Tag : News

2376 ผลลัพธ์
เอพี ทุบสถิติรายได้ 9 เดือน สูงสุด พร้อมกำไรสูงกว่าปี 62 ทั้งปี

เอพี ทุบสถิติรายได้ 9 เดือน สูงสุด พร้อมกำไรสูงกว่าปี 62 ทั้งปี

เอพี ฝ่าวิกฤตโควิด-19  สร้างรายได้รวม 9 เดือนแรก 35,180 ล้านบาท พุ่งสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ทำกำไร สุทธิ  3,280 ล้านบาท สูงกว่าปี 2562  ทั้งปี  ผลจากการสลับพอร์ตสินค้าที่รวดเร็ว ดึงเกมแนวราบเสริมแกร่ง ควบคู่ดีมานด์คอนโดเข้าอยู่จริงมีต่อเนื่อง ชู LIFE ลาดพร้าว และ LIFE อโศก -พระราม 9 คีย์ไดรฟ์สำคัญหนุนรายได้ เพิ่มงบซื้อที่ดินรวมทั้งปีที่ 9,500 ล้าน  เติมพอร์ตแนวราบ ช่วงโค้งเตรียมเปิด ASPIRE เอราวัณ ไพร์ม มูลค่า 3,200 ล้านบาท รับดีมานด์ตลาดคอนโดยังมีอยู่​   นายอนุพงษ์ อัศวโภคิน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอพี (ไทยแลนด์) จำกัด (มหาชน) หรือ AP เปิดเผยว่า 9 เดือนแรกของปี เอพีมีอัตราการเติบโตที่สูงมากเป็นประวัติการณ์  สร้างรายได้รวมจากสินค้าแนวราบ กลุ่มคอนโดมิเนียม (100%JV) และธุรกิจอื่นๆ ได้สูงถึง 35,180 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 56% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้าที่มีรายได้รวมเท่ากับ 22,510 ล้านบาท ซึ่งเป็นผลจากการปรับแผนเพิ่มสัดส่วนการพัฒนาสินค้าแนวราบ ควบคู่ไปกับแผนการโอนกรรมสิทธิ์ คอนโดมิเนียมที่สร้างเสร็จในปีนี้ ซึ่งยังคงได้รับผลตอบรับที่ดี โดยเฉพาะในไตรมาส 3 นี้ ส่วนหนึ่งของยอดรับรู้รายได้ที่เพิ่มขึ้นมาจากการทยอยโอนกรรมสิทธิ์ LIFE ลาดพร้าว LIFE อโศก-พระราม 9 และ ASPIRE อโศก-รัชดา นับเป็นเวลานานกว่า 10 เดือนแล้วที่ทั่วโลกต้องเผชิญกับวิกฤต โควิด-19 ซึ่งวิกฤตครั้งนี้ใหญ่และแตกต่างจากทุกวิกฤตที่ผ่านมา ทางรอดเดียวที่จะก้าวผ่านไป คือ การปรับตัวที่รวดเร็ว ภายใต้การบริหารจัดการกระแสเงินสดที่รัดกุม ส่งผลให้ท่ามกลางวิกฤตที่เกิดขึ้นบริษัทฯ ยังคงสามารถสร้างผลการดำเนินงานที่เติบโตขึ้นในทุกไตรมาส ด้านกำไรสุทธิรวม 9 เดือนแรกของปี 2563  สูงถึง 3,280 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 50% หากเทียบกับงวดเดียวกันของปี 2562 ที่มีกำไรสุทธิรวมเท่ากับ 2,180 ล้านบาท และสูงกว่ากำไรของปี 2562 ที่มีจำนวน 3,060 ล้านบาท อีกด้วย ด้านสัดส่วนหนี้สินต่อทุนอยู่ที่ 0.82 เท่า ต่างจากงวดเดียวกันของปีก่อนหน้าที่ 0.99 เท่า สะท้อนได้ถึงความสามารถในการบริหารจัดการทางการเงินที่ดีภายใต้สภาวะความกดดันจากวิกฤตที่เกิดขึ้น ปัจจุบันบริษัทได้เพิ่มงบประมาณในการจัดซื้อที่ดินขึ้นเป็น 9,500 ล้านบาท หลังจากเมื่อเดือนเมษาที่ผ่านมาได้ตัดลงเหลือ 4,500 ล้านบาท   ณ วันที่ 31 ตุลาคม 2563 บริษัทฯ มีสินค้ารอรับรู้รายได้มูลค่ามากถึงเกือบ 40,000 ล้านบาท เป็นโครงการแนวราบมูลค่าราว 10,000 ล้านบาท และคอนโดมิเนียมมูลค่า 30,000 ล้านบาท (รวมโครงการร่วมทุน) ซึ่งจะทยอยรับรู้ไปจนถึงปี 2566 ซึ่งบริษัทฯ ​มั่นใจว่าไตรมาสสุดท้ายของปีจะสามารถสร้างรายได้รวมได้ตามเป้าหมายที่คาดการณ์ไว้ ที่จำนวน  40,550 ล้านบาท ด้วยแรงส่งของพอร์ตสินค้าแนวราบที่อยู่ระหว่างการขายที่มากกว่า 90 โครงการ และคอนโดมิเนียมที่ก่อสร้างแล้วเสร็จพร้อมโอนกรรมสิทธิ์อีกมากกว่า 9 โครงการ เช่น ASPIRE อโศก-รัชดา LIFE ลาดพร้าว LIFE อโศก - พระราม 9 และ LIFE วัน ไวร์เลส เป็นต้น “ผมเชื่อว่าเราจะอยู่กับวิกฤตอย่างนี้ต่อไปอีกอย่างน้อย 6 เดือน อย่างยาวผมไม่รู้ เพราะครั้งนี้ไม่ใช่วิกฤตที่เกิดขึ้นเฉพาะในประเทศเรา แต่เป็นกันทั่วโลก ช่วงที่ผ่านมาพิสูจน์ให้เราเห็นแล้วถึงผลกระทบ ของการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ทั้งวิธีการทำงาน การซื้อ-ขาย การดำเนินชีวิต ตลอดจนพฤติกรรมการอยู่อาศัย แต่การเปลี่ยนแปลงยังไม่หยุดเพียงเท่านี้ พายุลูกใหม่กำลังจะเข้ามา ผู้นำองค์กรต้องประเมินสถานการณ์รอบด้าน โดยเฉพาะลูกค้าว่าเปลี่ยนไปในทิศทางใด ทำอะไรถึงจะตอบความต้องการใหม่ของเค้าได้ เตรียมคนในองค์กร ประกอบกับการบริหารจัดการกระแสเงินสด เพื่อให้เรารอดผ่านวิกฤตนี้ไปด้วยกัน”      สำหรับแผนการดำเนินงานท่ามกลางภาวะวิกฤตที่เกิดขึ้นในปีนี้ นอกจากการปรับพอร์ตการเปิดตัวสินค้าใหม่มาเป็นบ้านเดี่ยวและทาวน์โฮมรวมทั้งสิ้น 39 โครงการ มูลค่ารวม 41,820 ล้านบาทแล้วนั้น ในช่วงไตรมาสสุดท้ายดีมานด์ตลาดคอนโดมิเนียมเริ่มส่งสัญญาณในทิศทางที่ดี บริษัทฯ​ จึงได้ปรับแผนเปิดคอนโดมิเนียม 1 โครงการ ได้แก่ ASPIRE เอราวัณ ไพร์ม มูลค่า 3,200 ล้านบาท รวมทั้งสิ้นปี 2563 นี้บริษัทเปิดตัวโครงการใหม่ทั้งสิ้น 40 โครงการ มูลค่ารวม 45,020 ล้านบาท ด้านยอดขาย 10 เดือนแรก ณ วันที่ 31 ตุลาคมนี้ บริษัทฯ สร้างยอดขายรวมได้แล้วถึง 27,300 ล้านบาท ทั้งนี้ สรุปตัวเลขทางการเงินเฉพาะไตรมาส 3 ปี 2563 บริษัทฯ มีรายได้รวมจากสินค้าแนวราบกลุ่มคอนโดมิเนียม (100%JV) และธุรกิจอื่นๆ เท่ากับ 15,219 ล้านบาท เติบโตเพิ่มขึ้น 140% หากเทียบกับงวดเดียวกันของปี 2562 ที่มีรายได้รวมเท่ากับ 6,353 ล้านบาท ด้านกำไรสุทธิเท่ากับ 1,451 ล้านบาท เติบโต 135% หากเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2562 ที่ได้ 618 ล้านบาท  
แกรนด์ แอสเสทฯ ลุยธุรกิจเฮลท์แคร์ จับมือพันธมิตรตั้งโรงงานผลิตถุงมือยาง

แกรนด์ แอสเสทฯ ลุยธุรกิจเฮลท์แคร์ จับมือพันธมิตรตั้งโรงงานผลิตถุงมือยาง

แกรนด์ แอสเสทฯ รุกธุรกิจสุขภาพ จับมือ วัฒนชัย รับเบอร์เมท  ตั้งบริษัทร่วมทุน “แกรนด์ โกลบอล โกล์ฟ” ใช้ไทยเป็นฐานผลิตและส่งออกถุงมือยาง  วางเป้าเบอร์ 2 รายใหญ่ด้านผู้ผลิตถุงมือ ของไทย   นายวิชัย ทองแตง ประธานกรรมการ บริษัท แกรนด์ แอสเสท โฮเทลส์ แอนด์ พรอพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) หรือ GRAND เปิดเผยว่า บริษัทฯ ได้มีการร่วมลงทุนกับ บริษัท วัฒนชัย รับเบอร์เมท จำกัด หรือ WA ในสัดส่วน  50.5%  จัดตั้ง บริษัท แกรนด์ โกลบอล โกล์ฟ จำกัด (GGG) เพื่อผลิตและส่งออกถุงมือยาง โดยเตรียมลงทุนตั้งโรงงานผลิตถุงมือยางภายใต้แบรนด์ GGG ในนิคมอุตสาหกรรมทีเอฟดี จังหวัดฉะเชิงเทรา ซึ่งจะมีกำลังการผลิต 5,000 ล้านชิ้นต่อปี วางเป้าหมายขึ้นเป็นผู้ประกอบธุรกิจถุงมือยางรายใหญ่อันดับ 2 ของไทย การลงทุนครั้งนี้ เป็นการขยายเข้าสู่กลุ่มธุรกิจสุขภาพหรือเฮลท์แคร์เพิ่มขึ้น นอกเหนือจากธุรกิจโรงแรมและอสังหาริมทรัพย์ที่ดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน เพราะวิกฤติโควิด-19 ได้ก่อให้เกิดผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจและวิถีชีวิตของคนอย่างมาก  โลกต้องปรับตัวเนื่องจากบริบทโลกได้เปลี่ยนไป เป็นกระแสให้ทุกธุรกิจต้องปรับตัวเข้าสู่โมเดลธุรกิจใหม่ สำหรับประเทศไทย ได้รับการยอมรับจากประชาคมโลกว่ามีความโดดเด่นในด้านเฮลท์แคร์  จึงถือเป็นศักยภาพที่เข้มแข็งที่สุด แกรนด์ แอสเสทฯ ให้ความสำคัญกับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว และเราเลือกที่จะปรับแนวทางให้สอดคล้องกับศักยภาพของประเทศ มั่นใจว่าการขยายธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ จากนี้ไปจะเป็น New Future ของธุรกิจอสังหาฯ และธุรกิจอื่นๆ ด้วย   การขยายสู่ธุรกิจผลิตถุงมือยางครั้งนี้ ยังเล็งเห็นถึงโอกาสที่จะสร้างการเติบโตที่สำคัญให้กับบริษัท จากธุรกิจที่มีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง และมีความต้องการใช้ถุงมือยางของโลกที่เพิ่มขึ้นและยังมีแนวโน้มขยายตัวได้อีกมาก การร่วมทุนกับวัฒนชัย รับเบอร์เมท ซึ่งมีประสบการณ์ยาวนานกว่า 30 ปี และเป็นหนึ่งในผู้นำด้านการผลิตและจำหน่ายถุงมือยางที่ประสบความสำเร็จในการส่งออกไปทั่วโลก  การที่บริษัทมีพันธมิตรทั้งกลุ่มสุขภาพและอุตสาหกรรมการแพทย์ซึ่งเป็นผู้ใช้โดยตรงในประเทศ  รวมถึงความเชี่ยวชาญของผู้บริหารที่อยู่ในวงการวิทยาศาสตร์และการแพทย์ ทำให้บริษัทก้าวเข้ามาเป็นผู้เล่นหน้าใหม่ในธุรกิจนี้ได้อย่างมั่นใจ ประมาณการความต้องการใช้ถุงมือยางทั่วโลก ปี 2561-2566 และส่วนแบ่งทางการตลาดตามประเทศผู้ผลิต ปี 2562 บริษัทจะเริ่มจากการผลิตถุงมือยางที่ใช้ในทางการแพทย์และอุตสาหกรรมอื่น ผลิตภัณฑ์หลักได้แก่ ถุงมือยางธรรมชาติหรือลาเท็กซ์ และถุงมือยางสังเคราะห์หรือไนไตร ภายใต้มาตรฐานใหม่ในด้านรูปแบบ และเทคโนโลยีการผลิต โดยจะผลิตและจัดจำหน่ายในประเทศ รวมทั้งส่งออกไปยังประเทศต่างๆ ทั่วโลกที่มีปริมาณความต้องการใช้ถุงมือยางจำนวนมากเป็นตลาดหลัก ประมาณการการขยายตลาดไปในแต่ละภูมิภาคจะประกอบด้วย ยุโรป 30% เอเชีย  25%  สหรัฐอเมริกา 15% ตะวันออกกลาง 15% และอื่นๆ อีก 15%   ปัจจุบันส่วนแบ่งทางการตลาดของถุงมือยางโลก กระจุกตัวอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มากถึง  86% ประกอบด้วย มาเลเซีย ไทย และอินโดนีเซีย เนื่องจากเป็นแหล่งเพาะปลูกยางพาราที่สำคัญของโลก ขณะที่มาเลเซียซึ่งมีส่วนแบ่งทางการตลาดมากที่สุด ต้องนำเข้าน้ำยางธรรมชาติจากไทยเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิต ประเทศไทยในฐานะประเทศผู้ผลิตและส่งออกน้ำยางข้นอันดับหนึ่งของโลก จึงมีศักยภาพที่จะเพิ่มส่วนแบ่งการ ตลาดของถุงมือยางโลก บริษัทพร้อมเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนเกษตรกรผู้ปลูกยางพารา และร่วมผลักดันประเทศไทยสู่การเป็นศูนย์กลางการผลิตถุงมือยางธรรมชาติของโลก โดยจะจัดตั้งบริษัทจัดจำหน่ายและโลจิสติกส์ ระดับโลก เพื่อรองรับการจัดจำหน่ายให้กับตัวแทนซื้อระดับนานาชาติ รวมถึงผู้ใช้ปลายทางจากทั่วโลก ประมาณการการขยายการตลาดไปในแต่ละภูมิภาคของ บริษัท แกรนด์ โกลบอล โกล์ฟ จำกัด จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลก (WHO) ในช่วงปี 2553-2562 ความต้องการใช้ถุงมือยางของโลก มีอัตราเติบโตเฉลี่ย 8% ต่อปี โดยมีปัจจัยหนุนทั้งการขยายตัวของประชากรโลก ซึ่งมีการใช้ถุงมือยางทั้งในภาคอุตสาหกรรมและสาธารณสุข ในปี 2563 การแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลให้ความต้องการใช้ถุงมือยางของโลกพุ่งขึ้นสูงมาก เพื่อตอบโจทย์การใช้งานภายใต้วิถีชีวิตใหม่ ความต้องการใช้ถุงมือยางของโลกในปี 2563 จะมากกว่า 330,000 ล้านชิ้นต่อปี และคาดการณ์ว่าปี 2564 จนถึงปี 2566 จะเติบโตไปถึง 500,000 ล้านชิ้นต่อปี เป็นผลมาจากปัจจัยหลัก ได้แก่ การเติบโตของอุตสาหกรรมทางการแพทย์ และการเติบโตของผู้บริโภคทั่วโลกที่ให้ความสำคัญด้านสุขอนามัยอย่างมากในปัจจุบัน สะท้อนโอกาสของผู้ผลิตถุงมือยางในการเร่งส่งออกไปยังตลาดโลก  
AWC ผลงานไตรมาส 3 ฟื้นตัว แต่ยังขาดทุน 620 ล้าน

AWC ผลงานไตรมาส 3 ฟื้นตัว แต่ยังขาดทุน 620 ล้าน

AWC ประกาศผลงาน ไตรมาส 3 ปรับตัวดีขึ้น หลังการท่องเที่ยวเริ่มฟื้น สถานการณ์โควิดคลี่คลายรัฐเดินหน้าผ่อนปรนระยะที่ 6 สร้างรายได้รวม 1,225 ล้านบาท สูงขึ้น 63.5%  จากไตรมาสก่อนหน้า แต่ยังขาดทุนกว่า 620 ล้าน   AWC รายงานผลประกอบการไตรมาส 3/2563 ที่ผ่านมา ว่าขาดทุนสุทธิ 620 ล้านบาท ปรับตัวดีขึ้น 29.3% จากไตรมาส 2/2563 ซึ่งขาดทุนกว่า 876 ล้านบาท  โดยไตรมาส 3/2563 มีรายได้รวม 1,225 ล้านบาท หรือลดลง 61.9% จาก 3,213 ล้านบาท เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ด้วยผลกระทบต่อเนื่องสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 แม้ว่าในปัจจุบันได้มีประกาศมาตรการผ่อนปรนระยะที่ 6 ที่อนุญาตให้ชาวต่างชาติบางกลุ่มเดินทางเข้าประเทศไทยได้ แต่ยังไม่สามารถเดินทางเพื่อการท่องเที่ยวได้   อย่างไรก็ตาม หากพิจารณารายได้รวมไตรมาส 3/2563 เทียบกับไตรมาส 2/2563 จะเห็นได้รายได้รวมปรับตัวสูงขึ้น 63.5% แสดงให้เห็นถึงการฟื้นตัวและแนวโน้มที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่องของการท่องเที่ยวภายในประเทศ นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังสามารถควบคุมค่ายใช้จ่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีอัตราส่วนค่าใช้จ่ายการดำเนินงานต่อรายได้จากการดำเนินงานในไตรมาส 3/2563 ลดลง 18.9% จากไตรมาส 2/2563 เป็นผลมาจากแผนการปรับโครงการสร้างองค์กรควบคู่ไปกับมาตรการควบคุมและเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารค่าใช้จ่าย (Cost Control and Efficiency Initiatives) ซึ่งเป็นการรากฐานที่แข็งแกร่งให้กับการบริหารงานและค่าใช้จ่ายอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดอย่างยั่งยืน ไตรมาส 3 ขาดทุนลดเหลือ 620 ล้าน นางวัลลภา ไตรโสรัส ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท แอสเสท เวิรด์ คอร์ป จำกัด (มหาชน) หรือ AWC เปิดเผยว่า  ในเดือนกรกฏาคม โรงแรมภายใต้ AWC เกือบทั้งหมด (ยกเว้นโรงแรม เชอราตัน สมุย รีสอร์ท) ได้กลับมาเปิดให้บริการ และตั้งแต่ช่วงปลายเดือนสิงหาคม โรงแรมภายใต้ AWC อีก 2 แห่ง ได้แก่ โรงแรม เลอ เมอริเดียน กรุงเทพ และ โรงแรม ดับเบิ้ลทรี บาย ฮิลตัน สุขุมวิท กรุงเทพฯ ได้เข้าร่วมการเป็นสถานที่กักตัวทางเลือก (Alternative State Quarantine: ASQ) ทำให้อัตราการเข้าพักเฉลี่ยของโรงแรมทั้งหมดของบริษัท (Average Occupancy Rate) เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่อย่างไรก็ตาม บริษัทฯ​ ยังคงได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ซึ่งทำให้นักท่องเที่ยวต่างชาติยังไม่สามารถเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวได้ และยังมีการลดค่าเช่าให้กับผู้ประกอบการร้านค้าเช่าบางรายในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เพื่อการค้า (Retail) เพื่อให้สามารถผ่านวิกฤตไปได้ร่วมกันกับ AWC ส่งผลให้บริษัทมีผลขาดทุนสุทธิไตรมาส 3/2563 ที่ 620 ล้านบาท แม้ว่าจะยังคงได้รับผลประโยชน์อย่างต่อเนื่องจากกลยุทธ์การลงทุนที่หลากหลายและสมดุลเชิงธุรกิจ (Balanced and Diversified Portfolio) ที่ทำให้บริษัทสามารถสร้างกระแสเงินสดได้อย่างมั่นคง อัดโปรฯ กระตุ้นธุรกิจโรงแรม กลุ่มธุรกิจโรงแรมและการบริการ (Hospitality) ของบริษัท ยังคงได้รับผลกระทบจากภาพรวมการท่องเที่ยวระหว่างประเทศ ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงกับรายได้ของกลุ่มธุรกิจโรงแรมและการบริการของบริษัท โดยมีรายได้ 451 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ที่มีรายได้ 2,104 ล้านบาท แต่เพิ่มขึ้นจากไตรมาส 2/2563 ที่มีรายได้ 130 ล้านบาท   อย่างไรก็ตาม AWC ได้ออกโปรแกรมส่งเสริมการท่องเที่ยวในประเทศอย่างต่อเนื่อง อาทิ Thai Holidays Lifestyle, Gift of Hapiness จาก 16 โรงแรมภายใต้ AWC ขานรับโครงการ “เราเที่ยวด้วยกัน” อีกทั้ง Bangkok Holidays Lifestyle, Gift of Happiness เพื่อกระตุ้นตลาดการท่องเที่ยวในกรุงเทพฯ ซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี ด้วยยอดจองโรงแรมต่างๆ อาทิ โรงแรม แบงค็อก แมริออท มาร์คีส์ ควีนส์ปาร์ค ที่ได้ยอดจองกว่า 5,000 คืน นอกจากนี้ ยังได้ออกแพคเกจ AWC INFINITE LIFESTYLE: INFINITE POINT OF HAPPINESS แพ็กเกจคะแนน Infinite Point ที่ตอบโจทย์ทุกไลฟ์สไตล์ สำหรับใช้เข้าพักหรือแลกเพื่อใช้บริการที่หลากหลายในโรงแรมและรีสอร์ตใดก็ได้ในเครือ AWC ทั้ง 15 แห่งทั่วประเทศ ตอบรับนโยบายการท่องเที่ยวของภาครัฐ และส่งเสริมอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและเศรษฐกิจไทยให้พลิกฟื้นและเดินหน้าอย่างแข็งแกร่ง ส่งผลให้โรงแรมต่างๆ ภายใต้ AWC มี RGI Index ปรับตัวสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด   โดยโรงแรมในกรุงเทพฯ อาทิ โรงแรม เลอ เมอริเดียน และโรงแรม แบงค็อกแมริออท เดอะ สุรวงศ์ มี RGI Index เดือนกันยายนสูงถึง 268.2 และ 252.9 ตามลำดับ และโรงแรมในเมืองท่องเที่ยวสำคัญอย่าง โรงแรม ภูเก็ต แมริออท รีสอร์ท แอนด์ สปา, ในยางบีช และโรงแรม หัวหิน แมริออท รีสอร์ท และ สปา มี RGI Index ในไตรมาสที่ 3/2563 สูงถึง 387.0 และ 146.3 ตามลำดับ ทำให้รายได้ของกลุ่มธุรกิจโรงแรมและการบริการของบริษัทปรับตัวสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ จาก 126 ล้านบาทในไตรมาส 2/2563 เป็น 450 ล้านบาทในไตรมาส 3/2563 หรือเพิ่มขึ้นกว่า 257.1%   ในขณะที่รายได้ของกลุ่มอสังหาริมทรัพย์เพื่อการพาณิชย์ (Retail and Commercial) ได้ปรับตัวสูงขึ้นจาก จาก 632 ล้านบาทในไตรมาส 2/2563 เป็น 771 ล้านบาทในไตรมาส 3/2563 หรือเพิ่มขึ้น 22.0% เป็นผลมาจากการฟื้นตัวของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เพื่อประกอบกิจการการค้า (Retail) ที่มีจำนวนลูกค้าที่เข้าใช้บริการ (Traffic) เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องหลังการประกาศมาตรการผ่อนปรนระยะที่ 3 และการลดส่วนลดตามจำนวนผู้ใช้บริการโครงการที่เพิ่มขึ้น ทั้งนี้ ธุรกิจอาคารสำนักงาน (Office) ยังคงสร้างรายได้ที่มั่นคงอย่างสม่ำเสมอ เพิ่มประสิทธิภาพบริหารงาน+ลดค่าใช้จ่าย ด้วยการวางรากฐานการบริหารงานและค่าใช้จ่ายอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดอย่างยั่งยืน บริษัทยังคงเดินหน้าปรับโครงการสร้างองค์กรควบคู่ไปกับมาตรการควบคุมและเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารค่าใช้จ่ายโดยไม่ส่งผลกระทบต่อความสามารถในการดำเนินงานของบริษัทในอนาคต (Cost Control and Efficiency Initiatives) โดยถึงแม้ว่าค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานไตรมาส 3/2563 จะเพิ่มขึ้นจากไตรมาส 2/2563 แต่อัตราส่วนค่าใช้จ่ายการดำเนินงานต่อรายได้จากการดำเนินงานได้ลดลงจาก 96.9% ในไตรมาส 2/2563 เป็น 78.0% ในไตรมาส 3/2563 แสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพในการควบคุมค่าใช้จ่ายของบริษัทได้เป็นอย่างดี   “AWC ยังคงเชื่อมั่นในธุรกิจท่องเที่ยวของประเทศไทยที่มีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น โดยได้เดินหน้าตามแผนพัฒนาโครงการคุณภาพเพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืนอย่างต่อเนื่อง อาทิ การลงนามในสัญญาครั้งสำคัญกับแมริออทอินเตอร์เนชั่นแนล เพื่อขยายความร่วมมือในการพัฒนาโรงแรม 4 แห่ง รวม 1,638 ห้องในกรุงเทพฯ และพัทยา การลงนามในบันทึกข้อตกลงกับครัวคุณต๋อย พันธมิตรเชิงกลยุทธ์รายใหม่ เพื่อมอบประสบการณ์ด้านอาหารแบบยั่งยืนและเข้าถึงไลฟ์สไตล์ของลูกค้า” เดินหน้าปรับโฉมใหม่พันธุ์ทิพย์ประตู้น้ำ นอกจากนี้ ในเดือนตุลาคมที่ผ่านมา AWC ได้ยกระดับโครงการเอเชียทีค เดอะ ริเวอร์ฟร้อนท์ ให้ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ที่เปลี่ยนแปลงไปในหลากหลายมิติของลูกค้าทุกกลุ่ม ด้วยองค์ประกอบและบรรยากาศที่น่าตื่นตาตื่นใจยิ่งกว่า ด้วยงบประมาณกว่า 300 ล้านบาท ภายใต้แนวคิด “Heritage Alive” ต่อยอดการอนุรักษ์หลักฐานอิงประวัติศาสตร์ทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคมให้มีชีวิตชีวาอีกครั้ง และเปิดตัวเรือ “สิริมหรรณพ” แลนด์มาร์คใหม่ริมน้ำเจ้าพระยาที่ตอบโจทย์การท่องเที่ยวเชิงไลฟ์สไตล์ ทั้งการกินดื่มและพักผ่อนหย่อนใจ ด้วยห้องอาหาร และบาร์ระดับพรีเมี่ยมที่ให้บริการอย่างมีเอกลักษณ์เฉพาะภายใต้แนวคิดใหม่ในความร่วมมือกับโรงแรม แบงค็อก แมริออท มาร์คีส์ ควีนส์ปาร์ค และได้เปิดตัวโรงแรม บันยันทรี กระบี่ โรงแรมแห่งแรกของ AWC ในจังหวัดกระบี่ บนทำเลทองติดที่ดินอุทยานแห่งชาติเขาหงอนนาค   นางวัลลภา กล่าวอีกว่า บริษัทฯ ยังเตรียมปรับโฉมโครงการพันธุ์ทิพย์ ประตูน้ำ ให้เป็นศูนย์ค้าส่งใจกลางเมือง “AEC Trade Center – Pantip Wholesale Destination” ด้วยการลงนามในสัญญาความร่วมมือกับสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และสมาคมการค้า 11 หน่วยงาน ส่งเสริมกระตุ้นเศรษฐกิจการค้าให้ผู้ประกอบการ รวมทั้งร่วมมือกับ Yiwu CCC Group ศูนย์ค้าส่งที่ใหญ่ที่สุดในโลก ที่จะเชื่อมการส่งออก-นำเข้า เพื่อเสริมศักยภาพการแข่งขันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการค้าของภูมิภาค ซึ่งเป็นการสร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุนถึงศักยภาพ และความแข็งแกร่งของ AWC ในการดำเนินแผนกลยุทธ์พัฒนาธุรกิจที่มุ่งเน้นการเติบโต ตลอดจนสร้างคุณค่าที่ยั่งยืนเพื่อผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกภาคส่วนในระยะยาว
เช็กความพร้อมประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้ม…เส้นทางยุทธศาสตร์ใหม่ในการเดินทาง

เช็กความพร้อมประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้ม…เส้นทางยุทธศาสตร์ใหม่ในการเดินทาง

การประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้มฝั่งตะวันตก (บางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย) กลับมาอยู่ในสปอร์ตไลท์อีกครั้ง หลังศาลปกครองกลางมีคำสั่งคุ้มครองฉุกเฉินให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ยึดหลักเกณฑ์เดิมในการประมูลโครงการ ซึ่งเป็นการพิจารณาทีละขั้นตอน โดยเริ่มจากคุณสมบัติทั่วไปของเอกชนผู้เข้าประมูล ต่อด้วยข้อเสนอทางเทคนิค และสุดท้ายข้อเสนอการลงทุนและผลตอบแทน จากเมื่อเดือนสิงหาคม 2563 คณะกรรมการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนตามมาตรา 36 แห่ง พ.ร.บ.ร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562  ได้เสนอปรับปรุงวิธีการประเมินข้อเสนอการร่วมลงทุน โดยให้พิจารณาข้อเสนอทางด้านเทคนิคและด้านข้อเสนอการลงทุนและผลตอบแทนควบคู่กันในสัดส่วนคะแนน 30% และ 70% ตามลำดับ สายสีส้ม จุดเชื่อมต่อรถไฟฟ้า 5 สาย รถไฟฟ้าสายสีส้ม (บางขุนนนท์-มีนบุรี) ถือเป็นเส้นทางรถไฟฟ้าที่เป็นเส้นทางยุทธศาสตร์ที่สำคัญ เพราะนอกจากจะเป็นเส้นทางที่เชื่อมระหว่างกรุงเทพฯ ฝั่งตะวันออก (เขตคลองสามวา เขตมีนบุรี เขตลาดกระบัง) และกรุงเทพฯ ฝั่งตะวันตก (เขตบางกอกน้อย) แล้ว ยังเป็นเส้นทางที่มีการเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าทุกเส้นทางที่กำลังให้บริการอยู่และกำลังก่อสร้างในปัจจุบัน เช่น -รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินที่สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทยและสถานีบางขุนนนท์ -รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ที่สถานีราชปรารภ -รถไฟฟ้าสายสีเขียวที่สถานีราชเทวี -รถไฟฟ้าสายสีชมพูที่สถานีมีนบุรี -รถไฟฟ้าสายสีเหลืองที่สถานีลำสาลี เป็นต้น   การเชื่อมต่อดังกล่าวนอกจากจะเป็นการขยายโครงข่ายรถไฟฟ้าเพื่อดึงดูดจำนวนผู้โดยสารในภาพรวมให้มากขึ้นแล้ว ยังเป็นการเพิ่มปริมาณผู้โดยสาร (traffic) ที่ต้องมาเปลี่ยนเส้นทางบริเวณสถานีรถไฟฟ้าที่เป็นจุดตัด (intersection) อีกด้วย   รูปที่ 1 : แนวเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีส้ม (บางขุนนนท์-มีนบุรี) เอกชนควักเงินลงทุนกว่า 1.28 แสนล้าน การประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้มส่วนตะวันตก ถือเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านการร่วมลงทุนระหว่างรัฐ และเอกชน (Public Private Partnership : PPP)  ซึ่งเอกชนผู้ชนะประมูลจะรับผิดชอบในงานโยธาส่วนตะวันตก  ระบบรถไฟฟ้า และขบวนรถไฟฟ้าทั้งหมดราว 1.28 แสนล้านบาท เพื่อแลกกับสิทธิสัมปทานเดินรถไฟฟ้าสายสีส้มตลอดสาย (ทั้งฝั่งตะวันออกและตะวันตก) เป็นระยะเวลา 30 ปี โดยภาครัฐจะรับผิดชอบการเวนคืนที่ดินและการสนับสนุน (subsidy) ไม่เกินค่างานโยธาราว 96,000 ล้านบาท   โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มประกอบไปด้วยเส้นทาง 2 ฝั่ง ได้แก่ ฝั่งตะวันออก (ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-มีนบุรี) และฝั่งตะวันตก (บางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย) โดยโครงการฝั่งตะวันออกเป็นระบบรถไฟฟ้าแบบใต้ดินและยกระดับ ระยะทางรวมประมาณ 22.5 กิโลเมตร ประกอบด้วยสถานีใต้ดิน 10 สถานีและสถานียกระดับ 7 สถานี มูลค่าการลงทุนรวมราว 1.13 แสนล้านบาท แบ่งเป็น ค่าเวนคืนที่ดิน 9,625 ล้านบาท ค่างานโยธาและค่าที่ปรึกษางานโยธาราว 82,900 ล้านบาท และค่างานระบบรถไฟฟ้าและขบวนและค่าที่ปรึกษางานระบบราว 20,750 ล้านบาท และได้เริ่มการก่อสร้างแล้วตั้งแต่ปี 2560 โดยมีภาครัฐเป็นผู้ลงทุนในส่วนค่าเวนคืนที่ดินและค่างานโยธาและค่าที่ปรึกษางานโยธา   ขณะที่รถไฟฟ้าสายสีส้มฝั่งตะวันตก เป็นโครงสร้างทางวิ่งใต้ดินทั้งหมดระยะทางประมาณ 13.4 กิโลเมตรและมีสถานีใต้ดิน 11 สถานี มูลค่าการลงทุนรวมราว 1.2 แสนล้านบาท (แบ่งเป็น ค่าเวนคืนที่ดิน 14,660 ล้านบาท ค่างานโยธาและค่าที่ปรึกษางานโยธาราว 96,000 ล้านบาท และค่างานระบบรถไฟฟ้าและขบวนและค่าที่ปรึกษางานระบบราว 11,370 ล้านบาท) ซึ่งรถไฟฟ้าสายสีส้มฝั่งตะวันตกจะมีการยื่นประมูลในวันที่ 9 พฤศจิกายน 2563 โดยหลังจากประกาศผู้ชนะประมูลแล้ว เม็ดเงินลงทุนกว่า 1.28แสนล้านบาทจะไหลเข้าสู่ธุรกิจที่ปรึกษาการลงทุน ธุรกิจ ที่ปรึกษาการก่อสร้าง ธุรกิจก่อสร้าง ธุรกิจวัสดุก่อสร้าง ธุรกิจระบบรถไฟฟ้า ธุรกิจขบวนรถไฟฟ้า ซึ่งจะก่อให้เกิด เม็ดเงินหมุนเวียนในการซื้อขายสินค้าและบริการ การจ้างงานในธุรกิจเหล่านี้ รวมถึงผลบวก (spillover effect) ต่อธุรกิจอื่น ๆ ก่อนที่จะทำการเริ่มเดินรถส่วนตะวันออกในปี 2567 และทำการเดินรถทั้งส่วนตะวันออกและตะวันตกในปี 2570 ยึด 3 ประเด็นหลักเพื่อประโยชนสูงสุด อย่างไรก็ดี  EIC ประเมินว่า ภาครัฐและเอกชนผู้เข้าร่วมประมูลโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ควรมีการพิจารณา 3 ประเด็นสำคัญเพื่อสร้างประโยชน์สูงสุดจากการพัฒนาโครงการ ได้แก่ 1.การพัฒนาการเชื่อมต่อบริเวณสถานีจุดตัดกับรถไฟฟ้าเส้นทางอื่น ๆ และระบบขนส่งคมนาคมในรูปแบบอื่น ๆ 2.การสร้างรายได้จากพื้นที่พาณิชยกรรมบริเวณสถานีและการหาโอกาสทางธุรกิจใหม่ 3.การควบคุมรายจ่ายที่เกิดจากการให้บริการ การพัฒนาการเชื่อมต่อบริเวณสถานีจุดตัดกับรถไฟฟ้าเส้นทางอื่น ๆ และระบบขนส่งคมนาคมในรูปแบบอื่น ๆ   ด้วยลักษณะโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ที่มีสถานีจุดตัดมากมายจึงมีแนวโน้มที่จะมีปริมาณผู้โดยสารมาใช้บริการเป็นจำนวนมาก การพัฒนาโครงการจึงต้องมีการออกแบบเพื่อรองรับการเปลี่ยนเส้นทางโดยสารให้มีความสะดวก ไม่สร้างความสับสนให้แก่ผู้โดยสาร และการวางระบบการเชื่อมต่อกับการขนส่งรูปแบบอื่น เช่น รถประจำทาง เรือ ควรมีการสอดประสานกันทั้งในด้านจุดขึ้น/ลงพาหนะและตารางเวลาเดินรถ เพื่ออำนวยความสะดวกในการเดินทาง   อีกทั้งการวางแผนระบบตั๋วร่วม (common ticket) ในอนาคตที่ภาครัฐและผู้รับสัมปทานควรมีการวางแผนเพื่อใช้ตั๋วโดยสารใบเดียวในการเดินทาง ทั้งกับรถไฟฟ้าทุกเส้นทางและการขนส่งรูปแบบอื่น ๆ รวมถึงยังต้องเตรียมพร้อมในการกำหนดอัตราค่าโดยสารร่วม (common fare) ที่เหมาะสม ซึ่งในปัจจุบันโครงสร้างอัตราค่าโดยสาร (fare structure) ของรถไฟฟ้าประกอบด้วย 2 ส่วนได้แก่ 1.ค่าแรกเข้าระบบรถไฟฟ้าในแต่ละเส้นทาง 2.ค่าโดยสารที่ผันแปรตามระยะทาง ซึ่งการมีจุดเชื่อมต่อกับรถฟ้าเส้นทางอื่น ๆ เป็นจำนวนมาก ทำให้การกำหนดอัตราค่าโดยสารแรกเข้าของรถไฟฟ้าสายสีส้มควรมีการร่วมพิจารณากับผู้ให้บริการรถไฟฟ้าสายอื่น ๆ เพื่อกำหนดราคาที่เหมาะสมและเป็นธรรมกับผู้โดยสาร แนะ 3 แนวทางหารายได้เพิ่มจากพื้นที่สถานี การสร้างรายได้จากพื้นที่พาณิชยกรรมบริเวณสถานี และการหาโอกาสทางธุรกิจใหม่ โดยในช่วงการเดินรถนอกจากค่าโดยสาร (farebox revenue) ที่เป็นรายได้หลักของเอกชนผู้รับสัมปทานแล้วผู้ประกอบการควรเน้นการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชยกรรมเพื่อสร้างรายได้เพิ่มเติม ยกตัวอย่างเช่น   1.การให้เช่าพื้นที่เพื่อขายสินค้า เพื่อรับฝากกระเป๋าเดินทางและพัสดุบริเวณสถานีรถไฟฟ้า โดยเฉพาะสถานีที่เป็นจุดตัด ซึ่งมีโอกาสที่จะพัฒนาเป็นฮับ (hub) คมนาคมที่มีผู้โดยสารหนาแน่น   2.การหารายได้จากการโฆษณาบริเวณสถานีและขบวนรถไฟฟ้า ซึ่งการสร้างรายได้เหล่านี้ถือเป็นส่วนสำคัญที่จะเพิ่มเติมรายได้ให้กับเอกชนผู้รับสัมปทานรถไฟฟ้า   3.การสร้างพันธมิตรเพื่อเตรียมพัฒนาโมเดลทางธุรกิจใหม่ ๆ ถือเป็นอีกปัจจัยสำคัญในการสร้างความยั่งยืนของธุรกิจในอนาคต เช่น กรณีของสถานีรถไฟ Birmingham New Street ในอังกฤษที่มีการสร้างพันธมิตรกับ Vodafone หนึ่งในผู้ให้บริการด้านโทรคมนาคมของโลก ในการเปิดใช้เทคโนโลยี 5G เพื่อใช้สนับสนุนการวางรากฐานในระบบบริหารการจัดการยานพาหนะอัจฉริยะ (Smart transport) ที่เป็นองค์ประกอบหนึ่งของการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ (Smart city) และต่อยอดสู่การนำเทคโนโลยี เช่น Artificial Intelligence (A.I.), Internet of Things (IOT) และ Robotics ไปพัฒนาโมเดลทางธุรกิจใหม่อีกด้วย   การควบคุมรายจ่ายที่เกิดจากการให้บริการ โดยในช่วงการก่อสร้าง ถึงแม้ว่าเอกชนจะเป็นผู้ลงทุนในงานโยธา ระบบรถไฟฟ้า และขบวนรถไฟฟ้า แต่ภาครัฐยังมีการช่วยเหลือให้เงินสนับสนุนตามจำนวนที่เอกชนยื่นขอในการประมูลแต่ไม่เกินค่างานโยธา (ราว 96,000 ล้านบาท) เริ่มตั้งแต่ปีที่ 2 ซึ่งการให้เงินสนับสนุนดังกล่าวเอกชนผู้รับสัมปทานจะได้รับกระแสเงินเข้ามาแบ่งเบาภาระรายจ่ายระหว่างการก่อสร้างได้บางส่วน   ขณะที่ในช่วงการให้บริการ เนื่องจากลักษณะโครงการของรถไฟฟ้าสายสีส้มที่มีสถานีใต้ดิน 21 สถานีจากสถานีทั้งหมด 28 สถานี  ทำให้เอกชนผู้รับสัมปทานต้องมีการบำรุงรักษาระบบต่าง ๆ  มากกว่ารถไฟฟ้าที่ใช้ทางวิ่งยกระดับ ยกตัวอย่างเช่น ระบบระบายอากาศ ระบบปรับอากาศ รวมถึงการบำรุงรักษาโครงสร้างพื้นฐาน เช่น อุโมงค์ทางวิ่ง สถานีใต้ดิน ส่งผลให้ค่าดำเนินการและค่าบำรุงรักษาของรถไฟฟ้าใต้ดินมากกว่ารถไฟฟ้าที่ใช้ทางวิ่งยกระดับตามไปด้วย ซึ่งเป็นความท้าทายในการบริหารโครงการในอนาคตที่ไม่ควรมองข้าม   โดยในเบื้องต้น เอกชนผู้รับสัมปทานควรพิจารณาการทำการศึกษาวิธีการประหยัดพลังงานบริเวณสถานีและการทำการศึกษาความเป็นไปได้ในการใช้พลังงานทางเลือก เช่น โซลาร์เซลล์ ซึ่งเริ่มมีแนวคิดในการติดตั้งตามสถานีรถไฟฟ้าในหลายประเทศ เช่น อังกฤษ นอร์เวย์ อินเดีย เพื่อลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานในอนาคต   การพัฒนาโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มถือเป็นอีกหนึ่งโครงการโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ที่เป็นเส้นทางยุทธศาสตร์สำคัญที่มีผลกระทบต่อระบบขนส่งมวลชนในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล การเตรียมความพร้อมและศึกษาผลกระทบจากการพัฒนาโครงการอย่างถี่ถ้วนจึงเป็นสิ่งสำคัญ ที่จะก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดทั้งกับภาครัฐ ผู้รับสัมปทาน และประชาชนทั่วไป ในอนาคต   บทวิเคราะห์โดย ดร.สุปรีย์ ศรีสำราญ ผู้จัดการคลัสเตอร์โครงสร้างพื้นฐาน  Economic Intelligence Center (EIC) ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)   ภาพประกอบ จากรฟม. เป็นภาพตัวอย่างขบวนรถไฟฟ้าที่ใช้ในโครงการรถไฟฟ้าสายอื่นๆ ในปัจจุบันของรฟม.                          
เจาะ 4 กลยุทธ์ “ลลิล พร็อพเพอร์ตี้” สร้างกำไรเป็นบวก ในภาวะตลาดอสังาหฯ ติดลบ

เจาะ 4 กลยุทธ์ “ลลิล พร็อพเพอร์ตี้” สร้างกำไรเป็นบวก ในภาวะตลาดอสังาหฯ ติดลบ

ตลาดอสังหาริมทรัพย์ในปี 2563 ได้รับผลกระทบจากปัจจัยลบสารพัด นับตั้งแต่มาตรการ LTV  ซึ่งเกิดขึ้นมาก่อนหน้าในปี 2562 จนมาถึงสงครามการค้าโลก ที่ทำให้ภาวะเศรษฐกิจโดยรวมชะลอตัว จนมาถึงการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทำให้ตลาดอสังหาฯ ปีนี้คงมีตัวเลขติดลบไปตาม ๆ กัน  ซึ่งคาดว่าตลาดอสังหาฯ จะติดลบกว่า 10% เลยทีเดียว   อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะมีบางบริษัทที่สามารถสร้างยอดขาย ทุบสถิติของตนเองได้อย่างไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ปรากฏให้เห็น แต่นั่นคงเป็นผลจากการทำตลาด และการหั่นราคาลง พร้อม ๆ กับการอัดโปรโมชั่น แบบไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนด้วยเช่นกัน แต่หากจะวัดประสิทธิภาพ (Performance) ของการบริหารธุรกิจ ที่ดูตัวเลขในบรรทัดสุดท้ายของงบกำไรขาดทุนทางบัญชี ตัวเลขของผลกำไร น่าจะชี้วัดได้ดีที่สุด ว่าบริษัทไหนมีความสามารถในการดำเนินธุรกิจมากกว่ากัน ​​   บริษัท ลลิล พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาน) บริษัทขนาดไม่ใหญ่มากนัก หากวัดกันด้วยขนาดสินทรัพย์แล้ว ลลิล พร็อพเพอร์ตี้ มีมูลค่าสินทรัพย์รวม ณ ไตรมาส 2 ปี 2563 กว่า 12,427.39 ล้านบาท ห่างไกลอย่างมากเมื่อเทียบกับผู้นำตลาดอสังหาฯ  ซึ่งมีมูลค่าสินทรัพย์ระดับใกล้แสนล้านหรือมากกว่าแสนล้านบาท แต่หากวัดกันที่ผลงานการทำกำไร ต้องยอมรับว่าลลิล พร็อพเพอร์ตี้ ในปีนี้ทำผลงานได้ดีไม่แพ้บริษัทขนาดใหญ่  เรียกได้ขึ้นติดอันดับ Top 10 เลยทีเดียว  เโดยไตรมาส 2  บริษัทสามารถสร้างกำไรให้เป็นบวกได้ ซึ่งมีกำไรสุทธิ จำนวน 395.83 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 164.26% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ จำนวน 149.79 ล้านบาท   นายชูรัชฏ์ ชาครกุล กรรมการรองผู้จัดการใหญ่ บริษัท ลลิล พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน)  เปิดเผยถึงยอดขายในช่วง 10 เดือนแรกของปีนี้ว่า สามารถทำยอดขายได้ 5,250 ล้านบาท เติบโต 15% จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ซึ่งในปีนี้บริษัทคาดว่าจะทำยอดขายได้ 6,200 ล้านบาท ส่วนรายได้คาดว่าจะทำได้ 4,600 ล้านบาท ปัจจุบันบริษัทมียอดขายรอรับรู้รายได้ 1,200 ล้านบาท ซึ่งจะทยอยโอนภายในปีนี้   สำหรับกำไรในปีนี้คาดว่าจะยังคงเป็นไปตามเป้าหมายที่ได้วางไว้ เนื่องจากบริษัทเน้นการพัฒนาโครงการแนวราบ ซึ่งไม่มีการทำสงครามราคาเพื่อแข่งขันในตลาด เหมือนกับกลุ่มคอนโดมิเนียม แม้ว่าจะมีกลุ่มลูกค้าบางส่วนหายออกไปจากตลาด เพราะได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มพนักงานในธุรกิจสายการบิน หรือที่เกี่ยวข้อง กลุ่มโรงงานอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออก   ปัจจัยความสำเร็จและกลยุทธ์ที่ทำให้ลลิล พร็อพเพอร์ตี้ยังทำกำไรและสร้างการเติบโตสวนท่ามกลางปัจจัยลบของปีนี้ คงมาจาก 4 ปัจจัยหลัก ดังนี้ 1.การพัฒนาสินค้าตรงตามความต้องการของลูกค้า การพัฒนาบ้านให้มีห้องอเนกประสงค์บริเวณชั้นล่าง ที่ให้ลูกค้าปรับเปลี่ยนห้องได้ตามความต้องการ ไม่ว่าจะใช้เป็นห้องผู้สูงอายุ ห้องทำงาน หรือห้องเรียนออนไลน์ของลูก ซึ่งถือว่าตอบโจทย์คนในยุควิถีชีวิตปกติใหม่ (New Normal) ที่ใช้เวลาอยู่บ้านมากขึ้น 2.การทำราคาบ้านที่แข่งขันได้ การบริหารต้นทุนสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นค่าที่ดิน หรือค่าก่อสร้าง รวมถึงค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ทำให้การพัฒนาโครงการสามารถทำราคาได้ถูกกว่าคู่แข่ง และเป็นราคาที่ลูกค้าสามารถเข้าถึงได้ แม้ว่าจะไม่ได้ทำโปรโมชั่นแรง ๆ หรือการทำสงครามราคาก็ตาม 3.การทำตลาดดิจิตอล การหันมาให้ความสำคัญกับการทำตลาดดิจิตอล โดยเฉพาะสื่อออนไลน์ ทำให้ประสิทธิภาพการโฆษณาสูงขึ้น และเข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถเลือกและโฟกัสกลุ่มเป้าหมายได้ตรงจุด และสามารถปรับเปลี่ยนได้อย่างรวดเร็ว ขณะที่ต้นทุนการใช้งบประมาณลดลงกว่าการใช้สื่อออฟไลน์ 4.การบริหารที่มีประสิทธิภาพ บริษัทได้ปรับปรุงประสิทธิภาพการบริหารมาอย่างต่อเนื่อง  โดยเฉพาะการบริหารต้นทุนในการดำเนินธุรกิจ ซึ่งทำให้บริษัทสามารถสร้างการเติบโตและมีผลกำไรเป็นบวกได้  โดยเฉพาะต้นทุนสำคัญทั้ง 5 ด้าน ได้แก่ ต้นทุนทางการเงิน การซื้อที่ดิน การก่อสร้าง การบริหารจัดการ และต้นทุนทางการเงิน ซึ่งต้นทุนทั้งหมดอยู่ในอัตราที่ต่ำ หากดูสถิติย้อนหลังในระยะ 5 ปีที่ผ่านมา จะพบว่า ลลิล พร็อพเพอร์ตี้ มีค่าบริหารจัดการต่าง ๆ อยู่ในอัตราต่ำติดอันดับ Top 5 ในอุตสาหกรรม จึงทำให้การบริหารงานมีประสิทธิภาพ และสร้างผลกำไรให้เป็นบวกได้ บริษัทบริหารจัดการต้นทุนและปรับองค์กรให้ลีนมาโดยตลอด ปรับทุกปี ซึ่งปีนี้ปรับกันแทบทุกอาทิตย์ ไม่ได้ปรับเพราะเจอโควิด จากผลการปรับตัวมาสม่ำเสมอ พอเจอโควิดจึงทำให้เราผ่านมาได้ และยังสามารถสร้างกำไรเป็นบวก   ล่าสุด บริษัทเปิดตัว 2 โครงการใหม่ โครงการลลิล ทาวน์ ไลโอ บลิสซ์ รัตนาธิเบศร์-บางใหญ่  และโครงการไลโอ บลิสซ์ วงแหวน-ปิ่นเกล้า (พระราม 5) รวมมูลค่า 1,450 ล้านบาท  ซึ่งโครงการลลิล ทาวน์ ไลโอ บลิสซ์ รัตนาธิเบศร์-บางใหญ่  มีมูลค่าโครงการ 900 ล้านบาท รวม 457 ยูนิต ราคาเริ่มต้น 1.99 ล้านบาท  และโครงการไลโอ บลิสซ์ วงแหวน-ปิ่นเกล้า (พระราม 5) มูลค่าโครงการ 550 ล้านบาท รวม 283 ยูนิต กับการเปิดตัวโครงการทาวน์โฮมเฟสใหม่ใกล้คลับเฮ้าส์ ราคาเริ่มต้น 1.89 ล้านบาท
เปิดกลยุทธ์ธุรกิจโรงแรม UHG แม้โดนพิษโควิดแต่ยังกำไร 300 ล้าน

เปิดกลยุทธ์ธุรกิจโรงแรม UHG แม้โดนพิษโควิดแต่ยังกำไร 300 ล้าน

ธุรกิจที่ทำรายได้หลักเข้ามาในประเทศปีละมหาศาล  นอกจากการผลิตละส่งออกสินค้าชนิดต่าง ๆ แล้ว ก็มีธุรกิจการท่องเที่ยว ที่นำรายได้มาสู่ประเทศของเรา จากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่ผ่านมา ทำให้นักท่องเที่ยวต่างชาติหายออกไปจากตลาดการท่องเที่ยวของไทย แน่นอนปีนี้รายได้จากตลาดนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ คงเหลือเพียงน้อยนิด เพราะผลจากมาตรการการปิดประเทศป้องกันภัยจากโรคโควิด-19   ตลอดระยะเวลาหลายเดือนนับตั้งแต่เกิดการแพร่ระบาด โรงแรมหลายแห่งจึงปิดกิจการลง เพราะไม่มีลูกค้าเข้ามาใช้บริการ หากมีก็น้อยนิดไม่คุ้มค่ากับค่าใช้จ่ายในการเปิดดำเนินการ ซึ่งมีทั้งแบบปิดเพียงชั่วคราว และปิดกิจการเลย หลังจากภาครัฐสามารถควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ได้ จึงได้ออกมาตรการมาช่วยกระตุ้นตลาด อย่างเช่น เราเที่ยวด้วยกัน ให้สิทธิพิเศษในการเข้าพักโรงแรมด้วยส่วนลดถึง 40% เพื่อกระตุ้นให้เกิดการเดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศมากขึ้น ปัจจุบันยังได้ขยายระยะเวลาโครงการเราเที่ยวด้วยกันไปสิ้นสุดในวันที่ 31 มกราคม 2564 จากเดิมสิ้นสุดในปี 2563 และเพิ่มสิทธิพิเศษมากขึ้นด้วย กลุ่มบริษัท เออร์เบิน ฮอสพิทาลิตี้ กรุ๊ป จำกัด หรือ UHG ผู้พัฒนาโรงแรมภายใต้แบรนด์เดอะ ควอเตอร์ (The Quarter) เดอะเรสซิเดนซ์ (The Residence) อัลท์ โฮเทล นานา (Alt Hotel Nana) เอเวอร์กรีน เพลส สยาม​(Evergreen Place Siam) และ อโศก เรสซิเดนซ์ สุขุมวิท (​Asoke Residence Sukhumvit​) ซึ่งเป็นกลุ่มโรงแรมระดับ 4 ดาว กระจายอยู่ในทำเลต่าง ๆ ของกรุงเทพฯ  ก็ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ครั้งนี้เช่นกัน แต่ในภาพรวมแล้ว UHG ยังถือว่าสามารถผ่านพ้นวิกฤตในครั้งนี้ไปได้ โดยไม่ได้ปิดการให้บริการโรงแรม และไม่ได้เลิกจ้างพนักงาน แต่ที่สำคัญยังคงสามารถรักษาอัตรากำไรขั้นต้นในปีนี้ได้ UHG ยังทำกำไร 300 ล้าน นายวุฒิพล ถาวรธวัช กรรมการ ผู้จัดการกลุ่มบริษัท เออร์เบิน ฮอสพิทาลิตี้ กรุ๊ป จำกัด หรือ UHG เปิดเผยว่า ผลประกอบการในปีนี้ คาดว่าบริษัทจะยังรักษาอัตรากำไรขั้นต้นได้ 300 ล้านบาท ซึ่งปีที่ผ่านมามีกำไรขั้นต้นประมาณ​ 400 ล้านบาท เพราะในปีนี้ได้รับผลกระทบจากจำนวนลูกค้าต่างชาติที่เป็นสัดส่วนหลัก 80% ไม่ได้เข้ามาใช้บริการตั้งแต่ช่วงเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ทำให้บริษัทต้องปรับเป้าหมายรายได้ใหม่ โดยปรับลดรายได้ลง 40% จากเป้าหมายเดิมที่คาดว่าจะทำได้ "เราเป็นโรงแรม 4 ดาว ซิตี้ โฮเทล ค่าบริหารจัดการน้อยกว่า โรงแรม 5 ดาว ที่ต้องมีเซฟฝรั่ง สปาหรู ล็อบบี้เปิดแอร์ตลอด โครงสร้างค่าใช้จ่ายน้อยกว่าโรงแรม 5 ดาว  ซึ่งโรงแรม 5 ดาวมีกำไรขั้นต้น 35-40% แต่โรงแรม 4 ดาว มีกำไรขั้นต้น 65%  ที่สำคัญเรามีหนี้น้อย การพัฒนาโรงแรมใช้งบลงทุนน้อย เพราะเป็นที่ดินเช่า ช่วงที่ผ่านมาเจ้าของที่ดินยังมีการปรับลดค่าเช่าที่ดินลง 30% ให้ในช่วงโควิดด้วย และยังมีข้อดีจาก อีโคโนมีออฟสเกล เรามีหลายโรงแรม แต่ฝ่ายจัดการกลุ่มเดียว เพราะต้นทุนหลัก ๆ เป็น ค่าเงินเดือน ค่าเช่าและค่าไฟ"   ปัจจุบันอัตราการเข้าพักในโรงแรมของกลุ่มบริษัท เริ่มปรับตัวดีขึ้นจนใกล้จะเป็นปกติ รวมถึงค่าห้องได้ปรับเพิ่มขึ้นจนใกล้เคียงกับอัตราปกติ จากก่อนหน้าที่บริษัทได้ทำโปรโมชั่นและการจัดรายการส่งเสริมการขายต่าง ๆ ซึ่งคาดว่าตลาดโรงแรมน่าจะฟื้นตัวได้ในช่วงปลายปี 2564 แต่ทั้งนี้ ยังมีปัจจัยเรื่องวัคซีนที่จะมีออกมาป้องกันไวรัสโควิด-19 ด้วยว่าจะมีออกมาใช้จริงเมื่อไร รวมถึงการกระตุ้นภาคการท่องเที่ยวของภาครัฐ จะมีมาตรการอะไรเพิ่มเติมหรือมากขึ้นกว่านี้หรือไม่ อัดงบสื่อออนไลน์ 4 เท่ากระตุ้นยอด แนวทางการดำเนินธุรกิจของบริษัทในช่วงไตรมาสสุดท้าย จะต้องติดตามข่าวของภาครัฐ เพื่อปรับแผนการตลาดให้ทันกับมาตรการภาครัฐที่จะเกิดขึ้น และการมุ่งเน้นการให้บริการกับลูกค้า ตอบสนองทุกความต้องการที่ลูกค้าต้องการ เพื่อให้ลูกค้าพอใจ รวมถึงการสื่อสารผ่านสื่อออนไลน์ควบคู่ การนำเอาข้อมูลลูกค้ามาวิเคราะห์ เพื่อการโฆษณาและสื่อสารได้ตรงกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย   หลังจากภาครัฐมีแคมเปญเราเที่ยวด้วยกันออกมา สถานการณ์ดีขึ้นทุกเดือน ถือว่าแคมเปญรัฐบาลมีผลพอสมควร และบริษัทได้เน้นการทำตลาดออนไลน์เจาะในแต่ละโลเกชั่นมากขึ้น แต่ละโลเกชั่นจะมีคีย์เวิร์ด เช่น ทองหล่อไนท์ไลฟ์  ทำคนเริ่มจำแบรนด์ UHG ได้มากขึ้น ปีนี้บริษัทเพิ่มงบในสื่อออนไลน์เพิ่มขึ้น 3-4 เท่า จากปีที่ผ่านมา เพราะในตลาดตอนนี้เหลือแต่คนไทย และคนไทยเล่นเฟสบุ๊คเยอะมาก เดินหน้าลงทุนไม่หยุดเพราะ “โควิด-19”    แม้ว่าปีนี้จะมีปัญหาการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทำให้รายได้ไม่เป็นไปตามเป้าหมาย แต่ในด้านการลงทุน UHG ยังคงเดินหน้าลงทุนตามแผนที่ได้วางไว้ โดยปีนี้วางแผนเปิดโรงแรมใหม่ 4 โรงแรม ซึ่งเปิดดำเนินการไปแล้ว 3 โรงแรม ยังเหลืออีก 1 โรงแรมที่จะเปิดในย่านสีลม ในวันที่ 1 ธันวาคม 2563 ขณะที่โครงการมิกซ์ยูสบริเวณถนนรามคำแหง ปัจจุบันอยู่ระหว่างการออกแบบ และการยื่นขออีไอเอ ซึ่งตามแผนจะเริ่มก่อสร้างในไตรมาส 2 ปี 2564 บริษัทยังคงเดินหน้าตามแผน​   นอกจากการเปิดโรงแรมแห่งใหม่ตามแผนที่วางไว้แล้ว ปีนี้บริษัทยังได้ทำสัญญาเช่าระยะยาวเป็นเวลา 18 ปี ในการบริหารโรงแรมสิริสาธร  เมื่อช่วงเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา โดยได้ลงทุน 40-50 ล้านบาท ปรับปรุงห้องพักและพื้นที่ส่วนกลางใหม่ พร้อมเปลี่ยนชื่อเป็นโรงแรมสิริสาธร แบงคอก บาย ยูเอชจี  ซึ่งหลังจากการปรับปรุงห้องพัก ด้วยการลดขนาดห้อง 90 ตารางเมตร เหลือขนาดห้อง 45 ตารางเมตรทำให้มีห้องพักเพิ่มเป็น 167 ห้องจากเดิมที่มีจำนวน 104 ห้อง โดยเปิดให้บริการมาตั้งแต่ช่วงเดือนสิงหาคม “ใจสู้+เงินสด” 2 สิ่งสู้พิษโควิด นายวุฒิพล กล่าวว่า สถานการณ์โควิด-19 ที่เกิดขึ้น บริษัทได้เรียนรู้ใน 2 เรื่องสำคัญ คือ 1.ต้องพยายามสู้และปรับตัว เพราะในตลาดมันยังมีโอกาส และ 2.กระแสเงินสดสำคัญที่สุด ต้องหาเงินสดเข้ามาให้ได้ ที่ผ่านมาจึงไม่ได้ปิดให้บริการโรงแรมเลย และยังได้ปรับตัวรับกับการเปลี่ยนแปลง เช่น การปรับห้องพักเป็นห้องทำงาน รองรับกับพฤติกรรม Work From Home ซึ่งพนักเลือกมาใช้บริการห้องของโรงแรม เพราะมีความสะดวก มีห้องอาหารเปิดให้บริการ เป็นต้น   นอกจากนี้ เรื่องการบริหารความเสี่ยง ถือเป็นกลยุทธ์สำคัญที่ต้องนำมาใช้ควบคู่กับกับการดำเนินธุรกิจ ซึ่งบริษัทมีโครงการที่เป็นลักษณะมิกซ์ยูส มีพื้นที่สำนักงานให้เช่า จึงทำให้สามารถบาลานซ์ความเสี่ยงจากธุรกิจโรงแรมได้ และยังสามารถนำสองธุรกิจดังกล่าวมาทำการตลาดร่วมกันได้ เช่น การบริการห้องประชุม ห้องพัก สำหรับกลุ่มลูกค้าของพื้นที่สำนักงานให้เช่า เป้นต้น  
2 กลยุทธ์ “โฮมโปร” รับไลฟ์สไตล์ลูกค้ายุค New Normal

2 กลยุทธ์ “โฮมโปร” รับไลฟ์สไตล์ลูกค้ายุค New Normal

การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ส่งผลให้พฤติกรรมการใช้ชีวิตของคนยุคปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไป เข้าสู่ความปกติใหม่ หรือ New Normal ไม่ใช่แค่การใช้ชีวิตประจำวันเท่านั้น ที่ต้องปรับเปลี่ยนไป แต่การทำงานหรือแม้แต่การดำเนินธุรกิจก็ต้องปรับเปลี่ยนเช่นกัน พนักงานจำนวนมากต้องทำงานจากที่บ้าน (Work From Home) เจ้าของธุรกิจก็ต้องปรับโมเดลการทำธุรกิจใหม่ ให้สอดคล้องกับพฤติกรรมของลูกค้าเช่นกัน   พฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจน นับตั้งแต่เกิดการระบาดของไวรัสโควิด-19 คือ การช้อปปิ้งออนไลน์ที่เพิ่มมากขึ้น เพราะนับตั้งแต่มีการล็อกดาวน์เมือง ร้านค้าและห้างสรรพสินค้าปิดให้บริการ แต่หันมาจำหน่ายสินค้าผ่านระบบเดลิเวอรี่และออนไลน์แทน แม้ว่าภายหลังจากสถานการณ์ทุกอย่างจะเข้าสู่ภาวะปกติมากขึ้น แต่พฤติกรรมการซื้อสินค้าออนไลน์และระบบเดลิเวอรี่ก็ยังคงมีอย่างต่อเนื่อง กลายเป็นพฤติกรรมปกติใหม่ของคนในยุคปัจจุบันไปแล้ว   สินค้าที่ที่จำหน่ายผ่านช่องทางออนไลน์ปัจจุบัน ลูกค้าไม่ได้สั่งซื้อเฉพาะกินของใช้จิปาถะ หรืออาหารการกิน หรือสินค้าแฟชั่นเท่านั้น แต่สินค้าชิ้นใหญ่ ๆ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดใหญ่ อาทิ แอร์ ตู้เย็น เครื่องซักผ้า หรือเฟอร์นิเจอร์ ของตกแต่งและซ่อมแซมบ้าน ก็ได้รับความนิยมในการสั่งซื้อผ่านช่องทางด้วยเช่นกัน เพราะปัจจุบันระบบการสั่งซื้อและการจัดส่ง สะดวก รวดเร็ว และได้รับสินค้าเหมือนกับการไปซื้อด้วยตนเองที่ห้างสรรพสินค้า ล็อกดาวน์ดันยอดขายออนไลน์โต “โฮมโปร” ศูนย์จำหน่ายสินค้าวัสดุ ของตกแต่ง เฟอร์นิเจอร์ และเครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นหนึ่งในผู้ประกอบการที่ปรับตัวเองกับการเปิดจำหน่ายสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ โดยเฉพาะในช่วงที่เกิดการล็อกดาวน์เมือง ไม่ได้เปิดให้บริการจำหน่ายสินค้าในร้าน แต่ปรับตัวด้วยการเปิดจำหน่ายสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ ในหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นเว็บไซต์ ไลน์ เฟสบุ๊ค และล่าสุด เปิดตัวแอปพลิเคชั่น โฮมโปร นางสาวเสาวณีย์  สิราริยกุล  ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการกลุ่มการตลาด บริษัท โฮม โปรดักส์ เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ “โฮมโปร”  เปิดเผยว่า ช่วงก่อนที่จะเกิดเหตุการณ์แพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 โฮมโปรมีสัดส่วนยอดขายผ่านช่องออนไลน์ 3-4% แต่หลังจากที่โฮมโปรหันมาเพิ่มช่องทางออนไลน์มากขึ้น ส่งผลให้มียอดขายผ่านช่องทางออนไลน์ขึ้นเป็น 8%   นอกจากนี้  โฮมโปรยังมองเห็นปัญหาสำคัญของการสั่งซื้อสินค้าออนไลน์ ที่ลูกค้ามักจะไม่ได้รับสินค้าตรงกับที่สั่ง ด้วยการเปิดบริการ Click & Collect  เป็นการแก้ไขปัญหาให้กับลูกค้า ที่เมื่อสั่งซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์แล้วสามารถมารับสินค้าได้ที่สาขาใกล้บ้าน 2 กลยุทธ์รับไลฟ์สไตล์ลูกค้ายุค New Normal โฮมโปร ไม่ได้ปรับตัวเฉพาะในเรื่องการตลาดออนไลน์เท่านั้น แต่ในช่องทางออฟไลน์ โฮมโปรก็ได้ปรับตัวรับกับพฤติกรรมของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงไปด้วย โดย 2 สิ่งที่โฮมโปรปรับกลยุทธ์การทำตลาด รับกับวิถีชีวิต New Normal ของผู้บริโภคยุคหลังโควิด-19 คือ 1.เพิ่มสินค้าใหม่รับไลฟ์สไตล์ New Normal ปัจจุบันสินค้าที่วางจำหน่ายในโฮมโปร เป็นแบรนด์สินค้าทั่วไปของซัพพลายเออร์ทั้งในและต่างประเทศ ขณะเดียวกันก็มีสินค้าที่โฮมโปรสั่งผลิตภายใต้แบรนด์ของตนเอง หรือจัดหามาจำหน่ายเอง (Sourcing) เพราะต้องการพัฒนาสินค้าให้ตรงกับความต้องการของกลุ่มลูกค้าของโฮมโปร ปัจจุบันมีสัดส่วนสินค้าของโฮมโปรอยู่ 22% โดยจะพัฒนาและคัดเลือกสินค้ามาจำหน่ายให้ได้ตามเป้าหมายที่ต้องการในสัดส่วน 25%   ล่าสุด การเปิดให้บริการโฮมโปรในสาขา ศูนย์การค้ามาร์เก็ต วิลเลจ รังสิต โฮมโปรเพิ่มสินค้าแบรนด์ใหม่ของตนเองมากถึง 10-15% กระจายไปในหลายกลุ่มสินค้า ที่สำคัญสินค้าได้ถูกพัฒนามาเพื่อตอบโจทย์ New Normal อาทิ เครื่องบรรจุอาหารสุญญากาศ จากพฤติกรรมของลูกค้าที่มักจะประกอบอาหารกินเองที่บ้าน หรือทำขนมขายและต้องการจัดเก็บอาหารไว้ให้ได้นาน หรือการแพ็คอาหารขาย การจำหน่ายอุปกรณ์ปลูกผักที่เป็นระบบอัตโนมัติ รองรับกับพฤติกรรมการปลูกพักของคนที่ใช้เวลาอยู่บ้าน เป็นต้น 2.การจัดดิสเพลย์สินค้า ตอบโจทย์ Home Solution โฮมโปร สาขาศูนย์การค้ามาร์เก็ต วิลเลจ รังสิต ถือเป็นสาขาใหม่ล่าสุดของปีนี้ สาขาที่ 85 ที่มีรูปแบบการจัดเลย์เอาท์ของจำหน่ายสินค้าด้วยรูปแบบใหม่ ที่รองรับกับวิถีชีวิต New Normal  ด้วยการจัดกลุ่มสินค้าที่มีความเกี่ยวข้องกันมาไว้ในพื้นที่ใกล้เคียงกัน พร้อมกับการจัดดิสเพลย์สินค้าให้เห็นถึงการใช้งานที่ร่วมกัน อาทิ การจัดสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดเล็ก ไว้ใกล้กับจาน ชาม อุปกรณ์ครัว อุปกรณ์ประกอบอาหาร เพราะโฮมโปรพบว่า ในช่วงล็อกดาวน์  ลูกค้าซื้อเตาอบขนมไปทำขนมขาย ซึ่งมียอดขายเพิ่มขึ้นมากถึง 3-4 เท่าตัว ทำให้สาขาใหม่จึงจัดสินค้าที่ต้องใช้ในการทำขนมมาไว้ในพื้นที่ใกล้กัน   แนวคิดของการปรับเลย์เอาท์แสดงสินค้า จะถูกนำไปใช้กับสาขาเดิมของโฮมโปรด้วย เพื่อทำให้ลูกค้าที่เข้ามาซื้อสินค้าภายในโฮมโปร สามารถได้สินค้าครบตามความต้องการ ซึ่งเป็นไปตามแนวคิดของ Total Home Solution ของโฮมโปรที่ต้องการขายสินค้าให้กับลูกค้าแบบครบจบในที่เดียว ซึ่งจะส่งผลทำให้เกิดยอดขายต่อบิลที่สูงขึ้น โดยโฮมโปรสาขาศูนย์การค้ามาร์เก็ต วิลเลจ รังสิต คาดว่าจะสามารถทำยอดขายได้เดือนละ 100 ล้านบาท ใกล้เคียงกับสาขาขนาดใหญ่อื่น ๆ ของโฮมโปร   สำหรับศูนย์การค้ามาร์เก็ต วิลเลจ รังสิต บริษัทได้ลงทุนกว่า 1,000 ล้านบาท ปัจจุบันมีอยู่ด้วยกัน 5 สาขา โดยมีคอนเซ็ปต์การพัฒนาให้เป็น  Life Style Mall  ซึ่งสาขาดังกล่าวตั้งอยู่บนถนนรังสิต-ธัญญบุรี พื้นที่กว่า 25 ไร่ รวมพื้นที่ใช้สอยกว่า 35,000 ตร.ม.  ภายในโครงการของศูนย์การค้าประกอบไปด้วย ร้านอาหารแบรนด์ชั้นนำ  Homepro และTop Super Market และร้านค้าปลีกชื่อดังกว่า 100 ร้านค้า ศูนย์อาหาร Street Food Market ศูนย์รวมความบันเทิง และพักผ่อน The Fitness Society และ Play Tory (PlayLand) ส่วนโฮมโปร สาขาศูนย์การค้ามาร์เก็ต วิลเลจ  ถือเป็นสาขาแห่งที่ 85  มีพื้นที่กว่า 9,000 ตรม. ตั้งอยู่ชั้น 2 ของศูนย์การค้ามาร์เก็ตวิลเลจ ซึ่งในวันที่ 28 พฤศจิกายนนี้ จะเปิดสาขาที่ 86 ที่ย่านสุขสวัสดิ์ เพื่อผลักดันยอดขายให้ได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ในปีนี้    
[PR News] พร็อพเพอร์ตี้ฯ เปิดตัวบ้าน 4 แบบใหม่ รับชีวิต New Normal

[PR News] พร็อพเพอร์ตี้ฯ เปิดตัวบ้าน 4 แบบใหม่ รับชีวิต New Normal

พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค เปิดตัว 4 แบบบ้านรุ่นใหม่ในโครงการเพอร์เฟค เพลส พร้อมปรับเปลี่ยนใหม่ทั้งรูปแบบและฟังก์ชั่น รับชีวิต New Normal     นายวงศกรณ์ ประสิทธิ์วิภาต กรรมการผู้จัดการ บริษัท พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า สถานการณ์ปัจจุบันผู้คนตระหนักถึงความสำคัญ กับการใช้ชีวิตภายในบ้านมากขึ้น โดยมีวิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างชัดเจน ทั้งด้านการใช้ชีวิตทั่วไป การทำงาน รวมถึงการเลือกทำกิจกรรมต่าง ๆ ภายในบ้านมากขึ้น ซึ่งส่งผลต่อแนวโน้มการตัดสินใจในการเลือกซื้อบ้าน ทำให้ลูกค้าให้ความสำคัญกับขนาดพื้นที่ใช้สอยและมีความต้องการด้านฟังก์ชั่นที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น   ดังนั้น เพื่อการรองรับกับความต้องการของลูกค้าที่ปรับเปลี่ยน พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค ได้พัฒนาแบบบ้านรุ่นใหม่ Modern Oriental Series 2021 ในโครงการเพอร์เฟค เพลส ในแนวคิด New Space for Happiness เพื่อสร้างพื้นที่ความสุขให้เกิดขึ้นภายในบ้านได้มากที่สุด เน้นการจัดวางพื้นที่ใช้สอยที่มีหลากหลายฟังก์ชั่น โดยมี 5 จุดเด่น ได้แก่ 1.Space for Creation การปรับเปลี่ยนการใช้งานได้ตามความต้องการ เช่น เปลี่ยนห้องอเนกประสงค์เป็นห้องทำงานแบบ Work from Home หรือห้องพักผ่อนผู้สูงอายุ 2.Space for Healthy Living การปรับพื้นที่อเนกประสงค์ชั้น 2 เป็นพื้นที่ออกกำลังกายภายในบ้าน หรือพื้นที่สวนที่สามารถทำงานอดิเรก เช่น การปลูกพืชผักสวนครัวหรือปลูกดอกไม้ 3.Space for Collection มุม Walk in Closet ที่กว้างขวางมากขึ้น สามารถ จัดเป็นมุมของสะสม 4.Space for Care การเพิ่มพื้นที่เชื่อมต่อระหว่างภายในบ้านและสวนให้ผู้อยู่อาศัยได้ใกล้ชิดธรรมชาติ 5.Space for Family Activity พื้นที่ที่พร้อมรองรับทุกกิจกรรมของครอบครัว และยังคงให้บรรยากาศการอยู่อาศัยที่สามารถเว้นระยะได้อย่างเป็นสัดส่วนและมีความเป็นส่วนตัว   สำหรับแบบบ้าน Modern Oriental Series 2021 ดีไซน์สไตล์โมเดิร์นผสมกับความเป็นธรรมชาติ และยังตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์กลุ่มลูกค้าที่ใส่ใจด้านสุขอนามัยได้มากยิ่งขึ้นด้วย Smart AIRflow System ซึ่งเป็นนวัตกรรมระบบระบายอากาศ สามารถช่วยลดอุณหภูมิ ความอับชื้น แบคทีเรีย รวมถึง ฝุ่นละออง เพิ่มคุณภาพอากาศที่ดีให้แก่ผู้อยู่อาศัย พร้อมด้วยความสะดวกในการใช้งานผ่านแอพพลิเคชั่นได้จากโทรศัพท์มือถือ   ทั้งนี้ แบบบ้านรุ่นใหม่มีพื้นที่ใช้สอยขนาดตั้งแต่ 158 – 245 ตารางเมตร พร้อมเปิดตัวในโครงการเพอร์เฟค เพลส บน 5 ทำเล ได้แก่ แจ้งวัฒนะ,​รังสิต – ทางด่วนบางพูน, รัตนาธิเบศร์ – สถานีไทรม้า, สุขุมวิท 77 – สุวรรณภูมิ และ พระราม 9 – กรุงเทพกรีฑา ในราคาพิเศษเริ่ม 6.29 – 12 ล้านบาท
อิเกีย เจอล็อกดาวน์เพราะโควิด-19 ยอดขาย-รายได้รวมลดกว่า 7% รอบ 10 ปี

อิเกีย เจอล็อกดาวน์เพราะโควิด-19 ยอดขาย-รายได้รวมลดกว่า 7% รอบ 10 ปี

อิเกีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเม็กซิโก  ได้รับผลกระทบโควิด ยอดขายและรายได้ลด กว่า 7% ครั้งแรกในรอบ 10 ปี เหตุเจอมาตรการณ์ล็อกดาวน์ แต่ได้อานิสงค์คนอยู่บ้าน สั่งสินค้าออนไลน์เพิ่ม ทำยอดขายโต 2 เท่า     อิเกีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเม็กซิโก ประกาศรายได้ลดลงเป็นครั้งแรกในรอบกว่าหนึ่งทศวรรษของ การเติบโตและขยายตัวทางธุรกิจ ปิดปีงบประมาณที่เต็มไปด้วยความท้าทาย ด้วยรายได้รวม 26,000 ล้านบาท ในขณะเดียวกัน วิกฤติโควิดได้เร่งให้บริษัทเปลี่ยนผ่านเข้าสู่โลกธุรกิจแบบดิจิทัลเร็วขึ้น ผลจากความนิยมในการแต่งบ้านที่พุ่งขึ้นอย่างล้นหลามช่วงล็อกดาวน์ นายคริสเตียน รอยเคียร์ กรรมการผู้จัดการอิเกีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเม็กซิโก เปิดเผยว่า เมื่อต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้ชีวิตประจำวันอย่างกะทันหัน หลายคนมาที่อิเกียเพื่อซื้อเฟอร์นิเจอร์และของใช้ไปแต่งโฮมออฟฟิศ มุมอ่านหนังสือ พื้นที่พักผ่อนกลางแจ้ง และครัวที่ตอบโจทย์การใช้งานในบ้านของตนเอง หลายคนตระหนักว่า บ้านมีความหมายและสำคัญต่อพวกเขามากแค่ไหน และเห็นว่ามันคุ้มที่จะลงทุนเพื่อทำให้บ้านที่ใช้ชีวิตอยู่ในทุก ๆ วัน เป็นที่อยู่อาศัยได้อย่างสบาย ตอบโจทย์การใช้งาน และมีรูปลักษณ์สวยงาม วิกฤติโควิดเปลี่ยนความคิดและค่านิยมที่หลายคนมีต่อการใช้ชีวิตในบ้าน โดยสโตร์อิเกียทั้ง 9 แห่งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่อยู่ภายใต้การบริหารจัดการของบริษัท มียอดขายรวม 22,400 ล้านบาท ในช่วงเดือนกันยายน 2562 – สิงหาคม 2563 ลดลงจากยอดขายในปีงบประมาณที่ผ่านมา 7.4% เนื่องด้วยสโตร์หลายแห่งต้องปิดให้บริการชั่วคราว โดยบางแห่งปิดให้บริการไปนานถึงสองเดือนครึ่ง ทั้งยังต้องเผชิญความท้าท้ายในเรื่องการจัดหาสินค้า และการจำกัดจำนวนผู้ใช้บริการภายในสโตร์เพื่อรักษาระยะห่างที่ปลอดภัย ทั้งนี้ เมื่อรวมกับรายได้จากศูนย์การค้าในเครือที่เชื่อมต่อกับสโตร์อิเกียอีก 5 ศูนย์ (ทั้งหมดบริหารงานโดยอิคาโน่ เซ็นเตอร์ส ซึ่งมีการเยียวยาค่าเช่าให้แก่ผู้เช่าจำนวนหลายร้อยรายที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤติที่เกิดขึ้น) ทำให้บริษัทมีรายได้รวม 26,000 ล้านบาท น้อยกว่าปีก่อน 2,000 ล้านบาท หรือลดลงประมาณ 7.1%   อิเกีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเม็กซิโก เป็นหนึ่งใน 12 แฟรนไชส์อิเกียที่มีอยู่ทั่วโลก โดยมีสโตร์เปิดให้บริการในประเทศสิงคโปร์ มาเลเซีย และไทย ควบคู่ไปกับศูนย์การค้าในเครืออิคาโน่ เซ็นเตอร์ส ซึ่งปัจจุบันมีผู้เช่าประมาณ 1,500 ราย ภายใต้พื้นที่ให้เช่า 4 ล้านตารางฟุต บริษัทยังคงมุ่งมั่นที่จะเข้าถึงคนทั่วไปอีกเป็นจำนวนมาก ด้วยการให้บริการเฟอร์นิเจอร์ และสินค้าตกแต่งบ้าน รวมถึงมีทบอลต้นตำรับสวีเดนในสโตร์ที่จะเปิดให้บริการในประเทศเม็กซิโกและฟิลิปปินส์ ซึ่งทั้งสองแห่งจะเปิดให้ลูกค้าช้อปออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ได้ล่วงหน้าหลายเดือนก่อนที่จะได้เข้าไปสัมผัสประสบการณ์ช้อปเต็มรูปแบบในสโตร์ หลังให้บริการอีคอมเมิร์ซใน 3 ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มาเป็นเวลา 1 ปีเต็ม สโตร์อิเกียในทั้ง 3 ประเทศยังสามารถจำหน่ายสินค้าที่ตอบโจทย์การใช้งานแก่ลูกค้าได้แม้ในช่วงที่ต้องปิดหน้าร้านไปเป็นเวลานาน โดยได้รับการสนับสนุนและคำแนะนำจากหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องในแต่ละพื้นที่ พนักงานร่วมแรงร่วมใจกันจัดตั้งระบบปฏิบัติงานด้านการหยิบ แพ็ก และจัดส่งสินค้าเพื่อรองรับยอดสั่งซื้อจำนวนมากในเวลาเพียงชั่วข้ามคืน แผนกที่เกี่ยวข้องต้องจัดหาผู้ให้บริการด้านการขนส่งสินค้าเพิ่มเติม เพิ่มรอบจัดส่งสินค้า ปรับปรุงเว็บไซต์ใหม่ให้รองรับยอดสั่งซื้อออนไลน์ที่เข้ามาในแต่ละวัน เมื่อสิ้นสุดปีงบประมาณ มียอดสั่งซื้อสินค้าออนไลน์กว่า 525,000 ออเดอร์ คิดเป็นยอดขายออนไลน์กว่า 3,100 ล้านบาท ซึ่งเกิน 2 เท่าของรายได้รวมจากอีคอมเมิร์ซของบริษัทในปีก่อนหน้า   สโตร์ในประเทศไทยได้เริ่มให้บริการ Click & Collect ช้อปออนไลน์และรับสินค้าได้ที่สโตร์ ขณะที่แผนกอาหารและเครื่องดื่มในสโตร์อิเกีย  ทั้งในไทยและมาเลเซียหันหน้าจับมือพันธมิตรทางธุรกิจ ขยายการให้บริการจัดส่งอาหารหลากหลายเมนู รวมถึงมีทบอลต้นตำรับสวีเดน  และหลายส่วนยังทำงานร่วมกันในระดับภูมิภาคเพื่อให้ความช่วยเหลือในการจัดส่งสินค้าและบริการให้แก่โรงพยาบาล หอพักแรงงานอพยพ ศูนย์พักพิง และองค์กรอื่นๆ ที่เป็นแนวหน้าในการรับมือวิกฤติโควิด-19  ในแต่ต่ละประเทศ รวมมูลค่ากว่า 11.5 ล้านบาท   ผลประกอบการ รายได้ปีงบประมาณ 2563 ระหว่างกันยายน 2562 – สิงหาคม 2563 ประเทศสิงคโปร์ อิเกีย Tampines อิเกีย Alexandra รวมรายได้ 304 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ หรือประมาณ 7,000 ล้านบาท ประเทศมาเลเซีย อิเกีย Damansara และศูนย์การค้า IPC อิเกีย Cheras และศูนย์การค้า MyTOWN อิเกีย Tebrau และศูนย์การค้า Toppen อิเกีย Batu Kawan และศูนย์การค้า Batu Kawan Link รวมรายได้ 472 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ หรือประมาณ 10,900 ล้านบาท ประเทศไทยไทย อิเกีย บางนา และศูนย์การค้าเมกาบางนา อิเกีย บางใหญ่ อิเกีย ภูเก็ต รวมรายได้ 344 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ หรือประมาณ  8,000 ล้านบาท   ข้อมูลที่น่าสนใจ 1 กันยายน 2562 – 31 สิงหาคม 2563 77 ล้าน                 ผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์อิเกียในประเทศสิงคโปร์ มาเลเซีย และไทย เพิ่มขึ้น 46% จากปีที่แล้ว 28 ล้าน                จำนวนชิ้นของมีทบอล ชิคเก้นบอล และเวจจี้บอลที่จำหน่ายใน 3 ประเทศ 2.4 ล้าน               ผู้สมัครเข้าร่วมโปรแกรมสมาชิก IKEA Family ใน 3 ประเทศ เพิ่มขึ้น 14% จากปีที่แล้ว 525,418             คำสั่งซื้อสินค้าออนไลน์ใน 3 ประเทศ เพิ่มขึ้นกว่า 2 เท่าจากปีที่แล้ว 3,561                   จำนวนพนักงานทั้งหมด (สิงคโปร์ มาเลเซีย ไทย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม และเม็กซิโก) 1,481                   ผู้เช่าพื้นที่ศูนย์การค้า 5 แห่งในมาเลเซียและไทย 145                      เต็นท์พักอาศัยบรรจุในกล่องแบนที่อิเกียบริจาคเพื่อใช้เป็นจุดตรวจหาเชื้อ คลินิกชั่วคราวและพื้นที่พักฟื้นในประเทศเม็กซิโกและประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 73                         วันที่สโตร์อิเกียปิดให้บริการในสิงคโปร์ 56 วันที่สโตร์อิเกียปิดให้บริการในไทย และ 47-51 วันที่ สโตร์อิเกียปิดให้บริการในมาเลเซีย 3                           สโตร์อิเกียที่เตรียมเปิดให้บริการในปี 2564 ในสิงคโปร์ มะนิลา และเม็กซิโกซิตี (สำหรับสโตร์อิเกียในเวียดนามอยู่ระหว่างวางแผนดำเนินงาน)
ทดลองนั่งรถไฟฟ้าสายสีทอง ที่ไม่มีคนขับ !! ไป ไอคอนสยาม

ทดลองนั่งรถไฟฟ้าสายสีทอง ที่ไม่มีคนขับ !! ไป ไอคอนสยาม

คนกรุงเทพฯ เตรียมใช้บริการ รถไฟฟ้าสายสีทอง รถไฟฟ้าที่ไม่มีคนขับ แห่งแรกของไทย ไปไอคอนสยาม-โรงพยาบาลตากสิน-สำนักงานเขตคลองสาน กลางเดือนธันวาคม 2563 นี้แน่นอน ด้วยค่าโดยสารแค่ 15 บาท ใช้ระยะเวลาเดินทางแค่ 5 นาทีเท่านั้น   เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2563 พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) พร้อมด้วยคณะผู้บริหารกรุงเทพมหานคร เดินทางมาตรวจเยี่ยมโครงการระบบขนส่งมวลชนขนาดรอง สายสีทอง ระยะที่ 1 (สถานีกรุงธนบุรี-สถานีสำนักงานเขตคลองสาน) พร้อมกับเปิดทดลองเดินรถก่อนเปิดใช้บริการจริงในช่วงกลางเดือนธันวาคมนี้ โดยมี ผู้บริหารสำนักการจราจรและขนส่ง ผู้บริหารบริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด ผู้บริหาร บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) และสื่อมวลชนไปร่วมทดลองนั่งด้วย เปิดให้ใช้แน่กลางเดือนธ.ค.63 โครงการรถไฟฟ้าสายสีทองเป็นโครงการรถไฟฟ้าสายใหม่ที่กรุงเทพมหานคร ได้ดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) โดยเริ่มก่อสร้างในปี 2561 และขณะนี้การก่อสร้างและติดตั้งระบบในภาพรวมมีความก้าวหน้า 96 % แบ่งออกเป็นความก้าวหน้างานโยธา 98 % และความก้าวหน้างานระบบการเดินรถ 92 % โดยหลังจากติดปัญหาเรื่องผลกระทบจากโรคโควิด-19 ที่ทำให้การจัดส่งขบวนรถและอุปกรณ์ต่าง ๆ ต้องล่าช้า รวมทั้งการปรับปรุงแบบทางขึ้นลงสถานีให้ตรงตามความต้องการของชุมชน ทำให้ต้องเลื่อนกำหนดการเปิดให้บริการจากเดิมที่กำหนดไว้ในเดือนตุลาคม 2563 โดยหลังจากที่สถานการณ์โรคระบาดคลี่คลายก็ได้รับมอบขบวนรถในโครงการมาครบทั้งหมดแล้ว ทั้ง 3 ขบวน และขณะนี้อยู่ระหว่างทดสอบการเดินรถในเส้นทาง ซึ่งผลการทดสอบเป็นไปตามแผน โดยคาดว่าจะสามารถเปิดให้บริการประชาชนได้กลางเดือนธันวาคม 2563 นี้ถือเป็นของขวัญปีใหม่ให้กับชาวกรุงเทพฯ โดยเฉพาะประชาชนในย่านฝั่งธนฯ ที่จะมีทางเลือกในการเดินทางด้วยรถไฟฟ้าเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะที่สถานีคลองสาน เป็นที่ตั้งของหน่วยงานราชการหลายแห่ง ทั้งโรงพยาบาลตากสิน สำนักงานเขตคลองสาน สน.ปากคลองสาน และสำนักการศึกษา กทม. จะช่วยให้การเดินทางมาติดต่อราชการสะดวกมากขึ้น รู้จักรถไฟฟ้าสายสีทอง โครงการรถไฟฟ้าสายสีทอง มีระยะทางรวม 2.75 กิโลเมตร 4 สถานี วิ่งตามแนวถนนกรุงธนบุรี ถนนเจริญนครและถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน  การดำเนินงานแบ่งออกเป็น 2 ระยะ ระยะที่ 1 ระยะทาง 1.80 กิโลเมตร (ดำเนินการในปัจจุบัน) ประกอบด้วย สถานีกรุงธนบุรี (G1) สถานีเจริญนคร (G2) สถานีคลองสาน (G3) ระยะที่ 2 ระยะทาง 0.88 กิโลเมตร ประกอบด้วย 1 สถานี สถานีประชาธิปก (G4) ข้อมูลรถไฟฟ้าสายสีทอง รถที่นำมาใช้เป็นรถไฟฟ้ารุ่น Bombardier Innovia APM 300 รถวิ่งได้ความเร็วสูงสุดที่ 80 กิโลเมตร/ชั่วโมง แต่ช่วงที่ได้มาทดลองวิ่งด้วยความเร็วประมาณ 30-60 กิโลเมตร/ชั่วโมง เพราะเส้นทางรถไฟฟ้ามีความโค้งหลายจุด ซึ่งระยะเวลาวิ่งจากสถานีกรุงธนบุรีถึงสถานี สำนักงานเขตคลองสาน ใช้เวลาประมาณ 5 นาที มีจำนวน 3 ขบวน ขบวนละ 2 ตู้ ซึ่งใช้งานจริง 2 ขบวน และอีก 1 ขบวนสำรองไว้สำหรับรถไฟฟ้าขบวนจริงต้องซ่อมแซม หรือต้องหยุดวิ่ง และตู้ของรถไฟฟ้าแต่ละตู้ จะแยกจากกัน ไม่สามารถเดินไปมาระหว่างตู้ขบวน เหมือนกับรถไฟฟ้าบีทีเอส หรือรถใต้ดินได้ ขนาดความจุผู้โดยสาร 138 คน/ตู้ ตู้รถไฟฟ้ามีความกว้าง 2.8 เมตร ความยาว 12.75 เมตร ความสูง 3.5 เมตร ประตูมีความกว้าง 1.9 เมตร ความสูงของพื้นรถ 1.1 เมตร ระบบรถไฟฟ้าเป็นระบบ Automated Guideway Transit (AGT) หรือระบบขนส่งมวลชนแบบนำทางอัตโนมัติ หรือรถไฟฟ้าระบบ Automated People Mover (APM) เป็นระบบล้อยาง ซึ่งไม่มีคนขับรถไฟฟ้าอยู่ในขบวน แต่จะถูกควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ โดยพนักงานประจำสถานี ถือเป็นรถไฟฟ้าเส้นทางแรกของไทย ที่ไร้คนขับอยู่ในขบวน ไม่เหมือนรถไฟฟ้าบีทีเอสหรือเอ็มอาร์ที   ไปไอคอนสยามได้ง่าย ๆ แค่ 5 นาที รถไฟฟ้าสายสีทอง จะเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าบีทีเอสสถานีกรุงธนบุรี ด้วยอัตราค่าโดยสารเพียง 15 บาทตลอดสาย ทำให้ต่อไปผู้ที่จะเดินทางไปช้อปปิ้งที่ศูนย์การค้าไอคอนสยาม ก็ใช้ระยะเวลาเดินทางเพียง 5 นาทีเท่านั้น ทำให้เป็นการเพิ่มทางเลือกได้มากขึ้น ต่อไปนี้ถ้าจะไปช้อปปิ้งที่ไอคอนสยาม หรือไปรักษาพยาบาลที่โรงพยาบาลตากสินก็มีทางเลือกหลากหลาย เพราะรถไฟฟ้าสายสีทองยังเชื่อมต่อการเดินทาง ล้อ ราง เรือ รองรับผู้โดยสารจากรถไฟฟ้าสายสีเขียวที่สถานีกรุงธนบุรี และเชื่อมต่อโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง (ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ) และสายสีแดง (ช่วงหัวลำโพง-บางบอน-มหาชัย) ในอนาคต รวมทั้งเชื่อมการเดินทางของประชาชนที่ใช้บริการเรือโดยสารในแม่น้ำเจ้าพระยาด้วย ซึ่งคาดการณ์ปริมาณผู้โดยสารเมื่อเปิดให้บริการ อยู่ที่ประมาณ 42,260 เที่ยว-คน/วัน   การพัฒนาโครงข่ายรถไฟฟ้ายังช่วยเพิ่มมูลค่าของที่ดินในแนวรถไฟฟ้า เสริมสร้างเศรษฐกิจในพื้นที่ เห็นได้จากมีโครงการคอนโดมิเนียมของผู้ประกอบการทั้งหลาย เข้าไปปักหมุดกันมากมาย และจะเป็นจุดไฮไลท์อีกแห่งหนึ่งที่จะดึงดูดนักท่องเที่ยว เป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจในพื้นที่หลังจากที่ได้รับผลกระทบจากโรคโควิด-19 ได้อีกด้วย
KEF เผยโฉม LS50 Meta และ LS50 Wireless II ลำโพงสองรุ่นแรกที่พ่วงเทคโนโลยีดูดซับเสียงสะท้อนแบบใหม่ล่าสุด

KEF เผยโฉม LS50 Meta และ LS50 Wireless II ลำโพงสองรุ่นแรกที่พ่วงเทคโนโลยีดูดซับเสียงสะท้อนแบบใหม่ล่าสุด

KEF เผยโฉม LS50 Meta และ LS50 Wireless II คอลเลคชั่นใหม่ล่าสุด KEF (เคฟ) เผยโฉมคอลเลคชั่น LS50 ใหม่ล่าสุด นำเสนอลำโพงสองรุ่น ได้แก่ LS50 Meta’ และ ‘LS50 Wireless II’ ที่ต่อยอดมาจากนวัตกรรมอันยอดเยี่ยมของ LS50 รุ่นก่อนหน้าในตำนาน แม้ว่าเคฟได้สร้างมาตรฐานเครื่องเล่นเสียงไว้อย่างยอดเยี่ยมมาโดยตลอด แต่จากการค้นคว้าอย่างเข้มข้นกว่าสามปีทำให้คอลเลคชั่น LS50 ตัวใหม่ล่าสุดนี้ยกระดับมาตรฐานเครื่องเล่นเสียงของเคฟ ให้สูงขึ้นไปอีกขั้น โดยทั้ง LS50 Meta’ และ ‘LS50 Wireless II’ พร้อมมอบพลังเสียงคมชัดและใสเป็นธรรมชาติ ที่ทุกคนต้อง ‘Listen and Believe’ หรือลองฟังและพิสูจน์ด้วยตัวเอง   กว่าศตวรรษที่เคฟเป็นผู้เชี่ยวชาญในการสร้างเสียงที่เป็นธรรมชาติและสมจริง จนทำให้ผู้ฟังสามารถสัมผัสประสบการณ์เสมือนกำลังนั่งฟังดนตรีสดจากศิลปินคนโปรด หรือฟังเรื่องราวที่มีผู้บรรยายกำลังนั่งเล่าอยู่ข้างๆ หรือกระทั่งรู้สึกว่ากำลังอยู่ท่ามกลางบรรยากาศการแข่งขันกีฬาอันดุเดือด ไม่ว่าจะเป็นการเพลิดเพลินกับภาพยนตร์ที่คุณชื่นชอบบนโซฟา การนั่งทำงานภายในสตูดิโอในบ้าน หรือการฟังเพลงเสริมบรรยากาศ เคฟให้ความสำคัญกับการนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพที่เหนือชั้นเสมอ   MAT เทคโนโลยีการดูดซับเสียงแบบใหม่ ครั้งนี้เคฟสานต่อความมุ่งมั่นในการพัฒนานวัตกรรมที่ไร้ขีดจำกัด เพื่อนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่เหนือความคาดหมาย จนกลายมาเป็นคอลเลคชั่น LS50 ใหม่ที่สามารถนำเสนอเสียงอันบริสุทธิ์แบบที่ไม่มีใครเทียบเคียงได้ เป็นเสียงดุจธรรมชาติสร้างที่ผู้ฟังสามารถดื่มด่ำอรรถรสได้เต็มพิกัดในทุกทัศนียภาพของเสียง ให้คุณสัมผัสได้ถึง ‘Every note, Every word, Every detail’ แบบเต็มอิ่มครบรส ถือเป็นลำโพงแรกของโลกที่ปฎิวัติวงการโดยมีการนำเทคโนโลยีดูดซับเสียงสะท้อน Metamaterial Absorption Technology (MAT) มาใช้ในการออกแบบลำโพงเป็นครั้งแรกของโลก แหวกทุกกฎเกณฑ์เดิมเรื่องการดูดซับเสียงสะท้อนในลำโพง ซึ่งเคฟได้ออกแบบพัฒนาร่วมกับ Acoustic Metamaterials Group   เทคโนโลยี MAT เกิดจากการใช้วัสดุสังเคราะห์ใหม่ที่มีคุณสมบัติขั้นสูงในการดูดซับเสียงส่วนเกินที่แผ่ออกมา ช่วยลดการบิดเบือนความใสของเนื้อเสียง ทำให้ได้เสียงแท้ที่คมชัดกว่าเดิม ซึ่ง MAT นี้ถูกออกแบบให้มีโครงสร้างเหมือนเขาวงกต เพื่อให้แต่ละช่องสามารถดูดซับเสียงที่มีความถี่หลากหลายอย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อทำงานประสานกันโครงสร้างนี้เปรียบเสมือนหลุมดำของเสียงที่สามารถดูดซับเสียงส่วนเกิน ลดความผิดเพี้ยนของความถี่สูง ได้กว่า 99% ในขณะที่กรรมวิธีแบบอื่นๆ มีประสิทธิภาพการกำจัดเสียงเกินส่วนนี้อยู่ที่ประมาณ 60% เท่านั้น ดังนั้นผลลัพธ์ของคุณภาพเสียงจึงมีความโดดเด่นยากจะหาใครเทียบ     ทั้ง LS50 Meta’ และ ‘LS50 Wireless II’ ได้รับการเพิ่มประสิทธิภาพของไดรเวอร์เพื่อให้เสียงมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และความผิดเพี้ยนของเสียงน้อยลง โดยมาพร้อมเทคโนโลยี Uni-Q ไดร์เวอร์เจนเนอเรชั่น 12 โดยไดร์เวอร์ Uni-Q จะทำงานร่วมกันกับ MAT ที่ช่วยให้กระจายเสียงได้ทั่วห้องอย่างสม่ำเสมอ ให้คุณดื่มด่ำกับเสียงเสมือนจริงได้จากทุกมุมห้องและยังมีกรวยลำโพงแยกแบบใหม่และการพัฒนาระบบมอเตอร์ที่ช่วยลดความเพี้ยนของเสียง ทำให้ได้เสียงโปร่งขึ้นและมีเบสลึกขึ้นกว่าเดิม   นอกจากนี้ ทั้ง LS50 Meta และ LS50 Wireless II ยังมีการพัฒนาจากลำโพง LS50 รุ่นเดิมในส่วนต่างๆ ได้แก่ การใช้พอร์ตเสียงเบสที่มีความยืดหยุ่น (off-set flexible bass port) ซึ่งเป็นสิทธิบัตรเฉพาะเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพและลดความผิดเพี้ยนของเสียง การใช้ตู้ลำโพงที่มีลักษณะโค้งทำให้เกิดการเลี้ยวเบนของคลื่นที่ต่ำ (curved baffle) และใช้หลักการดีไซน์ตู้ลำโพงแบบ Finite Element Analysis (FEA) พร้อมโครงสร้างซับพอร์ตภายในด้วยหลักการ Cross Bracing และ Constrained Layer Damping เพื่อให้ได้โครงสร้างตู้ที่แข็งแกร่งมั่นคง ซึ่งทั้งหมดนี้ได้ประกอบเป็น ‘LS50 Meta’ และ ‘LS50 Wireless II ที่สามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์แบบ ไร้รอยต่อก่อให้เกิดเสียงที่ชัดเจนทุกรายละเอียดอย่างยอดเยี่ยม เกิดความผิดเพี้ยนของเสียงน้อยมาก ไม่ว่าคุณจะอยู่มุมไหนของห้อง   สำหรับ LS50 Wireless II มี มีการประมวลผลสัญญาณดิจิทัลขั้นสูง ประกอบกับการใช้เทคโนโลยีเสียง Music Integrity Engine ซึ่งเป็นสิทธิบัตรของเคฟ แอมพลิฟายเออร์คลาส A / B 100W ตัวใหม่ที่ช่วยให้กำลังทวีตเตอร์ และแอมพลิฟายเออร์คลาส D 280W ช่วยขับเสียงกลาง / เบส ทำให้ LS50 Wireless II เป็นลำโพงที่ประสิทธิภาพเยี่ยม ทรงพลังและยังได้รับการรับรองจาก Roon Ready ด้วย สามารถครอบคลุมทุกการเชื่อมต่อบนระบบ Apple หรือ Android ผ่านแอป KEF Connect ให้คุณสามารถฟังเพลงหรือปรับแต่งเสียงได้ตามความต้องการ และสามารถสตรีมดนตรีผ่าน Tidal, Amazon Music, Qobuz, Deezer, Podcasts หรือสามารถสตรีมโดยตรงจากแอป Spotify Connect LS50 Wireless II และยังมีออดิโอไฟล์ที่รองรับการสตรีมไฟล์เพลงสูงสุด 24 บิต / 384kHz ตลอดจนการถอดรหัส MQA และ DSD256 เพื่อการเล่นเสียงที่มีความละเอียดสูงอย่างแท้จริง ให้คุณเป็นอิสระไปกับทุกเสียงเพลงในทุกๆ เวลา   นอกจากประสิทธิภาพอันทรงพลังแล้ว LS50 Meta และ LS50 Wireless II ยังมาพร้อมดีไซน์ตู้ลำโพงที่สวยงามที่ออกแบบรูปทรงส่วนโค้งด้านหน้าเพื่อประสิทธิภาพเสียงที่ยอดเยี่ยม ตามแบบฉบับของ KEF โดยทีมดีไซเนอร์ของ KEF ยังให้ความสำคัญกับทุกรายละเอียดการดีไซน์เพื่อให้แน่ใจว่าลำโพง LS50 Meta’ และ ‘LS50 Wireless II’ สามารถกลมกลืนและเสริมสร้างสภาพแวดล้อมราวกับเป็นเฟอร์นิเจอร์หนึ่งภายในบ้านคุณ ด้วยการออกแบบรูปลักษณ์ตัวลำโพงให้มีความหรูหราสวยงามและมาพร้อมหลากหลายสีให้เลือกสรร ด้วย Carbon Black, Titanium Grey, Mineral White และสี Special Edition เฉพาะรุ่น LS50 Meta สี Royal Blue และ LS50 Wireless II สี Crimson Red ที่สามารถเลือกแมทช์ได้กับขาตั้งพื้นรุ่น Bespoke S2 ที่มีมาในสี Carbon Black, Titanium Grey, Mineral White และสี Special Edition ได้อย่างสมบูรณ์   ลำโพงเคฟนำเข้าและจัดจำหน่ายโดยบริษัท วีแกดซ์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด สามารถสัมผัสประสบการณ์จริงกับเสียงใสที่คมชัดกว่าเคย สำรองเวลาทดสอบเสียง ’book a demo’ ลำโพง คอลเลคชั่น LS50 ใหม่ที่มีเทคโนโลยีวัสดุดูดซับเสียง MAT สองรุ่นแรกของโลกได้เร็ว ๆ นี้ที่ตัวแทนจำหน่ายหรืออีเมลสอบถามรายละเอียด ‘book a demo’ มาที่ kef@vgadz.com   สามารถจับจองเป็นเจ้าของได้แล้วทางออนไลน์ได้ที่ www.vgadz.com/kef หรือที่ the Gadget centralworld ชั้น 4, ร้าน Piyanas ทุกสาขา, SweetPig Audio, BKK AUDIO, .Life, Fullbright Technology, Bangkok Digital, mercular.com, มั่นคงแก็ดเจ็ท และร้านเครื่องเสียงชั้นนำทั่วประเทศ ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.facebook.com/vgadz/ และ https://www.vgadz.com/kef  
2 เดือนอินเตอร์คอนติเนนตัลฯ  หัวหินขาย 2,000 ล้าน เศรษฐีไทย หนี้ซื้อบ้านหลังที่ 2

2 เดือนอินเตอร์คอนติเนนตัลฯ หัวหินขาย 2,000 ล้าน เศรษฐีไทย หนี้ซื้อบ้านหลังที่ 2

ปกติทุกปีในช่วงฤดูหนาวต่อเนื่องไปถึงฤดูร้อน เศรษฐีเมืองไทย มักจะเดินทางท่องเที่ยวในต่างประเทศ ใช้จ่ายกับการพักผ่อนหลายแสนบาทต่อทริป แต่ในปีนี้ทำไม่ได้แล้ว เพราะผลกระทบจากไวรัสโควิด-19 ทำให้ต้องอยู่แต่ในประเทศ ทางเลือกการเดินทางท่องเที่ยวจึงจำกัดอยู่แต่เฉพาะหัวเมืองหลัก ที่สามารถขับรถไปได้ใกล้ในระยะเวลาไม่เกิน 1-2 ชั่วโมง ไกลกว่านั้นก็จะโดยสารเครื่องบินแทน   “หัวหิน” จึงเป็นหนึ่งในเมืองท่องเที่ยวยอดนิยมของบรรดาเศรษฐีหรือกลุ่มลูกค้าระดับบน เพราะเดินทางไปได้ง่าย มีแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติสวยงาม เงียบสงบ มีโรงแรมหรูระดับ 5 หลายแห่งให้พักอาศัย หัวหินยังได้ชื่อว่าเป็นเมืองท่องเที่ยวตากอากาศสำหรับ “กลุ่มชนชั้นสูง” มาอย่างยาวนานด้วย แต่ปัจจุบันใคร ๆ ก็ไปเที่ยวหัวหินได้ เพราะมีที่พักรองรับหลากหลายระดับราคา   ด้วยเสน่ห์ของความเป็นหัวหิน ที่หาไม่ได้จากเมืองท่องเที่ยวที่อื่น ประกอบกับความพร้อมด้านการท่องเที่ยว ซึ่งมีความสะดวกสบาย และมีคุณภาพ จึงเป็นแรงดึงดูดให้นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาติเดินทางมาเมืองหัวหิน ทั้งที่มาพักชั่วคราวและพักระยะยาว แต่ช่วงสถานการณ์โควิด-19 ได้ส่งผลกระทบต่อตลาดท่องเที่ยว ทำให้ต่างชาติเดินทางเข้ามาในประเทศได้ ขณะที่คนไทยจะหันมาเที่ยวเมืองไทยด้วยกันเอง ก็หาที่พักไม่ได้ เพราะโรงแรมส่วนใหญ่ปิดให้บริการ พฤติกรรมของบรรดาเศรษฐีหรือกลุ่มลูกค้าระดับบน ที่ต้องหันมาท่องเที่ยวในประเทศ แต่มีข้อจำกัดเรื่องที่พัก จึงทำให้เขาเหล่านั้นเลือกที่จะซื้อคอนโดมิเนียมตากอากาศ  หรือบ้านพักตากอากาศในเมืองท่องเที่ยวแทน ซึ่งหัวหินเป็นเมืองที่ถูกเลือกเป็นอันดับแรก ๆ ด้วยปัจจัยและศักยภาพของเมือง ที่ตอบโจทย์ความต้องการของบรรดากลุ่มลูกค้าเหล่านั้น 2 เดือนกวาดยอด 2,000 ล้าน นางสาวพราวพุธ ลิปตพัลลภ กรรมการบริหาร บริษัท พราว เรียล เอสเตท จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า โครงการอินเตอร์คอนติเนนตัล เรสซิเดนเซส หัวหิน (InterContinental Residences Hua Hin) คอนโดระดับลักชัวรี่ ภายใต้แบรนด์ อินเตอร์คอนติเนนตัล โฮเต็ล กรุ๊ป ได้รับกระแสตอบรับที่ดีจากลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ซึ่งไม่สามารถเดินทางท่องเที่ยวต่างประเทศได้ และเลือกมาท่องเที่ยวหัวหิน  พร้อมกับการซื้อห้องชุดคอนโดไว้พักผ่อน เห็นได้จากช่วงหลังคลายล็อกดาวน์ บริษัทสามารถทำยอดขายได้ถึงยอดขาย 2,000 ล้านบาท หรือประมาณ 100 ยูนิต จากจำนวน 238 ยูนิต ในระยะเวลาเพียง 2 เดือน (มิถุนายนถึงกรกฎาคม) ช่วงโควิด-19 คนเดินทางไปไหนไม่ได้  ซึ่งธุรกิจท่องเที่ยวของหัวหินก็คึกคัก แม้แต่ช่วงวันธรรมดา อัตราการเข้าพักโรงแรมมีกว่า 60% ซึ่งคนไม่มีบ้านในหัวหินจึงอยางมีบ้านไว้สำหรับพักผ่อน ​ ปัจจัยสำคัญที่ทำให้โครงการได้รับการตอบรับที่ดี มาจาก 2 เหตุผลสำคัญ คือ 1.การยอมรับแบรนด์และความเชื่อมั่นในมาตรฐานของแบรนด์อินเตอร์คอนติเนนตัล ที่มีมาตรฐานเดียวกันทั่วโลก ซึ่งอินเตอร์คอนฯ เป็นแบรนด์ที่มีชื่อเสี่ยง มีโรงแรมกว่า 6,200 แห่งทั่วโลก และเป็น Top Brand ของกลุ่ม IHG ที่ผ่านมาโครงการแบรนด์เด็ดเรสซิเดนซ์อยู่​ 8 แห่ง ในหัวเมืองหลักทั่วโลก​ และ 2. โครงการตั้งอยู่ในเมืองบริเวณริมทะเล ติดชายหาดและถนนเพชรเกษม ซึ่งชื่อเสียงของเมืองหัวหินเป็นที่คนชื่อนชอบของกลุ่มลูกค้าระดับบน   ปัจจุบันโครงการมียอดขายมากกว่า 65% จากมูลค่าโครงการ 3,500 ล้านบาท ซึ่งคาดว่าจะปิดโครงการได้ภายในช่วงปลายปีนี้ หรืออย่างช้าในช่วงสงกรานต์ปี 2564 ปัจจุบันโครงการเริ่มก่อสร้างแล้ว และคาดว่าจะก่อสร้างแล้วเสร็จในเดือนธันวาคม 2565 ซึ่งนอกจากกลุ่มคนไทยที่ให้การตอบรับโครงการแล้ว ช่วงที่ผ่านมายังมีกลุ่มลูกค้าต่างชาติ ซื้อห้องชุดด้วยประมาณ 10 ยูนิต หรือคิดเป็นสัดส่วน 5% ซึ่งเป็นการซื้อจากการศึกษาข้อมูลโดยยังไม่เห็นห้องตัวอย่างจริง เศรษฐีไทย อยาก Work From Homeในบ้านหลัง 2 ด้านนายไพสิฐ แก่นจันทร์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ พราว เรียลเอสเตท กล่าวว่า ​ ปัจจุบันคนเริ่มมองหาบ้านหลังที่ 2 มากขึ้น ด้วยข้อจำกัดของการใช้บริการโรงแรมที่แห่งปิดให้บริการ ซึ่งมุมมองต่อการมีบ้านหลังที่ 2 นั้น จากเดิมมองว่าเป็นที่พักอาศัยช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์  แต่จากสถานการณ์โควิด-19 ทำให้บ้านหลังที่ 2 ต้องสามารถอยู่ได้จริง และอยู่ได้ตลอด 30 วัน หากต้องเปลี่ยนสถานที่ทำงานมา Work From Home และต้องการห้องพักขนาดใหญ่ ประมาณ 2 ห้องนอนเพื่อการอยู่อาศัยทั้งครอบครัว ที่ผ่านมาโครงการของบริษัทจึงได้รับการตอบรับที่ดี ห้องขนาดเล็กสุดมีพื้นที่ 45 ตารางเมตร มีระเบียงกว้าง 6 เมตร พบว่ามีลูกค้าซื้อ 2 ห้องเพื่อเชื่อมต่อห้องใหญ่ขึ้น และทำให้ได้ระเบียงหน้ากว้างถึง 12 เมตร   "คนสมัยก่อนไม่คิดซื้อคอนโด เพราะโรงแรมก็มีให้พัก แต่จากสถานการณ์โควิด-19 พบว่า โรงแรมปิดให้บริการ คนอยากท่องเที่ยว แต่ไม่สามารถหาที่พักได้ ทำให้มองหาคอนโด เพื่อเป็นบ้านหลังที่ 2 และเดินทางไม่ไกล ขับรถได้ประมาณ 1 ชั่วโมง และปกติช่วงมีนาคมถึงพฤษภาคม คนจะเดินทางท่องเที่ยวต่างประเทศ ซึ่งคนมีเงินปีนี้ไม่ได้ไปไหน  กลายเป็นความอึดอัด"   สำหรับแผนการพัฒนาโครงการในอนาคต บริษัทยังคงมุ่งพัฒนาโครงการในนรูปแบบแบรนด์เด็ดเรสซิเดนซ์ เพราะตลาดมีโอกาสและทำให้โครงการได้รับการยอมรับจากกลุ่มลูกค้าระดับบน  เพราะมีความมั่นใจในการบริการและการดูแลหลังการเข้าอยู่  ประกอบกับที่ดินมีราคาปรับเพิ่มขึ้นตลอดเวลา แต่อย่างไรก็ตามในระยะ 3-5 ปี บริษัทยังไม่มีแผนซื้อที่ดินมาพัฒนาเพิ่มเติมในทำเลหัวหิน แต่ในขณะเดียวกันบริษัทมองหาโอกาสในการขยายธุรกิจอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในตลาด​บ้านเพื่อผู้สูงอายุ หรือกลุ่มผู้เกษียณอายุ รวมถึงธุรกิจเวลเนสเรสซิเดนซ์ เนื่องจากเป็นเทรนด์ของที่อยู่อาศัย และเป็นตลาดที่มีโอกาสสร้างการเติบโตได้ในอนาคต​
มองตลาดออฟฟิศให้เช่า Q2 หลัง COVID-19 จะไปทางไหน?  

มองตลาดออฟฟิศให้เช่า Q2 หลัง COVID-19 จะไปทางไหน?  

การแพร่ระบาดของ ไวรัสโควิด-19 ส่งผลให้  การทำงานของคนในยุคปัจจุบัน ลดเวลาการเข้าไปทำงานที่ออฟฟิศ และหันมาทำงานจากที่บ้านมากขึ้น จึงทำให้เกิดคำถามว่า ในอนาคตบริษัทหรือธุรกิจต่าง ๆ จะลดขนาดพื้นที่สำนักงานหรือไม่ ซึ่งหากมีการลดขนาดของพื้นที่ออฟฟิศลง คงต้องกระทบกับผู้บริการให้เช่าพื้นที่สำนักงาน หรือเจ้าของอาคารต่าง ๆ อย่างแน่นอน   สำหรับเรื่องนี้  นายมาร์คัส เบอร์เทนชอว์ กรรมการบริหารและหัวหน้าฝ่ายตัวแทนนายหน้า บริษัท ไนท์แฟรงค์ ประเทศไทย จำกัด เปิดเผยว่า ในไตรมาสแรก พนักงานส่วนใหญ่ทำงานจากบ้าน  แต่เมื่อบริษัทต่าง ๆ เริ่มกลับเข้ามาทำงานที่ออฟฟิศในช่วงไตรมาสที่ 2 หลายบริษัทเริ่มพิจารณาว่าจะปรับตัวรับกับสถานการณ์ในอนาคตอย่างไร แต่เชื่อว่าอัตราการเช่าพื้นที่สำนักงานน่าจะมีแนวโน้มลดลงเนื่องจากผู้เช่าเริ่มคืนพื้นที่สำนักงานบางส่วนที่ไม่ใช้งาน  ในขณะเดียวกันค่าเช่าได้ปรับเพิ่มสูงขึ้น หากผู้เช่าไม่มั่นใจในภาวะเศรษฐกิจ อาจจะเกิดการลดพื้นที่ใช้งาน หรือย้ายไปยังอาคารที่มีค่าเช่าถูกกว่าได้   ตัวชี้วัดตลาดสำนักงาน ที่มา: ไนท์แฟรงค์ประเทศไทย ภาพรวมเศรษฐกิจ ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ของไทยหดตัวลง 12.2% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมาในไตรมาสที่ 2 ปี 2563 และลดลง 2% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า ซึ่งถือเป็นการหดตัวลงของจีดีพีที่มากที่สุด นับตั้งแต่วิกฤตการเงินในเอเชียในปี 2541 ซึ่ง ในไตรมาสที่ 2 ปี 2541 ภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวลง 12.5%   การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19และมาตรการที่ตามมาจากทั้งในและต่างประเทศ เพื่อป้องกันและควบคุมการแพร่กระจายของโรคเป็นปัจจัยหลักที่มีผลต่อการหดตัวของเศรษฐกิจ แม้ว่าจะมีการยกเลิกข้อจำกัดหลายประการในช่วงปลายไตรมาสที่ 2 แต่เศรษฐกิจยังคงได้รับผลกระทบอย่างมาก โดยการส่งออกลดลง 28.3% ซึ่งส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมการผลิต  จากผลกระทบการล็อคดาวน์ชั่วคราวและความต้องการทั่วโลกลดลง   ส่วนด้านรายจ่ายการอุปโภคบริโภคของเอกชนลดลงไป 6.6% เนื่องจากการใช้จ่ายในสินค้าคงทน สินค้ากึ่งคงทน และบริการต่าง ๆ ลดลงไป 30.2%, 15.7% และ 7% ตามลำดับ ภาคการท่องเที่ยวลดลงเป็นอย่างมากเช่นกัน โดยเห็นได้จากการใช้จ่ายของชาวต่างชาติที่ไม่ได้อาศัยอยู่ในประเทศลดลงไปถึง 91.2% เพราะปริมาณนักท่องเที่ยวต่างชาติลดลงเหลือศูนย์ ในขณะที่การลงทุนลดลงไป 8% โดยส่วนใหญ่อาจเป็นผลมาจากการลงทุนของภาคเอกชนที่ลดลงไป 15% แต่การใช้จ่ายของภาครัฐและการลงทุนภาครัฐขยายตัวขึ้น 1.4% และ 12.5% ​​ตามลำดับ เนื่องจากมีการใช้มาตรการเยียวยาเพื่อรักษาเสถียรภาพและฟื้นฟูเศรษฐกิจไทย   อุปทานสำนักงานในกรุงเทพฯ ที่มา: ไนท์แฟรงค์ประเทศไทย Q2 พื้นที่เพิ่มมากกว่า 99,000 ตร.ม. จากผลการวิจัยของไนท์แฟรงค์ประเทศไทย ในไตรมาสที่ 2 ปี 2563 พบว่า จำนวนพื้นที่สำนักงานในกรุงเทพฯ เพิ่มขึ้น 99,420 ตร.ม. หรือ 1.9% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ทำให้มีพื้นที่รวมทั้งหมด 5.33 ล้านตร.ม. โดยนับเป็นครั้งแรกที่จำนวนพื้นที่เพิ่มขึ้นมากกว่า 99,000 ตร.ม. นับตั้งแต่ไตรมาส 3 ปี 2554 โดยอาคารสำนักงานใหม่ 3 แห่งที่แล้วเสร็จ เพิ่มพื้นที่ 60,000 ตร.ม. เข้ามาในย่านศูนย์กลางธุรกิจ และ 39,420 ตร.ม. ในพื้นที่นอกย่านศูนย์กลางธุรกิจ และไม่มีการย้ายออกจากอาคารสำนักงานเก่า  ซึ่งอัตราเฉลี่ยการเพิ่มขึ้นของพื้นที่ต่อไตรมาสในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา เท่ากับ 26,800 ตร.ม.   อุปทานสำนักงานในกรุงเทพฯในอนาคต    ที่มา: ไนท์แฟรงค์ประเทศไทย อุปทานสำนักงานในกรุงเทพฯในอนาคต (รายโครงการ)  ที่มา: ไนท์แฟรงค์ประเทศไทย ปี 66 พื้นที่ออฟฟิศทะลุ 6.5 ล้านตร.ม.  ในช่วงครึ่งปีหลัง 2563 จะมีอาคารสำนักงานใหม่ 7 แห่งคาดว่าจะแล้วเสร็จ ซึ่งจะมีพื้นที่สำนักงานเข้าสู่ตลาดประมาณ 110,000 ตร.ม. โดย 47% หรือ 52,423 ตร.ม. จะตั้งอยู่ในย่านศูนย์กลางธุรกิจ โดยภายในปี 2566  หากเป็นไปตามแผน ตลาดสำนักงานในกรุงเทพฯ จะเติบโตขึ้น 1,216,139 ตร.ม. หรือเฉลี่ยที่ 347,468 ตร.ม. ต่อปี (คำนวนจากส่วนที่เพิ่มเข้ามาและไม่นับส่วนที่ย้ายออก) จากไตรมาสที่ 2 ปี 2559 จนถึงไตรมาสที่ 2 ปี 2562 ซัพพลายใหม่เพิ่มเข้าสู่ตลาดในอัตราประมาณ 185,000 ตร.ม. ต่อปี จากประมาณ 5.3 ล้าน   ตร.ม. ณ ปัจจุบัน ซัพพลายรวมของตลาดสำนักงานคาดว่าจะเพิ่มขึ้นถึง 6.5 ล้าน ตร.ม. ภายในสิ้นปี 2566 การครอบครองต่อปีของสำนักงานในกรุงเทพฯ ที่มา: ไนท์แฟรงค์ประเทศไทย ไดนามิกส์ของอุปสงค์และอุปทานสำนักงานในกรุงเทพฯ ที่มา: ไนท์แฟรงค์ประเทศไทย ธุรกิจรัดเข็มขัดลดพื้นที่เช่าสำนักงาน​    การเช่าโดยรวมลดลงเนื่องจากการครอบครองโดยรวมลดลง 11% จากไตรมาสก่อน เหลือเพียง 66,211 ตร.ม. อัตราการครอบครองนี้ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยต่อไตรมาสในช่วง 10 ปี เพียงเล็กน้อย โดยอยู่ที่ 67,126 ตร.ม. แม้ว่าจะมีการครอบครองค่อนข้างคงที่ แต่มีพื้นที่จำนวนมากถูกคืนสู่ตลาด โดย 115,750 ตร.ม. เป็นการคืนพื้นที่โดยผู้เช่า ซึ่งส่งผลต่อการลดลงของอัตราดูดซับสุทธิจาก 23,984 ตร.ม. เป็น -49,547 ตร.ม. ซึ่งนับเป็นระดับต่ำสุดที่ถูกบันทึกไว้ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ทั้งนี้ส่งผลให้พื้นที่ครอบครองรวมลดลงเหลือ 4.68 ล้าน ตร.ม. ลดลง 1% ต่อไตรมาส ปัจจัยเหล่านี้บ่งชี้ว่าแม้ว่าการเช่าจะยังคงดำเนินอยู่ แต่ผู้เช่าส่วนใหญ่ได้เลือกที่จะลดปริมาณพื้นที่ลงเพื่อเป็นแนวทางประหยัดค่าใช้จ่าย นอกจากนี้ บริษัทหลายแห่งอาจต้องปิดตัวลง และออกจากตลาดเนื่องจากผลกระทบทางเศรษฐกิจที่แย่ลง จากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด -19 ที่ยังคงยืดเยื้ออยู่ อุปทาน อุปสงค์ และอัตราการครอบครองของสำนักงานในกรุงเทพฯ ที่มา: ไนท์แฟรงค์ประเทศไทย เนื่องจากพื้นที่ออฟฟิศเพิ่มขึ้นมากแต่ความต้องการลดลง อัตราการครอบครองตลาดจึงปรับตัวลง 2.6% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และ เมื่อเทียบกับปีก่อนลดลง 3.5%  จากที่อยู่ที่ในอัตรา 87.7% นับเป็นการลดลง 5 ไตรมาสติดต่อกันของอัตราการครอบครอง ซึ่งทำให้อัตราปัจจุบันต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 10 ปี โดยอยู่ที่ 89.9%   เมื่อแบ่งตามเกรดอาคารสำนักงานจะเห็นได้ชัดว่า สำนักงานเกรดที่สูงกว่าได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวของตลาดมากกว่า ในขณะที่อัตราการครอบครองลดลงทั้งตลาด การลดลงมากที่สุดเป็นอาคารสำนักงานเกรด A โดยลดลงไป 3.3% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ในขณะเดียวกันอาคารสำนักงานเกรด B และ C ลดลงไป 2.8% และ 1.6% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ตามลำดับ เนื่องจากอัตราการครอบครองอาคารสำนักงานเกรด A ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของในช่วง 10 ปี ส่งผลให้ทุกเกรดแสดงประสิทธิภาพต่ำของค่าเฉลี่ยในระยะยาว   ในแต่ละไตรมาส การครอบครองยังคงลดลงทั้งในและนอกย่านศูนย์กลางธุรกิจ โดยอัตราการครอบครองในเขตอโศก-พร้อมพงษ์ และเขตเพลินจิต-ชิดลมลดลงไป 3.5% ซึ่งเป็นอัตราที่ลดลงที่มากที่สุดในบรรดาตลาดทั้งหมด ในทางกลับกัน เขตที่มีอัตราการครอบครองการลดลงน้อยที่สุด คือ เขตอโศก-เพชรบุรี โดยลดลงไปเพียง 0.7% โดยรวมแล้วพื้นที่ในและนอกย่านศูนย์กลางธุรกิจมีระดับการลดลงค่อนข้างเสมอกัน โดยลดลง 2.6% และ 2.7% ตามลำดับ ค่าเช่าโดยเฉลี่ยของสำนักงานในกรุงเทพฯ แบ่งตามเกรดอาคาร ที่มา: ไนท์แฟรงค์ประเทศไทย อัตราค่าเช่ายังเพิ่มขึ้น 0.4% ค่าเช่ายังคงเผชิญกับแรงกดดันจากสภาวะตลาดที่อ่อนตัวลง ราคาเสนอเช่าโดยเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 0.4% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และ 2.7% เมื่อเทียบกับปีก่อน โดยมีราคาอยู่ที่ 798 บาท/ ตร.ม.ต่อเดือน ระดับการเติบโตนี้ต่ำกว่าการเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยต่อปีที่ 4.2% ที่ถูกบันทึกไว้ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา   อาคารสำนักงานเกรด C มีการปรับค่าเช่ามากที่สุดต่อไตรมาส โดยเพิ่มขึ้นมากถึง 0.9% อยู่ที่ 474 บาท/ตร.ม. ในขณะที่ค่าเช่าอาคารสำนักงานเกรด A เพิ่มขึ้น 0.5% อยู่ที่ 1,137 บาท ส่วนอาคารสำนักงานเกรด B มีอัตราการเติบโตขึ้นเพียงเล็กน้อยที่ 0.1% อยู่ที่ 785 บาท อย่างไรก็ตาม อาคารสำนักงานเกรดที่สูงกว่ามีการเติบโตของค่าเช่ามากกว่าเป็นประจำทุกปี ค่าเช่าอาคารสำนักงานเกรด A ยังคงเพิ่มขึ้น 5.4% เมื่อเทียบกับปีก่อน และเมื่อเทียบกับค่าเช่าเกรด C ซึ่งเพิ่มขึ้น 0.2% เมื่อเทียบกับในช่วงเดียวกัน แม้จะมีความผันผวนในแต่ละไตรมาส การเผชิญกับสภาวะตลาดสำนักงานที่ยังคงซบเซาเจ้าของอาคารสำนักงานเกรด C จะพบว่าการปรับเพิ่มค่าเช่าเป็นเรื่องที่ทำได้ยาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากความได้เปรียบในการแข่งขันอยู่ในอัตราที่ต่ำกว่าตลาด   อัตราค่าเช่าของสำนักงานในย่านศูนย์กลางธุรกิจเพิ่มขึ้นมากกว่าอาคารสำนักงานที่ตั้งอยู่นอกย่านศูนย์กลางธุรกิจ โดยในย่านศูนย์กลางธุรกิจ ราคาเสนอเช่าโดยเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 0.5% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และ 3.5% เมื่อเทียบกับปีก่อน โดยอยู่ที่ 972 บาท สำหรับในพื้นที่นอกย่านศูนย์กลางธุรกิจเพิ่มขึ้น 0.2% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และ 1.7% เมื่อเทียบกับปีก่อน โดยอยู่ที่ 642 บาท    ตัวชี้วัดรายเขตของพื้นที่สำนักงานในกรุงเทพฯ ที่มา: ไนท์แฟรงค์ประเทศไทย   สำหรับในพื้นที่ย่านศูนย์กลางธุรกิจ ทุกพื้นที่ประสบกับปัญหาการเติบโตของค่าเช่าต่อไตรมาสติดลบ ยกเว้นในเขตอโศก-พร้อมพงษ์ที่มีค่าเช่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 0.4% ในแต่ละปี ค่าเช่าในทุกพื้นที่ยังคงสูงขึ้นยกเว้นในเขตเพลินจิต-ชิดลมที่มีราคาค่าเช่าลดลงไป 0.1% สำหรับพื้นที่นอกย่านศูนย์กลางธุรกิจ ราคาค่าเช่าโดยเฉลี่ยเพิ่มขึ้นมากที่สุดในเขตบางนา โดยเพิ่มขึ้น 1.7% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน นับเป็นอัตราการเติบโตสูงสุดที่ถูกบันทึกไว้จากทุกเขตตัวอย่าง อย่างไรก็ตามในแต่ละปี ราคาค่าเช่าโดยเฉลี่ยในบางนาลดลง 2.4% ซึ่งมากกว่าในเขตอื่น ๆ   วงจรการเช่าของสำนักงานในกรุงเทพฯ   ที่มา: ไนท์แฟรงค์ประเทศไทย แห่คืนพื้นที่-ปรับลดขนาดลง ตลาดสำนักงานในกรุงเทพฯ ยังคงอ่อนตัวลงอย่างต่อเนื่องตามผลกระทบของไวรัสโควิด-19 จากข้อมูลในไตรมาสที่ 2 บริษัทหลายแห่งไม่รอโอกาสในตลาดแล้ว แต่ได้ดำเนินการตามแผนกลยุทธ์ด้านพื้นที่อาคารสำนักงาน โดยพิจารณาตามผลกระทบที่เกิดขึ้นในปัจจุบันและในอนาคตที่อาจเกิดขึ้น ต่อการดำเนินธุรกิจของพวกเขา ซึ่งในทศวรรษที่ผ่านมาถูกขนานนามว่าเป็น “Flight to quality” โดยผู้เช่าทำการขยายพื้นที่สำนักงาน และลงทุนในพื้นที่ทำงานที่มีคุณภาพสูงขึ้น เพื่อดึงดูดผู้มีความสามารถและเพิ่มผลผลิต แต่ในไตรมาสนี้กลับมีสัญญาณการกลับตัวของแนวโน้มนี้ บริษัทจำนวนมากได้เลือกลดค่าใช้จ่ายด้านพื้นที่สำนักงานลง ไม่ว่าจะเป็นการคืนพื้นที่บางส่วนให้กับเจ้าของอาคาร การหาผู้เช่าช่วง หรือการย้ายที่ตั้งสำนักงาน บางบริษัทใช้นโยบายการทำงานจากบ้านหรือการทำงานทางไกลเป็นหลัก   ปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้น เห็นได้จากอัตราดูดซับสุทธิที่ลดลงเป็นอย่างมาก แม้จะมีการครอบครองในระดับคงที่ก็ตาม บริษัทที่เลือกจะย้ายที่ตั้งไปยังอาคารสำนักงานที่มีราคาถูกลง หากบริษัทเหล่านี้ไม่สามารถฟื้นตัวกลับสู่ระดับก่อนวิกฤตได้ เนื่องจากการย้ายที่ตั้งสำนักงานเป็นค่าใช้จ่ายด้านทุนที่มีราคาแพง การลดพื้นที่จึงน่าจะเป็นทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับผู้ครอบครองส่วนใหญ่ภายใต้ข้อจำกัดทางการเงิน เว้นแต่พวกเขาจะหาพื้นที่รองรับการดำเนินงานในอัตราค่าเช่าที่น่าสนใจได้   ในช่วงก่อนโควิด-19 เราเริ่มเห็นสัญญาณตลาดที่อ่อนตัวลงเนื่อง จากความไม่สมดุลของจำนวนและความต้องการ ​แต่อย่างไรก็ตาม เชื่อว่า Flight to quality ยังคงเป็นตัวขับเคลื่อนการเติบโตของตลาด  เพราะสำนักงานคุณภาพมีจำนวนมากให้เลือก  อย่างไรก็ตามคาดว่าจะใช้เวลา 2-3 ปี ในการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยให้กลับไปยังระดับก่อนวิกฤต แนวทางการลดต้นทุนด้านพื้นที่สำนักงานเริ่มปรากฏให้เห็นบางแล้ว ซึ่งอาจกลายเป็นตัวขับเคลื่อนที่สำคัญสำหรับการเช่าในระยะยาว แน่นอนว่าในธุรกิจบางประเภท เช่น เทคโนโลยี อีคอมเมิร์ซ และการรักษาพยาบาล ยังมีอัตราการเติบโตอย่างมากในช่วงโควิด-19 และมีความเป็นไปได้ว่าอาจจะมีความต้องการพื้นที่สำนักงานเพิ่มขึ้น เมื่อธุรกิจเติบโต แต่อย่างไรก็ตาม ปริมาณการเช่าอาจจะไม่เพียงพอ จนชดเชยกับพื้นที่ที่ลดลงไปได้
แสนสิริ เปิด 10 โปรเจ็กต์ Q4 เตรียมปรับเป้าใหม่อีกรอบ

แสนสิริ เปิด 10 โปรเจ็กต์ Q4 เตรียมปรับเป้าใหม่อีกรอบ

แสนสิริ เล็งปรับเป้ายอดขายและรายได้ หลัง 9 เดือนแรกทำผลงานดีเกินคาด พร้อมเปิดโปรเจ็กต์ใหม่ไตรมาส 4 อีก 10 โครงการ 11,700 ล้าน มั่นใจตลาดยังมีดีมานด์แต่ต้องระมัดระวัง หลังลูกค้ากู้ไม่ผ่านพุ่ง 20-30% ต้องอัดโปรโมชั่นช่วย   นายอาณัติ  กิตติกุลเมธี รองกรรมการผู้จัดการฝ่ายพัฒนาโครงการแนวราบ บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) หรือ SIRI เปิดเผยว่า อาจจะพิจารณาปรับเป้าหมายรายได้ใหม่ในช่วงปลายปีนี้  หลังจากช่วง 9 เดือนแรกสามารถทำผลประกอบการในกลุ่มโครงการแนวราบประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี โดยทำยอดโอนได้ 14,300 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 81% ของเป้าหมายที่คาดว่าจะทำได้ในปีนี้ 17,500 ล้านบาท ซึ่งยอดโอนช่วง 9 เดือนเติบโต 57% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่ช่วง 9 เดือนที่ผ่านมาทำยอดขายได้  17,600 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 92% จากเป้าหมายยอดขายโครงการแนวราบในปีนี้ที่​วางเป้าหมายไว้ 19,000 ล้านบาท และเติบโตจากช่วงเดียวกันของปีก่อนเกือบ 100%  ซึ่งยอดขายดังกล่าวแบ่งเป็นยอดขายจากโครงการบ้านเดี่ยวและ Mix Products สัดส่วน 83% มูลค่า 14,600 ล้านบาท และโครงการทาวน์เฮ้าส์  สัดส่วน 17% มูลค่า 3,000 ล้านบาท   โดยช่วงไตรมาสสุดท้ายจะบริษัทจะพิจารณาการปรับเป้าหมายยอดขายและรายได้ใหม่อีกครั้ง  จากผลตอบรับที่ดีในช่วง 9  เดือนแรกที่ผ่านมา เพราะช่วงเวลาที่เหลือต้องทำยอดขายเพียง 1,400 ล้านบาท ส่วนยอดโอนเหลือมูลค่าที่ต้องทำให้ได้อีก 3,200 ล้าบาทเท่านั้น ก็จะทำผลประกอบการตามเป้าหมายที่วางไว้ แต่คงต้องพิจารณาจากการตอบรับของ 10 โครงการ มูลค่า 11,700 ล้านบาท ที่เตรียมเปิดตัวใหม่ในไตรมาสที่ 4 ด้วยจากช่วง 9 เดือนแรกเปิดโครงการไปแล้ว 3 โครงการ  ซึ่งตามแผนในปีนี้จะเปิดโครงการใหม่ 13 โครงการรวมมูลค่า 14,800 ล้านบาท ส่วนในปีหน้าบริษัทยังพัฒนาโครงการต่อเนื่องอีก 18-20 โครงการด้วย นายอาณัติ  กล่าวอีกว่า แนวโน้มธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในไตรมาสที่ 4 ยังถือว่ามีความต้องการ แต่ธนาคารยังระมัดระวังการปล่อยสินเชื่อ ซึ่งแสนสิริยังต้องช่วยเหลือกลุ่มลูกค้าที่ต้องการซื้อที่อยู่อาศัย ด้วยแคมเปญและโปรโมชั่นพิเศษ แต่จะพิจารณาเป็นรายบุคคล เนื่องจากอัตราการกู้ไม่ผ่านพุ่งสูงขึ้น 20-30% จากช่วง 2 ปีก่อนหน้านี้มีสัดส่วน 10-15% เท่านั้น รวมถึงการดำเนินธุรกิจที่ต้องระมัดระวังมากขึ้น โดยการบริหารการขายและการก่อสร้างให้เหมาะสม ไม่ก่อสร้างบ้านออกมาขายจนเกินกว่ายอดขาย เพื่อลดความเสี่ยง เนื่องจากแนวโน้มตลาดอสังหาฯ ในปีหน้ายังถือว่าไม่ฟื้นตัว   โดยในวันที่ 28- 29 พฤศจิกายนนี้เตรียมเปิดพรีเซลล์อย่างเป็นทางการของโครงการอณาสิริ 4 โครงการพร้อมกัน ได้แก่ ทั้งนี้  อณาสิริ รังสิต – คลอง 2 อณาสิริ บางนา อณาสิริ ชัยพฤกษ์ – วงแหวน และอณาสิริ กรุงเทพ – ปทุมธานี  หลังจากก่อนหน้านี้ได้เปิดให้ลูกค้าลงทะเบียนออนไลน์ให้เข้าชม 2 โครงการแรก คือ อณาสิริ ชัยพฤกษ์ – วงแหวน และอณาสิริ กรุงเทพ – ปทุมธานี ปรากฎว่าได้รับการตอบรับที่ดีมาก มีลูกค้าที่ให้ความสนใจกว่า 3,650 ราย มียอดเข้าชมโครงการกว่า 700 ราย และมียอดจองโครงการทันที 140 ยูนิต มูลค่ารวมกว่า 600 ล้านบาท สามารถปิดการขายในเฟสแรกได้ทันทีแม้จะยังไม่เปิดขายพรีเซลล์อย่างเป็นทางการ
เปิด 4 Key Factors ปั้นโปรเจ็กต์แนวราบ การกลับมาทำตลาดต่างจังหวัดอีกครั้งของ “เอพี”

เปิด 4 Key Factors ปั้นโปรเจ็กต์แนวราบ การกลับมาทำตลาดต่างจังหวัดอีกครั้งของ “เอพี”

เอพี ไทยแลนด์ เดินหน้าลุยตลาดแนวราบ ปักธงตลาดต่างจังหวัด 3 โปรเจ็กต์ ในขอนแก่น ระยอง และนครศรีธรรมราช มูลค่ารวม 2,450 ล้านบาท หลังหยุดทำตลาดมาหลายปี จากก่อนหน้าที่มาลุยตลาดคอนโด ในพิษณุโลกและอุดรธานี มั่นใจหลังศึกษาตลาดมาอย่างดี และนำโมเดลธุรกิจความสำเร็จจากกรุงเทพฯ มาลุยตลาด มั่นใจทำยอดขายได้ตามเป้า 300 ล้าน   ในปีนี้ตลาดแนวราบ คือ พระเอกของตลาดอสังหาริมทรัพย์ ที่จะเข้ามากระตุ้นตลาดสร้างการเติบโต ดีเวลลอปเปอร์รายเล็กรายใหญ่ ต่างก็เปิดตัวโครงการแนวราบ และหยุดการเปิดตัวโครงการคอนโดมิเนียม เลื่อนแผนออกไปก่อน มีเพียงไม่กี่รายเท่านั้นที่ยังคงเปิดโครงการคอนโดมิเนียมตามแผนที่ได้วางไว้ เอพี เป็นหนึ่งในผู้ประกอบการที่ไม่เปิดตัวโครงการคอนโดมิเนียมใหม่ในปีนี้ แต่หันมาเปิดโครงการบ้านแนวราบ ล่าสุด ได้เปิดตัวแบรนด์ใหม่ “อภิทาวน์” (APITOWN) แบรนด์ที่จะใช้เจาะตลาดต่างจังหวัดโดยเฉพาะ โดยเป็นแบรนด์ที่ภายในโครงการมีความหลากหลายของประเภทบ้าน เริ่มตั้งแต่บ้านเดี่ยวหรือทาวน์เฮ้าส์ชั้นเดียว ไปจนถึงบ้านเดี่ยวหรือทาวน์โฮม 2 ชั้น   นายวิทการ จันทวิมล รองกรรมการผู้อำนวยการ สายงานกลยุทธ์องค์กรและการสร้างสรรค์ บริษัท เอพี (ไทยแลนด์) จำกัด (มหาชน) หรือ เอพี เปิดเผยว่า จากพันธกิจใหญ่ EMPOWER LIVING ที่พร้อมสนับสนุนให้ทุกคนในสังคมสามารถเติมเต็มการใช้ชีวิตได้ตามที่ปรารถนา จึงเปิดตัวแบรนด์ใหม่ “อภิทาวน์” ในโครงการแบบมิกซ์ โปรดักส์ (Mix Products) ซึ่งแบรนด์อภิทาวน์ จะอยู่ในกลุ่มสินค้าระดับกลางในพอร์ตโครงการต่างจังหวัด การมาทำตลาดต่างจังหวัด เพราะต้องการขยายธุรกิจ จึงต้องขยายตลาด และมองหาโอกาสที่จะสร้างการเติบโตขึ้น 4 Key Factors เลือกทำเลลุยตลาด ในการคัดเลือกว่าจะไปทำตลาดที่จังหวัดอะไรนั้น เอพี มี 4 หลักเกณฑ์การพิจารณาด้วยกัน ได้แก่ 1.การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานเมกะโปรเจ็กต์ของภาครัฐ (GOVERNMENT MAJOR INFRASTRUCTURE PROJECT) 2.การเติบโตทางเศรษฐกิจในหลายมิติ (URBANIZATION AND PURCHASING POWER) 3.การขยายตัวของความเป็นเมืองและการเติบโตของกำลังซื้อ (LOCAL ECONOMIC GROWTH IN MULTI-SEGMENTS) 4.การเป็นศูนย์กลางทางการศึกษาหรือการแพทย์ของภูมิภาค (REGION’S EDUCATION OR MEDICAL HUB)   นายวิทการ กล่าวอีกว่า สำหรับการลงทุนภาครัฐ จะเน้นจังหวัดที่มีความคืบหน้าของการพัฒนาโครงการที่ชัดเจนเป็นรูปธรรม ซึ่งขอนแก่นถือเป็นหนึ่งในจังหวัดที่วางแผนพัฒนาให้เป็น Smart City โดยปัจจุบันถือว่าโครงการมีความชัดเจนเป็นรูปธรรมมากที่สุด จากการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนจากภาครัฐและเอกชน อาทิ โครงการรถไฟฟ้ารางเบา โครงการขยายสนามบินนานาชาติขอนแก่น รองรับผู้โดยสารได้ 1,000 คนต่อชั่วโมง เป็น 2,000 คนต่อชั่วโมง หรือ 5 ล้านคนต่อปี ที่กำหนดแล้วเสร็จ เดือนมีนาคม 2564 ทำให้กลายเป็น “ขอนแก่น โมเดล” ที่จะนำไปประยุกต์ใช้ในจังหวัดอื่น ๆ ต่อไป   โดยจ.ขอนแก่นมีกิจกรรมทางเศรษฐกิจแหล่งงานที่สร้างรายได้จากหลายเซ็กเมนต์ อาทิ อุตสาหกรรม การลงทุน การเกษตร และการท่องเที่ยว เป็นต้น ซึ่งเมืองขอนแก่น ประชากรมีรายได้ต่อหัวสูงสุดในภาคอีสาน ปัจจุบันขอนแก่นมีจำนวนประชากรในจังหัด 1.8 ล้านคน อยู่ในอำเภอเมืองกว่า 4.16 แสนคน โดย 63% มีรายได้จากเงินเดือนหรือธุรกิจส่วนตัว   ในเมืองขอนแก่นยังมีการลงทุนและพัฒนาศูนย์การค้าที่รองรับกับไลฟ์สไตล์คนในปัจจุบันเพื่อการเติบโตของเศรษฐกิจ ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาศูนย์การค้าขนาดใหญ่ถึง 2 แห่ง และมี 2 ศูนย์การค้า ซึ่งจำหน่ายสินค้าตกแต่งบ้านและเกี่ยวกับบ้านขนาดใหญ่ การลงทุนต่าง ๆในทุกด้าน ส่งผลให้เศรษฐกิจของขอนแก่นปีที่ผ่านมาเติบโต 3-4%   เมืองขอนแก่นเป็นศูนย์กลางขนาดใหญ่ของการศึกษาในภาคอีสาน มีมหาวิทยาลัยขอนแก่น (มข.) โรงเรียนนานาชาติขอนแก่น และโรงเรียนประถม มันธยมอีกหลายแห่ง ขณะเดียวกันขอนแก่นกำลังจะเป็นศูนย์กลางด้านการแพทย์ ที่มีโรงพยาบาลของรัฐขนาดใหญ่ที่สุดในไทยและอาเซียนด้วย เพราะมีการลงทุนกว่า 24,500 ล้าน เพื่อดำเนินการก่อสร้าง โครงการเมดิคัลฮับ ของโรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทย์ศาสตร์ (มข.) ที่มีขนาดถึง 5,000 เตียง บาท   โครงการอภิทาวน์ นครศรีธรรมราช มูลค่าโครงการ 650 ล้านบาท บนที่ดินขนาด 34-2-86.4 ไร่ จำนวน 215 หลัง ในรูปแบบบ้านเดี่ยว 2 ชั้น บ้านแฝด 2 ชั้น และ ทาวน์โฮม 2 ชั้น ชูแนวคิด REINVENT YOUR MODERN LIVING ในเฟสแรกพร้อมเปิดจองบ้านเดี่ยว 2 ชั้น ขนาดที่ดินเริ่ม 50 ตารางวา พื้นที่ใช้สอย 154 - 225 ตารางเมตร 4 ห้องนอนใหญ่ 4 ห้องน้ำ 2 ส่วนพักผ่อน ครัว และ 2 ที่จอดรถ ราคาเริ่ม 4.19-8 ล้านบาท เน้น “ความคุ้มค่า” สร้างจุดขายแตกต่าง นายรัชต์ชยุตม์ นันทโชติโสภณ รองกรรมการผู้อำนวยการ สายงานพัฒนาธุรกิจกลุ่มสินค้าบ้านเดี่ยว เอพี กล่าวว่า การทำพัฒนาและตลาดภายใต้แบรนด์ อภิทาวน์ ถือว่ามีความท้าทายของตลาด แต่ 9 เดือนที่ผ่านมาสินค้ากลุ่มสินค้าแนวราบของเอพี ยังสามารถสร้างการเติบโตทั้งยอดขายและยอดโอนได้อย่างโดดเด่น โดยมียอดขายทะลุ 20,900 ล้านบาท คิดเป็น 93% จากเป้าแนวราบทั้งปีที่ 22,500 ล้านบาท ซึ่งสามารถการันตีกำลังซื้อและความเชื่อมั่นของลูกค้าต่อโครงการแนวราบเครือเอพีได้เป็นอย่างดี   การออกทำตลาดในต่างจังหวัดของเอพีครั้งนี้ ไม่ได้ถือว่าเป็นเรื่องใหม่ เพราะหลายปีก่อนหน้านี้ ได้ออกมาทำตลาดใน 2 จังหวัดแล้ว คือ จังหวัดอุดรธานี และพิษณุโลก แต่ครั้งนี้เป็นการนำเอาโครงการคอนโดมิเนียมออกมาทำตลาด คือ แบรนด์แอสปาย อุดรธานี และคูล (COO)พิษณุโลก ซึ่ง 2 โครงการหากวัดผลถึงความสำเร็จ คงไม่สามรถพูดได้เต็มปาก แม้ว่าโครงการจะขายหมดแล้วทั้ง 2 โครงการก็ตาม เพราะต้องใช้ระยะเวลาการขายนานหลายปีกว่าจะหมด ทำให้ช่วงหลายปีที่ผ่านมาเอพีไม่ได้ออกมาทำตลาดต่างจังหวัดเหมือนกับเพื่อน ๆ ร่วมวงการ แต่ในครั้งนี้ดูเหมือนว่าเอพีมีความพร้อมในการออกมาทำตลาดต่างจงหวัดแล้ว เพราะก่อนที่จะตัดสินใจเลือก 3 จังหวัดทำตลาด คือ จ.ขอนแก่น ระยอง และนครศรีธรรมราช ได้ทำการศึกษาตลาดและศึกษาคู่แข่งในตลาด ไม่ว่าจะเป็นผู้ประกอบการท้องถิ่น หรือผู้ประกอบการจากกรุงเทพฯ ที่เข้าไปปักหมุดก่อนหน้า ซึ่งสิ่งที่ทำให้เอพี มั่นใจกับการมาครั้งนี้ คือ การนำเสนอสิ่งที่เป็น “ความคุ้มค่า” ในสินค้าที่มีลักษณะและราคาใกล้เคียงกัน เพราะจากการศึกษาข้อมูลทางการตลาด พบว่า ผู้บริโภคในต่างจังหวัดต้องการสิ่งเหล่านี้ ประกอบกับการนำเอาความรู้และความสำเร็จของการพัฒนาโครงการในกรุงเทพฯ ไปปรับใช้ในแต่ละพื้นที่เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าให้ได้อย่างตรงจุดด้วย   นางพิมพรรณ ปรีชานนท์ ผู้อำนวยการอาวุโส สายงานบริหารแบรนด์และพัฒนาสินค้าบ้านเดี่ยว เอพี  กล่าวว่า โครงการอภิทาวน์  เน้นเจาะกลุ่มเป้าหมายครอบครัวรุ่นใหม่ในหัวเมืองใหญ่ อายุระหว่าง 30-45 ปี ที่มองหาโครงการที่อยู่อาศัยสำหรับการเป็นเจ้าของบ้านหลังใหม่ ที่ถูกคิด พัฒนา ตลอดจนดูแลบริหารจัดการโดยนักพัฒนาอสังหาฯ ที่มีชื่อเสียงอันดันต้นของประเทศ เน้นรูปแบบบ้านที่มีเอกลักษณ์ดีไซน์ทันสมัย พื้นที่ใช้สอยที่มากกว่าและสามารถใช้งานได้จริงทุกตารางเมตร พร้อมการผสานเทคโนโลยีที่จะอำนวยความสะดวกและเพิ่มความอุ่นใจในการอยู่อาศัยที่เหนือกว่าโครงการทั่วไป และพื้นที่ส่วนกลางที่ครบครันตอบทุกเทรนด์ไลฟ์สไตล์เมือง บนทำเลที่ตั้งที่ดีที่สุดในจังหวัดนั้นๆ
อัพเดท ตำแหน่งคนในวงการอสังหาฯ หลังจัดองค์กรใหม่

อัพเดท ตำแหน่งคนในวงการอสังหาฯ หลังจัดองค์กรใหม่

ในวงการราชการ ช่วงเวลานี้ คงเป็นช่วงเวลาของการโยกย้าย-แต่งตั้ง รวมถึงการอำลาการทำงาน ด้วยการเกษียณอายุราชการที่กำลังจะสิ้นสุดในปลายเดือนกันยายนนี้ แต่แวดวงธุรกิจเอกชน การเปลี่ยนแปลงโยกย้าย หรือลาออกมักจะเป็นช่วงเวลาปลายปี หรือไม่ก็ต้นปี เพราะต้องรอรับโบนัสจากการทำงานมาตลอดทั้งปีก่อน   แต่สำหรับปีนี้ ดูเหมือนสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้นเร็ว และเกิดขึ้นมากมายในภาคธุรกิจเอกชน สาเหตุหนึ่งอาจจะเป็นเพราะผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจ ซึ่งชะลอตัวมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เกิดเหตุการณ์แพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทำให้องค์กรต้องรัดเข็มขัด หรือไม่ก็ต้องยอมลดจำนวนพนักงานลง เพื่อให้บริษัทยังคงไปต่อได้ แต่ก็มีหลายบริษัทที่ไปต่อไม่ไหว ต้องปิดกิจการลง ก็มีเห็นอยู่ไม่น้อย   ในแวดวงธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ช่วงเวลานี้ ก็เกิดการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ มากมาย โดยเฉพาะกับการปรับเปลี่ยนผู้บริหาร มีเข้า-ออก ปรับโครงสร้างธุรกิจ จัดทัพรับมือกับภาวะตลาดที่ชะลอตัวลง จากกำลังซื้อและภาวะเศรษฐกิจโดยรวม ข่าวคราวการปรับเปลี่ยนทีมผู้บริหารองค์กรมีมาอย่างต่อเนื่อง ในช่วงที่ผ่านมา ลองมาดูกันว่าในแวดวงคนอสังหาฯ มีใครยังอยู่ ย้ายบ้านหลังใหม่ หรือไม่ได้ไปต่อกันบ้าง พฤกษาได้เวลาผลัดใบ ดันลูกลูกหม้อบริหาร เริ่มต้น คงต้องพูดถึงค่าย “พฤกษา” ยักษ์ใหญ่ในวงการของ “ทองมา วิจิตรพงศ์พันธุ์” ที่ก่อนหน้านี้ดึงเอามือการตลาดและนักสร้างแบรนด์จากค่ายยูนิลีเวอร์ “คุณจุ๋ม - สุพัตรา เป้าเปี่ยมทรัพย์” มานั่งเก้าอี้บริหารในตำแหน่ง รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่ม บริษัท พฤกษา โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) และประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท พฤกษา เรียลเอสเตท จำกัด (มหาชน)  ยาวนาน  3 ปี  ก่อนจะมีการสละเก้าอี้ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ให้กับคุณปิยะ ประยงค์ ลูกหม้อพฤกษา ให้ขึ้นมารับหน้าที่แทน จากก่อนหน้านี้คุณปิยะ ดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจพฤกษา เรียลเอสเตท แวลู ซึ่งถือเป็นหนึ่งธุรกิจของพฤกษาเท่านั้น   โดยคุณปิยะ จะดำรงตำแหน่ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พฤกษาเรียลเอสเตท (CEO-PS)  ซึ่งปฏิบัติหน้าที่รับผิดชอบงานบริหาร ธุรกิจพฤกษาเรียลเอสเตททั้งหมด และจะรายงานตรงต่อ  คุณสุพัตรา จะเน้นบริหารจัดการธุรกิจในกลุ่มพฤกษา โฮลดิ้ง เป็นหลัก มีผลตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2563 เป็นต้นไป   เหตุผลที่ พฤกษา มีการปรับโครงสร้างการบริหารใหม่ และการแต่งตั้งผู้บริหารระดับสูงในครั้งนี้ อ้างว่าเพื่อเพิ่มศักยภาพและเป็นกลไกสำคัญในการบริหารธุรกิจต่าง ๆ ของกลุ่มบริษัทฯ ให้เข้มแข็งและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น  แต่ระยะเวลาผ่านไปไม่นาน ในช่วงกลางเดือนกันยายนที่ผ่านมา พฤกษาก็ปรับเปลี่ยนตัวผู้บริหารอีกครั้ง โดยคุณสุพัตราได้ลาออกจาก พฤกษา โดยไม่มีการระบุถึงสาเหตุที่แน่ชัด ซึ่งคุณทองมา ก็ได้จัดทำพิธีมอบช่อดอกไม้อำลา และแสดงความขอบคุณ ถือเป็นการส่งไม้ต่อการบริหารงานของพฤกษา เรียลเอสเตทให้กับปิยะ ประยงค์ ลูกหม้อพฤกษาอย่างเต็มตัว   การเปลี่ยนแปลงของพฤกษา ได้เกิดขึ้นมาตั้งแต่ช่วงประมาณเดือนเมษายนที่ผ่านมา มือบริหารที่อยู่เคียงคู่คุณทองมา มายาวนานอย่าง “ประเสริฐ แต่ดุลยสาธิต” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจพฤกษา เรียลเอสเตท - พรีเมียม บริษัท พฤกษา เรียลเอสเตท จำกัด (มหาชน) ได้โบกมืออำลาจากคุณทองมา  ไปนั่งเก้าอี้ ประธานเจ้าหน้าที่สายงานปฏิบัติการ ของบริษัท อนันดา ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน)  ตั้งแต่วันที่ 10 มิถุนายน 2563 (ช่วงที่ออกจากพฤกษาใหม่ ๆ คุณประเสริฐ ยังไปลงสมัครชิงตำแหน่งผู้ว่าการเคหะแห่งชาติด้วย แต่ไม่ได้รับการคัดเลือก)   บทบาทหน้าที่รับผิดชอบของคุณประเสริฐ กับบ้านหลังใหม่ คือ การจัดการด้านภาพรวมของผลการดำเนินงานของบริษัทฯ ทั้งธุรกิจคอนโดและบ้านจัดสรร รวมทั้งการตลาดต่างประเทศ (International Sales) และธุรกิจตัวแทนด้านอสังหาริมทรัพย์ บริษัท ดิ เอเจ้นท์ (พร็อพเพอร์ตี้ เอ๊กซ์เพิร์ท) จำกัด นอกจากนี้ ยังมีหน้าที่ดูแลการทำงานที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการก่อนการก่อสร้าง (Pre-construction)  การก่อสร้าง (Construction), การให้บริการหลังการขาย (Aftersales services) และ การตลาด (Marketing) อีกด้วย เฟรเซอร์ส จัดทัพ สู่องค์กร 1 แสนล้าน ต้องบอกว่าการดำเนินธุรกิจภายใต้นามสกุล “สิริวัฒนภักดี” เล็ก ๆ ไม่น่าจะใช่ ต้องใหญ่ ๆ เท่านั้น กลุ่มบริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ ลิมิเต็ด หรือ “FPL” ซึ่งเป็นบริษัทภายใต้การบริหารงานของ คุณปณต สิริวัฒนภักดี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (Group CEO) หนึ่งในทายาทของ “เสี่ยเจริญ สิริวัฒนภักดี” จึงต้องสร้างขนาดองค์กรให้ไม่น้อยหน้านักธุรกิจอื่น ๆ   เริ่มต้นจากการ ควบรวมเอาบริษัท แผ่นดินทอง พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) หรือ โกลเด้นแลนด์ (GOLD) เข้ามารวมอยู่ภายใต้ชายคาเดียวกัน ซึ่งตั้งแต่วันที่ 19 พฤษภาคม 2563 ที่ผ่านมาโกลด์เด้นแลนด์ ได้รับคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมด  เพื่อเพิกถอนหลักทรัพย์ของกิจการออกจากการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จากบริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ฯ ที่ได้ประกาศเริ่มรับซื้อรอบแรกในเดือนมิถุนายนปี 2562 ที่ผ่านมา เพื่อปรับกลยุทธ์ เพิ่มศักยภาพของการเชื่อมโยง ต่อยอด ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ของกลุ่มให้อยู่ในแพลตฟอร์มเดียวกัน  ที่สำคัญการรวมกันแล้ว จะทำให้บริษัท เฟรเซอร์สฯ กลายเป็นบริษัทที่มีสินทรัพย์รวมมากกว่า 100,000 ล้านบาทเลยทีเดียว   หลังจากปรับโครงสร้างธุรกิจเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ก็ถึงเวลาจัดทัพด้วยการประกาศแต่งตั้งทีมผู้บริหารต่าง ๆ ขึ้นมาดูแลรับผิดชอบงาน โดยล่าสุดคุณปณต ได้ประกาศแต่งตั้งทีมผู้บริหารใหม่ แม้บางรายจะหน้าเดิม แต่ก็มากด้วยประสบการณ์ในแวดวงอสังหาริมทรัพย์  โดยการแต่งตั้งทั้งหมดจะเริ่มมีผลตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2563  ซึ่งทีมบริหารชุดใหม่ประกอบด้วย   1.คุณธนพล ศิริธนชัย ขึ้นดำรงตำแหน่ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (Country CEO) บมจ.เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ฯ  มีผลตั้งแต่วันที่ 17 สิงหาคม 2563 และตำแหน่ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เพื่อพาณิชยกรรมหรือ “เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ คอมเมอร์เชียล” จากก่อนหน้าดำรงตำแหน่งประธานอำนวยการ โกลเด้นแลนด์    2.คุณแสนผิน สุขี ดำรงตำแหน่ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เพื่อที่อยู่อาศัย บริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ “เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ โฮม” โดยจะมีบทบาทสำคัญในการกำหนดยุทธศาสตร์ เพื่อสร้างการเติบโตอย่างต่อเนื่อง และเป็นผู้นำในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เพื่อที่อยู่อาศัยทั้งแนวราบ และแนวสูง โดยนำนวัตกรรมใหม่ ๆ มาปรับใช้เพื่อตอบโจทย์ลูกค้าได้อย่างครบครัน และมุ่งเน้นการสร้างคุณภาพชีวิตให้ผู้อยู่อาศัยได้อย่างสูงสุด ก่อนหน้านี้เคยดำรงตำแหน่ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โกลเด้นแลนด์เรสซิเดนซ์ จำกัด    3.คุณโสภณ ราชรักษา ดำรงตำแหน่ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เพื่ออุตสาหกรรม บริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ “เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ อินดัสเทรียล” เพื่อสร้างการเติบโตและรักษาสถานะผู้นำด้านการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เพื่ออุตสาหกรรมยุคใหม่ และอาคารประเภทสร้างตามความต้องการ หรือ Built-to-Suit ที่เน้นการส่งมอบโซลูชั่นเพื่อตอบโจทย์ทุกความต้องการที่หลากหลายของลูกค้าแต่ละราย จากก่อนหน้านี้เคยดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการใหญ่ เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้   4.คุณสมบูรณ์ วศินชัชวาล ให้ดำรงตำแหน่ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านการเงิน บริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) โดยจะรับหน้าที่ในการบริหารและวางกลยุทธ์ด้านการเงิน ซึ่งก่อนหน้านี้เคยดำรงตำแหน่ง กรรมการ ของโกลเด้นแลนด์ และเคยเป็นผู้บริหารของพฤกษา เรียลเอสเตท ในตำแหน่งผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ สายวางแผนการเงินมาก่อนด้วย   5.คุณศุภรัฒศ์ ศิวะเพ็ชรานาถ สิงหรา ณ อยุธยา ดำรงตำแหน่ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านเทคโนโลยี ดิจิทัล บริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) รับหน้าที่ในการบริหารงานด้านเทคโนโลยีและดิจิทัล พร้อมกำหนดกลยุทธ์ที่สอดคล้องกับการปรับเปลี่ยนของเทรนด์ในปัจจุบัน ก่อนหน้านี้เคยดำรงตำแหน่ง ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เอสทีที จีดีซี (ประเทศไทย) จำกัด ผู้จัดการทั่วไป บริษัท ทรูอินเตอร์เน็ต ดาต้า เซ็นเตอร์ จำกัด หรือ ทรูไอดีซี ประธานคณะผู้บริหาร บริษัท แอสเซนด์ กรุ๊ป จำกัด ไรมอนด์แลนด์ ดึง ดร.สุรเกียรติ์ คุมทีม  สำหรับบริษัท ไรมอน แลนด์​ จำกัด (มหาชน) ได้ประกาศแต่งตั้ง ศ.ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย อดีตรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีกระทรวงการคลัง ให้ดำรงตำแหน่ง ประธานกิตติมศักดิ์ ตั้งแต่วันที่ 26 สิงหาคม 2563 ที่ผ่านมา เพื่อเป็นผู้ให้คำปรึกษาวางกลยุทธ์ทางธุรกิจและการลงทุนใหม่ ๆ เพราะเป็นผู้ทรงคุณวุฒิ มีความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ในการช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้มีการเติบโต รวมทั้งเคยดำรงตำแหน่งประธานบริษัทให้กับองค์กรใหญ่หลายแห่ง รวมถึงเคยเป็นประธานคณะกรรมการของ บริษัท ไรมอน แลนด์ จำกัด (มหาชน) มาก่อนเป็นเวลานานกว่า 1 ปีด้วย   นอกจากนี้ ไรมอน แลนด์ ยังได้เปลี่ยนแปลงโครงสร้างการบริหารภายในใหม่ ด้วยการแต่งตั้ง คุณกรณ์ ณรงค์เดช ให้ดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายปฏิบัติการ (Chief Operating Officer) มีประสบการณ์ทางด้านการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ระดับลักซ์ชัวรี่ เคยดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าบริหารฝ่ายการตลาดกลุ่มเคพีเอ็น รองประธานกรรมการ บริษัท เคพีเอ็น แลนด์ จำกัด และเป็นผู้ที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของโครงการ ดิโพลแมท ซีรีย์ส และ เดอะ แคปปิตอล  ซีรีย์ส                         คุณมนาเทศ อันนวัฒน์ ดำรงตำแหน่ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร  ฝ่ายการตลาดและการขาย (Chief Marketing Officer-Marketing & Sales) ซึ่งมีประสบการณ์ความเชี่ยวชาญในการบริหารงานด้านการตลาด การขาย และการสื่อสารองค์กร จากองค์กรระหว่างประเทศชั้นนำหลายแห่ง และล่าสุดดำรงตำแหน่งรองกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส ศูนย์การค้า ดิ เอ็มโพเรียม และดิ เอ็มควอเทียร์ ฯลฯ  โดยจะเข้ามาดูแลรับผิดชอบงานด้านการวางแผนกลยุทธ์การตลาด การขาย การสื่อสารองค์กร และการบริหารจัดการด้านลูกค้าสัมพันธ์ แสนสิริ  ปรับลด พนักงานไม่ได้ไปต่อ ขณะที่บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) มีกระแสข่าวใหญ่ออกมา คือ การปลดพนักงานกว่า 600 คนของบริษัท พลัส พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด บริษัทในเครือแสนสิริ แม้ภายหลังคุณเศรษฐา ทวีสิน กรรมการผู้จัดการใหญ่ แสนสิริ จะออกมาปฏิเสธว่า การปลดพนักงานไม่ได้มีตัวเลขมากถึง 600 คน โดยได้ระบุข้อความผ่านทวิตเตอร์ ว่า “ขออนุญาตชี้แจงก่อนว่าเรามีการเลิกจ้าง 5% ของจำนวนพนักงานแสนสิริและพลัสทั้งหมด ตัวเลขน้อยกว่า 600 คนมากครับ ผมมองว่าเป็นเรื่องปกติของภาคธุรกิจที่ปรับการดำเนินงานให้เหมาะสมกับสถานการณ์และกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจมากกว่า ซึ่งเราเองก็ทำทุกปี” อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ แสนสิริได้มีการปรับเปลี่ยนผู้บริหารคนสำคัญ  คือ คุณวันจักร บุรณศิริ ประธานผู้บริหารสายงานการเงินและสนับสนุนธุรกิจ (CFO) ได้ขอลาออกจากบริษัท มีผลตั้งแต่วันที่ 26 สิงหาคม 2563 ที่ผ่านมา ซึ่งบริษัทได้ทำการแต่งตั้ง คุณวรางคณา อัครสถาพร  ให้ดำรงตำแหน่งประธานผู้บริหารสายงานการเงิน (CFO) โดยมีผลตั้งแต่ วันที่ 26 สิงหาคม 2563 ซึ่งก่อนหน้านี้มีตำแหน่ง  ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ อาวุโสสายงานการเงินและพัฒนาธุรกิจใหม่  และยังให้รักษาการในตำแหน่งดังกล่าวจนกว่าจะดำเนินการอบรบตามเกณฑ์ของสำนักงาน ก.ล.ต. ในเรื่องคุณสมบัติ CFO เป็นที่เรียบร้อยต่อไป
เอสซีจี ลุย 2 ธุรกิจ “ให้คำปรึกษา-งานระบบอาคารแบบครบวงจร” รับเทรนด์ Well-being

เอสซีจี ลุย 2 ธุรกิจ “ให้คำปรึกษา-งานระบบอาคารแบบครบวงจร” รับเทรนด์ Well-being

การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19  ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน  ได้ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อพฤติกรรมการใช้ชีวิตและความเป็นอยู่ของคนในปัจจุบัน ให้เข้ามาอยู่ภายใต้ความปกติใหม่ หรือ New Normal ที่ให้ความสำคัญต่อการดูแลสุขภาพและอนามัยของตนเองในด้านต่าง ๆ  ซึ่งไม่ใช่เฉพาะในปัจจุบันเท่านั้น แต่เชื่อว่าผู้คนในยุคปัจจุบันยังจะให้ความสำคัญกับเรื่องสุขภาพและอนามัยของตนเองต่อไปในอนาคตด้วย   การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19  ไม่ได้ส่งผลเฉพาะพฤติกรรมและความเป็นอยู่ของคนทั่วไปเท่านั้น แต่ยังส่งผลทั้งโดยตรงและโดยอ้อมต่อเรื่องอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์อีกมากมาย ที่เห็นชัดเจนในช่วงที่ผ่านมา คือ การซื้อขายออนไลน์ที่เติบโตอย่างมากมาย เพราะคนไม่ออกจากบ้านไปซื้อสินค้า แต่เลือกจะช้อปปิ้งผ่านออนไลน์เป็นหลัก คนยุคปัจจุบันจึงเรียนรู้และยอมรับกับการซื้อออนไลน์มากขึ้น และคงเป็นเรื่องปกติต่อไปในนาคตแน่นอน   แม้แต่การใช้งานในพื้นที่ต่าง ๆ ในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นศูนย์การค้า สถานที่ราชการ  อาคาร สำนักงานต่าง ๆ ฯลฯ ต่างก็มีการสร้างมาตรฐานใหม่ของการใช้พื้นที่ออกมารองรับ   ที่ต้องมีระบบมาตรฐานความปลอดภัยทางสาธารณสุข  ไม่ว่าการเช็คอินผ่านแอพพลิเคชั่น การวัดอุณหภูมิ การล้างมือด้วยแอลกอฮอล์ เป็นต้น แม้ว่าในอนาคตจะมีการคิดค้นวัคซีนได้ และถูกนำมาใช้กับมนุษย์อย่างได้ผลจริง ก็เชื่อว่าหลายมาตรการจะยังคงอยู่ และกลายเป็นวิถีชีวิตปกติใหม่ของคนในยุคหลังโควิด-19   นายวชิระชัย คูนำวัฒนา Head of Living Solution Business ในธุรกิจซีเมนต์-ผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง เอสซีจี เปิดเผยว่า  หลังจากสถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัสโควิด -19 ที่ผ่านมา พฤติกรรมของผู้บริโภคในยุคปัจจุบันได้เปลี่ยนไป พบว่าเกิดการเร่งในหลาย ๆ ด้าน ทั้งด้านพฤติกรรมของผู้บริโภค ที่ก้าวเข้าสู่ Digital Transformation เร็วมากขึ้น และที่เห็นได้ชัด คือการตื่นตัวกับกระแส Health and Wellness โดยคนส่วนใหญ่ได้หันมาใส่ใจเรื่องสุขภาพและสุขอนามัยมากยิ่งขึ้น ส่งผลให้สินค้าและบริการด้านสุขภาพ และความปลอดภัยเติบโตขึ้นหลายเท่าตัว   การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด -19 ยังส่งผลต่อธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ด้วย จากเดิมที่ให้ความสำคัญต่อการออกแบบอาคารแล้ว ยังคำนึงถึงอาคารที่ให้สุขอนามัยที่ดี ประหยัดพลังงาน และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการดูแล "คน” ในพื้นที่ทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นสำนักงาน พื้นที่พาณิชย์ หรือที่อยู่อาศัย จะถูกให้ความสำคัญมากขึ้นควบคู่กับเรื่องความยั่งยืนซึ่งมีการดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง จุดเปลี่ยนสำคัญของรูปแบบการออกแบบและพัฒนาโครงการทั่วโลก จะคำนึงถึงสุขภาวะ (Well-being) เพื่อให้คนใช้ชีวิตอยู่ในพื้นที่ได้อย่างแข็งแรงและมีความสุข   สำหรับกลุ่มเอสซีจี ซึ่งดำเนินธุรกิจเกี่ยวข้องกับวัสดุก่อสร้าง และงานระบบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับอาคาร และการอยู่อาศัยของคน ได้มองเห็นการเปลี่ยนแปลง และต่อยอดธุรกิจที่เกี่ยวข้องมาอย่างต่อเนื่อง  โดยได้เริ่มดำเนิน 2 ธุรกิจหลัก ได้แก่ 1.ธุรกิจบริการให้คำปรึกษาด้านสิ่งปลูกสร้างโดยผู้เชี่ยวชาญ (SCG Building & Living Care Consulting) และ 2. ธุรกิจผู้ให้บริการโซลูชั่นงานระบบวิศวกรรมอาคารแบบครบวงจร (Smart Building Solution) มาตั้งแต่ช่วง 9 ปีที่ผ่านมา และในปีนี้ได้รุกตลาดเพิ่มมากขึ้น จากเทรนด์ของการอายู่อาศัยที่มุ่งเน้นในเรื่องของสุขภาวะทีดี่มากขึ้น  เพื่อตอบรับกับการความต้องการของลูกค้าที่เพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมถึงเทรนด์การพัฒนาเทคโนโลยีด้านต่าง ๆ ซึ่งเข้ามาตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคยุคปัจจุบัน และดีต่อสิ่งแวดล้อมรอบตัว   SCG Living Solution Business มีแนวคิดในด้านการบริหารและพัฒนาธุรกิจใหม่ เพื่อยกระดับการให้บริการ และส่งมอบโซลูชั่น เกี่ยวกับ "Living" หรือการใช้ชีวิตทั้งผู้อยู่อาศัย อาคารสิ่งปลูกสร้าง ตลอดจนชุมชนและสิ่งแวดล้อมโดยรอบอย่างเป็น Eco-system โดยมีแนวทางการทำงานในรูปแบบสตาร์ทอัพ โฟกัสธุรกิจเพื่อสร้างคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้นให้กับลูกค้า โดยมุ่งมั่นในการริเริ่มพัฒนาแนวคิดและความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง ประกอบกับการให้คำปรึกษาด้านการออกแบบและรับรองมาตรฐานอาคารอย่างเชี่ยวชาญด้วยประสบการณ์ทำงานอย่างมืออาชีพ เพื่อการอยู่อาศัยอย่างมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของคนในสังคม 4 บริการ SCG Building & Living Care Consulting SCG Building & Living Care Consulting เป็นธุรกิจบริการให้คำปรึกษาด้านสิ่งปลูกสร้างโดยผู้เชี่ยวชาญ เพื่อยกระดับมาตรฐานการก่อสร้าง ไปสู่อาคารที่ลดการใช้พลังงานและทรัพยากรธรรมชาติในขั้นตอนการก่อสร้างและการใช้งาน รวมไปถึงอาคารที่มีการคำนึงถึงการมีสุขภาวะที่ดี แข็งแรง ส่งผลถึงคนที่อยู่อาศัยในอาคารและชุมชนโดยรอบ และเหมาะสมกับการอยู่อาศัยเพื่อคนทุกวัย โดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุที่จะเป็นกลุ่มประชากรหลักของประเทศ ด้วยบริการให้คำปรึกษาสำหรับการพัฒนาและปรับปรุงแนวทางการก่อสร้างอาคารตามมาตรฐาน ต่าง ๆ โดยมี 4 บริการหลัก ได้แก่ 1.บริการให้คำปรึกษาเพื่อขอรับรองมาตรฐานอาคารเขียว (Green Building) ตามมาตรฐาน LEED / DGNB / TREES และ BEC  โดยให้ความสำคัญกับการออกแบบอาคารที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในด้านต่าง ๆ อาทิ มีพื้นที่สีเขียวมากกว่าอาคารทั่วไป วัสดุที่ใช้ในการก่อสร้างอาคารที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างคุ้มค่า 2.บริการให้คำปรึกษาเพื่อขอรับรองมาตรฐานอาคารเพื่อการมีสุขภาวะที่ดี (Well-Being Building) ตามมาตรฐาน fitwel และ WELL ให้ความสำคัญกับการออกแบบอาคารเพื่อสุขภาวะที่ดีของผู้ใช้อาคาร เพิ่ม Productivity ในการทำงานและลดค่าใช้จ่ายในการดูแลสุขภาพของคนในอาคาร 3.บริการให้คำปรึกษาเพื่อทำอาคารประหยัดพลังงาน ที่มีการวิเคราะห์และปรับปรุงประสิทธิภาพด้านพลังงาน (Energy Management Service) เพื่อประโยชน์สูงสุดในการบริหารจัดการพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพให้กับอาคาร ด้วยการมีระบบการควบคุมการใช้พลังงานและทรัพยากรต่างๆ ที่เพิ่มความคุ้มค่าและช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายด้านพลังงาน รวมถึงรักษาและยืดอายุการใช้งานของอุปกรณ์และระบบต่าง ๆ 4.บริการออกแบบและปรึกษาอาคารเพื่อผู้สูงอายุและคนทุกวัย (Universal Design) โดยผู้เชี่ยวชาญที่มีองค์ความรู้เฉพาะทาง และมีหลักการของงานวิจัยมารองรับ ทำให้ได้โครงการที่สร้างคุณภาพชีวิตที่ดีแก่ผู้ใช้อาคารโดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุ ตอบโจทย์งานอาคารด้วยเทคโนโลยี ด้านธุรกิจ Smart Building Solution เป็นธุรกิจผู้ให้บริการโซลูชั่นงานระบบวิศวกรรมอาคารแบบครบวงจร รูปแบบ System Integrator ส่งมอบโซลูชั่นด้วยเทคโนโลยีตามที่เจ้าของอาคารต้องการ และเชื่อมต่อการทำงานต่าง ๆ ตั้งแต่การให้บริการออกแบบติดตั้งเทคโนโลยีในหมวดพลังงานในอาคาร ปรับปรุงคุณภาพอากาศภายในอาคาร (Indoor Air Quality) รวมทั้งเทคโนโลยีเพื่ออาคารอัจฉริยะ (Smart Building) ด้วยอุปกรณ์ Internet of Things (IoT) โดยเฉพาะเทคโนโลยีในส่วนของระบบปรับอากาศและระบายอากาศ (HVAC: Heating, Ventilation, and Air Conditioning) โดย ธุรกิจ Smart Building Solution มีโซลูชั่นที่ให้บริการ ดังนี้ 1.Energy WELL Series  ระบบที่ช่วยลดพลังงานในการปรับอากาศและปรับปรุงสภาพอากาศในเวลาเดียวกัน ด้วยวิธีการดักจับก๊าซ CO2 และ indoor pollutant มากกว่า 30 ชนิด หมุนเวียนให้อากาศสะอาดเทียบเท่าหรือดีกว่าอากาศภายนอก ซึ่งถือเป็น Game Changer ของวงการ HVAC ที่ได้รางวัล ASHRAE Innovation award product of the year ในปี 2019 2.Energy CARE Series การใช้เทคโนโลยี Digital และ IoT แบบไร้สาย มาช่วยควบคุมเครื่องปรับอากาศภายในอาคาร 3.INTELL Series การใช้เทคโนโลยี Sensor และ IoT แบบไร้สายกำลังส่งสูง รับส่งสัญญาณ Wireless sensors ในรูปแบบ Real-time เพื่อนำข้อมูลไปวิเคราะห์ บริหารอาคารได้อย่างมีประสิทธิภาพ 4.HYGIENE Series การปรับปรุงและยกระดับคุณภาพอากาศภายในอาคารให้สะอาดจากเชื้อโรค โดยการใช้เทคโนโลยี Bi-polar Ionization System เข้ามาจัดการคุณภาพอากาศที่ส่งผลต่อสุขภาพ ลดเชื้อโรคในอากาศ ทั้งไวรัส แบคทีเรีย หรือฝุ่น PM 2.5 เพื่อคุณภาพชีวิตและความปลอดภัยของผู้ใช้งานภายในอาคาร ผลงาน 130 อาคารใช้บริการ สำหรับกลุ่มลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการของเอสซีจี มีอาคารต่าง ๆ มากกว่า 130 อาคาร และทุกประเภทอาคาร ขณะที่ผลงานที่สามารถตอบโจทย์ธุรกิจลูกค้าได้อย่างดี ล่าสุด คือการให้คำปรึกษาด้านอาคารเพื่อยื่นขอการรับรองมาตรฐาน fitwel อาคารเพื่อสุขภาวะที่ดี กับทางตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ซึ่งเอสซีจีได้นำมาบุกเบิกในประเทศไทยและยังทำหน้าที่ในฐานะ Asia’s Advisory Council เป็นรายแรกในไทย โดยได้ผลักดันตลาดหลักทรัพย์ฯ จนสามารถได้รับรองมาตรฐาน fitwel V2.1 ระดับ 3 ดาว หมวด Single-Tenant Building และรางวัล Best in Building Health 2020 จาก Center for Active Design (CfAD) ซึ่งเป็นผู้ออกมาตรฐาน fitwel อีกด้วย   นอกจากนี้ ด้านธุรกิจ Smart Building Solution ได้ให้บริการติดตั้งระบบ Energy CARE series ให้กับคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งเป็นการอัพเกรดอาคารเพื่อบริหารห้องเรียน และพลังงานสำหรับระบบปรับอากาศอย่างยั่งยืน เพิ่มประสิทธิภาพระบบปรับอากาศในห้องเรียนและลดการใช้พลังงานไฟฟ้า ด้วยการควบคุมผ่านระบบออนไลน์  
AWC เปิด 3 ปรากฏการณ์ใหม่ของ “เอเชียทีค” กับแนวคิด Heritage Alive

AWC เปิด 3 ปรากฏการณ์ใหม่ของ “เอเชียทีค” กับแนวคิด Heritage Alive

AWC หรือบริษัท แอสเสท เวิรด์ คอร์ป จำกัด (มหาชน)  มีแนวคิดในการพัฒนาธุรกิจของ ที่มุ่งมั่นสร้างความยั่งยืนเพื่อการเติบโตร่วมอย่างแข็งแกร่ง ภายใต้ปรัชญา “สร้างสรรค์อนาคตที่ดีกว่า” ควบคู่กับการส่งเสริมเศรษฐกิจไทยให้กลับมาเติบโตอย่างแข็งแกร่ง   ขณะที่ปัจจุบัน พบว่าพฤติกรรม และความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป ทั้งในเรื่องการกินดื่ม ช้อปปิ้ง การท่องเที่ยวและพักผ่อนหย่อนใจ  เป็นปัจจัยสำคัญ ทำให้ AWC ได้ปรับโฉมพร้อมยกระดับโครงการ เอเชียทีค เดอะ ริเวอร์ฟร้อนท์ ให้ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ที่เปลี่ยนแปลงไปในหลากหลายมิติของลูกค้าทุกกลุ่ม   โดยเอเชียทีคฯ กำลังจะเปิดประสบการณ์ใหม่ให้กับผู้บริโภค กับ 3 ประสบการณ์ใหม่ ในวันที่ 15 ตุลาคมนี้ ด้วยองค์ประกอบและบรรยากาศที่น่าตื่นตาตื่นใจ  ภายใต้ด้วยแนวคิด “Heritage Alive” ต่อยอดการอนุรักษ์หลักฐานอิงประวัติศาสตร์ทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคมให้มีชีวิตชีวาอีกครั้ง โดยสะท้อนเรื่องราวของพื้นที่ที่ตั้งของเอเชียทีค เดอะ ริเวอร์ฟร้อนท์ ซึ่งเต็มไปด้วยเรื่องราวอันทรงคุณค่าที่เป็นความภาคภูมิใจของคนไทย เนื่องจากเป็นย่านเก่าแก่บนถนนเจริญกรุง ถนนสายแรกของกรุงเทพฯ เป็นเสมือนชีพจรทางเศรษฐกิจที่เป็นแหล่งรวมวิถีดำเนินธุรกิจและวิถีชีวิตแบบผสมผสานโลกตะวันออกกับตะวันตกที่เชื่อมโยงอดีตตั้งแต่ในช่วงรัชกาลที่ 5 สืบสานมาจนถึงปัจจุบัน 3 องค์ประกอบสร้างปรากฎการณ์ใหม่ 1.“เรือสิริมหรรณพ” แลนด์มาร์คใหม่ริมน้ำเจ้าพระยา เรือสิริมหรรณพ  สร้างขึ้นจากต้นแบบเรือใบสามเสา ในยุคเริ่มต้นการปฏิสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างสยามกับโลกตะวันตก ในช่วงรัชกาลที่ 5 เป็นเรือแห่งประวัติศาสตร์  ที่นำพาความรุ่งเรืองจากโพ้นน้ำตะวันตกมาสู่ผืนดินสยาม  เรือใบสามเสานี้เป็นเรือนำขบวนเสด็จประพาสยุโรป  ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  เพื่อเจริญสัมพันธไมตรีกับประเทศต่าง ๆ ในทวีปยุโรป และนำความเจริญรุ่งเรืองกลับมาสู่ผืนดินไทย โดยจะเทียบท่าถาวร ที่เอเชียทีค เดอะ ริเวอร์ฟร้อนท์ เพื่อให้ชาวไทยและชาวโลกได้สัมผัสกับลักษณะของเรือแห่งตำนาน   นอกจากนี้เรือสิริมหรรณพยังออกแบบขึ้นเพื่อตอบโจทย์การท่องเที่ยวเชิงไลฟ์สไตล์ ทั้งการกินดื่มและพักผ่อนหย่อนใจ ด้วยห้องอาหาร และบาร์ระดับพรีเมี่ยมที่ให้บริการอย่างมีเอกลักษณ์เฉพาะ ภายใต้การบริหารของโรงแรม แบงค็อก แมริออท มาร์คีส์ ควีนส์ปาร์ค โดยรวบรวมประสบการณ์ที่เป็นศูนย์รวมของคนที่มีความชื่นชอบและความสนใจในเรื่องเดียวกันมาไว้ด้วยกัน 2.Living Museum & Art Festival พิพิธภัณฑ์มีชีวิตที่มอบประสบการณ์รูปแบบใหม่ในการสัมผัสและเรียนรู้ศิลปะ วัฒนธรรม โดยใช้นวัตกรรมเทคโนโลยีอินเตอร์แอคทีฟเพื่อสร้างภาพเสมือนจริงแบบ Augmented Reality ในการนำเสนอผ่านเส้นทาง The Memory Lanes ที่มีแหล่งดึงดูดใจสำคัญๆ ทั้ง 36 จุด ที่ให้ผู้เข้าชมได้เพลิดเพลินกับเส้นทางแห่งความทรงจำ ด้วยองค์ประกอบที่สร้างบรรยากาศที่สะท้อนประวัติศาสตร์ทั้งในด้านศิลปะวัฒนธรรม และวิถีชีวิต ของพื้นที่ซึ่งเคยเป็นศูนย์กลางแห่งการค้านานาชาติในอดีต ผ่านประสบการณ์ต่างๆ ที่ได้สร้างสรรค์ขึ้นใหม่เป็นครั้งแรก   โดยแบ่งออกเป็น 3 โซนหลักได้แก่ โซนสายน้ำแห่งการเชื่อมต่อความสัมพันธ์ โซนจากผืนน้ำสู่ผืนดินแห่งความเจริญรุ่งเรือง และโซนมรดกทางวัฒนธรรมที่ถ่ายทอดคุณค่าสู่เอกลักษณ์ความเป็นไทย ส่วน Art Festival คือมิติใหม่ของการดื่มด่ำกับศิลปะโดยการสอดแทรกเรื่องราวทางศิลปะ วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ และวิถีชีวิต ลงไปในผลงานศิลปะหลากหลายรูปแบบ ในพื้นที่ต่าง ๆ ของโครงการ ทั้งภาพวาด สตรีทอาร์ท ประติมากรรม และอื่น ๆ ซึ่งนอกจะเป็นการนำเสนอประสบการณ์ใหม่ๆ ทางศิลปะวัฒนธรรมยังเป็น Photo Spot ที่ดึงดูดให้คนเข้ามาถ่ายภาพและเช็คอินอีกด้วย 3.New Mega Riverside F&B Destination ศูนย์กลางแห่งการกินดื่มที่ทุกคนต้องนึกถึงและอยากมา ด้วยตัวเลือกอันหลากหลายของกว่า 40 ภัตตาคาร ร้านอาหารนานาชาติ ทั้งไทย จีน ญี่ปุ่น อิตาเลียน คาเฟ่ บาร์แอนด์บิสโทร บาร์บีคิว เบียร์การ์เดนท์ พร้อมการแสดงดนตรีสด เสริมทัพด้วยการจับมือกับ “ครัวคุณต๋อย” แพลตฟอร์มของสื่อด้านอาหารและเครือข่ายร้านอาหารชั้นนำที่มีขนาดใหญ่อันดับต้นๆ ของไทย ร่วมสร้างดินแดนแห่งความอิ่มอร่อยครบรสที่คัดสรรโดยคุณไตรภพ ลิมปพัทธ์ พิธีกรแถวหน้าของเมืองไทย ในการรวมร้านอาหาร ขนม เครื่องดื่มที่เปี่ยมด้วยคุณภาพและความอร่อยของรสชาตินานาชนิดจากร้านเด่นดังทั่วประเทศ ไว้ในโครงการเอเชียทีค เดอะ ริเวอร์ฟร้อนท์ เพื่อเป็นสีสันใหม่ที่ตอบสนองไลฟ์สไตล์ด้านการกิน ดื่ม ที่มีให้เลือกอย่างหลากหลาย ครบเครื่อง ครบรส ครบทุกสไตล์และความชื่นชอบในที่เดียว นางวัลลภา ไตรโสรัส ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ AWC เปิดเผยว่า เอเชียทีค เดอะ ริเวอร์ฟร้อนท์ โฉมใหม่ พร้อมให้คนไทยและนักท่องเที่ยวจากทั่วโลกได้สัมผัสกับจุดหมายปลายทางแห่งคุณค่าของเรื่องราวอิงประวัติศาสตร์ ทั้งทางด้านอารยธรรม การค้า ศิลปวัฒนธรรม และองค์ประกอบของความแปลกใหม่ล้ำสมัย ชวนตื่นตาตื่นใจ ตอบโจทย์ทุกไลฟ์สไตล์ ตั้งแต่วันที่ 15 ตุลาคม 2563 นี้เป็นต้นไป    
10 พฤติกรรมบนวิถีชีวิต New Normal หลังโควิด-19

10 พฤติกรรมบนวิถีชีวิต New Normal หลังโควิด-19

จากสถานการณ์การแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ที่เกิดขึ้นทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทย ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งในภาคภาคธุรกิจ ภาคอุตสาหกรรมและภาคแรงงาน ต่างมีการปรับตัวเพื่อรับมือและสอดรับกับวิถีชีวิตแบบปกติใหม่ (New Normal)     ล่าสุด “แมนพาวเวอร์กรุ๊ป ประเทศไทย” ได้ทำการสำรวจกลุ่มตัวอย่างร่วมตอบแบบสอบถามจำนวน 1,124 คน  ในหัวข้อ “วิถีชีวิตแบบใหม่หลังโควิดส่งผลต่อการดำเนินชีวิตของคุณอย่างไร”  พร้อมเผย 10 อันดับปรากฎการณ์วิถีชีวิตแบบใหม่หลังโควิดที่ถึงแม้ว่าการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 จะเริ่มเข้าสู่ระยะปลดล็อคมาระยะหนึ่งแล้ว  แต่พฤติกรรมหลายอย่างได้เปลี่ยนแปลงไปจนกลายเป็นวิถีชีวิตแบบปกติใหม่ของผู้คนในปัจจุบัน แมนพาวเวอร์กรุ๊ป ประเทศไทย ได้จัดอันดับ 10 พฤติกรรมที่ส่งผลต่อวิถีการดำเนินชีวิตและการทำงานไว้ดังนี้ อันดับ 1 การช้อปปิ้งออนไลน์  90.91% เห็นได้ชัดในสถานการณ์ครั้งนี้ที่เป็นปัจจัยสนับสนุนให้ตลาดอี-คอมเมิร์ซ เติบโตพุ่งขึ้นไปอีก  ข้อมูลจากบริษัท ไพรซ์ซ่า จำกัด มีคาดการณ์ธุรกิจอี-คอมเมิร์ซ หรือช้อปออนไลน์ในกลุ่ม C2C หรือ Customer to Customer ไม่รวมบริการจองที่พักโรงแรม ตั๋วเครื่องบิน ดิจิทัลคอนเทนต์ และบริการอื่น ๆ ระบุว่าในปี 2563 ธุรกิจช้อปออนไลน์มีมูลค่าที่ 220,000 ล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วน 4-5% ของค้าปลีกทั้งประเทศ  เติบโต 35% จากปี 2562 ที่มีมูลค่า 163,300 ล้านบาท สัดส่วน 3% ของค้าปลีกทั้งประเทศ นับว่าโควิดเป็นแรงกระตุ้นให้อัตราการช้อปออนไลน์เติบโตสูงขึ้นมากทีเดียว อันดับ 2 การทำงานผ่านออนไลน์ 81.82%  การทำงานในรูปแบบ Work from Home เข้ามาปรับพฤติกรรมแรงงานเข้าสู่โหมดออนไลน์  โดยมีแพลตฟอร์มการประชุมมากมาย  อาทิ  Zoom Meeting   และ Microsoft Meeting เป็นต้น อันดับ 3 เสพความบันเทิงออนไลน์  72.73%  ด้วยวิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไป การเดินทางออกมาท่องเที่ยว หรือชมภาพยนตร์ในแบบปกติมีข้อจำกัด ดังนั้น รูปแบบความบันเทิงของผู้คนทั่วไปจึงอยู่ในระบบออนไลน์มากขึ้น มีแอปพลิเคชันบันเทิงในการดูภาพยนตร์  ฟังเพลงให้เลือกใช้บริการมากมายทั้งในแบบฟรีและคิดค่าบริการ  ซึ่งเสริมให้ธุรกิจนี้มีการเติบโตเพิ่มขึ้น  และกลุ่มผู้ให้บริการเครือข่ายมือถือ กับอินเทอร์เน็ตมีอัตราการใช้งานที่เพิ่มขึ้นนับเป็นอานิสงค์ให้กับผู้ให้บริการ อันดับ 4 ใช้บริการ E-Payment 63.64% มีการใช้บริการบริการ E-Payment หรือการชำระเงินผ่านระบบออนไลน์ที่เพิ่มขึ้น  ปัจจุบันหลายๆ ธุรกิจเพิ่มช่องทางการชำระเงิน  รวมถึงภาครัฐและภาคธนาคารผลักดันให้เกิดสังคมไร้เงินสด  ซึ่งโควิด-19 นับว่าเป็นแรงกระตุ้นให้เราก้าวสู่สังคมไร้เงินได้เร็วยิ่งขึ้นครอบคลุมในการจ่ายเงินในการซื้อสินค้าและบริการ โดยจะเห็นได้จากทุกวันนี้เราใช้บริการเรียกแท็กซี่ผ่านสมาร์ทโฟน และจ่ายเงินโดยไม่ต้องมีเงินสดแล้ว อันดับ 5  E-learning 54.55%  พ่อแม่ผู้ปกครองคงปฏิเสธไม่ได้  เมื่อลูกหลานไม่สามารถไปเรียนหนังสือที่โรงเรียนแบบปกติไม่ได้  โรงเรียนและครูอาจารย์นำเครื่องมือที่เรียกว่า  E-learning  มาใช้ในการเรียนทางไกลผ่านอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงซึ่งคิดเป็นสัดส่วนถึง 54.55%  ดังนั้น เด็กและเยาวชน  รวมทั้งผู้ปกครองมีการปรับตัวเพื่อใช้ E-learning  นอกจากนี้คนในวัยทำงานก็ใช้เครื่องมือนี้ในฝึกอบรมและสัมมนาอีกด้วย อันดับ 6 ต้องการใช้อินเตอร์เน็ตความเร็วสูง 45.45% ด้านระบบเครือข่ายการสื่อสารหรืออินเทอร์เน็ต ต้องมีความเร็วสูง แรง และเสถียรเพื่อรองรับการใช้งานในปริมาณที่เพิ่มสูงขึ้นจากกิจกรรมดังกล่าวในอันดับต้นๆ  นับว่ามีสัดส่วนอยู่ที่ 45.45% อันดับ 7 ดูแลสุขภาพผ่านเทคโนโลยี 36.36% ด้านการดูแลสุขภาพด้วยเทคโนโลยี จึงทำให้มีสมาร์ทดีไวซ์ที่เข้ามารองรับการใช้งานด้านนี้เพื่อเพิ่มความสะดวกยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็น Smart Watch และการรับคำปรึกษาปัญหาสุขภาพออนไลน์ คิดเป็นสัดส่วนอยู่ที่ 36.36% อันดับ 8 ส่งสินค้าด้วยแอพพลิเคชั่น 27.27% ด้านซัพพลายเชน 4.0 การบริหารการจัดส่งสินค้าด้วยเทคโนโลยีแอปพลิเคชันที่รองรับการให้บริการมากมาย  ทำให้อุตสาหกรรมด้านการให้บริการโลจิสติกส์มีการแข่งขันอย่างมาก ซึ่งหัวใจการให้บริการคือ ความเร็ว  ดังนั้น เทคโนโลยีจึงเข้ามาช่วยให้การให้บริการนี้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น  นับว่ามีสัดส่วนการเปลี่ยนแปลงในอัตราส่วนไม่น้อยอยู่ที่ 27.27% อันดับ 9 ใช้เทคโนโลยี 3D Printing 18.18% ระบบการผลิตจาก 3D Printing เช่น การผลิตหน้ากากอนามัยให้เข้ากับรูปหน้าของผู้สวมใส่นั้นๆ 18.18% อันดับ 10 การนำโดรนและหุ่นยนต์ช่วยงาน 9.09% มีการนำเอาโดรนและหุ่นยุนต์เข้ามามีบทบาทในการช่วยทำงาน  ซึ่งในงานบางอย่างอาจจะไม่ต้องใช้แรงงานคนอยู่ที่ 9.09%   จากผลการการสำรวจดังกล่าว  สะท้อนให้เห็นถึงวิถีการดำเนินชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไปทั้งในการทำงานและการใช้ชีวิต  ซึ่งเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทและตอบโจทย์  จนถึงเป็นแรงขับให้ทุกชีวิตทุกช่วงวัยต้องรับมือโดยการปรับตัวให้รองรับวิถีความปกติแบบใหม่ที่เกิดในช่วงโควิด-19   ดังนั้น หากทุกคนมีการเตรียมตัวและตั้งรับที่ดีโดยเฉพาะภาคแรงงาน แมนพาวเวอร์กรุ๊ปเชื่อมั่นว่าประเทศไทยจะเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้และพัฒนา เป็นสังคมที่มีความก้าวหน้าในระดับนานาประเทศต่อไป  
เปิดโรดแมพ เอพี ไทยแลนด์ ปั้นโปรเจ็กต์บ้านเดี่ยว 15 ปี กว่า 1 แสนล้าน

เปิดโรดแมพ เอพี ไทยแลนด์ ปั้นโปรเจ็กต์บ้านเดี่ยว 15 ปี กว่า 1 แสนล้าน

เปิดโรดแมพ โปรเจ็กต์​บ้านเดี่ยว เอพี ไทยแลนด์ 15 ปีเปิดขายกว่า 100,000 ล้าน ขึ้นแท่นผู้นำตลาด กวาดรายได้ทะลุหมื่นล้าน เดินหน้าเตรียมเปิด 2 โปรเจ็กต์ใหม่ปลายปีอีก 1,800 ล้าน หลังก่อนหน้าเปิดพรีเซลทำยอดขายได้กว่า 1,000 ล้าน สวนภาวะตลาดอสังหาฯ ซบเซา   นับตั้งแต่เกิดเหตุการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ตั้งแต่ช่วงต้นปีที่ผ่านมา ทิศทางของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ก็เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก เพราะพฤติกรรมการใช้ชีวิตของคนเปลี่ยนแปลงไป ต้องทำงานจากที่บ้าน หรือ Work From Home การอยู่อาศัยต้องการใช้พื้นที่มากขึ้น การอยู่อาศัยในคอนโดมิเนียม ที่มีพื้นที่จำกัด จึงไม่ตอบโจทย์กับยุคปัจจุบัน   จากพฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไป ทำให้ผู้ประกอบการอสังหาฯ​ เปลี่ยนทิศทางการพัฒนาธุรกิจ จากเดิมที่เน้นการพัฒนาโครงการคอนโด หันมาเป็นบ้านแนวราบ เพราะความต้องการมีมากกว่า ช่วงที่ผ่านมาผู้ประกอบการส่วนใหญ่ จึงชะลอแผนการพัฒนาคอนโด และหันมาพัฒนาบ้านแนวราบแทน ทำให้ตลาดแนวราบในปีนี้กลายเป็นพระเอกคนสำคัญ ที่ช่วยสร้างการเติบโตให้ผู้ประกอบการทั้งหลาย เช่นเดียวกับ เอพี ไทยแลนด์ ที่ปีนี้พอร์ตธุรกิจก็มีโครงการแนวราบเป็นพระเอกที่เข้ามาช่วยสร้างการเติบโตเช่นกัน ซึ่งเอพี ไทยแลนด์ได้พัฒนาโครงการแนวราบมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน ซึ่งปัจจุบันกลายเป็นผู้นำตลาดไปเรียบร้อยแล้ว 15 ปีปั้นโปรเจ็กต์บ้านเดี่ยว 100,000 ล้าน นับตั้งแต่ เอพี ไทยแลนด์ เริ่มต้นพัฒนาโครงการบ้านเดี่ยว โครงการแรกในปี 2547 จนมาถึงปัจจุบัน นับระยะเวลาได้ 15 ปี แล้ว มีการพัฒนาโครงการรวม 80 โครงการ โดยมีแบบบ้านออกมาทำตลาดมากถึง 50 แบบ ภายใต้ 3 แบรนด์หลัก ได้แก่ THE PALAZZO คฤหาสน์หรูในเซ็กเมนต์ซูเปอร์ลักชัวรี่ ราคา 25-60 ล้านบาทขึ้นไป THE CITY บ้านเดี่ยวดีไซน์ใหม่เซ็กเมนต์ไฮเอนด์ ราคา 9-25 ล้านบาท และ CENTRO บ้านเดี่ยวดีไซน์โมเดิร์นสำหรับการเริ่มต้นครอบครัวเซ็กเมนต์กลางบน ราคา 4.5-12 ล้านบาทซึ่งทุกโครงการถือว่าประสบความสำเร็จด้วยดี จากยอดขายเริ่มต้นในปีมีมูลค่าหลักพันล้านบาท จนมาถึงปัจจุบันโครงการแนวราบของเอพี ไทยแลนด์ พุ่งไปถึงระดับหมื่นล้านบาทแล้ว   โดยในปีที่ผ่านมาเอพี ไทยแลนด์   มีรายได้จากกลุ่มบ้านแนวราบสูงสุดในประวัติศาสตร์ของบริษัท กับรายได้กว่า 10,227 ล้านบาท เติบโตจากปี 2561 ในอัตรา 16.3% หรือคิดเป็นสัดส่วน 23% ของรายได้รวมบริษัท และหากย้อนกลับไปในช่วงปี 2554 หรือประมาณ 8 ปีก่อนหน้านั้น เอพี ไทยแลนด์ มีรายได้จากกลุ่มบ้านแนวราบเติบโตถึง 270%   นายรัชต์ชยุตม์ นันทโชติโสภณ รองกรรมการผู้อำนวยการ สายงานพัฒนาธุรกิจกลุ่มสินค้าบ้านเดี่ยว หนึ่งในคีย์แมนคนสำคัญของบมจ. เอพี (ไทยแลนด์) เปิดเผยว่า ตลอดระยะเวลา 15 ปีที่ผ่านมา เอพี ไทยแลนด์  พัฒนาบ้านเดี่ยวมาแล้วกว่า 80 โครงการ มูลค่าเกือบ 100,000 ล้านบาท  ส่งผลให้วันนี้กลุ่มธุรกิจบ้านเดี่ยวเอพีเติบโตอย่างก้าวกระโดดจากรายได้หลักพันล้านสู่หลักหมื่นล้านในปี 2562  ทำให้บ้านเดี่ยวเอพี ไทยแลนด์ ครองส่วนแบ่งตลาด   มากสุดเป็นอันดับ 1 ด้วยจำนวนยูนิตที่ขายได้มากสุดในตลาดบ้านเดี่ยวในเมืองและปริมณฑล (รอบปี 2548-1H 2563) เตรียมเปิด 2 โปรเจ็กต์บ้านเดี่ยว 1,800 ล้าน ส่วนผลการดำเนินงาน ณ วันที่ 31 สิงหาคม 2563 เอพี ไทยแลนด์ สามารถสร้างยอดขายรวม 8 เดือนกว่า 21,420 ล้านบาท จากเป้ายอดขายที่ 33,500 ล้านบาท โดย 18,400 ล้านบาทมาจากสินค้ากลุ่มแนวราบ คิดเป็น 82% ของเป้ายอดขายแนวราบทั้งปีที่ 22,500 ล้านบาท เติบโตขึ้น 15% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า   โดยในครึ่งปีแรกเอพี ไทยแลนด์ มีรายได้รวม 100%  มีรายได้จากโครงการร่วมทุน (JV) มากถึง 19,960 ล้านบาท ด้านสินค้ารอรับรู้รายได้รวมโครงการร่วมทุน (Backlog) ,มูลค่ามากถึง 49,330 ล้านบาท เป็นโครงการแนวราบมูลค่าราว 12,010 ล้านบาท ซึ่งคาดว่าจะรับรู้ทั้งหมดภายในปีนี้ และคอนโดมิเนียม มูลค่า 37,320 ล้านบาท ซึ่งจะทยอยรับรู้ในปีนี้อีกประมาณ 9,008 ล้านบาท และที่เหลือจะทยอยรับรู้ไปจนถึงปี 2566   สำหรับในไตรมาส 4 กลุ่มธุรกิจบ้านเดี่ยวเตรียมเปิดตัวโครงการอีกจำนวน 2 โครงการ รวมมูลค่า 1,800 ล้านบาท ได้แก่ THE CITY บรมราชชนนี-ทวีวัฒนา มูลค่า 890 ล้านบาท และโครงการย่านสาธุประดิษฐ์ 1 มูลค่า 910 ล้านบาท รวมทั้งปีกลุ่มธุรกิจบ้านเดี่ยว เปิดตัวโครงการใหม่ทั้งสิ้น 18 โครงการ มูลค่า 20,430 ล้านบาท 2 วันกวาดยอดพรีเซลล์ 1,000 ล้าน จากแนวโน้มและทิศทางตลาดอสังหาฯ ที่หันมาให้ความสนใจกลุ่มโครงการแนวราบ ทำให้ยอดขายในปีนี้ของกลุ่มแนวรามมีอัตราการเติบโตที่ดีมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งช่วงที่ผ่านมา เอพี ไทยแลนด์ ได้เปิดพรีเซลบ้านเดี่ยว 6 โครงการใหม่ เมื่อวันที่ 12-13 กันยายนที่ผ่านมา ได้แก่ 1.THE CITY สาทร-สุขสวัสดิ์ 2 ราคา 29.9-37 ล้านบาท 2.THE CITY พระราม 2-พุทธบูชา ราคา 9-15 ล้านบาท 3.THE CITY พระราม 9-รามคำแหง ราคา 11-25 ล้านบาท 4.THE PALAZZO ปิ่นเกล้า ราคา 35-60 ล้านบาท 5.CENTRO พระราม 9-กรุงเทพกรีฑา ราคา 7.9-15 ล้านบาท 6.CENTRO ราชพฤกษ์-สวนผัก 2 ราคา 7.59-11 ล้านบาท   โดยทั้ง 6 โครงการดังกล่าว ได้รับการตอบรับที่ดีเกินคาดหมาย ประสบความสำเร็จสวนกระแสข่าวตลาดอสังหาฯ ถดถอย โดย 2 วัน สามารถสร้างยอดขายได้มากกว่า 1,000 ล้าน โดยในบางโครงการสามารถปิดการขายได้หมด ตลอดจนบางโครงการบริษัทไม่สามารถสร้างบ้านได้ทันการขาย ซึ่งสะท้อนได้ถึงภาพกำลังซื้อในตลาดระดับบนยังคงมีอยู่  
“สามย่านมิตรทาวน์” วาง 4 กลยุทธ์หลักสร้างรายได้ในปีที่ 2

“สามย่านมิตรทาวน์” วาง 4 กลยุทธ์หลักสร้างรายได้ในปีที่ 2

สามย่านมิตรทาวน์  วาง 4 กลยุทธ์หลัก ลุยธุรกิจในปีที่ 2 หลังครบรอบ 1 ปีแรกเจอพิษโควิด-19 ทำรายได้ไม่เป็นไปตามเป้าหมาย แม้ตัวเลขผู้ใช้พุ่งสูงถึง 60,000 คนต่อวัน เดินหน้าบริหารพื้นที่ว่างสร้างรายได้เพิ่ม   วันที่ 20 กันยายน 2563 นี้ ศูนย์การค้าสามย่านมิตรทาวน์  จะมีอายุครบ 1 ปีของการเปิดให้บริการ ซึ่งช่วงปีแรกของการดำเนินธุรกิจ ต้องยอมรับว่าเป็นปีที่ท้าทายและต้องเผชิญกับปัจจัยลบสำคัญอย่างการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19  เพราะเพียงแค่เปิดให้บริการมาเพียง 5-6 เดือน ศูนย์การค้าแห่งแรกภายใต้การบริหารงานของบริษัท แผ่นดินทองพร็อพเพอร์ตี้ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) หรือ โกลเด้นแลนด์ ก็ต้องเผชิญกับมาตรการล็อกดาวน์ ทำให้ปิดศูนย์การค้าไปร่วม 2 เดือน   แม้ว่าทางศูนย์การค้า จะมีพื้นที่บางส่วนที่เปิดให้บริการได้ ภายหลังจากมาตรการล็อกดาวน์เริ่มคลายลง อย่างเช่น บิ๊กซีซูเปอร์มาร์เก็ต หรือการเปิดพื้นที่ให้บริการเดลิเวอรี่  สำหรับบางร้านค้า แต่ผลการดำเนินงานในปีแรก ต้องยอมรับว่าไม่เป็นไปตามเป้าหมายด้านรายได้ เพราะต้นทุนคงที่ของการบริหารศูนย์การค้าไม่ได้หยุดลงไปด้วย ไม่ว่าจะเป็นค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า หรือค่าบริหารจัดการต่าง ๆ ภายใน รวมถึง ทางศูนย์การค้ายังต้องช่วยเหลือผู้เช่าภายในศูนย์ ที่ต้องเผชิญชะตากรรมเดียวกัน คือ ไม่สามารถเปิดให้บริการได้เป็นปกติ  ด้วยการลดอัตราค่าเช่าพื้นที่ลง ยิ่งทำให้ตัวเลขรายได้ของศูนย์การค้าห่างไกลจากเป้าหมายมากขึ้น นางธีรนันท์ กรศรีทิพา รองกรรมการผู้จัดการ สายงานพัฒนาธุรกิจรีเทล โกลเด้นแลนด์​ เปิดเผยว่า ผลการดำเนินงานในปีแรก รายได้ไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ สิ่งที่ต้องทำในปีนี้ คือ การบริหารค่าน้ำ ค่าไฟ ให้ดีที่สุด ต้องทำให้ขาดทุนน้อยที่สุด ซึ่งแม้รายได้จะไม่เป็นไปตามเป้าหมาย แต่ตัวเลขผู้เข้าใช้บริการ ปัจจุบันมีมากถึง 60,000 คนต่อวัน สูงกว่าเป้าหมายที่ได้วางไว้ตั้งแต่แรกว่าจะมีผู้ใช้บริการ 37,000 คนต่อวัน  รวมถึงจำนวนร้านค้าที่เข้ามาเช่าพื้นที่ ซึ่งมีมากถึง 97% คิดเป็นจำนวน 240 ร้านค้า 4 กลยุทธ์สร้างรายได้ในปีที่ 2 สำหรับทิศทางการดำเนินธุรกิจ ในปีที่ 2 ทางศูนย์การค้าสามย่านมิตรทาวน์  ได้วางแนวทางการดำเนินธุรกิจด้วยการมุ่งเน้น ใน 3 เรื่องหลัก คือ 1.การพัฒนาพื้นที่ว่างให้เกิดรายได้มากขึ้น 2.การทำตลาดร่วมกับพันธมิตรทางธุรกิจ โดยร่วมมือกันในลักษณะ Collaboration มากกว่าเป็นเพียงสปอนเซอร์ 3.การให้บริการกับผู้เช่าพื้นที่ให้มากขึ้น ส่วนกลยุทธ์สำหรับปีหน้า ของศูนย์การค้าสามย่านมิตรทาวน์ ประกอบด้วย 4 กลยุทธ์หลัก 1.Destination for Food Lover การเป็นแหล่งร้านอาหาร และความหลากหลายของประเภทอาหาร 2.Signature Events การจัดอีเวนต์ที่มีลักษณะเฉพาะของสามย่านมิตรทาวน์ ซึ่งปีที่ผ่านมามีการจัดอีเวนต์ต่าง ๆมากถึง 130 อีเวนต์ 3.Trust การสร้างความไว้วางใจกับพันธมิตรและร้านค้าผู้เช่า ในรูปแบบต่าง ๆ 4.Mitr Community การสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าในรูปแบบต่าง ๆ ในปีที่ 2 ภายใต้เงื่อนไขว่าไม่มีการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ระลอก 2 รายได้น่าจะเป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ คลังอาหารและการเรียนรู้ แม้ว่าศูนย์การค้าสามย่านมิตรทาวน์ จะต้องปิดการให้บริการไปในช่วงมาตรการล็อกดาวน์  แต่ภายหลังมีการประกาศยกเลิกมาตราการล็อกดาวน์ในเดือนมิถุนายน ปรากฏว่า ช่วงเวลาเพียง 2 เดือนเศษๆ ตัวเลขผู้ใช้บริการของสามย่านมิตรทาวน์พลิกกลับมาเติบโตอย่างรวดเร็ว อยู่ที่ 60,000 คนต่อวัน หรือ 80% ของช่วงสถานการณ์ปกติ   โดยผู้เข้ามาใช้บริการ จะเป็นกลุ่มวัยทำงาน (Adult) มีสัดส่วนมากสุด 63% กลุ่มนักเรียน-นักศึกษา (University Student & Pre-University) 27% กลุ่มผู้ใหญ่ ผู้สูงอายุ และครอบครัว (Active Aging & Household with Kids) 6% ส่วนกลุ่มนักท่องเที่ยวต่างชาติมีเพียง 4% ซึ่งกลุ่มลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการส่วนใหญ่ 47% มาเพื่อหาอาหารที่มีหลากประเภท ตอบโจทย์ทุกความชอบทุกกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งเป็นโจทย์ที่ทางศูนย์การค้าสามย่านมิตรทาวน์วางโพสิชั่นนิ่งของตัวเองให้เป็น “คลังอาหารและการเรียนรู้” ขณะที่ 29% มาพบปะสังสรรค์ แฮงก์เอาท์กับกลุ่มเพื่อน ส่วน 15% มาเรียนรู้ในพื้นที่โคเลิร์นนิ่ง อีก 9% เป็นกลุ่มใช้บริการประจำ ต้องการจับจ่ายในร้านค้า ซูเปอร์มาร์เก็ต และสนใจกิจกรรมอีเว้นต์ต่างๆ    
ริสแลนด์ ยังไปต่อด้วยกลยุทธ์ “Think Global, Act Local” ปั้นโปรเจ็กต์ปีละหมื่นล้านสู้โควิด-19

ริสแลนด์ ยังไปต่อด้วยกลยุทธ์ “Think Global, Act Local” ปั้นโปรเจ็กต์ปีละหมื่นล้านสู้โควิด-19

ริสแลนด์ เดินหน้าลงทุนต่อเนื่อง สวนกระแสโควิด-19 และตลาดคอนโดชะลอตัว มั่นใจศักยภาพตลาดไทย พร้อมลงทุนระยาว สานต่อกลยุทธ์บริษัทแม่  “Think Global, Act Local” ปั้นโปรเจ็กต์ปีละหมื่นล้าน ล่าสุด เปิดตัวโปรเจ็กต์ใหม่ 4,900 ล้าน   “ริสแลนด์” บริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์สัญชาติฮ่องกง  ที่เริ่มเข้ามาพัฒนาโครงการอสังหาฯ ในประเทศไทยได้เพียงระยะเวลาเพียง 3 ปีกว่า ตั้งแต่ปี 2560 ชื่อนี้จึงอาจจะยังถือว่าใหม่สำหรับกลุ่มลูกค้าคนไทย แต่หากเป็นกลุ่มลูกค้าต่างชาติ โดยเฉพาะชาวจีน ชื่อเสียงของ “ริสแลนด์” ก็เป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดี เพราะพัฒนาโครงการอสังหาฯ ใน 7 ประเทศทั่วโลก ทั้งสหรัฐอเมริกา อินเดีย อินโดนีเซีย อังกฤษ นิวซีแลนด์ ออสเตรเลีย และไทย มีมูลค่าโครงการไม่ต่ำกว่า 550,000 ล้านบาท แม้ว่า ริสแลนด์ จะถือว่าเป็นน้องใหม่ในตลาดอสังหาฯ เมืองไทย แต่มีความพร้อมและความมั่นใจในการเข้ามาลุยตลาด ทั้งความพร้อมของการเป็นกลุ่มทุนยักษ์ใหญ่สัญชาติจีน และความมั่นใจในศักยภาพตลาดอสังหาฯ เมืองไทย ที่ถือว่ามีอัตราการเติบโตที่ดีมาอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าช่วงที่ผ่านมาจะเจอปัจจัยเสี่ยงหลายด้าน รวมถึงภาวะการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ซึ่งส่งผลกระทบทั้งกลุ่มลูกค้าภายในประเทศ และกลุ่มลูกค้าต่างชาติ  แต่ด้วยนโยบายการลงทุนที่เน้นการลงทุนระยะยาว และการวางเป้าหมายธุรกิจที่ชัดเจน ทำให้แม้ว่าจะมีปัจจัยเสี่ยงและอุปสรรคเกิดขึ้น ทางกลุ่มริสแลนด์จึงยังคงวางเป้าหมายการลงทุนอย่างต่อเนื่อง ตามแผนและกลยุทธ์ “Think Global ,Act Local”   นางสาวมณีกานต์ อิสรีย์โกศล ผู้อำนวยการฝ่ายกลยุทธ์การตลาด และสื่อสารภาพลักษณ์องค์กร ประจำภูมิภาคไทย บริษัท ริสแลนด์ (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า  ช่วงครึ่งปีแรกที่ผ่านมาต้องยอมรับว่า ในภาพรวมบริษัทได้รับผลกระทบจากวิกฤตการณ์โควิด-19 อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่ด้วยนโยบายและแนวทางของบริษัท ซึ่งกล้าที่จะลองและกล้าที่จะเปลี่ยน จึงมีการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์และแผนการดำเนินงานให้สอดคล้องกับสถานการณ์ในแต่ละประเทศ เน้นการขายออนไลน์ รวมถึงการมองหา และสะสมที่ดินแปลงใหม่ที่มีศักยภาพ เพื่อวางแผนที่จะเปิดตัวโครงการใหม่เมื่อสถานการณ์ต่าง ๆ เริ่มคลี่คลาย   โดยในปีนี้ได้เลื่อนการเปิดตัวโครงการที่จังหวัดภูเก็ตออกไปในปีหน้า จากเดิมที่จะเปิดตัวในช่วงปลายปี ซึ่งโครงการดังกล่าวเป็นการพัฒนาในลักษณ์มิกซ์ยูส บริเวณเกาะซึ่งอยู่โซนเดียวกับโรงแรมศรีพันวา ในการพัฒนาโครงการจะแบ่งออกเป็นเฟส ซึ่งเฟสแรกมีมูลค่ากว่า 5,800 ล้านบาท ส่วนจะมีกี่เฟสและมูลค่าเท่าไรนั้นขณะนี้อยู่ระหว่างการวางแผนพัฒนา แต่นโยบายการพัฒนาคาดว่าจะมีมูลค่าไม่ต่ำกว่า 10,000 ล้านบาท อะไรที่กระทบต่อ oversea เราต้อง waite and see สถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 รอบ 2 มีความเป็นไปได้แต่โอกาสค่อนข้างน้อย และระบบสาธารณสุขของไทยรับมือกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นได้ดี ปั้นโปรเจ็กต์ปีละ 10,000 ล้าน ตั้งแต่ ริสแลนด์ เข้ามาลงทุนพัฒนาโครงการในประเทศไทยช่วงปี 2560 จนถึงปัจจุบัน ได้เปิดตัวโครงการแล้วทั้งหมด 7 โครงการ ประกอบด้วยโครงการบ้านเดี่ยว 1 โครงการ โครงการคอนโดมิเนียม 4 โครงการ และโครงการมิกซ์ยูส 2 โครงการ มูลค่ารวมทั้งสิ้นกว่า 44,000 ล้านบาท นับเป็นบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ต่างชาติอันดับ 1 ที่มีมูลค่าการลงทุนในประเทศสูงที่สุดในขณะนี้ ในปี 2563 นี้ ริสแลนด์ เปิดตัวโครงการใหม่ 3 โครงการ มูลค่ารวม 23,500 ล้านบาท   โดยเปิดตัวไปแล้ว 2 โครงการ ได้แก่ โครงการ คลาวด์ เรสซิเด้นท์ สุขุมวิท 23 มูลค่า 3,600 ล้านบาท และโครงการ สกายไรส์ อเวนิว สุขุมวิท 64 มูลค่ากว่า 15,000 ล้านบาท (อ่านข่าวเพิ่มเติม...ริสแลนด์ ยักษ์อสังหาฯ จีนไม่หยุด ปั้นโปรเจ็กต์คอนโด 15,000 ล้าน)  ซึ่งทั้ง 2 โครงการได้รับผลตอบรับที่ดี เพราะตั้งอยู่ในทำเลที่ดีบนเส้นสุขุมวิท ใกล้รถไฟฟ้า ราคาเฉลี่ยที่สามารถจับต้องได้ รวมถึงขนาดห้อง การออกแบบ และพื้นที่ส่วนกลางที่ตอบโจทย์การใช้ชีวิต   โดยที่ผ่านมาบริษัทไม่เคยลงทุนต่ำกว่า 2 โปรเจ็กต์ และมีมูลค่าประมาณ​ 10,000 ล้านบาท ซึ่งในปีหน้ายังคงเดินหน้าเปิดโครงการต่อเนื่องไม่ต่ำกว่า 2 โปรเจ็กต์ และยังมีแผนพัฒนาโครงการอสังหาฯ อื่น ๆ ที่ไม่ใช่ที่อยู่อาศัยด้วย โดยจะเป็นโครงการอสังหาฯ ทุกรูปแบบที่มีโอกาสและความเป็นไปได้ เพราะ ริสแลนด์ วางเป้าหมายเข้าทำธุรกิจในระยะยาว ประกอบกับมีเงินทุนเป็นของตนเอง และสถาบันการเงินต่าง ๆ พร้อมสนับสนุนเงินกู้ให้บริษัทด้วย   บริษัทมีความเชื่อมั่นตลาดในประเทศไทย เพราะจากช่วงที่ผ่านมายังมีกลุ่มลูกค้าที่มีกำลังซื้อ และเป็นลูกค้าที่มีมุมมองที่แตกต่างออกไปว่า ช่วงเวลาที่ผ่านมา เป็นช่วงเวลาที่เหมาะสำหรับการซื้อบ้าน หรือคอนโดมิเนียม เพราะได้ราคาและโปรโมชั่นที่ดีที่สุด  ล่าสุด เปิดตัวโครงการ เดอะ ลิฟวิ่น รามคำแหง มูลค่า 4,900 ล้านบาท  เป็นคอนโดมิเนียมไฮไรส์สูง 42 ชั้น บนเนื้อที่กว่า 8 ไร่ บริเวณแยกลำสาลี  ใกล้ MRT สถานี Interchange ลำสาลี เพียง 100 เมตร ซึ่งสามารถเชื่อมต่อรถไฟฟ้า MRT 3 สาย ทั้งสายสีส้ม, สายสีเหลือง และสกายวอลค์ สายสีน้ำตาล  มีห้องพัก 5 ประเภท ได้แก่ ห้องสตูดิโอขนาด 22 ตารางเมตร, 1 ห้องนอนขนาด 27 ตารางเมตร, 1 ห้องนอนพลัสขนาด 32 ตารางเมตร, 2 ห้องนอนขนาด 38 ตารางเมตร และ 2 ห้องนอนขนาด 55 ตารางเมตร รวม 1,938 ยูนิต โดยจะเปิด Pre-Sale ในวันที่ 19 - 20 กันยายน 2563 นี้ มีราคาโปรโมชั่นเริ่มต้น 1.6 ล้านบาท ในขนาดห้อง 22 ตารางเมตร พร้อมผ่อนเริ่มต้นเพียง 1,000 บาทต่อเดือน นาน 3 ปี เมื่อวางเงินจอง 3%  
10 เรื่องน่ารู้โปรเจ็กต์ “เจ้าพระยา เอสเตท” มิกซ์ยูส 3.2 หมื่นล้านกับการพัฒนานาน 10 ปี

10 เรื่องน่ารู้โปรเจ็กต์ “เจ้าพระยา เอสเตท” มิกซ์ยูส 3.2 หมื่นล้านกับการพัฒนานาน 10 ปี

ภายในอีก 1-2 เดือนข้างหน้า โครงการมิกซ์ยูส “เจ้าพระยา เอสเตท” มูลค่า 32,000 ล้านบาท  ของบริษัท คันทรี่ กรุ๊ป ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) หรือ CGD ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ก็จะสมบูรณ์แล้วเสร็จ พร้อมเปิดให้บริการครบทุกพื้นที่ของโครงการ  หลังจากใช้ระยะเวลาการพัฒนาโครงการมานานนับ 10 ปี ถือเป็นโครงการที่ระยะเวลาการพัฒนาที่ยาวนานที่สุดของบริษัท  และมีมูลค่ามากที่สุด   โครงการนี้ มีเรื่องน่าสนใจอะไรบ้าง และมีความสำคัญต่อการเติบโตของ CGD อย่างไร คงดูได้จาก 10 เรื่องไฮไลท์นี้   1.โครงการพัฒนาบนที่ดิน 35-2-68 ไร่ ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ความยาวถึง 350 เมตร เป็นการเช่าที่ดินจากสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ เป็นระยะเวลา 75 ปี แบ่งเป็นอายุสัญญาณ 25+25+25 ปี โครงการคอนโดมิเนียมจึงเป็นรูปแบบสิทธิการเช่าที่ถือครองกรรมสิทธิ์ ตามช่วงระยะเวลาที่กำหนด หรือ  Leasehold   2.การพัฒนาโครงการใช้ระยะเวลา 10 ปี โดยในช่วงประมาณ 4 ปีแรก เป็นการเตรียมพื้นที่จากผู้เช่าเดิมออก ซึ่งเดิมมีผู้เช่าเป็นองค์การสะพานปลา และบ้านเรือนประชาชนอีก 300 หลังคาเรือน และใช้ระยะเวลาการก่อสร้างและพัฒนาอีก 5 ปีจนถึงปัจจุบัน   3.บริษัทเริ่มเปิดตัวโครงการอย่างเป็นทางการในวันที่ 20 มกราคม 2558 โดยถือว่าเป็นการพัฒนาโครงการที่มีมูลค่าและขนาดใหญ่ที่สุดของบริษัท ซึ่งมากถึง 32,000 ล้านบาท ประกอบด้วย คอนโดมิเนียม โฟร์ซีซั่นส์ ไพรเวท เรสซิเดนซ์ กรุงเทพฯ โรงแรมโฟร์ซีซันส์ กรุงเทพฯ และโรงแรมคาเพลลา กรุงเทพฯ 4.คอนโด โฟร์ซีซั่นส์ ไพรเวท เรสซิเดนซ์ กรุงเทพฯ ถือเป็นโครงการขนาดใหญ่ที่สุดของกลุ่มโฟร์ซีซั่นส์ที่ได้เข้าบริหาร  มีมูลค่าขายโครงการ 21,000 ล้านบาท  จำนวน 366 ยูนิต แบ่งเป็นห้องขนาด 2 ห้องนอน จำนวน 251 ยูนิต ขนาด 3 ห้องนอน 73 ยูนิต ส่วนที่เหลือเป็นห้องขนาด 4 ห้องนอนและเพ้นส์เฮ้าส์รวม   5.ราคาช่วงเปิดตัวของโครงการคอนโด โฟร์ซีซั่นส์ ไพรเวท เรสซิเดนซ์ กรุงเทพฯ มีราคาสูงที่สุดในขณะนั้น ด้วยราคาขายเฉลี่ย 300,000 บาทต่อตารางเมตร ซึ่งเพียงปีแรกที่ได้เปิดตัวขาย สามารถทำยอดขายได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ 30% ปัจจุบันสามารถทำยอดขายได้ 70% และราคาขายเฉลี่ยปรับเพิ่มขึ้นเป็น 320,000 บาทต่อตารางเมตร  ส่วนที่เหลืออีก 30% บริษัทคาดว่าจะปรับราคาขายขึ้นเป็น 360,000 บาทต่อตารางเมตร   6.โครงการคอนโด โฟร์ซีซั่นส์ ไพรเวท เรสซิเดนซ์ กรุงเทพฯ ได้รับการตอบรับที่ดีจากกลุ่มลูกค้าต่างชาติ ปัจจุบันมีสัดส่วนมากถึง 64% โดยเฉพาะกลุ่มลูกค้าชาวฮ่องกง ที่มีสัดส่วนถึง 26% 7.ปัจจุบันบริษัทมีรายได้จากการโอนแล้ว 1,000 ล้านบาท และมียอดขายรอรับรู้รายได้อีก 12,000 ล้านบาท ซึ่งรายได้จากการโอนบริษัทจะนำไปชำระหนี้เงินกู้ที่มีอยู่ 11,000 ล้านบาท  ซึ่งสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ส่งผลให้กลุ่มลูกค้าต่างชาติ ยังไม่สามารถเข้ามาดำเนินการโอนห้องได้ แต่เชื่อว่าลูกค้ายังคงมีความต้องการ เนื่องจากได้วางเงินดาวน์ถึง 30%   8.โรงแรมคาเพลลา กรุงเทพฯ เป็นโรงแรมระดับซูเปอร์ลักชัวรี่ แห่งแรกในประเทศไทยของกลุ่มคาเพลลา มีขนาด 101 ห้องในรูปแบบวิลล่าและห้องสวีท และเป็นแห่งที่ 6 ของโลก จากก่อนหน้านี้มีการขยายการลงทุนในประเทศอินโดนีเซีย เยอรมัน สิงคโปร์ และจีน 2 แห่ง ในอนาคตยังมีแผนขยายการลงทุนไปในประเทศเวียดนาม และญี่ปุ่น  ซึ่ง Horst Schulze นักธุรกิจโรงแรมประเทศสิงคโปร์ เป็นเจ้าของแบรนด์  ซึ่งแม้จะเป็นแบรนด์ใหม่ แต่ถือว่าได้รับการยอมรับจากกลุ่มนักเดินทางและท่องเที่ยว ได้รับรางวัลต่าง ๆ มากมาย โดยกำหนดเปิดตัวอย่างเป็นทางการในเดือนตุลาคม 2563   9.การพัฒนาโรงแรมของ CGD ทั้ง 2 แห่ง จะเน้นสัดส่วนรายได้จากห้องพัก 50% และรายได้จากการจัดงานอีเวนต์  ธุรกิจร้านอาหารและเครื่องดื่มภายในโรงแรม เห็นได้จากจำนวนห้องพักที่มีไม่มากนัก เมื่อเทียบกับขนาดของโรงแรมและเม็ดเงินลงทุน  โดยโรงแรม โฟร์ซีซั่นส์ กรุงเทพฯ มีห้องพักจำนวน  299 ห้อง จะเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการในเดือนพฤศจิกายน 2563 นี้   ไฮไลท์ที่จะช่วยผลักดันให้ CGD มีรายได้จากธุรกิจร้านอาหารและเครื่องดื่ม รวมถึงการจัดงานอีเวนต์ คือ การให้ความสำคัญกับการพัฒนาห้องจัดงานเลี้ยงและห้องอาหาร ซึ่งมีขนาดใหญ่ และตั้งในทำเลที่เห็นวิวแม่น้ำได้อย่างชัดเจน การมีห้องอาหารเชฟมิชิลินสตาร์ 3 ดาว การมีห้องอาหารหลากหลายชนิด ทั้งอาหารไทยและอินเตอร์เนชั่นแนล 10.โครงการเจ้าพระยา เอสเตท เมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จและเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการ จะส่งผลให้บริษัทมีรายได้เข้ามาอย่างต่อเนื่อง  จะช่วยทำให้ผลประกอบการมีทิศทางที่ดีขึ้น คาดว่าผลประกอบการในปีนี้ จะเทิร์นอะราวด์พลิกกลับมามีกำไร หลังจากปีที่ผ่านมายังประสบภาวะขาดทุนกว่า 489 ล้านบาท รวมถึงในช่วง 6 เดือนแรก ยังขาดทุนกว่า 347 ล้านบาท ซึ่งสาเหตุหลักเกิดจากการขาดทุนในอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงิน โดย CGD ยังได้รับการสนับสนุนจากสถาบันการเงินอย่างต่อเนื่องด้วย   นายเบน เตชะอุบล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท คันทรี่ กรุ๊ป ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) หรือ CGD เปิดเผยว่า ที่ผ่านมาบริษัทอยู่ระหว่างการพัฒนาโครงการ ทำให้ยังไม่มีรายได้กลับเข้ามา จะมีแต่การลงทุน ทำให้งบการเงินยังไม่มีกำไร ซึ่งนับจากนี้บริษัทน่าจะกลับมาสร้างการเติบโตและผลกำไรได้ เห็นได้จากไตรมาส 2 ที่ผ่านมาบริษัทเริ่มทำกำไรได้กว่า 544 ล้านบาท แม้ไตรมาสแรกยังขาดทุนแต่เป็นผลจาก การขาดทุนอัตราแลกเปลี่ยนเงิน  
เมเจอร์ ดีเวลลอปเม้นท์ ปั้น “เมทริส” แบรนด์ใหม่จับตลาดกลุ่ม Gen Y   

เมเจอร์ ดีเวลลอปเม้นท์ ปั้น “เมทริส” แบรนด์ใหม่จับตลาดกลุ่ม Gen Y   

เมเจอร์ฯ ขยายฐานลูกค้าใหม่ จับตลาด “มิลเลนเนียล” ปั้นแบรนด์เมทริส รองรับ พร้อมปักหมุด 3 ทำเลอนาคต CBD แห่งใหม่ พร้อมเติมพอร์ตรายได้ปี 63   การสร้างการเติบโตให้กับบริษัท นอกจากการขายสินค้าให้กลุ่มลูกค้าเดิม ให้มีปริมาณการซื้อที่มากขึ้นแล้ว กลยุทธ์หนึ่งที่มักถูกหยิบมาใช้ คือ การขยายฐานกลุ่มลูกค้าใหม่ หรือ Customer Extension ซึ่งรูปแบบและวิธีการ ก็คือการเพิ่มสินค้าใหม่ให้ตรงกับความต้องการของลูกค้า ที่ต้องการเข้าไปจับ ถือเป็นการขยายฐานการเติบโตของบริษัทให้กว้างมากขึ้​น   สำหรับบริษัท เมเจอร์ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) มีเป้าหมายสร้างการเติบโต ด้วยการขยายตลาดไปยังกลุ่มเป้าหมายใหม่ด้วยเช่นกัน ซึ่งกลุ่มเป้าหมายใหม่ของเมเจอร์ฯ คือ กลุ่มมิลเลนเนียล หรือคน Gen Y ซึ่งคือผู้ที่เกิดในช่วงยุค 80-90 อายุประมาณ 25-35 ปี จากเดิมที่จับตลาดหลักเป็นกลุ่ม Middle-Upper Management ผู้มีอายุ 35 ปีขึ้นไป เป็นกลุ่มผู้ทำงานระดับบริหาร หรือเจ้าของกิจการ เมื่อมีกลุ่มเป้าหมายใหม่ เมเจอร์ฯ จึงต้องพัฒนาแบรนด์สินค้าใหม่ ออกมาให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมาย ในช่วงปี 2560 จึงได้เปิดตัวแบรนด์คอนโดมิเนียมใหม่ขึ้นมาทำตลาด คือ แบรนด์เมทริส (Metris) ซึ่งเป็นการเชื่อมคำ 2 คำเข้าด้วยกัน คือ METRO กับ MODERNIST เข้าด้วยกัน และมีความหมายว่า คนรุ่นใหม่ที่หลงไหลในแนวคิดต้นแบบ Modern design ยุคศตวรรษที่ 20   นางสาวเพชรลดา พูลวรลักษณ์ กรรมการบริหาร บริษัท เมเจอร์ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า กลุ่มลูกค้ามิลเลนเนียล มีคาแรกเตอร์ที่มีความส่วนตัวสูง ชอบของย้อนยุคแต่มีความเป็นโมเดิร์น การพัฒนาโครงการจึงเน้นการออกแบบและตกแต่งให้มีความคลาสสิค มีเอกลักษณ์เฉพาะและโดดเด่น ซึ่งโลโก้ของแบรนด์ได้นำรูปทรงของเฟอร์นิเจอร์ในยุคเรโทรมาออกแบบ ปักหมุด New & Expanding CBD แน่นอนว่านับวันการเจริญเติบโตของเมือง ถูกขยายตัวออกไปยังพื้นที่โดยรอบของกรุงเทพฯ ซึ่งมีปัจจัยสำคัญที่เป็นตัวขับเคลื่อน คือ ระบบคมนาคม โดยเฉพาะการขยายตัวของเส้นทางรถไฟฟ้า ซึ่งทำให้เกิดการพัฒนาเมืองตามไปด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กรุงเทพฯ​ เป็นเมืองที่มีการจราจรหนาแน่น คนส่วนใหญ่ต้องการความสะดวกในการเดินทาง จึงเลือกที่จะมีวิถีชีวิต และการพักอาศัยอยู่ตามแนวเส้นทางรถไฟฟ้าเป็นหลัก ซึ่งคนรุ่นใหม่ที่เป็นกลุ่มเป้าหมายใหม่ของเมเจอร์ฯ ส่วนใหญ่ก็เลือกเดินทางด้วยรถไฟฟ้า มากกว่าการมีรถยนต์ส่วนตัว   ทำเลหลักของการพัฒนาโครงการเมทริส ทั้ง 3 โครงการ จึงอยู่ในทำเลที่ใกล้รถไฟฟ้าและการเดินทางมายังโครงการได้สะดวก ทั้งในทำเลถนนลาดพร้าว แยกรามคำแหง และทำเลพัฒนาการ- เอกมัย ซึ่งเป็นทำเลที่ขยายตัวออกมาจากศูนย์กลางธุรกิจ หรือ CBD ซึ่งจะกลายเป็นแหล่งธุรกิจแห่งใหม่ในอนาคต รวมถึงการขยายไปยังพื้นที่ของ New & Expanding CBD อาทิ สุขุมวิทตอนปลาย บางนา เป็นต้น 2 โปรเจ็กต์ “เมทริส” เพิ่มรายได้ปี 63   นับตั้งแต่เริ่มเปิดตัวโครงการภายใต้แบรนด์เมทริส เมื่อปี 2560 ปัจจุบันโครงการได้ก่อสร้างแล้วเสร็จ 1 โครงการ ได้แก่ เมทริส พระราม9-รามคำแหง  (Metris Rama 9 – Ramkumhang) และอีกโครงการความคืบหน้าการก่อสร้างมากกว่า 70% คือ เมทริส ลาดพร้าว  (Metris Ladprao) ที่คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในไตรมาสสุดท้ายของปีนี้  ซึ่งทั้ง 2 โปรเจ็กต์จะสร้างการรับรู้รายให้กับเมเจอร์ฯ​ ในปีนี้  ส่วนอีกหนึ่งโครงการคาดว่าจะก่อสร้างแล้วเสร็จในช่วงต้นปีหน้า คือ เมทริส พัฒนาการ-เอกมัย (Metris Pattanakarn-Ekkamai)   โดยในปีนี้บริษัทตั้งเป้าหมายรายได้ไว้ใกล้เคียงหรือเติบโตกว่าปีที่ผ่านมา ซึ่งมีรายได้ 6,200 ล้านบาท ปัจจุบันมียอดขายรอรับรู้รายได้ 9,000 ล้านบาท ซึ่งคาดว่าจะรับรู้รายได้ภายในนี้ 2,000-3,000 ล้านบาท ซึ่งในจำนวนดังกล่าว มียอดโอนจากโครงการภายใต้แบรนด์เมทริสทั้ง 2 แห่งเข้ามาด้วย และยังมีโครงการอยู่ระหว่างการก่อสร้างและเตรียมโอนกรรมสิทธิ์อีก 7,000-8,000 ล้านบาทด้วย   สำหรับเมทริส พระราม 9-รามคำแหง  ตั้งอยู่บนที่ดินขนาด 2-0-25 ไร่ บริเวณจุดตัดหัวมุมถนนพระราม 9 และถนนรามคำแหง ห่างจาก MRT สายสีส้มเพียง 300 เมตร และแอร์พอร์ตลิงค์สถานีรามคำแหง 600 เมตร  เป็นอาคารสูง 33 ชั้น 1 อาคาร จำนวน 570  ยูนิต ประกอบด้วยห้องพักแบบ 1 ห้องนอน และ 2 ห้องนอน ขนาด 30-59 ตารางเมตร มีการจัดแคมเปญด้วยราคาเริ่มต้น  3.1 ล้านบาท   ส่วนเมทริส ลาดพร้าว  ตั้งอยู่บนที่ดินขนาด 1-0-78.1 ไร่ บนถนนลาดพร้าว ห่างจาก MRT พหลโยธิน เพียง 250 เมตร   เป็นอาคารสูง 29 ชั้น   1 อาคาร จำนวน 193 ยูนิต ประกอบด้วยห้องพักแบบ 1 ห้องนอนและ 2 ห้องนอน ขนาด 30-66 ตารางเมตร มีการจัดแคมเปญในราคาเริ่มต้น  3.88 ล้านบาท