Tag : News

2376 ผลลัพธ์
13 เช็คลิสต์บ้านปลอดภัย ก่อนทิ้งไว้ในวันหยุดยาว

13 เช็คลิสต์บ้านปลอดภัย ก่อนทิ้งไว้ในวันหยุดยาว

วันหยุดยาว อีกไม่กี่วัน เราก็จะได้มี วันหยุดยาว ในช่วงเทศกาลปีใหม่ไทย หรือเทศกาลสงกรานต์กันอีกแล้ว เชื่อว่าใครหลายคนก็วางแผนท่องเที่ยว หรือไม่ก็เดินทางกลับบ้านที่ต่างจังหวัด ทำให้ต้องปิดบ้านที่อยู่ปัจจุบันไว้หลายวัน หลายคนจึงมีความกังวลใจถึงเรื่องความปลอดภัย ที่จะเกิดขึ้นกับตัวบ้าน หรือทรัพย์สินภายในบ้าน   วันนี้เราจึงจะมาชวนเช็คความเรียบร้อยของบ้าน ก่อนที่จะเดินทางท่องเที่ยวกันหลายวัน เพื่อความสบายใจ กลับมาแล้วบ้านเราก็ยังคงอยู่ดี ทรัพย์สินไม่สูญหาย หรือไม่เกิดเรื่องที่ไม่คาดคิดขึ้น กับ 13 เช็คลิสต์ ก่อนทิ้งบ้านไว้ในวันหยุดยาว 13 เช็คลิสต์ ก่อนทิ้งบ้านไว้ในวันหยุดยาว 1.ตรวจเช็คไฟฟ้า ถอดปลั๊กไฟ้ในอุปกรณ์หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ไม่ได้ใช้งานออกให้หมด และควรตรวจเช็คอุปกรณ์ไฟฟ้า ระบบเบรกเกอร์ ว่ายังใช้งานได้ดีเป็นปกติ ไม่ชำรุดเสียหายด้วย   นอกจากนี้ อาจมีการติดตั้งหลอดไฟโซลาร์เซลล์ หรือระบบการเปิด-ปิดอัตโนมัติ ก็ช่วยสร้างความปลอดภัยให้กับบ้านได้ เพราะหากกลางคืนบ้านมืดสนิทตั้งแต่หัวค่ำ โจรขโมยอาจจะรู้ได้ว่าบ้านนี้ไม่มีคนอยู่อาศัย จึงอาจเข้ามาลักหรือขโมยทรัพย์สินภายในบ้านได้ 2.เช็คกล้องวงจรปิด-สัญญาณกันขโมย ปัจจุบันหลายบ้านติดกล้องวงจรปิด หรือสัญญาณกันขโมย ก่อนจะทิ้งบ้านไปเที่ยวในวันหยุดยาว ก็ควรตรวจสอบการใช้งานว่าจะยังดี อุปกรณ์ไหนต้องใช้แบตเตอรี่ก็ตรวจเช็คด้วยว่ายังมีพลังไฟเหลือเพียงพอหรือไม่ด้วย   แม้บางบ้านจะติดระบบสัญญาณกันขโมย แต่ระบบกลอนประตู-หน้าต่าง ซึ่งเป็นอุปกรณ์พื้นฐาน ก็ไม่ควรจะต้องเสียหายหรือชำรุด ก่อนออกจากบ้านก็ควรดูแลให้ใช้งานได้ดี โดยเฉพาะห้องนอนหรือห้องที่มีสิ่งของมีค่า 3.ปิดระบบน้ำประปา ​ ปิดก๊อกน้ำ ระบบน้ำประปาให้สนิทก่อนออกจากบ้าน และควรเช็คดูด้วยว่ามีอุปกรณ์ไหนชำรุดเสียหาย หากตรวจพบ ก็ต้องซ่อมแซมให้เรียบร้อย 4.อย่าลืมกุญแจ ก่อนออกจากบ้าน ก็อย่าลืมตรวจสอบด้วยว่าเราได้นำกุญแจบ้าน กุญแจห้องต่าง ๆ ติดตัวมาหรือยัง หากกลัวว่าถ้าจะเกิดการหลงลืม การนำเอากุญแจสำรองไปฝากไว้ที่บ้านญาติ หรือเก็บไว้ในจุดที่เราสามารถหยิบมาใช้งานได้สะดวกและปลอดภัยก็ควรทำด้วย 5.เช็คระบบแก๊ส-เตาไฟ อีกจุดที่ต้องให้ความสำคัญ คือ ระบบแก๊ส เตาไฟฟ้า หรืออุปกรณ์ครัวที่ต้องใช้แก๊สหรือไฟฟ้า ตรวจเช็คให้แน่ใจว่าได้ปิดไว้เรียบร้อยแล้วก่อนออกจากบ้าน 6.จัดเก็บของมีค่า สิ่งของมีค่าต่าง ๆ ควรจัดเก็บไว้ในที่ปลอดภัย หรือถ้าเป็นไปได้ควรเอาไปฝากไว้ที่ตู้เซฟของธนาคาร เพื่อความสบายใจ แต่ก็จะมีค่าบริการการรับฝากด้วย นอกจากของมีค่าในบ้านแล้ว บางครั้งเราอาจจะมีสิ่งของ หรือของมีค่าที่วางไว้นอกบ้าน หากเป็นไปได้ก็ควรจัดเก็บไว้ภายในบ้าน เพื่อไม่ให้โดยขโมยได้ 7.แจ้งนิติบุคคล เพื่อนบ้าน หรือตำรวจ การฝากบ้านไว้กับคนอื่น ก็เป็นอีกทางเลือกที่ปลอดภัย เช่น แจ้งนิติบุคคลของโครงการ เพื่อให้เขาคอยดูแล หรือไปฝากบ้านไว้กับตำรวจก็ได้ นอกจากนี้ หากเรามีความสนิทสนมกับเพื่อนบ้าน และสายสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน การฝากบ้านไว้กับเพื่อนบ้านก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ดี ถ้าเขาไม่ได้เดินทางไปไหน 8.ไม่โพสต์โซเชียล ไม่ควรโพสต์โซเชียลต่าง ๆ ว่าเราไม่อยู่บ้านหลายวัน เพราะอาจจะเป็นเป้าให้กับโจร ขโมยได้ 9.ทิ้งขยะ-เคลียร์ของในตู้เย็น ก่อนออกจากบ้าน ควรจะทิ้งขยะภายในบ้านให้หมด เพราะหากเป็นขยะเน่าเสียได้ ก็จะทำให้เกิดกลิ่นเหม็น และเป็นแหล่งอาหารของสัตว์ต่าง ๆ มาคุ้ยเขี่ยทำให้เกิดเชื้อโรค หรือความสกปรกได้  รวมถึงการตรวจเช็คของกินของใช้ภายในตู้เย็น ว่ามีวันหมดอายุวันไหน ผักและผลไม้ ควรนำมากินให้หมดก่อนที่จะเน่าเสีย เมื่อเราออกไปเที่ยวในวันหยุดยาวหลายวัน 10.ทำความสะอาดบ้าน-ซักเสื้อผ้า ถ้ามีเวลาและเป็นไปได้ ควรทำความสะอาดบ้านก่อนไปเที่ยวในวันหยุดยาวสักครั้ง เพราะเมื่อกลับมาบ้านจะได้ไม่สกปรกมากนัก ควรคลุมเตียงและโซฟาด้วยผ้าเอาไว้ เพื่อไม่ให้เกิดฝุ่นสะสมบนเตียงหรือโซฟาของเรา เพราะปกติเรามักจะเหนื่อยกับการเดินทาง กลับมาถึงบ้านก็ไม่มีอารมณ์อยากจะทำอะไรแล้ว รวมถึงไม่ควรทิ้งผ้ากองโตไว้ เพราะจะเป็นแหล่งสะสมเชื้อโรค และหากเราซักผ้าไว้ก่อน กลับมาเราก็จะมีเสื้อผ้าสวมใส่   อีกจุดที่ต้องทำความสะอาด คือ ห้องน้ำและชักโครก ซึงปกติหากเราไม่ได้ไปไหน ชักโครกจะมีการใช้งานเป็นประจำทุกวัน แต่หากเราออกจากบ้านไปหลายวัน สิ่งปฏิกูลจะค้างท่ออยู่ทำให้อาจเกิดกลิ่นเหม็นได้ จึงควรกดชักโครกสักสองครั้ง เพื่อไล่สิ่งสกปรกออกจากระบบท่อไปก่อน 11.เคลียร์ตู้จดหมาย บ้านไหนมีตู้จดหมาย ควรจะเก็บจดหมายออกให้หมด เพื่อไม่ให้เป็นที่ผิดสังเกตของโจรขโมย 12.ดูแลต้นไม้ เรื่องต้นไม้ ก็เป็นอีกจุดหนึ่งที่เราควรให้ความสำคัญ ทั้งการรดน้ำให้เพียงพอ การตัดแต่งกิ่งต้นไม้ไม่ให้รกรุงรัง และการจัดเก็บใบไม้ไม่ให้รก เพื่อความสะอาดและปลอดภัย ไม่เป็นแหล่งที่อยู่ของสัตว์มีพิษ  หากใครกังวลว่าจะมีสัตว์มีพิษเข้ามาในบ้าน ให้โรยปูนขาวไว้รอบ ๆ บ้าน เพื่อป้องกันสัตว์มีพิษหรืองูที่จะเข้ามาในบ้าน​ 13.ให้อาหารสัตว์เลี้ยง-ฝากเลี้ยง นอกจากต้นไม้แล้ว สัตว์เลี้ยงก็เป็นสิ่งมีชีวิตอีกชนิด ที่หลายคนรัก ถ้าหากเราไม่สามารถนำสัตว์เลี้ยงไปด้วย หาจจะต้องให้อาหารทิ้งไว้ให้เพียงพอ หรืออาจจะต้องนำไปฝากเลี้ยงที่สถานรับเลี้ยง หรือไม่ก็ต้องนำไปฝากไว้กับเพื่อน หรือญาติที่เขาจะดูแลได้   ทั้งหมดนี้ ก็เป็น 13 เช็คลิสต์ ก่อนทิ้งบ้านไว้ในวันหยุดยาว ซึ่งดูแล้วอาจจะมีจุดที่ต้องตรวจเช็คเยอะ แต่ก็เพื่อความปลอดภัยของตัวบ้าน และทรัพย์สิน ที่เราจะไม่ต้องมานั่งปวดหัวหรือมีปัญหาให้แก้ไขภายหลัง   ที่มา - อนันดา,​ดีพี พร็อพเพอร์ตี้,พฤกษา​     อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง -5 จุดเหมาะติดกล้องวงจรปิด ก่อนทิ้งบ้านยาวช่วงวันหยุดยาว -7 เช็คลิสต์สำคัญในบ้าน ที่ควรเช็คก่อนไปท่องเที่ยววันหยุด
แอสเซทไวส์  กวาดยอดขายไตรมาสแรกเกือบ  3,500 ล้าน ลุยต่อเปิด 3 โครงการใหม่  

แอสเซทไวส์  กวาดยอดขายไตรมาสแรกเกือบ  3,500 ล้าน ลุยต่อเปิด 3 โครงการใหม่  

แอสเซทไวส์ ไตรมาส 1/2566 โชว์ฟอร์มแกร่งเหนือสภาวะการแข่งขันสูงในตลาด กวาดยอดขายพุ่งทะยานแตะ 3,500 ล้าน เติบโต 227%  จากผลตอบรับ “Kave Embryo Rangsit” และ “Kave Town Island” สะท้อนศักยภาพและความเชี่ยวชาญตลาด Campus Condo ลุยต่อยอดความสำเร็จเปิดอีก 3 โครงการไตรมาส 2 มูลค่ารวมกว่า 4,250 ล้านบาท   พร้อมจัดแคมเปญเด็ด "SUPER SUMMER DEAL" คลายร้อนรับเรียลดีมานด์-นักลงทุนกับกว่า 17 โครงการ รับเลยแพ็กเกจทัวร์มัลดีฟส์ 3 วัน 2 คืน และตั๋วเครื่องบินไป - กลับ รวมกว่า 100 ที่นั่ง แบบไม่ต้องลุ้นตั้งแต่วันนี้ - 30 เม.ย. 2566 ขณะที่ 1-7 มิ.ย.นี้เตรียมจัดงาน Assetwise Expo ครั้งยิ่งใหญ่แห่งปีพร้อมดีลเดือด!! ที่ไม่ควรพลาด   นายกรมเชษฐ์  วิพันธ์พงษ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอสเซทไวส์ จำกัด (มหาชน) (ASW) บริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นผู้นำด้านไลฟ์สไตล์ภายใต้แนวคิด “ความสุขที่ออกแบบมาเพื่อคุณ” หรือ “We Build Happiness”  เปิดเผยว่า  ในไตรมาส 1/2566 แอสเซทไวส์ฯ สามารถทำยอดขายรวม (Pre-sale) ได้สูงถึง 3,500 ล้านบาท เติบโตถึง 227% เมื่อเทียบ QoQ และ 6% เมื่อเทียบ YoY โดยการเติบโตดังกล่าวมาจากแผนการขับเคลื่อนการเปิดตัวคอนโดมิเนียมโครงการใหม่ในไตรมาสแรก จำนวน 3 โครงการ มูลค่ารวม 5,410 ล้านบาท ประกอบด้วยเซกเมนต์  Campus Condo หรือคอนโด ทำเลใกล้สถานศึกษา 2 โครงการ ได้แก่ 1. โครงการ Kave Embryo Rangsit (เคฟ เอ็มบริโอ รังสิต) คอนโดใกล้มหาวิทยาลัยราชมงคลธัญบุรี ราคาเริ่มต้น 1.29 ล้านบาท 514 ยูนิต มูลค่าโครงการ 780 ล้านบาท 2. โครงการ Kave  Town Island (เคฟ ทาวน์ ไอส์แลนด์) คอนโดใกล้มหาวิทยาลัยกรุงเทพ-รังสิต ราคาเริ่มต้น 1.49 ล้านบาท  1,770 ยูนิต มูลค่าโครงการ 3,530 ล้านบาท และ 3.โครงการ Atmoz Season Ladkranbang (แอทโมซ ซีซั่น ลาดกระบัง) ราคาเริ่มต้น 1.29 ล้านบาท 706 ยูนิต มูลค่าโครงการ 1,100 ล้านบาท   ทั้งนี้ โครงการ “Kave  Town Island”  ถือเป็นโครงการที่ประสบความสำเร็จทางด้านยอดขายเป็นอย่างมาก ได้การตอบรับจากลูกค้าอย่างล้นหลามทั้งผู้ปกครองที่ซื้อเพื่อใช้เป็นที่พักอาศัยระหว่างการศึกษาของบุตรหลาน และซื้อเพื่อลงทุน ซึ่งล่าสุดได้เปิดจองรอบพิเศษ (VVIP Day) เมื่อวันที่ 25-26 มีนาคมที่ผ่านมา ส่งผลให้มียอดขาย ณ วันที่จัดกิจกรรมสูงถึงกว่า 1,170 ยูนิต คิดเป็นมากกว่า 90% ของจำนวนยูนิตที่เปิดขาย   ส่วนโครงการ “Kave Embryo Rangsit” ก็สามารถกวาดยอดขายได้มากถึง 70% ของจำนวนยูนิตทั้งหมดเช่นเดียวกัน แสดงให้เห็นถึงศักยภาพและความเชี่ยวชาญในตลาดคอนโด เซ็กเมนต์ Campus Condo ของแอสเสทไวส์ ที่แม้ว่าภาวะตลาดอสังหาริมทรัพย์โดยรวมจะเกิดการแข่งขันที่สูงจากการเปิดตัวโครงการใหม่ของผู้ประกอบการอสังหาฯ ทั้งที่อยู่อาศัยแนวสูงและแนวราบอันเนื่องมาจากการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ และภาคธุรกิจอสังหาฯ แต่แอสเซทไวส์ ก็ยังสร้างผลงานได้อย่างโดดเด่น สำหรับโครงการ “Atmoz Season Ladkranbang” ได้เปิด Sale Gallery ไปเมื่อวันที่ 25 มีนาคม ที่ผ่านมาก็ได้รับกระแสตอบรับที่ดีเช่นกัน เป็นผลมากจากการที่แอสเสทไวส์พัฒนาสินค้าที่ตรงกับความต้องการของตลาดและตอบโจทย์ความต้องการของกลุ่มลูกค้าในปัจจุบัน   สำหรับทิศทางการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในประเทศในไตรมาส 2/2566 มีแนวโน้มดีขึ้นเรื่อย ๆ จากนโยบายในการเปิดเมือง และเปิดให้ชาวต่างชาติเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทยได้ โดยมีการคาดการณ์ว่าในปี 2566 จะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทยประมาณ 28 ล้านคน มากกว่าปี 2565 เกือบ 1 เท่าตัว ซึ่งแน่นอนว่าจะช่วยฟื้นเศรษฐกิจในประเทศและการจ้างงานในประเทศได้เป็นอย่างดีเพราะภาคท่องเที่ยวถือเป็นตัวขับเคลื่อนหลักของเศรษฐกิจไทยที่ยังส่งผลดีไปยังภาคเศรษฐกิจอื่น ๆ อีกด้วย ทำให้เป็นการเพิ่มกำลังซื้อในสินทรัพย์ชิ้นใหญ่ได้และส่งผลดีต่อความเชื่อมั่นและความต้องการซื้อที่อยู่อาศัย   นายกรมเชษฐ์ กล่าวต่อว่า เพื่อเป็นการต่อยอดความสำเร็จและสร้างการเติบโตในระดับสูงอย่างต่อเนื่อง ในไตรมาส 2 นี้ แอสเซทไวส์ ได้เตรียมเปิดตัวโครงการใหม่อีก 3 โครงการ มูลค่ารวม 4,250 ล้านบาท ประกอบด้วยคอนโดฯ 3 โครงการ ได้แก่ 1.โครงการ Kave Pop Salaya (เคฟ ป็อป ศาลายา) 238 ยูนิต มูลค่าโครงการ 500 ล้านบาท 2. โครงการ Kave Coco Bangsaen (เคฟ โคโค่ บางแสน) 986 ยูนิต มูลค่าโครงการ 2,000 ล้านบาท 3.โครงการ Atmoz Palacio Ladprao - Wanghin (แอทโมซ พาลาซิโอ ลาดพร้าว-วังหิน) จำนวน 759 ยูนิต มูลค่าโครงการ 1,750 ล้านบาท ทั้งนี้มั่นใจว่าทั้งปีจะสามารถทำยอดขายได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ที่ 15,000 ล้านบาทได้อย่างแน่นอน ล่าสุด แอสเซทไวส์ ได้ปล่อยแคมเปญเด็ด "SUPER SUMMER DEAL" รับซัมเมอร์ เพื่อเป็นการส่งเสริมการขายในไตรมาส 2/2566 โดยนำโครงการใหม่ และโครงการพร้อมอยู่ในทำเลศักยภาพสูง อาทิ รัชดา - ลาดพร้าว, พหลฯ - สะพานใหม่, บางนา-อ่อนนุช, Riverview (สุขุมวิท-บางโพ), ศรีสมาน - รังสิต, รามคำแหง - มีนบุรี และ Campus Condo บนทำเลศักยภาพที่เหมาะกับการลงทุน ไม่ว่าจะเป็น มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รังสิต และมหาวิทยาลัยมหิดล รวมกว่า 17 โครงการ มอบข้อเสนอสุดพิเศษแบบจัดเต็ม! แบบไม่ต้องลุ้นรับไปเลยแพ็กเกจทัวร์มัลดีฟส์ 3 วัน 2 คืน พร้อมตั๋วเครื่องบินไป - กลับ รวมกว่า 100 ที่นั่ง มามอบให้ทั้งนักลงทุนและผู้ซื้ออยู่อาศัยจริง พร้อมฟรีค่าใช้จ่ายวันโอน ในราคาเริ่มต้นเพียง 1.49 ล้านบาท ตั้งแต่วันนี้ - 30 เมษายน 2566 (เงื่อนไขเป็นไปตามที่บริษัทฯ กำหนด)   นอกจากนี้เตรียมพบกับงาน Assetwise Expo งานใหญ่จากแอสเซทไวส์กับกองทัพโครงการไฮไลท์แห่งปีพร้อมดีลเดือด! ที่เอฟซีแอสเซทไวส์ไม่ควรพลาด ระหว่างวันที่ 1-7 มิถุนายนนี้ ณ ศูนย์การค้าเซ็นทรัล ลาดพร้าว ติดตามรายละเอียดได้ในเร็วๆ นี้   อนึ่ง ASW ดำเนินธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ โดยมุ่งพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยแนวสูงและแนวราบบนทำเลศักยภาพ ภายใต้แนวคิด “ความสุขที่ออกแบบมาเพื่อคุณ” หรือ “We Build Happiness” ปัจจุบันได้พัฒนาโครงการคอนโดมิเนียมและโครงการบ้านจัดสรรมาแล้วกว่า 50 โครงการ ภายใต้แบรนด์ในเครือที่ออกแบบมาเพื่อสร้างความสุขให้เหมาะกับทุกไลฟ์สไตล์ ได้แก่ แบรนด์ เคฟ (KAVE), แบรนด์ แอทโมซ (ATMOZ), แบรนด์ โมดิซ (MODIZ), แบรนด์ เอสต้า (ESTA) และ แบรนด์ ดิ ออเนอร์ (THE HONOR) รวมมูลค่าโครงการกว่า 55,300 ล้านบาท แบ่งเป็นโครงการที่ก่อสร้างแล้วเสร็จและโครงการพร้อมอยู่ 37 โครงการ และโครงการที่กำลังเปิดขายและอยู่ระหว่างการพัฒนา 13 โครงการ ปัจจุบันมียอดขายรอรับรู้รายได้ (Backlog) มูลค่ารวมกว่า 11,400 ล้านบาท   อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง -แอสเซทไวส์ ปั้นคอนโด “เคฟ” อีก 5 โปรเจกต์ จับตลาดปล่อยเช่านักศึกษายีลด์ 7-8%
[PR News] เพอร์เฟค เดินหน้าเปิด 4 โครงการใหม่ในไตรมาส 2

[PR News] เพอร์เฟค เดินหน้าเปิด 4 โครงการใหม่ในไตรมาส 2

พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค เผยไตรมาสแรกเปิดโครงการใหม่ “มาร์เก็ต อเวนิว” ได้รับการตอบรับดี ทำยอดขายได้กว่า 150% เตรียมลุยต่อไตรมาส 2 ด้วยการเปิดเพิ่มอีก 4 โครงการใหม่ มูลค่ารวม 4,950 ล้านบาท และ เปิดเฟสใหม่ในอีก 2 โครงการ ครอบคลุมลูกค้าทุกระดับ ขณะที่โครงการร่วมทุนมียอดขายดีต่อเนื่อง คาดทำได้ตามเป้าที่วางไว้ พร้อมเพิ่มความแข็งแกร่งทางการเงิน ลดหนี้และทำกำไร จากการขายที่ดิน มูลค่า 830 ล้านบาท   นายวงศกรณ์ ประสิทธิ์วิภาต กรรมการผู้จัดการ บริษัท พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ในช่วงไตรมาสแรกของปีถือว่ามีสัญญาณที่ดี จากการเปิดตัวโครงการใหม่  ได้แก่ “มาร์เก็ต อเวนิว แจ้งวัฒนะ–ราชพฤกษ์” ย่านธุรกิจแห่งใหม่บนทำเลแจ้งวัฒนะ–ราชพฤกษ์ ที่ได้รับการตอบรับอย่างดีในการเปิดจองรอบวีไอพี สามารถทำยอดขายได้เกินกว่า 150% จากเป้าที่วางไว้ โดยไตรมาสแรกบริษัทมียอดขาย 3,200 ล้านบาท ใกล้เคียงเป้าที่วางไว้ ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มสินค้าบ้านระดับกลางถึงบน ซึ่งเป็นกลุ่มสินค้าที่บริษัทเน้นมากขึ้นในปีนี้ และตลาดบ้านระดับบนโดยเฉพาะกลุ่มบ้านระดับไฮเอนด์   ในไตรมาส 2 บริษัทมีแผนเปิดโครงการใหม่เพิ่มอีก 4 โครงการ รวมมูลค่า 4,950 ล้านบาท ครอบคลุมลูกค้าทุกกลุ่ม ทั้งโครงการ “เพอร์เฟค พาร์ค” บ้านเดี่ยวใน 2 ทำเล คือ แจ้งวัฒนะ-ราชพฤกษ์ และ บางใหญ่ มูลค่ารวม 3,250 ล้านบาท ที่จับกลุ่มลูกค้าระดับกลางครอบครัวเริ่มต้น   โครงการ “วาวิล่า สุขุมวิท 77-สุวรรณภูมิ” มูลค่า 700 ล้านบาท เป็นบ้านเดี่ยว 3 ชั้นแบรนด์ใหม่สำหรับกลุ่มลูกค้าระดับบน  และ “ไอคอนโด แอคทีฟ พัฒนาการ” มูลค่าโครงการ 1,000 ล้านบาท ที่ยกระดับแบรนด์ไอคอนโดเพื่อรองรับกลุ่มที่ต้องการอยู่อาศัยในทำเลเมือง   รวมถึงยังเดินหน้าพรีเซลเฟสใหม่ใน 2 โครงการ  ได้แก่ “เบลล่า เดล มอนเต้ เขาใหญ่” เฟส 2 ในคอนเซ็ปท์ “Creek Valley” บ้านบนเนินเล่นระดับ ที่ออกแบบให้มีลำธารไหลผ่านบ้านแต่ละหลัง และ โครงการ “มาร์เก็ต อเวนิว แจ้งวัฒนะ–ราชพฤกษ์” เฟส 2 หลังมีผลตอบรับดีมากในเฟสแรก นอกจากนี้ ยังจะมีการพัฒนา Kids Club ขึ้นในสโมสรโครงการต่างๆ เน้นกิจกรรมเสริมพัฒนากล้ามเนื้อมัดต่างๆ และพัฒนาการทั้ง EQ และ IQ สำหรับเด็กๆ  โดยจะเปิดตัวแห่งแรกในไตรมาส 2 ที่สโมสรโครงการสุขุมวิท 77-สุวรรณภูมิ บริษัทยังมุ่งสร้างการเติบโตจากโครงการร่วมทุนและธุรกิจโรงแรม โดยโครงการร่วมทุนกับพันธมิตรทั้ง 3 ราย ได้แก่ ฮ่องกงแลนด์,  ซูมิโตโม ฟอเรสทรี และ เซกิซุย เคมิคอล ปีนี้วางเป้าขายไว้รวม 4,400 ล้านบาท ในไตรมาสแรกมียอดขายในระดับที่น่าพอใจ โดยเฉพาะโครงการร่วมทุนกับฮ่องกงแลนด์  ที่ทำยอดขายได้ 500 ล้านบาท   ทั้งนี้  จะมีการเปิดโครงการใหม่ร่วมกับ ซูมิโตโม ฟอเรสทรี บนทำเลราชพฤกษ์ตัดใหม่ในไตรมาส 3 ซึ่งบริษัทได้มีการลงทุนขยายถนนและปรับปรุงสภาพภูมิทัศน์ให้สวยงาม เตรียมความพร้อมสำหรับการเปิดตัวโครงการใหม่ ด้านธุรกิจโรงแรมในกลุ่ม  ภาพรวมไตรมาสแรกของปีสามารถสร้างรายได้มากกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนถึง 321% มีการเติบโตเพิ่มขึ้นของทั้งอัตราเข้าพัก และราคาขายต่อห้องพัก ซึ่งฟื้นตัวได้เร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้ นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังเดินหน้าเพิ่มความมั่นคงแข็งแกร่งทางการเงิน   โดยอยู่ระหว่างการดำเนินการเซ็นสัญญาซื้อขายที่ดินมูลค่า 830 ล้านบาท เพื่อลดหนี้และทำกำไร   อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง -เพอร์เฟค เปิดแผนธุรกิจ 2566 พร้อมเปิด 14 โครงการใหม่ มูลค่า 17,700 ล้าน
อรสิริน ดีเวลลอปเปอร์รายแรกของภาคเหนือ  เตรียม IPO ใน SET  ปี 66

อรสิริน ดีเวลลอปเปอร์รายแรกของภาคเหนือ เตรียม IPO ใน SET  ปี 66

อรสิริน ดีเวลอปเปอร์ จ.เชียงใหม่ จะเป็นรายแรกของภาคเหนือ ในการเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ SET วางแผน ปี 2566–2567 เตรียมพัฒนาโครงการคุณภาพ มูลค่ารวม 5,165 ล้านบาท ชูกลยุทธ์ขยายตลาดบนทำเลคุณภาพ พร้อมสร้างการเติบโตไม่ต่ำกว่าปีละ 20% คาด 5 ปีมียอดขายหมื่นล้าน   นายบุญเลิศ บูรณุปกรณ์  ประธานกรรมการบริหารและผู้ก่อตั้ง บริษัท อรสิริน โฮลดิ้ง จํากัด (มหาชน) เปิดเผยว่า บริษัทเป็นผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์โครงการแนวราบ แนวสูง และอาคารพาณิชย์บนทำเลคุณภาพจังหวัดเชียงใหม่ ที่ตอบโจทย์ความต้องการของกลุ่มลูกค้าชาวไทย และต่างชาติมาโดยตลอด   ส่งผลให้โครงการต่าง ๆ ที่อยู่ภายใต้การบริหารงานของอรสิริน ได้รับความนิยมต่อเนื่องมากว่า 17 ปี โดยมีโครงการที่อยู่ระหว่างการพัฒนาและขาย ณ ปี 2565 รวม 18 โครงการ มูลค่ารวม 15,505 ล้านบาท แบ่งเป็นแนวราบ 11 โครงการ มูลค่ารวม 8,348  ล้านบาท แนวสูง 7 โครงการ มูลค่ารวม 7,157 ล้านบาท โดยคงเหลือเพื่อขายมูลค่ารวม 6,385 ล้านบาท แบ่งเป็น โครงการแนวราบมูลค่า 4,679 ล้านบาท และโครงการแนวสูงมูลค่า 1,706 ล้านบาท ทั้งนี้ บริษัทตั้งเป้าหมายก้าวสู่การเป็นผู้นำอสังหาฯ ระดับกลาง-บน ของภาคเหนือภายใน 3 ปี   นายปรีดิกร บูรณุปกรณ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร  กล่าวว่า ปัจจุบันบริษัทพัฒนาโครงการอสังหาแนวราบและแนวสูงภายใต้แบรนด์ ได้แก่ โครงการ THE ESCAPE , HABITAT , BELIVE , ORNSIRIN , ORNSIRIN VILLE , URBAN MYX , THE ASTRA , ARISE และ THE NEXT ทั้งนี้ เพื่อให้สอดรับกับเป้าหมายการเติบโตที่วางไว้ บริษัทกำหนดแผนธุรกิจในปี 2566 เตรียมเปิดโครงการใหม่แนวราบ-แนวสูง รวม 6 โครงการ มูลค่ารวม 3,225 ล้านบาท แบ่งเป็น แนวราบ 3 โครงการ มูลค่ากว่า 1,940 ล้านบาท และแนวสูงอีก 3 โครงการ มูลค่าประมาณ  1,285 ล้านบาท คาดจะเริ่มพัฒนาโครงการในช่วงครึ่งปีหลัง ของปี 2566   นอกจากนี้ ภายในปี 2567 บริษัทเตรียมแผนการพัฒนาโครงการคุณภาพในพื้นที่ภาคเหนือเพิ่มเติม มูลค่ารวมประมาณ 1,940 ล้านบาท แบ่งเป็นโครงการแนวราบมูลค่ารวมประมาณ 233 ล้านบาท และโครงการแนวสูง มูลค่ารวมประมาณ 1,707  ล้านบาท เพื่อก้าวสู่การเป็นผู้นำอสังหาฯ ภาคเหนืออย่างแข็งแกร่ง นาย อรรคเดช อุดมศิริธำรง ผู้อำนวยการฝ่ายขายและการตลาด กล่าวเสริมว่า ความต้องการที่อยู่อาศัยในภาคเหนือตอนบน โดยเฉพาะจังหวัดเชียงใหม่ยังคงได้รับความนิยมจากชาวไทยและต่างชาติ เนื่องจากเป็นจังหวัดที่มีความพร้อมด้านเศรษฐกิจ และมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง ในส่วนของภาคอสังหาริมทรัพย์ เป็นการเติบโตทั้งโครงการที่อยู่อาศัยและ โครงการเชิงพาณิชย์  โดยบริษัทยังมีโอกาสเติบโตอีกมากจากแผนการเปิดโครงการใหม่   อีกทั้ง ปัจจัยสนับสนุนจากกระตุ้นเศรษฐกิจภาคการท่องเที่ยว ชาวต่างชาติเดินทางเข้ามาลงทุนในประเทศได้มากขึ้น รวมถึง นโยบายมาตรการภาครัฐ อาทิ การลดภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง และมาตรการผ่อนคลาย LTV (Loan To Value Ratio) ส่งผลให้ความต้องการที่อยู่อาศัยเพิ่มสูงขึ้น   บริษัทจึงเดินหน้าสร้างการเติบโตต่อเนื่อง เร่งขยายตลาดบนทำเลคุณภาพ ชูกลยุทธ์พัฒนาที่อยู่อาศัยตอบโจทย์ความต้องการกลุ่มลูกค้าระดับกลาง-บน ด้วยการออกแบบฟังก์ชันและนวัตกรรมการอยู่อาศัยส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีให้แก่ลูกบ้านทุกโครงการ ควบคู่กลยุทธ์นวัตกรรมในการก่อสร้าง เพื่อควบคุมต้นทุนบริหารความเสี่ยงให้สอดรับกับต้นทุนที่ดิน ค่าก่อสร้าง และดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ บริษัทเตรียมงบลงทุนเพื่อการซื้อที่ดินรองรับการพัฒนาโครงการใหม่ในอนาคตอย่างต่อเนื่อง พร้อมมุ่งเน้นการเสริมสร้างศักยภาพทางการเงิน โดยอยู่ระหว่างเตรียมความพร้อมเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ (SETX ภายในปีนี้ เพื่อสามารถรองรับการขยายตัวในตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพและมั่นคง บริษัทตั้งเป้าหมายยอดขายรวมในปี 2566 ไว้ที่ 1,735 ล้านบาท และวางเป้ายอดโอนรวมไว้ที่ 1,471 ล้านบาท พร้อมเดินหน้ารักษาการเติบโตของยอดขาย ไว้ไม่ต่ำกว่า 20% ต่อปี โดยคาดว่าภายหลังจากเข้าตลาดหลักทรัพย์ได้เป็นผลสำเร็จ เชื่อว่าภายในระยะเวลา 5 จะสามารถสร้างยอดขายได้ 10,000 ล้านบาท   อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง -มองภาวะตลาดอสังหาฯ ภาคเหนือปี 64 & อินไซต์ข้อมูลปี 63
คอตโต้ จับ 5 บริษัทรวมกลุ่มสู่ SCG Decor  ลุยตลาดวัสดุตกแต่งพื้นผิวและสุขภัณฑ์

คอตโต้ จับ 5 บริษัทรวมกลุ่มสู่ SCG Decor ลุยตลาดวัสดุตกแต่งพื้นผิวและสุขภัณฑ์

คอตโต้ จับ 5 บริษัทในกลุ่มธุรกิจวัสดุตกแต่งพื้นผิวและสุขภัณฑ์ รวมเป็นหนึ่งเดียว สู่กลุ่ม SCG Decor บุกตลาดอาเซียน ขยายฐานจับลูกค้ากว่า 560 ล้านคน หวังเติบโตถึง 6 เท่า ชู 5 กลยุทธ์สู่ความสำเร็จ​ ​   นายนำพล มลิชัย กรรมการผู้จัดการ บริษัทเอสซีจี เซรามิกส์ จำกัด (มหาชน) หรือ คอตโต้ (COTTO) และประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เอสซีจี เดคคอร์ จำกัด หรือ SCG Decor เปิดเผยว่า COTTO เป็นบริษัทที่เติบโตต่อเนื่องและมีผลประกอบการที่ดี โดยมียอดขายกระเบื้องปูพื้น บุผนัง เป็นอันดับ 1 ในประเทศไทย ด้วยส่วนแบ่งการตลาด 33.0%  อีกทั้งนักลงทุนให้ความสนใจและเชื่อมั่นด้วยดีตลอดมา   อย่างไรก็ตาม COTTO ยังมีโอกาสขยายตลาดให้ครอบคลุมทุกวัสดุตกแต่งพื้นผิว ดังนั้นการปรับโครงสร้างโดยการขยายสินค้าให้ครอบคลุมทุกวัสดุตกแต่งพื้นผิวและสุขภัณฑ์ พร้อมทั้งขยายธุรกิจไปยังตลาดอาเซียนที่มีศักยภาพสูง ภายใต้ SCG Decor นับเป็นก้าวสำคัญในการสร้างความแข็งแกร่งให้ธุรกิจเติบโตยิ่งขึ้น รวม 5 บริษัทสู่ SCG Decor SCG Decor เป็นบริษัทแกนหลักของ เอสซีจี ในการประกอบธุรกิจตกแต่งพื้นผิวและสุขภัณฑ์ (Decor Surfaces & Bathroom) พร้อมช่องทางจัดจำหน่ายทั่วทั้งภูมิภาคอาเซียน โดยมีกลุ่มบริษัทย่อยที่ประกอบธุรกิจในประเทศไทย ประเทศเวียดนาม ประเทศฟิลิปปินส์ และประเทศอินโดนีเซีย ได้แก่   1.บริษัท เอสซีจี เซรามิกส์ จำกัด (มหาชน) หรือ COTTO ดำเนินธุรกิจผลิตและจำหน่ายกระเบื้องปูพื้นและบุผนังในประเทศไทย มียอดขายกระเบื้องเซรามิกเป็นอันดับ 1 ในประเทศ ด้วยส่วนแบ่งการตลาด 33.0%   2.บริษัท สยามซานิทารีแวร์ จำกัด (SSW) ดำเนินธุรกิจผลิตและจำหน่ายสุขภัณฑ์ในประเทศไทยและส่งออกไปต่างประเทศ มียอดขายสุขภัณฑ์เป็นอันดับ 1 ในประเทศ ด้วยส่วนแบ่งการตลาด 32.8%   3.Prime Group ดำเนินธุรกิจผลิตและจำหน่ายกระเบื้องปูพื้นและบุผนังในประเทศเวียดนาม มียอดขายเป็นอันดับ 1 ในประเทศ ด้วยส่วนแบ่งการตลาด 26.4%   4.บริษัท Mariwasa-Siam Ceramics, Inc (MSC) ดำเนินธุรกิจผลิตและจำหน่ายกระเบื้องปูพื้นและบุผนังในประเทศฟิลิปปินส์ มียอดขายเป็นอันดับ 1 ในประเทศ ด้วยส่วนแบ่งการตลาด 16.8%   5.PT Keramika Indonesia Assosiasi, Tbk (KIA) ดำเนินธุรกิจผลิตและจำหน่ายกระเบื้องปูพื้นและบุผนังในประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งมีประชากร 274 ล้านคน สูงที่สุดในภูมิภาคอาเซียน   นายนำพล กล่าวว่า  การรวมแต่ละบริษัทในกลุ่มธุรกิจกระเบื้องปูพื้น บุผนัง และสุขภัณฑ์ของ เอสซีจี เข้ามาอยู่ภายใต้ SCG Decor  เป็นการเสริมความแข็งแกร่ง และสร้างประโยชน์สูงสุดจากการประสานพลังร่วมกันระหว่างทุกบริษัท (Business Synergy) เพิ่มความสามารถในการแข่งขัน และเร่งการขยายการเติบโตอย่างรวดเร็วไปสู่ภูมิภาคอาเซียน  ด้วยผลิตภัณฑ์และบริการที่หลากหลายครอบคลุมทุกวัสดุตกแต่งพื้นผิวและสุขภัณฑ์ รวมถึงช่องทางจัดจำหน่ายทั้งในประเทศไทย เวียดนาม ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าทุกระดับได้อย่างครบวงจร โดยมีโอกาสสร้างการเติบโตได้ถึง 6 เท่า จากประชากรไทยที่มี 70 ล้านคนไปสู่ตลาดที่มีประชากรมากกว่า 560 ล้านคน   (1 อ้างอิงมูลค่าตลาดสำหรับปี 2564 ของกลุ่มผลิตภัณฑ์ตกแต่งพื้นผิวและสุขภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องของประเทศไทย เทียบกับมูลค่าตลาดรวมของประเทศไทย ประเทศเวียดนาม ประเทศฟิลิปปินส์ และประเทศอินโดนีเซีย ตามรายงานของ Euromonitor) การปรับโครงสร้างธุรกิจครั้งนี้ จะส่งผลดีต่อผู้ถือหุ้นของ COTTO ที่เปลี่ยนเป็นผู้ถือหุ้นของ SCG Decor คือ ยกระดับเป็น ผู้ถือหุ้นของบริษัทที่ประกอบธุรกิจตกแต่งพื้นผิวและธุรกิจสุขภัณฑ์ชั้นนำระดับอาเซียน และยังคงสถานะเป็น ผู้ถือหุ้นทางอ้อมของ COTTO และบริษัทในกลุ่ม SCG Decor 5 กลยุทธ์เติบโตในอาเซียน 5 กลยุทธ์ SCG Decor เติบโตสู่ผู้นำธุรกิจตกแต่งพื้นผิวและสุขภัณฑ์ครบวงจรในอาเซียน ได้แก่ 1.ขยายตลาดสู่อาเซียน ขยายธุรกิจสุขภัณฑ์ (Bathroom) จากประเทศไทย เพื่อก้าวสู่การเป็นผู้นำในอาเซียน ซึ่งกลุ่มสุขภัณฑ์ ในประเทศไทย เป็นกลุ่มธุรกิจที่มีอัตรากำไรสูง มียอดขายและส่วนแบ่งการตลาดเป็นอันดับ 1 โดยนำเสนอนวัตกรรมใหม่ ๆ อาทิ “COTTO Smart Toilet” ตอบโจทย์เทรนด์ด้านสุขภาพและอนามัย 2.สร้างแบรนด์วัสดุตกแต่งพื้นผิว ต่อยอดความแข็งแกร่งของธุรกิจตกแต่งพื้นผิว (Decor Surfaces) ทั้งในประเทศไทยและในอาเซียน โดยประยุกต์โมเดลธุรกิจที่เข้มแข็งของไทยถ่ายทอดองค์ความรู้เพื่อเร่งการเติบโต ผลักดันแบรนด์สินค้าทุกประเทศให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น เช่น PRIME ในเวียดนาม MARIWASA ในฟิลิปปินส์ และ KIA ในอินโดนีเซีย พร้อมเสริมความแข็งแกร่งทุกช่องทางการขาย และขยายการส่งออกไปทั่วโลก ด้วยนวัตกรรมการออกแบบและวิจัย นำเสนอสินค้าหลากหลาย ตอบสนองทุกไลฟ์สไตล์ ตั้งแต่กลุ่มประหยัด กลุ่มมาตรฐาน และกลุ่มพรีเมียม โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าเพิ่มสูง (HVA - High Value Added Products & Services) เช่น “LT แผ่นปูพื้น Smart Flexible by COTTO” นวัตกรรมวัสดุสร้างความยืดหยุ่น ติดตั้ง-ดูแลสะดวก ลวดลายและสัมผัสเสมือนธรรมชาติ “AIR ION” กระเบื้องฟอกอากาศ และสินค้าอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่อง เช่น ผลิตภัณฑ์ติดตั้งและซ่อมแซม  ปูนกาว และยาแนว เป็นต้น 3.แตกไลน์ธุรกิจใกล้เคียงเพิ่ม ขยายธุรกิจสู่ผลิตภัณฑ์และบริการที่เกี่ยวเนื่อง ตอกย้ำการเป็นผู้นำด้านการให้บริการแบบครบวงจร เพิ่มศักยภาพในการดำเนินธุรกิจ ด้านตกแต่งพื้นผิว สุขภัณฑ์ และบริการ ด้วยโซลูชั่นแบบครบวงจรจากการผนึกกำลังของบริษัทในกลุ่มและธุรกิจที่เกี่ยวข้อง 4.บริหารซัพพลายเชนทั้งผลิต-จัดหา การบริหารห่วงโซ่อุปทานทั้งด้านการผลิตและการจัดหาอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด (Regional Optimization and Global Sourcing Powerhouse) ผสานความร่วมมือระหว่างฐานการผลิตในภูมิภาคและบริษัทในกลุ่มเพื่อบริหารกำลังการผลิตในภาพรวมอย่างมีประสิทธิภาพและสรรหาผลิตภัณฑ์ชั้นนำจากภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วโลก 5.สร้างสินค้ามาตรฐานโลก เติบโตอย่างมั่นคงและยั่งยืนด้วยมาตรฐานระดับโลก พัฒนาผลิตภัณฑ์รักษ์โลกและกระบวนการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม  ลดของเสียจากการผลิตและนำกลับมาหมุนเวียนเป็นผลิตภัณฑ์รักษ์โลกเพื่อสร้างรายได้ ลดต้นทุนพลังงานด้วยการเพิ่มการใช้พลังงานหมุนเวียนและเพิ่มการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ มุ่งบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ในปี 2593 (NET ZERO 2050) สอดคล้องกับแนวทาง ESG (Environmental, Social, and Governance)   นายนำพล กล่าวเสริมว่า SCG Decor เติบโตอย่างต่อเนื่อง มีรายได้จากการขาย ปี 2563 – 2565 ที่ 24,378.6 ล้านบาท 25,937.4 ล้านบาท และ 30,253.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 6.4% และ 16.6% ตามลำดับ ปี 2565 ส่งออกสินค้าไปสู่ตลาดในอาเซียน เช่น กัมพูชา ลาว พม่า และประเทศอื่น ๆ รวมกว่า 53 ประเทศ มีรายได้จากการส่งออกกว่า 4,500 ล้านบาท คิดเป็น 15.0% ของรายได้รวม   ล่าสุดที่ประชุมคณะกรรมการของ COTTO เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2566 พิจารณาให้นำเสนอต่อที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น COTTO เพื่อขออนุมัติเพิกถอนหุ้นของบริษัทฯ ออกจากตลาดหลักทรัพย์ฯ โดยจะเสนอต่อที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น ครั้งที่ 1/2566 ในวันที่ 23 พฤษภาคม 2566 เพื่อพิจารณาอนุมัติต่อไป ตามแผนการปรับโครงสร้างบริษัทร่วมกับ SCG Decor โดยมีเงื่อนไขสำคัญ คือ COTTO ต้องได้รับอนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้น ด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 3 ใน 4 ของผู้ถือหุ้นทั้งหมด และต้องไม่มีผู้ถือหุ้นของ COTTO คัดค้านการเพิกถอนหลักทรัพย์เกินกว่า 10% ในวันประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น ครั้งที่ 1/2566 ปูพรมจับตลาด 560 ล้านคน นายสมิทธิ โกสีย์เจริญ ประธานเจ้าหน้าที่สายงานการเงิน บริษัทเอสซีจี เดคคอร์ จำกัด  กล่าวว่า อุตสาหกรรมกระเบื้องเซรามิก และอุตสาหกรรมสุขภัณฑ์ ทั้งในประเทศไทย รวมถึงเวียดนาม ฟิลิปปินส์ และ อินโดนีเซีย เป็นตลาดที่มีศักยภาพสูง รองรับประชากรเกือบ 560 ล้านคน มีมูลค่าตลาดกระเบื้องปูพื้น บุผนัง และสุขภัณฑ์ รวมกันกว่า 1.9 แสนล้านบาท  จึงเป็นโอกาสที่  SCG Decor จะขยายธุรกิจและเติบโตต่อไปในอาเซียนได้อีก   ทั้งนี้ อัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปี (CAGR) ปี 2565-2569 ของ ตลาดกระเบื้องเซรามิกในประเทศไทยเติบโตเฉลี่ย 1.2% ขณะที่ตลาดในไทย รวม เวียดนาม ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย เติบโตเฉลี่ย 7.1% SCG Decor ส่วนตลาดสุขภัณฑ์ในประเทศไทยเติบโตเฉลี่ย 2.1% เทียบกับรวม 3 ประเทศข้างต้น เติบโตเฉลี่ยต่อปี 8.6% (อ้างอิงจาก Euromonitor ปี 2564)   เมื่อ COTTO ได้รับอนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นแล้ว SCG Decor จะยื่นแบบคำขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ และแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ (ยื่นแบบ Filing) ต่อสำนักงาน ก.ล.ต. เพื่อขออนุมัติการเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนต่อประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก (IPO) ภายหลังจากแบบไฟลิ่งมีผลใช้บังคับ SCG Decor จะเริ่มทำคำเสนอซื้อหุ้นทั้งหมดของ COTTO ในราคา 2.40 บาทต่อหุ้น โดยจะชำระค่าหุ้นเป็นหุ้นสามัญเพิ่มทุนของ SCG Decor เท่านั้น ซึ่งจะเกิดขึ้นในช่วงเวลาเดียวกันกับการเสนอขายหุ้น IPO ของ SCG Decor หลังจากการทำคำเสนอซื้อสิ้นสุดลง COTTO จะถูกเพิกถอนออกจากตลาดหลักทรัพย์ฯ โดยผู้ถือหุ้น COTTO ที่ตอบรับคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ดังกล่าว จะกลายเป็นผู้ถือหุ้นของ SCG Decor และยังคงเป็นเจ้าของ COTTO ทางอ้อม จากนั้น SCG Decor จะเข้าเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ต่อไป   นายนำพล กล่าวสรุปเพิ่มเติมว่า บริษัท ฯ หวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้รับการสนับสนุน และได้รับการอนุมัติอย่างเป็นเอกฉันท์จากผู้ถือหุ้น COTTO ในปัจจุบัน รวมถึงมอบความไว้วางใจตอบรับคำเสนอซื้อในครั้งนี้ ด้วยการแลกหุ้นและกลายเป็นผู้ถือหุ้นของ SCG Decor ต่อไป พร้อมทั้งขอเรียนเชิญผู้ถือหุ้นและนักลงทุนทุกท่าน ร่วมเป็นพลังสำคัญในการนำ SCG Decor สยายปีกสู่การเป็นผู้นำธุรกิจตกแต่งพื้นผิวและสุขภัณฑ์ครบวงจรในอาเซียน     อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง -คอตโต้ เผย 5 ดีไซน์เทรนด์สุขภัณฑ์หลังโควิด กับ 2 ความท้าทายหลังเปิดประเทศ
ไนท์แฟรงค์  มองตลาดอสังหาฯ ปี 66    “ท่องเที่ยว-ไมซ์-บ้านหรู” ตัวเร่งกำลังซื้อ

ไนท์แฟรงค์ มองตลาดอสังหาฯ ปี 66   “ท่องเที่ยว-ไมซ์-บ้านหรู” ตัวเร่งกำลังซื้อ

ไนท์แฟรงค์ ประเทศไทย จัดงาน “Knight Frank Foresight 2023 It’s Time to Look Beyond the Crisis” เจาะลึกภาพรวมตลาดและแนวโน้มอสังหาริมทรัพย์ไทย ในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปี 2565 ต่อเนื่องถึงไตรมาสแรกของปี 2566 ฟื้นตัวต่อเนื่อง เผยสัญญาณบวกจากกำลังซื้อระดับบน ดันตลาดบ้านหรู กรุงเทพฯ และปริมณฑล ยอดขายโต 19,476 ยูนิต จับตาวิลล่าและคอนโดฯ ภูเก็ตร้อนแรงจากกลุ่มลูกค้ารัสเซียและจีน ด้านตลาดโรงแรมผ่านจุดต่ำสุดเริ่มขยับพร้อมรับมือตลาดไมซ์ 5 ไฮไลท์ตลาดอสังหาฯ ทำเลวิทยุ หลังสวน และเอกมัย 3 ทำเลยอดฮิตทั้งความต้องการซื้อ และตัวเลขการขายต่อ ในไตรมาสที่ 1 ปี 2566 บ้านเดี่ยว 10 -100 ล้านขึ้นไป ทำยอดขาย 19,476 ยูนิต คิดเป็น 2 % จากทั้งหมด 24,602 ยูนิต อสังหาฯ ภูเก็ตฟื้นตัวรับกำลังซื้อชาวรัสเซียและจีน ปักหมุดหาดบางเทา และ หาดลายัน แนวโน้มความต้องการอาคารสำนักงาน แนวคิด ESG (สิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล) และความยั่งยืนเติบโตต่อเนื่อง ตลาดโรงแรมทุกเซกเมนต์​เตรียมพร้อมกำลังคนรับธุรกิจฟื้นจากลูกค้ากลุ่มทัวร์และนักท่องเที่ยวกลุ่มไมซ์ (MICE) นายแฟรงค์ ข่าน กรรมการบริหารและหัวหน้าฝ่ายที่พักอาศัย บริษัท ไนท์แฟรงค์ ประเทศไทย จำกัด  เปิดเผยว่า ตลาดอสังหาริมทรัพย์ในปี 2566 มีสัญญาณเชิงบวกจากโครงการใหม่หลายแห่งที่รอเปิดตัว ซึ่งเป็นผลมาจากความเชื่อมั่นของผู้ซื้อที่สูงขึ้น การเลือกตั้งทั่วไปที่กำลังจะเกิดขึ้น และการเปิดประเทศจีน คาดว่าเป็นปัจจัยที่ทำให้ตลาดเติบโตอย่างต่อเนื่อง   ส่วนตลาดคอนโดมิเนียมในกลุ่ม Branded Residence ยังมีอัตราการขายได้ดีอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากลูกค้าเป็นกลุ่มกำลังซื้อสูง อาทิ คนไทย สิงคโปร์ และฮ่องกง  เป้าหมายเพื่อการลงทุนระยะยาว และซื้อเพื่ออยู่อาศัย ทำเลแรไอเทม ประทับใจการให้บริการระดับ 5-6 ดาว เพราะมองว่าอนาคตราคามีความเติบโตอย่างต่อเนื่อง   ในส่วนโครงการคอนโดเปิดใหม่ และการขายต่อคอนโดหรูหลายแห่ง มีผลประกอบการที่ดีและเติบโตอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยในไตรมาสที่ 1 ปี 2566 การขายต่อคอนโด​มีความต้องการและยอดขายสูงในทำเลวิทยุ หลังสวน และเอกมัย ซึ่งรับอานิสงส์กำลังซื้อที่เพิ่มขึ้นจากต่างชาติหลังการผ่อนคลายมาตรการโควิด-19 และ ส่วนใหญ่กระตุ้นการขายด้วยส่วนลดประมาณ 15% อุปทานรวมของธุรกิจอสังหาฯ มีทั้งสิ้น 8,953 ยูนิต ส่วนใหญ่อยู่ในชานเมืองกรุงเทพฯ โดยที่การเปิดตัวใหม่นั้นมีการปรับตัวลดลง 9.7% เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 3 และลดลง 20.4% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ในด้านความต้องการโครงการอสังหาฯ ​ใหม่ก็ลดลงเช่นกัน เหลือเพียง 28.8%​จาก 30.7% ในไตรมาสที่ 3 ปี 2565 ซึ่งราคาขายคอนโดในไตรมาสที่ 4 ปี 2565 ปรับตัวลดลงเล็กน้อยในทุกพื้นที่เฉลี่ย 0.29%​ เนื่องจากรัฐบาลยุติมาตรการ LTV ( Loan to Value :LTV)  โดยที่ลูกค้ากลุ่มหลักของตลาดนี้ยังเป็นนักลงทุนที่ซื้อเพื่อปล่อยเช่า บ้านเดี่ยว 10 – 20 ล้านเติบโตสูง ผลสำรวจบ้านระดับบนในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล พบว่าบ้านราคาตั้งแต่ 10 ล้านบาทถึง 100 ล้านบาทขึ้นไป มียอดขาย 19,476 ยูนิต คิดเป็นยอดขาย 79.2%​ จากทั้งหมด 24,602 ยูนิต  ทั้งนี้ อัตราการขายจะลดลง 3.9% จากครึ่งแรกของปี 2565 แต่ก็เพิ่มขึ้น 1.9%​ เทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2564 ซึ่งเป็นผลจากอุปทานที่เพิ่มขึ้นสองเท่าของอุปทานที่มีเหลืออยู่ คาด 1-2 ปีตลาดคอนโดภูเก็ตฟื้นตัวสู่สภาวะปกติ ภูเก็ตยังเป็นตลาดที่อยู่อาศัยเพื่อพักผ่อนที่ได้รับอานิสงค์จากการฟื้นตัวของภาคอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว โดยคอนโดเปิดขายใหม่ส่วนใหญ่อยู่บริเวณหาดบางเทามากถึง 45%​ รองลงมาเป็นที่หาดลายัน 31%​ และอื่น ๆ   ในภาพรวมตลาดคอนโดในจังหวัดภูเก็ตช่วงปลายปี 2565  ขายได้ 18,613 ยูนิต จาก 24,211 ยูนิต คิดเป็นยอดขาย 76.9%  ลดลงจากปี 2564 ณ ปัจจุบันมียูนิตเหลือขายอยู่ในตลาด 5,598 ยูนิต โดยภาพรวมคาดว่าตลาดจะกลับสู่ภาวะปกติเหมือนช่วงก่อนวิกฤตโควิด-19 ได้ภายใน 1-2 ปี นักท่องเที่ยวชาวรัสเซียแห่ซื้อวิลลาภูเก็ต ทิศทางตลาดวิลลา มีแนวโน้มสดใส อุปสงค์และอุปทานเติบโตทั้งการซื้อและเช่า จากกำลังซื้อที่เกิดขึ้นพบว่าชาวต่างชาติบางคนสนใจซื้อบ้านที่ภูเก็ตไว้เป็นบ้านหลังที่สอง ในขณะที่บางคนสนใจเช่าวิลลามากกว่าคอนโดมิเนียม เพราะต้องการสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยสำหรับครอบครัว และยังสามารถปล่อยเช่า สร้างผลตอบแทนได้ 8-10% ต่อปี   ในช่วงปลายปี 2565 วิลลาในภูเก็ต ขายได้ 3,595 จากทั้งหมด 4,375 ยูนิต คิดเป็นอัตราขาย 82.1% เพิ่มขึ้น 1% จากปี 2564 ที่มียูนิตใหม่ขายได้ 341 หลัง จากความต้องการที่เพิ่มขึ้นในตลาดวิลล่าเป็นผลมาจากนักท่องเที่ยวรัสเซียเดินทางเข้ามาในไทยด้วยเหตุผลต้องการหนีภาวะสงคราม และเพื่อท่องเที่ยวในช่วงไฮซีซั่น ประกอบกับความกังวลเกี่ยวกับนโยบายของประเทศที่จะประกาศห้ามโอนเงินข้ามประเทศหรืออาญัติบัญชี ซึ่งจะทำให้ไม่สามารถทำธุรกรรมประเภทเดบิตได้ในอนาคต   โดยทำเลที่ได้รับความนิยมในการพัฒนาวิลล่ามากที่สุดอยู่ในพื้นที่ตำบลเชิงทะเล แม้ไม่ติดชายหาด แต่เป็นทำเลใกล้ภูเขาและป่าไม้บรรยากาศโดยรวมเงียบสงบกว่าและเหมาะแก่การพักผ่อน   นายณัฏฐา คหาปนะ กรรมการผู้จัดการ ไนท์แฟรงค์ ประเทศไทย  กล่าวว่า ตลาดอสังหาฯ ในภูเก็ตได้รับประโยชน์จากการท่องเที่ยว โดยชาวรัสเซียมีสัดส่วนมากถึง 40-60% จากลูกค้าทั้งหมด หากเทียบกับเมื่อก่อนจะมีสัดส่วนเพียง 10-15% เท่านั้น โดยความสนใจจะอยู่ที่ทำเลหาดกะตะ หาดกะรน หาดป่าตอง หาดกมลา หาดบางเทา เชิงทะเล (ลากูนา) และหาดในทอน ทำให้ราคาอสังหาฯ ในพื้นที่ดังกล่าวขยับขึ้นอีก 15-20%   ทั้งนี้คาดว่าความต้องการของลูกค้ารัสเซียจะยังคงอยู่ในระดับสูงต่อไปอีก 1-2 ปีข้างหน้า โดยการตัดสินใจซื้อจะมองเรื่องทำเล ราคาขาย และชื่อเสียงของผู้พัฒนาโครงการ ซึ่งนอกจากชาวรัสเซียแล้วยังมีความต้องการจากลูกค้าชาวจีนสนับสนุนเข้ามาอีกทางหนึ่ง ESG สำนักงานสีเขียวทางเลือกใหม่ของผู้เช่า อุปสงค์ของอาคารสำนักงานในกรุงเทพฯ เติบโตเพียงเล็กน้อยจากไตรมาส 4 ปี 2565 ขณะที่แนวโน้มความต้องการอาคารสำนักงานในแนวคิ ESG (สิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล) และความยั่งยืนกลับขยายตัวมากขึ้น เห็นได้จากอัตราดูดซับสุทธิของอาคารสีเขียวที่สูงกว่าอาคารทั่วไปในทุก ๆ ไตรมาส   ในช่วงปลายปี 2565 มีพื้นที่อาคารสำนักงานขยายตัว 117,000 ตร.ม.หรือ 2.1 เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบไตรมาสต่อไตรมาส ส่งผลให้ภาพรวมตลาดอาคารสำนักงานมีพื้นที่ 5.79 ล้าน ตร.ม. และในจำนวนเป็นพื้นที่อาคารสำนักงานสร้างใหม่ที่ผ่านการรับรองอาคารสีเขียว 1,180,000 ตร.ม. คิดเป็น 20% ของพื้นที่สำนักงานให้เช่าทั้งหมด   ทั้งนี้หากเจาะลึกเป็นรายเซกเมนต์ พื้นที่อาคารสำนักงานทุกเกรดมีอัตราดูดซับที่เป็นบวก โดยพื้นที่เกรดบีมีอัตราการดูดซับเพิ่มขึ้นสูงสุด 17,200 ตร.ม. ในขณะที่อัตราการเช่าในตลาดโดยรวมยังคงปรับลดลงเล็กน้อยมาอยู่ที่ 801 บาทต่อ ตร.ม. โดยพื้นที่เกรดเอ เป็นเซกเมนต์เดียวที่มีอัตราค่าเช่าเพิ่มขึ้น 0.6% นายปัญญา เจนกิจวัฒนาเลิศ กรรมการบริหาร หัวหน้าแผนกอาคารสำนักงาน กล่าวว่า ภาพรวมตลาดอาคารสำนักงานยังแข็งแกร่งด้วยเม็ดเงินลงทุนที่เพิ่มขึ้นจากชาวจีนที่เข้ามาลงทุนในไทย โดยมองถึงอาคารสำนักงานที่พร้อมเปิดใช้งาน หรือตกแต่งแล้วบางส่วน ขนาดพื้นที่ตั้งแต่ 200 ถึงกว่า 1,000 ตร.ม. และเดินทางสะดวก ทำเลใกล้ระบบขนส่งสาธารณะ อัตราค่าเช่า และสภาพแวดล้อมการทำงานที่ดี   อาคารสำนักงานเก่าควรได้รับการปรับปรุงและซ่อมบำรุงเพื่อมอบสภาพแวดล้อมในการทำงานและเครื่องมือเครื่องใช้ที่ดีขึ้นเพ่อแข่งขันกับอาคารสำนักงานใหม่ ซึ่งการพัฒนานี้ต้องไม่เป็นไปเพื่อจุดประสงค์ในการขึ้นค่าเช่า แต่เพื่อดึงให้ลูกค้าเก่าพึงพอใจที่จะเช่าพื้นที่ในระยะยาว   ด้าน นายอายุธพร บูรณะกุล กรรมการบริหารและหัวหน้าฝ่ายกลยุทธ์พื้นที่สำนักงานบริการสำหรับโครงการ​ ระบุว่ามีแนวโน้มหลักสองอย่างที่จะมีอิทธิพลต่อการเช่าพื้นที่สำนักงานและอาคารสำนักงาน นั่นคือ Workplace ESG และ The Perfect PM  การเปลี่ยนผ่านสู่แนวคิด ESG เน้นบูรณาการองค์ประกอบของความยั่งยืน การส่งเสริมสุขภาวะ และชีวิตเชิงสังคม รวมถึงการออกแบบจะเป็นกุญแจในการสนองตอบต่อความต้องการของพนักงานหลากหลายช่วงวัย   โดยองค์กรต่างๆ จะมองหาพื้นที่สำนักงานแบบใดขึ้นอยู่กับพฤติกรรมการทำงานของพนักงาน นอกจากนี้แนวโน้มการเลือกสถานที่ทำงานตามลักษณะของเนื้องานก็ช่วยลดฟุตพรินท์ทางสิ่งแวดล้อม การใช้พลังงาน การปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ การสร้างขยะ และต้นทุนด้านสิ่งอำนวยความสะดวกได้อย่างมหาศาล   สำหรับ The Perfect PM ครอบคลุมถึงการกำหนดอัตราส่วนที่นั่ง การค้นหาคุณลักษณะที่เหมาะสมของสำนักงานที่ต้องการ ทำเลที่ดีเหมาะสม คำแนะนำและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับความยั่งยืน และผู้รับเหมาที่ไว้ใจได้เพื่อให้มั่นใจว่างานจะเสร็จทันเวลา   นอกจากนี้การเข้ามาของนวัตกรรม SMART จะช่วยเป็นที่ปรึกษาทางเทคโนโลยีให้ผู้เช่าวิเคราะห์ รายงาน และติดตามตรวจสอบข้อมูลของพื้นที่สำนักงานด้วยตนเอง ซึ่งจะช่วยประสิทธิภาพการทำงานและการผสานเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ากับกฏเกณฑ์ด้านดิจิทัลและสิ่งแวดล้อม ตลาดโรงแรมรับอานิสงค์การเปิดประเทศ นายคาร์ลอส มาร์ติเนซ ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยและที่ปรึกษา กล่าวว่าการเปิดประเทศทำให้อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของไทยฟื้นตัวเฉลี่ย 27% จากปี 2562 ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก 23% และคาดว่าในปี 2566 อุตสาหกรรมท่องเที่ยวจะฟื้นกลับมาได้ 70% เมื่อเทียบกับช่วงก่อนสถานการณ์โควิด-19 ที่มีตัวเลขนักท่องเที่ยว 40 ล้านคน สำหรับภาพรวมตลาดโรงแรมไทยในปี 2566 คาดว่าจะเป็นไปในเชิงบวกจากการยุติของโรคระบาด ความต้องการเดินทางของผู้คนที่อัดอั้นมานาน และการเติบโตของเศรษฐกิจที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 3-4%​ โดยจำนวนผู้เดินทางเข้าประเทศในเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์ 2566 อยู่ที่ 60% ของตัวเลขก่อนโควิด-19 และมีระดับการเข้าพักโรงแรม เฉลี่ยอยู่ที่ 72%​ เพิ่มขึ้นจาก 36% ในปี 2565   “คาดว่าจะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติ ประมาณ 28 ล้านคน ในจำนวนนี้เป็นนักท่องเที่ยว 7-8 ล้านคน แม้ว่าระดับการเข้าพักโรงแรมในปี 2566 จะยังไม่กลับมาเต็มร้อย แต่ราคาห้องพักก็อยู่ในระดับที่ใกล้เคียงหรือสูงกว่าช่วงก่อนหน้าโควิด-19 โดยโรงแรมที่ได้รับผลบวกนั้นจะครอบคลุมทั้งระดับบน โรงแรมขนาดกลาง  และขนาดเล็ก จากลูกค้ากลุ่มทัวร์ และนักท่องเที่ยวกลุ่มไมซ์ (MICE) ที่เข้ามาประชุมและจัดสัมมนา   สำหรับความท้าทายที่อุตสาหกรรมโรงแรมในปี 2566 ยังต้องเผชิญคือการขาดแคลนพนักงาน ซึ่งสมาคมโรงแรมไทยกำลังดำเนินมาตรการชั่วคราว เช่น การขอให้พนักงานทำงานควบตำแหน่งหรือเพิ่มชั่วโมงการทำงาน การจ้างพนักงานชั่วคราว และการเพิ่มค่าตอบแทน ส่วนมาตรการระยะยาวประกอบด้วยการรับนักศึกษาจบใหม่และการอนุญาตให้พนักงานต่างชาติทำงานในอุตสาหกรรมบริการ รวมถึงต้นทุนการก่อสร้าง การดำเนินงาน และการเงิน โลจิสติกส์ ไทย รุกบริการ Build-to-Suit ตลาดอสังหาฯ โลจิสติกส์ในครึ่งหลังของปี 2565 อุปทานรวมของคลังสินค้าแบบสร้างเสร็จพร้อมใช้อยู่ที่ 5.35 ล้าน ตร.ม. โดยอัตราค่าเช่ายังคงไม่เปลี่ยนแปลง โดยอยู่ที่ราคา 158.6 บาท ต่อ ตร.ม. ต่อเดือน ขณะที่ภาพรวมยังคงขยายตัวของอี-คอมเมิร์ซ และการเปิดประเทศอย่างเต็มรูปแบบ ซึ่งลูกค้าหลักที่เช่าพื้นที่ยังเป็นกลุ่มบริษัทโลจิสติกส์ ตามด้วยกลุ่มผู้เช่าจากธุรกิจเฉพาะทาง เช่น กลุ่ม FMCG และผู้ผลิตอุตสาหกรรม   นอกจากนี้แนวโน้มผู้ให้บริการคลังสินค้ากำลังหันไปให้บริการแบบทำพอดี (Built-to-Suit) แทนที่จะเป็นแบบคาดการณ์ล่วงหน้า (Speculative) เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้พื้นที่คลังสินค้าไร้ผู้เช่าเป็นเวลานาน กล่าวได้ว่าอนาคตของอสังหาริมทรัพย์โลจิสติกส์แบบพร้อมใช้งานจะยังคงสอดคล้องกับการเติบโตเฉลี่ยรายปี   ในด้านกระแสการใส่ใจ ESG (สิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล) และความยั่งยืน ของภาคธุรกิจ กำลังขยายตัวในภาคอุตสาหกรรมไทยเป็นอย่างมาก โดยคลังสินค้าบางแห่งเริ่มปรับตัวไปสู่ทิศทางนี้มากขึ้น เช่น เทคนิคการลดการไหลของน้ำ การเคลือบผิวหน้าตึกสองชั้น การระบายอากาศตามธรรมชาติ และการติดตั้งแผงพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคา เพื่อลดคาร์บอนฟุตพรินท์และต้นทุนการดำเนินงาน   อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง -ไนท์แฟรงค์ หวังเศรษฐกิจ-ท่องเที่ยว-จีนเปิดประเทศ กระตุ้นตลาดคอนโดภูเก็ตฟื้นตัว
[PR News] ไซมิส แอสเสท มั่นใจภายใน 3 ปี รายได้ทะลุ 10,000 ล้าน

[PR News] ไซมิส แอสเสท มั่นใจภายใน 3 ปี รายได้ทะลุ 10,000 ล้าน

ไซมิส แอสเสท วางเป้าหมายรายได้ 3 ปีข้างหน้า โดยปี 68 แตะระดับ 10,000 ล้าน เน้นสร้างสมดุลรายได้จากโครงการอสังหาฯ แนวราบ-แนวสูง พร้อมรายได้อื่น 10 - 15% ขณะที่ปีนี้ เตรียมพัฒนา 5 โครงการใหม่ เป็นแนวราบมูลค่ารวม 7,000 ล้านบาท และแนวสูง 1 โครงการ รูปแบบ Mixed Use  ตุน Backlog Forecast มูลค่ากว่า 6,500 ล้านบาท     นายขจรศิษฐ์ สิ่งสรรเสริญ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไซมิส แอสเสท จำกัด (มหาชน) (SA)  เปิดเผยว่า ได้วางแผนธุรกิจในปี 3 ปีข้างหน้า (2566-2568) จะมุ่งเน้นการสร้างความสมดุล ระหว่างรายได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์และรายได้จากธุรกิจอื่นที่เกี่ยวเนื่อง  ซึ่งเป็นการปรับโมเดลธุรกิจเพื่อบริหารจัดการความเสี่ยง และสร้างการเติบโตอย่างมั่นคง   โดยวางเป้าหมายการเติบโตทางธุรกิจในปี 2568 คาดว่าจะมีรายได้จากการขายโครงการอสังหาฯ ไม่น้อยกว่า 10,000 ล้านบาท โดยมาจากโครงการแนวราบ และโครงการแนวสูงในสัดส่วนที่เท่า ๆ กัน  และรายได้จากธุรกิจอื่นที่เกี่ยวเนื่องอีกประมาณ 1,700 ล้านบาท  ซึ่งคาดว่าภายใน 3 ปีนับจากนี้ ในส่วนรายได้ประจำ (Recurring Income) จะมีสัดสวน 10-15% ของรายได้รวม สำหรับปี 2566 มีแผนจะพัฒนาโครงการแนวราบจำนวน 4 โครงการใหม่ รวมมูลค่ากว่า 7,000 ล้านบาท ประกอบด้วย 1.Siamese Kin รามอินทรา (Phase 2) พัฒนาในรูปแบบของบ้านแฝดและทาวน์โฮม จำนวน 36 ยูนิต ราคา 6-10 ล้านบาท มูลค่าโครงการเฟส 2 ประมาณ 250 ล้านบาท 2.Siamese Holm พหลฯ-วิภาวดี พัฒนาในรูปแบบของบ้านเดี่ยว ราคา 8-12 ล้านบาท จำนวน 192  ยูนิต มูลค่าโครงการประมาณ 1,700 ล้านบาท 3.Siamese Blossom พหลฯ-วิภาวดี  พัฒนาในรูปแบบของบ้านแฝดและทาวน์โฮม ราคา 2-5 ล้านบาท จำนวน 445 ยูนิต มูลค่าโครงการประมาณ 1,700 ล้านบาท 4.Monsane ราชพฤกษ์ แจ้งวัฒนะ พัฒนาในรูปแบบของบ้านเดี่ยวระดับ Luxury ราคา 15—25 ล้านบาท จำนวน 175 ยูนิต มูลค่าโครงการประมาณ 3, 300 ล้านบาท ส่วนการพัฒนาโครงการแนวสูง มุ่งเน้นในรูปแบบ Mixed Use 3 โครงการ ทำเลใจกลางเมือง ซึ่งจะมีการจัดสรรพื้นที่บางส่วนของโครงการเป็นพื้นที่เช่าเชิงพาณิชย์ และเป็นห้องพักในรูปแบบโรงแรมหรือเซอร์วิสเรสซิเดนซ์ เพื่อกระจายแหล่งที่มาของรายได้ให้มีความหลากหลายขึ้น ทั้งนี้ มีแผนเปิดตัว โครงการ  โครงการ Wellness & Healthcare @ Talingchan และอีก 2 โครงการ มูลค่าโครงการรวมประมาณ 11,400 ล้านบาท   ขณะที่มีโครงการที่ก่อสร้างแล้วเสร็จ  (อยู่ระหว่างการโอนกรรมสิทธิ์) จำนวน 8 โครงการ มูลค่า 20,000 ล้านบาท และโครงการปัจจุบัน อยู่ระหว่างก่อสร้าง จำนวน 5 โครงการ มูลค่า 19,500 ล้านบาท  โดยปัจจุบันมียอดขายรอโอน (Backlog) มูลค่ากว่า 6,500 ล้านบาท ทยอยรับรู้รายได้ถึงปี 2568   อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง -ไซมิส แอสเสท ปั้นแบรนด์ใหม่ระดับลักชัวรี่ “เดอะ คอลเลคชั่น-THE COLLECTION”  -ไซมิส แอสเสท เปิดตัว คอนโดมิเนียมหรูไฮเอน ติด MRT ศูนย์สิริกิติ์ “ไซมิส เอ๊กซ์คลูซีพ ควีนส์”   
อีสเทอร์น สตาร์  เดินหน้าเปิด 4 โครงการใหม่  วางเป้ายอดขาย  3,100 ล้าน

อีสเทอร์น สตาร์ เดินหน้าเปิด 4 โครงการใหม่ วางเป้ายอดขาย 3,100 ล้าน

อีสเทอร์น สตาร์ อีสเทอร์น สตาร์ เปิดคอนโดใหม่ 3 โปรเจ็กต์ พร้อมบ้านเดี่ยวในพื้นที่อีอีซี รองรับความต้องการผู้ซื้ออยู่อาศัยจริง หลังเห็นสัญญาณการฟื้นตัว​ตั้งแต่ต้นปี 2566 คาดทำยอดขายรวมปีนี้แตะ 3,100 ล้านบาท ทำรายได้ 1,700 ล้าน   ดร.ต่อศักดิ์ เลิศศรีสกุลรัตน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท อีสเทอร์น สตาร์ เรียล เอสเตท จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า มีแผนพัฒนาโครงการในรูปแบบ บ้านเดี่ยว บนทำเล EEC พื้นที่ภาคตะวันออก และโครงการคอนโดมิเนียมในพื้นที่กรุงเทพฯ  ภายใต้แบรนด์ควินทารา (Quintara) 3 ทำเล ซึ่งเป็นโครงการซีรีส์ใหม่ "มาย" (MHy) ในทำเลใจกลางกรุงเทพฯ ประกอบด้วย 1.Quintara MHy’DEN โพธิ์นิมิตร 2.Quintara MHy’GEN รัชดา-ห้วยขวาง และ 3.Quintara MHy’ZEN พร้อมพงษ์  โดยกลุ่มเป้าหมายของโครงการ เป็นตลาดระดับ mid-high ซึ่งเป็นคน Gen Y มีไลฟ์สไตล์หลากหลาย ชอบความเป็นส่วนตัว และต้องการใช้พื้นที่ของตัวเองอย่างคุ้มค่า การดีไซน์ฟังก์ชันใช้สอยภายใน ยูนิตทุกขนาดต้องสะท้อนตัวตน ของผู้อยู่อาศัยได้ชัดเจนแบบคนยุคใหม่ ทันสมัยและเชื่อมต่อโลกภายนอก ด้วยเทคโนโลยี นอกจากนี้ รูปแบบการใช้ชีวิตวิถีใหม่ ที่อยู่อาศัยจึงต้องเป็นพื้นที่ รองรับกิจกรรมไลฟ์สไตล์ได้ทุกรูปแบบ เป็นได้ทั้งบ้าน ที่ทำงานและที่พักผ่อน การออกกำลังกายได้ ทำงานอดิเรกที่ชื่นชอบได้ ทำเลยังคงเป็นหัวใจสำคัญของการตัดสินใจซื้อ จุดนี้ถือเป็นความได้เปรียบของเราที่มีแลนด์แบงค์ในทำเลติดและใกล้รถไฟฟ้า ส่วนที่อยู่อาศัยแนวราบประเภทบ้านเดี่ยว ซึ่งบริษัทยังคงยึดหัวหาดทำเลพื้นที่ภาคตะวันออก จ.ระยอง โดยพัฒนาโครงการใหม่คือ โครงการบรีซ ชาเลต์ (Breeze Chalet) บ้านเดี่ยวสไตล์อังกฤษในทำเลบูรพาพัฒน์-สุขุมวิท โดยการเปิดตัวโครงการทั้งหมดในปีนี้ คาดว่าจะทำยอดขายได้รวม 3,100 ล้านบาท และทำรายได้ 1,700 ล้าน   สำหรับ โครงการ Quintara MHy’DEN โพธิ์นิมิตร คอนโดไฮไรส์ 40 ชั้น 628 ยูนิต เป็นอาคารสูงตัวแรกของทางแบรนด์ควินทารา ที่ดีไซน์ให้มีความหลากหลายของขนาดยูนิต ฟังก์ชันใช้สอยครบตอบโจทย์ทุกไลฟ์สไตล์คน Gen Y เปิดราคาเริ่มที่ 2.69 ล้านบาท โครงกร Quintara MHy’GEN รัชดา-ห้วยขวาง คอนโดโลวไรส์ 2 อาคาร 383 ยูนิต ตอบโจทย์คน Gen Y ที่ชอบสไตล์มินิมอล - น้อยแต่มาก ดีไซน์ยูนิตทุกขนาดพื้นที่จัดเต็มฟังก์ชันใช้สอยทั้งการอยู่อาศัย การทำงานจากที่บ้านและการพักผ่อน ราคาเริ่ม 2.09 ล้านบาท ส่วนโครงการ Quintara MHy’ZEN พร้อมพงษ์ คอนโดโลวไรส์ 2 อาคาร  276 ยูนิต ย่านพร้อมพงษ์ การเดินทางสะดวกสามารถไปทองหล่อ อโศก ได้อย่างง่ายดาย ครบครันด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกในบรรยากาศงานดีไซน์โครงการและพื้นที่ยูนิตซึ่งได้รับแรงบันดาลใจมาจากศิลปะการชงชาและการจัดสวนแบบญี่ปุ่น สะท้อนความงาม เรียบหรู สงบและเต็มอิ่มอยู่ภายใน ราคาเริ่ม 2.29 ล้านบาท รวมมูลค่าทั้งสามโครงการ 4,150 ล้านบาท    ดร.ต่อศักดิ์ กล่าวต่ออีกว่า คาดการณ์กำลังซื้อ กลุ่มที่ต้องการที่อยู่อาศัยจริงกำลังฟื้นตัว ผู้ซื้อเริ่มมีความมั่นใจ ในสภาพเศรษฐกิจมากขึ้น จะเห็นได้ว่ากิจกรรมทางเศรษฐกิจ ในทุกภาคส่วนกำลังกลับมาขับเคลื่อนได้เต็มรูปแบบ ส่งผลให้ตลาดที่อยู่อาศัยในปี 2566 มีทิศทางบวกเมื่อผนวกกับมาตรการรัฐ ที่สนับสนุนกำลังซื้อภาคอสังหาริมทรัพย์ ยิ่งมีส่วนกระตุ้นให้ภาคธุรกิจมีความคึกคัก ทั้งนี้ สภาพการแข่งขันในธุรกิจอสังหาฯ จะแข่งขันในอัตราเร่ง ที่อยู่อาศัยที่ยังเป็นซัพพลายเดิม จะถูกเร่งขายเร่งโอน ขณะที่ซัพพลายใหม่ เริ่มมีเข้าสู่ตลาดเพิ่มมากขึ้นต่อเนื่อง ตลาดใหญ่ยังคงเป็นตลาดระดับกลาง ที่มีกำลังซื้อและมีความต้องการที่อยู่อาศัยจริง โดยในปีที่ผ่านมาพบว่าตลาดที่อยู่อาศัย ที่ได้รับความนิยมคือ อาคารชุดที่ระดับราคา 3-5 ล้านบาท และบ้านเดี่ยวระดับราคา 5-10 ล้านบาท   อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง -อีสเทอร์น สตาร์เปิด 4 โครงการ 3,000 ล้าน ลุยตลาดอสังหาฯ ท่ามกลางปัจจัยลบ -ESTAR เปิด 5 โครงการ 6,000 ล้าน ชู “ควินทารา” เรือธงปั๊มรายได้
3 สมาคมมอสังหาฯ จัดมหกรรมบ้าน-คอนโด  ดึงแบงค์ร่วมกระตุ้นยอดขายสู่เป้า 6,000 ล้าน

3 สมาคมมอสังหาฯ จัดมหกรรมบ้าน-คอนโด ดึงแบงค์ร่วมกระตุ้นยอดขายสู่เป้า 6,000 ล้าน

3 สมาคมมอสังหาฯ ร่วมจัดงานมหกรรมบ้านและคอนโด ครั้งที่ 43 ดีเวลลอปเปอร์ออกบูธกว่า 1,000 โครงการ  พร้อมดึงแบงก์ใหญ่ร่วมออกงานกระตุ้นยอดขาย หวังเป้า 6,000 ล้าน   นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ในฐานะประธานเปิดงานมหกรรมบ้านและคอนโด ครั้งที่ 43 เปิดเผยว่า ที่อยู่อาศัยเป็นปัจจัยสี่ของทุกคน เป็นจุดเริ่มต้นของสังคมครอบครัว พื้นฐานหลักที่สำคัญของสังคมไทย หากครอบครัวมีที่อยู่อาศัย ชีวิตของสมาชิกครอบครัวก็จะมั่นคง คุณภาพชีวิตก็จะดีด้วย แต่การจะทำให้ทุกครอบครัวมีที่อยู่อาศัย ต้องมีความร่วมมือกันจากทุกฝ่าย ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชน นอกจากนี้ กทม.ได้กำหนดนโยบายด้านที่อยู่อาศัยและนโยบายอื่นที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ เพื่อเพิ่มโอกาสในการเป็นเจ้าของหรือมีที่อยู่อาศัยให้กับคนกรุงเทพมหานครในแต่ละกลุ่มไม่ว่าจะเป็นผู้มีรายได้น้อย กลุ่มคนที่เพิ่งเริ่มต้น กลุ่ม First Jobber และกลุ่มคนวัยทำงาน ซึ่งนโยบายสำคัญนี้สอดคล้องกับความวัตถุประสงค์ของการจัดงานมหกรรมบ้านและคอนโด คือ กทม. ต้องการเพิ่มโอกาสการมีที่อยู่อาศัยที่มั่นคง และหลากหลายรูปแบบให้กับคนกรุงเทพมหานคร​ผ่านแผนยุทธศาสตร์ที่อยู่อาศัย โดยจะทำการศึกษาถึงความต้องการของคนแต่ละกลุ่มว่าต้องการที่อยู่อาศัยรูปแบบใด โดยประสานขอความร่วมมือจากหน่วยงานกลางที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาที่อยู่อาศัย เช่น สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน การเคหะแห่งชาติ ในการพัฒนาที่อยู่อาศัย และจะทำการติดตามผลให้เป็นไปตามแผนยุทธศาสตร์ที่กำหนดไว้ โดยในส่วนกทม.เอง ก็จะดำเนินการกองทุนพัฒนาที่อยู่อาศัยกรุงเทพฯ ตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องกองทุนพัฒนาที่อยู่อาศัยกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2541 เพื่อเพิ่มโอกาสพัฒนาที่อยู่อาศัยที่มั่นคงให้กับคนกรุงเทพฯ อีกด้วย นอกจากนี้ กทม.ก็จะให้การสนับสนุนการพัฒนาที่อยู่อาศัยชั่วคราว สำหรับนักเรียนนักศึกษาจบใหม่ หรือกลุ่มคนที่เพิ่งเริ่มต้น และก้าวเข้ามาสู่การเป็น First Jobber เพื่อให้เช่าในราคาต่ำ เป็นระยะเวลา 5 ปี เพื่อให้สามารถตั้งตัวและเก็บเงินก้อนแรกได้ โดยจะใช้พื้นที่สำนักงานกรุงเทพมหานคร ที่กระจายตัวอยู่ในเขตกรุงเทพฯ ชั้นใน หลังจากที่ย้ายพนักงานส่วนใหญ่มาทำงานร่วมกันที่ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร 2 พร้อมทั้งปรับปรุงอาคารสงเคราะห์ข้าราชการและลูกจ้างประจำกรุงเทพฯ ให้มีความหนาแน่นมากขึ้น   พร้อมกับสิ่งอำนวยความสะดวกและพื้นที่ส่วนกลางคุณภาพ กรุงเทพมหานครยังจะจัดทำฐานข้อมูลที่ดินในพื้นที่กรุงเทพฯ ชั้นใน ร่วมกับผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์เอกชน หรือหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้นำอาคารเก่า หรือร้างที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ ไปพัฒนาเป็นที่อยู่อาศัยเพื่อคนวัยเริ่มทำงานได้เช่า โดยที่กรุงเทพมหานครจะออกมาตรการส่งเสริมด้านภาษี มาตรการส่งเสริมการพัฒนาด้วยการเพิ่มอัตราส่วนพื้นที่อาคารรวมต่อพื้นที่ดิน เพื่อสร้างแรงจูงใจในการพัฒนาที่อยู่อาศัย รวมทั้งจะช่วยประชาสัมพันธ์ ทำการรวบรวมยูนิตที่อยู่อาศัยชั่วคราวในทำเลต่างๆ และช่วยเหลือในการค้นหาและประสานงานการจัดหาที่อยู่อาศัยชั่วคราวให้กับกลุ่มเป้าหมาย ส่วนนโยบายสนับสนุนการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ด้านอื่น ๆ ก็ประกอบด้วยนโยบายสร้างเมืองใหม่ในพื้นที่ชานเมือง เพื่อเพิ่มแหล่งงานในย่านที่อยู่อาศัยชานเมือง และเร่งตัดถนนสายย่อยเชื่อมการเดินทาง ลดการเดินทางเข้ากรุงเทพฯชั้นใน พร้อมทั้งเร่งตัดถนนย่อยตามผังเมือง เพิ่มความคล่องตัวของการจราจรและโอกาสในการมีรถเมล์สายรอง   นอกจากนี้ ยังมีนโยบายเพิ่มรถเมล์สายหลักและสายรองราคาถูกตลอดสาย นโยบายสร้างจุดเชื่อมต่อการเดินทางเพื่อการเปลี่ยนถ่ายการเดินทางที่สะดวกสบายขึ้น นโยบายเพิ่มสถานีชาร์จและสลับแบตเตอรี เพื่อรองรับผู้ใช้รถไฟฟ้าที่มีจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทั้งหมดเป็นเพียงแค่บางส่วนของนโยบายด้านที่อยู่อาศัย และนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ที่ทางกรุงเทพมหานครมุ่งมั่นที่จะทำให้เกิดขึ้นจริง และเกิดขึ้นให้เร็วที่สุด เพื่อช่วยให้คนกรุงเทพฯ สามารถมีที่อยู่อาศัยที่มีคุณภาพเป็นของตัวเองให้ได้มากที่สุด ด้าน นพ.วิเชียร แพทยานันท์ ประธานคณะกรรมการจัดงานมหกรรมบ้านและคอนโด ครั้งที่ 43 กล่าวว่า  งานมหกรรมบ้านและคอนโด ครั้งที่ 43 นี้ จะมีบูธจากผู้ประกอบการมากกว่า 100 บริษัท รวมโครงการอสังหาฯ ทุกรูปแบบ ทุกราคา ทุกทำเล มานำเสนอแก่ผู้บริโภคมากกว่า 1,000 โครงการ ซึ่งหากคิดมูลค่าของโครงการทั้งหมดภายในงานแล้วจะมากถึง 3 แสนล้านบาท โดยที่สามสมาคมคาดว่าจะมีสัญญาจะซื้อจะขายเกิดขึ้นภายในงานครั้งนี้ ราว 1,500 สัญญา คิดเป็นมูลค่ารวมกว่า 6,000 ล้านบาท และยังมีแรงกระตุ้นต่อเนื่องให้เกิดการซื้อขายตามมาอีก 3 เดือน เป็นมูลค่ารวมประมาณ 9,000 ล้านบาท หรือ 1.5 เท่า เมื่อเทียบกับยอดภายในงานและหลังงาน จะทำให้ยอดขายในงานมหกรรมบ้านและคอนโดครั้งนี้ รวมกว่า 10,000 ล้านบาท   ด้วยความต่อเนื่องของการจัดงานที่ได้มาตรฐาน มีโครงการที่อยู่อาศัยจากหลากหลายรูปแบบมารวมกันในที่เดียว มียอดจองซื้อขายทั้งภายในงานและต่อเนื่องหลังงานถึงหลักหมื่นล้านบาท ทำให้งานมหกรรมบ้านและคอนโด เป็นหนึ่งในดัชนีชี้วัดการเติบโตของวงการอสังหาริมทรัพย์และของเศรษฐกิจโดยรวม อย่างไรก็ตามวัตถุประสงค์การจัดงานไม่เคยเปลี่ยนแปลง สามสมาคมยังคงมุ่งมั่นที่จะจัดงานนี้ขึ้นเพื่อเป็นเวทีช่วยให้คนไทยได้เป็น ‘เจ้าของที่อยู่อาศัย’ เป็นของตัวเองได้ ด้วยตระหนักถึงความสำคัญของการมีที่อยู่อาศัย ซึ่งเป็นทั้งหนึ่งในปัจจัยสี่ของชีวิตคน และเป็นจุดเริ่มต้นของสังคม   นพ.วิเชียร กล่าวต่อว่า ยิ่งปัจจุบันมีปัจจัยหลายอย่างที่ทำให้การมีบ้านเป็นของตัวเองไม่ใช่เรื่องง่าย ทางคณะกรรมการจัดงานจึงได้กำหนดแนวคิดการจัดงาน ที่ว่า “เรื่องเป็นอยู่ เป็นเรื่องง่าย” หรือ “Up Life by Live” เพื่อสื่อถึงความพยายามของสามสมาคมที่ต้องการช่วยให้ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงบ้านได้ง่ายยิ่งขึ้น ด้วยการเพิ่มกลไกทางการตลาดเข้าไปในงานฯ ที่ทำให้ผู้ที่ต้องการซื้อบ้านมีความหวังขึ้นอีกครั้งกับการยื่นกู้สินเชื่อให้ผ่าน โดยพยายามดึงพันธมิตรที่เป็นสถาบันการเงินเข้ามาร่วมให้คำปรึกษาด้านสินเชื่อกับคนที่มางานครั้งนี้   ความพยายามที่จะทำให้งานมหกรรมบ้านและคอนโดครั้งนี้ เป็นทั้งงานแสดงสินค้าอสังหาฯ ที่ใหญ่ที่สุด และยังเป็นงานรวมที่ปรึกษาด้านการเงินจากหลากหลายธนาคาร เพื่อช่วยผู้ที่กำลังจะซื้อบ้านให้เข้าถึงแหล่งสินเชื่อได้อย่างง่ายดาย โดยงานนี้จะทำหน้าที่เป็นสื่อกลางให้ผู้ซื้อ ผู้ประกอบการ และธนาคารได้มาเจอกัน ภายในพื้นที่ที่จัดขึ้นเป็นพิเศษ ที่ชื่อว่า Financial Advisory Zone ซึ่งผู้ซื้อสามารถเลือกซื้อบ้านที่ถูกใจ และยื่นขอสินเชื่อได้เลยทันทีที่โซนนี้โดยเจ้าหน้าที่ธนาคารก็จะทำการตรวจสอบเอกสารและประเมินความสามารถในการผ่อนชำระของผู้ซื้อ พร้อมกับหาโซลูชั่นที่ดีที่สุดให้กับผู้ซื้อได้ในทันที   บริการ Financial Advisory นี้ จะช่วยเพิ่มโอกาสในการยื่นกู้ผ่านให้กับคนที่อยากมีบ้าน ช่วยผู้ประกอบการได้ขายสินค้าที่อยู่อาศัยที่มีอยู่ และช่วยธนาคารคัดกรองกลุ่มลูกค้าคุณภาพ สามารถประเมินความสามารถผ่อนชำระของผู้กู้ได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น ช่วยลดอัตราการเกิด NPL เรียกว่า Win กันทุกฝ่าย   สำหรับงานมหกรรมบ้านและคอนโด ครั้งที่ 43 จะมีขึ้นระหว่าง 23 – 26 มีนาคม 2566 ที่ฮอลล์ 5 ชั้น LG ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ในส่วนของโปรโมชั่นสำหรับผู้จองซื้อที่อยู่อาศัยภายในงานมหกรรมบ้านและคอนโด ครั้งที่ 43 จะได้สิทธิ์ลุ้นรับโทรทัศน์ Panasonic รุ่น TH-65 LX650T เครื่องละ 23,990 บาท และรุ่น TH-55 LX650T เครื่องละ17,490 บาท รวมมูลค่าของรางวัลเกือบ 3 แสนบาท   อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง -[PR News] “การเคหะแห่งชาติ” ผนึกกำลัง 14 หน่วยงาน เดินหน้า “ศูนย์ข้อมูลที่อยู่อาศัยแห่งชาติ”
สิงห์ เอสเตท  เปิด 5 โครงการที่อยู่อาศัยหมื่นล้าน  ขายบ้านอัลตร้า ลักชัวรี่ หลังละ 550 ล้าน

สิงห์ เอสเตท เปิด 5 โครงการที่อยู่อาศัยหมื่นล้าน ขายบ้านอัลตร้า ลักชัวรี่ หลังละ 550 ล้าน

สิงห์ เอสเตท เดินหน้าลุยตลาดบ้านเดี่ยวระดับลักชัวรี่ เปิดราคาขายตั้งแต่ 20 ล้านถึงกว่า 550 ล้านบาท หลังจัดทัพธุรกิจใหม่  มั่นใจธุรกิจที่อยู่อาศัยโต 70% ทำรายได้กว่า 4,000-5,000 ล้าน   หลังจาก "สิงห์ เอสเตท" บริษัทอสังหาริมทรัพย์ของกลุ่มเบียร์สิงห์ มีการปรับกลยุทธ์การทำธุรกิจตั้งแต่ปี  2564 ด้วยการขายเงินลงทุนสัดส่วน 51% ในบริษัท เนอวานา ไดอิ จำกัด (มหาชน) ในปี 2565 ก็เริ่มพัฒนาโครงการบ้านแนวราบโครงการแรก คือ โครงการศิรนินทร์ เรสซิเดนเซส ในช่วงปลายปี ส่วนปีนี้ ก็เริ่มหันกลับมาบุกตลาดอสังหาฯ แนวราบเพิ่มมากขึ้นอีกครั้ง โดยแผนการเปิดตัวโครงการในปี 2566 ยังคงพัฒนาบ้านในกลุ่มลักชัวรี่เหมือนเช่นเคย ซึ่งมี 4 กลุ่มหลัก คือ บ้านลักชัวรี่ ระดับราคา 20 ล้านบาทขี้นไป บ้านพรีเมียม ลักชัวรี่ ระดับราคา 30-50 ล้านบาท บ้านซุปเปอร์ ลักชัวรี่ บ้านระดับราคา 50-100 ล้านบาท บ้านอัลตร้า ลักชัวรี่ ระดับราคา 250 ล้านบาทขึ้นไป ตามแผนธุรกิจปี 2566 เตรียมเปิดโครงการที่อยู่อาศัยใหม่ 5 โครงการ รวมมูลค่า 10,000 ล้านบาท ซึ่งจะเป็นโครงการภายใต้แบรนด์ใหม่ 2 แบรนด์ ขณะเดียวกันจะมีโครงการที่เป็น ​Flgship Cluster Home Project ที่ขายบ้านระดับอัลตร้า ลักชัวรี่ ราคาเริ่มต้นหลังละ 550 ล้านบาท จำนวน 2 โครงการ   นางฐิติมา รุ่งขวัญศิริโรจน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท สิงห์ เอสเตท จำกัด (มหาชน) หรือ S  เปิดเผยว่า กลุ่มธุรกิจอสังริมทรัพย์ในปีนี้ ตั้งเป้าหมายเติบโต 70% หรือมีรายได้ 4,000-5,000 ล้านบาท โดยหลังจากที่ปิดโครงการสันติบุรีแล้ว ในปีนี้จะเป็นโครงการในคอนเซ็ปต์เดียวกันอีก  2 โครงการ ในรูปแบบ ​​Flgship Cluster Home Project สำหรับโครงการรูปแบบ Flgship Cluster Home Project มีข้อดี คือ สามารถพัฒนาได้บนที่ดินขนาดเล็กไม่เกิน 10 ไร่ มีจำนน 8-9 ยูนิต ในย่านใจกลลางธุรกิจ ซึ่งจะขายที่ดินก่อนการก่อสร้างบ้าน ทำให้สามารถปิดการขายได้เร็ว แลรับรู้รายได้ได้เร็ว โดยโครงการรูปแบบ ​Flgship Cluster Home Project โครงการแรกจะพัฒนาบริเวณซอยสุขุมวิท49 บนเนื้อที่ประมาณ 2 ไร่จำนวน 2 ยูนิต เตรียมเปิดตัวช่วงกลางปีนี้ ส่วนโครงการที่เหลือจะเปิดตัวช่วงปลายปี   นางฐิติมา กล่าวอีกว่า  ในปี 2566 เป็นปีที่สำคัญมากของสิงห์ เอสเตท ในการสร้างการเติบโต ด้วยการใช้กลยุทธ์ “S EXCELS” คือการสร้างความเป็นเลิศในทุกมิติ ประกอบด้วย   มิติแรก คือ ผลการดำเนินงานที่เป็นเลิศ ดันเป้ากำไรสู่ All-time High ในทุกพอร์ตธุรกิจ โดยปีนี้จะสามารถสร้างรายได้รวมของบริษัทให้เติบโตขึ้นสูงถึง 34% หรือมีมูลค่าแตะ 16,700 ล้านบาท   มิติที่สองคือ การเพิ่มแต้มต่อธุรกิจ เสริมแกร่งศักยภาพในการแข่งขัน เน้นการสร้าง Synergy ที่เกื้อหนุนกันระหว่าง 4 ธุรกิจ และความร่วมมือกับพันธมิตรชั้นนำ เพื่อสร้างการเติบโตเฉลี่ยปีละ 20% ตลอด 3 ปี   มิติที่สามคือ การพัฒนาอย่างยั่งยืน บริษัทฯ ตั้งเป้าบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอนในปี 2573 และกำหนดแผนอนุรักษ์ในพื้นที่ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพในบริเวณธุรกิจตั้งอยู่ ทั้งนี้ ปี 2565 ที่ผ่านมาบริษัทฯ สร้างรายได้ 1 2,500 ล้านบาท หรือเติบโตขึ้นจากปีก่อนประมาณ 62% โดยมีปัจจัยหลายประการที่ช่วยเกื้อหนุนการเติบโต ไม่ว่าจะเป็นยอดจองและยอดโอนกรรมสิทธิ์  ของโครงการศิรนินทร์ เรสซิเดนเซส ซึ่งสูงถึง 77% และ 30% ตามลำดับ นับเป็นความสำเร็จอย่างงดงามที่เกิดขึ้นเพียง 1 ปี หลังปรับโครงสร้างธุรกิจและรุกเข้าสู่การพัฒนาบ้านแนวราบอย่างเต็มตัว   ธุรกิจโรงแรมภายใต้การบริหารงานของ SHR สามารถทำรายได้ทะลุเป้าหมายอยู่ที่ 8,700 ล้านบาท ขึ้นแท่นผู้ประกอบการโรงแรมในไทยที่มีรายได้สูงสุดเป็นอันดับ 2 ของประเทศ ด้วยความแข็งแกร่งของกลยุทธ์ผนวกกับแรงหนุนจากการเปิดประเทศ ส่งผลให้อัตราค่าห้องพักเฉลี่ยรายวัน (Average Daily Rate: ADR) ปรับเพิ่มขึ้นได้กว่า28% จากปีก่อนหน้า   กลุ่มธุรกิจอาคารสำนักงานมีสัญญาณฟื้นตัวอย่างมีนัยสำคัญ มีอัตราการเช่าพื้นที่ (Occupancy) ที่ไต่ระดับสูงขึ้นขณะที่ธุรกิจนิคมอุตสาหกรรมมีรายได้จากการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินในปีก่อนได้กว่า 77 ไร่
เอสโฮเทล แอนด์ รีสอร์ท  กางแผนธุรกิจปี 66  ชู 3 กลยุทธ์สู่รายได้หมื่นล้าน

เอสโฮเทล แอนด์ รีสอร์ท กางแผนธุรกิจปี 66 ชู 3 กลยุทธ์สู่รายได้หมื่นล้าน

เอสโฮเทล แอนด์ รีสอร์ท กางแผนธุรกิจ ชู 3 กลยุทธ์ สร้างรายได้กว่า 10,000 ล้าน โต 20% หลังรายได้ปี 2565 ทะลุเป้าที่ 8,700 ล้านบาท ด้วยกลยุทธ์สร้างความหลากหลายที่สมดุลเพื่อการเติบโตที่ยั่งยืน และมีสถานะทางการเงินที่แข็งแกร่งผนวกกับแรงหนุนจากการเปิดประเทศฟื้นการท่องเที่ยว     นายเดิร์ก เดอ คุยเปอร์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอส โฮเทล แอนด์ รีสอร์ท จำกัด (มหาชน)  เปิดเผยถึงทิศทางการดำเนินธุรกิจในปี 2566 ว่า หลังจากเห็นสัญญาณการฟื้นตัวของธุรกิจด้านการท่องเที่ยว และแนวทางการดำเนินธุรกิจในปีนี้ ทำให้บริษัทตั้งเป้าหมายรายได้ มากกว่า 10,000 ล้านบาท เติบโต 20% จากปีที่ผ่านมาทำรายได้ 8,700 ล้านบาท และจะทำกำไรอย่างต่อเนื่อง จากปีท่ผ่านมามีกำไร 14 ล้านบาท และเป้าหมายอัตราเข้าพักเฉลี่ย 75% จากปีที่ผ่านมามีอัตราเข้าพักเฉลี่ย 60%   การกลับมาของนักท่องเที่ยวจากทั่วโลก หลังการยกเลิกข้อจำกัดในการเดินทางระหว่างประเทศ ทำให้อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง  ผนวกกับกลยุทธ์ผลักดันธุรกิจ และเครือข่ายช่องทางการจัดจำหน่ายที่แข็งแกร่งของบริษัท ทำให้สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวที่หลากหลายมากขึ้นจากทั่วทุกมุมโลก ซึ่งเป็นแรงหนุนสำคัญที่ทำให้ธุรกิจของ SHR เติบโตได้เต็มอัตรา และมีผลการดำเนินงานที่ขยายตัวสูงสุดเป็นประวัติการณ์ของโรงแรมในหลายประเทศ   โดย SHR สามารถปรับค่าห้องพักเฉลี่ยต่อคืน หรือ ADR ในระดับที่สูงขึ้นกว่าช่วงก่อนเกิดการระบาดของโควิด-19 และเป็นระดับที่สูงที่สุดมาตั้งแต่เปิดให้บริการมาอีกด้วย เสริมทัพด้วยการฟื้นตัวของโรงแรมในประเทศไทยที่เติบโตอย่างก้าวกระโดดในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2565  ส่งผลให้ SHR กวาดรายได้เกินกว่าเป้าหมายที่วางเอาไว้ สู่ 8,700 ล้านบาท ก้าวขึ้นแท่นผู้ประกอบธุรกิจบริหารจัดการโรงแรมของไทยที่ทำรายได้สูงสุดเป็นอันดับ 2 ในปีที่ผ่านมา   นอกจากนั้นแล้ว บริษัทได้รับการยกย่องให้บรรจุอยู่ใน “รายชื่อหุ้นยั่งยืน” ประจำปี 2565 ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) พร้อมคะแนนจากการประเมินการกำกับดูแลกิจการในระดับ “ดีเลิศ” (5 ดาว) จากสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ตอกย้ำความมุ่งมั่นในการดำเนินธุรกิจที่เติบโตอย่างยั่งยืนพร้อมรักษาความสมดุลต่อสิ่งแวดล้อมและสร้างสังคมที่มีคุณภาพ 3 กลยุทธ์สร้างรายได้กว่า 10,000 ล้าน ปี 2566 เป็นปีแห่งการผลักดันผลประกอบการให้เติบโตโดนเด่น พร้อมใช้กลยุทธ์เสริมจุดแข็งธุรกิจ และการขยายช่องทางการขายเพื่อดึงดูดลูกค้าที่หลากหลายจากทุกมุมโลก  ซึ่งทิศทางการขับเคลื่อนธุรกิจของ SHR ในปี 2566 จะรองรับการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวได้อย่างเต็มศักยภาพ โดยบริษัทฯ ตั้งเป้าครองตำแหน่งผู้ประกอบธุรกิจบริหารจัดการโรงแรมรายได้สูงสุดเป็นอันดับ 2 ของไทยอย่างต่อเนื่อง   โดยแผนการดำเนินงานที่จะผลักดันให้รายได้บริษัทฯ สามารถขยายตัวได้ตามเป้าหมายนั้น มาจากจุดแข็งของ SHR ในด้านความหลากหลายของพอร์ตโฟลิโอ (diversified portfolio) สามารถดึงดูดลูกค้าได้หลากหลายกลุ่มจากทั่วโลก โดยหลังการเปิดประเทศอย่างสมบูรณ์ คาดว่า โรงแรมเครือที่ประเทศไทยทั้ง 4 แห่งจะเป็นฟันเฟืองหลักในการผลักดันการเติบโตของปี 2566 นี้ ซึ่งตั้งเป้าการเติบโตของรายได้ประมาณ 60% จากปีก่อนหน้า (YoY) คิดเป็นอัตราส่วน 16% ของรายได้รวมของบริษัทฯ ในขณะที่รายได้จากโรงแรมในมัลดีฟส์และสหราชอาณาจักรจะเติบโตขึ้น 30% และ 10% จากปีก่อน (YoY) คิดเป็นอัตราส่วน 31% และ 36% ตามลำดับ สำหรับแนวทางการสร้างการเติบโตดังกล่าว บริษัทวาง 3 กลยุทธ์ที่สำคัญ คือ 1.Asset Rotation & Enhancement การหมุนเวียนและต่อยอดการลงทุนสินทรัพย์ (Asset Rotation & Enhancement) โดย SHR จะทำการขายสินทรัพย์ที่มีการเติบโตจนเต็มมูลค่าแล้วเพื่อนำรายได้จากการขายผนวกกับการลงทุนเพิ่มเติมอีกราว 16 ล้านปอนด์ ไปพัฒนาสินทรัพย์ศักยภาพสูงที่สามารถสร้างการเติบโตต่อไปได้ในอนาคต โดยกลุ่มโรงแรมที่บริษัทฯ ให้ความสำคัญเป็นอันดับต้นๆ คือธุรกิจในสหราชอาณาจักร ซึ่งจะทำให้สามารถปรับขึ้นอัตรา ADR ได้  โดยเฉลี่ยอยู่ที่ 90 ปอนด์ หรือเพิ่มขึ้นราว 10% เมื่อเทียบกับปี 2565 สำหรับสินทรัพย์อื่นๆ ที่อยู่ในแผนการปรับปรุงและพัฒนาของบริษัทฯ นั้น ยังรวมถึงโครงการครอสโรดส์ มัลดีฟส์ ซึ่งได้ดำเนินการพัฒนาปรับปรุงห้องพัก (Product Enhancement) ในเฟสแรกเสร็จสมบูรณ์เป็นที่เรียบร้อยแล้วเมื่อเดือนธันวาคมปี 2565 และในปีนี้ได้มีการพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวก เช่น แกลลอรี่ท้องถิ่น คาเฟ่พร้อมเทคโนโลยีโลกเสมือนจริง (Virtual Reality Café) หรือท่าจอดเรือ super yacht ขนาดใหญ่ เป็นต้น เพื่อเสริมสร้างประสบการณ์ที่หลากหลายและน่าประทับใจ (Memorable Experience)   นอกจากนี้ ยังเตรียมเดินหน้าพัฒนาโครงการต่อ ณ ทราย รีสอร์ทสองแห่งในไทย  ได้แก่ ทราย พีพี ไอส์แลนด์ วิลเลจ (SAii Phi Phi Island Village) และ ทราย ลากูน่า ภูเก็ต (SAii Laguna Phuket) มีแผนที่จะปรับปรุงตั้งแต่ปี 2566 ไปจนถึงปี 2567 ขณะที่ โรงแรม เอาท์ริกเกอร์ ฟิจิ บีช รีสอร์ท (Outrigger Fiji Beach Resort) เริ่มแผนการปรับปรุงแล้วตั้งแต่เดือนตุลาคม 2565 และคาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2566 นี้ เพื่อรองรับเทศกาลแห่งการท่องเที่ยวที่จะเกิดขึ้นในช่วงปลายปี ด้วยแผนทั้งหมดภายใต้งบลงทุนประมาณ 1,000-1,500 ล้านบาท เราคาดว่าจะช่วยให้เราสามารถบรรลุแผนในการปรับอัตราค่าห้องพักสำหรับห้องที่ทำการปรับปรุงขึ้นได้อีกราว 15-40% 2,Merger and Acquisition SHR ยังมีการวางงบลงทุนเพื่อซื้อและควบรวมกิจการ (Merger and Acquisition) ตลอดระยะเวลา 3 ปีข้างหน้า อยู่ที่ประมาณ 7,500 ล้านบาท โดยยังคงพุ่งเป้าไปที่จุดหมายปลายทางด้านการท่องเที่ยว (Leisure Destination) เพื่อสร้างความหลากหลายให้แก่พอร์ต SHR ที่มีศักยภาพและสร้างความเติบโตที่ยั่งยืนในด้านรายได้และยังสามารถลดความผันผวนทางฤดูกาล (Seasonal Effect) ของโรงแรมในเครือได้อีกด้วย โดยเบื้องต้นยังคงทำการศึกษาสินทรัพย์ในแถบชายฝั่งทะเลเอเชียและแปซิฟิก รวมถึงประเทศไทย ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และมหาสมุทรอินเดีย 3.Asset Light ขณะเดียวกัน SHR ยังมีแผนที่จะขยายกิจการด้วยโมเดลธุรกิจแบบ Asset Light ซึ่งจะเป็นการเสริมความแข็งแกร่งให้กับธุรกิจอีกทางหนึ่ง โดยได้มีการพัฒนาร่วมทุนกับพันธมิตร อาทิเช่น SO/ Maldives ไลฟ์สไตล์สุดทันสมัยในโครงการแหล่งท่องเที่ยวระดับโลก ที่พร้อมจะเปิดตัวโครงการราวไตรมาส 4 ปีนี้ ลุยดิจิทัลเพิ่มอัตราเข้าพัก นอกจากนี้ SHR ยังเล็งเห็นความสำคัญของการนำดิจิทัลแพลตฟอร์มเข้ามาใช้เพื่อเสริมประสิทธิภาพในการกำหนดราคาห้องพักของโรงแรมในเครือให้เหมาะสมตามฤดูกาลและตอบสนองความต้องการแบบเรียลไทม์ สามารถบริหารจัดการรายได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงการทำกิจกรรมทางการตลาดออนไลน์เจาะกลุ่มตลาดที่หลากหลายเพื่อเพิ่มอัตราการจองห้องพักโดยตรง (Direct booking) และสามารถผลักดันค่าห้องพักเฉลี่ยต่อคืน (ADR) ในระดับที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง   โดยปีนี้เราคาดว่าอัตราการเข้าพัก (Occupancy Rate) ของโรงแรมในเครือทั้งหมดจะอยู่ที่ประมาณ 75% เมื่อเทียบกับผลประกอบการในปี 2565 ซึ่ง SHR สามารถรายงานผลกำไรที่พลิกกลับมาเป็นบวกได้สำเร็จ จากอัตราการเข้าพักที่ระดับเพียง 60% ดังนั้น เราเชื่อมั่นเป็นอย่างยิ่งว่า ณ ระดับการเข้าพักเป้าหมายที่ระดับ 75% นี้ จะเป็นตัวขับเคลื่อนผลกำไรของ SHR ในปี 2566 ให้เติบโตอย่างมีนัยสำคัญ เพื่อสร้างฐานกำไรใหม่ให้กับ SHR สำหรับรองรับการขยายการเติบโตในอนาคต เดินหน้าสร้างคุณค่า-ความยั่งยืน SHR ได้รับนโยบายการพัฒนาอย่างยั่งยืนจากสิงห์ เอสเตท ด้วยวิสัยทัศน์ sustainable diversity สร้างความหลากหลายที่สมดุล เพื่อการเติบโตที่ยั่งยืน ลดผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมจากกระบวนการตลอดห่วงโซ่ธุรกิจ (supply chain) ในทุกมิติ โดยเฉพาะตั้งเป้าลดคาร์บอน (Decarbonization) และทดแทนการใช้พลังงานฟอสซิลด้วยพลังงานสะอาดในปีนี้ เราได้ดำเนินการติดตั้งแผงโซลาร์ เซลล์ บนหลังคาของโรงแรมในเครือของ SHR ในประเทศไทยและมัลดีฟส์ รวมพื้นที่กว่า 10,000 ตารางเมตร ที่สามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าได้ราว 2.8 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมงต่อปี ทำให้เราสามารถบริหารต้นทุนทางพลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย” นายเดิร์ก กล่าว   ที่ผ่านมา SHR เป็นที่ยอมรับในฐานะผู้ประกอบการโรงแรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และส่งเสริมความหลากหลายทางชีวภาพ โดยได้รับการรับรองจากประกาศนียบัตร Green Globe ซึ่งถือเป็นมาตรฐานสูงสุดระดับโลกสำหรับผู้ให้บริการด้านการท่องเที่ยวและการบริการที่ยั่งยืน โดยบริษัทฯ ให้ความสำคัญในการผสมผสานการเรียนรู้ด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมร่วมกับประสบการณ์ที่เป็นเอกลักษณ์ เช่น กิจกรรมให้ความรู้ด้านการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพทางทะเล ที่ศูนย์การเรียนรู้ทางทะเล เช่น โครงการเพาะพันธุ์ปะการัง โครงการอนุรักษ์ฉลามกบ เป็นต้น และในปี 2566 นี้จะพัฒนาโครงการ   อนุรักษ์สัตว์ทะเลหายากร่วมกับ IUCN ที่โครงการครอสโรดส์ มัลดีฟส์ และร่วมกับมูลนิธิโลกสีเขียวที่โครงการอนุรักษ์ป่าโกงกางในบริเวณอุทยานแห่งชาติของหาดนพรัตน์ธารา-หมู่เกาะพีพี นอกจากนี้ยังสนับสนุนชุมชนท้องถิ่น รวมทั้งส่งเสริมวัฒนธรรมพื้นบ้านซึ่งจะนำมาประยุกต์ร่วมกับการบริการของโรงแรมในรูปแบบต่างๆ เพื่อสร้างประสบการณ์ที่มีคุณค่าแก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่ม   อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง -สิงห์ เอสเตท จับมือ ฮาร์ด ร็อค ผุดธีม โฮเทล ในโปรเจกต์ยักษ์ที่มัลดีฟส์
ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้  วาง 3 แผนงานสร้างการโตไม่สิ้นสุด  จับเมกะเทรนด์ลุยธุรกิจทั่วไทย

ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ วาง 3 แผนงานสร้างการโตไม่สิ้นสุด จับเมกะเทรนด์ลุยธุรกิจทั่วไทย

ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ ยกทัพ 5 ผู้บริหารบริษัทในเครือ ประกาศทิศทางธุรกิจปี 2566 “Origin Infinity” สู่เส้นทาง Well-Being Lifetime Company สร้างการเติบโตและดูแลบริโภคแบบไม่สิ้นสุด เปิดตัวโครงการบ้าน-คอนโดใหม่ 42 โครงการ มูลค่าโครงการ 50,000 ล้าน โรงแรม-อาคารสำนักงาน-มิกซ์ยูส มูลค่า REIT ประมาณการ 25,500 ล้าน โครงการโลจิสติกส์และคลังสินค้าอีก 4,500 ล้าน ครอบคลุมทุกเซ็กเมนท์ กระจายตัวใน 13 จังหวัดทั่วประเทศ     นายพีระพงศ์ จรูญเอก ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) หรือ ORI ผู้พัฒนาธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ครบวงจร  พร้อมทีมผู้บริหารระดับสูงของกลุ่มธุรกิจออริจิ้นร่วมกันแถลงแผนธุรกิจปี 2566 ที่ปีนี้ มาในแนวคิด “Origin Infinity” สร้างการเติบโตและการดูแลผู้บริโภคแบบไม่สิ้นสุด พัฒนาเครือออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ให้กลายเป็น Well-Being Lifetime Company หรือองค์กรที่มีธุรกิจครอบคลุมการดูแลผู้บริโภคตลอดช่วงชีวิต ซึ่งมีทีมผู้บริหารร่วมแถลงข่าวครั้งนี้ ได้แก่ นายอภิสิทธิ์ สุนทรชูเกียรติ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ออริจิ้น คอนโดมิเนียม จำกัด แกลุ่มธุรกิจสมาร์ทคอนโดมิเนียม นายปิติ จารุกำจร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท วัน ออริจิ้น จำกัด กลุ่มธุรกิจที่สร้างรายได้ประจำ (Recurring Income Business) ผศ.นพ.ชวกิจ ภูมิบุญชู ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ออริจิ้น เฮลท์แคร์ จำกัด  กลุ่มธุรกิจบริการด้านสุขภาพ นายปธาน สมบูรณสิน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอลฟา อินดัสเทรียล โซลูชั่น จำกัด กลุ่มโลจิสติกส์และคลังสินค้า (Logistics & Warehouse) ​ ออริจิ้น กับ 3 แผนงาน Origin Infinity สำหรับแผนงาน Origin Infinity ประกอบด้วยการขับเคลื่อน 3 ด้านหลัก ได้แก่ 1.การขยายสินค้าและบริการให้ครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศ (Nationwide Serve) ยกทัพธุรกิจในเครือกระจายสู่ต่างจังหวัดเพื่อพัฒนาการใช้ชีวิตที่ดีขึ้น (Better Living) ให้แก่คนในพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศ เริ่มจากกลุ่มธุรกิจพัฒนาที่อยู่อาศัยเพื่อการขาย เตรียมเปิดตัวโครงการใหม่แบบ All Time High รวมทั้งสิ้น 42 โครงการ มูลค่าโครงการรวม 50,000 ล้านบาท ครอบคลุมพื้นที่ 13 จังหวัดทั่วประเทศ แบ่งเป็น โครงการคอนโดมิเนียม 22 โครงการ มูลค่าโครงการรวม 27,500 ล้านบาท โครงการบ้านจัดสรร 20 โครงการ มูลค่าโครงการรวม 22,500 ล้านบาท เริ่มพัฒนาโครงการโรงแรม อาคารสำนักงาน และศูนย์การค้าใหม่ในปีนี้ มูลค่า REIT ประมาณการรวม 25,500 ล้านบาท โครงการกลุ่มโลจิสติกส์และคลังสินค้า (Logistics & Warehouse) มูลค่า REIT ประมาณการรวม 4,500 ล้านบาท พร้อมทยอยนำธุรกิจที่เกี่ยวข้อง ทั้งธุรกิจบริการที่เกี่ยวข้องกับอสังหาริมทรัพย์ครบวงจรในเครือบริษัท พรีโม​ เซอร์วิส โซลูชั่น จำกัด (มหาชน) ธุรกิจบริการสุขภาพภายใต้ออริจิ้น เฮลท์แคร์ ไปให้บริการในต่างจังหวัดด้วย ไฮไลต์ของปีนี้ คือ การนำหลายแบรนด์ที่เราไม่ได้เปิดตัวมาระยะหนึ่ง กลับมาร่วมบุกตลาดเพื่อให้ครอบคลุมลูกค้าหลากเซ็กเมนท์และสอดคล้องกับสภาพความต้องการของตลาดในปีนี้ อาทิ แบรนด์ดิ ออริจิ้น กลับมาเจาะตลาดคอนโดมิเนียมเพื่อคน Gen Z และกลุ่มที่เพิ่งเริ่มต้นทำงานหรือ First Jobber  แบรนด์เบลกราเวีย กลับมาเจาะตลาดบ้านเดี่ยวลักชัวรีรองรับดีมานด์หลากทำเล ปีนี้จะมีการบุกไปยังจังหวัดใหม่ๆ ที่เราไม่เคยไปบุกมาก่อน รวมถึงมีโครงการไฮไลต์ เป็นโครงการมิกซ์ยูส กระจายตัวในหัวเมืองใหญ่หลายจังหวัด เช่น ภูเก็ต เชียงใหม่ ขอนแก่น โคราช ผสมผสานหลากหลายสูตร เช่น บ้าน คอนโด โรงแรม ศูนย์การค้า บริการสุขภาพ ต่อยอดความสำเร็จของการพัฒนาโครงการออริจิ้น ดิสทริค แหลมฉบัง-ศรีราชา และออริจิ้น สมาร์ท ซิตี้ ระยอง 2.การขยายจักรวาลธุรกิจใหม่ให้มีเส้นทางเติบโตอย่างต่อเนื่อง (Multiverse Expansion) มุ่งพัฒนาช่วงชีวิตที่ดีขึ้น (Better Lifetime) ต่อยอดจากแผน Origin Multiverse ในปี 2565 ด้วยการขยายธุรกิจนอกเหนือจากที่อยู่อาศัยให้มีเส้นทางการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ครอบคลุมการดูแลคนทุกเจเนอเรชั่น ทุกช่วงจังหวะของชีวิต ตั้งแต่ยังโสด เพิ่งแต่งงาน ครอบครัวขยายตัว จนเกษียณอายุ ทุกแพลตฟอร์ม ทั้งออฟไลน์และออนไลน์ นำพาบริษัทย่อยที่ดูแลธุรกิจใหม่ๆ เติบโตเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์อย่างต่อเนื่องปีละ 1 บริษัท หลังจากนำบริษัท บริทาเนีย จำกัด (มหาชน) หรือ BRI และบริษัท พรีโม เซอร์วิส โซลูชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ PRI เข้าตลาดได้แล้วในปี 2564 และ 2565 (ตามลำดับ) ตามแผนงาน ในปี 2566 มีแผนส่งบริษัท วัน ออริจิ้น จำกัด เป็นธุรกิจถัดไป ตามด้วยบริษัท แอลฟา อินดัสเทรียล โซลูชั่น จำกัด บริษัท ออริจิ้น เฮลท์แคร์ จำกัด และบริษัท ยูไนเต็ด โปรเจคต์  แมเนจเมนท์ จำกัด โดยวัน ออริจิ้น จะมีโครงการสร้างเสร็จใหม่ในปีนี้ทั้งโรงแรม อาคารสำนักงาน อย่างต่อเนื่อง ขณะที่กลุ่มเฮลท์แคร์จะเริ่มวางรากฐาน เปิดตัวธุรกิจใหม่ๆ อาทิ คลินิกทันตกรรม คลินิกความงาม คลินิกสัตว์เลี้ยง คลินิกเส้นผม กระจายตัวไปพร้อมกับโครงการที่อยู่อาศัยและมิกซ์ยูสเครือออริจิ้น โดยมีแผนเปิดสาขารวมทั้งหมด 25 แห่งในสิ้นปี 2566 3.การดูแลสังคม (Social Attention) ร่วมใส่ใจสังคมและสิ่งแวดล้อมในหลากหลายมิติ เพื่อสร้างสังคมที่ดีขึ้น (Better Society) ได้แก่ ด้านการพัฒนาบุคลากร (Talent Development) จับมือกับสถาบันการศึกษาต่างๆ สร้าง Origin Valley ร่วมกับสถาบันการศึกษานั้นๆ เพื่อเป็นพื้นที่พัฒนาทักษะคนรุ่นใหม่ให้มีความรู้ความสามารถที่ตรงกับความต้องการขององค์กรและตลาดแรงงาน รวมถึงแลกเปลี่ยนองค์ความรู้เพื่อพัฒนาบุคลากรในเครือออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ที่มีมากกว่า 3,000 คน ให้พร้อมเติบโตอย่างแข็งแกร่ง ด้านการพัฒนาชุมชน (Community Development) ดำเนินโครงการ Origin Give เพื่อสร้างโอกาสและส่งมอบสิ่งดีๆ แก่ชุมชน อาทิ การมอบทุนการศึกษา การมอบอุปกรณ์การแพทย์ การลงพื้นที่พัฒนาโรงเรียน ด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development) ร่วมเดินหน้าแผน Net-Zero Emission 2044 เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในทุกมิติ อาทิการออกแบบโครงการที่ประหยัดพลังงานและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การเลือกใช้วัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การลดปริมาณขยะ การลดใช้ไฟฟ้าทั้งในออฟฟิศและสำนักงานขาย การเริ่มติดตั้ง Solar Roof และ EV Charger ในโครงการใหม่ๆ จากแผนงาน Origin Infinity บริษัทเชื่อมั่นว่าจะช่วยสร้างการเติบโตที่แข็งแกร่งในทุกมิติ และเป็นการกระจายการเติบโตพร้อมรับมือทุกสภาวะเศรษฐกิจ ปี 2566 นี้ จึงตั้งเป้าหมายยอดขายโครงการ ที่อยู่อาศัยไว้ที่ 45,000 ล้านบาท และเป้ารายได้รวมอยู่ที่ 19,000 ล้านบาท หรือเป็นเป้าหมายเติบโต All Time High จากวิสัยทัศน์ของบริษัทที่ต้องการขยายอาณาจักรธุรกิจ ไม่ใช่เพียงกลุ่มธุรกิจพัฒนาที่อยู่อาศัย แต่ครอบคลุมถึงเมกะเทรนด์ และธุรกิจใหม่ๆ เพื่อให้สามารถครอบคลุมทุกมิติการยกระดับการใช้ชีวิตของผู้บริโภค   อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง -ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ โชว์ทุกผลงาน Q2/65 ทำ New High เล็งจ่ายปันผลระหว่างกาล หุ้นละ 0.15 บาท -“ออริจิ้น” ตุนยอดขายครึ่งปีแรก 51% ของเป้าทั้งปี เตรียมเปิดโครงการเพิ่มอีก 26,500 ล้าน
เอสซี แอสเสท เปิดแผนรายได้รวม 150,000 ล้าน การเติบโตด้วย 2 ENGINE ใน 5 ปี

เอสซี แอสเสท เปิดแผนรายได้รวม 150,000 ล้าน การเติบโตด้วย 2 ENGINE ใน 5 ปี

เอสซี แอสเสท มั่นใจโตเหนือชั้น เปิดแผนโรดแมป SC Thriving Beyond ตั้งเป้ารายได้ 5 ปี รวมมูลค่า 150,000 ลบ. ปี 2566 รุกเปิด 25 โครงการ รวมมูลค่า 40,000 ลบ. มุ่งสร้างคุณค่าสู่คนและโลก เพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน   บริษัท เอสซี แอสเสท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ SC ผู้นำการเป็น Living Solutions Provider คุณภาพสูง โดยนายณัฐพงศ์ คุณากรวงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เปิดวิสัยทัศน์การพัฒนาธุรกิจและองค์กร ปี 2566 - 2570 ตั้งเป้ารายได้ 5 ปี ทะยานสู่รายได้ 150,000 ล้านบาท ขับเคลื่อนบนยุทธศาสตร์ SC Thriving Beyond เติบโต อย่างมีคุณภาพ แบบเหนือชั้น และยั่งยืน  มุ่งสร้างคุณค่า สู่คนและโลก ดำเนินธุรกิจภายใต้ 4 แกนหลัก คือ ลูกค้า พนักงาน สิ่งแวดล้อม และองค์กร  ลูกค้า SC มุ่งมั่นส่งมอบสินค้าและบริการคุณภาพสูง พัฒนาสินค้าทั้งบ้านและคอนโด สรรหาและคิดค้นนวัตกรรม เพื่อตอบโจทย์ผู้อยู่อาศัยหลากหลายราคา รูปแบบการใช้ชีวิต และเจเนอเรชั่น เพื่อลูกค้ามีคุณภาพชีวิตที่ดี ไร้ความกังวลในการใช้ชีวิต   ปี 2566 มีแผนการเปิดโครงการใหม่รวม 25 โครงการ มูลค่ารวม 40,000 ล้านบาท โดยแบ่งเป็น โครงการแนวราบ: เปิดใหม่ 22 โครงการ รวมมูลค่า 30,000 ล้านบาท รักษาสถานะผู้นำในตลาดบ้านเดี่ยวคุณภาพสูง ด้วยไฮไลท์โปรดักส์ คือ #No1LuxuryHome ปีนี้ SC พร้อมเผยโฉม “95E1” (ไนน์-ตี้-ไฟว์-อีสต์-วัน) แบรนด์บ้านใหม่ในเซกเมนต์ Ultimate Luxury ราคาเริ่มต้นสูงสุดที่เคยเปิดขายมา ด้วยราคาเริ่มต้น 100 ล้านบาท จำนวนจำกัดเพียง 10 ยูนิต มูลค่าโครงการ 970 ล้านบาท #OneSizeDoesNotFitAll ด้วยการตอบรับอย่างดีมากของ “บ้านคนโสด” ปีนี้ SC ตอกย้ำความเป็นผู้นำตลาดเรื่องการพัฒนาบ้านที่ออกแบบเพื่อไลฟ์สไตล์ที่มีความเฉพาะบุคคลด้วยการเปิดตัว #บ้านเกมเมอร์ (Gamer’s Home) บ้านที่ร่วมออกแบบโดยเกมเมอร์ชื่อดัง Willcomeback และ MNJ TV เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของเจ้าของบ้านในสายอาชีพยุคใหม่มาแรง อย่าง Streamer หรือ Content Creator ทั้งหลาย พร้อมเปิดให้เข้าชมตั้งแต่วันที่ 20 มีนาคม 2566 ณ โครงการ Venue ID มอเตอร์เวย์-พระราม 9 ราคาเริ่มต้น 14.29 ล้านบาท และมีโครงการพัฒนาบ้านที่ออกแบบเฉพาะสำหรับคนที่มีไลฟ์สไตล์ Introvert และ Extrovert ในอนาคต  #SCHomesForAll สร้างบ้านตอบโจทย์ลูกค้าครอบคลุมทุกกลุ่มราคา ในปีนี้ SC จะมีสินค้าบ้านเปิดขายในราคาเริ่มต้นตั้งแต่ 2.5 ล้านบาท ไปจนถึงมากกว่า 150 ล้านบาท ด้วยการเปิดตัวบ้านซีรีส์ใหม่ของแต่ละ Sub-brand เพื่อลงแข่งขันครองความเป็นผู้นำบ้านเดี่ยว  โครงการแนวสูง: เปิดใหม่ 3 โครงการ รวมมูลค่า 10,000 ล้านบาท  ปีนี้ SC พร้อมลุยตลาดแนวสูง ส่ง 3 โครงการไฮไลท์ของปีลงแข่งขัน คือ เปิดตัวแบรนด์ใหม่ เจาะกลุ่มคนรุ่นใหม่ เน้นพัฒนาพื้นที่ส่วนกลางที่เป็นส่วนหนึ่งของ Living Solutions เพื่อประสบการณ์การพักอาศัยที่ดีขึ้น ในสังคมที่เน้นความยั่งยืน บน 2 ทำเลศักยภาพ ได้แก่ ย่านรัชดา-พระราม 9 ใกล้ MRT ศูนย์วัฒนธรรม มูลค่าโครงการ 5,500 ล้านบาท ราคาเริ่ม 2 ล้านต้น ซึ่งเป็น Segment ใหม่ของ SC ทำเลแห่งที่สองคือ เกษตร-ศรีปทุม ตรงข้ามมหาวิทยาลัยศรีปทุม ติดรถไฟฟ้า 0 เมตร มูลค่าโครงการ 1,400 ล้านบาท เน้นงานดีไซน์และการออกแบบพื้นที่ส่วนกลาง เพื่อคนเมือง รุ่นใหม่ คอนโด SCOPE ประสานมิตร เจาะกลุ่มลูกค้า International Premium ที่ให้ความสำคัญกับทั้งคุณภาพและดีไซน์  ในระดับ World-class  ใช้ชีวิตในแบบ "Live the Finest Life" หรือชีวิตที่สุขสบายและสวยงามพร้อมไปด้วยบริการระดับ Premium ราคาเริ่มต้น 35 ล้านบาท มูลค่าโครงการ 2,600 ล้านบาท นอกจากการมุ่งพัฒนาสินค้าบ้านและคอนโดมิเนียมคุณภาพสูงที่มีฟังก์ชั่นตอบโจทย์ผู้อยู่อาศัยแล้ว ตลอดหลายปีที่ผ่านมา SC ยังคงสานต่อการสรรหาและคิดค้นนวัตกรรมที่ใช้เทคโนโลยีในการส่งมอบ Living Solutions แก้ไขปัญหาชีวิตประจำวัน เพื่อลูกค้าจะได้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยแผนในปี 2566 คือ ติดตั้งชุดเทคโนโลยีเพื่อการอยู่อาศัยในบ้านและคอนโด ทั้งหมด 24 รายการ  ให้กับลูกค้า SC Asset ตามเป้าหมายคือไม่ต่ำกว่า 5,000 ครัวเรือนในปี 2566  เปิดตัว Morning Coin เชื่อมต่อลูกค้ากับโลกแห่งสิทธิพิเศษแบบเหนือชั้น ด้วยนวัตกรรม Blockchain โดยมีเป้าหมายเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สะดวกสบายมากขึ้น และมีความมั่นใจปลอดภัยในคอมมูนิตี้ที่ดีของ “รู้ใจคลับ” พร้อมใช้งานกลางปี 2566 นี้ พนักงาน พนักงาน SC เจริญก้าวหน้า ได้ทำงานที่สร้างคุณค่า ปลดปล่อยศักยภาพได้อย่างเต็มที่ SC ให้ความสำคัญกับการลงทุนในทรัพยากรบุคคลเสมอมา เพราะบุคลากรในองค์กร คือ หัวใจสำคัญที่จะทำให้องค์กรเติบโตได้อย่างยั่งยืน  โดย SC ลงทุนใน Infrastructure ต่าง ๆ เชื่อมต่อระบบฐานข้อมูลต่าง ๆ อย่างเป็นระบบ ทำให้ลดเวลาในการทำงาน เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน รองรับการเติบโตของธุรกิจ สร้างประสบการณ์ให้พนักงานมากกว่าแค่การทำงานรูปแบบเดิม ๆ มีการใช้ Morning Coin และระบบการสะสม NFTs ด้วยเทคโนโลยี Blockchain เพื่อคนทำงานได้พัฒนาตนเอง ปลดปล่อยศักยภาพของตัวเองได้อย่างเต็มที่ ทำงานอย่างมีคุณค่า มีความภาคภูมิใจพร้อมเติบโตไปกับองค์กร พร้อมใช้งานมีนาคมนี้  เปิดตัว “Inside SC” บอกเล่าเรื่องราวในองค์กรเพื่อการสรรหาบุคลากรที่มีศักยภาพมาร่วมงานกับ SC อย่างยั่งยืน คว้ารางวัลอันดับที่ 17 จาก 50 องค์กรที่ทำงานในฝัน โดยเป็นอันดับหนึ่ง ในบริษัทอสังหาฯ จัดโดย WorkVenture  สิ่งแวดล้อม SC ประกาศพันธกิจ #SCeroMission ดำเนินธุรกิจเพื่อดูแลให้สิ่งแวดล้อมดีขึ้น ก๊าซเรือนกระจกลดลง ตั้งแต่การออกแบบผลิตภัณฑ์ คิดค้นนวัตกรรม และการจับมือร่วมกับคู่ค้าชั้นนำ ที่มีแนวคิดในการมุ่งลดก๊าซเรือนกระจก ครอบคลุมตั้งแต่กระบวนการ ออกแบบ สร้าง ใช้ ตั้งแต่ต้นน้ำจนปลายน้ำ ภายใต้ 8 ภารกิจย่อย  SC ตั้งเป้าหมายลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 25% ภายในปี 2573   ตั้งแต่ปลายปี 2565 ได้มีการตั้งทีมพัฒนาการออกแบบ SC #บ้านLowCarbon ด้วยการทำการวิจัยจำลองการใช้พลังงานของบ้านพักอาศัย ร่วมกับคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง สาขาวิชาสถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อส่งมอบสินค้าที่อยู่อาศัยที่ลดการทำร้ายโลก ลดปริมาณการใช้พลังงาน ลดค่าใช้จ่าย เพื่อสุขภาพกายใจที่ดีขึ้นของลูกค้าในอนาคต องค์กร องค์กรเติบโต จากหลากหลายเครื่องยนต์ธุรกิจ ทั้งบนธุรกิจหลัก Engine1 และธุรกิจ Engine2 ที่สร้างรายได้อย่างต่อเนื่อง (Recurring Income) พร้อมตั้งเป้าเพิ่มการลงทุนอย่างต่อเนื่องทุกปี  สำหรับแผนธุรกิจในปี 2566 SC มีการตั้งเป้าหมายตัวเลขสำคัญต่างๆดังนี้ โตต่อเนื่องด้วยยอดขาย 30,000 ล้านบาท เติบโต 23% โดยแบ่งเป็น โครงการเพื่อขายแนวราบ 65% และโครงการเพื่อขายแนวสูง 35% สร้างรายได้รวม 25,000 ล้านบาท เติบโต 16% ทั้งจาก โครงการเพื่อขาย และธุรกิจที่สร้างรายได้ประจำ (Recurring Income) ในสัดส่วน 95 : 5 ตามลำดับ มูลค่าการลงทุนทั้งหมด 25,000 ล้านบาท โดยแบ่งสัดส่วนการลงทุน 80% โครงการเพื่อขายแนวราบ แนวสูง และ 20% ในธุรกิจที่สร้างรายได้ประจำ และเพื่อให้องค์กรเติบโตอย่างแข็งแกร่ง และยั่งยืน SC วางแผนเพิ่มการลงทุน และเริ่มดำเนินธุรกิจที่สร้างรายได้ต่อเนื่อง (Recurring Income) เปิดตัวโรงแรม YANH ราชวัตร รับนักท่องเที่ยวจากทั่วโลกภายใต้คอนเซ็ปต์ “Workcation Hotel” รองรับวิถี Remote Working ที่ยังเติบโตต่อเนื่อง โดยเฉพาะในประเทศไทยหลัง โควิด-19 พร้อมเปิดให้เข้าพักแล้วในเดือนมีนาคม 2566  พัฒนาแบรนด์โรงแรมใหม่ บนถนนสุขุมวิท 29 มูลค่าการลงทุน 2,500 ล้านบาท และยังมีแผนในการขยายธุรกิจโรงแรมในทำเลพัทยา เพื่อไปให้ถึงเป้ารวมจำนวน 1,000 keys ปัจจุบัน SC บริหารพื้นที่อาคารสำนักงานให้เช่า มีพื้นที่รวมกันถึง 120,000 ตร.ม.   หลังจากการประกาศความร่วมมือกับบริษัท Flash Express ไปเมื่อปี 2565 SC วางแผนขยายธุรกิจคลังสินค้าโดยตั้งเป้าหมายพัฒนาพื้นที่ Warehouse ให้ได้ 1,000,000 ตร.ม. ภายในปี 2573  SC Thriving Beyond คือเส้นทางการเติบโตอย่างยั่งยืนใน 5 ปีนี้ของ SC โดยหัวใจสำคัญ คือการสร้างคุณค่า เพื่อเติบโต “ร่วมกัน” ไปกับสิ่งแวดล้อม และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในธุรกิจของ SC คุณค่าจะกลับมาสร้างกำไรให้องค์กร และกำไรจะกลับไปสร้างคุณค่าให้ผู้คนรอบข้าง ต่อเนื่องอย่างยั่งยืน อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง -เอสซี แอสเสท ตุนยอดขาย 6 เดือนกว่า 11,500 ล้าน เตรียมเปิด 15 โปรเจ็กต์ใหม่ดันเป้ารายได้
เสนา ดีเวลลอปเม้นท์  ไม่ขายบ้าน-คอนโดอย่างเดียวแล้ว  เปิด 10 ธุรกิจใหม่ 3กลุ่ม โฮลดิ้ง

เสนา ดีเวลลอปเม้นท์ ไม่ขายบ้าน-คอนโดอย่างเดียวแล้ว เปิด 10 ธุรกิจใหม่ 3กลุ่ม โฮลดิ้ง

เสนา ดีเวลลอปเม้นท์ ประกาศมูฟเม้นต์ ปี 2023 ชูจุดยืนธุรกิจองค์กรภายใต้วิชั่นของการเป็น Sustainable Business ผ่านคีย์เวิร์ด “SENA Multiplied” เบิกทางลงทุนพัฒนาโครงการและขยายโอกาสทางธุรกิจใหม่ ด้วยมูลค่า 55,000 กว่าล้านบาท ปูทางสร้างรากฐานตามแบบ “Lifelong Trusted Partner” เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีทุกช่วงอายุ พร้อมรับความเปลี่ยนแปลงของโลก แจงแผนเปิด 26 โครงการ 24,000 ล้าน​ ตั้งเป้ายอดขาย 18,000 กว่าล้าน และยอดโอนรวม 16,500 ล้าน   ผศ.ดร.เกษรา ธัญลักษณ์ภาคย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เสนาดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยถึงภาพรวมธุรกิจและสิ่งที่คนทั่วโลกต้องเผชิญมีทั้งเรื่องภาวะเศรษฐกิจถดถอย (Economic Recession) เกิดจากหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นภาวะเงินเฟ้อ ราคาสินค้าแพงแต่รายได้เท่าเดิม และอัตราดอกเบี้ยปรับสูงขึ้น เป็นสิ่งที่ทุกคนต้องเจอไม่ต่างไปจากปีที่ผ่านมา ประกอบกับสถานการณ์โลกที่แปรปรวน และปัญหาสิ่งแวดล้อม (Climate Change) ถือเป็นความท้าทายหรือ Social Challenge ของภาคธุรกิจ ทั้งการบริหารสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน การบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อมและที่พักอาศัย ด้านสาธารณสุข รวมถึงปัญหาความเหลื่อมล้ำในสังคม ทำให้ทุกภาคธุรกิจให้ความสำคัญและผลักดันเป็นยุทธศาสตร์หลักเพื่อขับเคลื่อนธุรกิจบนแนวคิดสร้างความยั่งยืน (Sustainability) ให้กับสังคม   ด้วย Core Business SENA พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ประเภทที่อยู่อาศัยเพื่อขาย ได้แก่ บ้านเดี่ยว ทาวน์เฮ้าส์ อาคารพาณิชย์ ทาวน์โฮมและอาคารชุด ธุรกิจเช่า ได้แก่ อพาร์ทเม้นท์ให้เช่า ธุรกิจอาคารสำนักงาน ธุรกิจสนามกอล์ฟ ธุรกิจไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ธุรกิจบริหารงานนิติบุคคล ธุรกิจรับเหมาก่อสร้างที่พักอาศัย เป็นต้น วันนี้ SENA เรายกระดับ (ENHANCED) การพัฒนาโครงการบ้านติดโซลาร์สู่การพัฒนาบ้านพลังงานเป็นศูนย์ “ZERO ENERGY HOUSING” (ZEH)” ลดการใช้พลังงานได้ไม่ต่ำกว่า 20 % ในบ้านเดี่ยว และคอนโดมิเนียมของ SENA พร้อมขยายธุรกิจใหม่ (New Business) ที่หลากหลายและครอบคลุมตาม Mega Trend และ Social Challenge ผ่านแกนวิชั่นโครงสร้างองค์กรที่เป็นมากกว่า Property Developer สู่ “The Essential Lifelong Trusted Partner” เพื่อสร้างคุณภาพชีวิตที่ดี บนแกน “SENA Multiplied” อย่างไรก็ตาม ทาง SENA วางงบเพื่อการลงทุนในการพัฒนาสินค้าและขยายโอกาสสู่ธุรกิจใหม่ 9,084 ล้านบาท โดยประกอบด้วย New Business to Strengthen Core Business SENA มุ่งมั่นในการต่อยอดพัฒนาอสังหาฯ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตลูกบ้านให้มีความเป็นอยู่ที่ดียิ่งขึ้นกว่าเดิม ประกอบด้วย   1.จับมือบริษัท เอ็นอีซี คอร์ปอเรชั่น (ประเทศไทย) จำกัด หรือ NEC Thailand ที่ปรึกษาเทคโนโลยีด้านไอที บริษัทชั้นนำระดับโลก พัฒนาแพลตฟอร์ม “SMARTIFY” Smart Living Community เพิ่มความสะดวกสบายให้กับลูกค้าและลูกบ้าน   2.ธุรกิจบริการทางการเงิน “เงินสดใจดี” เพื่อเพิ่มความสามารถในการเป็นเจ้าของที่อยู่อาศัยให้กับลูกค้า พร้อมให้คำปรึกษาและให้ความรู้ทางด้านการเงิน   3. ธุรกิจนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ เพื่อบริการขายและให้เช่าอสังหาริมทรัพย์   4.ธุรกิจบริหารนิติบุคคลโครงการที่อยู่อาศัยและทรัพย์สินแบบครบวงจร (Property Management)   5.ธุรกิจบ้านมือสอง “SENA SURE” โดยร่วมกับบริษัทบริหารสินทรัพย์ กรุงเทพพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) หรือ BAM และบริษัท บริหารสินทรัพย์สุขุมวิท จำกัด (บสส.) หรือ SAM คัดเลือกทรัพย์และนำมาปรับปรุงให้มีคุณภาพ ทางเลือกหนึ่งให้คนที่ต้องการที่อยู่อาศัย New Business New Foundation ขณะเดียว SENA การขยายธุรกิจใหม่ ยกระดับคุณภาพชีวิตให้สะดวกสบาย (Convenience) ให้กับทุกคน และเน้นธุรกิจที่ปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ใหม่ให้กับการใช้ชีวิตเพื่อช่วยกันลดการปล่อยคาร์บอน (Decarbonization Lifestyle) รวมถึงการนำเทคโนโลยีด้านบริการเข้าปรับใช้เพิ่มความสะดวกสบายให้กับทุกคนและในทุกช่วงชีวิต พุ่งเป้าหมายธุรกิจเมกะเทรนด์ (Mega Trends) ของโลก สร้างสังคมที่ยั่งยืน ทั้งด้านบริการครอบคลุมครบ ขณะเดียวกัน มองว่าเทรนด์การลงทุนในธุรกิจมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก เราพุ่งเป้าไปธุรกิจที่ตอบรับเมกะเทรนด์ (Mega Trend) ทั้งความยั่งยืนในการประกอบธุรกิจที่เป็นมิตรต่อโลก สังคม สุขภาพ​ สิ่งแวดล้อม และเทคโนโลยี ประกอบด้วย   1. เตรียมขยายพอร์ตอสังหาริมทรัพย์ใหม่ Premium Segment   2. การบริหารจัดการด้าน Hospitality เต็มรูปแบบ “Hotel & Service Apartment Management” ผ่านการจัดการด้วยมืออาชีพเฉพาะด้าน   3. ธุรกิจสถานดูแลผู้สูงอายุและผู้ป่วยระยะฟื้นตัว (Nursing Home) “SJ HEALTHCARE” เพื่อรองรับการเติบโตของสังคมสูงอายุพัฒนา MEDICAL WELLNESS CENTER และ PRIMARY CARE สำหรับกลุ่มลูกค้าที่มีความต้องการและความกังวลด้านดูแลสุขภาพโดยเฉพาะ   4.ธุรกิจ WAREHOUSE ให้เช่าแบบครบวงจร “METROBOX” ซึ่งเป็นอาคารคลังสินค้ามาตรฐานสากลเพื่อผู้ประกอบการธุรกิจและอุตสาหกรรมต่างๆ เตรียมเปิด 2 ทำเล 1.บางนา บางพลี สมุทรปราการ และ 2.พหลโยธิน วังน้อย อยุธยา   5.จับมือบริษัท ชิเซ็น อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) จำกัด หรือ Shizen เพื่อลงทุนและศึกษาโอกาสความเป็นไปได้ในการขยายตลาดด้านพลังงานหมุนเวียนร่วมกันในประเทศไทย นอกจากนี้ยังมองหาพันธมิตรในการติดตั้ง “โซลาร์แนวตั้ง” สำหรับอาคารสูงในประเทศไทยเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการใช้ไฟฟ้าจากพลังงานสะอาดให้มากที่สุด   6.เดินหน้าขยายพื้นที่ให้บริการชาร์จรถไฟฟ้า หรือ EV CHARGING STATION ด้วยการใช้พลังงานไฟฟ้าจากโซลาร์ เพื่อให้สอดคล้องไปกับการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน และแนวทางการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ (SMARTCITY) ปัจจุบันติดตั้งในหมู่บ้านของ SENA ขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษาความเป็นไปได้ในการติดตั้งสถานีชาร์ตรถไฟฟ้า (EV Charging Station) เพิ่มขึ้น เพื่อรองรับลูกบ้านในโครงการและลูกค้าทั่วไปในอนาคต   7.บริษัท SENA REFORESTATION ปลูกป่ารักษาโลก ตามเป้าเจตนารมณ์ 100,000 ไร่ New Project Launch ปี 2023 เตรียมเปิดตัวโครงการใหม่ 26 โครงการ รวมมูลค่า 24,024 กว่าล้านบาท แบ่งเป็นโครงการแนวราบ 9 โครงการ 7,471 ล้านบาท และคอนโดมิเนียม 17 โครงการ 16,553 ล้านบาท (ซึ่งใน 26 โครงการ แบ่งเป็นโครงการร่วมทุนกับ ฮันคิว ฮันชิน พร็อพเพอร์ตี้ส์ คอร์ป 22 โครงการ 21,210 ล้านบาท) ตอกย้ำพันธมิตรธุรกิจที่แข็งแกร่ง 8 ปี ร่วมกันพัฒนาโครงการรวม 45 โครงการ มูลค่า 69,554 ล้านบาท ทั้งนี้ วางเป้าหมายสร้างนิวเรคคอร์ดครั้งใหม่ของบริษัท ด้วยเป้ายอดขาย 18,242 ล้านบาท และเป้าโอนรวม 16,539 ล้านบาท โดยมีสินค้าที่เหลือขาย คิดเป็นมูลค่า 22,294 ล้านบาท เพื่อรอรับรู้รายได้ในอนาคต   แต่อย่างไรก็ตาม เสนา ดีเวลลอปเม้นท์ยังมองถึงความแข็งแกร่งของธุรกิจหลัก แผนเปิดตัวโครงการใหม่ในปีนี้ และธุรกิจใหม่ รองรับ Mega Trend ที่พร้อมเติบโตอย่างยั่งยืน ด้วยการพัฒนานวัตกรรมด้านสินค้าและการบริการ สานต่อจุดยืนขององค์กรที่เป็นมากกว่าคนพัฒนาอสังหาฯ ด้วยการเป็น “THE ESSENTIAL LIFELONG TRUSTED PARTNER” เพื่อสร้างความสุขและคุณภาพชีวิตที่ดีในทุกช่วงชีวิต   อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง -เสนาฯ เปิดโมเดล​ บ้านพลังงานเป็นศูนย์ เดินหน้าสู่บริษัท ด้านความยั่งยืน -[PR News] เสนาเจ จับมือ NEC พลิกโฉม “Smart Living Community”
เทียบฟอร์มบิ๊กอสังหาฯ ใครจ่ายปันผล ปี 65 ให้ผู้ถือหุ้นสูงสุด

เทียบฟอร์มบิ๊กอสังหาฯ ใครจ่ายปันผล ปี 65 ให้ผู้ถือหุ้นสูงสุด

พลัส พร็อพเพอร์ตี้  เปิดผลการดำเนินงาน​บิ๊กอสังหาฯ ใครจ่ายปันผล ปี 65 ให้ผู้ถือหุ้นสูงสุด  พร้อมประเมินตลาดปีกระต่าย เศรษฐกิจฟื้นตัวเต็มที่   นายอนุกูล  รัฐพิทักษ์สันติ กรรมการผู้จัดการ บริษัท พลัส พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด ผู้เชี่ยวชาญที่พร้อมตอบโจทย์ทุกบริการด้านอสังหาริมทรัพย์ เปิดเผยว่า ปี 2565 นับได้ว่าเป็นปีแรกที่เริ่มเห็นการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจไทยอย่างชัดเจน ภายหลังจากที่มีการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ปัจจัยสำคัญมาจากการได้รับวัคซีน รวมถึงการเปิดรับนักท่องเที่ยว ทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจกลับมาดำเนินการได้อย่างเต็มที่   ขณะที่ปี 2566 คาดการณ์ว่า การฟื้นตัวของเศรษฐกิจเริ่มกลับมาเต็มที่ ทำให้มีทั้งโอกาสทางธุรกิจ อย่างไรก็ดียังมีปัจจัยเสี่ยงที่ต้องเฝ้าติดตามและเตรียมรับมือในอีกหลายประเด็น ทั้งทิศทางการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของประเทศต่างๆ ที่จะมีผลกระทบต่อประเทศไทย แนวโน้มราคาพลังงานและราคาโภคภัณฑ์ที่ปรับตัวสูงขึ้น กดดันให้ต้นทุนและอัตราเงินเฟ้อปรับตัวสูงขึ้น ตลอดจนการปรับขึ้นของอัตราดอกเบี้ยนโยบาย   อย่างไรก็ดี แม้ปีที่ผ่านมาจะเป็นปีที่มีความท้าทายของการดำเนินธุรกิจภายใต้ภาวะเศรษฐกิจที่ยังมีความไม่แน่นอน แต่ภาพรวมของธุรกิจอสังหาฯในปีที่ผ่านมา Top 5 อสังหาฯที่ทำกำไรได้สูงสุด ก็สามารถทำกำไรรวมได้เกือบ  30,000 ล้านบาท เติบโตจากปีก่อนหน้าถึง 28.3%   โดยบริษัทที่คว้าแชมป์กำไรสูงสุดคือ แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ บริษัทที่มีการเติบโตของกำไรสูงสุดคือแสนสิริ บริษัทที่คว้าแชมป์รายได้สูงสุดและการเติบโตของรายได้สูงสุด คือ เอพี ไทยเลนด์ และบริษัทที่มีการจ่ายเงินปันผลในอัตราสูงสุดคือ แสนสิริ พลัส พร็อพเพอร์ตี้ รวบรวมผลประกอบการปี 2565 ของยักษ์บริษัทอสังหาฯ  เปรียบเทียบให้เห็นว่า แต่ละบริษัท มีตัวเลขกำไร รายได้ และอัตราการเติบโตมากน้อยแค่ไหน และสิ่งนี้ส่งสัญญาณอะไรต่อตลาดอสังหาฯ ในปี 2566 ที่ยังต้องติดตาม แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ กำไรสุทธิ 8,313 ล้านบาท รายได้รวม 36,732 ล้านบาท อัตราตอบแทนจ่ายปันผล 6.2%   แสนด์ แอนด์ เอ้าส์ (LH) กลับมาครองแชมป์เป็นบริษัทที่ทำกำไรสูงสุดอีกครั้ง โดยโชว์ผลงานกำไรสุทธิ 8,313 ล้านบาท เติบโตจากปีที่ผ่านมา 19.8% โดยมีรายได้ 36,732 ล้านบาท ซึ่งถือว่าอยู่ในอันดับสองของอุตสาหกรรม และเติบโตจากปีที่ผ่านมา 9.6% โดยประกาศจ่ายเงินปันผลประจำปีให้แก่ผู้ถือหุ้นในอัตราหุ้นละ 0.60 บาท ปีนี้มีแผนเปิดตัวโครงการใหม่ 17 โครงการ มูลค่า 35,000 ล้านบาท แสนสิริ กำไรสุทธิ 4,280 ล้านบาท รายได้รวม 34,983 ล้านบาท อัตราตอบแทนจ่ายปันผล 7.9%   แสนสิริ (SIRI) ตอกย้ำความแข็งแกร่งในธุรกิจอสังหาฯ โชว์ผลงานปี 65 กำไรสุทธิ 4,280 ล้านบาท โตก้าวกระโดด 112% ทุบสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์รอบ 38 ปีนับตั้งแต่ก่อตั้งบริษัท อัตรากำไรสุทธิเพิ่มขึ้นเป็น 12.2% ของรายได้รวม โตขึ้นจากปีก่อนที่มีอัตรากำไรสุทธิ 6.8% โดยไฮไลท์กำไรในไตรมาส 4/65 ไตรมาสเดียวทะลัก 1,791 ล้านบาท โตถึง 422% สูงสุดเป็นประวัติการณ์ พร้อมประกาศจ่ายเงินปันผลประจำปีให้แก่ผู้ถือหุ้นในอัตราหุ้นละ 0.15 บาท คิดเป็นอัตราผลตอบแทน (Dividend yield) 8% สูงสุดในกลุ่มธุรกิจอสังหาฯ ขณะนี้ ขณะที่ยอดขายปี 65 ทะลุ 50,000 ล้านบาท โตจากปีก่อนเกือบ 50% กวาดรายได้รวม 34,983 ล้านบาท โตขึ้น 18% ผลงานรายได้จากการขายโครงการโดดเด่นทุกกลุ่มที่อยู่อาศัย ปีนี้มีแผนเปิดตัวโครงการใหม่ 52 โครงการ มูลค่า 75,000 ล้านบาท เอพี ไทยแลนด์ กำไรสุทธิ 5,877 ล้านบาท รายได้รวม 38,706 ล้านบาท อัตราตอบแทนจ่ายปันผล 5.2%   ปีที่ผ่านมาสามารถสร้างรายได้สูงสุดในกลุ่มอุตสาหกรรม โดยรายได้รวมจากสินค้าแนวราบ กลุ่มคอนโดมิเนียม และธุรกิจอื่นๆ ได้ 38,706 ล้านบาท  เพิ่มขึ้น 21% หากเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้าที่มีรายได้รวมเท่ากับ 31,981 ล้านบาท ด้านกำไรสุทธิ 5,877 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากงวดเดียวกันของปีก่อนหน้าที่มีกำไรสุทธิรวมเท่ากับ 4,543 ล้านบาท เท่ากับ 29.4% นอกจากนั้นที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ เมื่อวันที่ 21 ก.พ. 66 มีมติอนุมัติจ่ายปันผลจากกำไรสะสม เป็นเงินสดในอัตรา 0.65 บาท/หุ้น ปีนี้มีแผนเปิดตัวโครงการใหม่ 58 โครงการ มูลค่า 77,000 ล้านบาท ศุภาลัย กำไรสุทธิ 8,173 ล้านบาท รายได้รวม 35,501 ล้านบาท อัตราตอบแทนจ่ายปันผล 6.3%   ศุภาลัย (SPALI) กวาดรายได้รวมเติบโตแบบก้าวกระโดดสูงถึง 35,501 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 20% จากปี 2564 เกินเป้าหมายที่วางไว้ 29,000 ล้านบาท โดยแบ่งเป็นรายได้จากการโอนกรรมสิทธิ์อสังหาริมทรัพย์ 34,221 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 18% จากปี 2564 แบ่งเป็นรายได้จากการโอนกรรมสิทธิ์โครงการแนวราบ 54% และคอนโดมิเนียม 46%  และสร้างผลกำไรสุทธิ 8,173 ล้านบาท มากเป็นอันดับสองในอุตสาหกรรมและโตกว่า 16% ส่งผลให้อัตราหนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ยสุทธิต่อส่วนของผู้ถือหุ้นอยู่ที่ระดับเพียง 49% จากการเติบโตของยอดรายได้และกำไรดังกล่าว ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท มีมติอนุมัติการจ่ายเงินปันผลสำหรับผลประกอบการงวดปี 2565 ให้แก่ผู้ถือหุ้น ในอัตราหุ้นละ 1.45 บาท จ่ายเงินปันผลระหว่างกาลไปแล้วในอัตราหุ้นละ 0.70 บาท คงเหลือจ่ายเงินปันผลสำหรับงวด 6 เดือนหลังของปี 2565 ในอัตราหุ้นละ 0.75 บาท ปีนี้มีแผนเปิดตัวโครงการใหม่ 37 โครงการ มูลค่า 41,000 ล้านบาท พฤกษา กำไรสุทธิ 2,772 ล้านบาท รายได้รวม 28,640 ล้านบาท อัตราตอบแทนจ่ายปันผล 7.0%   ปี 2565 พฤกษา โฮลดิ้ง (PSH) ทำกำไรสุทธิ 2,772 ล้านบาท เติบโต 18% มีรายได้ 28,640 ล้านบาท ใกล้เคียงกับปี 2564 รายได้จากวิมุตเติบโตอย่างก้าวกระโดดเพิ่มขึ้น 4.7 เท่า จากปี 2564 โดยปีนี้วางแผนเพิ่มการลงทุนเชิงกลยุทธ์ เพื่อสร้างรายได้ประจำอย่างต่อเนื่อง ด้านธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ วางแผนเพิ่มสัดส่วนโครงการในกลุ่มเซ็กเมนต์ระดับกลางไปสูง จับกลุ่มลูกค้าพรีเมียมมากขึ้น พร้อมวางแผนเปิดศูนย์สุขภาพแห่งใหม่ มอบบริการครอบคลุมทุกมุมเมือง ปีนี้มีแผนเปิดตัวโครงการใหม่ 23 โครงการ มูลค่า 23,500 ล้านบาท   ทั้งนี้ ตัวเลขของอสังหาฯ รายใหญ่ ทั้งหมดนี้จะเป็นสัญญาณของการพลิกฟื้นตัวที่รวดเร็วของอสังหาฯ ไทย ในปีนี้หรือไม่จึงเป็นสิ่งที่น่าติดตาม ขณะที่ทิศทางตลาดที่อยู่อาศัย ในปี 2566 REIC คาดการณ์ว่า อุปทานจะมีสภาวะทรงตัวถึงชะลอเล็กน้อย เนื่องจากได้ผ่านจุดต่ำสุดมาแล้วในปี 2564 ตลาดที่อยู่อาศัยในปีนี้เชื่อว่า ยังคงทรงตัวและเป็นช่วงเวลาของการฟื้นตัวให้แข็งแรง เพื่อที่จะขยายตัวได้ดีในปี 2567 *ข้อมูลที่พลัสฯ รวบรวมนำเสนอยังไม่รวมข้อมูลบริษัทที่ยังไม่ได้แจ้งผลประกอบการ ณ สิ้นสุดวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2566   อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง -[PR News] พฤกษา โฮลดิ้งโชว์ปี 65 กำไรโต 18% เตรียมผุดศูนย์สุขภาพ -เอพี ไทยแลนด์ เผยผลงานปี 65 ทำรายได้ 49,388 ล้าน พร้อมกวาดกำไรเติบโตกว่า 23%  
ริสแลนด์ โชว์ยอดขายปี 65 ทะลุเป้ากว่า 6,900 ล้านบาท

ริสแลนด์ โชว์ยอดขายปี 65 ทะลุเป้ากว่า 6,900 ล้านบาท

ริสแลนด์ ประเทศไทย กลุ่มพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ยักษ์ใหญ่ระดับโลกสัญชาติฮ่องกง โชว์ยอดขายปี 2565 กวาดรายได้รวมกว่า 6,900 ล้านบาท จากทั้งหมด 7 โครงการ พร้อมรุกตลาดออนไลน์เจาะกลุ่มลูกค้าต่างชาติ ล่าสุดจัดงานเปิดตึกโครงการ คลาวด์ ทองหล่อ - เพชรบุรี คอนโดมิเนียมไฮไรส์ ราคาเริ่มต้น 3.2 ล้านบาท คาดปิดการขายได้ภายในไตรมาส 3 ปี 2567   นายสวี่ โจว ผู้อำนวยการใหญ่ฝ่ายการขายและการตลาด ประจำภูมิภาคไทย บริษัท ริสแลนด์ (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า ผลประกอบการในปี 2565 ที่ผ่านมา สามารถกวาดยอดขายได้กว่า 6,900 ล้านบาท จากทั้งหมด 7 โครงการ  ประกอบด้วยโครงการบ้านเดี่ยว 1 โครงการ โครงการคอนโดมิเนียม 4 โครงการ และโครงการมิกซ์ยูส 2 โครงการ   โดยปัจจัยความสำเร็จมาจากแนวคิดของริสแลนด์ ซึ่งกล้าที่จะลอง และกล้าที่จะเปลี่ยน จึงมีการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์และแผนการดำเนินงานให้สอดคล้องกับสถานการณ์ โดยมีการปรับราคาบางส่วนให้เหมาะสมกับราคาตลาด รวมถึงนโยบายส่วนลดพิเศษอื่นๆ ที่ตอบโจทย์ความต้องของลูกค้าตามสภาพเศษฐกิจในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา และมุ่งเน้นทำการตลาด และการขายผ่านช่องทางออนไลน์ให้มากยิ่งขึ้น เพื่อรองรับกับพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป อีกทั้งยังเพิ่มช่องทางการขายผ่านตัวแทนขายในต่างประเทศเพื่ออำนวยความสะดวกให้กลุ่มลูกค้าต่างชาติ ในช่วงที่มีการควบคุมการเดินทางระหว่างประเทศ สำหรับปี 2566 บริษัทวางเป้าหมายรายได้รวมอยู่ที่ 6,808 ล้านบาท โดยยังไม่มีแผนเปิดตัวโครงการใหม่ในปีนี้  แต่มีการวางแผนในระยะยาวมองหาและสะสมที่ดินแปลงใหม่ๆ ที่มีศักยภาพเพื่อวางแผนที่จะเปิดตัวโครงการในอนาคตในช่วงเวลาที่เหมาะสม โดยในปี 2566 บริษัทมีแผนจะจัดอีเว้นท์ใหญ่รวมทุกโครงการ เช่นงานมหกรรมบ้านและคอนโดครั้งที่ 43 พร้อมรับข้อเสนอพิเศษต่างๆภายในงาน และงานเปิดตัวอาคารไฮไรส์ โครงการ เดอะลิฟวิ่น เพชรเกษม ในช่วงกลางปีนี้   สำหรับภาพรวมธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในปี 2566 ภาพรวมจะยังคงพัฒนาไปอย่างต่อเนื่อง แนวโน้มราคาจะเพิ่มขึ้นอย่างเหมาะสมประมาณร้อยละ 3 ถึง 8 เมื่อเทียบกับปี 2565 เพื่อป้องกันแรงกดดันจากเงินเฟ้อ โดยผลกระทบของเงินเฟ้อทำให้ต้นทุนหลัก เช่น ค่าก่อสร้าง ค่าแรงงาน ค่าไฟฟ้า และอัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น ส่วนอุปทานคอนโดมิเนียมในย่านทองหล่อ เอกมัย โดยคาดการณ์ว่า ภายในสิ้นปี 2566 จะมีจำนวนคอนโดมิเนียมใหม่เปิดขายสะสมสูงประมาณ 6,000 ยูนิต มีอัตราการดูดซับของตลาดกว่า 70 - 80% และมีอัตราผลตอบแทนการลงทุนประมาณ 5-6 %   ล่าสุด ได้จัดงานเปิดตึกโครงการ คลาวด์ ทองหล่อ – เพชรบุรี คอนโดมิเนียมไฮไรส์บนถนนเพชรบุรี ให้ผู้ที่สนใจสามารถเข้าชมตึกจริง ห้องจริง วิวจริง เป็นครั้งแรก จัดเต็มด้วยพื้นที่ส่วนกลางรวมกว่า 4,000 ตารางเมตร โดดเด่นด้วยความสูงถึง 55 ชั้น กว่า 202 เมตร พร้อม Sky Facilities Full Function และสระว่ายน้ำบนชั้นลอยฟ้ารับวิวเมืองรอบทิศทางแบบ 360 องศา ออกแบบให้ความหรูหราและเป็นส่วนตัวด้วยเพียง 14 ห้องต่อชั้น และในราคาเริ่มต้นเพียง 3.2 ล้านบาท อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง -ริสแลนด์ ไม่หวั่นสงครามราคาคอนโด อัพราคา 10%  “เดอะลิฟวิ่น รามคำแหง” -ริสแลนด์ ยังไปต่อด้วยกลยุทธ์ “Think Global, Act Local” ปั้นโปรเจ็กต์ปีละหมื่นล้านสู้โควิด-19
ธนาสิริ เดินแผนปี 66 เปิดขายบ้าน 2-20 ล้าน พร้อมรับร่วมทุนปั้นที่ดิน100ไร่ในภูเก็ต

ธนาสิริ เดินแผนปี 66 เปิดขายบ้าน 2-20 ล้าน พร้อมรับร่วมทุนปั้นที่ดิน100ไร่ในภูเก็ต

เปิดแผนธุรกิจ ธนาสิริ ปี 66 เตรียม 4 โครงการ รวมมูลค่า 3,300 ล้าน ขายบ้านแนวราบราคา 2-20 ล้าน หวังปั้นรายได้ 1,300 ล้าน ยอดขาย 1,800 ล้าน โต 30% พร้อมเปิดรับการร่วมทุน พัฒนาที่ดิน 100 ไร่ภูเก็ต ขณะที่ปีหน้าเล็งปั้นโครงการคอนโด จับคนต้องการตลาดบ้านหลังแรก   นายสุทธิรักษ์ เสถียรภาพอยุทธ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ธนาสิริ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) (THANA) ผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ที่จดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ เปิดเผยถึงทิศทางการดำเนินธุรกิจในปี 2566 ว่า ได้เตรียมเปิดตัวโครงการใหม่จำนวน 4 โครงการ รวมมูลค่า 3,300 ล้านบาท ซึ่งมีระดับราคาตั้งแต่ 2-20 ล้านบาท จากเดิมที่บริษัทโฟกัสการทำตลาดในราคา 4-8 ล้านบาท โดยตั้งเป้าหมายผลการดำเนินงานในปี 2566 ว่า น่าจะทำรายได้อยู่ที่ 1,300 ล้านบาท เติบโตจากปีก่อนประมาณ 30% โดยเป้ายอดขายอยู่ที่ 1,800 ล้านบาท ปัจจุบันบริษัทฯ มีโครงการที่อยู่ระหว่างการพัฒนาและขาย 5 โครงการ รวมมูลค่ากว่า 2,000 ล้านบาท มียอดขายรอรับรู้รายได้ (Backlog) ช่วงสิ้นปีที่ผ่านมาจำนวน 198 ล้านบาท   สำหรับการเปิดตัวโครงการใหม่ในปีนี้ บริษัทได้ขยายทำเลไปยังโซนตะวันออก ในพื้นที่โซนบางนา-บางบ่อ เนื่องจากเป็นทำเลมีศักยภาพ รองรับการเติบโต และการขยายตัวของกรุงเทพฯ กระจายไปยังพื้นที่ดังกล่าว และที่ผ่านมาบริษัทยังไม่มีโครงการที่พัฒนาในโซนดังกล่าว แต่พื้นที่เดิมที่บริษัททำตลาดหลัก ในพื้นที่โซนราชพฤกษ์ ปิ่นเกล้า บริษัทยังคงขยายโครงการอย่างต่อเนื่อง รวมถึงขยายพื้นที่ไปยังโซนใกล้เคียงด้วย   บริษัทจะเปิดตัวโครงการแรก ในช่วงไตรมาส 2 โครงการ ธนาสิริวิลเลจ บางนา-บางบ่อ มูลค่า 1,010 ล้านบาท จำนวน 348 ยูนิต บนที่ดิน 38 ไร่ เป็นประเภทบ้านแฝดและทาวน์โฮม ราคาเฉลี่ย 2.9 ล้านบาท ซึ่งเป็นการร่วมทุนกับพันธมิตร อนาบูกิ โคซัน นายสุทธิรักษ์ กล่าวอีกว่า บริษัทยังมีที่ดินซึ่งซื้อสะสมมากว่า 30 ปี จำนวน 100 ไร่ ในจังหวัดภูเก็ต ใกล้กับภูเก็ตแฟนตาซี ปัจจุบันยังไม่มีแผนพัฒนาโครงการ แต่พร้อมเปิดรับการร่วมทุนกับพันธมิตรต่าง ๆ ที่ต้องการพัฒนาโครงการร่วมกัน โดยไม่จำกัดว่าจะเป็นกลุ่มทุนคนไทยหรือต่างชาติ ขณะเดียวกัน บริษัทมีแผนขยายพอร์ตการพัฒนาโครงการประเภทคอนโดมิเนียม เพื่อรองรับแผนการเติบโตด้านรายได้ โดยกลุ่มเป้าหมายคนเจนใหม่วัยทำงานระดับกลาง-ล่าง ที่ต้องการอยู่อาศัยจริงเป็นบ้านหลังแรก ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างการศึกษาและจัดหาที่ดินที่เหมาะสม คาดว่าจะมีความชัดเจนในปีหน้า   สำหรับปีที่ผ่านมา บริษัทมุ่งเน้นกลยุทธ์การเติบโตอย่างสมดุล ความน่าอยู่และยั่งยืน พร้อมด้วยการพัฒนาโครงการที่ต่อเนื่องร่วมกับพันธมิตรกลุ่มต่างๆ และการขยายธุรกิจ อย่าง บริการลิฟวิ่ง โซลูชั่น (Living Solutions) ที่มุ่งเน้นบริการที่เข้าถึง เข้าใจตอบโจทย์ผู้อยู่อาศัยได้อย่างแท้จริง และธุรกิจเวลเนส (Wellness) ให้สอดคล้องกับเทรนด์ใหม่ ๆ โดยเฉพาะธุรกิจที่เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ ตามพฤติกรรมของผู้บริโภคและสภาวะของตลาด เพื่อเร่งหาโอกาสทางธุรกิจที่คาดว่าจะสามารถสร้างรายได้เพิ่มขึ้น และเพิ่มโอกาสการเติบโตอย่างยั่งยืน ขณะเดียวกัน ยังคงมุ่งเน้นการพัฒนาโครงการที่สร้างประสบการณ์การอยู่อาศัยที่ไม่ได้ต้องการแค่ฟังก์ชั่นของบ้าน แต่ต้องการบ้านที่สะท้อนตัวตนของผู้อยู่อาศัย มุ่งมั่นส่งมอบบ้าน และ “สังคมน่าอยู่” ให้เหมาะกับคนทุกวัย   ด้านนายจรัญ เกษร ประธานเจ้าหน้าที่สายงานปฏิบัติการ กล่าวว่า ในปี 2565 บริษัทสามารถทำยอดขายได้ 1,422 ล้านบาท ทำรายได้จำนวน 1,024 ล้านบาท เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ และมีกำไรสุทธิกว่า 12% มากกว่าปีที่ผ่านมากว่า 3 เท่าตัว โดยทิศทางการเติบโตใน 3 ปีข้างหน้า บริษัทตั้งเป้าหมายการเติบโตปีละ 30% สำหรับปัจจัยที่ส่งผลให้ การเติบโตในเชิงตัวเลขของยอดขาย และรายได้เป็นไปตามเป้าหมายวางไว้ มาจากการดำเนินธุรกิจผ่านกลยุทธ์ THANA GREEN เน้นตอบโจทย์ความคุ้มค่า ควบคู่คุณภาพในทุกโครงการที่พัฒนา เพื่อการอยู่อาศัย และการใช้ชีวิต ในสังคมแห่งการแบ่งปัน ตลอดจนการดูแลสิ่งแวดล้อม อันเป็นแนวคิดหลักของการทำธุรกิจที่ไม่ได้มุ่งเน้นแค่เชิงตัวเลข ควบคู่ไปด้วยคุณค่าของการอยู่อาศัยในแนวทาง “Total Green Real Estate Development – Service” เรามีพันธมิตรทางธุรกิจที่แข็งแรงอย่าง อนาบูกิ โคซัน มีทีมบริหารที่มีศักยภาพ และเป็นมืออาชีพที่คร่ำหวอดในวงการมาเสริมความแข็งแกร่งขององค์กร ความพร้อมเหล่านี้ทำให้เรามีความเชื่อมั่นว่า ในอนาคตธนาสิริจะมีย่างก้าวที่เติบโตขึ้นอย่างมั่นคงและยั่งยืน (Return on Sustainability) เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้อยู่อาศัย
บริทาเนีย  วางเป้า 3 ปี ติดTop 5 ตลาดบ้าน  พร้อมลุยต่างจังหวัดจับคนระดับท็อป

บริทาเนีย วางเป้า 3 ปี ติดTop 5 ตลาดบ้าน พร้อมลุยต่างจังหวัดจับคนระดับท็อป

บริทาเนีย วางเป้าหมายใน 3 ปี ขึ้นแท่นเป็นผู้นำตลาดบ้านแนวราบ มีรายได้แตะ 20,000 ล้าน หลังปีที่ผ่านมาสร้างการเติบโตทำนิวไฮ กำไร 1,471 ล้าน รายได้กว่า 6,296 ล้าน กางแผนปี66 เดินหน้าเปิด 20 โครงการ รวม 22,500 ล้าน พร้อมลุยตลาดต่างจังหวัดมีศักยภาพ จับคนระดับท็อป มีรายได้สูงของจังหวัด   นายสุรินทร์ สหชาตโภคานันท์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บริทาเนีย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ในรอบปี 2565 ที่ผ่านมา บริษัทสามารถสร้างรายได้ 6,296 ล้านบาทเติบโต 65% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า มี ยอดพรีเซลล์ 11,045 ล้านบาทเติบโต 32% และมีกำไรสุทธิ 1471 ล้านบาทเติบโต 144% โดยมีการเปิดโครงการใหม่เก้าโครงการมูลค่า 12,000 ล้านบาท   ปัจจุบันถือว่า บริทาเนียเป็นผู้นำตลาดบ้านแนวราบ ติดอันดับ 8-9 โดยเป้าหมายสำคัญภายในระยะ 3 ปีข้างหน้านับจากปีนี้ ต้องการเพิ่มรายได้มากขึ้น เพื่อจะก้าวสู่ผู้นำตลาดบ้านแนวราบติดอันดับท็อบ 5 ซึ่งจะมีรายได้เกือบ 20,000 ล้านบาท   โดยในปีนี้บริษัทตั้งเป้าหมายรายได้รวม 9,000 ล้านบาท มียอดขาย 13,000 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิเติบโต 18-18.5% โดยจะมีการเปิดตัวโครงการใหม่รวม 20 โครงการมูลค่า 22,500 ล้านบาท ทั้งในเขตกรุงเทพฯ ปริมณฑลและต่างจังหวัด เพื่อสร้างการเติบโตอย่างต่อเนื่อง นายสุรินทร์ กล่าวว่า ปีนี้จะขยายโครงการไปยังต่างจังหวัดเพิ่ม อีก 2 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดขอนแก่นและอยุธยา จากปีที่ผ่านมาพัฒนาโครงการในจังหวัดอุดรธานี และจะมีการพัฒนาโครงการในจังหวัดเดิม ที่เคยพัฒนามาแล้วอีก 2 โครงการ ได้แก่ จังหวัดระยองและชลบุรี รวมปีนี้พัฒนาโครงการในต่างจังหวัดทั้งสิ้น 4 โครงการ   นอกจากนี้ บริษัทยังวางเป้าหมาย ในการขยายโครงการใหม่ ไปยังจังหวัดที่มีศักยภาพ โดยเฉพาะจังหวัดที่มีรายได้ต่อหัวประชากรสูง และจังหวัดหัวเมืองหลักด้านการท่องเที่ยว อาทิ จังหวัดพิษณุโลก นครสวรรค์ สุราษฎร์ธานี และเชียงใหม่   ทั้งนี้ การพัฒนาโครงการในต่างจังหวัด จะมีทั้งการร่วมทุนกับเจ้าของที่ดิน และการซื้อที่ดินพัฒนาโครงการเอง โดยจับกลุ่มเป้าหมายผู้มีรายได้สูง หรือเจ้าของกิจการในแต่ละจังหวัด ปัจจุบันบริษัทอยู่ระหว่างการศึกษาความเป็นได้ ว่าในจังหวัดเป้าหมายดังกล่าว มีปริมาณกลุ่มเป้าหมายมากเพียงพอที่จะรองรับการพัฒนาโครงการหรือไม่ กลยุทธ์ B To The Top สำหรับกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจในปี​ 2566 บริษัทวางแผนการดำเนินธุรกิจภายใต้กลยุทธ์  “B To The Top” สู่เป้าหมายผู้นำธุรกิจพัฒนาบ้านจัดสรร  ใน 3 มิติ ได้แก่ 1.B The Growth  นำพาองค์กรเติบโตสู่ระดับท็อปของตลาดด้วยการเปิดตัวโครงการใหม่สูงที่สุดนับตั้งแต่ก่อตั้งบริษัท หรือ All Time High ภายใต้แบรนด์ในเครือทั้ง 4 แบรนด์  ได้แก่ เบลกราเวีย (Belgravia) แกรนด์ บริทาเนีย (Grand Britania) บริทาเนีย (Britania) และไบรตัน (Brighton) ร่วมบุกตลาดทุกเซ็กเมนท์ กระจายตัวบุกทั้งในกรุงเทพฯและปริมณฑล อาทิ สมุทรปราการ นนทบุรี ปทุมธานี เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC อย่างชลบุรี ระยอง ฉะเชิงเทรา ตลอดจนหัวเมืองใหญ่ในต่างจังหวัด นำร่องที่ขอนแก่นด้วยบริทาเนีย มะลิวัลย์  และบริทาเนีย อยุธยา   ประเมินว่าปีนี้บ้านทุกระดับราคา จะมีความต้องการต่อเนื่อง เป็นสาเหตุให้เรานำแบรนด์เบลกราเวีย ซึ่งเป็นแบรนด์ระดับลักชัวรีกลับมาร่วมบุกตลาดพร้อมกับอีก 3 แบรนด์ และจะมีทั้งโครงการบ้านเดี่ยว บ้านแฝด ทาวน์โฮม ตลอดจนโครงการที่เป็นมิกซ์โปรดักส์ เปิดตัวอย่างต่อเนื่อง โดยปีนี้บริษัทโฟกัสไปที่ตลาดใหญ่ที่สุด ในกลุ่มบ้านราคา 5-10 ล้าน ซึ่งเป็นเซ็กเมนท์ที่มีกำลังซื้อแข็งแกร่ง   สำหรับโครงการที่นับเป็นไฮไลต์ของปีนี้ ได้แก่ เบลกราเวีย ราชพฤกษ์-นครอินทร์ (Belgravia Ratchapruek-Nakornin) และเบลกราเวีย พุทธมณฑล สาย 3 (Belgravia Phuttamonthon Sai 3) ถือเป็นการนำแบรนด์ บ้านเดี่ยวลักชัวรีของบริษัทกลับมาเจาะตลาดอีกครั้ง ในทำเลที่ประสบความสำเร็จและได้รับการตอบรับที่ดีอย่างมากในช่วงก่อนหน้านี้ โดยมีไฮไลต์หลักที่น่าสนใจคือ จำนวนยูนิตน้อย เพิ่มความเป็นส่วนตัวและความรู้สึกเอ็กซ์คลูซีฟ พื้นที่บ้านมากกว่า 100 ตร.วา มีฟังก์ชันภายในบ้านที่คำนึงถึงความเป็นอยู่ที่ดี (Wellness) ของครอบครัวที่มีสมาชิกหลากหลายเจเนอเรชัน (multi-generation family) พร้อมตอบโจทย์กิจกรรมและไลฟ์สไตล์ของทุกคนในครอบครัว บนทำเลที่เชื่อมต่อเมืองและการเดินทางได้สะดวก 2.B The Craft มุ่งมั่นสู่การเป็นแบรนด์บ้านจัดสรรระดับท็อปในใจผู้บริโภค (Top of Mind Brand) ด้วย Culture หรือวัฒนธรรมองค์กร Craft Mindset อย่างต่อเนื่อง พร้อมส่งมอบประสบการณ์ที่ลูกค้าให้คุณค่า (Customer Value) ในการสร้างสรรค์ ดูแล และบริการที่ยกระดับให้แก่ผู้บริโภค ผ่านนวัตกรรมการอยู่อาศัย พื้นที่ส่วนกลาง ที่ตั้งใจออกแบบจาก Customer Insight การดูแลความปลอดภัย ตอกย้ำวิสัยทัศน์ CRAFT a life you love ดีที่สุดคือใช้ชีวิตในแบบที่รัก ด้วยความเข้าใจและใส่ใจวิถีชีวิตของลูกค้าในทุกแบบบ้านอย่างลึกซึ้ง 3.B The Goodness  มุ่งมั่นเป็นองค์กรที่รับผิดชอบต่อสังคม ทั้งในโครงการและชุมชนรอบด้าน อาทิ โครงการ CRAFT PARK สร้างพื้นที่สีเขียวสาธารณะเพื่อชุมชน ซึ่งเป็นโมเดลความร่วมมือของภาคเอกชน ภาคสังคม และชุมชน ตั้งแต่จุดเริ่มต้นตั้งแต่การออกแบบ ลงมือทำ ตลอดจนเดินหน้าเพื่อสิ่งแวดล้อมภายใต้โครงการ B GREEN มุ่งสู่เป้าหมาย Net Zero ในปี 2050 ผ่านการดำเนินงานตลอดห่วงโซ่คุณค่าตั้งแต่ต้นน้ำ คือ การออกแบบ เลือกใช้วัสดุฉลากเขียว และการก่อสร้าง การเพิ่มพื้นที่สีเขียว การจัดการขยะ จนถึงปลายน้ำ คือ สนับสนุนการใช้พลังงานสะอาด ตั้งเป้าติดตั้งโซลาร์ รูฟท็อป ณ คลับเฮ้าส์ทุกโครงการ และติดตั้งจุดเชื่อมต่อ EV Charger ให้กับบ้านทุกหลัง เพื่อส่งต่อคุณค่าของความรู้สึกภาคภูมิใจ ในการเป็นส่วนหนึ่งของการช่วยรักษาโลก จากการเลือกซื้อบ้านที่คำนึงถึงการสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดี   ปัจจุบันบริษัทพัฒนาบ้านจัดสรรภายใต้คอนเซปต์ CRAFT a life you love ดีที่สุดคือใช้ชีวิตในแบบที่รัก พัฒนาทั้งบ้านเดี่ยว บ้านซีรีส์ใหม่ ทาวน์โฮม ครอบคลุมผู้บริโภคทุกเซ็กเมนท์ ภายใต้ 4 แบรนด์หลัก ได้แก่ เบลกราเวีย (Belgravia) บ้านเดี่ยวลักชัวรี ระดับราคา 20-50 ล้านบาท แกรนด์ บริทาเนีย (Grand Britania) บ้านเดี่ยวและบ้านแฝดระดับ High-End ราคา 8-20 ล้านบาท   บริทาเนีย (Britania) บ้านเดี่ยว บ้านแฝด และทาวน์โฮม ระดับ Mid-end ราคา 4-8 ล้านบาท ไบรตัน (Brighton) บ้านแฝด และทาวน์โฮม ระดับเริ่มต้น (Entry) ราคา 2.5-4 ล้านบาท   โดย ณ สิ้นปี 2565 พัฒนาโครงการมาแล้วทั้งสิ้น 30 โครงการ คิดเป็นมูลค่าโครงการสะสม 36,449 ล้านบาท   อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง -บริทาเนียปั้น 3 แบรนด์ใหม่ บุกตลาดแนวราบสร้างรายได้ 4,500 ล้าน  
นิปปอนเพนต์  เร่งแก้ 2 โจทย์ธุรกิจ  ปูทางสู่เบอร์ 1 ตลาดสี

นิปปอนเพนต์ เร่งแก้ 2 โจทย์ธุรกิจ ปูทางสู่เบอร์ 1 ตลาดสี

นิปปอนเพนต์ เดินหน้าแก้ 2 โจทย์ทางธุรกิจ การวางกลยุทธ์ที่ถูกต้อง การรับมือการเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรม ด้วยยุทธศาสตร์ “Inspired by you” กับแนวคิด “3C” ไขความพร้อมสู่การชนะใจลูกค้าหวังสร้างยอดขายเติบโต เพิ่มส่วนแบ่งการตลาดกลุ่มสีทาอาคาร ดันให้ภาพรวมขึ้นแท่นเบอร์ 1 ตามบริษัทแม่ หลังปีที่ผ่านมา​โชว์ผลงานสร้างประวัติศาสตร์​ ทำยอดขายสูงสุด ตั้งแต่ดำเนินธุรกิจในไทย     นิปปอนเพนต์ แบรนด์สีจากประเทศญี่ปุ่นที่เข้ามาทำตลาดในประเทศไทยแล้วกว่า 56 ปี ถ้าเทียบอันดับในตลาดเอเชีย แบรนด์นิปปอนเพนต์ ถือว่าเป็นแบรนด์อันดับ 1 ติดต่อ 7 ปี มียอดขายล่าสุดปี 2563 จำนวน ​8,460 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นส่วนแบ่ง 20% ในตลาดสีของเอเชีย และยังเป็น​อันดับ 4 ของตลาดโลกด้วย ที่ได้รับความนิยมจากกลุ่มผู้บริโภคทั่วไป และกลุ่มธุรกิจต่าง ๆ ที่ต้องใช้สี แต่สำหรับประเทศไทยแล้ว ปัจจุบันแบรนด์นิปปอนเพนต์ ยังไม่ได้ครองใจผู้บริโภค หรือกลุ่มธุรกิจ จนมียอดขายเป็นเบอร์ 1 ทั้ง ๆ ที่มีความพร้อมในหลาย ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเทคโนโลยี สินค้า หรือการสนับสนุนจากบริษัทแม่ แก้ 2 โจทย์ธุรกิจ สู่เบอร์ 1 ​นายวัชระ ศิริฤทธิชัย ผู้จัดการทั่วไป บริษัท นิปปอนเพนต์ เดคโคเรทีฟ โคทติ้ง (ประเทศไทย) จำกัด  ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายสีนิปปอนเพนต์ ในประเทศไทย เปิดเผยว่า สาเหตุสำคัญที่ปัจจุบันยอดขายของสีนิปปอนเพนต์ในประเทศไทย ไม่เป็นอันดับ 1 เหมือนในตลาดเอเชียมี 2 เรื่องหลัก ได้แก่ 1.การวางกลยุทธ์ทำธุรกิจไม่ถูกต้อง ในอดีตเมื่อ 20 ปีก่อนเคยวางกลยุทธ์การทำตลาดที่ถูกต้องมาก่อน จนสามารถครองยอดขายอันดับ 1 ได้ แต่จากกลยุทธ์ทางธุรกิจไม่ถูกต้องกับสภาพทางการตลาด ทำให้ยอดขายลดลงมาอย่างต่อเนื่อง 2.การเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรม จากการเปลี่ยนแปลงทางการตลาดที่มีมาอย่างต่อเนื่อง โดยการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภค ทำให้รูปแบบการตลาดของเจ้าของสินค้าต้องปรับเปลี่ยนตาม ซึ่งช่วงที่ผ่านมาการเปลี่ยนแปลงสำคัญ คือ ช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้า อย่างช่องทางโมเดิร์นเทรด เข้ามามีบทบาทสำคัญต่อการซื้อสินค้า เดิมผู้บริโภคนิยมซื้อสินค้าผ่านช่องทางตัวแทนจำหน่าย แต่การขยายตัวของร้านโมเดิร์นเทรด ทำให้ผู้บริโภคหันมาซื้อสินค้าผ่านช่องทางนี้มากขึ้น ทำให้สีนิปปอนเพนต์ที่มีช่องทางหลัก คือ ร้านค้าตัวแทนจำหน่าย ต้องสูญเสียส่วนแบ่งทางการตลาดให้กับคู่แข่ง ที่เข้าไปขายผ่านช่องทางร้านโมเดิร์นเทรด   อย่างไรก็ตาม สีนิปปอนเพนต์ ได้พยายามปรับกลยุทธ์และวิธีการทำตลาดมากขึ้น เพื่อให้ได้ส่วนแบ่งทางการตลาดกลับมาเพิ่มมากขึ้น และก้าวสู่เป็นเบอร์ 1 ในทุกกลุ่มสี โดยเฉพาะการผลักดันกลุ่มสีทาบ้านและอาคาร ที่ปัจจุบันสีนิปปอนเพนต์มีส่วนแบ่งทางตลาดในทุกผลิตภัณฑ์สี อาทิ สีทาอาคาร สีรถยนต์ และสีอุตสาหกรรม เป็นอันดับ  2 ​ ด้วยยอดขายเกือบ 10,000 ล้านบาท   แต่หากเป็นตลาดเฉพาะกลุ่มสีทาบ้านและอาคารและโรงงาน ปี 2564 มีมูลค่าตลาดรวม 24,000 ล้านบาท นิปปอนเพนต์มีส่วนแบ่งทางการตลาดเป็นอันดับ ​ 4 หรือคิดเป็นส่วนแบ่งทางการตลาดเป็น 7%  ขณะที่ผู้นำตลาดเบอร์ 1  มีส่วนแบ่งตลาด 50% สำหรับภาพรวมตลาดสีทาบ้านและอาคารในปี 2565 น่าจะมีอัตราการเติบโต​ 12.5%  คิดเป็นมูลค่า 27,000 ล้านบาท ปัจจัยส่งเสริมให้ตลาดเติบโตมาจาก นโยบายภาครัฐที่ช่วยส่งเสริมให้เกิดการใช้เพิ่มมากขึ้น การปรับปรุงซ่อมแซมบ้านของผู้บริโภค และราคาสินค้าที่ปรับเพิ่มขึ้นจากภาวะต้นทุนที่เพิ่มขึ้น   ปีที่ผ่ามานิปปอนเพนต์มีรายได้กลุ่มสีทาบ้านและอาคาร 1,800 ล้านบาท ปี 2566 นี้ตั้งเป้าเพิ่มรายได้เป็น 2,170 ล้านบาท หรือเพิ่มส่วนแบ่งทางการตลาดเป็น 9-10% และบริษัทพยายามผลักดันส่วนแบ่งยอดขายกลุ่มสีทาบ้านและอาคารเพิ่มขึ้นเป็น 15% ภายใน 3-5 ปี เพื่อจะขยับจากอันดับ 4 ขึ้นมาเป็นอันดับ 2  ซึ่งจะส่งผลให้ภาพรวมของสีนิปปอนเพนต์ในทุกตลาดสีขึ้นมาเป็นเบอร์ 1 ให้ได้ภายใน 3-5 ปีด้วย ​​ โดยปัจจุบันตลาดสีรวมทุกผลิตภัณฑ์มีมูลค่ารวม ​ 50,000 ล้านบาท ตลอดระยะเวลา 56 ปีที่ผ่านมา สิ่งที่เราทำได้ไม่ดี คือ เราไม่ปรับตัว เราเริ่มมาปรับตัวได้ดีขึ้นในช่วง 4-5 ปีส่งผลให้ปีที่แล้วมีการเติบโตกว่า 30% สูงสุดนับตั้งแต่ทำธุรกิจในไทย ​โดยมีการพัฒนาช่องทางตัวแทนจำหน่ายให้เติบโตคู่กับช่องทางโมเดิร์นเทรด  การพัฒนาและเพิ่มช่องทางใหม่ๆ เช่นออนไลน์ 3C ยุทธศาสตร์ทำตลาดปี 66 สำหรับกลยุทธ์ในการทำตลาด และเพิ่มส่วนแบ่งทางการตลาดให้เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ สีนิปปอนเพนต์จะใช้ยุทธศาสตร์เดินหน้า “Inspired by you” กับแนวคิด “3C” ได้แก่ Customer Centric-Customized Solution-Concrete Innovation ชูกลยุทธ์การตลาดครบเครื่อง ยกระดับความมั่นใจ พร้อมตอบโจทย์ทุกปัญหาและความต้องการของลูกค้าทั้งกลุ่ม B2B และ B2C   โดยนายณรงค์ฤทธิ์ มาลัยนวล ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด กล่าวว่า กลยุทธ์การทำตลาดของนิปปอนเพนต์ในปี 2566 นี้ บริษัทยังคงเน้นเดินหน้าตอกย้ำความเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านสีทาบ้านและอาคาร หรือ The Coatings Expert ผ่าน Inspired by you กับแนวคิด “3C” ได้แก่ Customer Centric ตามปณิธานขององค์กร การยึดความต้องการของลูกค้าเพื่อเข้าใจ แก้ไขและป้องกันปัญหาสี เป็นสิ่งสำคัญ โดยนิปปอนเพนต์ต้องการสร้างความแตกต่าง เพื่อสร้างความประทับใจ การจดจำ และการบอกต่อถึงความเอาใจใส่ Customized Solution “เพราะความใส่ใจทำให้เราเชี่ยวชาญ” การศึกษาเพื่อให้เข้าใจถึงความต้องการลูกค้าแต่ละบุคคล แต่ละองค์กรอย่างถ่องแท้ พร้อมนำเสนอ Solution ที่เหมาะสมและตอบโจทย์ผ่านความเชี่ยวชาญที่นิปปอนเพนต์มีเสมอมาอย่างมากที่สุด เพื่อแก้ไขและป้องกันปัญหาสี Concrete Innovation การเดินหน้าคิดค้น วิจัยและพัฒนาเพื่อนำเสนอนวัตกรรมในทุกผลิตภัณฑ์สีอย่างไม่หยุดยั้ง เพื่อสิ่งใหม่ที่สร้างประโยชน์ แก้ปัญหาและป้องกันได้จริง สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นตลอดเวลา   นายณรงค์ฤทธิ์  กล่าวอีกว่า นิปปอนเพนต์เน้นการสร้าง Engagement กับลูกค้าในทุกกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ ผู้รับเหมา ช่างสี ฯลฯ รวมไปถึงโมเดิร์นเทรด หรือดีลเลอร์ และเพื่อรองรับดีมานด์ที่เกิดขึ้นในทุกๆกลุ่ม ในปีนี้จะเห็นการนำเสนอนวัตกรรมออกสู่ตลาดทั้งในกลุ่มสินค้าสีทาพื้น  ซึ่งปัจจุบันมีมูลค่าตลาดรวมกว่า 500 ล้านบาทมีการเติบโตต่อเนื่อง ขณะที่มีผู้ประกอบการรายใหญ่เพียงไม่กี่รายจึงเป็นตลาดที่มีศักยภาพและมีโอกาสเติบโตได้อีกมาก  รวมทั้งยังมีแผนนำสินค้าที่เป็นเรือธงออกมาทำตลาดเพิ่มขึ้นในอนาคตด้วย ​ ปี 2566 ถือเป็นปีที่มีความท้าทายอย่างมากสำหรับนิปปอนเพนต์ แม้ภาพรวมเศรษฐกิจจะเริ่มส่งสัญญาณดีขึ้น จากปัจจัยบวก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการบริโภคในประเทศ และภาคท่องเที่ยวที่เริ่มกลับมาคึกคักขึ้น หลังจีนเปิดประเทศให้นักท่องเที่ยวออกเดินทางท่องเที่ยวได้ ทำให้โรงแรม ร้านอาหาร สถานบันเทิงต่างๆ ต้องปรับปรุงตกแต่งอาคาร ร้านค้า เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวที่จะเข้ามา   นอกจากนี้กลุ่มนักท่องเที่ยวจีนยังมีความต้องการซื้ออสังหาริมทรัพย์ในเมืองไทย ทำให้คาดการณ์ว่า ตลาดคอนโดมิเนียมจะกลับมาคึกคักอีกครั้ง อีกปัจจัยบวกคือการย้ายฐานการผลิตมาอยู่ในประเทศไทย ของผู้ประกอบการรายใหญ่ ทำให้เกิดการจ้างงานจำนวนมากและการใช้จ่ายที่จะตามมาในอนาคต ขณะที่ปัจจัยลบที่ต้องจับตามองคือ การเลือกตั้ง ซึ่งยังต้องรอดูนโยบายใหม่ของรัฐบาลว่าจะเดินหน้าอย่างไร   นายณรงค์ฤทธิ์  กล่าวเพิ่มเติมว่า ปีนี้บริษัทยังมีความเชื่อมั่นว่าภาพรวมของเศรษฐกิจจะกลับมาดีขึ้น จากภาคการผลิตและภาคท่องเที่ยว โดยเฉพาะการเข้ามาของนักท่องเที่ยวจีน ซึ่งนิยมซื้ออาคารสูงในไทยจะส่งผลให้ตลาดอาคารสูงกลับมาคึกคักและเดินหน้าก่อสร้างเพิ่มขึ้น ทำให้ตลาดสีทาบ้านและอาคารกลับมาเติบโตเพิ่มขึ้น ส่งผลให้นิปปอนเพนต์เองเติบโตตามไปด้วย โดยภาพรวมในปีนี้บริษัทตั้งเป้าหมายที่จะเติบโตเพิ่มขึ้น 25% พร้อมกับมีส่วนแบ่งตลาดเพิ่มขึ้นและกลายเป็นผู้นำตลาดในที่สุด   อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง -นิปปอนเพนต์ ออกสีใหม่ “เวเธอร์บอนด์” สู้ตลาด 2 หมื่นล้านหดตัว 15%
แอล.พี.เอ็น.ใช้ 5 Transformation มัดใจลูกค้า พร้อมสร้างรายได้ 50,000 ล้าน

แอล.พี.เอ็น.ใช้ 5 Transformation มัดใจลูกค้า พร้อมสร้างรายได้ 50,000 ล้าน

แอล.พี.เอ็น. วางโรดแมป 5 ปี สู่เป้าหมายรายได้รวม 50,000 ล้าน พร้อมการกลับมานั่งในใจลูกค้า โดยวาง 5 กลยุทธ์สำคัญ Transformation เดินหน้าปั้นแบรนด์ 168 จับกลุ่มคนรุ่นใหม่ เลิกใช้แบรนด์ ลุมพินี   หลังจาก 4-5 ปีที่ผ่านมา ชื่อของ แอล.พี.เอ็น.แทบจะหายไปจากวงการอสังหาริมทรัพย์ การเปิดตัวโครงการใหม่มีน้อยมาก เพราะผู้บริหารได้มีการจัดพอร์ตธุรกิจและปรับการทำงานภายในใหม่ จากผลกระทบที่เกิดขึ้นจากหลาย ๆ ปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงของสภาพตลาด การเกิดไวรัสโควิด-19 แพร่ระบาด   แต่หลังจากได้จัดการปัญหาต่าง ๆ ภายในเป็นที่เรียบร้อยแล้ว แอล.พี.เอ็น. ก็กลับมาใหม่อีกครั้ง กับแผนธุรกิจ 5 ปี ตั้งแต่ปี 2565-2569 ซึ่งมีโจทย์ทางธุรกิจสำคัญ คือ การกลับมาอยู่บนเวทีธุรกิจอสังหาฯ ที่เคยติดอันดับ Top10 และการเป็นแบรนด์ที่อยู่ในใจของผู้บริโภค ซึ่งมี 5 กลยุทธ์สำคัญที่พร้อมจะขยายธุรกิจนับจากนี้ แผน 5 ปีรายได้ 50,000 ล้าน นายโอภาส ศรีพยัคฆ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการ บริษัท แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) (LPN) เปิดเผยว่า ปี 2566 เป็นปีที่ท้าทายในการขับเคลื่อนองค์กร ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมผู้ซื้อที่อยู่อาศัย ภายหลังการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19​   โดยแอล.พี.เอ็น.กำหนดให้ปี 2566 เป็นปีแห่งการเปลี่ยนแปลงเพื่อนำไปสู่การพัฒนาที่อยู่อาศัยที่ดีตามแนวคิด “Transform for Better Living” เพื่อตอบโจทย์ทุกความต้องการของคนทุกวัย และขยายฐานลูกค้าเพิ่มขึ้นผ่านการพัฒนาและการออกแบบที่อยู่อาศัยที่สอดคล้องกับไลฟ์สไตล์ของกลุ่มลูกค้าในทุกระดับ เพื่อสร้างรายได้รวม 50,000 ล้านบาท ตั้งแต่ปี 2565-2569 ตามแผนโรดแมป 5 ปี และมีกำไรสุทธิ 5,000 ล้านบาท ปี 2566 เป็นปีที่ต้องเผชิญกับความท้าทายในหลายมิติ ทั้งการแพร่ระบาดของโคโรน่าไวรัสโควิด ที่ทำให้พฤติกรรมของลูกค้าเปลี่ยนแปลงไป รวมถึงภาวะเศรษฐกิจโลกที่มีโอกาสถดถอย อัตราดอกเบี้ยที่มีแนวโน้มสูงขึ้น การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่กำลังจะเกิดขึ้นหลังการเลือกตั้งในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ บริษัทจึงวางแผนยกระดับการบริหารจัดการ เพื่อการเติบโตอย่างแข็งแกร่งและยั่งยืนให้เกิดขึ้นจริง ตั้งแต่การนำร่องเผยโฉมรูปลักษณ์ใหม่ของการพัฒนาโครงการภายใต้แบรนด์ 168 ซึ่งเริ่มเห็นบ้างแล้วในช่วงปี 2565 ที่ผ่านมา รวมถึงแผนการขยายการพัฒนาที่อยู่อาศัย ไปสู่โครงการบ้านพักอาศัยระดับพรีเมี่ยม ซึ่งเป็นผลต่อเนื่อง จากการตอบรับที่ดีจากลูกค้าจนสามารถปิดการขายโครงการ BAAN 365 RAMA 3 ไปเป็นที่เรียบร้อย   โดยการก้าวสู่มิติใหม่ของแอล.พี.เอ็น.ที่ยึดความต้องการของลูกค้า (Customer Insight) เป็นศูนย์กลางในการพัฒนาองค์กรเป็นสำคัญ บริษัทจึงมุ่งมั่นตั้งใจสร้างสรรค์ประสบการณ์ที่ดีกับลูกค้าเป้าหมายมากยิ่งขึ้นเพื่อสร้างการรับรู้ใหม่ของแบรนด์ 168 รวมถึงการปรับเปลี่ยนโครงสร้างการบริหารจัดการภายในให้สามารถกระจายรายได้อย่างสม่ำเสมอ และมีการเติบโตของกำไรอย่างน้อย 10% ต่อปี ตามแผนการขับเคลื่อนองค์กร Turnaround ที่เริ่มมาตั้งแต่ปี 2565 ต่อเนื่องมาถึงปี 2566 แอล.พี.เอ็น ชู 5 กลยุทธ์ Transformation 1.Corporate Transformation การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างธุรกิจพัฒนาอสังหาฯ VS บริการ กลยุทธ์แรกในการผลักดันให้บริษัท ไปสู่เป้าหมายตามแผนธุรกิจ 5 ปี คือ การปรับองค์กร ทั้งในด้านภาพลักษณ์ให้ดูสดใหม่ และการปรับเชิงการบริหารธุรกิจ โดยแล้วเริ่มปรับตัวเองมาตั้งแต่ปีที่ผ่านมา ซึ่งในอดีตกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจ จะมุ่งเน้น 2 เรื่อง ​คือ Scale และ Speed   Scale คือ การพัฒนาโครงการขนาดใหญ่ แต่ละปีมีจำนวนโครงการไม่มาก ประมาณ 10 โครงการ ทำให้การบริหารงานโครงการไม่มีความซับซ้อน มีเพียงหน่วยงานเดียว ก็สามารถบริหารจัดการพัฒนาทั้ง 10 โครงการได้ แต่จากการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นต่าง ๆ ทำให้ ต้องมีการขยายพอร์ตธุรกิจให้มากขึ้น และการพึ่งพาธุรกิจคอนโดมิเนียมประเภทเดียวก็เป็นความเสี่ยงเกินไป   แม้ปัจจุบันจะมีธุรกิจบริการ อย่างบริษัท แอล.พี.พี.พรอพเพอร์ตี้ มาเนจเมนท์ จำกัด (LPP) ซึ่งก็เติบโตและขยายธุรกิจได้ต่อเนื่อง ปีที่ผ่านมาบริษัท​ได้มีการแยกโครงสร้างการบริหารเป็นอิสระ แต่แอล.พี.เอ็น.ยังคงถือหุ้น 100% ในอนาคตจะนำ LPP เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ต่อไปด้วย ทำให้​ในปัจจุบันแอล.พี.เอ็น.จึงดำเนินธุรกิจด้านการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ทั้งการพัฒนาคอนโดและบ้านพักอาศัยอย่างครบวงจร ในทุกระดับราคา เพื่อตอบโจทย์กับความต้องการของผู้ซื้อในทุกกลุ่มเป้าหมาย เราทำโครงการให้มีขนาดใหญ่ ทำให้พัฒนาโครงการไม่มาก 10 โครงการก็เพียงพอต่อการสร้างการเติบโต 20% เมื่อเปรียบเทียบกับบริษัทอื่น ต้องมี 20-30 โครงการ ถ้าจะเติบโตในอัตราดังกล่าว Speed การพัฒนาโครงการแม้จะเป็นโครงการขนาดใหญ่ แต่สามารถก่อสร้างได้อย่างรวดเร็ว บางโครงการที่ก่อสร้างตั้งแต่ช่วงต้นปี ประมาณปลายปีก็สามารถเข้าอยู่ได้ ในเชิงธุรกิจทำให้ควบคุมค่าใช้จ่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2.Management Transformation การเปลี่ยนโครงสร้างบริษัท Business Unit ในปี 2565 แอล.พี.เอ็น.ได้มีการจัดโครงสร้างการบริหารภายใน สู่การบริหารในรูปแบบของหน่วยธุรกิจ (Business Unit) จาก 4 หน่วยธุรกิจ ที่ประกอบด้วย คอนโดมิเนียม บ้านพักอาศัยกลุ่ม Value บ้านพักอาศัยกลุ่ม Premium ธุรกิจเช่าอาศัย โดยในปี 2566 จะเพิ่มเป็น 5 หน่วยธุรกิจ โดยเพิ่มหน่วยธุรกิจเพื่อพัฒนาบ้านพักอาศัยกลุ่ม Value อีก 1 หน่วย เพื่อสอดคล้องกับแผนการขยายงานในปี 2566 และเพิ่มยอดขายจากการขายคอนโด​ พร้อมผู้เช่าผ่านงานบริการและการปล่อยเช่า เพื่อตอบโจทย์การขายนักลงทุนที่แสวงหาผลตอบแทนที่สูงกว่าเงินฝาก แต่ยังคงมีความเสี่ยงต่ำจากการบริหารงานอย่างมืออาชีพจากแอล.พี.เอ็น. 3.Project Development Transformation การพัฒนาโครงการภายใต้แนวคิด “น่าอยู่” แม้ว่าแบรนด์ลุมพินี ลูกค้าส่วนใหญ่จะให้การยอมรับ และเชื่อมั่นในแบรนด์ว่ามีคุณภาพ และชื่นชอบ แต่ต้องยอมรับว่ากลุ่มเป้าหมายเดิมตอนนี้อายุ 40-50 ปี เป็น Gen X , Baby Boomer แต่ปัจจุบันลูกค้าเริ่มเปลี่ยนเป็น Gen Y และอายุน้อยลงเรื่อย ๆ ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลจากการที่บริษัท พยายามปรับสินค้าให้​ตรงความต้องการของผู้บริโภค จึงมีการพัฒนาแบรนด์ 168 ซึ่งยังคงยึดแนวคิด “น่าอยู่” (Livable Community) เพื่อสร้างสรรค์โครงการต่างๆ ตอบรับไลฟ์สไตล์ที่เปลี่ยนแปลงไปของลูกค้าในปัจจุบัน ซึ่งมีการออกแบบโครงการที่แตกต่างจากอดีต อาทิ การติดตั้ง EV Charger และ Solar Cell ในทุกโครงการ พร้อมกับสิ่งอำนวยความสะดวก เพื่อเติมเต็มประสบการณ์การใช้ชีวิตบนทำเลศักยภาพ   โดยชื่อของแบรนด์ 168 มีที่มาจากการนำเอาเลขที่ตั้งของ อาคารลุมพินี ทาวเวอร์ บนถนนพระราม 4 คือ 1168 ซึ่งเป็นโครงการแรกในช่วงการก่อตั้งบริษัทมาใช้ บ้านเลขที่ คือ 1168 โดยลดทอนเหลือเลข 168 เพราะมีความเชื่อมโยงในเรื่องของศาสตร์ตัวเลขที่เป็นมงคล เพราะมองว่าผู้บริโภคยุคใหม่ ส่วนใหญ่ให้ความสนใจเรื่อง ตัวเลขที่มีความเชื่อว่า​เป็นมงคล ซึ่ง 168 หมายถึง ฮก ลก ซิ่ว จึงเอามาเป็นชื่อ Master Brand ซึ่งจะเป็นแบรนด์ครอบคลุมบ้านและคอนโดทุกเซ็กเมนต์ ถ้ามีการวัด Trusted Brand เราเชื่อว่าแอล.พี.เอ็น.จะต้องติดอันดับ ซึ่งที่ผ่านมาเรามีเรื่องร้องเรียนในสคบ.ค่อนข้างน้อย ถ้ามีเราจะ Take action ทันที ทำให้ช่วง 4-5 ปีที่เราหายไป เราพยายามปรับภาพลักษณ์ใหม่ และช่วงปลายปี 2563 ทางคณะผู้บริหารนำเสนอแผนธุรกิจ 5 ปี มีโจทย์สำคัญคือการนำเอาแอล.พี.เอ็นกลับมายืนบนเวทีธุรกิจอสังหาฯ​ และยืนอยู่ในใจผู้บริโภคอีกครั้ง 4.Digital Transformation ใช้เทคโนโลยี เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนการทำงาน แม้ว่าภาพลักษณ์ของแอล.พี.เอ็น. ปัจจุบันอาจจะไม่ได้ดูทันสมัย แต่ปัจจุบันได้มีการนำเอาเทคโนโลยีด้านดิจิทัลเข้ามาใช้ในองค์กรมากมาย การสื่อสารภายในด้วยเอกสารแทบจะไม่มีแล้ว แต่การไปสู่เป้าหมายการบริหารจัดการองค์กรแบบ “Fully Digital Organization” ก็เป็นเรื่องสำคัญต้องทำแบบ 100% บริษัทจึงตั้งเป้าหมายให้ในทุกหน่วยงานให้สมบูรณ์แบบภายในปี 2567 เพื่อเพิ่มความคล่องตัวในการบริหารงาน พร้อมทั้งสนับสนุนงานด้านการตลาด การขาย รวมไปถึงด้านการออกแบบและการบริการ รองรับการสร้างฐานลูกค้าให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อสร้างประสบการณ์ใหม่ให้ลูกค้าในหลากหลายช่องทาง และตอบโจทย์กับการใช้ชีวิตของผู้คนในปัจจุบันและอนาคต 5.Brand Transformation ปรับภาพลักษณ์แบรนด์ เพื่อตอบโจทย์คนรุ่นใหม่ ในปี 2566 นี้จะเป็นปีแห่งการขยายการรับรู้ และสร้างประสบการณ์ใหม่ของแอล.พี.เอ็น. ทั้งกลุ่มเป้าหมายเดิมและขยายสู่กลุ่มเป้าหมายใหม่ ในฐานะผู้พัฒนาที่อยู่อาศัยที่มีคุณภาพมาตลอด 34 ปี โดยเมื่อเดือนตุลาคม 2565 ที่ผ่านมา ได้มีการเปลี่ยนโลโก้ครั้งใหม่ ซึ่งถือเป็นครั้งที่ 3-4 ที่ได้มีการปรับเปลี่ยนโลโก้ จากครั้งล่าสุดเมื่อปี 2563 ซึ่งเป้าหมายสำคัญ คือ การเปลี่ยนไปตามการเปลี่ยนแปลงของผู้บริโภค และนำไปสู่ Top of Mind แบรนด์ในใจผู้บริโภคภายใน 3  ปี เราทำเรื่องแบรนด์มา 3-4 ครั้ง โลโก้ครั้งล่าสุดก็โอเค ซึ่งสะท้อนค่านิยมบางอย่าง เกี่ยวกับเรื่องความนิ่ง ๆ สะท้อนอะไรบางอย่างของผู้บริหารแต่ละรุ่น ล่าสุด มีการปรับโลโก้ จาก 6 เส้น มาเป็น 7 เส้น ซึ่งหมายถึงบริษัททั้งหมดของกลุ่มแอล.พี.เอ็น.และมีการออกแบบตามหลักฮวงจุ้ยด้วย และมีความพรีเมี่ยมมากขึ้น นอกจากเรื่องแบรนด์แล้ว ปีนี้แอล.พี.เอ็น.ยังพร้อมเปิดโอกาสในการสร้างความร่วมมือ กับคู่ค้าทางธุรกิจ (Collaboration & Partnership) ในด้านต่างๆ เพื่อเสริมสร้างแบรนด์ให้เข้าถึงลูกค้ามากขึ้น รวมถึงการปรับรูปแบบการทำงานภายในองค์กร อาทิ วิธีการทำงานที่สร้างแรงจูงใจให้พนักงานได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์โดยยึดความต้องการลูกค้าเป็นหลัก และพร้อมดึงดูดคนรุ่นใหม่เข้าร่วมงานด้วยในอนาคต เปิด 17 โครงการ​ 14,000 ล้าน นายโอภาส กล่าวว่า ในปี 2566 แอล.พี.เอ็น. มีแผนเปิดตัวโครงการใหม่รวม 17 โครงการ มูลค่ารวม 14,000 ล้านบาท ภายใต้แบรนด์ “168” แบ่งเป็น โครงการคอนโด​ 4 โครงการ มูลค่า 5,000 ล้านบาท โครงการบ้านพักอาศัย 13 โครงการ มูลค่า 9,000 ล้านบาท พร้อมเปิดพรีเซลล์ 3 โครงการที่พักอาศัยระดับพรีเมี่ยม ได้แก่ Residence 168 ราชพฤกษ์ / Maison 168 เมืองทอง และ Villa 168 เวสต์เกต พร้อมกันในวันที่ 25-26 กุมภาพันธ์นี้   นอกจากนี้ ในปีนี้มีโครงการเริ่มส่งมอบ​ จำนวน 14 โครงการ แบ่งเป็น คอนโด 2 โครงการ ได้แก่ ลุมพินี คอนโดทาวน์ เอกชัย 48 และลุมพินี ทาวน์ชิป รังสิต-คลอง 1 (เฟส 3) และบ้านพักอาศัย 12 โครงการ ได้แก่ Residence 168 ราชพฤกษ์, Residence 168 อ่อนนุช 46, Maison 168 เมืองทอง, Villa 168 เวสต์เกต, Venue 168 เวสต์เกต, Venue 168 คูคต สเตชั่น, Venue 168 ราชพฤกษ์, Haus 168 เวสต์เกต, Haus 168 คูคต สเตชั่น, Haus 168 ราชพฤกษ์, และโครงการใหม่จำนวน 2 โครงการ     โดยในปีนี้บริษัทได้วางเป้าหมายรายได้รวมไว้ที่ 7,600 ล้านบาท ซึ่งมีอัตราการเติบโตสูงขึ้น 20 % จากปี 2565 ซึ่งมีรายได้รวม 6,136 ล้านบาท เติบโต 42% เมื่อ เทียบกับปี 2564 แบ่งเป็น โครงการคอนโด 3,769 ล้านบาท และโครงการบ้านพักอาศัย 2,064 ล้านบาท และรายได้จากการธุรกิจเช่า 303 ล้านบาท รวมทั้งยังมีรายได้พิเศษจากการขายอาคารสำนักงาน 2,590 ล้านบาท และมียอดรับรู้รายได้ (Backlog) มูลค่า 1,845 ล้านบาท ที่จะสร้างรายได้ในปี 2566-2568 และสินค้าคงเหลือ (Inventory) มูลค่า 7,000 ล้านบาท   นอกจากนี้ ปีนี้จะเป็นปีแรกในรอบ 5 ปีของแอล.พี.เอ็น.​ในการขยายการพัฒนาโครงการที่พักอาศัยในต่างจังหวัดอีกครั้ง หลังจากที่เคยเปิดตัวโครงการคอนโดในจังหวัดอุดรธานี ชลบุรี พัทยา และชะอำ มาแล้ว เนื่องจากเห็นโอกาสในการขยายการลงทุนตามการขยายตัวของเมือง เส้นทางคมนาคม และความต้องการของผู้ซื้อ โดยแอล.พี.เอ็น.จะเน้นขยายการพัฒนาโครงการไปในจังหวัดที่มีศักยภาพในการขยายตัวและกำลังซื้อสูง โดยเฉพาะในทำเลเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor)   อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง -แอล.พี.เอ็น. เล็งเปิด 5 โปรเจ็กต์บ้านพรีเมียม 5,000 ล้าน บุกตลาดปี 66 จับกลุ่มลูกค้ากำลังซื้อสูง
เนอวานา กลับมาลุยตลาดบ้าน-คอนโดลักชัวรี่ งัดแลนด์แบงก์ปั้นโปรเจ็กต์ 40,000 ล้าน

เนอวานา กลับมาลุยตลาดบ้าน-คอนโดลักชัวรี่ งัดแลนด์แบงก์ปั้นโปรเจ็กต์ 40,000 ล้าน

เนอวานา สลัดภาพบริษัทร่วมทุนต่างชาติ กลับมาเป็นดีเวลลอปเปอร์ ปั้นโปรเจ็กต์อสังหาฯ เพื่อที่อยู่อาศัยเป็นหลัก เตรียมขออนุมัติผู้ถือหุ้นใช้ชื่อเดิม “เนอวานา ดีเวลลอปเมนท์” พร้อมงันแลนด์แบงก์ปั้นโปรเจ็กต์ 40,000 ล้าน ประเดิมปี 66 เปิด 9 โครงการใหม่ มูลค่ากว่า 21,100 ล้าน สู่เป้ายอดขายเติบโตอย่างก้าวกระโดดเป็น 8,500 ล้าน   นายศรศักดิ์ สมวัฒนา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เนอวานา ไดอิ จำกัด (มหาชน) หรือ NVD เปิดเผยว่า หลังจากที่บริษัทได้ปรับโครงสร้างผู้ถือหุ้นและองค์กรในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาเป็นที่เรียบร้อย บริษัทได้กลับมาขยายธุรกิจอสังหาริมทรัพย์อย่างเต็มรูปแบบอีกครั้ง โดยนำเอาที่ดินที่ได้สะสมไว้ในช่วงที่ผ่านมา พัฒนาเป็นโครงการที่อยู่อาศัย ทั้งประเภทบ้านเดี่ยว ทาวน์โฮม คอนโดมิเนียม และโฮมออฟฟิศ ซึ่งปัจจุบันมีที่ดินสะสม และสามารถพัฒนาโครงการได้มูลค่า 40,000 ล้านบาท ในการขายและทำตลาดถึงปี 2568   ขณะเดียวกันได้เปลี่ยนชื่อบริษัทใหม่ เป็นบริษัท เนอวานา ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นชื่อเดิมตั้งแต่เริ่มต้นธุรกิจในช่วงปี 2548 หลังจากปรับโครงสร้างผู้ถือหุ้นใหม่ จึงจะมุ่งเน้นในการพัฒนาอสังหาฯ เป็นหลัก โดยจะมีการขออนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นอีกครั้ง ในวันที่ 12 เมษายน 2566 เราจะเป็นดีเวลลอปเปอร์ทำสิ่งที่เราถนัน เชื่อว่าสินค้าเนอวานาตอบสนองลูกค้าได้ดี บนที่ดินศักยภาพ ซึ่งบางแปลงซื้อมา 4-5 ปีที่แล้ว ทำให้มีต้นทุนที่มีประสิทธิภาพ ทำให้วันนี้เนอวานากลับไปยืนในจุดที่ลูกค้าพอใจอีกครั้ง สำหรับทิศทางการดำเนินธุรกิจในปี 2566 ว่า บริษัทเตรียมงบลงทุน 4,370 ล้านบาท เพื่อเปิดตัวโครงการที่อยู่อาศัยใหม่ ทั้งบ้านเดี่ยว ทาว์นโฮมและคอนโด จำนวน 9 โครงการ มูลค่ารวมกว่า 21,100 ล้านบาท ซึ่งเป็นจำนวนโครงการใหม่ที่สูงที่สุดในประวัติศาสตร์ของบริษัท และโครงการใหม่ที่จะเปิดตัวยังคงมุ่งเน้นกลุ่มเป้าหมายในตลาดระดับบนเป็นหลักด้วย โดยจะมีการพัฒนาโครงการภายใต้แบรนด์ใหม่เพิ่มเข้ามาทำตลาดด้วย ​ โดยในปีนี้บริษัทตั้งเป้ายอดขายรวม 8,500 ล้านบาท ซึ่งเติบโตอย่างก้าวกระโดดกว่า 160% จากปีก่อนหน้านี้ และรายได้ 4,500 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 75%” ปีนี้จะเป็นปีที่เนอวานาเก็บเกี่ยวสิ่งที่เราได้เตรียมความพร้อมสำหรับการดำเนินธุรกิจในทุกด้านและลงทุนซื้อที่ดินใหม่ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา เรามั่นใจในตลาดที่อยู่อาศัยระดับบนที่ยังคงมีความต้องการอย่างต่อเนื่องและมีศักยภาพในการเติบโตหลังวิกฤตโควิด   สำหรับโครงการใหม่ที่จะเปิดในปีนี้ ได้แก่ โครงการบ้านเดี่ยวเนอวานา คอลเลคชั่น กรุงเทพกรีฑา (Nirvana Collection Krungthep Kreetha) โครงการบ้านเดี่ยวเนอวานา แอปโซลูท เอกมัยรามอินทรา (Nirvana Absolute Ekkamai Ramintra ) โครงการบ้านเดี่ยวเนอวานา แอปโซลูท กรุงเทพกรีฑา (Nirvana Absolute Krungthep Kreetha) โครงการทาว์นโฮมเนอวานา   ดีฟายน์ กรุงเทพกรีฑา(Nirvana Define Krungthep Kreetha) โครงการโฮมออฟฟิศ แอทเวิร์ค เนอวานาทาว์นชิพ (@Work Nirvana Township) โครงการโฮมออฟฟิศ แอทเวิร์ค กรุงเทพกรีฑา (@Work Krungthep Kreetha) โครงการโฮมออฟฟิศ แอทเวิร์ค ร่มเกล้า (@Work Romklao) เดอะโมส คอนโดมิเนียม รัตนาธิเบศร์ (The Most Condominium Rattanathibet) คอนโด สุขุมวิท 23 (Condominium Sukhumvit 23) เดินหน้าพัฒนาทาวน์ชิพ 30,000 ล้าน นายศรศักดิ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า เนอวานา ยังคงมุ่งเน้นพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยในย่านกรุงเทพกรีฑาเป็นหลัก เนื่องจากเป็นทำเลของที่อยู่อาศัยในระดับบนที่มีการเติบโตอย่างสูง เปรียบเสมือน “เบเวอร์ลี ฮิลล์ ของกรุงเทพฯ ” ซึ่งถือเป็นทำเลศักยภาพของการอยู่อาศัย สามารถเชื่อมต่อกับถนนหลักเข้าสู่พื้นที่กรุงเทพฯ ชั้นในได้หลายเส้นทาง เช่น ใช้เส้นทางทางด่วนถนนพระราม 9 สำหรับการเข้าถึงโครงข่ายระบบรางด้วยรถไฟฟ้าสายสีเหลือง และแอร์พอร์ตลิงค์ อีกทั้งยังมีโครงข่ายถนนวงแหวนรอบนอกและมอเตอร์เวย์ ใช้เดินทางไปยังโซนอื่น ๆ ได้อย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ยังอยู่ใกล้สนามบินสุวรรณภูมิ โรงเรียนนานาชาติ โรงพยาบาล ห้างสรรพสินค้าชั้นนำและสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆ   โดยบริษัท มีที่ดินอยู่ในบริเวณกรุงเทพกรีฑากว่า 200 ไร่ ในโครงการเนอวานา ทาวน์ชิพ (Nirvana Township) ซึ่งสามารถพัฒนาโครงการได้ 12 โครงการ รวมมูลค่า 30,000 ล้านบาท โดยพัฒนาที่อยู่อาศัยไปแล้ว 3 โครงการ วางแผนพัฒนาในปีนี้อีก 3 โครงการ ประกอบไปด้วย โครงการที่อยู่อาศัยระดับอัลตราลักชัวรี โครงการที่อยู่อาศัยระดับไฮเอนด์ และ พรีเมี่ยมโฮมออฟฟิต พร้อมทั้งยังสร้างไลฟ์สไตล์มอลล์ ที่มีทั้งซุปเปอร์มาร์เก็ต ร้านค้าระดับไฮเอนด์ และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ บริเวณด้านหน้าโครงการ เพื่อเติมเต็มการอยู่อาศัยที่สมบูรณ์แบบที่สุดในโครงการเนอวานา ทาวน์ชิพแห่งนี้ ซึ่งในอนาคตจะพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยเพิ่มอีก 6 โครงการด้วย ในปีที่ผ่านมา เนอวานาให้ความสำคัญกับการรีฟอร์มในหลาย ๆ ด้าน ทั้งการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ให้ตอบสนองต่อความต้องการของผู้ซื้อบ้านให้มากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังมีการซื้อที่ดินใหม่เข้ามาเป็นแลนด์แบงก์สำหรับพัฒนาโครงการในอนาคต โดยในปี 2565 บริษัทมีรายได้รวมทั้งสิ้นเท่ากับ 2,569 ล้านบาท และยอดขายรวม 3,260 ล้านบาท ซึ่ง 87% ของยอดขายมาจากบ้านแนวราบและ 13% มาจากคอนโด มีการเปิดตัวโครงการใหม่ 2 โครงการ คือ เนอวานา แอปโซลูท บางนา (Nirvana Absolute Bang Na) และเนอวานา ดีฟายน์ เอกมัย-รามอินทรา (Nirvana Define Ekkamai-Ramintra) ซึ่งสามารถทำยอดขายรวมกันได้ 720 ล้านบาท ในเวลาเพียง 2 สัปดาห์  ทำให้ปีนี้บริษัทมีโครงการออกมาขายและทำตลาดรวมมูลค่า 33,100 ล้านบาท   อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง -โฮมออฟฟิศติดรถไฟฟ้า ใกล้ทางด่วน Nirvana @WORK-เนอวานาแอทเวิร์ค : รีวิวโฮมออฟฟิศ -เนอวานา จับมือ คริสตี้ส์ ขายโครงการ “Banyan Tree Residence Riverside Bangkok” ให้กลุ่มเอ-ลิสต์ทั่วโลก
เอพี ไทยแลนด์  เผยผลงานปี 65 ทำรายได้ 49,388 ล้าน  พร้อมกวาดกำไรเติบโตกว่า 23%  

เอพี ไทยแลนด์ เผยผลงานปี 65 ทำรายได้ 49,388 ล้าน พร้อมกวาดกำไรเติบโตกว่า 23%  

เอพี ไทยแลนด์ เผยรายได้รวม 49,388 ล้าน เติบโตกว่า 23% ทำกำไรสุทธิกว่า 5,870 ล้าน เติบโตสูงกว่า 29% ย้ำเดินตามแผนเปิดตัวดุดันสุดในอุตสาหกรรม มีสัดส่วนหนี้สินต่อทุน NET D/E ต่ำสุดเพียง 0.58 เท่า พร้อมเดินหน้าตามแผน 2023 AP INCLUSIVE GROWTH เปิดตัว 58 โครงการใหม่  ดุดันสุดในอุตสาหกรรม มูลค่ากว่า 77,000 ล้านบาท พร้อมส่งไฮไลต์ประจำไตรมาส 1 กับ THE CITY บ้านโมเดลใหม่ 100 ตารางวา เดินตามเกมชิงแชร์ตลาดบ้านหรู 20 - 50 ล้านบาท นายวิทการ จันทวิมล  รองกรรมการผู้อำนวยการ สายงานกลยุทธ์องค์กรและการสร้างสรรค์ บริษัท เอพี ไทยแลนด์ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยถึง​ผลการดำเนินงานประจำปี 2565 ว่า บริษัทสามารถสร้างรายได้รวมจากสินค้าแนวราบ กลุ่มคอนโดมิเนียม (100% JV) และธุรกิจอื่นๆ ได้สูงถึง 49,388 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 23.4% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ที่มีรายได้รวมเท่ากับ 40,015  ล้านบาท และมีกำไรสุทธิ     5,876 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 29.4% จากงวดเดียวกันของปีก่อนหน้า ที่มีกำไรสุทธิรวมเท่ากับ 4,543 ล้านบาท ซึ่งมีสัดส่วนหนี้สินสุทธิต่อทุนต่ำเพียง 0.58 เท่า   ทั้งนี้ ในไตรมาส 4 ปี 2565 บริษัทสามารถสร้างรายได้รวมจำนวน 11,822 ล้านบาท เติบโต 22% และกำไรสุทธิ 1,154 ล้านบาท เติบโต 16.1% หากเทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อนหน้า   สำหรับคีย์แฟกเตอร์ที่ส่งผลให้ปีที่ผ่านมา บริษัท มีการเติบโตดังกล่าว เป็นเพราะ​ 2 ปัจจัยสำคัญ ได้แก่ โครงการแนวราบพิสูจน์ให้เห็นถึงประสิทธิภาพที่แข็งแกร่ง และยังคงเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญในการสร้างรายได้ที่มากถึง 35,605 ล้านบาท เพิ่มขึ้นถึง 21.8% ธุรกิจคอนโดมิเนียม เริ่มกลับมาสดใสอีกครั้ง โดยปีที่ผ่านมาบริษัทฯ รับรู้รายได้เพิ่มจาก 3 คอนโดมิเนียมใหม่ที่สร้างเสร็จพร้อมอยู่ ได้แก่ LIFE สาทร เซียร์ร่า, RHYTHM เอกมัย เอสเตท และ ASPIRE เอราวัณ ไพร์ม ส่งผลให้ในปีที่ผ่านมาธุรกิจคอนโดมิเนียมสามารถขับเคลื่อนรายได้รวม (100% JV) ได้มากถึง 12,767 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 29.5% ส่วนแผนธุรกิจปี 2566 บริษัทพร้อมเดิมหน้าตามแผน AP INCLUSIVE GROWTH ที่สุดของปีกับการเติบโตร่วมกัน โดยใช้ความชำนาญที่มีมาสร้างโอกาส และข้อได้เปรียบให้เกิดขึ้นในหลากหลายมิติ ภายใต้ปรัชญาที่ต้องการส่งมอบชีวิตดี ๆ ที่ทุกคนเลือกเองได้ ผ่านการเปิดตัวโครงการใหม่จำนวน 58 โครงการ มูลค่าประมาณ 77,000 ล้านบาท ซึ่งแบ่งเป็นบ้านเดี่ยว 22 โครงการ มูลค่า 34,800 ล้านบาท ทาวน์โฮม 27 โครงการ มูลค่า 26,400 ล้านบาท คอนโด 4 โครงการ มูลค่า 11,800 ล้านบาท และโครงการในต่างจังหวัด 5 โครงการ มูลค่า 4,000 ล้านบาท และตั้งเป้ายอดขาย 58,000 ล้านบาท เป้ารายได้รวม 100% JV ที่ 57,500 ล้านบาท   โดยไฮไลต์ไตรมาสแรกคือ กลุ่มธุรกิจบ้านเดี่ยวกับการรุกเข้ากินแชร์ตลาดบ้านหรู ด้วยการเปิดตัว THE CITY บ้านเดี่ยวโมเดลใหม่ ขนาดพื้นที่ 100 - 127 ตารางวา พื้นที่ใช้สอยประมาณ 386 - 560 ตารางเมตร ใน 3 โครงการใหม่ ได้แก่ THE CITY จรัญฯ-ปิ่นเกล้า จำนวน 58 ยูนิต มูลค่าโครงการ 1,350 ล้านบาท THE CITY ปิ่นเกล้า-บรมฯ 3 จำนวน 68 ยูนิต มูลค่าโครงการ 1,420 ล้านบาท และ THE CITY สุขุมวิท-อ่อนนุช 2 จำนวน 64 ยูนิต มูลค่าโครงการ 1,380 ล้านบาท   อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง -เอพี ไทยแลนด์ ขนบ้าน-คอนโด ขายกว่า 1.65 แสนล้าน ลุยตลาดด้วยแผน INCLUSIVE GROWTH          
[PR News] พฤกษา โฮลดิ้งโชว์ปี 65 กำไรโต 18% เตรียมผุดศูนย์สุขภาพ

[PR News] พฤกษา โฮลดิ้งโชว์ปี 65 กำไรโต 18% เตรียมผุดศูนย์สุขภาพ

พฤกษา โฮลดิ้ง โชว์ปี 65  ทำกำไรสุทธิ 2,772 ล้านบาท โต 18% มีรายได้ 28,640 ล้านบาท ใกล้เคียงกับปี 64 ขณะที่รายได้จากวิมุตเติบโตอย่างก้าวกระโดดเพิ่มขึ้น 4.7 เท่า พร้อมวางแผนเปิดศูนย์สุขภาพแห่งใหม่ มอบบริการครอบคลุมทุกมุมเมือง   นายอุเทน โลหชิตพิทักษ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พฤกษา โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) เปิดเผยผลการดำเนินงานในปี 2565 ว่า พฤกษา โฮลดิ้ง มีกำไรสุทธิ 2,772 ล้านบาท เติบโต 18% เมื่อเทียบกับปี 2564 โดยมีรายได้ใกล้เคียงกับปี 2564 ที่ 28,640 ล้านบาท หรือ เติบโต 1% สามารถทำกำไรขั้นต้นได้ดีขึ้น 9% สะท้อนถึงการบริหารจัดการต้นทุนของสินค้าและบริการได้ดี จากการนำวิศวกรรมคุณค่ามาใช้ (Value Engineering) ทั้งเรื่องการพัฒนาใช้แผ่นพื้นคอนกรีตสำเร็จรูปชนิดมีรูกลวง (Hollow Core) การออกแบบคานคอดิน (Ground Beam) และการเชื่อมซีเมนต์ (Cement Jointing) แบบใหม่ในขั้นตอนการก่อสร้าง รวมถึงการนำเทคโนโลยีบล็อกเชน (Blockchain) เข้ามาใช้เพื่อลดต้นทุนการก่อสร้าง จากปริมาณการใช้ซีเมนต์ที่ลดลง พร้อมกับลดค่าขนส่งและจำนวนชั่วโมงการทำงานที่ลดลงด้วย   ปีที่ผ่านมาพฤกษามุ่งเพิ่มสัดส่วนการสร้างรายได้ประจำต่อเนื่อง (Recurring Income) เพื่อสร้างการเติบโตในระยะยาว จึงได้มีการลงทุนเชิงกลยุทธ์ในธุรกิจใหม่ต่อเนื่องตลอดทั้งปี อาทิ การตั้งกองทุน Corporate Venture 3,500 ล้านบาท เพื่อลงทุนใน Prop Tech, Health Tech และ Sustainable Tech  และล่าสุดได้ร่วมกับแคปปิตอลแลนด์ อินเวสเม้นท์ กรุ๊ป  และ  แอลลี่ โลจิสติกส์ พร็อพเพอร์ตี้  จัดตั้งกองทุน “CapitaLand SEA Logistics Fund” ตั้งเป้ามูลค่าอสังหาริมทรัพย์โลจิสติกส์ภายใต้การจัดการ 1,000 ล้านเหรียญสิงคโปร์ เป็นต้น   ในขณะที่สถานะทางการเงินของพฤกษายังคงแข็งแกร่ง โดยมีอัตราส่วนเงินกู้ยืมต่อหุ้นทุนสุทธิ (Net Gearing Ratio) อยู่ในระดับต่ำที่ 0.22 เท่า และจากผลการดำเนินงานในปีที่ผ่านมา บริษัทฯ สามารถประกาศจ่ายเงินปันผลเท่ากับ 65 สตางค์ รวมเงินปันระหว่างกาลแล้วจ่ายทั้งสิ้นเท่ากับ 96 สตางค์ กำหนดรายชื่อผู้ถือหุ้น (Record Date) ที่มีสิทธิรับเงินปันผลในวันที่ 10 มี.ค. โดยจะนำเสนอขออนุมัติต่อที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นในเดือนเมษายน 2565 มีอัตราผลตอบแทนจากการลงทุนเท่ากับ 7.4% และกำหนดจ่ายเงินปันผลวันที่ 19 พ.ค.นี้   สำหรับปี 2566 คาดการณ์รายได้รวมของทั้งกลุ่มประมาณ 30,000 ล้านบาท เติบโตขึ้น 5% เมื่อเทียบจากปี 2565 โดยคาดว่าจะได้รับแรงสนับสนุนมาจากธุรกิจอสังหาฯ ที่จะมีการเปิดตัวโครงการใหม่ทั้งสิ้น 23 โครงการ มูลค่ารวมกว่า 23,500 ล้านบาท และยังมีแผนการลงทุนในธุรกิจใหม่อีกราว 6,000 ล้านบาทด้วย ซึ่งการลงทุนในธุรกิจใหม่จะเริ่มมีความชัดเจน ทั้งธุรกิจโลจิสติกส์ รวมถึงการปรับโครงสร้างของธุรกิจพรีคาสท์ที่คาดว่าจะมีรายได้ขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตามแผนงานการสร้างความยั่งยืนแก่องค์กรต่อไป ด้านนายปิยะ ประยงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พฤกษา เรียลเอสเตท จำกัด (มหาชน)  กล่าวว่า ปี 2565 พฤกษาทำรายได้ 27,191 ล้านบาท เปิดโครงการใหม่รวม 19 โครงการ มูลค่า 11,100 ล้านบาท และในปี 2566 วางกลยุทธ์เพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้พอร์ตโฟลิโอ (Portfolio)  มีแผนเปิดโครงการใหม่ 23 โครงการ แบ่งเป็นโครงการบ้านเดี่ยว  8 โครงการ ทาวน์เฮาส์ 11 โครงการ และ คอนโดมิเนียม 4 โครงการ  รวมมูลค่าทั้งหมดราว 23,500 ล้านบาท มุ่งเพิ่มกลุ่มสินค้าที่จับกลุ่มลูกค้าในเซ็กเม้นต์ระดับกลางไปสูง โดยมีแผนเปิดบ้านเดี่ยวพรีเมียมถึง 3 โครงการ ได้แก่  เดอะปาล์มวัชรพล เดอะปาล์ม บางนาวงแหวน และ เดอะปาล์มพัฒนาการ  พร้อมมุ่งบริหารสินทรัพย์ที่มีในมือ โดยมีที่อยู่อาศัยโครงการปัจจุบันที่ยังเปิดขายอยู่ทั่วประเทศ รวมมูลค่าราว 69,900 ล้านบาท 158 โครงการ   ปี 2566 บริษัทตั้งเป้ายอดขายที่ 24,000 ล้านบาท และตั้งเป้ายอดโอนที่  28,000 ล้านบาท  มุ่งสร้างคุณค่าเพิ่มเพื่อลูกค้า (Customer Value) ด้วยการพัฒนาลิฟวิ่งโซลูชั่น (Living Solution) รองรับความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไปตามเมกะเทรนด์ของโลก โดยคำนึงถึงการสร้างความยั่งยืน (Sustainability) อย่างต่อเนื่อง และในปีนี้ มีแผนการซื้อที่ดินราว 5,000 ล้านบาท มุ่งเน้นทำเลที่มีศักยภาพเพื่อส่งมอบผลิตภัณฑ์ในระดับพรีเมียมเพิ่มขึ้น และมุ่งผสานความร่วมมือระหว่างธุรกิจในเครือพฤกษาทั้งธุรกิจด้านสุขภาพ และธุรกิจอื่นในเครือที่กำลังจะเปิดตัวในปีนี้ด้วย ส่วนนายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์  ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โรงพยาบาลวิมุต โฮลดิ้ง จำกัด เปิดเผยผลการดำเนินงานปี 2565 ว่า วิมุตทำรายได้เติบโตแบบก้าวกระโดด 1,340 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 4.7 เท่า จากปี 2564  ซึ่ง 80% เป็นรายได้ที่ไม่เกี่ยวข้องกับโรคโควิด-19  แม้ว่ารายได้จากโรคที่เกี่ยวข้องกับโควิด-19 ลดลงในปีที่ผ่านมา แต่สามารถทำรายได้เพิ่มขึ้น จากการขยายเครือข่ายระบบนิเวศ หรือ Ecosystem ของโรงพยาบาล ได้แก่ เวลเนสต์ เซ็นเตอร์ บ้านหมอวิมุต โรงพยาบาลเทพธารินทร์ บริการผ่านดิจิตัลแพลท์ฟอร์ม ทั้งแอพพลิเคชั่น  เทเลเมดิซีน ไปจนถึงความร่วมมือกับพันธมิตรต่าง ๆ เสริมทัพด้วยรายได้จากโรงพยาบาลเทพธารินทร์ ที่มีผลการดำเนินงานดีขึ้นด้วย ประกอบกับปีที่ผานมาวิมุตสร้างความร่วมมือกับพาร์ทเนอร์ต่างชาติ ทำให้จำนวนผู้ป่วยต่างชาติที่มาใช้บริการที่โรงพยาบาลมีจำนวนสูงขึ้น 3.2 เท่าด้วย  ในปี 2566 ทางกลุ่มมีแผนการลงทุนราว 2,500 ล้านบาท   มุ่งเน้นการสร้างและเปิดศูนย์สุขภาพ (Health Center) เพิ่มอีก 3 แห่ง และเตรียมงานพัฒนาโรงพยาบาลวิมุตที่ปิ่นเกล้า   นอกจากนี้ในปีที่ผ่านมา พฤกษายังได้รับรางวัลเกียรติยศการันตีผลการดำเนินงานจากเวทีระดับนานาชาติ และระดับประเทศหลายแห่ง อาทิ รางวัลจากเวทีระดับอินเตอร์ ได้แก่ รางวัล 3G Excellence in Sustainable Development Award 2022 รางวัล 3G CSR Leadership Award 2022 และรางวัลระดับประเทศ ได้แก่ “รางวัลองค์กรโปร่งใส ครั้งที่ 10” จากสำนักคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.)  รางวัล Thailand Top Company Awards รางวัล BCI Asia Top 10 Developers Awards และ รางวัล FINALIST ของกลุ่มรางวัล BEST BRAND PERFORMANCE ON SOCIAL MEDIA เป็นต้น
วัน แบงค็อก  เตรียมเปิดเฟสแรก Q1/2567  กับ 8 ประสบการณ์ Urbanverse กว่า 1.2 แสนล้าน

วัน แบงค็อก เตรียมเปิดเฟสแรก Q1/2567 กับ 8 ประสบการณ์ Urbanverse กว่า 1.2 แสนล้าน

วัน แบงค็อก เตรียมเปิดเฟสแรก ไตรมาส 1 ปี 2567 พร้อมเดินหน้าพัฒนาโปรเจ็กต์มูลค่ากว่า 120,000 ล้าน ให้สมบูรณ์ ภายใต้แนวคิด “จักรวาลของชีวิตเมือง” (Urbanverse) มิติของการใช้ชีวิตที่หลากหลาย เชื่อมย่านพระราม 4 กับเมือง ด้วย 8 ประสบการณ์ใหม่     วัน แบงค็อก โครงการอสังหาริมทรัพย์ขนาดใหญ่ มูลค่ากว่า 120,000 ล้านบาท  ที่พัฒนาโดย บริษัท ทีซีซี แอสเซ็ทส์ (ประเทศไทย) จำกัด และบริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ โฮลดิ้งส์ (ประเทศไทย) จำกัด กำหนดแผนการเปิดให้บริการเฟสที่หนึ่ง ในช่วงไตรมาสแรกปี 2567 นี้แล้ว นายปณต สิริวัฒนภักดี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มบริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ ลิมิเต็ด เปิดเผยว่า  จากจุดเริ่มต้น บนถนน ถนนพระราม 4 ซึ่งเป็นย่านการค้าที่สำคัญ มีประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรมมาอย่างยาวนาน เปี่ยมไปด้วยศักยภาพทางด้านเศรษฐกิจ  ด้วยเหตุนี้ ทางบริษัทจึงเข้ามาพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์หลายแห่งบนถนนพระราม 4 เริ่มตั้งแต่ สามย่าน มิตรทาวน์ สีลม เอจ เดอะ ปาร์ค เอฟวายไอ เซ็นเตอร์  รวมถึงศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ โดยโครงการ วัน แบงค็อก จะเป็นจิ๊กซอว์ชิ้นสำคัญที่มาเติมเต็มย่านพระราม 4 ให้เป็นจุดยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจที่สมบูรณ์แบบ และมีส่วนช่วยผลักดันให้กรุงเทพฯ กลายเป็นศูนย์กลางทางการค้าระดับนานาชาติ ดึงดูดนักธุรกิจ นักลงทุน และนักท่องเที่ยวจากทั่วทุกมุมโลก โครงการวัน แบงค็อก ได้รับการพัฒนาขึ้นเพื่อขับเคลื่อนกรุงเทพฯ (Evolving Bangkok) สร้างโครงการระดับโลก ด้วยการนำคุณค่าและเสน่ห์ของกรุงเทพฯ ในอดีตมาพัฒนาเพื่อสร้างพื้นที่พระราม 4 ให้เป็นย่านแห่งใหม่ บนแนวคิด 4 แกนหลัก เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตคนเมือง  ดังนี้ Being the Movement: ขับเคลื่อนเมืองและนำความก้าวหน้ามาพัฒนาไปพร้อมกับกรุงเทพฯ เพื่อคุณภาพชีวิตของคนเมือง Amplify Bangkok’s Values: ความเป็นที่สุดแห่งคุณค่าและเสน่ห์ของกรุงเทพฯ ที่สั่งสมมานับศตวรรษมาเป็นแรงบันดาลใจในการออกแบบพื้นที่ต่างๆ Redefine the Cityscape: เป็นหมุดหมายสำคัญที่จะพลิกโฉมเมือง ด้วยการพัฒนาย่านพระราม 4 ให้เป็นแกนกลางใหม่ของเมือง ที่มีชีวิตชีวาอยู่เสมอ Empower Life in Smart and Sustainable Ecosystem: ให้ความสำคัญกับโครงสร้างพื้นฐาน การจัดการระบบข้อมูล และเทคโนโลยีเพื่อความสะดวกสบาย ตอบโจทย์การใช้ชีวิต พร้อมดูแลสิ่งแวดล้อม เพื่อเติบโตไปพร้อมกับกรุงเทพฯอย่างยั่งยืน   วัน แบงค็อก พัฒนาขึ้นภายใต้คอนเซปต์ “จักรวาลของชีวิตเมือง” (Urbanverse) มิติของการใช้ชีวิตที่หลากหลาย เชื่อมย่านพระราม 4 กับเมือง ไม่เพียงแต่เชิงกายภาพเท่านั้น หากยังเชื่อมโยง ส่งเสริม ร่วมมือ และเติมเต็มศักยภาพให้กับย่านอื่นๆ ของกรุงเทพฯ เพื่อให้เกิดพลังแห่งการเปลี่ยนแปลงของเมืองและสร้างประโยชน์ให้กับผู้คนและเกิดประสบการณ์ที่หลากหลาย 8 ประสบการณ์ใหม่ ในวัน แบงค็อก จักรวาลชีวิตเมืองใน วัน แบงค็อก มอบประสบการณ์ใหม่ 8 ส่วน ประกอบด้วย   ประสบการณ์แห่งโลกธุรกิจ (Workplace): อาคารสำนักงานที่เพรียบพร้อมด้วยระบบเทคโนโลยีที่ล้ำสมัย ส่งเสริมคุณภาพชีวิตของคนทำงาน และความสะดวกสบายที่ช่วยพาธุรกิจให้ขับเคลื่อนไปข้างหน้า ประสบการณ์แห่งโลกไลฟ์สไตล์ (Retail): ประสบการณ์ใหม่แห่งการช้อปปิ้งที่สร้างสรรค์ขึ้นจากเสน่ห์ที่หลากหลายของกรุงเทพฯบนแนวคิดและการออกแบบที่ไม่เคยมีมาก่อน ประสบการณ์แห่งนิทรรศการและการแสดงระดับโลก (Live Entertainment Arena): พื้นที่จัดการประชุม นิทรรศการ งานแสดงระดับโลก ที่ได้มาตรฐานระดับสากล ประสบการณ์แห่งการบริการที่ดีที่สุดสำหรับการพักผ่อนและธุรกิจ (Hotels): โรงแรมระดับโลก อันเป็นจุดหมายปลายทางชั้นนำของนักท่องเที่ยวและนักธุรกิจที่มองหาบริการระดับสากล แต่ยังคงเอกลักษณ์ของความเป็นไทย ประสบการณ์เหนือระดับของการอยู่อาศัย (Residences): ที่พักอาศัยระดับลักซ์ชัวรี่บนทำเลที่ดีที่สุดใจกลางกรุงเทพฯ ครบครันด้วยคุณค่าการใช้ชีวิตเหนือระดับ ประสบการณ์แห่งศิลปะและวัฒนธรรม (Art & Culture): แหล่งรวมโปรแกรมทางศิลปะและวัฒนธรรมที่สร้างสีสันให้กับชีวิตในทุกวันของทุกคนผ่านพื้นที่ที่เชื่อมโยงผลงาน ศิลปะสาธารณะ  และพื้นที่แห่งการเรียนรู้และความคิดสร้างสรรค์ (Art Loop) ประสบการณ์บนพื้นที่สีเขียวและพื้นที่เปิดโล่ง (Public Realm):พื้นที่เปิดโล่งและพื้นที่สีเขียว มากกว่า 50 ไร่ ที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ ออกแบบให้เป็นจุดพักผ่อนใจกลางเมืองและเป็นพื้นที่กิจกรรมและสันทนาการของเมือง เชื่อมระหว่างสวนลุมพินี และสวนเบญจกิติ ประสบการณ์เมืองอัจฉริยะแบบยั่งยืน (Smart City with Sustainable Infrastructure): โครงสร้างพื้นฐานแห่งเมืองอัจฉริยะที่เพียบพร้อมด้วยเทคโนโลยีเพื่อความสะดวกสบายในการใช้ชีวิตและส่งเสริมเมืองอย่างยั่งยืนทั้งด้านสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม โครงการวัน แบงค็อก มุ่งสู่การรับรองโดยมาตรฐาน LEED for Neighbourhood Development ระดับ Platinum แห่งแรกในประเทศไทย และมาตรฐานรับรองอาคาร WELL เพื่อสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีของผู้อยู่อาศัยและผู้ใช้อาคาร ตลอดจนตั้งเป้าสู่การรับรองมาตรฐาน WiredScore และ SmartScore สำหรับกลุ่มอาคารสำนักงานแห่งแรก ที่มีระบบเทคโนโลยีอัจฉริยะแห่งอนาคตที่ดีที่สุด เพื่อให้ผู้อาศัยในอาคารได้รับประสบการณ์สุดพิเศษ อีกทั้งยังช่วยประหยัดพลังงาน เพื่อความคุ้มค่าในอนาคต   โดยล่าสุด โครงการวัน แบงค็อก ได้คว้า 2 รางวัลอันทรงเกียรติจากเวทีระดับเอเชีย คือ Best Landmark Mixed-Use Development (Asia) โดยถือเป็นโครงการอสังหาริมทรัพย์ไทยรายแรกที่ได้รับรางวัลนี้  และรางวัล Best Office Development (Thailand) สำหรับอาคารสำนักงาน Tower 4 จากเวทีประกาศผลรางวัล PropertyGuru Asia Property Awards Grand Final 2022 ที่ผ่านมา   เพื่อเป็นการเตรียมพร้อมสู่การเปิดโครงการฯ วัน แบงค็อก ได้วางแผนกลยุทธ์ทางการตลาดเชิงรุกอย่างเข้มข้นตลอดทั้งปี โดยจะมีแบรนด์เเคมเปญชูภาพลักษณ์ที่มีสีสัน ตอบรับทุกไลฟ์สไตล์ เข้าถึงง่าย เพื่อตอกย้ำแนวคิดของโครงการฯ ตลอดจนการผนึกกำลังกับพันธมิตรทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อนำกรุงเทพฯไปสู่ความก้าวหน้าร่วมกันอย่างยั่งยืน   อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง -“วัน แบงค็อก” ดึง 6 ผู้รับเหมาพัฒนาเฟสแรก พื้นที่ 1.3 ล้านตร.ม.เสร็จใช้ปี 66