Tag : News

2376 ผลลัพธ์
5 เหตุผลที่ทำให้ “สามย่าน มิตรทาวน์” ซัคเซส แค่ 4 เดือนคนเข้ากว่าแสนคนต่อวัน

5 เหตุผลที่ทำให้ “สามย่าน มิตรทาวน์” ซัคเซส แค่ 4 เดือนคนเข้ากว่าแสนคนต่อวัน

โกลเด้นแลนด์เผย 5 ปัจจัยความสำเร็จ ส่งให้ “สามย่านมิตรทาวน์” โปรเจ็กต์มิกซ์ยูส 9,000 ล้าน คนเข้าใช้บริการนับแสนคนต่อวัน แม้เปิดให้บริการแค่ 5 เดือน  พร้อมเดินหน้าทุ่ม 200 ล้านบาท ทำการตลาดในปี 63 สร้างความสำเร็จต่อเนื่อง “สามย่านมิตรทาวน์” โครงการมิกซ์ยูส ของ โกลเด้นแลนด์ มูลค่า 9,000 ล้านบาท ซึ่งประกอบด้วยสำนักงาน โรงแรม คอนโดมิเนียม และศูนย์การค้า ที่เปิดให้บริการเต็มรูปแบบ ตั้งแต่ช่วงเดือนกันยายน 2562 ที่ผ่านมา รวมระยะเวลาที่เปิดให้บริการกว่า 5 เดือน  แต่ต้องถือว่าโครงการสามย่านมิตรทาวน์  โดยเฉพาะศูนย์การค้าเป็นโครงการที่ประสบความสำเร็จเกินกว่าที่คาดหมายเอาไว้   ความสำเร็จที่เห็นได้อย่างชัดเจน คือ ปัจจุบันสามย่านมิตรทาวน์มีผู้เช่าพื้นที่ เพื่อเปิดให้บริการร้านค้าต่างๆ กว่า 95% ขณะที่ผู้ใช้บริการภายในศูนย์การค้า ในช่วง 4 เดือนแรกก็มีมากกว่า 70,000 คนในวันธรรมดา และมากกว่า 80,000 คนในวันเสาร์-อาทิตย์ และหากเป็นช่วงที่มีการกิจกรรมพิเศษ จะมีผู้เข้ามาใช้บริการมากกว่า 100,000 คนต่อวัน​เลยทีเดียว นางธีรนันท์ กรศรีทิพา รองกรรมการผู้จัดการสายงานพัฒนาธุรกิจรีเทล บริษัท แผ่นดินทอง พร็อพเพอร์ตี้ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) หรือ โกลเดนแลนด์  เปิดเผยว่า ภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวยังคงท้าทายการดำเนินธุรกิจของสามย่านมิตรทาวน์ แต่ด้วยการจัดสรรร้านค้าของศูนย์ฯ ที่ตั้งเป้าหมายจะเป็น ศูนย์การค้าที่ใช้บริการได้ทุกวัน กลยุทธ์การตลาดผ่านซิกเนเจอร์อีเว้นท์ ร้านค้าแม่เหล็กที่มีที่นี่ที่เดียว และพันธมิตรที่แข็งแกร่ง จะเป็นส่วนช่วยให้สามย่านมิตรทาวน์สามารถดำเนินธุรกิจได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ ปัจจัยลบจากการท่องเที่ยวกระทบต่อธุรกิจรีเทล โดยตลาดนักท่องเที่ยวจีน-เกาหลี-ญี่ปุ่น-ฮ่องกง ยังคงเป็นตลาดใหญ่ที่สุดที่มาใช้บริการรีเทลในประเทศไทย สำหรับปัจจัยลบด้านปัญหาสุขภาพในจีน เชื่อว่าจะส่งผลเพียงระยะสั้น เนื่องจากทางการจีนได้ควบคุมขอบเขตการระบาดของโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ สำหรับสามย่านมิตรทาวน์ยอดผู้ใช้บริการ ที่มาใช้บริการในศูนย์ฯ และเข้าพักที่โรงแรมทริปเปิ้ลวายโฮเทล ยังคงเป็นผู้ใช้บริการสัญชาติไทยป็นอันดับ 1 ขณะที่สัดส่วนผู้ใช้บริการที่เป็นสัญชาติจีนเมื่อเทียบกับสัญชาติไทย คิดเป็นเพียง 2% เท่านั้น ปัจจัยลบดังกล่าวนี้จึงแทบไม่กระทบกับยอดลูกค้าของสามย่านมิตรทาวน์   โครงการสามย่านมิตรทาวน์อยู่บนทำเลหัวมุมถนนพญาไท-พระราม 4 เนื้อที่กว่า 14 ไร่ พื้นที่ใช้สอยรวม 222,000 ตารางเมตร แบ่งเป็นโซนที่อยู่อาศัย  โซนอาคารสำนักงาน และโซนรีเทลหรือ Urban Life Library สูง 6 ชั้น พื้นที่ให้เช่ารวม 36,000 ตารางเมตร  พัฒนาจากแนวคิดเรื่อง “การเรียนรู้ จะเกิดขึ้นได้ ถ้าทุกอย่างถูกสร้างขึ้นอย่างเป็นมิตร”   โดยออกแบบให้พื้นที่ส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้ใช้งาน (Smart) และ เป็นมิตรกับผู้ใช้งาน (Friendly) ภายใต้คอนเซ็ปต์ “Urban Life Library” หรือ “คลังแห่งอาหารและการเรียนรู้”  รีเมคตำนานสามย่านบทใหม่ ถือเป็นหนึ่งในไฮไลต์ที่จะเติมเต็ม Urban Life Library ของทุก ๆ คน คีย์ความสำเร็จของ “สามย่านมิตรทาวน์” 1.พันธมิตรร้านค้าเปิดให้บริการที่นี่ที่เดียว (One and Only) สามย่านมิตรทาวน์ ถือได้ว่าเป็นโครงการค้าปลีกน้องใหม่ ที่เข้ามาในตลาด จึงต้องสร้างความแตกต่าง และจุดขายเพื่อดึงดูดกลุ่มลูกค้าให้เข้ามาใช้บริการ ร้านค้าพันธมิตรที่เข้ามาเปิดบริการจำนวนมาก เป็นร้านค้าที่ไม่เคยเปิดให้บริการในศูนย์การที่ไหนมาก่อน อาทิ -ทิม ฮอร์ตัน (Tim Hortons) เชนร้านกาแฟแบรนด์ดังจากแคนาดา -ดินส์ (Din’s) ร้านอาหารนีโอไต้หวัน -เม่ย เว้ย หว่าน (Mei Wei Wan) ต้นตำรับก๋วยเตี๋ยวเนื้อไต้หวัน -สไปซี่ เฮ้าส์ (Spicy House) ร้านอาหารรัสเซียสูตรต้นตำหรับ -โคกิดา (Gogida) ต้นตำรับปิ้งย่างส่งตรงจากเกาหลี -มีเค สตรีท (K-StrEAT) ศูนย์รวมอาหารเปิดประสบการณ์และวัฒนธรรมเกาหลี (เตรียมเปิดบริการเมษายน 2563) -แองกริซ (Angkriz) โรงเรียนสอนภาษาอังกฤษโดยครูลูกกอล์ฟ -โรงเรียนแซฮุน (Zaehoon Korean Language School) โรงเรียนสอนภาษาเกาหลีด้วยหลักสูตรเอาใจวัยรุ่นให้ได้เรียนกับเจ้าของภาษาอย่างใกล้ชิด -โรงภาพยนตร์เฮ้าส์สามย่าน (House Samyan) โรงภาพยนตร์สำหรับกลุ่ม Moviegoers ที่ใหญ่ที่สุดของกรุงเทพฯ รวมถึงการอัพเดทร้านค้าที่ศูนย์ดำเนินการเองอย่างเช่น -มีเดียม แอนด์ มอร์ (Medium and More) ศูนย์รวมงานอาร์ตแอนด์คราฟท์ และเวิร์คช็อป -แอพรอน วอล์ค (Apron walk) ศูนย์รวมวัตถุดิบ และสินค้าที่เกี่ยวข้องกับการทำอาหารครบวงจร ซึ่งการปรับเปลี่ยนสินค้าและบริการให้มีความทันสมัย เป็นทางเลือกในการช้อปปิ้งที่เหมาะสมกับผู้บริโภคยุคใหม่อยู่เสมอ สามย่านมิตรทาวน์ ปัจจุบันมีพื้นที่เช่าแล้ว 95% หรือ 85 ร้านค้า ซึ่งพื้นที่ที่เหลืออีก 5% เป็นพื้นที่ขนาดเล็ก ที่จะเต็มพื้นที่ในช่วงเดือนกันยายนปีนี้2.การเปิดพื้นที่ 24 ชั่วโมง ไม่เพียงแต่พันธมิตรร้านค้าที่มาเปิด จะเป็นร้านค้าที่ไม่เคยเปิดในห้างค้าปลีกที่ไหนมาก่อนแล้ว ส่วนหนึ่งที่เป็นจุดขายแตกต่างจาก ศูนย์การค้าอื่นๆ คือ การเปิดพื้นที่โซน 24 ชั่วโมง ที่มีร้านค้าต่างๆ ถึง 25 ร้านค้า เป็นการสร้างจุดแตกต่างและดึงให้คนเข้ามาใช้บริการจำนวนมาก จำนวน 5,000-15,000 คน โดยมีช่วงเวลาพีค คือ 24.00-01.00 น. กลุ่มผู้ที่มาใช้บริการมากสุด ต้องยอมรับว่าเป็นกลุ่มนักเรียน นักศึกษา สัดส่วน 65% รองลงมาเป็นกลุ่มคนวัยทำงาน สัดส่วน 34%   ร้านค้าต่างๆ ที่เปิดให้บริการในพื้นที่โซน 24 ชั่วโมง ส่วนใหญ่จะประสบความสำเร็จ กลายเป็นร้านที่สร้างยอดขายติดอันดับต้นๆ หลายร้านติดอันดับ Top 3 ของจำนวนสาขาทั้งหมดที่มีด้วย สาเหตุเป็นเพราะการมีชั่วโมงการขายที่นานขึ้น อาทิ KFC, ชาบูชิ, ก๋วยเตียวเรือพระนคร และสเวนเซ่น ซึ่งมีหลายร้านเตรียมพร้อมนำเอาโมเดลการเปิดให้บริการ 24 ชั่วโมงไปเปิดเพิ่มในพื้นที่อื่นๆ อีกด้วย 3.การจัดอีเว้นต์รูปแบบเฉพาะ “สามย่าน” การทำให้คนเข้ามาใช้บริการในศูนย์การค้าอย่างต่อเนื่อง เรื่องของกิจกรรมการตลาดเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ แต่ถ้าเป็นกิจกรรมในรูปแบบทั่วไปที่ไหนก็มี คนอาจจะสนใจแต่อาจจะไม่สร้างกระแสมากพอ สามย่านมิตรทาวน์ จึงปั้นอีกเว้นท์ซึ่งมีรูปแบบเฉพาะตัวไม่เหมือนใคร เป็นซิกเนเจอร์อีเว้นท์ (Signature Event) แบบฉบับของตนเอง อาทิ   -ลานนมสามย่าน การร่วมกับเครื่องดื่มไมโล เปิดบริการในรูปแบบลานนม ซึ่งต้นแบบเคยเกิดขึ้นมาแล้วที่ประเทศสิงคโปร์ เกิดเป็นกระแสพูดถึงในออนไลน์จนโด่งดังเป็น Talk of the Town ด้วยจุดเด่นที่เป็นกิจกรรมเฉลิมฉลองปราศจากแอลกอฮอล์ โดยมีอาหารคาวหวานที่มีส่วนผสมของนมเป็นซิกเนเจอร์   -Happy New Me การเฉลิมฉลองเทศกาลปีใหม่ด้วยการเป็นคนที่ดีขึ้นให้กับตัวเอง ในปี 2020   -สามย่านมิตรทาวน์ ไชนีส นิวเยียร์ 2020 เทศการตรุษจีน ล่าสุดที่เพิ่งจัดไป โดยนำเอาเอกลักษณ์ที่แตกต่างจากงานตรุษจีนของศูนย์อื่นมาไว้ในงาน อย่างเช่นการจัดแสดงงิ้วโบราณ “งิ้วเปลี่ยนหน้า” เป็น และได้นำการแสดงงิ้วโบราณมาแสดงกลางศูนย์ฯ   -Happy Single Me 2020 เทศกาลที่เกิดขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ เพื่อฉลองเดือนแห่งความรัก กับเทศกาลฉลองวาเลนไทน์ที่ไม่เหมือนใคร ด้วยการจัดงานฉลองให้กับคนโสด ไม่ต้องเหงาและเปล่าเปลี่ยวในเทศกาลแห่งความรัก 4.ผนึกพาร์ทเนอร์ (Mitr Partnership) จัดกิจกรรม ในช่วง 4 เดือนที่ผ่านมาสามย่านมิตรทาวน์ได้ผนึกพาร์ทเนอร์ชั้นนำ ในการจัดกิจกรรมต่างๆ มากมาย อาทิ -สามย่านมิตรทาวน์-เอไอเอส ขนทัพ 5G ให้คนไทยได้สัมผัส กิจกรรมประกาศความพร้อมของการให้บริการ 5G พร้อมทัพพรีเซนเตอร์และกิจกรรมส่งเสริมการขายอัดแน่นตลอดกิจกรรม   -สามย่านมิตรทาวน์-อมรินทร์ กับการร่วมมือจัดมหกรรมนิยายนานาชาติ ครั้งที่ 1 งานบุ๊คแฟร์ที่รวบรวมหนังสือนิยายเอาไว้มากที่สุด   -สามย่านมิตรทาวน์-การีน่า Free Fire Pro League การแข่งขันลีกสำหรับมืออาชีพครั้งแรกของเกม Free Fire ที่จะเฟ้นหาสุดยอดฝีมือของประเทศไทย   ในปี  2563 นี้ทางศูนย์การค้ายังคงเปิดรับพาร์ทเนอร์ต่างๆ ที่สนใจจัดกิจกรรมที่จะเป็นผู้สร้างตำนานใหม่ให้กับสามย่านได้กลับมารุ่งเรืองอีกครั้งไปพร้อม ๆ กัน ซึ่งขณะนี้ได้เริ่มมีการพูดคุยกับพาร์ทเนอร์แล้วหลายราย โดยแผนการตลาดของสามย่านมิตรทาวน์ในปีนี้ ได้วางแผนใช้งบ 200 ล้านบาท เพื่อปั้นซิกเนเจอร์อีเว้นท์อย่างต่อเนื่อง  อย่างน้อยไตรมาสละ 1 ครั้ง 5.ลงทุน 300 ล้านบาท สร้างอุโมงค์ทางเชื่อมรถไฟฟ้าใต้ดิน การสร้างอุโมงค์ทางเชื่อมระหว่างโครงการ กับการเดินทางด้วยรถไฟฟ้าใต้ดิน เป็นอีกหนึ่งปัจจัยช่วยทำให้ ศูนย์การค้ามีผู้ใช้บริการจำนวนมาก เพราะทำให้บรรดาผู้อยู่อาศัยในระแวกใกล้เคียง โดยเฉพาะบุคลากร อาจารย์ นิสิต นักเรียน และพนักงานของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เดินทางได้สะดวก ขณะที่ลูกค้าทั่วไปก็เดินทางสะดวกรถไฟฟ้าใต้ดิน สถานีสามย่าน  แต่ผลการตอบรับจากการใช้บริการอุโมงค์ในปัจจุบัน เป็นอะไรที่มากกว่าเส้นทางเชื่อมต่อระหว่างสถานีรถไฟฟ้า กับตัวโครงการ เพราะอุโมงค์ได้กลายเป็นสถานที่เช็คอิน และถ่ายรูปของคนทั่วไปในทุกเพศทุกวัย แถมทางสามย่านมิตรทาวน์ ยังตกแต่งอุโมงค์ตามเทศกาล และโอกาสสำคัญด้วย ยิ่งทำให้อุโมงค์แห่งนี้ กลายเป็นอีกหนึ่งกิมมิคของโครงการสามย่านมิตรทาวน์ไปแล้ว  
อสังหาฯ ปี 63 เจอสารพัดปัจจัย ศขอ.ประเมินขยายตัว -0.2% ถึง 7.3%

อสังหาฯ ปี 63 เจอสารพัดปัจจัย ศขอ.ประเมินขยายตัว -0.2% ถึง 7.3%

อสังหาฯ ปี 63 เจอสารพัดปัจจัย ฉุดตลาดให้ชะลอตัว ศขอ.ประเมินตลาดดีสุดจะเติบโต 7.3% แต่ถ้าแย่สุดมีโอกาสติดลบ 0.2% ชี้ปัญหาไขหวัดโคโรนา ส่งผลให้ลูกค้าจีนไม่โอนกรรมสิทธิ์ 25% จากสัดส่วนลูกค้าจีนทั้งระบบ   นายวิชัย วิรัตกพันธ์ ผู้ตรวจการธนาคารอาคารสงเคราะห์ และรักษาการผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ (ศขอ.) เปิดเผยถึงแนวโน้มตลาดอสังหาริมทรัพย์ในปี 2563 ว่า  ยังคงต้องเผชิญกับปัจจัยต่างๆ ที่มากระทบตลาดมากมาย ได้แก่ ปัจจัยบวกอัตราดอกเบี้ยต่ำและเป็นขาลง มาตรการกระตุ้นอสังหาฯของรัฐบาล การผ่อนปรนเกณฑ์ LTV ของ ธปท. และปัจจัยลบ  ภาวะเศรษฐกิจอยู่ในช่วงชะลอตัวในหลายกิจกรรมเศรษฐกิจที่สำคัญ การระบาดของไวรัสโคโรนา สงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และ จีน อสังหาฯ ดีสุดโต 7.3% แย่สุดติดลบ 0.2% ในภาพรวมของตลาดอสังหาฯ ปีนี้ น่าส่งผลให้การโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัย ทุกประเภททั่วประเทศจะอยู่ที่ประมาณ 372,500 –400,660 ยูนิต ขยายตัวระหว่าง -0.2% ถึง 7.3% และมีมูลค่าถึง 853,100 – 917,100 ล้านบาท  ขยายตัวระหว่าง -2.5% ถึง 4.8%  และเกิดการปรับตัวในภาคธุรกิจที่อยู่อาศัย เพื่อรองรับกับปัจจัยต่างๆ ที่เกิดขึ้น ส่วนการโอนกรรมสิทธิ์   ในพื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑลคาดว่าจะมีประมาณ 197,500 – 214,300 ยูนิต ขยายตัวระหว่าง -0.2% ถึง 8.3% และมีมูลค่าถึง 571,200 – 614,000 ล้านบาท  ขยายตัวระหว่าง -0.2% ถึง 7.3%   สำหรับการโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดทั่วประเทศ จะอยู่ที่ประมาณ 117,400 – 126,780 ยูนิต เป็นมูลค่าถึงประมาณ 284,360 –305,700 ล้านบาท โดยกรุงเทพฯและปริมณฑล จะมีหน่วยการโอนกรรมสิทธิ์ คิดเป็นสัดส่วน 73.6% และมูลค่าการโอนกรรมสิทธิ์มีสัดส่วน 78.1% ของการโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดทั่วประเทศ   ขณะที่ปัญหาการระบาดไวรัสโคโรนา จะส่งผลกระทบให้ลูกค้าชาวจีน ชะลอการโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยลงไปบ้าง โดยเฉพาะในช่วงครึ่งปีแรกนี้ น่าจะทำให้ลูกค้าชาวจีนชะลอการโอนกรรมสิทธิ์ ประมาณ 25% ของจำนวนชาวจีนทั้งหมด  ซึ่งสัดส่วนลูกค้าชาวจีนที่โอนกรรมสิทธิ์มีประมาณ 6% ของผู้ซื้อทั้งหมดเท่านั้น เปิดตัวโครงการใหม่ 114,400- 122,600 ยูนิต ในปี 2563 มีการประมาณการณ์ จำนวนที่อยู่อาศัยเปิดตัวใหม่ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล มีประมาณ 114,400- 122,600 ยูนิต โดยเป็นคอนโดฯ ประมาณ 55% หรือประมาณ 62,900-67,400 ยูนิต โดยการขอใบอนุญาตจัดสรรทั่วประเทศจะอยู่ในระดับใกล้เคียงกับปี 2562 ประมาณ 97,500-100,400 ยูนิต และจะอยู่ในกรุงเทพฯ และปริมณฑลประมาณ 58.4% การออกใบอนุญาตก่อสร้างอาคารทั่วประเทศประมาณการว่าจะอยู่ในระดับใกล้เคียงกับปี 2562 ประมาณ 292,100-300,900 ยูนิต โดยมีใบอนุญาตก่อสร้างอาคารชุดประมาณ 27.4% หรือประมาณ 80,000-82,400 ยูนิต และใบอนุญาตก่อสร้างอาคารในกรุงเทพฯ และปริมณฑลก็จะอยู่ในระดับใกล้เคียงกับปี 2562 แต่อาจมากกว่าเล็กน้อยประมาณ 129,000-132,900 ยูนิต โดยมีใบอนุญาตก่อสร้างคอนโดฯ มีสัดส่วน 51.1% หรือประมาณ 65,900-67,900 ยูนิต ซึ่งหมายความว่า 82% ของคอนโดฯ ที่ได้รับใบอนุญาตก่อสร้างอาคารทั่วประเทศจะกระจายตัวอยู่ในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล   จากการคาดการณ์ตัวเลขในเครื่องชี้หลักต่างๆ ที่ได้กล่าวมาแล้ว อาจสรุปได้ว่า ตลาดอสังหาฯ ในปี 2563 น่าจะมีภาวะที่ค่อนข้างทรงตัวต่อเนื่องจากปี 2562 แต่มีโอกาสที่จะขยายตัวได้สูงถึง 5-7% หากเศรษฐกิจภาพรวมของประเทศมีการขยายตัวดีขึ้น ซึ่งจะทำให้เกิดการจ้างงานและความมั่นใจของผู้ที่ต้องการซื้อที่อยู่อาศัยในการตัดสินใจที่จะซื้อที่อยู่อาศัยมากขึ้น มาตรการกระตุ้นอสังหาฯ ดึงตลาดโต 2.7% สำหรับสถานการณ์ในปี 2562 ที่รัฐบาลได้ออก 3 มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ประกอบด้วยมาตรการลดหย่อนภาษีเงินได้จากการซื้อบ้านและห้องชุด (บ้านหลังแรก) ไม่เกิน 200,000 บาท มาตรการ ลดค่าธรรมเนียมจดทะเบียนการโอนและลดค่าจดทะเบียนการจำนองอสังหาริมทรัพย์เหลือประเภทละ 0.01% สำหรับการซื้อบ้านจัดสรรและห้องชุดราคาไม่เกิน 1 ล้านบาท (รวมบ้านสร้างใหม่ และบ้านมือสอง) และมาตรการลดค่าธรรมเนียมจดทะเบียนการโอน และลดค่าจดทะเบียนการจำนองอสังหาริมทรัพย์เหลือประเภทละ 0.01% สำหรับการซื้อบ้านจัดสรรและห้องชุดราคาไม่เกิน 3 ล้านบาทที่ซื้อจากผู้ประกอบการ   โดยมาตรการต่างๆ ดังกล่าวได้ส่งผลให้สถานการณ์การโอนกรรมสิทธิ์ทั่วประเทศในปี 2562 ปรับตัวดีขึ้นจากปี 2561 ได้ โดยมียอดจำนวนหน่วยโอนกรรมสิทธิ์ถึง 373,365 ยูนิต และมูลค่าการโอนกรรมสิทธิ์ถึง 875,189 ล้านบาท ซึ่งมีจำนวนยูนิตขยายตัวจากปี 2561 ถึง 2.7%   และมีมูลค่าขยายตัว 4.3% ทั้งที่คาดการณ์ว่าจะต้องติดลบถึง 8.4% และ 8.2%   จำนวนยูนิตที่ได้รับในอนุญาตจัดสรรทั่วประเทศ มีการขยายตัวในไตรมาส 2 และ 3 และในไตรมาส 4 ปี 2562 มีจำนวนยูนิตการขออนุญาตจัดสรรใกล้เคียงกับปี 2561 ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ผู้ประกอบการฯ ได้ปรับแนวการผลิตที่อยู่อาศัยมาสู่แนวราบมากยิ่งขึ้น   สำหรับผู้ประกอบการฯในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล เห็นได้ว่า เริ่มมีการปรับตัวมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2559 และ 2560 แล้ว โดยจำนวนยูนิตที่ได้รับใบอนุญาตก่อสร้างทั่วประเทศปี 2562 มีจำนวนลดลงถึง 9.0% โดยจำนวนยูนิตที่ได้รับใบอนุญาตก่อสร้างคอนโดฯ ลดลง 24.0% และหากพิจารณาจำนวนและสัดส่วนของใบอนุญาตก่อสร้างคอนโดฯ ได้ลดลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2559 – 2562 ซึ่งเป็นสัญญาณว่า ปริมาณของคอนโดฯ เกิดใหม่ในช่วง 1 – 2 ปีข้างหน้านี้น่าจะมีปริมาณลดลง ในส่วนของจำนวนยูนิตที่อยู่อาศัยเปิดตัวใหม่ในกรุงเทพฯและปริมณฑลปี 2562 มีจำนวนลดลงถึงประมาณ 32.1% โดยจำนวนหน่วยเปิดตัวใหม่ของอาคารชุดลดลง 34.3% และ บ้านจัดสรรลดลง 29.0% ซึ่งทำให้ภาวะที่มีหน่วยเหลือขายมากจากการเพิ่มขึ้นอย่างมากของที่อยู่อาศัยเปิดตัวใหม่ในปี 2561 จะทยอยถูกดูดซับไป   ที่ผ่านมา ศขอ. ได้นำข้อมูลที่ใช้เพื่อสนับสนุนภาคอสังหาฯ อย่างต่อเนื่อง เห็นได้จากรัฐบาลได้ออกมาตรการในการกระตุ้นตลาดอสังหาฯ ในปีที่ผ่านมา ซึ่งให้ผลลัพธ์ที่ดีขึ้น มูลค่าการโอนที่คาดว่าจะติดลบ 8.4% กลับมาเป็น บวกถึง 2.7%   ส่วนในปี 2561ที่ ศขอ. ได้นำเสนอข้อมูลสู่สังคมและสาธารณชน รวมถึงผู้ประกอบการอสังหาฯ ให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้อง ว่ายังไม่มีสถานการณ์ของฟองสบู่อสังหาฯ ในประเทศไทยในขณะนั้นแต่อย่างไร และทิศทางในปี 2562 ก็จะไม่มีภาวะฟองสบู่เช่นกัน  
โกลเด้นแลนด์ ชู Classic Model ฝ่าวิกฤตอสังหาฯ ปั้นรายได้ 19,000 ล้าน

โกลเด้นแลนด์ ชู Classic Model ฝ่าวิกฤตอสังหาฯ ปั้นรายได้ 19,000 ล้าน

โกลเด้นแลนด์ ชู 2 กลยุทธ์ ฝ่าปัจจัยลบตลาดอสังหาฯ หันกลับมาจับตลาดเรียลดีมานด์ เน้นบ้านคุ้มค่า คุ้มราคา ในทำเลที่ดี หวังสร้างรายได้โตต่อเนื่อง ตั้งเป้ารายได้รวม 19,000 ล้านบาท พร้อมเปิด 19 โครงการใหม่ มูลค่ารวม 25,000 ล้านบาท  เล็งขยายตลาดต่างจังหวัดเพิ่มอีก 4 แห่ง พร้อมหาซื้อคอนโดฯ มาพัฒนาต่อ   ทิศทางตลาดอสังหาริมทรัพย์ในปีนี้ ต้องยอมรับว่ายังคงชะลอตัวต่อเนื่อง จากปัจจัยลบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นหนี้ครัวเรือนที่ยังคงสูง ภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว ค่าเงินบาทแข็งค่า ส่งผลต่อภาคการท่องเที่ยวและการส่งออก สงครามการค้า และปัญหา LTV ทำให้ผู้ประกอบการต้องเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และต้องหากลยุทธ์มาสร้างการเติบโต   นายแสนผิน สุขี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โกลเด้นแลนด์เรสซิเดนซ์ จำกัด  ในเครือบริษัท แผ่นดินทอง พร็อพเพอร์ตี้ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) หรือโกลเด้นแลนด์ เปิดเผยว่า ปีนี้ปัจจัยต่างๆ อาจยังไม่เอื้อต่อการเติบโตของตลาดอสังหาฯ จากแนวโน้มเศรษฐกิจที่ยังทรงตัว และผลกระทบจากมาตรการ LTV ที่ยังส่งผลต่อลูกค้าที่ซื้อบ้านหลังที่ 2 และ 3 มาตรการเข้มงวดเรื่อง DSR (Debt Service Ratio) หรือ อัตราส่วนหนี้สินต่อรายได้ เป็นอัตราส่วนที่แสดงถึง สัดส่วนรายจ่ายในการชำระหนี้ต่อรายได้ของครัวเรือน  ซึ่งทำให้ลูกค้ากู้ได้ยากขึ้น ขณะที่หนี้สินครัวเรือนยังสูงอยู่ และค่าเงินบาทแข็ง ทำให้ลูกค้าต่างชาติชะลอการตัดสินใจซื้อ เป็นต้น แต่ก็ยังมีปัจจัยที่ช่วยส่งเสริมโอกาสทางธุรกิจ อาทิ อัตราดอกเบี้ยที่ลดลง ราคาวัสดุก่อสร้างที่มีแนวโน้มคงตัวและลดลง และแรงงานทางธุรกิจก็มีมาก คาดว่าตลาดอสังหาฯ ปีนี้ไม่ดี เพราะแย่มาตั้งแต่ปี 2562   เปิด 19 โครงการใหม่ มูลค่า 25,000 ล้าน แม้ว่าปีนี้จะมีปัจจัยลบมากมาย แต่โกลเด้นแลนด์ ยังวางเป้าหมายในการสร้างการเติบโตกับกลุ่มธุรกิจที่อยู่อาศัย ซึ่งปีนี้วางแผนเปิดตัวโครงการใหม่ 19 โครงการใหม่ เป็นโครงการแนวราบทั้งหมด ได้แก่  ทาวน์โฮม 9 โครงการ มูลค่า 11,000 ล้านบาท โครงการ นีโอ โฮม 6 โครงการ มูลค่า 8,500 ล้านบาท ต่างจังหวัด 2 โครงการ มูลค่า 3,500 ล้านบาท และ Big Home บ้านเดี่ยว 1 โครงการ มูลค่า 2,000 ล้านบาท เพื่อสร้างรายได้ที่อยู่อาศัยแนวราบมูลค่า 17,000 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 11% จากปีที่ผ่านมา มีรายได้รวม 17,168 ล้านบาท   รายได้ในปีนี้ จะมาจาก โครงการทาวน์โฮม 8,800 ล้านบาท สัดส่วน 52%  Big Home บ้านเดี่ยว 3,000 ล้านบาท สัดส่วน 18% นีโอ โฮม บ้านแฝด 3,000 ล้านบาท สัดส่วน 17% และต่างจังหวัด 2,200 ล้านบาท สัดส่วน 13% ซึ่งวางแผนจัดซื้อที่ดินไว้ที่ 17 แปลงมูลค่ารวม 8,000 ล้านบาท   ชู 2 กลยุทธ์ฝ่าอสังหาฯ 2020 จากแนวโน้มและทิศทางตลาดอสังหาฯ ในปีนี้ ที่ยังคงมีปัจจัยลบรอบด้าน ทั้งภาวะเศรษฐกิจโดยรวม กำลังซื้อ หนี้สินครัวเรือน ค่าเงินบาท สงครามการค้าโลก และมาตรการ LTV การสร้างการเติบโต จึงมุ่งเน้นการจับตลาดกลุ่มลูกค้าเรียลดีมานด์ โดยเน้นความคุ้มค่า คุ้มราคาของสินค้า ซึ่งสำหรับโกลเด้นแลนด์ได้วาง 2 กลยุทธ์ เพื่อสร้างความสำเร็จ คือ 1.กลยุทธ์ Classic Model สำหรับองค์กร ได้ใช้กลยุทธ์ในรูปแบบที่เรียกว่า Classic Model คือ การจับกลุ่มเป้าหมายที่เป็นเรียลดีมานด์  ที่มีความต้องการซื้อที่อยู่อาศัยจริง โดยวางระดับราคาสินค้าแต่ละประเภทให้เหมาะกับกำลังซื้อ กลุ่มทาวน์โฮม 2-5 ล้านบาท นีโอ โฮม 5-8 ล้านบาท BIG HOME บ้านเดี่ยว ระดับราคาที่ 8-15 ล้านบาท นอกจากนี้ ยังต้องบริหารงานก่อสร้างให้สอดคล้องกับสถานะขายและโอน ควบคุมค่าใช้จ่ายการขายและการบริหารให้ลดลง 3% เลือกใช้วัสดุ ที่ควบคุมต้นทุนได้ หรือสินค้าที่มีแนวโน้มราคาที่ลดลง เช่นสุขภัณฑ์ หรือค่าถมดิน เป็นต้น 2.กลยุทธ์สินค้า ที่ผ่านมาบ้านโกลเด้นแลนด์ นับได้ว่าเป็นต้นแบบนวัตกรรม ที่ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี  ในปีนี้บริษัทยังคงเน้นจุดแข็งในเรื่องฟังก์ชั่น เช่น นวัตกรรมครัวไทย ห้องพระในทาวน์โฮม บริเวณหลังบ้านที่สามารถปรับพื้นที่ได้ เป็นทั้งห้องซักรีด หรือห้องครัว และยังเพิ่มเรื่องของการออกแบบทั้งตัวบ้านและส่วนกลาง เพื่อเพิ่มบรรยากาศเพื่อการอยู่อาศัยที่ดีให้มากขึ้นอีกด้วย   นอกจากเรื่องสินค้า ยังคงเน้นเรื่องทำเลที่ตั้ง ซึ่งมุ่งเน้นทำเลติดถนนใหญ่ มีสิ่งอำนวยความสะดวก และกระจายไปในทุกพื้นที่ แต่ต้องคำนึงถึงราคาที่สอดคล้องและทำให้ลูกค้าจับต้องได้ด้วย ซึ่งจะเน้นไปยังทำเลเส้นทางรถไฟฟ้า ตามแนวรถไฟฟ้าสายสีเขียว โซนตะวันออกและใต้ จับทำเลที่ซัพพลายเหลือน้อย แต่ยังมีความต้องการสูง สานต่อความสำเร็จ “นีโอ โฮม” สำหรับปีนี้ โกลเด้นแลนด์ กลุ่มสินค้าที่เน้นให้ความสำคัญต่อเนื่อง คือ บ้านแฝด “นีโอ โฮม” (NEO HOME) ซึ่งพัฒนาภายใต้แนวคิด  “สวย ครบ คุ้ม และใกล้เมือง” จับกลุ่มลูกค้าระดับกลางถึงกลางบน ที่ต้องการทำเลใกล้เมือง เดินทางสะดวก ได้ฟังก์ชั่นครบคุ้มค่าเหมือนบ้านเดี่ยว ตลาดนีโอ โฮม มีแนวโน้มการเติบโตเพิ่มขึ้นทุกปี ในปีที่ผ่านมามียอดรับรู้รายได้จาก นีโอ โฮม 3,114 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก ปี 2561 ถึง 92% นีโอ​โฮมของโกลเด้นแลนด์ มีกระแสตอบรับที่ดีมาโดยตลอดทุกโครงการ จากจุดเด่นสินค้าในเรื่องความสวย ด้วยแบบบ้านในสไตล์อิตาลีและอังกฤษ พร้อมแบบบ้านใหม่ อีกหลายแบบในปีนี้ ฟังก์ชั่นเพื่อการอยู่อาศัยเทียบเท่าบ้านเดี่ยว พร้อมฟังก์ชั่นพิเศษ อาทิ ห้องพระ   ห้องซัก ตาก รีด ที่ตากผ้าได้ ไม่ต้องกลัวฝนหรือฝุ่น ห้องพักผ่อนชั้นบน ห้องนอนผู้สูงอายุ เป็นต้น   นอกจากนี้ ยังมีความคุ้มค่าของโครงการ  ด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกส่วนกลางที่หรูหรา  คลับเฮ้าส์ สวนพักผ่อน ซุ้มประตูทางเข้า ระบบรักษาความปลอดภัย เทียบเท่าโครงการบ้านระดับ 10-20 ล้านบาท ทำใกล้เมืองเดินทางสะดวก ใกล้สิ่งอำนวยความสะดวก เช่น บิ๊กซีซูปเปอร์เซ็นเตอร์ ขยาย 4 ตลาดต่างจังหวัดเพิ่ม นอกจากการพัฒนาโครงการในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑลแล้ว โกลเด้นแลนด์ ยังขยายตลาดออกไปยังพื้นที่ต่างจังหวัด อาทิ จังหวัดเชียงราย อยุธยา และพัทยา ซึ่งถือได้ว่าประสบความสำเร็จด้วยดี จากการนำเอาโมเดลธุรกิจ และรูปแบบบ้านมาพัฒนาและทำตลาดเช่นเดียวกับการทำตลาดในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล ส่งผลให้ได้รับการตอบรับที่ดี   ปีนี้ โกลเด้นแลนด์เตรียมขยายตลาดต่างจังหวัดต่อเนื่อง โดยจะเปิดโครงการเพิ่มอีก 2 แห่ง ที่เชียงใหม่-กาดรวมโชค เป็นทาวน์โฮมในทำเลคอนโด และ อ่างศิลา เพื่อรองรับการขยายตัวของจังหวัดชลบุรี พร้อมกับขยายตลาดเพิ่ม อย่างน้อยอีก 4 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดอุดรธานี ขอนแก่น ภูเก็ต และหาดใหญ่ ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างการจัดหาที่ดินเพื่อการพัฒนาโครงการ ส่วนพื้นที่ซึ่งมีที่ดินรองรับสำหรับการพัฒนาแล้ว คือ จังหวัดเชียงรายและชลบุรี  ซึ่งการพัฒนาโครงการในพื้นที่ต่างจังหวัด จะเลือกทำเลที่ตั้งในโลเกชั่นที่ดี เช่น การเดินทางสะดวก ใกล้แหล่งชุมชน หรือสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ไม่เน้นการซื้อที่ดินราคาถูกในทำเลห่างไกลเมือง เพราะจะทำให้ไม่สามารถแข่งขันกับ ผู้ประกอบการในท้องถิ่นได้ เตรียม 2,000 ล้านซื้อคอนโดฯ ปั้นโครงการต่อ ส่วนตลาดคอนโดมิเนียม แม้ว่าจะไม่ใช่ตลาดหลักของ “โกลเด้นแลนด์” แถมปีนี้ยังมีสินค้าเหลือขายในตลาดจำนวนมาก เพราะกำลังซื้อที่ลดลง กลุ่มนักเก็งกำไรที่หายจากตลาด รวมถึงตลาดคนจีนที่หายไป แต่ปีนี้ โกลเด้นแลนด์ มองเห็นว่าเป็นโอกาสทางการตลาด ในการเข้ามาทำตลาดคอนโดฯ ซึ่งแนวทางคือ เตรียมเงินทุน 2,000 ล้านบาท ในการซื้อโครงการหรือเข้าร่วมหุ้น เพื่อนำโครงการมาพัฒนาต่อ เพื่อรับรู้รายได้ทันที โดยมุ่งเน้นจับกลุ่มเรียลดีมานด์   เป็นกลุ่มคนทำงานในเมืองที่ต้องการหลีกเลี่ยงปัญหารถติด โดยบริษัทมีแผนจะลงทุนในโครงการพร้อมขายแล้วนำมาพัฒนาต่อ ขณะนี้อยู่ระหว่างการเจรจา ซึ่งคาดว่าจะเห็นความชัดเจนภายในครึ่งปีหลังนี้  และคาดสัดส่วนรายได้จากโครงการคอนโดฯ  10-20% ภายในปี 2565-2566    
ศขอ. ก้าวสู่ปีที่ 16 ระดม Big Data เดินหน้าสู่ “ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์แห่งชาติ”  

ศขอ. ก้าวสู่ปีที่ 16 ระดม Big Data เดินหน้าสู่ “ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์แห่งชาติ”  

ศูนย์ข้อมูลฯ เดินหน้าสู่ปีที่ 16 พร้อมยกระดับ สู่การเป็น “ศูนย์อสังหาริมทรัพย์แห่งชาติ” คาดเห็นความชัดเจนปี 64 เพื่อเป็นหน่วยงานด้านข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ระดับประเทศ เตรียมรวบรวมข้อมูล Big Data เป็นศูนย์กลางพยากรณ์ และชี้เทรนด์อสังหาฯ   นายปริญญา พัฒนภักดี ประธานกรรมการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ (ศขอ.) เปิดเผยว่า  ศขอ.ได้ดำเนินงานมาจะมีอายุครบ 15 ปี และก้าวสู่ปีที่ 16  ซึ่งในช่วง 12 ปีแรก ศขอ.มุ่งในเรื่องการรวบรวมและสร้างฐานข้อมูลทั้งด้านสถิติและการสำรวจโครงการที่อยู่อาศัย เพื่อใช้รายงานสถานการณ์ในแต่ละด้าน และในช่วง 3 ปีหลัง ตั้งแต่ปี 2560 – 2562 ศขอ. ได้มุ่งเน้นการพัฒนาด้านการวิเคราะห์อย่างบูรณาการ จากชุดข้อมูลต่างๆ และได้พัฒนาแบบจำลอง  เพื่อการคาดการณ์ทิศทางของอสังหาริมทรัพย์ด้านที่อยู่อาศัย   เพื่อให้ ศขอ.ทำหน้าที่จัดทำ และเผยแพร่ข้อมูลและบทวิเคราะห์  ที่เป็นประโยชน์มากขึ้น จึงเห็นว่าจำเป็นต้องยกระดับบทบาทของ ศขอ. ให้เป็น “ศูนย์อสังหาริมทรัพย์แห่งชาติ”  ซึ่งการที่จะมีบทบาทการเป็น “แห่งชาติ” นั้น ศขอ. จำเป็นต้องพัฒนาเพิ่มเติมในด้าน การสร้างความเชื่อมโยงข้อมูลให้เป็น Big Data ซึ่งจะเป็นข้อมูลที่สามารถนำมาใช้วิเคราะห์ได้หลากหลายมิติ และต้องทำหน้าที่เป็นหน่วยงานที่เป็น Benefits Center โดยต้องเอื้อประโยชน์ต่อทุกหน่วยงาน และประชาชนทั่วไปให้ได้รับประโยชน์จากข้อมูลและการวิเคราะห์ของ ศขอ. 5 นโยบายสู่การเป็น “ศูนย์อสังหาริมทรัพย์แห่งชาติ โดยประธานฯ​ ศขอ. ได้มอบหมาย 5 นโยบายสำคัญ เพื่อผลักดันการไปเป็น “ศูนย์อสังหาริมทรัพย์แห่งชาติ” 1.การผลักดันให้ศขอ. ก้าวขึ้นเป็นศูนย์อสังหาริมทรัพย์แห่งชาติ ซึ่งจะเห็นความชัดเจนได้ในปี 2564 2.การจัดทำข้อมูลระดับ Big Data จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งประเทศเข้ามาไว้ด้วยกัน 3.การวิเคราะห์ข้อมูลให้ทันสถานการณ์ปัจจุบัน ทั้งด้านดีมานด์และซัพพลาย 4.การคาดการณ์ และแนวโน้มของสถานการณ์ตลาดอสังหาริมทรัพย์ได้ในทุกภาคส่วน 5.การนำเสนอข้อมูลและข้อเสนอแนะ ช่วยป้องกันปัญหาที่จะเกิดดขึ้นในภาคอสังหาริมทรัพย์ เพื่อสร้างความมั่นคงและยั่งยืนในทุกมิติ   การสร้างรายได้ไม่ใช่สิ่งสำคัญเท่ากับการทำให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเห็นถึงความสำคัญของข้อมูลที่ ศขอ. พัฒนาขึ้นมาโดยข้อมูลที่พัฒนาต้องพร้อมใช้งาน และเป็นที่ต้องการของหน่วยงานต่างๆ เช่น  สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ  สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย ธนาคารแห่งประเทศไทย หน่วยงานอื่นๆ และบริษัทอสังหาริมทรัพย์ เป้าหมายคือการให้หน่วยงานที่กล่าวมานี้ เข้ามาใช้ข้อมูลของ ศขอ.เป็นหลักในการดำเนินงานของหน่วยงานแต่ละแห่ง และสามารถนำเสนอข้อมูลและงานวิเคราะห์ที่เป็นประโยชน์ต่อหน่วยงานได้แบบ Beyond Expectation หรือเหนือความคาดหวัง อีกด้วย   ศูนย์ฯ แห่งชาติ มุ่งเน้นทำงาน 3 ระดับ ประธานฯ กล่าวอีกว่า การแสดงบทบาทของ “ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์แห่งชาติ” เพื่อสร้างความยั่งยืนให้แก่ภาคอสังหาริมทรัพย์ ศขอ.ต้องมีกระบวนการทำงานที่ Pro-active และ Beyond Expectation พร้อมที่จะสนับสนุนข้อมูลใน 3 ระดับ ประกอบด้วย 1.ระดับการวางแผนและการตัดสินใจเชิงนโยบาย โดย ศขอ. จะต้องนำเสนอข้อมูลที่เป็นประโยชน์สำหรับใช้ในการวางแผนและการตัดสินใจในเชิงนโยบายสนับสนุนและส่งเสริมให้คนไทยทุกคนได้มีที่อยู่อาศัยที่มั่นคงและยั่งยืน 2.สนับสนุนการออกมาตรการและนโยบายทางการเงินและการคลังในการสนับสนุนและส่งเสริมให้เกิดการสร้างที่อยู่อาศัยที่สอดคล้องกับความต้องการของประชาชนที่ต้องการซื้อที่อยู่อาศัยโดยเฉพาะบ้านผู้มีรายได้น้อย 3.สนับสนุนให้เกิดการกระตุ้นกำลังซื้อของประชาชนที่ต้องการซื้อที่อยู่อาศัยในทุกระดับ ซึ่งจะเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจภาคอสังหาฯและภาพรวมของประเทศให้มีการขยายตัวได้อย่างเหมาะสม   “ในระดับภาคอสังหาริมทรัพย์ ศขอ.จะต้องนำเสนอข้อมูลที่เป็นประโยชน์ให้กับผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ทั้งรายเล็ก รายกลาง รายใหญ่ อย่างเท่าเทียม เพื่อประโยชน์ในการวางแผนการลงทุนได้อย่างเหมาะสม และไม่เกิดการลงทุนที่ผิดพลาดจนภาวะ Over-supply” ศขอ. ส่งสัญญาณเตือน ช่วยกระตุ้นตลาดบวก 2.7% ในช่วงที่ผ่านมา ศขอ. ได้นำข้อมูลที่ได้จัดทำขึ้นใช้เพื่อสนับสนุนใน 3 ระดับอย่างต่อเนื่อง ดังจะเห็นจากที่มาตรการต่าง ๆ ของรัฐบาลที่ได้ออกมาตรการในการกระตุ้นตลาดอสังหาฯ ในปี 2562 และให้ผลลัพธ์ที่ดีขึ้น ดังเช่นยอดมูลค่าการโอนกรรมสิทธิ์ ในปี 2562 สามารถปรับตัวจากการติดลบถึง 8.4% กลับมาเป็น บวกถึง 2.7%   ส่วนในปี 2561ที่ ศขอ. ได้นำเสนอข้อมูลสู่สังคมและสาธารณชน รวมถึงผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์  ให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้องว่ายังไม่มีสถานการณ์ของฟองสบู่อสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทยในขณะนั้นแต่อย่างไร และทิศทางในปี 2562 ก็จะไม่มีภาวะฟองสบู่เช่นกัน   สำหรับปี 2563 นี้ ศขอ. จะยังทำหน้าที่ในการให้ข้อมูลทั้ง 3 ระดับ คือระดับนโยบาย/ภาคอสังหาฯ และสังคม อย่างต่อเนื่อง และการให้ข้อมูลและผลการวิเคราะห์จะตรงกับความต้องการของผู้ใช้ข้อมูลยิ่งขึ้น ในฐานะประธานกรรมการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ขอเรียนยืนยันว่า ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์จะเป็นหน่วยงานกลาง สำคัญหลักด้านข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ของประเทศ และจะช่วยสร้างความมั่นคง และยั่งยืนของภาคอสังหาริมทรัพย์ตลอดจนอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่องส่วนอื่นต่อไป   ด้านนายวิชัย วิรัตกพันธ์ ผู้ตรวจการธนาคารอาคารสงเคราะห์ และรักษาการผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลฯ   กล่าวว่า กรอบการทำงานเพื่อการผลักดันไปสู่การเป็น ศูนย์อสังหาริมทรัพย์แห่งชาตินั้น ในช่วงเดือนมิถุนายนนี้ จะนำเสนอโครงสร้างของศูนย์อสังหาฯ กับที่ประชุมคณะกรรมการบริหาร หลังจากนั้นช่วงเดือนกันยายน จะจัดทำแผนยุทธศาสตร์ระยะ 5 ปี (ปี 2564-2568) และช่วงเดือนธันวาคมจะนำเสอนผู้กับผู้มีอำนาจในลำดับต่อไป เพื่อให้เห็นภาพชัดเจนของศูนย์อสังหาฯ ในช่วงปี 2564
7 ไฮไลท์แผนธุรกิจ PF-GRAND สู่เป้าหมายรายได้ 22,000 ล้าน

7 ไฮไลท์แผนธุรกิจ PF-GRAND สู่เป้าหมายรายได้ 22,000 ล้าน

กลุ่มบริษัทพร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค แถลงแผนธุรกิจปี 63 เดินหน้าสร้างรายได้และยอดขายกว่า  20,000 ล้าน พร้อมใช้กลยุทธ์ “Product Strategy” ผลักดันสู่เป้าหมาย  ทั้งการเปิดโปรเจ็กต์แนวราบ 12 โครงการ  การออกบ้านแบบใหม่ พัฒนาบ้านป้องกันฝุ่น PM 2.5 และเดินหน้าหั่นหนี้ 10,000 ล้าน หวังลด D/E เหลือ 1.2   นายชายนิด อรรถญาณสกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร นายวงศกรณ์ ประสิทธิ์วิภาต กรรมการผู้จัดการ และ นางสาวศิริรัตน์ วงศ์วัฒนา ประธานเจ้าหน้าที่กลุ่มการเงิน บริษัท พร็อพเพอร์ตี้  เพอร์เฟค จำกัด (มหาชน) หรือ PF​ ร่วมด้วย นายวิทวัส วิภากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และ นางสาววิลาวัณย์ เหลืองนาคทองดี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มการเงิน บริษัท แกรนด์ แอสเสท โฮเทลส์ แอนด์ พรอพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) หรือ GRAND ร่วมกันแถลงถึงแผนธุรกิจของกลุ่มบริษัท ประจำปี 2563 โดยแผนธุรกิจในปี 2563 มี 7 ประเด็นไฮไลท์ สำคัญ คือ 1.วางเป้าหมายรายได้รวมของกลุ่มบริษัท มูลค่า 22,000 ล้านบาท เติบโต 6.3% เมื่อเทียบกับปีก่อน  แบ่งเป็น ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ 16,400 ล้านบาท แบ่งเป็น -พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค มูลค่า 15,400 ล้านบาท รวมโครงการในประเทศญี่ปุ่น -แกรนด์ แอสเสทฯ มูลค่า 1,000 ล้านบาท ธุรกิจโรงแรม มูลค่า 3,300 ล้านบาท -โรงแรมในประเทศ 2,000 ล้านบาท -โรงแรมในญี่ปุ่น 1,300 ล้านบาท การขายที่ดินและการลงทุน 2,000 ล้านบาท ธุรกิจให้เช่า 300 ล้านบาท 2.พร็อพเพอร์ตี้ เฟอร์เฟค วางเป้าหมายยอดขาย 18,000 ล้านบาท แบ่งเป็น โครงการแนวราบ 10,000 ล้านบาท โครงการร่วมทุน 1,500 ล้านบาท โครงการคอนโดมิเนียม 6,500 ล้านบาท ในประเทศ 4,500 ล้านบาท และประเทศญี่ปุ่น 2,000 ล้านบาท 3.พร็อพเพอร์ตี้ เฟอร์เฟค  สร้างการเติบโตด้วย Product strategy มี 4 แนวทางสำคัญ  ได้แก่ -การเปิด 12 โครงการแนวราบ มูลค่ารวม 18,560 ล้านบาท แบ่งเป็น บ้านเดี่ยว 10 โครงการ มูลค่า 17,110 ล้านบาท ทาวน์เฮ้าส์ 2 โครงการ มูลค่า 1,450 ล้านบาท -การเพิ่มแบบบ้านใหม่ 26 โมเดล -การเปิดตัวบ้านคอนเซ็ปต์ใหม่ Pure Air Technology หรือ “บ้านป้องกันฝุ่น PM 2.5” -การเป็นองค์สร้างสิ่งแวดล้อมที่ดี ด้วยการการปลูกต้นไม้ใหญ่ 5,000 ต้นในโครงการต่างๆ  การติดตั้งแผงโซล่าร์ผลิตไฟฟ้าเพื่อใช้พลังงานสะอาดในสำนักงานและคลับเฮ้าส์ 4.แกรนด์ แอสเสทฯ วางเป้าหมายยอดขาย 3,000 ล้านบาท แบ่งเป็น -โครงการคอนโดฯ 2,500 ล้านบาท -โครงการวิลล่า ในจ.ระยอง 500 ล้านบาท 5.วางเป้าหมายลดหนี้ 10,000 ล้านบาท เพื่อลดอัตราหนี้สินต่อทุน หรือ D/E ให้ต่ำกว่า 1.5 เท่า จากปัจจุบันมี D/E ที่ 1.7 เท่า ซึ่งหากทำได้ตามแผนที่วางไว้จะมี D/E เหลือ 1.2 เท่า โดยวางแผน -ขายหุ้นโรงแรมรอยัล ออร์คิด เชอราตัน ขั้นต่ำ 40% คิดเป็นมูลค่า  2,500 ล้านบาท จากมูลค่า 6,000 ล้านบาท -การโอนกรรมสิทธิ์คอนโดมิเนียม ยู คิโรโระ ในประเทศญี่ปุ่น สามารถมาลดหนี้ได้ มูลค่า 1,500 ล้านบาท จากปีที่ผ่านมาโอนกรรมสิทธิ์ไปแล้ว 1,700 ล้านบาท -ขายหอพักยูนิลอฟท์ และที่ดินใน จ.เชียงใหม่ มูลค่า 1,000 ล้านบาท ซึ่งวางแผนขายให้กับโรงเรียนนานาชาติ -ขายที่ดินย่านรามอินทรา มูลค่า 2,500 ล้านบาท -ขายที่ดินย่านรัชดาภิเษก มูลค่า 2,500 ล้านบาท 6.พร็อพเพอร์ตี้ เฟอร์เฟค ไม่มีแผนเปิดโครงการคอนโดฯ โดยจะขายสต็อกเก่าที่มีอยู่ 6,800 ล้านบาทที่สร้างเสร็จแล้ว จะรับรู้รายได้ปีนี้ 4,200 ล้านบนาท โดยมียอดขายรอรับรู้รายได้ หรือ Backlog  ช่วงสิ้นปี 2562 มูลค่า  2,845 ล้านบาท  แบ่งเป็น Backlog จากโครงการคอนโดฯ  1,427 ล้านบาท ซึ่งในปี 2563 จะมีรายได้จากโครงการคอนโดฯ  2 โครงการ ได้แก่ โครงการ ไอ คอนโด กรีนสเปซ พัฒนาการ-ศรีนครินทร์ และโครงการ เมโทร สกาย วุฒากาศ และมี Backlog จากโครงการแนวราบ 1,118 ล้านบาท และเป็น Backlog จากโครงการคอนโดฯ  ยู คิโรโระ 300 ล้านบาท 7.เดินหน้าแผนพัฒนาโครงการร่วมทุนกับ 3 พันธมิตร  -ร่วมทุนกับฮ่องกงแลนด์ เพื่อพัฒนาโครงการ “เลค เลเจ้นด์” บ้านเดี่ยวระดับไฮเอนด์  2 โครงการ มูลค่ารวม 13,500 ล้านบาท -ร่วมมือกับ  ซูมิโตโม ฟอเรสทรี พัฒนาโครงการบ้านเดี่ยวในทำเลราชพฤกษ์ตัดใหม่ 2 โครงการ มูลค่า 3,900 ล้านบาท จากนอกเหนือจากคอนโดมิเนียม ไฮด์ เฮอริเทจ ทองหล่อ มูลค่าโครงการ 6,000 ล้านบาทแล้ว ในปีนี้ยังจะร่วมกัน -ร่วมทุนกับ เซกิซุย เคมิคอล พัฒนาโครงการในเพิ่มอีก 1 ทำเล  มูลค่ารวม 3,100 ล้านบาท จากปีที่ผ่านมามีการร่วมมือกันใน 4 ทำเล   ภาพรวมการร่วมทุนของกลุ่มบริษัทขณะนี้มีมูลค่าทั้งสิ้น 26,500 ล้านบาท เป็นแนวทางหนึ่งที่จะช่วยเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับกลุ่มบริษัท ปีที่ผ่านมาบริษัทยังประสบความสำเร็จจากโครงการ “ยู คิโรโระ” คอนโดมิเนียมในประเทศญี่ปุ่น ทำให้มีรายได้เข้ามา 1,700 ล้านบาท ปัจจุบันโครงการมียอดขายแล้ว 2,600 ล้านบาท หรือ 70% ของจำนวนยูนิตทั้งหมด  และคาดว่าจะได้รับการตอบรับที่ดีต่อเนื่อง สามารถโอนกรรมสิทธิ์ปิดโครงการได้ภายในปีนี้  
NCH ลุยตลาดบ้านแนวราบ เปิด 5 โปรเจ็กต์สร้างยอด 2,700 ล้าน

NCH ลุยตลาดบ้านแนวราบ เปิด 5 โปรเจ็กต์สร้างยอด 2,700 ล้าน

เอ็น.ซี.เฮ้าส์ซิ่ง เปิดแผนธุรกิจปี 63 เดินหน้าพัฒนา 5 โปรเจ็กต์แนวราบมูลค่า 3,600 ล้าน  พร้อมใช้ 3 กลยุทธ์  ผลักดันเป้าหมายยอดขาย 2,700 ล้าน   นายสมนึก ตันฑทอดธรรม กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอ็น.ซี.เฮ้าส์ซิ่ง จำกัด (มหาชน) หรือ NCH เปิดเผยถึงแผนธุรกิจในปี 2563 เตรียมพัฒนาโครงการแนวราบ ทั้งบ้านเดี่ยว บ้านแฝด และทาวน์เฮ้าส์ จำนวน 5 โครงการ มูลค่า 3,600 ล้านบาท บนที่ดินซึ่งเป็นแลนด์แบงก์ของบริษัท ประมาณ 200 ไร่ ทั้งในพื้นที่กรุงเทพฯ​ ตอนเหนือ จังหวัดนครปฐม และพัทยา   โดยได้วางเป้าหมายในปีนี้ จะทำยอดขาย 2,700 ล้านบาท ใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมา และรับรู้รายได้ 1,600 ล้านบาท ปัจจุบันมีโครงการที่อยู่ระหว่างการพัฒนาและการขายรวม 9 โครงการ มูลค่า 4,000-5,000 ล้านบาท และมียอดขายรอรับรู้รายได้หรือแบ็กล็อก ในช่วงไตรมาส 3 ปี 2562 มูลค่า 300 ล้านบาท 3 กลยุทธ์สร้างยอดขาย 2,700 ล้าน สำหรับแนวทางการดำเนินธุรกิจ เพื่อให้ไปถึงเป้าหมายที่วางไว้ ได้เตรียม 3 กลยุทธ์ สำคัญ ได้แก่ 1.กลยุทธ์โปรดักส์ มุ่งพัฒนาสินค้าที่ตรงความต้องการของผู้บริโภค ในระดับราคา 2-5 ล้านบาท เป็นสินค้าที่มีความคุ้มค่า และใช้ประโยชน์สูงสุด รองรับกับกลุ่มลูกค้าที่ต้องการอยู่อาศัยได้ทุกช่วงวัย หรือ “alllgen” 2.กลยุทธ์ Customer Centric   ให้ความสำคัญกับลูกค้าเป็นอันดับแรก  เพิ่มการบริการที่ยกระดับการอยู่อาศัยในสังคมชุมชนสอดคล้องกับแนวคิด “รู้จักบ้าน รู้ใจคุณ” ซึ่งปีนี้จะร่วมกับพันธมิตรทางธุรกิจ ในการเพิ่มบริการที่หลากหลายมากขึ้น 3.กลยุทธ์ Home Innovation เอ็น.ซี.นำนวัตกรรม และเทคโนโลยีเพื่อที่อยู่อาศัยมาพัฒนาโครงการ โดยผนึกพันธมิตร เพื่อการอยู่อาศัยที่ดีขึ้น มีความทันสมัย สะดวก สบาย  เอื้อต่อการใช้ชีวิตประจำวันอย่างมีความสุข โดยในปีนี้ยังเตรียมเปิดให้บริการธุรกิจเฮลท์แคร์ ที่ร่วมกับพันธมิตร เพื่อให้บริการลูกบ้านของบริษัทด้วย ส่วนแนวทางการทำตลาดในช่วงไตรมาสแรกของปี บริษัทเตรียมแคมเปญ  NC 5G แรง ด้วยการมอบโปรโมชั่น (ตามเงื่อนไข) ได้แก่  G1 : GOLD  ซื้อบ้านได้ทอง  สูงสุด 20  บาท  G2 : GIFT  ซื้อบ้านรับของแถม Apple Series ครบคุ้ม อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า  G3 : GIFT VOUCHER  ตกแต่งบ้าน มูลค่าสูง ถึง 100,000 บาท G4 : GIVE AWAY  เอ็น.ซี ร่วมสมทบเงินมอบส่วนหนึ่ง เพื่อโครงการรักษ์โลก ทุกยอดโอน  ล้านละ 1,000 บาท ร่วมบริจาคสนับสนุน ด้านการคัดแยกขยะลดปัญหาสิ่งแวดล้อม G5 : GET MORE  รับส่วนลดสูงสุด 2 ล้านบาท ฟรีทุกค่าใช้จ่ายวันโอนกรรมสิทธ์ทุกรายการ ซึ่งบริษัทคาดว่าจะทำยอดขายได้ประมาณ​ 400-500 ล้านบาท      
“ดับบลิวแอนด์ดับบลิว”เปิดแผนปีหนู ผุด 3 โครงการใหม่ รวมมูลค่า 4,000 ล้าน

“ดับบลิวแอนด์ดับบลิว”เปิดแผนปีหนู ผุด 3 โครงการใหม่ รวมมูลค่า 4,000 ล้าน

ดับบลิวแอนด์ดับบลิว พร็อพเพอร์ตี้ แอนด์ ดีเวลลอปเม้นท์ฯ เผยภาพรวมตลาดอสังหาฯปี 63 ตลาดแนวสูงฝั่งกทม. ชั้นนอกไม่คึกคัก รายเล็กและรายใหญ่ เร่งวางแผนให้รัดกุม เปิดแผนปีหนูจ่อผุด 3 โครงการใหม่ รวมมูลค่า 4,000 ล้านบาท ประเดิมโครงการ “Matier Rama9” โฮมออฟฟิศ ย่านพระราม 9 – รามคำแหง พร้อมเปิดพรีเซล ก.พ.นี้ ด้าน“โพลิส คอนโด สุขสวัสดิ์ 64” กวาดยอดขายแล้ว 90% คาดปีนี้รับรู้รายได้ไม่ต่ำกว่า 1,000 ล้านบาท   นายวิทยา พรหมชนก กรรมการผู้จัดการบริษัท ดับบลิวแอนด์ดับบลิว พร็อพเพอร์ตี้ แอนด์ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด เปิดเผยว่า ภาพรวมตลาดอสังหาฯปี 2562 ที่ผ่านมาว่า  เป็นปีที่ผู้ประกอบการอสังหาฯ ทั้งรายเล็กและรายใหญ่ต่างเห็นพ้องตรงกันว่าเป็นปีที่ยากลำบากในการดำเนินธุรกิจมากที่สุด และเป็นปีแห่งความท้าทาย  ส่วนในปี 2563 มองว่าตลาดแนวสูงฝั่งกทม.ชั้นนอกยังไม่คึกคักเท่าที่ควร  ผู้ประกอบการรายใหญ่-รายเล็กต้องมีการวางแผนอย่างรัดกุม ในส่วนของบริษัทฯเองก็มีแนวคิดและวางกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจใหม่ๆ เพื่อรองรับการเติบโตของบริษัท สามารถปรับตัวให้สอดคล้องกับทิศทางของตลาดอสังหาฯ ที่เปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็วและคล่องตัว     โดยในปีนี้บริษัทฯตั้งเป้าที่จะเปิดตัวโครงการใหม่ประมาณ 3 โครงการ รวมมูลค่าไม่ต่ำกว่า 4,000 ล้านบาท ได้แก่ โครงการ “Metier Rama9” ตั้งอยู่บนถนนพระราม9 ตัดกับถนนรามคำแหง พัฒนาในรูปแบบของโฮมออฟฟิศ เพื่อหวังเจาะกลุ่มเป้าหมายระดับ Super Luxury ซึ่งคาดว่าจะสามารถเปิดตัวอย่างเป็นทางการได้ภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2563 นี้ ส่วนอีก 2 โครงการจะเป็นคอนโดมิเนียมขนาดกลาง ใกล้แนวรถไฟฟ้า 1 โครงการ และโครงการแนวราบ ในจังหวัดหัวเมืองท่องเที่ยวภาคใต้ 1 โครงการ  ที่คาดว่าจะสามารถเปิดตัวได้ในช่วงปลายปี 2563 แต่ยังไม่สามารถเปิดเผยรายละเอียดได้ในขณะนี้ ด้านความคืบหน้าโครงการ “โพลิส คอนโด สุขสวัสดิ์ 64” (Polis Condo Suksawat 64) ตั้งอยู่บนพื้นที่กว่า 5 ไร่ ในซอยสุขสวัสดิ์ พัฒนาในรูปแบบคอนโดมิเนียมแบบโลว์ไรซ์ 8 ชั้น 2 อาคาร จำนวน 459 ยูนิต มูลค่าโครงการรวมกว่า 700 ล้านบาท ถูกออกแบบภายใต้แนวคิด “เปิดโล่งให้กับชีวิต ต่อติดทุกการเดินทาง” โดยมีจุดเด่นของโครงการ คือ ความสะดวกสบายด้วยทำเลที่ดีเยี่ยมเข้าออกได้หลายเส้นทาง พื้นที่เปิดโล่งโปร่งสบายด้วยการจัดผังโครงการให้มีพื้นที่ใช้งานอย่างลงตัว พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกแบบครบครัน อาทิ โถงล็อบบี้ส่วนกลาง เพื่อรับแขกและพักผ่อน , สระว่ายน้ำขนาดใหญ่ 2 สระ เพื่อรองรับการพักผ่อนและการออกกำลังกาย, ฟิตเนสครบวงจร, ห้องซ้อมมวย, ลานโยคะ, ห้องสำหรับชมภาพยนต์, พื้นที่ขนาดใหญ่สำหรับร่วมกันสังสรรค์ทำงานและห้องประชุมส่วนตัวบนพื้นที่ส่วนกลาง, สนามเด็กเล่น, สวนหย่อม และสวนขนาดใหญ่รอบโครงการ และดึงดูดใจกลุ่มลูกค้าระดับกลางในราคาที่เป็นเจ้าของได้ง่ายๆ  ซึ่งโครงการดังกล่าวได้เปิดพรีเซลไปเมื่อปลายปี 2561 ที่ผ่านมา โดยแบ่งออกเป็น 3 Type ได้แก่ Type A 1Bedroom 28 ตร.ม. , Type B 1 Bedroom Plus 34.5 ตร.ม. และ Type C 2 Bedroom 45 ตร.ม. ราคาเริ่มต้นที่ 1.49 ล้านบาท ซึ่งปัจจุบันมียอดขายแล้วกว่า 90 % โดยได้นัดลูกค้าเพื่อตรวจรับห้องไปแล้วบางส่วน และคาดว่าจะสามารถทำการตรวจรับห้องได้ครบทั้งหมด และเริ่มโอนกรรมสิทธิ์ได้ภายในไตรมาสแรกของปี 2563 นี้และคาดว่าจะปิดการขายได้ภายในไตรมาสที่ 3 ของปี 2563 นอกจากนี้ บริษัทได้ให้ความสำคัญกับกิจกรรมเพื่อดูแลหลังการขาย และดูแลความสุขของลูกบ้านอย่างเต็มที่ โดยที่ผ่านมาทุกโครงการของบริษัท ได้มีการปฏิสัมพันธ์กับลูกบ้านมาโดยตลอด เพื่อที่จะรับรู้ทั้งสิ่งที่ดี และสิ่งที่อยากให้ปรับปรุงเพิ่มเติม โดยในหลายๆครั้ง เมื่อมีนวัตกรรมหรือ ฟีเจอร์ใหม่ๆสำหรับที่อยู่อาศัยออกสู่ท้องตลาด ทางโครงการได้มีการนำสิ่งเหล่านี้กลับไปเพิ่มเติมและปรับใช้อย่างเหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นด้านของทัศนียภาพหรือประโยชน์ใช้สอยก็ตาม เพราะว่าโครงการได้ตั้งใจสร้างที่อยู่อาศัย ที่อยู่ได้จริง ไม่ว่าจะเป็นแนวราบหรือแนวสูง และเป็นที่ๆลูกบ้านค้นพบความสุขได้จากการพักผ่อนในบ้านของตนเอง ทางโครงการจึงได้จัดงาน “Polis Open house” ขึ้น เพื่อเป็นการตอบแทนคำขอบคุณลูกค้าจากโครงการ และยังถือเป็นกิจกรรมเพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีร่วมกัน ภายในงานประกอบด้วยกิจกรรมจับฉลากแจกของรางวัลและเกมส์สนุกๆมากมาย ซึ่งบรรยากาศภายในงานเต็มไปด้วยความสนุกและความอบอุ่น  ตอกย้ำวิสัยทัศน์ในการดำเนินงานของโครงการที่ว่า “เหนือกว่าราคาคือความคุ้มค่าและตรงใจ” ซึ่งนั่นถือเป็นหัวใจสำคัญในการทำงานของบริษัทได้เป็นอย่างดี   “ในปีนี้ยอดรับรู้รายได้ไม่ต่ำกว่า 1,000 ล้านบาท  ซึ่งเป็นปีที่บริษัทเตรียมจะเปิดตัวโครงการเพิ่มอีกในทำเลที่มีศักยภาพที่ดี และประเภทโครงการที่หลากหลายเซกเมนต์ รวมถึงจำนวนโครงการที่อยู่ในแผนพัฒนา ซึ่งเป้าหมายในระยะยาวนั้น คือการได้เป็นองค์กรที่พัฒนาที่อยู่อาศัยและสถานที่พักผ่อนได้ตรงใจผู้อยู่อาศัยมากที่สุด การขยายโครงการนี้จึงถือเป็นจังหวะที่จะได้พิสูจน์ความตั้งใจในวิเคราะห์ข้อมูล พฤติกรรมของกลุ่มลูกค้า เพื่อนำมาเป็นปัจจัยในการพัฒนาโครงการที่หลากหลายมากขึ้น เราตั้งใจ และที่สำคัญคือการได้รับรู้เสียงตอบรับของลูกบ้านทุกท่านของบริษัทในปีนี้ เพื่อนำทั้งความคิดเห็นและคำติชม ไปปรับปรุงพัฒนาโครงการต่อๆไป” นายวิทยา กล่าวในที่สุด รายละเอียดโครงการจากดับบลิวแอนด์ดับบลิว พร็อพเพอร์ตี้ แอนด์ ดีเวลลอปเม้นท์ W&W Property And Development เกี่ยวกับ W&W Property And Development Polis Condo Suksawat 64
บิ๊กอสังหาฯ มาเลเซียประกาศร่วมลงทุนโครงการ “ณ รีวา” คอนโดฯ พรีเมียม ถนนเจริญนคร มูลค่าโครงการ 1,300 ล้านบาท

บิ๊กอสังหาฯ มาเลเซียประกาศร่วมลงทุนโครงการ “ณ รีวา” คอนโดฯ พรีเมียม ถนนเจริญนคร มูลค่าโครงการ 1,300 ล้านบาท

กลุ่มทุนยักษ์ใหญ่ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์จากประเทศมาเลเซีย Paramount Corporation Berhad ร่วมลงทุนโครงการอสังริมทรัพย์ไทย โดยเข้าถือหุ้น 49% ในบริษัท ณวรางค์ เจริญนคร จำกัด เจ้าของโครงการ “ณ รีวา” ถนนเจริญนคร โครงการที่พักอาศัยแนวสูงระดับพรีเมียม มูลค่าโครงการ 1,300 ล้านบาท ที่กำลังเตรียมเปิดตัวโครงการภายในเดือนกุมภาพันธ์ ศกนี้   การพัฒนาโครงการ ณ รีวา อยู่ภายใต้การดำเนินงานของบริษัท ณวรางค์ เจริญนคร จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนระหว่าง บริษัท ณวรางค์ แอสเซท จำกัด ถือหุ้น 51% และ Paramount Corporation Berhad ถือหุ้น 49% โดยเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2563 ได้มีพิธีฉลองความร่วมมืออย่างเป็นทางการในการลงทุนร่วมโครงการ ณ รีวา เจริญนคร ระหว่าง บริษัท ณวรางค์ แอสเซท จำกัด โดย นายอภิภู  พรหมโยธี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และ Paramount Corporation Berhad โดยนายเจฟเฟรย์  จิว  (Mr.Jeffrey Chew) ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มพาราเมาท์ คอร์ปอเรชัน  เบอร์ฮาด ประเทศมาเลเซีย โดยระบุว่าดีลนี้เป็นข้อบ่งชี้สำคัญสำหรับทั้งสองฝ่ายที่ต่างให้ความเชื่อมั่นในศักยภาพการเติบโตของตลาดอสังหาริมทรัพย์ไทยในประเภทที่พักอาศัยแนวสูงระดับพรีเมียมถึงไฮเอนด์ รายละเอียดโครงการ ณ รีวา เพิ่มเติม Na Reva Charoennakhon ข่าวอื่นๆ จาก NAVARANG ASSET “ณ วีรา พหลฯ-อารีย์” แอคทีฟแบบชีวิตติดเมือง “ณวรางค์ แอสเซท” กางแผน 3 ปี ผุดโปรเจ็คต์ใหม่กว่า 5,000 ล้าน จับตาราคาที่ดิน “อารีย์-พหลโยธิน” พุ่ง รับ New CBD
Booking.com เปิดตัวรถบัสพักได้สไตล์ไทยแลนด์ หนึ่งเดียวของโลก

Booking.com เปิดตัวรถบัสพักได้สไตล์ไทยแลนด์ หนึ่งเดียวของโลก

Booking.com เปิดตัว Bangkok Booking Bus รถบัสพักได้ ที่พักแปลกใหม่โดดเด่นด้วยดีไซน์แบบไทย เตรียมเปิดให้พักคืนเดียวเท่านั้น ในวันที่ 22 กุมภาพันธ์ นี้ ที่ เอเชียทีค ริเวอร์ฟอร์น      นางสาวมิเชล เกา ผู้จัดการประจำภูมิภาคของ Booking.com  เปิดเผยว่า จากความนิยมเข้าพักในที่พักแปลกใหม่ต่างๆ ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และรายงานล่าสุดของ Booking.com ที่ชี้ว่า นักเดินทางจำนวนมากขึ้นกำลังมองหาที่พักแปลกใหม่ เพื่อตอบสนองความต้องการที่อยากจะลองประสบการณ์การเข้าพักในที่พักรูปแบบต่างๆ     โดยนักเดินทางชาวไทยมากกว่า 2 ใน 5 (42%) วางแผนจะเข้าพักในที่พักที่มีเอกลักษณ์อย่างน้อยสักครั้งหนึ่ง ซึ่งนอกจากจะเป็นการหาแรงบันดาลใจให้ตัวเองแล้ว ผู้เดินทางยังต้องการทำให้คนรอบตัวรู้สึกประทับใจไปกับตัวเลือกของที่พักในรูปแบบแปลกใหม่ ที่สามารถแสดงออกถึงความเป็นตัวของตัวเองของผู้เข้าพักได้   Bangkok Booking Bus จะเปิดให้จองบน Booking.com ที่เดียวเท่านั้น และเข้าพักได้เพียง 1 คืน สำหรับผู้เข้าพัก 2 ท่าน นับเป็นประสบการณ์สุดพิเศษครั้งหนึ่งในชีวิต ที่บริเวณลานจอดรถ โครงการเอเชียทีค เดอะ ริเวอร์ฟร้อนท์ แหล่งรวมไลฟ์สไตล์และความบันเทิงยามค่ำคืนที่หลากหลาย ทำให้การเข้าพักครั้งนี้น่าประทับใจไม่มีวันลืม     โดย Bangkok Booking Bus จะเปิดให้เข้าพักได้ในวันเสาร์ที่ 22 กุมภาพันธ์นี้ สำหรับการเข้าพัก 1 คืน ต่อผู้เข้าพัก 2 ท่าน โดยสามารถทำการสำรองที่พักได้ในวันพฤหัสบดีที่ 20 กุมภาพันธ์ ตั้งแต่เวลา 20.00 น. เป็นต้นไป โดยจะให้สิทธิ์ในการเข้าพักตามลำดับของผู้ที่จองเข้าพักก่อน สามารถจองที่พักบนรถบัสพักได้ที่เว็บไซต์ของ www.Booking.com ที่เดียวเท่านั้น   ด้วยพันธกิจที่ต้องการให้ทุกคนได้สัมผัสกับประสบการณ์ที่พักที่หลากหลายทั่วโลกได้ง่ายดายขึ้น เราภูมิใจที่จะนำเสนอ Bangkok Booking Bus รถบัสพักได้ ที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจากความเป็นไทย ใจกลางกรุงเทพฯ   หลังจากที่แขกผู้โชคดีได้เข้าพักที่รถบัสพักได้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว Booking.com จะส่งมอบรถบัสพักได้ดังกล่าวให้กับ Local Alike ซึ่งเป็นกิจการเพื่อสังคมสัญชาติไทยด้านการท่องเที่ยวเพื่อพัฒนาชุมชน และยังเป็นสตาร์ทอัพในโครงการ  Booking Booster ปี 2560 ซึ่ง Local Alike จะนำรถบัสพักได้ไปใช้งานเพื่อสานต่อความยั่งยืนต่อไป   วิธีการสำรองที่พัก Bangkok Booking Bus รถบัสพักได้คันแรกที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจากความเป็นไทยเข้าไปที่ Booking.com ในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ เวลา 20.00 น. เป็นต้นไป เพื่อลุ้นเข้าพักใน Bangkok Booking Bus ซึ่งราคาพักของ Bangkok Booking Bus ต่อคืนราคา 2,020 บาท (รับเงินคืนหลังจากเช็ค-เอาท์)
โกลเด้นแลนด์ กวาดรายได้และกำไร โตสวนกระแสตลาดชะลอตัว

โกลเด้นแลนด์ กวาดรายได้และกำไร โตสวนกระแสตลาดชะลอตัว

โกลเด้นแลนด์ เผยผลประกอบการปี 2562 ทำรายได้รวม 17,168 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 8.6% พร้อมทำกำไร  2,085 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 7.3%  เหตุทุกธุรกิจเติบโตถ้วนหน้า ทั้งที่พักอาศัย อาคารสำนักงาน และศูนย์การค้า ส่วนปี 2563 เดินธุรกิจด้วยความระมัดระวัง ฝ่าวิกฤตตลาดชะลอตัว   นายธนพล ศิริธนชัย ประธานอำนวยการ บริษัท แผ่นดินทอง พร็อพเพอร์ตี้ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) หรือ โกลเด้นแลนด์ เปิดเผยว่า บริษัทมีรายได้หลักจากการขายอสังหาริมทรัพย์รวม 15,305 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1,268 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 9% จากงวดเดียวกันของปีก่อน โดยประสบความสำเร็จทั้งโครงการใหม่ที่เริ่มเปิดขายและโอนในระหว่างปี 2562 รวมถึง โครงการเดิมที่ยังขาย และโอนได้อย่างต่อเนื่อง โดยยอดขายบ้านนีโอโฮม ราคา 5-8 ล้านบาท มีสัดส่วนสูงขึ้นอย่างชัดเจน รวมถึงยอดขายจากการขยายโครงการไปต่างจังหวัด     ในขณะที่รายได้ค่าเช่าและรายได้อื่นๆ งวด 12 เดือน (1 มกราคม 2562  – 31 ธันวาคม 2562) มีรายได้รวม 1,863 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 89 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 5% จากงวดเดียวกันของปีก่อน เป็นผลมาจากการรับรู้รายได้จากการให้เช่าในอาคารสำนักงาน  ที่บริษัทบริหารพื้นที่ มีอัตราการเช่าสูงกว่า 95% ทุกอาคาร และมีรายได้ที่เพิ่มขึ้นจากธุรกิจโรงแรม   ส่วนโครงการสามย่านมิตรทาวน์ที่แล้วเสร็จในปีที่ผ่านมา  ศูนย์การค้าสามย่านมิตรทาวน์ มีอัตราการเช่าแล้ว 95% ส่วนพื้นที่อาคารสำนักงาน มิตรทาวน์ ออฟฟิศ ทาวเวอร์ มีอัตราการเช่าแล้ว 75% มีผู้เช่าทยอยเข้าตกแต่ง  และส่วนที่พักอาศัย ทริปเปิ้ล วาย เรสซิเด้นซ์ มีอัตราการขายสิทธิการเช่า 75% และทริปเปิ้ล วาย โฮเทล ที่มีอัตราการเข้าพักเฉลี่ย 45%   “จากผลประกอบการรอบ 12 เดือน ปี 2562 ที่ผ่านมาสะท้อนให้เห็นว่า เรายังทำได้ดีตามเป้าหมาย ซึ่งเป็นผลจากการเลือกพัฒนาโครงการบนทำเลที่มีความต้องการต่อเนื่อง และราคาสินค้าตอบโจทย์กำลังซื้อของกลุ่มลูกค้า แม้ว่าจะเผชิญความท้าทายจากหลายปัจจัยภายนอกที่กระทบกับตลาดที่อยู่อาศัย โดยเฉพาะ 6 เดือนสุดท้ายของปี 2562 ที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการคุมเข้มสินเชื่อ LTV”     ขณะที่ทิศทางของโครงการเชิงพาณิชย์ ตลาดอาคารสำนักงานยังไปได้ดี สะท้อนจากอัตราการเช่าพื้นที่ทุกอาคารของโกลเด้นแลนด์ และอาคารสำนักงานให้เช่าแห่งใหม่ล่าสุดในโครงการสามย่านมิตรทาวน์ มิตรทาวน์ ออฟฟิศ ทาวเวอร์ ที่มียอดผู้เช่าในสัดส่วนที่สูง แม้ว่าอาคารจะเพิ่งก่อสร้างแล้วเสร็จเมื่อปลายปีที่ผ่านมา เช่นเดียวกับศูนย์การค้าสามย่านมิตรทาวน์ที่ยังคงมีผู้ใช้บริการสูงอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่เปิดให้บริการในเดือนกันยายน 2562 ที่ผ่านมา และมีอัตราผู้เช่าสูงตามเป้าหมาย   สำหรับภาพรวมธุรกิจในปี 2563 ในส่วนของธุรกิจที่อยู่อาศัย โกลเด้นแลนด์ได้มีการปรับกลยุทธ์ให้เติบโตอย่างระมัดระวัง ในการฝ่าภาวะตลาดอสังหาริมทรัพย์ชะลอตัว เช่น การบริหารค่าใช้จ่ายในการขาย รวมทั้งการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานและใช้ทรัพยากร บริษัทฯ คาดการณ์การแข่งขันในปีนี้จะยังรุนแรงเช่นเดิมโดยเฉพาะตลาดบ้านแนวราบ จากการที่ผู้ประกอบการรายใหญ่หลายรายหันมาให้ความสำคัญกับตลาดนี้แทนที่ตลาดคอนโดมิเนียม   ส่วนธุรกิจเชิงพาณิชย์ อาคารสำนักงานที่อยู่ใจกลางเมือง เดินทางสะดวก ติดรถไฟฟ้าจะยังได้รับความสนใจจากกลุ่มผู้เช่าภาคธุรกิจต่างๆ ส่วนธุรกิจศูนย์การค้าใจกลางเมือง นอกจากร้านค้าที่ตอบโจทย์ความต้องการของผู้ใช้บริการแล้ว การจัดอีเวนท์อย่างต่อเนื่องก็จะดึงกลุ่มลูกค้าได้ดี   อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง “สามย่านมิตรทาวน์” เปิดพื้นที่ 24 ชั่วโมง ให้คนกรุงใช้ชีวิตทั้งวันทั้งคืน “กิน ดื่ม ทำงาน และออกกำลังกาย” 19 ร้านคอนเซ็ปต์ “ใหม่” ในสามย่านมิตรทาวน์ [PR News] โกลเด้นแลนด์ เปิดอาณาจักร GOLDEN EMPIRE แจ้งวัฒนะขายหมดภายใน 2 วัน เปิด 5 ไฮไลท์ “MITRTOWN OFFICE TOWER” ออฟฟิศให้เช่า พระราม 4 5 เหตุผล “โกลเด้นแลนด์” ปักหมุดเชียงรายปั้น โกลเด้น เอ็มไพร์ 2,600 ล้าน
“แลนดี้ โฮม” ชู 4  กลยุทธ์บุกตลาดรับสร้างบ้าน สู่เป้าหมายยอดขาย 2,000 ล้าน

“แลนดี้ โฮม” ชู 4 กลยุทธ์บุกตลาดรับสร้างบ้าน สู่เป้าหมายยอดขาย 2,000 ล้าน

แลนดี้ โฮม บริษัทรับสร้างบ้านที่อยู่ในตลาดมากว่า 30 ปี ในปีนี้ได้เตรียมวางแผนเพื่อสร้างการเติบโตของธุรกิจอย่างต่อเนื่อง หลังจากปีที่ผ่านมา สามารถทำยอดขายได้ 1,800 ล้านบาท เติบโตจากปี 2561 ที่ทำยอดขายได้ 1,550 ล้านบาท   ส่วนในปีนี้วางเป้าหมายการเติบโต 15% หรือมียอดขาย 2,000 ล้านบาท ถือเป็นการทำธุรกิจท่ามกลางการแข่งขัน และภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว รวมถึงสภาพตลาดรับสร้างบ้าน ซึ่งมีมูลค่า 12,000 ล้านบาท  ที่ปีนี้คาดว่าจะอยู่ในภาวะทรงตัวด้วยเช่นกัน โดยมีทีมผู้บริหารที่จะเข้ามาขับเคลื่อนองค์กร เป็น 3 พี่น้องตระกูล "มณีรัตนะพร" บุตรของนายพิเชษฐ์ มณีรัตนะพร กรรมการผู้จัดการ บริษัท แลนดี้ โฮม (ประเทศไทย) จำกัด ได้แก่ นางสาวพรรัตน์ มณีรัตนะพร ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการและผู้อำนวยการฝ่ายขาย นางสาวภัทรา มณีรัตนะพร ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดและพัฒนาผลิตภัณฑ์​ และนายพานิช มณีรัตนะพร ผู้อำนวยการฝ่ายก่อสร้างและบริหารสำนักงาน สำหรับแนวทางสร้างการเติบโตของ “แลนดี้ โฮม” ในปี 2563 เพื่อสร้างยอดขายให้ได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ มีกลยุทธ์ที่สำคัญ คือ 1.ขยายตลาดกลุ่มบ้านระดับราคาต่ำกว่า 4 ล้านบาทและราคา 15-40 ล้านบาท ปัจจุบัน “แลนดี้ โฮม” มีการทำตลาดบ้าน 3 กลุ่มหลัก ได้แก่ กลุ่มระดับราคาต่ำกว่า 4 ล้านบาท สัดส่วน 40% ของยอดขาย กลุ่มราคา 5-15 ล้านบาท สัดส่วน 20% และกลุ่มระดับราคา 15 ล้านบาทขึ้นไป สัดส่วน 40% ซึ่งปีนี้บริษัทจะเน้นการทำตลาดใน 2 กลุ่มหลัก คือ กลุ่มระดับราคาต่ำกว่า 4 ล้านบาท เนื่องจากมีอัตราการเติบโตที่ดี มีสัดส่วนเพิ่มขึ้นเป็น 40% จากปี 2561 ที่มีสัดส่วน 30% และกลุ่มระดับราคา 15 ล้านบาทขึ้นไป ซึ่งเป็นกลุ่มบ้านลักชัวรี่ ที่พบว่ามีอัตราการเติบโตอย่างต่อเนื่อง สามารถทำยอดขายในปีที่ผ่านมา 200 ล้านบาท ในปีนี้วางเป้าหมายเพิ่มยอดขายเป็น 400 ล้านบาท 2.เพิ่มบ้านไซส์เล็ก พร้อมปรับราคากลุ่ม Trendy Home  โดยในปีนี้ได้เพิ่มแบบบ้านในกลุ่ม Trendy Home ระดับราคา 2 ล้านบาทต้นๆ พื้นที่ 100 ตารางเมตรมากขึ้น จากเดิมเป็นบ้านระดับราคา 2 ล้านปลายๆ ในขนาดพื้นที่ 150 ตารางเมตร เพื่อรองรับกับความต้องการของลูกค้ามากขึ้น โดยเฉพาะตลาดต่างจังหวัด 3.เสริมเทคโนโลยีช่วยงานขาย-การก่อนสร้าง ที่ผ่านมาบริษัทใช้แอปพลิเคชั่น เข้ามาช่วยในด้านการขายสินค้า ทำให้ลูกค้าเห็นแบบบ้านที่มีกว่า 300 แบบ ในปีนี้ได้เตรียมเพิ่มระบบ VR (Virtual Reality) เพื่อใช้ในสาขาทั้ง 8 แห่งที่มีอยู่ในปัจจุบัน ให้ลูกค้าได้เห็นภาพจำลองของบ้านเสมือนจริง และยังสามารถปรับแต่งบ้านในแบบที่ตนเองต้องการได้ด้วย ขณะที่งานด้านการก่อสร้าง ได้พัฒนาระบบ Workflow โปรแกรมการติดตามงานแบบอัจฉริยะ เพื่อใช้สำหรับให้ลูกค้าติดตามงานก่อสร้าง และบริษัทสามารถบริหารจัดการด้านงานก่อสร้างได้ตลอดเวลา และทุกไซส์งานก่อสร้าง ซึ่งจะทำให้ลดปัญหาด้านความล่าช้า และสามารถแก้ไขปัญหาความผิดพลาดได้เร็วขึ้น 4.สร้างแบรนด์และเพิ่มการทำตลาดมากขึ้น ในปีนี้บริษัทเพิ่มงบการตลาดเป็น 50 ล้านบาท ซึ่งจะทำการตลาดและการสื่อสารการตลาดครบวงจร ผ่านสื่อต่างๆ ทั้งสื่อออนไลน์  และสื่อออฟไลน์ เป็นการสร้างการรับรู้ในแบรนด์แลนดี้โฮม เพื่อให้ผู้บริโภครู้จักในฐานะบริษัทรับสร้างบ้านที่ทันสมัย จากก่อนหน้านี้บริษัทพบว่า แบรนด์แลนดี้โฮม ผู้บริโภครู้จักว่าเป็นบริษัทรับสร้างบ้านมากถึง 80%  ในปีนี้จึงวางแผนสร้างแบรนด์ เพื่อเป้าหมาย Top of mind เพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ยังเพิ่มทีมงาน งานมากขึ้น เพื่อรองรับกับการบริการลูกค้า นางสาวพรรัตน์ มณีรัตนะพร ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการและผู้อำนวยการฝ่ายขาย บริษัท แลนดี้ โฮม (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า ปีนี้บริษัทตั้งเป้าเดินหน้ารุกตลาดรับสร้างบ้านให้ครบทุกเซ็กเมนต์ ผ่านการทำ Digital Transformation คาดว่าจะสามารถสร้างการเติบโตได้ไม่น้อยกว่า 10% จากปีที่ผ่านมา
ตลาดอสังหาฯ จะไปต่ออย่างไร หลังปลดล็อค LTV หนุนตลาดโตเพิ่มแค่ 0.8%

ตลาดอสังหาฯ จะไปต่ออย่างไร หลังปลดล็อค LTV หนุนตลาดโตเพิ่มแค่ 0.8%

ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) แถลงการณ์ปรับปรุงหลักเกณฑ์การกำกับ ดูแลสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย (LTV) ที่แม้จะครอบคลุมถึง การกู้ซื้อ ที่อยู่อาศัยในทุกระดับราคา แต่ ธปท. ได้มุ่งผ่อนปรนให้กับการกู้ซื้อที่เป็นสัญญาที่ 1 และ 2 เป็นหลัก   สำหรับการกู้ที่อยู่อาศัยมูลค่าไม่ เกิน 10 ล้านบาท ผู้กู้ซื้อบ้านในสัญญาที่ 1 สามารถกู้เงินเพิ่ม 10% เพื่อใช้เป็นค่าใช้จ่ายที่จาเป็นต่อการอยู่ อาศัย เช่น ค่าตกแต่งที่อยู่อาศัยได้ ขณะที่ผู้กู้ในสัญญาที่ 2 ที่ผ่อนหลังแรกเกิน 2 ปี (จากเดิมกาหนด ไว้ที่ 3 ปี) สามารถใช้เงินดาวน์เพียง 10% ส่วนการกู้ที่อยู่อาศัยมูลค่าตั้งแต่ 10 ล้านบาทขึ้นไปในสัญญาที่ 1 ธปท. ผ่อนปรนใช้สัดส่วนเงินดาวน์ลดลงจาก 20% เหลือ 10% ทั้งนี้ การปรับปรุงหลักเกณฑ์ LTV ดังกล่าวจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 20 มกราคม 2663 เป็นต้นไป ธปท.ผ่อนปรน LTV เพราะตลาดอสังหาฯ หดตัว 4.5% Krungthai COMPASS มองว่าการหดตัวของตลาดที่อยู่อาศัย และผลประกอบการ ของผู้ประกอบการอสังหาฯ ที่แย่ลง คือแรงกดดันสำคัญให้ ธปท. ต้องผ่อนปรนเกณฑ์ LTV หลังจากที่ ธปท. ได้บังคับใช้เกณฑ์ LTV ใหม่ในวันที่ 1 เมษายน 2562 ที่ระบุให้ผู้กู้ ตั้งแต่สัญญาที่ 2 ขึ้นไปต้องเตรียมเงินดาวน์มากขึ้น ได้ส่งผลกระทบให้ตลาดที่อยู่ อาศัยปรับตัวลงอย่างเห็นได้ชัด   โดยมูลค่าตลาดที่อยู่อาศัยในกรุงเทพฯ และ ปริมณฑล หลังจาก LTV มีผลบังคับใช้ (เมษายน - ตุลาคม 2562) หดตัว 4.5% จากช่วงเวลาเดียวกันของปี 2561 แบ่งเป็นบ้านจัดสรรที่ยังเติบโตได้ 2% ขณะที่ คอนโดมิเนียมติดลบมากถึง 12% ทั้งนี้ หากพิจารณาข้อมูลบัญชีสินเช่ือที่อยู่อาศัย ปล่อยใหม่ในช่วง 9 เดือนแรกของปี2562 จาก ธปท. จะพบว่าการหดตัวของตลาด คอนโดมิเนียมเป็นผลมาจากการกู้ยืมในสัญญาที่ 2 และ 3 ที่ติดลบสูงถึง 26% และ 41% ตามลาดับ ดีเวลลอปเปอร์กำไรวูบ 36% สภาพตลาดที่หดตัวลงก็เป็นภาพใหญ่ที่สะท้อนให้เห็นถึงผลประกอบการของ ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่หดตัวลงเช่นกันโดยหากนับผลประกอบการในช่วงไตรมาส ที่ 2-3 ของผู้พัฒนาอสังหาฯ รายใหญ่ๆ ในตลาดหลักทรัพย์ พบว่าผู้ประกอบการมี รายได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์และกำไรสุทธิในช่วงไตรมาสที่ 2-3 ของปี 2562 เท่ากับ 65,017 ล้านบาท และ 10,560 ล้านบาท หดตัว 24% และ 36% จากปีก่อน โดยเป็นการหดตัวที่ครอบคลุมทั้ง 8 ราย ด้วยผลประกอบการที่ออกมา จึงไม่น่าแปลกที่ตัวแทนของสมาคมผู้ประกอบการอสังหาฯ ในกลุ่มต่างๆ ได้เข้าไปหารือกับ กระทรวงการคลัง และส่งสัญญาณให้ธปท. ผ่อนปรนเกณฑ์ LTV อยู่บ่อยครั้ง 3 ผลกระทบจากมาตรการ LTV  Krungthai COMPASS ประเมินเป็นการเบื้องต้น (Initial Assessment) ว่าการผ่อนปรนเกณฑ์ LTV ของธปท. มีโอกาสที่จะส่งผลให้เกิดผลกระทบใน 3 ประเด็น ด้วยกัน คือ ประเด็นที่ 1 Sentiment ของตลาดที่อยู่อาศัยจะปรับตัวไปในทิศทางที่ดีขึ้น เพราะหากนับตั้งแต่ปลายปี 2562 ถึง ต้นปี 2563 ตลาดที่อยู่อาศัยของไทยล้วน เผชิญหน้ากับปัจจัยบวกใหญ่ๆ ถึง 3 ข่าว ตั้งแต่ 1.การออกมาตรการกระตุ้นภาคอสังหาฯ ของรัฐบาล เช่น มาตรการลดค่าธรรมเนียมโอนและจดจำนอง และ มาตรการบ้านดีมีดาวน์ ในช่วงเดือน พฤศจิกายน -ธันวาคม 2562 ต่อด้วย 2.ปลายเดือน ธันวาคม​ 2562 รัฐบาลให้ความชัดเจนเกี่ยวกับภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง โดยระบุให้ที่อยู่อาศัย นั้นเสียภาษีในอัตรา 0.02% 3.การผ่อนเกณฑ์ LTV ของธปท. ในกลางเดือน มกราคม 2563 แสดงให้เห็นว่าภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับรู้ถึงปัญหาที่เกิด ขึ้นกับตลาดที่อยู่อาศัยในปีที่ผ่านมา ประเด็นที่ 2 การผ่อนเกณฑ์ให้ผู้กู้สินเชื่อเพื่อซื้อที่อยู่อาศัยมูลค่าต่ำกว่า 10 ล้านบาท เป็นสัญญาที่ 2 ที่ผ่อนชำระสัญญา 1 มาแล้วไม่ต่ำกว่า 2 ปี สามารถใช้เงิน ดาวน์ 10% ได้ อาจทำให้ความต้องการซื้อคอนโดมิเนียมในปี 2563 กลับมาราว 4,500 ล้านบาท จากตลาดคอนโดมิเนียมในปี 2562 ที่มีโอกาสติดลบ -11% (คิดเป็น มูลค่า 31,480 ล้านบาท) แบ่งเป็นการหดตัวของผู้กู้ในสัญญา 1 ที่ -1% (1,805 ล้าน บาท) สัญญา 2 ที่ -26% (13,466 ล้านบาท) และสัญญา 3 ขึ้นไปที่ -41% (15,700 ล้านบาท) Krungthai COMPASS ประเมินว่าเหตุผลที่ทำให้การกู้ในสัญญาที่ 2 ติด ลบมาจากข้อกำหนดของเกณฑ์LTVเดิมที่ระบุให้ผู้กู้ต้องผ่อนชำระสัญญาที่1มาก่อน เป็นระยะเวลา 3 ปี ถึงจะสามารถใช้เงินดาวน์ 10% ในการกู้ซื้อสัญญาที่ 2 ได้ เกณฑ์ ดังกล่าวส่งผลผู้กู้สัญญาที่ 1 ในช่วงปี 2559-2561 มีความต้องการกู้สัญญาที่ 2 ในปี 2562 ลดลง จากข้อสรุปดังกล่าว Krungthai COMPASS ประเมินว่าการผ่อนปรนเกณฑ์ LTV จาก 3 ปี ลงมาเหลือ 2 ปี นั้นอาจช่วยให้ความต้องการกู้ซื้อที่อยู่อาศัยในสัญญา ที่ 2 กลับมาได้ประมาณ 1 ใน 3 จากขนาดของการหดตัวทั้งหมดในปี 2562 คิดเป็น มูลค่าเกือบ 4,500 ล้านบาท ซึ่งสามารถเป็น Upside ให้กับตลาดที่อยู่อาศัยในปี 2563 ได้ราว 0.8% ประเด็นที่ 3 เงื่อนไขที่ผ่อนปรนขึ้น อาจทำให้การลงทุนระยะยาวในคอนโดมิเนียมมีความน่าสนใจมากขึ้นและอาจช่วยทดแทน Demand จากต่างประเทศ ที่ลดลงจากการแข็งค่าของเงินบาท ในปี 2562 ที่ผ่านมา Krungthai COMPASS พบว่าสัดส่วนการโอนกรรมสิทธิ์คอนโดมิเนียมของผู้ซื้อชาวจีนซึ่งคิดเป็นครึ่งหนึ่ง ชาวต่างชาติทั้งหมดที่ซื้อคอนโดมิเนียมในไทยหดตัวลงอย่างเห็นได้ชัดจาก11%ของ มูลค่าโอนกรรมสิทธิ์คอนโดมิเนียมของไทยใน มกราคม 2562 เหลือ 8% ในธันวาคม 2562 โดยมีสาเหตุหลักมาจากการแข็งค่าเงินบาทเมื่อเปรียบเทียบกับเงินหยวนในช่วงเวลา เดียวกัน    ได้ส่งผลต่อเนื่องให้ราคาที่อยู่อาศัยในไทยปรับตัวสูงขึ้นจากวันทำ สัญญาจองโดยเฉลี่ยถึง 9% บทสรุปผลกระทบมาตรการ LTV อย่างไรก็ดี Krungthai COMPASS มองว่าการผ่อนปรนเกณฑ์ LTV ในครั้งนี้ อาจช่วยให้กลุ่มผู้บริโภคที่ต้องการลงทุนคอนโดมิเนียมระยะยาวกลับมาให้ความสนใจ มากขึ้นเนื่องจากการลงทุนคอนโดมิเนียมในไทยที่ให้ผลตอบแทนราว 2.7-6.6%  ก็ ยังเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกของการลงทุนในยุคดอกเบี้ยต่ำของคนไทย ประเด็นนี้อาจ ช่วยทดแทน demand จากต่างประเทศโดย จีนที่ลดลง Krungthai COMPASS มองว่าตลาดที่อยู่อาศัยในปี 2563 จะได้รับประโยชน์จากมาตรการต่างๆ ของภาครัฐ โดยเฉพาะ มาตรการลดค่าธรรมเนียมโอนและจดจำนอง ซึ่งทำให้มีโอกาสที่ตลาดจะกลับมาฟื้นตัวได้ 5.5% จากปีก่อนหน้า โดยมีการผ่อนปรนเกณฑ์ LTV ของธปท. เป็น Upside สำคัญที่อาจทำให้อัตราการเติบโตของตลาดเร่งขึ้นไปได้อีก 0.8%        
สิงห์ เอสเตท ลงทุนกว่า 73,000 ล้าน เดินหน้า 4 ธุรกิจหลัก สร้างรายได้ 30,000 ล้านในปี 2567

สิงห์ เอสเตท ลงทุนกว่า 73,000 ล้าน เดินหน้า 4 ธุรกิจหลัก สร้างรายได้ 30,000 ล้านในปี 2567

"สิงห์ เอสเตท" ดำเนินธุรกิจมาถึงปัจจุบันเป็นระยะเวลา 5 ปีแล้ว นับตั้งแต่เปลี่ยนชื่อมาจาก บริษัท รสา พร็อพเพอร์ตี้ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) ในช่วงปี 2557     โดยตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา บริษัทมีอัตราการเติบโตต่อเนื่อง แม้ว่าในช่วงปีที่ผ่านมา ผลการดำเนินงานในธุรกิจที่อยู่อาศัย อาจจะไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ เนื่องจากผลกระทบของภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว โดยพลาดจากเป้าหมายไปประมาณ 30% คาดว่าจะทำรายได้ประมาณ 7,500 ล้านบาท ซึ่งภาพรวมในปี 2562 บริษัทตั้งเป้าหมายรายได้รวมน่าจะทำได้ 16,000 ล้านบาท   สิงห์เอสเตท ตั้งเป้าทำรายได้ 20,000 ล้าน อย่างไรก็ตาม ในปี 2563 สิงห์ เอสเตท คาดว่าจะกลับสร้างการเติบโต พร้อมกับเป้าหมายการทำรายได้ 20,000 ล้านบาท ซึ่งมีแผนการดำเนินธุรกิจในกลุ่ม คือ   1.แผนการเปิดโครงการใหม่ 6 โครงการ มูลค่ารวม 10,000 ล้านบาท ซึ่งโครงการคอนโดมิเนียมจะมีแบรนด์ใหม่ 2 โครงการ และโครงการแนวราบจะมีแบรนด์ใหม่ 3 โครงการ และมีเป้าหมายยอดขาย 8,000 ล้านบาท พร้อมกับรับรู้รายได้จากการโอนโครงการเอส 36 จากแบ็กล็อกที่มีมูลค่า 6,000 ล้านบาท   2.ธุรกิจคอมเมอร์เชียล หรืออาคารสำนักงาน จะเน้นการพัฒนาโครงการในทำเลที่เหมาะสม โดยไม่เน้นทำเลใจกลางเมืองเป็นหลัก ส่วนธุรกิจโรงแรมยังคงขยายอย่างต่อเนื่อง โดยมีแผนใช้เงินลงทุนปีนี้ 5,000 ล้านบาท เพื่อพัฒนาและซื้อกิจการในส่วนอาคารสำนักงานและโรงแรม   3.การรับรู้รายได้จากโครงการในมัลดีฟส์มูลค่า 2,000 ล้านบาท เนื่องจากโรงแรมในโครงการคอรสโร้ดส์ เฟสแรก ได้เปิดให้บริการอย่างเต็มรูปแบบ   4.การขยายธุรกิจใหม่ ที่สร้างความยั่งยืนและช่วยเหลือสังคม ได้แก่ ธุรกิจพลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy Business)   นายนริศ เชยกลิ่น ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท สิงห์ เอสเตท จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ปีนี้จะเป็นปีที่สำคัญในการบรรลุเป้าหมายรายได้ 20,000 ล้านบาท หลังจากทำตามเป้าหมาย การพัฒนาบริษัทเป็นโกลบอลคอมปานี ได้สำเร็จมา 3 ปีแล้ว ซึ่งปัจจุบันบริษัทมีขนาดใหญ่ขึ้นมากมีมูลค่าสินทรัพย์ถึง 67,000 ล้านบาท และตามแผนในระยะ 5 ปีข้างหน้า หรือภายในปี 2567 สินทรัพย์น่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 100,000 ล้านบาท   ส่วนการดำเนินธุรกิจในปีนี้ มีปัจจัยที่ถือว่าเป็นความเสี่ยงที่จะกระทบต่อการดำเนินธุรกิจ มี 2 ประเด็นสำคัญ ได้แก่ 1.ปัญหาไข้หวัดโคโรน่า ซึ่งผลกระทบจะมากหรือน้อยนั้น ขึ้นอยู่กับระยะเวลาของการแพร่ระบาด แต่คาดว่าจะมีระยะเวลาการแพร่ระบาดไม่นาน และ 2.ปัญหาการเมืองภายในประเทศ โดยเฉพาะการเบิกจ่ายงบประมาณประจำปี จะดำเนินการได้ตามแผนหรือไม่ ส่วนปัจจัยบวกสถานการณ์ปัจจุบันอยู่ในภาวะ ค่าเงินบาทหากอ่อนค่ากกว่านี้ ในระดับ 35 บาทต่อดอลล่าห์  จะส่งผลบวกต่อตลาดนักท่องเที่ยว ซึ่งจะเข้ามาเพิ่มมากขึ้น แผน 5 ปี “สิงห์เอสเตท” ลงทุนกว่า 73,000 ล้าน 5 ปีข้างหน้า จะมุ่งขยายใน 3 แกนหลัก ได้แก่ ธุรกิจที่อยู่อาศัย ธุรกิจโรงแรม และธุรกิจคอมเมอร์เชียล ด้วยงบลงทุนรวม 68,000 ล้านบาท ขณะเดียวกันจะขยายธุรกิจอื่นที่ไม่ใช่ธุรกิจอสังหาฯ ด้วย โดยเป็นธุรกิจพลังงานหมุนเวียน ซึ่งคาดว่าจะใช้งบประมาณการลงทุนประมาณ 5,000-6,000 ล้านบาท รวมงบประมาณการลงทุนทั้ง 4 กลุ่มประมาณ 73,000-74,000 ล้านบาท แบ่งเป็น   1.ธุรกิจที่อยู่อาศัย เตรียมลงทุน 37,500 ล้าบาท เพื่อพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัย 30 โครงการ   2.ธุรกิจคอมเมอร์เชียล ซึ่งเป็นพื้นที่สำนักงานให้เช่า เตรียมลงทุน 8,500 ล้านบาท เพื่อพัฒนา 4 โครงการ ซึ่งอาจจะซื้อหรือพัฒนาขึ้นใหม่ แต่บริษัทต้องการซื้อโครงการมาพัฒนาต่ำ เนื่องจากได้รับกระแสเงินสดเข้ามาทันที แต่หากพัฒนาขึ้นใหม่ จะมีผลดีในด้านผลตอบแทนที่สูง จากปัจจุบันมีอาคารสำนักงานให้เช่า 3 อาคาร รวม 140,000 ตารางเมตร คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 300,000 ตารางเมตรในอีก 5 ปีข้างหน้า   3.ธุรกิจโรงแรม เตรียมงบประมาณการลงทุน 22,000 ล้านบาท  เพื่อพัฒนาและซื้อโรงแรมมาพัฒนาต่อ 41 แห่ง ในพื้นที่ด้านการท่องเที่ยว  ตามเป้าหมายจะมีโรงแรมรวม 80 แห่ง มีจำนวนห้อง 8,000 ห้อง ภายในปี 2568 จากปัจจุบันมีโรงแรม 39 แห่ง จำนวน 4,647 ห้อง   4.ธุรกิจพลังงานหมุนเวียน เตรียมงบประมาณ 5,000-6,000 ล้านบาท โดยจะร่วมลงทุนกับพันธมิตรที่มีความเชี่ยวชาญในธุรกิจพลังงาน โดยร่วมกันพัฒนาธุรกิจและสร้างการเติบโต เช่น ธุรกิจพลังงานจากการกำจัดขยะ  ปัจจุบันอยู่ระหว่างการศึกษาและพัฒนา “สิงห์ เอสเตท” วางเป้าหมายรายได้ 30,000 ล้าน ตามแผนในระยะ 5 ปี บริษัทวางเป้าหมายรายได้ 30,000 ล้านบาท แบ่งเป็นรายได้จากธุรกิจที่อยู่อาศัย 15,000 ล้านบาท ทั้งโครงการแนวราบและคอนโดฯ  ส่วนธุรกิจคอมเมอร์เชียลและโรงแรม วางเป้าหมายรายได้ 15,000 ล้านบาท ส่วนธุรกิจพลังงานหมุนเวียน อาจจะมีรายได้ไม่มากนัก เพราะบริษัทมุ่งเน้นการสร้างความยั่งยืนในการดำเนินธุรกิจ และช่วยเหลือสังคม โดยจะร่วมกับพันธมิตรในการพัฒนา และสร้างการเติบโต
5 แนวคิดเสนาฯ​ กลยุทธ์ฝ่าวิกฤตอสังหาฯ  สู้เป้าหมายยอดขาย 11,500 ล้าน

5 แนวคิดเสนาฯ​ กลยุทธ์ฝ่าวิกฤตอสังหาฯ สู้เป้าหมายยอดขาย 11,500 ล้าน

“SENA” วางแผนธุรกิจปี 2020  ด้วยกลยุทธ์ “HOW TO THINK” 5 แนวคิดพิชิตตลาดอสังหาฯ  เตรียมเปิดเบื้องต้น 10 โครงการ มูลค่ารวม 7,500 ล้านบาท  พร้อมโครงการร่วมทุน กับ “ฮันคิว ฮันชิน” ต่อเนื่อง สู่พอร์ตโครงการแนบราบ​ บุกตลาดครั้งแรก ตั้งเป้ายอดขาย 11,500 ล้านบาท และยอดโอน 10,600 ล้านบาท   ผศ.ดร.เกษรา ธัญลักษณ์ภาคย์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เสนาดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยถึงแผนธุรกิจปี 2020 ว่า ได้เตรียมเปิดโครงการใหม่ ทั้งหมด 10 โครงการ รวมมูลค่า 7,500 ล้านบาท แบ่งเป็นโครงการแนวสูง 6 โครงการและแนวราบ 4 โครงการ ตั้งเป้ายอดขาย 11,500 ล้านบาทและเป้ารายได้ 10,600 ล้านบาท โดยวาง 5 แนวคิดหลักในการรุกธุรกิจอสังหาฯปี 2020 เพื่อให้ได้ตามเป้าหมายและการเติบโตของบริษัท ภายใต้วิสัยทัศน์  “HOW TO THINK”  ได้แก่ 1.Think of Real Demand เจาะตลาดกลุ่มเรียลดีมานด์ บริษัทจะเน้นกลุ่มเป้าหมายหลัก เป็นกลุ่มเรียลดีมานด์ (Real Demand) คนซื้ออยู่จริง โดยใช้ฐานข้อมูลหลายส่วนมาค้นหาทำเลที่เหมาะสม ทั้งโครงข่ายรถไฟฟ้าที่เกิดขึ้นมากมาย แต่ต้องเลือกสถานีที่เหมาะสม โดยต้องเป็นเขตที่มีแหล่งงาน มีคนอพยพเข้ามาอยู่อาศัย ผังเมืองเหมาะสมและซัพพลายยังไม่มากเกินไป โดยเฉพาะตลาดแนวราบ กลุ่มระดับราคา 3-5 ล้านบาท และแนวสูง ระดับราคา 1- 3 ล้านบาท ยังเป็นระดับราคาที่มีความนิยมและมีกำลังซื้อที่ดี 2.Re Think SENA CORE COMPETENCY IN THE PAST ONTO THE PRESENT การนำเอาพลังงานแสงอาทิตย์ หรือ โซลาร์เซลล์ เข้ามาช่วยสร้างบ้านประหยัดพลังงาน การพัฒนาโครงการของเสนา ไม่ได้ตอบสนองกลุ่มลูกค้าในแบบเดิม แต่เพื่อให้เป็นไปตาทเทรนด์ของโลกในยุคปัจจุบัน ที่มุ่งเน้นการประหยัดพลังงาน การหาพลังงานทดแทน บริษัทจึงได้ได้พัฒนา “หมู่บ้านเสนาโซลาร์” เพราะต้องการตอบสนองความต้องการของลูกค้า มากกว่าแค่การเป็นแค่บ้านประหยัดพลังงานเท่านั้น 3.Think of SENA INNOVATION  “นวัตกรรมและเทคโนโลยี เสนาฯ ได้นำเอานวัตกรรมและเทคโนโลยี เข้ามาผสมผสานกับการพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยในหลากหลายรูปแบบ  โดยเฉพาะเรื่องของธุรกิจโซลาร์  จึงทำการติดโซลาร์ให้กับทุกโครงการของเสนา เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตควบคู่กับการเปลี่ยนโลกให้น่าอยู่ ปัจจุบันมีการติดตั้งให้กับบ้านทุกหลังรวม 400 หลัง ประมาณ 1,000 กิโลวัตต์ 4.Think of SENA Experience “การสร้างประสบการณ์ที่ชัดเจนและแตกต่าง ในภาวการณ์แข่งขันปัจจุบัน จะต้องแข่งขันกันด้วนความแตกต่าง เพราะต้องยอมรับว่าท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน การแข่งขันเรื่องราคาเป็นสิ่งที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้  ตัวแปรที่จะช่วยขับเคลื่อนภาพลักษณ์ของเสนาให้มีความชัดเจน และมีจุดต่างมากยิ่งขึ้น เสนามี “MADE FROM HER” แนวคิดหลักที่นำความคิดละเอียดหลายชั้นของผู้หญิงมาพัฒนาสินค้าและบริการ ในปีนี้สิ่งที่จะทำเพิ่มเติมคือ การแข่งขันด้านราคาหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยเฉพาะตลาดบ้านเรียลดีมานด์ แต่การแข่งขันด้านราคา ไม่มีความแตกต่างก็ตาย ความต่าง คือประสบการณ์ที่ลูกค้าได้รับจากสินค้าเรา โดยราคายังแข่งขันได้   -ให้ความสำคัญกับ Customer Journey ที่มีความแตกต่างของแต่ละเซกเม้นท์ -ปรับแบรนด์พอร์ตโฟลิโอ (Brand Portfolio) สร้างแบรนด์คอนโดใหม่ “SLASH” “SENA KITH” และแบรนด์บ้านใหม่ “SENA VILLE” “SENA VILLAGE” “SENA VELA” “SENA VIVA” เพื่อให้สอดรับกับกลุ่มเป้าหมายแต่ละเซ็กเมนต์ เน้นกลุ่มลูกค้า GEN Y – First Jobber -ดีไซน์เว็บไซต์และแอพพลิเคชั่น 360 องศาให้ทันสมัยและง่ายต่อเข้าถึงข้อมูล 5.Think of Business Model “โมเดลธุรกิจและพันธมิตรที่แข็งแกร่ง” ปัจจัยสนับสนุนหลักทุกสเต็ปต์ของการเติบโตของเสนาฯ นั้น ส่วนหนึ่งมาจากการที่มีพันธมิตรที่แข็งแกร่ง บริษัท ฮันคิว ฮันชิน พร็อพเพอร์ตี้ คอร์ป ปัจจุบันมีโครงการที่อยู่ระหว่างการพัฒนา ในช่วงเวลา 3 ปี ทั้งหมด 9 โครงการ และปีนี้ เสนา ฮันคิว ฮันชิน เตรียมรุกตลาด “ทาวน์โฮม” ร่วมกันเป็นครั้งแรก รวมถึงคอนโดฯ ต่ำกว่าล้านบาท และคอนโดฯ ราคา 1- 1.5 ล้านบาท พร้อมนำแนวคิด Geo fit+ จากญี่ปุ่นมาปรับใช้กับสินค้าและการบริการ นอกจากนี้มีการ จัดตั้งบริษัท ทีเค นวกิจ จำกัด บริษัทรับเหมาก่อสร้างพัฒนาคอนโดฯ โลว์ไรส์ของบริษัท เพื่อควบคุมต้นทุน และระยะเวลาก่อสร้างได้อย่างมีประสิทธิภาพ   เสนาฯ ร่วมกับฮันคิวฯ ทำโครงการร่วมกันมา 13 โครงการ มูลค่า 37,000 ล้านลาท วันนี้โครงการจะไม่อยู่แค่คอนโดฯ แล้ว ต้องไปสู่เรียลดีมาน์ในประเภทอื่นด้วย   อย่างไรก็ตาม ทางเสนาฯ เตรียมความพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีและพฤติกรรมผู้บริโภคที่เป็นทั้งโอกาสและวิกฤตต้องปรับตัวให้ทัน Digital Disruption ซึ่งแม้ภาพรวมตลาดอสังหาฯจะเต็มไปด้วย Perfect Storm (พายุที่สมบูรณ์แบบมากลูกหนึ่ง) แต่ด้วยกลยุทธ์ของบริษัทที่ใส่ใจในทุกรายละเอียดทุกเรื่อง ศึกษาเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ ๆตลอดเวลาเพื่อนำมาพัฒนาสินค้าและบริการให้มีคุณภาพออกสู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับพันธมิตรชั้นนำที่เข้ามามีส่วนช่วยผลักดันให้บริษัทเติบโต จึงทำให้มั่นใจว่าจะสามารถบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้อย่างแน่นอนในปี 2020  
วิเคราะห์ LTV หลักเกณฑ์ใหม่ ดีต่อตลาดอสังหาฯ แค่ไหน-ใครได้ประโยชน์

วิเคราะห์ LTV หลักเกณฑ์ใหม่ ดีต่อตลาดอสังหาฯ แค่ไหน-ใครได้ประโยชน์

นับตั้งแต่วันที่ 20 มกราคม 2563 เป็นต้นไป การปรับหลักเกณฑ์ LTV ใหม่ ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้มีผลบังคับใช้  การเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์ในครั้งนี้ ธปท. ต้องการสนับสนุนให้ประชาชาชน สามารถกู้ซื้อบ้านเพื่ออยู่อาศัยจริงได้ง่ายขึ้น   เพราะดูเหมือนว่าหลังจากการบังคับมาตรการ LTV อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2562 เป็นต้นมา ตลาดอสังหาริมทรัพย์ก็ชะลอตัวลง  แม้ภาครัฐจะออกมาตรการมาช่วยกระตุ้น  แต่ก็ไม่ได้ส่งผลให้ภาพรวมตลาดดีขึ้น   สำหรับหลักเกณฑ์ใหม่ ของมาตรการ LTV ที่ธปท. ปรับและบังคับใช้นั้น ทางนางสาวนพมาศ ฮวบเจริญ นักวิเคราะห์อาวุโส Evonomiv Intelligenct Center (EIC) ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ได้จัดทำบทวิเคราะห์เรื่อง การผ่อนปรน LTV ช่วยกระตุ้นตลาดที่อยู่อาศัยอย่างจำกัด โดยแนวราบจะได้ประโยชน์มากกว่าคอนโดมิเนียม รายละเอียดหลักเกณฑ์ LTV ใหม่    1.กลุ่มผู้กู้ซื้อบ้านสัญญาแรกราคาไม่เกิน 10 ล้านบาท สามารถกู้เพิ่มได้อีก 10% ของมูลค่าหลักประกัน เพื่อใช้ซื้อเฟอร์นิเจอร์ ตกแต่งบ้าน หรือสิ่งจำเป็นในการเข้าอยู่อาศัย โดยที่เพดาน LTV ยังคงไว้ที่ 100% ซึ่งผ่อนปรนขึ้นจากเกณฑ์ LTV เดิมที่เริ่มใช้ในเดือนเมษายน 2562  ที่วงเงินกู้สินเชื่อบ้านรวมสินเชื่อ Top-up (สินเชื่ออื่นที่เกี่ยวเนื่องกับสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย หรือ สินเชื่อ Top-up  หมายถึง สินเชื่อที่มีวัตถุประสงค์อื่นนอกเหนือจากเพื่อซื้อที่อยู่อาศัย ซึ่งมีที่อยู่อาศัยนั้นเป็นหลักประกัน เช่น เพื่อซื้อเฟอร์นิเจอร์ เป็นต้น) ต้องไม่เกิน 100% ของมูลค่าหลักประกัน   นอกจากนี้ ธปท. ยังได้มีการผ่อนปรนเกณฑ์การคำนวณความเสี่ยงเพื่อคำนวณเงินกองทุนให้กับสินเชื่อบ้านสัญญาแรกด้วย ในกรณีให้สินเชื่อที่วงเงิน 100% ของมูลค่าบ้าน สถาบันการเงินจะคำนวณน้ำหนักสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตที่ 35% สำหรับวงเงินสินเชื่อบ้านสัญญาแรกที่ 100% ของมูลค่าบ้าน และหากมีการให้วงเงิน 10% เพื่อซื้อเฟอร์นิเจอร์ก็จะใช้น้ำหนักที่ 75% เฉพาะส่วนวงเงิน 10%  แต่หากเป็นเกณฑ์เดิม สถาบันการเงินต้องมีการคำนวณน้ำหนักสินทรัพย์เสี่ยงฯ ในวงเงินสินเชื่อทั้งหมดที่ 75%  หากสถาบันการเงิน ให้สินเชื่อในวงเงินมากกว่า 95% ของมูลค่าบ้านแนวราบ หรือ 90% ของมูลค่าคอนโดมิเนียม   รูปเกณฑ์ LTV สำหรับการกู้ซื้อบ้านเพื่ออยู่อาศัยจริง ถูกผ่อนปรนให้ใกล้เคียงกับเกณฑ์ LTV เดิม ในช่วงก่อนหน้าเดือนเมษายน 2562 2.กลุ่มผู้กู้ซื้อบ้านสัญญาแรกราคาเกิน 10 ล้านบาท สามารถกู้ได้ที่วงเงินสินเชื่อสูงสุดที่ 90% ของมูลค่าที่อยู่อาศัย หรือวางเงินดาวน์ขั้นต่ำเพียง 10% จากเกณฑ์เดิมที่ต้องวางเงินดาวน์ 20%   3.กลุ่มผู้กู้ซื้อบ้านสัญญาสองราคาต่ำกว่า 10 ล้านบาท ยังคงวงเงินสินเชื่อสูงสุดที่ 80-90% เหมือนเดิม แต่ปรับลดเกณฑ์การเข้าข่ายที่ได้รับ LTV ที่ 90% สำหรับการกู้ซื้อบ้านสัญญาที่ 2 จากเดิมต้องผ่อนชำระสัญญาแรกมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี เป็น 2 ปี รูป ธปท.ผ่อนปรนเกณฑ์การคำนวณความเสี่ยง เพื่อคำนวณเงินกองทุนให้กับสินเชื่อบ้านสัญญาแรกราคาไม่เกิน 10 ล้านบาท  บ้านแนวราบสัญญาแรก ได้ประโยชน์มากสุด บทวิเคราะห์ได้รายงานว่า ที่อยู่อาศัยประเภทแนวราบ ได้รับประโยชน์จากมาตรการ  มากกว่าที่อยู่อาศัยแบบคอนโดฯ เพราะจากจำนวนบัญชีสินเชื่อปล่อยใหม่ ของธนาคารพาณิชย์ (ธพ.) พบว่า ผู้ที่ซื้อบ้านซึ่งเป็นสัญญาแรก หรือบ้านหลังแรกนั้น เป็นประเภทโครงการแนวราบสัดส่วน 70% เป็นคอนโดฯ สัดส่วน 30% หากถ้าพิจารณากลุ่มที่ซื้อโครงการแนวราบ ก็ยังพบว่าเป็นสัญญาแรกเกือบ 90% คนซื้อบ้านแนวราบสัญญา 2 หรือบ้านหลังที่ 2 เพียง 10%  แต่ถ้าพิจารณากลุ่มคนที่ซื้อโครงการคอนโดฯ จะพบว่าเป็นกลุ่มซื้อบ้านสัญญาแรกสัดส่วนน้อยกว่า คือ ประมาณ 75% ที่เหลืออีก 25% เป็นคนซื้อสัญญาที่สอง หรือซื้อเป็นบ้านหลังที่สองนั้นเอง อีกกลุ่มหนึ่งที่ได้รับประโยชน์จากการปรับหลักเกณฑ์ LTV ใหม่ คือ กลุ่มที่อยู่อาศัยในตลาดราคากลาง-ล่าง เนื่องจากเพดานของวงเงินสินเชื่อของกลุ่มซื้อบ้านราคาต่ำกว่า 10 ล้านบาท ถูกผ่อนปรน ให้มีระดับใกล้เคียง ก่อนที่มาตรการ LTV จะบังคับใช้ในวันที่ 1 เมษายน 2562 ทำให้การซื้อบ้าน ผู้กู้ไม่ต้องเตรียมเงินมากนัก เพราะกลุ่มคนกลุ่มระดับล่าง รวมถึงกลาง-ล่าง มักจะมีเงินออมในระดับต่ำ 2 เหตุผลคนซื้อบ้านสัญญาแรกได้ประโยชน์ 1.เพดานวงเงินสินเชื่อที่มากขึ้น ของการกู้ซื้อบ้านสัญญาแรก เปิดโอกาสให้ผู้กู้ในสัญญาแรก มีโอกาสได้รับเงินสินเชื่อที่มากขึ้น ซึ่งครอบคลุมไปถึงสินเชื่อที่ใช้ซื้อเฟอร์นิเจอร์และของตกแต่งบ้าน 2.ธปท. ไม่ใช่แค่ผ่อนปรนเกณฑ์ LTV เท่านั้น แต่ยังผ่อนปรนเกณฑ์การคำนวณความเสี่ยง เพื่อคำนวณเงินกองทุนให้กับสินเชื่อบ้านสัญญาแรก ของธนาคาพาณิชย์ จึงช่วยลดต้นทุนการสำรองเงินกองทุน  ของธนาคารพาณิชย์ลงได้บ้าง ซึ่งต้นทุนที่ลดลง มีโอกาสส่งผ่านไปสู่ผู้กู้ซื้อบ้านในสัญญาแรกได้ โดยเฉพาะกลุ่มผู้กู้ที่มีความเสี่ยงต่ำ แต่กลุ่มผู้ซื้อมีความเสี่ยงสูง อาจจะไม่ได้รับประโยชน์นี้มากนัก ปรับเกณฑ์ LTV ใหม่ช่วยกระตุ้นตลาดอสังหาฯ น้อย หากพิจารณาภาพรวมของตลาดอสังหาฯ หลังจากการปรับเกณฑ์ LTV ใหม่นั้น บทวิเคราะห์ ระบุว่า มีโอกาสค่อนข้างน้อย ที่ความต้องการที่อยู่อาศัย จะกลับไปเติบโตเหมือนก่อนที่มาตรการ LTV จะบังคับใช้เมื่อต้นเดือนเมษายน 2562 นั่นหมายความว่า การปรับเกณฑ์ LTV ใหม่ช่วงกระตุ้นตลาดอสังหาฯ ได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น ซึ่งสาเหตุมาจาก 4 ประเด็นสำคัญ ได้แก่ 1.การปรับเพดาน LTV ครั้งนี้ไม่ได้มีผลต่อกลุ่มที่อยู่อาศัยสัญญากู้ที่สองขึ้นไป ช่วงก่อนที่เกณฑ์ LTV จะมีผลบังคับใช้ในเดือนเมษายน 2562 ในช่วงปี 2560-2561 ตลาดที่อยู่อาศัยขยายตัวดี  ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการขยายตัวสูงของที่อยู่อาศัยสัญญากู้ที่สองขึ้นไป ซึ่งธปท. มองว่าส่วนใหญ่เป็นกลุ่มที่กู้ซื้อเพื่อการเก็งกำไรหรือการลงทุนมากกว่าเพื่ออยู่จริง เนื่องจากข้อมูลของ ธปท. พบว่ามากกว่าครึ่งของผู้กู้ซื้ออาคารชุดสองสัญญาพร้อมกันมีระยะห่างระหว่างสัญญาแรกและสองไม่ถึง 1 ปี ทำให้ ธปท. ยังคงเพดาน LTV สำหรับการกู้ซื้อที่อยู่อาศัยสัญญาสองเช่นเดิม (โดยผ่อนปรนเฉพาะเกณฑ์การเข้าข่ายได้ LTV 90% สำหรับการกู้ซื้อบ้านสัญญาสอง ซึ่งระยะห่างระหว่างสัญญาแรกและสองลดลงเป็น 2 ปี จาก 3 ปี) 2.กำลังซื้อจากกลุ่มที่ซื้อเพื่อลงทุนและเก็งกำไรลดลง จากที่ผ่านมา กลุ่มที่ซื้อเพื่อลงทุนเป็นกลุ่มหลัก ที่ผลักดันการขยายตัวของตลาดที่อยู่อาศัย แต่หลังจาก LTV บังคับใช้ตั้งแต่เดือนเมษายน 2562 เป็นต้นมา แนวโน้มราคาของที่อยู่อาศัยที่ชะลอตัวลง โดยเฉพาะคอนโดฯ  ที่ปรับตัวลดลง  ทำให้ความน่าสนใจของตลาดที่อยู่อาศัยในด้านการลงทุนมีน้อยลง ซึ่งอีไอซีประเมินว่าการผ่อนปรนในครั้งนี้ น่าจะไม่มากพอผลักดันให้ราคาของคอนโดฯ ขยับขึ้นได้ ส่วนหนึ่งมาจากผู้ที่ได้ประโยชน์ส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มแนวราบมากกว่าคอนโดฯ 3.กำลังซื้อของผู้ซื้อที่อยู่อาศัยทั้งคนไทยและต่างชาติที่อ่อนแอ จากภาวะเศรษฐกิจทั้งไทยและเทศที่ชะลอตัวลง  ความเชื่อมั่นที่ยังอยู่ในระดับต่ำ (โดยในเดือนธันวาคม 2562  ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภค เกี่ยวกับการซื้อบ้านหลังใหม่ ที่ปรับตัวลดลงสู่ระดับต่ำสุดนับตั้งแต่จัดเก็บข้อมูลในปี 2546) และภาระหนี้ของครัวเรือนที่ยังสูง รวมถึงค่าเงินบาทที่แข็งค่า 4.สถาบันการเงินยังมีแนวโน้มระมัดระวังการให้สินเชื่อของผู้กู้รายย่อย เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจในประเทศที่ชะลอตัว จะส่งผลกระทบต่อการเพิ่มขึ้นของหนี้เสียของภาคครัวเรือน โดยเฉพาะกลุ่มที่มีความอ่อนไหวต่อปัจจัยเสี่ยง ที่มีผลต่อรายได้และการจ้างงาน ซึ่งสะท้อนได้จากข้อมูลของ ธปท. เกี่ยวกับผลทดสอบภาวะวิกฤต  (Stress Test) ของภาคครัวเรือนไทย  ซึ่งพบว่าในปี 2560  สัดส่วนของครัวเรือนมีความเสี่ยงที่จะผิดนัดชำระหนี้ (จากเดิมที่ไม่มีความเสี่ยงที่จะผิดนัดชำระหนี้) มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นจากในอดีต หากรายได้ของครัวเรือนปรับลดลง 20% โดยสัดส่วนของครัวเรือนที่มีความเสี่ยงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในทุกกลุ่มรายได้   นอกจากนี้ ธนาคารพาณิชย์ยังต้องมุ่งเน้นการให้สินเชื่อสำหรับครัวเรือนอย่างมีความรับผิดชอบตามแนวทางปฏิบัติที่ ธปท.ได้ให้คำแนะนำ โดยเฉพาะการพิจารณารายได้คงเหลือของผู้กู้หลังจ่ายค่าผ่อนชำระหนี้ทุกประเภทกับสถาบันการเงินของตนเอง และผู้ให้บริการอื่น (Residual Income) ซึ่งอาจมีผลต่อการพิจารณาการให้สินเชื่อ โดยเฉพาะกลุ่มผู้มีรายได้ต่ำ   รูปสินเชื่อบ้านของสถาบันการเงินเฉพาะกิจขยายตัวสูงในปีที่ผ่านมา ขณะที่ธพ.ระมัดระวัง   อย่างไรก็ตาม ตลาดที่อยู่อาศัยจะยังได้รับแรงสนับสนุนจากสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ (SFI) ที่จะเข้ามามีบทบาทเพิ่มมากขึ้นในตลาดสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยต่อเนื่องจากปีที่แล้ว เนื่องจากแนวนโยบายของภาครัฐที่ต้องการให้ SFI เข้ามาช่วยผลักดันตลาดที่อยู่อาศัยในช่วงที่เศรษฐกิจอยู่ในภาวะชะลอตัว เช่น มาตรการสินเชื่อบ้านดอกเบี้ยต่ำ เป็นต้น   อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง -มาตรการ LTV ผลกระทบตกที่ใคร? -อสังหาฯ ปีหน้ายังเหนื่อย เพราะ LTV มาผิดเวลา?   -เปิดข้อมูลอินไซต์ ตลาดคอนโดฯ หลังใช้มาตรการ LTV
5 กลยุทธ์สร้างการเติบโตของกระเบื้องคอตโต้ ท่ามกลางปัจจัยลบปี 63

5 กลยุทธ์สร้างการเติบโตของกระเบื้องคอตโต้ ท่ามกลางปัจจัยลบปี 63

กระเบื้องคอตโต้ ใช้ 5 กลยุทธ์ สร้างการเติบโต 10% ท่ามกลางปัจจัยลบปี 63  ทั้งการขยายสาขา “คลังเซรามิค แฟมิลี” การบุกทำตลาดในประเทศเพื่อนบ้าน พร้อมเน้นบริหารจัดการภายใน   ภาพรวมเศรษฐกิจในปี 2563 ยังส่งสัญญาณว่ายังไม่ได้ฟื้นตัวดีมากนัก เพราะยังมีปัจจัยลบมากระทบมากมาย เป็นความท้าทายของการดำเนินธุรกิจภาคเอกชน หรือแม้แต่ภาครัฐบาลเอง ก็น่าจะเป็นปีแห่งความยากลำบาก ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศให้เจริญเติบโต  ทำให้ภาคธุรกิจต้องหันกลับมามุ่งเน้นการบริหารจัดการภายใจ การเพิ่มประสิทธิภาพ รวมถึงการมุ่งเน้นลดต้นทุนและค่าใช้จ่ายภายในองค์กร เพื่อให้ธุรกิจยังสามารถดำเนินต่อไปได้   ในแวดวงธุรกิจธุรกิจอสังหาริมทรัพย์​ ก็ต้องเผชิญกับความท้าทายหลายอย่าง ที่สำคัญคงเป็นมาตรการ LTV ซึ่งกระทบตลาดอย่างหนักสุด แม้ว่าล่าสุดธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ผู้ออกกฎเกณฑ์ดังกล่าวออกมาใช้ จะผ่อนปรนความเข้มข้นของมาตรการ LTV ลงบ้าง แต่ดูเหมือนว่าผู้ประกอบการหลายราย ส่งเสียงว่าช่วยกระตุ้นตลาดอสังหาฯ ได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น   ไม่เพียงแต่ธุรกิจอสังหาฯ ที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการ LTV ไปเต็มๆ แต่ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจอสังหาฯ ก็โดนหางเลขไปกับเขาด้วย อย่างเช่น ธุรกิจวัสดุก่อสร้าง เพราะถือว่าเป็นธุรกิจซึ่งเติบโตไปพร้อมกับตลาดอสังหาฯ เมื่อสภาพตลาดอสังหาฯ ชะลอตัว ธุรกิจวัสดุก็แผ่วตาม ตลาดกระเบื้องทรงตัวโดนพิษ LTV หากมาโฟกัสตลาดกระเบื้อง ที่ปัจจุบันมีมูลค่าประมาณ 30,000-35,000 ล้านบาท ในช่วงปีที่ผ่านมาก็อยู่ในภาวะทรงตัว เนื่องจากช่วงครึ่งปีหลีง ได้รับผลกระทบจากปัญหา LTV ซึ่งทำให้การซื้อขายอสังหาฯ ลดลง รวมถึงการเปิดตัวโครงการใหม่ก็ลดลงด้วย การใช้วัสดุก่อสร้างจึงลดลงตาม แถมยังมีปัญหาเรื่องภัยแล้ง พืชผลการเกษตรตกต่ำ และปัญหากำลังซื้อ ส่งผลผู้บริโภคที่ใช้วัสดุก่อสร้างซ่อมแซมบ้านจึงลดน้อยลง   สำหรับบริษัท เอสซีจี เซรามิกส์ จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตและจำหน่ายกระเบื้อง ภายใต้แบรนด์ คอตโต้ (COTTO) โสสุโก้ (SOSUCO) และคัมพานา (CAMPANA) ซึ่งถือเป็นหนึ่งในผู้นำตลาด ที่มีส่วนแบ่งมากถึง 1 ใน 3 ก็ต้องเผชิญกับผลกระทบต่างๆ ที่เกิดขึ้น นายนำพล มลิชัย กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอสซีจี เซรามิกส์ จำกัด (มหาชน) เปิดเยว่า  แต่แม้ว่าภาพรวมตลาดในปีนี้ ยังประเมินสถานการณ์ได้ยาก เพราะตลาดอาจจะไม่เติบโต เนื่องจากผลกระทบจากเศรษฐกิจ และปัจจัยลบต่างๆ แต่สำหรับบริษัท ยังคงวางเป้าหมายสร้างการเติบโต ในอัตรา 10% จากปีที่ผ่านมา ซึ่งบริษัทมีรายได้รวม 11,074 ล้านาท ลดลงจากปี 2561 อัตรา 4%  โดยมั่นใจว่าแผนธุรกิจที่ได้วางไว้ในปีนี้จะช่วยให้สามารถสร้างรายได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ 5 กลยุทธ์สร้างการเติบโตของกระเบื้องคอตโต้ 1.ขยายคลังเซรามิค แฟมิลี่ ในปีนี้ตั้งเป้าหมายการขยายสาขาเพิ่มไม่น้อยกว่า 15 สาขา  จากปัจจุบันเปิดแล้ว 3 สาขา ซึ่งถือเป็นโมเดลธุรกิจรูปแบบใหม่ ที่บริษัทได้เข้าไปร่วมกับผู้แทนการค้า เปิดพื้นที่ในร้านผู้แทนจำหน่าย เนื่องจากใช้จุดแข็งของทั้งในส่วนของผู้แทนจำหน่าย ซึ่งรู้จักกลุ่มลูกค้าเป็นอย่างดี ขณะที่บริษัทมีสินค้าหลากหลาย และช่วยลดต้นทุนการลงทุนของบริษัทลง  โดยการเปิดคลังเซรามิค แฟมิลี่ ใช้งบลงทุนประมาณ 3-5 ล้านบาท ต่อสาขา ในขนาดพื้นที่ 1,500-2,000 ตารางเมตร แต่หากบริษัทขยายสาขาเองจะใช้งบลงทุน 6-10 ล้านบาท ปัจจุบันยังมีสาขาที่บริษัทบริหารเองอยู่ 25 เป้าหมายภายใน 3 ปี บริษัทจะขยายคลังเซรามิค แฟมิลี่ ให้ครบ 100 สาขาด้วย   ในปีที่ผ่านมา คลังเซรามิค ซึ่งเป็นร้านค้าปลีกกระเบื้องเซรามิกสำหรับตลาดระดับกลางลงมา มียอดขายและการเติบโตเป็นที่น่าพอใจมาก โดยมียอดขายเติบโตเพิ่มขึ้นถึง 20% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา   2.ออกสินค้ารับเทรนด์ “ผู้สูงวัย” การขยายตลาดในประเทศ บริษัทจะพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อสนองตอบความต้องการของผู้บริโภคในยุคปัจจุบันเพิ่มมากขึ้น ซึ่งปีนี้จะเน้นการออกผลิตภัณฑ์สำหรับผู้สูงอายุ เป็นกระเบื้องที่ไม่ลื่น และผลิตภัณฑ์ที่มีความปลอดภัยต่อการใช้งานมากขึ้น ขณะที่หากเป็นสินค้าดีไซน์ จะเน้นสินค้าซึ่งมีลวดลายเลียนแบบธรรมชาติ เนื่องจากเป็นเทรนด์และความต้องการของผู้บริโภคยุคปัจจุบัน 3.ขยายการเติบโตในตลาด CLM จากภาวะตลาดในประเทศที่ยังมีปัจจัยลบ ขณะที่ตลาดต่างประเทศ เป็นตลาดมีศักยภาพและแนวโน้มการเติบโตสูง โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศ CLM ได้แก่ กัมพูชา สปป.ลาว และเมียนมา ซึ่งมีสัดส่วนมากถึง 50% ของตลาดส่งออกในปีที่ผ่านมา ซึ่งมีรายได้ 466 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนประมาณ​ 18% ของรายได้รวม ปีนี้บริษัทจึงจะเน้นการทำตลาดในประเทศดังกล่าวมากขึ้น ไม่ใช่แค่การส่งสินค้าไปจำหน่ายเท่านั้น เพราะถือว่าเป็นตลาดมีศักยภาพ กลุ่มลูกค้ารู้จักแบรนด์สินค้าของบริษัทและให้การยอมรับว่าเป็นสินค้าคุณภาพ ซึ่งปีนี้สัดส่วนการส่งออกอาจจะเพิ่มขึ้นเป็น 20% หากตลาดในประเทศกลับมาฟื้นตัวสร้างรายได้เพิ่มมากขึ้น 4.เตรียมที่ดิน 80 ไร่ขายสร้างรายได้ นอกจากธุรกิจจัดจำหน่ายกระเบื้องแล้ว บริษัทยังดำเนินธุรกิจนิคมอุตสาหกรรม ซึ่งปัจจุบันมีที่ดินพร้อมจำหน่ายให้กับผู้สนใจ 80 ไร่ในนิคมอุตสาหกรรมหนองแค จ.สระบุรี จากจำนวนที่ดินกว่า 1,000 ไร่ ซึ่งหากสามารถขายได้จะทำให้บริษัทสามารถสร้างรายได้และกำไรเพิ่มขึ้น  แต่ราคาที่ดินยังไม่สามารถประเมินได้ว่าจะขายได้เท่าไร อย่างไรก็ตามในปีที่ผ่านมา บริษัทได้ขายที่ดิน 50 ไร่ คิดเป็นรายได้  203 ล้านบาท ให้กับผู้สนใจในธุรกิจสแน็ค เครื่องดื่ม และธุรกิจอาหาร เพื่อสร้างโรงงานผลิตสินค้า 5.ทุมงบ 400-500 ล้าน ลดต้นทุนเพิ่ม 1-2% นอกเหนือจาการ ขยายตลาดและดำเนินธุรกิจ เพื่อสร้างยอดขายและรายได้แล้ว การบริหารจัดการภายใน โดยเฉพาะการเพิ่มประสิทธิภาพ และลดต้นทุนต่างๆ ถือเป็นหนึ่งกลยุทธ์สำคัญ ในการช่วยสร้างผลกำไร แม้ว่ายอดขายจะลดต่ำลง  ซึ่งในแต่ละปีบริษัทจะใช้งบลงทุนประมาณ 400-500 ล้านบาท เพื่อใช้ในด้านการบริหารลดต้นทุนภายในองค์กร การลดต้นทุนด้านพลังงาน และการบำรุงดูแลเครื่องจักร เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพการผลิตสูงสุดด้วย ซึ่งปีนี้บริษัทคาดว่าจะช่วยประหยัดต้นทุนและค่าใช้จ่ายต่างๆ ภายในองค์กรได้เพิ่มขึ้น 1-2% จากปีที่ผ่านมาสามารถประหยัดต้นทุนต่างๆ ได้ในอัตรา 3%   โดยถึงแม้ว่าในปีที่ผ่านมาบริษัทจะมีรายได้ลดลง แต่สามารถทำกำไรได้เพิ่มขึ้น ซึ่งปี 2562 บริษัทมีกำไร 168 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้า 158 ล้านบาท โดยมีปัจจัยสำคัญจากต้นทุนการผลิตที่ลดลงตามราคา ก๊าซธรรมชาติ รวมถึงความสามารถในการลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต ประกอบกับสามารถลดค่าใช้จ่ายด้านการบริหาร การขายและการตลาดได้ตามเป้าหมาย และมีกำไรจากการขายที่ดินในนิคมอุตสาหกรรมหนองแคเพิ่มขึ้นมากกว่าปีก่อน      
[PR News] งาน Grand Opening อาคาร Spring Tower

[PR News] งาน Grand Opening อาคาร Spring Tower

นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ (ที่4 จากซ้าย) ประธานกรรมการ บริษัท ไอร่า พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) พร้อมด้วย นายสรรเสริญ จุฬางกูร ประธานบริษัท ซัมมิท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (ที่ 4 จากขวา), นางนลินี งามเศรษฐมาศ (ที่ 3 จากซ้าย) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไอร่า พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) และประธานกรรมการ บริษัท แอสไพเรชั่น วัน จำกัด,ผศ. ดร. เกษรา ธัญลักษณ์ภาคย์ (ที่ 3 จากขวา)รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เสนาดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) , นพ. เชิดศักดิ์ อัมพรสุขสกุล (ที่ 2 จากซ้าย) กรรมการผู้จัดการ บริษัท แสงฟ้าก่อสร้าง จำกัด , Mr. Chang-Su Rue  (ที่ 2 จากขวา) CEO & Vice Chaiman-Eugene Investment & Securities Co.,Ltd. , Mr. Takahiro Uchida (ซ้าย) Executive Officer / Kennedix Inc., นายปกรณ์ มาลากุล ณ อยุธยา (ขวา) ร่วมงานเปิดตัว อาคาร Spring Tower อาคารสำนักงานเกรด A ภายใต้การดำเนินงานของกลุ่มบริษัทไอร่า (AIRA) ที่เสร็จสมบูรณ์อย่างเป็นทางการ ณ อาคาร spring tower ราชเทวี เมื่อเร็วๆ นี้
MQDC จับตลาดคนทุกเจเนเรชั่น เปิดโปรเจ็กต์ “มัลเบอร์รี่ โกรฟ สุขุมวิท” 6,000 ล้าน

MQDC จับตลาดคนทุกเจเนเรชั่น เปิดโปรเจ็กต์ “มัลเบอร์รี่ โกรฟ สุขุมวิท” 6,000 ล้าน

MQDC เปิดตัว “มัลเบอร์รี่ โกรฟ สุขุมวิท” มูลค่า 6,000 ล้านบาท โครงการเพื่อคนทุกเจเนอเรชั่น ตอบโจทย์งานวิจัย คนกว่า 70% ต้องการอยู่แบบครอบครัวใหญ่ ขณะที่ ซีบีอาร์อี ชี้เทรนด์คอนโดฯ เข้าสู่ยุคการตอบโจทย์สังคมผู้สูงวัย   นายรุ่งโรจน์ จงศุจิพันธุ์ ผู้อำนวยการอาวุโส แบรนด์ “มัลเบอร์รี่ โกรฟ” (MULBERRY GROVE) บริษัท แมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (MQDC) เปิดเผยว่า ได้เปิดตัวโครงการ “มัลเบอร์รี่ โกรฟ สุขุมวิท" by MQDC มูลค่าโครงการกว่า 6,000 ล้านบาท  เป็นคอนโดมิเนียมไฮไรซ์ สูง 37 ชั้น 1 อาคาร ตั้งอยู่บนพื้นที่ 2 ไร่ครึ่ง จำนวนห้องพักอาศัย 287 ยูนิต พร้อมพื้นที่จอดรถกว่า 100 % MQDC ใช้งานวิจัย ปั้น "มัลเบอร์รี่ โกรฟ" การพัฒนาโครงการดังกล่าว ถูกพัฒนาภายใต้การศึกษาวิจัยของบริษัท ที่ได้ทำร่วมกับมหาวิทยาลัยมหิดล ที่ระบุว่าคนยุคปัจจุบันกว่า 70% มีความต้องการอยู่ร่วมกับคนทุกเจเนอเรชั่น ต้องการอยู่ด้วยกันเป็นครอบครัวใหญ่ บริษัทจึงนำเอาข้อมูลดังกล่าว มาพัฒนาโครงการและการออกแบบโครงการ โดยให้มีจุดร่วมกันของคนถึง 4 เจเนอเรชั่น ภายใต้แนวคิด INTERGENERATION เพื่อการใช้ชีวิตในแบบ Intergeneration Living อย่างแท้จริง   งานวิจัยของฮาร์วาร์ด ซึ่งศึกษามากว่า 80 ปี พบว่า คนที่มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน จะมีความสุขและอายุยืนยาว สำหรับโครงการมัลเบอร์รี่ โกรฟ สุขุมวิท  ประกอบด้วยห้องพักแบบ 1 ห้องนอน ขนาด 47 - 56.50 ตารางเมตร แบบ 2 ห้องนอน ขนาด 87 - 114 ตารางเมตร  และ Penthouse 2 - 5 ห้องนอน ราคาขายเริ่มต้น 8.9 ล้านบาท หรือตารางเมตรละ 175,000 บาท โดยมีกำหนดเปิดพรีเซลล์ในวันที่ 1 - 2 กุมภาพันธ์นี้   นายรุ่งโรจน์  กล่าวอีกว่า โครงการได้รับการตอบรับจากกลุ่มลูกค้าเกินกว่าที่คาดไว้  โดยมียอดขายแล้ว 20%  ซึ่งเกิดจากเป็นโครงการที่ยังไม่มีผู้ประกอบการพัฒนาออกมาภายใต้แนวคิดดักล่าว  ซึ่งบริษัทยังวางแผนนำเอาแนวคิดการพักอาศัยร่วมกันของคนหลายเจเนอเรชั่น ไปพัฒนาโครงการอื่นๆ ต่อเนื่อง ภายใต้แบรนด์มัลเบอรี่ ซึ่งในปีนี้น่าจะพัฒนาโครงการรวม 2-3 โครงการ ตลาดคอนโดฯ ส่งสัญญาณฟื้นตัว ด้าน นางสาวอลิวัสสา พัฒนถาบุตร กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซีบีอาร์อี (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า แนวโน้มตลาดคอนโดฯ​ ในปีที่ผ่านมา ถือว่าซบเซา เนื่องจากมีปัจจัยมากระทบ ไม่ว่าจะเป็นกฎเกณฑ์ของภาครัฐ ภาวะเศรษฐกิจ และกำลังซื้อของผู้บริโภค  โดยมุมมองของซีบีอาร์อี มั่นใจว่าตลาดคอนโดฯ ในปี 2563 จะปรับตัวดีกว่าปีที่ผ่านมา เนื่องจาก 4 ปัจจัยสำคัญ คือ 1.ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ผ่อนปรนเกณฑ์ LTV 2.ผู้ถือครองที่ดิน หมดความกังวลใจต่อกฎหมายภาษีที่ดินใหม่ เนื่องจากมีความเข้าใจมากขึ้น จากเดิมที่เข้าใจว่าจะถูกจัดเก็บในอัตราที่สูง 3.ซัพพลายของคอนโดฯ ในบางทำเลเริ่มชะตัวลง การแข่งขันจึงไม่รุนแรง เช่น ในทำเลสุขุมวิท การเปิดใหม่จำนวนน้อยลง และ 4.การเปิดตัวโครงการใหม่ของผู้ประกอบการ จะเป็นโครงการที่มั่นใจว่าตอบสนองความต้องการลูกค้า   เทรนด์การพัฒนาของดีเวลลอปเปอร์ปีนี้ คนที่กล้าเปิดตัวโครงการใหม่ ต้องมั่นใจว่าต้องตอบโจทย์ของลูกค้า เพราะกลุ่มลูกค้าจะเป็นกลุ่มผู้อยู่อาศัยจริง และนักลงทุนระยะยาว กลุ่มนักลงทุนน่าจะลดลงเหลือ 10% จากปกติมีเกือบ 50%   5 การเปลี่ยนแปลงตลาดคอนโดฯ ไทย สำหรับทิศทางการพัฒนาของโครงการคอนโดฯ  ในช่วงที่ผ่านมานั้น เกิดการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ คือ 1.ช่วง 30 ปีที่ผ่านมา หรือปี 2533 คอนโดฯ​ จะพัฒนาตอบโจทย์ความต้องการพื้นฐานคนทั่วไป สิ่งอำนวยความสะดวก จะอยู่ในพื้นที่ส่วนกลางเป็นหลัก ซึ่งส่วนใหญ่จะมีแค่สระว่ายน้ำ และพื้นที่ออกกำลังกาย 2.ช่วงปี 2543 การพัฒนาพื้นที่ส่วนกลาง จะเพิ่มพื้นที่ส่วนกลาง ในส่วนของพื้นที่ออกกำลังกายเพิ่มมากขึ้น เช่น สนามไดร์ฟกอล์ฟ แต่ลูกบ้านส่วนใหญ่ไม่ได้เข้าไปใช้จริง เพราะขาดการมีส่วนร่วมกับคนในชุมชน 3.ช่วงปี 2551-2552 พื้นที่ส่วนกลางของคอนโดฯ​ เริ่มให้ความสำคัญกับการออกกำลังกาย และการใช้พื้นที่ส่วนกลางมากขึ้น มีการใส่สระว่ายน้ำขนาดใหญ่ หรือออกกำลังกาย และอุปกรณ์เพิ่มมากขึ้น 4.ช่วงปี 2559-2560 การพัฒนาคอนโดฯ เริ่มมีขนาดห้องเล็กลง ทำให้ดีเวลลอปเปอร์ พัฒนาพื้นที่ส่วนกลางให้คนในโครงการเข้ามามีส่วนร่วมกันมากขึ้น ตามไลฟ์สไตล์ของคนยุคปัจจุบัน ทำให้มีการพัฒนาพื้นที่ส่วนกลางประเภท co-working space เพื่อให้คนได้เข้ามาใช้ 5.ยุคปัจจุบัน เป็นการพัฒนาโครงการที่ตอบโจทย์คนสูงวัยเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากคนส่วนใหญ่ก้าวสู่สังคมผู้สูงวัย การพัฒนาโครงการจะเน้น Universal Design รวมถึง การอยู่ร่วมกันของคนหลายเจเนอเรชั่น   นางสาวอลิวัสสา  กล่าวเพิ่มเติมว่า เทรนด์การเลือกที่อยู่อาศัยของคนในยุคปัจจุบันเปลี่ยนไปอย่างมาก หนึ่งในนั้นคือคอนโดฯ  ที่ตอบโจทย์สังคมไทยที่กำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงวัย ซึ่งจำเป็นต้องมีที่อยู่อาศัยที่สามารถรองรับกับความต้องการดังกล่าวได้   ความต้องการด้านที่อยู่อาศัยของผู้สูงอายุที่เพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้แนวโน้มการพัฒนาโครงการอสังหาฯเทรนด์ใหม่เริ่มเด่นชัดเช่นกัน อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง -MQDC เปิดแบรนด์ใหม่ “มัลเบอร์รี่” เพื่อตอบโจทย์เทรนด์การอยู่อาศัยแห่งอนาคต?
15 ไฮไลท์แนวโน้มตลาดคอนโดฯ ปี 2563 และบทสรุปภาพรวมปี 2562

15 ไฮไลท์แนวโน้มตลาดคอนโดฯ ปี 2563 และบทสรุปภาพรวมปี 2562

ภาพรวมตลาดอสังหาริมทรัพย์ในปี 2562 ถือได้ว่าเป็นปีที่ท้าทาย และยากลำบาก สำหรับผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ เพราะมีปัญหารุมล้อมมากมาย   สำคัญสุดก็คือ มาตรการ LTV ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ออกมาบังคับใช้ ทำเอาตลาดคอนโดมิเนียมชะลอตัวลงอย่างเห็นได้ชัด เพราะผู้ประกอบการเลื่อนการเปิดตัวโครงการใหม่ออกไปก่อน หรือไม่ก็ปรับแผนไม่เปิดตัวโครงการใหม่เลยในช่วงที่ผ่านมา   ล่าสุด ไนท์แฟรงค์ ประเทศไทย ได้ประเมินทิศทางแนวโน้มตลาดคอนโดฯ ในกรุงเทพฯ สำหรับปี 2563 เพื่อให้เห็นภาพรวมของตลาดที่จะเกิดขึ้นในปีนี้ด้วย ซึ่งมี 15 ประเด็นสำคัญ   15ไฮไลท์ตลาดคอนโดฯ 2563   1.ปี 2563 อัตราการขยายตัวคอนโดฯ มีแนวโน้มลดลงต่อเนื่อง จากปี 2562 ซึ่งลดลงกว่า 30% 2.กำลังซื้อในปี 2563 มีแนวโน้มทรง ซึ่งในปี 2562 มีกำลังซื้อคอนโดฯ ประมาณ 35,000 ยูนิต 3.สภาพตลาดมีแนวโน้มปรับตัวเข้าสู่สมดุลในปี 2564 4.ระดับราคามีแนวโน้มทรงตัวหรือปรับลดลงจากปีก่อนหน้า 5.การพัฒนาโครงการคอนโดฯ ใหม่ มีแนวโน้มกระจายตัวสู่พื้นที่ชานเมือง ตามแนวรถไฟฟ้าสายใหม่ที่กำลังพัฒนา 6.นักพัฒนาจะชะลอตัวการเปิดตัวโครงการคอนโดฯ และหันเหความสนใจไปยังอสังหาริมทรัพย์ประเภทอื่นๆ ที่สามารถสร้างรายได้ระยะยาวได้ เช่น โรงแรมและสำนักงาน 7.การพัฒนาโครงการใหม่ จะเน้นการพัฒนาโครงการรูปแบบ Mixed use development เพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงจากการพึ่งพิงจากตลาดเดียว 8.นักพัฒนาปรับแผนไปสู่การเปิดตัวโครงการที่อยู่อาศัยแนวราบมากขึ้น เช่น บ้านเดี่ยว, ทาวน์เฮ้าส์ และบ้านแฝด เนื่องจากตลาดคอนโดฯ ถดถอยลงในปี 2562 9.จะมีจำนวนโครงการใหม่ ซึ่งเป็นรูปแบบเช่าระยะยาว หรือ Leasehold เกิดขึ้นเป็นจำนวนมากนับจากนี้เป็นต้นไป 10.มีโอกาสน้อยมากที่จะเกิดวิกฤติฟองสบู่ ในภาคอสังหาฯ ที่คล้ายคลึงกับวิกฤติในปี 2540 11.นักพัฒนารายย่อยหรือผู้ที่ไม่มีเงินลงทุนสำรองที่แข็งแกร่งจะหายออกไปจากตลาด 12.ตลาดคอนโดฯ จะขึ้นอยู่กับความต้องการจากผู้ซื้อจริงเท่านั้น จำนวนนักลงทุนที่ลดลงเป็นผลเนื่องมาจากนโยบายกำกับดูแลสินเชื่อที่อยู่อาศัย (LTV Policy)  ส่วนกลุ่มผู้ซื้อชาวต่างชาติที่ลดลง เป็นผลเนื่องมาจากค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น และเศรษฐกิจโลกที่ถดถอย 13.สงครามราคาในตลาดคอนโดฯ ในกรุงเทพฯ นักพัฒนาไม่ได้เป็นผู้กำหนดราคาคอนโดฯ อีกต่อไป ผู้ซื้อคือผู้กำหนดราคา 14.ราคาที่แข่งขัน รูปแบบ และฟังก์ชั่นของคอนโดฯ  ที่เหมาะสมกับความต้องการจะชนะใจลูกค้าได้ในปัจจุบัน 15.รัฐบาลส่งเสริมเศรษฐกิจโดยการมีโครงการเมกะโปรเจ็กต์เพื่อให้เกิดการใช้จ่ายมากขึ้น   7 ประเด็นไฮไลท์ของตลาดคอนโดฯ ปี 2562 ส่วนในรอบปีที่ผ่านมานั้น ภาพของตลาดคอนโดฯ เป็นอย่างไรบ้าง ทางไนท์แฟรงค์ ประเทศไทย ได้จัดทำบทสรุปเอาไว้ เพื่อให้เห็นว่าตลาดได้รับผลกระทบมากน้อยแค่ไหน มี 7 ประเด็นน่าสนใจ คือ   1.โครงการเปิดขายใหม่ในกรุงเทพฯ ในปี 2562 มีอัตราการขายอยู่ที่ 45% ซึ่งมีจำนวนหน่วยขายได้ 20,990 ยูนิต ลดลงจากปี 2561 ซึ่งมีอัตราการขายอยู่ 58% หรือมีจำนวนหน่วยขายได้ 39,875 ยูนิต 2.ทำเลของโครการคอนโดฯ ที่เปิดขายใหม่ได้สูงสุด คือ บริเวณชานเมืองกรุงเทพฯ ขายได้จำนวน 12,665 ยูนิต รองลงมาคือ บริเวณรอบเขตศูนย์กลางธุรกิจ (City Fringe) ขายได้  4,600 ยูนิต และบริเวณศูนย์กลางธุรกิจ (CBD) ขายได้ 3,725 ยูนิต แต่บริเวณรอบเขตศูนย์กลางธุรกิจ เป็นบริเวณที่มีอัตราการขายสูงสุดถึง 56% 3.คอนโดฯ เปิดขายใหม่ บริเวณศูนย์กลางธุรกิจที่ขายได้ดี คือ บริเวณสุขุมวิท (ซอยสุขุมวิท 1-63 และซอยสุขุมวิท 2-42) ขายได้ 1,242 ยูนิต 4.คอนโดฯ เปิดขายใหม่ บริเวณรอบเขตศูนย์กลางธุรกิจ ที่ขายได้ดี คือ บริเวณสุขุมวิทตอนกลาง (ซอยสุขุมวิท 44-70 และซอยสุขุมวิท 65-103)  ขายได้ 1,385 ยูนิต รองลงมา คือ บริเวณรัชดา/ลาดพร้าว/พระราม 9 ขายได้ 1,336 ยูนิต 5.คอนโดฯ เปิดขายใหม่ บริเวณชานเมืองกรุงเทพฯ ที่ขายได้ดี คือ บริเวณฝั่งใต้ของกรุงเทพฯ ขายได้ 3,443 ยูนิต รองลงมา คือ บริเวณฝั่งเหนือของกรุงเทพฯ ขายได้ 3,426 ยูนิต 6.คอนโดฯ เปิดขายใหม่ บริเวณแนวรถไฟฟ้าที่ขายดี คือ บริเวณตามแนวรถไฟฟ้า สายสีน้ำเงิน ส่วนต่อขยาย ที่ได้เปิดให้บริการในปี 2562 อันได้แก่ บริเวณสถานีอิสรภาพ-ท่าพระ-บางไผ่-เพชรเกษม 48-ภาษีเจริญ 7.ระดับราคาขายของคอนโดฯ เปิดใหม่ที่ขายดี คือ  ราคาขายต่อตารางเมตร อยู่ระหว่าง 80,000 บาท ถึง 150,000 บาท หรือราคาขายต่อยูนิต สำหรับ 1 ห้องนอน อยู่ที่ระหว่าง 3-5 ล้านบาท   อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง -6 บทสรุปตลาดคอนโดฯ ปี 62 และแนวโน้มปี 63 -คอนโดฯ สุขุมวิท เจอพิษเศรษฐกิจ เปิดใหม่แค่ 639 ยูนิต -เจาะตลาดคอนโดฯ ทำเลรัชโยธิน เหมาะซื้ออยู่จริงหรือเพื่อลงทุน?    
[PR News] “บลูสโคป” ทุ่ม 4,000 ล้าน เปิดโรงงานผลิตเหล็กแห่งที่ 3

[PR News] “บลูสโคป” ทุ่ม 4,000 ล้าน เปิดโรงงานผลิตเหล็กแห่งที่ 3

บลูสโคป  ทุ่มงบลงทุนกว่า 4,000 ล้านบาท เปิดโรงงานผลิตเหล็กแห่งที่ 3 ปีละ  160,000 ตันต่อปี หวังทดแทนการนำเข้า พร้อมขึ้นแท่นผู้นำธุรกิจ มีกำลังการผลิตรวมกว่า 580,000 ตัน จากทั้ง 3 โรงงาน    นายชาลี อิไลแอส ประธานบริหาร (เอเชียและอเมริกาเหนือ) บริษัท เอ็นเอส บลูสโคป (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า ได้ก่อสร้างโรงงานแห่งที่ 3 ของบลูสโคป ด้วยงบลงทุนกว่า 4,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นการร่วมทุนระหว่างบริษัท และพันธมิตร ได้แก่ บริษัท นิปปอน สตีล คอร์ปอเรชั่น จำกัด และบริษัท ล็อกซ์เล่ย์ จำกัด (มหาชน) โรงงานดังกล่าวตั้งอยู่ในพื้นที่เดียวกันกับโรงงานที่ 1 และ 2 ที่มาบตาพุด จังหวัดระยอง เพื่อดำเนินการผลิตเหล็กเคลือบโลหะและเหล็กเคลือบสี  รองรับกับความต้องการของตลาดภายในประเทศ ที่มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง รวมถึงทดแทนการนำเข้าจากต่างประเทศ  โดยในปี 2562 มียอดการนำเข้าเหล็กจากต่างประเทศโตขึ้น 3% หรือประมาณ 750,000 ตัน   ดังนั้นโรงงานที่ 3 จึงเป็นการขยายกำลังการผลิตเหล็ก เพื่อรองรับความต้องการของลูกค้าทั้งในประเทศไทยและภูมิภาคอาเซียนที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะกลุ่มลูกค้าอุตสาหกรรมก่อสร้างขนาดเล็ก และที่พักอาศัย โดยโรงงานที่ 3 มีกำลังการผลิตกว่า 160,000 ตันต่อปี ซึ่งเมื่อรวมกับโรงงานแห่งที่ 1 และ 2 ทำให้บลูสโคปมีกำลังการผลิตรวมกว่า 580,000 ตันต่อปี ถือว่าเป็นผู้ผลิตเหล็กเคลือบโลหะและเหล็กเคลือบสีที่มีกำลังการผลิตสูงที่สุดในภูมิภาคอาเซียน โรงงานแห่งที่ 3 ของบลูสโคป ใช้เทคโนโลยีการผลิตที่ทันสมัยที่สุด และมีการบริหารจัดการโรงงานที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม สำหรับผลประกอบการของบลูสโคปในปี 2562  ที่ผ่านมาว่า บลูสโคปมียอดขายระหว่างเดือนกรกฎาคม 2561 ถึงเดือนมิถุนายน 2562 อยู่ที่ 372,000 ตัน ซึ่งจากการเปิดโรงงานแห่งที่ 3 อย่างเป็นทางการแล้ว คาดการณ์ว่าจะส่งผลให้มียอดขายเพิ่มขึ้นเป็น 400,000 ตันในอีก 3 ปีข้างหน้า โดยบริษัทมีแผนที่จะขยายตลาดไปยังอีกหลายประเภทธุรกิจ รวมถึงการเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ เพื่อรองรับกับความต้องการของลูกค้าในแต่ละกลุ่มเพิ่มขึ้น
“สิงห์ เอสเตท” ลุยตลาดอสังหาฯ 63 เปิดคอนโดฯ รางน้ำ จับตลาดหมอ-นักลงทุน

“สิงห์ เอสเตท” ลุยตลาดอสังหาฯ 63 เปิดคอนโดฯ รางน้ำ จับตลาดหมอ-นักลงทุน

แนวโน้มตลาดอสังหาริมทรัพย์ในปี 2563 หลายฝ่ายมีความกังวลใจว่าจะยังไม่กลับมาเป็นปกติ เพราะมีหลายปัจจัยน่าเป็นห่วง และไม่ใช่แค่ปัจจัยเรื่องเศรษฐกิจภายในประเทศเท่านั้น ปัญหาเศรษฐกิจในต่างประเทศก็เป็นเรื่องที่เข้ามากระทบกับตลาดของบ้านเราด้วย   ถ้าดูปัญหาภายในประเทศที่เป็นตัวลดระดับความร้อนแรงของตลาดอสังหาริมทรัพย์  คงหนีไม่พ้นการออกมาตรการ LTV ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ที่ออกมาใช้เมื่อปีที่ผ่านมา แม้ว่าปัจจุบันจะมีการผ่อนคลายความเข้มงวดลงบ้าง แต่ดีเวลลอปเปอร์ส่วนใหญ่ ก็ยังเห็นว่าไม่ได้ช่วยให้สถานการณ์ดีขึ้นสักเท่าไร ภาพรวมตลาดอสังหาฯ 2563 จึงอยู่ในแนวโน้มชะลอตัวต่อเนื่อง   กลุ่มตลาดที่หายไปอย่างมาก จากผลกระทบของมาตรการ LTV คือ กลุ่มนักลงทุนในตลาดคอนโดมิเนียม สิ่งที่สะท้อนผลกระทบจากมาตรการ LTV ได้อย่างชัดเจนในปีที่ผ่านมา คือ การเลื่อนหรือชะลอการเปิดตัว โครงการใหม่ จำนวนถึง 40 โครงการ ตามแผนเดิมที่ผู้ประกอบการจะเปิดตัวในปี 2562  ในปีนี้จึงประเมินกันว่า กลุ่มนักลงทุนในตลาดคอนโดฯ น่าจะลดสัดส่วนเหลือแค่ 10% จากที่เคยมีมากเกือบ 50%   สิงห์ เอสเตท ชี้ลดค่าธรรมเนียมช่วยลูกค้าประหยัด 5% นายณัฐวุฒิ มัธยมจันทร์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารการพัฒนาธุรกิจพักอาศัย บริษัท สิงห์ เอสเตท จำกัด (มหาชน) หรือ S เปิดเผยว่า แนวโน้มภาพรวมตลาดอสังหาฯ ในปี 2563 ยังมองว่าไม่น่าจะดี เพราะสภาพเศรษฐกิจโดยรวมยังไม่ดีขึ้น นอกจากปัญหาเศรษฐกิจ ยังมีปัญหาค่าเงินบาท ซึ่งส่งผลต่อตลาดลูกค้าต่างชาติ เพราะทำให้ลูกค้ามีต้นทุนซื้อสินค้าที่แพงขึ้น ขณะที่มาตรการ LTV ทำให้ตลาดนักลงทุนหายไป  แม้ว่าปัจจุบันจะมีการผ่อนคลายมากขึ้น แต่ส่งผลได้เพียงเล็กน้อย มาตรการที่มีส่วนช่วยลูกค้าได้เยอะ คือ ค่าธรรมเนียมการโอน ภาษีธุรกิจเฉพาะ และค่าจดจำนอง เหมือนที่เคยใช้ในอดีตช่วยได้เยอะกว่า   โดยในอดีตที่ผ่านมา ภาครัฐเคยออกมาตรการกระตุ้นอสังหาฯ ออกมา คือ การลดค่าธรรมเนียมจดทะเบียนการโอนจากเดิม 2% เหลือ 0.01% การลดค่าจดทะเบียนจดจำนองอสังหาริมทรัพย์จากเดิม 1% เหลือ 0.01% สำหรับการซื้อขายที่อยู่อาศัยที่ดิน พร้อมอาคารหรือห้องชุด ราคาไม่เกิน 3 ล้านบาทต่อหน่วย และการลดภาษีธุรกิจเฉพาะจาก 3.3% เหลือ 0.1%  ซึ่งทั้ง 3 มาตรการดังกล่าว สามารถช่วยลูกค้าประหยัดค่าใช้จ่ายในการซื้ออสังหาฯ ได้ประมาณ 5%   สิงห์ เอสเตท เปิดโปรเจ็กต์รางน้ำ จับตลาดหมอ-นักลงทุน นายณัฐวุฒิ กล่าวอีกว่า ส่วนแผนการเปิดโครงการใหม่ ในปีนี้กลุ่มธุรกิจพักอาศัยของบริษัท ได้วางแผนเปิด 2 โครงการใหม่ ซึ่งถือเป็นการเตรียมความพร้อม โดยดูจังหวะที่เหมาะสมในการเปิดโครงการ หากสภาพตลาดไม่เหมาะสมก็อาจจะเลื่อนกำหนดไปก่อน เนื่องจากในปีนี้มีโครงการของดีเวลลอปเปอร์ 40 โครงการซึ่งเลื่อนกำหนดเปิดในปี 2562 อาจจะมาเปิดในปี 2563 ทำให้มีซัพพลายเพิ่มขึ้นมากได้ ซึ่ง 2 โครงการดังกล่าวบริษัทอาจจะเปิดตัวโครงการบ้านเดี่ยวระดับราคากว่า 150 ล้านบาทด้วย ล่าสุดเปิดตัวโครงการ ดิ เอ็กซ์โทร พญาไท-รางน้ำ (The EXTRO Phayathai-Rangnam) มูลค่าประมาณ 4,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นโครงการที่เลื่อนกำหนดการเปิดตัวมาจากปี 2562 ถือเป็นแบรนด์ใหม่ภายใต้คอนเซ็ปต์ ระดับลักซ์ชัวรี โดยโครงการดังกล่าวเป็นอาคารสูง 33 ชั้น ขนาด 411 ยูนิต ตั้งอยู่บนพื้นที่กว่า 2 ไร่ มีห้องพักอาศัย 3 แบบ ได้แก่ 1.ห้องนอน ขนาด 31.25-35 ตารางเมตร 2.ห้องนอน ขนาด 48.25-71.00 ตารางเมตร และ 3.แบบ Duplex ขนาด 82.5-111.75 ตารางเมตร เป็นต้น   โดยโครงการดิ เอ็กซ์โทรฯ  ราคาขายเริ่มต้น 200,000 บาทต่อตารางเมตร หรือมีราคาขายเฉลี่ย 235,000 บาทต่อตารางเมตร ราคาเริ่มต้นที่ 5.99 ล้านบาท ซึ่งบริษัทจะเปิดขายอย่างเป็นทางการในวันที่ 22-23 กุมภาพันธ์นี้ โดยวางกลุ่มเป้าหมายเป็นคนไทย 70% ส่วนที่เหลือจะเป็นสัดส่วนของต่างชาติ 30% และบริษัทคาดว่าจะมียอดขายของโครงการนี้ไม่น้อยกว่า 50% ภายในปีนี้   “โครงการทั่วไปสัดส่วน 60% ของคนไทยที่ซื้อมักจะเป็นนักลงทุน แม้ว่าโครงการนี้จะจับกลุ่มคนไทยเป็นหลัก และเป็นผู้อยู่อาศัยจริง แต่อาจจะปล่อยเช่าเมื่อมีโอกาส เพราะได้ผลตอบแทนไม่ต่ำกว่า 5% ส่วนต่างชาติที่เหลือเชื่อว่าเป็นนักลงทุนทั้งหมด”   อย่างไรก็ตาม ในช่วงที่ผ่านมา บริษัทได้รับความสนใจจากลูกค้ากลุ่มเป้าหมายเข้ามาเยี่ยมชมห้องตัวอย่างกว่า 300-400 ราย เบื้องต้นในรอบเปิดจองพิเศษ (Pre-Booking) จำนวน 3 ชั้น มียอดจอกแล้วกว่า 40 ยูนิต  มูลค่ารวมกว่า 300 ล้านบาท ซึ่งเป็นกลุ่มแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ซื้อไปแล้ว 10 ยูนิต  นอกจากนี้ ยังมีชาวต่างชาติสนใจจะซื้อเหมาชั้นอีกจำนวน 42 ยูนิต สิงห์ เอสเตท วางเป้าโตไม่ต่ำ 10% สำหรับผลประกอบการ บริษัทวางแผนเติบโตทุกปี  ในปีนี้คาดว่าน่าจะเติบโต 10% โดยจะมีมูลค่าการโอนกรรมสิทธิ์ประมาณ 5,500 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาที่คาดว่าจะมียอดโอน 5,000 ล้านบาท  ปัจจุบันมียอดขายรอรับรู้รายได้ หรือ Backlog ประมาณ 7,500 ล้านบาท รับรู้ในปีนี้ประมาณ 5,500-6,000 ล้านบาท จากโครงการ ดิ เอส อโศก (The ESSE Asoke) โครงการ ดิ เอส สุขุมวิท 36 (The Esse Sukhumvit 36) และโครงการ ดิ เอส แอท สิงห์ คอมเพล็กซ์ (The Esse at Singha Complex)    ส่วนในปี 2564 จะรับรู้รายได้จากโครงการ ดิ เอส สุขุมวิท 36 ต่อเนื่อง และ โครงการ ดิ เอส สุขุมวิท 43 (The Esse Sukhumvit 43) ซึ่งจะก่อสร้างแล้วเสร็จในช่วงปลายปี 2564  ส่วนโครงการ ดิ เอ็กซ์โทร พญาไท-รางน้ำ จะเริ่มรับรู้รายได้ในปี 2565 เป็นต้นไป
“พราว” เดินแผนธุรกิจ  เล็งซื้อโปรเจ็กต์หยุดสร้างมาพัฒนาต่อ สร้างกำไร 30%

“พราว” เดินแผนธุรกิจ เล็งซื้อโปรเจ็กต์หยุดสร้างมาพัฒนาต่อ สร้างกำไร 30%

กางแผน “พราว เรียล เอสเตท” ปั้นโปรเจ็กต์ปีละ 2,000-2,500 ล้าน สร้างรายได้ต่อเนื่อง คาดปีนี้ทำยอดขาย 1,000 ล้าน จากโปรเจ็กต์“อินเตอร์คอนติเนนตัล เรสซิเดนเซส หัวหิน” เดินหน้าเตรียมซื้อโครงการไม่สร้างต่อ จากดีเวลลอปเปอร์รายเล็ก อีก 1-2 โปรเจ็กต์มาทำต่อสร้างกำไร 30%   นายไพสิฐ แก่นจันทน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท พราว เรียล เอสเตท จำกัด (มหาชน)  เปิดเผยว่า ได้วางแผนสร้างการเติบโตให้กับบริษัทอย่างต่อเนื่อง โดยวางเป้าหมายการพัฒนาโครงการปีละ 2 โครงการ มูลค่าโครงการรวม 2,000-2,500 ล้านบาท จากจำนวนบุคลากรในบริษัทซึ่งมีประมาณ 40 คน แต่หากเพิ่มบุคลากรเป็น 50 คน สามารถพัฒนาโครงการมากขึ้น และมีมูลค่าเพิ่มมากขึ้นได้ถึง 4,000-5,000 ล้านบาท ซึ่งบริษัทโฟกัสการทำตลาดในพื้นที่รีสอร์ทเดสทิเนชั่น และเป็นกลุ่มระดับราคาตารางเมตรละ200,000 บาท หรือกลุ่มลักชัวรี่เป็นหลัก สำหรับแผนรับรู้รายได้ในปี2563 คาดว่าจะมียอดรับรู้รายได้ 300ล้านบาท จากโครงการโฟกัส เพลินจิต เป็นโครงการพร้อมโอน ปัจจุบันเหลือจำนวน 25 ยูนิต ส่วนในปี 2564 จะเริ่มรับรู้รายได้จากโครงการอินเตอร์คอนติเนนตัล เรสซิเดนเซส หัวหิน ซึ่งมีมูลค่าโครงการ 3,500 ล้านบาท  และในปี 2565-2566 คาดว่าจะเริ่มโอนโครงการในพื้นที่หัวหิน เป็นโครงการแห่งที่ 2 ต่อเนื่องจาก โครงการอินเตอร์คอนติเนนตัล เรสซิเดนเซส หัวหิน ปัจจุบันอยู่ระหว่างการศึกษาและวางแผนจะพัฒนาโครงการที่ 2   ส่วนแผนธุรกิจปี2563 นี้  บริษัท ได้เตรียมจัดงานรอบ วีไอพี สำหรับโครงการอินเตอร์คอนติเนนตัล เรสซิเดนเซส หัวหิน ในวันที่ 29 กุมภาพันธ์ – 1 มีนาคมนี้ ที่ Gaysorn Urban Resortซึ่งจะนำเอาห้องชุดจำนวน 30% หรือประมาณ70-80ยูนิต ของจำนวนทั้งหมด 238 ยูนิต ออกมาจำหน่ายก่อน ซึ่งคาดว่าน่าจะทำยอดขายได้ 1,000 ล้านบาทภายในปีนี้   สำหรับโครงการอินเตอร์คอนติเนนตัล เรสซิเดนเซส หัวหิน ตั้งอยู่บนเนื้อที่กว่า 7 ไร่ มีราคาขายเริ่มต้นตารางเมตรละ 190,000บาท มีราคาขายเริ่มต้นยูนิตละ 7.89 ล้านบาท  ซึ่งความคืบหน้าของโครงการปัจจุบันอยู่ในขั้นตอนการขอรับรองการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) โดยมีแผนจะเริ่มก่อสร้างในไตรมาสที่ 2ปีนี้ และคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในไตรมาสที่4 ในปี 2564 ปัจจุบันโครงการได้ก่อสร้างสำนักงานขายและห้องตัวอย่างเสร็จเรียบร้อยแล้ว   บริษัทวางแผนแบ่งการขายออกเป็น3 เฟส เนื่องจากต้องการดูกระแสตอบรับจากลูกค้า ซึ่งเชื่อว่าเฟสแรกน่าจะขายได้ทั้งหมด เพราะเริ่มต้นตารางเมตรละ 190,000 บาทเท่านั้น หากเศรษฐกิจดี ราคาขายน่าจะเริ่มต้นได้ถึง 250,000 บาท   อย่างไรก็ตาม แม้ว่าในปีนี้จะมีความกังวลใจในเรื่องของปัญหาเศรษฐกิจ และกำลังซื้อที่อาจจะชะลอตัว แต่กลุ่มเป้าหมายของโครงการ ถือว่าไม่ได้รับผลกระทบจากปัญหาดังกล่าว รวมถึงมาตรการ LTV หรือภาษีที่ดินฉบับใหม่ซึ่งมีผลบังคับใช้ ซึ่งกลุ่มเป้าหมายของโครงการนอกจากเป็นกลุ่มคนไทยแล้ว ยังเป็นกลุ่มชาวต่างชาติ โดยเฉพาะชาวยุโรปทั้ง สแกนดิเนเวีย อังกฤษ เยอรมัน  ซึ่งเป็นกลุ่มผู้ที่ใช้ชีวิตหลังเกษียณ นายไพสิฐ กล่าวอีกว่า จากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวในปัจจุบัน ส่งผลให้มีผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์รายเล็กบางราย ได้นำเอาโครงการซึ่งพัฒนายังไม่แล้วเสร็จ มาเสนอขายให้กับบริษัท เพื่อนำมาพัฒนาต่อเนื่อง ซึ่งมีดีเวลลอปเปอร์นำเอาโครงการมาเสอนขาย3-4 โครงการ มูลค่าโครงการละ500-570 ล้านบาท มีจำนวนประมาณ 100 ยูนิตต่อโครงการ ในพื้นจังหวัดภูเก็ต เชียงใหม่ และพัทยา ปัจจุบันบริษัทอยู่ระหว่างการพิจารณา คาดว่าน่าจะซื้อโครงการมาพัฒนาต่อ 2 โครงการ   “ในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ เป็นโอกาสที่ดีในการซื้อโครงการมาพัฒนาต่อ เพราะได้เรื่องความรวดเร็วในการทำธุรกิจ ใช้เวลาแค่ปีหรือปีครึ่ง และได้ผลตอบแทนการลงทุน (ROI)ไม่ต่ำกว่า 30% หากทำเองอาจได้ไม่ถึง 20%และใช้เงินลงทุนแค่ 50% สมมุติมูลค่าโครงการประมาณ500ล้านบาท เราใส่เงินไปกว่า200ล้านบาท ได้กำไรมา70-80ล้านบาทถือว่าคุ้มแล้ว”   อย่างไรก็ตาม บริษัทมองว่าตลาดอสังหาฯ จะกลับมาฟื้นตัวเป็นปกติในปี2564 ซึ่งบริษัทต้องเตรียมความพร้อมและวางแผน ในด้านการศึกษาตลาดและโครงการ เพื่อรองรับกับการฟื้นตัวของตลาดในอนาคต   อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง -พาชม “อินเตอร์คอนติเนนตัล เรสซิเดนเซส หัวหิน” Branded Residence แห่งแรก -เพราะ 3 เหตุผลหลักที่ “พราว กรุ๊ป” ยอมทุ่ม 7,000 ล้าน ปักหมุด 2 โปรเจ็กต์ในจังหวัดภูเก็ต  
“แสงฟ้าก่อสร้าง” วางเป้าหมาย 5-10 ปี  พร้อมเป็นบริษัทรับเหมามาตรฐานญี่ปุ่น

“แสงฟ้าก่อสร้าง” วางเป้าหมาย 5-10 ปี พร้อมเป็นบริษัทรับเหมามาตรฐานญี่ปุ่น

ภาพของกรุงเทพมหานครในปัจจุบัน กับในอดีตหลายสิบปีก่อน คงเป็นภาพที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง เพราะตอนนี้กรุงเทพมหานครทุกมุมเมือง เต็มไปด้วยตึกสูงและอาคารขนาดใหญ่มากมาย โดยเฉพาะคอนโดมิเนียม เนื่องจากคนจำนวนมากหลั่งไหลเข้ามาทำมาหากินในกรุงเทพฯ  จึงเกิดความต้องการในที่อยู่อาศัยตาม    แต่เพราะที่ดินมีจำกัดแต่ความต้องการที่อยู่อาศัยมากกว่า  ราคาที่ดินจึงมีราคาแพง ไม่เหมาะในการนำมาพัฒนาเป็นบ้านเดี่ยวหรือทาวน์เฮ้าส์  แต่เหมาะสมในการพัฒนาคอนโดฯ มากกว่า  เพราะมีราคาที่คนส่วนใหญ่เอื้อมถึง   การก่อสร้างโครงการคอนโดฯ หรืออาคารสูง ผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จ เป็นใครไปไม่ได้นอกจากบริษัทรับเหมาก่อสร้าง ซึ่งต้องยอมรับว่าทุกวันนี้บริษัทคนไทยมีฝีมือด้านการก่อสร้าง ไม่ได้แพ้ชาติใดในโลกเลย เพราะสามารถก่อสร้างอาคารขนาดสูงได้มากมาย และเป็นอาคารที่มีมาตรฐานอาคารสูง  เทียบเท่าหลายอาคารที่เกิดขึ้นทั่วโลก และนับวันบริษัทก่อสร้างของไทยจะสร้างอาคารที่มีความสูงเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ หนึ่งในบริษัทรับเหมาก่อสร้างที่ถือว่ามีชื่อเสียง  และความชำนาญในด้านการก่อสร้างอาคารสูง  ต้องมีชื่อบริษัท แสงฟ้า ก่อสร้าง จำกัด เป็นหนึ่งในทำเนียบนั้น เพราะก่อสร้างอาคารสูงมามากมาย แถมยังเป็นอาคารสูงติดอันดับ Top 10 อาคารสูงสุดในไทยด้วย  ซึ่งบริษัท แสงฟ้าฯ ถือได้ว่าเป็นบริษัทเหมาก่อสร้าง ที่อยู่คู่กับเมืองไทยมายาวนานกว่า 50 ปีแล้ว นับตั้งแต่เริ่มต้นธุรกิจมาตั้งแต่ปี 2510 (เดิมชื่อห้างหุ้นส่วนจำกัดแสงฟ้าการช่าง ก่อนเปลี่ยนชื่อในปี 2512) ซึ่งปัจจุบันอยู่ภายใต้การบริหารงานของทายาทรุ่นที่ 2 แล้ว   ปัจจุบันนายแพทย์เชิดศักดิ์ อัมพรสุขสกุล เข้ามารับผิดชอบในการดูแลบริษัท บริษัท แสงฟ้าก่อสร้าง จำกัด ในตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ ซึ่งถือเป็นทายาทรุ่นที่ 2 ต่อจากบิดา ตั้งแต่ปี 2540 หลังจากได้เรียนจบจาก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล และทำงานในด้านที่เรียนมาเป็นระยะเวลา 2 ปี  ก็ก้าวเข้ามารับผิดชอบดูแลบริษัท จุดเปลี่ยนจากอุตสาหกรรมสู่อาคารสูง จุดเริ่มต้นแรกบริษัท แสงฟ้าฯ  ไม่ได้รับงานด้านการก่อสร้างอาคารสูงเป็นหลัก เพราะงานส่วนใหญ่จะเป็นงานโครงสร้าง งานเหล็ก งานหลังคา งานก่อสร้างไซโล โรงงานเกษตร โรงงานปูนซีเมนต์ ซึ่งลูกค้าส่วนใหญ่ทำธุรกิจด้านการเกษตร แต่จุดเปลี่ยนสำคัญครั้งแรก เกิดขึ้นในช่วงปี 2524 บริษัท ปูนซีเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน)  ได้เปิดประมูลก่อสร้างสำนักงานใหญ่ บางซื่อ จึงได้เชิญบริษัทเข้าร่วมประมูลงานก่อสร้าง เนื่องจากบริษัทมีความเชี่ยวชาญด้านการก่อสร้างไซโลปูนซีเมนต์ และโรงปูนในจังหวัดสระบุรีหลายแห่ง บริษัทจึงเข้าร่วมงานและเป็นผู้ชนะการประมูล ได้ก่อสร้างอาคารของปูนซีเมนต์ไทย ซึ่งมีมูลค่าการก่อสร้างกว่า 100 ล้านบาท หลังจากนั้นจึงได้รับงานก่อสร้างอาคารมาอย่างต่อเนื่อง   จุดเปลี่ยนสำคัญอีกครั้ง เกิดขึ้นในช่วงปี 2543 บริษัทได้ถูกเชิญให้เข้าร่วมประมูลงานก่อสร้างโครงการแฮมป์ตัน ทองหล่อ 10 ของบริษัท เมเจอร์ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) ซึ่งถือว่าเป็นโครงการคอนโดฯ ลักชัวรี่โครงการแรกๆ ของกรุงเทพฯ ซึ่งบริษัทเป็นผู้ชนะการประมูล และได้ก่อสร้างจนแล้วเสร็จ ซึ่งงานก่อสร้างเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ทำให้บริษัทมีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับในการก่อสร้างอาคารสูง ถือเป็นจุดเปลี่ยนอีกครั้ง ประกอบกับช่วงเวลานั้นงานก่อสร้างอุตสาหกรรมเริ่มลดลง และงานส่วนใหญ่ก็เป็นการก่อสร้างคอนโดฯ ซึ่งทำมาอย่างต่อเนื่อง 5-6 โครงการ วางระบบ “Loop Construction” สร้างการเติบโต ธุรกิจของบริษัทดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง แต่มีการเติบโตแบบไม่หวือหวา ซึ่งนายแพทย์เชิดศักดิ์ เห็นว่าเพื่อสร้างให้บริษัทเติบโตแบบก้าวกระโดด จะต้องนำเอาระบบการบริหารงานแบบอุตสาหกรรมเข้ามาใช้ เพื่อให้ระบบงานก่อสร้างทำงานแบบเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ  ช่วงปี 2550 จึงนำเอาระบบงานที่เรียกว่า  Loop Construction เข้ามาใช้  โดยเป็นระบบงานที่เน้น  2  ขบวนการสำคัญคือ การวางแผนที่ดี และ การควบคุมติดตามงานที่ดี ส่งผลให้บริษัทมีผลประกอบการเติบโตเป็นเท่าตัว การสูญเสียลดน้อยละ และมีผลกำไรดีขึ้น นอกจากนี้ สิ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงระบบการทำงานที่ถูกวางไว้อย่างดี คือ การได้กก่อสร้างอาคารสูงอย่างต่อเนื่องมากว่า 100 โครงการ และผลงานที่สร้างชื่อเป็นสิ่งที่บริษัทภาคภูมิใจ คือ 3 อาคารที่บริษัทเป็นผู้ก่อสร้าง ติดอันดับ 10 อาคารที่สูงที่สุดในประเทศ อันได้แก่ ตึก Four Season Private Residence, Magnolia Ratchadamri Boulevard, และ Menam Residences จากการการจัดอันดับ 10 อาคารที่สูงที่สุดในประเทศไทย โดย www.terrabkk.com ในปี 2561 ปัจจุบันบริษัทยังได้รับงานก่อสร้างธนาคารออมสิน ขนาด 100,000 ตารางเมตร มูลค่า 3,000 ล้านบาท ที่จะแล้วเสร็จภายในระยะ 3 ปี ซึ่งถือเป็นโครงการมีมูลค่าสูงสุดที่บริษัทก่อสร้างมา วางแผนธุรกิจสู่เป้าหมายหมื่นล้าน ในปี 2563 บริษัทวางเป้าหมายรายได้ 7,000 ล้านบาท เติบโต 10%  จากปีที่ผ่านมามีรายได้ 6,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นไปตามสภาพเศรษฐกิจ จากปกติจะเติบโตในอัตรา 30-40% ต่อปี ปัจจุบันบริษัทมีแบ็กล็อกมูลค่า 10,000 ล้านบาท รับรู้รายได้ภายใน 2 ปี โดยหากเศรษฐกิจกลับมาดี คาดว่าบริษัทจะทำรายได้ 10,000 ล้านบาทได้ภายในระยะ 3 ปี   สมัยก่อนปี 2555-2560 บริษัทเติบโตเยอะมาก หลายปีเติบโตเป็นเท่าตัว  ปี 2559 ทำรายได้  2,000 ล้านบาท ปี 2560 ทำรายได้ 3,000 ล้านบาท และปี 2561 ทำรายได้ 4,000 ล้านบาท ส่วนโครงการคอนโดฯ ภายใต้แบรนด์  "ยู ศรีราชา" ที่บริษัทลงทุน 100% จะเริ่มโอนกรรมสิทธิ์ในปีนี้ หลังจากมียอดขายแล้ว 50% ซึ่งบริษัทยังมีที่ดินในบริเวณดังกล่าวเพื่อพัฒนาโครงการในอนาคตด้วย และในปีนี้บริษัทยังมีร่วมกับพันธมิตรธุรกิจ  พัฒนาโครงการคอนโดฯ มูลค่ากว่า 2,000 ล้านบาท เป้าหมาย 5-10 ปีเทียบชั้นบริษัทญี่ปุ่น ในระย 5-10 ปี นับจากนี้  บริษัทจะมุ่งโฟกัสด้านการก่อสร้างโฟกัส  ซึ่งมีโจทย์สำคัญคือการพัฒนาคุณภาพภายใน ด้านการบริหารจัดการ เป้าหมายสำคัญต้องการเห็นไซส์ก่อสร้างมีความสะอาด เป็นระเบียบ มีคุณภาพการจัดการเหมือนกับบริษัทญี่ปุ่น  และหากมีโอกาสจะไปรับงานในต่างประเทศ ในกลุ่มประเทศ CLMV เนื่องจากบริษัทไทยมีศักยภาพสูงกว่า อยากเห็นบริษัท ก่อสร้างเทียบเท่ากับบริษัทญี่ปุ่น บริษัทญี่ปุ่นถูกจ้างแพง อยากเบลนมาร์ค บริษัทในต่างประเทศ คนญี่ปุ่น เกิดขึ้นมาจากความมีระเบียบ ส่วนวิสัยทัศน์ในการดำเนินธุรกิจในยุค 2020 คือ  “Better is better than Best” ซึ่งแปลว่า “ดีกว่า นั้นดีกว่าดีที่สุด” แต่ความหมายในเชิงธุรกิจก็คือ ในยุค Disruption  บริษัทต้องพัฒนาธุรกิจให้เท่าทันตลอดเวลา เพราะถ้าคิดว่าดีที่สุดแล้ว เราอาจจะพึงพอใจและหยุดพัฒนา  ซึ่งสิ่งที่บริษัทต้องพัฒนาเพื่อจะนำไปสู่วิสัยทัศน์ดังกล่าว คือกลยุทธ์ 3 เสาหลักในการขับเคลื่อน ได้แก่ -เสาหลักที่ 1 การพัฒนาศักยภาพของบุคลากร ส่งเสริมและผลักดันให้ผู้ที่มีความสามารถก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำ สร้างองค์ความรู้ใหม่ ๆ เพื่อให้บริษัทเดินหน้าและบรรลุเป้าหมายได้ -เสาหลักที่ 2 การพัฒนาด้านเทคโนโลยีในการก่อสร้าง ซึ่งไม่ได้เน้นว่าจะต้องมีเทคโนโลยีหรืออุปกรณ์ที่ล้ำหน้าทันสมัยที่สุด แต่เราเรียนรู้ว่าความคิดสร้างสรรค์ในการแก้ปัญหา หาขบวนการทำงานในแบบใหม่ นั้นมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผลไม่แพ้การพึ่งพาเทคโนโลยี ที่ล้ำสมัย เพียงอย่างเดียว -เสาหลักที่ 3 การพัฒนาระบบการทำงานในทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นการ วิถีการทำงานแบบ Single Team และ การ reinforce ขบวนการทำงานแบบ Loop Construction โดยการทำซ้ำ ๆ จนเกิดเป็นนิสัย แ ละฝังอยู่จนกลายเป็น DNA  ของชาวแสงฟ้าทุกคน   3 สิ่งนี้ถือเป็นกลยุทธ์สำคัญ ที่จะใช้พัฒนาบริษัทให้เติบโตอย่างยั่งยืนเพื่อก้าวต่อไปในอีกศตวรรษต่อ ๆ ไป  
กางแผน “โนเบิล” ลุยเปิดโปรเจ็กต์ 25,000 ล้านปูทางติด Top 5

กางแผน “โนเบิล” ลุยเปิดโปรเจ็กต์ 25,000 ล้านปูทางติด Top 5

กางแผน “โนเบิล” ในปีที่มีวิกฤตเศรษฐกิจ บุกหนักกับแผนเปิดคอนโดฯ 7 โครงการ มูลค่า 25,000 ล้านบาท เพื่อสร้างยอดขาย 12,000 ล้าน พร้อมลุยปั้นโปรเจ็กต์ในต่างประเทศ  ปูทางสร้างการเติบโตต่อเนื่อง หวังติดอันดับ Top 5 ในอีก 3-5 ปีข้างหน้า    นายธงชัย บุศราพันธ์ ประธานกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหารร่วม บริษัท โนเบิล ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) หรือ NOBLE เปิดเผยถึงแผนธุรกิจในปี 2563 ว่า วางแผนเปิดโครงการใหม่ 7 โครงการมูลค่า 25,000 ล้านบาท  พร้อมกับตั้งเป้าหมายยอดขาย 12,000 ล้านบาท และเป้าหมายรายได้ 12,000 ล้านบาท แม้ว่าภาพรวมเศรษฐกิจในปีนี้ยังไม่ฟื้นตัวเป็นปกติ   โดยนอกจากการเปิดโครงการใหม่ บริษัทยังมีโครงการที่อยู่ระหว่างขาย  และก่อสร้างอีกจำนวน 12 โครงการมูลค่า 28,000 ล้านบาท  มีโครงการก่อสร้างแล้วเสร็จ 6,000-7,000 ล้านบาท และกำลังจก่อสร้างแล้วเสร็จในเร็วๆ นี้อีกประมาณ 7,000 ล้านบาท  รวมถึงบริษัทมียอดขายรอรับรู้รายได้มูลค่ากว่า 17,000 ล้านบาท ซึ่งจะรับรู้ต่อเนื่องใน 2-3 ปีข้างหน้า   นายธงชัย กล่าวอีกว่า  บริษัทยังวางแผนลงทุนในต่างประเทศอีก 1 โครงการ เนื่องจากนายแฟรงค์ ฟง คึ่น เหลียง หนึ่งในผู้ถือหุ้นมีเครือข่ายตัวแทนจำหน่ายอสังหริมทรัพย์ในจีนและฮ่องกง  ซึ่งสามารถใช้ประโยชน์ด้านการทำตลาดร่วมกันได้  ก่อนหน้านี้มีโครงการที่อยู่ระหว่างก่อสร้าง รวมถึงโครงการเก่าในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ มาเสนอขายให้ 3-4 โครงการ  ซึ่งคาดว่าปีนี้จะซื้อโครงการมาพัฒนาอย่างน้อย 1 โครงการ ซึ่งคาดว่าจะใช้เงินลงทุนกว่า 1,000 ล้านบาท สำหรับการพัฒนาโครงการมูลค่า 2,000-3,000 ล้านบาท   ปัจจุบันโครงการของบริษัทถือว่าได้รับการตอบรับที่ดีจากกลุ่มลูกค้าต่างชาติ ซึ่งปีที่ผ่านมามีมูลค่ายยอดขายกว่า 3,500 ล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วน 11 % ในปีนี้คาดว่าจะเพิ่มสัดส่วนเป็น 21% หรือมีมูลค่ากว่า 7,000 ล้านบาท  เนื่องจากการใช้ประโยชน์จากเครือข่ายด้านการตลาดที่เคยมีก่อนหน้า ซึ่งส่วนใหญ่กว่า 30% เป็นชาวจีน และฮ่องกง โดยกลุ่มผู้ซื้อต่างชาติส่วนใหญ่นิยมซื้อห้องชุดราคาไม่เกิน 5 ล้านบาท   “ตลาดต่างชาติถือว่าให้การตอบรับดี เพราะบริษัทมีเน็ตเวิร์ค โดยระดับราคาสำหรับต่างชาติจะอยู่ประมาณตารางเมตรละ 85,000-150,000 บาท ทำเลอยู่แนวรถไฟฟ้าสายสีต่างๆ”   ในปีนี้บริษัทยังมีแผนพัฒนาโครงการคอนโดมิเนียมระดับซุปเปอร์ลักชัวร์รี่  ที่ได้ร่วมทุนกับกลุ่มฮ่องกงแลนด์ มูลค่า  10,000 ล้านบาท บนพื้นที่กว่า 3 ไร่ ของถนนวิทยุ พัฒนา มีระดับราคาขายมากกว่า 300,000 บาทต่อตารางเมตร  ส่วนปี 2562 ที่ผ่านมา บริษัทมีรายได้กว่า 15,000 ล้านบาท  ทำให้บริษัทติดอันดับ Top 10 บริษัทอสังหาฯ ที่มีรายได้มากที่สุด   โดยบริษัทได้วางเป้าหมายภายในระยะ 3-5 ปีข้างหน้าขึ้นติดอันดับ Top 5 บริษัทอสังหาฯ ที่มีรายได้สูงสุด ซึ่งบริษัทกำลังวางแผนการพัฒนาโครงการ เพื่อให้ได้รับรู้รายได้ ยอดขาย และมูลค่าโครงการประมาณ 15,000-20,000 ล้านบาท ซึ่งปัจจุบันแบ็กล็อกของบริษัทมีประมาณ 20,000 ล้านบาท หลายโครงการรับรู้รายได้ใน 3-4 ปีข้างหน้า