Infographic วิธีใช้ปลั๊กพ่วงอย่างไรให้ปลอดภัย 2

วิธีใช้ปลั๊กพ่วงอย่างไรให้ปลอดภัย

เกือบทุกบ้านต้องมีปลั๊กพ่วงไว้ใช้งานอยู่แล้ว แต่ทราบวิธีการใช้ที่ถูกต้องหรือยังครับ เพราะหลายครั้งหลายหนที่สาเหตุของการเกิดอัคคีภัยนั้นมาจากไฟฟ้าลัดวงจร โดยเฉพาะจากการใช้ปลั๊กพ่วงผิดวิธี หรือการเสื่อมสภาพของตัวปลั๊กพ่วงนี่แหละครับ ฉะนั้นมาดูวิธีการใช้งานที่ถูกต้อง เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้ตลอดเวลาครับ

 

Infographic วิธีใช้ปลั๊กพ่วงอย่างไรให้ปลอดภัย 3

 

ปลั๊กพ่วงที่ดี ส่วนประกอบต้องครบ

ก่อนจะเลือกซื้อปลั๊กพ่วงสักอันต้องดูส่วนประกอบเหล่านี้ให้ครบครับ

สวิตช์เปิด-ปิด หากใช้ไฟฟ้าเกินกำหนดจะช่วยตัดกระแสไฟฟ้า

เต้าเสียบ มีฉนวนหุ้มที่โคนขาปลั๊กทั้งสองขา

เต้ารับ มีแรงดันไฟฟ้าที่กำหนดไม่เกิน 250 โวลต์  ควรทำจากทองแดงหรือทองเหลือง เพราะนำไฟฟ้าได้ดีกว่า

สายไฟได้มาตรฐาน หุ้มฉนวน 2 ชั้น

ฟิวส์ หรือ CB

 

ตรวจสอบสภาพก่อนใช้งาน

ปลั๊กพ่วงต้องมีสภาพสมบูรณ์ก่อนการใช้งานทุกครั้ง หากมีร่องรอยชำรุดเสียหาย ไม่ว่าจะเป็นฉนวนหุ้มสายไฟแตก ขาปลั๊กมีรอยไหม้ หรือเมื่อเสียบปลั๊กไฟแล้วมีประกายไฟขึ้น ขณะใช้งานมีเสียงดัง สายไฟร้อน ปลั๊กหลวม ฯลฯ ให้หยุดใช้งานแล้วเปลี่ยนปลั๊กพ่วงใหม่ได้เลยครับ อย่าเสียดาย เพราะเราต้องป้องกันก่อนจะเกิดอันตราย

 

ห้ามใช้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดใหญ่

เครื่องใช้ไฟฟ้าที่กินไฟเยอะ เช่น ตู้เย็น เครื่องทำน้ำเย็น ฯลฯ ควรจะเสียบกับเต้ารับจากไฟบ้านโดยตรงครับ หากเสียบกับปลั๊กพ่วงอาจทำให้เกินพิกัดกระแสไฟฟ้าที่ตัวเต้าจะรับได้ ซึ่งปกติแล้วจะอยู่ที่ 16 แอมป์ หรือ 2,600 โวลต์

 

ไม่พ่วงแล้ว พ่วงอีก

ถ้าความยาวสายไฟไม่พอ ก็ลองหาตัวใหม่ที่มีความยาวเพียงพอกับการใช้งานครับ อย่าใช้วิธีพ่วงแล้ว พ่วงอีกต่อกันไปเรื่อยๆ เพราะจะทำให้ปริมาณไฟฟ้ารวมกันเกินขนาด เกิดความร้อนสูงจนอาจไปละลายสายทองแดงด้านในสายไฟทั้งสองเส้น แล้วเมื่อแตะกันก็จะเกิดลัดวงจรขึ้นครับ

 

ใช้งานแค่ชั่วคราวเท่านั้น

ปลั๊กพ่วงถูกออกแบบมาเพื่อการใช้งานชั่วคราวเท่านั้นนะครับ ทำให้มีการเสื่อมสภาพเร็วกว่าเต้ารับตามบ้านทั่วไป ดังนั้นเมื่อใช้งานเสร็จแล้วก็ควรดึงปลั๊กออกจากเต้ารับ ห้ามนำไปเดินสายแล้วติดกับผนังกลายเป็น และอย่าใช้งานจนเต็มทุกรู

 

 

อย่าลืมตรวจสอบปลั๊กพ่วงอย่างสม่ำเสมอ และใช้ให้ถูกวิธีนะครับ เพราะหากเกิดอัคคีภัยขึ้นมา จากประกายไฟเล็กๆ ที่เราคาดไม่ถึง อาจลุกลามไปทำลายทรัพย์สิน หรือถึงแก่ชีวิตได้ครับ

 

 

 

บทความ Infographic ล่าสุด