากธนาคารต่าง ๆ เพราะเดือนนี้เป็นเดือนธันวาคมแล้ว ซึ่งช่วงนี้บรรดาดีเวลลอปเปอร์ต่าง ๆ ก็ขนบ้านและคอนโด มาจัดโปรโมชั่น พร้อมรายการส่งเสริมการขาย ทั้งลด แลก แจก แถม กันกระหน่ำ เพราะหวังจะสร้างยอดขายทำผลงานให้เป็นไปตามเป้าหมายของปี 2563 นี้   นอกจากจะได้แคมเปญสารพัดของบรรดาดีเวลลอปเปอร์ต่าง ๆ แล้ว ยังมีมาตรการกระตุ้นอสังหาริมทรัพย์ของภาครัฐที่ออกมาช่วยให้คนไทยมีบ้านได้ง่ายขึ้นอีกด้วย กับมาตรการลดค่าโอน-จำนองจาก 3% เหลือ 0.01%ซึ่งจะสิ้นสุดภายในปีนี้ด้วย   เมื่อตัดสินใจจะซื้อบ้านสักหลัง หรือคอนโดสักห้อง ลองมาดูกันว่า จะยื่นกู้เงินกับธนาคารอะไรดี ที่จะได้อัตราดอกเบี้ยดีที่สุด และดอกเบี้ยต่ำที่สุดในปัจจุบัน ธนาคารกรุงเทพ สินเชื่อบ้านบัวหลวง เฉพาะพนักงานที่มีรายได้ประจำด วงเงินตั้งแต่ 1 ล้านบาทขึ้นไป ทางเลือก 1 ปีที่ 1 อัตราดอกเบี้ย 3.00% ปีที่ 2-3 อัตราดอกเบี้ย MRR-1.50% หลังจากนั้น อัตราดอกเบี้ย MRR-1.00% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 4.22% ทางเลือก 2 ปีที่ 1-3 อัตราดอกเบี้ย MRR-1.875% หลังจากนั้น MRR-1.00% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 4.28% สำหรับลูกค้าทั่วไป  วงเงินตั้งแต่ 5 ล้านบาทขึ้นไป ทางเลือก 1 ปีที่ 1 อัตราดอกเบี้ย 3.00% ปีที่ 2-3 อัตราดอกเบี้ย MRR-1.50% หลังจากนั้น อัตราดอกเบี้ย MRR-1.00% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 4.22% ทางเลือก 2 ปีที่ 1-3 อัตราดอกเบี้ย MRR-1.875% หลังจากนั้น MRR-1.00% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 4.28% วงเงินตั้งแต่ 3 ล้านบาท แต่ไม่เกิน 5 ล้านบาท ทางเลือก 1 ปีที่ 1 อัตราดอกเบี้ย 3.625% ปีที่ 2-3 อัตราดอกเบี้ย MRR-1.375% หลังจากนั้น อัตราดอกเบี้ย MRR-0.875% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 4.45% ทางเลือก 2 ปีที่ 1-3 อัตราดอกเบี้ย MRR-1.625% หลังจากนั้น MRR-0.875% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 4.47% วงเงินตั้งแต่ 1 ล้านบาทขึ้นไปแต่ไม่เกิน 3 ล้านบาท ทางเลือก 1 ปีที่ 1 อัตราดอกเบี้ย 3.75% ปีที่ 2-3 อัตราดอกเบี้ย MRR-1.25% หลังจากนั้น อัตราดอกเบี้ย MRR-0.75% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 4.57% ทางเลือก 2 ปีที่ 1-3 อัตราดอกเบี้ย MRR-1.50% หลังจากนั้น MRR-0.75% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 4.59% อัตราดอกเบี้ยสำหรับผู้มีรายได้ประจำ ตั้งแต่ 50,000-99,999 บาทต่อเดือน  ทางเลือกที่ 1 ปีที่ 1 อัตราดอกเบี้ยปกติ 2.50% กรณีทำประกัน อัตราดอกเบี้ย 2.25% ปีที่ 2-3 อัตราดอกเบี้ย MRR-2.50% หลังจากนั้น MRR-1.50% อัตราดอกเบี้ยแท้จริงต่อปี ตลอดอายุสัญญา 3.50-3.55% ทางเลือกที่ 2 ปีที่ 1 อัตราดอกเบี้ยปกติ MRR-3.75% กรณีทำประกันอัตราดอกเบี้ย MRR-4.0% ปีที่ 2-3 อัตราดอกเบี้ย MRR-2.25% หลังจากนั้น MRR-1.50% อัตราดอกเบี้ยแท้จริงต่อปี ตลอดอายุสัญญา 3.48-3.53% อัตราดอกเบี้ยสำหรับผู้มีรายได้ประจำ ตั้งแต่ 100,000-199,999 บาทต่อเดือน ทางเลือกที่ 1 ปีที่ 1 อัตราดอกเบี้ยปกติ 2.25% กรณีทำประกัน อัตราดอกเบี้ย 2.00% ปีที่ 2-3 อัตราดอกเบี้ย MRR-2.50% หลังจากนั้น MRR-1.50% อัตราดอกเบี้ยแท้จริงต่อปี ตลอดอายุสัญญา 3.44-3.50% ทางเลือกที่ 2 ปีที่ 1 อัตราดอกเบี้ยปกติ MRR-4.00% กรณีทำประกันอัตราดอกเบี้ย MRR-4.25% ปีที่ 2-3 อัตราดอกเบี้ย MRR-2.25% หลังจากนั้น MRR-1.50% อัตราดอกเบี้ยแท้จริงต่อปี ตลอดอายุสัญญา 3.42-3.48% อัตราดอกเบี้ยสำหรับผู้มีรายได้ประจำ ตั้งแต่ 200,000 บาทต่อเดือนขึ้นไป    ทางเลือกที่ 1 ปีที่ 1 อัตราดอกเบี้ยปกติ 2.00% กรณีทำประกัน อัตราดอกเบี้ย 1.75% ปีที่ 2-3 อัตราดอกเบี้ย MRR-2.75% หลังจากนั้น MRR-1.50% อัตราดอกเบี้ยแท้จริงต่อปี ตลอดอายุสัญญา 3.30-3.35% ทางเลือกที่ 2 ปีที่ 1 อัตราดอกเบี้ยปกติ 2.00% กรณีทำประกัน อัตราดอกเบี้ย 1.75% ปีที่ 2 อัตราดอกเบี้ย 3.00% ปีที่​ 3 อัตราดอกเบี้ย MRR-2.50% หลังจากนั้น MRR-1.50% อัตราดอกเบี้ยแท้จริงต่อปี ตลอดอายุสัญญา 3.34-3.40% ทางเลือกที่ 3 ปีที่ 1 อัตราดอกเบี้ยปกติ MRR-4.25% กรณีทำประกัน อัตราดอกเบี้ย MRR-4.50% ปีที่ 2-3 อัตราดอกเบี้ย MRR-2.50% หลังจากนั้น MRR-1.50% อัตราดอกเบี้ยแท้จริงต่อปี ตลอดอายุสัญญา 3.284-3.33% หมายเหตุ -อัตราดอกเบี้ยนี้สำหรับผู้ที่ยื่นคำขอสินเชื่อพร้อมเอกสารครบถ้วน ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.– 31 ธ.ค. 63 โดยผู้กู้ต้องลงนามในสัญญากู้ภายใน 1 เดือน นับตั้งแต่วันที่อนุมัติสินเชื่อ และจดทะเบียนจำนองพร้อมเบิกเงินกู้งวดแรกหรือทั้งหมดภายใน 2 เดือน นับตั้งแต่วันที่ลงนามในสัญญากู้ -อัตราดอกเบี้ย MRR ปัจจุบันตามประกาศของธนาคาร ณ วันที่ 21 พ.ค. 63 เท่ากับ 5.75% ต่อปี -อัตราดอกเบี้ยแท้จริงต่อปี ตลอดอายุสัญญา คำนวณจากวงเงินสินเชื่อ 3 ล้านบาท อายุสัญญา 10 ปี -กรณีสมัครประกันชีวิตคุ้มครองเครดิตโฮมเฟิสต์ รับส่วนลดอัตราดอกเบี้ยปีแรก 0.25% ตามเงื่อนไข ​ -ฟรีค่าสำรวจและประเมินหลักประกัน (ปกติ 3,210 บาท) ธนาคารกสิกรไทย สำหรับลูกค้าที่มีรายได้ประจำ 3 ปีแรก MRR-1.28%  หลังจากนั้นจนสิ้นสุดสัญญา MRR-1.00%  อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 4.69%  อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา (20 ปี) เท่ากับ 4.87% สำหรับลูกค้าผู้ประกอบการ 3 ปีแรก MRR-0.77%  หลังจากนั้น จนสิ้นสุดสัญญา MRR-0.50%  อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 5.20% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา (20 ปี) เท่ากับ 5.37% อัตราดอกเบี้ย MRR = 5.97% (ประกาศ ณ วันที่ 22 พ.ค. 63) หมายเหตุ -อัตราดอกเบี้ยดังกล่าวสำหรับลูกค้าที่ยื่นกู้ ตั้งแต่วันที่ 19 ต.ค.-31 ธ.ค. 63 โดยยื่นจดจำนองภายในวันที่ 29 ม.ค. 64 -สามารถยื่นกู้ได้สำหรับที่อยู่อาศัยทุกประเภท ยกเว้น Refinance และการกู้เพื่อซื้อที่ดินเปล่า -วงเงินให้กู้ได้ไม่เกิน 90% ของราคาซื้อขาย และไม่เกิน 90% ของราคาประเมินหลักประกัน -สมัครทำประกันคุ้มครองสินเชื่อบ้านได้รับอนุมัติและไม่ยกเลิกการทำประกันตามเงื่อนไข -ทุนประกันคุ้มครองวงเงินสินเชื่อขั้นต่ำ 70 % ขึ้นไปของวงเงินสินเชื่อบ้านและเลือกระยะเวลาคุ้มครอง 100 % ของระยะเวลากู้ หรือ -ทุนประกันคุ้มครองวงเงินสินเชื่อ 100 % ของวงเงินสินเชื่อบ้านและเลือกระยะเวลาคุ้มครองขั้นต่ำ 70 % ของระยะเวลากู้ -การทำประกันคุ้มครองวงเงินสินเชื่อบ้านกสิกรไทยรับประกันโดย บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) ลูกค้าต้องทำความเข้าใจในรายละเอียดความคุ้มครองและเงื่อนไขในกรมธรรม์ก่อนตัดสินใจทำประกันทุกครั้ง ทั้งนี้ผู้ซื้อมีสิทธิ์เลือกที่จะทำประกันชีวิตหรือไม่ก็ได้ ไม่มีผลต่อการพิจารณาอนุมัติสินเชื่อ -การพิจารณารับประกันขึ้นอยู่กับเงื่อนไขและกฎเกณฑ์การรับประกันของ บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) ธนาคารกรุงไทย ประเภทสินเชื่อบ้านกรุงไทย…สุขใจถ้วนหน้า ฟรีค่าธรรมเนียมยื่นกู้ อัตราดอกเบี้ยคงที่ 1 ปี แบบทำประกัน ปีที่ 1 ดอกเบี้ย 0.90% ปีที่ 2 MRR-2.40% ปีที่ 3 ดอกเบี้ยเท่ากับ MRR-2.40% หลังจากนั้น MRR-1.25% อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี เท่ากับ 2.85% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง 4.22% แบบไม่ทำประกัน ปีที่ 1 ดอกเบี้ย 0.90% ปีที่ 2-3 ดอกเบี้ยเท่ากับ MRR-2.25% หลังจากนั้น MRR-1.25% อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี เท่ากับ 2.95% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง 4.26% อัตราดอกเบี้ยคงที่ 3 ปี ผ่อนล้านละ 3,500 บาท 3 ปีแรก แบบทำประกัน ปีที่ 1 ดอกเบี้ย 2.24% ปีที่ 2-3 ดอกเบี้ย 3.15% หลังจากนั้น MRR-1.25% อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี เท่ากับ 2.85% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง 4.24% แบบไม่ทำประกัน ปีที่ 1 ดอกเบี้ย 2.54% ปีที่ 2-3 ดอกเบี้ย 3.15% หลังจากนั้น MRR-1.25% อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี เท่ากับ 2.95% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง 4.28% อัตราดอกเบี้ยลอยตัว แบบทำประกัน ปีที่ 1-3 ดอกเบี้ยเท่ากับ MRR-3.37% หลังจากนั้น MRR-1.25% อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี เท่ากับ 2.85% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง 4.25% แบบไม่ทำประกัน ปีที่ 1-3 ดอกเบี้ยเท่ากับ MRR-3.27% หลังจากนั้น MRR-1.25% อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี เท่ากับ 2.95% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง 4.29% ประเภทสินเชื่อบ้านกรุงไทย…สุขใจถ้วนหน้า ฟรีค่าธรรมเนียมยื่นกู้ กรณีธนาครออกค่าจดจำนองให้ อัตราดอกเบี้ยคงที่ 2 ปี แบบทำประกัน ปีที่ 1-2 ดอกเบี้ย 2.64% ปีที่ 3 ดอกเบี้ยเท่ากับ MRR-1.95% หลังจากนั้น MRR-1.25% อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี เท่ากับ 3.18% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง 4.35% แบบไม่ทำประกัน ปีที่ 1-2 ดอกเบี้ย 2.64% ปีที่ 3 ดอกเบี้ยเท่ากับ MRR-1.65% หลังจากนั้น MRR-1.25% อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี เท่ากับ 3.28% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง 4.39% อัตราดอกเบี้ยคงที่ 3 ปี   แบบทำประกัน ปีที่ 1 ดอกเบี้ย 2.44% ปีที่ 2-3 ดอกเบี้ย 3.55% หลังจากนั้น MRR-1.25% อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี เท่ากับ 3.18% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง 4.36% แบบไม่ทำประกัน ปีที่ 1 ดอกเบี้ย 2.74% ปีที่ 2-3 ดอกเบี้ย 3.55% หลังจากนั้น MRR-1.25% อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี เท่ากับ 3.28% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง 4.40% อัตราดอกเบี้ยลอยตัว แบบทำประกัน ปีที่ 1-3 ดอกเบี้ยเท่ากับ MRR-3.04% หลังจากนั้น MRR-1.25% อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี เท่ากับ 3.18% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง 4.37% แบบไม่ทำประกัน ปีที่ 1-3 ดอกเบี้ยเท่ากับ MRR-2.94% หลังจากนั้น MRR-1.25% อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี เท่ากับ 3.28% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง 4.41% หมายเหตุ -การทำประกันชีวิตคุ้มครองวงเงินสินเชื่อ : ทำประกันทางเลือกใด ทางเลือกหนึ่ง ดังนี้ 1.ทำ MRTA/GLT SP เต็มวงเงินกู้ และระยะเวลาทำประกันขั้นต่ำ 10 ปี 2.ทำ MRTA/GLT SP 70% ของวงเงินกู้และระยะเวลากู้ หรือ ระยะเวลาทำประกันขั้นต่ำ 15 ปี ทั้งนี้ การทำประกันชีวิตเพื่อคุ้มครองวงเงินสินเชื่อเป็นไปตามความสมัครใจของลูกค้า และไม่มีผลต่อการพิจารณาสินเชื่อ -ธนาคารออกค่าจดจำนองให้ 1% สูงสุดไม่เกินรายละ 200,000 บาท หากลูกค้าปิดบัญชีก่อน 5 ปี ธนาคารจะเรียกเก็บค่าจดจำนองคืน -อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง (EIR) คำนวณจากวงเงินกู้ 1.00 ล้านบาท อายุสัญญา 20 ปี ผ่อนชำระ 6,600 บาทต่อเดือน ธนาคารกรุงศรีอยุธยา อัตราดอกเบี้ยสินเชื่อบ้านกรุงศรี เพื่อซื้อที่อยู่อาศัยสำหรับกลุ่มลูกค้าทั่วไป สำหรับวงเงินกู้ 1 ล้านบาทแต่ไม่ถึง 5 ล้านบาท ทางเลือกที่ 1 ปีที่ 1 อัตราดอกเบี้ย MRR-3.35% ปีที่ 2 อัตราดอกเบี้ย MRR-2.25% ปีที่ 3 เป็นต้นไป MRR-1.10% อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี เท่ากับ 3.82% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง (ต่อปี) 4.30% ทางเลือกที่ 2 ปีที่ 1 เดือนที่ 1-6 อัตราดอกเบี้ย 1.50% เดือนที่ 7-12 อัตราดอกเบี้ย  MRR-1.60% ปีที่ 2 อัตราดอกเบี้ย MRR-1.35% ปีที่ 3 เป็นต้นไป MRR-1.10% อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี เท่ากับ 4.21% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง (ต่อปี) 4.52% สำหรับวงเงินกู้ ตั้งแต่ 5 ล้านบาทขึ้นไป ทางเลือกที่ 1 ปีที่ 1 อัตราดอกเบี้ย MRR-3.50% ปีที่ 2 อัตราดอกเบี้ย MRR-2.75% ปีที่ 3 เป็นต้นไป MRR-1.35% อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี เท่ากับ 3.52% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง (ต่อปี) 4.02% ทางเลือกที่ 2 ปีที่ 1 เดือนที่ 1-6 อัตราดอกเบี้ย 1.25% เดือนที่ 7-12 อัตราดอกเบี้ย  MRR-1.95% ปีที่ 2 อัตราดอกเบี้ย MRR-1.75% ปีที่ 3 เป็นต้นไป MRR-1.35% อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี เท่ากับ 3.89% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง (ต่อปี) 4.23% หมายเหตุ -อัตราดอกเบี้ยระหว่างวันที่ 1 ธ.ค. 63 ถึง 31 มี.ค. 64 -อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงข้างต้นเป็นเพียงการแสดงตัวอย่าง โดยคำนวณจากฐานวงเงินกู้ 2 ล้านบาท สำหรับวงเงินกู้ที่ได้รับอนุมัติตั้งแต่ 1 ล้านบาทแต่ไม่ถึง 5 ล้านบาท และ ฐานวงเงินกู้ 5 ล้านบาท สำหรับวงเงินกู้ที่ได้รับอนุมัติตั้งแต่ 5 ล้านบาทขึ้นไป ด้วยระยะเวลาการกู้ 10 ปีในกรณีที่ลูกค้าซื้อ MRTA/MLTA หากค่าเบี้ย MRTA/MLTA เปลี่ยนแปลง อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงอาจเปลี่ยนแปลงได้ เงื่อนไขการรับสิทธิพิเศษสำหรับลูกค้าที่ซื้อประกันชีวิตคุ้มครองสินเชื่อ (MRTA/MLTA) -รับส่วนลดอัตราดอกเบี้ย 0.25% ต่อปี เฉพาะในปีที่ 1จากอัตราดอกเบี้ยทุกทางเลือก ลูกค้าต้องซื้อ MRTA/MLTA ที่ร่วมรายการตามเงื่อนไขดังนี้ 1.ผลิตภัณฑ์ MRTA/MLTA ที่ร่วมรายการได้แก่ MRTA : แผนกรุงศรี เซฟตี้โลน 1 พลัส หรือ กรุงศรี เซฟตี้โลน 1 หรือ กรุงศรี เซฟตี้โลน 2 MLTA : กรุงศรี รักบ้าน รักคุณ หรือกรุงศรี รักบ้าน รักคุณ พลัส เท่านั้น 2.กรณีผู้กู้หลักเป็นพนักงานเงินเดือนที่มีรายได้ประจำต้องซื้อ MRTA/MLTA 100% ของ วงเงินกู้โดยมีระยะเวลาความคุ้มครองไม่ต่ำกว่า 15 ปี หรือซื้ออย่างน้อย 70% ของวงเงินกู้โดยมีระยะเวลาความคุ้มครองไม่ต่ำกว่า 20 ปี 3.กรณีผู้กู้หลักเป็นผู้ประกอบธุรกิจส่วนตัว ต้องซื้อ MRTA/MLTA อย่างน้อย 80% ของวงเงินกู้โดยมีระยะเวลาความคุ้มครองไม่ต่ำกว่า 10 ปี หรือซื้ออย่างน้อย 50% ของวงเงินกู้โดยมีระยะเวลาความคุ้มครองไม่ต่ำกว่า 15 ปี 4.กรณี มีผู้กู้ร่วม สามารถซื้อ MRTA/MLTA เฉพาะผู้กู้หลักเพียงคนเดียวได้หรือหากผู้กู้ร่วมประสงค์ที่จะซื้อ MRTA/MLTA ด้วย ผู้กู้หลักและผู้กู้ร่วมทุกคนจะต้องมีทุนประกันขั้นต่ำในสัดส่วนที่เท่ากัน ขอสงวนสิทธิ์ในการปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ย เป็นอัตราดอกเบี้ยปกติตามที่ลูกค้าได้เลือกไว้ โดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า ในกรณีที่บริษัทประกันไม่อนุมัติ MRTA/MLTA หรือในกรณีที่ลูกค้าขอยกเลิก MRTA/MLTA ธนาคารเกียรตินาคิน  สินเชื่อบ้านวงเงินกู้ตั้งแต่ 5 แสนบาทแต่ไม่เกิน 50 ล้านบาท ประเภทลอยตัว แบบทำประกัน ปีที่ 1-3 อัตราดอกเบี้ยเท่ากับ (MLR-4.41%)-(MLR-3.31%) ปีที่ 4 เป็นต้นไป อัตราดอกเบี้ยเท่ากับ MLR-1.75% แบบไม่ทำประกัน ปีที่ 1-3 อัตราดอกเบี้ยเท่ากับ (MLR-4.41%)-(MLR-3.15%) ปีที่ 4 เป็นต้นไป อัตราดอกเบี้ยเท่ากับ MLR-1.75% ประเภทคงที่ 3 ปี แบบทำประกัน ปีที่ 1-3 อัตราดอกเบี้ยเท่ากับ 0.00%-3.99% ปีที่ 4-5 (MLR-3.00%)-(MLR-1.75%) ปีต่อไป อัตราดอกเบี้ยเท่ากับ MLR-1.75% แบบไม่ทำประกัน ปีที่ 1-3 อัตราดอกเบี้ยเท่ากับ 0.00%-3.99% ปีที่ 4-5 (MLR-3.00%)-(MLR-1.75%) ปีต่อไป อัตราดอกเบี้ยเท่ากับ MLR-1.75% ประเภทคงที่ 2 ปี แบบทำประกัน ปีที่ 1-2 อัตราดอกเบี้ยเท่ากับ 2.69%-2.79% ปีที่ 3 อัตราดอกเบี้ย (MLR-4.01%) – (MLR-3.51%) ปีต่อไป อัตราดอกเบี้ยเท่ากับ MLR-1.75% แบบไม่ทำประกัน ปีที่ 1-2 อัตราดอกเบี้ยเท่ากับ 2.94%-3.04% ปีที่ 3 อัตราดอกเบี้ย (MLR-3.76%) – (MLR-3.26%) ปีต่อไป อัตราดอกเบี้ยเท่ากับ MLR-1.75% หมายเหตุ 1.อัตราดอกเบี้ยขึ้นอยู่กับ ปัจจัยอ้างอิง เช่น อัตราดอกเบี้ย ลูกค้ารายใหญ่ชั้นดีประเภทเงินกู้แบบมีระยะเวลา  (MLR) ซึ่งธนาคารจะแจ้งให้ทราบถึงการเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ยดังกล่าว โดยจะประกาศไว้ ณ สถานที่ทำการให้บริการและเว็บไซต์ของธนาคาร 2.MLR ณ วันที่ 25 พฤษภาคม 2563 เท่ากับ 6.525% ต่อปี 3.กรณีที่ทำประกัน สมัครประกันชีวิตคุ้มครองวงเงินสินเชื่อกับบริษัทประกันที่ธนาคารกำหนด (MRTA) ทุนประกันภัย100% และระยะเวลาคุ้มครองขั้นต่ำ 10 ปี กรณีที่ระยะเวลากู้สินเชื่อไม่ถึง 10 ปี ให้ระยะเวลาคุ้มครองขั้นต่ำเท่ากับระยะเวลาการกู้สินเชื่อ 4.ระยะเวลากู้สินเชื่อเพื่อซื้อที่อยู่อาศัย สูงสุด 30 ปี (อายุผู้กู้รวมระยะเวลากู้ไม่เกิน 65 ปีสำหรับพนักงานเงินเดือนประจำ และไม่เกิน 70 ปีสำหรับเจ้าของกิจการ/ธุรกิจส่วนตัว) ธนาคารซีไอเอ็มบี  ดอกเบี้ยสำหรับพนักงานประจำ หรือเจ้าของกิจการ รายได้ 50,000 บาทต่อขึ้นไป ทางเลือกที่ 1 พนักงานประจำ สัดส่วนวงเงินกู้ต่อมูลค่าหลักประกัน น้อยกว่าหรือเท่ากับ 80% แบบทำประกันชีวิต ดอกเบี้ยปีที่ 1-3 MRR-4.760% เฉลี่ย 3 ปี ดอกเบี้ย 2.59% ระยะเวลาที่เหลือ MRR-2.00% ดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 4.630% แบบไม่ทำประกันชีวิต ดอกเบี้ยปีที่ 1-3 MRR-4.560% เฉลี่ย 3 ปี ดอกเบี้ย 2.79% ระยะเวลาที่เหลือ MRR-2.00% ดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 4.680% ทางเลือกที่ 2 พนักงานประจำ สัดส่วนวงเงินกู้ต่อมูลค่าหลักประกัน น้อยกว่าหรือเท่ากับ 85% เจ้าของกิจการ สัดส่วนวงเงินกู้ต่อมูลค่าหลักประกัน น้อยกว่าหรือเท่ากับ 70% แบบทำประกันชีวิต ดอกเบี้ยปีที่ 1-3 MRR-4.360% เฉลี่ย 3 ปี ดอกเบี้ย 2.99% ระยะเวลาที่เหลือ MRR-2.00% ดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 4.750% แบบไม่ทำประกันชีวิต ดอกเบี้ยปีที่ 1-3 MRR-4.060% เฉลี่ย 3 ปี ดอกเบี้ย 3.29% ระยะเวลาที่เหลือ MRR-2.00% ดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 4.820% ทางเลือกที่ 3 แบบทำประกันชีวิต ปีที่ 1-5  ดอกเบี้ย 4.49%  เฉลี่ย 5 ปี ดอกเบี้ย 4.49% ระยะเวลาที่เหลือ MRR-2.00% ดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 5.00% แบบไม่ทำประกันชีวิต ปีที่ 1-5  ดอกเบี้ย 4.79%  เฉลี่ย 5 ปี ดอกเบี้ย 4.79% ระยะเวลาที่เหลือ MRR-2.00% ดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 5.12% อัตราดอกเบี้ย สำหรับพนักงานประจำ รายได้ 30,000 บาทขึ้นไป ทางเลือกที่ 1 ยกเว้นค่าประเมินราคาหลักทรัพย์ แบบทำประกันชีวิต เดือน ที่ 1-3 ดอกเบี้ย 0% เดือนที่ 4-12 ดอกเบี้ย MRR-3.935% ปีที่ 2-3 ดอกเบี้ย MRR-3.935% ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 3.13% ระยะเวลาที่เหลือ MRR-2.00% ดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 4.77% แบบไม่ทำประกันชีวิต เดือน ที่ 1-3 ดอกเบี้ย 0% เดือนที่ 4-12 ดอกเบี้ย MRR-3.608% ปีที่ 2-3 ดอกเบี้ย MRR-3.608% ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 3.43% ระยะเวลาที่เหลือ MRR-2.00% ดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 4.85% ทางเลือกที่ 2 ยกเว้นค่าประเมินราคาหลักทรัพย์, ยกเว้น ค่าจดจำนอง สูงสุด 1% ของวงเงินกู้ แบบทำประกันชีวิต เดือน ที่ 1-3 ดอกเบี้ย 0% เดือนที่ 4-12 ดอกเบี้ย MRR-3.826% ปีที่ 2-3 ดอกเบี้ย MRR-3.826% ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 3.23% ระยะเวลาที่เหลือ MRR-2.00% ดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 4.80% แบบไม่ทำประกันชีวิต เดือน ที่ 1-3 ดอกเบี้ย 0% เดือนที่ 4-12 ดอกเบี้ย MRR-3.499% ปีที่ 2-3 ดอกเบี้ย MRR-3.499% ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 3.53% ระยะเวลาที่เหลือ MRR-2.00% ดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 4.88% ทางเลือกที่ 3 แบบทำประกันชีวิต ปีที่ 1-3 ดอกเบี้ย ­3.66%  ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 3.66% ระยะเวลาที่เหลือ MRR-2.00% ดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 4.92% แบบไม่ทำประกันชีวิต ปีที่ 1-3 ดอกเบี้ย ­3.96%  ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 3.96% ระยะเวลาที่เหลือ MRR-2.00% ดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 5.00% หมายเหตุ อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา คำนวณจากวงเงินกู้ 2 ล้านบาท ระยะเวลากู้ 15 ปี (MRR = 7.35% ประกาศ ณ วันที่ 10 เมษายน 63) ธนาคารทีเอ็มบี อัตราดอกเบี้ย ซื้อบ้านจากโครงการทั่วไป กรณีสมัครพร้อมผลิตภัณฑ์เสริม 3 ประเภท และได้รับฟรี ค่าจดทะเบียนจำนอง ,ค่าเบี้ยประกันอัคคีภัย, ค่าประเมินราคาหลักทรัพย์ ปีที่ 1-3 ดอกเบี้ยเท่ากับ MRR-1.88% อัตราเฉลี่ย 3 ปีแรก เท่ากับ 4.40% ปีที่ 4 เป็นต้นไป ดอกเบี้ยเท่ากับ MRR-1.63% อัตราเฉลี่ย 4.65% อัตราดอกเบี้ยจริงตลอดอายุสัญญา 4.57% กรณีสมัครพร้อมผลิตภัณฑ์เสริม 3 ประเภท และได้รับฟรี  ค่าเบี้ยประกันอัคคีภัย, ค่าประเมินราคาหลักทรัพย์ ปีที่ 1-3 ดอกเบี้ยเท่ากับ MRR-2.23% อัตราเฉลี่ย 3 ปีแรก เท่ากับ 4.05% ปีที่ 4 เป็นต้นไป ดอกเบี้ยเท่ากับ MRR-1.63% อัตราเฉลี่ย 4.65% อัตราดอกเบี้ยจริงตลอดอายุสัญญา 4.46% กรณีสมัครพร้อมผลิตภัณฑ์เสริมไม่ครบทั้ง 3 ประเภท และได้รับฟรี  ค่าเบี้ยประกันอัคคีภัย, ค่าประเมินราคาหลักทรัพย์ ปีที่ 1-3 ดอกเบี้ยเท่ากับ MRR-1.48% อัตราเฉลี่ย 3 ปีแรก เท่ากับ 4.80% ปีที่ 4 เป็นต้นไป ดอกเบี้ยเท่ากับ MRR-1.38% อัตราเฉลี่ย 4.90% อัตราดอกเบี้ยจริงตลอดอายุสัญญา 4.87% หมายเหตุ เมื่อคุณกู้ซื้อบ้านกับ TMB พร้อมสมัครผลิตภัณฑ์เสริม 3 ประเภท ได้แก่ 1.สมัครประกันชีวิตคุ้มครองสินเชื่อ ทีเอ็มบีคุ้มบ้าน (MRTA) 2.สมัครใช้บริการหักบัญชีอัตโนมัติผ่านบัญชีออมทรัพย์ ทีเอ็มบี เพื่อผ่อนชำระสินเชื่อบ้าน 3.สมัครบัตรเดบิต TMB (กรณีที่คุณมีบัตรเดบิต TMB แล้ว ไม่ต้องสมัครเพิ่ม) ข้อเสนอพิเศษเมื่อกู้ซื้อบ้านกับ TMB พร้อมสมัครผลิตภัณฑ์เสริม 3 ประเภท นอกจากดอกเบี้ยคงที่ต่ำสำหรับ 3 ปีแรกแล้ว คุณยังได้รับสิทธิพิเศษต่าง ๆ ดังนี้ -ฟรีประกันอัคคีภัย: TMB จ่ายให้ตามมูลค่าเบี้ยประกันภัย ประมาณ 1,000 บาทต่อปี ต่อราคาบ้าน 1 ล้านบาท -ฟรีค่าจดทะเบียนจำนอง: TMB จ่ายให้ 1% ของเงินกู้สูงสุดถึง 200,000 บาท สำหรับกรณีซื้อบ้าน จากบริษัทพัฒนา อสังหาริมทรัพย์ที่ธนาคารกำหนด -ฟรี ค่าธรรมเนียมธนาคารของสินเชื่อบ้านทุกประเภท: ค่าประเมินราคาหลักทรัพย์, ค่าดำเนินการสินเชื่อ, ค่าทำนิติกรรม จำนอง สำหรับกรณีที่กู้ซื้อบ้านกับ TMB โดยไม่สมัครผลิตภัณฑ์เสริม 3 ประเภท จะได้รับอัตราดอกเบี้ยปกติจาก TMB โดยยังได้รับสิทธิพิเศษเพิ่มเติมอีกดังนี้ -ฟรีประกันอัคคีภัย: TMB จ่ายให้ตามมูลค่าเบี้ยประกันภัย ประมาณ 1,000 บาทต่อปี ต่อราคาบ้าน 1 ล้านบาท -ฟรี ค่าธรรมเนียมธนาคารของสินเชื่อบ้านทุกประเภท: ค่าประเมินราคาหลักทรัพย์, ค่าดำเนินการสินเชื่อ, ค่าทำนิติกรรม จำนอง ทั้งนี้ อัตราดอกเบี้ยค่าธรรมเนียมรวมถึงสิทธิพิเศษต่าง ๆ เป็นไปตามประกาศของธนาคาร EIR (Effective Interest Rate : อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา) เป็นเพียงตัวอย่างที่ใช้ในการคำนวณเท่านั้น โดยคำนวณจาก เงินกู้ 3 ล้านบาท ระยะเวลาผ่อนชำระ 20 ปี / MRR (Minimum Retail Rate : อัตราดอกเบี้ยลูกค้ารายย่อยชั้นดี) = 6.28% ต่อปี ณ วันที่ 1 มิถุนายน 2563 ธนาคารไทยพาณิชย์ แบบไม่ทำประกันชีวิต ปีที่ 1-3 อัตราดอกเบี้ย 5.995% ปีต่อไป MRR อัตราเฉลี่ย 3 ปี 5.995% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง 5.995% แบบทำประกันชีวิตคุ้มครองสินเชื่อ มากกกว่าหรือเท่ากับ 70% ของวงเงินกู้ ปีที่ 1-3 อัตราดอกเบี้ย 5.950% ปีต่อไป MRR อัตราเฉลี่ย 3 ปี 5.950% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง 5.983% ธนาคารธอส. สินเชื่อบ้านโครงการจัดสรร ปีที่ 1-2 ดอกเบี้ยเท่ากับ 2.65% ปีที่ 2 เท่ากับ 2.75% ปีที่ 3 เท่ากับ MRR-2.90% ปีที่ 4 ตลอดอายุสัญญา  กรณีลูกค้าสวัสดิการ MRR-1.00% กรณีลูกค้ารายย่อยทั่วไป MRR-0.50% กรณีลูกค้ารายย่อย MOU ดอกเบี้ย MRR-0.75% ธนาคารยูโอบี สินเชื่อบ้านใหม่ สำหรับโครงการของบริษัทมหาชน ทางเลือก 1 กรณีทำประกันชีวิต ปีที่ 1-2 อัตราดอกเบี้ยเท่ากับ 3.35% ปีที่ 3 MRR-4.00% ปีที่ 4 เป็นต้นไป เท่ากับ MRR-1.60%  ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 3.35% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา เท่ากับ 4.79% ทางเลือก 2 กรณีไม่ทำประกันชีวิต ปีที่ 1-2 อัตราดอกเบี้ยเท่ากับ 3.55% ปีที่ 3 MRR-3.80% ปีที่ 4 เป็นต้นไป เท่ากับ MRR-1.60%  ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 3.55% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา เท่ากับ 4.87% ทางเลือก 3 กรณีทำประกันชีวิต ปีที่ 1-2 อัตราดอกเบี้ยเท่ากับ 2.80% ปีที่ 3 MRR-2.60% ปีที่ 4 เป็นต้นไป เท่ากับ MRR-1.60%  ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 3.45% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา เท่ากับ 4.80% ทางเลือก 4 กรณีไม่ทำประกันชีวิต ปีที่ 1-2 อัตราดอกเบี้ยเท่ากับ 3.00% ปีที่ 3 MRR-2.40% ปีที่ 4 เป็นต้นไป เท่ากับ MRR-1.60%  ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 3.65% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา เท่ากับ 4.88% หมายเหตุ อัตราดอกเบี้ยแบบทำประกันชีวิตคุ้มครองวงเงินสินเชื่อ ผ่านธนาคารยูโอบี -ทุนประกันเต็มวงเงินกู้ และมีระยะเวลาเอาประกันขั้นต่ำ 10 ปี หรือ -ทุนประกันขั้นต่ำ 80% ของวงเงินกู้ และมีระยะเวลาเอาประกันเต็มตามระยะเวลากู้ อัตราดอกเบี้ยสำหรับสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยวงเงิน 1 ล้านบาท อายุสัญญา 15 ปี MRR=7.35% ต่อปี อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงข้างต้นเป็นพียงตัวอย่างที่คำนวณตามเงื่อนไขที่ใช้ในสื่อโฆษณาเท่านั้น อัตราดอกเบี้ยสำหรับการทำสัญญากู้ยืมของลูกค้าแต่ละรายอาจมีความแตกต่างกันตามเงื่อนไขการกู้ยืมของลูกค้าแต่ละราย ธนาคารแลนด์แอนด์เฮ้าส์ แบบที่ 1 สำหรับผู้กู้มีรายได้ตั้งแต่ 75,000 บาทต่อเดือนขึ้นไป แบบ 1.1 ปีที่ 1-2 ดอกเบี้ย 1.90% ปีที่ 3 ดอกเบี้ย 3.85% ปีที่ 4 เป็นต้นไป ดอกเบี้ย 5.10% เฉลี่ย 3 ปีแรก ดอกเบี้ย 2.55% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 3.54% แบบที่ 1.2 ปีที่ 1-2 ดอกเบี้ยคงที่ 2.00% ผ่อนล้านละ 3,500 บาทต่อเดือน ปีที่ 3 ดอกเบี้ย 4.25% ปีที่ 4 เป็นต้นไป ดอกเบี้ย 5.10% เฉลี่ย 3 ปีแรก ดอกเบี้ย 2.75% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 3.65% แบบที่ 1.3 ปีที่ 1-3 ดอกเบี้ย 2.50% ปีที่ 4 เป็นต้นไป ดอกเบี้ย 5.10% เฉลี่ย 3 ปีแรก ดอกเบี้ย 2.50% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 3.57% แบบที่ 1.4 ปีที่ 1-3 ดอกเบี้ย 2.70% ผ่อนล้านละ 3,500 บาทต่อเดือน 3 ปีแรก ปีที่ 4 เป็นต้นไป ดอกเบี้ย 5.10% เฉลี่ย 3 ปีแรก ดอกเบี้ย 2.70% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 3.69% แบบที่ 2 สำหรับผู้กู้มีรายได้ตั้งแต่ 20,000 บาทต่อเดือนขึ้นไป แบบ 2.1 ปีที่ 1-2 ดอกเบี้ย 2.00% ปีที่ 3 ดอกเบี้ย 3.80% ปีที่ 4 เป็นต้นไป ดอกเบี้ย 5.10% เฉลี่ย 3 ปีแรก ดอกเบี้ย 2.60% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 3.57% แบบที่ 2.2 ปีที่ 1-2 ดอกเบี้ยคงที่ 2.10% ผ่อนล้านละ 3,500 บาทต่อเดือน  ปีที่ 3 ดอกเบี้ย 4.20% ปีที่ 4 เป็นต้นไป ดอกเบี้ย 5.10% เฉลี่ย 3 ปีแรก ดอกเบี้ย 2.80% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 3.69% แบบที่ 2.3 ปีที่ 1-3 ดอกเบี้ย 2.55% ปีที่ 4 เป็นต้นไป ดอกเบี้ย 5.10% เฉลี่ย 3 ปีแรก ดอกเบี้ย 2.55% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 3.60% แบบที่ 2.4 ปีที่ 1-3 ดอกเบี้ย 2.75% ผ่อนล้านละ 3,500 บาทต่อเดือน 3 ปีแรก ปีที่ 4 เป็นต้นไป ดอกเบี้ย 5.10% เฉลี่ย 3 ปีแรก ดอกเบี้ย 2.75% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 3.73% เงื่อนไข 1.สิทธิพิเศษสำหรับลูกค้าที่ซื้อบ้านใหม่ในโครงการจัดสรร ดอกเบี้ยเริ่มต้น 1.90% ต่อปี สำหรับลูกค้าที่มีรายได้ตั้งแต่ 75,000 บาทต่อเดือนขึ้นไป หรืออัตราดอกเบี้ยเริ่มต้น 2.00% สำหรับลูกค้าที่มีรายได้ตั้งแต่ 20,000 บาทต่อเดือนขึ้นไป และเบิกรับเงินกู้ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 31 ธ.ค. 2563 เท่านั้น 2.กรณีลูกค้าทำประกัน MRTA/MLTA ธนาคารทดรองจ่ายค่าจดจำนองให้ 1%  ของวงเงินกู้อนุมัติ หรือสูงสุดไม่เกิน 2 แสนบาท (ทั้งนี้ธนาคารขอสงวนสิทธิ์ในการเรียกเก็บเงินทดรองจ่ายค่าจดจำนองดังกล่าวคืนจากลูกค้า กรณีลูกค้าปิดบัญชีสินเชื่อ หรือเปลี่ยนแปลงสัญญาใด ๆ ภายใน 5 ปีแรกทุกกรณี นับจากวันทำนิติกรรมจดจำนอง) 3.กรณีสมัครทำประกันชีวิต ต้องสมัครทำ MRTA/MLTA ทุนประกัน 100% ของวงเงินสินเชื่อ ระยะความคุ้มครองขั้นต่ำ 10 ปี 4.ลูกค้าสามารถเลือกใช้อัตราการผ่อนชำระขั้นต่ำล้านละ 3,500 บาท ได้ในแบบอัตราดอกเบี้ยแบบคงที่เท่านั้น 5. อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงข้างต้นเป็นเพียงตัวอย่างอัตราดอกเบี้ยสำหรับสินเชื่อที่อยู่อาศัยวงเงิน 3 ล้านบาท อายุสัญญา 10 ปี MRR = 7.350% (ณ วันที่ 14 เม.ย. 63) ที่คำนวณตามเงื่อนไขที่ใช้ในโฆษณาฉบับนี้เท่านั้น ซึ่งอาจมีความแตกต่างตามเงื่อนไขการกู้ยืมของลูกค้าแต่ละราย 6.อัตราดอกเบี้ย หลักเกณฑ์และเงื่อนไขอื่น ๆ เป็นไปตามที่ธนาคารกำหนด ธนาคารออมสิน อัตราดอกเบี้ยเงินกู้สินเชื่อเคหะ กรณีผู้กู้ทำประกันชีวิตคุ้มครองสินเชื่อ ปีที่ 1-3 อัตราดอกเบี้ย 2.50% ปีที่ 4 เป็นต้นไป 4.745% อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 2.50% เฉลี่ย 5 ปี 3.398% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง 3.944% กรณีผู้กู้ไม่ทำประกันชีวิตคุ้มครองสินเชื่อ ปีที่ 1-3 อัตราดอกเบี้ย 3.00% ปีที่ 4 เป็นต้นไป 5.245% อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 3.00% เฉลี่ย 5 ปี 3.898% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง 4.429%   บทความที่เกี่ยวข้อง อัพเดทดอกเบี้ยรีไฟแนนซ์ บ้านและคอนโดประจำเดือนกันยายน 63
4 ไฮไลท์ “นิช ไพรด์ เตาปูน-อินเตอร์เชนจ์” กับการกวาดยอดขาย 80%

4 ไฮไลท์ “นิช ไพรด์ เตาปูน-อินเตอร์เชนจ์” กับการกวาดยอดขาย 80%

แม้ว่าคีย์ความสำเร็จแรกของการพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ คือ ทำเลที่ตั้ง (Location) แต่จากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ตั้งแต่ช่วงต้นปีที่ผ่านมา ก็ส่งผลกระทบต่อโครงการพอสมควร โดยเฉพาะโครงการคอนโดมิเนียม เพราะนอกจากกำลังซื้อที่ชะลอตัวลงไปแล้ว พฤติกรรมของผู้บริโภคก็เปลี่ยนแปลงไปด้วย คนส่วนใหญ่เลือกจะอยู่อาศัยในบ้านแนวราบ ซึ่งมีพื้นที่มากขึ้นมากกว่าการอยู่อาศัยในห้องคอนโด ต่อให้โครงการนั้นมีทำเลที่ดีมากก็ตาม   “นิช ไพรด์ เตาปูน-เตอร์เชนจ์” ทำเลที่อยู่ติดรถไฟฟ้า MRT สถานีเตาปูนอินเตอร์เชนจ์เพียง 0 เมตร ซึ่งเป็นโครงการที่อยู่ติดสถานีมากที่สุดในย่านนี้ ก็ได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจและการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ไม่แตกต่างจากโครงการอื่น ๆ แม้ว่าปัจจุบันจะทำยอดขายได้ดีโดยสูงถึง 80% แต่ตามเป้าหมายที่ “เสนา ดีเวลลอปเม้นท์” วางไว้ก่อนจะเกิดเหตุการณ์ไวรัสโควิด-19 น่าจะต้องปิดโครงการมียอดขายได้ 100% แล้ว แต่เหตุการณ์การล็อกดาวน์เมืองทำให้การขายต้องหยุดชะงักลง   “นิช ไพรด์ เตาปูน-เตอร์เชนจ์” ปัจจุบันก่อสร้างแล้วเสร็จและเริ่มโอนกรรมสิทธิ์มาตั้งแต่เดือนกันยายน 2563 ซึ่งมีผู้โอนกรรมสิทธิ์แล้วประมาณ​ 50% ของยอดขาย และมีผู้เข้าอยู่อาศัยบ้างแล้ว ซึ่งปัจจุบันบริษัทได้จัดแคมเปญพิเศษ “หยุดที่โปรนี้” ฟรีทุกค่าใช้จ่ายวันโอน และลดเพิ่มสูงสุด 200,000 บาท สำหรับผู้ที่จองภายในวันที่ 30 พฤศจิกายนนี้ และยังมีห้องหลุดดาวน์ขายในราคาพิเศษ เริ่มราคา 3.39 ล้านบาท จำนวน 10 ยูนิตด้วย ปัจจุบันทาง “เสนา ดีเวลลอปเม้นท์” ได้เปิดให้ชมห้องตัวอย่างจริง ที่พร้อมเข้าอยู่ในปัจจุบันได้แล้ว โดยมีให้เลือก 3 แบบ คือ แบบ 1 ห้องนอน ขนาด 28 -32 ตารางเมตร แบบ 1 ห้องนอนพลัส ขนาด 34.50 ตารางเมตร และ แบบ 2 ห้องนอน ขนาด 49 ตารางเมตร  ราคา 3.39 ล้านบาท รวมมูลค่าโครงการ 3,400 ล้านบาท โครงการตั้งอยู่บนเนื้อที่กว่า 3 ไร่เศษ เป็นคอนโดมิเนียมสูง 38 ชั้น 1 อาคาร จำนวน 742 ยูนิต พร้อมอาคารพาณิชย์ สูง 2 ชั้น 1 อาคาร   แม้ว่า "เสนา ดีเวลลอปเม้นท์" จะยังไม่สามารถปิดโครงการได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ แต่ถือว่าท่ามกลางสถานการณ์ที่มีปัจจัยลบทั้งเศรษฐกิจและการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ยอดขาย 80% ถือว่าทำได้เป็นที่น่าพอใจ ซึ่งผลตอบรับดังกล่าว น่าจะเกิดจากจุดเด่นของโครงการต่าง ๆ ดังนี้ 1.โปรเจ็กต์แรกร่วมทุน “กลุ่มฮันคิว ฮันชิน” เป็นโครงการแห่งแรกที่ “เสนา ดีเวลลอปเม้นท์” ร่วมทุนกับ กลุ่มฮันคิว ฮันชิน  รวมกันในการพัฒนา ซึ่งทำให้มีความใส่ใจในรายละเอียดต่าง ๆ แต่เป็นโครงการแห่งที่ 2 ที่เริ่มโอนกรรมสิทธิ์ ซึ่งโครงการร่วมทุนแห่งแรกที่โอนกรรมสิทธิ์​ คือ นิช โมโน สุขุมวิท-แบริ่ง  ปัจจุบันบริษัทร่วมทุนกับกลุ่มฮันคิว ฮันชิน แล้ว15 โครงการ 2.อยู่ติดรถไฟฟ้า 0 เมตร โครงการ “นิช ไพรด์ เตาปูน-เตอร์เชนจ์” อยู่ติดสถานีรถไฟฟ้า MRT สถานีเตาปูนอินเตอร์เชนจ์ ที่เดินทางเชื่อมต่อได้ทั้งสายสีน้ำเงินและสายสีม่วง แม้ที่ตั้งจะติดกับสถานี แต่โครงการได้จัดสรรที่จอดรถให้ถึง 50% 3.แนวคิดญี่ปุ่นผสมไทย แนวคิดการออกแบบเป็นการผสมผสานระหว่างญี่ปุ่นและไทย คือ ใช้แนวคิด Made From Her ของ “เสนา ดีเวลลอปเม้นท์” ผสมผสานกับแนวคิด Geo fit + ของกลุ่มฮันคิว ฮันชิน มาปรับใช้ให้เข้ากับพฤติกรรมผู้บริโภคในไทย และยังมีแนวคิดการออกแบบตกแต่งภายใน ที่ให้ลูกค้าสามารถเลือกมุมของตัวเองได้ ซึ่งเรียกคอนเซ็ปต์นี้ว่า My Select ซึ่งสามารถเลือกได้โซนส่วนตัว Relaxing Zone หรือ Working Zone   4.พื้นที่ส่วนกลาง 30 ชั้น เป็นโครงการที่มีพื้นที่ส่วนกลาง  30 ชั้น โดยแบ่งออกเป็น 7 วิลเลจ ในแต่ละวิลเลจจะมี 3-4 ชั้น โดยครอบคลุมทุกด้านของไลฟ์สไตล์ ไม่ว่าจะเป็น Mini Theatre, Co-working Space, Sky Lounge, Yoga Room, Kid Club, Party Room, Executive Meeting Room หรือ Recreation Games Room และมีส่วนกลางรวมอยู่ชั้น 38 ทั้งฟิตเนสลอยฟ้าและสระว่ายน้ำระบบเกลือแบบ Sky Infinity Edge ความยาวกว่า 50 เมตร  นอกจากนี้ ทางโครงการยังมีร้านสะดวกซื้อ 7-11 และร้านค้าปลีกต่าง ๆ รวม 8 ร้าน ขณะเดียวกัน​ร้านกาแฟ “สตาร์บัคส์” จะเข้ามาอยู่ภายในโครงการด้วย โดยอยู่ในพื้นที่ของเซลแกลลอรี่ปัจจุบัน ​  
5 เหตุผล “ณวรางค์ แอสเซท” พัฒนาโครงการย่านเจริญนคร

5 เหตุผล “ณวรางค์ แอสเซท” พัฒนาโครงการย่านเจริญนคร

หลังจาก “ณวรางค์ แอสเซท” ประสบความสำเร็จกับการพัฒนาโครงการในทำเลใจกลางเมือง อย่างย่านหลังสวน และชิดลม  อาทิ โครงการ ณ วรา เรสซิเดนซ์  ซึ่งสารถปิดการขายได้อย่างรวดเร็ว  ทำให้ ณวรางค์ แอสเซท มองหาทำเลศักยภาพในการพัฒนาโครงการอย่างต่อเนื่อง  ซึ่งไม่ได้จำกัดเฉพาะพื้นที่ย่านใจกลางซีบีดีเท่านั้น   ในช่วงต้นปีที่ผ่านมาจึงได้ขยายการพัฒนาโครงการ ออกไปในยังพื้นที่โซนอื่นด้วย  ไม่ว่าจะเป็นทำเลพหลฯ - อารีย์ กับการพัฒนาโครงการ “ณ วีรา พหลฯ-อารีย์” (Na Veera Phahol-Ari) โครงการคอนโดมิเนียมขนาด 8 ชั้น มูลค่าโครงการ 240 ล้านบาท และในทำเลเจริญนคร กับโครงการ ณ รีวา เจริญนคร (Na Reva Charoennakhon)  มูลค่า 1,300 ล้านบาท   หากพูดถึงทำเลพหลฯ -อารีย์ แน่นอนว่าเป็นทำเลที่ติดอันดับทำเลที่อยู่อาศัยมีราคาแพงอันดับต้น ๆ  ของทำเลใกล้รถไฟฟ้า เพราะมีความเจริญและแหล่งงานมากมาย  ที่สำคัญที่ดินมีจำกัดหามาพัฒนาได้ยาก และเป็นย่านที่อยู่อาศัยเก่า ซึ่งมีสิ่งอำนวยความสะดวกมากมาย  ทำให้เป็นต้องการของคนส่วนใหญ่ในการเข้ามาอยู่อาศัย แต่หากเปรียบเทียบกับทำเลเจริญนคร  แปลงที่ ณวรางค์ แอสเซท เลือกมาพัฒนา คือ บริเวณปากซอยเจริญนคร 58 เรียกได้ว่า อยู่ห่างจากเส้นทางรถไฟฟ้าพอสมควร แถมเป็นทำเลเจริญนครส่วนปลายที่จะมาทางพระราม 3 ด้วยซ้ำ ​   เหตุผลอะไรที่ทำให้ ณวรางค์ แอสเซท เลือกเข้ามาพัฒนาโครงการในทำเลเจริญนคร  ซึ่งนายองคฤทธิ์ พรหมโยธี ประธานบริหารฝ่ายปฎิบัติการ บริษัท ณวรางค์ แอสเซท จำกัด มีคำตอบให้ 1.เสน่ห์วิวแม่น้ำเจ้าพระยา ในทำเลเจริญนคร สิ่งหนึ่งที่เป็นจุดขายโครงการคอนโดมิเนียม คือ การเป็นคอนโดฯ ที่อยู่ติดริมแม่น้ำเจ้าพระยา หรือหากไม่ติดแม่น้ำ แต่ยังสามารถมองเห็นวิวแม่น้ำได้  ทำให้บรรดาดีเวลลอปเปอร์เลือกทำเลเจริญนคร เป็นพื้นที่ในการพัฒนาคอนโดฯ เพราะสามารถนำวิวของแม่น้ำเจ้าพระยา มาเป็นจุดขายและสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับโครงการได้ ​ 2.วิถีชีวิตคนฝั่งธนบุรี แม้ว่าปัจจุบันความเจริญของเมือง ได้ขยายจากพื้นที่ใจกลางเมือง ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยามาสู่ย่านฝั่งธนบุรี ทำให้ย่านฝั่งธนบุรีมีความเจริญของเมือง ไม่ได้ด้อยไปกว่าฝั่งพระนคร แต่วิถีชีวิตและความเป็นอยู่แบบดั้งเดิมของคนฝั่งธนบุรี ปัจจุบันก็ยังคงมีให้เห็น รวมถึงสถานที่สำคัญที่แสดงถึงวิถีชีวิตของคนฝั่งธนบุรี ก็ยังมีอยู่ให้เห็นมากมาย ทำเลนี้จึงมีเสน่ห์ในการอยู่อาศัย สำหรับคนที่ชื่นชอบเรื่องราวและวิถีชีวิตแบบดั้งเดิม ​ 3.แหล่งช้อปปิ้งหลากหลาย บริเวณทำเลฝั่งธนบุรี รวมถึงบริเวณริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาทั้งสองฝั่ง หลายปีที่ผ่านมาเกิดการพัฒนาโครงการศูนย์การค้าและช้อปปิ้งมอลล์มากมาย ไม่ว่าจะเป็นศูนย์การค้าไอคอนสยาม หรือเอเชียทีค ริเวอร์ฟร้อนท์ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงศักยภาพของทำแล และยังเป็นปัจจัยบวกสำคัญทำให้ทำเลย่านฝั่งธนบุรี เป็นทำเลที่มีศัยกภาพเพิ่มมากขึ้นด้วย 4.แหล่งรวมอาหารสารพัดเมนู อีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ย่านฝั่งธนบุรี เป็นทำเลที่มีจุดขายสำคัญ และดีเวลลอปเปอร์เลือกเข้ามาพัฒนาโครงการมากขึ้น  คือ การเป็นแหล่งร้านอาหารหลากหลายชนิด มีหลายหลายระดับราคา ตั้งแต่ร้านรถเข็น ไปจนถึงภัตตาคารหรู และหลายร้านเปิดขายมานานหลายสิบปี  อยู่คู่กับคนฝั่งธนบุรีจนกลายเป็นร้านในตำนานไปแล้ว 5.การขยายเส้นทางรถไฟฟ้า แน่นอนว่า ทุกพื้นที่ซึ่งมีรถไฟฟ้าไปถึง ทำเลนั้นจะกลายเป็นทำเลทองขึ้นมาทันที เพราะการเดินทางสะดวกสบาย เป็นอีกหนึ่งคีย์ซัคเซสสำคัญของการพัฒนาโครงการ และเป็นตัวพิจารณาการเลือกซื้อที่อยู่อาศัยเป็นอันดับต้น ๆ ของลูกค้า ซึ่งนับตั้งแต่เส้นทางรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายสายสีลม รวมถึงเส้นทางรถไฟฟ้าใต้ดิน สายสีน้ำเงิน มีแผนพัฒนามายังพื้นที่ทำเลฝั่งธนบุรี บรรดาดีเวลลอปเปอร์ก็หันมาจับจองและหาที่ดินเพื่อพัฒนาโครงการออกมาขาย  และเมื่อรถไฟฟ้าเปิดให้บริการ ก็ทำให้เกิดโครงการคอนโด ตามมาอีกมากมายด้วย นายองคฤทธิ์ เล่าอีกว่า การที่บริษัทคิดขยายทำเลเข้ามาพัฒนาโครงการในทำเลเจริญนคร เป็นเพราะการขยายตัวของเมือง เห็นได้จากการเข้ามาพัฒนาโครงการสำคัญ อาทิ ศูนย์การค้าไอคอนสยาม รวมถึงปัจจัยในเรื่องของจำนวนประชากรที่มีการขยายตัวมากขึ้น จากครอบครัวซึ่งอยู่ในทำเลย่านฝั่งธนบุรี ซึ่งมีจำนวนสมาชิกเพิ่มมากขึ้น แต่ยังคงต้องการอยู่อาศัยในทำเลเดิม ถือเป็นดีมานด์ที่มีศักยภาพ   สำหรับโครงการ ณ รีวา เจริญนคร เป็นการพัฒนาภายใต้การร่วมทุนกัน ระหว่างบริษัทกับ พาราเมาท์ คอร์ปอเรชัน เบอร์ฮาด ประเทศมาเลเซีย ที่ถือหุ้น 49%   มีมูลค่าโครงการ 1,300 ล้านบาท บนพื้นที่กว่า 1.2 ไร่  ปากซอยเจริญนคร 58  จะเริ่มก่อสร้างเดือนมีนาคม 2564 และคาดว่าจะก่อสร้างแล้วเสร็จใน ปี 2566    ​   โดยโครงการเป็นอาคารสูง 29 ชั้น มีจำนวน 253 ยูนิต แต่ละชั้นมียูนิตเพียง 13 ยูนิต  มีห้องให้เลือก  5 แบบ ได้แก่ แบบ 1-Bedroom, 1-Bedroom Loft, 1-Bedroom Executive, 1-Bedroom Plus และแบบ 2-Bedroom   ราคาเฉลี่ยปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 112,000 บาทต่อตารางเมตร หรือมีราคาเริ่มต้น 2.9 ล้านบาท     นายองคฤทธิ์  กล่าวเพิ่มเติมว่า หลังจากเปิดโครงการในช่วงต้นปี แต่เกิดการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ทำให้ต้องหยุดการขายและเริ่มกลับมาขายใหม่อีกครั้งในช่วงปลายปี ปัจจุบันสามารถทำยอดขายได้ประมาณ 30% จากเป้าหมายครั้งแรกก่อนเกิดเหตุการณ์ไวรัสโควิด-19 ซึ่งคาดว่าภายในปีนี้จะทำยอดขายได้ 50% โดยพฤติกรรมการซื้อของกลุ่มลูกค้าในโซนนี้ พบว่า ส่วนใหญ่ต้องการห้องขนาดใหญ่ ทำให้มีการซื้อห้องชุด 2 ห้องเชื่อมต่อกัน เพื่อให้ได้พื้นที่มากขึ้น ซึ่งที่ผ่านมาสามารถขายห้องชุดในลักษณะดังกล่าวได้ 6 ยูนิต ราคาขนาด 2 ห้องรวมกันอยู่ประมาณ 15-16 ล้านบาท
“สิวารมณ์” ขน 7 โครงการ อัดแคมเปญ ดันยอดขายรวมปี’63 คาดแตะ 2,000 ล้านบาท

“สิวารมณ์” ขน 7 โครงการ อัดแคมเปญ ดันยอดขายรวมปี’63 คาดแตะ 2,000 ล้านบาท

“สิวารมณ์” ขน 7 โครงการ อัดแคมเปญ ดันยอดขายปี’63 สิวารมณ์ ขน 7 โครงการ รวมมูลค่ากว่า 3,600 ล้านบาท จัดแคมเปญ “สิวารมณ์ เปย์ เดย์ กับเป้ อารักษ์ 28-29 พ.ย. นี้” ลดสูงสุดกว่า 1 ล้านบาท พร้อมช่วยผ่อนสูงสุด 60 เดือน ส่งท้ายปี63 คาดดันยอดขายรวมปีนี้แตะ 2,000 ล้านบาท ยอดโอนกรรมสิทธิ 1,400 ล้านบาท และปิดการขาย 2 โครงการ ภายในปีนี้     นายอรรถปวิทย์ มโนธรรมรักษา กรรมการผู้จัดการ บริษัท สิวารมณ์ เรียลเอสเตท จำกัด และ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เมซัน ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด เปิดเผยว่า ได้จัดกลยุทธส่งเสริมการขายในช่วงโค้งสุดท้ายไตรมาส 4/2563 ด้วยการจัดแคมเปญ “สิวารมณ์ เปย์ เดย์ กับเป้ อารักษ์ 28-29 พ.ย. นี้” พบบ้านหรู สไตล์ อเมริกันคอทเทจ หลายทำเลคุณภาพ ยกทัพ ลดราคา สูงสุดกว่า 1 ล้านบาท พร้อมรับข้อเสนอช่วยผ่อน 60 เดือน โดยใช้ “เป้-อารักษ์ อมรศุภศิริ” เป็นพรีเซ็นตอร์ ในการนำเสนอภาพลักษณ์ของโครงการที่ตอบโจทย์กลุ่มลูกค้า ที่ต้องการซื้อที่พักอาศัย ทำเลใกล้เมืองและแหล่งอำนวยความสะดวกในการใช้ชีวิต มีพื้นที่ส่วนกลางขนาดใหญ่ สามารถลองรับกิจกรรมของลูกบ้านได้อย่างเต็มที่ กำหนด Selling Point & Marketing Strategy Smart Location Smart Space Smart Value Smart Home หวังสร้างยอดขายสวนกระแสตลาดอสังหาริมทรัพย์ กับโครงการบ้านที่เปิดขายพร้อมโอนกรรมสิทธิ 7 โครงการ มูลค่ารวม 3,600 ล้านบาท ประกอบด้วย     สิวารมณ์ เนเจอร์ พลัส ท่าข้าม-พระราม 2 บ้านเดี่ยว และ ทาวน์โฮม อลังการส่วนกลางกว่า 4 ไร่ 10 นาที ถึงเซ็นทรัลพระราม 2 - ทางด่วน-สาทร ส่วนกลางกว่า 4 ไร่ จากราคา 4.24 ล้านบาท เหลือเพียง 2.99 ล้านบาท สิวารมณ์ เนเจอร์พลัส (สุขุมวิท-บางปู) บ้านแฝดและ ทาวน์โฮมหรู 4 นอนใหญ่ ติดถนนสุขุมวิท ใกล้รถไฟฟ้า ตรงข้ามสถานตากอากาศบางปู จากราคา 3.09 ล้านบาท เหลือเพียง 2.59 ล้านบาท สิวารมณ์ ปาร์ค สุขุมวิท - บางปู บ้านเดี่ยวหรู ติดถนนใหญ่ ใกล้โรงพยาบาลรามาฯ จากราคา 4.59 ล้านบาท เหลือเพียง 3.49 ล้านบาท สิวารมณ์ ซิตี้ (นิคมพัฒนา-ระยอง) บ้านเดี่ยวและ บ้านแฝด ทาวน์โฮม สุดหรู ติดถนนใหญ่ ใกล้ นิคมเหมราช, นิคมมาบตาพุด จากราคา 1.7 ล้านบาท เหลือเพียง 1.09 ล้านบาท ศรีราชา ฮิลล์ไซต์ ทาวน์ (ติดสุขุมวิท) บ้านหรู 4 นอนใหญ่ ติดถนนใหญ่ ใกล้นิคมแหลมฉบัง, ห้างโรบินสัน แปซิฟิก ปาร์ค, ม.เกษตร ศรีราชา จากราคา 4.7 ล้านบาท เหลือเพียง 3.79 ล้านบาท เอ็มไลฟ์ (บางนา - ลาดกระบัง) ทาวน์โฮมหรู 4 นอนใหญ่ และโฮมออฟฟิศ บนสุดยอดทำเลตรงข้าม King Power วัดศรีวารีน้อย ใกล้ทางด่วน 2 สาย + สนามบินสุวรรณภูมิ จากราคา 2.56 ล้านบาท เหลือเพียง 2.19 ล้านบาท เอ็มเวนิว (เวสเก็ต - บางใหญ่) บ้านหรู 4 ห้อนใหญ่ ใกล้รถไฟฟ้า เซนทรัลเวสเก็ต หลังสุดท้ายก่อนปิดโครงการ เพียง 3.99 ล้านบาท   -----คลิ๊กชม VDO เยี่ยมชมบ้าน สิวารมณ์  https://youtu.be/iAOO59U4Qi4   เปิดให้ผู้สนใจลงทะเบียนแล้ววันนี้ที่ FB : SIVAROM หรือ โทร. 02 295 3397 และสามารถเข้าเยี่ยมชมโครงการได้ทุกวัน ตั้งแต่เวลา 9.00 – 18.00 น. โดยคาดว่าการจัดแคมเปญดังกล่าวจะสามารถทำยอดขายได้ 300 ล้านบาท และสร้างยอดขายรวมปี 2563 นี้ที่ 2,000 ล้านบาท ยอดโอนกรรมสิทธิ 1,400 ล้านบาท พร้อมปิด 2 โครงการ ได้ภายในปีนี้    
พรีบิลท์ ปั้นแบรนด์ “พรรณนา”  ลุยตลาดบ้านลักชัวรี่ราคา 15 ล้านอัพ !!

พรีบิลท์ ปั้นแบรนด์ “พรรณนา” ลุยตลาดบ้านลักชัวรี่ราคา 15 ล้านอัพ !!

พรีบิลท์ ลุยตลาดบ้านลักชัวรี่ราคา 15 ล้านขึ้นไป ประเดิมโครงการแรก “พรรณนา พุทธมณฑลสาย 3 มูลค่า 1,250 ล้านบาท พร้อมกวาดยอดขายแล้วกว่า 300 ล้านบาท เตรียมเดินหน้าต่อจับตลาดบ้านราคา 5-7 ล้าน   นายวิโรจน์ เจริญตรา กรรมการผู้จัดการ บริษัท พรีบิลท์ จำกัด (มหาชน) หรือ PRE-BUILT เปิดเผยว่า บริษัทได้ดำเนินธุรกิจก่อสร้างให้กับอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์ของไทยมานานกว่า 28 ปี  ทำให้เห็นการเติบโตของตลาดบ้านเดี่ยว ในกลุ่มลักชัวรี่ ระดับราคาตั้งแต่ 15 ล้านบาทขึ้นไป เป็นเซ็กเมนต์ที่มีการเติบโตต่อเนื่องตลอด 5 ปีที่ผ่านมา เพราะกลุ่มผู้ซื้อบ้านในระดับราคาดังกล่าวได้รับผลกระทบจากความผันผวนทางเศรษฐกิจค่อนข้างน้อยกว่ากลุ่มอื่น  และเป็นกลุ่มที่มองหาบ้านเดี่ยวเพื่อตอบโจทย์การใช้ชีวิตของทุกคนในครอบครัว ในทำเลที่จะมีมูลค่าสูงขึ้นในอนาคตด้วย จากปัจจัยดังกล่าวทำให้บริษัทได้เปิดตัวโครงการบ้านลักชัวรี่แห่งแรก  โครงการพรรณนา พุทธมณฑลสาย 3 มูลค่าโครงการรวม 1,250 ล้านบาท ภายใต้การบริหารของบริษัทในเครือ คือ บริษัท อีส แอม อาร์ จำกัด หรือ IS AM ARE  ซึ่งมีทุนจดทะเบียน 300 ล้านบาท  ซึ่งโครงการตั้งอยู่บนพื้นที่ขนาด 41 ไร่ บนถนนบางแวก เชื่อมต่อถนนพุทธมณฑลสาย 2 และถนนพุทธมณฑลสาย 3  โดยใน 3 เฟสแรกสามารถปิดการขายได้กว่า 80% หรือคิดเป็นมูลค่าการขายแล้วกว่า 300 ล้านบาท  ภายในระยะเวลา 6 เดือน ซึ่งทำเลดังกล่าวถือว่าเป็นทำเลศักยภาพ เนื่องจากราคาที่ดินมีการปรับเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในอัตรา 8-10%   สำหรับโครงการพรรณนา พุทธมณฑลสาย 3 ได้รับออกแบบภายใต้แนวคิด ‘Timeless’ หรือความงามอย่างยั่งยืน เพื่อตอบโจทย์ผู้อาศัยที่มองหาบ้านสำหรับการลงหลักปักฐาน และส่งต่อให้เป็นมรดกจากรุ่นสู่รุ่น ดังนั้นคุณค่าความสวยงาม และการใช้งานของบ้านหลังนี้จะต้องสามารถคงอยู่ไปอีกหลายสิบปี​  โครงการพรรณนา พุทธมณฑลสาย 3 มีแบบบ้านทั้งหมด 2 แบบ ได้แก่ แบบ P280 พื้นที่ใช้สอย 280 ตร.ม. และแบบ P326 พื้นที่ใช้สอย 326 ตร.ม. ทุกแบบบ้านมีฟังก์ชั่น 4 ห้องนอน 5 ห้องน้ำ พร้อมด้วยโถงพักผ่อนขนาดใหญ่ ห้องแม่บ้านแยกส่วน และที่จอดรถในร่มถึง 3 คัน บนพื้นที่ 100 ตร.ว. ขึ้นไป นอกจากนั้น ยังให้ความสำคัญกับการสร้างสภาพแวดล้อมที่น่าอยู่ เพื่อก่อเกิดสังคมคุณภาพ ด้วยการออกแบบผังโครงการที่ไม่ซับซ้อน เน้นความเป็นส่วนตัว โดยวางจำนวนบ้านไม่หนาแน่นมาก เพียง 4 ยูนิตต่อซอยเท่านั้น   ปัจจุบันโครงการพรรณนา พุทธมณฑลสาย 3 เปิดไปแล้ว 3 เฟส ซึ่งได้รับการตอบรับอย่างดีจากลูกค้าที่เชื่อมั่นในประสบการณ์ในแวดวงธุรกิจก่อสร้างที่ยาวนานของพรีบิลท์ รวมไปถึงลูกค้าที่เข้ามาดูโครงการได้เห็นพัฒนาการด้านการก่อสร้างอย่างต่อเนื่อง ถึงแม้จะอยู่ในช่วงโควิด-19 ทางโครงการฯ  ไม่ได้ชะลอการก่อสร้างแต่อย่างใด   ช่วงต้นปี 2564 บริษัทยังวางแผนเปิดตัวบ้านเดี่ยวระดับกลางในราคา 5 – 7 ล้านบาท ภายใต้แบรนด์พรรณนารา (PANNARA) ในแนวคิด ‘Less For More Living’ บนทำเลถนน ศรีนครินทร์ เป็นโครงการต่อไปด้วย
5 เหตุผล ซิซซา กรุ๊ป ลุยตลาดสุขภาพและความงาม

5 เหตุผล ซิซซา กรุ๊ป ลุยตลาดสุขภาพและความงาม

ต้องยอมรับว่า คนยุคปัจจุบันให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพของตนเอง อาจเป็นเพราะการเจ็บป่วยต้องรักษาพยาบาลมีค่าใช้จ่ายสูง และเป็นเพราะวิทยาการความเจริญก้าวหน้าทางการแพทย์  ซึ่งทำให้สามารถดูแลตนเองให้ห่างไกลจากโรค รวมถึงการที่คนยุคปัจจุบันมีอายุที่ยืนยาวขึ้น  จึงจำเป็นต้องรักษาสุขภาพของตนเองให้แข็งแรง    เทรนด์ดังกล่าวทำให้ บรรดาดีเวลลอปเปอร์หันมาขยายธุรกิจด้านสุขภาพกันมากขึ้น ทั้งรูปแบบโรงพยาบาล เวลเนส สปา หรือศูนย์สุขภาพ ซึ่งมีทั้งแยกธุรกิจออกมาโดยเฉพาะ และการนำเอาธุรกิจต่าง ๆ เหล่านี้รวมเข้าไว้ในโครงการที่อยู่อาศัยประเภทต่าง ๆ   ซิซซา กรุ๊ป (CISSA GROUP) คือ หนึ่งในผู้ประกอบการที่พัฒนาโครงการที่อยู่อาศัย ทั้งประเภทบ้านเดี่ยว ทาวน์โฮม โรงแรม และวิลล่า การให้บริการรับเหมากก่อสร้าง และเป็นที่ปรึกษาด้านการพัฒนาโครงการอสังหาฯ รวมถึงการพัฒนาโครงการอสังหาฯ เพื่อการลงทุน ในพื้นที่ภาคใต้โดยเฉพาะในพื้นที่จังหวัดภูเก็ตและพังงามานานกว่า 15 ปี มีมูลค่าการพัฒนาโครงการรวมกว่า 10,000 ล้านบาท ได้หันมาลุยธุรกิจด้านสุขภาพและความงามด้วยเช่นกัน  โดยการร่วมมือกับ วี พลาส เมดิคัล กรุ๊ป (V PLAST MEDICAL GROUP) จัดทำโครงการนาใต้ เมดิคอล เซ็นเตอร์ แอนด์ รีสอร์ต (Natai Medical Center & Resort) มูลค่ากว่า 3,500 ล้านบาท นายอรรถนพ พันธุกำเหนิด  ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ซิซซา กรุ๊ป จำกัด เปิดเผยว่า บริษัทมุ่งสร้างคุณค่าการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ที่ยั่งยืน และสร้างผลตอบแทนที่สม่ำเสมอให้กับนักลงทุน ซึ่งโครงการนาใต้ฯ เป็นการพัฒนาเพื่อตอบรับกับไลฟ์สไตล์ของคนในปัจจุบัน ที่ให้ความสำคัญด้านการดูแลสุขภาพมากขึ้น รวมถึงการพิจารณาเข้าพักในโรงแรมที่มีการดูแลด้านสุขอนามัยอย่างจริงจัง ภายหลังเกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19   การลงทุนพัฒนาโครงการของ ซิซซา กรุ๊ป ยังมองเห็นเทรนด์และแนวโน้มการเติบโตของธุรกิจเวลเนส และเมดิคัล ทัวร์ลิซึม ที่จะสร้างมูลค่ามหาศาลในอนาคต ซึ่งมี 5 เหตุผลสำคัญที่เข้ามาดำเนินธุรกิจด้านสุขภาพและความงาม คือ 1.ประเทศไทยได้รับความเชื่อมั่นจากนานชาติอันดับ 2 ของโลก ประเทศไทยได้รับการยอมรับ ในการรับมือและจัดการการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ได้ดีเป็นอันดับ 2 ของโลก จากจำนวน 184 ประเทศทั่วโลก จากการจัดอันดับขององค์กร Global Covid-19 (GCI) ทำให้การลงทุนในธุรกิจโรงพยาบาลเพื่อสุขภาพ ความงาม และโรงแรมเพื่อการท่องเที่ยวในยุค New Normal เป็นโอกาสทางธุรกิจที่มีความน่าสนใจ มีโอกาสประสบความสำเร็จสูง 2.ประเทศไทย คือ Medical Hub ของโลก รัฐบาลมีนโยบายผลักดันให้ประเทศไทย เป็นศูนย์กลางด้านการท่องเที่ยวทางการแพทย์ของโลก (Thailand Medical Hub) โดยใช้ยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ (ปี 2560-2569) พร้อมกับให้การสนับสนุนด้านการท่องเที่ยว และมาตรการควบคุมโรค ทำให้ไทยเป็นจุดหมายปลายทางของนักท่องเที่ยวที่มีกำลังซื้อ ที่ต้องการสถานที่ปลอดภัยจากโรคระบาด สถานพยาบาลที่ได้มาตรฐาน และสถานที่พักผ่อนระดับเอ๊กซ์คลูซีฟ  3.ธุรกิจเวลเนสมูลค่ากว่า 4.5 ล้านล้านเหรียญ ภาพรวมอุตสาหกรรมเวลเนสของโลกโลก เป็นธุรกิจมีขนาดใหญ่ มีมูลค่ากว่า 4.5 ล้านล้าน เหรียญสหรัฐ ซึ่งในธุรกิจเวลเนสดังกล่าว มีที่ธุรกิจที่เกี่ยวข้องจำนวนมากมาย อาทิ ธุรกิจการรักษาเชิงป้องกัน การวางแผนดูแลรักษาแบบเฉพาะบุคคล และระบบสาธารณสุข มีมูลค่าตลาด 575,000 ล้านเหรียญ ตลาดการบริโภคเพื่อสุขภาพ โภชนการและการลดน้ำหนัก มีมูลค่า 702,000 ล้านเหรียญ และกิจกรรมทางการภาพ มีมูลค่า 828,000 ล้านเหรียญ เป็นต้น 4.กลุ่มนักท่องเที่ยวเชิงการแพทย์มีการใช้จ่ายสูง   ค่าใช้จ่ายของโรงพยาบาล/คลินิกโดยเฉลี่ย สำหรับการทำศัลยกรรมความงามในภูเก็ต เกือบ 2 เท่าของค่ารักษาพยาบาล โดยมีค่าใช้จ่ายเฉลี่ย 150,000 บาท สำหรับการใช้บริการในโรงพยาบาล  และค่าใช้จ่ายเฉลี่ย 80,000 บาท สำหรับการใช้บริการในคลินิก   โดยมีระยะเวลาการเข้าพักโดยเฉลี่ยของนักท่องเที่ยวการแพทย์ในภูเก็ตประมาณ 12 วันสำหรับการทำศัลยกรรมและประมาณ 5 วันสำหรับเวชศาสตร์ชะลอวัย ซึ่งกลุ่มผู้หญิงเข้ามาใช้บริการเกือบ 93% ของตลาดนักท่องเที่ยวทางการแพทย์ โดยมีอายุระหว่าง 18-25 ปี สัดส่วน 33% และอายุ 45-55 ปี สัดส่วน 31% เป็น 2 กลุ่มอายุที่ใหญ่ที่สุด   การท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ขาเข้าภูเก็ต ส่วนใหญ่จะเป็นชาวออสเตรเลีย และจีน ซึ่งลูกค้ามาใช้บริการด้านศัลยกรรมความงาม 70%  ซึ่งทำให้มีรายได้จากการรักษา การเดินทาง และการพักโรงแรม 5.การได้จับมือกับ วี พลาส เมดิคัล กรุ๊ป ผู้ดำเนินธุรกิจด้านสุขภาพและความงามมากว่า 20 ปี และดำเนินธุรกิจด้านเมดิคัลทัวร์ลิซึมมากว่า 10 ปี ได้รับการยอมรับจากกลุ่มลูกค้าจากต่างชาติ เป็นอันดับต้น ๆ ของเอเชีย มีฐานผู้ใช้บริการไม่ต่ำกว่าปีละ 2,000 คน โดยมีกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจโรงพยาบาล ที่ตอบโจทย์ New Normal ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ในอนาคต ที่กำลังเข้าสู่สังคมสูงวัย ตั้งโฮลดิ้ง ทุนจดทะเบียน 2,000 ล้าน สำหรับโครงการนาใต้ เมดิคอล เซ็นเตอร์ แอนด์ รีสอร์ต อยู่ภายใต้บริษัทโฮลดิ้ง ที่เตรียมจัดตั้งขึ้นด้วยทุนทะเบียนเบื้องต้น 2,500 ล้านบาท ซึ่งจะมีหุ้น 40% จำหน่ายให้กับนักลงทุนทั่วไป โดยบริษัทดังกล่าวจะพัฒนาโครงการด้วยมูลค่า 3,500 ล้านบาท แบ่งเป็น โรงแรม  2,000 ล้านบาท และโรงพยาบาล 1,500 ล้านบาท โดยแนวทางการดำเนินธุรกิจด้านสุขภาพและความงาม จะพัฒนาออกเป็น 3 เฟส ประกอบด้วย เฟสที่ 1 จะเปิดคลินิกให้บริการด้านเวลเนส  การบริการจัดสัมมนา และการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ภายใต้การพัฒนาของ วี พลาส เมดิคัล กรุ๊ป รวมถึงการเปิดให้บริการในส่วนของโรงแรม เฟสที่ 2 การเปิดให้โรงพยาบาล ในส่วนแรก 100 เตียง ซึ่งจะก่อสร้างแล้วเสร็จภายใน 2 ปีหน้า เฟสที่ 3 การเปิดให้บริการ เมดิคัล เซ็นเตอร์ เต็มรูปแบบ และโรงพยาบาลแพทย์แผนไทย พร้อมกับการจัดตั้งโรงงานผลิตยาสมุนไพร และกัญชาบำบัด    
REIC จับมือ RESAM พัฒนา “THAI-MLS” ระบบขายบ้านมือสองออนไลน์

REIC จับมือ RESAM พัฒนา “THAI-MLS” ระบบขายบ้านมือสองออนไลน์

REIC จับมือ RESAM นำร่องพัฒนาระบบขายบ้านมือสองออนไลน์ “THAI-MLS” รองรับตลาดบ้านมือสองพร้อมขายกว่า 250,000 ยูนิตต่อเดือน กระตุ้นดีมานด์คนไทยอยากมีบ้านทำเลดีราคาไม่แพง พร้อมช่วยรัฐจัดเก็บค่าธรรมเนียมและภาษีที่เกี่ยวข้องได้มากขึ้น   ในปัจจุบันตลาดที่อยู่อาศัยในประเทศไทยมีขนาดใหญ่มากและมีบทบาทสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจไทยอย่างมาก โดยมีค่าเฉลี่ยการโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยระหว่างปี 2560 – 2562 สูงถึงปีละ ประมาณ 367,000 ยูนิต และมีมูลค่า 847,000 ล้านบาท โดยประมาณการว่า เป็นการโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยมือสอง (Resale-home) ประมาณปีละ 184,000 ยูนิต และมีมูลค่า 308,000 ล้านบาท หรือคิดเป็นประมาณ 36.4% ของภาพรวมการโอนกรรมสิทธิ์ทั้งประเทศ โดยมีอัตราการขยายตัวเฉลี่ยประมาณ 17.9% ต่อปี ซึ่งสะท้อนให้เห็นความต้องการในการซื้อที่อยู่อาศัยมือสองที่มีจำนวนและอัตราการขยายตัวที่สูงอย่างต่อเนื่อง ดร.วิชัย วิรัตกพันธ์ ผู้ตรวจการธนาคาร และรักษาการผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ (REIC) เปิดเผยว่า  จากการสำรวจศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ยังพบว่า ในแต่ละเดือนมีจำนวนอสังหาริมทรัพย์ที่ประกาศขายที่อยู่อาศัยมือสองในช่องทางออนไลน์ อยู่ประมาณ 130,000 – 150,000 ยูนิต และมีทรัพย์สินรอการขาย (NPA) ของสถาบันการเงินต่าง ๆ ประมาณ 50,000 ยูนิต รวมถึงทรัพย์รอการประมูลของกรมบังคับคดีที่รอการประมูลอีกประมาณ  50,000 ยูนิต คาดว่าน่าในแต่ละเดือนจะมีปริมาณที่อยู่อาศัยมือสองที่พร้อมขายสูงถึงประมาณ 250,000 ยูนิต ซึ่งที่อยู่อาศัยมือสองเป็นสินค้าทางเลือกในทำเลที่ดีและราคาที่ถูกกว่าด้วย ปริมาณดีมาน์และซัพพลายของที่อยู่อาศัยมือสองที่มีจำนวนมากเช่นนี้ แสดงให้เห็นได้ว่า ตลาดที่อยู่อาศัยมือสองมีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าตลาดที่อยู่อาศัยใหม่ในปัจจุบัน และคาดว่าตลาดที่อยู่อาศัยมือสองมีโอกาสที่จะขยายตัวจนเท่ากับหรือใหญ่กว่าตลาดที่อยู่อาศัยใหม่ในอนาคตอันใกล้นี้ สาเหตุที่ที่อยู่อาศัยมือสองเป็นที่นิยม เพราะทำเลในการพัฒนาที่อยู่อาศัยใหม่มักจะอยู่ไกลออกไปจากเมือง ขณะที่ที่อยู่อาศัยมือสองมักจะตั้งอยู่ในทำเลที่ดีกว่าในราคาเดียวกัน หรือ มีราคาที่ถูกไม่น้อยกว่าถึง 20% - 30% ในทำเลเดียวกัน อีกทั้งขนาดของที่ดินและ/หรือพื้นที่ใช้สอยของที่อยู่อาศัยมือสองมักจะได้ขนาดที่ใหญ่กว่าที่อยู่อาศัยใหม่ในระดับราคาและทำเลเดียวกัน และประเด็นสำคัญอีกประการหนึ่ง คือ ที่อยู่อาศัยที่มีราคาต่ำ เช่น ที่อยู่อาศัยที่มีราคาไม่เกิน 1 ล้าน อาจยากที่จะหาซื้อได้จากตลาดที่อยู่อาศัยใหม่ แต่ยังมีให้เลือกซื้อได้มากกว่าในตลาดที่อยู่อาศัยมือสอง   นอกจากนี้ ในปัจจุบันตัวแทนนายหน้ามีบทบาทสูงขึ้นอย่างมากในการช่วยหาผู้ซื้อให้ เจ้าของที่อยู่อาศัย ซึ่งเป็นไปในทิศทางเช่นเดียวกับในต่างประเทศ โดยในประเทศที่มีการพัฒนาตลาดที่อยู่อาศัยมือสองที่ประสบความสำเร็จส่วนใหญ่จะมีระบบ MLS (Multiple Listed Services) เพื่อเป็นระบบฐานข้อมูลที่อยู่อาศัยมือสองสำหรับตัวแทนนายหน้าที่จะสามารถนำมาประกาศ และหาตัวแทนนายหน้าอื่นเข้าช่วยขายได้  ทำให้ที่อยู่อาศัยมือสองในระบบ MLS มีโอกาสในการขายได้ง่ายขึ้นและเร็วขึ้น ซึ่งจะเกิดประโยชน์อย่างมากต่อประชาชนในกลุ่มเจ้าของที่อยู่อาศัยที่ต้องการขาย  หรือกลุ่มที่ต้องการซื้อที่อยู่อาศัยมือสอง โดยจะมีกฎหมายในการกำกับดูแล เช่น สหรัฐอเมริกา และยุโรป หรือกลุ่มประเทศใน AEC เช่น มาเลเซีย สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ กัมพูชา และ เวียดนาม ขณะที่ประเทศเมียนมาร์ กำลังที่จะบังคับใช้กฎหมาย แต่ประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายดังกล่าว ดังนั้น เพื่อให้ประเทศไทยมีการเตรียมตัวรองรับตลาดที่อยู่อาศัยมือสองอย่างเป็นรูปธรรม ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ได้พัฒนา platform ระบบ MLS สำหรับการใช้งานในประเทศไทย ชื่อ “THAI-MLS” ขึ้น และ สมาคมการขายและการตลาดอสังหาริมทรัพย์ (RESAM) ได้เป็นผู้บริหารจัดการสมาชิกที่เข้าร่วมระบบฯ โดยได้รับการสนับสนุนและความช่วยเหลือด้านวิชาการจาก National Association of REALTORS®: NAR ซึ่งเป็นที่มาของการลงนามในบันทึกความร่วมมือ (MOU) ของโครงการนำร่องสำหรับทดลองใช้ระบบ MLS ในการดำเนินการจริง   โดยมีการนำที่อยู่อาศัยที่มีการฝากขายจริงเข้าระบบโดยตัวแทนนายหน้าขายหลัก (Major Broker) มีการเปิดให้มีการเข้าร่วมเป็นตัวแทนนายหน้าขายร่วม (Co-broker) ที่สามารถช่วยขายที่อยู่อาศัยในระบบ THAI-MLS ได้ แต่เนื่องจากการดำเนินการนี้เพียงระยะนำร่องจึงจะเปิดให้ผู้เข้าร่วมสามารถที่ยอมรับเงื่อนไขและกฎ กติกาและข้อบังคับต่าง ๆ ที่กำหนดขึ้น โดยเป็นการดำเนินการในลักษณะ Sandbox ก่อนเท่านั้น และหากได้ทดลองใช้จริงไประยะหนึ่ง และทุกอย่างเป็นได้ด้วยดี ก็ยินดีเปิดรับผู้ที่มีวิชาชีพตัวแทนนายหน้าจากทุกองค์กรเข้าร่วม   นางอรุณี เทียมหงส์ นายกสมาคมการขายและการตลาดอสังหาริมทรัพย์ (RESAM)  กล่าวว่า​ สมาคมฯ ได้ร่วมมือกับ ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ในการดำเนินการ THAI-MLS เนื่องการพัฒนาระบบ THAI-MLS ครั้งนี้ เป็นการดำเนินการอย่างจริงจังในลักษณะโครงการนำร่องครั้งแรกในประเทศไทย แม้ในวันนี้ประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายสำหรับควบคุมวิชาชีพตัวแทนนายหน้า (Brokerage Licensing Law) ซึ่งถือเป็นกฎหมายที่สร้าง กฎ กติกา และการควบคุมด้านจรรยบรรณและคุณภาพทางวิชาชีพ แต่การพัฒนาระบบ THAI-MLS นี้จะสามารถเป็น Platform ที่ช่วยสร้างเครือข่ายตัวแทนนายหน้าให้สามารถช่วยกันขายที่อยู่อาศัยมือสองให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงขึ้น ซึ่งจะเป็นการช่วยให้ผู้ที่ต้องการขายบ้านเดิมเพื่อหาซื้อบ้านใหม่สามารถทำได้ง่ายขึ้น รวดเร็วขึ้น และมีตัวแทนนายหน้าที่น่าเชื่อถือเป็นผู้ดำเนินการให้ ในระบบ THAI-MLS นี้ สมาคม RESAM ได้เข้ามาช่วยรับดูแลการบริหารจัดการด้านข้อมูลในระบบและข้อมูลสมาชิกในระบบฯ โดยผู้เข้าร่วมใช้ระบบต้องมีการลงนามในสัญญาว่าจะยอมรับการปฏิบัติตัวตาม กฎ กติกา และข้อบังคับ ต่าง ๆ ก่อนเข้าใช้ระบบฯ  ทางสมาคมฯมีความมั่นใจว่า การดำเนินการเช่นนี้ในจะช่วยยกระดับการทำงานและมาตรฐานวิชาชีพของตัวแทนนายหน้าด้านอสังหาริมทรัพย์ของประเทศไทยให้สูงขึ้นได้ และเมื่อถึงวันที่ประเทศไทยมีกฎหมายสำหรับควบคุมวิชาชีพนายหน้าแล้ว ก็จะช่วยขับเคลื่อนให้ตลาดที่อสังหาริมทรัพย์มือสองจะเติบโตได้อย่างก้าวกระโดด โดยมีพื้นฐานด้านระบบปฏิบัติการและด้านธุรกิจที่สามารถรองรับได้ทันที ทั้งนี้ประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากโครงการฯนี้ จะเกิดกับประชาชนเจ้าของที่อยู่อาศัยและผู้ต้องการซื้อที่อยู่อาศัย ธุรกิจตัวแทนนายหน้า และภาครัฐ โดยเฉพาะในเรื่องรายได้จากภาษีและค่าธรรมเนียม สามารถจัดเก็บเพิ่มได้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วยจากธุรกิจนี้ ซึ่งจะสามารถรายได้ส่วนนี้ไปช่วยพัฒนาประเทศในด้านต่าง ๆ ต่อไป    
เมเจอร์ เดิน 3 กลยุทธ์โค้งท้ายปี หลัง 9 เดือนสร้างรายได้โต 15%

เมเจอร์ เดิน 3 กลยุทธ์โค้งท้ายปี หลัง 9 เดือนสร้างรายได้โต 15%

เมเจอร์ โชว์ผลประกอบการ 9 เดือนแรก รับรู้รายได้ 5,349 ล้าน เติบโต 15% พร้อมกำไรสุทธิ 110.91 ล้าน เดินหน้า 3 กลยุทธ์ลุยตลาดโค้งท้ายปี พร้อมจัดแคมเปญใหญ่กระตุ้นยอดขายและยอดโอน กวาดรายได้ตามเป้า   นางสาวเพชรลดา พูลวรลักษณ์ กรรมการบริหาร บริษัท เมเจอร์ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) หรือ MJD เปิดเผยว่า ผลการดำเนินงาน 9 เดือนแรกของปีนี้ บริษัทยังคงขับเคลื่อนไปได้อย่างต่อเนื่อง ท่ามกลางวิกฤติเศรษฐกิจและผลกระทบจากไวรัสโควิด-19 โดยมีรายได้รวมทุกประเภทธุรกิจอยู่ที่ 5,349 ล้านบาท เติบโต 15% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า โดยมียอดโอนกรรมสิทธิ์ในโครงการที่อยู่อาศัยที่เพิ่งก่อสร้างแล้วเสร็จในไตรมาสนี้ ได้แก่ โครงการมิวนิค สุขุมวิท 23 และโครงการมารุ ลาดพร้าว 15 รวมถึงโครงการที่ทยอยโอนอย่างต่อเนื่องจากปีที่ผ่านมา ขณะเดียวกัน มีผลกำไรสุทธิรวมทั้งสิ้น 110.91 ล้านบาท “เราปรับตัวและปรับปรุงแผนการดำเนินธุรกิจ ตลอดจนกลยุทธ์อย่างต่อเนื่องตลอดช่วง 9 เดือนที่ผ่านมา มุ่งเน้นการจัดการสินค้าคงค้าง อำนวยความสะดวกผู้บริโภคในการเข้าถึงโครงการที่อยู่อาศัย พร้อมกับการรักษาระดับกระแสเงินสดให้ยังคงแข็งแกร่งรับมือทุกสถานการณ์ แม้ผลประกอบการที่ออกมาอาจไม่ได้หวือหวา แต่เราเชื่อว่าการเดินหน้าปรับตัวและจัดการ Inventory อย่างต่อเนื่อง จะเป็นพื้นฐานสำคัญของเราสู่การสร้างรายได้และดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนในระยะยาว”   สำหรับในไตรมาสสุดท้ายปีนี้ บริษัทจะดำเนินการใน 3 ส่วนหลัก เพื่อให้ธุรกิจยังขับเคลื่อนและเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง ได้แก่ 1.การวางรากฐานกระจายพอร์ตธุรกิจ (Business Diversification) สร้างรากฐานระยะยาว บริษัทจะเตรียมการพัฒนาสินค้าประเภทใหม่ๆ เซ็กเมนท์ใหม่ๆ เพื่อเข้าถึงกลุ่มลูกค้าที่หลากหลายมากขึ้นเพื่อเพิ่มโอกาสทางธุรกิจ ขณะเดียวกันจะทยอยก้าวเข้าสู่ธุรกิจ ที่ครบวงจรด้านการพัฒนาที่อยู่อาศัยมากยิ่งขึ้นด้วยประสบการณ์  ในการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่ยาวนานกว่า 20 ปี และวิสัยทัศน์ที่มุ่งมั่นในการพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยให้มีคุณภาพและมีการออกแบบที่คำนึงถึงการใช้งานเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มในระยะยาว พร้อมส่งมอบประสบการณ์การอยู่อาศัยที่แตกต่างและเหนือความคาดหมาย 2.การพัฒนาที่อยู่อาศัยให้พร้อมตอบโจทย์ Post-COVID-19 บริษัทศึกษาพฤติกรรมเชิงลึกของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปสู่ New Normal ที่เริ่มเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นรูปธรรมแล้วในช่วง Post-COVID-19 และพัฒนาสินค้าใหม่ๆ ให้มีความพร้อมตอบโจทย์ดังกล่าว 3.การจัดแคมเปญกระตุ้นยอดขายส่งท้ายปี บริษัทจัดแคมเปญ MAJOR SALE ลดได้ลด ให้ได้ให้ กระตุ้นการตัดสินใจของผู้บริโภคในช่วง 2 เดือนสุดท้ายของปี ซึ่งเป็นช่วงไฮซีซั่นของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ผ่าน 10 โครงการพร้อมอยู่ทำเลศักยภาพ ภายใต้หลากหลายแบรนด์ อาทิ มอลตัน, รีเฟล็คชั่น, เอ็ม โปรเจ็คท์, มาเอสโตร, เมทริส  แม้จะเพิ่งจัดแคมเปญไปได้ไม่ถึงครึ่งเดือน แต่ก็เห็นการตอบรับที่ดีจากผู้บริโภค ตามสภาพเศรษฐกิจที่ค่อยๆ ฟื้นตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง   ทั้งนี้ ในไตรมาส 4/2563 บริษัทจะมีโครงการคอนโดมิเนียมสร้างเสร็จใหม่พร้อมทยอยโอนกรรมสิทธิ์เพิ่มเติม  คือ โครงการมารุ เอกมัย 2 มูลค่ากว่า 2,500 ล้านบาท และโครงการแล้วเสร็จทั้งแนวสูงและแนวราบ อาทิ โครงการ  เมทริส พระราม 9-รามคำแหง, โครงการเมทริส ลาดพร้าว, โครงการมิวนิค สุขุมวิท 23, โครงการมารุ ลาดพร้าว, มอลตัน ไพรเวท เรสซิเดนซ์ อารีย์ และมอลตัน ไพรเวท เรสซิเดนซ์ สุขุมวิท 31 ยังคงโอนกรรมสิทธิ์อย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้รายได้ในปีนี้จะยังคงเป็นไปตามเป้าหมาย    
ทำเลส่วนต่อขยายรถไฟฟ้า  ราคาที่ดินก่อนการพัฒนาเพิ่มกว่า 21%

ทำเลส่วนต่อขยายรถไฟฟ้า ราคาที่ดินก่อนการพัฒนาเพิ่มกว่า 21%

แผนการพัฒนาเส้นทางรถไฟฟ้า ยังเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ราคาที่ดินปรับเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นบริเวณส่วนต่อขยายเส้นทางรถไฟฟ้าสายเดิม หรือเป็นแนวเส้นทางการพัฒนารถไฟฟ้าสายใหม่ ๆ ก็ตาม     ล่าสุด ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ รายงานดัชนีราคาที่ดินเปล่าก่อนการพัฒนา ในกรุงเทพฯ-ปริมณฑล ไตรมาส 3 ปี 2563 พบว่ามีค่าดัชนีเท่ากับ 310.7 จุด ปรับเพิ่มขึ้น  0.7% เป็นการเพิ่มขึ้นในอัตราที่ชะลอตัวเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (QoQ) ซึ่งมีค่าดัชนีเท่ากับ 308.6 จุด และปรับเพิ่มขึ้น  21.1% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน(YoY) ซึ่งมีค่าดัชนีเท่ากับ 256.5 จุด   ราคาที่ดินเปล่าก่อนการพัฒนาในไตรมาสนี้ ทำเลที่เพิ่มขึ้นมากส่วนใหญ่ยังคงเป็นพื้นที่ปลายสายรถไฟฟ้าที่เป็นส่วนต่อขยายและมีแผนจะก่อสร้างในอนาคต   ทั้งนี้ ทำเลที่มีเส้นทางรถไฟฟ้าผ่านและมีอัตราการขยายตัวของราคาที่ดินเพิ่มขึ้นสูงสุด เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน (YoY) 5 อันดับแรก ส่วนใหญ่เป็นทำเลที่มีแนวเส้นทางรถไฟฟ้าที่อยู่ระหว่างก่อสร้าง และที่มีแผนจะก่อสร้างในอนาคต 5 อันดับทำเลราคาปรับเพิ่มสูง 1.สายสีชมพู (แคราย - มีนบุรี) เป็นเส้นทางรถไฟฟ้าที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง มีอัตราการขยายตัวของราคาที่ดินเพิ่มขึ้น  35.7%  และเพิ่มขึ้น  0.3% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (QoQ) 2.สายสีเขียวเหนือ (คูคต - ลำลูกกา) เป็นเส้นทางรถไฟฟ้าที่ยังไม่เริ่มก่อสร้าง ทำเลนี้เคยมีอัตราการเพิ่มขึ้นของราคาที่ดิน (YOY) สูงสุดติดต่อกัน 5 ไตรมาส ปัจจุบันราคาที่ดินเริ่มมีอัตราชะลอตัวลงในไตรมาสนี้มีอัตราขยายตัวของราคาที่ดินเพิ่มขึ้น 34.2% 3.สายสีน้ำเงิน (บางแค - พุทธมณฑลสาย 4) เป็นทำเลของโครงการที่มีแผนจะก่อสร้างในอนาคต มีอัตราการขยายตัวของราคาที่ดินเพิ่มขึ้น  28.5% 4.สายสีแดงอ่อน (ตลิ่งชัน - ศาลายา) เป็นทำเลที่โครงการที่มีแผนจะก่อสร้างในอนาคต มีอัตราการขยายตัวของราคาที่ดินเพิ่มขึ้น 21.5% 5.สายสีเทา (วัชรพล-พระราม 9 -ท่าพระ) เป็นทำเลของโครงการที่มีแผนจะก่อสร้างในอนาคต มีอัตราการขยายตัวของราคาที่ดินเพิ่มขึ้น 14.8%   แต่เมื่อพิจารณาทำเลที่มีอัตราการขยายตัวของราคาที่ดินเพิ่มขึ้นสูงสุดเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (QoQ) ส่วนใหญ่เป็นทำเลที่มีแนวเส้นทางรถไฟฟ้าที่เปิดให้บริการแล้วและอยู่ระหว่างก่อสร้างได้แก่ 1.สายสีแดงเข้ม (บางซื่อ-หัวลำโพง) เป็นโครงการที่มีแผนจะก่อสร้างในอนาคต มีอัตราการขยายตัวของราคาที่ดินเพิ่มขึ้น 3.8% 2.MRT เป็นเส้นทางรถไฟฟ้าที่เปิดให้บริการแล้ว มีอัตราขยายตัวของราคาที่ดินเพิ่มขึ้น  3.7% 3.สายสีส้ม (ศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี) เป็นเส้นทางรถไฟฟ้าที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง มีอัตราการขยายตัวของราคาที่ดินเพิ่มขึ้น 3.6% 4.Airport Link เป็นเส้นทางรถไฟฟ้าที่เปิดให้บริการแล้ว มีอัตราขยายตัวของราคาที่ดินเพิ่มขึ้น 3.2% 5.BTS สายสุขุมวิท เป็นเส้นทางรถไฟฟ้าที่เปิดให้บริการแล้ว มีอัตราขยายตัวของราคาที่ดินเพิ่มขึ้น 3.1%
ภารกิจบทใหม่ “เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้โฮม” กับ 4 Mission สู่ผู้นำเบอร์ 3 อสังหาฯ

ภารกิจบทใหม่ “เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้โฮม” กับ 4 Mission สู่ผู้นำเบอร์ 3 อสังหาฯ

ภายหลังจากที่ บริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)  หรือ “FPT” เข้าซื้อกิจการของ บริษัท แผ่นดินทอง พร็อพเพอร์ตี้ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) หรือ “GOLD” และได้ดำเนินการต่าง ๆ ตามกฎระเบียบและข้อกฎหมายเป็นที่เรียบร้อย กลุ่มธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เพื่อที่อยู่อาศัยของโกลเด้นแลนด์ภายใต้ การบริหารงานของ FPT จึงได้เปลี่ยนมาเป็น “เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ โฮม”   แม้ว่าจะเปลี่ยนชื่อใหม่ แต่ภารกิจและบทบาทของ  “เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ โฮม” ยังคงเดินหน้าพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์คุณภาพเหมือนเดิม พร้อมกับการรักษาความเป็นผู้นำตลาดอสังหาฯ เหมือนที่ผ่านมา ซึ่งปัจจุบัน  “เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ โฮม” อยู่ในอันดับ Top 5 ของตลาดอสังหาฯ ไทย มีโครงการที่พักอาศัยงรวม 60 โครงการ   แต่ด้วยศักยภาพและขนาดของธุรกิจ ภายใต้ชายคาของ FPT  นับจากนี้ “เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ โฮม” จึงมีพันธกิจใหม่ กับการก้าวขึ้นเป็นผู้นำตลาดอสังหาฯ ที่มีรายได้สูงสุดอันดับ 3  ภายในระยะ 3 ปี หรือภายในปี 2566 โดยมีนายแสนผิน สุขี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ โฮม (ประเทศไทย) เป็นผู้ขับเคลื่อนที่สำคัญ กับ 4 พันธกิจ (Mission) สำคัญ เพื่อใช้เป็นแนวทางการไปสู่เป้าหมายดังกล่าวนั้น ได้แก่ 1.การสร้างรายได้มากกว่า 20,000 ล้านบาท เป้าหมายของ  “เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ โฮม” ในการก้าวขึ้นเป็นอันดับ 3 ของผู้นำตลาดอสังหาฯ คือการมีรายได้ มากกว่า 20,000 ล้านบาท จากปัจจุบันช่วง 9 เดือนของปีนี้ มียอดรับรู้รายได้ 10,894 ล้านบาท ซึ่งถือว่ายังเป็นที่น่าพอใจ สำหรับช่วงวิกฤตเศรษฐกิจในสถานการณ์ โควิด-19 เช่นนี้  โดยคาดว่าจะมียอดรับรู้รายได้ในปีนี้เกือบ 15,000 ล้านบาท สำหรับแนวทางการสร้างรายได้ตามเป้าหมายดังกล่าว สิ่งสำคัญคือ การพัฒนาโครงการออกมาทำตลาดอย่างต่อเนื่อง  ซึ่งในไตรมาสที่ 4 (ต.ค.-ธ.ค. 2563)  บริษัทได้เปิดโครงการใหม่ไปแล้ว 3 โครงการ เป็น นีโอ โฮม บ้านแฝด 2 โครงการ และทาวน์โฮม 1 โครงการ มูลค่ารวม 3,050 ล้านบาท  ขณะที่ปี 2564 เตรียมพร้อมเดินหน้าเปิดโครงการใหม่ทั้งหมด 24 โครงการ มูลค่ารวมกว่า 29,800 ล้านบาท ตอบโจทย์กลุ่มลูกค้าครบทุกเซ็กเมนต์ โดยตั้งเป้ารายได้ 16,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 10% เมื่อเทียบกับปีนี้   โดยแผนการพัฒนาโครงการในปี 2564 บริษัทได้วางแผนงบซื้อที่ดินเพื่อนำมาใช้พัฒนาโครงการ  20 แปลง วงเงิน 10,720 ล้านบาท เพื่อพัฒนาโครงการต่าง ๆ ให้มีสัดส่วนรายได้จากสินค้าทาวน์โฮม 42%, บ้านแฝด นีโอ โฮม 23%, บ้านเดี่ยว 21% และโครงการต่างจังหวัด 14% 2.เป็นทางเลือกอันดับที่ 1 ในใจลูกค้า สำหรับคนที่มองหาทาวน์โฮม ทําเลในเมือง แนวทางการพัฒนาโครงการทาวน์โฮมของ “เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ โฮม” ยังคงมีอย่างต่อเนื่อง โดยเลือกทำเลในเมืองที่มีศักยภาพในการพัฒนาโครงการ เพื่อรักษาความเป็นผู้นำตลาด เช่นเดียวกับปี 2564 ที่จะพัฒนาโคงการทาวน์โฮม ไปยังทำเลใหม่ ซึ่งเน้นทําเลที่ดีกว่าคู่แข่งทั้งตลาด และรักษาคุณภาพการก่อสร้าง ออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ แต่ยังคงเน้นด้านฟังก์ชั่นการใช้งาน 3.เป็นอันดับที่ 1 ในการทำบ้านแฝด (นีโอ โฮม) ขณะที่ผลิตภัณฑ์บ้านแฝด ซึ่งเป็นที่รู้จักภายใต้โครงการนีโอ โฮม ยังคงเน้นการพัฒนาโครงการใน​ทำเลใกล้เมือง โดยมีฟังก์ชั่นเช่นเดียวกับบ้านเดี่ยว และราคาไม่แพง   นอกเหนือจากการพัฒนาโครงการให้ออกมาตรงกับความต้องการของลูกค้าแล้ว “เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ โฮม” ยังมุ่งเน้นการสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า ภายหลังจากการเข้าอยู่อาศัย โดยพัฒนาแอปพลิเคชั่น พร้อมการทำโปรแปรม   ปั้นแอป Home+ ดูแลลูกค้า และอำนวยความสะดวกด้านต่าง ๆ ตั้งแต่ช่วงก่อนซื้อ ช่วงการส่งมอบ ช่วงหลังจากรับโอนและเข้า อยู่อาศัย พร้อมด้วยสิทธิประโยชน์พิเศษต่าง ๆ เพื่อสร้างความพึงพอใจ และตอบสนองพันธกิจองค์กรที่ ต้องการจะเป็นทางเลือกอันดับที่ 1 ในใจลูกค้า 4.เป็นผู้นำตลาดต่างจังหวัดด้านยอดขายสูงสุด นอกเหนือจากการพัฒนาโครงการในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ตลาดต่างจังหวัด เป็นอีกหนึ่งพื้นที่สร้างรายได้ให้กับ “เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ โฮม” ซึ่งที่ผ่านมาการขยายตลาดต่างจังหวัด ถือว่าประสบความสำเร็จด้วยดีมาโดยตลอด ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาโครงการที่นครราชสีมา เชียงใหม่ เชียงราย และพัทยา สามารถทำยอดขายในวันเปิดจองได้สูงเกินกว่า 500 ล้านบาท  เฉพาะภาพคเหนือที่ผ่านมาสามารถทำยอดขายในวันพรีเซลรวมมูลค่ากว่า 1,500 ล้านบาท ภาคอีสานทำยอดขายได้มากกว่า  500 ล้านบาท ในภาคกลางและภาคตะวันออกมูลค่ากว่า 1,900 ล้านบาท ในอนาคตบริษัทจะขยายตลาดต่างจังหวัดเพิ่ม ในจังหวัดภูเก็ตและระยอง​              
ราคาอสังหาฯ กทม. ฟื้นตัว 2% สูงสุดรอบ 6 ไตรมาส

ราคาอสังหาฯ กทม. ฟื้นตัว 2% สูงสุดรอบ 6 ไตรมาส

ดูเหมือนว่า ตลาดอสังหาริมทรัพย์ เริ่มมีทิศทางปรับตัวดีขึ้นบ้างแล้ว เพราะตามรายงานดัชนีราคาอสังหาริมทรัพย์ประจำไตรมาส 4 ปี 2563 (DDproperty Thailand Property Market Index Q4 2020) จากดีดีพร็อพเพอร์ตี้ เว็บไซต์มาร์เก็ตเพลสด้านอสังหาริมทรัพย์ ล่าสุด พบว่า ดัชนีราคาที่อยู่อาศัยในกรุงเทพฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้า 2% ถือเป็นการเพิ่มขึ้นครั้งแรกในรอบ 6 ไตรมาส   นับเป็นการแสดงให้เห็นสัญญาณบวกของตลาดอสังหาฯ ที่เริ่มเติบโตจากการเปิดตัวโครงการใหม่ ๆ ของผู้ประกอบการออกสู่ตลาด  พร้อมปล่อยสงครามราคามากระตุ้นการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคอย่างไม่หยุดยั้งหลังสถานการณ์ไวรัสโควิด-19 ในไทยเริ่มคลี่คลาย แม้กำลังซื้อผู้บริโภคเริ่มฟื้นตัวแต่ยังไม่มั่นใจในการใช้จ่าย หวังภาครัฐคลอดมาตรการกระตุ้นการซื้อขายช่วยขับเคลื่อนการเติบโตในตลาดอสังหาฯ แนะผู้ประกอบการอสังหาฯ มองหากลุ่มเป้าหมาย ต้องการซื้อเพื่ออยู่อาศัยจริง (Real Demand) ที่มีศักยภาพเพิ่มเติมเพื่อสร้างโอกาสขยายตลาดเจาะกำลังซื้อกลุ่มใหม่ในประเทศ   ตามรายงานดังกล่าว ยังเปิดเผยให้เห็นว่า จำนวนอสังหาฯ ในช่วงไตรมาสที่ 3 สูงขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าถึง 23% สะท้อนให้เห็นถึงจำนวนอสังหาฯ คงค้างในตลาดจำนวนมาก เนื่องจากผู้บริโภคใช้เวลาตัดสินใจเลือกซื้ออสังหาฯ มากขึ้น อันเป็นผลมาจากความไม่มั่นใจกับสภาวะเศรษฐกิจที่เปราะบาง ซึ่งส่งผลต่อรายได้และการพิจารณาสินเชื่อของธนาคารที่เข้มงวดขึ้น สอดคล้องกับข้อมูลรายงานแนวโน้มธุรกิจไตรมาส 3 และแนวโน้มไตรมาส 4 ปี 2563 จากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ซึ่งระบุถึงทิศทางอสังหาฯ ไทยรายภูมิภาค พบว่า ยอดขายและการโอนกรรมสิทธิ์ในภาคกลางลดลง โดยเฉพาะอาคารชุดและบ้านแนวราบระดับล่าง จากกำลังซื้อของลูกค้าชาวไทยที่ลดลง เมื่อพิจารณาการปล่อยสินเชื่ออสังหาฯ ของธนาคาร พบว่ายอดปฏิเสธสินเชื่อ (Rejection Rate) ในภาคกลางเพิ่มขึ้นมากกว่า 30% เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันในปีก่อน ขณะที่ความต้องการที่อยู่อาศัยของคนไทยในภาคเหนือยังมี แต่ไม่สามารถเข้าถึงสินเชื่อได้ โดยมียอดปฏิเสธสินเชื่อเพิ่มขึ้น 40-50% แม้เคยยื่นประเมินการขอสินเชื่อซื้ออสังหาฯ เบื้องต้น (pre-approve) ไว้   นางกมลภัทร แสวงกิจ ผู้จัดการใหญ่ประจำประเทศไทยของดีดีพร็อพเพอร์ตี้ กล่าวในงานสัมมนาภายใต้หัวข้อ “The Guru View: แนวโน้มตลาดที่อยู่อาศัยในยุคโควิด-19 ที่ยังไร้ยาต้าน” ในงาน Asia Virtual Property Expo  ว่า ตลาดอสังหาฯ ในปี 2563 นี้ถือเป็นปีที่ท้าทายอย่างมาก ทั้งในมุมผู้ประกอบการและผู้บริโภค ไม่ว่าจะเป็นตั้งแต่ต้นปีตลาดมีการชะลอตัวตามสภาพเศรษฐกิจไทย ภาวะหนี้ครัวเรือนที่ยังคงอยู่ในระดับสูง รวมทั้งมาตรการควบคุมสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย หรือ LTV ของ ธปท. ที่ส่งผลต่อการซื้อขายในตลาดอย่างมีนัยสำคัญ   เมื่อผนวกกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ยิ่งส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจทั้งระบบและทำให้ตลาดอสังหาฯ ชะลอตัวอย่างมากในช่วงครึ่งปีแรก แม้สถานการณ์หลังการล็อกดาวน์จะมีแนวโน้มไปในทิศทางที่ดีขึ้น แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่ายังคงต้องจับตาการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 รอบใหม่ในประเทศ และความไม่แน่นอนทางด้านการเมืองเป็นอีกปัจจัยที่มีผลกระทบต่อตลาดอสังหาฯ และเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศอย่างเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งต้องจับตามองต่อไปว่าภาครัฐจะออกมาตรการใดมาช่วยกระตุ้นการเติบโตในตลาดต่อจากนี้ ตลาดอสังหาฯ ในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีนี้ยังคงเป็นโอกาสทองของผู้ซื้อและนักลงทุนระยะยาวที่มีความพร้อมทางการเงิน เนื่องจากผู้ขายยังคงใช้สงครามราคามาช่วยเร่งระบายสต็อกคงค้าง ทำให้ราคาอสังหาฯ ช่วงนี้ยังไม่สูงเกินไป โดยเฉพาะรูปแบบคอนโดฯ และทาวน์เฮ้าส์ เทรนด์ซื้อที่อยู่อาศัยแนวราบยังโตต่อเนื่อง  จากข้อมูลผู้เข้าเยี่ยมชมในเว็บไซต์ DDproperty.com ในช่วงไตรมาสที่ 2 และ 3 ของปีนี้ พบว่า ผู้บริโภคให้ความสนใจเข้าชมประกาศซื้อ-ขาย-เช่าที่อยู่อาศัยในกรุงเทพฯ เติบโตขึ้นกว่า 4% แสดงถึงสัญญาณบวกของตลาด และความเชื่อมั่นของผู้บริโภคต่อมาตรการควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในประเทศของรัฐบาลได้เป็นอย่างดี   เห็นได้จากที่อยู่อาศัยแนวราบยังมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง ผู้บริโภคค้นหาบ้านเดี่ยวและทาวน์เฮ้าส์เพิ่มขึ้น 7% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า สอดคล้องกับสัดส่วนจำนวนบ้านเดี่ยวในปีนี้เติบโต 40% และทาวน์เฮ้าส์ที่เติบโต 41% เมื่อเทียบกับปี 2562 ที่ผ่านมา เนื่องจากกลุ่มผู้ซื้อเป็นผู้อยู่อาศัยจริง หันมาให้ความสำคัญในการเลือกซื้อที่อยู่อาศัยที่มีพื้นที่ใช้งานมากขึ้น ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ที่เปลี่ยนไป  จากเทรนด์ Work from Home ที่เป็นอีกหนึ่งปัจจัยในการพิจารณาเลือกซื้อบ้านในช่วงนี้ จึงเป็นโอกาสให้ผู้ประกอบการอสังหาฯ หันมาเน้นการเปิดตัวโครงการแนวราบอย่างต่อเนื่องเพื่อขยายส่วนแบ่งการตลาด โดยเฉพาะระดับราคา 1-5 ล้านบาท หลังจากที่ก่อนหน้านี้โฟกัสอยู่ที่กลุ่มตลาดกลางบน (5 ล้านบาทขึ้นไป)   ในขณะที่ตลาดให้เช่ายังมีโอกาสเติบโตเช่นกัน โดยมีการค้นหาที่อยู่อาศัยประเภทให้เช่าในกรุงเทพฯ เพิ่มขึ้น 3 % เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้านี้  ซึ่งคอนโดฯ ให้เช่ามีการเติบโตมากที่สุดถึง 9% เป็นผลมาจากสภาพเศรษฐกิจและกำลังซื้อผู้บริโภคที่ชะลอตัวทำให้การเช่าที่พักอาศัยกลายเป็นเทรนด์ที่ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น เพราะมีความเสี่ยงทางการเงินน้อยกว่า  รวมทั้งการพิจารณาการปล่อยสินเชื่อของธนาคารที่เข้มงวดขึ้นทำให้มียอดการปฏิเสธสินเชื่อเพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย   อย่างไรก็ดี ผู้บริโภคให้ความสนใจเลือกเช่าที่อยู่อาศัยที่มีอัตราค่าเช่า 30,000 บาทต่อเดือนขึ้นไป เพิ่มขึ้นถึง 20% ในรอบไตรมาสที่ผ่านมา สะท้อนให้เห็นว่า แม้ผู้บริโภคจะยังไม่พร้อมซื้ออสังหาฯ เป็นของตัวเองในตอนนี้ แต่ยังคงมีศักยภาพเพียงพอที่จะจ่ายค่าเช่าในอัตราที่สูงขึ้นในช่วง 1-2 ปี เนื่องจากมีความจำเป็นที่ต้องเลือกที่พักอาศัยในทำเลที่ต้องการ ผู้ประกอบการอสังหาฯ ควรปรับตัวรับสถานการณ์ปัจจุบันด้วยการเจาะกลุ่มกำลังซื้อใหม่ ๆ ในประเทศ เพื่อขยายโอกาสทางธุรกิจไปยังกลุ่มเป้าหมายอื่นแทนที่กลุ่มกำลังซื้อเดิมที่อาจอิ่มตัว และได้รับผลกระทบจากมาตรการ LTV
4 กลยุทธ์ “พฤกษา เรียลเอสเตท” เดินหน้าต่อ ฟื้นรายได้กลับมายืน 50,000 ล้าน

4 กลยุทธ์ “พฤกษา เรียลเอสเตท” เดินหน้าต่อ ฟื้นรายได้กลับมายืน 50,000 ล้าน

ปี 2563 ถือเป็นปีที่ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ได้รับผลกระทบจากปัจจัยลบต่าง ๆ มากมาย โดยเฉพาะการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ซึ่งส่งผลต่อเนื่องในเรื่องของภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว และกำลังซื้อของผู้บริโภคลดลง ในปัจจุบันยังมีปัญหาการเมือง ที่เข้ามาตอกย้ำให้ภาพรวมเศรษฐกิจทรุดตัวลงไปมากอีกด้วย ทำให้มีการประเมินกันว่าภาพรวมตลาดอสังหาฯ ปีนี้น่าจะติดลบไม่ต่ำกว่า 30%  โดยมูลค่าตลาดช่วง 9 เดือนแรกของปีที่มีมูลค่า 208,994 ล้านบาท ลดลง 31% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2562   สำหรับบริษัท พฤกษา เรียลเอสเตท จำกัด (มหาชน) เป็นหนึ่งในบริษัทที่ได้รับผลกระทบจากปัจจัยลบดังกล่าวไม่ต่างจากเพื่อนร่วมธุรกิจ  แต่นอกจากปัจจัยภายนอกที่กระทบต่อการดำเนินธุรกิจของพฤกษาแล้ว พฤกษายังต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงภายในองค์กรในหลายเรื่องด้วยกัน โดยเฉพาะการปรับเปลี่ยนโครงสร้างการบริหารงาน ภายหลังจากที่ “สุพัตรา เป้าเปี่ยมทรัพย์” ได้ลาออกจากการบริหารงาน ในตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ของพฤกษา เรียลเอสเตท และตำแหน่งรองประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่ม บริษัท พฤกษา โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) โดยมีนายปิยะ ประยงค์ มาดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหาร พฤกษา เรียลเอสเตท ​ แทน รวมถึงการลาออกของนายประเสริฐ แต่ดุลยสาธิตประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจพฤกษาเรียลเอสเตท – พรีเมียม ก่อนหน้านั้นด้วย ทำให้ปีนี้พฤกษา เรียลเอสเตทมีการปรับเปลี่ยนและ Reorganize ในหลายเรื่อง เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบัน 4 กลยุทธ์ Reorganize ปั้นรายได้และกำไร นายปิยะ ประยงค์  ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พฤกษา เรียลเอสเตท จำกัด (มหาชน)  เปิดเผยว่า บริษัทได้รับผลกระทบจากไวรัสโควิด-19 ทำให้ไตรมาส 2 ที่ผ่านมา ไม่มีการเปิดตัวโครงการใหม่ และบริษัทฯ มีการปรับแผนธุรกิจ ให้สอดรับกับสถานการณ์  มุ่งเน้นการเปิดโครงการใหม่  และเลือกทำการรีมาร์เก็ตติ้ง  ( Remarketing) ในโครงการ Hero Projects ซึ่งเป็นโครงการที่มีศักยภาพสูงและได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี จึงทำให้ในไตรมาสที่ 3 สามารถฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็ว  มียอดขาย​ 6,584 ล้านบาท เติบโต 88% จากไตรมาสก่อน ที่มียอดขาย 3,507 ล้านบาท มีรายได้ 6,353  ล้านบาท เติบโต 3% และมีกำไรสุทธิ 603 ล้านบาท เติบโต 9.4% จากไตรมาสก่อน ซึ่งสัดส่วนของยอดขายและรายได้ในไตรมาส 3 ที่มาจากโครงการ Hero Projects ถึง 19% และ 23% ตามลำดับ โดยที่ผ่านมา บริษัทได้ปรับองค์กรและเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารงานภายใน (Lean Organization) และจะใช้เป็นกลยุทธ์สำหรับการทำให้พฤกษา เรียลเอสเตท กลับมาเติบโตได้เหมือนช่วงที่ผ่านมา ซึ่งเน้นในการทำงานใน 4 เรื่องหลัก ดังนี้ 1.การปรับองค์กรสู่ Thinking Company พฤกษา เรียลเอสเตท ได้ปรับองค์กรใหม่ ไปสู่ Thinking Company หรือองค์กรที่มุ่งเน้นประสิทธิภาพ และการดูแลลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น  จากเดิมเป็น Operation Company หรือองค์กรที่เน้นการดำเนินงาน โดยอาจจะไม่ได้คำนึงถึงประสิทธิภาพ เช่น งานก่อสร้างโครงการแนวราบใช้ผู้รับเหมารายเล็กจำนวนมาก เปลี่ยนกลับมาใช้ผู้รับเหมารายใหญ่แทน เพื่อประสิทธิภาพมากขึ้นและต้นทุนคงที่ลดลง จากเดิมที่เคยมีประมาณ ​18-19% ลดลงเหลือ 16-17% ภายในปีหน้า และในอนาคตจะปรับลดให้ต่ำลงกว่า 15% 2.การเปิดโครงการที่เป็น Hero Project ปีที่ผ่านมาบริษัทมีโครงการเปิดดำเนินนานกว่า 200 โครงการ ในอนาคตจะปรับลดให้เหลือกว่า 100 โครงการ โดยมุ่งเน้นโครงการที่เรียกว่า Hero Project ซึ่งหมายถึงโครงการที่ตั้งอยู่ในทำเลที่ดีมีศักยภาพ พัฒนาโครงการคุณภาพ และตอบโจทย์ความต้องการของกลุ่มลูกค้าอย่างแท้จริง หรือ Customer Value  ที่ผ่านมาบริษัทอาจจะพูดคุยกับลูกค้าน้อยไปหน่อย ในการหา Customer Value และปัจจุบันการมีการวิจัยค้นหาความต้องการของลูกค้ามากขึ้น ขณะเดียวกันยังร่วมมือกับผู้รับเหมารายใหญ่ ในการบริหารต้นทุนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งทำให้สามารถลดต้นทุนการดำเนินงานได้ถึง 20-30% 3.การใช้ Data Analytic วิเคราะห์และทำการตลาด จากการพัฒนาโครงการที่มุ่งเน้น Hero Projects ทำให้บริษัทต้องทำการวิเคราะห์ข้อมูล และความต้องการลูกค้ามากขึ้นกว่าในอดีต  เพื่อพัฒนาโครงการให้ตรงตามความต้องการของลูกค้าจริง ๆ นอกจากนี้ ยังร่วมมือกับโรงพยาบาลวิมุต ในการเพิ่มบริการที่ลูกค้ามีความต้องการ เช่น เนอร์สซิ่งโฮม หรือ โฮมแคร์สำหรับผู้สูงอายุ ที่จะถูกพัฒนาไว้ในบางโครงการด้วย ​ 4.เน้นการบริหาร Stock ให้มีประสิทธิภาพ โดยปัจจุบันบริษัทบริหารสต็อกเหลือ 17,223 ล้านบาท ลดลง 31% จากปี 2562 ซึ่งจะยังคงเดินหน้าลดสต็อกสินค้าในมือให้ลดน้อยลงอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้มีอัตรากำไรสุทธิที่เพิ่มมากขึ้น ในปีหน้าคาดว่าจะลดสต็อกให้เหลือ 10,000 ล้านบาท ขณะเดียวกันยังมุ่งเน้นสร้างรายได้ให้มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยในปีหน้าคาดว่าจะเติบโตในอัตรา 15% และภายในอีก 2 ปีข้างหน้าบริษัทน่าจะกลับมารายได้เหมือนช่วงที่ผ่านมา หรือมีรายได้ประมาณ ​50,000 ล้านบาท ​ส่วนปี 2563 บริษัทคาดว่าจะทำรายได้ 31,000 ล้านบาท เปิด 2 Hero Projects ไตรมาส 4 สำหรับแนวโน้มตลาดอสังหาฯ ในช่วงโค้งท้ายปี คาดว่ายังจะมีการแข่งขันที่รุนแรง โดยเฉพาะด้านราคาและโปรโมชั่น ซึ่งพฤกษา เรียลเอสเตทยังคงใช้กลยุทธ์ราคาและโปรโมชั่น เป็นหนึ่งกลยุทธ์ในการขับเคลื่อนธุรกิจในไตรมาสสุดท้ายด้วยเช่นกัน เพื่อเร่งยอดขาย พร้อมเร่งทยอยโอน The Reserve สุขุมวิท 61 มูลค่า 2,700 ล้านบาท ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนถึง 13% ของรายได้ที่ต้องทำอีกในไตรมาส 4 เมื่อประกอบกับรายได้จากการโอนฮีโร่โปรเจคราว 32% และโครงการอื่น ๆ ที่เปิดขายอยู่อีกราว 55% คาดว่าจะช่วยผลักดันให้บริษัทฯ สามารถบรรลุเป้าหมายรายได้ที่วางไว้ได้ นอกจากนี้ ยังเตรียมเปิดโครงการใหม่ในไตรมาส 4 เพิ่มขึ้นอีก 2 โครงการ  รวมเปิดโครงการใหม่ทั้งปี 2563 จำนวน 13 โครงการ  จากช่วง 9 เดือนแรก บริษัทเปิดโครงการไปแล้ว 11  โครงการ มูลค่ารวม 13,620 ล้านบาท  ซึ่งในไตรมาส 4 จะเป็นโครงการ Hero Project  ได้แก่ The Plant รังสิต-อเวนิว บ้านเดี่ยว  มูลค่าโครงการ 985 ล้านบาท ราคา 3 - 5 ล้านบาท และโครงการ พฤกษาวิลล์ ศรีนครินทร์-บางนา  มูลค่าโครงการ 1,101 ล้านบาท  ราคาเริ่มต้น 2 – 3 ล้านบาท แผนปี 64 เปิด 30-35 โปรเจ็กต์ ในปี 2563 ถือว่าตลาดไม่เอื้ออำนวยให้พฤกษา เรียลเอสเตท เปิดตัวโปรเจ็กต์ได้ตามแผนที่วางไว้ ซึ่งโครงการประมาณ​20 โปรเจ็กต์ จะถูกเลื่อนไปเปิดตัวในปี 2564 โดยตามแผนในปีหน้า จะมีการเปิดตัวโครงการรวมทั้งหมดประมาณ 30-35 โครงการ มูลค่า 30,000-35,000 ล้านบาท ซึ่งจะมีโครงการในลักษณะ Hero Projects 30% ซึ่งจะเน้นตลาดที่มีศักยภาพในกลุ่มลูกค้าที่มีฐานรายได้ตั้งแต่ 50,000-100,000 บาท เนื่องจากไม่ได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจ และมีกำลังซื้อที่ดี  ในปีหน้าบริษัทจะเปิดโครงการคอนโดมิเนียม 7 โครงการ จับตลาดระดับราคา 2-5 ล้านลาท และหนึ่งในนั้นจะเป็นโครงการร่วมทุนกับพันธมิตรจากประเทศญี่ปุ่น ที่มีความเชี่ยวชาญด้านธุรกิจเฮลท์แคร์   ด้านความคืบหน้าโรงพยาบาลวิมุต นายแพทย์กฤตวิทย์ เลิศอุตสาหกูล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โรงพยาบาลวิมุต จำกัด เปิดเผยว่า ขณะนี้ความคืบหน้าของการก่อสร้างโรงพยาบาลวิมุตเป็นไปตามแผนงาน โดยจะเป็นสถานพยาบาลระดับ Tertiary Care ขนาด 236 เตียง 18 ชั้น ออกแบบสอดคล้องตามมาตรฐานสากล JCI ภายใต้วิสัยทัศน์ขององค์กรที่มุ่งมั่นตั้งใจรักษาให้คนไทยมีสุขภาพแข็งแรง พ้นทุกข์จากการเจ็บป่วยทั้งทางร่างกายและจิตใจ เข้าถึงการรักษาโดยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ใส่ใจดูแลคนไข้เสมือนคนในครอบครัว ตรวจวินิจฉัย และรักษาได้ตรงจุดด้วยเทคโนโลยี และเครื่องมือการแพทย์ที่ทันสมัย พร้อมยาที่มีคุณภาพ ประทับใจการบริการรักษาที่มีประสิทธิภาพ ด้วยค่าใช้จ่ายที่เข้าถึงได้ ซึ่งคาดจะเปิดให้บริการตามแผนงานในเดือนพฤษภาคม 2564  
“ออริจิ้น” เปิด 6 โปรเจ็กต์ใหม่ หลังโชว์กำไร Q3 กว่า 717 ล้าน

“ออริจิ้น” เปิด 6 โปรเจ็กต์ใหม่ หลังโชว์กำไร Q3 กว่า 717 ล้าน

“ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้” ได้แรงหนุนโปรเจ็กต์ร่วมทุน ยอดโอนทำนิวไฮ ดันกำไรไตรมาส 3 กว่า 717 ล้าน ขณะที่ไตรมาสสุดท้ายโปรเจ็กต์ใหม่  6 โครงการ มูลค่ากว่า 8,900 ล้านทำตลาด รักษา Top 5 ผู้นำอสังหาฯ   นายพีระพงศ์ จรูญเอก ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) หรือ ORI ผู้พัฒนาธุรกิจอสังหาริมทรัพย์แบบครบวงจร เปิดเผยว่า ผลการดำเนินงานไตรมาส 3/2563 บริษัทสร้างยอดโอนรวมกว่า 3,896 ล้านบาท แบ่งเป็น กลุ่มโครงการที่ไม่ได้ร่วมทุน (Non-JV) 2,207 ล้านบาท และกลุ่มโครงการร่วมทุน (JV) 1,689 ล้านบาท ส่งผลให้บริษัทมีกำไรสุทธิอยู่ที่ 717 ล้านบาท เพิ่มขึ้นทั้งจากไตรมาสก่อนหน้าและช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ​โดยคิดเป็นอัตรากำไรสุทธิ (Net Profit Margin) อยู่ที่ระดับ 28.2% ซึ่งสูงที่สุดเท่าที่บริษัทเคยทำมา และทำให้บริษัทยังคงอันดับการทำกำไรอยู่ในกลุ่มท็อป 5 ของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ไทยได้อย่างแข็งแกร่ง ปีนี้กำไรของเราโดดเด่นติดท็อป 5 ได้ในทุกไตรมาส เนื่องจากปีนี้เป็นปีแรกที่เราเริ่มเก็บเกี่ยวผลงานจากโครงการร่วมทุน โดยเฉพาะในไตรมาส 3  ยอดโอนโครงการ JV ของเราทำสถิตินิวไฮที่ 1,689 ล้านบาท ส่วนสำคัญ มาจาก โครงการ ไนท์บริดจ์ ไพร์ม อ่อนนุช ที่มียอดโอนสูงถึง 1,000 ล้านบาท   นายพีระพงศ์ กล่าวอีกว่า สำหรับไตรมาส 4/2563 บริษัทคาดว่าจะสามารถรักษาระดับผลประกอบการให้โดดเด่นอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากเห็นสัญญาณบวกจากปัจจัยภายนอกหลายด้านต่อธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ทั้งภาพรวมเศรษฐกิจประเทศที่มีแนวโน้มดีขึ้นจากการเลือกตั้งของสหรัฐอเมริกาที่เพิ่งผ่านไป ขณะเดียวกัน นโยบายภาครัฐที่ขยายเวลารับส่วนลดค่าธรรมเนียมการโอนกรรมสิทธิ์ถึงสิ้นปีนี้ น่าจะเป็นตัวกระตุ้นให้ผู้บริโภคตัดสินใจโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยภายในไตรมาสนี้ได้ดี ส่วนปัจจัยภายในบริษัทสามารถพัฒนาโครงการใหม่แล้วเสร็จตามกำหนด พร้อมทยอยโอนกรรมสิทธิ์เพิ่มเติมอีก 8 โครงการ มูลค่าโครงการรวมประมาณ 10,540 ล้านบาท จำนวนดังกล่าวเป็นโครงการ JV 1 โครงการ คือโครงการคอนโดมิเนียมไนท์บริดจ์ สเปซ รัชโยธิน มูลค่าโครงการ 2,700 ล้านบาท ที่มี Backlog แล้วกว่า 93%  ขณะเดียวกัน โครงการทั้งกลุ่ม Non-JV และ JV ที่สร้างเสร็จก่อนหน้านี้ ก็ยังจะทยอยโอนกรรมสิทธิ์กันอย่างต่อเนื่อง บริษัทคาดว่าไตรมาส 4/2563 จะเป็นไตรมาสที่มีกิจกรรมการโอนกรรมสิทธิ์ และมีกำไรโดดเด่นที่สุดอีกไตรมาสหนึ่งของปีนี้   บริษัทยังเตรียมเปิดตัวโครงการใหม่  6 โครงการ มูลค่ารวม  8,950 ล้านบาท รวมถึงเปิดตัวแบรนด์ใหม่ 2 แบรนด์ ได้แก่ แบรนด์บ้านเดี่ยวระดับลักชัวรี่ เบลกราเวีย (BELGRAVIA) และแบรนด์คอนโดมิเนียมระดับไฮเอนด์ โซโห แบงค็อก (SOHO BANGKOK) เพื่อขยายเซ็กเมนท์การดำเนินธุรกิจของบริษัทให้ครอบคลุมตลาดมากยิ่งขึ้น ทุกคนรู้ว่าตลาดปีนี้อาจไม่ได้สดใสมากนัก เนื่องจากผลกระทบของ COVID-19 โชคดีของเราคือ เราสร้างรากฐานที่ดีมาตั้งแต่อดีต แม้เราเพิ่งมาพูดเรื่อง Open Platform ปีนี้ แต่จริงๆ เรา Open เรื่องการร่วมทุน เรื่องการผนึกกับพันธมิตรมาตั้งแต่เมื่อ 3 ปีที่แล้ว ล่าสุด ยอดขาย 10 เดือนของเราทะลุเป้าหมาย 21,500 ล้านบาทของปีนี้ไปแล้ว    
เอสซีฯ ทุบสถิติสร้างนิวไฮ Q3 เดินหน้าเปิดโปรเจ็กต์ดันเป้า 17,000 ล้าน

เอสซีฯ ทุบสถิติสร้างนิวไฮ Q3 เดินหน้าเปิดโปรเจ็กต์ดันเป้า 17,000 ล้าน

เอสซีฯ โชว์ผลประกอบการไตรมาส 3 สร้างสถิติทำนิวไฮยอดโอนแนวราบ หนุนรายได้รวม 9 เดือนถึง 13,637 ล้าน โต 25% กำไรสุทธิ 1,440 ล้าน โต 39%  มั่นใจสิ้นปีรายได้ถึงเป้า 17,000 ล้าน  พร้อมรุกลงทุนแนวราบเพิ่ม รักษาความเป็นผู้นำบ้านคุณภาพสูง   นายอรรถพล สฤษฎิพันธาวาทย์ ประธานเจ้าหน้าที่ด้านสนับสนุนองค์กร บริษัท เอสซี แอสเสท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ SC เปิดเผยถึงผลการดำเนินงานในไตรมาส 3 ที่ผ่านมาว่า บริษัทฯ มีการเติบโตต่อเนื่องทั้งรายได้และกำไรสุทธิ   โดยมีรายได้รวม 5,749 ล้านบาท เติบโต 35%  จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา และกำไรสุทธิ 684 ล้านบาท คิดเป็น 11.90% ของรายได้ เติบโต 55% จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ​ โดยในไตรมาส 3 บริษัทมีรายได้จากโครงการแนวราบ 4,406 ล้านบาท เติบโต 54% จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ซึ่งคิดเป็นสัดส่วน 80% ของรายได้จากการขายทั้งหมด   สำหรับรายได้รวม 9 เดือนที่ผ่านมา บริษัทมีจำนวน 13,637 ล้านบาท เติบโต 25% จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ซึ่งเป็นรายได้จากการดำเนินงาน 13,577 ล้านบาท เติบโต 24% สัดส่วนหลักมาจากรายได้จากการขาย 95% และอีก 5% เป็นรายได้จากค่าเช่าและบริการ  มีกำไรสุทธิ 1,440 ล้านบาท เติบโต 39% จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ในขณะที่ยอดขายรวม 12,375 ล้านบาท เติบโต 8% มาจากยอดขายหลักของแนวราบ 11,342 ล้านบาทที่เป็นสถิติยอดขายสูงสุดของ 9 เดือนด้วย  สำหรับภาพรวมสถานะทางการเงิน ณ วันที่ 30 กันยายน 2563 บริษัทฯ มีสินทรัพย์รวม และหนี้สินรวม เท่ากับ 43,674 ล้านบาท และ 25,475 ล้านบาทตามลำดับ โดยมีอัตราส่วนหนี้สินรวมต่อส่วนของผู้ถือหุ้นรวม เท่ากับ 1.40 เท่า   นายอรรถพล กล่าวเพิ่มเติมว่า  SC ยังเน้นพัฒนาโครงการแนวราบซึ่งเป็นพอร์ตหลักที่ได้รับการตอบรับที่ดีมากมาตลอดในทุกระดับราคา จากปัจจัยสำคัญคือการรักษามาตรฐานคุณภาพสูง โดยปัจจุบันมีที่ดินพร้อมสำหรับโครงการแนวราบที่จะเปิดขายใหม่  ในปี 2564 และมีความพร้อมในการลงทุนที่ดินใหม่เพื่อรองรับการสร้างรายได้ในปี 2565-2566 ส่วนในไตรมาสสุดท้ายของปีนี้ มีแผนเปิดตัว 4 โครงการใหม่โดยเป็นโครงการแนวราบทั้งหมด มูลค่ารวม 4,670 ล้านบาท ทำให้บริษัทมีโครงการเพื่อขายทั้งหมดจำนวน 58 โครงการ มูลค่าคงเหลือเพื่อขายรวม 44,670 ล้านบาท แบ่งเป็น 50 โครงการแนวราบ และอีก 8 โครงการแนวสูง พร้อมกับมี Backlog ที่รอโอนและรับรู้รายได้ในปีนี้อีกประมาณ 4,000 ล้านบาท บริษัทมีความมั่นใจว่า ปี 2563 จะสามารถบรรลุเป้ารายได้ 17,000 ล้านบาท