Tag : News

2376 ผลลัพธ์
​[PR News] ทุ่ม 600 ล้านบาท เปิดสาขา โฮมโปร ลาดกระบัง ดึงกำลังซื้อช่วงสิ้นปี ตั้งเป้ายอดขายกว่า 70 ล้านบาท ต่อเดือน

​[PR News] ทุ่ม 600 ล้านบาท เปิดสาขา โฮมโปร ลาดกระบัง ดึงกำลังซื้อช่วงสิ้นปี ตั้งเป้ายอดขายกว่า 70 ล้านบาท ต่อเดือน

โฮมโปร ลาดกระบัง “โฮมโปร” รุกสิ้นปี เปิดสาขาใหม่ ชิงยอดขาย ทุ่ม 600 ล้านบาท เปิดสาขา โฮมโปร “ลาดกระบัง” สาขาแห่งที่ 95 ดึงกำลังซื้อย่านชานเมืองฝั่งตะวันออก ที่กำลังขยายตัว และมีที่พักอาศัยกว่า 1.57 แสนหลังคาเรือน บนพื้นที่กว่า 8,000 ตร.ม. ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์คนยุคใหม่ที่ออกไปอยู่ชานเมืองมากขึ้น หวังเป้ายอดขายกว่า 70 ล้านบาท ต่อเดือน   นางสาวเสาวณีย์ สิราริยกุล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการกลุ่มการตลาด บริษัท โฮม โปรดักส์ เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ “โฮมโปร” เปิดเผยว่า บริษัทได้ทุ่มเงินลงทุนกว่า 600 ล้านบาท เปิดสาขาสแตนด์อโลนแห่งใหม่ โฮมโปร “ลาดกระบัง” สาขาแห่งที่ 95 บนทำเลศักยภาพที่ดีที่สุดในย่านชานเมืองกรุงเทพฯ ฝั่งตะวันออกรองรับความต้องการเรื่องบ้านของลูกค้าได้ครอบคลุมพื้นที่ ในเขตลาดกระบัง เขตประเวศ เขตสะพานสูง เขตมีนบุรี และจังหวัดสมุทรปราการ อำเภอบางพลี และอำเภอบางเสาธง ที่มีจำนวนครัวเรือนกว่า 157,136 หลังคาเรือน มีสัดส่วนบ้านแนวราบประมาณ 70% และแนวสูงประมาณ 30% คาดว่าจะสร้างยอดขายต่อเดือนได้ประมาณ 70 ล้านบาท โฮมโปร “ลาดกระบัง" ยังเป็นศูนย์การค้าที่ตอบสนองต่อไลฟ์สไตล์คนทำบ้าน ด้วยแนวคิด HOME INSPIRE ที่ทันสมัยขึ้น ดึงดูดกลุ่มคนรุ่นใหม่ให้เข้ามาใช้บริการ ตกแต่งภายในที่เน้นสร้างประสบการณ์ และแรงบันดาลใจใหม่ ๆ มีการจัดเรียงสินค้าหน้าร้านที่ช่วยให้การเลือกซื้อสินค้าลงตัว พร้อมจุดประกายไอเดียแต่งบ้านครอบคลุมทุกเจเนอเรชั่น การจำหน่ายสินค้า​กลุ่มสมาร์ททีวี เครื่องใช้ไฟฟ้า นอกจากนี้โฮมโปรได้เพิ่มพื้นที่โซน PET Club ผลิตภัณฑ์เอาใจคนรักสัตว์เลี้ยง ให้บริการ และดูแลสุขภาพสัตว์เลี้ยงครบวงจร   โฮมโปร ลาดกระบัง ยังมีบริการที่ครอบคลุมทุกปัญหาเกี่ยวกับบ้าน เริ่มจาก โฮมโปรมีบริการส่งสินค้าฟรี ในรัศมี 10 กม. บริการติดตั้งสินค้าฟรี หรือแม้แต่การประกอบสินค้าฟรี ไม่ว่าสินค้านั้นจะเป็นชิ้นเล็ก หรือชิ้นใหญ่ ยังให้การรับประกันคุณภาพของงานแต่ละประเภทอีกด้วย ปัจจุบัน โฮมโปรมีสาขาทั้งสิ้น 95 สาขาในประเทศไทย และโฮมโปรในประเทศมาเลเซีย 7 สาขา และได้มีการขยายดำเนินธุรกิจในประเทศเวียดนามผ่านช่องทาง E-Marketplace  ในรูปแบบออนไลน์ ด้วยคอนเซปต์ “เราสร้างความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นเพื่อทุกคน We Make a Better Living” และยังเป็นผู้นำในธุรกิจ Home Solution and Living Experience ในประเทศไทย และภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้   อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง -โฮมโปร เจอพิษกระทบโควิด-19 ทำรายได้-กำไรลดตามคาด
ศูนย์ข้อมูลฯ เปิดอินไซด์ตลาดอสังหาฯ EEC พร้อมส่องทำเลบ้าน-คอนโด ขายดี

ศูนย์ข้อมูลฯ เปิดอินไซด์ตลาดอสังหาฯ EEC พร้อมส่องทำเลบ้าน-คอนโด ขายดี

ศูนย์ข้อมูล ฯ เปิดอินไซต์ข้อมูลตลาดอสังหาฯ พื้นที่ EEC ในไตรมาส 3 ​ปี 2565 พร้อมทำเลฮอตขายบ้าน และคอนโด ได้ดีสุด หลังสินค้าพร้อมขาย แนวโน้มลดลงทั้งจำนวนและมูลค่า แต่ยังมียูนิตเหลือขายกว่า 47,300 ยูนิต ส่งผลยอดเปิดโครงการใหม่ต่ำสุด   ถ้านับพื้นที่เศรษฐกิจสำคัญของเมืองไทย ที่รัฐบาลหวังจะเป็นศูนย์กลางทางด้านการผลิต การส่งออก และเมืองอุตสาหกรรม ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา หนีไม่พ้นต้องเป็นพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC ใน 3 จังหวัด คือ จังหวัดชลบุรี ระยอง และฉะเชิงเทรา   พื้นที่ EEC นอกจากสำคัญจากการเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ​ ที่ถือเป็นแหล่งงานสำคัญของไทยแล้ว อานิสงค์ยังต่อเนื่องมาสู่ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์อีกด้วย โดยเฉพาะที่อยู่อาศัย เพราะเมื่อมีแรงงาน ก็ต้องมีที่อยู่อาศัย ซึ่งไม่ใช่แค่คนไทย แต่ยังรวมถึงแรงงานต่างชาติอีกจำนวนมากด้วย   แต่จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ก็ทำให้ตลาดอสังหาฯ หลายแห่งออกอาการไม่ค่อยดี เพราะในพื้นที่ EEC ส่วนหนึ่งก็พึ่งพากลุ่มลูกค้าต่างชาติ แม้จะมีฐานลูกค้าคนไทยอยู่บ้าง แต่ยอดขายก็หายไปพอสมควร   ตอนนี้เราจึงจะมาอัปเดตสถานการณ์ตลาดอสังหาฯ ในพื้นที่ EEC ล่าสุดในช่วง ไตรมาส 3 ที่ผ่านมา จากการลงพื้นที่สำรวจของศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (REIC) ว่ามีทิศทางอย่างไรกันบ้างแล้วตอนนี้ ยูนิตเหลือขายลดลง 9.11% จากการสำรวจโครงการที่อยู่อาศัยเสนอขายในพื้นที่ 3 จังหวัด  ช่วงไตรมาส 3 ปี 2565 พบว่า มีจำนวน 54,116 ยูนิต ลดลง -9.11% มูลค่ารวม 184,985 บาท ลดลง -9.94% ในจำนวนดังกล่าวแบ่งเป็น คอนโดมิเนียม (อาคารชุด) จำนวนยูนิต 17,998 ยูนิต ลดลง -10.16% มูลค่า 77,667 ล้านบาท ลดลง -13.45% บ้านจัดสรร จำนวน 36,118 ยูนิต ลดลง – 8.57% มูลค่า 107,318 ล้านบาท ลดลง  -8.50% โครงการใหม่ โครงการใหม่เข้าสู่ตลาดจำนวน 4,117 ยูนิต เพิ่มขึ้น 16.89% โครงการใหม่เข้าสู่ตลาดมูลค่า 12,516 ล้านบาท ลดลง -9.38% ทำเลฮอตเปิดคอนโด คอนโด เกือบทั้งหมดจะเปิดในจังหวัดชลบุรี  ซึ่งพบว่าโครงการคอนโดเปิดขายใหม่ ในช่วงไตรมาส 3 ปี 2565 กระจายอยู่ในทำเลย่านนิคมอุตสาหกรรมและพื้นที่ต่อเชื่อม  โดย 3 ทำเล ซึ่งโครงการคอนโดเสนอขายใหม่มากที่สุดในพื้นที่ 3 จังหวัด EEC ประกอบด้วย อันดับ 1 นิคมฯอมตะนคร-บายพาส จำนวน 497 ยูนิต มูลค่า 596  ล้านบาท มูลค่าสูงเป็นอันดับ 4 อันดับ 2 บางแสน-หนองมน-บางพระ จำนวน 491 ยูนิต มูลค่า 1,186 ล้านบาท มูลค่าสูงเป็นอันดับ 1 อันดับ 3 สัตหีบ-อู่ตะเภา จำนวน 262 ยูนิต มูลค่า 985 ล้านบาท มูลค่าสูงเป็นอันดับ 3 ทำเลฮอตเปิดบ้านจัดสรร บ้านจัดสรรในไตรมาส 3 มีการเปิดตัวโครงการใหม่ในฉะเชิงเทรามากกว่าจังหวัดชลบุรีและระยอง ส่วนทำเลที่มีโครงการบ้านจัดสรรเปิดขายใหม่สูงสุด อยู่ในพื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทรา รวมถึงในพื้นที่ต่อเชื่อมนิคมอุตสาหกรรมเช่นเดียวกัน ประกอบด้วย อันดับ 1 ในเมืองฉะเชิงเทรา จำนวน 804 ยูนิต มูลค่า 1,997 ล้านบาท  มูลค่าสูงเป็นอันดับ 1 อันดับ 2 นิคมฯ สหพัฒน์ -ปิ่นทอง  จำนวน 335 ยูนิต มูลค่า 484 ล้านบาท มูลค่าสูงเป็นอันดับ 7 อันดับ 3 นิคมฯอมตะนคร-บายพาส จำนวน 290 ยูนิต มูลค่า 783 ล้านบาท  มูลค่าสูงเป็นอันดับ 3 ทำเลขายบ้านและคอนโดได้ดี ที่อยู่อาศัยขายได้ใหม่ในช่วงไตรมาส 3 ปี 2565 ขายได้จำนวน 6,740 ยูนิต ลดลง -14.34% ขายได้มูลค่า 21,113 ล้านบาท ลดลง -15.15% การขายได้ของประเทภคอนโด ขายได้จำนวน 1,617 ยูนิต ลดลง -16.91% ขายได้มูลค่า 5,946  ล้านบาท ลดลง -20.62% การขายได้ของประเภทบ้านจัดสรร ขายได้จำนวน 5,123 ยูนิต ลดลง -13.49% ขายได้มูลค่า 17,389 ล้านบาท ลดลง -12.79% การขายประเภทบ้านจัดสรรประมาณกว่า 75% ของยูนิตขายทั้งหมดใน 3 จังหวัด EEC ส่วนคอนโดเกือบทั้งหมดขายได้ในจังหวัดชลบุรี ทั้งนี้ ศูนย์ข้อมูล ฯ พบว่าอัตราดูดซับลงมาอยู่ที่ 4.2% ลดลงกว่าไตรมาสก่อนหน้าแต่ดีกว่าในช่วงไตรมาสแรก หากแยกตามประเภทที่อยู่อาศัย พบว่าบ้านจัดสรรมีอัตราดูดซับสูงกว่าโครงการคอนโด โดยมีอัตราดูดซับ 4.7% ขณะที่อัตราดูดซับคอนโดอยู่ในระดับ 3.0% และระดับราคาที่มีอัตราดูดซับดีที่สุดอยู่ในกลุ่มของทาวน์เฮ้าส์ โดยอัตราดูดซับอยู่ที่ 5.0% โดยกลุ่มราคาน้อยกว่า 1.00 ล้านบาท อัตราดูดซับปรับตัวดีขึ้นจาก 3.2% มาอยู่ที่ร้อยละ 4.4 ขณะที่อัตราดูดซับกลุ่มราคาอื่นปรับตัวลดลง 3 ทำเลที่มียอดคอนโดขายได้ใหม่มากที่สุด  อันดับ 1 หาดจอมเทียน จำนวน  402 ยูนิต มูลค่า  2,166  ล้านบาท  มูลค่าสูงเป็นอันดับ 1 และมีอัตราดูดซับ 2.2% อันดับ 2 พัทยา-เขาพระตำหนัก จำนวน  269 ยูนิต มูลค่า 1,566 ล้านบาท มูลค่าสูงเป็นอันดับ 2 และมีอัตราดูดซับ 2.0% อันดับ 3 นิคมฯอมตะ-บายพาส จำนวน  236 ยูนิต มูลค่า 287 ล้านบาท มูลค่าสูงเป็นอันดับ 6 และมีอัตราดูดซับ 11.4% 3 ทำเลที่มียอดขายบ้านจัดสรรสูงสุด  อันดับ 1 นิคมฯอมตะซิตี้-อีสเทิร์น จำนวน  930 ยูนิต มูลค่า  1,842 ล้านบาท  มูลค่าสูงเป็นอันดับ 1 และมีอัตราดูดซับ 5% อันดับ 2  นิคมฯเหมราช จำนวน 467 ยูนิต มูลค่า 1,258 ล้านบาท  มูลค่าสูงเป็นอันดับ 2 และมีอัตราดูดซับ 5.7% อันดับ 3  นิคมฯอมตะนคร-บายพาส จำนวน 348 ยูนิต มูลค่า 1,019 ล้านบาท  มูลค่าสูงเป็นอันดับ 5 และมีอัตราดูดซับ 4.9% ทำเลคอนโด-บ้าน เหลือเยอะสุด การที่การขายได้ใหม่มากกว่าการเปิดตัวได้ส่งผลให้ ยูนิตเหลือขาย ณ สิ้นไตรมาส 3 ปี 2565 มีจำนวน 47,376 ยูนิต มูลค่า 163,872 ล้านบาท จำนวนยูนิตลดลง -8.32% มูลค่าลดลง -9.23%  ในจำนวนดังกล่าวแบ่งเป็นประเภทคอนโด 16,381 ยูนิต มูลค่า 71,720 ล้านบาท จำนวนยูนิตลดลง -9.44% มูลค่าลดลง -11.05% เป็นประเภทบ้านจัดสรร 30,995 ยูนิต มูลค่า 92,151 ล้านบาท จำนวนยูนิตลดลง -7.71% มูลค่าลดลง -7.76% 3 ทำเลคอนโด เหลือขายมากที่สุด  อันดับ 1 หาดจอมเทียน จำนวน 5,742 ยูนิต มูลค่า 29,066 ล้านบาท  มูลค่าสูงเป็นอันดับ 1 อันดับ 2 พัทยา-เขาพระตำหนัก จำนวน 4,287 ยูนิต  มูลค่า 24,552 ล้านบาท มูลค่าสูงเป็นอันดับ 2 อันดับ 3 แหลมฉบัง จำนวน 1,564 ยูนิต มูลค่า 2,797 ล้านบาท มูลค่าสูงเป็นอันดับ 5 3 ทำเลบ้านจัดสรร เหลือขายสูงสุด  อันดับ 1 นิคมฯอมตะซิตี้-อีสเทิร์น  จำนวน 5,247 ยูนิต มูลค่า 10,546 ล้านบาท มูลค่าสูงเป็นอันดับ 1 อันดับ 2 นิคมฯพานทอง-พนัสนิคม จำนวน 2.339 ยูนิต  มูลค่า 5,454 ล้านบาท มูลค่าสูงเป็นอันดับ 9 อันดับ 3 นิคมฯเหมราช จำนวน  2,274 ยูนิต มูลค่า 5,682  ล้านบาท มูลค่าสูงเป็นอันดับ 4 ตลาดอสังหาฯ 66 อยู่ในช่วงปรับตัว ดร.วิชัย วิรัตกพันธ์ ผู้ตรวจการธนาคารอาคารสงเคราะห์ และรักษาการผู้อำนวยการ ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ (REIC) เปิดเผยว่า จากจำนวนยูนิตเสนอขายทั้งหมดในพื้นที่ EEC พบว่าที่อยู่อาศัยประเภทคอนโดส่วนใหญ่เปิดขายอยู่ในพื้นที่จังหวัดชลบุรี ขณะที่ระยอง และฉะเชิงเทราเน้นการเปิดขายโครงการใหม่ประเภทบ้านจัดสรรเป็นหลัก   มีประเด็นที่น่าจับตาคือ ที่อยู่อาศัยที่เสนอขายทั้งหมดในตลาดเริ่มลดลงอย่างชัดเจนตั้งแต่ปี 2564 และการเปิดตัวใหม่ในไตรมาส 3 ถือว่าต่ำที่สุดทั้งก่อน และระหว่างเกิดปัญหาการแพร่ระบาดของโควิด-19 โดยเป็นที่น่าสังเกตว่าการเปิดตัวโครงการใหม่จะกระจุกตัวอยู่ในพื้นที่โซนอุตสาหกรรม ขณะที่อัตราการดูดซับเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากการขายได้เพิ่มขึ้นของโครงการแนวราบโดยเฉพาะที่อยู่อาศัยประเภททาวน์เฮ้าส์   อย่างไรก็ตาม ศูนย์ข้อมูล ฯ​ ประเมินภาพรวมตลาดที่อยู่อาศัยในพื้นที่ 3 จังหวัด EEC ในปี 2566 สถานการณ์โดยรวมจะยังคงอยู่ในช่วงของการปรับตัวอีกครั้ง หลังจากที่ธนาคารแห่งประเทศไทยซึ่งประกาศนโยบายชัดเจนในเรื่องของการนำกฎเกณฑ์ LTV กลับมาใช้  ส่งผลให้การเปิดขายโครงการใหม่มีแนวโน้มจะลดลง ตลาดที่อยู่อาศัยใน EEC จะยังคงถูกขับเคลื่อนโดยโครงการบ้านจัดสรร และผู้ประกอบการพัฒนาอสังหาฯ ​ยังคงเน้นการขายสินค้าคงค้างในทำเล และการพัฒนาที่อยู่อาศัยในระดับราคาที่เหมาะสมความสามารถของในการซื้อที่อยู่อาศัยของผู้ซื้อที่ยังไม่สูงนัก อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง -ศูนย์ข้อมูลอสังหาฯ ชี้ที่อยู่ปี 65 ยังเติบโต หลังดัชนีรวมตลาด Q3 เพิ่ม 30.4% -ศูนย์ข้อมูลอสังหาฯ แนะตลาดบ้าน-คอนโด ต้องต้องเฝ้าระวัง  5 เรื่องนี้  
5 ไฮไลท์ มูจิ โรบินสัน ไลฟ์สไตล์ ราชพฤกษ์ ต้นแบบโมเดลโรดไซด์

5 ไฮไลท์ มูจิ โรบินสัน ไลฟ์สไตล์ ราชพฤกษ์ ต้นแบบโมเดลโรดไซด์

หลังจากที่ มูจิ (MUJI) แบรนด์สินค้าล์ไลฟ์สไตล์จากประเทศญี่ปุ่น ได้เข้ามาทำธุรกิจในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2549 ในรูปแบบของธุรกิจแฟรนไชส์ โดยสามารถขยาย จำนวนสาขาเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนในปี 2556 ได้จับมือกับบริษัท สรรพสินค้าเซ็นทรัล จำกัด ในสัดส่วนที่เท่ากัน จัดตั้ง​บริษัท มูจิ รีเทล (ประเทศไทย) จำกัด โดยปัจจุบันสามารถขยายธุรกิจจนมีสาขา 29 แห่งโดยรวมร้านมูจิ โรบินสันไลฟ์สไตล์ ราชพฤกษ์ สาขาใหม่ล่าสุด เพื่อจำหน่ายสินค้ามากกว่า 3,000 รายการ  ซึ่งถือว่าเป็นสาขาคอนเซ็ปต์ใหม่แห่งแรก กับร้าน​โมเดลโรดไซด์ ​5 ไฮไลท์ มูจิ โมเดลโรดไซด์ นายอกิฮิโร่ คาโมการิ กรรมการผู้จัดการ บริษัท มูจิ รีเทล (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า การเปิดสาขา โรบินสันไลฟ์สไตล์ ราชพฤกษ์ สาขาที่ 29 ซึ่งเป็นสาขาขนาดใหญ่ นับเป็นการเปิดร้านโมเดลโรดไซด์ หรือ ร้านรูปแบบใกล้ริมถนน สาขาแรกที่เปิดกับศูนย์การค้าขนาดใหญ่ติดถนน โดยหากประสบความสำเร็จจะพัฒนาและขยายสาขาใหม่ ภายใต้โมเดลดังกล่าวต่อไปในอนาคต ปัจจุบันสาขาที่มีขนาดใหญ่พื้นที่มากกว่า 1,000 ตร.ม. มีอยู่ 11 แห่ง โดยสาขาส่วนใหญ่พื้นที่จะอยู่ที่ 500-800 ตร.ม.   ขณะที่แผนในปี​ 2566 ตั้งเป้าหมายเปิดสาขาใหม่ 5-6 แห่ง ซึ่งจะเน้นการขยายสาขาในต่างจังหวัดเพิ่มมากขึ้น อาทิ เชียงใหม่ และอีก 1 จังหวัดในภาคใต้  เนื่องจากปัจจุบันสาขาส่วนใหญ่​ 90% จะอยู่ในกรุงเทพ ฯ และปริมณฑล ส่วนสาขาต่างจังหวัดปัจจุบันมีอยู่ 3 แห่ง ได้แก่  เซ็นทรัลชลบุรี เซ็นทรัลศรีราชา และเซ็นทรัลเชียงใหม่ รวมถึงวางแผนรีโนเวตสาขาเดิมให้มีพื้นที่เพิ่มขึ้นอีก 7 สาขา ส่วนปี 2567 ตั้งเป้าจะเปิดเพิ่มอีก 10 แห่ง   สำหรับมูจิ สาขาโรบินสันไลฟ์สไตล์ ราชพฤกษ์ ถือว่าเป็นสาขาที่มีความแปลกใหม่ และมีไฮไลท์ที่น่าสนใจ รวมถึงการมีสินค้าที่จำหน่ายเฉพาะที่สาขาแห่งนี้ด้วย ซึ่งในส่วนไฮไลท์นั้น มีอยู่ 5 เรื่องสำคัญ คือ 1.สาขาแรกในรูปแบบ 2 ชั้น ถือเป็นสาขาแรกของมูจิ ที่มีร้านในรูปแบบ 2 ชั้น ซึ่งเป็นร้าน​โมเดลโรดไซด์ หรือ ร้านรูปแบบใกล้ริมถนน สาขาแรกที่เปิดกับศูนย์การค้าขนาดใหญ่ติดถนน  มีขนาดพื้นที่รวม 1,700 ตารางเมตร โดยแบ่งเป็นพื้นที่บริเวณร้านชั้น 1 มีขนาดกว่า 900 ตารางเมตร และชั้น 2 มีขนาดกว่า 800 ตารางเมตร และสาขาแห่งนี้เป็นสาขา 29 ที่เข้ามาเปิดร้านจำหน่ายสินค้าในเมืองไทย 2.โซนสินค้าราคาต่ำกว่า 300 บาท รวบรวมสินค้าคุณภาพที่เป็นที่นิยมในหลากหลายหมวดหมู่ ที่มีราคาต่ำกว่า 100 บาท 200 บาท และ 300 บาท อาทิ ไม้ทำความสะอาด 35 บาท กระดาษซับหน้า 39 บาท ใยอาบน้ำ 39 บาท รองเท้าแตะในบ้าน 99 บาท ผ้าขนหนู 99 บาท เบาะรองนั่ง 290 บาท พรมเช็ดเท้า 150 บาท กระบอกน้ำอะคริลิค 250 บาท เป็นต้น 3.บริการออกแบบภายใน มูจิ สาขาโรบินสันไลฟ์สไตล์ ราชพฤกษ์ ยังมีโซนเครื่องใช้ในบ้านและเฟอร์นิเจอร์ตกแต่งบ้าน ขนาดพื้นที่ใหญ่กว่า 100 ตร.ม. ที่มีการนำสินค้าคอลเลกชันใหม่มาให้เลือกหลากหลาย อาทิ เตียงนอนครบทุกขนาดไซส์และทุกดีไซน์ แถมยังมีการให้บริการปรึกษาด้านออกแบบภายใน หรือ​ MUJI Interior Consultation Service อีกด้วย 4.โซน MUJI Green & Normal Shop จากแนวคิดในการดำเนินธุรกิจ “ประหยัดทรัพยากรธรรมชาติ” ออกแบบอย่างเรียบง่าย “ไม่มียี่ห้อ” และราคาสมเหตุสมผล ตั้งแต่วันเริ่มต้นก่อตั้งธุรกิจ เป็นปรัชญาที่ปัจจุบันก็ยังคงยึดถืออยู่ ทำให้ในร้านของมูจิ มีโซนสินค้าจากธรรมชาติ (Normal Shop) รวมถึงรีฟิลสินค้าต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นสบู่ น้ำยาทำความสะอาดเสื้อผ้า แชมพูสระผม ในราคาย่อมเยา เพื่อสนับสนุนแนวคิด Zero Waste ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม  และโซนสินค้าต้นไม้ (MUJI Green) ที่เหมาะกับการปลูกเลี้ยงในบ้าน ​เพราะคิดว่าสินค้าอีโคไลฟ์สไตล์นั้นดีต่อตัวเอง และดีต่อสิ่งแวดล้อม 5.ขายสินค้าเฉพาะคนไทย คอนเซ็ปต์ ASEAN MD การนำสินค้าเข้ามาจำหน่ายในเมืองไทย นอกจากจะเป็นสินค้าที่คนไทยชื่นชอบ และได้รับความนิยมมากแล้ว สิ่งหนึ่งที่เป็นแนวคิดในการทำธุรกิจของมูจิ คือ การขายสิค้าให้เหมาะสมกับไลฟ์สไตล์และการใช้งานเฉพาะคนในแต่ละประเทศ จึงเป็นที่มาของการพัฒนาและผลิตสินค้าเฉพาะในประเทศไทย หรือตามคอนเซ็ปต์ ​ASEAN MD (ASEAN Merchandise)   ปัจจุบันสินค้าที่พัฒนาและจำหน่ายเฉพาะในประเทศ มีด้วยกันอยู่ 5 ประเทศ ได้แก่ ไทย สิงค์โปร์ มาเลเซีย เวียดนาม และฟิลิปปินส์  มีสินค้าครอบคลุมทุกกลุ่ม อาทิ ​ กลุ่มเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย กลุ่มสินค้าของใช้ภายในบ้าน กลุ่มเฟอร์นิเจอร์ กลุ่มเฮลท์แอนด์บิวตี้ และกลุ่มอิเลคทรอนิกส์ สำหรับประเทศไทยสินค้า ASEAN MD มีสัดส่วน 30%ของสินค้าภายในร้าน อาทิ -ม็อบถูพื้น เป็นสินค้าชนิดแรกที่มูจิ พัฒนาและผลิตขึ้นมาจำหน่ายให้กับคนไทยโดยเฉพาะ เนื่องจากคนไทยมีการถูพื้นบ้านหรือพื้นห้อง ต่างจากบ้านที่ประเทศญี่ปุ่นที่มีการปูเสื่อ ซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้ไม้ม็อบสำหรับถูกพื้นบ้าน -เฟอร์นิเจอร์ไม้ยางพารา เป็นสินค้าอีกกลุ่มหนึ่งที่คนไทยต้องการ และชื่นชอบ ทำให้มูจิผลิตสินค้ากลุ่มเฟอร์นิเจอร์จากยางพาราออกมาจำหน่าย เริ่มต้นเป็นที่วางรองเท้าและวางนิตยสาร ขณะที่เฟอร์นิเจอร์ขนาดใหญ่ เช่น โครงเตียง วางแผนนำมาจำหน่ายในอนาคต​ -หมอนข้าง คนญี่ปุ่นไม่นิยมนอนกอดหมอนข้าง แต่สำหรับคนไทยหมอนข้างยังคงเป็นสิ่งจำเป็นที่หลายคนต้องมีอยู่บนเตียงนอน ทำให้มูจิพัฒนาหมอนข้างออกมาจำหน่าย แต่เป็นในรูปแบบหมอนขนาดยาว ซึ่งสามารถใช้หนุนนอนได้ หรือจะปรับเป็นหมอนข้างเพื่อนอนกอดก็ได้เช่นกัน สินค้ากลุ่ม ASEAN MD จะมีนำเข้ามาอย่างต่อเนื่อง และครอบคลุมในทุกกลุ่มผลิตภัณฑ์ ปัจจุบันสินค้ายังเป็นนำเข้าจากต่างประเทศมาจำหน่าย ซึ่งพบปัญหาสำคัญในเรื่องการขออนุญาตการนำเข้า และการขึ้นทะเบียนได้รับอนุญาตจากหน่วยงานต่าง ๆ ทำให้สินค้ามีความล่าช้าในการนำเข้ามาจำหน่าย ในอนาคตมูจิวางแผนผลิตสินค้า ASEAN MD ขึ้นภายในเทศไทยด้วย ​ 4 สินค้าที่วางขายครั้งแรกในไทย สำหรับสิ่งที่ มูจิ จะนำมาวางจำหน่ายที่แรกในไทย กับสาขาโรบินสันไลฟ์สไตล์ ราชพฤกษ์ นั้นมีดังนี้ -สินค้าสกินแคร์และดูแลเส้นผม โดยมีการเพิ่มกลิ่นส้ม กลิ่นฟลอรัล และกลิ่นเลม่อน ในกลุ่มสินค้าสกินแคร์และดูแลเส้นผม เข้ามาวางจำหน่ายเป็นที่แรก ก่อนนำไปวางขายในสาขาอื่น ๆ ในปีหน้า พร้อมกับปรับลดราคาสินค้าลง จากราคา 149 บาท ราคา 129 บาท ในสินค้าโฟมล้างหน้า และสบู่ -แกงกะหรี่ 5 รสชาติ สินค้ากลุ่มอาหารนำเข้าจากญี่ปุ่น มูจิมีขายอยู่แล้วหลากหลายชนิด และได้รับความนิยมในหมู่คนไทยเสียด้วย การขยายสาขามูจิ โรบินสันไลฟ์สไตล์ ราชพฤกษ์ จึงได้นำเอาแกงกะหรี่ พร้อมทาน MUJI CURRY ซึ่ง​เป็นสินค้าที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างสูงในญี่ปุ่น มาวางขายในประเทศไทยเป็นครั้งแรก มี 5 รสชาติ ได้แก่  BUTTER CHICHKEN CURRY, DHAL CURR, CHICKEN RENDANG, CHICKEN MASAK LEMAK และ CHICHKEN KEEMA CURRY ในราคา 139 บาท ส่วนสาขาอื่น ๆ จะมีการวางจำหน่ายต่อไป -ขนมอบร้อน ปัจจุบันมูจิ มีการเปิดโซน MUJI Coffee Corner ที่จำหน่ายเครื่องดื่มและเบอเกอรี่หลากหลายชนิด โดยมีสาขาอยู่ประมาณ​ 11-12 แห่ง แต่สำหรับสาขาโรบินสันไลฟ์สไตล์แห่งใหม่นี้ ได้มีการเพิ่มไฮไลท์เมนูใหม่เป็นเบเกอรี่สไตล์ตะวันตกแบบ​ Hot Menu อาทิ ครัวซองท์แซนวิช ริงแซนวิช เดนิช และพานินี่ วางขายในราคา 59 -119 บาท -ไอศกรีมซอฟท์เสิร์ฟ นอกจากจำหน่ายเบกอรี่แล้ว มูจิ สาขาโรบินสันไลฟ์สไตล์ ราชพฤกษ์ ได้มีการเพิ่มสินค้าเป็นเมนูใหม่และวางขายเป็นที่แรก คือ ไอศกรีมซอฟท์เสิร์ฟ (MULI Soft Serve) รสชาเขียว (Green Tea) และรสนมฮอกไกโด (Hokkaido Milk) ซึ่งมีทั้งแบบ Cone ในราคา 89 บาท และ Cup ราคา 69 บาท โดยจะจำหน่าย Exclusive จำกัดระยะเวลาจำหน่ายไอศกรีม Soft Serve เพียง 3 เดือนเท่านั้น -เสื้อผ้ากอซทอสองชั้น เสื้อผ้าและเครื่องแต่งกาย ที่มูจิ สาขาโรบินสันไลฟ์สไตล์ ราชพฤกษ์ ได้วางจำหน่ายชุดเครื่องแต่งกายทั้งผู้หญิง และผู้ชายที่ทอจากผ้ากอซสองชั้น เป็นที่แรกที่วางขายในประเทศไทย ซึ่งเนื้อผ้ากอซทอสองชั้น จะมีความโปร่งสบาย ให้ความนุ่มนวล และยังคงผลิตจากฝ้ายออร์แกนิกเหมือนเดิม   ทั้งหมดคือเรื่องราวของ มูจิ สาขาโรบินสันไลฟ์สไตล์ ราชพฤกษ์ ที่พร้อมเปิดให้บริการช้อปปิ้งได้แล้วตั้งแต่วันที่ 23 ธันวาคม 2565 พร้อมโปรโมชั่นต่าง ๆ มากมาย​   อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง -‘เอพี ไทยแลนด์’ จับมือ ‘มูจิ’ ไลฟ์สไตล์แบรนด์ดังระดับโลก นำเสนอพื้นที่พักอาศัยสไตล์ญี่ปุ่น ผสานชีวิตส่วนตัวและการทำงานอย่างลงตัว
อัปเดต ค่ารถไฟฟ้า และการเปิดให้บริการเส้นทางใช้ใหม่ ในปี 2566

อัปเดต ค่ารถไฟฟ้า และการเปิดให้บริการเส้นทางใช้ใหม่ ในปี 2566

อัปเดต ค่ารถไฟฟ้า และการเปิดให้บริการเส้นทางใช้ใหม่ ในปี 2566 คนกรุงเตรียมเฮ เปิดเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีชมพู และสีเหลือง แต่เส้นทางรถไฟฟ้าเดิมปรับราคาขึ้นสูงสุดถึง 3 บาท   นับตั้งแต่เมืองไทยเรามีรถไฟฟ้าสายแรก คือ รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีเขียว ให้คนไทยได้นั่งโดยสารกันในวันที่ 5 ธันวาคม 2542 ตอนนี้ก็เป็นระยะเวลา 23  ปีแล้ว ซึ่งตามแผนการพัฒนารถไฟฟ้าของเมืองไทย จะมีรถไฟฟ้ามากถึง 13 สี ครอบคลุมพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล ระยะทางกว่า 553.41 กิโลเมตร จำนวน 365 สถานี ซึ่งหากการพัฒนาเป็นไปตามแผนในปี  2572 เมืองไทยจะมีรถไฟฟ้าวิ่งให้บริการครบทั้ง 13 สี​ ​แต่แผนกับการปฏิบัติจริงอาจจะไม่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ระหว่างทางอาจจะมีการปรับเปลี่ยนหรือติดปัญหาอะไรก็เป็นไปได้ คงต้องติดตามข่าวสารกันต่อไป   แต่สำหรับปี 2566 คนไทยจะมีโอกาสได้นั่งรถไฟฟ้าสีใหม่ที่เปิดบริการอีก 2 สี 2 เส้นทางแล้ว หลังรอคอยมาเป็นเวลานานพอสมควร กับรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี ระยะทาง 34.5 กิโลเมตร และรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง ระยะทาง 30.4 กิโลเมตร รถไฟฟ้าสายสีชมพูเปิดส.ค.66 รถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี อัปเดตเดือนพฤศจิกายน 2565 ตอนนี้มีความคืบหน้าด้านงานโยธา 93.85% ความก้าวหน้างานระบบรถไฟฟ้า 94.12% ความก้าวหน้าโดยรวม 94.00% เบื้องต้นมีแผนจะเปิดทดลองให้บริการ สำหรับเป็นกลุ่มผู้ใช้บริการที่ขอเข้ารับการทดลอง (Control Group Public Trial Run) ตั้งแต่สถานีมีนบุรี-สถานีศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ ในช่วงปลายเดือนกรกฎาคม 2566 ระยะเวลา 1 เดือนและเปิดให้บริการเชิงพาณิชย์ภายในเดือนสิงหาคม 2566  ส่วนค่าโดยสารเบื้องต้นคาดว่าจะจัดเก็บ  15-45* บาท โดยจะมีการคำนวณอีกครั้งจากค่าดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนพฤษภาคม 2566   รถไฟฟ้าสีชมพู เป็นระบบขนส่งมวลชนสายรองประเภทรถไฟฟ้ารางเดี่ยว (Straddle Monorail) ที่เป็นทางยกระดับตลอดเส้นทาง รวมระยะทางให้บริการ 34.5 กิโลเมตร ประกอบด้วยสถานีทั้งหมด 30 แห่ง โครงสร้างสถานีเป็นลักษณะโครงสร้างยกระดับเหนือพื้นผิวถนน ชานชาลาของสถานีจะอยู่ในรูปแบบของชานชาลาด้านข้างหรืออยู่ตรงกลางขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของใน แต่ละสถานี   นอกจากรถไฟฟ้าสายสีชมพูจะมีเส้นทางแคราย-มีนบุรีแล้ว ยังมีสายสีชมพูส่วนต่อขยายช่วงสถานีศรีรัช - เมืองทองธานี (โครงการส่วนต่อขยายฯ) ในแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลด้วย ​​โดยจะเป็นระบบขนส่งมวลชนประเภทรถไฟรางเดี่ยว (Straddle Monorail) มีลักษณะเป็นโครงสร้างยกระดับตลอดเส้นทาง มีจุด​​เชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีชมพูสายหลัก ที่สถานีเมืองทองธานี (PK10) เข้าสู่ ซอยแจ้งวัฒนะ - ปากเกร็ด 39 ไปสิ้นสุดที่บริเวณทะเลสาบในเมืองทองธานี ระยะทางโดยประมาณ 3 กิโลเมตร​ประกอบด้วย 2 สถานี สถานีที่ 1 สถานีอิมแพ็ค เมืองทองธานี (MT01) และสถานีที่ 2 สถานีทะเลสาบ เมืองทองธานี (MT02) รถไฟฟ้าสายสีเหลืองเปิดมิ.ย.66 รถไฟฟ้าอีกหนึ่งสีที่คนไทยจะได้นั่งกัน คือ รถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง ที่วางแผนกันไว้ว่าจะเปิดให้บริการสำหรับกลุ่มผู้ใช้บริการที่ขอเข้ารับการทดลอง (Control Group Public Trial Run) ตลอดทั้งสาย ภายในเดือนพฤษภาคม 2566 ระยะเวลา 1 เดือน และเปิดให้บริการเชิงพาณิชย์ภายในเดือนมิถุนายน 2566  โดยอัตราค่าโดยสารจะอยู่ประมาณ 15-45** ซึ่งจะมีการคำรวนจากค่าดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนมีนาคม 2566 อีกครั้ง   ส่วนอัปเดตงานก่อสร้างล่าสุด เดือนพฤศจิกายน 2565 ดำเนินงานไปได้แล้วถึง​ 97.73% ความก้าวหน้างานระบบรถไฟฟ้า 97.72% ความก้าวหน้าโดยรวม 97.73% โดยรถไฟฟ้าสายสีเหลือง เป็นโครงสร้างยกระดับตลอดแนวเส้นทาง มีระยะทางทั้งสิ้น 30.4 กิโลเมตรรวม 23 สถานี แบ่งโครงการออกเป็น 2 ช่วง ได้แก่ ช่วงรัชดา/ลาดพร้าว–พัฒนาการ และช่วงพัฒนาการ–สำโรง ซึ่งใช้ระบบรถไฟฟ้ารางเดี่ยว หรือ Monorail ตลอดเส้นทาง อัปเดตค่ารถไฟฟ้าปี 66 ปรับขึ้นเท่าไร? นอกจากปีหน้าเราจะได้นั่งรถไฟฟ้าสีใหม่ เส้นทางใหม่อีก 2 สี 2 เส้นทางแล้ว รถไฟฟ้าสายเดิมที่วิ่งให้บริการอยู่ ก็จะพาเหรดกันปรับขึ้นราคาขึ้น กันหลายสายเลยทีเดียว โดยมีการคิดค่าโดยสารเพิ่มขึ้นตั้งแต่ 1-3 บาท   สำหรับอัปเดตค่ารถไฟฟ้าปี 2566 ที่ปรับขึ้นมีดังนี้ 1.BTS สายสีเขียว ปรับขึ้นสูงสุด 3 บาทต่อเที่ยว สำหรับรถไฟฟ้าบีทีเอส มีการปรับค่าโดยสารเริ่มต้นสถานีแรก 17 บาท จากก่อนหน้าเริ่มต้น 16 บาท และสูงสุดต่อเที่ยวเดินทาง คือ 47 บาท ปรับเพิ่มขึ้น 3 บาท จากก่อนหน้าที่คิด ​44​ บาท มีกำหนดเริ่มคิดค่าโดยสารใหม่ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคมนี้   โดยอัตราค่าโดยสารเริ่มต้นของรถไฟฟ้าบีทีเอส ครั้งแรกกำหนดราคา 10-40 บาท หลังจากนั้นได้มีการปรับราคาใหม่ ซึ่งตลอดระยะเวลา 23 ปีของการเปิดให้บริการรถไฟฟ้าบีทีเอสนั้น มีการปรับค่าโดยสารมาแล้ว 3 ครั้ง ดังนี้ ครั้งที่ 1 วันที่ 1 ธันวาคม 2549 ปรับราคาเป็น 15-40 บาท ครั้งที่ 2 วันที่ 1 มิถุนายน 2556 ปรับราคาเป็น 15-42 บาท ครั้งที่ 3 วันที่ 1 ตุลาคม 2560 ปรับราคาเป็น 16-44 บาท ตามเงื่อนไขสัญญาสัมปทาน ทางบีทีเอสสามารถปรับขึ้นได้ทุก ๆ 18 เดือน ​แต่การปรับขึ้นทางบีทีเอสจะพิจารณาจากหลายปัจจัย เพื่อไม่ให้กระทบกับผู้โดยสารมากนัก ​โดยค่าโดยสารที่ปรับขึ้นในวันที่ 1 มกราคม 2566 เป็นต้นนั้น จะเป็น​บัตรโดยสารเที่ยวเดียว (Single Journey Card) บัตรแรบบิทบุคคลทั่วไป (Adult) บัตรแรบบิทนักเรียน นักศึกษา (Student)   ส่วนบัตรแรบบิทสำหรับผู้สูงอายุ (Senior) จะยังคงได้รับส่วนลด 50% ของอัตราค่าโดยสารปกติ สำหรับผู้ที่ต้องการเดินทางแบบไม่จำกัดเที่ยว และระยะทางต่อวัน สามารถซื้อบัตรโดยสารประเภทหนึ่งวัน (One-Day Pass) ในราคา 150 บาท 2.MRT สีน้ำเงิน ปรับขึ้นสูงสุด 1 บาทต่อเที่ยว ส่วนรถไฟฟ้าใต้ดิน MRT สายสีน้ำเงิน ก็ปรับค่าโดยสารขึ้นตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2566 เช่นกัน โดยปรับขึ้น 1 บาท เริ่มต้นจาก 17-42 บาท เป็น 17- 43 บาท  โดยเป็นการปรับค่าโดยสารสำหรับการเดินทางสถานที่ 6, 9, 11 และ 12  การปรับค่าโดยสารเป็นการคิดตามดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ที่กำหนดในสัญญาสัมปทาน   ความจริงค่าโดยสารดังกล่าว มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 3 ก.ค.2565 ที่ผ่านมาแล้ว แต่เนื่องจากการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ​กระทรวงคมนาคม และบริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM ในฐานะผู้รับสัมปทาน ได้หารือร่วมกันเพื่อช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายของประชาชนในภาวะค่าครองชีพสูง จึงยังคงอัตราค่าโดยเดิมไว้ก่อนจนถึง​วันที่ 31 ธันวาคม 2565 3.สีทองปรับขึ้น 1 บาทต่อเที่ยว สำหรับรถไฟฟ้าสายสีทอง ซึ่งเป็นเส้นทางรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายจากรถไฟฟ้าบีทีเอส เส้นทางกรุงธนบุรี-คลองสาน ก็มีแผนปรับค่าโดยสารขึ้นตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2566 เช่นกัน โดยจะปรับขึ้น 1 บาท จากราคา 15 บาท เป็น 16 บาทตลอดสาย ซึ่งเป็นไปตามแผนการบริหารโครงการของบริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด ผู้บริหารจัดการรถฟ้าสายสีทองระยะที่ 1 สถานีรถไฟฟ้ากรุงธนบุรี-สำนักงานเขตคลองสาน ​แต่ก็ยังคงมีค่าลดหย่อนให้กับผู้โดยสารต่าง ๆ เช่น ผู้สูงอายุ ผู้พิการที่มีบัตรประจำตัวคนพิการ ในอัตราค่าโดยสาร 8 บาทตลอดสายเช่นเดิม ​   ส่วนรถไฟฟ้าเส้นทางอื่น หรือสีอื่น ไม่ว่าจะเป็นสีม่วง สีแดง หรือแอร์พอร์ต เรียลลิงค์ ยังไม่มีความเคลื่อนไหวในด้านราคาว่าจะมีการปรับขึ้นหรือไม่อย่างไร ยังไงหากมีความคืบหน้าจะนำมาอัปเดตและแจ้งข่าวให้ทราบอีกครั้ง       หมายเหตุ *อัตราค่าโดยสารพื้นฐานอ้างอิง ตามเอกสารสำหรับคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนของ (RFP) อัตราโดยสาร จะคำนวณใหม่อีกครั้ง อ้างอิงจากดัชนีราคาผู้บริโภคเดือนพฤษภาคม 2566 **อัตราค่าโดยสารเบื้องต้นอ้างอิงจากดัชนีราคาผู้บริโภค​เดือนมีนาคม 2565 คำนวณใหม่อีกครั้ง ​-สายสีชมพูช่วงสถานีศรีรัช-เมืองทองธานี ยังไม่ได้กำหนดอัตราค่าโดยสาร ที่มา : Reviewyourliving รวมรวม, การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชลแห่งประเทศไทย, ก.คมนาคม  
สิวารมณ์  วาง 5 กลยุทธ์เติบโตต่อเนื่อง จับลูกค้าบ้าน 8-12 ล้าน-ปิดโปรเจ็กต์ใน 3 ปี

สิวารมณ์ วาง 5 กลยุทธ์เติบโตต่อเนื่อง จับลูกค้าบ้าน 8-12 ล้าน-ปิดโปรเจ็กต์ใน 3 ปี

สิวารมณ์​วาง 5 กลยุทธ์เติบโตต่อเนื่อง ขยับจับตลาดลูกค้ากลุ่มบน ต้องการบ้านราคา 8-12 ล้าน เน้นสปีดปั้นโปรเจ็กต์จบใน 3 ปี พร้อมระดมทุน 130 ล้าน หุ้นในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ มั่นใจตลาดอสังหาฯ เติบโต จากเรียลดีมานด์ หลังโควิด-19 ส่งผลให้คนต้องการบ้านแนวราบเพิ่มขึ้น   หลังจาก “สิวารมณ์ เรียลเอสเตท” ได้ยื่นแบบคำขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์และแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ (Filing) ต่อสำนักงาน ก.ล.ต. เพื่อขอออกและเสนอขายหุ้นสามัญแก่ประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก (IPO) จำนวนไม่เกิน 130 ล้านหุ้น คิดเป็นสัดส่วนไม่เกิน 25.49% ของจำนวนหุ้นที่ออกและเรียกชําระแล้วทั้งหมดภายหลังการเสนอขายหุ้น มูลค่าที่ตราไว้(พาร์) 1.00 บาท และทางสำนักงาน ก.ล.ต. ได้นับ 1 แบบคำขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์แล้ว ตั้งแต่วันที่ 2 ธันวาคม 2565 ที่ผ่านมา สิวารมณ์ ก็ได้เริ่มเดินหน้านำเสนอข้อมูลนักลงทุน (โรดโชว์) เพื่อประกาศศักดาความพร้อมในการระดมทุนครั้งนี้   สำหรับเป้าหมายของการระดมทุนในครั้งนี้ ต้องการนำเงินทุนที่ได้ไปใช้ใน 3 เรื่องหลัก คือ ซื้อที่ดิน สำหรับการพัฒนาโครงการต่อเนื่อง และรับรู้รายได้ในปี 2567-2568 ชำระหนี้เงินกู้ ใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในการดำเนินธุรกิจ สิวารมณ์วาง 5 กลยุทธ์เติบโตปี 66  โดยนับตั้งแต่วันแรกที่บริษัทจดทะเบียนเริ่มต้นธุรกิจ วันที่ 24 พฤษภาคม 2560 ด้วยทุนจดทะเบียนเริ่มต้น 100 ล้านบาท ได้มีความตั้งใจแรก คือการนำบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา จึงได้มีการวางโครงสร้างธุรกิจ และเตรียมความพร้อมในด้านต่าง ๆ ซึ่งในปีหน้าทางบริษัทคงทำได้ตามแผนงานที่วางเอาไว้   ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ผลการดำเนินงานของบริษัทเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะช่วง 3 ปีที่ผ่านมา โดยปี 2562 มีรายได้รวม 243 ล้านบาท ขาดทุนสุทธิ 5 ล้านบาท ปี 2563 มีรายได้จากการขาย 557 ล้านบาท กำไรสุทธิ 42 ล้านบาทปี 2564 มีรายได้จากการขาย 576 ล้านบาท กำไรสุทธิ 64 ล้านบาท ส่วนช่วง​ 9 เดือนแรกของปีนี้ บริษัทมีรายได้รวม 532 ล้านบาท กำไรสุทธิ 36 ล้านบาท บริษัทมีอัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (D/E) อยู่ในระดับต่ำ โดย ณ 9 เดือนแรกปี 2565 D/E เพียง 1.39 เท่า และบริษัทได้กำหนดนโยบายการดำรง D/E ก่อน IPO 3:1 และหลัง IPO 2:1   โดยภายหลังจากการเข้าจดทะเบียนในตลาดเป็นที่เรียบร้อย เงินทุนที่นำมาต่อยอดธุรกิจ จะเป็นหนึ่งปัจจัยสำคัญช่วงสร้างการเติบโตให้บริษัทอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ ยังมีอีก 5 กลยุทธ์สำคัญที่จะผลักดันให้การเติบโตของบริษัทเป็นไปตามที่ได้วางแผนไว้ คือ 1.ขับเคลื่อนธุรกิจด้วย 4 “S” SMART  กลยุทธ์หลักของ สิวารมณ์ ที่ใช้มาตั้งแต่เริ่มต้นธุรกิจ คือแนวคิด "Best Smart Living" ที่ขับเคลื่อนด้วย 4 “S” SMART ซึ่งประกอบด้วย -ทำเลที่ตั้งโครงการที่มีศักยภาพ (SMART Location) ทำเลหลักที่พัฒนาจะเป็นในจังหวัดกรุงเทพฯ สมุทรปราการ และชลบุรี ทั้งทำเลใกล้กับแหล่งงาน นิคมอุตสาหกรรม ระบบคมนาคม รถไฟฟ้าทั้งที่เปิดดำเนินการแล้ว และอยู่ระหว่างการพัฒนาในเส้นทางส่วนต่อขยาย โดยในปี 2566 สิวารมณ์ จะขยายทำเลที่ตั้งในการพัฒนามายังพื้นที่ใกล้ใจกลางเมืองของกรุงเทพฯ​ และจังหวัดนนทบุรี เพื่อรองรับกับความต้องการของกลุ่มลูกค้า และสร้างการเติบโตจากการดำเนินธุรกิจ ​ -การออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์ผู้อยู่อาศัย (SMART Function) มุ่งเน้นให้ความสำคัญกับออกแบบรูปแบบบ้าน เพื่อสอดรับกับการใช้ชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไปในทุกช่วงอายุ ทุกเพศ ทุกวัย -ความคุ้มค่าในการเลือกซื้อที่อยู่อาศัย (SMART Value) สิวารมณ์ไม่ได้เน้นการขายบ้านในราคาถูกกว่าคู่แข่งในพื้นที่เดียวกัน แต่เน้นความคุ้มค่าของราคาเมื่อเทียบกับพื้นที่ของบ้านเป็นหลัก ​ -ความทันสมัยและความสะดวกสบาย (SMART Home) มีการนำเอานวัตกรรมเทคโนโลยีที่ทันสมัย มาประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเข้าร่วมกับอุปกรณ์ต่างๆภายในบ้าน เพื่ออำนวยความสะดวกและเพิ่มความปลอดภัยให้กับผู้อยู่อาศัย  ภายใต้สโลแกน “ควบคุมง่ายๆ อยู่ที่ไหนก็สั่งได้” 2.ขยายฐานลูกค้าบ้าน 8-12 ล้าน สิวารมณ์ เริ่มต้นการพัฒนาโครงการบ้านแนวราบ ด้วยการจับตลาดกลุ่มลูกค้าเรียลดีมานด์ ที่มีระดับราคาตั้งแต่ 1-7 ล้านบาท ซึ่งมีข้อดีคือ เป็นคนที่ต้องการบ้านจริง ๆ และเป็นกลุ่มฐานใหญ่ของตลาดที่มีจำนวนมาก แต่จากภาวะเศรษฐกิจและปัจจัยลบต่าง ๆ ในปัจจุบัน ทำให้ลูกค้ากลุ่มนี้ เป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจและกำลังซื้อโดยตรง ทำให้มีหนี้เสียหรือการปฏิเสธสินเชื่อจากธนาคารค่อนข้างเยอะ ขณะที่กลุ่มลูกค้าที่มีรายได้สูง จะได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจและกำลังซื้อน้อยกว่า และยังเป็นกลุ่มที่ต้องการอยู่อาศัยจริง ตามไลฟ์สไตล์ที่เปลี่ยนแปลงไป จากการได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ซึ่งต้องการอยู่อาศัยบ้านแนวราบมากกว่าคอนโดมิเนียม ถือเป็นอีกกลยุทธ์การบริหารความเสี่ยงด้วย นายอรรถปวิทย์ มโนธรรมรักษา กรรมการผู้จัดการ บริษัท สิวารมณ์ เรียลเอสเตท จำกัด (มหาชน) หรือ “SVR” เปิดเผยว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด -19 ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ส่งผลให้พฤติกรรมผู้บริโภค หันมาเน้นให้ความสำคัญในการเลือกซื้อที่อยู่อาศัยแนวราบมากขึ้น และเป็นกลุ่มที่มีความต้องการซื้อเพื่ออยู่อาศัยจริง ( Real Demand) จะเลือกซื้อโครงการจากพื้นที่ใช้สอย และฟังก์ชั่นที่เอื้อประโยชน์ต่อการทำงานที่บ้าน ด้วยระดับราคาที่คุ้มค่าน่าซื้อ ที่สามารถตอบโจทย์ทุกไลฟ์สไตล์ได้ครบทุกมิติ ทำให้ที่อยู่อาศัยแนวราบ ย่านกรุงเทพฯ - ปริมณฑล ในระดับราคาไม่เกิน 5-7 ล้านบาท จึงมีความต้องการเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน 3.ปั้นโครงการจบเร็วใน 3 ปี หัวใจสำคัญของการดำเนินธุรกิจ คือ การบริหารสภาพคล่องทางการเงิน และกระแสเงินสดอย่างมีประสิทธิภาพ ยิ่งเป็นบริษัทที่มีขนาดธุรกิจไม่ใหญ่ กระแสเงินสดจึงมีความจำเป็นต่อการดำเนินธุรกิจ จึงทำให้บริษัทได้วางกลยุทธ์การพัฒนาโครงการให้สามารถปิดได้อย่างรวดเร็วภายในระยะ 3 ปี ด้วยการซื้อที่ดินมาพัฒนาโครงการขนาดไม่เกิน 50 ไร่เท่านั้น 4.ทำตลาดออนไลน์ จากไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป การใช้โซเชียลมีเดียเข้ามามีบทบาทสำคัญในทุกกิจกรรมของชีวิต ทำให้การทำตลาดของบริษัทจะเน้นไปทั้งการตลาดออนไลน์ เพื่อสื่อสารและทำตลาดเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายมากขึ้น แต่ขณะเดียวกันยังทำตลาดออฟไลน์ควบคู่กันไปด้วย 5.บริหารต้นทุนสู้ปัจจัยลบ จากแนวโน้มการเพิ่มขึ้นของอัตราดอกเบี้ย และปัจจัยลบทางเศรษฐกิจในปี 2566 มีแนวโน้มส่งผลให้ต้นทุนสินค้า และการดเนินธุรกิจต่าง ๆ ปรับเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งอาจจะส่งผลต่อผลการดำเนินงาน และอัตรากำไรอาจลดลงได้ ซึ่งบริษัทได้วางแนวทางการบริหารจัดการภายใน การบริหารต้นทุนให้มีประสิทธิภาพ เพื่อรองรับกับความเสี่ยงต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นในปีหน้า จากความต้องการของผู้บริโภคในโครงการบ้านแนวราบ เขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ที่มีดีมานด์เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ตลาดมีทิศทางการเติบโตเพิ่มขึ้น โดยในปี 2565 ตลาดอสังหาฯ มีแนวโน้มเติบโตในอัตรา 4.5% จากปี 2564 จากปัจจัยดังกล่าวทำให้ สิวารมณ์ มีการเร่งพัฒนาโครงการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพื่อรองรับความต้องการ โดยจะเห็นได้จากในช่วงปี 2562 มีการพัฒนาโครงการจำนวน 2 โครงการ เพิ่มขึ้นเป็น 9 โครงการ ในปี 2565  มีมูลค่าประมาณ 4,600 ล้านบาท โดยปิดโครงการไปแล้ว 2 โครงการมูลค่าประมาณ​ 1,000 ล้านบาท                    
พรอสเพค  เดินแผนปี 66 เพิ่มพื้นที่ใหม่ 1.5 แสนตร.ม.  รับต่างชาติย้ายฐาน-ธุรกิจ EV โต​

พรอสเพค เดินแผนปี 66 เพิ่มพื้นที่ใหม่ 1.5 แสนตร.ม. รับต่างชาติย้ายฐาน-ธุรกิจ EV โต​

พรอสเพค ดีเวลลอปเมนท์ วางเป้าปี 66 เพิ่มลูกค้าใหม่อีก 150,000 ตร.ม. รับอานิสงค์นักลงทุนต่างชาติขยายฐานการผลิต รวมถึงธุรกิจ EV โตก้าวกระโดด หลังไตรมาส 3 เดินหน้าสร้างการเติบโต คว้าลูกค้าเช่าพื้นที่เพิ่ม 100,000 ตร.ม. คาดทั้งปีปิดพื้นที่เช่าใหม่ 120,000 ตร.ม.   นางสาวรัชนี มหัตเดชกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท พรอสเพค ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด ในเครือบริษัท มั่นคงเคหะการ จำกัด (มหาชน) ผู้พัฒนาและบริหารโครงการบางกอกฟรีเทรดโซน เปิดเผยว่า ในปี 2566 บริษัทคาดว่าจะยังคงสร้างการเติบโตต่อเนื่อง โดยตั้งเป้าเพิ่มลูกค้าใหม่เช่าพื้นที่อีก 150,000 ตร.ม. จากปี 2565 ที่คาดว่าจะเซ็นสัญญาลูกค้าใหม่เพิ่ม 120,000 ตร.ม. ซึ่งปัจจัยที่ส่งเสริมการเติบโตในปีหน้านั้น มาจากการความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในภูมิภาค ที่จะส่งผลให้นักลงทุนต่างชาติ ขยายฐานการผลิตมายังประเทศไทยเพิ่มมากขึ้น  และการขยายธุรกิจ EV กลุ่มธุรกิจที่น่าจับตามอง นอกจากกลุ่มโลจิสติกส์แล้ว ยังมีธุรกิจ EV ที่เข้ามาสร้างโอกาสให้กับทาง พรอสเพค ดีเวลลอปเมนท์ เช่นกัน พร้อมอานิสงค์ของนักลงทุนต่างชาติที่เร่งขยายฐานการผลิตมาที่ประเทศไทย เชื่อมั่นว่าปี 2566 จะเป็นช่วงเวลาสำคัญในสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืน สำหรับภาพรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อการอุตสาหกรรม ยังมีแนวโน้มเติบโตต่อ โดยเฉพาะพื้นที่ยุทธศาสตร์โลจิกสติกส์ที่เอื้ออำนวยต่อการขนส่ง และมีการให้สิทธิประโยชน์แก่ผู้ประกอบการไทยและต่างประเทศ ข้อมูลจาก บีโอไอ ระบุว่า คำขอรับการส่งเสริมการลงทุนในปี 2565 มีมูลค่าประมาณ 500,000 ล้านบาท ปัจจัยสนับสนุนหลักมาจากโครงการขนาดใหญ่ที่ทยอยเข้ามา ประกอบกับความขัดแย้งในภูมิภาคส่งผลให้เกิดการย้ายฐานการผลิตมายังไทยเพิ่มขึ้น ซึ่งที่ผ่านมา อัตราเช่าคลังสินค้าและโรงงานในโครงการ BFTZ ยังคงสูงกว่า 90% และมีลูกค้าในไปป์ไลน์ที่กำลังเจรจาเช่าพื้นที่อีกหลายราย นางสาวรัชนี กล่าวว่า ส่วนการดำเนินงานในช่วงไตรมาส 3 ที่ผ่านมา บริษัทมีผู้เช่ารายใหม่ได้เซ็นสัญญาพื้นที่มากว่า 100,000 ตร.ม. ซึ่งทำให้ภายในสิ้นปีนี้ จะปิดปีด้วยพื้นที่เช่าใหม่​ 120,000 ตร.ม. และล่าสุดลูกค้าผู้ให้บริการโลจิสติกส์ชั้นนำของไทย ได้มอบหมายให้บริษัทเป็นผู้พัฒนาอาคารคลังสินค้ารูปแบบ Built-to-Suit พื้นที่เช่า 30,000 ตร.ม. ในเขตอุตสาหกรรมทั่วไป (General Zone) ของโครงการ BFTZ 3 ถนนบางนา-ตราด กม.19 ด้วยสัญญาเช่าระยะยาว 15 ปี ​ผลงานในปีนี้ถือว่าเติบโตตามเป้าที่วางไว้ ภายใต้กลยุทธ์ มากกว่าพื้นที่ (More Than Just Space) ในการส่งมอบอาคารตอบโจทย์การใช้งานผู้เช่าอย่างยืดหยุ่น เราจึงสามารถรักษาฐานผู้เช่าเดิมและเพิ่มเติมผู้เช่าใหม่เข้ามาต่อเนื่อง   สำหรับอาคารคลังสินค้าแห่งใหม่นี้ ได้รับการออกแบบและก่อสร้างตามความต้องการของลูกค้า พัฒนารูปแบบให้มีความทันสมัย ใช้ไฟระบบ LED ที่ช่วยเรื่องการประหยัดไฟ ยกระดับมาตรฐานการใช้งาน เป็นอาคารขนาดใหญ่ที่รวบรวมศูนย์กระจายสินค้าเดิมของผู้เช่ามารวมไว้ในที่เดียวกัน ทำให้สามารถกระจายสินค้าได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ตอบสนองดีมานด์ด้านการขนส่งได้ทันท่วงที โดยทำการลงเสาก่อสร้างเป็นที่เรียบร้อย คาดว่าจะแล้วเสร็จและส่งมอบอาคารภายในช่วงไตรมาส 3 ของปี 2566 พรอสเพค ดีเวลลอปเมนท์ เป็นผู้พัฒนาและบริหารโครงการคลังสินค้าและโรงงานให้เช่า ที่มีความแข็งแกร่งในเรื่องการหาพื้นที่ทำเลศักยภาพ และเชี่ยวชาญด้านการพัฒนาอาคาร พร้อมบริการ One Stop Service ปัจจุบันครองพื้นที่บางพลี ทั้งโครงการ BFTZ 1 บริเวณบางนา-ตราด กม.23, โครงการ BFTZ 3 ถนนบางนา-ตราด กม.19  และ โครงการ BFTZ  6 ถนนบางนา-ตราด กม.19  ที่กำลังอยู่ในระหว่างพัฒนาอาคาร พร้อมเดินหน้าตามโรดแมปกับโครงการ BFTZ 4 บางปะกง ด้วยอาคารพร้อมใช้แบบ Ready Built และในปีหน้า เปิดตัวอาคาร Built-to-Suit โครงการ BFTZ 5 วังน้อย   สำหรับโครงการใหม่ของบริษัทที่บางปะกง จะดึงดูดผู้เช่าในกลุ่มธุรกิจ S-Curve และ New S-Curve อาทิ ธุรกิจการแปรรูปอาหาร ห้องเย็น ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ตลอดจนธุรกิจโลจิสติกส์ โดยเรามุ่งเน้นให้เช่าอาคารคลังสินค้าทั่วไป และอาคารเก็บสินค้าวัตถุอันตราย เป็นหลัก และตั้งเป้าว่าจะพัฒนาอาคาร Ready Built ที่สามารถปรับไปเป็น Built-to-Suit รวมถึงเตรียมที่ดินสำหรับรอพัฒนาอาคาร Built-to-Suit   อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง -เปิดเหตุผล​  “พรอสเพค” ทุ่ม 5,000 ล้าน เพิ่มพื้นที่เช่าโรงงาน-คลังสินค้าสู่ 1 ล้านตร.ม.
[PR News] AWC จับมือ Accor เตรียมขยายโรงแรมกว่า 1,000 ห้อง

[PR News] AWC จับมือ Accor เตรียมขยายโรงแรมกว่า 1,000 ห้อง

AWC ลงนามในกรอบความร่วมมือเชิงกลยุทธ์ฉบับแรกร่วมกับ แอคคอร์ (Accor) เครือข่ายโรงแรมและการบริการชั้นนำระดับสากล เดินหน้าพัฒนาโรงแรมหลายแห่งภายใต้แบรนด์ชั้นนำจากกลุ่ม Accor อาทิ แฟร์มอนท์ (Fairmont) แฟร์มอนท์ เรสซิเดนซ์ (Fairmont Residences) และเอ็มแกลเลอรี (MGallery) ในจุดหมายสำคัญด้านการท่องเที่ยวต่าง ๆ ในประเทศไทยรวมกว่า 1,000 ห้อง     นางวัลลภา ไตรโสรัส ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท แอสเสท เวิรด์ คอร์ป จำกัด (มหาชน) หรือ AWC เปิดเผยว่า  ได้ประกาศความร่วมมือเชิงกลยุทธ์ครั้งแรกกับทาง Accor ซึ่งเป็นเครือโรงแรมชั้นนำระดับโลก เพื่อขยายพอร์ตโฟลิโอกลุ่มธุรกิจโรงแรมของ AWC บนทำเลศักยภาพในประเทศไทย โดยมีแผนจะนำแบรด์ชั้นนำจากกลุ่ม Accor มาช่วยเสริมความแข็งแกร่งให้กับอุตสาหกรรมการโรงแรมและบริการของไทย   สำหรับความร่วมมือครั้งนี้เป็นการนำความเชี่ยวชาญของทั้ง AWC ซึ่งเป็นผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่มุ่งเน้นตอบสนองไลฟ์สไตล์แบบครบวงจรของไทย และกลุ่ม Accor ซึ่งมีฐานลูกค้าทั่วโลกมาร่วมรวมพลังกัน เพื่อยกระดับประเทศไทยให้เป็นจุดหมายปลายทาง ที่มีแบรนด์โรงแรมชั้นนำระดับโลกมากมาย รวมถึงสร้างศักยภาพในการเพิ่มกระแสเงินสดและการเติบโตที่แข็งแกร่งให้กับ AWC อีกด้วย   นายการ์ท ซิมมอนส์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร แอคคอร์ ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ กล่าวว่า Accor มุ่งมั่นที่จะขยายการเติบโตอยู่เสมอ ผ่านการทำงานร่วมกับพันธมิตรที่เป็นเจ้าของธุรกิจ ที่เข้าใจถึงวิสัยทัศน์และธุรกิจโรงแรมของ Accor  และด้วยความร่วมมือเชิงกลยุทธ์ในครั้งนี้ เราตั้งเป้าที่จะนำแบรนด์ชั้นนำระดับโลกมากมายของ Accor มาสู่ประเทศไทย   อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง -AWC เดินแผนขยายธุรกิจแสนล้าน เตรียมเปิดโรงแรมใหม่เพิ่มอีก 9 แห่ง
EIA เรื่องต้องรู้ ก่อนซื้อบ้าน ซื้อคอนโด

EIA เรื่องต้องรู้ ก่อนซื้อบ้าน ซื้อคอนโด

EIA เรื่องต้องรู้ สำหรับคนที่อยากจะมีที่พักอาศัยในเมือง หรือทำเลที่เดินทางสะดวก ใกล้ระบบคมนาคมสาธารณะ โดยเฉพาะอย่างรถไฟฟ้า เชื่อว่าทางเลือกแรกก็ต้องเป็นการอยู่อาศัยในคอนโดมิเนียม เพราะมีราคาที่คนส่วนใหญ่เลือกหาซื้อได้ และทำเลตรงกับความต้องการ   ส่วนหลักเกณฑ์ในการเลือกซื้อคอนโด  คงมีมากมายหลายเรื่องต้องให้พิจารณา ไม่ว่าจะเป็นแบรนด์หรือผู้พัฒนาโครงการ ขนาดห้อง งบประมาณ การดีไซน์โครงการ และอีกหลายเรื่องขึ้นอยู่กับโจทย์และความต้องการของผู้ซื้อ แต่มีหลักเกณฑ์ที่มีความสำคัญ และไม่ควรจะละเลยในการใช้เป็นหลักเกณฑ์ในการเลือกซื้อโครงการคอนโดที่เราอยากจะเข้าไปอยู่อาศัย นั่นก็คือ EIA   EIA ถือว่ามีความสำคัญต่อการพัฒนาโครงการไม่น้อย และดีเวลลอปเปอร์ส่วนใหญ่ ก็มักจะเอา EIA มาใช้เป็นจุดขายสร้างความมั่นใจให้กับลูกค้า หลายโครงการยังมีการแสดงข้อความ EIA Approved บนสื่อโฆษณาต่าง ๆ ของโครงการด้วย ซึ่งหลายคนก็คงรู้และเข้าใจว่า EIA คืออะไร มีความสำคัญยังไง แต่หลายคนโดยเฉพาะที่เพิ่งจะเริ่มต้นทำงานมีเงินเก็บ แล้วจะหาซื้อคอนโดไว้เป็นบ้านหลังแรก อาจจะยังไม่เข้าใจเรื่อง EIA มากนัก วันนี้ Reviewyourliving จึงจะมาเล่าเรื่อง EIA ว่าเป็นเรื่องของอะไร และมีความสำคัญมากน้อยแค่ไหน EIA คือ อะไร สำคัญแค่ไหน? EIA ย่อมาจาก Environmental Impact Assessment Division หรือการทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (เดิมใช้คำว่า การวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ตามพ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535) โดยหมายถึง กระบวนการศึกษาและประเมินผลที่อาจเกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการหรือกิจการ หรือการดำเนินการใดของรัฐห รือที่รัฐจะอนุญาตให้มีการดำเนินการที่อาจมีผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติ คุณภาพสิ่งแวดล้อม สุขภาพ อนามัย คุณภาพชีวิต หรือส่วนได้เสียอื่นใดของประชาชนหรือชุมชน ทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยผ่านกระบวนการการมีส่วนร่วมของประชาชน เพื่อกำหนดมาตรการป้องกันแก้ไขผลกระทบดังกล่าว ผลการศึกษาเรียกว่า รายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นไปตามพ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2561   EIA ถือว่ามีความสำคัญต่อการพัฒนาโครงการเป็นอย่างมาก เพราะอยู่ภายใต้ข้อบังคับของกฎหมาย หากโครงการไหนไม่ผ่าน EIA ก็ไม่สามารถพัฒนาโครงการได้ จะไม่ได้รับใบอนุญาตก่อสร้าง หรือใบอนุญาตจัดสรรโครงการ ยิ่งหากก่อสร้างไปก่อนแล้วเกิดมีคนมาคัดค้านการก่อสร้างเนื่องจากได้รับผลกระทบ และโครงการยังไม่ผ่าน EIA โครงการก็ต้องหยุดการก่อสร้างทันที นี่ก็เป็นเหตุผลสำคัญของ EIA เรื่องต้องรู้ สำหรับคนที่วางแผนจะซื้อบ้าน หรือซื้อคอนโด   สำหรับโครงการที่ต้องยื่นขออนุญาตจัดทำ EIA ต้องดำเนินการจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม กับทางสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) เป็นรายงานที่จัดทำขึ้นโดยนิติบุคคลที่ได้รับอนุญาตจาก สผ. เท่านั้นจึงจะออกรายงานดังกล่าวได้   เมื่อผู้ประกอบการที่จะพัฒนาโครงการได้รับรายงาน EIA แล้ว จะต้องดำเนินการยื่นต่อสผ. เพื่อให้พิจารณาอนุมัติรายงานฉบับดังกล่าว หากรายงานไม่ผ่านการอนุมัติ ผู้ประกอบการจะต้องดำเนินการแก้ไข ประเด็นต่าง ๆ ที่ไม่ผ่านการพิจารณา ให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์  และยื่นกลับให้สผ. พิจารณาอีกครั้ง หรือจนกว่าจะได้รับอนุญาต หรือได้รับความเห็นชอบ 4 เรื่องที่ต้องทำใน EIA สำหรับการจัดทำ EIA จะทำการศึกษาสิ่งแวดล้อมใน 4 ด้านหลัก ได้แก่ 1.ด้านทรัพยากรกายภาพ การศึกษาด้านทรัพยากรกายภาพ เป็นการศึกษาถึงผลกระทบต่อเรื่องต่าง ๆ ว่าเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง หากพัฒนาโครงการนั้นขึ้น อาทิ การศึกษาสภาพของดิน น้ำ อากาศ เสียง จะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร 2.ด้านทรัพยากรชีวภาพ เป็นการศึกษาถึงการเปลี่ยนแปลงในด้านต่าง ๆ ของการพัฒนาโครงการ ที่มีต่อระบบนิเวศน์ที่โครงการตั้งอยู่ หรืออาจจะส่งผลกระทบได้ เช่น ป่าไม้ สัตว์ป่า สัตว์น้ำ ปะการัง เป็นต้น 3.ด้านคุณค่าการใช้ประโยชน์ของมนุษย์ เป็นการศึกษาถึงการใช้ประโยชน์จากทรัพยากร ที่โครงการเกี่ยวข้อง ทั้งด้านทางกายภาพ และชีวภาพของมนุษย์ เช่น การใช้ประโยชน์ที่ดิน 4.ด้านคุณค่าต่อคุณภาพชีวิต จะเป็นการศึกษาถึงผลกระทบของโครงการ ที่จะเกิดกับมนุษย์ ชุมชน ระบบเศรษฐกิจ การประกอบอาชีพ วัฒนธรรมประเพณี ความเชื่อ ค่านิยม รวมถึงทัศนียภาพ คุณค่า ความสวยงาม โครงการแบบไหนที่ต้องยื่นขอ EIA ถ้าเราพูดถึงโครงการประเภทที่อยู่อาศัยที่ต้องยื่นขอใบอนุญาตสิ่งแวดล้อมนั้น จะมีอยู่ด้วยกัน​ 2 ประเภท คือ   1.โครงการคอนโดที่มีจำนวนห้องพักตั้งแต่ 80 ยูนิตขึ้นไป หรือมีพื้นที่ใช้สอยตั้งแต่ 4,000 ตร.ม.ทำให้คอนโดประเภทโลไรส์หลายแห่งที่มีห้องชุดอยู่แค่ 79 ยูนิต ไม่ต้องขอ EIA   2.โครงการบ้านจัดสรรที่มีที่ดินแปลงย่อยตั้งแต่ 500 แปลงขึ้นไป หรือมีเนื้อที่มากกว่า 100 ไร่ จะต้องยื่นของ EIA ถ้าต่ำกว่าเงื่อนไขนี้ก็ไม่ต้องยื่นขอ EIA เช็คให้ชัวร์ ก่อนซื้อบ้าน ซื้อคอนโด อย่างที่กล่าวไว้ตั้งแต่แรกว่า EIA มีความสำคัญ และดีเวลลอปเปอร์มักจะนำเอามาเป็นจุดขาย และจุดสร้างความมั่นใจระดับหนึ่งว่าสามารถพัฒนาโครงการขึ้นมาได้ โดยไม่ขัดต่อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และจะไม่ถูกต่อต้านจากชุมชน สังคม หรือหน่วยงานต่าง ๆ ที่จะได้รับผลกระทบ ผู้ซื้อจึงต้องตรวจสอบและขอดูหลักฐานเอกสารให้ชัดเจนว่าโครงการผ่าน EIA แล้ว หรือหากโครงการไหนอยู่ระหว่างการยื่นขอ EIA ต้องมีการระบุเอกสารหรือหลักฐานที่ชัดเจนว่า หากเกิดกรณีโครงการไม่ EIA จะต้องคืนเงินดาวน์ เงินจอง หรือเงินที่ชำระเพื่อซื้อคอนโด หรือซื้อบ้านคืนด้วย แต่โดยส่วนใหญ่โครงการที่นำออกมาขาย จะผ่าน EIA หรือมีความมั่นใจว่าจะ EIA ได้อย่างแน่นอน   อย่างไรก็ตาม เพื่อความชัวร์และรู้เท่าทันกับเกมการตลาดของผู้ประกอบการ หากมีการกล่าวอ้างว่าโครงการนั้นผ่าน EIA แล้วจริง เราก็สามารถตรวจสอบได้ว่า ข้อมูลที่ผู้ประกอบการกล่าวอ้างนั้นเป็นความจริง ด้วยการเข้าไปเช็คข้อมูลสำหรับโครงการนั้น ๆ ว่าอยู่ในสถานะใด ได้รับความเห็นชอบการผ่านเกณฑ์ หรือได้รับการรับรอง EIA แล้วที่เว็บไซต์ http://eia.onep.go.th ของ สผ. เพื่อที่จะได้ไม่มีปัญหากับประเด็นเรื่องของ EIA ตามมาให้ปวดหัว ทั้งหมดนี้ ก็คือ EIA เรื่องต้องรู้ ก่อนซื้อบ้าน ซื้อคอนโด สำหรับคนที่ควรศึกษาและทำความเข้าใจ       ที่มา -สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  
เทอร์ร่า  เผยเทรนด์การอยู่อาศัยในปี 65  ต้องตอบโจทย์ Well-Being & ความปลอดภัย

เทอร์ร่า เผยเทรนด์การอยู่อาศัยในปี 65 ต้องตอบโจทย์ Well-Being & ความปลอดภัย

เทอร์ร่า เผยเทรนด์การอยู่อาศัยในปี 65 คนอยากมีบ้านใหม่ ที่ตอบโจทย์เรื่อง Well-Being ที่ครบทั้งระบบรักษาความปลอดภัยเยี่ยม เพิ่มนวัตกรรม Smart Home – EV Charger  เพิ่มพื้นที่สีเขียว  ด้าน “SC ASSET” มาแรงแซงโค้งคว้ารางวัล “The Most Powerful Real Estate Brand 2022” เป็นปีแรก สะท้อนการปรับแผนธุรกิจให้สอดรับความต้องการของลูกค้าได้เป็นอย่างดี   นางสาวสุมิตรา วงภักดี กรรมการผู้จัดการ บริษัท เทอร์ร่า มีเดีย แอนด์ คอนซัลติ้ง จำกัด เปิดเผยถึงผลวิจัย The Most Powerful Real Estate Brand 2022 และผลวิจัยเจาะลึกพฤติกรรมผู้บริโภคตามแนวคิด “GOOD HEALTH AND WELL-BEING”  จาการเก็บข้อมูลกลุ่มตัวอย่าง 1,000 ตัวอย่างทางออนไลน์​ พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ 84% มีแผนจะซื้อที่อยู่อาศัย โดยกว่า 44% คาดว่าจะซื้อบ้านเดี่ยว และ 29% คาดว่าจะซื้อคอนโดมิเนียม  ภายใต้งบที่วางไว้ว่าจะซื้อที่อยู่อาศัยในระดับราคา 3-5 ล้านบาท ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ผู้บริโภคตัดสินใจซื้อที่อยู่อาศัยมาจาก 3 ปัจจัย คือ ระบบรักษาความปลอดภัยของโครงการ, บริการหลังการขาย และสังคมเพื่อนบ้านที่ดี   สำหรับที่อยู่อาศัยระดับราคา 3-7 ล้านบาท ในกลุ่มบ้านแนวราบทำเลที่ได้รับความนิยม 3 อันดับแรก คือ รังสิต-ลำลูกกา, บางใหญ่-บางบัวทอง, และบางพลี ขณะที่ทำเลอยู่อาศัย ที่ได้รับความนิยม​ในกลุ่มคอนโด 3 อันดับแรก คือ จตุจักร-ประชาชื่น, อ่อนนุช-บางนา และพญาไท-อารีย์ โดยปัจจัยสำคัญในการซื้อบ้านหรือคอนโด ส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับระบบรักษาความปลอดภัย, บริการหลังการขายที่ดี, สังคมเพื่อนบ้านดี, วัสดุที่ใช้ในการก่อสร้าง และราคา   เมื่อเจาะลึกลงถึงความต้องการของผู้บริโภคในกลุ่มบ้านแนวราบ พบว่า   คนส่วนใหญ่ต้องการบ้านที่มีฟังก์ชั่นครอบคลุม อาทิ Smart Home เพื่อความปลอดภัย, นวัตกรรมจัดการคุณภาพอากาศ, การออกแบบเพื่อสูงอายุ, ที่ชาร์จรถ EV และDouble Volume  ขณะที่กลุ่มคอนโด จะให้ความสำคัญกับฟังก์ชั่นที่เพิ่มความเป็นส่วนตัว อาทิ ประตู-ฉากกั้นห้องนอน, หน้าต่างบานใหญ่, ครัวปิด, ห้องนอนที่สามารถวางเตียงขนาด 6 ฟุตได้ เทอร์ร่า เผยลูกค้าต้องการ Well-being   สำหรับเทรนด์ของผู้บริโภคในปี 2565 จะเห็นว่าผู้ตอบแบบสอบถาม จะให้ความสำคัญ กับโครงการอสังหาฯ ​ที่ช่วยสร้างความเป็นอยู่ที่ดี (Well-being) มากกว่าการเปรียบเทียบราคาหรือทำเล เหมือนที่ผ่านมา ​โดยมีความต้องการหรือคาดหวังบ้านในอุดมคติ จะต้องช่วยสร้างความเป็นอยู่ให้ดีขึ้น และต้องสอดคล้องกับไลฟ์สไตล์ส่วนบุคคล  ผู้อยู่อาศัยในแต่ละช่วงวัย   นอกจากนี้ ยังมีข้อมูลที่น่าสนใจ จากผู้ตอบแบบสอบถามในกลุ่ม Gen Y อายุ 27-40 ปี มีแผนที่จะซื้อที่อยู่อาศัยถึง 88% โดยตัวเลขที่น่าสนใจคือ 38% ของ Gen Y เป็นการซื้อบ้านหลังที่ 2 และ 29% เป็นการซื้อบ้านหลังแรก  ซึ่งส่วนใหญ่มีความต้องการซื้อบ้านเดี่ยวในระดับราคา 3-7 ล้านบาท และให้ความสำคัญกับระบบรักษาความปลอดภัยที่รัดกุมและทันสมัย รวมถึงการออกแบบ Universal Design รองรับทุกเพศ ทุกวัย และพื้นที่ส่วนกลาง 24 ชั่วโมง   ขณะที่กลุ่ม Gen Z อายุ 18-26 ปี ก็เป็นอีกกลุ่มที่กว่า 87% ของผู้ตอบแบบสอบถาม มีแผนที่จะซื้อที่อยู่อาศัย ซึ่ง 72% เป็นการซื้อบ้านหลังแรกของ Gen Z และ 17% เป็นการซื้อบ้านหลังที่ 2 โดยสนใจซื้อคอนโดและบ้านเดี่ยว ในระดับราคา 2-5 ล้านบาท โดยปัจจัยสำคัญมาจาก ความต้องการที่อยู่อาศัยเป็นของตัวเอง, ต้องการสังคมที่ดีขึ้น ปลอดภัยขึ้น และต้องการซื้อไว้พักอาศัยในวันทำงาน   ในขณะที่เรื่องการจัดการระบบสาธารณูปโภคที่ดี เช่น สายไฟลงดิน, ระบบระบายน้ำ, ระบบจัดการขยะ นวัตกรรมที่ช่วยอำนวยความสะดวก เช่น Smart Home, EV Charger, การก่อสร้างที่ไม่ก่อมลพิษ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ยังเป็นเทรนด์สำคัญที่คนกลุ่ม Gen Z มีความต้องการเป็นอันดับต้นๆ   ด้านแนวโน้มความเชื่อมั่นผู้บริโภคปี 2565 พบว่ามีสัญญาณดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด จากดัชนีความเชื่อมั่น  ผู้บริโภคปี 2565 อยู่ที่ 79.3 เพิ่มขึ้นจากปี 2564 ที่ 45.4 ซึ่งจากข้อมูลพบว่ากลุ่มเจ้าของกิจการมีความเชื่อมั่น มากขึ้น โดยส่วนใหญ่ให้ความเห็นว่าปี 2565 สถานะทางการเงินดีขึ้นเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา และเชื่อมั่นว่าในอีก 1 ปีข้างหน้าภาพรวมเศรษฐกิจไทยจะอยู่ในช่วงขาขึ้น ซึ่งมีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าที่มีมูลค่าสูง เช่น อสังหาฯหรือรถยนต์ เป็นต้น เอสซีฯ คว้ารางวัลปีแรก สำหรับการประกาศผลรางวัล The Most Powerful Real Estate Brand ประจำปี 2565 ผู้ที่คว้ารางวัลในปีนี้ ได้แก่ บริษัท เอสซี แอสเสท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) นับเป็นปีแรกที่ SC ASSET คว้ารางวัล The Most Powerful Real Estate Brand โดยเป็นแบรนด์ที่มีการปรับตัวเติบโตต่อเนื่อง ทั้งการรับรู้ ภาพลักษณ์และความพึงพอใจ ก่อให้เกิดการสร้างฐานลูกค้าผู้ภักดี ครองตำแหน่งอันดับ 1 ในปีนี้   ขณะที่ บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) ได้รับรางวัล Eternal Award สำหรับแบรนด์ที่ครองใจลูกค้าได้  ต่อเนื่องเป็นอันดับหนึ่ง 5 ปี ติดกัน  เปรียบเสมือนแบรนด์ดาวค้างฟ้าเป็นตำนานในแวดวงอสังหาฯ  และ บริษัท แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) ที่ในปีนี้สามารถคว้ารางวัล Credence Award แบรนด์ผู้กำหนดบรรทัดฐานคุณภาพและสร้างฝันของลูกค้าได้เป็นจริงสูงที่สุด และประกาศเกียรติคุณพิเศษให้กับบริษัท เสนาดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) ด้าน Excellence in Cater to Economy Group (แบรนด์ตอบโจทย์คนชั้นกลาง) และบริษัท แมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด หรือ MQDC ด้าน Excellence in Green Development (แบรนด์ที่พัฒนามุ่งคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม)  การเข้าสู่ Metaverse นั้นพบว่าผู้คนมีประสบการณ์การใช้งานสัดส่วนเพียง 17% และ มีความคิดเห็นต่อโลกเสมือนจริงว่าน่าจะมาแทนที่โลกจริงได้ 62% ในขณะที่คนกลุ่ม Gen Z นั้นมีความคิดเห็นว่าโลกเสมือน Metaverse น่าจะเข้ามาแทนที่โลกแห่งความจริงได้สูงถึง 80% มากกว่ากลุ่มคนอื่นๆ โดยการเข้าสู่ Metaverse นั้นเป็นไปเพื่อความบันเทิง (เล่นเกมส์ ดูคอนเสิร์ต) เพื่อการทำงาน (ประชุมออนไลน์) และเพื่อการลงทุน (NFT, Cryptocurrency) และประสบการณ์ต่อบริษัทผู้พัฒนาอสังหาฯ ที่เข้าสู่ Metaverse นั้นการรับรู้ยังอยู่ในระดับต่ำ   สำหรับการรองรับผู้บริโภคยุคใหม่นี้ ผู้พัฒนาอสังหาฯ ​ต้องกำหนดจุดยืน จุดขายของตนเองใหม่ เนื่องด้วยผู้บริโภคในวันนี้ไม่ได้มองหาบ้านเพื่อการอยู่อาศัยเพียงเท่านั้น แต่ต้องการหาพื้นที่ที่จะช่วยสร้างความเป็นอยู่ที่ดี (Well-being) ให้เกิดขึ้น โดยมีองค์ประกอบสำคัญ 4 ประการนั้นคือ เทคโนโลยีด้านความปลอดภัย ความสะดวกสบายด้วยร้านค้า สิ่งอำนวยความสะดวกในระยะเวลา 15 นาที  สังคมเพื่อนบ้านที่เป็นมิตร และสภาพแวดล้อมที่ดี เพื่อหลีกหนีความวุ่นวาย ซึ่งโครงการที่ตอบโจทย์ผู้บริโภคในทศวรรษนี้ นั่นคือ การวางแผนการพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์แบบผสมผสาน หรือ มิกซ์ยูส (Mix-used Project) นั่นเอง การทำอสังหาฯ ต้องคิดใหม่ทำใหม่ เพราะลูกค้าซื้อบ้านเพื่อการอยู่อาศัยในคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น   อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง -เทอร์ร่าบีเคเค เผย โควิด-19 กระทบความเชื่อมั่น​  ลูกค้าเลื่อน-พับแผนซื้อบ้าน หวั่นสถานการณ์รุนแรง
บุญถาวร  ทุ่ม1,000 ล้าน ปั้น  Design Village  รับวิถีชีวิตคนยุค New Normal -Digital

บุญถาวร ทุ่ม1,000 ล้าน ปั้น  Design Village รับวิถีชีวิตคนยุค New Normal -Digital

บุญถาวร บุญถาวร ปั้น  Design Village  รับวิถีชีวิต New Normal -Digital ทุ่มกว่า 1,000 ล้าน เดินหน้า 2 โครงการใหม่ พร้อมเปิดตัวในปี​ 66 มั่นใจตลาดท่องเที่ยวฟื้นตัว ปลุกยอดขายเติบโต คาดทำรายได้ตามเป้า 15,000 ล้าน   บุญถาวร ศูนย์จำหน่ายเฟอร์นิเจอร์ วัสดุอุปกรณ์ และของแต่บ้าน ที่อยู่ในตลาดเมืองไทยมากว่า 45 ปี ปัจจุบันมีสาขาทั่วประเทศรวม 14 แห่ง  ถือเป็นหนึ่งผู้เล่นรายสำคัญที่ทำตลาดในเมืองไทยมายาวนาน โดยที่ผ่านมามีการปรับตัว  เพื่อรองรับกับพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปอยู่ตลอดเวลา   นายสิทธิศักดิ์ ทยานุวัฒน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บุญถาวร กรุ๊ป จำกัด เปิดเผยว่า บริษัทอยู่คู่กับสังคมไทยมานานถึง 45 ปี ซึ่งที่ผ่านมาได้พยายามปรับตัวให้สอดคล้องกับวิถีชีวิต ไลฟ์สไตล์ของคนแต่ละเจเนอเรชั่น โดยผ่านการทำการตลาด การรีแบรนด์ มาจนถึงปัจจุบัน ที่การตกแต่งที่อยู่อาศัย มีการดีไซน์มากขึ้น เราปรับตามสภาพสังคม และขยายธุรกิจเดิมด้วย เดิมเราขายสินค้าตกแต่ง อุปกรณ์ภายในบ้าน อุปกรณ์ไฟฟ้าและแสงสว่าง เฟอร์นิเจอร์ในบ้าน ช่วง 5 ปีที่ผ่านมาเราจึงขยายมาสู่ไลฟ์สไตล์สโตร์ บุญถาวร 3 ปีปั้น 8 แห่ง บริษัทได้เริ่มต้นพัฒนาโครงการ Design Village ซึ่งเป็นรูปแบบของไลฟ์สไตล์สโตร์ ด้วยการผสมผสานร้านค้าไลฟ์ไสตล์เข้ามา ไม่ว่าจะเป็นซุปเปอร์มาร์เก็ต ร้านค้าแฟชั่น ร้านการแฟ ซึ่งสาขาแห่งแรกเปิดให้บริการในปี 2561 ที่สาขาราชพฤกษ์ ต่อมาขยายสาขาต่อเนื่องแห่งที่ 2 สาขาพุทธมณฑล และสาขาเกษตร-นวมินทร์ เป็นสาขาที่ 3 ในปีที่ผ่านมา ซึ่งถือว่าทั้ง 3 สาขา ได้รับผลการตอบรับที่ดี ด้วยยอดคนเข้าใช้บริการเติบโต 300% มีผู้เข้ามาใช้บริการต่อวันกว่า 20,000 คน และสามารถสร้างยอดขายได้กว่า 4,500 ล้านบาท   ความสำเร็จดังกล่าว ทำให้บุญถาวร เดินหน้าขยายโครงการ Design Village  ต่อเนื่อง โดยในปีนี้ลงทุนกว่า 1,000 ล้านบาท เพื่อขยายสาขาใหม่อีก 2 แห่งที่สาขาบางนา และรัชดา ซึ่งจะเปิดให้บริการได้ในปี 2566 และคาดว่าหลังจากเปิดให้บริการครบแห่ง 5 แห่ง จะมียอดขายรวม 11,000 ล้านบาท   นอกจากนี้ บริษัทยังมีที่ดินสะสมและที่ดินของสาขาบุญถาวรในพื้นที่ต่างจังหวัด ซึ่งสามารถพัฒนาเป็นโครงการ Design Village ได้อีกหลายแห่ง อาทิ ภูเก็ต เชียงใหม่ อุดรธานี และพัทยา โดยหากมีโอกาสและความพร้อมของทำเล จะมีการพัฒนาโครงการในต่างจังหวัด รวมถึงพื้นที่เขตปริมณฑลอย่างต่อเนื่องด้วย   อย่างไรก็ตาม  บริษัทได้วางแผนภายในปี 2569 จะมีการพัฒนาโครงการ Design Village ครบ 8 แห่ง โดยตั้งแต่ปี 2567-2569 จะพัฒนาปีละ 1 แห่ง ใช้งบลงทุนสาขาละประมาณ 1,000 ล้านบาท 4 ไฮไลท์ตอบโจทย์ New normal-ดิจิทัล จากการเปลี่ยนแปลงของผู้บริโภคในยุคดิจิทัล รวมถึงวิถีชีวิตภายหลังจากเผชิญกับสถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่ผ่านมา ซึ่งส่งผลให้วิถีชีวิตของคนยุคปัจจุบันเข้าสู่ยุค New Normal ที่มีการทำงานจากที่บ้าน (Work from Home) และการใช้สื่อดิจิทัลมาช่วยในการทำงาน รวมถึงการใช้ชีวิตด้านต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้น แม้ปัจจุบันสถานการณ์โควิดจะปรับตัวดีขึ้น จนทำให้มีการกลับเข้าไปทำงานที่ออฟฟิศ แต่ก็มีหลายบริษัทที่ยังคงทำงานจากที่บ้าน หรือไม่ก็เป็นการทำงานแบบผสมผสาน หรือ Hybrid   การพัฒนาโครงการ Design Village ในรูปแบบใหม่ เพื่อรองรับกับวิถีชีวิตดังกล่าว จึงมีการเปลี่ยนแปลงและเพิ่มเติม ทั้งงานดีไซน์ ฟังก์ชั่นการใช้งาน และสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ เพิ่มเข้ามา 1.การดีไซน์ Semi-Outdoor โครงการ Design Village ในรูปแบบใหม่จะดีไซน์และตกแต่งให้มีความโปร่ง สบาย ไม่ทึบเหมือนของเดิม และเพิ่มเติมพื้นที่ในส่วน Semi-Outdoor เพื่อสร้างบรรยากาศในการจับจ่ายใช้สอยให้กับผู้บริโภค 2.จุด Pick up-Drive thru เพื่อรองรับกับพฤติกรรมผู้บริโภคที่นิยมซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ บุญถาวรจึงเพิ่มจุดรับสินค้า หรือ Pick up และช่องทาง Drive thru เพื่ออำนวยความสะดวก สำหรับลูกค้าที่ต้องการความรวดเร็วในการรับสินค้า ภายหลังจากสั่งซื้อสินค้าผ่านแอปพลิเคชั่น 3.เพิ่มพื้นที่ 24 ชั่วโมง จากพฤติกรรมของคนทำงานในยุคปัจจุบัน ที่ไม่มีข้อจำกัดในเรื่องของเวลา และสถานที่ โครงการ Design Village จะมีการเพิ่มพื้นที่ Co working space ที่สาขารัชดา ขณะเดียวกัน ยังวางแผนเปิดให้บริการในรูปแบบ 24 ชั่วโมง ในบางสาขา หรือร้านค้าผู้เช่าบางแห่งด้วย ซึ่งปัจจุบันเปิดให้บริการถึงเวลา 22.00 น. โดยวางแผนขยายเวลาให้การบริการสำหรับร้านผู้เช่าบางสาขาให้ถึง 24.00 น. ก่อนวางแผนเปิดให้บริการแบบ 24 ชั่วโมงในอนาคต 4.เพิ่มพื้นที่ ช้อป-ทำงาน-ทาน-สัมมนา นอกเหนือไปจากการเพิ่มพื้นที่ทำงานในสาขารัชดา ซึ่งมีพื้นที่ 600-800 ตร.ม. แล้ว โครงการ Design Village ยังวางแผนให้สาขารัชดา เป็นพื้นที่ตอบโจทย์คนทำงานและผู้พักอาศัยในพื้นที่ใกล้เคียง จึงเตรียมร่วมกับพันธมิตรร้านค้า ร้าอาหาร ให้เข้ามาเปิดให้บริการในพื้นที่ดังกล่าว เพื่อให้สาขารัชดาเป็นพื้นที่การช้อปปิ้ง กินข้าว ทำงาน สัมมนา และการเป็นศูนย์กลางการเปิดตัวสินค้าแห่งใหม่ใจกลางเมืองด้วย  จากปกติที่โครงการ Design Village แต่ละสาขาจะมีร้านค้าที่เข้ามาเปิดให้บริการ อาทิ ยูนิโคล่ สตาร์บัคส์ และกูร์เมต์ มาร์เก็ต เดินหน้าสร้างรายได้ 15,000 ล้าน สำหรับผลการดำเนินงานในปี 2565 บุญถาวร คาดว่าจะสามารถทำรายได้รวม 14,000 ล้านบาท เฉพาะโครงการ Design Village ทำรายได้ 4,500 ล้านบาท ส่วนในปีหน้าบุญถาวรคาดว่าจะมีรายได้รวม 15,000 ล้านบาท หรือเติบโต 7-8% แต่หากสถานการณ์ปรับตัวดีขึ้นอาจจะสามารถเติบโตได้ถึง 10% โดยจะได้รับผลดีจากภาคการท่องเที่ยวที่เริ่มฟื้นตัวดีขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้อสังหาริมทรัพย์ที่เกี่ยวข้อง เช่น โรงแรม รีสอร์ท มีการรีโนเวต ทำให้บุญถาวรได้รับอานิสงค์ในกลุ่มลูกค้าเหล่านี้ ที่ปัจจุบันมีสัดส่วนรายได้จากยอดขายนอกกลุ่มที่อยู่อาศัย 30%   อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง -ใครท็อปฟอร์มสุด ในธุรกิจ ร้านวัสดุ-เฟอร์นิเจอร์ Q3/65 -อิเกีย ขายเสื้อผ้า ครั้งแรก!! จากเฟอร์นิเจอร์สู่สตรีทแฟชั่น…
“แอลฟา” ปักหมุด คลังสินค้า ใหม่ย่านรังสิต  เปิดพื้นที่เช่า 56,000 ตร.ม. 1,450 ล้าน

“แอลฟา” ปักหมุด คลังสินค้า ใหม่ย่านรังสิต เปิดพื้นที่เช่า 56,000 ตร.ม. 1,450 ล้าน

“แอลฟา อินดัสเทรียล โซลูชั่น” เดินหน้าตามแผน 5 ปี  ขยายอาณาจักร คลังสินค้า เกาะทำเลคลัสเตอร์ภาคอุตสาหกรรมและยุทธศาสตร์การขนส่ง ปักหมุดลงเสาเอกคลังสินค้าแห่งใหม่ “แอลฟา รังสิต” มูลค่ากว่า 1,450 ล้าน พื้นที่เช่ากว่า 56,000 ตร.ม. คาดก่อสร้างแล้วเสร็จ Q2/2566 พร้อมประเดิมลูกค้ารายใหญ่ “เอสซีจีโฮม รีเทล” สร้างคลังสินค้า Built-to-Suit บนพื้นที่กว่า 22,000 ตร.ม.     นายปธาน สมบูรณสิน กรรมการผู้จัดการ บริษัท แอลฟา อินดัสเทรียล โซลูชั่น จำกัด หรือ ALPHA ผู้พัฒนาธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เพื่อการอุตสาหกรรมพร้อมบริการครบวงจร ภายใต้การร่วมทุนระหว่างบริษัท ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) หรือ ORI และบริษัท เจดับเบิ้ลยูดี อินโฟโลจิสติกส์ จำกัด (มหาชน) หรือ JWD เปิดเผยว่า ได้เริ่มแผนธุรกิจตามแผนงาน 5 ปีที่มุ่งพัฒนาโรงงานและคลังสินค้าในทำเลยุทธศาสตร์ให้ได้รวม 1 ล้าน ตร.ม. โดยได้เริ่มต้น​ทำพิธีลงเสาเอกโครงการคลังสินค้า แอลฟา รังสิต (ALPHA Rungsit) หนึ่งในโครงการร่วมทุนพัฒนากับบริษัท โตคิว แลนด์ เอเชีย จำกัด พันธมิตรยักษ์ใหญ่ด้านอสังหาริมทรัพย์จากญี่ปุ่น ​ขนาดที่ดินกว่า 54 ไร่ บนถนนพหลโยธิน กม.33 ที่มีความโดดเด่นด้านทำเล ถือได้ว่าเป็นพื้นที่ยุทธศาสตร์สำคัญด้านการขนส่ง มีพื้นที่รวมกว่า 87,000 ตร.ม. คิดเป็นพื้นที่ให้เช่าสูงถึง 56,000 ตร.ม. โครงการคลังสินค้า แอลฟา รังสิต มีผู้เช่ารายแรกแล้ว และลงนามสัญญาเช่าระยะยาว ​คือ บริษัท เอสซีจีโฮม รีเทล จำกัด ในเครือเอสซีจี ถือเป็นการตอกย้ำให้เห็นถึงศักยภาพของทำเลและคุณภาพของคลังสินค้าที่เพียบพร้อมด้วยนวัตกรรมทันสมัย ได้มาตรฐานตอบโจทย์ความต้องการเป็นอย่างดี   ทั้งนี้ คลังสินค้าของเอสซีจีโฮม รีเทล จะเป็นการพัฒนาตามความต้องการของผู้เช่า (Built-to-Suit) โดยทีมงานของทั้ง 2 บริษัทร่วมกันออกแบบในทุกขั้นตอน เพื่อให้ตัวอาคารสามารถตอบสนองทุกกิจกรรมภายในคลังสินค้าได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ อาทิ การออกแบบให้มีประตูเปิด 3 ด้าน การออกแบบ Floor Load ให้รองรับน้ำหนักได้ถึง 5 ตันต่อ ตร.ม. การวางระบบจัดเก็บสินค้าแบบวีเอ็นเอ (Very Narrow Aisle Racking System) เพื่อให้สามารถวางของแนวสูงได้อย่างเต็มประสิทธิภาพโดยยังสามารถเข้าถึงชั้นวางได้ง่าย การออกแบบฟังก์ชันและตกแต่งพื้นที่ออฟฟิศให้มีบรรยากาศน่าทำงาน ตลอดจนการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ทันสมัยเข้ามาตอบโจทย์การทำงานในคลังสินค้า ด้าน นายสิทธิศักดิ์ ทยานุวัฒน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอสซีจีโฮม รีเทล จำกัด หรือ SCGH กล่าวว่า ทำเลย่านรังสิตถือเป็นทำเลยุทธศาสตร์สำคัญที่มีความได้เปรียบในการขนส่ง เหมาะสมในการเป็นศูนย์กลางการขนส่งสินค้า เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของศูนย์กระจายสินค้าประจำภูมิภาค (Regional Distribution Center) สนับสนุนการขนส่งสินค้าให้กับสาขาอย่างมีประสิทธิภาพ และสะดวกต่อการประสานงานกับคู่ค้าและซัพพลายเออร์ของบริษัท ขณะเดียวกัน ยังเป็นทำเลย่านพักอาศัยที่มีหมู่บ้านขนาดใหญ่จำนวนมาก ถือเป็นทำเลที่เหมาะสมต่อการขนส่งสินค้าระยะสุดท้ายสู่มือผู้บริโภค (Last Mile Transportation) และทำให้สินค้าถึงมือผู้บริโภคได้อย่างรวดเร็ว   ทั้งนี้ บริษัทจึงตัดสินใจเช่าพื้นที่ประมาณ 22,000 ตร.ม.ของโครงการแอลฟา รังสิต โครงการคลังสินค้าบนทำเลศักยภาพ เพื่อเป็นคลังสินค้าและศูนย์กระจายสินค้าหลักของบริษัท สามารถใช้จัดเก็บสินค้าได้มากกว่า 26,000 พาเลท พร้อมสนับสนุนการขนส่งสินค้าให้กับสาขาต่างๆ ตลอดจนรองรับการขยายสาขาเพิ่มเติมในอนาคต โดยจะบริหารพื้นที่กองเก็บ และพื้นที่รวบรวมสินค้าเพื่อให้สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ   สำหรับโครงการแอลฟา รังสิต  ตั้งอยู่บน ถ.พหลโยธิน รังสิต คลอง 1 ในเขตพื้นที่สีม่วง (ที่ดินประเภทอุตสาหกรรม) ที่ใกล้กรุงเทพที่สุด มีที่ดินขนาดกว่า 54 ไร่ มีพื้นที่รวมกว่าประมาณ 87,000 ตร.ม. เป็นพื้นที่ให้เช่ากว่า 56,000 ตร.ม. พัฒนาใน 2 ลักษณะ ได้แก่ คลังสินค้าที่สร้างตามความต้องการของผู้เช่า (Built-to-Suit หรือ BTS) และ คลังสินค้าสำเร็จรูปพร้อมใช้งาน (Ready Built Warehouse หรือ RBW) ปัจจุบันได้เริ่มดำเนินการก่อสร้างคลังสินค้าแบบ Ready Built แล้ว โดยยังมีพื้นที่ว่างเพียงพอรองรับความต้องการแบบ Built-to-Suit คาดว่าจะก่อสร้างแล้วเสร็จพร้อมเปิดให้บริการเต็มรูปแบบในไตรมาส 2/2566 โดยโครงการตั้งอยู่ในทำเลยุทธศาสตร์ที่สามารถรองรับความต้องการด้านคลังสินค้าได้หลากอุตสาหกรรม อาทิ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ อีคอมเมิร์ซ ชิ้นส่วนยานยนต์ วัสดุก่อสร้างและตกแต่งบ้าน ค้าปลีก สินค้าอุปโภคบริโภค ผลิตภัณฑ์สุขภาพ บริการด้านโลจิสติกส์ ตลอดจนสินค้าอาหารสด เหมาะสมที่จะเป็นศูนย์กระจายสินค้าห้องเย็น (Cold Chain Storage)   อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง -เปิดเหตุผล​  “พรอสเพค” ทุ่ม 5,000 ล้าน เพิ่มพื้นที่เช่าโรงงาน-คลังสินค้าสู่ 1 ล้านตร.ม. -เสนาฯ จับมือ ลีโอ ลุยคลังสินค้าครบวงจร ประเดิมแห่งแรกที่เสนาเฟสท์ เจริญนคร 16  
10 เทรนด์ที่อยู่อาศัย กำลังจะเกิดในปี 2566-2568 เรื่องที่ดีเวลลอปเปอร์ต้องไม่พลาด !!

10 เทรนด์ที่อยู่อาศัย กำลังจะเกิดในปี 2566-2568 เรื่องที่ดีเวลลอปเปอร์ต้องไม่พลาด !!

ช่วงปลายเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา​ มีการนำเสนอ 10 เทรนด์ที่อยู่อาศัย ที่กำลังจะเกิดขึ้นในระยะใกล้ โดยศูนย์วิจัยเทรนด์และคอนเซ็ปต์แห่งอนาคต Baramizi Lab ในงานนสัมมนา​หัวข้อ​ Xperience Design Future Trend for Property Sector ประจำปี 2023-2025 (ปี 2566-2568) ภายในเทศกาล WOW l Wonder of Well being City 2022 ที่จัดขึ้นโดยสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ และอมรินทร์ปริ๊นท์ติ้ง จำกัด (มหาชน)   ในหัวข้อดังกล่าว มีประเด็นน่าสนใจสำหรับผู้คนที่อยู่อาศัยทั่วไป และแวดวงผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับธุรกิจอสังหาฯ ที่เป็นการบอกถึงสิ่งที่ผู้คนส่วนใหญ่ให้ความสำคัญ และมีโอกาสถูกนำมาพัฒนาให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้คนเหล่านั้น ​Reviewyourliving จึงนำมาเสนอให้เห็นว่าเทรนด์ต่าง ๆ ดังกล่าวมีอะไรบ้าง และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในธุรกิจอสังหาฯ จะนำไปต่อยอดในเรื่องใดได้บ้าง 10 เทรนด์ที่อยู่อาศัย สุดเด่นในปี 2566-2568 สำหรับเทรนด์ที่อยู่อาศัยในช่วงปี 2566-2568  เป็นไปในทิศทางเดียวกับเมกะเทรนด์ที่เกิดขึ้น การมี Innovation Case Studies ที่เกิดซ้ำกัน โดยเป็นเทรนด์ที่สอดรับกับความคาดหวังของผู้บริโภค ทั้งในระดับสากลและคนไทยด้วย ซึ่งทั้ง​ 10 เทรนด์ที่อยู่อาศัยในระยะ 3 ปีข้าง มีดังนี้ ​ 1.Biodiverse Well-Living การอยู่อาศัยในบ้านที่มีพื้นที่เยียวยาหัวใจ : เนื่องจากเกิดการแพร่ระบาดของโรค และปัญหาความวุ่นวายในสังคมเมือง มีการประเมินว่าภายในปี 2593 ประชกาโลกกว่า 66% จะอาศัยอยู่ในเมือง และผู้คนจะใช้เวลากว่า 93% ภายในบ้านห่างไกลจากธรรมชาติ   โดยอุตสาหกรรมสุขภาพ มีขนาดตลาดที่ใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ ตั้งแต่ปี 2558 จากที่มีขนาดเพียง 3.7​ ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นเป็น 4.4 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2563  โด่ย Wellness Real Estate นับเป็นกลุ่มธุรกิจภายใต้อุตสาหกรรม Wellness มีอัตราการเติบโตสูงสุด ต่อเนื่องแม้จะเจอสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ก็ตาม   สำหรับ Wellness Lifestyle Real Estate มีจำนวนมากในอเมริกาเหนือ และรองลงมา คือ ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค ข้อมูลในปี 2560 Wellness Lifestyle Real Estate มีมูลค่า 134,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เนื่องจากสามารถทำราคาได้สูงกว่าที่อยู่อาศัยทั่วไปถึง 10-25% และที่อยู่อาศัยรวมกับธรรมชาติ เป็นสิ่งที่ทุกคนต้องการและยอมจ่ายเพิ่มเช่นกัน   จากการสำรวจความเห็นของคนไทย พบว่า ผู้บริโภคชาวไทยให้ความสนใจประสบการณ์ธรรมชาติเฉลี่ยถึง 86.85% ชอบอยู่กับธรรมชาติเพื่อสัมผัสความสงบ ถึงชีวิตกลับสู่ความสมดุลย 85.2% ใส่ใจกับสุขภาพโดยมุ่งเน้นการดูแลด้านจิตใจ ทำสมาธิ ดึงจังหวะการใช้ชีวิตให้ช้าลง คืน ความสมดุลสู่ร่างกาย 70.74%  ต้องการเมืองที่มีพื้นที่สีเขียวสาธารณะเพื่อเชื่อมโยงคนเข้ากับธรรมชาติ 95.0% ต้องการเมืองมีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเสริมสร้างสุขภาวะที่ดี ปรับสมดุลให้กับร่างกาย อารมณ์ และจิตใจ 2.The Serenexurious ผู้คนโหยหาความเงียบสงบในชีวิตที่มีแต่ความเร่งรีบ : จากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในช่วงที่ผ่านมาทำให้คนหันมาให้ความสนใจในการจัดการพื้นที่ในบ้าน เพื่อให้เหมาะสมกับทั้งการทำงานและอยู่อาศัย  แม้ว่าสถานการณจะคลี่คลายลง แต่การทำงานที่ไหนก็ได้ จะยังคงอยู่ในหลาย ๆ บริษัททั่วโลก ทำให้ผู้คนหลายคนจึงต้องการพื้นที่สำหรับหลีกหนีจากความเครียดที่เกิดขึ้นภายในตัวบ้าน   จากการสำรวจความเห็นคนไทยจำนวนหนึ่ง พบว่า ผู้บริโภคชาวไทยส่วนใหญ่มองว่า ตนเองต้องการความสงบ สนใจความเรียบง่าย และอยากใช้ชีวิตที่ช้าลง คนที่มองหาความสงบ ผ่อนคลาย หลีกหนีความวุ่นวาย มีสัดส่วน 88.98%  คนที่เรียบง่าย ถ่อมตน พึงพอใจในสิ่งที่มี 83.65% คนที่ต้องการใช้ชีวิตที่ช้าลง ไม่เร่งรีบตามกระแสสังคม 75.74% 3.All-in-Home บ้านคือทุกสิ่ง ไม่ใช่แค่ที่พักอาศัย : เพราะการวิวัฒนาการของเทคโนโลยี ทำให้เส้นแบ่งระหว่างเวลา การเดินททำงาน​ และการเรียนรู้ และการพักผ่อนจางลง ทำให้ที่อยู่อาศัยไม่ได้ทำหน้าที่ตอบเฉพาะโจทย์ของการอยู่อาศัย เพียงอย่างเดียว แต่อาจจะต้องครอบคลุมทุกอย่าง อย่างมีประสิทธิภาพ   ในไทยผู้ประกันตนมาตรา 33 ที่ขึ้นทะเบียนขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานจำนวน 1,425 คน พบว่า จากผู้ตอบข้อนี้ 1,381 คน เกือบ 60%  ต้องการประกอบอาชีพอิสระ โดย 4 อันดับแรกของอาชีพ ที่สนใจ คือ เกษตรกร 26% ร้านขายอาหารหรือร้านขายกาแฟ 24% ขายของออนไลน์ 19% และขับรถดส่งของเดลิเวอรี่ 10% ซึ่งสอดคล้องกับ ผลสำนวจการย้ายถิ่นของประชากรทั้งประเทศในปี 2563 ระบุว่า จากควไทยกว่า 68 ล้านคน มีผู้ย้ายถิ่น 1.05 ล้านคน แรงงานที่เป็นคนต่างถิ่นต่างพากันกลับบ้านเกิด ไปตั้งหลักพึ่งพิงฐานเกษตร เนื่องจากไม่สามารถแบกรับค่าใช้จ่ายในเมืองได้อีกต่อไป   สัดส่วนขององค์กรที่ให้พนักงานทำงานจากที่บ้านมีแนวโน้มลดลงนับจากล็อกดาวน์ครั้งที่ 3 แต่ยังมีถึง 28.5% ของคนวัยทำงานที่บอกว่าออฟฟิศให้ WFH ในบางวันในทุก ๆ สัปดาห์​ ความยืดหยุ่นของสถานที่ทำงาน ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของเกณฑ์ ในการเลือกองค์กรที่จะร่วมงานด้วยของคน Gen Z ไปแล้ว  โดยผู้บริโภคชาวไทยเริ่มส่งสัญญาณถึงความต้องการในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่ไม่ใช่แค่การพักผ่อนที่อาจะเกิดขึ้นพื้นที่พักอาศัยเพิ่มมากขึ้น   โดยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามคนไทยสัดส่วน 70.57% มักจะติดต่อกับเพื่อน หรือกับคนในครอบครัว เพื่อเชื่อมสายสัมพันธ์แบบทางไกลผ่านอุปกรณ์สื่อสารที่ทันสมัย สัดส่วน 74.53% ไม่ต้องการเข้าออฟฟิศ แต่ต้องการสถานที่ข้างนอกที่สามารถทำงานและมีสภาพแวดล้อมที่ดี ที่ส่งเสริมการทำงานให้มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น สัดส่วน 77.64% ต้องการเรียนรู้ผ่านระบบออนไลน์และเทคโนโลยี Virtual Working ที่เข้าไปเรียนรู้กับ และสัดส่วน 66.26% ต้องการประสบการณ์การเล่นสนุกแบบจมดิ่งไปในโลกเสมือน (Virtual Experience) ที่ทำให้โลกจริงดูตื่นตา ตื่นเต้นมากขึ้น และทำให้โลกบันเทิง เช่น ภาพยนตร์ เกม สมจริงมากขึ้น 4.Active-Aging Extended พื้นที่สร้างประประสบการณ์ยืดช่วงเวลาความแอคทีฟให้ผู้สูงอายุ : ผู้สูงอายุของคนไทย มีความต้องการที่ซ่อนอยู่ ซึ่งถือเป็น​ Unmet Needs ในเรื่องความต้องการพื้นที่การอยู่อาศัย ที่ช่วยสร้างประสบการณ์การมีความแอคทีฟที่ยาวนานขึ้นกว่าเดิม  เพื่อให้ตนเองมีคุณค่า ได้รับการยอมรับ เป็นส่วนหนึ่งในสังคม อยู่ได้ด้วยตัวเอง ไม่เป็นภาระ   สังคมไทย สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ คาดการณ์ว่า ในปี 2566 ประเทศไทยจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุแบบสมบูรณ์ โดยมีสัดส่วนผู้สูงอายุ 20% ของประชากรทั้งหมด และเป็นสังคมผู้สูงวัยระดับสุดยอดในปี 2574 หรือ 2575 โดยจะมีจำนวนผู้สูงอายุกว่า 28% ของประชากรทั้งหมด ซึ่งสอดคล้องกับแนวโม้มของโลก   สำหรับวงการอสังหาฯ ถือได้ว่าเป็นผู้นำเทรนด์ที่จะช่วยชี้นำวิธีคิด วิธีอยู่อาศัย วิธีใชชีวิตให้ผู้คน ซึ่งสิ่งนี้จะช่วยยืดระยะเวลาแห่งความสุขเพิ่มคุณภาพชีวิตให้กับ ครอบครัวคนไทยได้ จึงควรมีการจัดการพื้นที่ เทคโนโลยี และสภาพแวดล้อมที่ช่วยให้สุขภาพดีทั้งกาย ใจ การสร้างสัมพันธภาพใหม่ ๆ  ตลอดจนการดำเนินไว้ซึ่งคุณค่าของการมีอยู่และการได้รับการยอมรับจากสังคม   จากการสอบถาม พบว่า ผู้สูงวัยชาวไทยกว่า 64.5% มองว่าตนเองยังมีความกระฉับกระเฉง มีพลังในการทำอะไรใหม่ ๆ  ขณะที่ 79.85% มีความกระตือรือร้น และกระฉับกระเฉงในการทำงาน ส่วน 66.17% ชอบพบปะผู้คน ได้รับอิทธิพลจากเพื่อนฝูง ส่วน 41.83% ชีวิตคือการผจญภัย และชอบความคิดในการทำสิ่งใหม่ และแตกต่างในทุกวัน และสัดส่วน70.42% พออายุมากขึ้น ฉันมีโอกาสที่จะทำสิ่งอยากทำ 5.R/O Phenomena คนรุ่นใหม่ ยอมรับรูปแบบการเช่า แทนการเป็นเจ้าของของ : สำหรับคนรุ่นใหม่ ยอมรับได้ถ้าจะอยู่อาศัยด้วยการเช่า แทนการเป็นเจ้าของเอง ซึ่งถือเป็นโจทย์สำคัญให้กับนักพัฒนาอสังหาฯ เลือกที่จะทดลองโมเดลธุรกิจใหม่ ๆ ที่อาจเป็นที่นิยมของคนรุ่นต่อไป อาทิ ที่พักอาศัยแบบเช่าสุดครบครัน คู่หูคนอยากเช่า เช่าอยู่ก็คลูได้ เช่าไลฟ์สไตล์   ปัจจัยสำคัญ ที่ทำให้คนรุ่นใหม่ให้การยอมรับรูปแบบการเช่า เป็นเพราะ ราคาที่ดินที่แพงขึ้นทำให้ยากต่อการเป็นเจ้าของที่อยู่อาศัย รายได้ที่ลดลงหรือไม่มั่นคง หลังจากเกิดการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ประกอบกับการย้ายเข้ามาอยู่ในพื้นที่เมืองมากขึ้น ทำให้ราคาของที่ดินรวมถึง อสังหาฯ โดยรวมเพิ่มสูงขึ้นตามความต้องการที่มากขึ้น ในขณะที่ที่ดินที่น้อยลง ทำให้ผู้บริโภคมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการซื้อที่อยู่อาศัย เป็นการเช่าอสังหาฯ เป็นแนวโน้มที่เกิดขึ้น   ในประเด็นความเป็นเจ้าของสินทรัพย์ต่าง ๆ ผู้บริโภคชาวไทยเริ่มเปิดใจยอมรับ ไม่ยึดติดการต้องเป็นเจ้าของเพียงผู้เดียว ซึ่งต้องจับตามองการเติบโตของสัดส่วนเหล่านี้ต่อไป  ซึ่งสัดส่วน 46.99% ไม่ยึดติดกับการเป็นเจ้าของที่อยู่อาศัย หรืออสังหาฯ เน้นการเช่าอยู่เป็นหลัก เพราะทำให้สะดวก และคล่องตัวรองรับต่อการเปลี่ยนแปลงของชีวิตยุคใหม่ สัดส่วน 52.84% ต้องการเช่าใช้สินค้า หรือบริการในรูปแบบ Subscription หรือ ระบบบริการสมาชิกแบบเหมาะจ่ายล่วงหน้าเป็นรายปีหรือรายเดือน สัดส่วน 53.19% ต้องการสินค้าและบริการแบบร่วมกันแบ่งปัน เช่น การแบ่งกันใช้รถ อย่างบริการของ Uber การแบ่งที่พักอย่างบริการของ Airbnb เป็นต้น เพื่อใช้ประโยชน์ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า 6.Real Estate as a Service (REaaS) อสังหาฯ มาพร้อมการบริการ มากกว่าการอยู่อาศัย : จากแนวโน้มความต้องการของผู้บริโภคที่มีความเฉพาะตัวและยืดหยุ่นมากขึ้น ส่งผลให้ธุรกิจเปลี่ยนผ่านจาก “ผลิตภัณฑ์”​ สู่ “บริการ” เพื่อเพิ่มการบริการที่มีมูลค่าเพิ่ม ให้กับผู้บริโภค เป็นการสร้าง Life-Long Customer ทำให้ธุรกิจอสังหาฯ มุ่งไปในทิศทางดังกล่าว โดย Real Estate as a Service (REaaS) เป็นรูปแบบธุรกิจที่ได้รับแนวคิดจาก Space As A Service (Spaas) ได้รับความนิยมเนื่องจากนวัตกรรมด้วยอสังหาฯ ที่ก้าวหน้าขึ้นในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ทั้งหมดเป็นรูปแบบบริการแทนที่จะเป็นผลิตภัณฑ์ อันเนื่องจากผู้บริโภคกำลังซื้อประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่ไม่ใช่เฉพาะพื้นที่   โดยผู้บริโภคชาวไทยให้ความสนใจกับผู้ให้บริการที่ครบวงจรเพื่อความรวดเร็ว สะดวกสบายเพิ่มมากขึ้นถึงกว่า 80%  และสัดส่วน 83.64% ต้องการผู้ให้บริการที่ครบวงจรเพื่อความรวดเร็ว สะดวกสบาย และประสบการณ์หรือสิทิประโยชน์ที่เพิ่มมากขึ้น   ธุรกิจอสังหาฯ ต้องการการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในหลายด้านทั้งมุมมองความคิด บทบาท ขีดความสามารถ และการทำงานร่วมกับดิจิทัล โดย 68% ของผู้ตอบแบบสอบถามยอมรับว่าการเปลี่ยนแปลงองค์กร (Organization Transformation) จะมีความสำคัญเป็นลำดับแรกในช่วง 5 ปีข้างหน้า โดย 89% ของการสำรวจจาก Pwc พบว่าอาสาสมัครมองว่า REaaS จะเป็นตัวขับเคลื่อนให้เกิดการเปลี่ยนแปลง 7.AI Assistance ต้องการผู้ช่วย AI ที่ทำให้ชีวิตสุขสบาย : เพราะวิถีชีวิตของคนในยุคปัจจุบันมีความยุ่งยาก และใช้เวลาไปกับหลายเรื่อง จึงมีความต้องการได้​ผู้ช่วยมาทำเรื่องที่ต้องใช้เวลามาก ๆ เพื่อช่วยลดเวลายุ่งยาก และเพิ่มเวลาความสุข แม้ว่าจะต้องแลกกับการให้ข้อมูลส่วนตัว ผู้บริโภคชาวไทยก็พร้อม เพื่อนำเอาตัวช่วยมาใช้งาน อาทิ เทคโนโลยีที่ช่วยอำนวยความสะดวกสบาย หรือแม้แต่แอปพลิเคชั่น   จากการสอบถามความเห็น พบว่า ​57.14% ต้องการใช้งานเคโนโลยีหรือแอปพลิเคชั่นต่าง ๆ ที่เข้ามาเติมเต็มด้านความสะดวกสบายในการใช้ชีวิต โดยยอมแลกกับการให้ข้อมูลส่วนตัว สัดส่วน 62.13% ต้องการให้มีหุ่นยนต์อัจฉริยะ (Smart Robot) หรอระบบปฏิบัติการปัญญาประดิษฐ์ (AI) มาเป็นผู้ช่วยอำนวยความสะดวกภายในที่อยู่อาศัย สัดส่วน 80.9% ต้องการเทคโนโลยีให้วินิจฉัยโรคได้ด้วยตนเอง เพื่อสามารถควบคุมสุขภาวะของร่างกายได้มากขึ้นผ่านอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ช่วยให้เราตรวจวัดสุขภาพของตัวเราได้ตลอดเวลา  และสัดส่วน 75.73% ต้องการเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) ที่เข้ามาช่วยดูแลรักษาสุขภาพแบบส่วนบุคคล 8.Net Zero Agenda ธุรกิจอสังหาฯ เพื่อ Net Zero : ปัจจุบันปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) ที่มีความรุนแรงมากขึ้น และจะต้องดำเนินการแก้ไขปัญหาในทุกระดับโดยเร็ว เป็นประเด็นที่หลายองค์กรให้ความสำคัญ เพราะหากยังมีการทำให้อุณหภูมิโลกสูงขึ้น จนอุณหภูมิพุ่งสูงจากเดิม 2 องศาเซลเซียส จะนำไปสู่ปรากฎการณ์ที่เรียกว่า Hothouse Earth หรือภาวะโลกร้อนเหมือนอยู่ในเตาอบ ถึงตอนนั้นมนุษย์จะไม่สามารถแก้ไขอะไรได้อีก หรือจุดที่เรียกว่า Point Of No Return ในการรักษาภาวะโลกร้อนให้ไม่เกิน 15 องศาเซลเซียส ตามที่กำหนดไว้ในข้อตกลงปารีส ซึ่งไทยเข้าร่วมเมื่อ 21 กันยายน 2559 และประเทศไทยได้ให้ข้อเสนอการมีส่วนร่วมของประเทศในการลดก๊าซเรือนกระจก และการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กับประชาคมโลก (National Determined Contribution-NDC) ที่ต้องการลดการปล่อยมลพิษจะต้องลดลง 45% ภายในปี 2573 และถึงศูนย์สุทธิภายในปี 2593   โดยผู้บริโภคชาวไทยส่วนใหญ่ต้องการให้ผู้ผลิต มีสินค้าและบริการที่ตระหนักถึงสิ่งแวดล้อม หรือการใช้ซ้ำ ซึ่งสัดส่วน 76.76% ชอบช่วยเหลือผู้คนและสังคม เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมก่อนเสมอ สัดส่วน 75.56% ชอบทำสิ่งต่าง ๆ ที่เปลี่ยนแปลงโลกใบนี้และสังคมดีขึ้น สัดส่วน 77.8% ใส่ใจกับธรรมชาติ เลือกใช้สินค้าหรือเทคโนโลยีที่ไม่ส่งผลกระทบต่อโลกใบนี้  และสัดส่วน 82.96% ต้องการให้ผู้ผลิตมีสินค้าและบริการที่ตระหนักถึงสิ่งแวดล้อมหรือการใช้ซ้ำ ทั้งหมดเป็นความต้องการของผู้บริโภคที่ภาคธุรกิจอสังหาฯ​ จะต้องให้ความสำคัญ​และรีบดำเนินการตอบสนองเรื่องเหล่านี้ 9.Humanity Resilience นวัตกรรมการปรับตัวให้อยู่รอดเพื่อมวลมนุษยชาติ :  จากปัญหาภัยพิบัติทางธรรมชาติที่เกิดบ่อยมากขึ้น เมื่อเที่ยบกับอดีต และกระทบคนจำนวนมากขึ้นซึ่งสร้างความเสียหายต่อทั้งชีวิตและทรัพย์สิน สิ่งที่ภาคธุรกิจอสังหาฯ ต้องปรับตัวรองรับกับเทรนด์นี้ ​คือ การ​สร้างสรรค์ที่อยู่อาศัยซึ่งสามารถรับมือกับภัยพิบัติ รูปแบบต่าง ๆ ได้ อาทิ  ที่อยู่อาศัยสามารถรับมือกับน้ำท่วม การพัฒนาเมืองต้นแบบที่เอาตัวรอดได้เมื่อโดนตัดขาด และกรรมวิธีการผลิตที่ทำได้แม้สถานการณ์คับขัน   จากการสำรวจความเห็น พบว่า ประชาชนต้องการเมืองที่มีความสามารถในการรับมือกับภัยพิบัติได้ดี ช่วยให้ประชาชนมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ซึ่งสัดส่วน 92.08% ต้องการเมืองที่มีความสามารถในการับมือกับภัยพิบัติ สามารถอยู่รอดในสถานการณ์ภัยพิบัติต่าง ๆ แม้จะถูกตัดขาดจากพื้นที่โดยรอบของเมือง  และสัดส่วน 92.95% ต้องการเมืองที่ประชาชนรู้สึกปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 10.New Frontier บ้านหลังใหม่ของมนุษยชาติบนดาวอังคาร : หากมองไปไกลอีกหลายสิบปีข้างหน้า การออกไปอยู่ในอวกาศก็เป็นสิ่งที่หลายชาติกำลังมองหา ​เห็นได้จากการพัฒนาโครงการทางอวกาศในรูปแบบต่าง ๆ โดยเฉพาะประเทศมหาอำนาจทั้งหลาย เป็น​​การเกิดขึ้นของโครงการอวกาศ ที่แต่ละครั้งล้วนสร้างเทคโนโลยีและนวัตกรรม​​ การนำเทคโนโลยีอวกาศมาใช้บนพื้นโลกนั้น ถือเป็นนหนึ่งในวีธีที่ทำให้สิ่งของบนโลกถูกพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น หนึ่งในเทคโนโลยีที่ต่อยอดลงมาสู่พื้นโลก คือ การพัฒนาการอยู่อาศัย ตั้งแต่การสร้างบ้านที่ครบครันจากเครื่องพิมพ์สามมิติ และการอยู่อาศัยอย่างปกติในสภาพวะไร้น้ำหนัก   จากข้อมูล​​ พบว่า มูลค่าตลาดธุรกิจอวกาศ มีมูลค่ากว่า 420,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2562 และคาดว่าจะเติบโตขึ้นอีกกว่า 50% ในปี 2583  และตั้งแต่ปี 2563 ไปจนถึงปี 2570 ทาง NASA วางแผนที่จะใช้งบประมาณกว่า 150,000 ดอลลาร์สหรัฐในภารกิจที่จะพามนุษย์กลับไปสู่ดวงจันทร์ อีกทั้งสำรวจดาวอังคารด้วย ​   ทิศทางการตลาดของเศรษฐกิจอวกาศที่กำลังจะเกิดขึ้น ถือเป็นโอกาสสำหรบประเทศไทย ในการ​สร้างเศรษฐกิจอวกาศในประเทศไทย และการใช้องค์ความรู้จากการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อมุ่งสู่อวกาศมาพัฒนายัง Business Sector อื่น ๆ  ได้แก่ ใช้ประโยชน์ข้อมูลจากดาวเทียม พัฒนาเทคโนโลยีเพื่อความเป็นอยู่บนอวกาศ ต่อยอดเทคโนโลยีอวกาศมาแก้ปัญหาบนพื้นโลก สร้างประสบการณ์ใหม่ที่เพิ่มมูลค่าด้วยอวกาศ สร้างแรงบันดาลใจด้วยจินตนาการถึงอวกาศ ทั้งหมดคือ 10 เทรนด์ที่อยู่อาศัย ที่น่าสนใจซึ่งกำลังจะก้าวเข้าตอบสนองความต้องการขของคนในยุคปัจจุบันและอนาคตอันใกล้นี้ หลายอย่างเชื่อว่าจะช่วยทำให้คุณภาพชีวิตของคนดีขึ้น และสะดวกบายมากยิ่งขึ้น แต่เทรนด์ไหนจะเกิดขึ้นจริงได้บ้างนั้น คงต้องเฝ้าติดตามกันต่อไป​   อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง -อัพเดต 5 เทรนด์ที่อยู่อาศัย-การก่อสร้าง มาแรงปี 2022 -ส่อง ตลาดที่อยู่อาศัยปี 66 การเติบโตท่ามกลางปัจจัยเสี่ยง ดอกเบี้ย-ต้นทุนพุ่ง
[PR News] อีซี่วิซ  เปิดตัว กล้องวงจรปิด ซีรีย์ใหม่​ “H8 Pro” ความคมชัดระดับ

[PR News] อีซี่วิซ เปิดตัว กล้องวงจรปิด ซีรีย์ใหม่​ “H8 Pro” ความคมชัดระดับ

EZVIZ (อีซี่วิซ) เตรียมอวดโฉม กล้องวงจรปิด สำหรับการติดตั้งภายนอกอาคารซีรีย์ใหม่ “H8 Pro” กล้องสมาร์ท Wi-Fi แบบแพนและเอียง หมุนได้ 360 องศา     EZVIZ H8 Pro Series นวัตกรรมกล้องวงจรปิดอัจฉริยะสำหรับการติดตั้งภายนอกอาคาร เชื่อมต่อสัญญาณผ่านระบบ Wi-Fi ที่มีนวัตกรรมโดดเด่น 4 ด้าน ได้แก่   นวัตกรรมที่ทำงานด้วยระบบอัตโนมัติที่โดดเด่นน่าจับตา ทั้งการตรวจจับด้วยเทคโนโลยีอัจฉริยะขั้นสูง แยกแยะการเคลื่อนไหวของมนุษย์หรือรถยนต์ได้อย่างชาญฉลาด พร้อมล็อกและติดตามเป้าหมายได้อย่างแม่นยำ และยังเพิ่มวิสัยทัศน์การมองเห็นที่ครอบคลุมทุกมิติมากขึ้น แสดงภาพสีคมชัดทั้งกลางวันและกลางคืน พร้อมสลับโหมดการแสดงภาพอัตโนมัติกับฟีเจอร์ Smart Night Vision (มีไฟ IR 2 ดวง) ช่วยให้คุณตรวจจับทุกเหตุการณ์ที่เคลื่อนไหวได้อย่างรวดเร็วและไกลถึง 30 เมตร (98 ฟุต) มาพร้อมระบบเตือนภัยเชิงรุก แจ้งเตือนผู้บุกรุกด้วยไฟกระพริบและไซเรนดังอัตโนมัติ พร้อมส่งข้อความแจ้งเตือนให้คุณรับรู้ในทันที ให้คุณไม่พลาดทุกความเคลื่อนไหวและป้องกันภัยได้อย่างทันท่วงที   เสริมวิสัยทัศน์การมองเห็นครอบคลุมทุกมิติด้วยเลนส์ประสิทธิภาพสูงแบบเรียลไทม์ ช่วยทลายทุกกรอบการมองเห็นเพื่อการปกป้องที่กว้างมากขึ้น ด้วยการออกแบบให้กล้องปรับหมุนได้ทั้งแนวตั้ง 340° และแนวนอน 80° (Pan and tilt camera) ครอบคลุมมุมมองพาโนรามา 360° ผ่านเลนส์อัจฉริยะที่ให้ภาพคมชัดสูงสุด กับ 2 โมเดลที่แตกต่างให้เลือก คือ วิดีโอความละเอียดระดับ 2K (3 ล้านพิกเซล) และระดับ 3K (5 ล้านพิกเซล) ที่คมชัดทุกรายละเอียด ผสานการทำงานกับเซ็นเซอร์ DWDR (Digital Wide Dynamic Range) ที่ช่วยปรับสมดุลความสว่างในภาพย้อนแสงอัตโนมัติ ช่วยให้การบันทึกภาพมีความคมชัดสมจริงแม้อยู่ในที่แสงน้อยที่สุด   นวัตกรรมที่สนับสนุนการควบคุมและสั่งงานจากระยะไกล ผ่าน EZVIZ App ซึ่ง อีซี่วิซ ไม่เคยหยุดยั้งการพัฒนาระบบให้มีความทันสมัยอยู่เสมอ เพื่อให้สามารถเฝ้าติดตามดูแลและควบคุมการสั่งงานได้จากทุกที่ทุกเวลาผ่านสมาร์ทโฟนได้ง่ายและรวดเร็ว มีฟังก์ชั่น “การสื่อสารสองทาง” พร้อมเสริมประสิทธิภาพเสียงให้คมชัดมากยิ่งขึ้นด้วยไมโครโฟนแบบตัดเสียงรบกวนและลำโพงในตัว  สามารถเชื่อมต่อการสื่อสารกับคนในครอบครัวได้จากทุกที่ทุกเวลา และยังมาพร้อมฟีเจอร์เด็ดที่ผู้บริโภคกำลังมองหามากที่สุด กำหนดตำแหน่งเริ่มต้น (Home) ให้กล้องปรับหมุนไปยังจุดที่บันทึกไว้ล่วงหน้าได้มากถึง 12 ตำแหน่งแบบอัตโนมัติ ช่วยลดความยุ่งยากกับการใช้งาน ไม่ต้องคอยกดหมุนกล้องทุกครั้งที่ต้องการเฝ้าดูเหตุการณ์ต่างๆ ในบริเวณโดยรอบ และฟีเจอร์พิเศษที่มีเฉพาะในกล้องรุ่น H8 Pro 3K ให้คุณสามารถสร้างคำสั่งให้กล้องจดจำท่าทาง “การโบกมือ” เพื่อให้คุณ VDO Call หากันได้ง่ายๆ อีกด้วย   ระบบการปกป้องข้อมูลและความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้ในระดับสูงสุด ด้วยการเข้ารหัสลับแบบ AES 128 บิต และการยืนยันตัวตนหลายขั้นตอน บน EZVIZ Cloud ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มระดับโลกสำหรับการจัดเก็บวิดีโอที่ปลอดภัย เพื่อให้ทุกข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้งานได้รับการรักษาความปลอดภัยสูงสุด และอีกหนึ่งความพิเศษ กล้อง H8 Pro ได้เพิ่มความจุเมมโมรี่ได้สูงถึง 512 GB เสริมด้วยเทคโนโลยีการบีบอัดวิดีโอรูปแบบใหม่ H.265 ที่ออกแบบมาเพื่อเพิ่มความสามารถในการบีบอัดข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพและใช้พื้นที่ความจุน้อยลง เพื่อให้การบันทึกมีความต่อเนื่อง พร้อมทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยเฝ้าดูแลบ้านคุณให้ปลอดภัยตลอด 24 ชม.   EZVIZ H8 Pro มาอวดโฉมด้วยดีไซน์ที่ดูทันสมัยและมีความมินิมัลมากขึ้น ตัวเครื่องออกแบบให้มีสีขาวสะท้อนความเรียบง่ายที่เข้าได้กับการตกแต่งทุกสไตล์ ผลิตภัณฑ์จากวัสดุที่ได้มาตรฐาน กันน้ำ กันฝุ่น ทนต่อทุกสภาพอากาศในเมืองไทย โดยสามารถหาซื้อ EZVIZ “H8 Pro” กล้องสมาร์ท Wi-Fi Outdoor Camera ได้แล้ววันนี้ ที่ตัวแทนจำหน่ายทั่วประเทศ
เสนาฯ  เปิดโมเดล​ บ้านพลังงานเป็นศูนย์  เดินหน้าสู่บริษัท ด้านความยั่งยืน

เสนาฯ เปิดโมเดล​ บ้านพลังงานเป็นศูนย์ เดินหน้าสู่บริษัท ด้านความยั่งยืน

เสนาฯ เปิดโมเดล​ บ้านพลังงานเป็นศูนย์ เดินหน้าสู่บริษัท ด้านความยั่งยืน ดึง 2 โปรเจ็กต์นำร่อง พร้อมจับมือ ศูนย์บริการวิชาการจุฬาฯ สร้างต้นแบบก่อนใช้จริง อ้อนแบงก์หนุนลดดอกเบี้ย0.5-1% ให้ผู้ซื้อ   ถ้าย้อยไปในปี 2558 การนำเอาแผงโซลาร์เซลล์มาติดตั้งตามบ้านเรือนที่อยู่อาศัย ยังไม่เป็นที่นิยมมากนัก เนื่องจากยังมีราคาสูง ประกอบกับ คนส่วนใหญ่ไม่ได้ใช้ชีวิตอยู่บ้านในช่วงกลางวัน แต่สำหรับบริษัท เสนาดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) กลับมองว่าการติดตั้งโซลาร์เซลล์บนหลังคาบ้านเรือน เป็นเทรนด์ที่กำลังมา จากกระแสการรักษ์โลก การประหยัดพลังงาน ตามภาวะวิกฤตพลังงาน รวมถึงการลดภาวะโลกร้อน จึงได้เริ่มต้นนำ Solar Rooftop มาติดตั้งในโครงการของบริษัทเป็นรายแรก และบ้านทุกหลังของโครงการจนมาถึงปัจจุบัน ได้ขยายการติดตั้งครบสินค้าทุกประเภท​   มาในปี 2565 เสนา ดีเวลลอปเม้นท์ เดินหน้าต่อกับก้าวสู่ความยั่งยืนในการดำเนินธุรกิจ จึงได้เตรียมความพร้อม กับการพัฒนาที่อยู่อาศัยที่ตอบโจทย์ Sustainable Development และ Net Zero Emission ด้วยการร่วมมือกับพันธมิตรญี่ปุ่น อย่างฮันคิว ฮันชิน พร็อพเพรอ์ตี้ คอร์ป ร่วมกันพัฒนา บ้านพลังงานเป็นศูนย์ หรือ Zero Energy House (ZEH)   เนื่องจากประเทศไทยยังไม่มีมาตรฐานกลางในเรื่องนี้ เสนา ดีเวลลอปเม้นท์​ จึงได้นำแนวคิด Zero Energy House (ZEH) จากญี่ปุ่น ที่เป็นกรณีศึกษาจริงจากพันธมิตรทางธุรกิจ มาเป็นต้นแบบของการพัฒนาและประยุกต์ใช้ เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมและวิถีชีวิตของคนไทย บ้านพลังงานเป็นศูนย์ คืออะไร? ตามคำนิยาม Zero Energy House ของประเทศญี่ปุ่น  จะหมายถึง ​บ้านที่มีการใช้ไฟฟ้าในชีวิตประจำวันในรอบ 1 ปี ได้ใกล้ หรือน้อยกว่าศูนย์ ด้วยการประหยัดพลังงานให้มากที่สุด ในการอยู่อาศัยภายใต้สภาพวะแวดล้อมที่ยังสะดวกสบาย โดยหลักการ คือ ใช้พลังงานไม่มาก เพื่อการควบคุมอุณหภูมิภายในบ้าน ในแต่ละฤดูให้เหมาะสมจากการออกแบบ (Passive Design) และใช้พลังงานอย่างมีระสิทธิภาพมากขึ้น (Efficiency) รวมถึงมีระบบผลิตพลังงานใช้เองจากพลังานหมุนเวียน (Renewable energy) นางสาว ยูคาโกะ มาสึโอะ ผู้จัดการทั่วไปฝ่ายธุรกิจบ้านจัดสรร บริษัท ฮันคิว ฮันชิน พร็อพเพอร์ตี้ส์ คอร์ป  อธิบายว่า หลักการบ้านพลังานเป็นศูนย์ คือการลดใช้พลังงาน โดยเกณฑ์พื้นฐานที่เรียกว่า ค่า Ua Value (ค่าการถ่ายเทความร้อนภายใน) เป็นค่าที่ถูกกำหนดในแต่ละเมืองให้มีการลดพลังงานที่ไม่ใช้ Renewable energy อย่างน้อย 20% ในทุกระดับ เกณฑ์การวัด บ้านพลังงานเป็นศูนย์ ปัจจุบันการพัฒนาอาคารให้เป็น Zero Energy House 100% นั้น ยังคงทำได้ยาก เนื่องจากมีเรื่องต้นทุนเข้ามาเกี่ยวข้อง ทางรัฐบาลญี่ปุ่น จึงมีการแบ่งเกณฑ์ในการประเมินเป็น 4 ระดับ ทั้งกลุ่มบ้านและกลุ่มคอนโด (ในประเทศญี่ปุ่นจะเรียกคอนโดว่าแมนชั่น-Mansion) สำหรับเกณฑ์การประเมินกลุ่มบ้าน แบ่งออกเป็น 4 ระดับ ดังนี้ ZEH Oriented เป้าหมาย ลดการใช้พลังงานได้ไม่ต่ำกว่า 20% ไม่รวมการใช้พลังงานสะอาด ZEH Ready เป้าหมาย ลดการใช้พลังงานได้ 50%ขึ้นไป รวมการใช้พลังงานสะอาด Nearly ZEH   เป้าหมาย ลดการใช้พลังงานได้ 75%ขึ้นไป รวมการใช้พลังงานสะอาด ZEH   เป้าหมาย ลดการใช้พลังงานได้ 100%ขึ้นไป รวมการใช้พลังงานสะอาด เกณฑ์กลุ่มคอนโด เรียกว่า Zero Energy House-Mansion (ZEH-M) มี 4 ระดับ เช่นกัน แต่มีการเพิ่มเติมเกณฑ์ที่เกี่ยวกับจำนวนชั้น สำหรับเกณฑ์การประเมินคอนโด แบ่งออกเป็น 4 ระดับ ดังนี้ ZEH Oriented เป้าหมาย ลดการใช้พลังงานได้ไม่ต่ำกว่า 20%  ไม่รวมการใช้พลังงานสะอาด เป้าหมาย 6 ชั้นขึ้นไป ZEH Ready เป้าหมาย ลดการใช้พลังงานได้ 50%ขึ้นไป รวมการใช้พลังงานสะอาด เป้าหมาย 4-5 ชั้น Nearly ZEH   เป้าหมาย ลดการใช้พลังงานได้ 75%ขึ้นไป รวมการใช้พลังงานสะอาด เป้าหมาย 1-3 ชั้น ZEH   เป้าหมาย ลดการใช้พลังงานได้ 100%ขึ้นไป รวมการใช้พลังงานสะอาด เป้าหมาย 1-3 ชั้น ในประเทศญี่ปุ่น มีกฎหมายบังคับให้ดีเวลลอปเปอร์ต้องพัฒนาบ้านพลังงานเป็นศูนย์  ขณะเดียวกัน รัฐบาลยังมีการสนับสนุนเงินงบประมาณให้กับดีเวลลอปเปอร์ ที่มีระบบการการปล่อยคคาร์บอนไดออกไซด์ด้วย ​สำหรับบ้านพลังงานเป็นศูนย์ ที่เข้าเกณฑ์จะได้รับเงินสนับสนุน 550,000 เยนสำหรับบ้านเดี่ยว 400,000 ต่ออาคารสำหรับคอนโดโลว์ไรส์ กรณีที่สูงกว่านี้จะได้รับการสนับสนุนเงิน  1 ใน 2 หรือ 1 ใน 3 ของระบบการสร้าง เนื่องจากบ้านพลังงานเป็นศูนย์มีราคาสูงกว่าบ้านปกติทั่วไป 30-50% ส่วนฝั่งผู้ที่ซื้อบ้านที่ผ่านเกณฑ์ ก็จะได้รับประโยชน์ เช่น การู้ขอสินเชื่อได้ง่ายขึ้น เสนาฯ เดินหน้าสู่บริษัทยั่งยืน ดร.เกษรา ธัญลักษณ์ภาคย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เสนา ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) เล่าว่า หนึ่งในวิสัยทัศน์ของบริษัท คือ ความยั่งยืน เพราะปัจจุบันทีความท้าทายเกิดขึ้นหลายอย่าง หนึ่งในนั้นคือ Climate Change หรือภาวะโลกร้อน​  สินค้าที่พัฒนาจะต้องเดินไปตามวิสัยทัศน์ดังกล่าวด้วย โดยปัญหาหลักของประเทศไทยในปัจจุบันเป็นเรื่องของพลังงาน ไม่ใช่แค่ภาวะโลกร้อน ซึ่งเชื่อมโยงไปถึงภาวะเศรษฐกิจ เพราะไทยต้องนำเข้าพลังงานที่มีต้นทุนสูง และส่งผลกระทบต่อราคาสินค้าต่าง ๆ หากเราสามารถลดการนำเข้าพลังงานได้ ​จะทำให้ไม่ต้องพึ่งพาการนำเข้าพลังงานจากต่างประเทศมากเกินไป   การทำบ้านพลังงานเป็นศูนย์ จึงเป็นแนวคิดที่เกิดขึ้น โดยการทำใน ​3 เรื่องหลัก คือ ​ การทำดีไซน์ ทำบ้านไม่ให้ร้อนมาก การใช้ไฟอย่างมีประสิทธิภาพ efficiency เช่น การใช้สมาร์ทโฮมที่สามารถสั่งงานในบ้านได้ แม้ลืม การผลิตไฟขึ้นมาใช้เอง ถ้าทั้งหมดบวกลบ แล้วเท่ากับศูนย์ แสดงว่าเราเป็นไปตามหลักการนั้น  ในเมืองไทย มีเรื่องนี้อยู่บ้าง แต่ไม่ชัดขนาดนี้ เช่น บ้านเบอร์ 5 บ้านประหยัดไฟ ของการไฟฟ้า แต่ไม่รวมการผลิตไฟเข้ามา โจทย์เรื่องนี้ไม่ใช่อยากทำและทำได้ โจทย์ที่ยากสุดวันนี้ คือ ทำแล้วขายได้ จับมือจุฬาฯ สร้างแบบจำลอง แม้ว่า​​ ประเทศไทยจะมีหลายหน่วยงาน​ที่เกี่ยวข้องกับการใช้พลังงาน แต่ในเรื่องบ้านพลังงานเป็นศูนย์ ยังไม่มีเกณฑ์เรื่อง Zero Energy House (ZEH) ที่เป็นมาตรฐานกลาง เสนา ดีเวลลอปเมนท์จึงได้นำองค์ความรู้และแนวทางการพัฒนาของ​มาพัฒนาต่อยอดในบ้านของเสนา ​ด้วยการร่วมมือกับ ศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (Chula Unisearch) ซึ่งเป็นหน่วยงานวิสาหกิจของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  ทำการศึกษาและทดลองจัดทำแบบจำลอง ในการศึกษาประสิทธิภาพด้านพลังงาน   โดยจะใช้การจำลองการใช้พลังงานของอาคารด้วยคอมพิวเตอร์ (Building energy simulation) ด้วยโปรแกรม ซึ่งเป็นที่ยอมรับ เช่น โปรแรกม DOE-2, EnergyPlus และ eQUEST โดยกำหนดข้อมูลในการจำลองเป็นตัวแปรควบคุม ได้แก่ ข้อมูลอากาศรายชั่วโมงของกรุงเทพมหานคร โดยกรมอุตุนิยมวิทยา การหมุนอาคารเป็น 4 ทิศ (เหนือ ใต้ ตะวันออก และตะวันตก) และหาค่าเฉลี่ยการใช้พลังงานรวม ด้วยการสร้างสมมุติฐานช่วงเวลาการใช้งานอาคาร 2 รูปแบบ ได้แก่ การใช้งานบ้านแบบปกติ (เน้นออกนอกบ้านมาทำงานกลางวันและพักผ่อนเวลากลางคืน) โดยเปิดใช้เครื่องปรับอากาศวันจันทร์-ศุกร์ (18.00-08.00 น.) และเสาร์-อาทิตย์ (ตลอด 24 ชั่วโมง) การใช้งานแบบบ้านที่มีผู้สูงอายุ หรือ WFH ที่มีการใช้สอยตลอด 24 ชั่วโมง มีการเปิดใช้เครื่องปรับอากาศตลอดเวลา เมื่อได้ผลการทดลองแล้ว จะนำเอาไปสร้างบ้านต้นแบบ (SENA HHP Zero Energy House Prototype) ใน 2 โครงการ ได้แก่ เสนา แกรนด์โฮม บางนา กม.29 คาดว่าจะทำ Simulation แล้วเสร็จในปลายเดือนมกราคม 2566 แล้วจึงนำไปก่อสร้างเป็นบ้านต้นแบบ ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จปลายปี 2566 เพื่อวัดผลจากการใช้งานจริงอีกครั้ง และคอนโด ที่คาดว่าจะทำ Simulation แล้วเสร็จปลายเดือนกุมภาพันธ์ 2566 เป้าหมายสำคัญของ เสนา ดีเวลลอปเมนท์  คือ การลดการใช้พลังงานให้ได้ไม่ต่ำกว่า 20% รวมการใช้ Renewable Energy ที่บ้านเดี่ยว และคอนโดของเสนา และจะนำมาใช้กับบ้านทุกหลังของเสนา ดีเวลลอปเม้นท์ต่อไปในอนาคต แม้ว่าจะลดพลังงานไม่ได้ตามเป้าหมาย 20% ก็ตาม โดยแนวทางของเสนา ดีเวลลอปเม้นท์ จะทำกับโครงการเก่าที่อยู่ระหว่างการพัฒนาหรือระหว่างการขาย เช่น โครงการที่อาจจะสร้างมาแล้ว 20 หลัง ส่วนหลังที่ 21 ก็จะเริ่มพัฒนาเป็นบ้านพลังงานเป็นศูนย์​​ โดยไม่รอการสนับสนุน​ แต่ในส่วนของผู้ซื้อ หากได้รับการสนับสนุนจากสถาบันการเงิน ลดอัตราดอกเบี้ยลงจากเรทปกติ 0.50-1% ในปีแรก จะช่วยกระตุ้นการซื้อได้มาก เพราะราคาบ้านพลังงานเป็นศูนย์จะแพงกว่าบ้านปกติแน่นอน เหมือนกับการทำบ้านโซลาร์ในช่วยแรกที่แพงกว่าบ้านปกติ 10-15%​ คิดว่าทำอะไรได้ก็ต้องเริ่มเลย สิ่งที่เราทำเราคิดและทำเป็นวิทยาศาสตร์ ซึ่งวัดผลได้จริง แต่จะลดได้เท่าไรก็ตาม  เราเอาต้นแบบมาทำ แม้จะลดได้แค่ 5% ก็ทำ ปีหน้าไตรมาสแรกน่าจะได้เห็น จะมีแบบบ้านใหม่ในโครงการ ทุกโครงการ            
มหากิจศิริ  ปลื้มยอดขาย 125 สาทรได้ 50%  ผนึกพันธมิตรโรดโชว์ในเอเชียต่อปี 66

มหากิจศิริ ปลื้มยอดขาย 125 สาทรได้ 50% ผนึกพันธมิตรโรดโชว์ในเอเชียต่อปี 66

มหากิจศิริ ปลื้มยอดขาย 125 สาทร หลังเปิดตัวกวาดยอดขายแล้ว 50% พร้อมเดินหน้าตามแผนก่อสร้างโครงการในช่วงปลายปี ยันเสร็จตามกำหนดปี 69 หลังได้เงินสินเชื่อจากทีทีบีแล้ว 1,700 ล้าน   นางสาว อุษณา มหากิจศิริ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ จำกัด (มหาชน) (TTA) ผู้พัฒนาโครงการ 125 สาทร (125 SATHORN) เปิดเผยถึงความคืบหน้าโครงการว่า ปัจจุบันโครงการสามารถทำยอดขายได้ตามเป้าหมายที่วางไว้  โดยมียอดขายแล้วเกือบ 50%  แบ่งเป็นกลุ่มลูกค้าคนไทย  สัดส่วน 35% และต่างชาติ 15% เช่น ญี่ปุ่น เมียนมา สิงคโปร์ ยุโรป ตะวันออกกลาง โดยซื้อในราคาสูงสุด 40 ล้านบาท ซึ่งโครงการมีมูลค่ารวมกว่า 8,000 ล้านบาท   สำหรับด้านกลยุทธ์การตลาดต่อจากนี้  ในส่วนการขยายฐานลูกค้าชาวต่างชาติ  บริษัทได้เตรียมร่วมกับพันธมิตร ได้แก่ คันเดน เรียลตี้ แอนด์ ดีเวลลอปเมนท์ฯ (KRD) และ โทเร คอนสตรัคชั่น (TCC) วางแผนโรดโชว์ไปยังประเทศต่าง ๆ ในเอเชียงในปีหน้า นอกจากนี้ ยังมีการจัดโปรโมชั่น มอบสิทธิพิเศษ gadget voucher มูลค่าสูงสุด 200,000 บาท* จาก dotLife อาทิ iPhone, B&O เป็นต้น ล่าสุด โครงการได้รับการสนับสนุนวงเงินสินเชื่อระยะยาว 1,700 ล้านบาท จากธนาคารทีทีบี ทำให้บริษัทเตรียมเริ่มก่อสร้าง โครงการ 125 สาทร ในช่วงปลายปี 2565 นี้ และมีกำหนดแล้วเสร็จในปี 2569 โดยบริษัทจะทำการย้าย Sales Gallery ที่ปัจจุบันอยู่บริเวณด้านหน้าที่ตั้งโครงการในช่วงปลายปี 2565 นี้ ไปยังอาคาร KRONOS (ถ.สาทรเหนือ) ชั้น G ซึ่งพร้อมจะเปิดให้ลูกค้าเข้าเยี่ยมชมได้ในเดือนมกราคม 2566 ตลาดอสังหาฯ มีขึ้นมีลงตามสภาะเศรษฐกิจ ซึ่งในปีนี้การทำตลาดไม่ใช่ง่าย แต่ตลาดยังมีดีมานด์ที่ชัดเจน เลยทำให้ยังไปได้ แม้จะมีภาวะเงินเฟ้อ ดอกเบี้ยขาขึ้น แต่มันเป็นสภาวะชั่วคราว ซึ่งคาดหวังว่าปีหน้าจะดีขึ้นมากกว่าปีนี้ ​   สำหรับปัญหาเรื่องค่าเงิน ที่ส่งผลกระทบกับการลงทุนทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งที่ประเทศญี่ปุ่นก็ประสบปัญหาค่าเงินเยนเช่นกัน ทำให้ในปีนี้มีส่วนต่างค่าเงินค่อนข้างสูง ทางญี่ปุ่นที่นำเงินมาลงทุนในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา จะได้กำไรจากสภาวะค่าเงินเยนอ่อนไปเรียบร้อยแล้ว   อย่างไรก็ตาม จากปัญหาค่าเงินเยนที่อ่อนตัวดังกล่าว  ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อแผนการลงทุนกับพันธมิตรจากญี่ปุ่น คือ บริษัท คันเคน เรียลตี้ แอนด์ ดีเวลลอปเมนท์และบริษัท โทเร คอนสตรัคชั่น จำกัด ซึ่งพันธมิตรทั้งสองรายยังเดินหน้าลงทุนโครงการอย่างต่อเนื่องในปีหน้า ทั้งแนราบและแนวสูง   สำหรับแผนการดำเนินธุรกิจนับจากนี้ ภายหลังเปิดขายโครงการแอร์รี่ ศรีนครินทร์ – กรุงเทพกรีฑา เนื้อที่ 29 ไร่ มูลค่า 2,500 ล้านบาท ซึ่งเป็นบ้านเดี่ยว 3 ชั้น ขนาด 50-80 ตารางวา จำนวน 115 ยูนิต ราคาเริ่ม 16.9-40 ล้านบาท ไปก่อนหน้านี้แล้ว บริษัทยังมีที่ดินเหลืออีก 42 ไร่ อยู่ฝั่งข้าม จึงวางแผนที่จะนำมาพัฒนาโครงการใหม่ปีหน้าด้วย ด้านนายเคนอิจิ ฟูจิโนะ ประธานกรรมการ บริษัท คันเดน เรียลตี้ แอนด์ ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (KRD) กล่าวว่า ทิศทางเศรษฐกิจและตลาดอสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทยมีแนวโน้มดีขึ้น สะท้อนได้จากตัวเลขต่าง ๆ ที่มีการฟื้นตัวทั้งยอดขาย ยอดโอน และยอดเปิดตัวโครงการใหม่ ซึ่งรวมไปถึงโครงการ  125 สาทร ที่มียอดขายเป็นที่น่าพอใจได้ตามเป้าหมายในเวลาเพียงไม่กี่เดือน   สำหรับโครงการ  125 SATHORN คอนโดมิเนียมระดับลักซ์ชัวรี่ เป็นอาคารแฝด 36 ชั้น มีทั้งหมด 755 ยูนิต แบ่งเป็นห้องชุดพื้นที่ตั้งแต่ 28-330 ตร.ม. ราคาเริ่มต้น 6.9 ล้านบาท* ภายใต้การบริหารของบริษัท พีเอ็มที พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (PMT) โดย Palmer & Turner Group (P&T) เป็นบริษัทสถาปนิกที่ปรึกษางานออกแบบ ขณะที่มี Design Worldwide Partnership (DWP) เป็นบริษัทออกแบบตกแต่งภายใน และ TROP เป็นบริษัทออกแบบภูมิทัศน์ ที่  ภายใต้คอนเซปต์ The Exceptional Home on Sathorn ด้วยรูปแบบงานสถาปัตยกรรมสไตล์ Luxury Modern Contemporary   ภายในโครงการ มีสิ่งอำนวยความสะดวกระดับพรีเมียม ทั้งในร่มและกลางแจ้ง บนพื้นที่ประมาณ 4,500 ตร.ม. เช่น สระว่ายน้ำ Pool Cabana & Pavilion ขนาด 50 เมตร ทั้งในร่มและกลางแจ้ง, Kids Water Zone สระว่ายน้ำสำหรับเด็ก, Sanctuary Spa & Salon ห้องซาวน่า ห้องฟิตเนสขนาดใหญ่กว่า 275 ตร.ม., ห้องเล่นดนตรี Writers’ Music Room, Co-Working & Library, ห้องโยคะ, Tea Garden Lounge, สนามเด็กเล่น Adventure Playground, สนามบาสเกตบอล, Twilight Sky Deck ฯลฯ   นอกจากนั้นบนชั้น 36 ถูกออกแบบให้เป็นพื้นที่ของ 125 Clubhouse ที่มาพร้อม Habita Dining House & Private Pool, ห้องคาราโอเกะและห้องชมภาพยนตร์ส่วนตัว, กรีนพัตต์กอล์ฟ, ลานบาร์บีคิว, สวนกลางแจ้ง และจุดชมวิวเมือง   อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง -TTA จับมือ 2 พันธมิตร ปั้น 125 สาทร 8,000 ล้าน รับตลาดอสังหาฯ ฟื้นตัว  
เปิดไอเดีย “ณพน เจนธรรมนุกูล” ปั้น สัมมากร สู่องค์กร 100 ปี

เปิดไอเดีย “ณพน เจนธรรมนุกูล” ปั้น สัมมากร สู่องค์กร 100 ปี

ถ้าหากดูบริษัทที่พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ประเภทที่อยู่อาศัย ซึ่งมีอายุการดำเนินธุรกิจมาอย่างยาวนาน มากกว่า 50 ปีหรือครึ่งศตวรรษ ปัจจุบันมีอยู่ไม่กี่บริษัทเท่านั้น ซึ่งหนึ่งในนั้นคือบริษัทเก่าแก่ อย่าง บริษัท สัมมากร จำกัด (มหาชน) หรือ SAMCO ที่เริ่มต้นก่อตั้ง​ตั้งแต่ปี 2513   ขณะที่ได้เริ่มต้นดำเนินธุรกิจพัฒนาอสังหาฯ ​ ประเภทบ้านจัดสรรเพื่อการอยู่อาศัยในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล มาตั้งแต่ปี 2517 เป็นการพัฒนาโครงการบ้านเดี่ยวพร้อมที่ดินเพื่อขายเป็นหลัก จนถึงปัจจุบันได้พัฒนาโครงการเพื่ออยู่อาศัย และมีลูกบ้านแล้วกว่า 6,000 ยูนิต   นอกเหนือจากการพัฒนาที่อยู่อาศัยแล้ว สัมมากร ยังได้ขยายธุรกิจเข้าสู่ตลาดอสังหาฯ ​ให้เช่า โดยพัฒนาศูนย์การค้าชุมชน ภายใต้ชื่อ ศูนย์การค้าสัมมากรเพลส (Sammakorn Place) ซึ่งมีที่ตั้งอยู่บนถนนรังสิตคลอง 2 ถนนรามคำแหง และถนนราช-พฤกษ์  เป็นการสร้างรายได้ประจำให้กับบริษัท ไอเดียปั้น "องค์กร 100 ปี" ปัจจุบันสัมมากร อยู่ภายใต้การบริหารงานของ นายณพน เจนธรรมนุกูล กรรมการผู้จัดการ บริษัท สัมมากรฯ ซึ่งได้เข้ามานั่งเก้าอี้ในตำแหน่งกรรมการผู้จัดการได้กว่า 3 ปีแล้ว ซึ่งเป้าหมายสำคัญของการขับเคลื่อน “สัมมากร” ในฐานะผู้บริหาร คือ การพาให้บริษัทมีการดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง และอยู่ยาวนานไปสู่การเป็น “องค์กร 100 ปี” ด้วยการยึดหลักการทำงานที่มุ่งเน้นประสิทธิภาพการบริหารงาน และการพัฒนาสินค้าให้มีคุณภาพ มีความเป็นพรีเมียม เนื่องจากมีชื่อเสี่ยงเป็นที่ยอมรับมาอย่างยาวนาน   นายณพน เล่าว่า หลังจากได้เข้ามาบริหารบริษัทเป็นระยะเวลาประมาณ​ 6 ปี และขึ้นตำแหน่งกรรมการผู้จัดการช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ได้วางระบบการทำงานให้ “สัมมากร” ดำเนินธุรกิจอยู่ได้อย่างยาวนานเป็น 100 ปี และให้พนักงานทำงานกับบริษัทให้ได้นานที่สุด โดยวางแผนระยะสั้นในช่วง 3-5 ปีนี้ กับการทำงานใน 3 ส่วนสำคัญ คือ 1.บุคลากร มีการฝึกอบรมเสริมทักษะให้กับพนักงานในด้านต่าง ๆ การเสริมทีมงานที่เป็นคนรุ่นใหม่ และการจัดพื้นที่การทำงานให้เหมาะสม 2. ระบบการทำงานในองค์กร การวางระบบทุกอย่างภายในองค์กร ด้วยการนำระบบดิจิทัลเข้ามาเสริมประสิทธิภาพ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด และการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ด้วยดิจิทัล 3.ผลิตภัณฑ์ พัฒนาสินค้าให้มีคุณภาพ ตรงตามความต้องการของลูกค้า มีการปรับโมเดลการดำเนินธุรกิจ จากเดิมพัฒนาบ้านแบบเดียวมาโดยตลาด แต่ปัจจุบันมีความหลากหลายมากขึ้น และการขยายตลาดไปยังกลุ่มลูกค้าระดับลักชัวรี่ ซึ่งไม่ได้รับผลกระทบจากความผันผวนของภาวะเศรษฐกิจ ทีมงานสัมมากรเจอการเปลี่ยนแปลงมาพอสมควร จึงเน้นการใส่ใจประสิทธิภาพการทำงาน อย่างช่วงโควิด ได้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการทำงาน ที่บังคับให้ทุกอย่างเร็วขึ้น และต้องทำทันที แต่ยังมีประสิทธิภาพ แตกซับแบรนด์แยกกลุ่มเป้าหมาย การเปลี่ยนแปลงที่เห็นชัดเจนอีกสิ่งหนึ่งของ “สัมมากร” คือ การเพิ่ม Sub-Brands ที่หลากหลาย และก้าวไปสู่ตลาดบ้านลักชัวรี่ ซึ่ง “นภณ” เล่าว่า แบรนด์หมู่บ้านสัมมากร กลุ่มลูกค้าทั่วไปยังยอมรับในเรื่องของคุณภาพ ที่มีมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน แต่ด้วยการขยายไปสู่โอกาสทางการตลาดใหม่ ๆ ที่จะไม่ได้รับผลกระทบจากความผันผวนของภาวะเศรษฐกิจ และศักยภาพของบริษัท ที่สามารถพัฒนาบ้านทั่วไปได้จนถึงบ้านลักชัวรี่ ทำให้บริษัทจึงต้องเพิ่มแบรนด์ใหม่ ๆ ขึ้นมา เพื่อแยกกลุ่มลูกค้าให้ชัดเจน และแบรนด์นั่นเชื่อมโยงกับกลุ่มลูกค้าเป้าหมายด้วย   ในปีนี้บริษัทได้พัฒนาแบรนด์บ้านเดี่ยวระดับลักชัวรี่ ออกมาทำตลาดถึง 5 แบรนด์ ดังนี้ ​ 1.แบรนด์วัน เกต ราคา 93-135 ล้านบาท 2.แบรนด์ทู เอกมัย  ราคาเริ่มต้น 85 ล้านบาทขึ้นไป ​3.แบรนด์พาร์ค เฮอริเทจ ราคา 49-85 ล้านบาท​ 4.แบรนด์บาร์นยาร์ด เขาใหญ่ ราคาเริ่ม 15.9 ล้านบาท และ​​ 5.แบรนด์โพรวิเดนซ์ เลน ราคาเริ่ม 39 ล้านบาท   ล่าสุด เปิดตัวโครงการ พาร์ค เฮอริเทจ ซึ่งเป็นการร่วมทุนกับกลุ่มแอสเซท โปร ผู้ประกอบการรายใหญ่ในจังหวัดศรีสะเกษ พัฒนาบ้านเดี่ยวระดับลักชัวรี่ มูลค่ารวม 2,210 ล้านบาท ยังตั้งอยู่ในซอยพัฒนาการ 20 แยก 8 บนพื้นที่กว่า 12ไร่ มีบ้านเดี่ยว 3 ชั้นสไตล์ Modern Classic จำนวน 32 ยูนิต พร้อมลิฟต์และสระว่ายน้ำส่วนตัว ขนาดที่ดิน 60 – 133 ตารางวา พื้นที่ใช้สอยเริ่มต้น  471 – 778 ตารางเมตร ราคาขาย 49 – 95 ล้านบาท ซึ่งเฟสแรกเปิดขาย 16 ยูนิต คาดว่าจะปิดการขายได้ช่วงกลางปี 2566 ปี 66 โฟกัสตลาดบ้าน 10 ล้าน สำหรับแผนธุรกิจในปี 2566  บริษัทจะเน้นพัฒนาโครงการบ้านราคาระดับ 10 ล้านบาทขึ้นไป แต่ตลาดระดับกลาง ราคา 4-6 ล้านบาท ยังคงพัฒนาออกมาทำตลาด ซึ่งแผนการเปิดตัวโครงการในปีหน้า จะมีโครงการส่วนหนึ่งที่เลื่อนเปิดจากปีนี้ไปสมทบด้วย 3 โครงการ  ขณะเดียวกันในปีนี้จะเป็นปีสำคัญที่บริษัทรับรู้รายได้ จากการเปิดตัวโครงการในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา   ส่วนในช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้ ​บริษัททำยอดขายบ้านแนวราบได้แล้ว  2,000 ล้านบาทจากเป้าทั้งปี 3,500 ล้านบาท และมีรายได้ 1,000 ล้านบาท คาดว่าจนถึงสิ้นปีจะทำรายได้สูงกว่าเป้าที่ตั้งไว้จำนวน 1,500 ล้านบาท โดยมีโครงการที่อยู่ระหว่างการขายและพัฒนาจำนวน 8 โครงการ   โดยปีนี้บริษัทเปิดตัวโครงการใหม่เพียง ​ 6 โครงการ จากแผนเดิมจะเปิดตัว 9 โครงการใหม่มูลค่า 10,000 ล้านบาท การที่บริษัทเลื่อนเปิดโครงการใหม่ไปในปี 2566 เนื่องจากต้องการโฟกัสและทำตลาด โครงการ พาร์ค เฮอริเทจ  ให้ได้เป้าหมายยอดขายที่วางไว้   อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง -สัมมากร ส่งโครงการมิตติ จับตลาดบ้าน 4-7 ล้าน ประเดิมโซน​ ชัยพฤกษ์-วงแหวน -สัมมากร สวนกระแสตลาด ทำรายได้ปี’62 สูงสุดในรอบ 50 ปี
ศาลปกครอง สั่งรื้อ  แอชตัน-อโศก ใน 90 วัน เฉพาะส่วนที่สูงเกินกว่าความกว้างถนน 6.40 เมตร

ศาลปกครอง สั่งรื้อ แอชตัน-อโศก ใน 90 วัน เฉพาะส่วนที่สูงเกินกว่าความกว้างถนน 6.40 เมตร

แอชตัน-อโศก ศาลปกครอง สั่งรื้อแอชตัน-อโศก ในส่วนอาคารที่ก่อสร้างไม่ชอบด้วยกฎหมาย ที่สูงเกินกว่าความกว้างของถนน 6.40 เมตร ขีดเส้นให้เสร็จภายใน 90 วัน   สำนักประชาสัมพันธ์ สำนักงานศาลปกครอง ได้รายงานเผยแพร่คำพิพากษาศาลปกครองกลาง คดีสยามสมาคม ในพระบรมราชูปถัมภ์ ฟ้องขอให้ระงับการก่อสร้างหรือรื้อถอนอาคารโครงการแอชตัน-อโศก ในส่วนที่ก่อสร้างขึ้นมาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย โดยศาลปกครองกลางพิพากษาให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1) และผู้อำนวยการเขตวัฒนา (ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 3) ใช้อำนาจตามมาตรา 40 มาตรา 41 และมาตรา 42 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 แล้วแต่กรณี ดำเนินการต่อบริษัท อนันดา เอ็มเอฟ เอเชีย อโศก จำกัด (ผู้ร้องสอดที่ 1) สำหรับกรณีที่ต้องใช้อำนาจตามมาตรา 42 ในการออกคำสั่งกับบริษัท อนันดาฯ ให้รื้อถอนอาคารโครงการแอชตัน-อโศก ถนนสุขุมวิท 21 (อโศกมนตรี) แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร ให้ดำเนินการเฉพาะแต่ส่วนของอาคารที่ได้ก่อสร้างโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย (ในส่วนของอาคารที่สูงเกินกว่าความกว้างของทางจำเป็น 6.40 เมตร) ให้แล้วเสร็จ ภายใน 90 วัน ทั้งนี้ นับแต่วันที่ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสาม ผู้ร้องสอดที่ 1 และผู้ร้องสอดที่ 2 ไม่สามารถแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงเพื่อให้ที่ดินที่ใช้เป็นที่ตั้งอาคารพิพาท ให้เป็นไปตามข้อ 2 วรรคสอง ของกฎกระทรวง ฉบับที่ 33 (พ.ศ. 2535) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ภายใน 180 วัน นับแต่วันที่คดีถึงที่สุด ส่วนคำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก   สำหรับรายละเอียดคำวินิจฉัย ของคำพิพากษาศาลปกครองกลาง คดีสยามสมาคม ในพระบรมราชูปถัมภ์ ฟ้องขอให้ระงับการก่อสร้างหรือรื้อถอนอาคารโครงการแอชตัน-อโศก ในส่วนที่ก่อสร้างขึ้นมาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ที่เผยแพร่โดยสำนักประชาสัมพันธ์ สำนักงานศาลปกครอง สามารถอ่านได้จากคำพิพากษาศาลปกครองกลางที่แนบมาพร้อมนี้  http://bit.ly/3hZ1IDo     อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง -ถอดคำแถลงฯ CEO อนันดา กรณี ASHTON Asoke -6 ข้อกฎหมายพื้นฐานควรรู้ ถ้าคิดจะซื้อคอนโด  
ศูนย์ข้อมูลอสังหาฯ ชี้ที่อยู่ปี 65 ยังเติบโต  หลังดัชนีรวมตลาด Q3 เพิ่ม 30.4%

ศูนย์ข้อมูลอสังหาฯ ชี้ที่อยู่ปี 65 ยังเติบโต หลังดัชนีรวมตลาด Q3 เพิ่ม 30.4%

ตลาดอสังหาฯ ยังฟื้นตัวต่อเนื่อง ดัชนีรวมตลาดอสังหาฯ ไตรมาส 3 เพิ่มขึ้น 30.4% จากปีก่อน แนวโน้มโค้งท้ายปีบ้านสร้างเสร็จจดทะเบียนยังขยายตัวต่อ เพื่อรอโอนฯปลายปี  บทสรุปทั้งปีตลาดอสังหาฯ ยังเติบโต   ดร. วิชัย วิรัตกพันธ์ ผู้ตรวจการธนาคารอาคารสงเคราะห์ และรักษาการผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ หรือ REIC เปิดเผยรายงาน “ดัชนีรวมตลาดอสังหาริมทรัพย์ (หมวดที่อยู่อาศัย)” ประจำไตรมาส 3 ปี 2565 พบว่า มีค่าดัชนีเท่ากับ 93.0 จุด ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า 30.4%   ทั้งนี้ การปรับตัวเพิ่มขึ้นของค่าดัชนีเป็นผลมาจากการปรับตัวดีขึ้นของโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัย อัตราดูดซับบ้านจัดสรร และอาคารชุด (คอนโดมิเนียม) ข้อมูลที่อยู่อาศัยสร้างเสร็จจดทะเบียน จำนวนพื้นที่ที่ได้รับอนุญาตก่อสร้างที่อยู่อาศัย และดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการ ในไตรมาสนี้   ทั้งนี้ คาดการณ์ว่า ภาพรวมในปี 2565 ดัชนีรวมตลาดอสังหาริมทรัพย์ (หมวดที่อยู่อาศัย) น่าจะมีโอกาสขึ้นมาไม่ต่ำกว่าที่ 90.5 จุด หรือขยายตัว 19.6% จากปีก่อน และอาจปรับตัวสูงขึ้นได้สูงสุดถึง 99.6 จุด (กรณี Best Case) ขยายตัว 31.5% แต่หากมีการพลิกผันก็ไม่น่าจะต่ำกว่า  81.5 จุด หรือ ขยายตัว 7.6% (กรณี Worst Case) โดยมีการติดตามเครื่องชี้ด้านอุปทาน (จำนวนที่อยู่อาศัย) และอุปสงค์ (ความต้องการ) ของที่อยู่อาศัยที่สำคัญ Demand-Supply ที่อยู่อาศัย Q3 ด้านจำนวน REIC พบว่า การออกใบอนุญาตจัดสรรที่ดินทั่วประเทศ ในไตรมาส 3/2565 มีจำนวน 25,758 ยูนิต ซึ่งมีจำนวนสูงสุดในรอบ 10 ไตรมาสที่ผ่านมา และการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้น 39.0% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นของ YoY ที่ต่อเนื่องกันเป็นไตรมาสที่ 3 แล้ว   ในส่วนที่เกี่ยวกับจำนวนที่อยู่อาศัย จากโครงการที่เปิดตัวใหม่ในพื้นที่กรุงเทพฯ-ปริมณฑล ไตรมาส 3/2565 มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 24,112 ยูนิต ขยายตัว 98.6%  มูลค่า 147,276 ล้านบาท ขยายตัว 217.4% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยพบว่า บ้านจัดสรรมีการขยายตัว มากกว่าอาคารชุดทั้งจำนวนยูนิตและมูลค่าอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งต่างจากไตรมาส 1 และ 2 ที่ผ่านมา ที่อาคารชุดมีการขยายตัวมากกว่า ซึ่งสะท้อนว่า โครงการอาคารชุดที่เปิดตัวใหม่เริ่มลดลงแล้ว   ขณะที่จำนวนการออกใบอนุญาตก่อสร้างอาคารที่อยู่อาศัยทั่วประเทศในไตรมาส 3/2565 ซึ่งมีจำนวน 75,336 ยูนิต แบ่งเป็นแนวราบจำนวน 63,801 ยูนิต อาคารชุด จำนวน 11,535 ยูนิต โดยจำนวนรวมลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า 14.3%   แต่พบว่า จำนวนที่อยู่อาศัยสร้างเสร็จจดทะเบียนในกรุงเทพฯ-ปริมณฑล มีจำนวน 24,018 ยูนิต โดยจำนวนรวมเพิ่มขึ้น 56.1% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2564 แบ่งเป็นที่อยู่อาศัยแนวราบจำนวน 12,282 ยูนิต คอนโดจำนวน 11,736 ยูนิต ซึ่งคาดว่าจำนวนที่อยู่อาศัยสร้างเสร็จจดทะเบียนเพิ่มขึ้นมากในไตรมาสนี้ มาจากการสะสมของยูนิตที่ถูกชะลอการก่อสร้างในช่วงก่อนหน้า และการเร่งจดทะเบียนให้นำไปสู่การโอนกรรมสิทธิ์ในช่วงไตรมาส 3 และ 4 ปี 2565   ยูนิตการโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยทั่วประเทศในไตรมาส 3 ปี 2565 มีจำนวนทั้งสิ้น 97,228 ยูนิต เพิ่มขึ้น 28.56% เป็นการเพิ่มติดต่อกัน 3 ไตรมาส โดยสามารถแบ่งเป็นที่อยู่อาศัยแนวราบจำนวน 72,665 ยูนิต คอนโดจำนวน 24,563 ยูนิต ซึ่งมูลค่าการโอนกรรมสิทธิ์ก็สูงขึ้นเช่นเดียวกันโดยมีมูลค่าทั้งสิ้น  260,813 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 22.8% แบ่งเป็นมูลค่าการโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยแนวราบ 194,454 ล้านบาท และคอนโด 66,349 ล้านบาท   โดยพบว่า จำนวนเงินให้สินเชื่อที่อยู่อาศัยบุคคลปล่อยใหม่ทั่วประเทศในไตรมาส 3 ปี 2565 มีจำนวน 178,213 ล้านบาท เพิ่มขึ้นถึง 24.93% ซึ่งมีทิศทางเดียวกับการโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัย และสูงกว่าค่าเฉลี่ย 5 ปี เท่ากับ 157,052 ล้านบาท  ส่งผลให้สินเชื่อที่อยู่อาศัยบุคคลคงค้างทั่วประเทศขยับขึ้นไปอยู่ที่ 4,648,643 ล้านบาทเพิ่มขึ้น  5% จากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน จำนวนขายได้ใหม่ Q3 ลดลง 13.7% นอกจากนี้ ข้อมูลการสำรวจภาคสนามในพื้นที่กรุงเทพฯ-ปริมณฑล พบว่า โครงการที่มีการเสนอขายทั้งหมด ณ ไตรมาส 3 ปี 2565 จำนวน 198,024 ยูนิต ลดลง 1.0% ขณะที่มีมูลค่าโครงการรวม 984,904 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 0.8% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า โดยมียอดขายได้ใหม่ 20,261 ยูนิต ลดลง 13.7% ขณะที่มีมูลค่าการขายได้ใหม่ 113,399 ล้านบาท ลดลง 2.7%  โดยเป็นการชะลอตัวจากยอดขายได้ใหม่ของคอนโด ที่ลดลงจากไตรมาสก่อนถึง 39.0% ของจำนวนยูนิต และลดลง ​41.9% ของจำนวนมูลค่า   ขณะที่บ้านจัดสรรกลับขยายตัวมากกว่า 20% ทั้งยูนิตและมูลค่า ส่งผลให้ที่อยู่อาศัยเหลือขายมีจำนวน 177,763 ยูนิต มูลค่ารวม 871,505 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 0.7% และ 1.3% ตามลำดับ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้าที่   สำหรับที่อยู่อาศัยใน 3 จังหวัดพื้นที่ EEC มีสถานการณ์ตลาดในทิศทางเดียวกันกับกรุงเทพฯ-ปริมณฑล แต่มีอัตราการเปลี่ยนแปลงยูนิตและมูลค่าการขายได้ใหม่ที่ลดลงมากกว่า ซึ่งเป็นการลดลงทั้งบ้านจัดสรรและคอนโด ขณะที่ภาพรวมยูนิตเหลือขายมีอัตราที่ลดลงมากกว่า   จากภาพรวมตลาดทั้งสองพื้นที่ ได้สะท้อนให้เห็นว่าตลาดที่อยู่อาศัยในไตรมาสนี้ เริ่มชะลอความร้อนแรงลงอย่างชัดเจนจากยอดขายได้ใหม่ที่ลดลงจากไตรมาสก่อนหน้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเภทอาคารชุดที่มียอดขายลดลงมากเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้าที่มีการเปิดตัวอาคารชุดราคาถูกจำนวนมากและยอดขายที่ดีใน 1 – 2 ไตรมาสก่อนหน้า แนวโน้ม Demand-Supply ปี 2565 ศูนย์ข้อมูลอสังหาฯ ​ คาดการณ์ทิศทาง Demand-Supply ที่อยู่อาศัยในปี 2565 ว่า การออกใบอนุญาตจัดสรรที่ดินประมาณ 77,221 ยูนิต เพิ่มขึ้น 12.7% ที่อยู่อาศัยเปิดตัวใหม่เฉพาะในพื้นที่กรุงเทพฯ-ปริมณฑล ประมาณ 96,803 ยูนิต เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 87.9%  และมูลค่า 508,264 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 132.1% ​โดยแบ่งเป็นโครงการที่อยู่อาศัยแนวราบจำนวน 49,492 ยูนิต จำนวน 336,008 ล้านบาท และโครงการอาคารชุดจำนวน 47,311 ยูนิต 172,256 ล้านบาท การออกใบอนุญาตก่อสร้างจำนวน 310,976 ยูนิต แบ่งเป็นที่อยู่อาศัยแนวราบจำนวน 264,031 ยูนิต เป็นคอนโด 46,945 ยูนิต การโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยมีจำนวน 373,253 ยูนิต เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 8.59% มีมูลค่า 997,471 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 5.61% แบ่งเป็นการโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยแนวราบจำนวน 279,447 ยูนิต โอนกรรมสิทธิ์อาคารชุดพักอาศัยจำนวน 93,806 ยูนิต รักษาการผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาฯ  กล่าวสรุปภาพรวมตลาดที่อยู่อาศัยปี 2565 ไว้ว่า ความเคลื่อนไหวด้านจำนวนมีการขยายตัวต่อเนื่องมาตั้งแต่ไตรมาส 1 ปี 2565 โดยมีการเปิดตัวโครงการใหม่ในพื้นที่กรุงเทพฯ-ปริมณฑล ในขณะที่การขอออกใบอนุญาตจัดสรรที่ดินทั่วประเทศเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในช่วงไตรมาส 3 โดยมีจำนวนสูงสุดในรอบ 10 ไตรมาส ขณะที่การขอออกใบอนุญาตก่อสร้างอาคารโดยภาพรวมยังคงทรงตัว ด้านความต้องการ พบว่า มีการโอนกรรมสิทธิ์ในที่อยู่อาศัยทั่วประเทศเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ทั้งจำนวนยูนิตและมูลค่าการโอนกรรมสิทธิ์ และสินเชื่อที่อยู่อาศัย มาตั้งแต่ไตรมาส 1 แล้ว   อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง -ศูนย์ข้อมูลอสังหาฯ แนะตลาดบ้าน-คอนโด ต้องต้องเฝ้าระวัง  5 เรื่องนี้ -REIC เผย ยอดโอนคอนโดต่างชาติ Q1/65 ลดทั้งจำนวน-มูลค่า เหตุลูกค้าจีนยังปิดประเทศ 
นิวเวิลด์ ลา พลูม นิเซโกะ  เปิดขายห้องชุดสกี รีสอร์ท 5 ดาวจากญี่ปุ่น ดึงกำลังซื้อคนไทย การันตีผลตอบแทน 5% 3 ปี

นิวเวิลด์ ลา พลูม นิเซโกะ เปิดขายห้องชุดสกี รีสอร์ท 5 ดาวจากญี่ปุ่น ดึงกำลังซื้อคนไทย การันตีผลตอบแทน 5% 3 ปี

ริชมอนทส์ คริสตี้ส์ เปิดขายรีสอร์ท หรู 5 ดาว “นิวเวิลด์ ลา พลูม นิเซโกะ รีสอร์ท” เมืองสกี รีสอร์ท ที่สวยติดอันดับน่าท่องเที่ยว 1 ใน 3 ของโลก จากญี่ปุ่น ให้นักลงทุนชาวไทย ชูการันตีผลตอบแทนปีละ 5% ใน 3 ปี พร้อมพักได้ปีละ 28 วัน สร้างโอกาสในภาวะเงินเยนอ่อนค่า   นายทิม สเคพวิงตัน กรรมการผู้จัดการ บริษัท ริชมอนทส์ คริสตี้ส์ อินเตอร์เนชั่นแนล เรียลเอสเตท จำกัด ผู้ประกอบธุรกิจที่ปรึกษาทางด้านการตลาดและการขายอสังหาริมทรัพย์ เปิดเผยว่า ได้รับการแต่งตั้งจากโครงการ “นิวเวิลด์ ลา พลูม นิเซโกะ รีสอร์ท” ซึ่งเป็นโครงการ สกี รีสอร์ท หรูระดับ 5 ดาว มูลค่า 12,000 ล้านบาท ที่ตั้งอยู่ที่เมืองนิเซโกะ จังหวัดฮอกไกโด ประเทศญี่ปุ่น ให้เป็นตัวแทนบริหารการขายและการตลาดอย่างเป็นทางการเพียงรายเดียวในประเทศไทย โดยจะเปิดขายในประเทศไทยตั้งแต่วันที่ 22 พฤศจิกายน 2565 เป็นต้นไป สำหรับผู้ที่ซื้อเพื่อการลงทุน จะบริหารงานโดย New World Hotels & Resorts ซึ่งเป็นแบรนด์ระดับ 5 ดาว ภายใต้เครือ Rosewood ซึ่งมีการันตีผลตอบแทนระยะเวลา 3 ปี ขั้นต่ำ 5% และเจ้าของสามารถเข้าพักได้จำนวน 28 วัน ในรอบระยะเวลา 1 ปี แบ่งเป็นการพักในช่วงฤดูหนาว 14 วัน  และในฤดูอื่นอีก 14 วัน​   สำหรับนิวเวิลด์ ลา พลูม นิเซโกะ รีสอร์ท นอกจากจะมีความน่าสนใจจากตำแหน่งที่ตั้งโครงการที่ดีในเมืองนิเซโกะ และการออกแบบโครงการที่สวยงามจากบริษัทผู้ออกแบบชั้นนำแล้ว การที่สกุลเงินเยนอ่อนค่าลงมาเมื่อเที่ยบกับเงินบาทไทย ซึ่งเป็นการอ่อนค่าลงมามากที่สุดในรอบ 30 ปี จะเป็นโอกาสทำให้ผู้ที่สนใจซื้อ หรือ ลงทุนอสังหาริมทรัพย์ในญี่ปุ่น มีกำลังซื้อเพิ่มมากขึ้น เป็นจังหวะดีให้คนไทยสามารถเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ที่ญี่ปุ่นได้ในราคาเหมาะสม   อย่างไรก็ตาม แม้ว่าหลายคนยังมีความกังวลเรื่องความเสี่ยงเศรษฐกิจญี่ปุ่น ซึ่งยังมีอัตราการเติบโตในระดับต่ำ แต่เมื่อพิจารณาข้อดี ญี่ปุ่นนั้นเป็นประเทศที่มีความมั่นคง ปลอดภัย เศรษฐกิจเติบโตไม่หวือหวา ทำให้ผลตอบแทนการลงทุนจึงมีความสม่ำเสมอ ไม่ผันผวนมาก เหมาะสำหรับการกระจายความเสี่ยงการลงทุนไปยังต่างประเทศ ทั้งประเทศญี่ปุ่นยังมีการเดินทางได้สะดวก และระยะเวลาเดินทางไม่มากจากประเทศไทย ภายหลังช่วงโควิด ญี่ปุ่นได้เริ่มเปิดประเทศ เราเชื่อมั่นว่านักท่องเที่ยวจะกลับไปเที่ยวประเทศญี่ปุ่นเหมือนเดิม และเพิ่มจำนวนมากขึ้น จากความอัดอั้นที่ไม่ได้ไปเยือนญี่ปุ่นมาหลายปี ​ โดยบริษัทคาดว่าจะสามารถสร้างยอดขายได้จำนวน 10 ยูนิต คิดเป็นมูลค่า​10 ล้านดอลล่าห์ หรือประเมาณ 360 ล้านบาท (คำนวณจากค่าเงิน 1 ดอลล่าห์เท่ากับ​ 36 บาท) ในช่วง 3 เดือนแรกที่เปิดการขาย ซึ่งโครงการตั้งเป้ากลุ่มลูกค้าคนไทยประมาณ 15-20% ลูกค้าชาวญี่ปุ่น 30-35% ส่วนที่เหลือเป็นลูกค้าจากประเทศอื่น ๆ เช่น จากฮ่องกง และจีน   ด้านนายเพียว ซิน ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ นิวเวิลด์ ลา พลูม นิเซโกะ รีสอร์ท กล่าวว่า  เมืองนิเซโกะ จังหวัดฮอกไกโด ประเทศญี่ปุ่น  เป็นเมืองท่องเที่ยวที่สำคัญของญี่ปุ่น มีจำนวนนักท่องเที่ยวต่อปีเข้ามาท่องเที่ยวจำนวนมากตลอดทั้งปี จากผลสำรวจจำนวนนักท่องเที่ยวของเมือง พบอัตราการเติบโตของจำนวนนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นปีละ 20% โดยนักท่องเที่ยวชาวไทยติด 1 ใน 10 อันดับของนักท่องเที่ยวที่ไปเยือนจังหวัดฮอกไกโดมากที่สุด โดยเฉพาะช่วงฤดูหนาวที่มีหิมะตก เป็นฤดูเล่นสกี เมืองนิเซโกะที่เป็นที่รู้จักว่าเป็นเมืองสกีที่สวยงาม เพราะที่นี่ยังมีภูเขาโยเท (Mt.Yotei) ซึ่งเป็นหนึ่งในยอดภูเขาไฟที่มีทัศนียภาพสวยงามได้สมญานามว่า ฟูจิน้อย ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของฮอกไกโด ความสวยงามของเมืองนี้ถูกจัดอันดับเป็นเมืองสกี รีสอร์ท ที่น่าท่องเที่ยวติดอันดับ 1 ใน 3 ของโลกอีกด้วย ห้องสตูดิโอ เริ่มต้น 17 ล้านบาท นายเปรม นารูลา ผู้อำนวยการฝ่ายขาย บริษัท ริชมอนทส์ คริสตี้ส์ อินเตอร์เนชั่นแนล เรียลเอสเตท จำกัด กล่าวว่า นิวเวิลด์ ลา พลูม นิเซโกะ รีสอร์ท ตั้งอยู่บนพื้นที่ 22 ไร่ แบ่งเป็นส่วนของอาคารที่พักและวิลล่า 5 หลัง มีพื้นที่สวนล้อมรอบโครงการ 50% มีรูปแบบการบริหารงานแบบรีสอร์ท  ปัจจุบันโครงการอยู่ระหว่างการก่อสร้าง กำหนดจะแล้วเสร็จในเดือนกรกฎาคมปี 2567 ซึ่งผู้สนใจโครงการบริษัทได้ออกแบบการขายออกเป็น 2 ส่วน คือส่วนที่ซื้อเพื่อครอบครองและเพื่อการลงทุน โดยคนไทยสามารถซื้อและถือครองเป็นเจ้าของได้ 100% ราคาเริ่มต้นที่ 17 ล้านบาท (66.5 ล้านเยน) สำหรับห้องสตูดิโอ ขนาดใหญ่ โดยมีราคาเฉลี่ย 500,000 บาท   สำหรับโครงการ นิวเวิลด์ ลา พลูม นิเซโกะ รีสอร์ท ประกอบด้วย อาคาร 11 ชั้น 1 อาคาร แบ่งเป็นชั้นใต้ดิน 2 ชั้น และบนดิน 9 ชั้น ลักษณะห้องพักแบ่งเป็นห้องสตูดิโอ ขนาดพื้นที่ 39.43 – 64.48 ตารางเมตร จำนวน 49 ห้อง ห้องขนาด 1 ห้องนอน พื้นที่ 63.46-99.87 ตารางเมตร จำนวน 68 ห้อง ขนาด 2 ห้องนอน พื้นที่ 96.70-158.63 ตารางเมตร จำนวน  79 ห้อง ขนาด 3 และ 4 ห้องนอน พื้นที่ 145.14-310.26 ตารางเมตร จำนวน 17 ห้อง และห้องเพนท์เฮาส์ เดอลุกซ์ สวีท พื้นที่ 193.01-332.74 ตารางเมตร จำนวน 6 ห้อง รวมจำนวนห้องพักในอาคารทั้งหมด 219 ห้อง ทั้งยังมี วิลล่า ที่อยู่บริเวณสวนนิเซโกะ มีความเป็นส่วนตัวแบบเอ็กซ์คลูซีฟ จำนวน 5 หลัง โดยภายในโครงการมีสิ่งอำนวยความสะดวก อาทิ ที่จอดรถในร่มและกลางแจ้งบริเวณชั้น 1 ภายในอาคาร บริเวณชั้น 2 จัดเป็นส่วนของเอนเตอร์เทนเม้นต์เซ็นเตอร์ ชั้น 3 เป็นส่วนของโถงต้อนรับและห้องสกีวัลเลย์ ส่วนบริเวณชั้น 11 ชั้นบนสุดบริเวณโถงต้อนรับ ประกอบไปด้วย บาร์ล็อบบี้, บาร์เลาจ์, บาร์บริเวณระเบียง ออกแบบให้สามารถชมทัศนียภาพบรรยากาศของวิวเมืองและภูเขาโยเท มองเห็นวิวได้แบบ 360 องศา ทั้งยังมีร้านอาหารที่เปิดให้บริการทั้งวัน   จุดเด่นที่เป็นไฮไลต์ คือ สระว่ายน้ำกลางแจ้งแบบสกายพูลความยาว 25 เมตร สระออนเซ็นขนาดใหญ่ในร่มและสระออนเซ็นกลางแจ้ง ศูนย์ฟิตเนส ห้องคิดส์รูมสำหรับเด็ก ๆ และครอบครัวที่มาพักผ่อนในช่วงเวลาพิเศษ โดยทุกห้องสามารถมองเห็นวิวของเมืองนิเซโกะ ได้อย่างสวยงาม ยิ่งในฤดูสกีที่มีหิมะปกคลุมแทบทั้งเมืองยิ่งเป็นทัศนียภาพที่สวยงามมาก   อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง -พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค ขายทิ้ง “Kiroro Resort Holding” 4,358 ล้านบาท ธุรกิจสกี-โรงแรมในญี่ปุ่น หลังโควิดกระทบท่องเที่ยว​
พรีโม ขาย IPO หุ้นละ 15 บาท 80 ล้านหุ้น  วางเป้า Top 3 บริการด้านอสังหาฯ ​

พรีโม ขาย IPO หุ้นละ 15 บาท 80 ล้านหุ้น วางเป้า Top 3 บริการด้านอสังหาฯ ​

พรีโม พรีโม เซอร์วิส โซลูชั่น เคาะราคา IPO 15 บาทต่อหุ้น พร้อมเปิดจองซื้อวันที่ 22 – 24 พฤศจิกายนนี้ เตรียมระดมทุน 80 ล้านหุ้น ในตลาด เอ็ม เอ ไอ ต่อยอดธุรกิจบริการด้านอสังหาฯ ครบวงจร พร้อมใช้เทคโนโลยีเสริมการบริการ ตั้งเป้าขึ้น Top3 หลัง 9 เดือนกวดรายได้กว่า 604.26 ล้าน มีกำไรสุทธิ 156.02 ล้าน   หลังจากบริษัทแม่อย่าง ออริจิ้น เข้าตลาดหลักทรัพย์ไปก่อนหน้า พร้อมนำเอาบริษัท บริทาเนีย จำกัด (มหาชน) บริษัทในเครืออีกหนึ่งบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ก็ถึงคิวของบริษัท พรีโม เซอร์วิส โซลูชั่น จำกัด (มหาชน)  หรือ PRI ที่จะเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ เป็นรายต่อไป   นางสาวจตุพร วิไลแก้ว  ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พรีโมฯ  เปิดเผยว่า บริษัทได้เริ่มต้นธุรกิจขึ้นตั้งแต่ปี 2554 ในธุรกิจให้บริการด้านอสังหาริมทรัพย์ และเป็นนายหน้า และมีการจัดตั้งบริษัทต่าง ๆ มาอย่างต่อเนื่องที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจบริการด้านอสังหาฯ จนปัจจุบันได้เตรียมเข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ ​เนื่องจากเป็นบริษัทเรือธงของบริษัท ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) หรือ ORI ซึ่งเดิมทางออริจิ้นถือหุ้น 100% จะปรับลดเหลือ 75% ซึ่งมีทุนจดทะเบียน 160 ล้านบาท ชำระแล้ว 120 ล้านบาท   โดยปัจจุบันมีบริการที่หลากหลายตั้งแต่ระดับต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ หรือก่อนเข้าอยู่อาศัย เข้าอยู่อาศัยแล้วและบริการหลังการขายอสังหาฯ เพื่อให้บริการแก่ลูกค้าอสังหาฯ ที่ต้องการพัฒนาโครงการและลูกค้ารายย่อย โดยสามารถให้บริการได้ตั้งแต่เริ่มออกแบบก่อสร้าง จนถึงโอนกรรมสิทธิ์และมีบริการหลังการขายอสังหาฯ ที่หลากหลาย สามารถตอบสนองความต้องการด้านการอยู่อาศัยแบบวันสต็อปเซอร์วิส ภายใต้แนวคิด “Living Partner” เสมือนเป็นเพื่อนคู่คิดในการใช้ชีวิตร่วมกับลูกค้า สำหรับวัตถุประสงค์ของการระดมทุนครั้งนี้ เพื่อใช้ในการสร้างการเติบโตแบบออกานิคอย่างต่อเนื่อง ​ และการเพิ่มบริการให้ เพื่อรักษาฐานลูกค้าเก่า ที่มีอยู่กว่า 30,000 ครัวเรือน 100 โครงการ และขยายไปสู่กลุ่มลูกค้าใหม่ ๆ ด้วยการนำเอาเทคโนโลยีเข้ามาเสริมบริการ อาทิ การเพิ่มบริการของแอปพลิเคชั่น PRIMO PLUS ด้านเฮลท์แคร์ การช้อปปิ้ง นอกจากนี้ ยังเสริมธุรกิจด้านต่าง ๆ ให้เติบโตเพื่อไปสู่เป้าหมายสำคัญ ในการขึ้นเป็นผู้นำ1 ใน 3  หรือ Top3 ตลาดธุรกิจบริการด้านอสังหาฯ ด้วย สาเหตุที่ออกมาจากออริจิ้น เพราะอยากเติบโตรองรับลูกค้าจาก One-time customer เป็น Life-time เพราะบริษัทเป็นฟันเฟืองที่ใหญ่ในธุรกิจอสังหาฯ ที่สามารถเติบโตได้ด้วยตนเอง สามารถรับลูกค้าได้ทั้งกลุ่มนอกออริจิ้นได้ด้วย 3 กลุ่มธุรกิจ 8 บริษัทในเครือ ปัจจุบันบริษัทฯ แบ่งการดำเนินธุรกิจเป็น 3 กลุ่ม ภายใต้การดำเนินงานของ 8 บริษัทย่อย ได้แก่ 1.ธุรกิจที่ปรึกษาและออกแบบทางวิศวกรรม (Pre-Living Services) โดยมีบริการที่ปรึกษาและควบคุมงานก่อสร้างโครงการอสังหาฯ  บริการออกแบบสถาปัตยกรรม งานวิศวกรรมและงานระบบ โดยได้รับมาตรฐาน ISO 9001: ด้านที่ปรึกษาและบริหารจัดการก่อสร้าง รวมถึงมีบริการจัดฝึกอบรมหลักสูตรเกี่ยวกับอสังหาฯ และการพัฒนาบุคลากร 2.ธุรกิจบริหารจัดการอสังหาริมทรัพย์ (Living Services) โดยให้บริการรับบริหารนิติบุคคลอาคารชุด บ้านจัดสรร ห้างสรรพสินค้าและอาคารสำนักงาน บริการจัดหาผู้เช่าห้องชุดภายใต้แบรนด์ “พรีโม แมเนจเม้นท์” โดย ณ วันที่ 30 กันยายน 2565 มีลูกค้า 56 โครงการ และให้บริการดังกล่าวแก่โครงการระดับลักชัวรี่ภายใต้แบรนด์ “คราวน์ เรสซิเดนซ์” โดย ณ วันที่ 30 กันยายน 2565 มีลูกค้า 15 โครงการ (ไม่รวมลูกค้าจากบริการจัดหาผู้เช่าห้องชุด) นอกจากนี้ยังมีบริการรับบริหารจัดการอสังหาฯ เพื่อเช่าระยะยาวภายใต้แบรนด์ “แฮมตัน” (Hampton) บริการนายหน้าซื้อ ขาย ให้เช่า อสังหาฯ  ครบวงจร รวมถึงบริการที่ปรึกษาพัฒนาโครงการอสังหาฯ และการตลาด 3.ธุรกิจให้บริการหลังการขายอสังหาริมทรัพย์ (Living & Earning Services) โดยมีบริการต่างๆ ได้แก่ ออกแบบตกแต่งภายในบ้าน คอนโดฯ และพื้นที่ส่วนกลาง, ตกแต่งพื้นที่ส่วนกลาง สำนักงานขายโครงการอสังหาฯ, ทำความสะอาดที่พักอาศัยแบบทำสัญญาและรายครั้ง และบริการช่างและขนย้ายสิ่งของ ทั้งนี้ การที่บริษัทสามารถให้บริการที่เกี่ยวเนื่องกับอสังหาฯ แบบครบวงจร ถือเป็นจุดเด่นที่แตกต่างจากผู้ประกอบการรายอื่น ๆ โดยฐานรายได้หลักของบริษัทมาจากการให้บริการ ซึ่งมีทั้งการทำสัญญาให้บริการแบบระยะยาว เช่น บริการที่ปรึกษาและควบคุมงานก่อสร้าง, บริหารนิติบุคคลอาคารชุด บ้านจัดสรร เป็นต้น และการให้บริการเป็นรายครั้ง รวมถึงมีฐานลูกค้าจากโครงการของ ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ ช่วยเพิ่มความมั่นคงด้านรายได้แก่บริษัท  นอกจากนี้บริษัทมุ่งขับเคลื่อนการให้บริการด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยหรือ Tech Service Company โดยมีแอปพลิเคชันที่พัฒนาขึ้นเพื่อเป็นช่องทางติดต่อและให้แก่บริการแก่ลูกค้า   นางสาวจตุพร กล่าวอีกว่า บริษัทวางกลยุทธ์การเติบโตด้วยการมุ่งเพิ่มศักยภาพการให้บริการและสร้างสรรค์บริการใหม่ ๆ แบบวันสต็อปเซอร์วิส เพื่อตอบโจทย์ทุกความต้องการด้านการอยู่อาศัยในทุกจังหวะการใช้ชีวิต หรือ “At Your Service, Every Moment” โดยจะมุ่งรักษาฐานลูกค้าเดิมใช้บริการต่อเนื่องและขยายฐานลูกค้าใหม่ โดยเฉพาะในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ที่มีศักยภาพ พร้อมทั้งวางแผนยายการลงทุนในธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลักในปัจจุบัน ควบคู่กับการลงทุนพัฒนาเทคโนโลยีไอทีและดิจิทัลเพื่อเพิ่มศักยภาพการให้บริการ มุ่งสู่ผู้นำของธุรกิจให้บริการด้านอสังหาริมทรัพย์สมัยใหม่แบบครบวงจร 9 เดือนกวาดรายได้กว่า 600 ล้าน ด้านนางสาวนุชจรีย์ จิตต์อาจหาญ ผู้บริหารสายงานบัญชีและการเงิน กล่าวว่า บริษัทมีผลการดำเนินงานเติบโตแข็งแกร่ง โดยในปี 2562 – 2564 มีรายได้รวม 255.69 ล้านบาท 266.51 ล้านบาท และ 489.56 ล้านบาทตามลำดับ เติบโตเฉลี่ย 30.48% ต่อปี และมีกำไรสุทธิ 34.52 ล้านบาท 40.05  ล้านบาท และ 111.25 ล้านบาทตามลำดับ เติบโตเฉลี่ย 74.09% ต่อปี ส่วนผลการดำเนินงานงวด 9 เดือนแรกของ   ปี 2565 มีรายได้รวม 604.26 ล้านบาท เติบโต 95.92% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และมีกำไรสุทธิ 156.02 ล้านบาท เติบโต 128.17% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากรายได้ทั้ง 3 กลุ่มธุรกิจเติบโตได้ดีและมีอัตราการทำกำไรที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะที่อัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์ (ROA) ณ งวด 9 เดือนแรกของปี 2565 อยู่ที่ 61.62% และอัตราผลตอบแทนผู้ถือหุ้น (ROE) อยู่ที่ 81.20% เคาะราคาหุ้นละ 15 บาท ระดม 80 ล้านหุ้น ขณะที่นายประเสริฐ ตันตยาวิทย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ที่ปรึกษา เอเซีย พลัส จำกัด ในฐานะที่ปรึกษาทางการเงิน กล่าวว่า ความคืบหน้าการนำ บริษัท​ พรีโมฯ หรือ PRI เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ หลังจากที่ได้ยื่นแบบคำขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์และแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ (ไฟลิ่ง) ต่อสำนักงาน ก.ล.ต. เพื่อพิจารณาอนุมัติ   ล่าสุด ได้รับการอนุมัติแบบคำขอฯ และแบบไฟลิ่งมีผลใช้บังคับแล้ว โดย บมจ.พรีโม เซอร์วิส โซลูชั่น จะเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนต่อประชาชนเป็นครั้งแรก (IPO) จำนวนไม่เกิน 80 ล้านหุ้น คิดเป็นสัดส่วนไม่เกิน 25% ของจำนวนหุ้นสามัญ ที่ออกและชำระแล้วทั้งหมดของบริษัท ภายหลังเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนครั้งนี้ เพื่อนำเงินจากการระดมทุนไปใช้ขยายกิจการที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจในปัจจุบัน และพัฒนาเทคโนโลยีในการให้บริการลูกค้า รวมถึงใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในกิจการ   โดย PRI เป็นบริษัทที่มีศักยภาพเติบโตได้อีกมากตามการขยายตัวของธุรกิจอสังหาฯ และความต้องการใช้บริการด้านการอยู่อาศัย โดยมีบริการที่สามารถตอบสนองลูกค้าที่เป็นโครงการอสังหาฯ และลูกค้ารายย่อย   ส่วนนางสาวยอดฤดี สันตติกุล กรรมการบริหาร บริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส จำกัด ในฐานะผู้จัดการการจัดจำหน่ายและรับประกันการจำหน่าย กล่าวว่า บมจ.พรีโม เซอร์วิส โซลูชั่น ได้กำหนดราคาเสนอขาย IPO ที่ราคาหุ้นละ 15 บาท ซึ่งมองว่าเป็นราคาที่สอดคล้องกับปัจจัยพื้นฐานและศักยภาพการเติบโตในอนาคต โดยจะเปิดให้นักลงทุนจองซื้อในวันที่ 22 – 24 พฤศจิกายนนี้ ผ่านบริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส จำกัด และผู้จัดจำหน่ายและรับประกันการจำหน่าย 5 ราย   โดยคาดว่าจะนำหุ้น PRI เข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ ได้ในช่วงปลายเดือนพฤศจิกายน 2565 โดยเชื่อว่า PRI จะเป็นหุ้น IPO ที่ได้รับความสนใจที่ดีจากนักลงทุน ด้วยจุดแข็งด้านบริการที่เกี่ยวเนื่องกับอสังหาฯ แบบครบวงจร มีฐานลูกค้าที่มั่นคง มีรายได้ประจำที่มาจากการทำสัญญาระยะยาวกับลูกค้า และผลประกอบการที่ผ่านมาที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง โชว์ศักยภาพธุรกิจเป็นผู้ให้บริการที่เกี่ยวเนื่องกับอสังหาริมทรัพย์แบบครบวงจร ครอบคลุมต้นน้ำ กลางน้ำและปลายน้ำ ตั้งแต่ก่อนเข้าอยู่อาศัย เข้าอยู่อาศัยแล้วและบริการหลังการขายอสังหาฯ ส่วนกำไรสุทธิงวด 9 เดือนแรกของปี 2565 อยู่ที่ 156.02 ล้านบาท เติบโต 128.17% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน วางกลยุทธ์ขยายบริการใหม่มุ่งสู่ผู้นำของธุรกิจให้บริการด้านอสังหาริมทรัพย์สมัยใหม่แบบครบวงจร   อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง -เปิดโรดแมพธุรกิจ “ออริจิ้น” ใน 3 ปี ปูทางสู่มาร์เก็ตแคปกลุ่มธุรกิจ 1 แสนล้าน -พรีโม เตรียม IPO ในปลายปีนี้ วางเป้าขึ้น Top3 ด้านบริการอสังหาฯ ​ครบวงจร
เสนา กรุ๊ป  ปรับธุรกิจ รับเมกะเทรนด์  หลังถือหุ้นใหญ่ SENAJ

เสนา กรุ๊ป ปรับธุรกิจ รับเมกะเทรนด์ หลังถือหุ้นใหญ่ SENAJ

เสนา กรุ๊ป ยกเครื่องธุรกิจใหม่ วางเป้าเติบโตอย่างยั่งยืนในทุกมิติ  ขยายธุรกิจใม่รับเมกะเทรนด์ หลังทุ่มกว่า 485.4 ล้าน ถือหุ้นใหญ่ SENAJ วางตัวเป็น "แม่ยก" กับ 3 แกนธุรกิจหลัก   หลังจากที่บริษัท เสนา ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) ได้เข้าลงทุนเพิ่มในหุ้นสามัญของ บริษัท เสนาเจ พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) หรือ SENAJ จำนวน 300 ล้านหุ้น หรือ คิดเป็น 7.14% ของจำนวนหุ้นที่ออกและชำระแล้ว ในราคา 1.618 บาทต่อหุ้น คิดเป็นมูลค่าเงินลงทุนรวม 485.4​ ล้านบาท ตามมติที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท ครั้งที่ 7/2565 เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2565 ที่ผ่านมา​   ส่งผลทำให้กลุ่มเสนากลายเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ใน SENAJ และมีสัดส่วนการถือหุ้นเพิ่มเป็น 42.49% ของจำนวนหุ้นทั้งหมด ถือเป็นการเพิ่มอำนาจในการควบคุมบริหารงานใน บริษัท เสนา เจฯ  ซึ่งเป็นไปตามนโยบายการดำเนินธุรกิจตั้งแต่เสนา ได้เริ่มเข้าไปถือหุ้นใน   เมื่อกลุ่มเสนา กลายเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ จึงมีการวางทิศทางในการดำเนินธุรกิจทั้งกลุ่มเสนาใหม่ เพื่อสร้างความชัดเจนในการดำเนินธุรกิจ และสร้างโอกาสทางการตลาดให้กับเสนา ให้เกิดความยั่งยืนในการดำเนินธุรกิจ ภายใต้สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นตลอดเวลา พร้อมเป็น "แม่ยก" ดันธุรกิจโตยั่งยืน ผศ.ดร.เกษรา ธัญลักษณ์ภาคย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เสนาดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) เปีดเผยว่า เสนาดีเวลลอปเม้นท์ ได้มีการปรับยุทธศาสตร์ธุรกิจแบบองค์รวม โดยวางเป้าหมายของ "SENA Group" เติบโตอย่างยั่งยืนในทุกมิติ  ด้วยการวางให้เสนาพร้อมเป็น "แม่ยก" ผลักดันธุรกิจในเครือให้ครอบคลุม เติบโตอย่างแข็งแกร่งและยั่งยืน ผ่านแกนหลัก 3 แม่ยก ดังนี้ ยกระดับองค์กรให้ก้าวทันโลกแห่งอนาคต ยกระดับทุกธุรกิจในเครือให้เติบโตอย่างยั่งยืน ยกระดับคุณภาพชีวิตในทุกมิติอย่างยั่งยืน สำหรับ แผนงานภายใต้คอนเซ็ปต์ 3 แม่ยก ดังกล่าวประกอบด้วย ​ 1.ยกจากจุดเริ่มต้น "SENA Group" เสนาได้ดำเนินธุรกิจมากว่า 40 ปี พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ประเภทที่อยู่อาศัยเพื่อขาย ได้แก่ บ้านเดี่ยว ทาวเฮ้าส์ อาคารพาณิชย์ ทาวน์โฮมและอาคารชุด ธุรกิจเช่า ได้แก่ พาร์ทเม้นท์ให้เช่า ธุรกิจอาคารสำนักงาน ธุรกิจสนามกอล์ฟ ธุรกิจไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ธุรกิจบริหารงานนิติบุคคล ธุรกิจรับเหมาก่อสร้างที่พักอาศัย เป็นต้น พร้อมต่อยอดธุรกิจใหม่ที่ตอบโจทย์ความท้าทายของผู้คนในสังคม เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตด้วยความใส่ใจ และจริงจังในการสร้างสังคมที่ยั่งยืน "To be the most trusted partner in our custom stage." เสนาเป็นแบรนด์ที่น่าเชื่อถือไว้วางใจสูงสุดในทุกช่วงชีวิตของลูกค้าเรา 2.ยกสถานการณ์ปัจจุบัน "SENA Group" โดยการวางธุรกิจหลัก (Core Business) เพื่อให้ธุรกิจสามารถเชื่อมโยงและสอดรับกับบริษัทในเครือ ปัจจุบัน ทาง "SENA Group" ได้มีการปรับโครงสร้างธุรกิจของทั้งกลุ่มบริษัท เพื่อให้ทุกบริษัทมีความแข็งแกร่ง เกื้อหนุนซึ่งกันและกัน พร้อมเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันเชิงธุรกิจกับคู่แข่งในตลาด ซึ่งทุกบริษัทในเครือต้องมีการปรับวิสัยทัศน์และพันธกิจขององค์กร   ทั้งนี้ ทางบริษัท เสนา เจ พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) หรือ SENAJ จะเน้นการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์สำหรับกลุ่มเฉพาะ(Niche High End market) ในกลุ่มลูกค้าระดับสูง รวมถึงผลักดันการขยายบริการด้านที่อยู่อาศัยอย่างครอบคลุมและคุ้มค่ามากที่สุด โดยวางเป้าหมายและโจทย์สำคัญมุ่งสู่ธุรกิจเมกะเทรนด์ (New Mega Trends) ของโลก เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตด้วยความละเอียดใส่ใจ และจริงจังในการสร้างสังคมที่ยั่งยืน "To be the ultimate real estate multi-services company." ขณะเดียวกันมองว่าเทรนด์การลงทุนในธุรกิจมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก โดยทาง SENAJ พุ่งเป้าไปธุรกิจที่ตอบรับเมกะเทรนด์ (Mega Trend) ทั้งความยั่งยืนในการประกอบธุรกิจที่เป็นมิตรต่อโลก (Sustainability) ,สังคม, สุขภาพ, สิ่งแวดล้อมและเทคโนโลยี เป็นต้น 3.ยกระดับเพื่ออนาคต "SENA Group" โดยเสนาพร้อมยกระดับคุณภาพชีวิตสู่ความยั่งยืน โดยทาง SENAJ ตั้งเป้าโตแบบก้าวกระโดด พร้อมเป็นหัวหอกหลักการดำเนินขยายการลงทุนเพิ่มในธุรกิจตามเมกะเทรนด์โลก แตกบริษัทเกาะเมกะเทรนด์โลก จากกลยุทธ์ การยกระดับเพื่ออนาคต ทำให้เสนา มีการขยายธุรกิจไปสู่ธุรกิจใหม่ เพื่อไปสู่การเป็นบริษัท Service Company ที่จะเข้ามาเสริมกับธุรกิจหลักของเสนา โดยมีการขยายธุรกิจใหม่ ๆ ประกอบด้วย 1.ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เพื่อขาย โดยพัฒนาโครงการอย่างต่อเนื่องตามแผนงาน ขยายฐานการพัฒนาโครงการบ้าน Niche High End ระดับราคา 15 -20 ล้านบาท วางแผนเปิดปีละ 1- 2 โครงการ นอกจากนี้ ได้ร่วมทุนกับพันธมิตร ฮันคิว ฮันชิน พร็อพเพอร์ตี้ส์ คอร์ป พัฒนาคอนโดมิเนียมร่วมกัน 2.ธุรกิจ Property Management ธุรกิจบริหารนิติบุคคลโครงการที่อยู่อาศัยและทรัพย์สินแบบครบวงจร (Property Management) โดยปัจจุบันมีโครงการที่รับบริหารนิติบุคคลโครงการ 97 โครงการ ตั้งเป้าภายใน 3 ปี ขึ้นแท่นสู่ Top 5 ครอบคลุมโครงการรับบริหารรวม 168 โครงการ   โดยทาง SENAJ มีแผนเข้าซื้อหุ้นบริษัทย่อยของ SENA “แอคคิวท์ เรียลตี้” เพื่อให้บริการนายหน้าขายและให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ ครอบคลุมบริหารการขายโครงการ และให้บริการที่ปรึกษาด้านธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และบริการด้านการเช่าอสังหาฯ ภายในกลุ่มของ SENA และ SENAJ 3.สถานดูแลผู้สูงอายุและผู้ป่วยระยะฟื้นตัว (Nursing Home) ปัจจุบันอยู่ระหว่างการศึกษาร่วมกับทางบริษัทญี่ปุ่นพัฒนาโครงการในอนาคต 4.ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เพื่อให้เช่า ปัจจุบันอยู่ระหว่างการดำเนินงาน 2 แห่ง คือ ตลาดแพรกษา และ สำเพ็ง 2 5.ธุรกิจขายบ้านมือสอง โดยทางบริษัท เสนา ซัวร์ฯ คัดสรร รับซื้อทรัพย์บ้านมือสองและนำมาปรับปรุงตกแต่งให้อยู่ในสภาพที่ดีเพิ่มมูลคำและพร้อมขาย ตอบโจทย์ผู้บริโภคมองหาที่อยู่อาศัยใกล้เมือง ราคาจับต้องได้ ตั้งเป้าภายใน 3 ปีสู่ Top 5ผู้นำตลาดบ้านมือสอง   ในปี 2566  มีแผนลงทุนจัดตั้งบริษัทใหม่ เพื่อวัตถุประสงค์ในการรับซื้อที่อยู่อาศัยหรือบ้านมือสองและนำมาปรับปรุงตกแต่งให้อยู่ในสภาพที่ดี เพื่อเพิ่มมูลค่าและขายในตลาดต่อไป 6.ธุรกิจนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ โดยทาง SENAJ มีแผนเข้าซื้อหุ้นบริษัทย่อยของ SENA "แอคคิวท์ เรียลตี้" เพื่อให้บริการนายหน้าขายและให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ ครอบคลุมบริหารการขายโครงการ และให้บริการที่ปรึกษาด้านธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และบริการด้านการเช่าอสังหาฯ ภายในกลุ่มของ SENA และ SENAJ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม การขับเคลื่อนธุรกิจครั้งสำคัญนี้ เพื่อให้สอดคล้องกับธุรกิจหลักและเกื้อหนุนธุรกิจในเครือ นับเป็นการส่งเสริมจุดแข็งและสร้างความโดดเด่นทางการแข่งขันในโลกธุรกิจ รวมถึงการคิดละเอียดและใส่ใจในทุกมิติทำให้ "SENA Group" และบริษัทในเครือ พร้อมยกระดับการเติบโตให้แข็งแกร่งและยั่งยืนต่อไปได้ในอนาคต   อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง -เสนาฯ จับมือ ลีโอ ลุยคลังสินค้าครบวงจร ประเดิมแห่งแรกที่เสนาเฟสท์ เจริญนคร 16   -เสนา ดีเวลลอปเมนท์  กับ 3 กลยุทธ์สู่เป้ารายได้กว่า 12,000 ล้าน ก้าวต่อไป เปิด 2 แบรด์ใหม่ จับตลาดต่ำล้าน
พฤกษา โชว์ Q3/65 ทำกำไรโต 87%  เดินหน้าลุยธุรกิจเฮลท์เทค-โซเชียล คอมเมิร์ส 

พฤกษา โชว์ Q3/65 ทำกำไรโต 87% เดินหน้าลุยธุรกิจเฮลท์เทค-โซเชียล คอมเมิร์ส 

พฤกษา โฮลดิ้ง ทำกำไรไตรมาส 3 เติบโต 87% มูลค่า 619 ล้าน รายได้อยู่ที่ 6,832 ล้าน​ ผลจาก 2 ธุรกิจหลัก “อสังหาฯ-เฮลท์แคร์” เติบโต พร้อม​เดินหน้าลงทุนธุรกิจใหม่ต่อเนื่อง ด้านเฮลท์เทค-โซเชียล คอมเมิร์ส    นายอุเทน โลหชิตพิทักษ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่ม บริษัท พฤกษา โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) เปิดเผยถึงผลการดำเนินงาน ไตรมาส 3 ปี 2565 ว่า พฤกษา โฮลดิ้ง ทำรายได้ 6,832 ล้านบาท เติบโต 27% จากไตรมาสที่ผ่านมา และเติบโต 12% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน มีกำไรสุทธิที่ 619 ล้านบาท เติบโต 44% จากไตรมาสที่ผ่านมา และเติบโต 87% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ทำอัตรากำไรขั้นต้นเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 30.9%  และมีอัตราหนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ยสุทธิต่อทุนต่ำ (Net Gearing Ratio) ที่ 0.34 เท่า ปรับตัวดีขึ้นจากไตรมาสสองที่ 0.39 เท่า ซึ่งเป็นผลจากการเติบโตของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ และธุรกิจเฮลท์แคร์ สำหรับธุรกิจอสังหาฯ ในไตรมาส 3 ทำรายได้ 6,430 ล้านบาท เติบโต 26% จากไตรมาสก่อน หรือเติบโต 8% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน จากความต้องการที่สูงขึ้นของโครงการแนวราบในเซ็กเม้นต์พรีเมี่ยม และรายได้จากการโอนคอนโดมิเนียม 3 โครงการในไตรมาส 3 ที่ผ่านมา และสามารถทำยอดขายได้ 2,858 ล้านบาท พร้อมมียอดขายรอโอน (Backlog)  ประมาณ 13,300 ล้านบาท ซึ่งจะรับรู้รายได้ภายในปีนี้กว่า 50% และที่เหลือในปีหน้า   โดยในไตรมาส 4 เตรียมส่งมอบคอนโด​ 4 โครงการ ได้แก่ แชปเตอร์ จุฬา-สามย่าน, ไพรเวซี่ จตุจัตร, พลัมคอนโด พระราม 2, พลัมคอนโด สุขุมวิท 62 มูลค่าราว 6,300 ล้านบาท และ มีแผนเปิดโครงการใหม่ในไตรมาส 4 รวม 7,800 ล้านบาท ได้แก่ ทาวน์เฮาส์ 7 โครงการ มูลค่า 3,600 ล้านบาท บ้านเดี่ยว 3 โครงการ มูลค่า 2,700 ล้านบาท และ คอนโดมิเนียม 1 โครงการ มูลค่า 1,500 ล้านบาท   ส่วนธุรกิจด้านสุขภาพ (Healthcare Business) ในไตรมาส 3 มีรายได้ 330 ล้านบาท เติบโต 63% จากไตรมาสก่อน หรือเติบโต 276% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน  สร้างรายได้จากบริการทางการแพทย์ในกลุ่มโรคที่ไม่เกี่ยวกับโควิดได้สูงสุดเป็น New High นับจากเริ่มดำเนินกิจการเมื่อปีที่ผ่านมา และมีการขยายบริการไปยังกลุ่มคนไข้ใหม่ และจากการจัดตั้งแผนกให้บริการผู้ป่วยต่างชาติโดยเฉพาะ ทำให้มีสัดส่วนคนไข้ต่างชาติที่เพิ่มสูงขึ้นถึง 23% ในขณะที่ทิศทางธุรกิจในอนาคต โรงพยาบาลวิมุตมีแผนเพิ่มเตียงสำหรับผู้ป่วยจาก 100 เตียง เป็น 125 เตียงภายในสิ้นปี 2565 เพื่อรองรับความต้องการที่มากขึ้น ด้านการลงทุนในธุรกิจใหม่  เพื่อต่อยอดพันธกิจด้านนวัตกรรม ทางบริษัทฯ ได้มีการร่วมลงทุนกับ Pathology Asia Holdings ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้นำให้บริการด้านการวินิจฉัยทางการแพทย์ที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมีแผนการนำโนฮาวด้านการวินิจฉัยทางการแพทย์ Genomics และระบบการบริหารแล็ปที่ทันสมัย มุ่งขยายกิจการในประเทศไทย ซึ่งจะเป็นการนำนวัตกรรมด้านการแพทย์ระดับโลกมาสนับสนุนและเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการด้านสุขภาพของกลุ่มธุรกิจเฮลท์แคร์ นอกจากธุรกิจด้านสุขภาพ   พฤกษา โฮลดิ้ง ยังเล็งเห็นศักยภาพการเติบโตของธุรกิจโซเชียล คอมเมิร์ส  จึงได้ลงทุนในสตาร์ทอัพ PUNDAI - ปันได้ เครื่องมือ Affiliate Marketing Network ช่วยขายออนไลน์ ที่มาพร้อมฟังก์ชัน การใช้งานที่ง่าย ครบ จบในที่เดียว เป็นเครื่องมือช่วยตอบโจทย์การขายผ่านทุกช่องทางออนไลน์ ให้กับผู้ประกอบการและบุคคลทั่วไปให้เติบโตในโลกอีคอมเมิร์ซและเป็นฟันเฟืองสำคัญในการช่วยสร้างงานสร้างอาชีพ สร้างรายได้ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลได้อีกทางหนึ่ง   นอกจากนี้ จากการประชุมคณะกรรมการบริษัทครั้งล่าสุด ได้มีมติรับทราบการลาออกจากตำแหน่ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่ม และประธานคณะกรรมการบริหาร ของนายทองมา วิจิตรพงศ์พันธุ์ โดยมีผลเป็นการลาออกตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2566 เป็นต้นไป ซึ่งภายหลังการลาออก นายทองมา วิจิตรพงศ์พันธุ์ จะยังคงมีตำแหน่งเป็น รองประธานกรรมการบริษัท กรรมการสรรหาและพิจารณาค่าตอบแทน กรรมการกำกับการบริหารความเสี่ยง กรรมการบริหาร และกรรมการผู้มีอำนาจลงนาม  สำหรับการลาออกครั้งนี้ ถือเป็นส่วนหนึ่งของ Succession Plan ที่ทางบริษัทฯ ได้วางแผนไว้ในการเตรียมความพร้อมและสร้างความยั่งยืนขององค์กรในอนาคต   นายทองมา  กล่าวว่า หลังจากที่ได้ดำรงตำแหน่งร่วมกับนายอุเทน ที่ได้บริหารงานพฤกษา โฮลดิ้ง ร่วมกันมาเป็นเวลาราว 10 เดือน ผมไว้วางใจ มีความมั่นใจในคณะทีมบริหารมากขึ้น จึงได้ตัดสินใจมอบหมายให้ นายอุเทนบริหารงานอย่างเต็มตัว เป็นการส่งมอบให้นักบริหารมืออาชีพที่มีความสามารถได้มาต่อยอดดูแลบริหารงานเชิงกลยุทธ์และด้านปฏิบัติการของธุรกิจต่างๆ ในเครือทั้งกลุ่ม โดยกำหนดวิสัยทัศน์ไปถึงขยายกิจการ การลงทุนในธุรกิจใหม่ ตลอดจนสนับสนุนให้เกิดวัฒนธรรมองค์กรการทำงานในรูปแบบใหม่ที่เปิดกว้างทางความคิด สร้างความหลากหลายในองค์กร มุ่งปรับปรุงและพัฒนานวัตกรรมเทคโนโลยีใหม่ ๆ อันจะเป็นพลังสำคัญในการขับเคลื่อนธุรกิจกลุ่มพฤกษาในยุคดิจิทัลสู่องค์กรชั้นนำที่มอบโซลูชั่นสินค้าและบริการเพื่อคุณภาพการอยู่อาศัยที่ดีที่สุด   ในปีนี้ที่ทางพฤกษาได้ริเริ่มโครงการ "Accelerate Impact with PRUKSA" ให้การสนับสนุนบริษัทในประเทศไทยที่ดำเนินธุรกิจเพื่อสังคม (Social Enterprise)  ที่ต้องการความช่วยเหลือในการขยายกิจการให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น เพื่อให้บริษัทที่เข้าโครงการได้บรรลุเป้าหมายสร้างผลกระทบเชิงบวกในการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อมได้อย่างแท้จริง ซึ่ง “ทุนวิจิตรพงศ์พันธุ์” เงินทุนส่วนตัวของนายทองมา ที่มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อสนับสนุน ส่งเสริมพระศาสนา สนับสนุนด้านการศึกษา และช่วยเหลือสังคม ได้มีการต่อยอดภารกิจด้านการช่วยเหลือสังคม ด้วยการให้การสนับสนุนธุรกิจเพื่อสังคม ที่ทางพฤกษาได้ริเริ่มโครงการนำร่องบ่มเพาะสตาร์ทอัพในปีนี้ด้วย   อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง  
5 เทรนด์อุตสาหกรรมก่อสร้างโลกที่แรงไม่หยุด

5 เทรนด์อุตสาหกรรมก่อสร้างโลกที่แรงไม่หยุด

อุตสาหกรรมก่อสร้าง ถือเป็นหนึ่งในธุรกิจสำคัญของวงการอสังหาริมทรัพย์ไทย เพราะแต่ละปีสามารถสร้างมูลค่าได้มากกว่า 800,000 ล้านบาท และยังเป็นธุรกิจที่เชื่อมโยง รวมถึงเกี่ยวข้องกับธุรกิจต่าง ๆ อีกมากมาย   ถ้าวัดขนาดความใหญ่ในโลก อุตสาหกรรมก่อสร้างถือเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยอ้างอิงจากรายงาน McKinsey ซึ่งระบุว่าการใช้จ่ายในอุตสาหกรรมก่อสร้างโลกมีมูลค่าถึง 10 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ หากคิดเป็นสกุลเงินไทยตอนนี้ที่ค่าเงินเท่ากับ 36.82  บาทต่อดอลล่าห์ (วันที่ 9 พ.ย.2565) จะมีมูลค่าเท่ากับ 368.2 ล้านล้านบาทเลยทีเดียว ​ ถือเป็นสัดส่วนสูงถึง 13% ของจีดีพีโลกเลยทีเดียว   แต่อุตสาหกรรมก่อสร้าง มีการชะลอตัวลง เมื่อเผชิญกับปัญหาการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 เช่นเดียวกับอุตสาหกรรมต่าง ๆ ซึ่งต้องมีการปรับตัวเพื่อให้อยู่รอด และยังคงสร้างการเติบโตได้ เมื่อสถานการณ์ต่าง ๆ ได้คลี่คลายลง   สิ่งหนึ่งที่เข้ามาเป็นตัวช่วยได้ดี ก็คงเป็นเทคโนโลยีต่าง ๆ ​ที่ปัจจุบันได้มีการนำเอา เข้ามาประยุกต์และพัฒนาเพื่อใช้แก้ปัญหาต่างๆ ในอุตสาหกรรมการก่อสร้าง ซึ่งไม่ได้มีเฉพาะปัญหาเรื่องการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 เท่านั้น ที่ผ่านมาอุตสาหกรรมก่อสร้างต้องเผชิญกับปัญหาต่าง ๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการขาดแคลนแรงงาน  ปัญหาสิ่งแวดล้อม ซึ่งล้วนเกิดขึ้นในทุกขั้นตอน ตั้งแต่ก่อน-ระหว่าง-และหลังการก่อสร้าง   สำหรับ เทคโนโลยีและการพัฒนาในอุตสาหกรรมก่อสร้างที่กำลังมาแรงในปัจจุบัน และอีก 2-3 ปีข้างหน้า ที่ถือว่าเป็นเทรนด์ของอุตสาหกรรมก่อสร้างที่น่าสนใจ พบว่ามีอยู่ด้วยกัน 5 เทรนด์ จากการรวมรวมของ CPAC Green Solution ซึ่งมีเทรนด์ต่าง ๆ ดังนี้ 5 เทรนด์อุตสาหกรรมก่อสร้างโลก ที่แรงไม่หยุด  1.การออกแบบการสร้างในโลกเสมือนจริง   การออกแบบ การสร้างในโลกเสมือนจริง (Virtual Design and Construction – VDC)  เป็นเทรนด์ที่มาแรงมากทั่วโลก เพราะนอกจากจะตอบโจทย์เรื่องการขาดแคลนแรงงานแล้ว ยังช่วยลดค่าใช้จ่ายในการทำงานซ้ำที่เกิดจากความผิดพลาดในขั้นตอนต่าง ๆ ซึ่งปกติจะสูงถึง 30% ของต้นทุนการก่อสร้างโดยรวม สำหรับเครื่องมือที่ได้ความนิยมมากที่สุดในปัจจุบัน คือ เทคโนโลยีการสร้างแบบจำลองข้อมูลอาคาร หรือ Building Information Modeling (BIM) จาก รายงานของ ReportLinker บริษัทวิจัยทางการตลาดจากประเทศฝรั่งเศสระบุว่า ตลาด BIM ในปี 2563 มีมูลค่าประมาณ 4,500 ล้านเหรียญสหรัฐ – 5,200 ล้านเหรียญสหรัฐ ก่อนที่จะหยุดชะวักเนื่องจากโรคระบาดโควิด-19   อย่างไรก็ตาม มีการคาดการณ์ว่าตลาด BIM จะฟื้นตัวและมีอัตราเติบโตต่อปี 14.5% สอดคล้องกับการฟื้นตัวของอุตสาหกรรมก่อสร้างโลกจากนี้ต่อไปในอีก 5 ปีข้างหน้า ในส่วนของประเทศไทยเองก็มีการเร่งพัฒนาบุคลากรในด้าน VDC เพื่อรองรับความต้องการที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว 2.ตลาดการก่อสร้างแบบสำเร็จรูป   ตลาดการก่อสร้างแบบสำเร็จรูป (Modular construction) แม้ว่าการก่อสร้างแบบสำเร็จรูปจะมีการพัฒนามาระยะหนึ่งแล้ว แต่ตลาดนี้ยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่องตามการขยายตัวอย่างรวดเร็วของเมืองและอุตสาหกรรม เพราะข้อดีหลักของการก่อสร้างแบบ Modular คือ สามารถที่วางแผนควบคุมต้นทุน และระยะเวลาในทุกขั้นตอน ตั้งแต่การออกแบบ การก่อสร้าง จนกระทั่งจบงานได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ รวมถึงสามารถออกแบบได้อย่างนอกกรอบกว่าการสร้างแบบดั้งเดิมมาก   โดยรายงานของ Straits Research บริษัทวิจัยชั้นนำของโลก คาดว่าตลาดการก่อสร้างแบบสำเร็จรูปของโลกจะมีมูลค่าสูงถึง 271,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2573 เพิ่มขึ้นจาก 138,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2564 ซึ่งคาดว่าจะมีอัตราการเติบโตที่ 8% ต่อปีระหว่างปี 2656 – 2573 3.โดรน เพื่องานก่อสร้าง เป็นอีกเทคโนโลยีที่ถูกนำมาใช้ประโยชน์ในการก่อสร้างอย่างกว้างขวาง ไม่ว่าจะเป็นการร่างพื้นที่ขนาดใหญ่อย่างรวดเร็ว การถ่ายภาพทางอากาศ รวมถึงถูกนำมาใช้ในงานต่าง ๆ ที่มีความเสี่ยงสูง มีการประมาณการคร่าว ๆ กันว่า “โดรนก่อสร้าง” ช่วยลดการสูญเสียทรัพยากรในไซต์ก่อสร้างในแต่ละปีได้ถึง 160,000 ล้านเหรียญสหรัฐ และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในประเมินปริมาณสต็อกวัสดุที่ต้องใช้ในการก่อสร้างได้อย่างแม่นยำมากขึ้นถึง 61%   นอกจากนี้ “โดรนก่อสร้าง” ยังถูกนำมาใช้งานต่อในรูปแบบต่าง ๆ และ ยังมีการใช้เพื่อสำรวจภูมิประเทศใต้น้ำโดยใช้คลื่นเสียง  เพื่อออกแบบติดตั้งโซลาร์ลอยน้ำ ซึ่งเป็นขั้นตอนที่ไม่สามารถใช้แรงงานมนุษย์ได้ 4.เทคโนโลยี 3D Printing เป็นเทคโนโลยีที่ถูกนำไปใช้คู่กับเทคโนโลยีอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็น BIM หรือแม้แต่โดรน ล่าสุด นักวิจัยจาก Imperial College London และ Empa ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ ร่วมกันพัฒนาโดรนชนิดพิเศษที่มีฟังก์ชัน 3D Printing ในตัว เพื่อใช้ในการก่อสร้างและซ่อมแซมอาคาร ระบบนี้จะบินโดรนหลายตัวพร้อมกันในครั้งเดียว  เพื่อทำงานจากแบบพิมพ์เขียว (Blueprint) เดียวกัน โดยได้รับแรงบันดาลใจจากการทำงานของฝูงผึ้ง   ทั้งนี้ ตลาด 3D Printing Construction โลกมีมูลค่าประมาณ 11 ล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2564  และคาดว่าจะมีอัตราการเติบโตรายปีประมาณ 101% ตั้งแต่ปี 2665 - 2573  ทาง Straits Research ระบุว่าภูมิภาค เอเชียแปซิฟิกมีส่วนแบ่งการตลาดมากที่สุด และถือเป็นผู้นำตลาดการผลิต 3D Printing ของโลกด้วย โดยในรายงานยังระบุอีกว่า อุปสงค์ (Demand) จากอาคารและโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ จะเป็นปัจจัยสำคัญในการผลักดันตลาดในภูมิภาคนี้ รวมถึงการเติบโตของตลาด BIM ก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ผลักดันในความต้องการ 3D Printing สูงขึ้นตามด้วย 5.วัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม วัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green Building Materials) เป็นเรื่องที่มีความสำคัญเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากภาวะโลกร้อนนับเป็นแรงกระตุ้นที่ทำให้ผู้พัฒนาโครงการไม่สามารถเมินเฉยต่อการเลือกวัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมได้ ในวงการอุตสาหกรรมก่อสร้างไทยเองก็มีการสนับสนุนให้มีการเปลี่ยนแปลงวัสดุก่อสร้างในไทยเพื่อให้สอดคล้องกับเทรนด์โลก   โดยเน้นวัสดุที่ช่วยลดก๊าซเรือนกระจก ลดโลกร้อน มีการทำการวิจัยและพัฒนาด้านวัสดุเพื่อตอบโจทย์การพัฒนาอย่างยั่งยืน ด้วยการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและนำไปสู่สังคมคาร์บอนต่ำ และจากการสำรวจของ Transparency Market Research ระบุว่า ตลาดวัสดุก่อสร้างที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมโลกมีมูลค่า 264,000                                 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2563  และคาดว่าตลาดจะเติบโตอย่างต่อเนื่องและมีมูลค่าสูงถึง 983,000 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2574 โดยปัจจัยสำคัญมาจากความต้องการของผู้บริโภคเองและนโยบายของภาครัฐ   ทั้งนี้ อุตสาหกรรมก่อสร้างไทยจำเป็นต้องปรับตัวให้ทันตามเทรนด์โลก โดยเฉพาะเรื่องของสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีผลกระทบต่อทั้งธุรกิจและสังคมในวงกว้าง นอกจากนี้ผู้เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมก่อสร้างไทยทั้งภาครัฐและเอกชนควรให้ความสำคัญกับการเร่งผลิตบุคลากร โดยเฉพาะด้านเทคโนโลยีการสร้างแบบจำลองข้อมูลอาคาร (BIM) เพื่อรองรับความต้องการ ที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในอนาคต   อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง -ตรวจชีพจร ธุรกิจก่อสร้าง และ โอกาสทางธุรกิจใน New Normal -5 ความท้าทายอุตสาหกรรมก่อสร้างไทยในปี 65
เอพี ไทยแลนด์  รายได้รวม 9 เดือนนิวไฮกว่า 37,560 ล้าน  เดินหน้าเปิด 18 โครงการใหม่

เอพี ไทยแลนด์ รายได้รวม 9 เดือนนิวไฮกว่า 37,560 ล้าน เดินหน้าเปิด 18 โครงการใหม่

เอพี ไทยแลนด์  กวาดผลประกอบการ 9 เดือน ทำรายได้รวมกว่า 37,560 ล้าน กำไรสุทธิโตทะลุ 4,720 ล้าน ขณะที่​ยอดขาย  10 เดือนทำได้ 45,410 ล้านบาท ทะลุ 90% ของเป้ายอดขายทั้งปีที่ 50,000 ล้าน พร้อมเดินหน้าเปิด 18 โครงการใหม่ มูลค่ารวม 26,360 ล้านโค้งท้ายปี   นายวิทการ จันทวิมล รองกรรมการผู้อำนวยการ สายงานกลยุทธ์องค์กรและการสร้างสรรค์ บริษัท เอพี ไทยแลนด์ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ในช่วง 9 เดือนที่ผ่านมา บริษัทสามารถสร้างรายได้ จากสินค้าแนวราบ กลุ่มคอนโดมิเนียม (100% JV) และธุรกิจอื่นๆ ทำนิวไฮสูงสุดถึง 37,566 ล้านบาท คิดเป็น 80%  จากเป้ารายได้รวม (100% JV) ทั้งปีที่ 47,000 ล้านบาท ซึ่งรายได้ดังกล่าวเติบโตกว่า 24% หากเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2564 ที่ทำได้ 30,324 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิมากถึง 4,722 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 33% จากงวดเดียวกันของปีก่อนหน้า ที่มีกำไรสุทธิรวมเท่ากับ 3,549 ล้านบาท ขณะที่สัดส่วนหนี้สินสุทธิต่อทุนอยู่ในระดับที่แข็งแกร่งเท่ากับ 0.52 เท่า แผนการดำเนินธุรกิจของเอพีในปี 2565 กับการวางเป้าหมายเป็นที่สุดแห่งปี ประสบความสำเร็จและสามารถสร้างสถิติใหม่สู่การเติบโตได้อย่างแข็งแกร่ง ตอกย้ำภาพความเป็นผู้นำในทุกกลุ่มธุรกิจทั้งสินค้าทาวน์โฮม บ้านเดี่ยว และคอนโดมิเนียม   มั่นใจถึงเป้ารายได้ทั้งปี 47,000 ล้านบาท ทั้งนี้ กลุ่มสินค้าแนวราบทั้งบ้านเดี่ยว และทาวน์โฮมยังคงเป็นซูเปอร์สตาร์ของปี คีย์ไดรฟ์สำคัญในการสร้างรายได้ให้กับบริษัท จากกระแสตอบรับที่ดีอย่างต่อเนื่อง ของลูกค้าโอนกรรมสิทธิ์ทั้งโครงการใหม่และโครงการที่อยู่ระหว่างการเปิดขาย ควบคู่กับการฟื้นตัวเติบโตในทิศทางที่ดีอย่างมีนัยสำคัญ ของตลาดคอนโดมิเนียมที่มีการรับรู้รายได้อย่างต่อเนื่อง   การโอนกรรมสิทธิ์ในคอนโดยังมีต่อเนื่อง อย่าง  2 คอนโดใหม่ที่ก่อสร้างเสร็จในไตรมาส 3 ที่ผ่านมา ได้แก่ RHYTHM เอกมัย เอสเตท และ LIFE สาทร เซียร์รา ทำให้ ณ 31 ตุลาคม 2565 บริษัทมียอดขายรอโอน (Backlog) มากถึง 37,065 ล้านบาท โดยจะทยอยรับรู้ถึงปี 2568 จึงมั่นใจว่าบริษัทจะสามารถสร้างรายได้รวมได้ตามเป้าหมายในปีนี้ทั้งปีที่ 47,000 ล้านบาท พร้อมทั้งจะสามารถรักษาอัตราการเติบโตต่ออย่างมั่นคงในอนาคตอย่างแน่นอน   นอกจากนี้ บริษัท ยังมีผลงานยอดขายที่แข็งแกร่ง และยังคงสร้าง New Record สูงสุดที่บริษัทเคยทำได้ ณ สิ้นเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ด้วยยอดขายมากถึง 45,408 ล้านบาท หรือคิดเป็น 90% ของเป้ายอดขายที่ตั้งไว้ที่ 50,000 ล้านบาท เติบโตขึ้น 46% หากเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า แบ่งเป็นยอดขายจากสินค้าบ้านเดี่ยวและทาวน์โฮมที่ 36,154 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 26% และเป็นยอดขายจากสินค้าแนวสูงที่ปรับตัวดีขึ้นอย่างชัดเจนที่ 9,254 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้ากว่า 3 เท่าตัว โดยปัจจัยที่สนับสนุนให้บริษัทประสบความสำเร็จในมิติยอดขายที่แข็งแกร่ง นอกจากความเชื่อมั่นของลูกค้าต่อแบรนด์สินค้าเครือเอพีที่มากกว่า 17 แบรนด์ ที่มุ่งมั่นพัฒนาที่อยู่อาศัยที่เข้าใจความต้องการที่แท้จริงของลูกค้า เพื่อส่งมอบความปรารถนาในการใช้ชีวิตที่แตกต่างกัน ให้ทุกนิยามความสุขที่ต้องการเกิดขึ้นได้จริงแล้ว และยังสะท้อนถึงดีมานด์ตลาดที่อยู่อาศัยที่ยังคงเป็นที่ต้องการ ทั้งตลาดบ้านแนวราบที่เติบโตต่อเนื่อง และโดยเฉพาะตลาดคอนโด ที่มีการฟื้นคืนกลับของลูกค้าอย่างเห็นได้ชัด   บริษัทยังคงเดินหน้าตามแผน BREAKTHROUGH ทุกข้อจำกัด ด้วยการวางแผนเปิดตัว​โครงการใหม่ทั้งสิ้น 18 โครงการ มูลค่ารวมกว่า 26,360 ล้านบาท ในไตรมาสที่ 4 โดยมีไฮไลต์ในช่วง 2 เดือนสุดท้าย กับการเปิดตัว  “พื้นที่ชีวิตใหม่” จากบ้านเดี่ยวแบรนด์ใหม่ล่าสุด MODEN บ้านเดี่ยวหลังใหญ่บนทำเล พระราม 2, บางนา – เทพารักษ์​ และบางนา – ศรีนครินทร์ ราคาเริ่ม 3.99 – 9 ล้านบาท และคอนโด  ASPIRE  อ่อนนุช สเตชั่น มูลค่า 2,700 ล้านบาท โปรเจกต์แฟล็กชิป “Exclusive ASPIRE” เขย่าตลาดคอนโดใหม่เพียงหนึ่งเดียว ในย่าน ติดถนนสุขุมวิท เพียง 200 เมตรถึงรถไฟฟ้า BTS  สถานีอ่อนนุช ราคา 1 ห้องนอน  เริ่ม 129,000 บาท/ตารางเมตร เพียง 3.59 ล้านบาท Exclusive Booking วันที่ 26 - 27 พฤศจิกายนนี้ บริษัทยังคงดำเนินธุรกิจภายใต้พันธกิจใหญ่คือ การส่งมอบชีวิตดีๆ ที่เลือกเองได้ ด้วยแผนการดำเนินงานที่รัดกุม ควบคู่ไปกับความพร้อมที่จะปรับตัวอย่างรวดเร็ว ด้วยการบริหารจัดการแบบกระจายอำนาจ ควบคู่การบริหารจัดการกระแสเงินสดอย่างเคร่งครัด   อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง -4 การเปลี่ยนแปลงรอบ 20 ปี ของ “บ้านกลางเมือง” -เอพี ไทยแลนด์ โชว์ครึ่งปีแรกกวาดรายได้ 25,276 ล้าน พร้อมผลงานทำกำไรโต 31%