Tag : SpecialScoop

144 ผลลัพธ์
มองตลาดออฟฟิศให้เช่า Q2 หลัง COVID-19 จะไปทางไหน?  

มองตลาดออฟฟิศให้เช่า Q2 หลัง COVID-19 จะไปทางไหน?  

การแพร่ระบาดของ ไวรัสโควิด-19 ส่งผลให้  การทำงานของคนในยุคปัจจุบัน ลดเวลาการเข้าไปทำงานที่ออฟฟิศ และหันมาทำงานจากที่บ้านมากขึ้น จึงทำให้เกิดคำถามว่า ในอนาคตบริษัทหรือธุรกิจต่าง ๆ จะลดขนาดพื้นที่สำนักงานหรือไม่ ซึ่งหากมีการลดขนาดของพื้นที่ออฟฟิศลง คงต้องกระทบกับผู้บริการให้เช่าพื้นที่สำนักงาน หรือเจ้าของอาคารต่าง ๆ อย่างแน่นอน   สำหรับเรื่องนี้  นายมาร์คัส เบอร์เทนชอว์ กรรมการบริหารและหัวหน้าฝ่ายตัวแทนนายหน้า บริษัท ไนท์แฟรงค์ ประเทศไทย จำกัด เปิดเผยว่า ในไตรมาสแรก พนักงานส่วนใหญ่ทำงานจากบ้าน  แต่เมื่อบริษัทต่าง ๆ เริ่มกลับเข้ามาทำงานที่ออฟฟิศในช่วงไตรมาสที่ 2 หลายบริษัทเริ่มพิจารณาว่าจะปรับตัวรับกับสถานการณ์ในอนาคตอย่างไร แต่เชื่อว่าอัตราการเช่าพื้นที่สำนักงานน่าจะมีแนวโน้มลดลงเนื่องจากผู้เช่าเริ่มคืนพื้นที่สำนักงานบางส่วนที่ไม่ใช้งาน  ในขณะเดียวกันค่าเช่าได้ปรับเพิ่มสูงขึ้น หากผู้เช่าไม่มั่นใจในภาวะเศรษฐกิจ อาจจะเกิดการลดพื้นที่ใช้งาน หรือย้ายไปยังอาคารที่มีค่าเช่าถูกกว่าได้   ตัวชี้วัดตลาดสำนักงาน ที่มา: ไนท์แฟรงค์ประเทศไทย ภาพรวมเศรษฐกิจ ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ของไทยหดตัวลง 12.2% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมาในไตรมาสที่ 2 ปี 2563 และลดลง 2% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า ซึ่งถือเป็นการหดตัวลงของจีดีพีที่มากที่สุด นับตั้งแต่วิกฤตการเงินในเอเชียในปี 2541 ซึ่ง ในไตรมาสที่ 2 ปี 2541 ภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวลง 12.5%   การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19และมาตรการที่ตามมาจากทั้งในและต่างประเทศ เพื่อป้องกันและควบคุมการแพร่กระจายของโรคเป็นปัจจัยหลักที่มีผลต่อการหดตัวของเศรษฐกิจ แม้ว่าจะมีการยกเลิกข้อจำกัดหลายประการในช่วงปลายไตรมาสที่ 2 แต่เศรษฐกิจยังคงได้รับผลกระทบอย่างมาก โดยการส่งออกลดลง 28.3% ซึ่งส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมการผลิต  จากผลกระทบการล็อคดาวน์ชั่วคราวและความต้องการทั่วโลกลดลง   ส่วนด้านรายจ่ายการอุปโภคบริโภคของเอกชนลดลงไป 6.6% เนื่องจากการใช้จ่ายในสินค้าคงทน สินค้ากึ่งคงทน และบริการต่าง ๆ ลดลงไป 30.2%, 15.7% และ 7% ตามลำดับ ภาคการท่องเที่ยวลดลงเป็นอย่างมากเช่นกัน โดยเห็นได้จากการใช้จ่ายของชาวต่างชาติที่ไม่ได้อาศัยอยู่ในประเทศลดลงไปถึง 91.2% เพราะปริมาณนักท่องเที่ยวต่างชาติลดลงเหลือศูนย์ ในขณะที่การลงทุนลดลงไป 8% โดยส่วนใหญ่อาจเป็นผลมาจากการลงทุนของภาคเอกชนที่ลดลงไป 15% แต่การใช้จ่ายของภาครัฐและการลงทุนภาครัฐขยายตัวขึ้น 1.4% และ 12.5% ​​ตามลำดับ เนื่องจากมีการใช้มาตรการเยียวยาเพื่อรักษาเสถียรภาพและฟื้นฟูเศรษฐกิจไทย   อุปทานสำนักงานในกรุงเทพฯ ที่มา: ไนท์แฟรงค์ประเทศไทย Q2 พื้นที่เพิ่มมากกว่า 99,000 ตร.ม. จากผลการวิจัยของไนท์แฟรงค์ประเทศไทย ในไตรมาสที่ 2 ปี 2563 พบว่า จำนวนพื้นที่สำนักงานในกรุงเทพฯ เพิ่มขึ้น 99,420 ตร.ม. หรือ 1.9% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ทำให้มีพื้นที่รวมทั้งหมด 5.33 ล้านตร.ม. โดยนับเป็นครั้งแรกที่จำนวนพื้นที่เพิ่มขึ้นมากกว่า 99,000 ตร.ม. นับตั้งแต่ไตรมาส 3 ปี 2554 โดยอาคารสำนักงานใหม่ 3 แห่งที่แล้วเสร็จ เพิ่มพื้นที่ 60,000 ตร.ม. เข้ามาในย่านศูนย์กลางธุรกิจ และ 39,420 ตร.ม. ในพื้นที่นอกย่านศูนย์กลางธุรกิจ และไม่มีการย้ายออกจากอาคารสำนักงานเก่า  ซึ่งอัตราเฉลี่ยการเพิ่มขึ้นของพื้นที่ต่อไตรมาสในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา เท่ากับ 26,800 ตร.ม.   อุปทานสำนักงานในกรุงเทพฯในอนาคต    ที่มา: ไนท์แฟรงค์ประเทศไทย อุปทานสำนักงานในกรุงเทพฯในอนาคต (รายโครงการ)  ที่มา: ไนท์แฟรงค์ประเทศไทย ปี 66 พื้นที่ออฟฟิศทะลุ 6.5 ล้านตร.ม.  ในช่วงครึ่งปีหลัง 2563 จะมีอาคารสำนักงานใหม่ 7 แห่งคาดว่าจะแล้วเสร็จ ซึ่งจะมีพื้นที่สำนักงานเข้าสู่ตลาดประมาณ 110,000 ตร.ม. โดย 47% หรือ 52,423 ตร.ม. จะตั้งอยู่ในย่านศูนย์กลางธุรกิจ โดยภายในปี 2566  หากเป็นไปตามแผน ตลาดสำนักงานในกรุงเทพฯ จะเติบโตขึ้น 1,216,139 ตร.ม. หรือเฉลี่ยที่ 347,468 ตร.ม. ต่อปี (คำนวนจากส่วนที่เพิ่มเข้ามาและไม่นับส่วนที่ย้ายออก) จากไตรมาสที่ 2 ปี 2559 จนถึงไตรมาสที่ 2 ปี 2562 ซัพพลายใหม่เพิ่มเข้าสู่ตลาดในอัตราประมาณ 185,000 ตร.ม. ต่อปี จากประมาณ 5.3 ล้าน   ตร.ม. ณ ปัจจุบัน ซัพพลายรวมของตลาดสำนักงานคาดว่าจะเพิ่มขึ้นถึง 6.5 ล้าน ตร.ม. ภายในสิ้นปี 2566 การครอบครองต่อปีของสำนักงานในกรุงเทพฯ ที่มา: ไนท์แฟรงค์ประเทศไทย ไดนามิกส์ของอุปสงค์และอุปทานสำนักงานในกรุงเทพฯ ที่มา: ไนท์แฟรงค์ประเทศไทย ธุรกิจรัดเข็มขัดลดพื้นที่เช่าสำนักงาน​    การเช่าโดยรวมลดลงเนื่องจากการครอบครองโดยรวมลดลง 11% จากไตรมาสก่อน เหลือเพียง 66,211 ตร.ม. อัตราการครอบครองนี้ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยต่อไตรมาสในช่วง 10 ปี เพียงเล็กน้อย โดยอยู่ที่ 67,126 ตร.ม. แม้ว่าจะมีการครอบครองค่อนข้างคงที่ แต่มีพื้นที่จำนวนมากถูกคืนสู่ตลาด โดย 115,750 ตร.ม. เป็นการคืนพื้นที่โดยผู้เช่า ซึ่งส่งผลต่อการลดลงของอัตราดูดซับสุทธิจาก 23,984 ตร.ม. เป็น -49,547 ตร.ม. ซึ่งนับเป็นระดับต่ำสุดที่ถูกบันทึกไว้ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ทั้งนี้ส่งผลให้พื้นที่ครอบครองรวมลดลงเหลือ 4.68 ล้าน ตร.ม. ลดลง 1% ต่อไตรมาส ปัจจัยเหล่านี้บ่งชี้ว่าแม้ว่าการเช่าจะยังคงดำเนินอยู่ แต่ผู้เช่าส่วนใหญ่ได้เลือกที่จะลดปริมาณพื้นที่ลงเพื่อเป็นแนวทางประหยัดค่าใช้จ่าย นอกจากนี้ บริษัทหลายแห่งอาจต้องปิดตัวลง และออกจากตลาดเนื่องจากผลกระทบทางเศรษฐกิจที่แย่ลง จากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด -19 ที่ยังคงยืดเยื้ออยู่ อุปทาน อุปสงค์ และอัตราการครอบครองของสำนักงานในกรุงเทพฯ ที่มา: ไนท์แฟรงค์ประเทศไทย เนื่องจากพื้นที่ออฟฟิศเพิ่มขึ้นมากแต่ความต้องการลดลง อัตราการครอบครองตลาดจึงปรับตัวลง 2.6% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และ เมื่อเทียบกับปีก่อนลดลง 3.5%  จากที่อยู่ที่ในอัตรา 87.7% นับเป็นการลดลง 5 ไตรมาสติดต่อกันของอัตราการครอบครอง ซึ่งทำให้อัตราปัจจุบันต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 10 ปี โดยอยู่ที่ 89.9%   เมื่อแบ่งตามเกรดอาคารสำนักงานจะเห็นได้ชัดว่า สำนักงานเกรดที่สูงกว่าได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวของตลาดมากกว่า ในขณะที่อัตราการครอบครองลดลงทั้งตลาด การลดลงมากที่สุดเป็นอาคารสำนักงานเกรด A โดยลดลงไป 3.3% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ในขณะเดียวกันอาคารสำนักงานเกรด B และ C ลดลงไป 2.8% และ 1.6% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ตามลำดับ เนื่องจากอัตราการครอบครองอาคารสำนักงานเกรด A ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของในช่วง 10 ปี ส่งผลให้ทุกเกรดแสดงประสิทธิภาพต่ำของค่าเฉลี่ยในระยะยาว   ในแต่ละไตรมาส การครอบครองยังคงลดลงทั้งในและนอกย่านศูนย์กลางธุรกิจ โดยอัตราการครอบครองในเขตอโศก-พร้อมพงษ์ และเขตเพลินจิต-ชิดลมลดลงไป 3.5% ซึ่งเป็นอัตราที่ลดลงที่มากที่สุดในบรรดาตลาดทั้งหมด ในทางกลับกัน เขตที่มีอัตราการครอบครองการลดลงน้อยที่สุด คือ เขตอโศก-เพชรบุรี โดยลดลงไปเพียง 0.7% โดยรวมแล้วพื้นที่ในและนอกย่านศูนย์กลางธุรกิจมีระดับการลดลงค่อนข้างเสมอกัน โดยลดลง 2.6% และ 2.7% ตามลำดับ ค่าเช่าโดยเฉลี่ยของสำนักงานในกรุงเทพฯ แบ่งตามเกรดอาคาร ที่มา: ไนท์แฟรงค์ประเทศไทย อัตราค่าเช่ายังเพิ่มขึ้น 0.4% ค่าเช่ายังคงเผชิญกับแรงกดดันจากสภาวะตลาดที่อ่อนตัวลง ราคาเสนอเช่าโดยเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 0.4% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และ 2.7% เมื่อเทียบกับปีก่อน โดยมีราคาอยู่ที่ 798 บาท/ ตร.ม.ต่อเดือน ระดับการเติบโตนี้ต่ำกว่าการเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยต่อปีที่ 4.2% ที่ถูกบันทึกไว้ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา   อาคารสำนักงานเกรด C มีการปรับค่าเช่ามากที่สุดต่อไตรมาส โดยเพิ่มขึ้นมากถึง 0.9% อยู่ที่ 474 บาท/ตร.ม. ในขณะที่ค่าเช่าอาคารสำนักงานเกรด A เพิ่มขึ้น 0.5% อยู่ที่ 1,137 บาท ส่วนอาคารสำนักงานเกรด B มีอัตราการเติบโตขึ้นเพียงเล็กน้อยที่ 0.1% อยู่ที่ 785 บาท อย่างไรก็ตาม อาคารสำนักงานเกรดที่สูงกว่ามีการเติบโตของค่าเช่ามากกว่าเป็นประจำทุกปี ค่าเช่าอาคารสำนักงานเกรด A ยังคงเพิ่มขึ้น 5.4% เมื่อเทียบกับปีก่อน และเมื่อเทียบกับค่าเช่าเกรด C ซึ่งเพิ่มขึ้น 0.2% เมื่อเทียบกับในช่วงเดียวกัน แม้จะมีความผันผวนในแต่ละไตรมาส การเผชิญกับสภาวะตลาดสำนักงานที่ยังคงซบเซาเจ้าของอาคารสำนักงานเกรด C จะพบว่าการปรับเพิ่มค่าเช่าเป็นเรื่องที่ทำได้ยาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากความได้เปรียบในการแข่งขันอยู่ในอัตราที่ต่ำกว่าตลาด   อัตราค่าเช่าของสำนักงานในย่านศูนย์กลางธุรกิจเพิ่มขึ้นมากกว่าอาคารสำนักงานที่ตั้งอยู่นอกย่านศูนย์กลางธุรกิจ โดยในย่านศูนย์กลางธุรกิจ ราคาเสนอเช่าโดยเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 0.5% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และ 3.5% เมื่อเทียบกับปีก่อน โดยอยู่ที่ 972 บาท สำหรับในพื้นที่นอกย่านศูนย์กลางธุรกิจเพิ่มขึ้น 0.2% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และ 1.7% เมื่อเทียบกับปีก่อน โดยอยู่ที่ 642 บาท    ตัวชี้วัดรายเขตของพื้นที่สำนักงานในกรุงเทพฯ ที่มา: ไนท์แฟรงค์ประเทศไทย   สำหรับในพื้นที่ย่านศูนย์กลางธุรกิจ ทุกพื้นที่ประสบกับปัญหาการเติบโตของค่าเช่าต่อไตรมาสติดลบ ยกเว้นในเขตอโศก-พร้อมพงษ์ที่มีค่าเช่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 0.4% ในแต่ละปี ค่าเช่าในทุกพื้นที่ยังคงสูงขึ้นยกเว้นในเขตเพลินจิต-ชิดลมที่มีราคาค่าเช่าลดลงไป 0.1% สำหรับพื้นที่นอกย่านศูนย์กลางธุรกิจ ราคาค่าเช่าโดยเฉลี่ยเพิ่มขึ้นมากที่สุดในเขตบางนา โดยเพิ่มขึ้น 1.7% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน นับเป็นอัตราการเติบโตสูงสุดที่ถูกบันทึกไว้จากทุกเขตตัวอย่าง อย่างไรก็ตามในแต่ละปี ราคาค่าเช่าโดยเฉลี่ยในบางนาลดลง 2.4% ซึ่งมากกว่าในเขตอื่น ๆ   วงจรการเช่าของสำนักงานในกรุงเทพฯ   ที่มา: ไนท์แฟรงค์ประเทศไทย แห่คืนพื้นที่-ปรับลดขนาดลง ตลาดสำนักงานในกรุงเทพฯ ยังคงอ่อนตัวลงอย่างต่อเนื่องตามผลกระทบของไวรัสโควิด-19 จากข้อมูลในไตรมาสที่ 2 บริษัทหลายแห่งไม่รอโอกาสในตลาดแล้ว แต่ได้ดำเนินการตามแผนกลยุทธ์ด้านพื้นที่อาคารสำนักงาน โดยพิจารณาตามผลกระทบที่เกิดขึ้นในปัจจุบันและในอนาคตที่อาจเกิดขึ้น ต่อการดำเนินธุรกิจของพวกเขา ซึ่งในทศวรรษที่ผ่านมาถูกขนานนามว่าเป็น “Flight to quality” โดยผู้เช่าทำการขยายพื้นที่สำนักงาน และลงทุนในพื้นที่ทำงานที่มีคุณภาพสูงขึ้น เพื่อดึงดูดผู้มีความสามารถและเพิ่มผลผลิต แต่ในไตรมาสนี้กลับมีสัญญาณการกลับตัวของแนวโน้มนี้ บริษัทจำนวนมากได้เลือกลดค่าใช้จ่ายด้านพื้นที่สำนักงานลง ไม่ว่าจะเป็นการคืนพื้นที่บางส่วนให้กับเจ้าของอาคาร การหาผู้เช่าช่วง หรือการย้ายที่ตั้งสำนักงาน บางบริษัทใช้นโยบายการทำงานจากบ้านหรือการทำงานทางไกลเป็นหลัก   ปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้น เห็นได้จากอัตราดูดซับสุทธิที่ลดลงเป็นอย่างมาก แม้จะมีการครอบครองในระดับคงที่ก็ตาม บริษัทที่เลือกจะย้ายที่ตั้งไปยังอาคารสำนักงานที่มีราคาถูกลง หากบริษัทเหล่านี้ไม่สามารถฟื้นตัวกลับสู่ระดับก่อนวิกฤตได้ เนื่องจากการย้ายที่ตั้งสำนักงานเป็นค่าใช้จ่ายด้านทุนที่มีราคาแพง การลดพื้นที่จึงน่าจะเป็นทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับผู้ครอบครองส่วนใหญ่ภายใต้ข้อจำกัดทางการเงิน เว้นแต่พวกเขาจะหาพื้นที่รองรับการดำเนินงานในอัตราค่าเช่าที่น่าสนใจได้   ในช่วงก่อนโควิด-19 เราเริ่มเห็นสัญญาณตลาดที่อ่อนตัวลงเนื่อง จากความไม่สมดุลของจำนวนและความต้องการ ​แต่อย่างไรก็ตาม เชื่อว่า Flight to quality ยังคงเป็นตัวขับเคลื่อนการเติบโตของตลาด  เพราะสำนักงานคุณภาพมีจำนวนมากให้เลือก  อย่างไรก็ตามคาดว่าจะใช้เวลา 2-3 ปี ในการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยให้กลับไปยังระดับก่อนวิกฤต แนวทางการลดต้นทุนด้านพื้นที่สำนักงานเริ่มปรากฏให้เห็นบางแล้ว ซึ่งอาจกลายเป็นตัวขับเคลื่อนที่สำคัญสำหรับการเช่าในระยะยาว แน่นอนว่าในธุรกิจบางประเภท เช่น เทคโนโลยี อีคอมเมิร์ซ และการรักษาพยาบาล ยังมีอัตราการเติบโตอย่างมากในช่วงโควิด-19 และมีความเป็นไปได้ว่าอาจจะมีความต้องการพื้นที่สำนักงานเพิ่มขึ้น เมื่อธุรกิจเติบโต แต่อย่างไรก็ตาม ปริมาณการเช่าอาจจะไม่เพียงพอ จนชดเชยกับพื้นที่ที่ลดลงไปได้
อัพเดท ตำแหน่งคนในวงการอสังหาฯ หลังจัดองค์กรใหม่

อัพเดท ตำแหน่งคนในวงการอสังหาฯ หลังจัดองค์กรใหม่

ในวงการราชการ ช่วงเวลานี้ คงเป็นช่วงเวลาของการโยกย้าย-แต่งตั้ง รวมถึงการอำลาการทำงาน ด้วยการเกษียณอายุราชการที่กำลังจะสิ้นสุดในปลายเดือนกันยายนนี้ แต่แวดวงธุรกิจเอกชน การเปลี่ยนแปลงโยกย้าย หรือลาออกมักจะเป็นช่วงเวลาปลายปี หรือไม่ก็ต้นปี เพราะต้องรอรับโบนัสจากการทำงานมาตลอดทั้งปีก่อน   แต่สำหรับปีนี้ ดูเหมือนสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้นเร็ว และเกิดขึ้นมากมายในภาคธุรกิจเอกชน สาเหตุหนึ่งอาจจะเป็นเพราะผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจ ซึ่งชะลอตัวมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เกิดเหตุการณ์แพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทำให้องค์กรต้องรัดเข็มขัด หรือไม่ก็ต้องยอมลดจำนวนพนักงานลง เพื่อให้บริษัทยังคงไปต่อได้ แต่ก็มีหลายบริษัทที่ไปต่อไม่ไหว ต้องปิดกิจการลง ก็มีเห็นอยู่ไม่น้อย   ในแวดวงธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ช่วงเวลานี้ ก็เกิดการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ มากมาย โดยเฉพาะกับการปรับเปลี่ยนผู้บริหาร มีเข้า-ออก ปรับโครงสร้างธุรกิจ จัดทัพรับมือกับภาวะตลาดที่ชะลอตัวลง จากกำลังซื้อและภาวะเศรษฐกิจโดยรวม ข่าวคราวการปรับเปลี่ยนทีมผู้บริหารองค์กรมีมาอย่างต่อเนื่อง ในช่วงที่ผ่านมา ลองมาดูกันว่าในแวดวงคนอสังหาฯ มีใครยังอยู่ ย้ายบ้านหลังใหม่ หรือไม่ได้ไปต่อกันบ้าง พฤกษาได้เวลาผลัดใบ ดันลูกลูกหม้อบริหาร เริ่มต้น คงต้องพูดถึงค่าย “พฤกษา” ยักษ์ใหญ่ในวงการของ “ทองมา วิจิตรพงศ์พันธุ์” ที่ก่อนหน้านี้ดึงเอามือการตลาดและนักสร้างแบรนด์จากค่ายยูนิลีเวอร์ “คุณจุ๋ม - สุพัตรา เป้าเปี่ยมทรัพย์” มานั่งเก้าอี้บริหารในตำแหน่ง รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่ม บริษัท พฤกษา โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) และประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท พฤกษา เรียลเอสเตท จำกัด (มหาชน)  ยาวนาน  3 ปี  ก่อนจะมีการสละเก้าอี้ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ให้กับคุณปิยะ ประยงค์ ลูกหม้อพฤกษา ให้ขึ้นมารับหน้าที่แทน จากก่อนหน้านี้คุณปิยะ ดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจพฤกษา เรียลเอสเตท แวลู ซึ่งถือเป็นหนึ่งธุรกิจของพฤกษาเท่านั้น   โดยคุณปิยะ จะดำรงตำแหน่ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พฤกษาเรียลเอสเตท (CEO-PS)  ซึ่งปฏิบัติหน้าที่รับผิดชอบงานบริหาร ธุรกิจพฤกษาเรียลเอสเตททั้งหมด และจะรายงานตรงต่อ  คุณสุพัตรา จะเน้นบริหารจัดการธุรกิจในกลุ่มพฤกษา โฮลดิ้ง เป็นหลัก มีผลตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2563 เป็นต้นไป   เหตุผลที่ พฤกษา มีการปรับโครงสร้างการบริหารใหม่ และการแต่งตั้งผู้บริหารระดับสูงในครั้งนี้ อ้างว่าเพื่อเพิ่มศักยภาพและเป็นกลไกสำคัญในการบริหารธุรกิจต่าง ๆ ของกลุ่มบริษัทฯ ให้เข้มแข็งและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น  แต่ระยะเวลาผ่านไปไม่นาน ในช่วงกลางเดือนกันยายนที่ผ่านมา พฤกษาก็ปรับเปลี่ยนตัวผู้บริหารอีกครั้ง โดยคุณสุพัตราได้ลาออกจาก พฤกษา โดยไม่มีการระบุถึงสาเหตุที่แน่ชัด ซึ่งคุณทองมา ก็ได้จัดทำพิธีมอบช่อดอกไม้อำลา และแสดงความขอบคุณ ถือเป็นการส่งไม้ต่อการบริหารงานของพฤกษา เรียลเอสเตทให้กับปิยะ ประยงค์ ลูกหม้อพฤกษาอย่างเต็มตัว   การเปลี่ยนแปลงของพฤกษา ได้เกิดขึ้นมาตั้งแต่ช่วงประมาณเดือนเมษายนที่ผ่านมา มือบริหารที่อยู่เคียงคู่คุณทองมา มายาวนานอย่าง “ประเสริฐ แต่ดุลยสาธิต” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจพฤกษา เรียลเอสเตท - พรีเมียม บริษัท พฤกษา เรียลเอสเตท จำกัด (มหาชน) ได้โบกมืออำลาจากคุณทองมา  ไปนั่งเก้าอี้ ประธานเจ้าหน้าที่สายงานปฏิบัติการ ของบริษัท อนันดา ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน)  ตั้งแต่วันที่ 10 มิถุนายน 2563 (ช่วงที่ออกจากพฤกษาใหม่ ๆ คุณประเสริฐ ยังไปลงสมัครชิงตำแหน่งผู้ว่าการเคหะแห่งชาติด้วย แต่ไม่ได้รับการคัดเลือก)   บทบาทหน้าที่รับผิดชอบของคุณประเสริฐ กับบ้านหลังใหม่ คือ การจัดการด้านภาพรวมของผลการดำเนินงานของบริษัทฯ ทั้งธุรกิจคอนโดและบ้านจัดสรร รวมทั้งการตลาดต่างประเทศ (International Sales) และธุรกิจตัวแทนด้านอสังหาริมทรัพย์ บริษัท ดิ เอเจ้นท์ (พร็อพเพอร์ตี้ เอ๊กซ์เพิร์ท) จำกัด นอกจากนี้ ยังมีหน้าที่ดูแลการทำงานที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการก่อนการก่อสร้าง (Pre-construction)  การก่อสร้าง (Construction), การให้บริการหลังการขาย (Aftersales services) และ การตลาด (Marketing) อีกด้วย เฟรเซอร์ส จัดทัพ สู่องค์กร 1 แสนล้าน ต้องบอกว่าการดำเนินธุรกิจภายใต้นามสกุล “สิริวัฒนภักดี” เล็ก ๆ ไม่น่าจะใช่ ต้องใหญ่ ๆ เท่านั้น กลุ่มบริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ ลิมิเต็ด หรือ “FPL” ซึ่งเป็นบริษัทภายใต้การบริหารงานของ คุณปณต สิริวัฒนภักดี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (Group CEO) หนึ่งในทายาทของ “เสี่ยเจริญ สิริวัฒนภักดี” จึงต้องสร้างขนาดองค์กรให้ไม่น้อยหน้านักธุรกิจอื่น ๆ   เริ่มต้นจากการ ควบรวมเอาบริษัท แผ่นดินทอง พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) หรือ โกลเด้นแลนด์ (GOLD) เข้ามารวมอยู่ภายใต้ชายคาเดียวกัน ซึ่งตั้งแต่วันที่ 19 พฤษภาคม 2563 ที่ผ่านมาโกลด์เด้นแลนด์ ได้รับคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมด  เพื่อเพิกถอนหลักทรัพย์ของกิจการออกจากการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จากบริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ฯ ที่ได้ประกาศเริ่มรับซื้อรอบแรกในเดือนมิถุนายนปี 2562 ที่ผ่านมา เพื่อปรับกลยุทธ์ เพิ่มศักยภาพของการเชื่อมโยง ต่อยอด ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ของกลุ่มให้อยู่ในแพลตฟอร์มเดียวกัน  ที่สำคัญการรวมกันแล้ว จะทำให้บริษัท เฟรเซอร์สฯ กลายเป็นบริษัทที่มีสินทรัพย์รวมมากกว่า 100,000 ล้านบาทเลยทีเดียว   หลังจากปรับโครงสร้างธุรกิจเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ก็ถึงเวลาจัดทัพด้วยการประกาศแต่งตั้งทีมผู้บริหารต่าง ๆ ขึ้นมาดูแลรับผิดชอบงาน โดยล่าสุดคุณปณต ได้ประกาศแต่งตั้งทีมผู้บริหารใหม่ แม้บางรายจะหน้าเดิม แต่ก็มากด้วยประสบการณ์ในแวดวงอสังหาริมทรัพย์  โดยการแต่งตั้งทั้งหมดจะเริ่มมีผลตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2563  ซึ่งทีมบริหารชุดใหม่ประกอบด้วย   1.คุณธนพล ศิริธนชัย ขึ้นดำรงตำแหน่ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (Country CEO) บมจ.เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ฯ  มีผลตั้งแต่วันที่ 17 สิงหาคม 2563 และตำแหน่ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เพื่อพาณิชยกรรมหรือ “เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ คอมเมอร์เชียล” จากก่อนหน้าดำรงตำแหน่งประธานอำนวยการ โกลเด้นแลนด์    2.คุณแสนผิน สุขี ดำรงตำแหน่ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เพื่อที่อยู่อาศัย บริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ “เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ โฮม” โดยจะมีบทบาทสำคัญในการกำหนดยุทธศาสตร์ เพื่อสร้างการเติบโตอย่างต่อเนื่อง และเป็นผู้นำในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เพื่อที่อยู่อาศัยทั้งแนวราบ และแนวสูง โดยนำนวัตกรรมใหม่ ๆ มาปรับใช้เพื่อตอบโจทย์ลูกค้าได้อย่างครบครัน และมุ่งเน้นการสร้างคุณภาพชีวิตให้ผู้อยู่อาศัยได้อย่างสูงสุด ก่อนหน้านี้เคยดำรงตำแหน่ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โกลเด้นแลนด์เรสซิเดนซ์ จำกัด    3.คุณโสภณ ราชรักษา ดำรงตำแหน่ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เพื่ออุตสาหกรรม บริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ “เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ อินดัสเทรียล” เพื่อสร้างการเติบโตและรักษาสถานะผู้นำด้านการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เพื่ออุตสาหกรรมยุคใหม่ และอาคารประเภทสร้างตามความต้องการ หรือ Built-to-Suit ที่เน้นการส่งมอบโซลูชั่นเพื่อตอบโจทย์ทุกความต้องการที่หลากหลายของลูกค้าแต่ละราย จากก่อนหน้านี้เคยดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการใหญ่ เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้   4.คุณสมบูรณ์ วศินชัชวาล ให้ดำรงตำแหน่ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านการเงิน บริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) โดยจะรับหน้าที่ในการบริหารและวางกลยุทธ์ด้านการเงิน ซึ่งก่อนหน้านี้เคยดำรงตำแหน่ง กรรมการ ของโกลเด้นแลนด์ และเคยเป็นผู้บริหารของพฤกษา เรียลเอสเตท ในตำแหน่งผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ สายวางแผนการเงินมาก่อนด้วย   5.คุณศุภรัฒศ์ ศิวะเพ็ชรานาถ สิงหรา ณ อยุธยา ดำรงตำแหน่ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านเทคโนโลยี ดิจิทัล บริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) รับหน้าที่ในการบริหารงานด้านเทคโนโลยีและดิจิทัล พร้อมกำหนดกลยุทธ์ที่สอดคล้องกับการปรับเปลี่ยนของเทรนด์ในปัจจุบัน ก่อนหน้านี้เคยดำรงตำแหน่ง ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เอสทีที จีดีซี (ประเทศไทย) จำกัด ผู้จัดการทั่วไป บริษัท ทรูอินเตอร์เน็ต ดาต้า เซ็นเตอร์ จำกัด หรือ ทรูไอดีซี ประธานคณะผู้บริหาร บริษัท แอสเซนด์ กรุ๊ป จำกัด ไรมอนด์แลนด์ ดึง ดร.สุรเกียรติ์ คุมทีม  สำหรับบริษัท ไรมอน แลนด์​ จำกัด (มหาชน) ได้ประกาศแต่งตั้ง ศ.ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย อดีตรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีกระทรวงการคลัง ให้ดำรงตำแหน่ง ประธานกิตติมศักดิ์ ตั้งแต่วันที่ 26 สิงหาคม 2563 ที่ผ่านมา เพื่อเป็นผู้ให้คำปรึกษาวางกลยุทธ์ทางธุรกิจและการลงทุนใหม่ ๆ เพราะเป็นผู้ทรงคุณวุฒิ มีความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ในการช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้มีการเติบโต รวมทั้งเคยดำรงตำแหน่งประธานบริษัทให้กับองค์กรใหญ่หลายแห่ง รวมถึงเคยเป็นประธานคณะกรรมการของ บริษัท ไรมอน แลนด์ จำกัด (มหาชน) มาก่อนเป็นเวลานานกว่า 1 ปีด้วย   นอกจากนี้ ไรมอน แลนด์ ยังได้เปลี่ยนแปลงโครงสร้างการบริหารภายในใหม่ ด้วยการแต่งตั้ง คุณกรณ์ ณรงค์เดช ให้ดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายปฏิบัติการ (Chief Operating Officer) มีประสบการณ์ทางด้านการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ระดับลักซ์ชัวรี่ เคยดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าบริหารฝ่ายการตลาดกลุ่มเคพีเอ็น รองประธานกรรมการ บริษัท เคพีเอ็น แลนด์ จำกัด และเป็นผู้ที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของโครงการ ดิโพลแมท ซีรีย์ส และ เดอะ แคปปิตอล  ซีรีย์ส                         คุณมนาเทศ อันนวัฒน์ ดำรงตำแหน่ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร  ฝ่ายการตลาดและการขาย (Chief Marketing Officer-Marketing & Sales) ซึ่งมีประสบการณ์ความเชี่ยวชาญในการบริหารงานด้านการตลาด การขาย และการสื่อสารองค์กร จากองค์กรระหว่างประเทศชั้นนำหลายแห่ง และล่าสุดดำรงตำแหน่งรองกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส ศูนย์การค้า ดิ เอ็มโพเรียม และดิ เอ็มควอเทียร์ ฯลฯ  โดยจะเข้ามาดูแลรับผิดชอบงานด้านการวางแผนกลยุทธ์การตลาด การขาย การสื่อสารองค์กร และการบริหารจัดการด้านลูกค้าสัมพันธ์ แสนสิริ  ปรับลด พนักงานไม่ได้ไปต่อ ขณะที่บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) มีกระแสข่าวใหญ่ออกมา คือ การปลดพนักงานกว่า 600 คนของบริษัท พลัส พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด บริษัทในเครือแสนสิริ แม้ภายหลังคุณเศรษฐา ทวีสิน กรรมการผู้จัดการใหญ่ แสนสิริ จะออกมาปฏิเสธว่า การปลดพนักงานไม่ได้มีตัวเลขมากถึง 600 คน โดยได้ระบุข้อความผ่านทวิตเตอร์ ว่า “ขออนุญาตชี้แจงก่อนว่าเรามีการเลิกจ้าง 5% ของจำนวนพนักงานแสนสิริและพลัสทั้งหมด ตัวเลขน้อยกว่า 600 คนมากครับ ผมมองว่าเป็นเรื่องปกติของภาคธุรกิจที่ปรับการดำเนินงานให้เหมาะสมกับสถานการณ์และกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจมากกว่า ซึ่งเราเองก็ทำทุกปี” อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ แสนสิริได้มีการปรับเปลี่ยนผู้บริหารคนสำคัญ  คือ คุณวันจักร บุรณศิริ ประธานผู้บริหารสายงานการเงินและสนับสนุนธุรกิจ (CFO) ได้ขอลาออกจากบริษัท มีผลตั้งแต่วันที่ 26 สิงหาคม 2563 ที่ผ่านมา ซึ่งบริษัทได้ทำการแต่งตั้ง คุณวรางคณา อัครสถาพร  ให้ดำรงตำแหน่งประธานผู้บริหารสายงานการเงิน (CFO) โดยมีผลตั้งแต่ วันที่ 26 สิงหาคม 2563 ซึ่งก่อนหน้านี้มีตำแหน่ง  ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ อาวุโสสายงานการเงินและพัฒนาธุรกิจใหม่  และยังให้รักษาการในตำแหน่งดังกล่าวจนกว่าจะดำเนินการอบรบตามเกณฑ์ของสำนักงาน ก.ล.ต. ในเรื่องคุณสมบัติ CFO เป็นที่เรียบร้อยต่อไป
อัพเดทดอกเบี้ยรีไฟแนนซ์ บ้านและคอนโดประจำเดือนกันยายน 63

อัพเดทดอกเบี้ยรีไฟแนนซ์ บ้านและคอนโดประจำเดือนกันยายน 63

อัพเดทดอกเบี้ยรีไฟแนนซ์  สภาพเศรษฐกิจปีนี้ถือว่ายังคงชะลอตัวต่อเนื่องจากช่วงที่ผ่านมา แถมยังมาเจอการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 อีก ทำให้กำลังซื้อของผู้บริโภคส่วนใหญ่ ก็ชะลอตัวตามอย่างปฏิเสธไม่ได้ ทำให้คนส่วนใหญ่ ระมัดระวังการใช้จ่าย อะไรเซฟได้ต้องเซฟ อะไรประหยัดได้ก็ต้องประหยัด และแน่นอนว่าอะไรที่จะช่วยเพิ่มรายได้ ลดรายใจ คนส่วนใหญ่ต้องเลือกช่องทางนั้นแน่ ๆ แต่สำหรับใครยังมีหนี้สินก็คงต้องแบกรับภาระนั้นต่อไป หากยังมีรายได้มาจ่ายได้พอเพียง สำหรับคนที่ต้องผ่อนบ้านหรือคอนโด หนทางที่จะช่วยลดภาระหนี้สินให้เบาบางลง แม้อาจจะไม่มากนักในแต่ละเดือน แต่ในระยะยาวก็ถือว่า มีจำนวนมากอยู่เหมือนกัน คือ การหาแหล่งปล่อยเงินกู้ที่คิดอัตราดอกเบี้ยถูก ๆ หรือการเปลี่ยนไปใช้สถาบันการเงินอื่น ๆ ที่คิดดอกเบี้ยถูกกว่าที่ชำระอยู่ในปัจจุบัน ที่เรียกว่า รีไฟแนนซ์ นั่นเอง  ลองมาดูกันว่า ปัจจุบันนี้ แต่ละธนาคารมีการคิดอัตราดอกเบี้ย สินเชื่อสำหรับการรีไฟแนนซ์บ้าน เท่าไรกันบ้าง ธนาคารกสิกร สินเชื่อบ้านรีไฟแนนซ์ Super Save  แบบทำประกันตามเงื่อนไข ดอกเบี้ยปีที่ 1-3                                       = MRR-2.47% ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี                                   = 3.50% ดอกเบี้ยแท้จริงตลอดอายุสัญญา            = 4.12% หมายเหตุ - อัตราดอกเบี้ยลูกค้ารายย่อยชั้นดี เท่ากับ 5.97% ประกาศ ณ วันที่ 22 พ.ค.2563 ,ยื่นกู้ถึง 15 ต.ค.2563 และจดจำนองภายใน 15 ธ.ค.2563, รายละเอียดเพิ่มเติม ศึกษาได้จากธนาคารกสิกร ธนาคารกรุงไทย มีสินเชื่อให้บริการรีไฟแนนซ์ แบบคงที่ 1 ปี ผ่อนล้านละ 1,000 บาทในปีที่ 1  แบบทำประกัน      ดอกเบี้ยปีที่ 1                                           = 0.75% ดอกเบี้ยปีที่ 2-3                                      = MRR-2.70% ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี                                   = 2.60% ดอกเบี้ยแท้จริงตลอดอายุสัญญา            = 3.97% แบบคงที่ 1 ปี ผ่อนล้านละ 1,000 บาทในปีที่ 1  แบบไม่ทำประกัน ดอกเบี้ยปีที่ 1                                            = 0.75% ดอกเบี้ยปีที่ 2-3                                        = MRR-2.55% ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี                                     = 2.70% ดอกเบี้ยแท้จริงตลอดอายุสัญญา             = 4.01% แบบคงที่ 3 ปี ผ่อนล้านละ 3,500 บาทในปีที่ 1-3  แบบทำประกัน ดอกเบี้ยปีที่ 1                                             = 1.79% ดอกเบี้ยปีที่ 2-3                                        = 3.00% ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี                                     = 2.60% ดอกเบี้ยแท้จริงตลอดอายุสัญญา             = 3.99% แบบคงที่ 3 ปี ผ่อนล้านละ 3,500 บาทในปีที่ 1-3  แบบไม่ทำประกัน ดอกเบี้ยปีที่ 1                                            = 2.09% ดอกเบี้ยปีที่ 2-3                                        = 3.00% ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี                                     = 2.70% ดอกเบี้ยแท้จริงตลอดอายุสัญญา             = 4.03% แบบลอยตัว  แบบทำประกัน ดอกเบี้ยปีที่ 1-3                                        = MRR-3.72% ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี                                    = 2.50% ดอกเบี้ยแท้จริงตลอดอายุสัญญา            = 3.97% แบบลอยตัว แบบไม่ทำประกัน ดอกเบี้ยปีที่ 1-3                                       = MRR-3.62% ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี                                   = 2.60% ดอกเบี้ยแท้จริงตลอดอายุสัญญา            = 4.00% ทางเลือกแบบธนาคารออกค่าธรรมเนียมการจดจำนอง 1% แบบคงที่ 2 ปี  แบบทำประกัน ดอกเบี้ยปีที่ 1-2                                       = 2.38% ดอกเบี้ยปีที่ 3                                           = MRR-2.18% ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี                                    = 2.93% ดอกเบี้ยแท้จริงตลอดอายุสัญญา             = 4.11% แบบคงที่ 2 ปี  แบบไม่ทำประกัน ดอกเบี้ยปีที่ 1-2                                        = 2.49% ดอกเบี้ยปีที่ 3                                           = MRR-2.10% ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี                                    = 3.03% ดอกเบี้ยแท้จริงตลอดอายุสัญญา            = 4.14% แบบคงที่ 3 ปี  แบบทำประกัน ดอกเบี้ยปีที่ 1                                           = 2.00% ดอกเบี้ยปีที่ 2-3                                      = 3.40% ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี                                   = 2.93% ดอกเบี้ยแท้จริงตลอดอายุสัญญา           = 4.11% แบบคงที่ 3 ปี   แบบไม่ทำประกัน ดอกเบี้ยปีที่ 1                                           = 2.29% ดอกเบี้ยปีที่ 2-3                                      = 3.40% ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี                                  = 3.03% ดอกเบี้ยแท้จริงตลอดอายุสัญญา          = 4.14% หมายเหตุ - อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง คำนวณจากวงเงินกู้ 1 ล้านบาท อายุสัญญา 20 ปี ผ่อนชำระ 6,500 บาทต่อเดือน เงื่อนไขเป็นไปตามที่ธนาคารกำหนด, ยื่นสมัครสินเชื่อภายในวันที่ 30 ก.ย.2563 MRR = 6.22% ประกาศ ณ วันที่ 30 ก.ย.2563 รายละเอียดเพิ่มเติม ศึกษารายละเอียดกับธนาคารกรุงไทย ธนาคารกรุงศรีอยุธยา แบบวงเงิน 1 ล้านบาทแต่ไม่ถึง 1.5 ล้านบาท วงเงินกู้สูงสุด 95% ของราคาประเมิน ทางเลือก 1 ดอกเบี้ยปีที่ 1                                         = 0.75% ดอกเบี้ยปีที่ 2-3                                     = MRR-1.85% ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี                                  = 3.05% ดอกเบี้ยแท้จริงตลอดอายุสัญญา          = 3.55% ทางเลือก 2 ดอกเบี้ยปีที่ 1-2                                      = 2.90% ดอกเบี้ยปีที่ 3                                         = MRR-3.15% ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี                                  = 2.90% ดอกเบี้ยแท้จริงตลอดอายุสัญญา          = 3.55% ทางเลือก 3  ฟรีค่าจดจำนอง ดอกเบี้ยปีที่ 1                                          = 0.50% ดอกเบี้ยปีที่ 2-3                                      = MRR-1.35% ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี                                   = 3.30% ดอกเบี้ยแท้จริงตลอดอายุสัญญา           = 3.66% แบบวงเงิน 1.5 ล้านบาท วงเงินกู้สูงสุด 95% ของราคาประเมิน ทางเลือก 1 ดอกเบี้ยปีที่ 1                                           = 0.75% ดอกเบี้ยปีที่ 2-3                                      = MRR-2.15% ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี                                   = 2.85% ดอกเบี้ยแท้จริงตลอดอายุสัญญา           = 3.45% ทางเลือก 2 ดอกเบี้ยปีที่ 1                                           = 1.75% ดอกเบี้ยปีที่ 2                                          = 2.20% ดอกเบี้ยปีที่ 3                                          = MRR-1.75% ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี                                   = 2.75% ดอกเบี้ยแท้จริงตลอดอายุสัญญา           = 3.40% ทางเลือก 3 ดอกเบี้ยปีที่ 1-3                                       = MRR-2.90% ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี                                   = 3.15% ดอกเบี้ยแท้จริงตลอดอายุสัญญา           = 3.15% ทางเลือก 4 ฟรีค่าจดจำนอง ดอกเบี้ยปีที่ 1                                          = 0.50% ดอกเบี้ยปีที่ 2-3                                      = MRR-16.5% ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี                                   = 3.10% ดอกเบี้ยแท้จริงตลอดอายุสัญญา           = 3.57% หมายเหตุ -ฟรีค่าธรรมเนียมสำรวจและประเมินหลักประกัน,ฟรีค่าจดจำนอง เมื่อซื้อประกันตามเงื่อนไข  ฟรีค่าประเมินหลักประกัน มูลค่า 3,210 บาท รายละเอียดอื่น ๆ ศึกษาเพิ่มเติมกับธนาคารกรุงศรี เกียรตินาคิน มีสินเชื่อสำหรับการรีไฟแนนซ์ให้ลูกค้าได้เลือก 4 แบบ ได้แก่ สินเชื่อบ้าน รีไฟแนนซ์ แบบลอยตัว  ทำประกัน ฟรีค่าประเมิน ดอกเบี้ยปีที่ 1-3                                        = 2.515%-2.625% (MLR-4.01)-(MLR-3.91) ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี                                    = 2.515%-2.625% (MLR-4.01)-(MLR-3.91) ดอกเบี้ยแท้จริงตลอดอายุสัญญา            = 4.502% (MLR-1.75%) สินเชื่อบ้าน รีไฟแนนซ์ แบบลอยตัว  ไม่ทำประกัน ฟรีค่าประเมิน ดอกเบี้ยปีที่ 1-3                                       = 2.775%-2.875% (MLR-3.75%)-(MLR-3.65%) ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี                                    = 2.775%-2.875% (MLR-3.75%)-(MLR-3.65%) ดอกเบี้ยแท้จริงตลอดอายุสัญญา            = 4.502% (MLR-1.75%) สินเชื่อบ้าน รีไฟแนนซ์ แบบคงที่ 5 ปี ทำประกัน ฟรีค่าประเมินและค่าจำนอง ดอกเบี้ยปีที่ 1-2                                         = 2.79%-2.89% ดอกเบี้ยปีที่ 3                                            = 3.79%-3.89% ดอกเบี้ยปีที่ 4-5                                        = 4.39% ดอกเบี้ยแท้จริงตลอดอายุสัญญา            = 4.502% (MLR-1.75%) สินเชื่อบ้าน รีไฟแนนซ์ แบบคงที่ 5 ปี ไม่ทำประกัน ฟรีค่าประเมินและค่าจำนอง ดอกเบี้ยปีที่ 1-2                                       = 3.05%-3.15% ดอกเบี้ยปีที่ 3                                          = 4.05%-4.15% ดอกเบี้ยปีที่ 4-5                                      = 4.39% ดอกเบี้ยแท้จริงตลอดอายุสัญญา           = 4.502% (MLR-1.75%) หมายเหตุ – วงเงินคงเหลือต้องมากกว่า 5 แสนบาท,  มีประวัติผ่อนชำระกับสถาบันการเงินเดิมไม่ต่ำกว่า 12 เดือน  MLR อัตรา 6.525% ประกาศ ณ 25 พ.ค.2653 ,ค่าจดจำนองที่ธนาคารออกให้สูงสุดไม่เกิน 1 แสนบาท ,รายละเอียดอื่นๆ เพิ่มเติม ติดต่อธนาคารเกียรตินาคิน ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย สินเชื่อรีไฟแนนซ์และขอเงินเพิ่ม สำหรับพนักงานประจำรายได้ 30,000 บาท ทางเลือกที่ 1 ทำประกันชีวิต ดอกเบี้ยปีที่ 1-3                                        = 3.79 %  (MRR-3.56%) ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี                                    = 3.79% ดอกเบี้ยแท้จริงตลอดอายุสัญญา            = 4.95% ไม่ทำประกันชีวิต ดอกเบี้ยปีที่ 1-3                                        = 4.09%  (MRR-3.26%) ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี                                    = 4.09% ดอกเบี้ยแท้จริงตลอดอายุสัญญา            = 5.03% สินเชื่อรีไฟแนนซ์และขอเงินเพิ่ม สำหรับพนักงานประจำรายได้ 15,000 บาท หรือเจ้าของกิจการ รายได้30,000 บาท ทางเลือกที่ 2 ทำประกันชีวิต ดอกเบี้ยปีที่ 1-3                                        = 4.09 %  (MRR-3.26%) ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี                                    = 4.09% ดอกเบี้ยแท้จริงตลอดอายุสัญญา            = 5.03% ไม่ทำประกันชีวิต ดอกเบี้ยปีที่ 1-3                                       = 4.39%  (MRR-2.96%) ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี                                   = 4.39% ดอกเบี้ยแท้จริงตลอดอายุสัญญา            = 5.11% หมายเหตุ - MRR = 7.35% ประกาศ ณ 10 เม.ย.2563 ,อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงคำนวณจากวงเงินกู้ 2 ล้านบาท ระยะเวลา 15 ปี ประเภทหลักประกัน ได้แก่ บ้านเดี่ยว บ้านแฝด ทาวน์เฮ้าส์ ทาวน์โฮม และคอนโด  ยกเว้น อาคารพาณิชย์, รายละเอียดอื่น ๆ เพิ่มเติม ติดต่อธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย ธนาคารทีเอ็มบี สินเชื่อบ้าน ทีเอ็มบี รีไฟแนนซ์ มีให้เลือก 2 แบบ ได้แก่ แบบสมัครพร้อมผลิตภัณฑ์เสริม 3 ประเภท เลือกรับฟรี ค่าจดทะเบียนจำนอง ค่าเบี้ยประกันอัคคีภัย และค่าประเมินราคาหลักทรัพย์ ดอกเบี้ยปีที่ 1-3                                         = 3.05% (MRR-3.23%) ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี                                     = 3.05% ดอกเบี้ยแท้จริงตลอดอายุสัญญา*           = 4.12% แบบสมัครพร้อมผลิตภัณฑ์เสริม 3 ประเภท เลือกรับฟรีค่าเบี้ยประกันอัคคีภัย และค่าประเมินราคาหลักทรัพย์ ดอกเบี้ยปีที่ 1-3                                         = 2.70% (MRR-3.58%) ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี                                     = 2.70% ดอกเบี้ยแท้จริงตลอดอายุสัญญา*           = 4.00% แบบสมัครผลิตภัณฑ์เสริมไม่ครบทั้ง 3 ประเภท เลือกรับฟรีค่าเบี้ยประกันอัคคีภัย และค่าประเมินราคาหลักทรัพย์ ดอกเบี้ยปีที่ 1-3                                         = 3.65% (MRR-2.63%) ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี                                     = 3.65% ดอกเบี้ยแท้จริงตลอดอายุสัญญา*           = 4.49% หมายเหตุ -ผลิตภัณฑ์ทั้ง 3 ประเภท ได้แก่ 1.ประกันชีวิตคุ้มครองสินเชื่อ ทีเอ็มบีคุ้มบ้าน 2.หักบัญชีอัตโนมัติผ่านบัญชีออมทรัพย์ทีเอ็มบี เพื่อผ่อนชำระสินเชื่อบ้าน 3.สมัครบัตรเดบิต -MRR = 6.28% ณ วันที่ 1 มิ.ย.2563, -*คำนวณจากเงินกู้ 3 ล้านบาท ระยะเวลา 20 ปี -ฟรีประกันอัคคีภัย ธนาคารจ่ายให้ตามมูลค่าเบี้ยประกันภัย ประมาณ​1,000 บาท ต่อปี ต่อราคาบ้าน 1 ล้านบาท -ฟรีค่าจดทะเบียนจำนอง ธนาคารจ่ายให้ 1% ของเงินกู้สูงสุด 2 แสนบาท สำหรับกรณีซื้อบ้านจากบริษัทอสังหาริมทรัพย์ที่ธนาคารกำหนด -รายละเอียดอื่น ๆ ติดต่อธนาคารทีเอ็มบี ธนาคารธอส. สินเชื่อบ้านสุขสันต์ ดอกเบี้ยปีที่ 1                                             = 2.45% ดอกเบี้ยปีที่ 2                                            = 2.95% ดอกเบี้ยปีที่ 3                                            = 3.45% (MRR-2.70%) ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี                                     = 2.95% ดอกเบี้ยปีที่ 4 เป็นต้นไป                           = 5.65% (MRR-0.5%) หมายเหตุ - กรณีลูกค้ารายย่อยทั่วไป ,ยกเว้นค่าธรรมเนียมการยื่นกู้ 0.1% ของวงเงินทำนิติกรรม ยกเว้นค่าจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม 1,000 บาท ,MRR ลูกค้ารายย่อยชั้นดี 6.15% ธนาคารไทยพาณิชย์ มีทางเลือกสำหรับการขอสินเชื่อวงเงินกู้บ้านรีไฟแนนซ์จากสถาบันการเงินอื่น 2 แบบ แบบทำประกันคุ้มครองสินเชื่อ  (Credit Life) มากกว่าหรือเท่ากับ 70% ของวงเงินกู้ ดอกเบี้ยปีที่ 1-3                                        = 4.90% ดอกเบี้ยปีต่อไป                                        = MRR-0.72% ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี                                    = 4.90% ดอกเบี้ยแท้จริงตลอดอายุสัญญา            = 5.174% แบบไม่ทำประกันคุ้มครองสินเชื่อ  (Credit Life) ดอกเบี้ยปีที่ 1-3                                        = 5.15% ดอกเบี้ยปีต่อไป                                        = MRR-0.72% ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี                                    = 5.15% ดอกเบี้ยแท้จริงตลอดอายุสัญญา            = 5.242% หมายเหตุ – อัตราดอกเบี้ย MRR = 5.995% เริ่มใช้ตั้งแต่​วันที่ 22 พ.ค. 2563, รายละเอียดเพิ่มเติมอื่น ๆ ศึกษาจากธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารออมสิน ธนาคารออมสินมีสินเชื่อบ้านรีไฟแนนซ์ GSB Home Loan ให้เลือก 2  แบบ แบบผู้กู้ ทำประกันชีวิต ดอกเบี้ยปีที่ 1                                            = 1.50% ดอกเบี้ยปีที่ 2                                           = 2.70% (MRR-3.545%) ดอกเบี้ยปีที่ 3                                           = 3.55% (MRR-2.695%) ดอกเบี้ยปีที่ 4 เป็นต้นไป                          = 4.87% (MRR-1.375%) ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี                                    = 2.583% ดอกเบี้ยแท้จริงตลอดอายุสัญญา            = 4.027% แบบผู้กู้ ไม่ทำประกันชีวิต ดอกเบี้ยเดือนที่ 1-6                                  = 1.50% ดอกเบี้ยเดือนที่ 7-12                                = 2.25% (MRR-3.995%) ดอกเบี้ยปีที่ 2                                           = 3.05% (MRR-3.195%) ดอกเบี้ยปีที่ 3                                           = 4.05% (MRR-2.195%) ดอกเบี้ยปีที่ 4 เป็นต้นไป                          = 5.37% (MRR-0.875%) ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี                                    = 2.992% ดอกเบี้ยแท้จริงตลอดอายุสัญญา            = 4.477% หมายเหตุ – จัดทำนิติกรรมสัญญาให้แล้วเสร็จภายใน 30 ก.ย. 2563 ฟรีค่าบริการสินเชื่อ ค่านิติกรรมสัญญา สำหรับวงเงินกู้ 1.5 ล้านบาท, ดอกเบี้ยแท้จริงคำนวณจาก วงเงินกู้ 1 ล้านบาท ระยะเวลาผ่อน 30 ปี, รายละเอียดอื่น ๆ เพิ่มเติม ติดต่อธนาคาออมสิน ธนาคาร แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ มีสินเชื่อรีไฟแนนซ์ 2 แบบ ให้ลูกค้าได้เลือก แบบที่ 1 สำหรับผู้กู้รายได้ตั้งแต่ 75,000 ต่อเดือนขึ้นไป แบบบ 1.1 ดอกเบี้ยปีที่ 1                                            = 0.59% (MRR-6.76%) ดอกเบี้ยปี 2-3                                          = 3.53% (MRR-3.82%) ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี                                    = 2.55% ดอกเบี้ยปีที่ 4 เป็นต้นไป                          = 5.10% (MRR-2.25%) ดอกเบี้ยแท้จริงตลอดอายุสัญญา            = 3.50% แบบบ 1.2 ดอกเบี้ยปีที่ 1                                            = 0.79% ผ่อนล้านละ 3,500 บาทในปีแรก ดอกเบี้ยปี 2-3                                          = 3.58% (MRR-3.77%) ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี                                    = 2.65% ดอกเบี้ยปีที่ 4 เป็นต้นไป                          = 5.10% (MRR-2.25%) ดอกเบี้ยแท้จริงตลอดอายุสัญญา            = 3.57% แบบบ 1.3 ดอกเบี้ยปีที่ 1-2                                        = 1.90% (MRR-5.45%) ดอกเบี้ยปีที่    3                                        = 3.70% (MRR-3.65%) ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี                                    = 2.50% ดอกเบี้ยปีที่ 4 เป็นต้นไป                          = 5.10% (MRR-2.25%) ดอกเบี้ยแท้จริงตลอดอายุสัญญา            = 3.51% แบบบ 1.4 ดอกเบี้ยปีที่ 1-2  คงที่                              = 2.00% (ผ่อนล้านละ 3,500 ใน 2 ปีแรก) ดอกเบี้ยปีที่  3                                          = 3.80% (MRR-3.55%) ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี                                    = 2.60% ดอกเบี้ยปีที่ 4 เป็นต้นไป                          = 5.10% (MRR-2.25%) ดอกเบี้ยแท้จริงตลอดอายุสัญญา            = 3.57% แบบที่ 2 ผู้กู้รายได้ 20,000 บาทต่อเดือนขึ้นไป แบบบ 2.1 ดอกเบี้ยปีที่ 1                                           = 0.79% (MRR-6.56%) ดอกเบี้ยปี 2-3                                          = 3.58% (MRR-3.77%) ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี                                    = 2.65% ดอกเบี้ยปีที่ 4 เป็นต้นไป                          = 5.10% (MRR-2.25%) ดอกเบี้ยแท้จริงตลอดอายุสัญญา            = 3.57% แบบบ 2.2 ดอกเบี้ยปีที่ 1                                            = 0.99% ผ่อนล้านละ 3,500 บาทในปีแรก ดอกเบี้ยปี 2-3                                          = 3.63% (MRR-3.72%) ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี                                    = 2.75% ดอกเบี้ยปีที่ 4 เป็นต้นไป                          = 5.10% (MRR-2.25%) ดอกเบี้ยแท้จริงตลอดอายุสัญญา            = 3.64% แบบบ 2.3 ดอกเบี้ยปีที่ 1-2                                        = 2.00% (MRR-5.35%) ดอกเบี้ยปีที่    3                                        = 3.80% (MRR-3.55%) ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี                                    = 2.60% ดอกเบี้ยปีที่ 4 เป็นต้นไป                          = 5.10% (MRR-2.25%) ดอกเบี้ยแท้จริงตลอดอายุสัญญา            = 3.57% แบบบ 2.4 ดอกเบี้ยปีที่ 1-2  คงที่                              = 2.10% (ผ่อนล้านละ 3,500 ใน 2 ปีแรก) ดอกเบี้ยปีที่  3                                          = 3.90% (MRR-3.45%) ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี                                    = 2.70% ดอกเบี้ยปีที่ 4 เป็นต้นไป                          = 5.10% (MRR-2.25%) ดอกเบี้ยแท้จริงตลอดอายุสัญญา            = 3.64% หมายเหตุ- กรณีทำประกันคุ้มครองวงเงินสินเชื่อ ธนาคารทดรองจ่ายค่าจดจำนองให้ 1% ของวงเงินกู้อนุมัติ หรือสูงสุดไม่เกิน 2 แสนบาท , MRR เท่ากับ 7.350  ประกาศ ณ 14 เม.ย.2563 อัตราดอกเบี้ยถึง 30 ก.ย.2563 , เงื่อนไขเป็นไปตามที่ธนาคารกำหนด ,รายละเอียดเพิ่มเติมศึกษาข้อมูลกับธนาคารแลนด์แอนด์เฮ้าส์ ธนาคารยูโอบี สำหรับธนาคารยูโอบี เสนอสินเชื่อรีไฟแนนซ์ สำหรับลูกค้าที่ยื่นคำขอสินเชื่อ ตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค.-30 ก.ย.63 และจดจำนองหลักประกันกับธนาคารภายในวันที่ 31 ต.ค.63 สินเชื่อรีไฟแนนซ์ (UOB Home Loan) ไม่รวมวงเงินกู้เพิ่มอเนกประสงค์ วงเงินกู้สูงสุด 100% ของราคาประเมิน ขึ้นอยู่กับรายได้ ประเภทของลูกค้า ประเทศและที่ตั้งของหลักประกัน ราคาหลักประกัน และจำนวนสัญญากู้สินเพื่อที่อยูอาศัยของลูกค้า  สำหรับวงเงินกู้อนุมัติตั้งแต่ 5 แสนบาทสูงสุดถึง 50 ล้านบาท ขึ้นอยู่กับที่ตั้งของหลักประกัน โดยมี 4 ทางเลือกให้ลูกค้า ดังนี้ 1.ทำประกันชีวิตคุ้มครองวงเงินสินเชื่อ* ดอกเบี้ยปีที่ 1-3                                 = 2.89% ปีที่ 4 เป็นต้นไป                                 = MRR-1.60% อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี                    = 2.89% ดอกเบี้ยแท้จริงตลอดอายุสัญญา     = 4.60% 2.ไม่ทำประกันชีวิตคุ้มครองวงเงินสินเชื่อ ดอกเบี้ยปีที่ 1-3                                 = 2.99% ปีที่ 4 เป็นต้นไป                                 = MRR-1.60% อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี                    = 2.99% ดอกเบี้ยแท้จริงตลอดอายุสัญญา      = 4.64% 3.ทำประกันชีวิตคุ้มครองวงเงินสินเชื่อ ดอกเบี้ยปีที่ 1-2                                = 1.99% ดอกเบี้ยปีที่ 3                                   = 4.99% ปีที่ 4 เป็นต้นไป                                = MRR-1.60% อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี                   = 2.99% ดอกเบี้ยแท้จริงตลอดอายุสัญญา    = 4.60% 4.ไม่ทำประกันชีวิตคุ้มครองวงเงินสินเชื่อ ดอกเบี้ยปีที่ 1-2                                = 2.09% ดอกเบี้ยปีที่ 3                                   = 5.09% ปีที่ 4 เป็นต้นไป                                = MRR-1.60% อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี                   = 3.09% ดอกเบี้ยแท้จริงตลอดอายุสัญญา    = 4.64% หมายเหตุ *อัตราดอกเบี้ยแบบทำประกันชีวิตคุ้มครองวงเงินสินเชื่อ ผ่านธนาคารยูโอบี ทุนประกันเต็มวงเงินกู้ และมีระยะเวลาเอาประกันขั้นต่ำ 10 ปี หรือ ทุนประกันขั้นต่ำ 80% ของวงเงินกู้ และมีระยะเวลาเอาประกันเต็มตามระยะเวลากู้ -อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา สำหรับวงเงิน 1 ล้านบาท อายุสัญญา 15 ปี MRR = 7.35% ต่อปี อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงข้างต้นเป็นเพียงตัวอย่างที่คำนวณตามเงื่อนไขที่ใช้ในสื่อโฆษณาเท่านั้น  อัตราดอกเบี้ยสำหรับการทำสัญญากู้ยืมของลูกค้าแต่ละรายอาจมีความแตกต่างกันตามเงื่อนไขการกู้ยืมของลูกค้าแต่ละราย -รายละเอียดอื่น ๆ ศึกษากับธนาคารยูโอบี สินเชื่อรีไฟแนนซ์ (UOB Home Loan) รวมวงเงินกู้เพิ่มอเนกประสงค์ วงเงินกู้รีไฟแนนซ์ + ส่วนกู้เพิ่ม ต้องไม่เกิน 95% ของราคาประเมิน ขึ้นอยู่กับรายได้ ประเภทลูกค้า ประเภทและที่ตั้งของหลักประกัน ราคาหลักประกัน จำนวนสัญญากู้สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยของลูกค้า มี 2 ทางเลือกให้กับลูกค้า คือ 1.ทำประกันชีวิตคุ้มครองวงเงินสินเชื่อ ดอกเบี้ยปีที่ 1-3                                = 3.29% ปีที่ 4 เป็นต้นไป                                = MRR-1.60% อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี                   = 3.29% ดอกเบี้ยแท้จริงตลอดอายุสัญญา    = 4.77% 2.ไม่ทำประกันชีวิตคุ้มครองวงเงินสินเชื่อ ดอกเบี้ยปีที่ 1-3                                = 3.49% ปีที่ 4 เป็นต้นไป                                = MRR-1.60% อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี                   = 3.49% ดอกเบี้ยแท้จริงตลอดอายุสัญญา    = 4.85% หมายเหตุ *อัตราดอกเบี้ยแบบทำประกันชีวิตคุ้มครองวงเงินสินเชื่อ ผ่านธนาคารยูโอบี ทุนประกันเต็มวงเงินกู้ และมีระยะเวลาเอาประกันขั้นต่ำ 10 ปี หรือ ทุนประกันขั้นต่ำ 80% ของวงเงินกู้ และมีระยะเวลาเอาประกันเต็มตามระยะเวลากู้ -อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา สำหรับวงเงิน 1 ล้านบาท อายุสัญญา 15 ปี MRR = 7.35% ต่อปี อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงข้างต้นเป็นเพียงตัวอย่างที่คำนวณตามเงื่อนไขที่ใช้ในสื่อโฆษณาเท่านั้น  อัตราดอกเบี้ยสำหรับการทำสัญญากู้ยืมของลูกค้าแต่ละรายอาจมีความแตกต่างกันตามเงื่อนไขการกู้ยืมของลูกค้าแต่ละราย -อัตราดอกเบี้ยนี้สำหรับวงเงินกู้เพิ่มไม่เกิน 50% ของวงเงินกู้รวม ทั้งนี้ ไม่นับรวมวงเงินสินเชื่อเพื่อชำระเบี้ยประกันชีวิตคุ้มครองวงเงินสินเชื่อ -รายละเอียดอื่น ๆ ศึกษาข้อมูลกับธนาคารยูโอบี   บทความที่เกี่ยวข้อง อัพเดทดอกเบี้ยกู้ซื้อบ้าน และคอนโด ประจำเดือนสิงหาคม 63
10 บิ๊กอสังหาฯ ทำกำไรได้สูงสุด ในสถานการณ์ไวรัสโควิด-19

10 บิ๊กอสังหาฯ ทำกำไรได้สูงสุด ในสถานการณ์ไวรัสโควิด-19

แม้ว่าในช่วงไตรมาส 2 ที่ผ่านมา บริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ส่วนใหญ่ จะสามารถสร้างผลงาน ให้ยังมีรายได้กลับเข้ามา ในภาวะวิกฤตที่ต้องเผชิญกับปัญหาการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 แต่ดูเหมือนว่าผู้ประกอบการ ต้องลงแรงทำงานกันหนักมากขึ้นกว่าปกติ    เพื่อกระตุ้นให้ลูกค้าเกิดความต้องการซื้อบ้านและคอนโดมิเนียม โดยเฉพาะการลดราคาสินค้า จัดโปรโมชั่นอยู่ฟรี ส่งผลให้ตัวเลขค่าใช้จ่ายทางการตลาดหลายบริษัทเพิ่มมากขึ้น เมื่อบวกลบคูณหารกับตัวเลขรายได้ในธุรกิจอื่น ๆ หรือค่าใช้จ่ายด้านอื่นด้วย อัตรากำไรของหลายบริษัทจึงลดน้อยลงอย่างปฎิเสธไม่ได้   จากการรวบรวมข้อมูลบริษัทมหาชน (บมจ.) ซึ่งดำเนินธุรกิจหลักด้านการพัฒนาที่อยู่อาศัย ซึ่งจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์จำนวน 31 บริษัท พบว่า มีกำไรจากการดำเนินงานของทั้ง 31 บริษัท ลดลงอย่างมากถึง 48.72% โดยกำไรสุทธิที่ทำได้ในไตรมาสที่ 2 ของปีนี้มีจำนวน 5,025.19 ล้านบาท จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้ามีกำไรสุทธิ 9,715.31 ล้านบาท กำไรส่วนหนึ่งที่ลดลง เป็นผลจากมี 11 บริษัทประสบภาวะขาดทุนในช่วงไตรมาสที่ 2 10 บิ๊กอสังหาฯ กำไรลดกว่า 5% สำหรับบริษัทอสังหาฯ รายใหญ่ 10 อันดับแรก ในช่วงไตรมาส 2 ที่ผ่านมา มีอัตรากำไรรวม 6,478.63 ล้านบาท ลดลง 5.10% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไร 6,826.71 ล้านบาท โดย 10 บริษัทแรกที่มีอัตรากำไรสุทธิสูงสุด ได้แก่ 1.แลนด์แอนด์เฮ้าส์ มีกำไรสุทธิ จำนวน 1,386.28 ล้านบาท  ลดลง 25.24% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ จำนวน 1,854.30 ล้านบาท   สำหรับสาเหตุที่กำไรลดลง เกิดจาก -บริษัทมีรายได้จากการขายเท่ากับ 7,230.22 ล้านบาท ในขณะที่งวดเดียวกันของปีก่อนมีรายได้จากการขายเท่ากับ 6,539.03 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจำนวน 691.19 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 10.57%   - บริษัทฯ มีอัตรากำไรขั้นต้นจากการขายเท่ากับ  31.00%  ในขณะที่งวดเดียวกันของปีก่อน มีอัตรากำไรขั้นต้น จากการเขายเท่ากับ 31.94% อัตราขั้นต้นลดลง​ 0.94% เป็นผลมาจากการแข่งขันที่สูงขึ้น และสถานการณ์ไวรัสโควิด-19   -นอกจากนี้ บริษัทยังได้รับผลกระทบจาก กำไรขั้นต้นจากรายได้ค่าเช่า และค่าบริการที่ลดลงจานวน 504.48 ล้านบาทจาก การให้บริการของกิจการโรงแรมในเครือเป็นการชั่วคราวด้วย 2.เอพี (ไทยแลนด์) มีกำไรสุทธิ จำนวน 1,214.61ล้านบาท เพิ่มขึ้น 149.35% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ จำนวน 487.09 ล้านบาท สาเหตุสำคัญที่ทำให้ เอพี (ไทยแลนด์) รักษาอัตรากำไรให้เติบโตได้ เป็นผลมาจาก -การทำรายได้เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะโครงการแนวราบ ซึ่งเติบโตทําสถิติสูงสุดถึง​ 6,732 ล้านบาท ​เพิ่มขึ้น 107.9% จากปีก่อน  โดยเป็นสัดส่วนรายได้ที่ใกล้เคียงกัน ระหว่าง ทาวเฮาส์และบ้านเดี่ยว   -การให้ความสำคัญกับการควบคุมค่าใช้จ่ายในการขาย และ​บริหาร ​โดยในไตรมาส 2 ที่ผ่านมา บริษัทค่าใช้จ่ายในการขายและการบริหารอยู่ที่ 1,516 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 19.5% ของรายได้ (ไม่รวมโครงการร่วมทุน) โดยลดลง 4.4% จากปีก่อน เนื่องจากค่าใช้จ่ายใน การขายและบริหารครอบคลุมการดําเนินงานของโครงการร่วมทุน เมื่อคิดรวมรายได้​ 51% จาก โครงการร่วมทุนอตัราส่วนค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร ณ ไตรมาส 2 จะลดลงไปอยู่ 16.4% (ลดลง 5.8% จากปีก่อน) 3.ควอลิตี้ เฮ้าส์ มีกำไรสุทธิ จำนวน 968.58 ล้านบาท ลดลง 33.77% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ จำนวน 1,462.40 ล้านบาท   สาเหตุหลักที่ทำให้ ควอลิตี้ เฮ้าส์ มีกำไรลดลง ทั้ง ๆ ที่รายได้จากการขายเพิ่มขึ้น เป็นเพราะบริษัท มีส่วนแบ่งกำไรจากเงินลงทุนในบริษัทร่วม ลดลง และกำไรขั้นต้นจากธุรกิจโรงแรมลดลงจำนวน 112 ล้านบาท   รวมถึงผลกระทบจากรายได้ในธุรกิจอื่น ๆ เช่น ธุรกิจโรงแรม ศูนย์การค้า ลดลงด้วย 4.ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ มีกำไรสุทธิ จำนวน 707.07 ล้านบาท ลดลง 4.08% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ จำนวน 737.16 ล้านบาท   บริษัทยังคงรักษาอัตรากำไรได้ใกล้เคียงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน แม้มีปัญหาไวรัสโควิด-19  เนื่องจากมีการรับรู้กำไรจากโครงการร่วมทุน  กับบริษัท โนมูระ เรียลเอสเตท ดีเวลล็อปเมนท์ จํากัด ต่อเนื่องจากไตรมาสแรกของปีนี้  รวมทั้งบริษัทยังคงให้ความสําคัญกับการบริหารและควบคุมค่าใช้จ่ายให้เกิดประสิทธิภาพ​ 5.เอสซีแอสเสท คอร์ปอเรชั่น มีกำไรสุทธิ จำนวน 454.20 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 62.53% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ จำนวน 279.46 ล้านบาท   เหตุผลสำคัญที่ทำให้ เอสซีแอสเสท คอร์ปอเรชั่น มีอัตรากำไรสุทธิพิ่มขึ้น มาจากรายได้จากขายที่เพิ่มมากขึ้น เพราะลูกค้ามีความต้องการบ้านเพิ่มขึ้น  ทำสถิติยอดขายรายไตรมาสสูงสุดในช่วงไตรมาส 2/63  โดยมียอดขายรวม 6,220 ล้านบาท เติบโต 47% (YoY) ทั้งนี้มาจากยอดขายแนวราบ 5,652 ล้านบาท เติบโตพุ่งถึง 116% (YoY) 6.ศุภาลัย มีกำไรสุทธิ จำนวน 423.30 ล้านบาท ลดลง 45.53% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ จำนวน 777.15 ล้านบาท   กำไรที่ลดลงมาจาก รายได้จากการโอนกรรมสิทธิในช่วงไตรมาส 2 ลดลง 32% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และเกิดจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคไวรัสโควิด-19 7.เฟรเซอร์ พร็อพเพอร์ตี้ (ประเทศไทย) มีกำไรสุทธิ จำนวน 398.69 ล้านบาท ลดลง​49.99%จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ จำนวน 797.29 ล้านบาท   เหตุผลสำคัญเกิดจาก บริษัทมีค่าใช้จ่ายรวมจำนวน 4,421.54 ล้านาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 13.1%  เป็นจำนวน 510.28 ล้านบาท จากสาเหตุ -ต้นทุนขายอสังหาริมทรัพย์ เพิ่มขึ้นเป็นจานวนเงิน 536.51 ล้านบาท พรือเพิ่มขึ้น 23.9% เพิ่มมากกว่าการเพิ่มขึ้นของรายได้จาการขายอสังหาริมทรัพย์เนื่องจากการปรับลดราคาและการส่งเสริมการขาย   -ค่าใช้จ่ายในการบริหารเพิ่มขึ้นเป็นจานวนเงิน 65.84 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 10.6% เป็นผลจากรับรู้ขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน 106 ล้านบาท แต่ในไตรมาสนี้ กลุ่มบริษัท ได้รับส่วนลดภาษีที่ดิน 90% คิดเป็น จำนวนเงิน 26.76 ล้านบาท   อย่างไรก็ตาม กำไรสุทธิในส่วนของผู้ถือหุ้นของบริษัท  ในไตรมาสที่ 3 ปี 2563 จำนวน 384.54 ล้านบาทนั้น เพิ่มขึ้น จากช่วงเวลาเดียวกันจำนวน 110.28 ล้านบาทหรือเพิ่มขึ้น 40.2% จากการรวมผลการดำเนินงานของบริษัท แผ่นดินทอง พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) หรือ GOLD ในงวดปีนี้ 8.ลลิล พร็อพเพอร์ตี้ มีกำไรสุทธิ จำนวน 395.83 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 164.26% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ จำนวน 149.79 ล้านบาท   สาเหตุสำคัญของบริษัทที่มีกำไรเพิ่มขึ้น เกิดจาก -รายได้จากการขายที่เพิ่มขึ้น จากรายได้  864.93  ล้านบาท ในช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็น 1,301.08 ล้านบาท ซึ่งเป็นไปตามแผนการวางกลยุทธ์ธุรกิจ  การวางแผนด้านการขายและการตลาดได้ดี   -กำไรจากการถูกเวนคืน  ในไตรมาส 2 ปี 2563 บริษัทมีการบันทึกกำไรที่เกิดจากการที่มีโคงการขายของบริษัทถูกเวนคืน ซึ่งมีกำไรก่อนภาษีเงินได้ ทั้งสิ้น 155.66 ล้านบาท ค่าใช่จ่ายในการขาย และบริหาร ปรับเพิ่มขึ้นต่ำกว่า รายได้จากการขายที่เพิ่มขึ้นสูงมาก ซึ่งค่าใช้จ่ายจากการขายและบริหารเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเพียง 5.57% แต่รายได้เพิ่มขึ้น 50.43%   -ค่าใช้จ่ายทางด้านการเงินที่ลดลง  ในไตรมาส 2 ที่ผ่านมา มีค่าใช้จ่ายด้านการเงินเท่ากับ  3.75 ล้านบาท ลดลง จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มี   5.62 ล้านบาท 9.โนเบิล ดีเวลลอปเมนท์ มีกำไรสุทธิ จำนวน 303.38 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 84.46% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ จำนวน 164.47 ล้านบาท   สาเหตุสำคัญ คือ การโอนกรรมสิทธิ์ในช่วงไตรมาส 2 ของปีนี้ ที่มีจำนวนมากขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา ทำให้อัตรากำไรเพิ่มสูงขึ้น 10.เสนา ดีเวลลอปเมนท์ มีกำไรสุทธิ จำนวน 226.69 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 92.76% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ จำนวน 117.60 ล้านบาท   สาเหตุที่ทำให้อัตรากำไรสุทธิของเสนา ดีเวลลอปเมนท์ เพิ่มขึ้น เป็นเพราะการรับรู้ส่วนแบ่งกำไรจากเงินลงทุนในกิจการร่วมค้า ที่มียอดโอนของโครงการร่วมทุนมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ไตรมาส 4 ปี 2562 ได้แก่ โครงการ นิชโมโน สุขุมวิท-แบริ่ง และในไตรมาส 2 ที่ผ่านมา มีการโอนโครงการ นิช ไพรด์ เตาปูน อินเตอร์เชนจ์ ทำให้บริษัทรับรู้ส่วนแบ่งกำไรเพิ่มขึ้นอีก 6.7 ล้านบาท   นอกจากนี้  บริษัทยังได้จัดทำแผนรับมือกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ภายใต้มาตรการ SENA Zero COVID มีการบริหารปรับลดค่าใช้จ่ายนการขายและบริหาร ทำให้ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารลดลง 16.5% จากจำนวน 218.3 ล้านบาทในปีที่ผ่านมาเหลือ 170.0 ล้านบาทในช่วงไตรมาส 2 ของปีนี้   แม้ว่าจะมีบางบริษัทที่อัตรากำไรลดลง แต่ยังถือว่าในภาพรวมสามารถสร้างผลกำไรได้ดี ในภาวะที่ประเทศเผชิญกับปัจจัยลบเช่นนี้  กำไรอาจจะลดลงบ้างแต่ยังดีที่มีกำไร ซึ่งคงต้องมาลุ้นกันต่อไปสำหรับช่วงเวลาที่เหลือ ว่าดีเวลลอปเปอร์จะยังคงรักษาฝีมือในการดำเนินธุรกิจได้ดีต่อไปแค่ไหน
31 บิ๊กอสังหาฯ  โดนพิษโควิด-19 กำไรรวมไตรมาส 2 ลดกว่า 48%

31 บิ๊กอสังหาฯ โดนพิษโควิด-19 กำไรรวมไตรมาส 2 ลดกว่า 48%

แม้ว่าประเทศไทยต้องเผชิญกับปัญหาการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ตั้งแต่ช่วงต้นปีที่ผ่านมา ส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจทำให้ยอดขายและรายได้ลดลง ซึ่งบางรายได้รับผลกระทบจนต้องปิดกิจการก็มีให้เห็น แต่หลายธุรกิจสามารถปรับตัวรับมือกับสถานการณ์ที่เกิดได้เป็นอย่างดี  เห็นได้จากผลประกอบการในช่วงไตรมาสที่ 2 ที่ยังสามารถสร้างการเติบโต ไม่ว่าจะเป็นด้านรายได้หรือกำไร   ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ก็เป็นหนึ่งธุรกิจที่ได้รับผลกระทบแบบเต็มๆ ไม่ได้แตกต่างจากหลายธุรกิจ ซึ่งมีทั้งผู้ที่ยังทำกำไรเติบโต ขณะเดียวกันก็มีหลายรายที่ประสบภาวะขาดทุน  ผู้ที่สามารถปรับตัวรับมือกับสถานการณ์ได้ดี ก็สามารถสร้างผลงานชนิดทุบสถิติรายได้ของตนเอง นับตั้งแต่เริ่มทำธุรกิจจนมาถึงปัจจุบัน ถือเป็นการสร้างประวัติศาสตร์ใหม่ให้กับตนเอง โดยเฉพาะบริษัทอสังหาฯ ที่จดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย   จากการรวบรวมข้อมูลบริษัทมหาชน (บมจ.) ซึ่งดำเนินธุรกิจหลักด้านการพัฒนาที่อยู่อาศัย ซึ่งจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยจำนวน 31 บริษัท พบว่า ผลประกอบการในช่วงไตรมาส 2 ยังคงทำรายได้รวมจำนวน 73,712.62 ล้านบาท ลดลงเล็กน้อยเพียง 1.66% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ที่มีจำนวน 74,960.02 ล้านบาท แต่กำไรจากการดำเนินงานของทั้ง 31 บริษัท ลดลงอย่างมากถึง 48.72%   อัตรากำไรที่ลดลงดังกล่าว  เป็นผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่ทำให้ธุรกิจอสังหาฯ ประเภทอื่นๆ อาทิ โรงแรม ศูนย์การค้า สำนักงานให้เช่า ไม่สามารถเปิดดำเนินการได้ปกติ จึงทำให้บริษัทอสังหาฯ ซึ่งไม่ได้ขายแต่บ้านและคอนโดมิเนียม ต้องอัตรากำไรสุทธิลดลง แม้ว่ารายได้เฉพาะที่มาจากการขายบ้านและคอนโด ของทั้ง 31 บริษัท จะยังเติบโตในอัตรา 10.96% ซึ่งมีรายได้ 66,330.98 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงไตรมาส 2 ปี 2562 ที่มีรายได้จากการขายอสังหาฯ 59,778.80 ล้านบาทก็ตาม 10 บิ๊กอสังหาฯ กวาดรายได้รวมกว่า 5.6 หมื่นล้าน สำหรับบริษัทที่มีรายได้รวมมากที่สุด 10 อันแรก ยังคงเป็นผู้ประกอบการรายใหญ่และเป็นผู้นำตลาด โดยมีรายได้รวมทั้ง 10 บริษัท จำนวน  56,424.75 ล้านบาท เติบโต 10.10% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ซึ่งมีรายได้รวมจำนวน 51,250.03 ล้านบาท 10 อันดับแรกบริษัทอสังหาฯ ทำรายได้รวมสูงสุด ได้แก่ 1.แสนสิริ  มีรายได้รวม 11,305.51 ล้าบาท เติบโต 163.82% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน มีจำนวน 4,285.37 ล้านบาท 2.แลนด์แอนด์เฮ้าส์  มีรายได้รวม 8,298.86 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 5.59% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีจำนวน 7,859.46 ล้านบาท 3.เอพี (ไทยแลนด์)  มีรายได้รวม 7,792.00 ล้านบาท เติบโต 62.23%  จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ที่มีจำนวน 4,803.09 ล้านบาท 4.พฤกษา โฮลดิ้ง  มีรายได้รวม 6,222.81ล้านบาท ลดลง 20.27% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีจำนวน 7,805.09 ล้านบาท 5.เฟรเซอร์ พร็อพเพอร์ตี้ 4,882.54 ล้านบาท ลดลง 2.95% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มี จำนวน 5,031.11 ล้านบาท 6.เอสซีแอสเสท คอร์ปอเรชั่น   มีรายได้รวม 4,568.77 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 30.67% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน จำนวน 3,496.42 ล้านบาท 7.ควอลิตี้ เฮ้าส์   มีรายได้รวม 4,341.24 ล้านบาท ลดลง 26.14% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มี จำนวน 5,878.01 ล้านบาท 8.ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้   มีรายได้รวม จำนวน 3,292.37 ล้านบาท ลดลง 1.32% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีจำนวน 3,336.49 ล้านบาท 9.ศุภาลัย  มีรายได้รวม จำนวน 3,039.88 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 32.1% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ที่มีจำนวน 4,477.10 ล้านบาท 10.พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค  มีรายได้รวม จำนวน 2,680.77 ล้านบาท ลดลง -37.33% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ที่มีจำนวน 4,277.89 ล้านบาท 10 บิ๊กอสังหาฯ​ ขายบ้าน-คอนโด สร้างรายได้โต 22.11% อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาเฉพาะผลประกอบการ  ในส่วนที่เป็นรายได้ด้านการขายที่อยู่อาศัย ในกลุ่มบิ๊กอสังหาฯ 10 อันดับแรก พบว่า มีรายได้รวมกันจำนวน 51,940 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 22.11% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีรายได้จาการขายอสังหาฯ รวม 42,536.33 ล้านบาท สำหรับ 10 อันดับแรกของบริษัทที่มีรายได้จากการขายอสังหาฯ​ สูงสุด ได้แก่ 1.แสนสิริ  มีรายได้จากการขายอสังหาฯ รวม 10,338.20 ล้านบาท เติบโต 309.41% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีจำนวน  2,525.14 ล้านบาท 2.เอพี (ไทยแลนด์) มีรายได้จากการขายอสังหาฯ รวม 7,582.90 ล้านบาท เติบโต  67.4% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีจำนวน 4,529.82 ล้านบาท 3.แลนด์แอนด์เฮ้าส์ มีรายได้จากการขายอสังหาฯ รวม 7,230.21 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 10.57% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีจำนวน 6,539.03 ล้านบาท 4.พฤกษา โฮลดิ้ง มีรายได้จากการขายอสังหาฯ รวม 6,165.52 ล้านบาท ลดลง​ 20.76% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีจำนวน 7,780.66 ล้านบาท 5.เอสซีแอสเสท คอร์ปอเรชั่น มีรายได้จากการขายอสังหาฯ รวม 4,360.22 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 33.13% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีจำนวน  3,275.08 ล้านบาท 6.เฟรเซอร์ พร็อพเพอร์ตี้ (ประเทศไทย)* มีรายได้จากการขายอสังหาฯ รวม 3,880.16 ล้านบาท เติบโต 12.81% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีจำนวน 3,439.54 ล้านบาท 7.ควอลิตี้ เฮ้าส์ มีรายได้จากการขายอสังหาฯ รวม 3,859.15 ล้านบาท ลดลง​ 23.50%  จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีจำนวน 5,044.68 ล้านบาท 8.ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ มีรายได้จากการขายอสังหาฯ รวม 3,088.49 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 9.30% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีจำนวน  2,825.80 ล้านบาท 9.ศุภาลัย มีรายได้จากการขายอสังหาฯ รวม 2,917.91 ล้านบาท ลดลง​ 32.46% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีจำนวน 4,320.04 ล้านบาท 10.พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค มีรายได้จากการขายอสังหาฯ รวม 2,517.51ล้านบาท  เติบโต 11.57% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีจำนวน 2,256.54 ล้านบาท หมายเหตุ - * ผลการดำเนินงานของบริษัท เฟรเซอร์ พร็อพเพอร์ตี้ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ประจำไตรมาส 3/2563 งวดเดือนเมษายน-มิถุนายน 2563 10 บิ๊กอสังหาฯ กำไรลดกว่า 5% แม้ว่า 10 บริษัทขนาดใหญ่ จะสามารถสร้างรายได้รวม และรายได้จากการขายอสังหาฯ เติบโตจากไตรมาส 2 ของปีที่ผ่านมาได้ แต่ดูเหมือนว่าความสามารถในทำกำไรจะลดลงอย่างมาก ส่วนหนึ่งต้องยอมรับว่า เป็นผลจากการลดราคาสินค้า การจัดทำแคมเปญกระตุ้นการขาย และการมีต้นทุนทางการตลาดที่เพิ่มมากขึ้น เมื่อรวมกับธุรกิจอื่น ๆ ที่บริษัทนั้น ๆ ดำเนินการ ที่รับผลกระทบ เช่น การปิดบริการธุรกิจโรงแรม หรือ ปิดศูนย์การค้า จึงทำให้กำไรโดยรวมลดน้อยลงนั่นเอง   โดยบริษัทอสังหาฯ รายใหญ่ 10 อันดับแรก มีอัตรากำไรรวม 6,478.63 ล้านบาท ลดลง 5.10% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไร 6,826.71 ล้านบาท แต่เมื่อเทียบกับภาพรวมทั้งอุตสาหกรรม ยังถือว่าทั้ง 10 บริษัทดังกล่าว ยังมีความสามารถทำกำไรได้ดีกว่า เพราะภาพรวมกำไรลดไปกว่า 48.28% โดย 10 บริษัทแรกที่มีอัตรากำไรสุทธิสูงสุด ได้แก่ 1.แลนด์แอนด์เฮ้าส์ มีกำไรสุทธิ จำนวน 1,386.28 ล้านบาท  ลดลง 25.24% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ จำนวน 1,854.30 ล้านบาท 2.เอพี (ไทยแลนด์) มีกำไรสุทธิ จำนวน 1,214.61ล้านบาท เพิ่มขึ้น 149.35% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ จำนวน 487.09 ล้านบาท 3.ควอลิตี้ เฮ้าส์ มีกำไรสุทธิ จำนวน 968.58 ล้านบาท ลดลง 33.77% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ จำนวน 1,462.40 ล้านบาท 4.ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ มีกำไรสุทธิ จำนวน 707.07 ล้านบาท ลดลง 4.08% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ จำนวน 737.16 ล้านบาท 5.เอสซีแอสเสท คอร์ปอเรชั่น มีกำไรสุทธิ จำนวน 454.20 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 62.53% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ จำนวน 279.46 ล้านบาท 6.ศุภาลัย มีกำไรสุทธิ จำนวน 423.30 ล้านบาท ลดลง 45.53% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ จำนวน 777.15 ล้านบาท 7.เฟรเซอร์ พร็อพเพอร์ตี้ (ประเทศไทย)* มีกำไรสุทธิ จำนวน 398.69 ล้านบาท ลดลง​49.99%จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ จำนวน 797.29 ล้านบาท 8.ลลิล พร็อพเพอร์ตี้ มีกำไรสุทธิ จำนวน 395.83 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 164.26% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ จำนวน 149.79 ล้านบาท 9.โนเบิล ดีเวลลอปเมนท์ มีกำไรสุทธิ จำนวน 303.38 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 84.46% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ จำนวน 164.47 ล้านบาท 10.เสนา ดีเวลลอปเมนท์ มีกำไรสุทธิ จำนวน 226.69 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 92.76% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ จำนวน 117.60 ล้านบาท หมายเหตุ - * ผลการดำเนินงานของบริษัท เฟรเซอร์ พร็อพเพอร์ตี้ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ประจำไตรมาส 3/2563 งวดเดือนเมษายน-มิถุนายน 2563 11 บริษัทสู้พิษโควิดไม่ไหว ขาดทุนรวม 2,209.58 ล. การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19ไม่เพียงแต่ทำให้หลายบริษัทมีกำไรลดลงเท่านั้น แต่ทำให้ผู้ประกอบการบางรายประสบภาวะขาดทุนจากการดำเนินงานเลยทีเดียว ซึ่งจากการสำรวจพบว่ามีถึง 11 บริษัท ที่ประสบภาวะขาดทุนในช่วงไตรมาส 2 ที่ผ่านมา โดยมีผลขาดทุนรวมกัน 2,537.09 ล้านบาท จากก่อนหน้านี้ที่ทั้ง 11 บริษัทมีกำไรรวม 923.51 ล้านบาท   โดย 11 บริษัทที่ประสบภาวะขาดทุนในไตรมาส 2 ได้แก่ 1.สิงห์ เอสเตท ขาดทุน จำนวน 946.05 ล้านบาท  ลดลง 606.07% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไร 186.94 ล้านบาท 2.อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์ ขาดทุน จำนวน 544.70 ล้านบาท ลดลง 424.09% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไร 168.07 ล้านบาท 3.พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค ขาดทุน จำนวน 470.70 ล้านบาท ลดลง 238.98% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไร 255.84 ล้านบาท 4.ชาญ อิสระ ขาดทุน จำนวน 158.59 ขาดทุนเพิ่ม 39.04% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ขาดทุน 114.06 ล้านบาท 5.ไรมอนด์ แลนด์ ขาดทุน จำนวน 130.44 ล้านบาท ลดลง 309.9% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไร 54.73 ล้านบาท 6.นุศาศิริ ขาดทุน จำนวน 128.71 ล้านบาท ลดลง 620.46%  จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไร 24.73 ล้านบาท 7.เมเจอร์ดีเวลลอปเมนท์ ขาดทุน จำนวน 79.95 ล้านบาท ขาดทุนเพิ่มขึ้น 467.02 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไร 14.10ล้านบาท 8.มั่นคง เคหะการ ขาดทุน จำนวน 35.22 ล้านบาท  ลดลง 126.83% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไร 131.25 ล้านบาท 9.เนอวานา ไดอิ ขาดทุน จำนวน 34.47 ล้านบาท ลดลง 268.89% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไร 20.41 ล้านบาท 10.สัมมากร ขาดทุน จำนวน 4.70 ล้านบาท ลดลง 102.16% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไร 217.70 ล้านบาท 11.ปรีชา กรุ๊ป ขาดทุน จำนวน 3.56 ล้านบาท ขาดทุนลดลง 55.5% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีขาดทุน 8.00 ล้านบาท สำหรับธุรกิจอสังหาฯ​ ในปีนี้ ถือว่าเป็นปีที่มีความท้าทาย และเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก ที่สำคัญเป็นปีที่ดีสำหรับผู้ที่มีกำลังซื้อ และมีความต้องการที่อยู่อาศัยอย่างแท้จริง เพราะผู้ประกอบการต่างจัดโปรโมชั่น การส่งเสริมการขาย เพื่อระบายสต็อกในมือที่มีอยู่  แลกเป็นกระแสเงินสดให้เข้ามาใช้ในการบริหารธุรกิจในภาวะวิกฤตเช่นนี้ ซึ่งผู้ซื้อก็ต้องเลือกพิจารณาโครงการให้รอบครอบ  ราคาก็เป็นส่วนสำคัญในการตัดสินใจซื้อ แต่เรื่องของคุณภาพและบริการหลังการขาย  ก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน เพราะเราต้องอยู่กับบ้านที่ซื้อไม่ใช่แค่ปีสองปี แต่คงเป็นระยะเวลานับสิบ ๆปี หากไม่คิดขายก่อนเพื่อเก็งกำไร   แต่สำหรับผู้ประกอบการ เชื่อว่าวิกฤตครั้งนี้ น่าจะเป็นอีกหนึ่งบทเรียนทางธุรกิจสำคัญ ที่จะทำให้นับจากนี้ต้องพิจารณาทิศทางการดำเนินธุรกิจให้รอบครอบ รวมถึงต้องเตรียมแผนสำรอง และการบริหารความเสี่ยงในมุมต่าง ๆ เอาไว้ให้รอบด้านด้วย
อัพเดทดอกเบี้ยกู้ซื้อบ้าน  และคอนโด ประจำเดือนสิงหาคม 63

อัพเดทดอกเบี้ยกู้ซื้อบ้าน และคอนโด ประจำเดือนสิงหาคม 63

อัพเดทดอกเบี้ยกู้ซื้อบ้าน และคอนโด สำหรับผู้ที่กำลังจะวางแผนซื้อบ้านใหม่ ในช่วงที่ดีเวลลอปเปอร์ขนบ้านและคอนโดมิเนียมออกมาขาย พร้อมจัดโปรโมชั่นกันกระหน่ำ ลองมาเช็คกันดูว่า ซื้อแล้วจะกู้เงินกับธนาคารไหนดี เพื่อให้ได้ดอกเบี้ยที่ดีที่สุด และคุ้มค่ากับเม็ดเงิน ซึ่งเราได้รวบรวมเอามาไว้ให้แล้ว แต่เป็นดอกเบี้ยเบื้องต้นที่ธนาคารประกาศใช้ทั่วไป ซึ่งอาจจะมีบางโครงการหรือบางธนาคารที่ทำแคมเปญร่วมกัน อัตราดอกเบี้ยก็อาจจะต่ำกว่าที่เราได้นำมารวบรวมไว้ คงต้องตรวจสอบกับทางธนาคารหรือทางโครงการอีกครั้งหนึ่ง !!! ธนาคารกรุงเทพ มีบริการสินเชื่อบ้านบัวหลวง -อัตราดอกเบี้ยพิเศษเฉพาะพนักงานที่มีรายได้ประจำ วงเงินตั้งแต่ 1 ล้านบาทขึ้นไป ทางเลือกที่ 1 ปีที่ 1 อัตราดอกเบี้ย 3.00% ปีที่ 2-3 อัตราดอกเบี้ย MRR-1.75% หลังจากนั้น MRR-1.50% อัตราดอกเบี้ยแท้จริงต่อปี ตลอดอายุสัญญา 3.91% (คำนวณจากวงเงินสินเชื่อ 3 ล้านบาท อายุสัญญา 10 ปี) ทางเลือกที่ 2 ปีที่ 1 -3 อัตราดอกเบี้ย MRR-2.25% หลังจากนั้น MRR-1.50% อัตราดอกเบี้ยแท้จริงต่อปี ตลอดอายุสัญญา 3.85% (คำนวณจากวงเงินสินเชื่อ 3 ล้านบาท อายุสัญญา 10 ปี) -อัตราดอกเบี้ยพิเศษสำหรับลูกค้าทั่วไป วงเงินตั้งแต่ 5 ล้านบาทขึ้นไป ทางเลือกที่ 1 ปีที่ 1 อัตราดอกเบี้ย 3.00% ปีที่ 2-3 อัตราดอกเบี้ย MRR-1.50% หลังจากนั้น MRR-1.50% อัตราดอกเบี้ยแท้จริงต่อปี ตลอดอายุสัญญา 3.99% (คำนวณจากวงเงินสินเชื่อ 5 ล้านบาท อายุสัญญา 10 ปี) ทางเลือกที่ 2 ปีที่ 1 -3 อัตราดอกเบี้ย MRR-1.875% หลังจากนั้น MRR-1.50% อัตราดอกเบี้ยแท้จริงต่อปี ตลอดอายุสัญญา 4.05% (คำนวณจากวงเงินสินเชื่อ 5 ล้านบาท อายุสัญญา 10 ปี) -อัตราดอกเบี้ยพิเศษสำหรับลูกค้าทั่วไป วงเงินตั้งแต่ 3 ล้านบาทแต่ไม่เกิน 5 ล้านบาท ทางเลือกที่ 1 ปีที่ 1 อัตราดอกเบี้ย 3.00% ปีที่ 2-3 อัตราดอกเบี้ย MRR-1.375% หลังจากนั้น MRR-1.375% อัตราดอกเบี้ยแท้จริงต่อปี ตลอดอายุสัญญา 4.09% (คำนวณจากวงเงินสินเชื่อ 4 ล้านบาท อายุสัญญา 10 ปี) ทางเลือกที่ 2 ปีที่ 1 -3 อัตราดอกเบี้ย MRR-1.75% หลังจากนั้น MRR-1.375% อัตราดอกเบี้ยแท้จริงต่อปี ตลอดอายุสัญญา 4.17% (คำนวณจากวงเงินสินเชื่อ 4 ล้านบาท อายุสัญญา 10 ปี) -อัตราดอกเบี้ยพิเศษสำหรับลูกค้าทั่วไป วงเงินตั้งแต่ 1 ล้านบาทขึ้นไป แต่ไม่เกิน 3 ล้านบาท ทางเลือกที่ 1 ปีที่ 1 อัตราดอกเบี้ย 3.00% ปีที่ 2-3 อัตราดอกเบี้ย MRR-1.00% หลังจากนั้น MRR-1.25% อัตราดอกเบี้ยแท้จริงต่อปี ตลอดอายุสัญญา 4.28% (คำนวณจากวงเงินสินเชื่อ 2 ล้านบาท อายุสัญญา 10 ปี) ทางเลือกที่ 2 ปีที่ 1 -3 อัตราดอกเบี้ย MRR-1.625% หลังจากนั้น MRR-1.25% อัตราดอกเบี้ยแท้จริงต่อปี ตลอดอายุสัญญา 4.30% (คำนวณจากวงเงินสินเชื่อ 2 ล้านบาท อายุสัญญา 10 ปี) -กรณีวงเงินตั้งแต่ 5 แสนบาท แต่ไม่เกิน 1 ล้านบาท คิดอัตราดอกเบี้ยคงที่ปีแรก 4.75% หลังจากนั้น คิดอัตราดอกเบี้ย MRR-1% ต่อปี ตลอดอายุสัญญา -กรณีวงเงินต่ำกว่า 5 แสนบาท คิดอัตราดอกเบี้ย MRR-0.625% ต่อปี ตลอดอายุสัญญา -กรณีหลักประกันสิทธิการเช่า คิดอัตราดอกเบี้ย MRR-0.75% ต่อปี ตลอดอายุสัญญา -กรณีหลักประกันที่ดินเปล่าเพื่อการอยู่อาศัย คิดอัตราดอกเบี้ย MRR-0.25% ต่อปี ตลอดอายุสัญญา หมายเหตุ -อัตราดอกเบี้ยนี้สำหรับผู้ที่ยื่นคำขอสินเชื่อพร้อมเอกสารครบถ้วน ตั้งแต่วันที่ 8 มิ.ย. 63 - 30 ก.ย. 63 โดยผู้กู้ต้องลงนามในสัญญากู้ภายใน 1 เดือน นับตั้งแต่วันที่อนุมัติสินเชื่อ และจดทะเบียนจำนองพร้อมเบิกเงินกู้งวดแรกหรือทั้งหมดภายใน 2 เดือน นับตั้งแต่วันที่ลงนามในสัญญา -พนักงานที่มีรายได้ประจำ หมายถึงพนักงานที่มีรายได้หลัก หรือมีความสามารถในการชำระคืนหลัก จากรายได้ประจำ -รูปแบบการชำระแบบคงที่ เลือกผ่อนได้ทุกทางเลือก/รูปแบบการผ่อนชำระแบบขั้นบันได เลือกผ่อนได้เฉพาะทางเลือกที่ 1 -อัตราส่วนวงเงินกู้สูงสุด และมูลค่าหลักประกัน ให้เป็นไปตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย -อัตราดอกเบี้ย MRR ปัจจุบันตามประกาศของธนาคาร ณ วันที่ 21 พ.ค. 63 เท่ากับ 5.75% ต่อปี -ธนาคารขอสงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยรวมทั้งหลักเกณฑ์ และเงื่อนไข ธนาคารกสิกรไทย -สำหรับลูกค้าที่มีรายได้ประจำ 3 ปีแรก MRR-1.78%  หลังจากนั้นจนสิ้นสุดสัญญา MRR-1.00%  อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3ปี4.19%  อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา (20 ปี) เท่ากับ 4.69% -สำหรับลูกค้าผู้ประกอบการ 3 ปีแรก MRR-1.00%  หลังจากนั้น จนสิ้นสุดสัญญา MRR-0.75%  อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3ปี4.97% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา (20 ปี) เท่ากับ 5.13% อัตราดอกเบี้ย MRR = 5.97% (ประกาศ ณ วันที่ 22 พ.ค. 63) หมายเหตุ  -อัตราดอกเบี้ยดังกล่าวสำหรับลูกค้าที่ยื่นกู้ ตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค. 63 ถึง วันที่ 30 ก.ย. 63 โดยยื่นจดจำนองภายในวันที่ 30 พ.ย.63 -สามารถยื่นกู้ได้สำหรับที่อยู่อาศัยทุกประเภท ยกเว้น Refinance และการกู้เพื่อซื้อที่ดินเปล่า -วงเงินให้กู้ได้ไม่เกิน 100% ของราคาซื้อขาย และไม่เกิน 100% ของราคาประเมินหลักประกัน -สมัครทำประกันคุ้มครองสินเชื่อบ้านได้รับอนุมัติและไม่ยกเลิกการทำประกันตามเงื่อนไข -ทุนประกันคุ้มครองวงเงินสินเชื่อขั้นต่ำ 70 % ขึ้นไปของวงเงินสินเชื่อบ้านและเลือกระยะเวลาคุ้มครอง 100 % ของระยะเวลากู้ หรือ -ทุนประกันคุ้มครองวงเงินสินเชื่อ 100 % ของวงเงินสินเชื่อบ้านและเลือกระยะเวลาคุ้มครองขั้นต่ำ 70 % ของระยะเวลากู้ -การทำประกันคุ้มครองวงเงินสินเชื่อบ้านกสิกรไทยรับประกันโดย บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) ลูกค้าต้องทำความเข้าใจในรายละเอียดความคุ้มครองและเงื่อนไขในกรมธรรม์ก่อนตัดสินใจทำประกันทุกครั้ง ทั้งนี้ผู้ซื้อมีสิทธิ์เลือกที่จะทำประกันชีวิตหรือไม่ก็ได้ ไม่มีผลต่อการพิจารณาอนุมัติสินเชื่อ -การพิจารณารับประกันขึ้นอยู่กับเงื่อนไขและกฎเกณฑ์การรับประกันของ บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) ธนาคารกรุงไทย ประเภทสินเชื่อบ้านกรุงไทย...สุขใจถ้วนหน้า ฟรีค่าธรรมเนียมยื่นกู้ -อัตราดอกเบี้ยคงที่ 1 ปี แบบทำประกัน ปีที่ 1 ดอกเบี้ย 0.90% ปีที่ 2-3 ดอกเบี้ยเท่ากับ MRR-2.40% หลังจากนั้น MRR-1.25% อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี เท่ากับ 2.85% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง 4.22% แบบไม่ทำประกัน ปีที่ 1 ดอกเบี้ย 0.90% ปีที่ 2-3 ดอกเบี้ยเท่ากับ MRR-2.25% หลังจากนั้น MRR-1.25% อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี เท่ากับ 2.95% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง 4.26% -อัตราดอกเบี้ยคงที่ 3 ปี ผ่อนล้านละ 3,500 บาท 3 ปีแรก แบบทำประกัน ปีที่ 1 ดอกเบี้ย 2.24% ปีที่ 2-3 ดอกเบี้ย 3.15% หลังจากนั้น MRR-1.25% อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี เท่ากับ 2.85% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง 4.24% แบบไม่ทำประกัน ปีที่ 1 ดอกเบี้ย 2.54% ปีที่ 2-3 ดอกเบี้ย 3.15% หลังจากนั้น MRR-1.25% อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี เท่ากับ 2.95% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง 4.28% -อัตราดอกเบี้ยลอยตัว แบบทำประกัน ปีที่ 1-3 ดอกเบี้ยเท่ากับ MRR-3.37% หลังจากนั้น MRR-1.25% อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี เท่ากับ 2.85% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง 4.25% แบบไม่ทำประกัน ปีที่ 1-3 ดอกเบี้ยเท่ากับ MRR-3.27% หลังจากนั้น MRR-1.25% อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี เท่ากับ 2.95% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง 4.29% ประเภทสินเชื่อบ้านกรุงไทย...สุขใจถ้วนหน้า ฟรีค่าธรรมเนียมยื่นกู้ กรณีธนาครออกค่าจดจำนองให้ -อัตราดอกเบี้ยคงที่ 2 ปี แบบทำประกัน ปีที่ 1-2 ดอกเบี้ย 2.64% ปีที่ 3 ดอกเบี้ยเท่ากับ MRR-1.95% หลังจากนั้น MRR-1.25% อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี เท่ากับ 3.18% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง 4.35% แบบไม่ทำประกัน ปีที่ 1-2 ดอกเบี้ย 2.64% ปีที่ 3 ดอกเบี้ยเท่ากับ MRR-1.65% หลังจากนั้น MRR-1.25% อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี เท่ากับ 3.25% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง 4.39% -อัตราดอกเบี้ยคงที่ 3 ปี   แบบทำประกัน ปีที่ 1 ดอกเบี้ย 2.44% ปีที่ 2-3 ดอกเบี้ย 3.55% หลังจากนั้น MRR-1.25% อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี เท่ากับ 3.18% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง 4.36% แบบไม่ทำประกัน ปีที่ 1 ดอกเบี้ย 2.74% ปีที่ 2-3 ดอกเบี้ย 3.55% หลังจากนั้น MRR-1.25% อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี เท่ากับ 3.28% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง 4.40% -อัตราดอกเบี้ยลอยตัว แบบทำประกัน ปีที่ 1-3 ดอกเบี้ยเท่ากับ MRR-3.04% หลังจากนั้น MRR-1.25% อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี เท่ากับ 3.18% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง 4.37% แบบไม่ทำประกัน ปีที่ 1-3 ดอกเบี้ยเท่ากับ MRR-2.94% หลังจากนั้น MRR-1.25% อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี เท่ากับ 3.28% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง 4.41% หมายเหตุ -การทำประกันชีวิตคุ้มครองวงเงินสินเชื่อ : ทำประกันทางเลือกใด ทางเลือกหนึ่ง ดังนี้ 1.ทำ MRTA/GLT SP เต็มวงเงินกู้ และระยะเวลาทำประกันขั้นต่ำ 10 ปี 2.ทำ MRTA/GLT SP 70% ของวงเงินกู้และระยะเวลากู้ หรือ ระยะเวลาทำประกันขั้นต่ำ 15 ปี ทั้งนี้ การทำประกันชีวิตเพื่อคุ้มครองวงเงินสินเชื่อเป็นไปตามความสมัครใจของลูกค้า และไม่มีผลต่อการพิจารณาสินเชื่อ -ธนาคารออกค่าจดจำนองให้ 1% สูงสุดไม่เกินรายละ 200,000 บาท หากลูกค้าปิดบัญชีก่อน 5 ปี ธนาคารจะเรียกเก็บค่าจดจำนองคืน -อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง (EIR) คำนวณจากวงเงินกู้ 1.00 ล้านบาท อายุสัญญา 20 ปี ผ่อนชำระ 6,600 บาทต่อเดือน ธนาคารกรุงศรีอยุธยา -อัตราดอกเบี้ยสินเชื่อบ้านกรุงศรี เพื่อซื้อที่อยู่อาศัยสำหรับกลุ่มลูกค้าทั่วไป ตั้งแต่วันที่ 1 ส.ค.-พ.ย. 63 สำหรับวงเงินกู้ 1 ล้านบาทแต่ไม่ถึง 5 ล้านบาท ทางเลือกที่ 1 ปีที่ 1 อัตราดอกเบี้ย MRR-3.35% ปีที่ 2 อัตราดอกเบี้ย MRR-2.25% ปีที่ 3 เป็นต้นไป MRR-1.10% อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี เท่ากับ 3.82% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง (ต่อปี) 4.30% ทางเลือกที่ 2 ปีที่ 1 เดือนที่ 1-6 อัตราดอกเบี้ย 1.50% เดือนที่ 7-12 อัตราดอกเบี้ย  MRR-1.60% ปีที่ 2 อัตราดอกเบี้ย MRR-1.35% ปีที่ 3 เป็นต้นไป MRR-1.10% อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี เท่ากับ 4.21% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง (ต่อปี) 4.52% -สำหรับวงเงินกู้ ตั้งแต่ 5 ล้านบาทขึ้นไป ทางเลือกที่ 1 ปีที่ 1 อัตราดอกเบี้ย MRR-3.50% ปีที่ 2 อัตราดอกเบี้ย MRR-2.75% ปีที่ 3 เป็นต้นไป MRR-1.35% อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี เท่ากับ 3.52% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง (ต่อปี) 4.02% ทางเลือกที่ 2 ปีที่ 1 เดือนที่ 1-6 อัตราดอกเบี้ย 1.25% เดือนที่ 7-12 อัตราดอกเบี้ย  MRR-1.95% ปีที่ 2 อัตราดอกเบี้ย MRR-1.75% ปีที่ 3 เป็นต้นไป MRR-1.35% อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี เท่ากับ 3.89% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง (ต่อปี) 4.23% หมายเหตุ อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงข้างต้นเป็นเพียงการแสดงตัวอย่าง โดยคำนวณจากฐานวงเงินกู้ 2 ล้านบาท สำหรับวงเงินกู้ที่ได้รับอนุมัติตั้งแต่ 1 ล้านบาทแต่ไม่ถึง 5 ล้านบาท และ ฐานวงเงินกู้ 5 ล้านบาท สำหรับวงเงินกู้ที่ได้รับอนุมัติตั้งแต่ 5 ล้านบาทขึ้นไป ด้วยระยะเวลาการกู้ 10 ปีในกรณีที่ลูกค้าซื้อ MRTA/MLTA หากค่าเบี้ย MRTA/MLTA เปลี่ยนแปลง อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงอาจเปลี่ยนแปลงได้ เงื่อนไขการรับสิทธิพิเศษสำหรับลูกค้าที่ซื้อประกันชีวิตคุ้มครองสินเชื่อ (MRTA/MLTA) -รับส่วนลดอัตราดอกเบี้ย 0.25% ต่อปี เฉพาะในปีที่ 1จากอัตราดอกเบี้ยทุกทางเลือก ลูกค้าต้องซื้อ MRTA/MLTA ที่ร่วมรายการตามเงื่อนไขดังนี้ 1.ผลิตภัณฑ์ MRTA/MLTA ที่ร่วมรายการได้แก่ MRTA : แผนกรุงศรี เซฟตี้โลน 1 พลัส หรือ กรุงศรี เซฟตี้โลน 1 หรือ กรุงศรี เซฟตี้โลน 2 MLTA : กรุงศรี รักบ้าน รักคุณ หรือกรุงศรี รักบ้าน รักคุณ พลัส เท่านั้น 2.กรณีผู้กู้หลักเป็นพนักงานเงินเดือนที่มีรายได้ประจำต้องซื้อ MRTA/MLTA 100% ของ วงเงินกู้โดยมีระยะเวลาความคุ้มครองไม่ต่ำกว่า 15 ปี หรือซื้ออย่างน้อย 70% ของวงเงินกู้โดยมีระยะเวลาความคุ้มครองไม่ต่ำกว่า 20 ปี 3.กรณีผู้กู้หลักเป็นผู้ประกอบธุรกิจส่วนตัว ต้องซื้อ MRTA/MLTA อย่างน้อย 80% ของวงเงินกู้โดยมีระยะเวลาความคุ้มครองไม่ต่ำกว่า 10 ปี หรือซื้ออย่างน้อย 50% ของวงเงินกู้โดยมีระยะเวลาความคุ้มครองไม่ต่ำกว่า 15 ปี 4.กรณี มีผู้กู้ร่วม สามารถซื้อ MRTA/MLTA เฉพาะผู้กู้หลักเพียงคนเดียวได้หรือหากผู้กู้ร่วมประสงค์ที่จะซื้อ MRTA/MLTA ด้วย ผู้กู้หลักและผู้กู้ร่วมทุกคนจะต้องมีทุนประกันขั้นต่ำในสัดส่วนที่เท่ากัน ขอสงวนสิทธิ์ในการปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ย เป็นอัตราดอกเบี้ยปกติตามที่ลูกค้าได้เลือกไว้ โดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า ในกรณีที่บริษัทประกันไม่อนุมัติ MRTA/MLTA หรือในกรณีที่ลูกค้าขอยกเลิก MRTA/MLTA ธนาคารเกียรตินาคิน  -สินเชื่อบ้านวงเงินกู้ตั้งแต่ 5 แสนบาทแต่ไม่เกิน 50 ล้านบาท ประเภทลอยตัว แบบทำประกัน ปีที่ 1-3 อัตราดอกเบี้ยเท่ากับ (MLR-4.41%)-(MLR-3.31%) ปีที่ 4 เป็นต้นไป อัตราดอกเบี้ยเท่ากับ MLR-1.75% แบบไม่ทำประกัน ปีที่ 1-3 อัตราดอกเบี้ยเท่ากับ (MLR-4.41%)-(MLR-3.15%) ปีที่ 4 เป็นต้นไป อัตราดอกเบี้ยเท่ากับ MLR-1.75% ประเภทคงที่ 3 ปี แบบทำประกัน ปีที่ 1-3 อัตราดอกเบี้ยเท่ากับ 0.00%-3.99% ปีที่ 4-5 (MLR-3.00%)-(MLR-1.75%) ปีต่อไป อัตราดอกเบี้ยเท่ากับ MLR-1.75% แบบไม่ทำประกัน ปีที่ 1-3 อัตราดอกเบี้ยเท่ากับ 0.00%-3.99% ปีที่ 4-5 (MLR-3.00%)-(MLR-1.75%) ปีต่อไป อัตราดอกเบี้ยเท่ากับ MLR-1.75% ประเภทคงที่ 2 ปี แบบทำประกัน ปีที่ 1-2 อัตราดอกเบี้ยเท่ากับ 2.69%-2.79% ปีที่ 3 อัตราดอกเบี้ย (MLR-4.01%) – (MLR-3.51%) ปีต่อไป อัตราดอกเบี้ยเท่ากับ MLR-1.75% แบบไม่ทำประกัน ปีที่ 1-2 อัตราดอกเบี้ยเท่ากับ 2.94%-3.04% ปีที่ 3 อัตราดอกเบี้ย (MLR-3.76%) – (MLR-3.26%) ปีต่อไป อัตราดอกเบี้ยเท่ากับ MLR-1.75% หมายเหตุ 1.อัตราดอกเบี้ยขึ้นอยู่กับ ปัจจัยอ้างอิง เช่น อัตราดอกเบี้ย ลูกค้ารายใหญ่ชั้นดีประเภทเงินกู้แบบมีระยะเวลา  (MLR) ซึ่งธนาคารจะแจ้งให้ทราบถึงการเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ยดังกล่าว โดยจะประกาศไว้ ณ สถานที่ทำการให้บริการและเว็บไซต์ของธนาคาร 2.MLR ณ วันที่ 25 พฤษภาคม 2563 เท่ากับ 6.525% ต่อปี 3.กรณีที่ทำประกัน สมัครประกันชีวิตคุ้มครองวงเงินสินเชื่อกับบริษัทประกันที่ธนาคารกำหนด (MRTA) ทุนประกันภัย100% และระยะเวลาคุ้มครองขั้นต่ำ 10 ปี กรณีที่ระยะเวลากู้สินเชื่อไม่ถึง 10 ปี ให้ระยะเวลาคุ้มครองขั้นต่ำเท่ากับระยะเวลาการกู้สินเชื่อ 4.ระยะเวลากู้สินเชื่อเพื่อซื้อที่อยู่อาศัย สูงสุด 30 ปี (อายุผู้กู้รวมระยะเวลากู้ไม่เกิน 65 ปีสำหรับพนักงานเงินเดือนประจำ และไม่เกิน 70 ปีสำหรับเจ้าของกิจการ/ธุรกิจส่วนตัว) ธนาคารซีไอเอ็มบี  -สำหรับพนักงานประจำรายได้ 15,000 บาทต่อเดือน หรือเจ้าของกิจการ รายได้ 30,000 บาทต่อเดือน แบบทำประกันชีวิต ปีที่ 1-3 อัตราดอกเบี้ย MRR-3.00% ระยะเวลาที่เหลือ ดอกเบี้ย MRR-2.00% อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี เท่ากับ 4.35% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 5.10% แบบไม่ทำประกันชีวิต ปีที่ 1-3 อัตราดอกเบี้ย MRR-2.70% ระยะเวลาที่เหลือ ดอกเบี้ย MRR-2.00% อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี เท่ากับ 4.65% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 5.18% -ดอกเบี้ยสำหรับพนักงานประจำ หรือเจ้าของกิจการ รายได้ 50,000 บาทต่อเดือน แบบทำประกันชีวิต ดอกเบี้ยปีที่ 1-5 เท่ากับ 4.49% ระยะเวลาที่เหลือ MRR-2.00% อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 5 ปี เท่ากับ 4.49% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา เท่ากับ 5.00% แบบไม่ทำประกันชีวิต ดอกเบี้ยปีที่ 1-5 เท่ากับ 4.79% ระยะเวลาที่เหลือ MRR-2.00% อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 5 ปี เท่ากับ 4.79% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 5.12% หมายเหตุ อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา คำนวณจากวงเงินกู้ 2 ล้านบาท ระยะเวลากู้ 15 ปี (MRR = 7.35% ประกาศ ณ วันที่ 10 เมษายน 63) ธนาคารทีเอ็มบี  -อัตราดอกเบี้ย ซื้อบ้านจากโครงการทั่วไป กรณีสมัครพร้อมผลิตภัณฑ์เสริม 3 ประเภท และได้รับฟรี ค่าจดทะเบียนจำนอง ,ค่าเบี้ยประกันอัคคีภัย, ค่าประเมินราคาหลักทรัพย์ ปีที่ 1-3 ดอกเบี้ยเท่ากับ MRR-1.88% อัตราเฉลี่ย 3 ปีแรก เท่ากับ 4.40% ปีที่ 4 เป็นต้นไป ดอกเบี้ยเท่ากับ MRR-1.63% อัตราเฉลี่ย 4.65% อัตราดอกเบี้ยจริงตลอดอายุสัญญา 4.57% กรณีสมัครพร้อมผลิตภัณฑ์เสริม 3 ประเภท และได้รับฟรี  ค่าเบี้ยประกันอัคคีภัย, ค่าประเมินราคาหลักทรัพย์ ปีที่ 1-3 ดอกเบี้ยเท่ากับ MRR-2.23% อัตราเฉลี่ย 3 ปีแรก เท่ากับ 4.05% ปีที่ 4 เป็นต้นไป ดอกเบี้ยเท่ากับ MRR-1.63% อัตราเฉลี่ย 4.65% อัตราดอกเบี้ยจริงตลอดอายุสัญญา 4.46% กรณีสมัครพร้อมผลิตภัณฑ์เสริมไม่ครบทั้ง 3 ประเภท และได้รับฟรี  ค่าเบี้ยประกันอัคคีภัย, ค่าประเมินราคาหลักทรัพย์ ปีที่ 1-3 ดอกเบี้ยเท่ากับ MRR-1.48% อัตราเฉลี่ย 3 ปีแรก เท่ากับ 4.80% ปีที่ 4 เป็นต้นไป ดอกเบี้ยเท่ากับ MRR-1.38% อัตราเฉลี่ย 4.90% อัตราดอกเบี้ยจริงตลอดอายุสัญญา 4.87% หมายเหตุ เมื่อคุณกู้ซื้อบ้านกับ TMB พร้อมสมัครผลิตภัณฑ์เสริม 3 ประเภท ได้แก่ 1.สมัครประกันชีวิตคุ้มครองสินเชื่อ ทีเอ็มบีคุ้มบ้าน (MRTA) 2.สมัครใช้บริการหักบัญชีอัตโนมัติผ่านบัญชีออมทรัพย์ ทีเอ็มบี เพื่อผ่อนชำระสินเชื่อบ้าน 3.สมัครบัตรเดบิต TMB (กรณีที่คุณมีบัตรเดบิต TMB แล้ว ไม่ต้องสมัครเพิ่ม) ข้อเสนอพิเศษเมื่อกู้ซื้อบ้านกับ TMB พร้อมสมัครผลิตภัณฑ์เสริม 3 ประเภท นอกจากดอกเบี้ยคงที่ต่ำสำหรับ 3 ปีแรกแล้ว คุณยังได้รับสิทธิพิเศษต่าง ๆ ดังนี้ -ฟรีประกันอัคคีภัย: TMB จ่ายให้ตามมูลค่าเบี้ยประกันภัย ประมาณ 1,000 บาทต่อปี ต่อราคาบ้าน 1 ล้านบาท -ฟรีค่าจดทะเบียนจำนอง: TMB จ่ายให้ 1% ของเงินกู้สูงสุดถึง 200,000 บาท สำหรับกรณีซื้อบ้าน จากบริษัทพัฒนา อสังหาริมทรัพย์ที่ธนาคารกำหนด -ฟรี ค่าธรรมเนียมธนาคารของสินเชื่อบ้านทุกประเภท: ค่าประเมินราคาหลักทรัพย์, ค่าดำเนินการสินเชื่อ, ค่าทำนิติกรรม จำนอง สำหรับกรณีที่กู้ซื้อบ้านกับ TMB โดยไม่สมัครผลิตภัณฑ์เสริม 3 ประเภท จะได้รับอัตราดอกเบี้ยปกติจาก TMB โดยยังได้รับสิทธิพิเศษเพิ่มเติมอีกดังนี้ -ฟรีประกันอัคคีภัย: TMB จ่ายให้ตามมูลค่าเบี้ยประกันภัย ประมาณ 1,000 บาทต่อปี ต่อราคาบ้าน 1 ล้านบาท -ฟรี ค่าธรรมเนียมธนาคารของสินเชื่อบ้านทุกประเภท: ค่าประเมินราคาหลักทรัพย์, ค่าดำเนินการสินเชื่อ, ค่าทำนิติกรรม จำนอง ทั้งนี้ อัตราดอกเบี้ยค่าธรรมเนียมรวมถึงสิทธิพิเศษต่าง ๆ เป็นไปตามประกาศของธนาคาร EIR (Effective Interest Rate : อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา) เป็นเพียงตัวอย่างที่ใช้ในการคำนวณเท่านั้น โดยคำนวณจาก เงินกู้ 3 ล้านบาท ระยะเวลาผ่อนชำระ 20 ปี / MRR (Minimum Retail Rate : อัตราดอกเบี้ยลูกค้ารายย่อยชั้นดี) = 6.28% ต่อปี ณ วันที่ 1 มิถุนายน 2563 -กรณีซื้อบ้านจากบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่ธนาคารกำหนด กรณีสมัครพร้อมผลิตภัณฑ์เสริม 3 ประเภท และได้รับฟรี ค่าจดทะเบียนจำนอง ,ค่าเบี้ยประกันอัคคีภัย, ค่าประเมินราคาหลักทรัพย์ ปีที่ 1-3 ดอกเบี้ยเท่ากับ MRR-3.23% อัตราเฉลี่ย 3 ปีแรก เท่ากับ 3.05% ปีที่ 4 เป็นต้นไป ดอกเบี้ยเท่ากับ MRR-1.63% อัตราเฉลี่ย 4.65% อัตราดอกเบี้ยจริงตลอดอายุสัญญา 4.12% กรณีสมัครพร้อมผลิตภัณฑ์เสริม 3 ประเภท และได้รับฟรี  ค่าเบี้ยประกันอัคคีภัย, ค่าประเมินราคาหลักทรัพย์ ปีที่ 1-3 ดอกเบี้ยเท่ากับ MRR-3.58% อัตราเฉลี่ย 3 ปีแรก เท่ากับ 2.70% ปีที่ 4 เป็นต้นไป ดอกเบี้ยเท่ากับ MRR-1.63% อัตราเฉลี่ย 4.65% อัตราดอกเบี้ยจริงตลอดอายุสัญญา 4.00% กรณีสมัครพร้อมผลิตภัณฑ์เสริมไม่ครบทั้ง 3 ประเภท และได้รับฟรี  ค่าเบี้ยประกันอัคคีภัย, ค่าประเมินราคาหลักทรัพย์ ปีที่ 1-3 ดอกเบี้ยเท่ากับ MRR-2.74% อัตราเฉลี่ย 3 ปีแรก เท่ากับ 3.54% ปีที่ 4 เป็นต้นไป ดอกเบี้ยเท่ากับ MRR-1.38% อัตราเฉลี่ย 4.90% อัตราดอกเบี้ยจริงตลอดอายุสัญญา 4.45% หมายเหตุ เมื่อกู้ซื้อบ้านกับ TMB พร้อมสมัครผลิตภัณฑ์เสริม 3 ประเภท ได้แก่ 1.สมัครประกันชีวิตคุ้มครองสินเชื่อ ทีเอ็มบีคุ้มบ้าน (MRTA) 2.สมัครใช้บริการหักบัญชีอัตโนมัติผ่านบัญชีออมทรัพย์ ทีเอ็มบี เพื่อผ่อนชำระสินเชื่อบ้าน 3.สมัครบัตรเดบิต TMB (กรณีที่คุณมีบัตรเดบิต TMB แล้ว ไม่ต้องสมัครเพิ่ม) ข้อเสนอพิเศษเมื่อกู้ซื้อบ้านกับ TMB พร้อมสมัครผลิตภัณฑ์เสริม 3 ประเภท นอกจากดอกเบี้ยคงที่ต่ำสำหรับ 3 ปีแรกแล้ว คุณยังได้รับสิทธิพิเศษต่าง ๆ ดังนี้ -ฟรีประกันอัคคีภัย: TMB จ่ายให้ตามมูลค่าเบี้ยประกันภัย ประมาณ 1,000 บาทต่อปี ต่อราคาบ้าน 1 ล้านบาท -ฟรีค่าจดทะเบียนจำนอง: TMB จ่ายให้ 1% ของเงินกู้สูงสุดถึง 200,000 บาท สำหรับกรณีซื้อบ้าน จากบริษัทพัฒนา อสังหาริมทรัพย์ที่ธนาคารกำหนด -ฟรี ค่าธรรมเนียมธนาคารของสินเชื่อบ้านทุกประเภท: ค่าประเมินราคาหลักทรัพย์, ค่าดำเนินการสินเชื่อ, ค่าทำนิติกรรม จำนอง สำหรับกรณีที่กู้ซื้อบ้านกับ TMB โดยไม่สมัครผลิตภัณฑ์เสริม 3 ประเภท จะได้รับอัตราดอกเบี้ยปกติจาก TMB โดยยังได้รับสิทธิพิเศษเพิ่มเติมอีกดังนี้ -ฟรีประกันอัคคีภัย: TMB จ่ายให้ตามมูลค่าเบี้ยประกันภัย ประมาณ 1,000 บาทต่อปี ต่อราคาบ้าน 1 ล้านบาท -ฟรี ค่าธรรมเนียมธนาคารของสินเชื่อบ้านทุกประเภท: ค่าประเมินราคาหลักทรัพย์, ค่าดำเนินการสินเชื่อ, ค่าทำนิติกรรม จำนอง ทั้งนี้ อัตราดอกเบี้ยค่าธรรมเนียมรวมถึงสิทธิพิเศษต่าง ๆเป็นไปตามประกาศของธนาคาร EIR (Effective Interest Rate : อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา) เป็นเพียงตัวอย่างที่ใช้ในการคำนวณเท่านั้น โดยคำนวณจาก เงินกู้ 3 ล้านบาท ระยะเวลาผ่อนชำระ 20 ปี / MRR (Minimum Retail Rate : อัตราดอกเบี้ยลูกค้ารายย่อยชั้นดี) = 6.28% ต่อปี ณ วันที่ 1 มิถุนายน 2563 ธนาคารไทยพาณิชย์ อัตราดอกเบี้ย 3.25% - 4.10%* เฉลี่ย 3 ปีแรก สำหรับลูกค้าโครงการ/ลูกค้าองค์กร โดยขึ้นอยู่กับประเภทโครงการ หรือประเภทองค์กรตามเงื่อนไขที่ธนาคารกำหนด สำหรับลูกค้าที่ยื่นกู้ภายใน 1 ก.ค.-30 ก.ย. 63 และจดจำนองภายใน 30 ก.ย. 63 ธนาคารธอส. สินเชื่อบ้าน GHB Precious ปีที่ 1 ดอกเบี้ยเท่ากับ 1.67% ปีที่ 2 เท่ากับ 2.75% ปีที่ 3 เท่ากับ MRR-2.40% ปีที่ 4-7 เท่ากับ MRR-2.00% ปีที่ 8 จนถึงตลอดอายุสัญญา  กรณีลูกค้าสวัสดิการ MRR-1.00% กรณีลูกค้ารายย่อยทั่วไป MRR-0.50% หมายเหตุ ธนาคารยกเว้นค่าธรรมเนียมยื่นกู้ 0.1% ของวงเงินนิติกรรม สินเชื่อ New Life ปีที่ 1 ดอกเบี้ยเท่ากับ 3.00% ปีที่ 2 เท่ากับ 3.25% ปีที่ 3 เท่ากับ 3.50% ปีที่ 4-5 เท่ากับ 4.00% ปีที่ 6 จนถึงตลอดอายุสัญญา  กรณีลูกค้าสวัสดิการ MRR-1.00% กรณีลูกค้ารายย่อยทั่วไป MRR-0.50% หมายเหตุ ธนาคารยกเว้นค่าธรรมเนียมยื่นกู้ 0.1% ของวงเงินนิติกรรม สินเชื่อบ้านโครงการจัดสรร ปีที่ 1-2 ดอกเบี้ยเท่ากับ 2.65% ปีที่ 3 ดอกเบี้ย MRR-2.90% ปีที่ 4 เป็นต้นไป กรณีลูกค้าสวัสดิการ MRR-1.00% กรณีลูกค้ารายย่อยทั่วไป MRR-0.50% ธนาคารยูโอบี สินเชื่อบ้านใหม่ สำหรับโครงการของบริษัทมหาชน -แบบดอกเบี้ยคงที่ 3 ปีแรก กรณีทำประกันชีวิต ปีที่ 1-3 อัตราดอกเบี้ยเท่ากับ 3.35% ปีที่ 4 เป็นต้นไป เท่ากับ MRR-1.60% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา เท่ากับ 4.79% -กรณีไม่ทำประกันชีวิต ปีที่ 1-3 อัตราดอกเบี้ยเท่ากับ 3.55% ปีที่ 4 เป็นต้นไป เท่ากับ MRR-1.60% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา เท่ากับ 4.87% -แบบดอกเบี้ยคงที่ 2 ปีแรก กรณีทำประกันชีวิต ปีที่ 1-2 อัตราดอกเบี้ยเท่ากับ 2.80% ปีที่ 3 ดอกเบี้ยเท่ากับ 4.75% ปีที่ 4 เป็นต้นไป เท่ากับ MRR-1.60% อัตราดอกเบี้ยเฉี่ย 3 ปีแรกเท่ากับ 3.45% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา เท่ากับ 4.80% กรณีไม่ทำประกันชีวิต ปีที่ 1-2 อัตราดอกเบี้ยเท่ากับ 3.00% ปีที่ 3 ดอกเบี้ยเท่ากับ 4.95% ปีที่ 4 เป็นต้นไป เท่ากับ MRR-1.60% อัตราดอกเบี้ยเฉี่ย 3 ปีแรกเท่ากับ 3.65% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา เท่ากับ 4.88% สินเชื่อบ้านใหม่ สำหรับโครงการที่ธนาคารให้การสนับสนุน -แบบดอกเบี้ยคงที่ 3 ปีแรก กรณีทำประกันชีวิต ปีที่ 1-3 อัตราดอกเบี้ยเท่ากับ 3.40% ปีที่ 4 เป็นต้นไป เท่ากับ MRR-1.60% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา เท่ากับ 4.81% กรณีไม่ทำประกันชีวิต ปีที่ 1-3 อัตราดอกเบี้ยเท่ากับ 3.60% ปีที่ 4 เป็นต้นไป เท่ากับ MRR-1.60% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา เท่ากับ 4.89% -แบบดอกเบี้ยคงที่ 2 ปีแรก กรณีทำประกันชีวิต ปีที่ 1-2 อัตราดอกเบี้ยเท่ากับ 2.85% ปีที่ 3 ดอกเบี้ยเท่ากับ 4.80% ปีที่ 4 เป็นต้นไป เท่ากับ MRR-1.60% อัตราดอกเบี้ยเฉี่ย 3 ปีแรกเท่ากับ 3.50% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา เท่ากับ 4.82% กรณีไม่ทำประกันชีวิต ปีที่ 1-2 อัตราดอกเบี้ยเท่ากับ 3.05% ปีที่ 3 ดอกเบี้ยเท่ากับ 5.00% ปีที่ 4 เป็นต้นไป เท่ากับ MRR-1.60% อัตราดอกเบี้ยเฉี่ย 3 ปีแรกเท่ากับ 3.70% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา เท่ากับ 4.90% สินเชื่อบ้านใหม่ สำหรับโครงการทั่วไป /บ้านมือสอง /ก่อสร้างบ้าน -แบบดอกเบี้ยคงที่ 3 ปีแรก กรณีทำประกันชีวิต ปีที่ 1-3 อัตราดอกเบี้ยเท่ากับ 3.55% ปีที่ 4 เป็นต้นไป เท่ากับ MRR-1.60% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา เท่ากับ 4.87% กรณีไม่ทำประกันชีวิต ปีที่ 1-3 อัตราดอกเบี้ยเท่ากับ 3.75% ปีที่ 4 เป็นต้นไป เท่ากับ MRR-1.60% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา เท่ากับ 4.95% -แบบดอกเบี้ยคงที่ 2 ปีแรก กรณีทำประกันชีวิต ปีที่ 1-2 อัตราดอกเบี้ยเท่ากับ 3.00% ปีที่ 3 ดอกเบี้ยเท่ากับ 4.95% ปีที่ 4 เป็นต้นไป เท่ากับ MRR-1.60% อัตราดอกเบี้ยเฉี่ย 3 ปีแรกเท่ากับ 3.65% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา เท่ากับ 4.88% กรณีไม่ทำประกันชีวิต ปีที่ 1-2 อัตราดอกเบี้ยเท่ากับ 3.20% ปีที่ 3 ดอกเบี้ยเท่ากับ 5.15% ปีที่ 4 เป็นต้นไป เท่ากับ MRR-1.60% อัตราดอกเบี้ยเฉี่ย 3 ปีแรกเท่ากับ 3.85% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา เท่ากับ 4.96% หมายเหตุ อัตราดอกเบี้ยแบบทำประกันชีวิตคุ้มครองวงเงินสินเชื่อ ผ่านธนาคารยูโอบี -ทุนประกันเต็มวงเงินกู้ และมีระยะเวลาเอาประกันขั้นต่ำ 10 ปี หรือ -ทุนประกันขั้นต่ำ 80% ของวงเงินกู้ และมีระยะเวลาเอาประกันเต็มตามระยะเวลากู้ อัตราดอกเบี้ยสำหรับสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยวงเงิน 1 ล้านบาท อายุสัญญา 15 ปี MRR=7.35% ต่อปี อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงข้างต้นเป็นพียงตัวอย่างที่คำนวณตามเงื่อนไขที่ใช้ในสื่อโฆษณาเท่านั้น อัตราดอกเบี้ยสำหรับการทำสัญญากู้ยืมของลูกค้าแต่ละรายอาจมีความแตกต่างกันตามเงื่อนไขการกู้ยืมของลูกค้าแต่ละราย ธนาคารแลนด์แอนด์เฮ้าส์ แบบที่ 1 สำหรับผู้กู้มีรายได้ตั้งแต่ 75,000 บาทต่อเดือนขึ้นไป แบบ 1.1 ปีที่ 1-2 ดอกเบี้ย 1.90% ปีที่ 3 ดอกเบี้ย 3.85% ปีที่ 4 เป็นต้นไป ดอกเบี้ย 5.10% เฉลี่ย 3 ปีแรก ดอกเบี้ย 2.55% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 3.54% แบบที่ 1.2 ปีที่ 1-2 ดอกเบี้ยคงที่ 2.00% ผ่อนล้านละ 3,500 บาทต่อเดือน ปีที่ 3 ดอกเบี้ย 4.25% ปีที่ 4 เป็นต้นไป ดอกเบี้ย 5.10% เฉลี่ย 3 ปีแรก ดอกเบี้ย 2.75% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 3.65% แบบที่ 1.3 ปีที่ 1-3 ดอกเบี้ย 2.50% ปีที่ 4 เป็นต้นไป ดอกเบี้ย 5.10% เฉลี่ย 3 ปีแรก ดอกเบี้ย 2.50% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 3.57% แบบที่ 1.4 ปีที่ 1-3 ดอกเบี้ย 2.70% ผ่อนล้านละ 3,500 บาทต่อเดือน 3 ปีแรก ปีที่ 4 เป็นต้นไป ดอกเบี้ย 5.10% เฉลี่ย 3 ปีแรก ดอกเบี้ย 2.70% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 3.69% แบบที่ 2 สำหรับผู้กู้มีรายได้ตั้งแต่ 20,000 บาทต่อเดือนขึ้นไป แบบ 2.1 ปีที่ 1-2 ดอกเบี้ย 2.00% ปีที่ 3 ดอกเบี้ย 3.80% ปีที่ 4 เป็นต้นไป ดอกเบี้ย 5.10% เฉลี่ย 3 ปีแรก ดอกเบี้ย 2.60% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 3.57% แบบที่ 2.2 ปีที่ 1-2 ดอกเบี้ยคงที่ 2.10% ผ่อนล้านละ 3,500 บาทต่อเดือน  ปีที่ 3 ดอกเบี้ย 4.20% ปีที่ 4 เป็นต้นไป ดอกเบี้ย 5.10% เฉลี่ย 3 ปีแรก ดอกเบี้ย 2.80% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 3.69% แบบที่ 2.3 ปีที่ 1-3 ดอกเบี้ย 2.55% ปีที่ 4 เป็นต้นไป ดอกเบี้ย 5.10% เฉลี่ย 3 ปีแรก ดอกเบี้ย 2.55% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 3.60% แบบที่ 2.4 ปีที่ 1-3 ดอกเบี้ย 2.75% ผ่อนล้านละ 3,500 บาทต่อเดือน 3 ปีแรก ปีที่ 4 เป็นต้นไป ดอกเบี้ย 5.10% เฉลี่ย 3 ปีแรก ดอกเบี้ย 2.75% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 3.73% เงื่อนไข 1.สิทธิพิเศษสำหรับลูกค้าที่ซื้อบ้านใหม่ในโครงการจัดสรร ดอกเบี้ยเริ่มต้น 1.90% ต่อปี สำหรับลูกค้าที่มีรายได้ตั้งแต่ 75,000 บาทต่อเดือนขึ้นไป หรืออัตราดอกเบี้ยเริ่มต้น 2.00% สำหรับลูกค้าที่มีรายได้ตั้งแต่ 20,000 บาทต่อเดือนขึ้นไป และเบิกรับเงินกู้ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม - 30 กันยายน 2563 เท่านั้น 2.กรณีลูกค้าทำประกัน MRTA/MLTA ธนาคารทดรองจ่ายค่าจดจำนองให้ 1%  ของวงเงินกู้อนุมัติ หรือสูงสุดไม่เกิน 2 แสนบาท (ทั้งนี้ธนาคารขอสงวนสิทธิ์ในการเรียกเก็บเงินทดรองจ่ายค่าจดจำนองดังกล่าวคืนจากลูกค้า กรณีลูกค้าปิดบัญชีสินเชื่อ หรือเปลี่ยนแปลงสัญญาใดๆ ภายใน 5 ปีแรกทุกกรณี นับจากวันทำนิติกรรมจดจำนอง) 3.กรณีสมัครทำประกันชีวิต ต้องสมัครทำ MRTA/MLTA ทุนประกัน 100% ของวงเงินสินเชื่อ ระยะความคุ้มครองขั้นต่ำ 10 ปี 4.ลูกค้าสามารถเลือกใช้อัตราการผ่อนชำระขั้นต่ำล้านละ 3,500 บาท ได้ในแบบอัตราดอกเบี้ยแบบคงที่เท่านั้น 5. อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงข้างต้นเป็นเพียงตัวอย่างอัตราดอกเบี้ยสำหรับสินเชื่อที่อยู่อาศัยวงเงิน 3 ล้านบาท อายุสัญญา 10 ปี MRR = 7.350% (ณ วันที่ 14 เม.ย. 63) ที่คำนวณตามเงื่อนไขที่ใช้ในโฆษณาฉบับนี้เท่านั้น ซึ่งอาจมีความแตกต่างตามเงื่อนไขการกู้ยืมของลูกค้าแต่ละราย 6.อัตราดอกเบี้ย หลักเกณฑ์และเงื่อนไขอื่นๆ เป็นไปตามที่ธนาคารกำหนด ธนาคารออมสิน อัตราดอกเบี้ยเงินกู้สินเชื่อเคหะ กรณีผู้กู้ทำประกันชีวิตคุ้มครองสินเชื่อ แบบที่ 1 ปีที่ 1 อัตราดอกเบี้ย MRR-4.50% ปีที่ 2 อัตราดอกเบี้ย MRR-1.75% ปีที่ 3 อัตราดอกเบี้ย MRR-1.25% ปีที่ 4 เป็นต้นไป MRR-1.00% แบบที่ 2 ปีที่ 1-3 อัตราดอกเบี้ย 3.75% ปีที่ 4 เป็นต้นไป อัตราดอกเบี้ย MRR-1.00% กรณีผู้กู้ไม่ทำประกันชีวิตคุ้มครองสินเชื่อ แบบที่ 1 ปีที่ 1 อัตราดอกเบี้ย MRR-3.50% ปีที่ 2 อัตราดอกเบี้ย MRR-0.75% ปีที่ 3 อัตราดอกเบี้ย MRR-0.25% ปีที่ 4 เป็นต้นไป MRR-0.25% แบบที่ 2 ปีที่ 1-3 อัตราดอกเบี้ย 4.75% ปีที่ 4 เป็นต้นไป อัตราดอกเบี้ย MRR-0.25%   บทความที่เกี่ยวข้อง [PR News] ธอส. ประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ 0.125% ต่อปี
3 ทางรอดอสังหาฯ สู้วิกฤตปี 63-64

3 ทางรอดอสังหาฯ สู้วิกฤตปี 63-64

ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์  นับว่ามีบทบาทสำคัญต่อภาพรวมเศรษฐกิจของไทย เพราะเป็นธุรกิจที่มีมูลค่ามหาศาล และยังก่อให้เกิดธุรกิจที่เกี่ยวข้องมากมายตามมา  หากธุรกิจอสังหาฯ เกิดปัญหา ย่อมส่งผลกระทบในวงกว้างและต่อภาพรวมเศรษฐกิจของประเทศ อย่างในอดีตเกิดวิกฤตฟองสบู่ในปี 2540   ในปีนี้ประเทศไทยต้องเผชิญกับปัญหาการแพร่ระบดของไวรัสโควิด-19 ซึ่งส่งผลกระทบต่อภาพรวมเศรษฐกิจของประเทศ และแน่นอนธุรกิจอสังหาฯ ก็โดนไปเต็ม ๆ เช่นกัน เพราะการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทำให้ธุรกรรมต่าง ๆ ต้องหยุดชะงัก ผู้บริโภคต้องหยุดการทำงาน “อยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ”   จะว่าไปแล้วธุรกิจอสังหาฯ เริ่มชะลอความร้อนแรงมาตั้งแต่ปี 2562 ที่ผ่านมา จากการออกมาตรการ LTV ทำให้ปีที่ผ่านมาธุรกิจอสังหาฯ เติบโตเพียง 4% แม้ว่าจะมีขนาดธุรกิจคิดเป็นสัดส่วน 3% ของ GDP ก็ตาม โดยธุรกิจอสังหาฯ ชะลอตัวลงต่อเนื่อง ในไตรมาสแรกของปีนี้ มีอัตราการเติบโตเพียง 2% เท่านั้น จึงถึงว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทำให้ธุรกิจอสังหาฯ อยู่ในภาวะที่ยากลำบาก 15 ประเด็นอสังหาฯ ท่ามกลางวิกฤตโควิด-19 ล่าสุด ศูนย์วิจัย Krungthai COMPASS ธนาคารกรุงไทย ได้ทำการประเมินภาพรวมธุรกิจอสังหาฯ ในปี 2563 พร้อมกับมองแนวโน้มธุรกิจในปี 2564 จากผลกระทบของการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ซึ่งมีบทสรุปสำคัญ ดังนี้   1.ปี 2563 เศรษฐกิจไทยจะได้รับผลกระทบจากไวรัสโควิด-19 มีแนวโน้มหดตัวอย่างรุนแรง ในอัตรา 8.8% ส่งผลทำให้กิจกรรมต่าง ๆ ทางเศรษฐกิจหยุดชะงัก อัตราการจ้างงานลดลง ผู้บริโภคมีรายได้ลดลง จำเป็นต้องเอาเงินออมออกมาใช้จ่าย ทำให้ความสามารถในการซื้อสินค้าขนาดใหญ่ อย่างรถยนต์หรืออสังหาริมทรัพย์ หดตัวลงตาม 2.ยอดพรีเซลล์มีแนวโน้มหดตัวอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ในไตรมาส 4 ปี 2562 มียอดพรีเซลล์  20% ไตรมาสแรก ยอดพรีเซลล์ลดลงเหลืออัตรา 15% และไตรมาส 2 ซึ่งได้รับผลกระทบจากไวรัสโควิด-19 และมีมาตรการล็อกดาวน์ ทำให้ยอดพรีเซลล์ลดลงมีอัตราเพียง 12% ซึ่งเป็นหนึ่งในเครื่องชี้วัดว่าตลาดอสังหาฯ หดตัวอย่างรุนแรง   3.ผลสำรวจจาก Wunderman Thompson พบว่า ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 สัดส่วน 80% จะเลื่อนกำหนดการซื้อที่อยู่อาศัยอย่างไม่มีกำหนด เนื่องจากต้องสำรองเงินไว้ใช้จ่ายในสิ่งที่จำเป็น และยังมองว่าการลงทุนอสังหาฯ ในเวลานี้ให้ผลตอบแทนไม่มากพอ และ 20% จะเลื่อนการซื้ออสังหาฯ ออกไปอย่างน้อย 1 ปี   4.ผู้บริโภคที่มีรายได้น้อยกว่า 40,000 บาทต่อเดือน ต้องสำรองเงินไว้ใช้จ่ายกับสินค้าที่จำเป็นต่อการบริโภค ส่วนผู้บริโภคที่มีรายได้มากกว่า 40,000 บาทต่อเดือน มองว่าการลงทุนในอสังหาฯ ให้ผลตอบแทนไม่ดีเท่าที่ควร เลยเลื่อนการซื้ออสังหาฯ ออกไปก่อน   5.อสังหาฯ กลุ่ม Economy ซึ่งมีระดับราคาต่ำกว่า 3 ล้านบาท และกลุ่ม Middle ราคา 3-10 ล้านบาท ยอดพรีเซลล์ช่วงเดือนเมษายนและพฤษภาคม จะมีอัตราต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในรอบ 1 ปีคอนข้างมาก เพราะกลุ่มลูกค้าหลักเป็นกลุ่มที่มีระดับรายได้ต่อครัวเรือนต่ำกว่า 100,000 บาท มีความอ่อนไหวต่อสภาพเศรษฐกิจ รวมถึงเป็นกลุ่มที่มีอาชีพอิสระ และจ้างงานตัวเองค่อนข้างมาก 6.อสังหาฯ กลุ่ม Luxury ระดับราคา 10-20 ล้านบาท และกลุ่ม Super Luxury ราคามากกว่า  20 ล้านบาท  ยอดพรีเซลล์ช่วงเดือนเมษายนและพฤษภาคม ยังถือว่ายังดี โดยเฉพาะกลุ่ม Super Luxury สูงกว่าค่าเฉลี่ยในรอบ 1 ปีด้วย  เพราะกลุ่มลูกค้าหลักเป็นกลุ่มที่มีรายได้เกิน 100,000 บาทต่อครัวเรือนขึ้นไป มีความมั่นคงทางด้านรายได้ และส่วนใหญ่จะมีความมั่นคงทางอาชีพ มีสัดส่วนอาชีพราชการค่อนข้างมาก ซึ่งเป็นอาชีพที่มีความมั่นคงจึงทำให้ การซื้อที่อยู่อาศัยในกลุ่ม Luxury  และกลุ่ม Super Luxury ไม่ได้รับผลกระทบจากไวรัสโควิด-19 เท่าที่ควร   7.แม้ว่าการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 จะส่งผลต่อธุรกิจอสังหาฯ แต่มีอสังหาฯ บางประเภทและบางราคาที่ไม่ได้รับผลกระทบ เช่น กลุ่มคอนโด ระดับราคาต่ำกว่า 3 ล้านบาท มีผลตอบรับที่ดี มียอดพรีเซลล์ 35% กลุ่มทาวน์เฮ้าส์ระดับราคา 3-10 ล้านบาท มียอดพรีเซลล์ 40% ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นเพราะ การเปลี่ยนจากการซื้อคอนโดมาซื้อทาวน์เฮ้าส์แทน เพราะผู้บริโภคต้องการพื้นที่มากขึ้น แต่ระดับราคาเดียวกัน ส่วนกลุ่ม Super Luxury จะพบว่าอสังหาฯ ทุกประเภทยังมียอดพรีเซลล์ที่สูง   8.ความต้องการที่ซื้อลดลง ส่งผลต่อจำนวนที่อยู่อาศัย ทั้งโครงการเปิดตัวแล้วและอยู่ระหว่างการก่อสร้าง โดยโครงการที่เปิดตัวแล้วและอยู่ระหว่างการก่อสร้าง จะได้รับผลกระทบเรื่องการขาดเงินทุนในการก่อสร้าง เพราะยอดพรีเซลล์ที่ต่ำทำให้ไม่สามารถได้รับเงินกู้จากสถาบันการเงิน ทำให้ดีเวลลอปเปอร์ต้องใช้เงินทุนของตนเองเข้ามาพัฒนา แต่ในสถานการณ์ปัจจุบันแนวทางนี้เป็นไปได้ยาก เพราะต้องมีสภาพคล่องเพื่อต่อสู่กับวิกฤตเศรษฐกิจมากกว่า ทำให้แนวทางที่เป็นไปได้ ดีเวลลอปเปอร์จะชะลอการก่อสร้าง 9.ความต้องการซื้อที่ลดลง ยังส่งผลทำให้ดีเวลลอปเปอร์เลื่อนการเปิดตัวโครงการใหม่ โดยแผนการเปิดตัวโครงการใหม่ในปีนี้ จากการสำรวจดีเวลลอปเปอร์รายใหญ่ 8 บริษัท ที่วางแผนเปิดตัวโครงการในปีนี้  จะเห็นว่าก่อนเกิดโควิด-19 วางแผนเปิดโครงการใหม่มูลค่า 195,500 ล้านบาท โดยโครงการบ้านแนวราบมีมูลค่า 139,100 ล้านบาท และคอนโดมูลค่า 56,400 ล้านบาท ภายหลังจากเกิดเหตุการณ์โควิด-19 ในไตรมาส 2 ดีเวลลอปเปอร์ได้ปรับแผน และเลื่อนเปิดโครงการใหม่ออกไป โดยวางแผนเปิดมูลค่า 137,800 ล้านบาท แบ่งเป็นบ้านแนวราบมูลค่า 116,800 ล้านบาท และคอนโด มูลค่า 21,000 ล้านบาท   การเปิดตัวใหม่ในปี 2563 คาดว่าจะมีที่อยู่อาศัยเปิดใหม่ 72,000 ยูนิต ลดลง 40%  โดยมีแรงกดดันหลักจากการที่ดีเวลลอปเปอร์เลื่อนแผนการเปิดตัวโครงการใหม่ออกไป เฉพาะ 5 เดือนแรกของปีนี้ ดีเวลลอปเปอร์เปิดตัวใหม่ลดลงแล้ว 54%   10.มูลค่าโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยในปีนี้ คาดว่าจะลดลง 27% มีมูลค่า 420,000 ล้านบาท บ้านจัดสรรมีมูลค่า ลดลง 24% คอนโด ลดลง 30%   11.สต็อกที่อยู่อาศัยเหลือขายสะสมปีนี้ น่าจะเพิ่มขึ้น 5% มีจำนวน 185,000 ยูนิต โดยสต็อกคอนโด กระจายอยู่ในหลายทำเล ขณะที่บ้านจัดสรรจะอยู่ที่ทำเลบางบัวทอง และรังสิต-ปทุมธานี เป็นหลัก 12.คาดการณ์แนวโน้มเศรษฐกิจในปี 2564 เศรษฐกิจฟื้นตัวได้อัตรา 6.1%   13.มูลค่าการโอนกรรมสิทธิ์ ที่อยู่อาศัยในปี 2564 น่าจะเติบโต 12% มีมูลค่า 470,000 ล้านบาท   14.ในปี 2564 คาดว่าดีเวลลอปเปอร์จะเปิดตัวโครงการใหม่ จำนวน 85,000 ยูนิต เติบโต 18%   15.โครงการที่อยู่อาศัยเหลือขาย ปี 2564 คาดว่ามีจำนวน 192,000 ยูนิต 3 แนวทางการปรับตัวของดีเวลลอปเปอร์ เพื่อรับกับพฤติกรรมผู้บริโภคในยุค New Normal   1.การซื้ออสังหาฯ ผ่านออนไลน์ อาจกลายเป็นเรื่องปกติ มีสถิติการเยี่ยมชมเว็บไซต์ของดีเวลลอปเปอร์ชั้นนำ มีจำนวนผู้เข้าชมเพิ่มขึ้น 40% ในช่วงการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19  ซึ่งเดือนมกราคมมียอดเข้าชมเว็บไซต์ 8,400 ครั้งต่อวันต่อเว็บไซต์ และเพิ่มขึ้นเป็น 11,700 คนต่อวันต่อเว็บไซต์ หรือเพิ่มขึ้น 40% ในเดือนพฤษภาคม ซึ่งช่วงการแพร่ระบาด หลายดีเวลลอปเปอร์ได้ทำโปรโมชั่น โปรโมทการซื้อขายอสังหาฯ จึงส่งผลให้อัตราเข้าชมเว็บไซต์เพิ่มสูงขึ้นมาก โดนแนวทางการปรับตัวของดีเวลลอปเปอร์ คือ การมีกลยุทธ์และศึกษาพฤติกรรมกลุ่มลูกค้า ว่าทำอย่างไรให้ผู้บริโภคเข้าชมโครงการผ่านช่องทางออนไลน์ได้ เช่น การโฆษณาผ่านอินฟลูเอนเซอร์ การสร้างความเชื่อมั่นให้ผุ้บริโภค ด้วยการพัฒนาระบบ Virtual Visits ให้กับผู้บริโภคสามารถชมโครงการเสมือนจริง และการยกระดับระบบหลังบ้าน (Back-office) ให้กับผู้บริโภคสามารถชำระเงิน และดำเนินการเรื่องเอกสารผ่านเว็บไซต์ได้เลย 2.ปัจจัยด้านทำเล อาจไม่สำคัญเท่า “ขนาดของที่อยู่อาศัย” เพื่อรองรับการการใช้ชีวิตในที่อยู่อาศัยที่นานขึ้น โดยเฉพาะ Work From Home  ซึ่งแนวทางการปรับตัวของดีเวลลอปเปอร์ คือ พิจารณาความเป็นไปได้ที่จะลดสัดส่วนห้อง Studio และเพิ่มห้อง One Bed+ ของโครงการคอนโดในบางทำเล และหันมาพัฒนาโครงการแนวราบแทนการพัฒนาคอนโด 3.อยากใช้พื้นที่ส่วนกลางแบบมี “พื้นที่ส่วนตัว” ดีเวลลอปเปอร์ ต้อง Re-design พื้นที่ส่วนกลาง และติดตั้งอุปกรณ์ Touchless เพื่อตอบโจทย์ความปลอดภัยของบริโภค เช่น Touchless door, Private Fitness, Touchless life และ Private Working Space ดร.พชรพจน์ นันทรามาศ ผู้อำนวยการฝ่ายอาวุโส ศูนย์วิจัย Krungthai COMPASS ธนาคารกรุงไทย กล่าวสรุปว่า  ตลาดที่อยู่อาศัยในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล สำหรับปี 2563 จะถูกกดดันจากการแพร่ระบาดของ ไวรัสโควิด -19 เป็นอย่างมาก ผ่านสภาพเศรษฐกิจที่หดตัว รายได้ของผู้บริโภคที่หายไป และการ ไม่สามารถเดินทางเข้ามาดูโครงการและโอนกรรมสิทธิ์ของผู้ซื้อต่างชาติในช่วง Lockdown ซึ่งจะส่งผลให้มูลค่าตลาดหดตัว 27%YoY และแม้เศรษฐกิจไทยจะมีแนวโน้มทยอยฟื้นตัวในปี 2021 แต่กว่าตลาดที่อยู่อาศัยจะกลับมาอยู่ในระดับเดียวกับช่วงก่อนเกิดวิกฤติไวรัสโควิด-19 (ปี 2562) ก็อาจต้องใช้เวลาอีก 4-5 ปี (ปี 2567-2568) อย่างไรก็ดี ผู้พัฒนาอสังหาฯ ควรติดตามพฤติกรรมการอยู่อาศัยของผู้บริโภค ที่อาจเปลี่ยนไปหลังเกิดวิกฤติ ไวรัสโควิด -19 เพื่อนำมาปรับปรุงการออกแบบ และพัฒนาที่อยู่อาาศัยให้เหมาะสม    
5 เหตุผลที่ทำให้ ห้าแยกลาดพร้าว เป็นทำเลศักยภาพของปัจจุบันและอนาคต

5 เหตุผลที่ทำให้ ห้าแยกลาดพร้าว เป็นทำเลศักยภาพของปัจจุบันและอนาคต

ในบรรดาทำเลจุดตัดถนนสำคัญของกรุงเทพฯ สิ่งที่มักเป็นปรากฎการณ์ให้เห็นอย่างชัดเจน คือ ความเจริญเติบโตของการพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์บริเวณจุดตัดนั้น ๆ ไม่ว่าจะเป็นอาคารสำนักงานขนาดใหญ่ ศูนย์การค้าและพื้นที่รีเทลจำนวนมาก รวมถึงการพัฒนาโครงการคอนโดมิเนียมอย่างหนาแน่น   โดยหนึ่งในจุดตัดถนนสำคัญของกรุงเทพฯ ลำดับต้นๆ ที่มีความเจริญด้านการพัฒนาโครงการอสังหาฯ รูปแบบต่าง ๆ คงต้องยกให้บริเวณห้าแยกลาดพร้าว  เพราะเต็มไปด้วยโครงการจำนวนมาก ทั้งอาคารสำนักงาน ศูนย์การค้า และโครงการคอนโดฯ ที่สำคัญยังเป็นจุดเชื่อมต่อระบบคมนาคมสำคัญของเมือง ทั้งรถไฟฟ้าบีทีเอสสายสีเขียว กับรถไฟฟ้าใต้ดินสายสีน้ำเงินอีกด้วย 5 ปัจจัยผลักดันให้ห้าแยกลาดพร้าวทำเลทอง ข้อมลจากบริษัท บางกอกซิตี้สมาร์ท จำกัด (บีซี) ระบุว่า ทำเลลาดพร้าวปี 2563 นี้ ถือเป็นทำเลแห่งอนาคตของวันนี้อย่างแท้จริง (Ladprao 2020 – The Future is Now) เพราะมี 5 ปัจจัยหลักสำคัญ ที่เข้ามาสนับสนุน ทำให้โซนห้าแยกลาดพร้าว เป็นแม่เหล็กดึงดูดทั้งผู้ประกอบการให้เข้ามาลงทุนจำนวนมาก รวมถึงกระตุ้นความคึกคักตลาดคอนโดฯ ทั้งลูกค้าเรียลดีมานด์ รวมถึงกลุ่มนักลงทุน ที่ยังสามารถเข้ามาสร้างโอกาสได้จากผลตอบแทนที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตลอดเวลา ปัจจัยสำคัญที่สนับสนุนให้ทำเลห้าแยกลาดพร้าวมีศักยภาพ คงมาจาก 5 ปัจจัย ดังนี้ 1.ศูนย์กลางของการเดินทางและระบบขนส่งมวลชน นอกจากการเป็นจุดเชื่อมต่อของรถไฟฟ้าสำคัญ 2 สาย คือ รถไฟฟ้าวบีทีเอสสายสีเขียว และรถไฟใต้ดินสายน้ำเงิน  ซึ่งปัจจุบันมีการขยายการเดินรถออกไปเพิ่มมากขึ้น รถไฟฟ้าบีทีเอสสายสีเขียว เปิดเดินรถต่อไปถึงสถานีวัดพระศรีฯ​ ขณะที่รถไฟฟ้าใต้ดินสายสีน้ำเงิน สามารถเดินทางเชื่อมต่อไปได้ถึงท่าพระหรือสถานีหลักสอง นอกจากนี้  ในพื้นที่ห้าแยกลาดพร้าว ยังตั้งอยู่ใกล้กับสถานีกลางบางซื่อ ศูนย์กลางสายรถไฟที่ใหญ่ที่สุดในอาเซียนที่กำลังจะสร้างเสร็จและเปิดให้บริการในช่วงต้นปี 2564 นี้อีกด้วย ทำให้พื้นที่โดยรอบของสถานีกลางบางซื่อ เจริญเติบโตเพิ่มขึ้นตามมาด้วย ไม่ว่าจะเป็นในด้านปริมาณหรือด้านราคาอสังหาฯ   2.ศูนย์กลางเศรษฐกิจแห่งใหม่ พื้นที่ห้าแยกลาดพร้าว และพื้นที่โดยรอบ ปัจจุบันมีการพัฒนาขยายตัวของบรรดา อาคารสำนักงานเกรดเอและบีครอบคลุมกว่า 300,000 ตารางเมตร และยิ่งไปกว่านั้น เมื่อสถานีกลางบางซื่อสร้างเสร็จ จะส่งผลให้เกิดพื้นที่อาคารสำนักงานแห่งใหม่อีกกว่า 100,000 ตารางเมตร ซึ่งคาดการณ์ว่าจะส่งผลให้มีการเพิ่มขึ้นของพนักงานออฟฟิศทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติรวมกว่า 40,000 คน ทำให้มีผู้สนใจลงทุนในย่านนี้จำนวนมาก จึงปฏิเสธ ไม่ได้ว่าพื้นที่บริเวณห้าแยกลาดพร้าว กำลังเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจและธุรกิจแห่งใหม่ที่มีความสำคัญ  อีกหนึ่งโซนของพื้นที่กรุงเทพฯ   3.ศูนย์กลางสิ่งอำนวยความสะดวก  บริเวณห้าแยกลาดพร้าว  แม้ว่าจะไม่ใช่พื้นที่ธุรกิจใจกลางเมือง หรือ CBD แต่ถือเป็นย่านที่มีความเจริญและความสะดวกครบถ้วน โดยเฉพาะการมีศูนย์การค้าขนาดใหญ่ อย่างศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซ่า ที่มีผู้ใช้บริการมากกว่า 150,000 คนต่อวัน นอกจากนี้ ยังมีศูนย์การค้าอื่นอีก ไม่ว่าจะเป็นยูเนี่ยนมอลล์ หรือเทสโก้ โลตัส ที่สำคัญในโซนห้าแยกลาดพร้าว ใกล้กับแหล่งช้อปปิ้งขนาดใหญ่ของกรุงเทพฯ ที่มีชื่อเสียงดังไปทั่วโลก คือ ตลาดนัดจตุจักร ที่มีการเปิดขายสินค้าหมุนเวียนแทบจะทุกวันตลอดสัปดาห์ ไม่ว่าจะเป็นประเภทต้นไม้ สัตว์เลี้ยง หรือสินค้าทั่วไป ในพื้นที่ติดตลาดนัดจตุจักร ยังมีศูนย์การค้าเปิดให้บริการอีก 2 แห่ง คือ ศูนย์การค้ามิกซ์​จตุจักร และเจเจมอลล์  นี่ยังไม่นับรวมตลาดนัดเล็ก ๆ น้อย ๆ ตามพื้นที่สำนักงานใหญ่ๆ ที่อยู่โดยรอบให้ผู้คนได้ช้อปปิ้งกันอีกมากมายด้วย   4.มีพื้นที่สีเขียวที่เป็นสวนสาธารณะขนาดใหญ่ถึง 3 แห่ง บริเวณห้าแยกลาดพร้าว ยังใกล้กับปอดขนาดใหญ่ของกรุงเทพฯ  เพราะมีสวนสาธารณะขนาดใหญ่ถึง 3 แห่ง ได้แก่ สวนวชิรเบญจทัศ หรือสวนรถไฟ ขนาด 375 ไร่  สวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ ขนาด 196 ไร่ และสวนจตุจักร ขนาด 155 ไร่  เมื่อนับพื้นที่รวมกันมีขนาดพื้นที่มากถึง 726 ไร่ หรือ 1.12 ล้านตารางเมตรเลยทีเดียว   5.ตลาดคอนโด เติบโตและมีราคาที่คุ้มค่า   ตลาดคอนโด ในย่านทำเลห้าแยกลาดพร้าว นับว่าเติบโตต่อเนื่อง แม้จะมีปริมาณไม่มาก แต่ก็เพิ่มขึ้นโดยตลาด ที่สำคัญยังมีราคาขายที่สามารถจับต้องได้ และมีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้น จึงเหมาะสำหรับกลุ่มผู้อยู่อาศัยจริง และกลุ่มนักลงทุน สำหรับข้อมูลย้อนหลัง 5 ปี ของบีซีตั้งแต่ช่วงปี 2558-2562  พบการเปิดตัวของโครงการคอนโด ติดถนนหลักเส้นพหลโยธิน ตั้งแต่สถานีรถไฟฟ้าใต้ดินพหลโยธิน-สถานีรถไฟฟ้ารัชโยธิน ทั้งสิ้น 11 โครงการ จำนวน 8,263 ยูนิต ในราคาขายเฉลี่ย 145,000 บาทต่อตารางเมตร  มียอดขายรวมแล้วกว่า 74% โดยหากเจาะข้อมูลดีมานด์ในแต่ละสถานีพบว่า สถานีที่ได้รับความนิยมสูงสุดคือ สถานีบีทีเอสห้าแยกลาดพร้าวที่มีอัตราการตอบรับที่ดีที่สุด ด้วยยอดขายรวมกว่า 82% มียูนิตคงเหลือขายประมาณ 490 ยูนิตเท่านั้น สาเหตุหลักเพราะเป็นทำเลที่ดีที่สุดเปรียบเสมือนศูนย์กลางของย่านนี้   ขณะที่คอนโด ในกลุ่มสินค้ารีเซล ก็พบการปรับตัวของราคาขึ้นมาปีละประมาณ 8% เช่นกัน นอกจากนี้ ผู้ซื้อที่ต้องการลงทุนในการปล่อยเช่าและขายต่อให้ความสนใจในตลาดโซนนี้ไม่แพ้กัน เพราะผลตอบแทนจากการปล่อยเช่าระยะยาว (Rental Yield) ของคอนโด ในย่านนี้ พบอัตราการเติบโตที่เพิ่มขึ้นอยู่ที่ประมาณ 4-5% ซึ่งคอนโด ในทำเลนี้ ยังมีราคาเหมาะสมในการซื้อ ทั้งเพื่ออยู่อาศัยและเพื่อการลงทุนระยะยาว   บิ๊กเนมแห่ปักหมุดผุดโปรเจ็กต์ สำหรับความเคลื่อนไหวการพัฒนาโครงการคอนโดฯ ในย่านห้าแยกลาดพร้าว นับว่ามีมาอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลามากกว่า 10 ปี เพราะในบริเวณห้าแยกลาดพร้าว เป็นจุดตัดถนนสำคัญถึง 3 เส้น ได้แก่ ถนนพหลโยธิน ถนนลาดพร้าว และถนนวิภาวดี-รังสิต ซึ่งสามารถเดินทางไปยังจุดต่าง ๆ ได้ทั่วกรุงเทพฯ ขณะเดียวกันยังใกล้กับสถานที่สำคัญ ทั้งหน่วยงานราชการ อาคารสำนักงาน บริษัทเอกชน ศูนย์การค้า หรือแม้แต่การเชื่อมต่อไปยังต่างจังหวัด เพราะใกล้กับสถานีขนส่งหมอชิต ยิ่งแผนการพัฒนาระบบรถไฟฟ้าทั้งบนดินและใต้ดิน ผ่านบริเวณห้าแยกลาดพร้าว ดีเวลลอปเปอร์รายใหญ่จึงแห่กันมาจับจองที่ดินขึ้นโครงการกันมากมาย   โดยปัจจุบันยังพบว่า มีหลายโครงการที่ยังเปิดการขาย หรือเป็นโครงการพร้อมเข้าอยู่ รวมถึงกำลังก่อสร้าง แต่ยังไม่เปิดการขายหลายโครงการ โดยเฉพาะบนถนนพหลโยธิน  ช่วงสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินสถานีพหลโยธิน และรถไฟฟ้าบีทีเอสสถานีห้าแยกลาดพร้าว ซึ่งมีโครงการที่น่าสนใจ ได้แก่   1.โครงการเดอะเครสท์ พาร์ค เรสซิเดนซ์ (The Crest Park Residences) เป็นโครงการภายใต้การร่วมทุนระหว่างบริษัท เอสซี แอสเสท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กับ Nishitetsu Group ยักษ์ใหญ่และผู้นำในภูมิภาค คิวชูของประเทศญี่ปุ่น โดยตั้งอยู่บนถนนพหลโยธิน ตรงข้ามห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลพลาซ่า ใกล้กับห้าแยกลาดพร้าว มีระยะห่างเพียง 75 เมตร ถึง รถไฟฟ้าใต้ดินสถานีพหลโยธิน และใกล้กับบีทีเอสสถานีห้าแยกลาดพร้าว ตั้งอยู่บนเนื้อที่ประมาณ 2 ไร่ จำนวน 429 ยูนิต มูลค่าโครงการ 3,500 ล้านบาท ซึ่งราคาขายเฉลี่ยกว่า 2-2.5 แสนบาทต่อตารางเมตร  ซึ่งโครงการอยู่ระหว่างการก่อสร้าง และวางแผนเปิดการขายในปีนี้   2.โครงการไลฟ์ ลาดพร้าว (LIFE LADPRAO) คอนโดพร้อมอยู่ จากบริษัท เอพี (ไทยแลนด์) จำกัด (มหาชน)หรือ เอพี นับเป็นหนึ่งในไฮไลท์โปรเจคร่วมทุนระหว่างเอพีและพันธมิตรญี่ปุ่น มิตซูบิชิ เอสเตท เรสซิเดนซ์ (บริษัทในเครือมิตซูบิชิ เอสเตท กรุ๊ป) ตั้งอยู่ใกล้กับรถไฟฟ้าบีทีเอส สถานีห้าแยกลาดพร้าว มากที่สุด มีมูลค่าโครงการ 8,000 ล้านบาท จำนวน 1,615 ยูนิต     3.โครงการไลฟ์ ลาดพร้าว แวลลีย์ (Life Ladprao Valley) อีกหนึ่งโครงการของค่ายเอพี ซึ่งตั้งอยู่บนถนนพหลโยธิน ใกล้กับรถไฟฟ้าบีทีเอส สถานีห้าแยกลาดพร้าวอีกหนึ่งโครงการ บนพื้นที่โครงการกว่า 5 ไร่ ปัจจุบันงานก่อสร้างโครงสร้างคืบหน้ากว่า 73% มีจำนวนยูนิต 1,140 ห้อง และร้านค้า 1 ร้าน 4.โครงการไลฟ์ ลาดพร้าว สเตชั่น (Life Ladprao Station) เป็นโครงการที่ 3 ของค่ายเอพี ที่อยู่ระหว่างการพัฒนาและก่อสร้าง เป็นโครงการบนพื้นที่กว่า 2 ไร่ ขนาดอาคารสูง 42 ชั้น จำนวน 636 ยูนิต น่าจะมีมูลค่าโครงการประมาณ 2,100 ล้านบาท ซึ่งปัจจุบันยังไม่เปิดการขาย คาดว่าจะเปิดขายได้ภายในช่วงปี 2564 ถือเป็นโครงการล่าสุดที่เข้ามาปักหมุดในทำเลห้าแยกลาดพร้าว 5.โครงการเดอะ ไลน์ พหลโยธิน พาร์ค (The Line Phahonyothin Park) โครงการคอนโดฯ ภายใต้การร่วมทุนระหว่างแสนสิริและบีทีเอส กรุ๊ป เป็นอาคารขนาดสูง 32 ชั้น มีจำนวน 880 ยูนิต มูลค่าโครงการ 4,900 ล้านบาท ในความเป็นจริงแล้ว บริเวณห้าแยกลาดพร้าว ทุกถนนที่วิ่งตัดผ่าน ต่างมีโครงการคอนโด พัฒนาขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง ทั้งติดถนนใหญ่และตามซอยแยกเข้าไปมากมาย เพราะด้วยปัจจัยสนับสนุนต่างๆ ข้างต้น จึงไม่แปลกใจที่จะส่งผลให้ที่ดินบริเวณนี้มีราคาเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง บางแปลงพุ่งทะลุไปกว่า 1 ล้านบาทต่อตารางวาก็เคยมีให้เห็นมาแล้ว และเป็นทำเลที่ได้รับความนิยมจากดีเวลลอปเปอร์ไม่แพ้ในโซนใจกลางเมืองเลยทีเดียว เชื่อว่าหลังจากโครงการขนาดใหญ่ อย่างสถานีกลางบางซื่อ ก่อสร้างเสร็จแล้วและเปิดให้บริการ ศักยภาพของทำเลห้าแยกลาดพร้าว คงได้รับอานิสงค์และมีการเติบโตมากขึ้นอีกหลายเท่าตัวอย่างแน่นอน  
3 บิ๊กอสังหาฯ ฝ่าวิกฤตโควิด-19 กับยอดขายครึ่งปีแรกที่ดีเกินคาด !!

3 บิ๊กอสังหาฯ ฝ่าวิกฤตโควิด-19 กับยอดขายครึ่งปีแรกที่ดีเกินคาด !!

เริ่มต้นปี 2563 เชื่อว่าหลายคนคงไม่คาดคิดว่า ปีนี้ประเทศไทยจะต้องเผชิญกับการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ซึ่งส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงไปเกือบทุกเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องส่วนตัว เรื่องการทำงาน หรือทำธุรกิจ ทุกคนต้องปรับตัว ปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้ชีวิตและการทำงานกันแทบทั้งหมด   ในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ก็เกิดปรากฏการณ์หลายอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ไม่ว่าจะเป็นการขายและการตลาดออนไลน์ เพราะผู้บริโภคไม่ออกจากบ้าน ต้องอยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ รูปแบบการขายจึงมุ่งเน้นไปที่การไลฟ์สด การขายผ่านออนไลน์ช่องทางต่าง ๆ ผสมกับแคมเปญการตลาด ลด แลก แจก แถม ที่กระหน่ำใส่กันเข้ามา โดยเฉพาะการหั่นราคาขายหนักสุดเท่าที่เคยมีมาก่อน หรือแม้แต่กลยุทธ์ช่วยผ่อนก่อนมากถึง 5 ปี เพื่อทำให้ลูกค้าที่อยากมีที่อยู่แล้วเกิดลังเล กล้าจะตัดสินใจซื้อ   ช่วงเกิดการแพร่ระบาดช่วงแรก ๆ ดีเวลลอปเปอร์หลายราย วิตกและกังวล กลัวว่าปีนี้ธุรกิจอาจจะไม่เป็นไปตามเป้าหมาย อาจจะย่ำแย่จากปัจจัยที่ไม่ได้คาดคิดว่าจะเกิดขึ้น แต่ผลจากการทำตลาดอย่างหนัก บวกกับการปรับตัวที่รวดเร็วของดีเวลลอปเปอร์ ในการทำตลาดและรับมือกับเหตุการณ์ที่เกิด ทำให้ช่วงครึ่งปีแรกที่ผ่านมา หลายบริษัทยังรักษาการเติบโต สามารถกวาดยอดขายมาตุนไว้ในมือ ซึ่งหลายรายทำได้ดีเกินกว่าที่คาดเอาไว้ด้วยซ้ำ ORI โชว์พรีเซลครึ่งปีแรก 11,200 ล้าน นายพีระพงศ์ จรูญเอก ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) หรือ ORI  เปิดเผยว่า ในไตรมาส 2 ที่ผ่านมาบริษัทมียอดพรีเซลล์กว่า 6,400 ล้านบาท สูงกว่าในไตรมาสแรกกว่า 32% แบ่งเป็นยอดขายจากกลุ่มบ้านจัดสรร 30% และคอนโดมิเนียม 70% ยอดขายดังกล่าวส่งผลให้ภาพรวมในช่วงครึ่งปีแรก บริษัทมียอดขายสะสมแล้วกว่า 11,200 ล้านบาท แบ่งสัดส่วนเป็น บ้านจัดสรร 32% และคอนโดมิเนียม 68%   ยอดขายครึ่งปีแรก คิดเป็นกว่า 52% ของเป้าหมายทั้งปีที่ตั้งไว้ 21,500 ล้านบาท  ทำให้มีโอกาสที่ภาพรวมทั้งปีนี้  จะสามารถทำยอดขายได้มากกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ สาเหตุสำคัญที่ผลักดันยอดขายของบริษัทให้เติบโตโดดเด่นต่อเนื่อง มาจากการกลยุทธ์การขายที่ตอบสนองกับสถานการณ์ตลาด ควบคู่ไปกับการปรับเดินเกมการตลาดเชิงรุก เพิ่มช่องทางขายสินค้าบุกแพลตฟอร์มออนไลน์มากขึ้น อาทิ การเปิด Official Store บนแพลตฟอร์ม Shopee และ Lazada รวมทั้งการผลักดันพนักงานให้ก้าวสู่ Micro Influencer ขายสินค้าผ่านช่องทางสื่อสารส่วนบุคคล ภายใต้โปรเจ็คท์ Everyone can sell เพื่อเพิ่มการเข้าถึงผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมายโดยตรง สำหรับภาพรวมครึ่งปีหลัง  บริษัทจะมีโครงการสร้างเสร็จ  พร้อมทยอยโอนกรรมสิทธิ์เพิ่มเติมอีก 6 โครงการ มูลค่ารวมประมาณ 10,000 ล้านบาท เริ่มจากไตรมาส 3 จำนวน 2 โครงการ ได้แก่ 1.โครงการไนท์บริดจ์ ไพร์ม อ่อนนุช และ 2.โครงการ ไนท์บริดจ์ คอลลาจ สุขุมวิท 107 และในช่วงไตรมาสสุดท้ายอีก 4 โครงการ ได้แก่ 1.โครงการ ดิ ออริจิ้น สุขุมวิท 105, 2.โครงการ เคนซิงตัน ระยอง, 3.โครงการ ไนท์บริดจ์ เกษตร โซไซตี้ และ 4.โครงการ ไนท์บริดจ์ สเปซ รัชโยธิน โดยภาพรวมโครงการต่างๆ มียอดขายเฉลี่ยประมาณ 80-90% คาดว่าหลังก่อสร้างเสร็จแล้ว จะช่วยสร้างทั้งยอดขายใหม่และยอดโอนกรรมสิทธิ์อย่างต่อเนื่อง แสนสิริ ปรับเป้าใหม่ พร้อมตุนยอดขาย 65% นายอภิชาติ จูตระกูล ประธานอำนวยการ บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) เผยว่า  ช่วงครึ่งปีแรกบริษัทสามารถทำยอดขายได้จำนวน 22,000 ล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วน 63% จากเป้าหมายยอดขาย 35,000 ล้านบาท  โดยเป้าหมายยอดขาย 35,000 ล้านบาท เป็นเป้าหมายยอดขายใหม่ที่บริษัทได้ปรับเพิ่มจากช่วงต้นปี ที่ประกาศว่าจะทำยอดขายได้ 29,000 ล้านบาท ซึ่งไม่เพียงแต่เป้าหมายยอดขายเท่านั้น แต่ยังปรับเป้ายอดโอนด้วย  โดยวางเป้าหมายยอนในปีนี้ใหม่เป็น 39,000 ล้านบาท จากแผนเดิมวางเป้าหมายยอดโอน 33,000 ล้านบาท ซึ่งถือว่าเป็นเป้าหมายที่เติบโตสูงกว่าปีที่ผ่านมา 26% ความสำเร็จของแสนสิริดังกล่าว คงมาจากหลายปัจจัย ที่สำคัญคงเป็นเรื่องของกลยุทธ์การทำตลาด ซึ่งทำให้สามารถสร้างยอดขายได้ในท่ามกลางภาวะการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 (อ่านข่าวประกอบ .. 8 เหตุผลที่แสนสิริ ประกาศปรับเป้าเพิ่มทั้ง “รายได้-ยอดขาย”) “อนันดา” ตุนยอดขาย 7,500 ล้าน สำหรับบริษัท อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) ในปีนี้มีแผนเปิดตัวโครงการใหม่เพียง 1 โครงการเท่านั้น ซึ่งเป็นโครงการคอนโด  ไอดีโอ พหล-สะพานควาย (IDEO Phahol-Saphankwai) ซึ่งเป็นโครงการที่ปรับแผนการเปิดตัวมาจากช่วงปี 2562 ส่วยยอดขายและรายได้สำหรับปีนี้ จะมาจากโครงการที่เปิดขายก่อนหน้า และโครงการที่จะก่อสร้างแล้วเสร็จในปีนี้   ดร. ชัยยุทธ ชุณหะชา ประธานเจ้าหน้าที่สายงานการเงิน บริษัท อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน)  เปิดเผยว่า  บริษัททำยอดขายช่วง 6 เดือนแรก ได้ประมาณ 7,500 ล้านบาท หรือคิดเป็นเกือบ 50% ของเป้ายอดขายทั้งปีที่ตั้งไว้ 16,600 ล้านบาท ซึ่งแนวโน้มยอดขายไตรมาส 2/2563 ค่อนข้างดีกว่าที่คาด โดยเฉพาะเดือนเมษายน-พฤษภาคม ที่ทำยอดขายสูงถึง 3,000 ล้านบาท ส่วนแนวโน้มรายได้ในครึ่งหลังของปี 2563 คาดว่าจะสูงกว่าครึ่งปีแรก   โดยช่วงครึ่งปีหลังจะมีการโอนคอนโดมิเนียมสร้างเสร็จใหม่ทั้งหมด 5 โครงการ ในไตรมาส 3 มีจำนวน 4 โครงการ  ประกอบด้วย Ashton  Asoke-Rama 9, Ideo Q Sukhumvit 36 , Ideo Mobi Sukhumvit Eastpoint และ Ideo Ratchada-Sutthisan และไตรมาส 4 จะเริ่มทยอยโอนโครงการ Elio Sathorn-Wutthakat ขณะที่แนวโน้มธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ จะมีสัญญาณการฟื้นตัวที่ชัดเจนมาก โดยเฉพาะยอดขายและยอดโอน หลังจากสถานการณ์โควิด-19 ในประเทศเริ่มคลี่คลายลง และมีการผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ ส่งผลให้ภาพรวมของกิจกรรมทางเศรษฐกิจกลับเข้าสู่สภาวะปกติ โดยสัญญาณดังกล่าวมีแนวโน้มดีขึ้นตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงมิถุนายน ที่ยอดการเข้าเยี่ยมชมโครงการของบริษัทฯ เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 300-400 คนต่อวัน จากช่วงก่อนหน้าที่ 100 คนต่อวัน ซึ่งสะท้อนว่ากลุ่มลูกค้ากลับมาให้ความสนใจซื้อที่อยู่อาศัยมากขึ้น ขณะเดียวกัน บริษัทฯ ยังได้ปรับกลยุทธ์การตลาดและเพิ่มการขายผ่านช่องทางออนไลน์ ซึ่งได้รับการตอบรับที่ดี และสามารถสร้างยอดขายได้เป็นอย่างดี  
12 ปรากฎการณ์ “ราคาอสังหาฯ” ท่ามกลางวิกฤตโควิด-19

12 ปรากฎการณ์ “ราคาอสังหาฯ” ท่ามกลางวิกฤตโควิด-19

จะว่าไปแล้ว ตลาดอสังหาริมทรัพย์ โดยเฉพาะคอนโดมิเนียม เริ่มได้รับผลกระทบมาตั้งแต่ไตรมาสแรกของปี 2562 จากมาตรการ LTV ที่ออกมาบังคับใช้  ส่งผลให้ผู้ประกอบการต่างทำการตลาด แข่งขันกันด้วยแคมเปญการตลาดต่างๆ เพื่อกระตุ้นลูกค้าให้รีบโอนกรรมสิทธิ์  ก่อนมาตรการ LTV  เริ่มใช้อย่างเป็นทางการในไตรมาส 2 ของปีที่ผ่านมา เพราะมาตรการ LTV มีผลทำให้ลูกค้าบางส่วนมีกำลังซื้อลดลง และธนาคารมีความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อมากขึ้น   พอถึงช่วงต้นปี 2563 ตลาดอสังหาฯ ก็ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่ส่งผลทำให้ตลาดอสังหาฯ ชะลอตัวอย่างมาก ผู้ประกอบการแทบไม่เปิดตัวโครงการใหม่ออกมาทำตลาด แต่มุ่งเน้นการระบายสต็อกสินค้าเก่าในมือ เพื่อไม่ให้เกิดความเสี่ยงจากการลงทุน ปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้น จึงเกิดการทำตลาดกันอย่างดุเดือด มีการแข่งขันกันอย่างรุนแรง โดยเฉพาะด้านราคา ซึ่งเป็นสิ่งที่แทบจะไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน อย่างแคมเปญการอยู่ฟรี ที่เห็นทำตลาดมากถึง 5 ปีเลยทีเดียว   ล่าสุด ดีดีพร็อพเพอร์ตี้ ได้เปิดเผยข้อมูล ตลาดอสังหาฯ ที่เผชิญสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในช่วงไตรมาสแรกและไตรมาส 2 ของปีนี้  ซึ่งพบว่าภาวะราคาของอสังหาฯ ไทย มี 12 ประเด็นสำคัญเกิดขึ้น คือ 1.ไตรมาสแรกของปีนี้ ดัชนีราคาที่อยู่อาศัยปรับตัวลดลงมาต่อเนื่อง เป็นไตรมาสที่ 5 โดยลดลงในอัตรา 1% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า และลดลง 9% เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา แน่นอนว่าหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ทำให้ราคาปรับตัวลดลงมา คือ การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19   2.ก่อนหน้าที่ตลาดอสังหาฯ ไทยจะเผชิญกับปัญหาการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 จะพบว่าในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ที่อยู่อาศัยในกรุงเทพฯ​ มีดัชนีราคาที่เติบโตเพิ่มขึ้นมากถึง 104% จากราคาเฉลี่ยประมาณ​ 60,000 บาทต่อตารางเมตร ในช่วงปี 2558ปรับเพิ่มขึ้นมาเป็น 120,000 บาทต่อตารางเมตร ในปี 2562 ที่ผ่านมา   3.ตลาดคอนโดฯ ค่อนข้างได้รับผลกระทบด้านราคาน้อย เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า โดยลดลงเพียง 0.4% แต่หากเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จะพบว่ามีอัตราการเติบโตลดลงมากถึง 6% ซึ่งเป็นเพราะตลาดคอนโดฯ ได้รับผลกระทบจากมาตรการ LTV มาก่อนหน้านี้แล้ว   4.ตลาดบ้านเดี่ยว เป็นกลุ่มสินค้าเดียวที่มีดัชนีราคาปรับเพิ่มขึ้นในอัตรา 2% เมื่อเปรียบเทียบไตรมาสต่อไตรมาส สาเหตุหลักเป็นเพราะ กลุ่มบ้านเดี่ยวเป็นตลาดเรียลดีมานด์ ซึ่งผู้ซื้อเพื่ออยู่อาศัยจริง และในปีนี้ผู้ประกอบการอสังหาฯ ชะลอแผนการพัฒนาโครงการคอนโดฯ และหันมาเน้นตลาดแนวราบเป็นหลัก 5.ตลาดทาวน์เฮ้าส์ เป็นอีกหนึ่งกลุ่มที่อยู่อาศัย ที่ดัชนีราคาปรับลดลงมา ในอัตรา 2% ซึ่งสาเหตุหลักเป็นเพราะการแข่งขันด้านราคา และการจัดทำโปรโมชั่นกระตุ้นยอดขาย ของผู้ประกอบการ นอกจากนี้ ตลาดทาวน์เฮ้าส์เป็นตลาดแมสที่ระดับราคาอยู่ในช่วง 3-5 ล้านบาท ที่ถือว่ามีการแข่งขันสูง และมีซัพพลายในตลาดจำนวนมาก   6.หากพิจารณาในเรื่องของระดับราคาสินค้า จะพบว่าที่อยู่อาศัยที่ปรับลดลงมากที่สุด คือ ที่อยู่อาศัยราคาต่ำกว่า 3.5 ล้านบาท ปรับลดลงในอัตรา 8% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา   7.กลุ่มตลาดที่อยู่อาศัยราคาแพง ในระดับราคา 8.5-15 ล้านบาท มีดัชนีราคาปรับเพิ่มขึ้น 5% และหากมองย้อนไปในช่วงไตรมาส 4 ปี 2559 จะพบว่าบ้านและคอนโดฯ ในกลุ่มระดับราคา 15 ล้านบาทขึ้นไป มีอัตราการเพิ่มขึ้นถึง 35%   8.พื้นที่ในกรุงเทพฯ ที่มีดัชนีราคาเติบโตโดดเด่นที่สุด ในไตรมาสแรกที่ผ่านมา คือ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย มีราคาที่อยู่อาศัยเฉลี่ยตารางเมตรละ 219,048 บาท ปรับเพิ่มขึ้น 23% จากช่วงไตรมาส 4 ปี 2562 ถือว่าเป็นเขตที่มีราคาปรับเพิ่มสูงสุด สาเหตุหลักมาจาก การเปิดให้บริการส่วนต่อขยายของรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงหัวลำโพง-หลักสอง 9.สถานีวัดมังกร เป็นพื้นที่ที่มีราคาของที่อยู่อาศัยแพงมากที่สุด ถึงตารางเมตรละ 200,000 บาท และมีการปรับเพิ่มขึ้นถึง 143% ตั้งแต่ช่วงปี 2560 จนถึงปัจจุบัน   10.แนวโน้มราคาในแนวรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินที่เพิ่งเปิดให้บริการในไตรมาสที่ผ่านมา พบว่า ที่อยู่อาศัยในบริเวณสถานีบางอ้อและสถานีบางพลัด มีอัตราการเติบโตของราคาสูงสุดถึง 76% ตั้งแต่ช่วงไตรมาส 4 ปี 2559 ถึงปัจจุบัน โดยมีราคาขายเฉลี่ย 85,009 บาทต่อตารางเมตร   11.บริเวณรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงสถานีไฟฉาย ถือว่าเป็นบริเวณที่มีที่อยู่อาศัย ซึ่งมีราคาขายเฉลี่ยสูงที่สุดของรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงต่อขยายสถานีเตาปูน-จรัญ 13 โดยมีราคาขายเฉลี่ยอยู่ที่ 126,471 บาทต่อตารางเมตร ซึ่งปรับลดลงเพียง 1% จากช่วงปี 2560 ที่ผ่านมา  (อ่านเพิ่มเติม...รีวิวคอนโด ส่องทำเลเตาปูน-บางโพ ฉบับอัปเดต 2563) 12.บริเวณรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงสถานีบางขุนนนท์ ถือว่าเป็นบริเวณที่มีราคาของที่อยู่อาศัยถูกที่สุด และอัตราการเติบโตลดลงมากที่สุด ของรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงต่อขยายสถานีเตาปูน-จรัญ 13 โดยมีราคาขายเฉลี่ยอยู่ที่ 53,476 บาทต่อตารางเมตร ปรับลดลงมากถึง 56% จากช่วงปี 2560 ที่ผ่านมา   หลังจากนี้ หากประเทศสามารถควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ จนไม่พบการแพร่เชื้อ หรือการเกิดขึ้นของผู้ป่วยรายใหม่  รวมถึง หากมีการค้นพบวัคซีน ที่สามารถใช้ได้ผลจริงกับมนุษย์ เชื่อว่าสถานการณ์ต่างๆ จะกลับมาเป็นปกติ แม้ว่าในอนาคตทุกคนอาจจะต้องอยู่ภายใต้วิถีปกติรูปแบบใหม่ หรือ New Normal ก็ตาม   โดยเชื่อว่าตลาดอสังหาฯ ของไทยเอง ก็น่าจะกลับมาเติบโตเป็นปกติ และคาดว่าจะปรับตัวไปในทิศทางที่ดีขึ้นด้วย เพราะภายใต้สถานการณ์วิกฤต จะเห็นได้ว่าคนไทยเป็นชาติที่ไม่แพ้ใครในโลก สามารถบริหารจัดการการแพร่ระบาดของโลกได้ดี รวมถึงประเทศไทยยังคงเป็นประเทศจุดหมายปลายทางที่ชาวต่างชาติยังต้องการมาท่องเที่ยวและพักอาศัยเป็นอันดับ 1 ของภูมิภาคอาเซียน และอันดับต้นๆ ของโลกอีกด้วย      
ครม. ลดภาษี  90% ช่วยเจ้าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้างโดนพิษโควิด-19

ครม. ลดภาษี 90% ช่วยเจ้าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้างโดนพิษโควิด-19

ครม. เคาะมาตรการช่วย เจ้าของที่ดิน และสิ่งปลูกสร้าง  ลดการจัดเก็บภาษีลง 90% หลังได้รับผลกระทบจากไวรัสโควิด-19 รัฐยอมหั่นรายได้กว่า 3.5 หมื่นล้าน   นับตั้งแต่เดือนมกราคม 2563 เป็นต้นมา ประเทศไทยได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19  ซึ่งส่งผลกระทบแก่ประชาชนและผู้ประกอบการธุรกิจทั่วประเทศ ซึ่งปีนี้เป็นอีกหนึ่งปีที่จะได้เริ่มการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ภายหลังจากที่พระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 (พ.ร.บ. ภาษีที่ดินฯ) ได้มีการประกาศบังคับใช้ในราชกิจจานุเบกษา และมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 13 มีนาคม 2562 เป็นต้นมา   โดยตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2563 และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ได้ดำเนินการจัดเก็บภาษีตาม พ.ร.บ. ภาษีที่ดินฯ แล้ว โดยได้ทำการสำรวจ จัดทำบัญชีและประเมินภาษีตามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนด อย่างไรก็ตาม เพื่อให้ อปท. มีเวลาดำเนินการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเพิ่มขึ้น กระทรวงมหาดไทย (มท.) จึงได้มีหนังสือถึงผู้ว่าราชการจังหวัด เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2562 ขยายระยะเวลาดำเนินการของ อปท. เป็นการทั่วไปเป็นระยะเวลา 4 เดือนสำหรับการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างประจำปี  2563 จากเดิมที่ต้องชำระภาษีภายในเดือนเมษายนเป็นเดือนสิงหาคม แต่เนื่องจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ได้ระบาดอย่างรุนแรงขึ้นทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทย ทำให้ระบบเศรษฐกิจทั่วโลกและของประเทศไทยหดตัวลงอย่างรุนแรง และรวดเร็วกระทบต่อประชาชนทุกสาขาอาชีพในวงกว้าง จึงสมควรลดภาษีสำหรับที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ที่จะจัดเก็บตามกฎหมายว่าด้วยภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพความจำเป็นทางเศรษฐกิจเพื่อบรรเทาผลกระทบต่อประชาชนโดยรวม   ทางกระทรวงการคลัง (กค.) และ มท. จึงได้มีการประชุมหารือและเห็นควรกำหนดมาตรการบรรเทาผลกระทบ โดยการลดภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง และในการประชุมที่นายวิษณุ เครืองามรองนายกรัฐมนตรี  จัดให้มีการประชุมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2563 ได้มีมติเห็นควรเสนอลดภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในอัตรา 90% เพื่อลดผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 55 แห่ง พ.ร.บ. ภาษีที่ดินฯ ที่กำหนดให้ลดภาษีสำหรับที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างบางประเภทเพื่อให้เหมาะสมกับสภาพความจำเป็นทางเศรษฐกิจ สังคม เหตุการณ์ กิจการ หรือสภาพแห่งท้องที่ ครม.มีมติ ลดภาษีที่ดิน 90% ล่าสุด เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2563 คณะรัฐมนตรี (ครม.) จึงได้มีมติเห็นชอบตามที่ กค. เสนอดังนี้ 1.เห็นชอบการลดภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในอัตรา 90% ให้แก่ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้าง ที่ใช้ประโยชน์ในการประกอบเกษตรกรรม ใช้เป็นที่อยู่อาศัย ใช้ประโยชน์อื่นนอกจากประกอบเกษตรกรรมและที่อยู่อาศัย และที่ทิ้งไว้รกร้างว่างเปล่าหรือไม่ได้ทำประโยชน์ตามควรแก่สภาพ สำหรับปีภาษี พ.ศ. 2563 2.เห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกาลดภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างบางประเภท พ.ศ. .... (ร่าง พ.ร.ฎ. ลดภาษีที่ดินฯ) ที่กำหนดให้ลดภาษีในอัตรา 90% สำหรับปีภาษี พ.ศ. 2563 หลักการลดภาษีและประเภทที่ดิน ลดภาษี 90% ของจำนวนภาษีที่คำนวณได้ตามมาตรา 42 หรือมาตรา 95 แล้วแต่กรณี หรือสำหรับการจัดเก็บภาษี พ.ศ. 2563สำหรับที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างดังต่อไปนี้   1.ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ใช้ประโยชน์ในการประกอบเกษตรกรรม 2.ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ใช้เป็นที่อยู่อาศัย 3.ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ใช้ประโยชน์อื่นนอกจาก ข้อ 1 และ 2 4.ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ทิ้งไว้ว่างเปล่าหรือไม่ได้ทำประโยชน์ตามควรแก่สภาพ   สำหรับกการลดภาษีข้างต้นไม่กระทบสิทธิในการบรรเทาภาระภาษีตามมาตรา 96 และมาตรา 97 แห่ง พ.ร.บ. ภาษีที่ดินฯ ตัวอย่างการคำนวณการลดภาษีในอัตรา 90% 1.กรณีที่ดินประกอบการเกษตร ถ้าเจ้าของเป็นบุคคลธรรมดา บทเฉพาะกาลของ พ.ร.บ. ภาษีที่ดินฯ ได้กำหนดให้ 3 ปีแรก (ปี 2563 – 2565) จะได้รับยกเว้นจากการจัดเก็บภาษีแต่ถ้าเจ้าของเป็นนิติบุคคล สำหรับที่ดินมีมูลค่าราคาประเมินทุนทรัพย์ 10 ล้านบาท จะเสียภาษีในอัตราการใช้ประโยชน์ประกอบเกษตรกรรม 0.01% คิดเป็นภาษี 1,000 บาท แต่เมื่อลดภาษีตาม พ.ร.ฎ. ลดภาษีที่ดินฯ ที่เสนอแล้ว จะชำระภาษีเพียง 100 บาท 2.กรณีที่อยู่อาศัย สำหรับบ้านหลังหลักที่เจ้าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเป็นบุคคลธรรมดา และมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน จะได้รับยกเว้นมูลค่าฐานภาษีไม่เกิน 50 ล้านบาท และ 10 ล้านบาท กรณีเป็นเจ้าของสิ่งปลูกสร้างแต่ไม่ได้เป็นเจ้าของที่ดิน สำหรับบ้านหลังอื่น หากมูลค่าประเมินทุนทรัพย์ 5 ล้านบาท จะเสียภาษีในอัตราที่อยู่อาศัย 0.02% คิดเป็นค่าภาษี 1,000 บาท แต่เมื่อลดภาษีตาม พ.ร.ฎ. ลดภาษีที่ดินฯ ที่เสนอแล้ว จะชำระภาษีเพียง 100 บาท 3.กรณีที่ดินรกร้างว่างเปล่า หรือที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ใช้ประโยชน์ประกอบการพาณิชยกรรมหรืออุตสาหกรรม มูลค่าราคาประเมินทุนทรัพย์ 4 ล้านบาท จะเสียภาษีในอัตรารกร้างว่างเปล่า/อัตราการใช้ประโยชน์อื่น 0.3% คิดเป็นค่าภาษี 12,000 บาท แต่เมื่อลดภาษีตาม พ.ร.ฎ. ลดภาษีที่ดินฯ ที่เสนอแล้ว จะชำระภาษีเพียง 1,200 บาท เป็นต้น รัฐยอมหั่นรายได้กว่า 3.5 หมื่นล้าน สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ได้ประมาณการรายได้จากการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างสำหรับปี 2563 จำนวน 39,420 ล้านบาท และในการเสนอลดภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในอัตรา 90% ตามร่าง พ.ร.ฎ. ลดภาษีที่ดินฯ 2 กรณี จะสูญเสียรายได้ ดังนี้ กรณีที่ 1 กำหนดลดภาษีเฉพาะในปีภาษี พ.ศ. 2563 จะทำให้รายได้จากการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในปี พ.ศ. 2563 ลดลงประมาณ 35,450 ล้านบาท   กรณีที่ 2 ไม่กำหนดระยะเวลาในการลดภาษี จะทำให้รายได้จากการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างลดลงปีละประมาณ 35,450 ล้านบาท จนกว่าจะมีการออกกฎหมายยกเลิกร่าง พ.ร.ฎ. ลดภาษีที่ดินฯ   ทั้งนี้ การลดภาษีสำหรับที่ดินและสิ่งปลูกสร้างตามร่าง พ.ร.ฎ. ลดภาษีที่ดินฯ จะช่วยบรรเทาผลกระทบด้านเศรษฐกิจและสังคมต่อประชาชนและผู้ประกอบการธุรกิจที่ขาดรายได้ เนื่องจากไม่สามารถประกอบกิจกรรมทางเศรษฐกิจได้ตามปกติ อันเนื่องมาจากผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในประเทศไทย   นอกจากนี้ กค. พิจารณาแล้ว เพื่อเป็นการช่วยบรรเทาภาระภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างแก่ประชาชน และผู้ประกอบการทั่วประเทศ ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 และเนื่องจากสถานการณ์ดังกล่าวมีแนวโน้มที่ดีขึ้น ประกอบกับในช่วงที่ผ่านมา กค. ได้มีมาตรการดูแลและเยียวยาผลกระทบจากไวรัสโคโรนา (COVID-19) ต่อเศรษฐกิจไทยทั้งทางตรงและทางอ้อม เช่น มาตรการเลื่อนเวลาการยื่นแบบแสดงรายการ นำส่ง และชำระภาษี มาตรการทางภาษีอากรและค่าธรรมเนียมเพื่อสนับสนุนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ โครงการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ โครงการสินเชื่อเพื่อผู้ที่ได้รับผลกระทบ เป็นต้น ซึ่งจะส่งผลให้ประชาชนและผู้ประกอบการกลับมาดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจและมีรายได้ดังเช่นปกติ ทำให้ประชาชนและภาคธุรกิจมีความสามารถในการชำระภาษีในปีถัดไป ตลอดจนไม่เป็นการส่งผลกระทบต่อฐานะการคลังของ อปท. ในระยะยาวจึงเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาดังกล่าว    
5 โซลูชั่น “S-E-N-S-E” การออกแบบการพัฒนาเมือง กับวิถีชีวิต The Next Normal

5 โซลูชั่น “S-E-N-S-E” การออกแบบการพัฒนาเมือง กับวิถีชีวิต The Next Normal

การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ถือเป็นปรากฎการณ์ ของการแพร่ระบาดครั้งใหญ่ของโลก เพราะมีการแพร่กระจายออกไปทั่วทุกมุมโลก ซึ่งส่งผลทำให้วิถีชีวิตของผู้คนในยุคปัจจุบัน ต้องปรับเปลี่ยน และเปลี่ยนแปลงไปในหลายเรื่อง เพื่อที่จะป้องกันตนเองไม่ให้ได้รับเชื้อโรค ซึ่งภายหลังจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ยุติลง  เชื่อว่า วิถีชีวิตของคนนับจากนี้ จะมีการเปลี่ยนแปลงไป กลายเป็นวิถีชีวิตปกติในรูปแบบใหม่ หรือ New Normal หรืออีกคำที่มักมีการพูดถึง คือ The Next Normal ซึ่งมีความหมายไม่แตกต่างกันมากนัก   ไม่เพียงแต่วิถีชีวิตประจำวันที่จะเป็นรูปแบบใหม่ และกลายเป็นวิถีชีวิตปกติของคนเราเท่านั้น  แต่วิถีชีวิตของคนในสายงานและสายอาชีพต่างๆ รวมถึงแวดวงธุรกิจ ก็มีทิศทางเปลี่ยนไปแบบใหม่เช่นกัน อย่างในแวดวงธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ที่เริ่มเห็นความชัดเจน จากการที่ผู้ประกอบการปรับเปลี่ยนวิธีการขาย ด้วยการใช้สื่อออนไลน์และโซเชียลมีเดีย เข้ามาเป็นเครื่องมือสื่อสารถึงผู้บริโภค โดยลดการสัมผัสหรือมีการเว้นระยะห่างกันให้มากที่สุด เป็นต้น ซึ่งเชื่อว่าหลังจากนี้ คงจะมีการเปลี่ยนแปลงแบบใหม่ออกมาอย่างต่อเนื่องแน่นอน   ด้านการออกแบบและการพัฒนาเมืองในอนาคต ก็คงจะไม่แตกต่างกันเท่าไร เพราะสิ่งต่างๆ เหล่านี้คือ ปัจจัย 4 ที่มนุษย์ทุกคนต้องเข้าไปเกี่ยวข้อง และอยู่ร่วมกันแบบสัตว์สังคม ซึ่งตามมุมมองของ นายรติวัฒน์ สุวรรณไตรย์ สถาปนิก ผู้ก่อตั้ง OPENBOX GROUP บริษัทสถาปนิกที่มีผลงานการออกแบบตึกสูง โรงงานไฟฟ้าพลังงานทดแทน รวมถึงที่อยู่อาศัยประเภท Complex Residence ชื่อดังทั้งในและต่างประเทศ ได้อธิบาย The Next Normal ที่อาจจะเกิดขึ้นกับเมืองและชีวิตผู้คน ที่จะมุ่งสู่โซลูชั่นของการพัฒนาเมืองแห่งอนาคต (City of Future) ไว้อย่างน่าสนใจ The Next Normal ของการพัฒนาเมือง โดย โซลูชั่น City of Future นี่เอง จะเป็นเหมือนสูตรสำเร็จ ของการออกแบบการพัฒนาเมืองที่สอดรับกับ The Next Normal ซึ่งไม่เพียงตอบโจทย์การใช้ชีวิตในยุคโควิด-19  ที่จะอยู่กับโลกใบนี้ไปอีกนานเท่านั้น แต่ยังตอบโจทย์วิถีการดำเนินชีวิตใหม่ ซึ่งถูกบังคับให้ต้องเปลี่ยนแปลงจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี (Digital Disruption) และสอดคล้องกับแนวคิดในกระแสโลกยุคใหม่ คือการอยู่ร่วมกันกับธรรมชาติอย่างยั่งยืน   “เมืองที่มีความคิดสร้างสรรค์การออกแบบในด้านต่าง ๆ รวมเข้ามาประกอบกัน ไม่ว่าจะเป็นการจัดการพื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพ, การออกแบบอาคาร สถานที่ หรือเมืองให้สามารถตอบโจทย์การใช้งานได้ในสถานการณ์ที่หลากหลาย, การให้ความสำคัญกับธรรมชาติและพื้นที่สีเขียว และการใช้พลังงานร่วมกันอย่างประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ยังมีอีก 2 ปัจจัยที่จะเข้ามาเติมเต็มทำให้เมืองมีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น ก็คือ การขนส่ง และนวัตกรรมเพื่อการอยู่อาศัย” “S-E-N-S-E”  สำหรับเมืองแห่งอนาคตที่ยั่งยืน  นายรติวัฒน์  ได้เสนอแนวคิดการออกแบบการพัฒนาเมือง  ภายใต้แนวคิด “S-E-N-S-E” ที่รวม 5 โซลูชั่น สำหรับ City of the Future เมืองแห่งอนาคตที่ยั่งยืน ที่ประกอบไปด้วย S - Space Efficiency การจัดการพื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด (Space Efficiency) เป็นแนวคิดการจัดการพื้นที่ที่สามารถตอบโจทย์การอยู่อาศัยรูปแบบใหม่ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นกว่าเดิมให้แก่ผู้อยู่อาศัย โดยหนึ่งในโซลูชั่นที่จะเข้ามาตอบโจทย์แนวคิดนี้ก็คือ อาคารสูง เช่น คอนโดมิเนียม ซึ่งเชื่อว่าจะเข้ามาแก้ปัญหาการใช้พื้นที่และทรัพยากรที่มีจำกัดให้เกิดประสิทธิภาพ กล่าวคือหากเปลี่ยนการใช้พื้นที่ในแนวราบแบบกระจายตัวมารวบเป็นอาคารสูง จะทำให้มีพื้นที่เหลือในการใช้ประโยชน์อื่น ๆ ได้มากขึ้น โดยเฉพาะการมีพื้นที่สีเขียว หรือพื้นที่ในเชิงเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น ขณะเดียวกัน อาคารสูงยังตอบโจทย์การใช้ชีวิตในยุคโควิดที่ผู้อยู่อาศัยจะแยกกันอยู่คนละชั้น ได้รับแสงแดดที่เพียงพอ และไม่มีปัญหาเรื่องการใช้อากาศร่วมกัน ให้ความรู้สึกปลอดภัยห่างไกลโควิดได้มากกว่าบ้านที่เป็นแนวราบ E-Energy Sharing การออกแบบเพื่อให้เกิดการใช้พลังงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ (Energy Sharing)  โดยปัจจุบันจะพบว่า คอนโดมิเนียม จะมีการใช้พลังงานสูงสุดในช่วงเวลากลางคืน แต่ช่วงกลางวันการใช้พลังงานจะลดลงไป ขณะที่อาคารสำนักงาน จะใช้พลังงานสูงสุดในช่วงเวลากลางวันเท่านั้น แต่จะลดการใช้ลงในช่วงกลางคืน ซึ่งแต่ละอาคารเหล่านั้นจะติดตั้งอุปกรณ์การจัดการพลังงานของตนเอง อุปกรณ์เหล่านั้นจึงทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ มีพลังงานเหลือเกินความต้องการ ทำให้เกิดแนวคิดใหม่ที่เรียกว่า Energy Blockchain หรือ Digital Energy กรณีมีพลังงานเหลือก็จะนำไปขายให้แก่ตึกที่อยู่ใกล้เคียงและใช้ในแบบเหลื่อมเวลากัน หรืออีกแนวคิดที่เรียกว่า District Cooling ระบบปรับอากาศแบบรวมศูนย์ โดยสามารถส่งความเย็นไปยังสถานที่อื่น ๆ ใกล้เคียงไม่ว่าจะเป็นบ้าน อาคารสำนักงาน  ห้าง และ คอนโดมิเนียม ถือเป็นแนวคิดการลดใช้พลังงาน ลดการใช้อุปกรณ์ที่เกินความจำเป็น N - Nature & Green การให้ความสำคัญกับธรรมชาติและพื้นที่สีเขียว (Nature & Green) เช่น แนวคิดการขยายพื้นที่สวนสาธารณะขนาดย่อม (pocket park) ให้กระจายตัวมากขึ้นในเขตเมือง และให้เพียงพอกับระยะคนเดิน ซึ่งประเทศญี่ปุ่นถือเป็นเจ้าแห่ง pocket park แห่งหนึ่งของโลก หรือในประเทศสิงคโปร์ และสหรัฐอเมริกา ที่นอกจากจะมีสวนสาธารณะขนาดใหญ่แล้วยังมี pocket park อีกหลายแห่ง ส่วนอีกแนวคิดหนึ่งที่น่าสนใจ คือ park network สวนสาธารณะหลาย ๆ แห่งที่ผู้คนสามารถเดิน วิ่ง หรือขี่จักรยาน เชื่อมถึงกันได้โดยไม่ต้องผ่านหรือใช้ถนน ซึ่งแนวคิดเหล่านี้สามารถเกิดขึ้นได้ด้วยการออกแบบทั้งสิ้น S – Synchronization of Multi-Functions การออกแบบอาคาร สถานที่ หรือเมือง ให้สามารถตอบโจทย์การใช้งานได้ในสถานการณ์ที่หลากหลาย (Synchronization of Multi-Functions)  สอดคล้องกับลักษณะเฉพาะของเมืองในซีกโลกตะวันออกที่เป็นแบบผสมสาน (Mixed-use) โดยออกแบบให้สามารถปรับเปลี่ยนโหมดของอาคาร สถานที่ หรือเมืองได้ตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลานั้น ๆอย่างเช่น คอนโดมิเนียมในช่วงที่มีการระบาดของเชื้อโควิด จะเห็นได้ว่าหลายแห่งจะกำหนดการใช้ลิฟท์แบบจำกัด หรือจำกัดจำนวนของคนใช้ลิฟท์ ซึ่งในอนาคตการออกแบบจะสามารถเข้ามาเพิ่มเติมฟังก์ชั่นต่าง ๆ ให้ทุกชีวิตในยุคโควิดมีความสบายใจมากขึ้น อาทิ ล็อกเกอร์รับ-ส่งอาหาร หรือสิ่งของต่าง ๆ โดยผู้รับและผู้ส่งไม่ต้องเจอหน้ากัน และการออกแบบพื้นที่แบบ space in space ภายในบริเวณพื้นที่ส่วนกลางโดยใช้อุปกรณ์เพื่อแยกความเป็นส่วนตัวให้แก่ผู้อยู่อาศัยมากขึ้น เพื่อไม่เกิดความระแวงในการใช้พื้นที่ส่วนรวม ส่วนในระดับเมือง อาจจะนึกถึงประเทศโมนาโค หรือสิงคโปร์ ที่จะมีการจัดโหมดเมืองสำหรับการแข่งรถ สร้างรายได้ให้กับประเทศได้อีกมาก ขณะที่ประเทศไทยเอง มีโหมดเรื่องการป้องกันน้ำท่วม แต่ยังสามารถออกแบบเมืองให้สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามโหมดอื่น ๆ เช่น โหมดการเฝ้าระวังเชื้อโควิด หรือโหมดการจัดบิ๊กอีเว้นท์ เช่นวันสงกรานต์ เป็นต้น E - Explorations of Innovations การคิดค้น พัฒนาและสร้างสรรค์นวัตกรรมการอยู่อาศัยที่จะเข้ามาช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้คน (Explorations of Innovations) โดยการออกแบบบ้าน คอนโดมิเนียม และอาคารสำนักงาน สามารถดึงนวัตกรรมเหล่านี้เข้ามาเป็นอุปกรณ์ที่ช่วยตอบโจทย์กับชีวิต New Normal อย่างเช่น ลิฟท์ ปัจจุบันคอนโดมิเนียมหลายแห่งใช้โถงลิฟท์ (private lift) ส่วนตัวเข้ามาใช้มากขึ้น นอกจากจะเป็นโซลูชั่นด้านความปลอดภัยในยุคโควิดแล้ว ยังตอบโจทย์การซื้อคอนโดมิเนียมเพื่อการลงทุนได้ เพราะลิฟท์ที่แยกออกมาต่างหากนั้น จะไม่เป็นการรบกวนกับเจ้าของห้องจริงที่เป็นผู้อาศัยอยู่ในคอนโดมิเนียมนั้น ๆ เลย ปัจจุบันยังพบด้วยว่ามีการคิดค้นลิฟท์ในรูปแบบต่าง ๆ ไว้มากมาย เพื่อรูปแบบการอยู่อาศัยที่หลากหลาย เช่น ลิฟท์ที่เคลื่อนตัวในแนวราบ (double deck lift) เป็นต้น   นอกจากนี้ ยังมีนวัตกรรมใหม่ ๆ ที่ตอบโจทย์ในยุคโควิดได้เป็นอย่างดี อาทิ ประตูสองชั้น ที่ติดตั้งอุปกรณ์ช่วยในการคัดกรองคนเข้าออก และอุปกรณ์ฆ่าเชื้อ, การออกแบบพื้นที่ในสำนักงาน หรือ โค-เวิร์คกิ้ง สเปซ ที่ช่วยลดความเสี่ยงการแพร่กระจายของเชื้อโรค และ Smog-eating surface สีหรือพื้นผิวที่สามารถดูดซับเชื้อโรค ฝุ่นละลองพิษต่าง ๆ เป็นต้นรวมถึงนวัตกรรมด้าน Transportation หรือการขนส่ง โดยเมืองแห่งอนาคตจะสมบูรณ์แบบมากยิ่งขึ้นหากมีการจัดการด้านการขนส่งอย่างเหมาะสม ซึ่งการใช้ชีวิตอยู่ในเมืองนั้น ผู้คนยังต้องเดินทาง ต้องติดต่อสื่อสาร และรับ-ส่งสิ่งของระหว่างกัน การออกแบบเมืองจึงสามารถออกแบบให้รองรับกับแนวคิดการขนส่งในรูปแบบใหม่ ๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เช่น Hyperloop, drone transportเป็นต้น ทั้งหมดนี้ คือโซลูชั่นใหม่ ๆ ที่จะเข้ามาตอบโจทย์สถานการณ์ในปัจจุบัน และเป็นการเตรียมความพร้อมไปสู่อนาคตนั่นเอง   แนวคิดเหล่านี้เป็นแนวคิดการออกแบบโดยมีคนเป็นศูนย์กลาง ซึ่งเป็นโซลูชั่นที่ต้องการเข้าไปช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของผู้คน เป็นคุณภาพชีวิตที่ดีทั้งด้านสุขภาพและจิตใจ และสำคัญที่สุดคือ เมืองแห่งอนาคตนั้นจะต้องสามารถตอบโจทย์ได้ครบถ้วนทั้งด้านสังคม และเศรษฐกิจ เพื่อให้เป็นเมืองที่ยั่งยืนได้อย่างแท้จริง
ชาวจีน ฝ่าโควิด-19 โอนกรรมสิทธิ์อสังหาฯ ไตรมาสแรกกว่า 5,000 ล้าน

ชาวจีน ฝ่าโควิด-19 โอนกรรมสิทธิ์อสังหาฯ ไตรมาสแรกกว่า 5,000 ล้าน

ในแต่ละปี ประเทศไทยมีชาวจีนเป็น ชาติที่ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจไทยได้อย่างมหาศาล โดยเฉพาะด้านการท่องเที่ยว เพราะแต่ละปีมีจำนวนนักท่องเที่ยวเข้ามาในประเทศไทยกว่า 10 ล้านคน สร้างรายได้คิดเป็นมูลค่ากว่า 4-5 แสน ล้านบาทเลยทีเดียว   ส่วนในปีนี้ ตัวเลขนักท่องเที่ยวจีนคงจะลดจำนวนลงอย่างมาก เพราะปัญหาการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา แต่ก็เชื่อว่าประเทศไทยยังคงเป็นจุดหมายปลายทางสำคัญ ที่นักท่องเที่ยวจีนต้องการจะมาเยือน และหากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 สิ้นสุดลง ชาวจีนคงแห่มาเที่ยวเมืองไทยกันแน่นขนัดเหมือนเดิมแน่นอน   ชาวจีน ไม่ได้หอบเงินเข้ามากระตุ้นเศรษฐกิจเฉพาะด้านการท่องเที่ยวของไทยเท่านั้น แต่ในกลุ่มธุรกิจอื่นๆ ชาวจีนก็มีบทบาทสำคัญไม่น้อย โดยเฉพาะในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ที่ต้องยอมรับว่าเป็นลูกค้าหลักในกลุ่มของลูกค้าชาวต่างชาติเลยทีเดียว เรียกได้ว่า พี่จีนเราซื้ออสังหาฯ ไทย กินตลาดมากกว่าครึ่ง ของกลุ่มชาวต่างชาติที่เข้ามาซื้ออสังหาฯ เมืองไทย ส่องไตรมาสแรก จีนโอนคอนโดฯ กว่า 5,000 ล้าน ในไตรมาสแรกของปีนี้ สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ส่งผลทำให้นักท่องเที่ยวต่างชาติ ไม่สามารถเดินทางเข้ามาประเทศไทยได้ รวมถึงชาวจีนเองด้วย ซึ่งกระทบทั้งภาคการท่องเที่ยว และตลาดอสังหาฯ เพราะชาวจีนซึ่งเป็นลูกค้าหลักของตลาดอสังหาฯ ไม่สามารถเดินทางเข้ามาซื้อหรือโอนกรรมสิทธิ์ได้   แต่อย่างไรก็ตาม แม้จะเกิดความยากลำบากในการเดินทาง แต่กลุ่มลูกค้าชาวจีนซึ่งเป็นกลุ่มที่ต้องการที่อยู่อาศัยในเมืองไทยอย่างแท้จริงกลุ่มหนึ่ง ก็หาวิธีในการโอนกรรมสิทธิ์ จากการซื้อคอนโดมิเนียมไว้ก่อนหน้านี้แล้ว โดยข้อมูลจากศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ (REIC) รายงานว่า ช่วงไตรมาสแรกที่ผ่านมา กลุ่มลูกค้าชาวจีนได้โอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยทั่วประเทศ เป็นจำนวน 1,446 ยูนิต คิดเป็นสัดส่วน 54.6% จำนวนโอนกรรมสิทธิ์ของกลุ่มลูกค้าต่างชาติทั้งหมด 2,647 ยูนิต ซึ่งคิดเป็นมูลค่า 10,549 ล้านบาท ซึ่งมูลค่าการโอนการมสิทธิ์ที่อยู่อาศัย ของกลุ่มลูกค้าชาวจีนในไตรมาสแรก จึงมีมูลค่ามากกว่า 5,000 ล้านบาท ชาวจีนเบอร์ 1 ซื้ออสังหาฯ ไทย หากดูตัวเลขย้อนหลังไปในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา จะพบว่า กลุ่มลูกค้าชาวจีนยังคงเป็นอันดับ 1 ในการซื้ออสังหาฯ ของไทยมาอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2562 กลุ่มลูกค้าต่างชาติ มีการโอนกรรมสิทธิ์มากถึง 12,609 ยูนิต คิดเป็นมูลค่า 49,728 ล้านบาท ชาวจีนยังมาเป็นอันดับ 1 ด้วยจำนวนการโอนที่อยู่อาศัย 7,506 หน่วย มูลค่า 28,860 ล้านบาท รองลงมาชาวรัสเซีย โอนกรรมสิทธิ์จำนวน 794 ยูนิต มูลค่า 2,373 ล้านบาท และอันดับ 3 เป็นชาวสหราชอาณาจักร โอนจำนวน 404 ยูนิต มูลค่า 1,627 ล้านบาท   ส่วนในปี 2561 กลุ่มชาวต่างชาติซื้ออสังหาฯ ไทย เป็นจำนวน 13,033 หน่วย มูลค่ารวม 54,659 ล้านบาท โดยชาวจีนยังซื้อมากที่สุดด้วยจำนวน 7,551 ยูนิต มูลค่า 29,446 ล้านบาท รองลงมาเป็นชาวรัสเซีย จำนวน 815 ยูนิต มูลค่า 2,276 ล้านบาท และอันดับ 3 เป็นชาวสหราชอาณาจักร 499 ยูนิต 2,184 ล้านบาท สำหรับภาพรวมการโอนกรรมสิทธิ์ของชาวต่างชาติในไตรมาสที่ผ่านมา ถือว่ามีการขยายตัวดที่ดีมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งมีจำนวนสัญชาติของชาวต่างชาติเพิ่มเข้ามามากขึ้นด้วย โดยมีจำนวนสัญชาติของชาวต่างชาติ 76 สัญชาติ เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาทั้งปี มีชาวต่างชาติ 74 สัญชาติที่เข้ามาซื้ออสังหาฯ ของไทย ซึ่งชาวต่างชาติที่เพิ่งเริ่มเข้ามาซื้ออสังหาฯ ไทย ได้แก่ ชาวเซอร์เบีย ซื้อจำนวน 4 ยูนิต และชาวเอสโทเนีย ซื้ออสังหาฯ 1 ยูนิต   อย่างไรก็ตาม แนวโน้มการโอนกรรมสิทธิ์อสังหาฯ ในไตรมาส 2 เชื่อว่าจะลดต่ำลงต่อเนื่อง เพราะชาวต่างชาติยังไม่สามารถเดินทางเข้ามาในไทยได้อย่างปกติ ซึ่งต้องทำให้มีการเลื่อนการโอนกรรมสิทธิ์ออกไปอีกสักระยะ ซึ่งอาจจะส่งผลให้ภาพรวมในปีนี้ การโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยของชาวต่างชาติ ลดต่ำลงกว่าช่วง 2 ปีที่ผ่านมาอย่างมาก โดยมีปัจจัยสำคัญ คือ สถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 เพราะคงต้องรอให้มีวัคซีนป้องกันโรค ออกมาใช้อย่างเป็นทางการ และมีการควบคุมการแพร่ระบาดได้อย่างเคร่งครัด จึงจะส่งผลให้การเดินทางระหว่างประเทศกลับมาเป็นปกติ
รวมให้แล้ว !! โปรโมชั่น “ลด แลก แจก แถม” บ้าน-คอนโดฯ เดือนพฤษภาคม 2563

รวมให้แล้ว !! โปรโมชั่น “ลด แลก แจก แถม” บ้าน-คอนโดฯ เดือนพฤษภาคม 2563

นับตั้งแต่เกิดการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ตั้งแต่ต้นปี 2563 ที่ผ่านมา บรรดาดีเวลลอปเปอร์วงการอสังหาริมทรัพย์  ก็ต้องปรับตัวกับภาวะตลาดที่ได้รับผลกระทบ จากการที่รัฐบาลรณรงค์ให้ประชาชน “อยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ” รวมถึงการ Work Form Home เพื่อลดการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19   การเปลี่ยนแปลงที่เห็นชัดเจน คือ การหันมาทำการตลาดและเพิ่มช่องทางการขาย ผ่านสื่อออนไลน์ เพื่อให้ธุรกิจยังเดินหน้าไปต่อได้ ท่ามกลางภาวะวิกฤตไวรัสโควิด-19  ไม่นับรวมกับแคมเปญโปรโมชั่นที่ทำกันปกติ แต่เพิ่มระดับดีกรีความแรง ชนิดลดราคาอสังหาฯ แบบ 50% ก็เห็นมาแล้ว   กลยุทธ์โปรโมชั่นบวกกับการใช้สื่อออนไลน์  กลายเป็นกลยุทธ์หลักและสำคัญ ท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่ยังคงมีอยู่  แม้สถานการณ์และแนวโน้มตัวเลขผู้ติดเชื้อและผู้เสียชีวิต จะเป็นตัวเลขที่ดีขึ้น มีแนวโน้มว่าภาครัฐจะผ่อนคลายมาตรการคุมเข้มต่างๆ ลง เพื่อให้คนไทยได้กลับมาใช้ชีวิต แบบปกติรูปแบบใหม่ หรือ New Normal   แต่การทำตลาดด้วยการลด แลก แจก แถม ที่โหมสาดให้ลูกค้าแบบไม่ค่อยได้เห็นมาก่อน ยังคงมีมาอย่างต่อเนื่อง แถมจะเพิ่มมากขึ้นตามมาด้วย เพราะช่วงระยะเวลา 4 เดือนแรกของปีที่ผ่านมา เชื่อว่ายอดขายของดีเวลลอปเปอร์หลายรายคงหดหายลงไปมากพอสมควร  ส่วนรายใดที่ทำการตลาดออนไลน์และอัดโปรโมชั่นหนักๆ  ยอดขายไปได้ ก็คงติดใจเพราะสามารถระบายสต็อกเก่าๆ ในมือออกไป แม้หากดูตัวเลขกำไรอาจจะเบาบาง แต่ได้กระแสเงินสด จากยอดขายยอดจอง มาหล่อเลี้ยงบริษัท ก็เป็นสิ่งที่ช่วยยืดลมหายใจให้องค์กร สามารถก้าวเดินต่อไปได้อีกระยะหนึ่ง   เดือนพฤษภาคม บรรดาดีเวลลอปเปอร์ จึงเหมือนพร้อมใจกันจัดทำแคมเปญการตลาด ออกมากระตุ้นยอดขาย และหวังจะหารายได้กลับเข้ามา ซึ่งในช่วงเวลานี้ เรียกได้ว่าเป็นโอกาสทองของผู้ที่มีเงิน  มีความสามารถในการซื้ออสังหาฯ หรือคนที่ต้องการที่อยู่อาศัยจริงๆ เพราะแต่ละดีลเรียกได้ว่าคุ้มค่าคุ้มราคา แถมอำนาจการตัดสินใจยังอยู่ฝั่งผู้ซื้ออีกต่างหาก ส่วนโปรฯ เด็ดๆของเดือนพฤษภาคมมีอะไรบ้าง เรารวมเอาไว้ให้แล้ว เน็กซัส 9 พ.ค. จัด “รวมพลคอนโด หั่นราคาต่ำกว่าทุน” ใครกำลังมองหาคอนโดฯ เตรียมตัวให้พร้อม เพราะครั้งนี้แม้  จะนั่งอยู่กับบ้าน ก็สามารถเลือก เป็นเจ้าของได้  เพียงปลายนิ้วสัมผัสที่นี่ที่เดียว www.facebook/NexusPropertyThailand ในวันเสาร์ที่ 9 พฤษภาคม นี้ เพราะบริษัท เน็กซัส พรอพเพอร์ตี้ มาร์เก็ตติ้ง จำกัด จัดงาน “รวมพลคอนโด หั่นราคาต่ำกว่าทุน รวมทำเล TOP ราคากระชากใจ” ครั้งแรกของการรวบรวมคอนโดมิเนียมจากดีเวลลอปเปอร์ชื่อดังกว่า 30 บริษัท อาทิ อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์, แสนสิริ, ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้, เอพี (ไทยแลนด์), เอสซีแอสเสท ฯลฯ ที่พร้อมใจนำโครงการพร้อมอยู่ (Ready to Move in) กว่า 100 โครงการ มากกว่า 1,500 ยูนิต ในราคาเริ่มต้นตั้งแต่ 1 - 20 ล้านบาท  และยังมีส่วนลดสูงสุดถึง 40% และของสมนาคุณอื่นๆ อีกมากมาย ในวันเสาร์ที่ 9 พฤษภาคม 2563 ตั้งแต่เวลา 10.00 น. เป็นต้นไป ผ่านทาง Live ที่ www.facebook/NexusPropertyThailand   แอล.พี.เอ็น.ขน 8 โปรเจ็กต์หั่นราคา แม้สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโรคไวรัส COVID-19 ยังคงสร้างความเสียหายให้แก่ทุกภาคธุรกิจอุตสาหกรรม รวมถึงธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ทั้งโครงการที่อยู่อาศัยแนวราบและตึกสูง ต่างก็ได้รับผลกระทบจากกำลังซื้อที่ลดลง แต่บริษัท แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) หรือ LPN ไม่เคยหยุดคิดในการเดินหน้าแผนการตลาดที่ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า ที่ต้องการห้องชุดที่มีคุณภาพ  ในราคาที่สามารถจับต้องได้   โดย LPN ได้จับมือกับพันธมิตรอย่าง Shopee จัดแคมเปญ “LPN Connect x Shopee 5.5 Brands Festival” เพื่อมอบสิทธิพิเศษให้แก่ลูกค้าที่กำลังมองหาหรือต้องการห้องชุดพร้อมอยู่อาศัย โดยการใช้บัตรกำนัล หรือ Voucher ที่จำหน่ายผ่าน Shopee ในราคา 55 บาท นำไปใช้เป็นส่วนลดพิเศษเพื่อซื้อห้องชุดของ LPN  ใน  ​“วันที่ 5 เดือน 5 (พฤษภาคม) นี้ ทั้งหมด 8 โครงการ ซึ่งจะได้รับส่วนลดตั้งแต่ 30,000 บาทและสูงสุดถึง 70,000 บาทต่อยูนิต เมื่อทำการโอนกรรมสิทธิ์ภายในวันที่ 30 มิ.ย. 2563 นี้   บัตรกำนัลดังกล่าว ลูกค้าสามารถนำมาแสดงสิทธิในวันที่จองซื้อห้องชุด 1 ยูนิต ได้เพียง 1 สิทธิเท่านั้น ส่วนเงื่อนไขการยืนยันสิทธิขอรับส่วนลดจากบัตรกำนัลดังกล่าวจะมีผลเมื่อลูกค้าทำการจองซื้อ ทำสัญญา ชำระเงิน และโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดตามเงื่อนไขที่บริษัทกำหนดภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2563 ครอบคลุม 8 โครงการ โดยราคาขายห้องชุดของทั้ง 8 โครงการดังกล่าวอยู่ระหว่าง 790,000-2,260,000 บาทต่อยูนิต ซึ่งส่วนลดเป็นไปตามสัดส่วนราคาของห้องชุดดังกล่าว สูงสุดที่ 70,000 บาท เมเจอร์ หั่นราคา 44% บริษัท เมเจอร์ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน)  ได้วิเคราะห์ผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสไควิด -19 อาจจะกินระยะเวลาไปจนหมดไตรมาส 2 บริษัทฯ จึงได้ปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ทางการขาย โดยหันมาทำการตลาดผ่านช่องทางออนไลน์มากขึ้น เป็น 90% จากปกติก็ใช้มากอยู่แล้วถึง 70% เพื่อดันยอดขายเพิ่ม และให้สอดคล้องกับพฤติกรรมของลูกค้าในปัจจุบัน ที่ใช้เวลาอยู่ที่บ้าน   ดร.สุริยา พูลวรลักษณ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เมเจอร์ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า  ปีนี้เป็นปีที่ท้าทายสำหรับสำหรับทุกอุตสาหกรรม ไม่เฉพาะในวงการอสังหารัมทรัพย์เท่านั้น ความยากของปีนี้ คือ หลังจากเกิดการแพร่ของโรคไวรัสโควิด -19 หลาย ๆ ธุรกิจโดนดิสรัป (disrupt) ในส่วนของเมเจอร์ฯ นั้น ช่วงเวลานี้จะเน้นกลยุทธ์ด้านการขาย ระบายของห้องชุดของคอนโดที่สร้างเสร็จพร้อมเข้าอยู่ โดยดึงสื่อออนไลน์ต่าง ๆ เข้ามาช่วย ฝ่ายขายเองก็ต้องปรับตัวไปตามสถานการณ์ตลาดมากยิ่งขึ้น โดยได้นำโครงการพร้อมอยู่ แมเนอร์ สนามบินน้ำ คอนโดไฮซ์ไรซ์ ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ใกล้รถไฟฟ้าส่วนต่อขยายสีม่วง สถานีพระนั่งเกล้า เข้ามาทดลองตลาดในแฟลตฟอร์มออนไลน์ โดยการเปิด เฟสบุ๊กเพจ ‘แมเนอร์ สนามบินน้ำ ถูกกว่าโควิด’ และไลน์ออฟฟิเชี่ยล @manortook เพื่อเป็นช่องทางเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการคอนโดพร้อมอยู่  ด้วยการจัดแคมเปญที่ชื่อ “วิกฤตคือโอกาส” ด้วยโปรโมชั่นหลากหลายทั้งส่วนลดห้องชุด “ลดจริง 44%”  จากราคาปกติ 31 วัน 31 ยูนิต ตลอดเดือน พ.ค. 63 และโปรโมชั่น Golden Week ลด 50% จากราคาปกติวันละ 1 ยูนิต ทุกวันตลอด 7 วัน เริ่ม 1 - 7 มิ.ย. และ 1 - 7 ก.ค. 63  รวม 14 วัน 14 ยูนิต เนอวานาฯ ลดเงินดาวน์สูงสุด 70% วิกฤตการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ไม่เพียงสั่นคลอนภาพรวมเศรษฐกิจของประเทศ หากแต่ยังส่งผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่และความมั่นใจในการจับจ่ายใช้สอยของคนในสังคมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เป็นการเปิดรับต้นปีที่ร้อนระอุสำหรับทุกฝ่าย ซึ่งธุรกิจอสังหาฯ เองก็เป็นอีกภาคธุรกิจหนึ่งที่ได้รับผลกระทบ ที่ต้องปรับกลยุทธ์การตลาด เพื่อรับมือกับพฤติกรรมผู้บริโภคที่เริ่มลดการใช้เงินและวางแผนเก็บออมมากขึ้น   นายนันทชาติ กลีบพิพัฒน์ ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการสายงานพัฒนาธุรกิจองค์กร บริษัท เนอวานา ไดอิ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า เพื่อให้ทุกคนฝ่าฟันวิกฤตนี้ไปด้วยกัน บริษัทได้จัดแคมเปญด้วยการมอบข้อเสนอสุดพิเศษ ส่วนลดเงินจอง เงินทำสัญญา เงินดาวน์ สูงสุดถึง 70% พร้อมผ่อนให้ทั้งเงินต้น และดอกเบี้ยนาน 1 ปี มูลค่าสูงสุด 10 ล้านบาท*  สำหรับทุกคนที่จองซื้อบ้านที่ https://onlinebooking.nirvanadaii.com ตลอด 24 ชั่วโมง พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค ผ่อนให้ 30 เดือน นายวงศกรณ์ ประสิทธิ์วิภาต กรรมการผู้จัดการ บริษัท พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า  จากสถานการณ์โควิด-19 ที่มีแนวโน้มดีขึ้น ในเดือนพฤษภาคมนี้บริษัทจะเดินหน้าทำการตลาดอย่างเต็มรูปแบบอีกครั้ง ทั้งโครงการแนวราบและคอนโดมิเนียม โดยคอนโดมิเนียมเป็นแคมเปญ “อยู่ฟรีสูงสุด 30 เดือน” โดยบริษัทจะช่วยผ่อนเงินต้นและดอกเบี้ยให้แทนลูกค้าสูงสุด 30 เดือนแรก และมีส่วนลดให้อีกสูงสุด 2 ล้านบาท สำหรับโครงการแนวราบจะมีแคมเปญ “ปลอดดอก ออกต้น” ที่จะช่วยให้ลูกค้าคลายกังวลเรื่องการซื้อบ้าน ด้วยการปลอดดอกเบี้ยนาน 1 ปี และยังมี Cashback เงินคืนให้เพื่อใช้สำหรับผ่อนเงินต้นได้อย่างสบายอีก 50,000-500,000 บาท ขึ้นกับระดับราคาบ้าน  (อ่านข่าวเพิ่มเติม) อนันดาฯ​ จัด MOVE NOW  ปลอดหนี้ 2 ปี สำหรับบริษัท อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) หรือ ANAN ได้ปล่อยโปรโมชั่น “ปลอดหนี้ 2 ปี” กับสิทธิพิเศษผ่อน 0 บาท นาน  2 ปี ฟรีค่าส่วนกลางสูงสุด 2 ปี ฟรีค่าใช้จ่ายวันโอนฯ (เงื่อนไขตามบริษัทฯ กำหนด) กับโครงการพร้อมอยู่ คอนโดใกล้รถไฟฟ้า แบรนด์ ไอดีโอ และ ไอดีโอ โมบิ ราคาเริ่มต้น 2.42 – 6.1 ล้านบาท  ภายใต้แคมเปญ “MOVE NOW!” ซึ่งจัดมาก่อนหน้านี้  และได้รับการตอบรับที่ดี จึงได้ขยายระยะเวลาการจัดแคมเปญต่อไปถึงสิ้นเดือนพฤษภาคม 2563 เอสซีฯ ปล่อย  ‘SC Super Free’ ผ่อนหนักให้เป็นฟรี   ส่วนบริษัท เอสซี แอสเสท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) จัดโปรโมชั่นผ่อนหนักให้เป็นฟรี ‘SC Super Free’ พบ 45 โครงการบ้านเดี่ยว ทาวน์โฮม โฮมออฟฟิศ และคอนโดมิเนียม ราคาเริ่มต้น 2.39 – 60 ล้านบาท อาทิ Grand Bangkok Boulevard , Bangkok Boulevard, The Gentry, Headquarters, Life Bangkok Boulevard, Venue, V Compound, Verve, Chambers,และ Centric พร้อมให้คุณอยู่แบบสบายๆ และรับสิทธิ์อยู่ฟรีสูงสุด 24 เดือน* หรือฟรีค่าส่วนกลาง 5 ปี*  เมื่อจองโครงการตั้งแต่วันนี้ – 31 พ.ค. 2563 และโอนกรรมสิทธิ์ภายในวันที่ 30 มิ.ย. 2563 เท่านั้น สำหรับท่านที่สนใจสามารถเข้าเยี่ยมชมโครงการได้ทุกวัน ตั้งแต่เวลา 9.00 น. - 18.00 น. แสนสิริ ผ่อนให้ 24 เดือน นายอุทัย อุทัยแสงสุข ประธานผู้บริหารสายงานปฏิบัติการ บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ได้วางมาตรการเชิงรุกด้วยกลยุทธ์การตลาดแบบ Omni-Channel ครบวงจรตอบโจทย์ลูกค้าคนรุ่นใหม่ รวมถึงตอบโจทย์พฤติกรรมการใช้สื่อบนหลากหลายแพลตฟอร์ม เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ลูกค้าเรียลดีมานด์รายใหม่ ที่ยังรองรับในช่วงสภาวการณ์ COVID-19 รวมถึงช่วยเหลือลูกค้าให้ลูกค้ามีบ้านได้ง่ายขึ้นอีกด้วย   Private Tour เยี่ยมชมโครงการ ไม่ปะปนกับลูกค้ารายอื่นโดยมีเว้นระยะห่างตามหลัก Social Distancing   นอกจากนี้ ยังได้จัดแคมเปญ “แสนสิริ ผ่อนให้ 24 เดือน” (ตั้งแต่ 3   เม.ย. – 30 มิ.ย. 63) เพื่อช่วยให้ลูกค้ามีบ้านง่าย ไม่มีภาระค่าใช้จ่ายในการผ่อนที่อยู่อาศัยได้นานตลอดระเวลา 2 ปี  เพราะแสนสิริผ่อนให้ ทั้งต้น ทั้งดอก นานสูงสุด 24 เดือน ครอบคลุมถึง 62 โครงการพร้อมอยู่ ทั่วประเทศ พร้อมฟรีค่าโอนและค่าจดจำนอง ฟรีค่าส่วนกลางพร้อมโปรโมชั่นในทุกโครงการ อาทิ ฟรีค่าส่วนกลางนานสูงสุด 1 ปี พร้อมรับ Gift Voucher สูงสุด 100,000 บาท สำหรับโครงการบ้านเดี่ยวและทาวน์โฮม และฟรีค่าส่วนกลางนาน 2 ปี สำหรับคอนโดมิเนียมพร้อมอยู่ พฤกษา จอง 999 บาท ไม่ต้องดาวน์ นายธีรเดช เกิดสำอางค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจทาวน์เฮาส์ บริษัท พฤกษา เรียลเอสเตท จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า  ในช่วงสถานการณ์ไวรัสโควิด-19 เพื่ออำนวยความสะดวกให้ลูกค้า ที่มีการจำกัดการเดินทางไปที่ต่างๆ พฤกษาวิลล์ ซึ่งเป็นหนึ่งในแบรนด์ทาวน์โฮมคุณภาพจากพฤกษา เรียลเอสเตท ได้คัดเลือกแปลงสวย ในทุกทำเลทั่วกรุงเทพและปริมณฑล  มากกว่า 20 โครงการ กว่า 70 ยูนิต ในโซนต่างๆ อาทิ โซนรังสิต บางนา พระราม 2 นครอินทร์ ฯ จัดแคมเปญ Hot Deal พบทาวน์โฮมแปลงสวย ในราคาสุดพิเศษ จองเพียง 999 บาทเท่านั้น ไม่ต้องดาวน์ พร้อมรับโปรโมชั่นอื่นๆอีกมากมายมูลค่าสูงสุดถึง 500,000 บาท  (ขึ้นอยู่กับรายละเอียดในแต่ละยูนิต) โดยทาวน์โฮม Hot Deal มีราคาเริ่มต้นเพียง 1.6 ล้านบาท โดยสามารถติดต่อเพื่อชมบ้านและรายละเอียดเพิ่มเติมของโครงการได้ผ่านช่องทางออนไลน์ ได้แก่ เว็บไซต์ และ ไลน์แชท  ได้ตลอด 24 ชั่วโมง ชาญอิสระ เอาใจนักลงทุนจัด “หุ้นแลกคอนโด” นายสงกรานต์ อิสสระ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการ บริษัท ชาญอิสสระ ดีเวล็อปเมนท์ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า บริษัทฯ ได้ออกแคมเปญส่งเสริมการขาย “หุ้นแลกคอนโด” ขึ้น  เพื่อเป็นการเปิดโอกาสกับนักลงทุนที่ต้องการปรับเปลี่ยนพอร์ตการลงทุนเป็นอสังหาริมทรัพย์แทนหลังจากได้เผชิญกับความผันผวนของตลาดหุ้น ในช่วงเกิดเหตุการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด – 19  และช่วยให้นักลงทุนที่ต้องการซื้อห้องชุดได้มี ทางเลือกในการจ่ายเงินด้วยหุ้นแทน  สำหรับโครงการที่บริษัทได้นำมาร่วมในแคมเปญหุ้นแลกคอนโด ประกอบด้วย 4 โครงการ  ทั้งในกรุงเทพและ ต่างจังหวัด มีราคาเริ่มต้นตั้งแต่ 2 ล้านบาทขึ้นไป  เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม – 30 มิถุนายน 2563  (อ่านข่าวเพิ่มเติม)        
เผยบทวิเคราะห์ ดัชนีราคาที่อยู่อาศัยใหม่ ท่ามกลางวิกฤตโควิด-19

เผยบทวิเคราะห์ ดัชนีราคาที่อยู่อาศัยใหม่ ท่ามกลางวิกฤตโควิด-19

ปีนี้ต้องยอมรับว่าตลาดอสังหาริมทรัพย์ เหนื่อยสุดเพราะเจอผลกระทบจากปัจจัยลบสารพัด โดยเฉพาะปัญหาการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 และยังมีปัจจัยลบก่อนหน้าที่กระทบต่อตลาดอสังหาฯ อย่างมาก คือ มาตรการ LTV เพราะทำให้กำลังซื้อลดลง กลุ่มนักลงทุนหายออกจากตลาด     ผลกระทบที่มีต่อตลาดอสังหาฯ อย่างมากในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ ได้ส่งผลต่อราคาอสังหาฯ ไม่ว่าจะเป็นบ้าน ทาวน์เฮ้าส์ หรือคอนโดมิเนียมอย่างไรบ้างนั้น คงต้องอ่านบทวิเคราะห์จากศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ เพราะหากประเมินจากสถานการณ์ปัจจุบัน ดูเหมือนว่าความต้องการที่อยู่อาศัยจะลดน้อยลง และช่วงที่ผ่านมาเห็นการจัดโปรโมชั่น การทำตลาดด้วยกลยุทธ์ลด แลก แจก แถมมากมาย เพื่อกระตุ้นยอดขายต่างๆ บางรายออกมาลดราคาห้องชุดคอนโดฯ​ มากถึง 50% ซึ่งในความเป็นจริงราคาที่อยู่อาศัยในช่วงไตรมาสแรกที่ผ่านมาเป็นอย่างไร ต้องลองอ่านบทวิเคราะห์ของศูนย์ข้อมูลฯ ดร.วิชัย วิรัตกพันธ์ ผู้ตรวจการธนาคารอาคารสงเคราะห์ และรักษาการผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ หรือ REIC  เปิดเผยว่า  ได้จัดทำรายงานดัชนีราคา ที่อยู่อาศัยใหม่ ที่อยู่ระหว่างการขาย ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ไตรมาส 1 ปี 2563 พบว่า ดัชนีราคาบ้านจัดสรรใหม่ที่อยู่ระหว่างการขาย มีการขยายตัวเพิ่มขึ้น ขณะที่ดัชนีราคาห้องชุดคอนโดมิเนียม ที่อยู่ระหว่างการขาย ไตรมาส 1 ปี 2563 ขยายตัวต่ำสุดนับจากปี 2555 ที่เริ่มจัดทำดัชนีห้องชุดคอนโดฯ บ้านจัดสรรใหม่ราคายังเพิ่มฝ่าปัจจัยลบ สำหรับดัชนีราคาบ้านจัดสรรใหม่ที่อยู่ระหว่างการขาย ทั้งบ้านเดี่ยว และทาวน์เฮ้าส์ ในช่วงไตรมาสแรกที่ผ่านมา มีการขยายตัวเพิ่มขึ้น โดยมีค่าดัชนีเท่ากับ 128.4 จุด เพิ่มขึ้น 2.6% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน (YoY) และเพิ่มขึ้น 0.6% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (QoQ) ในพื้นที่กรุงเทพฯ มีค่าดัชนีเท่ากับ 127.4 จุด เพิ่มขึ้น  2.4% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน (YoY) และเพิ่มขึ้น 0.6% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (QoQ) ส่วนในพื้นที่จังหวัดปริมณฑล มีค่าดัชนีเท่ากับ 129.2 จุด เพิ่มขึ้น 2.8% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน (YoY) และเพิ่มขึ้น 0.7% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (QoQ)   ราคาที่อยู่อาศัยแนวราบทั้งบ้านเดี่ยวและทาวน์เฮ้าส์ยังมีการปรับราคาเพิ่มขึ้น  ถึงแม้ว่าตลาดที่อยู่อาศัย แนวราบจะประสบกับปัจจัยลบรุมเร้ามากกว่าปัจจัยบวก ทั้งทางเศรษฐกิจและโรคระบาดจากไวรัส COVID-19 เนื่องจากต้นทุนในการพัฒนาที่อยู่อาศัยแนวราบ ทั้งราคาที่ดิน ราคาวัสดุและค่าแรงในการก่อสร้าง  ประกอบกับที่อยู่อาศัยแนวราบ เป็นมีผู้ต้องการซื้อเพื่ออยู่อาศัยจริงมากกว่าการซื้อเพื่อลงทุน จึงส่งผลให้มีความต้องการที่อยู่อาศัยประเภทนี้ซึ่งมีอยู่มาก ทาให้ราคายังคงมีการปรับตัวเพิ่ม แต่ในอัตราที่น้อยตามสถานการณ์ ตลาดที่อยู่อาศัยในปัจจุบัน สำหรับ ดัชนีราคาบ้านเดี่ยวในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ไตรมาส 1 ปี 2563 มีค่าดัชนีเท่ากับ 126.7 จุด เพิ่มขึ้น 2.9% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน (YoY) และเพิ่มขึ้น 0.7% เมื่อเทียบกับไตรมาส ก่อนหน้า (QoQ)  แต่หากพิจารณาแยกพื้นที่ จะพบว่า ในพื้นที่กรุงเทพฯ มีค่าดัชนีเท่ากับ 126.3 จุด เพิ่มขึ้น 2.9% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของ ปีก่อน (YoY) และเพิ่มขึ้น 0.9% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (QoQ) ส่วนพื้นที่ปริมณฑล มีค่าดัชนีเท่ากับ 126.8 จุด เพิ่มขึ้น 3.0% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน (YoY) และเพิ่มขึ้น 0.6% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (QoQ)   ขณะที่ดัชนีราคาทาวน์เฮ้าส์ ในกรุงเทพฯ – ปริมณฑล ไตรมาส 1 ปี 2563 มีค่าดัชนีเท่ากับ 130.3 จุด เพิ่มขึ้น 2.3% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน (YoY) และเพิ่มขึ้น  0.6% เมื่อเทียบกับ ไตรมาสก่อนหน้า (QoQ) โดยเมื่อแบ่งพื้นที่กรุงเทพฯ มีค่าดัชนีเท่ากับ 128.5 จุด เพิ่มขึ้น  2.1% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกัน ของปีก่อน (YoY) และเพิ่มขึ้น 0.5% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (QoQ)  ส่วนพื้นที่จังหวัดปริมณฑล มีค่าดัชนีเท่ากับ 132.2 จุด เพิ่มขึ้น 2.6% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน (YoY) และเพิ่มขึ้น 0.8%  เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (QoQ) ดัชนีราคาคอนโดฯ ต่ำสุดรอบ 9 ปี ส่วนดัชนีราคาห้องชุดคอนโดฯ ใหม่  ที่อยู่ระหว่างการขาย พบว่ามีค่าดัชนีเท่ากับ 153.4 จุด เพิ่มขึ้นเพียง 2.7% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน (YoY) ซึ่งเป็นอัตราการขยายตัวที่ต่ำที่สุดนับตั้งแต่ปี 2555 ซึ่งเป็นปีที่มีการริเริ่มจัดทำดัชนี แต่เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (QoQ) พบว่า ดัชนีมีอัตราการขยายตัวที่ลดลงเป็นไตรมาสแรก 0.3%   ทั้งนี้ ตลาดที่อยู่อาศัยประเภทคอนโดฯ  ได้รับผลกระทบเชิงลบมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2562 ตั้งแต่การประกาศใช้มาตรการ LTV ภาวะสงครามการค้าระหว่างจีน-สหรัฐอเมริกา และล่าสุดสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ที่มีผลกระทบรุนแรง และฉุดกำลังซื้อห้องชุดคอนโดฯ ให้ลดลงอย่างรวดเร็วในไตรมาสแรกนี้ ทั้งกำลังซื้อคนไทยและคนต่างชาติ  โดยเฉพาะชาวจีนซึ่งเป็นกลุ่มคนต่างชาติ ที่เป็นผู้ซื้อหลักของตลาดคอนโดฯ ในกรุงเทพฯ – ปริมณฑล งัดโปรโมชั่นระบายสต็อกคอนโดฯ จากราคาคอนโดฯ​ ที่ลดต่ำลงในรอบหลายปี  ทำให้ผู้ประกอบการ อัดโปรโมชั่นพร้อมจัดรายการส่งเสริมการขายห้องชุดคอนโดฯ ที่อยู่ระหว่างการขายในไตรมาสนี้ ส่วนใหญ่เป็นการลดราคาขายให้กับ ลูกค้าเป็นส่วนลดเงินสด ซึ่งมีสัดส่วนมากถึง  41.8% รองลงมาเป็นกลยุทธ์การเร่งรัดการตัดสินใจของผู้ซื้อด้วยของแถมสัดส่วน 40.9%  เช่น เฟอร์นิเจอร์ เครื่องใช้ไฟฟ้า ฯลฯ และการช่วยผู้ซื้อจ่ายค่าใช้จ่ายในวันโอนกรรมสิทธิ์ด้วยสัดส่วน 17.3%   สำหรับรายการส่งเสริมการขายโครงการบ้านจัดสรรใหม่ที่อยู่ระหว่างการขายในไตรมาสนี้ส่วนใหญ่  41.5% จะช่วยผู้ซื้อจ่ายค่าใช้จ่ายในวันโอนกรรมสิทธิ์ และ/หรือ ฟรีค่าส่วนกลาง รองลงมา  41.2% เสนอของแถม เช่น เครื่องปรับอากาศ เฟอร์นิเจอร์ ผ้าม่าน ปั๊มน้า แท้งก์น้า ฯลฯ และ  17.3% จะให้เป็นส่วนลดเงินสด ในขณะที่ไตรมาส 4 ปี 2562 ส่วนใหญ่  41.0% จะช่วยผู้ซื้อจ่ายค่าใช้จ่ายในวันโอนกรรมสิทธิ์ และ/หรือ ฟรีค่าส่วนกลาง รองลงมา  39.1% เสนอของแถม เช่น เครื่องปรับอากาศ เฟอร์นิเจอร์ ผ้าม่าน ปั๊มน้า แท้งก์น้า ฯลฯ และ  19.9%  จะให้เป็นส่วนลดเงินสด    
สรุปผลงานบิ๊กอสังหาฯ ปี 2562 ทำรายได้รวมกว่า 2.77 แสนล้าน

สรุปผลงานบิ๊กอสังหาฯ ปี 2562 ทำรายได้รวมกว่า 2.77 แสนล้าน

รอบปี 2562 ที่ผ่านมา ต้องยอมรับเลยว่าตลาดอสังหาริมทรัพย์เมืองไทย ต้องเผชิญภาวะชะลอตัวอย่างชัดเจน จากปัจจัยลบสำคัญ คือ ผลกระทบจากมาตรการ LTV ที่มาซ้ำเติมกับภาวะกำลังซื้อของคนส่วนใหญ่ชะลอตัวลง เพราะภาพโดยรวมไม่ว่าจะเป็นเศรษฐกิจโลก หรือเศรษฐกิจไทย ต่างก็มีปัญหามาก่อนหน้านี้ เมื่อกำลังซื้อมีจำกัด มาเจอกับการเข้มงวดจากการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงิน และวงเงินการปล่อยกู้ที่ลดลง ตลาดอสังหาฯ จึงได้รับผลกระทบแบบเต็มๆ   จากการสำรวจผลประกอบการของบริษัทอสังหาฯ ที่จะทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) ประมาณ 30 บริษัท ซึ่งดำเนินธุรกิจพัฒนาโครงการอสังหาฯ ประเภทที่อยู่อาศัย ไม่ว่าจะเป็นบ้านเดี่ยว ทาวน์โฮม หรือคอนโดมิเนียม พบว่ารายได้เมื่อสิ้นปี 2562 ต่างได้รับผลกระทบ ตัวเลขรายได้และกำไรต่างลดลงจากปี 2561 ส่วนใหญ่เหตุผลมาจาก ลูกค้าไม่สามารถกู้เงินซื้อบ้านได้  เพราะมีข้อจำกัดเรื่อง LTV แม้ลูกค้าที่มีความสามารถในการซื้อ แต่ความมั่นใจก็ลดลง จึงชะลอแผนการซื้อที่อยู่อาศัยไปก่อน ขณะที่ฝั่งผู้ประกอบการเอง ยังชะลอการเปิดตัวโครงการใหม่ออกไปก่อน และบางรายก็ลดจำนวนโครงการที่เปิดใหม่ในปีที่ผ่านมาด้วย 30 ดีเวลลอปเปอร์ทำรายได้ลด 4.07% หากดูตัวเลขจากการสำรวจข้อมูลในปี 2562 ที่ผ่านมาพบว่า ผู้ประกอบการอสังหาฯ 30 รายหลัก มีรายได้จากการพัฒนาอสังหาฯ ซึ่งเป็นประเภทที่อยู่อาศัย มีรายได้รวมกว่า 277,810 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อนหน้า 4.07% ซึ่งมีรายได้รวม 289,607 ล้านบานท ขณะที่กำไรในส่วนที่บริษัทได้รับมีมูลค่ารวม  50,144 ล้านบาท ลดลง 6.37% จากปีก่อนหน้าที่มีกำไร 53,558 ล้านบาท แต่หากพิจาณาจากรายได้รวมทั้งหมด ของผู้ประกอบการอสังหาฯ ในปีที่ผ่านมา จะพบว่า มีรายได้เติบโตเล็กน้อย ประมาณ 1.49% จากรายได้รวมจำนวน 332,651 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าที่มีจำนวน 327,766.65 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิรวม 50,438 ล้านบาท ลดลงเล็กน้อยในอัตรา 0.51% จากปีก่อนหน้าที่มีกำไรสุทธิรวม 50,698 ล้านบาท   เหตุผลที่บริษัทอสังหาฯ ส่วนใหญ่ยังทำรายได้รวมเพิ่มขึ้น และกำไรลดลงเล็กน้อย ซึ่งเรียกได้ว่ายังรักษาความสามารถในการทำกำไรได้ดี ในภาวะและสถานการณ์ที่มีแต่ปัจจัยลบนั้น เป็นเพราะการขยายพอร์ตธุรกิจไปสูตลาดอสังหาฯ ประเภทอื่นๆ ที่ไม่ได้จำกัดตัวเองไว้แต่เฉพาะตลาดที่อยู่อาศัยเท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นตลาดสำนักงานให้เช่า ศูนย์การค้า โรงแรม เซอร์วิสอพาร์ทเมนท์ ธุรกิจบริการ คลังสินค้า หรือแม้แต่โรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งหลายธุรกิจไม่ได้รับผลกระทบจากกำลังซื้อที่ชะลอตัวลง แถมยังเป็นธุรกิจทำกำไรได้ดีกว่าธุรกิจที่อยู่อาศัยด้วยซ้ำ ดีเวลลอปเปอร์ Top10 ครองตลาดกว่า 73% ถ้าพิจารณาบรรดาผู้ประกอบการรายใหญ่ 10 อันดับแรก ยังพบว่าเป็นผู้ประกอการที่สามารถสร้างรายได้จากธุรกิจอสังหาฯ เพื่ออยู่อาศัยได้ระดับหมื่นล้านบาทขึ้นไป และยังเป็นกลุ่มผู้ประกอบการที่ครองส่วนแบ่งการตลาดรวมกันมากกว่า 73% อีกด้วย โดยกลุ่มพฤกษา โฮลดิ้ง (PSH) ยังคงเป็นแชมป์ทำรายได้สูงสุดถึง 39,885.21 ล้านบาท แม้ว่าจะลดลง 11.17% จากปีก่อนหน้าที่ทำได้ 44,900.70 ล้านบาทก็ตาม โดยกลุ่มออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ (ORI) เป็นกลุ่มผู้ประกอบการ Top10 ที่ทำรายได้น้อยสุดด้วยรายได้ 12,278.60 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อนหน้า 15.5% ที่ทำรายได้ 14.523.10 ล้านบาท   หากมาดูการเปลี่ยนแปลงของรายได้จากธุรกิจอสังหาฯ เพื่ออยู่อาศัย 7 ใน 10 บริษัท มีรายได้ลดลงทั้งหมด ที่ลดลงมาก็คือ กลุ่มแลนด์แอนด์เฮ้าส์ (LH) ลดงถึง 17.57%  รายได้ที่ทำได้ในปี 2561 จำนวน 30,513.63 ล้านบาท ลดลงเหลือ 25,15137 ล้านบาท ส่วนบริษัทที่มีรายได้ลดลงเพียงเล็กน้อย คือ กลุ่มศุภาลัย (SPALI) ที่มีรายได้จากการขายอสังหาฯ เพื่อที่อยู่อาศัยดลง 7.85% จากปี 2561 มีรายได้ 25,203.08 ล้านบาท เหลือ 25,151.37 ล้านบาท ในปีที่ผ่านมา   ขณะที่ดีเวลลอปเปอร์ซึ่งติด Top10 สามารถฝ่าปัจจัยลบ สร้างยอดขายเติบโตได้ดี คือ กลุ่มโนเบิล ดีเวลลอปเปอร์ (NOBLE) ซึ่งมีสาเหตุหลักมาจาก การรับรุ้รายได้จากการขายที่ดินรอการพัฒนา มูลค่า 8,680.7 ล้านบาท รวมถึงการขายสินทรัพย์เข้ากองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาฯ จำนวน 210 ล้านบาท ซึ่งอาจจะถือว่าเป็นรายได้จากการขายที่พิเศษขึ้นมา หากหักรายการพิเศษนี้ออกไป กลุ่มโนเบิลฯ จะมีรายได้ประมาณ 6,000 ล้านบาท ซึ่งคงไม่ได้ติดอันดับ Top10 แต่ยังคงมีรายได้เติบโตจากปีที่ผ่านมา ซึ่งทำได้ประมาณ 4,974.20 ล้านบาท   ส่วนอีก 2 บริษัทที่สามารถสร้างรายได้จากการขายเติบโต คือ บริษัท แผ่นดินทอง พร็อพเพอร์ตี้ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) (GOLD) ที่ทำรายได้ในช่วง ปี 2562 (มกราคาถึงธันวาคม 2562) จำนวน 15,299.99 ล้านบาท เติบโต 9.02% จากปีที่ผ่านมามีรายได้ 14,034.33 ล้านบาท และอีกบริษัท คือ กลุ่มพร็อพเพอร์ตี้ เฟอร์เฟค (PF) ที่สามารถสร้างการเติบโตได้ 5.01% ด้วยรายได้ 16,367.10 ล้านบาท จากปีก่อนหน้าทำได้ 15,586.60 ล้านบาท   Top10 โกยกำไรกว่า 4 หมื่นล้าน สำหรับปีที่ผ่านมาบิ๊กดีเวลลอปเปอร์รายใหญ่ ยังคงความสามารถในการทำกำไรในส่วนของบริษัท ได้ใกล้เคียงกับปีก่อนหน้า โดย 10 บริษัทรายใหญ่ทำกำไรในส่วนของบริษัทได้มากถึง 40,088.45 ล้านบาท ลดลงเล็กน้อยเพียง 2.76% จากปี 2561 ที่ทำได้จำนวน 41,224.19 ล้านบาท บริษัทที่ทำกำไรได้สูงสุด และแตะระดับหมื่นล้านบาทนั้น ยังคงเป็นบริษัท แลนด์แอนด์เฮ้าส์ฯ ที่มีกำไร 10,024.90 ล้านบาท ลดลง 4.30% จากปีก่อนหน้าทำได้ 10,475.42 ล้านบาท ส่วนบริษัทที่กำไรลดลงมากสุด คือ บริษัท ควอลิตี้ เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) (QH) โดยกำไรลดลง 24.86% จากกำไรในปี 2561 จำนวน 3,797.85 ล้านบาท เหลือจำนวน 2,853.86 ล้านบาท ในปีที่ผ่านมา แม้บริษัทส่วนใหญ่จะกำไรลดลง แต่ยังพบว่ากลุ่ม Top10 มี 3 บริษัทที่กำไรเติบโต คือ บริษัท โนเบิลฯ มีกำไรเติบโต 211.18% จากกำไรจำนวน 986.97 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเป็น 3,071.21 ล้านบาท. ซึ่งเป็นผลจากการขายรายการพิเศษนั่นเอง ส่วนอีก 2 บริษัทที่มีกำไรเติบโต คือ บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) (SIRI) มีกำไรเติบโต 16.93% จากกำไร 2,045.97 ล้านบาท ในปี 2561  เพิ่มขึ้นเป็น 2,392.44 ล้านบาท ในปีที่ผ่านมา และบริษัท แผ่นดินทองฯ เป็นอีกหนึ่งบริษัทในกลุ่ม Top10 ที่มีกำไร โดยกำไร 2,093.92 ล้านบาท เติบโต 7.27% จากปี 2561 ซึ่งมีกำไร 1,951.97 ล้านบาท 3 บริษัทกำไรเติบโตเกิน 100% ส่วนภาพรวมในรอบปี 2562 บริษัทอสังหาฯ ในตลาดหลักทรัพย์ประมาณ 30 บริษัท สามารถทำกำไรในส่วนของบริษัทรวม  50,144.63 ล้านบาท ลดลง 6.37% จากปี 2561 ที่ทำกำไรได้ 53,558.26 ล้านบาท โดยบริษัทที่ไม่ได้อยู่ในกลุ่ม Top10 มีกำไรเติบโตโดดเด่น มี 3 บริษัท  คือ  บริษัท ไรมอนแลนด์ จำกัด (มหาชน) (RML)  มีกำไรเติบโต 228.30% จากกำไรในปี 2561 จำนวน 17.67 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเป็น 79.30 ล้านบาท ในปีที่ผ่านมา และบริษัท ชาญอิสสระดีเวล็อปเนท์ จำกัด (มหาชน) (CI) ซึ่งทำกำไรเติบโตถึง 228.39% จากกำไรจำนวน 82.4 ล้านบาท ในปี 2561 เพิ่มขึ้นเป็น 270.59 ล้านบาท เป็นผลจากการโอนกรรมสิทธิ์จากโครงการต่างๆ ที่เปิดขายมาก่อนหน้า   ส่วนอีกบริษัทที่มีกำไรเติบโตโดดเด่น ไม่พูดถึงไม่ได้ เพราะสามารถผลิกฟื้นธุรกิจจากขาดทุนมาเป็นกำไร คือ บริษัท เอเวอร์แลนด์ จำกัด (มหาชน) (EVER)  ที่สามารถผลิกจากการขาดทุนในปี 2561 จำนวน  340.86 ล้านบาท มาเป็นกำไรได้ 323.84 ล้านบาท หรือเติบโตถึง 195% ซึ่งเป็นผลมาจาก การโอนกรรมสิทธิ์โครงการต่างๆ อาทิ  เดอะโพลิแทน รีฟ เฟส 1 และโครงการทาวน์โฮม แบรนด์เอเวอร์ ซิติ้ สุขสวัสดิ์ 30-พุทธบูชา โครงการเอเวอร ซิตี้ ศรีนครินทร์-หนามแดง และโครงการมายโอม อเวนิว เป็นต้น ถือว่าทำผลงานได้ดีที่สุดในรอบ 7 ปีเลยทีเดียว   บทสรุป ของปี 2562 ที่ผ่านมา คงเห็นภาพได้ชัดเจนว่า ตลาดอสังหาฯ​ ได้รับผลกระทบจากมาตรการ LTV ภาวะเศรษฐกิจ และกำลังซื้อ และน่าจะยังคงส่งผลกระทบต่อเนื่องมาถึงปี 2563 ยิ่งสถานการณ์ตอนนี้ เกิดปัญหาไวรัสโควิด-19 อีกด้วย เชื่อว่าตลาดอสังหาฯ ปีนี้ ก็คงชะลอตัวต่อเนื่องเช่นกัน แต่จะมากน้อยแค่ไหนนั้น คงต้องวัดผลกันอีกครั้งในช่วงสิ้นปี                        
5 ปัจจัยหนุนทำเลเตาปูน สู่ย่านใจกลางธุรกิจแห่งใหม่

5 ปัจจัยหนุนทำเลเตาปูน สู่ย่านใจกลางธุรกิจแห่งใหม่

ถ้าพูดถึงทำเลที่มีการพัฒนาโครงการคอนโดมิเนียมหนาแน่น  นอกจากทำเลพื้นที่ย่านใจกลางเมือง หรือ ย่านใจกลางธุรกิจ อีกทำเลที่มีการพัฒนาคอนโดฯ​ อย่างหนาแน่น ก็คงเป็นทำเลตามแนวเส้นทางรถไฟฟ้า ทั้งเส้นทางรถไฟฟ้าที่เปิดให้บริการแล้ว และกำลังจะเกิดขึ้นในอนาคต  เพราะคนจะเลือกที่อยู่ทำเลไหน การเดินทางต้องมีความสะดวกสบายด้วย ซึ่งเรื่องของความสะดวกในการเดินทาง ถือเป็นตัวตัดสินใจอันดับแรกๆ ในการเลือกซื้อที่อยู่อาศัยเลยก็ว่าได้   สำหรับแนวเส้นทางรถไฟฟ้า ซึ่งมีการพัฒนาโครงการคอนโดฯ หนาแน่นแห่งหนึ่ง คงเป็นทำเลเตาปูน บริเวณรถไฟฟ้าสถานีเตาปูน อินเตอร์เชนจ์ ต่อเนื่องไปถึงสถานีบางโพ ยิ่งเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย จากสถานีเตาปูน-ท่าพระ ได้เริ่มทดลองวิ่งแล้ว ทำเลนี้น่าสนใจและเป็นที่จับตามอง ดีเวลลอปเปอร์หลายราย มองว่าทำเลนี้ในอนาคตจะถูกพัฒนาและกลายเป็นย่านใจกลางธุรกิจแห่งใหม่ จากปัจจัยบวกหลายประการ   หากพิจารณาถึงเหตุผลตอกย้ำทำเลเตาปูน คือ ย่านใจกลางธุรกิจแห่งใหม่ในอนาคตนั้น  คงจะมาจากเหตุผลสำคัญ 5 ประการ คือ 1.การพัฒนาโครงการ “สถานีกลางบางซื่อ” สถานีกลางบางซื่อ เป็นโครงการของการรถไฟแห่งประเทศไทย มีเป้าหมายสำคัญเพื่อใช้เป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงเส้นทางรถไฟ และรถไฟฟ้า ซึ่งมีการริเริ่มโครงการมาตั้งแต่ปี 2553 โดยขณะนั้นสถานีกลางบางซื่อ ถือเป็นส่วนหนึ่งของโครงการถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง ซึ่งเดิมกำหนดให้มีโครงสร้างสถานีจำนวน 2 ชั้น ได้แก่ ชั้นรถไฟทางไกล และชั้นสำหรับรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง และรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิส่วนต่อขยาย   ต่อมาในปี  2557 รัฐบาล คสช. และกระทรวงคมนาคมได้ดำเนินโครงการต่อมา จากก่อนหน้าโครงการล่าช้าเพราะมีการปรับแบบก่อสร้างมาโดยตลอดเวลา  ซึ่งแบบสถานีกลางบางซื่อใหม่ที่ถูกปรับขึ้น ล่าสุด จะประกอบด้วย ชั้นที่ 1 เป็นพื้นที่สำหรับห้องจำหน่ายตั๋วโดยสาร ชั้นที่ 2 เป็นชั้นชานชาลาสำหรับรถไฟที่ใช้รางขนาด 1.000 เมตร ประกอบด้วยรถไฟทางไกล 8 ชานชาลา และรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง 4 ชานชาลา และชั้นที่ 3 เป็นชั้นชานชาลาสำหรับรถไฟที่ใช้รางขนาด 1.435 เมตร ประกอบด้วย รถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ  (Airport Rail Link) และรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน 2 ชานชาลา รถไฟฟ้าความเร็วสูงสายตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 4 ชานชาลา รถไฟฟ้าความเร็วสูงสายเหนือ และรถไฟฟ้าความเร็วสูงสายใต้ จำนวนสายละ 2 ชานชาลา รวมทั้งสิ้น 10 ชานชาลา (ข้อมูลจาก วิกิพีเดีย)   ความสำคัญของสถานีกลางบางซื่อ คือ การเป็นศูนย์กลางด้านคมนาคมขนส่งระบบรางที่เชื่อมโยงการเดินทางด้วยรถไฟฟ้า รถไฟทางคู่ และรถไฟความเร็วสูง จากกรุงเทพฯ สู่ภูมิภาค และภายในเขตกรุงเทพฯ​ และปริมณฑลเอง  ซึ่งมีขนาดใหญ่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สถานีกลางบางซื่อจึงเป็นปัจจัยสำคัญในการผลักให้พื้นโดยรอบกลายเป็นศูนย์กลางธุรกิจแห่งใหม่ ที่สร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจและการอยู่อาศัย เพราะคาดว่าสถานีกลางบางซื่อจะมีผู้ใช้บริการ หมุนเวียนต่อวันมากถึง 200,000 คนเลยทีเดียว 2.จุดเชื่อมต่อรถไฟฟ้าสี “น้ำเงิน-ม่วง” นับตั้งแต่รถไฟฟ้าสายสีม่วง เปิดให้บริการอย่างเป็นทางการ ในช่วงปี 2560 ทำเลเตาปูน ก็ได้รับความสนใจจากบรรดาดีเวลลอปเปอร์อย่างต่อเนื่อง หลายรายเข้ามาปักหมุดขึ้นโครงการ  นับตั้งแต่รู้ข่าวว่าจะมีเส้นทางรถไฟฟ้าด้วยซ้ำ และเมื่อมีการพัฒนาเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีม่วง มาเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน บริเวณสถานีเตาปูน อินเตอร์เชนจ์ ทำเลเตาปูน จึงกลายเป็นจุดเชื่อมต่อของเส้นทางรถไฟฟ้า ทั้งสองสีอย่างมีนัยสำคัญต่อการเดินทางของคนในกรุงเทพฯ และจังหวัดนนทบุรี   ที่สำคัญ การเริ่มเปิดให้บริการเดินรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงเตาปูน-ท่าพระ ตั้งแต่ปลายปี 2562 แม้จะเป็นช่วงเวลา 10.00-16.00 น. ก่อนจะขยายระยะเวลาให้บริการเป็น 06.00-24.00 น. ตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ซึ่งแม้จะยังไม่ได้จัดเก็บค่าโดยสาร และจะเริ่มจัดเก็บค่าโดยสารและเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการวันที่ 30 มีนาคม 2563 นี้  ทำเลเตาปูนจึงถือเป็นจุดเชื่อมต่อของการเดินทาง  ซึ่งทำให้คนมีความสะดวก ไม่ว่าจะไปทางทิศตะวันออก หรือไปทางทิศตะวันตกของกรุงเทพฯ 3.การเดินทางครบเชื่อมโยงทั้งระบบ “ราง-รถ-เรือ” นอกจากย่านเตาปูน จะเป็นจุดเชื่อมต่อของเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน และสายสีม่วงแล้ว ในอนาคต ยังมีการพัฒนาระบบคมนาคม เชื่อมโยงระหว่างกันทั้งระบบราง รถ และเรือ  ซึ่งเป็นปัจจัยทำให้ทำเลเตาปูน  จะกลายเป็นทำเลย่านใจกลางธุรกิจแห่งใหม่ในอนาคตได้ไม่ยาก ซึ่งแผนการพัฒนาระบบคมนาคม ที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคต ได้แก่ -การพัฒนาเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ เส้นทาง เตาปูน-ราษฎร์บูรณะ นอกจากเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน-บางใหญ่ (สถานีคลองบางไผ่) ซึ่งเชื่อมโยงคนจากจังหวัดนนทบุรีเข้าสู่ใจกลางเมืองกรุงเทพฯ ได้สะดวกสบายแล้วรถไฟฟ้าสายสีม่วง ยังมีแผนพัฒนาเส้นทางต่อเนื่องจากสถานีเตาปูน อินเตอร์เชนจ์ คือ เส้นทางรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) ระยะทาง 23.6 กิโลเมตร เงินลงทุน 101,112 ล้านบาท   แนวเส้นทางโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน–ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) เริ่มต้นจากจุดเชื่อมต่อรถไฟฟ้า สถานีเตาปูน อินเตอร์เชนจ์ เลี้ยวขวาเข้าสู่ถนนทหารผ่านแยกเกียกกาย ผ่านแยกบางกระบือ, แยกศรีย่าน เชื่อมต่อกับโครงการรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงอ่อน โครงข่ายในเมือง ช่วงบางบำหรุ–มักกะสันเข้าสู่ถนนสามเสนผ่านอาคารรัฐสภาใหม่ โรงเรียนราชินีบน กรมชลประทาน โรงพยาบาลวชิรพยาบาล หอสมุดแห่งชาติ คลองบางลำพู เลี้ยวซ้ายเข้าสู่ถนนพระสุเมรุ ถนนราชดำเนินกลาง เลียบคลองรอบกรุงไปเชื่อมต่อกับโครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้มที่สถานีผ่านฟ้าลีลาศ เชิงสะพานผ่านฟ้าลีลาศ ลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณสะพานพระปกเกล้า เข้าสู่ถนนประชาธิปก ผ่านสี่แยกบ้านแขก เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงเข้มช่วงหัวลำโพง–มหาชัยที่สถานีรถไฟวงเวียนใหญ่ และรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีลม ที่สถานีวงเวียนใหญ่ ลอดใต้วงเวียนใหญ่ เข้าสู่ถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน ลอดใต้แยกมไหสวรรย์ จากนั้นแนวเส้นทางจะเปลี่ยนยกระดับวิ่งไปตามกลางถนนสุขสวัสดิ์ ข้ามสะพานข้ามแยกพระราม 2 ผ่านสามแยกพระประแดงและสิ้นสุดที่ครุใน   -การพัฒนาท่าเรือบางโพ โฉมใหม่ เดิมบริเวณบางโพ มีท่าเรือบางโพคอยให้บริการอยู่ก่อนหน้านี้แล้ว แต่ได้หยุดการใช้งานไป เพราะมีการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน  หลังจากเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ได้ก่อสร้างแล้วเสร็จ ทางกรมเจ้าท่า กระทรวงคมนาคม ผู้ดูแลและรับผิดชอบโดยตรง จึงวางแผนปรับปรุงท่าเรือให้สอดรับกับระบบรถไฟฟ้า  และบริการประชาชนให้สามารถเดินทางเชื่อมต่อได้แบบครบวงจร  ทั้งทางถนน ระบบราง และทางเรือ   โดยกรมเจ้าท่าได้เตรียมขอจัดสรรงบประมาณปี 2564- 2565 ปรับปรุงท่าเรือบางโพ  ประกอบด้วยงาน 3 ส่วน คือการปรับปรุงและก่อสร้างท่าเทียบเรือ พร้อมโป๊ะเทียบเรือ ขนาด 6x12 เมตร จำนวน 2 ตัว การก่อสร้างอาคารพักผู้โดยสารรูปแบบไทยประยุกต์ 1 หลัง และลานหลังท่าเรือขนาด 200 ตารางเมตร  ซึ่งคาดว่าน่าจะดำเนินการก่อสร้างและแล้วเสร็จ พร้อมเปิดให้บริการได้ในเดือนมิถุนายนปี 2565  ท่าเรือบางโพจึงถือเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญ ผลักดันให้ทำเลเตาปูนได้รับความสนใจมากขึ้น -การพัฒนาถนน เพิ่มช่องทางการเดินรถ ในช่วงปี 2565 บริเวณใกล้เคียงกับทำเลเตาปูน ยังจะมีการขยายถนนช่วงสามเสน-ประชาราษฎร์สาย 1 ขยายถนนทหาร เป็น 8  ช่องจารจร การสร้างถนนใหม่ ขนานกับถนนสามเสนเดิม ต่อเนื่องจากถนนกรุงเทพ-นนทบุรี บริเวณแยกเตาปูนไปบรรจบกับถนนพิชัย ซึ่งเป็นแนวเส้นทางเดียวกับเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ ซึ่งจะทำให้ในอนาคตทำเลเตาปูน มีโครงข่ายของถนนเชื่อมโยงไปยังทำเลหรือพื้นที่อื่นๆ ได้มากมาย เป็นการเพิ่มทางเลือกในการเดินทางให้กับคนในพื้นที่ หรือผู้ที่ต้องเดินทางเข้ามาในทำเลเตาปูน 4.แหล่งงาน สำคัญทั้งรัฐและเอกชน ทำเลเตาปูน ที่ผ่านมา อาจจะไม่ใช่ย่านใจกลางธุรกิจหนาแน่น เมื่อเปรียบเทียบกับย่านธุรกิจในทำเลอื่นๆ เพราะทำเลนี้ เป็นทำเลของการพักอาศัย ที่มีบ้านเรือนของคนกระจายอยู่ทั่วไป และเป็นแหล่งการค้าเก่าแก่ อย่างตลาดไม้บางโพ แหล่งค้าไม้และอุปกรณ์ ซึ่งอยู่มาอย่างยาวนาน  แต่ขณะเดียวกันย่านเตาปูน ก็มีสำนักงานเก่าแก่ ซึ่งก่อตั้งบริษัทมานานนับ 100 ปี อย่างเครือซีเมนต์ไทย  สำนักงานใหญ่ ซึ่งมีพนักงานจำนวนมาก ถือได้ว่าเป็นแหล่งงานสำคัญ ใกล้กับย่านเตาปูนเลยก็ว่าได้   ในอนาคตย่านเตาปูน จะกลายเป็นทำเลใกล้กับแหล่งงานขนาดใหญ่ ทั้งภาครัฐและเอกชน  เพราะปัจจุบันมีโครงการและหน่วยงาน ที่เปิดให้บริการและกำลังจะเปิดบริการในอนาคต  ไม่ว่าจะเป็นรัฐสภาแห่งใหม่  สถานีกลางบางซื่อ  ศูนย์การค้าเกตเวย์ แอท บางซื่อ และสำนักงานเขตบางซื่อ นี่ยังไม่นับรวมกับหน่วยงานภาครัฐอื่นๆ โรงเรียน มหาวิทยาลัย โรงพยาบาลต่างๆ ที่ตั้งอยู่โดยรอบของทำเลเตาปูนอีกมากมายด้วย 5.ชุมชนเก่าสู่โลกการค้ายุคใหม่ ย่านเตาปูน มีตลาดเก่าแก่ที่อยู่ในพื้นที่ คือ ถนนสายไม้ ซึ่งอยู่ในซอยประชานฤมิตร  แหล่งรวมของสินค้าประเภทไม้ เฟอร์นิเจอร์ และอุปกรณ์  ซึ่งเป็นที่รู้จักของคนทั่วไป หากนึกถึงหรือต้องการจะซื้อสินค้าประเภทไม้  มักจะต้องเดินทางมาที่ซอยประชานฤมิตร  บรรดาร้านค้าไม้และสินค้าประเภทไม้ ในซอยประชานฤมิตร คาดว่าจะอยู่คู่กับทำเลเตาปูนมายาวนานมากว่า 50 ปี   แต่จากการพัฒนาของระบบคมนาคม โดยเฉพาะเส้นทางรถไฟฟ้า ซึ่งทำให้การเดินทางสะดวกสบาย เกิดแหล่งชุมชนที่พักอาศัยใหม่เพิ่มขึ้น  ซึ่งเป็นปัจจัยผลักดันให้เกิดการพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกออกมารองรับ  อย่างที่เห็นได้ชัดเจน คือ ศูนย์การค้า หรือช้อปปิ้งมอลล์ เพราะเป็นหนึ่งในปัจจัยสี่ ของคนอยู่ในทำเลนั้น ต้องใช้บริการเพื่อซื้อสินค้าใช้หรือบริโภค   ตอนนี้ทำเลเตาปูนมีศูนย์การค้าขนาดใหญ่เกิดขึ้นแล้ว คือ ศูนย์การค้าเกตเวย์ แอท บางซื่อ (Gateway at Bangsue) ที่บริษัท แอสเสท เวิรด์ รีเทล จำกัด ในเครือของ แอสเสท เวิรด์ คอร์ปอเรชั่น ได้ลงทุน 4,000 ล้านบาท พัฒนาโครการขึ้นมาบนเนื้อที่กว่า 10 ไร่ รองรับการมาของเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินและสายสีม่วง จุดเชื่อมต่อสำคัญของทำเลเตาปูน ซึ่งศูนย์การค้าเกตเวย์ แอท บางซื่อเปิดให้บริการมาตั้งแต่ช่วงปลายปี 2561   อนาคตไม่นานจากนี้ คนที่อยู่ในทำเลเตาปูน ยังจะมีแหล่งช้อปปิ้งใหม่ ซึ่งอยู่ในบริเวณสถานีกลางบางซื่อ เพราะภายในโครงการนอกจากจะเป็นจุดเชื่อมต่อของเส้นทางคมนาคมต่างๆ แล้ว ยังมีพื้นที่เชิงพาณิชย์ ซึ่งจะมีร้านค้าต่างๆ เปิดให้บริการด้วย ส่วนจะมีร้านค้าอะไรบ้างนั้น อดใจรออีกไม่นานคงได้เห็นกัน   และนี่คงเป็น 5 ปัจจัยสำคัญ ที่ทำให้ทำเลเตาปูน มีศักยภาพในการเป็นศูนย์กลางธุรกิจแห่งใหม่ในอนาคต หากโครงการต่างๆ ทั้งของรัฐและเอกชนพัฒนาออกมาแล้วเสร็จ  โฉมหน้าของย่านเตาปูน รวมถึงทำเลใกล้เคียงคงเปลี่ยนแปลงไปจากปัจจุบันอย่างมาก
14 คำถามกับ AP เดินกลยุทธ์เติบโตอย่างไร ให้ได้รายได้  40,550 ล้าน

14 คำถามกับ AP เดินกลยุทธ์เติบโตอย่างไร ให้ได้รายได้  40,550 ล้าน

เอพี ไทยแลนด์ กรุ๊ป วางเป้าหมายการเติบโตในปี 2563 ด้านรายได้ 40,550 ล้านบาท กับการเปิดตัวโครงการในปีนี้ 37 โครงการ รวมมูลค่า 47,150 ล้านบาท แบ่งเป็นโครงการแนวราบ 33 โครงการ มูลค่า 35,050 ล้านบา และคอนโดมิเนียม 4 โครงการ มูลค่า 12,100 ล้านบาท ถือเป็นความท้าทาย ท่ามกลางบรรยากาศทางการตลาด ซึ่งล้วนแต่มีปัจจัยฉุดให้ไม่เติบโต และต้องทำงานกันอย่างยากลำบาก   นายวิทการ จันทวิมล รองกรรมการผู้อำนวยการ สายงานกลยุทธ์องค์กรและการสร้างสรรค์ เอพี ไทยแลนด์ กรุ๊ป หรือ AP ได้ไขข้อสงสัยและตอบคำถาม 14 ข้อ เพื่อให้เห็นภาพรวมของบริษัทที่จะมุ่งหน้าไป และแนวทางที่จะทำให้บริษัทสามารถเติบโตต่อไปได้ คำถามที่ 1 วิเคราะห์ภาพรวมตลาด อสังหาริมทรัพย์ปี 2020 และการรับมือกับความท้าทาย ? ปีนี้เป็นปีท้าทายมากๆ ไม่ว่าจะธุรกิจอะไรก็ตาม สำหรับตลาดอสังหาริมทรัพย์ เราก็ได้รับผลกระทบจากกวิกฤตเศรษฐกิจต่างๆ เยอะมาก และเป็นปีที่ทดสอบเราจริงๆ ด้วยวิสัยทัศน์ และด้วยวิธีการปรับปรุงองค์กร ทุกครั้งเมื่อธุรกิจเริ่มจะช้าลง ใช้โอกาสในการปรับปรุงองค์กร การนำเอา AP Value หรือค่านิยมใหม่ๆ เข้ามา  ก็จะเป็นหนึ่งที่ทำให้เราแข็งแรงขึ้น ไม่ใช่ว่าที่ผ่านมาเราอ่อนแอนะ เราแข็งแรงบ้างแล้ว แต่การไปต่อในอนาคตเราต้องปรับปรุงตัวอย่างมาก   ธุรกิจแนวราบเป็นธุรกิจที่มีศักยภาพสูง ในการที่จะทำเราเตรียมตัวเรื่องพวกนี้ค่อนข้างดี การพัฒนาระบบ ECOSYSTEM โคซิสเต็ม ตั้งแต่การนำเอาเทคโนโลยี และการทำงานร่วมกับพาร์ทเนอร์ เชื่อว่าจะทำให้เราผ่านปีนี้ไปได้ คำถามที่ 2 รายได้รวม ปี 2019 เท่าไหร่ 3 ภาคธุรกิจใหม่ที่เปิดตัวขึ้นมา เมื่อต้นปีที่ผ่านมา (SEAC-CLAYMORE-VARRI) ได้เริ่มสร้างรายได้แล้วหรือยัง ? ปีที่แล้วเรามีรายได้ 32,452 ล้านบาท จากเป้าหมายที่วางไว้ 35,700 ล้านบาท เราทำไปได้ 91% ของเป้าที่วางไว้ ด้วยความท้าทายปีที่แล้ว   ซึ่งถือว่าเราทำได้ดีมาก 56% เป็นแนวราบ 18,145 ล้านบาท  แนวสูงอีก 40% มูลค่า 12,877 ล้านบาท ที่น่าสนใจคือ เซอร์วิส ไม่ว่าจะเป็น บางกอกซิตี้สมาร์ท ที่ทำเรื่องรีเซล มีมูลค่า 1100 ล้านบาท เซอร์วิสเป็นส่วนหนึ่งเริ่มโชว์ขึ้นมา ปีที่แล้วมีสัดส่วนอยู่ 4% ปีนี้ ของรายได้รวมทั้งหมด และปีต่อไปน่าจะเห็นเพิ่มมากขึ้น   3 ธุรกิจที่เปิดตัวขึ้นมา มีรายได้แล้วสำหรับแต่ละธุรกิจ แต่รายได้ยังไม่กลับเข้ามาที่เอพี เพราะยังขาดทุนอยู่ เรื่องอินโนเวชั่น ต้องใช้เวลา SEAC ปีนี้เริ่มเข้าสู่โหมดไม่ขาดทุนแล้ว และอีก 2 ปีข้างหน้าจะเป็นรายได้กลับเข้ามาหาเอพี ส่วน CLAYMORE น่าจะเป็นรูปเป็นร่างมากขึ้น เริ่มเอาออกสู่ตลาด แต่ปีแรกยังคงไม่มีกำไร ยังขาดทุนอยู่ แต่อีกสัก 2 ปีข้างหน้าจะมีรายได้กลับมาหาเอพี   SEAC เราทำขึ้นมาได้รับความสนใจจากองค์กรหลายองค์กร ไม่ใช่องค์กรที่อยากเข้ามาเรียนรู้ หลายองค์กรอยากเป็น Share Holder ด้วยซ้ำ คำถามที่ 3 ปัจจุบัน เอพีมี Backlog เท่าไหร่ แบ่งการรับรู้อย่างไร ? เรามี Backlog อยู่ 51987 ล้าน ถึงวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2563 เป็นแนวราบ 8,300 ล้านบาท รับรู้รายได้หมด เทียบยอดรับรู้รายได้ทั้งหมดของแนวราบ 21,000 ล้านบาท ประมาณ​ 40% ที่เหลือเป็นการเปิดโครงการใหม่ ส่วนแนวสูง เรามี Backlog โอนปีนี้  16560 ล้านบาท  เทียบรายได้ที่ตั้งใจ 18,000 เรามีพร้อมโอนแล้ว 90% แนวสูงก็พร้อมจะโอน แต่อาจจะมียกเลิก ซึ่งมีแค่ 15% แต่เราก็มีโครงการที่พร้อมขายพร้อมโอน เรื่องนี้เราไม่ค่อยห่วงเท่าไร คำถามที่ 4 ปีนี้ Developer ส่วนใหญ่ ปรับแผนบุกตลาดแนวราบ เอพีมีแผนรับมืออย่างไร ? ปีนี้เป็นปีแห่งแนวราบ ทุกคนเข้ามา สิ่งที่เราจะรับมือกับคู่แข่งที่จะเข้ามาในตลาดมากขึ้น ประสบการณ์ที่ทำมา 2 ปี ได้ลองผิดลองถูกมา แม้ว่าเราจะทำแนวราบมานาน  แต่วิธีการทำสมัยใหม่ เรามีการปรับเปลี่ยนวิธีคิด และได้ทดลองมา 2 ปี เราเชื่อว่าวันนี้ มิกซ์องค์ประกอบ ที่ทำให้ลูกค้ามาซื้อบ้านเอพีได้ ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาสเปซ​ ที่อยู่อาศัย การทำเรื่องราคา การพัฒนาคุณภาพ และการมีเซอร์วิส การเอาบางกอกซิตี้สมาร์ท เข้าไปจับ หรือการเอาอินโนเวชั่นไปจับ ทุกวันนี้ถูกเอาไปใช้ในโครงการแนวราบทุกโครงการ   และจะเป็นปีแรกที่เราไปทดสอบตลาดต่างจังหวัด เพราะมีหลายจังหวัดมีศักยภาพ เมื่อ 5 ปีที่แล้วไปแนวสูง ปีนี้ไปแนวราบ ทั้งบ้านเดี่ยว ทาวน์เฮ้าส์  บ้านแฝด จังหวัดแรกที่ไป คือ  นครศรีธรรมราช เหมือนเป็นเมืองรองแต่มีศักยภาพมาก มีเศรษฐีเยอะ คำถามที่ 5 ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา เอพีได้เปิดตัวไปแล้วกี่โครงการ ผลตอบรับเป็นอย่างไร ? เราเปิดบ้านเดี่ยวไป 4 โครงการ ทาวน์เฮ้าส์ไป 7 ช่วง 8 สัปดาห์ บ้านเดี่ยว ทาวน์เฮ้าส์ มียอดขายเฉลี่ยต่อสัปดาห์ 200-300 ล้านบาท ถึงวันที่ 23 กุมภาพันธ์  2563 มียอดขายแล้ว 4,230 ล้านบาท เป็นแนวราบ 3,493 ล้านบาท ถ้าเทียบกับปีที่แล้วก็ยังสูสี ทั้งๆ ที่สถานการณ์ปีนี้เลวร้ายมาก ปีที่แล้วลูกค้าอยากซื้อก็ต้องรีบโอน แต่ปีนี้ไม่ใช่ แม้กระทั้งคอนโดฯ  ไม่ได้โครงการเปิดใหม่ แต่เรายังขายได้  737 ล้านบาน  ในช่วง 8 สัปดาห์ที่ผ่านมา ด้วยสถานการณ์แบบนี้ ไม่มีโครงการใหม่เปิด ขายสัปดาห์ละ 70-80 ล้านบาท ถือว่าไม่น้อยทีเดียว ถ้าเราทำโปรดักส์ ถูก ราคาถูก การทำตลาดได้ถูกต้อง ยังถือว่าได้ผลลัพท์ที่ดี  ยังมีดีมานด์ในตลาด คำถามที่ 6 ปีนี้เอพีเปิดตัวคอนโดลดลงหรือไม่ ทางพันธมิตรญี่ปุ่น Concern เรื่องการลงทุนในประเทศไทยหรือไม่ ? คอนโดฯ เราเปิดปีละ 4-6 โครงการอยู่แล้ว ปีนี้เราเปิด 4 โครงการ ถ้าถามเรื่องการคอนเซิร์นของพันธมิตรญี่ปุ่น เราต้องมองว่า พันธมิตรเรา บริษัทมิตซูบิชิ เอสเตท กรุ๊ป (MEC)  เป็นมืออาชีพในการพัฒนาอสังหาฯ​ ในญี่ปุ่น เขามีความเข้าใจในการทำธุรกิจอสังหาฯ​ มันมีขึ้นมีลง เขาคุยเสมอว่าเขาเข้าใจ ว่าอะไรบ้างมีผลกระทบต่อตลาดอสังหาฯ แต่ความมั่นใจของเขา ไม่ได้อยู่ที่สภาพแวดล้อม หรือเรื่องเศรษฐกิจที่ทำให้ลดตัวลง แต่มันอยู่ที่การบริหารจัดการภายใน   ตลอดระยะเวลา 5-6 ปีที่ทำงานมา เราทำให้เขาเห็นถึงความมั่นใจ การทำงานของเรา ไม่ว่าจะเรื่องระบบ ความเชื่อถือเชื่อมั่น และที่สำคัญ คือ แผนงานของเรา แผนการเปิดตัวคอนโดฯ มีการผ่อนหนักผ่อนเบา โอกาสมาก็เปิดเยอะ โอกาสน้อยก็เปิดน้อย แล้วจะเห็นว่าการได้มาซึ่งการรับรู้รายได้ มันต้องบาลานซ์ให้คงที่อยู่ตลอด อาจจะมีลดบ้างเพิ่มบ้าง แต่เรามีการทำให้มีการรับรู้รายได้อยู่ตลอดเวลา  อย่างปีที่แล้วก็เริ่มมีการรับรู้รายได้ของโครงการที่สร้างเสร็จ ปีนี้ก็จะมีอีก แล้วปีนี้จะเปิดตัวถึง 4 โครงการ ภายใต้สถานการณ์แบบนี้ แต่การเปิดโครงการเป็นการรับรู้รายได้ อีก 2-3 ปีข้างหน้า เรามีระยะเวลาการขาย   เราไม่ได้มองว่าเปิดมาแล้วต้องขายหมด เช่น เมื่อ 2-3 ปีที่ผ่านมามีการเปิดตัว เราก็ได้รับผลประโยชน์ในปีนี้ ด้วยแผนการ วิธีการการทำงาน ความเชื่อมั่นที่เราปฏิบัติกับเขา  เราไม่มีการหมกเม็ด เราเปิดเผยข้อมูลทั้งหมด เขาอยากรู้อะไร เราตอบเขาหมด เรามีการพบปะผู้บริหารอยู่ตลอดเวลา ทำให้ญี่ปุ่นมีความมั่นใจในศักยภาพของตลาดเมืองไทย เพราะอย่างไรก็ตามมันมีวงจรของการขายไม่คงที แต่การรับรู้รายได้มีอย่างต่อเนื่อง คำถามที่ 7 งบซื้อที่ดินปี 2020 เท่าไหร่ ใช้ไปแล้วเท่าไหร่ และโครงการต่างจังหวัด มีที่ดินครบแล้วหรือยัง ? ปีนี้ เรามีงบซื้อที่ดิน 8,500 ล้านบาท สำหรับการซื้อที่ดิน เราใช้ไป 700 ล้านบาท เป็นการพัฒนาแนวราบเสียเยอะ ส่วนต่างจังหัดที่จบไป คือ ที่นครศรีธรรมราช ส่วนที่เหลือ ก็อยู่ระหว่างการจัดซื้อ และการตัดสินใจ ว่าเราจะไปจังหวัดไหนต่อ คำถามที่ 8 AP มี Stock สินค้า พร้อมขายพร้อมอยู่กี่โครงการ และมีแผนการขายอย่างไร ท่ามกลางกำลังซื้อหดตัว ? องค์รวมยอดขายหดตัวอยู่แล้ว แต่มาดูรายเซ็กเมนต์แนวราบยังไปได้ แต่เรายังเห็นการเติบโตอยู่ ส่วนเรื่องสต็อก แนวราบแทบไม่มีสต็อกเลย ซื้อมาโอนไป ส่วนแนวสูง มีสต็อกเหลืออยู่ โครงการพร้อมขาย พร้อมโอน 3,200 ล้านบาท ถ้าเทียบจากอัตราการขาย 70-80 ล้านต่อสัปดาห์ ถ้าไม่มีอะไรที่เลวร้ายไปกว่านี้ สต็อกนี้ไม่เป็นปัญหาในการที่เราจะเคลียร์ได้ คำถามที่ 9สถานการณ์ลูกค้าต่างประเทศ เป็นอย่างไร มีปัญหาเรื่องการโอนคอนโดหรือไม่ ? ถ้าบอกลูกค้าต่างประเทศไม่มีปัญหา มันคงไม่ใช่ เป็นปัญหาแน่ๆ แต่เราอยู่ที่การบริหารจัดการมากกว่า ปีที่แล้ว ไลฟ์ วิทยุ ที่มีลูกค้าต่างชาติเข้ามา เราโอนไปได้ 180 ยูนิต เกือบ 200 ยูนิตในเดือนเดียว มันมีองค์ประกอบหลายอย่าง ที่จะบริหารลูกค้าต่างชาติ ประการแร  เริ่มจากการขาย เรามีการบริหารจัดการขาย ผ่านบางกอกซิตี้สมาร์ท 2. กระบวนการจะส่งมอบ อย่างไลฟ์ วิทยุ เราตั้งเป้าให้ลูกค้าโอนเร็วที่สุด เพราะลูกค้าอาจจะเปลี่ยนใจได้ จึงทำเรื่อง Zero defect  ซึ่งเราทำได้ถึง 90% ลูกค้าเข้ามาตรวจ ถ้าต้องการแก้งาน เราแก้งานให้จบในวันนั้นแล้วโอนเลย มันเป็นสิ่งที่กระบวนการจัดการการโอน เพื่อส่งมอบสินค้าอย่างมีคุณภาพ ส่งผลให้การโอนไลฟ์วิทยุ ภายในเดือนธันวาคมเราทำได้ตามเป้าหมายที่วางไว้  และ 3.การกลับไปบางกอกซิตี้สมาร์ท การบริหารลูกค้า ติดตามลูกค้า การปรับเอาห้องของลูกค้าไปขายต่อ ซึ่งก็ขายได้ดี มันอยู่ที่องค์ประกอบในการแก้ไขปัญหา มันมีปัญหาแหละ ขึ้นอยู่กับการเตรียมตัวมาอย่างดี คำถามที่ 10 งบประมาณในการลงทุนเรื่อง BIM และ BIM ช่วยลดต้นทุนการก่อสร้างได้เท่าไหร่ มีผลต่อราคาขายหรือไม่ ? BIM ลงทุนไปเกือบ 20 ล้านบาท ทั้งในเรื่องของการพัฒนากระบวนการ การยอมรับของคน การพัฒนาศักยภาพของคน รวมถึงการซื้อซอฟท์แวร์ต่างๆ แน่นอนว่า เรามองเป้าหมายใหญ่กว่านั้น เป็นการส่งมอบคุณภาพของสินค้าให้กับลูกค้า และในมุมของดีเวลลอปเปอร์ นอกจากเรื่องคุณภาพแล้ว ยังมองเรื่องการบริหารจัดการเรื่องราคาขาย ที่ผ่านมา ที่ดินก็ราคาขึ้น ค่าก่อสร้างก็ราคาขึ้น ทำไมเรายังทำราคาขายให้อยู่ในการแข่งขันที่ดี   เราพยายามเมนเทนราคาของเราไม่ให้เกิน 200,000 บาทต่อตารางเมตร อยู่แสนต้นๆ ถึงแสนปลายๆ เราก็ทำได้ไม่ว่าราคาที่ดินจะเป็นเท่าไร แน่นอนว่า ราคาที่ดินไม่สูงเกินไป หรือในอดีตที่ดินราคา 200,000-300,000 บาท มาวันนี้ 600,000-700,000 บาท เราก็ต้องทำราคาให้ได้ให้อยู่ในราคานี้  ราคาที่ดินและค่าก่อสร้างมันขึ้นมาก แต่รายได้ของคนไม่ได้ขึ้นไปตามนั้น BIM มีส่วนช่วย ทำให้ลูกค้าได้ราคาที่ดี ลูกค้าสามารถได้ของมีคุณภาพ สิ่งที่เราเอาบินมาลดต้นทุน เราเอากลับไปให้ลูกค้า ในเชิงรูปแบบของราคา เราลดต้นทุน คือ Crack detection  เราต้องไปแก้งาน ยกตัวอย่าง ไลฟ์พระราม 9 เราลดต้นทุนไปได้ 70-80 ล้านบาท จากการไม่ต้องไปทุบคาน ไม่ต้องแก้คาน การเดินงานใหม่ เป็นต้นทุนที่ซ่อนอยู่ ที่เราจ่ายออกไปง่ายมาก ในการแก้งาน แต่การแก้ในซอฟแวร์ต้นทุนไม่มี และเป็นการประหยัดเวลาด้วย การลด Crack detection การลดเวลาการก่อสร้างลง เป็นการประหยัดต้นทุน   การก่อสร้างถ้าโอนเร็วขึ้นสักเดือน เราสามารถประหยัดไปได้เกือบ 10 ล้านบาท เพราะเป็นต้นทุนทางด้านไฟแนนซ์ เรื่องการกู้ แต่พวกนี้เรามีประสบการณ์มากขึ้น เราลดต้นทุนได้ ก็จะถูกส่งกลับไปให้ลูกค้าในเชิงราคา มันสร้าง Competitiveness ให้กับ เอพี ลูกค้าก็ได้ราคาที่ดี คุณภาพที่ดี เทคโนโลยีที่ Implement ทุกวันนี้มันต้องทำให้ดีขึ้น  แต่การเปลี่ยนแปลงนั้นยาก การเปลี่ยนแปลงให้คนมาทำ BIM ไม่ง่าย เราใช้เวลามา 2 ปีแล้ว  การประสบความสำเร็จของเราที่ทำได้ขนาดนี้  อาจจะทำได้แค่ 50% เหลืออีก 50% ที่เราต้องทำงานต่อไป คำถามที่ 11 ธุรกิจการศึกษา ปีที่ผ่านมา ผลตอบรับเป็นยังไง ทำไมถึงพัฒนาหลักสูตรสำหรับเด็ก ธุรกิจการศึกษา ปีที่แล้วเป็นปีแรกที่เราเข้ามาทำจริงจัง แล้วมีการเปิดตัว YOUR NET U  เราจะเห็นว่า เราได้รับการตอบรับจากองค์กรดีมาก องค์กรใหญ่ๆ มีการมุ่งมันพัฒนาศักยภาพของคนในองค์กรของตัวเอง เพราะทุกคนรู้ว่าตัวเองต้องเตรียมความพร้อมในการรับมือกับ Digital disrupt ที่เกิดขึ้น การพัฒนาศักยภาพของคนวันนี้ ส่วนใหญ่ไม่ใช่ Functional skill แต่เป็น Soft skill เป็น เรื่องของ Mindset เรื่องของความคิด เราจะเห็นว่าทุกองค์กรให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มาก   เราทำ YOUR NET U  จะเห็นว่าคนที่ได้รับผลกระทบจาก Digital disrupt  คือ กลุ่มสตาร์ทอัพ เอสเอ็มอี คนเหล่านี้หันมาสนใจการศึกษา การเพิ่มพูนความรู้ การปรับเปลี่ยนวิธีคิดของตนเองมาก พนักงานในองค์กรยังไม่เห็นความจำเป็นของเรื่องพวกนี้มาก เพราะยังใช้ชีวิตสะดวกสบาย ทำงานไป ได้เงินเดือน มีโบนัส ​แต่ตั้งแต่ปีนี้เป็นต้นไป จะมีผลกระทบกับพนักงานแรงๆ จะเห็นการปิดตัว ของหลายบริษัท การลดคนงาน  คนจะอยู่ในโหมด Survival จะเกิดขึ้นทันที การเอาตัวรอด ซึ่ง คือ การเรียนรู้ ธุรกิจการศึกษาเป็นธุรกิจที่มีศักยภาพมากๆ   ส่วนทำไมเราถึงพัฒนาสำหรับเด็ก ต้องยอมรับว่า เราเห็น gap ของการทำงาน ของเด็กจบใหม่ก็เยอะ เด็กจบใหม่ตกงานก็เยอะ บริษัทอยากได้คนทำงานก็เยอะ แต่สองอันนี้ไม่ชนกัน สิ่งหนึ่งที่เห็นคือ คนไม่ได้มี passion ในสิ่งที่ตนเองเรียนมา และไม่สามารถเอาความรู้เหล่านั้นมาใช้เต็มศักยภาพที่เป็น แต่ถ้ามองถอยหลังกลับไป มันเกิดจากตอนเอ็นซ์ฯ ก่อนสอบเข้ามหาลัย คนส่วนใหญ่ไม่ค่อยรู้ตัว จะเอ็นซ์ฯ ไปตามเทรนด์ที่เกิดขึ้น เด็กผู้ชายต้องเอ็นซ์ฯ วิศวะ สิ่งเหล่านี้ ถ้าเราจะพัฒนาระบบการศึกษา หรือพัฒนาคน ต้องพัฒนาตั้งแต่ก่อนเอ็นซ์ฯ เราเลยหลักสูตรขึ้นมา เป็นการพัฒนาวิธีคิด พัฒนา mindset ให้พร้อมรับมือกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต คำถามที่ 12 ปัจจุบัน Platform ’SMART WORLD’ มีผู้ใช้จำนวนเท่าไร มีโครงการนอกเครือเอพีหรือไม่ คิดเป็นสัดส่วนเท่าไร ได้รับผลตอบรับจากผู้ใช้อย่างไรบ้าง ? บางกอกซิตี้ สมาร์ท  เราดูแลลูกบ้าน 58,000 ครอบครัว วันนี้ มีคนดาวน์โหลดไปแล้ว 40,000 เราเชื่อว่าต้องทำให้ครบ ให้คนมีโอกาสใช้งาน สิ่งที่ต้องทำมากขึ้น คือ engagement กับแอพพลิเคชั่น ยังต่ำ 10-15%  เป้าหมายของเราทำอย่างไรให้คน ใช้แอพทุกวันเหมือนเปิดเฟสบุ๊ค ไลน์​เป็นความท้าทายของคนทำ SMART WORLD แต่เรายังเชื่อมั่นว่า เราจะทำได้ ถ้าเราใส่องค์ประกอบที่ถูกต้องลงไป คำถามที่ 13 ทำไมทาง Claymore ถึงโฟกัสเรื่อง Health และ Ageing เป็นการศึกษาของเรา เทรนด์ของโลกนี้ เป็น Health และ Ageing กลับไปมองที่คน คนแก่มากขึ้น เด็กน้อยลง และคนให้ความสำคัญกับสุขภาพมากขึ้น เนื่องจากเรามีมลภาวะ ทางอากาศ การกิน เรื่องนี้เกิดขึ้นแล้ว และเป็นเทรนด์ในอนาคต  เรื่อง Ageing เราพัฒนาเพื่อบริการคน 70-80 ปี ก็จริง แต่เราไม่ได้มองว่าจะเซอร์วิสคนเหล่านี้ เราหาอินไซด์ เราจะไปหาจากคนก่อนเกษียณ  เพราะคนเหล่านี้ จะใช้เซอร์วิสเราจริงๆ ในอนาคต คนปัจจุบันส่วนใหญ่ยังเป็น Gen baby boomer บ้าง Gen X บ้าง ซึ่งยังมีครอบครัว แต่วันนี้สิ่งที่เราพบ Ageing ไปอยู่คนเดียวเยอะมาก เราเป็นลูกหลาน Gen X Gen Y อยากดูแลพ่อแม่ แต่เป็นความอยากหรือแค่ความฝัน เพราะลำพัง แค่เอาตัวเองให้รอดไปวันๆ ก็ลำบากจะแย่อยู่แล้ว สิ่งที่เรากลับไปคิดว่ามีอะไรบ้างจะช่วงเรื่องพวกนี้บ้าง   ส่วนเรื่อง Health  ทุกคนมีความฝันเรื่องการมีสุขภาพดี ทุกคนมีความฝันว่าตัวเองมีซิคแพก รู้สึกว่าตัวเองมีแคลอรี่ไม่เกิน แต่พอไปตรวจร่างกายแล้วจะรู้สึกว่าฉันต้องออกกำลังกายทุกที แต่พอผ่านไปสักเดือนก็เลิกแล้ว มันเป็นไซเคิล เพราะอุปสรรคมันเยอะเหลือเกิน เราจะเข้าไปแก้ไขทำอย่างไรให้ตรงนี้มันง่ายขึ้น ให้เขามีสุขภาพดีได้ง่ายขึ้น คำถามที่  14 ความคาดหวังของพันธกิจ EMPOWER LIVING คืออะไร ? นวัตกรรมวันนี้มันเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ พอพูดถึงนวัตกรรม ไม่ใช่แค่รีโมทเปิดไฟได้ เรื่องพวกนี้มันธรรมดาไปแล้ว แต่ในอนาคตจะทำอย่างไร บ้านวันนี้มีวิธีคิดใหม่ เราก็ไม่รู้ในอนาคตจะมีเทคโนโลยีใหม่ๆ อะไรออกมาบ้าง  แต่เราจะทำอย่างไร ให้บ้านมันถูกปรับแต่งได้ง่ายขึ้น มันถูกเอาไปใช้ปลั๊กอินได้มากขึ้น ถ้าทำให้บ้านมีระบบปลั๊กอิน  เพราะเราคงไม่สามารถไปรื้อบ้านสร้างใหม่ได้ตลอดเวลา  ปรับเปลี่ยนไปตามยุคสมัยที่เป็นมันน่าจะตอบโจทย์ลูกบ้านมากเลย          
5 เหตุผลที่ทำให้ “สามย่าน มิตรทาวน์” ซัคเซส แค่ 4 เดือนคนเข้ากว่าแสนคนต่อวัน

5 เหตุผลที่ทำให้ “สามย่าน มิตรทาวน์” ซัคเซส แค่ 4 เดือนคนเข้ากว่าแสนคนต่อวัน

โกลเด้นแลนด์เผย 5 ปัจจัยความสำเร็จ ส่งให้ “สามย่านมิตรทาวน์” โปรเจ็กต์มิกซ์ยูส 9,000 ล้าน คนเข้าใช้บริการนับแสนคนต่อวัน แม้เปิดให้บริการแค่ 5 เดือน  พร้อมเดินหน้าทุ่ม 200 ล้านบาท ทำการตลาดในปี 63 สร้างความสำเร็จต่อเนื่อง “สามย่านมิตรทาวน์” โครงการมิกซ์ยูส ของ โกลเด้นแลนด์ มูลค่า 9,000 ล้านบาท ซึ่งประกอบด้วยสำนักงาน โรงแรม คอนโดมิเนียม และศูนย์การค้า ที่เปิดให้บริการเต็มรูปแบบ ตั้งแต่ช่วงเดือนกันยายน 2562 ที่ผ่านมา รวมระยะเวลาที่เปิดให้บริการกว่า 5 เดือน  แต่ต้องถือว่าโครงการสามย่านมิตรทาวน์  โดยเฉพาะศูนย์การค้าเป็นโครงการที่ประสบความสำเร็จเกินกว่าที่คาดหมายเอาไว้   ความสำเร็จที่เห็นได้อย่างชัดเจน คือ ปัจจุบันสามย่านมิตรทาวน์มีผู้เช่าพื้นที่ เพื่อเปิดให้บริการร้านค้าต่างๆ กว่า 95% ขณะที่ผู้ใช้บริการภายในศูนย์การค้า ในช่วง 4 เดือนแรกก็มีมากกว่า 70,000 คนในวันธรรมดา และมากกว่า 80,000 คนในวันเสาร์-อาทิตย์ และหากเป็นช่วงที่มีการกิจกรรมพิเศษ จะมีผู้เข้ามาใช้บริการมากกว่า 100,000 คนต่อวัน​เลยทีเดียว นางธีรนันท์ กรศรีทิพา รองกรรมการผู้จัดการสายงานพัฒนาธุรกิจรีเทล บริษัท แผ่นดินทอง พร็อพเพอร์ตี้ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) หรือ โกลเดนแลนด์  เปิดเผยว่า ภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวยังคงท้าทายการดำเนินธุรกิจของสามย่านมิตรทาวน์ แต่ด้วยการจัดสรรร้านค้าของศูนย์ฯ ที่ตั้งเป้าหมายจะเป็น ศูนย์การค้าที่ใช้บริการได้ทุกวัน กลยุทธ์การตลาดผ่านซิกเนเจอร์อีเว้นท์ ร้านค้าแม่เหล็กที่มีที่นี่ที่เดียว และพันธมิตรที่แข็งแกร่ง จะเป็นส่วนช่วยให้สามย่านมิตรทาวน์สามารถดำเนินธุรกิจได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ ปัจจัยลบจากการท่องเที่ยวกระทบต่อธุรกิจรีเทล โดยตลาดนักท่องเที่ยวจีน-เกาหลี-ญี่ปุ่น-ฮ่องกง ยังคงเป็นตลาดใหญ่ที่สุดที่มาใช้บริการรีเทลในประเทศไทย สำหรับปัจจัยลบด้านปัญหาสุขภาพในจีน เชื่อว่าจะส่งผลเพียงระยะสั้น เนื่องจากทางการจีนได้ควบคุมขอบเขตการระบาดของโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ สำหรับสามย่านมิตรทาวน์ยอดผู้ใช้บริการ ที่มาใช้บริการในศูนย์ฯ และเข้าพักที่โรงแรมทริปเปิ้ลวายโฮเทล ยังคงเป็นผู้ใช้บริการสัญชาติไทยป็นอันดับ 1 ขณะที่สัดส่วนผู้ใช้บริการที่เป็นสัญชาติจีนเมื่อเทียบกับสัญชาติไทย คิดเป็นเพียง 2% เท่านั้น ปัจจัยลบดังกล่าวนี้จึงแทบไม่กระทบกับยอดลูกค้าของสามย่านมิตรทาวน์   โครงการสามย่านมิตรทาวน์อยู่บนทำเลหัวมุมถนนพญาไท-พระราม 4 เนื้อที่กว่า 14 ไร่ พื้นที่ใช้สอยรวม 222,000 ตารางเมตร แบ่งเป็นโซนที่อยู่อาศัย  โซนอาคารสำนักงาน และโซนรีเทลหรือ Urban Life Library สูง 6 ชั้น พื้นที่ให้เช่ารวม 36,000 ตารางเมตร  พัฒนาจากแนวคิดเรื่อง “การเรียนรู้ จะเกิดขึ้นได้ ถ้าทุกอย่างถูกสร้างขึ้นอย่างเป็นมิตร”   โดยออกแบบให้พื้นที่ส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้ใช้งาน (Smart) และ เป็นมิตรกับผู้ใช้งาน (Friendly) ภายใต้คอนเซ็ปต์ “Urban Life Library” หรือ “คลังแห่งอาหารและการเรียนรู้”  รีเมคตำนานสามย่านบทใหม่ ถือเป็นหนึ่งในไฮไลต์ที่จะเติมเต็ม Urban Life Library ของทุก ๆ คน คีย์ความสำเร็จของ “สามย่านมิตรทาวน์” 1.พันธมิตรร้านค้าเปิดให้บริการที่นี่ที่เดียว (One and Only) สามย่านมิตรทาวน์ ถือได้ว่าเป็นโครงการค้าปลีกน้องใหม่ ที่เข้ามาในตลาด จึงต้องสร้างความแตกต่าง และจุดขายเพื่อดึงดูดกลุ่มลูกค้าให้เข้ามาใช้บริการ ร้านค้าพันธมิตรที่เข้ามาเปิดบริการจำนวนมาก เป็นร้านค้าที่ไม่เคยเปิดให้บริการในศูนย์การที่ไหนมาก่อน อาทิ -ทิม ฮอร์ตัน (Tim Hortons) เชนร้านกาแฟแบรนด์ดังจากแคนาดา -ดินส์ (Din’s) ร้านอาหารนีโอไต้หวัน -เม่ย เว้ย หว่าน (Mei Wei Wan) ต้นตำรับก๋วยเตี๋ยวเนื้อไต้หวัน -สไปซี่ เฮ้าส์ (Spicy House) ร้านอาหารรัสเซียสูตรต้นตำหรับ -โคกิดา (Gogida) ต้นตำรับปิ้งย่างส่งตรงจากเกาหลี -มีเค สตรีท (K-StrEAT) ศูนย์รวมอาหารเปิดประสบการณ์และวัฒนธรรมเกาหลี (เตรียมเปิดบริการเมษายน 2563) -แองกริซ (Angkriz) โรงเรียนสอนภาษาอังกฤษโดยครูลูกกอล์ฟ -โรงเรียนแซฮุน (Zaehoon Korean Language School) โรงเรียนสอนภาษาเกาหลีด้วยหลักสูตรเอาใจวัยรุ่นให้ได้เรียนกับเจ้าของภาษาอย่างใกล้ชิด -โรงภาพยนตร์เฮ้าส์สามย่าน (House Samyan) โรงภาพยนตร์สำหรับกลุ่ม Moviegoers ที่ใหญ่ที่สุดของกรุงเทพฯ รวมถึงการอัพเดทร้านค้าที่ศูนย์ดำเนินการเองอย่างเช่น -มีเดียม แอนด์ มอร์ (Medium and More) ศูนย์รวมงานอาร์ตแอนด์คราฟท์ และเวิร์คช็อป -แอพรอน วอล์ค (Apron walk) ศูนย์รวมวัตถุดิบ และสินค้าที่เกี่ยวข้องกับการทำอาหารครบวงจร ซึ่งการปรับเปลี่ยนสินค้าและบริการให้มีความทันสมัย เป็นทางเลือกในการช้อปปิ้งที่เหมาะสมกับผู้บริโภคยุคใหม่อยู่เสมอ สามย่านมิตรทาวน์ ปัจจุบันมีพื้นที่เช่าแล้ว 95% หรือ 85 ร้านค้า ซึ่งพื้นที่ที่เหลืออีก 5% เป็นพื้นที่ขนาดเล็ก ที่จะเต็มพื้นที่ในช่วงเดือนกันยายนปีนี้2.การเปิดพื้นที่ 24 ชั่วโมง ไม่เพียงแต่พันธมิตรร้านค้าที่มาเปิด จะเป็นร้านค้าที่ไม่เคยเปิดในห้างค้าปลีกที่ไหนมาก่อนแล้ว ส่วนหนึ่งที่เป็นจุดขายแตกต่างจาก ศูนย์การค้าอื่นๆ คือ การเปิดพื้นที่โซน 24 ชั่วโมง ที่มีร้านค้าต่างๆ ถึง 25 ร้านค้า เป็นการสร้างจุดแตกต่างและดึงให้คนเข้ามาใช้บริการจำนวนมาก จำนวน 5,000-15,000 คน โดยมีช่วงเวลาพีค คือ 24.00-01.00 น. กลุ่มผู้ที่มาใช้บริการมากสุด ต้องยอมรับว่าเป็นกลุ่มนักเรียน นักศึกษา สัดส่วน 65% รองลงมาเป็นกลุ่มคนวัยทำงาน สัดส่วน 34%   ร้านค้าต่างๆ ที่เปิดให้บริการในพื้นที่โซน 24 ชั่วโมง ส่วนใหญ่จะประสบความสำเร็จ กลายเป็นร้านที่สร้างยอดขายติดอันดับต้นๆ หลายร้านติดอันดับ Top 3 ของจำนวนสาขาทั้งหมดที่มีด้วย สาเหตุเป็นเพราะการมีชั่วโมงการขายที่นานขึ้น อาทิ KFC, ชาบูชิ, ก๋วยเตียวเรือพระนคร และสเวนเซ่น ซึ่งมีหลายร้านเตรียมพร้อมนำเอาโมเดลการเปิดให้บริการ 24 ชั่วโมงไปเปิดเพิ่มในพื้นที่อื่นๆ อีกด้วย 3.การจัดอีเว้นต์รูปแบบเฉพาะ “สามย่าน” การทำให้คนเข้ามาใช้บริการในศูนย์การค้าอย่างต่อเนื่อง เรื่องของกิจกรรมการตลาดเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ แต่ถ้าเป็นกิจกรรมในรูปแบบทั่วไปที่ไหนก็มี คนอาจจะสนใจแต่อาจจะไม่สร้างกระแสมากพอ สามย่านมิตรทาวน์ จึงปั้นอีกเว้นท์ซึ่งมีรูปแบบเฉพาะตัวไม่เหมือนใคร เป็นซิกเนเจอร์อีเว้นท์ (Signature Event) แบบฉบับของตนเอง อาทิ   -ลานนมสามย่าน การร่วมกับเครื่องดื่มไมโล เปิดบริการในรูปแบบลานนม ซึ่งต้นแบบเคยเกิดขึ้นมาแล้วที่ประเทศสิงคโปร์ เกิดเป็นกระแสพูดถึงในออนไลน์จนโด่งดังเป็น Talk of the Town ด้วยจุดเด่นที่เป็นกิจกรรมเฉลิมฉลองปราศจากแอลกอฮอล์ โดยมีอาหารคาวหวานที่มีส่วนผสมของนมเป็นซิกเนเจอร์   -Happy New Me การเฉลิมฉลองเทศกาลปีใหม่ด้วยการเป็นคนที่ดีขึ้นให้กับตัวเอง ในปี 2020   -สามย่านมิตรทาวน์ ไชนีส นิวเยียร์ 2020 เทศการตรุษจีน ล่าสุดที่เพิ่งจัดไป โดยนำเอาเอกลักษณ์ที่แตกต่างจากงานตรุษจีนของศูนย์อื่นมาไว้ในงาน อย่างเช่นการจัดแสดงงิ้วโบราณ “งิ้วเปลี่ยนหน้า” เป็น และได้นำการแสดงงิ้วโบราณมาแสดงกลางศูนย์ฯ   -Happy Single Me 2020 เทศกาลที่เกิดขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ เพื่อฉลองเดือนแห่งความรัก กับเทศกาลฉลองวาเลนไทน์ที่ไม่เหมือนใคร ด้วยการจัดงานฉลองให้กับคนโสด ไม่ต้องเหงาและเปล่าเปลี่ยวในเทศกาลแห่งความรัก 4.ผนึกพาร์ทเนอร์ (Mitr Partnership) จัดกิจกรรม ในช่วง 4 เดือนที่ผ่านมาสามย่านมิตรทาวน์ได้ผนึกพาร์ทเนอร์ชั้นนำ ในการจัดกิจกรรมต่างๆ มากมาย อาทิ -สามย่านมิตรทาวน์-เอไอเอส ขนทัพ 5G ให้คนไทยได้สัมผัส กิจกรรมประกาศความพร้อมของการให้บริการ 5G พร้อมทัพพรีเซนเตอร์และกิจกรรมส่งเสริมการขายอัดแน่นตลอดกิจกรรม   -สามย่านมิตรทาวน์-อมรินทร์ กับการร่วมมือจัดมหกรรมนิยายนานาชาติ ครั้งที่ 1 งานบุ๊คแฟร์ที่รวบรวมหนังสือนิยายเอาไว้มากที่สุด   -สามย่านมิตรทาวน์-การีน่า Free Fire Pro League การแข่งขันลีกสำหรับมืออาชีพครั้งแรกของเกม Free Fire ที่จะเฟ้นหาสุดยอดฝีมือของประเทศไทย   ในปี  2563 นี้ทางศูนย์การค้ายังคงเปิดรับพาร์ทเนอร์ต่างๆ ที่สนใจจัดกิจกรรมที่จะเป็นผู้สร้างตำนานใหม่ให้กับสามย่านได้กลับมารุ่งเรืองอีกครั้งไปพร้อม ๆ กัน ซึ่งขณะนี้ได้เริ่มมีการพูดคุยกับพาร์ทเนอร์แล้วหลายราย โดยแผนการตลาดของสามย่านมิตรทาวน์ในปีนี้ ได้วางแผนใช้งบ 200 ล้านบาท เพื่อปั้นซิกเนเจอร์อีเว้นท์อย่างต่อเนื่อง  อย่างน้อยไตรมาสละ 1 ครั้ง 5.ลงทุน 300 ล้านบาท สร้างอุโมงค์ทางเชื่อมรถไฟฟ้าใต้ดิน การสร้างอุโมงค์ทางเชื่อมระหว่างโครงการ กับการเดินทางด้วยรถไฟฟ้าใต้ดิน เป็นอีกหนึ่งปัจจัยช่วยทำให้ ศูนย์การค้ามีผู้ใช้บริการจำนวนมาก เพราะทำให้บรรดาผู้อยู่อาศัยในระแวกใกล้เคียง โดยเฉพาะบุคลากร อาจารย์ นิสิต นักเรียน และพนักงานของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เดินทางได้สะดวก ขณะที่ลูกค้าทั่วไปก็เดินทางสะดวกรถไฟฟ้าใต้ดิน สถานีสามย่าน  แต่ผลการตอบรับจากการใช้บริการอุโมงค์ในปัจจุบัน เป็นอะไรที่มากกว่าเส้นทางเชื่อมต่อระหว่างสถานีรถไฟฟ้า กับตัวโครงการ เพราะอุโมงค์ได้กลายเป็นสถานที่เช็คอิน และถ่ายรูปของคนทั่วไปในทุกเพศทุกวัย แถมทางสามย่านมิตรทาวน์ ยังตกแต่งอุโมงค์ตามเทศกาล และโอกาสสำคัญด้วย ยิ่งทำให้อุโมงค์แห่งนี้ กลายเป็นอีกหนึ่งกิมมิคของโครงการสามย่านมิตรทาวน์ไปแล้ว  
1 ใน ลูกค้าบ้านเอสซีจี ไฮม์กว่าพันครอบครัว กับความประทับใจใน 4 ฟังก์ชั่นตอบโจทย์การอยู่อาศัย

1 ใน ลูกค้าบ้านเอสซีจี ไฮม์กว่าพันครอบครัว กับความประทับใจใน 4 ฟังก์ชั่นตอบโจทย์การอยู่อาศัย

เหตุผลสำคัญของคนที่เลือกจะปลูกบ้านเอง ไม่ซื้อบ้านในโครงการจัดสรรทั่วไป คือ ความต้องการบ้านในรูปแบบเฉพาะที่ตนเองใฝ่ฝัน แต่ปัญหาใหญ่ที่มักจะพบ คือ ปัญหาผู้รับเหมา ซึ่งนอกจากจะหาได้ยากแล้ว ยังมีปัญหาใหญ่อีกหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของคุณภาพงาน ประสบการณ์การทำงาน การทำตามเงื่อนไขสัญญา และอีกสารพัดที่เกิดขึ้นตามมา เจ้าของบ้านหลายรายจึงมักเลือกการสร้างบ้าน จากบริษัทชั้นนำที่มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับ เพื่อความมั่นใจและคุณภาพของงานก่อสร้างที่ดีกว่า   ถ้าพูดถึงบริษัท “เอสซีจี” ไม่มีใครไม่มั่นใจในคุณภาพของสินค้าและบริการ ในกลุ่มวัสดุก่อสร้าง เพราะ “เอสซีจี” อยู่คู่คนไทยมานับ 100 ปีแล้ว และ “เอสซีจี” ก็เป็นหนึ่งในผู้ให้บริการรับสร้างบ้าน โดยเป็นรูปแบบการสร้างบ้านระบบโมดูล่าร์ ที่มีพันธมิตรร่วมธุรกิจอย่าง “เซกิซุย เคมิคอล” ผู้ชำนาญด้านเทคโนโลยีการสร้างบ้านจากประเทศญี่ปุ่น จัดตั้งบริษัท เอสซีจี-เซกิซุยเซลส์ จำกัด ให้บริการสร้างบ้าน SCG HEIM (เอสซีจี ไฮม์) บ้านเอสซีจี ไฮม์ คือ การสร้างบ้านด้วยระบบการผลิตชิ้นส่วนจากโรงงานผลิต โดยใช้หุ่นยนต์ควบคุม ไม่ว่าจะเป็นชิ้นส่วนต่างๆ ของบ้าน ทั้งประตู หน้าต่าง ผนัง และโครงสร้าง มีการตรวจสอบคุณภาพทุกชิ้น แล้วนำมาประกอบติดตั้งบนพื้นที่จริงของลูกค้า ด้วยระบบโมดูล่าร์ทุกชิ้นส่วนของบ้านจึงมีคุณภาพสูง มีระบบโครงสร้างที่แข็งแรง ทนทาน อายุการใช้งานยาวนาน สามารถรองรับแผ่นดินไหวได้เป็นอย่างดี ตามมาตรฐานการผลิตของประเทศญี่ปุ่น   ไม่เพียงแต่ระบบโครงสร้างที่แข็งแรง แต่ภายในบ้านยังมีเทคโนโลยีจากเอสซีจี ไม่ว่าจะเป็นระบบระบายอากาศที่ดี เย็นสบาย ปราศจากฝุ่นและเชื้อโรค เพราะใช้ระบบการ Air Factory  นอกจากนี้ การดูแลบ้านยังทำได้ง่าย แม้ว่าความเป็นจริงแล้วบ้านเอสซีจี ไฮม์ จะมีความมั่นคงแข็งแรง ซึ่งแทบจะไม่ต้องดูแลรักษาอะไรมาก และเจ้าของบ้านสามารถทำได้เอง และบ้านเอสซีจี ไฮม์ ยังมีบริการตรวจเช็คสภาพบ้านฟรี ตามเงื่อนไขที่กำหนด ตลอดระยะเวลา 20 ปีอีกด้วย “บ้านเอสซีจี ไฮม์” โดดเด่นด้วย 4 ฟังก์ชั่น หากจะบอกถึงจุดโดดเด่นของบ้านเอสซีจี ไฮม์ ซึ่งได้รับการยอมรับจากกลุ่มลูกค้ามาอย่างยาวนาน คงมีบทสรุปกับ 4 ฟังก์ชั่น ที่ตรงใจลูกค้า ดังนี้  1.การก่อสร้างรวดเร็ว ระยะเวลาการก่อสร้างบ้านเอสซีจี ไฮม์ ถือว่าใช้ระยะเวลาที่รวดเร็วและมีกำหนดชัดเจน เพราะโครงสร้างและชิ้นส่วนต่างๆ ของบ้านกว่า 80% ถูกสร้างสำเร็จมาจากโรงงาน แล้วนำมาประกอบด้วยระบบโมดูล่าร์ ที่หน้างาน บนที่ดินของลูกค้า หมดปัญหาเรื่องการก่อสร้างล่าช้า บานปลาย และงานไม่เสร็จตามกำหนดเวลา  2.สร้างอากาศบริสุทธิ์ด้วย ระบบ Air Factory การใช้ระบบ Air Factory ที่เป็นระบบควบคุมอากาศภายในบ้านเอสซีจี ไฮม์ นับเป็นจุดเด่นและที่ชื่นชอบของลูกค้า เพราะบ้านทั้งหลังเป็นแบบระบบปิด สามารถป้องกันลมร้อนจากภายนอกเข้าบ้าน ทั้งประตูและหน้าต่าง ถูกซีลสนิทด้วยระบบ Air Tightness System แถมด้วยการกรองอากาศด้วยเครื่องกรองของระบบ Air Factory ทำให้อากาศทั้งสะอาด และเย็นสบายเพราะปรับอุณหภูมิภายในบ้านให้เหมาะสม ประมาณ 25-29 องศาเซลเซียส  3.อายุบ้านยาวนาน เพราะโครงสร้างที่แข็งแรง ด้วยเทคโนโลยีการผลิตโครงสร้างและชิ้นส่วน จากโรงงาน ด้วยการใช้หุ่นยนต์ควบคุมการผลิต และมีการตรวจสอบคุณภาพทุกขั้นตอนและชิ้นส่วน ประกอบกับการใช้ระบบโมดูล่าร์ทำการติดตั้งหน้างาน ภายใต้มาตรฐานของประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นประเทศที่ต้องเผชิญกับปัญหาแผ่นดินไหวอยู่เสมอ บ้านเอสซีจี ไฮม์ จึงมั่นคงแข็งแรง และอายุการใช้งานยาวนาน ไม่จำเป็นต้องซ่อมบำรุง หมดปัญหาการแตกร้าว หรือปัญหาโครงสร้างต่างๆ 4. “อุ่นใจ ด้วยบริหารหลังการขายนาน 20 ปี แม้ว่าบ้านเอสซีจี ไฮม์ จะมีมาตรฐานการผลิต ที่ทำให้เจ้าของบ้านมั่นใจได้ถึงคุณภาพการใช้งาน แต่เพื่อสร้างความมั่นใจ เพื่อทำให้ลูกบ้าน “อุ่นใจ” เมื่อใช้บริการจากบ้านเอสซีจี ไฮม์ จึงได้มีบริการตรวจเช็คสภาพบ้านฟรี ตามเงื่อนไขที่กำหนด ตลอดระยะเวลา 20 ปี แถมด้วยการรับประกันโครงสร้างและฐานรากยาวนานถึง 20 ปีเลยทีเดียว  3 ฟังก์ชั่นสุดประทับใจ จากผู้อยู่อาศัยจริง ถ้าจะวัดความสำเร็จของบ้านเอสซีจี ไฮม์ ว่ากลุ่มลูกค้าให้การตอบรับมากน้อยแค่ไหน สิ่งที่วัดได้อย่างชัดเจน คงเป็นการใช้บริการบ้านเอสซีจี ไฮม์ กว่าพันหลัง ตลอดระยะเวลากว่า 10 ปี  ซึ่งลูกค้าทุกรายต่างพึงพอใจและชื่นชอบบ้านเอสซีจี ไฮม์ จากคุณสมบัติและฟังก์ชั่นการใช้งาน ที่สามารถตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ของเขาได้อย่างตรงใจ และนี่คือหนึ่งเสียงสำคัญของลูกค้า ซึ่งมาตอกย้ำให้เห็นถึง ความพึงพอใจต่อการอยู่อาศัยในบ้านเอสซีจี ไฮม์ คุณประพจน์และคุณจันทร์พิมพ์ คล้ายสุบรรณ ลูกค้า SCG HEIM  ซึ่งได้ใช้บริการสร้างบ้านเอสซีจี ไฮม์ ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2554 ปัจจุบันถือว่าอยู่อาศัยมาครบ 10 ปี จากจุดเริ่มต้นที่รู้จักบ้านเอสซีจี ไฮม์ เพราะเพื่อนในวงการก่อสร้างเป็นผู้แนะนำให้ไปชมบ้านตัวอย่าง ที่บางซื่อ  ซึ่งเมื่อเห็นบ้านครั้งแรกก็ประทับใจ เพราะเคยมีประสบการณ์การพักอาศัยบ้านในประเทศญี่ปุ่นอยู่หลายเดือน จากการเดินทางไปอบรมที่ประเทศญี่ปุ่น “เคยพักบ้านที่ญี่ปุ่น พบว่าแข็งแรงมีคุณภาพ ถูกใจ เลยชวนภรรยาไปชม ทันทีที่เห็นก็ชอบทันที เพราะมีความเงียบ เก็บเสียงดีมาก และมีความเย็น ดูผนังภายนอกด้วย มันเป็นโครงสร้างถาวร ไม่ต้องมีการทาสีตลอด และกระจกค่อนข้างจะหนา เดินชมจนรอบบ้านเลย คิดว่าบ้านหลังนี้ไม่ต้องกังวลเรื่องการดูแลรักษาในระยะยาว ก็เลยตัดสินใจทันที”คุณประพจน์ เล่าประสบการณ์ที่ตัดสินใจใช้บริการบ้านเอสซีจี ไฮม์ สำหรับความชื่นชอบและประทับใจจากการอยู่อาศัยภายในบ้านเอสซีจี ไฮม์ ของครอบครัว “คล้ายสุบรรณ”  คงมี 3 ฟังก์ชันสำคัญ ได้แก่ 1.โครงสร้างบ้านที่แข็งแรง พิสูจน์ได้จากระยะเวลาการอยู่อาศัยนานนับ 10 ปี ซึ่งที่ผ่านมาไม่พบปัญหาการแตกร้าวของคอนกรีต ระบบผนังบ้านภายนอกที่มีความแข็งแรง และสวยงามทำให้ไม่ต้องทาสี หมดปัญหาการซีดจาง ต้องซ่อมบำรุงหรือต้องทาสีซ้ำเหมือนกับ  ทำให้ตลอดระยะเวลาการอยู่อาศัยกว่า 10 ปี เจ้าของบ้านไม่ต้องเสียเงินค่าซ่อมบำรุง เรียกได้ว่าคุ้มค่ากับเม็ดเงินที่จ่ายไปในครั้งแรก 2.ระบบการสร้างบ้านที่ทำให้บ้านเงียบ ด้วยการก่อสร้างประตู และหน้าต่าง ซึ่งใช้ระบบโมดูล่าร์ ที่ให้ทั้งความเงียบและความแข็งแรง ทำให้สามารถกันเสียงจากภายนอกเข้าสู่ตัวบ้าน และยังมีความคงทนแข็งแรง สามารถกันการทุบ กันเสียง และความร้อน จากการใช้กระจกหนาถึง 3 ชั้น “ตอนแรกคิดว่า หน้าต่างจะแข็งแรงพอไหม พออยู่มา 10 ปีก็เห็นแล้วว่ามีความแข็งแรงจริง อย่างกระจกมีความหนา นอกจากกันขโมย กันการทุบ ยังสามารถกันเสียง กันความร้อน ครบในหนึ่งเดียว ตอนแรกคิดว่าจะเสริมด้วยการติดเหล็กดัด แต่พออยู่จริงแล้ว คิดว่าไม่มีความจำเป็น” คุณจันทร์พิมพ์ เล่าถึงประสบการณ์การอยู่อาศัยบ้านเอสซีจี ไฮม์ 3.ระบบอากาศบริสุทธิ์ภายในบ้าน จาการใช้ระบบ Air Factory ด้วยระบบ Air Factory มีชั้นฟิวเตอร์กรองอากาศ ทำให้อากาศภายในบริสุทธิ์ ซึ่งสามารถกรองอากาศได้ถึงระดับ PM 2.5   คุณจันทร์พิมพ์ เล่าว่า  ด้วยความที่ตนเองเป็นหมอ ทำให้คำนึงถึงเรื่องความสะอาดของบ้าน นอกจากระบบ Air Factory จะกรองฝุ่นหยาบ กรองกลิ่นได้ ยังสามารถกรองฝุ่นในระดับ PM 2.5 ทำให้ในช่วงที่มีปัญหาวิกฤตฝุ่น PM 2.5 จึงมั่นใจว่าจะไม่เจอวิกฤตแน่นอนเมื่ออยู่ภายในบ้าน เพราะมีระบบการกรองอากาศก่อนจะเข้าสู่ตัวบ้าน   อีกเสียงหนึ่งที่สะท้อนออกมาอย่างชัดเจน คือ ลูกสาวที่เป็นโรคภูมิแพ้ ในอดีตที่พักอาศัยอยู่บ้านหลักเดิม ทุกเช้าจะตื่นมาพร้อมกับอาการของโรคภูมิแพ้ มีอาการจามบ่อยมาก แต่เมื่ออยู่ในบ้านเอสซีจี ไฮม์ อาการเหล่านั้นลดน้อยลงไปมาก   ระบบ Air Factory ไม่เพียงแต่ช่วยทำให้อากาศบริสุทธิ์แล้ว ประโยชน์สำคัญยังช่วยในเรื่องอุณหภูมิภายในบ้าน ที่เย็นสบายไม่ร้อน แม้ว่าบ้านหลังนี้จะมีแอร์ถึง 4 เครื่อง แต่เปิดเพียงเครื่องเดียว ก็ทำให้บ้านในทุกตารางเมตรเย็นสบาย ซึ่งส่งผลดีในเรื่องของการประหยัดพลังงานไฟฟ้าอีกด้วย คุณประพจน์ เล่าประสบการณ์ในเรื่องประหยัดค่าไฟว่า บ้านเอสซีจี ไฮม์ เมื่อเทียบกับบ้านประเภทอื่นในขนาดใกล้เคียงกัน จากการสอบถามเพื่อนๆ พบว่าค่าไฟของบ้านเอสซีจี ไฮม์ถูกกว่า โดยหากบ้านหลังอื่นเสียค่าไฟเดือนละ 4,000 บาท บ้านเอสซีจี ไฮม์หลังนี้เสียค่าไฟสูงสุดไม่เกิน 3,000 บาทเท่านั้น “ช่วงก่อนเข้าอยู่บ้านเอสซีจี ไฮม์ ก็กังวลใจเหมือนกัน ว่าเรื่องการเซอร์วิสเป็นเทคนิคเฉพาะ พออยู่ไปนานๆ เรื่องที่เราเซอร์วิสเองได้ อย่างเรื่องแอร์ เราก็ไปถอดมาแล้วเป่า และเปลี่ยนไส้กรองทุก 5 ปีตามอายุการใช้งาน ส่วนผนังและสีเราไม่ต้องไปแตะต้องเลย  ก็ไม่มีอะไรดูแลเป็นพิเศษ” คุณประพจน์ เล่าถึงความประทับใจนอกจากนี้ ยังเล่าต่ออีกว่า ถ้าจะแนะนำคนปลูกบ้านหลังใหม่ ประเด็นที่หนึ่งที่ต้องคำนึงถึง คือ ผู้รับเหมาก่อสร้างมีความน่าเชื่อถือมากน้อยแค่ไหน จากประสบการณ์ที่พบ เพื่อนที่ปลูกบ้านหลังแรก 80% จะพบปัญหาผู้รับเหมาตลอด ไม่ว่าเรื่องทิ้งงาน คุณภาพไม่ได้ตามที่ตกลงกัน ฟ้องร้องกันเยอะแยะเลย ถึงขนาดลงทุนไป 7-8 ล้านบาท ยังไม่สามารถเข้าไปอยู่บ้านได้เลยก็มี “บ้านเอสซีจี ไฮม์ สามารถสร้างเสร็จได้ภายใน 60 วัน เราเห็นบ้านขึ้นมาเป็นหลังแล้ว บ้านของเพื่อน 6 ปีแล้ว เดียวทุบเดี๋ยวรื้อ ปัญหามีไม่จบ งบบานปลาย ถ้าหากอยากได้รับความเชื่อมั่น ใช้บริการบริษัทใหญ่ๆ ดีกว่าค่ะ” คุณจันทร์พิมพ์ ยืนยันในตอนท้าย https://www.youtube.com/watch?v=PAvoFCvVhJQ&feature=youtu.be เกี่ยวกับ "เอสซีจี ไฮม์" เพิ่มเติม เอสซีจี ไฮม์ บทความอื่นๆ เกี่ยวกับ SCG 10 ลำดับขั้นตอนการก่อสร้างบ้าน เอสซีจี แนะนำ 4 เรื่อง ระบบท่อที่เจ้าของบ้านควรรู้ก่อนลงมือสร้างบ้าน COTTO LIFE โลกของกระเบื้องที่ไม่ใช่แค่เรื่องพื้นๆ
ตลาดอสังหาฯ จะไปต่ออย่างไร หลังปลดล็อค LTV หนุนตลาดโตเพิ่มแค่ 0.8%

ตลาดอสังหาฯ จะไปต่ออย่างไร หลังปลดล็อค LTV หนุนตลาดโตเพิ่มแค่ 0.8%

ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) แถลงการณ์ปรับปรุงหลักเกณฑ์การกำกับ ดูแลสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย (LTV) ที่แม้จะครอบคลุมถึง การกู้ซื้อ ที่อยู่อาศัยในทุกระดับราคา แต่ ธปท. ได้มุ่งผ่อนปรนให้กับการกู้ซื้อที่เป็นสัญญาที่ 1 และ 2 เป็นหลัก   สำหรับการกู้ที่อยู่อาศัยมูลค่าไม่ เกิน 10 ล้านบาท ผู้กู้ซื้อบ้านในสัญญาที่ 1 สามารถกู้เงินเพิ่ม 10% เพื่อใช้เป็นค่าใช้จ่ายที่จาเป็นต่อการอยู่ อาศัย เช่น ค่าตกแต่งที่อยู่อาศัยได้ ขณะที่ผู้กู้ในสัญญาที่ 2 ที่ผ่อนหลังแรกเกิน 2 ปี (จากเดิมกาหนด ไว้ที่ 3 ปี) สามารถใช้เงินดาวน์เพียง 10% ส่วนการกู้ที่อยู่อาศัยมูลค่าตั้งแต่ 10 ล้านบาทขึ้นไปในสัญญาที่ 1 ธปท. ผ่อนปรนใช้สัดส่วนเงินดาวน์ลดลงจาก 20% เหลือ 10% ทั้งนี้ การปรับปรุงหลักเกณฑ์ LTV ดังกล่าวจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 20 มกราคม 2663 เป็นต้นไป ธปท.ผ่อนปรน LTV เพราะตลาดอสังหาฯ หดตัว 4.5% Krungthai COMPASS มองว่าการหดตัวของตลาดที่อยู่อาศัย และผลประกอบการ ของผู้ประกอบการอสังหาฯ ที่แย่ลง คือแรงกดดันสำคัญให้ ธปท. ต้องผ่อนปรนเกณฑ์ LTV หลังจากที่ ธปท. ได้บังคับใช้เกณฑ์ LTV ใหม่ในวันที่ 1 เมษายน 2562 ที่ระบุให้ผู้กู้ ตั้งแต่สัญญาที่ 2 ขึ้นไปต้องเตรียมเงินดาวน์มากขึ้น ได้ส่งผลกระทบให้ตลาดที่อยู่ อาศัยปรับตัวลงอย่างเห็นได้ชัด   โดยมูลค่าตลาดที่อยู่อาศัยในกรุงเทพฯ และ ปริมณฑล หลังจาก LTV มีผลบังคับใช้ (เมษายน - ตุลาคม 2562) หดตัว 4.5% จากช่วงเวลาเดียวกันของปี 2561 แบ่งเป็นบ้านจัดสรรที่ยังเติบโตได้ 2% ขณะที่ คอนโดมิเนียมติดลบมากถึง 12% ทั้งนี้ หากพิจารณาข้อมูลบัญชีสินเช่ือที่อยู่อาศัย ปล่อยใหม่ในช่วง 9 เดือนแรกของปี2562 จาก ธปท. จะพบว่าการหดตัวของตลาด คอนโดมิเนียมเป็นผลมาจากการกู้ยืมในสัญญาที่ 2 และ 3 ที่ติดลบสูงถึง 26% และ 41% ตามลาดับ ดีเวลลอปเปอร์กำไรวูบ 36% สภาพตลาดที่หดตัวลงก็เป็นภาพใหญ่ที่สะท้อนให้เห็นถึงผลประกอบการของ ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่หดตัวลงเช่นกันโดยหากนับผลประกอบการในช่วงไตรมาส ที่ 2-3 ของผู้พัฒนาอสังหาฯ รายใหญ่ๆ ในตลาดหลักทรัพย์ พบว่าผู้ประกอบการมี รายได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์และกำไรสุทธิในช่วงไตรมาสที่ 2-3 ของปี 2562 เท่ากับ 65,017 ล้านบาท และ 10,560 ล้านบาท หดตัว 24% และ 36% จากปีก่อน โดยเป็นการหดตัวที่ครอบคลุมทั้ง 8 ราย ด้วยผลประกอบการที่ออกมา จึงไม่น่าแปลกที่ตัวแทนของสมาคมผู้ประกอบการอสังหาฯ ในกลุ่มต่างๆ ได้เข้าไปหารือกับ กระทรวงการคลัง และส่งสัญญาณให้ธปท. ผ่อนปรนเกณฑ์ LTV อยู่บ่อยครั้ง 3 ผลกระทบจากมาตรการ LTV  Krungthai COMPASS ประเมินเป็นการเบื้องต้น (Initial Assessment) ว่าการผ่อนปรนเกณฑ์ LTV ของธปท. มีโอกาสที่จะส่งผลให้เกิดผลกระทบใน 3 ประเด็น ด้วยกัน คือ ประเด็นที่ 1 Sentiment ของตลาดที่อยู่อาศัยจะปรับตัวไปในทิศทางที่ดีขึ้น เพราะหากนับตั้งแต่ปลายปี 2562 ถึง ต้นปี 2563 ตลาดที่อยู่อาศัยของไทยล้วน เผชิญหน้ากับปัจจัยบวกใหญ่ๆ ถึง 3 ข่าว ตั้งแต่ 1.การออกมาตรการกระตุ้นภาคอสังหาฯ ของรัฐบาล เช่น มาตรการลดค่าธรรมเนียมโอนและจดจำนอง และ มาตรการบ้านดีมีดาวน์ ในช่วงเดือน พฤศจิกายน -ธันวาคม 2562 ต่อด้วย 2.ปลายเดือน ธันวาคม​ 2562 รัฐบาลให้ความชัดเจนเกี่ยวกับภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง โดยระบุให้ที่อยู่อาศัย นั้นเสียภาษีในอัตรา 0.02% 3.การผ่อนเกณฑ์ LTV ของธปท. ในกลางเดือน มกราคม 2563 แสดงให้เห็นว่าภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับรู้ถึงปัญหาที่เกิด ขึ้นกับตลาดที่อยู่อาศัยในปีที่ผ่านมา ประเด็นที่ 2 การผ่อนเกณฑ์ให้ผู้กู้สินเชื่อเพื่อซื้อที่อยู่อาศัยมูลค่าต่ำกว่า 10 ล้านบาท เป็นสัญญาที่ 2 ที่ผ่อนชำระสัญญา 1 มาแล้วไม่ต่ำกว่า 2 ปี สามารถใช้เงิน ดาวน์ 10% ได้ อาจทำให้ความต้องการซื้อคอนโดมิเนียมในปี 2563 กลับมาราว 4,500 ล้านบาท จากตลาดคอนโดมิเนียมในปี 2562 ที่มีโอกาสติดลบ -11% (คิดเป็น มูลค่า 31,480 ล้านบาท) แบ่งเป็นการหดตัวของผู้กู้ในสัญญา 1 ที่ -1% (1,805 ล้าน บาท) สัญญา 2 ที่ -26% (13,466 ล้านบาท) และสัญญา 3 ขึ้นไปที่ -41% (15,700 ล้านบาท) Krungthai COMPASS ประเมินว่าเหตุผลที่ทำให้การกู้ในสัญญาที่ 2 ติด ลบมาจากข้อกำหนดของเกณฑ์LTVเดิมที่ระบุให้ผู้กู้ต้องผ่อนชำระสัญญาที่1มาก่อน เป็นระยะเวลา 3 ปี ถึงจะสามารถใช้เงินดาวน์ 10% ในการกู้ซื้อสัญญาที่ 2 ได้ เกณฑ์ ดังกล่าวส่งผลผู้กู้สัญญาที่ 1 ในช่วงปี 2559-2561 มีความต้องการกู้สัญญาที่ 2 ในปี 2562 ลดลง จากข้อสรุปดังกล่าว Krungthai COMPASS ประเมินว่าการผ่อนปรนเกณฑ์ LTV จาก 3 ปี ลงมาเหลือ 2 ปี นั้นอาจช่วยให้ความต้องการกู้ซื้อที่อยู่อาศัยในสัญญา ที่ 2 กลับมาได้ประมาณ 1 ใน 3 จากขนาดของการหดตัวทั้งหมดในปี 2562 คิดเป็น มูลค่าเกือบ 4,500 ล้านบาท ซึ่งสามารถเป็น Upside ให้กับตลาดที่อยู่อาศัยในปี 2563 ได้ราว 0.8% ประเด็นที่ 3 เงื่อนไขที่ผ่อนปรนขึ้น อาจทำให้การลงทุนระยะยาวในคอนโดมิเนียมมีความน่าสนใจมากขึ้นและอาจช่วยทดแทน Demand จากต่างประเทศ ที่ลดลงจากการแข็งค่าของเงินบาท ในปี 2562 ที่ผ่านมา Krungthai COMPASS พบว่าสัดส่วนการโอนกรรมสิทธิ์คอนโดมิเนียมของผู้ซื้อชาวจีนซึ่งคิดเป็นครึ่งหนึ่ง ชาวต่างชาติทั้งหมดที่ซื้อคอนโดมิเนียมในไทยหดตัวลงอย่างเห็นได้ชัดจาก11%ของ มูลค่าโอนกรรมสิทธิ์คอนโดมิเนียมของไทยใน มกราคม 2562 เหลือ 8% ในธันวาคม 2562 โดยมีสาเหตุหลักมาจากการแข็งค่าเงินบาทเมื่อเปรียบเทียบกับเงินหยวนในช่วงเวลา เดียวกัน    ได้ส่งผลต่อเนื่องให้ราคาที่อยู่อาศัยในไทยปรับตัวสูงขึ้นจากวันทำ สัญญาจองโดยเฉลี่ยถึง 9% บทสรุปผลกระทบมาตรการ LTV อย่างไรก็ดี Krungthai COMPASS มองว่าการผ่อนปรนเกณฑ์ LTV ในครั้งนี้ อาจช่วยให้กลุ่มผู้บริโภคที่ต้องการลงทุนคอนโดมิเนียมระยะยาวกลับมาให้ความสนใจ มากขึ้นเนื่องจากการลงทุนคอนโดมิเนียมในไทยที่ให้ผลตอบแทนราว 2.7-6.6%  ก็ ยังเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกของการลงทุนในยุคดอกเบี้ยต่ำของคนไทย ประเด็นนี้อาจ ช่วยทดแทน demand จากต่างประเทศโดย จีนที่ลดลง Krungthai COMPASS มองว่าตลาดที่อยู่อาศัยในปี 2563 จะได้รับประโยชน์จากมาตรการต่างๆ ของภาครัฐ โดยเฉพาะ มาตรการลดค่าธรรมเนียมโอนและจดจำนอง ซึ่งทำให้มีโอกาสที่ตลาดจะกลับมาฟื้นตัวได้ 5.5% จากปีก่อนหน้า โดยมีการผ่อนปรนเกณฑ์ LTV ของธปท. เป็น Upside สำคัญที่อาจทำให้อัตราการเติบโตของตลาดเร่งขึ้นไปได้อีก 0.8%        
วิเคราะห์ LTV หลักเกณฑ์ใหม่ ดีต่อตลาดอสังหาฯ แค่ไหน-ใครได้ประโยชน์

วิเคราะห์ LTV หลักเกณฑ์ใหม่ ดีต่อตลาดอสังหาฯ แค่ไหน-ใครได้ประโยชน์

นับตั้งแต่วันที่ 20 มกราคม 2563 เป็นต้นไป การปรับหลักเกณฑ์ LTV ใหม่ ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้มีผลบังคับใช้  การเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์ในครั้งนี้ ธปท. ต้องการสนับสนุนให้ประชาชาชน สามารถกู้ซื้อบ้านเพื่ออยู่อาศัยจริงได้ง่ายขึ้น   เพราะดูเหมือนว่าหลังจากการบังคับมาตรการ LTV อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2562 เป็นต้นมา ตลาดอสังหาริมทรัพย์ก็ชะลอตัวลง  แม้ภาครัฐจะออกมาตรการมาช่วยกระตุ้น  แต่ก็ไม่ได้ส่งผลให้ภาพรวมตลาดดีขึ้น   สำหรับหลักเกณฑ์ใหม่ ของมาตรการ LTV ที่ธปท. ปรับและบังคับใช้นั้น ทางนางสาวนพมาศ ฮวบเจริญ นักวิเคราะห์อาวุโส Evonomiv Intelligenct Center (EIC) ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ได้จัดทำบทวิเคราะห์เรื่อง การผ่อนปรน LTV ช่วยกระตุ้นตลาดที่อยู่อาศัยอย่างจำกัด โดยแนวราบจะได้ประโยชน์มากกว่าคอนโดมิเนียม รายละเอียดหลักเกณฑ์ LTV ใหม่    1.กลุ่มผู้กู้ซื้อบ้านสัญญาแรกราคาไม่เกิน 10 ล้านบาท สามารถกู้เพิ่มได้อีก 10% ของมูลค่าหลักประกัน เพื่อใช้ซื้อเฟอร์นิเจอร์ ตกแต่งบ้าน หรือสิ่งจำเป็นในการเข้าอยู่อาศัย โดยที่เพดาน LTV ยังคงไว้ที่ 100% ซึ่งผ่อนปรนขึ้นจากเกณฑ์ LTV เดิมที่เริ่มใช้ในเดือนเมษายน 2562  ที่วงเงินกู้สินเชื่อบ้านรวมสินเชื่อ Top-up (สินเชื่ออื่นที่เกี่ยวเนื่องกับสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย หรือ สินเชื่อ Top-up  หมายถึง สินเชื่อที่มีวัตถุประสงค์อื่นนอกเหนือจากเพื่อซื้อที่อยู่อาศัย ซึ่งมีที่อยู่อาศัยนั้นเป็นหลักประกัน เช่น เพื่อซื้อเฟอร์นิเจอร์ เป็นต้น) ต้องไม่เกิน 100% ของมูลค่าหลักประกัน   นอกจากนี้ ธปท. ยังได้มีการผ่อนปรนเกณฑ์การคำนวณความเสี่ยงเพื่อคำนวณเงินกองทุนให้กับสินเชื่อบ้านสัญญาแรกด้วย ในกรณีให้สินเชื่อที่วงเงิน 100% ของมูลค่าบ้าน สถาบันการเงินจะคำนวณน้ำหนักสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตที่ 35% สำหรับวงเงินสินเชื่อบ้านสัญญาแรกที่ 100% ของมูลค่าบ้าน และหากมีการให้วงเงิน 10% เพื่อซื้อเฟอร์นิเจอร์ก็จะใช้น้ำหนักที่ 75% เฉพาะส่วนวงเงิน 10%  แต่หากเป็นเกณฑ์เดิม สถาบันการเงินต้องมีการคำนวณน้ำหนักสินทรัพย์เสี่ยงฯ ในวงเงินสินเชื่อทั้งหมดที่ 75%  หากสถาบันการเงิน ให้สินเชื่อในวงเงินมากกว่า 95% ของมูลค่าบ้านแนวราบ หรือ 90% ของมูลค่าคอนโดมิเนียม   รูปเกณฑ์ LTV สำหรับการกู้ซื้อบ้านเพื่ออยู่อาศัยจริง ถูกผ่อนปรนให้ใกล้เคียงกับเกณฑ์ LTV เดิม ในช่วงก่อนหน้าเดือนเมษายน 2562 2.กลุ่มผู้กู้ซื้อบ้านสัญญาแรกราคาเกิน 10 ล้านบาท สามารถกู้ได้ที่วงเงินสินเชื่อสูงสุดที่ 90% ของมูลค่าที่อยู่อาศัย หรือวางเงินดาวน์ขั้นต่ำเพียง 10% จากเกณฑ์เดิมที่ต้องวางเงินดาวน์ 20%   3.กลุ่มผู้กู้ซื้อบ้านสัญญาสองราคาต่ำกว่า 10 ล้านบาท ยังคงวงเงินสินเชื่อสูงสุดที่ 80-90% เหมือนเดิม แต่ปรับลดเกณฑ์การเข้าข่ายที่ได้รับ LTV ที่ 90% สำหรับการกู้ซื้อบ้านสัญญาที่ 2 จากเดิมต้องผ่อนชำระสัญญาแรกมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี เป็น 2 ปี รูป ธปท.ผ่อนปรนเกณฑ์การคำนวณความเสี่ยง เพื่อคำนวณเงินกองทุนให้กับสินเชื่อบ้านสัญญาแรกราคาไม่เกิน 10 ล้านบาท  บ้านแนวราบสัญญาแรก ได้ประโยชน์มากสุด บทวิเคราะห์ได้รายงานว่า ที่อยู่อาศัยประเภทแนวราบ ได้รับประโยชน์จากมาตรการ  มากกว่าที่อยู่อาศัยแบบคอนโดฯ เพราะจากจำนวนบัญชีสินเชื่อปล่อยใหม่ ของธนาคารพาณิชย์ (ธพ.) พบว่า ผู้ที่ซื้อบ้านซึ่งเป็นสัญญาแรก หรือบ้านหลังแรกนั้น เป็นประเภทโครงการแนวราบสัดส่วน 70% เป็นคอนโดฯ สัดส่วน 30% หากถ้าพิจารณากลุ่มที่ซื้อโครงการแนวราบ ก็ยังพบว่าเป็นสัญญาแรกเกือบ 90% คนซื้อบ้านแนวราบสัญญา 2 หรือบ้านหลังที่ 2 เพียง 10%  แต่ถ้าพิจารณากลุ่มคนที่ซื้อโครงการคอนโดฯ จะพบว่าเป็นกลุ่มซื้อบ้านสัญญาแรกสัดส่วนน้อยกว่า คือ ประมาณ 75% ที่เหลืออีก 25% เป็นคนซื้อสัญญาที่สอง หรือซื้อเป็นบ้านหลังที่สองนั้นเอง อีกกลุ่มหนึ่งที่ได้รับประโยชน์จากการปรับหลักเกณฑ์ LTV ใหม่ คือ กลุ่มที่อยู่อาศัยในตลาดราคากลาง-ล่าง เนื่องจากเพดานของวงเงินสินเชื่อของกลุ่มซื้อบ้านราคาต่ำกว่า 10 ล้านบาท ถูกผ่อนปรน ให้มีระดับใกล้เคียง ก่อนที่มาตรการ LTV จะบังคับใช้ในวันที่ 1 เมษายน 2562 ทำให้การซื้อบ้าน ผู้กู้ไม่ต้องเตรียมเงินมากนัก เพราะกลุ่มคนกลุ่มระดับล่าง รวมถึงกลาง-ล่าง มักจะมีเงินออมในระดับต่ำ 2 เหตุผลคนซื้อบ้านสัญญาแรกได้ประโยชน์ 1.เพดานวงเงินสินเชื่อที่มากขึ้น ของการกู้ซื้อบ้านสัญญาแรก เปิดโอกาสให้ผู้กู้ในสัญญาแรก มีโอกาสได้รับเงินสินเชื่อที่มากขึ้น ซึ่งครอบคลุมไปถึงสินเชื่อที่ใช้ซื้อเฟอร์นิเจอร์และของตกแต่งบ้าน 2.ธปท. ไม่ใช่แค่ผ่อนปรนเกณฑ์ LTV เท่านั้น แต่ยังผ่อนปรนเกณฑ์การคำนวณความเสี่ยง เพื่อคำนวณเงินกองทุนให้กับสินเชื่อบ้านสัญญาแรก ของธนาคาพาณิชย์ จึงช่วยลดต้นทุนการสำรองเงินกองทุน  ของธนาคารพาณิชย์ลงได้บ้าง ซึ่งต้นทุนที่ลดลง มีโอกาสส่งผ่านไปสู่ผู้กู้ซื้อบ้านในสัญญาแรกได้ โดยเฉพาะกลุ่มผู้กู้ที่มีความเสี่ยงต่ำ แต่กลุ่มผู้ซื้อมีความเสี่ยงสูง อาจจะไม่ได้รับประโยชน์นี้มากนัก ปรับเกณฑ์ LTV ใหม่ช่วยกระตุ้นตลาดอสังหาฯ น้อย หากพิจารณาภาพรวมของตลาดอสังหาฯ หลังจากการปรับเกณฑ์ LTV ใหม่นั้น บทวิเคราะห์ ระบุว่า มีโอกาสค่อนข้างน้อย ที่ความต้องการที่อยู่อาศัย จะกลับไปเติบโตเหมือนก่อนที่มาตรการ LTV จะบังคับใช้เมื่อต้นเดือนเมษายน 2562 นั่นหมายความว่า การปรับเกณฑ์ LTV ใหม่ช่วงกระตุ้นตลาดอสังหาฯ ได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น ซึ่งสาเหตุมาจาก 4 ประเด็นสำคัญ ได้แก่ 1.การปรับเพดาน LTV ครั้งนี้ไม่ได้มีผลต่อกลุ่มที่อยู่อาศัยสัญญากู้ที่สองขึ้นไป ช่วงก่อนที่เกณฑ์ LTV จะมีผลบังคับใช้ในเดือนเมษายน 2562 ในช่วงปี 2560-2561 ตลาดที่อยู่อาศัยขยายตัวดี  ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการขยายตัวสูงของที่อยู่อาศัยสัญญากู้ที่สองขึ้นไป ซึ่งธปท. มองว่าส่วนใหญ่เป็นกลุ่มที่กู้ซื้อเพื่อการเก็งกำไรหรือการลงทุนมากกว่าเพื่ออยู่จริง เนื่องจากข้อมูลของ ธปท. พบว่ามากกว่าครึ่งของผู้กู้ซื้ออาคารชุดสองสัญญาพร้อมกันมีระยะห่างระหว่างสัญญาแรกและสองไม่ถึง 1 ปี ทำให้ ธปท. ยังคงเพดาน LTV สำหรับการกู้ซื้อที่อยู่อาศัยสัญญาสองเช่นเดิม (โดยผ่อนปรนเฉพาะเกณฑ์การเข้าข่ายได้ LTV 90% สำหรับการกู้ซื้อบ้านสัญญาสอง ซึ่งระยะห่างระหว่างสัญญาแรกและสองลดลงเป็น 2 ปี จาก 3 ปี) 2.กำลังซื้อจากกลุ่มที่ซื้อเพื่อลงทุนและเก็งกำไรลดลง จากที่ผ่านมา กลุ่มที่ซื้อเพื่อลงทุนเป็นกลุ่มหลัก ที่ผลักดันการขยายตัวของตลาดที่อยู่อาศัย แต่หลังจาก LTV บังคับใช้ตั้งแต่เดือนเมษายน 2562 เป็นต้นมา แนวโน้มราคาของที่อยู่อาศัยที่ชะลอตัวลง โดยเฉพาะคอนโดฯ  ที่ปรับตัวลดลง  ทำให้ความน่าสนใจของตลาดที่อยู่อาศัยในด้านการลงทุนมีน้อยลง ซึ่งอีไอซีประเมินว่าการผ่อนปรนในครั้งนี้ น่าจะไม่มากพอผลักดันให้ราคาของคอนโดฯ ขยับขึ้นได้ ส่วนหนึ่งมาจากผู้ที่ได้ประโยชน์ส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มแนวราบมากกว่าคอนโดฯ 3.กำลังซื้อของผู้ซื้อที่อยู่อาศัยทั้งคนไทยและต่างชาติที่อ่อนแอ จากภาวะเศรษฐกิจทั้งไทยและเทศที่ชะลอตัวลง  ความเชื่อมั่นที่ยังอยู่ในระดับต่ำ (โดยในเดือนธันวาคม 2562  ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภค เกี่ยวกับการซื้อบ้านหลังใหม่ ที่ปรับตัวลดลงสู่ระดับต่ำสุดนับตั้งแต่จัดเก็บข้อมูลในปี 2546) และภาระหนี้ของครัวเรือนที่ยังสูง รวมถึงค่าเงินบาทที่แข็งค่า 4.สถาบันการเงินยังมีแนวโน้มระมัดระวังการให้สินเชื่อของผู้กู้รายย่อย เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจในประเทศที่ชะลอตัว จะส่งผลกระทบต่อการเพิ่มขึ้นของหนี้เสียของภาคครัวเรือน โดยเฉพาะกลุ่มที่มีความอ่อนไหวต่อปัจจัยเสี่ยง ที่มีผลต่อรายได้และการจ้างงาน ซึ่งสะท้อนได้จากข้อมูลของ ธปท. เกี่ยวกับผลทดสอบภาวะวิกฤต  (Stress Test) ของภาคครัวเรือนไทย  ซึ่งพบว่าในปี 2560  สัดส่วนของครัวเรือนมีความเสี่ยงที่จะผิดนัดชำระหนี้ (จากเดิมที่ไม่มีความเสี่ยงที่จะผิดนัดชำระหนี้) มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นจากในอดีต หากรายได้ของครัวเรือนปรับลดลง 20% โดยสัดส่วนของครัวเรือนที่มีความเสี่ยงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในทุกกลุ่มรายได้   นอกจากนี้ ธนาคารพาณิชย์ยังต้องมุ่งเน้นการให้สินเชื่อสำหรับครัวเรือนอย่างมีความรับผิดชอบตามแนวทางปฏิบัติที่ ธปท.ได้ให้คำแนะนำ โดยเฉพาะการพิจารณารายได้คงเหลือของผู้กู้หลังจ่ายค่าผ่อนชำระหนี้ทุกประเภทกับสถาบันการเงินของตนเอง และผู้ให้บริการอื่น (Residual Income) ซึ่งอาจมีผลต่อการพิจารณาการให้สินเชื่อ โดยเฉพาะกลุ่มผู้มีรายได้ต่ำ   รูปสินเชื่อบ้านของสถาบันการเงินเฉพาะกิจขยายตัวสูงในปีที่ผ่านมา ขณะที่ธพ.ระมัดระวัง   อย่างไรก็ตาม ตลาดที่อยู่อาศัยจะยังได้รับแรงสนับสนุนจากสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ (SFI) ที่จะเข้ามามีบทบาทเพิ่มมากขึ้นในตลาดสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยต่อเนื่องจากปีที่แล้ว เนื่องจากแนวนโยบายของภาครัฐที่ต้องการให้ SFI เข้ามาช่วยผลักดันตลาดที่อยู่อาศัยในช่วงที่เศรษฐกิจอยู่ในภาวะชะลอตัว เช่น มาตรการสินเชื่อบ้านดอกเบี้ยต่ำ เป็นต้น   อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง -มาตรการ LTV ผลกระทบตกที่ใคร? -อสังหาฯ ปีหน้ายังเหนื่อย เพราะ LTV มาผิดเวลา?   -เปิดข้อมูลอินไซต์ ตลาดคอนโดฯ หลังใช้มาตรการ LTV
15 ไฮไลท์แนวโน้มตลาดคอนโดฯ ปี 2563 และบทสรุปภาพรวมปี 2562

15 ไฮไลท์แนวโน้มตลาดคอนโดฯ ปี 2563 และบทสรุปภาพรวมปี 2562

ภาพรวมตลาดอสังหาริมทรัพย์ในปี 2562 ถือได้ว่าเป็นปีที่ท้าทาย และยากลำบาก สำหรับผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ เพราะมีปัญหารุมล้อมมากมาย   สำคัญสุดก็คือ มาตรการ LTV ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ออกมาบังคับใช้ ทำเอาตลาดคอนโดมิเนียมชะลอตัวลงอย่างเห็นได้ชัด เพราะผู้ประกอบการเลื่อนการเปิดตัวโครงการใหม่ออกไปก่อน หรือไม่ก็ปรับแผนไม่เปิดตัวโครงการใหม่เลยในช่วงที่ผ่านมา   ล่าสุด ไนท์แฟรงค์ ประเทศไทย ได้ประเมินทิศทางแนวโน้มตลาดคอนโดฯ ในกรุงเทพฯ สำหรับปี 2563 เพื่อให้เห็นภาพรวมของตลาดที่จะเกิดขึ้นในปีนี้ด้วย ซึ่งมี 15 ประเด็นสำคัญ   15ไฮไลท์ตลาดคอนโดฯ 2563   1.ปี 2563 อัตราการขยายตัวคอนโดฯ มีแนวโน้มลดลงต่อเนื่อง จากปี 2562 ซึ่งลดลงกว่า 30% 2.กำลังซื้อในปี 2563 มีแนวโน้มทรง ซึ่งในปี 2562 มีกำลังซื้อคอนโดฯ ประมาณ 35,000 ยูนิต 3.สภาพตลาดมีแนวโน้มปรับตัวเข้าสู่สมดุลในปี 2564 4.ระดับราคามีแนวโน้มทรงตัวหรือปรับลดลงจากปีก่อนหน้า 5.การพัฒนาโครงการคอนโดฯ ใหม่ มีแนวโน้มกระจายตัวสู่พื้นที่ชานเมือง ตามแนวรถไฟฟ้าสายใหม่ที่กำลังพัฒนา 6.นักพัฒนาจะชะลอตัวการเปิดตัวโครงการคอนโดฯ และหันเหความสนใจไปยังอสังหาริมทรัพย์ประเภทอื่นๆ ที่สามารถสร้างรายได้ระยะยาวได้ เช่น โรงแรมและสำนักงาน 7.การพัฒนาโครงการใหม่ จะเน้นการพัฒนาโครงการรูปแบบ Mixed use development เพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงจากการพึ่งพิงจากตลาดเดียว 8.นักพัฒนาปรับแผนไปสู่การเปิดตัวโครงการที่อยู่อาศัยแนวราบมากขึ้น เช่น บ้านเดี่ยว, ทาวน์เฮ้าส์ และบ้านแฝด เนื่องจากตลาดคอนโดฯ ถดถอยลงในปี 2562 9.จะมีจำนวนโครงการใหม่ ซึ่งเป็นรูปแบบเช่าระยะยาว หรือ Leasehold เกิดขึ้นเป็นจำนวนมากนับจากนี้เป็นต้นไป 10.มีโอกาสน้อยมากที่จะเกิดวิกฤติฟองสบู่ ในภาคอสังหาฯ ที่คล้ายคลึงกับวิกฤติในปี 2540 11.นักพัฒนารายย่อยหรือผู้ที่ไม่มีเงินลงทุนสำรองที่แข็งแกร่งจะหายออกไปจากตลาด 12.ตลาดคอนโดฯ จะขึ้นอยู่กับความต้องการจากผู้ซื้อจริงเท่านั้น จำนวนนักลงทุนที่ลดลงเป็นผลเนื่องมาจากนโยบายกำกับดูแลสินเชื่อที่อยู่อาศัย (LTV Policy)  ส่วนกลุ่มผู้ซื้อชาวต่างชาติที่ลดลง เป็นผลเนื่องมาจากค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น และเศรษฐกิจโลกที่ถดถอย 13.สงครามราคาในตลาดคอนโดฯ ในกรุงเทพฯ นักพัฒนาไม่ได้เป็นผู้กำหนดราคาคอนโดฯ อีกต่อไป ผู้ซื้อคือผู้กำหนดราคา 14.ราคาที่แข่งขัน รูปแบบ และฟังก์ชั่นของคอนโดฯ  ที่เหมาะสมกับความต้องการจะชนะใจลูกค้าได้ในปัจจุบัน 15.รัฐบาลส่งเสริมเศรษฐกิจโดยการมีโครงการเมกะโปรเจ็กต์เพื่อให้เกิดการใช้จ่ายมากขึ้น   7 ประเด็นไฮไลท์ของตลาดคอนโดฯ ปี 2562 ส่วนในรอบปีที่ผ่านมานั้น ภาพของตลาดคอนโดฯ เป็นอย่างไรบ้าง ทางไนท์แฟรงค์ ประเทศไทย ได้จัดทำบทสรุปเอาไว้ เพื่อให้เห็นว่าตลาดได้รับผลกระทบมากน้อยแค่ไหน มี 7 ประเด็นน่าสนใจ คือ   1.โครงการเปิดขายใหม่ในกรุงเทพฯ ในปี 2562 มีอัตราการขายอยู่ที่ 45% ซึ่งมีจำนวนหน่วยขายได้ 20,990 ยูนิต ลดลงจากปี 2561 ซึ่งมีอัตราการขายอยู่ 58% หรือมีจำนวนหน่วยขายได้ 39,875 ยูนิต 2.ทำเลของโครการคอนโดฯ ที่เปิดขายใหม่ได้สูงสุด คือ บริเวณชานเมืองกรุงเทพฯ ขายได้จำนวน 12,665 ยูนิต รองลงมาคือ บริเวณรอบเขตศูนย์กลางธุรกิจ (City Fringe) ขายได้  4,600 ยูนิต และบริเวณศูนย์กลางธุรกิจ (CBD) ขายได้ 3,725 ยูนิต แต่บริเวณรอบเขตศูนย์กลางธุรกิจ เป็นบริเวณที่มีอัตราการขายสูงสุดถึง 56% 3.คอนโดฯ เปิดขายใหม่ บริเวณศูนย์กลางธุรกิจที่ขายได้ดี คือ บริเวณสุขุมวิท (ซอยสุขุมวิท 1-63 และซอยสุขุมวิท 2-42) ขายได้ 1,242 ยูนิต 4.คอนโดฯ เปิดขายใหม่ บริเวณรอบเขตศูนย์กลางธุรกิจ ที่ขายได้ดี คือ บริเวณสุขุมวิทตอนกลาง (ซอยสุขุมวิท 44-70 และซอยสุขุมวิท 65-103)  ขายได้ 1,385 ยูนิต รองลงมา คือ บริเวณรัชดา/ลาดพร้าว/พระราม 9 ขายได้ 1,336 ยูนิต 5.คอนโดฯ เปิดขายใหม่ บริเวณชานเมืองกรุงเทพฯ ที่ขายได้ดี คือ บริเวณฝั่งใต้ของกรุงเทพฯ ขายได้ 3,443 ยูนิต รองลงมา คือ บริเวณฝั่งเหนือของกรุงเทพฯ ขายได้ 3,426 ยูนิต 6.คอนโดฯ เปิดขายใหม่ บริเวณแนวรถไฟฟ้าที่ขายดี คือ บริเวณตามแนวรถไฟฟ้า สายสีน้ำเงิน ส่วนต่อขยาย ที่ได้เปิดให้บริการในปี 2562 อันได้แก่ บริเวณสถานีอิสรภาพ-ท่าพระ-บางไผ่-เพชรเกษม 48-ภาษีเจริญ 7.ระดับราคาขายของคอนโดฯ เปิดใหม่ที่ขายดี คือ  ราคาขายต่อตารางเมตร อยู่ระหว่าง 80,000 บาท ถึง 150,000 บาท หรือราคาขายต่อยูนิต สำหรับ 1 ห้องนอน อยู่ที่ระหว่าง 3-5 ล้านบาท   อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง -6 บทสรุปตลาดคอนโดฯ ปี 62 และแนวโน้มปี 63 -คอนโดฯ สุขุมวิท เจอพิษเศรษฐกิจ เปิดใหม่แค่ 639 ยูนิต -เจาะตลาดคอนโดฯ ทำเลรัชโยธิน เหมาะซื้ออยู่จริงหรือเพื่อลงทุน?    
“แสงฟ้าก่อสร้าง” วางเป้าหมาย 5-10 ปี  พร้อมเป็นบริษัทรับเหมามาตรฐานญี่ปุ่น

“แสงฟ้าก่อสร้าง” วางเป้าหมาย 5-10 ปี พร้อมเป็นบริษัทรับเหมามาตรฐานญี่ปุ่น

ภาพของกรุงเทพมหานครในปัจจุบัน กับในอดีตหลายสิบปีก่อน คงเป็นภาพที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง เพราะตอนนี้กรุงเทพมหานครทุกมุมเมือง เต็มไปด้วยตึกสูงและอาคารขนาดใหญ่มากมาย โดยเฉพาะคอนโดมิเนียม เนื่องจากคนจำนวนมากหลั่งไหลเข้ามาทำมาหากินในกรุงเทพฯ  จึงเกิดความต้องการในที่อยู่อาศัยตาม    แต่เพราะที่ดินมีจำกัดแต่ความต้องการที่อยู่อาศัยมากกว่า  ราคาที่ดินจึงมีราคาแพง ไม่เหมาะในการนำมาพัฒนาเป็นบ้านเดี่ยวหรือทาวน์เฮ้าส์  แต่เหมาะสมในการพัฒนาคอนโดฯ มากกว่า  เพราะมีราคาที่คนส่วนใหญ่เอื้อมถึง   การก่อสร้างโครงการคอนโดฯ หรืออาคารสูง ผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จ เป็นใครไปไม่ได้นอกจากบริษัทรับเหมาก่อสร้าง ซึ่งต้องยอมรับว่าทุกวันนี้บริษัทคนไทยมีฝีมือด้านการก่อสร้าง ไม่ได้แพ้ชาติใดในโลกเลย เพราะสามารถก่อสร้างอาคารขนาดสูงได้มากมาย และเป็นอาคารที่มีมาตรฐานอาคารสูง  เทียบเท่าหลายอาคารที่เกิดขึ้นทั่วโลก และนับวันบริษัทก่อสร้างของไทยจะสร้างอาคารที่มีความสูงเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ หนึ่งในบริษัทรับเหมาก่อสร้างที่ถือว่ามีชื่อเสียง  และความชำนาญในด้านการก่อสร้างอาคารสูง  ต้องมีชื่อบริษัท แสงฟ้า ก่อสร้าง จำกัด เป็นหนึ่งในทำเนียบนั้น เพราะก่อสร้างอาคารสูงมามากมาย แถมยังเป็นอาคารสูงติดอันดับ Top 10 อาคารสูงสุดในไทยด้วย  ซึ่งบริษัท แสงฟ้าฯ ถือได้ว่าเป็นบริษัทเหมาก่อสร้าง ที่อยู่คู่กับเมืองไทยมายาวนานกว่า 50 ปีแล้ว นับตั้งแต่เริ่มต้นธุรกิจมาตั้งแต่ปี 2510 (เดิมชื่อห้างหุ้นส่วนจำกัดแสงฟ้าการช่าง ก่อนเปลี่ยนชื่อในปี 2512) ซึ่งปัจจุบันอยู่ภายใต้การบริหารงานของทายาทรุ่นที่ 2 แล้ว   ปัจจุบันนายแพทย์เชิดศักดิ์ อัมพรสุขสกุล เข้ามารับผิดชอบในการดูแลบริษัท บริษัท แสงฟ้าก่อสร้าง จำกัด ในตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ ซึ่งถือเป็นทายาทรุ่นที่ 2 ต่อจากบิดา ตั้งแต่ปี 2540 หลังจากได้เรียนจบจาก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล และทำงานในด้านที่เรียนมาเป็นระยะเวลา 2 ปี  ก็ก้าวเข้ามารับผิดชอบดูแลบริษัท จุดเปลี่ยนจากอุตสาหกรรมสู่อาคารสูง จุดเริ่มต้นแรกบริษัท แสงฟ้าฯ  ไม่ได้รับงานด้านการก่อสร้างอาคารสูงเป็นหลัก เพราะงานส่วนใหญ่จะเป็นงานโครงสร้าง งานเหล็ก งานหลังคา งานก่อสร้างไซโล โรงงานเกษตร โรงงานปูนซีเมนต์ ซึ่งลูกค้าส่วนใหญ่ทำธุรกิจด้านการเกษตร แต่จุดเปลี่ยนสำคัญครั้งแรก เกิดขึ้นในช่วงปี 2524 บริษัท ปูนซีเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน)  ได้เปิดประมูลก่อสร้างสำนักงานใหญ่ บางซื่อ จึงได้เชิญบริษัทเข้าร่วมประมูลงานก่อสร้าง เนื่องจากบริษัทมีความเชี่ยวชาญด้านการก่อสร้างไซโลปูนซีเมนต์ และโรงปูนในจังหวัดสระบุรีหลายแห่ง บริษัทจึงเข้าร่วมงานและเป็นผู้ชนะการประมูล ได้ก่อสร้างอาคารของปูนซีเมนต์ไทย ซึ่งมีมูลค่าการก่อสร้างกว่า 100 ล้านบาท หลังจากนั้นจึงได้รับงานก่อสร้างอาคารมาอย่างต่อเนื่อง   จุดเปลี่ยนสำคัญอีกครั้ง เกิดขึ้นในช่วงปี 2543 บริษัทได้ถูกเชิญให้เข้าร่วมประมูลงานก่อสร้างโครงการแฮมป์ตัน ทองหล่อ 10 ของบริษัท เมเจอร์ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) ซึ่งถือว่าเป็นโครงการคอนโดฯ ลักชัวรี่โครงการแรกๆ ของกรุงเทพฯ ซึ่งบริษัทเป็นผู้ชนะการประมูล และได้ก่อสร้างจนแล้วเสร็จ ซึ่งงานก่อสร้างเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ทำให้บริษัทมีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับในการก่อสร้างอาคารสูง ถือเป็นจุดเปลี่ยนอีกครั้ง ประกอบกับช่วงเวลานั้นงานก่อสร้างอุตสาหกรรมเริ่มลดลง และงานส่วนใหญ่ก็เป็นการก่อสร้างคอนโดฯ ซึ่งทำมาอย่างต่อเนื่อง 5-6 โครงการ วางระบบ “Loop Construction” สร้างการเติบโต ธุรกิจของบริษัทดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง แต่มีการเติบโตแบบไม่หวือหวา ซึ่งนายแพทย์เชิดศักดิ์ เห็นว่าเพื่อสร้างให้บริษัทเติบโตแบบก้าวกระโดด จะต้องนำเอาระบบการบริหารงานแบบอุตสาหกรรมเข้ามาใช้ เพื่อให้ระบบงานก่อสร้างทำงานแบบเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ  ช่วงปี 2550 จึงนำเอาระบบงานที่เรียกว่า  Loop Construction เข้ามาใช้  โดยเป็นระบบงานที่เน้น  2  ขบวนการสำคัญคือ การวางแผนที่ดี และ การควบคุมติดตามงานที่ดี ส่งผลให้บริษัทมีผลประกอบการเติบโตเป็นเท่าตัว การสูญเสียลดน้อยละ และมีผลกำไรดีขึ้น นอกจากนี้ สิ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงระบบการทำงานที่ถูกวางไว้อย่างดี คือ การได้กก่อสร้างอาคารสูงอย่างต่อเนื่องมากว่า 100 โครงการ และผลงานที่สร้างชื่อเป็นสิ่งที่บริษัทภาคภูมิใจ คือ 3 อาคารที่บริษัทเป็นผู้ก่อสร้าง ติดอันดับ 10 อาคารที่สูงที่สุดในประเทศ อันได้แก่ ตึก Four Season Private Residence, Magnolia Ratchadamri Boulevard, และ Menam Residences จากการการจัดอันดับ 10 อาคารที่สูงที่สุดในประเทศไทย โดย www.terrabkk.com ในปี 2561 ปัจจุบันบริษัทยังได้รับงานก่อสร้างธนาคารออมสิน ขนาด 100,000 ตารางเมตร มูลค่า 3,000 ล้านบาท ที่จะแล้วเสร็จภายในระยะ 3 ปี ซึ่งถือเป็นโครงการมีมูลค่าสูงสุดที่บริษัทก่อสร้างมา วางแผนธุรกิจสู่เป้าหมายหมื่นล้าน ในปี 2563 บริษัทวางเป้าหมายรายได้ 7,000 ล้านบาท เติบโต 10%  จากปีที่ผ่านมามีรายได้ 6,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นไปตามสภาพเศรษฐกิจ จากปกติจะเติบโตในอัตรา 30-40% ต่อปี ปัจจุบันบริษัทมีแบ็กล็อกมูลค่า 10,000 ล้านบาท รับรู้รายได้ภายใน 2 ปี โดยหากเศรษฐกิจกลับมาดี คาดว่าบริษัทจะทำรายได้ 10,000 ล้านบาทได้ภายในระยะ 3 ปี   สมัยก่อนปี 2555-2560 บริษัทเติบโตเยอะมาก หลายปีเติบโตเป็นเท่าตัว  ปี 2559 ทำรายได้  2,000 ล้านบาท ปี 2560 ทำรายได้ 3,000 ล้านบาท และปี 2561 ทำรายได้ 4,000 ล้านบาท ส่วนโครงการคอนโดฯ ภายใต้แบรนด์  "ยู ศรีราชา" ที่บริษัทลงทุน 100% จะเริ่มโอนกรรมสิทธิ์ในปีนี้ หลังจากมียอดขายแล้ว 50% ซึ่งบริษัทยังมีที่ดินในบริเวณดังกล่าวเพื่อพัฒนาโครงการในอนาคตด้วย และในปีนี้บริษัทยังมีร่วมกับพันธมิตรธุรกิจ  พัฒนาโครงการคอนโดฯ มูลค่ากว่า 2,000 ล้านบาท เป้าหมาย 5-10 ปีเทียบชั้นบริษัทญี่ปุ่น ในระย 5-10 ปี นับจากนี้  บริษัทจะมุ่งโฟกัสด้านการก่อสร้างโฟกัส  ซึ่งมีโจทย์สำคัญคือการพัฒนาคุณภาพภายใน ด้านการบริหารจัดการ เป้าหมายสำคัญต้องการเห็นไซส์ก่อสร้างมีความสะอาด เป็นระเบียบ มีคุณภาพการจัดการเหมือนกับบริษัทญี่ปุ่น  และหากมีโอกาสจะไปรับงานในต่างประเทศ ในกลุ่มประเทศ CLMV เนื่องจากบริษัทไทยมีศักยภาพสูงกว่า อยากเห็นบริษัท ก่อสร้างเทียบเท่ากับบริษัทญี่ปุ่น บริษัทญี่ปุ่นถูกจ้างแพง อยากเบลนมาร์ค บริษัทในต่างประเทศ คนญี่ปุ่น เกิดขึ้นมาจากความมีระเบียบ ส่วนวิสัยทัศน์ในการดำเนินธุรกิจในยุค 2020 คือ  “Better is better than Best” ซึ่งแปลว่า “ดีกว่า นั้นดีกว่าดีที่สุด” แต่ความหมายในเชิงธุรกิจก็คือ ในยุค Disruption  บริษัทต้องพัฒนาธุรกิจให้เท่าทันตลอดเวลา เพราะถ้าคิดว่าดีที่สุดแล้ว เราอาจจะพึงพอใจและหยุดพัฒนา  ซึ่งสิ่งที่บริษัทต้องพัฒนาเพื่อจะนำไปสู่วิสัยทัศน์ดังกล่าว คือกลยุทธ์ 3 เสาหลักในการขับเคลื่อน ได้แก่ -เสาหลักที่ 1 การพัฒนาศักยภาพของบุคลากร ส่งเสริมและผลักดันให้ผู้ที่มีความสามารถก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำ สร้างองค์ความรู้ใหม่ ๆ เพื่อให้บริษัทเดินหน้าและบรรลุเป้าหมายได้ -เสาหลักที่ 2 การพัฒนาด้านเทคโนโลยีในการก่อสร้าง ซึ่งไม่ได้เน้นว่าจะต้องมีเทคโนโลยีหรืออุปกรณ์ที่ล้ำหน้าทันสมัยที่สุด แต่เราเรียนรู้ว่าความคิดสร้างสรรค์ในการแก้ปัญหา หาขบวนการทำงานในแบบใหม่ นั้นมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผลไม่แพ้การพึ่งพาเทคโนโลยี ที่ล้ำสมัย เพียงอย่างเดียว -เสาหลักที่ 3 การพัฒนาระบบการทำงานในทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นการ วิถีการทำงานแบบ Single Team และ การ reinforce ขบวนการทำงานแบบ Loop Construction โดยการทำซ้ำ ๆ จนเกิดเป็นนิสัย แ ละฝังอยู่จนกลายเป็น DNA  ของชาวแสงฟ้าทุกคน   3 สิ่งนี้ถือเป็นกลยุทธ์สำคัญ ที่จะใช้พัฒนาบริษัทให้เติบโตอย่างยั่งยืนเพื่อก้าวต่อไปในอีกศตวรรษต่อ ๆ ไป