Fd Feature 12

Liquidity Pool คืออะไร สำคัญแค่ไหนในวงการ Cryptocurrency [VDO]

Categories : Life+Style
Tags : , , ,

Liquidity Pool คืออะไร 

Liquidity Pool คืออะไร? ดีอย่างไร? และมีส่วนช่วยเสริมสภาพคล่องให้กับการเงินดิจิทัลอย่างไร วันนี้เรามีบทความเกี่ยวกับ Liquidity Pool มาอธิบายให้ฟัง เพื่อคลายข้อสงสัยต่าง ๆ

 

ก่อนที่จะทำความเข้าใจ Liquidity Pool ว่าคืออะไร ก่อนอื่นจะต้องเข้าใจตัว DEX ก่อน ซึ่ง DEX คือ Decentralized Exchange อย่างพวก Uniswap, Balancer, Curve ซึ่งทั้งหมดเป็นแพลตฟอร์ม ที่ให้คนเข้ามาใช้บริการได้ซื้อขายแลกเปลี่ยนตัว Cryptocurrency การที่ตัวแพลตฟอร์มเหล่านี้จะมีตัว Cryptocurrency ให้คนมาใช้งานหรือซื้อขายแลกเปลี่ยนกันได้ ก็ต้องมีคนที่เอาตัว Cryptocurrency ต่าง ๆ ทั้งหลายเหล่านี้เข้ามาใช้ใน Pool เช่น ETH, DAI, USDC, Link หรือ Token อะไรก็ตาม ในแพลตฟอร์มนั้น ๆ เพื่อแพลตฟอร์มแต่ละแพลตฟอร์มจะได้มีตัวเหรียญเอามาให้คนซื้อขายแลกเปลี่ยนกันได้  การซื้อขายแลกเปลี่ยน Token จะเกิดขึ้นได้ จะต้องเป็นการซื้อขายแลกเปลี่ยน Token ใน Pool

 

 

 

Liquidity Pool คืออะไร จำเป็นแค่ไหนในการแลกเปลี่ยน

หลายคนอาจจะสงสัยว่า ทำไมต้อง Pool ด้วย ทำไมไม่ใช้กระดานซื้อขายแลกเปลี่ยน ตั้ง Bid Offer ที่เราทำการซื้อขายและเปลี่ยนตัว Cryptocurrency บน web exchange ต่าง ๆ

 

ก่อนอื่นเราต้องเข้าใจก่อนว่า การซื้อขายแลกเปลี่ยนบนกระดาน exchange ฝั่ง Bid ต้องมีทาง Buyer หรือผู้ซื้อ ทำการ Bid ทำราคาเสนอซื้อเข้ามา ในขณะที่ฝั่งคนขาย ก็ต้องตั้งราคาขาย Offer มา ซึ่งบางกรณี ฝั่ง Bid อาจจะยินดีซื้อแค่ราคา 100 แต่ฝั่งขายยินดีที่จะขายในราคา 120 ก็จะสังเกตเห็นว่าจะมีส่วนต่างของราคาเสนอซื้อกับเสนอขายค่อนข้างห่างกันเกินไป ซึ่งโดยปกติจะมี Market Maker หรือที่เรียกว่า MM เข้ามาช่วยทำให้เกิดสภาพคล่องในการซื้อขาย โดยตัว Market Maker จะเข้ามาตั้งราคาเสนอซื้อกับเสนอขายให้มีส่วนต่างน้อยลง ทาง Market Maker ก็อาจจะตั้ง Bid มาหลาย ๆ ราคา อาจจะตั้ง 105, 109, 109.50 ในขณะที่ฝั่ง Offer จะมี Market Maker ก็จะมีการตั้งราคาขายให้ต่ำลงมา อาจจะมีการตั้งราคา 115, 113, 112

 

เราจะสังเกตเห็นว่า การซื้อขายแลกเปลี่ยนที่ไม่ได้ใช้ Pool แต่เป็นการใส่คำสั่ง Bid Offer บนกระดานแลกเปลี่ยน ก็จะมีการใส่คำสั่งตัว Bid Offer จำนวนมหาศาล แล้วก็จะต้องมีการเปลี่ยนแปลงคำสั่งจำนวนมาก จะเป็นข้อจำกัดของการซื้อขายแลกเปลี่ยนบน Decentralized Exchange เพราะการส่งคำสั่งบน Decentralized Exchange ในแต่ละครั้ง จะมีค่าธรรมเนียมอยู่ด้วยทุกคำสั่ง ที่ใส่ไปใน Smart Contract ของตัว Blockchain นี้ จะมีการเก็บค่าธรรมเนียม ถึงแม้ว่าตัวคำสั่งนี้จะไม่เกิดการซื้อขายแลกเปลี่ยนก็ตาม พอเป็นแบบนี้ ก็ทำให้การซื้อขายแลกเปลี่ยนบนกระดานที่เราคุ้นเคยกัน ก็จะไม่เหมาะสมกับการที่เราจะเอาไปใช้บน Decentralized Exchange เพราะถ้าเป็นแบบนั้น ตัว Market Maker จะเจ๊งกนไปหมด เพราะต้องจ่ายค่าธรรมเนียมจำนวนมหาศาล

 

หลักการทำงานของ Liquidity Pool

จากตัวอย่าง Pool ของ Uniswap มี Pool หนึ่งที่จะเป็นคู่เหรียญของ ETH กับ DAI ในส่วนของ Pool ตัวนี้จะต้องมีคนเอตัว ETH กับ DAI เข้ามาใส่ใน Pool นี้ เพื่อที่จะทำให้ตัว Uniswap ทำการซื้อขายแลกเปลี่ยนตัว ETH กับ DAI ได้ จากตัวอย่าง คือ

 

นาย A ต้องใส่ตัว ETH กับ DAI ข้ามา แล้วนาย A จะได้รับผลตอบแทนเป็น Liquidity Pool Token ซึ่งตัว Liquidity Pool Token จะคอยสะสมค่าธรรมเนียมที่นาย A ได้รับ ถ้ามีคนซื้อขายตัว ETH กับ DAI บนแพลตฟอร์มของ Uniswap ปัจจุบันตัวแพลตฟอร์มของ Uniswap จะทำการเก็บค่าธรรมเนียม 0.3% เวลามีคนทำการซื้อขาย Token บนแพลตฟอร์มของ Uniswap ตัว Uniswap ก็จะมีระบบ Market Making ของตัวเองที่เป็นระบบแบบ Automatic ที่มีชื่อว่า AMM ที่ย่อมาจาก Automated Market Making ซึ่งระบบ AMM ของ Uniswap ก็จะทำงานด้วยสมการ การคำนวณ ดังนี้

 

            ETHQ x DAIQ = K

 

จำนวนของ  ETH เมื่อคูณกับจำนวนของ DAI แล้ว ก็จะมีค่าเท่ากับ ค่า K หรือ ค่าคงที่ค่าหนึ่ง ซึ่งวิธีการนี้จะทำให้ตัวราคา Token ที่มีการซื้อขายบนแพลตฟอร์มนี้ จะมีการปรับราคาตาม Demand Supply ที่มีการส่งคำสั่งเข้ามาในระบบ ซึ่งจะทำให้ตัว Uniswap จะมีสภาพคล่องอยู่ตลอดเวลา ก็จะทำให้ตัว Uniswap เป็นตัว Market Maker แบบ Automatic ได้โดยไม่ต้องมีการส่งคำสั่งไปยัง Smart Contract หลาย ๆ รอบ แต่สมการการคำนวณนี้ ก็จะเป็นเฉพาะของ Uniswap

 

อย่างตัว Balancer Pool ที่สามารถทำการคูณจำนวน Token หลาย ๆ Token เข้าไปใน Pool เดียวกันได้ ก็จะใช้สมการหนึ่ง ตามตัวอย่างนี้

 

           (X x Y x Z)1/3 = K

ให้สอดคล้อง Demand Supply ในการปรับราคาและปรับจำนวน Token ใน Pool ให้ตอบสนอง Demand Supply ที่เกิดขึ้น

 

ถ้านาย A ต้องการถอนตัว ETH DAI ที่ใส่เข้ามาใน Pool วิธีการ คือ นาย A จะต้องทำการโอนตัว Liquidity Pool กลับเข้าไปที่ Pool หลังจากมีคำสั่งส่งกลับไปก็จะถูก Burn ทิ้ง แล้วนาย A จะได้รับตัว ETH กับตัว DAI บวกด้วยค่าธรรมเนียม 0.3% ที่นาย A จะได้รับตามสัดส่วน ที่เขาใส่เข้ามาใน Pool

 

แต่อย่างไรก็ตาม นาย A อาจจะเกิดผลขาดทุนจาก Permanent Loss หรือผลขาดทุนจาก Impermanent Loss (รายละเอียดจะนำเสนอในบทความต่อไป)

 

รู้จักความเสี่ยงของ Liquidity Pool

ความเสี่ยงของ Liquidity Pool มีด้วยกัน 5 เรื่องดังนี้

 

1. การเกิด Bug

เพราะตัว Liquidity Pool ที่เราเห็นว่ามีหลาย Liquidity Pool ก็เป็นไปได้ว่าจะมี Bug เกิดขึ้น หรือการเขียน code ที่ไม่ถูกต้อง หรือ มีช่วงโหว่ ทำให้ตัว Smart Contract ทำงานผิดพลาด จากที่คิดไว้

 

2. การโจรกรรมโดย Hacker

ตัว Pool ที่มีตัว Cryptocurrency กองอยู่ด้วยกัน ก็จะตกเป็นเป้าหมายของพวก Hacker ในการทำการ Hack เอาตัวเหรียญออกไป

 

3. Admin Keys

ตอนนี้โปรเจ็กต์หลายโปรเจ็กต์ ที่เป็น Smart Contract ฝั่ง Developer ก็จะมีการสร้างตัว Admin keys ไว้ซึ่งตัว Admin keys นี้คนที่เป็นเจ้าของ Admin keys นี้สามารถเข้ามาแก้ไขดัดแปลง ตัว Smart contract ได้ทุกเมื่อ นอกจากนี้ การมีอยู่ของ Admin keys ก็มีความเสี่ยงอีกอย่างหนึ่ง คือ Developer คนที่เป็นเจ้าของ Admin keys เกิดทำ Keys หลุดไปข้างนอกแล้ว มีพวก Hacker หรือผู้ไม่ประสงค์ดีมาเห็น ก็จะเอาตัว Keys มาแก้ไขตัว Smart contract ได้เหมือนกัน

 

4. Impermanent Loss

คือ การขาดทุน ที่อาจจะเกิดขึ้นกับ Cryptocurrency  ซึ่งมีสาเหตุจากความผันผวนของราคาสินทรัพย์ดิจิทัลในตลาดโลก

 

5. Systemic risk

เป็นความเสียงที่เกิดจากตัวระบบทำงานผิดพลาดทั้งระบบ

 

ทั้งหมดนี้ คือ เรื่องราวของ Liquidity Pool ที่นักลงทุนหรือผู้สนใจเกี่ยวกับ Cryptocurrency ควรทำการศึกษาและเข้าใจ เพื่อประโยชน์ในการลงทุน และเป็นการลดความเสี่ยงจากการขาดทุนได้อีกด้วย

 

บทความที่เกี่ยวข้อง

 

บทความ Life+Style ล่าสุด