ผ่อนบ้านไม่ไหว ควรทำอย่างไรดี

ผ่อนบ้านไม่ไหว ควรทำอย่างไรดี

Categories : Infographic
Tags : , , ,

เมื่อมีปัญหาผ่อนชำระบ้านไม่ไหว หรือหมุนเงินไม่ทัน ก่อนอื่นต้องสำรวจก่อนว่าเราสามารถลดรายจ่ายอื่นๆ อีกได้ไหม พยายามตัดรายจ่ายก้อนใหญ่ออกก่อน (ที่ไม่เกี่ยวกับการดำรงชีวิต) จากนั้น ดูว่าเดือนนี้ (หรือเดือนถัดไป) จะเหลือเงินส่งผ่อนน้อยกว่าที่กำหนดได้เท่าไหร่ เช่น ผ่อนต่องวด 10,000 บาท แต่เหลือเงินแค่ 5,000 บาท เป็นต้น

 

เมื่อเราได้สำรวจตัวเองและพยายามที่จะลดรายจ่ายอื่นๆแล้ว สิ่งที่ควรกระทำ เกี่ยวกับการผ่อนชำระบ้าน ควรทำดังต่อไปนี้

เมื่อผ่อนบ้านไม่ไหวให้โทรไปบอกเจ้าหน้าที่ธนาคาร (สาขาที่ทำเรื่องกู้เงิน)

1.เมื่อผ่อนบ้านไม่ไหวให้โทรไปบอกเจ้าหน้าที่ธนาคาร (สาขาที่ทำเรื่องกู้เงิน)

แจ้งทางธนาคารว่า เราสามารถผ่อนชำระงวดนี้ได้น้อยกว่าค่างวดปกติ ธนาคารจะมีเบี้ยปรับอย่างไรบ้าง (ส่วนใหญ่จะมีเบี้ยปรับกรณีผ่อนชำระล่าช้า) ซึ่งจะคิดในอัตราที่สูงกว่าปกติ (ราวๆ 18%) และควรถามค่าธรรมเนียมอื่นๆ อีก เช่น ค่าธรรมเนียมในการทวงหนี้ที่ค้างชำระ หรือ ค่าธรรมเนียมธนาคารอื่นๆ เป็นต้น

 

หากผ่อนบ้านไม่ไหว ให้จ่ายค่างวดที่สามารถจ่ายได้ ในเดือนนี้ก่อน

2.หากผ่อนบ้านไม่ไหว ให้จ่ายค่างวดที่สามารถจ่ายได้ ในเดือนนี้ก่อน

ห้ามไม่จ่ายค่างวดเลย หรือ เงียบหายไปเฉยๆ ควรจ่ายของเดือนนี้ไปก่อน เช่น เหลือแค่ 5,000 บาท เพราะธนาคารอาจจะคิดไว้ก่อนว่าเราจะเบี้ยวหนี้ในครั้งต่อไปด้วยครับ ทำให้ธนาคารอาจจะเตรียมเรื่องส่งฟ้องเพื่อยึดทรัพย์เพื่อขายทอดตลาด และอาจจะฟ้องเราเป็นบุคคลล้มลายได้ ทำให้เราหรือผู้กู้ร่วมไม่สามารถทำธุรกรรมใดๆ (การเซ็นฯเอกสารการเงิน) ได้อีกเลย

 

เพราะหากมีธุรกรรมใดๆ เกิดขึ้น ธนาคารจะตามไปอายัดไว้ แล้วดึงเงินในธุรกรรมนั้นไปหักค่าคงค้างพร้อมดอกเบี้ย นับตั้งแต่วันหยุดชำระ (ดอกเบี้ยบ้านเป็นแบบหักต้นหักดอก ในกรณีจ่ายค่าผ่อนปกติ แต่เมื่อหยุดจ่าย ดอกเบี้ยบ้านก็จะกลายเป็น “ต้นทบดอก” ไป) ทำให้เมื่อไปเจรจากับธนาคารในภายหลังจากที่ให้ฟ้องล้มละลายไปแล้ว จะทำให้เห็นว่ายังมีเงินคงค้างที่เป็นดอกเบี้ยที่ทบต้นทบดอก ตามมาหลอกหลอนอีก ทำให้ธุรกรรมใดๆ เมื่อมีการโอนเงินก็จะถูกดึงไปหักอยู่ตลอด แบบนี้ก็ไม่มีวันที่จะไปทำมาหากินใดๆ ได้อีกเลย

 

การชำระเงินเดือนถัดไป เมื่อผ่อนบ้านไม่ไหว

3.การชำระเงินเดือนถัดไป เมื่อผ่อนบ้านไม่ไหว

เดือนถัดไปควรจะชำระเงินค่างวดที่คงค้างไว้ครั้งก่อน + ดอกเบี้ยที่ปรับชำระล่าช้า + ค่างวดปกติในเดือนนั้น เพื่อที่ธนาคารจะได้หยุดดอกเบี้ยปรับล่าช้า (18%) กลับมาที่ดอกเบี้ยปกติ ที่ควรจะเป็นครับ เมื่อชำระทั้ง 3 ยอดแล้ว นำสลิปส่ง FAX ไปหาเจ้าหน้าที่สินเชื่อที่เดือนก่อนได้ติดต่อไว้เรื่องขอชำระล่าช้า เพื่อให้ทางเจ้าหน้าที่รีบทำเรื่องยืนยันการชำระที่ค้างชำระไปในเดือนก่อน เพื่อเป็นลายลักษณ์อักษรไปที่สำนักงานใหญ่ด้วย พร้อมทั้งสอบถามว่าแบบนี้จะทำให้กลับมาคิดในดอกเบี้ยปกติเมื่อใด

 

ตรวจสอบยอดชำระเดือนถัดๆ ไป เมื่อผ่อนบ้านไม่ไหว

4.ตรวจสอบยอดชำระเดือนถัดๆ ไป

ตรวจสอบว่าเดือนถัดไป (เดือนที่ 3) มีการคำนวณดอกเบี้ย และหักเงินต้นกลับมาเป็นระบบปกติหรือไม่ หากไม่ปกติ ให้รีบติดต่อเจ้าหน้าที่สินเชื่อที่ได้ติดต่อไว้ทันที ว่ามีเหตุผิดพลาดในขั้นตอนไหน หรือ เข้าไปพบเจ้าหน้าที่คนดังกล่าวให้พิมพ์ Statement การผ่อนชำระมาพูดคุยกัน หากเจ้าหน้าที่อธิบายแล้วไม่เข้าใจ แนะนำให้ติดต่อสำนักงานใหญ่ (อาจผ่านระบบโทรศัพท์ก่อน) หากยังไม่ได้รับการอธิบายที่ชัดเจน หรือยังไม่เข้าใจ ก็ขอชื่อเจ้าหน้าที่ที่สำนักงานใหญ่ที่จะสามารถเข้าพบได้ เพื่อเข้าไปปรึกษา

 

ทั้งนี้ ควรรีบเข้าไปดำเนินการเรื่องนี้ ไม่อย่างนั้นระบบยังจะคำนวณเป็นการชำระล่าช้าอยู่ ซึ่งก็จะเป็นลักษณะทบต้นทบดอกอยู่ หากปล่อยให้เนิ่นนานก็จะกลายเป็นยอดที่สูงมากจนเราไม่สามารถชำระไหว

 

หมายเหตุ เหตุที่ผ่อนชำระไม่ไหว ควรรีบติดต่อเจ้าหน้าที่ธนาคารทันที เมื่อเราทราบว่าผ่อนไม่ไหวแน่ๆ ในเดือนนี้ หรือ ในเดือนถัดไป (อาจจะมีเหตุจำเป็นต้องหมุนเงินขึ้นมา) อย่าคิดเอาเองว่าธนาคารน่าจะช่วยเราอย่างนั้นอย่างนี้ โดยที่เราไม่ติดต่อเข้าไปก่อน (เรื่องหนี้ไม่มีใครมาช่วยเราได้ หากเราไม่ช่วยตัวเอง)

 

ขอให้ทุกท่านสามารถฟันฟ่าอุปสรรคในการผ่อนบ้านไปได้ครับ

เช็คว่าคุณพร้อมจะผ่อนบ้านหรือยัง

เรื่องราวเกี่ยวกับกับการผ่อนบ้าน-คอนโด

บทความ Infographic ล่าสุด