Fd Feature 8

DeFi นวัตกรรมการเงินดิจิทัล ที่ไม่ต้องง้อธนาคาร [VDO]

Categories : Life+Style
Tags : , , ,

DeFi นวัตกรรมการเงินดิจิทัล ที่ไม่ต้องง้อธนาคาร

วันนี้เราจะมาพาทุกคนไปรู้จักกับคำว่า DeFi ว่าคืออะไร เกิดขึ้นมาได้อย่างไร และเข้ามาช่วยแก้ปัญหาอะไรให้เราได้บ้าง พร้อมกับจะพาไปดูว่าโปรเจ็กต์ DeFi ที่น่าสนใจ มีการพัฒนาขึ้นมาให้เราได้ทดลองใช้งานได้แล้วมีอะไรบ้าง

 

DeFi ย่อมาจาก Decentralized Finance หมายถึง การใช้บริการทางการเงินในรูปแบบใดก็ตาม ที่ไม่ต้องพึ่งพาตัวกลางเลย ตัว Finance Products ทั้งหลายที่เรารู้จัก เช่น การกู้ยืม การระดมทุน หรือว่าการลงทุน เราต้องอาศัยตัวหลางทั้งสิ้น ได้แก่ ธนาคาร​ กองทุน หรือบริษัทหลักทรัพย์ โดยแนวคิดการทำธุรกรรมต่าง ๆเหล่านี้ ที่ไม่ต้องอาศัยตัวกลางจึงเกิดขึ้น และเป็นที่มาของเทคโนโลยี Blockchain และ Smart Contract  โดยคุณสมบัติของ Blockchain และ Smart Contract  ได้มีการพัฒนา Finance Product ที่ไม่ต้องอาศัยตัวกลาง ที่พัฒนาขึ้นมาโดยอาศัยเทคโนโลยี Blockchain และ Smart Contract  จึงถูกเรียกว่า DeFi นั่นเอง

 

Traditional Finance  หรือการให้บริการทางการเงินแบบดั้งเดิม
แตกต่างจาก DeFi คือ การมีตัวกลางนั่นเอง

 

DeFi กับแก้ปัญหาการเงินแบบเก่า

แต่ถ้าเรามาลองคิดดูตัว Financial Product ทั้งหลาย เช่น การให้กู้ยืม การระดมทุนหรือการลงทุน ซึ่งมีมาเป็น 100 ปีแล้ว และที่เราใช้อยู่มันมีปัญหาอะไร  และตัว DeFi จะเข้ามาแก้ปัญหาอะไร ถ้าเราลองพิจารณาถึงประเด็นหลักที่ทำให้ตัว Traditional Finance  หรือการให้บริการทางการเงินแบบดั้งเดิม แตกต่างจาก DeFi ก็คือ การมีตัวกลางนั่นเอง

การต้องพึ่งพิงตัวกลางก็นำมาซึ่งประเด็นหลายประเด็น ดังนี้

1.ความเชื่อมมั่นในการทำธุรกรรม (Need Trust)

เนื่องจากการทำทุรกรรมต่าง ๆ ทางการเงิน ขึ้นอยู่กับความเชื่อมั่น โดยเราจะต้องเชื่อมั่นว่า การทำธุรกรรมของเราจะต้องไม่โดนโกง มีความถูกต้อง ซึ่งในความเป็นจริงอาจเกิดผิดพลาดขึ้นก็ได้ เช่น เงินฝากในธนาคารที่หายไป จนเกิดเป็นข่าวในช่วงที่ผ่านมา    

 

2.การได้ทำธุรกรรมทางการเงินต้องได้รับอนุญาต (Need permission)

การทำทุรกรรมการเงินใดใดก็ตาม จะต้องได้รับอนุญาตก่อน ซึ่งโดยปกติจะต้องมีการขอข้อมูลก่อน เพื่อไปทำการตรวจสอบก่อนที่จะทำการเปิดบัญชีกับทางธนาคารก่อน  ซึ่งตัวกลางมีอำนาจในการยับยั้งไม่ให้เราเปิดบัญชีใช้งานได้เช่นกัน

 

3.การกระจุกตัวของการบริหารความเสี่ยง (Central risk)

จะเห็นว่าในระบบดั้งเดิมการบริหารจัดการความเสี่ยง จะกระจุกตัวอยู่ที่สถาบันการเงินไม่กี่แห่ง ซึ่งในอดีตเรามีความเชื่อว่าสถาบันการเงินเหล่านี้ มีจะมีผู้เชี่ยวชาญมาคอยดูแลเรื่องพวกนี้อยู่แล้ว แต่จากข้อมูลในอดีตจะเห็นว่า  วิกฤติเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นทุกครั้ง ก็จะลุกลามมาจากสถาบันการเงิน เพราะสถาบันการเงินเหล่านี้ถูกควบคุมโดยมนุษย์  ซึ่งมนุษย์ก็อาจจะก่อความผิดพลาดขึ้นมาได้เช่นกัน

 

ข้อดีของ DeFi

1.ไม่จำเป็นต้องมีตัวกลาง (No middleman)

ตัว DeFi ไม่จำเป็นต้องมีตัวกลางในการควบคุม

 

2.ไม่ต้องพึ่งพาความเชื่อมั่น (Trustless)

จากการที่ DeFi ไม่มีตัวกลาง เพราะฉะนั้นการทำธุรกรรมทางการเงินต่าง ๆ เราไม่ต้องฝากชีวิตไว้กับความเชื่อมั่น เพราะการทำธุรกรรมต่าง ๆ จะเป็นไปเงื่อนไขงของระบบ Smart Contract และ Blockchain  ที่กำหนดไว้ตั้งแต่แรกจะไม่มีใครมาเปลี่ยนแปลงได้

 

3.ให้อิสระผู้ใช้งาน (Permissionless)

ตัว DeFi จะให้​อิสระกับผู้ใช้งานอย่างเต็มที่ ในการเข้ามาเปิดบัญชีใช้งาน และโอนเงินเข้าหรือโอนเงินออกได้อย่างอิสระ และไม่มีใครที่จะสามารถฟรีซเงินเราไม่ให้โอนเงินเข้าหรือโอนเงินออกไปหาใครได้

 

4.อำนาจการบริหารความเสี่ยงถูกกระจายออกไป (Diversify risk)

ถัดมา คือ อำนาจการบริหารความเสี่ยงจะมีการกระจายตัวออกไป ทำให้ความเสี่ยงมีการกระจายตัวออกไป ไม่มีการกระจุกตัวอยู่ที่คนใดคนหนึ่ง

 

DeFi vs Bitcoin ต่างกันอย่างไร?

หลายคนอาจจะมีข้อสงสัยว่า Bitcoin ไม่ใช่ DeFi หรืออย่างไร ซึ่งก่อนอื่นต้องเข้าใจก่อนว่า Bitcoin  นำมาซึ่งเทคโนโลยี Blockchain  และเทคโนโลยี Blockchain ก็มาซึ่งการส่งเงินรับเงิน การผลิตเงิน และการเก็บรักษาตัวเงิน แต่สิ่งที่บิทคอยน์ไม่ได้นำมาคือ การกู้ยืมเงิน การฝากเงินแล้วได้ดอกเบี้ย รวมถึงการระดมทุนสิ่งเหล่านี้ Bitcoin ไม่ได้นำมา

 

นอกจากนี้ หลายคนอาจจะยังมีข้อสงสัยเกี่ยวกับ Smart Contract มีที่มาอย่างไร ซึ่งที่มาของ Smart Contract นั้นมาพร้อมกับ Ethereum ซึ่งมีจะเด่น 2 ข้อ

 

1.Blockchain ของ Ethereum สามารถสร้าง Token หรือ Cryptocurrency อื่น ๆ ขึ้นมาทำงานบน Blockchain ของ Ethereum ได้

 

2.ฟังชั่น Smart Contract คือ ตัวโปรเจก์เช็คต่าง ๆ พัฒนาขึ้นมาบน Ethereum  สามารถพัฒนา Smart Contract ออกมาในรูปแบบใดก็ได้ รวมถึงรูปแบบฟังก์ชันทางการเงิน เช่น การกู้ยืม การฝากเงิน จึงเป็นที่มา ว่าทำไมจึงมีโปรเจ็กต์ DeFi  เกิดขึ้นมากมายบน Blockchain บน Ethereum

 

ทำความรู้จักโปรเจ็ค DeFi ที่น่าสนใจ

1.Dai

Dai เป็นตัว Stable coin  ที่มีการกำหนดมูลค่าเท่ากับ 1 USD  ด้วยกลไก Smart Contract ของ Maker Dao ที่นำตัวสินทรัพย์มามาค้ำประกัน โดยสินทรัพย์ที่นำมาค้ำประกัน จะสามารถทำการตัวสอบได้โดยแพลตฟอร์มของ Maker Dao โดยเราสามารถตรวจสอบได้ตลอดเวลา ซึ่งแตกต่างจาก ​USD Ether ที่มีการอ้างว่ามีตัว USD ค้ำประกันอยู่ แต่จริง ๆ เราไม่สามารถตรวจสอบได้แบบเรียลไทม์ เหมือนแพลตฟอร์มตัว Maker Dao  ได้ ว่ามีสินทรัพย์ค้ำประกันอยู่เพียงพอจริง ๆ  ทำให้เห็นว่า Dai มีความเป็น Decentralized ที่ชัดเจน  ในขณะที่​ USD Ether มีลักษณะเป็น Centralized เหมือน Traditional Finance  แบบตั้งเดิมนั่นเอง

 

2.แพลตฟอร์มการให้กู้ยืม

มีตัวที่น่าสนใจ คือ Maker Dao และ Compound  โดย Maker Dao แพลตฟอร์มการให้กู้ โดยสามารถนำสินทรัพย์ที่มีความผันผวนของราคา เช่น Ether  ไปค้ำประกันและขอเงินกู้มาเป็นตัว Dai ซึ่ง Maker จะทำตัวเหมือนธนาคารคนที่ถือของตัว token maker  จะสามารถร่วมกันออกนโยบาย ปรับเพิ่มลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ และสามารถกำหนดได้ว่า สินทรัพย์ประเภทใดจะมาค้ำประกันได้ และมีการกำหนดตัวเพดานสินทรัพย์แต่ละประเภทจะสามารถปล่อยกู้ได้มากน้อยแค่ไหนตามมูลค่าสินทรัพย์ประเภทนั้น ในขณะที่ตัว Compound เหมือน Money Market  หรือคล้ายกับตลาดเงินกู้ระยะสั้นที่ จะเข้ามาปล่อยเงินกู้หรือของกู้ตัว Cryptocurrency  ในตลาดนี้ได้

 

3.DEX หรือ Decentralized Exchange

Decentralized Exchange หรือ Dex เป็นโปรเจ็กต์การซื้อขาย Cryptocurrency โดยไม่ต้องอาศัยตัวกลาง ซึ่งการซื้อขายผ่านแพลตฟอร์มพวกนี้ จะดีกว่าการซื้อขายผ่าน Web Exchange เพราะตัว Web Exchange มีโอกาสที่จะถูก Hack ได้ง่ายกว่า และการซื้อขายผ่านWeb Exchange มักจะต้องการให้เราส่งข้อมูลเพื่อยืนยันตัวตนก่อน ในขณะที่การซื้อขายผ่านแพลตฟอร์ม DEX  ไม่มีความจำเป็นที่เราจะต้องยืนยันตัวตนและอายุเท่าไหร่ก็ทำการซื้อขายได้ ตัวโปรเจ็กต์ที่น่าสนใจ คือ  Kyber Network  โดย Kyber Network จะมีคำสั่งในการซื้อขาย และการทำธุรกรรมจะเกิดขึ้นบน Blockchain ทั้งหมด

 

นอกจากนี้ ยังมี DeFi โปรเจ็กต์อีกมากมาย ที่เปิดให้บริการและรวมถึงอยู่ระหว่างการพัฒนา ซึ่งเป็นที่น่าจับตามองจะมีโปรเจ็กต์ใดบ้างที่จะมีคนใช้งานกันอย่างแพร่หลายและอนาคต หากมีข้อมูลที่น่าสนใจเราจะนำมาเล่าให้ฟัง

 

ทุกท่านสามารถติดตามบทความด้านการเงินดิจิทัล และบทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ ได้อย่างต่อเนื่องที่ www.reviewyourliving.com หรือผ่านช่องทาง Facebook Fanpage : Review Your Living รู้จริงเรื่องที่อยู่อาศัย

 

บทความที่เกี่ยวข้อง

 

บทความ Life+Style ล่าสุด