Tag : SpecialScoop

144 ผลลัพธ์
“แสงฟ้าก่อสร้าง” วางเป้าหมาย 5-10 ปี  พร้อมเป็นบริษัทรับเหมามาตรฐานญี่ปุ่น

“แสงฟ้าก่อสร้าง” วางเป้าหมาย 5-10 ปี พร้อมเป็นบริษัทรับเหมามาตรฐานญี่ปุ่น

ภาพของกรุงเทพมหานครในปัจจุบัน กับในอดีตหลายสิบปีก่อน คงเป็นภาพที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง เพราะตอนนี้กรุงเทพมหานครทุกมุมเมือง เต็มไปด้วยตึกสูงและอาคารขนาดใหญ่มากมาย โดยเฉพาะคอนโดมิเนียม เนื่องจากคนจำนวนมากหลั่งไหลเข้ามาทำมาหากินในกรุงเทพฯ  จึงเกิดความต้องการในที่อยู่อาศัยตาม    แต่เพราะที่ดินมีจำกัดแต่ความต้องการที่อยู่อาศัยมากกว่า  ราคาที่ดินจึงมีราคาแพง ไม่เหมาะในการนำมาพัฒนาเป็นบ้านเดี่ยวหรือทาวน์เฮ้าส์  แต่เหมาะสมในการพัฒนาคอนโดฯ มากกว่า  เพราะมีราคาที่คนส่วนใหญ่เอื้อมถึง   การก่อสร้างโครงการคอนโดฯ หรืออาคารสูง ผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จ เป็นใครไปไม่ได้นอกจากบริษัทรับเหมาก่อสร้าง ซึ่งต้องยอมรับว่าทุกวันนี้บริษัทคนไทยมีฝีมือด้านการก่อสร้าง ไม่ได้แพ้ชาติใดในโลกเลย เพราะสามารถก่อสร้างอาคารขนาดสูงได้มากมาย และเป็นอาคารที่มีมาตรฐานอาคารสูง  เทียบเท่าหลายอาคารที่เกิดขึ้นทั่วโลก และนับวันบริษัทก่อสร้างของไทยจะสร้างอาคารที่มีความสูงเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ หนึ่งในบริษัทรับเหมาก่อสร้างที่ถือว่ามีชื่อเสียง  และความชำนาญในด้านการก่อสร้างอาคารสูง  ต้องมีชื่อบริษัท แสงฟ้า ก่อสร้าง จำกัด เป็นหนึ่งในทำเนียบนั้น เพราะก่อสร้างอาคารสูงมามากมาย แถมยังเป็นอาคารสูงติดอันดับ Top 10 อาคารสูงสุดในไทยด้วย  ซึ่งบริษัท แสงฟ้าฯ ถือได้ว่าเป็นบริษัทเหมาก่อสร้าง ที่อยู่คู่กับเมืองไทยมายาวนานกว่า 50 ปีแล้ว นับตั้งแต่เริ่มต้นธุรกิจมาตั้งแต่ปี 2510 (เดิมชื่อห้างหุ้นส่วนจำกัดแสงฟ้าการช่าง ก่อนเปลี่ยนชื่อในปี 2512) ซึ่งปัจจุบันอยู่ภายใต้การบริหารงานของทายาทรุ่นที่ 2 แล้ว   ปัจจุบันนายแพทย์เชิดศักดิ์ อัมพรสุขสกุล เข้ามารับผิดชอบในการดูแลบริษัท บริษัท แสงฟ้าก่อสร้าง จำกัด ในตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ ซึ่งถือเป็นทายาทรุ่นที่ 2 ต่อจากบิดา ตั้งแต่ปี 2540 หลังจากได้เรียนจบจาก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล และทำงานในด้านที่เรียนมาเป็นระยะเวลา 2 ปี  ก็ก้าวเข้ามารับผิดชอบดูแลบริษัท จุดเปลี่ยนจากอุตสาหกรรมสู่อาคารสูง จุดเริ่มต้นแรกบริษัท แสงฟ้าฯ  ไม่ได้รับงานด้านการก่อสร้างอาคารสูงเป็นหลัก เพราะงานส่วนใหญ่จะเป็นงานโครงสร้าง งานเหล็ก งานหลังคา งานก่อสร้างไซโล โรงงานเกษตร โรงงานปูนซีเมนต์ ซึ่งลูกค้าส่วนใหญ่ทำธุรกิจด้านการเกษตร แต่จุดเปลี่ยนสำคัญครั้งแรก เกิดขึ้นในช่วงปี 2524 บริษัท ปูนซีเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน)  ได้เปิดประมูลก่อสร้างสำนักงานใหญ่ บางซื่อ จึงได้เชิญบริษัทเข้าร่วมประมูลงานก่อสร้าง เนื่องจากบริษัทมีความเชี่ยวชาญด้านการก่อสร้างไซโลปูนซีเมนต์ และโรงปูนในจังหวัดสระบุรีหลายแห่ง บริษัทจึงเข้าร่วมงานและเป็นผู้ชนะการประมูล ได้ก่อสร้างอาคารของปูนซีเมนต์ไทย ซึ่งมีมูลค่าการก่อสร้างกว่า 100 ล้านบาท หลังจากนั้นจึงได้รับงานก่อสร้างอาคารมาอย่างต่อเนื่อง   จุดเปลี่ยนสำคัญอีกครั้ง เกิดขึ้นในช่วงปี 2543 บริษัทได้ถูกเชิญให้เข้าร่วมประมูลงานก่อสร้างโครงการแฮมป์ตัน ทองหล่อ 10 ของบริษัท เมเจอร์ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) ซึ่งถือว่าเป็นโครงการคอนโดฯ ลักชัวรี่โครงการแรกๆ ของกรุงเทพฯ ซึ่งบริษัทเป็นผู้ชนะการประมูล และได้ก่อสร้างจนแล้วเสร็จ ซึ่งงานก่อสร้างเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ทำให้บริษัทมีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับในการก่อสร้างอาคารสูง ถือเป็นจุดเปลี่ยนอีกครั้ง ประกอบกับช่วงเวลานั้นงานก่อสร้างอุตสาหกรรมเริ่มลดลง และงานส่วนใหญ่ก็เป็นการก่อสร้างคอนโดฯ ซึ่งทำมาอย่างต่อเนื่อง 5-6 โครงการ วางระบบ “Loop Construction” สร้างการเติบโต ธุรกิจของบริษัทดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง แต่มีการเติบโตแบบไม่หวือหวา ซึ่งนายแพทย์เชิดศักดิ์ เห็นว่าเพื่อสร้างให้บริษัทเติบโตแบบก้าวกระโดด จะต้องนำเอาระบบการบริหารงานแบบอุตสาหกรรมเข้ามาใช้ เพื่อให้ระบบงานก่อสร้างทำงานแบบเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ  ช่วงปี 2550 จึงนำเอาระบบงานที่เรียกว่า  Loop Construction เข้ามาใช้  โดยเป็นระบบงานที่เน้น  2  ขบวนการสำคัญคือ การวางแผนที่ดี และ การควบคุมติดตามงานที่ดี ส่งผลให้บริษัทมีผลประกอบการเติบโตเป็นเท่าตัว การสูญเสียลดน้อยละ และมีผลกำไรดีขึ้น นอกจากนี้ สิ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงระบบการทำงานที่ถูกวางไว้อย่างดี คือ การได้กก่อสร้างอาคารสูงอย่างต่อเนื่องมากว่า 100 โครงการ และผลงานที่สร้างชื่อเป็นสิ่งที่บริษัทภาคภูมิใจ คือ 3 อาคารที่บริษัทเป็นผู้ก่อสร้าง ติดอันดับ 10 อาคารที่สูงที่สุดในประเทศ อันได้แก่ ตึก Four Season Private Residence, Magnolia Ratchadamri Boulevard, และ Menam Residences จากการการจัดอันดับ 10 อาคารที่สูงที่สุดในประเทศไทย โดย www.terrabkk.com ในปี 2561 ปัจจุบันบริษัทยังได้รับงานก่อสร้างธนาคารออมสิน ขนาด 100,000 ตารางเมตร มูลค่า 3,000 ล้านบาท ที่จะแล้วเสร็จภายในระยะ 3 ปี ซึ่งถือเป็นโครงการมีมูลค่าสูงสุดที่บริษัทก่อสร้างมา วางแผนธุรกิจสู่เป้าหมายหมื่นล้าน ในปี 2563 บริษัทวางเป้าหมายรายได้ 7,000 ล้านบาท เติบโต 10%  จากปีที่ผ่านมามีรายได้ 6,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นไปตามสภาพเศรษฐกิจ จากปกติจะเติบโตในอัตรา 30-40% ต่อปี ปัจจุบันบริษัทมีแบ็กล็อกมูลค่า 10,000 ล้านบาท รับรู้รายได้ภายใน 2 ปี โดยหากเศรษฐกิจกลับมาดี คาดว่าบริษัทจะทำรายได้ 10,000 ล้านบาทได้ภายในระยะ 3 ปี   สมัยก่อนปี 2555-2560 บริษัทเติบโตเยอะมาก หลายปีเติบโตเป็นเท่าตัว  ปี 2559 ทำรายได้  2,000 ล้านบาท ปี 2560 ทำรายได้ 3,000 ล้านบาท และปี 2561 ทำรายได้ 4,000 ล้านบาท ส่วนโครงการคอนโดฯ ภายใต้แบรนด์  "ยู ศรีราชา" ที่บริษัทลงทุน 100% จะเริ่มโอนกรรมสิทธิ์ในปีนี้ หลังจากมียอดขายแล้ว 50% ซึ่งบริษัทยังมีที่ดินในบริเวณดังกล่าวเพื่อพัฒนาโครงการในอนาคตด้วย และในปีนี้บริษัทยังมีร่วมกับพันธมิตรธุรกิจ  พัฒนาโครงการคอนโดฯ มูลค่ากว่า 2,000 ล้านบาท เป้าหมาย 5-10 ปีเทียบชั้นบริษัทญี่ปุ่น ในระย 5-10 ปี นับจากนี้  บริษัทจะมุ่งโฟกัสด้านการก่อสร้างโฟกัส  ซึ่งมีโจทย์สำคัญคือการพัฒนาคุณภาพภายใน ด้านการบริหารจัดการ เป้าหมายสำคัญต้องการเห็นไซส์ก่อสร้างมีความสะอาด เป็นระเบียบ มีคุณภาพการจัดการเหมือนกับบริษัทญี่ปุ่น  และหากมีโอกาสจะไปรับงานในต่างประเทศ ในกลุ่มประเทศ CLMV เนื่องจากบริษัทไทยมีศักยภาพสูงกว่า อยากเห็นบริษัท ก่อสร้างเทียบเท่ากับบริษัทญี่ปุ่น บริษัทญี่ปุ่นถูกจ้างแพง อยากเบลนมาร์ค บริษัทในต่างประเทศ คนญี่ปุ่น เกิดขึ้นมาจากความมีระเบียบ ส่วนวิสัยทัศน์ในการดำเนินธุรกิจในยุค 2020 คือ  “Better is better than Best” ซึ่งแปลว่า “ดีกว่า นั้นดีกว่าดีที่สุด” แต่ความหมายในเชิงธุรกิจก็คือ ในยุค Disruption  บริษัทต้องพัฒนาธุรกิจให้เท่าทันตลอดเวลา เพราะถ้าคิดว่าดีที่สุดแล้ว เราอาจจะพึงพอใจและหยุดพัฒนา  ซึ่งสิ่งที่บริษัทต้องพัฒนาเพื่อจะนำไปสู่วิสัยทัศน์ดังกล่าว คือกลยุทธ์ 3 เสาหลักในการขับเคลื่อน ได้แก่ -เสาหลักที่ 1 การพัฒนาศักยภาพของบุคลากร ส่งเสริมและผลักดันให้ผู้ที่มีความสามารถก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำ สร้างองค์ความรู้ใหม่ ๆ เพื่อให้บริษัทเดินหน้าและบรรลุเป้าหมายได้ -เสาหลักที่ 2 การพัฒนาด้านเทคโนโลยีในการก่อสร้าง ซึ่งไม่ได้เน้นว่าจะต้องมีเทคโนโลยีหรืออุปกรณ์ที่ล้ำหน้าทันสมัยที่สุด แต่เราเรียนรู้ว่าความคิดสร้างสรรค์ในการแก้ปัญหา หาขบวนการทำงานในแบบใหม่ นั้นมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผลไม่แพ้การพึ่งพาเทคโนโลยี ที่ล้ำสมัย เพียงอย่างเดียว -เสาหลักที่ 3 การพัฒนาระบบการทำงานในทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นการ วิถีการทำงานแบบ Single Team และ การ reinforce ขบวนการทำงานแบบ Loop Construction โดยการทำซ้ำ ๆ จนเกิดเป็นนิสัย แ ละฝังอยู่จนกลายเป็น DNA  ของชาวแสงฟ้าทุกคน   3 สิ่งนี้ถือเป็นกลยุทธ์สำคัญ ที่จะใช้พัฒนาบริษัทให้เติบโตอย่างยั่งยืนเพื่อก้าวต่อไปในอีกศตวรรษต่อ ๆ ไป  
เจาะตลาดคอนโดฯ ทำเลรัชโยธิน เหมาะซื้ออยู่จริงหรือเพื่อลงทุน?

เจาะตลาดคอนโดฯ ทำเลรัชโยธิน เหมาะซื้ออยู่จริงหรือเพื่อลงทุน?

นับตั้งแต่การเปิดให้บริการรถไฟฟ้าบีทีเอส ส่วนต่อขยาย ตั้งแต่สถานีห้าแยกลาดพร้าวจนไปถึงม.เกษตรศาสตร์ ถือว่าเป็นปัจจัยสำคัญ ที่เข้ามาช่วยให้บริเวณห้าแยกลาดพร้าว รัชโยธิน และม.เกษตรศาสตร์  เป็นทำเลสำคัญและน่าสนใจเพิ่มมากยิ่งขึ้น   จากอดีตในทำเลเหล่านี้ ก็เป็นที่สนใจของบรรดาดีเวลลอปเปอร์ทั้งหลายอยู่แล้ว เพราะได้เข้ามาปักหมุดพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์หลายประเภทรองรับ เรียกได้ว่ามีความคึกคัก นับตั้งแต่มีข่าวว่าจะพัฒนาเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีเขียวอ่อนหรือรถไฟฟ้าบีทีเอสนี้ เพราะราคาที่ดินขยับปรับเพิ่มขึ้นหลายเท่าตัว รวมถึงมีโครงการคอนโดมิเนียมเกิดขึ้นมากมาย  กลายเป็นแหล่งที่พักอาศัยหนาแน่นแห่งหนึ่ง ศักยภาพของทำเลรัชโยธิน นอกเหนือจากการมีเส้นทางรถไฟฟ้าวิ่งผ่าน  ทั้งรถไฟฟ้าบีทีเอสและรถไฟฟ้าใต้ดิน MRT แล้ว ยังมีปัจจัยสนับสนุนอื่นๆ อีกหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นระบบคมนาคมทางบก ที่ล้อมรอบด้วยถนน 5 เส้นหลัก มีสถานศึกษาขนาดใหญ่ ศูนย์การค้าปลีก อาคารสำนักงาน และโรงพยาบาล  ส่งผลให้ทำเลนี้กลายเป็นแหล่งพักอาศัย การทำงาน และการใช้ชีวิต ของคนกรุงเทพฯ ที่หนาแน่นแห่งหนึ่ง   แต่มีคำถามว่า ทำเลรัชโยธิน ซึ่งมีคอนโดฯ​ เกิดขึ้นมากมายนั้น เหมาะสำหรับการซื้อเพื่อพักอาศัย หรือเหมาะสำหรับการซื้อเพื่อลงทุนสร้างผลตอบแทนให้เจ้าของ  ซึ่งบทวิเคราะห์ล่าสุดจาก Krungthai COMPASS หรือศูนย์วิจัยกรุงไทย ธนาคารกรุงไทย โดยดร.พชรพจน์ นันทรามาศ​ ผู้อำนวยการฝ่ายอาวุโส และนายกณิศ อ่ำสกุล นักวิเคราะห์ ระบุว่า ทำเลรัชโยธิน ยังไม่ตอบโจทย์หากจะซื้อคอนโดฯ เพื่อลงทุนซื้อ เนื่องจากให้อัตราผลตอบแทนที่ต่ำกว่าทำเลอื่นๆ รัชโยธินไม่เหมาะลงทุน ผลตอบแทนแค่ 3.2% ทำเลรัชโยธินให้ผลตอนแทนโดยรวมเฉลี่ยปีละ 3.2% เท่านั้น เท่ากับการลงทุนในทำเลรัชดา-พระราม 9 แต่ต่ำกว่าทำเลเพลินจิต-ชิดลม ที่ให้ผลตอบแทนสูงสุดในทุกทำเล ในอัตรา 6.6% รองลงมาเป็นทำเลสีลม-สาทร ที่ให้ผลตอบแทน 5.4% ทำเลสุขุมวิท (ตอนต้น-กลาง) ให้ผลตอบแทน 4.8%  ซึ่งเงินในจำนวนเดียวกันการไปเลือกซื้อคอนโดฯ เพื่อลงทุนสามารถเลือกทำเลอื่นที่ให้ผลตอบแทนที่สูงกว่าได้   สำหรับทำเลรัชโยธิน จึงถือว่าเป็นทำเลซึ่งเหมาะสำหรับการพักอาศัยมากกว่า  จากการสำรวจโครงการคอนโดฯ ในทำเลรัชโยธิน นับตั้งแต่ห้าแยกลาดพร้าวไปจนถึงแยกเกษตร  พบว่ามีโครงการคอนโดฯ จำนวน 35  โครงการ มีจำนวน 11,561 ยูนิต แบ่งเป็นโครงการที่ก่อสร้างเสร็จก่อนปี จำนวน 18 โครงการ จำนวน 2,155 ยูนิต และโครงการที่ก่อสร้างเสร็จตั้งแต่ปี 2562  เป็นต้นไปอีก 17 โครงการ จำนวน 9,406 ยูนิต   นอกจากนี้ ยังมีโครงการที่เตรียมเปิดการขายอีก 2 โครงการรวมกว่า 1,000 ยูนิต ได้แก่ โครงการเดอะเครสท์ ของบริษัท เอสซี แอสเสท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)  และโครงการไลฟ์ ของบริษัท เอพี (ไทยแลนด์) จำกัด   ส่วนผลตอบแทนจากการปล่อยเช่า ในทำเลรัชโยธินนั้นเป็นอย่างไร ทาง Krungthai COMPASS ได้รวบรวมค่าเช่าและราคาซื้อขายห้องชุดของคอนโดฯ 13 โครงการในทำเลรัชโยธิน เพื่อหาผลตอบแทนจากการเช่าขั้นต้น หรือ  Gross Rental Yield พบว่า จะได้ผลตอบแทนในอัตรา 4.4-5.5% ต่อปี มีค่ากลางเท่ากกับ 5.0% ต่อปี หรือมีอัตราค่าเช่าเดือนละ 5,000 บาท ต่อห้องชุดราคา 1 ล้านบาท ซึ่งเป็นอัตราผลตอบแทนที่ไม่ได้แตกต่างจากการปล่อยคอนโดฯ ให้เช่าในทำเลอื่นๆ เท่าไรนัก  ขณะที่แนวโน้มการเพิ่มขึ้นของราคา  Re-sale ของคอนโดฯ​ ทำเลรัชโยธินปรับเพิ่มขึ้นประมาณปีละ 6.0% ตอบคำถามให้ชัด ก่อนซื้อคอนโดฯ แม้ว่าทำเลรัชโยธิน จะเป็นทำเลศักยภาพที่เต็มไปด้วยสิ่งอำนวยความสะดวก สาธารณูปโภค ใกล้สถานที่สำคัญ ระบบคมนาคมที่เดินทางเชื่อมโยงได้มากมาย  แต่การซื้อคอนโดฯ เพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยในปัจจุบัน ถือว่ามีความน่าสนใจมากน้อยแค่ไหน ซึ่ง Krungthai COMPASS ได้นำเสนอว่า จะต้องพิจารณาอีก 2 ประเด็นคำถาม ได้แก่ 1.ราคาคอนโดฯ ปัจจุบันแพงไปหรือไม่? และ 2.พื้นที่ดังกล่าวเสี่ยงต่อภาวะ Oversupply หรือไม่ การตัดสินใจนอกจากคำตอบในเรื่องของผลตอบแทนจากการลงทุน ซึ่งพบว่าต่ำกว่าทำเลอื่น   สำหรับราคาขายคอนโดฯ เก่าในทำเลรัชโยธิน จะอยู่ในระดับ 93,600 บาทต่อตารางเมตร และโครงการใหม่จะมีราคาขายตั้งแต่ 100,000-150,000 บาทต่อตารางเมตร หรือระดับราคาขายเฉลี่ย 138,000 บาทต่อตารางเมตร ซึ่งถือว่าถูกกว่าราคาคอนโดฯ​ ในเมือง อย่างย่านเพลินจิต ชิดลม สาทร และสีลม ส่วนความเสี่ยงว่าคอนโดฯ  ทำเลรัชโยธินจะอยู่ในภาวะ Oversupply หรือไม่นั้น ทาง Krungthai COMPASS ได้นำสถานการณ์ของยูนิตเหลือขายของคอนโดฯ ในทำเลรัชโยธิน ในวันที่รถไฟฟ้าบีทีเอสส่วนต่อขยายเปิดใช้งาน เปรียบเทียบกับสถานการณ์ของคอนโดฯ แนวรถไฟฟ้าสายสีม่วง ในช่วงเวลาที่รถไฟฟ้าเปิดใช้งานในปี 2559 ซึ่งเป็นหนึ่งทำเลที่เกิดภาวะ Oversupply ของคอนโดฯ​ ชัดเจนที่สุด   โดยพบว่าคอนโดฯ ทำเลรัชโยธิน ใช้ระยะเวลาขายหมด นานขึ้น และสูงกว่าค่าเฉลี่ยของพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล คล้ายกับสถานการณ์ของคอนโดฯ ตามแนวรถไฟฟ้าสายสีม่วง  แต่แม้ว่าระยะเวลาการขายหมดจะนาน แต่ยูนิตเหลือขายสะสมของทำเลรัชโยธิน กลับมีจำนวนน้อยลง เมื่อเทียบกับจำนวนของคอนโดฯ เหลือขายในทำเลรถไฟฟ้าสายสีม่วง จึงทำให้เห็นภาพได้ว่า ทำเลรัชโยธินไม่ได้อยู่ในภาวะ Oversupply บทสรุปทำเลรัชโยธิน เหมาะซื้อเพื่ออยู่จริง โดยสรุปแล้ว Krungthai COMPASS ประเมินว่า ทำเลรัชโยธิน เป็นหนึ่งในทำเลที่น่าสนใจสำหรับผู้บริโภค ที่กำลังมองหาคอนโดฯ เพื่ออยู่อาศัยจริง โดยมีจุดที่น่าสนใจคือ การมีตัวเลือกที่มาก ระดับราคาสมเหตุสมผล และยูนิตเหลือขายยังไม่อยู่ในภาวะ Oversupply   อย่างไรก็ตาม คอนโดฯ ทำเลรัชโยธิน อาจยังไม่ตอบโจทย์กับการซื้อเพื่อการลงทุนมากนัก หากเทียบกับพื้นที่อื่นๆ ในตัวเมือง เช่น เพลินจิต ชิดลม สีลม สาทร และสุขุมวิทช่วงต้น-กลาง ซึ่งให้ผลตอบแทนสูงกว่าทำเลรัชโยธินถึง 1.5-2  เท่า  
สำรวจตลาดพื้นที่ออฟฟิศให้เช่า อดีต-ปัจจุบัน-อนาคต

สำรวจตลาดพื้นที่ออฟฟิศให้เช่า อดีต-ปัจจุบัน-อนาคต

ดูเหมือนตลาดอสังหาริมทรัพย์ประเภท พื้นที่เชิงพาณิชย์ ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่ออฟฟิศให้เช่า หรือพื้นที่ค้าปลีก เป็นอสังหาฯ ที่พอจะสร้างการเติบโตให้กับผู้ประกอบการได้อย่างต่อเนื่อง และเป็นรายได้ประจำสม่ำเสมอ แม้จะไม่หวือหวาแต่ก็ผันผวนจากภาวะเศรษฐกิจและกำลังซื้อของผู้บริโภค  น้อยกว่าอสังหาฯ ประเภทที่อยู่อาศัย โดยเฉพาะในปีนี้แนวโน้มตลาดที่อยู่อาศัยไม่ได้สดใสเอาเสียเลย   หลายปีก่อนหน้าบรรดาดีเวลลอปเปอร์ เริ่มปรับตัวหันมาพัฒนาโครงการประเภทมิกซ์ยูส ที่มีอสังหาฯ หลากหลายประเภทรวมอยู่ในนั้น โดยเฉพาะพื้นที่ออฟฟิศให้เช่า เพราะเป็นตลาดที่มีความต้องการอย่างต่อเนื่อง  หน่วยงานวิจัยหลายแห่งจึงได้ออกบทวิเคราะห์ เพื่อให้เห็นภาพของตลาดออฟฟิศให้เช่า ถึงสภาพตลาดปัจจุบันและแนวโน้มในอนาคต ว่าจะเป็นตลาดที่สดใสและน่าสนใจจริงๆ หรือไม่   Q3 พื้นที่ออฟฟิศให้เช่าเพิ่ม 45,000 ตร.ม. กราฟที่ 1 กราฟอุปทานสำนักงานในกรุงเทพฯ   ล่าสุด  ต่างก็เห็นไปทิศทางเดียวกัน บริษัท ไนท์แฟรงค์ ประเทศไทย จำกัด ได้จัดทำรายงานภาพรวมตลาดอาคารสำนักงานในกรุงเทพฯ ไตรมาสที่ 3 ปี 2562 ที่ผ่านมา ระบุว่า มีพื้นที่ออฟฟิศให้เช่าเพิ่มขึ้น 49,800 ตารางเมตร  จากพื้นที่รวมทั้งหมด 5,125,617 ตารางเมตร เพิ่มขึ้น 1%  เมื่อเทียบไตรมาสต่อไตรมาส และเติบโต 1.6% ปีต่อปี  มีอาคารสำนักงานใหม่หนึ่งอาคารเพิ่มเข้ามาในย่านศูนย์กลางธุรกิจ (CBD) พื้นที่ 45,000 ตารางเมตร ซึ่งเป็นการเพิ่มจำนวนพื้นที่ออฟฟิศให้เช่าในย่านศูนย์กลางธุรกิจเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ไตรมาสที่ 3 ปี 2560 โดยไม่มีการย้ายออกจากอาคารเก่าในไตรมาสนี้ ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมามีพื้นที่สุทธิเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 24,418 ตารางเมตรต่อไตรมาส   สำหรับโครงการพัฒนาในอนาคตจากไตรมาสที่ 4 ปี 2562 - ปี 2566 ตลาดสำนักงานในกรุงเทพฯ คาดว่าจะเติบโตเป็น 1,171,829 ตารางเมตร หรือเฉลี่ยอยู่ที่ 275,724 ตารางเมตรต่อปี (ซึ่งคำนวนจากส่วนที่เพิ่มเข้ามาในตลาดเท่านั้น ไม่ได้คำนวนการย้ายออก) หากเปรียบเทียบจากปี 2558 - ไตรมาสที่ 3 ปี 2562 มีพื้นที่ใหม่เข้าสู่ตลาดอยู่ที่ 139,385 ตารางเมตรต่อปี ในช่วงสิ้นปี 2566 ปริมาณพื้นที่รวมของอาคารสำนักงานคาดว่าจะมีมากถึง 6 ล้านตารางเมตร   นอกจากนี้ การปรับปรุงภาษีอสังหาริมทรัพย์ใหม่ที่เริ่มต้นบังคับใช้ในปี 2563 คาดว่าจะมีย้ายพื้นที่ในอาคารเก่าเป็นจำนวนมาก ส่วนอสังหาฯ เชิงพาณิชย์ ภาษีใหม่นี้จะปรับอัตราภาษีส่วนเพิ่มจาก  0.3%  ไปถึงจุดสูงสุดที่  1.2%  ตามราคาประเมินของรัฐบาล ซึ่งจะแทนที่ภาษีครัวเรือนและภาษีที่ดินในปัจจุบันที่เรียกเก็บที่  12.5%  จากราคาประเมินเช่ารายปี ภาษีใหม่นี้จะกลายเป็นภาระหนักแก่อาคารเกรดไม่สูงนักหรืออาคารที่มีผู้เช่าน้อยในพื้นที่ย่านไพร์ม แต่อาจเป็นแรงจูงใจให้เจ้าของอาคารสำนักงานเหล่านี้ดำเนินการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานของอาคาร    ตารางที่ 1 อุปทานอาคารสำนักงานในกรุงเทพฯ ในอนาคต ตารางที่ 2 อุปทานอาคารสำนักงานในกรุงเทพฯ​ในอนาคต รายโครงการ พื้นที่ออฟฟิศถูกเช่าต่ำสุดใน 10 ปี ส่วนความต้องการใช้พื้นที่ออฟฟิศให้เช่านั้น ในไตรมาสที่ 3 ปี 2562 ปรับลดลงเล็กน้อย ซึ่งการครอบครองลดลงเหลือเพียง 51,485 ตารางเมตร จากเดิม 68,987 ตารางเมตรในไตรมาสก่อน โดยลดลง 8% ต่อไตรมาส และส่งผลต่อการครอบครองเฉลี่ยลงต่ำกว่าค่าเฉลี่ยรายไตรมาสใน 10 ปี ซึ่งอยู่ที่ 64,406 ตารางเมตร นับเป็นครั้งแรกตั้งแต่ปี 2556 ของการครอบครองในไตรมาสที่ 3 ที่มีพื้นที่ลดลงต่ำกว่า 40,000 ตารางเมตร การครอบครองพื้นที่ใหม่และอาคารสำนักงานตกแต่งใหม่คิดเป็นเพียง 41% ของพื้นที่ทั้งหมดในไตรมาสนี้ ซึ่งลดลง 10% ไตรมาสต่อไตรมาส (Q-o-Q)   ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ผู้เช่าเลือกที่จะเช่าอาคารที่มีคุณภาพสูง โดยอาคารสำนักงานใหม่และอาคารสำนักงานที่ตกแต่งใหม่เหล่านี้มักจะอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานและมักจะดึงดูดความต้องการได้อย่างดี อย่างไรก็ตามภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวอาจส่งผลให้ผู้เช่าในปัจจุบันและผู้เช่าในอนาคตบางรายรอดูสถานการณ์ในการย้ายสำนักงานหรือแผนการขยายสาขา กราฟที่ 2 การครอบครองอาคารสำนักงานในกรุงเทพฯ รายไตรมาส   การดูดซับสุทธิปรับเพิ่มพื้นที่การครอบครองรวมจำนวน 20,138 ตารางเมตร  ซึ่งรวมทั้งหมดเป็นจำนวน 4,650,635 ตารางเมตร การดูดซับสุทธิเพิ่มขึ้นจาก 11,990 ตารางเมตร ในไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดหากเทียบปีต่อปี เนื่องจากพื้นที่ครอบครองรวมลดลงไป 19,509 ตารางเมตร  ในไตรมาสที่ 3 ปี 2561 อย่างไรก็ตามในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา พื้นที่ทั้งหมดเพิ่มขึ้น 80,000 ตารางเมตร ในขณะที่พื้นที่ครอบครองรวมเพิ่มขึ้นเพียง 26,271 ตารางเมตร ความแตกต่างนี้แสดงให้เห็นว่าความต้องการรายปีต่ำกว่าปริมาณพื้นที่มากในปีที่ผ่านมา กราฟที่ 3 ไดนามิกส์ระหว่างอุปสงค์และอุปทานของอาคารสำนักงานในกรุงเทพฯ   พื้นที่ออฟฟิศให้เช่าเพิ่มมากกว่าดีมานด์ การเพิ่มขึ้นของปริมาณพื้นที่สูงกว่าการดูดซับสุทธิ ส่งผลให้อัตราการครอบครองพื้นที่ตลาดลดลงไปที่  90.7% จากเดิมอยู่ที่  91.2% ในไตรมาสก่อน แม้ว่าจะลดลงแต่อัตราการครอบครองพื้นที่ยังคงสูงกว่าค่าเฉลี่ย 10 ปี โดยอยู่ที่  89.8% ซึ่งชี้ให้เห็นว่าตลาดยังคงเสถียรภาพ อัตราการครอบครองพื้นที่ปรับลดลงในทั้งสองอาคารสำนักงานเกรด A และ B โดยลดลงไป  3.0% และ 0.5% จากไตรมาสก่อนตามลำดับ ในขณะที่อัตราการครอบครองอาคารสำนักงานเกรด C ปรับเพิ่มขึ้น 0.4% โดยรวมอยู่ที่ 87.7%   สำหรับในย่านศูนย์กลางธุรกิจ มีอัตราการครอบครองพื้นที่บนถนนวิทยุเพิ่มขึ้นสูงมากที่สุด ซึ่งเพิ่มขึ้น  0.4% ไตรมาสต่อไตรมาส คิดเป็น 0.9% ปีต่อปี โดยรวมอยู่ที่  91.8% ในทางกลับกันอัตราการครอบครองพื้นที่ในเขตสีลม-สาทรลดลงไป 0.5% ไตรมาสต่อไตรมาส และ 1.65% ปีต่อปี โดยรวมอยู่ที่ 92.6% สำหรับเขตนอกย่านศูนย์กลางธุรกิจ อัตราการครอบครองพื้นที่ในเขตบางนาปรับสูงขึ้นมากที่สุด โดยเพิ่มขึ้น  1.2% โดยรวมอยู่ที่ 85.5% กราฟที่ 4 อัตราการครอบครองพื้นที่, อุปสงค์ และอุปทานพื้นที่อาคารสำนักงานในกรุงเทพฯ   ถนนวิทยุพื้นที่ออฟฟิศให้เช่าราคาพุ่งสูงสุด ตารางที่ 3 อัตราการครอบครองพื้นที่อาคารสำนักงานในกรุงเทพฯ​ โดยแบ่งตามเกรด พื้นที่ออฟฟิศให้เช่ามีราคาค่าเช่าโดยเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 1.2% อยู่ที่ 789 บาทต่อตารางเมตรต่อเดือน แสดงให้เห็นถึงการปรับตัวต่อภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน การเพิ่มเข้ามาของพื้นที่ออฟฟิศให้เช่าใหม่ที่ตั้งราคาอยู่ในระดับเกรด A เป็นปัจจัยที่เอื้อต่อการเพิ่มขึ้นของระดับค่าเช่า ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ราคาค่าเช่าปรับเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยที่ 5.0% ต่อปี โดยในไตรมาสที่ 3 ราคาค่าเช่าโดยเฉลี่ยของอาคารสำนักงานเกรด B มีการปรับเพิ่มขึ้น 0.9% ไตรมาสต่อไตรมาส และ 5.4 ปีต่อปี อยู่ที่ 819 บาท ในขณะเดียวกัน ราคาค่าเช่าของอาคารสำนักงานเกรด A นั้นลดลงในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา แม้จะมีการเพิ่มขึ้น 8.8% ปีต่อปี แต่ราคาค่าเช่าปรับลดลงเหลือ 1,129 บาท ซึ่งลดลงติดต่อกันเป็นไตรมาสที่สอง กราฟที่ 5 ราคาเสนอเช่าโดยเฉลี่ยของพื้นที่อาคารสำนักงานในกรุงเทพฯ​โดยแบ่งตามเกรด ค่าเช่าของพื้นที่ออฟฟิศให้เช่าในย่านศูนย์กลางธุรกิจปรับเพิ่มขึ้นในไตรมาสที่ผ่านมา ยกเว้นเพียงเขตอโศก-พร้อมพงษ์ ส่วนอาคารสำนักงานบนถนนวิทยุที่นอกจากจะมีปริมาณผู้เช่าสูงที่สุดแล้ว ยังมีการปรับราคาค่าเช่าสูงที่สุดอีกด้วย โดยราคาค่าเช่าเพิ่มขึ้น 4.1%   ไตรมาสต่อไตรมาส และ 10.1% ปีต่อปี อยู่ที่ 1,148 บาท สำหรับพื้นที่นอกย่านศูนย์กลางธุรกิจ โดยเขตที่มีค่าเช่าสูงที่สุดอยู่ในเขตพหลโยธิน-วิภาวดี เพิ่มขึ้น 5.1% จากไตรมาสก่อน อยู่ที่ 760 บาท ในทางตรงกันข้าม ค่าเช่าในพื้นที่เขตอโศก-เพชรบุรีกลับลดลงไปร้อยละ 1.6% อยู่ที่ 818 บาท แต่ยังคงเพิ่มขึ้น  4.1% ปีต่อปี   “การเติบโตของราคาค่าเช่ายังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งผู้เช่าควรปรับกลยุทธ์หรือแผนการเช่าอาคารสำนักงานเนื่องจากสภาพเศรษฐกิจที่เปลี่ยนไป ซึ่งครั้งหนึ่งกรุงเทพฯ เคยเป็นหนึ่งในตลาดอาคารสำนักงานที่มีราคาต่ำที่สุดในโลก แต่ตอนนี้ค่าเช่าของอาคารเกรดเอในกรุงเทพฯ กลับเทียบเท่ากับค่าเช่าสำนักงานในเมืองอย่างมาดริด และชิคาโก”นายมาร์คัส เบอร์เทนชอว์ กรรมการบริหารและหัวหน้าฝ่ายตัวแทนนายหน้า บริษัท ไนท์แฟรงค์ ประเทศไทย จำกัด กล่าวและว่า   ตารางที่ 5 ตัวบ่งชี้ตลาดย่อยของพ้นที่อาคารสำนักงานในกรุงเทพฯ บทสรุป พื้นที่ออฟฟิศให้เช่า   สำหรับในไตรมาสที่ 4 การดูดซับสุทธิยังคงมีแนวโน้มเป็นบวก  แม้ว่าจะอยู่ในระดับต่ำก็ตาม และดูเหมือนว่าตลาดพื้นที่ออฟฟิศให้เช่า กำลังขยายจนถึงจุดสูงสุดแล้ว แต่ก็ยังคงมีโอกาสที่ยังเติบโตได้อยู่ อย่างไรก็ตามการชะลอตัวทางเศรษฐกิจในปัจจุบันมีแนวโน้มที่จะยืดไปถึงปี 2563 และอาจส่งผลกระทบต่อแผนการในอนาคตทั้งเจ้าของอาคารสำนักงานรวมถึงผู้เช่า โดยมีความเป็นไปได้ที่นักพัฒนาฯ จะชะลอการส่งมอบโครงการและคาดหวังความต้องการในปีถัดไป ราคาค่าเช่าคาดว่าจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องแต่อาจอยู่ในอัตราที่ช้าลงเพราะผู้เช่ามีอำนาจต่อรองมากขึ้นจากตัวเลือกของพื้นที่อาคารสำนักงานในตลาด   อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง -ส่องเทรนด์พื้นที่ “ออฟฟิศ-รีเทล” ปี 63 จะไปทางไหน?
วิเคราะห์ โปรเจ็กต์มิกซ์ยูส มีทั้งโอกาสและความเสี่ยง

วิเคราะห์ โปรเจ็กต์มิกซ์ยูส มีทั้งโอกาสและความเสี่ยง

รายงานล่าสุด จาก บริษัท เน็กซัส เรียลเอสเตท แอ็ดไวเซอรี่ จำกัด ระบุว่า ในอีก 5 ปีข้างหน้า จะมีพื้นที่ออฟฟิศให้เช่าเพิ่มขึ้น 10 ตารางเมตร จากปัจจุบันมีพื้นที่ออฟฟิศในกรุงเทพฯ มีประมาณ 9 ล้านตารางเมตร ซึ่งพื้นที่ทั้งหมดส่วนใหญ่จะอยู่ในโครงการมิกซ์ยูส ที่มีอสังหาริมทรัพย์ประเภทอื่นๆ ประกอบด้วย    มิกซ์ยูสหลายโครงการที่จะทยอยออกมาตั้งแต่ปีนี้นั้น  เป็นโครงการขนาดใหญ่มูลค่าระดับแสนล้านบาท  เหตุผลของดีเวลลอปเปอร์ในการพัฒนาโครงการมิกซ์ยูส คงเป็นเพราะต้องการใช้ที่ดินให้เกิดมูลค่าสูงสุด  เนื่องจากโครงการถูกพัฒนาบนทำเลใจกลางเมือง  รวมถึงเป็นการตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคยุคปัจจุบัน ที่มีความต้องการหลากหลาย นั่นเอง 2 เหตุผลดีเวลลอปเปอร์ปั้นโปรเจ็กต์มิกซ์ยูส รายงานจากนายภัทรพล ยุทธศักดิ์นุกูล นักวิเคราะห์ Economic Intelligence Center (EIC) ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)  ล่าสุด ได้เห็นไปในทิศทางเดียวกันคือ สาเหตุสำคัญที่ดีเวลลอปเปอร์หันมาพัฒนาโครงการมิกซ์ยูส เป็นเพราะ ต้องการเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้ที่ดิน และใช้พื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เนื่องจากที่ดินที่อยู่ในทำเลที่ดีโดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีศักยภาพซึ่งปัจจุบันเหลืออยู่ไม่มากนัก อีกทั้งยังมีราคาสูง ดังนั้น  การผสมผสานแต่ละการใช้งานของอสังหาฯ ให้มีความเข้ากันได้ดีจึงเป็นสิ่งสำคัญ โดยอาจมีพื้นที่บางส่วนของโครงการที่การใช้งานหลายส่วนสามารถใช้งานร่วมกันได้   นอกจากนี้ ยังมองว่า โครงการมิกซ์ยูสเป็นการช่วยลดความเสี่ยงจากการพึ่งพาอสังหาฯ รูปแบบใดรูปแบบหนึ่งและเป็นการเพิ่มความหลากหลายของช่องทางในการสร้างรายได้ที่สม่ำเสมอ (recurring income) เมื่อเกิดการชะลอตัวของเศรษฐกิจหรือธุรกิจจะช่วยบรรเทาผลกระทบไม่ให้รุนแรงมากนัก เนื่องจากมีช่องทางสร้างรายได้อื่น เช่น ในภาวะที่นักท่องเที่ยวชะลอตัวส่งผลให้รายได้จากผู้เช่าพื้นที่ค้าปลีกและโรงแรมลดลง โครงการมิกซ์ยูสยังคงมีพื้นที่สำนักงานให้เช่าเป็นแหล่งรายได้อื่นที่ไม่ได้รับผลกระทบจากภาวะชะลอตัวของนักท่องเที่ยวอยู่ ต่างกับโครงการค้าปลีกเพียงอย่างเดียว (single use) ที่อาจได้รับผลกระทบมากกว่า   ถือเป็น 2 เหตุผลสำคัญ ที่ทำให้ผู้ประกอบการหลายรายหันมาสนใจการพัฒนาโครงการมิกซ์ยูส ในภาวะเศรษฐกิจที่ผันผวนและชะลอตัว ซึ่งอาจกดดันให้ความต้องการเช่าพื้นที่เชิงพาณิชย์ให้เช่า (commercial real estate) ซึ่งประกอบด้วยพื้นที่สำนักงานให้เช่าและพื้นที่ค้าปลีกให้เช่า รวมถึงต้นทุนที่ดินที่อยู่ในระดับสูง โดยเฉพาะที่ดินในพื้นที่ศักยภาพ โครงการมิกซ์ยูสทะลัก เสี่ยง Oversupply อย่างไรก็ตาม EIC มองว่า การเติบโตอย่างก้าวกระโดดของปริมาณพื้นที่ จากโครงการมิกซ์ยูส ในช่วงปี 2563-2565 อาจเป็นหนึ่งในปัจจัยหลักที่กดดันให้การแข่งขันมีความรุนแรงมากขึ้นและนำมาสู่ความเสี่ยงปริมาณพื้นที่ส่วนเกิน (Oversupply) ในธุรกิจอสังหาฯ พาณิชย์ให้เช่าในกรุงเทพฯ โดยจะมีพื้นที่มิกซ์ยูสเปิดดำเนินการเพิ่มขึ้น 900,000 ตารางเมตร หรือ ประมาณ 40% ของจำนวนพื้นที่ของธุรกิจพาณิชย์ให้เช่าในกรุงเทพฯ ราว 2 ล้านตารางเมตรในช่วงปี 2563-2565 (รูปที่ 1)   ขณะที่ EIC คาดว่าความต้องการใหม่ต่อธุรกิจพาณิชย์ให้เช่าในกรุงเทพฯ ในช่วงเวลาเดียวกันจะอยู่ที่ราว 1 ล้านตารางเมตรเท่านั้น ซึ่งอาจนำไปสู่ความเสี่ยงจากภาวะพื้นที่มีออกมามากเกินจากการขยายตัวดังกล่าว โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีโครงการมิกซ์ยูสที่จะเข้าสู่ตลาด ทั้งนี้จากข้อมูล 14 โครงการที่ถูกเลือกเพื่อทำการศึกษาเบื้องต้น พบว่า ปริมาณพื้นที่ใหม่จากโครงการมิกซ์ยูสส่วนใหญ่จะกระจุกตัวอยู่ในพื้นที่ย่านศูนย์กลางธุรกิจ (CBD: Central Business District) ซึ่งเป็นบริเวณที่เป็นใจกลางย่านธุรกิจในกรุงเทพฯ คิดเป็นสัดส่วนราว 64% เช่น สีลม-สาธร สุขุมวิทตอนต้น (ซอย 1-41) เพชรบุรี ส่วนพื้นที่ Non CBD คิดเป็นสัดส่วนราว 36% เช่น พื้นที่บางซื่อ บางนา-ตราด ศรีนครินทร์ แจ้งวัฒนะ   นอกจากนี้ หากพิจารณาตามรูปแบบอสังหาฯ จะพบว่า จากพื้นที่โครงการมิกซ์ยูสทั้งหมด (รูปที่ 2) จะมีพื้นที่ค้าปลีกเป็นสัดส่วนถึง 22% รองลงมาคือ พื้นที่สำนักงานซึ่งเป็นสัดส่วนราว 19% ดังนั้นไม่เพียงผู้พัฒนาโครงการมิกซ์ยูสเท่านั้นที่ต้องระมัดระวังความเสี่ยงปริมาณพื้นที่ส่วนเกิน  แต่ผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ฯ พาณิชย์ให้เช่าที่อยู่รอบข้างโครงการมิกซ์ยูสก็อาจเผชิญกับผลกระทบจากความเสี่ยงดังกล่าวด้วยเช่นกัน หากพิจารณาธุรกิจพาณิชย์ให้เช่ายังคงเติบโตต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมา โดยการเติบโตของธุรกิจพื้นที่สำนักงานให้เช่าในกรุงเทพฯ มีปัจจัยขับเคลื่อนหลักจากค่าเช่าที่มีการปรับตัวขึ้น ขณะที่พื้นที่ค้าปลีกเติบโตจากการขยายตัวของพื้นที่ปล่อยเช่าที่เพิ่มขึ้น จากการวิเคราะห์ข้อมูลของ CBRE พบว่า ภาพรวมธุรกิจพื้นที่สำนักงานให้เช่าในกรุงเทพฯ ระหว่างปี 2557-2561 มูลค่าตลาดเติบโตอย่างต่อเนื่องราว 8% ต่อปีจนในปี 2561 ตลาดมีมูลค่าถึง 80,000 ล้านบาท โดยการเติบโตของมูลค่าตลาดมีปัจจัยขับเคลื่อนหลักจากอัตราค่าเช่าที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องราว 6% ต่อปี ในช่วงเวลาเดียวกัน ซึ่งเป็นผลมาจากพื้นที่สำนักงานที่ถูกเช่าเพิ่ม (new occupied space) ในแต่ละปีสูงกว่าพื้นที่ใหม่ (new supply)   ในส่วนของธุรกิจพื้นที่ค้าปลีกให้เช่าในกรุงเทพฯ ในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา มูลค่าตลาดรวมเติบโต 4% ต่อปี ทำให้ในปี 2561  ตลาดมีมูลค่าถึงราว 90,000 ล้านบาท โดยการเติบโตหลักมาจากการขยายตัวต่อเนื่องของพื้นที่ปล่อยเช่าในอัตรา 4% ต่อปีในช่วงเวลาเดียวกัน ขณะที่ราคาค่าเช่าของพื้นที่ค้าปลีกในช่วงที่ผ่านมาค่อนข้างทรงตัว   แม้ว่าธุรกิจพื้นที่สำนักงานให้เช่าในกรุงเทพฯ ยังคงมีอัตราการปล่อยเช่าและราคาค่าเช่าที่เติบโตได้ดี แต่แนวโน้มการเปิดตัวโครงการใหม่อย่างต่อเนื่องในอีก 3-4 ปีข้างหน้าโดยเฉพาะโครงการมิกซ์ยูส อาจส่งผลให้ผู้ประกอบการพื้นที่สำนักงานให้เช่าต้องเผชิญกับความเสี่ยงของภาวะปริมาณพื้นที่ส่วนเกิน พื้นที่ใหม่ 3 ปีหน้าเพิ่มอีก 1.3 ล้านตารางเมตร ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาภาพรวมของตลาด พบว่า มีการเปิดตัวโครงการใหม่อย่างต่อเนื่อง (รูปที่ 3) โดยในอีก 3 ปีข้างหน้าจะมีปริมาณพื้นที่ใหม่เข้าสู่ตลาดราว 1.3 ล้านตารางเมตร หรือคิดเป็นสัดส่วน 14% ของปริมาณพื้นที่ในปัจจุบัน โดยเป็นพื้นที่จากมิกซ์ยูสถึง 400,000 ตารางเมตร ซึ่งจะเพิ่มความเสี่ยงที่แนวโน้มของปริมาณพื้นที่ใหม่จะเข้าสู่ตลาดมากกว่าความต้องการใหม่ นำไปสู่ความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะพื้นที่ส่วนเกิน (oversupply) ในอนาคต   โดย EIC คาดว่าอัตราการปล่อยเช่า (occupancy rate) อาจทยอยปรับตัวลดลงต่อเนื่อง โดยในปี 2566อัตราการปล่อยเช่ามีโอกาสลดลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 8 ปีที่ 86-87% เทียบกับ 93% ในปี 2561 และ 92% ในปี 2562 ขณะที่อัตราการเพิ่มขึ้นของราคาค่าเช่ามีแนวโน้มที่จะชะลอตัวลง โดยในช่วงปี 2563-2566 อัตราค่าเช่าจะขยายตัวเฉลี่ยเพียงปีละ 1% ชะลอตัวลงจาก 4% ในปี 2562 และเฉลี่ยปีละ 6% ในช่วงปี 2557-2561   สำหรับธุรกิจพื้นที่ค้าปลีกให้เช่าในกรุงเทพฯ ยังต้องเผชิญกับความต้องการพื้นที่ค้าปลีกที่ชะลอตัวลง ซึ่งมาจากผลกระทบของ 1.การขยายตัวของธุรกิจค้าปลีกที่มีแนวโน้มชะลอตัวลง ทำให้มีโอกาสที่อัตราการปล่อยเช่ามีแนวโน้มลดลง นำไปสู่การแข่งขันที่อาจรุนแรงขึ้น 2.การเติบโตของธุรกิจอีคอมเมิร์ซ ยังส่งผลให้ความต้องการต่อพื้นที่ค้าปลีกมีแนวโน้มชะลอตัวลง โดยแนวโน้มธุรกิจค้าปลีกชะลอตัวลงตามภาวะเศรษฐกิจ ทั้งการใช้จ่ายของผู้บริโภคชาวไทยและนักท่องเที่ยวที่มีแนวโน้มเติบโตในอัตราชะลอลง นอกจากนี้ การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของธุรกิจค้าปลีกจากการเติบโตของธุรกิจอีคอมเมิร์ซส่งผลให้ความต้องการต่อพื้นที่ค้าปลีกมีแนวโน้มชะลอตัวลง จากกลุ่มร้านค้าต่าง ๆ ที่เป็นผู้เช่าพื้นที่ค้าปลีก ซึ่งมีทางเลือกในการจำหน่ายสินค้าเพิ่มมากขึ้น ทั้งแพลตฟอร์ม Marketplace (เช่น Lazada Shopee) โซเชียลมีเดีย หรือเว็บไซต์ของผู้ประกอบการเอง ส่งผลให้อุปสงค์ต่อพื้นที่ชะลอตัวลง   อย่างไรก็ตาม ยังมีแนวโน้มการเติบโตของ O2O (Online to Offline) ที่ช่วยสนับสนุนความต้องการพื้นที่ค้าปลีกอยู่บ้าง เช่น Multi-Brand Store ซึ่งเป็นการที่ร้านค้าออนไลน์ที่อยู่บนแพลตฟอร์มต่างๆ รวมกลุ่มกันเพื่อเช่าพื้นที่ค้าปลีกและตั้งร้านค้าออฟไลน์ขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มสินค้าแฟชั่นและสินค้าความงาม ซึ่งจะช่วยลดทอนผลกระทบจากกระแสอีคอมเมิร์ซลงได้บ้าง   โดยทั้งสองปัจจัยข้างต้นส่งผลให้การขยายสาขา/ร้านค้าใหม่ชะลอตัวลง ทำให้ความต้องการต่อพื้นที่ค้าปลีกให้เช่าชะลอตัวลง กดดันให้รายได้ค่าเช่าของพื้นที่ค้าปลีกให้เช่า[1] ขยายตัวในระดับต่ำจากค่าเช่าแบบคงที่มีโอกาสปรับตัวเพิ่มขึ้นได้ยากจากอัตราการปล่อยเช่าที่ลดลง   ทั้งนี้ EIC คาดว่าในช่วงปี 2562-2566  จะมีพื้นที่ใหม่ของพื้นที่ค้าปลีกให้เช่าอยู่ที่ 170,000 ตารางเมตรต่อปี (ซึ่งเป็นพื้นที่ในโครงการมิกซ์ยูสราว 50% ของพื้นที่ใหม่ทั้งหมด) ขณะที่ความต้องการใหม่มีอยู่เพียงปีละ 140,000 ตารางเมตร (ชะลอตัวลงจากช่วงปี 2557-2561 ที่มีความต้องการใหม่อยู่ที่ 260,000 ตารางเมตรต่อปี) จึงส่งผลให้อัตราการปล่อยเช่าจะมีแนวโน้มปรับตัวลงอยู่ที่เฉลี่ย 94% ในอีก 4 ปีข้างหน้าจาก 97% ในปี 2017 ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เริ่มจัดเก็บข้อมูลในปี 2549   นอกจากนี้ ยอดขายของธุรกิจค้าปลีกชะลอตัวลงกดดันให้ค่าเช่าในส่วนของค่าเช่าแบบแบ่งสัดส่วนยอดขายขยายตัวชะลอลง โดยภาพรวมแล้วคาดว่าราคาค่าเช่าพื้นที่ค้าปลีกยังคงมีแนวโน้มทรงตัว/ขยายตัวต่ำต่อไปในอีก 3-4 ปีข้างหน้า มิกซ์ยูสแข่งเดือด อสังหาฯ รอบข้างยังโดนกระทบ ปริมาณพื้นที่มิกซ์ยูสที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างมากในอนาคต นอกจากจะนำมาสู่การแข่งขันระหว่างกันที่มากขึ้นแล้ว ยังส่งผลกระทบกับโครงการอสังหาฯ ที่อยู่รอบข้างด้วย ซึ่งมีทั้งผลกระทบด้านบวกและด้านลบ ผลกระทบของโครงการมิกซ์ยูสที่มีต่อพื้นที่โดยรอบนั้นจะแตกต่างกันไปโดยขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายด้าน เช่น ขนาดของโครงการ พื้นที่รอบข้าง อสังหาฯ ภายในโครงการ และความสำเร็จของโครงการเป็นสำคัญ ผลกระทบด้านบวกต่อตลาดพื้นที่พาณิชย์ให้เช่าโดยรวม โครงการมิกซ์ยูสบางโครงการอาจส่งผลบวกต่อโครงการอื่น ๆ ในพื้นที่รอบข้าง โดยเฉพาะในกรณีที่การใช้งานหลักของโครงการมิกซ์ยูสไม่ตรงกับโครงการอื่น ๆ โดยรอบพื้นที่ และตั้งอยู่ในพื้นที่นอกใจกลางเมืองหรือพื้นที่ Non CBD (ที่มีการแข่งขันอยู่ในระดับต่ำ) มีความเป็นไปได้สูงที่โครงการโดยรอบจะได้รับผลดีจากการเปิดโครงการมิกซ์ยูส   ทั้งนี้ในงานแถลงข่าว The Celebrations of Glory ได้มีการเปิดเผยว่า หลังจากดำเนินโครงการ ICONSIAM มาเป็นระยะเวลา 1 ปี ส่งผลให้ธุรกิจริมแม่น้ำเจ้าพระยา อย่างเช่น แหล่งท่องเที่ยว ภัตตาคาร ร้านอาหารรอบข้าง เติบโตกว่า 20% หรือโครงการคอนโดมิเนียมที่เปิดขายใหม่ระหว่างปี 2560-2562 ที่ตั้งอยู่ใกล้โครงการมียอดขายเฉลี่ยสูงถึง 95% อีกทั้งยังทำให้อัตราการเข้าพักโรงแรมริมแม่น้ำเจ้าพระยาเพิ่มสูงขึ้น โดยในกลุ่มโรงแรม 5 ดาวอัตราการเข้าพักเพิ่มสูงขึ้นเป็น 85-90%   โครงการ Bangkok Mall ที่มีขนาดของโครงการกว่า 1.2 ล้านตารางเมตรทำให้โครงการ Bangkok Mall อาจกลายเป็น landmark ใหม่บนพื้นที่ย่านบางนา เนื่องจากในเฟสแรกของโครงการพื้นที่ใช้งานหลักของโครงการเป็นพื้นที่ค้าปลีกและสันทนาการ ซึ่งเหมาะกับการใช้เวลากับครอบครัว จึงอาจมีผลบวกต่อโครงการที่อยู่อาศัยในพื้นที่รอบข้าง อย่างเช่น โครงการที่อยู่อาศัยแนวราบ หรือคอนโดมิเนียม ผลกระทบด้านลบต่อตลาดพื้นที่พาณิชย์ให้เช่าที่มาจากการขยายตัวของโครงการมิกซ์ยูสจำนวนมาก 1.ผู้พัฒนาโครงการมิกซ์ยูสอาจต้องเผชิญกับความท้าทายจากระยะเวลาในการคืนทุนที่ยาวนานขึ้น ในภาวะเศรษฐกิจที่มีความไม่แน่นอนสูง และความต้องการที่ชะลอตัวลงตามเศรษฐกิจ ประกอบกับการขยายตัวของพื้นที่โครงการมิกซ์ยูสจำนวนมากทำให้การแข่งขันมีความรุนแรงมากขึ้น ส่งผลให้การพัฒนาโครงการมิกซ์ยูสที่มีการลงทุนขนาดใหญ่ใช้ระยะเวลาในการคืนทุนยาวนานขึ้น   2.ผู้พัฒนาของโครงการ single use เผชิญแรงกดดันจากการแข่งขันที่รุนแรงขึ้น กระทบต่อรายได้ในระยะข้างหน้า จากแนวโน้มการเปิดดำเนินการของโครงการมิกซ์ยูสที่มีมากขึ้นในอีก 3-4 ปีข้างหน้า จะส่งผลให้ผู้พัฒนาของโครงการ single use ในพื้นที่รอบข้างต้องเผชิญการแข่งขันที่เพิ่มขึ้นจากในอดีต เช่น -ในพื้นที่พระราม 4 และรอบข้างที่มีโครงการมิกซ์ยูสเตรียมเปิดดำเนินการจำนวนมาก อาทิ One Bangkok, Dusit Central Park จะส่งผลกระทบต่อ 1.อาคารสำนักงานดั้งเดิมบนถนนพระราม 4  สาธร และสีลมที่อัตราการปล่อยเช่าอาจปรับตัวลดลงจากปริมาณพื้นที่ใหม่ที่มีเข้ามาแข่งขันมากขึ้นจากโครงการมิกซ์ยูส 2.อาคารสำนักงานที่อยู่ในพื้นที่เชื่อมต่อ CBD ที่เคยได้อานิสงค์จากพื้นที่ที่มีจำกัดของช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา แต่หลังจากที่หลายโครงการมิกซ์ยูสใน CBD เริ่มเปิดใช้บริการ อานิสงค์ดังกล่าวที่เคยได้รับอาจหมดไป เนื่องจากโครงการมิกซ์ยูสใหม่จะตอบสนองความต้องการในพื้นที่สำนักงานได้มากขึ้น 3.โรงแรมในพื้นที่ถนนวิทยุ สีลมและสาธรต้องแข่งขันมากขึ้น อาจส่งผลต่ออัตราการปล่อยเช่าปรับตัวลดลง 4.คอนโดมิเนียมเกรด luxury ที่เป็นเกรดที่โครงการมิกซ์ยูสในพื้นที่พระราม 4 พัฒนา อาจต้องเผชิญกับการแข่งขันที่มากขึ้น -ในพื้นที่บางนาที่มีการพัฒนาโครงการมิกซ์ยูสใหม่อย่าง Bangkok Mall ซึ่งเป็นโครงการค้าปลีก ขนาดใหญ่ที่จะส่งผลกระทบต่อการแข่งขันของห้างสรรพสินค้าโดยรอบมากขึ้น อาทิ CentralPlaza Bangna หรือ Seacon Square   แนวทางแก้จุด้อย ทางรอดท่ามกลางสมรภูมิแข่งเดือด ท่ามกลางความท้าทายจากความเสี่ยงหลากหลายประการ โครงการมิกซ์ยูสอาจต้องปรับตัวแก้ไขจุดด้อยต่าง ๆ ของโครงการ รวมถึงการสร้างความแตกต่าง เพื่อดึงดูดผู้ใช้งานเข้าสู่โครงการ การที่แต่ละโครงการมีจุดแข็งที่แตกต่างกัน จะช่วยเพิ่มโอกาสในการทำให้โครงการประสบความสำเร็จ ขณะที่บางโครงการยังมีความท้าทายที่ต้องเผชิญ ทำให้ต้องมีการปรับตัวเพื่อลดจุดด้อยของโครงการลง เช่น   โครงการ Samyan Mitrtown เมื่อเดินทางโดยรถไฟฟ้า จำเป็นจะต้องข้ามถนนและเดินเท้าระยะทางจากสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินราว 300 เมตร โครงการเปลี่ยนจุดด้อยเป็นจุดขายด้วยการสร้างอุโมงค์เชื่อมจากรถไฟฟ้าใต้ดินเข้าสู่โครงการ ซึ่งเป็นการอำนวยความสะดวกในการเดินทางเข้าสู่โครงการ และการสร้างจุดเด่นและ traffic ให้กับโครงการเพื่อดึงดูดผู้เข้าใช้บริการ   นอกจากนี้ โครงการยังเพิ่มจุดขายสำคัญคือการเปิดใช้งาน 24 ชั่วโมง ซึ่งเหมาะกับความต้องการในพื้นที่ เช่น นักศึกษาที่ต้องการพื้นที่ทบทวนบทเรียน ทั้งนี้หากเปรียบเทียบอัตราการปล่อยเช่าพื้นที่สำนักงานภายในโครงการ Samyan Mitrtown ในเดือนแรกของการเปิดตัวอยู่ที่กว่า 60% นับว่าสูงกว่าค่าเฉลี่ยของอาคารสำนักงานทั่วไปซึ่งอยู่ที่ 50% ณ ไตรมาสแรกที่เปิดโครงการ[2] ส่วนอัตราการให้เช่าพื้นที่ของพื้นที่ค้าปลีกสูงถึง 85% ซึ่งค่อนข้างสูงหากเทียบกับศูนย์การค้าที่เปิดตัวในช่วงใกล้เคียงกันอย่าง The Market Bangkok ที่มีอัตราการปล่อยเช่า ณ วันเปิดตัวโครงการอยู่ที่ 77% เท่านั้น   ขณะที่โครงการมิกซ์ยูสอย่าง ICON free SIAM ที่เปิดตัวโครงการด้วยอัตราการปล่อยเช่าพื้นที่ค้าปลีกกว่า 91% โดยตัวโครงการอาจไม่ได้ตั้งอยู่ในพื้นที่ใจกลางเมืองนัก แต่อาศัยการสร้างจุดเด่นจากพื้นที่ตั้งริมน้ำ ขนาดและความหลากหลายภายในโครงการ รวมถึงการจัดอีเว้นท์เพื่อการสร้างแรงดึงดูดจนทำให้โครงการ ICONSIAM กลายเป็น landmark ขนาดใหญ่ของพื้นที่ฝั่งธนบุรี   สำหรับโครงการ Emsphere ที่เป็นโครงการภายใต้การบริหารของเดอะมอลล์กรุ๊ป ได้มีการสร้างความโดดเด่นและความแตกต่างให้กับโครงการ โดยได้ร่วมมือกับผู้ประกอบธุรกิจบันเทิงและกีฬาระดับโลก อย่าง Anschutz Entertainment Group (AEG) ในการสร้างอารีน่าขนาดใหญ่ EmLive ในโครงการ โดยทั้งโครงการจะเข้ามายกระดับและเติมเต็มพื้นที่ The EmDistrict ให้สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น 3 Key Success โปรเจ็กต์มิกซ์ยูส รูปแบบการพัฒนาอสังหาฯ ที่เป็นโครงการมิกซ์ยูส  ไม่ได้เป็นการรับประกันว่าโครงการมิกซ์ยูสจะต้องประสบความสำเร็จเสมอไป โดยความสำเร็จของโครงการมิกซ์ยูสขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่นๆ รวมด้วย เพื่อก้าวข้ามแรงกดดันจากการแข่งขันในตลาดอสังหาฯ ผู้พัฒนาโครงการมิกซ์ยูสจำเป็นที่จะต้องมี key success สำคัญ คือ 1.ประสบการณ์ในการดำเนินธุรกิจอสังหาฯ ประสบการณ์ของผู้พัฒนาโครงการหรือพันธมิตร อาจประเมินได้จากความสอดคล้องของลักษณะของโครงการมิกซ์ยูสที่จะเกิดขึ้นกับผลการดำเนินงานโครงการที่ผ่านมาและระยะเวลาที่ดำเนินธุรกิจอสังหาฯ ดังนั้นประสบการณ์การดำเนินโครงการอสังหาฯ แต่ละประเภทจึงมีความสำคัญโดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับลักษณะการใช้งานของโครงการ 2.พื้นที่ตั้งที่เหมาะสมและสามารถเดินทางเข้าถึงสะดวก โดยการออกแบบโครงการจำเป็นที่จะต้องคำนึงถึงความต้องการรอบพื้นที่ เช่น พื้นที่ธุรกิจอาจต้องการพื้นที่ในส่วนของสำนักงาน อย่างเช่น พื้นที่บนถนนพระราม 4 ต่อเนื่องจากถนนสีลมและสาธร สำหรับพื้นที่ชุมชนแถบที่อยู่อาศัยอาจต้องการพื้นที่ค้าปลีกเป็นหลัก เพื่อความสะดวกในการจับจ่ายใช้สอยใกล้บ้าน ตลอดจนการเดินทางเข้าสู่โครงการ เช่น อยู่ใกล้กับรถไฟฟ้า (ระยะทางไม่เกิน 100 เมตร หรือมีทางเชื่อมเข้าสู่โครงการ) หรือทางด่วน (ระยะทางไม่เกิน 1 กิโลเมตรจากทางเข้า-ออก) 3.การส่งเสริมกัน (synergy) ของแต่ละส่วนของโครงการ และใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด การออกแบบโครงการต้องคำนึงถึงการส่งเสริมกันของลักษณะการใช้พื้นที่ในแต่ละส่วนด้วย โดยพิจารณาความเข้ากันได้ของอสังหาฯ หลัก (พื้นที่ที่สร้างรายได้หลักของโครงการ) กับอสังหาฯ รอง (พื้นที่อื่น ๆ ของโครงการ) จากงานวิจัยของ The US Urban Land Institute (รูปที่ 5) ที่ให้คะแนนการสนับสนุนกันระหว่างอสังหาฯ หลักและรองไว้ จะพบว่า โครงการมิกซ์ยูสที่มีอสังหาฯ หลักเป็นพื้นที่ค้าปลีกจะได้ผลบวกจาก synergy ที่ดีกว่า เนื่องจากเป็นประเภทอสังหาฯ ที่ไปได้ดีกับหลายประเภทอสังหาฯ   ยกตัวอย่างเช่น เมื่อมีอสังหาฯ รองเป็นพื้นที่สำนักงาน พื้นที่ค้าปลีกในโครงการมิกซ์ยูสจะมีลูกค้าจากพนักงานออฟฟิศในโครงการ ขณะที่พื้นที่สำนักงานในโครงการมิกซ์ยูสก็มีความน่าดึงดูดมากกว่าโครงการที่มีเฉพาะพื้นที่สำนักงานเพียงอย่างเดียว เนื่องจากมีความสะดวกสบายจากการตั้งอยู่ติดกับพื้นที่ค้าปลีก   ในส่วนของโครงการมิกซ์ยูสที่มีอสังหาฯ หลักเป็นพื้นที่อยู่อาศัยได้ผลบวกจาก synergy ต่ำกว่าอสังหาฯ หลักประเภทอื่น ๆ เนื่องจากพื้นที่อยู่อาศัยต้องการความเป็นพื้นที่ส่วนตัวสูง โดยเฉพาะเมื่ออยู่กับอสังหาฯ รองอย่าง โรงแรม/สถานบันเทิงที่มีความวุ่นวายและความเป็นพื้นที่สาธารณะสูง ทำให้อาจต้องเผชิญกับความยากลำบากในการบริหารความเป็นส่วนตัวของพื้นที่อยู่อาศัยกับการบริหารพื้นที่สาธารณะ โดยเฉพาะประเด็นความปลอดภัยในการอยู่อาศัยของลูกบ้านในโครงการมิกซ์ยูส   3 ความท้าทายโปรเจ็กต์มิกซ์ยูส นอกเหนือจากปัจจัยที่ต้องพิจารณาเพื่อความสำเร็จในการพัฒนาโครงการมิกซ์ยูสแล้ว ยังมีความท้าทายที่สำคัญที่ผู้พัฒนาโครงการต้องระวัง คือ 1.การบริหารพื้นที่ระหว่างพื้นที่ส่วนตัวและพื้นที่ส่วนกลาง อสังหาฯ บางประเภทต้องการสิ่งอำนวย ความสะดวกที่มีความเฉพาะตัว อาทิ การจัดอีเว้นท์ในพื้นที่ค้าปลีกอาจมีข้อจำกัดบางอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการใช้เสียงหรือระยะเวลาในการจัดงาน เพื่อไม่ให้รบกวนผู้ใช้อื่นในโครงการโดยเฉพาะพื้นที่ที่ต้องการความเป็นส่วนตัวสูงอย่างพื้นที่อยู่อาศัย ดังนั้นผู้พัฒนาโครงการจำเป็นที่จะต้องลดผลกระทบที่เกิดขึ้นระหว่างอสังหาฯ แต่ละประเภท เช่น การแยกทางเข้า-ออกโครงการของแต่ละอสังหาฯ ออกจากกัน การจำกัดกิจกรรมที่ใช้เสียงมาก หรือออกแบบให้พื้นที่ในโครงการสามารถเก็บเสียงได้ดี 2.การสร้างแม่เหล็กเพื่อดึงดูดคนเข้ามาในโครงการ โครงการจำเป็นจะต้องมีสิ่งที่เป็นแรงจูงใจเพื่อดึงดูดผู้ใช้งานเข้าสู่โครงการ เช่น โครงการที่มีพื้นที่ค้าปลีกขนาดใหญ่ อาจสร้างพื้นที่นันทนาการ หรือการจัดอีเว้นท์ต่าง ๆ อย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้มีจำนวนผู้คนเข้าใช้บริการให้มากที่สุด รวมถึงการดึงดูดผู้เช่าหลักที่ขายสินค้าและบริการที่ตอบโจทย์ผู้บริโภคในปัจจุบันโดยเฉพาะร้านอาหารและซูเปอร์มาร์เก็ต] 3.การบริหารโครงสร้างพื้นฐานภายในโครงการ ให้มีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุด ทั้งนี้ความต้องการรูปแบบการใช้งานสิ่งอำนวยความสะดวกของอสังหาฯ แต่ละประเภท อสังหาฯ จะมีความแตกต่างกันตามวัตถุประสงค์การใช้งาน อาทิ การวาง layout ของสิ่งอำนวยความสะดวกในโครงการ สำหรับพื้นที่อยู่อาศัยจะต้องมีลิฟท์อยู่ใกล้กับทางเข้าคอนโดมิเนียม ขณะที่โรงแรมต้องการพื้นที่ล็อบบี้มากกว่า ซึ่งต้องอาศัยการออกแบบ การบริหาร และจัดการอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อควบคุมไม่ให้ต้นทุนเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ผู้พัฒนาโครงการควรคำนึงถึงการออกแบบให้ทรัพยากรภายในโครงการถูกใช้อย่างคุ้มค่าที่สุดด้วย เช่น การนำน้ำกลับมาใช้ใหม่ภายในโครงการ การใช้แสงจากธรรมชาติเพื่อลดการใช้แสงจากหลอดไฟ   ในภาวะการแข่งขันที่จะเพิ่มขึ้นจากการเปิดดำเนินการโครงการมิกซ์ยูส ผู้พัฒนาโครงการมิกซ์ยูส จำเป็นต้องปรับตัวเพื่อรักษาความสามารถในการแข่งขันไว้ ทั้งนี้สำหรับโครงการสำนักงานให้เช่า อาจต้องพิจารณาปรับลดค่าเช่าของโครงการตัวเองลง เพื่อจูงใจผู้เช่าเข้ามาเช่ามากขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มที่ตอบสนองมากต่อราคาค่าเช่า (กลุ่มที่อ่อนไหวกับราคาค่าเช่า) หรือการปรับปรุงโครงการเพื่อดึงดูดผู้เช่ารายใหม่   ส่วนโครงการที่เป็นพื้นที่ค้าปลีกให้เช่า ผู้ประกอบการสามารถหาผู้เช่าหลักที่เป็นแรงดึงดูดผู้ใช้งานเข้าสู่โครงการ หรือการปรับปรุงเพื่อดึงดูดลูกค้าเฉพาะกลุ่ม (niche group) มี concept เฉพาะ เช่น มุ่งเน้นกลุ่มผู้เช่าหลักเป็นร้านอาหาร หากไม่สามารถแข่งขันด้านความหลากหลายของพื้นที่ค้าปลีกกับผู้ประกอบการรายใหญ่ได้ หรือปรับปรุงพื้นที่ในโครงการเพื่อรักษาความสามารถในการแข่งขันไว้ได้ ในส่วนของโครงการคอนโดมิเนียม อาจจะต้องพิจารณาจำนวนพื้นที่ใหม่ในพื้นที่ที่จะมากขึ้นจากแผนการพัฒนาที่อยู่อาศัยในโครงการมิกซ์ยูส โดยอาจจะพัฒนาโครงการคอนโดมิเนียมที่อยู่คนละกลุ่มกับโครงการมิกซ์ยูสขนาดใหญ่ หรือปรับแผนโครงการเพื่อหลีกเลี่ยงการแข่งขันที่รุนแรง   หมายเหตุ [1] รายได้ค่าเช่าของพื้นที่ค้าปลีกให้เช่าประกอบด้วย ค่าเช่าแบบคงที่ (fixed rent) และค่าเช่าแบบแบ่งสัดส่วนยอดขาย (percent of tenant sales) [2] จากการศึกษาของ JLL เกี่ยวกับอัตราการปล่อยเช่าพื้นที่สำนักงานอาคารสำนักงานจำนวน 8 โครงการสำคัญ ได้แก่ AIA Capital Center (2014), AIA Sathorn (2015), Bhiraj Tower @EmQuartier (2015), FYI Center (2016), Gaysorn Tower (2017), Singha Complex (2018) และ T-One Building (2018)   รายละเอียดข้อมูลเพิ่มเติม EIC CBRE NEXUS   บทความอื่นที่เกี่ยวข้อง ส่องเทรนด์พื้นที่ “ออฟฟิศ-รีเทล” ปี 63 จะไปทางไหน? พร็อพเพอร์ตี้ กูรู เปิด 7 เทรนด์อสังหาฯ ปี 63 เปิด 5 ไฮไลท์ “MITRTOWN OFFICE TOWER” ออฟฟิศให้เช่า พระราม 4 1 ปี การเดินทาง “ไอคอนสยาม” กับความสำเร็จใน 7 สิ่งมหัศจรรย์  
EIC วิเคราะห์ ใครคือผู้ได้รับผลกระทบจากภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง

EIC วิเคราะห์ ใครคือผู้ได้รับผลกระทบจากภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง

แม้ว่าจะมีการเลื่อนการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ไปในเดือนสิงหาคม 2563 แต่สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ก็ออกมายืนยันว่า กฎหมายภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างมีผลบังคับใช้แล้ว ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2563 เป็นต้นไป     สาเหตุที่ต้องเลื่อนออกไป แทนที่จะต้องจัดเก็บภาษีท้องที่ ภาษีโรงเรือน และที่ดิน ในเดือนเมษายนของทุกปี เป็นเพราะทางองค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่น(อปท.) ยังดำเนินการเพื่อจัดเก็บภาษีไม่ทัน  เป็นผลให้กระทรวงมหาดไทยต้องออกประกาศเลื่อนเก็บภาษีออกไป 4 เดือน   ไม่ว่าจะจัดเก็บเมื่อไร อย่างไรก็ตามเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ทั้งหลาย ก็ต้องเสียภาษีตามกฎหมายใหม่อยู่ดี  ประเด็นสำคัญ คือ กฎหมายภาษีและสิ่งปลูกสร้าง ที่ออกมาส่งผลต่อใครมากสุด ใครจะต้องควักกระเป๋าจ่ายเงินมากขึ้น และอสังหาฯ แต่ละประเภทจะต้องเสียภาษีมากน้อยแค่ไหน นี่แหละประเด็นสำคัญสุด ที่หลายคนต่างกังวลและถกเถียงกันมาโดยตลอด   ล่าสุด ทางอีไอซี หรือ Economic Intelligence Center ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) โดยนางสาวนพมาศ ฮวบเจริญ นักวิเคราะห์อาวุโส ได้ออกบทวิเคราะห์เกี่ยวกับผลกระทบ ต่อภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ว่า ใครคือผู้ได้รับผลกระทบจากภาษีที่ดินที่ออกมาบังคับใช้ ฉายภาพให้เห็นกันชัดๆ เพื่อสร้างความเข้าใจ และเตรียมตัวควักกระเป๋าเงิน จ่ายภาษีตามที่กฎหมายกำหนด สำหรับบรรดาเจ้าของอสังหาฯ ทั้งหลาย   ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ภาครัฐเตรียมจัดเก็บตั้งแต่ปี 2563 เป็นต้นไป มุ่งเน้นจัดเก็บภาษีตามมูลค่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง โดยอัตราภาษีแตกต่างกันไปตามประเภทการใช้ประโยชน์ โดยตั้งแต่ปี 2563 ผู้เป็นเจ้าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้างมีหน้าที่ต้องเสียภาษีตามพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง โดยทางการจะจัดเก็บภาษีที่ดินฯ ตามมูลค่าที่ดินฯ ด้วยอัตราภาษีที่แตกต่างกันไปตามวัตถุประสงค์การใช้ที่ดิน (รายละเอียดตามรูปที่ 1)   ทั้งนี้ ภาษีที่ดินฯ จะถูกนำมาใช้ทดแทนภาษีโรงเรือนและที่ดินที่มีมาตั้งแต่ปี 2475 ซึ่งจัดเก็บภาษีในอัตรา 12.5% ของรายได้ค่าเช่าที่ได้จากที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง และภาษีบำรุงท้องที่ที่มีมาตั้งแต่ปี  2508 ซึ่งจัดเก็บภาษีตามจำนวนไร่และราคาปานกลางของที่ดิน โดยราคาปานกลางของที่ดินที่ใช้ในปัจจุบันเป็นราคาปานกลางฯ ที่ใช้ในการประเมินภาษีบำรุงท้องที่ตั้งแต่ปี 2521-2524[1]   ทั้งนี้ ภาครัฐมีการบรรเทาภาระภาษีในส่วนที่เพิ่มขึ้นในช่วงปี 2563-2565 โดยผู้เสียภาษีจะชำระภาษีในปี 2563 เท่ากับภาระภาษีเดิม บวกด้วย 25% ของภาระภาษีส่วนเพิ่ม ในปี 2564 จะชำระภาษีเท่ากับภาระภาษีเดิม บวกด้วย 50% ของภาระภาษีส่วนเพิ่ม ในปี 2565 จะชำระภาษีเท่ากับภาระภาษีเดิม บวกด้วย 75% ของภาระภาษีส่วนเพิ่มเสีย และในปี 2566 ผู้เสียภาษีจะเสียภาระภาษีตาม พ.ร.บ. ภาษีที่ดินฯ เต็มจำนวน   รูปที่ 1 : อัตราการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างโดยสรุป   ที่มา : การวิเคราะห์โดย EIC จากข้อมูลของราชกิจจานุเบกษา สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง และศูนย์ข้อมูลกรุงเทพฯ   อย่างไรก็ตาม ทางการได้ลดหย่อนภาษีที่ดินฯ สำหรับที่ดินบางประเภทเพื่อความเหมาะสมกับเศรษฐกิจและการดำเนินกิจการของภาคธุรกิจ ซึ่งช่วยให้ผู้เสียภาษีสามารถปรับตัวได้ดีขึ้น ภายหลังจากที่ พ.ร.บ. ภาษีที่ดินฯ ถูกประกาศในราชกิจจานุเบกษาตั้งแต่เดือนมีนาคม 2562 ทางการได้ทยอยประกาศกฎหมายลำดับรองออกมาหลายฉบับ โดยเฉพาะฉบับล่าสุดเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2562 คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติร่างพระราชกฤษฎีกา (พ.ร.ก.) ลดภาษีที่ดินฯ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อลดหย่อนภาษีที่ดินฯ สำหรับที่ดินฯ บางประเภทให้เหมาะสมกับสภาพความจำเป็นทางเศรษฐกิจ สังคม เหตุการณ์ กิจการ หรือสภาพแห่งท้องที่ โดยการลดหย่อนครั้งนี้ ผู้พัฒนาโครงการอสังหาฯ เพื่ออยู่อาศัยจะได้รับการลดค่าภาษี 90% โดยจ่ายค่าภาษีเพียง 10% ของมูลค่าภาษีเต็มจำนวน ซึ่งมีเงื่อนไขดังนี้   1.ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่นำมาพัฒนาเป็นอาคารชุดหรือคอนโดมิเนียมตามกฎหมายอาคารชุดไม่เกิน 3 ปีจากวันที่ได้รับอนุญาตก่อสร้าง 2.ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่นำมาพัฒนาเป็นโครงการจัดสรรตามกฎหมายจัดสรรที่ดินเพื่ออยู่อาศัยไม่เกิน 3 ปีจากวันที่ได้รับอนุญาตจัดสรร 3.ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายจัดสรรและอาคารชุด ก่อนวันที่ 13 มีนาคม  2562 และยังไม่ได้ขาย (สต็อก) จะได้รับการลดค่าภาษีเป็นเวลา 2 ปี คือปี 2563-2564 นอกจากนี้ ที่ดินฯ ที่เป็นอสังหาฯ รอการขาย (NPA) ของสถาบันการเงินก็ได้รับการลดหย่อนค่าภาษีที่ดินฯ ด้วยเช่นกัน โดยลดค่าภาษี 90% ไม่เกิน 5 ปีจากวันที่ได้กรรมสิทธิ์ นักเก็งกำไร-สถาบัน โดนหนักสุด ผู้เก็งกำไรที่ดินและสถาบันการเงินมีโอกาสได้รับผลกระทบทางตรงจากภาระภาษีที่ดินฯ มากที่สุด ขณะที่เจ้าของบ้านเพื่ออยู่อาศัยจริงและลงทุน รวมถึงเจ้าของอาคารที่อยู่อาศัย/พาณิชย์ให้เช่าได้รับผลกระทบทางตรงจากภาระภาษีที่ดินค่อนข้างต่ำ ทั้งนี้ผลกระทบทางตรงจากภาระภาษีที่ดินฯ จะมีความรุนแรงมากน้อยแตกต่างกันตามวัตถุประสงค์การใช้ประโยชน์ของที่ดินฯ และระยะเวลาของการถือครองที่ดินฯ รวมถึงภาระภาษีเกี่ยวกับที่ดินตามกฎหมายเดิม   หากพิจารณาเฉพาะผลกระทบที่มีต่อผู้ที่ถือครองที่อยู่อาศัย รวมถึงผู้พัฒนาโครงการที่อยู่อาศัย เจ้าของอาคารพาณิชย์ให้เช่า และสถาบันการเงินจะสามารถจำแนกผลกระทบเบื้องต้นออกเป็น 3 กลุ่ม (ผลกระทบอาจมีการเปลี่ยนแปลงหากกฎหมายลูกเกี่ยวกับกระบวนการจัดเก็บและการจำแนกประเภทที่ดินและสิ่งปลูกสร้างได้รับการอนุมัติของกระทรวงที่เกี่ยวข้องและประกาศในราชกิจจานุเบกษาอย่างเป็นทางการ) ได้แก่   รูปที่ 2 : ระดับของผลกระทบจากภาระภาษีที่ดินฯ ต่อผู้ซื้อที่อยู่อาศัย ผู้พัฒนาโครงการ เจ้าของอาคารพาณิชย์ให้เช่า และสถาบันการเงิน หมายเหตุ : ผลกระทบอาจมีการเปลี่ยนแปลงหลังจากที่กฎหมายลูกทั้งหมดถูกประกาศในราชกิจจานุเบกษาอย่างเป็นทางการ ที่มา : การวิเคราะห์โดย EIC จากข้อมูลของสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง, CBRE, กรมที่ดิน และศูนย์ข้อมูลกรุงเทพฯ 1.กลุ่มที่ได้รับผลกระทบสูงจากภาษีที่ดิน ผู้ที่ซื้อที่ดินเพื่อเก็งกำไร/สะสมความมั่งคั่ง สำหรับภาษีที่ดินฯ ในกรณีที่ดินว่างเปล่า แม้ว่าจะมีอัตราภาษีเช่นเดียวกันกับที่ดินเชิงพาณิชย์อยู่ในช่วง 0.3-0.7% แต่อัตราภาษีจะมีการเพิ่มขึ้น 0.3% ในทุก 3 ปี และอัตราภาษีรวมสูงสุดไม่เกิน 3% ซึ่งจะเป็นต้นทุนภาษีที่สูงหรือต่ำขึ้นอยู่กับการเปลี่ยนแปลงราคาที่ดินในแต่ละที่ว่าเพิ่มขึ้นมากน้อยเพียงใด   ทั้งนี้ หากเทียบกับราคาที่ดินในกรุงเทพฯ และปริมณฑลตามฐานข้อมูลของ ธปท. ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ที่ดินเพิ่มขึ้นเฉลี่ยเพียงปีละ 1.9% ขณะที่ต้นทุนภาษีที่ดินฯ คิดเป็น 16% ของผลได้ที่ได้จากส่วนต่างราคา หากเสียภาษีที่ดินในอัตรา 0.3% ของมูลค่าที่ดิน ซึ่งถือว่ามีผลกระทบค่อนข้างมาก   ดังนั้น กลุ่มผู้ลงทุนควรต้องพิจารณาคัดเลือกที่ดินที่มีศักยภาพในการเติบโตของราคาในอนาคตให้สูงกว่าต้นทุนภาษีที่ดิน (โดยปกติที่ดินที่มีศักยภาพมีการเติบโตของราคาในอัตราสูงกว่าค่าเฉลี่ยที่จัดเก็บโดย ธปท. เช่น ที่ดินแถบถนนพหลโยธินและรามอินทราที่ราคาประเมินขยายตัวเฉลี่ยปีละ 6-8% เป็นต้น) นอกจากนี้ ระหว่างที่ถือครองไม่ควรปล่อยให้เป็นที่ดินรกร้างเพื่อลดค่าใช้จ่ายภาษีระหว่างที่ถือครองที่ดิน   สถาบันการเงิน โดยเฉพาะสถาบันการเงินที่มีทรัพย์สินรอการขาย (NPA) ประเภทอสังหาฯ อยู่จำนวนมาก ทั้งนี้ผลกระทบของภาระภาษีที่ดินฯ จะแตกต่างกันไปตามพอร์ต NPA ของแต่ละสถาบันการเงิน โดยกลุ่มที่ได้รับผลกระทบมาก คือ สถาบันการเงินที่มี NPA ที่เป็นอสังหาฯ และถือครองมากกว่า 5 ปี ในสัดส่วนสูง ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นทรัพย์ที่มีสภาพคล่องต่ำ เช่น โรงงาน ที่ดินเปล่า เป็นต้น นอกจากนี้ หากทรัพย์ที่ถือครองมากกว่า 5 ปีส่วนใหญ่เป็นอสังหาฯ เชิงพาณิชย์หรือที่ดินรกร้าง ภาระภาษีก็จะอยู่ในอัตราที่สูงที่ 0.3-0.7% ของมูลค่าประเมิน เทียบกับกลุ่มที่อยู่อาศัยและเกษตรกรรมที่มีอัตราภาษีเพียง 0.02-0.1% และ 0.01-0.1% ตามลำดับ (จากการสอบถามข้อมูลเบื้องต้นจากหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง)   ทั้งนี้ สถาบันการเงินมีแนวโน้มที่จะขาย NPA ให้ได้ภายใน 5 ปีแรกของการถือครอง เนื่องจากสถาบันการเงินได้รับสิทธิลดหย่อนภาษีที่ดินฯ โดยเสียภาษีเพียง 10% ของภาระภาษีที่ต้องจ่ายในช่วง 5 ปีแรกที่ถือครอง แต่หลังจากถือครองมากกว่า 5 ปีไปแล้ว หากสถาบันการเงินยังไม่สามารถขาย NPA ได้ ค่าใช้จ่ายทางภาษีก็จะเพิ่มขึ้น เช่น NPA ที่เป็นบ้านพร้อมที่ดินมูลค่า 10 ล้านบาท มีภาระภาษีในช่วง 5 ปีแรกอยู่ที่ปีละ 200 บาท และภาระภาษีจะเพิ่มขึ้นเป็นปีละ 2,000 บาทในปีที่ 6 เป็นต้นไป   ขณะที่ NPA ที่เป็นโรงงานมูลค่า 10 ล้านบาท มีภาระภาษีในช่วง 5 ปีแรกอยู่ที่ปีละ 3,000 บาท และภาระภาษีจะเพิ่มขึ้นเป็นปีละ 30,000 บาทในปีที่ 6 เป็นต้นไป เป็นต้น ในระยะต่อไป สถาบันการเงินอาจระมัดระวังการให้สินเชื่อมากขึ้นจากปัจจุบันที่ระมัดระวังอยู่แล้ว แม้ว่าจะมีอสังหาฯ ค้ำประกันอยู่ก็ตาม เนื่องจากค่าใช้จ่ายภาษีที่เพิ่มขึ้นจากการกลายเป็นหนี้เสียของสินเชื่อเหล่านั้น 2.กลุ่มที่ได้รับผลกระทบปานกลางจากภาษีที่ดิน   ผู้พัฒนาโครงการที่อยู่อาศัย โดยรวมจะได้รับผลกระทบไม่มาก หากโครงการของผู้ประกอบการสามารถพัฒนาและขายได้หมดภายใน 3 ปีแรกที่ได้รับใบอนุญาตจัดสรรสำหรับโครงการบ้านแนวราบและใบอนุญาตก่อสร้างสำหรับโครงการคอนโดมิเนียม เนื่องจาก 1.ทางการให้สิทธิลดหย่อนภาระภาษีที่ดินฯ ในช่วง 3 ปีแรก โดยจ่ายภาษีเพียง 10% ของเม็ดเงินภาษีที่ต้องจ่ายจริง ซึ่งคิดเป็นภาระภาษีรวมกัน 3 ปีไม่ถึง 0.2% ของมูลค่าขายของโครงการ 2.ผู้ประกอบการโดยทั่วไปถือที่ดินก่อนพัฒนาโครงการ (Land bank) ประมาณ 1-2 ปี ขณะที่ที่ดินคิดเป็นต้นทุนประมาณ 20-30% ของมูลค่าขายโครงการ ทำให้ค่าใช้จ่ายภาษีที่ดินฯ จากการถือครอง Land bank มีไม่ถึง 0.5% ของมูลค่าขายของโครงการ   อย่างไรก็ตาม ภาระภาษีที่ดินฯ อาจเพิ่มสูงขึ้น หากผู้ประกอบการไม่สามารถบริหารสต็อกเหลือขายภายใน 3 ปีนับตั้งแต่ขออนุญาตจัดสรร/ก่อสร้าง โดยเฉพาะโครงการคอนโดมิเนียมที่ไม่สามารถแบ่งการก่อสร้างเป็น phaseได้แบบที่อยู่อาศัยแนวราบ นอกจากนี้ ผลกระทบจากภาษีจะมีความรุนแรงมากขึ้น หากผู้ประกอบการมีค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยอยู่ในระดับสูงเมื่อเทียบกับรายได้จนส่งผลให้อัตรากำไรต่ำและทำให้ Buffer ต่อภาระภาษีที่ดินมีน้อยลง   นอกจากนี้ ในช่วงปี 2563-2564 ซึ่งเป็นช่วง 2 ปีแรกที่เริ่มการจ่ายภาษีที่ดินฯ มีแนวโน้มที่ผู้พัฒนาโครงการจะเร่งระบายสต็อกที่ค้างอยู่ โดยเฉพาะผู้ประกอบการที่มีสัดส่วนที่อยู่อาศัยเหลือขายจำนวนมาก ส่วนหนึ่งเพื่อได้รับประโยชน์จากการลดหย่อนภาษีที่ดินฯ สำหรับที่อยู่อาศัยเหลือขายที่มีการขอใบอนุญาตก่อสร้าง/จัดสรรก่อนวันที่ 13 มีนาคม  2562 มิเช่นนั้นผู้ประกอบการจะต้องมีค่าใช้จ่ายภาษีที่ดินฯ สูงขึ้น   ท่ามกลางปัจจัยเสี่ยงจากภาวะเศรษฐกิจและการปรับตัวต่อมาตรการ LTV ของผู้ซื้อบ้าน เมื่อผู้ประกอบการต้องมาเผชิญกับภาระภาษีที่ดินฯ แม้ว่าจะคิดเป็นต้นทุนที่ไม่สูงมากนัก แต่ก็อาจเป็นหนึ่งในปัจจัยเสริมที่ทำให้ผู้ประกอบการระมัดระวังการเปิดตัวใหม่มากขึ้น โดยมุ่งเน้นเปิดตัวโครงการที่มีศักยภาพมากขึ้น รวมถึงการเร่งระบายหน่วยเหลือขายเพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นเมื่อภาษีที่ดินฯ เริ่มจัดเก็บ   เจ้าของอาคารที่อยู่อาศัย/พาณิชย์ให้เช่า เช่น หอพัก อะพาร์ตเมนต์ สำนักงานให้เช่า และพื้นที่ค้าปลีกให้เช่า เป็นต้น แม้ว่าภาษีที่ดินฯ กรณีใช้ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเพื่อการพาณิชย์จะมีอัตราภาษีสูงกว่าเพื่อการเกษตรหรือเพื่ออยู่อาศัย แต่หากเปรียบเทียบกับภาระภาษีที่ดินใหม่ กับภาษีโรงเรือนฯ ในปัจจุบันที่อัตรา 12.5% ของรายได้ค่าเช่า จะพบว่าต้นทุนทางภาษีของผู้ประกอบการจะเพิ่มขึ้นมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับผลตอบแทนจากการให้เช่า โดยอาคารให้เช่าแห่งไหนอัตราผลตอบแทนจากการให้เช่าอยู่ในระดับสูง ต้นทุนภาษีอาจปรับลดลงด้วยซ้ำ แต่หากอัตราผลตอบแทนจากการให้เช่าอยู่ในระดับต่ำ มีโอกาสที่ภาระภาษีอาจเพิ่มขึ้น กดดันผลตอบแทนสุทธิของผู้ประกอบการให้ปรับตัวลดลง โดยเฉพาะอาคารในพื้นที่ที่ราคาที่ดินอยู่ในระดับสูงและมีการแข่งขันสูงระหว่างผู้ประกอบการ   เช่น กรณีอาคารสำนักงานให้เช่าในพื้นที่ย่านศูนย์กลางธุรกิจ (CBD) ของกรุงเทพฯ ที่มีอัตราผลตอบแทนจากการลงทุนเบื้องต้น (Gross yield) โดยเฉลี่ยประมาณ 5-9% (จากข้อมูล CBRE และมูลนิธิประเมินค่าทรัพย์สินแห่งประเทศไทย) โดยคิดเป็นรายได้จากค่าบริการ 50% และรายได้จากการเช่า 50% โดยรายได้ส่วนหลัง ผู้ประกอบการต้องเสียภาษีโรงเรือนฯ คิดเป็น 0.3-0.6% ของมูลค่าอาคาร ซึ่งใกล้เคียงกับอัตราภาษีที่ดินฯ ที่ 0.3-0.7%   รูปที่ 3 : ตัวอย่างการเปรียบเทียบภาระภาษีตามกฎหมายที่ดินเดิมกับกฎหมายที่ดินใหม่ กรณีอาคารสำนักงานให้เช่า หมายเหตุ : ผลตอบแทนเบื้องต้นจากการลงทุนเป็นอัตราเฉลี่ยในพื้นที่ใจกลางกรุงเทพฯ จากการสำรวจของ CBRE และ มูลนิธิประเมินค่าทรัพย์สินแห่งประเทศไทย ที่มา : การวิเคราะห์โดย EIC จากข้อมูลของ CBRE, มูลนิธิประเมินค่าทรัพย์สินแห่งประเทศไทย และสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง 3.กลุ่มที่ไม่ได้รับผลกระทบ/ได้รับผลกระทบต่ำจากภาษีที่ดิน เจ้าของที่อยู่อาศัยเพื่อใช้อยู่จริง จำแนกเป็น เจ้าของบ้านหลังหลัก ซึ่งทางการได้ยกเว้นการจัดเก็บภาษี โดยมีเงื่อนไขว่าเจ้าของกรรมสิทธิ์ต้องมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน และมูลค่าบ้านพร้อมที่ดินไม่เกิน 50 ล้านบาท หรือบ้าน ไม่นับรวมที่ดินไม่เกิน 10 ล้านบาท ขณะที่บ้านพร้อมที่ดินมูลค่าเกินกว่า 50 ล้านบาทก็มีภาระภาษีอยู่ในระดับต่ำมากเมื่อเทียบกับฐานะหรือรายได้ของผู้ถือครอง เช่น บ้านพร้อมที่ดินมูลค่า 100 ล้านบาท เสียภาษีเพียง 20,000 บาท/ปี หรือ 1,667 บาท/เดือน   เจ้าของที่อยู่อาศัยหลังที่สองขึ้นไปเพื่อใช้อยู่อาศัย (ไม่ใช่บ้านหลังหลัก) แม้ว่าภาระภาษีที่ต้องจ่ายตามภาษีที่ดินฯ จะเพิ่มขึ้นจากภาษีบำรุงท้องที่ (ซึ่งเป็นกฎหมายภาษีที่ดินเดิม) แต่เม็ดเงินภาษีที่ดินฯ ที่ต้องจ่ายยังอยู่ในระดับต่ำเมื่อเทียบกับรายได้ของผู้ที่สามารถซื้อบ้านในมูลค่าเหล่านั้น นอกจากนี้ ภาครัฐยังมีการบรรเทาภาระภาษีในส่วนที่เพิ่มขึ้นในช่วง 3 ปีแรกที่มีการเก็บภาษีที่ดินฯ   เช่น กรณีบ้านพร้อมที่ดินราคา 10 ล้านบาทที่ไม่ใช่บ้านหลังหลัก ปัจจุบันเสียภาษีบำรุงท้องที่ปีละ 834 บาท ขณะที่ตาม พ.ร.บ. ภาษีที่ดินฯ เจ้าของบ้านต้องเสียภาษีเพิ่มขึ้นเป็นปีละ 2,000 บาท (อัตราภาษีที่ดินฯ 0.02% ของมูลค่าบ้าน 10 ล้านบาท) ซึ่งคิดเป็นค่าใช้จ่ายไม่ถึง 0.2% ของรายได้ของผู้ที่สามารถกู้ซื้อบ้านในราคา 10 ล้านบาท (รายได้ของผู้กู้ซื้อต้องไม่น้อยกว่า 1 แสนบาทต่อเดือน)   ผู้ซื้อที่อยู่อาศัยเพื่อปล่อยเช่าเพื่อการอยู่อาศัย/เก็งกำไร จากข้อมูลเบื้องต้นของกระทรวงการคลัง ผู้ซื้อที่อยู่อาศัยเพื่อปล่อยเช่าเพื่อการอยู่อาศัย/เก็งกำไร ภาระภาษีที่ต้องจ่ายตามภาษีที่ดินฯ จะเหมือนกับเจ้าของที่อยู่อาศัยหลังที่สองขึ้นไป โดยมีอัตราภาษีที่ดินฯ อยู่ที่ 0.02% ของมูลค่าที่อยู่อาศัย (กรณีราคาไม่เกิน 50 ล้านบาท) คิดเป็นต้นทุนภาษีจากการถือครองที่อยู่อาศัยที่ค่อนข้างต่ำ เมื่อเทียบกับรายได้ค่าเช่าและการเพิ่มขึ้นของราคาที่อยู่อาศัย ดังนั้นภาษีที่ดินฯ ไม่ได้มีผลมากนักต่อความต้องการที่อยู่อาศัยเพื่อการลงทุน (ยกเว้นในช่วงแรกที่มีการจัดเก็บภาษีที่ดินฯ ที่ผู้ลงทุนซื้อที่อยู่อาศัยยังไม่มั่นใจในภาระภาษีว่าจะมีมากน้อยเพียงใด)   กรณีซื้อมาเพื่อเก็งกำไร เช่น ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาราคาที่อยู่อาศัยในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ตามฐานข้อมูลของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละ 1.7% สำหรับคอนโดมิเนียม 2.0% สำหรับทาวน์เฮาส์ และ 2.6% สำหรับบ้านเดี่ยว โดยค่าใช้จ่ายจากภาษีที่ดินฯ จะคิดเป็นประมาณ 1% ของผลตอบแทนที่ได้จากส่วนต่างราคาซื้อขาย (Capital gain yield) เฉลี่ยที่ 1.7-2.6% ต่อปี ทั้งนี้ผลกระทบจากต้นทุนภาษีที่กล่าวมามีโอกาสที่จะน้อยกว่าที่กล่าวมาข้างต้น หากผู้ลงทุนเลือกเก็งกำไรในกลุ่มที่อยู่อาศัยที่มีศักยภาพ ซึ่งราคามีแนวโน้มขยายตัวมากกว่าค่าเฉลี่ยของตลาด   กรณีซื้อมาเพื่อปล่อยเช่า เช่น กรณีคอนโดมิเนียมมูลค่า 5 ล้านบาท ที่ซื้อเพื่อปล่อยเช่า/เก็งกำไร ต้องเสียภาษีที่ดินฯ ในอัตรา 0.02% ของมูลค่าคอนโดฯ หรือ 1,000 บาท/ปี (เทียบกับในปัจจุบันที่ภาระภาษีเกี่ยวกับที่ดินต่ำมาก เนื่องจากข้อบกพร่องในการจัดเก็บภาษีโรงเรือน ขณะที่ภาษีบำรุงท้องที่ก็อยู่ในอัตราต่ำมาก) คิดเป็นภาระค่าใช้จ่ายประมาณ 0.4-0.7% ของอัตราผลตอบแทนจากการให้เช่า (Gross rental yield) ที่เฉลี่ยประมาณ 3-5%   แต่หากผู้ให้เช่าที่อยู่อาศัยในกรณีตัวอย่างข้างต้น เคยต้องเสียภาษีโรงเรือนฯ จากรายได้ค่าเช่าที่ 12.5% ของรายได้ทั้งปี หรือคิดเป็น 0.4-0.6% ของมูลค่าที่อยู่อาศัย การปรับเปลี่ยนการจัดเก็บภาษีเป็นภาษีที่ดินฯ ที่อัตราขั้นต่ำที่ 0.02% ของมูลค่าที่อยู่อาศัยจะส่งผลด้านบวกต่อผู้ให้เช่าที่จะสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายภาษีลงไปได้ประมาณปีละ 17,000-30,000 บาท   รูปที่ 4 : ตัวอย่างการเปรียบเทียบภาระภาษีตามกฎหมายที่ดินเดิมกับกฎหมายที่ดินใหม่ กรณีที่อยู่อาศัยให้เช่า หมายเหตุ : ผลตอบแทนเบื้องต้นจากการลงทุนเป็นอัตราเฉลี่ยในพื้นที่กรุงเทพฯ จากการสำรวจของ Numbeo และ Global Property Guide ที่มา : การวิเคราะห์โดย EIC จากข้อมูลของ ของ Numbeo, Global Property Guide และสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง 2 ผลกระทบทางอ้อม นอกจากผลกระทบโดยตรง จากการต้องเสียภาษีในอัตราที่กฎหมายกำหนดแล้ว ผลกระทบจากภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในทางอ้อมที่อาจเห็น ก็มีด้วยเช่นกัน คือ 1.ปริมาณที่ดินที่เข้าสู่ตลาดเพื่อขายอาจมีมากขึ้น 2.ส่วนต่างของราคาที่ดินที่มีศักยภาพสูงกับศักยภาพต่ำอาจมีมากขึ้น ผลจากต้นทุนภาษีที่ดินฯ ที่เพิ่มขึ้น อาจส่งผลให้ผู้ถือครองที่ดินว่างเปล่าไม่ได้ใช้ประโยชน์บางส่วนอาจทยอยขายที่ดินออกมาในตลาด โดยเฉพาะที่ดินมรดกที่ถือครองมายาวนาน ซึ่งในอดีตมีต้นทุนในการถือครองที่ดินไม่มากนัก แต่ภาษีที่ดินฯ ที่กำลังจะเริ่มจัดเก็บอาจเป็นหนึ่งในปัจจัยสนับสนุนให้ผู้ถือครองที่ดินบางส่วนปล่อยที่ดินเข้าสู่ตลาดเพื่อซื้อขายมากขึ้น   ส่งผลให้การขยายตัวของราคาที่ดินโดยเฉลี่ยอาจมีแนวโน้มขยายตัวช้าลงไปบ้าง โดยเฉพาะที่ดินที่มีศักยภาพต่ำ (มีการเพิ่มขึ้นของราคาค่อนข้างช้า) ขณะที่ที่ดินที่มีศักยภาพ (มีการเพิ่มขึ้นของราคาค่อนข้างเร็ว) ต้นทุนภาษีที่ดินฯ แทบไม่ส่งผลกระทบ เนื่องจากราคาของที่ดินที่เร่งตัวไปเร็วกว่าต้นทุนภาษี ทำให้ความต้องการถือครองที่ดินดังกล่าวยังมีต่อเนื่อง ผลักดันให้ราคาที่ดินของที่ดินศักยภาพยังมีแนวโน้มขยายตัวสูงต่อเนื่องได้   บทสรุป ผลกระทบจากภาษีที่ดิน ภาษีที่ดินที่กำลังจัดเก็บในปีนี้ ผลต่อทั้งผู้ซื้อที่อยู่อาศัยเพื่ออยู่จริงและเพื่อการลงทุนจะไม่ได้รับผลกระทบมากนัก ซึ่งจะส่งผลกระทบไม่มากนักต่ออุปสงค์ในตลาดที่อยู่อาศัย (ปัจจัยจากเศรษฐกิจและความระมัดระวังในการให้สินเชื่อบ้านจะเป็นปัจจัยหลักที่ส่งผลกระทบมากกว่าภาษีที่ดินฯ)   ขณะที่ผู้พัฒนาโครงการอาจต้องมีการปรับตัวอันเกิดจากภาระภาษี โดยต้องมุ่งเน้นบริหารการขายโครงการให้เหลือหน่วยเหลือขายน้อยที่สุดภายในช่วง 3 ปีแรกที่ได้รับใบอนุญาตก่อสร้าง/จัดสรร เนื่องจากเป็นช่วงเวลาที่ได้รับการลดหย่อนภาษีที่ดินฯ รวมถึงในช่วงปี 2563-2021 จะต้องเร่งระบายสต็อกซึ่งคงค้างมาก่อนหน้าที่ภาษีที่ดินฯ จะมีผลบังคับใช้ เช่นเดียวกันกับสถาบันการเงินต้องระมัดระวังการให้สินเชื่อมากขึ้นเพื่อไม่ให้ภาระ NPA มีมาก   ดังนั้นมีโอกาสที่ในระยะยาวการจัดเก็บภาษีที่ดินฯ อาจช่วยลดความเสี่ยงจากการเร่งพัฒนาโครงการของผู้ประกอบการลงได้บ้าง (โดยมุ่งเน้นแต่โครงการที่มีศักยภาพอย่างแท้จริง) รวมถึงการระมัดระวังมากขึ้นของผู้ให้สินเชื่อ ท้ายที่สุดก็อาจเป็นปัจจัยตัวหนึ่งที่ช่วยลดความเสี่ยงภาวะอุปทานส่วนเกิน (Oversupply) ลงได้บ้าง ซึ่งจะสนับสนุนให้การใช้ที่ดิน รวมถึงตลาดที่อยู่อาศัยเติบโตได้อย่างระมัดระวังและยั่งยืนมากขึ้น   หมายเหตุ [1] ราคาปานกลางของที่ดินที่ใช้ในปัจจุบันจะเป็นราคาที่มีการประเมินมาตั้งแต่ปี 2521-2524  ซึ่งเป็นไปตามพระราชบัญญัติกำหนดราคาปานกลางของที่ดินสำหรับการประเมินภาษีบำรุงท้องที่ปี 2529 โดยราคาดังกล่าวจะแตกต่างจากราคาประเมินที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่จัดทำโดยกรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง ซึ่งมีการปรับปรุงทุก 4 ปี
กลุ่มเซ็นทรัล เปิดไทวัสดุโมเดลใหม่ ใช้เทคโนโลยีเสริมไลฟ์สไตล์ผู้บริโภค-ลดต้นทุน

กลุ่มเซ็นทรัล เปิดไทวัสดุโมเดลใหม่ ใช้เทคโนโลยีเสริมไลฟ์สไตล์ผู้บริโภค-ลดต้นทุน

ท่ามกลางการแข่งขันของธุรกิจจัดจำหน่ายวัดุก่อสร้าง และอุปกรณ์ซ่อมแซมบ้าน ซึ่งนับวันมีแต่รุนแรง เพราะมีบรรดาผู้เล่นรายใหญ่ซึ่งมีศักยภาพการแข่งขันสูงอยู่ในตลาด ประกอบกับยุคปัจจุบัน ไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา แถมยังมีเทคโนโลยีดิจิทัล เข้ามาสร้างความสะดวกสบาย และยังทำให้วิถีชีวิตของคนยุคนี้ เปลี่ยนแปลงไปจากอดีตมากมาย ทำให้การทำธุรกิจต้องปรับตัวอยู่ตลอดเวลา โดยเฉพาะการปรับตัวให้สอดคล้องกับพฤติกรรมของผู้บริโภค   กลุ่มเซ็นทรัล ซึ่งถือเป็นยักษ์ใหญ่ในธุรกิจค้าปลีก มีรูปแบบการทำธุรกิจหลากหลาย ซึ่งหนึ่งในนั้น คือ ธุรกิจจัดจำหน่ายวัสดุก่อสร้าง สินค้าตกแต่ง และซ่อมแซมบ้าน ภายใต้แบรนด์ “ไทวัสดุ” ของบริษัท ซีอาร์ซี ไทวัสดุ จำกัด มีนายสุทิสาร จิราธิวัฒน์ ประธานกรรมการบริหาร เป็นผู้ดูแลธุรกิจ ก็ต้องปรับตัวรองรับกับสภาพธุรกิจและการแข่งขันในปัจจุบัน  ถือเป็นหนึ่งเหตุผลสำคัญที่ทำให้ เปิดไทวัสดุโมเดลใหม่ กับสาขาที่ 50 ที่หนองจอก ไทวัสดุ โมเดลใหม่ สาขาหนองจอก มีอะไรแตกต่าง ด้วยเหตุผลเรื่องของไลฟ์สไตล์ผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไป และมีเทคโนโลยีเข้ามาเป็นส่วนสำคัญในชีวิตประจำวัน ทำให้ กลุ่มเซ็นทรัล เปิดไทวัสดุ โมเดลใหม่ ที่สาขาหนองจอก เป็นสาขาแรกและต้นแบบกับการทำตลาดตอบโจทย์ยุคดิจิทัล ซึ่งมี 4 เรื่องสำคัญแตกต่างจากสาขาเดิมที่มีอยู่ก่อนหน้านี้   1.ลดขนาดพื้นที่ของสาขาลง 50% จากปกติจะต้องใช้พื้นที่ 30 ไร่ แต่ไทวัสดุ สาขาหนองจอก ใช้พื้นที่ประมาณ​ 10 ไร่ ซึ่งมีพื้นที่ขายประมาณ 10,000 ตารางเมตร 18,000 ตารางเมตร 2.ลดจำนวนพนักงานให้บริการลง 50% จากสาขาปกติใช้พนักงานประมาณ​150 คน ไทวัสดุ สาขาหนองจอก ใช้พนักงานประมาณ 50-80 คน 3.วางจำหน่ายสินค้าหลักกว่า 20,000 รายการ แต่สินค้าประเภทของใช้ส่วนตัว หรือของตกแต่ง  (Home Decoration) จะใช้รูปแบบการจัดจำหน่ายออนไลน์ 4.นำระบบเทคโนโลยีมาช่วยในการซื้อขายสินค้า โดยสินค้าบางรายการลูกค้าไม่ต้องหยิบลงตระกร้า เพียงแต่สแกนคิวอาร์โค้ท เพื่อสั่งซื้อและชำระเงินที่แคชเชียร์ ซึ่งลูกค้ารอรับสินค้าได้ที่จุดรับสินค้า ไม่เกิน 15 นาทีหลังจากชำระเงินแล้ว   สินค้าที่จำหน่ายภายในไทวัสด โมเดลใหม่ สาขาหนองจอก แบ่งเป็น 3 ประเภท ได้แก่ 1.สินค้าที่ลูกค้าส่วนใหญ่ซื้อประจำ สินค้าจะอยู่บนชั้นวางสินค้า สามารถหยิบซื้อได้ทันที 2.สินค้าโครงสร้าง เช่น เหล็ก ปูน ลูกค้าสามารถสแกนคิวอาร์โค้ด เพื่อสั่งซื้อสินค้า 3.สินค้าที่บริษัทจำหน่ายให้ครบ แต่ลูกค้าต้องสั่งซื้อผ่านออนไลน์ โดยสามารถสแกนคิวอาร์โค้ด เพื่อสั่งซื้อสินค้าได้ ไทวัสดุ โมเดลใหม่ ช่วยลดต้นทุน-เข้าถึงกลุ่มลูกค้า นายสุทธิสาร กล่าวว่า การเปิดไทวัสดุ โมเดลใหม่ สาขาหนองจอก จะทำให้ลูกค้าเดินทางเข้าถึงสาขาได้ง่ายขึ้น เพราะใช้ระยะเวลาเดินทางไม่นาน ขณะที่ค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการสาขาลดต่ำลง แม้ต้นทุนการลงทุนจะไม่ได้ลดลงก็ตาม   “เราอยากให้ลูกค้าเดินทางไม่นาน ไม่เกินชั่วโมง เดิมลูกค้าบางพื้นที่ในต่างจังหวัดต้องเดินทาง 3 ชั่วโมง เพราะสาขาอยู่ไกล”   แผนการขยายต่อไปในอนาคต บริษัทจะเน้นอำเภอขนาดเล็กลง  ซึ่งหากเป็นพื้นที่หลัก เช่นตัวจังหวัดหรืออำเภอเมือง จะใช้รูปแบบสาขาขนาดใหญ่  แต่หากเป็นอำเภอขนาดเล็ก จะใช้รูปแบบสาขาขนาดเล็ก และนำเอาเทคโนโลยีเข้ามาช่วย ซึ่งกลยุทธ์การขยายสาขาจะช่วยสร้างการเติบโตของบริษัท   ไทวัสดุ โมเดลใหม่ ต้นแบบขยายสาขา ปัจจุบันบริษัทมีสาขาเปิดให้บริการรวมสาขาหนองจอก 50 สาขา ซึ่งปีนี้ขยายสาขาก่อนหน้าในรูปแบบขนาดใหญ่ไปแล้ว 4 สาขา ใช้งบลงทุนไปประมาณ​ 3,000 ล้านบาท ส่วนปี 2563 จะขยายสาขาเพิ่ม 7 สาขา แบ่งเป็นรูปแบบสาขาขนาดใหญ่ 5 สาขา และสาขาขนาดเล็กอีก 2 สาขา ซึ่งจะใช้ไทวัสด โมเดลใหม่ สาขาหนองจอก เป็นต้นแบบ โดยใช้งบลงทุน 3,500 ล้านบาท หรือประมาณ​สาขาละ 300 ล้านบาท รวมถึงมีแผนปรับปรุงสาขาเดิมด้วย   สำหรับภาพรวมธุรกิจค้าปลีกวัสดุก่อสร้างและซ่อมแซม ในปีนี้ชะลอตัวกว่าปีที่ผ่านมา ยอดขายสินค้าของคู่แข่งส่วนใหญ่จะลดลงกว่าปีที่ผ่านมา  ส่วนผลประกอบการของไทวัสดุ มีอัตราการเติบโตโดยรวม 20% ซึ่งเป็นผลจากการขยายสาขาใหม่เพิ่ม ขณะที่ยอดขายของสาขาเดิมมีอัตราการเติบโต 8-10%  โดยคาดว่าภาพรวมตลาดในปีนี้อาจจะติดลบ 0.1% หรือหากสถานการณ์ฟื้นตัวดีขึ้น อาจจะเติบโตได้ในอัตรา 1%   “ในอดีตยอดขายเติบโต 20% ปัจจุบันเติบโตได้ถึง 10% ก็ถือว่าดีแล้ว ในปีหน้าบริษัทตั้งเป้าหมายการเติบโตไว้ 15% จากยอดขายปีนี้น่าจะทำได้ 30,000 ล้านบาท”   ข่าวที่เกี่ยวข้อง ไทวัสดุ เขย่าตลาดวัสดุก่อสร้างปลายปี ทุ่ม 600 ล้านผุดสาขาที่ 43 บนถนนชัยพฤกษ์
ทำความรู้จัก OYO เชนโรงแรมอันดับ 2 ของโลก บุกตลาดไทยไม่ถึงปีมีที่พักกว่า 8,000 ห้อง

ทำความรู้จัก OYO เชนโรงแรมอันดับ 2 ของโลก บุกตลาดไทยไม่ถึงปีมีที่พักกว่า 8,000 ห้อง

เมืองไทย ได้ขึ้นชื่อว่าเป็นจุดหมายทางด้านการท่องเที่ยว ที่ชื่นชอบของนักเดินทางทั่วโลก เพราะมีสิ่งที่ตอบสนองความต้องการของนักเดินทางและนักท่องเที่ยวครบ ที่สำคัญยังมีความหลากหลาย ตั้งแต่ตลาดแมสไปจนถึงระดับลักชัวรี่ เมืองไทยมีครบทั้งหมด   ในเรื่องของโรงแรมที่พัก เมืองไทยไม่แพ้ชาติใดในโลก มีเชนโรงแรมลักชัวรี่ระดับโลก เข้ามาให้บริการในเมืองไทยมากมายหลายเชน หรือจะเป็นกลุ่มตลาดบัดเจ็ทโฮเทล แบบราคาสบายกระเป๋าก็มีให้เลือกมากมาย  เมืองไทยจึงไม่ใช่แค่จุดหมายปลายทางของนักท่องเที่ยวเท่านั้น  แต่ยังเป็นจุดหมายปลายทางของนักธุรกิจ และนักลงทุนด้านการท่องเที่ยวมากมาย เลือกเข้ามาทำธุรกิจแสวงหาโอกาสสร้างรายได้และกำไร   โอโย โฮเทลส์ แอนด์ โฮมส์ (OYO Hotels & Homes) เครือข่ายธุรกิจโรงแรม บ้านพัก คอนโดมิเนียม และพื้นที่สำนักงานที่ใหญ่เป็นลำดับ 2 ของโลก ก็ไม่พลาดโอกาสเข้ามาทำตลาดในเมืองไทยเช่นกัน โดยเริ่มเข้ามาทำตลาดในเมืองไทยในช่วงปีที่ผ่านมา เพียงระยะเวลาไม่ถึงปี สามารถสร้างเครือข่ายห้องพักได้กว่า 8,000 ห้อง จาก 250 โรงแรม ใน 13 จังหวัด อาทิ กรุงเทพฯ พัทยา ภูเก็ต และหัวหิน   ถือได้ว่าเป็นเชนโรงแรมที่มีอัตราการเติบโตรวดเร็ว และน่าจับตามองเป็นอย่างมาก และนี่คือ 5 เรื่องที่จะทำให้รู้จักเชนโรงแรมนี้ได้มากขึ้น 1.โอโย โฮเทลส์ แอนด์ โฮมส์ แบรนด์โรงแรมจากประเทศอินเดีย ซึ่งเริ่มเปิดให้บริการในปี 2556 ในอินเดีย ก่อนขยายธุรกิจออกไปในตลาดต่างประเทศ ปัจจุบันเป็นเครือข่ายเครือข่ายธุรกิจโรงแรม บ้านพัก คอนโดมิเนียม และพื้นที่สำนักงานที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 2 ของโลก พอร์ตโฟลิโอของโอโยรวมอสังหาริมทรัพย์ที่ดำเนินการอย่างเต็มรูปแบบ ประกอบด้วยโรงแรมมากกว่า 35,000 แห่ง รวมห้องพักกว่า 1.2 ล้านห้อง 2.โอโย โฮเทลส์ แอนด์โฮมส์ ไม่ได้ทำแค่ธุรกิจโรงแรม แต่ยังมีบ้านพักตากอากาศให้บริการกว่า 125,000 หลัง ทั่วโลก ภายใต้แบรนด์ OYO Homes, Belvilla, Danland, Dancenter และแบรนด์ Traum-Ferienwohnungen จากประเทศเยอรมนี ในกว่า 800 เมืองใน 80 ประเทศทั่วโลก ทั้งในสหรัฐอเมริกา ยุโรป สหราชอาณาจักร อินเดีย มาเลเซีย ตะวันออกกลาง อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และญี่ปุ่น 3.รูปแบบการดำเนินธุรกิจ มี 2 โมเดลหลัก ที่ดำเนินธุรกิจอยู่ในปัจจุบัน คือ 1.การบริหารด้วยแฟรนไชส์ ซึ่งตลาดในประเทศไทยปัจจุบันยังเป็นรูปแบบแฟรนไชส์ 100% และ 2.การร่วมลงทุนกับเจ้าของโรงแรม โดยโอโย โฮเทลส์ฯ ทำการตลาด เป็นเจ้าของแบรนด์ และการใช้เทคโนโลยีเข้ามาบริหาร ร่วมกับเจ้าของโรงแรม 4.ประเทศไทยเป็นประเทศลำดับที่ 5 ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่เข้ามาทำตลาด ก่อนหน้านี้ทำตลาดในประเทศมาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลลิปปินส์ และเวียดนาม มีจำนวนโรงแรมรวมกว่า 2,500 แห่ง 5.สาเหตุที่เข้ามาทำตลาดในประเทศไทย เนื่องจากมองเห็นศักยภาพการเติบโตของตลาดโรงแรม ซึ่งมีขนาดตลาดใหญ่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยปัจจุบันมีฐานโรงแรมกลุ่มบัดเจ็ทประมาณ​ 30,000-50,000 แห่ง รวมกว่า 1 ล้านห้อง     นายมัณดา ไวดิย่า ประธานเจ้าหน้าที่ บริหารภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และตะวันออกกลาง โอโย โฮเทลส์ฯ เปิดเผยว่า การขยายพอร์ตโฟลิโอของบริษัท โดยการเปิดให้บริการในประเทศไทย บริษัทตั้งเป้าหมายว่าจะมีเครือข่ายห้องพักในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รวม 2 ล้านห้อง ภายในปี 2568 3 กลยุทธ์สร้างเครือข่ายและการเติบโต การขยายเครือข่ายโรงแรมออกไปทั่วโลกได้จำนวน เพียงใช้ระยะเวลาแค่ 6 ปี และก้าวขึ้นมาเป็นเชนโรงแรมที่มีจำนวนห้องพักมากเป็นอันดับ 2 ของโลกได้นั้น เป็นเพราะการใช้กลยุทธ์สำคัญ 3 เรื่อง เป็นคีย์ซัคเซส คือ 1.Business Model ที่ใช้เหมือนกันทั่วโลก โดยเฉพาะการสร้างผลตอบแทนสูงสุดให้กับเจ้าของโรงแรม ที่ได้เข้าร่วมธุรกิจด้วยกัน ขณะที่การเซ็นสัญญาใช้แบรนด์ของกลุ่มโอโย โฮเทลส์ฯ จะยืดหยุ่น โดยปกติจะเซ็นสัญญาระยะยาว 10-15 ปี แต่เจ้าของโรงแรมสามารถเริ่มต้นเซ็นสัญญาได้ตั้งแต่ 1-5 ปี 2.Branding แม้ว่าแบรนด์โอโย โฮเทลส์ฯ จะเพิ่งเข้ามาในตลาดเพียงระยะเวลาประมาณ 6 ปี แต่บริษัทมีแนวทางสร้างแบรนด์อย่างต่อเนื่อง รวมถึงการใช้เครือข่ายของโรงแรมที่มีทั่วโลก สร้างแบรนด์ระหว่างกลุ่มลูกค้าระหว่างกันดัวย โดยปัจจุบันแบรนด์โอโย โฮเทลส์ฯ เป็นที่รู้จักอันดับ 1 ในตลาดจีนและญี่ปุ่น 3.Knowlage & Investment การใช้เทคโนโลยี และฐานข้อมูลเข้ามาวางแผนการทำตลาด ให้ยืดหยุ่นตามสภาพตลาดและแต่ละพื้นที่ ขณะเดียวกันมีการลงทุนร่วมกับเจ้าของโรงแรม เพื่อพัฒนาโรงแรมให้ตอบสนองความต้องการของตลาดในแต่ละพื้นที่ได้อย่างตรงจุด     ถือเป็นอีกหนึ่งเชนโรงแรม ที่คงเข้ามาสร้างสีสันและขยายตลาดการท่องเที่ยวของไทยให้เติบโตมากขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มนักท่องเที่ยวชาวอินเดีย ที่คาดว่าจะมีเข้ามามากกว่า 2 ล้านคนในปีนี้ รวมถึงนักท่องเที่ยวชาติอื่นๆ ที่เคยเดินทางไปพักเครือโรงแรมโอโย โฮเทลส์ฯ มาแล้ว
ถอดกลยุทธ์ “พฤกษา” เติบโต 5% ได้อย่างไรในภาวะตลาดอสังหาฯ ติดลบ

ถอดกลยุทธ์ “พฤกษา” เติบโต 5% ได้อย่างไรในภาวะตลาดอสังหาฯ ติดลบ

ตลาดอสังหาฯ 9 เดือนหดตัว 22% ส่อแววตลาดชะลอตัวต่อเนื่องถึงปีหน้า “พฤกษา” ชู 4 กลยุทธ์ปรับตัวรับมือและรักษาการเติบโต หั่นโปรเจ็กต์เล็กลง จับตลาดเรียลดีมานด์ และมีกำลังซื้อสูง ปักหมุดในทำเลศักยภาพ ปี 63 เตรียมอีก 15 โปรเจ็กต์ใหม่สร้างการเติบโต 5%   ตลาดอสังหาริมทรัพย์ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ในช่วง 9 เดือนแรกที่ผ่านมา ดูเหมือนจะเติบโตลดลงทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นบ้านเดี่ยว ทาวน์เฮ้าส์ หรือคอนโดมิเนียม เป็นการลดลงมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา โดยลดลง 22% จากมูลค่า 385,926 ล้านบาท ในปีที่ผ่านมา เหลือ 299,789 ล้านบาท เฉพาะไตรมาส 3 ภาพรวมตลาดอสังหาฯ ลดลงไปถึง 35% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีมูลค่าประมาณ 100,629 ล้านบาท ขณะที่ไตรมาส 3 ปี 2561 มีมูลค่าสูงถึง 154,415 ล้านบาท   แนวโน้มตลาดอสังหาฯ ที่ลดลงมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้ผู้ประกอบการหลายราย ต้องปรับตัวเพื่อให้ธุรกิจเดินหน้าต่อไปได้ ส่วนใหญ่จะเปิดโครงการเมื่อมั่นใจในทำเลที่ตั้ง และการทำตลาดสำหรับโครงการนั้น แต่หากยังไม่มั่นใจ หรือพิจารณาดูแล้วโครงการที่จะเปิดยังมีความต้องการไม่มากพอ ผู้ประกอบการมักจะเลื่อนไปเปิดตัวโครงการไปในปีหน้าแทน หรือไม่ก็ปรับลดขนาดให้โครงการเหมาะสมกับสภาพแต่ละทำเล   ทั้ง 2 เรื่อง เป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการหยิบมาใช้ เป็นวิธีการสร้างความมั่นคงให้กับธุรกิจ และไม่ทำให้ธุรกิจมี “ความเสี่ยง” มากเกินไป ไม่เว้นแม้แต่ผู้นำตลาดอย่างกลุ่ม “พฤกษา” ที่เลือกเปิดเฉพาะโครงการในทำเลที่มั่นใจจริงๆ เท่านั้น อย่างเช่นในไตรมาส 3 ที่ผ่านมาก็เลื่อนเปิดตัวโครงการใหม่ 4 โครงการ โดยเลื่อนมาเปิดในไตรมาสสุดท้าย และไปเปิดในปี 2563 แทน   นายปิยะ ประยงค์  ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจพฤกษา เรียลเอสเตท – แวลู  บริษัท พฤกษา เรียลเอสเตท จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า แนวโน้มสถานการณ์อสังหาฯ ในปี 2563 เชื่อว่าคงจะไม่เติบโต และอาจจะลดลงต่อเนื่องในอัตรา 10-20% ทำให้กลุ่มธุรกิจพฤกษา เรียลเอสเตท – แวลู จะเปิดตัวโครงการใหม่ประมาณ 15 โครงการ มีมูลค่าเฉลี่ยโครงการละ 1,000 ล้านบาท  แบ่งเป็น โครงการแนวราบ 50% และคอนโดฯ  50% ซึ่งใกล้เคียงกับปีนี้ที่เปิดตัว 16 โครงการ   “โครงการใหม่ในปี 2563 จำนวน 30% เป็นโครงการที่เลื่อนเปิดจากปีนี้” ถอด 4 กลยุทธ์การเติบโตกลุ่มพฤกษา สำหรับกลยุทธ์สำคัญในการดำเนินธุรกิจปีหน้ากลุ่มธุรกิจพฤกษา เรียลเอสเตท-แวลู คือ 1.โครงการเปิดใหม่จะไม่เน้นโครงการขนาดใหญ่ จะมีจำนวนยูนิตเฉลี่ย 200-300 ยูนิตต่อโครงการ พื้นที่โครงการแนวราบจะลดขนาดลงและกระจายเข้ามาใกล้ใจกลางเมืองมากขึ้น เช่น บ้านเดี่ยวเคยพัฒนาบนเนื้อที่ 80 ไร่ จะลดเหลือ 20-30 ไร่ เป็นต้น   2.จับตลาดกลุ่มเป้าหมายคนเมือง มีรายได้ 50,000-150,000 บาทต่อเดือน เนื่องจากมองว่าเป็นกลุ่มกำลังซื้อสูง ไม่ได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจ และมีความต้องการที่อยู่อาศัยอย่างแท้จริง   3.ขยายกลุ่มลูกค้าไปสู่ตลาดระดับบนมากขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มลูกค้าบ้านเดี่ยวราคามากกว่า 5 ล้านบาท ขึ้นไป และกลุ่มลูกค้าคอนโดฯ ระดับราคา 3-5 ล้านบาท   4.เลือกเปิดตัวโครงการในทำเลที่มีศักยภาพ และมีช่องว่างทางการตลาด การแข่งขันไม่รุนแรง ทั้งในพื้นที่กลางเมืองกรุงเทพฯ​ และปริมณฑล รวมถึง พื้นที่ต่างจังหวัดไม่ว่าจะเป็นเขตอีอีซี เชียงใหม่ และภูเก็ต     “ในครึ่งปีหลัง 2562 บริษัทมีการปรับกลุทธ์การเปิดขายโครงการคอนโดฯ โดยเน้นโครงการที่เป็น  Best in Class เจาะกลุ่มลูกค้าระดับกลางที่มีกำลังซื้อและมีศักยภาพในท่ามกลางสภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว ในทำเลใกล้รถไฟฟ้าและมีดีมานด์รองรับ” โดยล่าสุด เปิดตัวโครงการ “The Tree Victory Monument”  ถือเป็นโครงการสูงของแบรนด์เดอะทรี (The Tree) โครงการแรกในระดับลักชัวรี่ มีการปรับโฉมทำห้องฝ้าเพดานสูง 4.4 เมตร และ ห้อง Duplex ฝ้าเพดานสูง 4.9 เมตร  ในทำเลย่านอนุสาวรีย์ชัยฯ  ราคาเริ่มต้น 3.59 ล้านบาท ซึ่งตัวอาคารมีขนาดความสูง 31 ชั้น  1 อาคาร มีชั้นจอดรถใต้ดิน 3  ชั้น มีห้องพักจำนวน 253  ยูนิต มูลค่าโครงการ 1,300 ล้านบาท   โครงการ “The Tree Victory Monument” ถือเป็น 1 ใน 3 โครงการที่จะเปิดตัวในไตรมาส 4 นี้ มูลค่ารวม 5,100 ล้านบาท  โดยจะเปิดตัวอีก 2 โครงการ จะเปิดคอนโดมิเนียมอีก 3 โครงการ ได้แก่ The Tree พัฒนาการ-เอกมัย และ The Tree พระราม 4-สุขุมวิท     นายปิยะ กล่าวเพิ่มเติมว่า ภาพรวมธุรกิจอสังหาฯ ในไตรมาสสุดท้าย น่าจะได้รับอานิสงค์จากมาตรการภาครัฐ ทำให้ตลาดฟื้นตัวดีขึ้นแต่ยังคงติดลบจากปีที่ผ่านมา แต่คงติดลบน้อยลงจากเดิม 22% น่าจะเหลือติดลบประมาณ 15-20%  ซึ่งพฤกษา เรียลเอสเตท-แวลู  เตรียมนำสต๊อกโครงการสร้างเสร็จในกลุ่มบ้านเดียว มูลค่า 3,000 ล้านบาท และคอนโดฯ มูลค่า 3,000 ล้านบาท มาจัดแคมเปญโปรโมชั่นฟรีทุกค่าใช้จ่าย และลดราคาขาย 5-10%   “ในปีนี้ กลุ่มธุรกิจพฤกษา เรียลเอสเตท – แวลู  คาดว่าจะมีรายได้ตามเป้าหมายที่วางเอาไว้ 20,000 ล้าน และมีเป้าหมายยอดขาย 17,000 ล้านบาท ปัจจุบันทำยอดขายได้แล้ว 15,000 ล้านบาท ส่วนปีหน้าคงวางเป้าหมายการเติบโตไว้ 5%”  
1 ปี การเดินทาง “ไอคอนสยาม” กับความสำเร็จใน 7 สิ่งมหัศจรรย์

1 ปี การเดินทาง “ไอคอนสยาม” กับความสำเร็จใน 7 สิ่งมหัศจรรย์

วันที่ 30 ตุลาคม 2562 ที่ผ่านมา คือ วันครบรอบ 1 ปี ของการเปิดให้บริการ “ไอคอนสยาม” อภิมหาโปรเจ็กต์ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ของ 3 บริษัทระดับบิ๊ก ที่ร่วมกันปั้นโปรเจ็กต์นี้ขึ้น ได้แก่ บริษัท สยามพิวรรธน์ จำกัด เครือเจริญโภคภัณฑ์  และบริษัท แมกโนเลีย ควอลิตี้ ดิเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด  ด้วยมูลค่าการลงทุนสูงสุดในประวัติศาสตร์ถึง 55,000 ล้านบาท กับระยะเวลาการพัฒนาในระยะเวลา 5 ปี ​ เนรมิตโปรเจ็กต์ขนาดใหญ่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาได้สำเร็จ   ย้อนหลังไป 7 ปีก่อน นางชฎาทิพ จูตระกูล กรรมการ บริษัท ไอคอนสยาม จำกัด และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท สยามพิวรรธน์ จำกัด ซึ่งเป็นหนึ่งในพันธมิตรเจ้าของไอคอนสยาม  ได้ประกาศวิสัยทัศน์ไว้เมื่อว่าจะต้องพัฒนาโครงการให้สำเร็จ  พร้อมกับสร้างให้ไอคอนสยามเป็น Game Changer Destination ที่สามารถสร้างศูนย์กลางธุรกิจและการท่องเที่ยวกลางเมืองของกรุงเทพฯ อยู่ที่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาและฝั่งธนบุรีได้สำเร็จ   โดยตลอดระยะเวลา 1 ปีที่ผ่านมา คงเป็นเครื่องพิสูจน์ความสำเร็จดังกล่าว ได้เป็นอย่างดี และบริษัทได้ทำภารกิจสำคัญตามวิสัยทัศน์ที่ประกาศไว้สำเร็จลุล่วงแล้วทุกประการ  ที่สำคัญโครงการไอคอนสยาม เป็นโครงการของบริษัทคนไทยสามารถดึงเงินลงทุนจากต่างประเทศเข้าสู่ประเทศไทย ผ่านการลงทุนเปิดธุรกิจร้านต่างๆ ในโครงการ เป็นมูลค่ามากกว่า 5,000 ล้านบาท ไม่ว่าจะเป็น Apple Store สาขาแรกในประเทศไทย และ Luxury Brands ต่างๆ ที่แม้จะเปิดในประเทศไทยอยู่แล้ว แต่ก็ให้ความเชื่อมั่นและเปิดอีกสาขาระดับแฟล็กชิฟสโตร์ในไอคอนสยามได้ “เวลาผ่านพ้นมา 1 ปี  หลายร้านมีผลประกอบการที่ดี  และหลายร้านมียอดขายเป็นอันดับ 2 ของประเทศไทยรองจากสาขาสยามพารากอน”   นอกจากนี้ ไอคอนสยาม ยังสามารถสร้างสิ่งที่ถือว่าเป็น “ไฮไลท์” ของโครงการ แถมเป็นแม่เหล็กสำคัญในการดึงดูดนักท่องเที่ยว นักช้อปปิ้ง ไม่ว่าจะเป็นชาวไทยหรือชาวต่างชาติ  กับการสร้าง 7 สิ่งมหัศจรรย์แห่งไอคอนสยาม ที่ถือได้ว่าเป็นองค์ประกอบสำคัญของความสำเร็จ  โครงการระดับบิ๊กเช่นนี้ (แม้จะมีสิ่งมหัศจรรย์บางอย่างไม่แล้วเสร็จ แต่ไม่ได้เริ่มต้นพัฒนาขึ้นแล้ว) 7 สิ่งมหัศจรรย์แห่งไอคอนสยาม ประกอบด้วย 1.สุขสยาม พื้นที่รวบรวม Local Heroes ศิลปิน ช่างฝีมือ ผู้ประกอบการ และวิสาหกิจชุมชนจำนวนมาก ซึ่งอยู่ในทุกมุมประเทศ ให้ได้มีโอกาสเข้ามาค้าขายในไอคอนสยาม ซึ่งในช่วงปีที่ผ่านมา สุขสยามได้ดึงดูดผู้คนเข้ามาที่สุขสยามไม่ต่ำกว่า 50,000 – 70,000 คนต่อวัน  ยิ่งไปกว่านั้นผู้ประกอบการหลายรายได้เป็นที่รู้จักในหมู่นักท่องเที่ยวจนได้มีโอกาสไปทำธุรกิจในต่างประเทศแล้วอีกด้วย 2.ริเวอร์ พาร์ค จากปณิธานของไอคอนสยามในการอุทิศพื้นที่ในโครงการขนาดใหญ่ 10 ไร่ ให้เป็น Community Space วันนี้ริเวิอร์พาร์คได้กลายเป็นพื้นที่สำคัญที่ชุมชนสามารถมาใช้ประโยชน์ได้เสมือนเป็นระเบียงหน้าบ้าน  มีการใช้พื้นที่ในการจัดประเพณีไทย 12 เดือน เต็มตลอดทุกเดือน เกิดปรากฏการณ์ใหม่ๆ ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน อาทิ ประติมากรรมเทียนพรรษายักษ์ที่เดินทางมาจากจังหวัดอุบลราชธานีเข้าสู่กรุงเทพฯ เป็นครั้งแรก กลายเป็น world class destination ที่สามารถดึงดูดผู้คนจากทั่วประเทศและทั่วโลก 3.การแสดงระบำสายน้ำ แสง สี เสียง มัลติมีเดีย การแสดงที่ยาวและยิ่งใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้พิสูจน์ความสำเร็จแล้ว ในการทำให้แม่น้ำเจ้าพระยากลายเป็น New Global Destination ด้วยการมี World Class Attraction ที่ทรงพลัง ซึ่งนอกเหนือจากการดึงดูดผู้คนให้มาชมการแสดงได้อย่างล้นหลามแล้ว ล่าสุดการแสดงระบำสายน้ำ แสง สี เสียง มัลติมีเดีย ของไอคอนสยาม ยังได้รับคัดเลือกให้ได้รางวัลชนะเลิศ รางวัล Gold Stevie Award 2019 สาขา Art, Entertainment & Public - Art Event จาก The International Business Awards การประกวดธุรกิจนานาชาติประจำปี 2019 บนเวทีระดับโลก 4.ทรู ไอคอน ฮอลล์ ศูนย์การประชุมระดับโลกแห่งแรกในประเทศไทย บนชั้น 7 ด้วยความจุขนาด 2,700  ที่นั่ง  รองรับการจัดงานประชุม ด้วยเทคโนโลยีที่ดีที่สุดในภูมิภาคเอเชีย และสามารถรองรับโชว์ต่างๆ ที่มีชื่อเสียงจากต่างประเทศได้ซึ่งจะจุดประกายให้กับอุตสาหกรรม MICE และทำให้กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางของการประชุมนานาชาติและการแสดงระดับชั้นนำของโลก 5.ริเวอร์ มิวเซียม แบงค็อก พื้นที่ศิลปะและพิพิธภัณฑ์ระดับโลกแห่งแรกในประเทศไทย โดยได้เปิดเฟสแรก ‘ไอคอนสยาม อาร์ท สเปซ’ เมื่อเดือนกันยายนศกนี้ พื้นที่ 2,000 ตารางเมตร ซึ่งเป็นพื้นที่แห่งความคิดสร้างสรรค์ เพื่อเปิดโอกาสให้ศิลปินไทยทุกแขนงตั้งแต่ศิลปินรุ่นใหม่ ศิลปินท้องถิ่น ไปจนถึงศิลปินระดับชาติใช้แสดงผลงาน โดยงานแรก กลุ่มบริษัทโตชิบา ประเทศไทย ได้จัดนิทรรศการศิลปกรรม “นำสิ่งที่ดีสู่ชีวิต” งานแสดงผลงานจากประกวดศิลปกรรม “นำสิ่งที่ดีสู่ชีวิต” ของศิลปินทั่วประเทศ ภายใน 1 เดือนถึงวันนี้มีผู้ชมงานมากถึง 100,000 คน   หลังจากนี้จะเปิดเฟสสองคือ ‘ริเวอร์ มิวเซียม ฮอลล์’ จะเป็นพื้นที่สำหรับการจัดแสดงงานสำคัญจากทั่วโลก และการร่วมมือกับแบรนด์ดังระดับโลก และส่วนสุดท้ายคือ ‘ริเวอร์ มิวเซียม แบงค็อก’ ซึ่งจะเป็นพิพิธภัณฑ์ระดับโลกแห่งแรกในประเทศไทยจะเปิดให้บริการปลายปี 2563 ทั้งหมดนี้จะทำให้กรุงเทพมหานครกลายเป็นจุดศูนย์กลางวงการศิลปะโลกอีกแห่งหนึ่งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 6.รถไฟฟ้าสายสีทอง ระบบคมนาคมขนส่งทางราง ซึ่งเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีเขียวผ่านถนนเจริญนครไปสิ้นสุดที่โรงพยาบาลตากสินรวม 3 สถานี และในอนาคตจะเป็น Feeder Line ที่เชื่อมเข้ากับรถไฟฟ้าสายสีแดงและสายสีม่วง ขณะนี้อยู่ในความรับผิดชอบของบริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด และ บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน)  โดยคาดว่าจะเปิดให้บริการได้กลางปี 2563   รถไฟฟ้าสายสีทอง จะเป็นรถไฟฟ้าสายแรกในประเทศไทยที่เปิดเดินรถโดยใช้ระบบ AGT (Automated Guideway Transit) ทำให้ก่อสร้างบนพื้นที่จำกัดได้ จึงไม่ต้องเวนคืนที่ดินของประชาชน อีกทั้งการเดินรถระบบนี้มีน้ำหนักเบา ส่งผลให้สามารถใช้โครงสร้างเสาขนาดเล็กกว่าระบบเดิม นอกจากนั้นตัวรถเป็นระบบล้อยาง ทำให้เวลาเดินรถเสียงจะเงียบกว่ารถไฟฟ้าแบบเดิม ลดผลกระทบด้านเสียง และ AGT ยังเป็นระบบเดินรถแบบไร้คนขับ (Driverless) ที่จะถูกนำมาใช้เป็นครั้งแรกในเมืองไทย ควบคุมการเดินรถด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะควบคุมระยะเวลาในการเดินรถได้อย่างแม่นยำและมีความปลอดภัยสูง 7.ปรากฏการณ์รวมโลกในรอยไทย  จากศิลปินไทยระดับอาจารย์ ศิลปินแห่งชาติ ศิลปินท้องถิ่นจากทั่วประเทศไทย และรวมถึงผลงานสร้างสรรค์โดยศิลปินต่างชาติ ได้แสดงความสามารถและผลงานสร้างสรรค์ทางศิลปะซึ่งกระจายตัวอยู่ในพื้นที่ต่างๆ ทั่วทั้งโครงการกว่า 100 ชิ้น หรือแม้กระทั่งในร้านค้าต่างๆ เป็นการสนับสนุนผลงานสร้างสรรค์ของศิลปินและช่างฝีมือไทยเหล่านั้นให้ได้เป็นที่ประจักษ์ต่อสายตาโลก และจะยังมีเพิ่มเติมเข้ามาเรื่อยๆ อย่างต่อเนื่อง ตลอด 1 ปีของการเปิดดำเนินการ  โครงการไอคอนสยามยังได้รางวัลจากเวทีต่างๆ ทั่วโลก มาเป็นเครื่องการันตีความสำเร็จอีกมากายหลายรางวัล อาทิ  การได้รับคัดเลือกให้เป็นผู้ชนะรางวัล ‘ออกแบบดีที่สุดในโลก’ จากสภาการค้าปลีกโลก (World Retail Congress) และคว้ารางวัลชนะเลิศสูงสุดด้าน ‘การออกแบบที่ดีที่สุด’ จากสมาคมศูนย์การค้าโลก (International Council of Shopping Centers – ICSC) ถือเป็น 1 ปี ของเส้นทางความสำเร็จที่สวยงามจริงๆ   ข้อมูลเพิ่มเติม ไอคอนสยาม
5  เหตุผลสำคัญ  ทำให้ทำเลย่านแจ้งวัฒนะเป็นทำเลธุรกิจใหม่ในอนาคต

5 เหตุผลสำคัญ ทำให้ทำเลย่านแจ้งวัฒนะเป็นทำเลธุรกิจใหม่ในอนาคต

ถนนแจ้งวัฒนะ ปัจจุบันเริ่มมีความหนาแน่น ของการพัฒนาโครงการคอนโดมิเนียม จากผู้ประกอบการทั้งรายเล็กและรายใหญ่ จากก่อนหน้าทำเลในโซนนี้ มีการพัฒนาโครงการประเภทแนวราบ ทั้งบ้านเดี่ยวและทาวน์โฮม เพราะต้องยอมรับว่าบริเวณแถวแจ้งวัฒนะ ปากเกร็ด และนนทบุรี เป็นพื้นที่ชานเมืองราคาที่ดินยังไม่สูงมากนัก สามารถนำมาพัฒนาเป็นโครงการแนวราบได้    ปัจจุบันย่านแจ้งวัฒนะเริ่มมีความโดดเด่น และกำลังจะกลายเป็นอีกหนึ่งย่านสำคัญ ด้านเศรษฐกิจและการค้า จากการพัฒนาเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีชมพู ถือเป็นตัวกระตุ้นสำคัญ ซึ่งเมื่อระบบคมนาคมขนส่งสะดวกมากขึ้น การพัฒนารูปแบบต่างๆ ก็จะมีเข้ามามากขึ้นด้วยเช่นกัน    นายพนม กาญจนเทียมเท่า กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไนท์แฟรงค์ ประเทศไทย จำกัด เปิดเผยว่า บริเวณแจ้งวัฒนะเป็นทำเลศักยภาพที่มีความโดดเด่น เป็นย่านเศรษฐกิจและย่านธุรกิจการค้า มีโครงการอสังหาริมทรัพย์แบบผสมผสานหลากหลายรูปแบบ ที่อยู่ระหว่างการวางแผนพัฒนาจากผู้ประกอบการรายใหญ่หลายราย ซึ่งได้เริ่มเข้ามาจับจองที่ดินบริเวณนี้ สิ่งที่ตอกย้ำให้ย่านแจ้งวัฒนะกำลังกลายเป็นย่านเศรษฐกิจและการค้าที่สำคัญในอนาคต คงมาจาก 5 เหตุผลนี้ 1.การพัฒนาเส้นทางรถไฟฟ้า ปัจจุบันแจ้งวัฒนะอยู่การพัฒนาโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี  ปัจจุบันกำลังดำเนินการก่อสร้าง และกำหนดเปิดให้บริการประมาณปี 2564  อีกทั้งยังมีส่วนต่อขยายจากสถานีศรีรัช–เมืองทองธานี ที่ออกแบบเป็นระบบรถไฟฟ้ารางเดี่ยว (Straddle Monorail)    โดยจุดเชื่อมต่อจะอยู่บริเวณสถานีศรีรัช  ของโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี สายหลัก ไปทางทิศตะวันตก และเลี้ยวขวาเข้าสู่เมืองทองธานีไปตามซอยแจ้งวัฒนะ-ปากเกร็ด 39 แนวทางเดียวกันกับทางพิเศษอุดรรัถยา ต่อเนื่องไปยังจุดสิ้นสุดโครงการบริเวณทะเลสาบเมืองทองธานี ประกอบด้วยสถานีรับส่งผู้โดยสาร 2 สถานี ได้แก่ สถานี MT-01 ตั้งอยู่บริเวณอิมแพ็คชาเลนเจอร์ (Impact Challenger) และสถานี MT-02 ตั้งอยู่บริเวณด้านหน้าของทะเลสาบเมืองทองธานี รวมระยะทางประมาณ 3 กิโลเมตร   หากโครงการแล้วเสร็จจะเป็นการเพิ่มศักยภาพการเดินทางของประชาชน จากบริเวณถนนแจ้งวัฒนะเข้าสู่พื้นที่เมืองทองธานี ซึ่งเป็นพื้นที่ที่อยู่อาศัยหนาแน่น และเป็นที่ตั้งของยูนิตงานต่างๆ ด้วย เช่น ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี เอสซีจี สเตเดี้ยม ธันเดอร์โดม และมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เป็นต้น โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูยังสามารถเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายอื่น 3 สาย คือ   1.รถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน-คลองบางไผ่ (ปัจจุบันเปิดให้ใช้บริการอยู่) โดยเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีชมพู ที่สถานีศูนย์ราชการนนทบุรี   2.รถไฟฟ้าสายสีแดงเข้ม ช่วงบางซื่อ-รังสิต  ปัจจุบันกำลังดำเนินการก่อสร้าง  และเปิดให้บริการประมาณต้นปี 2564 โดยเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีชมพูที่สถานีหลักสี่   3.รถไฟฟ้าสายสีเขียวเข้ม หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต โดยเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีชมพูที่สถานีวัดพระศรีมหาธาตุ  เป็นโครงการในอนาคต 2.ทำเลใกล้สนามบินดอนเมือง บริเวณแจ้งวัฒนะตั้งอยู่ใกล้สนามบินดอนเมือง  ซึ่งในปัจจุบันสนามบินดอนเมืองมี 2 อาคารคือ Terminal 1 และ Terminal 2 โดยสามารถรองรับผู้โดยสารได้ประมาณปีละ 30 ล้านคน และในอนาคต บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ได้เตรียมแผนในการพัฒนาระยะที่ 3 (Terminal 3) และคาดว่าในอนาคตจะมีการเพิ่มเที่ยวบินและคาดว่าจำนวนผู้โดยสารที่เข้ามาใช้บริการจะเพิ่มขึ้นถึงปีละ 40 ล้านคน และสูงถึง 50-60 ล้านคน  ในช่วงปี 2568-2573  ในส่วนการเดินทางทางน้ำบริเวณนี้ยังมีท่าเรือปากเกร็ด ซึ่งคอยรองรับการเดินไปยังส่วนต่างๆ ของกรุงเทพมหานคร และยังมีระบบโครงสร้างพื้นฐานที่เข้าถึงโดยการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนของรัฐบาลอีกด้วย 3.จุดศูนย์รวมยูนิตงานขนาดใหญ่ ทั้งรัฐและเอกชน ในย่านแจ้งวัฒนะถือว่ามียูนิตงานขนาดใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นจากภาครัฐหรือเอกชน โดยเฉพาะการมีศูนย์ราชการ สถานที่ซึ่งเป็นศูนย์รวมของยูนิตงานราชการสำคัญเอาไว้ ทำให้แต่ละวันมีคนจำนวนมากเดินทางเข้ามาในย่านนี้  เพื่อติดต่อราชการในยูนิตงานต่างๆ ไม่นับรวมกับจำนวนข้าราชการที่ทำงานในยูนิตงานต่างๆ อีกมหาศาล ยิ่งทำให้บริเวณดังกล่าวกลายเป็นแหล่งธุรกิจที่สำคัญมากยิ่งขึ้น 4.บิ๊กโปรเจ็กต์ ด้านศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมขนาดใหญ่ การพัฒนาโครงการเมืองทองธานี ตั้งแต่ปี 2542 ซึ่งมีการพัฒนาศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมขนาดใหญ่และทันสมัยที่สุดแห่งหนึ่งของภูมิภาคเอเชีย โดยมีพื้นที่รวมกว่า 140,000 ตารางเมตร โดยเฉพาะ อิมแพ็ค มีอัตราการเติบโตอย่างต่อเนื่อง จากจำนวนผู้ใช้บริการจัดงานแสดงสินค้า นิทรรศการ ประชุม-สัมมนา งานเลี้ยงสังสรรค์ งานแต่งงาน คอนเสิร์ต กิจกรรมพิเศษอื่นๆ หมุนเวียนจัดงานรวมกว่า 1,000 งานต่อปี และมีจำนวนผู้เดินทางมาเยือนกว่า 10 ล้านคน    ภายในโครงการเมืองทองธานี ยังมีการพัฒนาโครงการอีกหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นที่อยู่อาศัย ศูนย์การค้า พื้นที่รีเทล โรงแรม คอมมูนิตี้มอลล์ต่างๆ อีกสารพัด ทำเมืองทองธานีมีความหนาแน่น ทั้งจำนวนประชากรผู้เข้ามาอยู่อาศัย และการติตต่อธุรกิจต่างๆ  ย่านแจ้งวัฒนะ ยังถูกเติมเต็มไปด้วยศูนย์การค้าขนาดใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นเซ็นทรัลแจ้งวัฒนะ บิ๊กซีซุปเปอร์เซ็นเตอร์ แม็คโคร คอมมูนิตี้มอลล์ และโครงการอื่นๆ อีกหลายโครงการ 5.บิ๊กดีเวลลอปเปอร์แห่เข้าพัฒนาโครงการ ทำเลที่มีแนวโน้มเติบโต และกลายเป็นย่านสำคัญในอนาคต  ปัจจัยชี้วัดอีกประการ คือดูได้จากการเข้าไปพัฒนาโครงการของบิ๊กดีเวลลอปเปอร์ต่างๆ เพราะหากทำเลนั้นไม่มีศักยภาพเพียงพอ ดีเวลลอปเปอร์จะไม่เข้าไปจับจองพื้นที่เพื่อพัฒนาโครงการอย่างแน่นอน ปัจจุบันในย่านแจ้งวัฒนามีบิ๊กดีเวลลอปเปอร์หลายรายเข้าไปพัฒนาโครงการแล้ว อาทิ   กลุ่มบางกอกแลนด์ พัฒนาโครงการศูนย์การค้า คอสโม บาซาร์ พื้นที่รวม 80,000 ตารางเมตร มีทั้งโรงภาพยนตร์เครือเอสเอฟ ซีนีม่า ซิตี้ 5 โรง ซูเปอราร์เก็ต ฟิตเนสเซ็นเตอร์ ร้านค้า และร้านอาหาร กลุ่มบีแลนด์ยังวางแผนนำที่ดิน 600 ไร่ บริเวณทะเลสาบเมืองทองธานี  พัมนาโครงการเลเชอร์ แอนด์ เอ็นเตอร์เท็นเมนท์ คอมเพล็กซ์ มูลค่า 5,000-6,000 ล้านบาทอีกด้วย   ความเคลื่อนไหวของบิ๊กดีเวลลอปเปอร์อื่นๆ ที่เริ่มเตรียมตัวเข้ามาพัฒนาโครงการในย่านแจ้งวัฒนะก็มีอีกหลายราย อาทิ  กลุ่มแอล.พี.เอ็น. ซื้อสนามฟุตบอลสยามสปอร์ต ขนาดที่ดิน 26 ไร่ กลุ่มเมเจอร์ ดีเวลลอปเม้นท์ ซื้อตึกร้างในเมืองทอง เพื่อเตรียมพัฒนาเป็นโครงการคอนโดฯ กลุ่มพฤกษา เรียลเอสเตท ซื้อที่ดิน 170 ไร่ เพื่อเตรียมพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัย และกลุ่มแสนสิริ ซื้อที่ดินบริเวณตลาดสวนมะลิ ขนาด 30 ไร่ เพื่อเตรียมพัฒนาโครงการคอนโดฯ  เปิดข้อมูลตลาดคอนโดฯ ย่านแจ้งวัฒนะ นอกเหนือจาก 5 เหตุผลสำคัญดังกล่าวแล้ว ทางไนท์แฟรงค์ ยังได้จัดทำผลวิจัยสนับสนุน ให้เห็นว่าย่านแจ้งวัฒนะมีอีกหนึ่งย่านสำคัญในด้านธุรกิจและตลาดที่อยู่อาศัย โดยรายงานว่า ตลาดคอนโดฯ บริเวณแจ้งวัฒนะในช่วงกลางปี 2562 ที่ผ่านมา  มีจำนวนทั้งสิ้น 18,942 ยูนิต โดยคอนโดฯ ในบริเวณนี้มีจำนวนห้องชุดใหม่เกิดขึ้นมากตั้งแต่ปี 2554 เนื่องจากมียูนิตงานราชการเริ่มย้ายสถานที่ทำการเข้ามาอยู่ในบริเวณศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ ส่งผลให้ผู้ประกอบการหันมาซื้อที่ดินเพื่อพัฒนาโครงการคอนโดฯ เพื่อรองรับ   แต่หลังจากเริ่มเปิดขายมากขึ้นในปี 2554  ในปีต่อมาพบว่า จำนวนห้องชุดใหม่เริ่มชะลอตัวลงและเพิ่มขึ้นสลับกันไปจนถึงปี 2561 และในปีนั้นเองได้เริ่มมีการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูช่วงมีนบุรี-แคราย จึงทำให้มีห้องชุดใหม่เปิดขายเพิ่มขึ้นมาเป็น 2,013 ยูนิต และครึ่งปีแรกของปี 2562 มีห้องชุดใหม่เปิดขายเพิ่มขึ้นมาจำนวน 1,838 ยูนิต และคาดว่าทั้งปี 2562 จะมีคอนโดฯ เปิดขายใหม่ในบริเวณนี้ประมาณ 3,000 ยูนิต กราฟแสดงอุปทานคอนโดมิเนียมบริเวณแจ้งวัฒนะ ปี 2554 ถึงกลางปี 2562 ช่วงกลางปี  2562 คอนโดฯ บริเวณแจ้งวัฒนะ มีจำนวนที่ขายไปแล้วประมาณ 12,271 ยูนิต จากจำนวนคอนโดฯ ที่เปิดขายทั้งสิ้น 18,942 ยูนิต คิดเป็นอัตราการขา 64.8% มีจำนวนคอนโดฯ เหลือขายประมาณ 6,671 ยูนิต จำนวนห้องชุดที่ในช่วง 6 ปีที่ผ่านมามีประมาณปีละ 1,350 ยูนิต เนื่องจากบริเวณนี้เป็นบริเวณที่มีศักยภาพเป็นบริเวณธุรกิจใหม่ แวดล้อมไปด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกในพื้นที่   โดยกลุ่มผู้ซื้อคอนโดฯ ในบริเวณนี้ คือ บุคลากรของหน่วยงานต่างๆ ในย่านนี้ และผู้ปกครองนักเรียนและนักศึกษาที่ศึกษาในสถาบันการศึกษาที่ตั้งอยู่ในบริเวณนี้ ที่สำคัญ ราคาคอนโดฯ ยังจับต้องได้ หากรถไฟฟ้าสายสีชมพูแล้วเสร็จการเดินทางไปยังสถานที่ต่างๆ ก็จะสะดวกมากยิ่งขึ้น  ราคาขายจึงมีแนวโน้มที่จะปรับตัวเพิ่มขึ้นด้วย   นอกจากนี้ กลุ่มผู้ซื้อคอนโดฯ  ในบริเวณนี้  มักซื้อเพื่ออยู่อาศัยเอง และมีบางส่วนซื้อเพื่อปล่อยเช่า บางส่วนซื้อเก็บไว้เป็นทรัพย์สินโดยคาดว่าคอนโดฯ ในบริเวณแจ้งวัฒนะ มีระดับราคาที่สามารถปรับตัวขึ้นได้ในอนาคต ยิ่งเมื่อระบบรถไฟฟ้าที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างแล้วเสร็จ ย่อมทำให้ราคาขายคอนโดฯ ในบริเวณนี้ปรับตัวเพิ่มขึ้น กราฟแสดงอุปทาน อุปสงค์ และ อัตราการขายคอนโดมิเนียมบริเวณแจ้งวัฒนะ 2554 ถึงกลางปี  2562   การพัฒนาคอนโดฯ บริเวณแจ้งวัฒนะ ส่วนใหญ่เป็นระดับเกรดซี โดยระดับราคาขายเฉลี่ยของคอนโดฯ เกรดซี ช่วงกลางปี 2562 มีระดับราคาขายเฉลี่ยอยู่ที่ 72,438 บาทต่อตารางเมตรเมตร ปรับตัวขึ้นจากปี 2554 ซึ่งมีราคาเฉลี่ยอยู่ที่ 53,680 บาทต่อตารางเมตร ค่าเฉลี่ยการปรับตัวขึ้นของคอนโดฯ ในบริเวณนี้จากปี 2554 ถึง กลางปี 2562 มีค่าเฉลี่ยสะสมในการปรับตัวในระยะเวลา 7 ปี (Compound Annual Growth Rate:CAGR) อยู่ในอัตรา 5% ในปี 2562 เริ่มมีการพัฒนาคอนโดฯ เกรดบี บริเวณแจ้งวัฒนะ และราคาขายเฉลี่ยของคอนโดฯ เกรดบี บริเวณแจ้งวัฒนะอยู่ที่ 80,150 บาทต่อตารางเมตร ณ กลางปี 2562 กราฟแสดงราคาขายเฉลี่ยคอนโดมิเนียมบริเวณแจ้งวัฒนะ 2554 ถึงกลางปี  2562
เปิดบทวิเคราะห์ EIC มาตรการอสังหาฯ ไม่ทำให้ตลาดฟื้นตัว

เปิดบทวิเคราะห์ EIC มาตรการอสังหาฯ ไม่ทำให้ตลาดฟื้นตัว

สัปดาห์ที่ผ่านมา (วันที่ 22 ตุลาคม 2562) คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบ มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในภาคอสังหาริมทรัพย์  ด้วยการออกมาตรการลดค่าธรรมเนียมจดทะเบียนโอน และจดจำนองให้กับผู้ซื้อที่อยู่อาศัยใหม่ ในราคาไม่เกิน 3 ล้านบาทออกมามีผลบังคับใช้ ซึ่งระยะเวลาไปสิ้นสุดในวันที่ 24 ธันวาคม 2563   นอกจากนี้ ครม. ยังมีมติเห็นชอบ  มาตรการสินเชื่อดอกเบี้ยพิเศษของธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ซึ่งคิดอัตราดอกเบี้ยที่ 2.5% ในช่วง 3 ปีแรกสำหรับผู้กู้ซื้อบ้านราคาไม่เกิน 3 ล้านบาท ด้วยวงเงินสินเชื่อรวม 50,000 ล้านบาทด้วย   ถือได้ว่าเป็นมาตรการที่ออกมาช่วยกระตุ้นให้ภาคอสังหาฯ ฟื้นตัวดีขึ้น  จากแรงกดดันของมาตรการกำหนดสินเชื่อต่อวงเงินหลักประกัน หรือ LTV ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ออกมาบังคับใช้ก่อนหน้านี้ ซึ่งส่งผลทำให้ตลาดอสังหาฯ โดยเฉพาะคอนโดมิเนียมชะลอตัวลงอย่างเห็นได้ชัดเจน นี่ยังไม่นับรวมปัจจัยเรื่องของภาวะเศรษฐกิจ กำลังซื้อ ปัญหาค่าเงิน และสงครามการค้าโลก ที่แม้ไม่ได้ส่งผลกระทบโดยตรง แต่ก็ทำให้ตลาดลูกค้าต่างชาติ ซึ่งเป็นหนึ่งกลุ่มลูกค้าที่เข้ามาเติมตลาดให้เติบโต ได้ชะลอตัวลดลงตามไปด้วย   จะว่าไปแล้วมาตรการลดค่าธรรมเนียมการโอน และค่าจดจำนองในครั้งนี้ ก็เป็นมาตรการต่อเนื่อง จากก่อนหน้าที่รัฐบาลได้ออกมาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการมีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง กับการลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สำหรับการซื้อบ้านพร้อมที่ดิน หรือคอนโดฯ มูลค่าไม่เกิน 5 ล้านบาท ตามจำนวนที่จ่ายภาษีจริง แต่จ่ายภาษีไม่เกิน 200,000 บาท กำหนดระยะเวลาของมาตรการสำหรับผู้ซื้ออสังหาฯ  ตั้งแต่วันที่ 30 เมษายน ถึง 31 ธันวาคม 2562  นอกจากนี้ ยังมีมาตรการลดค่าธรรมเนียมการโอนและค่าจดจำนองเหลือ 0.01% จากปกติต้องชำระในอัตรา 2% สำหรับบ้านและคอนโดฯ ที่มีราคาไม่เกิน 1 ล้านบาทด้วย   แต่ดูเหมือนว่ามาตรการที่กำหนดกรอบราคาบ้านเพียงแค่ 1 ล้านบาท จะไม่ได้ตอบโจทย์สภาพตลาดและความเป็นจริงในปัจจุบัน เพราะที่อยู่อาศัยที่ขายเป็นส่วนใหญ่ จะมีระดับราคาเฉลี่ยในราคา 2-3 ล้านบาท หากจะหาซื้อที่อยู่อาศัยในราคา 1 ล้านบาทได้นั้น  คงต้องออกไปชานเมืองที่ไกล หรือไม่ก็เป็นตลาดต่างจังหวัด มาตรการที่ออกมาก่อนหน้าจึงแทบจะเรียกได้ว่า ไม่ได้ช่วยกระตุ้นตลาดอสังหาฯ สักเท่าไร EIC ประเมินคอนโดฯ+ทาวน์เฮ้าส์ ได้ประโยชน์ ล่าสุด นางสาวนพมาศ ฮวบเจริญ นักวิเคราะห์อาวุโส  Economic Intelligence Center (EIC) ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ได้จัดทำบทวิเคราะห์  มาตรการลดค่าธรรมเนียมจดทะเบียนการโอน และจดจำนองว่ามีผลต่อตลาดอสังหาฯ อย่างไรบ้าง   โดยทาง EIC มองว่า กลุ่มที่อยู่อาศัยใหม่สร้างเสร็จพร้อมโอนระดับราคาต่ำกว่า 3 ล้านบาท  จะได้รับประโยชน์จากมาตราการ ซึ่งเป็นกลุ่มใหญ่ของตลาด  และเป็นประเภทคอนโดฯ และทาวน์เฮาส์ โดยเฉพาะในพื้นที่รอบนอกของกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด   จากข้อมูลยูนิตที่อยู่อาศัยเหลือขาย (ทั้งที่สร้างเสร็จและกำลังก่อสร้าง) ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ณ กลางปี 2019 ที่จัดเก็บโดย AREA พบว่า มียูนิตเหลือขายราคาต่ำกว่า 3 ล้านบาทอยู่ทั้งสิ้น 107,646 ยูนิต คิดเป็น 53% ของจำนวนเหลือขายทั้งหมด ซึ่งจำนวนเหลือขายราคาต่ำกว่า 3 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นคอนโดฯ ถึง 52% ของจำนวนเหลือขายราคาต่ำกว่า 3 ล้านบาททั้งหมด รองลงมาคือทาวน์เฮาส์มีสัดส่วน 43%  หากพิจารณาเป็นรายพื้นที่จะพบว่า  ที่อยู่อาศัยกลุ่มที่ได้ประโยชน์จะกระจุกตัวในพื้นที่รอบนอกกรุงเทพฯ เช่น รังสิตคลอง 1-16 บางบัวทอง บางนา กม.10-30 วงแหวนรอบนอก-เพชรเกษม และรัตนาธิเบศร์   มาตรการในครั้งนี้ มีเงื่อนไขครอบคลุมเฉพาะกลุ่มที่อยู่อาศัยใหม่ที่ราคาต่ำกว่า 3 ล้านบาท แตกต่างจากมาตรการลดค่าโอนและจดจำนองในปี 2558 ที่ครอบคลุมที่อยู่อาศัยทุกระดับราคา แม้ว่ามาตรการในครั้งนี้จะครอบคลุมกลุ่มที่อยู่อาศัยกลุ่มใหญ่  และเป็นมาตรการที่ออกมาต่อเนื่องจากมาตรการกระตุ้นภาคอสังหาฯ ในช่วงไตรมาสสองของปีนี้ แต่เงื่อนไขที่จำกัดเฉพาะที่อยู่อาศัยบางระดับราคาทำให้ผลบวกที่มีต่อตลาดโดยรวมจะมีไม่มากดังเช่นที่เคยเกิดขึ้นในปี 2551 และ 2558 ที่มีการใช้มาตรการแบบเดียวกัน ต่างกันที่ครอบคลุมที่อยู่อาศัยทุกระดับราคา โดยเฉพาะในปี 2558 ที่ครอบคลุมทั้งบ้านจัดสรรและไม่จัดสรร รวมถึงที่ดินจัดสรรด้วย   นอกจากนี้  มาตรการยังไม่ได้ระบุชัดเจนถึงวันที่มีผลบังคับใช้ ทำให้ธุรกรรมการโอนและจดจำนองของที่อยู่อาศัยราคาต่ำกว่า 3 ล้านบาทอาจหยุดชะงักในระยะสั้นจนกว่ามาตรการจะมีผลบังคับใช้ จากการที่ภาครัฐอนุมัติมาตรการลดค่าโอนและจดจำนองโดยที่ยังไม่ได้ระบุวันที่มีผลบังคับใช้ ทำให้ผู้ซื้อบ้านที่เข้าข่ายได้ประโยชน์จากมาตรการชะลอ/เลื่อนการโอนและจดจำนองออกไปก่อน เพื่อให้ตนเองสามารถได้รับประโยชน์จากมาตรการ   หากภาครัฐประกาศวันที่มีผลบังคับใช้ล่าช้า ก็อาจส่งผลระยะสั้นให้ธุรกรรมการซื้อขายบ้านบางส่วนหยุดชะงักลง  และอาจกระทบต่อยอดโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยในไตรมาส 4 ปีนี้ อย่างไรก็ตาม จากการสอบถามหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับมาตรการนี้ในเบื้องต้น หน่วยดังกล่าวแจ้งว่าอาจใช้เวลาประมาณ 1 เดือนในการเตรียมรายละเอียดของประกาศกระทรวงมหาดไทย โดยมีโอกาสที่มาตรการอาจเริ่มบังคับใช้ปลายเดือนพฤศจิกายน หรือ ต้นเดือนธันวาคม 2562 EIC ชี้มาตรการยังเป็นยาเบา ไม่กระตุ้นตลาดฟื้นตัว EIC ประเมินว่า มาตรการลดค่าโอนและจดจำนองในครั้งนี้ จะแค่บรรเทาผลกระทบจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจ และเกณฑ์ LTV ในระยะสั้น แต่ยังไม่สามารถผลักดันให้ตลาดที่อยู่อาศัยกลับมาขยายตัวได้สูงดังที่เคยเกิดขึ้นจากการใช้มาตรการในครั้งก่อน ๆ เนื่องจาก 1.มาตรการในปีนี้ส่งผลกระทบในวงแคบกว่าเมื่อเทียบกับปี 2551 และ 2558 ที่ได้ประโยชน์กับที่อยู่อาศัยในทุกระดับราคาตามที่กล่าวมาแล้วข้างต้น 2.เศรษฐกิจโลกและไทยที่มีแนวโน้มชะลอตัวลง  กดดันกำลังซื้อของชาวต่างชาติและชาวไทย โดยเฉพาะกลุ่มผู้มีรายได้น้อย-ปานกลางที่มีความเปราะบางต่อเศรษฐกิจที่ผันผวน 3.หนี้สินของภาคครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง ดังพิจารณาได้จากข้อมูลหนี้ครัวเรือนต่อ Disposable income ที่รายงานโดยธปท. ซึ่งอยู่ในระดับเกือบ 150% เทียบกับปี 2551 ที่อยู่ในระดับต่ำกว่า 100% ขณะที่อัตราส่วนหนี้ต่อรายได้ของผู้กู้ซื้อบ้านยังคงอยู่ในระดับสูง แม้ว่าจะลดลงมาบ้างหลังจากเกณฑ์ LTV มีผลบังคับใช้ ทำให้ความสามารถในการก่อหนี้ของครัวเรือนยังมีข้อจำกัดค่อนข้างมาก 4.สถาบันการเงินเข้มงวดในการให้สินเชื่อที่อยู่อาศัยมากขึ้น สะท้อนจากอัตราการอนุมัติสินเชื่อบ้านที่ลดลงและมาตรฐานการให้สินเชื่อบ้านที่เข้มงวดขึ้นผ่านการสำรวจของ ธปท. ที่มีประจำทุกไตรมาส 5.เกณฑ์ LTV ที่เข้มงวดมากขึ้น ทำให้ความสามารถในการซื้อที่อยู่อาศัยของผู้บริโภคลดลง ทั้งการที่ไม่สามารถกู้ยืมเพื่อซื้อบ้านในวงเงินที่สูงดังเช่นในอดีตและการหาผู้กู้ร่วมที่ยากมากขึ้นกว่าในอดีตก่อนมีมาตรการ LTV ใหม่ (แม้ว่า ธปท. จะผ่อนปรนเกณฑ์ LTV ในกรณีกู้ร่วม แต่การผ่อนปรนเฉพาะกรณีกู้ร่วมไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่อยู่อาศัย ซึ่งอาจมีสัดส่วนไม่มาก) ขณะที่มาตรการสินเชื่อดอกเบี้ยพิเศษของ ธอส. อาจไม่มากพอที่จะช่วยผลักดันให้ตลาดบ้านกลับมาขยายตัวได้ เนื่องจากวงเงินในมาตรการที่ค่อนข้างน้อย คิดเป็นประมาณ 5-7% ของยอดสินเชื่อใหม่เพื่อซื้อบ้านในแต่ละปีเท่านั้น เร่งการโอน ลดค่าใช้จ่าย 90,000 บาท แม้ว่าผลต่อการฟื้นตัวของตลาดที่อยู่อาศัยโดยรวมอาจมีไม่มาก แต่กลุ่มผู้ซื้อบ้าน Low-end และผู้ประกอบการที่เน้นบ้านกลุ่ม Low-end จะเป็นผู้ที่ได้รับผลประโยชน์จากมาตรการครั้งนี้ โดยผู้ซื้อบ้านใหม่ในราคาต่ำกว่า 3 ล้านบาท  จะสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายในการโอนและจดจำนองสูงสุดเกือบ 90,000 บาท ซึ่งอาจทำให้ผู้ซื้อบางส่วนเร่งเข้ามาโอนที่อยู่อาศัยเร็วขึ้นเพื่อให้ได้รับประโยชน์จากมาตรการ   ขณะที่ผู้พัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยหรือมี Backlog ราคาต่ำกว่า 3 ล้านบาทในสัดส่วนสูง  จะได้รับประโยชน์ เนื่องจากผู้ประกอบการสามารถประหยัดต้นทุนการออกโปรโมชัน  ลดค่าโอนและจดจำนอง  ซึ่งเป็นหนึ่งในโปรโมชันที่ผู้ประกอบการนิยมทำ โดยผู้ประกอบการอาจจะใช้โอกาสนี้ในการออกโปรโมชันอื่น ๆ เพิ่มเติมเพื่อกระตุ้นยอดขายและเร่งระบายที่อยู่อาศัยเหลือขายได้มากขึ้น   ตลาดที่อยู่อาศัยยังต้องใช้เวลาปรับตัวกับเกณฑ์ LTV ใหม่ประมาณ 1-2 ปี ซึ่งต้องอาศัยการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและความเชื่อมั่นของผู้บริโภคอย่างชัดเจนร่วมด้วย นอกเหนือจากการสนับสนุนจากมาตรการทางภาษี แม้รัฐบาลทยอยออกมาตรการทางภาษีหลายอย่างเพื่อช่วยพยุงตลาดที่อยู่อาศัยอย่างต่อเนื่อง แต่การปรับตัวของผู้บริโภคต่อเกณฑ์การให้สินเชื่อที่อยู่อาศัย หรือเกณฑ์ LTV ยังต้องใช้ระยะเวลา โดยอาศัยแรงขับเคลื่อนสำคัญจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและความเชื่อมั่นของผู้บริโภคอย่างชัดเจน เพื่อผลักดันกำลังซื้อให้มีได้มากขึ้นเพื่อทดแทนความสามารถในการซื้อที่อยู่อาศัยที่ลดลงจากเกณฑ์ LTV   อย่างไรก็ตาม มาตรการดังกล่าวอาจยังไม่สามารถส่งผลให้  ตลาดที่อยู่อาศัยกลับมาฟื้นตัวได้สูงเหมือนดังที่เคยเกิดขึ้น จากมาตรการแบบเดียวกันในอดีต เนื่องจากข้อจำกัด 3 ประการ ได้แก่ 1.ข้อจำกัดของมาตรการที่ครอบคุลมที่อยู่อาศัยเฉพาะกลุ่ม ซึ่งแตกต่างจากมาตรการในอดีตที่ครอบคุลมทุกระดับราคา 2.ข้อจำกัดด้านเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มชะลอตัวไม่เอื้อต่อกำลังซื้อของผู้บริโภค 3.ข้อจำกัดด้านการกู้ยืมของผู้ซื้อบ้าน จากภาระหนี้สินของภาคครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง ท่ามกลางความเข้มงวดของสถาบันการเงินและเกณฑ์ LTV ที่เข้มงวดมากในอดีต   ในบทสรุปสุดท้าย คงต้องติดตามกันต่อไปว่า มาตรการที่อออกมา จะส่งผลทำให้เกิดการซื้อขาย และโอนกรรมสิทธิ์กันได้มากน้อยแค่ไหน แต่สำหรับปีนี้จากระยะเวลาที่เหลืออยู่เพียง 2 เดือน  ภาพรวมของตลาดอสังหาฯ  คงเป็นไปตามที่หลายฝ่ายประเมิน ว่าตลาดคงไม่เติบโตเท่ากับปีที่ผ่านมา และคงต้องลุ้นกันใหม่ในปีหน้า ว่าสถานการณ์จะฟื้นตัวได้ดีขึ้นมากน้อยแค่ไหน  
เปิด 8 กลยุทธ์ ปั้น “เซ็นจูรี่” จับตลาด Gen Z

เปิด 8 กลยุทธ์ ปั้น “เซ็นจูรี่” จับตลาด Gen Z

เดี๋ยวนี้ศูนย์การค้า หรือคอมมูนิตี้มอลล์ จะพัฒนาออกมาโดยขาดคอนเซ็ปต์ หรือจุดขาย คงยากจะประสบความสำเร็จ ในการดึงคนให้เข้าไปใช้บริการ   เพราะไปตรงไหนก็มีพื้นที่ให้คนได้เข้าไปสร้างประสบการณ์อยู่ทุกมุมเมือง ยิ่งกลุ่มเป้าหมายเป็นคนรุ่นใหม่ พวก Gen Z ด้วยแล้ว เขาต้องการอะไรที่แปลกใหม่ และดึงดูดใจพวกเขาพอสมควร ดีเวลลอปเปอร์ต้อง “คิด” และ “ทำการบ้าน” แก้โจทย์ความต้องการของกลุ่มลูกค้าออกมาให้ได้ และตอบสนองพวกเข้าอย่างเต็มที่   สำหรับคอมมูนิตี้มอลล์ อย่างแบรนด์ “เซ็นจูรี่” ซึ่งแม้จะไม่ใช่ศูนย์การค้าขนาดใหญ่ และมีจำนวนสาขามากมายเมื่อเทียบกับดีเวลลอปเปอร์เจ้าตลาด แต่ก็ถือว่าเป็นศูนย์การค้าที่บรรดากลุ่มคน Gen Z ให้ความนิยมไปเดินเล่น ใช้ชีวิตประจำวัน และใช้บริการต่างๆ ภายในศูนย์การค้า เฉลี่ยต่อวันมากกว่า 30,000 คน หรือเดือนละกว่า 1 ล้านคนเลยทีเดียว ในเซ็นจูรี่ เดอะมูฟวี่ พลาซ่า สุขุมวิท ซึ่งเปิดให้บริการตั้งแต่ปี 2561  ที่ถือเป็น 1 ใน 2 สาขาของเครือเซ็นจูรี่      “เซ็นจูรี่ เดอะมูฟวี่ พลาซ่า สุขุมวิท” เป็นโครงการมิกซ์ยูสที่มีสินค้าและบริการ  ตอบทุกความต้องการและไลฟ์สไตล์ของกลุ่มเป้าหมายได้เป็นอย่างดี  บนพื้นที่กว่า 6 ไร่ มีขนาดพื้นที่ของโครงการกว่า 70,000 ตารางเมตร พื้นที่พลาซ่า 42,000 ตารางเมตร และมีพื้นที่ให้เช่า10,000 ตารางเมตร เปิดให้บริการตั้งแต่ปี 2561 เป็นโครงการที่ 2 ต่อยอดความสำเร็จจากโครงการแรก ที่ “เซ็นจูรี่ เดอะมูฟวี่  อนุสาวรีย์”  ซึ่งเปิดบริการมาตั้งแต่ปี 2548   นางชาลินี เจริญสุข ประธานฝ่ายบริหาร ศูนย์การค้าและโรงภาพยนตร์ เซ็นจูรี่ เดอะมูฟวี่ พลาซ่า  เล่าว่า ได้กำหนดให้แบรนด์เซ็นจูรี่  เป็น “ไลฟ์ไตล์ มอลล์”  ที่มีโรงภาพยนตร์เป็นของตัวเอง เพื่อตอบโจทย์คนยุคใหม่ Gen Z  ที่ต้องการความรวดเร็ว การไม่ได้พูดเกินความจริง  ปัจจุบันมีผู้เข้ามาใช้บริการภายในศูนย์การค้าวันละ 30,000 คน ถือว่าได้รับการตอบรับที่ดีจากกลุ่มเป้าหมาย ทั้งกลุ่มคนรุ่นใหม่และผู้เริ่มต้นทำงาน     ความสำเร็จของแบรนด์เซ็นจูรี่ เกิดจากปัจจัยความสำเร็จต่างๆ ที่เป็น 8 กลยุทธ์สำคัญ  ได้แก่ 1.ทำเลติดรถไฟฟ้า “เซ็นจูรี่” ทั้ง 2 สาขา ตั้งอยู่ใกล้รถไฟฟ้า ซึ่งลูกค้าสามารถเดินทางเข้าศูนย์การค้าได้โดยสะดวก มีทางเชื่อมต่อเข้าไปยังศูนย์การค้า ถือเป็นหัวใจสำคัญ ของความสำเร็จเบื้องต้น เพราะหากการเดินทางมายังศูนย์การค้าได้สะดวก ก็จะทำให้คนนิยมเดินทางมาใช้บริการ 2.เข้าใจไลฟ์สไตล์กลุ่มเป้าหมาย   กลุ่มเป้าหมายหลักของ “เซ็นจูรี่” คือ กลุ่มเริ่มต้นวัยทำงาน และกลุ่ม Gen Z ซึ่งมีพฤติกรรมที่เปิดกว้างทางความคิดและวัฒนธรรมที่แตกต่าง  มีแนวโน้มที่จะปรับทัศนคติได้ดี  มีความกล้าแสดงออก ชอบโชว์ มีความมั่นใจสูง ชอบทำงานหลายอย่างพร้อมกัน     ดังนั้นการสื่อสารการตลาด จึงใช้สื่อออนไลน์เป็นหลัก ทั้งเว็บไซต์ และโซเชี่ยลมีเดีย ไม่เพียงแต่ใช้ด้านการสื่อสารการตลาด แต่ยังจัดเก็บข้อมูล เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าด้วย 3.ราคา สบายกระเป๋า ปัจจุบัน “ไลฟ์สไตล์ มอลล์” หรือผู้ให้บริการโรงภาพยนตร์ มีอยู่จำนวนมากและตั้งอยู่ในทุกโลเกชั่น การสร้างความแตกต่างของ “เซ็นจูรี่” คือ การใช้กลยุทธ์ ความคุ้มค่า  อาทิ  Member Card บัตรสำหรับคนรักหนัง ที่มีส่วนลดและสิทธิพิเศษต่างๆ  และ Century Student Card สำหรับกลุ่มนักเรียน นักศึกษา อายุไม่เกิน 25 ปี 4.ปรับรูปแบบการขายให้โดนใจ เนื่องจากกลุ่ม Gen Z ชอบรวมกลุ่มจัดกิจกรรม แต่มักจะเลือกสถานที่จัดงานที่มีความแตกต่าง โรงภาพยนตร์ก็เป็นหนึ่งในทางเลือกของพวกเขาเหล่านั้น  ซึ่งทางเซ็นจูรี่จึงเปิดให้บริการเช่าโรงภาพยนตร์แบบเหมารอบได้ พร้อมด้วยการบริการอาหารและเครื่องดื่มต่างๆ ด้วย  ปัจจุบันบริษัทมีรายได้จากการเช่าเหมาโรง สัดส่วน 20% 5.จัดโปรฯ ต่อเนื่อง อีกกลยุทธ์หนึ่งที่ต่อยอดเรื่องความคุ้มค่า คือ การจัดโปรโมชั่นอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ลูกค้าได้รับบริการในราคาที่คุ้มค่า และกระตุ้นยอดขายอย่างต่อเนื่อง อาทิ โปรฯ ใจบุญ  ทุกวันพระ ซื้อตั๋ว 2 ใบได้รับแถม 1 ใบ หรือโปรฯ หลบฝน หากเกิดฝนตก จะลดค่าตั๋วให้ 50%  เป็นต้น 6.กิจกรรมเอาใจ Gen Z   เพื่อให้ผู้ใช้บริการในศูนย์การค้าได้รับประสบการณ์ใหม่อย่างต่อเนื่อง ทำให้มีการกิจกรรมเกิดขึ้นภายในศูนย์การค้าอย่างต่อเนื่อง  ซึ่งเซ็นจูรี่จะกิจกรรมออนไลน์  ด้วยการไลฟ์สดทุกวันพุธ และยังจัดกิจกรรมอื่นๆ ด้วย อย่างล่าสุดการแข่งขัน Century Cover Dance 2019 ครั้งที่ 2  เพื่อเปิดเวทีและโอกาสให้น้องๆ เยาวชน ได้มีเวทีแสดงความสามารถ ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ และเพื่อให้เยาวชนหันมาสนใจด้านการแสดงออก 7.เพิ่มพื้นที่ตลาดไนท์มาร์เก็ต สร้างสีสัน แม้ว่าปัจจุบันการขายสินค้า เทรนด์จะเปลี่ยนไปสู่ตลาดออนไลน์ แต่ก็ต้องยอมรับว่าลูกค้าส่วนใหญ่ ยังต้องการการเห็นสินค้าของจริง การมีหน้าร้านจึงยังเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับพ่อค้าแม่ค้าในยุคปัจจุบัน เซ็นจูรี่จึงเชื่อมโลกทั้งสองเข้าไว้ด้วยกัน ผ่านกลยุทธ์ O2O (Online to Offline)  โดยเปิดพื้นที่ “ไนท์มาร์เก็ต” ให้บริการตั้งแต่เวลา 17.00 เป็นต้นไป  ให้เป็นแหล่งช้อปปิ้งย่านสุขุมวิท ที่รวบรวบสินค้าต่างๆ ไว้มากมาย 8.บริการครบ จบในที่เดียว ไลฟ์สไตล์ของคนยุคปัจจุบัน นอกจากต้องการได้รับบริการที่สะดวกและรวดเร็วแล้ว  การได้รับบริการที่ครบ จบในที่เดียว ก็เป็นสิ่งที่พวกเขาต้องการ  ทำให้เซ็นจูรี่มีให้บริการมากกว่าโรงภาพยนตร์  โดยมีทั้งท็อปซุปเปอร์มาร์เก็ต เพาเวอร์บาย  ฟู้ดคอร์ท ธนาคาร  โรงเรียนกวดวิชา ซาลอน  และอื่นๆ เพราะต้องการให้ลูกค้ามาใช้บริการได้ทุกวัน “ยุคนี้คนส่วนใหญ่ทำอะไรด้วยความรวดเร็ว และต้องเข้าถึงง่าย การไปศูนย์การค้า ยกตัวอย่าง มาที่นี่ ไม่เกินสิบนาที ต้องทำทุกอย่างได้เสร็จ  ซื้อกาแฟ  ของใช้ส่วนตัว แล้วไปต่อ  หรือระหว่างวัน จะมาทานอาหาร ทำเล็บ ทำผม หรือออกกำลังกาย ทำได้ครบหมด”   และนี่คงคือ 8 ปัจจัยความสำเร็จ ที่ได้ถูกวางเอาไว้เพื่อให้ “เซ็นจูรี่” สามารถยืนหยัดต่อสู้กับสมรภูมิค้าปลีก ซึ่งปัจจุบันมีพื้นที่ค้าปลีกกระจายอยู่ทั่วทุกมุมเมือง เพราะการเดินทางโดยรถไฟฟ้าที่สะดวก และขยายออกไปทุกพื้นที่ของกรุงเทพฯ​ และปริมณฑล  แต่การบริหารศูนย์การค้ายุคปัจจุบันจะยั่งยืนแค่ไหน  คงต้องมีปัจจัยความสำเร็จอื่นๆ มาเพิ่ม รวมถึงการทำตลาดและพัฒนาศูนย์การค้าอย่างไม่หยุดยั้งด้วย
เปิดราคาบ้าน-คอนโดฯ ไตรมาส 3 ปรับเพิ่มทั่วหน้า บิ๊กอสังหาฯ อัดของแถมเรียกยอดขาย

เปิดราคาบ้าน-คอนโดฯ ไตรมาส 3 ปรับเพิ่มทั่วหน้า บิ๊กอสังหาฯ อัดของแถมเรียกยอดขาย

แม้ว่าตลาดอสังหาริมทรัพย์ปีนี้ จะลดระดับความร้อนแรง จากมาตรการ LTV ความกังวลใจต่อภาวะเศรษฐกิจ และกำลังซื้อชะลอตัว  ทำให้ผู้ประกอบการต้องปรับแผนเปิดตัวโครงการใหม่ ทั้งชะลอ ทั้งเลื่อนกำหนดการเปิด จากเดิมที่ตั้งใจเอาไว้  เป็นปรากฎการณ์ที่เห็นได้ชัด ว่าผู้ประกอบการทั้งหลายไม่มั่นใจตลาด หากปล่อยของออกมามากๆ แล้วจะขายได้หมด   แต่แม้โครงการใหม่ที่ออกมาทำตลาด ไม่ได้เป็นไปตามที่บอกไว้เมื่อต้นปี แต่สิ่งหนึ่งที่ยังไม่เปลี่ยนแปลง คือ การเพิ่มขึ้นของราคาที่อยู่อาศัย ไม่ว่าจะเป็นบ้านหรือคอนโดมิเนียม ขยับขึ้นทุกๆ โครงการ เหตุผลสำคัญ คงเป็นเพราะราคาที่ดินไม่ได้ถูกลง แถมจะปรับเพิ่มขึ้นมากเสียด้วย เพราะที่ดินมีจำกัดยิ่งในทำเลดีๆ เจ้าของมีสิทธิ์กำหนดราคาขายได้ตามความพอใจ โดยเฉพาะเจ้าของที่ดินที่ไม่ได้เดือดร้อนเรื่องการเงิน ที่ดินแพงก็เลยสะท้อนกลับมาที่ราคาของบ้านหรือคอนโดฯ   แม้ตลาดอสังหาฯ ปีนี้ไม่ค่อยดี แต่ต้นทุนผู้ประกอบการขยับขึ้น ราคาขายจำเป็นต้องปรับสูง ซึ่งอาจจะส่งผลต่อยอดขายที่จะชะลอตัว  สิ่งที่เป็นทางออกของผู้ประกอบการเลือกจะทำ คือ การใช้กลยุทธ์โปรโมชั่น ไม่ว่าจะเป็นของแถม ส่วนลด สิทธิพิเศษต่างๆ เพื่อมาทำให้ลูกค้าเห็นว่า ได้ความคุ้มค่าคุ้มราคา โดยเฉพาะโปรโมชั่นในส่วนของราคา ตอนนี้อาจจะเห็นกันเยอะหน่อย บางโครงการหั่นราคาขายต่ำกว่าช่วงพรีเซลล์ด้วยซ้ำ แต่บางโครงการก็ยังไม่ปรับขึ้นราคาขาย รอให้สภาวะตลาดฟื้นตัวดีกว่านี้ก่อน   คอนโดฯ ใหม่ราคาปรับเพิ่ม 7%   ​​​​​​​​​​​ ข้อมูลล่าสุดจากศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) โดย ดร. วิชัย วิรัตกพันธ์ ผู้ตรวจการธนาคาร กล่าวในฐานะรักษาการผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ รายงานว่า ราคาห้องชุดคอนโดฯ ใหม่ ที่อยู่ระหว่างการขาย ในพื้นที่กรุงเทพฯ - จังหวัดนนทบุรี และสมุทรปราการ ปรับเพิ่มขึ้น 7% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน  และปรับเพิ่มขึ้น 1.7% เมื่อเทียบกับราคาในไตรมาสก่อนหน้า แม้ว่าราคาที่เพิ่มขึ้นจะเป็นอัตราที่ชะลอตัวลงมาต่อเนื่อง 2 ไตรมาสแล้วก็ตาม     การชะลอตัวของราคาอาจเป็นผลจากการชะลอตัวของภาวะตลาด ซึ่งสอดคล้องกับการโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดในไตรมาส 2 ซึ่งลดลง  9% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน  และลดลง 27.7% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน  ส่งผลให้ผู้ประกอบการชะลอการปรับขึ้นราคาขาย และใช้วิธีการส่งเสริมการขายในการแข่งขันกันมากขึ้น   ถ้าดูเฉพาะพื้นที่กรุงเทพฯ  จะพบว่าราคาคอนโดฯ ใหม่มีการปรับเพิ่มขึ้น 7.5% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และเพิ่มขึ้น 1.8% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า ส่วนพื้นที่ปริมณฑลทั้ง 2 จังหวัด มีราคาเพิ่มขึ้น 5% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน และเพิ่มขึ้น 1.3% เมื่อเทียบกับช่วงไตรมาสก่อนหน้า ราคาบ้านจัดสรรปรับเพิ่ม 3.2%    มาดูราคาบ้านจัดสรรใหม่ที่อยู่ระหว่างการขายกันบ้าง ในช่วงไตรมาสที่ 3 มีการปรับราคาเพิ่มขึ้นแค่ไหน จากข้อมูล พบว่ามีการปรับราคาเพิ่มขึ้น 3.2% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน และเพิ่มขึ้น 0.8% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า  เมื่อดูตามพื้นที่แล้ว พบว่า ในเขตกรุงเทพฯ มีราคาปรับเพิ่มขึ้น 2.9% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน  และเพิ่มขึ้น 0.9% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า   ส่วนในพื้นที่ปริมณฑล 3 จังหวัดที่ทำการสำรวจ ได้แก่ จังหวัดนนทบุรี ปทุมธานี และสมุทรปราการ มีราคาเพิ่มขึ้น 2.8% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน(YoY) และเพิ่มขึ้น 0.8% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า      โดยหากแยกเป็นบ้านจัดสรรประเภทบ้านเดี่ยว พบว่า ราคาบ้านเดี่ยว ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ไตรมาส 3 ปี 2562 เพิ่มขึ้น 3.3% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน และเพิ่มขึ้น 1.1% เมื่อเทียบกับ ไตรมาสก่อนหน้า เฉพาะพื้นที่กรุงเทพฯ มีราคาเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.1% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน และเพิ่มขึ้น  1.3% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า ส่วนในพื้นที่ปริมณฑล  ราคาเพิ่มขึ้น 2.5% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน  และเพิ่มขึ้น 1.1% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า     ส่วนราคาทาวน์เฮ้าส์ ในกรุงเทพฯ – ปริมณฑล ปรับเพิ่มขึ้น  3.1% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน และเพิ่มขึ้น 0.5% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า ซึ่งในพื้นที่กรุงเทพฯ ราคาเพิ่มขึ้น 2.7% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน และเพิ่มขึ้น 0.4% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า ขณะที่พื้นที่ปริมณฑล  ราคาเพิ่มขึ้น 3.2% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน  และเพิ่มขึ้น  0.5% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า อัดโปรฯ ของแถมกระตุ้นยอดขาย   วิธีการพื้นฐานตามหลักการตลาด 4P กลยุทธ์ P-Promotion มักจะถูกนำมาใช้เพื่อกระตุ้นยอดขาย ให้กับสินค้าและบริการเสมอ ในช่วงที่ตลาดชะลอตัว สำหรับตลาดอสังหาฯ  ก็ไม่หนีหนทางนี้  สำหรับตลาดคอนโดฯ รายการส่งเสริมการขายในไตรมาสนี้ ส่วนใหญ่ 57.4% จะเร่งรัดการตัดสินใจของผู้ซื้อด้วยของแถม เช่น เฟอร์นิเจอร์ เครื่องใช้ไฟฟ้า รองลงมา 31.2% เป็นส่วนลดเงินสด และ 11.4% จะช่วยผู้ซื้อจ่ายค่าธรรมเนียมในการโอนกรรมสิทธิ์ สอดคล้องกับรายการส่งเสริมการขายในไตรมาสก่อน ขณะที่ตลาดบ้านจัดสรรใหม่ที่อยู่ระหว่างการขาย  รายการส่งเสริมการขาย ส่วนใหญ่ 45.4% จะจูงใจผู้ซื้อโดยการเสนอด้วยของแถม เช่น เครื่องปรับอากาศ เฟอร์นิเจอร์ ผ้าม่าน ปั๊มน้ำ แท้งก์น้ำ  รองลงมา 37.1%จะช่วยผู้ซื้อจ่ายค่าธรรมเนียมในการโอนกรรมสิทธิ์ และ/หรือ ฟรีค่าส่วนกลาง และ 17.5% จะให้เป็นส่วนลดเงินสด ในขณะที่ไตรมาส 2 ปี 2562 รายการส่งเสริมการขาย ส่วนใหญ่ 59.7% เป็นของแถม เช่น เครื่องปรับอากาศ เฟอร์นิเจอร์ ผ้าม่าน ปั๊มน้ำ แท้งก์น้ำ ฯลฯ รองลงมา 27.0% จะให้เป็นส่วนลดเงินสดและ 13.3% จะช่วยผู้ซื้อจ่ายค่าธรรมเนียมในการโอนกรรมสิทธิ์ และ/หรือ ฟรีค่าส่วนกลาง        
Hostel ต้องปรับตัวอย่างไร ให้ชนะใจนักท่องเที่ยว

Hostel ต้องปรับตัวอย่างไร ให้ชนะใจนักท่องเที่ยว

ต้องยอมรับว่า ตลาดท่องเที่ยวของไทย เป็นหนึ่งในตัวทำรายได้หลักให้กับประเทศ เพราะเมืองไทยเรียกได้ว่ามีความพร้อมด้านการท่องเที่ยวในทุกรูปแบบ แถมการเที่ยวเมืองไทยยังมีต้นทุนไม่สูง หากจะเทียบกับหลายๆ ประเทศ ทำให้นักท่องเที่ยวจากทั่วทุกมุมโลก หลั่งไหลเข้ามาไม่ขาดสาย   ช่วงที่ผ่านมาธุรกิจโรงแรม คือ หนึ่งในธุรกิจที่เติบโตตามการเติบโตของตลาดท่องเที่ยว แต่รูปแบบการพักอาสัยในปัจจุบันได้ปรับเปลี่ยนไปตามไลฟ์สไตล์ของนักท่องเที่ยวยุคใหม่ อย่างกลุ่มมิลเลนเนียล หรือคนรุ่นใหม่ ผู้ที่เกิดช่วงปี 2524-2539  ที่ไม่ได้ต้องการสถานที่พักแบบหรูหรา แต่สร้างประสบการณ์การท่องเที่ยว ในงบประมาณที่จำกัด รูปแบบที่พักอาศัยอย่างโฮลเทล จึงเกิดขึ้นมารองรับกับกลุ่มนักเดินทางเหล่านั้น   ปัจจุบันมีที่พักในรูปแบบโฮสเทลเกิดขึ้นมากมาย เรียกได้ว่าแทบจะทุกมุมถนน โดยเฉพาะทำเลที่ใกล้กับระบบคมนาคมที่เดินทางสะดวก ถือได้ว่าเป็นยุคการเติบโตของธุรกิจโฮสเทลเลยก็ว่าได้ แต่ อย่างไรก็ดี ผู้ประกอบการโฮสเทล ยังต้องเผชิญกับความท้าทายมากมาย  ไม่ว่าจะเป็นเรื่องภาวะการแข่งขันที่สูง  ช่วงราคาห้องพักต่อคืนที่ต่ำ และจำนวนเตียงที่ขายได้น้อย  จึงทำให้ยากแก่การปรับตัว ปัญหาต่างๆ เหล่านี้ ทาง Economic Intelligence Center (EIC)  ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) มีบทวิเคราะห์ที่น่าสนใจมานำเสนอ   มิลเลนเนียลปัจจัยหลักกระตุ้นธุรกิจ     หากกล่าวถึงที่พักสำหรับนักท่องเที่ยวในอดีตอาจนึกถึงแค่โรงแรม ที่เพียบพร้อมไปด้วยการบริการ สิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน และราคาที่ค่อนข้างสูง แต่ภายใน 10 ปีผ่านมาที่พักประเภทโฮสเทล  ได้ก้าวเข้ามามีบทบาทที่สำคัญของการท่องเที่ยวไทยมากขึ้น เพื่อรองรับโครงสร้างนักท่องเที่ยวที่เปลี่ยนไป   ในปี 2561 ประเทศไทยรองรับนักท่องเที่ยวต่างชาติราว 38.3 ล้านคน หนึ่งในปัจจัยสนับสนุนหลักมาจากนักท่องเที่ยวในช่วงอายุ 25 ถึง 34 ปี จากทั่วโลกหลั่งไหลเข้ามายังประเทศไทยในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา คิดเป็นกว่า 28% ของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติทั้งหมดที่เข้ามายังประเทศไทย มีอัตราการเติบโตเฉลี่ยสะสมอยู่ที่ 12.5% ตั้งแต่ปี 2555 ถึง 2560 ขณะที่กลุ่มอายุอื่นอยู่ที่ 9% มิลเลนเนียล กำลังกลายเป็นผู้บริโภคหลักในหลากหลายอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมสำคัญของไทย พฤติกรรมสำคัญของกลุ่ม มิลเลนเนียล คือการนำ “การท่องเที่ยว” มาเป็นหนึ่งในเป้าหมายหลักในการใช้ชีวิต   ทั้งยังให้ความสำคัญกับการสร้างความสมดุลระหว่างการทำงานและการพักผ่อน รวมถึงมีพฤติกรรมการเลือกเข้าพักโฮสเทล มากกว่ากลุ่มอื่น จากการสำรวจโดย Hostelworld group ผู้ให้บริการจองโฮสเทลออนไลน์อันดับ 1 ระบุว่า ผู้เข้าพักโฮสเทลมากกว่า 70% เป็นชาวมิลเลนเนียล   สำหรับคุณลักษณะสำคัญ 3 ประการ ของชาวมิลเลนเนียล ที่ถือว่าเป็นกลุ่มนักท่องเที่ยวสำคัญในการเข้ามาสนับสนุนให้ธุรกิจอย่างโฮสเทล คือ   1.นิยมท่องเที่ยวตามชุมชน เพื่อมองหาประสบการณ์ที่แปลกใหม่ แสวงหาความท้าทาย จากการศึกษาโดย Amadeus ซึ่งเป็นผู้นำการให้บริการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเดินทางและการท่องเที่ยวระดับโลก ทำการวิจัยนักท่องเที่ยวในเอเชียแปซิฟิกกว่า 7,000 คนใน 14 ประเทศ   ผลวิจัยระบุว่า ชาวมิลเลนเนียล ให้ความสำคัญกับคำแนะนำเกี่ยวกับประสบการณ์ที่แปลกใหม่ตามชุมชน  มากกว่าคำแนะนำเรื่องการประหยัดค่าใช้จ่ายในการท่องเที่ยว ทั้งนี้โรงแรมส่วนใหญ่มักตั้งอยู่ตามไพร์มโลเกชั่น มากกว่าตามพื้นที่ตามชุมชน แตกต่างจากโฮสเทล ที่ผู้ประกอบการส่วนใหญ่เป็นคนในพื้นที่ ที่นำที่พัก บ้าน หรือตึกแถวมาปรับปรุงเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวตามชุมชนได้เป็นอย่างดี   2.ไม่ชอบเที่ยวกับคนหมู่มาก นักท่องเที่ยวชาวมิลเลนเนียล ชอบท่องเที่ยวคนเดียว (Solo traveler) มากกว่าการท่องเที่ยวกับกรุ๊ปทัวร์ จากการวิจัยโดย Princeton Survey Research Association พบว่า 58% ของนักท่องเที่ยวชาวมิลเลนเนียล ทั่วโลกชอบที่จะท่องเที่ยวคนเดียว ขณะที่นักท่องเที่ยวกลุ่มอื่นอยู่ที่ราว 47% อย่างไรก็ตาม ชาวมิลเลนเนียล ยังคงเป็นห่วงเรื่องความปลอดภัย ความสะดวกสบายในการเดินทาง จึงทำให้ยังมีการจับกลุ่มท่องเที่ยวกับ Solo traveler คนอื่น ๆ ตามโฮสเทล   3.ชาวมิลเลนเนียลชอบเที่ยวบ่อย จากการสำรวจโดย Expedia Media Solution พบว่าคนรุ่นมิลเลนเนียล เดินทางไปเที่ยวบ่อยที่สุดอยู่ที่ประมาณ 6 ครั้งต่อปี ขณะที่ชาวเบบี้บูมเมอร์เดินทางท่องเที่ยวประมาณ 4 ครั้งต่อปี ด้วยความที่ชาวมิลเลนเนียล  ชื่นชอบการท่องเที่ยวบ่อย ๆ เพื่อต้องการเติมเต็มให้กับชีวิต ผ่อนคลายความเครียดจากการทำงาน   จากการศึกษาโดย TripAdvisor พบว่าชาวมิลเลนเนียล ใช้จ่ายในค่าที่พัก น้อยกว่าครึ่งของชาวเบบี้บูมเมอร์    จากการเลือกสรรที่พักให้อยู่ในงบที่จำกัดโฮสเทล  จึงนับเป็นตัวเลือกสำคัญของที่พักราคาถูก ตอบสนองความต้องการของชาวมิลเลนเนียล เดินทางท่องเที่ยวบ่อย แต่มีงบจำกัด ทั้งนี้ช่วงราคาที่พักต่อเตียง หรือต่อห้องของโฮสเทลนั้นต่ำกว่าช่วงราคาที่พักประเภทอื่นส่วนใหญ่   จากปัจจัยดังกล่าวชาวมิลเลนเนียล จึงมีส่วนสำคัญในการช่วยกระตุ้นให้ธุรกิจโฮสเทลเติบโต และได้รับความสนใจจากนักลงทุนจำนวนมาก ทั้งนี้ EIC ได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูลบน TripAdvisor พบว่า 9 จังหวัดที่มีจำนวนโฮสเทลมากที่สุดประกอบด้วย กรุงเทพฯ สุราษฎร์ธานี เชียงใหม่ กระบี่ ภูเก็ต ชลบุรี เชียงราย ประจวบคีรีขันธ์ (หัวหิน) และแม่ฮ่องสอน ตามลำดับ   โดยจังหวัดที่มีสัดส่วนโฮสเทลต่อจำนวนที่พักทั้งหมดมากที่สุดคือ กรุงเทพฯ คิดเป็นอย่างน้อย 17% จากที่พักทั้งหมดกว่า 3,000 แห่ง รองลงมาคือ เชียงใหม่ สัดส่วน 12%​ และสุราษฎร์ธานี สัดส่วน 9% ตามลำดับ ซึ่งการเข้ามาลงทุนทำธุรกิจโฮสเทลตามหัวเมืองท่องเที่ยวต่าง ๆ ส่งผลกระทบโดยตรงต่อผู้ประกอบการเดิมที่ถูกผู้ประกอบการใหม่เข้ามาแย่งส่วนแบ่งตลาด นอกจากการเข้ามาในรูปแบบโฮสเทลอิสระ (Independent Hostel) แล้วยังมีเชนโฮสเทล ต่าง ๆ เข้ามาด้วย อาทิ Mad Monkey hostel และ Slumber Party Hostels   โฮสเทลควรทำอย่างไรเพื่ออยู่รอด การปรับตัวของธุรกิจโฮสเทล อาจไม่แตกต่างกันมากนักกับธุรกิจโรงแรม แต่ด้วยขนาดของโฮสเทล ที่มีจำนวนเตียงค่อนข้างน้อยเหมาะสำหรับลูกค้าประเภท F.I.T (Free Independent Travelers : นักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้าพักลำพัง หรือนักท่องเที่ยวกลุ่มเล็กๆ) และรับลูกค้าประเภทกรุ๊ปทัวร์ได้ยาก   นอกจากนี้ผู้เข้าพักค่อนข้างอ่อนไหวต่อราคา การปรับตัวจึงเป็นไปอย่างจำกัด ทั้งทางด้านงบประมาณในการดำเนินกิจการและการทำตลาด ดังนั้นสิ่งที่ EIC มองว่าผู้ประกอบการโฮสเทล สามารถทำได้คือ   -ต้องมีกลุ่มลูกค้าที่ชัดเจน สำหรับโฮสเทล ที่มีจำนวนห้องและงบประมาณในการดำเนินกิจการที่จำกัด จึงทำให้การทำการตลาดของโฮสเทลนั้นทำได้ในวงแคบ การมีกลุ่มลูกค้าที่ชัดเจนจะสามารถทำให้โฮสเทล สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินธุรกิจได้ กลุ่มลูกค้ามักมีความต้องการที่ต่างกัน เช่น นักท่องเที่ยวเชิงธุรกิจมักมองหาที่พักที่สงบ เหมาะแก่การพักผ่อน มีโต๊ะทำงาน มีที่จอดรถและ Wi-Fi ขณะที่นักท่องเที่ยว Backpacker ต้องการพื้นที่พูดคุยกับผู้เข้าพักอื่น เช่น มี Mini bar สำหรับการแบ่งปันเรื่องราวการเดินทาง บางกลุ่มชอบ Party ชอบการทำกิจกรรม บางกลุ่มชอบห้องพักที่ได้รับการตกแต่งที่สวยงาม ทันสมัย เป็นต้น เมื่อโฮสเทลสามารถหาจุดยืนที่ชัดเจนและเข้าใจความต้องการของลูกค้าเฉพาะกลุ่มแล้ว ผู้ประกอบการจะสามารถวางแผนการตลาด และเจาะกลุ่มลูกค้าได้อย่างตรงจุดในงบประมาณที่มีอยู่อย่างจำกัด   -ประสบการณ์การเข้าพักของนักท่องเที่ยว คือ ปัจจัยหลักของธุรกิจโฮสเทล  ผู้เข้าพักโฮสเทลมักไม่ได้ให้ความสำคัญกับข้าวของเครื่องใช้ที่ครบครันเท่ากับผู้เข้าพักโรงแรม แต่มักมองหาประสบการณ์การเข้าพักมากกว่า ดังนั้นการสื่อสารกับผู้เข้าพักจึงนับเป็นหนึ่งในปัจจัยที่สำคัญที่สุด การสื่อสารสามารถทำได้ผ่านพนักงาน ซึ่งต้องสามารถพูดคุยแลกเปลี่ยนแนวความคิด วัฒนธรรม พื้นฐานสังคมได้อย่างดี รวมถึงการบริการที่เป็นกันเอง ความเอาใจใส่ และความเข้าใจถึงความต้องการของผู้เข้าพัก นอกจากนี้การสร้างประสบการณ์เกี่ยวกับชุมชน โดยสื่อสารผ่าน การตกแต่ง การบอกเล่า หรือการทำให้สิ่งแวดล้อมมีความเป็นชุมชน เช่น การจัดกิจกรรม หรือ Workshop ต่าง ๆ ร่วมกับชุมชน เป็นต้น   -เมื่อผู้เข้าพักพึงพอใจ ทำยังไงให้บอกต่อ ผู้ประกอบการโฮสเทลควรกระตุ้นให้ผู้เข้าพักบอกต่อความรู้สึกดีๆ และประสบการณ์ระหว่างเข้าพัก จากการรวบรวมข้อมูลและวิจัยโดย SiteMinder ผู้ให้บริการ Cloud platform และระบบการจัดการแก่ที่พัก พบว่าเมื่อที่พักขอร้องให้ช่วยแสดงความคิดเห็น ผู้เข้าพักกว่า 80% ยินดีที่จะเขียนรีวิวให้กับที่พัก หากที่พักไม่ขอร้องจะมีเพียง 22% เท่านั้นที่จะแสดงความคิดเห็นหลังการเข้าพักด้วยตนเอง   การบอกต่อประสบการณ์นั้นสามารถทำได้หลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น การบอกเล่ากับนักท่องเที่ยวอื่น การเขียนรีวิวบน เฟซบุ๊ก อินสตาแกรม ของนักท่องเที่ยวเอง ซึ่งค่อนข้างแตกต่างจากธุรกิจโรงแรมที่มุ่งเน้นการรีวิวบนแพลตฟอร์ม OTAs (Online Travel Agents) เนื่องจากกลุ่มลูกค้าค่อนข้างกระจาย ไม่เฉพาะกลุ่ม กลับกันธรรมชาติของผู้เข้าพักโฮสเทล มักสอบถามจากผู้มีประสบการณ์การเดินทาง การพูดคุยหรืออ่านรีวิวในกลุ่มที่มีความชื่นชอบคล้าย ๆ กันมากกว่า     ดังนั้น โฮสเทลควรขอร้องผู้เข้าพักให้ช่วยแสดงความคิดเห็นบน เฟซบุ๊ก อินสตาแกรม และช่องทาง อื่น ๆ บนแพลตฟอร์มของนักท่องเที่ยวเอง เพื่อช่วยกระจายประสบการณ์ระหว่างการเข้าพัก เป็นการทำการตลาดแบบปากต่อปาก หรือที่เรียกว่า “Word of Mouth” แก่โฮสเทลของตน   นอกจากนี้ การเพิ่มยอดจอง Direct booking หรือการจองโดยตรงกับทางโฮสเทล ไม่ว่าจะเป็นการติดต่อผ่านทางไลน์ เฟซบุ๊กแชท โทรศัพท์ อีเมล เว็บไซต์ของโรงแรม และอื่น ๆ นับเป็นช่องทางการจองโดยไม่ผ่านตัวกลาง ทำให้ที่พักไม่ต้องแบกรับค่าใช้จ่ายด้านคอมมิชชั่นที่ค่อนข้างสูงให้กับ OTAs เป็นวิธีที่ทำได้ง่ายมีค่าใช้จ่ายไม่มากนัก เพียงทำให้การจองนั้นสามารถจ่ายเงินได้อย่างสะดวกรวดเร็ว ทั้งนี้ผู้ประกอบการอาจต้องเผชิญกับความท้าทายทางด้านการเพิ่มยอดจองจาก Direct booking ที่ต้องอาศัยความรู้และความเข้าใจในการทำตลาดบน Social media ซึ่งแตกต่างจากการทำการตลาดจากการจองผ่าน OTAs ที่อาศัยเพียงค่าใช้จ่ายในการทำการตลาดและการจ่ายค่าคอมมิชชั่นที่สูงขึ้น   อาจสรุปได้ว่า ธุรกิจโฮสเทลนั้นจำเป็นต้องอาศัยความรู้ความชำนาญทั้งทางด้านการตลาด ด้านการท่องเที่ยว การเดินทาง สภาวะทางสังคมและความแตกต่างทางวัฒนธรรม ซึ่งอาศัยประสบการณ์ในการสะสมความรู้เพื่อให้เข้าใจธุรกิจโฮสเทลได้อย่างลึกซึ้ง
เปิดข้อมูลอินไซต์ ตลาดคอนโดฯ หลังใช้มาตรการ LTV

เปิดข้อมูลอินไซต์ ตลาดคอนโดฯ หลังใช้มาตรการ LTV

เป็นระยะเวลานานถึง 6 เดือน หรือ 2 ไตรมาสแล้ว  หลังจากมีการประกาศใช้มาตรการ LTV  อย่างเป็นทางการ ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2562 เป็นต้นมา  ซึ่งดูเหมือนว่ามาตรการที่ออกมาบังคับใช้  ได้ผลเป็นอย่างดี เพราะช่วยลดระดับความร้อนแรงในการซื้อคอนโดมิเนียมอย่างเห็นได้ชัด จากตัวเลขยอดขาย และการเปิดตัวใหม่ของคอนโดฯ ที่ลดลง ทำให้บรรดาผู้ประกอบการชะลอแผนการเปิดโครงการใหม่ และเร่งระบายสต็อกเก่าที่มีอยู่  ออกให้ได้มากที่สุด   แต่หากจะค้นหาคำตอบอย่างชัดเจน ว่าภายหลังจากมาตรการ LTV ถูกใช้มาเป็นระยะเวลาถึง 6 เดือนแล้ว ส่งผลต่อตลาดคอนโดฯ  อย่างไรบ้างนั้น  คงต้องมาดูข้อมูลจากแผนกวิจัย บริษัท คอลลิเออร์ส อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย ที่ได้ทำการรายงานถึงภาพรวมตลาดคอนโดฯ ในช่วงไตรมาส 3 ที่ผ่านมา   เปิดโครงการใหม่ลดลง 51%   ในช่วงไตรมาสที่ 3 พบว่า จำนวนการเปิดตัวใหม่ของคอนโดฯ ในกรุงเทพฯ ได้ปรับจำนวนลดลงกว่า 10,399 ยูนิตหรือคิดเป็น 33.4% จากจำนวนที่เคยเปิดขายใหม่ในช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว  ซึ่งถือว่าปีที่ผ่านมาเป็นช่วงเวลาแห่งความร้อนแรงของการเปิดตัวคอนโดฯ เลยทีเดียว  ส่วนปีนี้มีการเปิดตัวโครงการใหม่  เพียง 24 โครงการ รวม 11,059  ยูนิต มีมูลค่าการพัฒนาประมาณ 46,660 ล้านบาท แบ่งเป็นผู้ประกอบการรายใหญ่ในตลาดหลักทรัพย์ประมาณ 66.4% หรือประมาณ 7,342 ยูนิต และผู้ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดเล็กประมาณ  3,717  ยูนิตหรือคิดเป็น 33.6 % แม้ว่าจำนวนการเปิดใหม่จะเพิ่มขึ้นจากไตรมาส 2 ก่อนหน้าจะมีประมาณ 1,424 ยูนิต หรือประมาณ 14.78%  แต่พบว่าลดลงกว่าในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี 2561 ถึง 51%  ผู้ประกอบการหลายรายมีการปรับลดแผนการพัฒนาโครงการสำหรับปีนี้ลง และเลื่อนการเปิดตัวบางโครงการออกไป และยังคงเน้นระบายสต็อกที่ยังคงเหลือขายในตลาด  โดยเฉพาะจำนวนห้องชุดในส่วนที่ก่อสร้างเสร็จและเหลือขาย  ซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการกังวลใจเป็นอย่างมากในปัจจุบัน   สำหรับในช่วงไตรมาสสุดของปีนี้คอลลิเออร์สฯ คาดว่า จะมีจำนวนห้องชุดคอนโดฯ เปิดขายใหม่อีกว่า 15,000 ยูนิตเข้ามาในตลาด เนื่องจากเป็นโครงการที่เลื่อนการเปิดตัวมาในช่วงก่อนหน้า และผู้ประกอบการมีความจำเป็นที่จะต้องเปิดตัวให้ทันภายในปีนี้ เพื่อไม่ให้กระทบกับแผนพัฒนาโครงการในปีต่อไปมากเกินไป   ยอดขายไตรมาส 3 เพิ่มขึ้น 5% แม้จำนวนการเปิดโครงการใหม่ลดลง  แต่พบว่า  อัตราการขายโครงการคอนโดฯ  ที่เปิดตัวใหม่ในช่วงไตรมาส 3 ที่ผ่านมามีการปรับตัวเพิ่มขึ้นประมาณ 5% จากในช่วงไตรมาสก่อนหน้า แต่ก็ยังเป็นจำนวนที่ลดลง เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า  ในอัตราถึง 19%  โดยมีอัตราการขายเฉลี่ยอยู่ที่ 45% หรือประมาณ 4,978 ยูนิต  ซึ่งผู้ประกอบการรายใหญ่ในตลาดหลักทรัพย์ยังขายได้มากที่สุดในสัดส่วน 68%   แม้ว่า การซื้อขายโครงการคอนโดฯ ที่เปิดขายใหม่จะไม่ร้อนแรงเหมือนในอดีต แต่ก็ยังเห็นบางโครงการสามารถเปิดการขายได้อย่างรวดเร็ว  ซึ่งสาเหตุสำคัญมาจากราคาขายที่ค่อนข้างต่ำกว่าราคาตลาด และเน้นขายความแตกต่างของรูปแบบโครงการ ซึ่งตอบโจทย์การใช้ชีวิตของคนรุ่นใหม่ ทำให้ได้รับความสนใจจากกลุ่มผู้ซื้อเป็นจำนวนมาก ถึงกับมีการต่อคิวจองกันก่อนโครงการเปิดขายกว่า 5 ชั่วโมง  ขณะเดียวกันก็มีบางโครงการ  ที่ผู้ประกอบการได้นำโครงการเก่าที่สร้างแล้วเสร็จ  มาจัดโปรโมชั่นพิเศษลดราคาเพื่อระบายสต็อกคงค้างด้วยเหมือนกัน   ลักษณะของโครงการที่เปิดขายในไตรมาสที่ 3 หลายโครงการเป็นโครงการขนาดใหญ่  มีจำนวนยูนิตขายมากกว่า 1,000 ยูนิต  ตั้งอยู่ในพื้นที่แนวเส้นทางรถไฟฟ้าที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง  โดยเฉพาะเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีส้มช่วงพระราม 9 รามคำแหง มีผู้ประกอบการรายใหญ่ในตลาดหลักทรัพย์เข้าไปพัฒนาจำนวนมาก และยังมีผู้ประกอบการอีกหลายราย กำลังอยู่ระหว่างการศึกษารูปแบบโครงการ   เพื่อเข้าไปพัฒนาโครงการใหม่บนทำเลดังกล่าวในอนาคตด้วย   คอนโดฯ หลุดดาวน์-กู้ไม่ผ่าน 15-20% โครงการคอนโดฯ หลายโครงการ ที่เคยปิดการขายตั้งแต่ช่วงพรีเซลล์ แต่เมื่อโครงการก่อสร้างแล้วเสร็จ และจดทะเบียนอาคารชุด  กลับพบว่ามียูนิตหลุดดาวน์ที่ผู้ประกอบการ ต้องนำยูนิตเหล่านั้นกลับมาขายใหม่อีกกว่า 15 -20% ซึ่งยูนิตเหล่านั้นเกิดจากการทิ้งดาวน์ หรือแม้กระทั้งมีลูกค้าหลายรายที่ธนาคารไม่ปล่อยสินเชื่อ  ส่งผลให้กลุ่มลูกค้าดังกล่าวต้องคืนห้องให้กับทางโครงการ  เพื่อนำกลับมาขายใหม่อีกครั้ง ซึ่งถือว่าเป็นอีกปัญหาที่ผู้ประกอบการหลายรายต่างกังวลใจในขณะนี้   จำนวนที่ยังคงเหลือขายในตลาด ตอนนี้มีอยู่ประมาณ 55,000  ยูนิต  และกลายเป็นเรื่องที่ผู้ประกอบการทุกรายกังวลมากพอสมควร เพราะว่าผู้ประกอบการทุกรายจำเป็นต้องขยายตัวทุกๆ ไตรมาส พวกเขาไม่สามารถชะลอการเปิดขายโครงการใหม่ และเร่งปิดการขายยูนิตเหลือขายก่อน ผู้ประกอบการจึงจำเป็นต้องสร้างความแตกต่างให้กับโครงการตัวเอง  ทั้งเรื่องการออกแบบ รูปแบบโครงการ รูปแบบห้อง รวมไปถึงพื้นที่ส่วนกลางชั้นบนสุด เป็นต้น เพื่อดึงดูดผู้ซื้อ   นอกจากนี้ ผู้ประกอบการยังพยายามหาช่องทางในการขาย  ให้กับผู้ซื้อและนักลงทุนชาวต่างชาติ ก่อนเปิดขายคนไทย แม้ว่าโครงการคอนโดฯ หลายโครงการที่เปิดขาย มีราคาขายสูงกว่าราคาขายเฉลี่ยของโครงการอื่นๆ ในทำเลนั้น   บิ๊กอสังหาฯ ยังขายดีกว่ารายเล็ก   การขายโครงการคอนโดฯ ที่เปิดขายใหม่ ในช่วงไตรมาส 3 ที่ผ่านมามีประมาณ 4,978 ยูนิต จากจำนวนโครงการเปิดใหม่ทั้งหมด แต่ถ้าเปรียบเทียบกัน ระหว่างผู้ประกอบการในตลาดหลักทรัพย์  พบว่า สามารถขายได้ดีกว่าผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดเล็กเป็นอย่างมาก  โดยขายได้สัดส่วน 68% หรือประมาณ 3,383 ยูนิต  ส่วนผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดเล็ก ขายได้ประมาณ 22% หรือ 1,595 ยูนิต   สิ่งที่เกิดขึ้นสะท้อนให้เห็นว่า ผู้ประกอบการรายใหญ่ มีกลยุทธ์การตลาด การจัดกิจกรรมเพื่อประชาสัมพันธ์โครงการที่ดี และเข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้มากกว่า  นอกจากนี้ ผู้ประกอบการรายใหญ่บางรายยังมีการเปิดการขายรอบ VVIP สำหรับนักลงทุนหรือลูกค้ากลุ่ม VIP ในราคาพิเศษก่อนที่จะเปิดขายอย่างเป็นทางการด้วย   คอนโดฯ เปิดขายใหม่ในเขตกรุงเทพฯ ณ ไตรมาสที่ 3 ปี 2562 มีอัตราการขายเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 45% จาก 11,059 ยูนิต เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าประมาณ 5% แต่ปรับลดลงจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้าถึง 19%  สำหรับราคาคอนโดฯ ที่ขายดี จะเป็นห้องชุดในระดับราคา 100,000 – 200,000 บาท ต่อตารางเมตร มีอัตราขายเฉลี่ยมากที่สุดถึง 47% จากยูนิตที่ขายได้ทั้งหมด  รองลงมา คือ คอนโดฯ ที่มีราคาเฉลี่ยต่ำกว่า 100,000 บาทต่อตารางเมตรมีอัตราขายประมาณ 40% สะท้อนให้เห็นว่าตลาดในช่วงระดับกลาง ถึงกลาง – บน ในทำเลแนวเส้นทางรถไฟฟ้ายังคงเป็นช่วงระดับราคาที่ลูกค้าให้สนใจ  ถึงแม้ว่าจะเป็นช่วงระดับราคาที่ผู้ประกอบการมีการพัฒนาออกมาเป็นจำนวนมากก็ตาม   โดยราคาขายเฉลี่ยของคอนโดฯ เปิดใหม่ในไตรมาสที่ 3 พบว่า อยู่ที่ประมาณ 126,530 บาทต่อตารางเมตร ราคาเฉลี่ยลดลงประมาณ 14.7% จากไตรมาสก่อนหน้า​ เนื่องจากโครงการที่เปิดขายส่วนใหญ่ หรือระมาณ 61% ตั้งอยู่ในพื้นที่กรุงเทพฯ ชั้นนอก และพบว่ามากกว่า 40% หรือประมาณ 4,509 ยูนิตที่เปิดขายใหม่ มีระดับราคา 50,000 – 100,000 บาทต่อตารางเมตร ขณะที่คอนโดฯ ระดับราคา 100,000 – 150,000 บาทต่อตารางเมตร มีจำนวนเปิดใหม่สัดส่วน 47% หรือประมาณ 5,241 ยูนิต และพบว่ากว่า 430 ยูนิตของโครงการคอนโดฯ เปิดใหม่ มีราคาขายสูงกว่า 250,000 บาทต่อตารางเมตร ซึ่งมีบางโครงการในทำเลย่านหลังสวน มีระดับราคาขายเฉลี่ยมากกว่า 457,000 บาทต่อตารางเมตร  ซึ่งได้รับความสนใจจากกลุ่มลูกค้าเป็นอย่างดี   สำหรับคอนโดฯ ในพื้นที่ใกล้กับสถานีรถไฟฟ้า BTS มีราคาขายมากว่า 250,000 บาทต่อตารางเมตรไปแล้ว มีแนวโน้มพัฒนาออกมาอย่างต่อเนื่องทุกไตรมาส เนื่องจากราคาที่ดินในเขตพื้นที่กรุงเทพฯ ชั้นใน มีการปรับตัวค่อนข้างสูง และมีค่อนข้างมีจำกัด ส่งผลให้ผู้ประกอบการมีต้นทุนการพัฒนาที่ค่อนข้างสูงสะท้อนกลับมาสู่ราคาขาย ที่จำเป็นต้องมีการปรับเพิ่มสูงขึ้นเช่นเดียวกัน   บิ๊กดีเวลลอปเปอร์ เพิ่มพอร์ตลูกค้าต่างชาติ   ช่วงที่ผ่านมา จะพบว่า ผู้ประกอบการรายใหญ่ในตลาดหลักทรัพย์ สามารถสร้างยอดขายได้ดีกว่าผู้ประกอบการรายเล็ก เนื่องจากมีกลยุทธ์การตลาดและเข้าถึงได้ดีกว่า และยังมีปัจจัยที่ทำให้ผู้ประกอบการรายใหญ่สร้างผลงานได้ดี  คือ การมองหากลุ่มเป้าหมายใหม่ที่มีกำลังซื้อ​ ในภาวะที่กำลังซื้อคนไทยชะลอลง โดยเฉพาะกำลังซื้อชาวต่างชาติในเอเซีย  มีผู้ประกอบการหลายรายนำโครงการไปขายในต่างประเทศ มีการร่วมมือกับบริษัทนายหน้าต่างชาติ ทำตลาดและขายโครงการโควต้าของชาวต่างชาติอย่างต่อเนื่อง ถึงแม้ว่าความร้อนแรงของกลุ่มซื้อต่างชาติ เริ่มชะลอตัวลงในช่วงที่ผ่านมาก็ตาม   โครงการที่ขายดี พบว่าเป็นโครงการที่อยู่ตามแนวถนนสุขุมวิทและรัชดาภิเษก เพราะเป็นพื้นที่ศูนย์กลางเขตธุรกิจ ขณะเดียวกัน ยังมีผู้ประกอบการหลายราย สามารถขายโครงการ ที่อยู่ในพื้นที่ตามแนวเส้นทางรถไฟฟ้า ที่กำลังก่อสร้างให้กับผู้ซื้อชาวต่างชาติได้ด้วย แสดงให้เห็นว่า ยังมีหลายโครงการที่ลูกค้าชาวต่างชาติให้ความสนใจ   แนวรถไฟฟ้า ยังเป็นทำเลฮอต !! เปิดคอนโดฯ   ทำเลที่มีการพัฒนาคอนโดฯ มากที่สุดในช่วงไตรมาส 3 คือ พื้นที่กรุงเทพฯ ชั้นนอก ซึ่งมีจำนวน 6,477 ยูนิต หรือสัดส่วน 61% ของจำนวนที่เปิดขายใหม่ มีคอนโดฯ158 ยูนิตเท่านั้น ที่เปิดตัวในพื้นที่เมืองชั้นใน ในพื้นที่สาทร, สีลม, สุขุมวิทตอนต้น  สำหรับพื้นที่นอกเมืองด้านทิศตะวันตก ได้แก่  ย่านกรุงธนบุรี – กัลปพฤกษ์  ก็เป็นอีกทำเล  ได้รับความนิยมจากผู้ประกอบการ  สนใจเข้าไปพัฒนากันเป็นจำนวนมาก  โดยเฉพาะในพื้นที่บริเวณรอบๆ สถานีบีทีเอสตลาดพลู พบว่า ทั้งผู้ประกอบการรายใหญ่ในตลาดหลักทรัพย์  และผู้ประกอบการรายใหม่  ให้ความสนใจเข้าไปพัฒนาโครงการเป็นจำนวนมาก และอีกหลายโครงการอยู่ระหว่างการพัฒนา และเตรียมเปิดขายในอนาคตอีกกว่า 5,000 ยูนิตด้วย   สำหรับแนวรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน เป็นแนวเส้นทางรถไฟฟ้าที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง ที่ถือว่ามีผู้ประกอบการพัฒนาคอนโดฯ มากที่สุดในช่วง 6 ปีที่ผ่านมา ซึ่งพัฒนาแล้วกว่า 37,197 ยูนิต คิดเป็น  25.7% แผนกวิจัย คอลลิเออร์สฯ เห็นว่า ตลาดคอนโดฯ แนวเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีส้ม โดยเฉพาะช่วงพระราม 9 รามคำแหง ลำสาลี  สายสีเหลือง และสายสีชมพู เป็นแนวเส้นทางที่น่าจับตามองเป็นอย่างมาก ซึ่งคาดการณ์ว่าจะมีโครงการคอนโดฯ อีกเป็นจำนวนมาก   มาตรการ LTV เชื่อว่าจะยังคงส่งผล ทำให้ความร้อนแรงในตลาดคอนโดฯ ลดลงอย่างต่อเนื่อง แต่เมื่อถึงจุดหนึ่งที่สภาวะตลาดปรับตัวได้  การซื้อขายคอนโดฯ คงเกิดขึ้นจากความต้องการจริงๆ แต่จะถึงช่วงเวลานั้นเมื่อไร คงไม่มีใครบอกได้ แต่ถ้าตลาดแย่เอามากๆ ภาครัฐคงจะต้องมีมาตรการอะไรบางอย่างมาช่วยเหลือผู้ประกอบการ แต่ทั้งนี้คงยังไม่มีใครบอกได้ว่าจะเปิดอะไรขึ้นบ้าง เราคงได้แต่ต้องติดตามข่าวสารกันต่อไป  
อสังหาฯ ปีหน้ายังเหนื่อย เพราะ LTV มาผิดเวลา?  

อสังหาฯ ปีหน้ายังเหนื่อย เพราะ LTV มาผิดเวลา?  

ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา สมาคมอาคารชุดไทย ได้จัดงานสัมมนาเรื่อง “ผ่ากลยุทธ์ธุรกิจคอนโดมิเนียมปี 2019” เพื่อสะท้อนภาพของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ในส่วนของตลาดคอนโดมิเนียม ที่ถือว่าปีนี้ได้รับผลกระทบจากมาตรการกำหนดวงเงินสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย (LTV)  ทำให้ตลาดชะลอตัวลง ทั้งกลุ่มนักลงทุน นักเก็งกำไร หรือแม้แต่ผู้ที่ต้องการที่อยู่อาศัย แต่อาจจะมีกำลังซื้อไม่สูง ต้องหาเงินมาดาวน์เพิ่มมากขึ้นกว่าแต่ก่อน ปัจจัยต่างๆ ที่เกิดขึ้นล้วนแต่ส่งผลกระทบต่อตลาดคอนโดฯ แทบทั้งสิ้น   ทิศทางของตลาดคอนโดฯ หลังจากนี้ จะเป็นอย่างไร และหนทางไหนที่จะทำให้ตลาดเติบโตต่อไปได้ ลองมาฟังความเห็นจาก “กูรู” ในแวดวงอสังหาฯ ว่าจะมีความเห็นและประเมินสถานการณ์ต่อไปกันอย่างไร   LTV มาตรการดีแต่ใช้ผิดเวลานายประเสริฐ แต่ดุลยสาธิต ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจพฤกษาเรียลเอสเตท–พรีเมี่ยม บริษัท พฤกษา เรียลเอสเตท จำกัด(มหาชน) ฉายภาพรวมของตลาดคอนโดฯ ในปีนี้ว่า  เป็นปีการสร้างสมดุลของธุรกิจอสังหาฯ ในระยะยาว  จากปัจจัยมากมายเข้ามาส่งผลกระทบ ทั้งเศรษฐกิจโลก ราคาที่ดินสูงเกินกว่าจะพัฒนาโครงการขาย ตลาดไฮเอนท์ชะลดตัวลง รวมถึงกฏหมายต่างๆ ที่ออกมามีผลบังคับใช้ โดยเฉพาะมาตรการ LTV  และมาตรการควบคุมหนี้ต่อราย (DSR) ที่จะส่งผลกระทบระยะยาวไปจนถึงปีหน้า   ภาพที่ชัดเจนเห็นได้จากผลกระทบของมาตรการ LTV เมื่อดูจากตัวเลขในครึ่งปีแรก พบว่า ยอดขายในเขตกรุงเทพฯ-ปริมณฑล ติดลบ 13%  แม้ว่าจะมีการเปิดตัวโครงการใหม่สูงขึ้น จากระยะเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว 17% ก็ตาม ส่วนตลาดในเมืองหลักต่างจังหวัด ยอดขายก็ลดลง 8%   “นี่เป็นเป็นหนึ่งในผลกระทบของ LTV  แม้ว่าจะเป็นมาตรการที่ดี แต่ใช้ผิดเวลาอย่างที่สุด” หากดูตัวเลขการปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัยใหม่ ของธนาคารพาณิชย์ในช่วงครึ่งปีแรก พบว่าตัวเลขยังไม่ได้ลดลง เนื่องจากเป็นการปล่อยสินเชื่อให้กับกลุ่มลูกค้าที่ซื้อคอนโดฯ ก่อนเดือนตุลาคม 2561 ซึ่งสามารถกู้เงินได้ 100% และทำการโอนกรรมสิทธิ์ในช่วงครึ่งปีแรกที่ผ่านมา แต่หากลูกค้าที่ซื้อหลังจากเดือนตุลาคม 2561 เป็นต้นไป จะต้องอยู่ในหลักเกณฑ์ของ LTV ใหม่ ซึ่งภาพที่ชัดเจนของผลกระทบที่จะเกิดขึ้น คงเห็นได้ในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2562 นี้เป็นต้นไป   นายประเสริฐ แสดงความเห็นว่า มาตรการ LTV ควรเลื่อนการบังคับใช้ออกไปก่อน และพิจารณาใช้ในเวลาที่เหมาะสมกว่านี้  โดยต้องการให้ธนาคารแห่งประเทศไทยมองว่า การซื้อที่อยู่อาศัยเป็นการออมเงินระยะยาว ของประชาชนในรูปแบบหนึ่ง ไม่ใช่การก่อภาระหนี้สินครัวเรือน   แนะรัฐหามาตรการกระตุ้นธุรกิจอสังหาฯ   ด้านนายพีระพงศ์ จรูญเอก ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด ได้สะท้อนมุมมองของผลกระทบจากมาตรการ LTV ผ่านข้อมูล Demand & Supply ของตลาดคอนโดฯ โดยระบุว่า ช่วงครึ่งปีแรกของปีนี้มีตลาดคอนโดฯ มีปริมาณรวม 115,000 ยูนิต  ขายไปแล้ว 27,000 ยูนิต คิดเป็นมูลค่า 102,629 ล้านบาท คงเหลือประมาณ 70,000-80,000 ยูนิต  ซึ่งหากในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีนี้ มีจำนวนโครงการเปิดใหม่ไม่มากเกินไปนัก จะทำให้ปีนี้มียอดขายคอนโดฯ ประมาณ 55,000 ยูนิต หรือมูลค่าประมาณ 220,000 ล้านบาท   “ปีที่ผ่านมาคอนโดฯ มียอดขายเยอะ  60,000-70,000 หมื่นยูนิต เป็นเพราะลูกค้าจีนซื้อเยอะ  และบางส่วนเร่งซื้อเพื่อหนีมาตรการ LTV”  ข้อเสนอของนายพีระพงศ์  คือ ภาครัฐควรจะมีมาตรการกระตุ้นธุรกิจอสังหาฯ  การคุมหนี้สินครัวเรือนในระยะยาวอาจจะเป็นผลดีต่อประเทศ ขณะที่มาตรการ LTV ควรจะผ่อนผันหลักเกณฑ์หรือไม่ควรประกาศเลื่อนการบังคับใช้ออกไป เพราะหากบังคับใช้ไปแล้วอาจจะต้องพิจารณาต่อว่า สิ่งที่ธปท. พยายามคุมอยู่  อาจจะไม่ตอบโจทย์หรืออาจจะทำร้ายธุรกิจอยู่ก็ได้   ธุรกิจอสังหาฯ ถือว่ามีบทบาทสำคัญ ที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อเนื่องไปยังอุตสาหกรรมภาคอื่น  ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจวัสดุก่อสร้างก็ดี ที่สำคัญคือ ส่งผลต่อ GDP ของประเทศ ช่วยหมุนเวียนเศรษฐกิจได้ถึง 4-5 รอบ ส่วนมาตรการ DSR เห็นว่าควรจะต้องทบทวนใหม่ ว่าควรจะใช้อย่างไร ควรจะจำแนกให้มีสัดส่วนหนี้ต่อรายได้อย่างไร เพราะการใช้มาตรการเดียวครอบคลุมทุกกรณีเลยอาจจะยังไม่เหมาะสม   ดีเวลลอปเปอร์ ปรับรูปแบบพัฒนา “มิกซ์ยูส”   ส่วนนายอัษฎา แก้วเขียว ประธานผู้อำนวยการ แบรนด์วิสซ์ดอม บริษัท แมกโนเลียควอลิตี้ ดีเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด ประเมินว่า มาตรการ LTV มีผลกระทบแน่นอน แต่ที่สำคัญที่สุดคือการสื่อสาร ซึ่งส่งผลให้ผู้บริโภคเกิดความตระหนก ด้วยความไม่เข้าใจในเงื่อนไขของมาตรการ  ทำให้ผู้บริโภคเกิดความไม่มั่นใจ และเริ่มชะลอการตัดสินใจซื้ออสังหาฯ  ขณะที่ผู้ประกอบการได้ปรับตัว ด้วยการเน้นการพัฒนาโครงการใหม่ อาทิ โครงการแนวราบ หรือโครงการสร้างรายได้ต่อเนื่องระยะยาว กรณีของบริษัทก็หันไปพัฒนาโครงการมิกซ์ยูสขนาดใหญ่   MQDC มองว่าทุกวันนี้กรุงเทพฯ เปลี่ยนไปค่อนข้างมาก ทั้งตัวบุคคล กายภาพเมือง และเศรษฐกิจ สิ่งต่างๆ เหล่านี้ทำให้สังคมเปลี่ยน มีโครงการขนาดใหญ่เกิดขึ้นมากมาย รวมถึงการพัฒนาพื้นที่สีเขียว ปัจจัยต่างๆ ดังกล่าว  ส่งผลให้เกิดคนรุ่นใหม่ที่มีกำลังขับเคลื่อนประเทศ  บริษัทจึงมุ่งเน้นจับกลุ่มเป้าหมายคน Gen Y  ด้วยการพัฒนาโครงการมิกซ์ยูส  เพราะเชื่อว่าเป็นโครงการสำหรับคนกลุ่มนี้  ในการใช้พื้นที่ทำประโยชน์ได้มากกว่าแค่การพักอาศัย ปัจจุบันบริษัทมีโครงการมิกซ์ยูสรวมทั้งหมด 1,928,787 ตารางเมตร คิดเป็นมูลค่า 213,650 ล้านบาท   ด้านนางสาวอลิวัสสา พัฒนถาบุตร กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซีบีอาร์อี(ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า บริษัทในตลาดหลักทรัพย์บ้านเราส่วนใหญ่ 90% จะพัฒนาโครงการคอนโดฯ และบ้านจัดสรรขาย ซึ่งบริษัทบริหารงานขายโครงการคอนโดฯ ประมาณ 30-40 โครงการ พบว่า โครงการได้รับผลกระทบจากมาตรการต่างๆ  ผลกระทบเรื่องภาษี ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อที่ลดลง  แม้ว่าเป็นกลุ่มคอนโดฯ ระดับบนก็ตาม   ธุรกิจคอนโดฯ มีอัตราการเติบโตต่อเนื่องเกือบ 18 ปีแล้ว  ปริมาณคอนโดฯ มีจำนวนออกมามาก จนทำให้กำลังซื้อไม่สามารถรองรับได้  ซึ่งผลกระทบในครั้งนี้  ไม่ได้เป็นอะไรที่แปลกใหม่ในตลาดอสังหาฯ  ถือเป็นปกติของธุรกิจ ที่ผ่านมาธุรกิจอสังหาฯ ไม่มีมาตรการออกมาควบคุมปริมาณคอนโดฯ ซึ่งกลุ่มลูกค้าหลักคือกลุ่มผู้ซื้อเพื่ออยู่อาศัยจริง แต่กลุ่มเหล่านี้มีปริมาณน้อยลง ทำให้ผู้ประกอบการต้องสร้างตลาดใหม่  โดยการขายให้กับกลุ่มลูกค้าชาวจีน ตั้งแต่ช่วง 3 ปีที่ผ่านมา   อย่างไรก็ตาม ประเมินว่า จากผลของมาตรการ LTV จะทำให้ปีหน้าปริมาณคอนโดฯ จะลดลงประมาณ 20% ผู้ประกอบการจะเน้นการขายสินค้าที่มีอยู่ในสต็อกเดิม หากมีการพัฒนาโครงการใหม่ จะเป็นโครงการที่มาจากความต้องการของลูกค้าจริงๆ  ผู้ประกอบการจะปรับตัว  หันไปพัฒนาอสังหาฯ​ ประเภทอื่น เช่น เซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์ กรณีตลาดวิลล่าหรือคอนโดฯ  ในจังหวัดภูเก็ต ได้ให้โรงแรมมาบริหารจัดการ ด้วยการปล่อยเช่าในรูปแบบโรงแรม  ซึ่งเจ้าของห้องได้ผลตอบแทนจากการค่าเช่า และยังได้สิทธิ์ในการเข้าพักด้วย  รูปแบบในลักษณะนี้มีแนวโน้มขยายตัวเข้ามาทำในตลาดกรุงเทพฯ ด้วย   บทสรุปสุดท้าย ตลาดอสังหาฯ โดยเฉพาะกลุ่มคอนโดฯ จะไปในทิศทางใด จะยังคงเติบโตตามที่ประเมินไว้หรือไม่ หรือรัฐบาลจะมองเห็นความสำคัญ และเห็นถึงผลกระทบจากการบังคับใช้มาตรการ LTV หรือไม่  ตอนนี้ยังพอจะมีเวลาแม้จะไม่มากนัก เพราะไตรมาสที่ 4 เพิ่งจะเริ่มต้น คงต้องรอลุ้นกันต่อไปว่า ไตรมาสสุดท้ายนี้ ตลาดจะฟื้นตัวขึ้นมาได้อีกกี่มากน้อย ซึ่งคงไม่มีใครตอบได้ ต้องรอพิสูจน์ความจริงเท่านั้น !!!      
บีซี พร็อพเพอร์ตี้ ชู 3 กลยุทธ์ เดินหน้าสู่ “Digital Property Agent Ecosystem”

บีซี พร็อพเพอร์ตี้ ชู 3 กลยุทธ์ เดินหน้าสู่ “Digital Property Agent Ecosystem”

“เอพี ไทยแลนด์” หนึ่งในผู้ดำเนินธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ของเมืองไทย ที่มีรายได้มากกว่า 38,000 ล้านบาทในปีที่ผ่านมา ถือว่าเป็นผู้เล่นรายใหญ่ระดับ Top 10 ซึ่งนอกจากมีการพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยเพื่อขายแล้ว ยังมีธุรกิจที่เกี่ยวข้อง   ทั้ง บริษัท บางกอกซิตี้สมาร์ท จำกัด  ดำเนินธุรกิจเอเจนท์ พร็อพเพอร์ตี้ บริการด้านการซื้อ-ขาย-เช่า อสังหาฯ และ บริษัท สมาร์ท เซอร์วิส แอนด์ แมเนจเม้นท์ จำกัด  ซึ่งดำเนินธุรกิจพร็อพเพอร์ตี้ แมนเนจเมนท์  2 จิ๊กซอร์  สำคัญในการสร้างความแข็งแกร่งและเติบโตให้กับ “เอพี ไทยแลนด์” ด้วย   เพื่อให้เครือเอพี ไทยแลนด์ เติบโตและมีศักยภาพทางด้านการแข่งขัน ในยุคที่ธุรกิจอสังหาฯ​ ต้องเผชิญกับความท้าทายหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยีดิจิทัลที่เข้ามาดิสรับ มาตรการภาครัฐที่ออกกฎควบคุมระดับความร้อนแรงของธุรกิจ ภาวะเศรษฐกิจทั้งภายในและภายนอก เป็นตัวกดดันและส่งผลกระทบต่อกำลังซื้อ การปรับตัวเพื่อให้ธุรกิจเดินหน้าต่อ และยังสร้างการเติบโตด้วย จึงเป็นสิ่งที่ทุกองค์กรต้องทำ ซึ่งบริษัท บางกอกซิตี้สมาร์ท จำกัด หรือ BC บริษัทในเครือเอพี ไทยแลนด์  ได้ปรับตัวเข้าสู่การเป็น “พร็อพเพอร์ตี้เอเจนท์” ที่ให้บริการแบบครบวงจร ผ่านดิจิทัลแพลตฟอร์มแบบเรียลไทม์   ปัจจุบัน บีซี ดำเนินธุรกิจใน 3 กลุ่มสำคัญ ได้แก่ 1.Resale Business ธุรกิจรีเซลล์ บริการรับฝากขายอสังหาริมทรัพย์ มีสินค้าขาย 20,000 ยูนิต มูลค่า 140,000 ล้านบาท  ในจำนวนดังกล่าวเป็นสินค้าในเครือเอพี ไทยแลนด์ 25% 2.Rental Business ธุรกิจรับฝากเช่าและสรรหาผู้เช่าอสังหาริมทรัพย์ มีสินค้าฝากเช่า 10,000 ยูนิต มูลค่า 3,960 ล้านบาท และ 3.Exclusive Sole Agent ธุรกิจการเป็นตัวแทนขายอสังหาฯ ใหม่ ทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ  ในปีนี้มีโครงการใหม่ที่บริหารงานขาย  11 โครงการใหม่ ทำตลาดทั้งในประเทศจีน ญี่ปุ่น ไต้หวัน ฮ่องกงและสิงค์โปร์ ส่วนในปี 2560-2561 มีโครงการบริหารงานขาย 20 โครงการ     ชู 3 กลยุทธ์ สู่ผู้ให้บริการครบวงจร   เมื่อบีซี มีโจทย์สำคัญ คือการมุ่งสู่ผู้ให้บริการผ่านดิจิทัลแพลตฟอร์มแบบครบวงจร โดยมีเป้าหมายทางธุรกิจที่สำคัญ คือ ตัวเลขการเติบโตอย่างต่อเนื่องไม่ต่ำกว่า 20% นับจากนี้  ทิศทางการดำเนินธุรกิจจึงวาง 3 กลยุทธ์สำคัญ เพื่อใช้เป็นแนวทางไปสู่เป้าหมายดังกล่าว ได้แก่   1.ONLINE CENTRALIZATION การเป็นเป็นศูนย์กลางฐานข้อมูลอสังหาฯ ที่เชื่อมต่อผู้ซื้อ-ผู้ขาย-ผู้เช่า เข้ากับระบบสินทรัพย์ที่ BC บริหารจัดการอยู่ทุกรูปแบบ ทั้งคอนโดมิเนียม บ้านเดี่ยว และทาวน์โฮม ซึ่งปัจจุบัน บีซี พร็อพเพอร์ตี้ มีมูลค่าสินทรัพย์ในพอร์ตรวมกว่า 144,000 ล้านบาท   ผ่าน BC Intelligent Platform ที่แสดงผลอสังหาริมทรัพย์ทั้งหมดในรูปแบบ 7 ทำเลเด่นทั่วกรุงเทพฯ เพื่อง่ายต่อการค้นหาที่อยู่อาศัยในทำเลที่ต้องการ รวมถึงฟังก์ชั่น BC Membership Dashboard ที่เอื้อให้ผู้ฝากขาย-ฝากเช่า สามารถบริหารจัดการพอร์ตสินทรัพย์ด้วยตนเองได้แบบ real time   2.THE POWER OF ONLINE NETWORKING การจับมือกับ 10 พันธมิตรทางธุรกิจ ที่ให้บริการดิจิทัลแพลตฟอร์มอสังหาฯ ทั้งในและต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นเอเชีย และยุโรป ให้บริการข้อมูลอสังหาฯ และบริการการซื้อขาย ซึ่งบริษัทตั้งเป้าหมายภายในสิ้นปี  จะ​มีผู้สนใจเข้ามายังแพลตฟอร์มของบริษัท ไม่ต่ำกว่า 96 ล้านวิวต่อเดือน และมีการคลิกเพื่อเข้าดูข้อมูลต่างๆ ไม่ต่ำกว่า 4.8 ล้านคลิกต่อเดือน   3.PROPERTY CONSULTANT ON CLOUD การให้บริการเครื่องมือดิจิทัล ที่รวบรวมข้อมูลต้องรู้ก่อนตัดสินใจซื้อ-ขาย-ปล่อยเช่า หรือลงทุนไว้ในที่เดียว และคอยนำเสนอ ชี้เทรนด์ตลาดอสังหาฯ ในกลุ่มที่ลูกค้าสนใจอย่างละเอียด ซึ่งบนแพลทฟอร์มมีฟีเจอร์ในการช่วยให้ลูกค้าเข้าถึงข้อมูลที่เข้าถึงได้ทุกที่ทุกเวลากับ 6 ฟีเจอร์ล่าสุดที่จะช่วยแก้ไข pain point ได้อย่างตรงจุด อาทิ –Trending Search เครื่องมือที่ช่วยในการค้นหาได้อย่างอัจฉริยะตามเทรนด์ตลาด เหมาะสำหรับผู้ใช้ที่ต้องการความรวดเร็วในการค้นหาข้อมูล โดยเฉพาะลูกค้ามือใหม่ ที่ไม่แน่ใจว่าจะค้นหาด้วยคีย์เวิร์ดใด สามารถคลิกได้เลยโดยไม่ต้องพิมพ์ เพื่อให้ได้คำแนะนำที่ตรงตามแต่ละความต้องการ – BKK 7 Zones เครื่องมือที่จะช่วย scope ข้อมูลให้แคบลง ด้วยการแนะนำโครงการใน 7 โซนศักยภาพใจกลางเมือง พร้อมวิเคราะห์เทรนด์ ราคาเฉลี่ย และไลฟ์สไตล์ลูกค้าเป้าหมายในแต่ละโซน – GURU Review แนะนำเทรนด์การลงทุนที่น่าสนใจแบบ 360 องศาโดยผู้เชี่ยวชาญในด้านการลงทุนจากหลากสาขา อาทิ Rabbit Finance และ DDproperty – Innovative Map ยกระดับมุมมองในการค้นหาอสังหาฯ ให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น ด้วยการนำเสนอรูปแบบใหม่ แผนที่ที่แสดงที่ตั้งของโครงการ พร้อมสภาพแวดล้อมโดยรอบโครงการ และราคาขาย เช่า เริ่มต้นเพื่อเป็นตัวช่วยในการตัดสินใจซื้อ ที่สร้างความแม่นยำ – Forecast Rate การวิเคราะห์แนวโน้มราคาตลาดที่แม่นยำด้วยการอ้างอิงข้อมูลจากบิ๊กดาต้าที่รวบรวมข้อมูลการซื้อขายจากราคาที่ปิดการขายได้จริงในตลาดผ่าน BC Research Intelligence – Mortgage Calculator อำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้บริการ ด้วยการคำนวน และเปรียบเทียบการให้สินเชื่อของธนาคาร พร้อมมูลค่าการผ่อนจ่าย เพื่อเฟ้นหาโครงการบนทำเลที่คุ้มค่า และสอดคล้องกับความสามารถในการผ่อนจ่าย   ดิจิทัลแพลตฟอร์ม สร้างการเติบโต 20% ต่อเนื่อง   ในปีนี้จะเป็นปีแรกที่บริษัทเริ่มเปิดให้บริการแพลตฟอร์มดิจิทัล ซึ่งคาดหวังว่าจะมีส่วนให้บริษัทสร้างการเติบโตอย่างต่อเนื่องไม่ต่ำกว่า 20% แม้ว่าในภาพรวมตลาดคอนโดมิเนียมจะได้รับผลกระทบจามาตรการ LTV  ส่งผลให้การเปิดโครงการใหม่ลดน้อยลง กลุ่มนักลงทุนซื้อคอนโดฯ ลดลงไป แต่สำหรับบริษัทยังคงเติบโตได้ตามเป้าหมาย  ซึ่งช่วง 9 เดือนที่ผ่านมาสามารถสร้างยอดขายได้แล้ว ​9,000 ล้านบาท จึงเชื่อว่าภายในสิ้นปีนี้จะทำยอดขายได้ตามเป้าหมาย  15,000 ล้านบาท เติบโต 20% จากปีที่ผ่านมมียอดขาย 12,000 ล้านบาท   “ย้อนหลังไปประมาณ 5 ปีบริษัทเติบโตเฉลี่ย 25% แม้ว่าจะไม่ได้ใช้แพลตฟอร์มดิจิทัล เป็นเพราะได้มีการนำเอาคอนโดฯ ไปขายในตลาดต่างประเทศ ซึ่งเมื่อเริ่มใช้แพลตฟอร์มดิจิทัลตั้งแต่ปีนี้ น่าจะทำให้บริษัทเติบโตไม่ต่ำกว่า 20% ต่อเนื่องด้วย”   สำหรับทิศทางเติบโตในปีหน้า บริษัทคาดว่าจะมียอดขายเติบโต 20% ต่อเนื่อง ซึ่งปัจจุบันได้ทำบันทึกข้อตกลงกับดีเวลลอปเปอร์ที่ไม่ใช่เครือเอพี ไทยแลนด์​ เพื่อจะขายโครงการคอนโดฯ ใหม่ในปีหน้าแล้วอย่างน้อย 5 โครงการ มูลค่ารวมประมาณ 15,000 ล้านบาท ซึ่งในช่วงเปิดตัวโครงการ บริษัทจะได้รับโควตาเพื่อนำห้องชุดมาขายประมาณ 5-10%
“เน็กซัสฯ” สรุปตลาดคอนโดฯ ปี 62 เปิดใหม่ 4.5 หมื่นยูนิต ราคาขยับไม่เกิน 6%

“เน็กซัสฯ” สรุปตลาดคอนโดฯ ปี 62 เปิดใหม่ 4.5 หมื่นยูนิต ราคาขยับไม่เกิน 6%

ภาวะตลาดอสังหาริมทรัพย์  นับตั้งแต่ต้นปีจนถึงปัจจุบัน ถือว่าไม่ได้ผิดไปจากที่หลายฝ่ายประเมินสถานการณ์เอาไว้  โดยเฉพาะกับตลาดคอนโดมิเนียม ที่มองกันว่าปีนี้ชะลอตัวลงแน่ๆ ผู้ประกอบการเปิดตัวลดลง และหันไปเปิดโครงกาแนวราบแทน เพราะมองเห็นผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากมาตรการ LTV นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่มากระทบอีกหลายอย่างด้วย   ในบทสรุปสุดท้ายของปีนี้ ตลาดอสังหาฯ  โดยเฉพาะคอนโดฯ จะไปในทิศทางอย่างไร เพราะนับเวบาตอนนี้ก็เหลือเวลาให้ผู้ประกอบการทำตลาดกันได้เพียง 3 เดือนเท่านั้น ภาพรวมของธุรกิจในไตรมาสสุดท้าย จะเป็นอย่างไร ทางบริษัท เน็กซัส พรอพเพอร์ตี้ มาร์เก็ตติ้ง จำกัด  ได้ฉายภาพรวมของธุรกิจอสังหาฯ ให้เห็นทั้งช่วงที่ผ่านมา และคาดการณ์กับสิ่งที่จะเกิดขึ้นนับจากนี้   โค้งท้ายปี คอนโดฯ เปิดใหม่หมื่นยูนิต     นางนลินรัตน์ เจริญสุพงษ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เน็กซัส พรอพเพอร์ตี้ มาร์เก็ตติ้ง จำกัด  เปิดเผยว่า จากการวิเคราะห์ข้อมูลตลาดอสังหาริมทรัพย์ตั้งแต่ต้นปีเป็นต้นมาคาดว่า ในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2562 ตลาดยังคงอยู่ในภาวะทรงตัว คาดว่าจะมีโครงการเปิดตัวใหม่ไม่เกิน 10,000 ยูนิต  ซึ่งไตรมาส 3 ที่ผ่านมามีโครงการคอนโดฯ เปิดใหม่ประมาณ 10,500 ยูนิต จำนวนการเปิดตัวที่จะเกิดขึ้นในช่วงไตรมาสสุดท้าย จึงทำให้ประเมินได้ว่าตลอดทั้งปีนี้ จะมีคอนโดฯ เปิดตัวใหม่ไม่เกิน 45,000 ยูนิต ซึ่งถือว่าเป็นตัวเลขที่น้อยกว่าจำนวนเปิดใหม่ในปี 2561 ประมาณ 25% ที่มีจำนวนเปิดใหม่ 60,000 ยูนิต แต่จะว่าไปแล้วอัตราเฉลี่ยของช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา การเปิดตัวโครงการคอนโดฯ ใหม่ก็อยู่ในอัตรา 55,000-60,000 ยูนิต   สาเหตุสำคัญเป็นผลจากการชะลอการเปิดตัวโครงการใหม่ ของดีเวลลอปเปอร์ที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์  ซึ่งตั้งแต่ต้นปีประกาศว่า ปีนี้จะเปิดตัวโครงการ 290 โครงการ ทั้งคอนโดฯ และแนวราบ แต่พอเอาเข้าจริง กลับเปิดตัวโครงการใหม่ 250 โครงการ ลดลงประมาณ 30% เนื่องจากประเมินสภาพตลาดแล้วยังไม่เหมาะที่จะเปิดตัว  แม้พบว่ามีหลายโครงการที่เตรียมความพร้อมไว้เรียบร้อยแล้ว แต่ยังชะลอดูว่าภาพรวมตลาดว่าจะดีขึ้นหรือไม่  ในกรณีที่ภาพรวมตลาดยังดูทรง ๆ ก็มีแนวโน้มที่จะขยับแผนการเปิดไปเป็นปีหน้าแทน   แต่แม้ว่าโครการคอนโดฯ จะเปิดใหม่ไม่มากนักเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา แต่หากนับปริมาณคอนโดฯ ที่มีสะสมอยู่ในตลาดตอนนี้ ก็มีประมาณ 70,000-80,000 ยูนิต ซึ่งจำนวนนี้ต้องใช้ระยะเวลาขายประมาณ 2 ปีจึงจะขายหมด โดยจะต้องไม่มีสินค้าใหม่เข้ามาเพิ่ม ซึ่งจำนวนโครงการคอนโดฯ ที่เปิดตัวในปีนี้ถือว่าเป็นตัวเลขที่เหมาะสมกับสถานการณ์ในปัจจุบัน   สำหรับทิศทางอสังหาฯ โค้งสุดท้ายของปี ยังไม่เห็นปัจจัยบวกชัดเจน จากนโยบายกระตุ้นภาคอสังหาฯ  ของรัฐบาล นอกจากการปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายลดลง ทำให้ต้นทุนการกู้เงิน และพัฒนาโครงการถูกลง หาก แต่จะเห็นชัดในแง่ของสาธารณูปโภค ได้แก่ การเปิดให้บริการเต็มรูปแบบของรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายหัวลำโพง-หลักสอง ที่อำนวยความสะดวกให้ประชาชนจากฝั่งธนบุรีสามารถเดินทางเข้าเมืองได้ง่าย   เมื่อเมืองขยายตัวออกไป เป็นการเปิดโอกาสให้มีการขยายตัวของพัฒนาอสังหาฯ ไปในทำเลใหม่ๆ ได้เป็นอย่างดี ทำให้เกิดทำเลในการทำธุรกิจการค้า และการอยู่อาศัยเกิดใหม่มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของใจกลางเมืองเก่า ชุมชนเก่า อาทิ เยาวราช วังบูรพา สนามไชย ที่สามารถเชื่อมต่อกับเขตธุรกิจใจกลางเมือง ทำให้ศักยภาพของทำเลที่ดีอยู่แล้วมีมากขึ้นไปอีก ผู้ประกอบการมีการปรับปรุงร้านค้าห้องแถวในบริเวณนั้นใหม่ ทำให้เกิดแหล่งท่องเที่ยว ร้านอาหารและโรงแรม แนวใหม่ขึ้นมากมาย   ราคาคอนโดฯ​ ขยับ 5-6% ต่ำกว่าคาด     สำหรับราคาขายของคอนโดฯ ยังพบว่า มีราคาปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น โดยราคาเฉลี่ยคอนโดฯ ในกรุงเทพฯ ช่วงไตรมาส 2 ของปีนี้ มีราคาขายเฉลี่ย 143,800 บาทต่อตารางเมตร เพิ่มขึ้น 2.3% จากช่วงปลายปีที่ผ่านมา ซึ่งถือว่าต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้  ว่าราคาจะปรับเพิ่มขึ้นถึง 7%  โดยตลาดใจกลางเมืองปรับตัวขึ้น 3% อยู่ที่ 238,000 บาทต่อตารางเมตร ตลาดรอบใจกลางเมืองปรับตัวขึ้น 1%  หรือ 114,800 บาทต่อตารางเมตร และตลาดรอบนอกเมืองปรับขึ้นอีก 2% อยู่ที่ 75,000 บาทต่อตารางเมตร   ในภาพรวมของปีนี้ คาดว่าราคาคอนโดฯ​ จะปรับตัวเพิ่มขึ้นไม่เกิน 5-6% จากปีที่ผ่านมา  ในขณะที่ความต้องการยังคงมาจากผู้ต้องการซื้ออยู่อาศัยจริงที่มีกำลังซื้อเป็นส่วนใหญ่ ส่วนคอนโดฯ ที่ขายดี และสามารถโอนกรรมสิทธิ์ได้ จะอยู่ที่ช่วงราคา 2-5 ล้านบาท  สำหรับคอนโดมิเนียมที่ราคาต่ำกว่า 1.8 ล้านบาท กลุ่มนี้ถึงแม้จะมีความต้องการมากแต่หนี้สินครัวเรือนและเครดิตของผู้กู้เอง ทำให้ไม่สามารถโอนกรรมสิทธิ์ได้  สำหรับตลาดลักชัวรี่และไฮเอนด์ การขายเป็นไปอย่างช้า ๆ โดยกลุ่มผู้ซื้อคือคนต้องการอยู่จริงเป็นหลัก การโอนกรรมสิทธิ์ไม่มีปัญหามากนักเนื่องจากเป็นกลุ่มคนที่มีกำลังซื้ออยู่แล้ว   เปิด 8 ทำเลทองพัฒนาอสังหาฯ     แน่นอนว่าทำเลทองในการพัฒนาโครงการคอนโดฯ ยังคงเป็นเส้นทางตามแนวรถไฟฟ้า  โดยเฉพาะกับเส้นทางรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายที่เริ่มเปิดให้บริการแล้ว ส่งผลให้หลายพื้นที่รอบๆ สถานีรถไฟฟ้า กลายเป็นทำเลทองเกิดขึ้นใหม่ สำหรับการพัฒนาโครงการคอนโดฯ แต่ในบางสถานีที่มีข้อจำกัดด้วยเรื่องที่ดิน ซึ่งหายาก  มีราคาสูง และข้อจำกัดเรื่องผังเมือง ทำให้รูปแบบการพัฒนาก็ถูกปรับเปลี่ยนไปในรูปแบบอื่นๆ เช่น พื้นที่เชิงพาณิชย์เพิ่มมากขึ้น   โดยยังพบอีกว่าบริเวณสถานีซึ่งเป็นจุดตัดของรถไฟฟ้าตั้งแต่ 2 สาย กลายเป็นทำเลน่าสนใจ ซึ่งจะเกิดการพัฒนาโครงการอสังหาฯ​ อย่างต่อเนื่องมากขึ้น ซึ่งมี 8 สถานีที่น่าสนใจ ได้แก่ 1.รัชดา-ลาดพร้าว 2.เตาปูน 3.มีนบุรี 4.วังบูรพา/วัดมังกร 5.อิสรภาพ 6.เจริญนคร 7.สามย่าน และ 8.ศรีนครินทร์  เพราะเมื่อเมืองขยายออก การเดินทางสะดวกมากขึ้น การเดินทางของคนก็สะดวกยิ่งขึ้น   กรณีรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน สถานีอิสรภาพ เป็นตัวอย่างของการเกิดเป็นทำเลใหม่  ที่มีโอกาสในการพัฒนาสูง เพราะเป็นทำเลที่เชื่อมต่อไปยังทำเลอื่น ที่รถไฟฟ้าขยายไปก่อนหน้านี้ ไม่ว่าจะเป็น โซนปิ่นเกล้า วงเวียนใหญ่ หรือเจริญนคร ซึ่งในช่วงก่อนหน้านี้ย่านถนนอิสรภาพ เป็นทำเลที่ไม่ใกล้กับสถานที่สำคัญมากนัก คนที่อยู่บริเวณดังกล่าวมีแต่คนที่อยู่ในชุมชนดั้งเดิม  แต่ในอีกไม่ช้าทำเลนี้จะเป็นทำเลที่มีโครงการคอนโดฯ พัฒนาใหม่ขึ้นอีกจำนวนมาก เพราะที่ดินยังพอหามาพัฒนาได้ เหมือนกับทำเลย่านเจริญนคร เป็นทำเลใหม่ที่ผู้ประกอบการให้ความสนใจเข้ามาพัฒนาโครงการมากขึ้น  ในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา เพราะกำลังจะมีรถไฟฟ้า เชื่อมต่อไปถึงห้างสรรพสินค้าไอคอนสยาม   ตัวอย่างหนึ่งที่เห็นได้ชัด คือ ทำเลปลายรถไฟฟ้าที่เป็นแหล่งชุมชน ไม่ว่าจะเป็นรามคำแหง มีนบุรี บางแค ก็ล้วนแต่เป็นทำเลที่น่าสนใจทั้งสิ้น เนื่องจากย่านเหล่านั้นยังไม่มีคอนโดฯ ออกมารองรับมากนัก แต่พบว่ามีคนอยู่อาศัยประเภทอพาร์ตเมนท์มาก ซึ่งในที่สุดจะต้องมองหาที่อยู่เพื่ออาศัยถาวรมากขึ้น และนั่นคือโอกาสของนักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์นั่นเอง   สุดท้ายทำเลที่ดีอีกที่หนึ่งก็น่าจะเป็น บริเวณรัชดา ลาดพร้าว ที่มีรถไฟฟ้าเชื่อมต่อสายสีเขียวที่เพิ่งเปิดใหม่ทำให้การเดินทางสะดวกสบาย และเป็นทำเลรอบใจกลางเมือง ที่มีแหล่งช้อปปิ้งและสถานศึกษา สวนสาธารณะ อย่างไรก็ตามราคาที่ดิน และคอนโดฯ บริเวณนี้ได้ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงหลายปีที่ผ่านมาเช่นกัน  
ปิดตำนาน 4 ทศวรรษ  “สวนสยาม” ก้าวสู่โลกใบใหม่ในชื่อ “สยามอะเมซิ่งพาร์ค”

ปิดตำนาน 4 ทศวรรษ  “สวนสยาม” ก้าวสู่โลกใบใหม่ในชื่อ “สยามอะเมซิ่งพาร์ค”

คนไทยส่วนใหญ่โดยเฉพาะวัยผู้ใหญ่ จะรู้จัก "สวนสยาม" สวนสนุกและสวนน้ำขนาดใหญ่ ภายใต้สโลแกน “ทะเลกรุงเทพฯ" ที่สร้างชื่อและภาพจำให้กับคนไทยส่วนใหญ่ประเทศ เมื่อนึกถึงสวนน้ำและสวนสนุก จะต้องนึกถึง “สวนสยาม” ซึ่งนับตั้งแต่วันเริ่มต้นธุรกิจจนถึงปัจจุบัน ก็มีอายุยาวนานเกือบ 40 ปีแล้ว  หากเปรียบเทียบกับชีวิตคน ก็ถือว่าเป็นผู้ใหญ่วัยกลางคนที่ใช้ชีวิตมาอย่างเต็มที่ ผ่านร้อน ผ่านหนาว  ทั้งความสุข ความทุกข์  มามากมาย   ท่ามกลางวันเวลาที่ล่วงเลยไป  “สวนสยาม” เผชิญกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งส่งผลให้การดำเนินธุรกิจมีทั้งช่วงขาขึ้นและขาลง  แม้ว่าสภาพแวดล้อม สังคม เศรษฐกิจ และพฤติกรรมผู้บริโภค  จะเปลี่ยนแปลงไปอย่างก็ตาม “สวนสยาม” ก็สามารถยืนหยัดมาได้จนถึงทุกวันนี้  ด้วยความมุ่งมั่นและไม่ย่อท้อของ ดร.ไชยวัฒน์ เหลืองอมรเลิศ ประธานคณะกรรมการกลุ่มบริษัท สยามพาร์คซิตี้ จำกัด เจ้าของและผู้บริหารสวนสยาม   แต่สำหรับวันนี้  โลกเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว และเป็นการเปลี่ยนแปลง ที่ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อสภาพเศรษฐกิจและสังคมเท่านั้น  แต่เปลี่ยนแปลง “พฤติกรรมผู้บริโภค” ที่ถือเป็นหัวใจหลักสำคัญของธุรกิจ ไปอย่างสิ้นเชิง ส่งผลทำโลกธุรกิจในวันนี้อยู่ในมือผู้บริโภค มากกว่าผู้ประกอบการ เพราะผู้บริโภคเข้าถึงแหล่งข้อมูล และมีทางเลือกหลากหลายในการซื้อหรือใช้สินค้าและบริการ     โลกได้ถูกเปลี่ยนแปลงจากยุค “Analog" สู่โลกยุค “Digital” ซึ่งการจะยืนหยัดอยู่ได้บนโลกธุรกิจยุคนี้  ผู้ประกอบการจะต้องก้าวทัน กับพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป ไม่เพียงแต่ปัจจัยภายนอกที่เข้ามากระทบกับสวนสยามเท่านั้น ปัจจัยภายในเองก็ส่งผลอย่างมีนัยสำคัญต่อการอยู่ต่อไปของสวนสยาม เพราะวันนี้ด้วยวัย 81 ปีของดร.ไชยวัฒน์  ซึ่งถือว่าเป็นคนสูงวัย ที่ควรจะวางมือ และส่งต่อธุรกิจให้กับทายาทต่อไปได้แล้ว ไม่ใช่เรื่องของการไม่มีความรู้ความสามารถ แต่เป็นเรื่องของความเหมาะสม ในวันและเวลาที่ทายาทควรจะเข้ามาสานต่อ และต้องเปลี่ยนแปลง “สวนสยาม” ไม่ใช่แค่เพื่อ “ความอยู่รอด” แต่เพื่อการก้าวไปสู่ “ความยั่งยืน” ของธุรกิจในอนาคต   สิ่งที่จะเกิดขึ้นกับ “สวนสยาม” นับต่อจากนี้ไปมี 2 เรื่องใหญ่ ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่  และสำคัญที่สุดในประวัติศาสตร์ของสวนสยามตลอดเกือบ 4 ทศวรรษที่ผ่านมาเลยก็ว่าได้ โดยเรื่องแรก นับตั้งแต่วันที่ 19 กันยายน 2562 จะไม่มีชื่อ "สวนสยาม" อีกต่อไป แต่จะพบกับชื่อใหม่ “สยามอะเมซิ่งพาร์ค” (Siam Amazing Park)   เรื่องที่สอง ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2562 เป็นต้นไป ดร.ไชยวัฒน์ จะลาออกพร้อมกับแต่งตั้งให้ทายาทเข้ามาดูแลกิจการแทน ประกอบด้วยลูกชาย 2 คนได้แก่ นายสิทธิศักดิ์ เหลืองอมรเลิศ นายวุฒิชัย เหลืองอมรเลิศ  ลูกสาว ได้แก่ นางจิรวรรณ ดิศกุล ณ อยุธยา และลูกสะไภ้ ได้แก่ นางนพกาญจน์ เหลืองอมรเลิศ     5 ดินแดนความสนุกใน “สยามอะเมซิ่งพาร์ค”   ไฮไลท์สำคัญของสวนสนุกและสวนน้ำ “สวนสยาม” ที่มีมาแต่เดิม คือ สวนน้ำที่มีสไลท์เดอร์ขนาดใหญ่ ยังคงมีอยู่ให้ลูกค้าได้สนุกเหมือนเดิม แต่ถูกยกระดับการให้บริการภายใต้คอนเซ็ปต์ “Everyday is Amazing” โดยสวนน้ำ หรือ Water World เป็น 1 ใน 5 ดินแดนของความสนุกของสวนน้ำ   นอกจากนี้ ยังมี Extreme World  สุดยอดดินแดนแห่งความมันส์ ที่รวบรวมเครื่องเล่นท้าความ เสียวระดับโลกมาไว้ในที่เดียว อาทิ  Vortex (วอร์เท็กซ์) รถไฟเหาะตีลังกาเกลียวสว่านแบบห้อยขาที่ใหญ่ที่สุด 1 ใน 2 ของโลก  Giant Drop ยักษ์ตกตึก เครื่องเล่นทิ้งดิ่งที่สูงที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ Log Flume ล่องซุงมหาสนุกขนาดยักษ์สัญชาติเยอรมัน   Adventure World ดินแดนแห่งการผจญภัยไปกับเครื่องเล่นหลากหลาย อาทิ Jurassic Adventure (ผจญภัยแดนไดโนเสาร์) Twin Dragon (เรือมังกรสองหัว) และเครื่องเล่นอีกหลายชนิด Family World ดินแดนของเครื่องเล่นที่เหมาะกับสมาชิกทุกคนในครอบครัว  ทั้ง Africa Adventure (ท่องป่าแอฟริกา) Si-Am Tower หอคอยชมวิวที่สูงที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้​ ม้าหมุนสองชั้นสุดคลาสสิก รวมถึง Big Double Shock (บิ๊กดับเบิ้ลช็อค) บ้านผีสิงแบบฉบับของสยามอะเมซิ่งพาร์ค และ Small World ดินแดนเครื่องเล่นไซส์มินิสำหรับนักผจญภัยตัวน้อย   ทุ่ม 3,000 ล้าน ปั้น “บางกอกเวิลด์”    ดินแดนความสนุกแห่งใหม่ล่าสุด ที่มาพร้อมกับคำว่า “สยามอะเมซิ่งพาร์ค” คือ ดินแดนที่ 6 โครงการบางกอกเวิลด์ ซึ่งใช้งบลงทุนไปถึง 5,000 ล้านบาท ทั้งการก่อสร้างและตกแต่ง เนรมิตพื้นที่ขนาด 70 ไร่ บริเวณด้านหน้าทางเข้าสวนสนุก ให้เป็น แหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมขนาดใหญ่  ประกอบไปด้วย 14 อาคาร ได้แก่     1.บางกอกออร์แกนิกมาร์เก็ต เป็นอาคารขนาด 3 ชั้นที่ได้แรงบันดาลใจจากห้างแบดแมนแอนด์โก ห้างสรรพสินค้าที่สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 เป็นห้างที่ทันสมัยและใหญ่สุดในขณะนั้น 2.บางกอกโฮมคราฟท์มาร์เก็ต จำลองอาคารบี.กริมแอนด์โก ในสมัยรัชกาลที่ 5 ซึ่งเป็นศูนย์รวมผลิตภัณฑ์ทางเภสัชกรรมและเคมีภัณฑ์ครบวงจรในสมัยนั้น 3.บางกอกเวิลด์ฟู้ดฮอลล์ อาคารขนาดใหญ่บนพื้นที่กว่า 10,000 ตารางเมตร ที่ได้แรงบันดาลใจมาจากศาลาเฉลิมกรุง  หรือมีชื่ออย่างเป็นทางการว่า โรงมหรสพหลวง ภายในบางกอกเวิลด์ฟู้ดฮอลล์ ประกอบด้วยอาหารไทยปรุงสำเร็จจากสี่ภาค ภัตราคารอาหารไทยและอาหารนานาชาติ ซุ้มอาหารพร้อมทาน ร้านอาหารแบบ Take away รวมถึงฟู้ดคอร์ด 4.บางกอกฟาบริกมาร์เก็ต เป็นการจำลองพาหุรัดมาไว้ในอาคารขนาด 3 ชั้น เป็นแหล่งรวมสินค้าจากวิสาหกิจชุมชน ประเภทผ้าสารพัดชนิด 5.บางกอกไทยโคลธมาร์เก็ต เป็นอาคารที่ได้แรงบันดาลใจจากตลาดสำเพ็ง โดยจัดให้เป็นแหล่งจำหน่ายเสื้อผ้าสำเร็จรูป จากวิสาหกิจชุมชนสี่ภาค 6.บางกอกดินเนอร์เธียเตอร์ การจำลองบรรยากาศของศาลาเฉลิมไทย โรงละครที่ถือเป็นตำนานมากว่า 40 ปี โดยจะมีการแสดงศิลปวัฒนธรรมรูปแบบต่างๆ ทั้งของไทยและประเทศเพื่อนบ้าน ระหว่างการชมการแสดงจะมีดินเนอร์มือพิเศษ ตัวอาคารบริเวณชั้น 2 และ 3 ยังมีห้องประชุม สัมมนา และจัดเลี้ยงด้วย     7.บางกอกไชน่าทาวน์ ดึงเสน่ห์ของเยาวราชมาไว้รวมกันอย่างครบถ้วน ทั้งร้านค้า ร้านอาหาร 8.บางกอกไฟน์อาร์ทมาร์เก็ต อาคารที่ได้รับแรงบันดาลใจจากคลองถม ภายในอาคารขนาด 2 ชั้น ได้รวบรวมสินค้าซึ่งจัดเป็นงานประณีตศิลป์ จากวิสาหกิจชุมชนทั่วประเทศมาไว้ที่นี่ 9.ไทยคิดส์คุกกิ้งเอ็กซ์พีเรียนส์ แรงบันดาลใจจากบ้านพระอาทิตย์ ที่ถูกนำมาใช้เป็นสถานที่สำหรับการเรียนอาหารและขนมไทยสำหรับเด็กๆ 10.เวิลด์คิดส์คุกกิ้งเอ็กซ์พีเรียนส์ อาคารเรือนไทย ที่ได้แรงบันดาลใจจากเรือนขนมปังขิง ที่ได้รับความนิยมตั้งแต่รัชกาลที่ 4 เพื่อเป็นสถานที่สำหรับการเรียนรู้การทำอาหารและขนมในแบบตะวันตก 11.บางกอกซูวีเนียร์ แรงบันดาลใจจากสะพานหัน ที่ตั้งอยู่ในย่านสำเพ็ง ซึ่งจะมีร้านขายสินค้าของที่รระลึก ของฝากจากทั่วประเทศ สินค้าแฮนด์เมด และอีกสารพัดกิ๊ฟช็อป 12.บางกอกโฟลทติ้งฟรุตท์มาร์เก็ต แรงบันดาลใจจากตลาดน้ำคลองผดุงกรุงเกษม ซึ่งจะมีเรือจำหน่ายผลไม้ และสินค้าต่างๆ 13.สำนักงานกลุ่มบริษัทสยามพาร์คซิตี้ ที่ออกแบบอาคารด้วยแรงบันดาลใจจากธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาตลาดน้อยที่สร้างมาตั้งแต่ปี 2447 ซึ่งนอกจากเป็นสำนักงานแล้ว ยังเป็นจุดบริการและเงินและเติมเงินในบัตรแคชการ์ดด้วย 14.จุดเช็คอิน แลนด์มาร์คสำคัญของบางกอกเวิล์ด ไม่ว่าจะเป็นอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เสาชิงช้า ป้อมพระสุเมรุ คลองผดุงกรุงเกษม ประตูสามยอด และสะพานหัน   โครงการ “บางกอกเวิลด์” อยู่ระหว่างการก่อสร้าง ซึ่งกำหนดแล้วเสร็จ พร้อมเปิดให้บริการในปี 2564 ที่จะถึงนี้
3 ความท้าทายและวิธีไปต่อ ของศูนย์ข้อมูลฯ ธอส. ในยุค Digital Disruption

3 ความท้าทายและวิธีไปต่อ ของศูนย์ข้อมูลฯ ธอส. ในยุค Digital Disruption

ตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2547 ที่มีการจัดตั้งศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์​ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) จนถึงปัจจุบัน นับอายุของศูนย์ข้อมูลฯ ดำเนินงานมาถึง 15 ปีแล้ว การเกิดขึ้นของศูนย์ข้อมูลฯ วัตถุประสงค์หลักแรก คือ ต้องการให้ทำหน้าที่รวบรวบข้อมูลด้านอสังหาฯ ซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในงานต่างๆ เข้ามาไว้ด้วยกัน   โดยเฉพาะการจัดทำฐานข้อมูลสำคัญด้านอสังหาฯ  ที่หน่วยงานอื่นไม่จัดเก็บ และจัดทำรายงานสถานการณ์ธุรกิจ เพื่อเผยแพร่ให้ประชาชนทั่วไป และหน่วยงานราชการได้รับรู้  หลังจากที่ประเทศไทยเผชิญกับปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 เกิดปัญหาฟองสบู่แตกในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ เพราะไม่มีฐานข้อมูลมาใช้ในการวางแผน     ผนึกรวมกับธอส. เสริมศักยภาพ แม้ว่าจะดำเนินงานมานานถึง 15  ปีแล้ว แต่ดูเหมือนว่าศูนย์ข้อมูลฯ  ยังมีข้อจำกัดในการทำงาน และการเพิ่มขีดความสามารถของตนเองให้ได้มากกว่านี้  เพราะการจัดตั้งศูนย์ข้อมูลฯ ในช่วงเริ่มต้น ถูกวางบทบาทและสถานะให้เป็น “หน่วยงานอิสระ” และมี ธอส. เป็นผู้ดูแล ซึ่งตลอด 15 ปี โครงสร้างของศูนย์ข้อมูลฯ ยังไม่ได้เปลี่ยนแปลง ยังคงเป็นหน่วยงานที่มีธอส. เป็นผู้ดูแลเหมือนเดิม  แต่ยังมีข้อจำกัดในการเพิ่มเจ้าหน้าที่ และงบประมาณ​ ไม่สามารถขยายศักยภาพของตัวเองได้มากกว่านี้  เพราะถูกมองเป็นภาระสำหรับธอส. ปัจจุบันศูนย์ข้อมูลฯ มีเจ้าหน้าที่ 40 คน และได้รับเงินงบประมาณจากธอส. ปีละ 80-90 ล้านบาทเท่านั้น   แนวคิดของนายนริทร์ กัลยาณมิตร ประธานกรรมการธนาคารอาคารสงเคราะห์ และประธานกรรมการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ มองว่าจะต้องนำเอาศูนย์ข้อมูลฯ​ ควบรวม (Merge) กับธอส. ให้กลายเป็นหนึ่งหน่วยงานของธอส.​ แต่ต้องมีอิสระในด้านการทำงาน  การควบรวมกันเพื่อให้ศูนย์ข้อมูลฯ มีศักยภาพเพิ่มมากขึ้น จากการใช้ทรัพยากรและศักยภาพของธอส. ไม่ว่าจะเป็นเครือข่ายสาขา 200 แห่งทั่วประเทศของธอส. ในการทำงาน รวมถึงอุปกรณ์ เครื่องมือ และงบประมาณ  เพราะศักยภาพของศูนย์ข้อมูลฯ มีมากกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน สามารถพัฒนาไปได้ถึงการศูนย์ฝึกอบรมด้านอสังหาฯ ของประเทศ หรือการเป็นผู้ให้ใบอนุญาตในธุรกิจอสังหาฯ ก็ยังสามารถพัฒนาไปได้     ศูนย์ข้อมูลฯ​ ยังสามารถก้าวไปสู่การเป็นหน่วยงาน Warning indicator จากการนำเอาข้อมูลมาวิเคราะห์และคาดการณ์สิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาฟองสบู่เหมือนในยุควิกฤตปี 2540 ซึ่งเป็นเป้าหมายสำคัญที่น่าจะต้องเป็นให้ได้  รวมถึงการพัฒนาให้ศูนย์ข้อมูลฯ​ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลได้แบบเรียลไทม์ และมีความยืดหยุ่นสูง จนถึงระดับสามารถตอบสนองความต้องการของการใช้งานได้แบบเฉพาะเจาะจง อยากได้ข้อมูลพื้นที่ไหนก็วิเคราะห์ออกมาได้   นอกจากนี้ สิ่งที่ศูนย์ข้อมูลฯ ต้องทำหน้าที่รับผิดชอบ คือ การทำหน้าที่รวบรวมข้อมูล จากหน่ายงานต่างๆ  และเป็นผู้ให้คำแนะนำ ชี้แนะหน่วยงานราชการ หรือหน่วยงานที่จะออกมาตรการด้านอสังหาฯ เพื่อให้คำแนะนำได้ว่า มาตรการนั้นๆ ส่งผลดีหรือไม่ดี หรือมีผลกระทบอย่างไรบ้าง   “มาตรการภาครัฐ ที่ออกมา มันไม่สอดคล้องกับข้อเท็จจริงก็หลายเรื่อง ถ้าทำให้ศูนย์ข้อมูลฯ นำข้อมูลหลายหน่วยงานมาวิเคราะห์ร่วมกันได้จะเป็นประโยชน์”   ปัจจุบันศูนย์ข้อมูลฯ ยังถือว่าทำหน้าที่เพียงรวบรวมข้อมูล นำข้อมูลมาวิเคราะห์ระดับพื้นฐาน ยังไม่ถึงระดับส่งสัญญาณเตือนได้ สิ่งที่ศูนย์ข้อมูลฯ ต้องพัฒนาอย่างต่อเนื่อง คือ เพิ่มข้อมูลการบริการ เพิ่มบริการมากขึ้น การวิเคราะห์ในเชิงลึก การวิเคราะห์ด้วยความแม่นยำ เพื่อให้ได้ประโยชน์  รู้ว่าอะไรควรทำไม่ควรทำ เพื่อไม่ให้ผู้นำข้อมูลไปใช้ได้ประโยชน์สูงสุด และไม่กระทบกับแผนการลงทุนของภาคเอกชน     4 ความท้าทายในยุคดิจิทัล ที่ศูนย์ข้อมูลฯ ต้องเผชิญ   ศูนย์ข้อมูลฯ ไม่เพียงแต่ต้องเผชิญกับข้อจำกัดเรื่องงบประมาณ  และบุคลากร ซึ่งทำให้ไม่สามารถเพิ่มขีดความสามารถในการทำงานได้มากกว่าปัจจุบันเท่านั้น แต่ต้องยอมรับว่าในโลกยุคดิจิทัลปัจจุบัน ซึ่งเป็นโลกของข้อมูลข่าวสารที่มีมากมายมหาศาล และคนส่วนใหญ่เข้าถึงแหล่งข้อมูลได้ง่าย ก็ถือว่าส่งผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงกับธุรกิจและพฤติกรรมของคนในยุคปัจจุบันด้วย  ถือเป็นสิ่งที่เข้ามากระทบกับทุกหน่วยงานเช่นกัน ศูนย์ข้อมูลฯ เองก็ต้องปรับตัวให้ทันกับโลกยุคดิจิทัลเช่นกัน   ความท้าทายของศูนย์ข้อมูลฯ ที่ต้องเผชิญในยุคดิจิทัลมีด้วยกัน 3 เรื่องสำคัญ  คือ  1.ข้อมูลที่มีมหาศาลและรวดเร็วแบบเรียลไทม์ ปัจจุบันถือเป็นยุคของ Big Data หรือ Data Science ที่มีข้อมูลมหาศาล และยังมีความรวดเร็วแบบเรียลไทม์ ซึ่งศูนย์ข้อมูลฯ ยังไม่สามารถจัดทำฐานข้อมูลในระดับนั้นได้ โดยเฉพาะการจัดทำข้อมูลในเชิงคาดการณ์ ซึ่งเป็นสิ่งที่ทุกหน่วยงานต้องการข้อมูลประเภทนี้ การวิเคราะห์ข้อมูล หรือ Data Analytic ทางศูนย์ข้อมูลฯ ยังจัดทำได้ไม่สมบูรณ์ จึงถือว่าเป็นความท้าทายสำคัญ ซึ่งจะต้องพัฒนาและก้าวตามไปให้ทัน รวมถึงต้องเพิ่มขีดความสามารถเหล่านั้นให้ได้   2.เครื่องมือและเทคนิคการวิเคราะห์ข้อมูล ปัจจุบันศูนย์ข้อมูลฯ ยังขาดเครื่องมือในการวิเคราะห์ข้อมูล รวมถึงเทคนิคและวิธีการในการวิเคราะห์ข้อมูล ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องสำคัญมากในการพยากรณ์สิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต การวิเคราะห์ดีมานด์และซัพพลาย โดยเฉพาะการส่งสัญญาณเตือน หรือ Warning สถานการณ์ตลาดอสังหาฯ  รวมถึงการสร้างนวัตกรรม หรือเครื่องมือในการวิเคราะห์ข้อมูล เช่น Machine Learning เพื่อทำให้เห็นภาพเสมือนจริงของสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้น เพื่อให้ผู้นำเอาข้อมูลไปใช้ได้ง่าย และปฏิบัติตามได้ง่าย   3.การเกิดขึ้นของ Financial Disruption การพัฒนาเครื่องมือทางการเงินในยุคดิจิทัล ส่งผลทำให้เกิดสกุลเงินดิจิทัล รูปแบบทางการเงินดิจิทัล หรือนวัตกรรมทางการเงินในส่วนที่เป็นดิจิทัล แม้ว่าอาจจะไม่ได้เกี่ยวข้องกับศูนย์ข้อมูลฯ โดยตรง แต่ Financial Disruption ได้ส่งผลกระทบกับภาพใหญ่ของประเทศ ซึ่งศูนย์ข้อมูลฯ ต้องติดตามและวิเคราะห์ความเคลื่อนไหวในเรื่องนี้ด้วย เพราะมีผลต่อการซื้อขายอสังหาฯ ด้วยเช่นกัน   บอร์ดบริหารของศูนย์ข้อมูลฯ  พยายามผลักดันให้ศูนย์ข้อมูลฯ ได้ควบรวมเป็นหนึ่งเดียวกันธอส. เพื่อให้มีศักยภาพและขีดความสามารถในการทำงานด้านข้อมูล ของธุรกิจอสังหาฯ ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ซึ่งคงต้องใช้เวลาสักระยะหนึ่ง และดูเหมือนจะเป็นหนทางเดียวที่มีความเป็นไปได้มากที่สุด และมีประสิทธิภาพมากที่สุดเช่นกัน ซึ่งนี่คงเป็นหนทางที่จะทำให้ศูนย์ข้อมูลฯ สามารถไปต่อได้    
4 เหตุผลสำคัญ ทำไมคอนโดฯ ไฮเอนด์ยังน่าลงทุน ในภาวะตลาดชะลอตัว-คุมเข้ม LTV

4 เหตุผลสำคัญ ทำไมคอนโดฯ ไฮเอนด์ยังน่าลงทุน ในภาวะตลาดชะลอตัว-คุมเข้ม LTV

ท่ามกลางภาวะตลาดคอนโดมิเนียม ที่ปีนี้ถือว่าลดระดับความร้อนแรงลงอย่างเห็นได้ชัด จากผลของมาตรการ LTV ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ออกมาสกัดกั้นกลุ่มนักลงทุน และเก็งกำไร ซึ่งต้องถือว่าได้ผลอย่างชัดเจน เพราะช่วงครึ่งปีแรกที่ผ่านมา การเปิดตัวโครงการใหม่ลดลงอย่างเห็นได้ชัด เพราะผู้ประกอบการส่วนใหญ่ เร่งระบายสต็อกสินค้าเก่าออก   ครึ่งปีแรกคอนโดฯ เปิดตัวใหม่ลด 30% นายภัทรชัย ทวีวงศ์ รองผู้อำนวยการ ฝ่ายวิจัย บริษัท คอลลิเออร์ส อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย)จำกัด รายงานว่า ช่วงครึ่งปีแรกผู้ปะกอบการเปิดตัวโครงการคอนโดฯ​ ใหม่ออกมาประมาณ​ 18,075 ยูนิต ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนในอัตรา 19.9% ที่มีการเปิดตัวอยู่ประมาณ​ 22,000 ยูนิต ทำให้คาดการณ์กันว่ายูนิตของคอนโดฯ  เปิดใหม่ในปีนี้เหลือเพียง 40,000-45,000 ยูนิต ลดลง 30% จากเดิมที่คาดว่าปีนี้จะเปิดตัวใหม่กัน 50,000-55,000 ยูนิต หากดูจำนวนโครงการเปิดใหม่ ในช่วงไตรมาส 2 ที่มีประมาณ 26 โครงการ จำนวน 9,632 ยูนิต มูลค่า  74,870 ล้านบาท  จะพบว่าผู้ประกอบการเลือกที่จะเปิดตัวในย่านทำเลใจกลางเมืองเป็นหลักจำนวนถึง 6,911 ยูนิต หรือคิดเป็นสัดส่วน 71.8% โดยมีอัตราการขายได้เฉลี่ย 38% การเปิดตัวในทำเลย่านใจกลางเมือง นั่นแสดงให้เห็นว่า เป็นการพัฒนาโครงการจับกลุ่มตลาดบนเป็นหลัก หรือตลาดคอนโดฯ ไฮเอนด์  ซึ่งจากข้อมูลสะท้อนให้เห็นว่า ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ยังคงเชื่อมั่นในศักยภาพของลูกค้าระดับบนในพื้นที่ใจกลางเมือง ที่ยังคงมีความต้องการคอนโดฯ ในพื้นที่ใจกลางเมืองอีกเป็นจำนวนมาก และเป็นฐานลูกค้าที่ไม่ค่อยได้รับผลกระทบจากปัจจัยลบที่เข้ามากระทบตลาดในช่วงที่ผ่านมา     ยอดขายคอนโดฯ ไฮเอนด์ยังเติบโต ในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ ยังพบว่า ภาพรวมของอัตราการขายคอนโดฯ ไฮเอนด์  มีอัตราเฉลี่ยประมาณ 71%  โดยพื้นที่ขายดีจะเป็นย่านลุมพินี คือ บริเวณ หลังสวน ชิดลม และวิทยุ  มีอัตราการขายสูงสุด 76% แต่ยังมีอุปทานเหลือขายเพียงแค่ 343 ยูนิตเท่านั้น เนื่องจากพื้นที่ ย่านลุมพินี เป็น Prime Area แห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร แวดล้อมไปด้วยอาคารสำนักงานเกรด A รวมพื้นที่กว่า 279,986 ตารางเมตร พื้นที่ค้าปลีกพื้นที่ค้าปลีก A อีกกว่า 110,000  ตารางเมตร  รวมถึง Serviced Apartment เกรด A และโรงแมระดับ 5 ดาวอีกเป็นจำนวนมาก รองลงมาคือ ในพื้นที่ สีลม – สาทร มีอัตราการขายประมาณ 73% และในพื้นที่สุขุมวิทซอย 1-61 ที่มีอัตราการขายที่ประมาณ 70% ของอุปทานที่อยู่ระหว่างการขายทั้งหมด   เมื่อตลาดคอนโดฯ​ ไฮเอนด์ ยังถือว่าเป็นตลาดเติบโตดี อัตราการขายได้ยังสูง แสดงให้เห็นถึงความต้องการสินค้าชนิดนี้ว่ายังมีมากอยู่ แต่ปริมาณของเหลือขายหรือที่จะออกมาขายมีน้อย จึงเป็นเหตุผลสำคัญ ที่นักลงทุนสนใจเข้ามาซื้อคอนโดฯ ไฮเอนด์เพื่อการลงทุนอย่างต่อเนื่อง แต่ก็น่าจะยังคงมีคำถามว่า ปัจจุบันตลาดคอนโดฯ ไฮเอนด์ ยังน่าลงทุนหรือไม่ และนี่คงเป็น 4 เหตุผลสำคัญที่สะท้อนให้เห็นว่า ตลาดคอนโดฯ ไฮเอนด์ ยังน่าลงทุนอยู่ไม่น้อย 1.ลูกค้าเชื่อมั่นดีเวลลอปเปอร์ จากจำนวนคอนโดฯ ที่เปิดขายใหม่ในกรุงเทพฯ ในช่วงไตรมาสที่ 2 ที่ผ่านมา  พบว่า อัตราการขายได้เฉลี่ยของโครงการคอนโดฯ อยู่ที่ประมาณ 38%  แต่ถ้าเจาะลึกไปในข้อมูล จะพบว่า ดีเวลลอปเปอร์ซึ่งเป็นบริษัทมหาชน มีอัตราการขายได้ถึง 42% สูงกว่าบริษัททั่วไป ซึ่งขายได้ 26.2% เท่านั้น สะท้อนให้เห็นว่า กลุ่มผู้ซื้อและนักลงทุนยังคงเชื่อมั่นในชื่อเสียง ประสบการณ์ และคุณภาพของของโครงการของผู้ประกอบการขนาดใหญ่ในตลาดหลักทรัพย์มากกว่า ที่สำคัญกลุ่มคอนโดฯ ไฮเอนด์ส่วนใหญ่จะถูกพัฒนาโดยบริษัทมหาชนเป็นหลัก 2.คอนโดฯ ราคาแพง ขายได้สูงสุด สำหรับคอนโดฯ​ ที่ขายดี จะพบว่าเป็นกลุ่มคอนโดฯ ราคาแพงมากที่สุด เพราะถือว่าฐานลูกค้ากลุ่มระดับบนไม่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของภาวะเศรษฐกิจ  มีกำลังซื้อสูง ทำให้ไม่มีปัญหาหรือได้รับผลกระทบจากมาตรการ LTV เท่ากับลูกค้ากลุ่มตลาดกลางและล่าง ซึ่งคอนโดฯ กลุ่มราคาที่ขายดีที่สุด คือ 150,001 - 200,000 บาทต่อตารางเมตร ขายได้  59.7% รองลงมาคือ ราคา 200,001 - 250,000 บาทต่อตารางเมตร  ขายได้ 31.3% และราคา  250,000 บาทต่อตารางเมตรขึ้นไป สามารถขายได้ประมาณ 28.3%   “หากโครงการที่พัฒนาใหม่ตั้งอยู่บนทำเลดีที่ดี ราคาเหมาะสม มีความโดดเด่นทั้งในเรื่องของดีไซด์ คุณภาพ และความน่าเชื่อถือของผู้ประกอบการแล้ว กลุ่มลูกค้ากลุ่มนี่ก็จะไม่ค่อยลังเลในการตัดสินใจเลือกซื้อโครงการคอนโดฯ เหล่านั้น”   จะเห็นได้ว่า คอนโดฯ ระดับราคาทั้ง 3 กลุ่มนั้น ยังคงเป็นกลุ่มลูกค้าระดับบน  ที่สะท้อนให้เห็นอย่างชัดเจนว่า กลุ่มลูกค้าระดับนี้ไม่ค่อยได้รับผลกระทบจากปัจจัยลบต่างๆที่เกิดขึ้น ทั้งในเรื่องของมาตรการ LTV ของทางธนาคารแห่งประเทศไทย ภาพรวมเศรษฐกิจที่ยังไม่เติบโตเท่าที่ควร รวมถึงเรื่องความเชื่อมั่นทางการเมืองและความมั่นคงของรัฐบาลชุดใหม่ที่จะเข้ามาบริหารประเทศ   3.ให้ผลตอบแทนการลงทุนถึง 10% อีกปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้กลุ่มสินค้าระดับบน ยังคงขายดีต่อเนื่อง คือ การได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนที่สูง เพราะต้องยอมรับว่ากลุ่มที่มาซื้อคอนโดฯ​ ราคาแพงนั้น มีทั้งที่อยู่จริงและกลุ่มนักธุรกิจนักลงทุน ซึ่งมองหาโอกาสสร้างผลตอบแทนจากการลงทุนด้วย  โดยจะพบว่า คอนโดฯ ไฮเอนด์ในช่วงที่ผ่านมามีผลตอบแทนจากส่วนต่างของมูลค่าสินทรัพย์ (Capital Gain) และผลตอบแทนจากอัตราค่าเช่า (Rental Yield)  ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง   โดยพบว่า Capital Gain ของคอนโดฯ ไฮเอนด์อยู่ที่ประมาณ 5 - 6.5% ซึ่งถือว่าเป็นตัวเลขที่ค่อนข้างสูง คุ้มค่า และน่าลงทุนเป็นอย่างมาก ซึ่งกลุ่มลูกค้าคอนโดฯ ไฮเอนด์ส่วนใหญ่ ซื้อเพื่อการอยู่อาศัย ซึ่งแน่นอนว่าได้ผลตอบแทนจาก Capital Gain ที่ค่อนข้างสูง และสำหรับนักลงทุนที่ซื้อเพื่อการลงทุนปล่อยเช่า พบว่า ได้รับผลตอบแทน Rental Yield ประมาณ 4.5 – 5.5 % ซึ่งถือว่าเป็นตัวเลขที่น่าสนใจเป็นอย่างมากของเหล่านั้นลงทุน ซึ่งหากรวม Capital Gain และ Rental Yield   เฉลี่ยต่อปี เกือบ 10%   4.ที่ดินพัฒนาโครงการมีจำกัด ปัจจัยที่ทำให้ผลตอบแทนจากการลงทุนกลุ่มคอนโดฯ ไฮเอ็นด์ดีอย่างนี้ เป็นเพราะส่วนใหญ่จะตั้งอยู่ใน Prime Area ของกรุงเทพฯ  ซึ่งทราบกันดีว่า ในปัจจุบันที่ดินใน CBD และ Prime Location ในกรุงเทพฯ มีจำกัด และหายากเป็นอย่างมาก บวกกับราคาที่ดินในช่วงที่มามีการปรับตัวในเรื่องของราคาที่ค่อนข้างสูง  ที่ดินบางแปลงในพื้นที่กรุงเทพฯ ชั้นใน มีการซื้อขายกันสูงกว่า ตารางวาละ 3.1 ล้านบาท ซึ่งจากที่ดินที่ค่อนข้างมีอยู่อย่างจำกัด เชื่อในในอนาคต ในอาจเห็นการซื้อขายที่ดินในกรุงเทพฯ ที่สูงกว่า ตารางวาละ 3.5 ล้านก็เป็นไปได้   เมื่อราคาที่ดินมีการปรับเพิ่มขึ้น ผู้ประกอบการที่พัฒนาโครงการก็ย่อมต้องแบกรับภาระต้นทุนที่สูงขึ้น ก็สะท้อนกลับในสู่ราคาขายของโครงการที่มีการปรับเพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน ซึ่งจะเห็นได้ว่า ในช่วงที่ผ่านมาราคาขายคอนโดฯ ในกรุงเทพฯ มีการปรับเพิ่มขึ้นกว่าปีละ 8-12% นั้นหมายความว่าราคาคอนโดฯ  ที่เราถือครองกันนั้นมีการปรับเพิ่มขึ้นราคาตลอดและต่อเนื่อง จึงสะท้อนให้เห็นว่าคอนโดไฮเอนด์ในกรุงเทพฯ ยังคงเป็นสินค้าที่น่าในใจ และยังคงน่าลงทุนอย่างต่อเนื่อง  ที่สำคัญโอกาสในการครอบครองคอนโดฯ กลางเมือง นับวันมีแต่น้องลง จากที่ดินซึ่งหามาพัฒนาได้ยาก  เรียกได้ว่า ดีมานด์มีมากแต่ซัพพลายเหลือน้อยแล้วนั่นเอง   แต่แม้ว่าคอนโดฯ ไฮเอนด์ ยังเป็นตลาดน่าลงทุน แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า ทุกโครงการหรือห้องทุกยูนิตจะให้ผลตอบแทนที่ดีเสมอไป การเลือกโครงการ ทำเลที่ตั้ง รูปแบบห้อง และปัจจัยแวดล้อมอื่นๆ ยังมีส่วนสำคัญและผู้ลงทุนคงจะต้องศึกษารายละเอียดต่างๆ อย่างรอบครอบ เพราะทุกการลงทุนมีความเสี่ยง!!!     
CPN ยืนยัน “เซ็นทรัล วิลเลจ” เปิดแน่ 31 สิงหาคมนี้ มั่นใจได้รับอนุญาตและก่อสร้างถูกต้อง

CPN ยืนยัน “เซ็นทรัล วิลเลจ” เปิดแน่ 31 สิงหาคมนี้ มั่นใจได้รับอนุญาตและก่อสร้างถูกต้อง

ซีพีเอ็น  ประกาศยืนยันว่า บริษัทได้ดำเนินการทุกอย่างตามขั้นตอนอย่างถูกต้อง และได้รับอนุญาตอย่างถูกต้องตามกฎหมายจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และมีอำนาจรับผิดชอบโดยตรง มีความโปร่งใสพร้อมให้ตรวจสอบ วอนให้ความเป็นธรรมช่วยกันเดินหน้าประเทศไทยทั้งภาพลักษณ์ที่ดีและเศรษฐกิจของประเทศให้โครงการที่มีร้านค้ากว่า 150 ร้าน และพนักงานมากกว่า 1,000 คน พร้อมเปิด 31 สิงหาคมนี้ตามกำหนดการเดิม   นายปรีชา เอกคุณากูล กรรมการผู้จัดการใหญ่ และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า  บริษัทมุ่งสร้างประโยชน์กับประเทศชาติ ประโยชน์ต่อชุมชนโดยรอบอย่างยั่งยืนโดยในทุกที่ที่โครงการของบริษัทไปตั้งอยู่ บริษัทล้วนนำพาความเจริญ สร้างเศรษฐกิจ มีการจ้างงาน กระจายรายได้สู่ชุมชน และยกระดับคุณภาพชีวิตมาอย่างยาวนาน ถึง 34 ศูนย์การค้า ใน 18 จังหวัดทั่วประเทศ   โดยบริษัทมุ่งจะเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างภาพลักษณ์ที่ดี ส่งเสริมเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว การลงทุนในประเทศไทย โดยลักชูรี่ เอาท์เล็ตแห่งนี้  จะช่วยสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน (Competitive Advantage) กับประเทศต่างๆ ทั่วโลก บริษัทสามารถดึงนักลงทุน Global Brands ใหญ่ๆ ระดับโลก ซึ่งทุกคนพร้อมและเชื่อมั่นมาลงทุนในประเทศไทย   บริษัทได้ใช้เวลาเตรียมการมากว่า 5 ปี และ Luxury Outlet แห่งนี้ จะเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ทำให้ประเทศไทยเป็นจุดหมายปลายทางของนักท่องเที่ยว ที่มีความครบถ้วน และทำให้คนไทยมาช้อปในประเทศ ทำให้ภาษียังหมุนเวียนอยู่ในประเทศ โดยเป็นการเปิดกว้างให้คนทุกกลุ่มเข้าถึงสินค้าแบรนด์เนมได้ง่ายขึ้นในราคาย่อมเยาว์”   “โครงการเซ็นทรัล วิลเลจ ขอวิงวอนให้ภาครัฐให้ความเป็นธรรม และช่วยคลี่คลายสถานการณ์ปัญหาต่างๆ โดยโครงการมีมูลค่าร่วมลงทุนของซีพีเอ็น และร้านค้ากว่า 150 ร้านค้า รวมกว่า 5,000 ล้านบาท โดยหลังจากเปิดให้บริการคาดว่า จะมีการจ้างงานพนักงานร้านค้าที่เช่าพื้นที่ กว่า 1,000 คน และคาดว่า จะสร้างรายได้ให้กับผู้ประกอบการในประเทศกว่า 30,000 ล้านบาท” นายปรีชา กล่าว   แจง 3 ประเด็นชัดๆ พัฒนาโครงการถูกต้อง   ประเด็นที่ 1: พื้นที่โครงการมีการเชื่อมทางเข้าออกอย่างถูกต้อง ไม่มีการรุกล้ำที่ดินของภาครัฐ       (ที่ราชพัสดุ ลำรางสาธารณะ) และไม่ได้เป็นที่ดินตาบอด   -ที่ดินโครงการเซ็นทรัล วิลเลจ ตั้งอยู่บนที่ดินที่ติดกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 370 ซึ่งไม่ได้อยู่ภายใต้การดูแลของ ทอท.   -ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 370 เดิมเป็นที่ราชพัสดุ ต่อมากรมทางหลวงได้พัฒนาเป็นทางหลวงแผ่นดิน โดยได้ขึ้นทะเบียนเป็นทางหลวงแผ่นดินแล้ว จึงมีสถานภาพเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ทำให้ไม่มีสถานะเป็นที่ราชพัสดุตามมาตรา 7 (2) พ.ร.บ. ที่ราชพัสดุ พ.ศ. 2562 และเป็นพื้นที่คนละบริเวณกันกับที่ภาครัฐเวนคืนมาเพื่อสร้างสนามบินที่ ทอท. ดูแล   -โครงการได้รับอนุญาตเชื่อมทางอย่างถูกต้องจากกรมทางหลวง ซึ่งเป็นผู้ซึ่งมีอำนาจเต็มในการอนุมัติการเชื่อมทางแต่เพียงผู้เดียว   -ทั้งนี้ พื้นที่ทางหลวงหมายเลข 370 หมายรวมถึง เขตทาง และไหล่ทาง ซึ่งติดกับที่ดินของเอกชน 2 ข้างถนน ซึ่งที่ดินของโครงการมีแนวเขตแนบสนิทต่อเนื่องกับเขตทางของ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 370 ดังนั้น ที่ดินของโครงการจึงไม่ใช่ที่ดินตาบอด   ดังนั้น รายละเอียดในส่วนของการโต้แย้งสิทธิในที่ดินหน้าโครงการ ระหว่าง กรมทางหลวง ทอท. และกรมธนารักษ์ ขอชี้แจงเพิ่มเติม ดังนี้   ที่ดินนี้อยู่บนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 370 และมีป้ายเริ่มต้นและสิ้นสุดอย่างชัดเจน   โดยทางหลวงแผ่นดิน 370 ซึ่งเคยเป็นที่ราชพัสดุ และมอบให้กรมทางหลวงสร้างและเป็นผู้ดูแล ซึ่งเป็นพื้นที่คนละส่วนกับพื้นที่ดินเวนคืนของสนามบินสุวรรณภูมิที่ ทอท ดูแล อีกทั้ง ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 370 ถือเป็นทางหลวงสาธารณะ ที่ใช้เงินภาษีอากรของประชาชน ไม่ใช่ขององค์กรเอกชนใดที่จะมากล่าวอ้างเป็นเจ้าของได้   -โดยในปี 2511-2513 ภาครัฐได้จัดซื้อที่ดินเพื่อสร้างถนน -ปี 2544 ครม. มีคำสั่งให้กรมทางหลวงสร้างทางเข้าออกด้านใต้ของสนามบิน ซึ่งคือทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 370   -ปี 2550 กรมขนส่งทางอากาศทำบันทึกมอบพื้นที่ให้กรมทางหลวงดูแลรักษาทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 370 ซึ่งประกาศใช้เป็นถนนสาธารณะและให้กรมทางหลวงรับผิดชอบแต่เพียงผู้เดียว   -กรมทางหลวงจึงเป็นผู้มีสิทธิครอบครองและมีสิทธิอนุญาตในการให้ใช้ประโยชน์จากทางหลวงแผ่นดิน 370 ได้มีการขึ้นทะเบียนเป็นทางหลวงแผ่นดินเมื่อวันที่ 30 ก.ย. 2554 โดยมีป้ายแสดงจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดทาง   -ทำให้ชี้ได้ว่า สิทธินี้เป็นของกรมทางหลวง ซึ่งปัจจุบันมีผู้ใช้ประโยชน์เข้าออกได้ต่อเนื่องมาโดยตลอดแล้วจำนวน 88 ราย โดยแบ่งเป็น +ผู้ที่ยื่นขออนุญาตเชื่อมทางกับกรมทางหลวงจำนวน 37 ราย +ทอท. เองก็ได้ขออนุญาตจากกรมทางหลวงในการใช้ประโยชน์ เช่น จากหลักฐานล่าสุดเมื่อ 14 พ.ค. 2562 ได้มีหนังสือจากกรมทางหลวงอนุญาตให้ ทอท. เดินท่อร้อยสายไฟฟ้าใต้ดินและบ่อพัก ทั้งนี้ ไม่มีผู้ใช้ประโยชน์รายใด เคยยื่นขออนุญาตเชื่อมทางจาก ทอท. เลย สำหรับพื้นที่อีกส่วนหนึ่งที่เกิดจากการจัดหาที่ดินตาม พ.ร.บ. เวนคืน เพื่อสร้างสนามบินสุวรรณภูมิ -ในปี 2516 ได้มีประกาศ พ.ร.บ. เวนคืนที่ดินจำนวน 19,251 ไร่ เพื่อสร้างสนามบินสุวรรณภูมิ โดยเป็นที่ดินคนละแปลงกับที่ดินทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 370 -เพื่อชี้ให้เห็นว่า สิ่งที่ ทอท. กล่าวอ้างสิทธิการดูแลและครอบครองที่ดินไหล่ทางหน้าโครงการ ไม่น่าจะเป็นกล่าวอ้างที่ถูกต้องนัก เพราะ -เป็นทางหลวงที่เปิดใช้เป็นเส้นทางสัญจรมาตั้งแต่ปี 2548 และกรมทางหลวงได้รับมอบจาก ทย. แล้วเมื่อวันที่ 5 ม.ค. 2550 โดยได้ขึ้นทะเบียนเป็นทางหลวงแล้ว จึงมีสถานภาพเป็นสาธารณะสมบัติของแผ่นดิน -อีกทั้งล่าสุดเมื่อ 14 พ.ค. 2562 ได้มีหนังสือจากกรมทางหลวงอนุญาตให้ ทอท. เดินท่อร้อยสายไฟฟ้าใต้ดินและบ่อพัก   ประเด็นที่ 2: บริษัทฯ ได้ปฏิบัติตามกฎหมายผังเมืองอย่างเคร่งครัด   -โครงการนี้ได้ปฏิบัติตามกฎหมายผังเมืองและได้รับอนุญาตอย่างถูกต้องในการก่อสร้างในพื้นที่สีเขียว บริเวณ ก1-10 ไม่เกินร้อยละ 10 ของที่ดินพื้นที่สีเขียวบริเวณดังกล่าว โดยโครงการได้รับอนุญาตจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามกฎหมายผังเมือง   -และไม่ได้มีการขอปรับผังเมืองแต่อย่างใด   ประเด็นที่ 3 คือ บริษัทฯ ได้ขออนุญาตก่อสร้างในบริเวณพื้นที่เขตปลอดภัยในการเดินอากาศ จากสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย อย่างถูกต้อง   -โครงการมีความปลอดภัยต่อการบิน ไม่ได้ละเมิดกฏใดๆ ทั้งด้านความสูง และไม่มีกิจกรรมใดๆ ที่จะส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานสนามบิน หรือรบกวนการบินแต่อย่างใด โดยแบบมีความสูงที่ถือว่าต่ำกว่ามาตรฐานที่กำหนด ซึ่งเป็นไปตามมาตรฐานองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) จึงไม่เกี่ยวข้องใดๆ กับการติดธงแดงตามที่มีการกล่าวอ้าง   -และเราจะปฏิบัติตามกฎระเบียบอย่างเคร่งครัดต่อไป   เปิดไทม์ไลน์ 5 ปี กว่าจะมีวันนี้   โดย 5 ปีที่ผ่านมา นับแต่เริ่มพัฒนาโครงการเซ็นทรัล วิลเลจ บริษัทฯ ทำงานด้วยความเป็นมืออาชีพ และยึดหลักธรรมาภิบาลในการทำงานถูกต้องทุกขั้นตอน มีความโปร่งใส สามารถตรวจสอบได้มาโดยตลอด และขอยืนยันว่าโครงการเซ็นทรัล วิลเลจ ดำเนินการทุกอย่างถูกต้อง และได้รับอนุญาตอย่างถูกต้องตามกฎหมายจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและมีอำนาจรับผิดชอบโดยตรง ตามไทม์ไลน์ที่เกิดขึ้นดังนี้   1.ปี 2558 บริษัทฯ ได้ทำการตรวจสอบที่ดินว่า ที่ดินดังกล่าวนั้นสามารถพัฒนาโครงการเซ็นทรัล วิลเลจได้ตาม พ.ร.บ. ผังเมือง และติดถนนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 370 ไม่ใช่ที่ดินตาบอดแต่อย่างใด   2.วันที่ 22 ธ.ค. 2559 บริษัทฯ ได้รับหนังสือรับรองการใช้ประโยชน์ที่ดินตาม พ.ร.บ. ผังเมือง ว่า พื้นที่สีเขียวบริเวณ ก1-10 ของผังเมืองสมุทรปราการ ยังมีพื้นที่เพียงพอให้บริษัทฯ สร้างโครงการนี้ได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย   3.วันที่ 30 ม.ค. 2560 และ 25 ก.ค. 2562 บริษัทฯ ได้รับใบอนุญาตก่อสร้างและแบบปรับปรุงภายในเขตปลอดภัยในการเดินอากาศ จากสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (กพท.)   4.วันที่ 24 เม.ย. 2561 ได้ใบอนุญาตการก่อสร้างอาคาร (อ1) จาก อบต. บางโฉลง   5.วันที่ 24 เม.ย. 2561 บริษัทฯ ได้แถลงข่าวเปิดตัวโครงการต่อสาธารณชนเป็นครั้งแรก   6.วันที่ 10 เม.ย. 2562 กรมทางหลวงได้อนุญาตให้การประปา ใช้พื้นที่ไหล่ทางในการดำเนินการวางท่อเข้าโครงการเซ็นทรัล วิลเลจ   7.วันที่ 24 ก.ค. 2562 กรมทางหลวงได้อนุญาตให้ทำทางเชื่อมเข้าออก ขยายผิวจราจร และปรับปรุงทางเท้า ซึ่งรวมไปถึงไหล่ทางด้วย เช่นเดียวกับที่เคยได้อนุมัติเชื่อมทางให้กับผู้ร้องขอรายอื่นบนถนนสายนี้ทั้งสิ้น 37 ราย รวมถึง ทอท. ก็เป็นหนึ่งในผู้ที่เคยขออนุญาตจากกรมทางหลวงมาโดยตลอด และล่าสุดเมื่อ 14 พ.ค. 2562 ได้มีหนังสือจากกรมทางหลวงอนุญาตให้ ทอท. เดินท่อร้อยสายไฟฟ้าใต้ดินและบ่อพัก   8.ในวันที่ 14 ส.ค.  2562 บริษัทฯ ได้รับใบอนุญาตเปิดใช้อาคาร (อ6) จาก อบต. บางโฉลง   9.ในวันที่ 22 ส.ค. 2562 ทอท. มาปิดกั้นทางเข้าออก หน้าโครงการเซ็นทรัล วิลเลจ   10.ในวันที่ 31 ส.ค. 2562 มีกำหนดเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการ
เพราะ 3 เหตุผลหลักที่ “พราว กรุ๊ป” ยอมทุ่ม 7,000 ล้าน  ปักหมุด 2  โปรเจ็กต์ในจังหวัดภูเก็ต

เพราะ 3 เหตุผลหลักที่ “พราว กรุ๊ป” ยอมทุ่ม 7,000 ล้าน ปักหมุด 2 โปรเจ็กต์ในจังหวัดภูเก็ต

พราว กรุ๊ป เตรียมรุกภูเก็ต ทุ่มงบกว่า 7,000 ล้านบาท ผุด 2 โปรเจ็กต์ ‘อันดามันดา’ แหล่งพักผ่อน สวนน้ำ และความบันเทิงบนเนื้อที่ 58 ไร่ ตั้งเป้าเป็น Integrated Entertainment and Resort Destination ใหญ่ที่สุดในไทย เปิดบริการต้นปี 64 และ ‘โรงแรมอินเตอร์คอนติเนนตัล ภูเก็ต รีสอร์ท’  มั่นใจตลาดภูเก็ตยังมีดีมานด์   หลังจากพัฒนาโครงการสวนน้ำ วานา นาวา วอเตอร์ จังเกิ้ล หัวหิน โรงแรมฮอลิเดย์ อินน์ วานา นาวา หัวหิน และโรงแรม อินเตอร์คอนติเนนตัล หัวหิน รีสอร์ท จนประสบความสำเร็จ  พราว กรุ๊ป เจ้าของโครงการ จึงได้เดินหน้าพัฒนาโปรเจ็กต์ต่อเนื่องในเมืองท่องเที่ยวสำคัญอย่างจังหวัดภูเก็ต โดยครั้งนี้ได้ประกาศแผนการลงทุนมากถึง 7,000 ล้านบาทกับ 2 โปรเจ็กต์สำคัญ  ทั้งโรงแรมและสวนน้ำ     นางสาวพราวพุธ ลิปตพัลลภ กรรมการบริหาร พราว กรุ๊ป เปิดเผยว่า จากประสบการณ์ และความเชี่ยวชาญของ พราว กรุ๊ป ที่มีการทำธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เชิงท่องเที่ยวที่หัวหิน  ทำให้บริษัทลงทุนต่อเนื่องมูลค่า 7,000 ล้านบาท พัฒนา 2 โครงการในจังหวัดภูเก็ต ได้แก่ 1.โรงแรม อินเตอร์คอนติเนนตัล ภูเก็ต รีสอร์ท มูลค่าโครงการ 2,500 ล้านบาท และ 2.โครงการอันดามันดา (ANDAMANDA) โครงการมิกซ์ยูส มูลค่า 4,500 ล้านบาท   สำหรับโรงแรมอินเตอร์คอนติเนนตัล ภูเก็ต รีสอร์ท โรงแรมระดับ 5 ดาว ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของหาดป่าตอง ริมหาดกมลา บนเนื้อที่ 23 ไร่ มีห้องพักจำนวน 221 ห้อง โดยเริ่มเปิดให้บริการตั้งแต่ต้นเดือนสิงหาคม 2562 ที่ผ่านมา กลุ่มเป้าหมายสำคัญของโรงแรมจะมีทั้งกลุ่มนักท่องเที่ยวเดินทางโดยตนเอง และกลุ่มอบรมสัมมนา หรือตลาด MICE   ส่วนโครงการ อันดามันดา ตั้งอยู่บนเนื้อที่ 58 ไร่ ว่าประกอบด้วย 3 ส่วนสำคัญ ได้แก่ 1.สวนน้ำที่ใหญ่ที่สุดในภูเก็ต มี 37 สไลด์เดอร์  มีเครื่องเล่น 19 เครื่อง ทะเลเทียมขนาดใหญ่ (Wave Pool) บนเนื้อที่กว่า 16,000 ตารางเมตร และชายหาดยาวกว่า 300 เมตร เขาตะปูจำลอง  ซึ่งมีความสูงกว่า  23 เมตร  2.โรงแรมฮอลลิเดย์ อินน์ อันดามันดา ภูเก็ต ขนาด300 ห้อง  และ  3.แหล่ง “hangout” ใหม่ ประกอบด้วยร้านอาหาร ร้านเครื่องดื่ม โชว์น้ำพุ  มูลค่ากว่า 200 ล้านบาท โดยทีม Wet Design เจ้าของผลงานน้ำพุชื่อดังระดับโลก     โดยโครงการยังมีพื้นที่เหลืออีก 5 ไร่ ซึ่งสามารถพัฒนาโครงการที่เหมาะสมได้ในอนาคต คาดว่าโครงการจะเปิดให้บริการได้ในช่วงต้นปี 2564 ส่วนราคาค่าใช้บริการอยู่ระหว่างการศึกษา คาดว่าจะมีระดับราคาเริ่มต้น 1,500 บาท  และคาดว่าในปีแรกที่เปิดให้บริการจะมีลูกค้าเข้ามาใช้บริการ 700,000 คน   3 เหตุผลทำไมต้อง “ภูเก็ต”   1.จังหวัดภูเก็ต เป็นจังหวัดเมืองท่องเที่ยวติดอันดับโลก ปีที่ผ่านมามีนักท่องเที่ยวเกือบ 20 ล้านคน แม้ว่าช่วงปีนี้กลุ่มนักท่องเที่ยวชาวจีนจะลดจำนวนลงบ้าง 19% แต่ยังมีกลุ่มนักท่องเที่ยวจากประเทศอื่นๆ เช่น นักท่องเที่ยวชาวมาเลเซีย ซึ่งเติบโตถึง 42% ช่วยทำให้ตลาดการท่องเที่ยวของจังหวัดภูเก็ตยังเติบโตได้ดีทั้งปัจจุบันและอนาคต   2.รัฐบาลมีนโยบายการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ไม่ว่าจะเป็นโปรเจ็กต์ระบบรถไฟฟ้าขนส่งรางเบา โครงการทางพิเศษกระทู้ป่าตอง และแผนสร้างสนามบินภูเก็ตแห่งที่ 2 เป็นต้น ซึ่งจะมีส่วนผลักดันให้เกิดการเจริญเติบโตของธุรกิจท่องเที่ยว และธุรกิจที่เกี่ยวข้องมากยิ่งขึ้น   3.นโยบายการดำเนินธุรกิจของบริษัท มุ่งสร้างประสบการณ์ที่แตกต่าง โดยเป็นโครงการที่ยังไม่เคยมีใครทำมาก่อน หรือการสร้างความแตกต่างจากคู่แข่งที่อยู่ในตลาด ซึ่งในตลาดภูเก็ตยังไม่มีแหล่งท่องเที่ยวสำหรับครอบครัว หรือ แหล่งท่องเที่ยวซึ่งเป็น Attraction ประกอบกับการได้กลุ่ม InterContinental Hotel Group เข้ามาเป็นพันธมิตร ทำให้มั่นใจในการขยายธุรกิจ   แผนการลงทุนและการดำเนินธุรกิจครั้งนี้ พราว กรุ๊ป ตั้งเป้าว่าจะขึ้นเป็นผู้นำในการบริการ Integrated Entertainment and Resort Destination ภายในปี 2565 ด้วยผู้ใช้บริการของทั้งสองสวนน้ำ วานา นาวา และอันดามันดา ที่จะมีจำนวนรวมมากกว่า 1 ล้านคน และมีห้องพักให้บริการกว่า 1,000 ห้อง จากทั้งหมด 4 โรงแรมที่อยู่ในมือ    
AWC ไปต่ออย่างไร กับพอร์ต อสังหาฯ​ เพื่อการพาณิชย์ในมือ?

AWC ไปต่ออย่างไร กับพอร์ต อสังหาฯ​ เพื่อการพาณิชย์ในมือ?

นับตั้งแต่ บริษัท แอสเสท เวิรด์ คอร์ป จำกัด (มหาชน) หรือ  AWC ได้ยื่นแบบไฟลิ่งแก่สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ตั้งแต่วันที่ 11 มิถุนายน 2562 ที่ผ่านมา เพื่อนำบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เนื่องจากต้องการระดมทุน นำเงินมาใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในการขยายธุรกิจ สร้างการเติบโตให้กับบริษัท  ชำระหนี้ การสร้างคุณค่าให้กับองค์กรและชุมชน   “วัลลภา ไตรโสรัส”  ลูกสาวคนที่ 2 ของ “เสี่ยเจริญ สิริวัฒนภักดี” ในฐานะประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ แม่ทัพคนสำคัญของบริษัทได้เดินหน้าประกาศความชัดเจนของแผนธุรกิจที่อยู่ในมือ  ซึ่งมี 2 ขาสำคัญ  คือ 1.กลุ่มธุรกิจโรงแรมและการบริการ (Hospitality) และ 2.กลุ่มธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เพื่อการพาณิชย์ (Retail and Commercial Building) ซึ่งประกอบด้วยกลุ่มธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เพื่อการค้า (Retail and Wholesale) และกลุ่มธุรกิจอาคารสำนักงาน (Office)   ก่อนหน้านี้ AWC ได้ประกาศความชัดเจนกับแผนการดำเนินธุรกิจ กลุ่มโรงแรมและการบริการไปแล้ว (อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม) มาคราวนี้ได้ประกาศแผนธุรกิจกลุ่มอสังหาริมทรัพย์เพื่อการพาณิชย์บ้าง กับ 9 ธุรกิจรีเทล ได้แก่  กลุ่มคอมมูนิตี้มอลล์ ประกอบด้วย เกทเวย์ แอท บางซื่อ เกทเวย์ เอกมัย  พันธุ์ทิพย์ พลาซ่า 3 แห่ง ที่ประตูน้ำ งามวงศ์วาน และเชียงใหม่ กลุ่มคอมมูนิตี้ มาร์เก็ต ลาซาล อเวนิว ตะวันนา บางกะปิ โอ.พี.เพลส แบงค็อก และกลุ่มทัวลิสท์ไลฟ์สไตล์ ได้แก่ เอเชียทีค เดอะ ริเวอร์ฟร้อนท์   นอกจากนี้ AWC ยังมีอีก 4 อาคารสำนักงานให้เช่า ได้แก่ อาคารเอ็มไพร์ ทาวเวอร์  อาคารแอทธินี ทาวเวอร์  อาคาร 208 วายเลสโร้ด ทาวเวอร์ และอาคารอินเตอร์ลิ้งค์ ทาวเวอร์     เพิ่มพื้นที่ F&B and Attractions รับไลฟ์สไตล์ผู้บริโภค   จากพฤติกรรมผู้บริโภคยุคปัจจุบัน ซึ่งเดินห้างหรือศูนย์การค้าน้อยลง การซื้อสินค้าเปลี่ยนไปช้อปปิ้งผ่านโลกออนไลน์แทน การใช้ชีวิตยึดติดอยู่กับหน้าจอโทรศัพท์ ส่งผลต่อธุรกิจจำหน่ายสินค้าแฟชั่นและธุรกิจรีเทลหลายอย่าง แต่สิ่งหนึ่งที่ยังทำให้คนยังออกมาเดินห้าง และใช้ชีวิตในห้างอยู่นั้น คือ การกิน-ดื่ม และหาประสบการณ์แปลกใหม่  นี่เป็นเทรนด์และโจทย์หลักสำคัญ ซึ่ง AWC รู้ดีและต้องปรับตัวรองรับไปให้ทันกับกลุ่มผู้บริโภคยุคปัจจุบันเหล่านั้น   แผนธุรกิจรีเทล AWC จึงมุ่งไปตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ดังกล่าว ด้วยการวางแผนเพิ่มพื้นที่ Food & Beverage and Attractions ในศูนย์การค้าและคอมมูนิตี้มอลล์ทุกแบรนด์ในมือ ให้มีสัดส่วนมากกว่า 50% ของพื้นที่รีเทลของโครงการ เนื่องจากปัจจุบันไลฟ์สไตล์ผู้บริโภคนิยมกินข้าวนอกบ้าน  และมาศูนย์การค้าเพื่อใช้ชีวิตและมีประสบการณ์ต่างๆ มากกว่าการซื้อสินค้า เช่น การออกกำลังกาย การพาลูกหลานมาพื้นที่ของเด็ก เป็นต้น ภายใต้แนวคิด Food Jun Family โดบกลุ่มเป้าหมายหลักๆ ก็จะเป็นกลุ่มครอบครัว นักศึกษา และคนวัยทำงาน   ไม่เพียงแต่พื้นที่รีเทลเท่านั้น แต่อาคารสำนักงานให้เช่า AWC ก็ต้องเติมเต็มพื้นที่ Food & Beverage and Attractions เข้าไปด้วย เพราะแม้ว่าจะเป็นพื้นที่อาคารสำนักงาน แต่คนทำงานยังมีความต้องการทั้งในเรื่องของการกินอาหารและการใช้ชีวิต อย่างเช่นอาคารเอ็มไพร์ ทาวเวอร์ ที่ถูกเติมเต็มด้วยร้านอาหารและเครื่องดื่มจำนวนมาก ฟิตเนสเซ็นเตอร์ และซุปเปอร์มาร์เก็ต เป็นต้น   ลงทุนกว่า 20,000 ล้านขยายพอร์ตเพิ่ม   หากดูพอร์ตธุรกิจอสังหาฯ​ เพื่อการพาณิชย์ในมือของ AWC ตอนนี้ กลุ่ม Retail and Wholesale มีพื้นที่ให้เช่าสุทธิ (NLA) เพิ่มขึ้นอย่างมาก จาก 122,130 ตารางเมตรในปี 2560 เป็น 198,781 ตารางเมตรในเดือนมีนาคม 2562 จากโครงการที่เปิดดำเนินการแล้ว 9 แห่ง   ส่วนกลุ่มอาคารสำนักงานมีทั้งสิ้น 4 โครงการรวมพื้นที่เช่า (NLA) 270,594 ตารางเมตร  โดยภาพรวมแล้วอาคารสำนักงานทั้ง 4 โครงการของ AWC มีอัตราการเช่าพื้นที่ (Occupancy Rate) ในระดับสูง เช่น อาคาร 208 วายเลสโร้ด มีอัตราการเช่าพื้นที่อยู่ที่ 92%  และแอทธินี ทาวเวอร์มีอัตราการเช่าพื้นที่สูงถึง 94%     แต่พอร์ตธุรกิจแค่นี้ อาจจะน้อยไปสำหรับ AWC ทำให้บริษัทวางแผนพัฒนาโครงการอย่างต่อเนื่อง อีก  2 แห่ง ได้แก่ 1.โครงการเอเชีย ทีค เฟส 2 พื้นที่ 90,000 ตารางเมตร  ซึ่งประกอบด้วยโรงแรม และพื้นที่รีเทล และ 2.โครงการมิกซ์ยูส ขนาดใหญ่ ที่พัทยา มูลค่าการลงทุนกว่า 20,000 ล้านบาท ซึ่งคาดว่าจะใช้ระยะเวลาการพัฒนา 4-5 ปี ปัจจุบันอยู่ระหว่างการออกแบบโครงการ ซึ่งคาดว่าจะเริ่มก่อสร้างได้ในปี 2564   Barbell Strategy สร้างสมดุลพอร์ตธุรกิจ   จากโอกาสการเติบโตของตลาดท่องเที่ยว การขยายตัวของเมืองที่มีต่อเนื่อง รวมถึงธุรกิจโดยรวม ถือเป็นโอกาสสำคัญของ AWC ในการได้อานิสงค์จากการเติบโตดังกล่าว จึงได้วางกลยุทธ์สำคัญ คือ กลยุทธ์บาร์เบล (Barbell Strategy)  ซึ่งเป็นการสร้างสมดุลระหว่างโครงการหลากหลายประเภท เหมือนกับบาร์เบลที่มีลูกเหล็กอยู่ทั้งสองข้าง เพื่อรองรับกลุ่มเป้าหมายที่แตกต่างกัน อาทิ โครงการ เอเชียทีค เดอะริเวอร์ฟร้อนท์ เน้นกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย นักท่องเที่ยวทั้งในและต่างประเทศ   โครงการอสังหาริมทรัพย์เพื่อประกอบกิจการการค้าที่เจาะกลุ่มลูกค้าเป้าหมายในชุมชนหรือบริเวณที่มีความหนาแน่นของโครงการที่อยู่อาศัยสูง รวมถึงอยู่ใกล้ศูนย์กลางการขนส่ง เช่น โครงการเกทเวย์ แอท บางซื่อ ซึ่งเน้นกลุ่มเป้าหมายที่เป็นผู้พักอาศัยที่อยู่ในรัศมี 5 กิโลเมตร ซึ่งมีคอนเซ็ปต์ในการตอบโจทย์การสร้างประสบการณ์ไลฟ์สไตล์ ด้วยพื้นที่ F&B and Attractions     เสริมบริการ+Cross Marketing กลุ่ม TCC   ด้านการบริหารจัดการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารธุรกิจ และสร้างการเติบโต เรื่องการบริการก็เป็นสิ่งที่ AWC มองว่าเป็นกุญแจสำคัญเรื่องหนึ่ง เพื่อทำให้ลูกค้าและพันธมิตรยังคงใช้บริการธุรกิจของบริษัท อย่างเช่น ลูกค้าของพื้นที่สำนักงานให้เช่า AWC เตรียมพัฒนา AWC Application เพื่อใช้อำนวยความสะดวกแก่ผู้เช่า ไม่ว่าจะเป็นการเข้าออกอาคาร การตรวจสอบพื้นที่จอดรถ การสั่งซื้อสินค้าออนไลน์ และเชื่อมโยงไปถึงการได้รับส่วนลดพิเศษ กับบรรดาร้านค้าที่เข้ามาเปิดให้บริการในอาคาร   ไม่เพียงเท่านั้น AWC Application ยังจะเป็นเครื่องมือในด้านการทำตลาดร่วมกันระหว่างบริษัทต่างในเครือ TCC และกลุ่มไทยเบฟอีกด้วย ในเรื่องของสิทธิพิเศษ และส่วนลดต่างๆ ส่วนภาพใหญ่ AWC จะใช้กลยุทธ์ Cross Marketing ร่วมกับบริษัทในกลุ่มของตระกูล “สิริวัฒนภักดี” เช่น การดึงเอาแบรนด์สินค้าหรือแบรนด์ร้านอาหารและเครื่องดื่ม เข้ามาเปิดบริการในศูนย์การค้าหรือพื้นที่รีเทลของ AWC   “จุดแข็งที่ทำให้กลุ่มธุรกิจอสังหาฯ เพื่อการพาณิชย์ของเรามีการเติบโตอย่างต่อเนื่องที่สำคัญ คือ การมีโครงการที่หลากหลาย และกว่า 90% เป็นโครงการที่เราเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ ที่ดินเอง การมีทีมผู้บริหารที่มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญ ความสามารถในการใช้ประโยชน์จากบริษัทในเครือ และการพัฒนาให้แต่ละโครงการมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว”