Tag : Townhome

792 ผลลัพธ์
แลนด์แอนด์เฮ้าส์  เปิดทำเล 17 โครงการบ้านใหม่ พร้อม 5 ไฮไลท์แผนธุรกิจปี 66

แลนด์แอนด์เฮ้าส์ เปิดทำเล 17 โครงการบ้านใหม่ พร้อม 5 ไฮไลท์แผนธุรกิจปี 66

เปิด 17 ทำเล บ้านใหม่ปี 66 ของ แลนด์แอนด์เฮ้าส์ ด้วยราคาเฉลี่ย 8.8 ล้าน พร้อม 5 ไฮไลท์แผนธุรกิจ ปี 66 สู่เป้าหมายรายได้ 33,000   แลนด์แอนด์เฮ้าส์ บริษัทอสังหาริมทรัพย์รายใหญ่ของไทย ที่ทำธุรกิจมานานเกือบ 50 ปี ซึ่งแต่ละปีก็จะมีการออกมาแถลงแผนธุรกิจ และวิสัยทัศน์ โดยในปี 2566 ทีมผู้บริหารซึ่งประกอบด้วยนายนพร สุนทรจิตต์เจริญ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท แลนด์แอนด์เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน)  นายวัชริน กสิณฤกษ์ กรรมการผู้จัดการสายงานปฏิบัติการ โครงการบ้านจัดสรร นายโชคชัย วลิตวรางค์กูร กรรมการผู้จัดการสายงานปฏิบัติการ โครงการอาคารชุด และนายวิทย์ ตันติวรวงศ์ กรรมการผู้จัดการสายงานสนับสนุน โดยมีรายละเอียดและไฮไลท์ของการดำเนินงานในปี 2566 ดังนี้ 5 ไฮไลท์แผนธุรกิจปี 66​ 1.เปิดตัวโครงการใหม่ 34.960 ล้าน บริษัทวางแผนเปิดตัวโครงการใหม่ 17 โครงการ มูลค่าโครงการรวม 34,960 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 8% เมื่อเทียบกับการเปิดโครงการใหม่ในปี 2565  แบ่งเป็นโครงการในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล 13 โครงการ และต่างจังหวัด 4 โครงการ  เป็นโครงการแนวราบ 16 โครงการ มูลค่า 28,460 ล้านบาท และคอนโดมิเนียม 1 โครงการ มูลค่า 6,500 ล้านบาท   เมื่อแยกตามประเภทสินค้าจะประกอบด้วย โครงการบ้านเดี่ยว  15  โครงการ ได้แก่  บ้านแฝด 1 โครงการ ทาวน์เฮ้าส์ 1 โครงการ และคอนโด 1 โครงการ ซึ่งบางโครงการมีสินค้ามากกว่า 1 ประเภท สำหรับแผนเปิดคอนโด 1 โครงการ มีมูลค่า 6,500 ล้านบาท คือโครงการ The Key ศรีนครินทร์ ​ เตรียมเปิดขายในไตรมาสที่ 3 นับตั้งแต่เปิดโครงการล่าสุดในปี 2563 ที่ผ่านมา   สำหรับปี 2566 คาดว่าตลาดคอนโดจะฟื้นตัวต่อเนื่องจากปี 2565 โดยจะเป็นการฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป ซึ่งมีปัจจัยสนับสนุนทั้งจากเศรษฐกิจภายในประเทศที่ปรับตัวดีขึ้น ซึ่งจะช่วยเสริมสร้าง demand ในประเทศให้แข็งแกร่ง รวมถึง demand จากกลุ่มลูกค้าต่างชาติที่น่าจะทยอยกลับมาตามการเปิดประเทศ และการเดินทางที่เริ่มเข้าสู่สภาวะปกติ 2.ไทม์ไลน์เปิด 17 โครงการใหม่ สำหรับ 17 โครงการใหม่ ของแลนด์แอนด์เฮ้าส์ มีทำเลและไทม์ไลน์การเปิดตัวโครงการ ตามรายละเอียดต่าง ๆ ดังนี้ โครงการเปิดตัวในไตรมาส 1 โครงการ inizio ศรีนครินทร์ บ้านแฝด พื้นที่ 27.1 ไร่ จำนวน 176 ยูนิต มูลค่า 970 ล้านบาท ราคาเฉลี่ย 5.5 ล้าน โครงการชัยพฤกษ์ 2 ซีรีน เลค บ้านแฝด พื้นที่ 4.1 ไร่ จำนวน 9 ยูนิต มูลค่า 94 ล้านบาท ราคาเฉลี่ย 9 ล้านบาท โครงการเปิดตัวในไตรมาส 2 โครงการชัยพฤกษ์ 1 ซีรีน เลค บ้านเดี่ยว พื้นที่ 4.1 ไร่ จำนวน 10 ยูนิต มูลค่า 98 ล้านบาท ราคาเฉลี่ย 9.8 ล้านบาท โครงการมัณฑนา กาญจนา-บางบอน 5 บ้านเดี่ยว พื้นที่ 97.8 ไร่ จำนวน 200 ยูนิต มูลค่า 3,400 ล้านบาท ราคาเฉลี่ย 17 ล้านบาท โครงการชัยพฤกษ์ แจ้งวัฒนะ บ้านเดี่ยว พื้นที่ 97.8 ไร่ จำนวน 200 ยูนิต มูลค่า 2,730 ล้านบาท ราคาเฉลี่ย 11.7 ล้านบาท โครงการเปิดตัวไตรมาส 3 โครงการชัยพฤกษ์ 3 ซีรีน เลค บ้านเดี่ยว พื้นที่ 10.1 ไร่ จำนวน 20 ยูนิต มูลค่า 203 ล้านบาท ราคาเฉลี่ย 10.2 ล้านบาท โครงการ VIVE กรุงเทพกรีฑา บ้านเดี่ยว พื้นที่ 19.4 ไร่ จำนวน 49 ยูนิต มูลค่า 2,050 ล้านบาท ราคาเฉลี่ย 41.5 ล้านบาท โครงการ VIVE บางนา กม.13 บ้านเดี่ยว พื้นที่ 40.4 ไร่ จำนวน 95 ยูนิต มูลค่า 3,150 ล้านบาท ราคาเฉลี่ย 33.2 ล้านบาท โครงการ The Key ศรีนครินทร์ คอนโด พื้นที่ 12.3 ไร่ จำนวน 805 ยูนิต มูลค่า 6,500 ล้านบาท ราคาเฉลี่ย 8.1 ล้านบาท โครงการชัยพฤกษ์ พรานนก-สาย 2 บ้านเดี่ยว พื้นที่ 25.7 ไร่ จำนวน 56 ยูนิต มูลค่า 1,080 ล้านบาท ราคาเฉลี่ย 19.3 ล้านบาท โครงการเปิดตัวไตรมาส 4 โครงการ Villaggio 3 ศรีนครินทร์-บางนา มูลค่ารวม 2,010 ล้านบาท แบ่งเป็น บ้านเดี่ยว พื้นที่ 51.4 ไร่ จำนวน 204 ยูนิต มูลค่า 1,450 ล้านบาท ราคาเฉลี่ย 7.1 ล้านบาท ทาวน์เฮ้าส์ พื้นที่ 14.9 ไร่ จำนวน 154 ยูนิต มูลค่า 560 ล้านบาท ราคาเฉลี่ย 3.6 ล้านบาท โครงการชัยพฤกษ์ รังสิต คลอง 4 บ้านเดี่ยว พื้นที่ 99.6 ไร่ จำนวน 324 ยูนิต มูลค่า 3,700 ล้านบาท ราคาเฉลี่ย 11.4 ล้านบาท โครงการชัยพฤกษ์ เพชรเกษม 69 บ้านเดี่ยว พื้นที่ 94.3 ไร่ จำนวน 219 ยูนิต มูลค่า 2,800 ล้านบาท ราคาเฉลี่ย 12.8 ล้านบาท โครงการชัยพฤกษ์ บางนา กม 13 บ้านเดี่ยว พื้นที่ 53.7 ไร่ จำนวน 170 ยูนิต มูลค่า 2,300 ล้านบาท ราคาเฉลี่ย 13.5 ล้านบาท โครงการพฤกษ์ลดา ปิ่นเกล้า-ศาลายา บ้านเดี่ยว พื้นที่ 36.7 ไร่ จำนวน 142 ยูนิต มูลค่า 1,025 ล้านบาท ราคาเฉลี่ย 7.2 ล้านบาท โครงการมัณฑนา มอเตอร์เวย์-พระราม 9 บ้านเดี่ยว พื้นที่ 22.6 ไร่ จำนวน 52 ยูนิต มูลค่า 800 ล้านบาท ราคาเฉลี่ย 15.4 ล้านบาท โครงการมัณฑนา มะลิวัลย์-ขอนแก่น บ้านเดี่ยว พื้นที่ 66.7 ไร่ จำนวน 182 ยูนิต มูลค่า 2,050 ล้านบาท ราคาเฉลี่ย 11.3 ล้านบาท 3.87 โครงการพร้อมขายในปี 66 จำนวนโครงการที่ดำเนินการในปี 2566 มีทั้งหมดประมาณ 87 โครงการ เป็นมูลค่า 91,320 ล้านบาท โดยเป็นสินค้าแนวราบ 78 โครงการ มูลค่า 76,450 ล้านบาท และคอนโด  9 โครงการ มูลค่า 14,870 ล้านบาท ราคาเฉลี่ยต่อยูนิตขายในปี 2566 เท่ากับ 8.8 ล้านบาท เท่ากับราคาเฉลี่ยในปี 2565 4.ปี 66 ลงทุน 9,000 ล้าน ในปี 2566 บริษัทได้เตรียมงบลงทุนไว้ทั้งหมดประมาณ 9,000 ล้านบาท ประกอบด้วย งบสำหรับการซื้อที่ดินเพื่อการพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัย 6,000 ล้านบาท  และงบลงทุนด้านอสังหาริมทรัพย์เพื่อการให้เช่า 3,000 ล้านบาท ปัจจุบัน บริษัท LHMH มีโครงการที่ดำเนินการแล้วและอยู่ระหว่างพัฒนาทั้งหมด 11 โครงการ ด้านบริษัท LH USA มีโครงการที่ดำเนินการอยู่ทั้งหมด 4 โครงการ   แลนด์แอนด์เฮ้าส์ มีแผนขายโรงแรมในประเทศไทยเข้ากอง REIT และมีแผนออกหุ้นกู้อีกจำนวน 14,000 ล้านบาท และคาดว่าอัตราส่วนหนี้สินต่อทุนจะยังคงอยู่ในระดับที่ไม่เกิน 100% 5.ตั้งเป้ารายได้ 33,000 ล้าน ในปี 2566 แลนด์แอนด์เฮ้าส์ ตั้งเป้าหมายแผนการดำเนินงาน โดยมีเป้าหมายยอดขาย (Booking) 35,000 ล้านบาท และเป้าหมายรับรู้รายได้จากยอดโอนกรรมสิทธิ์ 33,000 ล้านบาท ส่วนรายได้จากอสังหาฯ เพื่อเช่า ตั้งเป้าหมายไว้ที่ 7,150 ล้านบาท บทสรุปปีตลาดอสังหาฯ และผลงานปี 65 ขณะเดียวกันในปีที่ผ่านมา แลนด์แอนด์เฮ้าส์ ได้มีบทสรุปแผนการดำเนินงาน และภาพรวมของตลาดอสังหาฯ ตามรายละเอียดต่าง ๆ ดังนี้ 1.ในปี 2565 ตลาดอสังหาฯ ​ประเภทบ้านเดี่ยว ซึ่งเป็นสินค้าหลักของบริษัทยังคงมีความแข็งแรงต่อเนื่อง หากพิจารณาตัวเลขจำนวนยูนิตบ้านเดี่ยวและบ้านแฝดที่สร้างโดยผู้ประกอบการ และจดทะเบียนในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ในช่วงเดือน ม.ค. - ต.ค. 2565 จะเห็นว่าเติบโตประมาณ 10% จากช่วงเวลาเดียวกันของปี 2564   ในขณะที่ จำนวนยูนิตที่เปิดขายใหม่ของสินค้าประเภทบ้านเดี่ยวและบ้านแฝดในช่วงเดือน ม.ค. - พ.ย. 2565 มีจำนวน 22,855 ยูนิต ซึ่งเติบโตเกือบเท่าตัวจากช่วงเดียวกันของปี 2564 เนื่องจากฐานที่ต่ำ   2.ในปี 2565 บริษัทเปิดโครงการใหม่ 15 โครงการ มูลค่าโครงการรวม 32,460 ล้านบาท โดยเป็นสินค้าแนวราบทั้งหมด เทียบกับแผนเดิมที่ตั้งไว้ 15 โครงการ มูลค่าโครงการรวม 29,520 ล้านบาท   3.ปี 2565 บริษัทได้ใช้เงินลงทุนซื้อที่ดินเพื่อการพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยเพื่อขาย ประมาณ 4,400 ล้านบาท ซึ่งสัดส่วนยอดขายแบ่งตามประเภทสินค้า ในปี 2565 ของบริษัทฯ มีดังนี้ บ้านเดี่ยว สัดส่วน 84% ทาวน์เฮ้าส์ สัดส่วน 8% คอนโด สัดส่วน 8% 4.ในปี 2565 สินค้าประเภทบ้านแนวราบ ซึ่งได้แก่ บ้านเดี่ยว บ้านแฝดและทาวน์เฮ้าส์ ยังคงเป็นสินค้าหลักที่สร้างยอดขายให้กับบริษัทโดยสัดส่วนการขายของบ้านแนวราบและคอนโด  คือ 92%:8%   เมื่อจำแนกตามพื้นที่ กรุงเทพฯ และปริมณฑลยังคงเป็นพื้นที่หลักในการก่อให้เกิดยอดขาย โดยสัดส่วนยอดขายของโครงการในกรุงเทพฯ และปริมณฑลเปรียบเทียบกับยอดขายของโครงการในต่างจังหวัด คือ 90%:10%  สัดส่วนระดับราคาของบ้านที่สูงกว่า 10 ล้านบาทขึ้นไป มีสัดส่วนประมาณ 54% ของยอดขาย 5.ณ ต้นปี 2565 บริษัทมีจำนวนโครงการที่เปิดดำเนินการทั้งสิ้น 74 โครงการ เป็นโครงการในกรุงเทพฯ และปริมณฑล 44 โครงการ ต่างจังหวัด 30 โครงการ โครงการที่เปิดใหม่ 15 โครงการ มูลค่าโครงการรวม 32,460 ล้านบาท รวมโครงการที่ดำเนินการในระหว่างปี 2565 มีจำนวนทั้งหมด 89 โครงการ มีโครงการปิดระหว่างปี 19 โครงการ   ดังนั้น ณ สิ้นปี 2565 มีโครงการที่ยกไปดำเนินการต่อในปี 2566 เป็นจำนวน 70 โครงการ รวมมูลค่ากว่า 56,300 ล้านบาท ณ ต้นปี 2566 บริษัทมีจำนวนโครงการที่ดำเนินการทั้งสิ้น 70 โครงการ  เป็นโครงการแนวราบ 62 โครงการ มูลค่า 47,983 ล้านบาท และคอนโด  8 โครงการ มูลค่า 8,375 ล้านบาท   6.ในช่วงปี 2562 – 2564 ตลาดคอนโดหดตัวลงอย่างต่อเนื่องทั้งในด้านดีมานด์​ หรือจำนวนยูนิตที่ขายได้ และซัพพลาย​ หรือจำนวนยูนิตที่เปิดขายใหม่  อันเป็นผลมาจากมาตรการ LTV ที่บังคับใช้ในช่วงเมษายน 2562 ประกอบกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด -19 ที่ส่งผลกระทบต่อสภาพเศรษฐกิจทั้งในและต่างประเทศ อย่างไรก็ตาม การชะลอการเปิดตัวโครงการคอนโดของผู้ประกอบการในช่วงเวลาดังกล่าวถือว่าเป็นผลดีต่อตลาดโดยรวม เนื่องจากเป็นการช่วยระบายสินค้าคงเหลือที่ค้างอยู่ในตลาด โดยจำนวนยูนิตคงเหลือของคอนโดลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 12 ปี ในปี 2563 และลดลงต่อเนื่องในปี 2564   ในปี 2565 เมื่อสถานกาณ์โควิด-19 เริ่มคลี่คลายลง รวมถึงกิจกรรมทางเศรษฐกิจและความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเริ่มฟื้นตัว ทิศทางของตลาดคอนโดก็ปรับตัวดีขึ้นตามลำดับ โดยสะท้อนจากจำนวนยูนิตที่ขายได้ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2565 ที่เพิ่มขึ้นถึง 137% เมื่อเทียบกับครึ่งปีแรกของปี 2564 (ที่มา: AREA)  และจำนวนยูนิตจดทะเบียนในช่วงเดือน ม.ค. - ต.ค. 2565 อยู่ที่ 32,909 ยูนิต เติบโตประมาณ 16% จากช่วงเวลาเดียวกันของปี 2564 (ที่มา: REIC)   นอกจากนี้ ผู้ประกอบการก็มีความเชื่อมั่นในการเปิดโครงการใหม่ โดยจำนวนยูนิตที่เปิดขายใหม่ในช่วงเดือน ม.ค. - พ.ย. 2565 มีทั้งหมด 52,000 ยูนิต เติบโต 128% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2564   แม้ว่าสภาพเศรษฐกิจจะปรับตัวดีขึ้นจากปี 2564 แต่ตลาดคอนโดมิเนียมก็ยังมีความเปราะบาง และยังไม่กลับสู่สภาวะปกติอย่างแท้จริง บริษัทจึงยังคงระมัดระวังการเปิดโครงการประเภทคอนโดมิเนียม   ปี 2565 บริษัทไม่ได้เปิดโครงการคอนโดโครงการใหม่ เนื่องจากสภาพตลาดและบริษัทต้องการดำเนินการระบายสินค้าที่มีอยู่ในมือ อย่างไรก็ตาม ยอดขายคอนโดของบริษัทในปี 2565 เติบโตกว่าเท่าตัวเมื่อเทียบกับปี 2564 เนื่องจากฐานที่ต่ำ ( ปี 2565 = 2,240 ล้านบาท)   7.ในปี 2565 บริษัทออกหุ้นกู้ มูลค่ารวม 13,700 ล้านบาท อายุ 2-3 ปี โดยมีอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 2.61% ต่อปี  ณ สิ้นปี 2565 คาดว่าหนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ยสุทธิ อยู่ที่ประมาณ 51,000 ล้านบาท โดยมี  อัตราส่วนหนี้สินสุทธิต่อทุน 6% และต้นทุนทางการเงินเฉลี่ย 2.24%   8.สำหรับภาพรวมอสังหาฯ เพื่อเช่าปี 2565 เป็นปีที่สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด -19 ปรับตัวดีขึ้น โดยเฉพาะในช่วงครึ่งปีหลัง ประกอบกับการกลับมาของนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศ ปัจจัยดังกล่าวส่งผลดีโดยตรงกับธุรกิจอสังหาฯ เพื่อเช่าของบริษัททั้งในส่วนโรงแรม อะพาร์ตเมนต์ และห้างสรรพสินค้าทั้งในประเทศไทย และสหรัฐอเมริกา   9.บริษัทดำเนินธุรกิจอสังหาฯ  ให้เช่าในประเทศไทยและประเทศสหรัฐอเมริกา โดยธุรกิจในประเทศไทย ดำเนินงานภายใต้ชื่อบริษัท แอลเอชมอลล์แอนด์โฮเทล (LHMH) และธุรกิจในประเทศสหรัฐอเมริกา ดำเนินงานภายใต้ชื่อบริษัท แอลเอชยูเอสเอ (LHUSA) โดยประกอบด้วยโครงการห้างสรรพสินค้า โรงแรม อะพาร์ตเมนต์และพื้นที่สำนักงานให้เช่า   รายละเอียดของโครงการทั้งหมดที่แสดงเป็นรายได้ค่าเช่าในงบกำไรขาดทุน ปรากฎดังนี้ โครงการในสหรัฐอเมริกาที่เปิดดำเนินการแล้ว Parc ประเภทอะพาร์ตเมนต์ ตั้งอยู่ที่ Campbell, California ด้วยเงินลงทุน 135 ล้านดอลล่าร์ Yard ประเภทอะพาร์ตเมนต์ ตั้งอยู่ที่ Portland, Oregon ด้วยเงินลงทุน 127 ล้านดอลล่าร์ Revere ประเภทอะพาร์ตเมนต์ ตั้งอยู่ที่ Campbell, California  ด้วยเงินลงทุน 119 ล้านดอลล่าร์ SpringHill ประเภทโรงแรม ตั้งอยู่ที่ Anaheim, California ด้วยเงินลงทุน 31 ล้านดอลล่าร์   10.ในปี 2565 บริษัทลงทุนในธุรกิจอสังหาฯ เพื่อการให้เช่าผ่านบริษัท LHMH และ LH USA  จำนวน 3,700 ล้านบาท ประกอบด้วย  1.พัฒนาศูนย์การค้า Terminal 21 Rama 3 จำนวน​ 350 ล้านบาท และ 2.พัฒนาธุรกิจโรงแรมและอะพาร์ตเมนต์ จำนวน​ 3,350 ล้านบาท   11.ปี 2565 บริษัท LHMH ได้เปิดดำเนินโครงการใหม่ 2 โครงการ ได้แก่ โรงแรม Grande Centre Point Space Pattayaและศูนย์การค้า Terminal 21 Rama 3 ในไตรมาสที่ 3 และ4 ตามลำดับ   อย่างไรก็ตาม บริษัทยังไม่ได้ขายอะพาร์ตเมนต์ในสหรัฐอเมริกาตามแผนที่ตั้งไว้ เนื่องจากสถานการณ์เงินเฟ้อที่สูงขึ้นอย่างมาก ทำให้ FED ดำเนินนโยบายขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างรุนแรง จึงส่งผลให้อัตราผลตอบแทนคาดหวังเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก และส่งผลกระทบต่อมายังราคาขาย   อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง -แลนด์แอนด์เฮ้าส์ เดินหน้าลงทุน 11,000 ล.พร้อมระดมทุนผ่านหุ้นกู้ 12,000 ล.​
เช็คด่วน !! ค่าอะไร ลดหย่อนภาษีปี 2565 ได้บ้าง

เช็คด่วน !! ค่าอะไร ลดหย่อนภาษีปี 2565 ได้บ้าง

ลดหย่อนภาษี เช็คด่วน !! เสียภาษีประจำปี 2565 มีค่าอะไรบ้าง ที่สามารถนำมาใช้ลดหย่อนภาษีได้บ้าง เพื่อลดภาระค่าภาษีประจำปี   แม้ว่าจะผ่านพ้นปี 2565 ไปอีกปี แต่คนไทยยังมีหน้าที่ต้องทำ ที่ไม่อาจจะละเลยได้ โดยเฉพาะคนมีรายได้ทั้งหลาย ไม่ว่ารายได้จะมาจากการทำงาน การค้าขาย หรือการทำธุรกิจต่าง ๆ นั่นก็คือ ภาระหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปี 2565 ตามกฎหมายกำหนดไว้   โดยคนไทยที่มีรายได้ทุกคนต้องยื่นภาษีประจำปี แต่จะเสียภาษีหรือไม่ คงต้องดูฐานรายได้ในปีนั้นด้วย ซึ่งถ้ารายได้สุทธิไม่เกิน 150,000 บาทต่อปี ก็ไม่ต้องเสียภาษี แต่ยังไงก็ต้องยื่นรายได้ประจำปีต่อกรมสรรพากร ซึ่งสามารถยื่นได้ทั้งที่สำนักงานสรรพากรเขตพื้นที่ หรือไม่ก็ยื่นแบบออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ https://efiling.rd.go.th โดยระบบการจัดเก็บภาษีของไทยใช้ระบบฐานภาษีแบบขั้นบันได้ คือ มีรายได้มากเสียภาษีมาก ซึ่งฐานภาษีเริ่มต้นจัดเก็บที่ 5% และสูงสุด 35%   แม้ว่าอัตราภาษีจะจัดเก็บจากรายได้สุทธิประจำปี แต่กรมสรรพากร ก็มีการให้ผู้มีรายได้ สามารถนำเอาค่าใช้จ่าย รวมถึงค่าลดหย่อน หรือค่าใช้จ่ายประเภทต่าง ๆ ที่จ่ายไปตลอดทั้งปี นำมาเป็นค่าลดหย่อนได้ เพื่อทำให้เป็นรายได้สุทธิเพื่อคำนวณภาษีลดลงนั่นเอง ลดหย่อนภาษีปี 2565 มีค่าอะไรบ้าง สำหรับค่าลดหย่อนภาษีประจำปี 2565 มีหลายรายการ ทั้งค่าใช้จ่ายส่วนตัว และของครอบครัว ซึ่งนำมาใช้เป็นส่วนลดหย่อนได้ ซึ่งมีหลัก ๆ ดังนี้ 1.กลุ่มค่าลดหย่อนส่วนตัว สำหรับค่าใช้จ่ายลดหย่อนส่วนตัว รวมถึงของครอบครัวที่เราจ่ายไป สามารถนำเอามาคำนวณเป็นค่าลดหย่อนภาษีได้ ไม่ว่าจะเป็นค่าใช้จ่ายส่สนตัว คู่สมรส ค่าใช้จ่ายบุตร หรือแม้กระทั่งค่าใช้จ่ายของบิดาหรือมารดา ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้ ส่วนตัว ลดหย่อนได้ 60,000 บาท คู่สมรส ลดหย่อนได้ 60,000 บาท บุตร ใช้ลดหย่อนได้คนละ 30,000 บาท สำหรับบุตรคนที่ 2 เป็นต้นไป ที่เกิดตั้งแต่ปี 2561 ใช้ลดหย่อนได้ คนละ 60,000  บาท ค่าฝากครรภ์และคลอดบุตร ลดหย่อนได้ไม่เกิน 60,000 บาท ค่าดูแลบิดามารดา ใช้ลดหย่อนได้คนละ 30,000 บาท ค่าอุปการะผู้พิการหรือทุพพลภาพ ลดหย่อนได้คนละ​ 60,000 บาท 2.กลุ่มค่าประกันและการลงทุน ส่วนค่าใช้จ่ายที่เราซื้อประกันชีวิต ประกันสุขภาพ และประกันสังคม รวมถึงเงินที่เราซื้อประกันสุขภาพให้กับบิดาหรือมารดา กรมสรรพากรให้เรานำมาใช้เป็นค่าลดหย่อนภาษีได้ มีดังนี้ เบี้ยประกันชีวิตทั่วไปหรือเงินฝากที่มีประกันชีวิต ลดหย่อนได้ไม่เกิน 100,000 บาท ประกันสุขภาพ ลดหย่อนได้ไม่เกิน 25,000 บาท โดยเบี้ยประกันทั้ง 2 ประเภทข้างต้นรวมกันนำมาใช้เป็นค่าลดหย่อนได้ไม่เกิน 100,000 บาท ประกันสังคม* ใช้ลดหย่อนได้ไม่เกิน 6,300 บาท ประกันสุขภาพบิดามารดา ใช้ลดหย่อนได้ไม่เกิน 15,000 บาท เบี้ยประกันชีวิตบำนาญ 15% ของเงินได้ ลดหย่อนได้ไม่เกิน 200,000 บาท กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือกบข.หรือกองทุนสงเคาะห์ครูโรงเรียนเอกชน ใช้ลดหย่อนได้ 15% ของเงินได้แต่ไม่เกิน 200,000 บาท กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) ใช้ลดหย่อนได้ 30% ของเงินได้แต่ไม่เกิน 500,000 บาท กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) ใช้ลดหย่อนได้ไม่เกิน 13,200 บาท กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF)ลดหย่อนได้ 30% ของเงินได้แต่ไม่เกิน 200,000 บาท สำหรับค่าใช้จ่ายตั้งแต่เบี้ยประกันชีวิตบำนาญ จนถึงกองทุนรวมเพื่อการออมนั้น สามารถนำมาใช้คำนวณตามมูลค่าที่กรมสรรพากรกำหนด แต่รวม​กันแล้วนำมาใช้เป็นค่าลดหย่อนได้ไม่เกิน 500,000 บาท 3.กลุ่มค่าใช้จ่ายเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ สำหรับกลุ่มค่าใช้จ่ายเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ มักจะเป็นค่าใช้จ่ายตามมาตรการของภาครัฐ ที่มีออกมาใช้เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในแต่ละปี อย่างปี 2565 มีมาตรการช้อปดีมีคืน ที่ให้คนไทยซื้อสินค้าแล้วนำมาลดหย่อนภาษีประจำปีได้ โดยค่าใช้จ่ายเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจปี 2565 มีรายละเอียดต่าง ๆ ดังนี้ ดอกเบี้ยซื้อที่อยู่อาศัย ใช้ลดหย่อนได้ไม่เกิน 100,000 บาท เงินลงทุนธุรกิจ Social Enterprise (วิสาหกิจเพื่อสังคม) ใช้ลดหย่อนได้ไม่เกิน 100,000 บาท ช้อปดีมีคืน 2565 (1ม.ค.-15 ก.พ.65) ใช้ลดหย่อนได้ ไม่เกิน 30,000 บาท 4.เงินบริจาคต่าง ๆ  ภาครัฐยังส่งเสริมให้คนไทย แบ่งปันและช่วยเหลือสังคม โดยหากมีการบริจาคเงินในแต่ละปี ก็สามารถนำเอาเงินที่บริจาคนั้น มาใช้เป็นค่าลดหย่อนได้ โดยมีรายละเอียดดังนี้ เงินบริจาคทั่วไป ใช้ลดหย่อนได้ไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อน เงินบริจาคเพื่อการศึกษา** การกีฬา การพัฒนาสังคมและโรงพยาบาลรัฐ ใช้ลดหย่อนได้ 2 เท่าของเงินบริจาคจริง แต่ไม่เกิน​ 10% ของเงินได้หลังหักค่าลดหย่อน บริจาคให้พรรคการเมือง ใช้ลดหย่อนได้ไม่เกิน 10,000 บาท ทั้งหมดนี้ก็เป็นค่าลดหย่อนภาษีประจำปี 2565 ที่เราสามารถนำมาใช้คำนวณ เพื่อเสียภาษีประจำปีได้ ซึ่งปกติเราสามารถยื่นภาษีได้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึง 31 มีนาคม 2566 แต่หากยื่นภาษีออนไลน์ สามารถยื่นได้ถึงวันที่ 8 เมษายน 2566 ยังไงก็ต้องเตรียมความพร้อมก่อนยื่นภาษี โดยเฉพาะเอกสารต่าง ๆ เพราะหากกรมสรรพากรต้องการให้แสดงหลักฐานจะได้มีไว้ให้ตรวจสอบความถูกต้อง   การยื่นภาษีเลยกำหนดเวลา การเลี่ยงภาษี การแสดงหลักฐานเท็จ หรือการไม่ยื่นภาษี ก็ถือเป็นความผิดทางกฎหมาย ซึ่งอาจจะถูกปรับได้ และอาจจะมีโทษจำคุกด้วยนะ ยังไงก็ทำถูกกฎหมายไว้สบายใจกว่า     *ปี 2565 มีการลดอัตราเงินสมทบ ทำให้ผู้ประกันตน ม.33 ใช้สิทธิ์ลดหย่อนได้สูงสุดไม่เกิน 6,300 บาท **กรณีบริจาคเพื่อการศึกษา หากต้องการลดหย่อน 2 เท่า จะต้องเป็นโรงเรียนในกำกับ/มีรายลื่อในกระทรวงศึกษาธิการ สามารถตรวจสอบได้ทางเว็บไซต์ของกรรมสรรพากร www.rd.go.th     ที่มา : Mahidol Channel     บทความที่เกี่ยวข้อง -ลดหย่อนภาษี สำหรับมนุษย์เงินเดือน
อัปเดตดอกเบี้ยรีไฟแนนซ์ บ้านและคอนโด เดือนมกราคม 2566

อัปเดตดอกเบี้ยรีไฟแนนซ์ บ้านและคอนโด เดือนมกราคม 2566

อัปเดตดอกเบี้ยรีไฟแนนซ์ บ้านและคอนโด เดือนมกราคม 2566 เช็คก่อนแบงก์ไหนให้อัตราดอกเบี้ยคุ้มสุด หลายแห่งปรับดอกเบี้ยเพิ่ม รับดอกเบี้ยขาขึ้น    เริ่มต้นปีใหม่ 2566 หลายคนคงวางเป้าหมาย การเริ่มต้นทำอะไรใหม่ ๆ ให้กับตนเอง และครอบครัว บางคนก็วางแผนในการซื้อที่อยู่อาศัย หรือไม่ก็ปลูกสร้างบ้านใหม่ ขยับขยายพื้นที่สำหรับครอบครัวและคนที่รัก แต่บางคนอาจจะยังอยู่บ้านหลังเดิม เพราะเพิ่งซื้อมาได้ไม่นาน ก็อาจจะปัดกวาด จัดบ้านใหม่ รับปีใหม่ 2566 ให้บ้านน่าอยู่มากขึ้น   นอกเหนือจากการจัดการพื้นที่ภายในบ้านแล้ว บางคนก็วางแผนด้านการเงิน โดยเฉพาะในเรื่องการผ่อนบ้าน ที่อาจจะเข้าเกณฑ์ผ่อนชำระมาแล้ว 3 ปี สามารถจะทำการรีไฟแนนซ์ให้มีอัตราดอกเบี้ยลดลง เป็นการแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายภายในครอบครัว เพราะต้องยอมรับว่าตอนนี้ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ปรับเพิ่มสูงขึ้นมาก การลดค่าใช้จ่ายลงได้บ้าง ก็จะช่วยเสริมสภาพคล่องให้ครอบครัวได้ดีทีเดียว   ใครที่กำลังวางแผนจะเอาบ้าน หรือคอนโดมิเนียม ที่ผ่อนชำระอยู่มารีไฟแนนซ์ใหม่ ต้องลองมาเช็คกันดูว่าตอนนี้​ธนาคารไหน มีการคิดอัตราดอกเบี้ยยังไงกันบ้าง  สำหรับเดือนมกราคมนี้ ที่ Reviewyourliving ได้รวบรวมเอาไว้ให้แล้ว ลองเปรียบเทียบดูกันว่าธนาคารไหนให้อัตราดอกเบี้ยรีไฟแนนซ์บ้าน และคอนโดถูกที่สุด อัปเดตดอกเบี้ยรีไฟแนนซ์บ้าน และคอนโด 1.ธนาคารกรุงเทพ สำหรับการธนาคารกรุงเทพ ในเว็บไซต์ไม่พบข้อมูล เอกสารแสดงรายละเอียดของสินเชื่อ จึงขอใช้ข้อมูลในปี 2565 ที่ผ่านมา ซึ่งธนาคารกรุงเทพ มีสินเชื่อบ้านบัวหลวง ที่ให้บริการรีไฟแนนซ์บ้าน  กรณีหลักทรัพย์เป็นที่อยู่อาศัยทั่วไป เฉพาะวงเงินอนุมัติตั้งแต่ 2 ล้านบาทขึ้นไป  สำหรับการรีไฟแนนซ์บ้านและคอนโด ดังนี้ ​​ ทางเลือกที่ 1 ปีที่ 1 กรณีทำประกัน Home 1st Plus ดอกเบี้ย 2.325% (MRR-3.625%) กรณีไม่ทำประกัน  อัตราดอกเบี้ย 2.575% (MRR-3.375%) ปีที่ 2 ดอกเบี้ย 2.575% (MRR-3.375%) หลังจากนั้น 4.45% ​(MRR-1.50%) อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 3.12-3.20% อัตราดอกเบี้ยแท้จริงต่อปีตลอดอายุสัญญา 3.66-3.72% ทางเลือกที่ 2 ฟรีค่าจดจำนอง ปีที่ 1 กรณีทำประกัน Home 1st Plus ดอกเบี้ย 2.825% (MRR-3.125%)  กรณีไม่ทำประกัน ดอกเบี้ย 3.075% (MRR-2.875%) ปีที่ 2 ดอกเบี้ย 3.075% (MRR-2.875%) หลังจากนั้น อัตราดอกเบี้ย  4.45% (MRR-1.50%) อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 3.45-3.53% อัตราดอกเบี้ยแท้จริงต่อปีตลอดอายุสัญญา 3.86-3.92% หมายเหตุ -กรณีแสดงวัตถุประสงค์ เช่น เพื่อการต่อเติม/ซ่อมแซม/ตกแต่งที่พักอาศัย ซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้า เฟอร์นิเจอร์ ค่าใช้จ่ายด้านการศึกษา หรือการจัดหาสินค้าหรือบริการเพื่อการอุปโภคบริโภคส่วนตัว เป็นต้น -อัตราดอกเบี้ยนี้สำหรับผู้ที่ยื่นคําขอสินเชื่อพร้อมเอกสารครบถ้วน ตั้งแต่วันที่ 10 พฤษภาคม 2565 – 30 มิถุนายน 2565 โดยผู้กู้ต้องลงนามในสัญญากู้ภายใน 1 เดือน นับแต่วันที่อนุมัติสินเชื่อและจดจำนองภายใน 2 เดือนนับแต่วันที่ ลงนามในสัญญากู้ -อัตราดอกเบี้ย MRR ปัจจุบัน ตามประกาศของธนาคาร ณ วันที่ 7 ธันวาคม  2564 เท่ากับ 5.95% ต่อปี -อัตราดอกเบี้ย กรณีฟรีค่าธรรมเนียมจดจำนอง หากลูกค้ายกเลิก และไถ่ถอนหลักประกัน ก่อนระยะเวลา 3 ปี ไม่ว่ากรณีชําระหนี้ด้วยเงินสด หรือ รีไฟแนนซ์ธนาคารจะเรียกคืนค่าธรรมเนียมจดจำนองจากผู้กู้ -ธนาคารจะโอนเงินคืนค่าสํารวจและประเมินหลักประกันเข้าบัญชีเงินฝากสะสมทรัพย์ที่ลูกค้า ใช้หักชําระค่างวดกับธนาคารภายใน 60 วัน หลังจากลูกค้าได้รับอนุมัติและเบิกใช้สินเชื่อกับธนาคารแล้ว คําเตือน -ผู้ขอเอาประกันภัยที่สมัครทำประกัน โฮมเฟิสต์ พลัส (ฉบับปรับปรุง) ตั้งแต่ 1 มีนาคม 2564 เป็นต้นไป จะได้รับความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลจากอุบัติเหตุ -เบี้ยประกันภัยสามารถนําไปหักลดหย่อน ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามหลักเกณฑ์ที่กรมสรรพากรกําหนด -การทำประกันภัยไม่ใช่การฝากเงิน กรณีเวนคืนก่อนครบกําหนด ผู้เอาประกันภัยจะได้รับเงินคืนเป็นจำนวนน้อยกว่าเบี้ยประกันภัยที่จ่ายไปแล้ว ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่เวนคืน -ผู้ขอเอาประกันภัยควรศึกษาและทำความเข้าใจเอกสารเสนอขายก่อน ก่อนตัดสินใจทำประกันภัย เมื่อได้รับกรมธรรม์แล้ว โปรดศึกษารายละเอียด ข้อกำหนดและเงื่อนไขในกรมธรรม์ -ธนาคารเป็นเพียงนายหน้าประกันชีวิตที่เป็นผู้ชีช้องและจัดการบริการให้กับผู้ขอเอาประกันภัย เพื่อให้เกิดการทำสัญญาประกันภัยเท่านั้น โดยการพิจารณาอนุมัติกรมธรรม์เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขของ บริษัท กรุงเทพประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) -การแถลงสุขภาพเป็นปัจจัยหนึ่งในการพิจารณารับประกันภัยหรือจ่ายเงินตามสัญญาประกันภัย -การตรวจสุขภาพเป็นไปตามเงื่อนไขของ บริษัท กรุงเทพประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) -ผู้ขอเอาประกันภัยมีหน้าที่แถลงข้อความจริงในการขอเอาประกันภัย การปกปิดข้อความจริงหรือแถลงข้อความเป็นเท็จใดๆ อาจเป็นเหตุให้บริษัทผู้รับประกันภัยบอกล้างสัญญาประกันภัยและปฏิเสธไม่จ่ายค่าสินไหม ทดแทนตามสัญญาประกันภัย -ข้อกำหนดและเงื่อนไขของความคุ้มครองจะระบุไว้ในกรมธรรม์ประกันภัยที่ออกให้กับผู้ถือกรมธรรม์ -การสมัครประกันชีวิตคุ้มครองเครดิตโฮมเฟิสต์ พลัส เป็นทางเลือกสำหรับลูกค้า ไม่มีผลต่อการพิจารณาสินเชื่อ 2.ธนาคารกรุงไทย ธนาคารกรุงไทย มีสินเชื่อรีไฟแนนซ์บ้าน แคมเปญ ดอกเบี้ยปีแรกเริ่มต้น 1% และแคมเปญธนาคารออกค่าธรรเนียมการจดจำนอง 1% ซึ่งไม่ได้เปลี่ยนแปลงจากเดือนก่อนหน้า โดยมีรายละเอียดดังนี้ ทางเลือกที่ 1 แบบทำประกัน ปีที่ 1 ดอกเบี้ย 1.94% (เดือนที่ 1-3 ดอกเบี้ย 0.66% เดือนที่ 4-12 ดอกเบี้ย MRR-3.45%=3.22%) ลดลง 0.66% จากช่วงเดือนก่อนหน้าที่คิดอัตราดอกเบี้ย 2.60% ปีที่ 2-3 ดอกเบี้ย MRR-3.00% = 3.22% เพิ่มขึ้น 0.66% จากเดือนก่อนหน้าคิดดอกเบี้ย 2.60% อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี = 3.51% เพิ่มขึ้น 0.91% จากเดือนก่อนหน้าคิดดอกเบี้ย 2.60% ดอกเบี้ยจริงตลอดอายุสัญญา 4.82% เพิ่มขึ้น 0.82% จากเดือนก่อนหน้าคิดดอกเบี้ย 4.00% ทางเลือกที่ 2 แบบไม่ทำประกัน ปีที่ 1 ดอกเบี้ย 1.99% ลดลง 0.71% จากเดือนก่อนหน้าคิดดอกเบี้ย 2.70% ปีที่ 2-3 ดอกเบี้ย MRR-2.9% =3.32% เพิ่มขึ้น 0.62% จากเดือนก่อนหน้าคิดดอกเบี้ย 2.70% อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี =3.60% เพิ่มขึ้น 0.90% จากเดือนก่อนหน้าคิดดอกเบี้ย 2.70% ดอกเบี้ยจริงตลอดอายุสัญญา 4.85% เพิ่มขึ้น 0.81% จากเดือนก่อนหน้าคิดดอกเบี้ย 4.04% หมายเหตุ : 1.การทำประกันชีวิตคุ้มครองวงเงินสินเชื่อ *ทำประกันทางเลือกใด ทางเลือกหนึ่ง ดังนี้ -ทำประกันชีวิตคุ้มครองวงเงินสินเชื่อ (MRTA / GLTSP) เต็มวงเงินกู้ และระยะเวลาทำประกันขั้นต่ำ 10 ปี -ทำประกันชีวิตคุ้มครองวงเงินสินเชื่อ (MRTA / GLTSP) 70% ของวงเงินกู้ และระยะเวลากู้ -ทำประกันชีวิตคุ้มครองวงเงินสินเชื่อ (MRTA / GLTSP) 70% ของวงเงินกู้ และระยะเวลาทำประกันขั้นต่ำ 15 ปี (การทำประกันชีวิตคุ้มครองวงเงินสินเชื่อ เป็นไปตามความสมัครใจของลูกค้า และไม่มีผลต่อการอนุมัติสินเชื่อ) 2.อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง (EIR)**คำนวณจากวงเงินกู้ 1.00 ล้านบาท อายุสัญญา 20 ปี ผ่อนชำระ 6,600 บาท/เดือน MRR = 6.22% ต่อปี (ณ 4 ตุลาคม 2565) 3.สามารถขอสินเชื่อ Home For Cash แบบมีกำหนดระยะเวลา (Term Loan) เพิ่มเติม สำหรับวัตถุประสงค์ : เพื่ออุปโภคบริโภค / ปรับปรุง ต่อเติม ซ่อมแซมที่อยู่อาศัย /ชำระค่าเบี้ยประกันชีวิตคุ้มครองวงเงินสินเชื่อ อัตราดอกเบี้ย MRR ต่อปี ตลอดอายุสัญญา 4.เงื่อนไขอื่น ๆ เป็นไปตามที่ธนาคารกำหนด การพิจารณาสินเชื่ออยู่ภายใต้ดุลยพินิจของธนาคาร ยื่นสมัครสินเชื่อ ภายในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2566 และทำนิติกรรมจำนองภายใน 30 วัน ทั้งนี้ ธนาคารสงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขรายการส่งเสริมการขาย โดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า 3.ธนาคารกรุงศรี ธนาคารกรุงศรี มีสินเชื่อรีไฟแนนซ์ ที่ไม่ได้เปลี่ยนแปลงจากช่วงเดือนก่อนหน้า ด้วยแคมเปญ อัตราดอกเบี้ยคงที่ 2.00% นาน 1 ปี หรือสามารถเลือกรับดอกเบี้ยทางเลือกฟรี ค่าจดจำนอง เมื่อซื้อประกันภัยคุ้มครองวงเงินสินเชื่อ ตามที่ธนาคารกำหนด และกรณีมีวงเงินเหลือ ยังมีแคมเปญที่สามารถกู้เพิ่ม สินเชื่อกรุงศรีโฮมฟอร์แคชได้อีกด้วย นอกจากนี้ ธนาคารยังมีโปรโมชั่น ฟรี ค่าประเมินหลักประกันมูลค่า 3,210 บาท ส่วนรายละเอียดของสินเชื่อรีไฟแนนซ์ มีดังนี้ วงเงินกู้ตั้งแต่ 1-1.5 ล้านบาท ทางเลือกที่ 1 ปีที่ 1-3 อัตราดอกเบี้ย = 3.85% เพิ่มขึ้น 1.55% จากเดือนก่อนหน้าคิดดอกเบี้ย 2.30% อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี ดอกเบี้ย 3.85% เพิ่มขึ้น 0.52% จากเดือนก่อนหน้าคิดดอกเบี้ย 3.33% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง ดอกเบี้ย 4.54% เพิ่มขึ้น 0.59% จากเดือนก่อนหน้าคิดดอกเบี้ย 3.95% ทางเลือกที่ 2 ปีที่ 1 อัตราดอกเบี้ย = 2.75% ปีที่ 2 อัตราดอกเบี้ย = 3.65% ปีที่ 3 ดอกเบี้ย MRR-1.65%= 5.0% เพิ่มขึ้น 0.6% จากเดือนก่อนหน้าคิดดอกเบี้ย 4.4% อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี ดอกเบี้ย3.8% เพิ่มขึ้น 0.2% จากเดือนก่อนหน้าคิดดอกเบี้ย 3.60% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง ดอกเบี้ย 4.46 เพิ่มขึ้น 0.36% จากเดือนก่อนหน้าคิดดอกเบี้ย 4.10% ทางเลือกที่ 3* ฟรีค่าจดจำนอง ปีที่ 1 อัตราดอกเบี้ย 4.1% เพิ่มขึ้น​ 1.8% จากเดือนก่อนหน้าคิดดอกเบี้ย 2.30% ปีที่ 2 อัตราดอกเบี้ย 4.1% ลดลง 0.05% จากเดือนก่อนหน้าคิดดอกเบี้ย 4.15% ปีที่ 3 อัตราดอกเบี้ย 4.1% ลดลง 0.2% จากเดือนก่อนหน้าคิดดอกเบี้ย 4.30% อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 4.1% เพิ่มขึ้น 0.52% จากเดือนก่อนหน้าคิดดอกเบี้ย 3.58% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง ดอกเบี้ย 4.68% เพิ่มขึ้น 0.59% จากเดือนก่อนหน้าคิดดอกเบี้ย 4.09% สำหรับวงเงินตั้งแต่ 1.5 ล้านบาทขึ้นไป ทางเลือกที่ 1 ปีที่ 1-3 อัตราดอกเบี้ย 3.38% เพิ่มขึ้น 0.505% จากเดือนก่อนหน้าคิดดอกเบี้ย 2.875% อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี ดอกเบี้ย 3.38% เพิ่มขึ้น 0.5% จากเดือนก่อนหน้าคิดดอกเบี้ย 2.88% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง ดอกเบี้ย 4.19% เพิ่มขึ้น 0.59% จากเดือนก่อนหน้าคิดดอกเบี้ย 3.60% ทางเลือก 2 ปีที่ 1 อัตราดอกเบี้ย = 2.00% ปีที่ 2 อัตราดอกเบี้ย 4.70% เพิ่มขึ้น 1.1% จากเดือนก่อนหน้าคิดดอกเบี้ย 3.60% ปีที่ 3 อัตราดอกเบี้ย 3.70% ลดลง 0.15% จากเดือนก่อนหน้าคิดดอกเบี้ย 3.85% อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี ดอกเบี้ย 3.47% เพิ่มขึ้น 0.32% จากเดือนก่อนหน้าคิดดอกเบี้ย 3.15% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง ดอกเบี้ย 4.20% เพิ่มขึ้น 0.49% จากเดือนก่อนหน้าคิดดอกเบี้ย 3.71% ทางเลือก 3 ปีที่ 1 อัตราดอกเบี้ย 3.95% เพิ่มขึ้น 1.45% จากเดือนก่อนหน้าคิดดอกเบี้ย 2.50% ปีที่ 2 อัตราดอกเบี้ย 3.95% เพิ่มขึ้น 0.45% จากเดือนก่อนหน้าคิดดอกเบี้ย​ 3.50% ปีที่ 3 อัตราดอกเบี้ย 3.95% ลดลง 0.30% จากเดือนก่อนหน้าคิดดอกเบี้ย 4.25% อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี ดอกเบี้ย 3.95% เพิ่มขึ้น 0.53% จากเดือนก่อนหน้าคิดดอกเบี้ย 3.42% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง ดอกเบี้ย 3.95% เพิ่มขึ้น 0.08% จากเดือนก่อนหน้าคิดดอกเบี้ย 3.87% ทางเลือก 4 ปีที่ 1-3 อัตราดอกเบี้ย 3.65% เพิ่มขึ้น 0.30% จากเดือนก่อนหน้าคิดดอกเบี้ย 3.35% อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี ดอกเบี้ย 3.65% เพิ่มขึ้น 0.30% จากเดือนก่อนหน้าคิดดอกเบี้ย 3.35% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง ดอกเบี้ย 4.34% เพิ่มขึ้น 0.99% จากเดือนก่อนหน้าคิดดอกเบี้ย 3.35% หมายเหตุ -ตามประกาศธนาคาร ณ วันที่ 31 มกราคม 2566 อัตราดอกเบี้ย MRR = 6.65% ต่อปี -อัตราดอกเบี้ยนี้สำหรับลูกค้าที่ยื่นขอสินเชื่อตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ​–30 เมษายน​ 2566 โดยจดจำ​นองและเบิกรับเงินกู้ภายในวันที่ 31 พฤษภาคม 2566 -ค่าธรรมเนียมอื่น ๆ เป็นไปตามประกาศของธนาคาร -การพิจารณาอนุมัติสินเชื่อเป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ ธนาคารกำหนด -วงเงินกู้อนุมัติสูงสุดเป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ธนาคารกำหนด -ธนาคารขอสงวนสิทธิ์เรียกเก็บค่าเบี้ยปรับกรณีปิดภาระหนี้ก่อนกำหนด (กรณีที่ ลูกค้ารีไฟแนนซ์ไปสถาบันการเงินอื่นภายใน 3 ปีแรกนับจากวันทำสัญญา) คิดเป็น 3% ของยอดหนี้คงเหลือ -รายละเอียดและเงื่อนไขเพิ่มเติม สอบถามได้จากธนาคาร​ 4.ธนาคารกสิกรไทย อัตราดอกเบี้ยรีไฟแนนซ์บ้านของธนาคารกสิกรไทย  ข้อมูลของเว็บไซต์ธนาคารไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงจากเ และยังเป็นข้อมูลที่ระบุช่วงเวลาการยื่นกู้ตั้งแต่ วันที่ 1 ตุลาคม – 30 ธันวาคม 2565 มีรายละเอียด ดังนี้ ปีที่ 1 อัตราดอกเบี้ย MRR = 5.97% อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 5.97% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 5.97% หมายเหตุ -MRR = 5.97% ( ณ วันที่ 22 พ.ค.63) อัตราดอกเบี้ยข้างต้นสำหรับลูกค้าที่ยื่นกู้สินเชื่อบ้านตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม – 30 กันยายน 2565 5.ธนาคารเกียรตินาคินภัทร ธนาคารเกียรตินาคินภัทร มีแคมเปญสินเชื่อสำหรับให้ลูกค้ารีไฟแนนซ์ คือ KKP Home Loan Refinance ให้วงเงินสูงสุด 50 ล้านบาท ดอกเบี้ยต่ำ สามารถกู้ร่วมกันได้สูงสุด 4 คนโดยเป็นบุคคลในครอบครัวเดียวกัน ฟรีค่าประเมินหลักประกัน* ซึ่งมีรายละเอียดของเดือนมกราคม 2566 ไม่ได้เปลี่ยนแปลงจากเดือนที่ผ่านมา ดังนี้ ทางเลือก ดอกเบี้ยแบบลอยตัว แบบทำประกัน ปีที่ 1-3  ดอกเบี้ย 2.84-3.04% ปีต่อไป MLR-1.50% =  5.275% แบบไม่ทำประกัน ปีที่ 1-3  ดอกเบี้ย 3.04-3.24% ปีต่อไป MLR-1.50% = 5.275% เงื่อนไข -วงเงินคงเหลือต้องมากกว่า 500,000 บาท -บ้านต้องผ่อนกับสถาบันการเงินเท่านั้น -มีประวิติผ่อนชำระกับสถาบันการเงินเดิมไม่ต่ำกว่า 12 เดือน หมายเหตุ -อัตราดอกเบี้ยขึ้นอยู่กับกับปัจจัยอ้างอิง เช่น​ อัตราดอกเบี้ยลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี ​ประเภทเงินกู้แบบมีระยะเวลา​(MLR) ซึ่งธนาคารจะแจ้งให้ทราบถึงการเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ย ดังกล่าว​ โดยจะประกาศไว้ ณ ​ สถานที่ทำการที่ให้บริการ และเว็บไซต์ของ​ธนาคาร -MLR ณ วันที่ 15 ธันวาคม 2565 อัตรา 7.025% ต่อปี -เลือกทำประกันชีวิตคุ้มครองวงเงินสินเชื่อ ​(MRTA) ผ่านธนาคารทุน​ประกันภัยเท่ากับวงเงิน กู้โดยมรีะยะเวลาเอาประกันภัยขั้นต่ำ 10 ปีกรณีที่ระยะเวลาการไถ่ถอนถึง​ 10 ปีให้ระยะเวลาเอา ประกันภัยเท่า​กับระยะเวลาการกู้ -กรณี Refinance ไปสถาบันการเงินอื่นก่อนครบ 3 ปีแรก คิดค่า ​Prepayment Penalty 3% ของเงินต้นคงค้าง -กรณีเลือกใช้เงื่อนไขอัตราดอกเบี้ย แบบฟรีค่าจดจำนอง​ หากลูกค้า​ Re-Finance หรือชำระปิดบัญชีก่อน​ระยะเวลาที่กำหนดไว้ทุก กรณีลูกค้าต้องชำระคืนค่าจดจำนองที่ธนาคาร สำรองจ่ายให้ธนาคาร -ค่าประเมินหลักประกันเริ่มต้น 3,210 บาท ค่าอากรแสตมป์ร้อยละ 0.05 ของวงเงินกู้ (สูงสุดไม่เกิน 10,000 บาท) -ค่าธรรมเนียมตดิ ตามทวงถามหนี้นค้างชำระ​ 1 งวด 50 บาท/รอบการทวงถามหนี้ค้างชำระมากกว่า ​1 งวด 100 บาท/รอบการทวงถามหนี้ -เบี้ยประกันอัคคีภัย เป็นไปตามที่บริษัทประกันภัยกำหนด​ โดยผู้กู้สามารถเลือกทำ​ประกันกับบริษัท​ประกันที่น่าเชื่อถืออื่นใดก็ได้ ​   6.ธนาคารซีไอเอ็มบี ธนาคารซีไอเอ็มบี มี อัปเดตดอกเบี้ยรีไฟแนนซ์บ้าน และคอนโด ในเดือนมกราคม 2566 สำหรับ​ประเภทสินเชื่อรีไฟแนนซ์  กรณีไม่ขอวงเงินเพิ่ม  มีอัตราการคิดดอกเบี้ย ดังนี้ สำหรับพนักงานประจำหรือเจ้าของกิจการ รายได้ 30,000 บาทขึ้นไป กรณีสัดส่วนวงเงินกู้ต่อมูลค่าหลักประกัน น้อยกว่าหรือเท่ากับ 80% ทางเลือก 1 แบบทำประกันชีวิต ปีที่ 1-3 อัตราดอกเบี้ย  MRR-5.26% = 3.09% เพิ่มขึ้น 0.16% จากเดือนก่อนหน้าคิดอัตราดอกเบี้ย 2.93% อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 3.09% เพิ่มขึ้น 0.16% จากเดือนก่อนหน้าคิดอัตราดอกเบี้ย2.93% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 5.45% เพิ่มขึ้น 0.84% จากเดือนก่อนหน้าคิดอัตราดอกเบี้ย4.61% แบบไม่ทำประกันชีวิต ปีที่ 1-3 อัตราดอกเบี้ย  MRR-5.06% = 3.29% เพิ่มขึ้น 0.06% จากเดือนก่อนหน้าคิดอัตราดอกเบี้ย 3.23% อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 3.29% เพิ่มขึ้น 0.06% จากเดือนก่อนหน้าคิดอัตราดอกเบี้ย 3.23% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 5.51% เพิ่มขึ้น 0.82% จากเดือนก่อนหน้าคิดอัตราดอกเบี้ย 4.69% ทางเลือก 2 แบบทำประกันชีวิต ปีที่ 1-3 อัตราดอกเบี้ย  MRR-4.96% = 3.39% อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 3.39% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 5.45% ทางเลือก 2 แบบไม่ทำประกันชีวิต ปีที่ 1-3 อัตราดอกเบี้ย  MRR-4.76% = 3.59% อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 3.59% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 5.59% ทางเลือก 3 กรณีสัดส่วนวงเงินกู้ต่อมูลค่าหลักประกัน น้อยกว่าหรือเท่ากับ 85%  แบบทำประกันชีวิต ปีที่ 1-3 อัตราดอกเบี้ย MRR-4.52% = 3.83% อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 3.83% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 5.66% แบบไม่ทำประกันชีวิต ปีที่ 1-3 อัตราดอกเบี้ย  MRR-4.22% = 4.13% อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 4.13% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 5.74% ทางเลือก 4 กรณีสัดส่วนวงเงินกู้ต่อมูลค่าหลักประกัน มากกว่า 85% แต่น้อยกว่าหรือเท่ากับ 100% แบบทำประกันชีวิต ปีที่ 1-3 อัตราดอกเบี้ย  MRR-4.32% = 4.03% เพิ่มขึ้น 0.90% จากเดือนก่อนหน้าคิดดอกเบี้ย 3.13% อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 4.03% เพิ่มขึ้น 0.90% จากเดือนก่อนหน้าคิดดอกเบี้ย 3.13% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 5.71% เพิ่มขึ้น 1.04% จากเดือนก่อนหน้าคิดดอกเบี้ย 4.67% แบบไม่ทำประกันชีวิต ปีที่ 1-3 อัตราดอกเบี้ย  4.02% เพิ่มขึ้น 0.59% จากเดือนก่อนหน้าคิดดอกเบี้ย 3.43% อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 4.33% เพิ่มขึ้น 0.90% จากเดือนก่อนหน้าคิดดอกเบี้ย 3.43% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 5.80% เพิ่มขึ้น 1.05% จากเดือนก่อนหน้าคิดดอกเบี้ย 4.75% ทางเลือก 5 กรณีสัดส่วนวงเงินกู้ต่อมูลค่าหลักประกัน น้อยกว่าหรือเท่ากับ 85% แบบทำประกันชีวิต ปีที่ 1-3 อัตราดอกเบี้ย  MRR-4.76% =3.59% เพิ่มขึ้น 1.05% จากเดือนก่อนหน้าคิดดอกเบี้ย 2.69% อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 3.59% เพิ่มขึ้น 0.90% จากเดือนก่อนหน้าคิดดอกเบี้ย 2.69% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 5.59% เพิ่มขึ้น 1.04% จากเดือนก่อนหน้าคิดดอกเบี้ย 4.55% แบบไม่ทำประกันชีวิต ปีที่ 1-3 อัตราดอกเบี้ย  MRR-4.46% = 3.89%เพิ่มขึ้น 0.90% จากเดือนก่อนหน้าคิดดอกเบี้ย 2.99% อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 3.89% เพิ่มขึ้น 0.99% จากเดือนก่อนหน้าคิดดอกเบี้ย 2.90% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 5.67% เพิ่มขึ้น 1.04% จากเดือนก่อนหน้าคิดดอกเบี้ย 4.63% กรณีสัดส่วนวงเงินกู้ต่อมูลค่าหลักประกัน มากกว่า 85% แต่น้อยกว่าหรือเท่ากับ 100% แบบทำประกันชีวิต ปีที่ 1-3 อัตราดอกเบี้ย  MRR-4.56% =3.79% เพิ่มขึ้น 0.90% จากเดือนก่อนหน้าคิดดอกเบี้ย 2.89% อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 3.79% เพิ่มขึ้น 0.90% จากเดือนก่อนหน้าคิดดอกเบี้ย 2.89% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 5.69% เพิ่มขึ้น 1.09% จากเดือนก่อนหน้าคิดดอกเบี้ย 4.60% แบบไม่ทำประกันชีวิต ปีที่ 1-3 อัตราดอกเบี้ย  MRR-4.26% = 4.09% เพิ่มขึ้น 0.90% จากเดือนก่อนหน้าคิดดอกเบี้ย 3.19% อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 4.09% เพิ่มขึ้น 0.90% จากเดือนก่อนหน้าคิดดอกเบี้ย 3.19% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 5.73% เพิ่มขึ้น 1.05% จากเดือนก่อนหน้าคิดดอกเบี้ย 4.68% หมายเหตุ -อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา คำนวณจากวงเงินกู้ 2 ล้านบาท ระยะเวลากู้ 15 ปี (MRR=8.35% ประกาศ ณ วันที่ 1 มกราคม 2566) กรณีขอวงเงินเพิ่ม สอบถามรายละเอียดกับทางธนาคารโดยตรง 1.ยกเว้น ค่าประเมินราคาหลักทรัพย, ค่าอากรแสตมป์ และค่าเบี้ยประกันอัคคีภัย 3 ปีแรก ทุกทางเลือก 2.ยกเว้น ค่าจดจำนอง เฉพาะทางเลือก 1 และ 2 7.ธนาคารทีทีบี ธนาคารทีทีบีมีแคมเปญสินเชื่อบ้านรีไฟแนนซ์  ประจำเดือนมกราคม 2566 ดังนี้ สมัครพร้อมผลิตภัณฑ์เสริม 3 ประเภท ทางเลือก 1 ปีที่ 1-3 คิดอัตราดอกเบี้ย MRR-3.53% = 3.55% เพิ่มขึ้น 0.8% จากเดือนที่ผ่านมาคิดดอกเบี้ย 2.75% ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 3.55% เพิ่มขึ้น 0.8% จากเดือนที่ผ่านมาคิดดอกเบี้ย 2.75% ดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 4.80% เพิ่มขึ้น 0.78% จากเดือนที่ผ่านมาคิดดอกเบี้ย 4.02% ทางเลือก 2 (ฟรีค่าจดจำนอง) ปีที่ 1-3 อัตราดอกเบี้ย MRR-3.18%=3.90% เพิ่มขึ้น 0.80% จากเดือนที่ผ่านมาคิดดอกเบี้ย 3.10% ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี อัตรา 3.90% เพิ่มขึ้น 0.80% จากเดือนที่ผ่านมาคิดดอกเบี้ย 3.10% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 4.93% เพิ่มขึ้น 0.79% จากเดือนที่ผ่านมาคิดดอกเบี้ย  4.14% ทางเลือก 3 (สมัครผลิตภัณฑ์ไม่ครบทั้ง 3 ประเภท) ปีที่ 1-3 คิดอัตราดอกเบี้ย (MRR-2.74%) = 4.34% เพิ่มขึ้น 0.8% จากเดือนที่ผ่านมาคิดดอกเบี้ย 3.54% ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปีดอกเบี้ย 4.34% เพิ่มขึ้น 0.8% จากเดือนที่ผ่านมาคิดดอกเบี้ย 3.54% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 5.08% เพิ่มขึ้น 0.79% จากเดือนที่ผ่านมาคิดดอกเบี้ย 4.29% สมัครผลิตภัณฑ์เสริม 3 ประเภท ได้แก่ 1.สมัครประกันชีวิตคุ้มครองสินเชื่อบ้าน สไมล์ โฮม หรือ สไมล์ โฮม พลัส 2.สมัครใช้บริการ หักบัญชีอัตโนมัติผ่านบัญชีออมทรัพย์ทีทีบีเพื่อผ่อนช าระสินเชื่อบ้าน 3.สมัครบัตรเดบิต ทีทีบี (กรณีที่มีบัตรเดบิต ทีทีบีแล้ว ไม่ต้องสมัครเพิ่ม) ช่วยคุณประหยัดดอกเบี้ยได้มากขึ้น ผ่อนต่อเดือนน้อยลง และเป็นเจ้าของบ้านได้เร็วขึ้น เมื่อรีไฟแนนซ์บ้านกับทีทีบี รับข้อเสนอพิเศษ ด้วยอัตราดอกเบี้ยให้เลือก 2 แบบ ดังนี้ แบบที่ 1 สมัครพร้อมผลิตภัณฑ์เสริม 3 ประเภท  รับอัตราดอกเบี้ยพิเศษ นาน 3 ปี  ฟรี! ค่าเบี้ยประกันอัคคีภัย มูลค่าประมาณ 1,000 บาทต่อปี ต่อราคาบ้าน 1 ล้านบาท  ฟรี! ค่าจดทะเบียนจำนอง มูลค่า 1% ของเงินกู้สูงสุด 200,000 บาท  ฟรี! ค่าธรรมเนียมธนาคารของสินเชื่อบ้านทุกประเภท: ค่าประเมินราคาหลักทรัพย์, ค่าดำเนินการสินเชื่อ, ค่าทำนิติกรรมจำนอง แบบที่ 2 สมัครผลิตภัณฑ์เสริมไม่ครบทั้ง 3 ประเภท ฟรี! ค่าเบี้ยประกันอัคคีภัย มูลค่าประมาณ 1,000 บาทต่อปี ต่อราคาบ้าน 1 ล้านบาท ฟรี! ค่าธรรมเนียมธนาคารของสินเชื่อบ้านทุกประเภท: ค่าประเมินราคาหลักทรัพย์, ค่าดำเนินการสินเชื่อ, ค่าทำนิติกรรมจำนอง หมายเหตุ  -อัตราดอกเบี้ยค่าธรรมเนียมรวมถึงสิทธิพิเศษต่าง ๆ เป็นไปตามประกาศของธนาคาร การทำประกันชีวิตคุ้มครองวงเงินสินเชื่อบ้าน (MRTA) ไม่มีผลต่อการพิจารณาสินเชื่อ ทำเพื่อประโยชน์หากเกิดเหตุการณ์ไม่ คาดคิดขึ้นกับผู้กู้ในขณะที่ยังชำระหนี้ไม่ครบถ้วน ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงของผู้กู้และธนาคาร และไม่มีผลต่อการพิจารณาสินเชื่อ -อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา คำนวณจากวงเงินสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย 3 ล้านบาท อายุสัญญา 20 ปี -ธนาคารขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาอนุมัติวงเงินกู้และอัตราดอกเบี้ยตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขของธนาคาร -ธนาคารขอสงวนสิทธิเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่แจ้งไว้ในเอกสารฉบับนี้ โดยไม่ ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า -ในกรณีที่ธนาคารเป็นผู้ชำระค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนจำนองหลักประกันแทนผู้กู้หากผู้กู้มีความประสงค์จะไถ่ถอนหลักประกันและชำระหนี้คืนทั้งหมดภายในระยะเวลา 5 ปี นับแต่วันเบิกใช้เงินกู้ ครั้งแรก ผู้กู้ตกลงคืนเงินค่าธรรมเนียมจดจำนองหลักประกันตามจำนวนเงินที่ธนาคารได้ชำระไปให้แก่ธนาคาร ในวันที่ผู้กู้ได้ชำระหนี้ทั้งหมดเสร็จสิ้น (ค่าธรรมเนียมจดจำนอง 1% สูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท) -ลูกค้าต้องสำรอง จ่ายค่าจดจำนองแก่กรมที่ดินก่อน โดยธนาคารจะโอนเงินคืนเข้าบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ที่ลูกค้าใช้หักชำระค่างวดกับธนาคารภายใน 30 วันทำการนับจากวันที่ลูกค้าจดจำนอง -MRR = 7.08% ตามประกาศธนาคาร https://www.ttbbank.com/th/rates/loan-interest-rates -สำหรับลูกค้าที่ยื่นกู้ตั้งแต่วันที่ 3 มกราคม ถึง 30 มิถุนายน 2566 8.ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารไทยพาณิชย์ ข้อมูลในเว็บไซต์ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลง ซึ่งข้อมูลแคมเปญของธนาคารมีกำหนดระยะเวลาตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม ถึง 31 ธันวาคม ​2565 โดยมีรายละเอียดดอกเบี้ยรีไฟแนนซ์ ดังนี้ แบบไม่ทำประกันชีวิตคุ้มครองสินเชื่อ ปีที่ 1-3 อัตราดอกเบี้ย 5.15% ปีต่อไป MRR-0.72%= 5.275% ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 5.15% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง 5.242% แบบทำประกันชีวิตคุ้มครองสินเชื่อ มากกว่าหรือเท่ากับ 70% ของวงเงินกู้ ปีที่ 1-3 อัตราดอกเบี้ย 4.90% ปีต่อไป MRR-0.72% = 5.275% ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 4.90% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง 5.174% หมายเหตุ -กรณีใช้ดอกเบี้ย​แบบทำประกัน​ Credit Life 70% กำหนดให้ทำทุนประกันไม่น้อยกว่า 70% ของวงเงินกู้และระยะเวลาเอาประกัน 70% ของระยะเวลากู้ตามสัญญา โดยกำหนดให้เอาระยะเวลาขั้นต่ำ 10 ปี (กรณีระยะเวลากู้ตามสัญญาต่ำ​10 ปี กำหนดให้ระยะเวลาเอาประกันเท่ากับระยะเวลากู้ตามสัญญา) ​-ประกันชีวิตคุ้มครองสินเชื่อ รับประกันภัยโดย บมจ. ไทยพาณิชย์ประกันชีวิต บริษัทนเครือกลุ่มเอฟดับบลิวดี -ผู้ซื้อควรทำความเข้าใจรายละเอียดความคุ้มครอง เงื่อนไข ​​ก่อนการตัดสินใจทำประกันภัยทุก​ ธนาคารเป็นเพียงนายหน้าผู้ชี้ช่อง หรือจัดการให้บุคคลเข้าทำสัญญาประกันภัยเท่านั้น ​การพิจารณารับประกัน ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขการรับประกันภัย ของบริษัทประกันภัย -อัตราดอกเบี้ย MRR ของธนาคารไทยพาณิชย์ เท่ากับ 5.995% ต่อปี ​(ประกาศ ณ วันที่ 21 กรกฎาคม​ 2565) ซึ่งอาจะเปลี่ยนแปลงได้ตามประกาศธนาคาร -อัตราดอกเบี้ยแท้จริงที่ระบุในตารางเป็นเพียงตัวอย่างที่คำนวณตามเงื่อนไขที่ใช้ในฉบับนี้เท่านั้น ​ซึ่งอาจะมีความแตกต่างกัน ตามเงื่อนไขการกู้ยืมของลูกค้าแต่ละราย -กรณีลูกค้าบอกเลือกประกันชีวิต หรือขอเวนคืนกรมธรรม์ หรือทำประกันไม่ครบกำหนดตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ ​ธนาคารขอสงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยวงเงินกู้ เป็นอัตราดอกเบี้ยทั่วไป  ตามประกาศธนาคาร ระยะเวลากู้ตามสัญญา วงเงิน ระยเวลาผ่อนชำระ อัตราดอกเบี้ย คุณสมบัติ เอกสารปรกอบการพิจารณา และการอนุมัติเป็นไปตามเงื่อนไข หลักเกณฑ์ที่ธนาคารกำหนด -ระยะเวลาขอสินเชื่อ 1 กรกฎาคม ถึง ​31 ธันวาคม 2565 9.ธนาคารอาคารสงเคราะห์ สำหรับธนาคารอาคารสงเคราะห์ หรือ ธอส. ถือว่าเป็นธนาคารสำหรับการให้สินเชื่อเพื่อซื้อบ้านและคอนโด รวมถึงสินเชื่ออื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องโดยตรง มีสินเชื่อให้เลือกมากมายหลายประเภท สำหรับข้อมูลการรีไฟแนนซ์บ้านจากสถาบันการเงินอื่น ใช้สินเชื่อ All Home อ้างอิง ซึ่ง​อัตราดอกเบี้ย ดังนี้ แบบที่ 1 สำหรับกลุ่มลูกค้าสวัสดิการ ปีที่ 1 อัตราดอกเบี้ย MRR-2.6=3.55% เพิ่มขึ้น 1.3% จากเดือนก่อนหน้าที่คิดอัตราดอกเบี้ย 2.25% ปีที่ 2 อัตราดอกเบี้ย MRR-2.1% =4.05% เพิ่มขึ้น 1.06% จากเดือนก่อนหน้าที่คิดอัตราดอกเบี้ย 2.99% ปีที่ 3 อัตราดอกเบี้ย MRR-1.6% = 4.55% เพิ่มขึ้น 1.03% จากเดือนก่อนหน้าที่คิดอัตราดอกเบี้ย 3.52% อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี MRR-1.0% = 5.15% เพิ่มขึ้น 2.23% จากเดือนก่อนหน้าที่คิดอัตราดอกเบี้ย 2.92% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา = 4.76% เพิ่มขึ้น 0.41% จากเดือนก่อนหน้าที่คิดอัตราดอกเบี้ย 4.35% แบบที่ 2 สำหรับกลุ่มลูกค้ารายย่อย ปีที่ 1 อัตราดอกเบี้ย MRR-2.50%= 3.65% เพิ่มขึ้น 1.30% จากเดือนก่อนหน้าที่คิดอัตราดอกเบี้ย 2.35% ปีที่ 2 อัตราดอกเบี้ย  MRR-2.00%=4.15% เพิ่มขึ้น 1.06% จากเดือนก่อนหน้าที่คิดอัตราดอกเบี้ย 3.09% ปีที่ 3 อัตราดอกเบี้ย  MRR-1.50%= 4.65% เพิ่มขึ้น 1.30% จากเดือนก่อนหน้าที่คิดอัตราดอกเบี้ย 3.35% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา MRR-0.50%= 5.65% เพิ่มขึ้น 0.94% จากเดือนก่อนหน้าที่คิดอัตราดอกเบี้ย 4.71% หมายเหตุ -นิยามคำว่า “อาคาร” หมายถึง บ้านเดี่ยว บ้านแฝดทาวน์เฮ้าส์ และอาคารพาณิชย์เพื่อที่อยู่อาศัย ยกเว้นแฟลต และบ้านเช่า -ยกเว้น ค่าธรรมเนียมการยื่นกู้ร้อยละ 0.1 ของวงเงินทำนิติกรรม -MRR = 6.15% ประกาศ ณ วันที่ 25 พฤษภาคม​ 63   10.ธนาคารยูโอบี สำหรับธนาคารยูโอบี มีแคมเปญสินเชื่อบ้านรีไฟแนนซ์ UOB Home Loan – รีไฟแนนซ์ ​ ไม่รวมวงเงินกู้เพิ่มอเนกประสงค์  ซึ่งอัตราดอกเบี้ยในเดือนมกราคม 2566 มีรายละเอียดดังนี้ ทางเลือก 1 ทำประกันชีวิตคุ้มครองวงเงินสินเชื่อ ปีที่ 1-3 อัตราดอกเบี้ย  MRR-4.46%= 3.29% ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 3.29% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 5.11% เพิ่มขึ้น 0.11% จากเดือนก่อนหน้าที่คิดดอกเบี้ย 5.00% ทางเลือกที่ 2 ไม่ทำประกันชีวิตคุ้มครองวงเงินสินเชื่อ ปีที่ 1-3 อัตราดอกเบี้ย MRR-4.36%= 3.39% ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 3.39% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 5.15% เพิ่มขึ้น 0.11% จากเดือนก่อนหน้าที่คิดดอกเบี้ย 5.04% ทางเลือก 3 แบบทำประกัน ปีที่ 1-2 อัตราดอกเบี้ย MRR-5.36% = 2.39% ปีที่ 3 อัตราดอกเบี้ย MRR-2.36%= 5.39% ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 3.39% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 5.11% เพิ่มขึ้น 0.12% จากเดือนก่อนหน้าคิดดอกเบี้ย4.99% ทางเลือก 4 แบบไม่ทำประกัน ปีที่ 1-2 อัตราดอกเบี้ย 2.49% (MRR-5.26%) ปีที่ 3 อัตราดอกเบี้ย 5.49% (MRR-2.26%) ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 3.49% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 5.15% เพิ่มขึ้น 0.12% จากเดือนที่ผ่านมาคิดดอกเบี้ย 5.03% หมายเหตุ -กรณีไถ่ถอนจำนองเพื่อใช้บริการกับสถาบันการเงินอื่น (Re-finance) ในช่วง​ระยะเวลา 3 ปีแรก นับจากวันที่กู้จะมีค่าปรับ​ 3% ของยอดเงินต้นคงค้าง (เฉพาะวงเงินสินเชื่อที่มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดหาที่อยู่อาศัยเท่านั้น​) -การอนุมัติสินเชื่อเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของธนาคาร​ -เพื่อเป็นข้อมูลเบื้องต้น อัตราดอกเบี้ย​ MRR ปัจจุบัน เท่ากับ 7.75% ต่อปี (ตามประกาศธนาคาร ​​ณ วันที่ 21 ธันวาคม 2565) อนึ่ง ธนาคารสามารถประกาศปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ย MRR ได้ตามเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดอนุญาตไว้ -อัตราค่าธรรมเนียมและค่าบริการต่าง ๆ เป็นไปตามประกาศที่ธนาคารจัดทำไว้ และประกาศให้ทราบตามระเบียบของธนาคารแห่งประเทศไทย โดยนาคารอาจเปลี่ยนแปลงอัตรา ค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ได้โดยจะแจ้งให้ทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 30 วัน โดยการปิดประกาศไว้ ณ ที่ทำการ หรือเว็บไซต์ของ​ธนาคาร -ธนาคารยูโอบี ในฐานะนายหน้าประกันภัย​ (ใบอนุญาตประกันชวีติเลขที่ ช.00026/2545 และใบอนุญาตประกันวินาศ​ภัย เลขที่ ว.00020/2546) ทำหน้าที่นำเสนอ ผลิตภัณฑ์ประกันภัย และเป็นผู้จัดการให้บุคคลเข้าทำสัญญาประกันชีวิต/ประกันวินาศภัย​ และอำนายวความสะดวกในการรับชำระเบี้ยประกันเท่านั้น  รับประกันชีวิต ​โดยบริษัท พรูเด็นเชียลประกันชวีติ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน), รับประกันวินาศภัยโดย บริษัท ประกันภัยไทยวิวัฒน์ จำกัด (มหาชน), บริษัท แอกซ่า ประกันภัย จำกัด (มหาชน) และบริษัท เอ็มม เอส ไอ จีประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) จะเป็นผู้รับผิดชอบตาเงื่อนไข ความคุ้มครองและสิทธิประโยชน์ตามที่ได้ระบุไว้ในกรมธรรม์ประกันภัย -ผู้ซื้อควรทำความเข้าใจในรายละเอียดความคุ้มครองและเงื่อนไขก่อนการตัดสินใจทำประกันภัยทุก ครั้ง​ 11.ธนาคารแลนด์แอนด์เฮ้าส์ ธนาคารแลนด์แอนด์เฮ้าส์ มีสินเชื่อรีไฟแนนซ์ ดอกเบี้ยต่ำ 1.99% ต่อปี ถึงวันที่ 31 มกราคม 2566  โดยมีรายละเอียดดังนี้ สำหรับผู้กู้รายได้ตั้งแต่ 75,000 บาทต่อเดือนขึ้นไป   แบบที่ 1 ปีที่ 1 อัตราดอกเบี้ย MRR-5.75% = 2.00% ปีที่ 2 อัตราดอกเบี้ย MRR-5.35%=2.40% เพิ่มขึ้น 0.40% จากเดือนก่อนหน้าคิดดอกเบี้ย 2.00% ปีที่ 3 อัตราดอกเบี้ย MRR-3.90% = 3.85% เพิ่มขึ้น 0.05% จากเดือนก่อนหน้าคิดดอกเบี้ย 3.80% ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 2.75% เพิ่มขึ้น 0.15% จากเดือนก่อนหน้าคิดดอกเบี้ย 2.60% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 4.44% เพิ่มขึ้น 0.88% จากเดือนก่อนหน้าคิดดอกเบี้ย 3.56% แบบที่ 2 ปีที่ 1-3 อัตราดอกเบี้ย MRR-5.06% = 2.69% เพิ่มขึ้น 0.09% จากเดือนก่อนหน้าคิดดอกเบี้ย2.60% ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 2.69% เพิ่มขึ้น 0.09% จากเดือนก่อนหน้าคิดดอกเบี้ย 2.60% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 4.44% เพิ่มขึ้น 0.81% จากเดือนก่อนหน้าคิดดอกเบี้ย 3.63% แบบที่ 3 ปีที่ 1 ดอกเบี้ยคงที่ 99% ปีที่ 2-3 ดอกเบี้ย MRR-4.39%=3.36% ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 90% ดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 48%   สำหรับผู้มีรายได้ตั้งแต่ 20,000 บาทต่อเดือนขึ้นไป แบบที่ 1 ปีที่ 1 อัตราดอกเบี้ย MRR-5.25% = 2.10% ปีที่ 2 อัตราดอกเบี้ย MRR-5.25% = 2.50% ปีที่ 3 อัตราดอกเบี้ย MRR-3.80% = 3.95% ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 2.85% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 4.47% แบบที่ 2 ปีที่ 1-3 อัตราดอกเบี้ย MRR-4.95% = 2.79% ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 2.79% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 4.47% ข้อกำหนดและเงื่อนไข -สิทธิพิเศษสำหรับลูกค้า Refinance ดอกเบี้ยพิเศษ เริ่ม 1.99% ต่อปี สำหรับลูกค้าที่มีรายได้ตั้งแต่ 75,000 บาทต่อเดือนขึ้นไป และเบิกรับเงินกู้ตั้งแต่วันนี้ – 31 มกราคม 2566 -วงเงินกู้เริ่มต้น 1 ล้านบาท และราคาประเมินหลักประกัน (แนวราบ) ไม่น้อยกว่า 2 ล้านบาท หรือ (แนวสูง) ไม่น้อยกว่า 2.5 ล้านบาท (โครงการจัดสรรทุกโครงการ) -อัตราดอกเบี้ยและเงื่อนไขดังกล่าว สำหรับหลักประกันที่ได้รับการจัดสรรทุกโครงการในเขตกรุงเทพและปริมณฑล ยกเว้น ที่ดินว่างเปล่า, อาคารพาณิชย์ -กรณีลูกค้าทำประกัน MRTA/MLTA ธนาคารทดรองจ่ายค่าจดจำนองให้ 1% ของวงเงินกู้อนุมัติ หรือสูงสุดไม่เกิน 2 แสนบาท (ทั้งนี้ธนาคารขอสงวนสิทธิ์ในการเรียกเก็บเงินทดรองจ่ายค่าจดจำนองดังกล่าวคืนจากลูกค้า กรณีลูกค้าปิดบัญชีสินเชื่อ หรือเปลี่ยนแปลงสัญญาใดๆ ภายใน 5 ปีแรกทุกกรณี นับจากวันทำนิติกรรมจดจำนอง) กรณีสมัครทำประกันชีวิต ต้องสมัครทำ MRTA/MLTA ทุนประกัน 100% ของวงเงินสินเชื่อ ระยะความคุ้มครองขั้นต่ำ 10 ปี -ลูกค้าสามารถเลือกใช้อัตราการผ่อนชำระขั้นต่ำได้ -อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงข้างต้นเป็นเพียงตัวอย่างอัตราดอกเบี้ยสำหรับสินเชื่อที่อยู่อาศัยวงเงิน 3 ล้านบาท อายุสัญญา 10 ปี MRR = 7.75% (ณ วันที่ 19 ตุลาคม 2565) ที่คำนวณตามเงื่อนไขที่ใช้ในโฆษณาฉบับนี้เท่านั้น ซึ่งอาจมีความแตกต่างตามเงื่อนไขการกู้ยืมของลูกค้าแต่ละราย -อัตราดอกเบี้ย หลักเกณฑ์และเงื่อนไขอื่นๆ เป็นไปตามที่ธนาคารกำหนด 12 ธนาคารออมสิน อัปเดตดอกเบี้ยรีไฟแนนซ์ สำหรับธนาคาออมสิน ประจำเดือนมกราคม 2566 ยังไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือนก่อนหน้า ​มีรายละเอียดอื่น ๆ ดังนี้ ​ สินเชื่อรีไฟแนนซ์ จากสถาบันการเงินอื่น สำหรับลูกค้าทั่วไป วงเงินกู้สินเชื่อต่ำกว่า 10 ล้านบาท แบบทำประกัน ปีที่ 1 อัตราดอกเบี้ย 1.99% (MRR-4.255%) ปีที่ 2-3 อัตราดอกเบี้ย 2.98% (MRR-3.265%) ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี ดอกเบี้ย 2.65% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 4.144% แบบไม่ทำประกัน ปีที่ 1 อัตราดอกเบี้ย 2.24% (MRR-4.005%) ปีที่ 2-3 อัตราดอกเบี้ย 3.605%  (MRR-2.64%) ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 3.15% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 4.328% วงเงินกู้สินเชื่อมากกว่า 10 ล้านบาท  กลุ่มลูกค้าทั่วไป (เดือนที่ผ่านมาไม่ได้แยกวงเงินกู้) กรณีทำประกัน ปีที่ 1 ดอกเบี้ย 1.99% ปีที่ 2-3 อัตราดอกเบี้ย 2.755% ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 2. 5% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง 4.089% กรณีไม่ทำประกัน ปีที่ 1 ดอกเบี้ย 2.24% ปีที่ 2-3 อัตราดอกเบี้ย 3.38% ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 3.00% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง 4.274% ดอกเบี้ยรีไฟแนนซ์ และฟรีค่าธรรมเนียมจดจำนอง ตั้งแต่ 1 ล้านบาทขึ้นไป แบบทำประกัน ปีที่ 1 ดอกเบี้ย MRR-4.255%=1.99% ปีที่ 2-3 ดอกเบี้ย MRR-2.80%=3.445% ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี96% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง256% แบบไม่ทำประกัน ปีที่ 1 ดอกเบี้ย MRR-4.005%=2.24% ปีที่ 2-3 ดอกเบี้ย MRR-2.175%=4.07% ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี46% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง437%   หมายเหตุ -อัตราดอกเบี้ยขั้นต่ำ MRR = 6.245% (ตั้งแต่วันที่ 25 พฤษภาคม 2563) -อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา คำนวณจากวงเงินกู้ 1 ล้านบาท​ ระยะเวลา 20 ปี แบบผ่อนเท่ากันทุกงวด ​ -หลักเกณฑ์เงื่อนไขอื่นๆ ให้เป็นไปตามที่ธนาคารกำหนด โดยธนาคารขอสงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์เงื่อนไข โดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า -มีสินเชื่อรีไฟแนนซ์ และกู้เพิ่มเติมเพื่อการอุปโภคบริโภค   ที่มา : Reviewyourliving รวบรวมจากข้อมูลเว็บไซต์ของแต่ละธนาคาร วันที่ 6 มกราคม 2566   บทความที่เกี่ยวข้อง -อัปเดตดอกเบี้ยรีไฟแนนซ์ บ้านและคอนโด เดือนพฤศจิกายน 2565
ลลิล พร็อพเพอร์ตี้  วางเป้าขาย 8,600 ล้าน โต 10% เน้นธุรกิจทำกำไร-รักษาสภาพคล่อง

ลลิล พร็อพเพอร์ตี้ วางเป้าขาย 8,600 ล้าน โต 10% เน้นธุรกิจทำกำไร-รักษาสภาพคล่อง

ลลิล พร็อพเพอร์ตี้ ประกาศแผนธุรกิจปี 2566 เปิดโครงการใหม่อย่างต่อเนื่อง 10 - 12 โครงการ มูลค่ารวม 7,000 – 8,000 ล้าน พร้อมตั้งเป้ายอดขายที่ 8,600 ล้าน และยอดรับรู้รายได้ที่ 6,850 ล้านบาท ขยายตัว 10% เน้น 2 คาถาความสำเร็จ ทำธุรกิจต้องมีกำไร-รักษาสภาพคล่อง   นายไชยยันต์ ชาครกุล ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ลลิล พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) (LALIN) ผู้พัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์มากว่า 30 ปี เปิดเผยว่า ​ภาพรวมของเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทยในปี 2565 ที่ผ่านมาว่า เป็นปีที่ความเสี่ยงจากสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 ค่อยๆ คลี่คลาย จากการที่คนส่วนใหญ่ได้รับวัคซีน ติดเชื้อ จนเกิดภูมิคุ้มกันหมู่ การติดเชื้อมักมีอาการที่ไม่รุนแรง  ทำให้หลายประเทศเริ่มทยอยดำเนินนโยบายผ่อนคลายต่าง ๆ  ส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจทยอยกลับมาดำเนินได้ตามปกติ ปี 2565 ที่ผ่านมา โลกต้องเผชิญกับความเสี่ยงทางด้านภูมิรัฐศาสตร์  การแย่งชิงความเป็นผู้นำโลกของประเทศมหาอำนาจ  ตลอดจนสงครามระหว่างรัสเซียและยูเครนที่เริ่มมาตั้งแต่ไตรมาสแรกของปี   นอกจากนี้ยังเป็นปีที่เงินเฟ้อเร่งตัวขึ้นทั่วโลก ซึ่งสูงที่สุดในรอบหลายสิบปี  จนทำให้หลายประเทศต้องดำเนินนโยบายการเงินแบบเข้มงวดเพื่อควบคุมเงินเฟ้อ  โดย FED ปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายถึง 7 ครั้ง รวม 4.25%  มาอยู่ที่ระดับ 4.25%-4.50% ณ สิ้นปี 2565  ซึ่งเป็นการขึ้นที่เร็วและแรงอย่างที่ไม่เคยเกิดมาก่อน  รวมถึงธนาคารกลางของหลายๆ ประเทศ ต้องดำเนินนโยบายในรูปแบบเดียวกัน เพื่อควบคุมเงินเฟ้อ  อันนำไปสู่ความเสี่ยงที่เพิ่มมากขึ้นที่ทั่วโลกจะเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย หรือ Recession ในแง่ของเศรษฐกิจไทย ในปี 2565 ได้รับแรงส่งจากการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวภายหลังการเปิดประเทศช่วงกลางปี  การขยายตัวของการบริโภคภาคเอกชนส่วนหนึ่งจากมาตรการกระตุ้นต่างๆ ของภาครัฐ และการส่งออกที่ขยายตัวได้ดีในช่วงครึ่งแรกของปี ก่อนเริ่มชะลอลงในช่วงครึ่งปีหลัง สำหรับในปี 2566 คาดว่าเศรษฐกิจโดยรวมของไทยจะขยายตัวได้ราว 3.6 – 4.0% อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจไทยยังต้องเผชิญกับความไม่แน่นอนสูง ทั้งความไม่แน่นอนภายในประเทศและต่างประเทศ  ไม่ว่าจะเป็นความเสี่ยงที่จะเกิด Recession ของเศรษฐกิจยุโรป และสหรัฐฯ  ความเสี่ยงที่เกิดจากเรื่องภูมิรัฐศาสตร์   ในขณะที่กำลังซื้อภายในประเทศที่ยังอ่อนแอ  ภาระหนี้ครัวเรือนและภาคธุรกิจที่อยู่ในระดับสูง ท่ามกลางแนวโน้มการเพิ่มขึ้นของภาระดอกเบี้ย  ความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์  ซึ่งเป็นความท้าทายในการดำเนินธุรกิจในปี 2566 นี้   สำหรับภาคอสังหาริมทรัพย์มีปัจจัยสนับสนุนจากมาตรการภาครัฐ ลดค่าธรรมเนียมการโอน และค่าธรรมเนียมจำนอง สำหรับที่อยู่อาศัยที่ราคาไม่เกิน 3 ล้านบาท ถึงสิ้นปี 2566   รวมถึงการฟื้นตัวของลูกค้าที่ทำงานในกลุ่มท่องเที่ยว ซึ่งก่อนหน้านี้ถูกจำกัดการเข้าถึงสินเชื่อจากธนาคารพาณิชย์ เปิดโปรเจ็กต์ใหม่ 10-12 โครงการ สำหรับแผนการตลาด ในปี 2566 นี้  จะใช้กลยุทธ์ที่มุ่งเน้น Customer Centric ผ่านกลยุทธ์ทั้ง Lifestyle Marketing และ Experience Marketing  โดยต่อยอดการทำตลาดผ่านช่องทาง Digital ที่เพิ่มมากขึ้น  เพื่อเข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคได้ตรงกลุ่มมากขึ้น และมีประสิทธิภาพที่ดีขึ้น  โดยนำ Big Data มาใช้ในการวิเคราะห์หา Customer Insights   ทั้งนี้บริษัท ยังคงให้ความสำคัญกับตลาดที่อยู่อาศัยในกลุ่มที่เป็น Real Demand  โดยพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคทั้งในรูปแบบของ New Design และ Smart Function ของตัวบ้าน   โดยช่วงปีที่ผ่านมา บริษัทเป็นรายแรกที่นำรูปแบบความงดงามของสถาปัตยกรรมฝรั่งเศสที่เรียบหรู มาออกแบบบ้านสไตล์ฝรั่งเศสแบบ French Colonial Style บนทำเลศักยภาพ ในราคาที่คุ้มค่า และจับต้องได้   ขณะที่แผนการเปิดโครงการใหม่ ในปีนี้วางแผน 10-12 โครงการ มูลค่า 7,000-8,000 ล้านบาท เป็นบ้านเดี่ยวและทาวน์เฮ้าส์ระดับราคา 2-9 ล้านบาท ครอบคลุมพื้นที่ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล แต่ขณะเดียวกันก็ยังคงมองหาโอกาสในการขยายไปยังพื้นที่มีศักยภาพ เช่น พื้นที่เขต EEC ในจังหวัดชลบุรีและระยอง เมื่อภาวะเศรษฐกิจกลับมาฟื้นตัว ภาวะการท่องเที่ยวเติบโตเพิ่มมากขึ้น   โดยปัจจุบันบริษัทมีที่ดินรองรับกับการพัฒนาโครงการใหม่แล้ว 60% ซึ่งจะพัฒนาโครงการได้ถึงเดือนกรกฎาคมหรือสิงหาคมนี้ และยังวางงบประมาณในการซื้อที่ดิน เพื่อนำมาพัฒนาโครงการในอนาคตอีก 1,500-1,600 ล้านบาท ตั้งเป้าเติบโต 10% โดยลลิล พร็อพเพอร์ตี้​ มีแนวคิดการดำเนินธุรกิจเพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน มีการบริหารงานที่คำนึงถึงการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม  สังคม  และบรรษัทภิบาล (Environmental, Social and Governance : ESG)  รวมถึงการมุ่งเน้นไปสู่การเป็น Digital Organization อย่างเต็มรูปแบบ  ควบคู่ไปกับการสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่แข็งแกร่ง ให้เป็นองค์กรที่รู้รอบแบบเจาะลึก มุ่งสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้  เสริมสร้างศักยภาพให้ทุกคนในองค์กร ให้เป็นบุคลากรที่มีคุณภาพ รู้กว้าง คิดไกล อยู่กันด้วยความเข้าใจ เพื่อสร้างความแข็งแรงจากภายใน มุ่งสู่การเป็น National Property Company ตามเป้าหมายที่ได้วางร่วมกัน   ขณะที่ทิศทางการเติบโตของผลการดำเนินงาน ในปีนี้ลลิล พร็อพเพอร์ตี้ วางเป้าหมายการเติบโตไว้ 10% ซึ่งตั้งเป้ายอดขาย 8,600 ล้านบาท และยอดรับรู้รายได้ 6,850 ล้านบาท ปัจจุบันมียอดขายรอรับรู้รายได้แล้ว 1,000 ล้านบาท คาถาสำหรับปีนี้ มี 2 เรื่อง คือ ธุรกิจต้องการมีกำไร และต้องรักษาสภาพคล่องเอาไว้ให้ได้ เราพยายามเติบโต 10% จากปี 2565 ในส่วนของสถานะการเงิน บริษัทมีความแข็งแกร่งอย่างมาก โดยมีอัตราส่วนหนี้สินต่อทุน (D/E Ratio) เพียง 0.55 เท่า ซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ยโดยรวมของอุตสาหกรรมซึ่งอยู่ที่ 1.4 – 1.5 เท่า ส่วนภาพรวมธุรกิจอสังหาฯ ในนี้คาดว่าจะมีการแข่งขันที่รุนแรง โดยเฉพาะตลาดอสังหาฯ แนวราบ จากการเปิดตัวของผู้ประกอบการรายใหญ่ในตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งคาดว่าภาพรวมธุรกิจอสังหาฯ จะเติบโตประมาณ 5%   อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง -ลลิล กวดยอดขาย 10 เดือน 6,300 ล้าน พร้อมปรับโฉม “บ้านลลิล The Prestige”
ส่องสถานการณ์โอนคอนโดต่างชาติ Q3  พร้อมลุ้นตลาดฟื้นตัวหลังจีนเปิดประเทศ 8 ม.ค.นี้

ส่องสถานการณ์โอนคอนโดต่างชาติ Q3 พร้อมลุ้นตลาดฟื้นตัวหลังจีนเปิดประเทศ 8 ม.ค.นี้

โอนคอนโด โอนคอนโดต่างชาติเริ่มฟื้นตัว หลังข้อมูลไตรมาส 3 เพิ่มขึ้นทั้งจำนวนและมูลค่า แม้จีนสัดส่วนการโอนลดลงเหลือ 50% จากที่เคยมีถึง 60% แต่ยังคงครองเบอร์ 1 โอนเยอะสุด ลุ้นหลังจีนเปิดประเทศ 8 มกราคม นี้ ช่วยกระตุ้นตลาดคอนโดต่างชาติเติบโตเท่าก่อนหน้าเกิดโควิด ขณะที่ธุรกิจท่องเที่ยวได้อานิสงค์ทันที​   ถือว่าเป็นข่าวดีรับปีใหม่ 2566 เมื่อประเทศจีนประกาศเปิดประเทศแล้ว หลังล็อกดาวน์มานาน 3 ปี ทำให้ชาวจีนสามารถเดินทางออกนอกประเทศได้แล้ว ตั้งแต่วันที่ 8 มกราคม 2566 ซึ่งนั่นหมายความว่า ประเทศไทยเราจะได้รับอานิสงค์ จากจำนวนนักท่องเที่ยวจีน จะกลับมาเที่ยวบ้านเราเหมือนก่อนหน้านี้   นอกจาก ภาวะการท่องเที่ยวไทยจะกลับมาฟื้นตัว จากจำนวนนักท่องเที่ยวชาวจีน ที่คาดว่าจะมากันจำนวนมากมายแล้ว อีกธุรกิจหนึ่งที่ได้รับประโยชน์ด้วย คือ ธุรกิจอสังหาริทรัพย์ เพราะชาวจีนเป็นผู้ซื้อคอนโดมิเนียมไทยมากที่สุด เมื่อเที่ยบกับชาวต่างชาติจากประเทศอื่น ๆ ไม่แพ้กับธุรกิจท่องเที่ยว ที่ชาวจีนเดินทางเข้ามามากที่สุดเมื่อเที่ยบกับชาติอื่น ๆ   สำหรับการเปิดประเทศจีนครั้งนี้ ธุรกิจอสังหาฯ จะมียอดขายในกลุ่มชาวจีนมากน้อยแค่ไหน อาจจะต้องรอดูความชัดเจนอีกครั้ง หลังการเปิดประเทศอย่างเป็นทางการ แต่เบื้องต้นสิ่งที่จะเป็นดัชนีชี้วัดความต้องการคอนโดของไทย ในกลุ่มชาวจีนว่ายังมีมากน้อยแค่ไหน คงต้องมาดูตัวเลขการโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุด (คอนโด) จากที่ซื้อไว้ก่อนหน้า เพราะหากยังมีการโอนกันเป็นปกติ ก็แสดงให้เห็นว่าชาวจีนยังคงมีความต้องการที่จะซื้อคอนโดของไทย ไม่ได้ทิ้งดาวน์หรือเงินจอง จากการซื้อคอนโดไว้ก่อนหน้านี้   โดยศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ (REIC) ธนาคารอาคารสงเคราะห์ รายงานสถานการณ์การโอนคอนโดของคนต่างชาติในไตรมาส 3 ปี 2565  พบว่า มีจำนวนเพิ่มขึ้น 62.9% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน และเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้าเพิ่มขึ้น 23.1% โดยเป็นการเพิ่มขึ้นต่อเนื่องติดต่อกันมา 4 ไตรมาสแล้วนับตั้งแต่ไตรมาส 4 ปี 2564   ทั้งนี้ มีปัจจัยบวกมาจากการที่รัฐบาลผ่อนคลายมาตรการโควิด-19 มีนโยบายในการเปิดประเทศในต้นเดือนธันวาคม 2564 และส่งผลเชิงบวกต่อการกลับมาของกำลังซื้อที่อยู่อาศัยของคนต่างชาตินั่นเอง Q3 โอนคอนโดเยอะสุดใน 5 ไตรมาส ดร.วิชัย วิรัตกพันธ์ ผู้ตรวจการธนาคารอาคารสงเคราะห์ และรักษาการผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์  เปิดเผยว่า ในไตรมาส 3 มีต่างชาติโอนคอนโดทั่วประเทศจำนวน 2,860 ยูนิต เพิ่ม 62.9% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นในเชิงจำนวนยูนิตสูงสุดในรอบ 5 ไตรมาส นับจากไตรมาส 3 ปี 2564 และยังมีจำนวนยูนิตที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยรายไตรมาสในช่วง 3 ปี ที่เกิดโควิด-19  (ปี 2563 – 2564) 36.7% ที่มีจำนวน 2,092 ยูนิตต่อไตรมาส   สำหรับมูลค่าการโอนคอนโดให้คนต่างชาติทั่วประเทศมีจำนวน 14,668 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 58.2% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นในเชิงจำนวนมูลค่าสูงสุดในรอบ 7 ไตรมาส นับจากไตรมาส 1 ปี 2564 และยังเพิ่มสูงกว่าค่าเฉลี่ยมูลค่าการโอนฯ ในช่วง 2 ปี ที่มีการแพร่ระบาดของโควิด -19 ที่มีมูลค่าเพียงไตรมาสละ 9,979 ล้านบาทต่อไตรมาส   หากพิจารณาการโอนคอนโดให้คนต่างชาติสะสมในช่วง 9 เดือน ปี 2565 พบว่ามีจำนวน 7,290 ยูนิต เพิ่มขึ้น 19.0% มูลค่า 36,986 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 24.3% โดยมีพื้นที่โอน 337,914 ตร.ม.เพิ่มขึ้น  28.3% ซึ่งแสดงให้เห็นว่า การโอนคอนโดของคนต่างชาติในปี 2565 ที่ผ่านมา 3 ไตรมาสแล้วนั้นน่าจะแสดงให้เห็นได้ว่า ตลาดคอนโดคนต่างชาติในภาพรวมน่าจะมีการฟื้นตัวขึ้นแล้ว และการซื้อคอนโดของคนต่างชาติในช่วงก่อนหน้าได้มีการรับโอนอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งยังมีแรงซื้อใหม่จากชาวต่างชาติที่ไม่ใช่ผู้ซื้อชาวจีนเข้ามาทดแทนแรงซื้อคอนโดของชาวจีนที่หายไปจากข้อจำกัดการเดินทางออกนอกประเทศในช่วงที่ผ่านมาด้วยเช่นกัน ต่างชาติโอนคอนโดใหม่สูงขึ้น ในไตรมาส 3 ปี 2565 มีสัดส่วนยูนิตโอนคอนโดให้คนต่างชาติ 9.7% โดยเพิ่มสูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งมีสัดส่วน 9.3% เพียงเล็กน้อย ขณะที่มูลค่าโอนคอนโดให้คนต่างชาติ มีสัดส่วน 18.6% เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนมากพอสมควร และมีสัดส่วน 16.7% ส่วนพื้นที่คอนโดที่มีการโอนให้คนต่างชาติ มีสัดส่วน 12.9% เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนเล็กน้อย ซึ่งมีสัดส่วน 12.0%   ในไตรมาส 3 ปี 2565 มีการโอนคอนโดให้คนต่างชาติเป็นคอนโดใหม่ต่อคอนโดมือสองเป็นอัตราส่วน 69.3% : 30.7% และพบว่าคอนโดใหม่มีการโอนเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า ในขณะที่มูลค่าการโอนคอนโดให้คนต่างชาติเป็นคอนโดใหม่ต่อคอนโดมือสองเป็นอัตราส่วน 77.1% : 22.9% ซึ่งเป็นสัดส่วนที่สูงกว่าไตรมาสก่อนหน้า   ในส่วนพื้นที่ที่มีมูลค่าการโอนคอนโดให้คนต่างชาติเป็นคอนโดใหม่ต่อคอนโดมือสองเป็นอัตราส่วน 61.9% : 38.1% ซึ่งเป็นสัดส่วนพื้นที่คอนโดใหม่มีการโอนเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า แต่ในขณะเดียวกันคอนโดมือสองมีการโอนลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า   การที่สัดส่วนการโอนคอนโดให้คนต่างชาติเป็นคอนโดใหม่เพิ่มมากขึ้นทั้งจำนวนยูนิต มูลค่า และพื้นที่ โดยมีข้อสังเกตว่า คนต่างชาติอาจมีความต้องการคอนโดใหม่เพิ่มมากขึ้นและความต้องการอยู่ในทำเลพื้นที่ชั้นใน หรือ พื้นที่ใกล้ศูนย์กลางธุรกิจของเมือง ซึ่งในปัจจุบันมีอุปทานให้เลือกมากขึ้น ประกอบกับราคาคอนโดใหม่ในทำเลเหล่านี้มีให้เลือกเพิ่มมากขึ้น ทำให้คอนโดใหม่จึงเป็นทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับคนต่างชาติ นอกเหนือจากสัญชาติจีนแล้ว ยังได้รับความสนใจจากกลุ่มผู้ซื้อจาก รัสเซีย สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร เยอรมัน และฝรั่งเศส ตามลำดับ ต่างชาตินิยมคอนโดราคาไม่เกิน 3 ล้าน ในไตรมาส 3 ปี 2565 คอนโดที่มีการโอนให้คนต่างชาติมากที่สุด จะอยู่ในช่วงราคาไม่เกิน 3.00 ล้านบาท โดยมีการโอนจำนวน 1,247 ยูนิต คิดเป็น 43.6% ของจำนวนยูนิตทั้งหมดจำนวน 2,860 ยูนิต รองลงมาคือ ระดับราคา 3.01 - 5.00 ล้านบาท มีจำนวน 784 ยูนิต คิดเป็น 27.4% ระดับราคา 5.01 - 7.50 ล้านบาท มีจำนวน 395 ยูนิต คิดเป็น 13.8% ระดับราคามากกว่า 10.00 ล้านบาทขึ้นไป มีจำนวน 260 ยูนิต คิดเป็น 9.1% และระดับราคา 7.51 - 10.00 ล้านบาท มีจำนวนน้อยที่สุด คือ 174 ยูนิต คิดเป็น 6.1% ตามลำดับ   ทั้งนี้ พบว่า คอนโดราคาไม่เกิน 3.00 ล้านบาท เป็นระดับราคาที่ชาวต่างชาติส่วนใหญ่นิยมโอนตั้งแต่ปี 2561 ถึงปัจจุบัน   ส่วนขนาดพื้นที่คอนโดที่เป็นที่นิยมของคนต่างชาติในไตรมาส 3 ปี 2565  คือ ขนาดพื้นที่ 31 - 60 ตร.ม. (ประเภท 1 - 2 ห้องนอน) โดยมีจำนวนยูนิตที่โอนให้คนต่างชาติ จำนวน 1,340 ยูนิต คิดเป็น 46.9% ขนาดพื้นที่ไม่เกิน 30 ตร.ม. (สตูดิโอ หรือ 1 ห้องนอน) มีจำนวน 998 ยูนิต คิดเป็น 34.9% ขนาดพื้นที่ 61-100 ตร.ม. (2 - 3 ห้องนอนขึ้นไป) จำนวน 359 ยูนิต คิดเป็น 12.6% ขนาดพื้นที่มากกว่า 100 ตร.ม. (3 ห้องนอนขึ้นไป) มีจำนวนน้อยที่สุด คือ 163 ยูนิต คิดเป็น 5.7% เมื่อพิจารณาย้อนหลังไปถึงปี 2561 พบว่า คอนโดขนาดไม่เกิน 30 ตร.ม. และขนาด 31- 60 ตร.ม. เป็นประเภทคอนโดที่คนต่างชาตินิยมมากที่สุด โดยมีสัดส่วนจำนวนยูนิตที่โอนรวมกันสูงกว่า 80% ในแต่ละไตรมาส   ส่วนในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2565 (มกราคม - กันยายน) จะพบว่า คอนโดที่ชาวต่างชาติโอน มีขนาดเฉลี่ย 46.4 ตร.ม.ต่อยูนิต มูลค่าเฉลี่ย 5.1 ล้านบาทต่อยูนิต หรือประมาณตร.ม.ละ 109,454 บาท ทั้งนี้ สัญชาติที่มีจำนวนยูนิตโอนสูงสุด 10 ลำดับแรกในปี 2565 พบว่า พม่าเป็นสัญชาติที่มีมูลค่าการโอนต่อยูนิตสูงสุด เฉลี่ย 7.1 ล้านบาทต่อยูนิต และอินเดีย เป็นสัญชาติที่โอนคอนโดขนาดใหญ่ที่สุดเฉลี่ย 70.7 ตร.ม. โดยชาวจีนซึ่งเป็นสัญชาติที่มีสัดส่วนการโอนคอนโดมากที่สุด จะมีมูลค่าการโอนเฉลี่ย 5.0 ล้านบาทต่อยูนิต และพื้นที่คอนโดเฉลี่ย 39.0 ตร.ม.ต่อยูนิต จีนแชมป์โอนคอนโดเยอะสุด ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2565 จะพบว่า ชาวจีน เป็นสัญชาติที่มีการโอนคอนโดมากที่สุดทั่วประเทศ มีการโอนคอนโดให้ชาวจีนไปแล้วทั้งหมด 3,562 ยูนิต คิดเป็นสัดส่วนที่สูงถึง 48.9% ของยูนิตทั้งหมด   ส่วน 4 สัญชาติที่มีสัดส่วนการโอนอันดับรองลงมา ได้แก่ รัสเซีย จำนวน 420 ยูนิต คิดเป็น 5.8% สหรัฐอเมริกา จำนวน 375 ยูนิต คิดเป็น 5.1% สหราชอาณาจักร จำนวน 267 ยูนิต คิดเป็น 3.7% เยอรมัน จำนวน 231 ยูนิต คิดเป็น 3.2% ในส่วนของมูลค่าการโอนคอนโดทั่วประเทศให้คนต่างชาติทั่วประเทศช่วง 9 เดือนแรกของปี 2565  จะพบว่ามีการโอนคอนโดให้ชาวจีน เป็นมูลค่าสูงสุด จำนวน 17,943 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนที่สูงถึง 48.5% ของมูลค่าทั้งหมด   ส่วน 4 สัญชาติที่มีสัดส่วนมูลค่าการโอนรองลงมาคือ สหรัฐอเมริกา จำนวน 1,611 ล้านบาท คิดเป็น 4.4% ฝรั่งเศส จำนวน 1,431 ล้านบาท คิดเป็น 3.9% รัสเซีย จำนวน 1,361 ล้านบาท คิดเป็น 3.7% และ เมียนมาร์ จำนวน 1,342 ล้านบาท คิดเป็น 3.6% จากข้อมูลที่พบในช่วง 9 เดือนแรก มีข้อสังเกตว่า ผู้รับโอนคอนโดชาวจีนมีจำนวน 3,562 คน คิดเป็น 48.9% และมีมูลค่า 17,943 ล้านบาท คิดเป็น 48.5% ของชาวต่างชาติที่โอนทั้งหมด ซึ่งเป็นประเด็นที่น่าสนใจว่า สัดส่วนการโอนคอนโดของผู้ซื้อชาวจีนได้ปรับลดลงเหลือประมาณ 50% จากที่ในปีช่วงก่อนหน้าอยู่ที่ประมาณ 55% - 60% ซึ่งน่าจะเป็นผลมาจาการดำเนินนโยบาย Zero-COVID ในประเทศจีน ทำให้การเดินทางของชาวจีนมีข้อจำกัดในช่วงที่ผ่านมา   แต่ได้พบว่า กลุ่มผู้รับโอนในกลุ่มประเทศรัสเซีย ยุโรป และสหรัฐอเมริกาเริ่มมีสัดส่วนที่ปรับเพิ่มขึ้นกว่าปีก่อน และเป็นที่น่าสนใจอย่างมากอีกเช่นกันที่เราได้เห็นตัวเลขของหลายประเทศในกลุ่ม ASEAN ที่แม้ว่าจะมีจำนวนยูนิตและมูลค่าการซื้อไม่มากนัก แต่กลับมีสัดส่วนการโอนคอนโดปรับเพิ่มขึ้นทั้งจำนวนยูนิตและมูลค่าอย่างมีนัยสำคัญ ดังเช่น ชาวเมียนมาร์ กัมพูชา ลาว และเวียดนาม รวมถึงชาวมาเลเซียที่มีการเข้ามาซื้อคอนโดไทยอย่างต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมา   ปรากฏการณ์เช่นนี้ อาจกล่าวได้ว่าเป็นอานิสงค์ที่ได้รับจาการเปิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจของประเทศไทยและประเทศต่าง ๆ มากขึ้น ดังนั้นจึงอาจคาดการณ์ได้ว่า การที่ประเทศจีนเปิดประเทศในครั้งนี้ น่าจะช่วยให้ตลาดคอนโดไทยสำหรับคนต่างชาติของไทยสามารถเติบโตได้อีกครั้งหนึ่ง 5 จังหวัดที่ต่างชาติโอนคอนโดสูงสุด ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2565 พบว่า จังหวัดที่มีจำนวนยูนิตโอนคอนโดให้คนต่างชาติสะสมมากที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ กรุงเทพฯ ชลบุรี สมุทรปราการ ภูเก็ต และเชียงใหม่ ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ใน 2 จังหวัดแรก คือ กรุงเทพฯ มีจำนวน 3,325 ยูนิต คิดเป็น 45.6% และชลบุรี จำนวน 2,155 ยูนิต คิดเป็น 29.6% ตามลำดับ โดยทั้ง 2 จังหวัดมีสัดส่วนจำนวนยูนิตรวมกันสูงถึง 75.2% ของทั่วประเทศ   ส่วนจังหวัดที่มีจำนวนมูลค่าโอนคอนโดให้คนต่างชาติสะสมมากที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ กรุงเทพฯ ชลบุรี ภูเก็ต สมุทรปราการ และเชียงใหม่ ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ใน 2 จังหวัดแรก คือ กรุงเทพฯ มีมูลค่า 25,030 ล้านบาท คิดเป็น 67.7% และชลบุรี มีมูลค่า 6,181 ล้านบาท คิดเป็น 16.7% ตามลำดับ โดยทั้ง 2 จังหวัดมีสัดส่วนมูลค่ารวมกันสูงถึง 84.4% ของทั่วประเทศ บทสรุปโอนคอนโดต่างชาติเริ่มฟื้นตัว จากการประมวลภาพของการโอนคอนโดให้คนต่างชาติทั้งหมด ทำให้เราเห็นได้ว่า ปริมาณทั้งในมิติของจำนวนยูนิต มูลค่า และพื้นที่ เริ่มฟื้นตัวกลับมาแล้ว แต่ยังคงต่ำกว่าช่วงที่ก่อนเกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 แต่มีข้อสังเกตต่อการเปลี่ยนแปลงนี้ว่า ตัวเลขการโอนเหล่านี้เป็นสิ่งสะท้อนการซื้อขายที่ผ่านมาในช่วง 1- 2 ปีที่ผ่านมา และเห็นว่าการซื้อขายคอนโดที่ผ่านมาสามารถโอนได้อย่างต่อเนื่อง และยังพบว่าคอนโดที่มีการโอนให้คนต่างชาติมีมากกว่า 30% เป็นคอนโดมือสอง   การเปิดประเทศและเริ่มดำเนินกิจกรรมในด้านต่าง ๆ ระหว่างประเทศทั่วโลก เริ่มเข้าสู่ภาวะปกติและอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในประเทศไทยเริ่มฟื้นตัว  ซึ่งเป็นปัจจัยบวกที่สำคัญที่อาจจะช่วยทำให้จำนวนยูนิต มูลค่า และพื้นที่ในการซื้อและการโอนคอนโดให้คนต่างชาติที่อาจมีแนวโน้มที่ทรงตัวด้วยกลุ่มคนต่างชาติอื่นเข้ามาซื้อคอนโดในประเทศไทยมากขึ้น เช่น กลุ่มชาวยุโรป สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย รัสเซีย และอินเดีย นั้น เป็นการซื้อคอนโดที่เป็นคอนโดมือหนึ่งและมือสอง ซึ่งสามารถเข้ามาทดแทนผู้ซื้อชาวจีนได้เพียงบางส่วน เนื่องจากมีปริมาณการซื้อไม่มาก แต่ไม่อาจทดแทนกลุ่มผู้ซื้อชาวจีนหายไปจากตลาดได้ ซึ่งคาดว่ากลุ่มคนต่างชาติอื่นที่เข้ามาซื้อคอนโดในประเทศไทยมากขึ้น อาจส่งผลช่วยให้ยอดโอนคอนโดให้คนต่างชาติมีการเปลี่ยนแปลงในทิศทางที่ทรงตัวหรือเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเท่านั้น อย่างไรก็ตาม การซื้อขายคอนโดที่เปิดตัวใหม่ ยังต้องพึ่งพาตลาดผู้ซื้อในประเทศเป็นหลัก และจากข่าวล่าสุดที่เป็นข่าวดีว่า  คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติของจีน (NHC) จะยกเลิกมาตรการกักตัวผู้ที่เดินทางจากต่างประเทศ โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 8 มกราคม 2566 แต่ผู้ที่จะเดินทางเข้าจีนยังคงต้องได้รับการตรวจแบบ PCR ก่อนขึ้นเครื่องจากประเทศต้นทางเป็นเวลา 48 ชั่วโมง และสำหรับการอนุญาตให้ประชาชนในจีนเดินทางออกนอกประเทศจะมีกลับมาเป็นเหมือนปกติอย่างค่อยเป็นค่อยไปอีกครั้งในเร็ว ๆ นี้ สิ่งนี้นับเป็นปัจจัยบวกที่ดีสำหรับตลาดคอนโดในประเทศไทย   แต่การกลับเข้ามาของนักท่องเที่ยวชาวจีน จะนำมาซึ่งการซื้อคอนโดเท่ากับช่วงก่อนเกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 หรือไม่ เป็นเรื่องที่ต้องติดตามดู เนื่องจากสัดส่วนของยูนิตและมูลค่าการโอนชาวจีนลดลงต่ำกว่า 50% ในปี 2565 จากเดิมเคยมีสัดส่วนสูงสุดถึงกว่า 60% ประกอบกับภาวะเศรษฐกิจของจีนได้รับผลกระทบจากการล็อกดาวน์ประเทศ รวมถึงผลกระทบจากวิกฤตอสังหาริมทรัพย์ในประเทศจีน และนโยบายเศรษฐกิจจีนที่จะมุ่งเน้นการบริโภคในประเทศมากขึ้น อาจสรุปได้ว่า การเปิดประเทศของจีนจะส่งผลดีอย่างแน่นอนต่อภาคการท่องเที่ยวทันที แต่สำหรับอสังหาฯ ​คาดว่าจะได้รับผลดีอย่างชัดเจนในช่วงครึ่งหลังของปี 2566   อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง -Q2/65 ชาติไหนโอนคอนโดเยอะสุด -เปิด 10 อันดับต่างชาติโอนคอนโด Q2/65 จีนยังครองเบอร์ 1 ทั้งปริมาณและมูลค่า ​
​[PR News] ทุ่ม 600 ล้านบาท เปิดสาขา โฮมโปร ลาดกระบัง ดึงกำลังซื้อช่วงสิ้นปี ตั้งเป้ายอดขายกว่า 70 ล้านบาท ต่อเดือน

​[PR News] ทุ่ม 600 ล้านบาท เปิดสาขา โฮมโปร ลาดกระบัง ดึงกำลังซื้อช่วงสิ้นปี ตั้งเป้ายอดขายกว่า 70 ล้านบาท ต่อเดือน

โฮมโปร ลาดกระบัง “โฮมโปร” รุกสิ้นปี เปิดสาขาใหม่ ชิงยอดขาย ทุ่ม 600 ล้านบาท เปิดสาขา โฮมโปร “ลาดกระบัง” สาขาแห่งที่ 95 ดึงกำลังซื้อย่านชานเมืองฝั่งตะวันออก ที่กำลังขยายตัว และมีที่พักอาศัยกว่า 1.57 แสนหลังคาเรือน บนพื้นที่กว่า 8,000 ตร.ม. ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์คนยุคใหม่ที่ออกไปอยู่ชานเมืองมากขึ้น หวังเป้ายอดขายกว่า 70 ล้านบาท ต่อเดือน   นางสาวเสาวณีย์ สิราริยกุล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการกลุ่มการตลาด บริษัท โฮม โปรดักส์ เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ “โฮมโปร” เปิดเผยว่า บริษัทได้ทุ่มเงินลงทุนกว่า 600 ล้านบาท เปิดสาขาสแตนด์อโลนแห่งใหม่ โฮมโปร “ลาดกระบัง” สาขาแห่งที่ 95 บนทำเลศักยภาพที่ดีที่สุดในย่านชานเมืองกรุงเทพฯ ฝั่งตะวันออกรองรับความต้องการเรื่องบ้านของลูกค้าได้ครอบคลุมพื้นที่ ในเขตลาดกระบัง เขตประเวศ เขตสะพานสูง เขตมีนบุรี และจังหวัดสมุทรปราการ อำเภอบางพลี และอำเภอบางเสาธง ที่มีจำนวนครัวเรือนกว่า 157,136 หลังคาเรือน มีสัดส่วนบ้านแนวราบประมาณ 70% และแนวสูงประมาณ 30% คาดว่าจะสร้างยอดขายต่อเดือนได้ประมาณ 70 ล้านบาท โฮมโปร “ลาดกระบัง" ยังเป็นศูนย์การค้าที่ตอบสนองต่อไลฟ์สไตล์คนทำบ้าน ด้วยแนวคิด HOME INSPIRE ที่ทันสมัยขึ้น ดึงดูดกลุ่มคนรุ่นใหม่ให้เข้ามาใช้บริการ ตกแต่งภายในที่เน้นสร้างประสบการณ์ และแรงบันดาลใจใหม่ ๆ มีการจัดเรียงสินค้าหน้าร้านที่ช่วยให้การเลือกซื้อสินค้าลงตัว พร้อมจุดประกายไอเดียแต่งบ้านครอบคลุมทุกเจเนอเรชั่น การจำหน่ายสินค้า​กลุ่มสมาร์ททีวี เครื่องใช้ไฟฟ้า นอกจากนี้โฮมโปรได้เพิ่มพื้นที่โซน PET Club ผลิตภัณฑ์เอาใจคนรักสัตว์เลี้ยง ให้บริการ และดูแลสุขภาพสัตว์เลี้ยงครบวงจร   โฮมโปร ลาดกระบัง ยังมีบริการที่ครอบคลุมทุกปัญหาเกี่ยวกับบ้าน เริ่มจาก โฮมโปรมีบริการส่งสินค้าฟรี ในรัศมี 10 กม. บริการติดตั้งสินค้าฟรี หรือแม้แต่การประกอบสินค้าฟรี ไม่ว่าสินค้านั้นจะเป็นชิ้นเล็ก หรือชิ้นใหญ่ ยังให้การรับประกันคุณภาพของงานแต่ละประเภทอีกด้วย ปัจจุบัน โฮมโปรมีสาขาทั้งสิ้น 95 สาขาในประเทศไทย และโฮมโปรในประเทศมาเลเซีย 7 สาขา และได้มีการขยายดำเนินธุรกิจในประเทศเวียดนามผ่านช่องทาง E-Marketplace  ในรูปแบบออนไลน์ ด้วยคอนเซปต์ “เราสร้างความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นเพื่อทุกคน We Make a Better Living” และยังเป็นผู้นำในธุรกิจ Home Solution and Living Experience ในประเทศไทย และภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้   อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง -โฮมโปร เจอพิษกระทบโควิด-19 ทำรายได้-กำไรลดตามคาด
ส่องตลาดอสังหาฯ 66 ท่ามกลางปัจจัยบวก-ลบ มีดีมานด์บ้าน-คอนโด 1.2 แสนยูนิต

ส่องตลาดอสังหาฯ 66 ท่ามกลางปัจจัยบวก-ลบ มีดีมานด์บ้าน-คอนโด 1.2 แสนยูนิต

ตลาดอสังหาฯ 66 ส่องตลาดอสังหาฯ 66 ท่ามกลางปัจจัยบวกการเติบโตของตลาดท่องเที่ยว การบริโภคของเอกชน แต่ยังมีปัจจัยลบเงินเฟ้อสูง ราคาน้ำมัน ดอกเบี้ย แต่คาดการณ์มีดีมานด์บ้าน-คอนโด 1.2 แสนยูนิต    ภาวะเศรษฐกิจไทยเริ่มฟื้นตัวมาตั้งแต่ช่วงครึ่งปีหลังของปี 2564 จากปัจจัยการเปิดการท่องเที่ยวภายในประเทศ และส่งผลต่อเนื่องมาจนถึงปี 2565 ที่ประเทศไทยเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ ให้สามารถเดินทางเข้ามาในประเทศไทยได้ ขณะเดียวกันในปีนี้ยังมีปัจจัยสำคัญ ที่ช่วยกระตุ้นภาวะเศรษฐกิจไทยให้เติบโต และสร้างความมั่นใจให้กับกลุ่มชาวต่างชาติ จากการจัดประชุม​​​ APEC 2022 ในประเทศไทยอีกด้วย   ภาวะการเติบโตของเศรษฐกิจโดยรวม ส่งผลสำคัญต่อตลาดอสังหาริมทรัพย์ เพราะเป็นธุรกิจที่มีทิศทางเดียวกันกับภาวะเศรษฐกิจโดยรวม ที่สำคัญยังเป็นธุรกิจที่ต้องอาศัยกำลังซื้อของผู้บริโภค และความมั่นคงในอาชีพการงาน เมื่อทุกอย่างเติบโตไปในทิศทางบวก จึงส่งผลให้ตลาดอสังหาฯ มีการเติบโตตามไปด้วย ปัจจัยในการวิเคราะห์ตลาดอสังหาฯ ว่าจะอยู่ในภาวะอย่างไร นอกจากการดูภาพรวมเศรษฐกิจแล้ว ยังจะต้องดูจากภาวการณ์ขายของผู้ประกอบการเป็นสำคัญ ทั้งในส่วนจำนวนยูนิตขายได้ และยอดสัญญาที่เป็นตัวเงินที่ผู้ประกอบการได้รับ ซึ่ง 2 ตัวแปรนี้มีความสำคัญมากกว่าข้อมูลอื่น เช่น ​ ข้อมูลการขออนุญาตปลูกสร้างอาคาร 10 บิ๊กอสังหาฯ ขายได้ 1.1 แสนยูนิต ในปี 2563 บริษัทอสังหาริมทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ 10 แห่ง มีจำนวนยูนิตขายได้และยอดสัญญาเป็นตัวเงินตกต่ำที่สุด แต่เริ่มฟื้นตัวขึ้นในปี 2564 และขยายค่อนข้างชัดเจนในปี 2565  โดย​ในปี 2565 มีจำนวนยูนิตที่ขายได้ประมาณ 110,000 ยูนิตสูงขึ้นจากปี 2564 ที่มีจำนวนประมาณ 75,000 ยูนิต   สำหรับยอดขายของบริษัท จดทะเบียนในปี 2564 มีประมาณ 220,000 ล้านบาท และปี 2565 สูงขึ้น เป็นประมาณ 260,000 ล้านบาท  แม้ว่าตัวเลขทั้งสองจะอยู่บนฐานที่แตกต่างกันแต่ก็แสดงทิศทางชัดเจน   ในปี 2565 มีที่อยู่อาศัยเปิดขายใหม่  เริ่มมีจำนวนกลับสู่ภาวะปกติ โดยมีที่อยู่อาศัยทุกประเภทรวมกันประมาณ 100,000 ยูนิต มีอัตราการขยายตัวในสินค้าประเภทคอนโดมิเนียมมากที่สุด ประมาณ 54,000 ยูนิต เพิ่มขึ้นจากปี ในปี 2564 ที่มีประมาณ 20,000 ยูนิต ส่วนบ้านเดียวมีประมาณ​ 15,000 ยูนิต จากปกติที่ 10,000-12,000 ยูนิต   ทั้งหมดนี้สะท้อนความมั่นใจของผู้ประกอบการ ที่มองว่ากำลังซื้อในตลาดมีสูงขึ้น เพียงพอที่จะรองรับการทำตลาดตามปกติเช่นเมื่อก่อนโควิด เมื่อย้อนกลับไปพิจารณายอดขายที่เป็นตัวเงินของบริษัทจดทะเบียน จะเห็นได้ว่า การล็อกดาวน์จากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่รุนแรงที่สุดในปี 2563 ส่งผลกระทบอยู่ในระดับที่ไม่มากนัก โดยยอดขายลดลงเพียง​ 1% ของภาวะปกติเท่านั้น ถ้าหากไปดูในรายละเอียดแล้วจะพบว่า กลุ่มผู้บริโภคหลัก ๆ ที่กลายมาเป็นกลุ่มที่สนับสนุนไม่ให้ยอดขายที่อยู่อาศัยตกลงมาก คือ กลุ่มที่มีอายุ 26-30 ปี ซึ่งที่ผ่านมากลุ่มลูกค้าหลักจะมีอายุ 36-40 ปี   สำหรับกลุ่มผู้มีอายุ 26-30 ปี กลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่เริ่มทำงานไม่นานและ ไม่ได้รับผลกระทบมากนักจากภาวะเศรษฐกิจที่ถดถอยลง  นอกจากนี้ระบบการเงินเพื่อที่อยู่อาศัย​ในปัจจุบัน ได้ส่งเสริมให้สามารถซื้อที่อยู่อาศัยได้ไม่ยาก และมีอัตราการผ่อนชำระต่อเดือนที่ต่ำกว่าในอดีตมาก ปัจจัยบวก-ลบ ตลาดอสังหาฯ​ 66 ในช่วงปี 2566 อัตราการขยายตัวโดยรวมของระบบเศรษฐกิจน่าจะอยู่ที่ 3.4% ซึ่งเท่ากับช่วงปี 2565 โดยสภาวะเศรษฐกิจส่งผลกระทบสำคัญต่อตลาดที่อยู่อาศัย   สำหรับปัจจัยบวกสำคัญในปี 2566 มีดังนี้ การเติบโตของภาคท่องเที่ยวและการลงทุนของภาคเอกชน การบริโภคภาคเอกชน ยังคงขยายตัวในอัตราที่สูงในไตรมาส 3 ปี 2565 และควรจะคงระดับต่อไปในปี 2566 สำหรับปัจจัยด้านลบในปี 2566 ได้แก่ ราคาน้ำมันที่สูง ทำให้ภาคการค้าต่างประเทศ ไม่มีดุลการค้าเป็นบวกอย่างเช่นในปีก่อน ๆ ภาวะเงินเฟ้อ ซึ่งเป็นผลต่อเนื่องจากปัจจัยราคาน้ำมันสูง แต่ว่าราคาที่อยู่อาศัย ได้มีการปรับตัวจากราคาวัสดุและค่าแรงที่สูงขึ้นแล้วตั้งแต่ไตรมาส 4 ของปี 2565 ผลกระทบที่เหลือในปี 2566 จึงไม่น่าจะมาก อัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น สำหรับสินเชื่อที่อยู่อาศัยอันเนื่องมาจากภาวะอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นทั่วโลกในปี 2566 มีบ้างแต่ไม่มาก น่าจะน้อยกว่าครึ่งหน่วยเปอร์เซ็นต์สำหรับการผ่อน 3 ปีแรก ปี 2566 คาดมีดีมานด์ 1.2 แสนยูนิต เมื่อประมวลจากปัจจัยต่าง ๆ โดยรวมแล้ว คาดว่า ความต้องการที่อยู่อาศัยโดยรวมน่าจะรักษาอยู่ในระดับไม่น้อยกว่า 120,000 ยูนิต ซึ่งมีปัจจัยสนับสนุนจากเปิดตัวโครงการคอนโดมิเนียมออกสู่ตลาดจำนวนมาก คงจะเป็นแรงผลักดันส่วนหนึ่งที่ทำให้ ผู้ประกอบการต้องทำการตลาดอย่างหนักเพื่อรักษาผลการดำเนินงานให้ได้มากที่สุด  กลุ่มผู้บริโภค อายุน้อยน่าจะเป็นเป้าหมายของสินค้าประเภทนี้   บ้านเดี่ยวเป็นสินค้าอีกประเภทหนึ่ง ที่จะส่งเสริมตลาดที่อยู่อาศัยโดยรวมได้ดี จากการพัฒนาโครงการออกมาทำตลาด ในภาวะเศรษฐกิจที่อัตราการขยายตัวยังไม่สูง แต่อัตราเงินเฟ้อที่สูง   ที่มา-เรียบเรียงจากบทความ ภาวะตลาดที่อยู่อาศัยปี 2565-2566 โดย ดร.ประศาสน์ ตั้งมติธรรม   อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง -ศูนย์ข้อมูลฯ เปิดอินไซด์ตลาดอสังหาฯ EEC พร้อมส่องทำเลบ้าน-คอนโด ขายดี
ศูนย์ข้อมูลฯ เปิดอินไซด์ตลาดอสังหาฯ EEC พร้อมส่องทำเลบ้าน-คอนโด ขายดี

ศูนย์ข้อมูลฯ เปิดอินไซด์ตลาดอสังหาฯ EEC พร้อมส่องทำเลบ้าน-คอนโด ขายดี

ศูนย์ข้อมูล ฯ เปิดอินไซต์ข้อมูลตลาดอสังหาฯ พื้นที่ EEC ในไตรมาส 3 ​ปี 2565 พร้อมทำเลฮอตขายบ้าน และคอนโด ได้ดีสุด หลังสินค้าพร้อมขาย แนวโน้มลดลงทั้งจำนวนและมูลค่า แต่ยังมียูนิตเหลือขายกว่า 47,300 ยูนิต ส่งผลยอดเปิดโครงการใหม่ต่ำสุด   ถ้านับพื้นที่เศรษฐกิจสำคัญของเมืองไทย ที่รัฐบาลหวังจะเป็นศูนย์กลางทางด้านการผลิต การส่งออก และเมืองอุตสาหกรรม ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา หนีไม่พ้นต้องเป็นพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC ใน 3 จังหวัด คือ จังหวัดชลบุรี ระยอง และฉะเชิงเทรา   พื้นที่ EEC นอกจากสำคัญจากการเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ​ ที่ถือเป็นแหล่งงานสำคัญของไทยแล้ว อานิสงค์ยังต่อเนื่องมาสู่ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์อีกด้วย โดยเฉพาะที่อยู่อาศัย เพราะเมื่อมีแรงงาน ก็ต้องมีที่อยู่อาศัย ซึ่งไม่ใช่แค่คนไทย แต่ยังรวมถึงแรงงานต่างชาติอีกจำนวนมากด้วย   แต่จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ก็ทำให้ตลาดอสังหาฯ หลายแห่งออกอาการไม่ค่อยดี เพราะในพื้นที่ EEC ส่วนหนึ่งก็พึ่งพากลุ่มลูกค้าต่างชาติ แม้จะมีฐานลูกค้าคนไทยอยู่บ้าง แต่ยอดขายก็หายไปพอสมควร   ตอนนี้เราจึงจะมาอัปเดตสถานการณ์ตลาดอสังหาฯ ในพื้นที่ EEC ล่าสุดในช่วง ไตรมาส 3 ที่ผ่านมา จากการลงพื้นที่สำรวจของศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (REIC) ว่ามีทิศทางอย่างไรกันบ้างแล้วตอนนี้ ยูนิตเหลือขายลดลง 9.11% จากการสำรวจโครงการที่อยู่อาศัยเสนอขายในพื้นที่ 3 จังหวัด  ช่วงไตรมาส 3 ปี 2565 พบว่า มีจำนวน 54,116 ยูนิต ลดลง -9.11% มูลค่ารวม 184,985 บาท ลดลง -9.94% ในจำนวนดังกล่าวแบ่งเป็น คอนโดมิเนียม (อาคารชุด) จำนวนยูนิต 17,998 ยูนิต ลดลง -10.16% มูลค่า 77,667 ล้านบาท ลดลง -13.45% บ้านจัดสรร จำนวน 36,118 ยูนิต ลดลง – 8.57% มูลค่า 107,318 ล้านบาท ลดลง  -8.50% โครงการใหม่ โครงการใหม่เข้าสู่ตลาดจำนวน 4,117 ยูนิต เพิ่มขึ้น 16.89% โครงการใหม่เข้าสู่ตลาดมูลค่า 12,516 ล้านบาท ลดลง -9.38% ทำเลฮอตเปิดคอนโด คอนโด เกือบทั้งหมดจะเปิดในจังหวัดชลบุรี  ซึ่งพบว่าโครงการคอนโดเปิดขายใหม่ ในช่วงไตรมาส 3 ปี 2565 กระจายอยู่ในทำเลย่านนิคมอุตสาหกรรมและพื้นที่ต่อเชื่อม  โดย 3 ทำเล ซึ่งโครงการคอนโดเสนอขายใหม่มากที่สุดในพื้นที่ 3 จังหวัด EEC ประกอบด้วย อันดับ 1 นิคมฯอมตะนคร-บายพาส จำนวน 497 ยูนิต มูลค่า 596  ล้านบาท มูลค่าสูงเป็นอันดับ 4 อันดับ 2 บางแสน-หนองมน-บางพระ จำนวน 491 ยูนิต มูลค่า 1,186 ล้านบาท มูลค่าสูงเป็นอันดับ 1 อันดับ 3 สัตหีบ-อู่ตะเภา จำนวน 262 ยูนิต มูลค่า 985 ล้านบาท มูลค่าสูงเป็นอันดับ 3 ทำเลฮอตเปิดบ้านจัดสรร บ้านจัดสรรในไตรมาส 3 มีการเปิดตัวโครงการใหม่ในฉะเชิงเทรามากกว่าจังหวัดชลบุรีและระยอง ส่วนทำเลที่มีโครงการบ้านจัดสรรเปิดขายใหม่สูงสุด อยู่ในพื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทรา รวมถึงในพื้นที่ต่อเชื่อมนิคมอุตสาหกรรมเช่นเดียวกัน ประกอบด้วย อันดับ 1 ในเมืองฉะเชิงเทรา จำนวน 804 ยูนิต มูลค่า 1,997 ล้านบาท  มูลค่าสูงเป็นอันดับ 1 อันดับ 2 นิคมฯ สหพัฒน์ -ปิ่นทอง  จำนวน 335 ยูนิต มูลค่า 484 ล้านบาท มูลค่าสูงเป็นอันดับ 7 อันดับ 3 นิคมฯอมตะนคร-บายพาส จำนวน 290 ยูนิต มูลค่า 783 ล้านบาท  มูลค่าสูงเป็นอันดับ 3 ทำเลขายบ้านและคอนโดได้ดี ที่อยู่อาศัยขายได้ใหม่ในช่วงไตรมาส 3 ปี 2565 ขายได้จำนวน 6,740 ยูนิต ลดลง -14.34% ขายได้มูลค่า 21,113 ล้านบาท ลดลง -15.15% การขายได้ของประเทภคอนโด ขายได้จำนวน 1,617 ยูนิต ลดลง -16.91% ขายได้มูลค่า 5,946  ล้านบาท ลดลง -20.62% การขายได้ของประเภทบ้านจัดสรร ขายได้จำนวน 5,123 ยูนิต ลดลง -13.49% ขายได้มูลค่า 17,389 ล้านบาท ลดลง -12.79% การขายประเภทบ้านจัดสรรประมาณกว่า 75% ของยูนิตขายทั้งหมดใน 3 จังหวัด EEC ส่วนคอนโดเกือบทั้งหมดขายได้ในจังหวัดชลบุรี ทั้งนี้ ศูนย์ข้อมูล ฯ พบว่าอัตราดูดซับลงมาอยู่ที่ 4.2% ลดลงกว่าไตรมาสก่อนหน้าแต่ดีกว่าในช่วงไตรมาสแรก หากแยกตามประเภทที่อยู่อาศัย พบว่าบ้านจัดสรรมีอัตราดูดซับสูงกว่าโครงการคอนโด โดยมีอัตราดูดซับ 4.7% ขณะที่อัตราดูดซับคอนโดอยู่ในระดับ 3.0% และระดับราคาที่มีอัตราดูดซับดีที่สุดอยู่ในกลุ่มของทาวน์เฮ้าส์ โดยอัตราดูดซับอยู่ที่ 5.0% โดยกลุ่มราคาน้อยกว่า 1.00 ล้านบาท อัตราดูดซับปรับตัวดีขึ้นจาก 3.2% มาอยู่ที่ร้อยละ 4.4 ขณะที่อัตราดูดซับกลุ่มราคาอื่นปรับตัวลดลง 3 ทำเลที่มียอดคอนโดขายได้ใหม่มากที่สุด  อันดับ 1 หาดจอมเทียน จำนวน  402 ยูนิต มูลค่า  2,166  ล้านบาท  มูลค่าสูงเป็นอันดับ 1 และมีอัตราดูดซับ 2.2% อันดับ 2 พัทยา-เขาพระตำหนัก จำนวน  269 ยูนิต มูลค่า 1,566 ล้านบาท มูลค่าสูงเป็นอันดับ 2 และมีอัตราดูดซับ 2.0% อันดับ 3 นิคมฯอมตะ-บายพาส จำนวน  236 ยูนิต มูลค่า 287 ล้านบาท มูลค่าสูงเป็นอันดับ 6 และมีอัตราดูดซับ 11.4% 3 ทำเลที่มียอดขายบ้านจัดสรรสูงสุด  อันดับ 1 นิคมฯอมตะซิตี้-อีสเทิร์น จำนวน  930 ยูนิต มูลค่า  1,842 ล้านบาท  มูลค่าสูงเป็นอันดับ 1 และมีอัตราดูดซับ 5% อันดับ 2  นิคมฯเหมราช จำนวน 467 ยูนิต มูลค่า 1,258 ล้านบาท  มูลค่าสูงเป็นอันดับ 2 และมีอัตราดูดซับ 5.7% อันดับ 3  นิคมฯอมตะนคร-บายพาส จำนวน 348 ยูนิต มูลค่า 1,019 ล้านบาท  มูลค่าสูงเป็นอันดับ 5 และมีอัตราดูดซับ 4.9% ทำเลคอนโด-บ้าน เหลือเยอะสุด การที่การขายได้ใหม่มากกว่าการเปิดตัวได้ส่งผลให้ ยูนิตเหลือขาย ณ สิ้นไตรมาส 3 ปี 2565 มีจำนวน 47,376 ยูนิต มูลค่า 163,872 ล้านบาท จำนวนยูนิตลดลง -8.32% มูลค่าลดลง -9.23%  ในจำนวนดังกล่าวแบ่งเป็นประเภทคอนโด 16,381 ยูนิต มูลค่า 71,720 ล้านบาท จำนวนยูนิตลดลง -9.44% มูลค่าลดลง -11.05% เป็นประเภทบ้านจัดสรร 30,995 ยูนิต มูลค่า 92,151 ล้านบาท จำนวนยูนิตลดลง -7.71% มูลค่าลดลง -7.76% 3 ทำเลคอนโด เหลือขายมากที่สุด  อันดับ 1 หาดจอมเทียน จำนวน 5,742 ยูนิต มูลค่า 29,066 ล้านบาท  มูลค่าสูงเป็นอันดับ 1 อันดับ 2 พัทยา-เขาพระตำหนัก จำนวน 4,287 ยูนิต  มูลค่า 24,552 ล้านบาท มูลค่าสูงเป็นอันดับ 2 อันดับ 3 แหลมฉบัง จำนวน 1,564 ยูนิต มูลค่า 2,797 ล้านบาท มูลค่าสูงเป็นอันดับ 5 3 ทำเลบ้านจัดสรร เหลือขายสูงสุด  อันดับ 1 นิคมฯอมตะซิตี้-อีสเทิร์น  จำนวน 5,247 ยูนิต มูลค่า 10,546 ล้านบาท มูลค่าสูงเป็นอันดับ 1 อันดับ 2 นิคมฯพานทอง-พนัสนิคม จำนวน 2.339 ยูนิต  มูลค่า 5,454 ล้านบาท มูลค่าสูงเป็นอันดับ 9 อันดับ 3 นิคมฯเหมราช จำนวน  2,274 ยูนิต มูลค่า 5,682  ล้านบาท มูลค่าสูงเป็นอันดับ 4 ตลาดอสังหาฯ 66 อยู่ในช่วงปรับตัว ดร.วิชัย วิรัตกพันธ์ ผู้ตรวจการธนาคารอาคารสงเคราะห์ และรักษาการผู้อำนวยการ ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ (REIC) เปิดเผยว่า จากจำนวนยูนิตเสนอขายทั้งหมดในพื้นที่ EEC พบว่าที่อยู่อาศัยประเภทคอนโดส่วนใหญ่เปิดขายอยู่ในพื้นที่จังหวัดชลบุรี ขณะที่ระยอง และฉะเชิงเทราเน้นการเปิดขายโครงการใหม่ประเภทบ้านจัดสรรเป็นหลัก   มีประเด็นที่น่าจับตาคือ ที่อยู่อาศัยที่เสนอขายทั้งหมดในตลาดเริ่มลดลงอย่างชัดเจนตั้งแต่ปี 2564 และการเปิดตัวใหม่ในไตรมาส 3 ถือว่าต่ำที่สุดทั้งก่อน และระหว่างเกิดปัญหาการแพร่ระบาดของโควิด-19 โดยเป็นที่น่าสังเกตว่าการเปิดตัวโครงการใหม่จะกระจุกตัวอยู่ในพื้นที่โซนอุตสาหกรรม ขณะที่อัตราการดูดซับเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากการขายได้เพิ่มขึ้นของโครงการแนวราบโดยเฉพาะที่อยู่อาศัยประเภททาวน์เฮ้าส์   อย่างไรก็ตาม ศูนย์ข้อมูล ฯ​ ประเมินภาพรวมตลาดที่อยู่อาศัยในพื้นที่ 3 จังหวัด EEC ในปี 2566 สถานการณ์โดยรวมจะยังคงอยู่ในช่วงของการปรับตัวอีกครั้ง หลังจากที่ธนาคารแห่งประเทศไทยซึ่งประกาศนโยบายชัดเจนในเรื่องของการนำกฎเกณฑ์ LTV กลับมาใช้  ส่งผลให้การเปิดขายโครงการใหม่มีแนวโน้มจะลดลง ตลาดที่อยู่อาศัยใน EEC จะยังคงถูกขับเคลื่อนโดยโครงการบ้านจัดสรร และผู้ประกอบการพัฒนาอสังหาฯ ​ยังคงเน้นการขายสินค้าคงค้างในทำเล และการพัฒนาที่อยู่อาศัยในระดับราคาที่เหมาะสมความสามารถของในการซื้อที่อยู่อาศัยของผู้ซื้อที่ยังไม่สูงนัก อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง -ศูนย์ข้อมูลอสังหาฯ ชี้ที่อยู่ปี 65 ยังเติบโต หลังดัชนีรวมตลาด Q3 เพิ่ม 30.4% -ศูนย์ข้อมูลอสังหาฯ แนะตลาดบ้าน-คอนโด ต้องต้องเฝ้าระวัง  5 เรื่องนี้  
สิวารมณ์  วาง 5 กลยุทธ์เติบโตต่อเนื่อง จับลูกค้าบ้าน 8-12 ล้าน-ปิดโปรเจ็กต์ใน 3 ปี

สิวารมณ์ วาง 5 กลยุทธ์เติบโตต่อเนื่อง จับลูกค้าบ้าน 8-12 ล้าน-ปิดโปรเจ็กต์ใน 3 ปี

สิวารมณ์​วาง 5 กลยุทธ์เติบโตต่อเนื่อง ขยับจับตลาดลูกค้ากลุ่มบน ต้องการบ้านราคา 8-12 ล้าน เน้นสปีดปั้นโปรเจ็กต์จบใน 3 ปี พร้อมระดมทุน 130 ล้าน หุ้นในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ มั่นใจตลาดอสังหาฯ เติบโต จากเรียลดีมานด์ หลังโควิด-19 ส่งผลให้คนต้องการบ้านแนวราบเพิ่มขึ้น   หลังจาก “สิวารมณ์ เรียลเอสเตท” ได้ยื่นแบบคำขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์และแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ (Filing) ต่อสำนักงาน ก.ล.ต. เพื่อขอออกและเสนอขายหุ้นสามัญแก่ประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก (IPO) จำนวนไม่เกิน 130 ล้านหุ้น คิดเป็นสัดส่วนไม่เกิน 25.49% ของจำนวนหุ้นที่ออกและเรียกชําระแล้วทั้งหมดภายหลังการเสนอขายหุ้น มูลค่าที่ตราไว้(พาร์) 1.00 บาท และทางสำนักงาน ก.ล.ต. ได้นับ 1 แบบคำขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์แล้ว ตั้งแต่วันที่ 2 ธันวาคม 2565 ที่ผ่านมา สิวารมณ์ ก็ได้เริ่มเดินหน้านำเสนอข้อมูลนักลงทุน (โรดโชว์) เพื่อประกาศศักดาความพร้อมในการระดมทุนครั้งนี้   สำหรับเป้าหมายของการระดมทุนในครั้งนี้ ต้องการนำเงินทุนที่ได้ไปใช้ใน 3 เรื่องหลัก คือ ซื้อที่ดิน สำหรับการพัฒนาโครงการต่อเนื่อง และรับรู้รายได้ในปี 2567-2568 ชำระหนี้เงินกู้ ใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในการดำเนินธุรกิจ สิวารมณ์วาง 5 กลยุทธ์เติบโตปี 66  โดยนับตั้งแต่วันแรกที่บริษัทจดทะเบียนเริ่มต้นธุรกิจ วันที่ 24 พฤษภาคม 2560 ด้วยทุนจดทะเบียนเริ่มต้น 100 ล้านบาท ได้มีความตั้งใจแรก คือการนำบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา จึงได้มีการวางโครงสร้างธุรกิจ และเตรียมความพร้อมในด้านต่าง ๆ ซึ่งในปีหน้าทางบริษัทคงทำได้ตามแผนงานที่วางเอาไว้   ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ผลการดำเนินงานของบริษัทเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะช่วง 3 ปีที่ผ่านมา โดยปี 2562 มีรายได้รวม 243 ล้านบาท ขาดทุนสุทธิ 5 ล้านบาท ปี 2563 มีรายได้จากการขาย 557 ล้านบาท กำไรสุทธิ 42 ล้านบาทปี 2564 มีรายได้จากการขาย 576 ล้านบาท กำไรสุทธิ 64 ล้านบาท ส่วนช่วง​ 9 เดือนแรกของปีนี้ บริษัทมีรายได้รวม 532 ล้านบาท กำไรสุทธิ 36 ล้านบาท บริษัทมีอัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (D/E) อยู่ในระดับต่ำ โดย ณ 9 เดือนแรกปี 2565 D/E เพียง 1.39 เท่า และบริษัทได้กำหนดนโยบายการดำรง D/E ก่อน IPO 3:1 และหลัง IPO 2:1   โดยภายหลังจากการเข้าจดทะเบียนในตลาดเป็นที่เรียบร้อย เงินทุนที่นำมาต่อยอดธุรกิจ จะเป็นหนึ่งปัจจัยสำคัญช่วงสร้างการเติบโตให้บริษัทอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ ยังมีอีก 5 กลยุทธ์สำคัญที่จะผลักดันให้การเติบโตของบริษัทเป็นไปตามที่ได้วางแผนไว้ คือ 1.ขับเคลื่อนธุรกิจด้วย 4 “S” SMART  กลยุทธ์หลักของ สิวารมณ์ ที่ใช้มาตั้งแต่เริ่มต้นธุรกิจ คือแนวคิด "Best Smart Living" ที่ขับเคลื่อนด้วย 4 “S” SMART ซึ่งประกอบด้วย -ทำเลที่ตั้งโครงการที่มีศักยภาพ (SMART Location) ทำเลหลักที่พัฒนาจะเป็นในจังหวัดกรุงเทพฯ สมุทรปราการ และชลบุรี ทั้งทำเลใกล้กับแหล่งงาน นิคมอุตสาหกรรม ระบบคมนาคม รถไฟฟ้าทั้งที่เปิดดำเนินการแล้ว และอยู่ระหว่างการพัฒนาในเส้นทางส่วนต่อขยาย โดยในปี 2566 สิวารมณ์ จะขยายทำเลที่ตั้งในการพัฒนามายังพื้นที่ใกล้ใจกลางเมืองของกรุงเทพฯ​ และจังหวัดนนทบุรี เพื่อรองรับกับความต้องการของกลุ่มลูกค้า และสร้างการเติบโตจากการดำเนินธุรกิจ ​ -การออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์ผู้อยู่อาศัย (SMART Function) มุ่งเน้นให้ความสำคัญกับออกแบบรูปแบบบ้าน เพื่อสอดรับกับการใช้ชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไปในทุกช่วงอายุ ทุกเพศ ทุกวัย -ความคุ้มค่าในการเลือกซื้อที่อยู่อาศัย (SMART Value) สิวารมณ์ไม่ได้เน้นการขายบ้านในราคาถูกกว่าคู่แข่งในพื้นที่เดียวกัน แต่เน้นความคุ้มค่าของราคาเมื่อเทียบกับพื้นที่ของบ้านเป็นหลัก ​ -ความทันสมัยและความสะดวกสบาย (SMART Home) มีการนำเอานวัตกรรมเทคโนโลยีที่ทันสมัย มาประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเข้าร่วมกับอุปกรณ์ต่างๆภายในบ้าน เพื่ออำนวยความสะดวกและเพิ่มความปลอดภัยให้กับผู้อยู่อาศัย  ภายใต้สโลแกน “ควบคุมง่ายๆ อยู่ที่ไหนก็สั่งได้” 2.ขยายฐานลูกค้าบ้าน 8-12 ล้าน สิวารมณ์ เริ่มต้นการพัฒนาโครงการบ้านแนวราบ ด้วยการจับตลาดกลุ่มลูกค้าเรียลดีมานด์ ที่มีระดับราคาตั้งแต่ 1-7 ล้านบาท ซึ่งมีข้อดีคือ เป็นคนที่ต้องการบ้านจริง ๆ และเป็นกลุ่มฐานใหญ่ของตลาดที่มีจำนวนมาก แต่จากภาวะเศรษฐกิจและปัจจัยลบต่าง ๆ ในปัจจุบัน ทำให้ลูกค้ากลุ่มนี้ เป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจและกำลังซื้อโดยตรง ทำให้มีหนี้เสียหรือการปฏิเสธสินเชื่อจากธนาคารค่อนข้างเยอะ ขณะที่กลุ่มลูกค้าที่มีรายได้สูง จะได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจและกำลังซื้อน้อยกว่า และยังเป็นกลุ่มที่ต้องการอยู่อาศัยจริง ตามไลฟ์สไตล์ที่เปลี่ยนแปลงไป จากการได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ซึ่งต้องการอยู่อาศัยบ้านแนวราบมากกว่าคอนโดมิเนียม ถือเป็นอีกกลยุทธ์การบริหารความเสี่ยงด้วย นายอรรถปวิทย์ มโนธรรมรักษา กรรมการผู้จัดการ บริษัท สิวารมณ์ เรียลเอสเตท จำกัด (มหาชน) หรือ “SVR” เปิดเผยว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด -19 ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ส่งผลให้พฤติกรรมผู้บริโภค หันมาเน้นให้ความสำคัญในการเลือกซื้อที่อยู่อาศัยแนวราบมากขึ้น และเป็นกลุ่มที่มีความต้องการซื้อเพื่ออยู่อาศัยจริง ( Real Demand) จะเลือกซื้อโครงการจากพื้นที่ใช้สอย และฟังก์ชั่นที่เอื้อประโยชน์ต่อการทำงานที่บ้าน ด้วยระดับราคาที่คุ้มค่าน่าซื้อ ที่สามารถตอบโจทย์ทุกไลฟ์สไตล์ได้ครบทุกมิติ ทำให้ที่อยู่อาศัยแนวราบ ย่านกรุงเทพฯ - ปริมณฑล ในระดับราคาไม่เกิน 5-7 ล้านบาท จึงมีความต้องการเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน 3.ปั้นโครงการจบเร็วใน 3 ปี หัวใจสำคัญของการดำเนินธุรกิจ คือ การบริหารสภาพคล่องทางการเงิน และกระแสเงินสดอย่างมีประสิทธิภาพ ยิ่งเป็นบริษัทที่มีขนาดธุรกิจไม่ใหญ่ กระแสเงินสดจึงมีความจำเป็นต่อการดำเนินธุรกิจ จึงทำให้บริษัทได้วางกลยุทธ์การพัฒนาโครงการให้สามารถปิดได้อย่างรวดเร็วภายในระยะ 3 ปี ด้วยการซื้อที่ดินมาพัฒนาโครงการขนาดไม่เกิน 50 ไร่เท่านั้น 4.ทำตลาดออนไลน์ จากไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป การใช้โซเชียลมีเดียเข้ามามีบทบาทสำคัญในทุกกิจกรรมของชีวิต ทำให้การทำตลาดของบริษัทจะเน้นไปทั้งการตลาดออนไลน์ เพื่อสื่อสารและทำตลาดเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายมากขึ้น แต่ขณะเดียวกันยังทำตลาดออฟไลน์ควบคู่กันไปด้วย 5.บริหารต้นทุนสู้ปัจจัยลบ จากแนวโน้มการเพิ่มขึ้นของอัตราดอกเบี้ย และปัจจัยลบทางเศรษฐกิจในปี 2566 มีแนวโน้มส่งผลให้ต้นทุนสินค้า และการดเนินธุรกิจต่าง ๆ ปรับเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งอาจจะส่งผลต่อผลการดำเนินงาน และอัตรากำไรอาจลดลงได้ ซึ่งบริษัทได้วางแนวทางการบริหารจัดการภายใน การบริหารต้นทุนให้มีประสิทธิภาพ เพื่อรองรับกับความเสี่ยงต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นในปีหน้า จากความต้องการของผู้บริโภคในโครงการบ้านแนวราบ เขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ที่มีดีมานด์เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ตลาดมีทิศทางการเติบโตเพิ่มขึ้น โดยในปี 2565 ตลาดอสังหาฯ มีแนวโน้มเติบโตในอัตรา 4.5% จากปี 2564 จากปัจจัยดังกล่าวทำให้ สิวารมณ์ มีการเร่งพัฒนาโครงการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพื่อรองรับความต้องการ โดยจะเห็นได้จากในช่วงปี 2562 มีการพัฒนาโครงการจำนวน 2 โครงการ เพิ่มขึ้นเป็น 9 โครงการ ในปี 2565  มีมูลค่าประมาณ 4,600 ล้านบาท โดยปิดโครงการไปแล้ว 2 โครงการมูลค่าประมาณ​ 1,000 ล้านบาท                    
EIA เรื่องต้องรู้ ก่อนซื้อบ้าน ซื้อคอนโด

EIA เรื่องต้องรู้ ก่อนซื้อบ้าน ซื้อคอนโด

EIA เรื่องต้องรู้ สำหรับคนที่อยากจะมีที่พักอาศัยในเมือง หรือทำเลที่เดินทางสะดวก ใกล้ระบบคมนาคมสาธารณะ โดยเฉพาะอย่างรถไฟฟ้า เชื่อว่าทางเลือกแรกก็ต้องเป็นการอยู่อาศัยในคอนโดมิเนียม เพราะมีราคาที่คนส่วนใหญ่เลือกหาซื้อได้ และทำเลตรงกับความต้องการ   ส่วนหลักเกณฑ์ในการเลือกซื้อคอนโด  คงมีมากมายหลายเรื่องต้องให้พิจารณา ไม่ว่าจะเป็นแบรนด์หรือผู้พัฒนาโครงการ ขนาดห้อง งบประมาณ การดีไซน์โครงการ และอีกหลายเรื่องขึ้นอยู่กับโจทย์และความต้องการของผู้ซื้อ แต่มีหลักเกณฑ์ที่มีความสำคัญ และไม่ควรจะละเลยในการใช้เป็นหลักเกณฑ์ในการเลือกซื้อโครงการคอนโดที่เราอยากจะเข้าไปอยู่อาศัย นั่นก็คือ EIA   EIA ถือว่ามีความสำคัญต่อการพัฒนาโครงการไม่น้อย และดีเวลลอปเปอร์ส่วนใหญ่ ก็มักจะเอา EIA มาใช้เป็นจุดขายสร้างความมั่นใจให้กับลูกค้า หลายโครงการยังมีการแสดงข้อความ EIA Approved บนสื่อโฆษณาต่าง ๆ ของโครงการด้วย ซึ่งหลายคนก็คงรู้และเข้าใจว่า EIA คืออะไร มีความสำคัญยังไง แต่หลายคนโดยเฉพาะที่เพิ่งจะเริ่มต้นทำงานมีเงินเก็บ แล้วจะหาซื้อคอนโดไว้เป็นบ้านหลังแรก อาจจะยังไม่เข้าใจเรื่อง EIA มากนัก วันนี้ Reviewyourliving จึงจะมาเล่าเรื่อง EIA ว่าเป็นเรื่องของอะไร และมีความสำคัญมากน้อยแค่ไหน EIA คือ อะไร สำคัญแค่ไหน? EIA ย่อมาจาก Environmental Impact Assessment Division หรือการทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (เดิมใช้คำว่า การวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ตามพ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535) โดยหมายถึง กระบวนการศึกษาและประเมินผลที่อาจเกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการหรือกิจการ หรือการดำเนินการใดของรัฐห รือที่รัฐจะอนุญาตให้มีการดำเนินการที่อาจมีผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติ คุณภาพสิ่งแวดล้อม สุขภาพ อนามัย คุณภาพชีวิต หรือส่วนได้เสียอื่นใดของประชาชนหรือชุมชน ทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยผ่านกระบวนการการมีส่วนร่วมของประชาชน เพื่อกำหนดมาตรการป้องกันแก้ไขผลกระทบดังกล่าว ผลการศึกษาเรียกว่า รายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นไปตามพ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2561   EIA ถือว่ามีความสำคัญต่อการพัฒนาโครงการเป็นอย่างมาก เพราะอยู่ภายใต้ข้อบังคับของกฎหมาย หากโครงการไหนไม่ผ่าน EIA ก็ไม่สามารถพัฒนาโครงการได้ จะไม่ได้รับใบอนุญาตก่อสร้าง หรือใบอนุญาตจัดสรรโครงการ ยิ่งหากก่อสร้างไปก่อนแล้วเกิดมีคนมาคัดค้านการก่อสร้างเนื่องจากได้รับผลกระทบ และโครงการยังไม่ผ่าน EIA โครงการก็ต้องหยุดการก่อสร้างทันที นี่ก็เป็นเหตุผลสำคัญของ EIA เรื่องต้องรู้ สำหรับคนที่วางแผนจะซื้อบ้าน หรือซื้อคอนโด   สำหรับโครงการที่ต้องยื่นขออนุญาตจัดทำ EIA ต้องดำเนินการจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม กับทางสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) เป็นรายงานที่จัดทำขึ้นโดยนิติบุคคลที่ได้รับอนุญาตจาก สผ. เท่านั้นจึงจะออกรายงานดังกล่าวได้   เมื่อผู้ประกอบการที่จะพัฒนาโครงการได้รับรายงาน EIA แล้ว จะต้องดำเนินการยื่นต่อสผ. เพื่อให้พิจารณาอนุมัติรายงานฉบับดังกล่าว หากรายงานไม่ผ่านการอนุมัติ ผู้ประกอบการจะต้องดำเนินการแก้ไข ประเด็นต่าง ๆ ที่ไม่ผ่านการพิจารณา ให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์  และยื่นกลับให้สผ. พิจารณาอีกครั้ง หรือจนกว่าจะได้รับอนุญาต หรือได้รับความเห็นชอบ 4 เรื่องที่ต้องทำใน EIA สำหรับการจัดทำ EIA จะทำการศึกษาสิ่งแวดล้อมใน 4 ด้านหลัก ได้แก่ 1.ด้านทรัพยากรกายภาพ การศึกษาด้านทรัพยากรกายภาพ เป็นการศึกษาถึงผลกระทบต่อเรื่องต่าง ๆ ว่าเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง หากพัฒนาโครงการนั้นขึ้น อาทิ การศึกษาสภาพของดิน น้ำ อากาศ เสียง จะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร 2.ด้านทรัพยากรชีวภาพ เป็นการศึกษาถึงการเปลี่ยนแปลงในด้านต่าง ๆ ของการพัฒนาโครงการ ที่มีต่อระบบนิเวศน์ที่โครงการตั้งอยู่ หรืออาจจะส่งผลกระทบได้ เช่น ป่าไม้ สัตว์ป่า สัตว์น้ำ ปะการัง เป็นต้น 3.ด้านคุณค่าการใช้ประโยชน์ของมนุษย์ เป็นการศึกษาถึงการใช้ประโยชน์จากทรัพยากร ที่โครงการเกี่ยวข้อง ทั้งด้านทางกายภาพ และชีวภาพของมนุษย์ เช่น การใช้ประโยชน์ที่ดิน 4.ด้านคุณค่าต่อคุณภาพชีวิต จะเป็นการศึกษาถึงผลกระทบของโครงการ ที่จะเกิดกับมนุษย์ ชุมชน ระบบเศรษฐกิจ การประกอบอาชีพ วัฒนธรรมประเพณี ความเชื่อ ค่านิยม รวมถึงทัศนียภาพ คุณค่า ความสวยงาม โครงการแบบไหนที่ต้องยื่นขอ EIA ถ้าเราพูดถึงโครงการประเภทที่อยู่อาศัยที่ต้องยื่นขอใบอนุญาตสิ่งแวดล้อมนั้น จะมีอยู่ด้วยกัน​ 2 ประเภท คือ   1.โครงการคอนโดที่มีจำนวนห้องพักตั้งแต่ 80 ยูนิตขึ้นไป หรือมีพื้นที่ใช้สอยตั้งแต่ 4,000 ตร.ม.ทำให้คอนโดประเภทโลไรส์หลายแห่งที่มีห้องชุดอยู่แค่ 79 ยูนิต ไม่ต้องขอ EIA   2.โครงการบ้านจัดสรรที่มีที่ดินแปลงย่อยตั้งแต่ 500 แปลงขึ้นไป หรือมีเนื้อที่มากกว่า 100 ไร่ จะต้องยื่นของ EIA ถ้าต่ำกว่าเงื่อนไขนี้ก็ไม่ต้องยื่นขอ EIA เช็คให้ชัวร์ ก่อนซื้อบ้าน ซื้อคอนโด อย่างที่กล่าวไว้ตั้งแต่แรกว่า EIA มีความสำคัญ และดีเวลลอปเปอร์มักจะนำเอามาเป็นจุดขาย และจุดสร้างความมั่นใจระดับหนึ่งว่าสามารถพัฒนาโครงการขึ้นมาได้ โดยไม่ขัดต่อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และจะไม่ถูกต่อต้านจากชุมชน สังคม หรือหน่วยงานต่าง ๆ ที่จะได้รับผลกระทบ ผู้ซื้อจึงต้องตรวจสอบและขอดูหลักฐานเอกสารให้ชัดเจนว่าโครงการผ่าน EIA แล้ว หรือหากโครงการไหนอยู่ระหว่างการยื่นขอ EIA ต้องมีการระบุเอกสารหรือหลักฐานที่ชัดเจนว่า หากเกิดกรณีโครงการไม่ EIA จะต้องคืนเงินดาวน์ เงินจอง หรือเงินที่ชำระเพื่อซื้อคอนโด หรือซื้อบ้านคืนด้วย แต่โดยส่วนใหญ่โครงการที่นำออกมาขาย จะผ่าน EIA หรือมีความมั่นใจว่าจะ EIA ได้อย่างแน่นอน   อย่างไรก็ตาม เพื่อความชัวร์และรู้เท่าทันกับเกมการตลาดของผู้ประกอบการ หากมีการกล่าวอ้างว่าโครงการนั้นผ่าน EIA แล้วจริง เราก็สามารถตรวจสอบได้ว่า ข้อมูลที่ผู้ประกอบการกล่าวอ้างนั้นเป็นความจริง ด้วยการเข้าไปเช็คข้อมูลสำหรับโครงการนั้น ๆ ว่าอยู่ในสถานะใด ได้รับความเห็นชอบการผ่านเกณฑ์ หรือได้รับการรับรอง EIA แล้วที่เว็บไซต์ http://eia.onep.go.th ของ สผ. เพื่อที่จะได้ไม่มีปัญหากับประเด็นเรื่องของ EIA ตามมาให้ปวดหัว ทั้งหมดนี้ ก็คือ EIA เรื่องต้องรู้ ก่อนซื้อบ้าน ซื้อคอนโด สำหรับคนที่ควรศึกษาและทำความเข้าใจ       ที่มา -สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  
เทอร์ร่า  เผยเทรนด์การอยู่อาศัยในปี 65  ต้องตอบโจทย์ Well-Being & ความปลอดภัย

เทอร์ร่า เผยเทรนด์การอยู่อาศัยในปี 65 ต้องตอบโจทย์ Well-Being & ความปลอดภัย

เทอร์ร่า เผยเทรนด์การอยู่อาศัยในปี 65 คนอยากมีบ้านใหม่ ที่ตอบโจทย์เรื่อง Well-Being ที่ครบทั้งระบบรักษาความปลอดภัยเยี่ยม เพิ่มนวัตกรรม Smart Home – EV Charger  เพิ่มพื้นที่สีเขียว  ด้าน “SC ASSET” มาแรงแซงโค้งคว้ารางวัล “The Most Powerful Real Estate Brand 2022” เป็นปีแรก สะท้อนการปรับแผนธุรกิจให้สอดรับความต้องการของลูกค้าได้เป็นอย่างดี   นางสาวสุมิตรา วงภักดี กรรมการผู้จัดการ บริษัท เทอร์ร่า มีเดีย แอนด์ คอนซัลติ้ง จำกัด เปิดเผยถึงผลวิจัย The Most Powerful Real Estate Brand 2022 และผลวิจัยเจาะลึกพฤติกรรมผู้บริโภคตามแนวคิด “GOOD HEALTH AND WELL-BEING”  จาการเก็บข้อมูลกลุ่มตัวอย่าง 1,000 ตัวอย่างทางออนไลน์​ พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ 84% มีแผนจะซื้อที่อยู่อาศัย โดยกว่า 44% คาดว่าจะซื้อบ้านเดี่ยว และ 29% คาดว่าจะซื้อคอนโดมิเนียม  ภายใต้งบที่วางไว้ว่าจะซื้อที่อยู่อาศัยในระดับราคา 3-5 ล้านบาท ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ผู้บริโภคตัดสินใจซื้อที่อยู่อาศัยมาจาก 3 ปัจจัย คือ ระบบรักษาความปลอดภัยของโครงการ, บริการหลังการขาย และสังคมเพื่อนบ้านที่ดี   สำหรับที่อยู่อาศัยระดับราคา 3-7 ล้านบาท ในกลุ่มบ้านแนวราบทำเลที่ได้รับความนิยม 3 อันดับแรก คือ รังสิต-ลำลูกกา, บางใหญ่-บางบัวทอง, และบางพลี ขณะที่ทำเลอยู่อาศัย ที่ได้รับความนิยม​ในกลุ่มคอนโด 3 อันดับแรก คือ จตุจักร-ประชาชื่น, อ่อนนุช-บางนา และพญาไท-อารีย์ โดยปัจจัยสำคัญในการซื้อบ้านหรือคอนโด ส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับระบบรักษาความปลอดภัย, บริการหลังการขายที่ดี, สังคมเพื่อนบ้านดี, วัสดุที่ใช้ในการก่อสร้าง และราคา   เมื่อเจาะลึกลงถึงความต้องการของผู้บริโภคในกลุ่มบ้านแนวราบ พบว่า   คนส่วนใหญ่ต้องการบ้านที่มีฟังก์ชั่นครอบคลุม อาทิ Smart Home เพื่อความปลอดภัย, นวัตกรรมจัดการคุณภาพอากาศ, การออกแบบเพื่อสูงอายุ, ที่ชาร์จรถ EV และDouble Volume  ขณะที่กลุ่มคอนโด จะให้ความสำคัญกับฟังก์ชั่นที่เพิ่มความเป็นส่วนตัว อาทิ ประตู-ฉากกั้นห้องนอน, หน้าต่างบานใหญ่, ครัวปิด, ห้องนอนที่สามารถวางเตียงขนาด 6 ฟุตได้ เทอร์ร่า เผยลูกค้าต้องการ Well-being   สำหรับเทรนด์ของผู้บริโภคในปี 2565 จะเห็นว่าผู้ตอบแบบสอบถาม จะให้ความสำคัญ กับโครงการอสังหาฯ ​ที่ช่วยสร้างความเป็นอยู่ที่ดี (Well-being) มากกว่าการเปรียบเทียบราคาหรือทำเล เหมือนที่ผ่านมา ​โดยมีความต้องการหรือคาดหวังบ้านในอุดมคติ จะต้องช่วยสร้างความเป็นอยู่ให้ดีขึ้น และต้องสอดคล้องกับไลฟ์สไตล์ส่วนบุคคล  ผู้อยู่อาศัยในแต่ละช่วงวัย   นอกจากนี้ ยังมีข้อมูลที่น่าสนใจ จากผู้ตอบแบบสอบถามในกลุ่ม Gen Y อายุ 27-40 ปี มีแผนที่จะซื้อที่อยู่อาศัยถึง 88% โดยตัวเลขที่น่าสนใจคือ 38% ของ Gen Y เป็นการซื้อบ้านหลังที่ 2 และ 29% เป็นการซื้อบ้านหลังแรก  ซึ่งส่วนใหญ่มีความต้องการซื้อบ้านเดี่ยวในระดับราคา 3-7 ล้านบาท และให้ความสำคัญกับระบบรักษาความปลอดภัยที่รัดกุมและทันสมัย รวมถึงการออกแบบ Universal Design รองรับทุกเพศ ทุกวัย และพื้นที่ส่วนกลาง 24 ชั่วโมง   ขณะที่กลุ่ม Gen Z อายุ 18-26 ปี ก็เป็นอีกกลุ่มที่กว่า 87% ของผู้ตอบแบบสอบถาม มีแผนที่จะซื้อที่อยู่อาศัย ซึ่ง 72% เป็นการซื้อบ้านหลังแรกของ Gen Z และ 17% เป็นการซื้อบ้านหลังที่ 2 โดยสนใจซื้อคอนโดและบ้านเดี่ยว ในระดับราคา 2-5 ล้านบาท โดยปัจจัยสำคัญมาจาก ความต้องการที่อยู่อาศัยเป็นของตัวเอง, ต้องการสังคมที่ดีขึ้น ปลอดภัยขึ้น และต้องการซื้อไว้พักอาศัยในวันทำงาน   ในขณะที่เรื่องการจัดการระบบสาธารณูปโภคที่ดี เช่น สายไฟลงดิน, ระบบระบายน้ำ, ระบบจัดการขยะ นวัตกรรมที่ช่วยอำนวยความสะดวก เช่น Smart Home, EV Charger, การก่อสร้างที่ไม่ก่อมลพิษ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ยังเป็นเทรนด์สำคัญที่คนกลุ่ม Gen Z มีความต้องการเป็นอันดับต้นๆ   ด้านแนวโน้มความเชื่อมั่นผู้บริโภคปี 2565 พบว่ามีสัญญาณดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด จากดัชนีความเชื่อมั่น  ผู้บริโภคปี 2565 อยู่ที่ 79.3 เพิ่มขึ้นจากปี 2564 ที่ 45.4 ซึ่งจากข้อมูลพบว่ากลุ่มเจ้าของกิจการมีความเชื่อมั่น มากขึ้น โดยส่วนใหญ่ให้ความเห็นว่าปี 2565 สถานะทางการเงินดีขึ้นเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา และเชื่อมั่นว่าในอีก 1 ปีข้างหน้าภาพรวมเศรษฐกิจไทยจะอยู่ในช่วงขาขึ้น ซึ่งมีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าที่มีมูลค่าสูง เช่น อสังหาฯหรือรถยนต์ เป็นต้น เอสซีฯ คว้ารางวัลปีแรก สำหรับการประกาศผลรางวัล The Most Powerful Real Estate Brand ประจำปี 2565 ผู้ที่คว้ารางวัลในปีนี้ ได้แก่ บริษัท เอสซี แอสเสท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) นับเป็นปีแรกที่ SC ASSET คว้ารางวัล The Most Powerful Real Estate Brand โดยเป็นแบรนด์ที่มีการปรับตัวเติบโตต่อเนื่อง ทั้งการรับรู้ ภาพลักษณ์และความพึงพอใจ ก่อให้เกิดการสร้างฐานลูกค้าผู้ภักดี ครองตำแหน่งอันดับ 1 ในปีนี้   ขณะที่ บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) ได้รับรางวัล Eternal Award สำหรับแบรนด์ที่ครองใจลูกค้าได้  ต่อเนื่องเป็นอันดับหนึ่ง 5 ปี ติดกัน  เปรียบเสมือนแบรนด์ดาวค้างฟ้าเป็นตำนานในแวดวงอสังหาฯ  และ บริษัท แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) ที่ในปีนี้สามารถคว้ารางวัล Credence Award แบรนด์ผู้กำหนดบรรทัดฐานคุณภาพและสร้างฝันของลูกค้าได้เป็นจริงสูงที่สุด และประกาศเกียรติคุณพิเศษให้กับบริษัท เสนาดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) ด้าน Excellence in Cater to Economy Group (แบรนด์ตอบโจทย์คนชั้นกลาง) และบริษัท แมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด หรือ MQDC ด้าน Excellence in Green Development (แบรนด์ที่พัฒนามุ่งคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม)  การเข้าสู่ Metaverse นั้นพบว่าผู้คนมีประสบการณ์การใช้งานสัดส่วนเพียง 17% และ มีความคิดเห็นต่อโลกเสมือนจริงว่าน่าจะมาแทนที่โลกจริงได้ 62% ในขณะที่คนกลุ่ม Gen Z นั้นมีความคิดเห็นว่าโลกเสมือน Metaverse น่าจะเข้ามาแทนที่โลกแห่งความจริงได้สูงถึง 80% มากกว่ากลุ่มคนอื่นๆ โดยการเข้าสู่ Metaverse นั้นเป็นไปเพื่อความบันเทิง (เล่นเกมส์ ดูคอนเสิร์ต) เพื่อการทำงาน (ประชุมออนไลน์) และเพื่อการลงทุน (NFT, Cryptocurrency) และประสบการณ์ต่อบริษัทผู้พัฒนาอสังหาฯ ที่เข้าสู่ Metaverse นั้นการรับรู้ยังอยู่ในระดับต่ำ   สำหรับการรองรับผู้บริโภคยุคใหม่นี้ ผู้พัฒนาอสังหาฯ ​ต้องกำหนดจุดยืน จุดขายของตนเองใหม่ เนื่องด้วยผู้บริโภคในวันนี้ไม่ได้มองหาบ้านเพื่อการอยู่อาศัยเพียงเท่านั้น แต่ต้องการหาพื้นที่ที่จะช่วยสร้างความเป็นอยู่ที่ดี (Well-being) ให้เกิดขึ้น โดยมีองค์ประกอบสำคัญ 4 ประการนั้นคือ เทคโนโลยีด้านความปลอดภัย ความสะดวกสบายด้วยร้านค้า สิ่งอำนวยความสะดวกในระยะเวลา 15 นาที  สังคมเพื่อนบ้านที่เป็นมิตร และสภาพแวดล้อมที่ดี เพื่อหลีกหนีความวุ่นวาย ซึ่งโครงการที่ตอบโจทย์ผู้บริโภคในทศวรรษนี้ นั่นคือ การวางแผนการพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์แบบผสมผสาน หรือ มิกซ์ยูส (Mix-used Project) นั่นเอง การทำอสังหาฯ ต้องคิดใหม่ทำใหม่ เพราะลูกค้าซื้อบ้านเพื่อการอยู่อาศัยในคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น   อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง -เทอร์ร่าบีเคเค เผย โควิด-19 กระทบความเชื่อมั่น​  ลูกค้าเลื่อน-พับแผนซื้อบ้าน หวั่นสถานการณ์รุนแรง
บุญถาวร  ทุ่ม1,000 ล้าน ปั้น  Design Village  รับวิถีชีวิตคนยุค New Normal -Digital

บุญถาวร ทุ่ม1,000 ล้าน ปั้น  Design Village รับวิถีชีวิตคนยุค New Normal -Digital

บุญถาวร บุญถาวร ปั้น  Design Village  รับวิถีชีวิต New Normal -Digital ทุ่มกว่า 1,000 ล้าน เดินหน้า 2 โครงการใหม่ พร้อมเปิดตัวในปี​ 66 มั่นใจตลาดท่องเที่ยวฟื้นตัว ปลุกยอดขายเติบโต คาดทำรายได้ตามเป้า 15,000 ล้าน   บุญถาวร ศูนย์จำหน่ายเฟอร์นิเจอร์ วัสดุอุปกรณ์ และของแต่บ้าน ที่อยู่ในตลาดเมืองไทยมากว่า 45 ปี ปัจจุบันมีสาขาทั่วประเทศรวม 14 แห่ง  ถือเป็นหนึ่งผู้เล่นรายสำคัญที่ทำตลาดในเมืองไทยมายาวนาน โดยที่ผ่านมามีการปรับตัว  เพื่อรองรับกับพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปอยู่ตลอดเวลา   นายสิทธิศักดิ์ ทยานุวัฒน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บุญถาวร กรุ๊ป จำกัด เปิดเผยว่า บริษัทอยู่คู่กับสังคมไทยมานานถึง 45 ปี ซึ่งที่ผ่านมาได้พยายามปรับตัวให้สอดคล้องกับวิถีชีวิต ไลฟ์สไตล์ของคนแต่ละเจเนอเรชั่น โดยผ่านการทำการตลาด การรีแบรนด์ มาจนถึงปัจจุบัน ที่การตกแต่งที่อยู่อาศัย มีการดีไซน์มากขึ้น เราปรับตามสภาพสังคม และขยายธุรกิจเดิมด้วย เดิมเราขายสินค้าตกแต่ง อุปกรณ์ภายในบ้าน อุปกรณ์ไฟฟ้าและแสงสว่าง เฟอร์นิเจอร์ในบ้าน ช่วง 5 ปีที่ผ่านมาเราจึงขยายมาสู่ไลฟ์สไตล์สโตร์ บุญถาวร 3 ปีปั้น 8 แห่ง บริษัทได้เริ่มต้นพัฒนาโครงการ Design Village ซึ่งเป็นรูปแบบของไลฟ์สไตล์สโตร์ ด้วยการผสมผสานร้านค้าไลฟ์ไสตล์เข้ามา ไม่ว่าจะเป็นซุปเปอร์มาร์เก็ต ร้านค้าแฟชั่น ร้านการแฟ ซึ่งสาขาแห่งแรกเปิดให้บริการในปี 2561 ที่สาขาราชพฤกษ์ ต่อมาขยายสาขาต่อเนื่องแห่งที่ 2 สาขาพุทธมณฑล และสาขาเกษตร-นวมินทร์ เป็นสาขาที่ 3 ในปีที่ผ่านมา ซึ่งถือว่าทั้ง 3 สาขา ได้รับผลการตอบรับที่ดี ด้วยยอดคนเข้าใช้บริการเติบโต 300% มีผู้เข้ามาใช้บริการต่อวันกว่า 20,000 คน และสามารถสร้างยอดขายได้กว่า 4,500 ล้านบาท   ความสำเร็จดังกล่าว ทำให้บุญถาวร เดินหน้าขยายโครงการ Design Village  ต่อเนื่อง โดยในปีนี้ลงทุนกว่า 1,000 ล้านบาท เพื่อขยายสาขาใหม่อีก 2 แห่งที่สาขาบางนา และรัชดา ซึ่งจะเปิดให้บริการได้ในปี 2566 และคาดว่าหลังจากเปิดให้บริการครบแห่ง 5 แห่ง จะมียอดขายรวม 11,000 ล้านบาท   นอกจากนี้ บริษัทยังมีที่ดินสะสมและที่ดินของสาขาบุญถาวรในพื้นที่ต่างจังหวัด ซึ่งสามารถพัฒนาเป็นโครงการ Design Village ได้อีกหลายแห่ง อาทิ ภูเก็ต เชียงใหม่ อุดรธานี และพัทยา โดยหากมีโอกาสและความพร้อมของทำเล จะมีการพัฒนาโครงการในต่างจังหวัด รวมถึงพื้นที่เขตปริมณฑลอย่างต่อเนื่องด้วย   อย่างไรก็ตาม  บริษัทได้วางแผนภายในปี 2569 จะมีการพัฒนาโครงการ Design Village ครบ 8 แห่ง โดยตั้งแต่ปี 2567-2569 จะพัฒนาปีละ 1 แห่ง ใช้งบลงทุนสาขาละประมาณ 1,000 ล้านบาท 4 ไฮไลท์ตอบโจทย์ New normal-ดิจิทัล จากการเปลี่ยนแปลงของผู้บริโภคในยุคดิจิทัล รวมถึงวิถีชีวิตภายหลังจากเผชิญกับสถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่ผ่านมา ซึ่งส่งผลให้วิถีชีวิตของคนยุคปัจจุบันเข้าสู่ยุค New Normal ที่มีการทำงานจากที่บ้าน (Work from Home) และการใช้สื่อดิจิทัลมาช่วยในการทำงาน รวมถึงการใช้ชีวิตด้านต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้น แม้ปัจจุบันสถานการณ์โควิดจะปรับตัวดีขึ้น จนทำให้มีการกลับเข้าไปทำงานที่ออฟฟิศ แต่ก็มีหลายบริษัทที่ยังคงทำงานจากที่บ้าน หรือไม่ก็เป็นการทำงานแบบผสมผสาน หรือ Hybrid   การพัฒนาโครงการ Design Village ในรูปแบบใหม่ เพื่อรองรับกับวิถีชีวิตดังกล่าว จึงมีการเปลี่ยนแปลงและเพิ่มเติม ทั้งงานดีไซน์ ฟังก์ชั่นการใช้งาน และสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ เพิ่มเข้ามา 1.การดีไซน์ Semi-Outdoor โครงการ Design Village ในรูปแบบใหม่จะดีไซน์และตกแต่งให้มีความโปร่ง สบาย ไม่ทึบเหมือนของเดิม และเพิ่มเติมพื้นที่ในส่วน Semi-Outdoor เพื่อสร้างบรรยากาศในการจับจ่ายใช้สอยให้กับผู้บริโภค 2.จุด Pick up-Drive thru เพื่อรองรับกับพฤติกรรมผู้บริโภคที่นิยมซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ บุญถาวรจึงเพิ่มจุดรับสินค้า หรือ Pick up และช่องทาง Drive thru เพื่ออำนวยความสะดวก สำหรับลูกค้าที่ต้องการความรวดเร็วในการรับสินค้า ภายหลังจากสั่งซื้อสินค้าผ่านแอปพลิเคชั่น 3.เพิ่มพื้นที่ 24 ชั่วโมง จากพฤติกรรมของคนทำงานในยุคปัจจุบัน ที่ไม่มีข้อจำกัดในเรื่องของเวลา และสถานที่ โครงการ Design Village จะมีการเพิ่มพื้นที่ Co working space ที่สาขารัชดา ขณะเดียวกัน ยังวางแผนเปิดให้บริการในรูปแบบ 24 ชั่วโมง ในบางสาขา หรือร้านค้าผู้เช่าบางแห่งด้วย ซึ่งปัจจุบันเปิดให้บริการถึงเวลา 22.00 น. โดยวางแผนขยายเวลาให้การบริการสำหรับร้านผู้เช่าบางสาขาให้ถึง 24.00 น. ก่อนวางแผนเปิดให้บริการแบบ 24 ชั่วโมงในอนาคต 4.เพิ่มพื้นที่ ช้อป-ทำงาน-ทาน-สัมมนา นอกเหนือไปจากการเพิ่มพื้นที่ทำงานในสาขารัชดา ซึ่งมีพื้นที่ 600-800 ตร.ม. แล้ว โครงการ Design Village ยังวางแผนให้สาขารัชดา เป็นพื้นที่ตอบโจทย์คนทำงานและผู้พักอาศัยในพื้นที่ใกล้เคียง จึงเตรียมร่วมกับพันธมิตรร้านค้า ร้าอาหาร ให้เข้ามาเปิดให้บริการในพื้นที่ดังกล่าว เพื่อให้สาขารัชดาเป็นพื้นที่การช้อปปิ้ง กินข้าว ทำงาน สัมมนา และการเป็นศูนย์กลางการเปิดตัวสินค้าแห่งใหม่ใจกลางเมืองด้วย  จากปกติที่โครงการ Design Village แต่ละสาขาจะมีร้านค้าที่เข้ามาเปิดให้บริการ อาทิ ยูนิโคล่ สตาร์บัคส์ และกูร์เมต์ มาร์เก็ต เดินหน้าสร้างรายได้ 15,000 ล้าน สำหรับผลการดำเนินงานในปี 2565 บุญถาวร คาดว่าจะสามารถทำรายได้รวม 14,000 ล้านบาท เฉพาะโครงการ Design Village ทำรายได้ 4,500 ล้านบาท ส่วนในปีหน้าบุญถาวรคาดว่าจะมีรายได้รวม 15,000 ล้านบาท หรือเติบโต 7-8% แต่หากสถานการณ์ปรับตัวดีขึ้นอาจจะสามารถเติบโตได้ถึง 10% โดยจะได้รับผลดีจากภาคการท่องเที่ยวที่เริ่มฟื้นตัวดีขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้อสังหาริมทรัพย์ที่เกี่ยวข้อง เช่น โรงแรม รีสอร์ท มีการรีโนเวต ทำให้บุญถาวรได้รับอานิสงค์ในกลุ่มลูกค้าเหล่านี้ ที่ปัจจุบันมีสัดส่วนรายได้จากยอดขายนอกกลุ่มที่อยู่อาศัย 30%   อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง -ใครท็อปฟอร์มสุด ในธุรกิจ ร้านวัสดุ-เฟอร์นิเจอร์ Q3/65 -อิเกีย ขายเสื้อผ้า ครั้งแรก!! จากเฟอร์นิเจอร์สู่สตรีทแฟชั่น…
10 เทรนด์ที่อยู่อาศัย กำลังจะเกิดในปี 2566-2568 เรื่องที่ดีเวลลอปเปอร์ต้องไม่พลาด !!

10 เทรนด์ที่อยู่อาศัย กำลังจะเกิดในปี 2566-2568 เรื่องที่ดีเวลลอปเปอร์ต้องไม่พลาด !!

ช่วงปลายเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา​ มีการนำเสนอ 10 เทรนด์ที่อยู่อาศัย ที่กำลังจะเกิดขึ้นในระยะใกล้ โดยศูนย์วิจัยเทรนด์และคอนเซ็ปต์แห่งอนาคต Baramizi Lab ในงานนสัมมนา​หัวข้อ​ Xperience Design Future Trend for Property Sector ประจำปี 2023-2025 (ปี 2566-2568) ภายในเทศกาล WOW l Wonder of Well being City 2022 ที่จัดขึ้นโดยสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ และอมรินทร์ปริ๊นท์ติ้ง จำกัด (มหาชน)   ในหัวข้อดังกล่าว มีประเด็นน่าสนใจสำหรับผู้คนที่อยู่อาศัยทั่วไป และแวดวงผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับธุรกิจอสังหาฯ ที่เป็นการบอกถึงสิ่งที่ผู้คนส่วนใหญ่ให้ความสำคัญ และมีโอกาสถูกนำมาพัฒนาให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้คนเหล่านั้น ​Reviewyourliving จึงนำมาเสนอให้เห็นว่าเทรนด์ต่าง ๆ ดังกล่าวมีอะไรบ้าง และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในธุรกิจอสังหาฯ จะนำไปต่อยอดในเรื่องใดได้บ้าง 10 เทรนด์ที่อยู่อาศัย สุดเด่นในปี 2566-2568 สำหรับเทรนด์ที่อยู่อาศัยในช่วงปี 2566-2568  เป็นไปในทิศทางเดียวกับเมกะเทรนด์ที่เกิดขึ้น การมี Innovation Case Studies ที่เกิดซ้ำกัน โดยเป็นเทรนด์ที่สอดรับกับความคาดหวังของผู้บริโภค ทั้งในระดับสากลและคนไทยด้วย ซึ่งทั้ง​ 10 เทรนด์ที่อยู่อาศัยในระยะ 3 ปีข้าง มีดังนี้ ​ 1.Biodiverse Well-Living การอยู่อาศัยในบ้านที่มีพื้นที่เยียวยาหัวใจ : เนื่องจากเกิดการแพร่ระบาดของโรค และปัญหาความวุ่นวายในสังคมเมือง มีการประเมินว่าภายในปี 2593 ประชกาโลกกว่า 66% จะอาศัยอยู่ในเมือง และผู้คนจะใช้เวลากว่า 93% ภายในบ้านห่างไกลจากธรรมชาติ   โดยอุตสาหกรรมสุขภาพ มีขนาดตลาดที่ใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ ตั้งแต่ปี 2558 จากที่มีขนาดเพียง 3.7​ ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นเป็น 4.4 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2563  โด่ย Wellness Real Estate นับเป็นกลุ่มธุรกิจภายใต้อุตสาหกรรม Wellness มีอัตราการเติบโตสูงสุด ต่อเนื่องแม้จะเจอสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ก็ตาม   สำหรับ Wellness Lifestyle Real Estate มีจำนวนมากในอเมริกาเหนือ และรองลงมา คือ ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค ข้อมูลในปี 2560 Wellness Lifestyle Real Estate มีมูลค่า 134,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เนื่องจากสามารถทำราคาได้สูงกว่าที่อยู่อาศัยทั่วไปถึง 10-25% และที่อยู่อาศัยรวมกับธรรมชาติ เป็นสิ่งที่ทุกคนต้องการและยอมจ่ายเพิ่มเช่นกัน   จากการสำรวจความเห็นของคนไทย พบว่า ผู้บริโภคชาวไทยให้ความสนใจประสบการณ์ธรรมชาติเฉลี่ยถึง 86.85% ชอบอยู่กับธรรมชาติเพื่อสัมผัสความสงบ ถึงชีวิตกลับสู่ความสมดุลย 85.2% ใส่ใจกับสุขภาพโดยมุ่งเน้นการดูแลด้านจิตใจ ทำสมาธิ ดึงจังหวะการใช้ชีวิตให้ช้าลง คืน ความสมดุลสู่ร่างกาย 70.74%  ต้องการเมืองที่มีพื้นที่สีเขียวสาธารณะเพื่อเชื่อมโยงคนเข้ากับธรรมชาติ 95.0% ต้องการเมืองมีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเสริมสร้างสุขภาวะที่ดี ปรับสมดุลให้กับร่างกาย อารมณ์ และจิตใจ 2.The Serenexurious ผู้คนโหยหาความเงียบสงบในชีวิตที่มีแต่ความเร่งรีบ : จากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในช่วงที่ผ่านมาทำให้คนหันมาให้ความสนใจในการจัดการพื้นที่ในบ้าน เพื่อให้เหมาะสมกับทั้งการทำงานและอยู่อาศัย  แม้ว่าสถานการณจะคลี่คลายลง แต่การทำงานที่ไหนก็ได้ จะยังคงอยู่ในหลาย ๆ บริษัททั่วโลก ทำให้ผู้คนหลายคนจึงต้องการพื้นที่สำหรับหลีกหนีจากความเครียดที่เกิดขึ้นภายในตัวบ้าน   จากการสำรวจความเห็นคนไทยจำนวนหนึ่ง พบว่า ผู้บริโภคชาวไทยส่วนใหญ่มองว่า ตนเองต้องการความสงบ สนใจความเรียบง่าย และอยากใช้ชีวิตที่ช้าลง คนที่มองหาความสงบ ผ่อนคลาย หลีกหนีความวุ่นวาย มีสัดส่วน 88.98%  คนที่เรียบง่าย ถ่อมตน พึงพอใจในสิ่งที่มี 83.65% คนที่ต้องการใช้ชีวิตที่ช้าลง ไม่เร่งรีบตามกระแสสังคม 75.74% 3.All-in-Home บ้านคือทุกสิ่ง ไม่ใช่แค่ที่พักอาศัย : เพราะการวิวัฒนาการของเทคโนโลยี ทำให้เส้นแบ่งระหว่างเวลา การเดินททำงาน​ และการเรียนรู้ และการพักผ่อนจางลง ทำให้ที่อยู่อาศัยไม่ได้ทำหน้าที่ตอบเฉพาะโจทย์ของการอยู่อาศัย เพียงอย่างเดียว แต่อาจจะต้องครอบคลุมทุกอย่าง อย่างมีประสิทธิภาพ   ในไทยผู้ประกันตนมาตรา 33 ที่ขึ้นทะเบียนขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานจำนวน 1,425 คน พบว่า จากผู้ตอบข้อนี้ 1,381 คน เกือบ 60%  ต้องการประกอบอาชีพอิสระ โดย 4 อันดับแรกของอาชีพ ที่สนใจ คือ เกษตรกร 26% ร้านขายอาหารหรือร้านขายกาแฟ 24% ขายของออนไลน์ 19% และขับรถดส่งของเดลิเวอรี่ 10% ซึ่งสอดคล้องกับ ผลสำนวจการย้ายถิ่นของประชากรทั้งประเทศในปี 2563 ระบุว่า จากควไทยกว่า 68 ล้านคน มีผู้ย้ายถิ่น 1.05 ล้านคน แรงงานที่เป็นคนต่างถิ่นต่างพากันกลับบ้านเกิด ไปตั้งหลักพึ่งพิงฐานเกษตร เนื่องจากไม่สามารถแบกรับค่าใช้จ่ายในเมืองได้อีกต่อไป   สัดส่วนขององค์กรที่ให้พนักงานทำงานจากที่บ้านมีแนวโน้มลดลงนับจากล็อกดาวน์ครั้งที่ 3 แต่ยังมีถึง 28.5% ของคนวัยทำงานที่บอกว่าออฟฟิศให้ WFH ในบางวันในทุก ๆ สัปดาห์​ ความยืดหยุ่นของสถานที่ทำงาน ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของเกณฑ์ ในการเลือกองค์กรที่จะร่วมงานด้วยของคน Gen Z ไปแล้ว  โดยผู้บริโภคชาวไทยเริ่มส่งสัญญาณถึงความต้องการในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่ไม่ใช่แค่การพักผ่อนที่อาจะเกิดขึ้นพื้นที่พักอาศัยเพิ่มมากขึ้น   โดยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามคนไทยสัดส่วน 70.57% มักจะติดต่อกับเพื่อน หรือกับคนในครอบครัว เพื่อเชื่อมสายสัมพันธ์แบบทางไกลผ่านอุปกรณ์สื่อสารที่ทันสมัย สัดส่วน 74.53% ไม่ต้องการเข้าออฟฟิศ แต่ต้องการสถานที่ข้างนอกที่สามารถทำงานและมีสภาพแวดล้อมที่ดี ที่ส่งเสริมการทำงานให้มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น สัดส่วน 77.64% ต้องการเรียนรู้ผ่านระบบออนไลน์และเทคโนโลยี Virtual Working ที่เข้าไปเรียนรู้กับ และสัดส่วน 66.26% ต้องการประสบการณ์การเล่นสนุกแบบจมดิ่งไปในโลกเสมือน (Virtual Experience) ที่ทำให้โลกจริงดูตื่นตา ตื่นเต้นมากขึ้น และทำให้โลกบันเทิง เช่น ภาพยนตร์ เกม สมจริงมากขึ้น 4.Active-Aging Extended พื้นที่สร้างประประสบการณ์ยืดช่วงเวลาความแอคทีฟให้ผู้สูงอายุ : ผู้สูงอายุของคนไทย มีความต้องการที่ซ่อนอยู่ ซึ่งถือเป็น​ Unmet Needs ในเรื่องความต้องการพื้นที่การอยู่อาศัย ที่ช่วยสร้างประสบการณ์การมีความแอคทีฟที่ยาวนานขึ้นกว่าเดิม  เพื่อให้ตนเองมีคุณค่า ได้รับการยอมรับ เป็นส่วนหนึ่งในสังคม อยู่ได้ด้วยตัวเอง ไม่เป็นภาระ   สังคมไทย สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ คาดการณ์ว่า ในปี 2566 ประเทศไทยจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุแบบสมบูรณ์ โดยมีสัดส่วนผู้สูงอายุ 20% ของประชากรทั้งหมด และเป็นสังคมผู้สูงวัยระดับสุดยอดในปี 2574 หรือ 2575 โดยจะมีจำนวนผู้สูงอายุกว่า 28% ของประชากรทั้งหมด ซึ่งสอดคล้องกับแนวโม้มของโลก   สำหรับวงการอสังหาฯ ถือได้ว่าเป็นผู้นำเทรนด์ที่จะช่วยชี้นำวิธีคิด วิธีอยู่อาศัย วิธีใชชีวิตให้ผู้คน ซึ่งสิ่งนี้จะช่วยยืดระยะเวลาแห่งความสุขเพิ่มคุณภาพชีวิตให้กับ ครอบครัวคนไทยได้ จึงควรมีการจัดการพื้นที่ เทคโนโลยี และสภาพแวดล้อมที่ช่วยให้สุขภาพดีทั้งกาย ใจ การสร้างสัมพันธภาพใหม่ ๆ  ตลอดจนการดำเนินไว้ซึ่งคุณค่าของการมีอยู่และการได้รับการยอมรับจากสังคม   จากการสอบถาม พบว่า ผู้สูงวัยชาวไทยกว่า 64.5% มองว่าตนเองยังมีความกระฉับกระเฉง มีพลังในการทำอะไรใหม่ ๆ  ขณะที่ 79.85% มีความกระตือรือร้น และกระฉับกระเฉงในการทำงาน ส่วน 66.17% ชอบพบปะผู้คน ได้รับอิทธิพลจากเพื่อนฝูง ส่วน 41.83% ชีวิตคือการผจญภัย และชอบความคิดในการทำสิ่งใหม่ และแตกต่างในทุกวัน และสัดส่วน70.42% พออายุมากขึ้น ฉันมีโอกาสที่จะทำสิ่งอยากทำ 5.R/O Phenomena คนรุ่นใหม่ ยอมรับรูปแบบการเช่า แทนการเป็นเจ้าของของ : สำหรับคนรุ่นใหม่ ยอมรับได้ถ้าจะอยู่อาศัยด้วยการเช่า แทนการเป็นเจ้าของเอง ซึ่งถือเป็นโจทย์สำคัญให้กับนักพัฒนาอสังหาฯ เลือกที่จะทดลองโมเดลธุรกิจใหม่ ๆ ที่อาจเป็นที่นิยมของคนรุ่นต่อไป อาทิ ที่พักอาศัยแบบเช่าสุดครบครัน คู่หูคนอยากเช่า เช่าอยู่ก็คลูได้ เช่าไลฟ์สไตล์   ปัจจัยสำคัญ ที่ทำให้คนรุ่นใหม่ให้การยอมรับรูปแบบการเช่า เป็นเพราะ ราคาที่ดินที่แพงขึ้นทำให้ยากต่อการเป็นเจ้าของที่อยู่อาศัย รายได้ที่ลดลงหรือไม่มั่นคง หลังจากเกิดการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ประกอบกับการย้ายเข้ามาอยู่ในพื้นที่เมืองมากขึ้น ทำให้ราคาของที่ดินรวมถึง อสังหาฯ โดยรวมเพิ่มสูงขึ้นตามความต้องการที่มากขึ้น ในขณะที่ที่ดินที่น้อยลง ทำให้ผู้บริโภคมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการซื้อที่อยู่อาศัย เป็นการเช่าอสังหาฯ เป็นแนวโน้มที่เกิดขึ้น   ในประเด็นความเป็นเจ้าของสินทรัพย์ต่าง ๆ ผู้บริโภคชาวไทยเริ่มเปิดใจยอมรับ ไม่ยึดติดการต้องเป็นเจ้าของเพียงผู้เดียว ซึ่งต้องจับตามองการเติบโตของสัดส่วนเหล่านี้ต่อไป  ซึ่งสัดส่วน 46.99% ไม่ยึดติดกับการเป็นเจ้าของที่อยู่อาศัย หรืออสังหาฯ เน้นการเช่าอยู่เป็นหลัก เพราะทำให้สะดวก และคล่องตัวรองรับต่อการเปลี่ยนแปลงของชีวิตยุคใหม่ สัดส่วน 52.84% ต้องการเช่าใช้สินค้า หรือบริการในรูปแบบ Subscription หรือ ระบบบริการสมาชิกแบบเหมาะจ่ายล่วงหน้าเป็นรายปีหรือรายเดือน สัดส่วน 53.19% ต้องการสินค้าและบริการแบบร่วมกันแบ่งปัน เช่น การแบ่งกันใช้รถ อย่างบริการของ Uber การแบ่งที่พักอย่างบริการของ Airbnb เป็นต้น เพื่อใช้ประโยชน์ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า 6.Real Estate as a Service (REaaS) อสังหาฯ มาพร้อมการบริการ มากกว่าการอยู่อาศัย : จากแนวโน้มความต้องการของผู้บริโภคที่มีความเฉพาะตัวและยืดหยุ่นมากขึ้น ส่งผลให้ธุรกิจเปลี่ยนผ่านจาก “ผลิตภัณฑ์”​ สู่ “บริการ” เพื่อเพิ่มการบริการที่มีมูลค่าเพิ่ม ให้กับผู้บริโภค เป็นการสร้าง Life-Long Customer ทำให้ธุรกิจอสังหาฯ มุ่งไปในทิศทางดังกล่าว โดย Real Estate as a Service (REaaS) เป็นรูปแบบธุรกิจที่ได้รับแนวคิดจาก Space As A Service (Spaas) ได้รับความนิยมเนื่องจากนวัตกรรมด้วยอสังหาฯ ที่ก้าวหน้าขึ้นในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ทั้งหมดเป็นรูปแบบบริการแทนที่จะเป็นผลิตภัณฑ์ อันเนื่องจากผู้บริโภคกำลังซื้อประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่ไม่ใช่เฉพาะพื้นที่   โดยผู้บริโภคชาวไทยให้ความสนใจกับผู้ให้บริการที่ครบวงจรเพื่อความรวดเร็ว สะดวกสบายเพิ่มมากขึ้นถึงกว่า 80%  และสัดส่วน 83.64% ต้องการผู้ให้บริการที่ครบวงจรเพื่อความรวดเร็ว สะดวกสบาย และประสบการณ์หรือสิทิประโยชน์ที่เพิ่มมากขึ้น   ธุรกิจอสังหาฯ ต้องการการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในหลายด้านทั้งมุมมองความคิด บทบาท ขีดความสามารถ และการทำงานร่วมกับดิจิทัล โดย 68% ของผู้ตอบแบบสอบถามยอมรับว่าการเปลี่ยนแปลงองค์กร (Organization Transformation) จะมีความสำคัญเป็นลำดับแรกในช่วง 5 ปีข้างหน้า โดย 89% ของการสำรวจจาก Pwc พบว่าอาสาสมัครมองว่า REaaS จะเป็นตัวขับเคลื่อนให้เกิดการเปลี่ยนแปลง 7.AI Assistance ต้องการผู้ช่วย AI ที่ทำให้ชีวิตสุขสบาย : เพราะวิถีชีวิตของคนในยุคปัจจุบันมีความยุ่งยาก และใช้เวลาไปกับหลายเรื่อง จึงมีความต้องการได้​ผู้ช่วยมาทำเรื่องที่ต้องใช้เวลามาก ๆ เพื่อช่วยลดเวลายุ่งยาก และเพิ่มเวลาความสุข แม้ว่าจะต้องแลกกับการให้ข้อมูลส่วนตัว ผู้บริโภคชาวไทยก็พร้อม เพื่อนำเอาตัวช่วยมาใช้งาน อาทิ เทคโนโลยีที่ช่วยอำนวยความสะดวกสบาย หรือแม้แต่แอปพลิเคชั่น   จากการสอบถามความเห็น พบว่า ​57.14% ต้องการใช้งานเคโนโลยีหรือแอปพลิเคชั่นต่าง ๆ ที่เข้ามาเติมเต็มด้านความสะดวกสบายในการใช้ชีวิต โดยยอมแลกกับการให้ข้อมูลส่วนตัว สัดส่วน 62.13% ต้องการให้มีหุ่นยนต์อัจฉริยะ (Smart Robot) หรอระบบปฏิบัติการปัญญาประดิษฐ์ (AI) มาเป็นผู้ช่วยอำนวยความสะดวกภายในที่อยู่อาศัย สัดส่วน 80.9% ต้องการเทคโนโลยีให้วินิจฉัยโรคได้ด้วยตนเอง เพื่อสามารถควบคุมสุขภาวะของร่างกายได้มากขึ้นผ่านอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ช่วยให้เราตรวจวัดสุขภาพของตัวเราได้ตลอดเวลา  และสัดส่วน 75.73% ต้องการเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) ที่เข้ามาช่วยดูแลรักษาสุขภาพแบบส่วนบุคคล 8.Net Zero Agenda ธุรกิจอสังหาฯ เพื่อ Net Zero : ปัจจุบันปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) ที่มีความรุนแรงมากขึ้น และจะต้องดำเนินการแก้ไขปัญหาในทุกระดับโดยเร็ว เป็นประเด็นที่หลายองค์กรให้ความสำคัญ เพราะหากยังมีการทำให้อุณหภูมิโลกสูงขึ้น จนอุณหภูมิพุ่งสูงจากเดิม 2 องศาเซลเซียส จะนำไปสู่ปรากฎการณ์ที่เรียกว่า Hothouse Earth หรือภาวะโลกร้อนเหมือนอยู่ในเตาอบ ถึงตอนนั้นมนุษย์จะไม่สามารถแก้ไขอะไรได้อีก หรือจุดที่เรียกว่า Point Of No Return ในการรักษาภาวะโลกร้อนให้ไม่เกิน 15 องศาเซลเซียส ตามที่กำหนดไว้ในข้อตกลงปารีส ซึ่งไทยเข้าร่วมเมื่อ 21 กันยายน 2559 และประเทศไทยได้ให้ข้อเสนอการมีส่วนร่วมของประเทศในการลดก๊าซเรือนกระจก และการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กับประชาคมโลก (National Determined Contribution-NDC) ที่ต้องการลดการปล่อยมลพิษจะต้องลดลง 45% ภายในปี 2573 และถึงศูนย์สุทธิภายในปี 2593   โดยผู้บริโภคชาวไทยส่วนใหญ่ต้องการให้ผู้ผลิต มีสินค้าและบริการที่ตระหนักถึงสิ่งแวดล้อม หรือการใช้ซ้ำ ซึ่งสัดส่วน 76.76% ชอบช่วยเหลือผู้คนและสังคม เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมก่อนเสมอ สัดส่วน 75.56% ชอบทำสิ่งต่าง ๆ ที่เปลี่ยนแปลงโลกใบนี้และสังคมดีขึ้น สัดส่วน 77.8% ใส่ใจกับธรรมชาติ เลือกใช้สินค้าหรือเทคโนโลยีที่ไม่ส่งผลกระทบต่อโลกใบนี้  และสัดส่วน 82.96% ต้องการให้ผู้ผลิตมีสินค้าและบริการที่ตระหนักถึงสิ่งแวดล้อมหรือการใช้ซ้ำ ทั้งหมดเป็นความต้องการของผู้บริโภคที่ภาคธุรกิจอสังหาฯ​ จะต้องให้ความสำคัญ​และรีบดำเนินการตอบสนองเรื่องเหล่านี้ 9.Humanity Resilience นวัตกรรมการปรับตัวให้อยู่รอดเพื่อมวลมนุษยชาติ :  จากปัญหาภัยพิบัติทางธรรมชาติที่เกิดบ่อยมากขึ้น เมื่อเที่ยบกับอดีต และกระทบคนจำนวนมากขึ้นซึ่งสร้างความเสียหายต่อทั้งชีวิตและทรัพย์สิน สิ่งที่ภาคธุรกิจอสังหาฯ ต้องปรับตัวรองรับกับเทรนด์นี้ ​คือ การ​สร้างสรรค์ที่อยู่อาศัยซึ่งสามารถรับมือกับภัยพิบัติ รูปแบบต่าง ๆ ได้ อาทิ  ที่อยู่อาศัยสามารถรับมือกับน้ำท่วม การพัฒนาเมืองต้นแบบที่เอาตัวรอดได้เมื่อโดนตัดขาด และกรรมวิธีการผลิตที่ทำได้แม้สถานการณ์คับขัน   จากการสำรวจความเห็น พบว่า ประชาชนต้องการเมืองที่มีความสามารถในการรับมือกับภัยพิบัติได้ดี ช่วยให้ประชาชนมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ซึ่งสัดส่วน 92.08% ต้องการเมืองที่มีความสามารถในการับมือกับภัยพิบัติ สามารถอยู่รอดในสถานการณ์ภัยพิบัติต่าง ๆ แม้จะถูกตัดขาดจากพื้นที่โดยรอบของเมือง  และสัดส่วน 92.95% ต้องการเมืองที่ประชาชนรู้สึกปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 10.New Frontier บ้านหลังใหม่ของมนุษยชาติบนดาวอังคาร : หากมองไปไกลอีกหลายสิบปีข้างหน้า การออกไปอยู่ในอวกาศก็เป็นสิ่งที่หลายชาติกำลังมองหา ​เห็นได้จากการพัฒนาโครงการทางอวกาศในรูปแบบต่าง ๆ โดยเฉพาะประเทศมหาอำนาจทั้งหลาย เป็น​​การเกิดขึ้นของโครงการอวกาศ ที่แต่ละครั้งล้วนสร้างเทคโนโลยีและนวัตกรรม​​ การนำเทคโนโลยีอวกาศมาใช้บนพื้นโลกนั้น ถือเป็นนหนึ่งในวีธีที่ทำให้สิ่งของบนโลกถูกพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น หนึ่งในเทคโนโลยีที่ต่อยอดลงมาสู่พื้นโลก คือ การพัฒนาการอยู่อาศัย ตั้งแต่การสร้างบ้านที่ครบครันจากเครื่องพิมพ์สามมิติ และการอยู่อาศัยอย่างปกติในสภาพวะไร้น้ำหนัก   จากข้อมูล​​ พบว่า มูลค่าตลาดธุรกิจอวกาศ มีมูลค่ากว่า 420,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2562 และคาดว่าจะเติบโตขึ้นอีกกว่า 50% ในปี 2583  และตั้งแต่ปี 2563 ไปจนถึงปี 2570 ทาง NASA วางแผนที่จะใช้งบประมาณกว่า 150,000 ดอลลาร์สหรัฐในภารกิจที่จะพามนุษย์กลับไปสู่ดวงจันทร์ อีกทั้งสำรวจดาวอังคารด้วย ​   ทิศทางการตลาดของเศรษฐกิจอวกาศที่กำลังจะเกิดขึ้น ถือเป็นโอกาสสำหรบประเทศไทย ในการ​สร้างเศรษฐกิจอวกาศในประเทศไทย และการใช้องค์ความรู้จากการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อมุ่งสู่อวกาศมาพัฒนายัง Business Sector อื่น ๆ  ได้แก่ ใช้ประโยชน์ข้อมูลจากดาวเทียม พัฒนาเทคโนโลยีเพื่อความเป็นอยู่บนอวกาศ ต่อยอดเทคโนโลยีอวกาศมาแก้ปัญหาบนพื้นโลก สร้างประสบการณ์ใหม่ที่เพิ่มมูลค่าด้วยอวกาศ สร้างแรงบันดาลใจด้วยจินตนาการถึงอวกาศ ทั้งหมดคือ 10 เทรนด์ที่อยู่อาศัย ที่น่าสนใจซึ่งกำลังจะก้าวเข้าตอบสนองความต้องการขของคนในยุคปัจจุบันและอนาคตอันใกล้นี้ หลายอย่างเชื่อว่าจะช่วยทำให้คุณภาพชีวิตของคนดีขึ้น และสะดวกบายมากยิ่งขึ้น แต่เทรนด์ไหนจะเกิดขึ้นจริงได้บ้างนั้น คงต้องเฝ้าติดตามกันต่อไป​   อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง -อัพเดต 5 เทรนด์ที่อยู่อาศัย-การก่อสร้าง มาแรงปี 2022 -ส่อง ตลาดที่อยู่อาศัยปี 66 การเติบโตท่ามกลางปัจจัยเสี่ยง ดอกเบี้ย-ต้นทุนพุ่ง
เสนาฯ  เปิดโมเดล​ บ้านพลังงานเป็นศูนย์  เดินหน้าสู่บริษัท ด้านความยั่งยืน

เสนาฯ เปิดโมเดล​ บ้านพลังงานเป็นศูนย์ เดินหน้าสู่บริษัท ด้านความยั่งยืน

เสนาฯ เปิดโมเดล​ บ้านพลังงานเป็นศูนย์ เดินหน้าสู่บริษัท ด้านความยั่งยืน ดึง 2 โปรเจ็กต์นำร่อง พร้อมจับมือ ศูนย์บริการวิชาการจุฬาฯ สร้างต้นแบบก่อนใช้จริง อ้อนแบงก์หนุนลดดอกเบี้ย0.5-1% ให้ผู้ซื้อ   ถ้าย้อยไปในปี 2558 การนำเอาแผงโซลาร์เซลล์มาติดตั้งตามบ้านเรือนที่อยู่อาศัย ยังไม่เป็นที่นิยมมากนัก เนื่องจากยังมีราคาสูง ประกอบกับ คนส่วนใหญ่ไม่ได้ใช้ชีวิตอยู่บ้านในช่วงกลางวัน แต่สำหรับบริษัท เสนาดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) กลับมองว่าการติดตั้งโซลาร์เซลล์บนหลังคาบ้านเรือน เป็นเทรนด์ที่กำลังมา จากกระแสการรักษ์โลก การประหยัดพลังงาน ตามภาวะวิกฤตพลังงาน รวมถึงการลดภาวะโลกร้อน จึงได้เริ่มต้นนำ Solar Rooftop มาติดตั้งในโครงการของบริษัทเป็นรายแรก และบ้านทุกหลังของโครงการจนมาถึงปัจจุบัน ได้ขยายการติดตั้งครบสินค้าทุกประเภท​   มาในปี 2565 เสนา ดีเวลลอปเม้นท์ เดินหน้าต่อกับก้าวสู่ความยั่งยืนในการดำเนินธุรกิจ จึงได้เตรียมความพร้อม กับการพัฒนาที่อยู่อาศัยที่ตอบโจทย์ Sustainable Development และ Net Zero Emission ด้วยการร่วมมือกับพันธมิตรญี่ปุ่น อย่างฮันคิว ฮันชิน พร็อพเพรอ์ตี้ คอร์ป ร่วมกันพัฒนา บ้านพลังงานเป็นศูนย์ หรือ Zero Energy House (ZEH)   เนื่องจากประเทศไทยยังไม่มีมาตรฐานกลางในเรื่องนี้ เสนา ดีเวลลอปเม้นท์​ จึงได้นำแนวคิด Zero Energy House (ZEH) จากญี่ปุ่น ที่เป็นกรณีศึกษาจริงจากพันธมิตรทางธุรกิจ มาเป็นต้นแบบของการพัฒนาและประยุกต์ใช้ เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมและวิถีชีวิตของคนไทย บ้านพลังงานเป็นศูนย์ คืออะไร? ตามคำนิยาม Zero Energy House ของประเทศญี่ปุ่น  จะหมายถึง ​บ้านที่มีการใช้ไฟฟ้าในชีวิตประจำวันในรอบ 1 ปี ได้ใกล้ หรือน้อยกว่าศูนย์ ด้วยการประหยัดพลังงานให้มากที่สุด ในการอยู่อาศัยภายใต้สภาพวะแวดล้อมที่ยังสะดวกสบาย โดยหลักการ คือ ใช้พลังงานไม่มาก เพื่อการควบคุมอุณหภูมิภายในบ้าน ในแต่ละฤดูให้เหมาะสมจากการออกแบบ (Passive Design) และใช้พลังงานอย่างมีระสิทธิภาพมากขึ้น (Efficiency) รวมถึงมีระบบผลิตพลังงานใช้เองจากพลังานหมุนเวียน (Renewable energy) นางสาว ยูคาโกะ มาสึโอะ ผู้จัดการทั่วไปฝ่ายธุรกิจบ้านจัดสรร บริษัท ฮันคิว ฮันชิน พร็อพเพอร์ตี้ส์ คอร์ป  อธิบายว่า หลักการบ้านพลังานเป็นศูนย์ คือการลดใช้พลังงาน โดยเกณฑ์พื้นฐานที่เรียกว่า ค่า Ua Value (ค่าการถ่ายเทความร้อนภายใน) เป็นค่าที่ถูกกำหนดในแต่ละเมืองให้มีการลดพลังงานที่ไม่ใช้ Renewable energy อย่างน้อย 20% ในทุกระดับ เกณฑ์การวัด บ้านพลังงานเป็นศูนย์ ปัจจุบันการพัฒนาอาคารให้เป็น Zero Energy House 100% นั้น ยังคงทำได้ยาก เนื่องจากมีเรื่องต้นทุนเข้ามาเกี่ยวข้อง ทางรัฐบาลญี่ปุ่น จึงมีการแบ่งเกณฑ์ในการประเมินเป็น 4 ระดับ ทั้งกลุ่มบ้านและกลุ่มคอนโด (ในประเทศญี่ปุ่นจะเรียกคอนโดว่าแมนชั่น-Mansion) สำหรับเกณฑ์การประเมินกลุ่มบ้าน แบ่งออกเป็น 4 ระดับ ดังนี้ ZEH Oriented เป้าหมาย ลดการใช้พลังงานได้ไม่ต่ำกว่า 20% ไม่รวมการใช้พลังงานสะอาด ZEH Ready เป้าหมาย ลดการใช้พลังงานได้ 50%ขึ้นไป รวมการใช้พลังงานสะอาด Nearly ZEH   เป้าหมาย ลดการใช้พลังงานได้ 75%ขึ้นไป รวมการใช้พลังงานสะอาด ZEH   เป้าหมาย ลดการใช้พลังงานได้ 100%ขึ้นไป รวมการใช้พลังงานสะอาด เกณฑ์กลุ่มคอนโด เรียกว่า Zero Energy House-Mansion (ZEH-M) มี 4 ระดับ เช่นกัน แต่มีการเพิ่มเติมเกณฑ์ที่เกี่ยวกับจำนวนชั้น สำหรับเกณฑ์การประเมินคอนโด แบ่งออกเป็น 4 ระดับ ดังนี้ ZEH Oriented เป้าหมาย ลดการใช้พลังงานได้ไม่ต่ำกว่า 20%  ไม่รวมการใช้พลังงานสะอาด เป้าหมาย 6 ชั้นขึ้นไป ZEH Ready เป้าหมาย ลดการใช้พลังงานได้ 50%ขึ้นไป รวมการใช้พลังงานสะอาด เป้าหมาย 4-5 ชั้น Nearly ZEH   เป้าหมาย ลดการใช้พลังงานได้ 75%ขึ้นไป รวมการใช้พลังงานสะอาด เป้าหมาย 1-3 ชั้น ZEH   เป้าหมาย ลดการใช้พลังงานได้ 100%ขึ้นไป รวมการใช้พลังงานสะอาด เป้าหมาย 1-3 ชั้น ในประเทศญี่ปุ่น มีกฎหมายบังคับให้ดีเวลลอปเปอร์ต้องพัฒนาบ้านพลังงานเป็นศูนย์  ขณะเดียวกัน รัฐบาลยังมีการสนับสนุนเงินงบประมาณให้กับดีเวลลอปเปอร์ ที่มีระบบการการปล่อยคคาร์บอนไดออกไซด์ด้วย ​สำหรับบ้านพลังงานเป็นศูนย์ ที่เข้าเกณฑ์จะได้รับเงินสนับสนุน 550,000 เยนสำหรับบ้านเดี่ยว 400,000 ต่ออาคารสำหรับคอนโดโลว์ไรส์ กรณีที่สูงกว่านี้จะได้รับการสนับสนุนเงิน  1 ใน 2 หรือ 1 ใน 3 ของระบบการสร้าง เนื่องจากบ้านพลังงานเป็นศูนย์มีราคาสูงกว่าบ้านปกติทั่วไป 30-50% ส่วนฝั่งผู้ที่ซื้อบ้านที่ผ่านเกณฑ์ ก็จะได้รับประโยชน์ เช่น การู้ขอสินเชื่อได้ง่ายขึ้น เสนาฯ เดินหน้าสู่บริษัทยั่งยืน ดร.เกษรา ธัญลักษณ์ภาคย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เสนา ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) เล่าว่า หนึ่งในวิสัยทัศน์ของบริษัท คือ ความยั่งยืน เพราะปัจจุบันทีความท้าทายเกิดขึ้นหลายอย่าง หนึ่งในนั้นคือ Climate Change หรือภาวะโลกร้อน​  สินค้าที่พัฒนาจะต้องเดินไปตามวิสัยทัศน์ดังกล่าวด้วย โดยปัญหาหลักของประเทศไทยในปัจจุบันเป็นเรื่องของพลังงาน ไม่ใช่แค่ภาวะโลกร้อน ซึ่งเชื่อมโยงไปถึงภาวะเศรษฐกิจ เพราะไทยต้องนำเข้าพลังงานที่มีต้นทุนสูง และส่งผลกระทบต่อราคาสินค้าต่าง ๆ หากเราสามารถลดการนำเข้าพลังงานได้ ​จะทำให้ไม่ต้องพึ่งพาการนำเข้าพลังงานจากต่างประเทศมากเกินไป   การทำบ้านพลังงานเป็นศูนย์ จึงเป็นแนวคิดที่เกิดขึ้น โดยการทำใน ​3 เรื่องหลัก คือ ​ การทำดีไซน์ ทำบ้านไม่ให้ร้อนมาก การใช้ไฟอย่างมีประสิทธิภาพ efficiency เช่น การใช้สมาร์ทโฮมที่สามารถสั่งงานในบ้านได้ แม้ลืม การผลิตไฟขึ้นมาใช้เอง ถ้าทั้งหมดบวกลบ แล้วเท่ากับศูนย์ แสดงว่าเราเป็นไปตามหลักการนั้น  ในเมืองไทย มีเรื่องนี้อยู่บ้าง แต่ไม่ชัดขนาดนี้ เช่น บ้านเบอร์ 5 บ้านประหยัดไฟ ของการไฟฟ้า แต่ไม่รวมการผลิตไฟเข้ามา โจทย์เรื่องนี้ไม่ใช่อยากทำและทำได้ โจทย์ที่ยากสุดวันนี้ คือ ทำแล้วขายได้ จับมือจุฬาฯ สร้างแบบจำลอง แม้ว่า​​ ประเทศไทยจะมีหลายหน่วยงาน​ที่เกี่ยวข้องกับการใช้พลังงาน แต่ในเรื่องบ้านพลังงานเป็นศูนย์ ยังไม่มีเกณฑ์เรื่อง Zero Energy House (ZEH) ที่เป็นมาตรฐานกลาง เสนา ดีเวลลอปเมนท์จึงได้นำองค์ความรู้และแนวทางการพัฒนาของ​มาพัฒนาต่อยอดในบ้านของเสนา ​ด้วยการร่วมมือกับ ศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (Chula Unisearch) ซึ่งเป็นหน่วยงานวิสาหกิจของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  ทำการศึกษาและทดลองจัดทำแบบจำลอง ในการศึกษาประสิทธิภาพด้านพลังงาน   โดยจะใช้การจำลองการใช้พลังงานของอาคารด้วยคอมพิวเตอร์ (Building energy simulation) ด้วยโปรแกรม ซึ่งเป็นที่ยอมรับ เช่น โปรแรกม DOE-2, EnergyPlus และ eQUEST โดยกำหนดข้อมูลในการจำลองเป็นตัวแปรควบคุม ได้แก่ ข้อมูลอากาศรายชั่วโมงของกรุงเทพมหานคร โดยกรมอุตุนิยมวิทยา การหมุนอาคารเป็น 4 ทิศ (เหนือ ใต้ ตะวันออก และตะวันตก) และหาค่าเฉลี่ยการใช้พลังงานรวม ด้วยการสร้างสมมุติฐานช่วงเวลาการใช้งานอาคาร 2 รูปแบบ ได้แก่ การใช้งานบ้านแบบปกติ (เน้นออกนอกบ้านมาทำงานกลางวันและพักผ่อนเวลากลางคืน) โดยเปิดใช้เครื่องปรับอากาศวันจันทร์-ศุกร์ (18.00-08.00 น.) และเสาร์-อาทิตย์ (ตลอด 24 ชั่วโมง) การใช้งานแบบบ้านที่มีผู้สูงอายุ หรือ WFH ที่มีการใช้สอยตลอด 24 ชั่วโมง มีการเปิดใช้เครื่องปรับอากาศตลอดเวลา เมื่อได้ผลการทดลองแล้ว จะนำเอาไปสร้างบ้านต้นแบบ (SENA HHP Zero Energy House Prototype) ใน 2 โครงการ ได้แก่ เสนา แกรนด์โฮม บางนา กม.29 คาดว่าจะทำ Simulation แล้วเสร็จในปลายเดือนมกราคม 2566 แล้วจึงนำไปก่อสร้างเป็นบ้านต้นแบบ ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จปลายปี 2566 เพื่อวัดผลจากการใช้งานจริงอีกครั้ง และคอนโด ที่คาดว่าจะทำ Simulation แล้วเสร็จปลายเดือนกุมภาพันธ์ 2566 เป้าหมายสำคัญของ เสนา ดีเวลลอปเมนท์  คือ การลดการใช้พลังงานให้ได้ไม่ต่ำกว่า 20% รวมการใช้ Renewable Energy ที่บ้านเดี่ยว และคอนโดของเสนา และจะนำมาใช้กับบ้านทุกหลังของเสนา ดีเวลลอปเม้นท์ต่อไปในอนาคต แม้ว่าจะลดพลังงานไม่ได้ตามเป้าหมาย 20% ก็ตาม โดยแนวทางของเสนา ดีเวลลอปเม้นท์ จะทำกับโครงการเก่าที่อยู่ระหว่างการพัฒนาหรือระหว่างการขาย เช่น โครงการที่อาจจะสร้างมาแล้ว 20 หลัง ส่วนหลังที่ 21 ก็จะเริ่มพัฒนาเป็นบ้านพลังงานเป็นศูนย์​​ โดยไม่รอการสนับสนุน​ แต่ในส่วนของผู้ซื้อ หากได้รับการสนับสนุนจากสถาบันการเงิน ลดอัตราดอกเบี้ยลงจากเรทปกติ 0.50-1% ในปีแรก จะช่วยกระตุ้นการซื้อได้มาก เพราะราคาบ้านพลังงานเป็นศูนย์จะแพงกว่าบ้านปกติแน่นอน เหมือนกับการทำบ้านโซลาร์ในช่วยแรกที่แพงกว่าบ้านปกติ 10-15%​ คิดว่าทำอะไรได้ก็ต้องเริ่มเลย สิ่งที่เราทำเราคิดและทำเป็นวิทยาศาสตร์ ซึ่งวัดผลได้จริง แต่จะลดได้เท่าไรก็ตาม  เราเอาต้นแบบมาทำ แม้จะลดได้แค่ 5% ก็ทำ ปีหน้าไตรมาสแรกน่าจะได้เห็น จะมีแบบบ้านใหม่ในโครงการ ทุกโครงการ            
เปิดไอเดีย “ณพน เจนธรรมนุกูล” ปั้น สัมมากร สู่องค์กร 100 ปี

เปิดไอเดีย “ณพน เจนธรรมนุกูล” ปั้น สัมมากร สู่องค์กร 100 ปี

ถ้าหากดูบริษัทที่พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ประเภทที่อยู่อาศัย ซึ่งมีอายุการดำเนินธุรกิจมาอย่างยาวนาน มากกว่า 50 ปีหรือครึ่งศตวรรษ ปัจจุบันมีอยู่ไม่กี่บริษัทเท่านั้น ซึ่งหนึ่งในนั้นคือบริษัทเก่าแก่ อย่าง บริษัท สัมมากร จำกัด (มหาชน) หรือ SAMCO ที่เริ่มต้นก่อตั้ง​ตั้งแต่ปี 2513   ขณะที่ได้เริ่มต้นดำเนินธุรกิจพัฒนาอสังหาฯ ​ ประเภทบ้านจัดสรรเพื่อการอยู่อาศัยในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล มาตั้งแต่ปี 2517 เป็นการพัฒนาโครงการบ้านเดี่ยวพร้อมที่ดินเพื่อขายเป็นหลัก จนถึงปัจจุบันได้พัฒนาโครงการเพื่ออยู่อาศัย และมีลูกบ้านแล้วกว่า 6,000 ยูนิต   นอกเหนือจากการพัฒนาที่อยู่อาศัยแล้ว สัมมากร ยังได้ขยายธุรกิจเข้าสู่ตลาดอสังหาฯ ​ให้เช่า โดยพัฒนาศูนย์การค้าชุมชน ภายใต้ชื่อ ศูนย์การค้าสัมมากรเพลส (Sammakorn Place) ซึ่งมีที่ตั้งอยู่บนถนนรังสิตคลอง 2 ถนนรามคำแหง และถนนราช-พฤกษ์  เป็นการสร้างรายได้ประจำให้กับบริษัท ไอเดียปั้น "องค์กร 100 ปี" ปัจจุบันสัมมากร อยู่ภายใต้การบริหารงานของ นายณพน เจนธรรมนุกูล กรรมการผู้จัดการ บริษัท สัมมากรฯ ซึ่งได้เข้ามานั่งเก้าอี้ในตำแหน่งกรรมการผู้จัดการได้กว่า 3 ปีแล้ว ซึ่งเป้าหมายสำคัญของการขับเคลื่อน “สัมมากร” ในฐานะผู้บริหาร คือ การพาให้บริษัทมีการดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง และอยู่ยาวนานไปสู่การเป็น “องค์กร 100 ปี” ด้วยการยึดหลักการทำงานที่มุ่งเน้นประสิทธิภาพการบริหารงาน และการพัฒนาสินค้าให้มีคุณภาพ มีความเป็นพรีเมียม เนื่องจากมีชื่อเสี่ยงเป็นที่ยอมรับมาอย่างยาวนาน   นายณพน เล่าว่า หลังจากได้เข้ามาบริหารบริษัทเป็นระยะเวลาประมาณ​ 6 ปี และขึ้นตำแหน่งกรรมการผู้จัดการช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ได้วางระบบการทำงานให้ “สัมมากร” ดำเนินธุรกิจอยู่ได้อย่างยาวนานเป็น 100 ปี และให้พนักงานทำงานกับบริษัทให้ได้นานที่สุด โดยวางแผนระยะสั้นในช่วง 3-5 ปีนี้ กับการทำงานใน 3 ส่วนสำคัญ คือ 1.บุคลากร มีการฝึกอบรมเสริมทักษะให้กับพนักงานในด้านต่าง ๆ การเสริมทีมงานที่เป็นคนรุ่นใหม่ และการจัดพื้นที่การทำงานให้เหมาะสม 2. ระบบการทำงานในองค์กร การวางระบบทุกอย่างภายในองค์กร ด้วยการนำระบบดิจิทัลเข้ามาเสริมประสิทธิภาพ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด และการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ด้วยดิจิทัล 3.ผลิตภัณฑ์ พัฒนาสินค้าให้มีคุณภาพ ตรงตามความต้องการของลูกค้า มีการปรับโมเดลการดำเนินธุรกิจ จากเดิมพัฒนาบ้านแบบเดียวมาโดยตลาด แต่ปัจจุบันมีความหลากหลายมากขึ้น และการขยายตลาดไปยังกลุ่มลูกค้าระดับลักชัวรี่ ซึ่งไม่ได้รับผลกระทบจากความผันผวนของภาวะเศรษฐกิจ ทีมงานสัมมากรเจอการเปลี่ยนแปลงมาพอสมควร จึงเน้นการใส่ใจประสิทธิภาพการทำงาน อย่างช่วงโควิด ได้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการทำงาน ที่บังคับให้ทุกอย่างเร็วขึ้น และต้องทำทันที แต่ยังมีประสิทธิภาพ แตกซับแบรนด์แยกกลุ่มเป้าหมาย การเปลี่ยนแปลงที่เห็นชัดเจนอีกสิ่งหนึ่งของ “สัมมากร” คือ การเพิ่ม Sub-Brands ที่หลากหลาย และก้าวไปสู่ตลาดบ้านลักชัวรี่ ซึ่ง “นภณ” เล่าว่า แบรนด์หมู่บ้านสัมมากร กลุ่มลูกค้าทั่วไปยังยอมรับในเรื่องของคุณภาพ ที่มีมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน แต่ด้วยการขยายไปสู่โอกาสทางการตลาดใหม่ ๆ ที่จะไม่ได้รับผลกระทบจากความผันผวนของภาวะเศรษฐกิจ และศักยภาพของบริษัท ที่สามารถพัฒนาบ้านทั่วไปได้จนถึงบ้านลักชัวรี่ ทำให้บริษัทจึงต้องเพิ่มแบรนด์ใหม่ ๆ ขึ้นมา เพื่อแยกกลุ่มลูกค้าให้ชัดเจน และแบรนด์นั่นเชื่อมโยงกับกลุ่มลูกค้าเป้าหมายด้วย   ในปีนี้บริษัทได้พัฒนาแบรนด์บ้านเดี่ยวระดับลักชัวรี่ ออกมาทำตลาดถึง 5 แบรนด์ ดังนี้ ​ 1.แบรนด์วัน เกต ราคา 93-135 ล้านบาท 2.แบรนด์ทู เอกมัย  ราคาเริ่มต้น 85 ล้านบาทขึ้นไป ​3.แบรนด์พาร์ค เฮอริเทจ ราคา 49-85 ล้านบาท​ 4.แบรนด์บาร์นยาร์ด เขาใหญ่ ราคาเริ่ม 15.9 ล้านบาท และ​​ 5.แบรนด์โพรวิเดนซ์ เลน ราคาเริ่ม 39 ล้านบาท   ล่าสุด เปิดตัวโครงการ พาร์ค เฮอริเทจ ซึ่งเป็นการร่วมทุนกับกลุ่มแอสเซท โปร ผู้ประกอบการรายใหญ่ในจังหวัดศรีสะเกษ พัฒนาบ้านเดี่ยวระดับลักชัวรี่ มูลค่ารวม 2,210 ล้านบาท ยังตั้งอยู่ในซอยพัฒนาการ 20 แยก 8 บนพื้นที่กว่า 12ไร่ มีบ้านเดี่ยว 3 ชั้นสไตล์ Modern Classic จำนวน 32 ยูนิต พร้อมลิฟต์และสระว่ายน้ำส่วนตัว ขนาดที่ดิน 60 – 133 ตารางวา พื้นที่ใช้สอยเริ่มต้น  471 – 778 ตารางเมตร ราคาขาย 49 – 95 ล้านบาท ซึ่งเฟสแรกเปิดขาย 16 ยูนิต คาดว่าจะปิดการขายได้ช่วงกลางปี 2566 ปี 66 โฟกัสตลาดบ้าน 10 ล้าน สำหรับแผนธุรกิจในปี 2566  บริษัทจะเน้นพัฒนาโครงการบ้านราคาระดับ 10 ล้านบาทขึ้นไป แต่ตลาดระดับกลาง ราคา 4-6 ล้านบาท ยังคงพัฒนาออกมาทำตลาด ซึ่งแผนการเปิดตัวโครงการในปีหน้า จะมีโครงการส่วนหนึ่งที่เลื่อนเปิดจากปีนี้ไปสมทบด้วย 3 โครงการ  ขณะเดียวกันในปีนี้จะเป็นปีสำคัญที่บริษัทรับรู้รายได้ จากการเปิดตัวโครงการในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา   ส่วนในช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้ ​บริษัททำยอดขายบ้านแนวราบได้แล้ว  2,000 ล้านบาทจากเป้าทั้งปี 3,500 ล้านบาท และมีรายได้ 1,000 ล้านบาท คาดว่าจนถึงสิ้นปีจะทำรายได้สูงกว่าเป้าที่ตั้งไว้จำนวน 1,500 ล้านบาท โดยมีโครงการที่อยู่ระหว่างการขายและพัฒนาจำนวน 8 โครงการ   โดยปีนี้บริษัทเปิดตัวโครงการใหม่เพียง ​ 6 โครงการ จากแผนเดิมจะเปิดตัว 9 โครงการใหม่มูลค่า 10,000 ล้านบาท การที่บริษัทเลื่อนเปิดโครงการใหม่ไปในปี 2566 เนื่องจากต้องการโฟกัสและทำตลาด โครงการ พาร์ค เฮอริเทจ  ให้ได้เป้าหมายยอดขายที่วางไว้   อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง -สัมมากร ส่งโครงการมิตติ จับตลาดบ้าน 4-7 ล้าน ประเดิมโซน​ ชัยพฤกษ์-วงแหวน -สัมมากร สวนกระแสตลาด ทำรายได้ปี’62 สูงสุดในรอบ 50 ปี
ศูนย์ข้อมูลอสังหาฯ ชี้ที่อยู่ปี 65 ยังเติบโต  หลังดัชนีรวมตลาด Q3 เพิ่ม 30.4%

ศูนย์ข้อมูลอสังหาฯ ชี้ที่อยู่ปี 65 ยังเติบโต หลังดัชนีรวมตลาด Q3 เพิ่ม 30.4%

ตลาดอสังหาฯ ยังฟื้นตัวต่อเนื่อง ดัชนีรวมตลาดอสังหาฯ ไตรมาส 3 เพิ่มขึ้น 30.4% จากปีก่อน แนวโน้มโค้งท้ายปีบ้านสร้างเสร็จจดทะเบียนยังขยายตัวต่อ เพื่อรอโอนฯปลายปี  บทสรุปทั้งปีตลาดอสังหาฯ ยังเติบโต   ดร. วิชัย วิรัตกพันธ์ ผู้ตรวจการธนาคารอาคารสงเคราะห์ และรักษาการผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ หรือ REIC เปิดเผยรายงาน “ดัชนีรวมตลาดอสังหาริมทรัพย์ (หมวดที่อยู่อาศัย)” ประจำไตรมาส 3 ปี 2565 พบว่า มีค่าดัชนีเท่ากับ 93.0 จุด ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า 30.4%   ทั้งนี้ การปรับตัวเพิ่มขึ้นของค่าดัชนีเป็นผลมาจากการปรับตัวดีขึ้นของโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัย อัตราดูดซับบ้านจัดสรร และอาคารชุด (คอนโดมิเนียม) ข้อมูลที่อยู่อาศัยสร้างเสร็จจดทะเบียน จำนวนพื้นที่ที่ได้รับอนุญาตก่อสร้างที่อยู่อาศัย และดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการ ในไตรมาสนี้   ทั้งนี้ คาดการณ์ว่า ภาพรวมในปี 2565 ดัชนีรวมตลาดอสังหาริมทรัพย์ (หมวดที่อยู่อาศัย) น่าจะมีโอกาสขึ้นมาไม่ต่ำกว่าที่ 90.5 จุด หรือขยายตัว 19.6% จากปีก่อน และอาจปรับตัวสูงขึ้นได้สูงสุดถึง 99.6 จุด (กรณี Best Case) ขยายตัว 31.5% แต่หากมีการพลิกผันก็ไม่น่าจะต่ำกว่า  81.5 จุด หรือ ขยายตัว 7.6% (กรณี Worst Case) โดยมีการติดตามเครื่องชี้ด้านอุปทาน (จำนวนที่อยู่อาศัย) และอุปสงค์ (ความต้องการ) ของที่อยู่อาศัยที่สำคัญ Demand-Supply ที่อยู่อาศัย Q3 ด้านจำนวน REIC พบว่า การออกใบอนุญาตจัดสรรที่ดินทั่วประเทศ ในไตรมาส 3/2565 มีจำนวน 25,758 ยูนิต ซึ่งมีจำนวนสูงสุดในรอบ 10 ไตรมาสที่ผ่านมา และการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้น 39.0% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นของ YoY ที่ต่อเนื่องกันเป็นไตรมาสที่ 3 แล้ว   ในส่วนที่เกี่ยวกับจำนวนที่อยู่อาศัย จากโครงการที่เปิดตัวใหม่ในพื้นที่กรุงเทพฯ-ปริมณฑล ไตรมาส 3/2565 มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 24,112 ยูนิต ขยายตัว 98.6%  มูลค่า 147,276 ล้านบาท ขยายตัว 217.4% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยพบว่า บ้านจัดสรรมีการขยายตัว มากกว่าอาคารชุดทั้งจำนวนยูนิตและมูลค่าอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งต่างจากไตรมาส 1 และ 2 ที่ผ่านมา ที่อาคารชุดมีการขยายตัวมากกว่า ซึ่งสะท้อนว่า โครงการอาคารชุดที่เปิดตัวใหม่เริ่มลดลงแล้ว   ขณะที่จำนวนการออกใบอนุญาตก่อสร้างอาคารที่อยู่อาศัยทั่วประเทศในไตรมาส 3/2565 ซึ่งมีจำนวน 75,336 ยูนิต แบ่งเป็นแนวราบจำนวน 63,801 ยูนิต อาคารชุด จำนวน 11,535 ยูนิต โดยจำนวนรวมลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า 14.3%   แต่พบว่า จำนวนที่อยู่อาศัยสร้างเสร็จจดทะเบียนในกรุงเทพฯ-ปริมณฑล มีจำนวน 24,018 ยูนิต โดยจำนวนรวมเพิ่มขึ้น 56.1% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2564 แบ่งเป็นที่อยู่อาศัยแนวราบจำนวน 12,282 ยูนิต คอนโดจำนวน 11,736 ยูนิต ซึ่งคาดว่าจำนวนที่อยู่อาศัยสร้างเสร็จจดทะเบียนเพิ่มขึ้นมากในไตรมาสนี้ มาจากการสะสมของยูนิตที่ถูกชะลอการก่อสร้างในช่วงก่อนหน้า และการเร่งจดทะเบียนให้นำไปสู่การโอนกรรมสิทธิ์ในช่วงไตรมาส 3 และ 4 ปี 2565   ยูนิตการโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยทั่วประเทศในไตรมาส 3 ปี 2565 มีจำนวนทั้งสิ้น 97,228 ยูนิต เพิ่มขึ้น 28.56% เป็นการเพิ่มติดต่อกัน 3 ไตรมาส โดยสามารถแบ่งเป็นที่อยู่อาศัยแนวราบจำนวน 72,665 ยูนิต คอนโดจำนวน 24,563 ยูนิต ซึ่งมูลค่าการโอนกรรมสิทธิ์ก็สูงขึ้นเช่นเดียวกันโดยมีมูลค่าทั้งสิ้น  260,813 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 22.8% แบ่งเป็นมูลค่าการโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยแนวราบ 194,454 ล้านบาท และคอนโด 66,349 ล้านบาท   โดยพบว่า จำนวนเงินให้สินเชื่อที่อยู่อาศัยบุคคลปล่อยใหม่ทั่วประเทศในไตรมาส 3 ปี 2565 มีจำนวน 178,213 ล้านบาท เพิ่มขึ้นถึง 24.93% ซึ่งมีทิศทางเดียวกับการโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัย และสูงกว่าค่าเฉลี่ย 5 ปี เท่ากับ 157,052 ล้านบาท  ส่งผลให้สินเชื่อที่อยู่อาศัยบุคคลคงค้างทั่วประเทศขยับขึ้นไปอยู่ที่ 4,648,643 ล้านบาทเพิ่มขึ้น  5% จากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน จำนวนขายได้ใหม่ Q3 ลดลง 13.7% นอกจากนี้ ข้อมูลการสำรวจภาคสนามในพื้นที่กรุงเทพฯ-ปริมณฑล พบว่า โครงการที่มีการเสนอขายทั้งหมด ณ ไตรมาส 3 ปี 2565 จำนวน 198,024 ยูนิต ลดลง 1.0% ขณะที่มีมูลค่าโครงการรวม 984,904 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 0.8% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า โดยมียอดขายได้ใหม่ 20,261 ยูนิต ลดลง 13.7% ขณะที่มีมูลค่าการขายได้ใหม่ 113,399 ล้านบาท ลดลง 2.7%  โดยเป็นการชะลอตัวจากยอดขายได้ใหม่ของคอนโด ที่ลดลงจากไตรมาสก่อนถึง 39.0% ของจำนวนยูนิต และลดลง ​41.9% ของจำนวนมูลค่า   ขณะที่บ้านจัดสรรกลับขยายตัวมากกว่า 20% ทั้งยูนิตและมูลค่า ส่งผลให้ที่อยู่อาศัยเหลือขายมีจำนวน 177,763 ยูนิต มูลค่ารวม 871,505 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 0.7% และ 1.3% ตามลำดับ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้าที่   สำหรับที่อยู่อาศัยใน 3 จังหวัดพื้นที่ EEC มีสถานการณ์ตลาดในทิศทางเดียวกันกับกรุงเทพฯ-ปริมณฑล แต่มีอัตราการเปลี่ยนแปลงยูนิตและมูลค่าการขายได้ใหม่ที่ลดลงมากกว่า ซึ่งเป็นการลดลงทั้งบ้านจัดสรรและคอนโด ขณะที่ภาพรวมยูนิตเหลือขายมีอัตราที่ลดลงมากกว่า   จากภาพรวมตลาดทั้งสองพื้นที่ ได้สะท้อนให้เห็นว่าตลาดที่อยู่อาศัยในไตรมาสนี้ เริ่มชะลอความร้อนแรงลงอย่างชัดเจนจากยอดขายได้ใหม่ที่ลดลงจากไตรมาสก่อนหน้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเภทอาคารชุดที่มียอดขายลดลงมากเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้าที่มีการเปิดตัวอาคารชุดราคาถูกจำนวนมากและยอดขายที่ดีใน 1 – 2 ไตรมาสก่อนหน้า แนวโน้ม Demand-Supply ปี 2565 ศูนย์ข้อมูลอสังหาฯ ​ คาดการณ์ทิศทาง Demand-Supply ที่อยู่อาศัยในปี 2565 ว่า การออกใบอนุญาตจัดสรรที่ดินประมาณ 77,221 ยูนิต เพิ่มขึ้น 12.7% ที่อยู่อาศัยเปิดตัวใหม่เฉพาะในพื้นที่กรุงเทพฯ-ปริมณฑล ประมาณ 96,803 ยูนิต เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 87.9%  และมูลค่า 508,264 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 132.1% ​โดยแบ่งเป็นโครงการที่อยู่อาศัยแนวราบจำนวน 49,492 ยูนิต จำนวน 336,008 ล้านบาท และโครงการอาคารชุดจำนวน 47,311 ยูนิต 172,256 ล้านบาท การออกใบอนุญาตก่อสร้างจำนวน 310,976 ยูนิต แบ่งเป็นที่อยู่อาศัยแนวราบจำนวน 264,031 ยูนิต เป็นคอนโด 46,945 ยูนิต การโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยมีจำนวน 373,253 ยูนิต เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 8.59% มีมูลค่า 997,471 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 5.61% แบ่งเป็นการโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยแนวราบจำนวน 279,447 ยูนิต โอนกรรมสิทธิ์อาคารชุดพักอาศัยจำนวน 93,806 ยูนิต รักษาการผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาฯ  กล่าวสรุปภาพรวมตลาดที่อยู่อาศัยปี 2565 ไว้ว่า ความเคลื่อนไหวด้านจำนวนมีการขยายตัวต่อเนื่องมาตั้งแต่ไตรมาส 1 ปี 2565 โดยมีการเปิดตัวโครงการใหม่ในพื้นที่กรุงเทพฯ-ปริมณฑล ในขณะที่การขอออกใบอนุญาตจัดสรรที่ดินทั่วประเทศเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในช่วงไตรมาส 3 โดยมีจำนวนสูงสุดในรอบ 10 ไตรมาส ขณะที่การขอออกใบอนุญาตก่อสร้างอาคารโดยภาพรวมยังคงทรงตัว ด้านความต้องการ พบว่า มีการโอนกรรมสิทธิ์ในที่อยู่อาศัยทั่วประเทศเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ทั้งจำนวนยูนิตและมูลค่าการโอนกรรมสิทธิ์ และสินเชื่อที่อยู่อาศัย มาตั้งแต่ไตรมาส 1 แล้ว   อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง -ศูนย์ข้อมูลอสังหาฯ แนะตลาดบ้าน-คอนโด ต้องต้องเฝ้าระวัง  5 เรื่องนี้ -REIC เผย ยอดโอนคอนโดต่างชาติ Q1/65 ลดทั้งจำนวน-มูลค่า เหตุลูกค้าจีนยังปิดประเทศ 
One Atelier Phaholyothin ไพรเวท เรสซิเดนซ์ Luxury townhome  เอกสิทธิ์เพียง 13 ครอบครัวเท่านั้น

One Atelier Phaholyothin ไพรเวท เรสซิเดนซ์ Luxury townhome เอกสิทธิ์เพียง 13 ครอบครัวเท่านั้น

One Atelier Phaholyothin ไพรเวท เรสซิเดนซ์ Luxury townhome One Atelier Phaholyothin ลักซ์ชัวรี่ทาวน์โฮมและบ้านแฝด 4.5 ชั้น ในสไตล์ Modern Classic ไม่ขายกระดาษ เพราะสร้างเสร็จพร้อมเข้าอยู่แล้ว One Atelier Phaholyothin ไพรเวท เรสซิเดนซ์ Luxury townhome  One Atelier Phaholyothin  โครงการอยู่ย่านพหลโยธิน  เดินทางสะดวกใกล้รถไฟฟ้า BTSสถานีเสนา รถไฟฟ้าสายสีเขียวที่สามารถเชื่อมต่อสู่ใจกลางเมืองได้ง่ายสามารถเข้าออกได้หลายเส้นทาง เชื่อมต่อการเดินทางในหลายรูปแบบ ใกล้รัชโยธิน เพียง 5 นาที และอยู่ใกล้สิ่งอำนวยความสำดวกครบ ทั้งห้างสรรพสินค้า โรงเรียน มหาวิทยาลัย ชั้นนำทั้งรัฐและเอกชน ใกล้โรงพยาบาล และร้านค้าร้านอาหารมากมาย   One Atelier Phaholyothin ไพรเวท เรสซิเดนซ์ Luxury townhome One Atelier Phaholyothin  ออกแบบภายใต้แนวคิด “THE EXQUISITE LIVING” พร้อมบรรยากาศการอยู่อาศัยแบบส่วนตัว เพียง 13 ครอบครัว ออกแบบรองรับทุกคนในครอบครัว ทุกเพศทุกวัย ด้วยการติดตั้งลิฟต์ทุกหลัง  ครัวฝรั่งครัวไทย และห้องแม่บ้าน ห้องซักรีด และจุดซักล้างและตาก  ที่จอดรถ2-4คัน แล้วแต่ละขนาดของยูนิต พร้อม EV Charger ทุกหลัง  เมื่อเข้ามาในตัวบ้านสร้างความรู้สึกปลอดโปร่งด้วย ห้องรับแขก Double Volume เพดานสูงถึง 5 เมตร พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกภายในบ้านครบครัน Smart Home Smart Lighting ที่ควบคุมระบบแอร์ ระบบควบคุมการเปิด - ปิดม่านผ่านมือถือในมือเรา และระบบรักษาความปลอดภัยผ่านมือถือ ประตู Digital Door Lock, Video Door Phone สระว่ายน้ำระบบเกลือ สวนส่วนตัวภายในบ้าน     One Atelier Phaholyothin  ส่วนกลาง มีสวนส่วนกลางขนาดใหญ่กว่า 520 ตารางเมตร มีจุดให้นั่งพักผ่อน ร่มรื่น พื้นที่อเนกประสงค์สำหรับจัดกิจกรรม ส่วนเรื่องความปลอดภัยนั้นจัดเต็ม Full Security ระบบดูแลรักษาความปลอดภัย 24 ชั่วโมง มี CCTV รอบโครงการ   One Atelier Phaholyothin ไพรเวท เรสซิเดนซ์ Luxury townhome One Atelier Phaholyothin โครงการสร้างบนที่ดิน 1-2-35 ไร่ พัฒนาเป็นบ้านแฝดและทาวน์โฮม 4.5 ชั้น (รวมชั้นใต้ดิน) จำนวน 13 ยูนิต ที่ดินเริ่มต้น 25-46.5 ตร.ว. พื้นที่ใช้สอย 346-600 ตร.ม. พร้อมลิฟท์ส่วนตัวทุกยูนิตตั้งแต่ชั้นใต้ดินถึงชั้นดาดฟ้า มีที่จอดรถสำหรับ ซุปเปอคาร์ และ บิ๊กไบค์ ราคาเริ่มต้น 25-35 ล้านบาท             บทความน่าสนใจ “ดิ อิเธอร์นิตี้ โกร์ฟ สายไหม-พหลฯ” แบบบ้านใหม่เพื่อคน Gen Y ณวรางค์ แอสเซท เปิดคอนโด “ณ วรา พหลโยธิน 8” 300 ล้าน ลุยตลาดอสังหาฯ ไตรมาสสุดท้าย “ONEDER Kaset” Condo พร้อมอยู่ ใกล้ ม.เกษตร    
พรีโม ขาย IPO หุ้นละ 15 บาท 80 ล้านหุ้น  วางเป้า Top 3 บริการด้านอสังหาฯ ​

พรีโม ขาย IPO หุ้นละ 15 บาท 80 ล้านหุ้น วางเป้า Top 3 บริการด้านอสังหาฯ ​

พรีโม พรีโม เซอร์วิส โซลูชั่น เคาะราคา IPO 15 บาทต่อหุ้น พร้อมเปิดจองซื้อวันที่ 22 – 24 พฤศจิกายนนี้ เตรียมระดมทุน 80 ล้านหุ้น ในตลาด เอ็ม เอ ไอ ต่อยอดธุรกิจบริการด้านอสังหาฯ ครบวงจร พร้อมใช้เทคโนโลยีเสริมการบริการ ตั้งเป้าขึ้น Top3 หลัง 9 เดือนกวดรายได้กว่า 604.26 ล้าน มีกำไรสุทธิ 156.02 ล้าน   หลังจากบริษัทแม่อย่าง ออริจิ้น เข้าตลาดหลักทรัพย์ไปก่อนหน้า พร้อมนำเอาบริษัท บริทาเนีย จำกัด (มหาชน) บริษัทในเครืออีกหนึ่งบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ก็ถึงคิวของบริษัท พรีโม เซอร์วิส โซลูชั่น จำกัด (มหาชน)  หรือ PRI ที่จะเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ เป็นรายต่อไป   นางสาวจตุพร วิไลแก้ว  ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พรีโมฯ  เปิดเผยว่า บริษัทได้เริ่มต้นธุรกิจขึ้นตั้งแต่ปี 2554 ในธุรกิจให้บริการด้านอสังหาริมทรัพย์ และเป็นนายหน้า และมีการจัดตั้งบริษัทต่าง ๆ มาอย่างต่อเนื่องที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจบริการด้านอสังหาฯ จนปัจจุบันได้เตรียมเข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ ​เนื่องจากเป็นบริษัทเรือธงของบริษัท ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) หรือ ORI ซึ่งเดิมทางออริจิ้นถือหุ้น 100% จะปรับลดเหลือ 75% ซึ่งมีทุนจดทะเบียน 160 ล้านบาท ชำระแล้ว 120 ล้านบาท   โดยปัจจุบันมีบริการที่หลากหลายตั้งแต่ระดับต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ หรือก่อนเข้าอยู่อาศัย เข้าอยู่อาศัยแล้วและบริการหลังการขายอสังหาฯ เพื่อให้บริการแก่ลูกค้าอสังหาฯ ที่ต้องการพัฒนาโครงการและลูกค้ารายย่อย โดยสามารถให้บริการได้ตั้งแต่เริ่มออกแบบก่อสร้าง จนถึงโอนกรรมสิทธิ์และมีบริการหลังการขายอสังหาฯ ที่หลากหลาย สามารถตอบสนองความต้องการด้านการอยู่อาศัยแบบวันสต็อปเซอร์วิส ภายใต้แนวคิด “Living Partner” เสมือนเป็นเพื่อนคู่คิดในการใช้ชีวิตร่วมกับลูกค้า สำหรับวัตถุประสงค์ของการระดมทุนครั้งนี้ เพื่อใช้ในการสร้างการเติบโตแบบออกานิคอย่างต่อเนื่อง ​ และการเพิ่มบริการให้ เพื่อรักษาฐานลูกค้าเก่า ที่มีอยู่กว่า 30,000 ครัวเรือน 100 โครงการ และขยายไปสู่กลุ่มลูกค้าใหม่ ๆ ด้วยการนำเอาเทคโนโลยีเข้ามาเสริมบริการ อาทิ การเพิ่มบริการของแอปพลิเคชั่น PRIMO PLUS ด้านเฮลท์แคร์ การช้อปปิ้ง นอกจากนี้ ยังเสริมธุรกิจด้านต่าง ๆ ให้เติบโตเพื่อไปสู่เป้าหมายสำคัญ ในการขึ้นเป็นผู้นำ1 ใน 3  หรือ Top3 ตลาดธุรกิจบริการด้านอสังหาฯ ด้วย สาเหตุที่ออกมาจากออริจิ้น เพราะอยากเติบโตรองรับลูกค้าจาก One-time customer เป็น Life-time เพราะบริษัทเป็นฟันเฟืองที่ใหญ่ในธุรกิจอสังหาฯ ที่สามารถเติบโตได้ด้วยตนเอง สามารถรับลูกค้าได้ทั้งกลุ่มนอกออริจิ้นได้ด้วย 3 กลุ่มธุรกิจ 8 บริษัทในเครือ ปัจจุบันบริษัทฯ แบ่งการดำเนินธุรกิจเป็น 3 กลุ่ม ภายใต้การดำเนินงานของ 8 บริษัทย่อย ได้แก่ 1.ธุรกิจที่ปรึกษาและออกแบบทางวิศวกรรม (Pre-Living Services) โดยมีบริการที่ปรึกษาและควบคุมงานก่อสร้างโครงการอสังหาฯ  บริการออกแบบสถาปัตยกรรม งานวิศวกรรมและงานระบบ โดยได้รับมาตรฐาน ISO 9001: ด้านที่ปรึกษาและบริหารจัดการก่อสร้าง รวมถึงมีบริการจัดฝึกอบรมหลักสูตรเกี่ยวกับอสังหาฯ และการพัฒนาบุคลากร 2.ธุรกิจบริหารจัดการอสังหาริมทรัพย์ (Living Services) โดยให้บริการรับบริหารนิติบุคคลอาคารชุด บ้านจัดสรร ห้างสรรพสินค้าและอาคารสำนักงาน บริการจัดหาผู้เช่าห้องชุดภายใต้แบรนด์ “พรีโม แมเนจเม้นท์” โดย ณ วันที่ 30 กันยายน 2565 มีลูกค้า 56 โครงการ และให้บริการดังกล่าวแก่โครงการระดับลักชัวรี่ภายใต้แบรนด์ “คราวน์ เรสซิเดนซ์” โดย ณ วันที่ 30 กันยายน 2565 มีลูกค้า 15 โครงการ (ไม่รวมลูกค้าจากบริการจัดหาผู้เช่าห้องชุด) นอกจากนี้ยังมีบริการรับบริหารจัดการอสังหาฯ เพื่อเช่าระยะยาวภายใต้แบรนด์ “แฮมตัน” (Hampton) บริการนายหน้าซื้อ ขาย ให้เช่า อสังหาฯ  ครบวงจร รวมถึงบริการที่ปรึกษาพัฒนาโครงการอสังหาฯ และการตลาด 3.ธุรกิจให้บริการหลังการขายอสังหาริมทรัพย์ (Living & Earning Services) โดยมีบริการต่างๆ ได้แก่ ออกแบบตกแต่งภายในบ้าน คอนโดฯ และพื้นที่ส่วนกลาง, ตกแต่งพื้นที่ส่วนกลาง สำนักงานขายโครงการอสังหาฯ, ทำความสะอาดที่พักอาศัยแบบทำสัญญาและรายครั้ง และบริการช่างและขนย้ายสิ่งของ ทั้งนี้ การที่บริษัทสามารถให้บริการที่เกี่ยวเนื่องกับอสังหาฯ แบบครบวงจร ถือเป็นจุดเด่นที่แตกต่างจากผู้ประกอบการรายอื่น ๆ โดยฐานรายได้หลักของบริษัทมาจากการให้บริการ ซึ่งมีทั้งการทำสัญญาให้บริการแบบระยะยาว เช่น บริการที่ปรึกษาและควบคุมงานก่อสร้าง, บริหารนิติบุคคลอาคารชุด บ้านจัดสรร เป็นต้น และการให้บริการเป็นรายครั้ง รวมถึงมีฐานลูกค้าจากโครงการของ ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ ช่วยเพิ่มความมั่นคงด้านรายได้แก่บริษัท  นอกจากนี้บริษัทมุ่งขับเคลื่อนการให้บริการด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยหรือ Tech Service Company โดยมีแอปพลิเคชันที่พัฒนาขึ้นเพื่อเป็นช่องทางติดต่อและให้แก่บริการแก่ลูกค้า   นางสาวจตุพร กล่าวอีกว่า บริษัทวางกลยุทธ์การเติบโตด้วยการมุ่งเพิ่มศักยภาพการให้บริการและสร้างสรรค์บริการใหม่ ๆ แบบวันสต็อปเซอร์วิส เพื่อตอบโจทย์ทุกความต้องการด้านการอยู่อาศัยในทุกจังหวะการใช้ชีวิต หรือ “At Your Service, Every Moment” โดยจะมุ่งรักษาฐานลูกค้าเดิมใช้บริการต่อเนื่องและขยายฐานลูกค้าใหม่ โดยเฉพาะในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ที่มีศักยภาพ พร้อมทั้งวางแผนยายการลงทุนในธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลักในปัจจุบัน ควบคู่กับการลงทุนพัฒนาเทคโนโลยีไอทีและดิจิทัลเพื่อเพิ่มศักยภาพการให้บริการ มุ่งสู่ผู้นำของธุรกิจให้บริการด้านอสังหาริมทรัพย์สมัยใหม่แบบครบวงจร 9 เดือนกวาดรายได้กว่า 600 ล้าน ด้านนางสาวนุชจรีย์ จิตต์อาจหาญ ผู้บริหารสายงานบัญชีและการเงิน กล่าวว่า บริษัทมีผลการดำเนินงานเติบโตแข็งแกร่ง โดยในปี 2562 – 2564 มีรายได้รวม 255.69 ล้านบาท 266.51 ล้านบาท และ 489.56 ล้านบาทตามลำดับ เติบโตเฉลี่ย 30.48% ต่อปี และมีกำไรสุทธิ 34.52 ล้านบาท 40.05  ล้านบาท และ 111.25 ล้านบาทตามลำดับ เติบโตเฉลี่ย 74.09% ต่อปี ส่วนผลการดำเนินงานงวด 9 เดือนแรกของ   ปี 2565 มีรายได้รวม 604.26 ล้านบาท เติบโต 95.92% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และมีกำไรสุทธิ 156.02 ล้านบาท เติบโต 128.17% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากรายได้ทั้ง 3 กลุ่มธุรกิจเติบโตได้ดีและมีอัตราการทำกำไรที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะที่อัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์ (ROA) ณ งวด 9 เดือนแรกของปี 2565 อยู่ที่ 61.62% และอัตราผลตอบแทนผู้ถือหุ้น (ROE) อยู่ที่ 81.20% เคาะราคาหุ้นละ 15 บาท ระดม 80 ล้านหุ้น ขณะที่นายประเสริฐ ตันตยาวิทย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ที่ปรึกษา เอเซีย พลัส จำกัด ในฐานะที่ปรึกษาทางการเงิน กล่าวว่า ความคืบหน้าการนำ บริษัท​ พรีโมฯ หรือ PRI เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ หลังจากที่ได้ยื่นแบบคำขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์และแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ (ไฟลิ่ง) ต่อสำนักงาน ก.ล.ต. เพื่อพิจารณาอนุมัติ   ล่าสุด ได้รับการอนุมัติแบบคำขอฯ และแบบไฟลิ่งมีผลใช้บังคับแล้ว โดย บมจ.พรีโม เซอร์วิส โซลูชั่น จะเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนต่อประชาชนเป็นครั้งแรก (IPO) จำนวนไม่เกิน 80 ล้านหุ้น คิดเป็นสัดส่วนไม่เกิน 25% ของจำนวนหุ้นสามัญ ที่ออกและชำระแล้วทั้งหมดของบริษัท ภายหลังเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนครั้งนี้ เพื่อนำเงินจากการระดมทุนไปใช้ขยายกิจการที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจในปัจจุบัน และพัฒนาเทคโนโลยีในการให้บริการลูกค้า รวมถึงใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในกิจการ   โดย PRI เป็นบริษัทที่มีศักยภาพเติบโตได้อีกมากตามการขยายตัวของธุรกิจอสังหาฯ และความต้องการใช้บริการด้านการอยู่อาศัย โดยมีบริการที่สามารถตอบสนองลูกค้าที่เป็นโครงการอสังหาฯ และลูกค้ารายย่อย   ส่วนนางสาวยอดฤดี สันตติกุล กรรมการบริหาร บริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส จำกัด ในฐานะผู้จัดการการจัดจำหน่ายและรับประกันการจำหน่าย กล่าวว่า บมจ.พรีโม เซอร์วิส โซลูชั่น ได้กำหนดราคาเสนอขาย IPO ที่ราคาหุ้นละ 15 บาท ซึ่งมองว่าเป็นราคาที่สอดคล้องกับปัจจัยพื้นฐานและศักยภาพการเติบโตในอนาคต โดยจะเปิดให้นักลงทุนจองซื้อในวันที่ 22 – 24 พฤศจิกายนนี้ ผ่านบริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส จำกัด และผู้จัดจำหน่ายและรับประกันการจำหน่าย 5 ราย   โดยคาดว่าจะนำหุ้น PRI เข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ ได้ในช่วงปลายเดือนพฤศจิกายน 2565 โดยเชื่อว่า PRI จะเป็นหุ้น IPO ที่ได้รับความสนใจที่ดีจากนักลงทุน ด้วยจุดแข็งด้านบริการที่เกี่ยวเนื่องกับอสังหาฯ แบบครบวงจร มีฐานลูกค้าที่มั่นคง มีรายได้ประจำที่มาจากการทำสัญญาระยะยาวกับลูกค้า และผลประกอบการที่ผ่านมาที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง โชว์ศักยภาพธุรกิจเป็นผู้ให้บริการที่เกี่ยวเนื่องกับอสังหาริมทรัพย์แบบครบวงจร ครอบคลุมต้นน้ำ กลางน้ำและปลายน้ำ ตั้งแต่ก่อนเข้าอยู่อาศัย เข้าอยู่อาศัยแล้วและบริการหลังการขายอสังหาฯ ส่วนกำไรสุทธิงวด 9 เดือนแรกของปี 2565 อยู่ที่ 156.02 ล้านบาท เติบโต 128.17% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน วางกลยุทธ์ขยายบริการใหม่มุ่งสู่ผู้นำของธุรกิจให้บริการด้านอสังหาริมทรัพย์สมัยใหม่แบบครบวงจร   อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง -เปิดโรดแมพธุรกิจ “ออริจิ้น” ใน 3 ปี ปูทางสู่มาร์เก็ตแคปกลุ่มธุรกิจ 1 แสนล้าน -พรีโม เตรียม IPO ในปลายปีนี้ วางเป้าขึ้น Top3 ด้านบริการอสังหาฯ ​ครบวงจร
เสนา กรุ๊ป  ปรับธุรกิจ รับเมกะเทรนด์  หลังถือหุ้นใหญ่ SENAJ

เสนา กรุ๊ป ปรับธุรกิจ รับเมกะเทรนด์ หลังถือหุ้นใหญ่ SENAJ

เสนา กรุ๊ป ยกเครื่องธุรกิจใหม่ วางเป้าเติบโตอย่างยั่งยืนในทุกมิติ  ขยายธุรกิจใม่รับเมกะเทรนด์ หลังทุ่มกว่า 485.4 ล้าน ถือหุ้นใหญ่ SENAJ วางตัวเป็น "แม่ยก" กับ 3 แกนธุรกิจหลัก   หลังจากที่บริษัท เสนา ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) ได้เข้าลงทุนเพิ่มในหุ้นสามัญของ บริษัท เสนาเจ พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) หรือ SENAJ จำนวน 300 ล้านหุ้น หรือ คิดเป็น 7.14% ของจำนวนหุ้นที่ออกและชำระแล้ว ในราคา 1.618 บาทต่อหุ้น คิดเป็นมูลค่าเงินลงทุนรวม 485.4​ ล้านบาท ตามมติที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท ครั้งที่ 7/2565 เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2565 ที่ผ่านมา​   ส่งผลทำให้กลุ่มเสนากลายเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ใน SENAJ และมีสัดส่วนการถือหุ้นเพิ่มเป็น 42.49% ของจำนวนหุ้นทั้งหมด ถือเป็นการเพิ่มอำนาจในการควบคุมบริหารงานใน บริษัท เสนา เจฯ  ซึ่งเป็นไปตามนโยบายการดำเนินธุรกิจตั้งแต่เสนา ได้เริ่มเข้าไปถือหุ้นใน   เมื่อกลุ่มเสนา กลายเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ จึงมีการวางทิศทางในการดำเนินธุรกิจทั้งกลุ่มเสนาใหม่ เพื่อสร้างความชัดเจนในการดำเนินธุรกิจ และสร้างโอกาสทางการตลาดให้กับเสนา ให้เกิดความยั่งยืนในการดำเนินธุรกิจ ภายใต้สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นตลอดเวลา พร้อมเป็น "แม่ยก" ดันธุรกิจโตยั่งยืน ผศ.ดร.เกษรา ธัญลักษณ์ภาคย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เสนาดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) เปีดเผยว่า เสนาดีเวลลอปเม้นท์ ได้มีการปรับยุทธศาสตร์ธุรกิจแบบองค์รวม โดยวางเป้าหมายของ "SENA Group" เติบโตอย่างยั่งยืนในทุกมิติ  ด้วยการวางให้เสนาพร้อมเป็น "แม่ยก" ผลักดันธุรกิจในเครือให้ครอบคลุม เติบโตอย่างแข็งแกร่งและยั่งยืน ผ่านแกนหลัก 3 แม่ยก ดังนี้ ยกระดับองค์กรให้ก้าวทันโลกแห่งอนาคต ยกระดับทุกธุรกิจในเครือให้เติบโตอย่างยั่งยืน ยกระดับคุณภาพชีวิตในทุกมิติอย่างยั่งยืน สำหรับ แผนงานภายใต้คอนเซ็ปต์ 3 แม่ยก ดังกล่าวประกอบด้วย ​ 1.ยกจากจุดเริ่มต้น "SENA Group" เสนาได้ดำเนินธุรกิจมากว่า 40 ปี พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ประเภทที่อยู่อาศัยเพื่อขาย ได้แก่ บ้านเดี่ยว ทาวเฮ้าส์ อาคารพาณิชย์ ทาวน์โฮมและอาคารชุด ธุรกิจเช่า ได้แก่ พาร์ทเม้นท์ให้เช่า ธุรกิจอาคารสำนักงาน ธุรกิจสนามกอล์ฟ ธุรกิจไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ธุรกิจบริหารงานนิติบุคคล ธุรกิจรับเหมาก่อสร้างที่พักอาศัย เป็นต้น พร้อมต่อยอดธุรกิจใหม่ที่ตอบโจทย์ความท้าทายของผู้คนในสังคม เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตด้วยความใส่ใจ และจริงจังในการสร้างสังคมที่ยั่งยืน "To be the most trusted partner in our custom stage." เสนาเป็นแบรนด์ที่น่าเชื่อถือไว้วางใจสูงสุดในทุกช่วงชีวิตของลูกค้าเรา 2.ยกสถานการณ์ปัจจุบัน "SENA Group" โดยการวางธุรกิจหลัก (Core Business) เพื่อให้ธุรกิจสามารถเชื่อมโยงและสอดรับกับบริษัทในเครือ ปัจจุบัน ทาง "SENA Group" ได้มีการปรับโครงสร้างธุรกิจของทั้งกลุ่มบริษัท เพื่อให้ทุกบริษัทมีความแข็งแกร่ง เกื้อหนุนซึ่งกันและกัน พร้อมเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันเชิงธุรกิจกับคู่แข่งในตลาด ซึ่งทุกบริษัทในเครือต้องมีการปรับวิสัยทัศน์และพันธกิจขององค์กร   ทั้งนี้ ทางบริษัท เสนา เจ พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) หรือ SENAJ จะเน้นการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์สำหรับกลุ่มเฉพาะ(Niche High End market) ในกลุ่มลูกค้าระดับสูง รวมถึงผลักดันการขยายบริการด้านที่อยู่อาศัยอย่างครอบคลุมและคุ้มค่ามากที่สุด โดยวางเป้าหมายและโจทย์สำคัญมุ่งสู่ธุรกิจเมกะเทรนด์ (New Mega Trends) ของโลก เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตด้วยความละเอียดใส่ใจ และจริงจังในการสร้างสังคมที่ยั่งยืน "To be the ultimate real estate multi-services company." ขณะเดียวกันมองว่าเทรนด์การลงทุนในธุรกิจมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก โดยทาง SENAJ พุ่งเป้าไปธุรกิจที่ตอบรับเมกะเทรนด์ (Mega Trend) ทั้งความยั่งยืนในการประกอบธุรกิจที่เป็นมิตรต่อโลก (Sustainability) ,สังคม, สุขภาพ, สิ่งแวดล้อมและเทคโนโลยี เป็นต้น 3.ยกระดับเพื่ออนาคต "SENA Group" โดยเสนาพร้อมยกระดับคุณภาพชีวิตสู่ความยั่งยืน โดยทาง SENAJ ตั้งเป้าโตแบบก้าวกระโดด พร้อมเป็นหัวหอกหลักการดำเนินขยายการลงทุนเพิ่มในธุรกิจตามเมกะเทรนด์โลก แตกบริษัทเกาะเมกะเทรนด์โลก จากกลยุทธ์ การยกระดับเพื่ออนาคต ทำให้เสนา มีการขยายธุรกิจไปสู่ธุรกิจใหม่ เพื่อไปสู่การเป็นบริษัท Service Company ที่จะเข้ามาเสริมกับธุรกิจหลักของเสนา โดยมีการขยายธุรกิจใหม่ ๆ ประกอบด้วย 1.ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เพื่อขาย โดยพัฒนาโครงการอย่างต่อเนื่องตามแผนงาน ขยายฐานการพัฒนาโครงการบ้าน Niche High End ระดับราคา 15 -20 ล้านบาท วางแผนเปิดปีละ 1- 2 โครงการ นอกจากนี้ ได้ร่วมทุนกับพันธมิตร ฮันคิว ฮันชิน พร็อพเพอร์ตี้ส์ คอร์ป พัฒนาคอนโดมิเนียมร่วมกัน 2.ธุรกิจ Property Management ธุรกิจบริหารนิติบุคคลโครงการที่อยู่อาศัยและทรัพย์สินแบบครบวงจร (Property Management) โดยปัจจุบันมีโครงการที่รับบริหารนิติบุคคลโครงการ 97 โครงการ ตั้งเป้าภายใน 3 ปี ขึ้นแท่นสู่ Top 5 ครอบคลุมโครงการรับบริหารรวม 168 โครงการ   โดยทาง SENAJ มีแผนเข้าซื้อหุ้นบริษัทย่อยของ SENA “แอคคิวท์ เรียลตี้” เพื่อให้บริการนายหน้าขายและให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ ครอบคลุมบริหารการขายโครงการ และให้บริการที่ปรึกษาด้านธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และบริการด้านการเช่าอสังหาฯ ภายในกลุ่มของ SENA และ SENAJ 3.สถานดูแลผู้สูงอายุและผู้ป่วยระยะฟื้นตัว (Nursing Home) ปัจจุบันอยู่ระหว่างการศึกษาร่วมกับทางบริษัทญี่ปุ่นพัฒนาโครงการในอนาคต 4.ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เพื่อให้เช่า ปัจจุบันอยู่ระหว่างการดำเนินงาน 2 แห่ง คือ ตลาดแพรกษา และ สำเพ็ง 2 5.ธุรกิจขายบ้านมือสอง โดยทางบริษัท เสนา ซัวร์ฯ คัดสรร รับซื้อทรัพย์บ้านมือสองและนำมาปรับปรุงตกแต่งให้อยู่ในสภาพที่ดีเพิ่มมูลคำและพร้อมขาย ตอบโจทย์ผู้บริโภคมองหาที่อยู่อาศัยใกล้เมือง ราคาจับต้องได้ ตั้งเป้าภายใน 3 ปีสู่ Top 5ผู้นำตลาดบ้านมือสอง   ในปี 2566  มีแผนลงทุนจัดตั้งบริษัทใหม่ เพื่อวัตถุประสงค์ในการรับซื้อที่อยู่อาศัยหรือบ้านมือสองและนำมาปรับปรุงตกแต่งให้อยู่ในสภาพที่ดี เพื่อเพิ่มมูลค่าและขายในตลาดต่อไป 6.ธุรกิจนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ โดยทาง SENAJ มีแผนเข้าซื้อหุ้นบริษัทย่อยของ SENA "แอคคิวท์ เรียลตี้" เพื่อให้บริการนายหน้าขายและให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ ครอบคลุมบริหารการขายโครงการ และให้บริการที่ปรึกษาด้านธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และบริการด้านการเช่าอสังหาฯ ภายในกลุ่มของ SENA และ SENAJ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม การขับเคลื่อนธุรกิจครั้งสำคัญนี้ เพื่อให้สอดคล้องกับธุรกิจหลักและเกื้อหนุนธุรกิจในเครือ นับเป็นการส่งเสริมจุดแข็งและสร้างความโดดเด่นทางการแข่งขันในโลกธุรกิจ รวมถึงการคิดละเอียดและใส่ใจในทุกมิติทำให้ "SENA Group" และบริษัทในเครือ พร้อมยกระดับการเติบโตให้แข็งแกร่งและยั่งยืนต่อไปได้ในอนาคต   อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง -เสนาฯ จับมือ ลีโอ ลุยคลังสินค้าครบวงจร ประเดิมแห่งแรกที่เสนาเฟสท์ เจริญนคร 16   -เสนา ดีเวลลอปเมนท์  กับ 3 กลยุทธ์สู่เป้ารายได้กว่า 12,000 ล้าน ก้าวต่อไป เปิด 2 แบรด์ใหม่ จับตลาดต่ำล้าน
พฤกษา โชว์ Q3/65 ทำกำไรโต 87%  เดินหน้าลุยธุรกิจเฮลท์เทค-โซเชียล คอมเมิร์ส 

พฤกษา โชว์ Q3/65 ทำกำไรโต 87% เดินหน้าลุยธุรกิจเฮลท์เทค-โซเชียล คอมเมิร์ส 

พฤกษา โฮลดิ้ง ทำกำไรไตรมาส 3 เติบโต 87% มูลค่า 619 ล้าน รายได้อยู่ที่ 6,832 ล้าน​ ผลจาก 2 ธุรกิจหลัก “อสังหาฯ-เฮลท์แคร์” เติบโต พร้อม​เดินหน้าลงทุนธุรกิจใหม่ต่อเนื่อง ด้านเฮลท์เทค-โซเชียล คอมเมิร์ส    นายอุเทน โลหชิตพิทักษ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่ม บริษัท พฤกษา โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) เปิดเผยถึงผลการดำเนินงาน ไตรมาส 3 ปี 2565 ว่า พฤกษา โฮลดิ้ง ทำรายได้ 6,832 ล้านบาท เติบโต 27% จากไตรมาสที่ผ่านมา และเติบโต 12% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน มีกำไรสุทธิที่ 619 ล้านบาท เติบโต 44% จากไตรมาสที่ผ่านมา และเติบโต 87% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ทำอัตรากำไรขั้นต้นเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 30.9%  และมีอัตราหนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ยสุทธิต่อทุนต่ำ (Net Gearing Ratio) ที่ 0.34 เท่า ปรับตัวดีขึ้นจากไตรมาสสองที่ 0.39 เท่า ซึ่งเป็นผลจากการเติบโตของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ และธุรกิจเฮลท์แคร์ สำหรับธุรกิจอสังหาฯ ในไตรมาส 3 ทำรายได้ 6,430 ล้านบาท เติบโต 26% จากไตรมาสก่อน หรือเติบโต 8% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน จากความต้องการที่สูงขึ้นของโครงการแนวราบในเซ็กเม้นต์พรีเมี่ยม และรายได้จากการโอนคอนโดมิเนียม 3 โครงการในไตรมาส 3 ที่ผ่านมา และสามารถทำยอดขายได้ 2,858 ล้านบาท พร้อมมียอดขายรอโอน (Backlog)  ประมาณ 13,300 ล้านบาท ซึ่งจะรับรู้รายได้ภายในปีนี้กว่า 50% และที่เหลือในปีหน้า   โดยในไตรมาส 4 เตรียมส่งมอบคอนโด​ 4 โครงการ ได้แก่ แชปเตอร์ จุฬา-สามย่าน, ไพรเวซี่ จตุจัตร, พลัมคอนโด พระราม 2, พลัมคอนโด สุขุมวิท 62 มูลค่าราว 6,300 ล้านบาท และ มีแผนเปิดโครงการใหม่ในไตรมาส 4 รวม 7,800 ล้านบาท ได้แก่ ทาวน์เฮาส์ 7 โครงการ มูลค่า 3,600 ล้านบาท บ้านเดี่ยว 3 โครงการ มูลค่า 2,700 ล้านบาท และ คอนโดมิเนียม 1 โครงการ มูลค่า 1,500 ล้านบาท   ส่วนธุรกิจด้านสุขภาพ (Healthcare Business) ในไตรมาส 3 มีรายได้ 330 ล้านบาท เติบโต 63% จากไตรมาสก่อน หรือเติบโต 276% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน  สร้างรายได้จากบริการทางการแพทย์ในกลุ่มโรคที่ไม่เกี่ยวกับโควิดได้สูงสุดเป็น New High นับจากเริ่มดำเนินกิจการเมื่อปีที่ผ่านมา และมีการขยายบริการไปยังกลุ่มคนไข้ใหม่ และจากการจัดตั้งแผนกให้บริการผู้ป่วยต่างชาติโดยเฉพาะ ทำให้มีสัดส่วนคนไข้ต่างชาติที่เพิ่มสูงขึ้นถึง 23% ในขณะที่ทิศทางธุรกิจในอนาคต โรงพยาบาลวิมุตมีแผนเพิ่มเตียงสำหรับผู้ป่วยจาก 100 เตียง เป็น 125 เตียงภายในสิ้นปี 2565 เพื่อรองรับความต้องการที่มากขึ้น ด้านการลงทุนในธุรกิจใหม่  เพื่อต่อยอดพันธกิจด้านนวัตกรรม ทางบริษัทฯ ได้มีการร่วมลงทุนกับ Pathology Asia Holdings ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้นำให้บริการด้านการวินิจฉัยทางการแพทย์ที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมีแผนการนำโนฮาวด้านการวินิจฉัยทางการแพทย์ Genomics และระบบการบริหารแล็ปที่ทันสมัย มุ่งขยายกิจการในประเทศไทย ซึ่งจะเป็นการนำนวัตกรรมด้านการแพทย์ระดับโลกมาสนับสนุนและเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการด้านสุขภาพของกลุ่มธุรกิจเฮลท์แคร์ นอกจากธุรกิจด้านสุขภาพ   พฤกษา โฮลดิ้ง ยังเล็งเห็นศักยภาพการเติบโตของธุรกิจโซเชียล คอมเมิร์ส  จึงได้ลงทุนในสตาร์ทอัพ PUNDAI - ปันได้ เครื่องมือ Affiliate Marketing Network ช่วยขายออนไลน์ ที่มาพร้อมฟังก์ชัน การใช้งานที่ง่าย ครบ จบในที่เดียว เป็นเครื่องมือช่วยตอบโจทย์การขายผ่านทุกช่องทางออนไลน์ ให้กับผู้ประกอบการและบุคคลทั่วไปให้เติบโตในโลกอีคอมเมิร์ซและเป็นฟันเฟืองสำคัญในการช่วยสร้างงานสร้างอาชีพ สร้างรายได้ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลได้อีกทางหนึ่ง   นอกจากนี้ จากการประชุมคณะกรรมการบริษัทครั้งล่าสุด ได้มีมติรับทราบการลาออกจากตำแหน่ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่ม และประธานคณะกรรมการบริหาร ของนายทองมา วิจิตรพงศ์พันธุ์ โดยมีผลเป็นการลาออกตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2566 เป็นต้นไป ซึ่งภายหลังการลาออก นายทองมา วิจิตรพงศ์พันธุ์ จะยังคงมีตำแหน่งเป็น รองประธานกรรมการบริษัท กรรมการสรรหาและพิจารณาค่าตอบแทน กรรมการกำกับการบริหารความเสี่ยง กรรมการบริหาร และกรรมการผู้มีอำนาจลงนาม  สำหรับการลาออกครั้งนี้ ถือเป็นส่วนหนึ่งของ Succession Plan ที่ทางบริษัทฯ ได้วางแผนไว้ในการเตรียมความพร้อมและสร้างความยั่งยืนขององค์กรในอนาคต   นายทองมา  กล่าวว่า หลังจากที่ได้ดำรงตำแหน่งร่วมกับนายอุเทน ที่ได้บริหารงานพฤกษา โฮลดิ้ง ร่วมกันมาเป็นเวลาราว 10 เดือน ผมไว้วางใจ มีความมั่นใจในคณะทีมบริหารมากขึ้น จึงได้ตัดสินใจมอบหมายให้ นายอุเทนบริหารงานอย่างเต็มตัว เป็นการส่งมอบให้นักบริหารมืออาชีพที่มีความสามารถได้มาต่อยอดดูแลบริหารงานเชิงกลยุทธ์และด้านปฏิบัติการของธุรกิจต่างๆ ในเครือทั้งกลุ่ม โดยกำหนดวิสัยทัศน์ไปถึงขยายกิจการ การลงทุนในธุรกิจใหม่ ตลอดจนสนับสนุนให้เกิดวัฒนธรรมองค์กรการทำงานในรูปแบบใหม่ที่เปิดกว้างทางความคิด สร้างความหลากหลายในองค์กร มุ่งปรับปรุงและพัฒนานวัตกรรมเทคโนโลยีใหม่ ๆ อันจะเป็นพลังสำคัญในการขับเคลื่อนธุรกิจกลุ่มพฤกษาในยุคดิจิทัลสู่องค์กรชั้นนำที่มอบโซลูชั่นสินค้าและบริการเพื่อคุณภาพการอยู่อาศัยที่ดีที่สุด   ในปีนี้ที่ทางพฤกษาได้ริเริ่มโครงการ "Accelerate Impact with PRUKSA" ให้การสนับสนุนบริษัทในประเทศไทยที่ดำเนินธุรกิจเพื่อสังคม (Social Enterprise)  ที่ต้องการความช่วยเหลือในการขยายกิจการให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น เพื่อให้บริษัทที่เข้าโครงการได้บรรลุเป้าหมายสร้างผลกระทบเชิงบวกในการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อมได้อย่างแท้จริง ซึ่ง “ทุนวิจิตรพงศ์พันธุ์” เงินทุนส่วนตัวของนายทองมา ที่มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อสนับสนุน ส่งเสริมพระศาสนา สนับสนุนด้านการศึกษา และช่วยเหลือสังคม ได้มีการต่อยอดภารกิจด้านการช่วยเหลือสังคม ด้วยการให้การสนับสนุนธุรกิจเพื่อสังคม ที่ทางพฤกษาได้ริเริ่มโครงการนำร่องบ่มเพาะสตาร์ทอัพในปีนี้ด้วย   อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง  
5 เทรนด์อุตสาหกรรมก่อสร้างโลกที่แรงไม่หยุด

5 เทรนด์อุตสาหกรรมก่อสร้างโลกที่แรงไม่หยุด

อุตสาหกรรมก่อสร้าง ถือเป็นหนึ่งในธุรกิจสำคัญของวงการอสังหาริมทรัพย์ไทย เพราะแต่ละปีสามารถสร้างมูลค่าได้มากกว่า 800,000 ล้านบาท และยังเป็นธุรกิจที่เชื่อมโยง รวมถึงเกี่ยวข้องกับธุรกิจต่าง ๆ อีกมากมาย   ถ้าวัดขนาดความใหญ่ในโลก อุตสาหกรรมก่อสร้างถือเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยอ้างอิงจากรายงาน McKinsey ซึ่งระบุว่าการใช้จ่ายในอุตสาหกรรมก่อสร้างโลกมีมูลค่าถึง 10 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ หากคิดเป็นสกุลเงินไทยตอนนี้ที่ค่าเงินเท่ากับ 36.82  บาทต่อดอลล่าห์ (วันที่ 9 พ.ย.2565) จะมีมูลค่าเท่ากับ 368.2 ล้านล้านบาทเลยทีเดียว ​ ถือเป็นสัดส่วนสูงถึง 13% ของจีดีพีโลกเลยทีเดียว   แต่อุตสาหกรรมก่อสร้าง มีการชะลอตัวลง เมื่อเผชิญกับปัญหาการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 เช่นเดียวกับอุตสาหกรรมต่าง ๆ ซึ่งต้องมีการปรับตัวเพื่อให้อยู่รอด และยังคงสร้างการเติบโตได้ เมื่อสถานการณ์ต่าง ๆ ได้คลี่คลายลง   สิ่งหนึ่งที่เข้ามาเป็นตัวช่วยได้ดี ก็คงเป็นเทคโนโลยีต่าง ๆ ​ที่ปัจจุบันได้มีการนำเอา เข้ามาประยุกต์และพัฒนาเพื่อใช้แก้ปัญหาต่างๆ ในอุตสาหกรรมการก่อสร้าง ซึ่งไม่ได้มีเฉพาะปัญหาเรื่องการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 เท่านั้น ที่ผ่านมาอุตสาหกรรมก่อสร้างต้องเผชิญกับปัญหาต่าง ๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการขาดแคลนแรงงาน  ปัญหาสิ่งแวดล้อม ซึ่งล้วนเกิดขึ้นในทุกขั้นตอน ตั้งแต่ก่อน-ระหว่าง-และหลังการก่อสร้าง   สำหรับ เทคโนโลยีและการพัฒนาในอุตสาหกรรมก่อสร้างที่กำลังมาแรงในปัจจุบัน และอีก 2-3 ปีข้างหน้า ที่ถือว่าเป็นเทรนด์ของอุตสาหกรรมก่อสร้างที่น่าสนใจ พบว่ามีอยู่ด้วยกัน 5 เทรนด์ จากการรวมรวมของ CPAC Green Solution ซึ่งมีเทรนด์ต่าง ๆ ดังนี้ 5 เทรนด์อุตสาหกรรมก่อสร้างโลก ที่แรงไม่หยุด  1.การออกแบบการสร้างในโลกเสมือนจริง   การออกแบบ การสร้างในโลกเสมือนจริง (Virtual Design and Construction – VDC)  เป็นเทรนด์ที่มาแรงมากทั่วโลก เพราะนอกจากจะตอบโจทย์เรื่องการขาดแคลนแรงงานแล้ว ยังช่วยลดค่าใช้จ่ายในการทำงานซ้ำที่เกิดจากความผิดพลาดในขั้นตอนต่าง ๆ ซึ่งปกติจะสูงถึง 30% ของต้นทุนการก่อสร้างโดยรวม สำหรับเครื่องมือที่ได้ความนิยมมากที่สุดในปัจจุบัน คือ เทคโนโลยีการสร้างแบบจำลองข้อมูลอาคาร หรือ Building Information Modeling (BIM) จาก รายงานของ ReportLinker บริษัทวิจัยทางการตลาดจากประเทศฝรั่งเศสระบุว่า ตลาด BIM ในปี 2563 มีมูลค่าประมาณ 4,500 ล้านเหรียญสหรัฐ – 5,200 ล้านเหรียญสหรัฐ ก่อนที่จะหยุดชะวักเนื่องจากโรคระบาดโควิด-19   อย่างไรก็ตาม มีการคาดการณ์ว่าตลาด BIM จะฟื้นตัวและมีอัตราเติบโตต่อปี 14.5% สอดคล้องกับการฟื้นตัวของอุตสาหกรรมก่อสร้างโลกจากนี้ต่อไปในอีก 5 ปีข้างหน้า ในส่วนของประเทศไทยเองก็มีการเร่งพัฒนาบุคลากรในด้าน VDC เพื่อรองรับความต้องการที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว 2.ตลาดการก่อสร้างแบบสำเร็จรูป   ตลาดการก่อสร้างแบบสำเร็จรูป (Modular construction) แม้ว่าการก่อสร้างแบบสำเร็จรูปจะมีการพัฒนามาระยะหนึ่งแล้ว แต่ตลาดนี้ยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่องตามการขยายตัวอย่างรวดเร็วของเมืองและอุตสาหกรรม เพราะข้อดีหลักของการก่อสร้างแบบ Modular คือ สามารถที่วางแผนควบคุมต้นทุน และระยะเวลาในทุกขั้นตอน ตั้งแต่การออกแบบ การก่อสร้าง จนกระทั่งจบงานได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ รวมถึงสามารถออกแบบได้อย่างนอกกรอบกว่าการสร้างแบบดั้งเดิมมาก   โดยรายงานของ Straits Research บริษัทวิจัยชั้นนำของโลก คาดว่าตลาดการก่อสร้างแบบสำเร็จรูปของโลกจะมีมูลค่าสูงถึง 271,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2573 เพิ่มขึ้นจาก 138,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2564 ซึ่งคาดว่าจะมีอัตราการเติบโตที่ 8% ต่อปีระหว่างปี 2656 – 2573 3.โดรน เพื่องานก่อสร้าง เป็นอีกเทคโนโลยีที่ถูกนำมาใช้ประโยชน์ในการก่อสร้างอย่างกว้างขวาง ไม่ว่าจะเป็นการร่างพื้นที่ขนาดใหญ่อย่างรวดเร็ว การถ่ายภาพทางอากาศ รวมถึงถูกนำมาใช้ในงานต่าง ๆ ที่มีความเสี่ยงสูง มีการประมาณการคร่าว ๆ กันว่า “โดรนก่อสร้าง” ช่วยลดการสูญเสียทรัพยากรในไซต์ก่อสร้างในแต่ละปีได้ถึง 160,000 ล้านเหรียญสหรัฐ และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในประเมินปริมาณสต็อกวัสดุที่ต้องใช้ในการก่อสร้างได้อย่างแม่นยำมากขึ้นถึง 61%   นอกจากนี้ “โดรนก่อสร้าง” ยังถูกนำมาใช้งานต่อในรูปแบบต่าง ๆ และ ยังมีการใช้เพื่อสำรวจภูมิประเทศใต้น้ำโดยใช้คลื่นเสียง  เพื่อออกแบบติดตั้งโซลาร์ลอยน้ำ ซึ่งเป็นขั้นตอนที่ไม่สามารถใช้แรงงานมนุษย์ได้ 4.เทคโนโลยี 3D Printing เป็นเทคโนโลยีที่ถูกนำไปใช้คู่กับเทคโนโลยีอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็น BIM หรือแม้แต่โดรน ล่าสุด นักวิจัยจาก Imperial College London และ Empa ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ ร่วมกันพัฒนาโดรนชนิดพิเศษที่มีฟังก์ชัน 3D Printing ในตัว เพื่อใช้ในการก่อสร้างและซ่อมแซมอาคาร ระบบนี้จะบินโดรนหลายตัวพร้อมกันในครั้งเดียว  เพื่อทำงานจากแบบพิมพ์เขียว (Blueprint) เดียวกัน โดยได้รับแรงบันดาลใจจากการทำงานของฝูงผึ้ง   ทั้งนี้ ตลาด 3D Printing Construction โลกมีมูลค่าประมาณ 11 ล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2564  และคาดว่าจะมีอัตราการเติบโตรายปีประมาณ 101% ตั้งแต่ปี 2665 - 2573  ทาง Straits Research ระบุว่าภูมิภาค เอเชียแปซิฟิกมีส่วนแบ่งการตลาดมากที่สุด และถือเป็นผู้นำตลาดการผลิต 3D Printing ของโลกด้วย โดยในรายงานยังระบุอีกว่า อุปสงค์ (Demand) จากอาคารและโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ จะเป็นปัจจัยสำคัญในการผลักดันตลาดในภูมิภาคนี้ รวมถึงการเติบโตของตลาด BIM ก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ผลักดันในความต้องการ 3D Printing สูงขึ้นตามด้วย 5.วัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม วัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green Building Materials) เป็นเรื่องที่มีความสำคัญเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากภาวะโลกร้อนนับเป็นแรงกระตุ้นที่ทำให้ผู้พัฒนาโครงการไม่สามารถเมินเฉยต่อการเลือกวัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมได้ ในวงการอุตสาหกรรมก่อสร้างไทยเองก็มีการสนับสนุนให้มีการเปลี่ยนแปลงวัสดุก่อสร้างในไทยเพื่อให้สอดคล้องกับเทรนด์โลก   โดยเน้นวัสดุที่ช่วยลดก๊าซเรือนกระจก ลดโลกร้อน มีการทำการวิจัยและพัฒนาด้านวัสดุเพื่อตอบโจทย์การพัฒนาอย่างยั่งยืน ด้วยการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและนำไปสู่สังคมคาร์บอนต่ำ และจากการสำรวจของ Transparency Market Research ระบุว่า ตลาดวัสดุก่อสร้างที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมโลกมีมูลค่า 264,000                                 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2563  และคาดว่าตลาดจะเติบโตอย่างต่อเนื่องและมีมูลค่าสูงถึง 983,000 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2574 โดยปัจจัยสำคัญมาจากความต้องการของผู้บริโภคเองและนโยบายของภาครัฐ   ทั้งนี้ อุตสาหกรรมก่อสร้างไทยจำเป็นต้องปรับตัวให้ทันตามเทรนด์โลก โดยเฉพาะเรื่องของสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีผลกระทบต่อทั้งธุรกิจและสังคมในวงกว้าง นอกจากนี้ผู้เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมก่อสร้างไทยทั้งภาครัฐและเอกชนควรให้ความสำคัญกับการเร่งผลิตบุคลากร โดยเฉพาะด้านเทคโนโลยีการสร้างแบบจำลองข้อมูลอาคาร (BIM) เพื่อรองรับความต้องการ ที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในอนาคต   อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง -ตรวจชีพจร ธุรกิจก่อสร้าง และ โอกาสทางธุรกิจใน New Normal -5 ความท้าทายอุตสาหกรรมก่อสร้างไทยในปี 65
เอพี ไทยแลนด์  รายได้รวม 9 เดือนนิวไฮกว่า 37,560 ล้าน  เดินหน้าเปิด 18 โครงการใหม่

เอพี ไทยแลนด์ รายได้รวม 9 เดือนนิวไฮกว่า 37,560 ล้าน เดินหน้าเปิด 18 โครงการใหม่

เอพี ไทยแลนด์  กวาดผลประกอบการ 9 เดือน ทำรายได้รวมกว่า 37,560 ล้าน กำไรสุทธิโตทะลุ 4,720 ล้าน ขณะที่​ยอดขาย  10 เดือนทำได้ 45,410 ล้านบาท ทะลุ 90% ของเป้ายอดขายทั้งปีที่ 50,000 ล้าน พร้อมเดินหน้าเปิด 18 โครงการใหม่ มูลค่ารวม 26,360 ล้านโค้งท้ายปี   นายวิทการ จันทวิมล รองกรรมการผู้อำนวยการ สายงานกลยุทธ์องค์กรและการสร้างสรรค์ บริษัท เอพี ไทยแลนด์ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ในช่วง 9 เดือนที่ผ่านมา บริษัทสามารถสร้างรายได้ จากสินค้าแนวราบ กลุ่มคอนโดมิเนียม (100% JV) และธุรกิจอื่นๆ ทำนิวไฮสูงสุดถึง 37,566 ล้านบาท คิดเป็น 80%  จากเป้ารายได้รวม (100% JV) ทั้งปีที่ 47,000 ล้านบาท ซึ่งรายได้ดังกล่าวเติบโตกว่า 24% หากเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2564 ที่ทำได้ 30,324 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิมากถึง 4,722 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 33% จากงวดเดียวกันของปีก่อนหน้า ที่มีกำไรสุทธิรวมเท่ากับ 3,549 ล้านบาท ขณะที่สัดส่วนหนี้สินสุทธิต่อทุนอยู่ในระดับที่แข็งแกร่งเท่ากับ 0.52 เท่า แผนการดำเนินธุรกิจของเอพีในปี 2565 กับการวางเป้าหมายเป็นที่สุดแห่งปี ประสบความสำเร็จและสามารถสร้างสถิติใหม่สู่การเติบโตได้อย่างแข็งแกร่ง ตอกย้ำภาพความเป็นผู้นำในทุกกลุ่มธุรกิจทั้งสินค้าทาวน์โฮม บ้านเดี่ยว และคอนโดมิเนียม   มั่นใจถึงเป้ารายได้ทั้งปี 47,000 ล้านบาท ทั้งนี้ กลุ่มสินค้าแนวราบทั้งบ้านเดี่ยว และทาวน์โฮมยังคงเป็นซูเปอร์สตาร์ของปี คีย์ไดรฟ์สำคัญในการสร้างรายได้ให้กับบริษัท จากกระแสตอบรับที่ดีอย่างต่อเนื่อง ของลูกค้าโอนกรรมสิทธิ์ทั้งโครงการใหม่และโครงการที่อยู่ระหว่างการเปิดขาย ควบคู่กับการฟื้นตัวเติบโตในทิศทางที่ดีอย่างมีนัยสำคัญ ของตลาดคอนโดมิเนียมที่มีการรับรู้รายได้อย่างต่อเนื่อง   การโอนกรรมสิทธิ์ในคอนโดยังมีต่อเนื่อง อย่าง  2 คอนโดใหม่ที่ก่อสร้างเสร็จในไตรมาส 3 ที่ผ่านมา ได้แก่ RHYTHM เอกมัย เอสเตท และ LIFE สาทร เซียร์รา ทำให้ ณ 31 ตุลาคม 2565 บริษัทมียอดขายรอโอน (Backlog) มากถึง 37,065 ล้านบาท โดยจะทยอยรับรู้ถึงปี 2568 จึงมั่นใจว่าบริษัทจะสามารถสร้างรายได้รวมได้ตามเป้าหมายในปีนี้ทั้งปีที่ 47,000 ล้านบาท พร้อมทั้งจะสามารถรักษาอัตราการเติบโตต่ออย่างมั่นคงในอนาคตอย่างแน่นอน   นอกจากนี้ บริษัท ยังมีผลงานยอดขายที่แข็งแกร่ง และยังคงสร้าง New Record สูงสุดที่บริษัทเคยทำได้ ณ สิ้นเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ด้วยยอดขายมากถึง 45,408 ล้านบาท หรือคิดเป็น 90% ของเป้ายอดขายที่ตั้งไว้ที่ 50,000 ล้านบาท เติบโตขึ้น 46% หากเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า แบ่งเป็นยอดขายจากสินค้าบ้านเดี่ยวและทาวน์โฮมที่ 36,154 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 26% และเป็นยอดขายจากสินค้าแนวสูงที่ปรับตัวดีขึ้นอย่างชัดเจนที่ 9,254 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้ากว่า 3 เท่าตัว โดยปัจจัยที่สนับสนุนให้บริษัทประสบความสำเร็จในมิติยอดขายที่แข็งแกร่ง นอกจากความเชื่อมั่นของลูกค้าต่อแบรนด์สินค้าเครือเอพีที่มากกว่า 17 แบรนด์ ที่มุ่งมั่นพัฒนาที่อยู่อาศัยที่เข้าใจความต้องการที่แท้จริงของลูกค้า เพื่อส่งมอบความปรารถนาในการใช้ชีวิตที่แตกต่างกัน ให้ทุกนิยามความสุขที่ต้องการเกิดขึ้นได้จริงแล้ว และยังสะท้อนถึงดีมานด์ตลาดที่อยู่อาศัยที่ยังคงเป็นที่ต้องการ ทั้งตลาดบ้านแนวราบที่เติบโตต่อเนื่อง และโดยเฉพาะตลาดคอนโด ที่มีการฟื้นคืนกลับของลูกค้าอย่างเห็นได้ชัด   บริษัทยังคงเดินหน้าตามแผน BREAKTHROUGH ทุกข้อจำกัด ด้วยการวางแผนเปิดตัว​โครงการใหม่ทั้งสิ้น 18 โครงการ มูลค่ารวมกว่า 26,360 ล้านบาท ในไตรมาสที่ 4 โดยมีไฮไลต์ในช่วง 2 เดือนสุดท้าย กับการเปิดตัว  “พื้นที่ชีวิตใหม่” จากบ้านเดี่ยวแบรนด์ใหม่ล่าสุด MODEN บ้านเดี่ยวหลังใหญ่บนทำเล พระราม 2, บางนา – เทพารักษ์​ และบางนา – ศรีนครินทร์ ราคาเริ่ม 3.99 – 9 ล้านบาท และคอนโด  ASPIRE  อ่อนนุช สเตชั่น มูลค่า 2,700 ล้านบาท โปรเจกต์แฟล็กชิป “Exclusive ASPIRE” เขย่าตลาดคอนโดใหม่เพียงหนึ่งเดียว ในย่าน ติดถนนสุขุมวิท เพียง 200 เมตรถึงรถไฟฟ้า BTS  สถานีอ่อนนุช ราคา 1 ห้องนอน  เริ่ม 129,000 บาท/ตารางเมตร เพียง 3.59 ล้านบาท Exclusive Booking วันที่ 26 - 27 พฤศจิกายนนี้ บริษัทยังคงดำเนินธุรกิจภายใต้พันธกิจใหญ่คือ การส่งมอบชีวิตดีๆ ที่เลือกเองได้ ด้วยแผนการดำเนินงานที่รัดกุม ควบคู่ไปกับความพร้อมที่จะปรับตัวอย่างรวดเร็ว ด้วยการบริหารจัดการแบบกระจายอำนาจ ควบคู่การบริหารจัดการกระแสเงินสดอย่างเคร่งครัด   อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง -4 การเปลี่ยนแปลงรอบ 20 ปี ของ “บ้านกลางเมือง” -เอพี ไทยแลนด์ โชว์ครึ่งปีแรกกวาดรายได้ 25,276 ล้าน พร้อมผลงานทำกำไรโต 31%
4 การเปลี่ยนแปลงรอบ 20 ปี ของ “บ้านกลางเมือง”

4 การเปลี่ยนแปลงรอบ 20 ปี ของ “บ้านกลางเมือง”

บ้านกลางเมือง บ้านกลางเมือง สินค้าเรือธง ทาวน์โฮม ค่ายเอพี ไทยแลนด์ ความสำเร็จตลอด 20 ปี กับ 4 การเปลี่ยนแปลงใหม่ในปี 2022   บริษัท เอพี ไทยแลนด์ จำกัด (มหาชน) เริ่มต้นพัฒนาโครงการทาวน์โฮมครั้งแรกในปี 2545 ภายใต้แบรนด์ บ้านกลางเมือง เนื่องจากมองเห็นโอกาสทางการตลาด และความต้องการของลูกค้า ที่ต้องการอยู่บ้านทาวน์โฮมขนาด 3 ชั้น บริษัทจึงได้นำรูปแบบของอาคารพาณิชย์ มาพัฒนาและปรับเปลี่ยนรูปแบบใหม่ที่มีความทันสมัย โดยเริ่มต้นพัฒนา บ้านกลางเมือง รัชดา-เหม่งจ๋าย เป็นโครงการแรก ไทม์ไลน์ความสำเร็จบนเส้น 20 ปี  โดยหลังจากนั้น เอพี ได้พัฒนาโครงการใหม่ออกมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในแต่ละปีก็มีพัฒนาการและวิธีการทำงานที่เปลี่ยนไปตามสภาพแวดล้อม และแผนธุรกิจ  โดยตลอดระยะเวลา 20 ปีที่ผ่านมา บ้านกลางเมืองมีการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นที่สำคัญ ๆ ดังนี้ ปี 2545 ปีแรกที่ได้พัฒนาแบบบ้านในรูปแบบคลาสสิคในธีม Big City และหลังจากนั้นได้เห็นการเปลี่ยนแปลงในรูปแบบบ้าน จากคลาสสิคมาสู่ความเป็นโมเดิร์น ปี 2552 จึงเปิดตัว Urbanion Model และมีการพัฒนาบ้านแบบใหม่อย่างต่อเนื่อง ปี 2557 ได้พัฒนาแบบบ้านทาวน์โฮม 3.5 ชั้น พร้อมชั้นลอยสูง 5.5 เมตร ปี 2558 ได้เปิดตัว บ้านกลางเมือง ดิอิดิชั่น ด้วยบ้านแบบใหม่ X-Trend Model เพื่อเพิ่มพื้นที่ในการอยู่อาศัยในทาวน์โฮม ปี 2559  เอพี ไทยแลนด์ ได้ขยายตลาดบ้านทาวน์โฮม ไปสู่กลุ่มลูคค้าลักชัวรี่ ด้วยการเปิดตัวแบรนด์บ้านกลางเมือง คลาสเซ่ ซึ่งเน้นโลเกชั่นในย่านใจกลางเมืองเป็นหลัก ปี 2560 เปิดตัวบ้านกลางเมือง ในรูปบบ TERRARIA MODEL ที่เป็นการนำพื้นที่สีเขียวเข้ามาไว้ในบ้านทาวน์โฮม ปี 2565 เอพี ไทยแลนด์ ได้วางแนวทางธุรกิจสินค้าทาวน์โฮม ภายใต้พันธกิจ​ Unlock Vertical Life ทำให้เปิดตัวบ้านกลางเมืองโมเดลใหม่มากที่สุดถึง 10 แบบ และนำเอาแบรนด์บ้านกลางเมือง คลาสเซ่ กลับมาทำตลาดใหม่อีกครั้งหลังหยุดทำตลาดนานกว่า 7 ปี พร้อมกับเปิดตัวบ้านแบบใหม่ Eclectic Modern Series และ Legacy Classic Series พร้อมบ้านกลางเมือง ดิอิดิชั่น ฟังก์ชั่นใหม่   4 การเปลี่ยนแปลง “บ้านการเมือง” ยุค 2022 นายเมธา รักธรรม รองกรรมการผู้อำนวยการ สายงานพัฒนาธุรกิจกลุ่มสินค้าทาวน์โฮม บริษัท เอพี ไทยแลนด์ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ในปีนี้บ้านกลางเมืองเดินทางมาครบ 20 ปี ซึ่งถือได้ว่าแบรนด์ที่อยู่ได้นานขนาดนี้ คือ เป็นแบรนด์ที่มีความแข็งแกร่งและเป็นตำนาน ซึ่งตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา แบรนด์บ้านกลางเมืองมีการเติบโตอยู่ตลอดเวลา โดยในปีนี้บริษัทเปิดตัวแบบบ้านใหม่มากที่สุด และมีการทำตลาดครั้งสำคัญ ด้วยกลยุทธ์ Music Marketing ที่ได้นำเอานักร้องในตำนาน อย่างก้อง-สหรัถ มาเป็นแบรนด์แอมบาสเดอร์ ครั้งแรก โดยใช้งบประมาณการทำตลาดในปีนี้ต่อเนื่องไปจนถึงปีหน้า 20 ล้านบาท   สำหรับแนวทางการตลาดของบ้านกลางเมืองในปีนี้ ถือว่าเป็นการทำธุรกิจที่เปลี่ยนไปจากอดีตที่ผ่านมา เนื่องจากบริษัทวางแนวทางธุรกิจ ภายใต้พันธกิจ Unlock Vertical Life ซึ่งมีการเปลี่ยนรูปแบบเกือบทุกอย่างของแบรนด์บ้านกลางเมือง ดังนี้ 1.เพิ่ม Product Mix ในแต่ละโครงการ ในอดีตโครงการบ้านกลางเมือง จะมีรูปแบบบ้านเพียงรูปแบบเดียว คือ ทาวน์โฮม แต่ปัจจุบันจะเป็นการผสมผสานรูปแบบบ้านหลายชนิดไว้ในโครงการเดียวกัน อาทิ มีแบบบ้านแฝด บ้านแฝด 3 ชั้น แบบบ้านทาวน์โฮม 3 ชั้น เป็นต้น 2.ฟังก์ชั่นบ้านเปลี่ยน ขณะที่ตัวบ้านมีการปรับเปลี่ยนฟังก์ชั่นการใช้งาน หรือการดีไซน์เลย์เอ้าท์บ้านเปลี่ยนแปลงไป เพื่อให้ตอบสนองความต้องการลูกค้าได้อย่างหลากหลายมากยิ่งขึ้น ลูกค้าสามารถปรับเปลี่ยนฟังก์ชั่นได้ตามไลฟ์สไตล์ และการใช้งานจริง อาทิ การนำเอาพื้นที่ห้องลิฟวิ่งรูม และห้องครัว ย้าวไปไว้ที่ชั้น 2 การมีพื้นที่ชั้นล่าง ที่สามารถปรับเปลี่ยนได้หลากหลายรูปแบบ ตามความต้องการของลูกค้า เช่น ปรับเป็นห้องทำงาน ปรับเป็นห้องนอนผู้สูงอายุ หรือผสมผสานพื้นที่ได้ตามความต้องการ เป็นต้น 3.การทำตลาดเปลี่ยน ในอดีตการทำตลาดของบ้านกลางเมือง ทีมการตลาดจะทำงานภายใต้แนวคิดในการสร้างยอดขายเป็นหลัก ทำให้รูปแบบการตลาด ออกมาเป็น โปรโมชั่น หรือการส่งเสริมการขายในรูปแบบต่าง ๆ แต่ปัจจุบันการทำงานของทีมการตลาด จะต้องเน้นการสร้างแบรนด์ให้กับบ้านกลางเมืองควบคู่ไปด้วย จะไม่เน้นการขายสินค้าอย่างเดียว จึงเป็นที่มาของการกลยุทธ์ Music Marketing ในปีนี้ และต่อเนื่องไปถึงปีหน้าด้วย 4.เปลี่ยนคอนเซ็ปต์การซื้อที่ดิน  รูปแบบการซื้อที่ดินเปลี่ยนแปลงไป โดยจะเน้นการซื้อที่ดินให้สอดคล้องกับบ้านกลางเมืองแต่ละแบรนด์ โดยเฉพาะบ้านกลางเมืองคลาสเซ่ ที่ถือเป็นสินค้าทดแทนคอนโดมิเนียม สำหรับกลุ่มลูกค้าที่ต้องการอยู่ทำเลใจกลางเมือง แต่ไม่ต้องการอยู่คอนโด เนื่องจากต้องการได้พื้นที่มากขึ้น แต่มีระดับราคาใกล้เคียงกับคอนโดในเมือง ซึ่งการซื้อที่ดินจะไม่ได้ดูเรื่องราคาเป็นหลัก แต่ดูศัยกภาพของที่ดินว่าสามารถแข่งขันได้หรือไม่ ​   ตลอดระยะเวลา 20 ปีของแบรนด์ บ้านกลางเมือง แต่ละปีมีอัตราการเติบโตมาอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้เป็นหนึ่งแบรนด์สำคัญของ เอพี ไทยแลนด์ ในการช่วยความสำเร็จให้กับบริษัทได้เป็นอย่างดี และตัวแบรนด์เองก็มี Success Story มาโดยตลอด อย่างเช่น บ้านกลางเมือง สาทร-กัลปพฤกษ์ 2 ที่สามารถปิดการขายได้ภายในระยะเวลา 2 สัปดาห์ที่เปิดการขาย หรือแม้แต่การนำเอาแบรนด์ บ้านกลางเมือง คลาดเซ่ มาทำตลาดใหม่ในรอบ 7 ปี ก็กวาดยอดขายโครงการบ้านกลางเมือง คลาสเซ่ สุขุมวิท 77 ได้ถึง 800 ล้านบาท ภายในระยะเวลาเพียง 2 สัปดาห์เช่นกัน จึงต้องจับตามองกับเบอร์ 1 ตลาดทาวน์โฮมว่าก้าวย่างต่อไปจะมีอะไรให้ติดตามอีกบ้าง   อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง -เอพี ไทยแลนด์ กับ 4 ไฮไลท์ลุยตลาดบ้านเดี่ยวครึ่งปีหลัง เปิดตัว โมเดน แบรนด์ใหม่เจาะราคา 3-5 ล้าน -เอพี ไทยแลนด์ โชว์ครึ่งปีแรกกวาดรายได้ 25,276 ล้าน พร้อมผลงานทำกำไรโต 31%
10 เรื่องต้องคิด ซื้อบ้านหรือคอนโดดี? ถ้างบเท่ากัน

10 เรื่องต้องคิด ซื้อบ้านหรือคอนโดดี? ถ้างบเท่ากัน

ก่อนเกิดสถานการณ์ไวรัสโควิด-19 ระบาด เชื่อว่าคนที่อยากซื้อบ้านก็จะเลือกซื้อบ้าน ส่วนคนที่อยากอยู่คอนโดมิเนียม ก็คงเลือกซื้อคอนโด ตัดสินใจได้ไม่ยาก แต่พอเกิดโควิด-19 ระบาด หลายคนก็อาจจะลังเล และชั่งใจ จะเอาไงดี ซื้อบ้านหรือคอนโดดีกว่ากัน ถ้าราคาบ้านและคอนโดเท่ากัน เพราะช่วงโควิดระบาดที่ผ่านมา คนส่วนใหญ่อยู่กับบ้าน จึงต้องการใช้พื้นที่เพื่อทำกิจกรรมต่าง ๆ บ้านก็เลยขายดี   แต่ตอนนี้สถานการณ์เข้าสู่ภาวะปกติ คนต้องกลับมาทำงานที่ออฟฟิศกันแล้ว การจะเลือกไปอยู่บ้าน ที่ส่วนใหญ่อยู่ไกล หรือไม่ก็แถบชานเมือง การเดินทางต้องเสียทั้งเวลาและค่าใช้จ่ายเยอะขึ้น ก็น่าจะลังเล และเกิดคำถามขึ้นมาว่าถ้าจะเลือกซื้อบ้านหรือคนโดดี ถ้ามีงบเท่ากัน หรือราคาบ้านและราคาคอนโดก็พอ ๆ กันนั่นเอง   วันนี้ Reviewyourliving มีบทความ "10 เรื่องต้องคิด ซื้อบ้านหรือคอนโดดี? ถ้างบเท่ากัน" มาเป็นเครื่องช่วยในการตัดสินใจ ว่าอะไรจะเหมาะกับคุณ ๆ 1.ทำเลที่ตั้ง เริ่มต้นแรกของการพิจารณาว่าจะเลือกซื้อบ้านหรือคอนโดดี ถ้ามีงบประมาณเท่ากัน คงต้องเป็นเรื่องของ ทำเลที่ตั้ง เพราะมีความสำคัญและเกี่ยวข้องกับการใช้ชีวิตประจำวันของเรา โดยเฉพาะเรื่องการเดินทางไปทำงาน ซึ่งหลายคนอาจจะต้องคิดถึงคนอื่น ๆ ในครอบครัวด้วย (ถ้าไม่ใช่พักอาศัยแค่ตัวเราคนเดียว) ไม่ว่าจะเป็นแฟนเราที่ต้องเดินทางไปทำงาน หรือใครมีลูกก็ต้องคิดถึงที่ตั้งของโรงเรียนลูกด้วย เพราะเราคงต้องเดินทางไปส่งลูกที่โรงเรียน และต้องเดินทางต่อไปทำงาน   เรื่องของทำเลที่ตั้ง คงต้องพิจารณาถึงความเหมาะสมในเรื่องการเดินทาง ไปยังสถานที่จำเป็นต้องไป ว่าห่างไกลกันแค่ไหน มีบริการรถสาธารณะเชื่อมต่อกันไหม เพราะหากใครไม่มีรถยนต์ส่วนตัว หรือต่อให้มีถ้าไม่สะดวกต่อการเดินทาง รับรองต้องเสียทั้งเวลา และต้องเสียค่าใช้จ่ายเยอะมาก หากต้องการเดินทางสะดวก ใกล้รถไฟฟ้า บริหารเวลาเดินทางได้ การเลือกที่อยู่อาศัยก็ต้องเลือก คอนโด​ หากไม่มีปัญหาเรื่องการเดินทาง หรือสามารถบริหารจัดการเรื่องการเดินทางได้ รวมถึงมีที่ทำงานอยู่ชานเมือง หรือบริเวณรอบนอก หากจะเลือกบ้าน ก็สามารถทำได้ 2.พื้นที่ใช้สอย ถ้าใครมีโจทย์สำคัญของการอยู่อาศัย ที่ต้องการพื้นที่มาก ๆ ในการอยู่อาศัย คำตอบแรก ก็ต้องเลือกซื้อบ้าน เพราะหากพิจารณาเฉพาะเรื่องราคาของอสังหาริมทรัพย์อย่างเดียว บ้านหรือทาวน์โฮม มีขนาดพื้นที่มากกว่าคอนโดอย่างแน่นอน ถ้าหากอยู่อาศัยกันแบบคู่รัก หรือ 1-2 คน ไม่ได้ต้องการพื้นที่มากนัก การเลือกคอนโด ก็ตอบโจทย์ไม่ต้องดูแลมาก แถมได้ทำเลในเมือง แต่หากใครต้องการพื้นที่มาก เพื่อทำกิจกรรมต่าง ๆ หรือทำงานจากที่บ้าน หรืออยู่แบบครอบครัวขยาย การเลือกบ้านน่าจะเหมาะสมกว่า ในงบประมาณที่เท่ากับการซื้อคอนโด 3.สิ่งอำนวยความสะดวก เช่น ที่จอดรถ เรื่องสิ่งอำนวยความสะดวก อาจจะต้องดูเป็นโครงการ ๆ ไป ว่าใครสิ่งอำนวยความสะดวกมากกว่ากัน ซึ่งเรื่องนี้อาจจะไม่ใช่เรื่องหลักในการพิจารณาว่าจะเลือกซื้อบ้านหรือคอนโดดี ถ้ามีงบเท่ากัน คอนโด ส่วนใหญ่จะจำกัดจำนวนรถยนต์ให้ห้องละ 1 คันเท่านั้นที่จอดได้ หากมีรถมากกว่า 1 คันอาจจะต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่ม บ้าน มักจะจอดรถได้มากกว่า 1 คัน ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับขนาดพื้นที่ของบ้านที่ซื้อ แต่โดยส่วนใหญ่จะจอดได้อย่างน้อย 2  คัน 4.การดูแล-ซ่อมบำรุง การดูแลบ้าน หรือการซ่อมบำรุงความเสื่อมของที่อยู่อาศัย ก็เป็นข้อพิจารณาเพิ่มเติม อาจจะไม่ใช่เรื่องหลักที่ใช้เป็นเกณฑ์ในการตัดสินใจ จะเลือกซื้อบ้านหรือคอนโดดี ถ้ามีงบเท่ากัน แต่ก็เป็นเรื่องที่ควรรู้ไว้ เพราะเป็นค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมกับเราภายหลัง ที่หลายคนอาจจะละเลย หรือลืมพิจารณา คอนโด ถือว่ามีจุดดูแล-ซ่อมบำรุงน้อย ซึ่งจะดูแลเฉพาะภายในห้องพักเราเท่านั้น และมักไม่ค่อยมีปัญหามาก ส่วนใหญ่จะเป็นพวกงานระบบไฟ หรือระบบประปา และอยู่ในพื้นที่จำกัดเฉพาะของห้องเราเท่านั้น บ้าน มีจุดดูแลและซ่อมบำรุงมาก ทั้งพื้นที่ในบ้านไม่ว่าจะเป็นพื้น ผนัง ตัวโครงสร้าง หลังคา รวมถึงงานระบบต่าง ๆ ทั้งระบบไฟฟ้า ระบบประปา ระบบรักษาความปลอดภัย และพื้นที่รอบบ้าน​ ทั้งรั้ว สนามหญ้า ประตูรั้วบ้าน ก็ต้องดูแล ถือว่ามีงานที่ต้องดูแลเยอะ และหากเสียหาย ชำรุด ก็คงต้องเสียเงินเยอะพอสมควร 5.บรรยากาศ และสภาพแวดล้อม บรรยากาศการอยู่บ้าน กับบรรยากาศการอยู่คอนโด คงไม่เหมือนกัน เพราะสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ไม่เหมือนกัน เรื่องนี้คงต้องขึ้นอยู่กับความชอบของแต่ละคนว่าจะเลือกแบบไหน คอนโด มักจะอยู่ในสภาพแวดล้อมของเมือง มุมมองหรือวิว ก็จะได้วิวเมือง บ้าน บรรยากาศก็จะเป็นชุมชน บ้านเรือนแวดล้อม ไม่มีจุดชมวิวบนที่สูง อาจจะได้วิวสวนของโครงการ หรือ สวนของบ้านเราเอง รอบ ๆ ข้างก็เป็นบรรยากาศเพื่อนบ้าน 6.เพื่อนบ้านและความเป็นส่วนตัว การพักอาศัยในคอนโดกับบ้านจัดสรร ความเป็นส่วนตัวคงแตกต่างกันพอสมควร  ถ้าเราอยู่คอนโดโอกาสจะเจอเพื่อนบ้านหรือรู้จักกันก็น่าจะน้อยกว่าการอยู่บ้านจัดสรร ทำให้มีความเป็นส่วนตัวถ้าอยู่บ้านจะมีมากกว่า ขณะเดียวกันปัญหาระหว่างเรากับเพื่อนบ้านก็น่าจะน้อยกว่าด้วย คอนโด คนที่พักอาศัยมักจะไม่ค่อยยุ่งเกี่ยวกัน และเราแทบจะไม่รู้จักกับคนอยู่ข้างห้องเลย ทำให้มีความเป็นส่วนตัวสูงกว่า บ้าน มีโอกาสพบเจอและรู้จักเพื่อนบ้านได้มากกว่าคอนโด ​ซึ่งปัญหาเพื่อนบ้านมีโอกาสเกิดขึ้นมากกว่าการอยู่คอนโด หากเราไปเจอเพื่อนบ้านที่นิสัยไม่ดี 7.ปัญหา-ความปลอดภัย ปัญหาต่าง ๆ เกี่ยวกับบ้าน การอยู่อาศัยในบ้านจัดสรรมีโอกาสที่เราจะพบเจอได้มากกว่าการอยู่คอนโด อย่างเช่น ปัญหาน้ำท่วม ซึ่งอยู่คอนโดปัญหาอย่างมากก็แค่เราเข้า-ออกคอนโดได้ลำบาก แต่ถ้าอยู่บ้านน้ำอาจจะท่วมเข้ามาในตัวบ้าน สร้างความเสียหายให้ได้  หรือแม้แต่เรื่องสัตว์มีพิษต่าง ๆ อยู่บ้านก็มีโอกาสเจอมากกว่า คอนโด ถือว่ามีความปลอดภัยสูง เพราะบุคคลภายนอกเข้า-ออกได้ยาก ไม่มีปัญหาน้ำท่วมที่พักอาศัย หรือสัตว์มีพิษเข้ามาได้ยาก บ้าน มีโอกาสคนบุกรุก หรือลักลอบเข้ามาได้ง่าย หากมีปัญหาน้ำท่วมก็อาจจะเข้ามาสร้างความเสียหายต่อที่อยู่อาศัยได้ รวมถึงสัตว์มีพิษเข้าบ้านได้ง่ายกว่าคอนโด 8.ไลฟ์สไตล์ผู้อยู่อาศัย การเลือกว่าจะซื้อบ้านหรือคอนโดดี ถ้ามีงบเท่ากัน อีกเรื่องที่ต้องคิดและน่าจะสำคัญลำดับต้น ๆ ก็คือ ไลฟ์สไตล์ของผู้อยู่อาศัย เพราะมันคือวิถีชีวิตของตัวเรา ว่าเรามีความชอบอย่างไร มีพฤติกรรมการใช้ชีวิตอย่างไร คอนโด เหมาะสำหรับการอยู่อาศัย-พักผ่อน ไม่ได้มีกิจกรรมอะไรมากมาย หรือไม่ได้ต้องการใช้พื้นที่ทำงานจากที่บ้าน หรือประกอบธุรกิจ (แต่บางคอนโดในปัจจุบัน ก็มีพื้นที่ส่วนกลางรองรับการทำงานจากที่บ้าน หรือทำธุรกิจจากที่บ้านได้ อาจจะต้องพิจารณาองค์ประกอบอื่น ๆ เพิ่มเติม) บ้าน สามารถทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้มากมาย เช่น คนที่ชอบทำสวน ปลูกต้นไม้ เพาะต้นไม้ หรือชอบเลี้ยงสัตว์ ชอบทำอาหาร หรือมีธุรกิจที่สามารถทำจากที่บ้านได้ การอยู่บ้านน่าจะตอบโจทย์เรื่องพวกนี้ได้ดี 9.ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้อง นอกจากเงินที่ต้องมีสำหรับการซื้อบ้านหรือคอนโดแล้ว ค่าใช้จ่ายที่จะตามมาภายหลังการอยู่อาศัย ก็ควรพิจารณาประกอบด้วย เพราะการอยู่บ้านกับการอยู่คอนโด ค่าใช้จ่ายตามมาก็ไม่เท่ากันแน่นอน ซึ่งอยู่บ้านน่าจะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมภายหลังสูงกว่า คอนโด มักจะมีค่าใช้จ่ายหลัก ๆ คือ ค่าส่วนกลาง ส่วนที่เหลือก็อาจจะเป็นค่าซ่อมบำรุงตามสภาพการใช้งานของอุปกรณ์ภายในห้อง บ้าน ถ้าเปรียบเทียบกับคอนโดค่าใช้จ่ายจะมีมากกว่า เพราะนอกจากค่าส่วนกลางที่จ่ายตามขนาดพื้นที่ (ซึ่งมากกว่าคอนโด) ยังต้องมีค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับบ้านในเรื่องอื่น ๆ ด้วย เช่น ค่าซ่อมบำรุงบ้าน ค่าดูแลสวน เป็นต้น 10.โอกาสการลงทุน เรื่องของโอกาสได้รับผลตอบแทนจากบ้านหรือคอนโด หากใครที่มองเรื่องนี้ ก็ต้องพิจารณาหลายเรื่องเป็นองค์ประกอบ แต่ที่แน่ ๆ หากต้องการซื้อเพื่อปล่อยเช่า การเลือกซื้อคอนโดน่าจะตอบโจทย์ได้มากกว่า เพราคอนโดปล่อยเช่าได้ง่าย และความต้องการสูงกว่า คอนโด ปล่อยเช่าหรือขายต่อได้ง่าย เพราะความต้องการสูงกว่า คนที่ยังไม่มีที่อยู่อาศัยมักจะเลือกเช่าคอนโดมากกว่าบ้าน เพราะทำเลที่ตั้งใกล้แหล่งงาน แถมราคาค่าเช่าก็ถูกกว่าบ้าน แต่ราคาขายต่อก็ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบอื่น ๆ บ้าน ปล่อยเช่าหรือขายต่อได้ยากกว่าคอนโด และคนส่วนใหญ่ซื้อบ้านมักจะเป็นผู้ที่อยู่อาศัยเอง กลุ่มนักลงทุนที่ซื้อเพื่อปล่อยเช่าจะมีน้อยกว่าประเภทคอนโด ส่วนเรื่องราคาที่ปรับเพิ่มขึ้นตามระยะเวลานั้น ก็ต้องมีเรื่องอื่น ๆ เป็นองค์ประกอบด้วย เช่น ทำเลที่ตั้ง สภาพบ้าน ขนาดพื้นที่ เป็นต้น ทั้งหมดนี้ ก็เป็นไกด์ไอเดียให้กับผู้ที่กำลังลังเลว่า จะเลือกซื้อบ้านหรือคอนโดดี ถ้ามีงบเท่ากัน ซึ่งหลักเกณฑ์คร่าว ๆ ให้ใช้พิจารณาเลือกให้เหมาะสมกับไลฟ์สไตล์ วิถีชีวิต และความต้องการการอยู่อาศัย ว่าแบบไหนจะเหมาะกับตัวเรา และคนในครอบครัวมากที่สุด     ที่มา -Reviewyourliving รวบรวม