Fd Feature 15

Compound Finance การปล่อยกู้เพื่อสร้างกำไรในคริปโทฯ [VDO]

Categories : Life+Style
Tags : , , ,

Compound Finance การปล่อยกู้เพื่อสร้างกำไรในคริปโทฯ

หลายคนที่สนใจวงการ Cryptocurrency คงเคยได้ยินการพูดถึง Compound Finance กันมาบ้าง โดยเฉพาะคนที่มีเหรียญดิจิทัลอยู่ในมือ ซึ่งสามารถนำเอาเหรียญไปสร้างมูลค่าเพิ่ม จากการปล่อยกู้ หรืออยากจะกู้เองก็ได้  ซึ่งบทความนี้จะพาทุกคนไปรู้จักกับ Compound Finance ว่าคืออะไรกันแน่  และจะช่วยอำนวยความสะดวกให้กับคนที่มี Cryptocurrency แล้วมีความต้องการสร้างรายได้เพิ่มจากการนำมาปล่อยกู้เพื่อได้รับดอกเบี้ย หรือคนที่ต้องการขอกู้ Cryptocurrency จะต้องดำเนินการอย่างไรบ้าง

 

ไขข้อข้องใจ Compound Finance คืออะไร

Compound Finance เป็นแพลตฟอร์มที่จะช่วยอำนวยความสะดวก ผู้มี Cryptocurrency แล้วอยากจะเอามาปล่อยกู้เพื่อได้รับดอกเบี้ย รวมถึงผู้ที่จะมาขอกู้ตัว Cryptocurrency ก็สามารถเข้ามาใช้งานผ่านแพลตฟอร์มนี้ได้เช่นกัน และบทความนี้นอกจากจะทำความเข้าใจแพลตฟอร์ม Compound Finance เบื้องต้นแล้ว ยังจะอธิบายถึงฟังก์ชั่นสำคัญของ Compound Finance ว่ามีอย่างไรบ้าง

 

สำหรับผู้ที่สนใจ รายละเอียดต่าง ๆ เกี่ยวกับวงเงินการปล่อยกู้ มูลค่าเงินที่มีคนปล่อยกู้ และข้ออื่น ๆ  สามารถเข้าไปดูได้ในเว็บบราวเซอร์ compound.finance

 

เมื่อเข้าไปแล้วจะพบข้อมูลต่าง ๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็นมูลค่าเงินทั้งหมด (Total Supply)  ที่ระบบสามารถจะปล่อยกู้ได้  Total Borrow คือ มูลค่าเงินทั้งหมดที่มีคนกู้ไปในขณะนี้ ​รวมถึงมีการแสดง Cryptocurrency ที่มีการให้กู้ยืมหลาย Cryptocurrency ด้วยกัน  เช่น Ether, USD Coin หรือ DAI และยังมีการแสดงอัตราดอกเบี้ยที่ผู้ให้กู้จะได้รับ และดอกเบี้ยที่ผู้กู้จะต้องจ่ายแสดงไว้ด้วย

 

Compound Finance 1Compound Finance 10

เข้าใจการกู้ยืมเงินใน Compound Finance

หลายคนอาจจะสงสัย Compound Finance มีการทำงานอย่างไร มีการปล่อยกู้แบบ pear to pear หรือเปล่า? ความจริงแล้ว Compound Finance ใช้ระบบ Currency Pool เป็นการเชื่อมโยงระหว่าง Lender (ผู้ให้กู้) กับตัว Borrower หรือตัวผู้กู้ โดยฝั่ง Lender เป็นคน Supply Cryptocurrency เข้ามาใน  Currency Pool ก็จะได้รับอัตราดอกเบี้ยเป็น Supply APR เป็นค่าตอบแทน โดยตัวอัตราดอกเบี้ยที่โค้ดใน Compound Finance จะเป็นอัตราดอกเบี้ยต่อปี หรือ APR ย่อมาจาก Annual Percentage Rate

 

Compound Finance 11 Compound Finance การปล่อยกู้เพื่อสร้างกำไรในคริปโทฯ 12

 

สำหรับผู้กู้ จะเป็นผู้มี Demand ในการที่จะมาขอกู้ทาง Currency Pool แล้วทางผู้กู้ก็ต้องชำระเป็นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ หรืออัตรา Borrow APR เข้ามาที่ตัว Currency Pool โดยตัว Compound Finance จะเป็นคนบริหารจัดการตัว Currency Pool ให้สามารถบริหารจัดการไปได้อย่างราบรื่น รวมถึงและบริหารจัดการความเสี่ยงต่าง ๆ

 

การกู้เงินใน Compound Finance โดยขั้นตอนการกู้เงินใน อันดับแรกเราต้องมีการ Supply ตัว Cryptocurrency หรือมีการวางหลักประกันเข้ามาในตัว Currency Pool หลังจากได้วางตัวหลักประกันไปแล้ว จะได้รับ borrowing power จะคล้ายกับการไปกู้เงินกับทางธนาคาร ที่เราจะต้องวางสินทรัพย์ค้ำประกันก่อน ที่ดิน หรือบ้าน พอวางสินทรัพย์ ทางธนาคารจะให้วงเงินมา ซึ่งวงเงิน หรือ​ borrowing power หลังจากเรามี borrowing power แล้วเราก็สามารถกู้ยืมเงินจาก Currency Pool

 

ถ้าเราต้องการไถ่ถอนหลักประกัน เราต้องจ่ายตัวเงินกู้กลับไปพร้อมอัตราดอกเบี้ย เราจะได้ตัวหลักประกันคืนกลับมา ขั้นตอนนี้เหมือนการกู้ยืมเงินกับสถาบันการเงิน หรือบริษัทลิสซิ่งต่าง ๆ

 

มูลค่าสินทรัพย์และความเสี่ยงใน Compound Finance

การนำสินทรัพย์มาค้ำประกัน แน่นอนว่าจะต้องมีการประเมินมูลค่า และความเสี่ยงของสินทรัพย์นั้น ๆ เพื่อประเมินว่าจะสามารถปล่อยวงเงินออกไปได้เท่าไร โดยปกติวงเงินกู้จะต้องมีมูลค่าน้อยกว่ามูลค่าสินทรัพย์ที่นำมาค้ำประกัน เพราะต้องบริหารความเสี่ยงจากการที่ผู้กู้ไม่ชำระหนี้  ซึ่งหลักการนี้ ไม่แตกต่างจากการกู้ยืมเงินกับทางธนาคาร หรือบริษัทลิสซิ่งต่าง ๆ ในแพลตฟอร์ม Compound Finance จึงมีการประเมินมูลค่าของเหรียญที่นำมาปล่อยให้กู้ยืมด้วย

 

กรณีตัวอย่างในแพลตฟอร์ม Compound Finance

จำนวนเงินที่นำมาค้ำประกันมีมูลค่าเท่ากับ 35 us ในขณะที่ยอดเงินกู้มีค่าเท่ากับ 0 และ borrowing power มีมูลค่าเท่ากับ 23.48 us จะเห็นว่า borrowing power มีมูลค่ามากกว่า supply balance ตัววงเงินกู้จะมีมูลค่าน้อยกว่าสินทรัพย์ที่มาค้ำเป็นหลักประกัน จะเหมือนกับการกู้เงินกับทางธนาคาร หรือบริษัทลิสซิ่ง ที่จะมีการประเมินมูลค่าสินทรัพย์ขึ้นมา แล้วมีการมอบวงเงินให้ต่ำกว่ามูลค่าสินทรัพย์ที่มาค้ำประกัน หรือเป็นการบริหารความเสี่ยงของทางธนาคาร

 

Compound Finance 4

 

จากภาพตัวอย่าง ทาง Compound Finance ก็มีการจัดระดับชั้นความเสี่ยงของสินทรัพย์ที่นำมาค้ำประกันไว้จากตัวอย่าง ตัว BAT (Basic Attention Token) จะมีตัว Collateral Factor 60% ความหมายก็คือ ถ้าเรานำตัว BAT ที่มีมูลค่าเช่น 100 us มาค้ำประกัน เราจะได้รับตัว borrowing power เท่ากับ 60 us กรณี ETH มีตัว Collateral Factor เท่ากับ 75% ซึ่งสูงกว่า BAT ทำให้เวลาเราเอาตัว ETH มาค้ำประกันจะได้รับตัว borrowing power เป็นสัดส่วนที่มากกว่าตัว BAT

 

Compound Finance 5 Compound Finance 7

Compound Finance ก็มีการยึดทรัพย์ 

อย่างไรก็ตาม การกู้เงินผ่านตัว Compound Finance  มีขั้นตอนหนึ่งอันหนึ่งที่เราต้องทราบไว้ ซึ่งคือขั้นตอนการ Liquidation ซึ่งคือ การยึดทรัพย์เพื่อขายทอดตลาด  สาเหตุทำให้เกิด Liquidation คือ เมื่อภาระหนี้ หรือ debt ซึ่งประกอบไปด้วยเงินต้นที่เรากู้มาพร้อมภาระดอกเบี้ย  เกิดภาระหนี้สินมีมูลค่ามากกว่าวงเงินของเรา หรือตัว borrowing power ก็จะทำให้ตัวระบบทำการ Liquidation ซึ่งหลังจากเข้าสู่ขั้นตอนการ Liquidation ตัว collertral หรือสินทรัพย์ที่ถูกนำมาค้ำประกัน ก็จะถูกนำไปขาย สิ่งที่ผู้กู้จะได้รับคืน คือ จำนวนเงิน เท่ากับตัวมูลค่าหลักทรัพย์ที่เอาไปขาย หักลบด้วยภาระหนี้สิน และหักลบด้วยส่วนลด ซึ่งส่วนลดนี้เหมือนค่าดำเนินการที่นำตัวสินทรัพย์นี้ไป ขายทอดตลาด

 

Compound Finance การปล่อยกู้เพื่อสร้างกำไรในคริปโทฯ 3

ดอกเบี้ยกู้ยืมใน Compound Finance

ปัจจัยที่ทำให้เกิดการกู้ยืมเงิน หัวใจอีกอย่างหนึ่ง คือ อัตราดอกเบี้ย ที่ผู้ให้กู้จะต้องได้รับ จากผู้ขอกู้ ซึ่งในแพลตฟอร์ม Compound Finance มีการคิดอัตตราดอกเบี้ย ​ ตัว Supply APR จะต่ำกว่า Borrow APR หรือคือดอกเบี้ยที่ผู้ให้กู้จะได้รับ จะต่ำกว่าดอกเบี้ยที่ผู้กู้จะต้องจ่าย เพื่อความเข้าใจจะดูจากกรณีตัวอย่างนี้

 

เริ่มต้นจากผู้ให้กู้ มีจำนวนเหรียญให้กู้ 200 mm(ล้านเหรียญ) ทางฝั่งผู้กู้มีความต้องการกู้อยู่100 mm จะเห็นว่ามีส่วนต่างอยู่ที่ฝั่ง Supply มีมากกว่า Demand แล้วทางฝั่งผู้กู้มีภาระที่จะต้องจ่ายดอกเบี้ยอยู่ 10% เมื่อคำนวณออกมาแล้วจะมีมูลค่าเท่ากับ 10 mm ซึ่งจำนวนเงิน 10 mm จะถูกนำไปจ่ายให้ฝั่งผู้ให้กู้ แต่ว่าโดยปกติ Compound Finance จะมีการหักเงินเก็บสำรองไว้ส่วนหนึ่ง เช่นในจำนวนนี้จะสำรอง (reserve) ไว้ 2 mm โดยหากคำนวณตัวเลขที่จ่ายมาให้ทางฝั่ง Supply ของ Currency Pool จะเหลือ 8 mm แล้วถ้านำจำนวน 8 mm มาคำนวณกับจำนวนเงินให้กู้ได้ทั้งหมด 200 mm ตัว APR ที่ฝั่งผู้ให้กู้จะได้รับจะเท่ากับ 4.0% นี่จึงเป็นที่มาของอัตราดอกเบี้ยที่ผู้ให้กู้กับผู้กู้ถึงมีความแตกต่างกัน สาเหตุมาจากความแตกต่างทางฝั่ง Supply กับ Demand กับการหักสำรองของ Compound Finance ไว้เพื่อการบริหารความเสี่ยง

 

Compound Finance การปล่อยกู้เพื่อสร้างกำไรในคริปโทฯCompound Finance 9

การบริหาร Compound Finance ด้วย cToken

นอกจากนี้ ตัว Compound Finance ยังมีการใช้ตัว  cToken  มาช่วยในการบริหารจัดการ จากตัวอย่างจะเห็นว่า มีตัว cBAT  กับ cETH ซึ่งตัว  cToken เกิดจาการที่เราได้นำตัว BAT กับ ETH ไปทำการค้ำประกันไว้กับตัว Compound Finance ด้วย  ซึ่งขั้นตอนการได้มาของ cToken มีดังนี้

ในขั้นตอนที่เรานำสินทรัพย์ไปค้ำประกันไว้กับตัว Currency Pool โดยสิ่งที่เราจะได้นอกจาก borrowing power เราจะได้ตัว cToken ของตัวสินทรัพย์ที่เราเอาไปค้ำประกันไว้ด้วย สมมติถ้าเราเอา ETH ไปค้ำเราก็จะได้ cETH ถ้าเราเอา Dai ไปค้ำ ก็จะได้ cDai ถ้าเราเอา Bat ไปค้ำเราก็จะได้ cBat

 

คุณสมบัติของ cToken

สำหรับ cToken มีคุณสมบัติ ดังนี้

1.ERC-20 หรือเป็น Token ที่สามารถโอนไปหาคนอื่นได้ เหมือนการโอน Token ของ Blockchain ของ Ethereum

2.represent balance in protocol

ตัว cToken เป็นตัวยืนยันว่าเรามีสินทรัพย์อะไรบ้างใน Compound Finance

3. accrue interest over time

cToken มีการสะสมมูลค่าอัตราดอกเบี้ยในการปล่อยกู้ทบต้นไปเรื่อย ๆ ตามระยะเวลาที่เรามีการปล่อยกู้ไป ใน Compound Finance

4.Useful Collateral

การที่เรามี cToken แสดงว่าเรามีสินทรัพยไปค้ำประกันใน Compound Finance ก็ทำให้เราสามารถทำการกู้ยืมเงินออกมาจาก Compound Finance ได้

 

แล้ว cToken มีการเก็บอัตราดอกเบี้ย ใน Compound Finance อย่างไรบ้างนั้น อธิบายจากกรณีตัวอย่างดังนี้ คือ  User คนหนึ่งนำ Dai จำนวน 1,000 Dai ไปปล่อยกู้ใน Compound Finance โดยตัว exchange rate ระหว่างตัว DAI กับ cDAI เท่ากับ​ 0.020070 USER รายนี้จะได้รับตัว cDAI = 49,825.61 cDAI เป็นผลตอบแทนที่นำตัว DAI เข้ามาในระบบ 1,000 มาปล่อยกู้ใน Compound Finance หลังจากนั้น ทาง USER ก็นำเอาตัว cDAI ที่เขามีทั้งหมด ไปไถ่ถอนตัว DAI กลับคืนมา พอเวลาผ่านไป ซึ่งตัว exchange rate ของตัว DAI กับ cDAI ก็เปลี่ยนแปลงไป โดยตัว cDAI  ก็จะสามารถแลกตัว DAI ได้มากขึ้น จะเพิ่มขึ้นเป็น 0.021591 โดยเมื่อคำนวณตามอัตราแลกเปลี่ยน จะทำให้ USER รายนี้ได้รับตัว DAI กลับไปจำนวน 1,075.78 DAI

 

จะเห็นว่าตัว USER คนนี้ได้รับตัว DAI กลับคืนมา มากกว่าตัว DAI เริ่มต้นที่ใส่เข้าไปในระบบเพื่อปล่อยกู้ ตัวดอกเบี้ยที่ผู้ให้กู้ได้รับไป ซึ่งจำนวน 75.78 ก็คือ อัตราดอกเบี้ยที่ผู้ให้กู้ได้รับไป

 

Compound Finance 2

 

แล้วการไถ่ถอนจำเป็นจะต้องไถ่ถอนทั้งก้อนหรือไม่ คำตอบไม่จำเป็น ตัวอย่างนี้ ถ้า USER ต้องการไถ่ถอนเท่ากับจำนวนที่ใส่ไป จำนวน 1,000 DAI วิธีการ คือ ต้องใส่จำนวน cDAI คืนเข้าไปในระบบจำนวน 46,351.59 cDAI เมื่อคำนวณตามอัตราแลกเปลี่ยน จะทำให้ตัว USER จะได้ตัว DAI กลับคืนมาเท่ากับ 1,000 DAI ส่วนจำนวน 75.78 DAI ที่เหลือยก็จะอยู่ในระบบ แล้วมีการปล่อยกู้ให้ทาง USER ได้รับดอกเบี้ยไปเรื่อย ๆ

 

(สำหรับข้อมูลของอัตราดอกเบี้ย เราสามารถดูได้ในระบบ Compound Finance)

 

ประเด็นสุดท้าย Governance  ของ Compound Finance ปัจจุบันระบบ Compound Finance ยังมีการควบคุมแบบ Centralized ตัว Admin เป็นคนดูแลระบบ ถูกคัดเลือกมาจากคนที่พัฒนาตัวนี้อยู่ ยังไม่ได้ถูก กระจายอำนาจ Decentralized ปัจจุบัน โดยตัว Admin มีอำนาจในการเพิ่มตัว cToken หรือปรับตัววิธีการคำนวณตัวอัตราดอกเบี้ยได้ รวมถึงอัพเดทแหล่งข้อมูลของราคาที่จะนำมาใช้คำนวณ มูลค่าของสินทรัพย์แต่ละชนิด ใน Compound Finance  และมีอำนาจในการควบคุมเงินทุนสำรองด้วย

 

แต่อย่างไรก็ตาม โรดแมปของ Compound Finance มีแผนการเปลี่ยนวิธีการควบคุมจาก Centralized มา Decentralized โดยออก Token ที่มีสิทธิ์การออกเสียงในการเลือก Admin ขึ้นมาบริหารจัดการ Compound Finance โดย Token จะมีลักษณะที่เรียกว่า Decentralized Autonomus Organization หรือ DAO

 

ทั้งหมดก็เป็นเรื่องรายของแพลตฟอร์ม Compound Finance ซึ่งถือว่ามีความใกล้เคียงกับระบบการกู้ยืมเงินในธนาคาร ที่เราคุ้นเคยกันอย่างดี เพียงแต่แพลตฟอร์ม Compound Finance เป็นการรอบรับการกู้ยืมเงินในโลกการเงินดิจิทัล ที่เราจำเป็นต้องเรียนรู้และเข้าใจ เพราะโลกปัจจุบันเป็นยุคดิจิทัลไปแล้ว

 

บทความที่เกี่ยวข้อง

 

บทความ Life+Style ล่าสุด